Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 7

อุบัติการณ์โรคเต้านมอักเสบชนิดไม่แสดงอาการ และความไวของเชื้อก่อโรคต่อยาต้านจุลชีพ

กรณีศึกษา: แม่โคนมเลือดสูง ต�ำบลช่องสาริกา อ�ำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี


Incidence of Subclinical Mastitis and Antimicrobial Susceptibility Test:
The Case Study of Crossbred Holstein Friesian Dairy Cow, Chong Sarika
Subdistrict, Phatthana Nikhom District, Lopburi Province
สุภาพร จ๋วงพานิช1* ธวัลรัตน์ เกียรติยิ่งอังศุล1ี อภัสรา วรราช1 วริษา เกตุพันธุ1์ เนาวรัตน์ ก�ำภูศิร2ิ พิพัฒน์ อรุณวิภาส3
Supaporn Juangphanich1* Thawanrut Kiatyingangsulee1 Apasara Worarach1 Warisa Ketphan1
Naowarat Kumpusiri2 Pipat Arunvipas3

Abstract
Background: Subclinical mastitis (SCM) is a key parameter for evaluating cow’s health status in dairy
herd. Being aware of SCM incidence and use of antimicrobial susceptibility data will facilitate the early
diagnosis which results in prompt and proper treatment.
Methods: Four thousand seven hundred and twenty six udder milk samples were collected from 129
apparently healthy crossbred (>80% Holstein-Friesian) lactating cows once a month from 6 dairy farms located
in Chong Sarika subdistrict, Phatthana Nikhom district, Lopburi province along the lactation period between
November 2012 and September 2014. Then, somatic cell count (SCC) values were measured by using
automated cell count device (FOSS®, Denmark). Moreover, the samples were bacteriologically examined and
bacterial isolates were tested for antimicrobial susceptibility by disk diffusion method. The incidences of SCM
were analyzed based on farms and seasons.
Results: Two thousand two hundred and eight samples (46.72%) were considered SCM (SCC≥200,000
cells/mL) and the causative agents could be categorized into 3 groups, contagious pathogens, environmental
pathogens and no pathogen. The SCC values among three groups were significantly different (p<0.05).
The incidences of SCM in the farms ranged from 0.27 to 0.48 case per cow-month. Almost all farms found
environmental pathogens as the cause of SCM except for one farm which found that as high as 75.26% of
SCM caused by contagious pathogens. For antimicrobial susceptibility, the important pathogens; S. agalactiae
and S. uberis were susceptible to amoxicillin, cephalexin and ceftiofur. S. Agalactiae was resistant to gentamicin,
streptomycin and kanamycin while S. uberis was resistant to kanamycin, streptomycin and neomycin.
Conclusions: The incidence of SCM in crossbred Holstein Friesian dairy cows in Chong Sarika subdistrict,
Phatthana Nikhom district, Lopburi province was high and environmental pathogens were the main cause.
This indicated improper farm management and milking technique. Generally, bacterial isolates were susceptible
to ceftiofur but resistant to gentamicin, streptomycin, kanamycin and neomycin. With improved farm practice,
good milking technique, rational antimicrobial use under veterinary supervision and apply antimicrobial at
dry period can contribute to increase milk production. This implement may be used as the model for solving
subclinical mastitis problems in dairy farms in other areas.

Keywords: Incidence, subclinical mastitis, somatic cell count, antimicrobial susceptibility test, Lopburi

ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 9
1. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ เกษตรกลาง ลาดยาว จตุจกั ร กทม. 10900 จ�ำนวน 6 ฟาร์ม มีคา่ อยูใ่ นช่วง 0.27-0.48 case per cow-month
2. ส�ำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ ต�ำบลบางกะดี อ�ำเภอเมือง มีเพียงฟาร์มเดียวที่พบอุบัติการณ์การเกิด SCM จากเชื้อกลุ่ม
จังหวัดปทุมธานี 12000
contagious pathogens สูงถึงร้อยละ 75.26 ในขณะทีฟ่ าร์มอืน่
3. ภาควิ ช าเวชศาสตร์ ค ลิ นิ ก สั ต ว์ ใ หญ่ แ ละสั ต ว์ ป ่ า มหาวิ ท ยาลั ย
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก�ำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140 เกิดจากเชื้อกลุ่ม environmental pathogens ความไวของ
* ผู้รับผิดชอบบทความ โทร 025798908-14 โทรสาร 025798918 เชือ้ ก่อโรคต่อยาต้านจุลชีพพบว่าเชือ้ ส�ำคัญ S. agalactiae และ
อีเมล supapornj@dld.go.th S. uberis ไวต่อยา amoxicillin cephalexin และ ceftiofur
1. National Institute of Animal Health, Kasetklang, Ladyao, แต่เชื้อ S. agalactiae ดื้อต่อยา gentamicin streptomycin
Chatuchak, Bangkok 10900, Thailand และ kanamycin เชื้อ S. uberis ดื้อต่อยา kanamycin
2. Bureau of Quality Control of Livestock Products, Tambon
streptomycin และ neomycin
Bangkadi, Amphoe Mueang, Pathumthani 12000
3. Department of Large Animal and Wildlife Clinical Science, สรุป: ฟาร์มโคนมเลือดสูงในต�ำบลช่องสาริกา อ�ำเภอ
Faculty of Veterinary Medicine, Kasetsart University, พัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี มีอบุ ตั กิ ารณ์การเกิด SCM สูง ส่วนใหญ่
Kamphaeng Saen Campus, Nakhon Pathom 73140 เกิดจากเชื้อกลุ่ม environmental pathogens ซึ่งบ่งชี้ถึงการ
* corresponding author Tel. 025798908-14, Fax 025798918, จัดการฟาร์มและวิธกี ารรีดนมทีไ่ ม่เหมาะสม โดยภาพรวมพบว่า
email: supapornj@dld.go.th เชื้อก่อโรคดื้อต่อยา gentamicin streptomycin kanamycin
บทคัดย่อ และ neomycin แต่ไวต่อยา ceftiofur เมื่อเกษตรกรปรับปรุง
วิธบี ริหารจัดการฟาร์มให้ถกู สุขลักษณะ ใช้เทคนิคการรีดนมทีด่ ี
ที่มาของการศึกษา: โรคเต้านมอักเสบชนิดไม่แสดง เลือกใช้ยาต้านจุลชีพถูกต้องภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์ และ
อาการ (subclinical mastitis, SCM) เป็นตัวบ่งชีส้ ขุ ภาพโคนม ใช้ยาในช่วงพักรีดนม ท�ำให้เกษตรกรได้ผลผลิตน�ำ้ นมเป็นทีน่ า่ พอใจ
และสภาวะของฟาร์ม การทราบอุบัติการณ์ของ SCM ในฟาร์ม จึงอาจใช้แนวทางเหล่านี้เป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหา SCM
และความไวของเชื้อก่อโรคต่อยาต้านจุลชีพ ท�ำให้สามารถหา ในฟาร์มอื่นต่อไปได้
สาเหตุและแนวทางแก้ไขได้ในระยะต้น ค�ำส�ำคัญ: อุบัติการณ์ โรคเต้านมอักเสบชนิดไม่แสดงอาการ
วิธีการ: เก็บตัวอย่างน�้ำนมดิบรายตัวรายเต้าลักษณะ เซลล์โซมาติก ความไวของเชื้อก่อโรคต่อยาต้านจุลชีพ ลพบุรี
ปกติจ�ำนวน 4,726 ตัวอย่าง จากแม่โคนมเลือดสูง (โคนม
ลูกผสมมีสายเลือดโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป)
บทน�ำ
จ�ำนวน 129 ตัว จากฟาร์มโคนม 6 ฟาร์ม ในต�ำบลช่องสาริกา
อ�ำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เดือนละ 1 ครัง้ จนครบ 1 รอบ ปัญหาเรื้อรังที่ส�ำคัญในฟาร์มโคนมของไทยคือ โรค
การให้นม ตัง้ แต่พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ถึงกันยายน พ.ศ. 2557 เต้านมอักเสบชนิดไม่แสดงอาการ (subclinical mastitis, SCM)
มาท�ำการตรวจนับค่าเซลล์โซมาติก (SCC) ด้วยเครื่องตรวจนับ ท�ำให้ปริมาณและคุณภาพของน�้ำนมลดลงโดยไม่สามารถพบ
เซลล์อัตโนมัติ (FOSS®, Denmark) จากนั้นเพาะแยกเชื้อและ ความผิดปกติดว้ ยตาเปล่า (กิตติศกั ดิ์ และสุกมุ า, 2550; Marcus
ทดสอบความไวของเชื้อก่อโรคต่อยาต้านจุลชีพด้วยวิธี Disk and Dale, 1994) แต่สามารถก่อให้เกิดความสูญเสียทาง
diffusion และค�ำนวณอุบัติการณ์การเกิด SCM (incidence) เศรษฐกิจอันเนื่องมาจากปริมาณน�้ำนมที่ลดลงและถูกตัดราคา
ของแต่ละฟาร์มและแต่ละฤดูกาล รับซื้อเพราะน�้ำนมมีคุณภาพต�่ำ (Dhanashekar et al., 2012)
ผล: พบว่าน�้ำนมดิบรายตัวรายเต้าจ�ำนวน 2,208 จากการที่ไม่สามารถพบการอักเสบของเต้านมชนิดไม่
ตัวอย่าง (ร้อยละ 46.72) มีค่า SCC สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน แสดงอาการได้ด้วยตาเปล่า การบ่งชี้ภาวะ SCM ท�ำได้โดยการ
(≥200,000 เซลล์ต่อมิลลิลิตร) จากการเพาะแยกเชื้อก่อโรค ตรวจนับจ�ำนวนเซลล์โซมาติกในน�้ำนม (somatic cell count,
สามารถแบ่งเชื้อที่พบออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเชื้อก่อโรคที่ SCC) ซึ่งจะมีปริมาณ ≥200,000 เซลล์ต่อมิลลิลิตร (Dohoo
ปนเปือ้ นจากตัวโค (contagious pathogens) กลุม่ เชือ้ ก่อโรค and Leslie, 1991; Schepers et al., 1997) ในการตรวจเชื้อ
ที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวโค (environmental แบคทีเรียทีเ่ ป็นสาเหตุของโรคสามารถแบ่งเชือ้ ได้เป็น 2 กลุม่ คือ
pathogens) และกลุม่ ทีไ่ ม่พบเชือ้ ก่อโรค (no pathogen) โดย กลุม่ เชือ้ ก่อโรคทีป่ นเปือ้ นจากตัวโค (contagious pathogens)
ตัวอย่างน�้ำนมที่พบเชื้อแต่ละกลุ่มมีค่า SCC แตกต่างกันอย่าง เช่น Staphylococcus aureus และ Streptococcus agalactiae
มีนยั ส�ำคัญ (p<0.05) อุบตั กิ ารณ์การเกิด SCM ของฟาร์มโคนม ซึ่งสามารถแพร่กระจายภายในฝูงได้ (Sharma et al., 2011)

