คำแนะนำในการจัดทำบทความสำหรับการประชุมวิชาการระดับชาติ

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 15

หน้า 1

ปัจจัยที่มีผลต่อราคาสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency)
โศภิน ถนอมเพ็ชรสง่า ผศ.ดร. วรรณรพี บานชื่นวิจิตร
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
sophin.st@gmail.com
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ถนนวิภาวดีรังสิต เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
dr.wanrapee@gmail.com

บทคัดย่อ
บิทคอยน์และอิเทอเรียมเป็นเงินดิจิทัล 2 สกุลหลักที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดเป็น 2
อันดับแรกในตลาดของเงินดิจิทัล ปัจจุบันสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการพูดถึงในสังคมการเงินและธุรกิจ
บริษัทต่างๆมีการนาเทคโนโลยีบล็อคเชนซึ่งเป็นเทคโนโลยีเบื้องหลัง ของเงินดิจิทัลมาพัฒนาและ
ประยุกต์ใช้กับ ธุร กิจ ของตนเอง ทาให้มีการเติบโตของเงินดิจิทัลเป็นอย่างมาก วัตถุประสงค์ ข อง
การศึกษาในครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ S&P 500 Index, Nikkei 225 Index, ราคา
ทองในตลาดโลก, ราคาน้ามันในตลาดโลก ปริมาณการค้นหาคาศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัล ใน
Google, ปริมาณการทาธุรกรรมของเงินดิจิทัล และ ปริมาณธุรกิจที่ทาการเสนอขายเหรียญในระยะ
เริ่มต้น ที่มีผลต่อราคาสกุลเงินดิจิทัล โดยในการศึกษาครั้งนี้ จะทาการศึกษาสกุลเงินดิจิทัลที่เป็นสกุล
เงินหลักในปัจจุบัน ได้แก่ บิทคอยน์ และ อิเทอเรียม โดยใช้การวิเคราะห์ในรูปสมการถดถอยเชิงซ้อน
เพื่อหาความสัมพันธ์ตัวแปร จากผลการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อราคาบิทคอยน์ คือ
ปริมาณการค้นหาคาว่า “Bitcoin” ใน Google และ ปัจจัยที่มีผลต่อราคาอิเทอเรียม คือ ปริมาณเงิน
ระดมทุนที่ทาการเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น, ปริมาณในการทาธุรกรรมของเงินอิเทอเรียม โดย
ปัจจัยดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับเงินดิจิทัลในทิศทางเดียวกัน
คาสาคัญ: บิทคอยน์, อิเทอเรียม, เงินดิจิทัล, บล็อคเชน

Abstract

Bitcoin and Ethereum is the main cryptocurrencies which are the most 2
value of cryptocurrency market capital. Currently, cryptocurrencies are the assets
that has been mentioned widely in social of finance and business. Many
companies actively research blockchain technology which is the background of
หน้า 2

cryptocurrency to develop with their business which make cryptocurrency market


growing continuously. The objective of this research aim to study economic
factors such as S&P 500 Index, Nikkei 225 Index, Gold spot and Brent oil futures
including amount of searching words which concern to cryptocurrency in google
and amount of cryptocurrency transaction factor and amount of business who
issue Initial coin offering factor that affect to main cryptocurrencies which consist
of Bitcoin and Ethereum. This research uses complex regression analysis to find
the relation of each factors mentioned above. The result of this research found
that amount of searching “ Bitcoin” word in google affect to Bitcoin price and
amount of cryptocurrency transaction factor and amount of business who issue
Initial coin offering factor affect to Ethereum price in same direction.
Keywords: Bitcoin, Ethereum, cryptocurrency, blockchain

1.บทนา
ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา
ในปัจจุบันเมื่ออินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย รวดเร็ว และสามารถติดต่อ
สื่อการกับผู้อื่นได้ทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน สิ่งนี้จึงทาให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อ
กันกับบุคคลทั่วโลก เป็นสังคมของคนบนโลกออนไลน์ โดยสังคมดังกล่าวได้มีการตระหนักและเห็น
ความสาคัญของคาว่า การกระจายศูนย์ (decentralize) โดยการกาจัดคนกลางออกจากระบบ เพื่อ
สร้างความโปร่งใส ปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ และ ความมั่นคงให้กับการเก็บข้อมูลที่มีความสาคัญ อีก
ทั้งยังสามารถช่วยลดต้นทุนในการทาธุรกรรมต่างๆได้อีกด้วย โดยการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า บล็อค
เชน (blockchain) เทคโนโลยีบล็อคเชนนั้นเป็นเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังของเงินดิจิทัล
(cryptocurrency) ที่มีการพูดถึงอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เงินดิจิทัลไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ใน
ประเทศใดประเทศหนึ่ง สังคมใดสังคมหนึ่ง แต่เงินดิจิทัลนั้นถูกสร้างมาเพื่อใช้กันได้ทั่วโลก นอกจาก
เงินดิจิทัลสามารถใช้แลกเปลี่ยนระหว่างกันแทนเงินสดแล้ว (fiat currency) ยังสามารถใช้เก็งกาไร
จากค่าเงินดังกล่าวได้อีกด้วย ถึงแม้ว่าเงินดิจิทัลนั้นไม่ได้มีสินทรัพย์อ้างอิงจาก ทอง หรือน้ามัน
เช่นเดียวกับสกุลเงินสดที่เราใช้ในปัจจุบัน จึงทาให้ราคาของสกุลเงินดิจิทัลมีความผันผวนของราคา
เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของราคาเงินดิจิทัลนั้น อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
ตลาดทุนของประเทศขนาดใหญ่ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ของตลาดโลกและพฤติกรรมการใช้งานของ
บุคคลที่สนใจในเงินดิจิทัล
หน้า 3

