การวิเคราะห์บทเพลง Sonata Undine (Op.167) สำหรับ Flute and Piano

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 34

การวิเคราะห์บทเพลง

Sonata Undine (Op.167)


สำหรับ Flute and Piano
ประพันธ์โดย Carl Heinrich Carsten Reinecke

นายธิบดี สุขเกษม รหัสนิสิต 60012021004

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หลักสูตรปริญญาดุริยางคศาสตร์บัณฑิต
คำนำ
การวิเคราะห์บทเพลง Sonata Undine (Op.167) สำหรับ Flute and Piano ประพันธ์โดย Carl
Heinrich Carsten Reinecke เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการแสดงเดี่ยว รหัสวิชา 2000404 จัดทำขึ้นเพื่อ
ศึกษาประวัติความเป็นมาของบทเพลง ประวัติผู้ประพันธ์ สังคีตลักษณ์ของบทเพลง ลักษณะบันไดเสียงของบท
เพลง และเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการประพันธ์บทเพลงนี้ เพื่อให้เข้าใจถึงบทเพลง Sonata Undine (Op.167)
ผู ้ จ ั ด ทำหวั ง ว่ า การวิ เ คราะห์ บ ทเพลง Sonata Undine (Op.167) สำหรั บ Flute and Piano
ประพันธ์โดย Carl Heinrich Carsten Reinecke เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังศึกษาการวิเคราะห์บท
เพลง Sonata Undine (Op.167) หรือเป็นแนวทางให้กับผู้ที่กำลังศึกษาในเรื่องการวิเคราะห์บทเพลงอื่น ๆ
หากมีข้อผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทำขออภัยมา ณ ที่นี้

ธิบดี สุขเกษม
สารบัญ

แนวการวิเคราะห์ส่วนประกอบหลักของเพลง 1
การวิเคราะห์ประโยคเพลง 1
การวิเคราะห์สังคีตลักษณ์ 1
วิเคราะห์ภาพรวมโดยทั่วไปของบทเพลง 2
ประวัติผู้ประพันธ์ 3
ประวัติความเป็นมาของบทเพลง Sonata Undine (Op.167) 4
ปัจจัยในการการวิเคราะห์เพลง Sonata Undine (Op.167) 5
1. การวิเคราะห์โครงสร้างของบทเพลงและเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนอง 5
2. การวิเคราะห์จังหวะ (Rhythm) 27
3. การพักประโยค (Cadence) 29
4. บันไดเสียง หรือ คีย์ของเพลง (Key Signature) 29
บรรณานุกรม 31
1

แนวการวิเคราะห์ส่วนประกอบหลักของเพลง
เมื ่ อ ได้ ภ าพรวมภายนอกของเพลงแล้ ว จึ ง จะวิ เ คราะห์ ใ นแง่ท ฤษฎี ต ่อ ไป ในขั ้ น แรกควรวิเ คราะห์
ส่วนประกอบหลักของเพลง ซึ่งประกอบด้วยทำนอง จังหวะ เสียงประสาน และสีสันเสียง
การวิเคราะห์ประโยคเพลง
บทเพลงทุกบทต้องประกอบด้วยประโยคเพลง และประโยคเพลงเหล่านี้ก็จะถูกนำมาผูกร้อยเรียงกันเข้า
จนเป็นเพลงที่สมบูร ณ์ แต่ละประโยคเพลงมักมี ส่วนย่อยๆ ออกไปอีกเรียกว่า หน่วยทำนองย่อยเอก ซึ่ง มี
ความสำคัญในการผูกเพลงทั้งหมดเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ยังต้องคำนึ งถึงเทคนิคทางการประพันธ์
เพลงที่ใช้ เช่น เทคนิคการซ้ำ การเลียน เป็นต้น และท้ายที่สุด ควรวิเคราะห์โครงหลักของประโยคเพลงเพราะเป็น
ตัวบอกทิศทางการเคลื่อนไหวของประโยคเพลง
การวิเคราะห์สังคีตลักษณ์
สังคีตลักษณ์เปรียบเหมือนฉันท์ลักษณ์ในวรรณคดี ฉันท์ลักษณ์ในวรรณคดีเป็นโครงสร้างทางร้อยกรองที่
แยกแยะ โครง ฉันท์ กาพย์ กลอน ให้มีความแตกต่างกัน สังคีตลักษณ์ในดนตรีก็เช่นกัน มีโครงสร้างที่ยึดถือได้เป็น
แบบอย่าง โดยมีทำนองแลกุญแจเสียงเป็นตัวแปรสำคัญ ในการกำหนดโครงสร้างของสัง คีตลักษณ์เหล่านี้ เช่น
สังคีตลักษณ์สองตอน สังคีตลักษณ์สามตอน สังคีตลักษณ์รอนโด สังคีตลักษณ์โซนาตา นอกเหนือจากสังคีตลักษณ์
ดังกล่าวแล้ว ยังมีกระบวนการทางการประพันธ์แบบอื่น ๆ ที่อนุโลม เรียกว่า สังคีตลักษณ์ เช่น สังคีตลักษณ์
ทำนองหลักและการแปร และรูปแบบที่ไม้จัดอยู่ในกลุ่มทีเรียกว่าสังคีตลักษณ์แต่ก็มีกระบวนการประพันธ์ ที่ถือเป็น
บรรทัดฐานได้ เช่น บทประพันธ์เพลงประเภทฟิวก์ แต่บางเพลงก็อาศัยสังคีตลักษณ์ 2 แบบมาผสมผสานกัน เช่น
สังคีตลักษณ์โซนาตารอนโด สังคีตลักษณ์สามตอนแบบผสม เป็นต้น และก็มีเพลงบางประเภทต้องใช้สัง คีตลักษณ์
มาผสมผสานกับรูปแบบการจัดวงดนตรี เช่น คอนแชร์ โต เป็นต้น ผู้วิเคราะห์ต้องใช้วิจารณญาณประกอบกับ
ความรู้ด้านทฤษฎีดนตรีและประวัติดนตรีในการที่จะวินิจฉัยว่า บทเพลงนั้น ๆ มีแง่มุมใดที่น่าสนใจแก่การวิเคราะห์
ในแง่มุมอื่น ๆ ฉะนั้น ก่อนที่จะเริ่มวิเคราะห์เพลง สิ่งที่สำคัญที่สุด คือต้องรู้ว่า เพลงนั้นมีจุดสนใจอยู่ที่ไหน ควรให้
ความสำคัญกับอะไรในการวิเคราะห์ ควรกล่าวเน้นถึงเรื่องอะไรมากน้อยเพียงไร ควรลงลึกถึงรายละเอียดในเรื่อง
ใดบ้าง บทวิเคราะห์และข้อคิดต่าง ๆ ต้องมีเหตุผลและหลักการทฤษฎีรองรับ เพื่อแสดงถึงคุณค่าเชิงวิชาการของ
บทเพลงนั้น ๆ อย่างแท้จริง
2

