Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 12

โครงงานวิชาเคมี

เรื่อง ความลับน้ำซาวข้าว
สาระสำคัญ
ประชากรในภาคเหนือส่วนใหญ่นิยมบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก
ก่อนที่จะนำข้าวไปทำให้สุกได้ จะต้องนำข้าวที่แช่ไว้มารินน้ำออกก่อน ซึ่งคน
" "
ส่วนใหญ่เรียกขั้นตอนนี้ว่า การซาวข้าว และน้ำที่ได้จากการซาว ข้าวเรียกว่า
" "
น้ำซาวข้าว และเมื่อได้น้ำซาวข้าวมาก็จะนำมาใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้
การล้างผักเพื่อช่วยลด สารเคมีที่ตกค้างในผัก ตลอดจนการหมักดองที่ช่วย
ในการรักษาสภาพของวัตถุดิบและทำให้วัตถุดิบมีรสเปรี้ยว และจากการที่ได้
เห็นการดองฝรั่งของคนในหมู่บ้านจะเติมน้ำซาวข้าวลงไปในไหดองด้วย หลัง
จากที่ดองเสร็จก็ พบว่า ฝรั่งที่ดองมีรสเปรี้ยวขึ้นมาก ข้าพเจ้าจึงนำมาคุย
และปรึกษากับเพื่อนในกลุ่มว่า การใส่น้ำซาวข้าวมีผลทำให้ ฝรั่งมีรสเปรี้ยว
จริงหรือไม่ แล้วจะต้องใช้ปริมาณเกลือเท่าใดจึงจะให้การดองด้วยน้ำซาวข้าว
เกิดผลดีที่สุด จากข้อ สงสัยต่าง ๆ เหล่านี้ กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้คิดค้นการ
ทำโครงงานนี้ขึ้นมา
จุดประสงค์
1. ศึกษาเปรียบเทียบค่าความเป็นกรด-เบส ในการดอง
ระหว่างเกลือละลายน้ำซาวข้าวและเกลือละลายน้ำ
2. ศึกษาความสามารถในการดองโดยใช้เกลือในปริมาณ
ต่าง ๆ ดังนี้ 0กรัม , 5 กรัม , 15 กรัม ,25 กรัม , 35
กรัม ,45 กรัม ,55 กรัม , 65 กรัม และ 75 กรัม ตาม
ลำดับ
3. ศึกษาการดองโดยใช้วัตถุดิบ คือ ผักกาดแก้ว
แตงกวา ฝรั่ง
กระบวนการเรียนรู้
สมมุติฐานของการศึกษา ตัวแปรต้น
1:
ตอนที่ ฝรั่ง แตงกวา ผักกาดแก้ว
2: 75 65 55 กรัม 45 กรัม
1
ตอนที่ วัตถุดิบทุกชนิดที่ดองด้วยน้ำซาวข้าวทิ้ง
ตอนที่ เกลือในปริมาณต่าง ๆ ดังนี้
35 25
กรัม กรัม 15 5
กรัม กรัม
0
กรัม กรัม และ กรัมตามลำดับ
ไว้จะให้รสชาติเปรี้ยวกว่าน้ำเกลือ ตัวแปรตาม
2
ตอนที่ ปริมาณของเกลือที่ใช้ในการดอง ถ้า ค่า pH (ความเป็นกรด-เบส) ที่วัดได้ในแต่ละครั้ง
เกลือลดลงจะมีผลทำให้วัตถุดิบที่ดองมีความ ตัวแปรควบคุม
เป็นกลางมากขึ้น ตอนที่ 1 : ปริมาณเกลือ ปริมาณน้ำซาวข้าว และปริมาณน้ำสะอาด
ตอนที่ 2 : วัตถุดิบที่ใช้คือ ฝรั่ง ปริมาณน้ำซาวข้าว และปริมาณน้ำสะอาด
วิธีการทดลอง
อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
1. วัสดุ 2. อุปกรณ์
1.1 น้ำสะอาด อุปกรณ์เตรียมวัสดุ
1. ตะกร้า 3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ
1.2 ฝรั่ง
2. มีด 1. เครื่องวัดค่า pH
1.3 น้ำซาวข้าว
อุปกรณ์ในการดอง 2. บีกเกอร์ ขนาด 50 มิลลิลิตร
1.4 เกลือ
1.ขวดโหล 2 ใบ
1.5 ผักกาดแก้ว
2. บีกเกอร์ ขนาด 600 มิลลิลิตร 2 ใบ
1.6 แตงกวา
3. แท่งแก้วคนสาร
4. ตาชั่ง
5. ช้อนตักสาร
วิธีการทดลอง
1. ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ
1.1 นำผักกาดแก้ว แตงกวา ฝรั่ง มาล้างให้สะอาด
1.2 นำผักกาดแก้ว แตงกวา ฝรั่ง ที่ล้างแล้วมาสะเด็ดน้ำให้แห้ง
1.3 นำผักกาดแก้ว แตงกวา ฝรั่ง มาชั่งเตรียมไว้เป็นส่วน ๆ ละ0.5 กิโลกรัม สังเกตลักษณะของ ผักกาด
แก้ว แตงกวา และฝรั่ง

