Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 49

1

บทที่ 1
การเมืองและการการบริหาร

ความหมายของการเมืองแบ่ งได้ 2 ระดับ คือ


1. การเมืองในฐานะที่เป็ นรัฐ โดยมีรัฐบาล เป็ นผูแ้ ทนในการทำหน้าที่ของรัฐ
2. การเมืองในฐานะที่เป็ นขอบข่ ายที่ว่าด้ วยเรื่อง อำนาจ ผลประโยชน์ และการจัดสรรสิ่ งที่มีคุณค่า
ในสังคม
ความสำคัญของการเมืองในฐานะที่เป็ นรัฐ คือ โดยมีรัฐบาลเป็ นผูแ้ ทนในการทำหน้าที่ของรัฐ คือ
การบริ หารบ้านเมืองโดยมีเป้ าหมายอยูท่ ี่ความสงบสุ ขของประชาชน โดยใช้ “นโยบาย” เป็ นเครื่ องมือ
ความสำคัญของการเมืองในฐานะที่เป็ นเรื่องของอำนาจ ผลประโยชน์ และการจัดสรรสิ่ งทีม่ ีคุณค่ าในสั งคม
คือ การคำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะ เป็ นเป้ าหมายของการเมือง
การบริหาร หมายถึง การดำเนินงานให้บรรลุวตั ถุประสงค์ที่กำหนดไว้ของระบบราชการ องค์การ
สาธารณะที่ไม่มีเป้ าหมายในการแสวงหากำไร
ความสำคัญของการบริหารในฐานะเป็ นระบบราชการ คือ ที่เป็ นกลไกหน้าที่ในการให้บริ การ
สาธารณะให้กบั ประชาชนโดยไม่มุ่งแสงหากำไร ผ่านหน่วยงานที่อยูใ่ นโครงสร้างการบริ หารราชการแผ่น
ดิน
ความสำคัญของการบริหารในฐานะเป็ นกลไกของระบบราชการ คือ เป็ นการขับเคลื่อน การ
ปฏิบตั ิงานของหน่วยงานราชการนั้นๆ ให้บรรลุเป้ าหมายตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานราชการ
กระบวนการทัศน์ การแยกการบริหารออกจากการเมือง โดยหลักการของวูดโร วิลสั น คือ การ
กำหนดนโยบายเป็ นสิ่ งที่เกิดขึ้นในกระบวนการทางการเมืองเท่านั้น ส่ วนการนำนโยบายไปปฏิบตั ิควรอยู่
ในขอบข่ายของระบบราชการที่ปราศจากความเป็ นการเมืองลากรไม่ควรแทรกแซงการบริ หาร
ในช่ วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่ วง ค.ศ.1950-ค.ส.1960 เริ่ มมีความคิดท้าทายกระบวนทัศน์ การ
บริ หารแยกออกจากการเมือง เกิดกระบวนทัศน์ที่วา่ การบริ หารคือการเมือง การเมืองและค่านิยมเป็ นปั จจัย
ภายนอกที่ละเมิดหรื อรุ กล้ำการบริ หารงานภาครัฐและการตัดสิ นใจในการบริ หารงานภาครัฐในระบบ
ราชการเป็ นสิ่ งที่เกี่ยวข้องกับอำนาจและผลประโยชน์ซ่ ึ งเป็ นเรื่ องการเมือง
การตัดสิ นใจไม่สามารถแยกได้จากการเมือง เนื่องจากเกี่ยวข้องกับค่ านิยม การให้ คุณค่ า เป็ นพื้น
ฐานในการตัดสิ นใจ
ลักษณะของความสัมพันธ์ ระหว่างการเมืองและการบริหารในการแต่ งตั้งโยกย้ าย คือ การที่ฝ่าย
การเมืองเป็ นผูม้ ีอำนาจในการแต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการประจำ คือ ฝ่ ายการเมืองแทรกแซงการแต่งตั้ง โยก
ย้าย ข้าราชการ โดยไม่ได้คำนึงหรื อยึดโยงกับหลักคุณธรรมแต่ยดึ โยงกับการใช้ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์
และระบบพวกพ้อง
ลักษณะของความสัมพันธ์ ระหว่างการเมืองละการบริหารในกระบวนการนโยบาย คือ การเมือง
(รัฐบาย) มีบทบาทหลักในการกำหนดนโยบายการบริ หาร (ระบบราชการ) เป็ นกลไกหลักในการนำโยบาย
ไปปฏิบตั ิ และปัญหาทีเกิดในขึ้น คือ ฝ่ ายการเมืองแทรกแซงการนำนโยบายไปปฏิบตั ิของข้าราชการใน
ขอบเขตแห่งอำนาจที่วา่ ด้วยเรื่ องการตัดสิ ใจของข้าราชการได้เปิ ดพื้นที่ให้รัฐบาลเข้ามาแทรกแซง
นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่ งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรื อไม่กระทำในกรณี ที่เป็ นสิ่ งที่
รัฐบาลเลือกที่จะทำ กิจกรรมที่รัฐกระทำนั้นจะเกี่ยวกับเรื่ องใดเรื่ องหนึ่ง โดยเจตนาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ในสังคม
2

กระบวนการนโยบายสาธารณะมี 5 ขั้นตอน (นักวิชาการ Anderson)


1. การก่อตัวของปัญหานโยบาย คือ ปั ญหาเชิงนโยบายเป็ นการพิจารณาว่าปัญหานั้นเป็ นปั ญหา
สาธารณะหรื อไม่ หรื อเป็ นปัญหาวาระของรัฐบาลที่ตอ้ งกระทำหรื อไม่
2. การก่อรู ปนโยบาย คือ ขั้นตอนนี้เป็ นการกำหนดทางเลือกของนโยบายว่ามีทางเลือกใดบ้างใน
การแก้ปัญหา และใครเป็ นผูม้ ีส่วนร่ วมในการกำหนดนโยบาย
3. การตัดสินใจนโยบาย คือ เป็ นการตัดสิ นใจว่าทางเลือกต่างๆ ที่ได้วิเคราะห์ไว้แล้วจะตัดสิ นใจ
เลือกทางเลือกใดหรื อนำทางเลือกใดไปบังคับใช้
4. การนำโนบายไปปฏิบัติ คือ การนำนโยบายไปปฏิบตั ิให้ได้บรรลุผลและมีอะไรเป็ นผลกระทบ
ต่อเนื้อหาของนโยบาย
5. การประเมินผลนโยบาย คือ การวัดว่านโยบายมีประสิ ทธิ ภาพหรื อผลกระทบอย่างไรหลังจากนำ
นโยบายนั้นไปสู่ การปฏิบตั ิและใครจะเป็ นผูป้ ระเมินผลนโยบาย

-------------------------------------------------------
บทที่ 2
การบริหารรัฐกิจกับกฎหมายปกครอง

กฎหมายเอกชน หมายถึง เป็ นกฎหมายที่วา่ ด้วยความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างเอกชนกับเอกชน


มีสถานะเท่าเทียมกัน โดยเอกชนแต่ละคนจะมีสิทธิ และเสรี ภาพอยูใ่ นแดนของตนที่สามารถเปลี่ยนแปลง
ยกเลิก สิ ทธิ หน้าที่ระหว่างกันได้ตราบเท่าที่สิทธิ เสรี ภาพนั้นอยูภ่ ายใต้กรอบของกฎหมาย หลักการนิติ
สัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน “ไม่มีกฎหมายห้ามทำได้” เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิ ชย์
กฎหมายมหาชน หมายถึง เป็ นกฎหมายที่วา่ ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน หรื อคู่กรณี ที่มี
สถานะไม่เท่าเทียมกัน โดยรัฐปกป้ องคุม้ ครองประโยชน์สาธารณะจึงจำเป็ นต้องมีกฎหมายตามที่กฎหมาย
ให้อำนาจอย่างเคร่ งครัด โดยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม และใช้โดยผูกพันกับหลักการต่างๆ เช่น
หลักนิติรัฐ หลักประชาธิปไตย หลักความชอบด้วยกฎหมายหมายการกระทำ
กฎเกณฑ์ การจำแนกกฎหมายเอกชนออกจากกฎหมายมหาชนมีอยู่ 4 ประการ คือ
1. เกณฑ์ เกีย่ วกับบุคคลที่ก่อตั้งนิติสัมพันธ์ คือ กำหนดกฎหมายเมหาชนเป็ นกฎหมายที่ใช้บงั คับกับ
“สถานะ” และ “นิติสมั พันธ์” ที่รัฐฝ่ ายหนึ่งก่อกับเอกชนอีกฝ่ ายหนึ่ง ส่ วนกฎหมายเอกชนบังคับใช้กบั
เอกชนด้วยกัน
2. เกณฑ์ เกีย่ วกับวัตถุประสงค์ คือ นิติสมั พันธ์ในทางกฎหมายมหาชนมีวตั ถุประสงค์เป็ นไปเพื่อ
ประโยชน์สาธารณะ แต่กฎหมายเอกชนวัตถุประสงค์เป็ นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
3. เกณฑ์ เกีย่ วกับวิธีการให้ อำนาจในการก่ อนิติสัมพันธ์ ระหว่ างกัน คือ การก่อนิติสมั พันธ์ในทาง
กฎหมายมหาชนเป็ นการให้รัฐให้อำนาจที่เหนือกว่าเอกชนบังคับฝ่ ายเดียว แต่การก่อนิติสมั พันธ์กฎหมาย
เอกชนยืนอยูบ่ นหลักความสมัครใจอันมีที่มาจากเสรี ภาพในการทำสัญญา
4. เกณฑ์ เกีย่ วกับเนือ้ หา คือ กฎหมายมหาชนคู่กรณี จะตกลงกันเพื่อไม่ปฏิบตั ิตามเนื้ อหาของ
กฎหมายไม่ได้ แต่กฎหมายเอกชนคู่กรณี สามารถตกลงกันโดยไม่ปฏิบตั ิตามเนื้ อหาของกฎหมายได้ แต่ท้ งั นี้
ต้องอยูใ่ นเงื่อนไขว่ากรณี ตอ้ งไม่กระทบต่อความสงบเรี ยบร้อยและศีลธรรมอันดีของสังคม
ประโยชน์ ของการแบ่ งแยกกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนมี 3 ประการ
1. ประโยชน์ ในการนำคดีขนึ้ สู่ ศาล คือ
3

- คดีดา้ นกฎหมายมหาชนจะขึ้นศาลชำนาญการเฉพาะ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลปกครอง


- ส่ วนด้านกฎหมายเอกชนจะขึ้นศาลยุติธรรม ได้แก่ ศาลแพ่ง
2. ประโยชน์ ในแง่ กฎหมายสารบัญญัติ คือ
- กฎหมายเอกชนยึดหลัก ไม่ มีกฎหมายห้ ามเอกชนย่ อมมีเสรีภาพจะทำอย่ างไรก็ได้
- กฎหมายมหาชนยึดหลัก รัฐต้ องมีกฎหมายให้ อำนาจถึงจะมีอำนาจกระทำต่ อเอกชนได้
3. ประโยชน์ ในแง่ กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ
- การพิจารณาคดีของกฎหมายเอกชน คือ วิธีการพิจารณาคดีในศาลยุติธรรม ซึ่ งได้แก่
ศาลแพ่งซึ่ งรับผิดชอบคดีเกี่ยวกับกฎหมายเอกชนจะยึดกระบวนการพิจารณาคดีแบบระบกล่าหา ซึ่ งมีสาระ
ของหลักการที่วา่ ” ผูใ้ ดกล่าวอ้าง ผูน้ ้ นั นำสื บ” หากนำสื บมิได้ ต้องยกประโยชน์ให้จำเลย”
- การพิจารณาคดีของกฎหมายมหาชน คือ วิธีการพิจารณาคดีในศาลรัฐธรรมนูญ และศาล
ปกครอง จะยึดระบบสอบสวน ซึ่ งมีหลักการทีวา่ “ ผูใ้ ดกล่าวอ้าง ผูน้ ้ นั นำสื บ” หากนำสื บมิได้ตอ้ งยก
ประโยชน์ให้จำเลย” แต่จะยึดความจริ งที่เป็ นอยูจ่ ริ งตามเนื้อผ้า ภาระในการพิสูจน์และแสวงหาข้อเท็จจริ งจะ
อยูท่ ี่ศาลเป็ นสำคัญ
สาขาของกฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายการคลัง และ
กฎหมายระหว่างประเทศแผนคดีเมือง กฎหมายมหาชนที่เกีย่ วพันกับการบริหารราชการแผ่ นดินมากที่สุด
คือ กฎหมายปกครอง
กฎหมายการปกครอง
1. ลักษณะพืน้ ฐานของกฎหมายปกครอง ได้ แก่
1.1. กฎหมายปกครองเป็ นสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชน คือ หลักการต้องมีกฎหมายให้อำนาจ รัฐ
ถึงกระทำต่อเอกชนได้
1.2. กฎหมายปกครองเป็ นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างของฝ่ ายปกครอง คือ ต้องมีบุคคลเข้า
ดำเนินการในนามของรัฐ เรี ยกว่า รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ โดยจำแนกได้ ดังนี้
2.1 การกระทำทางนิติบญั ญัติ 2.2 การกระทำทางบริ หาร
2.3 การกระทำทางตุลาการ
ฝ่ ายปกครอง หมายถึง องค์กรที่เป็ นข้าราชการหรื อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ ทำงานประจำ ไม่ร่วมถึงฝ่ าย
การเมืองหรื อรัฐบาล
1.3. กฎหมายปกครองเป็ นกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริ การสาธารณะ ได้แก่
1.3.1 เป็ นกิจกรรมเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
1.3.2 เป็ นกิจกรรมที่อยูใ่ นความรับผิดชอบของฝ่ ายปกครองที่จะต้องเป็ นผูทำ
้ หรื อควบคุม
ดูแลอย่างใกล้ชิด
3.3 เป็ นกิจกรรมที่ตอ้ งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง หยุดนิ่งไม่ได้
1.4. กฎหมายปกครองเป็ นกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมฝ่ ายปกครอง คือ ต้องสร้างมาตรการ
ควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ ายปกครอง ทั้งการควบคุมภายในและการควบคุมภายนอกองค์การฝ่ ายปกครอง
2. คุณลักษณะของหลักกฎหมายปกครอง
2.1 การนำหลักกฎหมายปกครองไปใช้และแปลความ คือ หลักการแยก “งานนโยบายบริหารประเทศ” ออกจาก “งาน
ราชการประจำ” อย่างเด็ดชาด
2.2 หลักการแยก “ดุลพินิจโดยแท้ของบริ หาร” ออกจากการควบคุมของศาล คือ เรื่ องการตรวจสอบ
การใช้อำนาจของฝ่ ายปกครองจะมีการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ ายปกครองจากภายใน
2.3 หลักการไม่กา้ วล่วงเข้าไปในอำนาจของสถาบันอื่นที่เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ วิศวกรรม หรื อบัญชี
4

2.4 หลักต้องให้ความคุม้ ครอง คือ หลักความสมดุลทางการบริ หารจัดการต้องเป็ นหลักความพอดี


ระหว่างประโยชน์สาธารณะที่สมดุลกับประโยชน์ส่วนตน
2.5 หลักมุ่งไปสู่ การเพิ่มประสิ ทธิภาพและคุณภาพในการบริ หาร บริ หารสาธารณะภายใต้ระบบรู ้รับ
ผิดชอบ
3. หลักการพืน้ ฐานสำคัญของการบริหารการสาธารณะ ได้ แก่
3.1 หลักความต่อเนื่องของการบริ การสาธารณะ คือ การบริ หารสาธารณะต้องไม่มีวนั หยุดนิ่ง เพราะ
จะทำให้ประชาชนเดือดร้อน ประเทศชาติเสี ยหาย
3.2 หลักความเปลี่ยนแปลงได้ของการบริ การสาธารณะ เพื่อให้ทนั ต่อความต้องการของประชาชน
อยูเ่ สมอ
3.3 หลักความเสมอภาคในการรับบริ การสาธารณะ ได้แก่ ความเสอมภาคของประชาชนที่สามารถ
เข้ารับการบริ การสาธารณะโดยเท่าเทียม เสมอภาค โดยไม่มีการเลือกปฏิบตั ิที่ไม่เป็ นธรรม หรื อความเสมอ
ภาพในการสมัครเข้าทำงานในตำแหน่งงานของรัฐ รวมทั้งความเสมอภาคในการเข้าเป็ นคู่สญ ั ญากับรัฐ

หลักการสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน
1. การปกครองระบอบประชาธิปไตยมี 2 หลักการ คือ
1.1 หลักประชาธิปไตยมี3 หลัก คือ
1.1.1 หลักอำนาจสู งสุ ดเป็ นของประชาชน เนื่องจากรัฐประกอบไปด้วย ดินแดน
ประชาชน รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย
1.1.2 หลักสิ ทธิ เสรี ภาพ และหลักความเสมอภาคประชาชน
1.1.3 หลักการปกครองโดยเสี ยงข้างมากแต่คุม้ ครองเสี ยงข้างน้อย
1.2 หลักนิติรัฐ คือ เป็ นหลักที่ยดึ กฎหมายเป็ นใหญ่ ผูป้ กครองที่แท้จริ ง คือ กฎหมาย ไม่ใช่
มนุษย์ ทุกองค์กรของรัฐต้องอยูภ่ ายใต้กฎหมายโดยไม่มีขอ้ ยกเว้นมี ดังนี้ คือ
1.2.1 หลักการแบ่ งแยกอำนาจ คือ อำนาจนิติบญั ญัติใช้อำนาจโดยรัฐสภา อำนาจ
บริ หารใช้อำนาจโดยรัฐบาล และอำนาจตุลาการใช้อำนาจโดยศาล อำนาจที่แบ่งแยกออกเป็ น 3 ด้าน
ต้องตรวจสอบถ่วงดุล การใช้อำนาจซึ่ งกันและกันเพื่อป้ องกันเผด็จการ
1.2.2 หลักความเป็ นกฎหมายสู งสุ ดของรัฐธรรมนูญ คือ การปกครองระบอบ
ประชาธิ ปไตยยึดหลักนิติรัฐที่ยดึ กฎหมายเป็ นใหญ่มิใช่คน
1.2.3. หลักการประกันสิ ทธิ เสรีภาพของประชาชน คือ ในประเทศที่ปกครองด้วย
ระบอบประชาธิปไตย ประชาชนทุกคนเมื่อเกิดมาในประเทศย่อมมีสิทธิ และเสรี ภาพอย่างเต็มที่ตราบที่ไม่มี
กฎหมายมาจำกัด
1.2.4. หลักไม่มีกฎหมาย ไม่ มีอำนาจ คือ เป็ นหลักของนิติรัฐที่มุ่งปกป้ องคุม้ ครอง
สิ ทธิ เสรี ภาพของประชาชน การที่รัฐจะปฏิบตั ิจนกระทบต่อเสรี ภาพของประชาชนนั้นได้ ก็ต่อเมื่อมี
กฎหมายบัญญัติให้รัฐกระทำเช่นนั้นได้
1.2.5. หลักความเป็ นอิสระของผู้พพิ ากษา คือ มาจากความต้องการให้อำนาจ
ตุลาการมีความเป็ นกลาง เที่ยงธรรม ปราศจากอคติโดยแท้
แนวคิดในการบริหารจัดการภาครัฐ
1. .อำนาจบริหารในฐานะรัฐบาลเป็ นผู้ใช้ อำนาจ เรี ยกว่า อำนาจบริ หาร ระดับรัฐบาล เป็ นอำนาจใน
การกำหนดนโยบาย หรื ออำนาจทางการเมือง
5

2. อำนาจบริหารในฐานะฝ่ ายปกครอง เป็ นอำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกิดจากบัญญัติของกฎหมาย


ระดับรองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายระดับตั้งแต่พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา พระราช
กำหนดลงมาจนถึงอำนาจจากการบริ หารองค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่น
แนวคิดในการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ ในเชิงกฎหมายมหาชน
1. หลักนิติธรรม คือ เป็ นการปกครองโดยกฎหมายมิใช่ปกครองโดยตัวคนในรัฐ
2. หลักโปร่ งใส คือ การบริ หารงานรัฐต้องมีความโปร่ งใสสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลาและตรวจ
ได้ทุกแง่ทุกมุมเพื่อความบริ สุทธิ์ ยุติธรรม ปราศจากประโยชน์เคลือบแฝง
3. หลักการมีส่วนร่ วมของประชาชน คือ ให้ประชาชนได้มีส่วนร่ วมในการกำหนดนโยบายมีส่วน
ร่ วมตัดสิ นใจในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับการปกครองประเทศ ได้แก่
3.1 หลักการให้ชุมชนพิจารณาแก้ไขปั ญหาของตนเอง
3.2 การทำประชาพิจารณ์
3.3 การกระจายอำนาจ

4. หลักการทั่วไปในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่ นดินของไทย
4.1 การบริหาราชการส่ วนกลาง ได้แก่ การบริ หารที่ยดึ หลักการรวมอำนาจ เช่น กระทรวง
ทบวง กรม และหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และองค์การอิสระ
4.2 การบริหารราชการส่ วนภูมิภาค ได้แก่ การบริ หารที่ยดึ หลักการแบ่งอำนาจการปกครอง
ไปไว้ที่ภูมิภาค
4.3 การบริหารราชการส่ วนท้ องถิน่ คือ การบริ หารราชการที่ยดึ หลักการกระจายอำนาจ
ของรัฐในการปกครองบางส่ วนไปให้หน่วยงานการปกครองอื่น ที่ไม่ใช่ราชการบริ หารส่ วนกลางเป็ นผูจ้ ดั
ทำบริ การสาธารณะบางอย่าง
ปัจจุบนั องค์กรปกครองส่ วนท้ องถิ่น (ข้ อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2557) รวมทั้งสิ้น 7,853 แห่ งมี 5
ประเภท ได้ แก่
1. องค์การบริ หารส่ วนจังหวัด จำนวน 76 แห่ง
2. เทศบาล จำนวน 2,440 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลนคร 30 แห่ง เทศบาลเมือง 176
แห่ง และเทศบาลตำบล 2,234 แห่ง
3. องค์การบริ หารส่ วนตำบล จำนวน 5,335 แห่ง
4. องค์กรปกครองท้องถิ่นรู ปแบบพิเศษ 2 แห่ง ได้ กรุ งเทพมหานคร และเมืองพัทยา
ความสัมพันธ์ ระหว่างกฎหมายปกครองกับการบริหารราชการแผ่ นดิน
1. การกระทำของรัฐ มีลกั ษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
1. ต้องเป็ นการกระทำโดยบุคคลผูไ้ ด้รับการแต่งตั้งโดยชอบกฎหมายให้ทำหน้าที่แทนรัฐ ถ้ามิใช่
เป็ นผูไ้ ด้รับการแต่งตั้งโดยชอบ การกระทำโดยบุคคลนั้นมิใช่การกระทำของรัฐ
2. บุคคลผูไ้ ด้รับการแต่งตั้งต้องกระทำในฐานะเป็ นองค์กรของรัฐมิใช่กระทำในฐานะส่ วนตัว
3. การกระทำต้องเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมและปกป้ องสิ ทธิ ส่วนบุคคล
เครื่องมือในรู ปของอำนาจทางปกครองและเครื่องมือในรู ปของสั ญญาทางปกครอง คือ
1. เครื่องมือในรู ปของอำนาจทางปกครอง ได้แก่ เครื่ องมือในการจัดทำกิจการของรัฐและบริ การ
สาธารณะ คือ การออกกฎ คำสัง่ และการกระทำ
2. เครื่องมือในรู ปของสัญญาทางปกครอง หมายถึง สัญญาที่คู่สญ ั ญาอย่างน้อยฝ่ ายหนึ่งเป็ นหน่วย
งานทางปกครองหรื อบุคคลซึ่ งเป็ นเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้กระทำแทนรัฐ ตกลงเข้าทำสัญญากับฝ่ าย
6

เอกชนซึ่ งเป็ นคู่สญ ั ญาอีกฝ่ าย โดยสัญญาต้องมีลกั ษณะตามที่กฎหมายและคำพิพากษาศาลปกครองสู งสุ ด


