Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 28

Morphology 5-1

T O U โมดูล​ที่ 5

S OU
Morphology
อาจารย์ ดร.ศิตา​ เยี่ยม​ขันติ​ถาวร

T
S OU
T
S OU
T
S OU
S T
ชื่อ
วุฒิ



ตำแหน่ง
อาจารย์ ดร.ศิต​า เยี่ยม​ขันติ​ถาวร
ศศ.บ., M.Ed. (TESOL), M.Ed. (honours) (Linguistics),
Ph.D. (Applied Linguistics) The University of Tasmania
อาจารย์​ประจำ​สาขา​วิชา​ศึกษา​ศาสตร์
มหาวิทยาลัย​สุโขทัย​ธร​รมาธิ​ราช
5-2 ​ภาษาศาสตร์เบื้องต้น​

O U
แบบ​ประเมินผ​ ล​ตนเอง​ก่อน​เรียน

T
S OU
จง​เลือก​คำ​ตอบ​ที่​ถูก​ต้องที่สุด
1. ข้อ​ใด​ให้​นิยาม​ของ​คำ​ว่า วิทยา​หน่วย​คำ (morphology) ได้ช​ ัดเจน​ที่สุด
1. การ​ศึกษา​เกี่ยว​กับ​ระบบ​เสียง​อย่าง​มีร​ ะบบ​และ​มีค​ วาม​หมาย
2. การ​ศึกษา​เกี่ยว​กับ​ระบบ​ความ​หมาย​ของ​ภาษา​ทั้งใ​ น​เรื่อง​เสียง คำ​และ​ประโยค

T
3. การ​ศึกษา​เกี่ยว​กับ​โครงสร้าง​ประโยค​เพื่ออ​ ธิบ​ า​ยกฎ​ต่างๆ ใน​ภาษา

S OU
4. การ​ศึกษา​เกี่ยว​กับ​โครงสร้าง​คำ​ซึ่ง​เป็นห​ น่วย​ที่เ​ล็กท​ ี่สุดข​ อง​วากยสัมพันธ์
5. การ​ศึกษา​เกี่ยว​กับ​วัจน​ปฏิบัติ​ศาสตร์
2. ข้อ​ใด​ต่อ​ไป​นี้​แยก​หน่วย​คำ​ของ​คำ​ว่า “misinformation” ได้อ​ ย่าง​ถูกต​ ้อง
1. mis-info-r-ma-tion
2. mis-in-for-ma-ti-on

T
3. mis-inform-ation

S OU
4. mis-in-for-mation
5. mis-in-for-ma-tion
3. คำ​ใน​ข้อ​ใด​เกิด​จาก​การ​รวม​กัน​ของ root morpheme และ inflectional affix
1. likes
2. likeness

T
3. likeable

S OU
4. likely
5. likelihood
4. ส่วน​เติม​หน้า (prefix) ของ​คำ​ว่า “appropriate” ควร​เป็น​คำ​ใด เพราะ​เหตุใ​ ด
1. im เพราะเกิด​หน้าเ​สียง​ฐาน bilabial
2. im เพราะ​มี​เสียง​ฐาน bilabial อยู่ห​ ลาย​เสียง​ใน​คำ

T
3. im เพราะ​เกิด​หน้า​เสียง​สระ

S
4. in เพราะ​เกิด​หน้าเ​สียง​สระ
5. in เพราะ​เกิด​หน้าเ​สียง​ฐาน alveolar
5. คำ​ต่อ​ไป​นี้​มี​ทั้งหมด​กี่​หน่วย​คำ “unnecessarily”
1. 1
2. 2
3. 3
4. 4
5. 5
Morphology 5-3

O U
6. คำ​ใน​ข้อ​ใด​เกิด​จาก​หน่วย​คำ​อิสระ (free morpheme) และ​หน่วย​คำ​ไม่​อิสระ (bound morpheme)
มา​รวม​กัน

T
1. friendly

S OU
2. doctor
3. computer
4. mother
5. lunchbox
7. คำ​ใน​ข้อ​ใด​เมื่อ​เติมส​ ่วน​เติม​ท้าย (suffix) ที่ก​ ำหนด​แล้ว​ไม่เ​กิดก​ าร​เปลี่ยนแปลง​ชนิดข​ อง​คำ

T
1. careful

S OU
2. smaller
3. goodness
4. reading
5. dangerous
8. คำ​ใน​ข้อ​ใด​คือ​คำ​ประสม​ทั้งหมด

T
1. lunchbox, bedroom, roommate

S OU
2. gentlemen, bathroom, ding-dong
3. cranberry, restaurant, output
4. incorrect, carpenter, sleeping-bag
5. mother, computer, kitchen
9. คำ​ว่า hokey-pokey เป็นค​ ำ​ซ้ำ​ประเภท​ใด

T
1. การ​ซ้ำ​คำ​เดิมส​ อง​ครั้ง

S OU
2. การ​ซ้ำ​คำ​ที่​มีค​ วาม​หมาย​เดียว
3. การ​เล่น​จังหวะ
4. การ​เปลี่ยน​เสียง​สระ
5. การ​เปลี่ยน​พยัญชนะ​ตัว​หน้า
10. คำ​ใน​ข้อ​ใด​เป็น​คำ​ยืม​จาก​ภาษา​ฝรั่งเศส

T
1. bishop, devil, monk

S
2. hipmunk, chocolate, chili
3. music, government, dinner
4. gumbo, jazz, zebra
5. swindler, stroll, kindergarten
5-4 ​ภาษาศาสตร์เบื้องต้น​

O U
แผนผัง​แนวคิด

T
Morphology

S OU
• Phonologically
Conditioned Allomorphs
• Morphologically
Allomorphs Conditioned Allomorphs

T
S OU Morpheme Types Morphemes
Morpheme-Allomorph
Relationships

T
• Free and Bound

S OU
Morphemes • Compound Words
• Base and Affixes • Complex Words
Word Formation
• Derivational and • Reduplication
Inflectional • Borrowed Words
Morphemes

T
S OU
S T
Morphology 5-5

O U
แผนการ​สอน​โมดูล​ที่ 5

T
Morphology

S OU
แนวคิด
1. วิทยา​หน่วย​คำ (morphology) เป็น​สาขา​หนึ่ง​ของ​ภาษาศาสตร์​ที่​ศึกษา​เกี่ยว​กับ​โครงสร้าง​ภายใน​
ของ​คำ ส่วน​หน่วย​คำ​(morpheme) คือห​ น่วย​ที่เ​ล็กท​ ี่สุดท​ ี่ม​ ี​ความ​หมาย หาก​ปรากฏ​ตาม​ลำพังไ​ ด้

T
เรียก​ว่า หน่วย​คำ​อิสระ แต่​หาก​ปรากฏ​ตาม​ลำพังไ​ ม่​ได้ จะ​เรียก​ว่า หน่วย​คำ​ไม่อ​ ิสระ

S OU
2. หน่วย​คำ​ย่อย​ (allomorph) คือ ​หน่วย​คำ​ที่​มี​ความ​หมาย​เหมือน​กัน​แต่​ปรากฏ​ใน​สภาพ​แวดล้อม​
ต่าง​กัน หน่วย​คำ​ย่อย​แบ่ง​ออก​เป็น หน่วย​คำ​ย่อย​ที่​เกิด​โดย​เงื่อนไข​ของ​เสียง (phonologically
conditioned allomorphs) และ​หน่วย​คำ​ย่อย​ที่เ​กิดโ​ ดย​เงื่อนไข​ของ​หน่วย​คำ (morphologically
conditioned allomorphs)
3. การ​เกิด​หน่วย​คำ​ย่อย​ใน​หน่วย​คำ​สามารถ​เกิด​ขึ้น​ได้​ใน​หลาย​กรณี​และ​ทุก​กรณี​สามารถ​อธิบาย​ได้​

T
ด้วย​เหตุผล​ที่​ต่าง​กัน การ​เกิด​หน่วย​คำ​ย่อย​ใน​หน่วย​คำ​สามารถ​จำแนก​เหตุผล​ได้

S OU
4. หน่วย​คำ​สามารถ​จำแนก​เป็นช​ นิดต​ ่างๆ โดย​ใช้เ​กณฑ์ก​ าร​วิเคราะห์ห​ รือจ​ ำแนก​ด้วย​วิธตี​ ่างๆ คือ การ​
จำแนก​ตาม​การ​ปรากฏ​ของ​หน่วย​คำ การ​จำแนก​ตาม​หน้าที่ และ​การ​จำแนก​ตาม​การ​ประกอบ​คำ
5. การ​สร้าง​คำ​ทำให้เ​กิดค​ ำ​ใหม่ข​ ึ้นใ​ น​ภาษา การ​สร้าง​คำ​ใหม่ใ​ น​ภาษา​อังกฤษ​ทำให้เ​กิดค​ ำ​ประเภท​ต่างๆ
ได้แก่ คำ​ประสม คำ​ประสาน คำ​ซ้ำ และ​คำ​ยืม

T
วัตถุประสงค์

S OU
เมื่อ​ศึกษา​โมดูลท​ ี่ 5 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ
1. ให้​นิยาม​ของ​วิทยา​หน่วย​คำ​และ​หน่วย​คำ
2. ให้​นิยาม​ของ​หน่วย​คำ​ย่อย​และอธิบาย​​ลักษณะ​การ​เกิด​หน่วย​คำ​ย่อย
3. อธิบาย​ความ​สัมพันธ์ข​ อง​หน่วย​คำ​และ​หน่วย​คำ​ย่อย​ใน​ภาษา​อังกฤษ
4. อธิบาย​หน่วย​คำ​ประเภท​ต่างๆ และ​แยก​หน่วย​คำ​และ​หน่วย​คำ​ย่อย

T
5. ระบุ​ชนิด​ของ​คำ​ใหม่​ที่​สร้าง​ขึ้น​ตาม​โครงสร้าง​ต่างๆ

S
5-6 ​ภาษาศาสตร์เบื้องต้น​

T O U
S OU
กิจกรรม​การ​เรียน
1. ทำ​แบบ​ประเมิน​ผล​ตนเอง​ก่อน​เรียน​ใน​คู่มือก​ าร​ศึกษา​โมดูลท​ ี่ 5
2. อ่าน​แผนการ​สอน​ประจำ​โมดูล
3. อ่าน​สาระ​สำคัญ