2.แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
กฎอุปสงค์ (Law of Demand) และอุปทาน (Law of Supply)
กฎอุปสงค์ (Law of Demand) และอุปทาน (Law of Supply) เป็นหลักการที่อธิบาย
ความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณความต้องการซื้อหรือขาย โดยกฎอุปสงค์ระบุว่า ปริมาณความ
ต้องการซื้อสินค้า หรือเรียกว่าปริมาณอุปสงค์ (quantity demanded) มีความสัมพันธ์ในทางลบกับ
ราคา เมื่อปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลนั้นคงที่ กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะต้อง
การซื้อสินค้านั้นน้อยลง กฎอุปทานระบุว่า ปริมาณสินค้าที่ต้องการขาย หรือปริมาณอุปทาน
(quantity supplied) มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับราคา เมื่อปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลนั้นคงที่ กล่าวคือเมื่อ
ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ผู้ขายมีแนวโน้มที่จะต้องการขายสินค้ามากขึ้น

ภาพที่ 1 : ภาพแสดงเส้นอุปสงค์และอุปทาน ที่มา :https//:th.wikipedia.org/wiki


ด้วยเหตุที่ทรัพยากรที่มีค่าบนโลกมีอยู่อย่างจากัด ดังนั้นของสิ่งใดที่มีอรรถประโยชน์สูงและ
ความต้องการมากราคาจึงสูงตาม สิ่งนี้เป็นปัจจัยในการกาหนดราคาและความต้องการของผู้ซื้อ ราคา
ของเงินดิจิทัลถูกกาหนดด้วยอุปสงค์และอุปทานในตลาดโลก เช่น ความเชื่อมั่นในมูลค่าของระบบ
ความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ความรวดเร็วและความสะดวกในการใช้งาน ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้จึงส่งผล
ให้เงินดิจิทัลเป็นที่สนใจของตลาดเนื่องจากตอบโจทย์ในเรื่องของการดารงชีวิตและความก้าวหน้าของ
เทคโนโลยีในปัจจุบัน และกลายเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าและมีโอกาสที่จะนาไปใช้แทนเงินในอนาคต
ต่อไป
หน้า 4

เงินดิจิทัล
ในการศึกษาครั้งนี้จะทาการศึกษาเงินดิจิทัล 2 สกุลหลักที่เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป โดยมี
รายละเอียดตังต่อไปนี้
บิทคอยน์ เป็นเงินตราในรูปแบบดิจิทัลที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยคนหรือกลุ่มบุคคลซึ่งใช้นามแฝงว่า
“ซาโตชิ นากาโมโตะ” มีการเริ่มต้นใช้งานเป็นครั้งแรกในปี 2553 มีชื่อย่อของสกุลเงินคือ “BTC” เป็น
เงินตราในรูปแบบที่ต้องใช้การเข้ารหัสในการควบคุมการสร้างและโอนเงิน ด้วยเทคโนโลยีบล็อคเชน
ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่เงินไม่ได้ถูกควบคุมโดยธนาคารหรือตัวกลาง ตัวเงินตรา รวมถึงสถาบัน
ศูนย์กลางใดๆ และไม่ได้ถูกจากัดการใช้งานเพียงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่สามารถทาธุรกรรมข้ามทวีป
กันได้ในเวลาเพียงแค่ไม่กี่นาที
อิเทอเรียม เป็นเงินตราในรูปแบบดิจิทัลที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์ชาวรัสเซีย ชื่อว่า
“ Vitalik Buterin” โดยเกิดขึ้นมาในปี 2556 มีชื่อย่อของสกุลเงินคือ “ETH” ด้วยความสามารถอัน
โดดเด่นของ อิเทอเรียม ทีส่ ามารถนาไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายธุรกรรม โดยเฉพาะการเป็นฐานใน
การระดมทุนทา ICO (Initial Public Offering) ของเงินดิจิทัลสกุลใหม่ ๆ ทั่วโลก อิเทอเรียม เป็น
ระบบสัญญาอัจฉริยะแบบกระจายศูนย์ (Smart contract decentralized platform) ซึง่ มีเทคโนโลยี
บล็อคเชน เป็นพื้นฐานเช่นเดียวกับ บิทคอยน์ และยังมีความสามารถให้ผู้ใช้สร้างบล็อคเชนของตัวเอง
เพื่อประยุกต์ใช้ในธุรกิจต่างๆนอกเหนือจากการเป็นเงินตราได้ ซึ่งสกุลเงินดิจิทัลส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นนั้น
เกิดขึ้นโดยการสร้างบน อิเทอเรียมบล็อกเชน
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
Van Wijk (2013) ศึกษาตัวแปรทางการเงินที่มีผลต่อราคาบิทคอยท์ โดยใช้สมการ
ความสัมพันธ์ ด้วยวิธีการสร้างสมการเชิงถดถอย (Multiple Linear Regressions) ด้วยวิธีกาลังสอง
น้อยที่สุด (Ordinary Least Squares :OLS) โดยพิจารณาถึงตัวแปรต่างๆ ได้แก่ Dow Jones Index,
NASDAQ, FTSE 100 Index, Nikkei 225 Index, อัตราแลกเปลี่ยนของเงินเยนและเงินยูโรต่อ US.
Dollar, Brent oil price, WTI oil price และ CMCI oil index จากการศึกษาพบว่า Dow Jones
Index, อัตราแลกเปลี่ยนของเงินยูโรต่อ US. Dollar และราคาน้ามัน มีผลกระทบต่อราคาบิทคอยน์
อย่างมีนัยสาคัญ
Erik Parlstrand, Otto Ryden (2015) ศึกษาราคาเงินดิจิทัลในตลาด ได้แก่ บิทคอยน์ ริป
เปิ้ล (Ripple) และ ไลท์คอยน์ (Litecoin) โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple
Regression) จากกการศึกษาพบว่า ปริมาณการค้นหาใน Google มีผลเป็นอย่างมากต่อสกุลเงิน
ดิจิทัล โดยเฉพาะบิทคอยน์ และ ไลท์คอยน์ ผลที่ได้บิทคอยน์และไลท์คอยน์นั้นมีความคล้ายคลึงกัน
เนื่องจากเงินสกุลดังกล่าวมีโครงสร้างที่เหมือนกัน ทั้งนี้ปริมาณการค้นหาใน Google สามารถวัดได้ถึง
หน้า 5

ปริมาณอุปสงค์ของการใช้งานระบบบล็อคเชน โดยไม่พบความสัมพันธ์ของ S&P500 Index, Nikkei


