Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 9

เสาเข็มพลังงาน: อภินิติ โชติสังกาศ 24/02/2563

บทที่ 7 การก่อสร้างเสาเข็มพลังงาน การควบคุมคุณภาพ และระบบตรวจวัด

ในบทที่ 7 จะได้อธิบายแนวทางปฏิบัติในการก่อสร้างเสาเข็มพลังงานและควบคุมคุณภาพพอสังเขป โดยสรุปแนวทาง


ทั่วไปในคู่มือการออกแบบและติดตั้งเสาเข็มพลังงาน และมาตรฐานวัสดุ (Thermal Pile Design, Installation and Materials
Standards) ซึ่งจัดทาโดยองคกร์กราวด์ซอสฮีทปั้ม-จีเอสเอชพีเอ (Ground Source Heat Pump Association-GSHPA
(2018) ประเทศสหราชอาณาจักร และยกตัวอย่างกรณีศึกษาในประเทศไทยซึ่งผู้แต่งได้ดาเนินการกับอาคารที่พักอาศัยของผู้
แต่งเอง รวมไปถึงผลงานวิจัยซึ่งดาเนินการภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

7.1 การก่อสร้างและใช้งานเสาเข็มพลังงาน
เสาเข็มพลังงานประกอบไปด้วยเสาเข็ม และ ท่อลูปพลังงาน (Thermal loop pipe) โดยทั่วไปจะทาจากพลาสติก
ชนิด HDPE และฝังอยูภ่ ายในเสาเข็ม โดยมี ท่อด้านบน (Header pipes) เชื่อมต่อระหว่างเสาเข็มแต่ละต้น เป็นวงจรนา
ของเหลวถ่ายเทพลังงาน (Thermal transfer fluid) เชื่อมต่อกับปั้มความร้อน เนื่องจากท่อพลาสติกที่ฝังลงในเสาเข็มรวมถึง
ระบบท่อด้านบนบางส่วน จะไม่สามารถนาขึ้นมาซ่อมแซมได้อีกหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงต้องใส่ใจในการควบคุมคุณภาพ
ระหว่างการติดตั้ง และความทนทานของท่อพลาสติกรวมถึงรอยเชื่อม ในส่วนนี้จะสรุปมาตราฐานการควบคุมคุณภาพงานของ
Ground Source Heat Pump Association (2018) ไว้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี มาตรฐานบางอย่างที่ใช้ในประเทศเขต
อบอุ่นและเขตหนาว เช่น การใช้สารกันเยือกแข็ง (Anti-freezing) ภายในของเหลวถ่ายเทพลังงาน (Thermal transfer fluid)
ซึ่งไม่มีความจาเป็นสาหรับประเทศไทย จึงจะไม่กล่าวถึงในที่นี้
ในการก่อสร้างและใช้งานเสาเข็มพลังงาน มีผู้เกี่ยวข้องต่างๆดังแสดงในรูปที่ 5.1 และ 5.2 ซึ่ง Ground Source Heat
Pump Association (2018) ระบุหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้

ผู้ออกแบบเสาเข็ม (Pile designer) คือผู้วิเคราะห์ออกแบบการรับน้าหนักเสาเข็ม เพื่อให้เป็นไปตามข้อกาหนดการรับ


น้าหนักขององค์อาคาร รวมถึงประเมินอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่อาจส่งผลต่อการรับน้าหนักและหน่วยแรงใน
วัสดุเสาเข็ม

ผู้ออกแบบ GSHP (GSHP designer) คือผู้ออกแบบระบบ Ground Source Heat Pump เพื่อให้มีประสิทธิภาพการทางาน
เป็นไปตามข้อกาหนดด้านพลังงาน (Energy requirement) ที่ระบุไว้ในแบบ

ผู้ออกแบบงานระบบ (M&E designer) มีหน้าทีป่ ระกอบระบบ GSHP เข้ากับภาพรวมของงานระบบในโครงการ กาหนดค่า


ภาระความร้อน (Thermal load) ของระบบปรับอากาศ และประเมินการใช้พลังงานของทั้งอาคารในภาพรวม
ผู้รับจ้างหลัก (Main contractor) ได้รับการว่าจ้างจากเจ้าของงาน มีความรับผิดชอบในภาพรวมทัง้ หมดของโครงการ

