Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 18

นาย อชิตะ วิยะนัด B6208653

การทดสอบหาความหนาแน่นแห้งของดินในสนาม (Determination of Field


Density Test)

ทฤษฎีและหลักการ
การทดสอบหาความหนาแน่นแห้งของดินในสนาม คือ การหาค่าความหนาแน่นเปียกและปริมาณความชื้นเปียกใน
บริเวณที่บดอัดด้วยเครื่องจักรเสร็จเรียบร้อยแล้วนํามาหาค่าความหนาแน่นแห่งเปรียบเทียบกับความหนาแน่นแห่ง
ที่ของดินที่ได้จากในห้องปฏิบัติการในรูปของเปอร์เซ็นต์การบดอัดหรือค่าบดอัดสัมพัทธ์ในการทดสอบหาค่าความ
หนาแน่นของดินในสนาม (Field Density) จะมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธีคือ
1. Sand Cone Method วิธีนี้อาศัยทรายช่วยในการหาปริมาตรของหลุมโดยทรายที่ใช้คือ ทราย
Ottawa Sand ซึง่ ขนาดของเม็ดทรายจะมีลักษณะกลมและมีขนาดเท่า ๆกัน (Uniform) หรือจะใช้ทราย
ที่ร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 20 ค้างตะแกรงเบอร์ 30 ก็ได้ เพื่อที่จะให้ผลของความหนาแน่นที่เท่ากันโดย
ตลอด และไม่เกิดการแยกตัวของเม็ดหยาบและเม็ดเล็ก (Segregation) ขณะทำการทดสอบ
2. Rubber Balloon Method วิธีนี้ใช้น้ำช่วยในการหาปริมาตรของหลุม ซึ่งสะดวกและรวดเร็วกว่าวิธี
แรกในการทดสอบต้องอาศัยลมจากลูกบอลบีบอัดลงไปตรงส่วนบนของผิวน้ำในหลอดแก้วของเครื่องมือ
เพื่อทำให้น้ำในหลอดแก้วถูกดันออกไปในลูกโป่งยาง และไหลลงไปในหลุมทดสอบที่ขุดเอาไว้ใต้ Base
Plate ลมที่อัดลงไปนี้มีส่วนช่วยให้นำ้ ในลูกโป่งยางอัดแนบสนิทกับกันหลุม ทำให้ได้ค่าปริมาตรของหลุมที่
ถูกต้องและแม่นยํายิ่งขึ้น
3 Nuclear Method วิธีนิวเคลียร์เป็นการหาค่าความหนาแน่นของดินและปริมาณความชื้นของดินบด
อัดแน่น หาความหนาแน่นเปียกของดิน โดยใช้รังสีแกมม่า (Gamma Ray) ส่งผ่านดินที่ต้องการ ก่อนที่จะ
ไปเข้าเครื่องรับรังสี ถ้ารังสีสะท้อนกลับไปเครื่องรับมาก แสดงว่าดินมีความหนาแน่นสูง ส่วนการหา
ปริมาณความชื้นโดยใช้นิวตรอน (Newtron) ส่งผ่านเข้าไปในดินและสะท้อนไปยังเครื่องรับ อนุภาคของ
นิวตรอนจะไปชนกับอะตอมของไฮโดรเจนซึ่งเป็นองค์ประกอบของน้ำ ถ้านิวตรอนสะท้อนกลับเข้า
เครื่องรับช้าแสดงว่าปริมาณน้ำในมวลดินมีมาก วิธีนี้จะสะดวกและรวดเร็วให้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่
สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง
วัตถุประสงค์ของการทดสอบ
• เพื่อต้องการหาความหนาแน่นแห้งและเปอร์เซ็นต์การบดอัดของดินในสนามเปรียบเทียบกับความ
หนาแน่นสูงสุดการบดอัดดินที่ได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ

มาตราฐานที่ในการทดสอบ
• ASTM D 1556 – 00 Standard Test Method for Density and Unit Weight of Soil in Place
by the Sand-Cone Method
อุปกรณ์และเครื่องมือ

อุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการทดสอบหาค่าความหนาแน่นของดินในสนามโดยวิธีกรวยทราย

อุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการทดสอบหาค่าความหนาแน่นของดินในสนามโดยวิธีกรวยทราย
อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้เฉพาะ
1) กรวยทรายขนาดปากกรวย 6 12 นิ้วหรือ4 12 นิ้วมีเกลียวสำหรับหมุนเข้าขวดแก้วและ
มีวาล์วเปิด-ปิดให้ทรายไหลได้
2) ขวดใส่ทราย ซึ่งมีความจุประมาณ 1 แกลลอน มีเกลียวสำหรับหมุนเข้ากรวยทราย
3) แผ่นหาความหนาแน่น( Field Density Plate) ขนาดประมาณ 12 ×12 นิ้ว มีขอบ
กันดินรอบด้าน
4) ทรายสำหรับหาปริมาตรหลุมคือ Ottawa Sand เป็นทรายที่มีขนาดเท่าๆกัน หรือ
ทรายที่ร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 20 และค้างบนตะแกรงเบอร์ 30
อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ทั่วไป
1) เครื่องชั่งสนามขนาด 10 กิโลกรัมอ่านละเอียด 5 กรัม และเครื่องชั่งอ่านละเอียด
0.01 กรัมสำหรับชั่งหาความชื้นในดิน
2) ตู้อบ ( Oven )
3) กระป๋องเก็บตัวอย่างดินมีฝาปิด
4) สกัดขนาดหน้ากว้างประมาณ 1 นิ้ว ยาวประมาณ 8 นิ้ว
5) ช้อนตักดินขนาดประมาณ 8 นิ้วและช้อนเล็กขนาดประมาณช้อนกินข้าว
6) ค้อนยางหรือคอนหงอน
7) แปรงทาสีขนาด 2 – 3 นิ้ว
การ Calibration เครื่องมือทดสอบความหนาแน่นของดินในสนาม
1. การหาน้ำหนักทรายในกรวย
ขั้นตอนที่ 1 วางแผ่น Plate บนพื้นที่เรียบแล้วนําทรายใส่ขวดพร้อมชั่งน้ำหนักรวมทั้งกรวยทราย
บันทึกน้ำหนัก คว่ำขวดทรายลงบนแผ่น Plate ให้กรวยทรายพอดีกับขอบแผ่น Plate
แล้วเปิดวาล์วให้ทรายไหลอย่างอิสระระวังอย่าให้เกิดการสั่นสะเทือน

ขั้นตอนที่ 2 เมื่อแน่ใจว่าทรายหยุดไหลแล้วทำการปิดวาล์วแล้วนําทรายที่เหลือในขวดพร้อมกรวย
นําไปชั่งหาน้ำหนัก ผลต่างของน้ำหนักก่อนทดสอบและหลังทดสอบจะเป็นน้ำหนักทรายที่อยู่ใน
กรวย ควรทำการทดสอบซ้ำ 2 – 3 ครั้งแล้วหาค่าเฉลี่ย
2. หาความหนาแน่นของทรายที่ใช้ในการทดสอบ
ขั้นตอนที่ 1 นําโมลทดสอบการบดอัดดินแบบสูงกว่ามาตรฐานมาประกอบเข้ากับฐานแล้วชั่งน้ำหนัก ซึ่ง จะได้
น้ำหนักโมล

ขั้นตอนที่ 2 นําขวดทรายที่ใส่ทรายประมาณค่อนขวดพร้อมทั้งกรวยมาวางบนโมลให้ได้ระดับที่สม่ำเสมอ แล้ว


เปิดวาล์วปล่อยให้ทรายไหลตกอย่างอิสระโดยพยายามอย่าให้เกิดการสั่นสะเทือนเมื่อ แน่ใจว่า
ทรายหยุดไหลแล้วทำการปิดวาล์วหงายกรวยทรายขึ้นวางไว้ใช้มีดเหล็กสันตรงหรือ แผ่นเหล็ก
ปาดทรายที่ล้นบนขอบโมลให้เสมอกับขอบโมลและใช้แปรงขนอ่อนค่อยๆปิดทราย ออกจากฐาน
โมลให้สะอาดแล้วนําไปชั่งจะได้น้ำหนักทรายรวมกับโมลหล่อเมื่อหักน้ำหนัก โมลหล่อออกก็จะได้
น้ำหนักทรายที่อยู่ในโมล ( Ws )
ขั้นตอนที่ 3 ใช้เวอร์เนียร์หรือไม้บรรทัดวัดเส้นผ่านศูนย์กลางและความสูงโมลเพื่อหาปริมาตร

ขั้นตอนที่ 4 ทำการทดสอบแบบเดียวกันนี้ 2 – 3 ครั้งเพื่อให้ได้ค่าเฉลี่ยที่ถูกต้องที่สุดแล้วนําค่าน้ำหนักทราย


