Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 42

ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค

ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๖๒


คำ�นำ�
คำนำ
ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ.2562
เป็นระเบียบที่ได้ทาการปรับปรุง แก้ไขขึ้นใหม่ เนื่องจากระเบียบเดิมได้กาหนดใช้มา
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 ซึ่งหลังจากประกาศใช้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้มีการออก
ระเบีย บที่ เ กี่ ย วกั บใช้ ไ ฟฟ้ า และบริ ก ารเพิ่ ม เติ ม มากขึ้ น ตลอดจนสภาวการณ์ใน
ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีการนาระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการให้บริการ มีการยกระดับมาตรฐานคุณภาพการ
ให้บริการ ตอบรับนโยบาย PEA Digital Utility การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงมีคาสั่ง
กฟภ. ที่ พ.(ก) 544/2561 สั่ง ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2561 แต่งตั้งคณะกรรมการ
พิจารณา ปรับปรุง แก้ไข ระเบียบดังกล่าว
คณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณา ปรับปรุง แก้ไข ระเบียบแล้วเสร็จ โดยมี
สาระส าคั ญ ได้ แ ก่ การก าหนดค านิ ย ามของระเบี ย บให้ ค รบถ้ ว น การเพิ่ ม เติ ม
ปรับปรุง แก้ไข สาระสาคัญ เช่น การใช้หลักฐานประกอบการขอใช้ไฟฟ้า การขอใช้
ไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรม ข้อกาหนดเงื่อนไขการติดตั้งเครื่องกาเนิดไฟฟ้า เพื่อความ
ปลอดภัยและความมั่นคงในระบบจาหน่ายไฟฟ้า เป็นต้น
กองเศรษฐกิจพลังไฟฟ้าจึงจัดทาระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ว่าด้วยการใช้
ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ.2562 ขึ้นเป็นรูปเล่ม เพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นคู่มือในการ
ปฏิบัติงานและถือปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ตามอนุมัติ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
บันทึกเลขที่ กศฟ.(ก) 1162/2562 ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2562 ต่อไป
และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้องจะได้รับประโยชน์จาก ระเบียบ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ.2562 ดังกล่าวต่อไป

กองเศรษฐกิจพลังไฟฟ้า
ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน
2 มกราคม 2563
สารบัญญ
สารบั
เรื่อง หน้า
บทนำ 1
หมวดที่ 1 ระบบกำรจ่ำยไฟฟ้ำและอัตรำค่ำไฟฟ้ำ
- ระบบกำรจ่ำยไฟฟ้ำและอัตรำค่ำไฟฟ้ำ 7
- อัตรำค่ำไฟฟ้ำ 7
- กำรจ่ำยไฟฟ้ำชั่วครำว 7

หมวดที่ 2 กำรขอใช้ไฟฟ้ำ
- กำรขอใช้ไฟฟ้ำ 8

หมวดที่ 3 หลักประกันกำรใช้ไฟฟ้ำ กำรโอนเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้ำ


- หลักประกันกำรใช้ไฟฟ้ำ 15
- เงื่อนไขกำรวำงหลักประกันกำรใช้ไฟฟ้ำ 16
- กำรเพิ่มหรือลดหลักประกันกำรใช้ไฟฟ้ำ 16
- กำรคืนหลักประกันกำรใช้ไฟฟ้ำ 16
- กำรคืนหลักประกันกำรใช้ไฟฟ้ำ
กรณีเลิกใช้ไฟฟ้ำหรือตัดฝำกมิเตอร์ 17
- กำรทำสัญญำซื้อขำยไฟฟ้ำ 18
- กำรโอนเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้ำ 18

หมวดที่ 4 กำรก่อสร้ำง ติดตัง้ ระบบจำหน่ำยไฟฟ้ำ และระบบไฟฟ้ำภำยใน


- กำรก่อสร้ำง ติดตั้งระบบจำหน่ำยไฟฟ้ำที่ผ่ำนเข้ำไปในบริเวณ
ทีด่ ินหรือยึดติด หรือเกำะกับอำคำรของบุคคลอื่น 19
- กำรติดตั้งมิเตอร์ 19
เรื่อง หน้า
- กำรติดตั้งระบบจำหน่ำยไฟฟ้ำและระบบไฟฟ้ำภำยใน 20
- กำรตรวจกำรติดตั้งระบบไฟฟ้ำภำยใน 21
- กำรจ่ำยไฟฟ้ำ 21
- กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินระบบไฟฟ้ำ 21
- กำรขอยกเลิกกำรก่อสร้ำงระบบจำหน่ำยไฟฟ้ำ
และระบบไฟฟ้ำภำยใน 22
- อุปกรณ์ไฟฟ้ำภำยในที่นำมำใช้ในกำรติดตั้ง 22
- กำรเดินสำยไฟฟ้ำและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้ำภำยใน 22
- กำรตรวจกำรเดินสำยไฟฟ้ำภำยใน และติดตั้ง
อุปกรณ์ไฟฟ้ำภำยใน 23
- กำรตรวจหรือกำรทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้ำภำยใน 23
- กำรตรวจหรือทดสอบหม้อแปลงของผู้ขอใช้ไฟฟ้ำ
หรือผู้ใช้ไฟฟ้ำ 23
- กำรติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้ำหรือแหล่งจ่ำยไฟฟ้ำสำรอง
ของผู้ขอใช้ไฟฟ้ำหรือผู้ใช้ไฟฟ้ำ 24
- กำรขอใช้ไฟฟ้ำสำรองฉุกเฉิน 25

หมวดที่ 5 กำรใช้ไฟฟ้ำ
- กำรอ่ำนข้อมูลกำรใช้ไฟฟ้ำจำกมิเตอร์ 25
- ควำมรับผิดชอบในกำรชำระค่ำไฟฟ้ำ 25
- กำรเรียกเก็บเงินค่ำไฟฟ้ำกรณีมิเตอร์ชำรุด
หรือแสดงค่ำคลำดเคลื่อน 25
- กำรเรียกเก็บเงินค่ำไฟฟ้ำกรณีคิดค่ำไฟฟ้ำต่ำ
หรือสูงเกินควำมเป็นจริง 26
เรื่อง หน้า
- กำรบำรุงรักษำอุปกรณ์ไฟฟ้ำภำยใน 26
- กำรเปลี่ยนฟิวส์ เครื่องตัดตอน หรือเครื่องป้องกันอื่น 26
- ตัวประกอบกำลังไฟฟ้ำ (Power Factor) 26
- กำรขำยหรือต่อพ่วงไฟฟ้ำ 26
- กำรใช้ไฟฟ้ำที่มผี ลกระทบผู้ใช้ไฟฟ้ำรำยอื่น 27
- กำรหยุดใช้ไฟฟ้ำเป็นกำรชั่วครำว (กำรตัดฝำกมิเตอร์) 27
- มิเตอร์ไหม้หรือชำรุด 27
- เครื่องหมำยหรือตรำของ กฟภ. 27
- กำรละเมิดกำรใช้ไฟฟ้ำ 28
- ควำมเที่ยงตรงของมิเตอร์และอุปกรณ์ประกอบมิเตอร์ 28
- กำรทดสอบควำมเที่ยงตรงของมิเตอร์และ
อุปกรณ์ประกอบมิเตอร์ 29
- ควำมเสียหำยที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินของ กฟภ. 30
- ควำมรับผิดชอบของผู้ใช้ไฟฟ้ำและหรือผู้ครอบครอง
สถำนที่ใช้ไฟฟ้ำต่อระบบจำหน่ำยไฟฟ้ำอุปกรณ์ไฟฟ้ำ 30
- กำรเข้ำไปในสถำนที่ใช้ไฟฟ้ำ 30
- ควำมเสียหำยเนื่องจำกกำรใช้ไฟฟ้ำ 30

หมวดที่ 6 กำรบอกเลิก กำรงดจ่ำยไฟฟ้ำ และกำรขอกลับมำใช้ไฟฟ้ำใหม่


- กำรบอกเลิกกำรใช้ไฟฟ้ำ 31
- กำรงดจ่ำยไฟฟ้ำ 31
- กำรขอกลับมำใช้ไฟฟ้ำใหม่ 32
ระเบียยบการไฟฟ้
ระเบี บการไฟฟ้าาส่ส่ววนภู
นภูมมภิิภาค
าค
ว่ว่าาด้ด้ววยการใช้
ยการใช้ไไฟฟ้
ฟฟ้าาและบริ
และบริกการาร พ.ศ.
พ.ศ. ๒๕๖๒
2562

โดยที่ เห็ น เป็น การสมควรปรับปรุง แก้ไข ระเบียบ หลักเกณฑ์ ในการขอใช้


ไฟฟ้ า และการขอใช้ บ ริก ารของการไฟฟ้ าส่ วนภู มิ ภ าคให้ เหมาะสมยิ่ งขึ้ น อาศั ย
อำนาจตามความในมาตรา 31 (2) แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.
2503 จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ระเบียบนี้ เรียกว่า “ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยการใช้


ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. 2562”

ข้อ 2 ระเบียบนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

ข้ อ 3 ให้ ย กเลิ ก ระเบี ย บการไฟฟ้ า ส่ วนภู มิ ภ าคว่า ด้ วยการใช้ ไฟฟ้ า และ


บริการ พ.ศ. 2552 รวมถึงบรรดาระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติ คำสั่งหรือประกาศ
อื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน

ข้อ 4 ในระเบียบนี้
“กฟภ.” หมายถึง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
“กฟผ.” หมายถึง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
“ระบบไฟฟ้า” หมายความว่า ระบบจำหน่ายไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าภายใน
“ระบบจำหน่ายไฟฟ้า” หมายความว่า ระบบการนำพลังงานไฟฟ้าไปใช้อัน
ประกอบด้วย เสา สายไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ ที่เป็นทรัพย์สิน
ของ กฟภ.
“ระบบไฟฟ้าภายใน” หมายความว่า ระบบการนำพลังงานไฟฟ้า ไปใช้อัน
ประกอบด้วย เสา สายไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ ที่เป็นทรัพย์สิน
ของผู้ใช้ไฟฟ้า
“อุปกรณ์ไฟฟ้ า” หมายความว่า อุปกรณ์อันประกอบด้วยมิเตอร์ อุปกรณ์
ประกอบมิเตอร์ หม้อแปลงกระแส และหม้อแปลงแรงดัน ที่เป็นทรัพย์สินของ กฟภ.

ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๖๒ 1
-2-
“อุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน” หมายความว่า อุปกรณ์ของผู้ใช้ไฟฟ้าที่เป็นทางผ่าน
ของกระแสไฟฟ้าและใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับประโยชน์ตามหน้าที่ อาทิเช่น อุปกรณ์
ตัดวงจรไฟฟ้า เครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน สายไฟฟ้าภายใน เป็นต้น
“การเดิ น สายไฟฟ้ า ” หมายความว่ า การเดิ น สายไฟฟ้ า ทั้ ง ภายในและ
ภายนอกอาคาร ซึ่งประกอบด้วยสายวงจรไฟฟ้ากำลัง แสงสว่างควบคุม และสัญญาณ
รวมทั้ งอุปกรณ์ และเครื่อ งประกอบการเดิน สาย ทั้ งแบบติด ตั้งถาวรและชั่วคราว
ซึ่งต่อจากมิเตอร์ของ กฟภ.
“ผู้ขอใช้ไฟฟ้า” หมายความว่า ผู้ยื่นคำร้องขอใช้ไฟฟ้าต่อ กฟภ. และต้องมี
คุณสมบัติตามที่ กฟภ.กำหนด
“ผู้ใช้ไฟฟ้า” หมายความว่า ผู้ขอใช้ไฟฟ้าที่ กฟภ.ได้จ่ายไฟฟ้าให้แล้ว และมี
ชื่อในทะเบียนผู้ใช้ไฟฟ้า
“ผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า” หมายความว่า ผู้ที่ครอบครองสถานที่และใช้
ไฟฟ้า โดยไม่มีชื่อในทะเบียนผู้ใช้ไฟฟ้า
“ผู้ขอใช้บริการ” หมายความว่า ผู้แจ้งความประสงค์ขอใช้บริการต่อ กฟภ.
“ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน หรือหน่วยงาน
อื่นใดของรัฐ หน่วยงานของราชการส่วนภูมิภาค หน่วยงานของราชการส่วนท้องถิ่น
“อาคารชุด” หมายความว่า อาคารที่บุคคลสามารถแยกการถือกรรมสิทธิ์
ออกได้เป็นส่วน โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลและ
กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินส่วนกลาง
“ค่าบริการการใช้ไฟฟ้า” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายที่ กฟภ.เรียกเก็บในการ
ขอใช้ไฟฟ้าและบริก ารอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าตามอัตราที่ กฟภ.ประกาศใช้ใน
ปัจจุบัน
“สัญญาซื้อขายไฟฟ้า” หมายความว่า สัญญาที่ผู้ ขอใช้ไฟฟ้าตกลงซื้อไฟฟ้า
จาก กฟภ.และ กฟภ.ตกลงขายไฟฟ้าให้ หรือหนังสือขอใช้ไฟฟ้าของส่วนราชการ
สถานทูต สถานกงสุล องค์การระหว่างประเทศ
“ผู้ ผ ลิ ต ไฟฟ้ า ขนาดเล็ ก มาก” (Very Small Power Producer : VSPP)
หมายความว่า ผู้ผลิตไฟฟ้าทั้งภาคเอกชน รัฐบาล รัฐวิสาหกิจและประชาชนทั่วไปที่มี
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของตนเอง (รวมถึงกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บน