10 Volume 13 Number 2
และกลุ่มเชื้อก่อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวโค counter 5000 (FOSS®, Denmark) โดยใช้วิธีมาตรฐาน
(environmental pathogens) เช่น Pseudomonas aeruginosa ISO13366-1 (ISO, 2006) ผลทีไ่ ด้เป็นปริมาณเซลล์โซมาติก โดย
และแบคทีเรียในวงศ์ Enterobacteriaceae การติดเชือ้ แบคทีเรีย มีหน่วยนับเป็น เซลล์ต่อมิลลิลิตร
กลุ่มนี้มักเกิดจากการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การเพาะแยกเชื้อ
(พิพัฒน์, 2555) เพาะแยกเชื้อบนอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดวุ้น 4 ชนิด ได้แก่
การทราบอุบตั กิ ารณ์ของ SCM ในฟาร์ม ท�ำให้สามารถหา Blood agar, MacConkey agar, Baird-Parker agar และ
สาเหตุและแนวทางแก้ไขได้ในระยะต้น ช่วยลดความสูญเสียที่ Edward agar น�ำเข้าบ่มทีอ่ ณ ุ หภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา
มองไม่เห็นและป้องกันการพัฒนาไปเป็นเต้านมอักเสบชนิด 18-48 ชั่วโมง ตรวจดูลักษณะโคโลนี ย้อมสี ตรวจดูด้วย
แสดงอาการรุนแรงในอนาคต ทางผู้วิจัยจึงได้เลือกฟาร์มโคนม กล้องจุลทรรศน์ และทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมี ยืนยันชนิด
ในต�ำบลช่องสาริกา อ�ำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็น เชือ้ ด้วยวิธี PCR แบ่งประเภทของเชือ้ ทีพ่ บเป็นกลุม่ contagious
พื้นที่ที่มีการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมโดยกรมปศุสัตว์ โคนม pathogens และกลุม่ environmental pathogens และน�ำไป
ทั้งหมดเป็นโคพันธุ์ผสมมีสายเลือดโฮลสไตน์ฟรีเชียนสูงกว่า ทดสอบหาความไวของเชื้อก่อโรคต่อยาต้านจุลชีพด้วยวิธี disk
ร้อยละ 80 ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิด SCM มาท�ำการศึกษา diffusion (CLSI, 2016)
อุบตั กิ ารณ์ของ SCM และตรวจหาเชือ้ ก่อโรคทัง้ 2 กลุม่ และทดสอบ การค�ำนวณอุบัติการณ์การเกิดโรค
ความไวของเชือ้ ก่อโรคต่อยาต้านจุลชีพเพือ่ ชีใ้ ห้เกษตรกรเห็นถึง เป็นการวัดการเกิดขึ้นใหม่ของโรค โดยนับจ�ำนวนครั้ง
ปัญหาและเป็นข้อมูลแก่ฟาร์มโคนมทั่วไป เพื่อการรักษาและ ที่เกิด SCM ขึ้นใหม่ คือเมื่อมีค่า SCC ≥200,000 เซลล์ต่อ
ป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มิลลิลิตร ในช่วงระยะเวลาของการเสี่ยงต่อการเกิดโรค (1 รอบ
การให้นม) โดยช่วงระหว่างการเกิดโรคครัง้ เดิมและครัง้ ใหม่ ต้อง
อุปกรณ์และวิธีการ มีชว่ งห่างกันเกินกว่า 30 วัน (พิพัฒน์, 2556)
ตัวอย่าง
อุบัติการณ์การเกิดโรค =
น�้ำนมดิบรายตัวรายเต้าที่มีลักษณะปกติ จากแม่โคนม
จ�ำนวนครั้งที่เป็นโรคในช่วงระยะเวลาที่ก�ำหนด
ลูกผสมมีสายเลือดโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป
ระยะเวลาของการเสี่ยงต่อการเกิดโรคของสัตว์ทุกตัวที่อยู่ในช่วงเวลาที่ก�ำหนด
จ�ำนวน 129 ตัว จากฟาร์มโคนม 6 ฟาร์ม ในพื้นที่ต�ำบลช่อง
สาริกา อ�ำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี โดยเก็บจากแม่โคหลังจาก การวิเคราะห์ขอ้ มูลและผล
ระยะคลอดและเริ่มส่งนมได้ เดือนละ 1 ครั้ง จนครบ 1 รอบ เก็บข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel® ใช้โปรแกรม
การให้นม (lactation period) ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. Number Cruncher Statistical System (NCSS) ver. 2000 และ
2555 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 แบ่งเป็น 3 ฤดูกาล ตามกรม Shapiro-Wilk test ในการวิเคราะห์ข้อมูล แสดงผลด้วยสถิติ
อุตุนิยมวิทยา (2558) ได้แก่ ฤดูร้อน (16 กุมภาพันธ์-15 เชิงพรรณนาที่มีนัยส�ำคัญทางสถิติ (p<0.05)
พฤษภาคม) ฤดูฝน (16 พฤษภาคม-15 ตุลาคม) และฤดูหนาว
(16 ตุลาคม-15 กุมภาพันธ์)
ผลและวิจารณ์
วิธีเก็บน�้ำนม จากตัวอย่างน�้ำนมดิบรายตัวรายเต้า 4,726 ตัวอย่าง
ใช้ผ้าชุบน�้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดท�ำความสะอาดเต้านม รีด เมื่อตรวจนับปริมาณ SCC พบว่ามีตัวอย่างน�้ำนมที่มีปัญหา
น�้ำนมส่วนต้นทิ้งก่อนรีดใส่หลอดทดลองแบบฝาเกลียวที่ผ่าน ปริมาณ SCC สูงเกินเกณฑ์มาตรฐานจ�ำนวน 2,208 ตัวอย่าง
การฆ่าเชือ้ ด้วยเทคนิคปลอดเชือ้ เต้าละหนึง่ หลอด หลอดละ 50 (ร้อยละ 46.72) และปริมาณ SCC อยู่ในเกณฑ์ปกติ จ�ำนวน
มิลลิลิตร เทแบ่งตัวอย่างน�้ำนมประมาณ 30 มิลลิลิตร ลงใน 2,518 ตัวอย่าง (ร้อยละ 53.28) เมือ่ น�ำตัวอย่างทัง้ หมดไปเพาะ
หลอดแก้วที่ผ่านการฆ่าเชื้อเช่นกัน เพื่อน�ำไปทดสอบหา SCC แยกเชื้ อ เพื่ อ หาเชื้ อ กลุ ่ ม contagious pathogens กลุ ่ ม
ส่วนทีเ่ หลือ 20 มิลลิลติ ร น�ำไปเพาะแยกเชือ้ เก็บตัวอย่างน�ำ้ นมทัง้ environmental pathogens และกลุม่ no pathogen จากนัน้
2 หลอด ใส่ถุงพลาสติก 2 ชั้นแช่ในน�้ำแข็ง รักษาอุณหภูมิไว้ให้ น�ำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ SCC กับการ
ไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส ก่อนน�ำไปทดสอบที่ห้องปฏิบัติการ พบเชื้อทั้ง 3 กลุ่ม ด้วยโปรแกรมทางสถิติ พบว่าทั้งสองค่ามี
การตรวจนับเซลล์โซมาติก (SCC) ความสัมพันธ์กนั และแต่ละกลุม่ เชือ้ มีปริมาณ SCC แตกต่างกัน
ใช้เครื่องตรวจนับเซลล์อัตโนมัติ Fossomatic cell อย่างมีนัยส�ำคัญ (p<0.05) ตามตารางที่ 1

ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 11
ตารางที่ 1 สถิติเชิงพรรณนาของค่าเซลล์โซมาติกตามชนิดของกลุ่มเชื้อก่อโรคที่เพาะแยกได้จากตัวอย่างน�้ำนมดิบ

จำ�นวน ปริมาณ SCC (x 103 เซลล์/มิลลิลิตร) ร้อยละ 95


ชนิดกลุ่มเชื้อ ตัวอย่าง CI of Mean SCC
(4,726) ต�่ำสุด- สูงสุด เฉลี่ย ± เบี่ยงเบน มัธยฐาน (x103 เซลล์/มิลลิลติ ร)
กลุ่มเชื้อก่อโรคที่ปนเปื้อนจากตัวโค 199 16 - 23,732 2,586 ± 4,551 905 1,949 - 3,222
กลุม่ เชือ้ ก่อโรคทีป่ นเปือ้ นอยูใ่ นสิง่ แวดล้อมรอบตัวโค 935 5 - 24,660 1,498 ± 2,725 628 1,323 - 1,673
กลุ่มที่ไม่พบเชื้อก่อโรค 3,592 3 - 27,009 591 ± 1,961 113 527 - 655

ตารางที่ 2 อุบัติการณ์ของโรคเต้านมอักเสบชนิดไม่แสดงอาการ และร้อยละของกลุ่มเชื้อแบคทีเรียที่เพาะแยกได้จากตัวอย่างน�้ำนมดิบ


จ�ำแนกตามรายฟาร์ม

อุบัติการณ์ ร้อยละที่พบเชื้อ ร้อยละที่พบ ร้อยละที่พบกลุ่มเชื้อ


ฟาร์มที่ (case per แบคทีเรีย กลุ่มเชื้อก่อโรคที่ ก่อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ใน
cow-month) ปนเปื้อนจากตัวโค สิ่งแวดล้อมรอบตัวโค
1 0.40 40.10 (415/1035) 0.24 (1/415) 99.76 (414/415)
2 0.27 39.70 (133/335) 0 (0/133) 100 (133/133)
3 0.30 47.55 (194/408) 75.26 (146/194) 24.74 (48/194)
4 0.43 24.62 (65/264) 0 (0/65) 100 (65/65)
5 0.42 32.58 (43/132) 0 (0/43) 100 (43/43)
6 0.48 44.12 (15/34) 0 (0/15) 100 (15/15)