225 Index, ราคาน้ามัน และ ราคาทอง ราคากับสกุลเงินดิจิทัลดังกล่าว
Pavel Ciaian, Miroslava Rajcaniova และ d’Artis Kancs (2016) ศึ ก ษาปั จ จั ย ทาง
เศรษฐศาสตร์ที่มีผลต่อราคาบิทคอยน์ โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression)
พบว่าอุป สงค์และอุป ทานของตลาด ความสนใจของนักลงทุน นั้น มีผ ลต่อราคาบิทคอยน์อย่ า งมี
นัยสาคัญ เช่น ยอดการค้นหาใน Wikipedia, ปริมาณในการทาธุรกรรมของเงิน บิทคอยน์, จานวน
บัญชีการผู้ใช้งานบิทคอยน์, จานวนสมาชิกใหม่และจานวนกระทู้ใหม่ในเวปไซต์ bitcointalk.org และ
ไม่พบความสัมพันธ์กันของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจมหภาค เช่น Dow Jones Index อัตรา
แลกเปลี่ยนของเงินยูโรต่อ US. Dollar และ ราคาน้ามัน
Pradipta Kumar (2017) กล่าวว่า การเติบโตของการทาธุรกรรมด้วยบิทคอยน์มีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้น โดยผู้คนบางกลุ่มให้ความสนใจบิทคอยน์เกี่ยวกับเทคโนโลยีของมัน บางกลุ่มให้ความสนใจ
เกี่ยวกับการนามันมาใช้ประยุกต์เชิงพาณิชย์ ซึ่งเทคโนโลยีของบิทคอยน์นั้น มีความใหม่ และน่าสนใจ
แต่จากการศึกษาพบว่ามีความผันผวนของราคาสูงซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นค่าเงินที่มีการเก็งกาไรสูง ด้วยเหตุนี้
เองรัฐบาลส่วนมากยังไม่รับรองให้บิทคอยน์เป็นสินทรัพย์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถ้าในอนาคตบิท
คอยน์สามารถแสดงให้เห็นว่าเป็นค่าเงินที่มีเสถียรภาพ ก็จะถูกยอมรับได้โดยไม่ยาก อีกทั้งยังเชื่อว่าใน
ระยะยาวความศรัทธาของผู้คนในเทคโนโลยีของเงินดิจิทัลจะมีมากขึ้น
Sukmawati Sukamulja (2018) ศึกษาตัวแปรทางการเงินที่มีผลต่อราคาบิทคอยท์ โดยใช้
สมการความสัมพันธ์ โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) ด้วยวิธี Vector
Error Correction Model (VECM)โดยพิจารณาถึงตัวแปรต่างๆ ได้แก่ อุปสงค์และอุปทานของบิท
คอยน์, ราคาทอง และ Dow Jones Index จากการศึกษาพบว่า อุปสงค์ของบิทคอยน์, ราคาทอง และ
Dow Jones Index มีผลต่อราคาบิทคอยน์
3.ระเบียบวิธีการศึกษา
จากการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อราคาสกุลเงินดิจิทัล ได้แก่ บิทคอยท์และอิเทอเรียม
โดยการประมวลข้อมูลและนามาทดสอบสมมติฐาน ซึ่งผู้ศึกษาได้กาหนดแนวทางในการศึกษา ดังมี
รายละเอียดในเรื่องของประชากรกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา การเก็บ
รวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนาเสนอข้อมูลดังต่อไปนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลของ ดัชนีตลาดทุน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ของตลาดโลก พฤติกรรม
การใช้งานของบุคคลที่สนใจในเงินดิจิทัล และปริมาณธุรกิจที่ทาการเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น
โดยเป็นข้อมูลแบบทุติยภูมิ (Secondary data) โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นข้อมูลราคาปิดรายสัปดาห์ ตั้งแต่
วันที่ 2 สิงหาคม 2558 จนถึง 17 มิถุนายน 2561
หน้า 6

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
ศึ ก ษาราคาซื้ อ ขายของบิ ท คอยน์ แ ละอิ เ ทอเรี ย ม ด้ ว ยวิ ธี ก ารสร้ า งสมการเชิ ง ถดถอย
(Multiple Linear Regressions) ด้วยวิธีกาลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares :OLS) ซึ่งมี
แบบจาลองทั่วไป โดยแบ่งเป็นเงินสกุลบิทคอยน์และอิเทอเรียมดังนี้
Ybtc = C + C1X1 + C2X2 + C3X3 + C4X4 + C5X5 + C6X6 + C7X7
Yeth = C + C1X1 + C2X2 + C3X3 + C4X4 + C5X5 + C6X6 + C8X8
ตัวแปรการศึกษา
Ybtc = ราคาปิดของราคาสกุลเงินบิทคอยน์ i ณ เวลา t
Yeth = ราคาปิดของราคาสกุลเงินอิเทอเรียม i ณ เวลา t
X1 = S&P 500 Index
X2 = Nikkei 225 Index
X3 = ราคาทองในตลาดโลก-Gold spot (USD)
X4 = ราคาน้ามันในตลาดโลก-Brent oil futures (USD)
X5 = ปริมาณการค้นหาคาว่า “Bitcoin” ใน Google (จานวนครั้ง)
X6 = ปริมาณเงินระดมทุนที่ทาการเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น (MMUSD)
X7 =ปริมาณในการทาธุรกรรมของเงินบิทคอยน์(จานวนครั้ง)
X8 = ปริมาณในการทาธุรกรรมของเงินอิเทอเรียม (จานวนครั้ง)

