41717 ระบบกล่าวหาและไต่สวน

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 81

หนวยที่ 2

ระบบการดําเนินคดีอาญา : ระบบกลาวหาและระบบไตสวน
อาจารย ดร.อุทัย อาทิเวช

ชื่อ อาจารย ดร.อุทัย อาทิเวช


วุฒิ นบ. (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, น.บ.ท.
ใสรูป DSU. (Droit pénal), Université de Paris II
DEA. (Droit pénal et politique pénale en Europe), Université de Paris I
Docteur en droit (Procédure penale), Université de Paris I
ตําแหนง อัยการผูเชี่ยวชาญ ปฏิบัติราชการในหนาที่
อัยการพิเศษฝายคุมครองสิทธิประชาชนระหวางประเทศ
หนวยที่เขียน หนวยที่ 2
2

หนวยที่ 2
ระบบการดําเนินคดีอาญา : ระบบกลาวหาและระบบไตสวน
เคาโครงเนื้อหา
ตอนที่ 2.1 แนวคิดทฤษฎีและวิวัฒนาการของระบบการดําเนินคดีอาญา
2.1.1 ที่มาทางประวัติศาสตร
2.1.2 แนวคิดทฤษฎีของระบบวิธพี ิจารณาความอาญา
2.1.3 วิวัฒนาการของการดําเนินคดีอาญา
ตอนที่ 2.2 สาระสําคัญของระบบวิธีพิจารณาความอาญา
2.2.1 ระบบกลาวหา
2.2.2 ระบบไตสวน
2.2.3 ระบบผสม
ตอนที่ 2.3 แนวโนมในการปรับเขาหากันของแตละระบบ
2.3.1 การนําระบบลูกขุนมาใชในระบบไตสวน
2.3.2 การนํามาตรการตอรองคํารับสารภาพมาใชในระบบไตสวน
2.3.3 การนําหลักการคนหาความจริงในระบบไตสวนมาใชกับการดําเนินคดีบางประเภท
ตอนที่ 2.4 ระบบกลาวหาและระบบไตสวนกับวิธีพิจารณาในกฎหมายระหวางประเทศ
2.4.1 กติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)
2.4.2 อนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชน (ECHR)
2.4.3 ธรรมนูญกรุงโรมวาดวยศาลอาญาระหวางประเทศ (ICC)

แนวคิด
1. การศึ ก ษาระบบกล า วหาและระบบไต ส วนให เ ข า ใจอย า งถ อ งแท จํ า เป น ต อ งทราบที่ ม าทาง
ประวัติศาสตรของทั้งสองระบบ ความแตกตางของแนวคิดในการดําเนินคดีอาญาเพื่อใหไดมาซึ่ง
ขอเท็จจริงที่สมบูรณเพียงพอในการพิพากษาคดี อยางไรก็ตาม ความแตกตางของแนวคิดในการ
ดําเนินคดีของระบบทั้งสองไดถูกหลอหลอมใหมีลักษณะใกลเคียงกัน ภายใตหลักการคุมครอง
สิ ทธิ มนุ ษ ยชนซึ่ ง เปน หลั ก สากล และนํา มาซึ่ งรู ป แบบของวิธี พิจ ารณาที่ ใ กล เ คีย งกั น ทั้ง ของ
ประเทศที่ใชระบบกลาวหาและประเทศที่ใชระบบไตสวน
2. สาระสํ า คั ญ ของวิ ธี พิ จ ารณาความอาญาในระบบกล า วหาและไต ส วนนั้ น อยู ที่ ลั ก ษณะการ
ดําเนินคดีที่แตกตางกันคือ ในระบบกลาวหาจะมีลักษณะของวิธีพิจารณาความอาญาที่เปนปรปกษ
ดวยวาจาและโดยเปดเผย สวนในระบบไตสวนจะมีลักษณะของวิธีพิจารณาความอาญาที่ตรงขาม
3
กับระบบกลาวหาคือ มีลักษณะของการดําเนินคดีที่เปนปรปกษเพียงเล็กนอย เปนลายลักษณอักษร
และเปนความลับ แตในที่สุดก็มีบทสรุปวาในปจจุบันไมมีระบบกลาวหาบริสุทธิ์และระบบไต
สวนบริสุทธิ์อีกตอไป แตละระบบจําเปนตองปรับปรุงวิธีพิจารณาคดีอาญาของตนใหสอดคลอง
ตองกัน อันเนื่องมาจากความจําเปนในการอํานวยความยุติธรรม และการบริหารงานยุติธรรมทาง
อาญา
3. ตัวอยางแนวโนมในการปรับเขาหากันระหวางระบบกลาวหาและระบบไตสวน คือ การนําเอา
ระบบลูกขุน และมาตรการตอรองคํารับสารภาพในระบบกลาวหามาประยุกตใชในประเทศที่อยู
ในระบบไตสวน และการนําลักษณะของวิธีพิจารณาคดีในระบบไตสวนมาใชกับการดําเนินคดี
บางประเภทในประเทศไทย
4. ในปจจุบันกฎหมายระหวางประเทศเปนกลไกที่มีสวนที่ระบบกฎหมายภายในของประเทศตางๆ
มีความใกลเคียงกันมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เปนความมุงหมายขององคการสหประชาชาติที่ประสงคใหการ
ดําเนินคดีอาญาตามกฎหมายมีหลักประกันการคุมครองสิทธิและเสรีภาพของผูตองหาและจําเลย
ในการตอสูคดีกับฝายรัฐอยางเสมอภาคอันสอดคลองกับแนวคิดทฤษฎีในระบบกลาวหา ตัวอยาง
ที่สําคัญของกฎหมายระหวางประเทศตามแนวคิดนี้คือ กติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมือง
และสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และอนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชน (ECHR) นอกจากนี้
ธรรมนูญกรุงโรมวาดวยศาลอาญาระหวางประเทศ (ICC) ซึ่งกําหนดกลไกและหลักเกณฑในการ
ดําเนินคดีความผิดซึ่งเปนอาชญากรรมรายแรงตอมวลมนุษยชาติ ซึ่งแสดงถึงความพยายามของ
องคการสหประชาชาติในการตรากฎหมายระหวางประเทศที่สามารถจัดการกับอาชญากรรายแรง
ที่เปนภัยตอประชาคมโลก โดยอาศัยกลไกที่เปนองคการระหวางประเทศ

วัตถุประสงค
เมื่อศึกษาหนวยที่ 2 จบแลว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายแนวคิดทฤษฎีและวิวัฒนาการของระบบการดําเนินคดีอาญาได
2.อธิบายและวิเคราะหสาระสําคัญของระบบวิธีพิจารณาความอาญาได
3.อธิบายและวิเคราะหแนวโนมในการปรับเขาหากันของแตละระบบได
4.อธิบายและวิเคราะหระบบกลาวหาและระบบไตสวนกับวิธีพิจารณาในกฎหมายระหวางประเทศได
4

ตอนที่ 2.1
แนวคิดทฤษฎีและวิวัฒนาการของระบบการดําเนินคดีอาญา
โปรดอานแผนการสอนประจําตอนที่ 2.1 แลวจึงศึกษาเนื้อหาสาระ พรอมปฏิบัติกิจกรรมในแตละเรื่อง
หัวเรื่อง
เรื่องที่ 2.1.1 ที่มาทางประวัตศิ าสตร
เรื่องที่ 2.1.2 แนวคิดทฤษฎีของระบบวิธีพจิ ารณาความอาญา
เรื่องที่ 2.1.3 วิวัฒนาการของการดําเนินคดีอาญา

แนวคิด
1. การดําเนินคดีอาญาของประเทศในทวีปยุโรปกอนที่จะเขาสูยุคกลางจะใชวิธีพิจารณาแบบ
กลาวหา ตอมาจึงไดมีการปฏิรูประบบวิธีพิจารณาคดีในศาลศาสนา ภายใตระบบไตสวนของศาล
ศาสนา ในขณะที่ประเทศอังกฤษมีการจัดตั้งศาลฆราวาสแยกออกจากศาลศาสนา โดยศาลศาสนา
ในประเทศอังกฤษไดใชระบบวิธีพิจารณาคดีอาญาแบบไตสวน แตศาลฆราวาสตามกฎหมาย
จารีตประเพณีก็ยังคงพิจารณาพิพากษาคดีตามวิธีพิจารณาคดีอาญาแบบกลาวหา
2. ระบบวิธีพิจารณาความอาญาดั้งเดิมมีอยูสองระบบคือ ระบบกลาวหา และระบบไตสวน ความ
แตกตางของระบบวิธีพิจารณาความอาญาทั้งสองระบบจะเห็นไดจากแนวคิดและโครงสรางของ
องคกรที่เกี่ยวของกับการดําเนินคดีอาญา และวิธีการดําเนินคดีอาญาของแตละระบบซึ่งแตกตาง
กัน นอกจากนั้นความแตกตางของทั้งสองระบบยังสงผลตอทัศนคติของเจาพนักงานและบุคคลที่
เกี่ยวของกับการดําเนินคดีอาญาอยางที่ไมสามารถหลีกเลี่ยงได
3. ระบบการดําเนินคดีอาญาของแตละประเทศไมมีระบบกลาวหาหรือไตสวนบริสุทธิ์อีกตอไป
ถึงแมวา แตละระบบจะยังคงมีลักษณะเฉพาะที่ตกทอดมานับตั้งแตประวัติศาสตรหรือการไดรับ
อิทธิพลของระบบวิธีพิจารณาความอาญาที่เปนแบบ แตละประเทศตางไดนําเอาลักษณะที่ดีและ
เหมาะสมกับสภาพปญหา สถานการณ และความจําเปนในการบริหารกระบวนการยุติธรรมทาง
อาญาของตนเขาไปประยุกตใช

วัตถุประสงค
เมื่อศึกษาตอนที่ 2.1 จบแลวนักศึกษาสามารถ
1. อธิบายและวิเคราะหที่มาทางประวัติศาสตรได
2. อธิบายและวิเคราะหแนวคิดทฤษฎีของระบบวิธีพิจารณาความอาญาได
3. อธิบายและวิเคราะหววิ ัฒนาการของการดําเนินคดีอาญาได
5

เรื่องที่ 2.1.1 ที่มาทางประวัติศาสตร


กอนที่จะเขาสูยุคกลางในคริสตศตวรรษที่ 12 นั้น การดําเนินคดีอาญาของประเทศในทวีปยุโรปจะใช
วิธีพิจารณาแบบกลาวหา ในการวินิจฉัยวาบุคคลผูถูกกลาวหาเปนผูกระทําผิดหรือเปนผูบริสุทธิ์ ในระบบ
ดังกลาวถาหากความผิดที่กระทําลงไมใชความผิดซึ่งหนาแลว บุคคลจะถูกพิพากษาไดตอเมื่อบุคคลนั้นตก
เปนจําเลยอยางเปนทางการโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานที่เพียงพอหรือโดยการสอบสวน
จุดออนของระบบนี้ก็คือ การพิจารณาคดีขึ้นอยูกับการกลาวหาของพยาน และพยานบุคคลที่รูเรื่อง
เหตุการณดีอาจลังเลที่จะใหความรวมมือ และจําเปนตองมีบทลงโทษสําหรับการกลาวหาที่เปนเท็จเพื่อ
ปรักปรําคูพิพาท เมื่อตองเผชิญกับความยุงยากในการพิสูจนความจริง จึงไดมีการนําวิธีพิจารณาคดีอยางเชน
การทรมานหรือการตอสูกันมาใชในการคนหาความจริง ซึ่งวิธีพิจารณาคดีดังกลาวก็ไมใชวิธีการที่เหมาะสม
ในการคนหาความจริงหรือการแกปญหาขอขัดแยงระหวางกัน
ตั้งแตค.ศ.1198 เปนตนมา สันตะปาปาอินโนเซนตที่ 3 ไดทําการปฏิรูประบบวิธีพิจารณาคดีในศาล
ศาสนา ภายใตระบบไตสวนของศาลศาสนา (L’inquisition) ผูพิพากษาของศาลศาสนาไมจําเปนตองรอการ
กลาวหากอนเพื่อที่จะสามารถเริ่มการดําเนินคดีแตประการใด ศาลศาสนาสามารถเริ่มตนการดําเนินคดีและ
สอบปากคําพยานบุคคลไดดวยตนเอง และถาพยานกลาวหาบุคคลใดวากระทําผิด บุคคลนั้นอาจถูกศาล
พิพากษาลงโทษได
ตอมาในค.ศ.1215 สังฆมนตรีที่สี่แหงลาทรัง (Le quatrième Concile du Latran) จึงไดตัดสินใจให
นําเอาระบบไตสวนคดีมาใชในการตัดสินคดี สังฆมนตรีไดหามบาทหลวงตัดสินคดีโดยการทรมานหรือ
ตอสูกัน ในประเทศในภาคพื้นยุโรประบบวิธีพิจารณาคดีแบบไตสวนไดกลายเปนวิธีการที่ใชสําหรับการ
พิพากษาขอพิพาทในคดี
ตรงกันขามในประเทศอังกฤษ ในราวค.ศ.1160 กษัตริยเฮ็นรี่ที่สองไดจัดตั้งศาลฆราวาสแยกออกจาก
ศาลศาสนา ในขณะที่ศาลศาสนาในประเทศอังกฤษใชระบบวิธีพิจารณาคดีอาญาแบบไตสวนเชนเดียวกับ
ศาลศาสนาในประเทศภาคพื้นยุโรป ศาลฆราวาสตามกฎหมายจารีตประเพณีก็ยังคงพิจารณาพิพากษาคดีตาม
วิธีพิ จารณาคดี อาญาแบบกลา วหา คดีอาญาสว นใหญยังคงถูก ตัด สิ น โดยหลักการที่ว าบุ คคลไมอ าจถูก
พิพากษาคดีได ตราบใดที่บุคคลนั้นยังไมตกอยูในฐานะเปนจําเลยอยางเปนทางการ
ตอมาในค.ศ. 1215 หลักการดังกลาวไดถูกนําไปบัญญัติไวในมาตรา 38 แหงกฎบัตรแมกนาคาตา
(Magna Carta Charter) วา “ไมมีเจาพนักงานผูใดที่จะมีอํานาจดําเนินคดีกับบุคคลใดไดตามอําเภอใจ โดยการ
กลาวหาที่ไมมีมูล และปราศจากพยานหลักฐานที่นาเชื่อถือพอสําหรับการกลาวหาดังกลาว” 1

1
Magna Carta Charter, article 38, “No bailiff for the future shall, upon his own unsupported complaint, put anyone to his “law,” without credible
witnesses brought for this purpose.”
6
สวนการพิจารณาของศาลศาสนาในประเทศอังกฤษนั้น ไดมีการนําเอาวิธีการพิจารณาในระบบไต
สวนแบบประเทศในภาคพื้นยุโรปมาใช โดยศาลจะใหพยานและจําเลยทําคําสาบานแบบไตสวน (take an
inquisitorial oath) ตอหนาศาล และศาลจะเปนผูถามคําถามพยาน ในการทําคําสาบานแบบไตสวนนั้น พยาน
สาบานวาจะตอบคําถามทุกคําถามดวยความสัตยจริง นอกจากนี้ประเทศอังกฤษไดมีการนํารูปแบบของวิธี
พิจารณาความอาญาในระบบไตสวนไปใชในศาลที่เรียกวา Star Chamber ดวย
ศาล Star Chamber เปนศาลที่ตั้งขึ้นในรัชสมัยของพระเจาเอ็ดเวิรดที่สอง (King Edward II) โดยมีวัตถุ
ประสงคในตอนเริ่มแรกสําหรับการประชุมของคณะองคมนตรี และตอมาไดวิวัฒนาการมาเปนศาลที่ใช
สําหรับ การพิจารณาคดีทั้งคดีแพงและคดีอาญา องคคณะของศาล Star Chamber ประกอบดวยองคมนตรี
และผูพิพากษาในระบบกฎหมายจารีตประเพณี สําหรับคดีอาญาที่อยูในอํานาจการพิจารณาของศาล Star
Chamber นี้จะเปนคดีความผิดที่มีความยุงยากซับซอนและมีการตอสูคดี จุดมุงหมายเดิมที่สําคัญมากของการ
ใชศาล Star Chamber คือเพื่อใหการบังคับใชกฎหมายเปนไปอยางเที่ยงธรรม ในกรณีจําเลยเปนผูที่มีชื่อเสียง
หรือมีอิทธิพลซึ่งศาลธรรมดาไมกลาพิพากษาลงโทษบุคคลเหลานี้ 2
ในระยะแรกของการพิจารณาคดีโดยศาล Star Chamber สังคมไดใหการยอมรับนับถือวามีวิธีพิจารณา
คดีที่รวดเร็วและยืดหยุน เนื่องจากการพิจารณาคดีของศาลกระทําเปนการลับ โดยไมตองมีคําฟอง คูความไม
มีสิทธิอุทธรณ ไมมีลูกขุนในการพิจารณา และไมมีพยานบุคคล พยานหลักฐานจะถูกนําเสนอเปนลายลักษณ
อักษร แตเมื่อเวลาผานไปจนกระทั่งลวงมาถึงรัชสมัยของพระเจาเฮ็นรี่ที่แปด (King Henry VIII) ศาล Star
Chamber ไดกลายเปนเครื่องมือทางการเมืองสําหรับการดําเนินคดีกับผูที่เปนปฏิปกษตอนโยบายของพระเจา
เฮ็นรี่ที่แปด คณะรัฐมนตรีและรัฐสภา ในที่สุดศาล Star Chamber จึงไดถูกยกเลิกไปเนื่องจากมีรูปแบบการ
พิจารณาคดีที่ไมเคารพสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน หลังจากนั้นเปนตนมาประเทศอังกฤษก็
เริ่มกาวเขาไปสูการใชระบบกลาวหาในการดําเนินคดีอยางเต็มรูปแบบ3
สวนทางดานของประเทศภาคพื้นยุโรป ระบบวิธีพิจารณาคดีแบบไตสวนไดฝงรากลงทีละเล็กละ
นอยลงในระบบประมวลกฎหมายของประเทศสวนใหญในยุโรป หลังจากการปฏิวัติใหญในประเทศฝรั่งเศส
เมื่อค.ศ.1789 ไดมีการพัฒนาระบบไตสวนใหมีความประณีตมากขึ้นทั้งในประเทศฝรั่งเศสและประเทศ
เยอรมนี จากนั้นระบบไตสวนไดแผอิทธิพลเปนที่ใชกันแพรหลายทั่วไปในกลุมประเทศภาคพื้นยุโรป
รวมทั้งประเทศในแถบทวีปแอฟริกา อเมริกาใต และเอเชีย

หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรือ่ งที่ 2.1.1 แลว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 2.1.1


ในแนวการศึกษาหนวยที่ 2 ตอนที่ 2.1 เรื่องที่ 2.1.1

2
wikipedia.org. “Star Chamber” Retrieved Decenber 5, 2010 from http://www. en.wikipedia.org/wiki/Star_Chamber
3
กรุณาอานเพิ่มเติมใน “Inquisitorial System.”. Retrieved Decenber 5, 2010 from http://law.jrank.org/pages /7663/Inquisitorial-System.html
7
8

เรื่องที่ 2.1.2 แนวคิดทฤษฎีของระบบวิธีพิจารณาความอาญา


จากที่มาทางประวัติศาสตรจะเห็นไดวา ระบบวิธีพิจารณาความอาญาดั้งเดิมมีอยูสองระบบคือ ระบบ
กลาวหาและระบบไตสวน ความแตกตางของระบบวิธีพิจารณาความอาญาทั้งสองระบบจะเห็นไดจาก
แนวคิดและโครงสรางขององคกรที่เกี่ยวของกับการดําเนินคดีอาญา และวิธีการดําเนินคดีอาญาของแตละ
ระบบซึ่งแตกตางกัน นอกจากนั้น ความแตกตางของทั้งสองระบบยังสงผลตอทัศนคติของเจาพนักงานและ
บุคคลที่เกี่ยวของกับการดําเนินคดีอาญาอยางที่ไมสามารถหลีกเลี่ยงได
ระบบกลาวหาจะเปนระบบที่สอดคลองกับการดําเนินคดีในระบบจารีตประเพณี (Common law) และ
มีลักษณะการดําเนินคดีที่สอดคลองกับหลักการดําเนินคดีอาญาโดยเอกชน เปนระบบที่ใชอยูในกลุมประเทศ
แองโกล-อเมริกัน สวนระบบไตสวนจะเปนระบบที่สอดคลองกับการดําเนินคดีในระบบประมวลกฎหมาย
(Civil law) และมีลักษณะการดําเนินคดีที่สอดคลองกับหลักการดําเนินคดีอาญาโดยรัฐ เปนระบบที่ใชอยูใน
กลุมประเทศภาคพื้นยุโรปและประเทศที่มิไดตกอยูภายใตอิทธิพลของระบบแองโกล-อเมริกัน
มีนักวิชาการกฎหมายเปรียบเทียบกลาววา ระบบกลาวหา (Accusatorial system) เปนรูปแบบของวิธี
พิจารณาที่ดึงเอาลักษณะที่เดนของการดําเนินคดีในระบบจารีตประเพณีมาเปนลักษณะของวิธีพิจารณาความ
อาญาแบบกลาวหา โดยเฉพาะอยางยิ่งเมื่อลักษณะดังกลาวเปนลักษณะที่ตรงกันขามกับระบบวิธีพิจารณา
ความอาญาของประเทศกลุมที่ใชระบบประมวลกฎหมาย เชน การดําเนินคดีในชั้นพิจารณาของศาลในระบบ
จารีตประเพณี จะประกอบไปดวยความสัมพันธสามฝายระหวางฝายอัยการโจทก ฝายจําเลย และศาล ซึ่ง
ความสัมพันธดังกลาวจะมีลักษณะที่แตกตางกับความสัมพันธของทั้งสามฝายในระบบวิธีพิจารณาความ
อาญาของประเทศในกลุมที่ใชระบบประมวลกฎหมาย กลาวคือ ในระบบจารีตประเพณีบทบาทของอัยการ
โจทกและฝายจําเลยในการพิจารณาคดีจะมีมากกวาคูความในระบบประมวลกฎหมาย สวนบทบาทของผู
พิพากษานั้น ระบบจารีตประเพณีก็มีแนวคิดที่กําหนดใหผูพิพากษาอยูในฐานะกรรมการที่วางเฉย (Passive
role) มากกวาที่จะเลนบทของผูที่กระตือรือรนหรือมีบทบาทนํา (Active role) ในการคนหาความจริง
อยางเชนผูพิพากษาในระบบประมวลกฎหมาย
นอกจากนี้ในระบบจารีตประเพณียังยึดหลักความเสมอภาคในการตอสูคดี ดังนั้นเพื่อใหฝายผูถูก
กลาวหาไดมีโอกาสในการตอสูคดีไดอยางเต็มที่ จําเลยจึงจําเปนตองมีทนายความเปนผูแทนจําเลยในการ
ตอสูคดี ในการตอสูคดีกันระหวางคูความนั้น ทั้งฝายอัยการโจทกและฝายจําเลยตางฝายตางตองเตรียมการ
ตอสูคดีของตนไวกอนที่จะเริ่มการพิจารณา ซึ่งสอดคลองกับลักษณะของวิธีพิจารณาที่เปนปรปกษกันใน
ระบบกลาวหา
การที่จะเคารพหลักความเสมอภาคในการตอสูคดีนี้ไมใชเรื่องงาย เชน หากมีการกักขังผูตองหาหรือ
จําเลยในชั้นกอนการพิจารณาหรือในชั้นพิจารณาของศาล จะเปนมาตรการบังคับที่บั่นทอนความสามารถใน
การตอสูคดีของฝายจําเลย และเปนมาตรการที่ไมสอดคลองกับแนวคิดของวิธีพิจารณาคดีอาญาในระบบ
9
กลาวหา เพราะการกั กขั งจะเปน อุปสรรคตอผูตองหาหรื อจําเลยในการเตรี ย มการตอสู คดีอย างมีอิสระ
ในขณะที่ฝายรัฐจะมีความพรอมในการดําเนินคดีมากยิ่งกวาฝายผูตองหาหรือจําเลย ดวยเหตุนี้หากการ
รวบรวมพยานหลั ก ฐานของเจา หนาที่ข องรั ฐ มีการละเมิด กฎหมาย ในระบบกล า วหาจะมี บทตัด พยาน
(Exclusionary rules) ที่เครงครัดกวาการรับฟงพยานหลักฐานในระบบไตสวน พยานหลักฐานที่ไดมาจากการ
ปฏิบัติงานที่ไมชอบดังกลาวจะไมไดรับอนุญาตใหใชในการพิจารณาพิพากษาลงโทษจําเลย
ลักษณะสําคัญของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่อยูในระบบกลาวหาอีกประการหนึ่งคือ ในระบบ
กลาวหาจะมีรูปแบบของการดําเนินคดีที่หลากหลาย การเจรจาตอรอง (Plea bargaining) ระหวางฝายอัยการ
กับฝายจําเลยเปนลักษณะที่เดนและสําคัญอีกประการหนึ่งของระบบกลาวหา การตอรองคํารับสารภาพเปน
มาตรการที่เหมาะสมกับรูปแบบของการดําเนินคดีซึ่งตั้งอยูบนพื้นฐานของแนวคิดของการตอสูกัน เพราะถา
ฝายจําเลยตกลงรับขอเสนอของพนักงานอัยการในการเจรจาตอรอง พนักงานอัยการก็สามารถดําเนินการตาม
มาตรการดังกล าวตอไป ซึ่งทําใหคดีเสร็จ สิ้ นไปโดยเร็ว ในทางตรงกัน ขาม แนวคิดของระบบของวิธี
พิจารณาความอาญาแบบไตสวนนั้น จําเลยหรือผูถูกกลาวหาไมจําเปนตองถูกถามวาจะรับสารภาพหรือไม
ดังนั้นโดยหลักการคํารับสารภาพของจําเลยในการดําเนินคดีจึงมิใชสิ่งที่เปนสาระสําคัญในการดําเนินคดี ผู
พิพากษาสามารถดําเนินการคนหาความจริงใหปรากฏตอไปได แมจะมีคํารับสารภาพของจําเลยก็ตาม ดวย
เหตุนี้ ในระบบไตสวนจึงไมยอมรับวิธีการเจรจาตอรองระหวางฝายอัยการกับจําเลย
ลักษณะที่ตรงกันขามระหวางระบบกลาวหาและระบบไตสวนจะนําไปสูทัศนคติที่แตกตางกันในการ
ทํางานของเจาพนักงานของรัฐทั้งสองระบบดวย ในระบบไตสวน เจาพนักงานจะเปนผูขับเคลื่อนและมี
หน า ที่ ที่ จ ะต อ งดํ า เนิ น การตามนโยบายแห ง รั ฐ แต ใ นระบบกล า วหา เจ า พนั ก งานจะก า วเข า ไปสู ก าร
ปฏิบัติงานตอเมื่อมีขอขัดแยงเกิดขึ้นระหวางคูพิพาท และถูกรองขอจากผูมีสวนเกี่ยวของใหจัดการกับปญหา
ขอโตแยงดังกลาว
ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของการอํานวยความยุติธรรมระบบจารีตประเพณี คือการมีสวนรวม
ของลูกขุน (Jury) ซึ่งมาจากสามัญชน ถือวาเปนสัญลักษณของการอํานวยความยุติธรรมในระบบจารีต
ประเพณี และเขาใจกันโดยทั่วไป วาการมีลูกขุนในการพิจารณาคดีก็เปนลักษณะของการดําเนินคดีในระบบ
กลาวหาดวยเชนกัน อยางไรก็ตาม ความเขาใจดังกลาวไมสามารถนํามายึดโยงลักษณะที่สอดคลองตองกัน
ระหวางระบบจารีตประเพณีและระบบกลาวหาในทุกกรณี เพราะในประเทศที่ใชระบบวิธีพิจารณาความ
อาญาแบบกลาวหาซึ่งมีแนวคิดของการตอสูคดีที่เปนปรปกษกันของคูพิพาทสองฝายนั้นไมจําเปนตองมี
ลูกขุนในการพิจารณาพิพากษาคดีเสมอไป และลูกขุนซึ่งเชื่อกันวาแสดงถึงการมีสวนรวมของประชาชนใน
การปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ก็อาจตกเปนเครื่องมือของเผด็จการหรือผูมีอิทธิพลไดเชนเดียวกับ
กรณีที่อาจตกเปนเครื่องมือของรัฐบาลเสรีนิยมหรือผูมีอิทธิพลไดเชนกัน
ในขณะที่การดําเนินคดีอาญาในประเทศแถบภาคพื้นยุโรป กลไกของความยุติธรรมตกอยูภายใต
ระบบของขาราชการซึ่งมีการบังคับบัญชาตามลําดับชั้นตามหลักการดําเนินคดีอาญาโดยรัฐ จึงมีขอวิจารณวา
ทั้งพนักงานอัยการและผูพิพากษาซึ่งมาจากการแตงตั้งอาจสนองตอบนโยบายของอํานาจรัฐไดงายกวา
10
พนักงานอัยการในระบบจารีตประเพณีซึ่งมีระบบการคัดเลือกเขาสูตําแหนงดวยการเลือกตั้งสอดคลองกับ
วิถีทางในระบอบประชาธิปไตย ขอวิจารณดังกลาวอาจมีน้ําหนักอยูหากมีความพยายามที่จะเปรียบเทียบให
เห็นขอดีขอเสียของทั้งสองระบบ แตก็ไมสามารถปฏิเสธไดวา โดยทั่วไปพนักงานอัยการและผูพิพากษา
อาชีพมีความนาเชื่อในการดําเนินคดีมากกวาสามัญชนที่ไดรับคัดเลือกเขามาทําหนาที่เปนลูกขุนตัดสินคดี
อยางไรก็ตาม แมจะเปนการยากที่จะแยกความสัมพันธระหวางลักษณะของวิธีพิจารณาคดีอาญาใน
ระบบกลาวหากับรูปแบบการดําเนินคดีอาญาของประเทศที่อยูในระบบจารีตประเพณีก็ตาม แตก็คงไม
สามารถที่จะสรุปไดวาประเทศซึ่งอยูในกลุมที่ใชระบบกฎหมายจารีตประเพณีผูกขาดการใชวิธีพิจารณา
ความอาญาแบบระบบกลาวหาไวแตเพียงผูเดียวระบบการอํานวยความยุติธรรมทางอาญาของโลกในปจจุบัน
มีลักษณะของการผสมผสานระหวางระบบเพิ่ มมากขึ้นทุกวัน ประเทศในกลุมภาคพื้น ยุโรปที่ใชระบบ
ประมวลกฎหมาย และประเทศที่ไมไดจัดอยูในกลุมแองโกล-อเมริกัน (Anglo-American) ซึ่งใชระบบวิธี
พิจารณาความอาญาแบบไตสวนก็ไดนําเอาลักษณะหลายประการของระบบกลาวหาเขาไปประยุกตในระบบ
ไตสวนหลายประการ

หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรือ่ งที่ 2.1.2 แลว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 2.1.2


ในแนวการศึกษาหนวยที่ 2 ตอนที่ 2.1 เรื่องที่ 2.1.2
11

เรื่องที่ 2.1.3 วิวัฒนาการของการดําเนินคดีอาญา


ในปจจุบนั สามารถกลาวยืนยันไดวา ในระบบการดําเนินคดีอาญาของแตละประเทศไมมีระบบ
กลาวหาหรือไตสวนบริสุทธิ์อีกตอไปแลว แมวาแตละระบบจะยังคงมีลกั ษณะเฉพาะที่ตกทอดมานับตั้งแต
ประวัติศาสตรหรือการไดรับอิทธิพลของระบบวิธีพิจารณาความอาญาที่เปนแบบ (Model law) ไมวา จะเปน
ระบบจารีตประเพณีหรือระบบประมวลกฎหมายก็ตาม แตละประเทศตางไดนําเอาลักษณะที่ดแี ละเหมาะสม
กับสภาพปญหา สถานการณ และความจําเปนในการบริหารกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของตนเขาไป
ประยุกตใช
ตัว อย า งในประเทศที่ มี วิ ธี พิ จ ารณาความอาญาแบบไต ส วน มี ห ลายประเทศที่ ไ ด นํ า แนวคิ ด และ
หลักการของการดําเนินคดีในระบบกลาวหาที่สําคัญบางประการมาประยุกตใชในการดําเนินคดีอาญา เชน
ในประเทศฝรั่งเศสไดมีการนําเอาระบบลูกขุนของอังกฤษมาใชในศาลลูกขุน (La cour d’assises) หลังจากทีม่ ี
การปฏิวัติใหญในประเทศฝรั่งเศสเมื่อค.ศ. 1789 เพื่อลดอํานาจของผูพิพากษาอาชีพลง นอกจากนี้ทั้งประเทศ
ฝรั่งเศสและประเทศอิตาลีก็ไดมีการนําเอามาตรการตอรองคํารับสารภาพ (Plea bargaining) ในระบบ
อเมริกันมาประยุกตใชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินคดีอาญาของตนดวย ทั้งที่การคนหาความจริงใน
ระบบไตสวนนั้นมีแนวคิดที่ไมยินยอมใหมีการเจรจาตอรองกันในคดีอาญา
สวนในประเทศอังกฤษซึ่งเปนประเทศแมแบบของระบบกลาวหาก็มีวิวัฒนาการของการดําเนินคดีใน
ชั้ น ก อ นพิ จ ารณา โดยเริ่ ม ก า วเข า ไปสู ก ารนํ า ลั ก ษณะสํ า คั ญ ของระบบไต ส วนที่ มี พ นั ก งานอั ย การเป น
ผูรับผิดชอบในการสอบสวนฟองรองคดีมาประยุกตใชในระบบวิธีพิจารณาความอาญาของอังกฤษ โดยไดมี
การจัดตั้งสํานักงานอัยการสูงสุด (Crown Prosecution Service - CPS) 4 ขึ้นในค.ศ.1985 เพื่อทําหนาที่ดังกลาว
หลังจากที่ประเทศอังกฤษไดปลอยใหการฟองรองคดีเกือบทั้งหมดกอนหนานั้นตกอยูภายใตอํานาจของ
พนักงานสอบสวนซึ่งเปนตํารวจแตเพียงผูเดียว
นอกจากการเสริมสรางระบบวิธีพิจารณาความอาญาของแตละประเทศโดยการนําเอาลักษณะที่ดีของ
แตละระบบมาใชในระบบของตนแลว ในปจจุบันไดมีสนธิสัญญา อนุสัญญาและกติการะหวางประเทศซึ่งมี
ฐานะเปนกฎหมายระหวางประเทศที่วางหลักเกณฑเกี่ยวกับการดําเนินคดีอาญาไวเปนจํานวนมาก ดังนั้นแต
ละประเทศที่เขาเปนภาคีในสนธิสัญญา อนุสัญญาและกติการะหวางประเทศแตละฉบับจะตองปรับปรุง

4
กอนค.ศ.1985 ในประเทศอังกฤษและเวลสไมมีสํานักงานอัยการ เปนหนาที่ของตํารวจในการสอบสวนและตั้งขอหาดําเนินคดี จากนั้นจึงตั้ง
ทนายความ barrister (lawyer) ที่จะยื่นฟองคดีตอศาล หลังจากที่มีการตั้งสํานักงานอัยการสูงสุด (Crown Prosecution Service - CPS) เมื่อค.ศ. 1985 บทบาท
หลักขององคกรนี้คือ การกลั่นกรองคดีวามีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะฟองคดีอาญาตอศาลหรือไม และตอจากนั้นก็จะมอบหมายใหทนายความอิสระ
independent barrister ใหดําเนินการฟองคดี แตหลังจากที่ไดมีการพัฒนาอยางตอเนื่องและการแกไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายลาสุด สมาชิกขององคกร CPS ซึ่ง
ไดรับการคัดเลือกจากนักกฎหมายที่ผานการฝกอบรมอยางทนายความมีจํานวนมากยิ่งขึ้น และมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดําเนินคดีในศาลได และการตั้งขอ
กลาวหาซึ่งเดิมเปนอํานาจของตํารวจก็กลายมาเปนอํานาจของพนักงานอัยการ แมวาการเปลี่ยนแปลงนี้ตองอาศัยความรวมมือในการทํางาน แตตํารวจก็ยังคงมี
อํานาจอิสระตามกฎหมาย และควบคุมการสอบสวนอยู และไมใชผูใตบังคับบัญชาของสํานักงานอัยการสูงสุดแตประการใด
12
แกไขกฎหมายภายในของตนใหสอดคลองกับพันธกรณีตามกฎหมายระหวางประเทศแตละฉบับที่ตนไดเขา
เปนภาคี วิวัฒนาการของการดําเนินคดีอาญาจึงมีที่มาอีกประการหนึ่งจากกฎหมายระหวางประเทศ
กฎหมายระหวางประเทศที่มีอิทธิพลตอวิวัฒนาการของการดําเนินคดีอาญาในแตละฉบับนั้นมีเนื้อหา
สาระแตกตางกัน ขึ้นอยูกับวัตถุประสงคของการตรากฎหมายระหวางประเทศแตละฉบับ แตสาระสําคัญ
ประการหนึ่งของหลักการตามกฎหมายระหวางประเทศคือ พยายามทําใหประเทศตางๆ ในโลกมีมาตรฐาน
การจัดการกับปญหาที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบตอประชาคมและประชากรโลกนั้นเดินไปในแนวทางเดียวกัน
ทั้งนี้เพื่อมิใหเกิดปญหาในเรื่องของความขัดแยงในการแปลความหมายที่แตกตางกันในเรื่องทํานองกัน และ
แนวคิดตามกฎหมายภายในและแนทางปฏิบัติที่แตกตางกัน รวมทั้งความจําเปนในดานความรวมมือระหวาง
ประเทศที่จะจัดการกับสภาพปญหาที่กระทบตอประชาคมโลกรวมกัน
ลั ก ษณะของกฎหมายระหว า งประเทศที่ เ กี่ ย วข อ งกั บ การดํ า เนิ น คดี อ าญาส ว นใหญ นั้ น มั ก จะมี
บทบัญญัติทั้ง ในสวนที่เปนสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติรวมกันไปเปนสวนใหญ ในสวนที่เปนสารบัญญัติ
นั้นคือกําหนดหนาที่ ใหรัฐภาคีบัญญัติใหการกระทําที่มีลักษณะตามที่อนุสัญญากําหนดไวเปนความผิด และ
ในสวนที่เปนวิธีสบัญญัติ คือ กําหนดใหมีมาตรการตางๆ ที่จําเปนสําหรับใชในการดําเนินคดีกับผูกระทํา
ความผิ ด มาตรการเหล า นี้ มั ก จะเป น มาตรการสื บ สวนสอบสวนพิ เ ศษในการแสวงหาและรวบรวม
พยานหลักฐานในชั้นกอนพิจารณาของศาล อยางไรก็ตาม มีกฎหมายระหวางประเทศบางฉบับที่เปนหลัก
ของการคุมครองสิทธิมนุษยชนที่วางแตเฉพาะหลักการในการดําเนินคดีอาญา
เมื่อพิจารณาหลักการและสาระสําคัญของกฎหมายระหวางประเทศที่เกี่ยวของกับการดําเนินคดีอาญา
แลว อาจจัดเปนหมวดหมูไดดังตอไปนี้

1. หมวดดานการคุมครองสิทธิมนุษยชนในการดําเนินคดีอาญา
กฎหมายระหวางประเทศในหมวดนี้ไดแก กติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ
เมือง (ICCPR) อนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชน (ECHR) กฎหมายระหวางประเทศทั้งสองฉบับนี้จะวาง
หลักเกณฑในการคุมครองสิทธิมนุษยชนในการดําเนินคดีอาญาไวโดยเฉพาะ ถือเปนกฎหมายระหวาง
ประเทศหลั ก ด า นการคุ ม ครองสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนในการดํ า เนิ น คดี อ าญา ฉบั บ แรกตราขึ้ น โดยองค ก าร
สหประชาชาติ (The United Nations) สวนฉบับที่สองนั้นเปนกฎหมายระหวางประเทศระดับภูมิภาค ตรา
โดยสภายุโรป (The Council of Europe)
หลักที่สําคัญบางประการของการดําเนินคดีอาญาที่ในกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและ
สิทธิทางการเมือง และอนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชนนั้น ไดกลายเปนมาตรฐานสากลไปแลวโดยไม
จําตองคํานึงถึงวาเปนระบบวิธีพิจารณาความอาญาแบบไตสวนหรือกลาวหา เชน หลักขอสันนิษฐานความ
เปนผูบริสุทธิ์หลักความเสมอภาคและเปนปรปกษในการตอสูคดีซึ่งเปนหลักสากลในปจจุบันไมใชลักษณะ
13
ที่ใชเฉพาะการดําเนินคดีในระบบกลาวหาเทานั้นอีกตอไปแลว ในประเทศที่ใชระบบวิธีพิจารณาความอาญา
แบบไตสวนเชน ประเทศฝรั่งเศสและอีกหลายประเทศก็มีหลักขอสันนิษฐานดังกลาวเชนกัน 5
นอกจากนั้ น การคุ มครองสิทธิ มนุษยชนในการดํา เนินคดี อาญายั ง กระจัด กระจายเป น ข อยอ ยใน
อนุสัญญาเฉพาะดาน เชน อนุสัญญาวาดวยสิทธิเด็ก (CRC) อนุสัญญาตอตานการทรมาน (CAT) และพิธี
สารเพื่อปองกัน ปราบปราม และลงโทษการคามนุษย โดยเฉพาะหญิงและเด็ก (Protocol to Prevent,
Suppress, and Punish Trafficking in Persons Especially Women and Children) ซึ่งเปนพิธีสารที่แนบทาย
อนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อตอตานอาชญากรรมขามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองคกร (United Nations
Convention against Transnational
Organized Crime - UNTOC) เปนตน
หากพิจารณาขอบัญญัติในกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และ
อนุสัญญาระหวางประเทศในหมวดนี้จะเห็นวา เนื้อหาของการคุมครองสิทธิมนุษยชนในการดําเนินคดีอาญา
นั้นสอดคลองกับทฤษฎีของหลักกระบวนการนิติธรรมหรือกระบวนการอันควร (Due process) และแนวคิด
ระบบวิธีพิจารณาความอาญาแบบกลาวหา ซึ่งตองการใหผูถูกกลาวหามีโอกาสในการตอสูคดีกับฝายรัฐที่
เป น ฝ า ยกลา วหาอย า งเท า เที ย มกั น บทบั ญญั ติ ที่ป รากฏในกฎหมายระหว า งประเทศหมวดนี้ ถื อ วา เป น
มาตรฐานสากลของการคุมครองสิทธิของบุคคลในการดําเนินคดีอาญาในปจจุบัน เนื่องจากรัฐภาคีจํานวน
166 ประเทศ 6 ไมวาจะมีระบบวิธีพิจารณาความอาญาแบบกลาวหาหรือไตสวนตางก็ตองปรับปรุงแกไข
ระบบวิธีพิจารณาความอาญาของตนใหสอดคลองกับพันธกรณีตามกฎหมายระหวางประเทศในหมวดนี้ และ
ในปจ จุบัน ประเทศต า งๆ ที่ใ ช ร ะบบไต ส วนต า งก็ว างหลัก การและบัญ ญัติ ห ลั ก เกณฑใ หส อดคล องกั บ
พันธกรณีตามกฎหมายระหวางประเทศในหมวดนี้แลว ดังจะไดอธิบายอยางละเอียดในตอนที่ 2.4 เรื่องที่
2.4.1 และ 2.4.2

