Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 19

1

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 1

หัวข้อเนื้อหา
1. ความนา
2. หลักการและแนวคิดการวิจัย
3. ความหมายการวิจัยและการวิจัยทางการศึกษา
4. ลักษณะการวิจัย
5. จุดมุ่งหมายการวิจัย
6. ประโยชน์การวิจัย
7. รูปแบบการวิจัย
8. กระบวนการวิจัย
9. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
10. จรรณยาบรรณนักวิจัย
11. บทสรุป

วั ต ถุ ป ระสงค์ ต ามกรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ ร ะดั บ อุ ด มศึ ก ษาแห่ งชาติ แ ละสมรรถนะ


การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามเกณฑ์มาตรฐานของคุรุสภา
หลังจากจบการเรียนการสอนบทนี้ ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้
1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม
1.1 มีวินัย และซื่อสัตย์ในการเรียน
1.2 มีสัมมาคารวะต่ออาจารย์ และผู้อาวุโส
1.3 เคารพกฎระเบี ย บและข้อ บั งคั บ ต่ างๆ ของสาขาวิช า คณะ และมหาวิท ยาลั ย
ตลอดจนเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
2. ด้านความรู้
2.1 มีค วามรู้ ค วามเข้าใจความหมายการวิจั ยและการวิจัย ทางการศึ ก ษา ลั กษณะ
การวิจัย จุดมุ่งหมายการวิจัย และประโยชน์การวิจัย
2

2.2 มี ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจประเภทการวิ จั ย กระบวนการวิ จั ย ระดั บ การวิ จั ย ทาง


การศึกษา
2.3 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจรรณยาบรรณนักวิจัย
3. ทักษะทางปัญญา
3.1 สามารถอธิบายความหมายการวิจัยและการวิจัยทางการศึกษา ลักษณะการวิจัย
จุดมุ่งหมายการวิจัย และประโยชน์การวิจัยได้
3.2 สามารถอธิบายประเภทการวิจัย กระบวนการวิจัย ระดับการวิจัยทางการศึกษา
3.3 สามารถบอกความแตกต่างของการวิจัย การวิจัย ทางการศึ กษา และการวิจั ย
ปฏิบัติการในชั้นเรียน
3.4 สามารถประเมินความสาคัญของจรรณยาบรรณนักวิจัย
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 สื่อสารกับผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 รับผิดชอบงานของตนเองและงานกลุ่ม
4.3 มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้กับผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียน
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้สารสนเทศ
5.1 มีทักษะการคานวณ และสามารถใช้สารสนเทศเพื่อศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้
5.2 มีทักษะในการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และการนาเสนอที่มีประสิทธิภาพ
6. สามารถนาผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
7. สมารถทาวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน

วิธีสอนและกิจกรรม
ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบวิจัยเป็นฐาน (Research-based instruction) โดยมี
กิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
1. ขั้นนา ผู้สอนปลูกฝังคุณธรรมก่อนเรียน โดยให้ดูหรือฟังคลิป นิทานธรรม/คติธรรม
เพื่อส่งเสริมความเป็นครูหรือความคิดเชิงบวก จากนั้นกระตุ้นเร้าเพื่อนาเข้าสู่บทเรียนและให้นักศึกษา
จับกลุ่ม กลุ่มละ 4-6 คน
3

2. ขั้นสอน ประกอบด้วย
2.1 ขั้นเสนอเนื้อหา ผู้สอนบรรยายประกอบการใช้สื่อที่หลากหลาย เช่น บทความวิจัย
สรุ ป รายงานการวิ จั ย สื่ อ ส าเร็ จ รู ป ที่ ท าด้ ว ยโปรแกรมคอมพิ ว เตอร์ สื่ อ มั ล ติ มี เดี ย และเอกสาร
ประกอบการสอน
2.2 ขั้นศึกษาทีมย่อย ผู้สอนให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาและอภิปรายงานวิจัย
ที่มอบให้ หรือทาแบบฝึกหัดในใบงาน หรือทากิจกรรมและตอบคาถามในเอกสารประกอบการสอน
หลังจากที่ได้รับการสอน
2.3 ขั้นทดสอบความรู้ ผู้เรียนแต่ละคนทาการทดสอบย่อย เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ
ในเนื้ อ หาสาระที่ ได้ เรี ย นรู้ จ ากข้ อ ทดสอบของผู้ ส อน จากนั้ น ผู้ ส อนและผู้ เรี ย นร่ ว มกั น ตรวจผล
การทดสอบของสมาชิกแต่ละคน หรือให้นักศึกษาออกมานาเสนองานตามที่ได้รับมอบหมาย
2.4 ขั้นความสาเร็จของกลุ่ม ผู้วิจัยประกาศคะแนนการพัฒนาของกลุ่ม
3. ขั้ น สรุ ป ผู้ ส อนให้ นั ก ศึ ก ษาสรุ ป ถึ งสิ่ งที่ นั ก ศึ ก ษาได้ เรี ย นรู้จ ากการฝึ ก การเรีย นรู้
แบบวิจัยเป็นฐาน จากนั้นผู้สอนสรุปเพิ่มเติม

สื่อการจัดการเรียนรู้
1. เอกสารประกอบการสอนบทที่ 1
2. สไลด์ที่ทาจากโปรแกรมเพาเวอร์พอยท์ และคลิปจากยูทูปเรื่อง “จรรณยาบรรณนักวิจัย”
3. คลิปจากยูทูปส่งเสริมคุณธรรมเรื่อง “อาหารที่อร่อยที่สุดในโลก”
4. คาถามท้ายบท ใบงาน และแบบทดสอบประจาบท

การวัดและประเมินผล
1. ประเมินพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ได้แก่ การตอบคาถาม การแสดงความคิดเห็น
มีวินัยในการแต่งกาย การตั้งใจเรียน และมีความซื่อสัตย์ในการเรียน
2. ประเมินจากกิจกรรมท้ายบทและการนาเสนอของกลุ่มตามเกณฑ์ที่กาหนด
3. ประเมินจากการตอบคาถามท้ายบท
4. ประเมินจากใบงาน และแบบทดสอบประจาบท
4

