Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 44

แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการวิจัย ฉบับสมบูรณ์ (Full Proposal)

งบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund; FF)


ชื่อหน่วยงาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
1. โครงการวิจัยนี้อยู่ภายใต้แผนงาน งานวิจัยและนวัตกรรมขั้นแนวหน้าทางวิ ทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวิศวกรรม
(dropdown ให้คลิ๊กชื่อแผนงานตามที่ผู้ประสานสร้างไว้)
2. ชื่อโครงการวิจัย
(ภาษาไทย) การพัฒนากระบวนการผลิตน้ำมันคุณภาพสูงจากการไพโรไลซีสขยะพลาสติกร่วมกับเหง้ามัน
สําปะหลัง
(ภาษาอังกฤษ) Enhanced production of high quality fuel by pyrolysis of plastic waste with
cassava rhizome

3. ชื่อโครงการวิจัยย่อยภายใต้โครงการวิจัย (หากมี)
ลำดับ ชื่อโครงการย่อย งบประมาณ (บาท) หัวหน้าโครงการย่อย

4. ลักษณะโครงการวิจัย
o โครงการใหม่ ที่เริ่มดำเนินการในปีที่เสนอขอ ดำเนินงาน .......1........ปี
งบประมาณรวมทั้งโครงการ ……2,500,000……….บาท
ปีงบประมาณ ......2566........ งบประมาณ .... 2,500,000......บาท
ปีงบประมาณ ....................... งบประมาณ .............................บาท
ปีงบประมาณ ....................... งบประมาณ .............................บาท
o โครงการต่อเนื่อง จากปีงบประมาณที่ผ่านมา ดำเนินงาน ...............ปี
งบประมาณรวมทั้งโครงการ ………………………….บาท
เริ่มรับงบประมาณปี...........
ปีงบประมาณ ....................... งบประมาณ .............................บาท
ปีงบประมาณ ....................... งบประมาณ .............................บาท
ปีงบประมาณ ....................... งบประมาณ .............................บาท
o โครงการต่อเนื่องที่มีข้อผูกพันสัญญา ดำเนินงาน ...............ปี
งบประมาณรวมทั้งโครงการ ………………………….บาท
เริ่มรับงบประมาณปี...........
ปีงบประมาณ ....................... งบประมาณ .............................บาท
ปีงบประมาณ ....................... งบประมาณ .............................บาท
1
ปีงบประมาณ ....................... งบประมาณ .............................บาท
ผลการดำเนินที่ผ่านมา (กรณีที่เป็นโครงการต่อเนื่อง)
ผลการดำเนินงานเทียบ งบประมาณที่ได้รับ งบประมาณที่ใช้ สัดส่วนงบประมาณที่
ปีงบประมาณ
กับแผนที่ตั้งไว้ (%) จัดสรร (บาท) จริง (บาท) ใช้จริง (%)

สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
➢ การไพโรไลซีสพลาสติกสามารถผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงได้มากกว่า 64w% น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้มีค่าความ
ร้อนสูงกว่า 42 MJ/kg
➢ ชนิดของขยะพลาสติกมีผลต่อปริมาณและสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิง โดยถุงพลาสติกสามารถแปรรูป
เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงได้สูงสุด
➢ อุณหภูมิไพโรไลซีสมีผลต่อปริมาณและสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิง พบว่า อุณหภูมิ 500°C ให้ปริมาณ
ผลได้น้ำมันเชื้อเพลิงสูงสุดและมีค่าความร้อนดีที่สุด
➢ ชนิดของตัวเร่งปฏิกิริยามีผลต่อปริมาณและสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิง พบว่า ตัวเร่งปฏิกิริยาสังเคราะห์
เช่น ZSM-5 ช่วยปรับปรุงสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิงให้ดีขึ้นอย่างชัดเจน แต่ตัวเร่งปฏิกิริยาสังเคราะห์มี
ราคาแพงจึงควรหาตัวเร่งปฏิกิริยาธรรมชาติที่มีราคาถูกและมีสมบัติในการเร่งปฏิกิริยาใกล้เคียงกับ
ตัวเร่งปฏิกิริยาสังเคราะห์
➢ อุณหภูมิชุดควบแน่นมีผลต่อปริมาณและสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิง พบว่า หากไพโรไลซีสแล้วควบแน่น
ด้วยอุณหภูมิต่ำติดลบจะทำให้กรดที่มีอยู่ในพลาสติกถูกควบแน่นรวมอยู่ด้วย จึงจำเป็นต้องควบแน่นที่
อุณภูมิสูงก่อนแล้วค่อยเพิ่มจำนวนชุดควบแน่นที่มีอุณหภูมิต่ำตามลำดับ
➢ หลักการควบแน่นที่เลียงลำดับจากอุณหภูมิสูงไปหาอุณหภูมิต่ำสามารถจำแนกชนิดของเชื้อเพลิงได้
โดยอุณหภูมิที่ติดลบต่ำจะควบแน่นไอไพโรไลซีสให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณลักษณะใสติดไฟง่าย
➢ เหง้ามัน สำปะหลั งสามารถผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงได้มากกว่า 48wt% ซึ่งผลการศึกษาอุณหภูมิชุด
ควบแน่น พบว่า อุณหภูมิประมาณ 40°C ได้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณลักษณะหนืดสีน้ำตาลเข้มจนเกือบ
ดำ แต่ชุดควบแนนที่ 2 และ 3 มีอุณหภูมิต่ำประมาณ -50°C ได้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณลักษณะสีใสติด
ไฟง่าย
➢ การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับไพโรไลซีสเหง้ามันสำปะหลัง พบว่า ได้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณลักษณะสีใส
ติดไฟง่ายในชุดควบแน่นอุณหภูมิ -50°C ในปริมาณเพิ่มมากขึ้น
5. โครงการยืนเสนอขอรับทุนจากหน่วยงานอื่น
 ไม่ยื่นเสนอ  ยื่นเสนอ ระบุหน่วยงาน.....................

6. คำสำคัญ (Keywords) (กำหนดไม่เกิน 5 คำ)


(ภาษาไทย) การพัฒนากระบวนการผลิต; น้ำมันเชื้อเพลิง; ไพโรไลซีส; ขยะพลาสติก; เหง้ามันสําปะหลัง
2
(ภาษาอังกฤษ) Enhanced production; Fuel; Pyrolysis; Plastic waste; Cassava rhizome
7. สาขาการวิจัย (เลือกจากฐานข้อมูลในระบบ)
สาขาการวิจัยหลัก OECD (เป็น dropdown ให้เลือก) วิศวกรรมและเทคโนโลยี
สาขาการวิจัยย่อย OECD (เป็น dropdown ให้เลือก) เทคโนโลยีพลังงาน

8. ISCED
ISCED Broad field (เป็น dropdown ให้เลือก) Engineering, manufacturing and construction
ISCED Narrow field (เป็น dropdown ให้เลือก) Engineering and engineering trades
ISCED Detailed field (เป็น dropdown ให้เลือก) Environmental protection technology

9. รายละเอียดของคณะผู้วิจัย (ใช้ฐานข้อมูลจากระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ) ประกอบด้วย


สัดส่วนการดำเนิน
ชื่อ-สกุล หน่วยงาน ตำแหน่งในโครงการ
โครงการวิจัย
ผศ.ดร.ณัฐดนย์ พรรณุเจริญวงษ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัย 30
(ศูนย์พัทยา)
ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ร่วมวิจัย 20
(ศูนย์รังสิต)
ผศ.ดร.เกยูร ดวงอุปมา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ผู้ร่วมวิจัย 15
อ.กัมปนาท ไชยเพชร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ผู้ร่วมวิจัย 15
อ.ชินภัทร ธุระการ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ผู้ร่วมวิจัย 15
ผศ.สุวิพงษ์ เหมะธุลิน มหาวิทยาลัยราชภัฏ ผู้ร่วมวิจัย 5
สกลนคร

ส่วนที่ 2 ข้อมูลโครงการวิจัย
1. บทสรุปข้อเสนอโครงการ (ไม่เกิน 3000 คำ)
การพัฒนากระบวนการผลิตน้ำมันคุณภาพสูงจากเศษวัสดุเหลือทิ้งกำลังได้รับความสนใจจากนักวิจัยทั่วโลก
โดยมีผู้คิดค้นการแปรรูปวัสดุเหล่านี้ด้วยกระบวนการที่แตกต่างกัน ซึ่งการไพโรไลซีสเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่นิยม
นำมาใช้แปรรูปขยะพลาสติกและชีวมวลเพื่อผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพสูง ตัวแปรที่ใช้ในการไพโรไลซีสของแต่
ละทีมวิจัยแตกต่างกันไปตามความถนัด ส่วนใหญ่จะศึกษาวิเคราะห์เชิงลึกในองค์ประกอบทางเคมีของผลิตภัณฑ์ที่ได้
เป็นหลัก ซึ่งยังไม่พบรายงานการผลิตน้ำมันคุณภาพสูงที่เน้นเชิงปริมาณอย่างชัดเจน อีกทั้งยังไม่พบรายงาน
การศึกษาอุณภูมิของชุดควบแน่นที่เลียงลำดับจากอุณหภูมิสูงไปหาอุณหภูมิต่ำได้อย่างเหมาะสม โดยเทคนิคดังกล่าว
เป็นหลักการควบแน่นที่ใช้ในหอกลั่นปิโตรเลียม เพียงแต่เรานำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการไพโรไลซีสเพื่อให้ครบ
กระบวนการ คือ การให้ความร้อนจนกลายเป็นไอแล้วทำให้เย็นลงจนควบแน่นเป็นเชื้อเพลิงเหลว

3
ขยะถุงพลาสติกเป็น ปัญหาที่ส ่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน อีกทั้งวิธ ีกำจัดในปัจจุบันยังไม่
ครอบคลุมพื้นที่ของแหล่งกำเนิดขยะเท่าที่ควร ดังนั้น การนำมาแปรรูปเป็นพลังงานจึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้
เกิดประสิทธิภาพในการกำจัดขยะ นอกจากนี้การเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรก็เป็นปัญหาต่อมลพิษทาง
อากาศ เนื่องจากทำให้เกิดฝุ่นพิษขนาดเล็กอยู่ในอากาศเกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยเหง้ามันสำปะหลังเป็นเศษวัสดุ
เหลือทิง้ จากการปลูกมันสำปะหลังที่ถูกกองทิ้งไว้ตามไร่แล้วเกษตรกรก็กำจัดด้วยวิธีการเผาทิ้ง แต่หากนำวัสดุทั้งสอง
นี้มารวมกันแล้วไพโรไลซีสเพื่อผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงคณภาพสูงจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัสดุดังกล่าวได้
ดังนั้น การพัฒนากระบวนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพสูงจากขยะถุงพลาสติกและเหง้ามันสำปะหลังด้วย
การไพโรไลซีสจึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เพราะการไพโรไลซีสเป็นระบบปิดมีการ
กำจัดของเสียที่เกิดจากกระบวนการ อีกทั้งกระบวนการนี้ใช้ระยะเวลาสั้นก็สามารถแปรรูปวัสดุให้เป็นน้ำมัน
เชื้อเพลิงได้จึงเหมาะที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนตามสรุปแผนการดำเนินการของโครงการในภาพที่ 1
โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณและสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิง คือ อัตราส่วนขยะพลาสติกต่อเหง้ามันสำปะหลัง ชนิด
ตัวเร่งปฏิกิริยา อุณหภูมิไพโรไลซีส และอุณภูมิชุดควบแน่น จึงเป็นที่มาของงานวิจัยในครั้งนี้