T
4. ศึกษา​เพิ่ม​เติม​จาก​สื่อ​เสริม​ออนไลน์​ประจำ​โมดูล

S OU
5. ทำ​กิจกรรม​ที่​กำหนด​ไว้​ใน​คู่มือ​การ​ศึกษา
6. ติดตาม​ประกาศ​ออนไลน์
7. เข้าร​ ่วม​การ​สนทนา ถาม​และ​ตอบ​คำถาม และ​แลก​เปลี่ยน​ความ​รู้ก​ ับเ​พื่อน​นักศึกษา​และ​อาจารย์ใ​ น​
ห้อง​สนทนา
8. ทำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียน

T
S OU
T
S OU
S T
Morphology 5-7

O U
วิทยา​หน่วย​คำ (morphology) เป็นการ​ศึกษา​โครงสร้าง​คำ และ​การ​ประกอบ​คำ​ใน​ภาษาใดภาษาหนึ่ง
ได้แก่ การ​ลง​วิภัตติ​และ​ปัจจัย การ​แปลง​คำ การ​ประสม​คำ การ​ประสาน​คำ การ​ซ้ำค​ ำ และ​การ​ซ้อน​คำ รวม​ถึง​

T
กฎ​หน่วย​คำ​ และ​ความ​สัมพันธ์​ระหว่าง​วิทยา​หน่วย​คำ​กับ​วากย​สัมพันธ์​และ​สัท​วิทยา ในโมดูลนี้จะกล่าวถึง

S OU
วิทยาหน่วยคำในภาษาอังกฤษเท่านั้น

5.1 หน่วย​คำ (Morphemes)


ใน​ทาง​ภาษาศาสตร์ หน่วย​คำ (morpheme) คือ องค์​ประกอบ​หรือ​หน่วย​ที่​เล็ก​ที่สุด​ของ​ระบบ​
ไวยากรณ์ เกิด​จาก​การ​เรียง​ตัว​ต่อ​กัน​ของ​หน่วย​เสียง​อย่าง​มีร​ ะบบ​และ​มีค​ วาม​หมาย​ใน​ตัว​เอง ไม่​สามารถ​แยก​

T
ต่อไ​ ป​ได้อ​ ีก ถ้าแ​ ยก​จะ​ทำให้ค​ วาม​หมาย​ของ​หน่วย​คำ​นั้นห​ าย​ไป​หรือผ​ ิดไ​ ป​จาก​ความ​หมาย​เดิม แต่ห​ น่วย​คำ​ใดๆ

S OU
ที่เ​ป็นอ​ ิสระ​และ​ไม่ส​ ามารถ​แยก​ต่อไ​ ป​อีกไ​ ด้ก​ ็ส​ ามารถ​เป็น ‘คำ’ (word) ได้อ​ ีกด​ ้วย ขอ​ให้ศ​ ึกษา​ตัวอย่าง​การ​แยก​
หน่วย​คำ ดัง​ตาราง​ต่อ​ไป​นี้

คำ การแยกหน่วยคำ ความหมาย

T
dislike dis- (ไม่) like (ชอบ) ไม่ชอบ

S OU
worked work (ทำงาน) - ed เป็นส่วนเติมท้ายเพื่อ ทำงาน
แสดงอดีตกาล (ความหมายเป็นอดีตกาล)
loves love (รัก) - s เป็นส่วนเติมท้ายเมื่อประธาน รัก
เป็นเอกพจน์ (ใช้กับประธานเอกพจน์)
blackboard black (ดำ) board (กระดาน) กระดานดำ

T
disagreement dis- (ไม่) agree (เห็นด้วย) - ment เป็นส่วนเติมท้ายเพื่อ การไม่เห็นด้วย

S OU
เปลี่ยนให้เป็นคำนาม

สรุป​คือ คำ​อาจ​จะ​ประกอบ​ด้วย​หน่วย​คำ 1 หน่วย​คำ หรือ​มากกว่า 1 หน่วย​คำ​ก็ได้ แต่​หน่วย​คำ​จะ​
ประกอบ​ด้วย​หน่วย​คำ​มากกว่า 1 หน่วย​คำ​ไม่​ได้ เนื่องจาก​ไม่ส​ ามารถ​แยก​ให้เ​ล็กล​ ง​ไป​ได้อ​ ีก​โดย​มีค​ วาม​หมาย

T
5.2 หน่วย​คำ​ย่อย (Allomorph)

S
นักศึกษา​ได้ท​ ราบ​แล้วว​ ่า หน่วย​คำ หมาย​ถึงส​ ่วน​ทีเ่​ล็กท​ ี่สุดท​ ีม่​ คี​ วาม​หมาย แต่ย​ ังม​ อี​ ีกค​ ำ​หนึ่งซ​ ึ่งม​ คี​ วาม​
สัมพันธ์​กับ​คำ​ว่า​หน่วย​คำ นั่น​คือ หน่วย​คำ​ย่อย (allomorph)
หน่ ว ย​ค ำ​ย่ อ ย (allomorph) คื อ ​ห น่ ว ย​ค ำ​จ ำนวน​ห นึ่ ง ​ที่ ​มี ​ค วาม​ห มาย​เ หมื อ น​กั น ​แ ต่ ​ป ราก​ฏ ​ใ น​
สภาพ​แวดล้อม​ต่าง​กัน เช่น หน่วย​คำ​ย่อย​ที่​ทำให้​คำ​นาม​เอกพจน์เ​ป็นค​ ำ​นาม​พหูพจน์ ใน​ภาษา​อังกฤษ​สามารถ
แ​ ยก​รูปห​ น่วย​คำ​ย่อย​และ​การ​ออก​เสียง​ได้ 3 รูปแ​ บบ​คือ /s / /z / /ɪz/ ขอ​ให้ศ​ ึกษา​ตัวอย่าง​หน่วย​คำ​ย่อย​ที่ท​ ำให้​
คำ​นาม​เอกพจน์​เป็น​คำ​นาม​พหูพจน์ จาก​แผนภูมิต​ ่อไ​ ป​นี้
5-8 ​ภาษาศาสตร์เบื้องต้น​

O U
คำ หน่วยคำย่อย หน่วยคำย่อยพหูพจน์

T
cats cat /s/

S OU
dogs เกิดจาก dog และ /z/
judges judge /iz/

หลัก​เกณฑ์​ใน​การ​พิจารณา​ว่า หน่วย​คำ​ย่อย​ใด​เป็นห​ น่วย​คำ​ย่อย​ของ​หน่วย​คำ​เดียวกัน ประกอบ​ด้วย​

T
หลัก​เกณฑ์ 2 ประการ ดังนี้

S OU
หลัก​เกณฑ์​ที่ 1 หน่วย​คำ​ย่อย​เหล่า​นั้น​จะ​ต้อง​มี​ความ​หมาย​เหมือน​กัน เช่น หน่วย​คำ​ที่​แสดง​พหูพจน์
ใน​ภาษา​อังกฤษ ใน​คำ​ว่า
bats จะ​ออก​เสียง​ไม่​ก้อง /s/
dogs จะ​ออก​เป็น​เสียง​ก้อง /z/
หน่วย​คำ​ย่อย [s] และ [z] เป็น​หน่วย​คำ​ย่อย​ของ​หน่วย​คำ​เดียวกัน เพราะ​แสดง​ความ​หมาย​เหมือน​กัน

T
คือ พหูพจน์ เพียง​แต่​มีร​ ูป​ซึ่ง​ใน​ที่​นี้​หมาย​ถึง​การ​ออก​เสียง​ต่าง​กันเ​ท่านั้น

S OU
หลัก​เกณฑ์​ที่ 2 หน่วย​คำ​ย่อย​เหล่า​นั้น​จะ​ต้อง​ไม่​เปรียบ​ต่าง​กัน คือ จะ​ไม่​เกิด​ใน​สภาพ​แวดล้อม​
เดียวกัน​แต่ละ​หน่วย​คำ​ย่อย​จะ​มี​สภาพ​แวดล้อม​ของ​ตน​โดย​เฉพาะ โดย​อาจ​เรียก​ว่า​มี​ลักษณะ​การ​แจกแจง​สับ​
หลีกห​ รือป​ รากฏ​ใน​สภาพ​แวดล้อม​ทีต่​ ่าง​กันน​ ั่นเอง (complementary distribution หรือ mutually exclusive
in their environments) เช่น ตัวอย่าง​ภาษา​อังกฤษ​ข้าง​ต้น ใน​คำ bats และ dogs หน่วย​คำ​ย่อย [s] จะ​ปรากฏ​
เฉพาะ​ท้าย​คำ​ทลี่​ งท้าย​ด้วย​เสียง​พยัญชนะ​เสียง​ไม่ก​ ้อง ใน​ทนี่​ คี้​ ือ เสียง [t] และ​หน่วย​คำ​ย่อย [z] จะ​ปรากฏ​เฉพาะ​

T
ท้าย​คำ​ที่​ลงท้าย​ด้วย​เสียง​พยัญชนะ​เสียง​ก้อง ใน​ที่​นี้ คือ เสียง [g] ดังน​ ั้น จะ​เห็นไ​ ด้ว​ ่า​หน่วย​คำ​ย่อย​ทั้งส​ อง​จะ​

S OU
ปรากฏ​ใน​สภาพ​แวดล้อม​ที่​หลีก​ล้อ​หรือ​แจกแจง​สับห​ ลีกก​ ัน
หน่วย​คำ​ย่อย​แบ่ง​ออก​ได้​เป็น 2 ประเภท ได้แก่
5.2.1 หน่วย​คำ​ย่อย​ที่​เกิด​โดย​เงื่อนไข​ของ​เสียง (Phonologically Conditioned Allomorphs) เป็น
การ​กระจาย​รูป​ของ​หน่วย​คำ​ย่อย​ดัง​เช่น​ตัวอย่าง​ของ​หน่วย​คำ ‘s’ ใน​รูป​พหูพจน์​ดัง​ตัวอย่าง​ที่​ได้​กล่าว​มา​แล้ว​
ข้าง​ต้น การ​เกิด​หน่วย​คำ​ย่อย​ที่​ต่าง​กัน​ของ​คำ​ว่า bats ซึ่งเ​สียง /s/ จะ​ออก​เสียง​ไม่​ก้อง คือ /s/ ส่วน​ใน​คำ​ว่า

T
dogs จะ​ออก​เป็น​เสียง​ก้อง คือ /z/ นอกจาก​นี้​ยัง​เกิด​การก​ระ​จาย​รูป​ของ​หน่วย​คำ​ย่อย​โดย​เงื่อนไข​ของ​เสียง

S
ดัง​ตัวอย่าง​ใน​แผนภูมิต​ ่อ​ไป​นี้
Morphology 5-9

O U
แผนภูมิ: การ​แสดง​การ​เป็นเ​จ้าของ​ของ​คำ​นาม (possessive)

