รายงานเครื่องมือวัด

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 14

1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญ
มัลติมิเตอร์ คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์วัดค่าต่าง ๆของไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่สามารถใช้ได้ทั้งกับไฟฟ้า
กระแสตรง (Direct Current : DC) และไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current Electricity : AC) ค่าต่าง ๆ
ที่ มัลติมิเตอร์สามารถวัดได้ก็เช่น แรงดันไฟฟ้า, กระแส, ความต้านทาน, ความต่างศักย์ เป็นต้น
ที่มาของ มัลติมิเตอร์ คือเมื่อก่อนวิศวกรจะวัดค่าต่าง ๆของไฟฟ้าในแต่ละทีต้องมีการพกเครื่องวัด
ไฟฟ้าหลายๆแบบ เช่น โวลท์มิเตอร์ แอมป์มิเตอร์ โอห์มมิเตอร์ ในการวัดเพื่อให้ได้ค่าที่ต้องการ แต่เพื่อความ
สะดวกและรวดเร็วจึงมีการคิดค้นเครื่องมือที่สามารถวัดค่าต่าง ๆของไฟฟ้าได้ในครั้งเดียว คือ มิลติมิเตอร์
นั่นเอง

http://digimulti.blogspot.com/2015/10/blog-post.html
ครั้งแรกที่อุปกรณ์ตรวจจับกระแสไฟฟ้าเป็นตัวชี้วัดในปี 1820 สิ่งเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในการวัดความ
ต้านทานและแรงดันไฟฟ้าโดยใช้สะพาน Wheatstone และเปรียบเทียบปริมาณที่ไม่รู้จักกับแรงดันอ้างอิงหรือ
ความต้านทานมัลติถูกคิดค้นขึ้นในต้นปีค.ศ. 1920 เป็นเครื่องรับวิทยุและหลอดสุญญากาศอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ กลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้น การประดิษฐ์ของมัลติมิเตอร์ตัวแรกกับวิศวกรชาวอังกฤษ
โดนัลด์ Macadie ที่ไม่พอใจกับการต้องพกอุปกรณ์ที่แยกจากกันจำนวนมากที่จำเป็นสำหรับการบำรุงรักษา
ของวงจรการสื่อสารโทรคมนาคม Macadie จึงคิดค้นเครื่องมือที่สามารถวัดแอมแปร์ (แอมป์) , โวลต์และโอห์ม
ดังนั้นเมตรมัลติฟังก์ชั่แล้วเป็นชื่อ Avometer เครื่องวัดที่ประกอบด้วยเครื่องวัดแรงดันไฟฟ้าขดลวดย้ายและ
ต้านทานความแม่นยำและสวิทช์และซ็อกเก็ตเพื่อเลือกช่วง
2

Macadie เอาความคิดของเขาที่จะม้วนอัตโนมัติ Winder และอุปกรณ์ไฟฟ้า บริษัท (ACWEEC ก่อตั้ง


ขึ้นในปี ~ 1923) แรก AVO ถูกวางขายในปี 1923 และอีกหลายแห่งที่ยังคงคุณลักษณะของมันไม่เปลี่ยนแปลง
เกือบจะผ่านไปยังรุ่นที่ 8

http://digimulti.blogspot.com/2015/10/blog-post.html
สไตล์นาฬิกาพกเมตรถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในปี ค.ศ. 1920 ที่ค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า Avometers ใน
กรณีที่มีการเชื่อมต่อโลหะตามปกติเพื่อให้การเชื่อมต่อเชิงลบการจัดเรียงที่ทำให้เกิดไฟฟ้าช็อตจำนวนมาก
ข้อกำหนดทางเทคนิคของอุปกรณ์เหล่านี้มักจะเป็นน้ำมันดิบสำหรับตัวอย่างหนึ่งที่แสดงมีความต้านทานเพียง
33 โอห์มต่อโวลต์ขนาดไม่เชิงเส้นและไม่มีการปรับศูนย์ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมัลติมิเตอร์ก็ถูกพัฒนาให้มี
ความหลากหลาย คงทน และใช้งายง่ายขึ้น
3

