Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 30

88

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ASEAN Socio - Cultural Community
--------------------------------------------------------------------------------
1. พัฒนาการความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน
นับตั้งแต่ก่อนการก่อตั้งอาเซียนเมื่อปี พ.ศ.2510 นั้น ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ได้มีความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและวัฒนธรรมมาอย่างต่อเนื่องทั้งทางด้าน
สั ง คม ด้ า นการศึ ก ษา ด้ า นสาธารณสุ ข ด้ า นสารสนเทศ ด้ า นการพั ฒ นาสตรี เด็ ก และเยาวชน
ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการขจัดความยากจน ด้านการพัฒนาชนบท
ด้านการพัฒนาและส่งเสริมสวัสดิการสังคม ด้านการจัดการด้านภัยพิบัติ ด้านแรงงานและด้านอื่นๆ
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. ด้านสังคม ได้มีการกระชับความร่วมมือเพื่อสร้างสันติสุขในภูมิภาค โดยมีความร่วมมือ
กันในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ การก่อการร้าย การค้า
อาวุธ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจและคอมพิวเตอร์ รวมทั้งให้ความสําคัญกับการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์เพื่อเป็นกลไกสําคัญในการลดช่องว่างระหว่างประเทศ (สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ,
2555 ค)
2. ด้านการศึกษา ในระดับอุดมศึกษาได้เกิดเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN
University Network : AUN) ซึ่งเป็นแกนหลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของภูมิภาค และมีการ
จัดตั้งมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและนักวิชาการ
ตลอดจนการมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชน สร้ า งความตระหนั ก รู้ เ กี่ ย วกั บ อาเซี ย น มี ก ารสนั บ สนุ น
การจัดทําโครงข่ายรองรับทางสังคม เพื่อบรรเทาผลกระทบทางสังคมจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมทั้งมี
การก่อตั้งองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Ministers of
Education Organization : SEAMEO) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2508 (สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ,
2555 ข)
3. ด้านสาธารณสุข มีความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจังตั้งแต่ปี พ.ศ.2515
จนถึงปี พ.ศ.2541 และต่อมาได้มีมติให้ ปี พ.ศ.2545 – พ.ศ.2546 เป็นปีแห่งการปลูกจิตสํานึกในการ
ต่อต้านยาเสพติดในอาเซียน และที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วย
การปลอดยาเสพติดอาเซียนในปี พ.ศ.2563 (กระทรวงการต่างประเทศ กรมอาเซียน, 2548)
89

นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตระหนักถึงภัยอันเกิดจากการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว
ของโรคเอดส์ในเอเชียและผลกระทบที่จะมีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังนั้น
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2544 จึงได้กําหนดระเบียบวาระ
โดยเฉพาะสําหรับหารือเรื่องโรคเอดส์ (ASEAN Summit Session on HIV/AIDS) และที่ประชุม
ยังได้รับรองปฏิญญาของการประชุมสุดยอดอาเซียนว่าด้วยโรคเอดส์ ปี พ.ศ.2545 – พ.ศ.2548
(7th ASEAN Summit Declaration on HIV/AIDS 2002 – 2005) ด้วย (กรมองค์การระหว่างประเทศ
กองการสังคม, 2548)
4. ด้านสารสนเทศ ได้มีการก่อตั้งสภาบรรณารักษ์ แห่ งภูมิ ภาคเอเชียตะวันออกเฉีย งใต้
(Congress of Southeast Asian Librarians - CONSAL) ขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อปี พ.ศ.2513
วัตถุประสงค์หลักเพื่อความร่วมมือในระหว่างประเทศสมาชิกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการพัฒนา
ห้องสมุดของแต่ละประเทศ (ประจักษ์ วัฒนานุสิทธิ์, 2555)
5. ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน เกิดโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ (Ship for
Southeast Asian Youth Program) ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมมิตรภาพและความเข้าใจ
อันดีระหว่างเยาวชนญี่ปุ่นและเยาวชนอาเซียนเมื่อปี พ.ศ.2527 (สํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและ
พิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ, 2555 : 1)
6. ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม ได้ เ ริ่ ม โครงการความร่ ว มมื อ ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มเป็ น ครั้ ง แรกในปี
พ.ศ.2520 และได้จัดทําโครงการสิ่งแวดล้อมของอนุภูมิภาคอาเซียน ระยะที่ 1 (ASEAN Subregional
Environment Programme I : ASEP I) โดยคณะกรรมการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ
อาเซียน (การดําเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยภายใต้กรอบอาเซียน, 2555)
7. ด้านอื่นๆ เช่น ความร่วมมือด้านกีฬาซีเกมส์ มหกรรมนาฎศิลป์อาเซียน วรรณกรรมซีไรต์
และดนตรีอาเซียน เป็นต้น

2. การจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ปี พ.ศ.2549 ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
ผู้นําอาเซียนได้แสดงเจตนารมณ์ในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 (Declaration
of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี
พ.ศ.2563 (ค.ศ.2020) ซึ่งประกอบด้วยประชาคม 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความ
90

มั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


(ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN
Socio- Cultural Community : ASCC) ในส่วนของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนมี
เป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน
ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี และมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของ
ประชาชน ส่งเสริมการให้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน ทั้งนี้
ได้จัดทําแผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community Plan of
Action) เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งเน้น 4 ด้าน ได้แก่ 1) การสร้างประชาคมแห่งสังคม
ที่เอื้ออาทร 2) แก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ 3) ส่งเสริมความ
ยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง และ 4) ส่งเสริมความเข้าใจระหว่าง
ประชาชนในระดับรากหญ้า การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รวมทั้งรับรู้ข่าวสารซึ่งจะเป็น
รากฐานที่จะนําไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ผู้นํา
อาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ปี พ.ศ.2558 (Cebu
Declaration on the Acceleration of the Establishment of an ASEAN Community by
2015) เพื่อเร่งรัดการเป็นประชาคมอาเซียนเร็วขึ้นอีก 5 ปี คือ จากปี พ.ศ.2563 เป็นปี พ.ศ.2558
(สํานักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 3, 2555) ปัจจุบันอาเซียนอยู่ระหว่างการ
ดําเนินการตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural
Community Blueprint) และมีกลไกดําเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขา (Sectoral Meeting)
ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Offcials Meeting) ระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting) คณะ
มนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Council)
รวมทั้งการประชุมคณะกรรมการด้านสังคมและวัฒนธรรม (Senior officials Comittee for ASEAN
Socio-Cultural Community)

• วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนมีเป้าหมายหลักคือ การยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกด้าน
ให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดีในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม และพร้อมรับมือกับผลกระทบ
อันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ ตลอดจนมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน มีสํานึกความเชื่อมโยง
ทางประวัติศาสตร์มรดกทางวัฒนธรรมและมีสํานึกร่วมในอัตลักษณ์ของภูมิภาค เพื่อสร้างให้เกิดสํานึก
91

การเป็นเพื่อนบ้านที่ดีและมีความรับผิดชอบ อันจะนําไปสู่การสร้างให้ประชาคมอาเซียนเป็นสังคม
แห่งความห่วงใยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยมีแผนงานที่สําคัญ ดังนี้
1. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการสนับสนุนการศึกษา สนับสนุนให้ประชาชนใช้ประโยชน์
จากเทคโนโลยี ส ารสนเทศให้ ม ากขึ้ น ตลอดจนสนั บ สนุ น ให้ ป ระชาชนเสริ ม ทั ก ษะในการเป็ น
ผู้ประกอบการให้มากขึ้น
2. ส่งเสริมสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ด้วยการยกระดับความเป็นอยู่ให้พ้น
จากความยากจน เสริ ม สร้ า งเครื อ ข่ า ยทางสั ง คมเพื่ อ รั บ มื อ กั บ ผลกระทบที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น จาก
กระบวนการพัฒนาและการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหาร พัฒนา
ระบบสาธารณสุข และเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับประชาชน ต่อต้านยาเสพติดและให้อาเซียนเป็น
สังคมที่พร้อมรับมือกับภัยพิบัติได้
3. ส่งเสริมความยุติธรรมและสิทธิทางสังคมด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิ ตลอดจน
สวัสดิการของประชาชนและแรงงานอพยพ
4. ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการและการป้องกันปัญหามลพิษทาง
สิ่งแวดล้อมข้ามแดน เช่น มลพิษหมอกควันข้ามแดน มลพิษจากของเสียที่มีพิษข้ามแดน เป็นต้น
5. สร้างอัตลักษณ์อาเซียนโดยการส่งเสริมให้ประชาชนอาเซียนเกิดสํานึกร่วมในเอกภาพ
ท่ามกลางความหลากหลาย ส่งเสริมให้ประชาชนอาเซียนเกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกันทั้งในด้าน
วั ฒ นธรรม ประวั ติ ศ าสตร์ แ ละศาสนา ส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด สํ า นึ ก ร่ ว มในความเป็ น เจ้ า ของมรดกทาง
วัฒนธรรมของอาเซียน และส่งเสริมให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและสินค้าวัฒนธรรม
ของอาเซียน (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2555 ก)
ในการนี้ เพื่อให้การดําเนินการเป็นไปตามเป้าหมายหลักข้างต้น อาเซียนจึงเน้นการส่งเสริม
ความร่วมมือในด้านสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ เช่น
1. การพัฒนาสังคม โดยการยกระดับความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่อาศัยในถิ่น
ทุรกันดาร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มต่างๆ ในสังคม
2. การพัฒนาการฝึกอบรม การศึกษาระดับพื้นฐานและสูงกว่าการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี การสร้างงาน และการคุ้มครองทางสังคม
3. การส่งเสริมความร่วมมือในด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันและควบคุม
โรคติดต่อ เช่น โรคเอดส์ และโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
4. การจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
92