วิเคราะห์ภาพรวมโดยทั่วไปของบทเพลง
3.1 ชื่อบทเพลง Sonata Undine (Op.167)
3.2 ชื่อผู้แต่ง Carl Reinecke ชาวเยอรมัน อายุ 86 ปี เกิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1824
เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1910
3.3 ปีที่แต่ง 1882
3.4 ยุคทางดนตรี ยุคโรแมนติก (Romantic Period)
3.5 ประเภทบทเพลง เป็นเพลง Solo
3.6 เครื่องดนตรีที่ใช้คือ Flute บรรเลงร่วมกับ Piano
3.7 จำนวนท่อนของเพลง ประกอบด้วย 4 ท่อน คือ
3.7.1 ท่อน I (Allegro)
3.7.2 ท่อน II (Intermezzo. Allegretto vivace)
3.7.3 ท่อน III (Andante tranquillo)
3.7.4 ท่อน IV (Finale Allegro molto agitato ed appassionato, quasi Presto)
3.8 ความยาวของบทเพลงเป็นเวลา
- ท่อน I 5 นาที 30 วินาที
- ท่อน II 3 นาที 21 วินาที
- ท่อน III 4 นาที 06 วินาที
- ท่อน IV 6 นาที 07 วินาที
- รวมเวลาทั้งหมด 19 นาที 04 วินาที
3.10 ความยาวของบทเพลง
- ท่อน I ยาว 269 ห้อง
- ท่อน II ยาว 165 ห้อง
- ท่อน III ยาว 67 ห้อง
- ท่อน IV ยาว 317 ห้อง
- รวมทั้งหมด ยาว 818 ห้อง
3

ประวัติผู้ประพันธ์
Carl Reinecke (Carl Heinrich Carsten Reinecke) สัญ ชาติเยอรมัน มี
อาชีพเป็น ผู้ประพันธ์, นักเปียโน และวาทยกร เกิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 1824 ที่
เมือง Hamburg ในประเทศเยอรมนี และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 1910 ที่เมือง
Leipzig ใน ประเทศเยอรมนี รวมอายุ 86 ปี Carl Reinecke มี ช ี ว ิ ต อยู ่ ใ นยุ ค
Romantic
เขาได้เรียนดนตรีจากพ่อของเขา (Johann Peter) Rudolf Reinecke ซึ่ง
พ่อเขามีอาชีพเป็นครูดนตรี เครื่องดนตรีเครื่องแรกที่เขาได้หัดเล่นก็คือไวโอลินแต่
ต่อมาเขาก็สนใจเปียโนมากกว่า ในตอนอายุ 7 ปีเขาได้ประพันธ์เพลงขึ้นมาเพลงแรก และเขาได้ออกแสดงดนตรีใน
ฐานะนักเปียโนครั้งแรกตอนอายุ 12 ปีในปี1843 ตอนอายุ 19 ปี เขาได้ออกทัวร์คอนเสิร์ตครั้งแรกที่เดนมาร์กและ
สวี เ ดน ต่ อ มาก็ ไ ด้ ย ้ า ยมาอยู่ ท ี ่เ มื อง Leipzig ซึ ่ ง เขาได้ ร่ ำ เรี ย นวิ ช าดนตรี กั บ Felix Mendelssohn, Robert
Schumann และ Franz Liszt ต่ อ มาเขาเป็ น อาจารย์ ส อนวิ ช า counterpoint and piano ที ่ Cologne
Conservatory ในปี 1851-1854 ต่อมาในปี1854-1859เขาได้เป็น Music director คนแรกที่เมือง Barmen และ
ในขณะที ่ เ ขาออกทั ว ร์ ค อนเสิ ร ์ ต ในปี 1 860 เขาได้ ถ ู ก เชิ ญ ให้ เ ป็ น วาทยกรของวง Leipzig’s Gewandhaus
Orchestra อีกทั้งยังถูกเชิญจาก Leipzig Conservatory ให้เป็นอาจารย์สอนวิชาเปียโนและประพันธ์เพลงต่อมา
ในปี 1897 เขาได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของ Leipzig Conservatory ถือได้ว่าเขาเป็นนักดนตรีที่มี
ชื่อเสียงและสำคัญของยุคและอีกทั้งเขายังเป็นอาจารย์ของนักดนตรีชื่อดัง อีกหลายคน เช่น Edvard Grieg, Hugo
Riemann, Arthur Sullivan และ Felix Weingartner เขาเกษียณอายุในการสอนในปี 1902 นับเป็นเวลา 35 ปี
ในการเป็นอาจารย์สอนดนตรี ในช่วงเวลาหลักจากการเกษียณ เขาได้ออกเดินทางไปชมคอนเสิร์ตต่าง ๆ และได้อัด
เปียโนให้กับบริษัทค่ายเพลงใหญ่ รวมทั้งเขายังทุ่มเทให้กับการประพันธ์เพลงต่าง ๆ มากมาย ถึง 300 ผลงาน
ผลงานการประพันธ์ของเขามีหลายประเภท เช่น Symphony, Overtures, Concerto, Sonata, Opera, Piano,
Chamber music และเพลงร้อง เป็นต้น
4

ประวัติความเป็นมาของบทเพลง Sonata Undine (Op.167)