กำหนด ดังนี้
1. สั ญญาสัมปทาน เช่น สัญญาสัมปทานทางด่วน สัญญาสัมปทานทางรถไฟฟ้ า
2. สั ญญาที่จัดทำบริการสาธารณะ เช่น สัญญาจ้างผูบ้ ริ หารรัฐวิสาหกิจ สัญญาจ้างเอกชน จัดพิมพ์
บัตรเลือกตั้ง
3. สั ญญาจัดให้ มีสิ่งสาธารณูปโภค เช่น สัญญาจ้างก่อสร้างถนน สะพาน ขยายบริ หารน้ำประปา
ในเขตเทศบาล สัญญาจ้างก่อสร้างโรงพยาบาล
4. สั ญญาแสวงประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น สัญญาสัมปทานเก็บรังนกนางแอ่น สัญญา
สัมปทานบ่อนดินและดูดทราบ
5. สั ญญาให้ เข้ าร่ วมดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรง เช่น สัญญาซื้ อชายและติดตั้งเครื่ อง
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประมวลผลโดยรัฐให้เอกชนเข้าร่ วมดำเนินการ สัญญากูย้ มื เอกชนตามโครงการ
แทรกแซงราคาข้าว
6. สั ญญามีข้อกำหนดในสัญญาที่มีลกั ษณะพิเศษแสดงเอกสิ ทธิของรัฐเพือ่ ให้ การใช้ อำนาจหรือ
ดำเนินการบริการสาธารณะบรรลุผล เช่น สัญญาที่มีขอ้ กำหนดให้รัฐสามารถยกเลิกได้ เปลี่ยนแปลงสาระ
สัญญาได้ฝ่ายเดียว โดยไม่ตอ้ งขอความยินยอมจากเอกชน
2. หลักสำคัญของการบริหารราชการแผ่นดิน
2.1 ต้องมีกฎหมายในอำนาจและกระทำภายในกรอบอำนาจ
2.2 ต้องเป็ นประโยชน์สุขของประชาชน
2.3 ประโยชน์สาธารณะจะต้องอยูเ่ หนือประโยชน์ส่วนตัวของปั จเจกชน โดยต้องยึดหลักความ
สมดุลในการบริ หาร
3. การควบคุมตรวจสอบการใช้ อำนาจรัฐ
3.1 การควบคุมตรวจสอบการใช้ อำนาจรัฐภายในองค์ การ หมายถึง การควบคุมตรวจสอบการใช้
อำนาจของเจ้าหน้าที่ที่กระทำการแทนรัฐ โดยผูบ้ งั คับบัญชาที่อยูภ่ ายในองค์การว่ามีการใช้อำนาจอย่างถูก
ต้อง เป็ นธรรม สุ จริ ต หรื อไม่
3.2 การควบคุมตรวจสอบการใช้ อำนาจรัฐโดยองค์ กรภายนอก เช่น องค์กรรัฐสภา องค์กรคณะ
กรรมการป้ องกันและปราบปรามการทุจริ ตแห่งชาติ องค์กรคณะกรรมการการเลือกตั้ง
3.3 การควบคุมตรวจสอบการใช้ อำนาจรัฐโดยองค์ กรตุลาการ เช่น ศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ
และศาลปกครอง
ทีม่ าและขอบเขตของพระราชบัญญัติวธิ ีปฏิบัติราชการปกครอง พ.ศ.2539 หมายถึง เป็ นกฎหมาย
ว่าด้วยวิธีปฏิบตั ิราชการทางปกครอง จะเป็ นบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อวางลำดับขั้นตอนและกลไก
ควบคุมทั้งก่อนออกคำสัง่ ทางปกครองและหลังออกคำสัง่ ทางปกครอง เพื่อให้เกิดความถูกต้องและยุติธรรม
รวมทั้งเกิดประสิ ทธิภาพในการบริ หารกิจการบ้านเมือง
เงือ่ นไขทางกฎหมายในการออกคำสั่งทางปกครองมี 2 เงือ่ นไข คือ
1. เงือ่ นไขตามแบบพิธีมี 6 เรื่อง คือ
1.1 อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผอู ้ อกคำสัง่ ทางปกครอง
1.1.1 พิจารณาในแง่เรื่ องที่มีอำนาจ
1.1.2 พิจารณาในแง่พ้ืนที่มีอำนาจ
1.1.3 พิจารณาในแง่ของตำแหน่งเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตามกฎหมาย
1.1.4 พิจารณาในแง่ส่วนบุคคลที่มีอำนาจในตำแหน่ง
7

1.1.5 กระบวนการและขั้นตอนในการออกคำสัง่ ทางปกครอง


1.2 กระบวนการและขั้นตอนออกคำสัง่ ทางปกครอง
1.2.1 การกำหนดคู่กรณี ในคำสัง่ ทางปกครอง
1.2.2 การตรวจสอบความสามารถในการมีส่วนร่ วมในกระบวนการพิจารณาของคู่
กรณี
1.2.3 การตรวจสอบเหตุแห่งการไม่สามารถทำคำสัง่ ของเจ้าหน้าที่ผทู ้ รงอำนาจได้
1.2.4 การค้นหาความจริ งโดยระบบไต่สวน
1.2.5 การให้สิทธิคู่กรณี ในการตรวจดูเอกสาร
1.2.6 การให้คู่กรณี ทราบข้อเท็จจริ งและการให้คู่กรณี มีโอกาสโต้แย้งและแสดง
พยานหลักฐานก่อนออกคำสัง่
1.3 ระยะเวลาในการออกคำสัง่ ทางปกครอง

1.4 รู ปแบบของคำสัง่ ทางปกครอง


1.4.1 แบบของคำสัง่ ทางปกครองที่เป็ นหนังสื อ
1.4.2 แบบของคำสัง่ ทางปกครองที่เป็ นวาจา
1.4.3 แบบของคำสัง่ ทางปกครองที่เป็ นรู ปแบบอื่นๆ เช่น แสงไฟ เครื่ องหมายหรื อ
กิริยาอาการ
1.5 การให้เหตุผลประกอบการออกคำสัง่ ทางปกครอง
1.6 การจดแจ้งสิ ทธิอุทธรณ์โต้แย้งคำสัง่ ทางปกครอง
1.6.1 เป็ นขั้นตอนที่จำเป็ นในการใช้สิทธิ ทางศาล
1.6.2 ถ้ากฎหมายเฉพาะไม่กำหนดวิธีการอุทธรณ์ไว้ตอ้ งอุทธรณ์ตามกฎหมายว่า
ด้วยวิธีปฏิบตั ิราชการทางปกครอง
1.6.3 คำสัง่ ทางปกครองโดยทัว่ ไปต้องอุทธรณ์เสมอ เว้นแต่คำสัง่ ของทางรัฐมนตรี
หรื อคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทไม่ตอ้ งอุทธรณ์ โดยให้ฟ้องศาลได้เลย หรื อเป็ นกรณี ที่กฎหมายยกเว้น
ให้คำสัง่ ทางปกครองนั้นมิตอ้ งอุทธรณ์
1.6.4 การยืน่ อุทธรณ์ตอ้ งยืน่ ต่อเจ้าหน้าที่ผอู ้ อกคำสัง่ และการยืน่ อุทธรณ์ไม่มีผล
เป็ นการทุเลาการบังคับ
1.6.5 การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์มีลกั ษณะพิจารณา 2 ชั้น
2. เงือ่ นไขตามเนือ้ หามี 5 เรื่อง คือ
2.1 เนื้อความของคำสัง่ ทางปกครองสอดคล้องกับกฎหมายและสอดคล้องกับกฎหมายใน
ลำดับชั้นที่สูงกว่า
2.2 คำสัง่ ทางปกครองมีฐานกฎหมายรองรับ
2.3 ผูอ้ อกคำสัง่ ทางปกครองใช้ดุลพินิจโดยไม่มีขอ้ บกพร่ อง ใช้หลักพอสมควรแก่เหตุ
2.4 คำสัง่ ทางปกครองต้องชัดเจน เพียงพอ ให้ผรู ้ ับคำสัง่ เข้าใจได้
2.5 คำสัง่ ทางปกครองต้องมีความเป็ นไปได้ในการปฏิบตั ิตามคำสัง่
การมีสภาพบังคับและความชอบไม่ ขอบด้ วยกฎหมายของคำสั่ งทางปกครอง
8

1. การแจ้ งคำสั่งทางปกครอง คือ จะมีผลต่อเมื่อมีการแจ้งออกสู่ ภายนอกให้คู่กรณี ทราบ โดยมี


ผลเมื่อบุคคลนั้นหรื อผูแ้ ทนรับแจ้งตามมาตรา 42 วรรคแรก ของ พรบ.วิธีปฏิบตั ิราชการทางปกครอง
พ.ศ.2539 ส่ วนบุคคลผูร้ ับคำสัง่ จะอ่านหรื อไม่อ่านเนื้อหาของคำสัง่ หรื อไม่ ไม่เป็ นสาระสำคัญ
2. การบังคับการปกครองมีดงั นี้
2.1 กรณี คำสัง่ ให้ชำระเงิน 2.2 คำสัง่ ให้กระทำหรื อละเว้นกระทำ
หลักสำคัญของการบังคับการปกครองมี 4 ประการ คือ
1. การบังคับทางปกครองต้องใช้เท่าที่จำเป็ น
2. ก่อนใช้การบังคับทางปกครองต้องเตือนก่อน
3. การบังคับทางปกครองต้องมีความชัดเจนแน่นอน
4. การบังคับทางปกครองอาจถูกโต้แย้งคัดค้านโดยผูต้ อ้ งถูกบังคับได้
3. การทบทวนคำสั่งทางปกครอง
3.1 การทบทวนคำสัง่ ทางปกครองโดยเจ้าหน้าที่ผอู ้ อกคำสัง่
3.2 การทบทวนคำสัง่ ทางปกครองโดยองค์กรวินิจฉัยอุทธรณ์
3.3 การทบทวนคำสัง่ ทางปกครองโดยศาลปกครอง

4. เงือ่ นไขที่จะทำให้ คำสั่งทางปกครองไม่ ชอบด้ วยกฎหมาย มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) ของ พรบ.จัด
ตั้งศาลปกครองและวิธีพจิ ารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 กำหนดไว้ 8 ประการ
1. เป็ นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ
2. เป็ นการกระทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่
3. เป็ นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
4. เป็ นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามรู ปแบบขั้นตอน หรื อวิธีการอันเป็ นสาระสำคัญที่กำหนด
ไว้สำหรับการกระทำนั้น

5. เป็ นการกระทำโดยไม่สุจริ ต
6. เป็ นการกระทำที่มีลกั ษณะเป็ นการเลือกปฏิบตั ิที่ไม่เป็ นธรรม
7. เป็ นการกระทำที่มีลกั ษณะเป็ นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็ น หรื อสร้างภาระให้เกิดกับ
ประชาชนเกินสมควร
8. เป็ นการกระทำที่เป็ นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
สิ ทธิชองประชาชนที่ได้รับจากกฎหมายว่าด้ วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
1. สิ ทธิได้รับการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ซ่ ึ งมีความเป็ นกลาง
2. สิ ทธิในการมีที่ปรึ กษาหรื อผูทำ
้ การแทน
3. สิ ทธิที่จะได้รับคำแนะนำและแจ้งสิ ทธิ หน้าที่ต่างๆ ในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่
4. สิ ทธิได้รับการพิจารณาโดยสมบูรณ์
5. สิ ทธิรับทราบข้อเท็จจริ ง
6. สิ ทธิในการขอดูเอกสารที่จำเป็ น
7. สิ ทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ ว
8. สิ ทธิได้รับทราบเหตุผลของการวินิจฉัยสัง่ การ
9. สิ ทธิได้รับแจ้งการอุทธรณ์โต้แย้ง
9

สรุ ป พรบ.วิธีการปฏิบตั ิราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 เป็ นกฎหมายปกครองที่ความเกี่ยวพันกับ


การบริ การรัฐกิจอย่างใกล้ชิด เพราะเป็ นกฎหมายที่เป็ นเครื่ องมือให้หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ได้
ใช้เป็ นบรรทัดฐานในการตรวจสอบการออกคำสัง่ ทางปกครองเพื่อให้บริ การสาธารณะบรรลุผลเป็ นไป
อย่างถูกต้องตามกฎหมายและมีความยุติธรรม

-------------------------------------------
บทที่ 3
พัฒนาการและเทคนิคการบริหารรัฐกิจ

เทคนิค หมายถึง ศิลปะหรื อกลวิธีเฉพาะวิชา เป็ นวิธีการปฏิบตั ิที่จะนำไปสู่ ความสำเร็ จ


เทคนิคการบริหาร หมายถึง วิธีการวิเคราะห์และจัดวางระบบการทำงานที่ผบู ้ ริ หารหรื อผูจ้ ดั การใช้
ในการตัดสิ นใจเพื่อปรับปรุ งประสิ ทธิภาพและประสิ ทธิ ผลการดำเนินงานใน 2 กิจกรรม ได้แก่ การวางแผน
และการควบคุมการดำเนินงาน
พัฒนาการของเทคนิคการบริหารรัฐกิจ
1. การเปลี่ยนแปลงทางการบริ หาร
2. การปฏิรูปการบริ การ
3. การปรับปรุ งราชการบริ หาร 4. การปฏิวตั ิการบริ หาร
เทคนิคการบริหารที่สร้ างและพัฒนา ขึ้นมาใหม่แต่ละช่วงเวลาตั้งอยูบ่ นพื้นฐานของหลักวิชาที่วา่
ด้วยการบริ หารภาครัฐ มีการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการบริ หาร
ทั้งนี้ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่ งแวดล้อมย่อมส่ งผลให้องค์การจำเป็ นต้องปรับเปลี่ยนตัวเองโดยมี
ทฤษฎี หลักการ แนวคิด และองค์ความรู้ทางการบริ หารเป็ นแนวทางในการเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อให้
สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม พร้อมการนี้ ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้ าหมายจำเป็ นต้องสร้างและพัฒนา
เทคนิคการบริ หารเพื่อให้ผบู้ ริ หารใช้เป็ นเครื่ องมือในการสร้างความสำเร็ จในการดำเนินการ
เทคนิคการบริหารรัฐกิจก่อนการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ.2545 คือ การนำระบบบริ หาร
มุ่งผลสัมฤทธิ์ มาใช้ในการปฏิบตั ิราชการ มีการวัดผลการทำงานของข้าราชการ 3 ระดับ คือ ระดับกลุ่ม
กระทรวง ระดับกระทรวง ระดับกรมและยังมีการนำแนวคิดเกี่ยวกับ Balanced Scorecard มาประยุกต์ใช้ใน
ระบบราชการ
เทคนิคการบริหารรัฐกิจหลังการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ.2545 คือ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์
วัฒนธรรม และค่านิยมของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เอื้อต่อการพัฒนาระบบราชการ และการนำเอา
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่ อสารเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาประสิ ทธิ ภาพการทำงานและการให้
บริ การประชาชนก็ได้มีการดำเนินการอย่างกว้างขวางในรู ปแบบของ e-Government ทำให้การให้บริ การ
ประชาชนเป็ นไปด้วยความรวดเร็ วและถูกต้อง
การวางแผนยุทธศาสตร์ในการบริ หารรัฐกิจ
การพัฒนาการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ มี 4 ระยะ
1. การวางแผนทางด้านการเงิน
10

2. การวางแผนที่เน้นการพยากรณ์
3. การวางแผนที่เน้นปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอก
4. การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
การพัฒนาการวางแผนยุทธศาสตร์ มี 5 ระยะ
1. ระยะการควบคุมทางการเงินและงบประมาณ
2. ระยะการวางแผนระยะยาว
3. ระยะการวางนโยบายทางธุรกิจ
4. ระยะการวางแผนกิจการ
5. ระยะการบริ หารเชิงยุทธศาสตร์
การบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ครอบคลุมในเรื่องต่ างๆ ดังนี้
1. การจัดวางยุทธศาสตร์ 2. การนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบตั ิ
3. การควบคุมและการประเมินผลเชิงยุทธศาสตร์
การวางแผนยุทธศาสตร์ ในการบริหารภาครัฐกิจ หมายถึง กระบวนการที่องค์การกำหนดวิสยั ทัศน์
ด้วยการพยายามสร้างภาพขององค์การในอนาคตว่าควรจะเป็ นอย่างไร พร้อมกันนั้นก็ได้พฒั นาแนวทาง
การดำเนินงาน รวมทั้งวิธีการปฏิบตั ิต่างๆ เพื่อให้บรรลุผลดังกล่าว โดยการประเมินผลกระทบจากสิ่ ง
แวดล้อม การกำหนดพันธกิจและเป้ าหมายหลัก และการกำหนดยุทธศาสตร์ และแผนยุทธศาสตร์ ซึ่ งเป็ น
แผนโดยรวมขององค์การที่บ่งบอกทิศทางและวิธีการนำพาองค์การไปสู่ ความก้าวหน้าในอนาคต หรื ออาจ
เพื่อความอยูร่ อดขององค์กร
ลักษณะการวางแผนยุทธศาสตร์
1. การมุ่งเน้นอนาคต 2. การมุ่งเน้นจุดมุ่งหมายรวมขององค์การ
3. การมุ่งเน้นกระบวนการ 4. การมุ่งเน้นภาพรวม
ความจำเป็ นของการวางแผนยุทธศาสตร์
1. การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็ ว
2. ผูบ้ ริ หารองค์การจำเป็ นต้องพิจารณาจัดสรรทรัพยากรขององค์การที่มีอยูอ่ ย่างจำกัดให้เกิด
ประโยชน์สูงสุ ด
3. การขยายตัวและความซับซ้อนขององค์การ
กระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ มี 4 ขั้นตอน
1. การกำหนดพันธกิจว่ามีสิ่งใดบ้างที่จะต้องปฏิบตั ิซ่ ึ งจะกำหนดจากข้อมูล/สารสนเทศที่ได้
จากคำตอบสำหรับคำถามที่วา่ องค์การต้องการทำอะไร
2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การและการประเมินสถานะขององค์การซึ่ งจะกำหนด
จากข้อมูล/สารสนเทศที่ได้จากคำตอบสำหรับคำถามที่วา่ ปั จจุบนั สถานภาพขององค์การเป็ นอย่างไร
3. การกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การกำหนดจากข้อมูล/สารสนเทศที่ได้จากคำตอบสำหรับ
คำถามที่วา่ องค์การต้องการทำอะไรให้สำเร็ จ
4. แผนยุทธศาสตร์ซ่ ึ งเป็ นการวางแนวทางในการบรรลุวตั ถุประสงค์ขององค์การ ซึ่ งองค์การ
กำหนดจากข้อมูล/สารสนเทศที่ได้จากคำตอบสำหรับคำถามที่วา่ องค์การจะต้องทำอย่างไรจึงจะบรรลุ
วัตถุประสงค์ขององค์การ
เทคนิคด้ านการบริหารการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ หมายถึง ทำให้ส่วนราชการสามารถ
ปรับปรุ งและยกระดับคุณภาพการบริ หารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนได้ตาม
นโยบายของรัฐบาน
11

ขั้นตอนและวิธีการในการจัดทำคำรับรองการปฏิบัตริ าชการ
1. ส่ วนราชการทบทวนวิสยั ทัศน์ พันธกิจ แผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบตั ิราชการ
2. หน่วยงานในสังกัดส่ วนราชการทบทวนแผนปฏิบตั ิราชการประจำปี จัดทำความเชื่อมโยงกับ
แผนยุทธศาสตร์ส่วนราชการและแผนที่ยทุ ธศาสตร์
- ส่ วนราชการจัดทำร่ างคำรับรองการปฏิบตั ิราชการตัวชี้ วดั ค่าเป้ าหมาย เกณฑ์การประเมิน
ผล
- เจรจาคำรับรองการปฏิบตั ิราชการ
- พิธีลงนามคำรับรองการปฏิบตั ิราชการ
- การลงนามคำรับรองการปฏิบตั ิราชการ หัวหน้าส่ วนราชการ รองหัวหน้าส่ วน
ราชการ/ที่ปรึ กษา รองหัวหน้าส่ วนราชการ-หน่วยงาน
- ดำเนินการตามคำรับรองการปฏิบตั ิราชการและจัดทำการประเมินผลตนเอง รอบ 6
เดือน/12 เดือน
- ประเมินผล
- รับสิ่ งจูงใจตามระดับของผลงาน
เทคนิคการบริหารการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมายถึง ช่วยให้การให้องค์การภาค
รัฐสามารถได้ให้บริ การสาธารณะทุกภาคส่ วนเป็ นที่พึงพอใจของประชาชน
วิธีการจัดทำการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
1. การนำองค์การ
2. การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์
3. การให้ความสำคัญกับผูร้ ับบริ การและผูม้ ีส่วนได้ส่วนเสี ย
4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู ้
5. การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
6. การจัดการกระบวนการ
7. ผลลัพธ์การดำเนินการ
PMQA (Public Sector Management Quality Award) หมายถึง เป็ นรางวัลคุณภาพที่ใช้กบั ภาค
ราชการ โดยสำนักงาน ก.พ.ร. ร่ วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติให้รางวัลนี้ กบั ส่ วนราชการและองค์กร
ภาครัฐที่ให้บริ การประชาชนอย่างมีประสิ ทธิ ภาพโดยสำนักงาน ก.พ.ร. ได้นำเกณฑ์สากลมาดัดแปลงแล้ว
ดังเป็ นเกณฑ์คุณภาพการบริ หารจัดการภาครัฐ
เทคนิคการงบประมาณในการบริ หารรัฐกิจ
ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้ นผลงานตามยุทธศาสตร์ คือ เป็ นวิธีการที่เป็ นระบบในการระบุพนั ธ
กิจขอองค์การ เป้ าหมายและวัตถุประสงค์ และมีการประเมินผลสำเร็ จอย่างสม่ำเสมอ โดยการเชื่อมโยง
ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรที่ใช้เพื่อให้ได้ผลผลิต และผลลัพธ์ที่สอดคล้องกันกับเป้ าหมายวัตถุประสงค์ พันธ
กิจ และยุทธศาสตร์ เป็ นระบบที่มีการบริ หารจัดการทรัพยากร การเงิน และการพัสดุโดยการสะท้อนให้เห็น
ผลสำเร็ จของงานหรื อพันธกิจต่างๆ ขององค์การหรื อของรัฐภายใต้การระบบการบริ หารกิจการบ้านเมือง
และสังคมที่ดี
หลักสำคัญของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้ นผลงานตามยุทธศาสตร์
1. การบริ หารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
12

2. ผูบ้ ริ หารองค์การมีอิสระมากขึ้นในการบริ หารการเงินควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อผลสำเร็ จ


ของงานตามข้อตกลงการทำงาน
3. รัฐบาลและประชาชนได้รับผลประโยชน์จากความคุม้ ค่าในการใช้จ่ายเงินของหน่วยงาน
แนวคิดของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้ นผลงานตามยุทธศาสตร์
1. รัฐบาลสามารถใช้วิธีการและกระบวนการงบประมาณให้เป็ นเครื่ องมือในการจัดสรรทรัพยากร
ให้เกิดผลสำเร็จตามนโยบาย และให้เห็นผลงานที่ประชาชนจะได้รับจากบริ หารประเทศของรัฐบาล
2. มุ่งเน้นให้เกิดการใช้จ่ายงบประมาณ ที่มีประสิ ทธิ ภาพ และประสิ ทธิ ผล
3. มอบความคล่องตัวในการจัดทำและบริ หารงบประมาณให้กบั ผูป้ ฏิบตั ิ ที่เรี ยกวา GFMIS
กระบวนการของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้ นผลงานตามยุทธศาสตร์
1. ภาคการจัดทำงบประมาณ
2. ภาคการบริ หารงบประมาณ
3. ภาคการติดตามประเมินผล
มาตรฐานการจัดการทางการเงินของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้ นผลงานตามยุทธศาสตร์
1. การวางแผนงบประมาณ
2. การคำนวณต้นทุนผลผลิต
3. การจัดระบบการจัดซื้ อจัดจ้าง
4. การบริ หารทางการเงินและควบคุมงบประมาณ
5. การบริ หารสิ นทรัพย์
6. การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน
7. การตรวจสอบภายใน
ระบบการจัดการงบประมาณแบบอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง กระบวนการจัดสรรงบประมาณ โดยใช้
เครื่ องมืออิเล็กทรอนิกส์เข้ามาทำให้กระบวนการงบประมาณ ทั้งการอนุมตั ิ เบิกจ่าย กระบวนการจัดซื้ อจัด
จ้างภาครัฐและข้อมูลส่ วนราชการ มีความสะดวกรวดเร็ ว คล่องตัว มีความโปร่ งใส จะถูกเชื่อมโยงเข้าสู่
ระบบคอมพิวเตอร์ให้เป็ นส่ วนหนึ่งของเครื อข่ายของระบบการบริ หารงานการคลังภาครัฐด้วยระบบ
อิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) เพื่ออำนายความสะดวกแก่ผบู ้ ริ หารในระดับต่างๆ ในการับรู ้รายละเอียดการใช้จ่าย
เงินงบประมาณได้อย่างเต็มที
ประโยชน์ ระบบการจัดการงบประมาณแบบอิเล็กทรอนิกส์
1. สามารถรักษาวินยั ทางการคลังได้ดียิง่ ขึ้น
2. เป็ นกรอบในการตัดสิ นใจของรัฐบาล
3. ส่ งเสริ มระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน/ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตาม
ยุทธศาสตร์
4. ลดระยะเวลาของการจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี
5. เพิ่มประสิ ทธิภาพในการวางแผนของหน่วยงาน
การจัดการงบประมาณแบบอิเล็กทรอนิกส์ แบบระบบ e-Budgeting มี 4 องค์ ประกอบ คือ
1. ข้อมูลรายละเอียดงบประมาณของหน่วยงาน
2. ระบบ e-Budgeting
3. เอกสารงบประมาณ
4. ข้อมูล พรบ. งบประมาณสำหรับระบบ GFMIS
13

ระบบการบริหารเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ GFMIS คือ เป็ นระบบการบริ หารการ


เงินการคลังภาครัฐ โดยออกแบบและจัดสร้างระบบการบริ หารการเงินการคลังภาครัฐของประเทศไทยอย่าง
สมบูรณ์แบบทั้งในด้านรายรับรายจ่าย เงินคงคลัง บัญชีการเงินตามเกณฑ์คงค้าง บัญชีทรัพย์สินถาวร บัญชี
ต้นทุน บัญชีบริ หารรวมถึงการจัดซื้ อจัดจ้าง การจัดทำ การอนุมตั ิ การเบิกจ่าย การปรับปรุ ง และการติดตาม
การใช้งบประมาณ ที่เน้นการวัตประสิ ทธิภาพและประสิ ทธิ ผลแบบ Output-Outcome เพื่อให้เกิดฐานข้อมูล
กลางด้านการเงินการคลังภาครัฐแบบ Matrix และ Online Real Time ตามโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม
และพื้นจังหวัด
เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการบริหารรัฐกิจ
การบริหารทุนมนุษย์ หมายถึง การบริ หารคุณค่าของทรัพยากรที่เป็ นประโยชน์ต่อองค์กร หรื อ
ประเทศโดยพิจารณาในส่ วนของความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ รวมถึงงานของผูบ้ ริ หาร เพื่อจะได้ทราบว่าจะ
ใช้อะไรมาเป็ นตัวผลักดันองค์การและการบริ หารทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับกลยุทธ์
กระบวนการบริหารทุนมนุษย์ในองค์การ
1. การทำให้ได้มาซึ่ งคุณค่าของมนุษย์
2. การพัฒนาคุณค่าของมนุษย์
3. การใช้ประโยชน์จากคุณค่าของมนุษย์
4. ให้บุคลากรใช้คุณค่าของตนให้เป็ นประโยชน์ต่อองค์การ
5. การรักษาคุณค่าของมนุษย์เอาไว้
การบริหารทรัพยากรบุคคลตามระบบประเภทตำแหน่ ง คือ เป็ นระบบการบริ หารทรัพยากรที่ นำมา
ใช้ในการงริ หารงานบุคคลขององค์กรภาครัฐของไทยที่เน้นในเรื่ องการกำหนดตำแหน่งใหม่ การกำหนด
ระบบค่าตอบแทนใหม่ การกำหนดประเภทบุคลากรในราชการพลเรื อนใหม่ การสรรหาและการคัดเลือก
บุคคลเข้าสู ระบบราการแบบเปิ ด และการพัฒนาระบบราชการผูม้ ีผลสัมฤทธิ์ สู ง
ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระดับกรม (DPIS) คือ เป็ นระบบสารสนเทศที่ใช้ในการ
จัดเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับข้าราชการ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการ
วางแผนทรัพยากรมนุษย์ของส่ วนราชการและอื่นๆ ด้วย
วัตถุประสงค์ ของระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระดับกรม คือ
1. เพื่อสนับสนุนการปฏิบตั ิงานประจำวันของกรมในส่ วนที่เกี่ยวข้องกับงานการเจ้าหน้าที่
2. เพื่อให้ส่วนราชการมีระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลที่ใช้เป็ นบานในการวานแผนและการ
บริ หารทรัพยากรบุคคล
3. เพื่อสร้างระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลที่เป็ นมาตรฐาน และสามารถเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง
หน่วยงาน

------------------------------------------------

บทที่ 4
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ภาครัฐและการพิทักษ์ ระบบคุณธรรม

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ คือ การดำเนินการอย่างเป็ นระบบเกี่ยวกับกำลังคนอันเป็ นเจ้า


หน้าที่ของรัฐที่ปฏิบตั ิงานอยูใ่ นหน่วยงานต่างๆ โดยอาจจะเป็ นข้าราชการ หรื อลูกจ้าง หรื อเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ประเภทอื่นๆ ก็ได้ ซึ่ งการดำเนินการดังกล่าวจะครอบคลุมถึงการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับความต้องการกำลัง
14

คนของหน่วยงาน การบริ หารจัดการกำลังคนที่มีอยูข่ องหน่วยงานตลอดจนการคุม้ ครองความเป็ นธรรม


และเสริ มสร้างมนุษย์สมั พันธ์ เพื่อธำรงรักษาคนที่เหมาะสมไว้กบั หน่วยงาน
แนวคิดเกีย่ วกับการบริการทรัพยากรมนุษย์
1. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐเชิงรู ปธรรม คือ เน้นการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในเชิง
ปริ มาณที่สามารถคำนวณได้ สามารถจัดทำและวิเคราะห์ในเชิงสถิตตัวเลขได้ เช่น จำนวนกำลังคนในระดับ
วุฒิการศึกษาต่าง เป็ นต้น
2. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐเชิงนามธรรม คือ เป็ นการให้ความสำคัญเรื่ องจริ ยธรรม และ
คุณธรรมในหน่วยงานและการสร้างความรับผิดชอบของผูบ้ ริ การที่มีต่อคุณภาพชีวิต ความสุ ข และความ
พึงพอใจในงานของทรัพยากรมนุษย์ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อความสำเร็ จและเป้ าหมายของการ
ปฏิบตั ิงาน
วัตถุประสงค์ ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ภาครัฐ คือ
1. เพื่อให้การบริ การทรัพยากรมนุษย์ในหน่วยงานภาครัฐมีประสิ ทธิ ภาพ
2. เพื่อให้ภาครัฐมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ
3. เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ มีการใช้ยทุ ธศาสตร์การบริ หารทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสม
4. เพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ มีความมัน่ ใจในการได้รับความคุม้ ครองความเป็ นธรรมในการ
บริ หารบุคคลของผูบ้ งั คับบัญชา
หลักสำคัญในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ คือ
1. หลักสมรรถนะ คือ การบริ หารทรัพยากรมนุษย์ที่มุ่งผลการปฏิบตั ิงานที่เป็ นเลิศ
2. หลักผลงาน คือ การบริ หารทรัพยากรมนุษย์ที่เน้นความสำคัญของการบริ หารผลการปฏิบตั ิงาน
และนำข้อมูลหรื อผลที่ได้จากการบริ หารผลการปฏิบตั ิงานมาใช้ประโยชน์ในภารกิจต่างๆ ได้แก่
2.1 วางแผนปฏิบตั ิงาน 2.2 ติดตามการปฏิบตั ิงาน
2.3 พัฒนา 2.4 ประเมิน
2.5 ให้รางวัล
3. หลักความสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ การบริหารหน่ วยงาน คือ เพื่อให้ภารกิจบรรลุ
เป้ าหมายอย่างมีประสิ ทธิภาพ และครอบคลุมทั้งการบริ หารงาน การบริ หารองค์การ การบริ หารงบประมาณ
และการบริ หารทรัพยากรมนุษย์
4. หลักความสอดคล้องกับการบริหารภาครัฐแนวใหม่ และการบริหารกิจการบ้ านเมืองที่ดี คือ
4.1 บริ หารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
4.2 บริ หารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ต่อภารกิจของรัฐ
4.3 บริ หารราชการอย่างมีประสิ ทธิ ภาพ
4.4 บริ หารราชการให้เกิดความคุม้ ค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ
4.5 ลดขั้นตอนการปฏิบตั ิงาน
4.6 ลดภารกิจ และยุบหน่วยงานที่ไม่จำเป็ น
4.7 กระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ทอ้ งถิ่น
4.8 กระจายอำนาจการตัดสิ นใจ
4.9 อำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน
4.10 ใช้วิธีการบริ หารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยเน้นความรับผิดชอบของผูป้ ฏิบตั ิงานของรัฐ
ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ ได้ แก่
15

1. ระบบอุปถัมภ์ คือ การบริ หารทรัพยากรมนุษย์ที่เป็ นการอุปถัมภ์ค ้ำชูโดยผูบ้ ริ หาร หรื อผูบ้ งั คับ
บัญชาตามอัธยาศัย โดยมิได้กำหนดกฎเกณฑ์ให้เป็ นทางปฏิบตั ิที่ชดั เจน
2. ระบบคุณธรรม คือ การบริ หารทรัพยากรมนุษย์ที่มีกฎเกณฑ์ชอบด้วยกฎหมายและมีความชอบ
ธรรม โดยมีหลักสำคัญคือ
2.1 หลักความเสมอภาค 2.2 หลักความสามารถ
2.3 หลักความมัน่ คงในอาชีพราชการ 2.4 หลักความเป็ นกลางทางการเมือง
กระบวนการและผู้รับผิดชอบในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ภาครัฐ ได้ แก่
1. การจัดระบบฐานข้อมูลทรัพยากรมนุษย์
2. การวิเคราะห์ทรัพยากรมนุษย์ของหน่วยงาน
3. การวิเคราะห์ความต้องการทรัพยากรมนุษย์
4. การกำหนดนโยบายและวางแผนยุทธศาสตร์ดา้ นทรัพยากรมนุษย์
5. การนำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ดา้ นทรัพยากรมนุษย์มาดำเนินการในทางปฏิบตั ิ
6. การตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลการบริ หารทรัพยากรมนุษย์
ทีม่ าของคณะกรรมการพิทักษ์ ระบบคุณธรรม คือ คณะกรรมการพิทกั ษ์ระบบคุณธรรมเกิดขึ้น
ตามมาตรา 24 พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรื อน พ.ศ.2551 โดยมีผทู ้ ี่ทำหน้าที่คดั เลือก ก.พ.ค. ตามที่บญั ญัติ
ใน พ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน มาตรา 26 ประกอบด้วย ประธานศาลปกครองสู งสุ ดเป็ นประธาน รองประธานศาล
ฎีกาที่ได้รับมอบหมายจากประธานศาลฎีกาหนึ่งคน กรรมการ ก.พ.ผูท้ รงคุณวุฒิหนึ่งคน ซึ่ งได้รับเลือกโดย
ก.พ.และให้เลขาธิการ ก.พ. เป็ นกรรมการและเลขานุการ
สถานภาพของคณะกรรมการพิทักษ์ ระบบคุณธรรม ได้ แก่
1. เป็ นองค์กรในฝ่ ายบริ หารที่ทำหน้าที่คุม้ ครองและพิทกั ษ์ระบบคุณธรรมให้แก่ขา้ ราชการพลเรื อน
2. มีความเป็ นอิสระจากฝ่ ายการเมือง
3. มีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง 6 ปี
4. ทำงานเต็มเวลา
อำนาจหน้ าที่ของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ได้ แก่
1. เสนอแนะต่อ ก.พ.หรื อองค์กรกลางบริ หารบุคคลเพื่อ ก.พ. หรื อองค์กรกลางบริ หารงานบุคคลอื่น
ดำเนินการจัดให้มี หรื อปรับปรุ งนโยบายการบริ หารทรัพยากรบุคคลในส่ วนเกี่ยวกับการพิทกั ษ์ระบบ
คุณธรรม
2. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสัง่ ลงโทษทางวินยั หรื อคำสัง่ ให้ออกจากราชการของข้าราชการ ระยะ
การพิจารณาอุทธรณ์ 120 วัน ขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน 2 ครั้งๆ ละไม่เกิน 60 วัน
3. พิจารณาวินิจฉัยเรื่ องร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรื อน ระยะเวลาการพิจารณาร้องทุกข์ 90 วัน
ขยายไม่เกิน 2 ครั้งๆ ละ 30 วัน
4. พิจารณาเรื่ องการคุม้ ครองระบบคุณธรรม
5. ออกกฎ ก.พ.ค. ระเบียบหลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อปฏิบตั ิการตามพระราชบัญญัติระเบียบ
ข้าราชการพลเรื อน พ.ศ.2551
6. แต่งตั้งบุคคลเพื่อเป็ นกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ หรื อเป็ นกรรมการวินิจฉัยเรื่ องร้องทุกข
ปัจจัยทีจ่ ะสนับสนุนให้ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ภาครัฐมีประสิ ทธิภาพ ได้ แก่
1. ปัจจัยภายใน
1.1 การที่องค์กรกลางบริ หารบุคคลภาครัฐ มีกฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ และขั้นตอนที่ชดั เจน
เกี่ยวกับการดำเนินการทางปฏิบตั ิดา้ นทรัพยากรมนุษย์ เช่น หลักกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินยั
16

1.2 การมีระบบคุม้ ครองความเป็ นธรรมในการบริ หารทรัพยากรมนุษย์ โดยองค์การภายใน


ฝ่ ายบริ หาร เช่น มีคณะกรรมการพิทกั ษ์ระบบคุณธรรม
2. ปัจจัยภายนอก
2.1 การกำกับดูแล และตรวจสอบการบริ หารทรัพยากรมนุษย์ของฝ่ ายบริ หาร โดยฝ่ าย
นิติบญั ญัติและศาลปกครอง
2.2 การมีส่วนร่ วมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชน และสื่ อมวลชน ในการติดตามตรวจ
สอบการบริ หารภาครัฐ
2.3 ความจำเป็ นในการแข่งขัน เพื่อจูงใจคนที่มีความรู ้ความสามารถสู งเข้ามาทำงานภาครัฐ
ส่ งเสริ มให้ภาครัฐต้องพัฒนาการบริ หารทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิ ทธิ ภาพ
ปัจจัยทีเ่ ป็ นอุปสรรคต่ อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ภาครัฐมีประสิ ทธิภาพ ได้ แก่
1. ปัจจัยภายใน
1.1 ผูบ้ ริ หารและผูบ้ งั คับบัญชาในหน่วยงานภาครัฐส่ วนหนึ่งยังมีทศั นคติที่ไม่ถูกต้อง ไม่มี
จิตสำนึกแห่งความชอบธรรมในการบริ หารทรัพยากรมนุษย์
1.2 ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐส่ วนหนึ่งยังมีทศั นคติที่ไม่ถูกต้องในการปฏิบตั ิราชการ
ขาดจิตสำนึกในสิ่ งที่ดีงาม
2. ปัจจัยนอก
2.1 หน่วยงานภาครัฐอยูภ่ ายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล หรื อฝ่ ายการเมือง ทำให้ฝ่าย
การเมืองอาจแทรกแซงการบริ หารทรัพยากรมนุษย์เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบได้
2.2 ประชาชนและสังคมภายนอกภาครัฐยังไม่มีกลไก และวิธีการที่มีประสิ ทธิ ภาพในการ
ตรวจสอบการบริ หารทรัพยากรมนุษย์ของหน่วยงานภาครัฐ
2.3 ประชาชนและสังคมภายนอกภาครัฐ ส่ วนหนึ่งมีทศั นคติและค่านิยมที่เห็นแก่
ประโยชน์พรรคพวก และการหลีกเลี่ยง กฎ ระเบียบที่ชอบธรรม
แนวโน้ มของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐในอนาคต ได้ แก่
1. ระบบบริ หารทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตจะมุ่งเน้นความมีประสิ ทธิ ภาพ การให้ความสำคัญ และ
การคุม้ ครองความเป็ นธรรมมากขึ้น เพื่อให้เป็ นมาตรฐานสากล
2. จะมีการนำระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการบริ หารทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น
3. องค์กรกลางการบริ หารงานบุคคลต่างๆ จะให้ความสำคัญกับการออกกฎ หลักเกณฑ์ และ
ระเบียบปฏิบตั ิต่างๆ โดยยึดหลักของระบบคุณธรรมมากขึ้น
4. การบริ หารทรัพยากรมนุษย์จะถูกตรวจสอบจากองค์กรภายในและภายนอกภาครัฐมากขึ้นเพื่อ
คุม้ ครองความเป็ นธรรมแก่ทรัพยากรมนุษย์

--------------------------------
บทที่ 5
การบริหารการเงินการคลัง
การเงินการคลัง หมายถึง การรับ/จ่าย เก็บรักษาและบริ หารเงิน ในระดับรัฐบาล และระดับส่ วน
ราชการ ทั้งที่เป็ นเงินในงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ
การบริหารการเงินการคลังของประเทศไทยจำแนกได้ 3 ระดับ ได้ แก่
1. การบริ หารการคลังของรัฐบาล
17

2. การบริ หารการคลังของส่ วนท้องถิ่น


3. การบริ หารการคลังของรัฐวิสาหกิจ
ภารกิจการเงินการคลังของรัฐบาลกลางคือ
1. กลุ่มที่มีหน้ าที่หารายได้ และใช้ จ่ายเงิน
1.1 การจัดเก็บเงินภาษีอากรเพื่อนำส่ งคลังเป็ นรายได้แผ่นดิน
1.2 การใช้จ่ายเงินงบประมาณ
1.3 การรับ-จ่าย และบริ หารเงินนอกงบประมาณที่อยูใ่ นความรับผิดชอบ
2. กลุ่มที่มีหน้ าที่กำหนดโนบาย ออกกฎระเบียบ ข้ อบังคับ ควบคุมดูแล และติดตามประเมินผลการ
ปฏิบัติตามนโยบายและหลักการบริหารและการเงินการคลัง
2.1 การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.2 การวางแผนปฏิบตั ิการ และกำหนดวงเงินประมาณการรายได้และงบประมาณรายจ่าย
2.3 การกำหนดกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ รวมทั้งวางระบบบัญชีและระบบตรวจ
สอบภายใน เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็ นแนวทางปฏิบตั ิงานด้านการเงินการบัญชีให้เป็ นมาตรฐานเดียวกัน
2.4 การควบคุมดูแลการจัดเก็บและการนำเงินรายได้แผ่นดินส่ งคลัง
2.5 การควบคุมดูแลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง
2.6 การกูเ้ งินจากภายในและภายนอกประเทศ การบริ หารเงินกู ้ รวมทั้งการดูและเกี่ยวกับ
การชำระหนี้เงินกู้
2.7 การดูแลรักษาระดับเงินคงคลังให้มีจำนวนเพียงพอต่อการหมุนเวียนใช้จ่าย
2.8 การกำกับดูแลการับ-จ่ายเงินนอกงบประมาณของส่ วนราชการ
2.9 การตรวจสอบการปฏิบตั ิงานด้านการเงิน การบัญชี การประเมินประสิ ทธิ ภาพในการ
บริ หารงาน และการปะมเนิผลการใช้จ่ายเงินและผลการปฏิบตั ิงานของส่ วนราชการ
เงินในงบประมาณ
1. เงินรายได้ แผ่นดิน หมายถึง เงินทั้งปวงที่ส่วนราชการจัดเก็บหรื อได้รับไว้เป็ นกรรมสิ ทธิ์ ตาม
กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรื อจากนิติกรรมหรื อนิติเหตุ
1.1 ประเภทภาษีอากร ได้แก่
- ภาษีทางตรง ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้
ปิ โตรเลียม ภาษีทรัพย์สิน
- ภาษีการขายทั่วไป ได้แก่ ภาษีการค้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากร
แสตมป์
- ภาษีการขายเฉพาะ ได้แก่ ภาษีโภคภัณฑ์ ภาษีทรัพยากรธรรมชาติ

- ภาษีสินค้าเข้ าออก ได้แก่ อากรขาออก อากรขาเข้า ค่าพรี เมี่ยมข้าว ค่าพรี เมี่ยม


น้ำตาล และค่าธรรมเนียมการนำทองคำเข้า
- ภาษีลกั ษณะการอนุญาต ได้แก่ ค่าใบอนุญาตวิทยุ ค่าใบอนุญาตประมูลสุ รา
ค่าใบอนุญาตด้านสรรพสามิต ค่าใบอนุญาตด้านป่ าไม้ ค่าใบอนุญาตยาง
- ภาษีในลักษณะอืน่ ได้แก่ เงินช่วยราชการไพ่ เงินช่วยราชการในการปะมูลทองคำ
และเงินช่วยราชการในการสำรวจน้ำมันและการให้สิทธิ สำรวจน้ำมันดิบ
18

1.2 ประเภทการขายสิ่งของและบริการ ได้แก่


- รายได้จากขายสิ่งของ ได้แก่ ค่ายขายอสังหารริ มทรัพย์ ค่าขายผลิตภัณฑ์
ธรรมชาติ ค่ายขายหลักทรัพย์ ค่าขายหนังสื อราชการ ค่าขายสิ่ งของอื่น
- รายได้จากประเภทขายบริหาร ได้แก่ ค่าธรรมเนียม
1.3 ประเภทรัฐพาณิชย์ ได้แก่ รายได้ที่รัฐวิสาหกิจที่มีผลกำไรจากการดำเนินงานนำส่ งให้
รัฐบาลตามอัตราและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
1.4 ประเภทรายได้ อนื่ ๆ ได้แก่
- รายได้จากแสตมป์ ฤชาอากร ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ
- รายได้จากเงินรับคืน เช่น เงินเหลือจ่าปี เก่าส่ งคืน
- รายได้เบ็ดเตล็ด เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ เงินรับจากการทำเหรี ยญกษาปณ์
2. เงินงบประมาณรายจ่ าย หมายถึง เงินที่รัฐบาลนำมาใช้จ่ายการบริ หารประเทศโดยผ่าน ความ
เห็นชอบของรัฐสภาและตราเป็ นพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
งบประมาณรายจ่ ายประจำปี มี 3 แบบ คือ แบบสมดุล แบบขาดดุล และแบบเกินดุล
3. เงินกู้เพือ่ ขอเชยการขาดดุลงบประมาณ แต่ การกู้เงินเพือ่ ชดเชยการชาดดุลงบประมาณในปี หนึ่งๆ
ต้ องไม่ เกิน
1. ร้อยละยีส่ ิ บของบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณราจ่ายเพิ่มเติม
2. ร้อยละแปดสิ บของงบประมาณรายจ่ายที่ตงั ไว้ชำระคืนต้นเงินกู้
4. วงจรวิธีการงบประมาณของรัฐบาลกลาง คือ ต้องมีการจัดกระบวนการวางแผน การจัดทำงบ
ประมาณ การบริ หารและการควบคุมการใช้งบประมาณ การกำกับดูแล และการตรวจสอบการใช้งบ
ประมาณ
ขั้นตอนการบริหารงบประมาณ
4.1 การวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
4.2 การวางกรอบการใช้จ่ายเงินล่วงหน้าระยะปานกลาง
4.3 การจัดทำแผนกลยุทธ์
4.4 การจัดทำแผนปฏิบตั ิการประจำปี และคำขอใช้งบประมาณ
4.5 การจัดทำบันทึกข้อตกลงการปฏิบตั ิราชการ
4.6 การเสนอร่ างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
4.7 การอนุมตั ิจดั สรรงบประมาณและการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณ
4.8 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
4.9 การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี
4.10 การรายงานผลการดำเนินงานและผลใช้จ่ายเงิน
4.11 การประเมินประสิ ทธิภาพและประสิ ทธิ ผล
4.12 การตรวจสอบการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณ
เงินนอกงบประมาณ หมายถึง เงินทั้งปวงที่อยูใ่ นความรับผิดชอบของส่ วนราชการ นอกเหนือจาก
เงินงบประมาณรายจ่าย เงินรายได้แผ่นดิน เงินเบิกเกินส่ งคืน เงินเหลือจ่ายปี เก่าส่ งคืน
กฎหมายหลักที่สำคัญของเงินนอกงบประมาณ
1. พร..บ.เงินคงคลัง พ.ศ.2491 ได้แก่ เงินทุนหมุนเวียน เงินยืมทดรองราชการ และเงินฝาก
19

2. พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 ได้แก่ เงินบริ จาค เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ เงินบำรุ ง


การศึกษา เงินบำรุ งโรงพยาบาลและสถานพยาบาล เงินทดรองราชการ และเงินทุนสำรองจ่าย
การจำแนกประเภทเงินนอกงบประมาณ ได้แก่ เงินทุนหมุนเวียน เงินทดรองราชการ เงินฝากคลัง
เงินบริ จาคโดยมีวตั ถุประสงค์ เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ เงินบูรณะทรัพย์สิน เงินบำรุ งสถานศึกษา สถาน
พยาบาลและเงินรายได้มหาวิทยาลัย เงินกองทุนต่าง
วงจรการบริหารเงินนอกงบประมาณ
2.1 การวางแผนปฏิบตั ิการประจำปี 2.2 การจัดทำงบประมาณ
2.3 การบริ หารและควบคุมงบประมาณ 2.4 การติดตามและประเมินผล
2.5 การรายงาน
เงินคงคลัง หมายถึง เงินที่รัฐบาลมีอยูใ่ นขณะใดขณะหนึ่งเพื่อการใช้จ่ายประจำวันของรัฐบาล
ได้แก่
1. เงินฝากธนาคารแห่งประเทศไทย คือ เงินที่รัฐบาลส่ วนกลางรับเข้าจะนำฝากธนาคาร
แห่งประเทศไทย ชื่อ บัญชีคงคลังบัญชีที่ 1 และเงินคงคลังบัญชีที่ 2
2. เหรี ยญกษาปณ์ในมือธนารักษ์ คือ เป็ นเหรี ยญกษาปณ์ที่ผลิตไว้จ่ายแลกแก่ประชาชน
3. เงินสดในมือคลังจังหวัด คือ เป็ นเงินที่คลังจังหวัดมีไว้สำหรับรับ-จ่ายแก่ส่วนราชการ
ในส่ วนภูมิภาค
4. เงินในลักษณะอื่นๆ เช่น เช็คขัดข้อง เงินคงคลังระหว่างทาง บัตรภาษี
เงินคลังจำแนกได้ 2 ประเภท คือ
1. เงินคงคลังในความหมายทางกฎหมาย ได้แก่
1. เงินที่รัฐบาลได้ชำระไว้โดยไม่มีขอ้ ผูกพันที่จะต้องชำระคืน เช่น เงินรายรับในงบ
ประมาณ
รายได้ รายได้ประเภทภาษีอากร และรายได้ประเภทที่ไม่ใช่ภาษีอากร
2. เงินที่รัฐได้รับไว้โดยมีขอ้ ผูกพันที่ตอ้ งชำระคืน ได้แก่
- เงินรายรับในงบประมาณประเภทเงินกู ้
- เงินรายรับเงินนอกงบประมาณที่กระทรวงการคลังกำหนดให้ส่วนราชการและ
รัฐวิสาหกิจต้องนำเงินดังกล่าวมาฝากที่คลัง
2. เงินคงคลังในทางการบริหารการคลัง ได้ แก่
1. เงินคงคลังที่เป็ นเงินสด ได้แก่ เงินคลคลังบัญชีที่ 1 ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย เงินสด
ณ สำนักงานคลังจังหวัด ธนบัตรและเหรี ยญกษาปณ์ ณ กรมธนารักษ์ เงินคงคลังระหว่างทาง และเงินฝาก
ธนาคารกรุ งไทย จำกัด (มหาชน)
2. เงินคงคลังที่เป็ นเงินอืน่ เช่น บัตรภาษี และเช็คขัดข้อง
หลักสำคัญการบริหารคงคลัง ได้ แก่
1. มีการควบคุมเงินคงคลังอย่างรัดกุม
2. มีการรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับความจำเป็ นในการใช้จ่าย
3. มีการบริ หารเงินคงคลังอย่างมีประสิ ทธิ ภาพ
หนีส้ าธารณะ หมายถึง เงินกูใ้ นภาครัฐบาลทั้งที่เป็ นเงินกูใ้ นประเทศและต่างประเทศ และเงินของ
รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลเป็ นผูค้ ้ำประกันการชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ย

การบริหารการเงินการคลังในระดับรัฐบาล
20

1. การกำหนดนโยบายการคลัง คือ เป็ นการกำหนดนโยบายและใช้เครื่ องมือทางการคลังให้เกิดผล


ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมถึงการกำหนดกฎเกณฑ์ กติกาให้ส่วนราชาการถือปฏิบตั ิ
และควบคุมตรวจสอบให้เป็ นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่กำหนด
2. การใช้ เครื่องมือทางการคลัง ได้แก่
1. มาตรการภาษีอากร 2.งบประมาณรายจ่าย
3. การกูเ้ งิน 4. เงินคงคลัง
5. ทรัพย์สินของรัฐที่เป็ นราชพัสดุ
3. บทบาทหน้ าที่และแนวทางการดำเนินงานของหน่ วยงานรับผิดชอบ
3.1 ด้านนโยบายการคลัง คือ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังรับผิดชอบ
3.2 ด้านภาษีอากร คือ กรมสรรพากร กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิตรับผิดชอบ
3.3 ด้านการเงินคงคลังและการควบคุมการรับจ่ายเงิน คือ กรมบัญชีกลางรับผิดชอบ
3.4 ด้านการบริ หารหนี้ สาธารณะ คือ สำนักงานบริ หารหนี้ สาธารณะรับผิดชอบ
3.5 ด้านการบริ หารทรัพย์สินประเภทที่ราชพัดสุ คือ กรมธนารักษ์รับผิดชอบ
4. การควบคุมกำกับดูแลประเมินผล ได้แก่ กรม กระทรวง หน่วยงานกลาง รัฐบาล องค์กรอิสระ
องค์กรนิติบญั ญัติ เป็ นผูค้ วบคุมกำกับดูและประเมิน
การบริหารการเงินการคลังในระดับส่ วนราชการ หมายถึง การบริ หารการเงินการคลังของ ส่ วน
ราชการเจ้าของงบประมาณ ได้แก่
1. การบริหารงบประมาณ คือ กำหนดระยะเวลาใช้จ่ายเงินไว้เพียง 1 ปี งบประมาณ (1 ต.ค.- 30
ก.ย.) เว้นแต่จะได้ขออนุมตั ิกระทรวงการคลังกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ซึ่ งได้ครั้งละ 6 เดือน รวมกันแล้วต้องไม่
เกิน 2 ปี
2. การบริหารการเงินการบัญชี
2.1 การจ่ายเงิน 2.2 การรับและนำส่ งเงินรายได้แผ่นดิน
2.3 การบัญชี
3. การบริหารทรัพย์ สิน คือ เป็ นทรัพย์สินถาวรประเภทครุ ภณั ฑ์ ที่ดิน อาคารและสิ่ งก่อสร้าง
เป็ นทรัพย์สินที่มีมูลค่าและมีอายุการใช้งานนาน จึงจำเป็ นต้องมีการควบคุมตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อ
ลดภาระการคลังของรัฐบาลโดยการใช้งบประมาณและทรัพย์สินให้คุม้ ค่า
4. การควบคุมและตรวจสอบ คือ ส่ วนราชการต้องจัดให้มีการควบคุมภายในในทุกระบบงานเพื่อ
ป้ องกันความเสี่ ยงจากความเสี ยหายผิดพลาดที่อาจเกิดจากากรปฏิบตั ิงานตามอำนาจหน้าที่
ระบบ GFMIS หมายถึง ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการบริ หารงานการเงินการคลัง
โดยหน่วยงานภาครัฐทุกแห่ง ส่ วนราชการและหน่วยงานกลางทางการคลังที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานงบ
ประมาณและกรมบัญชีกลางสามารถปฏิบตั ิงานร่ วมกันได้บนระบบคอมพิวเตอร์เดียวกัน
โครงสร้ างระบบ GFMIS แบ่ งเป็ น 2 ระบบย่ อย คือ
1. ระบบปฏิบตั ิการ ได้แก่ งบประมาณ ระบบจัดซื้ อจัดจ้าง ระบบการเงินและบัญชี ระบบบัญชี
ต้นทุน และระบบบริ หารบุคคล
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริ หาร คือ เป็ นฐานข้อมูลทางการเงิน

การทำงานของระบบปฏิบัติการ GFMIS
21

1. Single หมายถึง บันทึกข้อมูลนำเข้าไปในระบบต้นทางเพียงครั้งเดียว ข้อมูลนั้นจะส่ งต่อไปยัง


ระบบงานอื่นที่เกี่ยวข้องโดยไม่ตอ้ งบันทึกข้อมูลซ้ำอีก
2. online หมายถึง การทำงานระหว่าง mainframe และ terminal จะทำผ่านระบบเครื อข่าย ความ
ปลอดภัยสู ง
3. realtime หมายถึง เมื่อมีการ Save ข้อมูลเข้า GFMIS ข้อมูลจะเข้าไป update ฐานข้อมูลที่
เกี่ยวข้องกันทุกฐานในทันที
4. matrix report หมายถึง การออกรายงานที่สามารถให้ขอ้ มูลได้หลาย มิติ ทั้งมิติดา้ นหน่วยงาน
ด้านพื้นที่ ด้านภารกิจด้านใดด้านหนึ่งหรื อไขว้กนั
การจัดระบบข้ อมูลเพือ่ การบริหารการเงินการคลังของประเทศมี 5 ระบบ คือ
1. ข้อมูลภาพรวมการบริ หารการเงินการคลังของประเทศในรู ปแบบการจัดทำงบการเงิน เช่น
งบทดลองและงบดุล การประมาณการเงินสดจากยอดรับ-จ่ายเงิน คงคลังบัญชีที่ 1 ข้อมูลสรุ ปผลการจัดเก็บ
รายได้ ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ แยกเป็ นรายหน่วยงาน สถานะหนึ่ง
สาธารณะและเงินคงคลัง เป็ นต้น
2. ข้อมูลเปรี ยบเทียบผลการเบิกจ่ายงบประมาณปี ปั จจุบนั การเบิกจ่ายเหลื่อมปี การเบิกจ่ายเงินนอก
งบประมาณ โดยจำแนกทั้งด้านปริ มาณและสัดส่ วน และจำแนกเป็ นรายจ่ายส่ วนกลางและส่ วนภูมิภาค เพื่อ
วิเคราะห์ประสิ ทธิภาพ ประสิ ทธิผลและประโยชน์ในการควบคุมหรื อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายตามภารกิจ
กิจกรรม ยุทธศาสตร์ และการจัดทำบัญชีตน้ ทุนเพื่อการบริ หาร
3. ข้อมูลการจัดเก็บและนำส่ งรายได้แผ่นดินของหน่วยงานจัดเก็บ เพื่อวิเคราะห์เปรี ยบเทียบกับ
แผนการบริ หารดุลเงินสด และแผนการบริ หารการคลัง
4. ข้อมูลผลการจัดซื้ อจัดจ้าง จำแนกตามรหัส ตามหมวดสิ นค้า รายละเอียดคู่สญ ั ญา และการขึ้น
ทะเบียนผูข้ าย (ปัจจุบนั มีผขู้ ายลงทะเบียนในระบบมากกว่า 80,000 ราย) เปรี ยบเทียบทุกส่ วนราชการ
เพื่อความโปร่ งใส และกำหนดราคาเฉลี่ย และราคากลางเพื่อสร้างมาตรฐานการจัดซื้ อและควบคุมรายจ่าย
5. ข้อมูลการบริ หารทรัพยากรบุคคลสำหรับข้าราชการที่สงั กัด ก.พ. จำแนกตามระดับเงินเดือน
วุฒิ และรายละเอียดที่สำคัญ เพื่อสร้างฐานข้อมูลข้าราชการให้เป็ นมาตรฐานกลางเดียวกัน เพื่อเพิ่ม
ประสิ ทธิ ภาพและลดต้นทุนการปฏิบตั ิราชการ
รายได้ แผ่นดิน คือ เป็ นเงินที่รัฐบาลจัดเก็บในรู ปภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ และเงินอื่นๆ
ที่ส่วนราชการได้รับไว้ตามอำนาจหน้าที่หรื อตามสัญญารวมทั้งเงินนำส่ งของรัฐวิสาหกิจและรัฐพาณิ ชย์
ปัญหาด้ านเงินรายได้ แผ่นดิน คือ เกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ การกำหนดนโยบายภาษอีอากร ซึ่ งต้อง
มีความเป็ นธรรม โปร่ งใส เข้าใจง่าย มีประสิ ทธิ ภายและประสิ ทธิ ผล
เงินฝากคลัง คือ เป็ นเงินนอกงบประมาณที่ส่วนราชการได้รับไว้ตามอำนาจหน้าที่หรื อตามที่มีผู ้
มอบให้หรื อบริ จาคให้ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ในการให้ใช้จ่ายเงินไว้ เงินดังกล่าวได้รับยกเว้นตาม
กฎหมายวิธีการงบประมาณให้ส่วนราชการเก็บไว้ใช้จ่ายได้ โดยไม่ตอ้ งนำส่ งคลัง หรื อเก็บไว้ได้โดยการ
อนุญาตของรัฐมนตรี วา่ การกระทรวงการคลัง และให้ส่วนราชการบริ หารและควบคุมการรับจ่ายเงินตาม
ระเบียบที่กำหนดสำหรับเงินนอกงบประมาณประเภทนั้นๆ โดยให้นำเงินฝากไว้กบั กระทรวงการคลังเพื่อ
ประโยชน์ในการบริ หารเงินคงคลัง
ปัญหาเกีย่ วกับเงินฝากคลัง คือ การกำหนดนโยบายเกี่ยวกับเงินฝากคลังที่ไม่เหมาะสม ไม่
สอดคล้องกับฐานะการคลังซึ่ งอาจเกิดความไม่คล่องตัวในการใช้จ่ายเงินส่ วนราชการ
22

เงินทุนหมุนเวียน คือ เป็ นเงินนอกงบประมาณประเภทหนึ่งซึ่ งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเพื่อให้ส่วน


ราชการมีความคล่องตัวในการใช้จ่ายเงินสำหรับกิจกรรมของรัฐบาลบางประเภทที่มีรายรับรายจ่ายในตัวเอง
กระทรวงการคลังจะกระจายอำนาจการบริ หารเงินทุนหมุนเวียนให้หวั หน้าส่ วนราชการดูแลรับผิดชอบ
ซึ่ งอาจจะกระทำในรู ปของคณะกรรมการบริ หารงาน
ปัญหาเกีย่ วกับเงินทุนหมุนเวียน คือ มาจากจำนวนเงินทุนหมุนเวียนที่มีจำนวนมากขึ้นทุกปี เงิน
ทุนหมุนเวียนที่ไม่มีการเคลื่อนไหว หรื ออาจมีวตั ถุประสงค์คล้ายกันก็ยงั มิได้มีการยุบเลิกหรื อยุบรวมกัน
ระบบการบริ หารจัดการส่ วนใหญ่ยงั เป็ นแบบราชการ การจัดทำงบการเงินล่าช้า มีปัญหาในการติดตาม
ประเมินผลและการปรับปรุ งประสิ ทธิภาพการบริ หารจัดการ
หลักการและแนวทางการบริหารเงินทุนหมุนเวียน
1. การวางแผนดำเนินงานประจำปี
2. การจัดทำงบประมาณเพื่อดำเนินตามแผน
3. การบริ หารและควบคุมการดำเนินงาน
4. การตรวจสอบและประเมินผลงานและการรายงานผล

---------------------------------------------------------

บทที่ 6
การบริหารพัสดุ
การบริหารพัสดุ หมายถึง เป็ นกระบวนการบริ หารที่เริ่ มต้นตั้งแต่ การวางแผนและกำหนดโครงการ
การกำหนดความต้องการ การจัดหา การแจกจ่าย การควบคุม การบำรุ งรักษา และการจำหน่ายพัสดุ โดยที่
การบริ หารพัสดุภาครัฐจะเริ่ มตั้งแต่การจัดหาจนถึงการจำหน่ายพัสดุ
แนวคิดการจัดซื้อจัดจ้ างภาครัฐของต่ างประเทศ คือ มีวตั ถุประสงค์เพื่อให้การจัดซื้ อจัดจ้าง มี
ความประหยัดและเกิดประสิ ทธิภาพสู งสุ ด โดยไม่มีการเลือกปฏิบตั ิ มีการแข่งขันอย่างเป็ นธรรม และมี
ความโปร่ งใส รวมทั้งมีขอ้ กำหนดให้ผปู้ ระกอบการสามารถร้องทุกข์ในกรณี ที่ไม่ได้รับความเป็ นธรรมได้
แนวคิดการบริ หารพัสดุของประเทศไทย คือ เน้นหลักการจัดหาพัสดุและหลักการควบคุม และการ
จำหน่ายพัสดุ
กฎหมายและระเบียบต่ างๆ ของการบริหารพัสดุ
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.255
2. กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปี
3. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์
4. กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบตั ิราชการทางปกครอง
5. กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของงานราชการ
6. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักการและวิธีการบริ หารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
7. กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ
8. ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยวินยั ทางงบประมาณและการคลัง
วิธีการจัดหาพัสดุภาครัฐของไทยมี 2 วิธีคอื
1. วิธีการแข่ งขัน คือ
1.1 วิธีสอบราคา คือ กำหนดวงเงินเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท
23

1.2 วิธีประกวดราคา คือ กำหนดวงเงินเกิน 2,000,000 บาท


2. วิธีไม่ แข่ งขัน คือ
2.1 วิธีตกลงราคา คือ กำหนดวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท
2.2 วิธีพิเศษ คือ เป็ นพัสดุที่มีผปู ้ ระกอบการน้อยรายมีลกั ษณะเฉพาะ โดยตัวพัสดุและการ
ใช้งานไม่สามารถจัดหาเป็ นการทัว่ ไปได้
2.3 วิธีกรณี พิเศษ คือ เป็ นการจัดหาจากหน่วยงานของรัฐที่เป็ นผูทำ้ หรื อผูผ้ ลิตของโดยตรง
หลักการจัดหาพัสดุ
1. มีการวางแผนการจัดหาและดำเนินการตามแผนที่วางไว้
2. ดำเนินการด้วยความโปร่ งใส เปิ ดเผย เป็ นธรรม และมีการแข่งขันอย่างแท้จริ ง
3. ดำเนินการให้ได้วสั ดุที่ดี มีความคุม้ ค่าในการจัดหา
4. กำหนดคุณสมบัติเฉพาะและแบบรู ปรายการที่ชดั เจนและเป็ นกลาง
5. การพิจารณาเป็ นไปอย่างโปร่ งใสและคำนึงถึงความคุม้ ค่าในการจัดหาพัสดุที่ตอ้ งการ
6. การตรวจรับพัสดุเป็ นไปตามข้อกำหนดในสัญญา อย่างถูกต้องครบถ้วนและสามารถนำไปใช้
ประโยชน์ได้ทนั ตามความต้องการใช้งาน

แนวคิดการควบคุมและจำหน่ ายพัสดุ
หลักการควบคุมพัสดุภาครัฐที่ดี
1. การควบคุมทางบัญชีหรื อทะเบียน เพื่อให้ทราบว่ามีการเบิกจ่ายไปใช้จริ งและมีการใช้ให้สม
ประโยชน์
2. การยืมจะต้องมีหลักฐานการยืม การอนุมตั ิให้ยมื และการติดตามทวงคืนพัสดุที่ยมื ภายในกำหนด
เวลายืม
3. มีการควบคุมดูแลและเก็บรักษาในที่ที่เหมาะสม อยูใ่ นสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลาและทันตาม
ความต้องการในการใช้งาน
4. มีการตรวจสอบการรับและจ่ายพัสดุอย่างน้อยปี ละ 1 ครั้ง
หลักการจำหน่ ายพัสดุภาครัฐที่ดี
1. มีผรู้ ับผิดกรณี พสั ดุชำรุ ดซึ่ งไม่ได้เกิดจากการใช้งานตามปกติ หรื อสู ญหาย
2. เป็ นประโยชน์ในการตัดตอนความรับผิดชอบระหว่างกัน
3. สามารถใช้เป็ นข้อมูลในการจัดหาต่อไป
4. มีการจำหน่ายในเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดภาระในการบำรุ งรักษา และอาจนำไปใช้ประโยชน์ต่อ
หน่วยงานอื่นได้
ปัญหาสำคัญของการจัดหาพัสดุ
1. การวางแผนการจัดหาพัสดุไม่เหมาะสมหรื อไม่ดำเนินการตามแผนที่วางไว้
2. การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะหรื อแบบรู ปรายการละเอียดไม่ชดั เจนหรื อไม่ครบถ้วน
3. การกำหนดคุณสมบัติของผูเ้ ข้ามาเสนอราคาที่สูงหรื อต่ำเกินไป
4. การเผยแพร่ ขา่ วสารการจัดหาไม่ทวั่ ถึงและให้เวลาในการเสนอราคาไม่เพียงพอ
5. การพิจารณาราคาไม่โปร่ งใสและมักจะไม่คำนึงถึงความคุม้ ค่าในการจัดหาพัสดุที่ตอ้ งการ
6. การตรวจรับพัสดุหรื อตรวจงานจ้างล่าช้าและไม่เป็ นไปตามสัญญา
ปัญหาที่เกีย่ วกับการควบคุมพัสดุ
1. ไม่ลงบัญชีหรื อทะเบียนพัสดุที่ทางราชการได้รับหรื อลงทะเบียนไม่ครบถ้วน
24

2. ไม่ควบคุมการเบิกจ่ายพัสดุให้รัดกุม
3. ไม่ดุแลรักษาพัสดุให้ใช้งานได้ตลอดเวลาและไม่มีการทำประวัติการใช้งาน
4. ไม่มีการทำหลักฐานการยืมและคืนพัสดุ
5. ไม่มีการตรวจสอบพัสดุประจำปี
แนวทางการเสริมสร้ างประสิทธิภาพการบริหารพัสดุ
1. การหาความจำเป็ นหรื อความต้องการในการใช้งาน
2. การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะรู ปแบบ/รายการละเอียด
3. การเลือกวิธีการจัดหา
4. การคัดเลือกผูป้ ระกอบการที่ดี
6. การพิจารณาราคา
7. การตรวจรับพัสดุหรื อตรวจการจ้าง
8. การควบคุมพัสดุ
9. การจำหน่ายพัสดุ