กองเศรษฐกิจพลังงาน
2 ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน
-3-
หลังคา (Solar Rooftop)) ที่จำหน่ายไฟฟ้าให้ กฟภ. โดยมีปริมาณพลังงานไฟฟ้า
ขายเข้าระบบไม่เกิน ๑๐ เมกะวัตต์
“ผู้ใช้ไฟฟ้าหรือผู้ขอใช้ไฟฟ้าที่เป็นนิติบุคคลในเครือเดียวกัน” หมายความว่า
ผู้ ใช้ ไฟฟ้ าที่ มี ลั กษณะเป็ นบริษั ท หรือห้ างหุ้ นส่ วนนิ ติ บุ คคลในเครือเดี ยวกั น ตาม
มาตรา ๓๙ แห่งประมวลรัษฎากรหรือเป็นบริษัทในเครือ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๔
(พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือ
ที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน
“มิเตอร์” หมายความว่า เครื่องวัดที่ใช้วัดพลังไฟฟ้าหรือกำลังไฟฟ้า (กิโลวัตต์
และหรือกิโลวาร์) และหรือพลังงานไฟฟ้า (กิโลวัตต์ – ชั่วโมง และหรือกิโลวาร์ -
ชั่วโมง)
“มิเตอร์ที่มีระบบอ่านหน่วยอัตโนมัติ” หมายความว่า มิเตอร์ที่ติดตั้งให้กับผู้ใช้
ไฟฟ้าโดยมีระบบอ่านหน่วยอัตโนมัติ และสามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ผ่าน
ระบบสื่อสารและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น มิเตอร์ระบบ Automatic Meter
Reading (AMR), Advanced Metering Infrastructure (AMI) เป็นต้น
“สายคอนโทรล” หมายความว่า สายไฟฟ้าที่เชื่อมต่อระหว่างมิเตอร์และหม้อ
แปลงกระแสหรือหม้อแปลงแรงดัน มีหน้ าที่ นำกระแสไฟฟ้ าและแรงดั นไฟฟ้ าเข้าสู่
มิเตอร์ เพื่อใช้วัดพลังไฟฟ้าและหรือพลังงานไฟฟ้า
“อุ ปกรณ์ ป ระกอบ” หมายความว่ า อุ ปกรณ์ ประกอบมิ เตอร์ และอุ ปกรณ์
ประกอบในการติดตั้งมิเตอร์
“อุ ปกรณ์ ป ระกอบมิเตอร์” หมายความว่า หม้ อ แปลงกระแส (ซีที .) หม้ อ
แปลงแรงดัน (วีที.) อุปกรณ์ในการรับส่งข้อมูล
“อุปกรณ์ประกอบในการติดตั้งมิเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์ที่ติดตั้งใช้งาน
ร่วมกั บมิ เตอร์ ซึ่ งประกอบด้ วย ตู้ มิ เตอร์ แป้ นไม้ รองมิ เตอร์ สลั กเกลี ยว ยู แคล้ ม
คอนเนคเตอร์ แ บบ H แหวนสี่ เหลี่ ย มแบน แท่ งกราวด์ สายกราวด์ เทปพั น สาย
Security Seal ลวดร้ อ ยตะกั่ ว ตราตะกั่ ว อุ ป กรณ์ ป้ อ งกั น การเปิ ด ตู้ มิ เตอร์ เช่ น
Limit Switch รวมถึงพัสดุอื่นๆ ที่ใช้งานร่วมกับมิเตอร์ เป็นต้น
“หม้ อ แปลงกระแส หรื อ ซี ที .” (Current Transformer) หมายความว่ า
อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับมิเตอร์ทำหน้าที่แปลงค่ากระแสไฟฟ้าของระบบเป็นค่ากระแส
ไฟฟ้าที่อยู่ในพิกัดที่มิเตอร์สามารถวัดค่าได้

ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๖๒ 3
-4-
“หม้ อ แปลงแรงดั น หรื อ วี ที .” (Voltage Transformer) หมายความว่ า
อุปกรณ์ประกอบที่ใช้ร่วมกับมิเตอร์ ทำหน้าที่แปลงค่าแรงดันไฟฟ้า ของระบบเป็นค่า
แรงดันไฟฟ้าที่อยู่ในพิกัดที่มิเตอร์สามารถวัดค่าได้
“อุปกรณ์สื่อสาร” หมายความว่า อุปกรณ์ที่ต่อร่วมกับมิเตอร์ มีหน้าที่ในการ
รับส่งข้อมูลจากตัวมิเตอร์ผ่านระบบเครือข่ายเข้าสู่ระบบของ กฟภ.
“มิเตอร์ประธาน” หมายความว่ า มิ เตอร์ที่ ติ ดตั้ งสำหรับอาคาร อาคารชุ ด
พื้นที่ หรือสิ่งปลูกสร้างที่มีผู้ใช้ไฟฟ้าหลายมิเตอร์ เพื่อใช้วัดพลังไฟฟ้าและหรือพลังงาน
ไฟฟ้าที่ใช้ในอาคาร พื้นที่ หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นทั้งหมด
“มิเตอร์ย่อย” หมายความว่า มิเตอร์ที่ ติดตั้งให้ ผู้ใช้ไฟฟ้ าในแต่ละรายที่ อยู่
ภายใต้มิเตอร์ประธาน เพื่อใช้วัดพลังไฟฟ้าและหรือพลังงานไฟฟ้า โดยมิเตอร์ประธาน
จะทำการพิ มพ์ บิลเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้ า ซึ่งจะเท่ ากับผลต่างของหน่ วยที่ วัดได้ จาก
มิเตอร์ประธานหักออกด้วยผลรวมหน่วยของมิเตอร์ย่อยทั้งหมด เช่น มิเตอร์อาคารชุด
“มิเตอร์แยก” หมายความว่า มิเตอร์ที่ติดตั้งให้ผู้ใช้ไฟฟ้าในแต่ละราย เพื่อใช้
วัดพลังไฟฟ้าและหรือพลังงานไฟฟ้าซึ่งจะมีมิเตอร์ประธานหรือไม่ก็ได้ สำหรับในกรณี
ที่ มี มิ เตอร์ประธาน มิ เตอร์ประธานจะติ ดตั้ งวัดการใช้ ไฟฟ้ ารวม (ตรวจสอบหน่ วย
สูญเสีย) ไม่มีการพิมพ์บิลเรียกเก็บค่าไฟฟ้า การคิดค่าไฟฟ้าให้นำผลต่ างของหน่วย
ระหว่างมิเตอร์ประธานหักออกด้วยผลรวมหน่วยของมิเตอร์แยกทั้งหมด และนำหน่วย
ที่ได้กระจายลงให้กับมิเตอร์แยกตามสัดส่วนการใช้ไฟฟ้า เช่น มิเตอร์บริษัทในเครือ
“มิเตอร์ซื้อไฟฟ้า” หมายความว่า มิเตอร์ที่ติดตั้งสำหรับวัด พลังไฟฟ้าหรือ
กำลังไฟฟ้า (กิโลวัตต์ และหรือ กิโลวาร์) และหรือพลังงานไฟฟ้า (กิโลวัตต์ - ชั่วโมง
และหรือ กิโลวาร์ - ชั่วโมง) ที่ กฟภ.ติดตั้งสำหรับรับซื้อไฟฟ้า
“มิเตอร์ขายไฟฟ้า” หมายความว่า มิเตอร์ที่ติดตั้งสำหรับวัด พลังไฟฟ้าหรือ
กำลังไฟฟ้า (กิโลวัตต์ และหรือ กิโลวาร์ ) และหรือพลังงานไฟฟ้า (กิโลวัตต์ - ชั่วโมง
และหรือ กิโลวาร์ - ชั่วโมง) ที่ กฟภ.ขายไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า
“มิเตอร์ซื้อขายไฟฟ้ า” หมายความว่า มิเตอร์ที่ติดตั้งสำหรับวัด พลังไฟฟ้ า
หรือกำลังไฟฟ้า (กิโลวัตต์ และหรือ กิโลวาร์) และหรือพลังงานไฟฟ้า (กิโลวัตต์ -
ชั่วโมง และหรือ กิโลวาร์ - ชั่วโมง) ที่ กฟภ.รับซื้อและขายไฟฟ้าในเครื่องเดียวกัน
“การต่อกลับ” หมายความว่า การจ่ายไฟฟ้าให้ใช้ตามเดิม

กองเศรษฐกิจพลังงาน
4 ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน
-5-
“หลักประกันการใช้ไฟฟ้า” หมายความว่า หลักประกันที่ กฟภ.ให้ผู้ขอใช้
ไฟฟ้าหรือผู้ใช้ไฟฟ้านำมาวางเพื่อเป็นประกันการใช้ไฟฟ้า ค่าเบี้ยปรับ และหรือหนี้
อื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งดอกเบี้ยอันเกิดจากหนี้ดังกล่าวด้วย
"การละเมิดการใช้ไฟฟ้ า" หมายความว่า การกระทำใดๆ โดยมิชอบด้วย
กฎหมายต่ออุปกรณ์ระบบจำหน่ายไฟฟ้าหรือระบบจ่ายไฟฟ้า มิเตอร์ หรือเครื่องวัด
หน่วยไฟฟ้า อุปกรณ์ประกอบมิเตอร์ เครื่องหมายหรือตราของ กฟภ. หรือการต่อ
ไฟตรงโดยไม่ผ่านมิเตอร์ หรือเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า หรือการละเมิดการใช้ไฟฟ้ากรณี
อื่นๆ เป็นผลให้ กฟภ.ได้รับความเสียหาย
“ตัวประกอบกำลังไฟฟ้า” (Power Factor : PF) หมายความว่า อัตราส่วน
ค่ า กำลั ง ไฟฟ้ า ที่ ใช้ ง านจริ ง ทั้ ง หมดในหน่ วยวั ต ต์ (W) เที ย บกั บ หรื อ หารด้ ว ยค่ า
กำลังไฟฟ้าปรากฏทั้งหมดในหน่วยโวลต์ - แอมแปร์ (VA)
“ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ ” หมายความว่า ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความต้องการพลังไฟฟ้า
สูงสุดตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ (kW) ขึ้นไป ทั้งรายที่ติดตั้งหม้อแปลงเฉพาะรายหรือใช้หม้อ
แปลงร่วมของ กฟภ. หรือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งหม้อแปลงเฉพาะรายทุกขนาดรวมกันตั้งแต่
100 กิโลโวลต์แอมแปร์ (kVA) ขึ้นไป
“ผู้ใช้ไฟฟ้ ารายย่อย” หมายความว่า ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความต้องการพลังไฟฟ้ า
สูงสุด ไม่ถึง 30 กิโลวัตต์ (kW) ทั้งรายที่ติดตั้งหม้อแปลงเฉพาะรายหรือใช้หม้อแปลง
ร่วมของ กฟภ. หรือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งหม้อแปลงเฉพาะรายทุกขนาดรวมกันไม่ถึง 100
กิโลโวลต์แอมแปร์ (kVA)
“สถานีอัดประจุไฟฟ้า” หมายความว่า สถานที่ที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับยานพาหนะไฟฟ้าหรือเครื่องเก็บประจุไฟฟ้า
“สถานีไฟฟ้า” หมายความว่า สถานที่ ที่ติดตั้งอุปกรณ์ ตัดตอนและอุปกรณ์
ป้องกันที่ใช้ควบคุมการจ่ายไฟฟ้าของระบบจำหน่ายไฟฟ้า
“ระบบไฟฟ้ าใต้ดิน” หมายความว่า ระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงต่ำ หรือระบบ
จำหน่ายไฟฟ้าแรงสูงที่เดินสายไฟฟ้าใต้ผิวดิน โดยวิธี การเดินสายแบบฝังดินโดยตรง
การเดินสายในท่ออโลหะ การเดินสายในท่อโลหะ หรือการเดินสายตามมาตรฐานที่
กฟภ.เห็นชอบ
“แหล่ งจ่ ายไฟฟ้ าสำรอง” หมายความว่า เครื่ องสำรองกระแสไฟฟ้ าหรื อ
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถทำการจ่ายกระแสไฟฟ้าสำรองให้กับระบบไฟฟ้า

ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๖๒ 5
-6-
“เครื่องกำเนิดไฟฟ้า” หมายความว่า เครื่องหรืออุปกรณ์ที่ผลิตพลังงานไฟฟ้า
เช่น เครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยน้ำมัน หรือพลังงานแสงอาทิตย์ หรือกังหันลม เป็นต้น
“ไฟฟ้าสาธารณะ” หมายถึง ไฟฟ้าแสงสว่างที่ติดตั้งตามแนวถนนสาธารณะ
สะพาน อุ โมงค์ ไฟสั ญ ญาณ รวมทั้ ง ไฟฟ้ า แสงสว่ า งในสถานที่ ส าธารณะอื่ น ๆ
ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งจัดให้มีขึ้นตามความประสงค์ขององค์กรปกครอง
ท้องถิ่นเจ้าของพื้นที่ เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วน
ตำบล ให้รวมถึงกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และส่วนราชการอื่นๆ โดยพื้นที่
ที่ ติ ด ตั้ งไฟสาธารณะดั งกล่ าวไม่ เป็ น พื้ น ที่ แ สวงหารายได้ ข องหน่ วยงานของรัฐ ที่
รับผิดชอบ
ทั้งนี้ ไฟแสงสว่างถนน สวนหย่อม สถานพักผ่อนหย่อนใจ สนามกีฬาของ
หมู่ บ้ า นจั ด สรร นิ ค มอุ ต สาหกรรม หมู่ บ้ านการเคหะแห่ งชาติ ที่ ด ำเนิ น การโดย
เทศพาณิชย์ประกอบธุรกิจหรือมีขึ้นเพื่อแสวงหาประโยชน์ ไม่ถือเป็นไฟฟ้าสาธารณะ
“ไฟฟ้าชั่วคราว” หมายความว่า การใช้ไฟฟ้า เพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคาร
หรือสิ่งปลูกสร้างทั่วไป การจัดงานขึ้นเป็นกรณีพิเศษชั่วคราวหรือการใช้ไฟฟ้าใน
กรณีต่าง ๆ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว โดยระยะเวลาการใช้ไฟฟ้าตั้งแต่ติดตั้งไม่เกิน 1 ปี
หากเกินจากนี้ให้พิจารณาเป็นรายๆไป

ข้อ 5 ผู้ขอใช้ไฟฟ้า ผู้ขอใช้บริการ ผู้ใช้ไฟฟ้า และผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า


ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติ คำสั่ง และหรือประกาศของ
การไฟฟ้ า ส่ ว นภู มิ ภ าคที่ ใ ช้ อ ยู่ ใ นปั จ จุ บั น และที่ จ ะมี ก ารแก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม หรื อ
เปลี่ยนแปลงต่อไปด้วย