ผู้รับจ้างงานเสาเข็ม (Piling contractor) มีหน้าที่ก่อสร้างเสาเข็มและป้องกันไม่ให้ท่อลูป (loop pipe) เสียหายระหว่างการ


ติดตั้งเสาเข็ม

ผู้รับจ้างงาน GSHP (GSHP contractor) มีหน้าที่จัดหาและติดตั้งระบบ Ground Source Heat Pump


เสาเข็มพลังงาน: อภินิติ โชติสังกาศ 24/02/2563

ผู้รับจ้างงานระดับพื้นดิน (Groundwork contractor) รับผิดชอบงานตัดหัวเสาเข็ม และป้องกันไม่ให้ท่อลูบในเสาเข็มเกิด


ความเสียหายระหว่างดาเนินการ

ผู้รับจ้างงานระบบ (M&E contractor) เป็นผูต้ ิดตั้งระบบปรับอากาศ ระบบไฟฟ้า เครื่องกล และอื่นๆเข้ากับระบบ


GSHP

รูปที่ 7.1 ความรับผิดชอบของฝ่ายต่างๆ ในการออกแบบ ก่อสร้างและใช้งานเสาเข็มพลังงาน กรณี Engineer Design


ที่มา Ground Source Heat Pump Association (2018)
เสาเข็มพลังงาน: อภินิติ โชติสังกาศ 24/02/2563

รูปที่ 7.2 ความรับผิดชอบของฝ่ายต่างๆ ในการออกแบบ ก่อสร้างและใช้งานเสาเข็มพลังงาน กรณี Contractor Design

ที่มา Ground Source Heat Pump Association (2018)

ประเด็นที่สาคัญด้านการบริหารโครงการ จากมาตรฐานงานเสาเข็มพลังงานของ Ground Source Heat Pump Association


(2018) สรุปได้ดังนี้

 ผู้ออกแบบหรือผูร้ ับจ้างงานย่อยต่างๆ อาจเป็นบุคคลหรือบริษัทเดียวกันก็ย่อมได้ โดยทั่วไป ผู้ออกแบบ GSHP


จะต้องทางานร่วมกับผู้ออกแบบเสาเข็ม และ/หรือ ผู้รับจ้างงานเสาเข็ม ตั้งแต่เริ่มขั้นตอนการออกแบบ แล้วแต่ว่าเป็น
สัญญาแบบ Engineer design (รูปที่ 5.1) หรือ Contractor design (รูปที่ 5.2) เพื่อประเมินอิทธิพลจากการ
เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในเสาเข็มตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ
 การออกแบบและก่อสร้างเสาเข็มพลังงาน รวมทั้งการใช้งานระบบ GSHP ต้องมีการบริหารงานและประสานระหว่าง
ผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน ในโครงการต้องระบุผู้ประสานงาน (Coordinator) อย่างชัดเจนเพื่อให้การทางานระหว่างฝ่าย
ต่างๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 การใช้งานระบบ GSHP ในช่วงแรก เป็นช่วงทีเ่ สาเข็มและพื้นดินมีการปรับอุณหภูมิเข้าสูส่ ภาวะที่มีการถ่ายเทความ
ร้อนเข้าสูด่ ิน จึงจาเป็นต้องตรวจวัดอุณหภูมิในเสาเข็ม อัตราการไหลของปั้มหมุนเวียน (Circulation pump) และ
พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบ GSHP ในช่วง 2 ปีแรก และหาค่าที่เหมาะสมที่สดุ
(Optimization) ของระบบ เช่น อัตราการไหลของปั้ม การเชื่อมต่อระหว่างลูบ ฯลฯ รวมถึงระบบ Safety กรณีที่
อุณหภูมเิ กินขอบเขตที่กาหนด งานส่วนนี้ควรระบุในสัญญาอย่างชัดเจน และตรวจสอบโดยผู้ออกแบบ GSHP และ
M&E
 ในระยะยาว ผู้ดูแลระบบ M&E ในอาคารจะต้องมีความเข้าใจในระบบ GSHP และเสาเข็มพลังงาน รวมถึงข้อกาหนด
ที่สาคัญเช่น อุณหภูมิที่ยอมรับได้ในเสาเข็ม อัตราการไหลในระบบ และ ระบบความปลอดภัย

7.2 การควบคุมคุณภาพงานเสาเข็มพลังงาน (Quality control of energy pile)