ในโมลและปริมาตรของโมลไปหาค่าความหนาแน่นของทราย

การเตรียมตัวอย่างและขั้นตอนการทดสอบ
ขั้นตอนการทดสอบ
ขั้นตอนที่ 1 ตวงทรายใส่ขวดอย่างน้อยค่อนขวด ปิดวาล์วแล้วชั่งน้ำหนักของขวดทรายพร้อมทั้งกรวยจด
บันทึกค่าไว้ (W1)
ขั้นตอนที่ 2 ปรับพื้นที่ที่จะทำการเจาะให้เรียบก่อนที่จะวางแผ่น plate แล้วตอกตะปูยึดให้แน่น

ขั้นตอนที่ 3 ใช้สกัดเจาะดินบริเวณตรงกลางแผ่น plate ให้มีความลึกประมาณ 10 เซนติเมตรก้นหลุมที่ เจาะ


จะต้องมีขนาดเท่ากับปากหลุมเจาะ ดินที่ขุดจากหลุมจะต้องเก็บให้หมดโดยใช้ช้อนเล็ก ตักใน
กรณีเหลือดินน้อยๆให้ใช้แปรงทาสีปิดเศษดินที่อยู่ในหลุมให้เรียบร้อย
ขั้นตอนที่ 4 นําดินที่ได้จากการขุดมาชั่งและจดบันทึกค่าไว้หลังจากนั้นนําดินส่วนหนึ่งที่ขุดได้ไปชั่งเสร็จ แล้ว
นําไปเข้าเตาอบเพื่อหาค่าปริมาณความชื้น

ขั้นตอนที่ 5 ทำการคว่ำขวดทรายที่เตรียมไว้แล้วลงบนปากหลุมโดยให้กรวยทรายพอดีกับแผ่น plate แล้ว


เปิดวาล์วระวังอย่าให้เกิดการกระทบกระเทือนในขณะปล่อยทรายลงหลุมเพราะจะทำให้ ค่าที่ได้
คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ขั้นตอนที่ 6 เมื่อแน่ใจว่าทรายที่ปล่อยลงหลุมหยุดไหลแล้วก็ทำการปิดวาล์วแล้วนําทรายที่เหลืออยู่ในขวดไป
ชั่งน้ำหนักพร้อมกับกรวยทรายและจดบันทึกค่าไว้ (W2)

ขั้นตอนที่ 7 นําทรายที่อยู่ในหลุมใส่ลงในขวดตามเดิมโดยพยามอย่านําดินที่อยู่ในก้นหลุมขึ้นมาด้วย
เพราะว่าทรายที่เก็บขึ้นมาจะต้องทดสอบในหลุมต่อไปอีก
การบันทึกผลการทดลอง
LAB 8_การทดสอบหาความหนาแน่นของดินในสนาม
Determination of Field Density Test by Sand Cone Method

ASTM D 1556/1556M-15: Standard Test Method for Density and Unit Weight of Soil in Place by
Sand Cone Method
Table 1 Density of sand
Determination no. 1 2 3 4 5
Mass of mold + Base plate g 5538 5538 5538
Mass of mold + Base plate + Sand g 8617 8633 8617
Mass of sand (M) g 3079 3095 3079
Diameter of mold (D) cm 1.52 1.52 1.52
Height of mold (H) cm 1.17 1.17 1.17
Volume of mold (V) = (/4)D2 H cm3 2,140.6 2,140.6 2,140.6
Density of sand (sand) g/cm3 1.44 1.44 1.44
Average density of sand (sand) g/cm3 1.44
Table 2 Mass of sand in cone and base plate

Determination no. 1 2 3 4 5
Initial mass of jar + Sand + Cone g 7072 5187 4598
Final mass of jar + Sand + Cone g 5187 3291 2697
Mass of sand in cone and base plate g 1885 1896 1901
Average mass of sand in cone and base plate g 1894

Table 3 Mass of natural soil

Test hole no.


Mass of pan g 308
Mass of soil + pan g 2645
Mass of soil (W) g 2337

Table 4 Water content of soil

Sample no
Mass of can g 10.20
Mass of can + soil g 153.69
Mass of can + dry soil g 147.57
Mass of dry soil g 137.37
Mass of water g 6.12
Water Content (w) % 4.45
Table 5 Field Density Test

Sample no.
Initial mass of jar + Sand + Cone (A) g 6377
Final mass of jar + Sand + Cone (B) g 2,308
Mass of sand in cone and base plate (C) g (from Table 2) 1,894
Mass of sand in test hole, Wsand = A-B-C g 2175
Average density of sand, sand g/cm3 (from Table 1) 1.44
Volume of test hole, V = Wsand/sand cm3 1510.42
Mass of soil, W g (from Table 3) 2,337
Total density of soil in field, t = M/V g/cm3 1.55
Water content, w % (from Table 4) 4.45
Dry density in field, dry’field = /(1+w) g/cm3 1.48
Maximum dry density in laboratory, dry’lab g/cm3 (from Standard Proctor Test, Lab#7) 1.88
Relative density = [(dry, field)/(dry, lab)]x100 % 78.72
ตัวอย่างการคำนวณ
- Table 1
Mass of sand (M) = (Mass of mold + Base plate+ Sand) – (Mass of mold + Base plate)
= 8,617 – 5,538 = 3,079 g.

