Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 20

บทที่ 5

อภิปรายผลการวิจัย สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

การอภิปรายผล

ผลการศึกษาประสบการณ์และกระบวนการไปทางานต่างประเทศของพยาบาลไทยโดยการวิจัย
แบบผสมผสานทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มพยาบาลที่เคยมี
ประสบการณ์ไปทางานต่างประเทศและกลุ่ มตัวแทนผู้ สรรหา การสนทนากลุ่มกับพยาบาลที่ส นใจไป
ทางานในต่างประเทศ การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามอิเล็คทรอนิคส์กับกลุ่มพยาบาลที่
กาลังทางานในต่างประเทศ การอภิปรายผลการวิจัยจะอภิปรายตามวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้

วัตถุประสงค์ที่ 1 คุณลักษณะของพยาบาลไทยที่ไปทางานต่างประเทศ

คุณลักษณะของพยาบาลไทยที่ไปทางานต่างประเทศ ผลการวิจัยสรุปได้ว่ากลุ่มตัวอย่าง (N = 63)


เกือบทั้งหมดเป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41-60 ปี (ร้อยละ 55.6) สาเร็จพยาบาลศาสตรบัณฑิต
จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาครัฐ (ร้อยละ 40.3) ก่อนไปทางานต่างประเทศทางานในสถาน
บริการของสภากาชาดไทย (ร้อยละ 31.6) สถานบริการเอกชน (ร้อยละ 28.1) และสถานบริการของสังกัด
กระทรวงสาธารณสุข (ร้อยละ 24.6) ส่วนใหญ่ทางานในกรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 61.7) อายุขณะเริ่ม
ทางานพยาบาลวิชาชีพที่ต่างประเทศอยู่ ระหว่าง 26-30 ปี (ร้อยละ 34.9) มีประสบการณ์ก่อนเดินทางไป
ต่างประเทศ 1-5 ปี (ร้อยละ 50.8) และ 6-10 ปี (ร้อยละ 21.3) มีความเชี่ยวชาญสาขาอายุกรรม (ร้อยละ
26.7) และผู้ป่วยวิกฤตและฉุกเฉิน (ร้อยละ 18.3) ใช้ระยะเวลาในการเตรียมตัวไปทางานต่างประเทศโดย
เฉลี่ย 22.3 เดือน โดยสมัครงานในต่างประเทศด้วยตนเอง (ร้อยละ 65.1) ประมาณร้อยละ 8 ใช้บริการ
ตัวแทนผู้สรรหา เดินทางเข้าประเทศโดยใช้วีซ่าจ้างงาน (ร้อยละ 27.4) ท่องเที่ยว (ร้อยละ 24.2) และ
นักเรียน (ร้อยละ 19.4) ประเทศที่ไปทางานกันมากคือสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่ทางานในสถานบริการของ
เอกชน ในตาแหน่ งพยาบาลวิชาชีพ เหตุผลที่ทาให้ตัดสินใจไปทางานต่างประเทศ 3 อันดับแรกคือ
ต้องการประสบการณ์ ค่าตอบแทนที่มากขึ้น และ ต้องการพัฒนาตนเองและศึกษาต่อ ส่วนใหญ่ (ร้อยละ
71.4) เคยมีประสบการณ์ในการทางานอื่นในต่างประเทศระยะหนึ่งก่อนเริ่มทางานเป็นพยาบาลวิชาชีพ
งานวิจัยนี้มีความพยายามในเก็บรวบรวมข้อมูลจากพยาบาลไทยที่กาลังทางานต่างประเทศให้
ได้มากที่สุ ดโดยใช้แบบสอบถามอิเลคทรอนิคส์ โดยขอความร่วมมือผ่านนายกสมาคมพยาบาลไทยใน
106

ประเทศสหรัฐอเมริกาจานวน 3 แห่ง เพื่อส่งต่อแบบสอบถามให้พยาบาลไทยที่เป็นสมาชิกของสมาคมและ


ส่งถึงผู้ดูแลระบบของเว็บไซด์สมาคมคนไทย/ชมรม/สมาคมพยาบาลในประเทศต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์
โครงการวิจัยและส่งต่อแบบสอบถามอิเลคทรอนิคส์ นอกจากนี้ยังมีการประชาสัมพันธ์โครงการวิจัยแก่
สมาชิกในเครือข่ายสังคมออนไลน์ รวมทั้ง ขอความร่วมมือ ให้พยาบาลผู้ตอบแบบสอบถามช่วยส่งต่อ
แบบสอบถามให้เพื่อนพยาบาลที่กาลังทางานพยาบาลในต่างประเทศ (Snowball Technique) แต่พบว่ามี
ผู้ตอบแบบสอบถามจานวน 63 ราย ซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อย ทาให้ข้อมูลที่ได้อาจจะไม่ได้เป็นตัวแทนที่ดีของ
ประชากรพยาบาลไทยที่กาลังทางานในต่างประเทศ ด้วยวิธีการสุ่มและการขาดฐานข้อมูลพยาบาลไทยที่
กาลังทางานอยู่ในต่างประเทศ ประกอบกับการมีพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร ทาให้การเปิดเผยข้อมูล
ระหว่างหน่วยงาน เช่น กรมแรงงาน และ สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ ต้องไม่ขัดกับพระราชบัญญัติ
ดังกล่าว ทาให้ไม่สามารถให้ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพยาบาลไทยที่รายงานตั วกับกรมแรงงานก่อนไป
ต่างประเทศแก่สมาคมพยาบาลได้ และในปัจจุบันนี้หนังสือเดินทาง (Passport) ของประเทศไทยไม่มีการ
ระบุเกี่ยวกับอาชีพของผู้ถือหนังสือเดินทางไว้ในหนังสือเดินทางแล้ว ทาให้การติดตามกลุ่มพยาบาลที่
เดินทางออกนอกประเทศทาได้ยากขึ้น ดังนั้นองค์กรวิชาชีพกั บหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการไปทางาน
ต่างประเทศของพยาบาลไทย ควรทางานร่วมกันเป็นภาคีเครือข่ายเพื่อจัดระบบให้มีการรายงานตัวกับ
หน่วยงานก่อนเดินทาง เพื่อจัดทาเป็นฐานข้อมูลพยาบาลไทย เพื่อประโยชน์ในการกากับติดตาม ดูแล
ช่ว ยเหลื อกลุ่ มพยาบาลไทยที่ทางานในต่างประเทศ และการเข้าใจสถานการณ์การย้ายถิ่นไปทางาน
ต่างประเทศของพยาบาลไทยเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการกาลังคนด้านสุขภาพ
แม้จะมีข้อจากัดดังกล่าวข้างต้น ผลการวิจัยนี้เป็นประโยชน์ในการใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสาหรับ
เข้าใจคุณลักษณะของพยาบาลไทยที่ทางานในต่างประเทศและวิธีการไปทางานต่างประเทศ จากการทบทวน
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นของพยาบาลไปทางานในต่างประเทศหลายเรื่อง (Brown & Connell,
2004; Hayes, O’Brien-Pallas, Duffield, Shamian, Buchan, Hughes, et al., 2006; Kingma, 2007;
Kline, 2003; Stilwell, Diallo, Zurn, Vujicic, Adams, & Poz, 2004) พบว่าบทความส่วนใหญ่
รายงานสถานการณ์เกี่ยวกับจานวนพยาบาลที่ย้ายถิ่นและปัจจัยที่มีผลต่อการย้ายถิ่น ไม่มีการศึกษาใดที่
รายงานคุณลักษณะของพยาบาลที่ย้ายถิ่นว่าอยู่ในช่วงอายุ สาขาความเชี่ยวชาญ หรือมีวิธีการเตรียมตัวไป
ทางานต่างประเทศอย่างไร ดัง นั้นการอภิปรายเปรียบเทียบในประเด็นนี้จะเปรียบเทียบกับผลการวิจัย
ส่วนของคุณลักษณะของพยาบาลกลุ่มที่สนใจไปทางานต่างประเทศ และกลุ่มที่เคยมีประสบการณ์ในการ
ทางานในต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ
107