ภาพที่ 1 สรุปแผนการดำเนินการของโครงการ

4
2. หลักการและเหตุผล/ปัญหา/โจทย์การวิจัย
(แสดงถึงบริบทของพื้นที่และระบุที่ไปที่มาของปัญหาและความต้องการของพื้นที่ (Situation Review) และ
อธิบายความจำเป็นและความสำคัญที่โครงการวิจัยจะเข้าไปแก้ไขปัญหาสำคัญ /พัฒนาศักยภาพที่สำคัญ และ
ระบุคำถามงานวิจัยของโครงการวิจัย) (ไม่เกิน 3000 คำ)
ประเทศไทยได้รับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างหนักตลอดหลายปีที่ผ่านมา เช่น ปัญหาขยะพลาสติกที่มี
ปริมาณสูงถึง 2 ล้านตัน/ปี โดยนำกลับไปใช้ประโยชน์ 0.5 ล้านตัน/ปี และ 1.5 ล้านตัน/ปี นำไปกำจัดด้วยการฝัง
กลบหรือเผาทิ้ง (กรมควบคุมมลพิษ) และปัญหาหมอกควันจากการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น เหง้ามัน
สำปะหลัง เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดมลภาวะฝุ่นควัน PM 2.5 ปนเปื้อนในอากาศสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานที่
กำหนด เพราะสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รายงานว่า สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี พ.ศ. 2563 มีผลผลิต
หัวมันสำปะหลังสำหรับโรงงานเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย และอันดับ 3 ของโลกประมาณ 29 ล้านตัน คิดเป็นเหง้ามัน
สำปะหลังประมาณ 14.2 ล้านตัน เมื่อคูณด้วยอัตราส่วนของเหง้ามันสำปะหลังต่อหัวมันสำปะหลัง 0.49 [1]
ถึงแม้ว่าขยะพลาสติกและเหง้ามันสำปะหลังจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแต่ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็น
พลังงานได้ เพราะนักวิจัยได้คิดค้นวิธีการแปรรูปขยะพลาสติกและเหง้ามันสำปะหลังเป็นพลังงาน เช่น การผลิต
น้ำมันเชื้อเพลิง [2-23] ด้วยการไพโรไลซีส คือ การทำปฏิกิริยาทางเคมีความร้อนกับพลาสติกในสภาวะที่ปราศจาก
ออกซิเจนจนถึงจุดสลายตัวกลายเป็นไอที่อุณหภูมิระหว่าง 400-600°C จากนั้นควบแนนไอที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วให้
ได้ผลิตภัณฑ์หลักที่เป็นของเหลวหรือน้ำมันเชื้อเพลิง ในปี 2559 Paenpong และ Pattiya [11] ได้ไพโรไลซีสเหง้า
มันสำปะหลังเพื่อผลิตน้ำมันชีวภาพ พบว่า เหง้ามันสำปะหลังสามารถผลิตน้ำมันชีวภาพได้สูงถึง 48.8 wt% และปี
2562 Danguppama และคณะ [7] ได้ศึกษาการไพโรไลซีสพลาสติกพีวีซีเพื่อผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง พบว่า อุณหภูมิ
ปฏิกิริยา 500°C มีปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงสูงสุด 64 wt% เมื่อไพโรไลซีสด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมท์ พบว่า ปริมาณ
น้ำมันเชื้อเพลิงลดลงประมาณ 20 wt% แต่น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้มีค่ าความร้อนใกล้เคียงน้ำมันดีเซล คือ 42 MJ/kg
ต่อมาในปี 2563 ชินภัทร ธุระการ และคณะ [8] ได้ไพโรไลซีสขยะถุงพลาสติกในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดคงที่โดยไม่
ใช้ไนโตรเจนเป็นแก๊สพา พบว่า สามารถผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงได้สูงถึง 65.7 wt% และน้ำมันเชื้อเพลิงมีค่าความร้อน
สูงสุด 42.7 MJ/kg
อย่างไรก็ตาม หากสามารถนำขยะพลาสติกและเหง้ามันสำปะหลังมาไพโรไลซีสร่ว มกันเพื่อผลิตน้ำ มัน
เชื้อเพลิงได้อาจช่วยลดขั้นตอนการผลิตและสร้างน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพได้ เพราะในปี 2557 Oyedun และ
คณะ [24] ได้ไพโรไลซีสพลาสติกผสมไม้ไผ่ พบว่า สามารถเพิ่มพลังงานความร้อนได้มากกว่า 6.2% ปี 2558 Xue
และคณะ [6] ได้ไพโรไลซีสไม้โอ๊คแดงร่วมกับขยะพลาสติก พบว่า น้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้อุดมไปด้วยสารในกลุ่ม
ไฮโดรคาร์บอนและมีค่าความร้อนมากกว่า 36 MJ/kg ปี 2560 Zhang และคณะ [25] ได้ไพโรไลซีสขยะพลาสติก
ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา ZSM-5 เพื่อผลิตน้ำมันเครื่องบิน พบว่า มีปริมาณผลได้สูงถึง 66.1% และน้ำมันที่ได้ยังมีสาร
ไฮโดรคาร์บอนสูงถึง 63% ปี 2563 Chen และคณะ [26] ได้ผลิตน้ำมันเครื่องบินจากแกลบ พบว่า สามารถผลิต
น้ำมันเครื่องบินได้ 39.4% ซึ่งน้ำมันที่ได้มีสารอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน 53% และในปี 2564 Qian และคณะ [27]
ได้ไพโรไลซีสขี้เลื่อยผสมกับขยะพลาสติกด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา ZSM-5 สำหรับผลิตน้ำมันเครื่องบิน พบว่า สามารถ
ผลิตน้ำมันได้ 34.8% และน้ำมันมีสารไฮโดรคาร์บอนมากกว่า 40% จากงานวิจัยที่กล่าวมาจะเห็ นว่าการไพโรไลซีส
ขยะพลาสติกร่วมกับชีวมวลสามารถผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพสูงได้ แต่ยังไม่พบรายงานการพัฒนากระบวนการ

5
ผลิตน้ำมันคุณภาพสูงจากการไพโรไลซีสขยะถุงพลาสติกร่วมกับเหง้ามันสำปะหลัง อีกทั้งยังไม่พบรายงานการใช้
เทคนิคอุณหภูมิชุดควบแน่นเพื่อแยกองค์ประกอบทางเคมีในน้ำมันเชื้อเพลิงระหว่างกระบวนการผลิต
ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพสูงจากการไพโรไลซีส ขยะ
ถุงพลาสติกร่วมกับเหง้ามันสำปะหลังด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา โดยมีเงื่อนการทดอง คือ อุณหภูมิปฏิกิริยา 500 °C ใน
เครื่องปฏิกรณ์แบบเบดคงที่ชนิด 2 ถังป้อนที่มีอัตราการป้อนพลาสติก 1 กิโลกรัมต่อ 2 ชั่วโมง ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา 2
ชนิด คือ ZSM-5 และโดโลไมท์ อุณหภูมิชุดควบแน่นอุณหภูมิต่ำ (ชุดที่ 1) 4 ระดับ คือ -10 -20 -30 และ -40°C
และอุณหภูมิชุดควบแน่นอุณหภูมิต่ำ (ชุดที่ 2) 3 ระดับ คือ -50 -60 และ -70°C เพื่อศึกษาปริมาณผลได้และสมบัติ
ของน้ำมันเชื้อเพลิง โดยน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้ต้องมีออกเทนไม่น้อยกว่า 100 มีจุดเดือดอยู่ในช่วง 150 -300°C
และมีจุดเยือกแข็งมากกว่า -50°C รองรับการพัฒนาเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานต่อไปในอนาคต

3. วัตถุประสงค์ (ระบุเป็นข้อ)
3.1 เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพสูงจากการไพโรไลซีสขยะพลาสติกร่วมกับเหง้ามัน
สำปะหลัง
3.2 เพื่อศึกษาอัตราส่วนผสมของขยะพลาสติกต่อเหง้ามันสำปะหลังที่ส่งผลต่อปริมาณและสมบัติของน้ำมัน
เชื้อเพลิง
3.3 เพื่อศึกษาชนิดของตัวเร่งปฏิกิริยาต่อปริมาณและสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิง
3.4 เพื่อศึกษาอุณหภูมิชุดควบแน่นต่อปริมาณและสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิง
3.5 เพือ่ ถ่ายทอดองค์ความรู้สำหรับสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่

4. กรอบการวิจัย/พัฒนา
(กรอบการวิจัยที่เป็นแผนผังภาพแสดงถึงเป้าหมายและตัวชี้วัดของโครงการ และมีการแสดงความเชื่อมโยง
โครงการย่อยเพื่อตอบเป้าใหญ่ร่วมกัน (หากมีโครงการย่อย))
4.1 กรอบการดำเนินการวิจัย โครงนี้เป็นการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพสูงด้วยการไพโรไลซีสขยะพลาสติก
ร่วมกับเหง้ามันสําปะหลัง ด้วยหน่วยไพโรไลซีสชนิดเบดคงที่แบบต่อเนื่อง เพื่อศึกษาอัตราส่วนผสมของขยะ
พลาสติกต่อเหง้ามันสำปะหลังที่ส่งผลต่อปริมาณและสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิ ง, ศึกษาชนิดของตัวเร่งปฏิกิริยาต่อ
ปริมาณและสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิง และศึกษาอุณหภูมิชุดควบแน่นต่อปริมาณและสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิง แล้ว
จะนำผลการวิจัยได้ไปทดสอบในภาคสนามระดับชุมชน ซึ่งจะเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
ด้วยการไพโรไลซีสขยะพลาสติกร่วมกับเหง้ามันสําปะหลัง ให้กับชุมชนเครือข่าย โรงเรียนมัธยมและมหาวิทยาลัยที่
สนใจ ซึ่งกรอบวิจัยของโครงการดังแสดงในภาพที่ 2

6
ภาพที่ 2 กรอบการวิจัย

4.2 กรอบการทดลอง งานวิจัยที่ใช้ในการดำเนินโครงการ คือ การนำตัวแปรต้นที่กำหนดในกรอบการวิจัยมา


ออกแบบการทดลองในรูปแบบการกำหนดตัวแปรแบบเจาะจง โดยกำหนดอัตราส่วนพลาสติกต่อเหง้ามันสำปะหลัง
ที่ 3 อัตราส่วน คือ 100 ต่อ 0, 50 ต่อ 50 และ 0 ต่อ 100 โดยน้ำหนัก ในการทดลองใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา 2 ชนิด คือ
ZSM-5 และโดโลไมท์ อุณหภูมิของชุดควบแน่นอุณหภูมิสูงคงที่ คือ 40°C อุณหภูมิของชุดควบแน่นอุณหภูมิต่ำชุดที่
1 จำนวน 4 ระดับ คือ -10, -20, -30 และ -40°C และอุณหภูมิของชุดควบแน่นอุณหภูมิต่ำชุดที่ 2 จำนวน 3 ระดับ
คือ -50, -60 และ -70°C จากนั้นนำน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากชุดควบแน่นไปวิเ คราะห์สมบัติตามมาตรฐานการ
วิเคราะห์สมบัติน้ำมันเชื้อเพลิงและองค์ประกอบทางเคมี ดังแสดงในภาพที่ 3

7
ภาพที่ 3 กรอบกระบวนการทดลองในโครงการวิจัย

4.3 กรอบการตีพิมพ์บทความวิจัย ในการวิจัยครั้งมีแผนการตีพิมพ์บทความวิจัยในระดับ ISI หรือ Scopus ฐาน


Q1 จำนวนทั้งหมด 3 บทความ โดยมีหัวข้อบทความวิจัยและตัวอย่างวารสารในการตีพิมพ์ดังตารางที่ 1
1. Jet fuel obtained by pyrolysis of plastic bags and cassava rhizomes at different mixing ratios.
2. Influence of ZSM-5 and dolomite catalysts from pyrolysis plastic mixed with cassava rhizome
on yield and properties of jet fuel.
3. Effect of fuel classification using condensing unit temperature separation technique in pyrolysis
of plastic waste mixed with cassava rhizome.

ตารางที่ 1 ตัวอย่างวารสารในการตีพิมพ์
Open Impact
No. Journals Database Q CiteScore
access factor
1 Applied Energy ISI Supports Q1 17.6 9.746
2 Energy Conversion and ISI Supports Q1 15.9 9.709
Management
3 Bioresource Technology ISI Supports Q1 14.8 9.642
4 Energy ISI Supports Q1 11.5 7.147
5 Waste Management ISI Supports Q1 11.5 7.145
6 Fuel ISI Supports Q1 9.8 6.609

8
Open Impact
No. Journals Database Q CiteScore
access factor
7 Journal of Analytical and ISI Supports Q1 8.6 5.541
Applied Pyrolysis
8 Applied Thermal Engineering ISI Supports Q1 10.1 5.295

5. แนวคิด ทฤษฎี และสมมติฐานงานวิจัย (ไม่เกิน 3000 คำ)


5.1 ชีวมวล
5.1.1 ความหมายและความสำคัญของชีวมวล
ชีวมวล หมายถึง เศษวัสดุที่กักเก็บพลังงานจากการสังเคราะห์แสงตามธรรมชาติของพืช ซึ่งขั้นตอนการ
เจริญเติบโตของพืชจำเป็นต้องใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำในการสังเคราะห์แสงเพื่อเปลี่ยนพลังงานความร้อน
จากแสงอาทิตย์ให้เป็นแป้งและน้ำตาลแล้วกักเก็บไว้ตามส่วนประกอบของพืช ดังนั้นเมื่อ นำชีวมวลมาแปรรูปด้วย
กระบวนการต่าง ๆ จึงได้พลังงานออกมา โดยพลังงานที่ได้เป็นผลมาจากธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนซึ่งเป็นธาตุ
ประกอบหลักทางเคมีที่อยู่ในชีวมวล สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมจึงมีชีวมวลที่เหลือใช้จากการแปร
รูปผลิตภัณฑ์ของพืชหลากหลายชนิด ตัวอย่างเช่ น ฟางข้าว แกลบ ใบอ้อย ยอดอ้อย กะลาปาล์ม ซังข้าวโพด เหง้า
และลำต้นมันสำปะหลัง และขี้เลื่อย เป็นต้น
5.1.2 องค์ประกอบของชีวมวล [30]
องค์ประกอบหลักพื้นฐานของชีวมวล ประกอบด้วย เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน ซึ่งเนื้อหาในหัวข้อนี้
อธิบายถึงองค์ประกอบของชีวมวล สูตรทางเคมี รวมทั้งลักษณะและโครงสร้างทางเคมี โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. เซลลูโลส
เซลลูโลส คือ องค์ประกอบหลักของผนังเซลล์ที่มีปริมาณร้อยละ 40-60 โดยน้ำหนักของเนื้อไม้ สูตรทาง
เคมี คือ (C6H10O5)n เซลลูโลสเกิดจากกลูโคสที่เป็นโฮโมพอลิแซ็กคาไรด์ปริมาณ 10,000-50,000 หน่วย นอกจากนี้
เซลลูโลสยังมีโมเลกุลเชื่อมต่อกันเป็นสายยาวซึ่งแต่ละสายของเซลลูโลสจะเรียงขนานกันด้วยแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง
สายดังภาพที่ 4 เซลลูโ ลสไม่ล ะลายน้ำเนื่องจากเป็นโพลิเ มอร์ข องน้ำตาลที ่ประกอบด้ว ยแอนไฮโดรกลู โ คส
เชื่อมต่อกัน

ภาพที่ 4 โครงสร้างโมเลกุลของเซลลูโลส

9
2. เฮมิเซลลูโลส
เฮมิเซลลูโลส คือ พอลิแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่งที่คล้ายเซลลูโลสเพราะประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหลาย
ชนิด เช่น กลูโคส กาแลกโทส แมนโนส ไซโลส อะราบิโนส และกลูคูโรนิก โดยลักษณะโครงสร้างโมเลกุลของเฮมิ
เซลลูโลสจะเชื่อมต่อกันเป็นสายยาวซึ่งแต่ละสายจะเรียงขนานกันด้วยแรงยึดเหนี่ยวระหว่างสายทำให้มีลักษณะเป็น
เส้นใยดังภาพที่ 5 จึงไม่ละลายน้ำ ปริมาณเฮมิเซลลูโลสในเนื้อไม้ คือ ร้อยละ 20-35 โดยน้ำหนัก และสูตรทางเคมี
ของเฮมิเซลลูโลส คือ (C5H8O4)n