บทที่ 1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการวิจัย

ความนา
ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า การวิจัยมีบทบาทสาคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจาวันของ
มนุษย์ ตลอดจนมีความสาคัญต่อการพัฒนาสังคมและประเทศ ดังจะเห็นได้จากการที่ผลงานวิจัยได้
ถู ก น ามาเผยแพร่ และน าเสนอในรู ป แบบต่ างๆ เช่ น การประชุ ม วิ ช าการระดั บ ชาติ แ ละระดั บ
นานาชาติ การตีพิมพ์ในรูปแบบของบทความวิจัยในวารสาร หนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ ทั้งนี้
เพราะ การวิจัยเป็นเครื่องมือสาคัญในการแก้ไขปัญหาชีวิตประจาวัน การส่งเสริมความก้าวหน้า ทั้งใน
ด้านการศึก ษา สั งคม เศรษฐกิจ วัฒ นธรรมและจริยธรรม ดั งนั้ น การเรีย นรู้เกี่ ยวกับ การวิจั ย จึ ง
ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งทั้งต่อตนเองและสังคม
สาหรับบทนี้เป็นบทแรก ซึ่งผู้เขียนจะกล่าวถึง มโนทัศน์เกี่ยวกับการวิจัย ได้แก่ ความหมาย
การวิจัยและการวิจัยทางการศึกษา ลักษณะการวิจัย จุดมุ่งหมายการวิจัย ประโยชน์การวิจัย ประเภท
การวิจัย กระบวนการวิจัย ระดับการวิจัยทางการศึกษา จรรณยาบรรณนักวิจัย และบทสรุป

หลักการและแนวคิดการวิจัย
หลักการและแนวคิดการวิจัย ในยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่ให้เหตุผลเชิงประจักษ์ในการแสวงหา
ความรู้และความจริงผ่านกระบวนการที่มีขั้นตอนอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยวิธีการเชิงเหตุผลทั้งแบบ
อนุมานและอุปมานร่วมกัน วิธีการแสวงหาความรู้ความจริงในยุคนี้สามารถแยกได้ 2 วิธี คือ (ไพศาล
วรคา. 2555 : 4-5)
1. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) ชาร์ล ดาร์วิน (Charles Darwin) ได้
นาเอาวิธีอนุมานของอริสโตเติลและวิธีอุปมานของเบคอนมาใช้ร่วมกัน เนื่องจากเห็นว่า วิธีการทั้งสอง
ต่างมีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกันไป และจุดเด่นของวิธีหนึ่ง สามารถนาไปแก้ไขจุดด้อยของอีกวิธี
หนึ่งได้ จึ งเรีย กวิธีนี้ ว่า วิธีอนุ มาน-อุปมาน ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยคาว่า
“วิทยาศาสตร์” ในที่นี้หมายถึง ความรู้ที่ได้โดยการสังเกตและค้นคว้าจากหลักฐานเชิงประจักษ์แล้ว
จัดเข้าเป็นระเบียบ หรือวิชาที่ค้นคว้าได้หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ ซึ่งมีความหมาย
5

กว้างขวางกว่าคาว่า “วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ” ซึ่งหมายถึง วิทยาศาสตร์กายภาพและวิทยาศาสตร์


ชีวภาพ
การผสมผสานวิธีการให้เหตุผลเชิงอนุมานและเชิงอุปมานเข้าด้วยกัน โดยผ่านกระบวนการ
ที่มีขั้นตอนและเป็นระบบ ทาให้ได้ขั้นตอนของวิธีทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้
1.1 ขั้นการเผชิญปัญหา
1.2 ขั้นตั้งสมมติฐาน
1.3 ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล
1.4 ขั้นทดสอบสมมติฐาน
1.5 ขั้นลงข้อสรุป
2. วิธีการวิจัย (Research method) ถือว่า เป็นวิธีการทั่วไปในการแสวงหาความรู้ความ
จริงของศาสตร์ทุกสาขา ถึงแม้ว่าการวิจัยในศาสตร์บางสาขาจะมีเทคนิควิธีที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่
โดยทั่วไปแล้ววิธีการวิจัยจะมีขั้นตอนที่คล้ายกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ดังนี้
2.1 ขั้นกาหนดประเด็นปัญหา
2.2 ขั้นทบทวนสารสนเทศ
2.3 ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล
2.4 ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
2.5 ขั้นลงข้อสรุป
ในส่วนของขั้นตอน หรือกระบวนการวิจัยนี้ จะได้กล่าวอย่ างละเอียดอีกครั้งในหัวข้อถัดไป
แต่ในเบื้องต้นนี้ ผู้เขียนต้องการนาเสนอให้เห็นว่าขั้นตอนวิธีการวิจัยนั้นมีส่วนคล้ายคลึงกับขั้นตอน
วิธีการทางวิทยาศาสตร์

ความหมายการวิจัยและการวิจัยทางการศึกษา
การวิจัย (Research) มีรากศัพท์ประกอบด้วยคาว่า “Re” แปลว่า ซ้าซ้า กลับไปกลับมา
และคาว่า “Search” แปลว่า ค้นหา ดังนั้น จุดเริ่มต้นความหมายของคาว่า Research จึงหมายถึง
การศึกษาค้น คว้าซ้าไปซ้ามา (Khan. 2008 : 2) ต่อมาได้มีนักวิช าการทั้งในและต่างประเทศได้ให้
ความหมายของการวิจัยที่น่าสนใจ ดังนี้
6

สันติ บุญภิรมย์. (2557 : 2) อธิบายว่า การวิจัย หมายถึง การดาเนินการอย่างมีระเบียบ