คุณภาพการติดตั้งท่อลูปภายในเสาเข็ม รวมถึงท่อลูบระดับพื้นดิน เป็นส่วนสาคัญที่สดุ ในการควบคุมคุณภาพงานเสาเข็ม
พลังงาน เนื่องจากเป็นส่วนที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้อีกหลังจากติดตั้งเรียบร้อยแล้ว รูปแบบของเสาเข็มโดยทั่วไปแบ่งได้เป็น
สองรูปแบบคือ (1) เสาเข็มเจาะ ซึง่ จัดเป็นเสาเข็มชนิดไม่เบียดดิน (non-displacement) และ (2) เสาเข็มตอก รวมถึงเสาเข็ม
สกรู ซึ่งจัดเป็นเสาเข็มชนิดเบียดดิน (Displacement pile)
กรณีเสาเข็มเจาะ จะติดตั้งท่อพลาสติกไว้กับเหล็กเสริม (รูปที่ 1.6) เนื่องจากเสาเข็มเจาะสามารถออกแบบให้มี
พื้นที่หน้าตัดขนาดใหญ่ได้ และมีความลึกได้มาก (ในกรณีเสาเข็มเจาะระบบเปียก) จึงสามารถติดตั้งท่อลูบพลาสติกได้หลายลูบ
และมีความยาวมาก ทาให้สามารถถ่ายเทความร้อนได้มาก แต่จะต้องควมคุมคุณภาพการติดตั้งท่อพลาสติกอย่างดี ในประเทศ
ไทยยังไม่มีการทดลองใช้เสาเข็มพลังงานกับเสาเข็มเจาะ ในบทนี้จะได้สรุปแนวทางปฎิบัติในต่างประเทศเท่านั้น

กรณีเสาเข็มเบียดดิน รูปแบบเสาเข็มที่สามารถติดตั้งท่อพลาสติกได้จะเป็นเสาเข็มที่มีรูกลวงภายใน เช่นเสาเข็มท่อ


เหล็กไมโครไพล์ (Micropile) ซึ่งปิดปลายด้านล่าง เสาเข็มสปันคอนกรีต และ เสาเข็มเหล็กสกรู ดังแสดงในรูปที่ 5.3 ซึ่งแต่ละ
ชนิดจะเหมาะสมกับลักษณะงานแตกต่างกันไป โดยเสาเข็มท่อเหล็กและเหล็กสกรูเป็นรูปแบบหนึ่งทีเ่ ริ่มนิยมใช้มากยิ่งขึ้นใน
เสาเข็มพลังงาน: อภินิติ โชติสังกาศ 24/02/2563

อาคารขนาดเล็กหนึ่งถึงสองชั้น การต่อเติมบ้านพักอาศัย อาคารพาณิชย์และร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กที่มีการใช้ระบบปรับ


อากาศเป็นช่วงเวลานาน เนื่องจากเสาเข็มเหล็กมีช่องว่างตรงกลางใหญ่กว่าเสาเข็มคอนกรีตที่ขนาดเท่ากันจึงสามารถใช้ใส่ท่อ
ลูปพลาสติกได้มากกว่า แต่ในกรณีเสาเข็มสปันคอนกรีต สามารถติดตั้งโดยวิธตี อก (Drive) หรือเจาะสว่านนาแล้วกด (Auger-
Press) จะนิยมใช้ในอาคารสานักงานและอาคารพาณิชย์ที่มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น ในกรณีอาคารซึ่งมีพนื้ ที่ระดับพื้นดินมาก ใช้
เสาเข็มจานวนมาก จึงมีโอกาศประยุกต์เป็นเสาเข็มพลังงานได้เช่นกัน

รูปที่ 7.3 รูปแบบ


เสาเข็มเบียดดิน
(Displacement pile) ที่
สามารถใช้เป็นเสาเข็ม
พลังงาน ได้แก่ (ก)
และ (ข) เสาเข็มท่อ
เหล็กไมโครไพล์ (ค)
และ (ง) เสาเข็มสปัน
คอนกรีต (จ) และ (ฉ)
เสาเข็มเหล็กสกรู