ภาพที่ 5 โครงสร้างโมเลกุลของเฮมิเซลลูโลส

3. ลิกนิน
ลิกนิน คือ สารประกอบเชิงซ้อนที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงซึ่งส่วนใหญ่ลิกนินจะรวมกับเซลลูโลส ธาตุประกอบ
ของลิกนิน คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนที่รวมเป็นหน่วยย่อยหลายชนิด สำหรับปริมาณลิกนินในเนื้อไม้
ทั่วไปร้อยละ 15-30 โดยน้ำหนัก ไม้เนื้อแข็งร้อยละ 18-25 โดยน้ำหนัก และไม้เนื้ออ่อนร้อยละ 25-35 โดยน้ำหนัก
นอกจากนี้ลิกนินยังมีสมบัติที่ไม่ละลายน้ำและไม่ยืดหยุ่นเนื่องจากโครงสร้างของลิกนินจับตัวกันเป็นเส้นใยที่มี
ลักษณะเหมือนเส้นใยแมงมุมดังภาพที่ 6 จึงทำให้การย่อยสลายค่อนข้างยาก

10
ภาพที่ 6 โครงสร้างโมเลกุลของลิกนิน

5.1.3 สมบัติของชีวมวล
สมบัติของชีวมวลประกอบด้วย สมบัติแบบประมาณ สมบัติแบบแยกธาตุ และสมบัติทางความร้อน ซึ่งมี
รายละเอียด ดังนี้
1. สมบัติแบบประมาณ คือ การวิเคราะห์สัดส่วนของความชื้น สารระเหย เถ้า และคาร์บอนคงที่ เพื่อ
เปรียบเทียบกับน้ำหนักของชีวมวลเริ่มต้นซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 ความชื้น หมายถึง ปริมาณน้ำที่สะสมในชีวมวล ซึ่งสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดน้ำสะสมได้
3 สาเหตุ ดังนี้ สาเหตุแรกเกิดจากน้ำที่ส ะสมจากการดูดซึมเพื่อใช้ในขั้นตอนการเจริญเติบโตของพืช สาเหตุที่สอง
เกิดจากน้ำที่สะสมจากขั้นตอนของการเก็บเกี่ยวหรือแปรรูปผลิตภัณฑ์ และสาเหตุสุดท้ายเกิดจากน้ำที่สะสมจาก
วิธีการหรือสถานที่เก็บชีวมวล สำหรับชีวมวลก่อนไพโรไลซีสแบบเร็วควรกำจัดความชื้นด้วยวิธีตากแดดหรืออบให้
ปริมาณความชื้นต่ำกว่าร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก [31] เพื่อลดปริมาณน้ำสะสมในไบโอออยล์
1.2 สารระเหย หมายถึง ส่วนที่ลุกไหม้ได้ง่าย ซึ่งสารระเหยส่วนใหญ่ในชีวมวลเกิดจากสารอินทรีย์
เป็นส่วนประกอบหลัก นอกจากนี้ปริมาณของสารระเหยในชีวมวลยังสามารถใช้ทำนายปริมาณผลได้ของไบโอออยล์
เบื้องต้นก่อนนำไปไพโรไลซีสแบบเร็วได้ ตัวอย่างเช่น ชีวมวลที่มีปริมาณสารระเหยประมาณร้อยละ 79 โดยน้ำหนัก
เมื่อนำไปไพโรไลซีสแบบเร็วมีแนวโน้มสูงที่จะได้ปริมาณผลได้ของไบโอออยล์สูงกว่าร้อยละ 64 โดยน้ำหนัก [29]

11
ทั้งนี้ปัจจัยดำเนินการต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อปริมาณผลได้ของไบโอออยล์ยังมีอีกหลายอย่างซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียด
ของการไพโรไลซีสแบบเร็วของชีวมวลต่อไป
1.3 เถ้า หมายถึง สารที่ไม่สามารถเผาไหม้ได้ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของสารอนินทรีย์ เช่น โพแทสเซียม
(K) แคลเซียม (Ca) ฟอสฟอรัส (P) แมกนีเซียม (Mg) คลอรีน (Cl) โซเดียม (Na) และทองแดง (Cu) สำหรับการไพ
โรไลซีสแบบเร็วของชีวมวลนั้น เถ้า คือ สิ่งที่ต้องการกำจัดเช่นเดียวกับความชื้นของชีวมวล เพราะชีวมวลที่มีปริมาณ
เถ้าสูงเมื่อนำไปไพโรไลซีสแบบเร็วมีแนวโน้มที่ทำให้ปริมาณผลได้ของไบโอออยล์ต่ำ ดังนั้นก่อนนำชีวมวลไปไพโรไล
ซีสแบบเร็วควรวิเคราะห์ปริมาณเถ้าของชีวมวล หากพบว่าชีวมวลนั้นมีเถ้าในปริมาณสูงต้องกำจัดออกก่อนนำไปไพ
โรไลซีสแบบเร็ว ซึ่ง Pattiya และคณะ [32] ได้ศึกษาการกำจัดเถ้าในเหง้าและลำต้นมันสำปะหลังโดยการล้างด้วย
กรดไฮโดรคลอลิก พบว่า หลังจากล้างเหง้าและลำตันมันสำปะหลังด้วยกรดไฮโดรคลอลิกในปริมาณร้อยละ 0.05
สามารถลดปริมาณเถ้าในเหง้าและลำต้นมันสำปะหลังได้สูงถึงร้อยละ 60
1.4 คาร์บอนคงที่ หมายถึง ส่วนที่ลุกไหม้ได้ง่ายเพราะเป็นสารอินทรีย์ แต่คาร์บอนคงที่ของชีวมวล
แต่ละชนิดจะมีปริมาณแตกต่างกัน โดยคาร์บอนคงที่จะแปรผันตามปริมาณสารระเหยและปริมาณเถ้าของชีวมวลแต่
ละชนิด
2. สมบัติแบบแยกธาตุ
สมบัติของชีวมวลอีกอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องวิเคราะห์ คือ สมบัติแบบแยกธาตุของชีวมวล เพราะสมบัติ
ดังกล่าวจะทำให้เราทราบองค์ประกอบของธาตุที่อยู่ในชีวมวล ซึ่งธาตุประกอบในชีวมวล คือ คาร์บอน ไฮโดรเ จน
กำมะถัน ไนโตรเจน และออกซิเจน ที่ส่งผลต่อสมบัติของไบโอออยล์ เช่น ชีวมวลที่มีปริมาณคาร์บอนและไฮโดรเจน
สูงเมื่อนำไปไปไพโรไลซีสแบบเร็วก็มีแนวโน้มทำให้ค่าความร้อนของไบโอออยล์สูงตามไปด้วย และชีวมวลที่มีปริมาณ
กำมะถันและออกซิเจนสูงเมื่อไพโรไลซีสแบบเร็วจะทำให้ไบโอออยล์มีความเป็นกรดสูงและค่าความร้อนต่ำ
3. สมบัติทางความร้อน
สมบัติทางความร้อนของชีวมวล คือ ค่าความร้อนสูง (Higher heating value, HHV) และค่าความร้อนต่ำ
(Lower heating value, LHV) ซึ่งค่าความร้อนสูงคำนวณได้จากปริมาณธาตุในชีวมวลหรือวิเคราะห์ด้วยเครื่อง
บอมบ์แคลอริมิเตอร์ ขณะที่ค่าความร้อนต่ำคำนวณได้หลังจากทราบค่าความร้อนสูงตามรายละเอียดของสมการ
ต่อไปนี้
3.1 สมการค่าความร้อนสูงจากการคำนวณปริมาณธาตุ [33]
HHVdry = −1.3675 + 0.3137 C + 0.7009 H + 0.0318 O (1)
เมื่อ HHVdry = ค่าความร้อนสูงฐานแห้ง (เมกะจูลต่อกิโลกรัม)
C = ร้อยละคาร์บอน
H = ร้อยละไฮโดรเจน
O = ร้อยละออกซิเจน

12
3.2 สมการค่าความร้อนสูงจากเครื่องบอมบ์แคลอริมิเตอร์
(C×∆T)−Qi
HHVwet = m
(2)
เมื่อ HHVwet = ค่าความร้อนสูงฐานเปียก (เมกะจูลต่อกิโลกรัม)
C = ความจุความร้อน (เมกะจูลต่อองศาเซลเซียส)
∆T = ความแตกต่างของอุณหภูมิน้ำ (องศาเซลเซียส)
Qi = ค่าความร้อนจากการเผาไหม้ (เมกะจูล)
m = มวลของชีวมวล (กิโลกรัม)

ค่าความร้อนสูงฐานเปียกจากผลวิเคราะห์ด้วยเครื่องบอมบ์แคลอริมิเตอร์ สามารถเปลี่ยนเป็นค่าความร้อน
สูงฐานแห้งโดยคำนวณตามสมการต่อไปนี้
%Moisture
HHVwet = HHVdry × (1 − 100
) (3)
เมื่อ HHVdry = ค่าความร้อนสูงฐานแห้ง (เมกะจูลต่อกิโลกรัม)
Moisture = ความชื้นของชีวมวล (ร้อยละโดยน้ำหนัก)

3.3 สมการค่าความร้อนต่ำ
H
LHVdry = HHVdry − α × (β 100) (4)
เมื่อ LHVdry = ค่าความร้อนต่ำฐานแห้ง (เมกะจูลต่อกิโลกรัม)
α = ค่าความร้อนแฝงของน้ำที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสมีค่าเท่ากับ
2.430 เมกะจูลต่อกิโลกรัม [34]
β = มวลของน้ำที่เกิดจากการเผาไหม้ไฮโดรเจน 1 กิโลกรัม คือ 8.936 กิโลกรัม
H = ร้อยละของไฮโดรเจนจากการวิเคราะห์แบบแยกธาตุ (ฐานแห้ง)

5.1.4 เหง้ามันสำปะหลัง
มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจ ประเทศไทยจึงส่งเสริมการปลูกมันสำปะหลังเพื่อส่งออกและเป็นวัตถุดิบ
สำหรับผลิตแป้งมัน ผลิตมันเม็ดอาหารสัตว์ และผลิตเอทานอลไว้ใช้ภายในประเทศ ซึ่งข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจ
การเกษตร เรื่อง สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2557 รายงานว่า ประเทศไทยมีผลผลิตหัวมันสำปะหลังโรงงาน
ประมาณ 30 ล้านตัน [35] มากเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน หรือคิดเป็นเหง้ามันสำปะหลังประมาณ 14.7 ล้านตัน
เมื่อคูณด้วยอัตราส่วนของเหง้ามันสำปะหลังต่อหัวมันสำปะหลัง คือ 0.49 [1] หลังการเก็บเกี่ยวจะเหลือลำต้นที่
สามารถนำไปขยายพันธุ์ต่อได้และเหง้ามันที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งซึ่งไม่สามารถนำไปขยายพันธุ์และบริโภคได้ เกษตรกร
จึงกำจัดเหง้ามันด้วยการเผาจนเกิดปัญหาสภาวะสิ่งแวดล้อม แต่เหง้ามันสำปะหลังสามารถแปรรูปเป็นพลังงานได้
เนื่องจากมีค่าความร้อนสูงใกล้เคียงไม้ฟืน จึงจัดเป็นชีวมวลอีกชนิดที่มีศักยภาพหากสามารถแปรรูปเอาพลังงานที่อยู่
ในเหง้ามันสำปะหลังมาใช้อาจช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ดังภาพที่ 7
13
ภาพที่ 7 เหง้ามันสำปะหลังขนาดอนุภาค 300-600 ไมโครเมตร

เหง้ามันสำปะหลังยึดระหว่างหัวมันและลำต้นมันสำปะหลัง เปลือกของเหง้ามันสำปะหลังมีความแข็งมาก
เพราะมีโครงสร้างของซิลิกาจำนวนมาก [36] ด้วยเหตุนี้เหง้ามันสดจึงแตกหักและติดไฟยากเกษตรกรต้องตากเหง้า
มันสำปะหลังไว้ในพื้นที่เพาะปลูกจนแห้งก่อนเผาทิ้ง นอกจากนี้เหง้ามันสำปะหลังยังค่อนข้างติดไฟยากเนื่องจาก
ความหนาแน่นของโครงสร้างซิลิกา แต่เมื่อติดไฟแล้วจะให้ความร้อนได้นานเช่นเดียวกับไม้เนื้อแข็งทั่วไป ซึ่งมี
รายงานโดย Pattiya [1] ว่าเหง้ามันสำปะหลังแห้งหลังบดละเอียดมีค่าความร้อนสูง (ฐานแห้ง) ประมาณ 20 เมกะ
จูลต่อกิโลกรัม

5.2 การไพโรไลซีสแบบเร็วของชีวมวล
การไพโรไลซีสแบบเร็วของชีวมวลได้รับการพัฒนามาจากการไพโรไลซีสแบบช้าของชีวมวลที่เน้นของแข็ง
เป็นผลิตภัณฑ์หลัก ซึ่งการไพโรไลซีสแบบช้าของชีวมวลมีอุณหภูมิปฏิกิริยา 200-300 องศาเซลเซียส และเวลาคงอยู่
นาน ต่อมาในปี 1970 กระบวนการได้รับการปรับปรุงโดยเพิ่มอุณหภูมิขึ้นเป็นประมาณ 500 องศาเซลเซียส และลด
เวลาคงอยู่ของไอให้สั้น [37] จากนั้นควบแน่นไอไพโรไลซีส อย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ของเหลวเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่
เรียกว่า “ไบโอออยล์”
5.2.1 หลักการไพโรไลซีสแบบเร็วของชีวมวล
การไพโรไลซีสแบบเร็วของชีว มวล คือ การเปลี่ยนแปลงทางเคมีความร้อนแบบเร็วของชีวมวลในสภาวะที่
ปราศจากออกซิเจน โดยอุณหภูมิ 100-110 องศาเซลเซียส ความชื้นในชีวมวลเริ่มระเหย เมื่อเพิ่มอุณหภูมิขึ้นเป็น
250-300 องศาเซลเซียส เฮมิเซลลูโลสเริ่มสลายตัว และอุณหภูมิ 350-400 องศาเซลเซียส เซลลูโลสสลายตัว
สำหรับลิกนินสลายตัวที่อุณหภูมิ 200-900 องศาเซลเซียส [30]
การไพโรไลซีสแบบเร็วของชีวมวลต้องควบคุมอุณหภูมิปฏิกิริยาให้อยู่ในช่วง 400-600 องศาเซลเซียส และ
ควบคุมเวลาคงอยู่ของไอไพโรไลซีส ให้สั้นแล้วควบแน่นอย่างรวดเร็วจะให้ปริมาณผลได้ของไบโอออยล์สูงถึงร้อยละ
72 โดยน้ำหนัก [28] แต่หากลดอุณหภูมิไพโรไลซีสให้ต่ำและเพิ่มเวลาคงอยู่ให้นานจะได้ของแข็งหรือถ่านชาร์เป็น
14
ผลิตภัณฑ์หลัก และหากเพิ่มอุณหภูมิไพโรไลซีสให้สูงกว่า 600 องศาเซลเซียส และเพิ่มเวลาคงอยู่ของไอไพโรไลซีส
ให้นานขึ้นจะได้แก๊สเชื้อเพลิงเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ตัวอย่างการสลายตัวทางเคมีความร้อนของไม้เนื้อแข็งดังภาพที่ 8
เกิดขึ้นจากการไพโรไลซีสแบบเร็วของแต่ละช่วงปฏิกิริยาจะได้ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน

ภาพที่ 8 ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากการไพโรไลซีสแบบเร็วของไม้เนื้อแข็ง [24]

5.2.2 การไพโรไลซีสแบบเร็วของเหง้ามันสำปะหลัง
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมจึงมีเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นจำนวนมากและ เหง้ามัน
สำปะหลัง คือ เศษวัสดุเหลือใช้จากการเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลัง โดยข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เรื่ อง
สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี พ.ศ. 2557 รายงานว่า ประเทศไทยมีผลผลิตหัวมันสำปะหลังสำหรับโรงงาน
ประมาณ 30 ล้านตัน หรือคิดเป็นเหง้ามันสำปะหลังประมาณ 14.7 ล้านตัน เมื่อคูณด้วยอัตราส่วนของเหง้ามัน
สำปะหลังต่อหัวมันสำปะหลัง 0.49 [1] ส่วนใหญ่เกษตรนิยมกำจัดเหง้ามันสำปะหลังนี้ด้วยวิธีการเผาจึงสร้างปัญหา
มลพิษให้กับสภาวะแวดล้อม แต่หากนำเหง้ามันสำปะหลังนี้มาแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน เช่น ผลิตเป็นไบโอออยล์
ด้วยการไพโรไลซีสแบบเร็วอาจช่วยลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้
ปี พ.ศ. 2549 Pattiya และคณะ [23] ได้ไพโรไลซีสแบบเร็วของเหง้าและลำต้นมันสำปะหลังด้วยวิธี Py-
GC/MS พบว่า อุณหภูมิปฏิกิริยามีผลต่อปริมาณผลได้ของไบโอออยล์ และการล้างชีวมวลด้วยน้ำเปล่าสามารถลด
ปริมาณเถ้าในชีวมวลและเพิ่มปริมาณผลได้ขององค์ประกอบทางเคมีของไบโอออยล์ และปีเดียวกันนี้ Pattiya และ
คณะ [21] ได้ไพโรไลซีสแบบเร็วของเหง้ามันสำปะหลังโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา ZSM-5 ด้วยวิธี Py-GC/MS ที่อุณหภูมิ
ปฏิกิริยา 500 องศาเซลเซียส พบว่า ปริมาณออกซิเจนจากการสลายตัวขององค์ประกอบลิกนินลดลงและปริมาณ
สารกลุ่มแอโรแมติกส์และฟีนอลเพิ่มขึ้น

15
ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 Pattiya [17] ได้ไพโรไลซีส แบบเร็ว ของเหง้าและลำต้นมันสำปะหลังในเครื่อง
ปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบฟองขนาดอัตราการป้อนชีวมวล 100 กรัมต่อชั่วโมง โดยทรายซิลิกาเป็นตัวกลางถ่ายโอน
ความร้อน เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณผลได้และสมบัติของผลิตภัณฑ์ พบว่า อุณหภูมิไพโรไลซีส 437-537
องศาเซลเซียส ให้ปริมาณผลได้ของไบโอออยล์แตกต่างกันระหว่างร้อยละ 59-65 โดยน้ำหนัก และไบโอออยล์มีค่า
ความร้อนสูงแตกต่างกันอยู่ในช่วง 18-23 เมกะจูลต่อกิโลกรัม จากนั้นในปี พ.ศ. 2555 Pattiya และคณะ [16] ได้
ไพโรไลซีสแบบเร็วของเหง้าและลำต้นมันสำปะหลังในเครื่องปฏิกรณ์แบบตกอิสระ พบว่า อุณหภูมิ 400 องศา
เซลเซียส ให้ปริมาณผลได้ของไบโอออยล์สูงสุดร้อยละ 52.3 โดยน้ำหนัก แต่เมื่อลดอุณหภูมิของเครื่องควบแน่น
ระบายความร้อนด้วยน้ำเป็น 10 องศาเซลเซียส ปริมาณผลได้ของไบโอออยล์เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70 โดยน้ำหนัก
อย่างไรก็ตามเมื่อเพิ่ มระยะเวลาทดลองเป็น 3 ชั่วโมง ปริมาณผลได้ของไบโอออยล์ลดลงเป็นร้อยละ 39.7 โดย
น้ำหนัก ปีเดียวกัน Pattiya และ Suttibak [15] ยังได้ศึกษาการไพโรไลซีสแบบเร็วเหง้าและลำต้นมันสำปะหลังใน
เครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบฟอง พบว่า หากไม่ใช้ชุดกรองไอร้อนและใช้อุณหภูมิไพโรไลซีส 472 องศาเซียส
ปริมาณผลได้ของไบโอออยล์สูงถึงร้อยละ 69.09 โดยน้ำหนัก แต่เมื่อใช้ชุดกรองไอร้อนทำให้ปริมาณผลได้ของไบโอ
ออยล์ลดลงเป็นร้อยละ 63.23 โดยน้ำหนัก
ปี พ.ศ. 2556 Paenpong และคณะ [13] ได้ไพโรไลซีสแบบเร็วของเหง้ามันสำปะหลังในเครื่องปฏิกรณ์
ฟลูอิไดซ์เบดแบบฟอง พบว่า เมื่อเพิ่มขนาดอนุภาคตัวกลางกรองของชุดกรองไอร้อนแบบแกรนนูลาร์ทำให้ปริมาณ
ผลได้ของไบโอออยล์ลดลง แต่ไบโอออยล์ที่ได้มีปริมาณของแข็งและความหนืดลดลงส่งผลเสถียรภาพในการเก็บ
รักษาดีขึ้น ในปีเดียวกัน Sirijanusorn และคณะ [12] ได้ไพโรไลซีสแบบเร็วของเหง้ามันสำปะหลังในเครื่องปฏิกรณ์
แบบสกรูคู่ พบว่า อุณหภูมิไพโรไลซีส 500°C ปริมาณผลได้ของไบโอออยล์สูงสุดประมาณ 50 wt%

5.3 การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากขยะถุงพลาสติก
5.3.1 ถุงพลาสติก หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกทดแทนวัสดุจาก
ธรรมชาติ ซึ่งพลาสติกจัดอยู่ในประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีโมเลกุลต่อกันเป็นพันธะห่วงโซ่ยาวที่
เรียกว่า “โพลิเมอร์” ดังแสดงในภาพที่ 9 โดยองค์ประกอบธาตุสำคัญของพลาสติก คื อ คาร์บอน ไฮโดรเจน และ
ออกซิเจน จึงทำให้พลาสติกมีความยืดหยุ่นเปลี่ยนรูปได้ตามอุณหภูมิและความดันซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้พลาสติก
สลายตัวทางธรรมชาติได้ช้ามาก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ขยะจากถุงพลาสติกมีปริมาณเพิ่มขึ้น

H H H H H H H H H

C C C C C C C C C

H H H H H H H H H

ภาพที่ 9 โครงสร้างโพลิเมอร์

16
5.3.2 การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงออกคุณภาพสูงจากขยะถุงพลาสติกด้วยการไพโรไลซีส
เริ่มต้นด้วยการให้ความร้อนกับฮีทเตอร์ให้สูงกว่าอุณหภูมิไพโรไลซีสที่กำหนดประมาณ 100 องศาเซลเซียส
เพื่อรักษาอุณหภูมิไพโรไลซีสให้อยู่ในช่วง 400-600 องศาเซลเซียส จากนั้นปรับอัตราการไหลของ (FC 3) เพื่อให้
เบดหรือทรายได้รับความร้อนจากฮีทเตอร์จนแน่ใจว่าอุณหภูมิไพโรไลซีส (TC 1) ดังแสดงในภาพที่ 10 ได้ตามค่าที่
กำหนดจึงเปิดการทำงานของปั๊มน้ำหล่อเย็นชุดป้อนพลาสติกและชุดควบแน่นระบายความร้อนด้วยน้ำ
เมื่อแน่ใจว่าอุณหภูมิไพโรไลซีสและชุดน้ำหล่อเย็นเป็นปกติให้เริ่มป้อนพลาสติกด้วยการเปิดเครื่องกวนและ
ปรับอัตราการไหล (FC 1 และ FC 2) เพื่อป้อนพลาสติกจากถังผ่านท่อลำเลียงเข้าไปยังภายในของเครื่องปฏิกรณ์
เพื่อแลกเปลี่ยนความร้อนกับทรายร้อนจนเกิดการสลายตัวทางโครงสร้างเคมีกลายเป็นควันหรือไอไพโรไลซีสผสมกับ
ของแข็งที่ไม่สามารถสลายตัวได้ไหลขึ้นไปด้านบนของเครื่องปฏิกรณ์ด้วยอัตราการไหลของแก๊สพาผ่านไปยังไซโคลน
ทั้งสองตัว เพื่อแยกของแข็งหรือถ่านชาร์ที่เกิดขึ้นจากการสลายตัวทางเคมีความร้อนออกจากไอไพโรไลซีส จากนั้น
ไอไพโรไลซีสที่ยังคงมีของแข็งขนาดเล็กผสมอยู่จะถูกส่งผ่านไปยังชุดกรองไอร้อนเพื่อแยกถ่านชาร์ขนาดเล็กออกด้วย
ตัวกลางกรองใยแก้ว (หรือตัวเร่งปฏิกิริยา) เมื่อไอไพโรไลซีสถูกแยกของแข็งออกจะถูกส่งต่อไปยังชุดควบแน่นด้วย
น้ำหล่อเย็นเพื่อควบแน่นไอไพโรไลซีสที่มีโมเลกุลใหญ่เก็บไว้ยังถังเก็บของเหลว 1 และที่ไอไพโรไลซีสที่ไม่สามารถ
ควบแน่นไม่ได้จะถูกส่งต่อไปยังชุดควบแน่นด้วยเครื่องตกตะกอนไฟฟ้าสถิตแล้วเก็บไว้ยังถังเก็บของเหลว 2 สุดท้าย
ไอไพโรไลซีสที่ไม่สามารถควบแน่นได้จะถูกควบแน่นด้วยชุดควบแน่นด้วยความหนาแน่นน้ำ จากนั้นไอไพโรไลซีส
หรือแก๊สที่ไม่สามรถควบแน่นได้จะถูกเผาด้วยเตาเผาเพื่อป้องกันสารพิษที่เ กิดขึ้นจากกระบวนการไพโรไลซีส
พลาสติกต่อไป

TC 4

TC 3

TC 8
TC 5 TC 6

TC 2

FC 2 TC 7
1 2
FC 1
FC 3 1
2

TC 1

N2 TC = Temperature control
FC = Flow ratc control

ภาพที่ 10 แผนภาพหน่วยไพโรไลซีสพลาสติกแบบเร็วในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบด

17
5.4 ตัวเร่งปฏิกิริยา
5.4.1 ตัวเร่งปฏิกิริยา ZSM-5
ตัวเร่งปฏิกิริยานี้มีส่วนผสมขออะลูมิโนซิลิเกตซีโอไลต์ (Aluminosilicate zeolite) ที่อยู่ในตะกูลของซี
โอไลต์และมีส ูตรทางเคมี คือ NanAlnSi96–nO192·16 H2O (0<n<27) ซึ่งมีห น่ว ยย่อยประกอบด้วย อะตอมของ
ซิลิกอนหนึ่งอะตอมและออกซิเจนสี่อะตอม (SiO4) หรือ อะตอมของอะลูมินาหนึ่งอะตอมและออกซิเจนสี่อะตอม
(AlO4) เมื่อเผาที่อุรหภูมิสูงจะทำให้เกิดรูพรุนของขนาดประมาณ 0.55-0.56 นาโนเมตรดังแสดงในภาพที่ 11 และ
ภาพที่ 12 ซึ่งการสังเคราะห์ อัตราส่วนผสมระหว่างซิลิกาต่ออะลูมินา (Si/Al) จะทำให้ประสิทธิภาพในการเร่ง
ปฏิกิริยาของซีเอสเอ็มไฟว์แตกต่างกัน โดยตัวเร่งปฏิกิริยาสังเคราะห์ชนิดนี้นิยมนำไปใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
เพื่อเร่งปฏิกิริยาการกลั่นตัวของเชื้อเพลิงปิโตรเลียมให้มีสมบัติที่ดีขึ้น

ภาพที่ 11 โครงสร้างตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์

ภาพที่ 12 ตัวเร่งปฏิกิริยา ZSM-5 ขนาด 1-3 มิลลิเมตร

5.4.2 ตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมท์
โดโลไมท์ (Dolomite) มีองค์ประกอบหลักของตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดนี้ คือ แคลเซี่ยมและแมกนีเซี่ยม โดยแค
ลเซี่ยมและแมกนีเซี่ ยมจะมีปริมาณที่แตกต่างกันไปตามแหล่งที่พบ ซึ่งประเทศไทยพบโดโลไมท์ได้มากที่จังหวัด
18
กาญจนบุรีและจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดโลไมท์มีโครงสร้างรูปผลึกสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนซึ่งผิวหน้าของผลึกมีลักษณะ
โค้งคล้ายอานม้า ดังแสดงในภาพที่ 13 และมีสูตรทางเคมี คือ CaMg(CO3)2 เมื่อเผาที่อุณหภูมิสูงจะทำให้แก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์สลายตัวเกิดเป็นรูพรุน ซึ่งรูพรุนนี้จะช่วยให้โดโลไมท์ทนต่ออุณหภูมิสูงและช่วยเปลี่ยนโครงสร้าง
ทางเคมีของสารที่ไหลผ่านทำให้สารนั้นมีองค์ประกอบทางเคมีที่ดีขึ้น