แบบแผนให้ ได้ ม าซึ่ งความรู้ ใหม่ โดยให้ ค วามส าคั ญ กั บ ปั ญ หา (Problem) ในการค้ น หาค าตอบ
(Answers) ภายในกลุ่ม ซึ่งเป็นสถานการณ์ตามธรรมชาติที่สามารถทดสอบทางวิทยาศาสตร์ได้
สมถวิล วิจิตรวรรณนา และคณะ.(2556 : 1-5) อธิบายว่า การวิจัย หมายถึง กระบวนการ
ค้นคว้าหาความรู้อย่างมีระบบ เพื่อตอบประเด็นที่สงสัย โดยมีระเบียบวิธีอันเป็นที่ยอมรับในศาสตร์
แต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
สุ วิ ม ล ติ ร กานั น ท์ . (2556) อธิบ ายว่า การวิ จัย หมายถึ ง กระบวนการแสวงหาความรู้
ข้อเท็จ จริงด้วยวิธีการที่เป็ น ระบบ มีแบบแผนตามแนวทางของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้
ความรู้ หรือข้อเท็จจริงที่เป็นคาตอบที่ถูกต้องของประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษา
รัตนะ บัวสนธ์. (2556 : 7) อธิบายว่า การวิจัย หมายถึง การเสาะแสวงหาความรู้ความจริง
ด้วยวิธีการทีม่ ีเหตุผลและน่าเชื่อถือได้
Khan. (2008 : 1) กระบวนการที่เป็นระบบในการค้นคว้าหาความจริง เพื่อการค้นพบและ
การสร้างสรรค์ความรู้ให้แก่มนุษย์โลก
Wayne and Stuart. (2007 : 1) การวิจัย หมายถึง กระบวนการที่เป็นระบบ มีแบบแผน
และการจัดการ เพื่อให้ได้คาตอบในสิ่งที่ต้องการศึกษา
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ความจริง ด้วยวิธีการที่
เป็ น ระบบตามแบบแผนทางวิทยาศาสตร์ เพื่ อให้ ได้ความรู้ที่ เป็น จริงที่เป็ นคาตอบของประเด็น ที่
ทาการศึกษา
ส่ ว นความหมายของการวิ จั ย ทางการศึ ก ษา มี นั ก วิ ช าการทั้ ง ในและต่ า งประเทศให้
ความหมายที่น่าสนใจ ดังนี้
สั น ติ บุ ญ ภิ ร มย์ . (2557 : 2) อธิ บ ายว่ า การวิ จั ย ทางการศึ ก ษา หมายถึ ง การด าเนิ น
การอย่ างมี ร ะเบี ย บแบบแผนให้ ได้ มาซึ่งความรู้ใหม่ โดยให้ ความส าคัญ กับ ปั ญ หาที่ ป รากฏอยู่ ใน
การค้นหาคาตอบภายในกลุ่ม ซึ่งเป็นสถานการณ์ตามธรรมชาติทางการศึกษาที่สามารถทดสอบทาง
วิทยาศาสตร์ได้
สรชัย พิศาลบุตร. (2556) อธิบายว่า การวิจัยทางการศึกษา หมายถึง การค้นคว้าหาความรู้
ทางการศึกษาด้วยวิธีการที่เป็นระบบ เพื่อหาความรู้ใหม่ด้านการศึกษา หรือความรู้ที่ จะนาไปใช้ใน
การแก้ปัญหาทางการศึกษาในด้านผู้เรียน กระบวนการเรียนการสอน และผู้สาเร็จการศึกษา
7

เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์. (2549 : 17) อธิบายว่า การวิจัยทางการศึกษา หมายถึง เป็นการหา


ข้อมูล สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการศึกษา โดยมีเป้าหมายที่จะค้นพบหลักการทั่วไป หรือ
การตีความหมายพฤติกรรมเพื่ออธิบาย ทานาย และควบคุมเหตุการณ์ต่างๆ ในสถานการณ์การศึกษา
หรือเป็นการสร้างทฤษฎีเชิงวิทยาศาสตร์ในวงการศึกษา
Lorrain, Geoffrey, and Peter. (2011 : 4) อธิบายว่า การวิจัยทางการศึกษา หมายถึง
กระบวนกระบวนการประยุ กต์ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาปัญ หาด้านการศึกษา เพื่ อ
บรรยาย อธิบาย ทานาย และควบคุมปรากฏการณ์ทางการศึกษาที่เกิดขึ้น
Donald, Lucy, and Asghar. (2002 : 17) อธิบ ายว่า การวิจัยทางการศึกษา หมายถึง
กระบวนการประยุกต์ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาปัญหาด้านการศึกษา
จากความหมายที่กล่าวมาในข้างต้น สรุปได้ว่า การวิจัยทางการศึกษา หมายถึง กระบวน
กระบวนการที่เป็นระบบ เพื่อหาความรู้ใหม่ด้านการศึกษา หรือความรู้ที่จะนาไปใช้ในการแก้ปัญหา
หรือพัฒนาด้านการศึกษา

ลักษณะการวิจัย
การวิจัยในปัจจุบัน ถือว่า เป็นวิธีการหาความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่น่าเชื่อถือมาก
ที่สุด ดังนั้นการวิจัยจึงยึดถือและปฏิบัติตามลาดับขั้นตอนของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก
เสมอ จึงทาให้การวิจัยมีลักษณะและธรรมชาติ ดังนี้ (นภาพร สิงหะทัต. 2548 : 7)
1. เป็นการศึกษาอย่างเป็นระบบ กระบวนการวิจัยต้องมี การเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ หรือ
ข้อมูลที่มีอยู่แล้วเพื่อนามาใช้ในจุดประสงค์ใหม่ที่แตกต่างไปจากจุดประสงค์ของแหล่งข้อมูลเดิม
2. มี จุ ด มุ่ ง หมายในการศึ ก ษาข้ อ มู ล เพื่ อ น ามาวิ เ คราะห์ แ ละสรุ ป ผล เพื่ อ น าไป
ประกอบการตัดสินใจในการแก้ปัญหาหนึ่งปัญหาใด
3. มี จุ ด มุ่ งหมายที่ จ ะหาข้ อ เท็ จ จริง เพื่ อ พั ฒ นาทฤษฎี กฎเกณฑ์ หรือ การตรวจสอบ
สมมติฐาน หรือเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุผล ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ในทางปฏิบัติ
4. ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรอบรู้ในเรื่องที่ผู้วิจัยจะทาการวิจัย ถ้าผู้วิจัยมีความรู้ใน
เรื่ อ งที่ จ ะวิ จั ย ไม่ เพี ย งพอ จ าเป็ น ต้ อ งท าการศึ ก ษาค้ น คว้ า เพิ่ ม เติ ม จนสามารถมี ค วามเข้ า ใจ
อย่างชัดเจนในเรื่องที่กาลังวิจัยนั้น ๆ เพราะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือประเมินค่านั้น จาเป็นต้องมี
ความรู้ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี
8

5. ต้องมีการสังเกต บันทึก และบรรยายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดรอบคอบและ


ถูกต้องแม่นยา ดังนั้นการวิจัยต้องอาศัยข้อมูลและการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือ
ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะและคุณภาพของเครื่องมือ
6. ต้องมีการสรุปผล มีการบันทึก และรายงานผลอย่างละเอียด เพื่อเสนอให้ผู้อื่นทราบ
เพื่อนาผลไปใช้ หรือนาไปอ้างอิงในการศึกษาค้นคว้าต่อไป