T
หน่วยคำย่อยที่แสดงการเป็น

S OU
คำ หน่วยคำย่อย
เจ้าของของคำนาม (possessive)
rat’s rat /s/
bag’s เกิดจาก bag และ /z/
church’s church /iz/

T
S OU
แผนภูมิ: การ​เติม ‘s’ ทีค่​ ำ​กริยา​ซึ่ง​ใช้ก​ ับ​ประธาน​เอกพจน์

หน่วยคำย่อยของการเติมหน่วยคำ ‘s’
คำ หน่วยคำย่อย
ที่คำกริยาซึ่งใช้กับประธานเอกพจน์
talks talk /s/

T
S OU
goes เกิดจาก go และ /z/
watches watch /iz/

แผนภูมิ: การ​เติมห​ น่วย​คำ ‘ed’ เพื่อผ​ ัน​คำ​กริยา​ให้​เป็นร​ ูปอ​ ดีต

T
หน่วยคำย่อยของการเติมหน่วยคำ

S OU
คำ หน่วยคำย่อย
‘ed’ เพื่อผันคำกริยาให้เป็นรูปอดีต
happened happen /d/
worked เกิดจาก work และ /t/
needed need /id/

S T
5.2.2 หน่วย​คำ​ย่อย​ที่​เกิด​โดย​เงื่อนไข​ของ​หน่วย​คำ (Morphologically Conditioned Allomorphs)
เกิด​จาก​การ​เปลี่ยน​รูป​ของ​คำ​นาม​จาก​คำ​นาม​เอกพจน์​เป็น​คำ​นาม​พหูพจน์ จาก​คำ​กริยา​ปัจจุบัน​กาล​เป็น​
คำ​กริยา​อดีตกาล เป็นต้น ดัง​ตัวอย่าง​ต่อ​ไป​นี้
จาก​คำ​นาม​เอกพจน์เ​ป็น​คำ​นาม​พหูพจน์: man-men, child-children, deer-deer
จาก​คำ​กริยา​ปัจจุบันก​ าล​เป็นค​ ำ​กริยา​อดีตกาล: drink-drank, swim-swam, take-took
5-10 ​ภาษาศาสตร์เบื้องต้น​

O U
จึง​กล่าว​ได้​ว่าการ​วิเคราะห์​หา​หน่วย​คำ​ย่อย จะ​ต้อง​คำนึง​ถึง​ทั้ง​ความ​หมาย​และ​เสียง โดย​พิจารณา​ว่า​

T
รูป​หรือ​เสียง​ใด​บ้าง​เป็น​หน่วย​คำ​ย่อย​ของ​หน่วย​คำ​เดียวกัน ผู้ว​ ิเคราะห์ต​ ้อง​พิจารณา​ข้อมูล​ใน​ภาษา​นั้นๆ และ​
พิจารณา​คำ​แปล หรือ​พิจารณา​ความ​หมาย​ของ​ข้อมูล เพื่อ​ค้นหา​ว่า​หน่วย​คำ​ย่อย​ใด​มี​ความ​หมาย​เหมือน​กัน​

S OU
บ้าง ซึ่ง​แสดง​ว่า หน่วย​คำ​ย่อย​นั้นๆ เป็น​หน่วย​คำ​ย่อย​ของ​หน่วย​คำ​เดียวกัน ต่อ​จาก​นั้น​ก็​พยายาม​หา​ข้อ​สรุป​
ให้​ได้​ว่า หน่วยคำ​ย่อย​แต่ละ​ตัว​มีต​ ำแหน่ง​ที่เ​กิด​อย่างไร หรือเ​รียก​ตาม​ภาษา​ของ​การ​วิเคราะห์ห​ น่วย​คำ​ว่า การ​
หา​การก​ระ​จาย​ของ​หน่วย​คำ​ย่อย

5.3 ความ​สัมพันธ์ร​ ะหว่าง​หน่วย​คำ​และ​หน่วย​คำ​ย่อย (Morpheme-Allomorph Relationships)

T
การ​วิเคราะห์ค​ วาม​สัมพันธ์ร​ ะหว่าง​หน่วย​คำ​และ​หน่วย​คำ​ย่อย​สามารถ​กระทำ​ได้โ​ ดย​การ​วิเคราะห์จ​ าก​

S OU
วิธี​การ​เกิด และ​การ​วิเคราะห์​จาก​รูป (form)
5.3.1 การ​วิเคราะห์​จาก​วิธี​การ​เกิด การ​เกิด​หน่วย​คำ​ย่อย​ของ​หน่วย​คำ​เดียวกัน สามารถ​เกิดข​ ึ้นไ​ ด้​ใน​
หลาย​กรณี​และ​ทุก​กรณี​สามารถ​อธิบาย​ได้​ด้วย​เหตุผล​ที่​ต่าง​กัน การ​เกิด​หน่วย​คำ​ย่อย​ของ​หน่วย​คำ​เดียวกัน​
สามารถ​จำแนก​เหตุผล​ได้​ดังนี้

T
1) การก​ลม​กลืน​เสียง (Assimilation) คือ การ​ที่​เสียง​กลาย​ไป​เหมือน​หรือ​คล้าย​กับ​เสียง​ที่​
ตาม​มา หรือน​ ำ​มา​ข้าง​หน้าเ​พื่อค​ วาม​สะดวก​ใน​การ​ออก​เสียง ถ้าพ​ ิจารณา​คำ​ต่อไ​ ป​นี้ intolerable, impossible,

S OU
illegal, incongruous, irregular จะ​เห็น​ได้ว​ ่า​มี​การ​ใช้​อุปสรรค​หรือ prefix ที่​ต่าง​กัน คือ in, im, il, iŋ และ
ir ตาม​ลำดับ แต่​อุปสรรค​หรือ prefix ทั้ง 5 นั้น​มี​ความ​หมาย​เดียวกัน คือ​การ​ทำให้​ความ​หมาย​ของ​คำ​ที่​ไป​
เติมม​ คี​ วาม​หมาย​ตรง​กันข​ ้าม​กับค​ วาม​หมาย​เดิม เหตุผล​ทีท่​ ำให้เ​กิดก​ ารก​ระ​จาย​ของ​หน่วย​คำ​ดังก​ ล่าว ออก​เป็น
5 หน่วย​คำ​ย่อย​นั้นเ​กิด​จาก​เงื่อนไข​ทาง​เสียง
หน่วย​คำ​ย่อย in, im, il, iŋ และ ir มีก​ ารก​ระ​จาย​ทีแ่​ ตก​ต่าง​กัน เพราะ​อิทธิพล​ของ​เสียง​ทีอ่​ ยูร่​ อบ​

T
ข้าง กล่าว​คือ เสียง​พยัญชนะ​ต้น​ของ​พยางค์​ที่ต​ าม​มา ทำให้​ลักษณะ​ทาง​สัทศาสตร์​ของ​หน่วย​คำ​เดิม​กลาย​เสียง

S OU
​ไป​ใน​ทาง​ภาษาศาสตร์ เรา​เรียก​ปรากฏการณ์​ที่​เกิดข​ ึ้นว​ ่า การก​ลม​กลืนเ​สียง (assimilation) เพื่อ​ต้องการ​ปรับ​
เสียง​ให้เ​หมือน​หรือใ​ กล้เ​คียง​กับเ​สียง​ที่ต​ าม​มา นอกจาก​นี้ก​ ารก​ลม​กลืนเ​สียง​นั้นก​ ็เ​พื่อต​ ้องการ​ให้การ​ออก​เสียง​
ง่าย​ขึ้น หรือฟ​ ังแ​ ล้วไ​ พเราะ​ขึ้น การก​ลาย​เสียง​ที่เ​กิดข​ ึ้นก​ ับ in, im, il, iŋ และ ir นี้ เรา​เรียก​อย่าง​เฉพาะ​เจาะจง​
ว่า การก​ลม​กลืน​เสียง​ไป​ด้าน​หลัง (regressive assimilation) ซึ่งส​ ามารถ​สรุป​การก​ระ​จาย​ของ​หน่วย​คำ​ย่อย
in, im, il, iŋ และ ir ได้ด​ ัง​ต่อ​ไป​นี้

T
/in/ เกิด​หน้า​เสียง​ฐาน alveolar เช่น intolerable, inexpensive

S
/im/ เกิด​หน้า​เสียง​ฐาน bilabial เช่น impossible, implement
/il/ เกิด​หน้า​เสียง​ฐาน lateral เช่น illegal, illustration
/iŋ/ เกิด​หน้าเ​สียง​ฐาน velar เช่น incongruous
/ir/ เกิด​หน้าเ​สียง​ฐาน retroflex เช่น irregular, irrational
สรุป หน่วย​คำ​ย่อย​ทั้ง 5 เกิด​การ​สับห​ ลีก (complementary distribution) จาก​กระบวนการ​
ทาง​เสียง ถือ​เป็นห​ น่วย​คำ​ย่อย​ของ​หน่วย​คำ​เดียวกัน
Morphology 5-11

O U
2) การ​แทนที่​หรือ (Replacive Allomorphs) คือ​การ​เปลี่ยน​เสียง​สระ​จาก​ตัว​หนึ่ง​ไป​เป็น​
สระ​อีก​ตัว​หนึ่ง เช่น การ​ทำให้​คำ​นาม​เอกพจน์​เป็น​คำ​นาม​พหูพจน์​โดย​เปลี่ยน​จาก​เสียง /æ/ ไป​เป็น​เสียง /e/

T
ใน​คำ เช่น จาก​เสียง /æ/ ใน​คำ​ว่า man ไป​เป็น​เสียง /e/ ใน​คำ​ว่า men หรือ จาก​เสียง /æ/ ใน​คำ​ว่า woman

S OU
ไป​เป็น​เสียง /e/ ใน​คำ​ว่า women หรือ​การ​ทำ​คำ​กริยา​ใน​รูป​ปัจจุบันก​ าล​ให้​เป็นร​ ูป​อดีตกาล เช่น จาก​เสียง /i:/
เป็นเ​สียง /ↄ:/ ใน​คำ ‘see’ เป็น ‘saw’ เป็นต้น
3) หน่วย​คำ​ย่อย​ไม่มี​รูป หรือ​ไร้​รูป (Zero Allomorph) คือ​การ​เปลี่ยน​ความ​หมาย​ของ​คำ​โดย​
ไม่มีก​ าร​เปลี่ยน​รูปห​ น่วย​คำ การ​เปลี่ยน​ความ​หมาย​คำ​นาม​เอกพจน์เ​ป็นค​ ำ​นาม​พหูพจน์โ​ ดย​ไม่มีก​ าร​เปลี่ยน​รูป
เช่น ​คำ​ว่า sheep ใน two sheep = sheep + ∅