ภาพที่ 13 ตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมท์ขนาด 2-3 มิลลิเมตร

6. ระเบียบวิธีวิจัยและวิธีการดำเนินการวิจัย
6.1 การออกแบบและกระบวนการทำงาน การพัฒนากระบวนการผลิตน้ำมันคุณภาพสูงจากการไพโรไลซีส
ขยะพลาสติกร่วมกับเหง้ามันสําปะหลัง
การออกแบบและสร้างหน่วยผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพสูงด้วยการไพโรไลซีสขยะพลาสติกร่วมกับเหง้ามัน
สําปะหลัง นั้นสามารถจำแนกอุปกรณ์ในระบบออกเป็นส่วนต่าง ๆ ดังแสดงในภาพที่ 14 ได้ดังนี้
- เตาปฏิกรณ์ (Reactor I และ II)
- ชุดกรองไอร้อน (Hot filter)
- ชุดควบแน่นอุณหภูมิสูง, ชุดควบแน่นอุณหภูมิตำ่ ชุดที่ 1 และชุดที่ 2
- เครื่องตกตะกอนไฟฟ้าสถิตย์ (ESP)
-ชุดผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับระบบควบคุมการทำงาน
กระบวนการการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง คุณภาพสูงด้วยการไพโรไลซีสขยะพลาสติกร่วมกับเหง้ามันสําปะหลัง
เริ่มต้นจากการนำขยะถุงพลาสติกที่ผ่านการทำความสะอาดและทำให้แห้ง ผสมกับเหง้ามันสำปะหลังตามอัตราส่วน
การทดลอง บรรจุในเตาปฏิกรณ์ (Reactor I และ II) เตาละ 1 กิโลกรัม สำหรับ Hot Filter บรรจุตัวเร่งปฏิกิริยาครั้ง
ละ 1 กิโลกรัม เมื่อบรรจุขยะพลาสติก ผสมเหง้ามันสำปะหลังและตัวเร่งปฏิกิริยาเรียบร้อยแล้ว เริ่มเปิดการทำงาน

19
ของชุดควบแน่นอุณหภูมิต่ำตามตารางบันทึกผลการทดลอง (Low-Temperature Condensing Unit) และการ
ทำงานของชุดควบแน่นอุณหภูมิสูง (High-Temperature Condensing Unit) ตามลำดับ จากนั้นเปิดการทำงาน
ของแก๊สเชื้อเพลิงเพื่อให้ความร้อนกับชุดกรองไอร้อน (Hot Filter) ที่อุณหภูมิ 500°C เมื่ออุณหภูมิทุกจุดได้ตามค่าที่
กำหนดเริ่มเปิดการทำงานของเครื่องตกตะกอนไฟฟ้าสถิตย์ (ESP) และให้ความร้อนกับเตาปฏิกรณ์ (Reactor I) เดิน
ระบบได้ประมาณ 15 นาที จะเกิดแก๊สที่ไม่สามารถควบแน่นได้ซึ่งแก๊สนี้จะถูกนำมาใช้เป็นแก๊สเชื้อเพลิงเพื่อให้ความ
ร้อนกับระบบอีกครั้ง เมื่อระยะเวลาผ่านไปครบ 1 ชั่วโมง เริ่มให้ความร้อนกับเตาปฏิกรณ์ (Reactor II)
หลังจากการผลิตน้ำมันสิ้นสุดของแข็งที่เหลือภายในเตาปฏิกรณ์ทั้งสองและน้ำหนักของตัวเร่งปฏิกิริยาที่
เพิ่มขึ้น คือ ปริมาณเถ้าที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต ขณะที่ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคำนวณจากน้ำหนักของขวด
เก็บน้ำมันของชุดควบแน่นอุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ สำหรับปริมาณแก๊สเชื้อเพลิงคำนวณจากความต่างของ
ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงและปริมาณเถ้า
ระบบควบคุมการทำงานของหน่วยผลิตน้ำมันนั้นควบคุมอุณหภูมิและแหล่งพลังงานที่ให้ความร้อนของ
ระบบนั้นจะใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ที่ถูกควบคุมด้วยระบบไฟฟ้า

ภาพที่ 14 หน่วยผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพสูงจากการไพโรไลซีสขยะพลาสติก
ร่วมกับเหง้ามันสําปะหลังที่ใช้ในโครงการวิจัย

20
6.2 แผนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพสูง
แผนการทดลอง คือ การนำตัวแปรต้นที่กำหนดในกรอบการวิจัยมาออกแบบการทดลองในรูปแบบการ
กำหนดตัวแปรแบบเจาะจง โดยกำหนดอัตราส่วนพลาสติกต่อเหง้ามันสำปะหลังที่ 3 อัตราส่วน คือ 100 ต่อ 0, 50
ต่อ 50 และ 0 ต่อ 100 โดยน้ำหนัก ในการทดลองใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา 2 ชนิด คือ ZSM-5 และโดโลไมท์ อุณหภูมิของ
ชุดควบแน่นอุณหภูมิสูงคงที่ คือ 40°C อุณหภูมิของชุดควบแน่นอุณหภูมิต่ำชุดที่ 1 จำนวน 4 ระดับ คือ -10, -20,
-30 และ -40°C และอุณหภูมิของชุดควบแน่นอุณหภูมิต่ำชุดที่ 2 จำนวน 3 ระดับ คือ -50, -60 และ -70°C

6.3 การวิเคราะห์สมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิง
นำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากกระบวนการผลิตจะถูกนำมาวิเคราะห์สมบัติตามมาตรฐานการวิเคราะห์สมบัติของ
น้ำมันเชื้อเพลิง ดังตารางที่ 2 และความพร้อมด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ในการวิเคราะห์สมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิง
ดังแสดงในตารางที่ 3

ตารางที่ 2 การวิเคราะห์สมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิง
การวิเคราะห์ มาตรฐานการวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้
ค่าความร้อน DIN 51900 เครื่องบอมบ์แคลอริมิเตอร์
ความถ่วงจําเพาะ ณ อุณหภูมิ 15.6°C ASTM D 1298 เครื่องทดสอบแรงโน้มถ่วงแบบเฉพาะเจาะจงด้วย
วิธี Hydrometer
ความหนืด ASTM D445 ชุดวิเคราะห์ความหนืด
จุดวาบไฟ-จุดติดไฟ ASTM D93 ชุดวิเคราะห์จุดวาบไฟ-ติดไฟ
กํามะถัน ASTM D 2622 X-Ray Fluorescence
ปริมาณเถ้า ASTM D 482 ชุดวิเคราะห์เถ้า
ค่าออกเทน ASTM D 2699 เครื่องยนต์ CFR ( Cooperative Fuels
Research )
จํานวนซีเทน ASTM D 613 เครื่องยนต์ CFR ( Cooperative Fuels
Research )
ความเข้มของสี ASTM D 1500 เครื่องวิเคราะห์สี
น้ำ ASTM E 203 Karl Fischer titration
องค์ประกอบทางเคมี GC-MS GC-MS analyzer

21
ตารางที่ 3 ความพร้อมด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ในการวิเคราะห์สมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิง
การวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ สถานที่
ค่าความร้อน มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

เครื่องบอมบ์แคลอริมิเตอร์
ความหนืด มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ชุดวิเคราะห์ความหนืด
จุดวาบไฟ-จุด มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ติดไฟ

ชุดวิเคราะห์จุดวาบไฟ-ติดไฟ

22
การวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ สถานที่
กํามะถัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

X-Ray Fluorescence
ปริมาณเถ้า มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

เตาเผา
ความเข้มของสี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เครื่องวิเคราะห์สี
น้ำ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

23
การวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ สถานที่
Karl Fischer titration
องค์ประกอบ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทางเคมี

GC-MS analyzer

6. เอกสารอ้างอิง
[ 1 ] Pattiya A. "Thermochemical Characterization of Agricultural Wastes from Thai Cassava
Plantations". Energy Sources, Part A: Recovery, Utilization, and Environmental Effects 2 0 1 1 ;
vol.33[8]: 691-701.
[ 2 ] Devaraj J, Robinson Y, Ganapathi P. "Experimental investigation of performance, emission and
combustion characteristics of waste plastic pyrolysis oil blended with diethyl ether used as
fuel for diesel engine". Energy 6/1/2015; vol.85: 304-9.
[3] Muhammad C, Onwudili JA, Williams PT. "Catalytic pyrolysis of waste plastic from electrical and
electronic equipment". Journal of Analytical and Applied Pyrolysis 5//2015; vol.113: 332-9.
[4] Paraschiv M, Kuncser R, Tazerout M, Prisecaru T. "New energy value chain through pyrolysis of
hospital plastic waste". Applied Thermal Engineering 8/5/2015; vol.87: 424-33.
[ 5 ] Syamsiro M, Saptoadi H, Norsujianto T, Noviasri P, Cheng S, Alimuddin Z, et al. "Fuel Oil
Production from Municipal Plastic Wastes in Sequential Pyrolysis and Catalytic Reforming
Reactors". Energy Procedia //2014; vol.47: 180-8.
[ 6 ] Xue Y, Zhou S, Brown RC, Kelkar A, Bai X. "Fast pyrolysis of biomass and waste plastic in a
fluidized bed reactor". Fuel 9/15/2015; vol.156: 40-6.
[7] Duanguppama K, Chaiphet K, Kraisoda P, Turakarn C. "Fuel production from plastic waste with
fast pyrolysis". The First International Conference of Kalasin University 2 0 1 9 on “Recent
Innovations of Science and Social Sciences for Sustainability” 2019; vol.1: 82-90.

24
[8] ชินภัทร ธุระการ, กัมปนาท ไชยเพชร, เกียรติสุดา สุวรรณปา, เกยูร ดวงอุปมา. "ผลของอุณหภูมิไพโรไลซีสต่อ
ปริมาณและสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิงจากถุงพลาสติก". การประชุมวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 11 21 สิงหาคม 25632563; vol.11: 566-71.
[9] กัมปนาท ไชยเพชร, ชินภัทร ธุระการ, สุรินทร์ พงษ์สกุล, เกยูร ดวงอุปมา. "ผลของชนิดพลาสติกต่อปริมาณและ
สมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิงจากการไพโรไลซีสแบบเร็ว". การประชุมวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 11 21 สิงหาคม 25632563; vol.11: 1296-302.
[10] เกยูร ดวงอุปมา, ชินภัทร ธุระการ, กัมปนาท ไชยเพชร, อภิชน มุ่งชู, สุพัตรา บุไธสง, สุรสิทธิ์ พ่อค้า. "ผลของ
น้ำมันขยะพลาสติกจากกระบวนการการไพโรไลซีสแบบเร็วต่อแรงม้าเบรกต่ำสุดและอัตราการสิ้นเปลือง
เชื้อเพลิงจำเพาะเบรกสูงสุดของเครื่องยนต์". การประชุมสัมมนาวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่ง
ประเทศไทย ครั้งที่ 13 2563; vol.13: 406-12.
[11] Paenpong C, Pattiya A. "Effect of pyrolysis and moving-bed granular filter temperatures on the
yield and properties of bio-oil from fast pyrolysis of biomass". Journal of Analytical and
Applied Pyrolysis 5//2016; vol.119: 40-51.
[12] Sirijanusorn S, Sriprateep K, Pattiya A. "Pyrolysis of cassava rhizome in a counter-rotating twin
screw reactor unit". Bioresource Technology 2013; vol.139[0]: 343-8.
[ 1 3 ] Paenpong C, Inthidech S, Pattiya A. "Effect of filter media size, mass flow rate and filtration
stage number in a moving-bed granular filter on the yield and properties of bio-oil from fast
pyrolysis of biomass". Bioresource Technology Jul2013; vol.139: 34-42.
[14] Suttibak S, Sriprateep K, Pattiya A. "Production of Bio-oil via Fast Pyrolysis of Cassava Rhizome
in a Fluidised-Bed Reactor". Energy Procedia 2012; vol.14[0]: 668-73.
[ 1 5 ] Pattiya A, Suttibak S. "Production of bio-oil via fast pyrolysis of agricultural residues from
cassava plantations in a fluidised-bed reactor with a hot vapour filtration unit". Journal of
Analytical and Applied Pyrolysis 2012; vol.95: 227-35.
[16] Pattiya A, Sukkasi S, Goodwin V. "Fast pyrolysis of sugarcane and cassava residues in a free-fall
reactor". Energy 2012; vol.44[1]: 1067-77.
[ 1 7 ] Pattiya A. "Bio-oil production via fast pyrolysis of biomass residues from cassava plants in a
fluidised-bed reactor". Bioresource Technology 2011; vol.102[2]: 1959-67.
[ 1 8 ] Pattiya A, Titiloye JO, Bridgwater AV. "Evaluation of catalytic pyrolysis of cassava rhizome by
principal component analysis". Fuel 2010; vol.89[1]: 244-53.
[ 1 9 ] Pattiya A, Titiloye JO, Bridgwater AV. "Fast pyrolysis of cassava rhizome in the presence of
catalysts". Journal of Analytical and Applied Pyrolysis 2008; vol.81[1]: 72-9.
[20] Pattiya A, Titiloye JO, Bridgwater AV. "Catalytic effect of char and ash in fast pyrolysis of cassava
rhizome". 15th European Biomass Conference & Exhibition 2007; vol.15: 1374-7.