ภายหลังจากติดตั้งท่อลูปลงในช่องว่างกึ่งกลางเสาเข็มแล้ว จะต้องใส่วัสดุเข้าไปแทนที่ในช่องว่างกึ่งกลางเสาเข็มให้
เต็ม โดยทั่วไปจะใช้วัสดุที่มีคณ
ุ สมบัติการนาความร้อนได้ดี เช่น มอร์ต้าซีเมนต์ (Hamada et al., 2006) หรือ ทรายซิลิกา ซึ่ง
เป็นวิธีที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น ในกรณีเสาเข็มเหล็กไมโครไพล์ในประเทศไทย ปกติในช่องว่างกึ่งกลางท่อจะเทคอนกรีตเพื่อช่วย
เพิ่มความแข็งแรงของเสาเข็มในระยะยาว (ทีเอเทค, 2562) ซึ่งคอนกรีตส่วนนี้กส็ ามารถทาหน้าที่ส่งผ่านความร้อนได้ ทั้งนี้การ
เลือกใช้ชนิดคอนกรีตต้องพิจารณาขนาดมวลรวมที่ใช้ต้องไม่ใหญ่เกินไปกว่าช่องว่างระหว่างเข็มและท่อพลาสติก และมี
เสาเข็มพลังงาน: อภินิติ โชติสังกาศ 24/02/2563

ความสามารถในการไหลที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดโพรงภายในช่องว่างกึ่งกลางเสาเข็มเหล็ก รวมถึงเลือกใช้ทรายที่มีส่วนประกอบซิลิกา


สูง

7.2.1 การติดตั้งท่อลูปพลาสติก
โดยปกติชนิดของท่อพลาสติกสาหรับหมุนเวียนน้าจะทาจากวัสดุ High Density Polyethylene, HDPE (Laloui
and Rotta Loria, 2020) โดย Ground Source Heat Pump Association (2018) ในประเทศสหราชอาณาจักร ได้ระบุข้อ
กาหนดให้ใช้ HDPE เกรด PE100 ค่าความดันสูงสุดอย่างน้อย 16 บาร์ (PN16) อย่างไรก็ดี ในการศึกษาโดย Hamada et al.
(2006) พบว่ามีการใช้วัสดุ PVC (Polyvinyl chloride) เป็นท่อลูปเช่นกัน โดยให้เหตุผลด้านราคาที่ประหยัด แต่ก็อาจมีข้อด้อย
เนื่องจากเป็นวัสดุทเี่ ปราะและรับแรงดันได้น้อยกว่าวัสดุ HDPE โดยทั่วไปแล้วท่อพลาสติก HDPE จึงเป็นที่นิยมใช้ในงาน
ฐานรากพลังงานมากกว่าวัสดุอื่นๆ

การต่อท่อ HDPE มีวิธีดาเนินการสี่วิธีดังนี้

- อิเล็กโทรฟิวชั่น (Electro-Fusion) คือการเชื่อมโดยวิธีผ่านกระแสไฟฟ้าไปยังข้อต่อซึ่งมีลวดทองแดงฝังอยู่ภายใน


เพื่อให้พลาสติกหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน (รูปที่ 7.4ก) เป็นวิธีที่นิยมใช้ในงานเสาเข็มพลังงานในต่างประเทศ
เนื่องจากทางานได้รวดเร็ว แต่อุปกรณ์เชื่อมและข้อต่อจะราคาค่อนข้างสูง ในประเทศไทยมีการใช้วิธีนี้ค่อนข้างจากัด
- ซอกเก็ทฟิวชั่น (Socket-Fusion) คือการเชื่อมโดยวิธีหลอมผิวนอก-ใน ของท่อ โดยนาผิวท่อไปสัมผัสกับโลหะที่
อุณหภูมสิ ูงจนพลาสติกหลอมละลาย (รูปที่ 7.4ข และ รูปที่ 7.5) แล้วนาปลายท่อทั้งสองด้านมาเชื่อมต่อกันและทิ้ง
ไว้ให้เย็นในระยะเวลาหนึ่ง เป็นวิธกี ารที่ให้ผลดี ประหยัดและสะดวก แม้จะใช้เวลานานกว่าวิธีอิเล็กโทรฟิวชั่น แต่ก็
นิยมใช้ในประเทศไทย
- บัทท์ฟิวชั่น (Butt-Fusion) เช่นเดียวกับวิธีซอกเก็ทฟิวชั่น เป็นการเชื่อมชนด้วยความร้อน โดยให้ความร้อนที่
ปลายท่อทั้งสองด้านจนหลอมละลายแล้วนาปลายท่อทั้งสองด้านมาเชื่อมต่อกันภายใต้ความดันและทิ้งไว้ให้เย็นใน
ระยะเวลาหนึ่ง
- คอมเพรสชั่นฟิตติ้ง (Compression fitting) คือการใช้ข้อต่อสวมอัด จัดเป็นการเชื่อมต่อแบบไม่ถาวร ข้อต่อ
คอมเพรสชั่นฟิตติ้งทั่วไปจะประกอบไปด้วย ข้อต่อ แป้นเกลียว ซีลยาง แผ่นสาหรับเสริมความแข็งแรง และแหวนยึด