จุดมุ่งหมายการวิจัย
จุดมุ่งหมายของการวิจัย แบ่งได้ 2 ประเภท คือ (นภาพร สิงหะทัต. 2548 : 8)
1. เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มพูนความรู้ใหม่ เพื่อความรู้ทางวิชาการ เรียกการวิจัยแบบนี้
ว่า “การวิจั ย พื้ น ฐาน หรื อ การวิจั ยบริสุ ทธิ์ (Pure Research)” เป็น การวิจัยที่ ไม่ได้มุ่งน าผลของ
การวิจั ย ไปใช้ ผู้ วิจั ย มี ค วามต้อ งการรู้ข้อ เท็ จจริงเพื่ อ ให้ ได้ ค วามรู้ใหม่ เป็ น การเสริม สร้ างทฤษฎี
หลักการ และวิทยาการให้กว้างขวางสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์
2 เพื่อนาไปประยุกต์ใช้ หรือใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ ในทางปฏิบัติ เรียกการวิจัย
แบบนี้ว่า “การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) ในการประยุกต์นั้น มีจุดมุ่งหมายต่างๆ กัน ดังนี้
(สุรินทร์ ภูสิงห์. 2556 : 2-3; ไพศาล วรคา. 2556 : 6-7; นภาพร สิงหะทัต. 2548 : 8)
2.1 เพื่อบรรยาย หรือพรรณนา (Description) เป้าหมายระดับแรกของศาสตร์ ซึ่งถือ
ว่าเป็นระดับต่าสุด คือ การบรรยายปรากฏการณ์ ทาให้คนเรามีความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ที่
เกิดขึ้น ดังนั้น จุดมุ่งหมายแรกของการวิจัย คือ เพื่อแสวงหาความรู้จริงในการบรรยายปรากฏการณ์
หรื อค้น หาคาตอบของปั ญ หาว่า ใครหรือสิ่ งใด (Who) ทาอะไร (What) ที่ ไหน (Where) เมื่อไหร่
(When) และอย่างไร (How) เช่น การศึกษาคุณลักษณะครูที่ดี
2.2 เพื่ ออธิ บ าย (Explanation) เป้ าหมายระดั บ ที่ ส องของศาสตร์ คื อ การอธิบ าย
ปรากฏการณ์ ซึ่ ง หมายถึ ง องค์ ค วามรู้ ข องศาสตร์ นั้ น สามารถใช้ บ่ ง บอกสาเหตุ ข องการเกิ ด
ปรากฏการณ์ได้ หรือใช้ตอบคาถามได้ว่า ทาไม (Why) จึงเกิดปรากฏการณ์ และผลของปรากฏการณ์
นั้ น มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งสั ม พั น ธ์ กั น อย่ า งไร การที่ จ ะอธิ บ ายปรากฏการณ์ ในเชิ ง สาเหตุ แ ละผลได้
จาเป็นต้องอาศัยการบรรยาย หรือพรรณนาปรากฏการณ์นั้นให้ชัดเจน ละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน ดังนั้น
จุ ด มุ่ งหมายของการวิจั ย จึ งมุ่ งแสวงหาความรู้ค วามจริ งเพื่ อ การอธิบ ายปรากฏการณ์ ต่ างๆ เช่ น
การวิจัยศึกษาสาเหตุที่ผู้เรียนสอบตกซ้าชั้น การวิจัยศึกษาสาเหตุการเป็นโรคมะเร็ง
9

2.3 เพื่อการทานาย (Prediction) เป้าหมายระดับที่สามของศาสตร์ คือ การทานาย


ซึ่งหมายความว่า องค์ความรู้ของศาสตร์นั้นสามารถนาไปใช้ในการคาดคะเน หรือทานายการเกิดขึ้น
ของปรากฏการณ์ ต่ า งๆ ได้ ถู ก ต้ อ งแม่ น ย า การที่ จ ะสามารถท านายปรากฏการณ์ อ ย่ า งนั้ น ได้
จาเป็นต้องอาศัยความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างเหตุผลและผลของการเกิดปรากฏการณ์นั้นๆ หรือ
สามารถอธิบายปรากฏการณ์นั้นๆ ได้อย่างถูกต้องก่อน ดังนั้น จุดมุ่งหมายอีกอย่างหนึ่งของการวิจัย
คือ มุ่งแสวงหาความรู้ ความจริงเพื่ อการทานาย หรือคาดคะเนปรากฏการณ์ ต่างๆ เช่น การวิจัย
เกี่ยวกับการสารวจราคาสินค้า ซึ่งสามารถนาผลวิจัยที่ได้มาทานายสภาวะเศรษฐกิจของประเทศใน
อนาคตได้ ได้แก่ ทานายว่า ราคาสินค้าจะสูงขึ้น หรือลดลง ประชาชนจะมีฐานะยากจน หรือร่ารวย
2.4 เพื่ อ การควบคุ ม (Control) เป้ า หมายระดั บ สี่ ข องศาสตร์ คื อ การควบคุ ม
ปรากฏการณ์ ซึ่งหมายถึง องค์ความรู้ของศาสตร์นั้น สามารถนาไปใช้ในการควบคุมปรากฏการณ์
ต่างๆได้ตามต้องการ การที่จะสามารถควบคุมปรากฏการณ์ใดๆ ได้นั้น จาเป็นต้องอาศัยการคาดคะเน
หรือการทานายการเกิดปรากฏการณ์นั้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยาเสียก่อน ดังนั้น จุดมุ่งหมายสูงสูดของ
การวิจัย จึงมุ่งแสวงหาความรู้ความจริง เพื่อการควบคุมปรากฏการณ์ให้เป็นไปตามความต้องการของ
มนุษย์ เช่น การวิจัยเกี่ย วกับน้ าเสี ย อากาศเป็นพิษ ผลการวิจัยที่ ได้ส ามารถนาไปเป็นแนวทางใน
การสร้างมาตรการควบคุม ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
2.5 เพื่อการพัฒนา (Development) เป้าหมายระดับสูงสุดของศาสตร์ คือ การพัฒนา
ซึ่งหมายถึง องค์ความรู้ของศาสตร์นั้นๆ สามารถนาไปใช้ในการพั ฒ นาปรากฏการณ์ ใดๆ ได้ เช่น
พั ฒ นาบุ คคล หรื อกลุ่ ม บุ ค คล พั ฒ นาระบบการท างาน พั ฒ นาคุ ณ ภาพผลผลิ ต พั ฒ นาการเรีย น
การสอน

ประโยชน์การวิจัย
ปัจจุบันบุคคลในวงการต่างๆ ให้ความสาคัญกับการวิจัยมากขึ้น เพราะเห็นเชิงประจักษ์
เกี่ยวกับประโยชน์ของการวิจัยที่มีต่อมวลมนุษย์ ซึ่งประโยชน์ของการวิจัยจะมีมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่
กับข้อมูลและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือและถูกต้อง ตลอดจนความรับผิดชอบของ
นั ก วิจั ย ที่ มี ต่อ การท าวิจั ย และการให้ ความร่ว มมื อของผู้ ให้ ข้ อมู ล ทั้ งนี้ อ าจกล่ าวได้ว่า การวิจัย มี
ประโยชน์ ดังนี้ (สุรินทร์ ภูสิงห์. 2556 : 6-7)
1. ช่วยให้เกิดวิทยาการใหม่ๆ เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ
10

