Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 201

สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท.

(ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ชื่อหนังสือ : สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท.


ชื่อเขียน: ชาญวิทย์ ศรีอุดม
จัดพิมพ์โดย : ชาญวิทย์ ศรีอุดม :: ครูแบงค์ติวสอบราชการ

จัดจำหน่ายโดย : เพจ “หนังสือสอบราชการ”


http://www.facebook.com/LocalTestBook
พิมพ์โดย : ร้านนายแบงค์ มีเดีย (Naibank Media)
65 หมู่ 4 ต.หนองบัว อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู 39000
http://www.naibankmedia.com
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 2


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

คำนำ
สรุป เนื้อหาเตรีย มสอบท้องถิ่น อปท. เล่มนี้ เรียบเรียงจาก
ประสบการณ์ตรง ประสบการณ์ในการสอบเข้ารับราชการส่วนท้องถิ่น
เหมาะสำหรั บ เป็ น หนั ง สื อ เตรี ย มสอบเข้ า รั บ ราชการส่ ว นท้ อ งถิ่ น
ทุกระดับ เนื้อหาและแนวข้อสอบจะถูกแบ่งจากกันอย่างชัดเจน เพราะ
จากประสบการณ์ของผู้เขียน พบว่าการอ่านหนังสือสอบ เนื้อหาที่อ่าน
ต้องเรียงลำดับและมีความสอดคล้องเป็ นเรื่อง ๆ เพราะจะทำให้ผู้อ่าน
เกิดความเข้าใจและนำไปใช้ในสนามสอบได้ง่ายขึ้น
สุดท้ายนี้ ขอขอบพระคุณบิดา มารดา ที่คอยห่วงใย ให้กำลังใจ
และครู อาจารย์ทุกท่านที่ให้ คำแนะนา ให้คำปรึกษา ตลอดจนสนาม
สอบทุกสนามที่ผ่านมาทำให้ผู้เขียนกลั่นเนื้อหาจนสำเร็จเป็นหนังสือเล่ม
นี้ อย่างไรก็ตามถ้ามีสิ่งใดผิดพลาด ขาดตกบกพร่อง ข้าพเจ้าขอน้อมรับ
ไว้แต่ผู้เดียวและขอบพระคุณท่านที่ให้การสนับสนุน หนังสือจาก ทีมงาน
“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”

ชาญวิทย์ ศรีอุดม ค.บ.


มีนาคม พ.ศ.2564
www.fb.com/KruCharnwitTutor

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 3


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

...สารบัญ....
สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท.
เล่มนี้มีเนื้อหาอะไรบ้าง
1. กฎหมายท้องถิ่น 11 ฉบับ
2. เคล็ดลับ ภาษาไทย
3. เทคนิค คณิตศาสตร์ เหตุผล
4. ความรอบรู้ ที่ควรเข้าใจ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 4


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

จะล้มซักกี่ครั้ง

ฉันก็จะลุกขึ้นสู้
ด้วยตัวของตัวเอง
..........................................
..........................................

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 5


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 6


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
ตราไว้ ณ วันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐
เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
[เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ เมษายน ๒๕๖๐]
หมวด ๑
บททั่วไป
มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะ
แบ่งแยกมิได้
มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา ๓ อำนาจอธ ิ ป ไตยเป็ น ข องปว งช นช า ว ไ ท ย
พระมหากษั ต ริ ย ์ ผ ู ้ ท รงเป็ น ประมุ ข ทรงใช้ อ ำนาจนั ้ น ทางรั ฐ สภา
คณะรั ฐ มนตรี และศาล ตามบทบั ญ ญั ต ิ แ ห่ ง รั ฐ ธรรมนู ญ รั ฐ สภา
คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่
ให้เป็นไป

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 7


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์


ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม
มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความ
เสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองปวงชนชาวไทยย่อมได้รับ
ความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน
มาตรา ๕ รั ฐ ธรรมนู ญ เป็ น กฎหมายสู ง สุ ด ของประเทศ
บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือ
แย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทำ
การนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยใน
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
หมวด ๒
พระมหากษัตริย์
หมวด ๓
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
หมวด ๔
หน้าที่ของปวงชนชาวไทย
มาตรา ๕๐ บุคคลมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของ
ชาติ และสาธารณสมบัติของแผ่นดินรวมทั้งให้ความร่วมมือในการ
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 8


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

(๓) ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
(๔) เข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษาภาคบังคับ
(๕) รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ
(๖) เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่
กระทำการใดที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเกลียดชังในสังคม
(๗) ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระโดยคำนึงถึง
ประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสำคัญ
(๘) ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทาง
วัฒนธรรม
(๙) เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ
(๑๐) ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุก
รูปแบบ
หมวด ๕
หน้าที่ของรัฐ
มาตรา ๕๗ รัฐต้อง
(๑) อนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ
วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและ
ของชาติ และจัดให้มีพื้นที่สาธารณะสำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องรวมทั้ง
ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น ได้ใช้สิทธิและมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 9


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

หมวด 6
แนวนโยบายแห่งรัฐ
หมวด ๗
รัฐสภา
มาตรา 83 สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร 500 คน แบบแบ่งเขต
350 คน บัญชีรายชื่อ 150 คน วาระการดำรงตำแหน่ง
คราวละ 4 ปี
มาตรา 107 วุฒิสภา (ส.ว.) มีจำนวนสมาชิกวุฒิสภา 200 คน วาระ
การดำรงตำแหน่ง 5 ปี
หมวด 8
คณะรัฐมนตรี
ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี 1 คน รัฐมนตรีอื่นไม่เกิน 35 คน
หมายความว่า คณะรัฐมนตรี ไม่เกิน 36 คน

หมวด ๑๔
การปกครองส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๒๔๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๑ ให้มีการจัดการปกครอง
ส่ ว นท้ อ งถิ ่ น ตามหลั ก แห่ ง การปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ ข อง
ประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามวิธีการและรูปแบบองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นที่กฎหมายบัญญัติ
การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในรูปแบบใดให้คำนึงถึง
เจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นและความสามารถในการปกครอง

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 10


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ตนเองในด้านรายได้ จำนวนและความหนาแน่นของประชากร และ


พื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบ ประกอบกัน
มาตรา ๒๕๐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่และอำนาจ
ดูแลและจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์
ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพั ฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริม
และสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามที่
กฎหมายบัญญัติ
การจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะใดที่สมควร
ให้เป็นหน้าที่และอำนาจโดยเฉพาะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่
ละรูปแบบ หรือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ นเป็นหน่วยงานหลักในการ
ดำเนิน การใด ให้เป็น ไปตามที่กฎหมายบัญญัติซึ่งต้องสอดคล้องกับ
รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามวรรคสี่ และกฎหมายดังกล่าว
อย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับกลไกและขั้นตอนในการกระจาย
หน้าที่และอำนาจ ตลอดจนงบประมาณและบุคลากรที่เกี่ยวกับหน้ าที่
และอำนาจดังกล่าวของส่วนราชการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้วย
ในการจัดทำบริการสาธารณะหรือกิจกรรมสาธารณะใดที่เป็น
หน้าที่และอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ้าการร่วมดำเนินการ
กั บ เอกชนหรื อ หน่ ว ยงานของรั ฐ หรื อ การมอบหมายให้ เ อกชนหรื อ
หน่วยงานของรัฐดำเนินการ จะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่น
มากกว่าการที่องค์กรปกครองส่ว นท้องถิ่นจะดำเนินการเอง องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นจะร่วมหรือมอบหมายให้เอกชนหรือหน่วยงานของ
รัฐดำเนินการนั้นก็ได้

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 11


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

รัฐต้องดำเนินการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ของ
ตนเองโดยจัดระบบภาษีหรือการจัดสรรภาษีที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริม
และพัฒนาการหารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ เพื่อให้
สามารถดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้อย่างเพียงพอ ในระหว่างที่ยังไม่อาจ
ดำเนินการได้ ให้รัฐจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นไปพลางก่อน
กฎหมายตามวรรคหนึ่ง และกฎหมายที่ เกี่ยวกับ การบริ ห าร
ราชการส่วนท้องถิ่น ต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระในการ
บริหาร การจัดทำบริการสาธารณะ การส่งเสริมและสนับสนุนการจัด
การศึกษาการเงินและการคลัง และการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น ซึ่งต้องทำเพีย งเท่า ที่จ ำเป็น เพื่อ การคุ้ มครองประโยชน์ ข อง
ประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม การป้องกัน
การทุจริตและการใช้จ่ายเงินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงความ
เหมาะสมและความแตกต่ างขององค์ กรปกครองส่ว นท้ องถิ่ นแต่ ล ะ
รู ป แบบ และต้ อ งมี บ ทบั ญ ญั ต ิ เ กี ่ ย วกั บ การป้ อ งกั น การขั ด กั น แห่ ง
ผลประโยชน์ และการป้ อ งกั น การก้ า วก่ า ยการปฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ ข อง
ข้าราชการส่วนท้องถิ่นด้วย
มาตรา ๒๕๑ การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่ว น
ท้องถิ่นให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติซึ่งต้องใช้ระบบคุณธรรมและต้อง
คำนึงถึงความเหมาะสมและความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่นและองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ การจัดให้มีมาตรฐานที่สอดคล้องกัน
เพื่อให้สามารถพัฒนาร่วมกันหรือการสับเปลี่ยนบุคลากรระหว่างองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันได้

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 12


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

มาตรา ๒๕๒ สมาชิกสภาท้องถิ่น ต้องมาจากการเลื อ กตั้ ง


ผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งหรือมาจากความเห็นชอบของสภา
ท้องถิ่น หรือในกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ จะให้มา
โดยวิธีอื่นก็ได้ แต่ต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย ทั้งนี้
ตามที่กฎหมายบัญญัติ
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และ
หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้อ งถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
ให้เป็น ไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ในการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามแนวทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ด้วย
มาตรา ๒๕๓ ในการดำเนินงาน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สภาท้องถิ่น และผู้บ ริห ารท้องถิ่นเปิดเผยข้อมูลและรายงานผลการ
ดำเนิน งานให้ ป ระชาชนทราบ รวมตลอดทั้ งมี กลไกให้ป ระชาชนใน
ท้องถิ่นมีส่วนร่วมด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๒๕๔ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นมีสิทธิเข้าชื่อกันเพื่อเสนอข้อบัญญัติหรือเพื่อถอดถอนสมาชิกสภา
ท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่
กฎหมายบัญญัติ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 13


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ.๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 14


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ.๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๔
มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา
นุเบกษาเป็นต้นไป
ละมีการแก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน ฉบับที่ ๘ พ.ศ.๒๕๕๓
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๓
มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
นายอานันท์ ปันยารชุน (รับสนองพระบรมราชโองการฉบับแรก)
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (รับสนองพระบรมราชโองการฉบับที่ ๘)
มาตรา ๓/๑ การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมี
ประสิทธิภ าพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิ จ แห่ งรัฐ การลดขั้นตอนการ
ปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจาย
ภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การ
อำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน
ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 15


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

มาตรา ๔ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น

(๑) ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
- สำนักนายกรัฐมนตรี (มีฐานะเป็นกระทรวง)
- กระทรวง หรือ ทบวงที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง
- ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือกระทรวง
- กรม หรื อ ส่ ว นราชการอื ่ น ที ่ ม ี ฐ านะเป็ น กรม** ทุ ก ข้ อ เป็ น นิ ต ิ บ ุ คคล
ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีทั้งหมด ๒๐ กระทรวงการจัดตั้ง
การรวม โอนกระทรวง ทบวง กรม ให้ ตราเป็นพระราชบัญญัติ
การเปลี่ยนชื่อ ยุบ กระทรวง ทบวง กรม ให้ ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
(๒) ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
จังหวัด
ให้รวมท้องที่หลายๆ อำเภอ ตั้งขึ้นเป็นจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล การ
ตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
คณะกรรมการจังหวัด ประกอบด้วย
- ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน (1คน)
- รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคน ตามทีผ่ ู้ว่าราชการจังหวัด
มอบหมาย (1คน)

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 16


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

- ปลัดจังหวัด (1คน)
- อัยการจังหวัด ซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด (1คน)
- ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด (1คน)
- หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด จากกระทรวงและทบวงต่างๆ
เว้นแต่ กระทรวงมหาดไทย ซึ่งอยู่ประจำจังหวัด กระทรวงหรือทบวงละ
หนึ่งคน (19 คน)
- หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรรมการจังหวัดและเลขานุการ
(1คน) รวม 25 คน
คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด แต่ละจังหวัด ยกเว้น
กรุงเทพมหานคร มีคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด
“ก.ธ.จ.”
ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีเขตอำนาจในจังหวัด เป็น
ประธาน ผู้แทนภาคประชาสังคม ผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ไม่ได้ดำรง
ตำแหน่งผู้บริหาร ผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน
อำเภอ
ในจังหวัดหนึ่งให้มีหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัดเรียกว่า อำเภอ
การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนเขตอำเภอ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
(๓) ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
- องค์การบริหารส่วนจังหวัด
- เทศบาล
- สุขาภิบาล
- ส่วนราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
เช่น กทม. พัทยา อบต.

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 17


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

เกร็ดความรู้....รู้ไว้ใช่ว่า

ข้อมูลทางสถิติของการปกครองจากกรมการปกครอง ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 18


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

คณะกรรมการพั ฒ นาระบบราชการ เรี ย กโดยย่ อ ว่ า “ก.พ.ร.”


ประกอบด้วย
๑.นายกรัฐมนตรี หรือ รองนายกรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
เป็นประธาน
๒. รัฐมนตรีหนึ่งคนที่นายกรัฐมนตรีกำหนดเป็นรองประธาน
๓. ผู้ซึ่งคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มอบหมายหนึ่งคน
๔. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน ๑๐ คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มี
ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในทางด้านนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์
การบริหารรัฐกิจ การบริหารธุรกิจ การเงินการคลัง จิตวิทยาองค์การ
และสังคมวิทยาอย่างน้อยด้านละหนึ่งคน
**ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผล
คณะรัฐมนตรีจะกำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่าสามคนแต่
ไม่เกินห้าคนต้องทำงานเต็มเวลาก็ได้
๕.เลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 19


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.
๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
สรุปองค์คณะกรรมการได้ ๓ องค์คณะ
ประกอบด้วย
๑. คณะกรมการจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาผู้ว่า
ราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น กับ
การปฏิบัติห น้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามมติ ข อง
คณะรัฐมนตรีกำหนด
๒. คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด (ก.ธ.จ.)
ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีเขตอำนาจในจังหวัด
เป็นประธาน ทำหน้าที่สอดส่องและเสนอแนะการปฏิบัติภารกิจ
ของหน่ ว ยงานของรั ฐ ในจั ง หวั ด ให้ ใ ช้ ว ิ ธ ี ก ารบริ ห ารกิ จ การ
บ้านเมืองที่ดีและเป็นไปตามหลักการที่กำหนด
๓. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
นายกรัฐ มนตรี ห รือรองนายกรัฐ มนตรี เป็นประธาน หน้าที่
เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนา
ระบบราชการและงานของรัฐที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 20


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540


และที่แก้ไขเพิ่มเติม

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 21


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540


และที่แก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 31 ตุลาคม 2540
พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) พ.ศ. 2540
- ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 31 ตุลาคม พ.ศ.2540
- บังคับใช้เมื่อ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2540
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
- ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ คือ รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย และมีอำนาจออกกฎกระทรวง ประกาศ และ
ระเบียบ
บททั่วไป
องค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย
สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
1. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วยสมาชิกสภา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งมาจากการเลือกตั้งอายุของสภากำหนด
คราวละ 4 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง และสมาชิกภาพของสมาชิกเริ่มตั้งแต่
วันเลือกตั้ง และสมาชิกภาพสิ้นสุดลงเมื่อ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 22


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

- ถึงคราวออกตามวาระ หรือมีการยุบสภา
- ตาย
- ลาออก โดยยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
- ขาดการประชุมสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร
- สภาองค์การบริการส่วนจังหวัด มีมติให้พ้นจากตำแหน่ง
จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกเพื่อเข้าเสนอชื่อและมติ
ดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
- ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียง
• ให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เลือกสมาชิกสภาเป็น
ประธาน 1 คน และรองประธาน 2 คน ประธานและรองประธานพ้นจาก
ตำแหน่งเมื่อ
• ลาออก โดยยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
• สภาองค์การบริการส่วนจังหวัด มีมติให้พ้นจากตำแหน่ง
จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกเพื่อเข้าเสนอชื่อและมติ
ดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
เมื่อตำแหน่งประธานสภาและรองประธานสภาว่างลงเพราะเหตุ
อื่นใด นอกจากถึงคราวออกตามอายุหรือมีการยุบสภา ให้มีการเลือกตั้ง
ใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 23


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

เกณฑ์การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
- จังหวัดใดมีราษฎรไม่เกิน 500,000 คน ให้มีสมาชิกสภา อบจ. ได้
24 คน
- จังหวัดใดมีราษฎรเกิน 500,000คน แต่ไม่เกิน 1,000,000 คน ให้มี
สมาชิกสภา อบจ. ได้ 30 คน
- จังหวัดใดมีราษฎรเกิน 1,000,000 คนแต่ไม่เกิน 1,500,000คน ให้มี
สมาชิกสภา อบจ. ได้ 36 คน
- จังหวัดใดมีราษฎรเกิน 1,500,000 คนแต่ไม่เกิน 2,000,000คน
ให้มีสมาชิกสภา อบจ. ได้ 42 คน
- จังหวัดใดมีราษฎรเกิน 2,000,000 คนขึ้นไป ให้มีสมาชิกสภา อบจ. ได้
48 คน

เทคนิคการจา....ราษฎรในจังหวัดต่างกัน 500,000 คน
สมาชิกสภา อบจ. เพิ่มขึ้ น 6 คน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 24


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

การประชุมสมัยสามัญ
- ใน 1 ปี ให้มีสมัยประชุมสามัญ 2 สมัย
- ผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องกำหนดให้สมาชิกสภา อบจ. มาประชุมครั้ง
แรก ภายใน 15 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
- วันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปี ให้สภา อบจ. กำหนดภายใน 45
วัน แต่ถ้ามีกรณีจำเป็นให้ประธานสภาสั่งขยายออกไปอีกครั้งละไม่เกิน
15 วัน
- การปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลา 45 วัน ไม่ได้
- ถ้าสภา อบจ. ไม่อาจจัดให้มีการประชุมครั้งแรกได้ตามกำหนด หรือมี
การประชุมแต่ไม่สามารถเลือกประธานสภาได้ ผู้ว่าราชการจังหวัด อาจ
เสนอให้รัฐมนตรีให้มีคำสั่งยุบสภา อบจ. ได้
- ประธานสภาเป็นผู้เรียกประชุมตามสมัยประชุมและเป็น ผู้เปิดและ
ปิดการประชุม แต่ถ้าประธานสภาไม่เรียกประชุมให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
เป็นผู้เรียกประชุมและเป็น ผู้เปิดและปิดการประชุม
- การประชุมสภาย่อมเป็นการเปิดเผย แต่การประชุมลับย่อมมีได้เมื่อ
นายก อบจ. หรือสมาชิกสภาอบจ. ร้องขอ โดยมีจำนวนรวมกันไม่น้อย
กว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิก

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 25


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

การประชุมสมัยวิสามัญ
- การประชุมสภาสมัยวิสามัญให้มีกำหนด 7 วัน
- ถ้าขยายเวลาออกไปต้องได้รบั ความเห็นชอบจากสภา อบจ. ด้วยคะแนน
เสียงไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิก และให้ขยายออกไปได้ไม่เกิน 7
วัน
- ในการประชุมทุกครั้งต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกจึง
จะเป็นองค์ประชุม
การลงมติข้อวินิจฉัย
- ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์
- สมาชิกสภา อบจ. คนหนึง่ ให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
- ถ้ามีคะแนนเท่ากันให้ ประธานในทีป่ ระชุม มีสิทธิออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่ง
เสียง ถ้ากรณีจำเป็น
- ประธานสภา อบจ. อาจเรียกประชุมสมัยวิสามัญได้
- นายก อบจ. หรือสมาชิกสภา อบจ. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวน
สมาชิกเท่าที่มีอยู่เพื่อยื่นต่อประธานสภา อบจ. ขอให้เปิดการชุมวิสามัญได้
- ถ้านายก อบจ. หรือสมาชิกสภา อบจ. ทำคำร้องให้เปิดประชุมสมัยวิสามัญ
ให้ประธานสภา อบจ. เรียกประชุมสภาสมัยวิสามัญ ภายใน 15 วันนับแต่
วันที่ได้รบั คำร้อง

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 26


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(มาจากการเลือกตั้งของประชาชน)
- มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรง
ตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้
แก้ไขใหม่ พ.ศ.2562 บังคับใช้ 17 เมษายน 2562
“มาตรา ๓๕/๒ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีวาระอยู่ในตำแหน่ง
คราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสอง
วาระไม่ได้ ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดดำรงตำแหน่ง
ไม่ครบระยะเวลาสี่ปีก็ให้ถือว่าเป็นหนึ่งวาระ และเมื่อได้ดำรงตำแหน่ง
สองวาระติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลาสี่ปีนับแต่
วันพ้นจากตำแหน่ง”

- นายก อบจ. อาจแต่งตั้งรองนายกซึ่งมิใช่สมาชิกสภาอบจ. ได้


- นายก อบจ. อาจแต่งตั้งเลขานุการและที่ปรึกษาซึ่งมิใช่สมาชิกสภา
อบจ. จำนวนรวมกันไม่เกิน 5 คน
- ภายใน 30 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง ก่อนนายก อบจ.เข้า
รับ หน้าที่ ให้ป ระธานสภา อบจ.เรียกประชุมสภาเพื่อให้นายกแถลง
นโยบายต่อสภา อบจ.โดยไม่มีการลงมติ
- ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาและรอง หรือสภา อบจ.ถูกยุบ ให้
นายก อบจ.ดำเนินการไปพลางก่อนเมื่อได้มีการเลือกตั้งประธานสภา
อบจ.แล้ว ให้ประธานสภาเรียกประชุมสมาชิกเพื่อให้นายก อบจ. แถลง

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 27


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

นโยบายโดยไม่มีการลงมติภายใน 15 วัน
- หากนายก อบจ. ไม่สามารถแถลงนโยบายต่อสภาได้ ให้ผู้ว่าราชการ
จังหวัดแจ้งให้นายก อบจ.จัดทำนโยบายแจ้งเป็นหนังสือส่งให้ส มาชิก
สภา อบจ. ทุกคนภายใน 7 วัน
- ให้นายก อบจ. ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบจ.
และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด
และให้ปลัด อบจ. คนหนึ่ง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้าง
องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด รองจากนายก อบจ. และมี ส ิ ท ธิ แ ถลง
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานแต่ไม่มีสิทธิลงคะแนน
คุณสมบัตินายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง (แก้ไขใหม่)

- (๒) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็น


สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้บริหาร
ท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา” (แก้ไขใหม่)

- ไม่เป็นผู้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีส่วนได้ส่วนเสียมาแล้วยังไม่ถึง 5
ปีนับแต่วันสมัครรับเลือกตั้ง

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 28


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

เกณฑ์ดังนี้
จังหวัดใดมีสมาชิกสภา อบจ. 48 คน
ให้แต่งตั้งรองนายกได้ไม่เกิน 4 คน
จังหวัดใดมีสมาชิกสภา อบจ. 36 หรือ 42 คน
ให้แต่งตั้งรองนายกได้ไม่เกิน 3 คน
จังหวัดใดมีสมาชิกสภาอบจ. 24 หรือ 30 คน
ให้แต่งตั้งรองนายกได้ไม่เกิน 2 คน
และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจแต่งตั้งเลขานุการและที่ปรึกษา
ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนรวมกัน
ไม่เกิน 5 คน
อำนาจหน้าที่
- กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหาร
ราชการ อบจ. ให้เป็นไปตามระเบียบ
- สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการ อบจ.
- แต่งตั้งและถอดถอนรองนายก อบจ. เลขานุการ และที่ปรึกษา
การพ้นจากตำแหน่ง
(๑) ถึงคราวออกตามอายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๒) มีการยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๓) สมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิ้นสุดลง
พร้อมกันทั้งหมดตาม มาตรา ๑๑(๗)
(๔) พ้นจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 29


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

(๕) สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่รับหลักการแห่งร่าง
ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณ
รายจ่ายเพิ่มเติมตามมาตรา ๕๕ วรรคสอง
(๖) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(๗) รัฐมนตรีสั่งให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อมีพฤติการณ์ตามมาตรา
๗๙
(๘) ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้
ลงคะแนนเสียงให้พ้นจาก ตำแหน่งตามกฎหมายเกี่ยวกับการลงคะแนน
เสียงให้สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจาก ตำแหน่ง
ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ้นจากตำแหน่งตาม
(๑) (๔) (๕) หรือ (๖) นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งพ้นจาก
ตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่ง เพื่อดำเนินกิจการต่อไปจนกว่านายก
องค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งได้รับเลือกขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่
เมื่อนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ้นจากตำแหน่งตาม (๔)
(๕)(๖) (๗) หรือ (๘) ให้สภา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกนายก
องค์การบริหารส่วนจังหวัดขึ้นใหม่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ นายก
องค์การบริหารส่วนจังหวัดพ้นจากตำแหน่ง และถ้าพ้นกำหนดเวลาสิบ
ห้าวันแล้วไม่อาจเลือก นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ ให้ผู้ว่า
ราชการจังหวัดเสนอรัฐมนตรีเพื่อให้มีคำสั่งยุบสภาองค์การ บริหารส่วน
จังหวัด

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 30


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

เมื่อรัฐมนตรีได้มีคำสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาม
วรรคสามหรือนายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดพ้นจากตำแหน่งตาม (๒)
หรือ (๓) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการหรือ พนักงานของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนั้นเป็นนายกองค์การบริหารส่วน
จังหวัดเพื่อดำเนิน กิจการชั่วคราวจนกว่านายกองค์การบริหารส่วน
จังหวัดซึ่งได้รับเลือกขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่
(แก้ไขใหม่)
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของมาตรา ๓๖ แห่ง
พระราชบัญญัตอิ งค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐
“ในระหว่างที่ไม่มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ปลัดองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติหน้าที่ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
เท่าที่จำเป็นได้เป็นการชั่วคราวจนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้งนายก
องค์การบริหารส่วนจังหวัด”

รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
- นายก อบจ. พ้นจากตำแหน่ง
- นายก อบจ. มีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
- ตาย
- ลาออกโดยยื่นหนังสือต่อนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
- รัฐมนตรีสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
- ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาให้ถึงที่สุด

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 31


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๓๕/๓ แห่งพระราชบัญญัติ


องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ
ต้องห้ามตามมาตรา ๓๕/๑ เว้นแต่การนับอายุและการนับระยะเวลา
ของคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นให้นับถึงวันแต่งตั้ง”
เลขานุการและที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
- นายก อบจ. พ้นจากตำแหน่ง
- นายก อบจ. มีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
- ตาย
- ลาออกโดยยื่นหนังสือต่อนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
- รัฐมนตรีสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
- ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาให้ถึงที่สุด
ให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองนายก อบจ. ปลัด
อบจ. และรองปลัด อบจ. และข้าราชการส่วนจังหวัดซึ่งนายก อบจ.
แต่งตั้ง มีอำนาจเปรีย บเทียบคดีละเมิดข้อบัญญัติได้ เมื่อมีผู้กระทำ
ความผิดได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายใน 30 วัน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 32


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

อำนาจหน้าที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด
อำนาจหน้าที่ที่ดำเนินกิจการภายในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๑) ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย
(๒) จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสาน
การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
(๓) สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการ
พัฒนาท้องถิ่น
(๔) ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภา
ตำบลและราชการส่วนท้องถิ่น อื่น
(๕) แบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบล
และราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
(๖) อำนาจหน้าที่ของจังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบ
บริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๔๙๘ เฉพาะภายในเขตสภาตำบล
(๗) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม
(๗ ทวิ) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(๘) จัดทำกิจการใด ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วน
ท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตองค์การ บริหารส่วนจังหวัด และกิจการนั้นเป็น
การสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือให้ องค์การ
บริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๙) จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือ
กฎหมายอื่นกำหนดให้เป็น อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 33


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการส่วนกลาง หรือ
ราชการส่วนภูมิภาค อาจมอบให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติได้
ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๔๘ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจให้บริการแก่เอกชน
ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
โดยเรียกค่าบริการได้ โดยตราเป็นข้อบัญญัติ
มาตรา ๔๙ องค์การบริห ารส่ว นจัง หวัด อาจมอบให้ เ อกชน
กระทำกิจการซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและ
เรีย กเก็บ ค่าธรรมเนีย ม ค่าบริการหรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องแทน
องค์การบริห ารส่ว นจังหวัดได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภา
องค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดเสียก่อน
มาตรา ๕๑ ข้อบัญญัติจะตราขึ้นได้ในกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ขององค์การบริหารส่วน
จังหวัดที่กำหนดไว้ในพระ ราชบัญญัตินี้
(๒) เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรา
ข้อบัญญัติหรือให้มีอำนาจตราข้อ บัญญัติ
(๓) การดำเนินการพาณิชย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตาม
มาตรา ๕๐
ในข้อบัญญัติจะกำหนดโทษผู้ละเมิดข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่
ห้ามมิให้กำหนดโทษจำคุกเกิน หกเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท
เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๕๒ ร่างข้อบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดยนายกองค์การ
บริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือราษฎรผู้

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 34


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามกฎหมายเกี่ยวกับ
การเข้าชื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น
การเสนอร่างข้อบัญญัติเกี่ยวกับการเงินจะต้องมีคำรับรองของ
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(มาตรา ๕๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒)
มาตรา ๕๓ ข้อบัญญัติจะใช้บังคับได้เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัด
อนุมัติและประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการขององค์การบริหารส่วน
จังหวัดแล้วสิบห้าวันเว้นแต่ในกรณีฉุกเฉินถ้ามีความระบุไว้ในข้อบัญญัติ
นั้นว่าให้ใช้บังคับได้ทันที ให้ใช้บังคับข้อบัญญัติในวันที่ประกาศ
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับร่างข้อบัญญัติแล้วต้องอนุมัติและ
ประกาศภายในสิบห้าวัน ถ้าผู้ ว่าราชการจังหวัดไม่อนุมัติและประกาศ
ร่างข้อบัญญัติภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าผู้ว่าราชการ จังหวัดไม่
เห็นด้วยกับร่างข้อบัญญัติ ผู้ ว่าราชการจังหวัดจะอนุมัติร่างข้อบัญญัติใด
มิได้ถ้าเห็นว่าร่างข้อบัญญัตินั้นเป็นร่างข้อ บัญญัติที่ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือ
เป็นร่างข้อบัญญัติที่ออกนอกเหนืออำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วน
จังหวัด ในกรณีเช่นนั้นให้ร่างข้อบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
มาตรา ๕๔ เมื่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้พิจารณาและ
เห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัติใ ด ให้ ประธานสภาองค์การบริหารส่วน
จังหวัดส่งร่างข้อบัญญัตินั้นไปยังนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อลง
นามแล้วส่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อพิจารณาภายในเจ็ดวันนับแต่
วันที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ความเห็นชอบ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 35