5. การส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน นักคิดและศิลปินในภูมิภาค (ศูนย์เทคโนโลยี


ทางการศึกษา, 2555)

• สาระสําคัญของแผนการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ในการมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน คราวประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งที่ 13 ที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2550 ได้เห็นพ้องให้จัดทําแผนงานการ
จัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)
เพื่อรองรับการดําเนินมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน
ได้แก่ (กระทรวงการต่างประเทศ กรมอาเซียน, 2555 ก)
1. การพัฒนามนุษย์ (human development)
2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (social welfare and protection)
3. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (social justice and rights)
4. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (environmental sustainability)
5. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (building an ASEAN identity)
6. การลดช่องว่างทางการพัฒนา (narrowing the development gap)
โดยมีองค์ประกอบย่อยของแต่ละด้าน ดังนี้ (กระทรวงมหาดไทย สํานักบริหารการทะเบียน,
2552)
1. การพัฒนามนุษย์
อาเซียนจะส่งเสริมความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยประชาชนเข้าถึง
โอกาสอย่างเที่ยงธรรมในการพัฒนามนุษย์ มีการส่งเสริมและลงทุนในด้านการศึกษาและการเรียนรู้
ตลอดชีวิต การฝึกอบรมและการเสริมสร้างขีดความสามารถ ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบการ
ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์เชิงประยุกต์และเทคโนโลยีในการ
ดําเนินกิจกรรมการพัฒนาทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ
1.1 ให้ความสําคัญกับการศึกษา
เน้นการบูรณาการด้านการศึกษาให้เป็นวาระการพัฒนาของอาเซียน การสร้างสังคมความรู้
โดยส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง ส่งเสริมการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กปฐมวัย และ
93

การสร้างความตระหนักรับรู้เรื่องอาเซียนในกลุ่มเยาวชน ผ่านทางการศึกษาและกิจกรรมต่างๆ เพื่อ


สร้างอัตลักษณ์อาเซียนบนพื้นฐานของมิตรภาพและความร่วมมือซึ่งกันและกัน
1.2 การลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ของอาเซียน โดยดําเนินกิจกรรมเชิงยุทธศาสตร์
และพัฒนาคุณสมบัติ ความสามารถ การเตรียมความพร้อมที่ดีให้กับแรงงานอาเซียน เพื่อที่จะเอื้อต่อ
การรับมือกับประโยชน์และกับสิ่งท้าทายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการรวมตัวในภูมิภาคได้
1.3 ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม
เน้นส่งเสริมให้รวมหลักการการทํางานอย่างถูกต้องและเหมาะสมไว้ในวัฒนธรรมการทํางาน
ของอาเซียน รวมถึงสุขภาพและความปลอดภัยในที่ทํางาน และทําให้เกิดความมั่นใจว่าการส่งเสริม
การบริ ห ารกิ จ การจะเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของนโยบายการจ้ า งงานของอาเซี ย นเพื่ อ ให้ บ รรลุ ผ ลตาม
ยุทธศาสตร์การจ้างงาน
1.4 ส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ
เน้นการดําเนินโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งเสริมการปฏิบัติตามข้อริเริ่มของภูมิภาค
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.5 การอํานวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประยุกต์
พัฒนานโยบายและกลไกเพื่อสนับสนุนความร่วมมือในด้านการวิจัย การพัฒนาทางด้าน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การถ่ายทอดเทคโนโลยีรวมทั้งในเชิงพาณิชย์ การจัดตั้งเครือข่ายสถาบัน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.6 เสริมสร้างทักษะในการประกอบการสําหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
เน้นส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่ม
ชายขอบในกําลังแรงงานที่มีผลผลิต โดยการฝึกอบรมการฝีมือเพื่อปรับปรุงคุณภาพความเป็นอยู่
ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาชาติและการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
1.7 พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ
เน้นการจัดตั้งระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีความรับผิดชอบและมีความน่าเชื่อถือ
โดยการเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในระบบราชการของอาเซียน และเพิ่มความร่วมมือ
ระหว่างรัฐสมาชิกอาเซียน
94

2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
อาเซียนมีพันธกรณีในการส่งเสริมความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนโดยลด
ความยากจนและส่งเสริมการคุ้มครองและสวัสดิการสังคม การสร้างสภาพแวดล้อมที่มั่นคง ปลอดภัย
และปลอดยาเสพติ ด การเตรี ย มความพร้ อ มเรื่ อ งภั ย พิ บั ติ และการจั ด การกั บ ข้ อ กั ง วลเกี่ ย วกั บ
การพัฒนาสุขภาพ
2.1 การขจัดความยากจน
เน้นการแก้ ไขปัญหาความเหลื่อมล้ําในด้านสังคมและเศรษฐกิจระหว่ างประเทศสมาชิ ก
อาเซียน รวมถึงการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals :
MDGs) ของสหประชาชาติในด้านการกําจัดความยากจนและความหิวโหย
2.2 เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและความคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบจากการรวมตัว
อาเซียนและโลกาภิวัฒน์
ให้ความมั่นใจว่าประชาชนอาเซียนทุกคนได้รับสวัสดิการสังคมและการคุ้มกันจากผลกระทบ
เชิงลบจากโลกาภิวัตน์และการรวมตัว โดยพัฒนาคุณภาพ ความครอบคลุม และความยั่งยืนของ
การคุ้มครองทางสังคม และเพิ่มความสามารถในการจัดการความเสี่ยงทางด้านสังคม
2.3 ส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร
ให้ความมั่นใจว่าประชาชนอาเซียนทุกคนมีอาหารเพียงพอตลอดเวลา และให้ความมั่นใจ
ในความปลอดภัยด้านอาหารในประเทศสมาชิกอาเซียน
2.4 การเข้าถึงการดูแลสุขภาพและส่งเสริมการดํารงชีวิตที่มีสุขภาพสมบูรณ์
เน้นการเข้าถึงการรักษาสุขภาพ การบริการทางการแพทย์และยาที่เพียงพอและราคาถูก
และส่งเสริมให้ประชาชนอาเซียนดํารงชีวิตที่มีสุขภาพสมบูรณ์
2.5 การเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ
เสริมสร้างความพร้อมและประสิทธิภาพในระดับภูมิภาค โดยบูรณาการแนวทางการป้องกัน
การเฝ้าระวัง ควบคุม และการสนองตอบที่ทันเวลาเพื่อแก้ปัญหาโรคติดต่อและโรคติดเชื้ออุบัติใหม่
2.6 รับประกันอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด
ลดการเสพยาเสพติดที่ผิดกฎหมายในหมู่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียน เยาวชน
และกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง โดยเน้นมาตรการป้องกันและส่งเสริมการเข้าถึงวิธีการรักษา การฟื้นฟู
เพื่ อกลับเข้าสู่สั งคมอีกครั้ง และการบริ การหลั งการบําบัดเพื่อให้กลับเข้าสู่สังคมอย่างเต็มที่โดย
ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรภาคประชาสังคม
95

2.7 การสร้างรัฐที่พร้อมรับกับภัยพิบัติและประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
เสริมสร้างกลไกให้มีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันและลดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สิน
ทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของประเทศสมาชิกอาเซียนอันเกิดจากภัยพิบัติ และร่วมมือกัน
จัดการกับภัยพิบัติฉุกเฉินโดยใช้ความพยายามของรัฐบาล และความร่วมมือในระดับภูมิภาคและ
ระหว่างประเทศ

3. ความยุติธรรมและสิทธิ
อาเซียนมีพันธกรณีในการส่งเสริมความยุติธรรม โดยให้สิทธิของประชาชนสะท้อนอยู่ใน
นโยบายและทุกวิถีของชีวิต ซึ่งรวมถึงสิทธิและสวัสดิการสําหรับกลุ่มด้อยโอกาสและกลุ่มที่อ่อนแอ
เช่น สตรี เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน เป็นต้น
3.1 การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการสําหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
ปกป้องผลประโยชน์ สิทธิ รวมทั้งส่งเสริมโอกาสอย่างเท่าเทียม และยกระดับคุณภาพชีวิต
มาตรฐานการดํารงชีพสําหรับสตรี เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
3.2 การคุ้มครองและส่งเสริมแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน
ส่งเสริมให้นโยบายแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานมีความครอบคลุมและมีการคุ้มครองที่เหมาะสม
ตามกฎหมาย ระเบียบ และนโยบายของแต่ละประเทศสมาชิก และการดําเนินการให้สอดคล้องกับ
ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน
3.3 ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ
ส่งเสริมให้เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจรวมไว้ในเรื่องที่ภาคธุรกิจต้อง
ดําเนินการเพื่อให้มีส่วนในการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศสมาชิกอาเซียน

4. ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
อาเซี ย นจะมุ่ ง สู่ ก ารพั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น รวมทั้ ง ส่ ง เสริ ม สิ่ ง แวดล้ อ มที่ เ ขี ย วและสะอาดโดย
การปกป้องทรัพยากรทางธรรมชาติเพื่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการจัดการบริหาร
อย่างยั่งยืนและการอนุรักษ์ดิน น้ํา แร่ธาตุ พลังงาน ความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าไม้ ทรัพยากร
ชายฝั่งและทรัพยากรทางทะเล รวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพน้ําและอากาศสําหรับภูมิภาคอาเซียน
อาเซียนจะมีส่วนร่วมในความพยายามของโลก ในการจัดการแก้ปัญหาสิ่งท้าทายสิ่งแวดล้อมโลก
รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและคุ้มครองชั้นโอโซน เช่นเดียวกับการพัฒนาและการปรับใช้
เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมสําหรับการพัฒนาและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
96