บทเพลงนี ้ แ ต่ ง จากนวนิ ย ายโรแมนติ ก ของเยอรมั นซึ ่ง ผู ้ เ ขี ย นนวนิ ย ายคื อ Friedrich de la Motte
Fouqué มีชื่อเรื่อง Undine ซึ่งนวนิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ Undine วิญญาณแห่งน้ำ ผู้ปรารถนาที่จะเป็น
วิญญาณที่อมตะ ซึ่งจะเป็นวิญญาณที่อมตะได้ จะต้องได้รับความรักที่แท้จริงกับมนุษย์เท่านั้น โดยบทเพลงนี้จะ
แบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ท่อน
ในบทเพลงท่อนที่ 1 จะประพันธ์ถึงเรื่องราวที่เริ่มต้นด้วย การใช้ชีวิตของ Undine ในอาณาจักรน้ำใต้
มหาสมุทร โดยถ่ายทอดโดยลายโน้ตของ Flute เปรียบเสมือนเสียงน้ำจากนั้นเมื่อตอนเธอเป็นเด็กเธอได้ออกจาก
อาณาจักรน้ำเพื่อค้นหาความรักกับมนุษย์ และถูกสามีภรรยาชาวประมงพบเข้า ซึ่งชาวประมงเพิ่งสูญเสียลูกสาว
ของตัวเองไป ซึ่งตัดสินใจรับ Undine ซึ่งยังเป็นเด็กมาเลี้ยง
ในบทเพลงท่อนที่ 2 จะประพันธ์เริ่มต้นที่ ภาพวาดของUndineขณะที่เธอโตเป็นสาวแล้ว ซึ่งเป็นภาพวาด
ที่วาดออกมาตอน Undine ทำหน้าตลก ซึ่งจะบรรเลงโดย Piano และ Flute ที่หยอกล้อกัน จากนั้นพอเข้าท่อนที่
Piano บรรเลงเดี่ยวจะเป็นท่อนที่อัศวิน Huldebrand ได้ขึ้นฝั่งมาเพื่อของที่พักพิงจากชาวประมงเพื่อหลบพายุ
ต่อมาจะเป็นตอนที่ อัศวิน Huldebrand ได้เจอUndine ครั้งแรก และตกหลุมรัก
ในบทเพลงท่อนที่ 3 จะประพันธ์เริ่มต้นที่ในงานแต่ง งานของ Undine และ Huldebrand ที่มีกำลัง
ความสุขแต่ถูกขัดด้วย Bertalda หญิงที่เป็นเพื่อนของ Undine และ Huldebrand ถูกเปิดเผยว่าเป็นลูก สาวที่
แท้จริงของชาวประมงสามีและภรรยาและมีคนเปิดน้ำพุทำให้เหล่าวิญญาณน้ำที่มาร่วมงานแต่งถูกเปิดเผยทำให้จึง
ต้องรีบออกมาจากงานและเหล่าวิญญาณน้ำได้เรียกให้ Undine ออกมาด้วยทุกอย่างชุลมุนแต่เรื่องก็จบลงด้วยมี
หินก้อนยักษ์หล่นลงมาปิดน้ำผุ
ในบทเพลงท่อนที่ 4 จะประพันธ์เริ่มต้นที่ Undine และ Huldebrand ได้มาออกทริปเที่ยวด้วยกันที่
สะพานข้ า มแม่ น้ ำ Danube แต่ Huldebrand ก็ ท ำให้ Undine โกรธเมื ่อ เขาบอกกั บ Undine ว่ า เขาจะไม่
แต่งงานกับ Undine เพราะเขารับไม่ได้ Undine เป็นเพื่อนกับวิญญาณน้ำ เขากลัวที่ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตราย
จากวิ ญ ญาณตลอดเวลา Undine ทั ้ ง โกรธและตกใจกั บ คำพู ด ทำให้ พ ลั ด ตกน้ ำ และจมลงไปด้ า นล่ า งแม่น้ำ
Huldebrand ที่เห็นดังนั้นคิดว่าเธอคงตายไปแล้ว เลยวางแผนที่จะแต่งงานกับ Bertalda ในคืนวันแต่งงานใหม่
ของ Huldebrand Undine กลับมาอีกครั้งในร่างวิญญาณ แต่สวมหน้ากากและแต่งชุดเจ้าสาว เมื่อ Huldebrand
รู้ว่า Undine ยังไม่ตายและไม่ใช่มนุษย์ เขารู้ว่าเขาจะต้องตาย เขาจึงขอร้องให้ Undine แสดงใบหน้าของเธอให้
เขาเห็น เธอเปิดเผยตัวเองและฆ่าเขาด้วยการจูบ
5

วิเคราะห์บทเพลง
Sonata Undine (Op.167) สำหรับ Flute และ Piano ประพันธ์โดย Carl Reinecke ซึ่งบทเพลงนี้ อยู่
ในบันไดเสียง E minor, E Major, B minor, B Major, G Major, C# minor และ Ab Major ในอัตราจังหวะ2/4,
4/4 และ 6/8 สำหรับบทเพลงนี้เป็นบทเพลงประเภท Sonata Form โดยมีการแบ่งท่อนได้เป็น I, II, III, IV และมี
ปัจจัยในการวิเคราะห์บทเพลง ดังนี้
ปัจจัยในการการวิเคราะห์เพลง Sonata Undine (Op.167)
1. การวิเคราะห์โครงสร้างของบทเพลงและเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนอง
2. การวิเคราะห์จังหวะ (Rhythm)
3. การพักประโยค (Cadence)
4. บันไดเสียง หรือ คีย์ของเพลง (Key Signature)

1. การวิเคราะห์โครงสร้างของบทเพลงและเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนอง
ท่อน I
ท่อน I ท่อนนี้อยู่ในรูปแบบ Sonata Form ซึ่งจะประกอบไปด้วย 5 ท่อน ซึ่งก็คือ ท่อน Introduction,
ท่อน A (Exposition), ท่อน B (Development), ท่อน A (Recapitulation) และท่อน Coda โดยในท่อน I นี้ จะมี
อารมณ์เพลงที่ฟังแล้ว รู้สึกได้ถึงการท่องไปใต้มหาสมุทร มีความเพลิดเพลิน ดังเช่นที่ผู้แต่งตั้ง ใจแต่งตามเรื่องราว
ในนวนิยาย รวมทั้งโน้ตมีความซับซ้อนในเรื่องการบรรเลง จึงต้องใช้เวลาศึกษาและฝึกซ้อมเป็นอย่างมาก โดย
ผู้ประพันธ์ได้กำหนดจังหวะในท่อน I มาให้เป็น Allegro และมีจำนวนห้องตั้งแต่ห้องที่ 1-269
ท่อน Introduction
ท่อน Introduction เป็นการนำเสนอกลิ่นไอของทำนองหลัก เริ่มที่ห้อง 1-20 ท่อนนี้อยู่ในบันไดเสียง E
minor แม้จะเป็นบันไดเสียงทาง minor แต่เมื่อฟังแล้วให้ความรู้สึก เพลิดเพลินราวกับได้ว่ายท่องไปใต้
ท้องทะเลตามในนวนิยาย และเริ่มต้นโดย Flute บรรเลงทำนองหลัก และ Piano ทำหน้าที่เป็นซัพพอร์ต
ทำให้บทเพลงออกมาครบครั้นทั้ง Solo และลายประสาน ในท่อนนี้จะพบ Motive ที่ 1 ในห้อง 1 ในการ
เริ่มต้นท่อนอีกด้วยและพบประโยคเพลงที่ 1 ในห้อง 1-5
6

Motive ที่ 1

และท่อนนี้ยังพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนอง เทคนิค Repetition ที่ห้อง 2-3 และห้อง 6-7 ในแนว


Flute และเทคนิค Sequence ที่ห้อง 1-2 ในแนว Piano

Repetition Repetition

Sequence

ท่อน A (Exposition)
ท่อน A เป็นการ Exposition หรือที่เข้าใจกันว่า นำเสนอบทเพลง เริ่มที่ห้อง 21-80 ท่อนนี้อยู่ในบันได
เสียง E minor มีการนำเสนอบทเพลงที่ ให้ความรู้สึก เพลิดเพลิน และตื่นเต้น เมื่อสังเกตจะพบว่าจะมี
ทำนอง Motive 1 ที่อยู่ในท่อน Introduction ปรากฏอยู่ด้วย ในท่อน A (Exposition) นี้ สามารถแบ่ง
7