2. สามารถใช้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และยุติธรรม


3. ช่ ว ยให้ เข้ า ใจปรากฏการณ์ แ ละพฤติ ก รรมต่ า งๆ ได้ ดี ขึ้ น และสามารถใช้ ท านาย
ปรากฏการณ์ แ ละพฤติ ก รรมต่ า งๆ ได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากกว่ า การคาดคะเน
แบบสามัญสานึก
4. ช่วยในการกาหนดนโยบาย การวางแผนงาน การตัดสินปัญหา หรือการวินิจฉัยสั่งการ
ของผู้บริหารให้เป็นไปอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
5. สามารถตอบคาถามที่ยังคลุมเครือ ให้กระจ่างชัดเจนยิ่งขึ้น
6. ช่วยกระตุ้นความสนใจของนักวิชาการ ให้มีการใช้ผลการวิจัยและทางานค้นคว้าวิจัย
ต่อไป
7. ช่ ว ยกระตุ้ น บุ ค คลให้ มี เหตุ ผ ล รู้ จั ก คิ ด และค้ น คว้ า หาความรู้ อ ยู่ เสมอ ซึ่ ง จะเป็ น
การพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพ
8. ทาให้ทราบข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ่งสามารถนามาใช้ให้เป็นประโยชน์เพื่อการปรับปรุง หรือ
พัฒนาบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
9. ทาให้มีผลงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยให้ทราบข้อเท็จจริงได้กว้างขวางและชัดเจนขึ้น
10. ช่วยให้มีเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัย เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทาให้มนุษย์
เกิดความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

รูปแบบการวิจัย
รูปแบบการวิจัย สามารรถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าใช้เกณฑ์ใดในการแบ่ง
ดังนี้ (สันติ บุญภิรมย์. 2557 : 13-18; นภาพร สิงหะทัต. 2548 : 11)
1. แบ่ งตามจุ ด มุ่ งหมายการวิจั ย เมื่ อ นาการวิจัย มาจัด แบ่ งโดยใช้ เกณฑ์ จุ ดมุ่ งหมาย
การวิจัย สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้
1.1 การวิ จั ย พื้ น ฐาน หรื อ การวิ จั ย บริ สุ ท ธิ์ (Basic or Pure Research) การวิ จั ย
ประเภทนี้ มุ่งแสวงหาความรู้ความจริงที่เป็นกฎ สูตร ทฤษฎี ที่เป็นพื้นฐานความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูน
วิทยาการให้กว้างขวางและลึกซึ้ง
11

1.2 การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นวิจัยที่มุ่งใช้วิทยาการให้เป็นประโยชน์


มากที่สุด เป็นการวิจัยที่นาผลไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะทางสังคมศาสตร์ การศึกษา
จิตวิทยา และธุรกิจ
1.3 การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
เป็ น ครั้ ง คราวไป ผลการวิ จั ย จะอ้ า งอิ งไปใช้ ก ลุ่ ม อื่ น ไม่ ได้ เช่ น การวิ จั ย ปฏิ บั ติ ก ารในชั้ น เรี ย น
(Classroom Action Research) หรือการวิจัยปฏิบัติการในทางการแพทย์
2. แบ่งตามวิธีการวิจัย เมื่อนาการวิจัยมาจัดแบ่งโดยใช้เกณฑ์วิธีการวิจัย สามารถแบ่งได้
3 ประเภท ดังนี้
2.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research) เป็นการศึกษาค้นคว้าความรู้
ความจริ ง ของมนุ ษ ย์ ในอดี ต โดยศึ ก ษาจากการตรวจสอบเอกสาร หลั ก ฐานต่ า งๆ และรวมถึ ง
การสัมภาษณ์ท่านผู้รู้ (Guru) เกี่ยวกับเรื่องราวนั้นๆ มาประกอบการศึกษาเอกสาร ปัจจัยสาคัญของ
การบ่งชี้ คือ เวลาในอดีต
2.2 การวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) ในตาราบางเล่มเรียกว่า “การวิจัย
เชิงพรรณนา” เป็นการแสวงหาความรู้ความจริงของมนุษย์ในสถานการณ์ที่เป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน
เพื่อขจัดความไม่รู้ที่เรียกว่า “ปัญหา” ให้หมดไป การวิจัยเชิงบรรยายจะไม่ตอบปัญหาเพียงแค่ว่า
“ใช่” หรือ “ไม่ใช่” แต่จะมุ่งตอบปัญหาว่า “เป็นอย่างไร (How)” ในการค้นหาคาตอบภายในกลุ่มที่
เป็ น สถานการณ์ ตามธรรมชาติ โดยไม่ มีก ารควบคุ มที่ เรีย กว่า “ตั ว แปร (Variables)” แต่ จะเป็ น
การศึกษาภายใต้สถานการณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติ
2.3 การวิ จั ย เชิ งทดลอง (Experimental Research) เป็ น การศึ ก ษาค้ น คว้ า โดยมี
การก าหนดการกระท า (Treatment) เพื่ อ ให้ มี ก ารเปลี่ ย นแปลงและจะดู ผ ล หรื อ ลั ก ษณ ะ
การเปลี่ ย นแปลงที่เกิดขึ้ น จากการทดลอง โดยมี การควบคุม ตัว แปรแทรกซ้ อนต่างๆ ซึ่งการวิจั ย
เชิงทดลองสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยใช้ความสามารถในการควบคุมตัวแปรเป็นเกณฑ์ใน
การแบ่ง ดังนี้ (นภาพร สิงหะทัต. 2548 : 12-14)
2.3.1 การวิ จั ย เชิ ง ทดลองแบบแท้ จ ริ ง (True Experimental Research)
การวิจัยลักษณะนี้จะเป็นการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ มีลักษณะสาคัญ ดังนี้
1) มี ก ารจั ด กระท า (Manipulate) โดยการศึ ก ษาเริ่ ม จากสื่ อ ทดลอง
(Treatment) เพื่อดูผลที่เกิดขึ้น เช่น การใส่ปุ๋ย การฉีดฮอร์โมน เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้น
12

2) มีการควบคุม (Control) ตัวแปรแทรกซ้อน (Extraneous Variable)