4.1 การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก
แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกโดยปราศจากผลกระทบต่อหลักการแข่งขันและการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคม โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักความเท่าเทียม ยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพ และหลักการ
ความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง โดยสะท้อนถึงสภาพการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม
ของประเทศที่แตกต่างกัน
4.2 การจัดการและการป้องกันปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมข้ามแดน
ดําเนินมาตรการและส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ เพื่อต่อต้าน
ปัญ หามลพิษจากสิ่ งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงปัญหามลพิษ หมอกควันข้ ามแดน การเคลื่อนย้ายปฏิ กูล
อันตรายข้ามแดน โดยการเสริมสร้างขี ดความสามารถ ส่งเสริมการตระหนั กรับรู้ต่อสาธารณชน
เพิ่มอํานาจการบังคับใช้กฎหมาย และสนับสนุนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และดําเนินการ
ตามความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษหมอกควันข้ามแดน
4.3 ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชน
ทําให้ อาเซียนมีสภาพแวดล้อมเขียวและสะอาด มั่งคั่งด้วยประเพณีวัฒนธรรม เป็นที่ซึ่ง
ค่านิยมและธรรมเนียมปฏิบัติของประชาชนสอดคล้องกลมกลืน และประสานกับธรรมชาติด้วยการที่
ประชาชนมี ค วามรู้ ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม เต็ ม ไปด้ ว ยชาติ พั น ธุ์ ท างสิ่ ง แวดล้ อ มและมี ค วามตั้ ง ใจและ
ความสามารถในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาค โดยผ่านทางการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
และการมีส่วนร่วมของประชาชน
4.4 ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม
ใช้เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบรรลุเป้าหมายเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยให้มีผลกระทบ
น้อยที่สุดต่อสิ่งแวดล้อม
4.5 ส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานการดํารงชีวิตในเขตเมืองต่างๆ ของอาเซียน และเขตชุมชน
เพื่อรับประกันว่าเขตเมืองและชุมชนในอาเซียน มีสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน รองรับความต้องการ
ของประชาชนในด้านสังคมและเศรษฐกิจได้
4.6 การทําการประสานกันเรื่องนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูล
ส่งเสริมความพยายามที่เหมาะสมที่จะประสานนโยบายด้านสิ่ งแวดล้ อมและฐานข้อมู ล
ทีละขั้น โดยคํานึงถึงสภาวะแวดล้อมระดับชาติของประเทศสมาชิก เพื่อสนับสนุนการบูรณาการ
ด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและเป้าประสงค์ด้านเศรษฐกิจของภูมิภาค
4.7 ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรชายฝั่ง และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน
97

สร้างหลักประกันเรื่องสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งว่าจะได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ระบบนิเวศตัวอย่าง พืชและพื้นที่ดั้งเดิมได้รับการคุ้มครอง การดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้รับการ
จัดการอย่างยั่งยืน และการตระหนักรับรู้และได้รับการปลูกฝังเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางทะเลและ
ชายฝั่ง
4.8 ส่งเสริมการจัดการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ
อย่างยั่งยืน
ให้ความมั่นใจว่าความหลากหลายทางชีวภาพที่สมบูรณ์ของอาเซียนจะได้รับการรักษาและ
จัดการอย่างยั่งยืนโดยการเสริมสร้างสภาวะที่ดีทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
4.9 ส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรน้ําจืด
ส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรน้ําจืด โดยให้ความเชื่อมั่นในเรื่องการเข้าถึงทรัพยากรน้ํา
อย่างเท่าเทียมกัน และคุณภาพที่ได้รับการยอมรับได้ในปริมาณที่เพียงพอ เพื่อรองรับความต้องการ
ของประชาชนอาเซียน
4.10 การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการต่อผลกระทบ
ส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลง
ทางสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม สุขภาพและสิ่งแวดล้อม
ในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยดําเนินมาตรการในการบรรเทาและการปรับตัวบนพื้นฐานของหลัก
ความเป็นธรรม ความยืดหยุ่น การมีประสิท ธิภาพและความรับผิดชอบร่วมกัน และแตกต่ างกัน
ตามขีดความสามารถ รวมทั้งสะท้อนสภาวะที่แตกต่างทางสังคมและเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
4.11 ส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน
ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืนและขจัดกิจกรรมที่
ไม่ยั่งยืน รวมถึงการดําเนินการปราบปรามการลักลอบตัดไม้ที่ผิดกฎหมายและการค้าที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
โดยการเสริมสร้างขีดความสามารถ การถ่ายโอนเทคโนโลยีและส่งเสริมการตระหนักรับรู้และส่งเสริม
การบังคับใช้กฎหมายและธรรมาภิบาล

5. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
อัตลักษณ์อาเซียนเป็นพื้นฐานด้านผลประโยชน์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็น
ตัวตนร่วมกัน จารีต ค่านิยม และความเชื่อ รวมทั้งความปรารถนาในฐานะประชาคมอาเซียน อาเซียน
จะส่งเสริมให้ตระหนักและมีค่านิยมร่วมกันในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันท่ามกลางความแตกต่าง
ในทุกชั้นของสังคม
98

5.1 ส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียน และความรู้สึกของการเป็นประชาคม


สร้างความรู้สึกของความเป็นเจ้าของ และการรวมกันเป็นเอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย
และส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในเรื่องวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ศาสนา
และอารยธรรม
5.2 การส่งเสริมและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน
ส่งเสริมการสงวนและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับ
ประชาคมว่าจะส่งเสริมความตระหนักรับรู้และความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่เป็น
เอกลั ก ษณ์ข องภูมิ ภ าค และความคล้ ายคลึงกัน ทางวัฒ นธรรมและความแตกต่ างทางวัฒ นธรรม
ของประเทศสมาชิก รวมทั้งเพื่อปกป้องความเป็นเอกลักษณ์ของมรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน
ในภาพรวม
5.3 ส่งเสริมการสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมและอุตสาหกรรม
ส่งเสริ ม อั ตลัก ษณ์ อาเซี ยนและการดํ ารงอยู่ร่ วมกันของอาเซีย น โดยการสร้า งสรรค์ ท าง
วัฒนธรรม และการส่งเสริมและร่วมมือกันในอุตสาหกรรมด้านวัฒนธรรม
5.4 การมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน
เพื่อปลูกฝังอัตลักษณ์อาเซียนและสร้างอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางในการก่อตั้ง
ประชาคมโดยสนับสนุนทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วม

6. การลดช่องว่างทางการพัฒนา
เสริมสร้างความร่วมมือเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาโดยเฉพาะมิติการพัฒนาด้านสังคม ระหว่าง
ประเทศสมาชิกเก่า 6 ประเทศ และประเทศสมาชิกใหม่ (Cambodia-Laos-Myanmar-Vietnam :
CLMV) และในพื้นที่ของอาเซียนที่ถูกทอดทิ้งและด้อยพัฒนา

3. การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – พ.ศ.2559) ได้ให้ความสําคัญ
กับการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนไว้ครอบคลุมทั้งด้านการเมือง
และความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรม ในส่วนของสังคมและวัฒนธรรม แผนพัฒนาฯ
ฉบั บ ที่ 11 ได้ก ล่ า วถึ ง แนวทางการเตรี ย มความพร้ อ มเข้า สู่ ป ระชาคมสัง คมและวั ฒ นธรรมไว้ ใ น
ยุทธศาสตร์เช่นกัน โดยขอนําเสนอส่วนที่สําคัญ ดังนี้ (ทศพนธ์ นรทัศน์, 2555)
99

ยุทธศาสตร์การพัฒนา การเตรียมความพร้อมในการเป็น
ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคม - สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรมร่วมกับ
แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ประชาคมโลก โดยเฉพาะประชาคมอาเซียน เพื่อให้
เกิ ด การไหลเวี ย นทางวั ฒ นธรรมในรู ป แบบการ
แลกเปลี่ ยนเรี ยนรู้ ที่ จะช่ วยลดความเหลื่ อมล้ํ าทาง
ความคิดและค่านิยม และเพื่อประโยชน์ในการพัฒนา
ประชาคมอาเซียนร่วมกัน

2. ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยง - ยกระดั บ การให้ บ ริ ก ารด้ า นสุ ข ภาพและบริ ก าร


ทางเศรษฐกิ จ และความมั่ น คงใน ด้านสาธารณสุข ทั้งบุคลากรและมาตรฐานการให้
ภูมิภาค บริ การ เพื่ อก้ าวสู่ การเป็ นศู นย์ กลางการให้ บริ การ
สุขภาพของภูมิภาค (medical hub)
- เสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันการศึกษาทั้งของ
รั ฐและเอกชนให้ มี มาตรฐานเป็ นที่ ยอมรั บในระดั บ
สากล ตลอดจนการยกระดับทักษะฝีมือแรงงานและ
ทักษะด้านภาษา เพื่อเตรียมความพร้อมของแรงงาน
ไทยเข้าสู่ตลาดแรงงานในภูมิภาคอาเซียน โดยไทยมี
บทบาทนําในอาเซียนร่วมกับประเทศอื่นที่มีศักยภาพ

3 . ยุ ท ธ ศ า ส ต ร์ ก า ร จั ด ก า ร ด้ า น - การพัฒนาความร่วมมือในกลุ่มอาเซียนเพื่อประโยชน์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่ ว มกั น โดยเฉพาะความร่ ว มมื อ ในการพั ฒ นาทาง
อย่างยั่งยืน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การลดก๊าซเรือนกระจก
และการปรับตัว รวมทั้งการบริหารจัดการและการใช้
ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างยั่งยืน อาทิ ด้าน
ทรัพยากรน้ํา ความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจน
สร้างแนวร่วม เพื่อสร้างอํานาจต่อรองในเวทีระหว่าง
ประเทศด้านการค้า การลงทุนและสิ่งแวดล้อม
100