สาหรับท่อลูปที่ฝังไว้ภายในเสาเข็มและอยู่ใต้ดิน GSHPA (2018) แนะนาให้ใช้วิธีเชื่อมต่อท่อด้วยวิธีอิเล็กโทรฟิวชั่น หรือ


ซอกเก็ทฟิวชั่น ซึ่งจัดเป็นการเชื่อมต่อแบบถาวร แต่การต่อท่อด้วยคอมเพรสชั่นฟิตติ้งหรือข้อต่อสวมอัด จัดเป็นการเชื่อมต่อ
แบบไม่ถาวร จึงมีจุดเด่นคือสามารถถอดออกได้ บารุงรักษาได้ง่ายกว่า และมักนิยมใช้งานที่อยู่เหนือระดับพื้นดิน จาก
ประสบการณ์ของผู้แต่งพบว่าข้อด้อยของการใช้คอมเพรสชั่นฟิตติ้งเป็นข้อต่อท่อภายในเสาเข็ม คือราคาสูง และยังมีขนาดใหญ่
ทาให้ติดตั้งในช่องว่างเสาเข็มไม่สะดวก
เสาเข็มพลังงาน: อภินิติ โชติสังกาศ 24/02/2563

รูปที่ 7.4 รูปแบบข้อต่อท่อ HDPE ในงานเสาเข็มพลังงาน (ก) ข้อต่อแบบอิเล็กโทรฟิวชั่น (Amis, 2018) (ข) ข้อต่อแบบ
ซอกเก็ทฟิวชั่น (ค) ข้อต่อคอมเพรสชั่นฟิตติ้ง

รูปที่ 7.5 การเชื่อมต่อด้วยวิธซี อกเก็ทฟิวชั่น

ประเด็นที่สาคัญด้านควบคุมคุณภาพการติดตั้งท่อลูปในเสาเข็มพลังงาน จากมาตรฐาน Ground Source Heat Pump


Association (2018) สรุปได้ดังนี้

 การกาหนดขนาดท่อและฟิตติ้งของท่อลูป ต้องออกแบบให้มีการถ่ายเทความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้เกิด


การไหลแบบปั่นป่วน ซึ่งมีตัวเลขเรย์โนลด์อย่างน้อย 2,500 ในระหว่างการใช้งานระบบปรับอากาศ
 ระหว่างการติดตั้งท่อลูปจะต้องมีฝาปิดด้านบน (cap) เพื่อป้องกันเศษวัสดุเข้าไปภายในท่อ
 ท่อลูปควรจะมีเครื่องหมายแสดงระยะความยาวทุกเมตร เพื่อช่วยควบคุมระยะที่จะฝังลงในเสาเข็มได้อย่างสะดวก
 วงจรท่อลูปจะต้องออกแบบให้สามารถทาความสะอาดโดยใช้น้าไหลผ่าน หรือการฟลัชชิ่ง (Flushing) ได้โดยสะดวก
โดยสามารถแบ่งเป็นลูปย่อยๆต่อกัน เพื่อให้การฟลัชชิ่งทาได้ง่าย
 ให้ความระมัดระวัง ไม่ให้ท่อลูปเสียหายจากของมีคม โดยเฉพาะหากวางท่อลูปบนหินหรือเศษวัสดุคอนกรีตที่แหลม
ควรมีปลอกพลาสติกป้องกันการบาดเสียหายจากเหล็กเส้น หรือกิจกรรมอื่นๆระหว่างการก่อสร้าง
 ในกรณีเสาเข็มเจาะ จะยึดท่อลูปเข้ากับเหล็กปลอกเกลียว (Helical reinforcement) ให้อยู่ด้านในของเหล็ก โดยใช้
เคเบิลไทร์พลาสติกยึด หลีกเลี่ยงการใช้ลวดเหล็กมัดเนื่องจากอาจทาให้ท่อพลาสติกเสียหาย ตาแหน่งท่อลูปควรอยู่ที่
กึ่งกลางระหว่างเหล็กเสริมแนวแกน
เสาเข็มพลังงาน: อภินิติ โชติสังกาศ 24/02/2563