คุณลักษณะของพยาบาลไทยที่เคยมีประสบการณ์ในการทางานต่างประเทศและให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ
พบว่า ทุกคนเป็นเพศหญิง ครึ่งหนึ่งมีอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 50) สาเร็จการศึกษาพยาบาลศาสตร
บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยภาครัฐ (ร้อยละ 35.7) วิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ร้อยละ 28.57)
และสภากาชาดไทย (ร้อยละ 28.57) มากกว่าครึ่งหนึ่งมีประสบการณ์การทางานก่อนไปทางานต่างประเทศ
น้อยกว่า 5 ปี (ร้อยละ 57.14) ครึ่งหนึ่งของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเริ่มงานในต่างประเทศเมื่ออายุระหว่าง 26-30 ปี
(ร้อยละ 50) และมีประสบการณ์ทางานในประเทศสหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 50) และเคยทางานในสถานบริการ
สุขภาพภาคเอกชน (ร้อยละ 57.14) ครึ่งหนึ่งเคยทางานในหอผู้ป่วย (ร้อยละ 50) เคยทางานในตาแหน่ง
พยาบาลวิชาชีพ (ร้อยละ 37.04) และหัวหน้าเวร (Incharge) (ร้อยละ 25) มีประสบการณ์ทางานใน
ต่างประเทศสูงสุด 35 ปี ต่าสุด 4 เดือน
สาหรับกลุ่มที่สนใจไปทางานในต่างประเทศ พบว่าผู้ให้ข้อมูลทุกคนเป็นเพศหญิง เกือบทั้งหมดสาเร็จ
การศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 93.75) จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน (ร้อยละ 62.5)
ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสโสด (ร้อยละ 87.5) มีช่วงอายุปัจจุบันระหว่าง 21-25 ปี (ร้อยละ 62.5) ครึ่งหนึ่ง
มีประสบการณ์ทางานก่อนจะเดินทางไปทางานต่า งประเทศน้อยกว่า 5 ปี (ร้อยละ 50) มีความสนใจที่จะ
ไปทางานที่ประเทศสหรัฐอเมริกา รองลงมาคือ ประเทศแถบยุโรป และแคนาดา (ร้อยละ 42.86, 28.57,
และ 19.05 ตามลาดับ) ส่วนใหญ่คาดว่าจะสมัครไปทางานต่างประเทศด้วยตนเอง รองลงมาคือสมัครผ่าน
ตัวแทนผู้สรรหา และให้เพื่อนช่วยติดต่อให้ (ร้อยละ 40.0, 23.33, และ16.67 ตามลาดับ)
ผลการวิจัยพบว่าคุณลักษณะของพยาบาลไทยทั้งกลุ่มที่กาลังทางานในต่างประเทศ เคยทางานใน
ต่างประเทศ และสนใจจะไปทางานในต่างประเทศ มีความสอดคล้องกันในหลายคุณลักษณะ ได้แก่ ช่วงอายุ
ที่เดินทางไปทางานในต่างประเทศอยู่ระหว่าง 26-35 ปี และมีประสบการณ์การทางานในประเทศไทย
ระหว่าง 1-5 ปี ส่วนใหญ่สนใจไปทางานในประเทศสหรัฐอเมริกา รองลงมาคือกลุ่มประเทศแถบยุโรป
ส่วนใหญ่ทางานในตาแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ในภาคเอกชน และในหอผู้ป่วยอายุกรรมและผู้ป่วยวิกฤตและ
ฉุกเฉิน ประโยชน์ของผลการวิจัยนี้ทาให้ท ราบว่ากลุ่มเป้าหมายที่จะไปทางานต่างประเทศมักเป็นกลุ่มที่
อายุน้อยกว่า 35 ปีและมีประสบการณ์น้อยกว่า 5 ปี และสนใจไปประเทศสหรัฐอเมริกา ผลการวิจัยนี้
สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของไทยที่ ศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ สาเหตุ ข องการลาออกของพยาบาลที่ ป ฏิ บั ติ ง านใน
โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ปริศนา ใจบุญ, ประสิทธิ์ เชียงนางาม,
และ ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์ , 2554) ที่รายงานว่ากลุ่มอายุที่ลาออกมากที่สุดคือกลุ่มที่มีประสบการณ์ใน
108

การทางานน้อยกว่า 5 ปี ดังนั้นกลุ่มที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 5 ปีจึงเป็นกลุ่มที่สถานบริการด้านสุขภาพ


ควรหาวิธีการธารงรักษาพยาบาลวิชาชีพกลุ่มนีใ้ ห้อยู่ในวิชาชีพในประเทศไทยต่อไป

วัตถุประสงค์ที่ 2 กระบวนการไปทางานต่างประเทศของพยาบาลไทย

กระบวนการไปทางานต่างประเทศของพยาบาลไทยมีความเป็นพลวัตเริ่มต้นจากแรงจูงใจในการ
อยากไปทางานต่างประเทศ โดยมีปั จจัยดึงดูดและปัจ จัยผลั กดันต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง หลังจากนั้น
พยาบาลจะเริ่มศึกษาข้อมูลและวิธีการที่จะทาให้ตนเองได้ทางานพยาบาลในต่างประเทศ ในส่วนนี้จะขอ
อภิปราย 2 ประเด็น คือ 1) แรงจูงใจในการไปทางานต่างประเทศของพยาบาลไทย และ 2) กระบวนการไป
ทางานต่างประเทศของพยาบาลไทย

แรงจูงใจในการไปทางานต่างประเทศของพยาบาลไทย
ผลการศึกษาครั้งนี้ข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มพยาบาลที่สนใจไปทางานและกลุ่มที่เคยมีประสบการณ์
ทางานในต่างประเทศมีแรงจูงใจในการไปทางานต่างประเทศที่คล้ายคลึงกัน คือ ค่าตอบแทนหรือรายได้
ที่สูงกว่า รองลงมาคือ เพิ่มเติมคุณภาพชีวิต แสวงหาประสบการณ์ใหม่ โอกาสของความก้าวหน้าและ
การศึกษาต่อ ในขณะที่ ข้อมู ล เชิงปริ มาณจากกลุ่ มพยาบาลที่กาลั งท างานอยู่ในต่างประเทศ พบว่ า
แรงจูงใจของการไปทางานต่างประเทศสามลาดับแรก คือ ต้องการประสบการณ์ ค่าตอบแทนที่มากขึ้น
และต้องการพัฒนาตนเอง/ศึกษาต่อ ตามลาดับ จะเห็นว่าแรงจูงใจในการไปทางานต่างประเทศของ
พยาบาลทุกกลุ่มโดยรวมไม่แตกต่างกัน โดยค่าตอบแทนหรือรายได้และประสบการณ์ใหม่ถือเป็นปัจจัย
ดึงดูด (Pull Factor) ในขณะที่สิ่งแวดล้อมหรือระบบการทางานเดิมที่ไม่ดี เช่น ขาดความยืดหยุ่นของเวลา
ในการทางานและการจัดเวร บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของพยาบาลไม่ ชัดเจน รวมทั้งการขาดโอกาส
ในการศึกษาต่อและและความก้าวหน้าในบันไดวิชาชีพถือเป็นปัจจัยผลักดัน (Push Factor) ให้พยาบาล
ไทยไปทางานต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มพยาบาลที่สนใจจะไปทางานให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยผลักดันไว้
อย่างชัดเจน เช่น ไม่มีระบบให้คนมาทางานแทน เจ็บป่วยก็ไม่สามารถลาหยุดได้ ต้องทางานเกินหน้าที่
ความรับผิดชอบ สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างานไม่ราบรื่น มีความเหลื่อมล้าระหว่างวิชาชีพ
รู้สึกด้อยศักดิ์ศรีในการทางานในทีมสุขภาพ ปัจจัยดึงดูดจะมาจากประเทศปลายทางหรือประเทศที่รับ
พยาบาลไปทางาน (Destination Country) และปัจจัยผลักดันจะเกิดจากประเทศต้นทางที่ส่งพยาบาล
ออกไป (Source country) (Kline, 2003) ซึ่งทั้งปัจจัยดึงดูดและปัจจัยผลักดันที่พบในพยาบาลไทยนั้น
เหมือนกับพยาบาลชาติอื่นๆ เช่น ฟิลิปปินส์ อินเดีย ซิมบับเว ซึ่งการศึกษาครั้งนี้สอดคล้องกับผลการศึกษา
109

ของประเทศอื่นๆ ซึ่งมีการรายงานว่ารายได้เป็นปัจจัยที่ทาให้พยาบาลย้ายถิ่นมากที่สุด (Aboderin, 2007;


Beaton & Walsh, 2010; Buchan et al., 2006b; Chikanda, 2005; de Veer et al., 2004; El- Jardali
et al., 2008; Perrin et al., 2007; Thomas, 2006) ซึ่งสามารถจาแนกออกเป็นปัจจัยหลักได้ 4 ด้าน
คือ 1) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ต้องการรายได้และค่าตอบแทนที่มากขึ้น 2) ปัจจัยด้านสังคม ได้แก่
ต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อการศึกษาของบุตรและเหตุผลอื่นๆ ด้านครอบครัว 3) ปัจจัยด้าน
วิชาชีพและการศึกษา ได้แก่ ใฝ่หาความก้าวหน้า ไม่พึงพอใจในระบบงานเดิม อยากหาประสบการณ์ใหม่
และ 4) ปัจจัยส่วนตัว ได้แก่ คิดมุ่งมั่นสานฝันให้เป็นจริง ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับการศึกษา
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องของเหตุผลการย้ายถิ่นของพยาบาลพบว่ามีปัจจัย 5 ด้านที่ทาให้พยาบาลย้ายถิ่นไป
ทางานในต่างประเทศ ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวิชาชีพและการศึกษา ด้ านส่วนตัว และ
ด้านการเมือง (Dywili, Bonner, & O’Brien, 2011). จะเห็นว่าปัจจัยที่ผลักดันให้พยาบาลไทยไปทางาน
ต่างประเทศนั้นมีหลายประการ หากพิจารณาในทางกลับกันว่าอะไรที่สามารถจะธารงพยาบาลไว้ในวิชาชีพ
มีการศึกษาในประเทศไทยที่ศึกษาปัจจัยทานายการคงอยู่ในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล
ศูนย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (บงกชพร ตั้งฉัตรชัย, บุญทิพย์ สิริธรังศรี, สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล, และ วิไลพร
รังควัต, 2554) ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่สาคัญที่สุดในการทานายคือ รายได้ ของพยาบาล รองลงมาคือ
คุณลักษณะขององค์กร และลักษณะงานและการทางาน โดยทั้ง 3 ปัจจัยสามารถทานายการคงอยู่ในงาน
ของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 24.8 จึงสรุปได้ว่าสาหรับพยาบาลไทยนั้น ค่าตอบแทนที่ได้น้อยเกินไป
จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ผลักดันให้พยาบาลลาออกจากวิชาชีพหรือไปทางานต่างประเทศซึ่งให้ค่าตอบแทนที่
สูงกว่า ลักษณะงานที่ดีกว่า และอื่นๆ

กระบวนการไปทางานต่างประเทศของพยาบาลไทย
ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถจาแนกกระบวนการไปทางานต่างประเทศของพยาบาลไทยได้ออกเป็น
2 กลุ่ม คือ 1) กระบวนการไปทางานในประเทศสหรัฐอเมริกา และ 2) กระบวนการไปทางานในประเทศอื่นๆ
สาหรับกระบวนการไปทางานในประเทศสหรัฐอเมริกาของพยาบาลไทยรุ่นเก่า ก่อน ค.ศ. 2007 การสมัคร
ขอวีซ่าและวีซ่าถาวร (Green Card) ง่ายกว่าในปัจจุบันมาก บางรายใช้เวลาเพียง 4 เดือน ในช่วงที่รอสอบ
(NCLEX-RN) และรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล (Nursing License) ก็สามารถสมัครสอบรับ
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้ช่วยพยาบาล (Licensed Practical Nurse) ซึ่งส่วนใหญ่สอบผ่านและได้
ทางานเป็นผู้ช่วยพยาบาล พร้อมกับเรียนภาษาอังกฤษด้วยเนื่องจากในช่วงนั้นยังไม่มีข้อกาหนดเรื่องของ
ระดับการสอบภาษาอังกฤษ แต่ขอให้สามารถสื่อสารในการทางานได้ นอกจากนี้พยาบาลไทยส่วนใหญ่จะ
110