Density of sand (sand) = Mass of sand (M)/ Volume of mold (V)

= 3,079/((/4)(1.522)x1.17x1000) = 1.44 g/cm3


- Table 2
Average mass of sand in cone and base plate
= ∑[(Initial mass of jar + Sand + Cone)- (Final mass of jar + Sand + Cone)]/3
= (1,885 + 1,896 + 1,901) = 1894 g.
- Table 3
Mass of soil (W) = (Mass of soil + pan) –(Mass of pan) = 2,645 – 308 = 2,337 g.
- Table 4
Water Content (w) = (Mass of water / Mass of dry soil)x100
= (6.12 / 137.37)x100
= 4.45 %
- Table 5
Mass of sand in test hole = (Initial mass of jar + Sand + Cone) –
(Final mass of jar + Sand + Cone) –(Mass of sand in
cone and base plate)
= 6,377 – 2,308 – 1,894 = 2175 g.
Volume of test hole = Mass of sand in test hole/ Average density of sand
= 2,175/1.44 = 1510.42 cm3
Total density of soil in field = Mass of soil/ Volume of test hole
= 2,337/1510.42 = 1.55 g/cm3
Dry density in field = Total density of soil in field/(1+Water content)
= 1.55/(1+0.0445) = 1.48 g/cm3
Relative density = [(dry, field)/(dry, lab)]x100
= (1.48/1.88)x100 = 78.72 %
สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองทำให้ทราบความชื้นที่มีอยู่ในเม็ดดิน (Water content) เท่ากับ 4.45% และมีความ
หนาแน่นของเม็ดดินที่ได้จากการใช้โมลและกรวยทรายในภาคสนามเท่ากับ 1.44, 1.48 g/cm3 ตามลำดับ ซึ่งจะ
สังเกตได้ว่ามีค่าที่ได้มีความใกล้เคียงกันมาก และเมื่อเปรียบเทียบกับค่าของดินที่มีการบดอัดจากการทดลองที่ผ่าน
มาซึ่งมีค่าเท่ากับ 1.88 g/cm3 ซึ่งจะได้ค่าของ Relative density เท่ากับ 78.72 % ซึ่งบ่งบอกถึงเมื่อมีการบดอัดที่
มากขึ้นจะส่งผลให้ค่าของความหนาแน่นของเม็ดดินมีค่าที่สูงขึ้นตามไปด้วย เมื่อเทียบกับปริมาตรที่นำมาวัดเป็น
ปริมาตรที่เท่ากัน
วิเคราะห์และวิจารณ์การทดลอง
จากการทดลองมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้างเนื่องจากในการทดลองต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์เพื่อให้ได้ค่า
ความแตกต่างของความหนาแน่นในแต่ละช่วงที่ชัดเจน อีกทั้งในการทดลองในภาคสนามอุปกรณ์บางอย่างไม่
เหมาะสมกับการทดลอง จนอาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนขึ้นได้ ซึ่งแนวทางการแก้ไขคือ ต้องใช้เวลาในการ
ทดลองที่แบ่งช่วงระยะเวลาที่นานขึ้นและเตรียมอุปกรณ์ให้เหมาะสมมากขึ้นก่อนทำการทดลอง แต่ความคลาดค
เลื่อนของการทดลองที่ได้ เป็นค่าที่ไม่มาก ซึ่งบ่งบอกถึงผู้ทดลองมีความชำนาญในการทดลอง ส่งผลให้การทดลอง
มีประสิทธิภาพ
อ้างอิง
- คู่มือการทดสอบทางปฐพีกลศาสตร์ (Soil Mechanics Laboratory) CivilLabPro version 1.0 รศ.สุกิจ
นามพิชญ์ และคณะ, คู่มือการทดสอบทางปฐพีกลศาสตร์, การทดสอบการหาค่าความหนาแน่นของดินใน
สนาม โดยวิธีกรวยทราย (Determination of Field Density Test by Sand Cone Method), หน้าที่
198 – 217, จัดพิมพ์เมื่อ 29 มิถุนายน พุทธศักราช 2549.
- • ASTM D 1556 – 00 Standard Test Method for Density and Unit Weight of Soil in Place
by the Sand-Cone Method

You might also like