2. หมวดดานการปองกันและปราบปรามอาชญากรรม
กฎหมายระหวางประเทศในหมวดนี้ไดแก อนุสัญญาดานการปราบปรามยาเสพติด ซึ่งมีอยูหลายฉบับ
คือ อนุสัญญาเดี่ยววาดวยยาเสพติดใหโทษ ค.ศ.1961 และพิธีสารแกไขอนุสัญญาวาดวยยาเสพติดใหโทษ
ค.ศ. 1961 ค.ศ.1972 (Single Convention on Narcotic Drugs 1961, as amended by the 1972 Protocol
Amending the single Convention on Narcotic Drugs, 1961) อนุสัญญาวาดวยวัตถุที่ออกฤทธิ์ตอจิตและ
ประสาท ค.ศ. 1971 (Convention on Psychotropic Substances 1971) และกฎหมายระหวางประเทศฉบับที่มี

5
ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองของฝรั่งเศส ค.ศ.1789 ขอ 9 บัญญัติวา “บุคคลทุกคนยอมไดรับการสันนิษฐานไวกอนวาบริสุทธิ์จนกวาจะ
มีการประกาศวาบุคคลนั้นมีความผิด ถามีความจําเปนที่จะตองจับกุมผูใด การใชกําลังโดยไมจําเปนเพื่อใหไดตัวบุคคลนั้นมาจะตองถูกลงโทษอยางเด็ดขาด
ตามที่กําหนดไวในกฎหมาย” ตามรัฐธรรมนูญแหงสาธารณรัฐฝรั่งเศส ค.ศ.1958 ในสวนของอารัมภบทใหถือวาบทบัญญัติดังกลาวเปนสวนหนึ่งของรัฐธรรม
และโปรดดู นันทวัฒน บรมานันท คําแปลรัฐธรรมนูญแหงสาธารณรัฐฝรั่งเศส ค.ศ.1958 วิญูชน, พิมพครั้งที่ 2, 2549, หนา 18 และ 146
6
http://www.ishr.ch/component/docman/doc_down. Retrieved December 4, 2010.
14
กลไกและเครื่องมือในการดําเนินคดีที่หลากหลายสําหรับการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดคือ อนุสัญญา
สหประชาชาติวาดวยการตอตานการลักลอบคายาเสพติดและวัตถุที่ออกฤทธิ์ตอจิตและประสาท ค.ศ.1988
(UN Convention Against Illicit Traffic in Narcotic Drugs and Psychotropic Substances 1988) อนุสัญญา
ฉบับนี้ไดนําเอาบทบัญญัติทางดานสารบัญญัติที่รวมไวในอนุสัญญาฉบับกอนๆ มารวบรวมบัญญัติไวให
ชัดเจน และไดกําหนดมาตรการทางวิธีสบัญญัติ ซึ่งเปนมาตรการสืบสวนสอบสวนพิเศษสําหรับเจาหนาที่
ของรัฐนําไปใชในการดําเนินคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เชน การจัดสงภายใตการควบคุม (Controlled
delivery) รวมทั้งไดบัญญัติมาตรการดานความรวมมือระหวางประเทศในดานการสงผูรายขามแดน และดาน
การใหความชวยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญาไวดวย
นอกจากอนุสัญญาระหวางประเทศดานการปองกันและปราบปรามยาเสพติดดังกลาวแลว ในปจจุบัน
ไดมีอนุสัญญาระหวางประเทศดานการปองกันและปราบปรามอาชญากรรมรายแรงที่สําคัญอีก 2 ฉบับคือ
อนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อตอตานองคกรอาชญากรรมขามชาติ (United Nations Convention against
Transnational Organized Crime - UNTOC) และอนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการตอตานการทุจริต ค.ศ.
2003 (United Nations Convention Against Corruption - UNCAC) อนุสัญญาฉบับแรกคือ UNTOC นั้นเปน
อนุสัญญาที่ตอยอดมาจากอนุสัญญาสหประชาชาติวาดวยการตอตานการลักลอบคายาเสพติดและวัตถุที่ออก
ฤทธิ์ตอจิตและประสาท ค.ศ.1988 โดยขยายขอบเขตของการบังคับใชกวางกวาความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
โดยอนุสัญญาฉบับนี้ใชบังคับกับอาชญากรรมรายแรง 7 ที่กระทําโดยองคกรอาชญากรรมขามชาติ สวน
อนุสัญญาอีกฉบับหนึ่งคือ UNCAC นั้น มีวัตถุประสงคในการจัดการกับปญหาเรื่องการทุจริตคอรรัปชันทั้ง
ในภาครัฐและภาคเอกชนโดยเฉพาะ
สวนความผิดเกี่ยวกับการกอการรายซึ่งเดิมถือวาเปนความผิดทางการเมืองนั้น มีอนุสัญญาระหวาง
ประเทศดานการปองกันและปราบปรามการกอการรายจํานวน 12 ฉบับ 8 แตเจตนารมณขององคการ
สหประชาชาติในภายหลังไมประสงคที่จะใหผูกระทําความผิดยกขึ้นเปนขออางวา ความผิดเกี่ยวกับการกอ
การรายเปนความผิดทางการเมืองเพื่อใหรัฐที่ตนหลบหนีไปหลบซอนตัวอยูยกขึ้นเปนเหตุในการปฏิเสธไม
สงตัวบุคคลนั้นเปนผูรายขามแดนไปดําเนินคดีในรัฐที่รองขอได 9 การตอสูกับการกอการรายไดทวีความ
รุนแรงมากยิ่งขึ้น หลังจากที่เกิดเหตุการณผูกอการรายขับเครื่องบินพุงเขาชนตึกเวิรลดเทรดเซ็นเตอร เมื่อ
วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ทําใหมีผูเสียชีวิตจํานวนมาก คณะมนตรีความมั่นคงแหงสหประชาชาติจึงได

7
ตามอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อตอตานองคกรอาชญากรรมขามชาติ ขอ 2 (b) ไดใหคําจํากัดความของคําวา “อาชญากรรมรายแรง” วา “ให
หมายถึงการกระทําความผิดซึ่งสามารถลงโทษโดยการจํากัดอิสรภาพซึ่งมีอัตราขั้นสูงเปนเวลาอยางนอย 4 ป หรือโดยโทษที่หนักกวานั้น” และ โปรดดู .กิตติ
พงษ กิตยารักษ กับคณะ, อนุสัญญาระหวางประเทศวาดวยการปองกันและปราบปรามอาชญากรร”, เดือนตุลา, ไมปรากฏปที่พิมพ, หนา 111
8
“Disarmament”. Retrieved December 4, 2010. From : http://www.mfa.is/foreign-policy/disarmament.
9
ตามอนุสัญญาสหประชาชาติตอตานการสนับสนุนทางการเงินแกการกอการราย ค.ศ.2000 ขอ 14 บัญญัติวา “เพื่อวัตถุประสงคเรื่องการสงผูราย
ขามแดนหรือการชวยเหลือทางกฎหมายซึ่งกันและกันแลว ไมมีความผิดประเภทใดตามที่ระบุไวในขอ 2 (การกระทําที่เปนการสนับสนุนทางการเงินแกการ
กอการราย) ที่จะถือไดวาเปนความผิดทางการเมืองหรือความผิดที่เกี่ยวกับความผิดทางการเมืองหรือความผิดที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง ดังนั้นประเทศ
ภาคีไมอาจปฏิเสธคํารองขอใหสงผูรายขามแดนหรือคํารองขอใหชวยเหลือทางกฎหมายซึ่งกันและกันนั้น ดวยเหตุผลเพียงแควาเปนความผิดทางการเมืองหรือ
ความผิดที่เกี่ยวกับความผิดทางการเมืองหรือความผิดที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง” และ โปรดดู กิตติพงษ กิตยารักษ กับคณะ, หนา 243
15
รับรองขอมติที่ 1373(2001) เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2544 กําหนดมาตรการตางๆ เพื่อปองกันและปราบปราม
การกอการรายทั้งทางดานการเงิน การเมือง การตรวจคนเขาเมือง การแลกเปลี่ยนขาวกรอง และการเขาเปน
ภาคีอนุสัญญาเกี่ยวกับการกอการราย 10 โดยเรงรัดใหรัฐตางๆ เขาเปนภาคีในอนุสัญญาระหวางประเทศเพื่อ
ตอตานการกอการรายใหครบทุกฉบับโดยเร็ว
ในปจจุบัน ความผิดเกี่ยวกับการกอการรายถูกจัดอยูเปนประเภทหนึ่งของอาชญากรรมขามชาติ ดังนั้น
จึงสามารถนํามาตรการสืบสวนสอบสวนพิเศษที่ใชสําหรับการปราบปรามอาชญากรรมขามชาติมาใชกับการ
ดําเนินคดีความผิดฐานการกอการรายไดดวย
เมื่อพิจารณาเนื้อหาของกฎหมายระหวางประเทศในหมวดดานปองกันและปราบปรามอาชญากรรม
แลวจะมีมาตรการในการแสวงหาและรวบรวมพยานหลักฐานที่สอดคลองกับแนวคิดของทฤษฎีควบคุม
อาชญากรรม (Crime control) เนื่องจากความจําเปนในการตอสูกับกลุมอาชญากรที่มีกลไกและเครือขายใน
การประกอบอาชญากรรมที่ซับซอนและยากแกการเขาถึง ดังนั้น จึงจําเปน ตองเสริมสรางกลไกในการ
ดํ า เนิ น คดี ข องรั ฐ ให ส ามารถป อ งกั น และปราบปรามการประกอบอาชญากรรมร า ยแรงได อ ย า งมี
ประสิทธิภาพ

3. ธรรมนูญกรุงโรมวาดวยศาลอาญาระหวางประเทศ
ธรรมนูญกรุงโรมวาดวยศาลอาญาระหวางประเทศเปนกฎหมายระหวางประเทศที่แสดงถึงสภาพ
บังคับในทางระหวางประเทศที่ใกลเคียงกับกฎหมายภายในมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกฎหมายระหวาง
ประเทศโดยทั่วไป และดวยลักษณะพิเศษของการจัดตั้งธรรมนูญกรุงโรมวาดวยศาลอาญาระหวางประเทศ
ขึ้นมาเพื่อพิจารณาคดีที่อาชญากรไดประกอบอาชญากรรมรายแรง 4 ประเภทซึ่งเปนภัยคุกคามตอประชาคม
โลกคือ อาชญากรรมตอมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม การฆาลางเผาพันธุและอาชญากรรมการรุกราน ซึ่ง
มิใชกลไกในกฎหมายภายในของประเทศใดประเทศหนึ่ง ดังนั้นจึงไมเหมาะสมที่จะนําธรรมนูญกรุงโรมวา
ดวยศาลอาญาระหวางประเทศไปรวมอยูในกฎหมายระหวางประเทศหมวดดานการคุมครองสิทธิมนุษยชน
หรือดานการปองกันและปราบปรามอาชญากรรมดานใดดานหนึ่ง
ธรรมนูญกรุงโรมวาดวยศาลอาญาระหวางประเทศเปนกฎหมายระหวางประเทศที่จัดตั้งระบบการ
ดําเนินคดีขึ้นมาโดยเฉพาะสําหรั บความผิด ที่ตกอยูในเขตอํานาจของศาลอาญาระหวางประเทศ และมี
ลักษณะเดนคือการผสมผสานระหวางรูปแบบของการดําเนินคดีในระบบกลาวหาและระบบไตสวนเขา
ดวยกัน เพื่อใหนักกฎหมายผูรางกฎหมายระหวางประเทศฉบับนี้ซึ่งมาจากระบบวิธีพิจารณาความอาญาที่
แตกตางกันสามารถยอมรับหลักเกณฑที่กําหนดขึ้นเพื่อพิจารณาคดีความผิดซึ่งอยูในเขตอํานาจของศาล
อาญาระหวางประเทศได

10
กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย, “อนุสัญญาและพิธีสารวาดวยการกอการราย”คนคืน 4 ธันวาคม 2553 จาก
http://www.mfa.go.th/web/showStatic.php%3Fst
16
สําหรับกฎหมายระหวางประเทศสวนใหญที่อยูในหมวดดานการคุมครองสิทธิมนุษยชนหรือดานการ
ปองกันและปราบปรามอาชญากรรมนั้น เปนเรื่องของการจัดระเบียบกฎหมายภายในของรัฐภาคีสมาชิก
องคการสหประชาชาติในแตละดานใหมีรูปแบบทํานองเดียวกัน เพื่อใหเกิดมาตรฐานดานการคุมครองสิทธิ
ของบุคคลในคดีอาญา และในการดําเนินคดีความผิดรายแรงกับบรรดาอาชญากรที่เปนตัวการใหญหรือผูมี
อิทธิพลนั้น ไมอาจหาชองโหวหรือหนทางที่จะหลุดพนจากการลงโทษได ดังนั้นโดยลักษณะของกฎหมาย
ระหวางประเทศทั้งสองหมวดที่กลาวมานั้น จะตองมีการแกไขปรับปรุงกฎหมายภายในเพื่อใหการดําเนินคดี
กับ เหลา อาชญากรรายแรงสามารถบรรลุ ถึง เจตนารมณ ของกฎหมายระหว า งประเทศทั้ง สองหมวดได
แตกตางจากธรรมนูญกรุงโรมวาดวยศาลอาญาระหวางประเทศซึ่งมีกลไกคือ ศาลอาญาระหวางประเทศซึ่ง
เปนองคกรระหวางประเทศในการดําเนินคดีเหมือนกลไกของกฎหมายภายใน หากจะเปรียบเทียบกลไก
ดังกลาวก็สามารถเทียบเคียงไดกับอํานาจของศาลยุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชนซึ่งเปนกลไกของอนุสัญญา
ยุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชนที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีที่มีการกลาวหารัฐภาคีวาละเมิดบทบัญญัติที่ไดรับ
การรับรองและคุมครองไวในอนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชนได ดังนั้น จึงอาจกลาวไดวาอํานาจการ
พิจารณาพิพากษาคดีขององคการระหวางประเทศทั้งสององคการมีลักษณะที่เปน “สิทธิสภาพเหนืออาณา
เขต” (Supranational organisation) ของแตละรัฐ
อนึ่ง กฎหมายระหวางประเทศที่เปนหลักในแตละหมวดหมูที่ไดแบงเพื่อทําการอธิบายในหัวขอนี้ อัน
ไดแก กติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชน
และธรรมนูญกรุงโรมวาดวยศาลอาญาระหวางประเทศ รวมจํานวน 3 ฉบับนั้น ผูเขียนจะบรรยายรายละเอียด
เกี่ยวกับกฎหมายระหวางประเทศทั้งสามฉบับดังกลาวเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งในตอนที่ 4 วาดวย ระบบกลาวหา
และระบบไตสวนกับวิธีพิจารณาในกฎหมายระหวางประเทศ

หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรือ่ งที่ 2.1.3 แลว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 2.1.3


ในแนวการศึกษาหนวยที่ 2ตอนที่ 2.1 เรื่องที่ 2.1.3
17

ตอนที่ 2.2
สาระสําคัญของระบบวิธีพิจารณาความอาญา
โปรดอานแผนการสอนประจําตอนที่ 2.2 แลวจึงศึกษาเนื้อหาสาระ พรอมปฏิบัติกิจกรรมในแตละเรื่อง

หัวเรื่อง
เรื่องที่ 2.2.1 ระบบกลาวหา
เรื่องที่ 2.2.2 ระบบไตสวน
เรื่องที่ 2.2.3 ระบบผสม

แนวคิด
1. ระบบกลาวหา มีลักษณะที่เปนสาระสําคัญของการดําเนินคดีคือ 1. ความสําคัญของคูความในการ
ดําเนินคดี 2. วิธีพิจารณาเปนปรปกษ 3. วิธีพิจารณาตอสูกันดวยวาจา 4. วิธีพิจารณาโดยเปดเผย
และ 5. ผูพิพากษาที่ทําหนาที่เสมือนกรรมการรักษากติกา
2. ระบบไตสวนมีลักษณะวิธีพิจารณาคดีซึ่งตรงกันขามกับระบบกลาวหา คือ 1. บทบาทนําของศาล
ในการดําเนินคดี 2. วิธีพิจารณาเปนปรปกษกันเพียงเล็กนอย 3. วิธีพิจารณาเปนลายลักษณอักษร
และ 4. การไตสวนเปนความลับ
3. ระบบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของแตละประเทศจะมีลักษณะของวิธีพิจารณารูปแบบใด
รูปแบบหนึ่งเปนหลัก อาจเปนรูปแบบของระบบกลาวหาหรือระบบไตสวนก็ได ทั้งนี้ ขึ้นอยูกับ
การที่ แ ต ล ะประเทศได รั บ อิ ท ธิ พ ลจากแนวคิ ด ในระบบกฎหมายจารี ต ประเพณี หรื อ ระบบ
ประมวลกฎหมาย ระบบกฎหมายหลักสองระบบนี้จะมีความสัมพันธกับรูปแบบของวิธีพิจารณา
ความอาญาในระบบกลาวหาและระบบไตสวนอยางมากและเปนการยากที่จะแยกออกจากกันได

วัตถุประสงค
เมื่อศึกษาตอนที่ 2.2 จบแลว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายและวิเคราะหวิธีพจิ ารณาระบบกลาวหาได
2. อธิบายและวิเคราะหวิธีพจิ ารณาระบบไตสวนได
3. อธิบายและวิเคราะหวิธีพจิ ารณาระบบผสมได
18
คํานํา

ดังที่ไดกลาวถึงแนวคิดและวิวัฒนาการของระบบวิธีพิจารณาความอาญามาแลวในตอนที่ 1.1 จะเห็น


ไดวา ระบบวิธีพิจารณาความอาญาที่มีวิวัฒนาการคูขนานกันมาในประวัติศาสตรนั้น จะมีระบบกลาวหา
(Accusatorial System) และระบบไตสวน (Inquisitorial System) เปนหลัก แตในปจจุบันซึ่งประเทศที่ใชวิธี
พิจารณาความอาญาแตละระบบไดเห็นขอบกพรองหรือขอดอยของแตละระบบในการคนหาความจริงที่ตอง
คํานึงถึงการคุมครองสิทธิของบุคคลในการดําเนินคดีอาญาควบคูกันไปแลว ก็ไดพยายามปรับปรุงแกไข
ระบบวิธีพิจารณาของตนใหมีประสิทธิภาพ และสอดคลองกับแนวคิดดานการคุมครองสิทธิมนุษยชน ดวย
เหตุนี้ ร ะบบกฎหมายวิ ธี พิ จ ารณาความอาญาของแตล ะประเทศในป จ จุ บัน จึง มีลั ก ษณะผสมของระบบ
กลาวหาและระบบไตสวนในการดําเนินคดีอาญาที่เปนหลักทั่วไป ในทางวิชาการจึงไดมีคําอธิบายลักษณะ
ระบบวิธีพิจารณาความอาญาที่มีลักษณะผสมดังกลาววา “ระบบผสม” (The Mixed System) 11 ดังจะได
อธิบายสาระสําคัญของแตละระบบเปนลําดับดังนี้คือ 1. ระบบกลาวหา (Accusatorial System) 2. ระบบไต
สวน (Inquisitorial System) และ 3. ระบบผสม (The Mixed System)

11
Beaudouin, La participation des hommes libres au jugement dans le droit français (Rev. histor. du droit, 1887-1888, p. 246 à 279) ; Jhering,
Esprit du droit romain, t. I, p. 122, note 33.
19

เรื่องที่ 2.2.1 ระบบกลาวหา


ระบบกลาวหา (Accusatorial System/Le système accusatoire) 12 มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษอยูหลายชื่อ
คือ Accusatorial System หรือ Adversary System หรือ Adversarial system มีลักษณะที่เปนสาระสําคัญของ
การดําเนินคดีดังตอไปนี้
1. ความสําคัญของคูความในการดําเนินคดี
2. วิธีพิจารณาเปนปรปกษ
3. วิธีพิจารณาตอสูกันดวยวาจา
4. วิธีพิจารณาโดยเปดเผย
5. ผูพิพากษาทีท่ ําหนาที่เสมือนกรรมการรักษากติกา

1. ความสําคัญของคูความในการดําเนินคดี
ลัก ษณะสํ าคั ญ ของระบบกล า วหาประการแรกคือ ผู ที่มี บ ทบาทสํา คัญ ในการดํ า เนิ น คดี ใ นระบบ
กลาวหาคือคูความซึ่งเปนคูพิพาทกันในคดีอาญา เพราะระบบกลาวหามีแนวคิดพื้นฐานของการดําเนินคดี
อาญาซึ่งจะเปนการตอสูกันระหวางคูพิพาทสองฝายเหมือนกับการตอสูระหวางคูความในการพิพาททางแพง
ศาลเปนเพียงผูชี้ขาดเมื่อเสร็จสิ้นการพิจารณาวาใครผิดในระหวางสองฝาย โดยในระหวางการพิจารณาคดี
ศาลจะวางตัวเปนกลาง ไมเขาแทรกแซงในระหวางที่คูความกําลังดําเนินคดีอยูนั้น
นอกจากนี้ความสําคัญของคูความยังสามารถเห็นไดจากผูที่มีอํานาจเริ่มดําเนินคดีอาญา ในระบบ
กลาวหานั้นมีแนวคิดวา การกลาวหาสามารถกระทําไดโดยประชาชนทุกคนโดยอิสระ เนื่องจากถือวาสมาชิก
ทุกคนในกลุมหรือสังคมมีสวนเปนผูเสียหายดวย ในการดําเนินคดีอาญาตามแนวคิดนี้จะตองมีผูกลาวหาเปน
ผู เ ริ่ ม ต น คดี การเริ่ ม การพิ จ ารณาจะตกเป น ของฝ า ยผู เ สี ย หาย ต อ มาเมื่ อ เห็ น ว า รั ฐ มี ค วามจํ า เป น และ
ผลประโยชนของสังคมในการปราบปรามการกระทําความผิด จึงทําใหเริ่มมีแนวคิดที่จะใหมีเริ่มตนการ
ดําเนินคดีอาญาในนามของสวนรวม ซึ่งตอมาไดกลายเปนหลักการดําเนินคดีโดยประชาชน อยางไรก็ตาม
ในประเทศที่ใชระบบกลาวหาไมไดมีการสรางองคกรที่ถาวรและเปนทางการขึ้นมาทําหนาที่ดังกลาวเหมือน
ในประเทศที่ใชระบบไตสวน
เมื่อระบบกลาวหามีแนวคิดที่ใหความสําคัญแกบทบาทของคูความในการตอสูคดีเพื่อใหความจริง
ปรากฏดังที่กลาวมาแลว จึงจําเปนที่จะตองมีผูที่ทําหนาที่เปนกรรมการเพื่อรักษากติกาในการตอสูคดีของ
คูความทั้งสองฝายเพื่อใหเกิดความเสมอภาคกันในการตอสูคดี แนวคิดดังกลาวจึงเปนที่มาของการกําหนด

12
René Garraud, «LES DIVERS TYPES DE PROCÉDURE PÉNALE » par Extrait du « Traité de l’instruction criminelle » ( Paris 1907 ) คัดมา
จาก http://ledroitcriminel.free.fr /la_science_criminelle/penalistes/le_proces_penal /generalites/garraud_types_proc.htm
20
บทบาทให ผู พิ พ ากษามี ห น า ที่ เ ป น กรรมการของการต อ สู ไม ใ ช ผู มี บ ทบาทนํ า ในการค น หาความจริ ง
เหมือนกับผูพิพากษาในระบบไตสวน

2. วิธีพิจารณาเปนปรปกษ
ดังที่กลาวมาแลว ว าความสําคัญของระบบกลาวหาอยูที่บทบาทของคู ความในการดํ าเนิน คดีดว ย
รูปแบบของการตอสูกันระหวางคูพิพาท ดังนั้นแมเมื่อมีวิวัฒนาการของรูปแบบของการตอสูตามกระแสของ
ความมีมนุษยธรรมในการดําเนินคดีซึ่งยกเลิกวิธีพิจารณาที่เปนการทรมานหรือการตอสูที่มีลักษณะปาเถื่อน
ทรมานหรือทารุณโหดรายแลวก็ตาม แตแนวคิดในการตอสูกันในระบบวิธีพิจารณาแบบกลาวหายังคงเปน
หลักการที่ไมเปลี่ยนแปลง คือ คูพิพาททั้งสองฝายตองตอสูกันเพื่อใหความจริงปรากฏ
การตอสูของคูพิพาทในระบบวิธีพิจารณาความอาญาแบบกลาวหาจะตองตั้งอยูบนพื้นฐานของหลัก
ความเสมอภาคในการตอสูคดี ทั้งนี้เพื่อใหเกิดความเปนธรรมในการตอสูคดี การตอสูคดีในปจจุบันจะเปน
การตอสูดวยพยานหลักฐานที่คูความแตละฝายนําเขามาสืบในคดี โดยกําหนดใหฝายที่กลาวหาเปนฝายที่ตอง
มีภาระการพิสูจนใหศาลเห็นโดยปราศจากขอสงสัยที่ชอบดวยเหตุผลวาจําเลยเปนผูกระทําความผิดจริง
ดังนั้นคูความแตละฝายจะตองแสดงใหเห็นความนาเชื่อถือของพยานหลักฐานของฝายของตนวาเปนความ
จริงและมีน้ําหนักนาเชื่อถือ สวนอีกฝายหนึ่งโดยเฉพาะฝายที่ถูกกลาวหาก็ตองไดรับโอกาสในการตอสูคดีที่
เทาเทียมกันในการทําลายความนาเชื่อถือของพยานหลัก ฐานที่ฝายแรกนําสืบ พรอมทั้งแสดงพยานหลักฐาน
ประกอบในสวนของตนเพื่อประกอบการทําลายน้ําหนักความนาเชื่อถือของพยานหลักฐานของฝายแรก
การทําลายความนาเชื่อถือในพยานหลักฐานของฝายที่นําเสนอพยานหลักฐานโดยคูความอีกฝายหนึ่ง
นั้นคือ การถามคาน (Cross-examination) ในระบบกลาวหานั้นมีความเชื่อพื้นฐานกันวา การถามคานและ
เทคนิคที่ใชในการถามคานนั้นจะเปนเครื่องมือที่นาเชื่อถือและเปนกลไกทางกฎหมายที่สําคัญที่สุดสําหรับ
การคนหาความจริงหรือการทําความจริงใหปรากฏ
อยางไรก็ตาม มีผูโตแยงความเชื่อดังกลาววามีที่มาจากอิทธิพลของแนวคิดในอดีตมากกวาที่จะมาจาก
ความนาเชื่อถือของพยานหลักฐาน เชน ในบางกรณีพยานบุคคลอาจทําสิ่งที่ผิดพลาดไดในการตอบคําถาม
คานซึ่งนําไปสูความไมนาเชื่อถือในคําเบิกความของพยาน แตไมมีสิ่งใดที่จะพิสูจนวาพยานคนนั้นโกหก
การตอสูกันในระหวางการสืบพยานนั้นมีภาษาเฉพาะซึ่งมาจากความช่ําชองของผูรูกฎหมาย ซึ่งแตกตางจาก
ภาษาชาวบานโดยทั่วไป และในระหวางที่พยานตองเบิกความนั้นเปนเวลาที่พยานมีความกดดันทางอารมณ
และตกอยูในความกลัว จึงทําใหเกิดความผิดพลาดจากความกดดันและความกลัวในขณะที่เบิกความ ความ
จริงซึ่งควรจะไดจากพยานดังกลาวจึงอาจถูกบิดเบือนไปโดยอาศัยเทคนิคการตอสูคดีของทนายความผูชาญ
ฉลาดในการถามความ กรณีดังกลาวถือเปนจุดออนประการหนึ่งของรูปแบบการคนหาความจริงในระบบ
กลาวหา ยิ่งในกรณีที่พยานเปนเด็กดวยแลว สภาพความกดดันและความกลัวยิ่งมีมากกวาพยานซึ่งเปนผูใหญ
ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยก็มีบทบัญญัติหลักเกณฑของวิธีพิจารณาที่เปน
ปรปกษกันไวสอดคลองกับแนวคิดของการตอสูคดีในระบบกลาวหา อยูในมาตรา 175 ซึ่งบัญญัติวา “เมื่อ
21
โจทกสืบพยานเสร็จแลว ถาเห็นสมควร ศาลมีอํานาจเรียกสํานวนการสอบสวนจากพนักงานอัยการมาเพื่อ
ประกอบการวินิจฉัยได” แสดงใหเห็นวามีการบัญญัติกฎหมายทํานองใหการดําเนินคดีของพนักงานอัยการมี
ลักษณะเปนปรปกษกับจําเลย ถึงขนาดที่ในกรณีที่ศาลตองการทราบขอมูลที่มีอยูในสํานวนการสอบสวน
เพื่อใชประกอบการพิจารณาคดีของศาล พนักงานอัยการก็สามารถปฏิเสธไมสงสํานวนการสอบสวนใหแก
ศาลไดจ นกวา จะสื บพยานของอัย การโจทก เสร็จ จึง แสดงใหเห็น วาลัก ษณะการดํา เนิน คดีใ นระบบวิธี
พิจารณาความอาญาของไทยมีลักษณะของความเปนปรปกษในระบบกลาวหาอยางเห็นไดชัด

3. วิธีพิจารณาตอสูกันดวยวาจา
เนื่องจากระบบกลาวหามีวิธีพิจารณาที่เปนการตอสูเพื่อใหความจริงปรากฏตอหนาศาล เพราะฉะนั้น
โดยหลัก การจึ งถื อว า เฉพาะแตการดํ า เนินคดีซึ่ง กระทํา ในชั้น พิจ ารณาตอหนาศาลที่มีอํ า นาจพิจ ารณา
พิพากษาคดีเทานั้นที่ถือวาเปนสถานที่ที่ไดมาซึ่งพยานหลักฐานที่จะใชในการพิพากษาคดี และมีผลผูกพัน
คูความที่ตอสูกันในชั้นศาล เนื่องจากการพิจารณาที่กระทําตอหนาศาลโดยแตละฝายนําพยานของตนเขาสืบ
นั้น คูความมีอิสระเต็มที่ในการตอสูคดี ไมอาจอางไดวาตกอยูภายใตอํานาจหรืออิทธิพลของผูใดในระหวาง
ที่กระบวนพิจารณาดําเนินไปตอหนาศาล จําเลยสามารถซักคานพยานที่ฝายโจทกนําเขาสืบ การตอสูกันดวย
วาจาตอหนาศาลจึงเปนวิธีการที่นํามาซึ่งพยานหลักฐานอันถือวาเปนกระบวนการคนหาความจริงของวิธี
พิจารณาความอาญาในระบบกลาวหา โดยที่ศาลไมรูขอเท็จจริงมากอนที่การพิจารณาสืบพยานจะกระทําใน
ลงศาล13
สวนพยานหลักฐานที่มีการรวบรวมไวในชั้นสอบสวนในระบบกลาวหาไมไดกระทําตอหนาศาล
ดังนั้นพยานหลักฐานเหลานี้แมจะมีการรวบรวมและมีการบันทึกไวเปนลายลักษณอักษร ก็ไมถือวาผูกพัน
ศาลใหจําตองรับฟงเหมือนกับวิธีพิจารณาในระบบไตสวนแตประการใด ลักษณะดังกลาวเปนขอแตกตาง
ประการสําคัญระหวางระบบไตสวนกับระบบกลาวหาอีกประการหนึ่ง เนื่องจากในระบบกลาวหานั้นมีความ
มุงหมายที่จะใหการดําเนินในชั้นพิจารณาของศาลไมตกอยูภายใตอิทธิพลของผลที่ไดจากการรวบรวม
พยานหลักฐานที่ไดกระทํามาในชั้นสอบสวน พยานหลักฐานที่จะใชรับฟงในการพิจารณาพิพากษาคดี
จะตองมาจากการนําเสนอและอภิปรายตอสูกันในชั้นพิจารณาคดีเทานั้น
สวนในระบบไตสวนนั้น มีการคนหาความจริงตั้งแตชั้นไตสวนซึ่งเปนชั้นกอนการพิจารณา ดังนัน้ การ
รวบรวมพยานหลักฐานทุกประเภท รวมทั้งการสอบปากคําของพยานซึ่งไดกระทํามาในชั้นไตสวนหรือชั้น
สอบสวน ไมวาจะกระทําโดยผูพิพากษาไตสวน (Juge d’instruction หรือ Examining judge)14 หรือพนักงาน
อัยการ หรือโดยตํารวจซึ่งถือวาเปนกลไกการทํางานของผูพิพากษาหรืออัยการก็ดี การสอบปากคําของพยาน

13
โปรดอานเพิ่มเติมจาก : Adversary System - An Archetype Of Anglo-american Process - Type, Criminal, Contest, Law, Trial, and Prosecution.
Retrieved December 4, 2010 from : http://law.jrank.org/pages/470/Adversary-System-An-archetype-Anglo-American-process.html.
14
ในบางครั้งก็มีผูเรียกชื่อ “ผูพิพากษาไตสวน” ในภาษาฝรั่งเศสวา “Juge d’investigation” หรือในภาษาอังกฤษวา “Investigating judge” หรือแปล
เปนภาษาไทยวา “ผูพิพากษาสอบสวน”
22
บุคคลนั้นที่ถูกบันทึกไวเปนลายลักษณอักษรในสํานวนการไตสวนของผูพิพากษาไตสวน และสํานวนการ
ไตสวนจะถูกสงใหกับศาลในชั้นพิจารณากอนที่จะมีการนําพยานเขาสืบในชั้นพิจารณา ดังนั้น ผูพิพากษาใน
ชั้นพิจารณาคดีจะรูถึงรายละเอียดที่ปรากฏอยูในสํานวนการไตสวนกอนที่จะเริ่มการพิจารณาคดีในชั้นศาล
การเรียกพยานมาสืบในชั้นพิจารณาของศาลก็เพียงเพื่อยืนยันขอเท็จจริงซึ่งพยานไดเคยใหปากคําไวในชั้นไต
สวน ดวยเหตุนี้สํานวนการไตสวนซึ่งทําเปนลายลักษณอักษรจึงถือวาเปนสวนหนึ่งของพยานหลักฐานที่
สามารถใชรับฟงในชั้นพิจารณาพิพากษาคดีได ดังนั้นลักษณะของการตอสูคดีกันดวยวาจาในศาลของระบบ
ไตสวน จึงมีความสําคัญนอยกวาในระบบกลาวหา

4. วิธีพิจารณาโดยเปดเผย (In public)


ที่วา “การพิจารณาคดีตอหนาศาลระหวางคูความที่เปนปรปกษกันในระบบกลาวหาจะตองกระทําโดย
เปดเผย” นั้น หมายความวาประชาชนทั่วไปสามารถเขาฟงการพิจารณาได ลักษณะดังกลาวมีที่มาจากรูปแบบ
ของการตอสูระหวางคูพิพาทที่กระทําในสนามประลองการตอสูตอหนาประชาชนที่ชมเปนสักขีพยาน ที่เปน
เชนนี้เพราะการพิจารณาคดีอาญาในศาลไมใชเรื่องที่เกีย่ วของเฉพาะสิทธิหรือผลประโยชนสวนบุคคลของ
จําเลยเพียงอยางเดียว แตยังถือเปนเรื่องที่เกี่ยวของกับประชาชนทั้งหมดที่อยูรวมกันในสังคม
นอกจากนี้ ลักษณะของการพิ จารณาคดี โดยเปดเผยในระบบกล าวหานั้นสามารถพิจารณาไดจ าก
ลักษณะของการมีลูกขุนในการพิจารณาคดี การมีลูกขุนในการพิจารณาคดีนั้น มีความหมายที่สอดคลองกับ
หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยประการหนึ่งคือ การที่มีตัวแทนของประชาชนจํานวนหนึ่งในการ
ใหพิจารณาพิพากษาคดี 15
ลักษณะของการพิจารณาคดีที่กระทําโดยเปดเผยไดกลายเปนหลักการคุมครองสิทธิมนุษยชนและเปน
หลักการที่รัฐจะตองใหการรับรองและคุมครองซึ่งเปนลักษณะสําคัญในการพิจารณาคดีในศาล กับสิทธิของ
จําเลยในคดีอาญาที่จะไดเผชิญหนากับพยานโจทกเพื่อการพิสูจนความจริงในคดี และยังเปนหลักประกันที่
จําเลยจะไมถูกขมขู กลั่นแกลง หรือถูกพิจารณาคดีตามอําเภอใจ นอกจากนี้ยังเปนการปองกันมิใหพยานเบิก
ความเท็จ เนื่องจากการที่มีประชาชนเขาฟงการพิจารณาคดีหรือมีคณะลูกขุนเปนตัวแทนของประชาชนใน
การพิจารณาคดีนั้น จะทําใหพยานไมกลาหรือเกรงกลัวที่จะกลาวเท็จตอหนาประชาชน
ที่กลาววาการพิจารณาคดีโดยเปดเผยไดกลายเปนหลักการคุมครองสิทธิมนุษยชนไปแลวนั้น เนื่องจาก
ตามบทบัญญัติของปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชนขอ 10 และตามกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิ
พลเมืองและสิทธิทางการเมืองขอ 14 ไดกําหนดใหพิจารณาคดีตองกระทําโดยเปดเผย และในกฎหมายของ
ประเทศที่อยูในระบบกลาวหา เชน ในประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแกไขเพิ่มเติมที่ 6
ของประเทศสหรัฐอเมริกาบัญญัติวา “ในการดําเนินคดีอาญาทั้งปวงจําเลยพึงมีสิทธิที่จะไดรับการพิจารณา
คดี...อยางเปดเผยกับพึงมีสิทธิเผชิญหนากับพยานที่ใหการในทางยืนยันความผิดของตน” เปนการให

15
Heinemann Australian Dictionary (1995:604).
23
หลักประกันแกจําเลยในคดีอาญาวาจะไดรับการพิจารณาคดีอยางเปนธรรมและถูกตอง และเปนการลด
โอกาสที่จะเกิดการเบี่ยงเบนในการดําเนินคดีโดยมีอคติ
ตามกฎหมายไทยก็รับรองสิทธิของจําเลยที่จะไดรับการพิจารณาโดยเปดเผยไวใน ป.วิ.อ.มาตรา 172
วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติวา “การพิจารณาและสืบพยานในศาลใหทําโดยเปดเผยตอหนาจําเลย เวนแตบัญญัติไว
เปนอยางอื่น” ดังนั้นการสืบพยานในคดีอาญาไมวาชั้นสืบพยานโจทกหรือพยานจําเลยจึงตองกระทําตอหนา
จําเลย จะกระทําโดยลับหลังจําเลยไมไดเวนแตจะมีกฎหมายบัญญัติไวใหเปนขอยกเวน
อยางไรก็ตาม ในระบบกลาวหานั้นมีขอกังวลที่สําคัญประการหนึ่ง การที่ระบบกลาวหากําหนดใหการ
พิจารณาจะตองกระทําโดยเปดเผยตอหนาจําเลยนั้น จะตองมีตัวจําเลยอยูในการพิจารณาคดีตามหลักการ
ดังกลาว ดังนั้นการที่จําเลยที่ดื้อรั้นไมเขามาสูกระบวนการตามกฎหมายนั้นจึงกอใหเกิดปญหาหรือความ
ยุงยากในการดําเนินคดีตอไป เมื่อรัฐหมดหนทางที่จะบังคับจําเลยและไมอาจที่จะดําเนินการพิจารณาคดี
ตอไปได จําเลยที่ไมมาปรากฏตัวตอหนาศาลนั้นจะถูกถือวาเปนคนนอกกฎหมาย (out-law) ไมใชผูที่ถูก
ลงโทษ (non en condamné) แตประการใด