เข้าประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยวีซ่าท่องเที่ยวจากนั้นจะไปจ้างทนายเปลี่ยนสถานะเป็นวีซ่าทางานภายหลัง
ปัจจุบันการไปทางานในประเทศสหรัฐอเมริกามีแตกต่างจากอดีตที่ผ่าน เนื่องด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่า
และนโยบายการจ้างงาน โดยจะออกใบอนุญาตจ้างงาน (Work Permit) ให้พยาบาลที่มีวีซ่าถาวรเท่านั้น
ทาให้เกิดการจากัดปริมาณพยาบาลที่จะไปทางานในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงทาให้กระบวนการสมัครไป
ทางานพยาบาลในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้ระยะเวลานานและเสียค่าใช้จ่ายสูง ขึ้นกว่าในอดีต อีกทั้งเกณฑ์
การจ้างงานยังกาหนดให้พยาบาลไทยต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษในระดับคะแนนที่สูงขึ้น กล่าวคือ IELTS
7.0 หรือ TOEFL Paper Based-Test ที่ 550 หากเป็น Internet Based-Test ที่ 83 และกาหนดให้มี
ประสบการณ์ทางานในประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างน้อย 1 ปี จึงเป็นเรื่องยากที่พยาบาลรุ่นใหม่จะประสบ
ความสาเร็จในการไปทางานพยาบาลในประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุผลดังกล่าวพยาบาลไทยหาวิธีการ
อื่นๆ เช่น การสมัครไปศึกษาต่อก่อนแล้ว ค่อยดาเนินการด้านการทางานหรือการแต่งงาน หรือ เปลี่ยน
เป้าหมายไปทางานที่ ประเทศปลายทางอื่น ที่มิใช่ประเทศสหรัฐอเมริ กา เช่น ออสเตรเลี ย นิว ซีแลนด์
อังกฤษ รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในแถบยุโรปแทน เนื่องจากยังมีโอกาสได้รับวีซ่าเข้าประเทศเร็วกว่าประเทศ
สหรัฐอเมริกา
สาหรับกระบวนการไปทางานในประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ พยาบาลไทย
สามารถเข้าประเทศด้วยวีซ่านักเรียน (Student Visa) หรือวีซ่าท่องเที่ยว (Tourist Visa) หากได้รับการจ้าง
งานแล้วจึงเปลี่ยนสถานะของวีซ่าในภายหลัง นอกจากนี้ยังมีพยาบาลไทยบางรายสนใจไปทางานใน
ประเทศแถบยุโรป เช่น นอร์เวย์ เยอรมัน ส่วนใหญ่จะเป็นวีซ่าการแต่งงาน ซึ่งพยาบาลต้องใช้เวลาในการ
เรียนและสอบภาษาถิ่นของประเทศนั้นๆ ด้วย ยกเว้นประเทศอังกฤษ ไม่ต้องเรียนภาษาที่สาม แต่ต้องลง
เรียนหลักสูตรเตรียมพยาบาลตามข้อกาหนดของสภาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของประเทศนั้นเพื่อ
ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการพยาบาล เช่น ประเทศอังกฤษกาหนดให้พยาบาลต่างชาติที่ไม่ได้
อยู่ในสหภาพยุโรปต้องผ่านการอบรมหลักสูตร Overseas Nursing Programme [ONP] ซึ่งเป็นการเรียน
ภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติงานในสถาบันที่สภาการพยาบาลรับรอง (Buchan, 2006a)
นอกจากนี้ข้อมูลเชิงคุณภาพยังสะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการไปทางานต่างประเทศของพยาบาล
ไทยแต่ละรายมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่น ความพร้อมด้านภาษา โอกาสในการได้รับวีซ่าจาก
ประเทศเป้าหมายที่สนใจไปทางาน และเครือข่ายบุคคลของพยาบาลที่จะให้ การช่ว ยเหลื อสนับสนุน
มีข้อสังเกตว่ากลุ่มพยาบาลที่สนใจไปทางานในประเทศอื่นๆ ที่มิใช่สหรัฐอเมริกาต้องมีการเตรียมความพร้อม
ด้านการเงินด้วย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อ/อบรมหลักสูตรทางการพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการอบรม
ภาษาถิ่นและค่าครองชีพ นอกจากนี้พยาบาลมักจะเริ่มต้นทางานต่ากว่าคุณวุฒิเดิม เช่น สมัครเป็นผู้ช่วย
111

เหลือคนไข้หรือผู้ช่วยพยาบาล ระหว่างที่เตรียมความพร้อมจนกว่าจะได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาล
ซึ่งแตกต่างจากกระบวนการไปทางานในประเทศสหรัฐอเมริกา หากจะทางานเป็นผู้ช่วยพยาบาลได้ ต้อง
สอบผ่ า นและได้ รั บ ใบอนุ ญาตการท างานในตาแหน่ง ผู้ ช่ ว ยพยาบาลก่ อน และมีค่ าใช้จ่ ายที่น้ อยกว่ า
กระบวนการไปทางานในประเทศอื่นๆ ซึ่งสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงปริมาณของกลุ่มพยาบาลที่กาลังทางาน
ในต่างประเทศส่วนใหญ่ (ร้อยละ 82.5) ระบุว่าเสียค่าใช้จ่ายในการดาเนินการไปทางานต่างประเทศไม่ต่ากว่า
สองแสนบาท ทั้งนี้อธิบายได้ว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 83.6) ทางานอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยภาพรวมผลการศึกษาครั้งนี้ข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณมีความสอดคล้องกันว่า
ประมาณ 2 ใน 3 ของพยาบาลไทยมีกระบวนการไปทางานต่างประเทศโดยสมัครไปทางานด้วยตนเอง
และศึกษาข้อมูลที่หลากหลาย ทั้งการศึกษาด้วยตนเอง สอบถามเพื่อนหรือคนที่รู้จัก ผ่านเตรียมความ
พร้อมด้านภาษาด้วยตนเองและโรงเรียนสอนภาษา เดินทางไปทางานด้วยวีซ่าหลายประเภททั้งวีซ่าจ้างงาน
นักท่องเที่ยว นักเรียน คู่หมั้น/แต่งงาน ใช้ระยะเวลาในการเตรียมความพร้อมด้านภาษาประมาณ 6 เดือน
ถึง 2 ปี การสมัครสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการสมัครงานพยาบาล
ที่มีขั้นตอนทีม่ คี วามยุ่งยากในการเตรียมเอกสารต่างๆ รวมทั้งเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในการเตรียมตัวจน
ได้งานทา คือ ประมาณไม่ต่ากว่าสองแสนบาท หรืออาจเป็นล้านในกรณีของประเทศแถบยุโรป ซึ่งนับเป็น
การลงทุนที่ค่อนข้างสูง นอกจากนี้มีพยาบาลจานวนน้อย (ร้อยละ 7.9) ที่ได้รายงานตัวต่อกรมการจัดหา
งานก่อนออกเดินทางไปทางานต่างประเทศ จะเห็นว่าด้วยกระบวนการไปทางานต่างประเทศของพยาบาล
ไทยเป็นไปอย่างยากลาบาก ไม่ง่ายอย่างที่ฝันไว้เหมือนในอดีต พยาบาลที่กาลังทางานในต่างประเทศได้ให้
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการไปทางานต่างประเทศไว้ว่า พยาบาลควรกาหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ต้องมี
ความมุ่งมั่น มีการเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน อาจต้องใช้กลวิธีหลายรูปแบบ เพื่อที่จะสามารถฟันฝ่า
อุปสรรคต่างๆ ไปได้ และประสบความสาเร็จ

วัตถุประสงค์ที่ 3 ประสบการณ์การทางานในต่างประเทศของพยาบาลไทย

จากผลการศึกษาพบประเด็นที่น่าสนใจและอภิปรายดังนี้ 1) ระบบการจ้างงานในต่างประเทศ
2) ผลประโยชน์ที่ได้รับ 3) สภาพการทางานในต่างประเทศ 4) แผนการทางานในอนาคตของพยาบาลไทย
และ 5) ข้อเสนอแนะสาหรับพยาบาลที่สนใจไปทางานต่างประเทศ รายละเอียดดังนี้
112