ปั จ จุ บั น มั ล ติ มิ เ ตอร์ ห ลั ก ๆมี ทั้ ง หมด 2 แบบได้ แ ก่


1. มั ล ติ มิ เ ตอร์ แ บบอนาล็ อ ก หรื อ แบบเข็ ม (Analog Multimeter) เป็ น ประเภทที่ ใ ช้ ใ นยุ ค
แรกๆ และปั จ จุ บั น ก็ ยั ง มี ก ารใช้ อ ยู่ บ้ า งแต่ ไ ม่ นิ ย มมากนั ก ข้ อ ดี คื อ ราคาที่ ไ ม่ สู ง มาก อ่ า นค่ า ง่ า ย แต่ ก็
มี ข้ อ เสี ย อยู่ เ ยอะพอสมควรถ้ า ใช้ ไ ม่ ช ำนาญในการใช้ เ ครื่ อ งมื อ ก็ อ าจมี ก ารอ่ า นค่ า ผิ ด หรื อ ค่ า ที่ ไ ด้
อาจจะไม่ ต รงตามจริ ง ขึ้ น อยู่ กั บ ปั จ จั ย แวดล้ อ มขณะวั ด ค่ า ด้ ว ย และไม่ มี ตั ว บั น ทึ ก ข้ อ มู ล ผู้ ใ ช้ ต้ อ งจด
บั น ทึ ก ข้ อ มู ล เอง

http://digimulti.blogspot.com/2015/10/blog-post.h
2. มั ล ติ มิ เ ตอร์ แ บบดิ จิ ต อล หรื อ แบบตั ว เลข (Digital Multimeter) เป็ น แบบที่ พั ฒ นาต่ อ
จากแบบอนาล็ อ กหรื อ แบบเข็ ม โดยการการแสดงค่ า ต่ า ง ๆที่ วั ด ได้ จ ะออกมาในรู ป แบบตั ว เลขและ
ตั ว หนั ง สื อ ข้ อ ดี คื อ มี ค วามแม่ น ยำในการวั ด ค่ า สู ง อ่ า นค่ า ง่ า ย สะดวกในการใช้ ง าน บางรุ่ น มี ก าร
เชื่ อ มต่ อ ข้ อ มู ล เพื่ อ ดู ค่ า ต่ า ง ๆ ผ่ า นสาย USB และยั ง สามารถอ่ า นค่ า และควบคุ ม มิ เ ตอร์ จ ากหน้ า
ซอร์ ฟ แวร์

http://digimulti.blogspot.com/2015/10/blog-post.h
4

หลักการทำงาน
หลักการการทำงานของมัลติมิเตอร์
หลักการทำงานของมัลติมิเตอร์ถูกพัฒนามาจาก กัลวาโนมิเตอร์ (galvanometer) มีหลักการทำงาน
คือ เมื่อป้อนกระแสไฟเข้าไปจะทำให้ขดลวดเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งการเกิดอำนาจแม่เหล็กนี้จะส่งผลไปยัง
เข็มที่ยึดติดอยู่เกิดการเคลื่อนที่ ในปัจจุบันมีการพัฒนาจนกลายเป็นมัลติมิเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะ
เป็นมัลติมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Multimeter) และมัลติมิเตอร์แบบตัวเลข (Digital Multimeter) เป็นต้น
ความแตกต่างของการทำงานมัลติมิเตอร์แบบเข็มและดิจิตอลมัลติมิเตอร์นั้นคือ เมื่อมีปริมาณไฟฟ้าที่
ต้องการวัดไหลเข้าสู่วงจร ถ้าเป็นมัลติมิเตอร์แบบเข็มจะเปลี่ยนปริมาณไฟฟ้าที่วัดเป็นปริมาณทางกลและขับไป
ยังเข็มที่ยึดติดไว้ทำให้เข็มนั้นเคลื่อนที่ไปยังค่าที่วัดได้ ส่วนดิจิตอลมัลติมิเตอร์จะเปลี่ยนปริมาณทางไฟฟ้านั้น
ส่งผ่านไปยังวงจรสัญญาณดิจิตอลและส่งต่อไปยังหน้าจอเพื่อแสดงผลเป็นตัวเลข

http://digimulti.blogspot.com/2015/10/blog-post.h
5

การใช้งาน
การใช้งานมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
มัลติมิเตอร์(Multimeter) ชนิดดิจิตอล เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่มีความสามารถในการวัดค่าได้
หลายประเภท เช่น การวัดแรงดันไฟฟ้า(voltage) กระแสไฟฟ้า(Current) ความถี่ไฟฟ้า(frequency) และ
ความต้านทานไฟฟ้า(Resistance) เป็นต้น ซึ่งเป็นเครื่องมือวัดพื้นฐานที่มีความจำเป็นในการพัฒนาชิ้นงานทาง
อิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างมาก
โดยสามารถใช้โพรบวัดของเครื่องมือสัมผัสเข้ากับขั้วไฟฟ้าที่ต้องการวัด และสามารถอ่านค่าได้ทันที
ผ่านหน้าจอแสดงผลที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องมือ ทำให้ง่ายต่อการใช้งานของนักเรียนนักศึกษา ที่ต้องการ
ทำการศึกษาด้านอิเล็กทรอนิคส์ และการวัดค่าทางไฟฟ้า