T
5.3.2 การ​วเิ คราะห์จ​ าก​รปู นอกจาก​การ​วิเคราะห์จ​ าก​วิธกี​ าร​เกิดห​ น่วย​คำ และหน่วยคำย่อยด้วย 3 วิธี

S OU
ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยัง​มีอ​ ีกว​ ิธีห​ นึ่งซ​ ึ่งน​ ักภ​ าษาศาสตร์​ใช้ว​ ิเคราะห์​หน่วย​คำ ได้แก่ การ​วิเคราะห์​จาก​รูป (form)
ดัง​ต่อ​ไป​นี้
1) รูป​ใด​ที่​มี​ความ​หมาย​เหมือน​กัน​และ​มี​เสียง​เหมือน​กัน ไม่​ว่า​จะ​เกิด​ขึ้น​ที่​ใด​ให้​ถือว่า​เป็น​
หน่วย​คำ​เดียวกัน เช่น –ess ที่​ปรากฏ​ท้ายคำ​นาม actress, waitress, hostess แสดง​ความ​เป็นเ​พศ​หญิงข​ อง​
คำ​นาม​นั้น ให้​ถือ​เป็น​หน่วย​คำ​เดียวกัน

T
2) รูป​ที่​มี​ความ​หมาย​เหมือน​กัน​แต่​มี​เสียง​ต่าง​กัน​อาจ​เป็น​หน่วย​คำ​ย่อย​ของ​หน่วย​คำ​เดียวกัน​

S OU
ได้ ถ้า​สามารถ​อธิบาย​การ​แจกแจง​ของความ​แตก​ต่าง​นั้น​ได้​ด้วย​กฎ​เกณฑ์​ของ​เสียง เช่น การ​เกิด​การ​สับ​หลีก​
ของ​เสียง​ใน​คำ​ดัง​ต่อ​ไป​นี้ intolerable, impossible, illegal, incongruous, irregular จะ​เห็นไ​ ด้​ว่า​ทั้ง 5 คำ​
ประกอบ​ด้วย คำเติม​หน้า หรือ prefix คือ ‘in, im, il, iŋ และ ir’ ซึ่งส​ ามารถ​อธิบาย​การ​เกิด​ของ​คำเติมห​ น้า​
ดัง​กล่าว​ได้​ด้วย​กฎ​เกณฑ์​ทาง​เสียง​และ​ทั้งหมด​มีค​ วาม​หมาย​เดียวกัน ดังน​ ั้น in, im, il, iŋ และ ir จึงถ​ ือเ​ป็น​
หน่วย​คำ​ย่อย​ของ​หน่วย​คำ​เดียวกัน

T
3) รูป​ซึ่ง​มี​ความ​หมาย​เหมือน​กัน​แต่​มี​เสียง​ต่าง​กัน​อัน​ไม่​สามารถ​พิสูจน์​ได้​ด้วย​กฎ​เกณฑ์​ทาง

S OU
เ​สียง​อาจ​ถือเ​ป็นห​ น่วย​คำ​เดียวกันไ​ ด้โ​ ดยใช้เ​งื่อนไข​ของ​หน่วย​คำ เช่น –en ใน ox - oxen และ child - children
4) คำ​บาง​คำ​ใน​ภาษา​อังกฤษ​ที่​ปรากฏ​รูป​ซ้ำๆ กัน เช่น คำ​ว่า berry ใน cranberry และ
raspberry นั้น เมื่อ​แยก​หน่วย​คำ​ออก​มา​แล้ว พบ​ว่า คำ​ว่า cran และ rasp ไม่​สามารถ​พบ​ได้ที่อ​ ื่นเ​ลย จึง​ถือว่า​
คำ​ดัง​กล่าว​ไม่สามารถ​แยก​หน่วย​คำ​ได้

T
5.4 ชนิด​ของ​หน่วย​คำ (Morpheme Types)

S
การ​วิเคราะห์​เพื่อ​จำแนก​ชนิด​ของ​หน่วย​คำ​ใน​ภาษา​ต่างๆ มี​หลาย​วิธี เรา​สามารถ​จำแนก​ชนิด​ของ​
หน่วย​คำ​ด้วย​วิธี​หรือ​เกณฑ์​ต่างๆ ได้​ดังนี้ คือ การ​จำแนก​ตาม​การ​ปรากฏ​ของ​หน่วย​คำ การ​จำแนก​ตาม​หน้าที่
และ​การ​จำแนก​ตาม​การ​ประกอบ​คำ ทั้งนี้​หน่วย​คำ​หนึ่งๆ อาจสามารถ​เป็น​ได้​หลาย​ชนิด​หรือ​ประเภท หาก​ใช้​
วิธี​หรือ​เกณฑ์​ใน​การ​วิเคราะห์​ที่​แตก​ต่าง​กัน
5.4.1 การ​จำแนก​ตาม​การ​ปรากฏ​ของ​หน่วย​คำ การ​วิเคราะห์​เพื่อ​จำแนก​ชนิด​ของ​หน่วย​คำ​อาจ​ใช้​
วิธี​การ​วิเคราะห์​จาก​การ​ปรากฏ​ของ​หน่วย​คำ โดย​พิจารณา​ว่าห​ น่วย​คำ​นั้นๆ ปรากฏ​ตาม​ลำพังห​ รือไ​ ม่ โดย​วิธี​นี้​
จะ​จำแนก​หน่วย​คำเป็น 2 ชนิด คือ หน่วย​คำ​อิสระ​และ​หน่วย​คำ​ผูกพัน
5-12 ​ภาษาศาสตร์เบื้องต้น​

O U
1) หน่วย​คำ​อิสระ (Free Morpheme) คือห​ น่วย​คำ​ที่ป​ รากฏ​ตาม​ลำพังไ​ ด้​และ​มีค​ วาม​หมาย​ใน​

T
ตัว​เอง เช่น dog, house, book เป็นต้น
2) หน่วย​คำ​ไม่​อิสระ (Bound Morpheme) คือ หน่วย​คำ​ที่ไ​ ม่อ​ าจ​ปรากฏ​ตาม​ลำพังใ​ น​ประโยค​

S OU
ได้ ต้อง​ปราก​ฏ​ร่วม​กับ​หน่วย​คำ​อื่น เช่น im, in, il, ir ต้อง​ปรากฏ​ร่วม​กับ​หน่วย​คำ​อื่น เช่น im - impossible,
in - inexpensive, il - illegal, ir - irregular
5.4.2 การ​จำแนก​ตาม​หน้าที่ เรา​อาจ​วิเคราะห์ ​หน่วย​คำ​โดย​จำแนก​ตาม​หน้าที่ ว่า ​หน่วย​คำ​นั้นๆ
เป็นห​ น่วย​คำ​ผัน หรือ​หน่วย​คำ​คง
1) หน่วย​คำ​ผัน (Derivational Morpheme) คือ หน่วย​คำ​ที่​ทำ​หน้าที่​แปลง​คำ​ชนิด​หนึ่ง​ให้​

T
เป็น​อีก​ชนิด​หนึ่ง เช่น ness - sadness เป็นการ​แปลง​จาก​คำ​คุณศัพท์เ​ป็นค​ ำ​นาม หรือเ​ปลี่ยน​ความ​หมาย​ของ​

S OU
คำ​เดิม im- impolite
2) หน่วย​คำ​คง (Inflectional Morpheme) หน่วย​คำ​ที่เ​ติมเ​ข้าไป​ที่ห​ น่วย​คำ​ที่เ​ป็นร​ าก​ศัพท์เ​พื่อ​
ทำให้เ​กิดค​ ำ​ทสี่​ ามารถ​ปรากฏ​ใน​ประโยค​และ​มคี​ วาม​สัมพันธ์ท​ าง​ไวยากรณ์ก​ ับค​ ำ​อื่นๆ​ได้อ​ ย่าง​ถูกต​ ้อง หน่วย​คำ​
ประเภท​นี้​มัก​จะ​อยู่​ใน​รูป​ของ​คำเติม​หลังห​ รือ​ปัจจัย (suffix) เช่น ใน​หน่วย​คำ​พหูพจน์ s - dogs รูป​อดีตกาล
ed - worked การ​เปรียบ​เทียบ​ขั้น​กว่า (comparative) er - smaller เป็นต้น

T
5.4.3 การ​จำแนก​ตาม​การ​ประกอบ​คำ เมือ่ จ​ ำแนก​โดย​พจิ ารณา​จาก​วธิ ก​ี าร​ประกอบ​คำ​หน่วย​คำ​สามารถ​

S OU
แบ่ง​เป็น 2 ชนิด คือ หน่วย​คำ​หลัก​และ​หน่วย​คำ​ประกอบ
1) หน่วย​คำ​หลัก (Base Morpheme) คือ หน่วย​คำ​ที่จ​ ะ​ใช้​เป็นค​ วาม​หมาย​หลัก กล่าว​คือก​ าร
นำ​หน่วย​คำตั้งแ​ ต่ 2 หน่วย​คำ​มา​รวม​กันน​ ั้น จะ​มีห​ นึ่งห​ น่วย​คำเป็นห​ น่วย​คำ​หลัก เช่น คำ​ว่า cats ประกอบ​ด้วย
2 หน่วย​คำ คือ cat และ s โดย​มี cat เป็นห​ น่วย​คำ​หลัก
2) หน่วย​คำ​ประกอบ (Affix) คือ​หน่วย​คำ​ที่ไ​ ม่ส​ ามารถ​อยู่โ​ ดย​ลำพังไ​ ด้ แบ่งอ​ อก​เป็น หน่วย​คำ

T
เติมห​ น้า​และ​หน่วย​คำเติม​หลัง

S OU
2.1) หน่วย​คำเติม​หน้า หรืออ​ ุปสรรค (prefix) คือ ​หน่วย​คำ​ที่ใ​ ช้​เติมห​ น้า​หน่วย​คำ​อื่น เป็น​
หน่วย​คำ​ที่​ไม่​อิสระ อาจ​แบ่ง​ได้​เป็น ชนิด​ที่​ใช้นำ​หน้า​คำ​นาม ชนิด​ที่​ใช้​นำ​หน้า​กริยา และ​ชนิด​ที่​ใช้​นำ​หน้า​คำ​
คุณศัพท์ เช่น il - illegal, ir - irregular, in - inexpensive
2.2) หน่วย​คำเติม​ท้าย หรือ​ปัจจัย (suffix) คือ ​หน่วย​คำ​ประกอบ​หลัง​หน่วย​คำ​อื่น เป็น​
หน่วย​คำ​ไม่​อิสระ ใช้​เติม​ลง​หลัง​หน่วย​คำ​หลัก และ​ทำ​หน้าที่เ​ปลี่ยน​ชนิด​ของ​หน่วย​คำ​หลัก เช่น