5. ผูพิพากษาที่เปนกรรมการ
ลักษณะของระบบกลาวหาในขอนี้จะตรงกันขามกับลักษณะที่อธิบายมาแลวในขอ 1 ซึ่งความสําคัญ
ของการดําเนินคดีแกคูความตกอยูกับคูความตามหลักการคนหาความจริงที่จะปรากฏขึ้นจากการตอสูคดีของ
คูความ สวนบทบาทของผูพิพากษาในระบบกลาวหาจะถูกจํากัดอยูที่การพิจารณาพยานหลักฐานที่คูความ
นําเสนอตอหนาตน แลววินิจฉัยตัดสินคดีจากพยานหลักฐานเหลานั้น ดังนั้น ผูพิพากษาในระบบกลาวหาจึงมี
บทบาทที่สําคัญเฉพาะการควบคุมการตอสูคดีของคูความเพื่อใหมีความเที่ยงตรง และจะเปนผูตัดสินวาใคร
เปนผูชนะคดี แตในระหวางการพิจารณาคดี ผูพิพากษาในระบบกลาวหาจะไมแสดงบทบาทในเชิงรุก โดย
การเรียกพยานที่ตนเห็นสมควรมาใหขอเท็จจริงในศาล หรือทําการไตสวนเพิ่มเติมดวยตนเอง เพราะอาจจะ
เกิดขอครหาวาเขาแทรกแซงการดําเนินคดีเพื่อประโยชนแกคูความฝายใดฝายหนึ่ง16
เราไดเห็นลักษณะสําคัญที่เปนหลักของระบบกลาวหาและระบบไตสวนมาแลว ในระบบกลาวหา
นอกจากจะมีลักษณะหลักสามประการของการพิจารณาคดีที่เปดเผย ดวยวาจา และเปนปรปกษกันแลว ยังมี
ลักษณะของการดําเนินคดีที่พิจารณาจากบทบาทของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมดวยคือ ในระบบ
กลาวหานั้นผูที่ขับเคลื่อนการดําเนินคดีคือคูความที่เตรียมและเสนอคดีของตนเอง โดยเฉพาะฝายจําเลย
จะตองไดรับการชวยเหลือจากทนายความเพื่อใหเปนไปตามหลักความเสมอภาคหรืออาวุธที่เทาเทียมกันใน

16
สําหรับผูพิพากษาในระบบกฎหมายไทย มีประมวลจริยธรรมของขาราชการตุลาการศาลยุติธรรม ขอ 9 กําหนดใหผูพิพากษาพึงระลึกวาการนํา
พยานหลักฐานเขาสืบ และการซักถามพยานความเปนหนาที่ของคูความและทนายความของแตละฝายที่จะกระทํา ผูพิพากษาพึงเรียกพยานหลักฐานหรือ
ซักถามพยานดวยตนเองก็ตอเมื่อจําเปนเพื่อประโยชนของความยุติธรรมหรือมีกฎหมายบัญญัติไวใหศาลเปนผูกระทําเอง
24
การตอสูคดี ในระบบกลาวหาตํารวจจะมีความเปนอิสระในการสืบสวนสอบสวน สวนผูพิพากษาจะวางตน
นิ่งเฉย และไมรูถึงขอเท็จจริงในสํานวนคดีมากอน
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรือ่ งที่ 2.2.1 แลว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 2.2.1
ในแนวการศึกษาหนวยที่ 2 ตอนที่ 2.2 เรื่องที่ 2.2.1
25

เรื่องที่ 2.2.2 ระบบไตสวน


ระบบไตสวน (Inquisitorial System/Le système inquisitoire) ในคริสตศาสนจักรไดมีอิทธิพลตอ
การดําเนินคดีอาญาในประเทศฝรั่งเศสตั้งแตยุคกลางเปนตนมา เนื่องจากประเทศฝรั่งเศสไดชื่อวา เปน
ประเทศแมของคริสตศาสนานิกายคาทอลิก ดวยเหตุนี้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของฝรั่งเศสจึงไดนํา
รูปแบบของระบบไตสวนที่พระในคริสตศาสนามีอํานาจดําเนินคดีตั้งแตตนจนจบมาใชในการดําเนินคดี
อาญากับ ผู ก ระทํ า ผิด ทั่ ว ไป จนกระทั่ ง เมื่ อ ครั้ งมี ก ารปฏิ วั ติใ หญ เ ปลี่ ย นแปลงการปกครองจากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชยมาเปนระบอบสาธารณรัฐเมื่อค.ศ.1789 ก็ไดมีการปฏิรูประบบการดําเนินคดีอาญาใน
ประเทศฝรั่งเศสครั้งใหญ โดยมีการนําระบบลูกขุนของประเทศอังกฤษมาใชในการดําเนินคดีที่เปนความผิด
ที่มีลักษณะรายแรง และนับแตนั้นเปนตนมา กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของฝรั่งเศสก็มีวิวัฒนาการและ
การเปลี่ ยนแปลงอยูตลอดเวลา ระบบไตสวนมีลักษณะวิธีพิ จารณาคดีซึ่งตรงกัน ขามกับระบบกลาวหา
ดังตอไปนี้
1. บทบาทนําของศาลในการดําเนินคดี (Importance du rôle du juge)
2. วิธีพิจารณาเปนปรปกษกนั เพียงเล็กนอย (Procédure faiblement contradictoire)
3. วิธีพิจารณาเปนลายลักษณอักษร (Procédure écrite)
4. การไตสวนเปนความลับ (Secret de l'instruction)

ผู เ ขี ย นขออธิ บ ายรายละเอี ย ดของวิ ธี พิ จ ารณาคดี แ บบไต ส วนในแต ล ะลั ก ษณะโดย


ยกตัวอยางระบบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศฝรั่งเศสประกอบเพื่อการทําความเขาใจของ
นักศึกษาตามลําดับดังตอไปนี้

1. บทบาทนําของศาลในการดําเนินคดี (Importance du rôle du juge)


บทบาทนําของศาลในการดําเนินคดีในระบบไตสวนนี้ เริ่มตนขึ้นตั้งแตการดําเนินคดีในชั้นกอน
พิจารณา คือในชั้นสอบสวนหรือไตสวนซึ่งเปนศาลในชั้น กอนการพิจารณา และแมแตในชั้นพิจารณา
พิพากษาคดี บทบาทของศาลในระบบไตสวนก็ยังเปนผูนําในการดําเนินคดีอันเปนลักษณะพิเศษที่แตกตาง
กับลักษณะของระบบกลาวหาประการแรก
1.1 บทบาทของผูพพิ ากษาไตสวนในชั้นกอนพิจารณาคดี
ในระบบวิธีพิจารณาคดีของประเทศที่ใชระบบกลาวหานั้น บทบาทการทํางานของศาลจะถูกจํากัดอยู
เพียงในชั้นพิจารณาพิพากษาคดีเทานั้น ศาลจะไมมีอํานาจเขามากาวกายหรือมีอํานาจหนาที่ในการสอบสวน
คดีดวยตนเอง แตในระบบวิธีพิจารณาคดีแบบไตสวนนั้น การที่ผูพิพากษาหรือศาลมีอํานาจในการแสวงหา
และรวบรวมพยานหลักฐานเชนเดียวกับพนักงานสอบสวนที่เปนตํารวจนั้น ถือเปนลักษณะพิเศษที่โดดเดน
26
เปนเอกลักษณของระบบไตสวน นั่นก็คือ การมีผูพิพากษาไตสวน (Juge d’instruction) ทําหนาที่ในการ
แสวงหาและรวบรวมพยานหลักฐานเชนเดียวกับพนักงานสอบสวน
อํานาจหนาที่ของผูพิพากษาไตสวนคือ การรวบรวมพยานหลักฐานทุกประเภทที่จะสามารถนํามาใช
ในการพิจารณาวาคดีมีมูลพอที่จะดําเนินคดีกับผูถูกกลาวหาในชั้นพิจารณาคดีของศาลหรือไม ลักษณะเดน
ของการทํ า หน า ที่ ข องผู พิ พ ากษาไต ส วนก็ คื อ การที่ ก ฎหมายได กํ า หนดให ผู พิ พ ากษาซึ่ ง มี ส ถานะและ
หลักประกันความเปนตุลาการมาทําหนาที่ของพนักงานสอบสวนในชั้นสอบสวน ลักษณะดังกลาวถือเปน
ลักษณะพิเศษที่ไมมีอยูในระบบกลาวหา เพราะในระบบกลาวหา หนาที่ของผูพิพากษาอาชีพคือ ความ
รับผิดชอบเฉพาะแตในชั้นของการพิจารณาพิพากษาคดีซึ่งผูพิพากษาจะตองวางตัวเปนกลางในการดําเนิน
กระบวนพิจารณาเทานั้น สวนการสืบพยานเปนหนาที่ของคูความที่จะนําพยานหลักฐานของแตละฝายเขา
สืบ ในระบบกลาวหาไมมีผูพิพากษาลงมาทําหนาที่รวบรวมพยานหลักฐานเหมือนเชนผูพิพากษาไตสวนของ
ฝรั่งเศสแตประการใด
การที่กฎหมายไดใหอํานาจแกผูพิพากษาไตสวน ในการแสวงหาและรวบรวมพยานหลักฐานในการ
ดําเนินคดีอาญากับผูถูกไตสวนเชนนี้ จึงทําใหมีผูเรียกชื่อผูพิพากษาไตสวนกันอีกชื่อหนึ่งวา “ผูพิพากษา
สอบสวน” (Le juge d’investigation) 17
อํานาจหนาที่ในการไตสวนคดีในฐานะที่เปนผูมีอํานาจคนหาความจริงในการดําเนินคดีอาญา ผู
พิพากษาไตสวนมีภารกิจที่สําคัญ 2 ประการคือ
1.1.1 ภารกิจไตสวนขอเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทําความผิด (L’instruction sur l’acte) ประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 81 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา “ผูพิพากษาไตสวนดําเนินการ
สอบสวนทุกอยางที่ผูพิพากษาไตสวนพิจารณาเห็นวา เปนประโยชนตอการแสดงความจริงใหปรากฏ”
ดังนั้น เพื่อใหไดขอมูลที่เพียงพอในการพิสูจนความจริงในคดีอาญา ผูพิพากษาไตสวนจึงมีอํานาจลง
มือสอบสวนไดดวยตนเองเหมือนพนักงานสอบสวนของไทย หรือจะรองขอใหตํารวจฝายคดี (La police
judiciaire) หรือผูเชี่ยวชาญชวยดําเนินการแทนก็ได อํานาจของผูพิพากษาไตสวนมีตั้งแตการสอบปากคํา
บุคคลซึ่งเปนผูถูกไตสวนและพยานบุคคล การเดินทางไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ การคนที่พักอาศัยของผูตอง
สงสัยหรือบุคคลที่อาจมีสวนรวมกับการกระทําความผิด การยึดวัตถุที่เกี่ยวของกับการกระทําความผิดหรือ
สิ่งของที่บงชี้วามีการกระทําความผิด
นอกจากนี้ ผูพิพากษาไตสวนยังเปนผูที่มีอํานาจแตเพียงผูเดียวในการสั่งอนุญาตใหมีการใชมาตรการ
สืบสวนสอบสวนพิเศษ โดยการดักฟงและบันทึกการสนทนาทางโทรศัพท (Les écoutes téléphoniques)18
โดยมีคําสั่งอนุญาตเปนลายลักษณอักษรไดเปนระยะเวลาครั้งละสี่เดือน และสามารถขยายระยะเวลาดังกลาว

17
“ผูพิพากษาไตสวน” ในภาษาอังกฤษใชคําวา “Investigating judge /Examining judge”
18
Crim., 27 février 1996, B.C., n° 93, J.C.P., 1996.II.22629, note M.L. Rassat, D., 1996.346, note C. Guéry, arrêt cassant, Paris, Ch. Acc., 8
février 1995, D., 1995.221, note J. Pradel.
27
ไดอีกหนึ่งครั้ง 19 คําสั่งอนุญาตนี้เปนการกระทําในชั้นไตสวน จึงไมมีลักษณะของการพิจารณาคดี และไม
อาจอุทธรณได 20
1.1.2 ภารกิจไตสวนขอเท็จจริงเกี่ยวกับตัวผูกระทําความผิด (L’instruction sur la personne) การ
ไตสวนขอเท็จจริงเกี่ยวกับตัวผูกระทําความผิดนี้ ไดรับอิทธิพลทางทฤษฎีอาญาจากสํานักปองกันสังคมใหม
(L’École de la défense sociale nouvelle) ซึ่งมีนายมารค อังเซล (Marc Ancel) เปนผูที่ไดรับการขนานนามวา
เปนบิดาแหงทฤษฎีอาญาดังกลาว นายมารค อังเซล เคยรับราชการเปนผูพิพากษา และไดเสนอทฤษฎีอาญา
ดังกลาวโดยตอยอดมาจากทฤษฎีปองกันสังคม (L’École de la défense sociale)
แนวคิดและหลักการของทฤษฎีปองกันสังคมใหมไดแพรหลายในประเทศฝรั่งเศส และเริ่มมีอิทธิพล
ตอระบบการดําเนินคดีอาญาในประเทศฝรั่งเศสตั้งแตประมาณค.ศ. 1950 เปนตนมา ตามแนวคิดและ
หลักการของทฤษฎีนี้เห็นวา การลงโทษผูกระทําความผิดจะตองมีมนุษยธรรมโดยพิจารณาถึงความเปนมา
และพฤติกรรมของผูกระทําความผิดประกอบดวย เพื่อใหการพิจารณาลงโทษมีความเหมาะสมกับการกระทํา
ความผิดที่ไดกระทําลง
การไตสวนขอเท็จจริงเกี่ยวกับผูกระทําความผิดนี้ถือเปนสวนหนึ่งของสํานวนการไตสวน ถือวาเปน
หนาที่ของผูพิพากษาไตสวนตองกระทําตอผูถูกไตสวน (Le mis en examen) ในคดีความผิดอุกฤษฏโทษ
(Les crimes) ทุกคดี หรือในความผิดมัชฌิมโทษ (Les délits)บางประเภท ที่รายแรงซึ่งผูพิพากษาไตสวนจะ
พิจารณาเห็นสมควรทําการไตสวน ทั้งนี้เพื่อทราบความเปนมาแหงความประพฤติของผูถูกไตสวน เพื่อจะ
ไดพิจารณาการลงโทษใหเหมาะสมกับผูกระทําความผิดตามแนวคิดของทฤษฎีปองกันสังคมใหม
ตอมา เมื่อไดมีการประกาศใชรัฐบัญญัติฉบับลงวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2000 แกไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศสไดมีการนําแนวคิดเรื่องการไตสวนขอเท็จจริงเกี่ยวกับผูกระทํา
ความผิดมาใชกับผูเสียหายดวย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 81.1 ไดบัญญัติ
ไววา “ในกรณี ที่ผูพิ พากษาไตสวนเห็นสมควร หรือไดรับคํารองของพนัก งานอัยการหรือผูเ สียหาย ผู
พิพากษาไตสวนสามารถดําเนินการทุกอยางที่สามารถนํามาพิจารณาถึงลักษณะสําคัญของความเสียหายที่
ผูเสียหายไดรับ รวมทั้งรวบรวมขอมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลของผูเสียหายไวดวย”
ในการไตสวน ผูพิพากษาไตสวนอาจสงประเด็นไปใหผูพิพากษาอื่น หรือตํารวจฝายคดีดําเนินการ
หรื อ ช ว ยเหลื อ เพื่ อ ให ภ ารกิ จ การคน หาความจริ ง สามารถลุล ว งไปได ด ว ยดี นอกจากนั้ น ยั ง สามารถใช
มาตรการบังคับไดหลายประการ ทั้งการออกหมายบังคับเพื่อใหนํามา หรือจับกุม หรือสั่งใหผูถูกไตสวนอยู
ในมาตรการควบคุมทางตุลาการ (Le contrôle judiciaire)
ในอดีตกอนที่จะมีการแกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของฝรั่งเศสโดยรัฐ ผู
พิพากษาไตสวนมีอํานาจสั่งขังผูถูกไตสวนไวในระหวางการไตสวนคดีของตนเองดวย การที่กฎหมายให

19
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 100-2
20
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 100
28
อํานาจทั้งอํานาจการสอบสวนและอํานาจการใชมาตรการบังคับในบุคคลคนเดียวกัน แมจะมีสถานะเปนตุลา
การ ก็ถือวามีลักษณะของผลประโยชนขัดกันในการปฏิบัติหนาที่ (Conflict of interests) จึงมีความพยายาม
ของฝายนิติบัญญัติหลายครั้งที่จะจํากัดอํานาจการสั่งขังชั่วคราวของผูพิพากษาไตสวน รวมทั้งสรางระบบ
ตรวจสอบการใชอํานาจดังกลาว แตไมประสบความสําเร็จ จนกระทั่งในที่สุดไดมีการตรารัฐบัญญัติฉบับ
เลขที่ 2000-516 ลงวันที่15 มิถุนายน ค.ศ. 2000 หรือที่เรียกวา กฎหมายกิกู (la loi Guigou) 21 จัดตั้งผูพิพากษา
แหงเสรีภาพและการกักขังขึ้นมาถวงดุลการใชอํานาจของผูพิพากษาไตสวน ผูพิพากษาไตสวนไมมีอํานาจที่
จะสั่งขังชั่วคราวผูถูกไตสวนดวยตนเองอีกตอไป หากประสงคจะใหมีการขังชั่วคราวผูถูกไตสวน ผูพิพากษา
ไตสวนจะตองสงเรื่องใหผูพิพากษาแหงเสรีภาพและการกักขังเปนผูพิจารณาใชอํานาจในการสั่งขังชั่วคราว
แทนผูพิพากษาไตสวน
ดังที่ไดอธิบาย จะเห็นไดวา ผูพิพากษาไตสวนเปนสัญลักษณของระบบไตสวนฝรั่งเศส แตปรากฏวา
มักมีผูแสดงความเห็นหรือเสนอใหยกเลิกตําแหนงผูพิพากษาไตสวนในประเทศฝรั่งเศสอยูเปนประจํา ลาสุด
เมื่อตนค.ศ. 2009 นายนิโคลา ซารโกซี ประธานาธิบดีแหงสาธารณรัฐฝรั่งเศสก็ไดเสนอความเห็นใหยุบ
อํานาจหนาที่ของผูพิพากษาไตสวน ในที่ประชุมพิธีเปดสมัยการทํางานของศาลฎีกา นายนิโคลา ซารโกซี
ประธานาธิบดีแหงสาธารณรัฐฝรั่งเศสใหเหตุผลวา ประเทศฝรั่งเศสจะตองมีกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ที่เหมาะสมกับยุคสมัยปจจุบัน ซึ่งจะตองคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน และธรรมเนียมปฏิบัติของวิธี
พิจารณาวาดวยพยานหลักฐาน การทํางานของผูพิพากษาไตสวนโดยมีอํานาจสอบสวนและอํานาจของศาล
ในขณะเดียวกันนั้นกอใหเกิดความสับสนและไมอาจยอมรับได ผูพิพากษาไตสวนที่ตองรับผิดชอบการ
สอบสวนด ว ยนั้ น ไม อ าจจะสร า งหลั ก ประกั น แห ง สิ ท ธิ ข องผู ถู ก ไต ส วนในขณะเดี ย วกั น ด ว ยเหตุ นี้
ประธานาธิบดีซารโกซีจึงเห็นวา ถึงเวลาแลวที่จะตองหยุดอํานาจหนาที่ในการทํางานของผูพิพากษาไตสวน
และจัดตั้ง “ผูพิพากษาแหงการไตสวน” (Un juge de l'instruction) ซึ่งมีหนาที่ควบคุมการสอบสวนมาทํา
หนาที่แทน แตไมใชผูซึ่งทําหนาที่นําการสอบสวนอีกตอไป
การยกเลิกอํานาจการสอบสวนของผูพิพากษาไตสวนจะทําใหการใชอํานาจดังกลาวตกอยูแกพนักงาน
อัยการแตเพียงผูเดียว ตามโครงสรางการบังคับบัญชา พนักงานอัยการฝรั่งเศสอยูภายใตการบังคับบัญชาของ
รัฐมนตรีวาการกระทรวงยุติธรรม หากเปนไปตามความเห็นของประธานาธิบดี จะมีการตั้งผูพิพากษาแหง
การไตสวน (Le juge de l'instruction) ขึ้นมาทําหนาที่ในการตรวจสอบการเสนอขออนุญาตใหใชมาตรการ
บังคับในการสอบสวน เชน การดักฟงทางโทรศัพท หรือการคน การจับ เปนตน แตผูพิพากษาแหงการไต
สวนจะไมมีอํานาจทําการสอบสวนคดีดวยตนเองเหมือนกับผูพิพากษาไตสวนแตประการใด
อยางไรก็ตาม มีผูที่คัดคานความเห็นที่จะยกเลิกผูพิพากษาไตสวนอยูเปนจํานวนไมนอย เนื่องจากผู
พิพากษาไตสวนเปรียบเสมือนสัญลักษณของระบบการดําเนินคดีอาญาในประเทศฝรั่งเศสซึ่งเปนที่รูจักของ
นักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั่วโลก และแมแตในประเทศที่อยูในระบบกลาวหาเองก็ชื่นชมและให

21
ชื่อที่ใชเรียกกฎหมายเปนชื่อของนาง Elizabeth Guigou ซึ่งดํารงตําแหนงรัฐมนตรีวาการกระทรวงยุติธรรมฝรั่งเศสในขณะนั้น
29
ความสําคัญกับการทํางานของผูพิพากษาไตสวน แลวดวยเหตุใดจึงตองการใหมีการยกเลิกผูพิพากษาไตสวน
ดวยเหตุนี้จึงปรากฏวาขอเสนอที่ประสงคใหมีการยกเลิกผูพิพากษาไตสวนนั้น ไมเคยประสบความสําเร็จ
แมแตครั้งเดียว และสิ่งที่วงการนักกฎหมายฝรั่งเศสกังวลก็คือ หากยกเลิกผูพิพากษาไตสวนแลวใหมีอัยการ
เปนผูใชอํานาจแทนนั้น นักกฎหมายสวนใหญเกรงกันวาอํานาจทางการเมืองจะเขามาแทรกแซงการทํางาน
ของพนักงานอัยการไดงายกวาการที่มีผูพิพากษาไตสวนเปนผูรับผิดชอบดําเนินคดี
1.2 บทบาทนําของศาลในชัน้ พิจารณาพิพากษาคดี
นอกจากความแตกตางของระบบกลาวหากับระบบไตสวนในชั้นกอนพิจารณาคดีซึ่งการมีผูพิพากษา
ไตสวนถือเปนเอกลักษณที่ชัดเจนของประเทศที่เปนตนแบบในระบบไตสวนแลว บทบาทของศาลในการ
ปฏิบัติหนาที่ของตนในชั้นพิจารณาพิพากษาคดีก็มีความแตกตางอยางเห็นไดชัดในสองระบบ แมวาใน
ปจ จุ บั น จะมี แ นวโน ม ที่ ก ารต อ สู ใ นชั้ น พิ จ ารณาพิ พ ากษาคดี ใ นระบบไต ส วนจะมี ลั ก ษณะเป น ปรป ก ษ
(Adversary proceedings) กันมากขึ้นก็ตาม แตบทบาทของผูพิพากษาในชั้นพิจารณาพิพากษาคดีในศาลก็
ยังคงเปนผูมีบทบาทนําในการพิจารณาคดีเชนเดิม 22
ในระบบไตสวนนั้นมีแนวคิดที่วาผูพิพากษาจะตองเปนผูรับผิดชอบในการที่จะทําใหเกิดความมั่นใจ
วา ขอเท็จจริงที่เกิดขึ้นหรือไดมาจากการดําเนินคดีโดยศาลจะตองมีความสมบูรณเพียงพอที่จะทําใหคํา
พิพากษาสามารถตั้งอยูบนพื้นฐานของความจริงได ในขณะที่แนวคิดในระบบกลาวหานั้น การวินิจฉัย
ขอเท็จจริงจะขึ้นอยูกับการนําพยานหลักฐานของคูความเขาสืบเทานั้น ศาลหรือลูกขุนไมมีสิทธิที่จะไป
พิสูจนถึงที่มาของพยานหลักฐานเหลานั้นวาจริงหรือเท็จ และไมมีสิทธิที่จะนําพยานหลักฐานเขาสูการ
พิจารณาคดีโดยตนเอง
นอกจากนี้ ในระบบไตสวนผูพิพากษาที่นั่งพิจารณาไมไดเปนเพียงแคผูที่คอยรอรับขอเท็จจริงจาก
คูความ แตผูพิพากษาดังกลาวจะเปนผูรับผิดชอบตั้งแตเบื้องตนในการกํากับดูแลการรวบรวมพยาน หลักฐาน
ทั้งหลายที่จําเปนเพื่อที่จะแกปมคดีใหลุลวง ผูพิพากษาในระบบไตสวนไมไดทําหนาที่เพียงแคเปนกรรมการ
ควบคุมกติกา (arbitre) ดังเชนผูพิพากษาในระบบกลาวหา แตผูพิพากษาในระบบไตสวนจะเปนคนกําหนด
ทิศทางการคนหาพยาน หลักฐาน 23 และจะทําหนาที่ในการซักถามพยานที่คูความแตละฝายนําเขาสืบดวย
ตนเอง รวมทั้งผูถูกกลาวหาหรือจําเลย หลังจากศาลไดทําการซักถามจนเสร็จสิ้นแลว จึงจะเปดโอกาสให
พนักงานอัยการโจทก คูความฝายแพง และฝายจําเลยทําการซักถามพยานได ดังนั้นทนายความไมวาจะเปน
ทนายความของคูความฝายแพง หรือโดยเฉพาะทนายความจําเลยจะมีโอกาสแสดงบทบาทการทํางานนอย
มาก ทนายความจะติดตามการซักถามของผูพิพากษาซึ่งถามพยานดวยคําถามของทนายความเอง ดังนั้นการ
ถามความของทนายความมักจะมีคําถามเหลือนอยและยนยอเพราะผูพิพากษาพยายามจะซักถามทุกคําถามที่

22
ชวเลิศ โสภณวัต, “กฎหมายลักษณะพยานของไทยเปนกฎหมายในระบบกลาวหาจริงหรือ”, ดุลพาห ปที่ 28 เลม 6 , 2524
23
ตัวบทประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 309 วรรคหนึ่ง ภาษาฝรั่งเศส บัญญัติไววา “Le pr sident a la police de l’audience
et la direction des d bats.”
30
เกี่ยวของดวยตนเอง ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับทนายความในระบบกลาวหาแลว บทบาทของทนายความจะ
แตกตางกันมาก24
ลักษณะของการดําเนินคดีดงั กลาวแตกตางกับการดําเนินคดีหรือการสืบพยานในศาลของประเทศที่ใช
ระบบกลาวหาโดยสิ้นเชิง เพราะในระบบกลาวหาผูพิพากษาทีน่ ั่งพิจารณาจะวางตนเปนกลาง ปลอยให
คูความแตละฝายเปนผูซักถามพยาน ศาลจะไมซักถามพยานเอง เวนแตในกรณีทจี่ ําเปนเพื่อประโยชนแหง
ความยุติธรรม ซึ่งในทางปฏิบัติศาลก็มักจะไมใชอํานาจเชนวานี้ จึงมีผเู ปรียบเทียบวาศาลในระบบกลาวหามี
รูปแบบการดําเนินคดีทวี่ างเฉย ไมกระตือรือรนในการคนหาความจริง
ระบบไตสวนมีขอดอยบางประการคือ การที่วัตถุประสงคของระบบไตสวนตองการมุงคนหาผูกระทํา
ความผิดใหไดดวยทุกวิถีทาง ดังนั้นจึงอาจจะมีผลกระทบตอสิทธิในการตอสูคดีของฝายผูถูกกลาวหา ซึ่งอาจ
นําไปสูความผิดพลาดในการดําเนินคดีได
อยางไรก็ตาม ลักษณะดั้งเดิมของระบบไตสวนในประเทศฝรั่งเศสที่กลาวมาขางตนไดผอนคลายความ
เครงครัดลงเปนอันมาก โดยเฉพาะไดมีการนําเอาหลักการสําคัญที่กําหนดไวรัฐธรรมนูญรวมทั้งหลักการที่
ศาลยุ โ รปว าด ว ยสิท ธิ ม นุ ษ ยชนวางไวม ากํ า หนดไว เ ป น หลั ก การในบทบั ญ ญั ติม าตราเบื้ อ งต น (Article
préliminaire) ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศสดังนี้
1) ลักษณะของความเสมอภาคและเปนปรปกษกัน
2) ขอมูลและหลักประกันสิทธิของผูเสียหาย
3) ขอสันนิษฐานความเปนผูบริสุทธิ์และสิทธิของผูตองหาหรือจําเลย

2. วิธีพิจารณาเปนปรปกษกันเพียงเล็กนอย (Procédure faiblement contradictoire)


ในปจจุบันการที่จะกลาววาวิธีพิจารณาความอาญาในระบบไตสวนเปนวิธีพิจารณาที่ไมเปนปรปกษ
กันเลยนั้นคงไมถูกตองเสียทีเดียวนัก เพราะดังที่ไดกลาวถึงหลักการในบทบัญญัติมาตราเบื้องตน (Article
préliminaire) ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศสที่แกไขเพิ่มเติมใหมโดยรัฐบัญญัติฉบับ
เลขที่ 2000-516 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.2000 นั้นไดใหหลักประกันในการตอสูคดีของคูความในคดีอาญา
ในสวนของผูตองหาหรือจําเลยวา จะตองมีความเสมอภาคและเปนปรปกษกัน รวมทั้งกําหนดขอสันนิษฐาน
ความเปนผูบริสุทธิ์และรับรองสิทธิของผูตองหาหรือจําเลยในการตอสูคดีดวย
แตอยางไรก็ตาม เนื่องจากระบบไตสวนนัน้ ผูพิพากษายังคงมีบทบาทนําในการถามพยานในชั้น
พิจารณาของศาลตามหลักการคนหาความจริงโดยศาล และหลังจากที่ผพู ิพากษาซึ่งเปนหัวหนาคณะในศาล

24
อยางไรก็ตาม ในประเทศฝรั่งเศสไดมีการตรารัฐบัญญัติฉบับเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.2000 ไดมีการปรับปรุงแกไขหลักการสําคัญใน
กระบวนการสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส โดยอนุญาตใหพนักงานอัยการและทนายความของคูความถามคําถามแกจําเลย
คูความฝายแพง พยานบุคคลหรือทุกคนที่ถูกเรียกมาใหการตอหนาศาลไดโดยตรง หลังจากที่รองขอตอประธานศาลลูกขุน แตกตางจากกฎหมายเดิมที่ตองถาม
ผานประธานศาลลูกขุนการแกไขดังกลาวทําใหประธานศาลลูกขุนเกิดความเปนกลางมากขึ้น และชวยใหเกิดความไมมีอคติ การที่รัฐบัญญัติฉบับเมื่อวันที่ 15
มิถุนายน ค.ศ.2000 ไดพัฒนาระบบการถามพยานในวิธีพิจารณาความอาญาของฝรั่งเศสนี้ทําใหมีลักษณะของการสืบพยานใกลเคียงกับระบบการสืบพยานใน
ระบบกลาวหามากยิ่งขึ้นในระดับหนึ่ง
31
ลูกขุนไดทําการซักถามพยานเสร็จแลว จะถามผูพิพากษาที่เปนองคคณะและลูกขุนวามีผูใดจะถามคําถามแก
พยานบาง เสร็จแลวจึงจะใหพนักงานอัยการและทนายจําเลยเปนผูซักถามพยานตามลําดับ ดังนั้น คําถามซึ่ง
ยังคงเหลืออยูจ ากการถามพยานของผูพิพากษาและลูกขุน ซึ่งอัยการโจทกและทนายจําเลยเปนผูรับชวงใน
การถามพยานตอนั้นจึงมีจํานวนไมมากนัก ดวยเหตุนี้จึงกลาววาวิธีพิจารณาความอาญาในระบบไตสวน แม
จะมีลักษณะของการเปนปรปกษกนั แตก็เปนปรปกษกนั เพียงเล็กนอย เพราะไมไดปลอยใหเปนหนาที่ของ
คูความตอสูคดีกันตั้งแตเริ่มการพิจารณาเหมือนในระบบกลาวหา
ในระบบไตสวนสวนใหญ จําเลยในคดีอาญาไมตองตอบคําถามเกี่ยวกับการกระทําความผิด แตอาจถูก
บังคับใหตอบคําถามอื่นๆ ทั้งหมดในการพิจารณาคดี คําถามอื่นๆ เหลานั้นจะเกี่ยวของกับประวัติความ
เปนมาของจําเลย ซึ่งคําถามเหลานี้จะถือวาเปนคําถามที่ไมเกี่ยวของและไมสามารถรับไวพิจารณาไดใน
ระบบกลาวหา
จําเลยในคดีอาญาในระบบไตสวนจะเปนคนแรกที่จะตองเบิกความเมือ่ เริ่มการพิจารณาคดีในศาล เพื่อ
ทราบประวัติ ความเปนมาและความประพฤติของจําเลย จําเลยจะไดรับอนุญาตใหดูสาํ นวนการสอบสวน
กอนทําการเบิกความ จําเลยเหลานี้จะกระตือรือรนที่จะเบิกความเกี่ยวกับประวัติความเปนมาของตนเอง
ตรงกันขามกับในระบบกลาวหา จําเลยจะเขาเบิกความก็ตอเมื่อการสืบพยานของโจทกเสร็จสิ้นแลว และใน
ระบบกลาวหา จําเลยจะไมถกู บังคับใหเบิกความและไมไดรับสิทธิที่จะตรวจดูสํานวนการสอบสวนแต
ประการใด

3. วิธีพิจารณาที่เปนลายลักษณอักษร (Procédure écrite)


ดังที่ไดอธิบายลักษณะการดําเนินคดีในระบบกลาวหาที่กระทําโดยวาจามาแลว มีความแตกตางกับวิธี
พิจารณาในระบบไตสวนนั้น ตรงที่ระบบไตสวนจะมีการบันทึกพยานหลักฐานที่ไดมาในชั้นไตสวนไวใน
สํานวนการไตสวน และสํานวนการไตสวนดังกลาวจะถูกนํามาใชเปนพื้นฐานของการสืบพยานในชั้น
พิจารณาของศาล ดังนั้นศาลในระบบไตสวนจะทราบถึงรายละเอียดความเปนมาของการดําเนินคดีในชั้นไต
สวน ในระบบไตสวนของประเทศฝรั่งเศสหรือเนเธอรแลนดจะไมถือวาการนําคําใหการของพยานที่ไดมาใน
ชั้นสอบสวนของตํารวจมาอานในชั้นศาล แมในกรณีที่ไมไดตัวพยานมาเบิกความในชั้นศาลเปนการละเมิด
หลักเกณฑของวิธีพิจารณาความอาญาแตประการใด ถือวาเปนทางปฏิบัติที่เปนปกติธรรมดาในศาลอาญา
ของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้เพราะเหตุที่ในระบบไตสวนมีแนวคิดวาการดําเนินคดีในชั้นพิจารณานั้นเปนเพียง
สว นหนึ่งของการรวบรวมพยานหลั กฐานอยางตอเนื่องของการคนหาความจริงโดยรัฐเพื่อ ใหไ ด มาซึ่ง
พยานหลักฐานที่สมบูรณที่สุดกอนที่จะพิพากษาคดี

4. การไตสวนเปนความลับ (Secret de l'instruction)


แตเดิมมา ลักษณะที่กลาววาการไตสวนเปนความลับประการแรกจะเห็นไดชัดเจนจากบทบัญญัติใน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศสเดิมนั้นไมอนุญาตใหทนายความเขาพบใหคําปรึกษาแกผูถูก
32
จับ จนกวาระยะเวลา 20 ชั่วโมงนับแตที่มีการจับกุมจะผานพนไป แตปจจุบันไดมีการแกไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศสลาสุดโดยรัฐบัญญัติฉบับเลขที่ 2004-204 ลงวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ.
2004 ใหสิทธิแกผูถูกจับกุมที่จะรองขอพบทนายความไดทันทีตั้งแตเวลาที่มีการจับกุม25
ในประเทศเนเธอรแลนด สิทธิที่จะพบทนายความยังไมเกิดขึ้นระหวางการสอบปากคําในชวงแรกซึ่ง
กําหนดระยะเวลาไว 6 เดือน อยางไรก็ตาม ในบางเขตมีโครงการทดลองใหมีทนายความอยูดวยในระหวาง
การสอบปากคําของผูตองหา นอกจากนี้ ศาลยุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชนไดวินิจฉัยเมื่อเร็วๆ นี้วา สิทธิในการ
มีทนายความใหความชวยเหลือตั้งแตการสอบปากคําผูตองสงสัยครั้งแรก และศาลไดตัดสินตอไปวา การมี
ทนายความอยูในระหวางการสอบปากคําของตํารวจถือเปนสิทธิขั้นพื้นฐาน 26
นอกจากนี้ทนายความไมมีสิทธิเขาฟงการสอบปากคําผูตองหาหรือผูถูกไตสวนซึ่งเปนลูกความของ
ตน เนื่องจากลักษณะการสอบสวนของเจาพนักงานตํารวจฝายคดีหรือของผูพิพากษาไตสวนนั้นจะตอง
บันทึกอยูในสํานวนการสอบสวนหรือการไตสวน และจะตองถูกตรวจตราอยางละเอียดโดยศาลในชั้น
พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นจึงไมมีความจําเปนตองอนุญาตใหทนายความเขาฟงการสอบปากคําของเจา
พนักงานตํารวจฝายคดีหรือผูพิพากษาไตสวนแตประการใด อันที่จริงในประเทศที่ระบบการดําเนินคดีมี
ลักษณะของระบบไตสวน เชน ประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี หรือเนเธอรแลนดนั้น ทนายความจะไมมีสิทธิเขา
ฟงระหวางการสอบปากคําของตํารวจ
ลักษณะอีกประการหนึ่งที่กลาววาการดําเนินคดีชั้นไตสวนเปนความลับนั้น สามารถพิจารณาไดจาก
หลักการรักษาความลับในชั้นไตสวนตามที่บัญญัติไวในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส
มาตรา 11 วา “เวนแตกรณีที่กฎหมายบัญญัติไวเปนอยางอื่นและไมเปนผลเสียหายตอสิทธิของฝายผูถูก
กลาวหา วิธีพิจารณาที่เกิดขึ้นในระหวางการสอบสวนหรือการไตสวนเปนความลับ” ดังนั้นบุคคลทุกคนที่
เกี่ยวของกับวิธีพิจารณาดังกลาวจะตองยึดถือความลับทางวิชาชีพไวตามเงื่อนไขและภายใตการลงโทษตามที่
บัญญัติไวในประมวลกฎหมายอาญาฝรั่งเศส มาตรา 226-1327 และ 226-14 28
ศาสตราจารย Jean Pradel อาจารยผูทรงคุณวุฒิทางกฎหมายอาญาและวิธีพิจารณาความอาญาของ
ประเทศฝรั่งเศสไดอธิบายเพิ่มเติมวา การเปดเผยขอเท็จจริงที่ไดมาจากการไตสวนจะกระทบ กระเทือนตอ
หลักขอสันนิษฐานความเปนผูบริสุทธิ์และอาจทําใหเสียหายแกผูตองหา ความเสียหายที่เกิดขึ้นไมไดมีแต
เฉพาะกรณีที่ผูตองหาตองถูกสงตัวไปเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นพิจารณาเทานั้น แมแตในกรณีที่มี

25
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 63-4 วรรคหนึ่ง
26
ECrtHR 27 November 2008, Salduz v Turkey, and ECrtHR 11 December 2008, Panovits v Cyprus.
27
ประมวลกฎหมายอาญาฝรั่งเศส มาตรา 226-13 บัญญัติวา “การเปดเผยขอเท็จจริงที่มีลักษณะเปนความลับโดยบุคคลซึ่งไดรับมอบหมายไมวาโดย
สภาพหรือโดยวิชาชีพ ไมวาดวยหนาที่หรือโดยภารกิจชั่วคราว ตองระวางโทษจําคุกหนึ่งป และปรับหนึ่งแสนฟรังค”
28
ประมวลกฎหมายอาญาฝรั่งเศส มาตรา 226-14 เปนบทบัญญัติยกเวนประมวลกฎหมายอาญาฝรั่งเศส มาตรา 226-13ใหมีการเปดเผยความลับได
ตามที่กฎหมายบังคับหรืออนุญาตใหเปดเผยได หรือเปนการเปดเผยตอเจาหนาที่ของรัฐเพื่อชวยเหลือบุคคลที่ถูกขังหรือทรมานหรือถูกลวงละเมิดทางเพศ
หรือเปนการเปดเผยของแพทยที่ไดรับความยินยอมจากผูเสียหาย ในกรณีที่แพทยไดประสบกับการทรมานในการปฏิบัติงาน และสันนิษฐานไดวาไดมีการลวง
ละเมิดทางเพศเกิดขึ้น
33
คําสั่งไมฟองคดีหรือคดีไมมีมูล ก็เกิดความเสียหายแกผูตองหาไดเชนกัน ดังนั้นจึงมักจะปรากฏอยูเสมอวามี
ผูตองหาขอรองตอทนายความของตนเอง หรือผูพิพากษา หรือแมกระทั่งนักขาวนักหนังสือพิมพเพื่อมิใหคดี
ที่ตนตองหาอยูเกิดความอื้อฉาว29
มีตัวอยางคําพิพากษาศาลฎีกาซึ่งไดวินจิ ฉัยประเด็นเรื่องการรักษาความลับชั้นไตสวนคดีอาญาไว
ดังตอไปนี้
1) คําพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาลงวันที่ 18 กันยายน ค.ศ.2001 30 วินจิ ฉัยวา แมจะการ
กระทําที่เปนการเปดเผยความลับชั้นไตสวนจะไมตองดวยหลักเกณฑตามที่มาตรา 11 แหงประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศสบัญญัติไว แตก็ตองพิจารณาบทบัญญัติของมาตรา 160 แหงรัฐกฤษฎีกาลง
วันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ.1991 ซึ่งบัญญัติวา ทนายความจะตองไมกระทําการเปดเผยอันใดที่ตองหามสําหรับ
ความลับในวิชาชีพ และโดยเฉพาะตองเคารพความลับในชั้นไตสวนในคดีอาญา ดังนัน้ ทนายความของผูถูก
ไตสวนซึ่งเปดเผยขอมูลของการกระทําซึ่งไดรับการคุมครองโดยความลับของการไตสวนแกบุคคลที่สาม
โดยเจตนา จึงเปนการกระทําความผิดฐานละเมิดตอความลับทางวิชาชีพ
2) คําพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาลงวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ.1991 31 วินิจฉัยวา การสง
เอกสารซึ่งไดมาจากสํานักทะเบียนประวัติอาชญากร (Les services de l’identité judiciaire) ซึ่งเจาพนักงาน
ตํารวจซึ่งไมอาจระบุชื่อไดเปนผูสงนั้น จะกระทําไดก็ตอเมื่อมีการกระทําความผิดซึ่งฝาฝนตอบทบัญญัติของ
มาตรา 11 แหงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส ซึ่งคุมครองความลับของการสอบสวนและ
การไตสวน ดังนั้น ความผิดฐานละเมิดเปดเผยความลับของการสอบสวนและการไตสวนนั้นจึงสามารถเห็น
ไดจากการพิมพเผยแพรรูปภาพที่ไดมาโดยวิธีการที่ไมชอบ ดังที่ปรากฏในวารสารที่เปนเหตุแหงการพิพาท
ในคดีนี้
อย า งไรก็ ต าม แม โ ดยหลั ก การ การเป ด เผยความลั บ ในชั้ น ไต ส วนจะต อ งห า มตามกฎหมาย แต
ศาสตราจารยจาค โฮรแบร (Jacques Robert) อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ไดใหขอสังเกตไววา
ในทางปฏิบัติเปนสิ่งที่แทบเปนไปไมไดที่จะปกปดไมใหสื่อมวลชนรูถึงขอมูลที่ไดมาในชั้นไตสวน การที่
สื่ อ มวลชนทํ า หน า ที่ ข องตนโดยการเป ด เผยความลั บ ในชั้ น ไต ส วนอาจเป น ประโยชน ใ นการทํ า ให
สาธารณชนรูถึงความจริงวาเปนเชนไร ถือเปนเรื่องที่ไมสามารถหลีกเลี่ยงไดในสังคมประชาธิปไตย
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรือ่ งที่ 2.2.2 แลว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 2.2.2
ในแนวการศึกษาหนวยที่ 2 ตอนที่ 2.2 เรื่องที่ 2.2.2