http://digimulti.blogspot.com/2015/10/blog-post.h
มัลติมิเตอร์ชนิดดิจิตอล สามารถใช้งานในการวัดค่าทางไฟฟ้าได้หลากหลาย ซึ่งการวัดแต่ละแบบจะมี
การต่อเชื่อมที่ไม่เหมือนกัน ทั้งการเชื่อมต่อพอร์ทที่เครื่อง การหมุนปรับสวิตซ์ และรูปแบบการนำโพรบไปต่อ
วัด ซึ่งผู้ใช้จะต้องทำตามที่กำหนดในแต่ละขั้นตอน เริ่มจากจะต้องต่อพอร์ทให้ถูกต้อง และปรับสวิตซ์ให้ถูก
ตำแหน่งเสมอ ก่อนนำไปต่อวัดที่อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้นกับ
เครื่องมัลติมิเตอร์
6

การวัดแรงดันไฟฟ้า

การต่อวัดแรงดันไฟฟ้า สามารถวัดได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) โดยมี


วิธีการต่อวัด ดังนี้ ต่อสายโพรบเส้นสีแดงเข้าที่มัลติมิเตอร์พอร์ทขวาสุด ที่มีการเขียนกำกับตัว “V”ต่อสายโพรบ
เส้นสีดำเข้าที่มัลติมิเตอร์พอร์ทลำดับที่สาม ที่มีการเขียนกำกับว่า “COM” ปรับ Switch ไปยัง V หรือ mV
ขึ้นอยู่กับขนาดของแรงดันไฟฟ้าที่ต้องการจะวัด กดปุ่ม SELECT สีฟ้าเพื่อเลือกการวัด AC หรือ DC ต่อโพรบ
วัดแบบขนาน กับโหลดที่ต้องการจะวัดค่าแรงดันไฟฟ้า เมื่อวัดเรียบร้อยแล้วเลื่อน Switch ไปที่ off เพื่อปิด
เครื่อง
ข้อควรระวัง
- ห้ามใช้นิ้วสัมผัสโลหะที่โพรบวัด เพื่อความปลอดภัยและความถูกต้องของค่าการวัด
- ห้ามวัดแรงดันไฟฟ้าเกิน 600 Vrms เพื่อป้องกันเครื่องมือเสียหาย
7

การวัดค่าความต้านทาน

การต่อวัดค่าความต้านทานไฟฟ้ามีวิธีการต่อดังนี้ ต่อสายโพรบเส้นสีแดงเข้าที่มัลติมิเตอร์พอร์ทขวาสุด
ที่มีการเขียนกำกับตัว Ώ ต่อสายโพรบเส้นสีดำเข้าที่มัลติมิเตอร์พอร์ทลำดับที่สาม ที่มีการเขียนกำกับว่า
“COM”ปรับ Switch ไปยัง Ώ กดปุ่ม SELECT สีฟ้า เลือกให้หน้าจอขึ้นสัญลักษณ์ Ώ เพื่อวัดความต้านทาน
ซึ่งโดยปกติเครื่องจะเปิด auto range ไว้ใช้โพรบวัดแบบขนานกับโหลดที่ต้องการจะวัดค่าความต้านทานเมื่อ
วัดเรียบร้อยแล้วเลื่อน Switch ไปที่ off เพื่อปิดเครื่อง
ข้อควรระวัง
- ห้ามใช้นิ้วสัมผัสโลหะที่โพรบวัด เพื่อความถูกต้องของค่าการวัด
- ขณะวัดจะต้องไม่มีกระแสไหลผ่านความต้านทาน โดยต้องไม่มีการต่อไฟบนวงจร รวมถึงไม่มีกระแสเหลือใน
ที่อื่น ๆ บนวงจร เพื่อให้ค่าการวัดถูกต้อง
- หากค่าขึ้นเป็น “OL” อาจหมายถึงค่าความต้านทานมากเกินไปเกินกว่าเครื่องจะวัดได้ หรือโพรบถูกต่อแบบ
open circuit
8