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่ว นจังหวัดไม่เห็นด้วยกับร่าง
ข้อบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว
ให้ส่งร่างข้อบัญญัตินั้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดภายในกำหนด เวลาตาม
วรรคหนึ่งเพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัย ชี้ขาด ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัด
เห็นด้วยกับสภาองค์ การบริ หารส่วนจังหวัดให้ส่งร่างข้อบัญญัตินั้นให้
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และให้นายกองค์ การบริหารส่ว น
จังหวัดลงนามภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคืนมาถ้านายกองค์ การ
บริหารส่วนจังหวัด ไม่ลงนามภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ผู้ว่าราชการ
จังหวัดลงนามและประกาศใช้บังคับต่อไป
ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นด้วยกับสภาองค์การบริหารส่วน
จังหวัดให้ส่งร่างข้อบัญญัติคืน ไปยังสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ
ให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจารณาใหม่ภายใน สามสิบวันนับแต่
วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัติคืน มาถ้าสภาองค์การบริห ารส่ว นจั งหวั ดยัง
ยืนยันให้ความ เห็นชอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของ
จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เท่าที่มีอยู่ ให้ดำเนินการ
ประกาศร่างข้อบัญญัตินั้นใช้บังคับต่อไป
มาตรา ๕๕ เมื่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้พิจารณาและ
ไม่เห็น ชอบด้ว ยกับ หลัก การของร่า งข้ อบัญ ญัติ งบประมาณรายจ่ า ย
ประจำปีห รือ ร่า งข้ อ บัญ ญั ติ งบประมาณรายจ่า ยเพิ ่ม เติม ให้ส ่งร่ า ง
ข้อบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณ
รายจ่ายเพิ่มเติมนั้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่
สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่ให้ความเห็นชอบ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 36


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นด้วยกับสภาองค์การบริหาร
ส่ว นจังหวัดให้ร ่างข้อบัญญัติงบ ประมาณรายจ่ายประจำปีห รือร่าง
ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมนั้นเป็นอันตกไป และให้นายก
องค์การบริห ารส่วนจังหวัดพ้น จากตำแหน่งนับแต่วันที่ผ ู้ว่าราชการ
จังหวัดมีหนังสือแจ้งความเห็นของผู้ ว่าราชการจังหวัดไปยังประธานสภา
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นด้วยกับสภาองค์การบริหารส่วน
จั ง หวั ด ให้ ส ่ ง ร่ า งข้ อ บั ญ ญั ต ิ ง บ ประมาณรายจ่ า ยประจำปี ห รื อ ร่ า ง
ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมคืนไปยังสภาองค์การบริหาร ส่วน
จังหวัดและให้ส ภาองค์ก ารบริห ารส่ว นจังหวัด พิจารณาใหม่ภ ายใน
สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่าง ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
หรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมคืนมา ถ้าสภาองค์ การ
บริหารส่วนจังหวัดยังยืนยันไม่เห็นด้วยด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่ง
หนึ่งของจำนวนสมาชิกสภา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเท่าที่มีอยู่ ให้ร่าง
ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติ งบประมาณ
รายจ่ายเพิ่มเติมเป็นอันตกไป
การงบประมาณและการคลัง
มาตรา ๕๘ งบประมาณรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
ให้ทำเป็นข้อบัญญัติ ถ้าข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
งบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณ
รายจ่ายในปีงบประมาณที่แล้วนั้นไปพลางก่อน
มาตรา ๕๙ ถ้าในปีใดจำนวนเงินที่ได้อนุมัติไว้ตามข้อบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณไม่พอสำหรับการใช้จ่าย

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 37


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ประจำปีหรือมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายขึ้นใหม่ใน
ระหว่างปี ให้ทำเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
มาตรา ๖๐ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย
อากรการฆ่าสัตว์และผลประโยชน์อื่นอันเกิดจากการฆ่าสัตว์ในพื้นที่เขต
จังหวัดที่อยู่นอกเขตราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ให้องค์การบริหารส่วน
จังหวัดจัดเก็บเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามกฎหมายว่า
ด้วยการนั้น และให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดสรรให้สภาตำบลตาม
ระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
มาตรา ๖๑ ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อนที่จัดเก็บ
ได้ในจังหวัดใด ให้จัดสรรให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดตามบทบัญญัติ
แห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๖๒ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร
จัดเก็บได้ในจังหวัดใด ให้ส่งมอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยละห้า
ของภาษีที่จัดเก็บได้
มาตรา ๖๓ ค่าภาคหลวงแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ และ
ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม ที่ได้มีการจัดเก็บ
ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดใดให้
จัดสรรให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
กำหนดในกฎกระทรวง

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 38


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

มาตรา ๖๔ องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจออกข้อบัญญัติ
เก็บภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากสถานค้าปลีกในเขตจังหวัด
ดังต่อไปนี้
(๑) น้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน น้ำมันดีเซลและน้ำมันที่
คล้ายกันและก๊าซปิโตรเลียม ไม่เกินลิตรละสิบสตางค์
(๒) ยาสูบ ไม่เกินมวนละสิบสตางค์
ราคาจำหน่ายปลีกที่เพิ่มขึ้นตามวรรคหนึ่งไม่ถือว่าเป็นการ
ต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการ กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการ
ผูกขาด
มาตรา ๖๕ องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจออกข้อบัญญัติ
เรียกเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้พักใน
โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราที่
กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๖๖ องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจออกข้อบัญญัติ
เพื่อเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละสิบของภาษี
อากรและค่าธรรมเนียมประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทุกประเภทสำหรับ
ในพื้นที่เขตจังหวัดที่อยู่นอกเขตราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ดังต่อไปนี้
(๑) ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร
(๒) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
(๓) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนันตามกฎหมาย
ว่าด้วยการพนัน
ในการเสียภาษีอากรตามมาตรานี้ เศษของหนึ่งบาทให้ปัดทิ้ง
ภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้ ให้ถือเป็นภาษีอากร
และค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 39


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

มาตรา ๗๒ ทุกปีงบประมาณ ให้รัฐบาลจัดสรรเงินให้แก่องค์การ


บริหารส่วนจังหวัดเป็นเงินอุดหนุน
มาตรา ๗๓ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้
(๑) ภาษีอากรตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
(๒) ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ ตามที่มีกฎหมาย
บัญญัติไว้
(๓) รายได้จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๔) รายได้จากสาธารณูปโภคขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๕) รายได้จากการพาณิชย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๖) พันธบัตรหรือเงินกู้ตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
(๗) เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่าง
ๆซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก รัฐมนตรี
(๘) เงินอุดหนุนหรือรายได้อื่นตามที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของ
รัฐจัดสรรให้
(๙) เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้
(๑๐) รายได้อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นขององค์การ
บริหารส่วนจังหวัด
มาตรา ๗๔ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจมีรายจ่าย ดังต่อไปนี้
(๑) เงินเดือน
(๒) ค่าจ้าง
(๓) เงินตอบแทนอื่น ๆ
(๔) ค่าใช้สอย
(๕) ค่าวัสดุ
(๖) ค่าครุภัณฑ์

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 40


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

(๗) ค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และทรัพย์สินอื่น ๆ


(๘) เงินอุดหนุน
(๙) รายจ่ายอื่นใดตามที่มีข้อผูกพันหรือตามที่มีกฎหมายหรือ
ระเบียบของกระทรวงมหาดไทย กำหนดไว้
มาตรา ๗๕ เงินเดือนและค่าตอบแทนสมาชิกสภาองค์การ
บริหารส่วนจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองนายกองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดและกรรมการสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้
เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

การกำกับดูแล
มาตรา ๗๗ แก้ไข
“เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ผู้ว่าราชการ
จังหวัดเห็นว่าการปฏิบัติการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นไป
ในทางที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ
เสียหายแก่ราชการ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ในการชี้แจง
แนะนำ หรือตักเตือนผู้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ในการ
ดำเนินการดังกล่าว หรือในกรณีเห็นสมควรจะสั่งเพิกถอนการกระทำ
หรือให้ระงับการปฏิบัติของผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไว้ก็ได้ และใน
กรณีที่สั่งเพิกถอนหรือระงับ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับคำสั่งมีสิทธิ
อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งของผู้ว่า
ราชการจังหวัด และเมื่อรัฐมนตรีวินิจฉัยเป็นประการใดให้ผู้ว่าราชการ
จังหวัดและผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามคำวินิจฉัยนั้น คำวินิจฉัยของ
รัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 41


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496


และที่แก้ไขเพิ่มเติม

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 42


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496


และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2496
- บังคับใช้เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2496
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(นายกรัฐมนตรี)
- ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ คือ รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย
การจัดตั้งเทศบาล
มาตรา 7 เมื่อท้องถิ่นใดมีสภาพอันสมควรยกฐานะเป็น
เทศบาลให้จัดตั้งท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง หรือ
เทศบาลนคร ให้เทศบาลเป็นทบวงการเมือง
มาตรา 8 เมื่อมีการจัดตั้งเทศบาล ให้เลือกตั้งสมาชิกสภา
เทศบาลและนายกเทศมนตรีขึ้นภายใน 45 วัน
มาตรา 9 เทศบาลตำบล ได้แก่ท้องถิ่นซึ่งมีประกาศ
กระทรวงมหาดไทย ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบล ประกาศ
กระทรวงมหาดไทย นั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย
มาตรา 10 เทศบาลเมือง ได้แก่ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลา
กลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่หนึ่งหมื่นคนขึ้นไป ทั้ง
มีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้
และซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย นั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 43


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

มาตรา 11 เทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎร


ตั้งแต่หา้ หมื่นคนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อัน
ต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ยก
ฐานะเป็นเทศบาลนคร ประกาศกระทรวงมหาดไทย นั้นให้ระบุชื่อและ
เขตของเทศบาลไว้ด้วย"
มาตรา 12 การเปลี่ยนชื่อเทศบาล หรือการเปลี่ยนแปลงเขต
เทศบาล ให้กระทำโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย
ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนัน ใน
ท้องถิ่นที่ได้เปลี่ยนแปลงเขตเป็นเทศบาลตามความในวรรคก่อน หมด
อำนาจหน้าที่เฉพาะในเขตที่ได้เปลี่ยนแปลงนั้น นับแต่วันที่ประกาศ
กระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลใช้บังคับเป็นต้นไป
มาตรา 13 ท้องถิ่นซึ่งได้ยกฐานะเป็นเทศบาลแล้วอาจถูก
เปลี่ยนแปลงฐานะหรือยุบเลิกได้โดยทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย
องค์การเทศบาล
มาตรา 14 องค์การเทศบาลประกอบด้วยสภาเทศบาล และ
นายกเทศมนตรีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สมาชิกสภาเทศบาลในเขตเทศบาลใด
จำนวนไม่น ้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภา
เทศบาลในเขตเทศบาลนั้นมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อคณะกรรมการการ
เลือกตั้งเพื่อให้จัดทำประชามติในเขตเทศบาลนั้นว่าจะกำหนดให้การ
บริหารเทศบาลใช้รูปแบบคณะเทศมนตรีหรือนายกเทศมนตรี ผลของ
ประชามติให้นำมาใช้เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นการทั่วไป
ในคราวถัดไปจากวันที่มีการออกเสียงประชามติ และให้ใช้รูปแบบการ
บริหารตามผลประชามตินั้นตลอดไป จนกว่าจะมีการออกเสียงประชามติ
ของผู ้ ม ี ส ิ ท ธิ เ ลื อ กตั ้ ง สมาชิ ก สภาเทศบาลในเขตเทศบาลนั ้ น ให้

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 44


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

เปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารเทศบาลเป็นอย่างอื่นการร้องขอให้ทำ
ประชามติตามวรรคสามต้องเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน
ครบวาระของสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่ งอยู่ในขณะนั้นไม่น้อยกว่าสาม
ร้อยหกสิบวัน และจะกระทำในวาระของสภาเทศบาลหนึ่งได้เพียงครั้ง
เดียว
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลในเขตเทศบาลนั้นเป็นผู้มี
สิทธิออกเสียงประชามติ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำประชามติ
ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
สภาเทศบาล
มาตรา 15 สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งเลือกตั้ง
โดยตรงของประชาชน
(1) สภาเทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 12 คน
(2) สภาเทศบาลเมือง ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 18 คน
(3) สภาเทศบาลนคร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 24 คน

มาตรา 16 สมาชิกสภาเทศบาลให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสี่ปีนับแต่
วันเลือกตั้ง
มาตรา 19 สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลสิ้นสุดลงเมื่อ
(1) ถึงคราวออกตามวาระหรือมีการยุบสภาเทศบาล
(2) ตาย
(3) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(4) ขาดประชุมสภาเทศบาลสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผล
อันสมควร

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 45


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

(5) สภาเทศบาลมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง โดยเห็นว่ามีความ


ประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียหรือก่อความไม่สงบ
เรียบร้อยแก่เทศบาล หรือกระทำการอันเสื่อมเสียประโยชน์ของสภา
เทศบาล โดยมีสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิก
เท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอให้สภาเทศบาลพิจารณา และมติดังกล่าวต้องมี
คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ ทั้งนี้ ให้
สมาชิกภาพสิ้นสุดลงนับแต่วันที่สภาเทศบาลมีมติ
(6) ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาล โดยมีจำนวนไม่น้อย
กว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียง
มาตรา 21 สภาเทศบาลมีประธานสภาคนหนึ่งและรอง
ประธานสภาคนหนึ่ง ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจาก สมาชิกสภา
เทศบาลตามมติของสภาเทศบาล ประธานสภา และรองประธานสภา
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) สิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาล
(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
(4) สภาเทศบาลมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง โดยเห็นว่ามีความ
ประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียหรือก่อความไม่สงบ
เรียบร้อยแก่เทศบาล หรือกระทำการอันเสื่อมเสียประโยชน์ของสภา
เทศบาล โดยมีสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิก
เท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอให้สภาเทศบาลพิจารณา และมติดังกล่าวต้องมี
คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ ทั้งนี้ ให้
สมาชิกภาพสิ้นสุดลงนับแต่วันที่สภาเทศบาลมีมติ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 46


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

- ตำแหน่งประธานสภา และรองประธานสภาว่างลงเพราะ
เหตุอื่น ให้เลือกตั้งภายใน 15 วันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง
มาตรา 24 ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญ 4 สมัย
• สมัยประชุมสามัญครั้งแรกและวันเริ่มประชุมสมัยสามัญ
ประจำปีให้สภาเทศบาลกำหนด
• ผูว้ ่าราชการจังหวัดต้องกำหนดให้สมาชิกมาประชุมครั้งแรก
ภายใน 15 วัน
• สมัยประชุมสามัญสมัยหนึ่ง ๆ ให้มีกำหนด ไม่เกิน 30 วัน
ถ้าขยายออกไปต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด
• ให้ประธานสภาเทศบาล เป็นผู้เรียกประชุมสภาตามสมัย
ประชุมและเป็นผู้เปิดหรือปิดการประชุม
สมัยประชุมวิสามัญ
• สมัยประชุมวิสามัญให้มีกำหนด ไม่เกิน 15 วัน ถ้าขยาย
ออกไปต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด

แก้ไขเพิ่มเติม
“ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องกำหนดให้สมาชิกสภาเทศบาลได้มาประชุมสภา
เทศบาลครั้งแรกภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาเทศบาล และให้ที่ประชุมเลือกประธานสภาเทศบาลและ
รองประธานสภาเทศบาล”

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 47


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

นายกเทศมนตรี
- ให้เทศบาลมีนายกเทศมนตรี 1 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรง
ของประชาชน
- ก่อนนายกเทศมนตรีเข้ารับหน้าที่ให้ประธานสภาเรียกประชุมเพื่อให้
นายกแถลงนโยบายโดยไม่มีการลงมติภายใน 30 วัน
- หากนายกไม่สามารถแถลงนโยบายต่อสภาเทศบาลได้ให้ผู้ว่าราชการ
จังหวัดแจ้งให้นายกเทศมนตรีจัดทำเป็นนโยบายแจ้งเป็นหนังสือส่งให้
สมาชิกสภาเทศบาลทุกคน ภายใน 7 วัน
- นายกเทศมนตรี และรองนายกเทศมนตรี ลาออกโดยยื่นหนังสือต่อ
..........ผูว้ ่าราชการจังหวัด
- นายกเทศมนตรีเป็นผู้ลงนามร่างเทศบัญญัตินายกเทศมนตรีอาจ
แต่งตั้งรองนายกซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาล ดังต่อไปนี้
1.เทศบาลตำบล แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 2 คน
2.เทศบาลเมือง แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 3 คน
3.เทศบาลนคร แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 4 คน
นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและ
เลขานุการนายกเทศมนตรีซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลได้
โดยในกรณีเทศบาลตำบล ให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินสองคน
ในกรณี เทศบาลเมือง ให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินสามคน
และในกรณีเทศบาลนคร ให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินห้าคน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 48


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรี
1.อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติม)
2.สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือ
เคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา”
(แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ.2562 บังคับใช้ 17 เมษายน 2562

ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๔๘ สัตต นายกเทศมนตรีมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราว
ละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
ในกรณีที่นายกเทศมนตรีดำรงตำแหน่งไม่ครบระยะเวลาสี่ปีก็ให้ถือว่า
เป็นหนึ่งวาระ และเมื่อได้ดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันแล้วจะดำรง
ตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลาสี่ปีนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง”

สหการ หมายถึง กิจการใด ๆอันอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของ


เทศบาลตั้งแต่สองแห่งขึ้นไป ซึ่งมีสภาพเป็นทบวงการเมือง และ
ต้องการกำหนดโทษ เทศบัญญัตินั้น.....จะกำหนดโทษผู้ละเมิดเทศ
บัญญัติโดย ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
* เมื่อมีการยุบสภาเทศบาลให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้น
ใหม่ภายใน 45 วัน
** ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 49


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วน
ตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 50


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วน
ตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- หน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น คือ สุขาภิบาล เทศบาล และ
ส่วนราชการท้องถิ่นอื่น
- ตำบล คือ มีการปกครองอยู่นอกเขตหน่วยการบริหารราชการส่วน
ท้องถิ่น
- รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
สภาตำบล (ปัจจุบันไม่มี ยกฐานะเป็น องค์การบริหารส่วนตำบล)
ในหนึ่งตำบลให้มีสภาตำบล 1 สภา มีฐานะเป็นนิติบุคคล
สภาประกอบด้วย (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ ประจำตำบล
เป็นสมาชิกโดยตำแหน่ง) และ สมาชิกแต่ละหมู่บ้านบ้านละ 1 คน

ผู้มีสิทธิ์สมัครสมาชิกสภาตำบล ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
ในหมู่บ้านที่เลือกตั้งไม่น้อยกว่า 1 ปี จนถึงวันรับสมัคร ไม่มีพฤติกรรม
ทุจริตหรือพ้นจากตำแหน่งสมาชิก ยังไม่ถึง 5 ปีให้นายอำเภอจัดให้มีการ
เลือกตั้ง ดำรงตำแหน่ง 4 ปี นับจากวันเลือกตั้ง
สมาชิ ก พ้ น จากตำแหน่ ง เมื ่ อ ตาย ลาออกยื ่ น หนั ง สื อ ต่ อ
นายอำเภอ ยุบสภา เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สภามีมติให้พ้นจากตำแหน่ง
นายอำเภอสั่งให้พ้นเมื่อขาดคุณสมบัติ ผู้ว่าฯสั่งให้พ้นเมื่อบกพร่องในทาง
ความประพฤติ
ถ้าครบวาระให้เลือกตั้งภายใน 45 วัน ถ้าเป็นกรณีอื่นภายใน
60 วันถ้าประกาศหมู่บ้านขึ้นใหม่ ให้มีการเลือกตั้งภายใน 60 วัน โดย

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 51


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ให้ น ายอำเภอจั ด ให้ ม ี ก ารเลื อ กตั ้ ง กำนั น เป็ น ประธานสภา มี ร อง


ประธานสภา 1 คน ซึ ่ ง นายอำเภอแต่ ง ตั ้ ง จากสมาชิ ก มี ว าระ 4 ปี
ประธานสภาเป็นผู้เรียกประชุมสภา ให้มีการประชุมไม่น้อยกว่าเดือนละ
1 ครั้ง เลขาฯสภา แต่งตั้งจากข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ในตำบล ให้
นายอำเภอเป็น ผู้แต่งตั้งและถอดถอน ให้ส มาชิกและเลขาฯเป็นเจ้ า
พนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ให้สภาตำบลดำเนินการดูแล เรื่อง
น้ำดื่ม / น้ำใช้ บำรุงรักษาทางน้ำ / ทางบก รักษาทางระบายน้ำ ถนน สิ่ง
ปฏิกูล ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมอาชีพ พัฒนาเด็ก สตรี คนชรา
ผู้พิการ ในการทำนิติกรรมให้สภาตำบล ประกอบไปด้วย ประธานเลขาฯ
และสมาชิก รวม 3 คน ทำการแทนสภา
สภาตำบลมี ร ายได้ จ าก 1. ทรั พ ย์ ส ิ น ของสภาตำบล 2.
สาธารณูปโภคของสภาตำบล 3. เงินทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้ 4. เงิน
อุดหนุนและรายได้อื่นที่รัฐจักสรรให้ 5.รายได้อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
รายได้ของสภาตำบลไม่ต้องเสียภาษีตามราชกฤษฎีกาประมวลกฎหมาย
รัษฎากร
สภาตำบลมีรายจ่าย คือ 1. เงินเดือน 2. ค่าจ้าง 3.ค่าตอบแทน
4. ค่าใช้สอย 5. ค่าวัสดุ 6.ครุภัณฑ์ 7. ที่ดิน 8.สาธารณูปโภค 9.เงิน
อุดหนุน ค่าตอบแทนสมาชิกให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ให้น ายอำเภอกำกับ ดูแลสภาตำบล ให้ส ภาตำบลจัดทำร่างข้อบังคับ
งบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยให้มีนายอำเภออนุมัติองค์การบริหาร
ส่ ว นตำบลสภาตำบลใดมี ร ายได้ ไ ม่ ร วมเงิ นอุ ด หนุ น 3 ปี ไม่ ต ่ ำ กว่ า
150,000 บ า ท ใ ห ้ ต ั ้ ง เ ป ็ น อ บ ต . ไ ด ้ โ ด ย ท ำ เ ป ็ น ป ร ะ ก า ศ
กระทรวงมหาดไทย

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 52


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ให้ยุบสภาตำบลและ อบต. ที่มีจำนวนประชากรไม่ถึง 2,000


คน โดยให้มีก ารรวมเขตใกล้ เคีย งในอำเภอเดียวกันภายใน 90 วัน
ยกเว้นพื้นที่เป็นเกาะ และประชาชนต้องยินยอมให้ อบต. มีฐานะเป็น
นิติบุคคล เป็นราชการส่วนท้องถิ่น

สภาองค์การบริหารส่วนตำบล **จุดนี้น่าเป็นข้อสอบ

อัพเดท “มาตรา ๔๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๕/๑ สภาองค์การ


บริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
จำนวนเขตเลือกตั้ง ละ หนึ่งคน ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีส ิทธิ
เลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น
ให้ถือเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง เว้นแต่หมู่บ้านใดมีราษฎร
ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ไม่ถึงยี่สิบห้าคน ให้รวมหมู่บ้านนั้น
กับหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดต่อกันและเมื่อรวมกันแล้วจะมีราษฎรถึงยี่สิบห้า
คนเป็ น เขตเลื อ กตั้ ง เดี ย วกัน การนั บ จำนวนราษฎรดัง กล่า วให้นับ
ณ วันที่ ๑ มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง

หมู่บ้าน = เขตเลือกตั้ง และ ให้มี ส.อบต. เขตละ 1 คน


ของเดิม ยกเลิกแล้ว

หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครรับเลือกตั้ง และการเลือกตั้งให้
เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น ฯ
อายุ ข องสภาองค์ก ารบริห ารส่ว นตำบลมี ก ำหนดคราวละ
สี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง”

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 53


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

เสริมเรื่องจำนวน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
“มาตรา ๔๕/๑ องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเขตเลือกตั้งไม่ถึงหกเขต
เลือกตั้ง ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสมาชิก
จำนวนหกคน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีหนึ่งเขตเลือกตั้ง
ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การ
บริหารส่วนตำบลหกคน
(๒) ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีสองเขตเลือกตั้ง
ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การ
บริหารส่วนตำบลเขตเลือกตั้งละสามคน
(๓) ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีสามเขตเลือกตั้ง
ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การ
บริหารส่วนตำบลเขตเลือกตั้งละสองคน
(๔) ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีสี่เขตเลือกตั้ง ให้
สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การ
บริหารส่วนตำบลเขตเลือกตั้งละหนึ่งคน เว้นแต่เขตเลือกตั้งใดมีจำนวน
ราษฎรมากที่สุดสองเขตเลือกตั้งแรก ให้เขตเลือกตั้งนั้นมีสมาชิกเพิ่มขึ้น
อีกเขตเลือกตั้งละหนึ่งคน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 54


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

(๕) ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีห้าเขตเลือกตั้ง ให้


สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การ
บริหารส่วนตำบลเขตเลือกตั้งละหนึ่งคน เว้นแต่เขตเลือกตั้งใดมีจำนวน
ราษฎรมากที่สุด ให้เขตเลือกตั้งนั้นมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน

สรุปได้ดังนี้
ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีสมาชิกดังนี้
ย้ำ หมู่บ้าน หมายถึง เขตเลือกตั้ง
จำนวน จำนวน การเลือกตั้ง รวมสมาชิก
หมู่บ้าน สมาชิกสภา แต่ละเขต
1 หมู่บ้าน 6 คน 6 คน 6 คน
2 หมู่บ้าน 6 คน เขตละ 3 คน 6 คน
3 หมู่บ้าน 6 คน เขตละ 2 คน 6 คน
4 หมู่บ้าน 6 คน เขตละ 1 คน และ 6 คน
เขตทีม่ ีผู้มีสิทธิ์เยอะสุด
2 เขต เลือกเพิ่ม
เขตละ 1 คน
5 หมู่บ้าน 6 คน เขตละ 1 คน และ 6 คน
เขตทีม่ ีผู้มีสิทธิ์เยอะสุด
1 เขต เลือกเพิ่ม
เขตละ 1 คน
6 หมู่บ้าน 6 คน เขตละ 1 คน 6 คน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 55


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

อำนาจของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
คือ 1. ให้ความรับผิดชอบแผนฯ 2. พิจารณาร่างฯ 3. ควบคุม
การปฏิบัติงานราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 มีสิทธิเข้าชื่อ
ถอดถอนสมาชิกสภาได้ ให้ น ายอำเภอแต่ ง ตั ้ ง ประธานและรอง
ประธานสภาอีก 1 คน เมื่อตำแหน่งประธานและรองประธานว่างลงให้
มีการเลือกตั้งภายใน 15 วัน นับจากวันที่ตำแหน่งว่างลง ใน 1 ปี ให้มี
การประชุมสมัยสามัญ 2 สมัย หรือหลายสมัย แต่ไม่เกิน 4 สมัย
ให้นายอำเภอกำหนดให้มีการประชุมครั้งแรกภายใน 15 วัน
นับจากวันประกาศผลเลือกตั้ง ถ้าไม่สามารถประชุมได้ ให้นายอำเภอ
เสนอผู้ว่าให้ทำการยุบสภาสมาชิกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งอาจยื่นคำขอให้เปิด
ประชุมวิสามัญได้ สมัยประชุมวิสามัญต้องไม่เกิน 15 วันให้สภาเลือก
ปลัด อบต. หรือสมาชิกเป็นเลขาฯ ก็ได้
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล อัพเดท
“มาตรา ๕๘/๑ บุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก
องค์การบริหารส่วนตำบล ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
และต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีนับถึงวันเลือกตั้ง
(๒) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือ
เทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหาร
ท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา”

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 56


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

อัพเดท “มาตรา ๕๘/๒ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีวาระ


อยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่ง
ติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดำรงตำแหน่งไม่ครบ
ระยะเวลาสี่ปีก็ให้ถือว่าเป็นหนึ่งวาระและเมื่อได้ดำรงตำแหน่งสองวาระ
ติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลาสี่ปีนับแต่
วันพ้นจากตำแหน่ง”

“มาตรา ๕๘/๔ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ต้องมี


คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕๘/๑ เว้นแต่การนับ
อายุและการนับระยะเวลาของคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามอย่างอื่น
ให้นับถึงวันแต่งตั้ง”
นายก อบต. อาจแต่งตั้งรองนายก ได้ไม่เกิน 2 คน
(ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิก) อาจมีเลขานายกก็ได้ก่อนเข้ารับตำแหน่ง ให้
นายกแถลงนโยบายภายใน 30 วัน นับจากวันประกาศผลการเลือกตั้ง
แต่ถ้ายังไม่มีประธานสภาให้มีการเลือกประธานสภาก่อน แล้วให้นายก
แถลงนโยบายภายใน 15 วัน นับจากมีประธานสภาแล้ว ถ้าไม่สามารถ
แถลงนโยบายภายในกำหนดได้ ให้จัดทำเป็นหนังสือแจกจ่ายสมาชิก
ภายใน 7 วัน สมาชิกไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปราย
ทั่วไป โดยไม่ลงมติได้ โดยให้ประธานสภากำหนดวันอภิปรายต้องไม่เร็ว
กว่า 5 วัน และไม่ช้ากว่า 15 วัน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 57


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

นายกพ้ น จากตำแหน่ ง เมื ่ อ 1. ออกตามวาระ 2. ตาย


3. ลาออกต่อนายอำเภอ 4. ขาดคุณสมบัติ 5. กระทำการฝ่าฝืน 6.ผู้ว่า
สั่งให้ออก 7. ต้องโทษจำคุก 8. ราษฎรไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ลงคะแนน
ถอดถอน ให้สภา อบต. จัดทำ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล

รายได้องค์การบริหารส่วนตำบล
ภาษีมูลค่าเพิ่ม อบต. เรียกเก็บในอัตรา ร้อยละ 0 ตามประมวล
กฎหมายรัษฎากร แต่ถ้าเรียกเก็บในอัตราอื่นให้ อบต. เรียกเก็บ 1 ใน 9
ของภาษีมูลค่าเพิ่มถ้างบประมาณระหว่างปีไม่พอจ่าย ให้มีการจัดทำร่าง
ข้อบัญญัติรายจ่ายเพิ่มเติม แล้วให้นายอำเภออนุมัติภายใน 15 วันถ้า
ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ยุบสภาเนื่องจากนายกและสภาปฏิบัติงานไม่
เหมาะสม ให้มีการเลือกตั้งภายใน 45 วันรายได้ของ อบต. มาจาก ภาษี
บำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย อากรการฆ่าสัตว์ และ
ค่าธรรมเนียม รวมถึงประโยชน์อันเกิดจากการฆ่าสัตว์
ภาษีจ ากธุร กิจ เฉพาะ ค่ าธรรมเนียมจากใบอนุญาตขายสุรา
ค่าธรรมเนียมในการเล่นการพนัน ให้เก็บเพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 10 อบต.
มีหน้าที่หลักที่ต้องทำในเขต อบต. ในเรื่องต่อไปนี้ 1. บำรุงรักษาทาง
น้ำและทางบก 2. รักษาความสะอาด 3.ป้องกันโรคติดต่อ 4. บรรเทา
สารณภัย 5. ส่งเสริมด้านการศึกษาและศาสนา 6. พัฒ นาเด็ก สตรี
คนชรา ผู้พิการ 7. ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ 8. รักษาจารีตประเพณี
9. หน้าที่อื่นๆตามสมควร รายได้ของ อบต. ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสีย
ภาษีและนำส่งคลัง โดยตราเป็น พรฎ. ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร
อบต. จะกู้เงิน ต้องได้รับอนุ ญาตจากสภา อบต.ก่อน และได้รับความ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 58


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

เห็ น ชอบจากผู ้ ว ่า ราชการจัง หวั ด อบต. อยู ่ ภ ายในกำกั บ ดู แ ลของ


นายอำเภอ ประกาศให้ไว้เมื่อวันที่ 26 พ.ย 2537

“ในระหว่างที่ไม่มีน ายกองค์การบริหารส่ว นตำบล ให้ปลัด


องค์การบริหารส่วนตำบลปฏิบัติหน้าที่ ของนายกองค์การบริหารส่วน
ตำบลเท่าที่จำเป็นได้เป็นการชั่วคราวจนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้ง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล”