กองเศรษฐกิจพลังงาน
6 ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน
-7-
หมวดที่ 1๑
ระบบการจ่ายไฟฟ้าและอัตราค่าไฟฟ้า
ข้อ 6 ระบบการจ่ายไฟฟ้า
กฟภ.จ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ ดังนี้
6.1 ความถี่ 50 เฮิรตซ์
6.2 แรงดัน
6.2.1 แรงต่ำ 1 เฟส แรงดัน 220 โวลต์
3 เฟส แรงดัน 380/220 โวลต์
6.2.2 แรงสูง 1 เฟส แรงดัน 19,000 โวลต์ 22,000 โวลต์
3 เฟส แรงดัน 22,000 โวลต์ 33,000 โวลต์
69,000 โวลต์ 115,000 โวลต์ และ 230,000 โวลต์
ระบบแรงดันอื่นนอกจากที่กล่าวมาแล้ว กฟภ.อาจจะจ่ายไฟฟ้าด้วย
ระบบแรงดันต่างจากที่กำหนดไว้ข้างต้นก็ได้
6.3 ขนาดการใช้ ไฟฟ้ า เป็ น แอมแปร์ (A) กิ โลโวลต์ แ อมแปร์ (kVA) หรื อ
เมกะโวลต์แอมแปร์ (MVA) ให้เป็นไปตามที่ กฟภ.กำหนด
ข้อ 7 อัตราค่าไฟฟ้า
กฟภ.จะประกาศอั ต ราค่ า ไฟ ฟ้ า ให้ ผู้ ใ ช้ ไ ฟ ฟ้ าทราบล่ ว งหน้ า ตามที่
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนด
ข้อ 8 การจ่ายไฟฟ้าชั่วคราว
กฟภ.อาจจ่ายไฟฟ้าเป็นการชั่วคราวแก่ผู้ขอใช้ไฟฟ้า ในกรณีดังต่อไปนี้
8.1 งานเพื่อการก่อสร้างโรงงาน อาคาร บ้านอยู่อาศัย สะพาน ถนน สถานที่
พักคนงานที่ใช้สำหรับก่อสร้างเฉพาะแห่ง หรือเฝ้าของ เป็นต้น
8.2 งานที่จัดขึ้นชั่วคราวในงานราชพิธี งานประเพณี หรืองานทางศาสนาของ
หน่วยราชการ หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นจัดให้มีขึ้นเป็นครั้งคราว
8.3 สถานที่ที่ไม่มีทะเบียนบ้านของสำนักงานทะเบียนส่วนท้องถิ่น
8.4 การจ่ายไฟฟ้าที่ กฟภ.เห็นสมควรจ่ายไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว
อนึ่ง การใช้ไฟฟ้าชั่วคราวมีระยะเวลาการใช้ไฟฟ้าตั้งแต่ติดตั้งไม่เกิน 1 ปี หาก
เกินจากนี้ให้พิจารณาเป็นรายๆไป
ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๖๒ 7
-8-
หมวดที่ ่ ๒2
หมวดที
การขอใช้ไไฟฟ้
การขอใช้ ฟฟ้าา

ข้อ 9 การขอใช้ไฟฟ้า
9.1 ผู้ขอใช้ไฟฟ้าต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ และเข้าเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
9.1.1 เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสถานที่ใช้ไฟฟ้า
9.1.2 ผู้ที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสถานที่ใช้
ไฟฟ้าเป็นลายลักษณ์อักษร
9.1.3 ผู้ มี สิ ท ธิค รอบครองสถานที่ ใช้ ไฟฟ้ าตามกฎหมาย หรื อ ตาม
สัญญาต่างๆ เช่น สัญญาเช่า สัญญาจะซื้อจะขาย เป็นต้น
9.1.4 ผู้ประกอบการในสถานที่ใช้ไฟฟ้า เช่น ผู้ประกอบการโรงงาน
ผู้ประกอบการค้า เป็นต้น
ผู้ขอใช้ไฟฟ้าต้องยื่นคำร้องหรือแจ้งความประสงค์การขอใช้ไฟฟ้าตาม
แบบฟอร์มพร้อมหลักฐานตามแบบที่ กฟภ.กำหนด ได้ที่สำนักงาน กฟภ.จุดบริการ
หรื อ ช่ อ งทางที่ กฟภ.กำหนด เช่ น PEA Shop, PEA Mobile Shop, Internet,
Mobile Application เป็นต้น
ทั้งนี้ กฟภ.จะดำเนินการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้เมื่อได้รับชำระค่าบริการ
วางหลักประกันการใช้ไฟฟ้าครบถ้วนตามอัตราที่ กฟภ.กำหนด และลงนามในสัญญา
ซื้อขายไฟฟ้า ตามช่องทางที่ กฟภ.กำหนด
อนึ่ง หากยังไม่มีระบบจำหน่ ายตามระบบแรงดันที่ขอใช้ไฟฟ้าเข้าถึง
สถานที่ ใช้ไฟฟ้ า ต้องมีก ารขอขยายเขตตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของ กฟภ.ที่
ประกาศใช้ในปัจจุบันต่อไป
9.2 หลักฐานประกอบการขอใช้ไฟฟ้าของบุคคลธรรมดา มีดังนี้
9.2.1 บุคคลที่มีสัญชาติไทย
9.2.1.1 บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอใช้ไฟฟ้า
9.2.1.2 ทะเบียนบ้านหรือ ทะเบียนอาคารของสถานที่ ขอใช้
ไฟฟ้า
9.2.1.3 เอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครอง
สถานที่ใช้ไฟฟ้า
กองเศรษฐกิจพลังงาน
8 ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน
-9-
9.2.1.4 อื่นๆ (ถ้ามี)
9.2.2 บุคคลที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย (ชาวต่างประเทศ)
9.2.2.1 หนังสือเดินทาง (Passport)
9.2.2.2 ทะเบียนบ้านหรือ ทะเบียนอาคารของสถานที่ ขอใช้
ไฟฟ้า
9.2.2.3 เอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครอง
สถานที่ใช้ไฟฟ้า
9.2.2.4 อื่นๆ (ถ้ามี)
กรณีที่มีการมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน ผู้รับมอบอำนาจจะต้องมี
หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทาง
(Passport) ของผู้ม อบอำนาจ และบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนั งสือเดิ นทาง
(Passport) ของผู้รับมอบอำนาจ
9.3 หลักฐานประกอบการขอใช้ไฟฟ้าของนิติบุคคล มีดังนี้
9.3.1 หนั งสือรับรองการจดทะเบียนนิ ติบุคคลอายุ ไม่เกิน ๖ เดื อน
นับตั้งแต่วันที่ออกหนังสือรับรอง
9.3.2 บั ต รประจำตั ว ประชาชนของผู้ มี อ ำนาจกระทำการแทน
นิติบุคคล
9.3.3 ทะเบียนบ้านหรือทะเบียนอาคารของสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า
9.3.4 เอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองสถานที่ใช้
ไฟฟ้า
9.3.5 อื่นๆ (ถ้ามี)
กรณีที่มีการมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน ผู้รับมอบอำนาจจะต้องมี
หนังสือมอบอำนาจและประทับตราสำคัญ ของนิติบุคคล (ถ้ามี) พร้อมสำเนาบัตร
ประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) ของผู้มอบอำนาจ และ
บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง (Passport) ของผู้รับมอบอำนาจ
9.4 ผู้ขอใช้ไฟฟ้าอาจแจ้งความประสงค์ขอให้ กฟภ.ตรวจแบบ หรือสำรวจ
ออกแบบ จัดทำแผนผัง ประมาณการค่าใช้จ่าย ขยายเขตระบบไฟฟ้า ให้ก็ได้ โดย
กฟภ.จะเรียกเก็บค่าบริการตามอัตราที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน

ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๖๒ 9
-10-
9.5 การขอใช้ไฟฟ้ าในนามของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สถานทู ต สถาน
กงสุล องค์การระหว่างประเทศ ให้ใช้หนังสือราชการ หรือหนังสือขอใช้ไฟฟ้าแทน
แบบฟอร์มการขอใช้ไฟฟ้า และได้รับการยกเว้นไม่ต้องแสดงหลักฐานประกอบการ
ขอใช้ไฟฟ้า
9.6 การขอใช้ไฟฟ้ าระบบจำหน่ ายไฟฟ้าแรงต่ำระดับแรงดัน 220 โวลต์
หรือ 380/220 โวลต์ ผู้ขอใช้ไฟฟ้าที่ มีความประสงค์จะขอติดตั้งมิเตอร์ ระบบ 1
เฟส 2 สาย หรือ ระบบ 3 เฟส 4 สาย หากมีความจำเป็นต้องขยายเขตระบบไฟฟ้า
ให้คิดค่าใช้จ่าย ตามระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติที่ กฟภ.ประกาศใช้ในปัจจุบัน
9.7 การขอใช้ไฟฟ้าสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมทางหลวง
กรมทางหลวงชนบท และส่วนราชการอื่นๆ ให้จดั ทำหนังสือแจ้งความประสงค์ขอใช้
ไฟฟ้าสาธารณะมายัง กฟภ. ทั้งนี้ กฟภ.ขอสงวนสิทธิ์เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างระบบ
ไฟฟ้าเอง เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติที่ กฟภ.ประกาศใช้
ในปัจจุบัน
9.8 การขอใช้ไฟฟ้าสำหรับโครงการที่ดินจัดสรร หรือบ้านจัดสรร อาคาร
พาณิชย์ ระบบไฟฟ้าที่ก่อสร้า งแล้วเสร็จเป็นทรัพย์สินของ กฟภ. โดย กฟภ.สงวน
สิทธิ์เป็นผู้สำรวจ ออกแบบ จัดทำประมาณการค่าใช้จ่าย และก่อสร้างระบบไฟฟ้า
โดยใช้แบบแผนผังของการขอใช้ไฟฟ้า ซึ่งได้ยื่นไว้เป็นแนวทางในการพิจารณา และ
เจ้าของที่ดิน หรือผู้จัดสรรจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด
9.9 การขอใช้ไฟฟ้าโครงการบ้านจัดสรรและโครงการอาคารชุด (อาคารมีผู้
ครองสิทธิ์หลายราย) ที่ติดตั้งหม้อแปลงรวมกันเกินกว่า 10,000 กิโลโวลต์แอมแปร์
ขึ้นไป แต่มีความประสงค์ขอใช้ไฟฟ้าในระบบ 22,000 โวลต์ หรือ 33,000 โวลต์
ให้เป็นไปตามระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติที่ กฟภ.ประกาศใช้ในปัจจุบัน
9.10 การขอใช้ไฟฟ้าระดับแรงดัน 22,000 โวลต์ หรือ 33,000 โวลต์
9.10.1 ผู้ขอใช้ ไฟฟ้ าทั่ วไป (สถานที่ ใช้ไฟฟ้ า ที่ ตั้ง อยู่ ภ ายนอกนิ ค ม
อุตสาหกรรม) ผู้ขอใช้ไฟฟ้าที่มีความประสงค์จะขอใช้ไฟฟ้าในระดับแรงดัน 22,000
โวลต์ หรื อ 33,000 โวลต์ กฟภ.จะคิ ด ค่ า ใช้ จ่ า ยจากผู้ ข อใช้ ไฟฟ้ า ทุ ก รายเป็ น
ค่าสมทบก่อสร้างและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าตามขนาดพิกัดของหม้ อแปลง
ทุกขนาดรวมกันที่ขอติดตั้ง ตามอัตราที่ กฟภ.กำหนด สำหรับ การขยายเขตระบบ
จำหน่ายไฟฟ้าภายนอกที่ต่อจากระบบจำหน่ายเดิมไปถึงหน้าบริเวณผู้ขอใช้ไฟฟ้า

กองเศรษฐกิจพลังงาน
10 ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน
-11-
ผู้ขอใช้ไฟฟ้ า ต้องร่วมลงทุ นกับ กฟภ.ตามอัตราที่ กฟภ.กำหนด และระบบไฟฟ้ า
ภายในที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเป็นทรัพย์สินของผู้ใช้ไฟฟ้า ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะต้องลงทุนเอง
ทั้งหมด
9.10.2 ผู้ขอใช้ไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรม (สถานที่ใช้ไฟฟ้า ที่ตั้งอยู่
ภายในนิคมอุตสาหกรรม) ผู้ขอใช้ไฟฟ้ าที่ตั้งอยู่ภายในการนิคมอุตสาหกรรมแห่ ง
ประเทศไทย สวนอุ ต สาหกรรมและเขตอุ ต สาหกรรม ทั้ ง ที่ เป็ น ของการนิ ค ม
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือของเอกชน กฟภ.จะเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างขยายเขต
ระบบจำหน่ า ยไฟฟ้ า ภายนอกก็ ต่ อ เมื่ อ การนิ ค มอุ ต สาหกรรมแห่ ง ประเทศไทย
สวนอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรม ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อการก่อสร้างสถานี
ไฟฟ้าให้กับ กฟภ.ตามขนาดเนื้อที่ดินที่ กฟภ.กำหนด (ยกเว้นนิคมอุตสาหกรรมของ
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้ทำข้อตกลงกันเป็นแห่งๆ ไป) หากยังไม่
โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้ กฟภ. จะคิดค่าใช้จ่ายในการขยายเขตระบบจำหน่าย
ไฟฟ้ า เมื่ อ กฟภ.ได้ รั บ โอนกรรมสิ ท ธิ์ ที่ ดิ น เรี ย บร้ อ ยแล้ ว จึ ง จะคื น ค่ า ใช้ จ่ า ยให้
ผู้ขอขยายเขตโดยไม่มีดอกเบี้ย และในส่วนระบบจำหน่ายไฟฟ้า กฟภ.จะออกแบบ
ประมาณการให้ เต็ ม โครงการ แต่ จ ะดำเนิ น การก่ อ สร้ า งตามความจำเป็ น และ
เหมาะสมให้ทันกับความต้องการของผู้ขอใช้ไฟฟ้า โดย กฟภ.จะมีหนังสือรับรองการ
จ่ายไฟฟ้าให้กับผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สวนอุตสาหกรรม
และเขตอุตสาหกรรม สำหรับระบบไฟฟ้าภายในเป็นทรัพย์สิ นของผู้ใช้ไฟฟ้า ผู้ขอใช้
ไฟฟ้าต้องลงทุนเองทั้งหมด
อนึ่ง ผู้ขอใช้ไฟฟ้าประเภทที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ สนามกอล์ฟ
รวมถึงสถานที่ต่างๆ เช่น ร้านค้าอำนวยความสะดวก, งานที่เกี่ยวกับงานบริการ,
ธนาคาร, โรงพยาบาล, สถานที่ราชการ, โรงเรียน, ศาสนสถาน เป็นต้น ให้ถือปฏิบัติ
เช่นเดียวกับการขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่ตั้งอยู่ภายนอกนิคมอุตสาหกรรม
9.10.3 ผู้ขอใช้ไฟฟ้าที่มีความต้องการขอติดตั้งหม้อแปลงในระดับ
แรงดั น 22,000 โวลต์ หรือ 33,000 โวลต์ ติ ด ตั้ งหม้ อ แปลงรวมกั น เกิ น กว่า
10,000 กิ โลโวลต์ แอมแปร์ ให้ พิ จารณาจ่ ายไฟฟ้ าในระบบแรงดั น 115,000
โวลต์ แต่ ถ้ าผู้ ข อใช้ ไฟฟ้ า มี ค วามจำเป็ น และยื น ยั น ที่ จ ะใช้ ไฟฟ้ าในระดั บ แรงดั น
22,000 โวลต์ หรือ 33,000 โวลต์ ให้พิจารณาเป็นกรณีไป ทั้งนี้จะต้องไม่กระทบ
ต่อการจ่ายไฟให้กับผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่น

ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๖๒ 11
-12-
9.10.4 ผู้ขอใช้ไฟฟ้าที่มีความประสงค์ให้ กฟภ.ก่อสร้างเพิ่มวงจร เพื่อ
ใช้ในกิจการจ่ายไฟฟ้ าของตนเองเป็นกรณีพิ เศษให้คิดค่าใช้จ่ายจากผู้ขอใช้ไฟฟ้ า
ทั้งหมด
9.11 การขอใช้ไฟฟ้าระดับแรงดัน 115,000 โวลต์ หรือ 230,000 โวลต์
9.11.1 ผู้ ขอใช้ ไฟฟ้ าทั่ วไป (สถานที่ ใช้ ไฟฟ้ าที่ ตั้ งอยู่ ภ ายนอกนิ ค ม
อุตสาหกรรม) ระบบจำหน่ายไฟฟ้าจากจุดส่งมอบพลังไฟฟ้า หรือจุดจ่ายไฟฟ้าของ
กฟภ.ถึงหน้าบริเวณของสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า ผู้ขอใช้ไฟฟ้าต้องร่วมลงทุนกับ กฟภ.ตาม
อัตราที่ กฟภ.กำหนด และระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเป็นทรัพย์สินของ
กฟภ. สำหรับระบบไฟฟ้าภายในเป็นทรัพย์สินของผู้ใช้ ไฟฟ้า ผู้ขอใช้ไฟฟ้าต้องลงทุน
เองทั้งหมด
9.11.2 ผู้ขอใช้ไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรม (สถานที่ใช้ ไฟฟ้าที่ตั้งอยู่
ภายในนิ ค มอุ ต สาหกรรม) ผู้ ขอใช้ ไฟฟ้ าที่ มี ส ถานที่ ข อใช้ ไฟฟ้ าตั้ งอยู่ ภ ายในนิ ค ม
อุ ต สาหกรรม สวนอุ ต สาหกรรม และเขตอุ ต สาหกรรม ทั้ ง ที่ เป็ น ของการนิ ค ม
อุตสาหกรรมแห่ งประเทศไทยหรือของเอกชน โดย กฟภ.จะเป็น ผู้ลงทุน ก่อสร้าง
ขยายระบบจำหน่ ายไฟฟ้ าให้ ต่ อเมื่ อการนิ คมอุต สาหกรรมแห่ งประเทศไทยหรือ
เอกชนที่เป็นเจ้าของนิคมได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เพื่อการก่อสร้างสถานีไฟฟ้า ให้กับ
กฟภ.ตามขนาดเนื้อที่ดินที่ กฟภ.กำหนด (ยกเว้นนิคมอุตสาหกรรมของการนิคม
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้ทำข้อตกลงเป็นแห่งๆ ไป) ก่อนการจ่ายไฟฟ้าให้กับ
ผู้ใช้ไฟฟ้าที่อยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมที่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ กฟภ.ก่อสร้างสถานี
ไฟฟ้ า ผู้ ใช้ ไ ฟฟ้ า จะต้ อ งจั ด ทำบั น ทึ ก ข้ อ ตกลงการลงทุ น ก่ อ สร้ า งระบบสายส่ ง
115,000 โวลต์ ให้กับ กฟภ. หากยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว กฟภ.จะเรียก
เก็บหลักประกันการส่งมอบที่ดินตามอัตราที่ กฟภ.กำหนดก่อน เมื่อ กฟภ.ได้รับโอน
กรรมสิ ท ธิ์ที่ ดิ น เรี ย บร้ อ ยแล้ ว จึ ง จะคื น หลั ก ประกั น การส่ งมอบที่ ดิ น ให้ โดยไม่ มี
ดอกเบี้ย สำหรับระบบไฟฟ้าภายในที่เป็นทรัพย์สินของผู้ใช้ไฟฟ้า ผู้ขอใช้ไฟฟ้าต้อง
ลงทุนเองทั้งหมด
9.12 สำหรับระบบไฟฟ้าภายในตามข้อ 9.10 และ 9.11 หากผู้ขอใช้ไฟฟ้า
มีความประสงค์ให้ กฟภ.ดำเนินการก่อสร้างระบบไฟฟ้าภายในให้ก็ได้ โดย กฟภ.
จะคิดค่าใช้จ่ายตามอัตรากำหนดไว้ หรือหากผู้ขอใช้ไฟฟ้ามีความประสงค์จะขอเป็น
ผู้จัดหาและดำเนินการก่อสร้างระบบไฟฟ้าภายในเองก็ได้ แต่จะต้องมีวิศวกรที่มี

กองเศรษฐกิจพลังงาน
12 ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน
-13-
คุณสมบัติตามพระราชบัญญัติวิศวกรเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อ สร้าง และ
เมื่อได้รับอนุญาตจาก กฟภ.แล้ว จึงจะดำเนินการต่อไปได้ โดย กฟภ.จะคิดค่าใช้จ่าย
ตามที่ กฟภ.กำหนด ซึ่ ง อุ ป กรณ์ ไฟฟ้ า ภายในทุ ก ชนิ ด ที่ น ำมาติ ด ตั้ ง ใช้ ง านต้ อ ง
มีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานของ กฟภ. หรือมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า
สำหรับประเทศไทยฉบับที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน หรือมาตรฐานที่ กฟภ.เห็นชอบ
ทั้งนี้ให้เป็นตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่ กฟภ.ประกาศใช้ในปัจจุบัน
9.13 การขอใช้ไฟฟ้าชั่วคราวให้คิดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างขยายเขตระบบ
ไฟฟ้าแบบติดตั้งชั่วคราวกับผู้ขอใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ดังนี้
9.13.1 การขอใช้ ไฟฟ้ า ชั่ ว คราว งานประเพณี งานประจำปี เช่ น
งานมหกรรม งานมหรสพ งานทำบุญ งานรื่นเริง หากทางวัด หรือหน่วยงานของรัฐ
เป็ น ผู้ จั ด โดย กฟภ.เป็ น ผู้ จั ด เก็ บ ค่ า ไฟฟ้ า และจะไม่ คิ ด ค่ า เช่ า หม้ อ แปลงพร้ อ ม
อุปกรณ์ป้องกันตลอดจนค่าเช่าอุปกรณ์ที่นำไปใช้ภายในบริเวณงาน
กรณีเอกชนเป็นผู้จัดให้คิดค่าเช่าหม้อแปลงพร้อมค่าประกันหม้อแปลง
โดยต้องจัดทำสัญญาเช่าไม่เกิน 1 ปี (ปีต่อปี)
9.13.2 กรณี ผู้ ข อใช้ ไฟฟ้ าขอใช้ ไฟฟ้ า เพื่ อ การก่ อ สร้ า ง เช่ น สร้ า ง
สะพาน สร้างอาคาร และอื่นๆ กฟภ.จะคิดค่าใช้จ่ายการก่อสร้างจากผู้ขอใช้ไฟฟ้า
ทั้งหมด ยกเว้นหม้อแปลงและอุปกรณ์ป้องกัน สามารถขอเช่าจาก กฟภ.ได้ โดยต้อง
จัดทำสัญญาเช่าไม่เกิน 1 ปี (ปีต่อปี)
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่ กฟภ.ประกาศใช้ในปัจจุบัน
9.14 การขอใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีทะเบียนบ้าน
การขอใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีทะเบียนบ้านห้ามติดตั้งมิเตอร์ถาวรให้ ยกเว้นกรณี
ดังต่อไปนี้
9.14.1 การขอใช้ไฟฟ้าสำหรับสถานที่ต่างๆ ที่มีสิ่งปลูกสร้างลักษณะ
คงทนถาวร เช่น ศาลากลางบ้าน ศูนย์สาธิต การตลาดหมู่บ้าน ที่อ่านหนังสือประจำ
หมู่บ้าน ศาลาอเนกประสงค์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งสถานที่
ดังกล่าวต้องจัดขึ้นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ให้ใช้ไฟฟ้าในลักษณะการใช้ไฟฟ้ า
ถาวรได้ โดยให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายอื่นๆ และการคิดค่า
ไฟฟ้าเช่นเดียวกับผู้ขอใช้ไฟฟ้าถาวร

ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๖๒ 13
-14-
9.14.2 การขอใช้ไฟฟ้ าในพื้ นที่ ของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ
เอกชน หรือพื้นที่ที่ผู้อาศัยไม่มีสิทธิครอบครองตามกฎหมาย
ผู้ขอใช้ไฟฟ้าตามวรรคแรกจะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของ
พื้นที่เป็นลายลักษณ์อักษร และมีทะเบียนบ้านชั่วคราว
9.15 การขอใช้ไฟฟ้าเพื่อการเกษตร
ผู้ขอใช้ไฟฟ้าที่มีความประสงค์ขอใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบการเกษตรกรรม
เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ เป็นต้น ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของ กฟภ.
ที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน
9.16 การขอใช้ไฟฟ้ากับแผงลอยหรือที่วางขายของในตลาด
ผู้ ข อใช้ ไ ฟฟ้ า ที่ มี ค วามประสงค์ ข อใช้ ไ ฟฟ้ า เพื่ อ ใช้ กั บ แผงลอยหรื อ
ที่วางขายของในตลาด โดยเจ้าของตลาดหรือแผงลอยเป็นหน่วยงานราชการหรือ
เอกชนเป็นเจ้าของตลาด และให้ผู้เช่าแผงลอยเป็นผู้ยื่นขอใช้ไฟฟ้า ต้องมีหลักฐาน
หนังสือจากหน่วยงานราชการหรือเอกชนเจ้าของตลาดยินยอมให้ผู้เช่าแผงลอยมายื่น
ขอใช้ไฟฟ้า
สำหรั บ ผู้ ข อใช้ ไฟฟ้ า ที่ ไม่ มี ร ะบบไฟฟ้ า ภายในตลาดและไม่ มี ร ะบบ
จำหน่ายไฟฟ้าภายในถาวร เช่น ตลาดโต้รุ่ง แผงลอย เพิงขายของ รถเข็น หรือหาบ
เร่ ที่วางขายของในที่สาธารณะหรือในเขตทางหลวง ห้ามติดตั้ งมิเตอร์ถาวรให้ และ
ให้ถือปฏิบัติตามกรณีผู้ขอใช้ไฟฟ้าชั่วคราว
ทั้งนี้ ให้ ถือปฏิ บัติตามระเบีย บและหลักเกณฑ์ที่ กฟภ.ประกาศใช้ใ น
ปัจจุบัน
9.17 การขอใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการสถานีอัดประจุไฟฟ้า
ผู้ขอใช้ไฟฟ้าที่มีความประสงค์ขอใช้ไฟฟ้า กับสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้ยื่น
คำร้องขอใช้ ไฟฟ้ า พร้อมยื่ นใบอนุ ญาตประกอบกิ จการจำหน่ ายไฟฟ้ าสำหรับการ
อัดประจุไฟฟ้าให้กับยานยนต์ไฟฟ้าหรือหนังสือรับแจ้งการประกอบกิจการที่ได้รับการ
ยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายไฟฟ้าจากสำนักงาน กกพ.
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่ กฟภ.ประกาศใช้ใน
ปัจจุบัน

กองเศรษฐกิจพลังงาน
14 ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน
-15-
หมวดที่ ่ 3๓
หมวดที
หลั
หลักกประกั
ประกันนการใช้
การใช้ไไฟฟ้
ฟฟ้าา การโอนเปลี
การโอนเปลี่ยย่ นชื
นชื่ออ่ ผูผู้ใใ้ ช้ช้ไไฟฟ้
ฟฟ้าา
ข้อ 10 หลักประกันการใช้ไฟฟ้า
10.1 กฟภ.จะเรียกเก็บหลักประกันการใช้ไฟฟ้า ตามวิธีและอัตราที่ กฟภ.
กำหนด เพื่ อประกันการใช้ไฟฟ้า ค่าเบี้ยปรับ และหรือหนี้อื่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้
ไฟฟ้าและหรือหนี้สินที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า รวมทั้งดอกเบี้ย
อันเกิดจากหนี้ดังกล่าวด้วย
10.2 ผู้ขอใช้ไฟฟ้าต้องวางหลักประกันการใช้ไฟฟ้าก่อนวันเปิดจ่ายกระแส
ไฟฟ้า
10.3 หลักประกันการใช้ไฟฟ้ามี 5 ประเภท คือ
10.3.1 เงินสด
10.3.2 พันธบัตรรัฐบาล
10.3.3 พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน
10.3.4 หนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคาร
10.3.5 หนังสือสัญญาค้ำประกันของบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุน
หลักทรัพย์ได้รับอนุญ าตให้ ประกอบกิจการเงิน ทุนเพื่อการพาณิ ชย์แ ละประกอบ
ธุรกิจค้ำประกันตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามรายชื่อที่ธนาคารแห่ง
ประเทศไทยแจ้งเวียนให้ส่วนราชการต่างๆทราบ
10.4 ผู้ ขอใช้ ไฟฟ้ าที่ ได้ รับการยกเว้น ไม่ ต้อ งวางหลั ก ประกัน การใช้ ไฟฟ้ า
ได้แก่
10.4.1 ส่วนราชการ
10.4.2 สถานทูต สถานกงสุล หรือองค์การระหว่างประเทศ
10.4.3 รัฐวิสาหกิจที่ไม่เรียกเก็บหลักประกันจาก กฟภ.
10.4.4 รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้น มากกว่า 50% และไม่ได้
นำไปเช่าช่วง
10.4.5 ศาสนสถานทุกศาสนาที่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
โดยกรมการศาสนาหรือสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ เช่น วัด สำนักสงฆ์ โบสถ์
คริสต์ โบสถ์พราหมณ์ มัสยิด คุรุทวารา เป็นต้น แต่ไม่รวมถึงศาลเจ้า โรงเจ

ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๖๒ 15
-16-
ข้อ 11 เงื่อนไขการวางหลักประกันการใช้ไฟฟ้า
11.1 กรณีใช้พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลัง
ค้ำประกันวางเป็นหลักประกันการใช้ไฟฟ้ากับ กฟภ. ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องนำพันธบัตรไป
ติดต่อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อดำเนินการสลักหลังแสดงการวางหลักประกัน
ตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้พันธบัตรที่ใช้วางค้ำประกันจะต้อง
ลงนามให้ กฟภ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือโอนกรรมสิทธิ์ให้ กฟภ.โดยระบุวัตถุประสงค์
เพื่อค้ำประกันการใช้ไฟฟ้า สำหรับดอกเบี้ยให้เป็นของผู้ใช้ไฟฟ้า
11.2 กรณีวางหลักประกันการใช้ไฟฟ้า โดยใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันของ
ธนาคาร บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
เงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ำประกัน ตามประกาศของธนาคารแห่ง
ประเทศไทยตามรายชื่อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ส่วนราชการต่างๆ
ทราบ ผู้ ใช้ ไ ฟฟ้ า จะต้ อ งให้ ผู้ อ อกหนั ง สื อ สั ญ ญาค้ ำ ประกั น โดยใช้ ข้ อ ความตาม
แบบฟอร์มหนังสือสัญญาค้ำประกันการใช้ไฟฟ้าของ กฟภ. ทั้งนี้ หนังสือค้ำประกัน
การใช้ไฟฟ้าจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือตามระยะเวลาที่ขอใช้ไฟฟ้ากับ
กฟภ.