S T
เปลี่ยนกริยาให้เป็นนาม correction -tion
เปลี่ยนนามให้เป็นคุณศัพท์ useful -ful
เปลี่ยนกริยาให้เป็นคุณศัพท์ lovely -ly
เปลี่ยนคุณศัพท์ให้เป็นนาม happiness -ness
Morphology 5-13

O U
ขอ​ให้​ศึกษา​หน่วย​คำเติม​หน้า (prefix) และหน่วย​คำเติม​ท้าย (suffix) ที่​พบ​บ่อย​ใน​ภาษา​อังกฤษ​ได้​
จาก​ตาราง​ต่อ​ไป​นี้

T
S OU
ตัวอย่าง​หน่วย​คำเติม​หน้า (prefix) ใน​ภาษา​อังกฤษ

หน่วยคำ
หน้าที่ ตัวอย่าง
เติมหน้า (prefix)
un (ไม่) ใช้สำหรับเติมหน้าคำคุณศัพท์ suitable (เหมาะสม) - unsuitable (ไม่เหมาะสม)

T
หรือ คำกริยาวิเศษณ์ fairly (อย่างยุติธรรม) - unfairly (อย่างไม่ยุติธรรม)

S OU
bi (สอง) ใช้สำหรับเติมหน้าคำนาม cycle (จักรยาน) - bicycle (จักรยานสองล้อ)
en อุปสรรคตัวนี้ เติมข้างหน้าคำนามหรือ camp (ค่ายพัก) - encamp (ตั้งค่าย)
ไม่มีคำแปลเป็น คำคุณศัพท์แล้วทำให้คำนั้น sure (แน่ใจ) - ensure (ทำให้แน่ใจ)
เอกเทศ เปลี่ยนเป็นกริยา
tri (สาม) ใช้สำหรับเติมหน้าคำนาม angle (เหลี่ยม) - triangle (รูปสามเหลี่ยม)

T
cycle (จักรยาน) - tricycle (รถสามล้อ)

S OU
pre (ก่อน) ใช้สำหรับเติมหน้าคำนาม history (ประวัติศาสตร์) – prehistory
หรือกริยา (ก่อนประวัติศาสตร์)
paid (จ่าย) - prepaid (จ่ายก่อน)
mis (ผิด) ใช้สำหรับเติมหน้าคำกริยา understand (เข้าใจ) - misunderstand (เข้าใจผิด)
im (ไม่) ใช้สำหรับเติมหน้าคำคุณศัพท์ pure (บริสุทธิ์) - impure (ไม่บริสุทธิ์)

T
หรือ คำกริยาวิเศษณ์ politely (อย่างสุภาพ) - impolitely (อย่างไม่สุภาพ)

S OU
in (ไม่) ใช้สำหรับเติมหน้าคำคุณศัพท์ direct (ตรง) - indirect (ไม่ตรง)
expensive (แพง) - inexpensive (ไม่แพง)
re (อีก) ใช้สำหรับเติมหน้าคำกริยา write (เขียน) - rewrite (เขียนใหม่)
หรือคำนามที่มาจากกริยา cycle (วงจรของกระบวนการ) – recycle

T
เท่านั้น เมื่อเติมแล้วทำให้ (เข้าไปตามวงจรของกระบวนการอีกครั้ง/

S
คำนั้นมีความหมายว่า เข้าไปผลิตใหม่)
“ทำอีกครั้งหรือทำใหม่”
dis (ไม่) ใช้สำหรับเติมหน้ากริยาหรือ like (ชอบ) - dislike (ไม่ชอบ)
เติมหน้าคุณศัพท์ honest (ซื่อสัตย์) – dishonest (ไม่ซื่อสัตย์)
5-14 ​ภาษาศาสตร์เบื้องต้น​

O U
ตัวอย่าง หน่วย​คำเติม​ท้าย (suffix) ใน​ภาษา​อังกฤษ

T
หน่วย​คำเติมท​ ้าย​ใน​ภาษา​อังกฤษ​สามารถ​แบ่ง​ออก​เป็นก​ลุ่ม ดังนี้
(1) Noun-Forming Suffixes Meaning “a person or a thing” คือ suffix ที่​เติม​แล้วท​ ำให้​คำ​

S OU
กลาย​เป็น​คำ​นาม​ที่ หมาย​ถึง คน สัตว์ สิ่งของ มี​ดัง​ต่อ​ไป​นี้

หน่วยคำ
ความหมาย ตัวอย่าง
เติมท้าย (suffix)

T
-an, -ian 1. person or thing that is of or belongs to American (ชาวอเมริกัน)

S OU
(ประชาชนหรือสิ่งของของประเทศนั้นๆ)
2. person skilled in or studying the subject historian (นักประวัติศาสตร์)
(ผู้ชำนาญในวิชาการ)
-ant person or thing that does the action (ผู้กระทำ) servant (คนรับใช้)
-ee person to whom the action is done trainee (คนฝึกงาน)

T
(ผู้รับการกระทำ)

S OU
-eer person concerned with (ผู้เกี่ยวข้อง) auctioneer (ผู้ประมูล)

-er person or thing that does something dancer (คนเต้นรำหรือหางเครื่อง)


(ผู้กระทำ) screwdriver (ไขควง)
-ess female (เพศหญิง) actress (นักแสดงผู้หญิง)

T
S OU
-ist 1. person who believes in the ideas, Buddhist (ผู้นับถือศาสนาพุทธ)
principles, or teaching (ผู้เชื่อในความคิด
หลักการ คำสอน) guitarist (นักกีตาร์)
2. person who is skilful in (ผู้เชี่ยวชาญ)
-ster person of a certain type (คนกลุ่มเดียวกัน) youngster (กลุ่มวัยรุ่น)

S T
-y, -ie dear/ little person or thing daddy (พ่อ), auntie (ป้า)
(ผู้เป็นที่รัก สิ่งของเล็กๆ น่ารัก)
Morphology 5-15

O U
(2) Noun-Forming Suffixes คือ suffixes ที่ท​ ำให้ค​ ำ​กลาย​เป็น “คำ​นาม” มีด​ ังต​ ่อไ​ ป​นี้

T
หน่วยคำ

S OU
ความหมาย ตัวอย่าง
เติมท้าย (suffix)
-acy, -cy state or quality of (ภาวการณ์) bankruptcy (การล้มละลาย)
-age activity (กิจกรรมที่เกิดขึ้น) courage (ความกล้าหาญ)
-al action (การกระทำ) arrival (การมาถึง)

T
-ance, -ence action, state or quality (การกระทำ ภาวการณ์) importance (ความสำคัญ)

S OU
existence (การดำรงอยู่)
-ary, -ery, -ry place where something is made, library (ห้องสมุด)
done or sold with (สถานที่)
-ate state (ภาวะ) electorate (กลุ่มผู้ที่มีสิทธิ
ออกเสียงเลือกตั้ง)

T
-ation, -tion, -ion action, state, condition (การกระทำ) examination (การสอบ)

S OU
-dom state of being (ภาวะ) freedom (เสรีภาพ)
-ful amount (จำนวน) handful (จำนวน 1 กำมือ)
-hood state or time of being (ภาวะ) priesthood (สมณเพศ)
-phobia fear (ความกลัว) hydrophobia (โรคกลัวน้ำ)

T
-ic, -ics arts and sciences physics (ฟิสิกส์)

S OU
(เกี่ยวกับศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์)
-ide chemical compound (สารประกอบ) cyanide (ไซยาไนด์)
-ing action (การกระทำ) gliding (การร่อน)
-ism idea, principles or teachings (หลักการ คำสอน) Buddhism (พุทธศาสนา)

S T
-ity state, condition, quality (สภาพ คุณภาพ) humidity (ความร้อนชื้น)
-let, -ette small kind of (เล็กๆ) booklet (หนังสือเล่มเล็ก)
kitchenette (ห้องครัวเล็กๆ)
-logy, -ology principles or teaching (ศาสตร์ วิชา วิทยา) geology (ธรณีวิทยา)
-ment result of (สิ่งที่ทำ ผลของการกระทำ) management (การจัดการ)
-ness state, condition (สภาพ ภาวะ) goodness (ความดี)
-ship state or quality of (ภาวะ คุณสมบัติ) leadership (ภาวะผู้นำ)
5-16 ​ภาษาศาสตร์เบื้องต้น​

O U
(3) Adjective-Forming Suffixes คือ suffixes ที่ท​ ำให้ค​ ำ​กลาย​เป็น “คำ​คุณศัพท์” มีด​ ังต​ ่อไ​ ป​นี้

T
หน่วยคำ

S OU
ความหมาย ตัวอย่าง
เติมท้าย (suffix)
-able, -ible capable of, having (เป็นไปได้) changeable (เปลี่ยนแปลงได้)
-al, -ial of, concerning, related to (เกี่ยวกับ) mental (เกี่ยวกับจิตใจ)
-an, -ean, -ian of, belonging of (เป็นของ เกี่ยวข้องกับ) American (ชาวอเมริกัน)

T
-ant, -ent causing (ทำให้เกิด...) pleasant (น่าพอใจ)

S OU
-ate full of (เต็มไปด้วย...) affectionate (ที่มีความรัก ที่
แสดงความรัก)
-ed having (มีอาการ...) surprised (ประหลาดใจ)
-en made of (ทำด้วย...) wooden (ทำจากไม้)

T
-er comparative (เปรียบเทียบขั้นกว่า) bigger (ใหญ่กว่า)

S OU
-ese belonging to, origin (เป็นของ เกี่ยวข้องกับ) Japanese (ชาวญี่ปุ่น)
-ful full of, causing (เต็มไปด้วย... ทำให้...) careful (ระมัดระวัง)
-ic, -ical connected with (เกี่ยวกับ...) atomic (เกี่ยวกับอะตอม)
-ing causing (ทำให้เกิด...) surprising (น่าประหลาดใจ)