25
[ 2 1 ] Pattiya A, Titiloye JO, Bridgwater AV. "Catalytic Fast Pyrolysis of Cassava Rhizome in a Micro-
Reactor". Asian J Energy Environ 2007; vol.8[3 & 4]: 211-28.
[22] Pattiya A, Titiloye JO, Bridgwater AV. "Catalytic Pyrolysis of Cassava Rhizome". The 2nd Joint
International Conference on “Sustainable Energy and Environment (SEE 2006)” 2006; vol.2: 1-6.
[ 2 3 ] Pattiya A, Titiloye JO, Bridgwater AV. "Fast Pyrolysis of Agricultural Residues from Cassava
Plantation for Bio-oil Production". The 2 nd Joint International Conference on “Sustainable
Energy and Environment (SEE 2006)” 2006; vol.2: 1-5.
[24] Oyedun AO, Gebreegziabher T, Ng DKS, Hui CW. "Mixed-waste pyrolysis of biomass and plastics
waste – A modelling approach to reduce energy usage". Energy 10/1/2014; vol.75: 127-35.
[25] Zhang X, Lei H, Zhu L, Qian M, Yadavalli G, Wu J, et al. "From plastics to jet fuel range alkanes
via combined catalytic conversions". Fuel 2017; vol.188: 28-38.
[ 2 6 ] Chen Y-K, Lin C-H, Wang W-C. "The conversion of biomass into renewable jet fuel". Energy
2020; vol.201: 1-9.
[ 2 7 ] Qian M, Lei H, Villota E, Zhao Y, Huo E, Wang C, et al. "Enhanced production of renewable
aromatic hydrocarbons for jet-fuel from softwood biomass and plastic waste using
hierarchical ZSM-5 modified with lignin-assisted re-assembly". Energy Conversion and
Management 2021; vol.236: 1-10.
[28] Lappas AA, Samolada MC, Iatridis DK, Voutetakis SS aand Vasalos IA. "Biomass pyrolysis in a
circulating fluid bed reactor for the production of fuels and chemicals". Fuel 2002; .81[16]:
2087-95.
[29] พงศ์ธร อรชร, สุดสาคร อินธิเดช และอดิศักดิ์ ปัตติยะ "ผลของอุณหภูมิที่ทำปฏิ กิริยาไพโรไลซีสที่มีต่อปริมาณ
และสมบัติของไบโอออยล์ที่ได้จากการไพโรไลซีสแบบเร็วของไม้กระถินยักษ์". วารสารวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2556; 32[4]: 520-525.
[30] Haggerty AP. "Biomass crops: production, energy, and the environment". Enironmental Sciece,
Engineering and Technology 2011; 243.
[31] Bridgwater AV. "Principles and practice of biomass fast pyrolysis processes for liquids". Journal
of Analytical and Applied Pyrolysis 1999; .51[1–2]: 3-22.
[32] Pattiya A, Chaow-u-thai A and Rittidech S. "The influence of pretreatment techniques on ash
content of cassava residues". International Journal of Green Energy 2013; 10[5]: 544-552.
[33] Sheng C and Azevedo JLT. "Estimating the higher heating value of biomass fuels from basic
analysis data". Biomass and Bioenergy 2005; 28[5]: 499-507.
[34] Çengel YA and Boles MA. "Thermodynamics: An engineering approach Series 5". The McGraw-
Hill Companies 2006: 883-973.

26
[35] สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. "สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี พ.ศ. 2557". กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ 2557; 1: 215.
[36] บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ และวิชชากร จารุศิริ "เหง้ามันสำปะหลัง : ชีวมวลทางเลือกเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า" 2547;
16[2].
[37] Bridgwater AV and Peacocke C. "Fast pyrolysis processes for biomass". Renewable and
Sustainable Energy Reviews 2000; 4[1]: 1-73.
[38] Brown RC. "Thermochemical processing of biomass". Wiley Series in Renewable Resources
2011; 330.

27
ส่วนที่ 3 แผนการทำงาน
1. แผนการดำเนินงานวิจัย (แสดงแผนการดำเนินงานรายกิจกรรมและระยะเวลาที่ใช้ ในแต่ละปีงบประมาณ)
ร้อยละของ
ปี กิจกรรม ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. กิจกรรมใน
(งบประมาณ) ปีงบประมาณ
1. ศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5
2. ศึกษาตัวแปรที่สำคัญในงานวิจัย 5
3. ทำแบบจำลองและออกแบบเครื่องการผลิตน้ำมันคุณภาพสูงด้วยการ
10
ไพโรไลซีสขยะพลาสติกร่วมกับเหง้ามันสําปะหลัง
4. ทำการจำลองด้วยเทคโนโลยีทางวิศวกรรมที่ทันสมัยและวิเคราะห์ผล 20
5. สรุปผล 5
2566 6. ปรับปรุงการผลิตน้ำมันคุณภาพสูงด้วยการไพโรไลซีสขยะพลาสติกร่วมกับ
15
เหง้ามันสําปะหลัง
7. ทำการทดลองและทดสอบระดับภาคสนาม 15
8. จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตน้ำมันคุณภาพสูงด้วยการไพโรไลซีส
5
ขยะพลาสติกร่วมกับเหง้ามันสําปะหลัง
9. สังเคราะห์และวิเคราะห์ผลการทดลอง/ปรับปรุงแก้ไข 15
10. จัดทำรูปเล่มรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ 5
รวม 100

28
2. พื้นทีท่ ำวิจัย : โปรดระบุสถานที่ทำวิจัยจำแนกตามโครงการวิจัยโดยใช้ฐานข้อมูลจากระบบ และเพิ่มเติมชื่อเฉพาะ เช่น ชุมชน หมู่บ้าน

ในประเทศ/ต่างประเทศ ชื่อประเทศ/จังหวัด ชื่อสถานที่

ในประเทศ กาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์


ในประเทศ ชลบุรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา
ในประเทศ ปทุมธานี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ในประเทศ กาฬสินธุ์ เทศบาลตำบลหนองสอ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์

3. พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการวิจัย

ในประเทศ/ต่างประเทศ ชื่อประเทศ/จังหวัด ชื่อสถานที่

ในประเทศ กาฬสินธุ์ - เทศบาลตำบลหนองสอ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์


- บริษัท แป้งมันกาฬสินธุ์ จำกัด

29
4. แผนการใช้จ่ายงบประมาณของโครงการวิจัย
4.1 แสดงรายละเอี ย ดประมาณการงบประมาณตลอดโครงการ (กรณี ข องบประมาณเป็ น โครงการต่ อ เนื่อง
ระยะเวลาดำเนินการวิจัยมากกว่า 1 ปี ให้แสดงงบประมาณตลอดแผนการดำเนินงาน) โดยแบ่งเป็นหมวดต่าง ๆ
ดังนี้
งบประมาณปีที่
ประเภทงบประมาณ รายละเอียด งบประมาณ (บาท) (เป็นงบประมาณของ
ปีงบประมาณ)
งบดำเนินงาน: ค่าจ้าง - ผู้ช่วยวิจัย ป.โท 350,000 2566
17,500 บาทx10
เดือนx2 คน
- ค่าตอบแทน 76,800
วิทยากรฝึกอบรม
และถ่ายทอด
เทคโนโลยี จำนวน 4
คนx 8 ชั่วโมง x 600
บาทต่อชั่วโมงx 4 วัน
งบดำเนินงาน: ค่าใช้สอย - หน่วยไพโรไลซีส 270,000 2566
แบบเบดคงที่สำหรับ
ผลิตน้ำมนเชื้อเพลิง
จำนวน 2 หน่วย
- ค่าจ้างผลิตผลิตชุด 200,000
กรองไอร้อนไพโรไร
ซีสจำนวน 2 ชุด
- ค่าจ้างผลิตชุด 100,000
แลกเปลี่ยนความร้อน
ด้วยระบบอัดไอ
จำนวน 2 ชุด
- ชุดแลกเปลี่ยน 200,000
ความร้อนด้วยระบบ
อัดไออุณหภูมิติดลบ
จำนวน 4 ชุด

30
งบประมาณปีที่
ประเภทงบประมาณ รายละเอียด งบประมาณ (บาท) (เป็นงบประมาณของ
ปีงบประมาณ)
- ค่าจ้างทดสอบ 200,000
คุณสมบัติน้ำมัน
เชื้อเพลิงใน
ห้องปฏิบัติการ
- ค่าจ้างพิมพ์เอกสาร
ในการจัดอบรม/ 50,000
ถ่ายทอดเทคโนโลยี
จำนวน 200 เล่ม x
250 บาท
- ค่ า ธรรมเนี ย มการ 200,000
ตีพิมพ์
งบดำเนินงาน: ค่าวัสดุ - วัสดุสิ้นเปลือง 500,000 2566
สำหรับการทดลอง
สารเคมี ตัวเร่ง
ปฏิกิริยา ZSM-5
ตัวเร่งปฏิกิริยาโดโล
ไมท์
- วัสดุสำนักงาน วัสดุ 353,200
คอมพิวเตอร์ วัสดุอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้องในการ
ทดลองงาน
งบดำเนินงาน : ค่าสาธารณูปโภค - - -
งบดำเนินงาน : ค่าเดินทางต่างประเทศ - - -
งบดำเนินงาน : ค่าซ่อมแซมครุภัณฑ์ - - -
งบลงทุน: ค่าครุภัณฑ์ - - -
รวม 2,500,000
หมายเหตุ : - แตกตั วคู ณ เฉพาะปี ท ี ่ เสนอขอ โดยขอให้ แตกตั วคู ณ หลั งจาก สกสว.แจ้ งงบขั ้ นกลั ่ นกรอง
- ขอถัวเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในโครงการทุกรายการ

31
4.2 รายละเอียดการจัดซื้อครุภัณฑ์ : กรณีมคี วามต้องการซื้อครุภัณฑ์ให้ใส่รายละเอียด ดังนี้
ครุภัณฑ์ที่ขอสนับสนุน
ครุภัณฑ์ที่มีอยู่ การใช้
เหตุผลและ
เดิม และ สถานภาพการ ประโยชน์ของ
ชื่อครุภัณฑ์ รายละเอียด ความจำเป็น
เครื่องมือที่ ใช้งาน ณ ครุภัณฑ์นี้เมื่อ
ครุภัณฑ์ ต่อโครงการ
เกี่ยวข้องกับ ปัจจุบัน โครงการสิ้นสุด
งานวิจัย (ถ้ามี)

• แนบใบเสนอราคาจาก 3 บริษัทประกอบมาด้วย

5. มาตรฐานการวิจัย
 มีการใช้สัตว์ทดลอง
 มีการวิจัยในมนุษย์
 มีการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่
 มีการใช้ห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี

6. หน่วยงานร่วมดำเนินการ/ภาคเอกชนหรือชุมชนที่ร่วมลงทุนหรือดำเนินการ
การร่วม
ชื่อหน่วยงาน การร่วมลงทุน
ลงทุนใน
ลำดับ รัฐ/บริษัท/ แนวทางร่วม
ปีงบประมาณ รูปแบบตัว ในรูปแบบอื่น รวม
ที่ หน่วยงาน ดำเนินการ
เงิน (in- (in-kind)
ต่างประเทศ
cash) (บาท)
1 2566 เทศบาลตำบล จัดการและ - 100,000 บาท 100,000
หนองสอ สนับสนุนขยะ บาท
พลาสติก
2 2566 บริษัท แป้งมัน สนับสนุนเหง้า - 100,000 บาท 100,000
กาฬสินธุ์ มันสำปะหลัง บาท
จำกัด

32
7. ระดับความพร้อมที่มีอยู่ในปัจจุบัน (ถ้ามี)
7.1 ระดับความพร้อมทางเทคโนโลยี (Technology Readiness Level: TRL)
1) TRL ณ ปัจจุบัน ระดับ 4. Component and/or breadboard validation in laboratory
environment.
รายละเอียด มีการทดลองในการทำวิจัยเกี่ยวกับการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากถุงพลาสติกในเตา
ปฏิกรณ์ไพโรไลซีส ที่อัตราการป้อนพลาสติก 1 กิโลกรัม พบว่า การเพิ่มชุดควบแน่นออกเป็น 2 ชุด ได้น้ำมัน
เชื้อเพลิงที่มีลักษณะใกล้เคียงน้ำมันเบนซินในปริมาณประมาณ 20 wt% จากชุดควบแน่นอุณหภูมิต่ำ -30°C โดย
มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและผลงานวิจัยที่ได้จากการดำเนินงาน จัดแสดงผลงานที่งานวิจั ยแห่งชาติ ประจำปี
พ.ศ.2563
2) TRL เมื่องานวิจัยเสร็จสิ้นระดับ 7 System prototype demonstration in an operational
environment.
รายละเอียด รายละเอียด มีการทดสอบต้นแบบการทดสอบในภาคสนาม ดำเนินการในพื้นที่จริง
ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ชุมชนและเครือข่าย

7.2 ระดับความพร้อมทางสังคม (Societal Readiness Level: SRL)


1) SRL ณ ปัจจุบัน ระดับ ...................
รายละเอียด .......................................................................................................................
2) SRL เมื่องานวิจัยเสร็จสิ้นระดับ ...................
รายละเอียด .......................................................................................................................