2. ขั้นตอนการดอง แบ่งเป็น 2 ตอนดังนี้


ตอนที่ 1 ศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติระหว่าเกลือละลายในน้ำสะอาด กับน้ำซาวข้าวโดยเปลี่ยน วัตถุดิบ
1. นำผักกาดแก้ว แตงกวา และฝรั่ง 0.5 กิโลกรัม จัดเรียงในขวดโหล ซึ่งใบที่ 1 และ 2 คือผักกาดแก้ว ใบที่ 3 และ 4 คือ
แตงกวา ใบที่ 5 และ 6 คือฝรั่ง
2. นำน้ำซาวข้าวมาละลายเกลือ 75 กรัม
3. เทน้ำซาวข้าวในขั้นที่ 2 ลงในขวดโหลใบที่ 1, 3, 5 แล้วปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 สัปดาห์ สังเกตพร้อม บันทึกผลทุกวัน
4. นำน้ำสะอาดมาละลายเกลือ 75 กรัม
5. เทน้ำสะอาดในขั้นที่ 4 ลงในขวดโหลใบที่ 2 , 4 , 6 แล้วปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 สัปดาห์ สังเกตพร้อม บันทึกผลทุกวัน
6. เมื่อครบ 1 สัปดาห์ นำน้ำดองของขวดโหลแต่ละใบ มาวัดค่า pH ด้วยเครื่องวัด pH แล้วบันทึกผล
7. สังเกตผลที่ได้แล้ววัดค่า pH ของน้ำดองในขวดโหลแต่ละใบมาบันทึกผลเปรียบเทียบ
ตอนที่ 2 ศึกษาความเป็นกรด-เบส โดยเปลี่ยนปริมาณเกลือครั้งละ 10 กรัม โดยใช้ฝรั่งเป็นตัวควบคุม
1. น้ำซาวข้าว 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ละลายเกลือ 65 กรัม เตรียมไว้
2. น้ำสะอาด 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ละลายเกลือ 65 กรัม เตรียมไว้
3. นำฝรั่งที่จัดเตรียมไว้ 0.5 กิโลกรัม จัดเรียงในขวดโหลใบที่ 1
4. นำฝรั่งที่จัดเตรียมไว้ 0.5 กิโลกรัม จัดเรียงในขวดโหลใบที่ 2
5. นำน้ำซาวข้าวที่ละลายเกลือเตรียมไว้มาเทลงในขวดโหลใบที่ 1 ปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ สังเกตพร้อม
บันทึกทุกวัน
6. นำน้ำสะอาดที่ละลายเกลือเตรียมไว้ในขั้นที่ 1 มาเทลงในขวดโหลใบที่ 2 ปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 สัปดาห์
สังเกตพร้อมบันทึกทุกวัน
7. เมื่อครบ 1 สัปดาห์ นำน้ำดองของขวดโหลแต่ละใบ มาวัดค่า pH แล้วบันทึกผล
8. สังเกตผลที่ได้ แล้วนำค่า pH ของน้ำดองในขวดโหลทั้ง 2 ใบ มาเปรียบเทียบผล แล้วบันทึกผล
9. ทำตามวิธีการจากข้อ 1-9 แต่ลดปริมาณเกลือครั้งละ 10 กรัม จนไม่ใช้เกลือเลยในการดองครั้ง สุดท้าย
10. นำผลที่ได้ในแต่ละครั้งมาเปรียบเทียบค่า pH เพื่อทดส่อบความเป็นกรด-เบส