T
-ish belonging to, having the character of childish (เป็นเด็ก มีลักษณะ

S OU
(มีลักษณะเป็น...) คล้ายเด็ก)
-ive, -ative, -itive having the quality of (มีคุณสมบัติ...) explosive (ที่ระเบิดได้)
-less without (ปราศจาก... โดยไม่มี...) careless (ปราศจากการระมัดะวัง)
-like similar to (คล้าย... เหมือน...) childlike (เหมือนเด็ก)

T
-ly like in manner, nature or appearance lovely (น่ารัก)

S
(มีลักษณะ...)
-ous, -eous, -ious causing (ก่อให้เกิด...) dangerous (ก่อให้เกิดอันตราย)
-some full of, in all (เต็มไปด้วย...) lonesome (หงอยเหงา)
-y full of, like that of (เต็มไปด้วย... มีลักษณะ rainy (ซึ่งมีฝนตก)
เหมือน...)
Morphology 5-17

O U
(4) Adverb-Forming Suffixes คือ suffixes ที่ท​ ำให้ก​ ลาย​เป็น “คำ​กริยา​วิเศษณ์” มี​ดังต​ ่อไ​ ป​นี้

T
หน่วยคำ

S OU
ความหมาย ตัวอย่าง
เติมท้าย (suffix)
-ly in a manner of (ในอากัปกิริยาที่ระบุ) quickly (อย่างเร็ว)
-ward(s) in direction of (ในทิศทาง) forwards (ไปข้างหน้า)
-wise in direction of (ในทิศทาง) clockwise (ที่หมุนตามเข็มนาฬิกา)

T
S OU
(5) Verb-Forming Suffixes คือ suffixes ทำให้ค​ ำ​กลาย​เป็น “คำ​กริยา” มีด​ ังต​ ่อ​ไป​นี้

หน่วยคำ
ความหมาย ตัวอย่าง
เติมท้าย (suffix)
-ate act as, cause to become (ทำให้) activate (กระตุ้น)

T
-ed ทำให้คำกริยาเป็นอดีต (simple past tense; looked (มองดู)

S OU
past participle)
-en to make something… (ทำให้...) whiten (ทำให้ขาว)
-ify cause; make something… (ทำ...) magnify (ทำให้เพิ่มมากขึ้น)
-ing present participle (กำลังกระทำอยู่) BE reading (กำลังอ่าน)

T
-ize (-ise) to make or put something in the stated centralize (ทำให้เป็นศูนย์กลาง)

S OU
condition (ทำให้...)

กิจกรรม​ที่ 1
จง​แยก​หน่วย​คำ​จาก​คำ​ภาษา​อังกฤษ​ที่​กำหนด​ให้
1. unhappiness ____________________________________________________________

T
2. televisions ______________________________________________________________

S
3. painters ________________________________________________________________
4. worked ________________________________________________________________
5. technically ______________________________________________________________
6. unfortunate______________________________________________________________
7. pleasantries _____________________________________________________________
8. misidentified ____________________________________________________________
9. children's _______________________________________________________________
10. previewing _____________________________________________________________
5-18 ​ภาษาศาสตร์เบื้องต้น​

O U
11. ex-husbands _____________________________________________________________
12. unmasks ________________________________________________________________

T
13. safest __________________________________________________________________

S OU
14. inspector’s ______________________________________________________________
15. reactionaries _____________________________________________________________

5.5 การ​สร้าง​คำ (Word Formation)

T
ภาษา​ที่​เรา​ใช้​กัน​อยู่​ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ภาษา​ใด​ก็ตาม​มัก​มี​การ​สร้าง​คำ​ศัพท์​ใหม่​อยู่​เสมอ การ​สร้าง​คำ​ใหม่​ใน​

S OU
ภาษา​ต่างๆ มี​วิธี​การ​มากมาย ใน​ที่​นี้​จะ​กล่าว​ถึงก​ าร​สร้าง​คำ​ใน​ภาษา​อังกฤษ ใน​ภาษา​อังกฤษ​มี​การ​สร้าง​คำ​ใหม่​
โดย​วิธี​การ​ประสม​คำ การ​ประสาน​คำ การ​ซ้ำค​ ำ และ​การ​ยืมค​ ำ ซึ่งท​ ำให้เ​กิดค​ ำ​ประสม​ คำ​ประสาน คำ​ซ้ำ และ​
คำ​ยืม ตาม​ลำดับ
5.5.1 คำ​ประสม​หรือ​คำ​ผสม (Compound Word) คือ คำ​ที่ป​ ระกอบ​ด้วย​หน่วย​คำ​อิสระ 2 หน่วย​คำ​

T
ขึ้นไ​ ป เช่น blackboard, lunchbox, housewife เป็นต้น คำ​ประสม​คือ​คำ​ที่ม​ ีค​ วาม​หมาย​ใหม่แ​ ต่ย​ ังม​ ีเ​ค้าข​ อง​
คำ​เดิมท​ ี่น​ ำ​มา​ประกอบ​กัน เรา​สามารถ​สรุปน​ ิยาม​ของ​คำ​ประสม​ได้ด​ ังนี้ คำ​ประสม​คือค​ ำ​ที่เ​กิดจ​ าก​การ​ประกอบ​

S OU
คำมูล​ที่​มี​ความ​หมาย​ต่าง​กัน​ตั้งแต่​สอง​คำ​ขึ้น​ไป และ​มี​ความ​หมาย​ใหม่​ซึ่ง​ใกล้​เคียง​กับ​ความ​หมาย​ของ​คำมูล​
เดิม หรือ​มี​ความ​หมาย​เป็น​เชิง​อุปมา​หรือ​โดย​นัย แต่​ยัง​มี​เค้า​ความ​หมาย​ของ​คำมูล​เดิม การ​สร้าง​คำ​ประสม
มี​ความ​มุ่ง​หมาย​เพื่อ​ให้​เกิด​คำ​ใหม่เ​พิ่ม​ขึ้น เป็นค​ ำ​ที่ม​ ีค​ วาม​หมาย​เฉพาะ​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง  มี​รูป​คำ​พอที่เ​ข้าใจ​
ความ​หมาย​กัน​ได้​ทั่วไป คำ​ประสม​สามารถ​จำแนก​ได้​เป็นก​ลุ่ม ดังนี้

T
1) คำ​นาม​ประสม​ที่​เกิด​จาก​คำ​นาม 2 คำ​ประสม​กัน มี​ลักษณะ​เป็น​คำ​เดียว เขียน​ติด​กัน หรือ​มี
hyphen (-) คั่น เมื่อ​เป็น​พหูพจน์ ให้​เปลี่ยน​เฉพาะ​คำ​นาม​ตัว​หลัง เช่น

S OU
dining room → dining rooms = ห้อง​อาหาร
salesman → salesmen = พนักงาน​ขาย
landlady → landladies = เจ้าของ​บ้าน
classroom → classrooms = ห้องเรียน
classmate → classmates = เพื่อน​ร่วม​ห้อง

T
2) คำ​นาม​ประสม​ที่​เกิด​จาก​คำ​นาม​และ​คำ​อื่นผ​ สม​กัน อาจ​เป็น​ได้ห​ ลาย​ประเภท เช่น

S
Noun + Adjective Adjective + Noun
Noun + Preposition Participle (V-ing) + Noun
Noun + Preposition + Noun Verb + Preposition
จะ​มี​ลักษณะ​เป็น​คำ​เดียว เขียน​ติด​กัน หรือ​มี hyphen ( - ) คั่น เมื่อ​เป็น​พหูพจน์​ให้​เปลี่ยน​
เฉพาะ​คำ​นาม เช่น
passer-by (Noun + Preposition) → passers-by = ผู้คน​ที่เ​ดินผ​ ่าน​ไป​มา
gentleman (Adjective + Noun) → gentlemen = สุภาพ​บุรุษ
looking-glass (Participle + Noun) → looking-glasses = กระจกเงา
Morphology 5-19

O U
mother-in-law (Noun + Preposition + Noun) → mothers-in-law = แม่ยาย
sleeping-bag (Participle + Noun) → sleeping-bags = ถุง​นอน

T
walking-stick (Participle + Noun) → walking-sticks = ไม้​เท้า

S OU
man-of-war (Noun + Preposition + Noun) → men-of-war = เรือรบ
คำ​ประสม​ต่อ​ไป​นี้​มัก​เป็น​พหูพจน์​ทั้ง​สอง​ส่วน เนื่องจาก​มี​ความ​สำคัญ​หรือ​เน้น​ทั้ง​สอง​คำ
ดัง​ตัวอย่าง
man-servant → men-servants = คนใช้​ผู้ชาย
woman-clerk → women-clerks = เสมียน​ผู้​หญิง

T
gentleman-farmer → gentlemen-farmers = ชาวนา​ผู้ชาย

S OU
woman-doctor → women-doctors = แพทย์ผ​ ู้​หญิง
3) คำ​ประสม​ที่​เกิด​จาก​คำ​ประเภท​อื่นท​ ี่ม​ ิใช่​คำ​นาม​มา​รวม​กัน มีไ​ ด้ด​ ังนี้
Noun + Adjective เช่น spoonful (ปริมาณ​เต็ม​ช้อน)
V-ing + Noun เช่น washing machine (เครื่อง​ซักผ​ ้า)
Adjective + V-ing เช่น dry-cleaning [(การ) ซักแห้ง]

T
Adjective + Noun เช่น greenhouse [เรือน​กระจก (สำหรับป​ ลูกต​ ้นไม้)]

S OU
Adverb (Particle) + Verb เช่น output (ผลผลิต)
Verb + Adverb (Particle) เช่น drawback (ข้อเ​สีย)
Verb + Preposition เช่น sit-ins (ผู้​นั่งป​ ระท้วง)
Verb + Preposition เช่น stand-bys (ตัวแทน, ตัวส​ ำรอง)
4) คำ​ประสม​ประเภท​คำ​ซ้อน คือ​คำ​ที่ป​ ระกอบ​ด้วย​หน่วย​คำ​อิสระ​ตั้งแต่ส​ อง​หน่วย​คำ​ขึ้น​ไป โดย​

T
หน่วย​คำ​อิสระ​ที่​จะ​มา​ประกอบ​กัน​นั้น​จะ​ต้อง​มี​ความ​หมาย​เหมือน คล้ายคลึง หรือ​เป็น​ไป​ใน​ทำนอง​เดียวกัน