 หากติดตั้งท่อลูปต่ากว่าตาแหน่งเหล็กเสริมในเสาเข็มเจาะ ควรระมัดระวังการหักพับของท่อลูปเนื่องจากแรงดันของ
คอนกรีตระหว่างการเทคอนกรีตด้วยท่อเทรมมี่ (Tremie) เนื่องจากคอนกรีตจะไหลจากด้านล่างขึ้นสูบ่ น ควรผูกก้อน
คอนกรีตเป็นน้าหนักถ่วงท่อลูปทีด่ ้านล่างเพื่อให้ท่ออยู่ในแนวดิ่ง
 ควรติดตั้งท่อลูปให้อยู่ด้านในของเหล็กปลอกเพื่อให้ระยะหุ้มคอนกรีตคงเดิม แต่ท่อลูปอยู่ใกล้กับผิวของเสาเข็ม
เพื่อให้การถ่ายเทความร้อนมีประสิทธิภาพดีที่สดุ และเป็นการเลีย่ งคอนกรีตที่ไหลลงมากระแทกระหว่างการเทหาก
ท่อลูปอยู่กึ่งกลาง
 ระหว่างการเทคอนกรีต จะต้องใส่น้าให้เต็มท่อลูปและควรมีการอัดแรงดันในท่ออย่างน้อย 8 บาร์ (Brandl, 2006)
เพื่อป้องกันการเสียหายของท่อพลาสติกเนื่องจากแรงดันคอนกรีต และใช้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของท่อลูประหว่าง
ติดตั้ง
 ภายหลังติดตั้งเสาเข็มแล้วเสร็จ ต้องมีมาตรการป้องกันความเสียหายท่อลูปด้านบน จากกิจกรรมก่อสร้างต่างๆที่
ยังคงดาเนินอยู่ จนกว่าจะปิดกลบทับท่อลูปและติดตั้งโดยห่อหุ้มท่อลูป
รูปที่ 7.6 แสดงขั้นตอนการติดตั้งท่อลูปภายในเสาเข็มท่อเหล็กชนิดไมโครไพล์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้ว ดังนี้ 1) เมื่อ
ประกอบท่อลูปแล้วเสร็จ หย่อนท่อลูปโดยมีน้าหนักถ่วงที่ปลายล่างเพื่อให้ท่อลูปตรงและปลายท่อลูปไม่สัมผัสปลาย
เสาเข็มโดยตรง 2) เติมน้าในท่อลูปโดยใช้ปั้มแรงดันสูง ไล่อากาศออกจากท่อจนหมด อัดแรงดันน้าไปที่ 8 บาร์เพื่อ
ตรวจสอบการรั่วซึมของท่อ 3) เทคอนกรีตลงในเสาเข็ม ระมัดระวังไม่ให้เกิดโพรงภายในรูกลวง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการ
ถ่ายเทความร้อน 4) ระหว่างที่คอนกรีตก่อตัว ใช้วัสดุคั่นกลางระหว่างท่อลูปหรือ Spacer เพื่อป้องกันไม่ให้ท่อลูปน้าเข้า
และน้าออกอยูช่ ิดกัน ซึ่งจะทาให้การถ่ายเทความร้อนด้อยลง

รูปที่ 7.6 การติดตั้งท่อลูปภายในเสาเข็มท่อเหล็กชนิดไมโครไพล์

7.2.2 การตรวจสอบท่อลูปพลาสติกระหว่างการก่อสร้างเสาเข็ม

Ground Source Heat Pump Association (2018) ได้กาหนดรูปแบบการตรวจสอบคุณภาพท่อลูปไว้ดังนี้

 การตรวจสอบโดยสายตา (Visual inspection) เพื่อให้การติดตัง้ ท่อลูปเป็นไปตามข้อกาหนดที่อธิบายไว้ในหัวข้อ