หมายเหตุ : การนาปริมาณการค้นหาคาว่า “Bitcoin” ใน Google มาใช้พิจารณาในการหา


ความสัมพันธ์กับสกุลเงินอิเทอเรียม เนื่องจาก “Bitcoin” เป็นเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าทางตลาด ซึ่งบุคคล
ที่สนใจที่เข้ามาสนใจเงินดิจิทัลนั้นจะรู้จักและคุ้นเคยกับคาว่า “Bitcoin” ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงใช้
การค้นหาคาว่า “Bitcoin” เป็นตัวแทนของความสนใจในเงินดิจิทัลกับสกุลเงินอิเทอเรียมด้วย
การเก็บรวบรวมข้อมูล
- S&P 500 Index และ Nikkei 225 Index: https://finance.yahoo.com
- ราคาทองในตลาดโลกและราคาน้ามันในตลาดโลก: https://www.investing.com
- ปริมาณการค้นหาคาว่า “Bitcoin” ใน Google:
https://trends.google.com/trends
https://www.siegemedia.com/seo/most-popular-keywords
- ปริมาณในการทาธุรกรรมของเงินอิเทอเรียม: https://etherscan.io/charts/
-ปริมาณเงินระดมทุนที่ทาการเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น:
https://www.coindesk.com/ico-tracker/
หน้า 7

- ปริมาณในการทาธุรกรรมของเงินบิทคอยน์: https://www.blockchain.com/charts/
การวิเคราะห์ข้อมูล
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นการทดสอบถึงตัวแปรที่มีผล
ต่อราคาของสกุลเงินดิจิทัล โดยมีขั้นตอนการพิจารณาโดยการใช้สมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple
Regressions) ด้วยวิธีกาลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares :OLS) ดังนี้
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ค่าสถิติเบื้องต้นเพื่อดูค่าสูงสุ ด (Maximum) ค่าต่าสุด (Minimum)
ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (Standard Deviation : SD) ของตัวแปรอิสระและ
ตัวแปรตาม
ขั้น ที่ 2 ทดสอบความนิ่ ง ของข้ อ มูล (Unit Root Test) โดยใช้วิธี Augmented Dickey-
Fuller
ขั้นที่ 3 ตรวจสอบปัญหาความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างตัวแปรอิสระ (Multicollinearity)
ขั้นที่ 4 การสร้างสมการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรต้น กับตัวแปรตามภายใต้สมมติฐาน
ที่ตั้งไว้ โดยใช้สถิติ F (F-Statistic) และ สถิติ T (T-Statistic) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง x กับ
y อย่ า งมี นั ย ส าคั ญ ของเงิ น สกุ ล เงิ น ดิจิ ทั ล ที่ ท าการศึ ก ษา มี จ านวน 2 สกุ ล คื อ บิ ท คอยน์ แ ละอิ
เทอเรียม
ขั้นที่ 5 ตรวจสอบคุณสมบัติของความคลาดเคลื่อน 2 ประการ ดังนี้
- การตรวจสอบปัญหาความแปรปรวนไม่คงที่ของความคลาดเคลื่อน
(Heteroskedasticity) โดยใช้วิธี White Heteroskedasticity โดยใช้แบบมี Cross-term
- การตรวจสอบปัญหาความสัมพันธ์กันเองของความคลาดเคลื่อน (Autocorrelation)
โดยวิธี Breusch-Godfrey Serial Correlation LM Test

4.ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
นาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนการศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อราคาบิทคอยน์และอิ
เทอเรียม โดยใช้รูปแบบสมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Linear Regression) ซึ่งใช้ข้อมูลเพื่อ
ทดสอบสมมติฐานว่าเป็นไปตามสมมติฐานจากแบบจาลองที่ตั้งไว้หรือไม่ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นข้อมูล
รายสัปดาห์ของตัวแปร ต่างๆดังต่อไปนี้
X1 = S&P 500 Index
X2 = Nikkei 225 Index
X3 = ราคาทองในตลาดโลก-Gold spot (USD)
X4 = ราคาน้ามันในตลาดโลก-Brent oil futures (USD)
X5 = ปริมาณการค้นหาคาว่า “Bitcoin” ใน Google (จานวนครั้ง)
หน้า 8

X6 = ปริมาณเงินระดมทุนที่ทาการเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น (MMUSD)
X7 = ปริมาณในการทาธุรกรรมของเงินบิทคอยน์ (จานวนครั้ง)
X8 = ปริมาณในการทาธุรกรรมของเงินอิเทอเรียม (จานวนครั้ง)
การวิเคราะห์ค่าสถิติที่สาคัญ
Variable Mean Median Maximum Minimum Standard
deviation
S&P 500 Index 2311.19 2274.64 2872.87 1864.78 268.13
Nikkei 225 Index 19253.48 19283.54 23808.06 14952.02 2229.74
GOLD 1245.33 1258.60 1366.80 1058.81 78.12
OIL 52.98 50.88 78.51 28.94 10.66
BITCOIN GOOGLE TREND 16102.12 5621.78 140544.50 2810.89 23255.62
ICO FUND 123.38 4.70 4472.27 0.00 407.65
BITCOIN TX 1627184.00 1574094.00 2818606.00 762684.00 402442.20
ETHEREUM TX 1672234.00 336578.00 8301517.00 6260.00 2180555.00
ตารางที่ 1 : ตารางแสดงการวิเคราะห์ค่าสถิติที่สาคัญ
ทดสอบความนิ่งของข้อมูล (Unit Root Test)
จากการทดสอบความนิ่งของข้อมูลตัวแปรต้น ได้แก่ S&P 500 Index, Nikkei 225 Index,
ราคาทองในตลาดโลก, ราคาน้ามันในตลาดโลก, ปริมาณการค้นหาคาว่า “Bitcoin” ใน Google,
ปริมาณเงินระดมทุนที่ทาการเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น, ปริมาณในการทาธุรกรรมของเงินบิท
คอยน์, ปริมาณในการทาธุรกรรมของเงินอิเทอเรียม Augmented Dickey-Fuller พบว่าข้อมูล
ดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ไม่นิ่ง ผู้วิจัยจึงปรับเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่มีความนิ่งโดยใช้วิธีเปอร์เซ็นต์
การเปลี่ยนแปลง (Percentage change)