8. แนวทางการขับเคลื่อนผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
8.1 การเชื ่ อ มโยงกั บ นั ก วิ จ ั ย ที ่ เ ป็ น ผู ้ เ ชี ่ ย วชาญในสาขาวิ ช าที ่ ท ำการวิ จ ั ย ทั ้ ง ใน และต่ า งประเทศ (ถ้ า มี )
(Connections with other experts within and outside Thailand) และแผนที ่ จ ะติ ด ต่ อ หรื อ สร้ า ง
ความสัมพันธ์กับผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งการสร้างทีมงานวิจัยในอนาคตด้วย
(เป็นช่องให้ใส่รายละเอียดเพิ่ม)

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์และมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
- ศาสตราจารย์และคณาจารย์ 6 คน
- มีความเชี่ยวชาญสูงในกระบวนการผลิตพลังงาน โดยใช้กระบวนการไพโรไรซีส
มหาวิทยาลัยเครือข่าย ร่วมกับ
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยนครพนม
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสาน
33
ชุมชนเครือข่าย ร่วมกับ
- เทศบาลตำบลหนองสอ อำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์
- บริษัท แป้งมันกาฬสินธุ์ จำกัด
เครือข่ายต่างประเทศ
- Dr.Hwai Chyuan Ong
University of Technology Sydney, Australia
- Dr.Anousak Phongsavath
Deputy Director General of Renewable Energy Promotion Institute at LAOS Ministry of Energy
and Mines

8.2 การเชื่อมโยงหรือความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย (Stakeholder and


User Engagement) โดยระบุชื่อหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาสังคมและชุมชน โดยอธิบายกระบวนการ
ดำเนินงานร่วมกันและการเชื่อมโยงการขับเคลื่อนผลการวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างชัดเจน รวมถึง
อธิบายกระบวนการดำเนินงานต่อเนื่องของผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเมื่อโครงการวิจัยเสร็จสิ้น

(เป็นช่องให้ใส่รายละเอียดเพิ่ม)
9. ประสบการณ์ ก ารบริ ห ารงานของหั ว หน้ า โครงการ ในการบริ ห ารโครงการย้ อ นหลั ง ไม่ เ กิ น 5 ปี
(กรอกไม่เกิน 5 ลำดับโดยเน้นโครงการที่เกิดผลกระทบสูง)

งบประมาณ
ชื่อโครงการวิจัย หน่วยงานที่ได้รับทุน ปีที่ได้รับงบประมาณ
(บาท)

34
ส่วนที่ 4 ผลผลิต/ผลลัพธ์/ผลกระทบ
1. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
 ด้านวิชาการ
องค์ความรู้จากกระบวนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติกสามารถนำไปต่อยอดงานวิจัยเพื่อพัฒนา
เป็นผลงานทางวิชาการ และถ่ายทอดสู่ชุมชน
ผู้ได้รับผลประโยชน์ มหาวิทยาลัยและประเทศ
 ด้านสังคม
O ด้านสาธารณะ O ด้านชุมชนและพื้นที่ O ด้านสิ่งแวดล้อม
องค์ความรู้จากกระบวนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติกสามารถนำไปต่อยอดงานวิจัยเพื่อพัฒนา
เป็นผลงานทางวิชาการ และถ่ายทอดสู่ชุมชน
ผู้ได้รับผลประโยชน์ ชุมชน
 ด้านนโยบาย
สร้างเครือข่ายในการขับเคลื่อนศูนย์การจัดการและแปรรูปพลังงานขยะชุมชน
ผู้ได้รับผลประโยชน์ ประเทศ
 ด้านเศรษฐกิจ
ชุมชนและภาคการเกษตรลดรายจ่ายจากการซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง
ผู้ได้รับผลประโยชน์ ชุมชน

2. ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ (Output)
ผลผลิต ประเภทผลผลิต รายละเอียดของผลผลิต จำนวนนำส่ง หน่วยนับ
องค์ความรู้จาก บทความวิจัย ISI หรือ Scopus ระดับ Q1 3 1
งานวิจัย และ ระดับนานาชาติ
การเผยแพร่
ต้นแบบ เทคโนโลยี/ การพัฒนากระบวนการผลิตน้ำมัน 1 1
ผลิตภัณฑ์ หรือ กระบวนการใหม่ คุณภาพสูงจากการไพโรไลซีสขยะ
เทคโนโลยี/ พลาสติกร่วมกับเหง้ามันสําปะหลัง
กระบวนการใหม่
หรือนวัตกรรม
ทางสังคม
การลงทุนวิจัย การลงทุนวิจัยและ ได้รับการลงทุนสนับสนุนงานวิจัยจาก 1 1
และนวัตกรรม นวัตกรรม หน่วยงานรัฐและบริษัทเอกชน
หมายเหตุ กรอกข้อมูลเฉพาะผลผลิตที่โครงการคาดว่าจะได้รับและสามารถทำได้จริง เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดในการ
ประเมินผลของหน่วยงาน (หากผลผลิตข้อใดไม่มีไม่ต้องระบุ และขอให้ตัดออก)

35
ประเภทของผลผลิตและคำจำกัดความ (Type of Outputs and Definition)
1. นิยามของผลผลิต คือ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการวิจัยที่ได้รับการจัดสรรทุนวิจัย ผ่านกองทุนส่งเสริม
วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยเป็นผลที่เกิดขึ้นทันทีเมื่อจบโครงการ และเป็นผลโดยตรงจาก
การดำเนินโครงการ ทั้งนี้ หน่วยงานจะต้องนำส่งภายใน 2 ปีงบประมาณ
2. ประเภทของผลผลิต ประกอบด้วย 10 ผลผลิต ตามตารางดังนี้
ประเภทของผลผลิต คำจำกัดความ
(Type of Outputs) (Definition)
1. กำลังคน หรือหน่วยงาน ที่ได้รับการ
กำลังคนหรือหน่วยงานเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาจากโครงการ ววน. โดยนับ
พัฒนาทักษะ เฉพาะคนหรือ หน่วยงานที่เป็นเป้าหมายของโครงการนั้น ๆ ซึ่งอาจเป็นโครงการใน
รูปแบบทุนการศึกษา การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะ หรือการดำเนินการในรูปแบบอื่น
ที่ระบุไว้ในโครงการ
2. ต้นฉบับบทความวิจัย (Manuscript) งานเขียนทางวิชาการ ซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์อย่าง
ชัดเจน ทั้งนี้ ต้องมีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการ โดยมีการสำรวจ
วรรณกรรมเพื่อสนับสนุน จนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ มีการ
แสดงเหตุผลหรือที่มาของประเด็นที่ ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์ กระบวนการ
อธิบายและวิเคราะห์และบทสรุป มีการอ้างอิงและบรรณานุกรมที่ครบถ้วนและ
สมบูรณ์วารสารการวิจัยนั้นอาจจะเผยแพร่เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์หรือ เป็นสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งต้นฉบับบทความวิจัย (Manuscript) ได้แก่ Proceeding ระดับชาติ,
Proceeding ระดับนานาชาติ, บทความในประเทศ และบทความต่างประเทศ
3. หนังสือ ข้อมูลงานวิจัยในรูปแบบหนังสือ ตำรา หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ทั้ง
ระดับชาติและ นานาชาติ โดยจะต้องผ่านกระบวนการ Peer review ประกอบด้วย
3.1 บางบทของหนังสือ (Book Chapter)
3.2 หนังสือทั้งเล่ม (Whole book)
3.3 เอกสาร/หนังสือที่มีเนื้อหาเกีย่ วกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างครบถ้วน
(Monograph)
4. ต้นแบบผลิตภัณฑ์ หรือ เทคโนโลยี/ ผลงานที่เกิดจากการวิจยั และพัฒนานวัตกรรม ที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือ
กระบวนการใหม่ หรือนวัตกรรมทาง เทคโนโลยีใหม่/ กระบวนการใหม่ หรือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ หรือเทคโนโลยี/
สังคม กระบวนการให้ดีขึ้นกว่าเดิม รวมถึงสื่อสร้างสรร สื่อสารคดีเพื่อการเผยแพร่ สื่อ
ออนไลน์ แอปพลิเคชัน / Podcast / กิจกรรม / กระบวนการ เพื่อสร้างการเรียนรู้
การมีส่วนร่วม และ/หรือ การตระหนักรู้ต่าง ๆ
4.1 ต้นแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง ต้นแบบในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ทใี่ ช้สำหรับการ
ทดสอบก่อน สั่งผลิตจริง ที่พัฒนาขึ้นจากกระบวนการวิจัย พัฒนา หรือการปรับปรุง
กระบวนการเดิมด้วยองค์ ความรูด้ ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทงั้ ในระดับ
ห้องปฏิบัติการ ระดับภาคสนาม ระดับ อุตสาหกรรม
4.2 เทคโนโลยี/กระบวนการใหม่ หมายถึง กรรมวิธีขั้นตอน หรือเทคนิค ที่
พัฒนาขึ้นจาก กระบวนการวิจัย พัฒนา หรือการปรับปรุงกระบวนการเดิมด้วยองค์
ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

36
ประเภทของผลผลิต คำจำกัดความ
(Type of Outputs) (Definition)
4.3 นวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) หมายถึง การประยุกต์ใช้
ความคิดใหม่ และ เทคโนโลยีที่เหมาะสม ในการยกระดับคุณภาพชีวิต ชุมชน และ
สิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่ความ เท่าเทียมกันในสังคม และสามารถลดปัญหาความ
เหลื่อมล้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น หลักสูตรอบรมปฏิบัติการเพื่อพัฒนา
นักวิจัย, หลักสูตรพื้นฐานเพื่อพัฒนาอาชีพใหม่ในรูปแบบ Reskill หรือ Upskill}
หลักสูตรการเรียนการสอน, หลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตรการผลิต ครู เป็นต้น
5. ทรัพย์สินทางปัญญา ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของนักวิจัย ได้แก่ อนุ
สิทธิบัตร สิทธิบัตร การประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ลิขสิทธิ์
เครื่องหมายทางการค้า ความลับ ทางการค้า ชื่อทางการค้า การขึ้นทะเบียนพันธุ์พืช
หรือสัตว์ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แบบผังภูมิ ของวงจร
5. เครื่องมือ และโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือ และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการ
(Facilities and Infrastructure) วิจัยและพัฒนา นวัตกรรม ที่จดั ซือ้ สร้างขึ้น หรือพัฒนาต่อยอดภายใต้โครงการ
7. ฐานข้อมูล ระบบและกลไก การพัฒนาฐานข้อมูล และสร้างระบบ กลไก หรือมาตรฐาน ที่ตอบสนองการพัฒนา
หรือมาตรฐาน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต่าง ๆ และเอื้อต่อการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็น
การพัฒนากำลังคน การ จัดการปัญหาทางสังคม สิ่งแวดล้อม และการสร้าง
ความสามารถในการแข่งขัน เป็นต้น
- ระบบและกลไก หมายถึง ขั้นตอนหรือเครื่องมือ การปฏิบัติงานที่มกี ารกำหนด
อย่างชัดเจนใน การดำเนินการ เพือ่ ให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขัน้ ตอนการ
ปฏิบัติงานจะต้องปรากฏให้ทราบ โดยทั่วกัน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของ เอกสาร หรือสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ องค์ประกอบของระบบและกลไก ได้แก่ ปัจจัย
นำเข้า กระบวนการ ผลผลิต กลุม่ คนที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งมี
ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ตัวอย่างเช่น ระบบการผลิตและการพัฒนากำลังคน,
ระบบส่งเสริมการจัดการทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม,ระบบส่งเสริมการวิจัยร่วมกับ
ภาคอุตสาหกรรม, ระบบบริการหรือสิ่งสนับสนุน ประชาชนทั่วไป, ระบบบริการ
หรือสิ่งสนับสนุนกลุม่ ผูส้ ูงอายุ, ระบบบริการหรือสิ่งสนับสนุนกลุ่ม ผูด้ ้อยโอกาส
รวมถึงกลไกการพัฒนาเชิงพื้นที่
- ฐานข้อมูล (Database) คือ ชุดของสารสนเทศ ที่มีโครงสร้างสม่ำเสมอ หรือชุด
ของ สารสนเทศใด ๆ ที่ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ หรือสามารถประมวลด้วย
คอมพิวเตอร์ได้
- มาตรฐาน หมายถึง การรับรองมาตรฐานสินค้า และ/หรือ ศูนย์ทดสอบต่าง ๆ
เพื่อสร้างและ ยกระดับความสามารถทางด้านคุณภาพ ทั้งในชาติและนานาชาติ
8. เครือข่าย เครือข่ายความร่วมมือ (Network) และสมาคม (Consortium) ด้านวิทยาศาสตร์
วิจัยและ นวัตกรรม ที่เกิดจากการดำเนินการของโครงการ ทั้งเครือข่ายในประเทศ
และเครือข่ายระดับ นานาชาติ ซึ่งจะช่วยในการยกระดับความสามารถในการ
แข่งขันให้แก่ประเทศ ได้แก่
1. เครือข่ายความร่วมมือทางด้านวิชาการ
2. เครือข่ายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
37
ประเภทของผลผลิต คำจำกัดความ
(Type of Outputs) (Definition)
3. เครือข่ายเพื่อการพัฒนาสังคม
4. เครือข่ายเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
9. การลงทุนวิจัยและนวัตกรรม ความสามารถในการระดมทุนเงินงบประมาณจากภาครัฐ และผู้ประกอบการ
ภาคเอกชน ทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ เพื่อการลงทุนสนับสนุนการวิจัยและ
นวัตกรรม ทั้งในรูปของเงินสด (In cash) และส่วนสนับสนุนอื่นที่ไม่ใช่เงินสด (In
kind)
10. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ข้อเสนอแนะในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ หรือมาตรการจากงานวิจัยที่เป็น
(Policy Recommendation) ประโยชน์ต่อ ภาคประชาชน สังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในการ
และมาตรการ (Measures) บริหารจัดการ และแก้ปญ ั หา ของประเทศ เช่น มาตรการที่ใช้เพื่อปรับปรุง
กฎหมาย/ระเบียบ หรือพัฒนามาตรการและสร้าง แรงจูงใจให้เอื้อต่อการพัฒนา
ภาคประชาชน สังคม หรือเศรษฐกิจ

38
3. ผลลัพธ์ (Expected Outcomes) ที่คาดว่าเกิดขึ้น
นิยามของผลลัพธ์ คือ การนําผลผลิต (output) ที่ได้ของโครงการพัฒนา ววน. ไปใช้ประโยชน์โดยผู้ใช้ (users) ที่
ชัดเจน ส่งผลทำให้ระดับความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม การปฏิบัติหรือทักษะ ของผู้ใช้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
เมื่อเทียบกับก่อนการนำผลผลิตจากโครงการมาใช้ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากผลผลิตของโครงการที่เป็นทั้ง
ผลิตภัณฑ์ การบริการ และเทคโนโลยี โดยภาคเอกชนหรือประชาสังคม ตลอดจนการพัฒนาต่อยอดผลผลิตของ
โครงการเดิมที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ให้มีระดับความพร้อมในการใช้ประโยชน์สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ รายละเอียดของ ผู้ใช้ประโยชน์/
จำนวน หน่วยนับ ผู้ได้รับผลประโยชน์
(ทำ dropdown list ให้เลือก) ผลลัพธ์
ผลงานตีพิมพ์ (Publications) 3 บทความ อาจารย์/นักวิจัยได้องค์ นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย
ความรู้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
มหาวิทยาลัยราชภัฏ และ สกสว.
สกลนคร และ สกสว. ได้
KPI
การอ้างอิง (Citations)