จากตารางที่ 1 พบว่าปริมาณ SCC จากตัวอย่างน�ำ้ นมดิบ อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาตัวอย่างทีม่ ี SCC เกินเกณฑ์


ที่พบเชื้อแบคทีเรียทั้ง 3 กลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญ มาตรฐาน มีทั้งที่พบเชื้อก่อโรคและไม่พบเชื้อก่อโรคในตัวอย่าง
(p<0.05) โดยเมื่อดูจากค่า 95 % CI of Mean SCC ในน�้ำนม ดังกล่าว ทัง้ นีต้ วั อย่างทีไ่ ม่พบเชือ้ ก่อโรคสันนิษฐานได้วา่ อาจเกิด
ทีพ่ บเชือ้ กลุม่ contagious pathogens มีปริมาณ SCC สูงทีส่ ดุ จากการทีเ่ ชือ้ แบคทีเรียทีม่ ชี วี ติ แต่อยูใ่ นสภาวะทีม่ เี มตาโบลึซมึ ต�ำ่
ตามด้วยกลุ่ม environmental pathogens ซึ่งสอดคล้องกับ และไม่แบ่งตัว ท�ำให้เมื่อเพาะเชื้อจึงไม่พบเชื้อเจริญเติบโต
รายงานของ Sharma และคณะ (2011) ที่กล่าวว่าเชื้อกลุ่ม (viable but nonculturable) หรือเชื้ออาจถูกเก็บกินไปแล้ว
contagious mastitis จะมีปริมาณ SCC สูงกว่าเชื้อกลุ่ม โดยเม็ดเลือดขาว (Oliver, 2005)
environmental mastitis เช่นกัน บ่งชี้ว่าปริมาณ SCC เมือ่ วิเคราะห์ชนิดของเชือ้ แบคทีเรียพบว่าทุกฟาร์มพบเชือ้
สามารถใช้คาดการณ์กลุม่ เชือ้ ทีเ่ ป็นสาเหตุของ SCM ทีจ่ ะพบใน ก่อโรคหลักเป็นกลุม่ environmental pathogens ยกเว้นฟาร์มที่ 3
เต้านมได้ มีเชือ้ ก่อโรคหลักป็นกลุม่ contagious pathogens สูงกว่าร้อยละ
เมื่อน�ำน�้ำนมที่มีปริมาณ SCC สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน 70 สาเหตุที่แตกต่างอาจเป็นไปได้ว่าเกิดจากฟาร์มที่ 3 มี
มาค�ำนวณอุบัติการณ์ SCM ในแต่ละฟาร์ม และแสดงผลการ กระบวนการรีดนมทีม่ ขี นั้ ตอนการท�ำความสะอาดก่อนและหลังรีด
เพาะหากลุ่มเชื้อที่เป็นสาเหตุ ดังตารางที่ 2 แตกต่างจากฟาร์มอื่น โดยฟาร์มที่ 3 ใช้น�้ำฉีดล้างเต้าในขณะที่
จากการวิเคราะห์อุบัติการณ์ของ SCM ในแต่ละฟาร์ม ฟาร์ ม อื่ น ใช้ ผ ้ า สะอาดเช็ ด เต้ า สอดคล้ อ งกั บ การศึ ก ษาของ
พบว่าอยู่ในช่วง 0.27-0.48 case per cow-month หมายถึง Jarassaeng et al. (2012) ที่กล่าวว่าการจัดการการรีดนมที่ไม่
ในฝูงโคสุขภาพดี จะมีโคเกิด SCM เพิ่มขึ้นร้อยละ 27-48 ใน ถูกสุขลักษณะเป็นสาเหตุที่ท�ำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ
แต่ละเดือนซึ่งถือว่าฟาร์มทั้งหมดมีอุบัติการณ์ของ SCM ที่สูง กลุ่ม contagious pathogens
เมื่อเปรียบเทียบกับรายงานของ Ruegg และ Pantoja (2013) ผลการค�ำนวณอุบัติการณ์การเกิดโรคในแต่ละฤดูกาล
ทีก่ ล่าวว่าในฟาร์มทีม่ กี ารบริหารจัดการสุขลักษณะอย่างเหมาะสม ซึง่ ได้แก่ ฤดูรอ้ น ฤดูฝน และฤดูหนาว และผลการเพาะหากลุม่ เชือ้
จะมีอตั ราการเพิม่ ขึน้ ของ SCM เพียงร้อยละ 5 ต่อเดือนเท่านัน้ ที่เป็นสาเหตุ ดังแสดงในตารางที่ 3

12 Volume 13 Number 2
ตารางที่ 3 อุบัติการณ์ของโรคเต้านมอักเสบชนิดไม่แสดงอาการ และร้อยละของกลุ่มเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ จ�ำแนกตามฤดูกาล

ฤดูกาล อุบัติการณ์ ร้อยละที่พบกลุ่มเชื้อก่อโรค ร้อยละที่พบกลุม่ เชือ้ ก่อโรคทีป่ น