Variable BITCOIN BITCOIN TX ETHEREUM GOLD ICO FUND OIL NIKKEI SP500
GOOGLE TX
TREND
BITCOIN 1.0000 0.5031 0.7264 0.3312 0.2124 0.5170 0.6575 0.6460
GOOGLE TREND
BITCOIN TX 0.5031 1.0000 0.1794 0.3042 -0.0234 0.1990 0.2466 0.4018
ETHEREUM TX 0.7264 0.1794 1.0000 0.5342 0.4511 0.8311 0.8272 0.8879
GOLD 0.3312 0.3042 0.5342 1.0000 0.2303 0.5205 0.1774 0.5905
ICO FUND 0.2124 -0.0234 0.4511 0.2303 1.0000 0.4167 0.3758 0.4185
OIL 0.5170 0.1990 0.8311 0.5205 0.4167 1.0000 0.7963 0.8773
NIKKEI 0.6575 0.2466 0.8272 0.1774 0.3758 0.7963 1.0000 0.8643
SP500 0.6460 0.4018 0.8879 0.5905 0.4185 0.8773 0.8643 1.0000
ตารางที่ 2 : ตารางแสดงการตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างตัวแปรอิสระ
หน้า 9

ตรวจสอบปัญหาความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างตัวแปรอิสระ (Multicollinearity)
จากการตรวจสอบความสั ม พั น ธ์ เ ชิ ง เส้ น ระหว่ า งตั ว แปรอิ ส ระพบว่ า มี บ างตั ว ที่ มี ค่ า
สหสัมพันธ์กันสูงคือ อยู่ในช่วง +0.80 ถึง +1.00 เนื่องจากค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรดังกล่าวนั้นมีค่า
สหสัมพันธ์กันสูงเพียงเล็กน้อย เพื่อการหาความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งหมด ผู้วิจัยจึงเก็บตัวแปรอิสระ
ไว้ในสมการถดถอย
การสร้างสมการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นต่างๆที่มีผลกับตัวแปรตาม
BTC = -21001.33 + 1.629156X1 + 0.434133X2 + 7.851049X3 + 47.84436X4
(0.0002) (0.6178) (0.1674) (0.0753) (0.1211)
+ 0.099150**X5 + 0.188958X6 – 0.001164X7
(0.0000) (0.5076) (0.0614)
โดยมีค่า F-statistic = 213.3383 (P-value 0.0000)
R-squared = 0.912611
Adjusted-squared = 0.908334
Durbin-Watson stat = 1.250126

หมายเหตุ : ค่าในวงเล็บ คือ ค่า Prob ของแต่ละสัมประสิทธิ์ ในการทดสอบสมมติฐานของ


สัมประสิทธิ์
** หมายถึง ค่า Prob ที่อยู่ในวงเล็บมีค่าน้อยกว่า 0.05 เพื่อใช้อธิบายว่าสัมประสิทธิ์ที่มี
เครื่องหมาย** มีค่าแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ 5%
ปัจจัยที่มีผลต่อราคาบิทคอยน์ มีเพียงปัจจัยปริมาณการค้นหาคาว่า “Bitcoin” ใน Google
โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับราคาของบิทคอยน์ กล่า วคือ เมื่อมีปริมาณการค้นหาคาว่า
“Bitcoin” ใน Google เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ราคาของบิทคอยน์เพิ่มขึ้น และเมื่อมีปริมาณการค้นหาคา
ว่า “Bitcoin” ใน Google ลดลง จะส่งผลให้ราคาของบิทคอยน์ลดลง โดยมีนัยสาคัญทางสถิติ ณ
ระดับความเชื่อมั่น 95% ค่า Adjusted-squared เท่ากับ0.908334 หมายความว่า สมการถดถอยเชิง
พหุคูณนั้นสามารถอธิบายความสัมพันธ์ที่มีผลต่อราคาบิทคอยน์ได้ 90.83 เปอร์เซ็นต์
การสร้างสมการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นต่างๆที่มีผลกับตัวแปรตาม
ETH = -355.1968 + 0.020156X1 + 0.018096X2 + 0.246382X3 – 5.195589X4**
(0.3200) (0.8670) (0.2485) (0.3358) (0.0030)
- 0.000756X5 – 0.039972X6** + 0.000144X8**
(0.1759) (0.0004) (0.0000)
โดยมีค่า F-statistic = 390.3778 (P-value 0.0000)
หน้า 10

R-squared = 0.950272
Adjusted-squared = 0.947838
Durbin-Watson stat = 1.112208
หมายเหตุ : ค่าในวงเล็บ คือ ค่า Prob ของแต่ละสัมประสิทธิ์ ในการทดสอบสมมติฐานของ
สัมประสิทธิ์
** หมายถึง ค่า Prob ที่อยู่ในวงเล็บมีค่าน้อยกว่า 0.05 เพื่อใช้อธิบายว่าสัมประสิทธิ์ที่มี
เครื่องหมาย** มีค่าแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ 5%
ปัจจัยที่มีผลต่อราคาอิเทอเรียม มีทั้งหมด 3 ปัจจัย ได้แก่ ราคาน้ามัน ,ปริมาณเงินระดมทุน
ที่ทาการเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น , ปริมาณในการทาธุรกรรมของเงินอิเทอเรียม โดยราคา
น้ามันและปริมาณเงินระดมทุน ที่ทาการเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น มีความสัมพันธ์ในทิศทาง
ตรงกันข้ามกับราคาอิเทอเรียม กล่าวคือ เมื่อราคาน้ามันและปริมาณเงินระดมทุนที่ทาการเสนอขาย
เหรียญในระยะเริ่มต้นเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ราคาอิเทอเรียมลดลง และเมื่อราคาน้ามันและปริมาณเงิน
ระดมทุนที่ทาการเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น ลดลง จะส่งผลให้ราคาอิเทอเรียมเพิ่มขึ้น สาหรับ
ปริ มาณในการท าธุ ร กรรมของเงิ น อิเ ทอเรี ย มมี ความสั ม พั นธ์ ในทิ ศ ทางเดี ยวกับ ราคาอิ เทอเรี ย ม
กล่าวคือ เมื่อมีปริมาณในการทาธุรกรรมของเงินอิเทอเรียมเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ราคาของอิเทอเรียม
เพิ่มขึ้น และปริมาณในการทาธุรกรรมของเงินอิเทอเรียมลดลง จะส่งผลให้ราคาของอิเทอเรียมลดลง
โดยมีนั ย ส าคัญทางสถิติ ณ ระดับ ความเชื่อมั่น 95% ค่า Adjusted-squared เท่ากับ 0.9477838
หมายความว่า สมการถดถอยเชิงพหุคูณนั้นสามารถอธิบายความสัมพันธ์ที่มีผลต่อราคาอิเทอเรียมได้
94.77 เปอร์เซ็นต์
ตรวจสอบคุณสมบัติของความคลาดเคลื่อน
การตรวจสอบปัญหาความแปรปรวนไม่คงที่ของความคลาดเคลื่อน (Heteroskedasticity)
จากการตรวจสอบปัญหาความแปรปรวนไม่คงที่ของความคลาดเคลื่อน(Heteroskedas-
ticity) โดยใช้วิธี White Heteroskedasticity โดยใช้แบบมี Cross-term สามารถสรุปผลได้ดังต่อไปนี้
ค่า Prob ของสมการ BTC และ ETH มีค่าเท่ากับ 0.000 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 0.05 จึงปฎิเสธสม
มติ ฐ านหลั ก (H0) หรื อ ยอมรั บ สมมติ ฐ านรอง (H1) ดั ง นั้ น จึ ง มี ปั ญ หาความคลาดเคลื่ อ นมี ความ
แปรปรวนไม่คงที่
การตรวจสอบปัญหาความสัมพันธ์กันเองของความคลาดเคลื่อน (Autocorrelation)
จากการตรวจสอบปัญหาความสัมพันธ์กันเองของความคลาดเคลื่อน (Autocorrelation)
โดยวิธี Breusch-Godfrey Serial Correlation LM Test สามารถสรุปผลได้ดังต่อไปนี้
หน้า 11