ท่ อ นย่ อ ยได้อ อกเป็ น 2 ท่ อ น ได้ ท ่ อ น a และท่ อ น b และยั ง พบเทคนิ ค การเคลื ่อ นที ่ ข องทำนองที่
หลากหลาย
ท่อน a
ท่อน a เริ่มที่ห้อง 21-39 เป็นการบรรเลงทำนองหลัก โดยจะมีการบรรเลงของ Flute เป็นหลัก
และ Piano ทำหน้าที่ซัพพอร์ตทำให้บทเพลงฟังแล้วมีเรื่องราว ในท่อนนี้จะพบ Motive ที่ 1 ในห้อง 21-
25 ในการเริ่มต้นท่อนอีกด้วยและพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Repetition ที่ห้อง 21-28
ในแนวบน Piano อีกทั้งยังพบเทคนิค Sequence ที่ห้อง 26-28 ในแนวล่าง Piano

Motive ที่ 1

Repetition

Sequence

ท่อน b
ท่อน b เริ่มที่ห้อง 40-73 เป็นการนำทำนองหลักมาพัฒนา โดยจะมีการบรรเลงของ Flute และ
Piano คอยสลับเป็นช่วง ๆ อีกทั้งในท่อนนี้มีทำนองที่ซึ่ง ทำให้บทเพลงฟังเมื่อฟัง แล้ว รู้สึก ถึงความไร้
เดียงสาและความเอ็นเอ็นดู ในท่อนนี้จะพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Repetition ที่ห้อง
39-42 ในแนว Piano อีกทั้งยังพบเทคนิค Sequence ที่ห้อง 39-42 ในแนวบน Piano
8

Repetition Sequence Repetition

Repetition

ถัดมาในห้องที่ 45-46 พบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Retrograde ในแนว Flute และห้องที่


49-50 พบเทคนิค Sequence ในแนว Piano

Retrograde

Sequence

ต่อมา พบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Sequence ห้องที่ 57-58 ในแนว Piano ห้องที่ 63-66


พบเทคนิค Repetition ในแนว Piano ส่วนในแนว Flute ห้องที่ 64-67 พบเทคนิค Inversion
Sequence

Inversion

Repetition
9

เมื่อถึงห้องที่ 74-80 จะเป็นในส่วนของท้ายท่อน A (Exposition) ซึ่งก็คือช่วง Transition ก่อนเข้าท่อน B


(Development) ซึ่งจะพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Repetition ที่ห้อง 75-76 ในแนว
Flute และ Piano อีกทั้งยังพบเทคนิค Imitation ห้องที่ 77-78 ในแนว Flute กับแนวล่าง Piano

Imitation

Repetition

ท่อน B (Development)
ท่อน B เป็นการ Development หรือที่เข้าใจกันว่า พัฒนาบทเพลง เริ่มที่ห้อง 81-198 ท่อนนี้อยู่ในบันได
เสียง E minor ท่อนนี้เมื่อฟังแล้วจะรู้สึกถึง รู้สึกลุ้นระทึกและสนุกสนาน ท่อนนี้เป็นการนำทำนองในท่อน
A (Exposition) มาพัฒนา โดยจะสังเกตเหตุทำนองในท่อน A (Exposition) ไม่ว่าจะเป็น Motive ที่ 1
หรือลักษณะทำนองต่างๆของท่อน A (Exposition) ถูกนำมาพัฒนาขยายความ โดยในท่อนนี้สามารถแบ่ง
ท่อนย่อยได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ท่อนย่อย ได้แก่ ท่อน a ท่อน b และท่อน a′
ท่อน a
ท่อน a เริ่มที่ห้อง 81-109 โดยจะมีการบรรเลงทำนอง Motive ที่ 1 ของท่อน A (Exposition) ที่
แนว Flute และพบการนำ Motive ที่ 1 มาขยายความเพิ่ม ท่อนนี้จะพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนอง
เทคนิค Repetition ที่ห้อง 87-90, ห้อง 95-98 ในแนว Piano และห้องที่ 92-93 ในแนว Flute

Motive ที่ 1
10

Repetition

Motive ที่ 1 ขยายความเพิ่ม

Repetition

Repetition

ท่อน b
ท่อน b เริ่มที่ห้อง 110-166 โดยจะมีการนำทำนอง Motive ที่ 1 ของท่อน A (Exposition) ที่
แนว Flute มาพัฒนาปรับเปลี่ยนเล็กน้อย ท่อนนี้จะพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Imitation
ห้องที่ 123-128 ในแนว Flute กับแนวบน Piano พบเทคนิค Retrograde ในแนว Flute ห้องที่ 128-
129 และเทคนิค Repetition ที่ห้อง 131-132 ในแนวบน Piano

Motive ที่ 1 พัฒนาปรับเปลี่ยน


Imitation

Retrograde

Repetition
11

ท่อน a′
ท่อน a′ เริ่มที่ห้อง 167-191 โดยทำนองในท่อนนี้จคล้ายกับ ท่อน a เพราะเป็นการนำท่อน a มา
ย้อนความอีกครั้งก่อนที่จะส่งเข้าสู่ช่วง Transition ห้องที่ 192-198 เพื่อจบท่อน B (Development) โดย
ท่อนนี้นั้น จะพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Repetition ที่ห้อง 170-172 ในแนว Flute และ
ห้องที่ 175-178 ในแนวล่าง Piano พบเทคนิค Sequence ห้องที่ 171-173 ในแนว Piano และห้องที่
174-175 ในแนว Flute เทคนิค Imitation ห้องที่ 175-178 ในแนว Flute กับแนวบน Piano
Repetition

Sequence

Sequence
Imitation Imitation

Repetition

ท่อน A (Recapitulation)
ท่อน A เป็นการ Recapitulation หรือที่เข้าใจกันว่า การย้อนความบทเพลง เริ่มที่ห้อง 199-250 ในท่อน
A (Recapitulation) จะเป็นการทำนองตอนต้นมาบรรเลงย้อนความอีกครั้งแต่จะมีการพัฒนาทำนอง
เล็กน้อยและจะมีท่อนย่อย 2 ท่อนเช่นเดียวกับท่อน A (Exposition) ได้แก่ท่อน a และ b แต่ในท่อน b
นั้นจะมีการย้ายบันไดเสียง จากเดิมในท่อน A (Exposition) เป็นบันไดเสียง E minor เปลี่ยนเป็นบันได
เสียง C# minor ซึ่งในท่อน A (Recapitulation) ยังคงได้พบเห็นและได้ยิน Motive ที่ 1 อยู่เหมือนเดิม
โดยรวมแล้วอารมณ์บทเพลงยังคงเหมือนกับท่อน A (Exposition) คือเมื่อฟังแล้วให้ความรู้สึกเพลิดเพลิน
และมีการหยอกล้อ รวมทั้งในเรื่องของเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองก็ยัง คงเหมือนกันกับท่อน A
(Exposition) เหมือนกัน
12

ท่อน Coda
ท่อน Coda เริ่มที่ห้อง 251-269 ท่อนนี้อยู่ในบันไดเสียง E minor ในท่อน Coda จะสังเกตได้ว่าท่อนนี้จะ
นำทำนอง Motive ที่ 1 ของท่อน A (Exposition) ที่ถูกพัฒนาเล็กน้อยมาบรรเลงอีกครั้ง ซึ่งเป็นการสรุป
เพื่อจบท่อน I ซึ่งเมื่อฟังจะรู้สึกถึง กับท่อน A (Exposition) ซึ่งท่อนนี้จะพบเทคนิคการเคลื่อนที่ ของ
ทำนองเทคนิค Repetition ห้องที่ 262-265 ในแนว Flute และแนว Piano