S OU
หรือต​ รง​กัน​ข้าม​กัน​โดย​สิ้นเ​ชิง เรา​เรียก​คำ​ประสม​ลักษณะ​นี้ว​ ่า คำ​ซ้อน (synonymous compound) ใน​ภาษา​
อังกฤษ​คำ​ซ้อน​แบบ​นี้​จะ​เรียก​ว่า วลี (phrase) และ​มัก​จะ​มี​คำ​ว่า and เป็น​คำ​เชื่อม​ตรง​กลาง เช่น peace and
quiet, yes and no, pros and cons, ups and downs เป็นต้น

T
กิจกรรม​ที่ 2

S
จง​สร้าง​คำ​ประสม​จาก part of speech ที่​กำหนด​ให้
1. noun + noun _____________________________________________________________
2. verb + noun ______________________________________________________________
3. noun + preposition + noun __________________________________________________
4. preposition + verb _________________________________________________________
5. adjective + noun __________________________________________________________
5-20 ​ภาษาศาสตร์เบื้องต้น​

O U
5.5.2 คำ​ประสาน​หรือ​คำ​ผสาน (Complex Word) คือ​คำ​ที่​เกิด​จาก​การนำ​คำตั้ง​แต่ 2 คำ​ขึ้น​ไป​มา​

T
ประกอบ​กัน อาจ​เป็น​หน่วย​คำ​ที่​เกิด​อิสระ​ไม่​ได้​มา​ประกอบ​กัน เช่น cranberry หรือเป็นห​ น่วย​คำ​ที่เ​กิดอ​ ิสระ​
ไม่​ได้​คำ​หนึ่ง​ ประกอบ​กับ​คำ​ที่​เกิด​อิสระ​ได้​อีกค​ ำ​หนึ่ง เช่น incorrect, entertainment, lovely เป็นต้น

S OU
5.5.3 คำ​ซ้ำ (Reduplication) คือ​คำ​ที่​เกิด​จาก​การ​ออก​เสียง​คำ​เดียวกัน​ซ้ำ​สอง​ครั้ง หน่วย​คำ​ที่​เป็น​
องค์ป​ ระกอบ​ของ​คำ​ซ้ำอ​ าจ​จะ​เป็นหน่วย​คำ​อิสระ หรือเ​ป็นห​ น่วย​คำ​ไม่อ​ ิสระ​คือไ​ ม่เ​กิดต​ าม​ลำพัง ใน​ภาษา​อังกฤษ
คำ​ซ้ำ​จะ​พบ​ใน​รูป​แบบ​ต่างๆ ดังนี้
1) การ​ซ้ำค​ ำ​เดิมส​ อง​ครั้ง (Exact Reduplications) คือค​ ำ​ซ้ำท​ ี่ซ​ ้ำห​ น่วย​คำ​ข้าง​หน้าโ​ ดย​ไม่มีก​ าร​
เปลี่ยนแปลง​รูปห​ น่วย​คำ การ​เกิดค​ ำ​ซ้ำป​ ระเภท​นี้ส​ ่วน​หนึ่งเ​กิดจ​ าก​การ​พูดข​ อง​เด็ก (baby talk) เช่น bye-bye,

T
choo-choo, night-night, no-no, pee-pee, poo-poo

S OU
2) การ​เล่น​จังหวะ (Rhyming Reduplications) คือ​การ​สร้าง​คำ​ให้​เกิด​เสียง​คล้องจอง​กัน
เช่น claptrap, hokey-pokey, honey-bunny, razzle-dazzle, slim jim, super-duper, teenie-weenie,
wingding
3) การ​เปลีย่ น​เสียง​สระ (Ablaut Reduplications) คำ​ซำ้ ท​ มี​่ เ​ี สียง​สระ​ไม่เ​หมือน​กบั ค​ ำ​ทตี​่ อ้ งการ​
ซ้ำ เช่น bric-a-brac, chit-chat, criss-cross, ding-dong, jibber-jabber, kitty-cat, knick-knack,

T
pitter-patter, splish-splash, zig-zag, honky-tonk

S OU
กิจกรรม​ที่ 3
จง​ระบุ​ว่า​คำ​ต่อ​ไป​นี้​เป็น​คำ​ประเภท​ใด
1. lunchbox ________________________________________________________________

T
2. entertainment ____________________________________________________________

S OU
3. ding-dong _______________________________________________________________
4. night-night ______________________________________________________________
5. businesswoman __________________________________________________________

S T
5.5.4 คำ​ยมื (Borrowed Words) คือค​ ำ​ที่ย​ ืมม​ า​จาก​ภาษา​อื่น โดย​การนำ​คำ​หรือก​ ารนำ​บาง​ส่วน​ของ​คำ​
ที่ม​ ี​อยู่​ใน​ภาษา​หนึ่งไ​ ป​ใช้​ใน​อีก​ภาษา​หนึ่ง การ​ดัดแปลง​คำ​ที่ม​ ี​อยู่ใ​ น​ภาษา​หนึ่งม​ า​ใช้​ใน​อีกภ​ าษา​หนึ่ง หรือก​ ารนำ​
เฉพาะ​ความ​หมาย​ของ​คำ​ใน​ภาษา​หนึ่งม​ าส​ร้าง​คำ​ใหม่ใ​ น​อีกภ​ าษา​หนึ่ง การ​ยืมค​ ำ​อาจ​เกิดไ​ ด้จ​ าก​หลาย​สาเหตุ เช่น
การ​ย้าย​ถิ่นฐานดินแ​ ดน​ของ​ผู้พ​ ูด การ​มีอ​ าณาเขต​ติดต่อก​ ัน การ​มีค​ วาม​สัมพันธ์ก​ ันข​ อง​ผู้พ​ ูดส​ อง​ภาษา​ขึ้นไ​ ป​ใน​
ด้าน​การเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา และ​สังคม รวม​ถึงค​ วาม​ก้าวหน้าท​ าง​วิชาการ​และ​เทคโนโลยี ทำให้​ต้องหา​คำ​
ใหม่​มาร​อง​รับ​วิทยาการ​ที่​ก้าวหน้า
Morphology 5-21

O U
คำ​ยืม​ใน​ภาษา​อังกฤษ​แบ่งอ​ อก​ได้​ดังนี้
1) คำ​ที่​นำ​มา​จาก​ภาษา​อื่นโดย​ไม่มี​การ​ดัดแปลง​แก้ไข​ตัว​สะกด หรือ​ความ​หมาย​เลย (foreign

T
word) เช่น คำ​ว่า cafè จาก​ภาษา​ฝรั่งเศส

S OU
2) คำ​ที่​นำ​มา​จาก​ภาษา​อื่น​แต่​มี​การ​ดัดแปลง​หรือ​แก้ไข​ตัว​สะกด​ให้​ตรง​กับ​ระบบ​การ​สะกด​คำ​ใน​
ภาษา​ของ​ตน (loan word) เช่น​ คำ​ว่า music จาก musique ใน​ภาษา​ฝรั่งเศส
การ​ติดต่อก​ ัน​ของ​ชน​ต่าง​ชาติ​ต่าง​ภาษา​ใน​ด้าน​ต่างๆ ทั้งก​ าร​ค้า การ​ทูต และ​สงคราม ทำให้เ​กิดก​ าร​ยืม​
คำ​จาก​ภาษา​อื่นๆ เข้า​มา​ใช้​ใน​ภาษา​อังกฤษ​มากมาย​โดย​ชาว​อังกฤษ​มักน​ ำ​คำ​ของ​ภาษา​นั้นๆ มา​ดัดแปลง​ให้​เกิด​
การ​ประสาน​กลมกลืน​กับ​เสียง​ใน​ภาษา​ของ​ตน คำ​จาก​ภาษา​อื่นท​ ี่ภ​ าษา​อังกฤษ​ยืมม​ า​ใช้​มีด​ ังต​ ่อไ​ ป​นี้

T
S OU
ภาษาที่ยืมมา ตัวอย่างคำยืม
ภาษาละติน (Latin) wine, street, cheese, altar, master และบางคำเป็นคำที่ภาษา
ละตินยืมมาจากภาษากรีกในคัมภีร์ไบเบิล เช่น angel, bishop,
devil, monk, church

T
ภาษาเดนนิช (Danish) fellow, husband, skip, skull, skirt, they, them, their

S OU
ภาษาสันสกฤต (Sanskrit) avatar, karma, mahatma, swastika, yoga
ภาษาเยอรมัน (German) halt, swindler, stroll, kindergarten
ภาษาฮินดี (Hindi) bandanna, bangle, bungalow, chintz, cot, cummerbund,
dungaree, juggernaut, jungle, loot, maharaja, nabob,
pajamas, punch (เครื่องดื่ม), shampoo, thug, kedgeree,

T
jamboree

S OU
ภาษาจากกลุ่มดราวิเดียน (Dravidian) curry, mango, teak, pariah
ภาษาเปอร์เซีย (Persian) check, checkmate, chess
ภาษาอาหรับ (Arabic) มักเป็นคำยืมด้านคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อาหาร
และคำที่เกี่ยวกับความฟุ่มเฟือย เช่น bedouin, emir, jakir,

T
gazelle, giraffe, harem, hashish, lute, minaret, mosque,
myrrh, salaam, sirocco, sultan, vizier, bazaar, caravan,

S
alcohol, almanac
ภาษาแอฟริกัน (African) มักเป็นคำที่เกี่ยวกับพันธุ์ไม้และสัตว์ป่า รวมถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น
ของแอฟริกา เช่น banana, banjo, boogie-woogie, chigger,
goober, gorilla, gumbo, jazz, jitterbug, jitters, juke(box),
voodoo, yam, zebra, zombie
ภาษาจีน (Chinese) chop suey, chow mein, dim sum, ketchup, tea, ginseng,
kowtow
5-22 ​ภาษาศาสตร์เบื้องต้น​

O U
ตาราง (ต่อ)

T
ภาษาที่ยืมมา ตัวอย่างคำยืม

S OU
ภาษาญี่ปุ่น (Japanese) geisha, hara kiri, judo, jujitsu, kamikaze, karaoke,
kimono, samurai, soy, sumo, sushi, tsunami
ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลียน boomerang, budgerigar, didgeridoo, kangaroo
(Australian English)
ภาษาฝรั่งเศส (French) คำยืมจากภาษาฝรั่งเศสมีมากกว่าภาษาอื่นๆ เนื่องจากชาวฝรั่งเศส

T
ได้เข้ามาในประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1066 แต่การยืมคำอาจ

S OU
จะยืมการสะกดและความหมายแต่ออกเสียงต่างกัน เช่น คำว่า
restaurant และบางคำมีการนำมาดัดแปลงการสะกด เช่น
คำว่า music จาก musique คำยืมภาษาฝรั่งเศสสามารถจำแนก
ได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
• คำยืมในงานด้านการเมือง การปกครอง และกฎหมาย เช่น