ระบบการจ้างงานในต่างประเทศ
พยาบาลไทยที่เคยไปทางานในต่างประเทศได้ แบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับระบบการจ้างงานใน
ต่างประเทศว่ามีการให้ใบอนุญาตทางาน (Work Permit) และการทาสัญญาจ้างอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากพยาบาลที่กาลั งทางานอยู่ในต่างประเทศ กล่าวคือ ร้อยละ 95.1 ได้รับ
ใบอนุ ญ าตเข้ า ท างานอย่ า งถู ก ต้ อ งและเป็น ธรรม โดยร้ อ ยละ 98.4 ระบุ ว่ า ได้ รับ ข้ อ มู ล การจ้ า งงาน
จากนายจ้างอย่างถูกต้องและเป็นธรรม พยาบาลที่มีปัญหาด้านการใช้ภ าษาต่างประเทศมักเริ่มต้นงานใน
ตาแหน่งทีต่ ่ากว่าคุณวุฒิ แต่การทางานนั้นพยาบาลก็มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานหากการใช้ภาษาดี
ขึ้น เนื่องจากตาแหน่งบริห ารนั้นจาเป็นต้องใช้ภาษาที่ถูกต้องทั้งการเขียน การพูด การฟัง เพื่อสื่อสารกับ
ทีมสุขภาพ การทางานในต่างประเทศแม้ พยาบาลมีรายได้ที่ดี แต่ต้องจ่ายภาษีไม่ต่ากว่าร้อยละ 30 ของ
รายได้ กล่าวคือ ยิ่งรายได้ มากก็ต้องจ่ายภาษีมาก สาหรับพยาบาลที่กาลังทางานในต่างประเทศร้อยละ
91.8 ระบุว่าได้ทางานที่ตรงกับความถนัดและ/หรือสาขาที่เชี่ยวชาญ
จากผลการวิจัยเกี่ยวกับระบบการจ้างงานพยาบาลในต่างประเทศนั้นสะท้อนให้เห็น จุดแข็งของ
ระบบการจ้างงานในด้านความมั่นคงเนื่องจากการจ้างงานนั้นถูกต้องตามกฎหมาย และบางประเทศก็มี
ข้อเสนอให้ พยาบาลสมัครงานที่ต่ากว่าคุณวุฒิ ในขณะที่คุณสมบัติที่จะสมัครเป็นพยาบาลวิชาชีพยังไม่
ครบถ้วน แต่เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้วก็สามารถทางานในตาแหน่งงานที่ตรงตามความถนัดได้ รวมทั้ง
ได้รับความคุ้มครองเมื่อเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานพยาบาล ค่าตอบแทนรายได้และสวัสดิการอื่นๆ มี
ความเท่าเทียมกับพยาบาลในประเทศนั้นๆ ในกรณีที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์ทางานที่เหมือนกัน ทา
ให้เห็นว่าพยาบาลที่ทางานในต่างประเทศจะอยู่ ในระบบการจ้างงานที่ดีและมีอานาจต่อรองได้ หากไม่ได้
รับความเป็นธรรม ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานขึ้นอยู่กับผลงานความรู้ความสามารถและประสบการณ์
การทางาน โดยไม่ต้องกังวลกับ ความไม่เท่าเทียมในการพิจารณาเลื่อนขั้นจากระบบอุปถัมภ์ที่ไม่ได้เน้น
ผลงาน ความรู้ ความสามารถ ระบบดังกล่าวเป็นแรงผลักดันทาให้พยาบาลไทยที่ทางานและต้องการมี
ความก้าวหน้าในวิชาชีพเกิดความท้อแท้เบื่อหน่ายได้ แล้วหันไปทางานต่างประเทศแทน อย่า งไรก็ตาม
การทางานในต่างประเทศแม้ได้เงินเดือนและค่าตอบแทนสูงกว่าในประเทศไทย แต่ค่าครองชีพสูงกว่าและ
ต้องเสียภาษีมากอย่างน้อยประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ก็อาจเป็นประเด็นสาคัญที่จะเน้นให้พยาบาล
ที่สนใจไปทางานต่างประเทศได้รับข้อมูลเพื่อการตัดสินใจได้
ผลการวิจัยครั้งนี้ไม่ได้ชี้ถึงประเด็นการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม อาจเนื่องจากผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาล
ที่ค่อนข้างประสบความสาเร็จในการทางานในต่างประเทศ และส่วนหนึ่ง เป็นกลุ่มที่ได้กลับมาอยู่ประเทศ
113

ไทยแล้ว ทาให้แบ่งปันประสบการณ์ ในแง่บวกมากกว่าแง่ลบ ซึ่งไม่สอดคล้องกับพยาบาลต่างชาติจาก


บางประเทศ เช่น พยาบาลชาวฟิลิปปินส์ที่อาจถูกจ้างงานอย่างไม่ ถูกต้อง โดยนายจ้างที่ให้วีซ่า H-1A อย่าง
ผิดกฎหมาย โดยให้ทาหน้าที่พนักงานผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย (Nurse Aids) แทนที่จะเป็นตาแหน่งพยาบาลวิชาชีพ
(Puente, 1998 as cited in Kline, 2003) หรือพยาบาลต่างชาติที่ทางานในประเทศอังกฤษจะถูกบรรจุ
ในตาแหน่งระดับใหม่เริ่มต้น (Entry-level) ซึ่งจะได้เงินเดือนน้อยกว่าพยาบาลของประเทศอังกฤษ (Hardill
& MacDonald, 2000 as cited in Kline, 2003) นอกจากนี้ในบางประเทศ เช่น ไอร์แลนด์ (Ireland)
และประเทศอังกฤษก็มีรายงานว่ ามีการปฏิบัติต่อพยาบาลต่างชาติที่ไม่เท่าเทียมกับพยาบาลต่ างชาติจาก
ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา (Patricia et al., 2007)
กล่าวคือไม่ต้องเข้าระบบการนิเทศงานและประเมินผล รวมทั้งตรวจเลือดเพื่อคัดกรองเชื้อเอชไอวี ก่อนเข้า
ทางานเช่นประเทศที่พัฒนาแล้วดังกล่าว (Kline, 2003)

ผลประโยชน์ที่ได้รับ
พยาบาลที่เคยไปทางานในต่างประเทศรายงานว่าได้รับค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมงที่เป็นธรรม
โดยได้ตามความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ทางาน และได้ค่าตอบแทนไม่ต่างจากพยาบาลซึ่งเป็น
พลเมืองของประเทศนั้นๆ นอกจากนี้ยังมีสหภาพแรงงานของพยาบาลในการคุ้มครองสิทธิต่างๆ รวมทั้ง
สวัสดิการด้านสุขภาพ การประกันชีวิต การประกันการฟ้องร้อง นอกจากนี้ยังมีหลักประกันหลังเกษียณอายุ
ซึ่งนับว่าเป็นสวัสดิการที่พยาบาลไทยส่วนใหญ่มองว่าเป็นผลประโยชน์ที่ดีสามารถเลือกได้หลายแผน และ
ไม่สามารถมีได้ในประเทศไทย นอกจากนี้การไปทางานต่างประเทศยังเป็นโอกาสดีที่พยาบาลจะได้พัฒนา
ตนเอง ทั้งในด้านการได้รับการฝึกอบรมจากหน่วยงานซึ่งมีให้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง และมี
โอกาสได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นหรือได้ศึกษาการพยาบาลเฉพาะทาง อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าต่างๆ
ในต่า งประเทศนั้ น ต้ อ งพิ สู จน์ ด้วยความรู้ ความสามารถ ซึ่งพยาบาลส่ วนใหญ่เล็ งเห็ นว่ าหากมี ความรู้
ความสามารถและได้รับความไว้วางใจ โอกาสที่จะก้าวหน้าก็มีได้มาก

สภาพการทางานในต่างประเทศ
พยาบาลส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ระบบงานและการบริหารจัดการของหน่วยงานที่ตนทางานอยู่
มีมาตรฐานและกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน ทาให้พยาบาลไม่ต้องเสี่ยงต่อการทางานที่เกินขอบเขตหน้าที่ตาม
กฎหมาย ภาระงานไม่ห นั ก จนเกิ น ไป รวมทั้ งมี ร ะบบการนิ เทศงาน มี พี่ เ ลี้ ยงหรื อ ที่ป รึ ก ษาที่ ค อยให้
คาแนะนาสอนงานจนกว่าจะมั่ นใจ โดยระบบเหล่านี้มุ่งเน้น ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการและมุ่งที่จะ
สนองความต้ อ งการและท าให้ ผู้ ใ ช้บ ริ การมี ความพึง พอใจในบริ ก าร จึ งใช้ ร ะบบเน้น ผู้ ใ ช้บ ริ ก ารเป็ น
114

ศูนย์กลางการดูแล ดังนั้นการบริหารจัดการด้านอัตรากาลังพยาบาล รวมทั้งภาระงานจึงมีการคานึงถึงทั้ง


ด้านความปลอดภัยของทั้งผู้ใช้บริการและพยาบาล พยาบาลส่วนใหญ่มีความเห็นว่า การจัดตารางเวรใน
ต่างประเทศมีความเหมาะสมและยืดหยุ่น บางประเทศพยาบาลมีสิทธิที่จะปฏิเสธการปฏิบัติหน้าที่หากมี
ความเจ็บป่วยหรือรู้สึกว่าวันนั้นสุขภาพจิตไม่ดี บางประเทศมีการเรียกพยาบาลจากศูนย์มาทดแทน โดยไม่
จาเป็นต้องกดดันให้พยาบาลขึ้นปฏิบัติงานทั้งๆ ที่ไม่สุขสบายหรือไม่มีความพร้อม ประเด็นดังกล่าวเป็นสิ่ง
ที่พยาบาลส่วนใหญ่ที่เคยทางานในต่างประเทศให้ ข้อสังเกตและมีความปรารถนาให้ ระบบการทางาน
พยาบาลของประเทศไทยพิจารณาปรับปรุงให้เป็นเช่นเดียวกับต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติ
การพยาบาลนั้นมุ่งเน้นมาตรฐานเป็นหลัก โดยที่พยาบาลมีเอกสิทธิ์ในการปฏิบัติงานตามบทบาทที่ชัดเจน
กว่าในประเทศไทย ในด้านคุณภาพการบริการนั้น พยาบาลจะได้รับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและถือเป็น
ข้อบังคับทีพ่ ยาบาลต้องเข้ารับการอบรมอย่างสม่าเสมอเพื่อประกันคุณภาพการบริการ
สาหรับปัญหาในการทางานที่ต่างประเทศ ผู้ให้ข้อมูล เชิงคุณภาพทุกคนมีความเห็นที่ตรงกันว่า
ภาษาคืออุปสรรคของการทางานและการดาเนินชีวิต ซึ่งในระยะแรกของการทางานอาจประสบกับความ
ไม่ไว้วางใจ เพราะสื่อสารไม่เข้าใจกัน นอกจากนี้สภาพการทางานอาจประสบปัญหาการเหยียดสีผิว การ
ปฏิบัติที่ไม่ให้ความเคารพในศักดิ์ศรี และการถูกกระทารุนแรงทางวาจา (Verbal Abuse) แต่ก็มีพยาบาล
ส่วนน้อยเพียง 2-3 ราย ที่ระบุในการศึกษาครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาบาลที่ต้องทางานต่ากว่าคุณวุฒิ
การศึกษาและประสบการณ์เดิม เนื่องจากยังขาดคุณสมบัติ ภาษายังไม่ดีหรือยังสอบใบประกอบวิชาชีพ
การพยาบาลไม่ได้ พยาบาลบางรายอาจไม่รายงานเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน อย่างไรก็ตามการเหยียด
สีผิว การปฏิบัติที่ไม่ให้ความเคารพในศักดิ์ศรี หรือการกระทารุนแรงทางวาจา ก็เป็นการขัดต่อประมวล
หลั ก ปฏิ บั ติ อ งค์ ก ารอนามั ย โลกว่ า ด้ ว ยการสรรหาบุ ค ลากรด้ า นสุ ข ภาพเข้ า ท างานระหว่ า งประเทศ
พยาบาลเหล่านี้ต้องเผชิญกับ ความยากลาบากในการปรับตัวในระยะแรกเกี่ยวกับการทางานและการ
ดาเนินชีวิต โดยสรุปคือภาษาเป็นสิ่งสาคัญที่สุดในการใช้ชีวิตในต่างประเทศ ซึ่งประสบการณ์ของพยาบาล
ที่เคยทางานในต่างประเทศนี้ สอดคล้องกับข้อคิดเห็นของพยาบาลที่กาลังทางานอยู่ในต่างประเทศใน
เกือบทุกประเด็น กล่าวคือ ร้อยละ 100 ระบุว่าได้รับสวัสดิการอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกับพลเมือง
ของประเทศนั้นๆ ได้รับการอบรมเพิ่มพูนทักษะอย่างต่อเนื่อง และได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน
ได้รับการปฐมนิเทศ สอนงานและส่งเสริมความก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากกว่าร้อยละ 90 ทั้งสิ้น
สาหรับการรับรู้ปัญหาการทางานในต่างประเทศของพยาบาลไทย พยาบาลที่กาลังทางานอยู่รับรู้
ปัญหาเหมือนกับพยาบาลที่เคยทางานในต่างประเทศมาก่อน กล่าวคือ ภาษาเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาการ
115