Motive ที่ 1 พัฒนาปรับเปลี่ยน

Repetition

ท่อน II
ท่อน II ท่อนนี้อยู่ในรูปแบบ Ternary Form ซึ่งจะประกอบไปด้วย 3 ท่อน ซึ่งก็คือ ท่อน A, ท่อน B และ
ท่อน A′ โดยในท่อน II นี้ จะมีอารมณ์เพลงที่ฟังแล้ว รู้สึกได้ถึงความสนุก การหยอกล้อ และความรัก ร่วมทั้งโน้ตมี
ความซับซ้อนในการบรรเลงซึ่งจะต้องอาศัยการฝึกซ้อมอย่างชำนาญ ผู้ประพันธ์ได้กำหนดจังหวะในท่อน II มาให้
เป็น Allegretto vivace และมีจำนวนห้องตั้งแต่ห้องที่ 270-434
ท่อน A
ท่อน A เริ่มที่ห้อง 270-368 โดยอยู่ในบันไดเสียง E minor และ G Major ท่อนนี้มีการนำเสนอบทเพลงที่
ให้ความรู้สึก การหยอกล้อ ปั่นป่วน เนื่องจากตรงกับในเรื่องในนวนิยายที่เริ่มขึ้นมาด้วย ภาพวาดของ
Undine ขณะที่เธอโตเป็นสาวแล้ว ซึ่ง เป็นภาพวาดที่วาดออกมาตอน Undine ทำหน้าตลก โดยถูก
13

ถ่ายทอดออกในแนว Flute และแนว Piano บรรเลงหยอกล้อกัน ทำให้บทเพลงฟังแล้วมีการถาม-ตอบ


ระหว่ า ง Soloist และ Accompaniment ในท่ อ นนี ้ จ ะพบเทคนิ ค การเคลื ่ อ นที ่ ข องทำนองเทคนิ ค
Repetition ที่ห้อง 279-281 ในแนว Flute และแนว Piano พบเทคนิค Imitation ห้องที่ 282-283 ใน
แนว Flute กับแนว Piano

ทำนองมีการหยอกล้อกัน

Imitation

Repetition

ต่อมาในห้องที่ 302-303 พบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Imitation ในแนว Flute กับแนว


Piano และพบเทคนิค Inversion ห้องที่ 305-306 ในแนวบน Piano

Inversion

Imitation
14

และพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Inversion แนวบน Piano ห้องที่ 330-331 และห้อง


334-335 รวมทั้งยังพบเทคนิค Repetition ที่ห้อง 334-335 ในแนวล่าง Piano อีกด้วย ในห้องที่ 366-
368 จะเป็นการ Transition เพื่อเข้าสู่ท่อน B

Inversion

Inversion

Repetition

Transition

ท่อน B
ท่อน B เริ่มที่ห้อง 369-402 ท่อนนี้อยู่ในบันไดเสียง B Major มีการนำเสนอบทเพลงที่ให้ความรู้สึกความ
สดใส การตกหลุมรัก และการเจอรักแรกพบ ในท่อนนี้เป็นท่อนที่สำคัญอย่างมากในท่อน II เพราะมี
เนื ้ อ หาเกี ่ ย วกั บ การที่ อ ั ศ วิ น Huldebrand ได้ พ บเจอ Undine ครั ้ ง แรกและตกหลุ ม รั ก ในท่ อ นนี้
ท่วงทำนองจะมีประโยคเพลงที่หวานไรเพราะจับใจเป็นอย่างมาก และจะพบเทคนิคการเคลื่อนที ่ของ
ทำนองเทคนิ ค Inversion แนว Flute ห้ อ งที ่ 369-371 และห้ อ งที่ 377-379 และยั ง พบเทคนิ ค
Repetition ที่ห้อง 369-372 ในแนวบน Piano
15

ประโยคเพลงที่ 1 Inversion

Repetition
Inversion

และพบประโยคเพลงที่ 2 ที่ห้อง 385-392 ในแนว Flute อีกทั้งยังพบเทคนิค Repetition ที่ห้อง 385-


388 ในแนว Piano

ประโยคเพลงที่ 2
Repetition
Repetition
16

ท่อน A′
ท่อน A′ เริ่มที่ห้อง 403-434 ท่อนนี้มีการนำเสนอบทเพลงที่นำทำนองของท่อน A มาพัฒนาเล็กน้อยเพื่อ
ย้อนความอีกครั้งเพื่อเป็นการจบท่อน II ซึ่งท่อนนี้ให้ความรู้สึกเหมือนกันกับท่อน A คือมีความหยอกล้อ
และความปั่นป่วน โดยในท่อนนี้จะพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเพิ่มเติมจากท่อน A คือ เทคนิค
Retrograde ที่ห้อง 408-410 ในแนวล่าง Piano และพบเทคนิค Repetition ที่ห้อง 412-413 ในแนว
Piano อีกทั้งยังพบเทคนิค Imitation ห้องที่ 415-417 ในแนว Flute และแนว Piano

Retrograde

Repetition

Imitation

Imitation
17

ท่อน III
ท่อน III ท่อนนี้อยู่ในรูปแบบ Ternary Form ซึ่งจะประกอบไปด้วย 3 ท่อน ซึ่งก็คือ ท่อน A, ท่อน B และ
ท่อน A′ โดยในท่อน III นี้ จะมีอารมณ์เพลงที่ฟังแล้ว รู้สึกได้ถึง ความรัก และความปั่นป่วน เนื่องจากในท่อนนี้จะ
ตรงกับเนื้อเรื่องในนวนิยาย ตอนงานแต่งงานของ อัศวิน Huldebrand และ Undine ซึ่งในท่อนนี้บทเพลงจะ
เริ่มต้นมาด้วยบรรยากาศของงานแต่งงานซึ่งก็คือท่อน A และในท่อน B จะเป็นเนื้อเรื่องที่เกี่ยวกับการเปิดเผยตัว
ของ Bertalda ว่าเป็นลูกสาวของชาวประมงและก็เกิดเหตุการณ์การปรากฏตัวของวิญญาณน้ำซึ่งทำให้ทุกคนใน
งานตกใจและเกิดเหตุชุลมุนในบทเพลงก็จะให้อารมณ์ความปั่นป่วนซึ่งอยู่ในช่วงท่อน B โดยผู้ประพันธ์ได้กำหนด
จังหวะในท่อน III มาให้เป็น Andante tranquillo และมีจำนวนห้องตั้งแต่ห้องที่ 435-501
ท่อน A
ท่อน A เริ่มที่ห้อง 435- 469 โดยอยู่ในบันไดเสียง G Major ท่อนนี้มีการนำเสนอบทเพลงที่ ให้ความรู้สึก
ถึงความรัก ความอบอุ่น บรรยากาศเช้าวันงานแต่งงาน เนื่องจากตรงกับในเรื่องในนวนิยายที่เริ่มขึ้นมา
ด้วยงานแต่งงานของ Undine และอัศวิน Huldebrand โดยถูกถ่ายทอดออกในแนว Flute และแนว
Piano บรรเลงซัพพอร์ตกัน ในท่อนนี้จะพบทำนอง Motive ที่ 1 ของท่อน III ที่ห้อง 435-436 และพบ
เทคนิ ค การเคลื ่ อ นที ่ ข องทำนองเทคนิ ค Repetition ที ่ ห ้ อ ง 437-438 ในแนว Flute ซึ ่ ง เป็ น การ
Repetition แนวทำนอง Motive ที่ 1 ของท่อน III และพบเทคนิค Imitation ห้องที่ 437-438 ในแนว
Flute กับแนวล่าง Piano