นอกจากนี้ มีหลายหน่วยงานของภาครัฐที่รับผิดชอบในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคม
สังคมและวัฒนธรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. คณะทํางานการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับคณะทํางานการเกษตร
และสหกรณ์ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดสัมมนาเรื่องการเตรียมความพร้อมของ
ประเทศไทยเข้ า สู่ ป ระชาคมอาเซี ย นด้ ว ยปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งด้ า นทรั พ ยากรธรรมชาติ
สิ่ ง แวดล้ อ มและการเกษตร เพื่ อ ศึ ก ษารวบรวมข้ อ เท็ จ จริ ง ทั้ ง ประโยชน์ ที่ ป ระเทศไทยจะได้ รั บ
ตลอดจนศักยภาพความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน ที่เกี่ยวข้องกับ
สถานการณ์ปัญหาและผลกระทบด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและด้านการเกษตรกรรม
รวมทั้งแนวทางการป้องกันและแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น (ประชาไท, 2554)
2. สํา นักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ได้รั บมอบหมายให้รั บผิดชอบ
ด้านการพัฒนามนุษย์ ในหัวข้อการพัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ หรือการสร้างศักยภาพของ
ระบบราชการ (building civil service capability) และด้านสิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
ในหัวข้อการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (Promoting Corporate Social
Responsibility : CSR) ซึ่งสํานักงาน ก.พ. ได้ดําเนินการมาอย่างต่อเนื่อง (สํานักงานข้าราชการพลเรือน,
2554)
การสร้างศักยภาพของระบบราชการ
สํานักงาน ก.พ. ได้ดําเนินการจัดทํายุทธศาสตร์พร้อมแผนงานโครงการตามแผนการดําเนินงาน
ด้านกิจการพลเรือนอาเซียน พ.ศ.2553 – พ.ศ.2558 (ACCSM Work Plan 2010-2015) โดยส่งให้
ฝ่ายเลขานุการอาเซียนเรียบร้อยแล้ว กิจกรรมต่างๆ ที่สํานักงาน ก.พ.ได้ดําเนินการภายใต้แผนงาน
ข้างต้น ได้แก่
1) สํานักงาน ก.พ. ในฐานะ ASEAN Resource Center on Leadership Development
ได้ พั ฒ นาแนวทางการสร้ า งผู้ นํ า ในราชการพลเรื อ นของไทยทั้ ง ในด้ า นการสรรหา การพั ฒ นา
การเตรียมความพร้อม การแต่งตั้งและการส่งเสริมคุณธรรมของนักบริหารอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้ปรากฏ
ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
2) สํานักงาน ก.พ. ได้จัดอบรมหลักสูตรต่างๆ อย่างต่อเนื่องสําหรับประเทศสมาชิกอาเซียน
ทั้งในส่วนที่สํานักงาน ก.พ. จัดขึ้นโดยตรง หรือในส่วนที่จัดให้ตามความต้องการของประเทศสมาชิก
เช่น
101

2.1 หลักสูตร HR Management สําหรับข้าราชการจากประเทศกัมพูชา เป็นต้น


2.2 สํานักงาน ก.พ. ได้จัดทําโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสํานักงาน ก.พ.
กับประเทศสมาชิกอาเซียนระหว่างปี พ.ศ.2533 – พ.ศ.2555 รวมทั้งสิน้ 19 โครงการ ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1 ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในราชการพลเรือน
กลุ่มที่ 2 ด้านการส่งเสริมและพัฒนาภาวะผู้นํา
กลุ่มที่ 3 ด้านการส่งเสริมการบริหารทรัพยากรบุคคลมืออาชีพ
กลุ่มที่ 4 ด้านความร่วมมือแบบทวิภาคี
3) สํานักงาน ก.พ. เป็นศูนย์กลางการรวบรวมบัญชีรายชื่อผู้เชี่ยวชาญและวิทยากร ซึ่งเป็น
เสมื อนทรัพ ยากรบุ ค คล สําหรับ การจั ดฝึ ก อบรมและการสร้ างศั กยภาพของระบบราชการอย่ า ง
ต่อเนื่อง
4) สํานักงาน ก.พ. ได้จัดฝึกอบรมหลักสูตร "บทบาทหญิงชายเพื่อการพัฒนา” และ “หลักสูตร
เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมสําหรับนักบริหารระดับต้น ระดับกลางและระดับสูง” ทั้งนี้ ทั้งสอง
หลักสูตรจะได้นําไปจัดฝึกอบรมให้กับข้าราชการของประเทศสมาชิกอาเซียนต่อไป
5) สํานักงาน ก.พ. ได้จัดหลักสูตรการฝึกอบรมตามหลักสมรรถนะ เพื่อแบ่งปันและแลกเปลี่ยน
ระหว่ า งกัน ในระบบราชการของประเทศสมาชิ ก อาเซีย นภายใต้ค วามช่ว ยเหลือของการประชุ ม
อาเซียนว่าด้วยกิจการด้านพลเรือน (ASEAN Conference on Civil Service Matters : ACCSM)
6) สํานักงาน ก.พ. ได้พยายามสร้างความสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ
บางประเทศในอาเซียน เช่น เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากสิงคโปร์มาให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร
นักบริหารระดับสูง (หลักสูตรเตรียมความพร้อมสําหรับผู้ที่จะเป็นรองอธิบดี) ตลอดจนการจัด
ฝึกอบรมการบรรยายและการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยเชิญผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม
โครงการดังกล่าวระหว่างปี พ.ศ.2553 – พ.ศ.2555 ภายใต้งบประมาณสนับสนุนจากสํานักพัฒนา
ระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ (สพร.) เป็นต้น
7) สํานักงาน ก.พ. ได้ผลักดันให้เกิดนโยบายและยุทธศาสตร์ในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่
7.1. กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาตรา 34 ว่า การ
จัดระเบียบข้าราชการพลเรือนต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพและ
ความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพ คุณธรรมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีและใน
มาตรา 42 ว่า การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องคํานึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพขององค์กรและ
ลักษณะของงานโดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
102

7.2. กําหนดให้มียุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 – พ.ศ.2555


7.3. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในภาครัฐ พ.ศ. 2552 – พ.ศ.2555
7.4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2553 – พ.ศ.2555
7.5. ส่งเสริมให้ทุกส่วนราชการกําหนดตัวชี้วัดความโปร่งใสในการปฏิบัติงานและมีระบบการ
ให้รางวัลจูงใจหน่วยงานที่เป็นตัวอย่างในเรื่องดังกล่าว
8) สํานักงาน ก.พ. สร้างและส่งเสริมกลไกของบริการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ให้มีมาตรฐานด้านการบริการ มีกระบวนการให้ข้อมูลย้อนกลับจากประชาชน และระบบการให้
คะแนนผลการปฏิบัติงานตามผลลัพธ์ โดยจัดให้มีตัวชี้วัดความพึงพอใจของผู้รับบริการในงานต่างๆ ที่
เป็นงานให้บริการ และสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) กําหนดเป็นตัวชี้วัด
ตามคํารับรองปฏิบัติงานระดับส่วนราชการด้วย โดยจะให้รางวัลตามผลการทํางานตามตัวชี้วัดด้วย
9) ขยายบทบาทภาคประชาสังคมและกลุ่มประชาชนในการสร้างมโนสุจริตและธรรมาภิบาล
โดยสํานักงาน ก.พ. ริเริ่มให้มีการรวมตัวของภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชนและองค์กรอิสระ
ต่างๆ ในการร่วมกันรณรงค์และขับเคลื่อนมาตรการสร้าง ความโปร่งใสในราชการพลเรือน โดยเริ่ม
ดําเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานนําการดําเนินการในเรื่องนี้
การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ
สํานักงาน ก.พ. ได้ดําเนินการศึกษาเรื่อง "แนวทางการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม
ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของ
หน่วยงานภาครัฐในภาพกว้างและในบริบทที่เชื่อมโยงกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ
นอกจากนี้ สํานักงาน ก.พ. ยังได้จัดทําประมวลจริยธรรมและจัดตั้งกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม
เพื่อคอยสอดส่องดูแลและเสริมสร้างจริยธรรมในองค์กร โดยดําเนินการจัดกิจกรรมด้านการกุศลและ
บริการสาธารณประโยชน์ เช่น การถือศีล การทําบุญตามประเพณี การเลี้ยงอาหารแก่ทหารบาดเจ็บ
การบริจาคสิ่งของให้แก่เด็กพิการซ้ําซ้อน การทาสีโรงเรียนในต่างจังหวัด เป็นต้น
3. ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ให้ความสําคัญกับประชาคมอาเซียนกับ
อุดมศึกษาไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะสถาบันอุดมศึกษาเป็นสถานที่ให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพของ
บัณฑิตให้ออกไปสู่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการผลิตบุคลากรให้มีความพร้อมต่อสถานการณ์
ที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ทปอ. ได้จัดปาฐกถาพิเศษในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ ประจําปี พ.ศ.2554
เรื่อง “การเตรียมการอุดมศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน” (สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการ
พัฒนา, 2555)
103