เครื่องมือและระเบียบวิธีการวิจัย (Research tools and 1 ต้นแบบ 1 ต้นแบบ ระดับ TRL7/ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


methods) สำหรับเทศบาลตำบล มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
หนองสอ และบริษัทแป้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
มันกาฬสินธุ์ จำกัด กับ เทศบาลตำบลหนองสอ บริษัท
การพัฒนากระบวนการ แป้งมันกาฬสินธุ์ และ สกสว.
ผลิตน้ำมันคุณภาพสูงจาก
การไพโรไลซีสขยะ
พลาสติกร่วมกับเหง้ามัน
สําปะหลัง
ฐานข้อมูลและแบบจำลองวิจัย (Research databases and
models)
ความก้าวหน้าในวิชาชีพของบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์วิจัย
และนวัตกรรม (Next destination)
รางวัลและการยอมรับ (Awards and recognition)

การใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ อุปกรณ์ ห้องวิจัยและ


โครงสร้างพื้นฐาน (Use of facilities and resources)
ทรัพย์สินทางปัญญาและการอนุญาตให้ใช้สิทธิ
(Intellectual property and licensing)
การจัดตั้งบริษัท (Spin-off Companies)

39
ผลที่คาดว่าจะได้รับ รายละเอียดของ ผู้ใช้ประโยชน์/
จำนวน หน่วยนับ ผู้ได้รับผลประโยชน์
(ทำ dropdown list ให้เลือก) ผลลัพธ์
ผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Products)

ทุนวิจัยต่อยอด (Further funding)

ความร่วมมือหรือหุ้นส่วนความร่วมมือ(Collaborations
and partnerships)
การผลักดันนโยบาย แนวปฏิบัติ แผนและกฎระเบียบ
(Influence on policy, practice, plan and
regulations)
กิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วม (Engagement activities)

ประเภทของผลลัพธ์และคำจำกัดความ (Type of Outcomes and Definition)


ประเภทของผลลัพธ์ คำจำกัดความ
(Types of Outcomes) (Definition)
ผลงานตีพิมพ์ (Publications) ผลงานทางวิชาการในรูปแบบสิ่งพิมพ์และไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเกิดจากการศึกษาวิจัย อาทิเช่น บทความจากการ
ประชุมวิชาการ บทความวิจัย บทความปริทัศน์ บทความวิชาการ หนังสือ ตำรา พจนานุกรม และงานวิชาการ
อื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน
การอ้างอิง (Citations) จำนวนครั้งในการอ้ างอิงผลงานวิจยั ที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ โดยสื บค้นจำกฐำนข้อมูล Scopus
เครื่องมือและระเบียบวิธีการวิจัย เครื่องมือหรือกระบวนการที่ผู้วิจยั ใช้ในการทดลอง ทดสอบ เก็บรวบรวมหรือวิเคราะห์ข้อมูล โดยเป็นสิ่งใหม่ที่
(Research tools and methods) ไม่ได้มีมาก่อน แต่ได้เผยแพร่และเป็นทีย่ อมรับโดยมีผู้นำเครื่องมือและระเบียบวิธีการวิจยั ไปใช้ต่อและมีหลักฐาน
อ้างอิงได้

ฐานข้อมูลและแบบจำลองวิจัย ฐานข้อมูล (ระบบที่รวบรวมข้อมูลไว้ในที่เดียวกัน) หรือแบบจำลอง (การสร้างรูปแบบเพื่อแทนวัตถุ กระบวนการ


(Research databases and models) ความสัมพันธ์ หรือ สถานการณ์) ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากงานวิจยั โดยมีผู้นำฐานข้อมูลหรือแบบจำลองไปใช้ให้เกิ ด
ประโยชน์มีหลักฐานอ้างอิงได้

ความก้าวหน้าในวิชาชีพของบุคลากรด้าน การติดตามการเคลื่อนย้ายและความก้าวหน้าในวิชาชีพของบุคลากรในโครงการด้านวิทยาศาสตร์ วิจยั และ


วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (Next นวัตกรรม (ววน.) ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริม ววน. หลังจากสิ้นสุดโครงการ โดยมีหลักฐาน
destination) อ้างอิงได้

รางวัลและการยอมรับ เกียรติยศ รางวัลและการยอมรับจากสังคมที่ได้มาโดยหน้าที่การงานจากการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและ


(Awards and recognition) นวัตกรรม (ววน.) โดยมีส่วนที่เกีย่ วข้องกับโครงการที่ได้รับงบประมาณจากกองทุนส่งเสริม ววน. โดยมีหลักฐาน
อ้างอิงได้

การใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ อุปกรณ์ ห้องวิจัย การใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ อุปกรณ์ ห้องวิจัยและโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจยั และนวัตกรรม


และโครงสร้างพื้นฐาน (ววน.) ที่นกั วิจยั พัฒนาขึ้น หรือได้รับงบประมาณเพื่อการจัดหาให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่มาใช้งานในวงกว้าง โดยมี
(Use of facilities and resources) หลักฐานอ้างอิงได้

40
ประเภทของผลลัพธ์ คำจำกัดความ
(Types of Outcomes) (Definition)
ทรัพย์สินทางปัญญาและการอนุญาตให้ใช้สิทธิ ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง การประดิษฐ์ คิดค้นหรือคิดทำขึ้น อันเปนผลใหไดมาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใด
(Intellectual property and licensing) ขึ้นใหม หรือการกระทําใดๆ
ที่ทําใหดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี หรือการกระทำใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยใช้ สติปัญญา
ความรู้ ความสามารถ และ
ความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างให้เกิดงานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด อาทิเช่น งาน
วรรณกรรม
งานศิลปกรรม งานดนตรีกรรม งานภาพยนตร์ เป็นต้น โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ซึ่งเกิดจากผลงานวิจัย
ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริม ววน. โดยมี
หลักฐานอ้างอิงได้
การอนุญาตให้ใช้สิทธิ หมายถึง การที่เจ้าของสิทธิอนุญาตให้ผู้ขอใช้สิทธิใดๆ ทีเ่ กิดขึ้นจากงานวิจยั เช่น ผลิต /
ขาย / ใช้ หรือมีไว้ โดยไม่มีการเปลีย่ นแปลงความเป็นเจ้าของสิทธิทั้งนี้เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์เป็นหลัก
โดยมีหลักฐานอ้างอิงได้

การจัดตัง้ บริษัท การนำเอาเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยที่เกิดจากการวิจัย (technology transfer) มาจัดตั้งเป็น


(Spin-off Companies) บริษัท เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยไปสู่การขยายผลในเชิงพาณิชย์ โดยมีหลักฐานอ้างอิงได้
ผลิตภัณฑ์ใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ป ระเภทต่า งๆ ที่ได้จ ากการวิจ ัย อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ /
(New Products) ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับซอฟต์แวร์และปัญญาประดิษฐ์ / ผลิตภัณฑ์ด้านเทคนิคและเทคโนโลยี / ผลิตภัณฑ์ทาง
การเกษตรและอาหาร และผลิตภัณฑ์ด้านศิลปะและการสร้างสรรค์ โดยผลิตภัณฑ์ด้านการสร้างสรรค์ หมาย
รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางด้านการท่องเที่ยว เช่น เส้นทางการท่องเที่ยว การจัดโปรแกรมด้านการท่องเที่ยวเพื่อ
นำไปสู่รูปแบบการท่องเที่ยวแบบใหม่ๆ เป็นต้น โดยเป็นสิ่งที่ถูกคิดค้น พัฒนาขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในโครงการ
และสามารถก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยมีหลักฐานอ้างอิงได้

ทุนวิจัยต่อยอด ทุนที่นักวิจยั ได้รับเงินอุดหนุนการวิจยั ต่อยอดจากงานวิจัยเดิม ซึ่งเกิดจากการนำผลงานวิจัยที่ได้ของโครงการวิจัย


(Further funding) เดิมมาเขียนเป็นข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนวิจยั ต่อยอดในโครงการใหม่ สิ่งสำคัญคือ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
แหล่งทุนและงบประมาณที่ได้รบั จากโครงการทุนวิจัยต่อยอดใหม่ โดยมีหลักฐานอ้างอิงได้

ความร่วมมือหรือหุ้นส่วนความร่วมมือ ความร่วมมือหรือหุ้นส่วนความร่วมมือทีเ่ กิดขึ้นหลังจากโครงการวิจัยเสร็จสิ้น โดยเป็นความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง


(Collaborations and partnerships) โดยตรงหรืออาจจะทางอ้อมจากการดำเนินโครงการ ทั้งนี้สิ่งสำคัญคือ การระบุผลผลิต (output) ผลลัพธ์
(outcome) และผลกระทบ (impact) ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือหรือหุ้นส่วนความร่วมมือนี้ โดยมีหลักฐาน
อ้างอิงได้

การผลักดันนโยบาย แนวปฏิบัติ แผนและ การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อขับเคลื่อนการนำผลงานวิจยั ไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย หรือเกิดแนว


กฎระเบียบ ปฏิบัติ แผนและกฎระเบียบต่างๆ ขึ้นใหม่ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์และผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ทาง
(Influence on policy, practice, plan and เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการเมืองการปกครอง ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศโดยรวม
regulations) โดยมีหลักฐานอ้างอิงได้ ทั้งนี้ต้องไม่ใช่การดำเนินการทีร่ ะบุไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานวิจัย

กิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วม กิจกรรมที่หัวหน้าโครงการและ/หรือทีมวิจัย ได้สื่อสารผลงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กับ


(Engagement activities) กลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และเป็นเส้นทางที่ส่งผลให้เกิดผล
กระทบในวงกว้างต่อไป โดยมีหลักฐานอ้างอิงได้ ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวต้องมิใช่กิจกรรมที่ได้ระบุไว้เป็นส่วน
หนึ่งของแผนงานวิจัย

41
4. ผลกระทบ (Expected Impacts) ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
นิย ามของผลกระทบ คือ การเปลี่ย นแปลงที่เกิดขึ้นจากผลลัพธ์ (outcome) ในวงกว้างทั้งด้านวิชาการ
นโยบาย เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม หรือผลสำเร็จระยะยาวที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์
โดยผ่านกระบวนการการสร้างการมีส่วนร่วม (Engagement activities) และมีเส้นทางของผลกระทบ (impact
pathway) ในการขับเคลื่อนไปสู่การสร้างผลกระทบ ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิด ขึ้นจะพิจารณารวมผลกระทบในเชิงบวก
และเชิงลบ ทางตรงและทางอ้อม ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจให้เกิดขึ้น
 ด้านวิชาการ
รายละเอียดผลกระทบ
- บทความวิจัยระดับนานาชาติที่อยู่ในฐาน ISI หรือ SCOPUS ไม่น้อยกว่า 3 บทความ
- ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกิดจากงานวิจัยเพื่อเตรียมความพร้อมให้นักวิจัยรุ่นใหม่

 ด้านสังคม
O ด้านสาธารณะ O ด้านชุมชนและพื้นที่ O ด้านสิ่งแวดล้อม
รายละเอียดผลกระทบ
- ลดมลพิษทางอากาศเนื่องจากการเผาเหง้ามันสำปะหลัง
- ลดมลภาวะเป็นพิษด้านสิ่งแวดล้อมเนื่องจากการกำจัดขยะถุงพลาสติก

 ด้านนโยบาย
รายละเอียดผลกระทบ
- มุ้งเน้นการแปรรูปเศษวัสดุเหลือทิ้งและขยะเพื่อผลิตพลังงานทดแทน
- เน้นการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

 ด้านเศรษฐกิจ
รายละเอียดผลกระทบ
- เป็นเครื่องต้นแบบสามารถพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ สามารถลดการนำเข้าเครื่องมือจากต่างประเทศ
- สร้างองค์ความรู้ ทรัพย์สินทางปัญญา และโอกาสทางธุรกิจของประเทศไทย
- สามารถสร้างผู้ประกอบการธุรกิจใหม่ทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางได้

42
สาขาตาม OECD ที่เป็น drop down
1. เกษตรศาสตร์
1.1 เกษตรศาสตร์
1.2 เทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตร
1.3 ประมง
1.4 ป่าไม้
1.5 วิทยาศาสตร์การเกษตร
1.6 วิทยาศาสตร์ทางด้านการเกษตรอื่นๆ
1.7 สัตวแพทยศาสตร์
1.8 สัตวศาสตร์

2. มนุษยศาสตร์
2.1 ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
2.2 ปรัชญา จริยธรรมและศาสนา
2.3 ภาษาและวรรณคดี
2.4 มนุษยศาสตร์อื่นๆ
2.5 ศิลปะ

3.วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ
3.1 การแพทย์คลีนิก
3.2 การแพทย์พื้นฐาน
3.3 เทคโนโลยีชีวภาพทางด้านการแพทย์
3.4 วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์อื่น
3.5 วิทยาศาสตร์สุขภาพ

4.วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
4.1 คณิตศาสตร์
4.2 วิทยาศาสตร์กายภาพ
4.3 วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
4.4 วิทยาศาสตร์เคมี
4.5 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
4.6 วิทยาศาสตร์ธรรมชาติอื่นๆ
4.7 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

43
5. วิศวกรรมและเทคโนโลยี
5.1 เทคโนโลยีชีวภาพสิ่งแวดล้อม
5.2 เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหการ
5.3 เทคโนโลยีพลังงาน
5.4 นาโนเทคโนโลยี
5.5 วิศวกรรมการแพทย์
5.6 วิศวกรรมเคมี
5.7 วิศวกรรมเครื่องกล
5.8 วิศวกรรมไฟฟ้าอีเล็คทรอนิกส์
5.9 วิศวกรรมโยธา
5.10 วิศวกรรมและเทคโนโลยีอื่นๆ
5.11 วิศวกรรมโลหะและวัสดุ
5.12 วิศวกรรมสารสนเทศ
5.13 วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

6. สังคมศาสตร์
6.1 จิตวิทยา
6.2 นิติศาสตร์
6.3 นิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน
6.4 ภูมิศาสตร์ทางสังคมและเศรษฐกิจ
6.5 รัฐศาสตร์
6.6 ศึกษาศาสตร์
6.7 เศรษฐศาสตร์
6.8 สังคมศาสตร์
6.9 สังคมศาสตร์อื่นๆ

44

You might also like