การวัดการเชื่อมต่อวงจร

การวัดการเชื่อมต่อกันของวงจร เช่นการวัดว่าสายไฟขาดภายในหรือไม่ หรือการทดสอบการเชื่อมต่อ


แต่ละโหนดบนลายวงจรบนแผ่นปริ้นว่าเชื่อมต่อกันหรือไม่ มีวิธีการต่อวัดดังนี้ ต่อสายโพรบเส้นสีแดงเข้าที่มัลติ
มิเตอร์พอร์ทขวาสุด ที่มีการเขียนกำกับตัว “VΏHz°C” ต่อสายโพรบเส้นสีดำเข้าที่มัลติมิเตอร์พอร์ทลำดับที่
สาม ที่มีการเขียนกำกับว่า “COM” ปรับ Switch ไปยังสัญลักษณ์ กดปุ่ม SELECT สีฟ้า เลือกให้หน้าจอ
ขึ้นสัญลักษณ์ เพื่อวัดการเชื่อมต่อของวงจร ใช้โพรบวัดระหว่างสองจุดที่ต้องการจะวัดความเชื่อมต่อ หาก
มีเสียงสัญญาณดังขึ้น หมายถึง สองจุดนั้นเชื่อมต่อกัน หากไม่ดังแสดงว่าทั้งสองจุดไม่เชื่อมต่อกันหรือหมายถึง
ระหว่างสองจุดมีค่าความต้านทานมากกว่า 10 Ώ สามารถทดสอบการทำงานของโหมดนี้ ได้ด้วยการนำโพรบ
ทั้งสองมาแตะกัน จะมีเสียงดังขึ้น หมายถึงวงจรเชื่อมต่อ เมื่อวัดเรียบร้อยแล้วเลื่อน Switch ไปที่ off เพื่อปิด
เครื่อง
ข้อควรระวัง
- ห้ามใช้นิ้วสัมผัสโลหะที่โพรบวัด เพื่อความถูกต้องของค่าการวัด
- ขณะวัดจะต้องไม่มีการต่อไฟบนวงจร รวมถึงไม่มีกระแสเหลือในที่อื่น ๆ บนวงจร เพื่อให้ค่าการวัดถูกต้อง
9

การวัดไดโอด

การวัดไดโอดว่ายังสามารถใช้งานได้อยู่หรือไม่ สามารถวัดได้ดังนี้ ต่อสายโพรบเส้นสีแดงเข้าที่มัลติ


มิเตอร์พอร์ทขวาสุด ที่มีการเขียนกำกับตัว “VΏHz°C” ต่อสายโพรบเส้นสีดำเข้าที่มัลติมิเตอร์พอร์ทลำดับที่
สาม ที่มีการเขียนกำกับว่า “COM”ปรับ Switch ไปยังสัญลักษณ์ของไดโอด กดปุ่ม SELECT สีฟ้า เลือกให้
หน้าจอขึ้นสัญลักษณ์ เพื่อวัดไดโอดใช้โพรบสีแดงต่อที่ขั้วบวก Anode (+) และโพรบสีดำต่อที่ขั้วลบ
Cathode (-) ค่าจะปรากฏอยู่ในช่วงประมาณ 500 – 800 mV ซึ่งหมายถึงไดโอดใช้งานได้ปกติ หากขึ้น “OL”
ที่หน้าจอ อาจหมายถึงต่อไดโอดสลับขั้วบวกและลบ หรือต่อแบบ Open-circuit อยู่ เมื่อวัดค่าเรียบร้อยแล้ว
เลื่อน Switch ไปที่ off เพื่อปิดเครื่อง
ข้อควรระวัง
- ห้ามใช้นิ้วสัมผัสโลหะที่โพรบวัด เพื่อความถูกต้องของค่าการวัด
- ขณะวัดจะต้องไม่มีการต่อไฟบนวงจร รวมถึงไม่มีกระแสเหลือในที่อื่น ๆ บนวงจร เพื่อให้ค่าการวัดถูกต้อง
10

การวัดกระแสไฟฟ้า

การวัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจร สามารถวัดได้ดังนี้ ต่อสายโพรบเส้นสีแดงเข้าที่มัลติมิเตอร์พอร์ท