4. กระทรวงศึกษาธิการ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับปลัดกระทรวงศึกษาธิการของ
ประเทศสมาชิ ก อาเซี ย นและขององค์ ก รรั ฐ มนตรี ก ระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารของกลุ่ ม ประเทศเอเชี ย
ตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Ministers of Education Organization : SEAMEO) และ
กระทรวงศึกษาธิการยังได้จัดโครงการ Coporate Social Responsibility for Kids ปีแห่งการพูด
อังกฤษในปี พ.ศ.2555 ซึ่งเป็นโครงการรณรงค์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศหลักเพื่อ
รองรับการเป็นประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก (ไทยโพสต์, 2555)
5. กระทรวงวัฒนธรรมและกรมประชาสัมพันธ์ ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
คณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสารสนเทศ ครั้งที่ 46 โดยมีผู้แทนจากประเทศสมาชิก
อาเซียน 10 ประเทศ และผู้แทนสํานักเลขาธิการอาเซียนเข้าร่วมประชุมระหว่างวันที่ 10 - 12
มกราคม พ.ศ.2555 ณ จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วยการประชุม 2 คณะ ได้แก่ การประชุม
คณะอนุกรรมการอาเซียนด้านวัฒนธรรม และการประชุมคณะอนุกรรมการอาเซียนด้านสารสนเทศ
ซึ่งมีการนําเสนอโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ในเรื่องอาเซียน อาทิ โครงการ
ค่ายเยาวชน โครงการส่งเสริมเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรมระดับประชาชน โครงการอาเซียนทีวี และ
โครงการเว็บไซต์อาเซียน (กระทรวงวัฒนธรรม, 2555 : 4-10)
6. กระทรวงวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี จั ด งานภายใต้ แ นวความคิ ด “120 ปี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ แหล่งรวมความเชี่ยวชาญ ร่วมสร้างเศรษฐกิจอาเซียน” เพื่อแสดงให้เห็น
พัฒนาการ ผลงาน และความก้าวหน้าของงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของกรมวิทยาศาสตร์
บริการ ที่พร้อมให้บริการและส่งเสริมสนับสนุนความก้าวหน้าภาคเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ
ที่กําลังก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแสดงให้เห็นการผลักดันให้เกิด
ศูนย์เชี่ยวชาญ ศูนย์ทดสอบเฉพาะทางของกรมวิทยาศาสตร์บริการที่สามารถให้บริการได้อย่างเป็น
รู ป ธรรมสอดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของผู้ ป ระกอบการไทยควบคู่ กั บ การให้ คํ า ปรึ ก ษาหรื อ
ข้อเสนอแนะทางวิชาการ การช่วยแก้ปัญหา การพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมและถ่ายทอด
เทคโนโลยี รวมทั้งยังสร้างเครือข่ายความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน เป็นมิติใหม่การให้บริการด้าน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อให้ก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์วิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ส่งเสริมการผลักดันงานบริการด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาคการผลิต การค้า และการบริการ เป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพ
การแข่งขันในส่วนของกรมวิทยาศาสตร์บริการ (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2555)
104

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังได้จัดตั้ง “ศูนย์เชี่ยวชาญด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
แห่งเดียวของอาเซียน” (ASEAN Center for Expertise in Food Contact Materials) ซึ่งศูนย์นี้
เป็นห้องปฏิบัติการกลางด้านวัสดุสัมผัสอาหารระดับชาติ เป็นแหล่งอ้างอิงและรับรองทางวิชาการ
ด้านวัสดุสัมผัสอาหารแก่ผู้ประกอบการส่งออกอาหาร ตั้งเป้าพัฒนาเพิ่มศักยภาพขีดความสามารถ
ในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการไทยในการเป็นแหล่งผลิตอาหารจํานวนมากสู่ตลาดโลกซึ่งเป็นการ
ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ (กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2553)
7. กระทรวงพั ฒ นาสั ง คมและความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ จั ด ทํ า แผนกลยุ ท ธ์ สํ า นั ก งาน
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ.2555 – พ.ศ.2559 เพื่อให้สอดคล้อง
กับยุท ธศาสตร์ ที่ กําหนดไว้ ใ นแผนพั ฒ นาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบั บที่ 11 (พ.ศ.2555 –
พ.ศ.2559) ทั้ ง นี้ สถาบั น การพั ฒ นาสั ง คมได้ มี ก ารจั ด ประชุ ม สั ม มนาหั ว หน้ า หน่ ว ยงานในสั ง กั ด
สํานักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ระหว่างวันที่ 3 - 5 ตุลาคม พ.ศ.2554
เพื่อให้หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดและผู้ที่เกี่ยวข้อง ทราบถึงบทบาท หน้าที่ ภารกิจและผลกระทบ
ที่เกิดจากประชาคมอาเซียน รวมทั้งได้รับทักษะและความรู้ในการนําเสนอ การถ่ายทอด การสอน
งาน การบริหารจัดการบุคลากร และการสร้างเครือข่ายร่วมกันในการปฏิบัติงานแบบบูรณาการ
นอกจากนี้ กระทรวงการพั ฒนาสัง คมและความมั่นคงของมนุ ษ ย์ ยังได้เปิด เวที วิชาการ
“เปิดเสรีอาเซียน ปี 2558 : สังคมไทยก้าวทันการเปลี่ยนแปลง” เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ด้านสังคม ชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนการพัฒนาสังคมและจัดสวัส ดิการในกลุ่มประเทศสมาชิ ก
อาเซียน โดยมีผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์ ผู้นําองค์การบริหารส่วนตําบล แกนนํากลุ่มองค์กร ผู้แทนจากสถาบันการศึกษา และผู้แทน
จากสถานทูตในกลุ่มประเทศอาเซียนเข้าร่วมงาน (สํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์ สํานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์, 2555)
8. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน
ด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 11 ณ กรุงเนปิดอว์ ประเทศเมียนมาร์ ระหว่าง
วันที่ 8-9 ธันวาคม พ.ศ.2554 โดยที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าการดําเนินงานตาม แผนแม่บท
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาเซียน (ASEAN ICT Masterplan 2015 : AIM 2015)
ในปีแรก ซึ่งมีโครงการรองรับการดําเนินงานจํานวน 17 โครงการ เช่น โครงการ ASEAN CIOs
Forum โครงการ ASEAN ICT Awards โครงการความมั่นคงปลอดภัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์
(network security) โครงการการนําไอซีทีมาใช้ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ICT
105

adoption by SMEs) โครงการเขตพื้นที่กระจายสัญญาณเครือข่ายสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง


ในอาเซียน (ASEAN Broadband Corridor) เป็นต้น โดยโครงการเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานให้บรรลุ
เป้าหมายการพัฒนาไอซีทีเพื่อมุ่งสู่การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน และที่ประชุมฯ ยังได้พิจารณา
อนุมัติงบประมาณจํานวน 450,000 เหรียญสหรัฐ จากกองทุนไอซีทีอาเซียน (ASEAN ICT Fund)
เพื่อใช้สําหรับดําเนินโครงการตามแผนแม่บทฯ ระหว่างปี พ.ศ.2555 – พ.ศ.2556 ด้วย (ความคืบหน้า
โครงการ, 2555)
9. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม
อาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 13 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 16 – 20 ตุลาคม
พ.ศ.2554 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และการประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอาเซียน+3 ครั้งที่ 11
เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2555 ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม, 2555)
10. กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทํากรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพเพื่อรองรับการเข้าสู่
ประชาคมอาเซียน และการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การแปลงกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ
เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนสู่การปฏิบัติ ปี พ.ศ.2554 – พ.ศ.2558 เมื่อวันที่ 29 - 30 สิงหาคม
พ.ศ.2554 และสํานักการสาธารณสุขระหว่างประเทศก็ได้จัดอบรมความรู้ให้กับข้าราชการในหัวข้อ
กระทรวงสาธารณสุขและอาเซียน (สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2554)

4. ความก้าวหน้าในการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ประเทศสมาชิ กอาเซียนได้ร่วมดําเนินการด้านต่างๆ เพื่อเตรี ยมความพร้อมในการเข้าสู่
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. การอนุวัติข้อผูกพันภายใต้กฎบัตรอาเซียน (realizing the commitments under the
ASEAN Charter) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ.2551 โดยเฉพาะในเรื่องการยกร่างขอบเขตอํานาจหน้าที่
ขององค์กรต่างๆ ที่จะจัดขึ้น ได้แก่ กลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจํา
อาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และคณะมนตรีประสานงานอาเซียน เป็นต้น
2. การฟื้นฟูอาเซียนให้เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งรวมถึงการเสริมสร้าง
ความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนในหมู่ประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและ
ภาคประชาสังคมในการสร้างประชาคมอาเซียน
106

3. การเสริมสร้างการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ สําหรับประชาชนทุกคนในภูมิภาค
โดยส่งเสริมให้การดําเนินความร่วมมือของอาเซียนตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประชาชนมากที่สุด
โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาท้าทายต่าง ๆ เช่น ความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
เป็นต้น (สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2555 ก)
4. โครงการจับตาอาเซียน (ASEAN Watch) มีวัตถุประสงค์ในการนําเสนอความคืบหน้า
เกี่ยวกับอาเซียน ส่วนหนึ่งของโครงการนี้ได้มีการระดมสมอง แลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นและ
กําหนดโจทย์วิจัยเกี่ยวกับอาเซียนออกเป็น 3 แบบ ได้แก่
1) การวิจัยเพือ่ จุดมุ่งหมายเชิงปฏิบัติ หรือนโยบาย
2) การวิจัยเพือ่ มุ่งเน้นเชิงวิชาการ โดยเป็นการต่อยอดความรู้ไปประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ
3) การวิจัยเชิงทางเลือก ซึ่งให้ความสําคัญกับกลุ่มคนอื่นๆ ที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนเครือข่ายภาคประชาสังคม รวมทั้งมีการจัดทําเว็บไซต์ www.aseanwatch.org เพื่อเผยแพร่
ประชาสัมพันธ์ความคืบหน้าของโครงการนี้ (ความคืบหน้าโครงการ, 2555)
5. การประชุ ม คณะกรรมการระดั บ ชาติ เพื่ อ ขั บ เคลื่ อ นการศึ ก ษาในอาเซี ย นสู่ ก ารบรรลุ
เป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน โดยในปี พ.ศ.2553 ที่ประชุมคณะกรรมการระดับชาติ ได้ให้
ความเห็นชอบร่างนโยบายเพื่อดําเนินงานตามปฏิญญาชะอํา-หัวหิน ด้านการศึกษา จํานวน 5 นโยบาย
ดังนี้
นโยบายที่ 1 การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน
นโยบายที่ 2 การพั ฒ นาศั ก ยภาพของนั ก เรี ย น นั ก ศึ ก ษาและประชาชนให้ มี ทั ก ษะที่
เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
นโยบายที่ 3 การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและ
ครูอาจารย์ในอาเซียน
นโยบายที่ 4 การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าว
สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
นโยบายที่ 5 การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสําคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
(สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, 2555)
6. การพัฒนาเยาวชนอาเซียน มีการดําเนินการโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชนเกิดขึ้น
มากมาย เช่น การดําเนินโครงการพัฒนาผู้นําเยาวชนอาเซียน การดําเนินการกีฬามหาวิทยาลัย
107