ข้อ 12 การเพิ่มหรือลดหลักประกันการใช้ไฟฟ้า
หลั ก ประกั น การใช้ ไฟฟ้ า ที่ ว างไว้ แ ล้ วให้ ค งเป็ น ไปตามเดิ ม แต่ ห ากมี ก าร
เปลี่ยนแปลงในกรณีดังต่อไปนี้ กฟภ.จะเรียกเก็บเพิ่มหรือลดให้ครบตามข้อบังคับ
ระเบียบและหลักเกณฑ์ที่ กฟภ.ประกาศใช้ในปัจจุบัน
12.1 ผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นผู้ร้องขอ เช่น ย้ายสถานที่ใช้ไฟฟ้า ย้ายหม้อแปลงไฟฟ้า
ย้ายจุดติดตั้งมิเตอร์ โอนเปลี่ยนชื่อ หรือโอนสิทธิการใช้ไฟฟ้า เพิ่ม/ลดขนาดมิเตอร์
เพิ่ม/ลดขนาดหม้อแปลงไฟฟ้า ขอกลับมาใช้ไฟฟ้าใหม่ เป็นต้น
12.2 ผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับการพิจารณาให้เปลี่ยนประเภทการใช้ไฟฟ้า
12.3 ผู้ใช้ไฟฟ้ามีค่าไฟฟ้าสูงหรือต่ำกว่าเงินหลักประกันการใช้ไฟฟ้าที่วางไว้

ข้อ 13 การคืนหลักประกันการใช้ไฟฟ้า
กฟภ.จะคืนหลักประกันการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดหรือบางส่วนให้ผู้ใช้ไฟฟ้า ในกรณี
ดังต่อไปนี้

กองเศรษฐกิจพลังงาน
16 ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน
-17-
13.1 เลิกใช้ไฟฟ้า
13.2 ลดขนาดมิเตอร์หรือขนาดหม้อแปลงไฟฟ้า
13.3 โอนเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า
13.4 เปลี่ยนแปลงประเภทหลักประกันการใช้ไฟฟ้า
13.5 ลดปริม าณการใช้ ไฟฟ้ าลง และมี ห นั งสื อ ขอคื น หลั ก ประกั น ตามที่
กฟภ. กำหนด

ข้อ 14 การคืนหลักประกันการใช้ไฟฟ้ากรณีเลิกใช้ไฟฟ้าหรือตัดฝากมิเตอร์
14.1 เมื่อมีการเลิกใช้ไฟฟ้าและมีหนี้สินติดค้างอยู่ ให้ดำเนินการดังนี้
14.1.1 กรณีวางเงินสดค้ำประกัน กฟภ.จะนำเงินประกันการใช้ไฟฟ้า
และดอกผลเงินประกันการใช้ไฟฟ้ามาชำระหนี้ที่ติดค้างทันที และเรียกเก็บเพิ่มหรือ
จ่ายคืนแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าแล้วแต่กรณี
14.1.2 กรณี ว างค้ ำ ประกั น การใช้ ไ ฟฟ้ า โดยใช้ ห นั ง สื อ สั ญ ญา
ค้ำประกันการใช้ไฟฟ้าของธนาคาร หรือบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่
ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ำประกัน
ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยตามรายชื่อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้ง
เวียนให้ส่วนราชการต่างๆ ทราบ กฟภ.จะเรียกร้องขอรับเงินให้เสร็จสิ้นก่อนหนังสือ
สัญญาค้ำประกันการใช้ไฟฟ้าหมดอายุ
14.1.3 กรณีใช้พันธบัตรค้ำประกัน กฟภ.จะดำเนินการตามระเบียบ
และหลักเกณฑ์ที่ กฟภ.ประกาศใช้ในปัจจุบันและวิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศ
ไทยที่ประกาศใช้ในขณะนั้น เพื่อนำมาชำระหนี้และเรียกเก็บเพิ่มหรือจ่ายคืนแก่ผู้ใช้
ไฟฟ้าแล้วแต่กรณี
14.2 เมื่อมีการตัดฝากมิเตอร์โดยถอนคืนมิเตอร์ ให้ดำเนินการดังนี้
14.2.1 กรณีหลักประกันการใช้ไฟฟ้าหมดอายุ กฟภ.จะไม่แจ้งให้ผู้ใช้
ไฟฟ้าจัดทำหลักประกันการใช้ไฟฟ้าใหม่
14.2.2 กรณี ห ลัก ประกั น การใช้ ไฟฟ้ ายังไม่ ห มดอายุ ถ้ าผู้ ใช้ ไฟฟ้ า
ประสงค์จะขอคืนหลักประกันการใช้ไฟฟ้าก็สามารถกระทำได้แต่จะต้องชำระหนี้สิน
ที่ ติ ด ค้ า งทั้ ง หมด (ถ้ า มี ) ให้ เป็ น ที่ เรี ย บร้ อ ยก่ อ น และเมื่ อ จะกลั บ มาขอใช้ ไฟฟ้ า

ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๖๒ 17
-18-
ตามเดิม ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องจัดทำหลักประกันการใช้ไฟฟ้าตามระเบียบและหลักเกณฑ์
ที่ กฟภ.ประกาศใช้ในปัจจุบันให้เรียบร้อยก่อนจึงจะจ่ายไฟฟ้าให้

ข้อ 15 การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
กฟภ.จะให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าไว้ต่อกันก่อนการจ่ายไฟฟ้า ตาม
หลักเกณฑ์ที่ กฟภ.กำหนด

ข้อ 16 การโอนเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า
สามารถดำเนินการได้ในกรณีดังต่อไปนี้
16.1 ซื้อขายสถานที่ใช้ไฟฟ้า หรือกิจการที่ติดตั้งการใช้ไฟฟ้า
16.2 ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเดิมถึงแก่ความตาย
16.3 อื่นๆ เช่น การได้มาซึ่งสิทธิต่างๆ ตามกฎหมาย (สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิ
อาศัย สิทธิในภาระติดพัน เป็นต้น)
การโอนเปลี่ ย นชื่ อ ผู้ ใช้ ไฟฟ้ า ผู้ โอนและผู้ ข อรั บ โอนจะต้ อ งยื่ น คำร้ อ งตาม
แบบฟอร์มพร้อมหลักฐานที่ กฟภ.กำหนด กรณีที่ผู้ขอรับโอนไม่สามารถติดต่อผู้ใช้
ไฟฟ้าเดิมได้ ผู้ขอรับโอนสามารถขอโอนเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้าได้โดยยื่นคำร้องตาม
แบบฟอร์ม ที่ กฟภ.กำหนด ทั้ งนี้ กฟภ.สงวนสิ ท ธิที่ จะยกเลิ ก การโอนเปลี่ ย นชื่ อ
ดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ และผู้รับโอนจะต้องยินยอมรับผิดชอบค่าเสียหายใดๆ ที่อาจ
เกิดขึ้นจากการโอนเปลี่ยนชื่อดังกล่าวทั้งสิ้น
กฟภ.จะโอนเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้าต่อเมื่อ กฟภ.ได้รับชำระหนี้สินที่ค้างชำระ
ทั้งหมดรวมทั้งวางหลักประกันการใช้ไฟฟ้าใหม่ถูกต้องครบถ้วนตามระเบียบ
การโอนเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้ากรณีมีหนี้ค้ างชำระให้ปฏิบัติตามระเบียบ กฟภ.ที่
ประกาศใช้ในปัจจุบัน

กองเศรษฐกิจพลังงาน
18 ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน
-19-
หมวดที่ 4๔
การก่อสร้าง ติดตั้งระบบจำหน่
ระบบจำ�หน่ายไฟฟ้า และระบบไฟฟ้าภายใน

ข้อ 17 การก่อสร้าง ติดตั้งระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่ผ่านเข้าไปในบริเวณที่ดิน หรือ


ยึดติด หรือเกาะกับอาคารของบุคคลอื่น
ผู้ ข อใช้ ไฟฟ้ า ต้ อ งนำหนั งสื อ ให้ ค วามยิ น ยอมของเจ้ าของที่ ดิ น หรือ เจ้ าของ
อาคารตามแบบฟอร์มของกฟภ. หรือนำสำเนาหลักฐานการจดทะเบียนภาระจำยอม
ตามกฎหมายของเจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของอาคารมามอบให้ กฟภ.ไว้เป็นหลักฐาน
หากภายหลังมีความจำเป็นต้องรื้อถอน หรือย้ายที่ติดตั้งใหม่ ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้อง
เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด

ข้อ 18 การติดตั้งมิเตอร์
กฟภ.จะเป็ น ผู้ ก ำหนดขนาด จำนวน และตำแหน่ ง ติ ด ตั้ ง มิ เตอร์ ซึ่ ง เป็ น
ทรัพย์สินของ กฟภ.ให้อยู่ในสถานที่ที่สามารถอ่านและตรวจสอบข้อมูลการใช้ไฟฟ้า
และบำรุงรักษาได้โดยสะดวก ทั้งนี้ จะพิจารณาติดตั้งมิเตอร์ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าเพียงรายละ
เครื่องเดียวเท่านั้น นอกจากมีความจำเป็น ในกรณีพิเศษ เช่น การใช้กระแสไฟฟ้า
มีหลายระบบ/วงจร เป็นต้น และห้ามมิให้ต่อไฟฟ้าไปให้กับบุคคลอื่นทุกกรณี
สำหรับการติดตั้งมิเตอร์กรณีต่างๆ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ หลักเกณฑ์ และ
วิธีปฏิบัติของ กฟภ.ที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน
18.1 ในระบบการจ่ายไฟฟ้าแรงต่ำ 220 โวลต์ หรือแรงดัน 380/22๐โวลต์
และระบบการจ่ า ยไฟฟ้ า แรงสู ง แรงดั น 19,000 โวลต์ 22,000 โวลต์ และ
33,000 โวลต์ กฟภ.เป็นผู้จัดหามิเตอร์และอุปกรณ์ประกอบมิเตอร์ติดตั้งให้ผู้ใช้
ไฟฟ้า ซึ่งทรัพย์สินเป็นของ กฟภ.
18.2 ในระบบการจ่ายไฟฟ้าแรงสูง แรงดัน 69,000 โวลต์ 115,000 โวลต์
หรือ 230,000 โวลต์ กฟภ.เป็ น ผู้ จัด หามิ เตอร์ แ ละติ ด ตั้ง ซึ่งทรัพ ย์ สิน เป็น ของ
กฟภ.ยกเว้นอุปกรณ์ประกอบมิเตอร์ ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะต้องเป็นผู้จัดหาและติดตั้งเอง
โดยจะต้องส่งแบบการติดตั้งและรายละเอียดของอุปกรณ์ ตามมาตรฐานของ กฟภ.
พร้อมทั้ งส่ งอุ ปกรณ์ ประกอบดังกล่ าวไปทดสอบที่ ห้ องทดสอบมาตรฐานร่วมกั บ
เจ้าหน้าที่ของ กฟภ.
ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๖๒ 19
-20-
18.3 อาคารชุดหรือสถานที่อื่นใดที่ กฟภ.เห็นสมควร ซึ่งมีผู้ใช้ไฟฟ้าหลาย
มิเตอร์ กฟภ.จะติด ตั้งมิ เตอร์ประธานไว้ต้น ทาง และจะติด ตั้งมิ เตอร์ย่อ ยสำหรับ
ผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละราย กรณีมีหลายอาคารในบริเวณพื้นที่เดียวกัน กฟภ.จะพิจารณา
ติดตั้งมิเตอร์แยกสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละอาคารตามที่ผู้ใช้ไฟร้องขอให้ก็ได้ สำหรับ
การคิดค่าไฟฟ้าของมิเตอร์แต่ละเครื่องให้เป็นไปตามระเบียบที่ กฟภ.กำหนด
18.4 อาคาร สิ่งปลูกสร้าง สถานที่อื่นใดหรือห้องชุด (ในอาคารชุด) แต่ละ
แห่งโดยปกติจะติดตั้งมิเตอร์ให้เพียงเครื่องเดียว