(case per cow-month) ร้อยละที่พบเชื้อแบคทีเรีย ที่ปนเปื้อนจากตัวโค เปือ้ นอยูใ่ นสิง่ แวดล้อมรอบตัวโค
ฤดูร้อน 0.28 38.44 (251/653) 16.73 (42/251) 83.27 (209/251)
ฤดูฝน 0.37 37.93 (377/994) 18.30 (69/377) 81.70 (308/377)
ฤดูหนาว 0.38 42.25 (237/561) 15.19 (36/237) 84.81 (201/237)

จากการศึกษาครัง้ นี้ พบว่าในแต่ละฤดูกาลมีอบุ ตั กิ ารณ์ และพบเชื้อจ�ำนวน 865 ตัวอย่าง (ร้อยละ 39.18) แยกได้เป็น
อยูร่ ะหว่าง 0.28-0.38 case per cow-month ซึง่ ทัง้ หมดมีอบุ ตั กิ ารณ์ เชื้อแบคทีเรียจ�ำนวน 14 ชนิด ดังแสดงใน รูปที่ 1
สูง โดยฤดูรอ้ นจะมีอบุ ตั กิ ารณ์ตำ�่ กว่าฤดูฝนและฤดูหนาว แม้วา่ เมือ่ น�ำตัวอย่างไปเพาะเชือ้ แบคทีเรีย เชือ้ ทีพ่ บมากทีส่ ดุ
ลักษณะอากาศแต่ละฤดูกาลของประเทศไทยมีอณ ุ หภูมแิ ตกต่างกัน คือ Streptococcus spp. (ร้อยละ 46.36) และ Coagulase
ไม่มากนัก แต่เนื่องจากในฤดูร้อนพื้นฟาร์มมีสภาพแห้งจึงอาจ negative Staphylococcus (ร้อยละ 27.98) ซึ่งเป็นเชื้อกลุ่ม
ท�ำให้มกี ารปนเปือ้ นของเชือ้ จากพืน้ ทีเ่ ลีย้ งโคนมน้อยกว่าฤดูฝน environmental pathogens ทีพ่ บได้ทวั่ ไปและไม่กอ่ โรค จากนัน้
และต้นฤดูหนาวซึ่งยังมีฝนตกอยู่ ท�ำให้สภาพพื้นที่เลี้ยงโคนม ท�ำการคัดเลือกเชื้อที่ส�ำคัญในการก่อ SCM มาท�ำการทดสอบ
เปียก ชื้นแฉะ เชื้อโรคมีการแพร่กระจายได้ง่าย ทั้งนี้ต่างจาก ความไวของเชื้อก่อโรคต่อยาต้านจุลชีพได้แก่ S. agalactiae
รายงานของ Khate และ Yadav (2010) ที่ศึกษาอุบัติการณ์ ซึ่งเป็นเชื้อกลุ่ม contagious pathogens และพบจ�ำนวนมาก
SCM ในประเทศอินเดียพบว่าฤดูรอ้ นจะมีอบุ ตั กิ ารณ์สงู ขึน้ และ (ร้อยละ 16.99) S. uberis ซึ่งเป็นเชื้อกลุ่ม environmental
ฤดูหนาวจะมีอบุ ตั กิ ารณ์ลดลงเนือ่ งจากเชือ้ แบคทีเรียมีการเพิม่ pathogens ทีส่ ามารถยึดเกาะเนือ้ เยือ่ เต้านมและมีลกั ษณะใน
จ�ำนวนได้ดีขึ้นที่อุณหภูมิสูงขึ้นและในประเทศอินเดียฤดูหนาว การก่อโรคคล้ายคลึงกับเชือ้ กลุม่ contagious pathogens และพบ
และฤดูร้อนมีอุณหภูมิแตกต่างกันอย่างชัดเจน จ�ำนวนมากรองลงมา (ร้อยละ 5.32) รวมถึงเชือ้ K. pneumoniae
จากการเพาะแยกเชื้ อ แบคที เรี ย จากน�้ ำ นมดิ บ ที่ มี แม้จะพบเพียง isolate เดียว แต่มีความส�ำคัญทางสาธารณสุข
ปริมาณ SCC สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน จ�ำนวน 2,208 ตัวอย่าง และมีโอกาสก่อ SCM ได้
พบว่า ไม่พบเชือ้ ก่อโรค จ�ำนวน 1,343 ตัวอย่าง (ร้อยละ 60.82)

ชนิดของเชื้อ

รูปที่ 1 แสดงจ�ำนวนร้อยละและชนิดของเชื้อแบคทีเรียที่พบ 14 ชนิด ในตัวอย่างน�้ำนมที่พบโรคเต้านมอักเสบชนิดไม่แสดงอาการ

ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 13
รูปที่ 2 ร้อยละของค่าความไวของเชื้อ S. agalactiae (จ�ำนวน 129 รูปที่ 3 ร้อยละของค่าความไวของเชื้อ S. uberis (จ�ำนวน 40 isolates)
isolates) ต่อยาต้านจุลชีพ ต่อยาต้านจุลชีพ

รูปที่ 4 ร้อยละของค่าความไวของเชื้อ K. pneumoniae (จ�ำนวน 1 isolate) ต่อยาต้านจุลชีพ

ผลการทดสอบความไวของเชือ้ S.agalactiae S.uberis เชื้อกลุ่ม contagious pathogens ในตัวโคและลดโอกาสการ