ที่สองนับจากซ้ายมือ ที่มีการเขียนกำกับตัว “mAuA”ต่อสายโพรบเส้นสีดำเข้าที่มัลติมิเตอร์พอร์ทลำดับที่สาม
ที่มีการเขียนกำกับว่า “COM” ปรับ Switch ไปยังสัญลักษณ์ของการวัดกระแส คือ uA หรือ mA หรือ A ขึ้นอยู่
กับปริมาณกระแสที่ต้องการจะวัด กดปุ่มสีฟ้าเพื่อเลือกโหมดวัด AC หรือ DC นำวงจรที่จะวัดมาต่ออนุกรม
กับมัลติมิเตอร์ โดยระหว่างต่อจะต้องปิดสวิตซ์ไม่ให้มีกระแสไหลในวงจร เปิดวงจรเพื่อวัดค่าปริมาณกระแสที่
ไหลผ่านจุดที่วัด ในกรณีวัดค่ากระแสของ AC สามารถกดปุ่ม %Hz เพื่อวัดความถี่ได้ เมื่อวัดค่าเรียบร้อยแล้ว
เลื่อน Switch ไปที่ off เพื่อปิดเครื่อง
ข้อควรระวัง
- ห้ามนำโพรบไปวัดขนานกับแหล่งจ่ายไฟโดยเด็ดขาด
- ห้ามใช้นิ้วสัมผัสโลหะที่โพรบวัด เพื่อความถูกต้องของค่าการวัด
- ก่อนจะวัดค่าในวงจร ควรตัดไฟออกจากวงจรก่อน
11

การใช้งานมัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก
มัลติมิเตอร์แบบเข็ม (analog multimeter, AMM) เป็นเครื่องมือวัดปริมาณทางไฟฟ้าหลายประเภท
รวมอยู่ในเครื่องเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วมัลติมิเตอร์จะสามารถใช้วัดปริมาณต่อไปนี้
ความต่างศักย์กระแสตรง (DC voltage)- ความต่างศักย์กระแสสลับ (AC voltage) ปริมาณ
กระแสตรง (DC current) ความต้านทานไฟฟ้า (electrical resistance) อย่างไรก็ตามมัลติมิเตอร์บางแบบ
สามารถใช้วัดปริมาณอื่น ๆ ได้อีก เช่น กำลังออกของสัญญาณความถี่เสียง (AF output) การขยายกระแสตรง
ของทรานซิสเตอร์ (DC current amplification, hFE) กระแสรั่วของทรานซิสเตอร์ (leakage current, lCEO)
ความจุทางไฟฟ้า (capacitance) ฯลฯ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม มีลักษณะดังภาพข้างล่าง

http://digimulti.blogspot.com/2015/10/blog-post.h
หมายเลข 1 indicator Zero Conector มีหน้าที่ตั้งค่าเข็มให้อยู่ตำแหน่ง 0 หรือตำแหน่งอื่นๆที่ต้องการ
หมายเลข 2 Indicator Pointer หรือ เข็มชี้บ่ง มีหน้าที่ชี้บ่งปริมาณต่างๆ
หมายเลข 3 Indicator Scale สเกลต่างที่อยู่บนหน้าปัดของมิเตอ
หมายเลข 4 Continuity Indicating LED ( CONTINUITY ) เป็นหลอด Led ที่เปล่งแสงบ่งบอกความ
ต่อเนื่อง
หมายเลข 5 Range Selector Switch knob ลูกบิดปรับเลือกค่าที่ต้องการวัด
หมายเลข 6 0-ohms adjusting knob /0- centering meter ปุ่มปรับตั้งค่าความต้านทานให้อยู่ตำแหน่ง 0
หรือตำแหน่งที่ต้องการ
หมายเลข 7 Measuring Terminal + เทอร์มินอลไฟบวก
หมายเลข 8 Measuring – COM เทอร์มินอลไฟลบ หรือ common
หมายเลข 9 Series Terminal Capacitor OUTPUT ใช้วัดค่าแรงดันกระแสสลับ
หมายเลข 10 Panel หรือ หน้าปัดมิเตอร์
หมายเลข 11 Rear Case หรือ กรอบมิเตอร์
12