ค่า Prob ของสมการ BTCและ ETH มีค่าเท่ากับ 0.000 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 0.05 จึงปฎิเสธสม
มติฐานหลัก (H0) หรือ ยอมรับสมมติฐานรอง (H1) ดังนั้นจึงมีปัญหาความคลาดเคลื่อนมีความสัมพันธ์
กันเอง
จากการตรว จสอบคุ ณ สมบั ติ ข องคว ามคลาดเคลื่ อ น ของสม การ พบปั ญ หา
Heteroskedasticity และ Autocorrelation จึงมีการแก้ ไ ขปั ญหาดั งกล่ าวด้ว ยแนวคิด ของ HAC
Newey-West เมื่อแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้วจึงนาผลของสมการถดถอยมาวิเคราะห์ได้

5.สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษา
ตัวแปรอิสระซึ่งเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อราคาของสกุลเงินดิจิทัลอย่างมีนัยสาคัญทาง
สถิติและมีความสัมพันธ์ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

ความสัมพันธ์ของตัวแปรต่อราคาเงินดิจิทัล
ตัวแปร
ราคาบิทคอยน์ ราคาอิเทอเรียม
S&P 500 Index x x
Nikkei 225 Index x x
ราคาทองในตลาดโลก x x
ราคาน้ามันในตลาดโลก x x
ปริมาณการค้นหาคาว่า “Bitcoin” ใน
o x
Google
ปริมาณเงินระดมทุนที่ทาการเสนอขาย
x o
เหรียญในระยะเริ่มต้น
ปริมาณในการทาธุรกรรมของเงิน
x x
บิทคอยน์
ปริมาณในการทาธุรกรรมของเงิน
x o
อิเทอเรียม
O = มีความสัมพันธ์กับตัวแปร x = ไม่มีความสัมพันธ์กับตัวแปร
ตารางที่ 3 : ตารางสรุปความสัมพันธ์ของตัวแปรกับเงินดิจิทัล
หน้า 12

เงินดิจิทัลสกุลเงินบิทคอยน์
ปัจจัยที่มีผลต่อราคาบิทคอยน์ คือ ปัจจัยปริมาณการค้นหาคาว่า “Bitcoin” ใน Google ได้
อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่น 95% หมายความว่า สมการถดถอยเชิงพหุคูณนั้น
สามารถอธิบายความสัมพันธ์ที่มีผลต่อราคาบิทคอยน์ได้ 90.83 เปอร์เซ็นต์ และมีความสัมพันธ์ใน
ทิศทางเดียวกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
เงินดิจิทัลสกุลเงินอิเทอเรียม
ปัจจัยที่มีผลต่อราคาอิเทอเรียม มีทั้งหมด 3 ปัจจัย คือ ราคาน้ามัน ,ปริมาณเงินระดมทุนที่
ทาการเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น, ปริมาณในการทาธุรกรรมของเงินอิเทอเรียม
โดยมีนัยสาคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่น 95% สมการถดถอยเชิงพหุคูณนั้นสามารถ
อธิบายความสัมพันธ์ที่มีผลต่อราคาอิเทอเรียมได้ 94.77 เปอร์เซ็นต์ โดยราคาน้ามันและปริมาณเงิน
ระดมทุนที่ทาการเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาอิ
เทอเรียม กล่าวคือ เมื่อราคาน้ามันและปริมาณเงินระดมทุนที่ทาการเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้นมี
การเปลี่ยนแปลงในทิศทางบวกจะทาให้ราคาอิเทอเรียมลดลง ซึ่งแตกต่างจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดย
ราคาน้ามันนั้นจะไม่มีความสัมพันธ์กับราคาอิเทอเรียม และปริมาณเงินระดมทุนที่ทาการเสนอขาย
เหรียญในระยะเริ่ม ต้นมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับราคาอิเทอเรียม สาหรับ ปริมาณในการทา
ธุรกรรมของเงินอิเทอเรียมมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับราคาอิเทอเรียมโดยมีความสัมพันธ์ใน
ทิศทางเดียวกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
อภิปรายผล
ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อราคาบิทคอยน์และอิเทอเรียม
ดัชนีที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน
S&P 500 Index และ Nikkei 225 Index ซึ่งเป็นตลาดทุนของประเทศสหรัฐอเมริกาและ
ญี่ปุ่น ซึ่งประเทศดังกล่าวเป็นประเทศที่ให้ความสาคัญและให้ความสนใจกับเงินสกุลดิจิทัลเป็นอย่าง
มาก จากผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรทางตลาดทุนดังกล่าวไม่มีความสัมพันธ์กับราคาสกุลเงินบิทคอยน์
และอิเทอเรียมสอดคล้องกับงานวิจัยของ Erik Parlstrand, Otto Ryden (2015) และ Pavel Ciaian,
Miroslava Rajcaniova และ d’Artis Kancs (2016) ซึ่งแตกต่างจากVan Wijk (2013) และ
Sukmawati Sukamulja (2018)
ดัชนีที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์
ราคาทองในตลาดโลก และ ราคาน้ามันในตลาดโลก มักมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน
หากราคาน้ามันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เงินเฟ้อก็จะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคาปรับตัวเพิ่ม
สู ง ขึ้ น ด้ ว ย จากผลการศึ ก ษาพบว่ า ราคาทองในตลาดโลก และ ราคาน้ ามั น ในตลาดโลกไม่ มี
ความสัมพันธ์กับราคาสกุลเงิน บิทคอยน์สอดคล้องกับงานวิจัยของ Erik Parlstrand, Otto Ryden
หน้า 13