อาเซียน การจัดตั้งกองทุนเยาวชนอาเซียนเพื่อส่งเสริมโครงการและกิจกรรมต่างๆ ของเยาวชน


ในอาเซียน การจัดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนเครือข่ายและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับวิธีการและกลยุทธ์ในการ
พัฒนาเด็กและเยาวชน การศึกษาและจัดทํา ASEAN Youth Development Index เพื่อประเมิน
ผลลัพธ์และประสิทธิผลโครงการเยาวชนภายในภูมิภาคอาเซียน (สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ,
2555 ข)
7. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีการจัดการศึกษาและกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมมิตรภาพและ
ความร่วมมือระหว่างกัน อาทิ การดําเนินโครงการระดับภูมิภาคในการจัดการศึกษาสํ าหรั บ
ผู้ด้อยโอกาส การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและยูเนสโก การทบทวนโครงการทุนอาเซียน
การนํ า เทคโนโลยี ส ารสนเทศมาใช้ ใ นการส่ ง เสริ ม การจั ด การศึ ก ษาและการศึ ก ษาตลอดชี วิ ต
การส่ งเสริมความเสมอภาคด้ านการศึกษาแก่ สตรี แ ละเด็กผู้หญิง การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ ดี
เกี่ ย วกั บ การจั ด การศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ หลั ก สู ต รความเสมอภาคทางเพศในโรงเรี ย น การส่ ง เสริ ม
ความร่วมมือกับองค์กรด้านการศึกษาในระดับภูมิภาคและนานาชาติ การสอนด้านค่านิยมและมรดก
วัฒนธรรมในหลักสูตรโรงเรียน การพัฒนาหลักสูตรอาเซียนศึกษาในโรงเรียน การสนับสนุนการเรียน
ภาษาอาเซียนและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักภาษาศาสตร์ (สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ,
2555ก)
8. สถาบั น นาฏศิ ล ป์ ข องไทยและลาว ได้มี ก ารลงนามบั น ทึก ความตกลงร่ ว มกั น ระหว่ า ง
วิทยาลัยนาฏศิลป์ (สายอีสาน) และโรงเรียนศิลปะแห่งชาติลาว (ASEAN Watch, 2555)
9. เจ้าหน้าที่ตํารวจอาเซียนพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดอาชญากรรม มีการ
จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง Joint ASEAN Senior Police Officers Course and Technology
Enabled Crime Workshop ครั้งที่ 21 เพื่อป้องกันและรับมือกับอาชญากรรมข้ามชาติทุกประเภท
เพื่อการเสริมสร้างสันติภาพ มิตรภาพ ความเป็นอิสระ และความร่วมมือระหว่างกัน (ASEAN Watch,
2555)
10. คณะกรรมาธิ ก ารอาเซี ย นว่ า ด้ ว ยการส่ ง เสริ ม และคุ้ ม ครองสิ ท ธิ ส ตรี แ ละสิ ท ธิ เ ด็ ก
(ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Rights of Women and
Children : ACWC) เปิดการหารือกับองค์กรภาคประชาสังคมระดับชาติและระดับภูมิภาคกว่า 40
องค์กร เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นในประเด็นเกี่ยวกับความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก รวมถึง
ความท้าทายในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว (ASEAN Watch, 2555)
108

11. ความร่วมมือด้านโทรคมนาคมและสารสนเทศ มีโครงการรองรับการดําเนินการจํานวน


17 โครงการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาด้านโทรคมนาคม สารสนเทศและการสื่อสาร มุ่งสู่การ
รวมตัวเป็นประชากรอาเซียน เช่น การประชุมผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน (ASEAN
CIOs Forum) โครงการรางวัลไอซีทีอาเซียน (ASEAN ICT Awards) โครงการความมั่นคงปลอดภัย
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ โครงการการนําไอซีทีมาใช้ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น
(ASEAN Watch, 2555)
12. สถานีโทรทัศน์แห่งอาเซียน (ASEAN Television) หรือ อาเซียนทีวี เป็นช่องรายการที่
ผลิตโดย บริษัท อสมท จํากัด (มหาชน) ในนามสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอ็มคอท ร่วมกับบริษัท
เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์เปอร์เรชั่น จํากัด ตามมติของคณะรัฐมนตรี อาเซียนทีวีเริ่มออกอากาศ
เมื่อการประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียน ครั้ งที่ 14 ที่อําเภอชะอํา-หัวหิน ประเทศไทย ปี พ.ศ.2552
หลังจากนั้นอาเซียนทีวีมีรายการที่เกี่ยวกับอาเซียนและการถ่ายทอดสดสําคัญๆ (เนชั่น บรอดแคสติ้ง
คอร์เปอร์เรชั่น, 2555)
13. ความร่วมมือด้านกีฬา รัฐมนตรีกีฬาของอาเซียนได้ร่วมลงนามในความตกลง 11 ฉบับ
ซึ่ ง รวมถึ ง ความเป็ น ไปได้ ที่ จ ะขยายการจั ด การแข่ ง ขั น กี ฬ า โดยให้ เ พิ่ ม การแข่ ง ขั น ฟุ ต บอลและ
การแข่งขันวอลเลย์บอล ตลอดจนให้สมาพันธ์ฟุตบอลอาเซียนศึกษาแนวทางเพื่อเตรียมความพร้อมใน
การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี พ.ศ.2573 อีกทั้งกําหนดให้ปี พ.ศ.2556 เป็น
ปีแห่งอุตสาหกรรมกีฬาอาเซียน (ASEAN Watch, 2555)

5. ความคิดเห็นต่อประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
นักวิชาการทั้งของไทยและต่างประเทศหลายท่านได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประชาคม
สังคมและวัฒนธรรมอาเซียนไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจอันจะเป็นประโยชน์ต่อการ
เตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ดังนี้
รศ.สมหมาย ชินนาค ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนว่า เป็นเพียงวาทกรรมที่ถูกสร้างขึ้นมา
เพื่ออุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ที่มุ่งแต่ภาคเศรษฐกิจ โดยเพียงหวังให้สังคมวัฒนธรรมเป็นเครื่องเคียง
ประกอบ เนื่องจากทุกประเทศต้องการความเป็นสมาชิกองค์การระดับภูมิภาค เพื่อสร้างความเข้มแข็ง
ให้กับประเทศตนโดยไม่ต้องคํานึงถึงการทํางานร่วมกันอย่างจริงจัง
109

ทั้งนี้ เพื่อให้การก้าวสู่ประชาคมอาเซียนประสบความสําเร็จ ทุกประเทศควรสร้างมรดกร่วม


ทางวัฒนธรรมเพื่อให้รู้สึกเป็นพวกเดียวกัน สะท้อนถึงปัญหาอุปสรรคและทางออกเพื่อรองรับการก้าว
ไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 สําหรับประเทศไทย นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งที่จะต้อง
เตรียมความพร้อมให้ทันสู่การเป็นประชาคมอาเซียน เพราะการเป็นประชาคมอาเซียนนั้นไม่ได้อยู่ที่
กรอบนโยบายเพียงอย่างเดียว ปัญหาสําคัญประการหนึ่งคือทําอย่างไรให้ประชาชนทั่วภูมิภาคได้รับรู้
รับทราบ และสร้างความเข้าใจตามหลักการ “วิสัยทัศน์เดียว อัตลักษณ์เดียว ประชาคมเดียว” ซึ่งเป็น
กรอบความมุ่งหวังของกลุ่มอาเซียน
นอกจากนี้ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ศาสตราภิธาน คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวถึงอุปสรรคในการก้าวสู่
การเป็นประชาคมอาเซียนว่า อาเซียนประกาศว่าภายในปี พ.ศ.2558 ประชาคมอาเซียนจะเกิดขึ้น
แต่ประชาชนในกลุ่มอาเซียนยังขาดการเป็นเจ้าของและยังไม่มีโอกาสเข้ามีส่วนร่วม โดยเฉพาะทาง
สั ง คมยั ง ไม่ เ กิ ด เป็ น รู ป ธรรม จะมี ส่ ว นร่ ว มเฉพาะผู้ นํ า ระดั บ รั ฐ มนตรี ห รื อ หน่ ว ยราชการเท่ า นั้ น
นอกจากนี้ ยังไม่มีนโยบายร่วมกันในกิจกรรมภายนอก อีกทั้งปัญหาการเมืองภายในของแต่ละ
ประเทศก็เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอาเซียน ดังนั้น ภาครัฐต้องยอมให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม
มากขึ้น โดยเฉพาะการเปิดยอมรับการตัดสินใจ พร้อมจัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆ เพื่อ
แก้ไขปัญหาเพื่อเสนอให้กลุ่มอาเซียนจัดทําแผนร่วมมือที่เป็นรูปธรรม (กรมประชาสัมพันธ์ สํานักข่าว
แห่งชาติ, 2554)
สํ า หรั บ ประเด็ น สํ า คั ญ ที่ รั ฐ บาลต้ อ งเร่ ง ดํ า เนิ น การนั้ น ศ.ดร.เกรี ย งศั ก ดิ์ เจริ ญ วงศ์ ศั ก ดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มีความคิดเห็นว่า รัฐบาลต้อง
บูรณาการแผนงานและงบประมาณของกระทรวงและกรมต่างๆ ไม่ใช่เฉพาะกระทรวงทางเศรษฐกิจ
ที่สําคัญคนไทยจํานวนมากยังไม่ตื่นตัวในการเข้าเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558
บางส่ ว นเข้ า ใจว่ า ประชาคมอาเซี ย นกั บ ประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย นซึ่ ง เป็ น คํ า ที่ พ บบ่ อ ยกว่ า นั้ น
เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ความจริงแล้วประชาคมอาเซียนนั้นประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคม
การเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
อาเซียน ซึ่งในปี พ.ศ.2558 อาเซียนจะเริ่มเป็นประชาคมเดียวกันครอบคลุมทั้ง 3 เสาหลักนี้ ไม่ใช่
เฉพาะเรื่องเศรษฐกิจอย่างเดียวเท่านั้น และค่อยพัฒนามากขึ้นไปตามลําดับ ในขณะนี้เหลือเวลาอีก
ประมาณ 3 ปีเศษก่อนที่ไทยจะเข้าสู่การเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียน รัฐบาลควรให้ความสําคัญ
กับการเสริมสร้างความเข้าใจ การเตรียมความพร้อมให้กับคนไทยอย่างแท้จริง เพื่อประเทศไทย
110

