Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 11

รายงาน

เรื่อง หนี้

จัดทำโดย
นางสาวจิราภรณ์ สวัสดี รหัส 64302010002

เสนอ
อาจารย์ปัญจรัศม์ ไตรภูริวัฒน์

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา กฎหมายธุรกิจ
ปีการศึกษา 2564
วิทยาลัยเทคนิคโคกสำโรง
คำนำ
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา กฎหมายธุรกิจ ประกอบไปด้วย ความหมายของหนี้
บ่อเกิดแห่งหนี้ วัตถุแห่งหนี้ การชำระหนี้ และความระงับแห่งหนี้
หวังว่า รายงานเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ได้เข้ามาศึกษา ใช้เป็นแนวทางในการจัดการ
เรียนการสอนในอนาคตต่อไป หากมีข้อเสนอแนะประการใด ทางผู้จัดทำยินดีน้อมรับไว้ด้วยความ
ขอบคุณยิ่ง

ผู้จัดทำ
สารบัญ
เรื่อง หน้า
ความหมายของหนี้ 1
บ่อเกิดแห่งหนี้ 2
วัตถุแห่งหนี้ 3
การชำระหนี้ 4
ความระงับแห่งหนี้ 6
บรรณานุกรม 8
1

ความหมายของหนี้
หนี้ หมายถึง หน้าที่ที่บุคคลต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์ของ
อีกฝ่ายหนึ่ง โดยบุคคลที่มีหน้าที่ต้องกระทำการเราเรียกว่า“ ลูกหนี้” ส่วนบุคคลที่รับการกระทำหรือมีสิทธิให้
อีกฝ่ายหนึ่งกระทำเรียกว่า“ เจ้าหนี้” ตัวอย่างเช่น แดงกู้ยืมเงินจากดำแดงมีห น้าที่ที่ต้องชำระเงินคืนแก่ดำ
แดงจึงเป็นลูกหนี้ ส่วนดำมีสิทธิเรียกให้แดงชำระหนี้ ดำจึงเป็นเจ้าหนี้
ในทางกฎหมายอาจจะไม่ได้มีแค่ฝ่ายหนึ่งเป็นลูกหนี้และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าหนี้บุคคลทั้งสองฝ่ายอาจ
เป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ในคราวเดียวกันก็ได้ในสัญญาประเภทต่างตอบแทน เช่น นายขาวจ้างนายเขียวซ่อม
รองเท้า นายขาวมีสิทธิเรียกให้นายเขียวซ่อมรองเท้าให้ตนให้เรียบร้อยเมื่อพิ จารณาเช่นนี้เท่ากับว่านายขาว
เป็นเจ้าหนี้เพราะมีสิทธิเรียกร้องให้นายเขียวซึ่งเป็นลูกหนี้ซ่อมรองเท้าให้กับตน แต่เมื่อพิจารณากลับกันนาย
ขาวมีหน้าที่ชำระเงินค่าซ่อมรองเท้าแก่นายเขียว นั่นคือนายขาวก็เป็นลูกหนี้นายเขียวและนายเขียวเป็นเจ้าหนี้
นายขาวด้วยเช่นกัน
เรื่องหนี้นี้กฎหมายใช้คำว่า“ ฝ่าย” ซึ่งไม่ จำกัด จำนวนคน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งจะมีมากกว่าหนึ่งคนก็
ได้กรณีที่บุคคลหลายคนเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ร่วมกันนั้นเรียกว่า“ หนี้ร่วม” ซึ่งหนี้ร่วมนี้ต้องมีลักษณะเป็นหนี้
ร่วมกันจริงๆหากต่างฝ่ายต่างเป็นหนี้คนคนเดียวกันก็ไม่ เรียกหนี้ร่วมเช่นนายแดงและนายดำต่างก็กู้เงินนาย
ขาวมาคนละ 10,000 บาทเช่นนี้ไม่เข้าลักษณะหนี้ร่วมเพราะไม่ได้ก่อหนี้ร่วมกันและหากบุคคลหลายคน
ร่วมกันเป็นเจ้าหนี้ก็เรียกว่า“ เจ้าหนี้ร่วม” หากบุคคลหลายคนเป็นหนี้ก็เรียก “ลูกหนี้ร่วม”
2