Motive ที่ 1 ท่อน III Repetition

Imitation
18

ต่อมาในห้องที่ 443-447 พบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Imitation ในแนว Flute กับแนวบน


Piano และพบเทคนิค Repetition ห้องที่ 443-446 ในแนว Piano

Imitation

Repetition

ถัดมาพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Repetition ห้องที่ 466-467 ในแนว Flute และแนว


Piano และช่วง Transition ก่อนเข้าสู่ท่อน B ห้องที่ 465-469

Transition

Repetition

ท่อน B
ท่อน B เริ่มที่ห้อง 470-487 ท่อนนี้อยู่ในบันไดเสียง B minor มีการนำเสนอบทเพลงที่ให้ความรู้สึกความ
วุ่นวายและความปั ่นป่วน เนื่องจากเป็น ท่อนที่ ประพันธ์โ ดยอิง จากเรื่ องราวในนวนิย ายตอนที ่ เ กิ ด
เหตุการณ์ชุลมุนที่งานแต่ง ในท่อนนี้จะพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Repetition ที่ห้อง
470-472 ในแนว Piano และห้องที่ 478-480 ในแนว Flute และแนว Piano
19

Repetition

Repetition

Repetition

ท่อน A′
ท่อน A′ เริ่มที่ห้อง 488-501 ท่อนนี้มีการนำเสนอบทเพลงที่นำทำนองของท่อน A มาย่อลงเล็กน้อยเพื่อ
การสรุปของท่อนรวมถึงเป็นการย้อนความอีกครั้งเพื่อเป็นการจบท่อน III ซึ่งท่อนนี้ให้ความรู้สึกเหมือนกัน
กับท่อน A คือมีอารมณ์ความรัก บรรยากาศในเช้าวันแต่งงาน ซึ่งเราจะได้ยินแนวทำนอง Motive ที่ 1
ของท่อน III ปรากฏอยู่ โดยในท่อนนี้จะพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองแบบเดียวกันจากท่อน A คือ
เทคนิค Imitation ห้องที่ 487-492 ในแนว Flute กับแนวบน Piano

Motive ที่ 1 ท่อน III

Imitation

Imitation
20

ท่อน IV
ท่อน IV ท่อนนี้อยู่ในรูปแบบ Rondo Form ซึ่งจะประกอบไปด้วย 6 ท่อน ซึ่งก็คือ ท่อน A (1), ท่อน B,
ท่อน A (2), ท่อน C, ท่อน A (3) และท่อน Coda โดยในท่อน IV นี้ จะประพันธ์เกี่ยวกับเนื้อเรื่องในนวนิยายตอนที่
อัศวิน Huldebrand และ Undine ได้มาออกทริปเที่ยวด้วยกันที่สะพานข้ามแม่น้ำ Danube แต่ก็เกิดปฏิเสธการ
จะแต่ง งานขึ้นมาของ Huldebrand ว่าจะไม่แต่ง งานกับ Undine เพราะเขารับไม่ไ ด้ Undine เป็นเพื่อนกั บ
วิญญาณน้ำ เขากลัวที่ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายทำให้ Undine โกรธและพลัดตกลงไปในแม่น้ำ เขาเลยคิดว่า
เธอคงตายไปแล้วเลยวางแผนแต่งงานใหม่กับ Bertalda ในคืนวันแต่งงานใหม่ของ Huldebrand นั้น Undine
กลับมาอีกครั้งในร่างวิญญาณ แต่สวมหน้ากากและแต่งชุดเจ้าสาว เมื่อ Huldebrand เห็นเขารู้ทันที่ว่า Undine
ยังไม่ตายและไม่ใช่มนุษย์ เขารู้ว่าเขาจะต้องตาย เขาจึงขอร้องให้ Undine แสดงใบหน้าของเธอให้เขาเห็น เธอ
เปิดเผยตัวเองและฆ่าเขาด้วยการจูบเมื่อฟังท่อนนี้แล้วจะรู้สึกถึงอารมณ์เพลงที่มี ความสับสน ความโกรธ ความคับ
แค้นใจ และการยอมตาย ร่วมทั้งโน้ตมีความซับซ้อนในเรื่องการบรรเลงซึ่งจะยากในการตีความอารมณ์ของบท
เพลง จึงต้องใช้เวลาศึกษาและฝึกซ้อมเป็นอย่างมาก โดยผู้ประพันธ์ได้กำหนดจังหวะในท่อน IV มาให้เป็น Allegro
molto agitato ed appassionato และมีจำนวนห้องตั้งแต่ห้องที่ 502-818
ท่อน A (1)
ท่อน A (1) เริ่มที่ห้อง 502-553 ท่อนนี้อยู่ในบันไดเสียง E minor ท่อนนี้มีการนำเสนอบทเพลงที่ ให้
ความรู้สึกสับสน ความไม่มั่นใจ และเร่งรีบ และเริ่มต้นนำเสนอโดย Flute และ Piano ทำหน้าบรรเลงเร่ง
เร้าอารมณ์ของบทเพลงให้ดูมีความเร่งรีบ ทำให้บทเพลงฟังแล้วมีการถาม-ตอบระหว่าง Soloist และ
Accompaniment ในท่อนนี้จะพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Repetition ที่ห้อง 502-504
ในแนว Flute และแนว Piano พบเทคนิค Sequence ห้องที่ 502-505 ในแนว Piano

Repetition

Sequence

Repetition

Sequence
21

ต่อมาในห้องที่ 529-532 พบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Repetition ในแนวล่าง Piano พบ


เทคนิค Sequence ห้องที่ 529-531 ในแนว Piano ส่วนในแนว Flute กับแนวบน Piano พบเทคนิค
Imitation ที่ห้อง 530-531

Imitation
Sequence

Repetition

ถัดมาพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Repetition ห้องที่ 541-542 และห้อง 544-545 ในแนว


บน Piano พบเทคนิค Sequence ห้องที่ 543-546 ในแนวบน Piano และพบเทคนิค Retrograde ที่
ห้อง 544-546 ในแนวล่าง Piano