สรุปพิเศษ
ที่กลาวไปแลววา พรบ.สภาตําบลและองคการบริหารสวนตําบล
พ.ศ.2537 หัวใจสําคัญประการหนึ่งคือแยกความแตกตางระหวาง
สภาตําบล กับ องคการบริหารสวนตําบล เมื่อแยกไดก็จะไมเกิดความ
สับสนในการสอบสามารถทําขอสอบไดเปนอยางดี โดยมีรายละเอียด
ดังนี้

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 59


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา
พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 60


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา
พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ประเด็นสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้
มาตรา 5 "ผูวาราชการจังหวัด" หมายความวา ผูวาราชการ
จังหวัดชลบุรี
มาตรา 6 รัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตาม
พระราชบัญญัตินี้
การจัดตั้งเมืองพัทยา
มาตรา 7 ใหจัดตั้งเมืองพัทยาเปนองคกรปกครองสวนทองถิ่นมี
อาณาเขตตามเขตเมืองพัทยาที่มีอยูในวันกอนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช
บังคับ ใหเมืองพัทยามีฐานะเปนนิติบุคคล การแกไขเปลี่ยนแปลงเขต
เมืองพัทยาใหตราเปนพระราชกฤษฎีกา

การบริหารเมืองพัทยา
มาตรา 7 การบริหารเมืองพัทยาประกอบดวย
(1) สภาเมืองพัทยา (2) นายกเมืองพัทยา
สภาเมืองพัทยา
มาตรา 9 สภาเมืองพัทยาประกอบดวยสมาชิก จํานวน 24 คน
มาตรา 15 อายุของสภาเมืองพัทยามีกําหนดคราวละ 4 ป
นับแตวันเลือกตั้ง
มาตรา 20 เมื่อตําแหนงสมาชิกวางลงเพราะถึงคราวออก ตาม
อายุของสภาเมืองพัทยา หรือมีการยุบสภาเมืองพัทยา ใหมีการเลือกตั้ง
ภายใน 45วัน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 61


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

อัพเดท ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของ
สมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงตาม (๔) (๕) หรือ (๖)ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
ประกาศคำวินิจฉัยให้ทราบทั่วกัน ไม่ว่าผู้นั้นจะได้พ้นจากตำแหน่งไป
ก่อนแล้วหรือไม่ก็ตาม โดยในคำวินิจฉัยนั้นให้ระบุเหตุที่ทำให้พ้นจาก
ตำแหน่งไว้

มาตรา 21 เมื่อตําแหนงสมาชิกวางลงให มีการเลือกตั้งสมาชิก


ขึ้นแทนตําแหนงที่วางภายใน 45วันนับแตวันที่ตําแหนงนั้นวางลง
เวนแตอายุของสภาเมืองพัทยาเหลืออยูไมถึง 180 วัน
มาตรา 22 ใหสภาเมืองพัทยาเลือกสมาชิกเปนประธาน
สภาเมืองพัทยา 1 คน และรองประธานสภาเมืองพัทยาจํานวน
2 คน แลวเสนอผูวาราชการจังหวัดแตงตั้ง
มาตรา 25 ในกรณีที่ตําแหนงประธานสภาเมืองพัทยาหรือ รอง
ประธานสภาเมืองพัทยาวางลง ใหสภาเมืองพัทยาเลือกภายใน 15 วัน
นับแตวันที่ตําแหนงวางลง
📌 ประธานสภาเมืองพัทยาอาจแตงตั้งเลขานุการ
ประธานสภาเมืองพัทยาและผูชวยเลขานุการประธานสภาเมืองพัทยาไม
เกินจํานวนรองประธานสภาเมืองพัทยา (ไมเกิน 2 คน)
📌 ปลัดเมืองพัทยาทําหนาที่เลขานุการสภาเมืองพัทยา
มาตรา 29 ภายใน 15 วันนับแตวันเลือกตั้งสมาชิกอันเปนการเลือกตั้ง
ทั่วไป ใหผูวาราชการจังหวัดเรียกประชุมสภาเมืองพัทยาครั้งแรกใหมี
สมัยประชุมสามัญของสภาเมืองพัทยาไมนอย กวา 2 สมัย แตตองไมเกิน
4 สมัย สมัยประชุมสามัญใหมีกําหนด 30 วัน แตถามีกรณีจําเปนสภา

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 62


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

เมืองพัทยาจะมีมติขยายสมัยประชุมสามัญออกไปอีกก็ได แตตองไมเกิน
30 วัน
มาตรา 40 เงินประจําตําแหนง เงินคาเบี้ยประชุม และประโย
ชนตอบแทนอื่น ของประธานสภาเมืองพัทยา รองประธานสภาเมือง
พัทยา สมาชิก เลขานุการประธานสภาเมืองพัทยา ผู ช วยเลขานุการ
ประธานสภาเมืองพัทยา กรรมการสามัญหรือกรรมการวิสามัญที่สภา
เมืองพัทยาตั้งขึ้น หรืออนุกรรมการที่คณะกรรมการตั้งขึ้น ใหเปนไป
ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
นายกเมืองพัทยา แก้ไขเพิ่มเติม**อัพเดท

“มาตรา ๔๒ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาและผู้มีสิทธิ
สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเมืองพัทยา ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ
ต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือบริหาร
ท้องถิ่น
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเมืองพัทยา นอกจากต้องมี
คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่งแล้ว ต้องมีคุณสมบัติ
ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีนับถึงวันเลือกตั้ง
(๒) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า”

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 63


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

“มาตรา ๔๕ นายกเมืองพัทยามีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
นับแต่วันเลือกตั้งแต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ในกรณี
ที่นายกเมืองพัทยาดำรงตำแหน่งไม่ครบระยะเวลาสี่ปีก็ให้ถือว่าเป็นหนึ่ง
วาระ และเมื่อได้ดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่ง
ได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลาสี่ปีนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง” แก้ไขเพิ่มเติม

มาตรา 46 นายกเมืองพัทยาอาจแตงตั้งรองนายกเมืองพัทยา
จํานวนไมเกิน 4 คน ซึ่งมิใชสมาชิกฯ

“มาตรา ๔๗ รองนายกเมืองพัทยาต้องมีคุณสมบัติและไม่มี
ลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๒ เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับอายุให้นับถึง
วันแต่งตั้ง” แก้ไขเพิ่มเติม

“ในระหว่างที่ไม่มีนายกเมืองพัทยา ให้ปลัดเมืองพัทยาปฏิบัติ
หน้าที่ของนายกเมืองพัทยาเท่าที่จำเป็นได้เป็นการชั่วคราวจนกว่านายก
เมืองพัทยาซึ่งได้รับเลือกตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่”

มาตรา 52 นายกเมืองพัทยาอาจแตงตั้งเลขานุการนายกฯ
และผูชวยเลขานุการฯ ไมเกินจํานวนรองนายกเมืองพัทยา
(ไมเกิน 4 คน) และอาจแตงตั้งผูทรงคุณวุฒิเปนประธานที่ปรึกษาและที่
ปรึกษาไดจํานวนรวมกัน แลวไมเกิน 5 คน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 64


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา
มาตรา 55 เมืองพัทยาแบงสวนราชการดังตอไปนี้
(1) สํานักปลัดเมืองพัทยา
(2) สวนราชการอื่น ตามที่นายกเมืองพัทยาประกาศ
กําหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทย

อํานาจหนาที่ของเมืองพัทยา
มาตรา 69 เมืองพัทยาอาจรวมกับหนวยราชการ หนวยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจ หรือองคกรปกครองสวนทองถิ่นอื่นจัดตั้งองคการขึ้นเรียกวา สหการ มี
ฐานะเปนนิติบุคคล การจัดตั้งสหการจะทําไดโดยตราเปนพระราชกฤษฎีกาการยุบ
เลิกสหการ ใหตราเปนพระราชกฤษฎีกา

ขอบัญญัติเมืองพัทยา
มาตรา 70 เมืองพัทยามีอํานาจตราขอบัญญัติโดยไมขัดหรือแย
งตอกฎหมายไดและจะกําหนดโทษจําคุกหรือโทษปรับหรือทั้งจําและ
ปรับผูละเมิดขอบัญญัติไวดวยก็ ได แตจะกําหนดโทษจําคุกเกิน 6 เดือน
และโทษปรับเกิน 10,000 บาทไมได
มาตรา 71 รางขอบัญญัติจะเสนอไดก็แตโดย
1. นายกเมืองพัทยา
2. สมาชิก
3. ราษฎรผูมีสิทธิเลือกตั้ง

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 65


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

รายไดและรายจาย
มาตรา 72 เมืองพัทยามีอํานาจออกขอบัญญัติเก็บภาษี ไม
เกินรอยละ 10 ของภาษีอากร ดังตอไปนี้
(1) ภาษีธุรกิจเฉพาะ
(2) คาธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา
(3) คาธรรมเนียมใบอนุญาตในการเลนการพนัน
มาตรา 93 เมื่อสิ้นปงบประมาณ ใหนายกเมืองพัทยาประกาศ
รายการรับจายเงินประจําปงบประมาณที่สิ้นสุดลงใหประชาชนทราบ
ภายใน 30 วัน นับแตวันที่สิ้นสุดปงบประมาณ
การกํากับดูแล
มาตรา 94 ผูวาราชการจังหวัดมีอํานาจ หนาที่กํากับดูแลการ
ปฏิบัติราชการของเมืองพัทยาเพื่อการนี้ ผูวาราชการจังหวัดมีอํานาจสั่ง
สอบสวนขอเท็จจริงหรือสั่งใหนายกเมืองพัทยา ชี้แจงแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของเมืองพัทยาได

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 66


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

สรุปจบให้จบั ใจ

เรามีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน คนที่มุ่งมั่น


เท่านั้นที่จะประสบความสำเร็จ
ท่านคือคนที่มุ่งมั่น ผมมองเห็น

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 67


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการ
กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 68


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย
อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
- ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2542
- บังคับใช้เมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2542
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ นายชวน หลีกภัย
- ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ คือ นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลัง
*คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ประกอบด้วย
1. นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรี
มอบหมายเป็นประธาน
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
3. ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 12 คน
4. ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน
กรรมการการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ตำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
3. ไม่เป็นข้าราชการที่มีเงินประจำ
4. ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
5. ไม่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 69


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
- ลาออกโดยยื่นหนังสือต่อ ประธานกรรมการ
- มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี และอาจได้รับการ
สรรหาอีกได้ไม่เกินสองวาะติดต่อกัน
- ตาย
- เป็นบุคคลล้มละลาย
- ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาให้ถึงที่สุด

* การเสนอรายงานเกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งให้มีคณะกรรมการ
คณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น"

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 70


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 71


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

คณะกรรมการมีอำนาจ และหน้าที่หลัก ดังต่อไปนี้


- จัดทำแผนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น และแผนปฏิบัติการ เพื่อขอความเห็นชอบ จากคณะรัฐมนตรี
และรายงานต่อรัฐสภา
- กำหนดการจัดบริการสาธารณะ ตามอำนาจ และหน้าที่ระหว่าง
รัฐ กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นด้วยกันเอง
- ปรับปรุงสัดส่วนภาษี และอากร และรายได้ ระหว่างรัฐกับ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้วยกันเอง โดยคำนึงถึงภาระหน้าที่ของรัฐ กับองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง เป็นสำคัญ
- กำหนดหลักเกณฑ์ และขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจ จาก
ราชการส่วนกลาง และราชการส่วนภูมิภาค ให้แก่องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น
- ประสานการถ่ายโอนข้าราชการ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น และ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ ระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น กับคณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดอำนาจ และหน้าที่
การจัดสรรภาษี และอากรเงินอุดหนุน เงินงบประมาณที่ราชการ
ส่วนกลาง โอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการถ่ายโอนภารกิจ
ตาม 2) 3) และ 4)
- ให้ข้อเสนอแนะ ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการกระจายอำนาจ
เพื่อให้การกระจายอำนาจเป็นไปตามแผนฯ ที่วางไว้ เช่น มาตรการด้าน
การเงิ น การคลั ง การภาษี อ ากร การตราพระราชบั ญญั ติ พระราช

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 72


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

กฤษฎีกา ออกกฎกระทรวง ประกาศ การจัดระบบตรวจสอบ และการมี


ส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น เป็นต้น
จัดทำแผนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในการจั ด ทำแผนดั ง กล่ า ว ให้ ด ำเนิ น การที ่ จ ำเป็ น คื อ ให้
ดำเนินการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะ ที่รัฐดำเนินการอยู่ให้
เสร็ จ สิ ้น ภายในสี ่ป ี หากยั ง ไม่ แ ล้ว เสร็ จ ภายในสี ่ ปี ให้ ร ั ฐ ทำหน้าที่
ประสานความร่วมมือ และช่วยเหลือท้องถิ่น ให้ถ่ายโอนภารกิจให้แล้ว
เสร็จ ภายในสิบปีกำหนดการจัดสรรภาษี และอากรเงินอุดหนุน และ
รายได้อื่น ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใน ปี พ.ศ.2544 ไม่น้อย
กว่าร้อยละยี่สิบ ของรายได้รัฐบาล และในปี พ.ศ.2549 ไม่น้อยกว่าร้อย
ละสามสิบห้า ของรายได้รัฐบาล ให้คณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ
พิจารณาทบทวนแผนการกระจายอำนาจฯ ทุกระยะเวลาไม่เกินห้าปี
จัด ทำแผนปฏิ บั ต ิ การ เพื่อกำหนดขั้น ตอนการกระจายอำนาจตาม
แผนการกระจายอำนาจ ให้ แ ก่ อ งค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ ่ น โดยมี
สาระสำคัญดังนี้
กำหนดรายละเอี ย ดของอำนาจหน้ า ที ่ ในการให้ บ ริ ก าร
สาธารณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ละรูปแบบจะต้องกระทำ
กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีดำเนินการในการจัดสรรสัดส่วนภาษี และ
อากรให้เพียงพอเสนอให้แก้ไข หรือจัดให้มีกฎหมายที่จำเป็น เพื่อให้
ดำเนินการได้ตามแผนจั ดระบบการบริหาร และการบริหารงานบุคคล
ขององค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ ่ น แผนปฏิ บ ั ต ิ ก ารฯ ต้ อ งกำหนด
รายละเอี ย ด และกำหนดหน่ ว ยงานที ่ ม ี ห น้ า ที ่ ร ั บ ผิ ด ชอบ รวมทั้ ง
ระยะเวลาในการดำเนินการ ให้ชัดเจนด้วย

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 73


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

การกำหนดอำนาจ และหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ
ได้มีการกำหนดให้เทศบาลเมืองพัทยา และ อบต. มีอำนาจและ
หน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชน ใน
ท้องถิ่นของตนเอง ตามมาตรา 16 นอกจากนี้กำหนดให้ อบจ. และ
กทม. มีอำนาจ และหน้าที่ตามมาตรา 17 และ 18 ตามลำดับ
ระบบบริการสาธารณะดัง กล่าว เช่น การจัดทำแผนพั ฒ นา
ท้องถิ่นของตนเอง การจัดให้มี และบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทาง
ระบายน้ำ การสาธารณูปโภค การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก
และประกอบอาชีพ การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริม
การท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสาธารณะ การอนามัยครอบครัว
และการรักษาพยาบาล การส่งเสริมกีฬา การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ และ
การฆ่าสัตว์ การผังเมือง การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและ
สนับสนุนการป้องกัน และรักษาความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน
เป็นต้น นอกจากนี้ยังกำหนดอำนาจ และหน้าที่ให้ อบจ. เช่น การจัดให้
มี โ รงพยาบาลจั ง หวั ด การรั ก ษาพยาบาล การป้ อ งกั น และควบคุ ม
โรคติดต่อ การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์ และหอจดหมายเหตุ การป้องกัน และ
บรรเทาสาธารณะภัย การขนส่งมวลชน และการวิศวกรรมจราจร เป็น
ต้น

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 74


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

การจัดสรรส่วนภาษี และอากร
ได้กำหนดให้ เทศบาล เมืองพัทยา และ อบต. อาจมีรายได้จาก
ภาษี และอากร ค่าธรรมเนียม และเงินรายได้ เช่น ภาษีโรงเรือน และ
ที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย กาษีมูลค้าเพิ่ม ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม
ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับตามกฎหมาย เป็นต้น
นอกจากนี้ กำหนดให้ อบจ. และ กทม. อาจมีรายได้จากภาษี
อากร ค่าธรรมเนียม และเงินรายได้ เช่น ภาษีบำรุง อบจ./กทม. สำหรับ
น้ำมัน เบนซิน ดีเซล และก๊าซ ภาษีบ ำรุง อบจ./กทม. สำหรับยาสูบ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจ ภาษี และค่าธรรมเนียมรถยนต์ ภาษีเพื่อ
การศึกษา อากรรังนกอีแอ่น ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม
ค่าธรรมเนียมบำรุง อบจ./กทม. (จากผู้พักในโรงแรม) ค่าธรรมเนียม
สนามบิน เป็นต้น

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 75


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วน
ท้องถิ่น พ.ศ. 2542

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 76


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วน
ท้องถิ่น พ.ศ. 2542
การจัดรูปแบบการปกครองออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และการปกครองรูปแบบพิเศษ ได้แก่
กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา การพัฒนาระบบการกระจายอำนาจที่
เน้นความเป็นอิสระ ส่งผลต่อความต้องการในความเป็นอิสระด้านการ
บริหารงาน บริหารงานบุคคล และบริหารงบประมาณ รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจั ก รไทย พ.ศ. 2540 ได้ ร ั บ รองความเป็ น อิ ส ระในการ
บริ ห ารงานบุ ค คลไว้ อ ย่ า งชั ด เจนในมาตรา 284 และกำหนดให้ มี
คณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง
และการให้พนักงานและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ้นจาก
ตำแหน่งตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงเป็นที่มาของ พระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
พระราชบั ญ ญั ต ิ ร ะเบี ย บบริ ห ารงานบุ ค คลส่ ว นท้ อ งถิ่ น
พ.ศ. 2542 กำหนดให้มีคณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่น ของแต่ละ
ท้องถิ่น เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับท้องถิ่น และ
ได้กำหนดให้มีองค์กรกลางทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานการบริหารงาน
บุ ค คลของพนั ก งานส่ ว นท้ อ งถิ ่ น ทุ ก รู ป แบบ เป็ น การแสดงถึ ง
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับท้องถิ่นในลักษณะของการกำกับ
ดูแลการบริหารงานบุคคลของท้องถิ่นภายใต้มาตรฐานกลางที่เหมาะสม
เป็นธรรม

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 77


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

☞ รู้ไว้ใช่ว่า
☞ องค์การบริหารส่วนจังหวัด จะมี คณะกรรมการข้าราชการ
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
☞ เทศบาล จะมี คณะกรรมการพนักงานเทศบาล
☞ องค์การบริหารส่วนตำบล จะมี คณะกรรมการพนักงาน
ส่วนตำบล
☞ เมืองพัทยา จะมี คณะกรรมการพนักงานเมืองพัทยา
– ทำหน้าที่กำกับดูแลด้านการบริหารงานบุคคลของแต่ละท้องถิ่นที่
รับผิดชอบ เช่น การแต่งตั้งโยกย้าย การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ห รือ
อุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย
– หลักสำคัญของการสอบกฎหมายฉบับนี้ คือ การแยกให้ออกว่าแต่ละ
คณะกรรมการมีความแตกต่างกันอย่างไร
– จะเห็นได้ว่า ไม่มีกรุงเทพมหานคร เนื่องจาก กรุงเทพมหานคร จะมี
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538 เป็น
กฎหมายเฉพาะ จึงไม่มีการบัญญัติรายละเอียดไว้ในกฎหมายนี้

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 78


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

บททั่วไป
พรบ. ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นฯ มีทั้งหมด 7
หมวด 43 มาตรา
– บังคับใช้วันที่ 30 พฤศจิกายน 2542
- พนักงานส่วนท้องถิ่น ☞ หมายความว่า ข้าราชการ อบจ.
, พนักงานเทศบาล , พนักงานส่วนตำบล , ข้าราชการ กทม
, พนักงานเมืองพัทยา และได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทน
จาก งบประมาณหมวดเงินเดือน หรือ งบประมาณหมวด
เงินอุดหนุน
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามกฎหมาย
นี้
การบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
แต่ละจังหวัดจะมี คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(ก. อบจ.)จำนวน 1 องค์คณะ มีสมาชิกทั้งหมด 12 คน
มาจาก

ผู้ทรงคุณวุฒิ มาจาก คณะกรรมการโดยตำแหน่ง เสนอรายชื่อ


6 คน และผู้แทนข้าราชการเสนอรายชื่ออีก 6 คน จะได้ 12 คน แล้ว
คัดเลือกให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน และคุณสมบัติของ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 79


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ มีสัญชาติไทย อายุไม่ตำกว่า 40 ปีบริบูรณ์ และมีชื่อ


ในทะเบียนบ้านในเขตจังหวัด ไม่น้อยกว่า 1 ปี (ข้อสอบมักถามจำนวน
ปีที่มีชื่ออยู่ในเขตจังหวัด)
*** รู้ไว้ให้จำ ***
☞ ผู้ทรงคุณวุฒิ มาจาก ถิ่น / บุคคล / ราช / จัดการ
ย่อมาจาก บริหารงานท้องถิ่น (ถิ่น) บริหารงานบุคคล (บุคคล)
ระบบราชการ (ราช) บริหารและการจัดการ (จัดการ)
☞ ผู้แทนข้าราชการ อบจ. มาจากการคัดเลือกของผู้ว่าราชการจังหวัด
☞ ปลัด อบจ. เป็นเลขานุการฯ
☞ ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้แทนข้าราชการ อบจ.มีวาระอยู่ในตำแหน่ง
คราวละ 4 ปี
☞ การพ้นจากตำแหน่งของ ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้แทนข้าราชการ ให้ยื่น
หนังสือลาออกต่อประธานกรรมการ (ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด)
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วน
จังหวัด
1. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามที่มีความจำเป็นเฉพาะ
สำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น
2. กำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่ง อัตราเงินเดือน และวิธีการจ่าย
เงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นสำหรับข้าราชการองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด
3. กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง การ
ย้ายการโอน การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสอบสวน การ
ลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 80


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

4. กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบริหารและการปฏิบัติงานของ
ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
5. กำกับ ดูแล ตรวจสอบ แนะนำและชี้แจง ส่งเสริมและพัฒนาความรู้
แก่ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

การบริหารงานบุคคลในเทศบาล
แต่ละจังหวัดจะมี คณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จังหวัด.)
จำนวน 1 องค์คณะ มีสมาชิกทั้งหมด 18 คน มาจาก

ผู้ทรงคุณวุฒิ มาจาก คณะกรรมโดยตำแหน่ง เสนอรายชื่อ 9


คน และผู้แทนข้าราชการเสนอรายชื่ออีก 9 คน จะได้ 18 คน แล้ ว
คัดเลือกให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน และคุณสมบัติของ
ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ มีสัญชาติไทย อายุไม่ตำกว่า 40 ปีบริบูรณ์และมีชื่อ
ในทะเบียนบ้านในเขตจังหวัด ไม่น้อยกว่า 1 ปี (ข้อสอบมักถามจำนวนปี
ที่มีชื่ออยู่ในเขตจังหวัด)
☞ผู้ว่าราชการจังหวัด จัดให้มีการคัดเลือกผู้แทนพนักงานเทศบาล
☞ ให้ผู้ว่าฯแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานเทศบาล 1 คนเป็น
เลขานุการฯ
☞ ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้แทนพนักงานเทศบาล มีวาระอยู่ในตำแหน่ง
คราวละ 4 ปี

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 81


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

☞อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพนักงานเทศบาลใช้สูตรเดียวกับ
อบจ.
การบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนตำบล
แต่ละจังหวัดจะมี คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต. จังหวัด.)
จำนวน 1 องค์คณะ มีสมาชิกทั้งหมด 27 คน มาจาก

ผู้ทรงคุณวุฒิ มาจาก คณะกรรมโดยตำแหน่ง เสนอรายชื่อ 15 คน


และผู้แทนข้าราชการเสนอรายชื่ออีก 15 คน จะได้ 30คน แล้วคัดเลือกให้
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และคุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิ
ได้แก่ มีสัญชาติไทย อายุไม่ตำกว่า 40 ปีบริบูรณ์และมีชื่อในทะเบียนบ้านใน
เขตจังหวัด ไม่น้อยกว่า 1 ปี
(ข้อสอบมักถามจำนวนปีที่มีชื่ออยู่ในเขตจังหวัด)
☞ผู้ว่าราชการจังหวัด จัดให้มีการคัดเลือกผู้แทนพนักงานส่วนตำบล
☞ให้ผู้ว่าฯแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนตำบล 1 คนเป็น เลขานุการ☞
ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนพนักงานเทศบาล มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
☞ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพนักงานเทศบาลใช้สูตรเดียวกับ อบจ.

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 82


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

การบริหารงานบุคคลในเมืองพัทยา
คณะกรรมการเมืองพัทยา มีสมาชิกทั้งหมด 12 คน มาจาก

ผู้ทรงคุณวุฒิ มาจาก คณะกรรมโดยตำแหน่ง เสนอรายชื่อ 6


คน และผู้แทนข้าราชการเสนอรายชื่ออีก 6 คน จะได้ 12 คน แล้ ว
คัดเลือกให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน และคุณสมบัติของ
ผู้ทรงคุณวุฒิได้แก่มีสัญชาติไทยอายุไม่ตำกว่า 40 ปีบริบูรณ์และมีชื่อใน
ทะเบียนบ้านในเขตจังหวัด ไม่น้อยกว่า 1 ปี (ข้อสอบมักถามจำนวนปีที่
มีชื่ออยู่ในเขตจังหวัด)
☞ ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี จัดให้มีการคัดเลือกผู้แทนพนักงานเมือง
พัทยา
☞ปลัดเมืองพัทยา เป็น เลขานุการฯ
☞ ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้แทนพนักงานเทศบาล มีวาระอยู่ในตำแหน่ง
คราวละ 4 ปี
☞ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพนักงานเทศบาลใช้สูตรเดียวกับ
อบจ.

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 83


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ก.กลาง (คณะกรรมการกลาง .)
– คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
– คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล
– คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล
เป็นคณะกรรมการในส่วนกลาง (ประจำกระทรวงมหาดไทย) ทำหน้าที่
กำกับดูแลคณะกรรมการในระดับจังหวัดคณะกรรมการกลาง ☞ อบจ.
☞เทศบาล ☞อบต มีอย่างละ 18 คน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 84


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
1. ปลัดกระทรวงมหาดไทย จัดให้มีการคัดเลือก นายก อบจ. และ ปลัด
อบจ.
2. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแต่งตั้งข้าราชการในกรม
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีเป็นเลขานุการ
3. ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้แทน มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล
1. ปลัดกระทรวงมหาดไทย จัดให้มีการคัดเลือก นายกเทศมนตรี และ
ปลัดเทศบาล
2. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแต่งตั้งข้าราชการในกรม
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีเป็นเลขานุการ
3. ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้แทน มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล
1. ปลัดกระทรวงมหาดไทย จัดให้มีการคัดเลือก นายก อบต. และ ปลัด
อบต.
2. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแต่งตั้งข้าราชการในกรม
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีเป็นเลขานุการ
3. ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้แทน มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
ผู้ทรงคุณวุฒิ มาจาก คณะกรรมโดยตำแหน่ง เสนอรายชื่อ 9
คน และผู้แทนข้าราชการเสนอรายชื่ออีก 9 คน จะได้ 18 คน แล้ ว
คัดเลือกให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน และคุณสมบัติของ
ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ มีสัญชาติไทย อายุไม่ตำกว่า 40 ปีบริบูรณ์และมีชื่อ
ในทะเบียนบ้านในเขตจังหวัด ไม่น้อยกว่า 1 ปี (ข้อสอบมักถามจำนวนปี
ที่มีชื่ออยู่ในเขตจังหวัด)

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 85


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

อำนาจหน้าที่ของ (คณะกรรมการกลาง .) สูตรให้ใช้ร่วมกันทั้ง


อบจ. เทศบาล อบต. คณะกรรมการกลางมีหน้าที่ “กำหนดมาตรฐาน
ทั่วไป” ของคณะกรรมการในระดับจังหวัด
คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น(ก.ถ.)
ก.ถ. มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานกลางของ คณะกรรมการ
กลาง คณะกรรมการมาตรฐานการบริห ารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น มี 17
คน (ประธาน ก.ถ. จำนวน 1 คน + คณะกรรมการอีก 16 คน)
ประธาน ก.ถ. มาจากการเสนอชื่อของคณะกรรมการกลาง
อบจ. อบต. และเทศบาลฝ่ายละ 3 คน แล้วให้บุคคลทั้ง 9 คัดเลือก
กันเอง 1 คนให้เป็นประธาน
– รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจัดให้มีการคัดเลือก
ประธาน ก.ถ.
– รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศแต่งตั้ง ประธาน
ก.ถ.
– ประธาน ก.ถ. มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี
และเป็นได้เพียงวาระเดียว
คณะกรรมการ ก.ถ.