ข้อ 19 การติดตั้งระบบจำหน่ายไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าภายใน
19.1 ระบบจำหน่ ายไฟฟ้ าที่ ติ ด ตั้ งแล้ว ถือ เป็น ทรัพ ย์ สิ น ของ กฟภ. ทั้ งนี้
กฟภ.สงวนสิทธิ์ที่จะเป็นผู้ก่อสร้างและติดตั้งตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่ กฟภ.
ประกาศใช้ในปัจจุบัน
ในการนี้ กฟภ.อาจจะพิจารณาให้ผู้ขอขยายเขตดำเนินการก็ได้ แต่ต้องเป็นไป
ตามแบบและแผนผั ง ที่ กฟภ.เห็ น ชอบ และอุ ป กรณ์ ที่ น ำมาติ ด ตั้ งต้ อ งผ่ า นการ
ทดสอบคุณภาพจาก กฟภ.ก่อน และจะต้ องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามที่ กฟภ.
เห็นชอบ ทั้งนี้ ก่อนการติดตั้งจะต้องได้รับการอนุมัติจาก กฟภ.ทุกครั้ง และจะต้อง
อยู่ภายใต้การควบคุมงานของ กฟภ. โดย กฟภ.จะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายตามระเบียบ
และหลักเกณฑ์ที่ กฟภ.ประกาศใช้ในปัจจุบัน
19.2 ระบบไฟฟ้าภายในที่ติดตั้งแล้วที่ถือเป็นทรัพย์สินของผู้ใช้ไฟฟ้า ผู้ขอใช้
ไฟฟ้าต้องลงทุนเองทั้งหมด โดยพิจารณาดังนี้
19.2.1 กรณี กฟภ.เป็นผู้ดำเนินการให้โดยคิดค่าใช้จ่ายในการขยาย
เขตระบบไฟฟ้าภายในบริเวณของผู้ขอใช้ไฟฟ้าทั้งหมด และเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ
เป็นทรัพย์สินของผู้ใช้ไฟฟ้า
19.2.2 กรณี ผู้ขอใช้ไฟฟ้ าเป็นผู้ ดำเนิ นการเอง จะต้อ งมีวิศวกรที่ มี
คุณสมบัติตามพระราชบัญญัติ วิศวกรเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง และ
เมื่อได้รับอนุญาตจาก กฟภ.แล้วจึงจะดำเนินการต่อไปได้ โดย กฟภ.จะคิดค่าใช้จ่าย
ตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่กำหนด
19.3. อุ ป กรณ์ ไฟฟ้ าภายในทุ ก ชนิ ด ที่ ผู้ ข อใช้ ไฟฟ้ าจะนำมาติ ด ตั้ งใช้ งาน
จะต้องมีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานของ กฟภ. หรือที่ กฟภ.เห็นชอบ
กองเศรษฐกิจพลังงาน
20 ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน
-21-
19.4 ระบบไฟฟ้าภายในทุกชนิดที่จะนำมาติดตั้งใช้งานจะต้องเป็นไปตาม
มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยฉบับตามที่ประกาศใช้ในขณะนั้น
หรือตามมาตรฐานของ กฟภ. หรือตามมาตรฐานที่ กฟภ.เห็นชอบ เพื่อให้เกิดความ
ปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า

ข้อ 20 การตรวจการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายใน
20.1 กฟภ.จะตรวจการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในก่อนการติดตั้งมิเตอร์ หาก
ผลการตรวจปรากฏว่าการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในดังกล่าวยังไม่ถูกต้อง ผู้ขอใช้
ไฟฟ้าต้องแก้ไขให้ถูกต้องก่อน กฟภ.จึงจะติดตั้งมิเตอร์ให้
20.2 การตรวจตามข้อ 19.2, 19.3 และ 19.4 ตลอดจนข้อปลีกย่อยอื่นๆ
ที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเป็นผู้ทำการก่อสร้างและติดตั้งเอง แม้ว่า กฟภ.ได้ทำการตรวจแล้ว
ก็ตาม หากเกิดความเสียหายหรือมีอันตรายเกิดขึ้นภายหลังจากทำการตรวจแล้ว
ก็ยังให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ฝ่ายเดียว หาก กฟภ.เป็นผู้ดำเนินการ
ก่อสร้างให้ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงโดยที่ผู้ใช้ไฟฟ้ าเป็นผู้ดำเนินการเองในภายหน้า
หรื อ อุ ป กรณ์ ดั ง กล่ า วเสื่ อ มคุ ณ ภาพไปตามสภาพ ทางผู้ ใช้ ไ ฟฟ้ า จะต้ อ งเป็ น
ผู้รับผิดชอบแต่ฝ่ายเดียว

ข้อ 21 การจ่ายไฟฟ้า
กฟภ.จะติดตั้งมิเตอร์ และจ่ายไฟฟ้าให้ เมื่อผู้ขอใช้ไฟฟ้าได้ปฏิบัติตามระเบียบ
หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติของ กฟภ.แล้ว

ข้อ 22 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินระบบไฟฟ้า
22.1 ระบบไฟฟ้าที่ก่อสร้างและติดตั้งอยู่ในที่สาธารณะหรือทางภาระจำยอม
และเป็นการติดตั้งต่อจากระบบจำหน่ายไฟฟ้าของ กฟภ. ถือเป็นทรัพย์สินของ กฟภ.
เว้นแต่จะมีการระบุเพิ่มเติมเป็นอย่างอื่น
22.2 ระบบไฟฟ้าที่ก่อสร้างและติดตั้ งอยู่ภายในเขตที่ดินที่ใช้ไฟฟ้า รวมทั้ง
อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในที่นำมาก่อสร้างและติดตั้งต่อจากมิเตอร์ไปจนถึงภายในสถานที่
ใช้ ไฟฟ้ า ถื อ เป็ น ทรั พ ย์ สิ น ของผู้ ใช้ ไฟฟ้ า ซึ่ งผู้ ใช้ ไฟฟ้ าต้ อ งเป็ น ผู้ รั บ ผิ ด ชอบและ
บำรุงรักษาเอง เว้นแต่จะมีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น
ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๖๒ 21
-22-
22.3 ระบบไฟฟ้าที่ไม่สามารถก่อสร้างและติดตั้งภายในเขตที่ดินที่ใช้ไฟฟ้าได้
จำเป็ น ต้ อ งติ ด ตั้ ง ในระบบจำหน่ า ยของ กฟภ. หม้ อ แปลงไฟฟ้ า และอุ ป กรณ์
ประกอบการติดตั้งเพื่อจ่ายไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นการเฉพาะราย ถือเป็นทรั พย์สิน
ของผู้ใช้ไฟฟ้า หากภายหลังมีความจำเป็นต้องรื้อถอนหรือย้ายที่ติดตั้งใหม่ ผู้ใช้ไฟฟ้า
จะต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด

ข้อ 23 การขอยกเลิกการก่อสร้างระบบจำหน่ายไฟฟ้า และระบบไฟฟ้าภายใน


ผู้ขอใช้ไฟฟ้ าแจ้งยกเลิกการก่อ สร้างระบบจำหน่ายไฟฟ้า และระบบไฟฟ้ า
ภายใน หลังจากชำระเงินค่าใช้จ่ายแล้ว กฟภ.จะคืนเงินหลังจากหักค่าใช้จ่ายตาม
ระเบียบและหลักเกณฑ์ที่ กฟภ.ประกาศใช้ในปัจจุบัน

ข้อ 24 อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในที่นำมาใช้ในการติดตั้ง
สายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในที่นำมาติดตั้งต้องเป็นไปตามมาตรฐานการ
ติ ด ตั้ งทางไฟฟ้ าสำหรั บ ประเทศไทยฉบั บ ตามที่ ป ระกาศใช้ ในปั จ จุ บั น หรือ ตาม
มาตรฐานของ กฟภ.หรือตามมาตรฐานที่ กฟภ.เห็นชอบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
ในการใช้ไฟฟ้า

ข้อ 25 การเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน
25.1 การเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในทุกชนิด ต้องเป็นไป
ตามมาตรฐานการติ ด ตั้ งทางไฟฟ้ าสำหรับ ประเทศไทยฉบับ ตามที่ ป ระกาศใช้ ใน
ปัจจุบัน หรือตามมาตรฐานของ กฟภ.หรือตามมาตรฐานที่ กฟภ.เห็นชอบ เพื่อให้
เกิดความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า
25.2 การเปลี่ยนแปลงสายไฟฟ้า อุปกรณ์ ไฟฟ้าภายใน หม้อแปลงไฟฟ้ า
ผู้ใช้ไฟฟ้ าต้องแจ้งให้ กฟภ.ตรวจสอบก่อน ทั้งนี้ หากต้องเปลี่ยนมิเตอร์ และหรือ
อุปกรณ์ประกอบ ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งค่าเสียหายที่อาจ
เกิดขึ้นตามระเบียบหลักเกณฑ์ของ กฟภ.
25.3 ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องจัดหา ติดตั้งและบำรุงรักษาอุปกรณ์ตัดตอน และเครื่อง
ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินระหว่างมิเตอร์และวงจรไฟฟ้าภายในของผู้ใช้ไฟฟ้า

กองเศรษฐกิจพลังงาน
22 ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน
-23-
25.4 อุปกรณ์ป้องกันตามข้อ 25.3 ต้องมีความเหมาะสมทั้งขนาดที่สามารถ
ตัดกระแสไฟฟ้าและมีความทนทานในการตัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรตามที่คำนวณได้
หรือสูงกว่าโดยเป็นไปตามมาตรฐานของ กฟภ. หรือที่ กฟภ.เห็นชอบ หรือเป็นไป
ตามมาตรฐานการติ ด ตั้ งทางไฟฟ้ าสำหรับ ประเทศไทยฉบับ ตามที่ ป ระกาศใช้ ใน
ปัจจุบัน

ข้อ 26 การตรวจการเดินสายไฟฟ้าภายใน และติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน


กฟภ.จะตรวจการเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในก่อนการติดตั้ง
มิเตอร์ โดยผู้ขอใช้ไฟฟ้าหรือผู้ใช้ไฟฟ้าต้องติดต่อนัดหมายล่วงหน้า หากไม่พร้อมตาม
วันนัดหมาย ให้แจ้งยกเลิกและนัดหมายใหม่ ถ้ามีการตรวจตามวันนัดหมาย 2 ครั้ง
แล้ว การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในยังไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่ได้แจ้งแก้ไขไปแล้ว
กฟภ.จะเรียกเก็บค่าตรวจเพิ่มเติมสำหรับการตรวจในครั้งต่อไป
เมื่อ กฟภ.ตรวจการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในถูกต้อง และผู้ขอใช้ไฟฟ้าหรือ
ผู้ใช้ไฟฟ้าชำระเงินเรียบร้อยแล้ว กฟภ.จึงจะติดตั้งมิเตอร์ให้

ข้อ 27 การตรวจหรือการทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน
ผู้ขอใช้ไฟฟ้าหรือผู้ใช้ไฟฟ้าหรือผู้ขอใช้บริการที่ประสงค์จะให้ กฟภ.ตรวจหรือ
ทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน เช่น สวิตช์อัตโนมัติ หม้อแปลงไฟฟ้า เป็นต้น จะต้อง
ชำระค่าบริการ และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ กฟภ.กำหนด

ข้อ 28 การตรวจหรือทดสอบหม้อแปลงของผู้ขอใช้ไฟฟ้าหรือผู้ใช้ไฟฟ้า
กรณีผู้ขอใช้ไฟฟ้าหรือผู้ใช้ไฟฟ้าหรือผู้ขอใช้บริการจัดหาหม้อแปลงไฟฟ้ามา
เอง จะต้องผ่านการตรวจหรือทดสอบจาก กฟภ.ก่อน โดยต้องชำระค่าบริการและ
ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับหม้อแปลงที่ กฟภ.กำหนด ทั้งนี้ การ
ตรวจหรื อ ทดสอบดั ง กล่ า ว มิ ใช่ เป็ น การรั บ รองคุ ณ ภาพและประสิ ท ธิ ภ าพของ
หม้อแปลง
ในกรณี ที่ กฟภ.รั บ รองการตรวจหรื อ ทดสอบหม้ อ แปลงแล้ ว หากผู้ ใดนำ
เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือสิ่งใดที่ กฟภ.ติดหรือประทับไว้ที่หม้อแปลงเพื่อแสดงว่า

ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๖๒ 23
-24-
หม้อแปลงได้ผ่านการตรวจหรือทดสอบจาก กฟภ.ไปใช้โดยทุจริต กฟภ.จะดำเนินคดี
กับผู้กระทำการดังกล่าวตามกฎหมาย
อนึ่ง การตรวจหรือทดสอบตามวรรคแรกแม้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเป็นผู้ทำการก่อสร้าง
และติดตั้ง โดย กฟภ.ได้ทำการตรวจหรือทดสอบแล้วก็ตาม หากเกิดความเสียหาย
หรืออันตรายภายหลังการตรวจหรือทดสอบ ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องรับผิดชอบในความ
เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นแต่ฝ่ายเดียว
ในกรณี กฟภ.เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างให้ ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าทำการดัดแปลง แก้ไข
อุปกรณ์ดังกล่าวในภายหลัง หากเกิดความเสียหายหรืออันตรายเกิดขึ้น กฟภ.จะไม่
รับผิดชอบต่อความเสียหายดังกล่าวเช่นกัน

ข้อ 29 การติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรองของผู้ขอใช้ไฟฟ้า
หรือผู้ใช้ไฟฟ้า
29.1 ในการจัดให้มีและใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรอง
ผู้ข อใช้ ไฟฟ้ าหรือ ผู้ ใช้ ไฟฟ้ าจะต้ อ งแจ้ งความประสงค์ แ ละจัด ส่ งรายละเอี ยดของ
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรอง และการจัดระบบป้องกันมาให้ กฟภ.
พิ จารณาให้ ค วามเห็ นชอบ โดยระบุว่าจะใช้เป็น เครื่องสำรอง หรือ จ่ายขนานกั บ
ระบบการจ่ายไฟของ กฟภ.
29.2 ในกรณีติดตั้งเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองหรือแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรอง
ต้อ งมี ระบบอุ ปกรณ์ ป้อ งกั น ไฟย้อ นกลั บ เข้ าสู่ ระบบการจ่ายไฟฟ้ าของ กฟภ. ซึ่ง
อาจจะเป็นอันตรายหรือเกิดความเสียหายต่อบุคคลและทรัพย์สิน ทั้งนี้ ผู้ขอใช้ไฟฟ้า
หรือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองหรือแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรองดังกล่าว
จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกรณีจ่ายไฟฟ้าย้อนกลับ
29.3 ในกรณีติดตั้งเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือแหล่งจ่ายไฟฟ้าจ่ายขนานกับ
ระบบจ่ายไฟฟ้าของ กฟภ. จะต้องขออนุญ าตและปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับ
โครงข่ายไฟฟ้าที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน หาก กฟภ.ตรวจพบการขนานระบบโดย
ไม่ได้รับอนุญาต จะทำหนังสือแจ้งเตือนให้ระงับการกระทำดังกล่าวข้างต้น หากยัง
ฝ่าฝืน จะดำเนินการงดจ่ายไฟฟ้าตามระเบียบหลักเกณฑ์ของ กฟภ.