--------------------------------------
บทที่ 7
การเสริมสร้ างคุณธรรมและจริยธรรม
และจรรยาวิชาชีพบริหารรัฐกิจ
จริยธรรม หมายถึง กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรื อหลักการความจริ งที่เป็ นแนวทางแห่งความ
ประพฤติ
ความสำคัญของจริยธรรม คือ เป็ นเครื่ องมือยุทธศาสตร์ของชาติ และสังคม เครื่ องชี้ วดั ความเจริ ญความ
เสื่ อมของสังคม จริ ยธรรมเป็ นเรื่ องที่จำเป็ นยิง่ สำหรับทุกคน ทุกหมู่เหล่า และทุกอาชีพ สังคมจะอยูร่ อดและ
เป็ นสุ ขได้กด็ ว้ ยจริ ยธรรม
บุคคลผู้มีคุณธรรม หมายถึง บุคคลที่มีความเป็ นอยูอ่ ย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์ และหลักการเหตุผล
ของธรรมชาติ
ความสำคัญของคุณธรรม
1. เป็ นเครื่ องเสริ มบุคลิกภาพ
2. เป็ นเครื่ องธำรงศักดิ์ศรี ของความเป็ นมนุษย์
3. เป็ นเครื่ องเสริ มมิตรภาพ
4. เป็ นเครื่ องส่ งเสริ มความสำเร็ จและความมัน่ คง ปลอดภัย ในการประกอบอาชีพและดำรงชีวิต
ความรับผิดชอบต่ อสังคมขององค์การ คือ องค์การมีผลการปฏิบตั ิงานหรื อการปฏิบตั ิภารกิจที่คำนึง
ถึงความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม ก็จะทำให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการในส่ วนต่างๆ เหล่านี้ได้อย่าง
มีประสิ ทธิ ภาพมากขึ้น ไม่วา่ จะเป็ น ผูร้ ับบริ การ ผูจ้ ดั หา ชุมชนท้องถิ่น เจ้าของกิจการ คู่แข่งทางธุรกิจ
ลูกจ้างพนักงาน ผูค้ ุมกฎระเบียบของรัฐ องค์กรการเงิน สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ก็จะทำให้องค์การนั้น
เป็ นองค์การที่มีความรับผิดชอบทางศีลธรรมและจริ ยธรรมต่อสังคมสู งขึ้น
ความโปร่ งใสตรวจสอบได้ หมายถึง องค์การนั้นปราศจากการคอร์รัปชัน ความโปร่ งใสตรวจสอบ
ได้จึงมีความสำคัญในฐานะที่เป็ นสิ่ งบ่งชี้วา่ องค์การและสังคมนั้นจะไม่ได้รับความเสี ยจากการทุจริ ตและ
ประพฤติมิอบ ความเสี ยหายอันอาจจะเกิดขึ้นกับสังคมและองค์อนั เนื่องมาจากความไม่โปร่ งใส
25

วัฒนธรรมองค์การ คือ รู ปแบบวิถีชีวิตของคนในองค์การที่มีความเชื่อ ทัศนคติ สมมติฐาน และค่า


นิยม ร่ วมกันยึดถือแน่นแฟ้ มในการติดต่อสัมพันธ์ภายในเพื่อให้เกิดการปฏิบตั ิงานร่ วมกันบรรลุผลสำเร็ จ
ตามที่องค์การคาดหวังไว้
ความสำคัญของวัฒนธรรมองค์การ คือ กฎเกณฑ์ขอ้ ปฏิบตั ิที่ยดึ ถือร่ วมกัน เรื่ องราวบอกเล่าเกี่ยว
กับอดีต ประเพณี ปฏิบตั ิที่ยดึ เหนี่ยวสมาชิกให้มีพื้นฐานที่เป็ นเอกลักษณ์เดียวกัน วัฒนธรรมองค์การได้รับ
อิทธิ พลและหล่อหลอมโดยวัฒนธรรมสังคม
หน้ าที่ของวัฒนธรรมองค์การ ได้ แก่
1. เป็ นเกณฑ์ในการสร้างกฎ ข้อบังคับ วัฒนธรรม ช่วยให้สมาชิกมีกฎทางสังคมในการตีความหรื อ
แสดงพฤติกรรมในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้อง
2. เป็ นสิ่ งกระตุน้ วัฒนธรรมช่วยให้สมาชิกมีศรัทธา เป็ นแรงจูงใจให้แต่คะคนปรับลักษณะเฉพาะ
ของตนให้มีบทบาท ค่านิยม ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์การ
3. เป็ นเครื่ องผนึกกำลัง วัฒนธรรมช่วยให้สมาชิกผสมผสานติดต่อสมาคมกันและช่วยให้องค์การ
บรรลุเป้ าหมาย

องค์ ประกอบของวัฒนธรรมองค์การ ได้แก่ สภาพแวดล้อมขององค์การ ค่านิยม บุคคล


วัตถุประสงค์ เครื่ องใช้เครื่ องมือการทำงาน และบรรทัดฐานทางสังคม
การเสริมสร้ างคุณธรรมและจริยธรรมแก่ บุคลากร คือ เป็ นการบริ หารทรัพยากรบุคคลในราชการ
แนวใหม่เพื่อให้ขา้ ราชการยึดถือสภาพคุณงามความดี ยึดมัน่ ในความถูกต้องดีงาม และคุณความดีที่เป็ นข้อ
ประพฤติปฏิบตั ิในการปฏิบตั ิราชการ เพื่อเป็ นเกราะป้ องกันการกระทำผิดวินยั การเสริ มสร้างคุณงามความดี
เป็ นนามธรรมไม่สามารถจับต้องได้ ต้องเสริ มสร้างที่จิตใจงาม มีธรรมเป็ นเครื่ องควบคุมจิตใจแล้ว
แสดงออกทางร่ างกายเป็ นความพฤติที่ถูก ที่ควรกระทำ เป็ นลักษณะกิริยา งามวาจา
องค์ ประกอบของกระบวนการติดตามตรวจสอบค่ านิยมและจริยธรรม คือ การระบุและค้นหาค่า
นิยมและหลักการปฏิบตั ิในองค์การ
วิธีการติดตามตรวจสอบจริยธรรมขององค์การ
1. การระบุค่านิยมที่เป็ นหลักในการดำเนินงานขององค์การ
2. การยึดถือปฏิบตั ิร่วมกันโดยบุคลากรทุกระดับภายในองค์การ
3. บุคลากรภายในหน่วยงานและผูร้ ับบริ การของหน่วยงานมีความเข้าใจในค่านิยมองค์การ
4. องค์การสามารถนำค่านิยมไปช่วยพัฒนาสังคมโดยถือเป็ นส่ วนหนึ่งของความรับผิดชอบ
วัตถุประสงค์ ของการติดตามตรวจสอบจริยธรรมขององค์ การ
1. เพื่อให้สามารถสร้างตัวแบบที่ระบุค่านิยมขององค์การที่อิงหลักทางจริ ยธรรมได้
2. เพื่อให้สามารถตรวจสอบนโยบายภายในองค์การในความสัมพันธ์กบั ประเด็นทางจริ ยธรรมได้
อย่างมีประสิ ทธิภาพ
3. เพื่อสร้างทางเลือกในการพัฒนานโยบายการปฏิบตั ิงานภายในองค์การอันส่ งเสรอมแก้ไขปั ญหา
ข้อแยงได้
4. เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างกว้างขวางในประเด็นทางจริ ยธรรมในองค์การและสามารถแก้ไข
ปั ญหาข้องขัดแย้งได้
กระบวนการกำหนดนโยบายจริยธรรมขององค์ การ
1. การวิเคราะห์ผมู้ ีส่วนได้เสี ย
26

2. การประเมินความรับผิดชอบทางสังคม
3. การประเมินความโปร่ งใสตรวจสอบได้
4. การสำรวจ ทบทวน และการกำหนดค่านิยมขององค์การ
ปัจจัยหลักที่เป็ นอุปสรรคต่ อการเสริมสร้ างคุณธรรมและจริยธรรมขององค์ การ ได้แก่ ความเครี ยด
ความมุ่งมัน่ ในผลสำเร็จมากเกินไป การขาดภาวะผูนำ ้ การมีตวั อย่างที่ไม่ดีในองค์การ การทำงานใน
วัฒนธรรมที่ไม่คุน้ เคยและการกล่าวโทษกัน ความล้มเหลวในการสร้างสำนึกรับผิดชอบในเรื่ องคุณธรรม
และศีลธรรมของแต่ละบุคคล
คุณธรรม หมายถึง ความดีงามที่จิตใจซึ่ งทำให้เคยชินประพฤติดี
หลักคุณธรรมมี 4 ประการ คือ
1. ความรอบคอบ คือ การเล็งเห็นหรื อหยัง่ รู ได้ง่ายและชัดเจนว่าอะไรควรพฤติหรื อไม่ควรประพฤติ
2. ความกล้าหาญ คือ การกล้าเสี่ ยต่อการเข้าใจผิด กล้าเผชิญต่อการใส่ ร้ายและเยาะเย้ย เมื่อมัน่ ใจตน
กระทำความดี
3. การรู้ จักประมาณ คือ การรู้จกั ควบคุมความต้องการและการกระทำต่างๆ ให้อยูใ่ นขอบเขตอัน
ควรแก่สภาพและฐานะของ
4. ความยุติธรรม คือ การให้แก่ทุกคนและแต่ละคนตามความเหมาะสม
ความสำคัญของคุณธรรม
1. เป็ นเครื่ องธำรงศักดิ์ศรี ของความเป็ นมนุษย์
2. เป็ นเครื่ องเสริ มบุคลิกภาพ
3. เป็ นเครื่ องเสริ มมิตรภาพ
4. เป็ นเครื่ องสร้างความสบายใจ
5. เป็ นเครื่ องส่ งเสริ มความสำเร็ จและความมัน่ คงปลอดภัยในการประกอบอาชีพและดำรงชีพ
จรรยาวิชาชีพ หมายถึง กฎเกณฑ์ความประพฤติหรื อมารยาทในการประกอบอาชีพของผูป้ ระกอบ
วิชาชีพแต่ละสาขา
จรรณยาบรรณ หมายถึง วินยั ภายในตนเองของบุคลากร
ความสำคัญของจรรยาวิชาชีพ
ผู้บริหาร คือ จะต้องเป็ นผูนำ ้ และทำตัวอย่างในการักษาคุณธรรมและจรรยาวิชาชีพเพื่อให้บุคคลากร
ในปกครองของตนทำตาม

-------------------------------------------

บทที่ 8
การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ

การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ คือ เป็ นความพยามที่จะนำโครงสร้าง กระบวนการ พฤติกรรมของ


ระบบหน่วยราชการ และข้าราชการมาเทียบเคียงกัน เพื่อให้เห็นความคล้ายคลึงและความแตกต่างของระบบ
หน่วยราชการ และข้าราชมาเทียบเคียงกัน เพื่อให้เห็นความคล้ายคลึงและความแตกต่างกัน
27

การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบความหมายที่แคบ คือ การนำเอาโครงสร้าง กระบวนการ และ


พฤติกรรม ข้าราชการ กลุ่ม องค์การ และระบบการบริ หาร รวมทั้งสิ่ งแวดล้อมของสิ่ งนั้น มาเปรี ยบเทียบดู
ความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันในช่วงเวลา สถานที่ และระดับหรื อระบบใด
การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบความหมายที่กว้ าง คือ จะเป็ นการเปรี ยบเทียบที่ครอบคลุมในเรื่ อ
งอื่นๆ ด้วย เช่น การนำโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมของหน่วยราชการและข้าราชการของต่าง
ประเทศมาเปรี ยบเทียบกัน
มูลเหตุของการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ
1. เกิดประโยชน์ต่อการบริ หารประเทศที่กว้างขวางกว่าวิชาการเมืองเปรี ยบเทียบ
2. การตืน่ ตัวศึกษาคว้าเปรียบเทียบระบบบริหารรัฐกิจในประเทศด้วยพัฒนาหลักจากสงครามโลกครั้งที่ 2
3. ความสนใจทีจ่ ะปรับปรุงเปลีย่ นแปลงการบริหารภาครัฐในประเทศของตน
ความสำคัญของการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ
1. เพื่อเรี ยนรู้ถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละระบบบริ หารหรื อของแต่ละกลุ่มของระบบบริ หารจริ งหรื อ
เป็ นอยูอ่ ย่างไร
2. เพื่อทราบว่าอะไรเป็ นสาเหตุหรื อปัจจัยทำให้ระบบบริ หารหนึ่งสามารถปฏิบตั ิหน้าที่ได้ผลดีมี
ประสิ ทธิ ภาพในประเทศหนึ่งหรื อในสมัยหนึ่ง
3. เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าปัจจัยสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศมีความแตกต่าง
4. เพื่ออธิบายถึงข้อคล้ายคลึงหรื อข้อแตกต่างของพฤติกรรมของข้าราชการและระบบราชการใน
ประเทศที่แตกตางกันหรื อในกลุ่มวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
5. เพื่อทราบถึงข้อคล้ายคลึงและข้อแตกต่างของพฤติกรรมทางการบริ หารระหว่างประเทศหรื อกลุ่ม
ประเทศต่างๆ
6. เพื่อแสดงให้เห็นว่าระบบการบริ หารภาครัฐของประเทศของตนควรมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
และโดยวิธีการเช่นใด
7. เพื่อเข้าใจแนวคิดวิธีการศึกษาโดยการเปรี ยบเทียบ
8. เพื่อนำแนวคิดไปกำหนดหลักเกณฑ์ ทฤษฎี
ทฤษฎีสำคัญที่นำมาใช้ ในการวิเคราะห์ การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ ได้ แก่
1. ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่
2. ทฤษฎีพริ สมาติก
3. ทฤษฎีระบบราชการ
4. ทฤษฎีการบริ หารการพัฒนา
5. ทฤษฎีองค์การและความเปลี่ยนแปลงขององค์การ

การศึกษาบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบก่อน ค.ศ.1974
นักวิชาการที่สนับสนุนแนวคิดนี้ คือ โรเบิร์ต ดาห์ ล เป็ นผูเ้ ริ่ มต้นในการเรี ยกร้องให้มีการศึกษาเกี่ยว
กับระบบบริ หารต่างๆ ของทุกประเทศอย่างจริ งจัง ต่อมารัฐบาลสหรัฐอเมริ การวมถึงองค์การระหว่าง
ประเทศหลายแห่งได้สนับสนุนทางการเงินแก่นกั วิชาการไปศึกษาวิจยั ในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย ต่อ
28

มากลุ่มสมาคมรัฐศาสตร์อเมริ กนั ได้จดั คณะอนุกรรมการศึกษาบริ หารรัฐกิจเปรี ยบเทียบอย่างเป็ นทางการขึ้น


ใน ค.ศ.1963 ใช้ชื่อว่า Comparative Administration Group หรือ CAG มีศาสตราจารย์ เฟรด ดับบลิ ริกส์
เป็ นประธาน ให้ความสำคัญกับการศึกษาระบบบริ หารและปั ญหาการบริ หารในประเทศที่ดอ้ ยพัฒนาและ
กำลังพัฒนา ด้วยการพิจารณาขอบข่ายการศึกษาไปในด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองของแต่
ประเทศอย่างเป็ นระบบ
การศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบหลัง ค.ศ.1974 คือ สนใจศึกษาเรื่ องของการบริ หารโลกที่ 3
หรื อประเทศด้วยพัฒนา ได้แก่
1. สนใจกับข้อเท็จจริ ง ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริ งในระบบบริ หารของประเทศโลกที่สาม มากกว่า
การสร้างตัวแบบและทฤษฎีขนาดใหญ่
2. สนใจเรื่ องการศึกการพัฒนาควบคู่ไปกับการบริ หารโครงการพัฒนาต่างๆ สนใจเรื่ องนโยบายไป
สู่ การปฏิบตั ิ
3. สนใจที่ประชาชนหรื อกลุ่มคนที่ได้รับประโยชน์หรื อได้รับผลกระทบจากนโยบายและโครงการ
พัฒนาที่จดั ทำขึ้นด้วย
ปัญหาของการศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ
1. ปัญหาในเรื่ องวิธีการหรื อหลักเกณฑ์ที่จะใช้ในการศึกษาเปรี ยบเทียบ
2. ปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในการศึกษาเปรี ยบเทียบ
3. ปัญหาที่เกี่ยวกับปริ มาณของสิ่ งที่จะนำมาเปรี ยบเทียบ
แนวโน้ มของการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ
1. ให้มีการศึกษานโยบายสาธารณะเปรี ยบเทียบที่เน้นในภาคปฏิบตั ิ
2. ให้มีการศึกษาเปรี ยบเทียบในลักษณะที่เป็ นสากลหรื อเป็ นนานาชาติมากขึ้น
3. ไม่จำกัดเฉพาะการศึกษาระบบราชการ
4. ให้ศึกษาระบบราชการเปรี ยบเทียบ
ลักษณะการบริหารภาครัฐของประเทศนิซีแลนด์ คือ ยึดหลักการของการจัดการภาครัฐสมัยใหม่
โดยเฉพาะให้ความสำคัญต่อระบบตลาดเสรี ยึดหลักการแข่งขัน ลดการควบคุมโดยการปรับเปลี่ยนกฎ
ระเบียบการทำงานให้มีลกั ษณะเหมือนภาคธุรกิจเอกชน เปิ ดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่ วมดำเนินงานใน
กิจการอื่นๆ มากขึ้น การทำสัญญาให้ทำงานตามผลงานเพื่อใช้เป็ นเครื่ องมือกำกับให้รัฐบาลต้องมีความ
โปร่ งใส
การบริหารภาครัฐของประเทศอังกฤษ คือ มีการใช้ระบบตลาด แต่หลัง ค.ศ.1997 เป็ นต้นมา
รัฐบาลพรรคแรงงานใหม่ได้พฒั นาหลักพหุใหม่ข้ ึนมา โดยเปลี่ยนจากการสร้างระบบตลาดเป็ นเน้นการ
ปกครองชุมชน (community governance) ภาครัฐยุคใหม่จึงไม่ใช่มีบทบาทเพียงการวางแผน แต่มีบทบาทต่อ
รองกับองค์การ/บุคคลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น รัฐบาล อาสาสมัคร ชุมชน และภาคเอกชน ภารกิจของรัฐบาลจึง
เป็ นเครื อข่ายการทำงานที่ซบั ซ้อน และขยายออกจากการสร้างการตลาดมาเป็ นการจัดการปกครอง
การบริหารภาครัฐของประเทศญี่ปนุ่ แบ่ งเป็ น 2 ส่ วน คือ
1. การปฏิบัติรูประบบบริหารราชการของรัฐบาลกลาง โดยมีหลักการดังนี้
1.1 การเสริ มสร้างความเป็ นผูนำ้ ของนายกรัฐมนตรี และการปฏิรูปอำนาจหน้าที่ งานมี
ความยืดหยุน่ คล่องตัว สามารถตอบสนองข้อเรี ยกร้องของประชาชนได้อย่างแท้จริ ง
1.2 ปรับปรุ งโครงสร้างของการบริ หารราชการใหม่ เพื่อลดขนาด เพิ่มประสิ ทธิ ภาพและ
ประสิ ทธิ ผลการทำงานของรัฐ
29

1.3 มีการจัดตั้งสภาพอิสระจำนวน 59 แห่ง เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการบริ หารของหน่วย


งานของรัฐ
1.4 ปรับลดขนาดองค์การและจำนวนข้าราชการให้เล็กลง เพื่อให้รัฐบาลบริ หารงานแบบ
องค์การขนาดเล็ก แต่มีประสิ ทธิภาพ
2. การปฏิรูปการบริหารราชการของการปกครองท้ องถิ่น คือ การจัดแบ่งส่ วนราชการส่ วนกลาง
และส่ วนท้องถิ่นแยกจากกัน
การบริหารภาครัฐของประเทศสหรัฐอเมริกามีดงั นี้
ทฤษฎีระบบราชการของแมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เน้นการศึกษาการเปรี ยบเทียบลักษณะระบบ
ราชการในเรื่ องโครงสร้างและพฤติกรรม
นักวิชาการ ดไวท์ วอลโด้ ได้จดั ประชุมวิชาทางวิชาการเรื่ อง “บริ หารรัฐกิจเปรี ยบเทียบและ
การบริ หารพัฒนาใน ค.ศ.1976 ซึ่ งถือเป็ นจุดเริ่ มต้นของการฟื้ นตัวของการศึกษาการบริ หารรัฐกิจเปรี ยบ
เทียบ
1. หลักการปฏิรูปของรัฐบาลบิล คลินตัน ได้ แก่
1.1 ลดขนาดภาครัฐ
1.2 กระจายอำนาจเพื่อลดภาระของรัฐบาลกลา
1.3 ลดระเบียบขั้นตอนเปลี่ยนกฎระเบียบ
1.4 กระจายอำนายในด้านกำหนดนโยบายและการตัดสิ นใจในการดำเนินงานเกี่ยวกับ
ภารกิจของรัฐบาลมากขึ้น
1.5 มุ่งเน้นการปรับปรุ งคุณภาพการให้การบริ การและเน้นเรื่ องความพึงพอใจ
1.6 เพิม่ อำนาจการตัดสิ นใจให้แก่ผปู ้ ฏิบตั ิงานเพื่อหวังผลงาน
1.7 ตัดทอนสิ่ งที่ลา้ สมมัยไม่มีความจำเป็ นให้มีเฉพาะสิ่ งที่จำเป็ นเท่านั้น
2. หลักการปฏิรูปของรัฐบาลบุช ได้ แก่
2.1 การจัดการเชิงกลยุทธ์ของทุนมนุษย์
2.2 การจ้างเหมาบริ การ
2.3 การปรับปรุ งการจัดการการคลัง
2.4 รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
2.5 การวัดผลงาน โดยใช้คะแนนผลงานตัดงบประมาณ
หลักการของ Reinventing Government มี 10 ประการ คือ
1. รัฐบาลหรื อระบบราชการแบบใหม่ทำหน้าที่จุดประกาย โดยการกำหนดนโยบาย ให้การ
สนับสนุนมากกว่าจะเป็ นผูล้ งมือดำการเอง
2. การเป็ นรัฐบาลของชุมชน เน้นในเรื่ องการมอบอำนาจให้กบั ชุมชนเพื่อให้ชุมชนตัดสิ นใจและ
ดำเนินการในกิจกรรมของตนเองได้เอง
3. การเป็ นรัฐบาลในเชิงแข่งขันการให้บริ การ
4. เป็ นรัฐบาลที่ขบั เคลื่อนด้วยพันธกิจ
5. เป็ นรัฐบาลที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
6. เป็ นรัฐบาลที่มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า
7. เป็ นรัฐบาลที่มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า
8. เป็ นรัฐบาลที่มีการคาดการณ์/เฝ้ าระวังล่วงหน้า
30

9. เป็ นรัฐบาลที่กระจายอำนาจ
10. เป็ นรัฐบาลที่อิงกลไกตลาด
การปฏิรูประบบราชการไทนพระราชกฤษฎีกาว่ าด้ วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้ านเมืองที่ดี
พ.ศ.2546
1. การปรับปรุ งบทบาทของภาครัฐ
2. การปรับปรุ งระบบบริ หาร
3. การปรับปรุ งโครงสร้าง
4. การปรับปรุ งกลไกและกฎเกณฑ์
5. การปรับปรุ งระบบข้าราชการ
6. การปรับปรุ งวัฒนธรรมและค่านิยมของระบบราชการ
7. การปรับปรุ งระบบเทคโนโลยี

----------------------------------------------
บทที่ 9
การวิเคราะห์ ปัญหาและการตัดสิ นใจ

ปัญหา คือ สถานการณ์ บุคคล หรื อสิ่ งของ ที่เกิดขึ้นจริ ง ซึ่ งเบี่ยงเบนไปจากที่ควรจะเป็ น หรื อสิ่ งที่
คาดหมายไว้รวมทั้งสิ่ งเป็ นข้อสงสัย ข้อขัดแย้ง ซึ่ งจำเป็ นต้องได้รับการให้ความสนใจ หรื อได้รับการแก้ไข
โดยอาศัยการขบคิดและจัดการโดยอาศัยหลักการเชิงตรรกวิทยา และสิ่ งที่ยากที่จะทำความเข้าใจ และสิ่ งที่
จะดำเนินการให้บรรลุผลได้ค่อนข้างยากลำบาก
ประเภทปัญหา
1. ปัญหาขัดข้ องหรือปัญหาที่ต้องแก้ ไข คือ สถานการณ์ สิ่ งของ พฤติกรรมหรื อการกระทำอย่างใด
อย่างหนึ่ง ซึ่ งเกิดขึ้นและดำรงอยูต่ ามปรกติมาจนถึงปั จจุบนั เกิดปั ญหา หรื อเกิดข้อขัดข้อง อุปสรรค หรื อ
เกิดการเบี่ยงเบนไปจากที่เคยเป็ น เบี่ยงเบนไปจากที่เคยพึงพอใจมาแต่เดิม เกิดสิ่ งที่ทำให้ไม่สามารถดำเนิน
หรื อสิ่ งที่ทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้ าหมายได้
2. ปัญหาป้ องกัน หมายถึง สถานการณ์ สิ่ งของ พฤติกรรมหรื อการกระทำซึ่ งเกิดขึ้นและดำรงอยู่
ตามปรกติมาจนถึงปัจจุบนั และดำรงอยูต่ ามปรกติในอนาคตได้อีกช่วงระยะหนึ่ง แต่จะเกิดปั ญหาหรื อเกิด
ข้อขัดข้อง อุปสรรค หรื อเกิดการเบี่ยงเบนไปจากที่เคยเป็ นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต หากไม่มี
ป้ องกันปั ญหา ข้อขัดข้อง หรื ออุปสรรที่จะเกิดขึ้นนั้น จึงมีการดำเนินการหรื อมีมาตรการที่จดั การกับปั ญหา
หรื อข้อขัดข้องที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า
3. ปัญหาเชิงพัฒนา หมายถึง สถานการณ์ สิ่ งของ พฤติกรรมหรื อการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่ งเกิดขึ้นและดำรงอยูต่ ามปรกติตลอดไปจนถึงอดีตจนถึงปั จจุบนั และนำจะเป็ นปรกติตลอดไปจนถึง
อนาคตโดยไม่มีปัญหา ข้อขัดข้อง หรื ออุปสรรคใด เพียงแต่มีความเห็นว่าน่าจะต้องมีการทำให้ดีข้ ึน เพียงแต่
มีความเห็นว่าน่าจะต้องมีการทำให้ดีข้ ึน โดยมีการวางแผน และดำเนินการ เพื่อให้สถานการณ์ สิ่ งของ ทำให้
มีการกระทำหรื อพฤติกรรมที่ดีข้ ึนนับแต่ปัจจุบนั
แนวคิดเกีย่ วกับการวิเคราะห์ ปัญหาประกอบ ด้ วย
1. แนวคิดในการวิเคราะห์ปัญหาบนพื้นฐานของหลักการ หลักวิชาด้านต่างๆ
31

2. แนวคิดในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหาเชิงระบบ
3. แนวคิดในการวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องสอดคล้อง หรื อสัมพันธ์กนั
4. แนวคิดในการวิเคราะห์ปัญหาเชิงสาเหตุและผลกระทบ
กระบวนการวิเคราะห์ ปัญหามี 4 กิจกรรม คือ
1. รวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องปั ญหา
2. การตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร
3. การวิเคราะห์และระบุสาเหตุของปั ญหา
4. การแก้ไขปัญหา
กระบวนการวิเคราะห์ ปัญหา สาเหตุ และการแก้ ไขปัญหา ตามหลักอริยสั จ 1
1. ทุกข์ คือ เปรี ยบได้กบั ปัญหา อุปสรรค ข้อขัดข้อง และความไม่พึงพอใจ
2. สมุทัย คือ เปรี ยบได้กบั สาเหตุของปั ญหา
3. นิโรธ คือ เปรี ยบได้กบั แนวทางแก้ไขปั ญหา
4. มรรค คือ เปรี ยบได้กบั ข้อปฏิบตั ิในการแก้ไขปั ญหา

การตัดสินใจ หมายถึง เป็ นการกระทำหรื อพฤติกรรมที่มนุษย์ตอ้ งกระทำหรื อพิจารณาเพื่อเลือกทาง


เลือกอยูเ่ กือบจะตลอดเวลา
องค์ ประกอบการตัดสินใจ
1. ปัญหา คือ อุปสรรค ข้อขัดข้อง หรื อสิ่ งที่เกิดขึ้น และเบี่ยงเบนไปจากสิ่ งที่ควรจะเกิดหรื อสิ่ งที่
คาดหวังว่าควรจะเกิดขึ้น และพิจารณาและเลือกในการดำเนินการ ปั ญหาหรื อเรื่ องที่ตอ้ งตัดสิ นใจ
2. ทางเลือก คือ วิธีการปฏิบตั ิ หรื อชุดการกระทำที่ใช้ในการแก้ไขปั ญหาหรื อในการดำเนินการต่อ
ไป
3. สภาวการณ์ คือ เงื่อนไขในการตัดสิ นใจภายใต้สถานการณ์ที่มีความแน่นอน ไม่แน่นอน และที่มี
ความเสี่ ยง
4. ผู้ตัดสินใจ คือ คุณภาพการตัดสิ นใจหรื อประสิ ทธิ ผลการตัดสิ นใจ อาจจะถูกต้อง ดี หรื อเหมาะ
สมหรื อน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยูก่ บั ตัวผูทำ
้ การตัดสิ นใจ
รู ปแบบและลักษณะการตัดสินใจ
1. การตัดสินใจแบบเน้ นชี้นำ คือ เน้นที่การกระทำ และการตระหนักถึงความเป็ นจริ ง ต้องการเห็น
ผลอย่างรวดเร็ ว ชอบใช้อำนาจ และเน้นการควบคุมได้ เพื่อให้สามารถมองเห็นผลการตัดสิ นใจได้ในระยะ
เวลา อันสั้น
2. การตัดสินใจแบบเน้ นการวิเคราะห์ คือ การคำนึงถึงปั ญหาและทางเลือกต่างๆ ทั้งข้อมูลและ
สารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ทำให้จำเป็ นต้องใช้เวลาในการตัดสิ นใจนานกว่า และมีความระมัดระวัง และความ
ละเอียดรอบคอบมากกว่า แต่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับพบปะ พูดคุย หรื อติดต่อประสานงานกับคนอื่นๆ
มากนัก
3. การตัดสินใจแบบเน้ นแนวคิด คือ เน้นการพิจารณาที่ปัญหาและทางเลือกต่างๆ อย่างกว้างๆ และ
อาศัยการพบปะ พูดคุย หรื อสอบถามจากคน ผูป้ ฏิบตั ิงานหรื อผูท้ ี่เกี่ยวข้อง ทำให้ตอ้ งใช้เวลาในการตัดสิ นใจ
ค่อนข้างมาก การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่ตอ้ งการ และความ
คิดเห็นจากผูเ้ กี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้ประกอบการศึกษาวิเคราะห์และกำหนดเป็ นแนวทางในการตัดสิ นใจ
32

4. การตัดสินใจแบบเน้ นพฤติกรรม คือ เน้นให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และ


ปรึ กษาหารื อกับบุคคลต่างๆ อย่างกว้างขวาง คำนึงถึงความรู ้สึกของคน หรื อบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องค่อนข้าง
มาก
ประเภทของการตัดสินใจ
1. การตัดสินใจแบบมีแบบแผน คือ เป็ นการตัดสิ นใจปัญหาที่เกิดขึ้นเป็ นกิจวัตรหรื อเป็ นประจำ
หรื อเป็ นการตัดสิ นใจที่ใช้วิธีการซ้ำๆ กัน หลายๆ ครั้ง มีข้ นั ตอนในกระบวนการตัดสิ นใจที่ชดั เจน มีกฎ
เกณฑ์หรื อวิธีการปฏิบตั ิที่กำหนดไว้ค่อนข้างแน่นอน
2. การตัดสินใจแบบไม่ มแี บบแผน คือ เป็ นการตัดสิ นใจปั ญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็ นประจำ หรื อ
เป็ นการตัดสิ นใจที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่เป็ นปกติ การดำเนินการที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน ไม่มี
โครงสร้างในการตัดสิ นใจที่ชดั เจน
วิธีการตัดสิ นใจ
1. วิธีการตัดสินใจแบบใช้ อำนาจเด็ดขาดของผู้ตัดสิ นใจ คือ มีบุคคลเดียวเป็ นผูทำ้ หน้าที่ในการ
ตัดสิ นใจ มีลกั ษณะเป็ นการตัดสิ นใจแบบรวมอำนาจไว้ที่ตนเองแต่เพียงผูเ้ ดียว ส่ วนผูอ้ ื่นเป็ นเพียงผูร้ ับไป
ปฏิบตั ิตามที่การตัดสิ นใจเท่านั้น
2. วิธีการตัดสินใจแบบกลุ่ม คือ การตัดสิ นใจเป็ นคณะบุคคลร่ วมกันวิเคราะห์ พิจารณา ตกลงและ
ตัดสิ นใจร่ วมกัน มีลกั ษณะแบบกระจายอำนาจ และพัฒนาประสิ ทธิ ผลและประสิ ทธิ ภาพการตัดสิ นใจร่ วม
กัน

กระบวนการพิจารณาตัดสินใจตามหลักเหตุผลตามแนวคิดของ Rickey W Griffin คือ


1. การตระหนักรู้ และระบุสภาวการณ์การตัดสิ นใจ
2. ระบุทางเลือกที่เป็ นไปได้ท้ งั หมด
3. ประเมินทางเลือกที่เป็ นไปได้ท้ งั หมด
4. เลือกทางเลือกที่ดีที่สุดเพียงทางเลือกเดียว
5. นำทางเลือกที่ได้เลือกไว้แล้วไปดำเนินการในทางปฏิบตั ิ
6. ติดตามและประเมินผลลัพธ์จากการนำทางเลือกไปปฏิบตั ิ
ข้ อจำกัดและแนวทางการพัฒนาการวิเคราะห์ ปัญหาและการตัดสิ นใจ
1. มนุษย์มีข้อจำกัดหรือจุดอ่อนในทางกายภาพ คือ โดยเฉพาะผัสสะทางกาย ทำให้มนุษย์ ไม่
สามารถรับรู ้หรื อตระหนักรู้ถึงปัญหา อุปสรรค หรื อข้อขัดข้องที่ถูกต้องและแท้จริ ง และไม่สามารถรับรู ้หรื อ
ตระหนักรู ้ถึงสิ่ งที่เบี่ยงเบนไปจากควรจะเป็ น หรื อสิ่ งที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและแท้จริ ง
ทั้งปั ญหาและสาเหตุที่เป็ นเรื่ องของสถานการณ์คนหรื อกลุ่มบุคคล สิ่ งของ รวมทั้งพฤติกรรม กิจกรรมหรื อ
เรื่ องต่างๆ ของมนุษย์เอง
2. มนุษย์มีข้อจำกัดหรือจุดอ่อนในทางจิตภาพหรือความรู้ สึกนึกคิด คือ สติปัญหาทำให้ไม่สามารถ
รับรู ้หรื อตระหนักรู้ถึงสาเหตุต่างๆ ของปัญหาหรื อเงื่อนไขที่ถูกต้องที่เป็ นผลกระทบให้ตอ้ งมีการดำเนินการ
อย่างหนึ่งอย่างใดต่อไป ทั้งปัญหาและสาเหตุที่เป็ นเรื่ องของสถานการณ์ คนหรื อกลุ่มบุคคล สิ่ งของ
พฤติกรรม กิจกรรมหรื อเรื่ องต่างๆ ของมนุษย์เอง
33

3. ข้ อจำกัดเกีย่ วกับคุณค่าหรือค่านิยม คือ มาตรวัดหรื อการประเมินในเชิงคุณค่าของบุคคล


ครอบครัว ชุมชน หรื อสังคมในเรื่ องที่เกี่ยวกับดี ชัว่ ถูก ผิด
แนวทางและวิธีการพัฒนาการวิเคราะห์ และการตัดสนใจของบุคคล
1. การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับหลักการและหลักวิชา ตลอดจนหลักการ แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค หรื อ
หลักเกณฑ์ต่างๆ

---------------------------------------------
บทที่ 10
พฤติกรรมของผู้นำ

ผู้นำกล่าวสรุ ปตามคำจำกัดของ ลา ปี แอร์ และฟรานสเวอร์ ธ หมายถึง การเป็ นผูนำ ้ ได้แก่พฤติกรรม


ซึ่ งมีผลทำให้พฤติกรรมผูอ้ ื่นยอมคล้อยตามแทนที่จะคล้อยตามพฤติกรรมของผูอ้ ื่น
พฤติกรรมของผู้นำทีท่ ุกผ่ายให้ การยอมรับสามารถสร้ างความพึงพอใจและศรัทธานิยมยกย่ องในตัวผู้นำ
ได้ แก่
1. การติดต่อสื่ อสารความหมาย 2. การขัดแย้ง
3. การแข่งขัน 4. การประนีประนอมผลประโยชน์ที่ขดั แย้งกัน
5. การผสมผสานกลมกลืนเข้าหากัน 6. การร่ วมมือสนับสนุนซึ่ งกันและกัน
ผู้นำกับปทัสถานของกลุ่ม คือ เป็ นข้อกำหนดหรื อกฎเกณฑ์แห่งพฤติกรรมที่สงั คมใดสังคมหนึ่ง
กำหนดไว้ และได้รับกรยอมรับนับถือปฏิบตั ิขอบบุคคลในส่ วนใหญ่ในสังคมนั้น
1. ปทัสถานของสังคม คือ
1.1. กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ (Law. Rule. Regulation)
1.2. จารี ต ประเพณี (Mores)
1.3. วิถีประชา (Folkways)
2. การปฏิบัติตามปทัสถาน
2.1. การอบรมสัง่ สอน
2.2 การเรี ยนรู้ทำให้เกิดความเคยชิน
2.3 บุคคลทำตามเพราะตนได้ประโยชน์
2.4 การทำตาม หมายถึง การทำตัวเป็ นพวกเดียวกับกลุ่มด้วย
3. ปทัสถานอืน่
3.1 แฟชัน่ สมัยนิยม 3.2 ความนิยม
3.3 งานพิธี 3.4 พิธีการ หรื อพิธีกรรม
3.5 มารยาทการเข้าสังคม
4. บุคลิกภาพ
4.1 เป็ นนักริ เริ่ มสร้างสรรค์ 4.2 เป็ นนักปรับปรุ ง
4.3 เป็ นนักช่วยเหลือ 4.4 เป็ นนักแก้ปัญหา
4.5 เป็ นผูนำ
้ ศรัทธาและได้รับการยอมรับนับถือ
4.6 เป็ นนักพูดที่มีประสิ ทธิภาพ 4.7 เป็ นที่นิยมชมชอบในการคบหาสมาคม
4.8 เป็ นผูนำ
้ ในการเปลี่ยนแปลง 4.9 เป็ นผูม้ ีท่าทาง กิริยาอาการและบุคลิกภาพที่ดี
การสื่ อสารโดยการพูดระหว่างบุคคล
34

การสนทนาและการสัมภาษณ์ คือ การพูดระหว่างบุคคลที่ผบู ้ ริ หารควรจะได้พฒั นาให้มี


ประสิ ทธิ ภาพสูงสุ ด
การสื่ อสารโดยการพูดในกลุ่มและที่สาธารณะ ได้ แก่
1. การพูดหรื ออ่านจากต้นฉบับที่เขียนไว้ 2. การพูดตามที่ท่องจำมา
3. การพูดอย่างฉับพลัน 4. กาพูดจากความเข้าใจ
จรรยาวิชาชีพ หมายถึง กฎเกณฑ์ความประพฤติหรื อมารยาทในการประกอบอาชีพของผูป้ ระกอบ
อาชีพแต่ละสาขาเมื่อกำหนดขึ้นแล้ว

การสร้ างความมัน่ ใจตนเองเพือ่ การพูดให้ สัมฤทธิผล


1. ธรรมชาติของความประหม่ าตื่นเต้ น
1.1 มองเห็นจุดอ่อนของตนเองมากเกินควร
1.2 เกิดความขัดแย้งภายในตนเอง
1.3 วาดภาพไว้ในใจอย่างผิดๆ
2. วิธีการแก้ความประหม่ าตื่นเต้นไม่ ให้ เป็ นอุปสรรค์ แก่ การพูด
2.1 เตรี ยมซ้อมเรื่ องที่เราจะพูดมาให้แม่นยำที่สุดเท่าที่จะทำได้
2.2 ให้ความสนใจในเรื่ องราวที่เกี่ยวข้องกับเรื่ องที่เราจะพูดไว้ให้มากพอ
2.3 หาข้อมูลเกี่ยวกับคนฟังให้มากพอ
2.4 พยายามพูดกับคนฟังให้ทวั่ ถึงขณะที่พดู อย่างมองไปยังสิ่ งอื่นๆ ในห้องนั้น
2.5 พยายามทรงตัวให้ดีในขณะที่พดู
2.6 ตั้งใจไว้ให้มนั่ คงเสมอว่าเราจะพยายามพูดให้ผฟู ้ ังเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน
ที่สุดเท่าจะทำได้
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยทำให้ การพูดของผู้บริหารสั มฤทธิผล
1. การศึกษาเรื่ องที่จะพูดจนเข้าใจอย่างทะลุปรุ โปร่ ง
2. เสี ยงพูดและกิริยาอาการของผูพ้ ดู
3. ศึกษาสถานที่ที่จะใช้ในการพูดให้มีความพร้อมที่จะใช้พดู มากที่สุด
4. การแต่งกายของผูพ้ ดู เหมาะสมกับกาลเทศะ
การค้นคว้าทางวิชาการมีความสำคัญต่ อการพัฒนาภาวะผู้นำเป็ นอย่ างมาก คือ เพราะความรู ้และ
ข้อมูลข่าวสารที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าจะเสริ มสร้างภูมิรู้ ภูมิปัญหาของผูนำ ้ ให้ลุ่มลึกสามารถนำไปใช้ใน
สถานการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงภาวะผูนำ ้ ที่สมบูรณ์ ไม่วา่ จะเป็ นในการพูด การเขียน หรื อการตัดสิ นใจ
วินิจฉัย สัง่ การ
การค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์ คือ เป็ นทักษะเบื้องต้นที่จะนำไปสู่ ขมุ ทรัพย์ทางปั ญญาที่อยูใ่ นรู ปการ
สัง่ พิมพ์ ได้แก่ หนังสื อ วารสาร หนังสื อพิมพ์และเอกสารต่างๆ ซึ่ งมีจำนวนมากมาย และมีลกั ษณะข้อมูล
ต่างกัน จึงจำเป็ นต้องเรี ยนรู้ลกั ษณะของข้อมูลข่าวสารและการจัดเก็บค้นหาสื่ อเหล่านี้
การค้นคว้าจากสื่ออ้ างอิง คือ ช่วยประหยัดเวลาในการค้นหาความรู ้ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพราะเป็ น
สื่ อที่รวบรวมสรรพวิชาและข้อมูลข่าวสารไว้อย่างเป็ นระบบ สะดวกต่อการค้นคว้าหาเรื่ องราวที่ตอ้ งการได้
เป็ นอย่างดี
การค้นคว้าจากสื่อโสตทัศน์ คือ เป็ นสื่ อที่แสดงด้วยภาพหรื อเสี ยงหรื อทั้งภาพและเสี ยง ใช้เสริ ม
สร้างความรู ้ ความเข้าใจในเรื่ องที่สื่อสิ่ งพิมพ์อาจจะอธิ บายได้ไม่ชดั เจนเพียงพอ การค้นคว้าจากสื่ อโสตทัศน์
จึงทำให้ได้ความรู้และข้อมูลข่าวสารต่างๆ สมบูรณ์ข้ ึน
35

การค้นคว้าจากฐานข้ อมูลต่ างๆ คือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดเก็บ


ค้นหาความรู ้ขอ้ มูลข่าวสารต่างๆ ทำให้เกิดฐานข้อมูลที่มีระบบดีเยีย่ มทำให้การค้นคว้าทางวิชาการเป็ นไป
ได้อย่างรวดเร็ ว ลุ่มลึก สมบูรณ์และกว้างขวาง ทันต่อความต้องการที่เร่ งด่วน การค้นคว้าจากฐานข้อมูล
ต่างๆ จึงทำให้ได้ความรู้ขอ้ มูลข่าวสารต่างๆ ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุดภายในเวลาอันรวดเร็ ว

----------------------------------------------

บทที่ 11
การทำงานเป็ นทีม
กระบวนการกลุ่มและการทำงานเป็ นทีม
ลักษณะเฉพาะของกลุ่ม
1. กลุ่มต้องประกอบด้วยบุคคลอย่างน้อยที่สุด 2 คน
2. คนในกลุ่มจะต้องมีปฏิสมั พันธ์ต่อกัน
3. มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างมีแบบแผน
4. ต้องพึ่งพากัน
5. ถือว่าตนเองเป็ นสมาชิกของกลุ่ม และสมาชิกอื่นในกลุ่มก็ยอมรับเช่นนั้น
6. ส่ งอิทธิพลต่อกันและกัน
7. เห็นว่าการรวมกลุ่มดีมีประโยชน์
8. มุ่งวัตถุประสงค์เดียวกัน
องค์ ประกอบของกลุ่ม
1. บทบาท (Roles) คือ เป็ นพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่มที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดปฏิสมั พันธ์ระหว่าง
กันของสมาชิกและช่วยให้การดำเนินภารกิจของกลุ่มประสบความสำเร็ จ
2. ปัทสถาน (Norms) คือ พฤติกรรมและบทบาทภายในสังคมหรื อกลุ่ม มีลกั ษณะเป็ นกฎซึ่ งกลุ่มใช้
สำหรับแยกแยะค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม
3. ค่ านิยม (Values) คือ ความเชื่อหลักอันเป็ นสิ่ งที่ดีงามของกลุ่ม
4. รู ปแบบการสื่อสาร (Communication patterns) คือ การไหลเวียนของข้อมูล สารสนเทศหรื อ
ข่าวสารต่างๆ ภายในกลุ่ม ได้แก่ การสื่ อสารแบบรวมศูนย์ และการสื่ อสารแบบการกระจายการสื่ อสาร
5. ความแตกต่ างระหว่างสถานภาพ (Status differentials) คือ ฐานะ เช่น ตำแหน่ง ความชำนาญ
ทรงคุณวุฒิ
ประโยชน์ การอยู่รวมเป็ นกลุ่ม
1. ผลิตภาพของกลุ่มมักจะสู งกว่าผลติภาพของบุคคลที่ทำงานตามลำพัง
2. กลุ่มตัดสิ นใจและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิ ทธิ ภาพมากกว่าบุคคลที่ทำงานตามลำพัง
3. สมาชิกภาพของกลุ่มก่อให้เกิดความรัก ความเมตตา ความห่วงใจในสมาชิกคนอื่นๆ สร้างความ
รับผิดชอบในตัวตน
36

4. ผูเ้ ป็ นสมาชิกของกลุ่มจะมีความรู ้สึกในด้านมิตรภาพ ความรัก ความสนิทสนม ความตื่นเต้น


ความร่ าเริ ง ความสมหวัง ความสำเร็ จ สูงกว่าผูท้ ี่ทำงานอยูต่ ามลำพังคนเดียว
5. กลุ่มเป็ นแหล่งเสริ มสร้างความสามารถและทักษะในการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
6. กลุ่มสามารถสร้างโอกาสให้สมาชิกทำความเข้าใจ รู ้จกั พฤติกรรมและทัศนคติที่เป็ นภัยให้สมาชิก
ได้ช่วยเหลือเพื่อนร่ วมกลุ่มทำความเข้าใจพฤติกรรมและทัศนคติทีไม่ดีเหล่านั้นด้วย
7. กลุ่มให้ทศั นพิสยั หลากหลาย ซึ่ งจะช่วยกระตุน้ ให้สมาชิกเห็นและเข้าใจปัญหาตลอดจนเข้าใจ
พฤติกรรมของบุคคลได้แจ่มชัด
8. กลุ่มเป็ นแหล่งเปรี ยบเทียบสำหรับมวลสมาชิก เปรี ยบเทียบทัศคติของตนที่มีต่อพ่อแม่ พีน่ อ้ ง ลูก
ภรรยา เพื่อน ญาติ หรื อเหตุการณ์ต่างๆ กับเพื่อนภายในกลุ่ม
9. กลุ่มเป็ นแหล่งป้ อนข้อมูลย้อนกลับในกลุ่ม บุคคลมีโอกาสแสดงพฤติกรรมสังเกตการณ์ การกระ
ทำ และฟังความคิดเห็นของคนในกลุ่มเกี่ยวกับผลกระทบของพฤติกรรมที่ตนแสดงออก
คุณสมบัติของกลุ่มทำงาน คือ มีลกั ษณะเน้นอุดมการณ์ เป้ าหมาย และวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
การช่วยเหลือสนับสนุนซึ่ งกันและกันเพื่องานของกลุ่มความมุ่งมัน่ ในผลสำเร็ จและคุณภาพของงานตลอด
จนให้ความสำคัญแก่ผนำ ู้ กลุ่ม
การนำกระบวนการกลุ่มมาใช้ ในการบริหาร คือ มีวตั ถุประสงค์เพื่อสอนให้คนซึ่ งจำเป็ นต้องอยูร่ วม
เป็ นกลุ่มได้เข้าใจในพฤติกรรมของตนเองและของคนอื่นๆ ดียิง่ ขึ้นแล้วปรับให้เข้ากันได้เพื่อให้กลุ่มมี
ประสิ ทธิ ภาพ
องค์ ประกอบของกระบวนการกลุ่ม ได้ แก่
1. มิติสังคม คือ สัมพันธภาพของสมาชิกในกลุ่ม ความรู ้สึกที่สมาชิกมีต่อกันและกัน และความเป็ น
อันหนึ่งอันเดียวกัน
2. มิติงาน คือ สัมพันธภาพระหว่างสมาชิกกับงานที่กลุ่มจะต้องทำ งานสำเร็ จ มีผลิตภาพในการ
ทำงาน
บุคคลที่จะได้ ประโยชน์ จากการเรียนรู้ มากที่สุด คือ
1. ยึดถือพฤติกรรมที่กำหนด
2. กำหนดวัตถุประสงค์ในการเรี ยนรู ้ของตน
3. มีความเต็มอกเต็มใจที่จะทดลองกระทำพฤติกรรมใหม่ๆ
4. แสวงหาและคอยรับข้อมูลย้อนกลับ
5. สร้างข้อสรุ ปและแนวทางปฏิบตั ิเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับจากกิจกรรม
พฤติกรรมที่ส่งเสริมให้ การทำงานของกลุ่มบรรลุเป้ าหมายได้ โดยเร็วและสร้ างเสริมสั มพันธภาพระหว่ าง
บุคคลภายในกลุ่มให้ แน่ นแฟ้ นมากขึน้ คือ
1. การเริ่ ม 2. การแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม
3. การให้ขอ้ มูลหรื อแสดงความคิดเห็น 4. การรับฟังและเคารพในความคิดเห็นของผูอ้ ื่น
5. การประสานแนวคิด 6. การชี้แจงหรื อขยายความ
7. การสรุ ป 8. การประเมิน
พฤติกรรมบุคคลที่เป็ นอุปสรรคต่ อการทำงานของกลุ่มทำให้ กลุ่มแตกแยก คือ
1. การตอบโต้ที่มีความคิดหรื อความรู ้สึกอย่างอื่นซ่อนเร้นอยู่
2. การก้าวร้าว
3. การขัดคอหรื อขัดแย้งโดยปราศจากเหตุผลอันควร
4. การขมขู่
37