และ K. pneumoniae ต่อยาต้านจุลชีพ (antimicrobial ติ ด เชื้ อ ใหม่ จ ากกระบวนรี ด นม แต่ ใ นกรณี ข องเชื้ อ กลุ ่ ม
susceptibility test, AST) ตามรูปที่ 2, 3 และ 4 ตามล�ำดับ Coliforms เช่น Enterobacter spp. ซึ่งการติดเชื้อสามารถ
จากการศึกษาครั้งนี้ ผลการทดสอบความไวของเชื้อ หายได้เอง ถึงแม้การใช้ยาต้านจุลชีพจะท�ำให้หายได้เร็วขึ้น แต่
ก่อโรคต่อยาต้านจุลชีพพบว่า S. agalactiae และ S. uberis ก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยา ดังนั้นการเลือก
ไวต่อยา amoxicillin cephalexin และ ceftiofur แต่ S. agalactiae ยาต้านจุลชีพที่ใช้ในการรักษาจึงควรพิจารณาจากเชื้อสาเหตุที่
ดื้อต่อยา gentamicin streptomycin และ kanamycin ส่วน ท�ำให้เกิดโรค (MacKellar, 1991) นอกจากนี้การจัดการ
S. uberis ดือ้ ต่อยา streptomycin kanamycin และ neomycin สุขลักษณะภายในฟาร์ม เช่น การรักษาความสะอาดในส่วน
ในขณะที่เชื้อ K. pneumoniae พบว่าไวต่อยา ceftiofur สิ่งปูรองนอน สภาพแวดล้อมโดยรอบฟาร์ม และตัวโค ควบคู่
kanamycin gentamicin ซึง่ เป็นยาทีพ่ บว่าดือ้ ใน S. agalactiae ไปกับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพของฟาร์ม จะช่วยลดการ
และ S. uberis จากการสอบถามสหกรณ์โคนม อ�ำเภอพัฒนานิคม ติดเชือ้ ใหม่จากสิง่ แวดล้อมและช่วยป้องกันโรคเต้านมอักเสบได้
พบว่ามียา gentamicin neomycin และ kanamycin วางขาย ทั้ ง นี้ ผู ้ วิ จั ย ได้ แ จ้ ง ผลการศึ ก ษาและให้ ค� ำ แนะน� ำ
ทั้งแบบสอดเต้าและยาฉีด อาจท�ำให้เกษตรกรมีโอกาสใช้ยา เกษตรกรถึงวิธีจัดการสุขลักษณะภายในฟาร์ม วิธีการรีดนมที่
ดังกล่าวบ่อย จนเกิดการดือ้ ยาในเชือ้ S. agalactiae และ S. uberis ถูกต้อง การเลือกใช้ยาต้านจุลชีพที่ให้ผลการรักษาดีต่อเชื้อที่
แต่ K. pneumoniae ไม่พบว่าดือ้ ยา gentamicin และ kanamycin ตรวจพบ โดยให้ใช้ยาในช่วงพักเต้าเมื่อเชื้อก่อโรคเป็นเชื้อกลุ่ม
อาจเนือ่ งจากมีความสามารถในการปรับตัวต่อยาได้นอ้ ยกว่าเชือ้ contagious pathogens จากการสอบถามจากเกษตรกรพบว่า
2 ตัวข้างต้น (Bengtsson et.al., 2018) การใช้ยาต้านจุลชีพ หลังจากให้ค�ำแนะน�ำ ฟาร์มมีการเกิดโรคเต้านมอักเสบแบบ
ทีม่ ากเกินความจ�ำเป็นเป็นปัจจัยหนึง่ ทีท่ ำ� ให้เกิดการดือ้ ยาต้าน แสดงอาการลดลง ซึ่งอาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเกิด SCM
จุลชีพ (นิธิมา และคณะ, 2558) จากการศึกษาของ Eberhart ที่ลดลงส่งผลให้ผลผลิตน�้ำนมเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าพอใจ ดังนั้น
(1986) และ Blowey and Edmondson (2010) แนะน�ำให้ จึงอาจใช้แนวทางการแก้ปญ ั หาเหล่านีเ้ ป็นต้นแบบในการแก้ไข
เกษตรกรใช้ยาในช่วงพักรีดนม (dry period) เพื่อลดปริมาณ ปัญหา SCM ในฟาร์มอื่นต่อไปได้