7.2.1
เสาเข็มพลังงาน: อภินิติ โชติสังกาศ 24/02/2563

 การทดสอบแรงดันน้าแบบเอ (Type A- Water pressure test) โดยทั่วไปใช้ทดสอบท่อลูปก่อนจะขนส่งมาที่


พื้นที่ก่อสร้าง อาจทดสอบที่โรงงานผู้ผลิตหรือพื้นที่ประกอบท่อลูป ทดสอบโดยการอัดแรงดันด้วยน้าหรืออากาศไป
ที่ 150 % ของค่าแรงดันในสภาวะใช้งาน เกณฑ์ที่ยอมรับได้คือ ค่าแรงดันในท่อจะต้องไม่ลดลงเพื่อให้มั่นใจว่าท่อไม่มี
จุดรั่วใดๆ
 การทดสอบการไหลสองทิศทาง Bi-directional flow test ทดสอบโดยเติมน้าให้เต็มท่อลูป และเปิดปั้มหมุนเวียน
น้าภายในลูป จะตรวจสอบการไหลทั้งสองทิศทางในลูป เกณฑ์ที่ยอมรับได้คือต้องไม่มีการสูญเสียปริมาณการไหลใน
ระหว่างการทดสอบ
 การทดสอบแรงดันน้าแบบบี (Type B- Water pressure test) ทดสอบกับท่อลูปที่เติมน้าและไล่ฟองอากาศออก
แล้ว โดยเพิ่มแรงดันน้าในท่อลูปไปที่ 8 บาร์ โดยเติมน้าอัดเข้าไปในท่อลูปเรื่อยๆ เพื่อชดเชยแรงดันที่ลดลงเนื่องการ
ขยายตัวของท่อพลาสติกและการอัดตัวของฟองอากาศที่เหลืออยู่ในน้า คงแรงดันที่ 8 บาร์เป็นระยะเวลา 10 นาที
จากนั้น ลดแรงดันลงเหลือ 4 บาร์ และคงแรงดันไว้เป็นระยะเวลา 30 นาที เกณฑ์ที่ยอมรับได้คือ จะต้องไม่มีการ
สูญเสียแรงดันที่ 4 บาร์นี้ในช่วงเวลา 30 นาที
ภายหลังจากการทดสอบแบบ B แล้วเสร็จ ก่อนจะเทคอนกรีตลงในเสาเข็ม จะต้องรักษาแรงดันในท่อลูปไว้
ที่ค่าหนึ่ง ซึ่งไม่กาหนดว่าเป็นเท่าใด แต่ขอให้มีแรงดันอยู่ ซึ่งทาได้โดยปิดวาลว์ที่ปลายท่อลูปไว้ ระหว่างเทคอนกรีต
อาจสังเกตุค่าแรงดัน ซึ่งอาจมีค่าเพิ่มขึ้นได้เรื่องจากแรงดันจากคอนกรีต แรงดันนีจ้ ะช่วยป้องกันท่อลูปไม่ให้ถูกบีบ
เสียหายจากแรงดันคอนกรีต หากไม่มีการลดลงของแรงดันในท่ออย่างทันทีทันใด ก็จะถือว่าท่อลูปอยู่ในสภาพดี
 การทดสอบแรงดันน้าแบบซี (Type C- Water pressure test) ทดสอบโดยเติมน้าในท่อลูป แล้วอัดแรงดันไปที่
8 บาร์ และคงแรงดันไว้เป็นระยะเวลา 10 นาที หลังจากนั้นลดค่าแรงดันลงเหลือ 4 บาร์ และรักษาแรงดันไว้เป็น
ระยะเวลา 24 ชั่วโมง หากไม่มีการลดลงของแรงดัน 4 บาร์ภายหลัง 24 ชั่วโมง ถือว่ายอมรับได้
 การทดสอบแบบหย่อนหัววัด (Dip test) เป็นการทดสอบโดยใช้หัวโพรบ หรือ เทปวัดระยะที่ถ่วงด้วยน้าหนักหย่อน
ลงไปภายในท่อลูปเพื่อตรวจสอบความลึก โดยต้องระมัดระวังไม่ให้หัวโพรบติดค้างอยู่ภายในท่อลูป