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 86


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

บทสรุป
– ก.ถ. กำกับดูแล คณะกรรมการกลาง อบจ. อบต. และเทศบาล
– คณะกรรมการกลาง อบจ. กำกับดูแล อบจ ทุกจังหวัด
– คณะกรรมการกลางเทศบาล กำกับดูแล คณะกรรมการเทศบาลทุก
จังหวัด
– คณะกรรมการกลาง อบต กำกับดูแล คณะกรรมการ อบต ทุกจังหวัด
– คณะกรรมการเทศบาลประจำจังหวัด กำกับดูแลทุกเทศบาลใน
จังหวัดนั้น
– คณะกรรมการ อบต ประจำจังหวัด กำกับดูแลทุก อบต. ในจังหวัด
นั้น

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 87


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการ
บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 88


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการ
บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. 2546
หมวด 1 การบริหารบ้านเมืองที่ดี
มาตรา 6 พระราชกฤษฎีกา มีเป้าหมาย ดังนี้
1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์
6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการ
ตอบสนองความต้องการ
7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
หมวด 2 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของ
ประชาชน
หมายถึง การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อเกิดความผาสุข
และความเป็นอยู่ของประชาชนมีความสงบและปลอดภัยของสังคม
ส่วนรวมตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ
มาตรา 8 กำหนดให้มีแนวทางบริหารราชการ ดังนี้
1) กำหนดภารกิจของส่วนราชการต้องทำไปเพื่อความผาสุข
ของประชาชนและสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ และแนวนโยบาย
ของรัฐบาล

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 89


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

2) ต้องปฏิบัติไปโดยความซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้
3) ก่อนเริ่มดำเนินการ ต้องศึกษาวิเคราะห์ผลดี และผลเสียให้
ครบถ้วน ด้วยความโปร่งใส ภารกิจใดมีผลกระทบต่อประชาชน ตั้งรับ
ฟังความคิดเห็นของ ประชาชนตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวมที่จะได้รับ
4) เป็นหน้าที่ต้องรับฟังความคิดเห็น ความพึงพอใจของสังคม
และประชาชนที่ได้รับบริการเพื่อนำมาปรับปรุงเสนอแนะผู้มีอำนาจ
ปรับปรุงให้เหมาะสม
5) พบปั ญ หาอุ ป สรรคการดำเนิ น การ ให้ ร ี บ แก้ ไ ขปั ญ หา
อุปสรรคโดยเร็ว หากพบว่าปัญหาอุปสรรคเกิดจากส่วนราชการ ระเบียบ
ข้อบังคับ รีบแจ้งให้ส่วนราชการเกี่ยวข้องทราบเพื่อปรับปรุงโดยเร็ว และ
แจ้งให้ ก.พ.ร. ทราบด้วย
หมวด 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลผลสัมฤทธิ์ต่อ
ภารกิจของรัฐ
มาตรา 9 เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐให้ส่วน
ราชการปฏิบัติ ดังนี้
1) ก่อนดำเนินการ ต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการ
ล่วงหน้า
2) ในแผนปฏิบัติราชการ ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน
ระยะเวลาและงบประมาณที่ต้องใช้เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์
และตัวชี้วัดความสำเร็จ
3) ต้องจัดให้มีการติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตาม
แผนปฏิบัติราชการ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 90


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

4) การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อ
ประชาชน ต้องรีบแก้ไขหรือบรรเทาหรือเปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติราชการ
ให้เหมาะสม
มาตรา 10 ภารกิจใดมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการ
ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกำหนด แนวปฏิบัติราชการ เพื่อให้เกิดการ
บริหารราชการบูรณาการพร้อมกัน โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจ
ของรัฐ
มาตรา 11 การพัฒนาความรู้ในส่วนราชการ ที่มีลักษณะเป็น
องค์แห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้ได้อย่าง
ถูกต้อง รวดเร็ว ส่งเสริมพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และ
เปลี่ยนทัศนคติ ให้มีการเรียนรู้ร่วมกัน
มาตรา 16 ให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วน
ราชการนั้น โดยจัดทำเป็นแผน 4 ปี สอดคล้องกับแผนบริหารราชการ
แผ่นดินแต่ละปีงบประมาณให้จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี โดยระบุ
สาระสำคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์
ของงาน รวมทั้งประมาณการรายได้รายจ่ายเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้
จัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการ
หมวด 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิด
ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
มาตรา 20 ให้ส่วนราชการกำหนดเป้าหมาย แผนการทำงาน
ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการและงบประมาณที่จะต้องใช้
และต้องเผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชนทราบ
มาตรา 23 การจัดซื้อหรือจัดจ้าง ให้ดำเนินการโดยเปิดเผย
และเที่ยงธรรม พิจารณาถึงประโยชน์และผลเสียทางสังคม ภาระต่อ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 91


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ประชาชน คุณภาพ วัตถุประสงค์ที่จะใช้ ราคาและประโยชน์ระยะยาว


ของส่วนราชการที่จะได้รับประกอบกันในกรณีที่วัตถุประสงค์ในการใช้
เป็นเหตุต้องคำนึงถึงคุณภาพ การดูแลรักษาเป็นสำคัญ ให้สามารถทำได้
โดยไม่ต้องถือราคาต่ำสุดในการเสนอซื้อหรือจ้างเสมอไป
มาตรา 24 ภารกิจใด หากจำเป็นต้องได้รับอนุญาต อนุมัติ
หรือเห็นชอบจากส่วนราชการอื่นให้ส่วนราชการนั้นแจ้งผลการพิจารณา
ให้ทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ
มาตรา 25 ในการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา ให้ตั้งคณะ
กรรมการ หากผู้แทนส่วนราชการนั้นมีความคิดเห็นแตกต่างกันให้บันทึก
ความเห็นของฝ่ายน้อยให้ปรากฏในเรื่องนั้น ห้ามมิให้ใช้บังคับการ
วินิจฉัยในปัญหาด้านกฎหมาย
มาตรา 26 การสั่งราชการให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่
ผู้บังคับบัญชามีความจำเป็นไม่อาจ สั่งได้ ให้ผู้รับคำสั่งบันทึกไว้เป็นลาย
ลักษณ์อักษร และเมื่อปฏิบัติแล้วให้บันทึกรายงานอ้างคำสั่งด้วยวาจาไว้
ด้วย
หมวด 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
มาตรา 27 ให้กระจายอำนาจการบริหารตัดสินใจให้แก่ผู้ดำรง
ตำแหน่งรับผิดชอบเรื่องนั้น ๆโดยตรง ต้องมุ่งผลให้เกิดความสะดวก
รวดเร็ ว ในการบริ ก ารประชาชนลดขั ้ น ตอน กลั ่ น กรองงาน หากใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโทรคมนาคมจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและ
ประหยัดค่าใช้จ่าย
มาตรา 28 ให้ ส ่ ว นราชการจั ด ทำแผนภู ม ิ ข ั ้ น ตอนและ
ระยะเวลาการดำเนินการ รวมทั้งรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อ งโดย
เปิดเผย ณ ที่ทำการเพื่อให้ประชาชนหรือผู้เกี่ยวข้องเข้าตรวจดูได้

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 92


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

มาตรา 30 ให้มีศูนย์บริการประชาชนรวมทั้งประจำจังหวัด
อำเภอ
หมวด 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
มาตรา 33 ส่วนราชการต้องจัดให้มีการทบทวนภารกิจของ
ตน มีความจำเป็นหรือสมควรดำเนินการต่อไป โดยคำนึงถึงแผนการ
บริหารราชการแผ่นดิน นโยบาย คำสั่ง งบประมาณ ความคุ้มค่าของ
ภารกิจ ทั้งนี้ ก.พ.ร.จะกำหนดหากมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงต้องให้
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
มาตรา 36 ในกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า
กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศ ไม่สอดคล้องหรือ
เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่เอื้อต่อการพัฒนาเป็นอุปสรรคต่อ
การดำรงชีวิตของประชาชน ให้แนะนำส่วนราชการนั้นดำเนินการแก้ไข
โดยเร็ว
หมวด 7 การอำนวยความสะดวกและการสนองความ
ต้องการของประชาชน
มาตรา 37 ให้ส่วนราชการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของ
งานแต่ละงานและประกาศให้ประชาชนและข้าราชการทราบเป็นการ
ทั่วไป ให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาต้องตรวจสอบให้การปฏิบัติงาน
แล้วเสร็จตามกำหนดไว้
มาตรา 38 เมื่อส่วนราชการได้รับติดต่อสอบถามเป็น
หนังสือจากประชาชนหรือส่วนราชการด้วยกัน ต้องตอบคำถามหรือแจ้ง
ดำเนิ น การให้ ท ราบภายใน 15 วั น หรื อ ตามกำหนดไว ้ ใ น
มาตรา 37

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 93


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

มาตรา 39 ให้ส่วนราชการจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศ
ของส่วนราชการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน สามารถติดต่อ
สอบถามหรือขอข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็น
มาตรา 41 เมื่อได้รับคำร้องเรียน เสนอแนะ หรือความคิดเห็น
เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ พบปัญหาอุปสรรค ปัญหาจากบุคคล เป็น
หน้าที่ของส่วนราชการนั้นต้องพิจารณาดำเนินการปรับปรุง แล้วแจ้งให้
บุคคลที่ร้องเรียนทราบด้วยหากสามารถติดต่อได้ หรือแจ้งผ่านระบบ
เครือข่ายสารสนเทศ
มาตรา 44 ต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณ
รายจ่ายแต่ละปี รายการเกี่ยวกับการจัดซื้อ/จัดจ้าง และสัญญาใดที่มีการ
อนุมัติให้จัดซื้อ/จัดจ้าง ให้ประชาชนสามารถขอดู /ตรวจสอบได้ ณ ที่ทำ
การหรือระบบเครือข่ายสารสนเทศ ทั้งนี้ต้องไม่เกิดความได้ เปรียบ
เสียเปรียบแก่บุคคลเกี่ยวข้อง หรือกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อห้าม/ตกลง
ไว้ในสัญญาต้องได้รับความคุ้มครอง
หมวด 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ
มาตรา 45 ให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระ
ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับ
ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของ
ประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ
มาตรา 46 จัดให้มีการประเมินภาพรวมของบังคับบัญชาแต่
ละระดับหรือหน่วยงานในส่วนราชการก็ได้ ทั้งนี้ ต้องกระทำเป็น
ความลับและเป็นประโยชน์แห่งความสามัคคีของข้าราชการ
มาตรา 47 การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ เพื่อ
ประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลให้คำนึงถึงผลการปฏิบัติงานเฉพาะตัว

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 94


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ของข้าราชการผู้นั้นในตำแหน่งที่ปฏิบัติ ประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ที่
หน่วยงานผู้นั้นสังกัดปฏิบัติงาน
มาตรา 48 ส่วนราชการใดดำเนินการให้บริการที่มีคุณภาพ
และเป็นไปตามเป้าหมาย รวมทั้งความพึงพอใจแก่ประชาชน ให้ ก.พ.ร.
เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษเป็นบำเหน็จความชอบ หรือ
นำไปใช้ปรับปรุงการปฏิบัติงาน
มาตรา 49 ส่ว นราชการใดได้ดำเนินงานไปตามเป้าหมาย
สามารถเพิ่มผลงานและผลสัมฤทธิ์ โดยไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายและคุ้มค่าภารกิจ
สามารถลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วยตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร.กำหนด ให้ ก.พ.ร.
เสนอคณะรัฐมนตรี จัดสรรเงินรางวัลการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วน
ราชการนั้น
เนื่องจากได้มีการปฏิรูประบบราชการและมีการตรา
“พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไข
เพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545”
มีจ ุดมุ่งหมายเพื่อให้การบริห ารราชการสามารถปฏิบัติงาน
ตอบสนองต่อการพัฒ นาประเทศและให้บ ริการแก่ประชาชนอย่างมี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้การบริหารราชการแนวทางใหม่ต้องมี
การกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และแผนการปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถ
ประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน มีกรอบการ
บริ ห ารกิ จ การบ้ า นเมื อ งที ่ ด ี เ ป็ น แนวทางในการกำกั บ การกำหนด
นโยบายและการปฏิบัติราชการ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 95


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

* รู้ไว้ให้จำ *
ข้อสอบมักถามว่า กฎหมายใดให้อำนาจในการตราพระราช
กฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.
2546 จงตอบโดยพลัน ว่ า พระราชบัญญั ติร ะเบี ยบบริห ารราชการ
แผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
* ข้อสอบมักถามว่า พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และ
วิธีบริหารกิจการที่ดี พ.ศ. 2546 มีหลักการว่าอย่างไร ให้ตอบว่า เป็น
หลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการ การสั่งการให้ส่วนราชการ
และข้าราชการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการ
ที่ดี พ.ศ. 2546 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2546
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. อบต. เทศบาล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา) และรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย
แพ่ง (บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)) มิใช่ส่วนราชการตามกฎหมาย
นี้
* รู้ไว้ให้จำ *
ส่วนราชการที่อยู่ภ ายใต้บ ังคับ ของพระราชกฤษฎีก าว่า ด้ว ย
หลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการที่ดี พ.ศ. 2546 ได้แก่ กระทรวง ทบวง
กรม ส่ ว นราชการอื ่ น ที ่ ม ี ฐ านะเท่ า กรม ราชการส่ ว นภู ม ิ ภ าค
(จั ง หวั ด อำเภอ ตำบล หมู ่ บ ้ า น) รั ฐ วิ ส าหกิ จ ที ่ จ ั ด ตั ้ ง ขึ ้ น ตาม
พระราชบัญญัติ (ขึ้นต้นด้วย “การ” เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ
ไทย) รั ฐ วิ ส าหกิ จ ที ่ จ ั ด ตั ้ ง ขึ ้ น ตามพระราชกฤษฎี ก า (ขึ ้ น ต้ น ด้ ว ย
“องค์การ” เช่น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ) เท่านั้น

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 96


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี คืออะไร การบริหารราชการเพื่อให้


บรรลุเป้าหมาย ตามรายละเอียด ดังนี้
1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์
6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก และได้รับการตอบสนอง
ความ
7) มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ
☞การปฏิบัติราชการเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ ไม่ใช่
วัตถุประสงค์ของการบริหารราชการเพื่อประโยชน์ของประชาชน
☞การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุข เพื่อความอยู่ดี
กินดี เพื่อความสงบ และปลอดภัยของประชาชนส่วนรวม คือ
วัตถุประสงค์ของการบริหารราชการเพื่อประโยชน์ของประชาชน
☞แนวทางของการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ต้อง
เป็นไปด้วยความสุจริ ต ซื่อสัตย์ ตรวจสอบได้ ก่อนเริ่มดำเนินการต้องมี
การศึกษาวิเคราะห์ผลดี ผลเสียให้ครบทุกด้าน ต้องคอยรับฟัง ความ
คิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้ใช้บริการ
กรณีเกิดปัญหา และอุปสรรคจากการดำเนินการให้ส่วนราชการแก้ไข
ปัญหาอุปสรรคนั้นโดยเร็ว
ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่แนวทางบริหารราชการเพื่อให้
เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 97


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

☞แผนบริหารราชการแผ่นดิน เป็นแผนบริหารที่คณะรัฐมนตรีจะต้อง
จัดทำ โดยเป็นแผน 4 ปี มีผลผูกพันคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี และส่วน
ราชการตามกฎหมายนี้
- สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี สำนัก
งบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ มีหน้าที่ร่วมจัดทำแผนบริหารราชการ
แผ่นดินเสนอต่อรัฐมนตรี
- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ไม่มี
หน้าที่ร่วมจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินเสนอต่อ
รัฐมนตรี
- เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาหน่วยงานที่
จัดทำแผนการบริหาราชการแผ่นดินต้องเสนอแผนให้
คณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 90 วัน
- แผนการบริหารราชการแผ่นดินไม่ผูกพันกับ
กรุงเทพมหานคร
☞แผนนิติบัญญัติ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายที่จัดให้มีขึ้นใหม่
หรือจะมีการแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับแผน
บริหารราชการแผ่นดิน โดยสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีหน้าที่จัดทำแผนนิติบัญญัติ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 98


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

☞แผนปฏิบัติราชการและแผนปฏิบัติราชการประจำปี ส่วนราชการ
จัดทำแผน 4 ปี โดยต้องสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
- แผนการปฏิบัติราชการมีสาระสำคัญ ได้แก่ การกำหนด
เป้าหมาย การกำหนดผลสัมฤทธิ์ของงาน ส่วนราชการและ
บุคคลที่รับผิดชอบภารกิจ มีการประมาณรายได้ และ
ทรัพยากรต่างๆ ที่จะต้องใช้ และกำหนดระยะเวลาการ
ดำเนินการและการประเมินผล โดยที่การกำหนดแนวทาง
ปฏิบัติ ไม่ใช่สาระสำคัญของแผนการปฏิบัติราชการ
- การจัดทำแผนปฏิบัติราชการจะต้องนำแนวนโยบายของ
รัฐที่แถลงต่อรัฐสภามาพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับ
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และแผนพัฒนาประเทศด้าน
ต่างๆที่เกี่ยวข้อง
- สำนักงบประมาณจะจัดสรรงบประมาณให้แก่ส่วนราชการ
ก็ต่อเมื่อแผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการได้รับ
ความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
☞การสรุปผลการปฏิบัติราชการต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่
เมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการมี
หน้าที่สรุปผลการปฏิบัติราชการและให้ข้อมูลแก่นายกรัฐมนตรีคนใหม่
ตามทีน่ ายกรัฐมนตรีคนใหม่สั่งการ เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการ
พิจารณากำหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดิน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 99


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

☞การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าใน
ภารกิจของรัฐ ส่วนราชการจะต้องกำหนดเป้าหมาย >> แผนการ
ทำงาน >> ระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน >> งบประมาณที่ต้องใช้ >>
เผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชนทราบ
☞การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
เป็นการกระจายอำนาจ การตัดสินใจมุ่งผลให้ ความสะดวกและ
รวดเร็วในการบริการประชาชน โดยที่ส่วนราชการจะต้องจัดทำแผนภูมิ
ขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินการในการปฏิบัติงานด้าน การบริการ
ประชาชน ด้านการติดต่อประสานงานกับส่วนราชการด้วยกัน เปิดเผยไว้
ณ ที่ทำการของส่วนราชการและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
☞การอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน
- เมือ่ ส่วนราชการได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจาก
ประชาชนเป็นหน้าที่ของส่วนราชการจะต้องตอบคำถาม
หรือแจ้งการดำเนินการให้ทราบภายใน 15 วัน
- ส่วนราชการจะต้องจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศใน
ระบบเดียวกันกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสาร
ปัจจุบนั กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
เปลี่ยนชื่อเป็น
กระทรวงดิจิทลั เพื่อเศรษฐกิจและสังคม

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 100


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

Keyword เพื่อให้ง่ายต่อการจำและเอาไปตอบ

หมวดที่ 1 ว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ให้จำว่าได้กล่าวถึง


☞ ประโยชน์สุข ☞ผลสัมฤทธิ์ ☞ ประสิทธิภาพ
☞ ไม่มีขั้นตอน ☞ปรับปรุงภารกิจ ☞อำนวยความสะดวก ☞
ประเมินผล
หมวดที่ 2 การบริหารกิจการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
☞สอดคล้องกับนโยบาย☞ ซื่อสัตย์สุจริต
☞วิเคราะห์ผลดีผลเสีย ☞ รับฟังความคิดเห็น
☞ แก้ไขปัญหาและอุปสรรค
หมวดที่ 3 การบริหารเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
☞จัดทำแผน ☞ขั้นตอน ☞ติดตามและประเมินผล
☞เกิดผลกระทบ
หมวดที่ 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า
ส่วนราชการจะต้อง
☞กำหนดเป้าหมาย ☞แผนการทำงาน ☞ระยะเวลาแล้วเสร็จ
☞ งบประมาณที่ต้องใช้ ☞ เผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชน
ทราบ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 101


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

หมวดที่ 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ ให้คำนึงถึง


☞แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ☞นโยบายของคณะรัฐมนตรี
☞ กำลังเงินงบประมาณของประเทศ☞ ความคุ้มค่าของภารกิจ
หมวดที่ 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ
☞ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ ☞คุณภาพการให้บริการ
☞ความพึงพอใจของประชาชน ☞ความคุ้มค่าของภารกิจ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 102


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการ
พิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 103


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการ
พิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบนั
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี)

☞ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับ
แต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา ๑๗ ให้ใช้
บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
☞ มี 18 มาตรา
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรม
ราชโองการโปรดเกล้า ฯให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่า
ด้วยการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการจึง
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ
และยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
☞ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการอำนวย
ความสะดวกในการพิจารณา
อนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘”
☞ มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปด
สิบวันนับแต่วันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา ๑๗ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วัน
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 104


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

☞ มาตรา ๓ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับกับบรรดาการอนุญาต การ


จดทะเบียนหรือการแจ้งที่มีกฎหมายหรือกฎกำหนดให้ต้องขออนุญาต
จดทะเบียน หรือแจ้ง ก่อนจะดำเนินการใดบทบัญญัติของกฎหมายหรือ
กฎใดที่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
☞ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“เจ้าหน้าที”่ หมายความว่า เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติ
ราชการทางปกครอง
“อนุญาต” หมายความว่า การที่เจ้าหน้าที่ยินยอมให้บุคคลใดกระทำการ
ใดที่มีกฎหมายกำหนดให้
ต้องได้รับความยินยอมก่อนกระทำการนั้น และให้หมายความรวมถึงการ
ออกใบอนุญาต การอนุมัติการจดทะเบียน การขึ้นทะเบียน การรับแจ้ง
การให้ประทานบัตรและการให้อาชญาบัตรด้วย
“ผู้อนุญาต” หมายความว่า ผู้ซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจในการ
อนุญาต
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่า
ด้วยการอนุญาต
“กฎหมายว่าด้วยการอนุญาต” หมายความว่า บรรดากฎหมายที่มี
บทบัญญัติกำหนดให้
การดำเนินการใดหรือการประกอบกิจการใดจะต้องได้รับอนุญาตก่อนจึง
จะดำเนินการได้
“คำขอ” หมายความว่า คำขออนุญาต

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 105


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

☞มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่
(๑) รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
(๒) การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการดำเนินงานของ
เจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณา
คดีการบังคับคดี และการวางทรัพย์
(๓) การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
(๔) การอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม
(๕) การอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการทางทหารด้าน
ยุทธการ รวมทั้งตามกฎหมายเกี่ยวกับ
การควบคุมยุทธภัณฑ์ และกฎหมายว่าด้วยโรงงานผลิตอาวุธ
ของเอกชน การยกเว้นไม่ให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
มาใช้บังคับแก่การดำเนินกิจการใดหรือกับ หน่วยงานใด
นอกจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
☞มาตรา ๖ ทุกห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้
อนุญาตพิจารณากฎหมายที่ให้อำนาจในการอนุญาตว่าสมควรปรับปรุง
กฎหมายนั้นเพื่อยกเลิกการอนุญาตหรือจัดให้มีมาตรการอื่นแทนการ
อนุญาตหรือไม่ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นผู้อนุญาตจะพิจารณา
ปรับปรุงกฎหมายหรือจัดให้มีมาตรการอื่นแทนในกำหนดระยะเวลาที่
เร็วกว่านั้นก็ได้ให้ผู้อนุญาตเสนอผลการพิจารณาตามวรรคหนึ่งต่อ
คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณายกเลิกการอนุญาตหรือจัดให้มีมาตรการอื่น
แทนการอนุญาต ในการนี้ให้คณะรัฐมนตรีรับฟังความคิดเห็นของ
คณะกรรมการพัฒนากฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการ
กฤษฎีกาประกอบการพิจารณาด้วย

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 106


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

☞มาตรา ๗ ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้การกระทำใดจะต้องได้รับ
อนุญาต ผู้อนุญาตจะต้องจัดทำคู่มือสำหรับประชาชน ซึ่งอย่างน้อยต้อง
ประกอบด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข (ถ้ามี)ในการยื่นคำขอ
ขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตและรายการเอกสารหรือ
หลักฐานที่ผู้ขออนุญาตจะต้องยื่นมาพร้อมกับคำขอ และจะกำหนดให้ยื่น
คำขอผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนการมายื่นคำขอด้วยตนเองก็ได้คู่มือ
สำหรับประชาชนตามวรรคหนึ่งให้ปิดประกาศไว้ ณ สถานที่ ที่กำหนดให้
ยื่นคำขอ และเผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเมื่อประชาชนประสงค์
จะได้สำเนาคู่มือดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดสำเนาให้โดยจะคิด
ค่าใช้จ่ายตามควรแก่กรณีก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นให้ระบุค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้
ในคู่มือสำหรับประชาชนด้วยให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒ นา
ระบบราชการตรวจสอบขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตที่
กำหนดตามวรรคหนึ่งว่าเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมตามหลักเกณฑ์และ
วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือไม่ ในกรณีที่เห็นว่าขั้นตอนและ
ระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อ
พิจารณาและสั่งการให้ผู้อนุญาตดำเนินการแก้ไขให้เหมาะสมโดยเร็วเพื่อ
ประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ให้ส่วนราชการจัด
ให้มีศูนย์บริการร่วมเพื่อรับคำขอและชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการ
อนุญาตต่าง ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตไว้ ณ ที่เดียวกันตาม
แนวทางที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการกำหนด
☞ มาตรา ๘ ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการรับคำ
ขอจะต้องตรวจสอบคำขอและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่ยื่นพร้อม
คำขอให้ถูกต้องครบถ้วน หากเห็นว่าคำขอไม่ถูกต้องหรือยังขาดเอกสาร
หรือหลักฐานใดให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบทันที ถ้ าเป็นกรณีที่สามารถ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 107


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

แก้ไขหรือเพิ่มเติมได้ในขณะนั้น ให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขหรือ
ยื ่ น เอกสารหรื อ หลั ก ฐานเพิ ่ ม เติ ม ให้ ค รบถ้ ว นถ้ า เป็ น กรณี ท ี ่ ไ ม่ อ าจ
ดำเนินการได้ในขณะนั้นให้บันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือ
หลักฐานที่จะต้องยื่นเพิ่มเติม พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาที่ผู้ยื่นคำขอ
จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือยื่นเพิ่มเติมไว้ในบันทึกดังกล่าวด้วยและให้
พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ย ื่น คำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นให้พนัก งาน
เจ้าหน้าที่มอบสำเนาบันทึกตามวรรคหนึ่งให้ผู้ยื่นคำขอไว้เป็นหลักฐานใน
กรณีที่ผู้ยื่นคำขอได้จัดทำคำขอถูกต้องและแนบเอกสารหรือหลักฐาน
ครบถ้วนตามที่ระบุในคู่มือสำหรับประชาชนตามมาตรา ๗ แล้ว หรือได้
แก้ไขหรือยื่น เอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมครบถ้ว นตามที่พนักงาน
เจ้าหน้าที่แนะนำหรือตามที่ปรากฏในบันทึกตามวรรคหนึ่งแล้ว พนักงาน
เจ้าหน้าที่จะเรียกเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมอื่นใดอีกไม่ ได้ และจะ
ปฏิเสธการพิจารณาคำขอนั้นโดยอาศัยเหตุแห่งความไม่สมบูรณ์ของคำ
ขอหรือความไม่ครบถ้วนของเอกสารหรือหลักฐานไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณี
ที ่ ค วามไม่ ส มบู ร ณ์ ห รือ ความไม่ค รบถ้ว นนั้ นเกิด จากความประมาท
เลินเล่อหรือทุจริตของพนักงานเจ้าหน้าที่ และเป็นผลให้ไม่อาจอนุญาต
ได้ในกรณีนี้ให้ผู้อนุญาตสั่งการตามที่เห็นสมควรและให้ดำเนินการทาง
วินัยหรือดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยไม่ชักช้า
☞ มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่แก้ไขเพิ่มเติมคำขอหรือไม่ส่ง
เอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบหรือ
ตามที่ป รากฏในบัน ทึกที่จ ัดทำตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่งให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่คืนคำขอให้แก่ผู้ยื่นคำขอพร้อมทั้งแจ้งเป็นหนังสือถึงเหตุแห่ง
การคืนคำขอให้ทราบด้วยผู้ยื่นคำขอจะอุทธรณ์คำสั่งคืนคำขอตามวรรค
หนึ่ง ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองหรือจะยื่นคำขอ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 108


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ใหม่ ก ็ ไ ด้ แต่ ใ นกรณี ท ี ่ ก ฎหมายกำหนดให้ ต ้ อ งยื ่ น คำขอใดภายใน


ระยะเวลาที่กำหนดผู้ยื่นคำขอจะต้องยื่นคำขอนั้นใหม่ภายในระยะเวลา
ดังกล่าว
☞ มาตรา ๑๐ ผู ้ อ นุ ญ าตต้ อ งดำ เนิ น การให้ แ ล้ ว เสร็ จ ภายใน
กำหนดเวลาที่ระบุไว้ในคู่มือสำหรับประชาชนตามมาตรา ๗ และแจ้งให้
ผู้ยื่นคำขอทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จเมื่อครบ
กำหนดเวลาตามที่ระบุไว้ในคู่มือสำหรับประชาชนตามมาตรา ๗ แล้ว
หากผู้อนุญาตยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอ
ทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวัน จนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
พร้อมทั้งส่งสำเนาการแจ้งดังกล่าวให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ทราบทุกครั้งในกรณีที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเห็นว่าความ
ล่าช้านั้นเกินสมควรแก่เหตุหรือเกิดจากการขาดประสิทธิภาพในการ
ปฏิบัติราชการของหน่วยงานของผู้อนุญาต ให้คณะกรรมการพั ฒ นา
ระบบราชการรายงานต่อคณะรัฐมนตรีพร้อมทั้งเสนอแนะให้มีการพัฒนา
หรือปรับปรุงหน่วยงานหรือระบบการปฏิบัติราชการของหน่วยงานนั้นใน
กรณีไม่แจ้งตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้ถือว่าผู้อนุญาตกระทำการ
หรือละเว้นกระทำการเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เว้นแต่จะเป็น
เพราะมีเหตุสุดวิสัย
☞มาตรา ๑๑ ในกรณีที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับใดออก
ใช้บังคับและมีผลให้ต้องเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข หรือ
รายละเอียดอื่นใดที่ปรากฏในคู่มือสำหรับประชาชนตามมาตรา ๗ การ
เปลี่ยนแปลงเช่นว่านั้น มิให้ใช้บังคับกับการยื่นคำขอที่ได้ยื่นไว้แล้วโดย
ชอบก่อนวันที่กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
เว้น แต่กฎหมายนั้น จะบั ญญัติ ไว้เป็น อย่า งอื่ นแต่ส ำหรั บในกรณี ก ฎ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 109


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ระเบียบ หรือข้อบังคับนั้นจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นได้ก็แต่เฉพาะในกรณี
ที่การเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ยื่นคำขอ
☞มาตรา ๑๒ ในกรณีที่กฎหมายกำหนดอายุใบอนุญาตไว้ และกิจการ
หรือการดำเนินการที่ได้รับใบอนุญาตนั้นมีลักษณะเป็นกิจการหรือการ
ดำเนิ น การที ่ เ ห็ น ได้ ว ่ า ผู ้ ไ ด้ ร ั บ ใบอนุ ญ าตจะประกอบกิ จ การหรื อ
ดำเนินการนั้นต่อเนื่องกัน คณะรัฐมนตรีจะกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาต
ชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น
ๆ แทนการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก็ได้ และเมื่อหน่วยงานซึ่งมีอำนาจ
ออกใบอนุญาตได้รับค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้ว ให้ออกหลักฐานการต่อ
อายุใบอนุญาตให้แก่ผู้รับใบอนุญาตโดยเร็ว และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาต
ได้รับการต่ออายุใบอนุญาตตามกฎหมายนั้น ๆ แล้วการกำหนดให้ผู้รับ
ใบอนุญาตชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุใบอนุญาตแทนการยื่นคำขอต่ออายุ
ใบอนุ ญ าตตามวรรคหนึ ่ ง ให้ ต ราเป็ น พระราชกฤษฎี ก า ในพระราช
กฤษฎีกาดังกล่าวให้ระบุชื่อพระราชบัญญัติและประเภทของใบอนุญาต
ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ผู้รับใบอนุญาตอาจดำเนินการตามวรรค
หนึ่งได้ก่อนตราพระราชกฤษฎีกาตามวรรคสอง ให้คณะรัฐมนตรีส่ง ร่าง
พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเป็นเวลาไม่
น้ อ ยกว่ า สามสิ บ วั น เมื ่ อ พ้ น กำหนดเวลาดั ง กล่ า วแล้ ว หากสภา
ผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภามิได้มีมติทักท้วง ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อ
ทรงตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวต่อไปให้เป็นหน้าที่ของสำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการที่จะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กับการออกใบอนุญาต เพื่อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการดำเนินการ
ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 110


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

☞ มาตรา ๑๓ ให้เป็นหน้าที่ของผู้อนุญาตที่จะต้องกำหนดหลักเกณฑ์
และแนวทางการตรวจสอบการประกอบกิจการหรือการดำเนินกิจการ
ของผู้ได้รับอนุญาตให้ เป็นไปตามที่กฎหมายว่าด้วยการอนุญาตกำหนด
และให้ เ ป็ น หน้ า ที ่ ข องพนั ก งานเจ้ า หน้ า ที ่ แ ละผู ้ อ นุ ญ าตที ่ จ ะต้ อ ง
ตรวจสอบตามหลั ก เกณฑ์ แ ละแนวทางดั ง กล่ า วเมื ่ อ มี ผ ู ้ ไ ด้ ร ั บ ความ
เดือดร้อนรำคาญ หรือเสียหายจากการประกอบกิจการหรือการดำเนิน
กิจการของผู้ได้รับอนุญาต ไม่ว่าความจะปรากฏต่ อพนักงานเจ้าหน้าที่
เองหรือมีผู้ร้องเรียน ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะดำเนินการ
ตรวจสอบและสั่งการตามอำนาจหน้าที่โดยเร็ว
☞ มาตรา ๑๔ ในกรณีจำเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์ในการอำนวย
ความสะดวกแก่ป ระชาชนให้คณะรัฐ มนตรีมีมติจัดตั้งศูนย์รับ คำขอ
อนุญาต เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรับคำขอตามกฎหมายว่าด้วย
การอนุญาตขึ้นให้ศูนย์รับคำขออนุญาตตามวรรคหนึ่งมีฐานะเป็นส่วน
ราชการตามมาตรา ๑๘ วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการแผ่น ดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบั ญ ญั ติ
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยอยู่ในสังกัด
สำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีสาขาของศูนย์ประจำกระทรวงหรือ
ประจำจังหวัดด้วยก็ได้การจัดตั้งศูนย์รับคำขออนุญาตตามวรรคหนึ่งให้
ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้กำหนดรายชื่อ
กฎหมายว่าด้วยการอนุญาตที่จะให้อยู่ภายใต้การดำเนิน การของศูนย์
รับคำขออนุญาตในการดำเนินการเกี่ยวกับการรับคำขอ จะกำหนดใน
พระราชกฤษฎีกาให้ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 111