จะไม่พลาดโอกาสจากการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน และเพื่อที่ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนั้น
จะไม่รุนแรงจนเกินไป
ปัจจุ บัน ประเทศไทยมี ศู นย์ อ าเซี ย นศึก ษาที่ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิท ยาลั ย และในโรงเรี ย นที่
เข้าร่วมโครงการ Spirit of ASEAN ศูนย์ลาวศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม ศูนย์อินโดนีเซียศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และศูนย์อินโดจีนศึกษา
(ซึ่งมีศูนย์ย่อยประกอบด้วย ศูนย์กัมพูชา ศูนย์เวียดนาม ศูนย์ลาว ศูนย์เมียนมาร์ และศูนย์มาเลเซีย)
ที่มหาวิทยาลัยบูรพา แต่อย่างไรก็ตามศูนย์บรูไนศึกษา ศูนย์ฟิลิปปินส์ศึกษา ศูนย์สิงคโปร์ศึกษานั้น
ดูเหมือนยังไม่เกิดขึ้นและภาครัฐควรสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยไทยจัดตั้งศูนย์ศึกษาประเทศต่างๆ
ในอาเซียนให้ครบถ้วน และให้ศูนย์เหล่านี้ศึกษาวิจัยเพื่อประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมของไทย
ไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ตาม
แกนของเสาหลั ก ของประชาคมอาเซี ยน นอกจากนี้ ป ระเทศไทยควรจะมีก ารจั ดตั้ ง “สํ านั ก งาน
คลังสมองไทยเพื่อประชาคมอาเซียน” (Thai Think Tank for ASEAN Community) ภายใต้
สํานักงานเลขานุการกรมอาเซียนเพื่อทําหน้าที่ในการประสานงาน สนับสนุนเรื่องงบประมาณในการ
ศึกษาวิจัยและประชาสัมพันธ์เครือข่ายศูนย์ศึกษาต่างๆ เหล่านี้ให้เป็นที่รู้จัก เพื่อให้ประชาชนสามารถ
เข้าถึงข้อมูลจากศูนย์เหล่านี้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากที่สุด (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2554)
ในด้านของแรงงานนั้น นายไพสิฐ พานิชกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้เสนอแนะถึงการปฏิรูปกฎหมายแรงงานว่า จะต้องให้ความสําคัญกับการจ้างแรงงานแบบยืดหยุ่น
เพราะปัจจุบันทั่วโลกลดจํ านวนของการจ้างแรงงานประจําลง แต่ กลับจ้างแรงงานยืดหยุ่น หรื อ
แรงงานนอกระบบมากขึ้น แรงงานในลักษณะนี้จะเป็นการจ้างงานแบบชั่วคราวหรือจ้างตามฤดูกาล
จึงควรมีการจัดระบบสวัสดิการของแรงงานเหล่านี้ ควรให้ความสําคัญกับแรงงานข้ามชาติที่เข้ามา
ทํางานในประเทศไทย ควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งออกแรงงานไปต่างประเทศ และควรจัดการ
ระบบการศึกษาที่เอื้อต่อคนทํางานที่จะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อยกระดับตัวเองให้สามารถเข้าไปสู่
การจ้างงานแรงงานแบบใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม การที่จะปฏิรูปกฎหมายแรงงานจะต้องมองในเรื่องของ
ความเป็นธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วย (พิสิษฐ์ ดิษยธนะสิทธิ์, 2555)
ในประเด็นเดียวกันนี้ นายโกวิท บุรพธานินทร์ กรรมการมูลนิธินิคมจันทรวิทุร ได้แสดง
ความคิดเห็นว่า การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่
โดยกลุ่ ม บุค คลที่ จ ะได้ รั บ ประโยชน์ ม ากที่ สุ ด คือ บุค คลที่ส ามารถเข้ า ถึง โอกาสได้ ม ากที่สุ ด ได้ แ ก่
ผู้มีการศึกษาสูง ผู้ที่ได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง และบุคคลกลุ่มเล็กซึ่งได้แก่เจ้าของกิจการ (เจ้าของทุน)
111

ส่วนแรงงานรากหญ้าส่วนใหญ่อีกกว่าร้อยละ 50 – 60 นั้น จะไม่ได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่มใน


ส่วนนี้
ภายใต้กลไกภาครัฐของประเทศไทยที่ยังมีปัญหาอย่างมากมายในปัจจุบัน เช่น ปัญหาความ
ไม่มั่นคงในชั่วโมงการทํางาน ค่าจ้าง ค่าชดเชย วันหยุดลาคลอด และยังรวมไปถึงความไม่มั่นคงของ
ชีวิตหลังการทํางาน และเมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไนและ
เวียดนามแล้ว ประเทศไทยยังไม่มีความพร้อม และประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศอันดับหลังๆ
สิ่งที่จะตามมาเมื่อรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจคือ จะมีการเข้ามาลงทุนของบริษัทข้ามชาติ ประเทศไทย
ก็ จะมีนั กลงทุน มาตั้ง บริ ษัท ประเภทต่ างๆ หรื อแม้แ ต่บริษัท ไทยที่ ไ ปจะไปลงทุ นในกลุ่ ม ประเทศ
อาเซียน การลงทุนเหล่านี้จะส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายทุนและส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน
ทางด้านบริการระหว่างประเทศเป็นจํานวนมาก หากมีการเคลื่อนย้ายแรงงานเหล่านี้ บริษัทข้ามชาติ
ต่างๆ ควรจะต้องปฏิบัติตามปฏิญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor
Organization : ILO) ซึ่งปฏิญญาของ ILO มีแนวทางอยู่ 4 เรื่องคือ 1) เรื่องของการจ้างแรงงาน
2) การฝึกอบรม 3) สภาพการทํางาน และ 4) แรงงานสัมพันธ์ เพราะฉะนั้นไม่ว่าประเทศต่างๆ ใน
กลุ่มอาเซียนจะมาตั้งบริษัทในประเทศไทยหรือประเทศไทยจะไปลงทุนในประเทศอื่นๆ นักลงทุนจึง
ควรคํ านึ ง ถึ ง 4 เรื่ อ งดั ง กล่ า ว เช่ น การเน้ น การฝึ ก อบรมให้กั บ แรงงานท้ อ งถิ่ น นอกจากนี้ สิ่ ง ที่
รัฐบาลไทยควรเร่งแก้ไขก่อนจะมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน คือการพัฒนา
ความสามารถของลู ก จ้ า งให้ มี ทั ก ษะที่ จ ะต้ อ งเรี ย นรู้ ต ลอดชี วิ ต พร้ อ มปรั บ เปลี่ ย นและเรี ย นรู้
ตามเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ทว่าในปัจจุบันหน่วยงานหลายหน่วยงานยังไม่มีความพร้อม
ในเรื่ อ งฝึ ก อบรม โดยการฝึ ก อบรมต่ า งๆ ของแรงงานยั ง ไม่ มี ก ารพั ฒ นา หรื อ กํ า หนดมาตรฐาน
คุณสมบัติวิชาชีพแห่งชาติ (พิสิษฐ์ ดิษยธนะสิทธิ์, 2555)
ทั้งนี้ นักวิชาการต่างประเทศอย่าง ศ.ดร.มาร์ค ดับบลิว. นีล (Prof. Dr. Mark W. Neal)
ผู้ทรงคุณวุฒิจาก School of Oriental & Africa Studies, University of London ได้กล่าวถึงการ
พั ฒ นาด้ า นต่ า งๆ ในกลุ่ ม ประเทศอาเซี ย นว่ า การพั ฒ นาด้ า นต่ า งๆ ในกลุ่ ม ประเทศอาเซี ย นนั้ น
นอกจากจะคํานึงถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแล้ว ยังต้องคํานึงถึงความสมดุลของสิ่งแวดล้อมด้วย
ซึ่งที่ผ่านมาประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนเน้นการพัฒนาด้านอุตสาหรรมและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ขณะเดียวกันก็ประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก ทั้งมลพิษทางอากาศ น้ําท่วม หรือแม้กระทั่ง
ภัยแล้ง และสิ่งเหล่านี้ ก็ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรอย่างเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการพัฒนา
112

ที่ ยั่ ง ยื น ต้ อ งตอบสนองความต้ อ งการในปั จ จุ บั น โดยไม่ ทํ า ลายทรั พ ยากรธรรมชาติ อื่ น ๆ สํ า หรั บ