1.) Resistance (OHMS) scale หรือ สเกลวัดความต้านทานมีหน่วยเป็น โอห์ม


2.) สเกลกระแสและแรงดันทั้ง AC และ DC
3.) 0-centerig (NULL) +/- DCV scale
4.) สเกลวัดแรงดัน AC 2.5 volt.
5.) สเกลวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ (hFE) มีสีน้ำเงิน
6.) สเกลสำหรับทดสอบแบตเตอร์รี่ 1.5 V 0.25A.
7.) สเกลวัดกระแสรั่วของทรานซิสเตอร์ (LEAK, ICEO, Ll) มีสีน้ำเงิน
8.) สเกลวัดความต่างศักย์ระหว่างปลายขณะวัดความต้านทาน (LV) มีสีน้ำเงิน
9.) สเกลวัดกำลังออกของสัญญาณความถี่เสียง (dB) มีสีแดง
10.) Continuity Indicating LED ( CONTINUITY ) เป็นหลอด Led ที่เปล่งแสงบ่งบอกความต่อเนื่อง
11.)คือกระจกเงาเพื่อทำให้การอ่านค่าบนสเกลที่แสดงด้วยเข็มชี้ของมิเตอร์ถูกต้อง ที่สุด การอ่านค่าที่ถูกต้อง
คือตำแหน่งที่เข็มชี้ของมิเตอร์จริงกับตำแหน่งเข็มชี้ ของมิเตอร์ในกระจกเงาซ้อนกันพอดี
13

การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้า

ปรับมัลติมเิ ตอร์ให้เป็นโวลท์มิเตอร์ก่อน โดยหมุนสวิทช์บนตัวมิเตอร์ ไปที่ตำแหน่งช่วงการวัดความ


ต่างศักย์ไฟฟ้า (ACV , DCV) ซึ่งมี 7 ช่วงการวัดคือ 0-0.1V, 0-0.5V, 0.2.5V, 0-10V, 0-50V, 0-250V, 0-1000V
เลือกตําแหน่งที่ต้องการวัดความต่างศักย์และตรวจสอบทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าเสียบสายวัด
มิเตอร์สีดําที่ขั้วลบ(-COM)และสายวัดสีแดงที่ขั้วบวก(+)เข้ากับมัลติมิเตอร์ ตั้งช่วงการวัดให้สูงกว่าความต่าง
ศักย์ของบริเวณนั้น โดยหมุนสวิทช์บนตัวมิเตอร์ ไปที่ ตําแหน่งช่วงการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง(DCV)
นําสายวัดมิเตอร์ไปต่อขนานหรือต่อคร่อมวงจร โดยใช้หัววัดแตะกับจุดที่ต้องการวัด และต้องให้กระแสไฟฟ้า
ไหลเข้าทางขั้วบวก (+) ของมัลติมิเตอร์เสมอ ถ้าวัดสลับขั้วเข็มวัดจะตีกลับต้องรีบเอาสายวัดมิเตอร์ออกจาก
วงจรทันที จากนั้นทําการสลับหัววัดให้ถูกต้อง การอ่านค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า ให้อ่านสเกลสีดําที่อยู่ใต้แถบเงิน
ซึ่งมีค่าระบุอยู่ใต้สเกล 3 ช่วง คือ 0-10, 0-50 และ 0-250 ค่าที่อ่านได้ต้องสัมพันธ์กับช่วงการวัดที่ตั้งไว้
14

การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับ

เลือกตําแหน่งที่ต้องการวัดกระแสไฟฟ้า และตรวจสอบทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าเสียบสายวัด
มิเตอร์สีดําที่ขั้วลบ (- COM) และสายวัดสีแดงที่ขั้วบวก (+) เข้ากับมัลติมิเตอร์ตั้งช่วงการวัดที่เหมาะสม ในกรณี
ที่ทราบค่ากระแสในวงจร ควรตั้งช่วงการวัดให้สูงกว่าค่ากระแสที่ทราบ แต่ในกรณีที่ไม่ทราบค่ากระแสในวงจร
ควรตั้งช่วงการวัดที่สูงๆ (0-0.25A) ไว้ก่อน แล้วค่อยปรับช่วงการวัดใหม่ ก่อนปรับช่วงการวัดใหม่ต้องเอาสาย
วัดออกจากวงจรทุกครั้ง และต้องแน่ใจว่าค่าที่จะวัดได้นั้นมีค่าไม่เกินช่วงการวัดที่ปรับตั้งใหม่ นําสายวัดมิเตอร์
ไปต่อแทรกหรือต่อแบบอนุกรม โดยใช้หัววัดแตะบริเวณที่ต้องการวัด และต้องให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าทาง
ขั้วบวกของมัลติมิเตอร์ หากเข็มวัดตีเกินสเกลต้องรีบเอาสายวัดมิเตอร์ออกจากวงจรทันที แล้วเลือกช่วงการวัด
ที่สูงขึ้นจากนั้นทําการวัดค่าใหม่ อ่านค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจร ซึ่งการอ่านต้องสัมพันธ์กับช่วงที่ตั้งไว้

ตารางที่ 1 แสดงการคำนวณหาค่าในแต่ละช่วงของการวัด

You might also like