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

☞ มาตรา ๑๕ เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์รับคำขออนุญาตตามมาตรา ๑๔
แล้ว ให้ดำเนินการและมีผล
ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยการอนุญาตหรือกฎที่ออกตามกฎหมาย
ดังกล่าวกำหนดให้ต้องยื่นคำขอ หรือส่งเอกสารหรือหลักฐาน หรือค่าธรรมเนียมใด
ณ สถานที่ใด ถ้าได้มีการยื่นคำขอหรือส่งเอกสารหรือหลักฐาน หรือค่าธรรมเนียม
ณ ศูนย์รับคำขออนุญาตแล้ว ให้ถือว่าได้มีการยื่นคำขอ หรือส่งเอกสารหรือ
หลักฐาน หรือค่าธรรมเนียมโดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตนั้นแล้ว
(๒) บรรดาเงินค่าธรรมเนียมหรือเงินอื่นใดที่ศูนย์รับคำขออนุญาตได้รับไว้
ตาม (๑) ให้ศูนย์รบั คำขออนุญาตนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินในนามของหน่วยงาน
ของผู้อนุญาต หรือส่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี และแจ้งให้
หน่วยงานของผู้อนุญาตทราบ
(๓) ในกรณีที่หน่วยงานของผู้อนุญาตมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายจากเงินที่จะต้อง
นำส่งคลัง ให้ศูนย์รับคำขออนุญาตหักเงินดังกล่าวแทนและส่งมอบเงินที่หักไว้นั้น
ให้แก่หน่วยงานของผู้อนุญาต โดยให้ศูนย์รับคำขออนุญาตมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายของ
ศูนย์รับคำขออนุญาตตามอัตราที่จะได้ตกลงกับหน่วยงานของผู้อนุญาต
(๔) ระยะเวลาตามมาตรา ๑๐ ให้นับแต่วันที่ศูนย์รับคำขออนุญาตส่ง
เรื่องให้ผู้อนุญาตโดยศูนย์รับคำขออนุญาตจะต้องส่งเรื่องให้ผู้อนุญาตไม่ช้ากว่าสาม
วันทำการและให้นำมาตรา ๑๐วรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(๕) ให้เป็นหน้าที่ของผู้อนุญาตที่จะต้องส่งคู่มือสำหรับประชาชนตาม
มาตรา ๗ ที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบนั ให้ศูนย์รับคำขออนุญาตตามจำนวนที่จำเป็น
และดำเนินการให้มีการฝึกอบรมหรือชี้แจงแก่เจ้าหน้าที่ของศูนย์รับคำขออนุญาต
เพื่อให้เกิดความชำนาญในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย(๖) ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของ
ศูนย์รับคำขออนุญาตที่จะต้องดำเนินการตามมาตรา ๘และต้องรับผิดชอบในฐานะ
เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าทีต่ ามที่บัญญัตไิ ว้ในมาตรา ๘

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 112


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

☞ มาตรา ๑๖ ให้ศูนย์รับคำขออนุญาตมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) รับคำขอและค่าธรรมเนียม รวมตลอดทั้งคำอุทธรณ์ ตามกฎหมายว่า
ด้วยการอนุญาต
(๒) ให้ข้อมูล ชี้แจง และแนะนำผูย้ ื่นคำขอหรือประชาชนให้ทราบถึง
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขออนุญาต รวมตลอดทั้งความจำเป็นในการ
ยื่นคำขออื่นใดที่จำเป็นต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตทั้งปวง ใน
การประกอบกิจการหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด
(๓) ส่งคำขอ หรือคำอุทธรณ์ ที่ได้รับจากผูย้ ื่นคำขอหรือผู้ยื่นคำอุทธรณ์
พร้อมทั้งเอกสารหรือหลักฐานทีเ่ กีย่ วข้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคอยติดตาม
เร่งรัดหน่วยงานดังกล่าวเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตาม
พระราชบัญญัตินี้ และคู่มือสำหรับประชาชนตามมาตรา ๗หรือตามกฎหมายที่ให้
สิทธิในการอุทธรณ์
(๔) ในกรณีที่เห็นว่าหลักเกณฑ์หรือวิธีการในการยื่นคำขอ มีรายละเอียด
หรือกำหนดให้ต้องส่งเอกสารทีไ่ ม่จำเป็น หรือเป็นภาระเกินสมควรแก่ประชาชน
ให้เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
ปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
(๕) รวบรวมปัญหาและอุปสรรคจากการอนุญาตและการดำเนินการของ
ศูนย์รับคำขออนุญาตเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเพื่อรายงาน
ต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข
ให้เหมาะสมต่อไป
(๖) เสนอแนะในการพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการ ขั้นตอนระยะเวลา
เกี่ยวกับการอนุญาตต่างๆ
รวมถึงข้อเสนอในการออกกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับ
การอนุญาตเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากขึ้น

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 113


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

☞มาตรา ๑๗ ให้ผู้อนุญาตจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนตามมาตรา
๗ ให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
☞มาตรา ๑๘ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 114


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 115


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1. บททั่วไป
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ
พ.ศ. 2526
– บังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2526
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
– บังคับใช้วันที่ 24 กันยายน 2548
1.1 “งานสารบรรณ” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการบริหารงาน
เอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่งการเก็บรักษา การยืม จนถึง
การทำลาย
*** รู้ไว้ให้จำ *** “งานสารบรรณ” ให้หาคำว่า บริหาร
สูตร (6 Step = ทำ – รับ – ส่ง – เก็บ – ยืม – ทำลาย)

1.2 นิยามที่ออกข้อสอบบ่อย
“หนังสือ” หมายความว่า หนังสือราชการ
“อิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน
ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้
หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการ ทางแม่เหล็ก
หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่าง ๆ เช่นว่านั้น
“ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การรับส่งข้อมูล
ข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ผู้รักษาการตามกฎหมายนี้ คือ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 116


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

2. ชนิดของหนังสือ
2.1 หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่
1. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ เช่น หนังสือที่มีไปมา
ระหว่าง อบต. ก กับ อบต. ข
2. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วน
ราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก เช่น หนังสือที่ อบต. ก มีไปถึง
บริษัทแหร่มจำกัด หรือไปถึง นายแสนดี
3. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือที่
บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ เช่น หนังสือที่บริษัทแหร่มจำกัด
หรือ นายแสนดี มีมาถึง อบต. ก
4. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
เช่น หนังสือรับรอง บันทึก
5. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือ
ข้อบังคับ
6.ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณ
อิเล็กทรอนิกส์
“หนังสือ” หมายความว่า หนังสือราชการ >> หนังสือราชการ คือ
เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ
สรุปได้ว่า หนังสือ = หนังสือราชการ = เอกสารที่เป็นหลักฐานใน
ราชการ
2.2 หนังสือ มี 6 ชนิด
1. หนังสือภายนอก 2. หนังสือภายใน 3. หนังสือประทับตรา
4. หนังสือสั่งการ 5. หนังสือประชาสัมพันธ์
6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้น หรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 117


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ภายนอก ภายใน ประทับตรา สั่งการ ประชาสัมพันธ์ ทำขึ้น หรือรับ


ไว้เป็นหลักฐาน

หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี ใช้


กระดาษตราครุฑ เป็น หนังสือติดต่อระหว่างส่ว นราชการ หรือส่ว น
ราชการมี ถ ึ ง หน่ ว ยงานอื ่ น ใดซึ ่ ง มิ ใ ช่ ส ่ ว นราชการ หรื อ ที ่ ม ี ถึ ง
บุคคลภายนอก
– ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือ
หน่ว ยงาน ที่ออกหนังสือ ถ้าส่ว นราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดั บ
กระทรวง หรือทบวง ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องทั้งระดับกรมและ
กอง ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกรมลงมา ให้ลงชื่อส่วน
ราชการเจ้าของเรื่องเพียงระดับกองหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ให้จำว่า
กระทรวงหรือทบวง = กรมและกอง
กรมลงมา = กอง หรือ หน่วยงานที่รับผิดชอบ

หนังสือภายใน คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อย


กว่าหนังสือภายนอก เป็นหนังสือติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม
หรือจังหวัดเดียวกัน
ใช้กระดาษบันทึกข้อความ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 118


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

หนังสือประทับตรา คือ หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลง


ชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการ
ระดับกอง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้น
ไป เป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตรา หนังสือประทับตราใช้กระดาษ
ตราครุฑ
ให้จำว่า
ถ้าถามหนังสือประทับตรา ให้หาคำว่า ประทับตราแทนการลงชื่อ
ผู้ลงชื่อย่อกำกับตรา คือ ห.น.ส่วนราชการระดับกอง หรือผู้ที่ได้รับมอบ
การใช้หนังสือประทับตรา
หนังสือประทับตราให้ใช้ได้ทั้งระหว่างส่วนราชการกับส่วน
ราชการ และระหว่างส่วนราชการกับบุคคลภายนอก เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่
เรื่องสำคัญ ได้แก่
1. การขอรายละเอียดเพิ่มเติม
2. การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสาร
3. การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญ หรือการเงิน
4. การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ
5. การเตือนเรื่องที่ค้าง
6. เรื่องซึ่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนดโดยทำเป็นคำสั่ง
ให้ใช้ หนังสือประทับตรา
***สูตรการจำ ขอ – ส่ง – ตอบรับ – แจ้ง – เตือน – กำหนดให้ใช้
หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด ได้แก่ คำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ
คำสั่ง คือ บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดย
ชอบด้วยกฎหมาย ใช้กระดาษตราครุฑ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 119


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ระเบียบ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ โดยจะ


อาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้ เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นการ
ประจำ ใช้กระดาษตราครุฑ
ข้อบังคับ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้
โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้ ใช้กระดาษตราครุฑ

***จุดช่วยจำ ***
ถ้าถาม คำสั่ง ให้หาคำว่า สั่งการให้
ถ้าถาม ระเบียบ ให้หาคำว่า วางไว้
ถ้าถาม ข้อบังคับ ให้หาคำว่า กำหนดให้ใช้

***ทั้งหมดทั้ง 3 ชนิดใช้กระดาษตราครุฑ ***

หนังสือประชาสัมพันธ์ มี 3 ชนิด ได้แก่ ประกาศ


แถลงการณ์ และข่าว
ประกาศ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจง
ให้ทราบ หรือแนะแนวทางปฏิบัติใช้กระดาษตราครุฑ
แถลงการณ์ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำ
ความเข้าใจในกิจการของทางราชการ หรือ
เหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกันใช้กระดาษตราครุฑ
ข่าว คือบรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้
ทราบ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 120


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานใน ราชการ
คือ หนังสือที่ทางราชการทำขึ้นหรือหนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วน
ราชการ หรือ บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการและส่วนราชการรับไว้
เป็นหลักฐานของทางราชการ มี 4 ชนิด ได้แก่
หนังสือรับรอง คือ หนังสือที่ส่วนราชการออกให้เพื่อรับรองแก่
บุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงานเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดให้
ปรากฏแก่บุคคลโดยทั่วไป ไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กระดาษตราครุฑ
รายงานการประชุม คือ การบันทึกความคิดเห็นของผู้มา
ประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม และมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน
บันทึก คือ ข้อความซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอต่อผู้บังคับบัญชา
หรือผู้บังคับบัญชา สั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือข้อความที่เจ้าหน้าที่
หรือหน่วยงานระดับต่ำกว่าส่วนราชการระดับกรม ติดต่อกันในการ
ปฏิบัติราชการ
หนังสืออื่น คือ หนังสือหรือเอกสารอื่นใดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการ
ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในราชการ ซึ่งรวมถึงภาพถ่าย
ฟิล์ม แถบบันทึกเสียง
สื่อกลางบันทึกข้อมูล หมายความถึง สื่อใด ๆ ที่อาจใช้
บันทึกข้อมูลได้ด้วย อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล
เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นซีดี-อ่านอย่างเดียว หรือแผ่นดิจิทัล
อเนกประสงค์ เป็นต้น
หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. ด่วนที่สุด ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติในทันทีที่ได้รับหนังสือนั้น
2. ด่วนมาก ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว
3. ด่วน ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติ เท่าที่จะทำได้

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 121


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ตัวอักษรสีแดงขนาดไม่เล็ก
ให้ระบุชั้นความเร็วด้วย
กว่าตัวพิมพ์โป้ง 32 พอยท์
ให้เห็นได้ชัดบนหนังสือและบนซอง
ด่วนที่สุด ให้หาคำว่า ทันที
ด่วนมาก ให้หาคำว่า โดยเร็ว
ด่วน ให้หาคำว่า เร็วกว่าปกติ
การส่งหนังสือด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
การติดต่อราชการนอกจากการจะดำเนินการโดยหนังสือที่เป็น
เอกสารสามารถ ดำเนินการด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้ ใน
กรณี ท ี ่ ต ิ ด ต่ อ ราชการด้ ว ยระบบสารบรรณอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ให้ ผ ู ้ ส่ ง
ตรวจสอบผลการส่งทุกครั้งและให้ผู้รับแจ้งตอบรับ เพื่อยืนยันว่าหนังสือ
ได้จัดส่งไปยังผู้รับเรียบร้อยแล้วการส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสาร เช่น
โทรเลข วิทยุโทรเลข โทรพิมพ์ โทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร วิทยุกระจายเสียง
หรือวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น ให้ผู้รับปฏิบัติเช่นเดียวกับได้รับหนังสือ ใน
กรณีที่จำเป็นต้องยืนยันเป็นหนังสือให้ทำหนังสือยืนยันตามไปทันที การ
ส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสารซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้ง เช่น ทาง
โทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น ให้ผู้
ส่งและผู้รับบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐาน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 122


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

สำเนาคู่ฉบับ
หนังสือที่จัดทำขึ้นโดยปกติให้มีสำเนาคู่ฉบับเก็บไว้ที่ต้นเรื่อง 1
ฉบับ และให้มีสำเนาเก็บไว้ที่หน่วยงานสารบรรณกลาง 1 ฉบับ
สำเนาคู่ฉบับให้ ผู้ร่าง ผู้พิมพ์ และผู้ตรวจลงลายมือชื่อ หรือ
ลายมือชื่อย่อไว้ที่ข้างท้ายขอบล่างด้านขวาของหนังสือ
*** ข้อสอบมักออกว่า “สำเนาคู่ฉบับไม่ต้องลงชื่อผู้ใดต่อไปนี้”

ก. ผู้ร่าง ข. ผู้ทาน
ค. ผู้พิมพ์ ง. ผู้ตรวจ
คำตอบ คือ ข. ผู้ทาน ไม่มีผู้ทาน มีแต่ผู้ตรวจ จำไว้ให้ดี

หนังสือที่เห็นว่าส่วนราชการอื่นควรได้รับทราบด้วย
หนังสือที่เจ้าของหนังสือเห็นว่ามีส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องควร
ได้ร ับ ทราบด้ว ยโดยปกติให้ส ่งสำเนาไปให้ทราบโดย ทำเป็นหนังสื อ
ประทับ ตราสำเนาหนังสือนี้ให้ม ีคำรั บ รองว่า สำเนาถูกต้อง โดยให้
เจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับ 2 หรือเทียบเท่าขึ้นไปซึ่งเป็นเจ้าของเรื่อง ลง
ลายมือชื่อรับรอง พร้อมทั้งลงชื่อตัวบรรจง และตำแหน่งที่ขอบล่างของ
หนังสือ
*** ข้อสอบ จำให้แม่น ***
ขอบล่างด้านขวา ใช้กับ สำเนาคู่ฉบับ และ หนังสือรับรอง
ขอบล่างของหนังสือ ใช้กับ สำเนาหนังสือที่เห็นว่าส่วนราชการอื่น
ควรได้รับทราบด้วย
หนังสือเวียน คือ หนังสือที่มีถึงผู้รับเป็นจำนวนมาก มีใจความอย่าง
เดีวยกัน ให้เพิ่มรหัส ตัวพยัญชนะ ว หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง ซึ่ง

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 123


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

กำหนดเป็นเลขที่หนังสือเวียนโดยเฉพาะ เริ่มตั้งแต่เลข 1 เรียงเป็นลำดับ


ไปจนถึงสิ้นปีปฏิทิน
หนังสือต่างประเทศ และหนังสือภาษาอื่น ๆ
– หนังสือภาษาต่างประเทศ ให้ใช้กระดาษตราครุฑ
– หนังสือที่เป็นภาษาอื่น ๆ ซึ่งมิใช่ภาษาอังกฤษ ให้เป็นไปตาม
ประเพณีนิยม
การรับและส่งหนังสือ
หนังสือรับ คือ หนังสือที่ได้รับเข้ามาจากภายนอก มีขั้นตอนการปฏิบัติ
ดังนี้
1. จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วน
2. ประทับตรารับหนังสือ
3. ลงทะเบียนรับหนังสือในทะเบียนหนังสือรับ
4. จัดแยกหนังสือที่ลงทะเบียนรับแล้วส่งให้ส่วนราชการที่
เกี่ยวข้อง
การเก็บรักษา ยืม และทำลายหนังสือ
การเก็บรักษา แบ่งออกได้ 3 ประเภทคือ
1. การเก็บระหว่างปฏิบัติ คือ การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติยังไม่
เสร็จให้อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าของเรื่อง โดยให้กำหนดวิธีการเก็บ
ให้เหมาะสมตามขั้นตอนของการปฏิบัติงาน
2. การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว คือ การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติ
เสร็จเรียบร้อยแล้ว และ ไม่มีอะไรที่จะต้องปฏิบัติต่อไปอีก ให้เจ้าหน้าที่
ของเจ้าของเรื่องปฏิบัติ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 124


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

3. การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ คือ การเก็บหนังสือที่


ปฏิบัติเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่จำเป็นจะต้องใช้ในการตรวจสอบเป็น
ประจำ ไม่สะดวกในการส่งไปเก็บยังหน่วยเก็บของส่วนราชการ
***จุดช่วยจำ ***
การเก็บระหว่างปฏิบัติ = ปฏิบัติยังไม่เสร็จ
การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว = ปฏิบัติเสร็จเรียบร้อยแล้ว + ไม่มี
อะไรต้องปฏิบัติอีก
การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ = ปฏิบัติเสร็จเรียบร้อยแล้ว + ใช้
ประจำ

อายุในการเก็บหนังสือ (ตามข้อ 57) โดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า


10 ปี เว้นแต่
1. หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลับ
2. หนังสือที่เป็นหลักฐานทางอรรถคดี สำนวนของศาล หรือของ
พนักงานสอบสวน
3. หนังสือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ทุกสาขาวิชา ให้เก็บไว้ตลอดไป
4. หนังสือที่ได้ปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้ว และเป็นคู่สำเนาเก็บไว้ไม่น้อย
กว่า 5 ปี
5.หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญซึ่งไม่มีความสำคัญและเป็นเรื่องที่
เกิดขึ้นเป็นประจำเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 1 ปี
6. หนังสือหรือเอกสารเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน หรือการก่อหนี้
ผูกพัน ทางการเงินที่ไม่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน
หรือระงับซึ่งสิทธิในทางการเงิน เมื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ตรวจสอบแล้วไม่มีปัญหา ให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 125


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

– การเก็บรักษาหนังสือ ให้เจ้าหน้าที่ระมัดระวังรักษาหนังสือให้อยู่ใน
สภาพใช้ราชการ ได้ทุกโอกาส
1. หากชำรุดเสียหายต้องรีบซ่อมให้ใช้ราชการได้เหมือนเดิม
2. หากสูญหายต้องหาสำเนามาแทน
3. ถ้าชำรุดเสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมได้ ให้
รายงานผู้บังคับบัญชาทราบ
การยืม
– การยืมหนังสือระหว่างส่วนราชการ ผู้ยืมและผู้อนุญาตให้ยืมต้องเป็น
หัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
– การยืมหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน ผู้ยืมและผู้อนุญาตให้ยืม
ต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับแผนกขึ้นไป หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
– การให้บุคคลภายนอกยืมหนังสือจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะให้ดูหรือ
คัดลอกหนังสือทั้งนี้จะต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้าส่วนราชการระดับ
กองขึน้ ไป
การทำลาย มีขั้นตอน ดังนี้
1. ภายใน 60 วันหลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน ให้สำรวจหนังสือที่ครบ
กำหนด แล้วจัดทำบัญชีหนังสือขอทำลายเสนอหัวหน้าส่วนราชการ
ระดับกรม
2. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม แต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือ
ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน กรรมการอย่างน้อย 2 คน
3. ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าหนังสือควรให้ทำลายให้กรอกเครื่องหมาย
กากบาท (x) ลงในช่อง การพิจารณาแล้วรายงานผลต่อหัวหน้าส่วน
ราชการระดับกรม
4. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมีความเห็น

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 126


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

4.1 ไม่ควรทำลาย ให้เก็บหนังสือนั้นไว้จนกว่าจะถึงเวลาทำลายงวด


ต่อไป
4.2 ควรทำลาย ให้ส่งบัญชีหนังสือขอทำลายให้กองจดหมายเหตุ
แห่งชาติ กรมศิลปากร หากมีความเห็นควรทำลายให้แจ้งส่วนราชการ
ทราบ ถ้าไม่แจ้งภายใน 60 วันถือว่ากองจดหมายเหตุแห่งชาติเห็นชอบ
หากมีความเห็นว่าไม่ควรทำลายหรือขยายเวลาในการเก็บให้แจ้งส่วน
ราชการทราบ และให้ส่วนราชการดำเนินการตามที่ได้รับแจ้ง

มาตรฐานตรา แบบพิมพ์ และซอง


ตราครุฑ สำหรับแบบพิมพ์ มี 2 ขนาด คือ
ขนาดตัวครุฑสูง 3 เซนติเมตร ขนาดตัวครุฑสูง 1.5 เซนติเมตร
ตราชื่อส่วนราชการ
มีลักษณะเป็นรูปวงกลมสองวงซ้อนกัน เส้นผ่าศูนย์กลางวงนอก
4.5 เซนติเมตร
วงใน 3.5 เซนติเมตร ล้อมครุฑครุฑสูง 3 เซนติเมตร ระหว่าง
วงนอกและวงในมีอักษรไทยชื่อกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่
เรียกชื่ออย่างอื่น ที่มีฐานะเป็นกรมหรือจังหวัดอยู่ขอบล่างของตรา ส่วน
ราชการใดที่มีการติดต่อกับต่างประเทศ จะให้มีชื่อภาษาต่างประเทศ
เพิ่มขึ้นด้วยก็ได้ โดยให้อักษรไทยอยู่ขอบบนและอักษรโรมันอยู่ขอบล่าง
ของตรา
ตรากำหนดเก็บหนังสือ คือ ตราที่ใช้ประทับบนหนังสือเก็บ เพื่อให้
ทราบกำหนดระยะเวลาการเก็บหนังสือนั้นมีคำว่า เก็บถึง พ.ศ. …. หรือ
คำว่า ห้ามทำลาย ขนาดไม่เล็กกว่าตัวพิมพ์ 24 พอยท์

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 127


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

มาตรฐานกระดาษและซอง
มาตรฐานกระดาษ โดยปกติให้ใช้กระดาษปอนด์ขาวน้ำหนัก 60 กรัมต่อ
ตารางเมตร มี 3 ขนาด คือ
1. ขนาด A4 หมายความว่า ขนาด 210 มิลลิเมตร x 297 มิลลิเมตร
2. ขนาด A5 หมายความว่า ขนาด 148 มิลลิเมตร x 210 มิลลิเมตร
3. ขนาด A8 หมายความว่า ขนาด 52 มิลลิเมตร x 74 มิลลิเมตร
มาตรฐานซอง โดยปกติให้ใช้กระดาษสีขาวหรือสีน้ำตาล น้ำหนัก 80
กรัม ต่อตารางเมตร เว้นแต่ซอง
ขนาดซี 4 ให้ใช้กระดาษน้ำหนัก 120 กรัมต่อตารางเมตร มี 4 ขนาด
คือ
1. ขนาดซี 4 หมายความว่า ขนาด 229 มิลลิเมตร x 324 มิลลิเมตร
2. ขนาดซี 5 หมายความว่า ขนาด 162 มิลลิเมตร x 229 มิลลิเมตร
3. ขนาดซี 6 หมายความว่า ขนาด 114 มิลลิเมตร x 162 มิลลิเมตร
4. ขนาดดีแอล หมายความว่า ขนาด 110 มิลลิเมตร x 220 มิลลิเมตร
กระดาษตราครุฑ ให้ใช้กระดาษขนาดเอ 4 พิมพ์ครุฑสูง 3
เซนติเมตร ด้วยหมึกสีดำ หรือทำเป็นครุฑดุน ที่กึ่งกลางส่วนบนของ
กระดาษ
กระดาษบันทึกข้อความ ให้ใช้กระดาษขนาดเอ 4 หรือขนาดเอ 5
พิมพ์ครุฑสูง 1.5 เซนติเมตร ด้วยหมึกสีดำที่มุมบนด้านซ้าย

ซองหนังสือ ให้พิมพ์ครุฑสูง 1.5 เซนติเมตร ด้วยหมึกสีดำที่มุมบน


ด้านซ้ายของซอง มี 4 ขนาดคือ
1. ขนาดซี 4 ให้สำหรับบรรจุหนังสือกระดาษตราครุฑ โดยไม่ต้องพับ
มีชนิดธรรมดาและขยายข้าง
2. ขนาดซี 5 ใช้สำหรับบรรจุหนังสือกระดาษตราครุฑพับ 2

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 128


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

3. ขนาดซี 6 ใช้สำหรับบรรจุหนังสือกระดาษตราครุฑพับ 4
4. ขนาดดีแอล ใช้สำหรับบรรจุหนังสือกระดาษตราครุฑพับ 3

ตรารับหนังสือ คือ ตราที่ใช้ประทับบนหนังสือ เพื่อลงเลขทะเบียนรับ


หนังสือ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 2.5 เซนติเมตร x 5
เซนติเมตร มีชื่อส่วนราชการอยู่ตอนบน
ตัวอย่างตรารับหนังสือ (ชื่อส่วนราชการ)
เลขรับ…………………………..
วันที่……………………………..
เวลา………………………………
ขนาดกระดาษ ตามระเบียบงานสารบรรณฯ จากข้อ 79 – 89
กระดาษชนิดของหนังสือ
1. ขนาด A4 พิมพ์ 2 หน้า มี 2 ชนิดคือแบบเป็นเล่มกับเป็นแผ่น –
ทะเบียนหนังสือรับ
– ทะเบียนหนังสือส่ง – ทะเบียนหนังสือเก็บ
2. ขนาด A4 พิมพ์ 2 หน้า – บัญชีส่งมอบหนังสือครบ 20 ปี
– บัญชีส่งมอบหนังสือครบ 20 ปี ที่ขอเก็บเอง – บัญชีฝาก
หนังสือ – บัญชีหนังสือขอทำลาย
3. ขนาด A4 พิมพ์หน้าเดียว– บัตรยืมหนังสือ– บัญชีหนังสือส่งเก็บ
4. ขนาด A5 พิมพ์ 2 หน้า – สมุดส่งหนังสือ– บัตรตรวจค้น
5. ขนาด A8 พิมพ์หน้าเดียว – ใบ – ใบรับหนังสือ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 129


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 3)

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 130


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ภาษาไทย

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 131


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถในการใช้ภาษา โดย
การอ่ า นจั บ ใจความ การสรุ ป ความการตี ค วามการขยายความจาก
ข้อความสั้นๆ หรือบทความ และให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบ
ต่างๆจากคำหรือกลุ่มคำ ประโยคหรือข้อความสั้นๆการเรียงข้อความ
การสะกดคำ การแต่งประโยค และคำศัพท์

หลักภาษาไทย
หลักภาษา คือวิชาที่ว่าด้วยระเบียบการใช้อักษร การเขียนอ่าน
การใช้คำ ความหมายของคำการเรียงคำและที่มาของภาษา ผู้ที่จะทำ
ข้อสอบวิชาภาษาไทยได้ดี จึงต้องมีพื้นฐาน หลักภาษาไทยเป็นอย่างดี
โดยการเรียนรู้ภาษาต่าง ๆ และที่สำคัญ คือภาษาเขียน หรือ อักขระวิธี
ได้แก่ อักษร แปลว่า ตัวหนังสือซึ่งย่อมหมายความถึงเสียงและตัวหนังสือ
ด้วยลักษณะอักษร ในภาษาไทย มีอยู่ 3 อย่าง คือ
1. เสียงแท้ ได้แก่ สระ มี 21 รูป 32 เสียง
2. เสียงแปร ได้แก่ พยัญชนะ มี 44 ตัว
3. เสียงดนตรี ได้แก่ วรรณยุกต์ มี 4 รูป 5 เสียง

สระ สระในภาษาไทย ประกอบด้วยรูปสระ 21 รูป และเสียงสระ 32


เสียง
พยัญชนะ รูปพยัญชนะ มี 44 ตัว สามารถแบ่งอักษรตามระดับเสียง 3
หมู่ เรียกว่า ไตรยางค์ คือ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 132


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

1. อักษรสูง มี 11 ตัวคือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห พื้นเสียง


เป็นเสียงจัตวา
2. อักษรกลาง มี 9 ตัวคือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ พื้นเสียงเป็น
เสียงสามัญ
ไก่ จิก เด็ก ตาย เด็ก (ฎ) ตาย (ฏ) บน ปาก
โอ่ง
3. อักษรต่ำ มี 24 ตัว พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ดังนี้
3.1 อักษรคู่ คือ อักษรต่ำที่เป็นคู่กับอักษรสูง มี 14
ตัว คือ ค ฅ ฆ ช ฌ ซ ฑ ฒ ท ธ พ ภ ฟ ฮ
3.2 อักษรเดี่ยว คือ อักษรต่ำที่เสียงไม่เป็นคู่กับอักษร
สูง มี 10 ตัว คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ
วรรณยุกต์ วรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่ ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี ไม้จัตวา มี
5 เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา
1. เสียงสามัญ คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา มา ตา เป็น
คนจน เดิน ดิน กิน ปลา ตาม บน เรือน
2. เสียงเอก เช่น ก่า ข่า ป่า ดึก จมูก ตก หมด สด โสด
ศึก กับ จีบ ปีก
3. เสียงโท เช่น ก้า ค่า ลาก พราก กลิ้ง สร้าง มอด ทอด
โทษ โชติ
4. เสียงตรี เช่น ก๊า ค้า ม้า ช้าง โน้ต มด เท็จ นะ จ๊ะ คะ
ม้วย ชัด
5. เสียงจัตวา เช่น ก๋า ขา หมา หลิว สวย สูง ไหว หาม ปิ๋ว
จิ๋ว สอน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 133


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

มาตราตัวสะกด มาตราตัวสะกดของไทย มี 8 มาตรา ดังนี้


1. มาตราแม่ กก ใช้ตัวสะกดได้ 4 ตัว คือ ก ข ค ฆ ออกเสียง
เหมือน ก สะกด เช่น มาก สุข นาค มารค วิหค สุข โชค
2. มาตราแม่ กด ใช้ตัวสะกดได้ 16 ตัว คือ จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ
ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส ออกเสียงเหมือน ด สะกด ตัวอย่าง ดุจ ก๊าซ อิฐ
นาฏศิลป์ ครุฑ อนาคต ปรารถนา นาด เพศ กระดาษ สุดสวาท ราชบุตร
มงกุฎ อากาศ โอรส อูฐ พัฒนา ปิด สังเกต รถ บท บาท โทษ โอกาส
3. มาตราแม่ กบ ใช้ตัวสะกดได้ 5 ตัว คือ บ ป ภ พ ฟ ออก
เสียงเหมือน บ สะกด ตัวอย่าง ลาบ ลาภ ภาพ กราฟ หยิบ รูป ยีราฟ
4. มาตราแม่ กง ใช้ตัวสะกดได้ 1 ตัว คือ ง เช่น ลิง ของ กลาง
ฝูง หงส์ ลง เรียง เอี้ยง โทงเทง
5. มาตราแม่ กน ใช้ตัวสะกดได้ 6 ตัว คือ น ณ ญ ร ล ฬ อ่าน
ออกเสียงเหมือน น สะกดตัว
อย่าง กัน ญาณ กาญจน์ การ กาล วิรุฬห์ กาฬทวีป สงสาร น้ำตาล
สัญญา บุญ
6. มาตราแม่ กม ใช้ตัวสะกดได้ 1 ตัว คือ ม เช่น กลม ขม ครีม
งาม ตูมตาม ชิม เติม เสื่อม
7. มาตราแม่ เกย ใช้ตัวสะกดได้ 1 ตัว คือ ย เช่น เลย เกย เขย
ขโมย ลาย สวย รวย โดย ชัย
8. มาตราแม่ เกอว ใช้ตัวสะกดได้ 1 ตัว คือ ว เช่น ลาว หิว รั่ว
ถั่ว เร็ว ดาว ข่าว หนาว แวววาว

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 134


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

คำเป็นคำตาย
คำเป็น มีลักษณะ ดังนี้
1. คำที่ประสมสระเสียงยาว (ทีฆสระ) ในแม่ ก กา เช่น กา ตี ปู
ไป เอา
2. คำที่มีตัวสะกดในมาตรา แม่ กน กง กม เกย เกอว และสระ
อำ ไอ ใอ เอา เช่น นารี ฝีมือ ดูแล เรา ดำ นา ลมหนาว วิ่งวน

คำตาย มีลักษณะ ดังนี้


1. คำที่ไม่มีตัวสะกด + สระเสียงสั้น เช่น มะลิ ทะลุ ธุระ จะปะ
กะ กิ กุ
2. คำที่ประสมกับมาตราแม่ กก กบ กด (แม่ “กบด” อ่านว่า
กะ - บด) เช่น ปรากฏ ก๊าซ ครุฑ เมฆ คิดลึก สิทธิ สุข ทุกข์ กฎ วัฒน์
แต่ยกเว้น สระ อำ ไอ ใอ เอา
คำสนธิ คำสมาส
สนธิ คือ การต่อคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้ติดเนื่องเป็นคำเดียวกัน
โดยมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ
ในระหว่างคำหรือเพิ่มพยัญชนะแทรกในระหว่างคำ เพื่อให้คำที่ที่จะ
นำมาต่อกันนั้นเชื่อมกันได้สนิท
อาจทำได้โดยการลบ หรือเปลี่ยนแปลงรูปให้ผิดไปจากรูปเดิมก็ได้ เช่น
ปิตุ + อิศ เป็น ปิตุเรศ พุทธ + โอวาท เป็น พุทโธวาท
ธนู + อาคม เป็น ธันวาคม นร + อิศวร เป็น นเรศวร
คำสมาส การสมาสคำเป็นการประสมคำระหว่างคำมูลที่เป็นคำ
บาลี สันสกฤต แล้วเกิดเป็นคำใหม่เวลาอ่านออกเสียงต้องอ่านออกเสียง

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 135


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ต่อเนื่องกัน การแปล : จะต้องแปลจากข้างหลังมาข้างหน้า หรือสมาส


คือ วิธีย่อบทตั้งแต่สองบทขึ้นไปให้รวมเป็นบทเดียวกัน
เช่น
ราช + โอรส เป็น ราชโอรส มัจจุ + ราช เป็น มัจจุราช
สุธา + รส เป็น สุธารส ศาสน + จักร เป็น ศาสนจักร

หมายเหตุ สมาส = ชน สน = เชื่อม


การสะกดคำ
พยางค์ที่ออกเสียงสระ ออ เช่น นิรันดร จรลี ทรชน นรสิงห์
วรลักษณ์ หรดี บริวาร
พยางค์ที่ออกเสียง อำ เช่น อมฤต อำมฤต อมหิต อมรินทร์
พยางค์ที่ออกเสียง ใอ (ไม้ม้วน) ได้แก่ นอกเหนือจาก 20 คำนี้
ให้ใช้ สระ ไอ (ไม้มลาย)
ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู
จะใคร่ลงเรือใบ ดูน้ำใสและปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้ มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัวหู ตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี.