บ่อเกิดแห่งหนี้
หนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องมีบ่อเกิดแห่งหนี้หมายถึงที่มาอันทำให้บุคคลมีหนี้ที่ต้องกระทำต่อกันดังนั้นถ้าไม่มี
บ่อเกิดแห่งหนี้ก็ไม่มีหนี้เมื่อไม่มีหนี้ก็ไม่มีเจ้าหนี้และลูกหนี้อันจะมาบังคับอะไรกันได้โดยบ่อเกิดแห่งหนี้มี
ด้วยกัน 2 ลักษณะคือ
1. นิติกรรมคือการที่บุคคลกระทำลงด้วยใจสมัครและโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อก่อความสัมพันธ์ทาง
กฎหมายขึ้นเช่นตกลงทำสัญญากันบ่อเกิดแห่งหนี้ในลักษณะนี้เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่บุคคลสมัครใจให้เกิดหนีขึ้น
2. นิติเหตุคือเหตุที่ทำให้บุคคลมีหนี้ที่กฎหมายกำหนดขึ้นโดยบุคคลอาจจะไม่สมัครใจเป็นหนี้ แต่
กฎหมายกำหนดว่าเหตุดังกล่าวจัดว่าบุคคลเป็นหนี้และต้องชำระหนี้ ได้แก่
ละเมิด หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยผิ ด
กฎหมายเป็นเหตุให้เขาเสียหายต่อชีวิตร่างกายอนามัยทรัพย์สินเสรีภาพหรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งผู้ละเมิด
จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อผู้เสียหายคือเป็นลูกหนี้ของผู้ถูกละเมิดนั่นเองเช่นเขียวขับรถชนขาวขา
หักเขียวจึงมีหน้าที่ที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายและค่าสินไหมทดแทนเขียวจึงเป็นลูกหนี้ขาวและขาวก็เป็นเจ้าหนี้
เขียว
การจัดการงานนอกสั่ง คือ การที่บุคคลคนหนึ่งเข้าทำบางสิ่งบางอย่างแทนอีกบุคคลหนึ่งโดยที่เขา
มิได้มอบหมาย แต่หากสมประโยชน์แล้วก็อาจเกิดหนี้ขึ้นมาได้เช่นนายขาวไม่อยู่บ้านหลายวันวันหนึ่งเกิดพายุ
ลมแรงหลังคาบ้านของนายขาวเปิดออกนายเขียวซึ่งอยู่บ้านตรงข้ามเห็นว่าหากปล่อยไว้เช่นนี้ทรัพย์สินในบ้าน
ของนายขาวคงเปียกฝนหมดแน่ แต่ก็ไม่สามารถติดต่อนายขาวได้จึงจ้างช่างมาซ่อมหลังคาให้เช่นนี้จัดว่าสม
ประโยชน์แก่นายขาวนายขาวต้องจ่ายค่าซ่อมหลังคาที่นายเขียวออกเงินให้ไปก่อนจึงเท่ากับว่านายขาวเป็น
ลูกหนี้นายเขียว
ลาภมิควรได้ คือ การที่บุคคลหนึ่งได้ทรัพย์จากบุคคลอื่นไม่ว่าด้วยประการใด ๆ โดยปราศจากข้ออ้าง
ทางกฎหมายและทำให้บุคคลอื่นเสียเปรียบทรัพย์สิ่งนั้นถือว่าเป็นลาภมิควรได้ผู้ซึ่งได้รับสิ่งนั้นมาต้องคืนทรัพย์
นั้นเช่นนายแดงจะนำตู้ใส่เอกสารมาส่งให้นายดำซึ่งมีบ้านติดกับนายขาว แต่กลับส่งผิดบ้านมาส่งที่บ้านของ
นายขาวแทนตู้ใส่เอกสารนี้จัดเป็นลาภมิควรได้นายขาวจึงจัดเป็นลูกหนี้ที่ต้องคืนตู้ใส่เอกสารนี้ให้แก่นายแดง
3