เช่น การควบคุมอุณหภูมิ ปริมาณการับน้า เวลาในการรับแสงแดด
3) สามารถระบุความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผลได้อย่างแท้จริง สามารถ
เขียนเป็นสัญลักษณ์ คือ X Y หมายถึง ถ้าเกิดการกระทา X แล้วจะเกิดผล Y เสมอ
เช่น ถ้าใช้ฮอร์โมนกระตุ้นพืช พืชจะออกดอก/ผล เสมอ
4) มีการสั งเกต (Observation) เพื่อศึกษาผลจากการจัดกระทาในตัว
แปรอิสระ (Independent Variable) ที่ส่งผลต่อตัวแปรตาม (Dependent Variable) วิธีการง่ายๆ
ที่จะสังเกตผลที่เกิดขึ้น คือ ดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงไว้
5) มีการทาซ้า (Replication) การทดลองสามารถตรวจสอบผล โดย
การควบคุมตัวแปรภายนอกต่างๆ และจัดกระทาตัวแปรอิสระ เพื่อความสอดคล้องของผลที่ได้รับโดย
การทาซ้า การทาซ้าๆ เป็นการศึกษาผลที่เกิดขึ้นด้วยความมั่นใจ
6) มีการทดสอบสมมติฐาน เนื่องจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์จะต้องมี
การทดสอบสมมติฐานเสมอ
2.3.2 การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental) เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ
หนึ่ง แต่ไม่สมบูรณ์ เพราะผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมการทดลองให้เกิดจากตัวแปรอิสระเพียงตัวแปร
เดียว และจัดสภาพให้เป็นไปตามต้องการได้เหมือนกับการทดลองในห้องปฏิบัติการ การทดลองแบบ
นี้ จะมีตัวแปรแทรกซ้อน (Extraneous Variable) เกิดขึ้น ผู้วิจัยจาเป็นต้องกาจัด หรือควบคุมตัวแปร
แทรกซ้อนให้ดี เช่น การวิจัยเชิงทดลองในภาคสนามที่เรียกว่า “Field Experimental Research”
การวิจัยในชั้นเรียน
2.3.3 การวิจัยเชิงเปรียบเทียบสาเหตุ (Expost Facto Research) หรือที่เรียก
อีกอย่างหนึ่งว่า (Causal Comparative Research) เป็นการวิจัยที่ศึกษาผลที่เกิดขึ้น แล้วย้อนไปหา
สาเหตุ สามารถเขียนเป็นสัญลักษณ์ คือ X Y หมายถึง ถ้าทราบผลที่เกิดขึ้นกับ Y เรา
จะสามารถย้ อ นไปหาสาเหตุ ข องผลที่ เกิ ด ขึ้ น ได้ การวิ จั ย ชนิ ด นี้ ใช้ ม ากในทางพฤติ ก รรมศาสตร์
สังคมศาสตร์ และสาธารณสุขศาสตร์
3. แบ่งตามเนื้อหาวิชา เมื่อนาการวิจัยมาจัดแบ่งโดยใช้เกณฑ์เนื้อหาวิชา สามารถแบ่งได้
2 ประเภท ดังนี้ (นภาพร สิงหะทัต. 2548 : 11-12)
13

3.1 การวิ จั ย ทางวิ ท ยาศาสตร์ (Scientific Research) เป็ น การศึ ก ษาค้ น คว้ า ทาง
วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ระบบสุริยะจักรวาล ฟ้าร้อง
ฟ้าผ่ า ทรัพยากรธรรมชาติ แร่ธาตุต่างๆ ซึ่งอาจแยกตามแขนงวิชา เช่น ฟิสิ กส์ ดาราศาสตร์ เคมี
ชีววิทยา
3.2 การวิจั ย ทางสั งคมศาสตร์ (Social Science Research) เป็ น การศึ กษาค้น คว้ า
เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคม ศึกษาลักษณะของชุมชน เผ่าพันธุ์ ขนบธรรมเนียม
ประเพณี วัฒนธรรม วิวัฒนาการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงต่างๆ
ความแตกต่างระหว่างการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีข้อแตกต่างที่สาคัญ
2 ด้าน ได้แก่ 1) ความคงที่ (Constancy) และการคาดการณ์ (Prediction) ในด้านความคงที่การวิจัย
ทางวิทยาศาสตร์สามารถวางกฎเกณฑ์หรือพิสูจน์ได้อย่างแน่นอน แต่การวิจัยทางสังคมศาสตร์เป็น
การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
4. แบ่งตามการวิเคราะห์ ข้อมูล เมื่อน าการวิจัยมาจัดแบ่ งโดยใช้เกณฑ์การวิเคราะห์
ข้อมูล สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
4.1 การวิ จั ย เชิ งปริ ม าณ (Quantitative Research) เป็ น การเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล ใน
ลั ก ษณะของตั ว เลข โดยก าหนดตั ว เลขเป็ น มาตรวัด (Scale) ที่ ใช้ เป็ น เกณฑ์ แล้ ว จึ งน าข้อ มู ล มา
วิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ที่ได้จะปรากฏเป็นตัวเลข โดยนาความหมายของตัวเลข
มาใช้ในการแปลผลการวิจัย
4.2 การวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ (Qualitative research) เป็ น การเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล ใน
ลั ก ษณะของการบรรยายสถานการณ์ ที่ เกิ ด ขึ้ น ในการเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล กระท าโดยการสั งเกต
การสัมภาษณ์ การตรวจสอบเอกสาร หลักฐาน ร่องรอยต่างๆ แล้วผู้เก็บรวบรวมข้อมูลต้องทาการจด
บันทึก เป็นการแสวงหาความรู้ในลักษณะของอุปมาน
ส าหรั บ ในปั จ จุ บั น การวิ จั ย ในบางเรื่ อ งต้ อ งการค าตอบที่ มี ค วามน่ า เชื่ อ ถื อ และ
มีรายละเอียด ผู้ วิจั ย อาจใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้ง 2 ประเภทรวมกัน จึงท าให้ เกิดการวิจัย
ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Research Methods)
14