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 136


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

การอ่านคำ
หลักการอ่านอักษรนำ
อักษรสูง หรืออักษรกลาง นำอักษรต่ำเดี่ยว ได้แก่ ง ญ น ณ ม
ย ร ล ฬ ว ให้อ่านผันเสียงตามตัวนำ เช่น ฉลาด (ลาด เป็นเสียงโท ถ้า
ผันตามตัวนำ ผันเป็น ฉาด เป็นเสียงเอก จึงผันตัวตาม เป็นเสียงเอกด้วย)
อ่านว่า ฉะ-หลาด เพราะ ฉ เป็นอักษรสูง นำ ล ซึ่งเป็นอักษรต่ำเดี่ยว
ขนด (นด เป็นเสียงตรี ถ้าเอาตัวนำผันแทนเป็น ขด เป็นเสียง
เอก จึงผันตัวตาม เป็นเสียงเอก)
อ่านว่า ขะ-หนด เพราะ ข เป็นอักษรสูงนำ น ซึ่งเป็นอักษรต่ำ
เดี่ยว
จรด (รด เป็นเสียงตรี ถ้าผันตามตัวนำ เป็น จด ได้เสียงเอก)
อ่านว่า จะ-หรด เพราะ จ เป็น
อักษรตัวกลางนำ ร ซึ่งเป็นอักษรต่ำเดี่ยว
ปรัก อ่านว่า ปะ-หรัก เพราะ ป เป็นอักษรกลาง นำ ร ซึ่งเป็น
อักษรต่ำเดี่ยว
ตงิด ” ตะ-หงิด ” ต ” ” ง ”
ปถมัง ” ปะ-ถะ-หมัง ” ถ เป็นอักษรสูง ” ม ”
ประโยค ” ประ-โหยก ถือว่า ป เป็นอักษรนำ ย เป็นตัวตาม
(ส่วน ร กล้ำกับ ป)
จึงผันตาม ป ได้เป็นเสียงเอก เป็นวิธีอ่านตามหลักการอ่าน
อักษรนำ
คำที่ได้มาจากภาษาบาลีสันสกฤตมากคำที่เราอ่านแบบอักษรนำ เช่น
ขณะ อ่านว่า ขะ-หนะ ฉวี “ ฉะ-หวี
ปรารถนา ” ปราด-ถะ-หนา สมัคร ” สะ-หมัก

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 137


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

สมัย ” สะ-หมัย สมุทัย ” สะ-หมุด-ไทย


คำที่ได้มาจากภาษาสันสกฤต ซึ่งอ่านอนุโลมแบบอักษรนำ เช่น
ดิลก อ่านว่า ดิ-หลก กิเลส “ กิ-เหลด
อริ ” อะ-หริ หิริ “ หิ-หริ
สิริ “ สิ-หริ อดิเรก ” อะ-ดิ-เหรก

คำที่ได้มาจากภาษาต่างประเทศอื่น ๆ อ่านแบบอักษรนำของไทย เช่น


ขยม อ่านว่า ขะ-หยม (เขมร) สลา ” สะ-หลา (เขมร)
สลุต ” สะ-หลุด (อังกฤษ) สลาตัน ” สะ-หลา-ตัน (มลายู)

หลักการอ่านคำแผลง
1. ถ้าคำเดิมเป็นพยางค์เดียวและมีพยัญชนะต้นเป็นตัวควบกล้ำ
เมื่อแผลงเป็นสองพยางค์ เมื่ออ่านพยางค์หลังมักผันเสียงตามตัวนำเดิม
เช่น
ตริ แผลงเป็น ดำริ อ่านว่า ดำ-หริ
กราบ ” กำราบ ” กำ-หราบ ตรัส ” ดำรัส ” ดำ-หรัด
กลับ ” กระลับ ” กระ-หลับ ปราบ ” บำราบ ” บำ-หราบ
2. ถ้าเดิมพยัญชนะต้นเป็นอักษรตัวเดียว เมื่อแผลงแล้วอ่าน
ตามรูปที่ปรากฏ เช่น
เกิด ” กำเนิด ” กำ-เนิด แจก ” จำแนก ” จำ-แนก
ถ้าจะให้อ่านผันตามตัวนำ เมื่อเขียนต้องเติม ห นำด้วย เช่น
เกิด เป็น กำเนิด ” กำ-เนิด ติ ” ตำหนิ ” ตำ-หนิ
จ่าย ” จำหน่าย ” จำ-หน่าย แต่ง ” ตำแหน่ง ” ตำ-แหน่ง

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 138


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

3. ถ้าคำที่แผลงได้เข้าลักษณะเป็นอักษรนำ ก็อ่านแบบอักษรนำ
เช่น ขึง แผลงเป็น ขมึง อ่านว่า ขะ-หมึง
ขลาด ” ขยาด ” ขะ-หยาด แผก ” แผนก ” ผะ-แหนก
การอ่านคำย่อ อักษรย่อ และเครื่องหมายอื่น ๆ
1. การอ่านคำย่อ คำไทยบางคำไม่นิยมเขียนเต็มคำ แต่เวลา
อ่านต้องอ่านเต็มทุกครั้ง เช่น ฯพณฯ ย่อมาจากคำ พณหัว, พณหัวเจ้า,
พณหัวเจ้าท่าน, พ่อเหนือหัวเจ้าท่าน เป็นคำนำหน้าชื่อหรือตำแหน่ง
ข้าราชการ ผู้ใหญ่ชั้น รัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น อ่าน พะ -นะ –
ท่าน โปรดเกล้าฯ ย่อมาจาก โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม น้อมเกล้าฯ ย่อ
มาจาก น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม
กรุงเทพฯ ย่อมาจากรุงเทพมหานคร
2. การอ่านอักษรย่อ
ลำดับปริญญา
พ.บ. ย่อมาจาก แพทยศาสตรบัณฑิต
ค.ม. ย่อมาจาก ครุศาสตรมหาบัณฑิต
อ.ด. ย่อมาจาก อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
ยศทหาร ตำรวจ
ทหารบก ทหารอากาศ ทหารเรือ ตำรวจ
พล.อ. พล.อ.อ. พล.ร.อ...ร.น. พล.ต.อ.
พ.ท. น.ท. น.ท.....ร.น. พ.ต.ท.
ร.ต. ร.ต. ร.ต.....ร.น ร.ต.ต.

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 139


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

การอ่านเลข
ถ้าเลข 1 อยู่ท้ายจำนวนตั้งแต่ 2 ตำแหน่งขึ้นไป ให้อ่านว่า
“เอ็ด” เช่น 11 (สิบเอ็ด),
101 (ร้อยเอ็ด), 1001 (พันเอ็ด), 2501 (สองพันห้าร้อยเอ็ด)
ฯลฯ
การอ่าน ยมก (ๆ) เครื่องหมายยมกนี้อ่านซ้ำได้ทั้งคำ วลี และประโยค
เช่น
ฉันชอบสีแดง ๆ อ่านว่า สี – แดง - แดง
เขาอยู่ไปวันหนึ่ง ๆ อ่านว่า วัน-หนึ่ง-วัน-หนึ่ง
น้องตะโกนว่า แม่มาแล้ว ๆ อ่านว่า แม่-มา-แล้ว-แม่-มา-แล้ว
การอ่านวัน เดือน ปีทางจันทรคติ เช่น ๕ ฯ ๒ ค่ำ
1.เลขข้างหน้า แทนวันทั้งเจ็ดวันในสัปดาห์ 1 (วันอาทิตย์) 2 (วัน
จันทร์)
2. เลขตัวกลาง ข้างบนแทนข้างขึ้น ข้างล่างแทนข้างแรม
3. เลขตัวหลัง แทนเดือนทั้งเดือน ๑ (เดือนอ้าย) ๒ (เดือนยี่)
นอกจากนั้นอ่านตามตัวเลขตามปกติ
๕ฯ๒ ค่ำ อ่านว่า วันพฤหัสบดี เดือนยี่ ขึ้น ๗ ค่ำ
คำ และกลุ่มคำ
คำตรงข้าม เป็นความสามารถด้านการแปลคำศัพท์ ของ
ภาษาไทยไปในทิศทางตรงข้ามการพิจารณาว่าตรงข้าม สามารถมองใน
สิ่งต่อไปนี้
สี - ให้ศึกษาว่าสีไหน ตรงข้ามกับสีไหน
ขนาด - ให้ยกลักษณะของขนาดมาพิจารณา

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 140


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ปริมาณ – พิจารณาตามมโนภาพหรือปริมาณ
ความหนาแน่น - พิจารณามโนภาพของศัพท์ที่ยกมาว่าลักษณะ
ใดมีมาก ลักษณะใดมีน้อย
ความคิด - พิจารณาศัพท์ทั้งหลายที่ว่าด้วยความคิดแล้ว
พยายามหาศัพท์ที่มีแนวคิดขัดแย้งกัน
กลิ่น - พิจารณาคำศัพท์ที่นิยามลักษณะกลิ่นที่อยู่ตรงข้ามกันให้
ได้
รส - พิจารณาคำศัพท์ที่ใช้พิจารณาดูว่าความหมายตรงข้ามเป็น
คู่ไหน
คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน คำที่มีความหมายคล้ายหรือ
เหมือนกับหรือใกล้เคียงกับคำอื่น ตัวอย่าง เช่น
กีดกัน - กีดขวาง
กีดกัน หมายถึง กันท่า กันไม่ให้เป็นไปได้
กีดขวาง หมายถึง ทำให้เกะกะ ทำเครื่องกีดขวาง
เกี่ยวข้อง - เกี่ยวดอง
เกี่ยงข้อง หมายถึง ติดต่อกัน มีส่วนร่วมอยู่ด้วย
เกี่ยวดอง หมายถึง เกี่ยวเนื่องเป็นเขยหรือสะใภ้
กักตุน - ตุน
กักตุน หมายถึง ยึดเก็บรวบรวมไว้
ตุน หมายถึง เก็บกักไว้สำหรับอนาคต
ยืดยาว - ยืดเยื้อ
ยืดยาว หมายถึง ยาวมาก ใช้ประกอบคำหรือเรื่องราวต่าง
ยืดเยื้อ หมายถึง นานเกินควร ไม่ใคร่จะจบสิ้น ชักช้า เวลานาน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 141


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

คุณค่า - คุณภาพ
คุณค่า หมายถึง ค่าความดี ราคา
คุณภาพ หมายถึง ลักษณะความดี
ตัวอย่างแนวข้อสอบ เช่น
1. สูง มีความหมายใกล้เคียงกับคำใด
ก. ยอด ข. ยาว ค. ไกล ง. มาก
วิเคราะห์ :- คำตอบที่ถูก คือ ก. ยอด เพราะสูง จะมองในรูป
แนวตั้ง ยอดคือส่วนที่สูงสุดเป็นแนวตั้ง จึงมีความหมายใกล้เคียงกัน ส่วน
ยาวมองทางระนาบ ไกลและมากไม่มีทิศทางจึงเป็นคำไม่ใกล้เคียง
2. คำในข้อใดมีความหมายว่า “ที่ดีเด่นเป็นพิเศษ”
ก. หัวกะทิ ข. หัวนอก ค. หัวหมอ ง. หัวสูง
วิเคราะห์ :- หัวกะทิ แปลว่า ที่ดีเด่นเป็นพิเศษ หัวนอก แปลว่า
ผู้ไปเรียนเมืองฝรั่ง หัวหมอ แปลว่าคนที่ชอบอ้างกฎหมายเพื่อประโยชน์
ของตน หัวสูง แปลว่า มีรสนิยมสูง มักใหญ่ใฝ่สูง
สำนวนในภาษาไทย
สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียง โวหาร บางทีก็ใช้ สำนวน
โวหาร
คำพังเพย หมายถึง คำกลางที่กล่าวไว้ให้ตีความกับเรื่อง
ภาษิต ตามศัพท์เป็นคำกลางๆ หมายถึง คำกล่าว ใช้ทางดีทาง
ชั่ว แต่โดยความหมายแล้วจุดประสงค์คำกล่าวถือว่า เป็นคติ
สำนวน ความหมาย
เข็นครกขึ้นภูเขา
-ทำงานอย่างยากลำบาก พบอุปสรรค ทำงานที่เกินความสามารถ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 142


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
-ทำงานที่ยากเกินกำลัง โอกาสสำเร็จน้อยมาก ต้องอาศัยความ เพียร
พยายามเป็นอย่างมาก
งมเข็มในมหาสมุทร
-การทำในสิ่งที่ยากมากทำงานที่ยากมาก ไม่ประสบความสำเร็จ
ฆ่าช้างเอางา
-ลงทุนมากได้สิ่งตอบแทนน้อยกว่าค่าที่เสียไป ไม่คุ้มประโยชน์
ขี่ช้างจับตั๊กแตน
-ลงทุนไปมากไม่คุ้มกับผลตอบแทนที่ได้
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
-ทำการงานอย่างฟุ่มเฟือย ไม่ได้รับผลตอบแทนอันใด
การแต่งประโยค
ประโยค คือกลุ่มคำที่เกี่ยวข้องกันเป็นระเบียบและมีเนื้อความ
ครบบริบูรณ์ประกอบด้วยภาคประธาน
และภาคแสดงส่วนต่างๆของประโยค ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน
คือ
1. ภาคประธาน ประกอบด้วย บทประธานและบทขยาย
ประธาน
2. ภาคแสดง ประกอบด้วย บทกริยา บทขยายกริยา บทกรรม
บทขยายกรรม
รูปประโยค มีอยู่ 5 รูป คือ
1. ประโยคกรรตุ คือ ประโยคที่กล่าวตรงไปตรงมา คือมีการ
เรียงประธาน+กริยา และกรรม
ตามลำดับ เช่น สุนัขกัดแมว

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 143


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

2. ประโยคกรรม คือ ประโยคที่เอากรรมของกริยามาเป็น


ประธาน โดยวางไว้หน้าประโยค เพื่อเน้นกรรม เช่น แมวถูกสุนัขกัด
3. ประโยคกริยา คือ ประโยคที่เอาคำกริยามาไว้หน้าประโยค
เพื่อเน้นคำกริยานั้นๆ เกิดการปฎิวัติขึ้น,มีนักเรียน 20 คนในชั้นนี้
4. ประโยคการิต คือ ประโยคกรรตุ หรือประโยคกรรม แต่มี
ผู้รับแทรกเข้ามา เช่น เขาบังคับให้คนใช้ทำงานหนัก,ครูให้นักเรียน
ทำงานหนัก
5.ประโยคกริยาสภาวมาลา คือ ประโยคที่เอาคำกริยาสภาว
มาลาเป็นบทประธาน (กริยาสภาวมาลาคือกริยาที่ทำหน้าที่คล้ายกับ
นาม) หรือบทขยายประธาน บทกรรม หรือบทขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของ
ประโยคก็ได้ เช่น ออกกำลังกายทุกวันทำให้ร่างกายแข็งแรง,พูดดีเป็นศรี
ศักดิ์
ความเข้าใจภาษา
การทำความเข้าใจภาษาเพื่อให้เข้าใจเรื่องราวนั้น ควรอ่านเรื่อง
หรื อ บทความให้ ต ลอดเรื่ อ งอย่ า งช้ า ๆเพื ่ อ ให้ ท ราบความหมายหรือ
ความคิดที่สำคัญของเรื่องเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างละเอียดถี่ถ้วน เมื่อ
เข้าใจเรื่องราวแล้วก็จะสามารถแยกได้ว่าข้อความใดสำคัญมาก ข้อความ
ใดสำคัญน้อย จุดประสงค์ของเนื้อเรื่องหรือบทความ คืออะไรอยู่ที่ใด
และต้องการอะไร หรือให้ทำอะไร เมื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดีแล้วจึง
เรียงลำดับความสำคั ญมากหรือน้อย เพื่อนำไปตอบคำถาม ให้ตรงกับ
จุดมุ่งหมายตามที่กำหนดให้ความเข้าใจภาษาเข้าใจเรื่องราวต้องการการ
ฝึกฝนเพื่อให้เกิดความเข้าใจในเวลาอันรวดเร็วซึ่งต้องอาศัยพื้นฐาน คือ
สมาธิในการอ่าน การทำความเข้าใจ ถึงจุดมุ่งหมายและควรมีความรู้

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 144


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ความชำนาญในเรื่องถ้อยคำและสำนวนเป็นอย่างดี จึงจะนำมาใช้ในการ
ทดสอบได้การอ่านจับใจความ
การอ่านจับใจความ คือ การอ่านที่มุ่งค้นหาสาระของเรื่องที่
เป็นส่วนใจความสำคัญ และส่วนขยายใจความสำคัญของเรื่องใจความ
สำคัญของเรื่อง คือข้อความที่คลุมสาระข้อความอื่น ๆ ในย่อหน้านั้นหรือ
เรื่องนั้นทัง้ หมด ข้อความอื่น ๆ เป็นเพียงส่วนขยายใจความสำคัญเท่านั้น
ข้อความหนึ่ งหรื อ ตอนหนึ ่ง จะมีใ จความสำคั ญที่ส ุด เพี ยงหนึ่ งเดี ย ว
นอกนั้นเป็นใจความรอง คำว่าใจความสำคัญนี้ ผู้รู้ได้เรียกไว้หลายอย่าง
เช่น ข้อคิดสำคัญของเรื่อง แก่นของเรื่อง หรือความคิดหลักของเรื่อง แต่
จะอย่างไรก็ตาม ใจความสำคัญก็คือ สิ่งที่
เป็น สาระที่ส ำคัญที่ส ุด ของเรื่ อ งนั่น เองใจความสำคัญส่ว นมากจะมี
ลักษณะเป็นประโยค ซึ่งอาจปรากฏอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งขอย่อหน้าก็ได้
จุดที่พบความสำคัญของเรื่องในแต่ละย่อหน้ามากที่สุดคือ ประโยคที่อยู่
ตอนต้นย่อหน้า เพราะผู้เขียนมักบอกประเด็นสำคัญไว้ก่อน แล้วจึงขยาย
รายละเอียดให้ชัดเจน รองลงมาคือประโยคต่อท้ายย่อหน้า โดยผู้เขียน
จะบอกรายละเอียดหรือประเด็นย่อยก่อน แล้วจึงสรุปด้วยประโยคที่เป็น
ประเด็นไว้ภายหลัง สำหรับจุดที่พบใจความสำคัญยากขึ้นก็คือ ประโยค
ตอนกลางย่อหน้า ซึ่งผู้อ่านจะต้องใช้ความสังเกต
และพิจารณาให้ดี ส่วนจุดที่หาใจความสำคัญยากที่สุดคือย่อหน้าที่ไม่มี
ประโยคใจความสำคัญชัดเจน อาจมี
หลายประโยค หรืออาจอยู่รวม ๆ กันในย่อหน้าก็ได้ ซึ่งผู้อ่านจะต้องสรุป
ออกมาเองการอ่านเพื่อสรุปความและจับใจความ ควรอ่านไปให้ตลอด
เรื่องแต่อย่าเพิ่งสรุป เมื่ออ่านจบเรื่ อ งแล้ว จะต้ องจับใจความให้ ไ ด้
ดังต่อไปนี้

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 145


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

1. ต้องหาใจความสำคัญของเรื่องให้ได้ ใจความสำคัญ จะ
ปรากฎอยู่ในประโยคใดประโยคหนึ่ง
หรือย่อหน้าใดย่อหน้าหนึ่ง ส่วนข้อความอื่นจะเป็นส่วนประกอบ หรือ
ส่วนขยายใจความสำคัญ แต่ก็ไม่แน่
เสมอไป บางครั้งประโยคที่เป็นใจความสำคัญ อาจจะอยู่ ตอนต้น หรือ
ตอนท้ายของเรื่องก็ได้
2. เนื้อเรื่องและส่วนประกอบหลัก ที่จะนำมาขยายความสำคัญ
โดยตรง และส่วนประกอบย่อยอื่นๆ
จะเป็นส่วนขยายความให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นคือ
- ทำให้ทราบใจความสำคัญว่าส่วนประกอบมีอะไรบ้าง
- มีความต่อเนื่องกันมาอย่างไร - ขยายความเข้าใจได้ชัดเจน
- สรุปใจความได้
เมื่อพิจารณาได้ดังนี้แล้ว จึงนำความเข้าใจ จากการอ่านมาสรุป
เนื้อความ บทความหรือเรื่องราว
ที่อ่านเพื่อนำมาจับใจความให้ได้ว่า ใคร? ทำอะไร? ที่ไหน? เมื่อไหร่?
อย่างไร? เมื่อจับใจความและเข้าใจได้
ดังนี้แล้ว จึงจะนำความเข้าใจไปตอบคำถามที่กำหนดให้
ขั้นตอนการอ่านจับใจความ
1. อ่านผ่าน ๆ โดยตลอดเพื่อให้รู้ว่าเรื่องที่อ่านว่าด้วยเรื่องอะไร
จุดใดเป็นจุดสำคัญของเรื่อง
2. อ่านให้ละเอียด เพื่อทำความเข้าใจอย่างชัดเจน ไม่ควรหยุด
อ่านระหว่างเรื่องเพราะจะทำให้ความเข้าใจไม่ติดต่อกัน
3. อ่านซ้ำตอนที่ไม่เข้าใจ และตรวจสอบความเข้าใจบางตอนให้
แน่นอนถูกต้อง

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 146


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

4. เรียบเรียงใจความสำคัญของเรื่องด้วยตนเอง
5. อ่านพินิจแล้วตอบคำถาม เป็นการอ่านเรื่องอีกครั้งอย่าง
พินิจพิจารณา เพื่อหาคำตอบ จับประเด็นสำคัญ หารายละเอียดของเรื่อง
หาเหตุและผลของเหตุการณ์ ลำดับเหตุการณ์เป็นต้น
6. ตอบคำถามและทบทวน เมื่อตอบคำถามแล้ว หากยังพอมี
เวลาพอ ให้ตรวจสอบคำตอบจากเรื่องที่อ่านอีกครั้งหนึ่ง
การวิเคราะห์เนื้อหา
การวิเคราะห์เนื้อหา และการตอบคำถาม ต้องพิจารณาถึงการ
ใช้ถ้อยคำสำนวนว่าเหมาะสมหรือไม่
เพีย งใด นอกจากนั้น ควรพิจ ารณาว่า ผู้อ่านมีความคิดแทรก และมี
ความคิดเสริมอันสืบเนื่องจากเรื่องที่อ่าน
อย่างไร
ความคิดแทรก หมายถึง ความคิดที่เกิดขึ้นในสมองของผู้อ่าน
ขณะวิเคราะห์ เป้นความคิดที่เกิดขึ้นเอง
โดยมิได้ปรากฎในเรื่องที่อ่าน
ความคิดเสริม หมายถึง ความคิดที่เกิดขึ้นกับผู้อ่านหลังจาที่อ่าน
จบและวิเคราะห์ บทความหรือข้อความนั้นเสร็จสิ้นไป ความคิดเสริมอาจ
เป็นความคิดที่ต่างเรื่อง ต่างประเด็น ไปจากเรื่องที่อ่าน แต่จะมีความ
เกี ่ ย วเนื ่ อ งกั น มากหรื อ น้ อ ยแล้ ว แต่ บ ุ ค คลและโอกาสการอ่ า นเพื่ อ
วิเคราะห์ หมายถึง การแยกออกเป็นส่วนๆเพื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อ
แสวงหาสาระที่อยู่ในข้อความ บทความเนื้อหาที่อ่านนั้น เวลาอ่านเพื่อ
วิเคราะห์ต้องพยายามหาคำตอบว่า ข้อความ บทความ เนื้อเรื่องนั้นให้
ความรู้อะไรบ้าง ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นอะไรให้ทราบบ้าง ขณะที่
เขียนมีความรู้สึกอย่างไร พฤติกรรมเหล่านี้ผู้อ่านควรจะวิเคราะห์ได้

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 147


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

หลักการวิเคราะห์
1. พิจารณาว่าเรื่องนั้นใช้รูปแบบใด เช่น เป็นนิทาน เป็นเรื่อง
ยาว เป็นร้อยกรอง เป็นบทละคร
เรื่องสั้น หรือเป็นบทความ
2. แยกเนื้อเรื่องให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร
3. แยกพิจารณาให้ละเอียดว่า เนื้อหาประกอบด้วยอะไรบ้าง
4. พิจารณาว่าใช้กลวิธีในการนำเสนอเรื่องอย่างไร
5. ลำดับเหตุการณ์ ตามเหตุผลคือ ลำดับจาเหตุไปหาผล หรือ
จากผลไปหาเหตุ หรือตามเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้นก่อนหลัง ความสำคัญมากไปหาความสำคัญน้อย สิ่งที่ใก้ลตัวไป
หาไกลตัวจากขวาไปซ้ายหรือซ้ายไป
ขวา จากเหนือไปใต้หรือใต้ไปเหนือ จากสถานที่ใหญ่ไปหาสถานที่เล็ก
จากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย เป็นต้น
6. พิจารณาความคิดที่ผู้เขียนต้องสื่อให้ผู้อ่านทราบและ
ความหมายที่แฝงอยู่ในเนื้อเรื่องหรือข้อความ
นั้น เมื่ออ่านพิจารณาข้อความ บทความ เนื้อเรื่อง เสร็จแล้วจึงตอบ
คำถาม ข้อควรระวังคือ คำตอบที่ให้เลือกนั้นจะคล้ายคลึงกันมาก
บางครั้งดูเหมือนว่าคำตอบเป็นคำตอบที่ถูกต้องทุกข้อ จึงต้องใช้
วิจารณญาณ เลือกคำตอบที่ถูกที่สุด
การอ่านตีความ
การตีความ คือ การอ่านเพื่อให้ทราบความหมาย หรือความคิด
ที่สำคัญของเรื่องการตีความมักเป็นไปตามประสบการณ์ และความรู้สึก
ของแต่ล ะคน ไม่จ ำเป็น ว่ าทุ กคนจะต้ องตี ความตรงกัน เสมอไปการ
ตีความควรประเมินค่าและบอกได้ว่าสิ่งไหนมีความดีด้านใดและบกพร่อง

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 148


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ในส่วนใด ควรพิจารณาถึงรูปแบบและจุดประเทศในการเขียนแล้วจึงชี้
ข้อดีข้อบกพร่องโดยพิจารณาให้เหมาะสมกับประเภทของงานของการ
เขีย นนั้น ๆ คุณภาพของถ้อยคำสำนวนที่ใช้มีความเหมาะสมหรือ ไม่
เพียงใด เป็นต้น
ลักษณะของคำถามในเรื่องการอ่านตีความ อาจจะถามเกี่ยวกับ
คำถามดังต่อไปนี้
1. การตั้งชื่อเรื่อง (สามารถสรุปใจความสำคัญ )
2. รู้จุดมุ่งหมายของผู้เขียน
3. รู้ความหมายของข้อความ
4. รู้ความสำคัญของเรื่อง
5. รู้ความหมายของคำศัพท์
6. รู้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
7. ระเบียบวิธีคิด (คือการวิเคราะห์และประเมินผลได้)
8. ความสัมพันธ์ระหว่างย่อหน้าและระหว่างประโยค
9. วิธีนำเสนอเรื่อง (อธิบายตามลำดับขั้น ยกตัวอย่าง
ชี้ผลลัพท์ที่สัมพันธ์กัน ให้คำนิยาม ด้วยถ้อยคำที่แปลกออกไป)
10. การประเมินข้อความ เนื้อเรื่องที่อ่าน.