(2015) และ Pavel Ciaian, Miroslava Rajcaniova และ d’Artis Kancs (2016) จากผลการศึกษา
พบว่าราคาน้ามันในตลาดโลกมีความสัมพันธ์กับราคาสกุลเงินอิเทอเรียมในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งไม่
สอดคล้ อ งกั บ สมมติ ฐ านที่ ตั้ ง ไว้ เนื่ อ งจาก ราคาน้ ามั น เป็ น สิ น ค้ า โภคภั ณ ฑ์ ที่ ร าคาของน้ ามั น จะ
เปลี่ยนแปลงตามราคาของตลาดโลก ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยแปลงราคาของอิเทอเรียม
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความสนใจและความต้องการของนักลงทุนและผู้ใช้งาน
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความสนใจและความต้องการของนักลงทุนและผู้ใช้งาน เป็นตัวแปรที่
แสดงให้เห็นถึงความสนใจ และ ปริมาณความต้องการของนักลงทุนหรือบุคคลทั่วไปที่มีต่อเงินดิจิทัล
ซึ่งสอดคล้องกับ กฎอุปสงค์และอุปทาน คือ เมื่อตลาดมีความต้องการมากขึ้น ราคาของเงินดิจัทัลก็จะ
สูงขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแปรดังต่อไปนี้
ปริมาณการค้นหาคาว่า “Bitcoin” ใน Google จากผลการศึกษาพบว่า มีความสัมพันธ์ใน
ทิศทางเดียวกับราคาสกุลเงินบิทคอยน์ เมื่อมีปริมาณการค้นหาคาว่า “Bitcoin” ใน Google เพิ่มขึ้น
จะส่งผลให้ราคาของบิทคอยน์เพิ่มขึ้น และเมื่อมีปริมาณการค้นหาคาว่า “Bitcoin” ใน Google ลดลง
จะส่งผลให้ราคาของบิทคอยน์ลดลง โดยปริมาณการค้นหาคาว่า “Bitcoin” ใน Google นั้นแสดงให้
เห็นถึงปริมาณความสนใจของตลาดที่มีต่อบิทคอยน์ ทั้งในแง่ของการศึกษา การลงทุน และการขุด
เหมือง ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และสอดคล้องกับ กฎอุปสงค์และอุปทาน นอกจากนี้ยั ง
สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของ Erik Parlstrand, Otto Ryden (2015), Pavel Ciaian, Miroslava
Rajcaniova และ d’Artis Kancs (2016) ทั้งนี้ ปริมาณการค้นหาคาว่า “Bitcoin” ใน Google ไม่มี
ความสัมพันธ์กับราคาสกุลเงินดิจิทัลอิเทอเรียม
ปริมาณเงินระดมทุน ที่ทาการเสนอขายเหรีย ญในระยะเริ่มต้น (USD) จากผลการศึกษา
พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับราคาสกุลเงินบิทคอยน์ แต่มีความสัมพันธ์กับราคาสกุลเงินอิเทอเรียมใน
ทิศทางตรงกันข้าม เมื่อปริมาณเงินระดมทุนที่ทาการเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้นเพิ่มขึ้น จะส่งผล
ให้ราคาอิเทอเรียมลดลง และปริมาณเงินระดมทุนที่ทาการเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น ลดลง จะ
ส่งผลให้ราคาอิเทอเรียมเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจาก การระดมทุน เพื่อทา
การเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น นั้น โดยส่วนใหญ่จะทาระบบบล็อคเชนของอิเทอเรียม ซึ่งหากมี
ความต้องการจะสร้างและดาเนินระบบดังกล่าวนั้น ผู้ระดมทุนนั้นจาเป็นต้องใช้สกุลเงินอิเทอเรียมใน
การสร้างและดาเนิ นระบบ จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีบริษัท จานวนมากให้ ความสาคัญในการริ เริ่ม
พัฒนาโครงการต่างๆโดยมีการพัฒนาในโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับ ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีการ
ใช้เงินดิจิทัลสาหรับการใช้แอพพลิเคชันที่ทางานบนเทคโนโลยีบล็อคเชน ระบบนิเวศของเงินดิจิทัลได้
ถูกนาไปใช้ในหลายบทบาท ซึ่งการสร้างระบบบล็อคเชนสามารถทาได้ง่ายขึ้นเมื่อสามารถทาได้บน
บล็อคเชนของอิเทอเรียม ดังนั้นราคาของสกุลอิเทอเรียมควรมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับปริมาณ
เงินระดมทุนทีท่ าการเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น
หน้า 14

ปริมาณในการทาธุรกรรมของเงิน บิทคอยน์ จากผลการศึกษาพบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับ


ราคาสกุลเงินบิทคอยน์
ปริมาณในการทาธุรกรรมของเงินอิเทอเรียม จากผลการศึกษาพบว่า มีความสัมพันธ์กับ
ราคาสกุลเงินอิเทอเรียมในทิศทางเดียวกัน เมื่อมี ปริมาณในการทาธุรกรรมของเงินอิเทอเรียมเพิ่มขึ้น
จะส่งผลให้ราคาของอิเทอเรียมเพิ่มขึ้น และปริมาณในการทาธุรกรรมของเงินอิเทอเรียมลดลง จะ
ส่งผลให้ราคาของอิเทอเรียมลดลง หากมีการระดมทุน เพื่อทาการเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น นั้น
เพิ่มขึ้น หรือลดลง ก็จะส่งผลต่อปริมาณการทาธุรกรรมของอิเทอเรียม ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้ง
ข้อเสนอแนะสาหรับการศึกษาครั้งนี้
งานวิจัยในครั้งนี้เหมาะสาหรับนักลงทุนหรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับ
เงินดิจิทัล และทราบถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ ว่ามีผลต่อสกุลเงินดิจิทัลหลักที่มีส่วนแบ่ง การตลาด
มากที่สุ ด 2 สกุล เงิน หลั ก ได้แก่ บิทคอยน์และอิเ ทอเรียม โดยปัจจัยทางเศรษฐกิจได้แ ก่ ดัช นีที่
เกี่ย วข้องกับ ตลาดทุน (S&P 500 Index, Nikkei 225 Index) ดัช นีที่เกี่ยวข้องกับสิ นค้าโภคภั ณ ฑ์
(ราคาทองในตลาดโลก, ราคาน้ามันในตลาดโลก) และ ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความสนใจและความ
ต้องการของนักลงทุนและผู้ใช้งาน (ปริมาณการค้นหาคาว่า “Bitcoin” ใน Google, ปริมาณเงินระดม
ทุ น ที่ ท าการเสนอขายเหรี ย ญในระยะเริ่ ม ต้ น และปริ ม าณในการท าธุ ร กรรมของเงิ น บิ ท คอยน์)
เนื่องจากเงินดิจิทัลเป็นสินทรัพย์เกิดใหม่ที่มีราคาที่ผันผวนเป็นอย่างมาก อีกทั้ งแต่ละสกุลเงินดิจิทัล
นั้นมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน นักลงทุนและผู้ใช้งานควรศึกษาถึงความสามารถและ
ปัจจัยในด้านต่างๆที่มีผลต่อราคาของเงินดิจิทัลก่อนการใช้งานและการลงทุน ในอนาคตที่มาของ
มูลค่าและราคาของเงินดิจิทัล น่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ขึ้ นอยู่กับการแพร่หลายในการนา
ระบบบล็อคเชนมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งตัวแปรที่นามาใช้ในการศึกษาอาจมีมากขึ้น โดยอาจจะมี
การจาแนกประเภทของเงินดิจิทัลจากประเภทของธุรกิจ
ข้อเสนอแนะสาหรับการศึกษาครั้งต่อไป
1) ควรมีการศึกษาจากข้อมูลที่มีระยะเวลาที่ยาวขึ้น โดยเฉพาะอิเทอเรียม เนื่องจากเป็น
สกุลเงินดิจิทัลที่เพิ่งเกิดใหม่เพียง 2 ปีเท่านั้น เพื่อความถูกต้องและแม่นยาในการวิเคราะห์ข้อมูล
2) ควรมีการศึกษาถึงตัวแปรทางเทคนิคของระบบบล็อคเชนที่มีผลต่อสกุลเงินดิจิทัล เช่น
ความยากในการขุดเหรียญ (difficulty) กาลังในการขุดเหรียญ (hash rate) เป็นต้น
3) ควรมีการศึกษาถึงเงินสกุลดิจิทัลอื่นๆเพิ่มเติม เพื่อนามาวิเคราะห์และเปรียบเทียบ
ผลลัพธ์ที่มีผลต่อสกุลเงินดิจิทัลในแต่ละสกุลเงิน
หน้า 15

บรรณานุกรม
- กฎอุปสงค์ และอุปทาน แหล่งที่มา : https//:th.wikipedia.org/wiki/
- ข้อมูลราคาของ S&P 500 Index และ Nikkei 225 Index แหล่งที่มา :
https//:finance.yahoo.com
- ข้อมูลราคาของ ราคาทองและราคาน้ามันในตลาดโลก แหล่งที่มา :
https//:www.investing.com
- ข้อมูลปริมาณการค้นหาคาว่า “Bitcoin” ใน Google: แหล่งที่มา
https://trends.google.com/trends
https://www.siegemedia.com/seo/most-popular-keywords
- ข้อมูลปริมาณเงินระดมทุนที่ทาการเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น: แหล่งที่มา
https://www.coindesk.com/ico-tracker
- ข้อมูลราคาของเงินดิจิทัลกับปริมาณในการทาธุรกรรมของเงินบิทคอยน์: แหล่งที่มา
https://www.blockchain.com/charts/
- ข้อมูล ราคาของเงิน ดิจิ ทัล กั บปริ ม าณในการท าธุร กรรมของเงิ น อิเ ทอเรีย ม แหล่ งที่มา :
https//:etherscan.io/chart/
- พีรพัฒน์ หาญคงแก้ว และ ณัฐชนน โพธิ์เงิน “Bitcoin & Blockchain 101 เงินดิจิทัลเปลี่ยน
โลก ”
- ภาวะอุตสาหกรรมเงินดิจิทัลแหล่งที่มา : https//:coin.dance/stats
- ERIK PÄRLSTRAND AND OTTO RYDÉN 2015 : Explaining the market price of
Bitcoin and other Cryptocurrencies with Statistical Analysis . Dept. of
Mathematical Statistics Dept. of Mathematics Kungliga Tekniska Högskolan
- Pavel Ciaian, Miroslava Rajcaniova, d’ Artis Kancs ) 2016 : ( The economics of
Bitcoin price formation, Economics and Econometrics Research Institute )EERI (
- Pradipta Kumar) 2017 : ( Bitcoin as digital money : Its growth and future
sustainability .Indian Institute of Technology Hyderabad, India
- Sukmawati Sukamulja ) 2018 : ( The new era of financial innovation : The
determinants of Bitcoin’ s price . Faculty of Economics, Universitas Atam Jaya
Yogyakarta, Indonesia
- Van Wijk )2013 :(What can be expected from the Bitcoin? Rotterdam :Erasmus
Rotterdam Universiteit.

You might also like