กระบวนการวิจัย
การที่จะทาการวิจัยให้มีความเที่ยวตรงและความเชื่อมั่นได้นั้น ต้องดาเนินการวิจัย อย่าง
เป็นกระบวนการที่มีระบบ ซึ่งกระบวนการเชิงระบบประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้ (ไพศาล วรคา. 2556
: 11, 15)
1. ก าหนดปั ญ หาการวิ จั ย (Identifying the Problem) เป็ น กิ จ กรรมเริ่ ม แรกใน
กระบวนการวิจัย และถือว่าเป็นกิจกรรมที่ยากที่สุด ปัญหาการวิจัยต้องมีความเฉพาะเจาะจง สามารถ
ระบุตัวแปรที่เกี่ยวข้องและให้คานิยามตัวแปรเหล่านั้นได้ ตลอดจนบทบาทของตัวแปรเหล่านั้นต้อง
นาไปสู่การตั้งสมมติฐานและกาหนดข้อมูลที่จาเป็นในการศึกษา ซึ่งต้องอาศัยการทบทวนเอกสารและ
งานวิจั ย ที่ เกี่ย วข้อ ง หรือ ทบทวนสารสนเทศที่ เกี่ย วข้องกับ ปั ญ หาการวิจั ยและระเบี ยบวิธีวิจัย ที่
นามาใช้ในการศึกษาวิจัย
2. ทบทวนสารสนเทศ (Reviewing Information) เป็นศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่
เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัยและระเบียบวิธีวิจัย ตลอดจนวิธีการค้นหาคาตอบของปัญหาการวิจัย หรือ
ปัญหาอื่นที่คล้ายคลึงกัน
3. เก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล (Collecting Data) เป็ น การเก็ บ ข้ อ มู ล ที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ ปั ญ หา
การวิจัย นับเป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการวิจัยเชิงระบบ การได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ
ต้องมาจากเครื่องมือที่มีคุณภาพและวิธีการเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
4. วิเคราะห์ข้อมูล (Analyzing Data) เป็นการนาข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ใน
เชิงปริมาณ หรือคุณภาพเพื่อตอบปัญหาการวิจัย
5. สรุ ป ผล (Summarizing Result) หลั ง จากที่ ท าการวิ เคราะห์ ข้ อ มู ล และได้ ผ ล
การศึกษาแล้ว ผู้วิจัยต้องทาการแปลผลและสรุปผลที่ได้ที่เกี่ยวข้องกับสมมติฐานการวิจัย หรือปัญหา
การวิจั ย และอภิป รายผลการวิจัย ในการอภิปรายผลการวิจัย ผู้วิจัยจะเขียนในลักษณะพิจารณา
สั ม พั น ธ์ ข องการสรุ ป ผลที่ ได้ กั บ องค์ ค วามรู้ ที่ มี อ ยู่ เดิ ม ความสอดคล้ อ งหรื อ ไม่ ส อดคล้ อ งกั บ
ผลการศึกษาของผู้อื่น และให้คาอธิบายประกอบ

การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน หมายถึง การวิจัยที่ทาโดยครูผู้สอนในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหา
ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน และนาผลมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน หรือส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้
15

ของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน เป็นการวิจัยที่ต้องทาอย่างรวดเร็ว นาผล


ไปใช้ทั น ที สะท้อ นข้อมู ล และแลกเปลี่ ยนเรียนรู้ในแนวทางที่ ปฏิ บั ติ และผลที่ เกิด ขึ้น เพื่ อ พั ฒ นา
การเรียนรู้ของครูและผู้เรียน (สุวิมล ว่องวานิช. 2557 : 21) มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความรู้เกี่ยวกับ
ผู้ เรี ย น ผู้ ส อน กระบวนการเรี ย นการสอนและสภาพแวดล้ อมของห้ อ งเรียน ซึ่ งส่ ว นใหญ่ มักเป็ น
ห้ องเรีย นใดห้ องเรีย นหนึ่ ง โดยทาไปพร้อมๆ กับการเรียนการสอนในห้ องเรียนนั้ นตามปกติ โดย
ผู้เรียนอาจจะไม่ทราบว่าผู้สอนกาลังทาวิจัยในชั้นเรียนอยู่ และมีจุดเน้นที่สาคัญ คือ ครูคิดหาแนวทาง
หรือวิธีการใหม่ ๆ ที่เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) มาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ของ
ผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ (นภาพร สิงหะทัต. 2548 : 16)
การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนส่วนใหญ่ทาได้ง่าย เพราะไม่จาเป็นต้องใช้ความรู้ทาง
สถิติขั้นสูง และการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนใหญ่เก็บข้อมูลจากผู้เรียนในห้องเรียนทั้งห้อง หรือเป็นกลุ่ม
หรือรายบุคคล ซึ่งโดยทั่วไปมีจานวนไม่มากนัก (สรชัย พิศาลบุตร. 2556 : 16) ส่วนการวิเคราะห์
ข้อมูล ส่วนใหญ่ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา หรือการวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ การแจก
แจงความถี่ การหาค่าสัดส่วน หรือร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่ง
กระบวนการวิจัยแบบอื่นๆ จะแตกต่างกับกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ซึ่งมีกระบวนการ
ดังนี้
1.1 สารวจและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับผู้เรียน หรือสิ่งที่ต้องการพัฒนาผู้เรียน
1.2 ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัย
ที่เกี่ยวข้อง
1.3 พัฒ นานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒ นาผู้เรียน โดยอาศัยองค์
ความรู้จากข้อ 1.2 ช่วยในการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม
1.4 ออกแบบแผนการทดลองนวัตกรรม
1.5 สร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผล
1.6 ทาการทดลองนวัตกรรม เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล
1.7 เขียนรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ซึ่งมี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบไม่
เป็ น ทางการ จะเขี ย นสั้ น ๆ ไม่ เกิ น 4-5 หน้ า และ 2) รูป แบบที่ เป็ น ทางการ จะเขี ยนในลั กษณะ
รายงานวิจัย 5 บท
16

จากที่กล่าวเห็นได้ว่า เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับผู้เรีย น เราสามารถใช้การวิจัยในชั้นเรียน


เข้าไปช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน อันจะส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของ
ผู้เรียน แต่ทั้งนี้ผลการวิจัยที่เกิดขึ้น จะสามารถแก้ไขได้เฉพาะกลุ่มที่ทาการวิจัย ไม่สามารถนาไปสรุป
อ้างอิงกลุ่มอื่นได้

จรรณยาบรรณนักวิจัย
สภาวิจัยแห่งชาติกาหนด “จรรณยาบรรณนักวิจัย” เพื่อเป็นแนวทางสาหรับนักวิจัย ให้
ยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้การดาเนินงานวิจัยตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม
เพื่อให้การทาวิจัยของนักวิจัยได้ตามมาตรฐาน (สมประสงค์ เสนารัตน์. 2556 : 15-16)
1. นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ
นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่นาผลงานของคนอื่นมาเป็นของตนและไม่ลอก
เลียนผลงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุ คคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นามาใช้ในงานวิจัย
ต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุนวิจัย และมีความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย
2. นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทางานวิจัยตามข้อตกลงที่ทาไว้กับหน่วยงานที่
สนับสนุน การวิจัยและต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด
นักวิจัยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีและข้อตกลงการวิจัยที่ผู้เกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายยอมรับ
ร่วมกันอุทิศเวลาทางานวิจัยให้ได้ผลดีที่สุดและเป็นไปตามกาหนดเวลา มีความรับผิดชอบไม่ละทิ้งงาน
ระหว่างดาเนินการ
3. นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทาวิจัย
นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทาวิจัยอย่างเพียงพอ และมีความชานาญ
หรือ มีประสบการณ์เกี่ย วเนื่ องกับ เรื่องที่ทาวิจัย เพื่อนาไปสู่งานวิจัยที่มีคุณภาพ และเพื่อป้องกัน
ปัญหา การวิเคราะห์ การตีความ หรือการสรุปที่ผิดพลาด ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่องานวิจัย
4. นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิต
นักวิจัยต้องดาเนินการวิจัยด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และเที่ยงตรงในการทางาน
วิจัยที่ เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม นักวิจัยต้องมีจิตสานึก
และปณิธานที่จะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
17