ผลการทดลอง
จากผลการทดลอง จะสรุปได้ว่า การดองด้วยเกลือละลายบนน้ำซาวข้าว จะได้รสชาติ
เปรี้ยวกว่าการดองด้วย เกลือละลายน้ำสะอาด โดยไม่ต้องใส่สารเพิ่มรสชาติความเปรี้ยวลง
ไปในขณะดองอีก ซึ่งแม้เราจะเปลี่ยนวัตถุดิบ จากผักกาดแก้ว เป็น แตงกวาและฝรั่ง ผลที่
ได้ น้ำซาวข้าวก็ยังให้ความเปรี้ยวกว่าน้ำสะอาดเสมอ และปริมาณเกลือ ที่เหมาะสมในการใช้
ดองด้วยน้ำซาวข้าวให้เกิดรสชาติเปรี้ยวได้ดีและเหมาะสมที่สุดในวัตถุดิบชนิดเดียวกันก็คือ
ปริมาณเกลือ 35-45 กรัม โดยจะให้ค่าความเป็นกรดอยู่ที่ 3.70-3.76 ppm ถือว่าเป็น
ความเปรี้ยวที่เหมาะสม ซึ่ง ไม่เปรี้ยวเกินไปหรือจืดเกินไป ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการหมัก
ดองจะมีเชื้อแบคทีเรียอยู่ ซึ่งถ้าหากเราใส่เกลือมาก เกินไปก็จะทำให้แบคทีเรียตายได้ แต่
หากเกลือน้อยไปก็จะทำให้แบคทีเรียเหี่ยวหรืออาจติดเชื้อราได้
ดังนั้นเราจึงต้องหาปริมาณของเกลือที่เหมาะสมต่อการดอง นอกจากนี้การดองด้วย
เกลือละลายน้ำซาวข้าวยังสามารถรักษาสภาพของวัตถุดิบให้ดูเต่งตึงไม่เหี่ยว ไม่ช้ำ เหมือน
การดองด้วยเกลือละลายน้ำสะอาดและไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป
สรุปผลการทดลอง
การดองด้วยเกลือละลายบนน้ำซาวข้าว จะได้รสชาติเปรี้ยวกว่าการดองด้วย
เกลือละลายน้ำสะอาด โดยที่ไม่ ต้องใส่สารเพิ่มรสอะไรเลย แล้วถ้าเป็นผักกาดแก้ว
เป็น แตงกวา หรือฝรั่ง น้ำซาวข้าวก็ยังเปรี้ยวกว่าน้ำธรรมดา ปริมาณของเกลือที่ใช้
35-45
จะอยู่ที่ 3.70-3.76 ppm
กรัม จะให้ค่าความเป็นกรดอยู่ที่ ถือว่าเป็นความ
เปรี้ยวที่ เหมาะสม
QUESTION & ANSWER
ตอบคำถาม

1.เหตุใดถึงเลือกสนใจโครงงานนี้ 2.นักเรียนสามารถนำโครงงานนี้
ไปต่อยอดได้อย่างไร
ตอบ เพราะสามารถนำไปต่อยอด
ได้หลายอย่างหรือใช้เกี่ยวกับชีวิต ตอบ ใช้ล้างสิ่งสกปรกและสาร
ประจำวันได้ ตกค้างจากผักผลไม้ รดน้ำต้นไม้
เช็ดกระจก ล้างถ้วยล้างจาน
เป็นต้น
สมาชิกในกลุ่ม
นางสาว จุฑามาศ ใหม่เอี่ยม เลขที่ 26
นางสาว โชติกา โกสาทอง เลขที่ 28
นางสาว ศศิวรรณ ณะรินทร์ เลขที่ 30
นางสาว ธิดาพร กลมเกลียว เลขที่ 32
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3
เสนอ
ครู กาญจนา บุนนาค
THANK
YOU!

You might also like