5. การผูกขาดบทบาทภายในกลุ่ม
6. การเงียบเฉย
สิ่ งทีม่ ีอทิ ธิพลต่ อการเกิดทัศนคติ คือ
1. การอบรมเลี้ยงดุที่ได้รับจากบิดามารดาหรื อผูป้ กครอง
2. การอบรมสัง่ สอนและการประพฤติปฏิบตั ิของครู
3. การศึกษา
4. สื่ อมวลชน
ลักษณะและพฤติกรรมของบุคคลในการทำงานเป็ นทีม
1. ต้องกำหนดเป้ าหมายการทำงานร่ วมกัน
2. ต้องการวางแผนร่ วมกัน
3. ต้องปฏิบตั ิงานร่ วมกัน และการประสานงานร่ วมกัน
4. ต้องสรุ ปและประเมินผลการทำงานร่ วมกัน
การใช้ กระบวนการกลุ่มในกรแก้ปัญหา
ประเด็นในการจัดกลุ่มเพือ่ แก้ปัญหา ได้ แก่
1. การเลือกสมาชิกของกลุ่ม
2. การจัดองค์ประกอบ
3. การพัฒนาของกลุ่ม
การพัฒนากลุ่มมีข้นั ตอนการดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ
- การร่ วมกลุ่ม - การขัดแย้งระหว่างสมาชิกในกลุ่ม
- การกำหนดปัทสถานของกลุ่ม - การปฏิบตั ิงานของกลุ่ม
กลุ่มแก้ ปัญหา
1. กลุ่มเผชิญหน้ า คือ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเรี ยนรู ้ทกั ษะในการติดสื่ อสาร การเข้าใจและการติดต่อ
สัมพันธ์กบั ผูอ้ ื่น ความอ่อนไหวต่อความรู้สึก ความคิดเห็น และทัศนคติของผูอ้ ื่น มีลกั ษณะการจัด
ประสบการณ์กลุ่มในห้องทดลอง
2. กลุ่มสังคม คือ ให้ความสำคัญเพื่อพบประสังสรรค์ในบรรยากาศที่เป็ นกันเอง มีวตั ถุประสงค์เพื่อ
สังคมมีการเรี ยนรู้และการทำงานร่ วมกันได้
3. กลุ่มศึกษา คือ เป็ นการศึกษาเรี ยนรู ้ในกลุ่มของสมาชิก เช่น การเรี ยนดนตรี การเรี ยนทำดอกไม้
แต่การเรี ยนรู ้จะมีประสิ ทธิภาพก็ต่อเมื่อผูเ้ รี ยนตระหนักว่าเรี ยนรู ้เริ่ มต้นที่ตวั เอง
4. กลุ่มทำงาน คือ มุ่งเน้นสำหรับกลุ่มทำงานมีประสิ ทธิ ภาพมากที่สุดในการะบุปัญหาหรื อในการ
ประชุมเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา ได้แก่กลุ่มระดมสมอง กลุ่มในนาม และกลุ่มวิเคราะห์พลังสนาม
การประเมินพฤติกรรมกลุ่ม
1. เหตุผลในการประเมินพฤติกลุ่ม คือ เพื่อนำผลไปปรับปรุ งประสิ ทธิ ภาพการทำงานของกลุ่ม
2.ประโยชน์ ของการประเมินพฤติกรรมกลุ่ม คือ
2.1 ได้ข่าวสารข้อมูลว่ากลุ่มทำสิ่ งใดสำเร็ จไปแล้วบ้า
2.2 วัดและประเมินว่าวัตถุประสงค์ที่ต้ งั ไว้เดิมยังเหมาะสมอยูห่ รื อไม่เพียงไร
2.3 ให้ขอ้ มูลย้อนกลับแก่สมาชิกวาผลงานของเขาเป็ นอย่างไร
2.4 ช่วยให้ผนำู้ กลุ่มได้ประเมินประสิ ทธิ ภาพของตนเอง
2.5 สร้างแรงจูงใจแก่สมาชิกในการปฏิบตั ิงานของกลุ่มให้ดียงิ่ ขึ้นไป
2.6 ช่วยให้สมาชิกกลุ่มวางแผนกิจกรรมและทิศทางในการทำงานเพิ่มเติมจากที่คิดไว้เดิม
38

3. ข้ อมูลย้ อนกลับในฐานะเป็ นตัวป้ อนกระบวนการประเมินพฤติกรรมกลุ่ม


3.1 เกี่ยวกับองค์ประกองของกลุ่ม
3.2 เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
3.3 เกี่ยวกับความสามารถของกลุ่ม
4. วิธีการประเมินพฤติกรรมกลุ่มโดยพิจารณาจากข้ อมูลย้ อนกลับ
้ กลุ่มสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม และประมวลข้อมูลเอง
4.1 ผูนำ
4.2 ตั้งผูส้ งั เกตการหนึ่งคน หรื อหลายคน
4.3 ตั้งผูส้ งั เกตจากบุคคลภายนอกกลุ่ม
4.4 ใช้แบบประเมินผล
4.5 บันทึกภาทัศน์
5. ลักษณะพฤติกรรมที่พงึ ประเมิน
5.1 พฤติกรรมของสมาชิก
5.2 พฤติกรรมของผูนำ ้
คุณสมบัติของผู้นำกลุ่มที่ดี
1. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการกลุ่ม 2. ความสามารถในการคิดอย่างรวดเร็ ว
3. มีทกั ษะในการใช้ภาษาและในการพูด 4. มีความรู ้ในงานนั้นพอสมควร
5. สามารถจับแนวโน้มของกลุ่มได้วา่ กำลังไปทางไหน 6. รู ้จกั อดกลั้นและเคารพความเห็น
ของผูอ้ ื่น
7. สามารถบรรยายความรู้สึกของสมาชิกในกลุ่มได้ 8. สามารถอธิ บายให้ความกระจ่างได้
5.3 บรรยากาศการทำงานของกลุ่ม

------------------------------------------------
บทที่ 12
การบริหารเครือข่ าย
เครือข่ าย หมายถึง รู ปแบบความสัมพันธ์ของสมาชิกในเครื อข่าย ซึ่ งอาจเป็ นบุคคล องค์กร ชุมชน
หรื อประเทศ ในการแลกเปลี่ยนทรัพยากร ข้อมูลข่าวสาร และทำงานร่ วมกัน เพื่อบรรลุวตั ถุประสงค์ที่
กำหนดไว้
ความสำคัญของเครือข่ าย
1. สร้างกระบวนการเรี ยนรู้ 2. สร้างขวัญกำลังใจ
3.สร้างการทำงานเป็ นทีม 4. สร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเอง
5. สร้างการมีส่วนร่ วม 6. สร้างพลังอำนาจ
7. สร้างศูนย์กลางแลกเปลี่ยนและระดมทรัพยากร 8. สร้างประสิ ทธิ ผล
9. สร้างประสิ ทธิภาพ 10. สร้างความได้เปรี ยบทางการแข่งขัน
ประเภทของเครือข่ าย
1. มิติตามแหล่งกำเนิด 2. มิติความสัมพันธ์
3. มิติผจู้ ดั ตั้งเครื อข่าย 4. มิติความคิด
39

5. มิติอาชีพ 6. มิติการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
7. มิติการประสานงาน 8. มิติการรวมตัวของสมาชิก
9. มิติกฎหมาย 10. มิติกลุ่มเป้ าหมาย
11. มิติลกั ษณะงาน 12. มิติความใกล้ชิดของสมาชิกในเครื อข่าย
13. มิติขนาดของเครื อข่าย
หลักการบริหารเครือข่ าย
1. หลักการรวมพลัง 2. หลักพันธะผูกพัน
3. หลักความเสมอภาค 4. หลักผลประโยชน์ส่วนรวม
5. หลักความรับผิดชอบ 6. หลักการแลกเปลี่ยน
7. หลักความไว้วางใจ 8. หลักการเสริ มพลัง
9. หลักการพึ่งพากันและกัน
กระบวนการบริหารเครือข่ าย ได้ แก่
การสร้ างเครือข่ าย หมายถึง การจัดรู ปแบบความสัมพันธ์ของบุคคล องค์กร ชุมชน หรื อชุมชน
โดยสมัครใจ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทรัพยากร ข้อมูลข่าวสาร และทำงานร่ วมกันเพื่อบรรลุวตั ถุประสงค์
ที่กำหนดไว้
การสร้ างเครือข่ ายมีวธิ ีการสำคัญ คือ
1. การสร้างความตระหนักและจุดร่ วมของผลประโยชน์
2. การแสวงหาแกนนำและสมาชิก
3. การวางแผนและการจัดโครงสร้าง
4. การจัดระบบการสื่ อสารและระบบการติดตามประเมินผล
5. การจัดหาทรัพยากรทางการเงิน
6. การจัดกิจกรรมเครื อข่าย
การพัฒนาเครือข่ าย หมายถึง การขยายแนวคิด กิจกรรมเครื อข่ายให้เกิดการแลกเปลี่ยนทรัพยากร
ข้อมูลข่าวสาร และทำงานร่ วมกันเพื่อบรรลุวตั ถุประสงค์ที่กำหนดไว้
การพัฒนาเครือข่ ายมีวธิ ีการสำคัญ คือ การขยายเครื อข่าย การปรับปรุ งเครื อข่าย และการพัฒนา
ศักยภาพของสมาชิกเครื อข่าย
การธำรงรักษาเครือข่ าย หมายถึง การักษาสถานภาพของเครื อข่ายให้ยงั คงอยูเ่ พื่อดำเนินการตาม
วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
การธำรงรักษาเครือข่ ายมีวธิ ีการสำคัญ คือ
1. การสร้างแรงจูงใจให้แก่สมาชิกเครื อข่าย
2. การรักษาความผูกพันใกล้ชิดของสมาชิกเครื อข่าย
3. การดำเนินกิจกรรมเครื อข่ายอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาของการบริหารเครือข่ ายในทางปฏิบัติ
ปัญหาด้ านการเกิดขึน้ ของเครือข่ าย
คำถามที่วา่ “ทำไมเครือข่ ายจึงไม่ เกิดขึน้ ” มีสาเหตุสำคัญมาจาก
1. ขาดแกนนำในการสร้างเครื อข่าย 2. ขาดการระดมทรัพยากร
สาเหตุของปัญหาความไม่ ยงั่ ยืนของเครือข่ าย ได้ แก่
1. วัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินงานไม่ชดั เจน
2. ขาดกิจกรรมและการขยายตัวไม่ต่อเนื่อง
40

3. การสื่ อสารไม่ทวั่ ถึง ล่าช้าและไม่ถูกต้อง


4. ขาดผูนำ้ ที่มีประสิ ทธิผล
5. ขาดการติดตามประเมินผลและการปรับปรุ งอย่างต่อเนื่อง
6. ความเคยชินกับวัฒนธรรมการทำงานแบบเดิม
7. ความขัดแย้งแตกแยกภายในเครื อข่าย
ปัจจัยเสริมสร้ างความสำเร็จของการบริหารเครือข่ ายในทางปฏิบัติ ได้ แก่
1. ปั จจัยด้านการวางแผน 2. ปั จจัยด้านผูนำ

3. ปั จจัยด้านการสื่ อสาร 4. ปั จจัยด้านทรัพยากร
5. ปั จจัยด้านการประเมินผล 6. ปั จจัยด้านกิจกรรมและการขยายตัว
6. ปั จจัยด้านวัฒนธรรม
การศึกษาการบริหารเครือข่ าย
1. การสร้ างเครือข่ าย
1.1 การสร้างความตระหนักและจุดร่ วมของผลประโยชน์ ได้แก่ การฟื้ นประเพณี “ลงแขก”
หรือ “แชร์ แรงงาน” การจัดตั้งกลุ่มคณะกรรมการศึกษาและพัฒนาหมู่บา้ น
1.2 การจัดหาทรัพยากรทางการเงิน
1.3 การแสวงหาแกนนำและสมาชิก
1.4 การวางแผนและการจัดโครงสร้าง “สภาผูนำ ้ ชุมชนไม้เรี ยง)
การวางแผนชุ มชนไม้ เรียง ได้แก่ แผนชุมชน ทำโดยชุม และเพื่อชุมชน
1.5 การจัดระบบการสื่ อสารและระบบการติดตามประเมินผล
1.6 การจัดกิจกรรมเครื อข่าย
2. การพัฒนาเครือข่ าย
2.1 การขยายเครื อข่าย
2.2 การปรับปรุ งเครื อข่าย เช่น การปรับปรุ งเครื อข่ายไม้เรี ยง คือ การเรี ยนวิชาสามัญพื้น
ฐาน ให้เรี ยนรู้ในสิ่ งที่สมาชิกต้องการจะรู้ ให้การเรี ยนรู ้ในสิ่ งที่ควรจะรู ้

2.3 การพัฒนาศักยภาพของสมาชิกเครื อข่ายศูนย์ไม้เรี ยง คือ


- การจัดทำ “คู่มือเกษตรกรชาวสวนยางพาราครบวงจร”
- การจัดตั้ง “ สภาผูนำ
้ ”
- การจัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรี ยง
- การฝึ กอบรมและดูงาน
3. การธำรงรักษาเครือข่ าย
3.1 การสร้างแรงจูงใจให้สมาชิกเครื อข่าย
3.2 การดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
1. โรงงานแปรรู ปยางของชุมชน
2. การจัดทำแผนแม่บทยางพาราไทย
3. การจัดทำแผนแม่บทชุมชน
4. วิสาหกิจชุมชน
41

5. การเรี ยนรู้บูรณาการ
6. สภาผูนำ้
ความสำเร็จของเครือข่ ายไม้ เรียง
1. ผูนำ
้ ที่เข้มแข็งและมีประสิ ทธิผล
2. การวางแผนดำเนินการอย่างชัดเจน
3. การจัดหาทรัพยากรเพียงพอต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
4. การจัดกิจกรรมและการาขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
5. การติดตามประเมินผลและการปรับปรุ งอย่างต่อเนื่อง

--------------------------------------------------------------
บทที่ 13
ความรับผิดชอบในการบริหารรัฐกิจ

ความรับผิดชอบในการบริหารรัฐกิจ หมายถึง ความเอาใจใส่ ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐใน


การปฏิบตั ิหน้าที่อย่างเต็มความรู้ความสามารถ ด้วยความเสี ยสละ ด้วยความเข้าใจ และด้วยสำนึกที่ถูกต้อง
ในการให้บริ การของรัฐแก่ประชาชนอย่างเสมอภาคในการใช้จ่ายเงินงบประมาณของรัฐอย่างประหยัดและ
คุม้ ค่า และในการดูแลรักษาทรัพย์สมบัติของแผ่นดินด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง เสมอด้วยการดูแลรักษา
ทรัพย์สินของตนเอง
มาตรฐานกำหนดตำแหน่ งในส่ วนราชการ ได้ แก่
1. ชื่อสายงาน 2. ชื่อตำแหน่งในสายงาน
3. หน้าที่และความรับผิดชอบ 4. ลักษณะงานที่ปฏิบตั ิ
5. คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง 6. ความรู ้ความสามารถที่ตอ้ งการ
ความแตกต่ างระหว่างความรับผิดชอบในการบริหารรัฐกิจ และความรับผิดชอบในการปฏิบัติในตำแหน่ ง
หน้ าที่ คือ
1. ความรับผิดชอบในการปฏิบตั ิงานในตำแหน่งหน้าที่ เป็ นเรื่ องเฉพาะตัว เฉพาะหน่วยงาน ในขณะ
ที่ความรับผิดชอบในการบริ หารรัฐกิจคำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนโดยส่ วนรวม
2. ความรับผิดชอบในการปฏิบตั ิงานในตำแหน่งหน้าที่ จะเป็ นเรื่ องที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของงาน
หลักที่จะต้องปฏิบตั ิในขณะที่ความรับผิดชอบในการบริ หารรัฐกิจจะเป็ นเรื่ องที่เกี่ยวข้องกับความรู ้สึกนึกคิด
ทัศนคติ หรื อสำนึกในการเป็ นข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ความสำคัญของความรับผิดชอบในการบริหารรัฐกิจ คือ การตอบสนองความต้องการของ
ประชาชน ผลประโยชน์ของชาติ และสะท้อนไปถึงความสำเร็ จในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งเป็ นสิ่ งที่ช้ ีให้
เห็นถึงประสิ ทธิภาพในการบริ หารราชการ
ขอบเขตของความรับผิดชอบในการบริหารรัฐกิจ
1. ความรับผิดชอบต่ อประเทศชาติ หมายถึง รับผิดชอบต่อรัฐบาล องค์การ ผูบ้ งั คับบัญชาเพื่อนร่ วม
งาน
2. ความรับผิดชอบต่ อประชาชน หมายถึง รับผิดชอบต่อประชาชนผูร้ ับบริ การ ตัวแทนของ
ประชาชนในสภาผูแ้ ทนราษฎร สื่ อมวลชน
3. ความรับผิดชอบต่ อสังคม หมายถึง รับผิดชอบต่อกฎหมาย สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ
42

4. ความรับผิดชอบต่ อตนเอง หมายถึง รับผิดชอบต่อตำแหน่ง หน้าที่ จรรยาวิชาชีพ ครอบครัว


ปัญหาด้ านพฤติกรรมไม่ พงึ ประสงค์ หมายถึง การแสดงออกในการปฏิบตั ิงานการให้บริ การ
ประชาชน และการวางตัวของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็ นไปอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม
ลักษณะของปัญหาด้ านพฤติกรรมไม่ พงึ ประสงค์
1. ปฏิบตั ิงานล่าช้า 2. แสวงหาประโยชน์จากอำนาจหน้าที่
3. ถือยศถือศักดิ์ 4. ขาดเป้ าหมายในการทำงาน
5. เน้นกฎระเบียบมากกว่าผลสำเร็ จ 6. แสวงหาความก้าวหน้าด้วยวิธีการที่ไม่สมควร
ปัญหาด้ านการขาดจิตสำนึกในการบริหารรัฐกิจ หมายถึง การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐขาดความเข้าใจที่
ลึกซึ้ งถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของตน ว่าตนมีภารกิจโดยตรงที่จะต้องให้บริ การแก่ประชาชนให้เกิดผลดี
ที่สุดเท่าที่จะทำได้

ผลเสี ยของปัญหาการขาดจิตสำนึกในการบริหารรัฐกิจ ได้ แก่


1. มีความคิดว่างานราชการหรื องานรัฐวิสาหกิจที่ทำอยูไ่ ม่ใช่งานของตน
2. มีความคิดว่างานราชการหรื องานรัฐวิสาหกิจที่ทำอยูเ่ ป็ นเพียงการประกอบอาชีพอย่างหนึ่ง
3. มีความคิดว่างานราชการบางแห่งเป็ นงานที่สามารถแสวงหาผลประโยชน์อย่างอื่นได้นอกจาก
การรับเงินเดือนประจำ
ปัญหาด้ านการขาดทัศนคติทถี่ ูกต้ องในการทำงาน
1. ทัศนคติทางสังคม เช่น รู้สึกว่าตนเองมีฐานะตำแหน่งหน้าที่การงานเหนือกว่าประชาชน
2. ทัศนคติทางเศรษฐกิจ เช่น มีความต้องการแสวงหารายได้โดยมิชอบเพื่อให้ตนเองมีฐานะดี
3. ทัศนคติทางการศึกษา เช่น รู้สึกว่าตนเองมีความรู ้สูงกว่าประชาชนทัว่ ไป
4. ทัศนคติทางการบริหาร เช่น รู้สึกว่าตนเองมีความรู ้ ความสามารถสู งกว่าตำแหน่ง ทำให้เกิดความ
พึงพอใจต่องานที่ปฏิบตั ิอยูใ่ นปัจจุบนั
การแก้ ปัญหาโดยอาศัยกฎหมาย ได้ แก่
1. กฎหมายโดยทั่วไป ได้แก่ กฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
2. กฎหมายเกีย่ วกับข้ าราชการ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรื อน
3. กฎหมายพิเศษ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการป้ องกันและปราบปรามการทุจริ ตและพฤติมิชอบใน
วงราชการ
การแก้ไขปัญหาโดยอาศัยสังคมและสิ่ งแวดล้ อม คือ อาศัยสื่ อมวลชนฝ่ ายนิติบญั ญัติ และประชาชน
ทัว่ ไป
การแก้ไขปัญหาโดยอาศัยการปกครองบังคับบัญชา ทำได้โดยการสอดส่ องดูและการปฏิบตั ิงานของ
ผูใ้ ต้บงั คับบัญชาอย่างทัว่ ถึงและสม่ำเสมอ มีการจัดระบบและวิธีการควบคุมตรวจสอบการทำงานอย่างได้
ผล มีมาตรการในการักษาวินยั และเคร่ งครัดและมีวิธีการให้รางวัลและสนับสนุนผูก้ ระทำดี
ผู้บังคับบัญชาสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาความรับผิดชอบในการบริหารรัฐกิจได้ คือ
1. สอดส่ องดูแลการปฏิบตั ิงานของผูใ้ ต้บงั คับบัญชาอย่างทัว่ ถึงและสม่ำเสมอ
2. จัดระบบและวิธีการควบคุมตรวจสอบการทำงานที่ดี
3. กำหนดมาตรการในการรักษาวินยั อย่างเคร่ งครัด
4. จัดระบบหรื อวิธีการที่จะตอบแทนการกระทำความดีของผูป้ ฏิบตั ิงาน
การปลูกฝั่งอุดมการณ์ คือ มีวตั ถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดถือเป็ นหลักในการปฏิบตั ิงาน
ทำได้โดยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละกลุ่มสร้างหรื อกำหนดอุดมการณ์เฉพาะของกลุ่มหรื อของตนเองอาจเป็ น
43

อุดมการณ์ส้ นั ๆ ที่ไม่จำเป็ นต้องครอบคลุมแนวทางปฏิบตั ิทุกกิจกรรม แต่เน้นการทำงานเพื่อความสำเร็ จตาม