Repetition
Sequence Sequence

Repetition

Retrograde

ท่อน B
ท่อน B เริ่มที่ห้ อง 554-644 ท่อนนี้อยู่ ในบันไดเสียง E minor ท่อนนี้มีการนำเสนอบทเพลงที ่ ให้
ความรู้สึกเหมือนกับคนกำลังพูดคุยเจรจาทำความเข้าใจกันแต่สุดท้ายก็ไม่สมารถเข้าใจกันได้ อารมณ์เพลง
ที่ออกมาจึงมีทั้ง ความเนิบๆ ความปั่นป่วน โดยในท่อนนี้มีการนำเอาทำของท่อน A มาพัฒนาและนำมา
ผสมเล็กน้อยซึ่งจะรับรู้ได้จากทำนองหลักที่ Flute บรรเลง และพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค
22

Repetition ห้องที่ 541-542 และห้อง 559-562 ในแนว Flute และแนวบน Piano อีกทั้ง พบที่แนว
piano ห้อง 563-564 พบเทคนิค Sequence ห้องที่ 559-562 ในแนวล่าง Piano และห้องที่ 563-564
ในแนว Flute

Repetition Sequence

Sequence Repetition

ต่อมาในห้องที่ 571-576 พบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิ ค Sequence ในแนว Flute พบ


เทคนิค Repetition ในแนวล่าง Piano ห้องที่ 571-576 และพบเทคนิค Retrograde ที่ห้อง 573-574
ในแนวบน Piano

Sequence Sequence
Retrograde

Repetition Repetition Repetition

ท่อน A (2)
ท่อน A (2) เริ่มที่ห้อง 645-687 ท่อนนี้อยู่ในบันไดเสียง E minor ท่อนนี้มีการนำเสนอบทเพลงที่ ให้
ความรู้สึกสับสน ความไม่มั่นใจ และเร่งรีบ และเริ่มต้นนำเสนอโดย Flute และ Piano ทำหน้าบรรเลงเร่ง
เร้าอารมณ์ของบทเพลงให้ดูมีความเร่งรีบ ทำให้บทเพลงฟังแล้วมีการถาม-ตอบระหว่าง Soloist และ
23

Accompaniment ในท่อนนี้จะพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเหมือนกับท่อน A (1) กล่าวคือ ท่อน A


(2) เหมือนกันกับท่อน A (1)

ท่อน C
ท่อน C เริ่มที่ห้อง 688-747 ท่อนนี้อยู่ในบันไดเสียง C# minor และ Ab Major ในท่อนนี้มีการนำเสนอ
บทเพลงที่ ให้ความรู้สึกสับสน ความปั่นปวน และความคับแค้นใจ เนื่องจากในท่อนนี้จะตรงกับเนื้อหาใน
นิ ย ายตอนที ่ Undine กำลั ง จะกลั บ มาหา Huldebrand ที ่ ง านแต่ ง งานใหม่ข อง Huldebrand ด้ ว ย
อารมณ์ที่ทั้งรักทั้งแค้นใจ ที่ Huldebrand ปฏิเสธการแต่งงานและไปแต่งงานใหม่กับอีกคน ในท่อนนี้เมื่อ
ฟังแล้วจะสังเกตได้ว่าในท่อนนี้จะมีการบรรเลงสลับกันระหว่างประโยคเพลงที่ Flute และ Piano บรรเลง
ซึ่งเมื่อบรรเลงจบประโยคก็จะสลับแนวประโยคและบรรเลงต่อเนื่อง รวมทั้งในแนวของทำนองจะพบว่ามี
กลิ่นไอของทำนองในท่อน A(1) ด้วยในแนวใน Piano โดยทำนองถูกพัฒนาทำนองมาแล้ว และพบเทคนิค
การเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Repetition ที่ห้อง 688-690 ในแนวล่าง Piano และพบอีกในห้องที่
692-695 ในแนว Piano

ทำนองในท่อน A(1) ถูกพัฒนาทำนอง

Repetition

Repetition
24

ต่อมาพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนอง Flute พบเทคนิค Repetition ห้องที่ 738 -739 ในแนว Piano


เทคนิค Sequence ห้องที่ 740-747 ในแนว Flute และแนว Piano

Repetition

Sequence

Sequence

Sequence

ท่อน A (3)
ท่อน A (3) เริ่มที่ห้อง 748-779 ท่อนนี้อยู่ในบันไดเสียง E minor ท่อนนี้มีการนำเสนอบทเพลงที่ ให้
ความรู้สึกสับสน ความไม่มั่นใจ และเร่งรีบ และเริ่มต้นนำเสนอโดย Flute และ Piano ทำหน้าบรรเลงเร่ง
เร้าอารมณ์ของบทเพลงให้ดูมีความเร่งรีบ ทำให้บทเพลงฟังแล้วมีการถาม-ตอบระหว่าง Soloist และ
Accompaniment ในท่อนนี้จะพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเหมือนกับท่อน A (1) และทำนองหลัก
ในท่อน A (1) จะถูกย่อลงมาอยู่ในท่อนนี้ เพื่อเป็นการสรุปจบท่อนก่อนส่งเข้าสู่ท่ อน Coda เพื่อจบบท
เพลง

ท่อน Coda
ท่อน Coda เริ่มที่ห้อง 780-818 ท่อนนี้อยู่ ในบันไดเสียง E Major ท่อนนี้มีการนำเสนอบทเพลงที่ให้
ความรู้สึกความรักที่มีความคับแค้นใจ โดยถูกถ่ายทอดโดยทำนองที่ช้าซึ้ง แต่มีความแค้นหลบฝังอยู่ ใน
ท่วงทำนอง และในท่อน Coda เอาทำนองหลักต่าง ๆ ในท่อน I ท่อน II ท่อน III รวมทั้งท่อน IV ด้วย ซึ่ง
จะถูกนำมาพัฒนาและผสมและย่ออยู่ในท่อนนี้เพื่อเป็นการสรุปจบบทเพลง โดยในท่อนนี้จะประพันธ์อิง
25

จากเนื้อหาในนวนิยายในตอนที่ Undine กลับมาอีกครั้ง ในร่างวิญญาณ แต่สวมหน้ากากและแต่งชุด


เจ้าสาว เมื่อ Huldebrand รู้ว่า Undine ยังไม่ตายและไม่ใช่มนุษย์ เขารู้ว่าเขาจะต้องตาย เขาจึงขอร้อง
ให้ Undine แสดงใบหน้าของเธอให้เขาเห็น เธอเปิดเผยตัวเองและฆ่าเขาด้วยการจูบ ในท่อน Coda ท่อน
นี้จะพบเทคนิคการเคลื่อนที่ทำนองเทคนิค Inversion ห้องที่ 790-792 ในแนว Flute และพบเทคนิค
Repetition ห้องที่ 790-792 ในแนวบน Piano

Inversion Inversion

Repetition

ต่อมาพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Sequence ห้องที่ 805-809 ในแนว Flute และพบ