ทั้งการทางานและการดาเนินชีวิต กล่าวคือพยาบาลไทยมีความยากลาบากในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน
ผู้รับบริการ และมีพยาบาลส่วนน้อยระบุว่าเคยได้รับความรุนแรงทางร่างกาย วาจา และการลวนลามทาง
เพศ อย่างไรก็ตามพยาบาลที่กาลังทางานอยู่ 2 ใน 3 รับรู้ว่าสัญญาที่พยาบาลไทยทากับนายจ้างไม่เป็นไป
ตามข้อตกลง (ร้อยละ 63.9) 2) พยาบาลไทยไม่ได้รับการติดตามดูแลช่วยเหลือที่ดีจากผู้จัดหางาน/บริษัท
(ร้อยละ 59.0) และ 3) พยาบาลไทยเสียค่าบริการแพงให้กับผู้จั ดหางาน/บริษัทจัดหางาน (ร้อยละ 54.1)
ซึ่งเป็นประเด็นสาคัญที่ควรทาความเข้าใจกับบริษัท/ตัวแทนผู้สรรหาที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาพยาบาลไทย
ไปทางานต่างประเทศให้จัดทาระบบการดูแลช่วยเหลือ ติดตามอย่างครอบคลุมถึงระยะเริ่มทางานไปเป็น
ระยะอย่างน้อย 2 ปี รวมทั้งคิดค่าบริการอย่างยุติธรรม ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามประมวลหลักปฏิบัติองค์การ
อนามัยโลกว่าด้วยการสรรหาบุคลากรด้านสุขภาพเข้าทางานระหว่างประเทศ

แผนการทางานในอนาคตของพยาบาลไทย
พยาบาลที่ทางานในต่างประเทศเพียง 1 ใน 3 (ร้อยละ 34.4) เท่านั้นที่ประสงค์ที่จะกลับมาทางาน
ในประเทศไทยก่อนเกษียณอายุ ซึ่งมีจานวนเท่าๆ กับพยาบาลที่คิดจะกลั บมาทางานในประเทศหลั ง
เกษียณอายุ มีเพียงส่วนน้อย (ร้อยละ 11.5) ที่คิดจะทางานพยาบาลในต่างประเทศต่อหลังเกษียณอายุ
มีข้อน่าสังเกตว่าร้อยละ 30 ของพยาบาลที่กาลังทางานในต่างประเทศมองเห็นประโยชน์และลู่ทางที่ดีใน
การทางานในต่างประเทศ จึงมีความคิดที่จะช่วยเหลือพยาบาลรุ่นใหม่ๆ ที่สนใจจะไปทางานในต่างประเทศ
บางรายอาจต้องการทาหน้าที่เป็นผู้สรรหาพยาบาล (Recruiter) ถ้าโอกาสเอื้ออานวย

ข้อเสนอแนะสาหรับพยาบาลที่สนใจไปทางานต่างประเทศ
ผลการวิจัยเชิงปริมาณเกี่ยวกับข้อเสนอแนะสาหรับพยาบาลไทยที่สนใจไปทางานต่างประเทศ
ตามความคิดเห็นของพยาบาลไทยที่กาลังทางานในต่างประเทศสรุปได้ว่า พยาบาลไทยในต่างประเทศส่วน
ใหญ่ (ร้อยละ 77) เห็นด้วยระดับปานกลางถึงระดับมากว่าพยาบาลไทยควรไปทางานต่างประเทศ มีเพียงร้อย
ละ 9 ที่ตอบว่าไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ในขณะที่ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า 2 ใน 3 ของผู้ให้
ข้อมูลเชิงคุณภาพสนับสนุนให้พยาบาลไทยไปทางานในต่างประเทศแต่ต้องศึกษาข้อมูลให้ รอบด้านและมี
ความพร้อม ส่วน 1 ใน 3 ไม่สนับสนุนให้ไปทางานต่างประเทศ
ผลการวิจัยจากทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมีความสอดคล้องกันคือ สนับสนุนให้พยาบาลไป
ทางานต่างประเทศ เนื่องจากได้ประสบการณ์ใหม่ทั้งด้านการพยาบาลและชีวิตส่วนตัว ได้ค่าตอบแทนที่
ดีกว่าและพยาบาลมีเอกสิทธิ์แห่งวิชาชีพ (Autonomy) ได้รับการยอมรับจากแพทย์สูงกว่า การที่พยาบาล
ที่กาลังทางานในต่างประเทศแนะนาให้พยาบาลไปทางานในต่างประเทศนั้น เนื่องจากข้อมูลในส่วนของ
116

ระบบการจ้างงาน และสภาพการทางานของการศึกษานี้ พบว่าพยาบาลไทยในต่างประเทศรับรู้ว่าระบบ


การจ้างงานและสภาพแวดล้อมการทางานของพยาบาลในต่างประเทศดีกว่าประเทศไทยอย่างเห็นได้ชัด
ตั้งแต่ค่าตอบแทนที่เหมาะสม มีลักษณะงานที่ชัด เจน มีความปลอดภัยในการทางานสูงกว่า การจัดเวร
พยาบาลมีผลดีต่อสุขภาพมากกว่า พยาบาลได้รับการยอมรับจากแพทย์ เพื่อนร่วมงาน และผู้รับบริการ
มากกว่า ดังนั้นเพื่อลดแรงผลักดัน (Push Factor) พยาบาลไทยไปทางานต่างประเทศ องค์กรวิชาชีพควร
เป็นแกนนาในการทางานเป็นเครือข่ายร่วมกับผู้บริหารของสถานบริการสุขภาพเพื่อหากลยุทธ์ในการธารง
รักษา พยาบาลไว้ในวิชาชีพ ซึ่งการที่จะสร้างแรงูจงใจนี้ควรมีทั้งตัวเงิน (Financial Incentives) และไม่ใช่
ตัวเงิน (Non - Financial Incentive) (ICN, 2008) เช่น การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในการทางาน (Positive
Practice Environment) (Baumann, 2007) การจัดตารางการทางานที่ยืดหยุ่น การบริหารภาระงาน
ของพยาบาลไม่ให้หนักเกินไป การหามาตรการส่งเสริมความปลอดภัยในการทางานของพยาบาล การดูแล
อัตรากาลังให้เพียงพอ และการเพิ่มโอกาสความก้าวหน้าในวีชาชีพ (Baumann, 2006)

เมื่อเปรียบเทียบข้อเสนอแนะหรือคาแนะนาสาหรับพยาบาลที่สนใจจะไปทางานจากกลุ่มพยาบาล
ไทยที่ กาลั งท างานในต่างประเทศและกลุ่ มพยาบาลที่เคยมีประสบการณ์ท างานในต่ างประเทศมี ความ
เหมือนกันอยู่ 2 ประเด็น คือ 1) การเตรียมความพร้อมด้านภาษา และ 2) การศึกษาข้อมูลก่อนไปทางาน
ให้รอบด้าน ส่วนประเด็นที่มีเฉพาะข้อมูลเชิงปริมาณคือเรื่องการเสนอแนะให้พยาบาลไทยศึกษาและปฏิบัติ
ตามกฎหมาย สิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับ ควรมีประสบการณ์อย่างน้อย 2 ปีก่อนไปทางานต่างประเทศ
การศึกษาสัญญาจ้างให้รอบคอบ รวมทั้งการศึกษาแหล่งช่วยเหลือต่างๆ และการปฏิบัติตามสัญญาจ้างงาน
อย่างเคร่งครัด จะเห็นว่าการเตรียมตัวเรื่องภาษาให้พร้อมและการศึกษาข้อมูลให้รอบด้านเป็นสิ่งที่สาคัญ
มากเพราะจากข้อมูลเชิงปริมาณพบว่าพยาบาลไทยที่กาลังทางานในต่างประเทศส่วนใหญ่ระบุว่าภาษา
เป็นอุปสรรคที่สาคัญที่สุดในการทางานในต่างประเทศ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพก็ เช่นเดียวกัน มีพยาบาลที่
กล่าวว่า ระยะที่ไปแรกๆ กลัวการรับโทรศัพท์มากเนื่องจากสื่อสารกับทีมบุคลากรไม่ได้ ต้องให้เพื่อน
ร่วมงานช่วย นอกจากนี้การที่ภาษาไม่ดีทาให้ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้รับบริการ การสื่อสารได้ไม่ดี ทาให้
ขาดความน่ าเชื่อถือว่าพยาบาลจะสามารถดูแลผู้ รับบริการได้ ดังนั้นผลการวิจัยครั้งนี้องค์กรวิช าชีพ
สามารถนาไปเป็นแนวทางในการให้ข้อมูลแก่พยาบาลที่สนใจจะไปทางานต่างประเทศทั้งในด้านบวกและ
ด้านลบเพื่อประกอบการตัดสินใจ
117