T
government, parliament, treaty, justice, judge, court

S OU
• คำยืมด้านศาสนา เช่น sermon, baptism, religion
• คำยืมด้านอาหาร เช่น bacon, dinner, supper, beef, pork
• คำยืมเกี่ยวกับงานอดิเรก เช่น dance, music, chair
• คำยืมเกี่ยวกับอาชีพ เช่น carpenter, painter, tailor
ภาษาอิตาเลียน (Italian) คำยืมภาษาอิตาเลียน มักเป็นคำยืมประเภทดนตรี ศิลปะ และ

T
สถาปัตยกรรม เนื่องจากชาวอิตาเลียนเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงาน

S OU
ดังกล่าว เช่น piano, crescendo, colonnade, balcony,
adagio เป็นต้น

กิจกรรม​ที่ 4

T
จง​ยก​ตัวอย่าง​คำภาษาอังกฤษที่​เป็น​คำ​ยืม​จาก​ภาษา​ต่างๆ

S
1. คำ​ยืม​จาก​ภาษา​ฝรั่งเศส _____________________________________________________
2. คำ​ยืม​จาก​ภาษา​ญี่ปุ่น _______________________________________________________
3. คำ​ยืม​จาก​ภาษา​ฮิน​ดี _______________________________________________________
4. คำ​ยืม​จาก​ภาษา​อังกฤษ​แบ​บออส​เตร​เลียน_______________________________________
5. คำ​ยืม​จาก​ภาษา​อิตาเลียน ____________________________________________________
Morphology 5-23

O U
แบบ​ประเมินผ​ ล​ตนเอง​หลังเ​รียน

T
S OU
จง​เลือก​คำ​ตอบ​ที่​ถูก​ต้องที่สุด
1. ข้อใดกล่าวถึงวิทยาหน่วยคำ (morphology) ไม่ถูกต้อง
1. เป็นสาขาหนึ่งของภาษาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างภายในของคำ
2. เป็นการศึกษาหน่วยที่เล็กที่สุดของวากยสัมพันธ์

T
3. เป็นการศึกษากฎที่ใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ของคำแต่ละคำกับคำอื่นๆ ในภาษา

S OU
4. เป็นการศึกษาโครงสร้างคำในภาษาต่างๆ
5. เป็นการศึกษาประโยคและความหมายของภาษานั้นๆ
2. ข้อใดต่อไปนี้แยกหน่วยคำของคำว่า “miscommunication” ได้อย่างถูกต้อง
1. mis-com-mu-ni-ca-tion
2. mis-com-mu-nic-ation

T
3. mis-communicate-ation
4. mis-communi-cate-a-tion

S OU
5. mis-communi-cation
3. คำในข้อใดไม่ได้เกิดจากการรวมกันของ root morpheme และ derivational affix
1. liken
2. likes

T
3. liked
4. likewise

S OU
5. ไม่มีข้อใดถูก
4. เหตุใดส่วนเติมหน้า (prefix) ของคำว่า “possible” จึงเป็น /im/
1. เพราะเกิดหน้าเสียงฐาน velar
2. เพราะเกิดหน้าเสียงฐาน dental

T
3. เพราะเกิดหน้าเสียงฐาน lateral
4. เพราะเกิดหน้าเสียงฐาน bilabial

S
5. เพราะเกิดหน้าเสียงฐาน alveolar
5. คำต่อไปนี้มีทั้งหมดกี่หน่วยคำ “inaccessibility”
1. 1
2. 2
3. 3
4. 4
5. 5
5-24 ​ภาษาศาสตร์เบื้องต้น​

O U
6. คำในข้อใดเกิดจากหน่วยคำอิสระ (free morpheme) และหน่วยคำไม่อิสระ (bound morpheme)

T
มารวมกัน
1. policeman

S OU
2. illegal
3. apple
4. landlady
5. watchdog
7. คำในข้อใดเมื่อเติม suffix ที่กำหนดแล้วไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดของคำ

T
1. scientific

S OU
2. beautiful
3. worked
4. happiness
5. careless
8. คำในข้อใดคือคำประสานทั้งหมด

T
1. lunchbox, bedroom, roommate

S OU
2. inexpensive, entertainment, likely
3. cranberry, restaurant, output
4. zebra, tiger, giraffe
5. incorrect, carpenter, sleeping-bag
9. คำว่า jibber-jabber เป็นคำซ้ำประเภทใด

T
1. การซ้ำคำเดิมสองครั้ง

S OU
2. การเล่นจังหวะ
3. การซ้ำคำที่มีความหมายเดียวกัน
4. การเปลี่ยนเสียงสระ
5. การเปลี่ยนพยัญชนะตัวหน้า
10. คำในข้อใดเป็นคำยืมจากภาษาอิตาเลียน

T
1. dim sum, ketchup, tea

S
2. sermon, baptism, religion
3. piano, crescendo, balcony
4. karaoke, kimono, samurai
5. boomerang, didgeridoo, kangaroo
Morphology 5-25

O U
แนว​ตอบ​โมดูล​ที่ 5

T
S OU
แบบ​ประเมิน​ผล​ตนเอง​ก่อน​เรียน
1. 4 2. 3 3. 1 4. 4 5. 3
6. 1 7. 2 8. 1 9. 3 10. 3

T
กิจกรรม​ที่ 1

S OU
1. un-happy-ness
2. tele-vision-s
3. paint-er-s
4. work-ed
5. technic-ally

T
6. un-fortune-ate

S OU
7. please-ant-ri-es
8. mis-identify-ed
9. child-ren-'s
10. pre-view-ing
11. ex-husband-s

T
12. un-mask-s

S OU
13. safe-est
14. inspect-or'-s
15. re-action-ari-es

กิจกรรม​ที่ 2 (ต่อ​ไป​นี้​เป็น​ตัวอย่าง​คำ​ตอบ​ที่​เป็น​ไป​ได้ แต่​นักศึกษา​อาจ​ตอบ​ไม่​ตรง​ตาม​นี้ ขอ​ให้​ตรวจ​สอบ​

T
คำ​ตอบ​จาก​เนื้อหา)

S
1. classroom
2. washing machine
3. son-in-law
4. uphold
5. gentleman
5-26 ​ภาษาศาสตร์เบื้องต้น​

O U
กิจกรรม​ที่ 3

T
1. คำ​ประสม
2. คำ​ประสาน

S OU
3. คำ​ซ้ำ​ประเภท​เปลี่ยน​เสียง​สระ
4. คำ​ซ้ำ​ประเภท​ซ้ำ​คำ​สอง​ครั้ง
5. คำ​ประสม

กิจกรรม​ที่ 4 (ต่อ​ไป​นี้​เป็น​ตัวอย่าง​คำ​ตอบ​ที่​เป็น​ไป​ได้ แต่​นักศึกษา​อาจ​ตอบ​ไม่​ตรง​ตาม​นี้ ขอ​ให้​ตรวจ​สอบ​

T
คำ​ตอบ​จาก​เนื้อหา)

S OU
1. restaurant, music
2. kamikaze, karaoke
3. pajamas, punch
4. boomerang, kangaroo
5. piano, crescendo

T
S OU
แบบ​ประเมิน​ผล​ตนเอง​หลังเ​รียน
1. 5 2. 3 3. 4 4. 4 5. 4
6. 2 7. 3 8. 2 9. 4 10. 3

T
S OU
S T
Morphology 5-27

O U
บรรณานุกรม

T
S OU
จิม​มี่ จี. แฮ​ริส และ​ธีร​ะ​พันธ์ วงศ์​ไทย (2516) แบบ​ฝึกหัด​การ​วิเคราะห์​เสียง​ใน​ภาษา กรุงเทพฯ: โรง​พิมพ์​คุรุ​สภา
ลาดพร้าว
ดิเรก​ชัย มหัท​ธนะ​สิน (2518) หน่วย​คำ​ภาษา​ไทย กรุงเทพฯ: บูรพา​สาสน์
วิไล​วรรณ ขนิษฐา​นันท์ (2527) ภาษา​และ​ภาษาศาสตร์ กรุงเทพฯ: โรง​พิมพ์​มหาวิทยาลัยธ​ รรมศาสตร์
สม​เกียรติ ภู่​พัฒน์​วิบูลย์ (2529) “การ​วิเคราะห์​หน่วย​คำ​กับ​การ​เรียน​ภาษา” ภาษา​และ​วัฒนธรรม 6/2: 61-62

T
สถาบันวิจัย​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​เพื่อพ​ ัฒนา​ชนบท มหาวิทยาลัยม​ หิดล

S OU
สม​ทรง บุรุษ​พัฒน์ (2536) วากยสัมพันธ์ นครปฐม: สถาบันวิจัย​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​เพื่อ​พัฒนา​ชนบท มหาวิทยาลัย​
มหิดล
Eugene, A. Nida. (1974). Morphology. The University of Michigan Press.
Gregory, S. A. (1969). “Morphological Methods: Antecedents and Associates.” Technological
Forecasting, Some Techniques. Birmingham: Symposium at Aston University.

T
Miller-Merbach, H. (1976). “The Use of Morphological Techniques for OR-Approaches to Problems.”

S OU
In: Operations Research 75. Amsterdam, New York: Oxford. North-Holland Publishing
Company, pp. 127-139.
Ritchey, T. (1997). “Scenario Development and Risk Management using Morphological Field 4
Analysis.” Proceedings of the 5th European Conference on Information Systems (Cork: Cork
Publishing Company) Vol. 3: 1053-1059.
Ritchey, T. (1998). “Fritz Zwicky, 'Morphologie' and Policy Analysis”, Paper presented at the 16th

T
Euro Conference on Operational Analysis, Brussels, July.

S OU
Ritchey, T. (1998). “Morphological Analysis - A general method for non-quantified modeling.”
Adapted from a paper presented at the 16th Euro Conference on Operational Analysis,
Brussels, July.
Watts, R. D. (1969). “Some Theoretical Principles in Morphological Analysis.” Technological
Forecasting, Some Techniques. Birmingham: Symposium at Aston University.

T
Zwicky, F. (1948). “The Morphological Method of Analysis and Construction”, Courant. Anniversary

S
Volume. New York: Intersciences Publish, pp. 461-470.
. (1969). Discovery, Invention, Research-Through the Morphological Approach. Toronto: The
Macmillian Company.
5-28 ​ภาษาศาสตร์เบื้องต้น​

T O U
S OU
T
S OU
T
S OU
T
S OU
S T

You might also like