29
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาสเปน มาตรา 301 บัญญัติวา “การดําเนินคดีในชั้นไตสวนเปนความลับ จนกวาจะมีการเปดการพิจารณาคดี
ดวยวาจา เวนแตจะมีขอยกเวนตามที่บัญญัติไวในกฎหมายฉบับนี้
30
Cass.crim. 18 septembre 2001 (Gaz.Pal. 2002 II 1330 note Monnet)
31
Cass.crim. 13 mai 1991 (Gaz.Pal. 1991 II Chr.crim.481)
34

เรื่องที่ 2.2.3 ระบบผสม


ระบบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของแตละประเทศจะมีลักษณะของวิธีพิจารณารูปแบบใด
รูปแบบหนึ่งเปนหลัก อาจเปนรูปแบบของระบบกลาวหาหรือระบบไตสวนก็ไ ดขึ้น อยูกับการที่แ ตละ
ประเทศไดรับอิทธิพลจากแนวคิดในระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common law) หรือระบบประมวล
กฎหมาย (Civil law) ระบบกฎหมายหลักสองระบบนี้จะมีความสัมพันธกับรูปแบบของวิธีพิจารณาความ
อาญาในระบบกลาวหาและระบบไตสวนอยางที่ยากจะแยกออกจากกันได กลาวคือ ระบบกลาวหาจะเปน
ระบบวิธีพิจารณาความอาญาที่ใชในกลุมประเทศจารีตประเพณี สวนระบบไตสวนจะเปนระบบวิธีพิจารณา
ความอาญาที่ใชอยูในกลุมของประเทศที่ใชระบบประมวลกฎหมาย
ดังนั้น ในโลกของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจึงเปรียบเสมือนมีการแบงคายออก เปนสองฝาย
ฝายแรกคือ กลุมของประเทศที่ใชระบบกลาวหานั้นจะอยูในกลุมของประเทศแองโกล-อเมริกัน (Anglo-
american) ซึ่งไดแก ประเทศสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด แอฟริกาใต
และประเทศในกลุมเครือจักรภพอื่นๆ สวนฝายที่สองคือ กลุมของประเทศที่ใชระบบไตสวนจะอยูในกลุม
ของประเทศภาคพื้นยุโรป (The Continent of Europe) ซึ่งไดแกประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี เนเธอรแลนด
เบลเยียม สเปน และประเทศที่ไดรับอิทธิพล เชน ประเทศในแถบทวีปเอเชีย และอเมริกาใต เปนตน
นอกจากระบบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของแตละประเทศจะไดรับอิทธิพลจากระบบกฎหมาย
ของประเทศที่เปนแมแบบในแตละระบบแลว ระบบกฎหมายของแตละประเทศก็จะมีลักษณะเฉพาะที่มา
จากแนวคิด วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีรวมอยูในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดวย ยกตัวอยาง
ในแตละประเทศจะมีการใชมาตรการเบี่ยงเบนคดีออกจากศาลหรือมาตรการทางเลือก แตก็อาจจะมีการ
เรียกชื่อมาตรการดังกลาวแตกตางกันในแตละประเทศ เชน การไกลเกลี่ยทางอาญา การยอมความ การอํานวย
ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท ยุติธรรมชุมชน ความตกลงทางอาญา การชะลอการฟอง หรือการตอรองคํารับ
สารภาพ เปนตน แตละมาตรการก็อาจมีความแตกตางกันในรายละเอียด ขึ้นอยูกับวามีวัตถุประสงคประการ
ใดเปนวัตถุประสงคหลัก เชน เนนเรื่องประสิทธิภาพในการลดปริมาณหรือบริหารจัดการคดี หรือตองการให
คดียุติลงเพื่อเกิดความสันติสุขขึ้นในสังคมโดยเร็ว ในบางประเทศอาจมีการใชมาตรการทางเลือกอยูหลาย
มาตรการตามความเหมาะสม
อยางไรก็ตาม ระบบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของแตละประเทศก็มีวิวัฒนาการซึ่งเปนผลมาจาก
ความเปลี่ย นแปลงดังที่ ไ ด ก ลา วมาในตอนต น แล ว การเปลี่ย นแปลงอาจจะมีม าจากป จ จัย ทั้ งที่ เ กี่ย วกั บ
การเมื อ งการปกครอง หรื อ ความจํ า เป น ในการปรั บ ปรุ ง โครงสร า งหรื อ กลไกในการปฏิ บั ติ ง านให มี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือความตองการลดปริมาณคดีที่เพิ่มขึ้นอยางรวดเร็วจนรัฐไมสามารถบริหารงาน
ยุติธรรมทางอาญาไดอยางมีประสิทธิภาพ หรือความจําเปนในการลดภาระคาใชจายของรัฐในการบริหารงาน
35
ราชทัณฑ รวมทั้งการเปดโอกาสใหประชาชนมีสวนรวมในการดําเนินคดีตามหลักการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตย
ตัวอยางของปจจัยที่มาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก็คือ การที่ประเทศฝรั่งเศสนําเอาระบบลูกขุน
อังกฤษมาใชในการพิจารณาคดีในศาลลูกขุน (La cour d’assises) เมื่อครั้งที่มีการปฏิวัติใหญในประเทศ
ฝรั่งเศสเมื่อค.ศ.1789 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชยมาเปนระบอบ
สาธารณรัฐ
ในบางประเทศที่ไดรับอิทธิพลจากระบบจารีตประเพณีโดยตรง และมีระบบกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญาแบบกลาวหาก็อาจยกเลิกระบบลูกขุนอันเนื่องมาจากปญหาภายในประเทศบางประการได เชน
ประเทศแอฟริกาใตซึ่งมีระบบลูกขุนในการพิจารณาคดีอาญาแบบประเทศอังกฤษ ก็ไดยกเลิกระบบลูกขุนไป
เมื่อค.ศ.1969 และเปลี่ยนมาใชองคคณะซึ่งเปนผูพิพากษาอาชีพหรือมีผูพิพากษาสมทบแทน ทั้งนี้เนื่องจาก
ประเทศแอฟริกาใตมีปญหาในเรื่องการเหยียดผิว (Apartheid) และปญหาเรื่องการแบงแยกทางเชื้อชาติ
(Racial discrimination) อยางรุนแรงอันเปนสาเหตุสําคัญประการหนึ่งในการยกเลิกระบบลูกขุน หรือแมแต
ในประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกาเอง การพิจารณาคดีโดยลูกขุนก็ใชเฉพาะคดีความผิดรายแรง
เทานั้น สําหรับการดําเนินคดีความผิดสวนใหญจะไดรับการพิจารณาโดยผูพิพากษาคนเดียว 32
สวนตัวอยางของการนําเอาลักษณะของการดําเนินคดีในระบบกลาวหามาใชในระบบไตสวนอีก
ประการหนึ่งก็คือ การนําเอามาตรการตอรองคํารับสารภาพ (Plea bargaining) ในระบบกลาวหาของอเมริกัน
มาใชในระบบของประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงคเพื่อเนนประสิทธิภาพในการดําเนินคดี
ลดขั้นตอนยุงยากของกระบวนพิจารณาและลดปริมาณคดีขึ้นสูศาลที่ตองอาศัยการพิจารณาคดีเต็มรูปแบบ
สําหรับระบบวีธีพิจารณาความอาญาของไทยจะเปนระบบกลาวหาหรือไตสวน หรือจะเปนระบบผสม
อยางไรนั้น ในทางตํารากฎหมายวาดวยลักษณะพยานของนักกฎหมายซึ่งสําเร็จการศึกษากฎหมายจาก
ประเทศอังกฤษหรือรับราชการเปนผูพิพากษาจะมีความเห็นสวนใหญในทํานองเดียวกันวา ระบบกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญาของไทยเปนระบบกลาวหา33 ในขณะที่นักกฎหมายบางทานเห็นวาเปนระบบไตสวน
เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยก็ใหอํานาจศาลเกี่ยวกับการสืบพยานไวมากมาย เชน
มาตรา 229 บัญญัติใหศาลเปนผูสืบพยาน มาตรา 228 ใหอํานาจศาลที่จะเรียกพยานมาสืบเพิ่มเติมได การที่
กฎหมายใหอํานาจไวมากมายเชนนี้คลายกับจะใหศาลมีบทบาทในการคนหาความจริงอยางในระบบไตสวน
34

32
Chrisje Brants & Stijn Franken, < The protection of fundamental human rights in criminal process General report >. Retrived November 28,
2010 from : http://www.utrechtlawreview.org/ Volume 5, Issue 2 (October) 2009.
33
ประมูล สุวรรณศร, คําอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน, กรุงเทพมหานคร, นิติบรรณการ, พิมพครั้งที่ 7, 2517, หนา 6,
34
ชวเลิศ โสภณวัต, “กฎหมายลักษณะพยานของไทยเปนกฎหมายในระบบกลาวหาจริงหรือ”, ดุลพาห ปที่ 28 เลม 6, 2524 หนา 38-41 และ เข็มชัย
ชุติวงศ, คําอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน, กรุงเทพมหานคร, นิติบรรณการ, พิมพครั้งที่ 7, หนา 7
36
อยางไรก็ตาม ในระยะหลังมีผูเห็นวากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายลักษณะพยานของ
ไทยมีลักษณะที่ใกลเคียงทั้งระบบกลาวหาและระบบไตสวน ในสวนที่ใกลเคียงกับระบบกลาวหานั้น เพราะ
ในคดีอาญาการพิจารณาจะตองกระทําโดยเปดเผยตอหนาจําเลย ผูที่มีบทบาทในการดําเนินคดีคือคูความ ศาล
เปนแตเพียงผูคอยควบคุมกติกาใหการพิจารณาคดีเปนไปโดยเรียบรอยเทานั้น สําหรับสวนที่เห็นวาใกลเคียง
กับระบบไตสวนนั้น ก็เพราะกฎหมายลักษณะพยานหลักฐานของไทยไดเปดโอกาสใหศาลใชดุลพินิจในการ
รับฟงพยานหลักฐานไดโดยกวางขวาง ดวยเหตุนี้จึงมีผูเห็นวาระบบการพิจารณาคดีและสืบพยานของไทย
เปนระบบผสม เพราะไดนําหลักจากระบบกลาวหาและระบบไตสวนมาใชผสมผสานกัน แตการดําเนินคดี
ในศาลโดยเฉพาะอยางยิ่งบทบาทของผูพิพากษาและการสืบพยานหลักฐานยังยึดหลักของระบบกลาวหาอยู
เปนสวนใหญ 35
สําหรับผูเขียนซึ่งไดศึกษากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจากประเทศฝรั่งเศสนั้น เมื่อทําการ
เปรียบเทียบระบบวิธีพิจารณาความอาญาและการสืบพยานของไทยกับระบบของฝรั่งเศสแลว เห็นวาประเทศ
ไทยมีลักษณะของวิธีพิจารณาความอาญาเปนระบบกลาวหา ดวยเหตุผลดังตอไปนี้
1) ในระบบของไทย คูความเปนผูมีบทบาทหลักในการดําเนินคดีโดยการตอสูกันตามหลักความเสมอ
ภาคในการตอสูคดี โดยมีศาลเปนแตเพียงกรรมการผูคอยควบคุมกติกาเหมือนลักษณะของระบบกลาวหา แม
จะมีกฎหมายใหอํานาจศาลเรียกพยานมาสืบเพิ่มเติมได แตในทางปฏิบัติ ศาลก็ไมไดใชอํานาจดังกลาวเพราะ
เกรงจะถูกมองวาศาลใชอํานาจเพื่อประโยชนของฝายใดฝายหนึ่ง ทั้งที่แมศาลจะกระทําเพื่อประโยชนแหง
ความยุติธรรมก็ตาม หรือแมศาลจะใชอํานาจเรียกพยานมาสืบ ก็เปนการกระทําหลังจากที่คูความทั้งสองฝาย
สืบพยานเสร็จสิ้นแลว ซึ่งตรงกันขามกับศาลในระบบไตสวน ซึ่งจะเปนผูเริ่มการสืบพยานโดยการซักถาม
ดวยตนเองตั้งแตตนจนจบ คูความจะมีสิทธิถามก็ตอเมื่อศาลไดทําการถามพยานเสร็จสิ้นแลว
2) ในระบบของไทยไมมีระบบการสอบสวนโดยผูพิพากษาไตสวนเชนเดียวกับของประเทศฝรั่งเศส ผู
พิพากษาไตสวนถือเปนสัญลักษณของระบบไตสวนที่ยังคงมีอยูในหลายประเทศในภาคพื้นยุโรปในปจจุบัน
แมในระบบไตสวนของบางประเทศ เชน ประเทศเยอรมันจะไมมีผูพิพากษาไตสวนแลวก็ตาม แตระบบของ
ประเทศไทยในปจจุบันก็ไมมีลักษณะที่แสดงถึงความเปนระบบไตสวนดังเชนระบบของศาลไตสวนในกลุม
ประเทศภาคพื้นยุโรป
3) ในระบบของไทย การสืบพยานตองกระทําโดยเปดเผยตอหนาจําเลยเหมือนระบบกลาวหา
โดยทั่วไป เวนแตจะมีขอยกเวนบางกรณี ซึ่งแตกตางกับการสืบพยานในระบบไตสวนที่สามารถกระทําการ
สืบพยานลับหลังจําเลยได (In abstensia/Par contumace) เนื่องจากถือวาจําเลยมีหนาที่ตองตอสูคดี มิฉะนั้นจะ
ถือวาหลบหนีการตอสูคดี รัฐก็สามารถดําเนินคดีตอไป เดิมประเทศฝรั่งเศสก็อนุญาตใหมีการสืบพยานซึ่ง
สามารถกระทําลับจําเลยได แตกฎหมายที่แกไขใหมไดยกเลิกบทบัญญัติที่อนุญาตใหสืบพยานลับหลังจําเลย

35
โสภณ รัตนากร, คําอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน, กรุงเทพมหานคร, นิติบรรณการ, พิมพครั้งที่ 4, 2542, หนา 6-9
37
ได ซึ่งไดนําเสนอรายละเอียดไวในเรื่องที่ 2.4.1 แลว อยางไรก็ตาม ในบางประเทศยังคงใชหลักการสืบพยาน
ลับหลังจําเลยไดตอไป เชน ประเทศอิตาลี เปนตน
4) ในระบบของไทย สํานวนการสอบสวนซึ่งเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานสอบสวนของพนักงาน
สอบสวนนั้น โดยหลักแลวไมถือวาเปนสวนหนึ่งของการพิจารณาคดี เพราะสิ่งที่บันทึกไวในสํานวนการ
สอบสวนเป น เพี ย งพยานบอกเล า ไม ใ ช ก ระบวนพิ จ ารณาที่ ก ระทํ า ด ว ยวาจาต อ หน า ศาลซึ่ ง ถื อ ว า เป น
พยานหลักฐานสําหรับศาลที่จะใชในการพิพากษาคดีเหมือนในระบบกลาวหาทั่วไป แตในระบบไตสวนนั้น
สํานวนการสอบสวนหรือสํานวนการไตสวนซึ่งรวบรวมและบันทึกเปนลายลักษณอักษรไวโดยผูพิพากษา
ไตสวนนั้นถือเปนสวนหนึ่งของพยานหลักฐานในการพิจารณาพิพากษาคดี เพราะการคนหาความจริงใน
ระบบไตสวนเริ่มตนตั้งแตการสอบสวนหรือไตสวน จนมาถึงชั้นพิจารณาพิพากษาคดี ไมใชมาเริ่มตนตอเมื่อ
มีการตอสูคดีกันระหวางคูความในชั้นพิจารณาในศาลเหมือนระบบกลาวหา
สวนที่มีนักกฎหมายผูทรงคุณวุฒิหลายทานเห็นวา ระบบของไทยในปจจุบันเปนระบบผสม เพราะ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยไดใหอํานาจศาลเกี่ยวกับการสืบพยานไวมากมาย เชน
มาตรา 228 ใหอํานาจศาลที่จะเรียกพยานมาสืบเพิ่มเติมโดยพลการได ซึ่งใกลเคียงกับลักษณะการดําเนินคดี
ในระบบไตสวนนั้ น ผู เ ขียนเห็นว า เมื่อเปรีย บเที ยบระบบของไทยกั บระบบไตสวนของฝรั่ งเศสซึ่งนัก
กฎหมายฝรั่งเศสก็ถือวาระบบของตนมีลักษณะของระบบผสมโดยมีการนําระบบลูกขุนของอังกฤษ กับ
มาตรการตอรองคํารับสารภาพของอเมริกันมาใชในระบบวิธีพิจารณาความอาญาของฝรั่งเศสแลว ลักษณะ
ระบบผสมของไทยยังมีความเปนระบบผสมนอยกวาระบบผสมของฝรั่งเศสมากมายนัก เพราะลักษณะระบบ
ผสมของฝรั่งเศสไดนําเอาลักษณะสําคัญของระบบกลาวหามาประยุกตใชอยางชัดเจนและเปนกฎหมายซึ่งใช
ในทางปฏิบัติตามความมุงหมายที่นํามาใชดวย ตางกับศาลไทยซึ่งไมไดใชบทบัญญัติของกฎหมายที่ให
อํานาจไวในทางปฏิบัติ ดังนั้นผูเขียนจึงเห็นวา ระบบวิธีพิจารณาความอาญาของไทยทั้งในทางทฤษฎีและ
ทางปฏิบัติมีลักษณะของระบบกลาวหาเกือบครบถวน เพียงแตยังไมไดมีการนําเอาระบบลูกขุนที่เปนสวน
หนึ่งของวิธีพิจารณาในระบบจารีตประเพณีมาใชดวยเทานั้น
เหตุ ผ ลอี ก ประการหนึ่ ง ซึ่ ง แสดงใหเ ห็น วา ระบบการพิจ ารณาคดีโ ดยทั่ ว ไปของไทยเป น ระบบ
กลาวหานั้น สามารถพิจารณาไดจากการมีกฎหมายพิเศษที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดําเนินกระบวนพิจารณากับคดีบาง
ประเภทโดยเฉพาะ เชน การดําเนินคดีอาญากับผูดํารงตําแหนงทางการเมือง การดําเนินคดีปกครองและคดี
ความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง กฎหมายเหลานี้เขียนไวชัดเจนวาใหนําระบบไตสวนมาใชกับการดําเนินคดี
ดังกลาว หากระบบที่ใชอยูของไทยเปนระบบกลาวหาแลว ก็ไมมีความจําเปนอันใดที่กฎหมายพิเศษเหลานี้
จะตองเขียนกฎหมายในลักษณะเชนนั้น
จะเห็นไดวา การดําเนินคดีอาญาในระบบกฎหมายของแตละประเทศมีวิวัฒนาการไปตามยุคสมัย
แสดงใหเห็นถึงความจําเปนในการปรับตัวเพื่อแกไขปญหาของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่แตละ
ประเทศประสบอยู ณ ชวงเวลาหนึ่ง และมีความจําเปนตองหามาตรการที่เหมาะสมมาใชในการแกไขปญหา
ที่เกิดขึ้น แมวามาตรการที่นํามาใชจะอยูในระบบที่มีที่มาทางประวัติศาสตรและแนวคิดที่แตกตางกับระบบ
38
ดั้งเดิมของตนก็ตาม ดวยเหตุนี้เราจึงเห็นแนวโนมในการปรับเขาหากันของแตละระบบอันเปนปรากฏการณ
ที่เกิดขึ้นในปจจุบัน

หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรือ่ งที่ 2.2.3 แลว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 2.2.3


ในแนวการศึกษาหนวยที่ 2 ตอนที่ 2.2 เรื่องที่ 2.2.3
39

ตอนที่ 2.3
แนวโนมในการปรับเขาหากันของแตละระบบ
โปรดอานแผนการสอนประจําตอนที่ 2.3 แลวจึงศึกษาเนื้อหาสาระ พรอมปฏิบัติกิจกรรมในแตละเรื่อง

หัวเรื่อง
เรื่องที่ 2.3.1 การนําระบบลูกขุนมาใชในระบบไตสวน
เรื่องที่ 2.3.2 การนํามาตรการตอรองคํารับสารภาพมาใชในระบบไตสวน
เรื่องที่ 2.3.3 การนําหลักการคนหาความจริงในระบบไตสวนมาใชกับการดําเนินคดีบางประเภท

แนวคิด
1. แนวโนม ในการปรับ เขา หากัน ของระบบกลา วหาและระบบไตสวน เปน ปรากฏการณที่ไ ม
สามารถหลีกเลี่ยงไดในบางยุคสมัย การที่ปจจุบันมีประเทศหลายประเทศที่ถูกจัดอยูในกลุมของ
ประเทศที่ใชระบบไตสวนในวิธีพิจารณาความอาญาไดนําเอาระบบลูกขุนไปประยุกตใชในระบบ
กฎหมายของตนนั้น เปนตัวอยางที่สําคัญของแนวโนมในการปรับเขาหากันของแตละระบบ
2. การนํามาตรการตอรองคํารับสารภาพมาใชในระบบไตสวนเปนอีกตัวอยางหนึ่งที่แสดงใหถึง
ความจําเปนในการบริหารงานยุติธรรมทางอาญาของประเทศที่อยูในระบบไตสวนที่ตองการ
กลไกทางดานการบริหารยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพมาประยุกตใชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ
บริหารงานยุติธรรมทางอาญาในประเทศของตน
3. การนําหลักการคนหาความจริงในระบบไตสวนมาใชกับการดําเนินคดีบางประเภท แสดงใหเห็น
ความจําเปนของประเทศที่จัดอยูในระบบกลาวหาเชนประเทศไทย ในการนําเอาระบบไตสวนมา
ประยุกตใชสําหรับการดําเนินคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมือง รวมทั้งการดําเนินคดี
ปกครองในศาลปกครอง และคดีความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งในศาลยุติธรรมและศาลรัฐธรรมนูญ

วัตถุประสงค
เมื่อศึกษาตอนที่ 2.3 จบแลว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายและวิเคราะหการนําระบบลูกขุนมาใชในระบบไตสวนได
2. อธิบายและวิเคราะหการนํามาตรการตอรองคํารับสารภาพมาใชในระบบไตสวนได
3. อธิบายและวิเคราะหการนําหลักการคนหาความจริงในระบบไตสวนมาใชกับการดําเนินคดีบาง
ประเภทได
40

เรื่องที่ 2.3.1 การนําระบบลูกขุนมาใชในระบบไตสวน


ในอดีต การที่จะนําลักษณะหลักบางประการของระบบวิธีพิจารณาความอาญาระบบใดไปใชในระบบ
วิธีพิจารณาความอาญาอีกระบบหนึ่งนั้นเปนเรื่องที่เกิดขึ้นไดยาก เนื่องจากกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในแตละระบบจะมีที่มาทางประวัติศาสตร แนวคิด ทฤษฎี และวัฒนธรรมของแตละสังคมที่แตกตางกัน
ปจจัยความแตกตางทางประวัติศาสตร แนวคิด ทฤษฎีและวัฒนธรรมที่แตกตางกันดังกลาวจะมีอิทธิพลตอ
ทัศนคติของผูคนในสังคมและมักจะเปนแรงตานมิใหเกิดความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต หรือองคประกอบของ
สังคมที่แสดงถึงความเปนประเทศนั้นๆได
การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็เปนตัวอยางหนึ่งซึ่งตกอยูภายใตอิทธิพลและ
ทัศนคติของผูคนในสังคม โดยเฉพาะเจาหนาที่ผูบังคับใชกฎหมาย ไมวาจะเปนตํารวจ อัยการ ศาล มักจะมี
การตอตานการเปลี่ ยนแปลงในระบบการดําเนินคดีอาญาที่เปนอยูปจจุบันเสมอ อยางไรก็ตาม แมการ
เปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงแกไขกฎหมายวีพิจารณาความอาญาจะมิใชเรื่องงาย แตถามีปญหาที่สําคัญตอการ
เปลี่ยนแปลงวิถีการดําเนินชีวิตของผูคนในประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
การปกครอง หรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคม หรือเกิดความขัดแยงระหวางประชาชนขึ้นในสังคม การ
เปลี่ยนแปลงก็สามารถเกิดขึ้นไดในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเชนกัน ดังตัวอยางของการยกเลิกการใช
ลูกขุนในการพิจารณาคดีในประเทศแอฟริกาใตดังที่ไดกลาวมาแลว

1. การนําเอาระบบลูกขุนของอังกฤษมาประยุกตใช
การมีลูกขุนในการพิจารณาคดีเปนสัญลักษณที่สําคัญประการหนึ่งของระบบกฎหมายจารีตประเพณี
การที่ลูกขุนมีสวนรวมในการพิจารณาคดีของศาลนั้น สะทอนใหเห็นรูปแบบของวิธีพิจารณาความอาญาที่มี
ลักษณะของความเปนประชาธิปไตย เนื่องจากเปนการทีร่ ัฐเปดโอกาสใหประชาชนมีสวนรวมในการ
พิจารณาพิพากษาคดี ทําใหตัวแทนของประชาชนสามารถตรวจสอบและถวงดุลการใชอํานาจของเจาหนาที่
รัฐในทางที่ไมชอบ ซึ่งอาจเกิดขึน้ จากการใชอํานาจของฝายบริหารหรือแมแตการใชอํานาจของฝายนิติ
บัญญัติและฝายตุลาการดวยก็ตาม
การนําระบบลูกขุนของอังกฤษมาใชในประเทศที่ถูกจัดอยูในกลุมระบบประมวลกฎหมายนั้น มีอยู
หลายประเทศ เชน ประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน รวมทั้งประเทศญี่ปุน เปนตน สําหรับประเทศฝรั่งเศสนั้นการนํา
ระบบลูกขุนมาใชในการพิจารณาคดีเกิดขึ้นหลังจากที่มีการปฏิวัติใหญในประเทศฝรั่งเศสในค.ศ.1789 คณะ
ปฏิวัติตองการลดอํานาจของผูพิพากษาอาชีพในการพิจารณาพิพากษาคดี จึงไดนําเอาระบบลูกขุนซึ่งใชอยูใน
ประเทศอังกฤษไปประยุกตใชในระบบการพิจารณาคดีอาญาของฝรั่งเศส
ในการรางประมวลกฎหมายวิธีไตสวนคดีอาญา (Le code d’instruction criminelle) ซึ่งมีผลใชบังคับ
เมื่อค.ศ. 1810 นั้น ผูรางกฎหมายตกอยูภายใตอิทธิพลของคณะปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 จึงไดบัญญัติใหมี
41
การนําระบบลูกขุนมาใชในประมวลกฎหมายวิธีไตสวนคดีอาญา ค.ศ. 1810 โดยในตอนแรกเริ่มไดคง
รูปแบบดั้งเดิมของระบบลูกขุนไว กลาวคือ ผูพิพากษาอาชีพและคณะลูกขุนจะนั่งพิจารณาคดีอาญาตั้งแต
เริ่มตนคดี แลวคณะลูกขุนจะเปนผูพิจารณาปญหาขอเท็จจริงแตเพียงผูเดียววา มีการกระทําความผิดหรือไม
และใครเปนผูกระทําความผิด หลังจากนั้นคณะลูกขุนก็จะแจงผลการพิจารณาใหผูพิพากษาทราบ ถาหากคํา
วินิจฉัยของคณะลูกขุนเห็นวา จําเลยเปนผูกระทําความผิด ศาลโดยองคคณะของผูพิพากษาอาชีพก็จะเปนผู
พิจารณากําหนดโทษที่จะลงแกจําเลยแตเพียงผูเดียว
ถึงแมรูปแบบการพิจารณาคดีโดยคณะลู กขุนขางตนจะไดใ ชในกลุมประเทศแองโกล-แซ็ก ซอน
(Anglo-Saxon) มานานนับหลายศตวรรษแลว แตการนํารูปแบบของระบบลูกขุนดังกลาวมาใชโดยไมได
ประยุกตใหเหมาะสมกับระบบการดําเนินคดีดั้งเดิมของประเทศฝรั่งเศสนั้น จึงกอใหเกิดปญหาในทางปฏิบัติ
เปนอยางมาก
สาเหตุของปญหา เกิดจากการที่ลูกขุนมีเฉพาะอํานาจวินิจฉัยความผิด แตไมมีอํานาจในการกําหนด
โทษเหมือนอํานาจของผูพิพากษาอาชีพในศาลลูกขุน (La cour d’assises) ดังนั้น บรรดาลูกขุนจึงอาจจะไม
พอใจกับการที่ศาลมีอํานาจใชดุลพินิจของศาลในการกําหนดโทษแตเพียงผูเดียว ดวยเหตุนี้ในทางปฏิบัติ
กอนที่คณะลูกขุนจะตัดสินใจที่จะวินิจฉัยในปญหาขอเท็จจริง บรรดาลูกขุนจึงอยากจะทราบกอนวา โทษที่
องคคณะผูพิพากษาอาชีพจะลงแกจําเลยนั้นเปนโทษที่เหมาะสมกับการกระทําความผิดหรือไม หากคณะ
ลูกขุนเห็นวาโทษที่กําหนดโดยองคคณะผูพิพากษาไมเหมาะสม ก็จะเกิดความขัดแยงกันขึ้นระหวางคณะ
ลูกขุนกับผูพิพากษา และลูกขุนอาจหาทางแกลําโดยการรวมตัวกันพิพากษายกฟองจําเลยในการพิจารณา
พิพากษาคดีอื่นๆ
ดวยเหตุนี้จึงมีความพยายามของฝายนิติบัญญัติในการปรับปรุงแกไขเพิ่มเติมกฎหมายอีกหลายครั้ง
เพื่อใหเกิดความสมดุลของความสัมพันธในการทํางานรวมกันระหวางองคคณะผูพิพากษาอาชีพและคณะ
ลูกขุนในศาลลูกขุนตั้งแตค.ศ. 1828 เปนตนมาจนถึง ค.ศ. 1932 ซึ่งในปค.ศ. 1932 ไดมีการตรารัฐบัญญัติซึ่ง
นาจะสรางความพึงพอใจแกบรรดาลูกขุนทั้งหลาย กลาวคือ ตามกฎหมายดังกลาวคณะลูกขุนยังคงอํานาจแต
เพียงผูเดียวในการวินิจฉัยปญหาขอเท็จจริง และคณะลูกขุนจะรวมตัวเขากับองคคณะผูพิพากษาเพื่อทําหนาที่
เปนองคคณะเดียวกันในการกําหนดโทษที่จะลง แสดงใหเห็นอํานาจของคณะลูกขุนที่เพิ่มขึ้นและมีบทบาทที่
เหนือกวาองคคณะผูพิพากษาอาชีพ
อยางไรก็ตาม รูปแบบใหมของระบบลูกขุนนี้ก็ยังไมสามารถสรางความพึงพอใจใหกับทุกฝายได
เพราะระบบวิธีพิจารณาคดีของศาลลูกขุนรูปแบบใหมนี้ยังคงตองอาศัยคําวินิจฉัยของคณะลูกขุนในเรื่องการ
กระทําความผิดของจําเลย ซึ่งบอยครั้งคําวินิจฉัยของคณะลูกขุนไดสรางความผิดหวังใหแกสาธารณชน ดวย
เหตุ นี้ จึ ง เป น ที่ ม าของรั ฐ บั ญ ญั ติ ค.ศ. 1941 กฎหมายฉบั บ นี้ ส ร า งระบบศาลลู ก ขุ น ขึ้ น มาเรี ย กว า
“L’échevinage” ซึ่ งมี ลักษณะทํานองเดี ยวกั บศาลที่มีผูพิ พากษาสมทบนั่งพิจารณาพิพากษาคดีรว มกับผู
พิพากษาอาชีพ ระบบของศาลลูกขุนใหมนี้จะเปนการทํางานรวมกันระหวางองคคณะผูพิพากษาอาชีพและ
42
คณะลูกขุน ตั้งแตเริ่มการพิจารณาคดี จนกระทั่งการวินิจฉัยการกระทําความผิดและการพิจารณากําหนดโทษ
ที่จะลงแกจําเลย ถือเปนรูปแบบลาสุดของศาลลูกขุนที่ยังคงใชบังคับจนถึงปจจุบัน
สําหรับองคประกอบของศาลลูกขุนในประเทศฝรั่งเศสนั้น จะแยกเปนสองสวน คือ สวนที่เปนผู
พิพากษาสวนหนึ่ง และสวนที่เปนคณะลูกขุนอีกสวนหนึ่ง ในสวนที่เปนผูพิพากษานั้น จะประกอบดวยผู
พิพากษาอาชีพจํานวนสามคน เปนประธานศาลลูกขุนหนึ่งคน (Un president) 36 และองคคณะอีกสองคน
สวนที่ เปน คณะลู ก ขุน จะมี จํา นวน 9 คน เมื่อรวมกับผูพิพ ากษาอาชีพเข าด วยกันแลว ศาลลูก ขุน จะ
ประกอบดวยองคคณะทั้งหมดจํานวน 12 คน
สวนหลักเกณฑในการวินิจฉัยเพื่อสามารถลงโทษจําเลยไดนั้น จะตองมีคะแนนเสียงขององคคณะที่
นั่งพิจารณารวมกันไมนอยกวา 8 เสียง เหตุที่ตองบัญญัติเชนนี้ ก็เพื่อใหความสําคัญกับเสียงสวนใหญของ
ลูกขุน กลาวคือ แมผูพิพากษาอาชีพทั้งสามคนจะมีความเห็นในการวินิจฉัยในทางที่เปนโทษแกจําเลยก็ตาม
ก็จะตองอาศัยจํานวนเสียงสวนใหญของคณะลูกขุนดวย คือ จํานวน 5 เสียง จากเสียงทั้งหมด 9 เสียง บวกกับ
เสียงของผูพิพากษาอาชีพที่เปนองคคณะครบทั้งองคคณะ คือ จํานวน 3 เสียง รวมเปน 8 เสียง จึงจะสามารถ
พิพากษาลงโทษจําเลยได ถาขาดเสียงสวนใหญของคณะลูกขุนแลว แมผูพิพากษาอาชีพทั้งสามคนจะมี
ความเห็นตรงกันวาจําเลยเปนผูกระทําความผิด ก็ไมสามารถลงโทษจําเลยได

2. การจัดตั้งศาลลูกขุนชั้นอุทธรณของฝรัง่ เศส (La Cour d’assises d’appel)


การจัดตั้งศาลลูกขุนชั้นอุทธรณในประเทศฝรั่งเศส นับวาเปนนวัตกรรมของกลไกทางตุลาการอีก
ประการหนึ่งในคราวที่มีการปฏิรูปกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาครั้งใหญของประเทศฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ.
2000 รัฐบัญญัติฉบับที่ 2000-516 ลงวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2000 แกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญาไดกอใหเกิดความเปนไปไดในการที่คูความจะอุทธรณคัดคานคําพิพากษาของศาลลูกขุน
ตามระบบเดิมกอนที่มีการปฏิรูปประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศสในค.ศ. 2000 นั้น
เมื่อศาลลูกขุนพิพากษาคดีแลว คูความมีสิทธิอุทธรณตอศาลไดเพียงศาลเดียวคือ ศาลฎีกา ดังนั้นจึงกลายเปน
วาคดีความผิดรายแรงซึ่งผานการพิจารณาของศาลลูกขุนนั้น มีกลไกในชั้นพิจารณาพิพากษาคดีเพียงแคสอง
ศาล คือ ศาลลูกขุนและศาลฎีกา และมีศาลที่พิจารณาปญหาขอเท็จจริงเพียงแคศาลเดียว คือ ศาลลูกขุน เพราะ
ศาลฎีกาฝรั่งเศสมีอํานาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะปญหาขอกฎหมายเทานั้น ไมมีอํานาจพิจารณาปญหา
ขอเท็จจริงแตอยางใด ดวยเหตุนี้จึงมีแนวคิดที่จะจัดตั้งศาลที่จะรับพิจารณาคํารองอุทธรณคัดคานคําพิพากษา
ของศาลลูกขุน
แนวคิดที่เสนอใหจัดตั้งศาลอุทธรณเพื่อพิจารณาคํารองอุทธรณคัดคานคําพิพากษาของศาลลูกขุนถูก
คัดคานมาโดยตลอด เนื่องจากตามธรรมเนียมประเพณีของระบบวิธีพิจารณาความอาญาที่มีการใชระบบ