วัตถุประสงค์ที่ 4 กระบวนการสรรหาพยาบาลไปทางานต่างประเทศของตัวแทนผู้สรรหา

ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการสรรหาพยาบาลไทยไปทางานต่างประเทศของตัวแทน
ผู้สรรหาไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน กล่าวคือ บริษัทหรือตัวแทนผู้สรรหา (Recruiter) ไม่ได้ดาเนินธุรกิจสรรหา
พยาบาลไทยเพื่อไปทางานต่างประเทศที่เฉพาะเจาะจงและไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายกับ
กระทรวงแรงงาน มีลักษณะเป็นแบบแอบแฝงและดาเนินการร่วมกับธุรกิจอื่น เช่น จัดส่งคนไทยไปทางาน
ประเภทอื่นๆ ในต่างประเทศ จัดบริการส่งพยาบาลดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้าน และไม่มีการจัดบริการ
เต็มรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งจากการศึกษาของ Pittman et at. (2007) ระบุว่าการสรรหาพยาบาล
ต่างชาติเพื่อเข้ามาทางานในประเทศสหรัฐอเมริกามี 3 รูปแบบ คือ 1) หน่วยงานหรือโรงพยาบาลสรรหาเอง
โดยตรง (Direct Model) 2) หน่วยงานหรือโรงพยาบาลติดต่อให้ตัวแทนบริษัทดาเนินการสรรหาพยาบาลให้
โดยหน่วยงานหรือโรงพยาบาลให้ตาแหน่งการจ้างงาน (Placement Model) และ 3) บริษัทหรือตัวแทน
ผู้สรรหาดาเนินการสรรหาและจัดส่งพยาบาลไปทางานที่หน่วยงานหรือโรงพยาบาล (Staffing Model)
อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่ากระบวนการสรรหาพยาบาลของตัวแทนผู้สรรหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
เป็นลักษณะที่หน่วยงาน/โรงพยาบาลติดต่อให้ตัวแทนผู้สรรหาดาเนินการสรรหาพยาบาลให้ โดยหน่วยงาน/
โรงพยาบาลให้ตาแหน่งการจ้างงาน ซึ่งตัวแทนผู้สรรหาจะเป็นผู้ดาเนินการและหน่วยงานอาจเป็นผู้สัมภาษณ์
และคัดเลือกพยาบาลเอง ซึ่งสอดคล้องกับผลการสารวจการดาเนินงานของบริษัทหรือตัวแทนผู้สรรหา
(Recruiters) ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่พบว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทดาเนินการแบบ Placement Model
(Pittman et at., 2007) ซึ่งการดาเนินธุรกิจในรูปแบบนี้ทาให้มีรายได้ไม่มาก เป็นธุรกิจที่ไม่มีกาไร ด้วย
เหตุผลดังกล่าวอาจทาให้ธุรกิจตัวแทนผู้สรรหาพยาบาลไปทางานต่างประเทศไม่เติบโตเท่าที่ควร เพราะ
การที่จะดาเนินการธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายของกระทรวงแรงงานนั้นต้องมีการจ่ายวงเงินประกันที่
ค่อนข้างสูง อีกทั้งความไม่แน่นอนของนโยบายการจ้างงานพยาบาลในต่างประเทศ เกณฑ์การจ้างงานที่
สูงขึ้นทั้งเรื่องภาษาและการสอบ/ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการพยาบาลในต่างประเทศ
นโยบายการออกวีซ่า อาจทาให้ตัวแทนผู้สรรหาเสี่ยงต่อการไม่คุ้มทุนในการดาเนินการ ในบริบทสังคมไทย
กระบวนการสรรหาโดยผ่านตัวแทนผู้สรรหาไม่ค่อยได้รับความนิยมใช้บริการจากพยาบาลที่ไปทางาน
ต่างประเทศ โดยรูปแบบการสรรหาไม่มีความแปลกใหม่น่าสนใจมากนัก กล่าวคือ บริษัทหรือตัวแทนผู้สรรหา
ของไทยมีการให้ข้อมูลแก่พยาบาลที่สนใจไปทางานต่างประเทศโดยใช้การโฆษณาผ่านแผ่นพับหรือจดหมาย
ประชาสัมพันธ์ไปที่สถาบันการศึกษาพยาบาล หรือประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ มีการให้ข้อมูล
การเตรียมตัวและค่าใช้จ่ายอย่างคร่าวๆ การบริการหรือความช่วยเหลือที่พยาบาลจะได้รับจากบริษัท
118

หรือตัวแทนผู้สรรหา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเชิงบวก เช่น รายได้หรือสวัสดิการที่จะได้รับเมื่อได้ทางาน


ความก้าวหน้าหรือโอกาสในการศึกษาต่อ ไม่ได้ให้รายละเอียดของขั้นตอนการเตรียมความพร้อมก่อนไป
และค่าใช้จ่ายในการดาเนินการ รวมทั้งสัญญาการจ้างงานหรือข้อตกลง
จากผลการศึกษาทั้งกลุ่มพยาบาลที่เคยไปทางานในต่างประเทศและพยาบาลที่กาลังทางานใน
ต่างประเทศให้ข้อมูลที่สอดคล้องกันว่ามีพยาบาลประมาณหนึ่งในสามที่ สมัครไปทางานต่างประเทศโดย
ใช้บริการตัวแทนผู้สรรหา (Recruiter) โดยข้อมูลเชิงคุณภาพจากพยาบาลที่ เคยไปทางานต่างประเทศ
และเคยใช้บริการตัวแทนผู้สรรหา สะท้อนให้เห็นว่าตัวแทนผู้สรรหาช่วยสนับสนุนในกระบวนการเขียน
ใบสมัครและการเตรียมเอกสารต่างๆ และมีบางตัวแทนผู้สรรหาที่ช่วยดาเนินการพาไปสมัครงาน รวมทั้ง
คิดค่าบริการแพงเกินไป แต่ข้อมูลเชิงคุณภาพยังไม่สะท้อนให้เห็นการติดตามช่วยเหลือพยาบาลอย่างเป็น
รูปธรรม โดยตัวแทนผู้สรรหาจะใช้การติดตามพยาบาลผ่านทางโทรศัพท์หรือจดหมายอิเลคทรอนิคส์
และใช้เครือข่ายส่วนบุคคลที่มีอยู่ในการช่วยเหลือพยาบาลไทยกรณีมีปัญหา ซึ่งไม่ค่อยได้ผลและไม่ตรง
กับความต้องการของพยาบาลโดยเฉพาะกรณีที่พยาบาลประสบปัญหาไม่ชอบลักษณะงานหรือต้องการ
เปลี่ยนงานใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงปริมาณเกี่ยวกับการรับรู้ปัญหาการทางานในต่างประเทศที่
พบว่าเกือบ 2 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับปานกลางว่าสัญญาที่พยาบาลไทยทากับนายจ้างไม่
เป็นไปตามข้อตกลง และมากกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับปานกลางว่าพยาบาลไทยเสีย
ค่าบริการแพง ไม่คุ้มค่ากับราคาที่จ่าย รวมทั้งไม่ได้รับการติดตามดูแลช่วยเหลือที่ดีจากบริษัท /ตัวแทนผู้
สรรหา สามารถกล่าวได้ว่ามีกรณีที่พยาบาลไทยไม่ได้รับการช่วยเหลือ ติดตาม ดูแลจากตัวแทนผู้สรรหาจริง
แต่อาจมีจานวนไม่มาก จึงทาให้กลุ่มอย่างเห็นด้วยในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตามเพื่อให้เป็นไปตาม
ประมวลหลักปฏิบัติองค์การอนามัยโลกฯ บริษัทหรือตัวแทนผู้สรรหาควรมีระบบติดตามและช่วยเหลือ
พยาบาลในระยะหลังจากได้รับการจ้างงานด้วย

สรุปผลการวิจัย

การศึกษาประสบการณ์และกระบวนการไปทางานต่างประเทศของพยาบาลไทยครั้งนี้ใช้ระเบียบ
วิธีวิจัยแบบผสมทั้งการศึกษาเชิงคุณภาพและปริมาณ (Mixed Method) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ
กับผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มพยาบาลที่เคยมีประสบการณ์ไปทางานต่างประเทศโดยการสัมภาษณ์
เชิงลึกจานวน 14 ราย 2) กลุ่มพยาบาลที่สนใจไปทางานต่างประเทศโดยการสนทนากลุ่มจานวน 14 ราย
และการสัมภาษณ์เชิงลึกพยาบาลที่สนใจไปทางานจานวน 2 ราย 3) กลุ่มบริษัท/ตัวแทนผู้สรรหา (Recruiter)
119

โดยการสนทนากลุ่มจานวน 3 ราย และสัมภาษณ์เชิงลึกจานวน 2 ราย ร่วมกับการศึกษาเชิงปริมาณโดย