ประชากรอนาคต (นีล, มาร์คดับบลิว, 2555)
จากแนวคิดและมุมมองของนักวิชาการได้สะท้อนถึงปัญหาอุปสรรคและทางออกเพื่อรองรับ
กับการก้าวไปสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ของไทย นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง
ที่จะต้องเตรียมความพร้อมให้ทันสู่การเป็นประชาคมอาเซียน เพราะการเป็นประชาคมอาเซียนนั้น
ไม่ได้อยู่ที่กรอบนโยบายเพียงอย่างเดียว ปัญหาสําคัญคือ ทําอย่างไรให้ประชาชนทั่วทั้งภูมิภาคได้รับรู้
รับทราบและสร้างความเข้าใจตามหลักการ “วิสัยทัศน์เดียว อัตลักษณ์เดียว ประชาคมเดียว” ซึ่งเป็น
กรอบมุ่งหวังของกลุ่มอาเซียน ในขณะที่ผลสํารวจการรับรู้และความเข้าใจในเรื่องอาเซียนของชาวไทย
อยู่ ใ นอั น ดั บ ท้ า ยๆ นั บ เป็ น โจทย์ สํ า คั ญ ที่ ร อการแก้ ไ ขที่ ทุ ก ภาคส่ ว นต้ อ งผนึ ก กํ า ลั ง กั น เพื่ อ ให้
ประเทศไทยได้รับประโยชน์สูงสุดในการก้าวเข้าไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558

----------------------------------------
113

บรรณานุกรม

กรมประชาสัมพันธ์. สํานักข่าวแห่งชาติ. (2554). บนย่างก้าวสู่ประชาคมอาเซียน2015 : ปัญหาอุปสรรค


และโอกาส. [ออนไลน์]. วันที่คน้ ข้อมูล 2 พฤษภาคม 2555. เข้าถึงได้จาก :
http://202.29.93.22/asean/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=7

กรมวิทยาศาสตร์บริการ. (2553). ศูนย์วัสดุสัมผัสอาหารแห่งเดียวของอาเซียน. [ออนไลน์].


วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก :
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/science

กรมองค์การระหว่างประเทศ กองการสังคม. (2548). ความร่วมมือระหว่างประเทศเรื่องโรคเอดส์


(HIV/AIDS). [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 25 ตุลาคม 2555. เข้าถึงได้จาก :
http://www.mfa.go.th/main/th/issues/9897-HIVAIDS.html

กระทรวงการต่างประเทศ. กรมอาเซียน. (2548). ความร่วมมืออาเซียนด้านการป้องกันและปราบปราม


ยาเสพติด. [ออนไลน์]. วันที่คน้ ข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก :
http://www.mfa.go.th/internet/document.647.doc

_________. (2555ก). (คําแปลอย่างไม่เป็นทางการ) แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและ


วัฒนธรรมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015). [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555.
เข้าถึงได้จาก : http://www.mfa.go.th/asean/asean_web/media/asccbluprint_social.pdf

_________. (2555ข). ตารางการดําเนินมาตรการภายใต้แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและ


วัฒนธรรมอาเซียนของหน่วยงานราชการที่ดูแลด้านสังคมและวัฒนธรรม (มติ ครม.
12 ต.ค. 53). [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก :
http://www.mfa.go.th/asean/asean_web/docs/asean_culture.pdf

_________. (2555ค). ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน. [ออนไลน์]. วันที่คน้ ข้อมูล 27


กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก : http://www.mfa.go.th/web/3020.php?sid=4153
114

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2555). การประชุม IAMME ครั้งที่ 13


ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 25 ตุลาคม 2555.
เข้าถึงได้จาก : http://flood.mnre.go.th/ewt_news.php?nid=127&filename=index

กระทรวงมหาดไทย. สํานักบริหารการทะเบียน. (2552). (คําแปลอย่างไม่เป็นทางการ) แผนงาน


การจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ค.ศ. 2009 – 2015). [ออนไลน์].
วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก :
http://118.174.31.136/KM_asean/pdf/2/2_3.pdf

กระทรวงวัฒนธรรม. (2555). กระทรวงวัฒนธรรมจัดการประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วย


วัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 46. [ออนไลน์]. วันที่คน้ ข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555.
เข้าถึงได้จาก : http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=3365

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ข่าวประชาสัมพันธ์. [ออนไลน์]. วันทีค่ ้นข้อมูล 27


กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก : http://www.most.go.th/main/index.php/news/org-
news.html

การดําเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยภายใต้กรอบอาเซียน. (2555). [ออนไลน์].


วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก : http://infofile.pcd.go.th/mgt/
ASEAN52.pdf?CFID=9754342&CFTOKEN=52622970

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2554). การเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน.


[ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 2 พฤษภาคม2555. เข้าถึงได้จาก : http://www.drdancando.
com/index.php?option=com_content&view=article&id=91:to-prepare-for-
the-asean-community&catid=35:article-&Itemid=67

“ความคืบหน้าโครงการ.” (2555, มกราคม). จุลสารจับตาอาเซียน ASEAN Watch, 1(1), 4-10.

ทศพนธ์ นรทัศน์. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559)


กับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล
27 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก : http://thaingo.org/web/?s=%E0%B8%97% E0%
B8%A8%E0%B8%9E%E0%B8%99
115

ไทยโพสต์. (2555). การพูดอังกฤษ. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555.


เข้าถึงได้จาก : http://www.ryt9.com/s/tpd/1321128

นีล, มาร์ค ดับบลิว. (2555). นักวิชาการเมืองผู้ดีห่วง“อาเซียน”พัฒนาแบบทําลายสิ่งแวดล้อม.


[ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 2 พฤษภาคม 2555. เข้าถึงได้จาก :
http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9550000049618

เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น. (2555). อาเซียนทีวี พร้อมแล้ว อสมท - เนชั่น ทุ่มทุนสร้างสื่อ


เพื่อคน 10 ประเทศ. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก :
http://www.nbc.co.th/news-detail.php?id=66

ประจักษ์ วัฒนานุสิทธิ์. (2555). การประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ครั้งที่ 15. [ออนไลน์]. วันที่คน้ ข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก :
http://www.nlt.go.th/Data/_บทความ%20consal.doc

ประชาไท. (2554). การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเข้าสูป่ ระชาคมอาเซียน (AC) ด้วย


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก
: http://prachatai.com/activity/2011/02/33229

ประภัสสร์ เทพชาตรี. (2552). ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล


27 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก : http://thepchatree.blogspot.com/2009/02/
blog-post_25.html

พิสิษฐ์ ดิษยธนะสิทธิ์. (2555). นักวิชาการหวั่นอีก3ปีเปิดอาเซียนแรงงานไทยรั้งท้ายจี้เร่งพัฒนา


ฝีมือ-ปฏิรูปกฎหมาย. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 2 พฤษภาคม 2555. เข้าถึงได้จาก :
http://prachatai.com/journal/2012/04/40296

ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา. (2555). ประชาคมอาเซียน 2558. [ออนไลน์]. วันที่คน้ ข้อมูล


27 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก : http://www.ceted.org/tutorceted
116

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2555 ก). ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของ อาเซียน และประชาคมอาเซียน.


[ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 2 พฤษภาคม 2555. เข้าถึงได้จาก :
http://www.sac.or.th/databases/conference_asean_2011/?page_id=536

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2555 ข). อาเซียน : ประชาคมในมิติวัฒนธรรมความขัดแย้งและ


ความหวัง. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก :
http://www.sac.or.th/databases/conference_asean_2011/?p=1

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา. (2555). การเตรียมการอุดมศึกษาสู่ประชาคม


อาเซียน. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 2 พฤษภาคม 2555. เข้าถึงได้จาก :
http://www.facebook.com/notes/itd-international-institute-for-trade-and-
development

สํานักงานข้าราชการพลเรือน. (2554). แผนการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN


Socio-Cultural Community Blueprint). [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 2 พฤษภาคม 2555.
เข้าถึงได้จาก : http://hq.prd.go.th/prTechnicalDM/ewt_news.php?nid=1304

สํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สํานักงานนโยบายและ
ยุทธศาสตร์, (2555). โครงการสําคัญ. [ออนไลน์]. วันที่คน้ ข้อมูล 27 กุมภาพันธ์
2555. เข้าถึงได้จาก : http://www.bps.m-society.go.th/home
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2555ก). ASEAN Community. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล
27 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก : http://www.bic.moe.go.th/th/index.php?
Option =com_content&view=article&id=191&Itemid=171

_________. (2555ข). การศึกษา : การสร้างประชาคมอาเซียน 2558. [ออนไลน์]. วันทีค่ ้นข้อมูล


27 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก : http://www.lib.hcu.ac.th/asean/
1TheRoleofED-building- ASEANcommunity 2015.pdf

_________. (2555ค). ความร่วมมืออาเซียน - ไทย. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555.


เข้าถึงได้จาก : http://www.bic.moe.go.th/th/index.php?option=com_
content&view=article&id=189&Itemid=150
117

สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2554). (ร่าง)กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพเพื่อ


รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555.
เข้าถึงได้จาก : http://www.anamai.moph.go.th/.../ASEANBlueprint/

สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2555). ASEAN. [ออนไลน์].


วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก : http://203.172.142.8/en/index.
php?option=com_content&view=article&id=4&Itemid=21

สํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สงู อายุ. (2555).


โครงการฝึกอบรมผูน้ ําเยาวชน ณ ประเทศญี่ปนุ่ ประจําปี ๒๕๕๕ (Training
Programme for Young Leaders) [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555.
เข้าถึงได้จาก : http://www.opp.go.th/3-1-5-55.doc

สํานักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 3. (2555). ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม


อาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community). [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล
27 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก : http://www.inspect3.moe.go.th/strategy3/
upload/asean/203.pdf

ASEAN Watch. (2555). ความคืบหน้าอาเซียน. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2555.


เข้าถึงได้จาก : http://aseanwatch.org/category/asean-progress/

You might also like