วัตถุแห่งหนี้
วัตถุแห่งหนี้คือสิ่งที่เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชำระแบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ
1. ให้กระทำการคือการให้ลูกหนี้ปฏิบัติหรือกระทำการแก่เจ้าหนี้ตามที่ตกลงกันเช่นให้ขับรถซ่อมแซม
บ้านรับฝากทรัพย์สินเป็นต้น
2. ให้งดเว้นกระทําการคือการให้ลูกหนี้งดเว้นการปฏิบัติหรือกระทำการแก่เจ้าหนี้ตามที่ตกลงกันเช่น
ระหว่างอยู่ในสัญญาห้ามไปเป็นโค้ชฟุตบอลให้ทีมอื่นการห้ามประกอบกิจการที่มีลักษณะแข่งขันกับนายจ้าง
เป็นต้น
3. ให้โอนทรัพย์สินส่งมอบกรรมสิทธิ์คือการโอนทรัพย์สินเป็นการชำระหนี้เช่นโอนที่ดินเป็นต้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดไว้ดังนี้
กรณีทรัพย์สิน: หากวัตถุแห่งหนี้ได้ระบุทรัพย์ไว้เป็นประเภทหรือตามเจตนาของคู่กรณีไม่อาจจะ
กำหนดได้ว่าทรัพย์นั้นจะพึงเป็นชนิดอย่างไรลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลางเช่นนายแดงอข้าวสาร
จากนายดำ 10 กระสอบโดยไม่ได้กำหนดว่าต้องการข้าวสารชนิดใดเช่นนี้ให้นายดำส่งมอบชนิดปานกลาง
กรณีเงินตรา: หากหนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินตราต่างประเทศจะส่งใช้เป็นเงินไทยก็ได้การเปลี่ยนเงิน
โดยคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินเช่นนายแดงกู้เงินนายดำไป 100,000 ดอลลาร์
สหรัฐฯนายแดงจะใช้เป็นเงินตราไทยก็ได้โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินกันหาก
เงินตราระบุให้ใช้เงินตราชนิดที่ยกเลิกไม่ใช้กันแล้วก็ให้ใช้เงินตราสกุลที่ใช้กันอยู่ได้คํา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4751/2553 ราคาสินค้าพิพาทกำหนดเป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิงโจทก์จึงฟ้อง
ขอให้ชำระหนี้เป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิงได้ แต่จำเลยมีสิทธิจะส่งใช้หนี้ดังกล่าวเป็นเงินไทยก็ได้โดยให้คิดอัตรา
แลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196
กรณีให้เลือก: เช่นกําหนดให้ชำระหนี้ไว้หลายลักษณะ แต่จะต้องเลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งกฎหมาย
ให้สิทธิในการเลือกนี้เป็นของลูกหนี้เว้นแต่จะได้ตกลงกันกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเช่นนายแดงเปิดร้านขายของชา
แล้วตกลงกับ บริษัท น้ำปลาไทย จำกัด ว่าเมื่อนายแดงซื้อน้ำปลาครบ 100 ลังในรอบ 1 เดือนแล้วจะมีของ
สมนาคุณให้เป็นน้ำปลาฟรี 1 ลังหรือคูปองเงินสด 200 บาทเช่นนี้หากไม่มีการตกลงเป็นอย่างอื่นฝ่ายลูกหนี้ คือ
บริษัท น้ำปลาไทย จำกัด จะเป็นผู้เลือกว่าจะสมนาคุณให้แบบใด
4

การชำระหนี้
การชำระหนี้ หมายถึง การกระทำเพื่อเป็นการปลดเปลื้องภาระหรือหน้าที่ที่เกิดจากหนี้นั้นซึ่งโดย
ปกติลูกหนี้ก็ต้องเป็นผู้ชำระหนี้ แต่กฎหมายยังกำหนดว่าบุคคลภายนอกก็สามารถชำระหนี้ให้ได้เช่นการชำระ
เงิน แต่การชำระหนี้บางลักษณะก็ไม่เปิดช่องให้บุคคลภายนอกมากระทำแทนด้วยเจ้าหนี้คาดหวังในคุณ สมบัติ
ของลูกหนี้เป็นการเฉพาะเช่นจ้างลูกหนี้มาร้องเพลงเขียนรูปให้เป็นต้นและโดยหลักลูกหนี้ก็ควรชำระหนี้ให้
ถูกต้องและตรงเวลาที่ตกลงกับเจ้าหนี้และในทางกลับกันเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้ถูกต้องแล้วเจ้าหนี้ก็ควรต้องรับ
ชำระหนี้ซึ่งมีบางกรณีที่ไม่ได้ตกลงกันว่าจะให้ชำระหนี้ กันในเวลาใดกฎหมายก็ได้กำหนดว่าให้เจ้าหนี้เรียกให้
ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ทุกเมื่อและลูกหนี้ก็ต้องชำระหนี้โดยพลันหากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้อง
ตามที่ตกลงกันเจ้าหนี้ก็มีสิทธิที่จะฟ้องร้องต่อศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้หรือให้ลูกหนี้ใช้ค่าสินไหมทดแทนได้
5