ใช้แบบสอบถามอิเลคทรอนิกส์ (Online Survey) กับกลุ่มพยาบาลที่กาลังทางานพยาบาลในต่างประเทศ
โดยได้รับการตอบแบบสอบถามกลับมาครบถ้วนจานวน 63 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม
พ.ศ. 2554 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 รวมเป็นระยะเวลา 9 เดือน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ
คือ 1) แนวคาถามการสัมภาษณ์เชิงลึกพยาบาลที่เคยไปทางานต่างประเทศ 2) แนวคาถามการสนทนา
กลุ่มพยาบาลที่สนใจจะไปทางานต่างประเทศ และ 3) แนวคาถามการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวแทนผู้สรรหา
ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถามอิเล็คทรอนิคส์ (Online Questionnaire)
เกี่ยวกับประสบการณ์และกระบวนการไปทางานต่างประเทศของพยาบาลไทยครอบคลุมประเด็น 1)
ข้อมูลทั่วไป 2) ขั้นตอนและกระบวนการสมัครไปทางานต่างประเทศ 3) ลักษณะการจ้างงานและสภาพ
การทางานในต่างประเทศ 4) แผนการทางานในอนาคต 5) การรับรู้ปัญหาการทางานในต่างประเทศของ
พยาบาลไทย และ 6) ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการไปทางานในต่างประเทศสาหรับพยาบาลไทย
สาหรับข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยใช้จัดกลุ่มคาตอบ
และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. คุณลักษณะของพยาบาลไทยที่ไปทางานต่างประเทศ พบว่า กลุ่ มตัว อย่างส่ วนใหญ่มีอายุ
ระหว่าง 41-60 ปี และสาเร็จพยาบาลศาสตรบัณฑิตจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาครัฐ ก่อน
ไปทางานต่างประเทศเคยทางานในสถานบริการของสภากาชาดไทย ภาคเอกชน และสังกัดกระทรวง
สาธารณสุ ข และครึ่ งหนึ่ งของกลุ่มตัว อย่างมีจานวนปีประสบการณ์ทางานก่อนจะเดินทางไปทางาน
ต่างประเทศ 1-5 ปี ทางานในกรุงเทพมหานคร มีความเชี่ยวชาญสาขาการพยาบาลอายุกรรมและผู้ป่วย
วิกฤตและฉุกเฉิน ส่วนใหญ่ใช้ ระยะเวลาในการเตรียมตัวไปทางานต่างประเทศเฉลี่ย 22.3 เดือนสาหรับการ
หางาน ส่วนใหญ่สมัครงานด้วยตนเอง ประมาณร้อยละ 8 ใช้บริการตัวแทนผู้สรรหา เดินทางเข้าประเทศ
ด้วยวีซ่าจ้างงาน ท่องเที่ยว และนักเรียน ตามลาดับ ประเทศที่พยาบาลไปทางานมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา
ส่วนใหญ่ทางานในสถานบริการของเอกชน ในตาแหน่งพยาบาลวิชาชีพ เหตุผลที่ทาให้ตัดสินใจไปทางาน
ต่างประเทศ 3 อันดับแรก คือ ต้องการประสบการณ์ ค่าตอบแทนที่มากขึ้น และ ต้องการพัฒนาตนเอง
และศึกษาต่อ
2. กระบวนการไปทางานต่างประเทศของพยาบาลไทย จากข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
พบว่าประมาณ 2 ใน 3 ของพยาบาลสมัครไปทางานด้วยตนเองและใช้วิธีการหลายอย่างร่วมกัน ส่วนใหญ่
120

ศึกษาข้อมูลด้วยตนเองและสอบถามจากเพื่อนหรือคนที่รู้จัก ผ่านการเตรียมความพร้อมด้านภาษาด้วย
ตนเองและโรงเรี ย นสอนภาษา ใช้ร ะยะเวลาในการเตรีย มความพร้อมด้านภาษา การสมั ครสอบขึ้ น
ทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลประมาณ 1-2 ปี ขั้นตอนการสมัครงานที่ยากที่สุดคือ
การสอบผ่านภาษาให้ได้ตามเกณฑ์และการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล
พบว่าในระยะแรกพยาบาลส่วนใหญ่ทางานต่ากว่าคุณวุฒิ เสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงตั้งแต่เตรียมตัวจนได้
งานทา อย่างต่าประมาณสองแสนบาท นอกจากนี้มีพยาบาลจานวนน้อยที่ได้รายงานตัวต่อกรมการจัดหา
งานก่อนออกเดินทางไปทางานต่างประเทศ โดยรวมกระบวนการไปทางานต่างประเทศของพยาบาล
เป็นไปอย่างยากลาบาก ไม่ง่ายเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
3. ประสบการณ์การทางานในต่างประเทศของพยาบาลไทย พบว่า พยาบาลส่วนใหญ่ระบุว่า
ได้รับการจ้างงานอย่างเป็นธรรมและได้รับค่าตอบแทนคุ้มค่า มีระบบการปฐมนิเทศงานและสอนงานจาก
พี่เลี้ ย ง มีโ อกาสในความก้าวหน้ าในวิช าชีพและการศึกษาต่อ มีส ภาพการทางานเน้นการปฏิบัติตาม
มาตรฐานการพยาบาลและคานึงถึงความปลอดภัยของผู้รับบริการเป็นอันดับแรกและการจัดเวรมีความ
ยืดหยุ่น นอกจากนี้ภาษาถูกระบุว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคในการทางานและการดาเนิน ชีวิตของพยาบาล
มากที่สุด มีพยาบาลส่วนน้อยที่ประสบปัญหาการเหยียดสีผิว การปฏิบัติที่ไม่เคารพในศักดิ์ศรี และการถูก
กระทารุนแรงทางวาจา (Verbal Abuse)
4. กระบวนการสรรหาพยาบาลไทยไปทางานต่างประเทศของตัวแทนผู้สรรหา (Recruiter) พบว่า
บริษัทหรือตัวแทนผู้สรรหาไม่ได้ดาเนินธุรกิจสรรหาพยาบาลไทยเพื่อไปทางานต่างประเทศที่ชัดเจนและ
บริษัทไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้จัดส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศกับกระทรวงแรงงาน ลักษณะการทางานใช้
วิธีการแนะนาพยาบาลที่สนใจไปทางานต่างประเทศให้กับบริษัท/ตัวแทนผู้สรรหาในประเทศปลายทางให้
จัดหางานให้และให้การช่วยเหลือเมื่อต้องการ

ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้

ผลการวิจัยนี้ควรเป็นแนวทางในการวางแผนธารงรักษาบุคลากรทางการพยาบาลไว้ในระบบสุขภาพ
โดยปรับปรุงระบบการจ้างงานและค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม การสร้างเสริมสภาพแวดล้อมที่ดี
ในการทางาน รวมทั้งหามาตรการให้บริษัทหรือตัวแทนผู้สรรหามีระบบติดตามดูแลช่วยเหลือพยาบาลไทย
ที่ใช้บริการที่ชัดเจน โดยมีข้อเสนอแนะ 3 ระดับ ดังนี้
121

ระดับนโยบายชาติ
1. สถานบริการภาครัฐและเอกชนควรพิจารณากรอบตาแหน่งพิเศษที่สามารถรองรับการย้ายถิ่น
กลับของพยาบาลไทยที่เคยทางานในต่างประเทศ (Circular Migration) ให้สามารถกลับเข้าสู่ระบบการ
จ้างงานในสถานบริการสุขภาพในประเทศโดยไม่ติดกับเกณฑ์การจ้างงานในระบบเดิม
2. จัดทาระบบธารงรักษาบุคลากรพยาบาลให้อยู่ในระบบสุขภาพ โดยกาหนดกรอบเงินเดือน/
ค่าตอบแทนพยาบาลให้สูงขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งเพิ่มโอกาสความก้าวหน้าในวิชาชีพ
3. หน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการไปทางานต่างประเทศของพยาบาลไทย เช่น สานักงาน
พัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงแรงงาน กองคุ้มครองแรงงานไทยในต่างประเทศ
สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สมาคมพยาบาลไทยในต่างประเทศ และตัวแทนผู้สรรหาพยาบาลไป
ทางานในต่างประเทศควรทางานเป็นภาคีเครือข่ายในการดูแลและกากับติดตามการจ้างงานของพยาบาล
ไทยในต่างประเทศให้มีความเป็นธรรม โดยดาเนินการดังนี้
3.1 จัดทาระบบการดูแลช่วยเหลือและกากับติดตามอย่างมีประสิทธิภาพ
3.2 จัดทาฐานข้อมูลพยาบาลไทยในต่างประเทศที่สามารถเข้าถึงได้ระหว่างหน่วยงานภาคี
เครือข่ายเพื่อเป็นข้อมูลในการบริหารกาลังคนและกากับติดตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.3 ประชาสัมพันธ์ให้พยาบาลไทยไปทางานต่างประเทศอย่างถูกวิธี กาหนดให้มีการรายงาน
ตัวกับกรมแรงงาน และสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ และ
รายงานตัวกับสานักงานแรงงานไทยในต่างประเทศเมื่อเดินทางไปถึง เพื่อประโยชน์ในการ
ติดตามดูแล
3.4 ประชุมทาความเข้าใจกับบริษัท/ตัวแทนผู้สรรหาที่เกี่ยวข้องกับการประสานพยาบาลไทย
ไปทางานต่างประเทศให้จัดทาระบบการดูแลช่วยเหลือครอบคลุมถึงระยะเริ่มทางานไป
นานอย่างน้อย 2 ปี และคิดค่าบริการอย่างยุติธรรม

ระดับวิชาชีพ
1. องค์กรวิชาชีพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการไปทางานต่างประเทศของพยาบาลไทยควรวาง
ระบบให้กระบวนการไปทางานต่างประเทศของพยาบาลต้องมีการรายงานตัวต่อองค์กรวิชาชีพ เพื่อให้มี
ฐานข้อมูลการเคลื่อนย้ายไปทางานต่างประเทศของพยาบาลไทยอันจะเป็นประโยชน์เชิงนโยบายสาหรับ
การบริหารกาลังคนและสะดวกต่อการติดตามดูแลช่วยเหลือ
122