เทคนิค Inversion ห้องที่ 809-810 ในแนว Flute อีกทั้งยังพบเทคนิค Repetition ห้องที่ 806 -809 ใน
แนว Piano

Sequence Inversion

Repetition
26

แผนผังโครงสร้าง Form ของบทเพลง Flute Sonata Undine (Op.167)


27

2. การวิเคราะห์จังหวะ (Rhythm)
ความเร็วจังหวะ (Tempo) หมายถึงความช้าหรือความเร็วของบทเพลงนั้น โดยผู้ประพันธ์เพลงเป็น ผู้
กำหนดขึ้น การกำหนดอัตราความเร็วของจังหวะ มีการกำหนดศัพท์ขึ้นมาใช้โดยเฉพาะ โดยจะเขียนอยู่บนและ
ตอนต้นของบทเพลง ตัวอย่างคำศัพท์ที่กำหนดความเร็วจังหวะในบทเพลง Flute Sonata Undine (Op.167) เช่น
Andante = ช้าพอประมาณ, Allegro = เร็ว, Allegretto vivace = ค่อนข้างเร็วมีชีวิตชีวา, Presto เร็วมาก
โดยทั่วไปในทางดนตรีสามารถจำแนกอัตราจังหวะได้ 2 ประเภทคือ อัตราจังหวะธรรมดา (Simple Time
Signatures) และอัตราจังหวะผสม (Compound Time Signatures)
28

ในบทเพลง Flute Sonata Undine (Op.167) ผู ้ ป ระพั น ธ์ ไ ด้ กำหนดอั ต ราจั ง หวะมาในอั ต ราจัง หวะ
ธรรมดาได้แก่ 2/4 (ตามรูปภาพประกอบกรอบสีเหลือง), 4/4 (ตามรูปภาพประกอบกรอบสีฟ้า ) , 6/8 (ตาม
รูปภาพประกอบกรอบสีแดง)
29

3. การพักประโยค (Cadence)
การพักประโยค (Cadence) คือ ท่อนจบของประโยคเพลงในแต่ละท่อน ซึ่ง สิ่งที่บ่งบอกชนิดของเคเดนซ์
คือ คอร์ด 2 คอร์ดสุดท้าย ถ้าทราบว่า 2 คอร์ดสุดท้ายคือคอร์ดอะไรบ้าง ก็จะทำให้ทราบชนิดของเคเดนซ์ น้ำหนัก
ของการดำเนินคอร์ดจากคอร์ดแรกไปเป็นตัวกำหนดน้ำหนักของเคเดนซ์ นักแต่งเพลงในยุคโรแมนติก นิยมเคเดนซ์
ที่มีน้ำหนักเบาลง ต่างจากนักแต่งเพลงในยุคบาโรก และคลาสสิกที่ชอบใช้เคเดนซ์ที่มีความหนักแน่นในการจบ
ประโยค จบตอน จบท่อน หรือจบเพลงเคเดนซ์ชนิดต่างๆจะมีน้ำหนักลดหลั่นตามลำดับจาก
บทเพลง Flute Sonata Undine (Op.167) จะพบการพั ก ประโยคอยู่ 1 ประเภท ได้ แ ก่ Plagal
Cadence (PC) ซึ่งพบในบทเพลงตามท่อน ดังนี้
ท่อน I พบการพักประโยคกึ่งปิด หรือ Plagal Cadence (PC) ห้องที่ 268-269 ประกอบด้วย คอร์ดที่ iv
คือคอร์ด A minor (ตามรูปภาพประกอบกรอบสีฟ้า ) และคอร์ดที่ i คือคอร์ด E minor (ตามรูปภาพประกอบ
กรอบแดง)

4. บันไดเสียง หรือ คีย์ของเพลง (Key Signature)


เครื่องหมายประจำกุญแจเสียง หรือเครื่องหมายกำหนดบันไดเสียง หรือเครื่องหมายตั้งบันไดเสียง (Key
Signature) คือชุดของเครื่องหมายชาร์ปหรือแฟลตที่ได้ถูกบันทึกไว้ตอนต้นของบทเพลงต่อจากกุญแจและอยู่ก่อน
ตัวเลขกำกับจังหวะ หรือเครื่องหมายประจำจังหวะ หรือเครื่องหมายกำหนดจังหวะ(Time Signature) เพื่อบอกให้
รู้ว่าโน้ตเพลงที่บันทึกไว้นั้นอยู่ในกุญแจเสียง(คีย์)ใด
บทเพลง Flute Sonata Undine (Op.167) มีการใช้คีย์หรือบันไดเสียงทั้งหมด 7 บันไดเสียง ได้แก่
1. บันไดเสียง E minor ซึ่งเป็นบันไดเสียงหลักของบทเพลง ซึ่งจะอยู่ในท่อน I ท่อน II และท่อน IV
30

2. บันไดเสียง E Major ซึ่งเป็นบันไดเสียงรอง ซึ่งจะอยู่ในท่อน IV


3. บันไดเสียง B minor ซึ่งเป็นบันไดเสียงรอง ซึ่งจะอยู่ในท่อน III
4. บันไดเสียง B Major ซึ่งเป็นบันไดเสียงรอง ซึ่งจะอยู่ในท่อน II
5. บันไดเสียง G Major ซึ่งเป็นบันไดเสียงรอง ซึ่งจะอยู่ในท่อน II และท่อน III
6. บันไดเสียง C# minor ซึ่งเป็นบันไดเสียงรอง ซึง่ จะอยู่ในท่อน I และท่อน IV
7. บันไดเสียง Ab Major ซึ่งเป็นบันไดเสียงรอง ซึง่ จะอยู่ในท่อน IV
บรรณานุกรม

กิตติคุณ จันทร์เกษ . (2562). เทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนอง. เอกสารประกอบการสอนวิชา Forms


and Analysis of Western Music, มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2560). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหำนคร: สำนักพิมพ์
เกศกะรัต, 221 หน้า.
Carl Reinecke. (The Editors of Encyclopaedia Britannica). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://www.britannica.com/biography/Carl-Reinecke .(วันที่ค้นข้อมูล : 18 ตุลาคม 2564)
Carl Reinecke. (ไม่ระบุ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://en.wikipedia.org/wiki/Carl_Reinecke .(วันที่ค้นข้อมูล : 18 ตุลาคม 2564)
Carl Reinecke (Aryeh Oron). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://www.bach-cantatas.com/Lib/Reinecke-Carl.htm .(วันที่ค้นข้อมูล : 18 ตุลาคม 2564)
Program Notes – Reinecke Undine Sonata. (ไม่ระบุ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://peterbartelsflute.com/uncategorized/program-notes-reinecke-undine-sonata/ .(วันที่ค้น
ข้อมูล : 18 ตุลาคม 2564)
Sonata Undine, Op. 167. (International Music Foundation.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://www.classicalconnect.com/Flute_Music/Reinecke/Flute_Sonata_Undine/1473 .(วันที่ค้น
ข้อมูล : 18 ตุลาคม 2564)

You might also like