เป้ าหมายในการบริ หารราชการ
การปรับปรุ งบทบาทของผูบ้ ริ หาร
ความเกีย่ วพันของผู้บริหารกับสภาพแวดล้อม ได้ แก่
1. งาน 2. ผูบ้ งั คับบัญชาระดับสู ง
3. ประชาชน 4. เพื่อนร่ วมงาน
5. เจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่น 6. ผูใ้ ต้บงั คับบัญชา
บทบาทของผู้บริหารยุคใหม่
1. เป็ นนักแก้ปัญหา 2. เป็ นผูม้ ีสายตากว้างไกล
3. เป็ นผูม้ ีจิตใจรับบริ การ 4. เป็ นผูม้ ีวญ
ิ ญาณของนักพัฒนา

แนวทางปฏิบัติของผู้บริหารทีม่ ีความรับผิดชอบในการบริหารรัฐกิจ
1. รู ้งานและทำงาน โดยไม่หลีกเลี่ยงหรื อหนีปัญหา
2. มีความรับผิดชอบต่องานที่ผบู้ งั คับบัญชามอบหมายอย่างเต็มที่
3. ให้ความเอาใจใส่ สนใจความรู้สึกและความต้องการของประชาชน
4. ให้ความร่ วมมือกับเพื่อนร่ วมงาน
5. อำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นด้วยความเต็มใจ
6. สอนแนะงานและดูแลการทำงานของผูใ้ ต้บงั คับบัญชาให้มีประสิ ทธิ ภาพ
วัตถุประสงค์และขอบเขตของการพัฒนาบุคลากรของรัฐ คือ การก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง
พฤติกรรมของผูป้ ฏิบตั ิงานตามที่ตอ้ งการ เช่น จากการปฏิบตั ิงาน จากผลงาน และจากวิธีการทำงาน
ขอบเขตของการพัฒนาบุคลาของรัฐ
1. ด้านความรู้ (knowledge) 2. ด้านทักษะ (Skill)
3. ด้านทัศนคติ (Attitude)
การพัฒนาจิตใจเพือ่ การเปลีย่ นแปลงทางพฤติกรรม
1. พฤติกรรมของพลเมืองดี หมายถึง พฤติกรรมซื่ อสัตย์ รับผิดขอบต่อตนเองและผูอ้ ื่น เอื้อเฟื้ อเผือ่
แผ่ เป็ นที่ยอมรับของสังคม
2. พฤติกรรมเอือ้ ต่ อการพัฒนาประเทศ หมายถึง พฤติกรรมการปรับตนให้สามารถทำงานแปลก
ใหม่ได้เป็ นอย่างดี
3. พฤติกรรมในหน้ าที่ราชการ หมายถึง พฤติกรรมการใช้ความรู ้ ความสามารถ ความชำนาญการ
ในการทำงานตามหน้าที่อย่างเต็มกำลังสามารถ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติมากกว่าประโยชน์
ส่ วนตนหรื อพวกพ้อง
แนวทางการมุ่งเน้ นการพัฒนาเพือ่ สร้ างเสริมความรับผิดชอบในการบริหารรัฐกิจ
1. การเน้นการทำงานเป็ นทีม
2. การเสริ มสร้างความรู้สึกนึกคิดที่ถูกต้องในการทำงาน
3. การสร้างเสริ มจิตสำนึกที่ถูกต้องในการให้บริ การประชาชน
4. การส่ งเสริ มให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
แนวทางปฏิบัติของผู้บริหารทีม่ ีความรับผิดชอบในการบริหารรัฐกิจ
1. รู ้งานและทำงานโดยไม่หลีกเลี่ยงหรื อหนีปัญหา
44

2. ให้ความเอาใจใส่ ความรู้สึกและความต้องการของประชาชน
3. ให้ความร่ วมมือกับเพื่อนร่ วมงาน
4. สอนแนะงานและดูแลการทำงานของผูใ้ ต้บงั คับบัญชาให้มีประสิ ทธิ ภาพ
กลยุทธ์ ที่ช่วยในการพัฒนาจิตใจของบุคลากรของรัฐ เพือ่ ให้ เกิดความสั มฤทธิผลสู งขึน้
1. ใช้ผชู้ กั จูงที่เป็ นบุคคลน่าเชื่อถือมาทำการชักจูง
2. หาวิธีช้ ีให้เห็นโทษหรื ออันตรายจากการไม่กระทำในสิ่ งที่ถูกต้อง
3. สร้างระบบให้รางวัลผูก้ ระทำดีและลงโทษผูก้ ระทำผิด
4. จัดหาตัวแบบที่ได้รับรางวัลหรื อได้รับโทษมาแสดงตามความเหมาะสม

-----------------------------------------------
บทที่ 14
บุคลิกภาพและการพัฒนาบุคลิกภาพ

บุคลิกภาพ หมายถึง สภาวะทุกอย่างที่ประกอบเป็ นตัวของคนนั้น รวมตัวสภาวะทางด้านร่ างกาย


อารมณ์ จิตใจ ความรู้สึกนึกคิดและความสามารถทางสติปัญหา ซึ่ งส่ งผลให้บุคคลมีความแตกต่างกัน
ความสำคัญของบุคลิกภาพ
1. เป็ นสิ่ งที่แสดงเป็ นเอกลักษณ์ของบุคคล
2. เป็ นสิ่ งที่บ่งบอกถึงระดับความมัน่ ใจของบุคคล
3. ช่วยสร้างโอกาสสู่ ความสำเร็ จ
4. ช่วยในการคาดการณ์พฤติกรรมของบุคคลอื่น
องค์ ประกอบของบุคลิกภาพ
1. ลักษณะทางกาย ได้แก่ รู ปร่ าง หน้าตา สัดส่ วน ผิดพรรณ สี ผม ความสู ง น้ำหนัก
2. ลักษณะทางใจ ได้แก่ ความคิด ความจำ จินตนาการ ความสนใจ ความตั้งใจ สติปัญญา
3. อุปนิสัย ได้แก่ ความสุ ภาพอ่อนโยน ความซื่ อสัตย์เชื่อถือได้ ความเคารพสิ ทธิ บุคคลอื่นไม่แก่ตวั
มีศีลธรรมจรรยา
4. อารมณ์ ได้แก่ ความรู้สึกแห่งจิตที่ก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ตื่นเต้น ตกใจ กล้าหาญ หวาดกลัว
5. การสมาคม คือ กิริยาท่าที อาการที่บุคคลแสดงต่อผูอ้ ื่น
ประเภทของบุคลิกภาพ
1. บุคลิกภาพภายใน คือ เป็ นตัวกำหนดท่าที พฤติกรรม กิริยาท่าทางแสดงออกของบุคคลให้คน
อื่นๆ ได้เห็นและประเมินว่าบุคคลผูน้ ้ นั มีบุคลิกภาพอย่างไร เช่น อุปนิสยั อารมณ์
2. บุคลิกภายนอก คือ รู ปร่ างหน้าตา การแต่งกาย การปรากฏตัว กิริยาท่าทางต่างๆ ความสะอาดและ
สุ ขภาพอนามัย สี หน้า การสบตา การใช้น ้ำเสี ยง และการใช้ถอ้ ยคำ
ปัจจัยที่ส่งผลต่ อบุคลิกภาพ
บุคคลจะมีบุคลิกภาพอย่างไรนั้น Gibson และคณะ เป็ นผลจากปั จจัย 4 ประการ ได้แก่ พันธุกรรม
วัฒนธรรม สังคม และครอบครัว
ทฤษฎีสำคัญเกีย่ วกับบุคลิกภาพ
1. ซิกมัน ฟรอยด์ เป็ นจิตแพทย์ชาวเมืองเวียนนา ประเทศออสเตรี ย เจ้าของทฤษฎีจิตวิเคราะห์
มีความคิดเห็นว่าคนจะมีพลังงานจิตอยูอ่ ย่างหนึ่งเรี ยกว่า ลิบิโด (libido) มีคุณสมบัติ คือ พลังจิตอย่างหนึ่ง
ซึ่ งจะรวมอยูบ่ ริ เวณต่างๆ ของร่ างกาย แหล่งที่ลิบิโดไปรวมกันอยูจ่ ะเป็ นตามลำดับขั้น คือ จากบริ เวณปาก
45

ไปสู่ อวัยวะขับถ่ายเพศตามลำดับ การเคลื่อนย้ายของลิบิโดจากบริ เวณหนึ่งไปบริ เวณหนึ่งจะทำให้เกิดการ


พัฒนา หากลิบิโดไม่มีการเคลื่อนย้ายคนก็จะไม่มีการพัฒนา และยังได้เน้นว่าประสบการณ์ในวัยระหว่าง 6
ปี แรกของชีวิตมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในระยะหลังบุคคลเป็ นอย่างมาก
2. ซี จี จุง เป็ นจิตแพทย์ชายเมืองซูริค เขาแบ่งแบบบุคลิกภาพ 2 แบบ คือ
2.1 แบบหันข้ าหาตัวเอง (introvert) คือ มีลกั ษณะเป็ นคนยึดมัน่ อยูก่ บั กฎเกณฑ์
ขนบธรรมเนียมประเพณี ชอบคิดฝัน ไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง
2.2 แบบหันออกจากตัวเอง (extrovert) คือ เป็ นคนที่เข้าสังคม เป็ นคนเปิ ดเผย ชอบการ
ผจญภัย ความตื่นเต้นยอมรับการเปลี่ยนแปลง
3. อัลเฟรด แอดเลอร์ คือ กล่าวว่าอิทธิ พลของสังคมและครอบครัว ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อเด็กจะ
มีเป็ นผลถึงการอบรมเลี้ยงดู

4. อีริค เอช อีริคสัน เป็ นชาวเมืองแปรงค์เฟิ ร์ต ประเทศเยอรมณี แบ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพออก


เป็ น 8 ขั้น คือ
1. ความไว้วางใจ - ความไม่ไว้วางใจ
2. ความเป็ นตัวของตัวเอง – ความไม่มนั่ ใจตนเอง
3. ความคิดริ เริ่ ม – ความรู้สึกผิด
4. ความขยันหมัน่ เพียร – ความรู ้สึกต่ำต้อย
5. ความเป็ นเอกลักษณ์ – ความสับสนในบทบาท
6. ความผูกพัน – การแยกตัว
7. การทำประโยชน์ให้สงั คม – การคิดถึงแต่ตนเอง
8. บูรณภาพ – ความสิ้ นหวัง
แนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพ
การพัฒนาบุคลิกภาพ คือ การสร้างตนเอง การที่บุคคลเปลี่ยนแปลงปรับปรุ งตนเองเพื่อให้
มีบุคลิกภาพที่ดีข้ ึน เป็ นผูท้ ี่มีความมัน่ ใจตนเอง มีทศั นคติที่ดี มีพลังในการทำงาน และมีชีวิตที่เป็ นสุ ข
การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุ งนี้ แท้จริ งแล้วมีที่มาจากความต้องการตามธรรมชาติของมนุษย์ที่ตอ้ งการการ
ยอมรับจากบุคคลอื่นหรื อต้องการที่จะมีเพื่อน มีสงั คม
แนวคิดของแมคเคิลแลนต์ได้ แบ่ งความต้ องการของมนุษย์ ดังนี้
1. ความต้องการความมัน่ คงในการทำงาน
2. ความต้องการการยอมรับนับถือ
3. ความต้องการความก้าวหน้า
4. ความต้องความรู้และประสบการณ์ใหม่
5. ความต้องการมีอิสระ
6. ความต้องการเป็ นส่ วนหนึ่งของสังคม
หลักการสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพ
1. การยอมรับความจริ งเกี่ยวกับตนเอง
2. การปรับปรุ งในส่ วนที่ปรับปรุ งได้
3. การชดเชยด้วยสิ่ งอื่น
แนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพ
46

1. การสำรวจตนเอง
2. การรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
3. การลงมือปฏิบตั ิเพื่อพัฒนา
การทำความเข้ าใจตนเองและคนอืน่
ทฤษฎีหน้ าต่ างของนักวิชา โจฮารี ได้แก่
1. ส่ วนเปิ ดเผย คือ การรู้ตวั และเข้าใจพฤติกรรมและบุคลิกของตนว่าเป็ นอย่างไร
2. ส่ วนจุดบอด คือ พฤติกรรมและบุคลิกในตัวที่ตวั เองไม่ทราบ แต่คนอื่นทราบ
3. ส่ วนซ่ อนเร้ น คือ เราจะรู้วา่ มีพฤติกรรมและบุคลิกอะไร แต่พยายามปิ ดบังไม่ให้คนอื่นรู ้
4. ส่ วนลึกลับ คือ เป็ นส่ วนที่เจ้าของพฤติกรรมและคนอื่นไม่รู้ ไม่เคยเห็นไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะมี
พฤติกรรมและบุคลิกภาพเป็ นเช่นนั้น

1. การสำรวจตนเอง
1.1 การวิเคราะห์ ตนเอง หมายถึง เป็ นการที่บุคคลวิเคราะห์ตนเองด้วยใจเป็ นกลาง เช่น ด้านร่ างกาย
ด้านความรู ้ ด้านอุปนิสยั ด้านสังคม
1.2 การประเมินเปรียบเทียบ หมายถึง การค้นหาตัวแบบ การพิจารณาสังคม และการศึกษา
คุณลักษณะของบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ในวิชาชีพ ดังนี้
1. การค้นหาตัวแบบ 2. การพิจารณาสังคม
3. การศึกษาคุณลักษณะของบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ในวิชาชีพ
1.3 การใช้แบบสอบวัด เช่น การใช้แบบสำรวจบุคลิกภาพ
2. การรับฟังความคิดเห็นของคนอืน่
1. พูดในลักษณะให้ขอ้ เท็จจริ ง
2. พูดในลักษณะให้ความเห็น
3. พูดในลักษณะวิพากษ์วิจารณ์
4. พูดในลักษณะแนะนำสัง่ สอน
5. พูดในลักษณะติเตียน
การนำข้ อคิดเห็นของคนอืน่ มาปรับปรุ งบุคลิกภาพของตนเอง คือ
1. การอธิบายการกระทำมากกว่าเป็ นการประเมิน
2. ทำให้ผรู้ ับรู้สึกว่าข้อมูลที่ให้น้ นั เป็ นประโยชน์สำหรับเขา
3. จะต้องให้เหมาะสมกับกาลเทศะ
4. เปิ ดโอกาสให้ผรู้ ับซักถามความไม่เข้าใจ
การพัฒนาบุคลิกภาพของเจ้ าหน้ าที่รัฐ
การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอกของเจ้ าหน้ าที่ของรัฐ
ลักษณะของบุคลิกภาพทางกายที่ดขี องเจ้ าหน้ าที่ของรัฐ ได้แก่
1. รู ปร่ างหน้าตา ท่วงทีดี 2. การแต่งกายเหมาะสม
3. การรักษาสุ ขภาพอนามัย 4. อาการเคลื่อนไหว
ลักษณะของบุคลิกภาพทางด้ านวาจา ได้แก่
1. การใช้วาจาสุ ภาพนุ่มนวล 2. การใช้ภาษาที่เข้าใจ จำง่าย
47

3. การใช้ภาษาให้เหมาะสมกับท้องถิ่น 4.ใช้น ้ำเสี ยงและคำพูดภาษาที่เหมาะสมกับบุคคล


บุคลิกภาพทางด้ านวาจาที่ดี คือ มีส่วนช่วยสร้างทัศนคติที่ของประชาชน และช่วยให้ประชาชน
เต็มใจจะร่ วมมือกับราชการในการแก้ปัญหาและจัดบริ การต่างๆ
การพัฒนาบุคลิกภาพภายในของเจ้ าหน้ าที่ของรัฐ
การพัฒนาบุคลิกภาพภายใน หมายถึง การพัฒนาให้มีลกั ษณะบุคลิกภาพทางอารมณ์และจิตใจที่ดี
เป็ นสิ่ งที่ส่งเสริ มลักษณะบุคลิกภาพที่ให้งดงาม น่าศรัทธาเชื่อถือมากยิง่ ขึ้น
ลักษณะการพัฒนาบุคลิกภาพภายใน
1. สามารถควบคุมอารมณ์โลภ โกรธ หลง ได้
2. มีความรู้สึกเอื้ออารี และให้ความสนใจเป็ นพิเศษต่อสภาพความเป็ นอยูใ่ นการดำรงชีวิตของ
ประชาชน
3. ค่านิยมทางบวกต่อการปฏิบตั ิหน้าที่งานราชการ
4. การตัดสิ นใจที่เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่เวลา และสถานที่

บุคลิกภาพทางอารมณ์ และจิตใจที่ดจี ะก่อให้ เกิด


1. การทำงานด้วยใจรักมากกว่าผลประโยชน์ตอบแทน
2. ใจจดจ่อต่องานที่ทำอย่างถาวร
3. ให้ความสนใจและความสำคัญต่อเพื่อนร่ วมงาน
4. ปฏิบตั ิงานด้วยความแคล่วคล่องว่องไว
5. มีพลังทั้งทางกาย สมอง ที่จะต่อสู ้ ฟันฝ่ าอุปสรรคต่างๆ
ทักษะสำคัญทีเ่ สริมสร้ างบุคลิกภาพของเจ้ าหน้ าที่รัฐ
1. ทักษะด้ านความสัมพันธ์ กบั บุคคลอืน่
1.1 การพูดโดยรู้จกั ใช้คำถามเพื่อให้ได้รับความร่ วมมือ
1.2 การฟังให้มากพูดแต่นอ้ ย
1.3 มีกิริยาท่าทีน่าเชื่อถือ
1.4 ยิม้ แย้มฉันมิตร
1.5 มองคนอื่นในด้านที่ดีอย่าคอยแต่จบั ผิด
1.6 ระมัดระวังการใช้น ้ำเสี ยง
1.7 รู้จกั ใช้การวิพากษ์วิจารณ์ให้เป็ นประโยชน์
1.8 ส่ งเสริ มศักดิ์ศรี ของคน
1.9 ใช้การยกย่องชมเยเพื่อให้ได้มาซึ่ งความร่ วมมือ
1.10 การทำความคุน้ เคยเพื่อเสริ มสร้างความร่ วมมือ
2. ทักษะด้ านความคิด
2.1 ความสามารถในการจำแนก ข้อดีขอ้ เสี ย ข้อผิดพลาดของการทำงาน
2.2 ความสามารถในการที่จะดำเนินการ จัดหา รวบรวมความคิดต่างๆ เข้าด้วยกัน
2.3 ความสามารถในการคาดการณ์ ถึงเหตุการณ์ในอนาคต
2.4 ความสามารถในการวางแผน ติดตามแผนงาน และประเมินผลงาน
2.4 ความสามารถในความคิดริ เริ่ ม สร้างสรรค์ แนวคิด นโยบายใหม่ ให้กบั การทำงานและ
หน่วยงาน
48

3. ทักษะด้ านวิชาการ หมายถึง ความสามารถในการปฏิบตั ิภารกิจหรื อหน้าที่การงานเฉพาะอย่างที่


ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านวิชาการและประสบการณ์เฉพาะอย่างที่ได้รับจากการศึกษาเล่าเรี ยนหรื อฝึ ก
อบรมโดยเฉพาะ
การพัฒนาทักษะด้ านความสัมพันธ์ กบั บุคคลอืน่ ทักษะด้ านความคิด และทักษะด้ านวิชาการ สามารถทำได้
โดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ได้ แก่
1. กำหนดเนื้อหาที่ตอ้ งการศึกษา
2. กำหนดวิธีการศึกษาและกำหนดตรงเวลาในการเรี ยนรู ้
3. จัดเตรี ยมรวบรวมสื่ อที่จะใช้ในการศึกษาค้นคว้า
4. ศึกษา
5. ประเมินผลการเรี ยนรู้
6. บรรลุวตั ถุประสงค์

-----------------------------------

บทที่ 15
การเสริมสร้ างความมั่นคงและคุณภาพชีวติ การทำงาน

การเสริมสร้ างความมั่นคงในการทำงาน หมายถึง การทำให้บุคคลมีความพึงพอใจในสภาพ


แวดล้อมที่เป็ นอยู่ สามารถจัดหาสิ่ งที่สนองตอบต่อความต้องการของตนเองทั้งในรู ปธรรมและนามธรรม
และทำให้บุคลากรเกิดความมัน่ คงในการทำงานและในชีวิตมากขึ้น
แนวทางการเสริมสร้ างความมั่นคงในการทำงาน ได้ แก่
1. การป้ องกัน ควบคุม ให้เกิดความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
2. ต่างคนต่างทำงานไม่ตอ้ งยุง่ เกี่ยวกันเพื่อให้ได้ปริ มาณงานเพิม่ ขึ้น
3. การขยายขอบเขตของงาน
4. การสร้างทีมงานในการทำงานร่ วมกัน
5. การสร้างบรรยากาศในการทำงาน
แนวคิดเกีย่ วกับความมั่นคงในชีวติ การทำงาน (กระทรวงพัฒนาสั งคมและความมัน่ คงของมนุษย์ )
1. ด้านการมีงานทำและรายได้ 2. ด้านครอบครัว
3. ด้านสุ ขภาพอนามัย 4. ด้านการศึกษา
5. ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 6. ด้านที่อยูอ่ าศัย
7. ด้านสิ ทธิและความเป็ นธรรม 8. ด้านสังคม วัฒนธรรม
9. ด้านการสนับสนุนทางสังคม 10. ด้านการเมือง
11. ด้านสิ่ งแวดล้อม 12. ด้านธรรมาภิบาล
ความสำคัญของการเสริมสร้ างความมั่นคงในการทำงาน
ต่ อบุคลากร
1. บุคลากรมีความรู้ในงาน มีความสามารถ และมีประสบการณ์เพิม่ ขึ้น
2. บุคลากรเกิดความผูกพันในงาน
3. บุคลากรเกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน
49

4. บุคคลได้รับการตอบสนองในเรื่ องของความต้องการความมัน่ คง
5. บุคลากรเกิดการพัฒนาศักยภาพ
6. เป็ นเครื่ องมือในการธำรงรักษาบุคลากรไว้กบั องค์การ
ต่ องาน หมายถึง ครอบคลุมไปถึงการประเมินสถานในลักษณะต่างๆ ของงาน การสร้างสมดุล
ระหว่างงานและชีวิตของบุคลา คุณภาพชีวิตการทำงานจะให้ความสำคัญกับผลงานที่มีต่อบุคคล และ
ประสิ ทธิ ภาพขององค์การ รวมทั้งความพอใจของบุคลากรกับการแก้ปัญหาและการตัดสิ นใจขององค์การ
ต่ อองค์การ
1. องค์การจะมีโอกาสพัฒนาและเพิ่มผลิตภาพได้อย่างต่อเนื่อง
2. องค์การมีบุคลากรที่มีคุณภาพและบรรลุเจตนารมณ์ของการสร้างองค์การแห่งความสุ ข
3. องค์การได้รับการยอมรับจากหน่วยงานอื่นและประชาชนโดยทัว่ ไป
การทำงานอย่างมั่นคงและมีคุณค่า
1. การวิเคราะห์จิตลักษณะระดับปัจเจกบุคคล ได้แก่ การรับรู ้ บุคลิกภาพ การจูงใจ ทัศนคติ
2. การวิเคราะห์จิตลักษณะระดับกลุ่ม ได้แก่ พฤติกรรมกลุ่ม หลักสำคัญในการสร้างกลุ่ม
3. การวิเคราะห์จิตลักษณะระดับองค์การ

แนวทางการเสริมสร้ างความมั่นคงในการทำงานมีปัจจัย 3 ปัจจัย คือ


1. ปั จจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน
2. ปั จจัยด้านความผูกพันต่อองค์การ
3. ปั จจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ
แนวทางในการเสริมสร้ างความมัน่ คงในการทำงาน สามารถดำเนินการได้ ด้วยวิธีการ ดังนี้
1. การจัดการด้านสวัสดิการและผลประโยชน์
2. การสร้างความปลอดภัยในการทำงาน
3. การบริ หารค่าตอบแทนทีเหมาะสม
4. การพัฒนาบุคลากร
5. การสร้างแรงจูงใจในการทำงานแก่บุคลากร
6. การสร้างกลุ่มและสร้างทีมงาน
7. การสร้างความท้าทายของงาน
8. การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
9. การสร้างบรรยากาศในองค์การ
10. การพัฒนาองค์การ
11. การเสริ มสร้างความฉลาดทางอารมณ์
12. การเสริ มสร้างด้วยหลักคุณธรรมและจริ ยธรรม

You might also like