ระบำทวารวดี

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 7

ความเป็นมาของ ระบำทวารวดี

เป็นระบำชุดที่ ๑ ในระบำโบราณคดีที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีต


อธิบดีกรมศิลปากร) ซึ่งต้องการศึกษา และเรียนรู้เรื่องเครื่องแต่งกายของมนุษย์ เพื่อประโยชน์
แก่วิชาประวัติศาสตร์ และโบราณคดี โดยทูลขอร้องให้หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ ซึ่งขณะนั้น
ดำรงตำแหน่งสถาปนิกพิเศษของกรมศิลปากร ทรงศึกษาแบบอย่าง และทรงเขียนเลียนแบบ
เครื่องแต่งกายสมัยลพบุรี กับขอให้ นายพรศักดิ์ ผลปราญช์ ศึกษา และเขียนเลียนแบบเครื่อง
แต่งกายสมัยทวารวดีบางรูป โดยในครั้งแรกคิด จะจัดสร้างเครื่องแต่งกายตามสมัยโบราณคดี
ถวายทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการแสดงศิลปะโบราณวัตถุในอาคาร
สร้างใหม่ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แต่หลังจากได้ภาพตามที่ต้องการแล้ว จึง
เปลี่ยนความคิดใหม่เป็นการจัดแสดงระบำโบราณคดีชุดต่าง ๆ ถวายพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตร
แทนการจัดแสดงเครื่องแต่งกาย
รูปแบบและลักษณะการแสดง

ระบำทวารวดี เป็นการรำหมู่ประกอบด้วยผู้แสดง ๖
คน ท่ารำประดิษฐ์ขึ้นโดยเลียนแบบจากภาพปั้นและภาพ
แกะสลัก เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ความสวยงามของ
การรำอยู่ที่กระบวนท่าที่มีลักษณะเฉพาะตามยุคสมัยที่มี
ความสวยงามในลักษณะเฉพาะของการใช้มือ เท้า และ
ศีรษะ รวมทั้งการแปรแถวในการรำด้วย ลักษณะต่าง
การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ รำออกมาตามทำนองเพลง
ขั้นตอนที่ ๒ ทำท่ารำตามกระบวนเพลงช้า และเร็ว จน
จบกระบวนท่า
ขั้นตอนที่ ๓ ทำท่าจบด้วยการนั่งกลางเวที
ขั้นตอนที่ ๔ รำเข้าเวทีตามทำนองเพลง
ระบำนี้ประดิษฐ์ขึ้นจากการนค้นคว้าหลักฐานทางโบราณคาดีสมัยทวารวดี ท่ารำ
และ เครื่องแต่งกายได้แนวคิดจากภาพสลัก ภาพปั้นที่ขุดค้นพบ นักโบราณคดี
สันนิฐานว่าชาวทวารวดีเป็นต้นเชื้อสายพวกมอญ ดังนั้นลีลาท่ารำ รวมทั้งเนียง
ทำนองเพลง จึงเป็นแบบมอญ ท่ารำบางท่าได้ความคิดมาจากภาพสลัก และ
ภาพปูนปั้นที่ค้นพบโบราณสถานที่ สำคัญ เช่น

1) ท่านั่งพับเพียบ มือขวาจีบตั้งข้อมือระดับ
ไหล่ มือซ้ายวางบนตัก ท่านี้เป็นท่าที่ได้จากภาพ
ปูนปั้น นักร้องนักดนตรีหญิงสมัยทวารวดี
ซึ่งพบที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี
2) ท่ามือซ้ายคว่ำฝ่ามือ งอนิ้วทั้ง ๔ เล็กน้อยปรกหู
มือขวาหงายฝ่ามือ ปลายนิ้วมือจรดที่หน้าขาเกือบถึงข่าซ้าย
เขย่งเท้าซ้าย ย่อเข่าทั้ง ๒ ข้างลง กดไหล่ว้าย ลักคอข้าง
ขวา ท่านี้เรียกว่าท่าลลิตะ จากภาพปูนปั้นกินรีฟ้อนรำ ที่
ตำบลโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์

3) ท่ามือซ้ายจีบหันฝ่ามือเข้าหารักแร้ มือขาวจีบตั้งวง
กันศอกระดับไหล่ ดกไหล่ขวา ลักคอทางซ้าย เท้าขวา
เขย่ง ส้นเท้าขวาชิดกับข้อเท้าซ้าย ซึ่งยืนเต็มเท้า ย่อเข่า
ทั้ง ๒ ข้างและกับเข่าขวา ท่านี้เป็นท่าที่ได้จากการภาพ
ปูนปั้นที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี
เครื่องแต่งกาย

เครื่องแต่งกายชุดระบำทวารวดี ได้แบบอย่างมาจากภาพปูนปั้น ที่ค้นพบตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ


สมัยทวารวดี และได้นำมาประดิษฐ์ให้เหมาะสมกับการแสดง ซึ่งมีดังนี้

๑. ผมเกล้าสูงกลางศีรษะในลักษณะคล้ายลูกจันแบน สวมเกี้ยวรัดผม

๒. สวมกระบังหน้ า ด้านหน้ าและด้านหลัง

๓. สวมต่างหูเป็นห่วงกลมใหญ่

๔. สวมเสื้อในสีเนื้อ (แทนการเปลือยอกตามภาพปั้น)

๕. นุ่งผ้าลักษณะคล้ายจีบหน้ านางสีน้ำตาลแถวหนึ่ง และสีเหลืองอ่อน


แถวหนึ่ง มีตาลสีทองตกแต่งเป็นลายพาดขวางลำตัว

๖. ห่มสไบเฉียง ปล่อยชายไว้ด้านหน้ า และด้านหลัง

๗. สวมกำไลข้อมือ ต้นแขนโลหะ และแผงข้อเท้าผ้าติดลูกกระพรวน

๘. สวมจี้นาง

๙. คาดเข็มขัดผ้าตาดเงิน หรือเข็มขัดโลหะ
เครื่องดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง

ใช้วงดนตรีที่มีลักษณะเฉพาะ เครื่องดนตรีประกอบด้วย พิณ ๕ สาย จะเข้ ขลุ่ย ระนาด


ตัด ตะโพนมอญ ฉิ่ง ฉาบ และกรับคู่

เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ เพลงรัวทวารวดี เพลงทวารวดี (เที่ยวช้าและเที่ยวเร็ว)


สมาชิกในกลุ่ม

นางสาว มัรวาตี ยะโก๊ะ เลขที่ 10 (นำเสนอ)


นางสาว อาภาศิริ ยอดนุ้ย เลขที่ 15 (ทำพ้อย)
นางสาว มาดีนา โต๊ะเส็น เลขที่ 24 (ทำพ้อย)
นางสาว อณิสรา หม่อมปลัด เลขที่ 29 (สืบค้นข้อมูล)
นางสาว อรณี มหิเละ เลขที่ 30 (นำเสนอ)
นางสาว อัสนานา สันหละ เลขที่ 31 (สืบค้นข้อมูล)

You might also like