7.2.3 การทดสอบท่อลูปขัน้ สุดท้าย

ภายหลังติดตั้งท่อลูปแล้วเสร็จ ให้ทาการฟลัชน้าในท่อ หรือปล่อยน้าไหลผ่านท่อเพื่อล้างเศษวัสดุและไล่อากาศออกจากระบบ


โดยกาหนดให้อัตราการไหลระหว่างการฟลัชมีค่าไม่น้อยกว่า 0.61 เมตรต่อวินาที (Ground Source Heat Pump
Association, 2018) หรืออัตราการไหล 18 ลิตร ต่อนาที สาหรับท่อขนาด 1 นิ้ว ระบบฟลัชน้าควรจะสามารถปรับทิศทางการ
ไหลได้โดยไม่ต้องถอดประกอบท่อ ในระบบกาหนดให้มีตัววัดอัตราการไหล ตัววัดแรงดัน ไซต์กราส (Sight glass) เพื่อตรวจดู
ฟองอากาศและเศษวัสดุในท่อ และ ตัวกรองเศษวัสดุออกจากระบบ เมื่อฟลัชจนไม่พบฟองอากาศในไซต์กราส แล้วให้คง
การฟลัชที่ความเร็ว 0.61 เมตรต่อวินาที ต่อไปอีกเป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที จึงถือว่าแล้วเสร็จ
Ground Source Heat Pump Association (2018) แนะนาให้ใช้วิธีการทดสอบขั้นสุดท้าย (Final stage test) โดยการวัด
แรงดัน (Pressure test) ตามการทดสอบแรงดันของท่อน้าประปาตามมาตรฐาน British standard (BS EN805) ซึ่งมีสอง
ขั้นตอนดังแสดงในรูปที่ 7.7 ได้แก่ ช่วงการเพิ่มแรงดัน (Pre-loading period) และ ช่วงทดสอบหลัก (Main testing period)
เสาเข็มพลังงาน: อภินิติ โชติสังกาศ 24/02/2563

ในช่วงแรก เป็นการเพิ่มแรงดันด้วยอัตราคงที่จนถึงค่าแรงดันทดสอบ จากนั้นปิดวาล์ว และเริม่ บันทึกค่าแรงดันซึ่งจะลดลง


อย่างช้าๆ ตามเวลา อย่างไรก็ดหี ากผลทดสอบแสดงว่าค่าแรงดันลดลงต่ากว่าระดับที่กาหนด ก็ไม่ได้หมายความว่าท่อมีการ
รั่วซึมเสมอไป แต่อาจเกิดจากในท่อมีอากาศอยู่ ในกรณีนี้ให้ทาการฟลัชไล่ฟองอากาศต่อไปอีกจนกว่าฟองอากาศจะหมด แล้ว
ทดสอบอีกครั้ง

รูปที่ 7.7 กราฟระหว่างความดันและเวลา ในการทดสอบแรงดันขั้นสุดท้ายของท่อลูป (ที่มา Ground Source Heat Pump


Association, 2018)
ในประเทศไทย ผู้เขียนเสนอว่าสามารถใช้มาตรฐานการติดตั้งท่อประปา ของกรมโยธาธิการและผังเมือง (2551) สาหรับท่อลูป
ได้เช่นกัน ซึ่งกาหนดให้ทดสอบใช้วิธีอัดความดันด้วยวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมตามที่เห็นสมควร สาหรับท่อขนาดเส้น
ผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 400 มิลลิเมตร ให้ใช้ความดันไม่น้อยกว่า 6 บาร์ โดยต้องคงความดันนีไ้ ว้ให้คงที่ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
และมาตรวัดความดันที่นามาใช้จะต้องผ่านการสอบเทียบ

ก่อนการส่งมอบระบบท่อลูป Ground Source Heat Pump Association (2018) ได้ระบุให้มีการตรวจวัดแรงดันในท่อลูปฝั่ง


น้าเข้าและออก เพื่อคานวณค่าการสูญเสียเฮด (Head loss) นาไปเปรียบเทียบกับค่าที่คานวณในการออกแบบ เพื่อตรวจสอบ
ว่าไม่มีการบล็อกหรือการหักงอของท่อในลูป ในการวัดค่าแรงดันนี้จะทดสอบที่ค่าอัตราการไหลอย่างน้อย 3 ค่า ซึ่งมีค่าสูงกว่า
ค่าอัตราการไหลที่ออกแบบ

7.3 ระบบตรวจวัด

You might also like