กองเศรษฐกิจพลังงาน
24 ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน
-25-
ข้อ 30 การขอใช้ไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
ผู้ใช้ไฟฟ้าแรงสูงที่ต้องการมีระบบจ่ายไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินให้ยื่นขออนุญาตและ
ตกลงกับ กฟภ.เป็นรายๆ ไป

หมวดที่ 5๕
การใช้ไฟฟ้า

ข้อ 31 การอ่านข้อมูลการใช้ไฟฟ้าจากมิเตอร์
กฟภ.จะอ่านข้อมูลการใช้ไฟฟ้าจากมิเตอร์เพื่อเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าเดือนละ
หนึ่งครั้ง หรือตามที่ กฟภ.กำหนด

ข้อ 32 ความรับผิดชอบในการชำระค่าไฟฟ้า
ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องรับผิดชอบชำระค่าไฟฟ้าตลอดไป จนกว่าจะแจ้งบอกเลิกการใช้
ไฟฟ้าเป็นลายลักษณ์อักษรโดยดำเนินการตาม หมวดที่ 6 ข้อ 50 หรือโอนเปลี่ยน
ชื่อผู้ใช้ไฟฟ้าให้ผู้อื่น
ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ได้บอกเลิกการใช้ไฟฟ้า แต่มีผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า ให้
ถือว่าผู้ใช้ไฟฟ้าและผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า เป็นผู้รับผิดชอบร่วมกันชำระค่า
ไฟฟ้า
เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับการแจ้งค่าไฟฟ้าเป็นหนังสือแจ้งค่าไฟฟ้า ใบแจ้งค่าไฟฟ้า
หรือโดยช่องทางอื่น ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถชำระค่าไฟฟ้าได้ตามช่องทางที่ กฟภ.เปิด
ให้บริการ แต่ต้องไม่เกินวันครบกำหนดตามที่ระบุไว้

ข้อ 33 การเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้ากรณีมิเตอร์ชำรุดหรือแสดงค่าคลาดเคลื่อน
ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องยินยอมชำระค่าไฟฟ้าประจำเดือนไปก่อน ตามค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 3
เดือนหลังสุดที่ถือว่าปกติติดต่อกัน หรือค่าไฟฟ้าที่คำนวณบนพื้นฐานวิศวกรรมไฟฟ้า
โดยอาศั ย หลั ก ฐานข้ อ มู ล ซึ่ ง ตรวจสอบได้ ในช่ ว งเวลานั้ น หากภายหลั ง ผลการ
ตรวจสอบมิเตอร์และหรือหลักฐานข้อเท็จจริงที่มีผลแตกต่างจากที่เรียกเก็บไปแล้ว
กฟภ. จะเรียกเก็บเพิ่มหรือจ่ายคืนแล้วแต่กรณี

ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๖๒ 25
-26-
ข้อ 34 การเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้ากรณีคิดค่าไฟฟ้าต่ำหรือสูงเกินความเป็นจริง
ในกรณีที่ กฟภ.เรียกเก็บค่าไฟฟ้าต่ำหรือสูงเกินความเป็นจริง กฟภ.หรือผู้ใช้
ไฟฟ้ามีสิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บต่ำหรือสูงเกินความเป็นจริงจากอีกฝ่ายหนึ่ง
แล้วแต่กรณีได้จนครบถ้วน
ข้อ 35 การบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน
ผู้ ใช้ ไ ฟฟ้ า และหรื อ ผู้ ค รอบครองสถานที่ ใช้ ไ ฟฟ้ า จะต้ อ งรั บ ผิ ด ชอบดู แ ล
บำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในของผู้ใช้ ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยตลอดเวลา
ถ้ า จำเป็ น ต้ อ งปรั บ ปรุ ง เปลี่ ย นไปจากแบบและรายละเอี ย ดที่ กฟภ.ได้ ให้ ค วาม
เห็นชอบไว้แล้ว ต้องแจ้งให้ กฟภ.พิจารณาก่อน
ข้อ 36 การเปลี่ยนฟิวส์ เครื่องตัดตอน หรือเครื่องป้องกันอื่น
ผู้ใช้ไฟฟ้าและหรือผู้ครอบครองสถานที่ ใช้ไฟฟ้ าต้องติดตั้งหรือเปลี่ยนฟิ วส์
เครื่องตัดตอนหรือเครื่องป้องกันอื่น ให้มีขนาดไม่เกินกว่าที่ กฟภ.กำหนด หรือตาม
มาตรฐานที่ กฟภ.เห็นชอบ หรือเป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับ
ประเทศไทยฉบับตามที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน
ข้อ 37 ตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (Power Factor)
กฟภ.จะเรียกเก็บค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า ในกรณีที่ตัวประกอบกำลังไฟฟ้า
รวมของการใช้ ไฟฟ้ ามี ค่ าต่ ำกว่าที่ กฟภ.กำหนด และผู้ ใช้ ไฟฟ้ าจะต้ อ งแก้ ไขค่ า
ตัวประกอบกำลังไฟฟ้าให้ได้ค่าตามที่ กฟภ.กำหนด
ข้อ 38 การขายหรือต่อพ่วงไฟฟ้า
ผู้ใช้ไฟฟ้ าหรือ ผู้ ครอบครองสถานที่ ใช้ ไฟฟ้ า จะขายหรือ ต่อ พ่ วงไฟฟ้ าไปให้
สถานที่ อื่ น มิ ได้ หาก กฟภ.ตรวจพบจะทำหนั งสื อ แจ้ งเตื อ นให้ ร ะงับ การกระทำ
ดังกล่าวข้างต้น หากยังฝ่าฝืน จะดำเนินการงดจ่ายไฟฟ้า เว้นแต่ กฟภ.จะพิจารณา
ผ่อนผันเป็นแต่ละกรณีกับการต่อพ่วงกับรายที่มีความจำเป็นและไม่แสวงหากำไร
และการต่อพ่วง จะต้องผ่านการพิจารณาจาก กฟภ.ว่ามีความปลอดภัยเพียงพอ
กรณีผู้ใช้ไฟฟ้าที่เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายตามที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
กฟภ.ขอสงวนสิทธิพิจารณาเป็นรายๆ ไป

กองเศรษฐกิจพลังงาน
26 ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน
-27-
ข้อ 39 การใช้ไฟฟ้าที่มีผลกระทบผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่น
กฟภ.สงวนสิทธิ์ที่จะงดจ่ายไฟฟ้า เมื่อการใช้ไฟฟ้ามีผลกระทบผู้ใช้ไฟฟ้าราย
อื่น เช่น ทำให้แรงดันตก แรงดันกระเพื่อม ไฟฟ้าดับ ไฟฟ้าดับชั่วขณะ (ไฟกระพริบ)
การทำให้เกิดความผิด เพี้ ยนในระบบไฟฟ้า (Harmonics) เกินมาตรฐานในระบบ
ไฟฟ้า หรือสร้างความถี่รบกวนผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่น เป็นต้น หากมีความเสียหายเกิดขึ้น
ไม่ว่ากรณีใดๆ ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องรับผิดชอบในความเสียหายนั้น และชำระค่าเสียหาย
เนื่องจากเหตุดังกล่าวตามที่ กฟภ.เรียกร้อง

ข้อ 40 การหยุดใช้ไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว (การตัดฝากมิเตอร์)


เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้ามีความจำเป็นต้องหยุดการใช้ไฟฟ้าเป็นการชั่วคราวในระยะเวลา
ใดเวลาหนึ่ง ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถยื่นคำร้องขอตัดฝากมิเตอร์ไว้เป็นการชั่วคราวได้ครั้ง
ละไม่เกิน 1 ปี โดยให้ กฟภ.ถอนคืนมิเตอร์ และนำกลับไปติดตั้งเมื่อต้องการใช้
ไฟฟ้ า อี ก โดยยื่ น คำร้ อ งขอตั ด ฝากมิ เตอร์ล่ วงหน้ า ไม่ น้ อ ยกว่า 7 วัน และชำระ
ค่าบริการตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่ กฟภ.ประกาศใช้ในปัจจุบัน

ข้อ 41 มิเตอร์ไหม้หรือชำรุด
กรณีมิเตอร์ไหม้หรือชำรุด ผู้ใช้ไฟฟ้าหรือผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า จะต้อง
ชดใช้ค่าเสียหาย ค่าบริการการใช้ไฟฟ้าและค่าไฟฟ้าที่ปรับปรุงในระหว่างที่มิเตอร์
ไหม้หรือชำรุด ตามหลักเกณฑ์หรือระเบียบของ กฟภ.ที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน เว้นแต่
จะพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้เป็นการกระทำของผู้ใช้ไฟฟ้ าหรือผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า
จึงไม่ต้องชำระค่าเสียหาย ค่าบริการการใช้ไฟฟ้า แต่จะต้องชำระค่าไฟฟ้าที่ปรับปรุง
ในระหว่างมิเตอร์ไหม้หรือชำรุด ทั้งนี้ หากการไหม้หรือชำรุดนั้นเกิดจากใช้ไฟฟ้าเกิน
ขนาดมิเตอร์ จะต้องเปลี่ยนเพิ่มขนาดมิเตอร์ให้เพียงพอกับการใช้ไฟฟ้าด้วย

ข้อ 42 เครื่องหมายหรือตราของ กฟภ.


กฟภ.จะผนึ ก เครื่อ งหมายหรื อ ตราของ กฟภ.ไว้ที่ มิ เตอร์แ ละหรือ อุ ป กรณ์
ประกอบมิ เตอร์ เมื่ อ นำไปติ ด ตั้ งหากทำลายหรื อ กระทำการอย่ า งหนึ่ ง อย่ า งใด
ก่อให้เกิดความเสียหายกับตรานี้ ผู้กระทำจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย เว้นแต่
พนักงาน กฟภ.ซึ่งกระทำการตามหน้าที่

ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๖๒ 27
-28-
ข้อ 43 การละเมิดการใช้ไฟฟ้า
หาก กฟภ.ตรวจพบว่ามีการกระทำการละเมิดการใช้ไฟฟ้า กฟภ.จะดำเนินการ
ตามกฎหมายกับผู้กระทำละเมิดการใช้ไฟฟ้า และจะเรียกเก็บค่าเบี้ยปรับ ค่าไฟฟ้าที่
เสียหายตามการปรับปรุง ค่าเสียหายอื่นๆ จากผู้กระทำการละเมิดการใช้ไฟฟ้า ผู้ใช้
ไฟฟ้า ผู้ครอบครองสถานที่ที่ใช้ไฟฟ้า ผู้ที่อยู่อาศัยหรือผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการ
กระทำละเมิดการใช้ไฟฟ้า ตามระเบียบ คำสั่ง หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติที่ กฟภ.
ประกาศใช้ในปัจจุบัน

ข้อ 44 ความเที่ยงตรงของมิเตอร์และอุปกรณ์ประกอบมิเตอร์
44.1 ระบบการจ่ายไฟฟ้าแรงดันไม่เกิน 33,000 โวลต์ กำหนดให้มิเตอร์มี
ระดับ ความเที่ยงตรง (Accuracy class) = 2.0 หรือดีกว่า
44.2 ระบบการจ่ายไฟฟ้าแรงดัน 69,000 โวลต์ ขึ้นไป กำหนดให้มิเตอร์มี
ระดับ ความเที่ยงตรง (Accuracy class) = 0.2
44.3 กำหนดให้ใช้อุปกรณ์ประกอบมิเตอร์ ดังนี้
44.3.1 ระบบการจ่ายไฟฟ้าแรงดันไม่เกิน 33,000 โวลต์ มีระดับ
ความเที่ยงตรง (Accuracy class) เท่ากับ 0.5
44.3.2 ระบบการจ่ายไฟฟ้าแรงดัน 115,000 โวลต์
(1) กำหนดให้ ใช้ ซีที . ระบบ 115,000 โวลต์ จำนวน ๓ ชุ ด พิ กั ด
กระแสด้านทุติยภูมิ ๕ แอมแปร์ ค่า Accuracy class ๐.๒ พิกัด Burden ไม่ต่ำกว่า
๓๐ VA สำหรับมาตรฐาน IEC และ ค่า Accuracy class ๐.๓ พิกัด Burden ไม่ต่ำ
กว่า ๔๕ VA สำหรับมาตรฐาน IEEE โดยขนาดพิกัดกระแสด้านปฐมภูมิไม่เกิน ๑.๕
เท่า ของพิกัดกระแสสูงสุดของหม้อแปลง และให้ใช้ ซีที. (Core ที่ใช้งาน) ร่วมกับ
มิเตอร์ของ กฟภ.เท่านั้น ห้ามต่อพ่วงกับอุปกรณ์อื่นๆ ของผู้ใช้ไฟฟ้า
(2) กำหนดให้ใช้ วีที. ระบบ 115,000 โวลต์ ต้องเป็นชนิด Inductive
๑๑๕,๐๐๐ ๑๑๕
Voltage Transformer (IVT) จำนวน ๓ ชุ ด พิ กั ด แรงดั น ไฟฟ้ า :
√๓ √๓
โวลต์ กำหนดให้ใช้ Accuracy class ๐.๒ พิกัด Burden ไม่ต่ำกว่า ๕๐ VA สำหรับ
มาตรฐาน IEC และ Accuracy class ๐.๓ พิกัด Burden ไม่ต่ำกว่า ๗๕ VA สำหรับ
มาตรฐาน IEEE และให้ ใช้ วีที . (Core ที่ ใช้งาน) ร่วมกั บมิเตอร์ของ กฟภ.เท่ านั้ น