การผิดนัดการชำระหนี้
การผิดนัดการชำระหนี้สามารถพิจารณาได้ 4 กรณีคือ
1. เมื่อไม่มีการกำหนดเวลา แต่เจ้าหนี้ได้แจ้งเตือนแล้วแต่ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้จัดว่าลูกหนี้ผิดนัดการ
ชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2535 จำเลยยืมปุ๋ยและของอื่นไปจากโจทก์เพื่อใช้ในการทำใบยาสูบแม้
จะไม่ได้มีกำหนดเวลาคืนไว้ แต่ตามพฤติการณ์ในการยืมสิ่งของดังกล่าวเพื่อใช้ในฤดูกาลทําใบยาสูบเมื่อสิ้น
ฤดูกาลแล้วก็ต้องส่งชดใช้คืนส่วนที่ใช้แล้วไม่อาจส่งคืนได้ก็ต้องใช้ราคาดังนี้เป็นกรณีที่ไม่ได้กำหนดเวล าชำระ
หนี้ตามวันแห่งปฏิทินเป็นเพียงอนุมานจากพฤติการณ์การที่จำเลยไม่ส่งคืนของที่ยืมเมื่อสิ้นระยะเวลาที่อนุมาน
จากพฤติการณ์ได้นั้นยังไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด แต่ต่อมาเมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยคืนของที่ยืมภายใน
วันที่กำหนดจำเลยไม่คืนจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่กำหนดนั้น
2. เมื่อหนี้มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันเวลาปฏิทินแล้วและลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้จัดว่าลูกหนี้ผิดนัด
เมื่อถึงกำหนดโดยเจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องเตือนเช่นกำหนดว่าลูกหนี้จะชำระหนี้ที่กู้ยืมไปในวันที่ 1 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2558 เมื่อถึงวันที่กำหนดแล้วลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้จัดว่าเป็นการผิดนัดการชำระหนี้ได้ทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2533 การซื้อสินค้ามีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ 60 วันนับ แต่วันที่ส่ง
มอบสินค้าเมื่อจําเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแล้วโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะได้ทวงถามก่อน
แล้วหรือไม่
3. เมื่อไม่มีการกำหนดเวลา แต่มีข้อตกลงให้เจ้าหนี้ยื่นบอกกล่าวลูกหนี้ตามวันเวลาปฏิทินเจ้าหนี้ต้อง
บอกกล่าววันที่ให้ชำระหนี้ก่อนหากถึงวันนั้นแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ค่อยจัดว่าเป็นลูกหนี้ผิดนัดการชำระหนี้เช่น
นายแดงให้นายดำกู้ยืมเงินไป 200,000 บาทโดยไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ แต่มีข้อตกลงให้นายแดงบอกกล่าว
ล่วงหน้า 30 วันหากต้องการให้นายดำชำระหนี้เช่นนี้เมื่อครบกําหนด 30 วันแล้วนายดำยังไม่ชำระหนี้ นายดำ
จึงตกเป็นผู้ผิดนัด
4. หนี้ที่เกิดจากมูลละเมิดเกิดเมื่อมีการทำละเมิดและให้ลูกหนี้ผิดนัดตั้งแต่เวลาทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2539 หนี้อันเกิด แต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมา แต่เวลาที่ทำ
ละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 ดังนั้นจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับ แต่วันทำละเมิดแม้
ค่าเสียหายบางส่วนเป็นค่าเสียหายในอนาคตก็ตามเมื่อลูกหนี้ผิดนัดการชำระหนี้ก่อให้เกิดผลทางกฎหมายคือ
เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายได้ตลอดจนลูกหนี้ต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่
เกิดขึ้นและหากเป็นหนี้ที่ต้องชำระเงินกฎหมายกำหนดให้ลูกหนี้ต้องจ่ายดอกเบี้ยอีกร้อยละ 7.5 ต่อปีด้วย
ตลอดจนถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ของตนเจ้าหน้าที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้หากสภาพหนี้เปิดช่อง
ให้กระทำเช่นนั้นได้
6