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 149


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ความสามารถด้านตัวเลข

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 150


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ความสามารถด้านตัวเลข
1) อนุกรม คือ ชุดของตัวเลขที่มีการวางเรียงอย่างเป็นระบบ มี
กฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นชุด ๆ การวัดหรือข้อสอบจะกำหนดหรือ
ตัดตัวเลขตัวใดตัวหนึ่งในระบบออกหรือตัดตัวถัดไปแล้วให้ดูว่าน่าจะเป็น
ตัวเลขใดมีหลายแบบ
1.1) ตัวเลขอนุกรมธรรมดา เป็นอนุกรมแนวเดียว
ก. ระบบเดียว ตัวอย่าง 2 3 5 8 ….?
แนวคิด : ตัวระบบคือ +1 +2 +3 ต่อไปต้องเป็น 8 + 4 = 12
2+1=3
3+2=5
5+3=8
8 + 4 = 12
12 + ……(5) = 17
ข. ระบบซ้อน เป็นระบบที่เขียนให้ซ้อนกันอย่างน้อย 2 ระบบ
ขึ้นไป
เช่น +1 +2 +1 +3 +1 +4 หรือ +3 -1 +4 -2 +5 -3
ระบบซ้อนนี้ อาจจะเป็น + กับ - หรือสลับเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์
แบบต่าง ๆ แม้กระทั่งการยกกำลัง หรือใส่ log ก็สามารถมาสร้างเป็น
อนุกรมได้

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 151


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ตัวอย่าง 5 4 6 4 8 5 11 7 …….?
แนวคิด. เป็นดังนี้ -1 +2 -2 +4 -3 +6 -4 +8
คำตอบที่ได้คือ 8 + 11 แบบนี้เป็น 2 ระบบเท่านั้น
5-1=4
4+2=6
6-2=4
4+4=8
8-3=5
5 + 6 = 11
11 - 4 = 7
7 + 8 = 15
ลักษณะอนุกรมธรรมดา เป็นเลขชุดที่สามารถเกิดจากการ บวก
ลบ คูณ หารหรือผสมก็ได้ ได้แก่
ก. แบบบวก เป็นอนุกรมที่มีค่าของตัวเลขเพิ่มขึ้นอย่างเป็น
ระบบ อาจเพิ่มแบบตรง หรือแบบซ้อน
ก็ได้ ตัวอย่าง 1 5 9 13 ……..? ทีค่าเท่าไร
ก. 14 ข. 16 ค. 17 ง. 18
แนวคิด. เป็นการเพิ่มขึ้นแบบเท่ากัน โดยเพิ่มครั้งละ 4 คำตอบ
ถูก คือ ค. 17

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 152


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ตามหลักการ หรือตัวอย่างอื่นๆ ดังนี้


1 + 4 = 5 5 + 4 = 9 9 + 4 = 13 13 + 4 = 17
1. 3 5 7 9 …….?
ก. 10 ข. 11 ค. 13 ง. 14 จ. 16
เพิ่มขึ้นทีละ 2 คือ +2 +2 +2 ไปเรื่อย ๆ ดังนั้นถัดจาก 9+2 จึงเป็น
11 คำตอบถูก ข.
2. 3 4 6 9 ……..?
ก. 12 ข. 13 ค. 15 ง. 16 จ. 17
เพิ่มขึ้นไม่เท่ากัน คือ +1 +2 +3……เป็น +4 ดังนั้น 9 + 4 = 13
คำตอบถูก ข.
3. 7 8 10 11 14 15 …..?
ก. 16 ข. 17 ค. 18 ง. 19 จ. 21
ระบบบวกแบบนี้คือ +1 +2 +1 +3 +1 +4 …เรียกว่าระบบบวกซ้อน
ตัวเลขถัดไป เป็น15 + 1 = 16
คำตอบถูก ก.

ข. วิธีลบ ใช้วิธีคล้ายกับวิธีบวก เพียงแต่ระบบเกิดจากการลบ


เป็นหลัก เลขจะลดลง ดังตัวอย่าง
1. 25 22 19 16 ……?
ก. 9 ข. 12 ค. 13 ง. 14 จ. 15
ระบบนี้ค่าลบเท่ากันตลอด คือ -3 -3 -3 ไปเป็น -3 เลขถัดไปจึงเกิด
จาก 16-3 = 13 คำตอบถูก ค.
2. 25 24 21 19 16 13 ……?
ก. 7 ข. 9 ค. 10 ง. 11 จ. 12

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 153


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ระบบนี้ เป็น -1 -3 -2 -3 -3 -3 เป็นลักษณะระบบซ้อนระบบต่อไป


เกิดจาก 13 – 3 = 10 คำตอบถูก ค.
ค. วิธีคูณ ระบบเป็นผลของการคูณ นั่นคือตัวเลขเกิดจากการ
คูณ ตัวอย่าง
1. 3 6 12 24 …… ?
ก. 26 ข. 32 ค. 40 ง. 48 จ. 58
ระบบนี้ใช้ระบบคูณคงที่ คือ 2 คูณกันต่อไปเรื่อย ๆ ตัวสุดท้ายเกิดจาก
24 x 2 = 48 คำตอบถูก ง.
2. 3 3 6 6 18 …… ?
ก. 18 ข. 24 ค. 32 ง. 54 จ. 72
ระบบนี้ซับซ้อนมากขึ้น เกิดจาก x1 x2 x1 x3 เป็นระบบ x1 x1 กับ
ระบบ x2 x3 x4 ไปเรื่อยๆดังนั้น 18 x 1 = 18 คำตอบถูก ก.
ง. วิธีหาร เป็นแบบเดียวกับวิธีคูณ วิธีคิดคือคิดกลับข้างกับวิธี
คูณ นั่นคือทำวิธีคูณก่อน
1. 100 50 10 5 ……?
ก. 1 ข. 2 ค. 3 ง. 4 จ. 5
เกิดจากเอา 2 หาร แล้วเอา 5 หารสลับกันไป คือ หาร 2 หาร 5 หาร
2 หาร 5 ดังนั้น 5 หาร 5 = 1 คำตอบถูก ก.
2. 120 40 20 5 5 ……?
ก. 0 ข. 1 ค. 2 ง. 3 จ. 4
เป็นการหาร 2 ระบบ สังเกตดูจะเห็นว่า หาร 3 หาร 2 หาร 4 หาร 1
หาร 5 นั่นคือ ระบบหารด้วย 3 4 5 และ 2 1 0 (ได้จาก 5 หาร 5 =
1) คำตอบถูก ข.

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 154


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

จ. วิธีผสม เป็นวิธีการสร้างระบบโดยอาศัยวิธีการทาง
คณิตศาสตร์ แตกต่างกันออกไป เช่นบวกกับลบ บวกกับหาร บวกกับยก
กำลัง ลบกับคูณ สามารถนำมาเกี่ยวข้องกันอย่างน้อย 2 ระบบขึ้นไป
ตัวอย่าง
1. 2 5 4 8 7 ……?
ก. 10 ข. 12 ค. 13 ง. 14 จ. 16
ข้อนี้ มี 2 ระบบคือ บวกกับลบ +3 –1 +4 –1 ต่อไป +5 เลข
ถัดไปจะเป็น 7 + 5 = 12
คำตอบถูก ข.
2. 5 5 2 4 1 1 ……?
ก. 0 ข. 1 ค. -2 ง. -3 จ. -5
ข้อนี้ มี 2 ระบบแบบผสมคือ ยกกำลังกับการลบ นั่นคือยกกำลัง 1 –3
ยกกำลัง 2 - 3 ยกกำลัง 3 -3 อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ คำตอบของเลขถัดไป
จึงเป็น 1 - 3 = -2 คำตอบถูก ค.
1.2) อนุกรมแบบเรียงลำดับตัวเลข
ก. เรียงตามผลต่างระหว่างเทอมคงที่ เช่น
1. 1, 2, 3, 4, 5 .......... (ผลต่างระหว่างเทอมคงที่เป็น 1)
2. 1, 3, 5, 7, 9 .......... (ผลต่างระหว่างเทอมคงที่เป็น 2)
3. 2, 5, 8, 11, 14 .......... (ผลต่างระหว่างเทอมคงที่เป็น 3)
4. 40, 35, 30, 25, 20 .. (ผลต่างระหว่างเทอมคงที่เป็น 5 แต่ค่า
ลดลง)
5. 15, 11, 7, 3, -1 .. (ผลต่างระหว่างเทอมคงที่เป็น 4 แต่ค่าลดลง)
ข. เรียงตามผลต่างระหว่างเทอมเพิ่มขึ้นหรือลงอย่างเสมอ เช่น
6. 1, 2, 4, 7, 11 ....... (ผลต่างระหว่างเทอมเพิ่มขึ้นคราวละ 1)

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 155


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

7. 5, 7, 11, 17, 25 .(ผลต่างระหว่างเทอมเพิ่มขึ้นคราวละ 2)


8. 51, 44, 38, 33, 29 ........ (ผลต่างระหว่างเทอมลดลงคราวละ 1)
9. 1, 2, 6, 15, 34 .......... (ผลต่างระหว่างเทอมเป็นเลขยกกำลังสอง)
10. 1, 3, 8, 18, 35 .......... (ผลต่างระหว่างเทอมเป็นเลขยกกำลัง
สองบวก 1)
ค. เรียงตามกฎเกณฑ์เฉพาะ
นับเป็นการลำดับเรียงตัวเลขที่ยากที่สุด เพราะกฎเกณฑ์นั้นมี
อยู่มากมายไม่รู้จบ ผู้เข้าสอบต้องอาศัยการทดลองทำแนวของกฎเกณฑ์
ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จึงจะเกิดความชำนาญในการคิด ฉะนั้นจึงได้
พยายามยกตัวอย่างมาให้หลาย ๆ แบบ ดังนี้
1. 1, 3, 7, 15, 31 ……….
(เทอมหลัง = เทอมหน้า x 2 แล้วบวกด้วย 1)
2. 3, 6, 11, 18, 27 ……….
(เป็นเลขยกกำลัง + 2)…. (เทอมหลัง = เทอมหน้า x 2 แล้วบวกด้วย 2)
4. 2, 4, 16, 265, 65536 ……….
(เทอมหลัง = เทอมหน้ายกกำลัง)
5. 2, 8, 18, 32, 50 ………. (เลขยกกำลัง x 2 )
6. 1, 4, 9, 16, 25 ………. (เลขยกกำลังสอง)
7. 1, 8, 27, 64, 125 ………. (เลขยกกำลังสาม)
8. 0, 3, 8, 15, 24 ………. (เลขยกกำลังสองลบด้วย 1)
9. -1, 6, 25, 62, 173 ………. (เลขยกกำลังสามลบด้วย 2)
10. 25 16 9 4 1 …(เลขยกกำลังสอง คือ 5 ยกกำลังสอง
4 ยกกำลังสอง)

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 156


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ง. แบบเรียงชุดละ 2 ตัว
คือการเรียงลำดับตัวเลขที่เรียงตามไปกฎเกณฑ์ใดกฎเกณฑ์หนึ่ง
ชุดละ 2 ตัว กฎของการเรียง
ในแต่ละตัวใน 2 ตัวนั้น อาจจะเป็นกฎเดียวกับการเรียงชุดละ ตัวก็ได้
เช่น
1. 1, 1, 2, 4, 3, 9, 4 …. (ตัวแรกของชุด 1, 2, 3, 4 ชุด
หลัง 1, 4, 9, ต่อไปเป็น 16)
2. 2, 1, 4, 3, 6, 5, 8 …. (ตัวแรกของชุด 2, 4, 6, 8 ชุด
หลัง 1, 3, 5, ต่อไปเป็น 7)
3. 1, 14, 5, 12, 9, 10, 13 …. (ชุดแรก 1, 5, 9, 13 ชุด
หลัง 14, 12, 10, ต่อไปเป็น 8)
4. 2, 3, 4, 9, 8, 27, 16 …. (ชุดแรก 2, 4, 8, 16 ชุดหลัง
3, 9, 27 ต่อไปเป็น 81)
5. 10, 19, 13, 22, 16, 25, 19 …. (ชุดแรก 10, 13,
16, 19 ชุดหลัง 19, 22, 25 ต่อไปเป็น 28)
6. 30, 1, 33, 4, 38, 9, 45 …. (ชุดแรก 30, 33, 38, 45
ชุดหลัง 1, 4, 9 ต่อไปเป็น 16)
7. 20, 10, 13, 4, 6, -2 , 1 …. (ชุดแรก 20, 13, 6, -1
ชุดหลัง 10, 4, -2 ต่อไปเป็น -8)
8. 66, -10, 77, -3, 88, 5, 99 …. (ชุดแรก 66, 77, 88,
99 ชุดหลัง -10, -3, 5 ต่อไปเป็น 1)
9. 19, 19, 21, 17, 24, 14, 28 …. (ชุดแรก 19, 21,
24, 28 ชุดหลัง 19, 17, 14 ต่อไปเป็น 10)

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 157


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

10. 34, 31, 36, 29, 38, 27, 40 …. (ชุดแรก 34, 36,
38, 40 ชุดหลัง 31, 29, 27 ต่อไปเป็น 25)
จ. แบบเรียงชุดละ 3 ตัว
ก็เช่นเดียวกับการเรียงชุดละ 1 ตัว หรือ 2 ตัว แต่เป็นชุดละ 3
ตัว เช่น
1. 2, 1, 2, 2, 2, 4, 2, 3 …. (ชุดแรก 2, 1, 2, ถัดไป 2, 2,
4 ถัดไป 2, 3 …ต่อไป 6)
2. 2, 3, 5, 4, 5, 9, 6, 7 …. (สองตัวแรกบวกกันเป็นตัวที่
สาม ฉะนั้น 6+7 ได้ 13)
3. 13, 11, 15, 14, 10, 16, 15, 9 …. (ตัวแรกของชุด
13, 14, 15 ตัวที่สอง 11, 10, 9
ชุดที่สาม 15, 16, …..ต่อไปคือ 17)
4. 5, 2, 10, 6, 4, 24, 7, 5 …. (ชุดแรก 2, 5, 10 ตัวที่สอง
6, 4, 24 ชุดสาม 7,5, …..ต่อไป 35)
5. 1, 5, 8, 4, 6, 7, 9, 7,…. (ชุดแรก 1, 4, 9 ตัวที่สอง 5,
6, 7 ชุดสาม 8, 7,….. ต่อไป 6)
2) การคำนวณหา ห.ร.ม ค.ร.น.
2.1) ห.ร.ม. ย่อมาจาก ตัวหารร่วมมาก ห.ร.ม ของจำนวนสอง
จำนวน คือ จำนวนเต็มบวกที่มาก
ที่สุดที่ไปหารจำนวนทั้งสองนั้นลงตัว วิธีหา ห.ร.ม. อาจทำได้หลายวิธี
ดังนี้
1.โดยวิธีแยกตัวประกอบในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะ ห.ร.ม.
คือ ตัวประกอบที่สัมพันธ์กัน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 158


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

2.โดยวิธีตั้งหารสั้น ห.ร.ม. คือ ผลคูณของจำนวนที่เป็นตัวหาร


ร่วมทุกจ
ตัวอย่าง จงหา ห.ร.ม. ของ 12 และ 18
12 = 2 x 2 x 3 18 = 2 x 3 x 3
ดังนั้น ห.ร.ม ของ 8 และ 12 คือ 2 x 2 x 2 x 3
ตัวประกอบที่มากที่สุดของ 12 และ 18 คือ 2 x 3 หรือ 6
คำตอบ ห.ร.ม ของ 12 และ 18 คือ 6
2.2) ค.ร.น. ย่อมาจาก ตัวคูณร่วมน้อย ค.ร.น ของจำนวนสอง
จำนวน คือจำนวนเต็มบวกที่
น้อยที่สุดที่จำนวนทั้งสองนั้นหารลงตัว วิธีหา ค.ร.น อาจทำได้หลายวิธี
ดังนี้
1. โดยวิธีแยกตัวประกอบ ในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะ
ค.ร.น. คือผลคูณของตัวประกอบร่วมกันกับตัวประกอบที่เหลือทุก
จำนวน
2.โดยวิธหี ารสั้น
ค.ร.น. คือผลคูณของตัวหารร่วมทุกตัวกับผลหารสุดท้ายทุกตัว
3.โดยวิธีใช้สูตร ผลคูณของจำนวนสองจำนวน = ห.ร.ม. x
ค.ร.น.
ค.ร.น. = ผลคูณขอจำนวนสองจำนวน/ ห.ร.ม.
ตัวอย่าง
1) จงหา ค.ร.น. ของ 30 และ 42
30 = 2 x 3 x 5 42 = 2 x 3 x 7
เพราะฉะนั้น ค.ร.น. = 2 x 3 x 5 x 7 = 210

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 159


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

3) การคำนวณอายุ
ตัวอย่าง
1) เมื่อ 5 ปีก่อน แดงอายุ 12 ปี อีก 7 ปีข้างหน้าแดงจะมีอายุกี่ปี
ก. 14 ข. 17 ค. 24 ง. 28
แนวคิด 1. เมื่อ 5 ปีก่อน แดงอายุ 12 ปี แสดงว่า ขณะนี้แดง
มีอายุ 12+5 = 17 ปี
2. เพราะฉะนั้น อีก 7 ปีข้างหน้า แดงจะมีอายุ 17+7 = 24
ปี
2) ปัจจุบัน มานพ มานะ มานี อายุรวมกัน 57 ปี เมื่อ 3 ปีก่อน อายุ
มานพ มากกว่า
มานะอยู่ 4 ปี อีก 4 ปีข้างหน้า อายุมานะ มากกว่ามานี 1 ปี
อยากทราบว่าปัจจุบัน มานะอายุกี่ปี ?
ก. 24 ข. 22 ค. 20 ง. 19
แนวคิด 1. กำหนดให้ปัจจุบัน มานะ มีอายุ x ปี
2. มานพ อายุ x +4 และมานี อายุ x – 1 ปี
3. มานพ มานะ มานี อายุรวมกัน 57 ปี
4. เพราะฉะนั้น x +( x +4 ) + (x – 1) = 57 x =
57/ 3 = 19 ปี

3) เมื่อ 7 ปีก่อน ฉันทนา อายมุมากกว่า ฉันทนีย์ 2 ปี ปัจจุบัน ฉันทนีย์


อายุเป็น 2 เท่าของ
ฉันทนันท์ อีก 10 ปีข้างหน้า ฉันทนันท์ อายุครบเบญจเพส
อยากทราว่าปัจจุบัน ฉันทนาอายุกี่ปี?
ก. 32 ข. 30 ค. 28 ง. 26

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 160


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

แนวคิด 1. อีก 10 ปีข้างหน้า ฉันทนันท์ อายุครบเบญจเพส


คือ = 25 ปี
2. เพราะฉะนั้น ปัจจุบัน ฉันทนันท์
อายุ 25 - 10 = 15 ปี
3. ปัจจุบันฉันทนีย์ อายุเป็น 2 เท่าของฉันทนันท์
เพราะฉะนั้นปัจจุบันฉันทนันท์อายุ 25 x 2 = 30 ปี
4. ฉันทนาอายมุมากกว่าฉันทนีย์ 2 ปี เพราะฉะนั้น
ปัจจุบันฉันทนา อายุ 30 + 2 = 32 ปี

4) พี่น้อง 3 คน อายุรวมกัน 18 ปี คนสุดท้ายอ่อนกว่าคนกลาง


2 ปี คนโตแก่กว่าคนกลาง 2 ปี คนกลางอายุเท่าไร?
ก. 10 ปี ข. 8 ปี ค. 6 ปี ง. 4 ปี
แนวคิด 1. อายุ 3 คน = 18 ปี ถ้าเฉลี่ยอายุเท่า ๆ กัน จะได้
= 18 / 3 = 6 ปี
2. คนโต คือ 6+2 = 8 ปี คนกลาง6 ปี คนสุดท้าย 6-2=4 ปี
อายุรวมกัน 18 ปี

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 161


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

5) ปัจจุบันบิดาอายุ 35 ปี บุตรชายอายุ 6 ปี อีกกี่ปีข้างหน้า


บิดาจะมีอายุเป็น 2 เท่าของบุตร
แนวคิด ให้อีก x ปี บิดามีอายุเป็น 2 เท่าของบุตร ซึ่งสามารถ
เขียนลงในตารางได้ ดังนี้

อายุบิดา อายุบุตร
ปัจจุบัน 35 6
อีก x ปี 35 + x 6+x
(อนาคต)

แต่อีก x ปี บิดามีอายุเป็น 2 เท่าของบุตร


เพราะฉะนั้น 35 + x = 2(6+x) 35-12 = 2x – x x = 23
ดังนั้น อีก 23 ปี บิดามีอายุเป็น 2 เท่าของบุตร
4) คำนวณจำนวนเสาที่ปักตามเส้น
ก. จำนวนเสาที่ปักตามเส้นรอบวง
สูตร : จำนวนเสาทั้งหมด = ความยาวของเส้นรอบวง ÷
ระยะทางที่ห่างกันระหว่างเสา
ตัวอย่าง สนามหญ้าเป็นรูปวงกลม มีเส้นรอบวงยาว 80 เมตร
ปักเสาตามแนวเส้นรอบวงแต่ละต้นห่างกัน 2 เมตร จะต้องใช้เสากี่ต้น
วิธีทำ ความยาวเส้นรอบวง = 80 เมตร
ระยะห่างระหว่างเสา = 2 เมตร
จากสูตร จำนวนเสาทั้งหมด = ความยาวของเส้นรอบวง ÷
ระยะทางที่ห่างกันระหว่างเสา
= 80÷2 = 40

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 162


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ข. จำนวนเสาที่ปักตามแนวเส้นตรง
สูตร : จำนวนเสาทั้งหมด = ระยะทางทั้งหมด / 2 + 1
ระยะห่างที่เท่ากันระหว่างเสา
ตัวอย่าง ปักเสาตามแนวถนนในหมู่บ้าน เสาแต่ละต้นห่างกัน 2
เมตร และระยะทางจากเสาต้นแรกถึงต้นสุดท้ายยาว 80 เมตร จงหาว่า
มีเสาทั้งหมดกี่ต้น
วิธีทำ ระยะทางทั้งหมด = 80 เมตร
ระยะที่เท่ากันระหว่างเสา = 2 เมตร
จากสูตร จำนวนเสาทั้งหมด = ระยะทางทั้งหมด + 1
ระยะห่างที่เท่ากันระหว่างเสา
= 80÷2 + 1 = 41
5) คำนวณผลบวกจำนวนนับ
ก. ผลบวกจำนวนนับที่เรียงตามลำดับที่เริ่มจาก 1
จำนวนนับที่เรียงตามลำดับ ได้แก่ 1 2 3 4 ….
สูตร ผลบวกของ 1 + 2 + 3 + 4 + … + n = n/ 2 (n+1)
= ปลาย 2(ปลาย + 1 )เมื่อ n เท่ากับปลาย
ตัวอย่าง จงหาผลบวกของ 1 + 2 + 3 + 4 + ……. + 12
วิธีทำ ผลบวก = 1 + 2 + 3 + 4 +… + 12
= ปลาย÷ 2 (ปลาย + 1) เมือ่ ปลาย = 12
= 12÷ 2 (12 + 1) = 6 x 13 = 78

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 163


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ข. ผลบวกจำนวนนับที่เป็นเลขคู่เริ่มต้นจาก 2
จำนวนนับที่เป็นเลขคู่เรียงลำดับ ได้แก่ 2 4 6 8 …
สูตร ผลบวกของ 2 + 4 + 6 + 8 + …+ n = n/4 [n+2]
= ปลาย÷ 4 [ปลาย + 2 ] เมือ่ n = ปลาย
ตัวอย่าง 1 ถึง 11 บวกกันได้เท่าไร
แนวคิด ตัวแรก + ตัวสุดท้าย x ตัวสุดท้าย/ 2
1 + 11 x 11 ÷ 2 = 66
ค. ผลบวกจำนวนนับที่เป็นเลขคี่เริ่มต้นจาก 1
จำนวนนับที่เป็นเลขคู่เรียงลำดับ ได้แก่1 3 5 7
สูตร ผลบวกของ 1 + 3 + 5 + 7 + …+ n = [n + 1]
ยกกำลัง2
= [ปลาย + 2 ]ยกกำลังสอง ÷ 4 เมื่อ n = ปลาย

6) การหาแฟกทอเรียน n (n Factorial)
นิยาม เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก แฟกทอเรียน n หมายถึงผล
คูณของจำนวนเต็มบวกตั้งแต่ 1 ถึง n
แฟกทอเรียน n เขียนแทนด้วย n!
ตัวอย่าง 6! = 6 x 5 x 4 x 3 x 2 x 1 = 720 3! = 3 x 2
x 1 = 6 1! = 1
วิธีเรียงสับเปลี่ยน (Permutation) จำนวนวิธีที่เป็นไปได้
ทั้งหมดของการเรียงอันดับสมาชิก
ในเซตจำกัด เช่น จำนวนที่จัดให้คน 3 คน ยืนเรียงแถว จำนวนที่จัดให้
แขกรับเชิญ 8 คน นั่งรอบโต๊ะกลม
วิธีจัดเรียงลำดับดังกล่าวเรียกว่า วิธีเรียงสับเปลี่ยน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 164


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ตัวอย่าง ถ้าจัดคน 3 คน คือ ก ข และ ค ให้ยืนเรียงเป็นแถว


ตรง จะจัดได้ทั้งหมด 6 วิธี
คือ กขค กคข ขกค ขคก คกข คขก
วิธีคิด ตำแหน่งที่ 1 จะให้ ก ข หรือ ค ยืนก็ได้ จึงมีวิธีจัดได้
3 วิธี
ตำแหน่งที่ 2 เมื่อมีคนยืนตำแหน่งที่ 1 แล้ว ตำแหน่งที่ 2 จึง
เหลือคนให้จัดเพียง 2 คน จึงจัดได้ 2 วิธี ส่วนตำแหน่งที่ 3 นั้นมีเพียง
วิธีเดียว เพราะเหลืออยู่เพียง 1 คน
ดังนั้น จำนวนวิธีที่จะจัดให้คน 3 คน ยืนเรียงแถวตรงมีทั้งหมด
3! = 3 x 2 x 1 = 6 วิธี
จำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนของสิ่งของ n สิ่ง ซึ่งแตกต่างกัน
ทั้งหมดเท่ากับ n!
ตัวอย่าง ถ้าปลูกต้นไม่ 5 ชนิด ๆ ละ 1 ต้น เรียงเป็นแถวตรง
จะมีวิธีจัดทั้งหมดกี่วิธี
วิธีทำ วิธีจัดต้นไม้ดังกล่าวเป็นวิธีเรียงสับเปลี่ยนของสมาชิก
ทั้งหมดในเซตซึ่งมีสมาชิก 5 ตัว
จำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนทั้งหมดเท่ากับ 5! = 120 วิธี
ข้อมูลสถิติ ส่วนใหญ่จะใช้ค่ากลางของข้อมูลเป็นตัวแทนของ
ข้อมูล ดังนี้
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต คือ ค่าที่ได้จากการหารผลรวมของข้อมูล
ทั้งหมดด้วยจำนวนข้อมูล
มัธยฐาน คือ ค่าอยู่กึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมด เมื่อเรียงข้อมูล
ชุดนั้นจากมากไปหาน้อยหรือ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 165


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

จากน้อยไปหามาก ดังนั้นจะมีข้อมูลจำนวนที่น้อยและมากกว่า
มัธยฐานเป็นจำนวนเท่ากัน และ
ฐานนิยม คือ ค่าข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุด

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 166


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ความสามารถด้านเหตุผล

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 167


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ความสามารถด้านเหตุผล
1) อุปมาอุปมัย
อุปมาอุปมัย หมายถึง การเปรียบเทียบ เป็นการวิเคราะห์ หา
เหตุผล การเปรียบเทียบ มักจะแบ่งออก
เป็น 3 ลักษณะ เช่น แบบที่ 1. เอเซีย : ปากีสถาน ; ? : ?
ก.ญี่ปุ่น : เกาหลี ข. ไทย : บางกอก ค. เยอรมัน : อิตาลี ง.
อเมริกา : แคนาดา (คำตอบคือข้อ ง.)
แบบที่ 2. ? กิน ; น้ำ : ?
ก. อาหาร : เคี้ยว ข. ข้าว : กระหาย ค. ผักสด : ดื่ม ง. เนื้อ :
รับประทาน (คำตอบคือข้อ ค.)
แบบที่ 3. พรรค : สมาชิก ; เมฆ : ?
ก.ฝน ข.ละอองน้ำ ค.น้ำค้าง ง.แม่น้ำ (คำตอบคือข้อ ข.)
อุปมาอุปมัย ที่เป็นภาพ ลักษณะนี้โจทย์จะกำหนดภาพมาให้ 1
คู่ กับอีก 1 ภาพ แล้วพิจารณาว่าภาพ
คู่นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร แล้วพิจารณาตัวเลือก ก.-ง ว่าภาพคู่ใด
กับภาพที่กำหนดให้ เช่น

คำตอบ คือ ข้อ ค.