กองเศรษฐกิจพลังงาน
28 ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน
-29-
ห้ามมีจุดพัก จุดต่อสาย ระหว่าง ซีที. กับมิเตอร์ และห้ามต่อพ่วงกับอุปกรณ์อื่นๆ
ของผู้ใช้ไฟฟ้า
ทั้งนี้ให้ดำเนินการตาม ระเบียบ หลักเกณฑ์ คำสั่ง และวิธีปฏิบัติ ของ กฟภ.ที่
ประกาศใช้ในปัจจุบัน

ข้อ 45 การทดสอบความเที่ยงตรงของมิเตอร์และอุปกรณ์ประกอบมิเตอร์
หากผู้ใช้ไฟฟ้าและหรือผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้าสงสัยว่า มิเตอร์และหรือ
อุปกรณ์ประกอบมิเตอร์แสดงค่าไม่เที่ยงตรง สามารถร้องขอให้ กฟภ.ทดสอบความ
เที่ยงตรงได้ ดังนี้
45.1 ผู้ใช้ไฟฟ้าระบบการจ่ายไฟฟ้าแรงดันไม่เกิน 33,000 โวลต์ ถ้าผลการ
ทดสอบปรากฏว่า มิ เตอร์ มี ค วามคลาดเคลื่ อ นเกิ น ร้ อ ยละ ±2.5 กฟภ.จะไม่ คิ ด
ค่ าใช้ จ่ ายในการดำเนิ น การทั้ งหมดและเปลี่ ย นมิ เตอร์ให้ ใหม่ พร้อ มทั้ งปรับ ปรุ ง
ค่าไฟฟ้าให้ถูกต้องตามระเบียบ แต่ถ้าผลการทดสอบปรากฏว่ามิเตอร์คลาดเคลื่อน
ไม่เกินร้อยละ ±2.5 ผู้ใช้ไฟฟ้าและหรือ ผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้าที่ร้องขอให้
ตรวจสอบ จะต้องเสียค่าทดสอบและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามที่ กฟภ.กำหนด
45.2 ผู้ใช้ไฟฟ้าระบบการจ่ายไฟฟ้าแรงดัน 69,000 โวลต์ ขึ้นไป ถ้าผลการ
ทดสอบปรากฏว่ามิ เตอร์มี ค วามคลาดเคลื่ อ นเกิ น ร้อ ยละ ±0.5 กฟภ.จะไม่ คิ ด
ค่ า ใช้ จ่ า ยในการดำเนิ น การทั้ งหมดและเปลี่ ย นมิ เตอร์ ให้ ใหม่ พ ร้ อ มทั้ งปรั บ ปรุ ง
ค่าไฟฟ้าให้ถูกต้องตามระเบียบ แต่ถ้าผลการทดสอบปรากฏว่ามิเตอร์คลาดเคลื่อน
ไม่เกินร้อยละ ±0.5 ผู้ใช้ไฟฟ้ าและหรือผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้าที่ร้องขอให้
ทดสอบจะต้องเสียค่าทดสอบและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามที่ กฟภ.กำหนด
45.3 ในกรณีที่ ผู้ใช้ไฟฟ้ าและหรือผู้ครอบครองสถานที่ ใช้ไฟฟ้าร้องขอให้
กฟภ.ทดสอบอุ ป กรณ์ ป ระกอบมิ เตอร์ ผู้ ใช้ ไฟฟ้ า และหรื อ ผู้ ค รอบครองสถานที่
ใช้ไฟฟ้าที่ร้องขอให้ทดสอบเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย และหากผลการทดสอบอุปกรณ์
ประกอบมิเตอร์ระบบการจ่ายไฟฟ้าแรงดัน ไม่เกิน 33,000 โวลต์ มีค่าคลาดเคลื่อน
เกินร้อยละ ±0.5 หรืออุปกรณ์ประกอบมิเตอร์ระบบการจ่ายไฟฟ้าแรงดัน 69,000
โวลต์ ขึ้ น ไปมี ค่ า ความคลาดเคลื่ อ นเกิ น ระดั บ ความเที่ ย งตรง (Accuracy class)
ที่ระบุไว้บนแผ่นระบุรายละเอียด (Name-plate) ของอุปกรณ์นั้น กฟภ.จะปรับปรุง
ค่าไฟฟ้าให้ถูกต้องตามระเบียบ

ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๖๒ 29
-30-
ข้อ 46 ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินของ กฟภ.
ผู้ใช้ไฟฟ้าและหรือผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า ต้องระมัดระวังและดูแลมิให้
บุคคลใดกระทำต่อทรัพย์สินของ กฟภ.ซึ่งติดตั้งอยู่ในสถานที่ใช้ไฟฟ้าเพื่อประโยชน์
ในการจ่ายไฟฟ้า หากเกิดความเสียหายใดๆ แก่ทรัพย์สินดังกล่าวผู้ใช้ไฟฟ้าและหรือ
ผู้ครอบครองสถานที่ ใช้ ไฟฟ้ าต้องรับผิดชดใช้ในความเสียหายใดๆที่เกิ ดขึ้น ทั้ งนี้
รวมทั้งการใช้ไฟฟ้าที่ผิดระเบียบนี้ด้วย

ข้อ 47 ความรับผิดชอบของผู้ใช้ไฟฟ้าและหรือผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้าต่อ
ระบบจำหน่ายไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า
ผู้ใช้ไฟฟ้าและหรือผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า จะกระทำการอย่างหนึ่งอย่าง
ใดกั บ ระบบจำหน่ า ยไฟฟ้ า อุ ป กรณ์ ไฟฟ้ า หรื อ สร้ า งสิ่ งปิ ด กั้ น อั น เป็ น สาเหตุ ให้
ไม่สะดวกในการอ่านข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบจำหน่าย
ไฟฟ้ า อุ ป กรณ์ ไฟฟ้ าไม่ ได้ ผู้ ใช้ ไฟฟ้ าและหรือ ผู้ ค รอบครองสถานที่ ใช้ ไฟฟ้ าต้ อ ง
รับ ผิด ชอบชดใช้ ค่ าเสี ยหายซึ่งเกิ ด ขึ้น เพราะการกระทำดั งกล่ าว และ กฟภ.อาจ
พิจารณางดจ่ายไฟฟ้า

ข้อ 48 การเข้าไปในสถานที่ใช้ไฟฟ้า
พนักงาน กฟภ.มีอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดให้เข้าไปในสถานที่ของผู้ใช้
ไฟฟ้า และหรือผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า เพื่อตรวจซ่อมแซมหรือแก้ไขระบบการ
ส่งพลังไฟฟ้าในกรณีจำเป็นเพื่อป้องกันภยันตรายเป็นการเร่งด่วนในเวลาหนึ่งเวลาใด
ก็ได้ เมื่ อ แจ้งให้ ผู้ ใช้ ไฟฟ้ าหรื อผู้ ค รอบครองสถานที่ ใช้ ไฟฟ้ าทราบและแสดงบัต ร
ประจำตั ว พนั ก งาน กฟภ.ให้ ต รวจสอบแล้ ว ถ้ า ผู้ ใช้ ไฟฟ้ าและหรื อ ผู้ ค รอบครอง
สถานที่ใช้ไฟฟ้าไม่ยินยอมให้พนักงาน กฟภ.เข้าไปดำเนินการดังกล่ าวจนก่อให้เกิด
ความเสียหายแก่ กฟภ. กฟภ.สงวนสิทธิที่จะดำเนินการตามกฎหมายบัญญัติไว้และ
งดจ่ายไฟฟ้าแก่สถานที่ดังกล่าว โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

ข้อ 49 ความเสียหายเนื่องจากการใช้ไฟฟ้า
49.1 กฟภ.จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ซึ่งเกิดจากการจ่ายไฟฟ้า
หรือในกรณีการส่งพลังไฟฟ้าต้องหยุดชะงักลงทั้งหมดหรือบางส่วน
กองเศรษฐกิจพลังงาน
30 ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน
-31-
49.2 กฟภ.จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นกับ อุปกรณ์ไฟฟ้า
ภายในของผู้ใช้ไฟฟ้าและหรือผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า
49.3 กฟภ.จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นกรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้า
และหรือผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้ามีการเพิ่มเติมระบบไฟฟ้ าภายในโดยไม่ได้รับ
อนุญาตจาก กฟภ.

หมวดที
หมวดที่ ่ 6๖
การบอกเลิ
การบอกเลิก การงดจ่ายไฟฟ้า และการขอกลั
และการขอกลับบมาใช้
มาใช้ไไฟฟ้
ฟฟ้าาใหม่
ใหม่

ข้อ 50 การบอกเลิกการใช้ไฟฟ้า
ผู้ใช้ไฟฟ้าหรือ กฟภ.ประสงค์จะบอกเลิกการใช้ไฟฟ้าต้องแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่ง
ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
และผู้ใช้ไฟฟ้าต้องรับผิดชอบชำระค่าไฟฟ้าและค่าเสียหายใดๆ ที่มีอยู่จนถึงวันที่ถอน
คืนมิเตอร์

ข้อ 51 การงดจ่ายไฟฟ้า
เงื่อนไขการงดจ่ายไฟฟ้า
51.๑ ไม่ชำระเงินค่าไฟฟ้าหรือหนี้สินที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ไฟฟ้าตามกำหนด
51.2 ไม่เพิ่ ม หลัก ประกัน การใช้ไฟฟ้ าตามที่ กฟภ.มีห นั งสื อแจ้งเป็น ลาย
ลักษณ์อักษรให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทราบ
51.3 มี ก ารขายหรือต่ อ พ่ วงไฟฟ้ านอกเหนื อจากที่ ระบุไว้ในคำร้อ งขอใช้
ไฟฟ้า
51.4 ระบบไฟฟ้าภายในไม่มีความปลอดภัยเพียงพอซึ่งอาจเป็นอันตรายได้
51.5 ละเมิดการใช้ไฟฟ้าหรือกระทำการใดๆ เกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าที่ทำให้
กฟภ.ได้รับความเสียหาย และไม่ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายตามที่ กฟภ.ได้เรียกเก็บ
๕๑.6 กระทำการอันอาจจะทำให้เกิดเหตุขัดข้องหรืออาจเกิดอันตราย หรือ
การใช้ไฟฟ้าที่มีผลกระทบผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่น
51.7 กฟภ.พิจารณาเห็นว่าการจ่ายไฟฟ้านั้นกระทบต่อความมั่นคงของชาติ

ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๖๒ 31
-32-
-32-
51.8 ฝ่ า ฝื น ไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามสั ญ ญาซื้ อ ขายไฟฟ้ า ระเบี ย บและหลั ก เกณฑ์
51.8 ฝ่ า ฝื น ไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามสั ญ ญาซื้ อ ขายไฟฟ้ า ระเบี ย บและหลั ก เกณฑ์
ที่ กฟภ.ประกาศใช้ในปัจจุบัน
ที่ กฟภ.ประกาศใช้ในปัจจุบัน
ข้อ 52 การขอกลับมาใช้ไฟฟ้าใหม่
ข้อ 52 การขอกลับมาใช้ไฟฟ้าใหม่
เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าได้แก้ไขเหตุที่ถูกงดจ่ายไฟฟ้าตามข้อ 51 แล้ว ให้ปฏิบัติดังนี้
เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าได้แก้ไขเหตุที่ถูกงดจ่ายไฟฟ้าตามข้อ 51 แล้ว ให้ปฏิบัติดังนี้
52.1 กรณีขอกลับมาใช้ไฟฟ้าใหม่ภายใน 90 วัน นับจากวันถูกงดจ่ายไฟฟ้า
52.1 กรณีขอกลับมาใช้ไฟฟ้าใหม่ภายใน 90 วัน นับจากวันถูกงดจ่ายไฟฟ้า
ผู้ใช้ ไฟฟ้ าต้ อ งชำระหนี้ สิ น ที่ ติ ด ค้ าง (ถ้ามี ) และค่าแรงในการต่ อ กลั บมิ เตอร์ใหม่
ผู้ใช้ ไฟฟ้ าต้ อ งชำระหนี้ สิ น ที่ ติ ด ค้ าง (ถ้ามี ) และค่าแรงในการต่ อ กลั บมิ เตอร์ใหม่
ตลอดจนหลักประกันการใช้ไฟฟ้าให้ครบตามระเบียบของ กฟภ.
ตลอดจนหลักประกันการใช้ไฟฟ้าให้ครบตามระเบียบของ กฟภ.
52.2 กรณีขอกลับมาใช้ไฟฟ้าใหม่ภายหลัง 90 วัน นับจากวันที่ถูกงดจ่าย
52.2 กรณีขอกลับมาใช้ไฟฟ้าใหม่ภายหลัง 90 วัน นับจากวันที่ถูกงดจ่าย
ไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องชำระหนี้สินที่ติดค้ าง (ถ้ามี) และยื่นคำร้องขอใช้ไฟฟ้าใหม่ตาม
ไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องชำระหนี้สินที่ติดค้ าง (ถ้ามี) และยื่นคำร้องขอใช้ไฟฟ้าใหม่ตาม
ช่ อ งทางที่ กฟภ.กำหนด รวมทั้ ง จะต้ อ งชำระค่ า บริ ก ารการใช้ ไ ฟฟ้ า ทุ ก อย่ า ง
ช่ อ งทางที่ กฟภ.กำหนด รวมทั้ ง จะต้ อ งชำระค่ า บริ ก ารการใช้ ไ ฟฟ้ า ทุ ก อย่ า ง
เช่นเดียวกับผู้ขอใช้ไฟฟ้ารายใหม่
เช่นเดียวกับผู้ขอใช้ไฟฟ้ารายใหม่
ทั้งนี้ การดำเนินการภายใต้ระเบียบฉบับนี้ ต้องเป็นไปตามข้อบังคับ ระเบียบ
ทั้งนี้ การดำเนินการภายใต้ระเบียบฉบับนี้ ต้องเป็นไปตามข้อบังคับ ระเบียบ
หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ที่ กฟภ.กำหนดและประกาศใช้ใน
หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ที่ กฟภ.กำหนดและประกาศใช้ใน
ปัจจุบัน
ปัจจุบัน

ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2562


ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2562

(นายสมพงษ์ ปรีเปรม)
(นายสมพงษ์ ปรีเปรม)
ผู้ว่าการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ผู้ว่าการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

กองเศรษฐกิจพลังงาน
32 ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน

You might also like