ความระงับแห่งหนี้
ความระงับแห่งหนี้หมายถึงความหมดไปแห่งหนี้โดยหนี้จะหมดไปด้วยเหตุ 5 ประการคือ
1. การชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีอำนาจรับชำระหนี้หรืออาจชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกก็ได้หาก
สภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้กระทำได้และจะชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
คำพิพากษาศาลฎี กาที่ 2948/2535 ข. ขับรถยนต์ช นรถยนต์ของโจทก์เสียหายเจ้า พนั ก งาน
เปรียบเทียบปรับข. และทำบันทึกตกลงทางแพ่งไว้ว่าจำเลยขอรับชดใช้ในมูลละเมิดทั้งหมดและรับชดใช้ซ่อม
รถยนต์โจทก์ให้อยู่ในสภาพเดิมเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกขอเข้ามาชำระหนี้แทนข. ลูกหนี้แม้
บันทึกดังกล่าวจะไม่ใช่หนังสือรับสภาพหนี้มีผลผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิด
2. การปลดหนี้คือการที่เจ้าหนี้ยอมยกหนี้ให้ลูกหนี้ไม่ต้องชำระหนี้ต่อไปการปลดหนี้โดยปกติทำได้โดย
การแสดงเจตนาโดยเจ้าหนี้ก็เพียงพอ แต่หากหนี้มีหนังสือเป็นหลักฐานการปลดหนี้ก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2485 หนี้ที่มีหลักฐานเป็นหนังสือหากจะมีการปลดหนี้เช่นไม่ต้องเสีย
ดอกเบี้ยต่อไปก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย
3. การหักกลบลบหนี้คือการหักกลบหนี้ที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นลักษณะเดียวกันเช่นนายแดงเป็นหนี้เงินกู้
นายดำ 700,000 บาทต่อมานายดำซื้อสินค้าของนายแดงมูลค่า 200,000 บาทก็สามารถนำเงิน 200,000 บาท
มาหักกลบลบหนี้ 700,000 บาทคงเหลือหนี้ที่นายแดงต้องชำระแก่นายดำ 500,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2516 จำเลยเป็นหนี้เงินกู้โจทก์และโจทก์เป็นหนี้ค่าจ้างว่าความจำเลย
อยู่สองคดีจำเลยย่อมอยู่ในฐานะที่อาจหักกลบลบหนี้ได้
7

4. การแปลงหนี้ใหม่โดยคู่กรณีเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของหนี้ทำให้หนี้เดิมระงับแล้วให้เป็นไปตาม
หนี้ใหม่เช่นนายแดงตกลงให้นายดำต่อเติมห้องครัวหลังจากต่อเติมได้ส่วนหนึ่งนายแดงต้องการให้นายเขียวมา
ต่อเติมแทนแล้วให้นายดำมาสร้างโรงจอดรถแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5329/2538 จำเลยทำสัญญาแปลงหนี้จากหนี้เดิมตามตั๋วสัญญาใช้เงินเป็น
หนี้เงินกู้แม้หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจะขาดอายุความแล้ว แต่เมื่อโจทก์จำเลยยังมีหนี้เดิมต่อกันตามตั๋วสัญญาใช้
เงินสัญญากู้ที่แปลงหนี้มาก็ย่อมมีมูลหนี้โจทก์จำเลยจึงต้องผูกพันกันตามหนังสือสัญญาแปลงหนี้ดังกล่าวจำเลย
จึงไม่มีสิทธิยกอายุความตามตั๋วสัญญาใช้เงินขึ้นต่อสู้กับโจทก์
5. หนี้เกลื่อนกลืนกันคือสิทธิและหน้าที่ในหนี้ตกอยู่ในบุคคลรายเดียวกันเช่นลูกยืมเงินพ่อ 100,000
บาทเท่ากับว่าพ่อเป็นเจ้าหนี้ลูกต่อมาพ่อถึงแก่ความตายสิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ตกมาอยู่ที่ลูกด้วยเช่ นนี้หนี้เงินกู้
100,000 บาทก็ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5758/2539 โจทก์ทำสัญญาเช่าและสัญญาใช้สิทธิเหนือพื้นดินกับจำเลย
จำเลยที่โอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และเมื่อกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโอนไปเป็นของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมรับโอนไป
ทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งรวมทั้งสิทธิที่จะเก็บค่าเช่าด้วยเช่นนี้กฎหมายให้ถือว่าหนี้เป็นอันระงับด้วยเกลื่อนกลืนกัน
8

บรรณานุกรม
สัจจาวุฒิ รอดสำราญ. กฎหมายธุรกิจ. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช
2563

บทที่ 2 หนี ้ - กฎหมายธุรกิจ (google.com)

You might also like