5. นั กวิจั ย ต้องเคารพศั กดิ์ศรีและสิ ทธิของมนุษ ย์ที่ใช้เป็ น ตัวอย่ างวิจัย นั กวิจัยต้ องไม่


คานึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือขาดความเคารพในศักดิ์ศรี ของเพื่อนมนุษย์ โดยต้อง
ถือเป็นภาระหน้าที่ในการอธิบ ายจุดมุ่งหมายของการวิจัยแก่บุคคลที่เป็น กลุ่มตัวอย่าง และต้องไม่
หลอกลวง บีบบังคับ หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
6. นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิดโดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทาวิจัย
นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด ต้องตระหนักว่าอคติส่วนตน หรือความลาเอียงในทาง
วิชาการอาจส่งผลให้มีการบิดเบือนข้อมูล และข้อค้นพบทางวิชาการอันเป็นเหตุให้เกิดผลเสียหาย ต่อ
งานวิจัย
7. นักวิจัยพึงนาผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ นักวิจัยพึงเผยแพร่ผลงานวิจัย
เพื่อประโยชน์ทางวิชาการและสังคม ไม่ขยายผลข้อค้นพบจน เกินความเป็นจริง และไม่ใช้ผลงานวิจัย
ไปในทางมิชอบ
8. นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นในทางวิชาการของผู้อื่น
นั ก วิ จั ย พึ ง มี ใ จกว้ า งพร้ อ มที่ จ ะเปิ ด เผยข้ อ มู ล และขั้ น ตอนการวิ จั ย ยอมรั บ ฟั ง
ความคิดเห็น และเหตุผลทางวิชาการของผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขงานวิจัยของตนเองให้
ถูกต้อง
9. นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ
นักวิจัยพึงมีจิตสานึกที่จะอุทิศกาลังสติปัญญาในการทางานวิจัยเพื่อความก้าวหน้าทาง
วิชาการ เพื่อความเจริญและประโยชน์สุขของสังคมและมวลมนุษยชาติ

บทสรุป
ในบทนี้ได้นาเสนอภาพรวมของความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัยอย่างครอบคลุม และจุดเน้น
ในการน าเสนอคื อ ต้องการให้ ผู้ อ่ านได้ เข้าใจถึงความแตกต่ างของคาว่า “การวิจั ย (Research)”
“การวิ จั ย ทางการศึ ก ษา (Educational Research)” และ “การวิ จั ย ปฏิ บั ติ ก ารในชั้ น เรี ย น
(Classroom Action Research) ตลอดจนให้ ผู้ อ่ า น ได้ เ ข้ า ใจถึ ง ระเบี ยบวิ ธี วิ จั ย (Research
Methodology) และจรรณยาบรรณที่สาคัญของนักวิจัย
18

กิจกรรมท้ายบท
ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-6 คน ระดมสมองเกี่ยวกับ “จรรณยาบรรณนักวิจัย ” ใน
ความคิดเห็นของนักศึกษา พิจารณาว่า ข้อใดสาคัญที่สุด และควรปฏิบัติเป็นข้อแรก เพราะเหตุใด
พร้อมทั้งนาเสนอหน้าชั้นเรียน

คาถามท้ายบท
1. จงอธิบ ายความแตกต่างระหว่างค าว่า “การวิจัย ” “การวิจัยทางการศึ กษา” และ
“การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน”
2. จงอธิบายลักษณะและธรรมชาติของการวิจัย
3. จงอธิบายความแตกต่างของงานวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายในการทาวิจัยเพื่อเพิ่มพูนความรู้
ใหม่ กับงานวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนาไปประยุกต์ใช้
4. จงอธิบายความแตกต่างของการวิจัยเชิงทดลองแบบแท้จริงกับการวิจัยกึ่งทดลอง
5. กระบวนการวิจัย ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง และแต่ละขั้นตอนมีลักษณะอย่างไร
6. การวิ จั ย ปฏิ บั ติ ก ารในชั้ น เรีย นเป็ น การวิจั ย ประเภทใด เหตุ ใดจึ งจั ด เป็ น การวิ จั ย
ประเภทนั้น และมีจุดเน้นคืออะไร
7. เหตุใด “การวิจัย” จึงมีความสาคัญต่อการพัฒนาการเรียนการสอนของครูผู้สอน
8. เหตุใดการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน จึงสามารถใช้ในการแก้ปัญหาของผู้เรียน หรือ
พัฒนาผู้เรียนได้

เอกสารอ้างอิง
เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์. (2549). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
นภาพร สิงหะทัต. (2548). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ : โอเดียน สโตร์.
ไพศาล วรคา. (2556). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม.
รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิธีการเชิงผสมผสานสาหรับการวิจัยและประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ : บริษัท วี พริ้นท์ (1991) จากัด.
สมถวิล วิจิตรวรรณนา และคณะ. (2556). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน.
19

กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สมประสงค์ เสนารัตน์. (2556). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจากัด
อภิชาติการพิมพ์.
สรชัย พิศาลบุตร. (2556). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
สันติ บุญภิรมย์. (2557). การวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ :
ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
สุรินทร์ ภูสิงห์. (2556). การวิจัยทางการศึกษา: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. มหาสารคาม: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุวิมล ติรกานันท์. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวานิช. (2557). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Donald, A., Lucy, C. J., and Asghar, R. (2002). Introduction to Research in Education.
(6th ed.). USA, : Thomson.
Khan, J. A. (2007). Research Methodology. S.B. Nangia : APH Publishing Coperation.
Wayne, G. and Stuart, M. (2007). Research Methodology an Introduction. (2nd ed.).
Juta & Co, Ltd.
Lorrain, R. G., Geoffrey, E. M. and Peter, W.A. (2011). Educational Research. (10th ed.).
Person Prentice Hall.

You might also like