2) การสรุปความ
แบบสรุปข้อความ มีหลักหรือกฎในการคิดหลายแบบ เพื่อให้
สามารถคิดได้รวดเร็วและถูกต้องจึงได้รวบรวมหลักในการสรุปแบบต่าง
ๆ ไว้ ดังนี้

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 168


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

1. แบบเปรียบเทียบ แบบนี้โจทย์จะกำหนดสมมติฐานมาให้
อย่างน้อย 2 สมมติฐานแล้วหาข้อสรุป ใน 2 สมมติฐานนี้จะมีคุณศัพท์
เปรียบเทียบระหว่าง 2 สมมติฐานนั้น คุณศัพท์เหล่านั้นได้แก่ ดีกว่า สวย
กว่า สูงกว่า ใหญ่กว่า รวยกว่า มากกว่า ขยันกว่า ฯลฯ การสรุปของข้อ
หนึ่ง ๆ จะมีคุณศัพท์เปรียบเทียบมากกว่า
1 ตัวไม่ได้ เช่น ฉัน ดีกว่า แดง แดง รวยกว่า ดำ ข้อนี้สรุปไม่ได้
A โตกว่า B B โตกว่า C สรุปได้ว่า A โตกว่า C
1.1 A โตกว่า B Bโตกว่าC C โตกว่าD สรุปได้ว่า A
โตกว่า D จะสรุปว่า A โตกว่า C ไม่ได้ เพราะไม่ได้ใช้สมมติฐานทุก
สมมติฐานที่กำหนดให้ หรือจะสรุปได้ว่า A โตกว่า B ก็ไม่ได้
1.2 A รัก B B รัก C สรุปไม่ได้เพราะคำว่า “ รัก ”
เป็นกริยา ไม่ใช่คุณศัพท์เปรียบเทียบแต่ถ้าใช้ รักมากกว่า กินมากกว่า ตี
แรงกว่าได้ เช่น ฉันกินข้าวมากกว่าน้อง น้องกินข้าวมากกว่าแม่ สรุปได้
ฉันกินข้าวมากกว่าแม่
1.3 A โตกว่า B C เล็กว่า B สรุปไม่ได้ เพราะมี
คุณศัพท์เปรียบเทียบมากกว่า 1 ตัว คือมี 2 ตัว ได้แก่ โตกว่า กับ เล็ก
กว่า ในสมมติฐานทั้งสองมิได้ระบุว่า “ เล็กกว่า ” หมายถึงตรงกันข้าม
กับ “ โตกว่า ”
จะใช้ความหมายของคำที่ใช้ในภาษาไปช่วยสรุปไม่ได้ เพราะ
การสรุปต้องสรุปจากสมมติฐานเท่านั้น ซึ่งสมมติฐานบางชุดอาจจะไม่
เป็นความจริง หรือได้ข้อสรุปที่ไม่เป็นความจริงก็ได้ ขอให้สรุปอย่างมี
เหตุผลตามสมมติฐาน เช่น

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 169


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

1 มากกว่า 2 2 มากกว่า 4 สรุปได้ 1 มากกว่า 4 จะเห็นว่า


สมมติฐานทั้งสองเป็นเท็จแต่ก็สรุปได้ และข้อสรุปเป็นเท็จ 6 มากกว่า
8 8 มากกว่า 5 สรุปได้ 6 มากกว่า 5 จะเห็นว่าสมมติฐานแรกเป็นเท็จ
สมมติฐานที่ 2 เป็นจริง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการสรุปนั้นไม่คำนึงถึง
ข้อเท็จจริงแต่คำนึงถึงเหตุผล
เงื่อนไขทางสัญลักษณ์การเปรียบเทียบ
= หมายถึง เท่ากับ # หมายถึงไม่เท่ากับ > หมายถึง มากว่า
\> หมายถึงไม่มากกว่า ซึ่งอาจหมายถึงเท่ากับ หรือ น้อยกว่าก็ได้ <
หมายถึง น้อยกว่า
<\ หมายถึงไม่น้อยกว่า ซึ่งอาจหมายถึง เท่ากับ หรือมากกว่าก็ได้ \<
หมายถึงน้อยกว่าหรือ เท่ากับ
>/ หมายถึง มากกว่าหรือเท่ากับ
แบบจำแนกพวก
เป็นแบบที่อาศัยขอบข่ายของการกำหนดประเภทคน สัตว์
สิ่งของ ฯลฯ เป็นหลักในการสรุป
แบบนี้การวาดรูปประกอบจะช่วยให้สรุปได้ง่ายขึ้น มีหลักสรุปดังนี้
2.1 นก (ทุกตัว) เป็นสัตว์บก สัตว์บก (ทุกตัว) บินได้ สรุปได้
นกบินได้
2.2 นกเป็นสัตว์บก สัตว์ไม่ใช่สัตว์บกบินได้ สรุปไม่ได้
2.3 นกไม่ใช่สัตว์บก สัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์บกบินได้ สรุปได้ นกบินได้
2.4 นกไม่ใช่สัตว์บก สัตว์บกบินได้ สรุปไม่ได้
2.1 A นกไม่ใช่สัตว์บก สัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์บกบินไม่ได้ สรุปได้ นก
บินไม่ได้
2.2 A นกไม่ใช่สัตว์บก สัตว์บกบินไม่ได้ สรุปไม่ได้

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 170


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

2.3 A นกเป็นสัตว์บก สัตว์บกบินไม่ได้ สรุปได้ นกบินไม่ได้


2.4 A นกเป็นสัตว์บก สัตว์ไม่ใช่สัตว์บกบินไม่ได้ สรุปไม่ได้
หมายเหตุ ในสมมติฐานกรณีที่ไม่ได้กล่าวว่า เป็นทุกตัว
, หรือ บางตัว หมายถึงทุกตัว
2.5 ครูทุกคนมีเมตตา ฉันเป็นครู สรุปได้ ฉันมีเมตตา
2.6 ครุทุกคนมีเมตตา ฉันมีเมตตา สรุปไม่ได้ เพราะขอบข่าย
ของสมมติฐานระบุเพียงแต่ว่า
ถ้าเป็นครูต้องมีเมตตา แต่ไม่ได้ระบุว่า คนไม่ใช่ครูมีเมตตาหรือไม่
ลักษณะนี้ คนที่ไม่ใช่ครูอาจเป็นคนมี
เมตตาหรือไม่มีก็ได้ ดังนั้นคนมีเมตตา (ฉัน) จึงอาจเป็นครูก็ได้ อาจไม่ใช่
ครูก็ได้ลักษณะเช่นนี้สรุปไม่ได้
2.7 ครูทุกคนมีเมตตา ฉันไม่มีเมตตา สรุปได้ ฉันไม่ใช่ครู
2.8 ครูทุกคนมีเมตตา ฉันไม่ใช่ครู สรุปไม่ได้ เพราะสมมติฐาน
ระบุว่าครูทุกคนมีเมตตาแต่ไม่ได้ระบุว่าคนที่ไม่ใช่ครูจะมีเมตตาหรือไม่
ฉะนั้นคนที่ไม่ใช่ครูอาจจะมีเมตตาหรือไม่มีเมตตาก็ได้ ลักษณะเช่นนี้สรุป
ไม่ได้
2.5 A คนมีเมตตาทุกคนเป็นครู ฉันมีเมตตา สรุปได้
ฉันเป็นครู
2.6 A คนมีเมตตาทุกคนเป็นครู ฉันเป็นครู สรุปไม่ได้
2.7 A คนมีเมตตาทุกคนเป็นครู ฉันไม่ใช่ครู สรุปได้
ฉันไม่มีเมตตา
2.8 A คนมีเมตตาทุกคนเป็นครู ฉันไม่มีเมตตา
สรุปไม่ได้
2.9 โจรทุกคนไม่มีเมตตา ฉันมีเมตตา สรุปได้

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 171


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ฉันไม่ใช่โจร
2.10 โจรทุกคนไม่มีเมตตา ฉันไม่มีเมตตา
สรุปไม่ได้ ลักษณะเดียวกับ 2.6
2.11 โจรทุกคนไม่มีเมตตา ฉันเป็นโจร สรุปได้
ฉันไม่มีเมตตา
2.12 โจรทุกคนไม่มีเมตตา ฉันไม่ใช่โจร
สรุปไม่ได้ ลักษณะเดียวกับ 2.8
2.9 A คนไม่มีเมตตาทุกคนเป็นโจร ฉันไม่มีเมตตา
สรุปได้ ฉันเป็นโจร
2.10 A คนไม่มีเมตตาทุกคนเป็นโจร ฉันมีเมตตา
สรุปไม่ได้ ลักษณะเดียวกับ 2.6
2.11 A คนไม่มีเมตตาทุกคนเป็นโจร ฉันไม่ใช่โจร
สรุปได้ ฉันมีเมตตา
2.12 A คนไม่มีเมตตาทุกคนเป็นโจร ฉันเป็นโจร
สรุปได้ ลักษณะเดียวกับ 2.8
2.13 นกทุกตัวเป็นสัตว์บก สัตว์บกทุกตัวบินได้
สรุปได้ นกบินได้
2.14 นกทุกตัวเป็นสัตว์บก สัตว์บกบางตัวบินได้
สรุปไม่ได้
2.15 นกทุกตัวเป็นสัตว์บก สัตว์บกทุกตัวบินไม่ได้
สรุปได้ นกบินไม่ได้
2.16 นกทุกตัวเป็นสัตว์บก สัตว์บกบางตัวบินได้
สรุปไม่ได้

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 172


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

แบบสรุปความแบบนี้ ถ้าจะสังเกตให้ดีจะเห็นว่า แต่ละแบบมัก


มี 4 ข้อ และหลักการสรุปก็คล้าย ๆ กัน หากได้อ่านทบทวนบ่อย ๆ จะ
ทำให้สามารถสรุปได้รวดเร็ว ลักษณะของสมมติฐานอาจเปลี่ยนแปลงไป
ได้มากมายหลายแบบ แต่หลักการสรุปใช้หลักเดียวกัน

แบบมีเงื่อนไข แบบนี้โจทย์จะกำหนด สมมติฐานมาให้ 2 สมมติฐานให้


หาข้อสรุปสมมติฐานทั้ง 2 นี้จะมีความเกี่ยวเนื่องกันและทำให้เกิด
ข้อสรุปขึ้น แต่ถ้าหากเงื่อนไขของสมมติฐานทั้งสองไม่สัมพันธ์กันก็สรุป
ไม่ได้เช่น
3.1 ถ้าน้ำท่วมฉันจะซื้อเรือ น้ำท่วม สรุปได้ ฉันซื้อเรือ
3.2 ถ้าน้ำท่วมฉันจะซื้อเรือ น้ำไม่ท่วม สรุปไม่ได้ เพราะสมมติฐานแรก
ระบุเพียงว่า ถ้าน้ำท่วมฉันจะซื้อเรือ (ไม่ระบุว่าน้ำท่วมฉันจะซื้อเรือ
หรือไม่ ฉะนั้นการที่ฉันซื้อเรืออาจจะซื้อเมื่อน้ำท่วมก็ได้)
3.3 ถ้าน้ำท่วมฉันจะซื้อเรือ ฉันไม่ซื้อเรือ สรุปได้ น้ำไม่ท่วม
3.4 ถ้าน้ำท่วมฉันจะซื้อเรือ ฉันซื้อเรือ สรุปไม่ได้ เพราะสมมติฐานแรก
ระบุเพียงว่า ถ้าน้ำท่วมฉันจะซื้อเรือ(ไม่ระบุว่าน้ำท่วมฉันจะซื้อเรือหรือไม่
ฉะนั้นการที่ฉันซื้อเรืออาจจะซื้อเมือ่ น้ำท่วมก็ได้)
3.5 ถ้าฝนไม่ตกแดงจะไปตลาด ฝนไม่ตก สรุปได้ แดงไปตลาด
3.6 ถ้าฝนไม่ตกแดงจะไปตลาด ฝนตก สรุปไม่ได้ ดู 3.2
3.7 ถ้าฝนไม่ตกแดงจะไปตลาด แดงไม่ไปตลาด สรุปได้ ฝนตก เพราะถ้า
ฝนไม่ตก แดงก็ต้องไปตลาด แต่แดงไม่ไปตลาด นั่นแสดงว่า ฝนตก
แบบเลือกอย่างหนึ่งอย่างใด
แบบสรุปความเป็นแบบนี้ ส่วนมากมี 2 สมมติฐาน ๆ แรกมัก
เป็นข้อความ ซึ่งต้องมีการให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยใช้คำว่า “ หรือ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 173


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

” หรือใช้ “ ถ้า…..ต้อง ” อาจจะลดเหลือ “ ต้อง ” ไว้เป็นที่เข้าใจกันก็


ได้ เช่น
4.1 ดำหรือแดงคนใดคนหนึ่งต้องเฝ้าบ้าน แดงไปโรงเรียน สรุป
ได้ ดำเฝ้าบ้าน
4.2 ดำหรือแดงคนใดคนหนึ่งต้องเฝ้าบ้าน แดงไม่ได้ไปโรงเรียน
สรุปไม่ได้
4.3 ดำหรือแดงคนใดคนหนึ่งต้องเฝ้าบ้าน แดงไม่เฝ้าบ้าน สรุป
ได้ ดำเฝ้าบ้าน
4.4 ดำหรือแดงคนใดคนหนึ่งต้องเฝ้าบ้าน แดงเฝ้าบ้าน สรุป
ไม่ได้ เพราะสมมติฐานแรกระบุเพียงว่าคนใดคนหนึ่งต้องเฝ้าบ้าน แต่
ไม่ได้กำหนดว่าจะเฝ้าทั้งสองคนไม่ได้ ลักษณะเช่นนี้จะสรุปว่าดำไม่เฝ้า
บ้านไม่ได้
4.5 ลูกเศรษฐีทุกคนถ้าไม่ใช้รถเบนซ์ก็รถวอลโว่ นายโรจน์เป็น
ลูกเศรษฐีและไม่ได้ใช้รถวอลโว่ สรุปได้ นายโรจน์ใช้รถเบ็นซ์
4.6 ลูกเศรษฐีทุกคนถ้าไม่ใช้รถเบนซ์ก็รถวอลโว่ วิโรจน์ไม่ได้ใช้
รถเบ็นซ์ สรุปไม่ได้ เพราะไม่ได้ระบุว่าวิโรจน์เป็นลูกเศรษฐีหรือไม่
แบบสมมติฐานที่สรุปไม่ได้
สมมติ ฐ านที่ ส รุ ป ไม่ ไ ด้ จ ะกล่ า วถึ ง นี ้ จะกล่ า วนอกเหนื อ
ไปจากสมมติฐานที่สรุปไม่ได้ของแบบที่ 1 ถึงแบบที่ 4 และมักจะพบใน
ข้อทดสอบบ่อย ๆ ซึ่งมีหลักสำคัญ คือสมมติฐานแต่ละสมมติฐานไม่มี
ความสำพันธ์เช่น
5.1 พ่อเป็นคนขยัน แม่เป็นคนประหยัด ฉะนั้นลูกจะเป็น
อย่างไร สรุปไม่ได้

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 174


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

5.2 เมื่อเล็ก ๆ สมศักดิ์เป็นคนขยัน พอโตขึ้นเขาสอบตก ฉะนั้น


ต่อไปเขาจะเป็นอย่างไร
สรุปไม่ได้
5.3 พ่อเป็นตำรวจ พี่เป็นทหาร เขาควรจะเป็นอย่างไร สรุป
ไม่ได้
5.4 ฉันรักอาชีพครูมากที่สุดแต่ขณะนี้ฉันทำงานธนาคารเพราะ
อะไรสรุปไม่ได้
5.5 ประเทศไทยเป็นของคนไทย ฉันรักประเทศไทยมาก ฉันจะ
ทำอย่างไร สรุปไม่ได้
ตัวอย่าง แบบทดสอบแบบสรุปความ
คำชี้แจง. แบบทดสอบชุดนี้มีข้อความที่กำหนดมาให้ ให้
พิจารณาว่า สามารถสรุปได้หรือไม่
ถ้าได้จะสรุปอย่างไร
1. คนที่มีความเมตตาทุกคน มีความสุข เพ็ญศรีเป็นคนมีเมตตา ฉะนั้น
ก. เพ็ญศรีมีความสุข ข. เพ็ญศรีไม่มีความสุข
ค. คนเมตตามีความสุข ง. คนมีความสุขมีเมตตา
2. บัณฑิตสูงกว่าประสาน ประสานสูงกว่าประพล ฉะนั้น
ก. บัณฑิตสูงกว่าประสาน ข. ประสานสูงกว่าประพล
ค. ประพลสูงกว่าบัณฑิต ง. บัณฑิตสูงกว่าประพล
การสรุปเหตุผล
เหตุ หมายถึง สิ่งที่เป็นต้นกำเนิด หรือสิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งอื่น
ตามมา อาจเป็นปรากฏการณ์ที่
เกิดขึ้นหรือจากการกระทำอาจเรียกว่า “สาเหตุ” หรือ “มูลเหตุ”

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 175


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ผล หมายถึง สิ่งที่เกิดตามมาจากเหตุ ผลของเหตุอันหนึ่งอาจ


กลายเป็นเหตุของผลอย่างอื่นต่อ
เนื่องกันไปโดยไม่สิ้นสุดก็ได้ “ผล” นี้เรียกว่า “ผลลัพธ์”
หลักการอนุมานโดยพิจารณาสาเหตุและผลลัพธ์
1. การอนุมานจากสาเหตุไปหาผลลัพธ์ คือ การที่เราใช้ความรู้
ความเข้าใจของเรา พิจารณา
ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งว่าปรากฏการณ์นั้นจะทำให้เกิดผลลัพธ์อะไรมา
2. การอนุมานผลลัพธ์ไปหาสาเหตุ คือ การที่เราใช้ความรู้ความ
เข้าใจของเราพิจารณาปรากฏ
การณ์อย่างหนึ่งว่าปรากฏการณ์นั้นเกิดจากสาเหตุอะไร
3.การอนุมานจากผลลัพธ์ไปหาผลลัพธ์ คือ การที่เราใช้ความรู้
ความเข้าใจของเราพิจารณา
ปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์อย่างหนึ่งว่า เป็นผลลัพธ์ของสาเหตุใด
สาเหตุหนึ่งก่อน แล้วจึงพิจารณาต่อ
ไปว่า สาเหตุนั้นอาจจะก่อให้เกิดผลลัพธ์อื่นใดได้อีกบ้าง
ตัวอย่าง การเสนอความคิดเป็นเหตุเป็นผล
จงใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 1
" การเขม่นหรือกระตุกที่กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ลำคอ ไหล่ แขน เช่น
ขยิบตา กระแอม ยักไหล่ ทำจมูกฟุตฟิต มักพบในเด็กชายมากกว่า
เด็กหญิงวัยระหว่าง 8-12 ปี สาเหตุเนื่องจากความตึงเครียดทางอารมณ์
ตื่นเต้น ตกใจง่าย เจ้าอารมณ์ ซุกซน หรือการชอบเลียนแบบผู้อื่นจนติด
เป็นนิสัย "
ข้อ 1. อะไรทำให้เกิดการเขม่นหรือกระตุกที่กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า
ลำคอ ไหล่ และแขน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 176


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ก. การขยิบตา การกระแอม
ข. การยักไหล่ การทำจมูกฟุตฟิต
ค. นิสัยของเด็กชายโดยทั่วไป
ง. ความซุกซนและตกใจง่ายของเด็กหญิง
วิเคราะห์ สาเหตุ 1. ความตึงเครียดของอารมณ์ 2. ซุกซน 3. ชอบ
เลียนแบบผู้อื่นจนติดเป็นนิสัยผล การเขม่นหรือกระตุกที่กล้ามเนื้อ
บริเวณใบหน้า ลำคอ ไหล่ และแขน คำตอบ ข้อ ง ถูก ได้แก่ ความ
ซุกซนและตกใจง่าย

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 177


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

แถมท้าย...ความรอบรู้
☞ ความรู้เกี่ยวกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย
☞ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒
(พ.ศ. ๒๕๖๐–๒๕๖๔)
☞ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580)
☞ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง , ค่านิยม ๑๒
ประการของ คสช.
☞ ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน และ สังคมโลก

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 178


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ท่องไว้...ฉันคือข้าราชการสังกัด
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
จากการสอบท้องถิ่น

ฉัน คือ 1
ในการบรรจุบัญชีแรก

ชื่อ.................................
สกุล..............................
ตำแหน่ง..........................

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 179


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ความรู้เกี่ยวกับ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
เป็นส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่มีบทบาท
ภารกิจสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการ
พัฒนาและให้คำปรึกษา แนะนำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการจัดทำ
แผนพัฒนาท้องถิ่น การบริหารงานบุคคล การเงินการคลัง และการบริหาร
จัดการ เพื่อให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพใน
การให้บริการสาธารณะ ทั้งนี้ อำนาจหน้าที่และโครงสร้างส่วนราชการ ของ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นไปตามกฏกระทรวงแบ่งส่วนราชการ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2545 ซึ่งกำหนด
ไว้ดังนี้
อำนาจหน้าที่
1. ดำเนินการพัฒนาระบบ รูปแบบ และโครงสร้างขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
๒. ส่งเสริมและสนับสนุนในการจัดทำ ประสานและบูรณาการ
แผนพัฒนาท้องถิ่นและวางระบบในการติดตามและประเมิน ผลการ
ดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่น

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 180


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

๓. ดำเนินการจัดทำ แก้ไข ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ


องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำ และกำกับดูแลการ
ปฏิบัติงานตามอำนาจ หน้าที่ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
๔. กำหนดแนวทางและจัดทำมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงาน
บุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริการ
งานบุคคลส่วนท้องถิ่น
๕. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดำเนินงานด้านการเงิน การคลัง
การงบประมาณ การพัสดุการจัดเก็บรายได้ และการประกอบกิจการพาณิชย์
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งวางระบบตรวจสอบระบบการเงิน
การบัญชี และ การพัสดุขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
๖. ส่งเสริมสนับสนุนและประสานการจัดการบริการสาธารณะและ
การศึกษาในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๗. กำหนดแนวทาง วางระบบ และสร้างตัวชี้วัดเพื่อเป็นมาตรฐานการ
ดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนกำกับดูแลให้เป็นไปตาม
มาตรฐาน
๘. ส่งเสริมภาคประชาชนให้มีสว่ นร่วมในการบริหารงานและตรวจสอบ
การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๙. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริการขององค์การปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
๑๐. พัฒนาบุคลากรขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและของกรม
๑๑. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าทีข่ องกรม
หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ต่อมาในปี พ.ศ.2551 ได้มีการประกาศใช้กฎกระทรวงแบ่งส่วน
ราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2551

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 181


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

โดยกำหนดให้มีราชการบริหารส่วน ภูมิภาค และจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการ


ปกครองท้องถิ่นจังหวัดขึ้นในกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อทำหน้าที่
ประสานงานและปฏิ บ ั ต ิ หน้ า ที ่ ในฐานะตั ว แทนของกรม ในราชการส่ ว น
ภูมิภาค เพื่อให้การดำเนินการกำกับ ดูแล และสนับสนุนการปฎิบัติงานของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ และ
จัดตั้งกลุ่ม ตรวจสอบภายในและกลุ่มพัฒนาระบบบริหารขึ้นในกรมส่งเสริ ม
การปกครองท้ อ งถิ ่ น กระทรวงมหาดไทย เพื ่ อ ทำหน้ า ที ่ ต รวจสอบการ
ดำเนินงานภายในส่วนราชการ สนับสนุนการปฏิบัติงานของกรมส่งเสริมการ
ปกครองท้องถิ่น และพัฒนาการบริหารของส่วนราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มี
ประสิทธิภาพ และคุ้มค่า
สถานที่ตั้ง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ถนนนครราชสีมา
แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพ 10300

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 182


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

วิสัยทัศน์และพันธกิจ
วิสัยทัศน์ (Vision)
"มุ่งสร้างท้องถิ่นไทยให้เข้มแข็ง โปร่งใส ก้าวสู่ประเทศไทย 4.0
อย่างมั่นคงตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"
พันธกิจ (Mission)
๑. พัฒนากรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นให้มีความทันสมัย มีขีดสมรรถนะสูงและพัฒนาบุคลากรให้เป็นมือ
อาชีพ
๒. นำนวัตกรรมมาใช้และพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศในการ
บริหารและการจัดการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นสอดคล้องกับประเทศไทย 4.0
๓. สร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของกรมส่งเสริมการ
ปกครองท้องถิ่นและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็ง
๔. ให้คำปรึกษาแนะนำ (Consult) ประสานและสนับสนุน (Facilitate)
การบริหารจัดการและการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น ให้สามารถปฏิบตั ิงาน ตามอำนาจหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภายใต้หลักธรรมาภิบาล
๕. พัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมา
ใช้

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 183


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues)


ปัจจุบนั กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ปฏิบัติภารกิจตามประเด็น
ยุทธศาสตร์ 4 ประเด็น ดังนี้
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : ยกระดับความสามารถของกรมส่งเสริมการ
ปกครองท้องถิ่นให้เป็นองค์กรที่มีขีด สมรรถนะ
สูง (High Performance Organization : HPO)
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : เพิ่มความเข้มแข็งในการบริหารจัดการองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้หลักธรรมาภิบาล
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : เพิ่มความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้บริการสาธารณะ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : เสริมสร้างการมีส่วนร่วม การบูรณาการและการ
บริหารเครือข่ายในทุกภาคส่วน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 184


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.dla.go.th

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 185


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒
(พ.ศ. ๒๕๖๐–๒๕๖๔)

ตามที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ
เรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
(พ.ศ.2560-2564) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพ
ยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ประกาศใช้
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
(พ.ศ.2560-2564) ซึ่งเป็นแผนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ เพื่อใช้เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ของประเทศ ดังมีสาระสำคัญตามที่แนบท้ายนี้
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่
30 กันยายน 2564

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 186


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พุทธศักราช 2559 เป็นปีที่ 1


ในรัชกาลปัจจุบนั
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
………………………………………………………………………………………………………
สาระสำคัญของ "แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 12" ดังนี้
สาระสำคัญของกรอบรูปแบบและเค้าโครงเบื้องต้นของแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 12 จะสอดรับกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะยาว 20 ปี ในลักษณะ
ของการถ่ายทอดยุทธศาสตร์ระยะยาวลงสู่การปฏิบัติในช่วงเวลา 5 ปี โดย
รูปแบบและเค้าโครงเบื้องต้นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จะประกอบด้วย 4
ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 กรอบหลักการของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12
ส่วนที่ 2 การประเมินสถานะของประเทศ
ส่วนที่ 3 วัตถุประสงค์และเป้าหมายในภาพรวม
ส่วนที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
ส่วนที่ 5 การขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลแผนพัฒนา
วิสัยทัศน์ “ สู่ความมัน่ คง มั่งคั่ง และยั่งยืน ”
กรอบวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12
ให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยน
ผ่านประเทศไทยจากประเทศที่มี
รายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง และยั่งยืน สังคมอยู่
ร่วมกันอย่างมีความสุข

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 187


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

"แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12"


กรอบวิสัยทัศน์และเป้าหมาย
1. กรอบวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จากสถานะของประเทศและ
บริบทการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ประเทศกำลังประสบอยู่ทำให้การกำหนด
วิ ส ั ย ทั ศ น์ แ ผนพั ฒ นาฯ ฉบั บ ที ่ 12 ยั ง คงมี ความต่ อ เนื ่ องจากวิ ส ั ย ทั ศ น์
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 และ กรอบหลักการของการวางแผนที่น้อมนำและ
ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการ
พัฒนาอย่างมีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน
โดยวิสัยทัศน์ของการพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ต้องให้
ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศ
ไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง
และยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์
ระยะยาว “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของประเทศ
2. การกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของประเทศ (Country Strategic
Positioning) เป็ น การกำหนดตำแหน่ ง ทางยุ ท ธศาสตร์ ข องประเทศที่
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้จัดทำขึ้น ประเทศไทยเป็นประเทศรายได้สูงที่มี
การกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม เป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งและโลจิสติกส์
ของภู ม ิ ภ าคสู ่ ค วามเป็ น ชาติ ก ารค้ า และบริ ก าร (Trading and Service
Nation) เป็ น แหล่ ง ผลิ ต สิ น ค้ าเกษตรอิ น ทรี ย ์ และเกษตรปลอดภั ย แหล่ ง
อุตสาหกรรมสร้างสรรค์และมีนวัตกรรมสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 188


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

เป้าหมาย
1. การหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง
2. การพัฒนาศักยภาพคนให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศและการ
สร้าง สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ
3. การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
4. การสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม
5. การบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ
วางรากฐานการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมที่มีความสุขอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และ
ยั่งยืน
แผนพั ฒนาเศรษฐกิจ และสั งคมแห่ งชาติ ฉบั บ ที ่ 12 ได้ กำหนด
เป้าหมาย ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี ซึ่งจะ
เป็นแผนที่มีความสำคัญในการวางรากฐานการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมที่มี
ความสุขอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ที่เป็นกรอบการพัฒนาประเทศในระยะยาว
รัฐบาลมีนโยบายในการสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งให้กับระบบ
เศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเร่งสร้างสังคมที่มีคุณภาพ โดยการขจัดอุปสรรค
ต่าง ๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการลดความเหลื่อมล้ำทาง
สังคม ตลอดจนการวางแผนการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ในระยะยาว ครอบคลุม
ถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การ
สร้างความมั่นคง มั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นสิ่งสำคัญที่
ประเทศจะต้องมีทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาระยะยาวที่ชัดเจน โดยทุก
ภาคส่วนในสังคมต้องร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง เพื่อผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 189


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

อย่างต่อเนื่อง และสอดรับกับการปฏิรูปประเทศที่มุ่งสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง


และยั่งยืน” ในอนาคต

เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา”
สร้างความมั่นคงของชาติ
พัฒนาคนทุกวัยให้เป็น คนดี คนเก่ง
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ยึดหลัก
“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศในระยะ
5 ปี จะยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ
ฉบับก่อนหน้า เพื่อให้การพัฒนาในทุกมิติมีการบูรณาการบนทางสายกลาง มี
ความพอประมาณ มีเหตุผล รวมถึงมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี สอดคล้องกับภูมิ
สังคม การพัฒนาทุกด้าน มีดุลยภาพ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศน์
มีความสอดรับ เกื้อกูล และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยการพัฒนาในมิติ
หนึ่งต้องไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อมิติอื่นๆ รวมทั้งต้องมุ่งเน้นให้ “คนเป็น
ศูนย์กลางการพัฒนา” สร้างความมั่นคงของชาติ พัฒนาคนทุกวัยให้เป็น คนดี
คนเก่ง มีศักยภาพ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่ม
ศักยภาพการแข่งขันทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการเพื่อสร้างความเข้มแข็ง
มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมนำไปสู่การสร้างสังคมที่
พึ ง ปรารถนา รวมถึ ง มี จ ิ ต อนุ ร ั ก ษ์ รั ก ษา ฟื ้ น ฟู และใช้ ป ระโยชน์ จ าก
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องและเหมาะสม

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 190


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580)

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 191


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 192


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 193


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 194


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน และ สังคมโลก

อาเซี ย น (ASEAN) เป็ น การรวมตั ว กั น ของ 10 ประเทศ


ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่า
ด้วย ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN
Community) คื อ เป็ น องค์ กรระหว่ า งประเทศ ระดั บ ภู ม ิ ภาคเอเชี ย
ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ มี จ ุ ด เริ ่ ม ต้ น โดยประเทศไทย มาเลเซี ย และ
ฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East
Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและ
วัฒนธรรม แต่ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจาก
ความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย
จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ
จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง และสำเร็จภายใน
ปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จใน
ปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่
ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ อื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้
อย่างเสรี เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 195


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนไทย
ควรทำความเข้าใจในเรื่องนี้จึงเป็นสิง่ สำคัญสำหรับทุกคน
ประชาคมอาเซียน คือ
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือ การรวมตัวของ
กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง สามารถสร้าง
โอกาสและรับมือส่งท้าท้าย ทั้งด้านการเมืองความมัน่ คง เศรษฐกิจ และภัย
คุกคามรูปแบบใหม่ โดยสมาชิกในชุมชนมีสภาพความเป็นอยูท่ ี่ดี สามารถ
ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึน้ และสมาชิก ใน
ชุมชนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
จุดประสงค์หลักของอาเซียน
ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการ
จัดตั้งอาเซียน ได้แก่
1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทาง
เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทาง
วัฒนธรรมในภูมิภาค
4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต
ที่ดี
5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการ
วิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยาย
การค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 196


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ
ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ
ภาษาอาเซียน
ภาษาทางการที่ใช้ในการติดต่อประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก
คือ ภาษาอังกฤษ

สัญลักษณ์อาเซียน
คือ ดวงตราอาเซียนเป็น
รูปมัดรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นวงกลม
สีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาว และสีน้ำเงิน
รวงข้าวสีเหลือง 10 ต้น หมายถึง ความใฝ่ฝันของบรรดาสมาชิก
ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ ให้มีอาเซียนที่ผูกพันกันอย่างมี
มิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว
วงกลม เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเอกภาพของอาเซียน
ตัวอักษรคำว่า asean สีนำ้ เงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าว แสดงถึง
ความมุ่งมั่นทีจ่ ะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภพ เอกภาพ และ
ความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 197


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

สีเหลือง : หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง


สีแดง : หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว : หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีน้ำเงิน : หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
ธงอาเซียน
ธงอาเซียนเป็นธงพืน้ สีนำ้ เงิน มีดวงตราอาเซียนอยูต่ รงกลาง
แสดงถึงเสถียรภาพ สันติภาพ ความสามัคคี และพลวัตของอาเซียน
สีของธงประกอบด้วย สีนำ้ เงิน สีแดง สีขาว และสีเหลือง ซึง่ เป็นสีหลักใน
ธงชาติของบรรดาประเทศสมาชิกของอาเซียนทั้งหมด
วันอาเซียน
ให้วันที่ 8 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันอาเซียน
เพลงประจำอาเซียน (ASEAN Anthem)
คือ เพลง ASEAN WAY

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 198


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ประวัติผู้เขียน/ผู้บรรยาย
ชาญวิทย์ ศรีอุดม ค.บ.
ครุศาสตรบัณฑิต คอมพิวเตอร์ศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ผลงานการเขียน
คู่มือเตรียมสอบครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ภาค ก. และ ภาค ข.
คู่มือเตรียมสอบ ภาค ก. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คู่มือเตรียมสอบ ภาค ข. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คู่มือเตรียมความพร้อมสอบ ภาค ค. ทุกสังกัด
เอกสารประกอบการติวสอบครูผู้ช่วย,สอบท้องถิ่น
การติวสอบบรรจุเข้ารับราชการ
ติวผ่านคอร์ส Online Facebook Page : หนังสือสอบท้องถิ่น
ติวผ่านคอร์ส Online Facebook Page : หนังสือสอบครูผู้ช่วย
เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการสอบท้องถิ่น Facebook Group : กลุ่มเปิด
ชื่อกลุ่ม “ข้อสอบท้องถิ่นฟรี โดย ชาญวิทย์ ศรีอุดม”
เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่าน Line@ ID : @krucharnwit
เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่าน http://Pr.Charnwit.in.th

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 199


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

ขอให้ท่านประสบความสำเร็จในการสอบครั้งนี้
“อ่านน้อย ข้อสอบยาก อ่านมาก ข้อสอบง่าย”
ขอให้การสอบครั้งนี้ เป็นการสอบครั้งสุดท้ายก่อน
เข้ารับราชการ

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 200


สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. (ปรับปรุงครั้งที่ 1 )
http://www.facebook.com/LocalTestBook

© ทีมงาน“ครูแบงค์ติวสอบราชการ”: สรุปเนื้อหาเตรียมสอบท้องถิ่น อปท. หน้า 201

You might also like