36
Le president de la cour d’assises แปลเปนภาษาไทยวา “ประธานศาลลูกขุน” หากเทียบกับถอยคําที่ใชในระบบกฎหมายไทยอาจมีความหมายเทียบ
ไดกับ “ผูพิพากษาหัวหนาองคคณะ” ในศาลชั้นอุทธรณหรือศาลชั้นตน แตเพื่อมิใหเกิดความสับสน ผูเขียนจึงขอใชคําวา “ประธานศาลลูกขุน” ตามที่แปลได
ความในระบบกฎหมายฝรั่งเศส โดยไมเปรียบเทียบกับระบบของไทย
43
ลูกขุนนั้นไมประสงคจะใหมีการอุทธรณกัน เพราะเห็นวา คดีซึ่งขึ้นสูการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลลูกขุน
นั้น จะตองผานการดําเนินคดีของผูพิพากษาไตสวนและศาลไตสวนในชั้นไตสวน ซึ่งเปนชั้นกอนพิจารณา
มาแลว นอกจากนี้ยังผานการพิจารณาของคณะลูกขุนซึ่งเปนตัวแทนของประชาชนในการพิจารณาพิพากษา
คดีไ ปแลว หากให มีค ณะลู ก ขุน ซึ่งเปน ตั วแทนของประชาชนเช น กั นมาพิ จ ารณาอีก ชั้น หนึ่ง แลว เกิด มี
ความเห็นในทางตรงกันขาม ก็จะกลายเปนวา ความเห็นของประชาชนขัดแยงกันเอง ซึ่งโดยหลักการไม
สมควรจะเปนเชนนั้น
แตฝายที่สนับสนุนใหตั้งศาลอุทธรณเพื่อพิจารณาคดีที่ผานพิจารณาพิพากษาของศาลลูกขุนนั้น เห็นวา
การดําเนินคดีโดยการไตสวนของผูพิพากษาไตสวนนั้นเปนการดําเนินคดีในชั้นกอนพิจารณา ไมสามารถ
นํามาอางอิงเพื่อไมใหมีการตั้งศาลอุทธรณในชั้นพิจารณาคดีที่ผานการพิจารณาของศาลลูกขุนมาแลวได แม
จะมีการตรวจสอบการทํางานของผูพิพากษาไตสวน โดยศาลไตสวนซึ่งมีองคคณะเปนผูพิพากษาในระดับ
ศาลอุทธรณ แตในทางปฏิบัติศาลไตสวนไมแสดงบทบาทในการตรวจสอบการทํางานของผูพิพากษาไตสวน
อยางแทจริง จนมีผูวิจารณศาลไตสวนฝรั่งเศสวาเปรียบเสมือน “ตรายาง” รับรองการทํางานใหกับผู
พิพากษาไตสวนมากกวาที่จะทําหนาที่ตรวจสอบอยางแทจริง
สวนประเด็นที่วา หากมีการตั้งศาลลูกขุนในชั้นสูงกวาแลวอาจมีกรณีที่ความเห็นของลูกขุนที่มาจาก
ประชาชนจะขัดแยงกันนั้น ก็มีหนทางแกไขไดโดยการกําหนดจํานวนลูกขุนในการพิจารณาของศาลลูกขุน
ชั้นอุทธรณใหมีจํานวนมากกวาคณะลูกขุนในศาลลูกขุนชั้นตน
ในที่สุด ฝายนิติบัญญัติของประเทศฝรั่งเศสไดเห็นชอบในการใหจัดตั้งศาลลูกขุนชั้นอุทธรณเพื่อให
การพิจารณาพิพากษาคดีรายแรงเปนไปดวยความละเอียดรอบคอบ และสอดคลองกับหลักสากลที่ใหโอกาส
คูความในการตอสูคดีถึงสามศาล
ศาลลูกขุนชั้นอุทธรณนี้คือ ศาลลูกขุนศาลใดศาลหนึ่งที่ไดรับมอบหมายจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาให
ทําหนาที่พิจารณาพิพากษาคดีในชั้นอุทธรณ สําหรับองคประกอบของศาลลูกขุนชั้นอุทธรณจะประกอบดวย
ผูพิพากษาอาชีพจํานวนสามคนเทากับจํานวนผูพิพากษาอาชีพในศาลลูกขุนชั้นตน สวนที่แตกตางกันคือ
จํานวนลูกขุนในศาลลูกขุนชั้นอุทธรณจะมีมากกวาจํานวนลูกขุนในศาลลูกขุนชั้นตน คือ ในศาลลูกขุน
ชั้นตนจะมีลูกขุนจํานวน 9 คน รวมกับผูพิพากษาอาชีพอีก 3 คน รวมเปน 12 คน สวนศาลลูกขุนชั้นอุทธรณ
จะมีลูกขุนจํานวน 12 คน รวมกับผูพิพากษาอาชีพอีก 3 คน รวมเปน 15 คน และการพิพากษาลงโทษจําเลย
ในศาลลูกขุนชั้นอุทธรณนั้นจะตองอาศัยเสียงขางมากจํานวนสิบเสียงในสิบหาเสียงจึงจะสามารถลงโทษ
จําเลยได
นอกจากตัวอยางของการนําระบบลูกขุนมาใชในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของฝรั่งเศส
แลว ประเทศญี่ปุนซึ่งอยูในกลุมของประเทศที่ใชระบบประมวลกฎหมายก็เคยนําเอาระบบลูกขุนมาใชกอน
สงครามโลกครั้งที่สอง และไดมีการยกเลิกระบบลูกขุนไปในระหวางสงครามโลกครั้งที่สอง แตลาสุดเมื่อป
พ.ศ.2552 (ค.ศ.2009) สภาไดเอทของประเทศญี่ปุนไดเห็นชอบใหนําเอาระบบลูกขุน (Jury system) มาใชใน
การพิจารณาคดีความผิดอาญาที่รายแรง เชน ฆา ขมขืน ปลนทรัพย ระบบลูกขุนญี่ปุนนั้นมีชื่อเรียกวา ระบบ
44
ไซบัน-อิน (The saiban - in system) มีรูปแบบและลักษณะของการพิจารณาคดีคลายคลึงกับระบบลูกขุนที่ใช
อยูในประเทศสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐฝรั่งเศส สวนจํานวนลูกขุนที่ประกอบเปนองค
คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นกําหนดใหมีคณะลูกขุนจํานวน 6 คน ผูพิพากษาอาชีพจํานวน 3 คน รวม
เปน 9 คน 37
แมแนวคิดเรื่องของการใชระบบลูกขุนในการพิจารณาพิพากษาคดีจะเริ่มมาแผอิทธิพลในระบบวิธี
พิจารณาความอาญาของประเทศญี่ปุนซึ่งเปนประเทศที่ถูกจัดอยูในระบบประมวลกฎหมาย และอยูในทวีป
เอเชียก็ตาม แตระบบลูกขุนก็ยังมีขอดีขอเสียที่สมควรที่จะไดรับการพิจารณาอยางถองแทกอนที่จะพิจารณา
วาสมควรจะนํามาใชในระบบวิธีพิจารณาความอาญาของไทยหรือไม สําหรับเหตุผลของผูที่คัดคานและเห็น
ดวยกับการใชระบบลูกขุน มีดังตอไปนี้
2.1 เหตุผลคัดคานการใชระบบลูกขุน
1) ระบบกฎหมายจารีตประเพณีซึ่งใชระบบกลาวหานั้น ทนายความของทั้งฝายโจทกและจําเลยจะ
เปนผูมีบทบาทสําคัญในการดําเนินคดี และการสืบพยานในศาล โดยผูพิพากษาจะวางตนเปนกรรมการ หาก
ใหประชาชนที่ไมมีความรูทางกฎหมายใดๆ มานั่งฟงการพิจารณาและมีอํานาจในการวินิจฉัยคดีในฐานะ
ลูกขุนนั้น อาจถูกทนายความใชความสามารถชักจูงใจลูกขุนจนลูกขุนซึ่งไมมีความรูและไมมีความเชี่ยวชาญ
ทางกฎหมายเห็นคลอยตาม จนทําใหผูกระทําความผิดที่แทจริงหลุดพนจากการลงโทษได
2) ในประเทศแมแบบที่ใชระบบลูกขุนในการพิจารณาพิพากษาคดี เชน ประเทศอังกฤษ และ
สหรัฐอเมริกา ซึ่งมาตรฐานของการดําเนินคดีอาญาอยูในระดับที่สูง และประชาชนในสังคมมีการศึกษาที่สูง
และมีความเปนเสรีนิยมและนาเชื่อถือ ก็ยังปรากฏขาวอยูเนืองๆ วามีการทุจริตของลูกขุน โดยลูกขุนบางราย
ไมไดวินิจฉัยคดีดวยความซื่อสัตยและเที่ยงธรรม ดังนั้นการนํามาใชในประเทศที่ยังมีโครงสรางทางสังคม
เปนระบบอุปถัมภอาจเกิดความเสี่ยงสูงที่ลูกขุนอาจจะถูกแทรกแซงโดยผูมีอํานาจหรือผูมีอิทธิพล ทําใหการ
วินิจฉัยคดีเบี่ยงเบนไปไดโดยงาย และเกิดความไมยุติธรรมขึ้นในสังคม
2.2 เหตุผลสนับสนุนการใชระบบลูกขุน
1) ในระบบประมวลกฎหมายซึ่งโดยทั่วไปไมไดใชระบบลูกขุนในการพิจารณาคดีนั้น พนักงาน
อัยการและผูพิพากษาอาจมีทัศนคติที่เห็นวาจําเลยนาจะเปนผูกระทําความผิดสูง นอกจากนี้การที่ผูพิพากษา
หรื อ พนั ก งานอั ย การมี ส ว นเกี่ ย วข อ งกั บ การนํ า สื บ ทํ า ให มี ค วามเอนเอี ย งหรื อ มี อ คติ ใ นการตั ด สิ น คดี
โดยเฉพาะการที่ผูพิพากษาใชวิจารณญาณของตนเองในการสรุปคดีอาจจะมีการใชความรูสึกของตนเองเขา
มาเกี่ยวของทําใหสวนสําคัญของคดีอาจจะถูกตัดออกไป
2) การตัดสินคดีในระบบประมวลกฎหมายโดยมากจะมีเพียงผูพิพากษาอาชีพเทานั้น ทําใหผู
พิพากษามีอํานาจมากเกินไปจนขาดความเปนประชาธิปไตย นอกจากนี้ผูพิพากษาหรือพนักงานอัยการก็

37
วัชรินทร สังสีแกว และไกรพันธุ พรหมานุกูล, “ลูกขุนญี่ปุน” วันที่ 03 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปที่ 31 ฉบับที่ 11072 หนา 7 ในhttp://www.matichon.
co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act01030751&day=2008-07-03&sectionid=0130. Retrieved December 7, 2010 from : http://www.
bhiromography. multiply.com/journal/it....
45
อาจจะโดนแทรกแซงไดทั้งจากทางการเมือง หรือจากสื่อมวลชน หรืออาจจะมาจากประชาชนที่ออกมา
ประทวง ทําใหการตัดสินไมไดเปนไปตามหลักนิติธรรม 38
3) แมระบบลูกขุนที่ใชในระบบจารีตประเพณีอาจจะไมสมบูรณแบบ แตระบบลูกขุนก็เปนระบบ
ที่ใชมานานจนเปนที่ยอมรับวาเปนสวนหนึ่งของการพิจารณาคดีในระบบกลาวหา และยังไดรับการยอมรับ
โดยนํามาประยุกตใชในระบบกฎหมายของประเทศที่ใชระบบวีธีพิจารณาคดีแบบไตสวนอีกหลายประเทศ
อีกทั้งยังแสดงถึงความเปนประชาธิปไตยในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ประชาชนมีสวนรวมในการ
พิจารณาตัดสินคดี
4) การใหประชาชนทั่วไปมีสวนรวมในพิจารณาตัดสินคดีโดยใชมาตรฐานทางจริยธรรมของแต
ละคนเปนเกณฑในการตัดสินคดีนั้นถือเปนจุดแข็งของระบบลูกขุน เพราะสามารถปองกันไมใหนักกฎหมาย
ที่พยายามใชชองวางของกฎหมายในการชวยใหผูกระทําความผิดรอดพนคดีหรือการลงโทษได
หากจะประเมินเหตุผลทั้งฝายที่คัดคานและฝายที่สนับสนุนแลว ตางก็มีเหตุผลที่ควรคาแกการรับฟง
แตประเด็นที่วาระบบลูกขุนจะเหมาะสมสําหรับการนํามาใชในประเทศหนึ่งประเทศใดหรือไมนั้น คง
จะตองคํานึงถึงปจจัยและความพรอมของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม และความเห็นของประชาชนใน
สังคมดวยวาเปนเชนไร ถาหากพิจารณาถึงประเทศในระบบประมวลกฎหมายที่นําเอาระบบลูกขุนไปใชใน
การดําเนินคดีอาญาในประเทศของตนแลว จะเห็นวา ไมวาจะเปนประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน หรือแมแต
ประเทศญี่ ปุน ก็ ดี เป น ประเทศที่ มี ค วามเจริ ญ รุง เรือ งและมี ค วามเข มแข็ง ทางเศรษฐกิ จ สู ง ประชาชนมี
การศึกษาและมาตรฐานการครองชีพสูง รวมทั้งมีระเบียบวินัยที่ทําใหคนในสังคมดวยกันเองใหความเชื่อถือ
ได แสดงใหเห็นถึงสังคมภาคประชาชนของประเทศที่กลาวมาแลวมีความพรอมที่จะใชระบบลูกขุนโดยมี
ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดจากการเบี่ยงเบนของลูกขุนนอยมาก
สําหรับประเทศไทย หากจะมีคําถามวาควรนําระบบลูกขุนมาใชในการพิจารณาคดีอาญาในศาลไทย
หรือไม ผูเขียนเชื่อวา คําตอบสวนใหญของนักกฎหมายคงเห็นวายังไมเหมาะสมหรือยังไมถึงเวลาอันควรที่
จะนําระบบลูกขุนมาใช ไมวาจะเปนความพรอมของสังคม ประชาชน และบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม
นอกจากนี้ในสังคมไทยยังมีความเสี่ยงสูงที่อาจจะเกิดการแทรกแซงการใชดุลพินิจของลูกขุน รวมทั้งโอกาส
ในการทุจริตบิดเบือนขอเท็จจริงก็อาจเกิดขึ้นไดงายในสังคมที่ยังยึดโยงอยูกับระบบอุปถัมภ หรือผูมีอํานาจ
และผูมีอิทธิพลในทางการเมืองการปกครอง รวมทั้งในกระบวนการยุติธรรม
อยางไรก็ตาม แมในบางครั้งสังคมอาจจะขาดความพรอมในการนําระบบลูกขุนมาใช แตก็อาจจะมี
ปจจัยที่สําคัญบางประการซึ่งอาจนําไปสูการเรงผลักดันใหมีการนําระบบลูกขุนมาใชในกระบวนวิธีพิจารณา
คดีอาญาของไทยไดรวดเร็วกวากําหนดเวลาที่ควรจะเปน ปจจัยดังกลาวอาจจะมาจากความขัดแยงทาง

38
ประเวศ ประภานุกูล, “บทวิพากษศาลยุติธรรม: ระบบลูกขุนไมสามารถใชไดในประเทศไทย?” Retrieved December 7, 2010 from :
http://www.prachatai. com/journal/2010/11/31876../ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2553
46
การเมื อ งที่ ยั ง คงทวี ค วามรุ น แรงอยู ใ นสั ง คมไทยอย า งต อ เนื่ อ ง นอกจากนี้ ป ระชาชนบางกลุ ม เริ่ ม
วิพากษวิจารณการใชอํานาจขององคกรที่อํานวยความยุติธรรมอยางรุนแรงวา อาจมีการเอื้อประโยชนใหแก
กลุมที่มีอํานาจทางการเมือง การปกครองกลุมใดกลุมหนึ่ง ทําใหองคกรของการอํานวยความยุติธรรมขาด
ความนาเชื่อถือ ปจจัยเหลานี้อาจเปนตัวเรงที่ทําใหเกิดความเปลี่ยนแปลงในกระบวนวิธีพิจารณาคดีอาญาของ
ไทยครั้งใหญก็อาจจะเปนได

หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรือ่ งที่ 2.3.1 แลว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 2.3.1


ในแนวการศึกษาหนวยที่ 2 ตอนที่ 2.3 เรื่องที่ 2.3.1
47

เรื่องที่ 2.3.2 การนํามาตรการตอรองคํารับสารภาพมาใชในระบบ


ไตสวน
นอกจากมี การนํ าเอาระบบลู ก ขุนของอัง กฤษมาใชใ นระบบวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศ
ฝรั่งเศสแลว เมื่อค.ศ. 1999 ประเทศฝรั่งเศสยังไดมีการแกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โดยมีนําเอามาตรการตอรองคํารับสารภาพ (Plea bargaining) ของระบบกฎหมายอเมริกันมาใชใน
กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของฝรั่งเศสอีกดวย การนําเอาระบบมาตรการตอรองคํารับสารภาพแบบ
อเมริกันมาประยุกตใชนี้มีวัตถุประสงคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินคดีอาญาใหเสร็จไปโดยเร็ว
ในตอนแรกที่ป ระเทศฝรั่ ง เศสพยายามที่จ ะนํา มาตรการต อรองคํ า รั บ สารภาพในระบบกฎหมาย
อเมริกันมาประยุกตใชนั้น ไดใชชื่อเรียกมาตรการดังกลาววา “คําสั่งทางอาญา” (Injonction pénale) และไดมี
การเสนอรางแกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในค.ศ. 1994 รางกฎหมายดังกลาวไดให
อํานาจพนักงานอัยการในการใชดุลพินิจสั่งยุติคดีความผิดบางประเภทที่มีอัตราโทษไมสูงนัก หากผูตองหา
ใหการรับสารภาพวาเปนผูกระทําความผิดและยินยอมชําระเงินจํานวนหนึ่งแกคลังแผนดินตามขอเสนอของ
พนักงานอัยการ พนักงานอัยการก็สามารถสั่งยุติคดีได
อยางไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส (Le Conseil constitutionnel) พิจารณารางกฎหมายดังกลาว
แลวเห็นวา การใหอํานาจพนักงานอัยการมีคําสั่งทางอาญา โดยไมผานการพิจารณาเห็นชอบจากศาลยุติธรรม
ขัดกับรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส 39 เพราะคําสั่งทางอาญาดังกลาวมีลักษณะเปนโทษ พนักงานอัยการซึ่งเปน
ฝายบริหารจึงไมสามารถที่จะลงโทษได ผูที่มีอํานาจพิพากษาลงโทษผูกระทําความผิดไดคือศาลซึ่งเปน
หลักประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแตเพียงผูเดียว
นักกฎหมายฝรั่งเศสเห็นพองตองกันวา ศาลรัฐธรรมนูญไมไดคัดคานการนําเอามาตรการดังกลาวมา
ใชในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศฝรั่งเศสแตประการใด เพียงแตวา วิธีการที่จะใชมาตรการ
ดังกลาวยังไมสอดคลองกับหลักนิติรัฐ (L’Etat de droit) ดังนั้นรัฐบาลจึงไดดําเนินการแกไขรางกฎหมาย
ดังกลาวใหม โดยกําหนดใหพนักงานอัยการมีหนาที่ตองเสนอเรื่องตอศาลเพื่อพิจารณาใหความเห็นชอบกับ
ขอเสนอของพนักงานอัยการกอน ความตกลงที่ผูตองหาใหความยินยอมจึงจะมีผลใชบังคับได ตอมาในค.ศ.
1999 รัฐบาลไดเสนอรางกฎหมายที่แกไขใหมตอรัฐสภาอีกครั้งหนึ่ง พรอมทั้งเรียกชื่อมาตรการดังกลาวใหม
วา “ความตกลงทางกฎหมาย” (La composition pénale) ฝายนิติบัญญัติไดใหความเห็นชอบและประกาศใช
เปนกฎหมายเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1999 แกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของ
ฝรั่งเศส มาตรา 41-2 และ 41-3

39
คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฝรัง่ เศสเลขที่ 95-360 DC เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ ค.ศ. 1995
48
มาตรการความตกลงทางอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของฝรั่งเศส มาตรา 41-2
และ 41-3 นั้น ฝายนิติบัญญัติจึงไดกําหนดขอบเขตการใชมาตรการความตกลงทางอาญาเฉพาะกับความผิด
มัชฌิมโทษบางฐานซึ่งเห็นวาไมใชความผิดรายแรงและความผิดลหุโทษบางฐานเทานั้น เชน ความผิดฐานทํา
รายรางกายจนเปนเหตุใหไมสามารถประกอบกิจการงานไดเปนเวลาเกินกวา 8 วัน 40 ความผิดฐานทอดทิ้ง
ครอบครัว 41 ความผิดตอการใชอํานาจปกครองผูเยาว 42 ความผิดฐานลักทรัพย 43 เปนตน ความผิดเหลานี้
กฎหมายกําหนดอัตราโทษจําคุกไมเกิน 3 ป
สําหรับมาตรการซึ่งพนักงานอัยการจะยื่นใหผูตองหาพิจารณามีดังนี้
1) การชําระเงินจํานวนหนึ่งแกคลังแผนดิน คลายกับโทษปรับ
2) การยอมใหทรัพยสินที่ใชหรือมุงหมายที่จะใชในการกระทําความผิด หรือที่ไดมาโดยการ
กระทําความผิดตกเปนของรัฐ คลายกับโทษริบทรัพยสิน
3) การสงมอบใบอนุญาตขับขี่รถยนตหรือใบอนุญาตลาสัตวใหแกเจาหนาที่ของศาลชั้นตน คลาย
กับโทษยึดใบอนุญาตขับขี่หรือลาสัตว
4) การทํางานเพื่อประโยชนชุมชนโดยไมมีคาตอบแทน คลายกับโทษการทํางานบริการสาธารณะ

นักกฎหมายฝรั่งเศสสวนใหญเห็นวา แมจะมีการใชชื่อเรียกมาตรการเหลานี้แตกตางกับโทษ แตใน


ที่สุดก็มีความหมายเหมือนการลงโทษ ดวยเหตุนี้ฝายนิติบัญญัติตองกําหนดใหศาลเขามาใหความเห็นชอบ
กับความตกลงที่พนักงานอัยการทําไวกับผูตองหา เปนกระบวนวิธีที่เสริมเขามาใหมหลังจากที่ศาล
รัฐธรรมนูญวินิจฉัยเมื่อค.ศ. 1995 วาคําสั่งทางอาญา (L’injonction pénale) ขัดกับรัฐธรรมนูญ เนื่องจากไมมี
ศาลเปนผูพิจารณาใหความเห็นชอบในการใชมาตรการดังกลาว
ตอมา เมื่อประเทศฝรั่งเศสไดมีการปรับปรุงแกไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศสอีก
ครั้งเมื่อค.ศ.2004 โดยไดมีการออกรัฐบัญญัติเลขที่ 2004-204 ลงวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ 2004 หรือที่เรียก
กฎหมายนี้วา กฎหมายแปรเบ็งสอง (Loi Perben II) 44 ซึ่งเสนอโดยนายโดมินิค แปรเบ็ง (Dominique
Perben) รัฐมนตรีวาการกระทรวงยุติธรรมในขณะนั้น กฎหมายฉบับนี้ไดกําหนดวิธีพิจารณาคดีรูปแบบ
ใหมที่ใชในกรณีที่ผูถูกกลาวหาตกลงยอมรับสารภาพวากระทําความผิดในชั้นกอนฟองตามขอเสนอของ
พนักงานอัยการ ซึ่งมีลักษณะทํานองเดียวกับการตอรองคํารับสารภาพของสหรัฐอเมริกา กฎหมายฝรั่งเศส
เรียกวิธีพิจารณานี้วา Comparution sur Reconnaissance Prélable de Culpabilité หรือเรียกเปนคํายอวา CRPC

40
ประมวลกฎหมายอาญาฝรั่งเศส มาตรา 222-11
41
ประมวลกฎหมายอาญาฝรั่งเศส มาตรา 227-3 และมาตรา227-4
42
ประมวลกฎหมายอาญาฝรั่งเศส มาตรา 227-5 ถึงมาตรา 227-7 และมาตรา 227-9 ถึงมาตรา 227-11
43
ประมวลกฎหมายอาญาฝรั่งเศส มาตรา 311-3
44
ตั้งชื่อกฎหมายตามชื่อของรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมในขณะนั้นคือ นายโดมินิค แปรเบ็ง Dominique Perben
49
โดยมีการแกไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส ทั้งสิ้น 10 มาตรา คือ
มาตรา 495-7 ถึง 495-16 และมาตรา 520-1
สาระสําคัญของกฎหมายที่แกไขเปลี่ยนแปลงใหมนี้คือ การใหอํานาจแกพนักงานอัยการที่จะทํา
ขอเสนอใหผูถูกกลาวหายอมรับสารภาพวากระทําผิดและยอมรับโทษตามที่พนักงานอัยการเสนอ และเมื่อ
ศาลพิจารณาแลวเห็นชอบดวยกับขอตกลงดังกลาวก็จะนําไปสูการพิจารณาพิพากษาวาผูถูกกลาวหากระทํา
ผิดและลงโทษบุคคลนั้น ไดโดยไมตองมีการนําสืบพยานหลักฐาน45
กระบวนวิ ธีพิ จารณาความอาญาของฝรั่ งเศสลัก ษณะนี้มีแ นวความคิ ดเชื่ อมโยงกับมาตรการทาง
กฎหมายที่มีอยูเดิม คือ มาตรการความตกลงทางอาญา ( Composition pénale ) ตามมาตรา 41-2 แหง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศสดังที่ไดอธิบายมาแลว 46 อยางไรก็ตาม วิธีการทั้งสองมีความ
แตกตางกันหลายประการ เชน ประการแรก การตอรองคํารับสารภาพ CRPC ในชั้นกอนฟองใหความสําคัญ
กั บ การมี ที่ ป รึ ก ษากฎหมายในขณะพิ จ ารณาข อ ตกลง หากไม มี ก็ ถื อ ว า กระบวนการเสี ย ไป ในขณะที่
มาตรการความตกลงทางอาญาไมถือวาสิทธิในการมีที่ปรึกษากฎหมายเปนสิ่งที่มีความสําคัญถึงขนาดที่วา
หากขาดไปจะทําใหมาตรการไมสมบูรณ และอีกประการหนึ่งการตอรองรับคําสารภาพในชั้นกอนฟองให
อํานาจพนักงานอัยการเสนอใหลงโทษจําเลยถึงขั้นจําคุกไดในขณะที่มาตรการความตกลงทางอาญาให
อํานาจพนักงานอัยการไดเพียงใชวิธีการตามที่กฎหมายกําหนดเทานั้น 47
ขอบเขตการใชบังคับการตอรองคํารับสารภาพ CRPC ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ฝรั่งเศส มาตรา 495-7 บัญญัติใหใชวิธีพิจารณาใหมนี้กับความผิดที่กําหนดโทษจําคุกต่ํากวาหรือไมเกิน 5 ป
ขอบเขตการใชบังคับในกรณี CRPC จึงใกลเคียงกับกรณีมาตรการความตกลงทางอาญา ( Composition
penale) แตมาตรา 495-16 กําหนดขอยกเวนไวหลายคดีกลาวคือ ไมใหใชบังคับกับความผิดมัชฌิมโทษ
(Délit) บางกรณี เชน ความผิดเกี่ยวกับการพิมพ ความผิดฐานฆาคนตายโดยไมเจตนา ความผิดทางการเมือง
เปนตน
กฎหมายใหอํานาจพนักงานอัยการในการพิจารณานํามาตรการตอรองคํารับสารภาพ CRPC มาใชโดย
ไมตองมีฝายใดรองขอได (มาตรา 495-7) โดยเปนผูพิจารณาถึงความเหมาะสมที่จะใชมาตรการนี้
สําหรับอัตราโทษที่จะลงแกผูกระทําความผิดนั้น พนักงานอัยการมีอํานาจใชดุลพินิจอยางกวางขวาง
ในการ ที่จะเสนอโทษที่เหมาะสมอยางใดอยางหนึ่งหรือหลายอยาง ทั้งโทษหลักและโทษประกอบตามที่
กฎหมายกํ า หนดไว ทั้ ง นี้ โ ดยคํ า นึ ง ถึ ง ความร า ยแรงของการกระทํ า และตั ว ผู ก ระทํ า ผิ ด เป น สํ า คั ญ ตาม
บทบัญญัติมาตรา 132-24 แหงประมวลกฎหมายอาญา อยางไรก็ตาม ในกรณีโทษที่เสนอเปนโทษจําคุก

45
ผูที่สนใจอาจศึกษารายละเอียดจากเอกสารภาษาฝรั่งเศส ใน Ioannis Papadopoulos , Plaider Coupable La pratique ammericaine , Le texte
francais : Presses Universitaires de France , 2004.
46
ตามที่กฎหมายกําหนดไว ๕ ประการ คือ จายคาปรับ ริบทรัพยสินที่ใชหรือไดจากการกระทําผิด พักใชใบอนุญาตขับขี่รถยนต 6 เดือน หรือ
ใบอนุญาตลาสัตว ๔ เดือน ทํางานเพื่อประโยชนสาธารณะโดยไมไดรับคาตอบแทน หรือเขารับการอบรมทางสุขอนามัย ทางสังคม หรือทางอาชีพเปนเวลา
ตั้งแต ๓ – ๑๘ เดือน
47
Ioannis Papadopoulos ,.pp. 71 – 72.
50
ระยะเวลาของโทษจําคุกจะตองไมเกินกึ่งหนึ่งของอัตราโทษที่กฎหมายบัญญัติไว และไมวากรณีใดๆ จะตอง
ไมเกิน 1 ป
การบัญญัติรับรองหลักการตอรองคํารับสารภาพในระบบวิธีพิจารณาความอาญาของฝรั่งเศสในครั้งนี้
ถือเปนการเปลี่ยนแปลงแนวคิดทางวิธีพิจารณาครั้งสําคัญอีกครั้งหนึ่งของระบบไตสวนฝรั่งเศส เนื่องจาก
เปนการยอมรับวิธีพิจารณาระบบกลาวหา (Adversarial system) ที่มีแนวคิดยอมรับการเจรจาระหวางอัยการ
กับผูตองหาในการทําใหคดีเสร็จสิ้นลงได ซึ่งแตกตางจากระบบไตสวน
แมเพิ่งจะมีการนํามาตรการเจรจาตอรองคํารับสารภาพของระบบการดําเนินคดีอาญาของอเมริกันมา
ใชในระบบฝรั่งเศสดังที่ไดอธิบายมาแลวก็ตาม แตทางปฏิบัติในการดําเนินคดีความผิดอุกฤษฏโทษตั้งแต
อดีตมา พนักงานอัยการไดใชดุลพินิจในการฟองผูกระทําความผิดอุกฤษฏโทษบางคดีตอศาลมัชฌิมโทษมา
นานแลว ทั้งนีโ้ ดยมีจุดมุงหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการสงคดีไปใหผูพิพากษาไตสวนดําเนินคดี วิธีการดังกลาว
เรียกวา มาตรการลดขอหา (Correctionnalisation judiciaire) ซึ่งคลายคลึงกับมาตรการตอรองคํารับสารภาพ
ในระบบกลาวหา
มาตรการลดขอหาเปนวิธีการที่ลดความรายแรงของขอหาในคดีความผิดอุกฤษฏโทษลงเปนความผิด
มัชฌิมโทษเพื่อใหสามารถฟองคดีตอศาลมัชฌิมโทษได เชน การที่คนรายชิงทรัพยโดยมีอาวุธ พนักงาน
อัยการอาจลดความรายแรงของขอหาดังกลาวลงโดยไมระบุวาคนรายมีอาวุธในการชิงทรัพย หรือไดทําราย
รางกายผูเสียหายดวย หรือในคดีพยายามขมขืนกระทําชําเรา พนักงานอัยการอาจลดขอหาเปนความผิดฐาน
กระทําอนาจาร เปนตน อยางไรก็ตาม การที่พนักงานอัยการจะใชมาตรการดังกลาว คูความทั้งสองฝายจะตอง
ยินยอมและไมโตแยงคัดคาน
การใชมาตรการลดขอหานี้ มีนักกฎหมายเปนจํานวนมากวิจารณวาเปนวิธีการที่ไมชอบดวยกฎหมาย
เนื่องจากเปนการใหอํานาจพนักงานอัยการใชดุลพินิจในการดําเนินคดีมากเกินไป ซึ่งอาจจะนําไปสูการใช
อํานาจตามอําเภอใจไดโดยงาย
ในประเทศอิตาลีก็มีการนําวิธีการเจรจาตอรองระหวางอัยการกับฝายจําเลยเชนกัน ตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอิตาลี มาตรา 444 อนุญาตใหคูความสามารถรวมกันเสนอตอศาลในชั้นไต
สวนคดี ห รื อเมื่ อเริ่ มต นการพิ จ ารณาคดี เพื่ อ ขอใหผูพิ พ ากษาลงโทษแกจํ า เลยซึ่ง ไมเ กิ นสองป ไ ด ถ า ผู
พิพากษาพิจารณาแลวเห็นวาไดมีการบังคับประมวลกฎหมายอาญาอยางถูกตองตามกฎหมาย ก็สามารถ
ลงโทษตามที่คูความรองขอได 48

หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรือ่ งที่ 2.3.2 แลว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 2.3.2


ในแนวการศึกษาหนวยที่ 2 ตอนที่ 2.3 เรื่องที่ 2.3.2

48
Bogner, pp. 135–208. และอานเพิ่มเติมงานเขียนเรื่องวิธีพิจารณาความอาญาเปรียบเทียบ Criminal Procedure: Comparative Aspects -
Adjudication - Trial, Court, Evidence, Sentence, Art, and Law ใน http://law.jrank.org/pages /901/Criminal-Procedure-Comparative-Aspects-
Adjudication.html#ixzz13s7LJVBJ.
51

เรื่องที่ 2.3.3 การนําหลักการคนหาความจริงในระบบไตสวนมาใชกับ


การดําเนินคดีบางประเภท
เมื่อพิจารณาลักษณะสําคัญของระบบกลาวหาและไตสวนแลว จะเห็นวาระบบวิธีพิจารณาความอาญา
ของประเทศไทยโดยทั่วไปนั้น มีลักษณะที่ใกลเคียงกับระบบกลาวหามากกวาระบบไตสวน ทั้งในแงของ
โครงสรางการดําเนินคดี การแบงแยกอํานาจในการดําเนินคดีอาญาของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม
การรับฟงพยานหลักฐาน รวมทั้งบทบาทและทัศนคติของผูมีอํานาจดําเนินคดีอาญา ไมวาตํารวจ พนักงาน
อัยการ ทนายความ และผูพิพากษา แมจะมีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวของกับการสืบพยานจะทําใหนัก
กฎหมายบางทานเห็นวาระบบการสืบพยานของไทยใหอํานาจศาลที่จะใชดุลพินิจกวางขวางแบบผูพิพากษา
ในระบบไตสวนไดก็ตาม 49 แตในทางปฏิบัติและระเบียบที่ออกมาเพื่อใชบังคับแกบุคลากรตางๆ ลวนแต
แสดงใหเห็นถึงทัศนคติของผูออกกฎระเบียบที่ไดรับอิทธิพลจากการดําเนินคดีในรูปแบบของระบบกลาวหา
เกือบทั้งสิ้น
อยางไรก็ตาม ในปจจุบันในการดําเนินคดีความผิดอาญาบางประเภท กฎหมายไดกําหนดรูปแบบให
นําเอาลักษณะของวิธีพิจารณาความอาญาในระบบไตสวนมาใชอยางชัดเจน คือ การดําเนินคดีอาญากับผู
ดํารงตําแหนงทางการเมือง นอกจากนี้ก็ยังมีการนําเอารูปแบบวิธีพิจารณาความอาญาของระบบไตสวนมาใช
ในการดําเนินคดีในศาลปกครองและการดําเนินคดีความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งในศาลยุติธรรมและศาล
รัฐธรรมนูญดวย

1. การดําเนินคดีอาญากับผูด ํารงตําแหนงทางการเมือง
การดําเนินคดีอาญากับผูดํารงตําแหนงทางการเมืองในประเทศไทย มีลักษณะพิเศษอันเนื่องมาจากการ
จัดตั้งแผนกคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมืองขึ้นในศาลฎีกา ตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 โดยใหมีอํานาจหนาที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีผูดํารงตําแหนงทางการเมือง ไดแก
นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผูแทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือขาราชการการเมืองอื่นซึ่งถูกกลาวหา
วาร่ํารวยผิดปกติ กระทําความผิดตอตําแหนงหนาที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทําความผิด
ต อตํ า แหนงหนา ที่ หรือทุ จ ริ ต ต อ หน า ที่ ต ามกฎหมายอื่ น รวมทั้งกรณีบุ คคลอื่น ที่ เ ป น ตัว การ ผู ใ ช หรื อ
ผูสนับสนุนดวย
ในรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 219 วรรคสี่และวรรคหา ซึ่งใชบังคับ
อยูในปจจุบันก็ยังคงรับรองใหมีแผนกคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมืองในศาลฎีกาอยู แตการ
แตงตั้งองคคณะของผูพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมืองตามที่กําหนดไวใน

49
ชวเลิศ โสภณวัติ, หนา 38 - 41
52
รัฐธรรมนูญฯ ป 2550 จะมีองคประกอบของบุคคลที่จะมาดํารงตําแหนงเพิ่มเติมจากที่กําหนดไวใน
รัฐธรรมนูญฯ ป 2540 มาตรา 272 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติใหองคคณะจะตองเปนผูพิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดํารง
ตําแหนงไมต่ํากวาผูพิพากษาศาลฎีกาจํานวนเกาคนซึ่งไดรับเลือกโดยที่ประชุมใหญศาลฎีกาเทานั้น แตใน
รัฐธรรมนูญฯ ป2550 มาตรา 219 วรรคสี่นั้น นอกจากจะสามารถแตงตั้งผูพิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดํารง
ตําแหนงไมต่ํากวาผูพิพากษาศาลฎีกาใหเปนองคคณะไดแลว ที่ประชุมใหญศาลฎีกายังสามารถแตงตั้งใหผู
พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดํารงตําแหนงไมต่ํากวาผูพิพากษาศาลฎีกาเปนองคคณะไดอีกดวย
สวนการพิจารณาคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมืองนั้น รัฐธรรมนูญฯ ป
2540 มาตรา 332 (2) บัญญัติไวชัดเจนวา ในการรางกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญวาดวยวิธีพิจารณาคดีอาญา
ของผูดํารงตําแหนงทางการเมืองนั้น วิธีพิจารณาคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมืองตองเปนระบบไต
สวนขอเท็จจริงโดยยึดสํานวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.สรุปไวเปนหลัก
อยางไรก็ตาม การที่จะพิจารณาวาการดําเนินคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทาง
การเมืองเปนการพิจารณาคดีโดยใชรูปแบบของระบบไตสวนนั้น จะพิจารณาแตเพียงเฉพาะในสวนของการ
พิจารณาคดีโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมืองอาจจะไมเพียงพอตอการทําความ
เขา ใจ นัก ศึ ก ษาจํ า เป น ตอ งพิจ ารณากระบวนการรวบรวมพยานหลัก ฐานตั้ ง แตใ นชั้น การไตส วนของ
คณะกรรมการป.ป.ช.ดว ย จึง จะทําใหเกิดความเขาใจที่ชั ดเจนและมองเห็ นภาพของการดําเนินคดีโดย
เทียบเคียงกับการดําเนินคดีอาญาในระบบไตสวนของประเทศซึ่งเปนตนแบบเชนประเทศฝรั่งเศส
ตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 250 ไดบัญญัติใหคณะกรรมการ
ปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติมีอํานาจหนาที่ดังตอไปนี้
(1) ไตสวนขอเท็จจริงและสรุปสํานวนพรอมทั้งทําความเห็นเกี่ยวกับการถอดถอนออกจากตําแหนง
เสนอตอวุฒิสภาตามมาตรา 272 และมาตรา 279 วรรคสาม
(2) ไตสวนขอเท็จจริงและสรุปสํานวนพรอมทั้งทําความเห็นเกี่ยวกับการดําเนินคดีอาญาของผูดํารง
ตําแหนงทางการเมืองสงไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมือง ตามมาตรา 275
(3) ไตสวนและวินิจฉัยวาเจาหนาที่ของรัฐตั้งแตผูบริหารระดับสูงหรือขาราชการซึ่งดํารงตําแหนง
ตั้งแตผูอํานวยการกองหรือเทียบเทาขึ้นไปร่ํารวยผิดปกติ กระทําความผิดฐานทุจริตตอหนาที่ หรือกระทํา
ความผิดตอตําแหนงหนาที่ราชการ หรือความผิดตอตําแหนงหนาที่ในการยุติธรรม รวมทั้งดําเนินการกับ
เจาหนาที่ของรัฐหรือขาราชการในระดับต่ํากวาที่รวมกระทําความผิดกับผูดํารงตําแหนงดังกลาวหรือกับผู
ดํารงตําแหนงทางการเมือง หรือที่กระทําความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการปองกันและปราบปรามการ
ทุจริตแหงชาติเห็นสมควรดําเนินการดวย ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาดวยการปองกัน
และปราบปรามการทุจริต
การที่กฎหมายบัญญัติใหอํานาจแกคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในการไตสวนขอเท็จจริงเพื่อดําเนินคดีกับผู
ถูกกลาวหานี้ มีลักษณะเชนเดียวกับอํานาจการไตสวนคดีของผูพิพากษาไตสวนฝรั่งเศส และการที่กฎหมาย
ใหอํานาจแกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ฟองคดีไดดวยตนเองหรือจะแตงตั้งทนายความใหฟองคดีแทนในกรณีที่
53
มีความเห็นไมตรงกับอัยการสูงสุดนั้น ก็มีลักษณะใกลเคียงกับการที่ผูพิพากษาไตสวนมีคําสั่งวาคดีมีมูล และ
สงเรื่องไปใหศาลลูกขุน (La cour d’’assises) ซึ่งเปนศาลในชั้นทําการพิจารณาพิพากษาคดีตอไป โดยที่
พนักงานอัยการไมมีอํานาจยับยั้งไดแตประการใด
นอกจากนี้ การที่ใหนําระบบไตสวนมาเปนหลักในการดําเนินกระบวนวิธีพิจารณาในศาลฎีกาแผนก
คดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมือง จะเห็นไดจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 มาตรา 277 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติไวเชนเดียวกับรัฐธรรมนูญฯ ป 2540 มาตรา 330 วรรค
หนึ่ง คือ ในการพิจารณาคดี ใหศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมืองยึดสํานวนของ
คณะกรรมการปอ งกั น และปราบปรามการทุ จ ริ ตแห ง ชาติเ ป น หลัก ในการพิ จ ารณาและอาจไต ส วนหา
ขอเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมไดตามที่เห็นสมควร ก็คลายคลึงกับลักษณะอํานาจหนาที่ของศาล
ลูกขุนในการพิจารณาคดีความผิดอุกฤษฏโทษ แตสิ่งที่รัฐธรรมนูญฯ ป2550 มาตรา 277 วรรคหนึ่งเพิ่มเติม
ขึ้นมาจากหลักการเดิมคือ ในสวนที่เปนสํานวนของผูไตสวนอิสระ
ผูไตสวนอิสระนี้กําเนิดขึ้นในรัฐธรรมนูญฯ ป2550 มีอํานาจดําเนินคดีอาญากับผูดํารงตําแหนงทาง
การเมืองเชนเดียวกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. กลาวคือ ตามรัฐธรรมนูญฯ ป2550 มาตรา 275 วรรคหนึ่ง ใน
กรณีที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผูแทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือขาราชการการเมืองอื่นถูก
กลาวหาวาร่ํารวยผิดปกติ กระทําความผิดตอตําแหนงหนาที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทํา
ความผิดตอตําแหนงหนาที่ หรือทุจริตตอหนาที่ตามกฎหมายอื่นนั้น ผูเสียหายจากการกระทําดังกลาวมี
ทางเลือกเพิ่มขึ้นจากรัฐธรรมนูญฯ ป2540 คือจะยื่นคํารองตอคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อใหดําเนินการไต
สวนขอเท็จจริง หรือจะยื่นคํารองตอที่ประชุมใหญศาลฎีกาเพื่อขอใหตั้งผูไตสวนอิสระก็ได
การพิจารณาแตงตั้งผูไตสวนอิสระนี้ รัฐธรรมนูญฯ ป2550 มาตรา 276 วรรคหนึ่งใหที่ประชุมใหญ
ศาลฎีกาพิจารณาแตงตั้งจากผูซึ่งมีความเปนกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตยสุจริตเปนที่ประจักษ ใน
กรณีที่ผูไตสวนอิสระไดดําเนินการไตสวนหาขอเท็จจริงและสรุปสํานวนพรอมทําความเห็นแลว ถาเห็นวา
ขอกลาวหามีมูล ใหสงสํานวนและความเห็นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อยื่นฟองคดีตอศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของ
ผูดํารงตําแหนงทางการเมืองตอไป ในการนี้มาตรา 276 วรรคสาม ใหนําบทบัญญัติของมาตรา 272 วรรคหา
มาใชบังคับโดยอนุโลม กลาวคือ ถาอัยการสูงสุดมีความเห็นไมตรงกับผูไตสวนอิสระ และหลังจากตั้ง
คณะทํางานพิจารณารวมกันแลวก็ยังไมอาจหาขอยุติได ผูไตสวนอิสระก็มีอํานาจดําเนินการฟองคดีเอง หรือ
แตงตั้งทนายความใหฟองคดีแทนเชนเดียวกับอํานาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะเห็นไดวา ในการพิจารณา
พิพากษาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมืองสิ่งที่ศาลจะอาศัยเปนหลักในการ
พิพากษาคดี ไมใชแตเฉพาะคําเบิกความของพยานในชั้นศาลตามหลักการทั่วไปของการดําเนินคดีอาญาใน
ระบบกลาวหา แตกฎหมายกําหนดใหศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมืองยึดถือสํานวน
ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.หรือสํานวนการไตสวนของผูไตสวนอิสระแลวแตกรณี เปนหลักในการไตสวน
ขององคคณะผูพิพากษามีลักษณะแตกตางจากการสืบพยานบุคคลในคดีอาญาทั่วไปที่มีลักษณะของระบบ
กลาวหาอยางเห็นไดชัด ในการดําเนินคดีอาญากับผูดํารงตําแหนงทางการเมืองนี้ รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
54
ประกอบรัฐธรรมนูญบัญญัติใหการสืบพยานเปนเพียงการไตสวนเพื่อหา “ขอเท็จจริงและพยานหลักฐาน
เพิ่มเติม” ตามที่ศาลเห็นสมควรเทานั้น สวนศาลจะไตสวนเพื่อหาขอเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติม
หรือไม ยอมอยูที่ดุลพินิจของศาล ดังนั้น การที่ศาลจะใชดุลพินิจในการไตสวนเพื่อหาขอเท็จจริงและ
พยานหลักฐานเพิ่มเติมจากสํานวนการไตสวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงเปนการยาก หากศาลมิไดอาน
สํานวนการไตสวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มากอน
การพิจารณาในรูปแบบของการไตสวนของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมือง
เปนการไตสวนหาขอเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติม และมีการกระทําเฉพาะเมื่อองคคณะผูพิพากษา
เห็ น สมควรเท า นั้ น ในกรณี โ ดยทั่ ว ไป ศาลย อ มสามารถพิ พ ากษาโดยอาศั ย สํ า นวนการไต ส วนของ
คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไดเลย

2. การดําเนินคดีในศาลปกครอง

แมกระบวนวิธีพิจารณาคดีปกครองจะไมใชวิธีพิจารณาคดีอาญา แตกระบวนวิธีพิจารณาคดีปกครองก็
สะทอนใหเห็นถึงการนําเอารูปแบบของระบบวิธีพิจารณาแบบไตสวนมาใชในการดําเนินคดีซึ่งอยูในเขต
อํานาจของศาลปกครอง แทนที่จะใชระบบวิธีพิจารณาแบบกลาวหาซึ่งเปนระบบที่ใชสําหรับการดําเนินคดี
แพงทั่วไปซึ่งอยูในเขตอํานาจของศาลยุติธรรมที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพง

การที่วิธีพิจารณาคดีปกครองของไทยใชระบบไตสวนนี้ สามารถเทียบเคียงไดกับวิธีพิจารณาคดีอาญา
ในกลุมประเทศที่ใชระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) เนื่องจากนักกฎหมายในประเทศเหลานี้เห็นวา ใน
การดําเนินกระบวนวิธีพิจารณาความอาญา รัฐมีผลประโยชนโดยตรงในการรักษาความสงบเรียบรอยและมี
หนาที่ตองบังคับใชกฎหมายเพื่อความสงบสุขของสังคม ดังนั้น นักกฎหมายในกลุมประเทศ Civil law จึง
เห็นวาจําเปนที่จะตองใชระบบไตสวนที่ผูพิพากษาจะตองมีบทบาทนํา (Active role) ในการดําเนินคดีทาง
อาญา ซึ่งเปนเหตุผลเดียวกันกับเหตุผลที่ประเทศไทยไดนําเอาระบบไตสวนมาใชในการดําเนินกระบวนวิธี
พิจารณาคดีปกครอง

บทบาทของตุลาการในคดีปกครอง จะตองทําหนาที่ในการแสวงหาทั้งขอเท็จจริงและขอกฎหมาย ซึ่ง


ในการแสวงหาขอเท็จจริงดังกลาวจะไมถูกจํากัดอยูแตเฉพาะขอเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่คูความหรือ
คูกรณียื่นหรือเสนอตอศาลเทานั้น ในทางปฏิบัติ การดําเนินคดีปกครองจึงมีขั้นตอนที่เรียกวาการแสวงหา
ขอเท็จจริง (กอนขั้นตอนของการนั่งพิจารณาคดี) ซึ่งศาลเปนผูทําหนาที่ดังกลาว และตุลาการที่มีหนาที่
รับผิดชอบการดําเนินขั้นตอนของการแสวงหาขอเท็จจริง เรียกวา “ตุลาการเจาของสํานวน” ซึ่งเปนตุลาการ
คนหนึ่งในองคคณะที่ไดรับมอบหมายใหทําหนาที่นั้น

บทบาทของตุลาการเจาของสํานวนในการทําหนาที่แสวงหาขอเท็จจริงจะกระทําไดอยางกวางขวาง
ตามที่ตนเห็นสมควร แมวาโดยความเปนจริงแลวจะตองเริ่มจากขอเท็จจริงและพยานหลักฐานที่คูความยื่น
55
หรือเสนอตอศาลก็ตาม และแมแตวิธีการที่ใชเพื่อใหไดขอเท็จจริงและพยานหลักฐานก็สามารถกระทําได
อยางกวางขวาง หนาที่ของตุลาการเจาของสํานวนในการแสวงหาขอเท็จจริงนั้นยอมจะตองกระทําเพื่อใหได
ขอเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ครบถวนกอนที่องคคณะจะพิจารณาวินิจฉัยคดี และจะตองกระทําเพื่อ
ประโยชนแกทั้งสองฝายของคูกรณี และจะตองเปดโอกาสใหคูกรณีแตละฝายไดตรวจสอบและโตแยง
หักลางขอเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่ตุลาการแสวงหาไดมาดวยตนเองกอนเสมอ กอนที่รวมเปนสวนหนึ่ง
ในสํานวนแหงคดี ดวยเหตุนี้ในการดําเนินคดีปกครองโดยทั่วไป จึงไมบังคับวาจะตองมีทนายความ สวน
การที่คูความมีทนายความนั้นอาจเนื่องมาจากความจําเปนในการดําเนินคดีเรื่องการเรียกใหใชเงินหรือในคดี
สัญญาทางปกครองที่มีความยุงยากและสลับซับซอนเปนพิเศษ

กระบวนวิธีพิจารณาคดีของศาลปกครองนั้น จะไมเหมือนกับกระบวนวิธีพิจารณาที่ใชสําหรับคดีแพง
ในศาลยุติธรรม เนื่องจากวิธีพิจารณาคดีปกครองสวนใหญเกือบทั้งหมดจะเปนลายลักษณอักษร คดีจะไดรับ
การตัดสินชี้ขาดจากคําคูความ รวมทั้งขอเท็จจริงและพยานหลักฐานที่คูกรณี (คูความในคดีปกครองเรียกวา
“คูกรณี”) นําเสนอขอเท็จจริง และพยานหลักฐานที่ตุลาการเจาของสํานวนรวบรวมมาจะอยูในสํานวนคดี
ทั้งหมด ขั้นตอนที่สําคัญในการนั่งพิจารณาของศาลปกครองจึงมีลักษณะที่แตกตางจากวิธีที่ใชในระบบ
กลาวหา

นอกจากนั้น ขอแตกตางที่สําคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ระบบวิธีพิจารณาคดีปกครองกําหนดใหมีการ


ถวงดุลการใชอํานาจระหวางตุลาการศาลปกครองดวยกัน เพื่อตรวจสอบความสมบูรณถูกตองของขอเท็จจริง
กลาวคือ โดยหลักแลว “ตุลาการเจาของสํานวน” จะเปนผูมีบทบาทสําคัญในการแสวงหาและรวบรวม
ขอเท็จจริง แตจะตองเสนอขอเท็จจริงนั้นตอตุลาการอื่นที่ประกอบกันเปนองคคณะ และตอ “ตุลาการผูแถลง
คดี” ซึ่งมิใชตุลาการในองคคณะนั้นพิจารณาดวย สําหรับในสวนของการวินิจฉัยชี้ขาดนั้น “ตุลาการผูแถลง
คดี ” จะเสนอ “คําแถลงการณ” ซึ่งเปนการตรวจสอบขอเท็จจริงและขอกฎหมาย รวมทั้งการใหความเห็น
ในทางชี้ขาดตัดสินคดีตอองคคณะกอนที่องคคณะจะลงมติวินิจฉัย อันเปรียบเสมือนเปนความเห็นของตุลา
การนายเดียววาหากตนมีหนาที่ตัดสินคดีเรื่องนั้นตนจะพิพากษาอยางไร ดวยเหตุผลประการใด

การใหมีระบบการเสนอ “คําแถลงการณ” ของตุลาการผูแถลงคดีตอองคคณะเชนนี้ จะชวยทําใหการ


ใชอํานาจตัดสินคดีขององคคณะมีความรอบคอบและถูกตองมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะ หากองคคณะไมเห็นดวย
กับคําแถลงการณ โดยหลักก็จะตองแสดงใหเห็นถึงเหตุผลที่หนักแนนและนาเชื่อถือมากกวา เพราะจะมีการ
เปรียบเทียบคําวินิจฉัยและเหตุผลของตุลาการผูแถลงคดีและขององคคณะในคดีปกครองเนื่องจากกฎหมาย
กําหนดใหมีการพิมพเผยแพรคําพิพากษาขององคคณะ และคําแถลงการณของตุลาการผูแถลงคดีควบคูกัน
เสมอ
56
3. การดําเนินคดีความผิดเกีย่ วกับการเลือกตั้ง
คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. มีอํานาจหนาที่ตามรัฐธรรมนูญหลายประการ แตในสวนที่
เกี่ยวกับการดําเนินคดี มีดังตอไปนี้
1) สืบสวนสอบสวนเพื่อหาขอเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปญหาหรือขอโตแยงเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
2) เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และดําเนินคดีอาญากับผูสมัคร หัวคะแนน และผูเกี่ยวของ (ใหใบเหลืองหรือ
ใบแดง)
3) ดําเนินคดีในศาลเกี่ยวกับความผิดการเลือกตั้งหรือพรรคการเมือง

สําหรับเขตอํานาจของศาลในการดําเนินคดีเกี่ยวกับความผิดการเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองนั้น มี
ทั้งเขตอํานาจของศาลยุติธรรมและศาลรัฐธรรมนูญ ขึ้นอยูกับประเภทของคดีวาเปนคดีความผิดเกี่ยวกับ
เลือกตั้งประเภทใด
3.1 เขตอํานาจของศาลยุติธรรม
รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 219 วรรคสาม บัญญัติไวชัดเจนใน
การพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งวา
“ใหศาลฎีกามีอํานาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
ในการเลือ กตั้ง สมาชิ ก สภาผู แ ทนราษฎรและการได มาซึ่ ง สมาชิ ก วุ ฒิสภา และใหศาลอุ ทธรณ มีอํา นาจ
พิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ทองถิ่นและผูบริหารทองถิ่น ทั้งนี้ วิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดีใหเปนไปตามระเบียบที่ที่ประชุมใหญศาลฎีกา
กําหนด โดยตองใชระบบไตสวนและเปนไปโดยรวดเร็ว”
เพื่อใหสอดคลองกับรัฐธรรมนูญฯ ที่ประชุมใหญศาลฎีกาจึงไดออกระเบียบวาดวยวิธีพิจารณาคดี
เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งใหมีลักษณะสอดคลองกับระบบไตสวนดังนี้
1. ระเบียบที่ประชุมใหญศาลฎีกา วาดวย วิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการ
เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสภาผูแทนราษฎรและไดมาซึ่งสภาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550
2. ระเบียบที่ประชุมใหญศาลฎีกา วาดวย วิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการ
เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นและผูบริหารทองถิ่น พ.ศ. 2550
อยางไรก็ตาม แมกฎหมายจะใหศาลนําระบบไตสวนมาใชเพื่อใหการดําเนินคดีเปนไปโดยรวดเร็ว
แตในทางปฏิบัติของศาลยังมีการใชวิธีพิจารณาในคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ไมตางจากระบบกลาวหาที่ใช
พิจารณาในคดีทั่วไปเทาไรนัก ตัวอยาง ในการพิจารณาและวินิจฉัยคดีตามระเบียบที่ประชุมใหญศาลฎีกา วา
ดวย วิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิก
สภาทองถิ่นและผูบริหารทองถิ่น พ.ศ. 2550 ซึ่งใหดุลพินิจแกศาลที่จะใหยื่นบันทึกคําใหการของพยานซึ่ง
ปรากฏอยูในสํานวนการสอบสวนของ กกต. ไดก็ตาม แตในทางปฏิบัติแลว ในวันไตสวนศาลยังใหคูความ
นําพยานเขาไตสวนอยูตามปกติ และในบางครั้งยังสั่งให กกต. ยื่นบันทึกถอยคําพยานตามแบบฟอรมของ
57
ศาลที่พยานตองลงชื่อ ทําใหสํานักวินิจฉัยและคดีซึ่งเปนหนวยงานของสํานักงาน กกต. ตองสงพนักงานไป
ในพื้นที่ และสอบพยานดังกลาวใหมตามแบบฟอรมของศาล จึงเปนการยุงยากเสียเวลาและยังเสี่ยงตอการที่
พยานจะใหการแตกตางจากที่เคยใหไวในชั้นสอบสวน แมวา กกต.จะหาทางแกไขโดยการยื่นคํารองขอ
อนุญาตศาลใหใชคําใหการของพยานในสํานวนการสอบสวนแทนโดยไมตองไปจัดทําบันทึกถอยคําพยาน
ใหมก็ตาม ทางปฏิบัติก็ยังไมแนนอน เพราะผูพิพากษาบางทานก็อนุญาต แตบางทานก็ไมอนุญาต50
ที่เปนเชนนี้อาจเปนเพราะผูพิพากษาศาลยุติธรรมสวนใหญยังคงชินอยูกับทางปฏิบัติของระบบ
กลาวหา แมจะมีกฎหมายกําหนดใหใชระบบไตสวนในการดําเนินคดีเลือกตั้งแลวก็ตาม สวนการดําเนินคดี
เลือกตั้งเกี่ยวกับการยุบพรรคซึ่งอยูในเขตอํานาจของศาลรัฐธรรมนูญนั้น กฎหมายก็ไดกําหนดใหนําระบบไต
สวนมาใชเชนกัน และทางปฏิบัติในการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญที่ปรากฏแกสาธารณชนนั้นแตกตาง
กับทางปฏิบัติของศาลยุติธรรมจนถูกวิพากษวิจารณวาไมใหโอกาสในการตอสูคดีแกพรรคการเมืองซึ่งตก
เปนจําเลยเทาที่ควร
3.2 เขตอํานาจของศาลรัฐธรรมนูญ
เดิมในระหวาง พ.ศ. 2524 – พ.ศ. 2539 อํานาจยุบเลิกพรรคการเมืองซึ่งไดกระทําการฝาฝน
บทบัญญัติของมาตรา 4751 และมาตรา 48 52 แหงพ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ. 2524 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2535 เปนอํานาจของศาลฎีกา โดยอาศัยอํานาจตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ. 2524 แกไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 4653 และเมื่อศาลฎีกามีคําสั่งใหยุบเลิกพรรคการเมืองใดแลว ใหกระทรวง
มหาดไทยในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองประกาศคําสั่งการยุบเลิกพรรคการเมืองนั้นในราชกิจจานุเบกษา

50
ขอมูลจากการแถลงผลการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งครั้งที่ 93/2552 โดย ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อ
วันที่ 27 สิงหาคม 2552 คนคืน 6 ธันวาคม 2553 จาก http://www.ect.go.th/newweb/th/news/detail.p.
51
พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ. 2524 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 47 บัญญัติวา “เมื่อพรรคการเมืองกระทําการดังตอไปนี้ อาจถูกศาลสั่ง
ยุบเลิก
(1) กระทําการอันเปนปฏิปกษตอการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยเปนประมุขตามรัฐธรรมนูญ
(2) กระทําการอันอาจเปนภัยตอความมั่นคงของรัฐ ขัดตอกฎหมาย หรือความสงบเรียบรอยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ
(3) กระทําการฝาฝนมาตรา 39 มาตรา 40 หรือมาตรา 41”
52
พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ. 2524 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 48 บัญญัติวา “เมื่อปรากฏตอนายทะเบียนวา พรรคการเมืองใดกระทํา
การตามมาตรา 47 หรือไดรับแจงจากคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมืองวา พรรคการเมืองใดกระทําการตามมาตรา 47 ใหแจงตออธิบดีกรมอัยการพรอม
ดวยหลักฐาน ถาอธิบดีกรมอัยการเห็นสมควรก็ใหยื่นคํารองเพื่อใหศาลฎีกามีคําสั่งยุบเลิกพรรคการเมืองดังกลาว
คํารองตามวรรคหนึ่งใหยื่นตอศาลแพงและใหนํามาตรา 13 วรรคสอง และวรรคสี่ มาใชบังคับโดยอนุโลม
หากนายทะเบียนเห็นสมควรจะใหระงับการดําเนินการของพรรคการเมืองซึ่งกระทําการตามมาตรา 47 ใหนายทะเบียนแจงตออธิบดีกรมอัยการ
ขอใหศาลฎีกาสั่งระงับการกระทําดังกลาวของพรรคการเมืองไวเปนการชั่วคราวดวยก็ได 53”
53
พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ. 2524 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 46 พรรคการเมืองยอมเลิกดวยเหตุใดเหตุหนึ่งดังตอไปนี้
(1) มีเหตุตองเลิกตามขอบังคับพรรคการเมือง
(2) มีจํานวนสมาชิกเหลือไมถึงหาพันคนหรือมีสมาชิกซึ่งมีที่อยูในจังหวัดตาง ๆ จังหวัดละหาสิบคนไมถึงหาจังหวัดของแตละภาค ทั้งนี้ เปน
เวลาติดตอกันหกเดือน
(3) ไมสงหรือสงสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งเปนสมาชิกสภาผูแทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปไมถึงหนึ่งรอยยี่สิบคน
(4) ไมมีสมาชิกไดรับเลือกตั้งเปนสมาชิกสภาผูแทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป
(5) พรรคการเมืองสิ้นสภาพเพราะการรวมพรรคการเมือง
58
ตอมา เมื่อมีการประกาศใชรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และมีการตรา
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญวาดวยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 การยุบพรรคการเมืองเปนอํานาจของศาล
รัฐธรรมนูญ หากปรากฏขอเท็จจริงตอนายทะเบียนวาพรรคการเมืองใดมีเหตุตามที่ระบุไวในมาตรา 65 (1)
(2) (3) หรือ (5) ใหนายทะเบียนยื่นคํารองตอศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบหาวันนับแตวันที่ความปรากฏตอนาย
ทะเบียน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแลวเห็นวามีเหตุดังกลาวเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองตามคํารองของนาย
ทะเบียน ใหศาลรัฐธรรมนูญสั่งใหยุบพรรคการเมืองนั้น ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งใหยุบพรรค
การเมืองใดแลวใหนายทะเบียนประกาศคําสั่งยุบพรรคการเมืองนั้นในราชกิจจานุเบกษา
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 237 ยังคงบัญญัติ
ใหอํานาจในการวินิจฉัยเรื่องการยุบพรรคเปนอํานาจของศาลรัฐธรรมนูญ และในการดําเนินกระบวนการ
พิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญมีขอกําหนดศาลรัฐธรรมนูญวาดวยวิธีพิจารณาและการทําคํา
วินิจฉัย พ.ศ. 2550 ขอ 6 กําหนดกระบวนพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญไวใหใช “ระบบไตสวน” ไมใช
“ระบบกลาวหา” ตามหลักการพิจารณาคดีในระบบกฎหมายไทย นอกจากนี้ ในขอกําหนดศาลรัฐธรรมนูญฯ
ยังไดใหอํานาจศาล ในกรณีที่เห็นวา คดีใดมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได ศาลอาจประชุม
ปรึกษาเพื่อพิจารณาและวินิจฉัยโดยไมทําการไตสวนก็ได (ขอ 32) หรือศาลจะงดการไตสวน แลววินิจฉัยคดี
เลยก็ได (ขอ 37) ดังนั้น การที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งไมใหมีการไตสวนพยานหลักฐานจึงเปนอํานาจโดยชอบ
ธรรมที่ศาลรัฐธรรมนูญสามารถทําได 54

หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรือ่ งที่ 2.3.3 แลว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 2.3.3


ในแนวการศึกษาหนวยที่ 2 ตอนที่ 2.3 เรื่องที่ 2.3.3

(6) มีคําสั่งศาลยุบเลิกพรรคการเมืองตามมาตรา 48
(7) ไมดําเนินการใหเปนไปตามมาตรา 31 หรือมาตรา 32
เมื่อมีกรณีที่พรรคการเมืองตองเลิกตามวรรคหนึ่ง นอกจาก (6) ใหหัวหนาพรรคการเมืองหรือผูมีอํานาจทําการแทนหัวหนาพรรคการเมือง แจง
เหตุที่พรรคการเมือง ตองเลิกตอนายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแตวันที่พรรคการเมืองเลิก
เมื่อนายทะเบียนไดรับแจงตามวรรคสองหรือกรณีปรากฏตอนายทะเบียน ใหนายทะเบียนดําเนินการสอบสวนและยื่นคํารองเพื่อใหศาลฎีกามี
คําสั่งยุบเลิกพรรคการเมืองดังกลาว
คํารองตามวรรคสองใหยื่นตอศาลแพงใหนํามาตรา 13 วรรคสองและวรรคสี่มาใชบังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ศาลฎีกามีคําสั่งใหยุบเลิกพรรคการเมืองใดแลว ใหนายทะเบียนประกาศคําสั่งการยุบเลิกพรรคการเมืองนั้นในราชกิจจานุเบกษา
54
โปรดดูความเห็นที่แตกตางกันของคณาจารยของคณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ในคดียุบพรรคการเมือง (พรรคพลังประชาชน
พรรคชาติไทย และ พรรคมัชฌิมาธิปไตย) เมื่อป พ.ศ.2551 คนคืน 6 ธันวาคม 2553 จาก http://www.oknation.net/blog
59

ตอนที่ 2.4
ระบบกลาวหาและระบบไตสวนกับวิธีพจิ ารณาในกฎหมายระหวางประเทศ
โปรดอานแผนการสอนประจําตอนที่ 2.4 แลวจึงศึกษาเนื้อหาสาระ พรอมปฏิบัติกิจกรรมในแตละเรื่อง

หัวเรื่อง
เรื่องที่ 2.4.1 กติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)
เรื่องที่ 2.4.2 อนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชน (ECHR)
เรื่องที่ 2.4.3 ธรรมนูญกรุงโรมวาดวยศาลอาญาระหวางประเทศ (ICC)

แนวคิด
1. บทบัญญัติของกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งเปน
กฎหมายระหวางประเทศ แสดงใหเห็นถึงอิทธิพลของแนวคิดและหลักการสรางความเสมอภาค
ในการต อสู คดี ใ ห กั บ ผู ถู ก กลา วหาในคดี อ าญา เป น แนวคิ ด และหลั ก การที่ ส อดคล อ งกั บ การ
ดําเนินคดีอาญาในระบบกลาวหาในแงของความจําเปนของรัฐภาคีในการบัญญัติกฎหมายภายใน
ใหสอดคลองกับบทบัญญัติของกติการะหวางประเทศฉบับนี้
2. อนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชน (ECHR) เปนกฎหมายระหวางประเทศระดับภูมิภาคซึ่ง
แสดงใหเห็นถึงอิทธิพลของแนวคิดและหลักการสรางความเสมอภาคในการตอสูคดีใหกับผูถูก
กลาวหาในคดีอาญาที่สอดคลองกับระบบกลาวหาเชนเดียวกับกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิ
พลเมืองและสิทธิทางการเมือง แตมีกลไกที่มีประสิทธิภาพยิ่งกวากลไกของกติการะหวางประเทศ
ดังกลาวคือ ศาลยุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชนที่คอยควบคุมและลงโทษรัฐภาคีที่ฝาฝนบทบัญญัติ
ของอนุสัญญาฯ อยางเครงครัด
3. ธรรมนูญกรุงโรมวาดวยศาลอาญาระหวางประเทศ (ICC) เปนกฎหมายระหวางประเทศที่แสดง
ถึงความจําเปนของสหประชาชาติที่จะสรางกลไกในทางกฎหมายระหวางประเทศที่สามารถ
ดําเนินคดีอาญากับผูประกอบอาชญากรรมรายแรงตอมวลมนุษยชาติในลักษณะตางๆ กัน รูปแบบ
การดํ า เนิ น คดี อ าญาของธรรมนู ญ กรุ ง โรมว า ด ว ยศาลอาญาระหว า งประเทศนี้ แ สดงถึ ง การ
ประนีประนอมของผูรางกฎหมายจากระบบกลาวหาและระบบไตสวนเพื่อใหไดบทบัญญัติของ
กฎหมายและกลไกที่สามารถดําเนินคดีกับอาชญากรรายแรงไดอยางมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค
เมื่อศึกษาตอนที่ 2.4 จบแลว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายและวิเคราะหกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองได
2. อธิบายและวิเคราะหอนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชนได
3. อธิบายและวิเคราะหธรรมนูญกรุงโรมวาดวยศาลอาญาระหวางประเทศได
60

เรื่องที่ 2.4.1 กติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ


เมือง (ICCPR)
ในระบบวิธีพิจารณาความอาญาโดยทั่วไป สิ่งที่เปนหลักพื้นฐานอันจะขาดเสียมิไดประการหนึ่งของ
กระบวนวิธีพิจารณาคดีอาญาคือ ความยุติธรรมในการดําเนินคดีอาญา บุคคลที่ถูกฟองและลงโทษโดยศาล
จะ ตองไดรับการปฏิบัติใหเปนไปตามหลักการพื้นฐานของความยุติธรรมทางอาญา หลักการดังกลาวถือ
เปนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานซึ่งไดรับการบัญญัติรับรองไวในปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชน ถา
หลักการเหลานี้ไมไดรับการปฏิบัติตาม ก็จะถือวาการพิจารณาคดีนั้นเสียไปและมีผลเทากับการปฏิเสธความ
ยุติธรรม
อยางไรก็ตาม ปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชนนั้น แมจะไดรับยอมรับวากลายเปนจารีตประเพณี
ดานการคุมครองสิทธิมนุษยชนในทางกฎหมายระหวางประเทศแลวก็ตาม แตก็ไมมีฐานะเปนกฎหมาย
ระหวางประเทศที่ จะมีผลผูก พัน รัฐ ตางๆ ดว ยเหตุนี้องคการสหประชาชาติจึงจําเปนตองตรากฎหมาย
ระหวางประเทศดานการคุมครองสิทธิมนุษยชน เพื่อกําหนดมาตรฐานสากลใหรัฐตางๆ เขาเปนภาคีและถือ
ปฏิบัติตาม กฎหมายระหวางประเทศดานการคุมครองสิทธิมนุษยชนที่รับรองและคุมครองสิทธิของบุคคล
ในกระบวนการยุติธรรมที่เปนหลักอยูในปจจุบัน คือ กติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
ทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR)
กติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) มีที่มาจากปฏิญญาสากลวา
ดวยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1948 ในกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้นมี
บทบัญญัติที่รับรองและคุมครองสิทธิของบุคคลในคดีอาญา ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงที่มาและความจําเปนในการ
คุมครองสิทธิของบุคคลในระหวางที่มีการดําเนินคดีอาญาแลว จะประกอบดวยหลักการสําคัญซึ่งสอดคลอง
กับลักษณะการดําเนินคดีอาญาในระบบกลาวหาหลายประการคือ หลักความเสมอภาคในการตอสูคดี การมี
ทนายความหรือที่ปรึกษาใหความชวยเหลือในระหวางการดําเนินคดี และการที่รัฐจะตองจัดการใหการ
ดําเนินคดีเปนไปดวยความรวดเร็วและเปนธรรม
บทบัญญั ติ ที่เ ปน ที่ มาของการคุมครองสิทธิของบุคคลในระหวางการดํ าเนิ นคดีอาญานี้คือ กติก า
ระหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ขอ 14 ซึ่งบัญญัติไววา
“ขอ 14
1. บุคคลทั้งปวงยอมเสมอกันในการพิจารณาของศาลและคณะตุลาการ ในการพิจารณาคดีอาญา
ซึ่งตนตองหาวากระทําผิด หรือการพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิและหนาที่ของตน บุคคลทุกคนยอมมีสิทธิไดรับ
การพิจารณาอยางเปดเผยและเปนธรรม โดยคณะตุลาการซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย มีอํานาจ มีความเปน
อิสระและเปนกลาง สื่อมวลชนและสาธารณชนอาจถูกหามเขาฟงการพิจารณาคดีทั้งหมดหรือบางสวน ก็
ดวยเหตุผลทางศีลธรรม ความสงบเรียบรอยของประชาชน หรือความมั่นคงของชาติในสังคมประชาธิปไตย
61
หรือเพื่อความจําเปนเกี่ยวกับสวนไดเสียในเรื่องชีวิตสวนตัวของคูกรณี หรือในสภาพการณพิเศษซึ่งศาลเห็น
วาจําเปนอยางยิ่ง เมื่อการพิจารณาโดยเปดเผยนั้นอาจเปนการเสื่อมเสียตอประโยชนแหงความยุติธรรม แตคํา
พิพากษาในคดีอาญา หรือคําพิพากษาหรือคําวินิจฉัยขอพิพาทในคดีอื่นตองเปดเผย เวนแตจําเปนเพื่อ
ประโยชนของเด็กและเยาวชน หรือเปนกระบวนพิจารณาเกี่ยวดวยขอพิพาทของคูสมรสในเรื่องการเปน
ผูปกครองเด็ก
2. บุคคลทุกคนซึ่งตองหาวากระทําผิดอาญา ตองมีสิทธิไดรับการสันนิษฐานวาเปนผูบริสุทธิ์
จนกวาจะพิสูจนตามกฎหมายไดวามีความผิด
3. ในการพิจารณาคดีอาญา บุคคลทุกคนซึ่งตองหาวากระทําผิดยอมมีสิทธิที่จะไดรับหลักประกัน
ขั้นต่ําดังตอไปนี้โดยเสมอภาค
(ก) สิทธิที่จะไดรับแจงโดยพลันซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพและเหตุแหงความผิดที่ถูกกลาวหา
ในภาษาซึ่งบุคคลนั้นเขาใจได
(ข) สิทธิที่จะมีเวลา และไดรับความสะดวกเพียงพอแกการเตรียมการเพื่อตอสูคดี และติดตอกับ
ทนายความที่ตนเลือกได
(ค) สิทธิที่จะไดรับการพิจารณาโดยไมชักชาเกินความจําเปน
(ง) สิทธิที่จะไดรับการพิจารณาตอหนาบุคคลนั้น และสิทธิที่จะตอสูคดีดวยตนเอง หรือโดยผาน
ผูชวยเหลือทางกฎหมายที่ตนเลือก สิทธิที่บุคคลไดรับแจงใหทราบถึงสิทธิในการมีผูชวยเหลือทางกฎหมาย
หากบุคคลนั้นไมมีผูชวยเหลือทางกฎหมาย ในกรณีใด ๆ เพื่อประโยชนแหงความยุติธรรมบุคคลนั้นมีสิทธิที่
จะมีผูชวยเหลือทางกฎหมายซึ่งมีการแตงตั้งใหโดยปราศจากคาตอบแทน ในกรณีที่บุคคลนั้นไมสามารถ
รับภาระในการจายคาตอบแทน
(จ) สิทธิที่จะซักถามพยานซึ่งเปนปรปกษตอตน และขอใหเรียกพยานฝายตนมาซักถามภายใต
เงื่อนไขเดียวกับพยานซึ่งเปนปรปกษตอตน
(ฉ) สิทธิที่จะไดรับความชวยเหลือจากลามโดยไมคิดมูลคา หากไมสามารถเขาใจหรือพูดภาษาที่
ใชในศาลได
(ช) สิทธิที่จะไมถูกบังคับใหเบิกความเปนปรปกษตอตนเอง หรือใหรับสารภาพผิด...”
จะเห็นไดวา กติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองไดกําหนดหลักเกณฑ
ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไวคอนขางกวางและตองการใหเปนมาตรฐานสากล ทั้งนี้เพื่อใหรัฐตางๆ
ซึ่งมีระบบกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาที่แตกตางกัน ไมวาจะเปนระบบกลาวหาหรือระบบไตสวน สามารถ
ยอมรับและยึดถือกฎเกณฑตามที่กติการะหวางประเทศ วาดวย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองกําหนดไว
ได
อยางไรก็ตาม เมื่อพิจารณารายละเอียดของบทบัญญัติขอ 14 แหงกติการะหวางประเทศ วาดวย สิทธิ
พลเมืองและสิทธิทางการเมืองเปนรายอนุมาตราแลว จะเห็นรัฐที่ใชระบบกลาวหาในการดําเนินคดีอาญานั้น
จะมีหลักเกณฑที่สอดคลองกับหลักเกณฑที่กติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
62
กําหนดไวอยูแลว โดยเฉพาะการเสริมสรางกลไกเพื่อใหผูถูกกลาวหามีความเสมอภาคในการตอสูคดีกับฝาย
รัฐ และมีผูพิพากษาซึ่งจะตองมีอิสระและเปนกลางในการพิจารณาคดี
สิทธิบางประการซึ่งเปนสิทธิที่ผูตองหาไดรับในประเทศภาคีที่ใชระบบกลาวหานั้น ยังอาจจะไมไดรับ
การยอมรับในทํานองเดียวกันกับประเทศภาคีในระบบไตสวน ดังตัวอยางตอไปนี้

1. สิทธิที่จะพบปรึกษาทนายความหรือที่ปรึกษาในเวลาทันทีหลังจากที่ถูกจับ
ตามบทบัญญัติของกติการะหวางประเทศ วาดวย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ขอ 14 วรรคสาม
3 (ข) ซึ่งใหสิทธิแกผูตองหาที่จะมีเวลา และไดรับความสะดวกเพียงพอแกการเตรียมการเพื่อตอสูคดี และ
ติดตอกับทนายความที่ตนเลือกไดนั้น เปนหลักประกันเรื่องความเสมอภาคในการตอสูคดีของผูตองหาหรือ
จําเลยในระบบกลาวหา แตปรากฏวา ตามแนวคิดดั้งเดิมของระบบวิธีพิจารณาความแบบไตสวนซึ่งการ
ดําเนินคดีเปนความลับนั้น การใหสิทธิแกผูถูกควบคุมตัวในการพบปรึกษากับทนายความสองตอสองจะมีอยู
อยางจํากัด
ตัวอยาง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศสกอนที่จะมีการแกไขเพิ่มเติมเมื่อ ค.ศ.
1993 นั้น ผูตองหาจะมีสิทธิพบทนายความไดตอเมื่อระยะเวลาไดลวงพน 20 ชั่วโมงไปแลวนับแตเวลาที่มี
การควบคุมตัว ตอมาไดมีการตรารัฐบัญญัติฉบับเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1993 แกไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 63-4 ใหสิทธิแกบุคคลที่ถูกควบคุมตัวที่จะมีทนายความให
ความชวยเหลือ บุคคลผูถูกควบคุมตัวสามารถปรึกษากับทนายความเปนเวลา 30 นาทีได ตั้งแตชั่วโมงแรก
ของการควบคุมตัว แตทนายความไมมีสิทธิขอดูสํานวนการสอบสวน
กฎหมายที่แกไขเพิ่มเติมดังกลาวมีทั้งผูที่เห็นดวยและผูที่คัดคาน ตอมาหลังจากที่มีการประกาศตรารัฐ
บัญญัติฉบับเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1993 ไดไมนาน ก็มีการตรารัฐบัญญัติฉบับลงวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ.
1993 ใหกลับไปใชบทบัญญัติเดิมซึ่งใหสิทธิผูตองหาสามารถพบปรึกษากับทนายความไดตอเมื่อพน
กําหนดเวลา 20 ชั่วโมงไปแลวนับแตเวลาที่ถูกควบคุมตัว จนกระทั่งในที่สุดเมื่อมีการประกาศใชกฎหมายกิกู
ค.ศ.2000 (la loi Guigou de juin 2000) 55 ผูถูกควบคุมจึงกลับมามีโอกาสพบปรึกษาทนายความไดตั้งแตเริ่ม
ระยะเวลาการควบคุมตัว
อยางไรก็ตาม มีผูเปรียบเทียบการพบปรึกษากับทนายความวาเสมือน “การเยี่ยมตามมารยาท” (visite
de courtoisie) มากกวาจะเปนการปรึกษาหารือใหความชวยเหลืออยางจริงจัง เพราะกําหนดเวลาของการพบ
ปรึกษาไดสูงสุดไมเกินครึ่งชั่วโมง และเปนความลับ (กลาวคือ ทนายความจะนําความที่ไดจากการพบปะ
สนทนากับผูถูกควบคุมตัวมาบอกผูที่เกี่ยวของภายนอกไมได) ทนายความอธิบายสิทธิทั้งหลายของผูถูก
ควบคุมตัวใหเขาฟง และสามารถทําขอสังเกตเปนลายลักษณอักษร แตไมมีสิทธิขอดูสํานวนการสอบสวน
และไมอาจรวมในการสอบปากคําของตํารวจฝายคดี

55
ชื่อที่ใชเรียกกฎหมายเปนชื่อของรัฐมนตรีวาการกระทรวงยุติธรรมในขณะนั้นคือ Madame Elizabeth Guigou
63
แตถาบุคคลผูถูกควบคุมตัวไมอยูในฐานะที่จะกําหนดตัวทนายความ หรือไมสามารถที่จะติดตอ
ทนายความที่ไดรับการคัดเลือกได บุคคลนั้นสามารถรองขอใหมีการจัดหาทนายความใหโดยประธานสภา
ทนายความตามที่เห็นสมควร ในกรณีที่มีการขยายระยะเวลาการควบคุมตัว ผูถูกควบคุมตัวสามารถรอง
ขอใหทนายความมาพบตั้งแตระยะเวลาเริ่มตนของการขยายระยะเวลาดังกลาว ทนายความสามารถติดตอกับ
ผูถูกควบคุมตัวในลักษณะที่ไดรับประกันวาจะเปนความลับ ทนายความจะไดรับแจงถึงลักษณะและวันที่
สันนิษฐานวามีการกระทําความผิดเกิดขึ้น
อยางไรก็ตาม ในการสอบสวนตํารวจฝายคดีสามารถเริ่มการสอบปากคําไดเลย โดยไมจําเปนตองรอ
จนกระทั่งผูถูกควบคุมตัวไดพบปรึกษากับทนายความ ตํารวจฝายคดีมีหนาที่เพียงแตแจงใหทนายความที่
ไดรับมอบหมายจากผูถูกควบคุมตัว หรือถาไมสามารถกระทําได ใหแจงแกประธานสภาทนายความ ในกรณี
ที่เปนการสอบสวนตามที่ไดรับมอบหมาย (une commission rogatoire) จากผูพิพากษาไตสวน ผูถูกควบคุม
ตัวจะตองไดรับแจงวามาตรการควบคุมตัวจะถูกนํามาใชในการสอบสวนประเภทนี้ ทนายความไมมีสิทธิขอ
ทราบวามีพยานหลักฐานอะไรบาง ไมมีสิทธิเขารวมการสอบปากคํา อยางไรก็ตาม หลังจากที่ไดมีการพบ
ปรึกษากับผูถูกควบคุมตัวแลว ทนายความมีสิทธิที่จะทําขอสังเกตหรือคําแถลงเปนลายลักษณอักษรเพื่อ
นําเขารวมไวในสํานวนการสอบสวนได
แมในปจจุบันประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศสจะยอมใหสิทธิแกผูถูกจับในการที่มี
ทนายความเขาพบและใหคําปรึกษาดังกลาวแลวก็ยังถือวา ระบบวิธีพิจารณาความอาญาแบบไตสวนของ
ฝรั่งเศสยังคงมีขอจํากัดอยูมากเมื่อเปรียบเทียบกับสิทธิของผูตองหาในระบบกลาวหา ซึ่งไดรับการรับรอง
สิทธิในการที่จะมีทนายความเขาฟงการสอบปากคําของผูตองหาได

2. สิทธิที่จะมีทนายความอยูใ นระหวางการสอบปากคําผูต องหาในชั้นสอบสวน


สิทธิที่จะมีทนายความอยูในระหวางการสอบปากคําผูตองหาโดยพนักงานสอบสวนนี้ถือวาเปนสิทธิ
ขั้นพื้นฐานของผูตองหาอีกประการหนึ่งในเรื่องของความเสมอภาคในการตอสูคดีในระบบกลาวหา แมแตป.
วิ.อ.ของประเทศไทยก็มีบทบัญญัติรับรองสิทธิดังกลาวไวในมาตรา 7/1 (2) วา ผูถูกจับหรือผูตองหามีสิทธิ
ใหทนายความหรือผูซึ่งตนไววางใจเขาฟงการสอบปากคําตนไดในชั้นสอบสวน 56 แตในประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญาของประเทศฝรั่งเศสและประเทศอื่นที่อยูในระบบวิธีพิจารณาคดีอาญาแบบไตสวน
เชน ประเทศเนเธอรแลนด ไมไดมีบทบัญญัติรับรองสิทธิทํานองเดียวกันไว
นอกจากนี้ ในประเทศที่มีระบบวิธีพิจารณาคดีอาญาแบบไตสวนหลายประเทศ เชน ประเทศฝรั่งเศส
และอิตาลียังยอมใหมีการพิจารณาคดีลับหลังจําเลยได (In absentia หรือ Par contumace) ซึ่งโดยหลักทั่วไป
ในระบบกลาวหานั้น การพิจารณาจะตองกระทําโดยเปดเผยตอหนาจําเลย

56
สิทธิของผูถูกจับหรือผูตองหาในการที่จะใหทนายความหรือผูซึ่งตนไววางใจเขาฟงการสอบสวนปากคําตนไดในชั้นสอบสวนนี้มีมานานแลว
ตั้งแตเมื่อครั้งเดิมเมื่อยังเปนมาตรา 7 ทวิ กอนที่มีการแกไขเพิ่มเติมเปนมาตรา 7/1 โดยมาตรา 4 แหงพ.ร.บ.แกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
อาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547
64