2. องค์กรวิชาชีพควรเป็นแกนนาในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานพยาบาลเพื่อธารง
รักษา พยาบาลไว้ในวิชาชีพ (Retention Strategy) ดังนี้
2.1 สร้างสิ่งแวดล้อมในการทางานที่ดี (Positive Practice Environment)
2.2 จัดอัตรากาลังคนให้พอเหมาะกับภาระงาน (Workload Management)
2.3 กาหนดบทบาทหน้าที่ของงานพยาบาล (Job Description) ให้ชัดเจน คงไว้เฉพาะงานที่
เป็นงานของพยาบาล
2.4 จัดระบบการจ้างงานพยาบาลให้มีทางเลือกหลากหลายเหมาะกับบริบทของสังคม
ครอบครัวเดี่ยวในปัจจุบันเพื่อให้พยาบาลสามารถคงความสมดุลระหว่างชีวิตครอบครัว
และการงานได้ (Work-life Balance)
2.5 ระบบการจัดเวรพยาบาลควรเป็นระบบที่ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและประสิทธิภาพการ
ทางานของพยาบาล
2.6 จัดระบบการประเมินผลงานตามสมรรถนะของบุคคล (Performance - Based Assessment)
เพื่อให้พยาบาลที่มีความสามารถได้มีโอกาสก้าวหน้าโดยไม่ผูกติดกับระบบอาวุโสเพียง
อย่างเดียว
2.7 จัดทามาตรการและจัดหาอุปกรณ์ที่ส่งเสริมความปลอดภัยในการทางานให้กับพยาบาล
3. ควรมีการจัดตั้งสหภาพวิชาชีพพยาบาล (Nurses Union) เพื่อคุ้มครองดูแลเรื่องค่าตอบแทนที่
เหมาะสมกับภาวะเงินเฟ้อและเป็นธรรมแก่พยาบาล

ระดับบุคคล
1. พยาบาลที่ ส นใจไปท างานต่ างประเทศควรศึ กษาข้ อมู ล ทั้ งในด้ านบวกและด้ านลบทั้ งจาก
ประสบการณ์ของผู้ที่เคยไปทางานต่างประเทศ แหล่งข้อมูลต่างๆ เปรียบเทียบผลประโยชน์ที่จะได้รับและ
ข้อมูลที่ได้รับจากเครือข่ายบุคคลหรือตัวแทนผู้สรรหา รวมทั้งระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการสมัครในแต่
ละขั้นตอนของกระบวนการไปทางานต่างประเทศ
2. พยาบาลที่สนใจไปทางานต่างประเทศควรมีความพร้อมด้านภาษา การเงิน มีประสบการณ์
ทางานอย่างน้อย 2 ปี ศึกษาสัญญาจ้างงานและสิทธิผลประโยชน์ที่จะได้รับอย่างละเอียด และปฏิบัติตาม
กฎหมายของประเทศนั้นๆ อย่างเคร่งครัด
123

3. พยาบาลที่ส นใจไปทางานต่างประเทศควรเดินทางไปทางานต่างประเทศอย่างถูกวิธีและ
รายงานตัวกับกรมการจัดหางาน องค์กรวิชาชีพ ก่อนออกเดินทาง รวมทั้งรายงานตัวกับสานักงานของ
กระทรวงแรงงานไทยในประเทศนั้นๆ เมื่อเดินทางไปถึง
4. พยาบาลที่สนใจไปทางานต่างประเทศโดยติดต่อผ่านบริษัท /ตัวแทนสรรหาพยาบาลไทยไป
ทางานต่างประเทศ ควรศึกษาระบบติดตาม การดูแลช่วยเหลือกรณีที่เกิดปัญหาของบริษัทหรือตัวแทน
จัดหางาน

ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบในการธารงรักษาพยาบาลไว้
ในวิชาชีพ เนื่องจากการธารงรักษาพยาบาลสามารถลดแรงผลัก (Push Factor) พยาบาลไม่ให้ไปทางาน
ในต่างประเทศ
2. ควรศึกษาสถานการณ์การย้า ยถิ่นของพยาบาลไทยไปทางานต่างประเทศอย่างจริงจังโดย
ประสานความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพของประเทศต่างๆ ที่ทางานเกี่ยวข้องกับการจัดสอบขึ้นทะเบียน
ใบอนุ ญ าตประกอบวิช าชีพพยาบาล เพื่อนาผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ในการกากับติ ดตามให้ ความ
ช่วยเหลือพยาบาลไทยในต่างประเทศและประโยชน์ในการจัดการกาลังคนด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ
ต่อไป

ข้อจากัดในการวิจัย

การศึกษาครั้งนี้มีข้อจากัด ดังนี้
1) ปัจจุบันลักษณะการตั้งถิ่นฐานของพยาบาลไทยในต่างประเทศไม่ได้มีการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เหล่า
การรวมกลุ่มจะมีลักษณะเป็นครั้งคราวตามช่วงเวลา เทศกาลเฉลิมฉลอง วันสาคัญทางศาสนาและวัน
สาคัญของชาติ เพื่อจัดกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน การรวมกลุ่มเป็นสมาคมจะมีผู้ร่วมดาเนินการในวงแคบ
และไม่มีรูปแบบโครงสร้างการดาเนินงานที่ชัดเจน โดยเฉพาะกิจกรรมเชิงวิชาการและการวิจัย ดังนั้นการ
เก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้จึงมีความยากลาบากในการติดต่อประสานงานกับเครือข่ ายบุคคลในต่างประเทศ
โดยการส่งจดหมายอิเลคทรอนิกส์สามารถเข้าถึงกลุ่มบุคคลได้เพียงบางกลุ่มเท่านั้น
2) การศึกษาครั้งนี้ใช้ Snowball Technique ในการสรรหากลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมการวิจัย ต้อง
อาศัยความร่ ว มมือในการประสานงานกับพยาบาลที่กาลั งทางานในต่างประเทศ ความร่ว มมือมีน้อย
124

อาจเนื่ อ งจากขาดแรงจู ง ใจ ไม่ ใ ห้ ค วามสนใจ ไม่ เ ห็ น ความส าคั ญ หรื อ อาจมี ผ ลประโยชน์ ทั บ ซ้ อ น
(Conflict of Interest) กับพยาบาลไทยในกรณีที่บางรายกาลังทาหน้าที่เป็นผู้สรรหาอย่างไม่เป็นทางการ
(Informal Recruiter) โดยแนะนาตาแหน่งงานพยาบาลให้กับผู้ที่สนใจไปทางาน จึงมีผลต่อการเข้าถึงกลุ่ม
ตัวอย่าง ทาให้จานวนของกลุ่มตัวอย่างไม่ได้ตามที่วางแผนไว้
3) การเก็บรวบรวมข้อมูลกับตัวแทนผู้สรรหาเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน (Sensitive Issues) และ
มีผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) การให้ข้อมูลอาจไม่ได้ภาพเชิงลึกและอาจได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน

เสียงสะท้อนจากนักวิจัย

การศึกษาครั้งนี้นักวิจัยมีความปรารถนาที่จะเข้าถึงข้อมูลที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ทั้งข้อมูล
เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ นักวิจัยได้ติดต่อประสานงานกับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) กลุ่มตัวแทน
ผู้สรรหา รวมทั้งผู้แทนสมาคม/ชมรมพยาบาลไทยในต่างประเทศ ตลอดจนสถาบันการศึกษาพยาบาล
และผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งเป็นการส่วนตัว ทางโทรศัพท์และส่งจดหมายอิเลคทรอนิกส์ ทาให้เกิดการเรียนรู้
ว่าการขอความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่ง่ายอย่างที่คิดไว้ เนื่องจากการ
ขาดฐานข้อมูลที่เป็นระบบ ชัดเจน และทันสมัย การสรรหาผู้ให้ข้อมูลหลักและกลุ่มตัวอย่างที่จะตอบ
แบบสอบถามนั้นจึงเป็นไปด้วยความยากลาบาก ต้องใช้เครือข่ายและหลายกลวิธีในการประสานงานและ
ติดตามอย่างใกล้ชิด ภายหลังได้ข้อมูลนักวิจัยได้ทาการบริหารข้อมูลตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในข้อพิจารณา
เชิงจริยธรรมอย่างเคร่งครัด ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อลดความลาเอียงนักวิจัยได้ทาการสอบทานโดย
ทีมนักวิจัยและกับผู้ให้ข้อมูล (Key Informant Validation) เพื่อประกันคุณภาพของข้อมูล แต่เนื่องจาก
ธรรมชาติการตอบแบบสอบถามผ่านระบบอิเล็คทรอนิคส์ ซึ่งมักจะได้รับการตอบกลับคืน จานวนน้อยและ
ขาดความสมบูรณ์ ทาให้การดาเนินงานต้องใช้เวลามากกว่าที่วางแผนไว้ นอกจากนี้การเป็นนักวิจัยในฐานะ
ตัวแทนขององค์กรวิชาชีพและทาการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนและเป็นประสบการณ์
ส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลบางรายคิดว่าองค์กรวิชาชีพไม่เห็นด้วยกับการไปทางานต่างประเทศของ
พยาบาล จึงให้ข้อมูลด้วยความระมัดระวัง ในขณะเดียวกันผู้ให้ข้อมูลหลายรายก็มีความยินดีที่จะให้ข้อมูล
และรู้สึกดีใจที่องค์กรวิชาชีพสนใจและห่วงใยในสวัสดิภาพของพยาบาล จนเกิดสัมพันธภาพต่อเนื่องและ
นามาซึ่งเครือข่ายความร่วมมืออื่นๆ จนทาให้การดาเนินการวิจัยสาเร็จลุ ล่วงตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้
นักวิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลการวิจัยนี้แม้จะได้จากกลุ่มตัวอย่างจานวนไม่มากนักแต่ก็เป็นเสียงสะท้อนที่
ให้คณ
ุ ค่าต่อวิชาชีพพยาบาลในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพยาบาลให้ดีขึ้นต่อไป

You might also like