14 Volume 13 Number 2
สรุปและข้อเสนอแนะ Bengtsson-Palme, J., Kristiansson, E. and Larsson D.G.J. 2018.
Environmental factors influencing the development
จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าฟาร์มโคนมเลือดสูงใน and spread of antibiotic resistance. FEMS Microb.
ต�ำบลช่องสาริกา อ�ำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี มีอบุ ตั กิ ารณ์ Reviews. 42(1):68-80.
SCM สูง ส่วนใหญ่เกิดปัญหาจากเชื้อกลุ่ม environmental Blowey, R. and Edmondson, P. 2010. Mastitis Control in Dairy
Herds. 2nd ed., Butler Tanner & Dennis, Winslow, UK. 266p.
pathogens ซึ่งบ่งชี้ถึงการจัดการฟาร์มและวิธีการรีดนมที่ไม่
CLSI. Clinical and Laboratory Standards Institute. 2016.
เหมาะสมโดยภาพรวมพบว่าเชือ้ ทีก่ อ่ โรคดือ้ ต่อยา gentamicin Performance Standards for Antimicrobial Susceptibility
streptomycin kanamycin และ neomycin แต่ไวต่อยา Testing. 26th ed., CLSI supplement M100. Wayne, PA.
ceftiofur เมื่อเกษตรกรปรับปรุงบริหารจัดการฟาร์มให้ถูก USA. 249p.
สุขลักษณะ ใช้เทคนิคการรีดนมที่ดี และเลือกใช้ยาต้านจุลชีพ Dhanashekar, R., Akkinepalli, S. and Nellutla, A. 2012. Milk-borne
ภายใต้การควบคุมของสัตวแพทย์ และใช้ยาในช่วงพักรีดนม พบว่า infections. An analysis oftheir potential effect on the
milk industry. Germs. 2(3):101-109.
ฟาร์มให้ผลผลิตน�้ำนมเป็นที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตามควรมีการ
Dohoo, I.R. and Leslie, K.E. 1991. Evaluation of changes in
ส�ำรวจและติดตามอุบัติการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อประเมินว่า somatic cell counts as indicators of new intramammary
เทคนิคการจัดการเหล่านี้สามารถลดอุบัติการณ์ SCM ได้จริง infections. Prev. Vet. Med. 10(3):225-237.
และสามารถเป็นฟาร์มโคนมต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นต่อไปได้ Eberhart R.J. 1986. Management of dry cows to reduce mastitis.
J Dairy Sci. 69:1721–1732.
กิตติกรรมประกาศ Jarassaeng, C., Aiumlamai, S., Wachirapakorn, C., Techakumphu,
M., Noordhuizen, J., Beynen, A.C. and Suadsong, S.
ขอขอบคุณ น.สพ. ชิต ศิรวิ รรณ์ ทีแ่ นะน�ำและ สนับสนุน
2012. Risk Factors of Subclinical Mastitis in Small Holder
ให้ทำ� งานด้านโคนม ผศ.น.สพ.ดร.ศิรชิ ยั วงษ์นาคเพ็ชร์ ทีช่ ่วยให้ Dairy Cows in Khon Kaen Province. Thai J Vet Med.
ความรู้ด้านสถิติ คุณบุญเลิศ วงษ์เกลี้ยง เจ้าพนักงานสัตวบาล 42(2):143-151.
ทีช่ ว่ ยแนะน�ำฟาร์มเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเกษตรกร เจ้าของ Khate, K. and Yadav, B.R. 2010. Incidence of mastitis in Sahiwal
ฟาร์มทีใ่ ห้ความร่วมมือให้เก็บตัวอย่างน�ำ้ นม และผูเ้ กีย่ วข้องที่มี cattle and Murah buffaloes of a closed organized herd.
ส่วนท�ำให้งานวิจัยชิ้นนี้ส�ำเร็จ Indian J. Anim. Sci. 80(5):467-469.
MacKellar, Q.A. 1991. Intramammary treatment of mastitis in
cows. In Practice. 13:244–249.
เอกสารอ้างอิง Marcus, E.J. and Dale, E.S. 1994. Factors affecting milk somatic
กรมอุตนุ ยิ มวิทยา. 2558. ฤดูกาลของประเทศไทย. [Online]. Available: cells and their role in health of the bovine mammary
https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=53. gland. J. Dairy Sci. 77(2):619-62.
[15 สิงหาคม 2558]. Oliver, J.D. 2005. The viable but nonculturable state in bacteria.
กิตติศักดิ์ อัจฉริยะขจร และ สุกุมา สามงามนิ่ม. 2550. การตรวจวินิจฉัย J Microbiol. 43(S):93-100.
เต้านมอักเสบ และคุณภาพน�้ำนมดิบทางห้องปฏิบัติการ. ส�ำนัก Ruegg, P. and Pantoja J. 2013. Understanding and using somatic
พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. หน้า 81. cell counts to improve milk quality. Ir. J. Agric. Food
นิธมิ า สุม่ ประดิษฐ์, ศิรติ รี สุทธจิตต์, สิตานันท์ พูลผลทรัพย์, รุง่ ทิพย์ ชวนชืน่ Res. 52:101-117.
และภูษติ ประคองสาย. 2558. ภูมทิ ศั น์ของสถานการณ์และการ Schepers, A, Lam, T., Schukken, Y.Wilmink, J. and Hanekamp,
จัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย. ส�ำนักพิมพ์อักษร W. 1997. Estimation of variance components for
กราฟฟิคแอนด์ดีไซน์, กรุงเทพฯ. หน้า 143. somatic cell counts to determine thresholds for
พิพัฒน์ อรุณวิภาส. 2555. ประมวลความรู้ด้านสุขภาพเต้านมในโคนม. uninfected quarters. J Dairy Sci. 80:1833–1840.
เอ็ม พริ้นต์ คอร์ปอเรชั่น, กรุงเทพฯ. หน้า 111. Sharma, N., Singh, N.K., and Bhadwal, M.S. 2011. Relationship
พิพัฒน์ อรุณวิภาส. 2556. ระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์. เอเซียดิจิตอล of somatic cell count and mastitis: An overview. Asian-
พริ้นท์, กรุงเทพฯ. หน้า 127. Australasian J. Anim. Sci. 24(3):429-438.

ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 15

You might also like