3. สิทธิที่จะไดรับการพิจารณาโดยเปดเผยตอหนาจําเลย
ตามบทบัญญัติของกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ขอ 14 ขอยอย 1.
ไดรับรองสิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไววา
“1. บุคคลทั้งปวงยอมเสมอกันในการพิจารณาของศาลและคณะตุลาการ ในการพิจารณาคดีอาญาซึ่ง
ตนตองหาวากระทําผิด หรือการพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิและหนาที่ของตน บุคคลทุกคนยอมมีสิทธิไดรับ
การพิจารณาอยางเปดเผยและเปนธรรม โดยคณะตุลาการซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย มีอํานาจ มีความเปน
อิสระและเปนกลาง สื่อมวลชนและสาธารณชนอาจถูกหามเขาฟงการพิจารณาคดีทั้งหมดหรือบางสวน ก็
ดวยเหตุผลทางศีลธรรม ความสงบเรียบรอยของประชาชน หรือความมั่นคงของชาติในสังคมประชาธิปไตย
หรือเพื่อความจําเปนเกี่ยวกับสวนไดเสียในเรื่องชีวิตสวนตัวของคูกรณี หรือในสภาพการณพิเศษซึ่งศาลเห็น
วาจําเปนอยางยิ่ง เมื่อการพิจารณาโดยเปดเผยนั้นอาจเปนการเสื่อมเสียตอประโยชนแหงความยุติธรรม แตคํา
พิพากษาในคดีอาญา หรือคําพิพากษาหรือคําวินิจฉัยขอพิพาทในคดีอื่นตองเปดเผย เวนแตจําเปนเพื่อ
ประโยชนของเด็กและเยาวชน หรือเปนกระบวนพิจารณาเกี่ยวดวยขอพิพาทของคูสมรสในเรื่องการเปน
ผูปกครองเด็ก
และในขอยอย 3. (ง) ไดใหการรับรองสิทธิซึ่งเปนหลักประกันขั้นต่ําในการตอสูคดีไวดังนี้
“3. ในการพิจารณาคดีอาญา บุคคลทุกคนซึ่งตองหาวากระทําผิดยอมมีสิทธิที่จะไดรบั หลักประกันขั้น
ต่ําดังตอไปนี้โดยเสมอภาค …
(ง) สิทธิที่จะไดรับการพิจารณาตอหนาบุคคลนั้น และสิทธิที่จะตอสูคดีดวยตนเอง หรือโดยผานผู
ชวยเหลือทางกฎหมายที่ตนเลือก สิทธิที่บุคคลไดรับแจงใหทราบถึงสิทธิในการมีผูชวยเหลือทางกฎหมาย
หากบุคคลนั้นไมมีผูชวยเหลือทางกฎหมาย ในกรณีใด ๆ เพื่อประโยชนแหงความยุติธรรมบุคคลนั้นมีสิทธิที่
จะมีผูชวยเหลือทางกฎหมายซึ่งมีการแตงตั้งใหโดยปราศจากคาตอบแทน ในกรณีที่บุคคลนั้นไมสามารถ
รับภาระในการจายคาตอบแทน”
ในประเทศที่มีวิธีพิจารณาคดีอาญาแบบกลาวหารวมทั้งประเทศไทยนั้น การพิจารณาคดีอาญาตอง
กระทําโดยเปดเผยตอหนาจําเลย การพิจารณาที่จะกระทําลับหลังจําเลยไดนั้น เปนขอยกเวนซึ่งไมเกิดความ
เสียหายแกจําเลย หรือเปนกรณีที่มีความจําเปนที่จะตองกระทําดังที่บัญญัติไวในป.วิ.อ. มาตรา 172 ทวิ และ
มาตรา 172 ตรี แตในประเทศที่มีระบบวิธีพิจารณาคดีแบบไตสวนดังเชน ประเทศฝรั่งเศส และอิตาลี นั้น เดิม
การพิจารณาที่กระทําลับหลังจําเลยในกรณีที่จําเลยหลบหนีหรือไมมาตอสูคดีนั้นสามารถกระทําได เพราะ
ถือวาจําเลยมีหนาที่ตองมาตอสูคดีเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของตน หากจําเลยไมมา ตามประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 627-21 เดิมถือวาเปนกบฏตอกฎหมาย จะถูกการพักการใชสิทธิในฐานะ
พลเมือง และทรัพยสินก็จะถูกยึดในระหวางการไตสวน และตองหามมิใหใชสิทธิทางศาลในระหวางนั้น
บุคคลที่พบเห็นจําเลยมีหนาที่ตองแจงใหทางการทราบถึงสถานที่ซึ่งจําเลยหลบซอนตัวอยู ศาลมีอํานาจที่จะ
พิจารณาและพิพากษาคดีลับหลังจําเลยได
65
เคยมีกรณีตัวอยางสมัยที่ผูเขียนทํางานอยูที่สํานักงานตางประเทศ สํานักงานอัยการสูงสุดที่แสดงวา
ศาลแหงกรุงโรมในประเทศอิตาลีไดพิจารณาพิพากษาคดีลับหลังจําเลยซึ่งเปนชาวออสเตรเลีย ในขอหา
ความผิดเกี่ยวกับการคายาเสพติด โดยในกรณีดังกลาว รัฐบาลของประเทศอิตาลีไดทําคํารองขอใหรัฐบาล
แหงประเทศไทยสงตัวบุคคลสัญชาติออสเตรเลียซึ่งเปนจําเลยในคดีที่ศาลแหงกรุงโรม ประเทศอิตาลีกําลัง
พิจารณาคดีความผิดเกี่ยวกับการคายาเสพติดอยูไปดําเนินคดีที่ประเทศอิตาลี แตบุคคลสัญชาติออสเตรเลีย
ดังกลาวก็อยูระหวางถูกพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการคายาเสพติดอยูในศาลไทย ในระหวางที่มีการขอตัว
มา แตยังไมไดมีการสงตัวบุคคลดังกลาวเพื่อไปดําเนินคดีในศาลแหงกรุงโรมนั้น ศาลแหงกรุงโรมก็พิจารณา
คดีที่บุคคลสัญชาติออสเตรเลียคนนั้นเปนจําเลยตอไป จนกระทั่งศาลแหงกรุงโรมพิจารณาคดีเสร็จแลว เห็น
วาจําเลยเปนผูกระทําความผิด จึงพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยเปนเวลา 12 ป เปนการพิจารณาพิพากษาคดีลับ
หลังจําเลย เพราะจําเลยคนนั้นไมเคยถูกประเทศไทยสงตัวไปดําเนินคดีที่ประเทศอิตาลีแตประการใด จึงเปน
กรณีตัวอยางที่แสดงใหเห็นวา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศที่อยูในระบบไตสวนอนุญาตให
มีการพิจารณาพิพากษาคดีลับหลังจําเลยได
กรณีดังกลาวจะไมสามารถกระทําไดในประเทศที่มีวิธีพิจารณาความอาญาแบบกลาวหา เชนประเทศ
ไทย ถาพนักงานอัยการมีคําสั่งใหฟองผูตองหา แตถาไมมีตัวผูตองหาไปสงศาลพรอมกับคําฟอง ศาลก็ไมรับ
ฟองไวพิจารณาแตประการใด หรือถามีการฟองคดีและศาลรับฟองไวพิจารณาแลว ตอมาจําเลยหลบหนีไป
ในระหวางการพิจารณาคดี ศาลก็ไมสามารถพิจารณาคดีตอไปได เพราะตามป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง
บัญญัติวา การพิจารณาและสืบพยานในศาล ใหทําโดยเปดเผยตอหนาจําเลย ดังนั้น ศาลก็ตองจําหนายคดีไว
ชั่วคราว เพื่อใหนําตัวจําเลยมาสงศาลกอน การพิจารณาพิพากษาคดีจึงจะดําเนินการตอไปได
อยางไรก็ตาม ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศสปจจุบันไดมีการยกเลิกบทบัญญัติวา
ดวยหมวดการพิจารณาคดีโดยลับหลังจําเลย (Des contumaces) ตั้งแตมาตรา 627-21 ถึงมาตรา 641 ทั้งหมวด
โดยรัฐบัญญัติฉบับเลขที่ 2004-204 ลงวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ.2004 หรือกฎหมายแปรเบ็งสอง (La loi Perben II)
ซึ่งถือวาเปนการปฏิรูปประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาครั้งใหญอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่มีการปฏิรูป
ครั้งใหญไปเมื่อค.ศ.2000 ในสมัยที่มาดามเอลิซาเบ็ท กิกู (Madame Elizabeth Guigou) เปนรัฐมนตรีวาการ
กระทรวงยุติธรรม
สว นในประเทศอิตาลี กฎหมายยังคงอนุญาตใหใชวิธีพิ จารณาคดีลับ หลังจํา เลยได อยู และมี ก าร
พิจารณาคดีประเภทนี้อยูเสมอ เชน การพิจารณาคดีลับหลังทหารเกณฑอเมริกันนายหนึ่งชื่อ Spc. Mario
Lozano ซึ่งประจําการอยูที่ประเทศอิรักไดใชอาวุธปนยิงเจาหนาที่ขาวกรองอิตาลีถึงแกความตายเมื่อค.ศ.
2005 ที่ดานตรวจการแหงหนึ่งในประเทศอิรัก และศาลแหงประเทศอิตาลีไดนัดพิจารณาคดีในค.ศ.2007 ทั้ง
ที่จําเลยอยูในประเทศสหรัฐอเมริกา ทนายความของภริยาผูตายไดใหสัมภาษณผูสื่อขาววาการไมมาตอสูคดี
ของจําเลยเปนการตัดสินใจของจําเลยเอง แตการที่จําเลยไมมาไมไดเปนอุปสรรคแกการทําใหความจริง
ปรากฏแตประการใด และไมมีผลกระทบตอกระบวนพิจารณา สวน Spc. Mario Lozano ไดใหสัมภาษณแก
ผูสื่อขาวในประเทศสหรัฐอเมริกาวา จุดเกิดเหตุเปนดานตรวจการซึ่งเปนจุดที่มีความเสี่ยงและอันตรายสูง
66
สําหรับการปฏิบัติหนาที่ กอนที่จะยิง ไดใหสัญญาณแสงเตือนแกผูตายซึ่งขับขี่ยานพาหนะมาแลว แตผูตาย
ไมยอมหยุด จึงจําเปนตองยิง สิ่งที่เขากระทําเปนการปฏิบัติหนาที่ตามปกติ 57
นอกจากนี้ ในค.ศ.2009 ก็มีรายงานขาวในหนังสือพิมพ The Independent on Sunday 58 วาผูพิพากษา
แหงเมืองมิลาน (Milan) ประเทศอิตาลีไดพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยชาวอเมริกันที่ปฏิบัติงานใหกับหนวย
ขาวกรองแหงชาติสหรัฐอเมริกา (Central Intelligence Agency : CIA) จํานวน 23 คน ตั้งแตต่ําสุดจนถึงโทษ
จําคุกสูงสุดเปนเวลาแปดป โดยการพิจารณาคดีลับหลังจําเลยทั้ง 23 คน จําเลยที่ถูกลงโทษตองหาวาลักพา
ตัวผูตองสงสัยชาวอียิปตจากทวีปยุโรปไปประเทศอียิปตเพื่อการสอบปากคําในชวงที่ประธานาธิบดีจอรจ
ดับเบิ้ลยู บุช (President George W. Bush) ประกาศสงครามกับผูกอการราย และในระหวางการสอบปากคําผู
ถูกลักพาตัวถูกขังและทรมาน
แมแตในค.ศ. 2010 นี้เอง ศาลแหงประเทศอิตาลีก็พิพากษาลงโทษจําเลยโดยการพิจารณาลับหลังจําเลย
อีกหลายคดี เชน เมื่อเดือนกุมภาพันธ ค.ศ.2010 ศาลแหงเมืองมิลาน ประเทศอิตาลีก็พิจารณาพิพากษาลงโทษ
จําคุกจําเลยซึ่งเปนผูบริหารของกูเกิ้ล (Google) จํานวน 3 คน ในขอหาละเมิดเสรีภาพสวนบุคคลของ
ผูเสียหายโดยใหรอการลงโทษไวเปนเวลา 6 เดือน คําพิพากษาฉบับนี้ถูกวิพากษวิจารณเปนอยางมากวาศาล
ไมสมควรที่จะพิพากษาลงโทษในทํานองนี้ เพราะการใชกฎหมายอาญาเพื่อลงโทษการกระทําทั้งหลายนั้น
ไมใชสิ่งที่สามารถรักษาอาการปวยในสังคมไดทุกประเภท 59
จากตัวอยางคําพิพากษาของศาลในประเทศอิตาลีแสดงใหเห็นวา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาของ
ประเทศอิตาลียังคงยินยอมใหใชวิธีพิจารณาลับหลังจําเลยในการดําเนินคดีอยู ตางกับประเทศฝรั่งเศสซึ่งไดมี
การยกเลิกวิธีพิจารณาที่กระทําลับหลังจําเลยในคดีอาญาไปแลว
สําหรับกฎหมายไทยที่ยอมรับเอาหลักการพิจารณาคดีลับหลังในระบบไตสวนมาใชก็คือ พ.ร.บ.
ประกอบรัฐธรรมนูญวาดวยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมือง พ.ศ. 2542 ซึ่งการพิจารณา
คดีลับหลังจําเลยสามารถกระทําได ดังตัวอยางที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมืองเคย
มีคําสั่งในคดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินยานรัชดาภิเษก ในคดีดังกลาวทนายจําเลยทั้งสองยื่นคํารองขอถอนตัวจาก
การเปนทนายความ พรอมทั้งขอใหศาลจําหนายคดีออกจากสารบบความ เนื่องจากจําเลยทั้งสองไมมาศาล
เพราะไดเดินทางไปพํานักยังตางประเทศแลว และจําเลยทั้งสองไมอยูในอํานาจศาลแลว
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมืองพิเคราะหแลวเห็นวา คดีนี้จําเลยทั้งสองไดมา
รายงานตัวและใหการตอศาลแลว โดยไดรับอนุญาตใหปลอยตัวชั่วคราวในระหวางพิจารณา และศาลได
อนุญาตใหพิจารณาลับหลังจําเลยทั้งสองได ตามที่จําเลยทั้งสองรองขอ ดังนั้น จําเลยทั้งสองจึงเขามาอยูใน
อํานาจศาลแลว แมตอมาจําเลยทั้งสองไมมาศาล ศาลก็มีอํานาจที่จะดําเนินกระบวนการพิจารณาคดีตอไปได

57
CBCNews. Retrieved November 28, 2010 from : http://www.cbc.ca/world/story/2007/04/17/italy-iraq.html#ixzz 16dVlmdek
58
Independent.co.uk . Retrieved November 28, 2010 from : http://www.independent.co.uk/news/world/euro
59
Eupundit.blogspot.com. Retrieved November 28, 2010 from : http://www.eupundit.blogspot.com/2010/02/court-i. และ
http://eupundit.blogspot.com/2006/01/court-rules-google-cache-of-website.html
67
การที่จําเลยทั้งสองหลบหนีไมมาศาล ยอมตองถือวาจําเลยทั้งสองสละสิทธิ์ในการตอสูคดีเอง จึงไมมีเหตุที่
ศาลจะสั่งจําหนายคดี เพื่อใหไดตัวจําเลยทั้งสองมาศาลกอน จึงจะดําเนินกระบวนพิจารณาคดีตอไปได
นอกจากนี้ในคดีทุจริตจัดซื้อกลายาง สํานวนคดีหมายเลขดําที่ อม.4/2551 ที่คณะกรรมการปองกันและ
ปราบปรามการทุจริตแหงชาติ (ป.ป.ช.) เปนโจทกแทนคณะกรรมการตรวจสอบการกระทําที่กอใหเกิดความ
เสียหายแกรัฐ (คตส.) ยื่นฟองอดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีหลายคนกับพวกรวม 44 คนเปนจําเลยใน
ความผิดฐานเปนเจาพนักงานมีหนาที่ซื้อ จัดการ หรือรักษาทรัพยสินใดๆ ใชอํานาจในตําแหนงโดยทุจริตอัน
เปนการเสียหายแกรัฐ เปนเจาพนักงานปฏิบัติหรือละเวนการปฏิบัติหนาที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ความผิด
ฐานทุจริตหลอกลวงผูอื่นดวยการแสดงขอความอันเปนเท็จเพื่อใหไดไปซึ่งทรัพยสินอันเปนความผิดฐาน
ฉอโกงตามป.อ. มาตรา 151, 157, 341, ประกอบมาตรา 83, 84, 86, 90 และ 91 และพ.ร.บ.วาดวยความผิด
เกี่ยวกับการเสนอราคาตอหนวยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 มาตรา 4, 9-13 และพ.ร.บ.วาดวยความผิด
ของพนักงานในองคกรหรือหนวยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11 นั้น ไดมีจําเลยบางคนยื่นขอใหศาล
พิจารณาลับหลัง ซึ่งโจทกไมไดคัดคาน ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมืองก็ไดมีคําสั่ง
อนุญาตเชนกัน
แสดงใหเห็นวา ในการพิจารณาคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมืองในประเทศไทยก็ไดนําเอา
ระบบไตสวนมาใชคอนขางสมบูรณแบบ 60 อยางไรก็ตาม มีผูเห็นวาการที่นําระบบไตสวนมาใชอยาง
เครงครัด โดยใหจําเลยตกเปนกรรม (Object) ของการไตสวนคดีโดยไมใหโอกาสตอสูคดีไดอยางเต็มที่เชนนี้
ขัดกับหลักการคุมครองสิทธิมนุษยชนในการดําเนินคดีอาญาเปนอยางยิ่ง61

4. สิทธิในการถามคานพยานที่เปนปรปกษ (Cross-examine prosecution witnesses)


สิทธิที่จะซักถามพยานซึ่งเปนปรปกษตอตน และขอใหเรียกพยานฝายตนมาซักถามภายใตเงื่อนไข
เดียวกับพยานซึ่งเปนปรปกษตอตน เปนสิทธิที่ไดรับการรับรองไวในกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิ
พลเมืองและสิทธิทางการเมือง ขอ 14 ขอยอย 3. (จ) การรับรองสิทธิดังกลาวแสดงใหเห็นวากติการะหวาง
ประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองไดคํานึงถึงความจําเปนในการใหโอกาสในการตอสูแก
จําเลยตามหลักการตอสูคดีที่เปนปรปกษกันในระบบกลาวหา
การซักคานพยานของฝายโจทกในการตอสูของฝายจําเลย ก็เพื่อแสดงใหเห็นความไมนาเชื่อถือของ
พยานของฝายที่กลาวหาจําเลย และเพื่อใหศาลและลูกขุนเห็นวาที่พยานโจทกเบิกความมานั้นไมเปนความ
จริง ดังนั้นการถามคานเพื่อทําลายน้ําหนักพยานของฝายที่กลาวหาเชนนี้เปนการเปดโอกาสใหจําเลยนําพยาน

60
วิชัย วิวิตเสวี, “ระบบไตสวนของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมือง” บทความจากเอกสารประกอบการสัมมนาการดําเนินคดี
ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมือง, คนคืน 28 พฤศจิกายน 2553 จากหองสมุดอิเล็กทรอนิกสศาลยุติธรรม
http://elib.coj.go.th/Article/data/j1_2_1.pdf
61
ณรงคฤทธิ์ เพชรฤทธิ์, “วิธีพิจารณาคดีอาญาตามระบบไตสวนของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผูดํารงตําแหนงทางการเมือง”, ดุลพาห เลม 2 ปที่
54, พฤษภาคม-สิงหาคม 2550, หนา 167-186
68
มาเบิกความยันขอเท็จจริงกับพยานของฝายกลาวหาเพื่อแสดงใหศาลและลูกขุนเห็นวาความจริงเปนไปตามที่
จําเลยไดซักคานไวและไดนําพยานมาสืบประกอบเพื่อยืนยันความจริงดังกลาว การสืบพยานของฝายจําเลยนี้
จะตองไดรับการปฏิบัติในการพิจารณาคดีของศาลภายใตเงื่อนไขทํานองเดียวกับการปฏิบัติตอพยานของฝาย
ที่กลาวหาตน เพื่อใหเปนไปตามหลักความเสมอภาคในการตอสูคดี
เพื่อเสริมสรางหลักความเสมอภาคในการตอสูคดีอยางเต็มรูปแบบ อัยการโจทกจะตองแจงใหฝาย
จําเลยทราบถึงพยานซึ่งฝายที่กลาวหาจะนําเขาสืบกอนที่การพิจารณาจะเริ่ม โดยมีระยะเวลาพอสมควรที่
จําเลยจะสามารถเตรียมตัวสําหรับการตอสูคดีได แมวาในระบบกลาวหา ภาระการพิสูจนความผิดจะตกอยู
แกฝายโจทกทั้งหมด แมวากฎหมายไมไดกําหนดใหจําเลยเปนฝายที่นําพยานหลักฐานมาพิสูจนความบริสทุ ธิ์
ของตนก็ตาม แตจําเลยก็ไดรับสิทธิที่จะพิสูจนหักลางขอกลาวหาของโจทกหรือไดรับสิทธิพิเศษในการตอสู
คดีเพื่อพิสูจนความบริสุทธิ์ของตน ดังนั้นหากศาลปฏิเสธไมใหโอกาสจําเลยนําพยานหลักฐานเขาสืบโดยไม
มีเหตุผลตามกฎหมายที่ชอบธรรมจึงเปนเหตุผลที่จะทําใหการพิจารณานั้นเสียไป
ตัวอยางในคดี Badri v. State of Rajasthan 1976 A.I.R. (S.C.) 560. ศาลแหงรัฐราชสถาน ประเทศ
อินเดียตัดสินวา หากไมมีการอนุญาตใหจําเลยถามคานพยานของฝายอัยการโจทกในประเด็นสําคัญซึ่งพยาน
เคยใหการไวตอพนักงานสอบสวนได ก็ถือวาพยานหลักฐานดังกลาวยังไมไดมีการถามคานและไมสามารถ
รับฟงประกอบกับพยานหลักฐานอื่นของโจทกได ที่ศาลลางรับฟงพยานหลักฐานดังกลาวมาจึงไมชอบดวย
กฎหมาย 62
สําหรับประเทศภาคพื้นยุโรปที่ใชระบบวิธีพิจารณาแบบไตสวนดําเนินคดีนั้น ก็ยังมีประเด็นที่ถูก
วิพากษวิจารณวา ผูตองหาหรือจําเลยในคดีอาญายังไมไดรับการคุมครองสิทธิมนุษยชนอีกหลายประการ
และนอกจากนี้ ยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาซึ่งเกิดจากการปฏิบัติหนาที่
ของเจาพนักงานและศาลในกระบวนการยุติธรรมที่ใชวิธีพิจารณาแบบไตสวนอยูเสมอ ดวยเหตุนี้ จึงสมควร
ที่จะทําการศึกษาถึงอนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชน ซึ่งเปนกฎหมายระหวางประเทศระดับภูมิภาคที่ได
ชื่อวามีระบบการคุมครองสิทธิมนุษยชนโดยศาลยุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดใน
บรรดากฎหมายระหวางประเทศดานการคุมครองสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รัฐภาคีที่
ละเมิดสิทธิตามที่บัญญัติไวในอนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชน ไมวาจะอยูในระบบกลาวหาหรือระบบ
ไตสวนจําเปนตองพิจารณาทบทวนและปรับปรุงแกไขระบบของตนใหสอดคลองกับบรรทัดฐานที่ศาลยุโรป
วาดวยสิทธิมนุษยชนวางไว

หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรือ่ งที่ 2.4.1 แลว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 2.4.1


ในแนวการศึกษาหนวยที่ 2 ตอนที่ 2.4 เรื่องที่ 2.4.1

62
indiankanoon.org. Retrieved November28, 2010 from : http://www.indiankanoon.org/doc/814784
69

เรื่องที่ 2.4.2 อนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชน (ECHR)


อนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชน (The European Convention on Human Rights - ECHR) หรือ
เรี ย กชื่ อ อย า งเป น ทางการว า “อนุ สัญ ญายุ โ รปว า ดว ยสิ ทธิ ม นุ ษ ยชนและเสรี ภ าพขั้ น มู ลฐาน ค.ศ. 1950
(Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms) เปนสนธิสัญญาเกี่ยวกับสิทธิ
มนุษยชนระหวางประเทศที่ครอบคลุมในเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองอยางกวางขวาง เปนกลไก
ทางกฎหมายระหวางประเทศในระดับภูมิภาคซึ่งตราขึ้นโดยสภายุโรป (The Council of Europe) และจัดใหมี
พิธีลงนามกันที่กรุงโรมเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ.1950 และอนุสัญญามีผลบังคับใชเมื่อวันที่ 3 กันยายน
ค.ศ.1953 เปนอนุสัญญาที่เกิดขึ้นกอนที่องคการสหประชาชาติจะตรากติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิ
พลเมืองและสิทธิทางการเมืองออกมาเมื่อค.ศ.1966 ปจจุบันมีประเทศภาคีสมาชิกทั้งหมด 47 ประเทศ
อนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชน (ECHR) มีกลไกสอดสองการปฏิบัติของรัฐภาคีใหเปนไปตาม
บทบัญญัติของอนุสัญญายุโรปฯ ที่ไดชื่อวามีประสิทธิภาพและไดรับการยอมรับในดานการคุมครองสิทธิ
มนุษยชนดีที่สุดในโลก กลไกที่สําคัญที่สุดซึ่งถือวาเปนนวัตกรรมทางกฎหมายระหวางประเทศ คือ การ
จัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชน และมีบทบัญญัติใหเอกชนฟองรองวารัฐไดกระทําละเมิดสิทธิมนุษยชนได ทําให
สิทธิมนุษยชนไดรับการคุมครองอยางจริงจัง โดยรัฐที่ละเมิดตองชดใชคาเสียหายแกบุคคลที่ถูกละเมิดเพื่อ
เปนการเยียวยาแกไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน
เนื้ อ หาของการคุ ม ครองสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนที่ บั ญ ญั ติ ไ ว ใ นอนุ สั ญ ญายุ โ รปว า ด ว ยสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนจะ
สอดคลองกับบทบัญญัติที่ไดรับการรับรองและคุมครองไวในกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและ
สิทธิทางการเมือง ค.ศ.1966 เพราะเปนตนแบบของการรางกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและ
สิทธิทางการเมืองขององคการสหประชาชาติ โดยเฉพาะบทบัญญัติที่มีเนื้อหาใกลเคียงกับขอ 14 ของกติกา
ระหวางประเทศฯ นั้นบัญญัติอยูในขอ 5, 6 และ 7 ของอนุสัญญาฯ
ประเด็นที่ถือวา ประเทศที่ใชระบบไตสวนตองถูกกระทบจากคําวินิจฉัยของศาลยุโรปวาดวยสิทธิ
มนุษยชนมากที่สุดก็คือ สิทธิของผูตองหาที่จะมีทนายความใหความชวยเหลือแกบุคคลผูถูกควบคุมตัวตั้งแต
เวลาเริ่มตนของการถูกควบคุมตัว มีผูตองหาของประเทศภาคีสมาชิกที่ยังใหสิทธิในการตอสูคดีแกจําเลยไม
เต็ม ที่นี้ รอ งเรี ย นตอ ศาลสิท ธิม นุ ษ ยชนแห งยุ โ รป ซึ่ งมี เ ขตอํ า นาจเหนื อ แต ล ะประเทศภาคี สมาชิ ก
(Supranational jurisdiction) ใหพิจารณาวาการกระทําดังกลาวขัดตอบทบัญญัติมาตรา 6 แหงอนุสัญญายุโรป
วาดวยสิทธิมนุษยชน (สิทธิที่ไดรับการดําเนินคดีอยางเปนธรรม)
ในคดี Salduz v. Turkey ศาลสิทธิมนุษยชนแหงยุโรปไดตัดสินลงโทษประเทศตุรกีเมื่อวันที่ 27
พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 วา การที่บุคคลผูถูกควบคุมตัวไมมีทนายความตั้งแตเริ่มมีการควบคุมตัวนั้นเปนการ
กระทําที่ไมชอบ เปนการละเมิดตอบทบัญญัติของมาตรา 6 แหงอนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชน63

63
vlex.com. Retrived November 28, 2010 from : http://www.vlex.com/vid/case-salduz-v-turkey-514
70
คําพิพากษาศาลสิทธิมนุษยชนแหงยุโรปฉบับนี้ แมรัฐที่ถูกพิพากษาวามีการกระทําละเมิดตอ
บทบัญญัติของอนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชนจะเปนประเทศตุรกีก็ตาม แตโดยทั่วไป ผลของคํา
พิพากษาดังกลาวจะมีอิทธิพลตอการเปลี่ยนแปลงกฎหมายภายในและการพิจารณาพิพากษาคดีในประเทศ
ภาคีสมาชิกอื่นๆ ดวย
สําหรับประเทศฝรั่งเศสเอง คําพิพากษาดังกลาวก็มีอิทธิพลตอการพิจารณาพิพากษา คดีของศาลภายใน
เชนกัน ศาลชั้นตนแหงเมืองโบบินยี่ (Tribunal de Grande Instance de Bobigny) ของประเทศฝรั่งเศส ก็เคยมี
คําพิพากษาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 เดินตามแนวคําพิพากษาของศาลยุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชน
ไดวางไว โดยวินิจฉัยวา การที่ผูถูกจับไมมีทนายความใหความชวยเหลือตั้งแตเริ่มมีการควบคุมตัวนั้นเปน
การกระทําที่ไมชอบดวยมาตรา 6 แหงอนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชน
อยางไรก็ตาม แมจะมีคําพิพากษาของศาลชั้นตนแหงเมืองโบบินยี่ดังกลาว แตก็ยังมีทั้งผูเห็นดวยและ
ไมเห็นดวยกับคําวินิจฉัยของศาลสิทธิมนุษยชนแหงยุโรป ฝายที่เห็นดวยวากฎหมายและทางปฏิบัติ
ภายในประเทศฝรั่งเศสควรเดินตามแนวคําพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแหงยุโรปวางไวในคดีดังกลาว
สวนใหญก็คือทนายความ สวนฝายที่ไมเห็นดวยนั้น สวนใหญก็คือเจาหนาที่ผูบังคับใชกฎหมาย โดยเฉพาะ
ตํารวจกับอัยการ และนอกจากนี้รัฐมนตรีวาการกระทรวงยุติธรรมของฝรั่งเศสก็ไดออกมาแสดงความเห็นวา
ประเทศฝรั่งเศสก็ยังดํารงตนอยูในกรอบของอนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชน แตการที่ไมมีทนายความ
ขณะมีการควบคุมตัวนั้นไมอาจยกขึ้นเปนสาเหตุของการยกเลิกกระบวนการดําเนิน คดีดังกลาว หลังจากที่
รัฐมนตรีวาการกระทรวงยุติธรรมไดแสดงความเห็นดังกลาว ก็มีผูออกมาวิพากษวิจารณความเห็นของ
รัฐมนตรีวาการกระทรวงยุติธรรมกันอยางมาก
นอกจากประเด็นเรื่องสิทธิของผูตองหาในการมีทนายความชวยเหลือนับตั้งแตเวลาที่ถูกจับกุมตัวแลว
ก็มีประเด็นเรื่องของ การขังชั่วคราวไวในระหวางการไตสวนคดี ตามรายงานประจําปของคณะกรรมการ
ติดตามผลของการขังชั่วคราว (La commission de suivi de la détention provisoire) ในประเทศฝรั่งเศสนั้น
ปรากฏวาในค.ศ. 2005 ระยะเวลาเฉลี่ยของการขังชั่วคราวไดเพิ่มขึ้นจากเดิมซึ่งอยูที่ 6.4 เดือนในค.ศ. 2002
เปน 7.1 เดือน อยางไรก็ตาม ในทางปฏิบัติมีผูถูกไตสวนจํานวนไมนอยที่ตองตกอยูภายใตการขังชั่วคราว
นานเกินกวาสองปขึ้นไป 64 เปนเหตุใหผูถูกไตสวนทําคํารองตอศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปกลาวหาประเทศ
ฝรั่งเศสวาละเมิดบทบัญญัติของอนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1950 ที่รับรองและคุมครองสิทธิ
ของผูถูกไตสวน และขอใหชดใชความเสียหายที่ผูถูกไตสวนไดรับจากการกระทําละเมิดดังกลาว จึงทําให
ประเทศฝรั่งเศสตองตกอยูในฐานะเปนจําเลยและถูกศาลสิทธิมนุษยชนแหงยุโรปพิพากษาลงโทษอยูหลาย
คดี

64
ปรากฏตามรายงานประจําปของคณะกรรมการติดตามผลของการขังชั่วคราว (La Commission de suivi de la detention provisoire) ในค.ศ. 2005
ระยะเวลาเฉลี่ยของการขังชั่วคราวไดเพิ่มขึ้นจากเดิมซึ่งอยูที่ 6.4 เดือน ในค.ศ. 2002 เปน 7.1 เดือนในค.ศ. 2005 นอกจากนี้ยังมีการวิพากษวิจารณถึงความไม
เพียงพอของเหตุผลที่ใหไวในการสั่งขังชั่วคราว รวมทั้ง สภาพของการขังชั่วคราว ซึ่งนําผูตองขังชั่วคราวไปรวมกับนักโทษเด็ดขาด
71
บทบัญญัติของอนุสัญญาฯ ที่เกี่ยวของกับการคุมครองสิทธิเสรีภาพของปจเจกชนที่ตองตกอยูในความ
ควบคุมและการขังของเจาหนาที่รัฐ มีอยูในขอ 5 วรรคหนึ่ง c) และขอ 5 วรรคสาม ซึ่งบัญญัติไวดังตอไปนี้
อนุสัญญาฯ ขอ 5 วาดวย สิทธิในเสรีภาพและหลักประกันความปลอดภัย (Droit à la liberté et à la
sûreté) วรรคหนึ่งบัญญัติวา
“บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพและหลักประกันความปลอดภัย
บุคคลจะถูกหามจากเสรีภาพที่เขามีอยูมิได เวนแตในกรณีที่บัญญัติไวดังตอไปนี้และตามบทบัญญัติ
ของกฎหมาย…
c) ถาบุคคลถูกจับและขังเพื่อนําตัวไปปรากฏตอหนาผูมีอํานาจทางตุลาการที่มีเขตอํานาจ เมื่อปรากฏ
วามีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรวา บุคคลนั้นไดกระทําความผิด หรือมีเหตุผลสมควรเชื่อไดวามีความ
จําเปนตองปองกันมิใหเกิดการกระทําความผิดขึ้น หรือปองกันการหลบหนีหลังจากที่ไดกระทําความผิด
ดังกลาวแลว”
อนุสัญญาฯ ขอ 5 วรรคสาม บัญญัติวา
“ บุคคลทุกคนซึ่งถูกจับและขังตามเงื่อนไขที่บัญญัติไวในวรรคหนึ่ง c) ของขอนี้ จะตองถูกนําตัวไป
ปรากฏตอหนาผูพิพากษาหรือตุลาการผูมีอํานาจตามกฎหมายในการปฏิบัติหนาที่ทางตุลาการโดยทันที และ
มีสิทธิที่จะถูกพิพากษาภายในกําหนดเวลาที่ชอบดวยเหตุผล หรือไดรับการปลอยตัวในระหวางการพิจารณา
การปลอยตัวชั่วคราวอาจจะตองตกอยูภายใตหลักประกันวาบุคคลนั้นจะมาปรากฏตัวในการพิจารณาคดี”65

65
Article 5 - Droit à la liberté et à la sûreté
1. Toute personne a droit à la liberté et à la sûreté. Nul ne peut être privé de sa liberté, sauf dans les cas
suivants et selon les voies légales:
……………………..
c. s'il a été arrêté et détenu en vue d'être conduit devant l'autorité judiciaire compétente, lorsqu'il y a des
raisons plausibles de soupçonner qu'il a commis une infraction ou qu'il y a des motifs raisonnables de
croire à la nécessité de l'empêcher de commettre une infraction ou de s'enfuir après l'accomplissement
de celle-ci;
……………….
3. Toute personne arrêtée ou détenue, dans les conditions prévues au paragraphe 1.c du présent
article, doit être aussitôt traduite devant un juge ou un autre magistrat habilité par la loi à exercer des
Article 5 - Droit à la liberté et à la sûreté
1. Toute personne a droit à la liberté et à la sûreté. Nul ne peut être privé de sa liberté, sauf dans les cas
suivants et selon les voies légales:
……………………..
c. s'il a été arrêté et détenu en vue d'être conduit devant l'autorité judiciaire compétente, lorsqu'il y a des
raisons plausibles de soupçonner qu'il a commis une infraction ou qu'il y a des motifs raisonnables de
croire à la nécessité de l'empêcher de commettre une infraction ou de s'enfuir après l'accomplissement
de celle-ci;
……………….
3. Toute personne arrêtée ou détenue, dans les conditions prévues au paragraphe 1.c du présent
72
ประเทศฝรั่งเศสถูกศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปพิพากษาลงโทษอันเนื่องมาจากการรองเรียนของผูถูกขัง
ชั่วคราวในระหวางการไตสวนอยูห ลายครัง้ ดังตัวอยางของคําพิพากษาศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปตอไปนี้
1) คดี Tomasi v. France (ECHR, 27 August 1992)
ในคําพิพากษาคดี Tomasi v. France 66 ผูรองไดรองตอศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปวา ในคดีที่ตนถูก
ดําเนินคดีภายในประเทศฝรั่งเศสนั้น ไดมีการละเมิดบทบัญญัติขอ 5 วรรคสามของอนุสัญญายุโรปวาดวย
สิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1950
ขอเท็จจริงปรากฏวา นายโตมาซี Tomasi ผูรองซึ่งเปนคนสัญชาติฝรั่งเศสและมีถิ่นที่อยูในประเทศ
ฝรั่งเศสไดถูกจับกุมและแจงขอหาหลายฐานความผิด รวมทั้งการฆาตกรรม ระยะเวลาดําเนินคดีตั้งแตผูรอง
เริ่มตนถูกจับกุมเปนเวลากวาหาป ในระหวางที่ผูรองถูกขังตามคําสั่งศาลนั้น ผูรองไดยื่นคํารองขอประกันตัว
ถึงยี่สิบสามครั้ง แตคํารองทั้งหมดถูกปฏิเสธ ผูรองอางวาทั้งเจาหนาที่ผูมีอํานาจตุลาการและพนักงานอัยการ
ตางทําการสืบสวนสอบสวนดวยความลาชา และยังอางดวยวาในระหวางอยูในเรือนจํานั้น ผูรองถูกทุบตีทํา
รายรางกาย แพทยสี่คนทําการตรวจรางกายของผูรอง ภายหลังจากที่ผูรองอยูในระหวางการคุมขังของ
เจาหนาที่ตํารวจไมนานนัก พบวาจําเลยมีบาดแผลเล็กนอยหลายแหง ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปพิจารณาแลว
เห็นวามีการกระทําที่ขัดตอบทบัญญัติของขอ 5 วรรคสามตามที่มีการรองเรียน67
2) คดี G rard Bernard v. France (ECHR, 26 septembre 2006)
นายเจฮรารด แบรนารด (Gérard Bernard) ตกเปนผูตองสงสัยวาเปนสวนหนึ่งของกองกําลังปฏิวัติ
ของเบรอตัน (L’Armée révolutionnaire bretonne - ARB) และใหที่พักพิงแกสมาชิกของกองกําลังของกลุม
ETA ในระหวางการไตสวนนั้น เขาตองคําสั่งศาลใหขังชั่วคราวไวในระหวางการไตสวนไวเปนระยะ
เวลานานเกือบสามป ในระหวางนั้นเขาไดยื่นคํารองขอปลอยตัวชั่วคราวในระหวางการไตสวนไวถึง 179
ครั้ง แตคํารองของเขาถูกปฏิเสธจากศาลในประเทศฝรั่งเศส
ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปพิจารณาแลวเห็นวา ขออางของประเทศฝรั่งเศสถึงความจําเปนที่ตองขังนาย
Gérard Bernard ไวเพราะเกรงวานาย Gérard Bernard จะไปสมคบกับผูสนับสนุนการกระทําความผิด และมี
ความจําเปน ตองปองกันไมใหเกิดกระทําความผิดซ้ํานั้น ไมอาจลบลางความไมชอบของการขังชั่วคราวซึ่ง
ใชระยะเวลานานเกินกวาระยะเวลาที่ชอบดวยเหตุผลได ดังนั้น ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปจึงเห็นวามีการ
ละเมิดบทบัญญัติของขอ 5 วรรคสามแหงอนุสัญญายุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชน และพิพากษาใหประเทศ

article, doit être aussitôt traduite devant un juge ou un autre magistrat habilité par la loi à exercer des fonctions judiciaires et a le droit
d'être jugée dans un délai raisonnable, ou libérée pendant la
procédure. La mise en liberté peut être subordonnée à une garantie assurant la comparution de
l'intéressé à l'audience.
66
Tomasi v France (Series A, No 241-A, Application No 12850/87) EUROPEAN COURT OF HUMAN RIGHTS (1993) 15 EHRR 1, 27
AUGUST 1992
67
sim.law.uu.nl. Retrived November 28, 2010 from : http://www. sim.law.uu.nl/SIM/CaseLaw/hof.nsf…
73
ฝรั่งเศสตองจายคาสินไหมทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายทางจิตใจของนาย Gérard Bernard ผูรองเปนเงิน
3,250 ยูโร68
การที่ประเทศฝรั่งเศสถูกศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปลงโทษในเรื่องระยะเวลาของการขังชั่วคราวที่เนิ่น
นานเกินกวาระยะเวลาที่ชอบดวยเหตุผลเชนนี้ ไมอาจปฏิเสธไดวาผูพิพากษาไตสวน ในฐานะผูใชอํานาจสั่ง
ขังชั่วคราวจะตองรับผิดชอบอันเนื่องมาจากการใชดุลพินิจของตนดวย ดังนั้น จึงสมควรที่จะจํากัดหรือ
ถวงดุลอํานาจสั่งขังชั่วคราวของผูพิพากษาไตสวน จากอดีตที่ผานมา จะเห็นไดวามีความพยายามฝายนิติ
บัญญัติของฝรั่งเศสที่หารูปแบบที่เหมาะสมในที่จะจํากัดและถวงดุลการใชอํานาจของผูพิพากษาไตสวนใน
การสั่งขังชั่วคราวผูถูกไตสวนตลอดมา จนกระทั่งปจจุบันไดมีการจัดตั้งผูพิพากษาแหงเสรีภาพและการกักขัง
ขึ้นมาถวงดุลการใชอํานาจของผูพิพากษาไตสวน
การจัดตั้งผูพิพากษาแหงเสรีภาพและการกักขังถือเปนความพยายามของฝายนิติบัญญัติอีกครั้งหนึ่งใน
การหารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อจํากัดการใชอํานาจของผูพิพากษาไตสวนกฎหมายที่ใหกําเนิดผูพิพากษาแหง
เสรีภาพและการกักขัง คือรัฐบัญญัติฉบับเลขที่ 2000-516 ลงวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2000 หรือที่เรียกวา
กฎหมายกิกู (la loi Guigou) ซึ่งเปนชื่อของนาง Elizabeth Guigou รัฐมนตรีวาการกระทรวงยุติธรรมฝรั่งเศส
ในยุคนั้น ถือเปนชวงเวลาของการปฏิรูปกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาครั้งใหญของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมี
แนวโนมไปในทิศทางของระบบกลาวหาและเนนการคุมครองสิทธิมนุษยชนตามแนวบรรทัดฐานของคํา
พิพากษาของศาลยุโรปวาดวยสิทธิมนุษยชน
ผูทรงคุณวุฒิหลายทานเห็นวา การตั้งผูพิพากษาแหงเสรีภาพและการกักขังขึ้นมานี้ มีวัตถุประสงคเพื่อ
ปองกันไมใหผูพิพากษาไตสวนใชการขังชั่วคราวกดดันใหผูถูกไตสวนยอมรับสารภาพวาเปนผูกระทํา
ความผิด ดังนั้นวิธีการตั้งผูพิพากษาผูรับผิดชอบในการสั่งขังชั่วคราวแยกออกจากตัวผูพิพากษาผูรับผิดชอบ
ในการไตสวน จึงนาจะเปนวิธีการแกไขปญหาในเรื่องการขัดกันของหนาที่ไดเพราะแตนี้ตอไป แมผู
พิพากษาไตสวนจะเห็นวาสมควรขังผูถูกไตสวนไว เขาก็ไมมีอํานาจสั่งขังอีกตอไป ตองสงเรื่องใหผูพิพากษา
แหงเสรีภาพและการกักขังเปนผูพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง เทากับกฎหมายตองการความเห็นพองตองกันของผู
พิพากษาแหงเสรีภาพและการกักขังกับผูพิพากษาไตสวนอีกชั้นหนึ่ง (Double accord)
หลักการใหมนี้จึงเทากับเพิม่ หลักประกันความไมมีอคติตอผูถูกไตสวนอันอาจเกิดจากการทํางานของ
ผูพิพากษาไตสวน แตถาหากผูพิพากษาไตสวนพิจารณาแลว เห็นวาไมจําเปนตองขังผูถูกไตสวนไว จะปลอย
ชั่วคราวในระหวางการไตสวนก็สามารถทําไดตามลําพัง ไมจําตองเสนอเรื่องใหผูพิพากษาแหงเสรีภาพและ
การกักขังใหความเห็นชอบแตอยางใด

หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรือ่ งที่ 2.4.2 แลว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 2.4.2


ในแนวการศึกษาหนวยที่ 2 ตอนที่ 2.4 เรื่องที่ 2.4.2

68
เรื่องเดียวกัน
74

เรื่องที่ 2.4.3 ธรรมนูญกรุงโรมวาดวยศาลอาญาระหวางประเทศ (ICC)


ในอดีตที่ผานมา โลกไดประสบกับการกออาชญากรรมรายแรงตอมนุษยชาติหลายตอหลายครั้ง จนทํา
ใหมีการบาดเจ็บลมตายของผูคนแตละครั้งเปนจํานวนมาก แตผูที่กออาชญากรรมรายแรงเหลานี้เปนปจเจก
บุคคลที่มีอํานาจในรัฐที่เกิดการละเมิดตอมนุษยชาติหรือมิฉะนั้นรัฐที่ประสบปญหาดังกลาวก็ไมสามารถที่
จัดการกับผูกออาชญากรรมรายแรงตอมนุษยชาติเหลานี้ได จึงทําใหกลไกของกฎหมายที่มีอยูทั้งกฎหมาย
ภายในและกฎหมายระหวางประเทศไมสามารถดําเนินการนําตัวอาชญากรเหลานี้มาลงโทษได ดวยเหตุนี้จึง
ไดมีแนวความคิดที่จะดําเนินคดีอาญาตอผูกออาชญากรรมรายแรงตอมนุษยชาติโดยกลไกของกฎหมาย
ระหวางประเทศที่มีลักษณะยืดหยุนกวาแนวคิดดั้งเดิมของกฎหมายระหวางประเทศ
กฎเกณฑในทางกฎหมายระหวางประเทศดั้งเดิมถือวารัฐเปนบุคคลเพียงประเภทเดียวที่มีสิทธิและ
หนาที่สมบูรณตามกฎหมายระหวางประเทศ จึงไดกําหนดความรับผิดชอบไวเฉพาะความรับผิดชอบของรัฐ
(State responsibility) เทานั้ น หากประชาคมโลกยังยึ ด ถื อ ตามแนวคิด ดัง กล า วก็ย ากที่จ ะไดตั ว ผูก อ
อาชญากรรมรายแรงมาลงโทษได ดังนั้น ยอมเปนขออางของผูกอความเดือดรอนแกมนุษยชาติที่จะใช
หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบของตนได จึงจําเปนตองจัดตั้งศาลอาญาระหวางประเทศและกําหนดกฎเกณฑ
วิธีการปฏิบัติเพื่อเอาตัวผูกระทําความผิดซึ่งเปนปจเจกชนมาลงโทษ
การจัดตั้งศาลอาญาระหวางประเทศขึ้น ในเบื้องตนเปนการจัดตั้งศาลอาญาเฉพาะกิจ (ad hoc
Tribunal) ไมวาจะเปนศาลทหารระหวางประเทศ ณ กรุงนูเร็มเบิรก (International Military Tribunal at
Nuremberg) ศาลทหารระหวางประเทศ ณ กรุงโตเกียว (International Military Tribunal at Tokyo) และ
ต อ มาในระหว า งการยกรา งธรรมนู ญเพื่อ จั ด ตั้ ง ศาลอาญาระหว า งประเทศนั้ น ได เ กิ ด เหตุ ก ารณ ล ะเมิ ด
กฎหมายมนุษยธรรมระหวางประเทศอยางรายแรงในดินแดนอดีตยูโกสลาเวีย ค.ศ.1992 คณะมนตรีความ
มั่นคงแหงสหประชาชาติจึงไดจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อสืบหาพยานหลักฐานเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมาย
มนุษยธรรม ตอมาในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1993 คณะมนตรีความมั่นคงแหงสหประชาชาติไดมีขอมติที่
S/RES/827(1993) จัดตั้งศาลอาญาระหวางประเทศสําหรับอดีตยูโกสลาเวีย (International Criminal Tribunal
for the former Yugoslavia : ICTY)
จากนั้นคณะมนตรีความมั่นคงแหงสหประชาชาติไดจัดตั้งศาลอาญาระหวางประเทศเฉพาะกิจเพื่อ
ฟองรองดําเนินคดีแกบุคคลซึ่งมีความรับผิดชอบตอการฆาลางเผาพันธุและการละเมิดอยางรายแรงตอ
กฎหมายมนุษยธรรมระหวางประเทศในรวันดา คือศาลอาญาระหวางประเทศสําหรับรวันดา (International
Criminal Tribunal for Rwanda : ICTR)
ในค.ศ.1993 คณะกรรมาธิการกฎหมายระหวางประเทศไดรับขอคิดเห็นและขอเสนอแนะจากรัฐบาล
ประเทศตางๆ ซึ่งตอมาสมัชชาใหญสหประชาชาติไดมีขอมติที่ 49/59 ลงวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1994 จัดตั้ง
75
“คณะกรรมาธิการเฉพาะกิจเพื่อจัดตั้งศาลอาญาระหวางประเทศ (Ad hoc Committee on the Establishment
of the International Criminal Court) เพื่อทบทวนรางธรรมนูญศาล
ตอมาในเดือนธันวาคม ค.ศ.1997 สมัชชาสหประชาชาติไดมีมติใหมีการประชุมทางการทูตเพื่อ
พิจารณาธรรมนูญศาลเปนครั้งสุดทาย และใหมีการพิจารณาการรับเอาอนุสัญญาวาดวยการจัดตั้งศาลอาญา
ระหวางประเทศ ซึ่งจะจัดขึ้นที่สํานักงานอาหารและเกษตรแหงสหประชาชาติ (FAO) ณ กรุงโรม ประเทศ
อิตาลี ระหวางวันที่ 15 มิถุนายน ถึง 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 ประกอบดวยรัฐจํานวน 160 รัฐ และตัวแทน
องคกรสิทธิมนุษยชน 14 องคกร 17 หนวยงานที่เปนองคกรระหวางประเทศ และองคกรที่มิใชหนวยงานของ
รัฐ (NGOs) ซึ่งตามธรรมนูญศาลนี้คือ ธรรมนูญกรุงโรมวาดวยศาลอาญาระหวางประเทศ (Rome Statute of
the International Criminal Court : ICC) และไดมีรัฐจํานวน 160 รัฐใหการยอมรับตอธรรมนูญกรุงโรมฯ แต
มีรัฐที่ไมใหความเห็นชอบจํานวน 7 รัฐ ซึ่งมีประเทศสหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย รวมอยูดวย สวนอีก 21
ประเทศงดออกเสียง เชน ตุรกี สิงคโปร ศรีลังกา เม็กซิโก เปนตน
ในธรรมนูญกรุงโรมฯ กําหนดใหประเทศตางๆ จํานวน 60 ประเทศ ใหสัตยาบันกอนจึงจะสามารถ
บังคับใช ปรากฏวามีรัฐใหสัตยาบันครบจํานวนและธรรมนูญกรุงโรมฯ มีผลบังคับใชเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม
ค.ศ. 2002 ศาลอาญาระหวางประเทศมีสํานักงานใหญอยูที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอรแลนด ปจจุบันที่ตั้ง
ชั่วคราวอยูที่ “de arc” ซึ่งเปนอาคารที่สรางขึ้นอยูนอกเมืองของกรุงเฮก และศาลอาญาระหวางประเทศจะ
ยายที่ทําการไปประจําที่ตั้งถาวรเมื่อการกอสรางแลวเสร็จ
ศาลอาญาระหวางประเทศ (International Criminal Court : ICC) มีเขตอํานาจดําเนินคดีแกผูกระทํา
ความผิดที่เปนอาชญากรรมระหวางประเทศ คือ อาชญากรรมตอมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม การฆาลาง
เผาพันธุและอาชญากรรมการรุกราน โดยศาลอาญาระหวางประเทศถูกกําหนดใหมีความเปนอิสระจาก
องคการสหประชาชาติ อยางไรก็ตาม แมจะกําหนดไวเชนนั้น แตก็ยังมีสวนเกี่ยวของกันอยูโดยเฉพาะใน
สวนของคณะมนตรีความมั่นคงแหงสหประชาชาติซึ่งเปนองคกรหลักขององคการสหประชาชาติกับศาล
อาญาระหวางประเทศ
ประเทศไทยเปนหนึ่งในบรรดา 120 ประเทศ ที่ไดรวมลงนามรับรองธรรมนูญกรุงโรมฯ ดวย แต
ประเทศไทยยังมิไดใหสัตยาบัน
เมื่อพิจารณาวิธีพิจารณาคดีที่กําหนดไวในธรรมนูญกรุงโรมวาดวยศาลอาญาระหวางประเทศแลว จะ
เห็นวามีลักษณะของการผสมผสานกันของรูปแบบวิธีพิจารณาแบบไตสวนและกลาวหาสลับกันไป ตั้งแตชั้น
เริ่มคดี สืบสวนสอบสวน ฟองรองคดี จนไปถึงชั้นพิจารณาคดี ในชั้นพิจารณาและสืบพยานนั้น ธรรมนูญ
กรุงโรมฯ ก็ยังบัญญัติใหอยูในดุลพินิจของศาลที่จะเลือกใชวิธีพิจารณารูปแบบใดก็ไดตามที่เห็นสมควร ที่
เปนเชนนี้เพราะเหตุวาผูรางธรรมนูญกรุงโรมฯ มาจากนักกฎหมายที่อยูทั้งในระบบกฎหมายจารีตประเพณี
และระบบประมวลกฎหมาย ดังนั้นเพื่อเปนการประนีประนอมใหสามารถจัดทําธรรมนูญกรุงโรมวาดวยศาล
อาญาระหวางประเทศขึ้นไดและเปนที่ยอมรับกันจากนักกฎหมายทั้งสองฝาย จึงหลีกเลี่ยงการที่กําหนดใหวิธี
76
พิจารณาคดีของศาลอาญาระหวางประเทศผูกมัดอยูกับรูปแบบของระบบกลาวหาหรือระบบไตสวนรูปแบบ
ใดรูปแบบหนึ่งแตเพียงรูปแบบเดียว 69
ลักษณะของการผสมผสานระหวางวิธีพจิ ารณาคดีอาญาในระบบกลาวหาและระบบไตสวนนั้น เริ่มตน
ตั้งแตการเริ่มคดีความผิดทีอ่ ยูในเขตอํานาจของศาลอาญาระหวางประเทศ ดังทีจ่ ะอธิบายเปนลําดับตอไปนี้

1. การสืบสวนสอบสวนและการฟองคดี (Investigation-Prosecution of Crimes)


การดําเนินคดีความผิดซึ่งอยูภายใตเขตอํานาจของศาลอาญาระหวางประเทศนั้นจําตองมีหนวยงาน
รั บผิ ด ชอบในการสื บ สวนสอบสวนและการฟ องร อ งดํ า เนิ น คดี ธรรมนูญ กรุง โรมฯ ขอ 42 บั ญญั ติใ ห
สํานักงานอัยการมีอํานาจหนาที่ในการสืบสวนสอบสวนและการฟองรองดําเนินคดี โดยสํานักงานอัยการมี
หนาที่ ค วามรั บผิ ด ชอบในการรับ เรื่ องที่ มี การร อ งเรี ย น และขอมู ลที่มีห ลัก ฐานสนับ สนุน เกี่ย วกั บ
อาชญากรรมภายในเขตอํานาจของศาลอาญาระหวางประเทศ เพื่อตรวจสอบ สืบสวนสอบสวน และนําตัว
บุคคลที่ถูกกลาวหามาฟองรองดําเนินคดีตอศาลฯ

2. ผูมีอํานาจเริ่มคดี (Trigger Mechanism)


ผูมีอํานาจเริ่มคดี หรือกลาวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผูที่ทําใหอัยการมีอํานาจเริ่มตนการสืบสวนสอบสวนซึ่ง
เปนการเริ่มตนคดีของศาลนั้น มีบัญญัติอยูในขอ 13 และ 14 แหงธรรมนูญกรุงโรมฯ ดังนี้
2.1 รัฐภาคี (State Party) เสนอสถานการณซึ่งปรากฏวาอาชญากรรมที่ตกอยูภายใตเขตอํานาจของ
ศาลอาญาระหวางประเทศ ประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทไดกระทําลงตออัยการเพื่อใหสืบสวนสอบสวน
กรณีดังกลาว โดยมีความมุงประสงคเพื่อจะวินิจฉัยวามีบุคคลคนใดคนหนึ่งหรือมากกวานั้นควรจะถูกฟองวา
กระทําความผิดอาญาเชนวานั้น
ในการเสนอสถานการณดังกลาวรัฐภาคีจะตองระบุเกี่ยวกับพฤติการณแวดลอมที่เกี่ยวของและมี
เอกสารประกอบที่สนับสนุนการเสนอ ซึ่งรัฐภาคีผูเสนอมีอยูมากที่สุดเทาที่จะกระทําได (ธรรมนูญกรุงโรมฯ
ขอ 14)
ธรรมนูญกรุงโรมฯ มิไดใหสิทธิแกผูเสียหายหรือองคการที่มิใชรัฐบาลเสนอสถานการณซึ่งตกอยู
ภายใตเขตอํานาจศาลตออัยการดวย ซึ่งอาจจะเปนเพราะวาหากใหผูเสียหายหรือองคการที่มิใชรัฐบาลมีสิทธิ
เสนอกรณีไดจะทําใหคดีลนศาลและอาจเปนคดีที่มีขอกลาวหาเลื่อนลอย อยางไรก็ดี รัฐภาคีมีสิทธิเสนอกรณี
แทนผูเสียหายหรือองคการที่มิใชรัฐบาลหรือองคกรอิสระได แตรัฐภาคีจะตองตรวจสอบขอกลาวหาอยาง
ละเอียดถี่ถวนโดยมีพยานหลักฐานที่เชื่อถือไดสนับสนุน

69
เชน ศาลอาญาระหวางประเทศนูเรมเบอรกและโตเกียว (the Nuremberg and Tokyo tribunals) ศาลอาญาระหวางประเทศสําหรับยูโกสลาเวีย (the
International Criminal Tribunal for Yugoslavia - ICTY) และศาลอาญาระหวางประเทศรวันดา (the International Criminal Tribunal for Rwanda - ICTR) มี
รูปแบบวิธีพิจารณาที่หนักไปทางระบบกลาวหาที่ใชในประเทศที่อยูในกลุมระบบจารีตประเพณี สวนวิธีพิจารณาความในศาลยุติธรรมระหวางประเทศ (the
International Court of Justice) นั้นเดินตามรูปแบบของระบบประมวลกฎหมาย
77
มีขอสังเกตวา ธรรมนูญกรุงโรมฯ ขอ 14 มิไดกําหนดไววา รัฐภาคีที่เสนอสถานการณซึ่งตกอยูภายใต
เขตอํานาจศาลอาญาระหวางประเทศตออัยการนั้น จะตองเปนรัฐที่ผูเสียหายหรือผูถูกกลาวหาวากระทําผิดมี
สัญชาติ หรือจะตองเปนรัฐที่อาชญากรรมไดถูกกลาวหาวากระทําขึ้นแตประการใด ดังนั้น รัฐภาคีรัฐใดรัฐ
หนึ่งแมไมมีสวนไดเสียหรือเกี่ยวของกับอาชญากรรมก็มีอํานาจเสนอกรณีได ทั้งนี้ เนื่องจากอาชญากรรมที่
ตกอยูในเขตอํานาจของศาลอาญาระหวางประเทศนั้นเปนอาชญากรรมรายแรง ซึ่งกระทบตอประชาคม
ระหวางประเทศเปนสวนรวม
2.2 คณะมนตรีความมั่งคงแหงสหประชาชาติ (Security Council) ซึ่งอาศัยอํานาจของหมวด 7 แหง
กฎบัตรสหประชาชาติเปนผูเสนอสถานการณซึ่งปรากฏวาอาชญากรรมที่ตกอยูภ ายใตเขตอํานาจของศาล
อาญาระหวางประเทศ ประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทไดกระทําลงตออัยการ
2.3 อัยการเริ่มการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมไดดวยตนเอง ตามธรรมนูญกรุงโรมวาดวยศาล
อาญาระหวางประเทศ มาตรา 13(c) ใหอํานาจอัยการในการเริ่มการสืบสวนสอบสวนไดดวยตนเอง ในการ
เริ่มการสืบสวนสอบสวนของอัยการนั้นจะตองอยูบนพื้นฐานขอมูลเกี่ยวกับอาชญากรรมภายในเขตอํานาจ
ศาลอาญาระหวางประเทศ อัยการจะตองทําการไตสวนเบื้องตน (Preliminary Scrutiny) เพื่อพิจารณากอนวา
ขอกลาวหามีมูลเพียงใด อัยการอาจแสวงหาขอมูลเพิ่มเติมจากรัฐ องคกรของสหประชาชาติ องคการระหวาง
รัฐบาล หรือองคการที่มิใชรัฐบาล หรือแหลงขอมูลที่นาเชื่อถืออื่น ๆ ที่อัยการเห็นสมควร
หากอัยการเห็นวามีพื้นฐานที่สมเหตุสมผลที่จะดําเนินการสืบสวนสอบสวนตอไปได อัยการตองยื่นคํา
รองเสนอตอศาลไตสวน (Pre-Trial Chamber) เพื่อขออนุญาตในการสืบสวนสอบสวน เมื่อศาลไตสวนตรวจ
คํารองขอและหลักฐานสนับสนุนแลวเห็นวามีมูลเหตุที่สมควรที่จะดําเนินการสืบสวนสอบสวนตอไป และ
กรณีดังกลาวอยูภายในเขตอํานาจศาลอาญาระหวางประเทศแลว ใหศาลไตสวนสั่งอนุญาตใหเริ่มการ
สืบสวนสอบสวนได
การที่ธรรมนูญกรุงโรมวาดวยศาลอาญาระหวางประเทศกําหนดใหพนักงานอัยการมีอํานาจเริ่มการ
สืบสวนสอบสวนไดดวยตนเอง โดยไมจาํ เปนตองรอใหมีเสนอเรื่องที่เห็นวาตกอยูภ ายใตเขตอํานาจของศาล
อาญาระหวางประเทศโดยรัฐภาคีหรือคณะมนตรีความมั่นคงแหงสหประชาชาติแตประการใดนั้น เปน
หลักเกณฑที่สอดคลองกับหลักการในระบบไตสวน (Inquisitorial system) ที่ถือวารัฐมีอํานาจเริ่มคดีไดดว ย
ตนเอง โดยไมจําเปนตองรอผูเสียหายมาแจงความรองทุกข เพราะการกระทําความผิดที่เกิดขึน้ กระทบตอ
ประชาชนสังคมทั้งหมด ไมแตเฉพาะผูเสียหายเพียงคนเดียวหรือหลายคนเทานั้น จึงเปนหนาที่ของรัฐที่ตอง
เขามารักษาความสงบเรียบรอยและดําเนินการเพื่อลงโทษผูกระทําความผิดตามหลักการดําเนินคดีอาญาโดย
รัฐซึ่งเปนหลักการที่สอดคลองกับระบบวิธีพิจารณาแบบไตสวน
หากเปรี ย บเทีย บกั บอํ า นาจเริ่ม ตน คดี ข องอั ย การตามธรรมนูญ กรุ ง โรมว าด ว ยศาลอาญาระหวา ง
ประเทศ ก็จะเห็นไดวาความผิดที่ตกอยูภายใตอํานาจของศาลอาญาระหวางประเทศทั้ง 4 ลักษณะนั้น ก็ถือวา
เปนภัยคุกคามหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประชาคมโลกเปนสวนรวม มิใชเฉพาะประชาชนของรัฐใดรัฐ
78
หนึ่ ง เพี ย งเท านั้ น ดั ง นั้ น การที่ ธ รรมนู ญ กรุ ง โรมฯ ให อํ า นาจแก พ นั ก งานอั ย การในการเริ่ ม ต น สื บ สวน
สอบสวนคดีไดดวยตนเอง จึงสอดคลองกับวิธีพิจารณาความอาญาแบบไตสวน
การสืบสวนสอบสวนของอัยการนี้ มิใชมุงประสงคที่จะคนหาแตพยานหลักฐานที่จะเอาผิดแกผูถูก
กลาวหาเพียงเทานั้น แตจะเปนการสืบสวนสอบสวนตามหลักการคนหาความจริงตามแนวคิดของระบบไต
สวน ดั ง นั้ น ในการสอบสวนของอั ย การจึ ง รวบรวมพยานหลั ก ฐานทั้ ง ที่ เ ป น คุ ณ แก ผู ต อ งหาด ว ยตาม
บทบัญญัติของธรรมนูญกรุงโรมฯ มาตรา 54 หลักเกณฑดังกลาวสะทอนใหเห็นภาพของระบบวิธีพิจารณา
ความอาญาแบบไตสวนในประเทศที่อยูในระบบประมวลกฎหมายดวย
การปฏิเสธของศาลไตสวนไมตัดสิทธิในการยื่นคํารองขอของอัยการในภายหลัง โดยอยูบนพื้นฐาน
ของขอเท็จจริงหรือพยานหลักฐานใหมเกี่ยวกับกรณีเดียวกันแหงธรรมนูญกรุงโรมฯ ขอ 15
มีขอสังเกตวา ในกรณีที่อัยการเริ่มการสืบสวนสอบสวนดวยตนเองซึ่งจําตองเสนอเรื่องใหศาลมีคําสั่ง
อนุญาตนั้น ตางจากกรณีที่รัฐภาคีหรือคณะมนตรีความมั่นคงแหงสหประชาชาติเปนผูเสนอเรื่อง กรณีหลังนี้
อัยการไมจําเปนตองยื่นคํารองเสนอเรื่องตอศาลไตสวนเพื่อใหมีคําสั่งอนุญาตใหทําการสืบสวนสอบสวนแต
ประการใด เพราะในกรณีดังกลาวไดมีการสืบสวนสอบสวนเกี่ยวกับการกระทําความผิดมาแลว และรัฐภาคี
และคณะมนตรีความมั่นคงแหงสหประชาชาติพิจารณาแลวเห็นวามีความสําคัญและความจําเปนที่จะตองนํา
คดีขึ้นสูศาล
สวนในกรณีที่คณะมนตรีความมั่นคงแหงสหประชาชาติเปนผูเสนอเรื่องนั้น หนวยงานของคณะมนตรี
ความมั่นคงแหงสหประชาชาติก็ไดตรวจสอบขอมูลเบื้องตนเกี่ยวกับการกระทําความผิดมาแลว ประกอบกับ
โดยทั่วไปแลวคณะมนตรีความมั่นคงแหงสหประชาชาติจะพิจารณาเสนอเฉพาะกรณีที่เปนอาชญากรรม
รายแรงอันเปนภัยคุกคามตอสันติภาพอันควรสูการพิจารณาของศาล ซึ่งเปนการใหอํานาจในการใชดุลพินิจ
ในการตีความอยางกวางขวางแกคณะมนตรีความมั่นคงแหงสหประชาชาติ ดังจะเห็นไดจากคดี Darfur ซึ่ง
คณะมนตรีความมั่นคงแหงสหประชาชาติเปนผูเสนอเรื่องตอศาลอาญาระหวางประเทศตามมติคณะมนตรี
ความมั่นคงแหงสหประชาชาติที่ 1593 (2005)

4. กระบวนพิจารณาขั้นตนในศาล
กระบวนพิ จ ารณาขั้ น ต น ในศาลเริ่ มต น ด ว ยการมาปรากฏตั ว ของบุ ค คล ผู ถูก กล า วหาวา กระทํ า
ความผิดไมวาจะเปนการสงมอบตัวบุคคลนั้นตอศาล หรือบุคคลนั้นไดมาปรากฏตัวตอศาลดวยความสมัคร
ใจหรือตามหมายเรียกก็ตาม ศาลไตสวนตองมั่นใจวาบุคคลนั้นไดรับแจงใหทราบขอหาเกี่ยวกับอาชญากรรม
ที่ตนถูกกลาวหาวาเปนผูกอขึ้น และสิทธิตามธรรมนูญศาลฯ รวมทั้งสิทธิในการขอใหปลอยชั่วคราวใน
ระหวางการพิจารณาคดี ในขั้นตอนนี้บุคคลผูถูกกลาวหาวากระทําผิดสามารถใหการไดซึ่งอาจจะเปนการรับ
สารภาพผิดหรือปฏิเสธความผิดก็ได อัยการก็อาจจะแกไขขอกลาวหาไดหลังจากไดแจงใหผูถูกกลาวหา
ทราบและไดรับอนุญาตจากศาลไตสวนแลว และในขั้นตอนนี้อัยการยังตองเปดเผยพยานหลักฐานที่ตนได
รวบรวมมาดวย
79

5. การยืนยันขอกลาวหากอนการพิจารณาคดีในศาล
เมื่ อเสร็ จ สิ้ น การสื บ สวนสอบสวนแล ว และมี ก ารส ง มอบตั ว ผู ถู ก กล า วหาตอ ศาลหรื อบุ คคลผู ถู ก
กลาวหามาปรากฏตัวตอศาลดวยความสมัครใจ อัยการตองยื่นขอกลาวหาโดยระบุถึงขอเท็จจริงและขอ
กลาวหาวากระทําผิดอาชญากรรมขอหาใดตอศาลไตสวน ในการนี้ศาลไตสวนตองจัดใหมีการพิจารณาเพื่อ
ยืนยันขอกลาวหาของอัยการกอนที่จะมีการพิจารณาคดี การพิจารณาคดีตองจัดขึ้นโดยมีอัยการและบุคคลผู
ถูกกลาวหาเขารวมการพิจารณาดวย รวมทั้งทนายความของผูถูกกลาวหา เวนแตผูถูกกลาวหานั้นสละสิทธิ
การมาปรากฏตัว หรือหลบหนี หรือไมพบตัว 70 ซึ่งแสดงใหเห็นแนวคิดของวิธีพิจารณาในระบบไตสวนซึ่ง
ใหมีการพิจารณาคดีลับหลังจําเลยในคดีของศาลอาญาระหวางประเทศได ดังตัวออยางของประเทศอิตาลีซึ่ง
ไดกลาวมาแลว
มีข อสั ง เกตว า อั ย การไม มี อํา นาจที่ จ ะใช ดุล พิ นิจ สั่ง ว า คดี ไ ม มีห ลั ก ฐานเพีย งพอในการฟอ งร อ ง
ดําเนินคดี หากอัยการดําเนินการสืบสวนสอบสวนแลวสรุปวาคดีไมมีหลักฐานเพียงพอในการฟองรอง
ดําเนินคดี อัยการตองแจงตอศาลไตสวนและรัฐภาคีหรือคณะมนตรีความมั่นคงแหงสหประชาชาติที่เสนอ
เรื่องแลวแตกรณี ใหทราบถึงขอสรุปของอัยการและเหตุผลของขอสรุปดังกลาว ในกรณีดังกลาวรัฐภาคีหรือ
คณะมนตรีความมั่นคงแหงสหประชาชาติที่เสนอเรื่องแลวแตกรณีอาจรองขอตอศาลไตสวน หรือศาลไต
สวนอาจเริ่มการพิจารณาทบทวนคําสั่งของอัยการที่ยุติการดําเนินคดีตอไปดวยตนเอง และอาจขอใหอัยการ
พิจารณาทบทวนคําสั่งยุติการดําเนินคดีอีกครั้งหนึ่ง กอนการนั่งพิจารณาคดีเพื่อยืนยันขอกลาวหา อัยการอาจ
ทําการสืบสวนตอไปและอาจแกไขหรือถอนขอกลาวหาได ผูถูกกลาวหาตองไดรับหนังสือบอกกลาวที่
สมเหตุสมผลเรื่องการแกไขหรือการถอนขอกลาวหากอนการนั่งพิจารณาคดี ในกรณีที่มีการถอนขอกลาวหา
อัยการตองแจงเหตุผลที่ถอนขอกลาวหาตอศาลไตสวน 71
ในการนั่งพิจารณาคดีเพื่อยืนยันขอกลาวหา อัยการตองสนับสนุนขอหาดวยพยานหลักฐานที่เพียงพอ
อันควรเชื่อได ว าผู ถูกกลาวหาประกอบอาชญากรรมตามขอ กล าวหา อั ยการอาจอ างพยานเอกสารหรือ
พยานหลักฐานโดยยอ และยังไมจําเปนตองเรียกพยานมาเบิกความ 72
หากศาลไตสวนวินิจฉัยวามีพยานหลักฐานเพียงพอ ศาลไตสวนจะยืนยันขอกลาวหาและสงตัวบุคคล
นั้นใหศาลชั้นพิจารณา (Trial Chamber) หรือยกขอกลาวหาในกรณีที่เห็นวาพยานหลักฐานไมเพียงพอ หรือ
เลื่อนการนั่งพิจารณาและรองขอใหอัยการจัดหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมหรือสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติม 73
ภายหลังที่มี การยืนยั นขอกลา วหาและกอนการพิจารณาคดีในศาลจะเริ่มขึ้น อั ยการอาจแกไ ขขอ
กลาวหาโดยไดรับอนุญาตจากศาลไตสวน และภายหลังจากการแจงใหจําเลยทราบ หากอนุญาตใหเพิ่มขอ

70
ธรรมนูญกรุงโรมฯ ขอ 61 วรรคหนึ่ง และวรรรคสอง
71
ธรรมนูญกรุงโรมฯ ขอ 61 วรรคสี่
72
ธรรมนูญกรุงโรมฯ ขอ 61 วรรคหา
73
ธรรมนูญกรุงโรมฯ ขอ 61 วรรคเจ็ด
80
กลาวหาหรือตั้งขอกลาวหาอื่นที่รายแรงกวา ตองมีการพิจารณาเพื่อยืนยันขอกลาวหาเหลานั้น ภายหลังจาก
เริ่มการพิจารณาคดีในศาลแลว อัยการอาจถอนขอกลาวหาได แตตองไดรับอนุญาตจากศาลชั้นพิจารณา74

6. การพิจารณาคดี
หลังจากมีการยืนยันขอกลาวหาแลว ศาลชั้นพิจารณาซึ่งองคคณะประกอบดวยผูพิพากษา 3 ทาน จะทํา
การพิจารณาคดีดวยความเปนธรรมและรวดเร็ว และตองเคารพสิทธิในการตอสูคดีของจําเลย 75 จําเลยยอม
ไดรับการสันนิษฐานวาเปนผูบริสุทธิ์จนกวาจะพิสูจนในศาลวาเปนผูกระทําความผิด อัยการมีภาระการ
พิสูจนความผิดของจําเลย (Burden of Proof) โดยตองพิสูจนใหไดในระดับวาจําเลยเปนผูกระทําความผิดโดย
ปราศจากความสงสัยตามสมควร (Proof beyond reasonable doubt) ศาลจึงจะพิพากษาลงโทษจําเลยได 76
ลักษณะของความพยายามประนีประนอมระหวางแนวคิดและหลักการในระบบกลาวหาและระบบไต
สวนนั้น เห็นไดจากที่มาของการรางบทบัญญัติธรรมนูญกรุงโรมฯ ในกรณีที่จําเลยรับสารภาพ และอํานาจ
ของศาลในการคนหาความจริงดังตอไปนี้
6.1. กรณีที่จําเลยรับสารภาพ ในกรณีที่จําเลยรับสารภาพเปนอีกประเด็นหนึ่งของความพยายามของผู
รา งธรรมนู ญ กรุ ง โรมว า ด ว ยศาลอาญาระหว า งประเทศในการประนีป ระนอมระหว า งแนวคิด ของนั ก
กฎหมายในระบบกลาวหาและระบบไตสวน ดังที่เราไดศึกษามาแลววาในระบบกลาวหานั้น การที่จําเลยรับ
สารภาพสามารถนําไปสูการลงโทษจําเลยไดทันทีและทําใหคดีเสร็จสิ้นการพิจารณา ถาปรากฏวาคํารับ
สารภาพนั้นไดกระทําดวยความสมัครใจ ไมกํากวม และจําเลยไดรับการแจงสิทธิครบถวนตามที่กฎหมาย
กําหนดไว สวนในระบบไตสวนนั้น การที่จําเลยรับสารภาพไมไดหมายความวาจําเลยจะตองถูกพิพากษา
ลงโทษทัน ที ผูพิ พากษาสามารถตัดสินใจที่จะไมลงโทษจําเลยได หากมีพยานหลักฐานที่แตกต างหรือ
เพิ่มเติมใหเห็นวาจําเลยไมใชผูกระทําความผิด
ในที่สุดหลังจากที่มีการเจรจาระหวางนักกฎหมายที่มาจากทั้งสองระบบแลว ก็สามารถที่จะหาจุด
ประนีประนอมระหวางแนวคิดในการดําเนินคดีของระบบกลาวหาและระบบไตสวนได โดยมีขอสรุปที่ใช
ถ อ ยคํ า ในร า งธรรมนู ญ ฯ ที่ เ ป น คํ า กลาง ไม ใ ช คํ า เฉพาะที่ ใ ช ใ นระบบใดระบบหนึ่ ง ดั ง จะเห็ น ได จ าก
บทบัญญัติของมาตรา 65.2 แหงธรรมนูญกรุงโรมฯ ที่วา ศาลสามารถที่จะพิพากษาลงโทษจําเลยโดยอาศัยคํา
รับสารภาพของจําเลยไดและทําใหคดีเสร็จสิ้นได แตอยางไรก็ตาม ศาลก็มีอํานาจที่จะสืบพยานตอไปได
หากมีพยานหลักฐานที่แตกตางหรือเพิ่มเติมใหเห็นวาจําเลยไมใชผูกระทําความผิด
6.2. อํานาจของศาลในการคนหาความจริง สําหรับผูรางธรรมนูญกรุงโรมฯ ซึ่งเปนนักกฎหมายที่มา
จากระบบกลาวหาจะเห็นวา การที่ศาลเขามาแทรกแซงการสอบสวนจะทําใหกระทบกระเทือนตอความเปน
อิสระในการปฏิบัติงานของพนักงานอัยการ สวนความ เห็นของนักกฎหมายที่มาจากระบบไตสวนก็จะอางวา

74
ธรรมนูญกรุงโรมฯ ขอ 61 วรรคเกา
75
ธรรมนูญกรุงโรมฯ ขอ 64
76
ธรรมนูญกรุงโรมฯ ขอ 66
81
การอํ า นวยความยุ ติ ธ รรมนั้ น จํ า เป น ต อ งมี ก ารกํ า กั บ ดู แ ลของตุ ล าการรวมทั้ ง การเข า มาตรวจสอบการ
สอบสวนดวย ทั้งนี้เพื่อใหจําเลยไดรับหลักประกันตามสมควรในการเตรียมตัวตอสูคดีและปองกันการใช
อํานาจโดยมิชอบของพนักงานอัยการ
จุ ด ประนี ป ระนอมของแนวคิด ที่ แ ตกต า งกัน ดั ง กล า วคื อ การกํ า หนดบทบาทของผูพิ พ ากษาตาม
ธรรมนูญกรุงโรมฯ ใหคลายคลึงกับบทบาทของผูพิพากษาในระบบไตสวนคือ ผูพิพากษามีอํานาจในการ
รวบรวมพยานหลักฐาน และสามารถใชอํานาจหนาที่ของตนคุมครองสิทธิและผลประโยชนของจําเลยได
ดวยเหตุนี้ตามบทบัญญัติมาตรา 64.6 แหงธรรมนูญฯ จึงใหอํานาจแกผูพิพากษาที่จะนําพยานหลักฐาน
เพิ่มเติมเขาพิจารณานอกเหนือจากที่ไดมีการรวบรวมไวในชั้นไตสวนได และศาลชั้นพิจารณาคดีก็สามารถ
ขอใหมีการนําเสนอขอเท็จจริงที่มีการกลาวหาใหสมบูรณกวาที่ไดเสนอมาแลวได ตามขอบังคับที่ 69
นอกจากนี้ในธรรมนูญกรุงโรมฯ ขอ 64 วรรค 8 (ข) บัญญัติวา ในการพิจารณาคดี ผูพิพากษาที่เปน
ประธานอาจกําหนดแนวทางในการดําเนินกระบวนพิจารณา รวมทั้งประกันวากระบวนพิจารณาจะดําเนินไป
ในลักษณะที่ยุติธรรมและเปนกลาง คูกรณีอาจเสนอพยานหลักฐานตามบทบัญญัติของธรรมนูญกรุงโรมฯ
โดยอยูภายใตแนวทางที่ผูพิพากษาซึ่งเปนประธานกําหนด และตามระเบียบวาดวยวิธีพิจารณาความขอ 140
บัญญัติวา คูกรณีมีสิทธิถามพยานที่ตนอางและคูกรณีอีกฝายหนึ่งมีสิทธิถามคาน และองคคณะตุลาการ
พิจารณาคดีก็มีสิทธิถามพยานโดยจะถามกอนหรือหลังจากพยานตอบคําถามของอัยการหรือทนายจําเลยก็ได
บทบัญญัติดังกลาวแสดงใหการใชวิธีพิจารณาคดีซึ่งมีลักษณะผสมผสานกันระหวางระบบกลาวหา
(Adversarial System) และระบบไตสวน (Inquisitorial System) การจะใชวิธีพิจารณาแบบใดแลวแตดุลพินิจ
ของศาล หากใชระบบกลาวหา อัยการและทนายจําเลยจะเริ่มถามและถามคานพยานกอน จากนั้นศาลจะถาม
พยาน เแตหากใชระบบไตสวนศาลจะเริ่มถามพยานกอน จากนั้นจึงจะใหอัยการและทนายจําเลยถามพยาน
จะเห็นไดวาในระดับของความจําเปนในการมีกฎหมายระหวางประเทศเพื่อจัดการกับผูประกอบ
อาชญากรรมรายแรงตอมนุษยชาติตามธรรมนูญกรุงโรมวาดวยศาลอาญาระหวางประเทศนั้น ตองอาศัยการ
ประนีประนอมของแนวคิดและระบบวิธีพิจารณาคดีอาญาทั้งระบบกลาวหาและระบบไตสวน เพื่อใหการ
ตรากฎหมายระหวางประเทศฉบับนี้สําเร็จลุลวงไปได อาจกลาวสรุปไดวา แมแตกฎหมายระหวางประเทศก็
ยังจําเปนตองมีลักษณะของระบบผสม แตวิธีพิจารณาระบบผสมที่ปรากฏในธรรมนูญกรุงโรมวาดวยศาล
อาญาระหวางประเทศนั้นเกิดจากความจําเปนในการประนีประนอมเพื่อใหกฎหมายเกิดขึ้นไดตามความ
ปรารถนาของประชาคมโลก มากกวาเกิ ดขึ้นเพราะความจําเปนในการปรับตัว ของระบบกฎหมายของ
ประเทศใดประเทศหนึ่งเพื่อใหมีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการดําเนินคดีอาญาหรือเพื่อยกระดับมาตรฐาน
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อใหสอดคลองกับนานาประเทศอยางที่แตละประเทศกําลังดําเนินการอยู
ในปจจุบัน

หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรือ่ งที่ 2.4.3 แลว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 2.4.3


ในแนวการศึกษาหนวยที่ 2 ตอนที่ 2.4 เรื่องที่ 2.4.3

You might also like