ນັກຂຽນໄທກ່ັບປະວັດສາດລາວ

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 178

การรับรู้ ประวัติศาสตร์ ความสั มพันธ์ ไทย-ลาว : ผ่ านแบบเรียนประวัตศิ าสตร์ ไทยและลาว

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด กลาง
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1-6 (ค.ศ.1975-2009)

โดย
นางสาววิลุบล สิ นธุมาลย์

วิทยานิพนธ์ นีเ้ ป็ นส่ วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสู ตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต


สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ศึกษา
ภาควิชาประวัติศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปี การศึกษา 2554
ลิขสิ ทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
การรับรู้ ประวัติศาสตร์ ความสั มพันธ์ ไทย-ลาว : ผ่ านแบบเรียนประวัตศิ าสตร์ ไทยและลาว
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1-6 (ค.ศ.1975-2009)

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด กลาง

โดย
นางสาววิลุบล สิ นธุมาลย์

วิทยานิพนธ์ นีเ้ ป็ นส่ วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสู ตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต


สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ศึกษา
ภาควิชาประวัติศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปี การศึกษา 2554
ลิขสิ ทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
PERCEPTION OF HISTORICAL RELATIONSHIP BETWEEN THAI AND LAO
: AS SEEN FROM HISTORY TEXTBOOKS OF THAIS AND LAOS IN JUNIOR HIGH
AND HIGH SCHOOL (1975-2009)

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด กลาง

By
Miss Wilubun Sinthumal

A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree


MASTER OF ARTS
Department of History
Graduate School
SILPAKORN UNIVERSITY
2011
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุมตั ิให้วิทยานิพนธ์เรื่ อง “ การรับรู ้ประวัติศาสตร์
ความสัมพันธ์ไทย-ลาว : ผ่านแบบเรี ยนประวัติศาสตร์ไทยและลาวชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1-6 (ค.ศ.1975-
2009) ” เสนอโดย นางสาววิลุบล สิ นธุมาลย์ เป็ นส่ วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริ ญญา
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศึกษา

……...........................................................
(ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์)

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด กลาง คณบดีบณั ฑิตวิทยาลัย

ส วันที่..........เดือน.................... พ.ศ...........

อาจารย์ที่ปรึ กษาวิทยานิพนธ์
ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา นิพทั ธ์สุขกิจ

คณะกรรมการตรวจสอบวิทยานิพนธ์

.................................................... ประธานกรรมการ
(ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.พวงทิพย์ เกียรติสหกุล)
............/......................../..............

.................................................... กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์ )
............/......................../..............

.................................................... กรรมการ
(ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา นิพทั ธ์สุขกิจ)
............/......................../..............
50205210 : สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศึกษา
คําสําคัญ : การรับรู ้ประวัติศาสตร์ / ความสัมพันธ์ไทย – ลาว / ประวัติศาสตร์ชาตินิยม
/ แบบเรี ยนประวัติศาสตร์
วิลุบล สิ นธุ มาลย์ : การรั บรู ้ ประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ไทย-ลาว : ผ่านแบบเรี ยน
ประวัติศาสตร์ไทยและลาวชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1-6 (ค.ศ.1975-2009). อาจารย์ที่ปรึ กษาวิทยานิพนธ์
: ผศ.ดร.วรางคณา นิพทั ธ์สุขกิจ. 168 หน้า.

วิทยานิ พนธ์เรื่ องนี้ ตอ้ งการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับลาวในบริ บท

ำน ั ห อ ส มุ ด กลาง
ทางประวัติศาสตร์ และศึกษาสาเหตุของการสร้างประวัติศาสตร์ สาระสําคัญของแบบเรี ยนของไทย


และลาว ที่ ส่ ง ผลต่ อ ความสั ม พัน ธ์ ร ะหว่ า งกัน และศึ ก ษาผลกระทบอัน เนื่ อ งมาจากการสร้ า ง
ประวัติ ศ าสตร์ ข องทั้ง สองประเทศ เนื่ อ งจากสภาวการณ์ ใ นปั จ จุ บ ัน ที่ มี ค วามพยายามร่ ว มมื อ
ด้านเศรษฐกิ จ การค้า และสังคมระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซี ยน แบบเรี ยนในฐานะเครื่ องมื อ
สร้างชุดความคิดให้แก่ผเู ้ รี ยนของรัฐได้ทาํ หน้าที่และกําหนดองค์ความรู ้ให้กบั ผูเ้ รี ยน ซึ่ งมีผลต่อ
ความสัมพันธ์ของทั้งสองชาติอย่างไร
ผลการศึกษาพบว่า การสร้างประวัติศาสตร์ และการกําหนดเนื้ อหาในแบบเรี ยนที่เน้น
เรื่ องสงครามเจ้าอนุ วงศ์ มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว ผลกระทบจาก
การสร้ า งประวัติ ศ าสตร์ แ ละการใช้แ บบเรี ย นที่ ไ ม่ มี ก ารแก้ไ ขปรั บ ปรุ ง เนื้ อ หาสาระให้ เ ห็ น
ความร่ วมมือระหว่างกันมากขึ้น ส่ งผลต่อสื่ อหลายประเภทที่เสนอเรื่ องราวความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศไทยกับลาวซึ่งยังเน้นยํ้าถึง “ความเหนือกว่า” ของไทย

ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี การศึกษา 2554


ลายมือชื่อนักศึกษา........................................
ลายมือชื่ออาจารย์ที่ปรึ กษาวิทยานิพนธ์ ........................................


50205210 : MAJOR : (HISTORICAL STUDIES)
KEY WORDS : PERCEPTION OF HISTORICAL / THAI – LAO RELATIONSHIP /
HISTORY OF NATIONALISM / HISTORY TEXTBOOKS
WILUBUN SINTHUMAL : PERCEPTION OF HISTORICAL RELATIONSHIP
BETWEEN THAI AND LAO : AS SEEN FROM HISTORY TEXTBOOKS OF THAIS AND LAOS
IN JUNIOR HIGH AND HIGH SCHOOL (1975-2009). THESIS ADVISOR : ASST. PROF.
WARANGKANA NIPHATSUKKIJ ,Ph.D. 168 pp.

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด
This research aims to study the relationship between Thai and Lao in historical
กลาง
context, the reasons of making history, the effect from contents of history textbooks of Thais and

Laos to relationship between Thai and Lao and then study about the impact of making history
from both countries. In the time of political economic and socio – cultural cooperation in
ASEAN, textbooks as an important tool of state, create knowledge for students, have to be
changed their contents in which way.
The result of this study reveals that the making history and creating perception in
textbooks have been emphasized contents about the most important part of wars during Thai and
Laos, especially Chao Anou War, that is the reflects in perceptions of relationship between Thais
and Laos. Textbooks are among the first tool to create perception of relationship between Thais
and Laos and they have never changed their role to show political economic and socio – cultural
cooperation that the reasons why the feeling of “superior” stands still in many mass
communications views. The reflects the perceptions receive from textbook, this is harmful for
Thais and Laos connection.

Department of History Graduate School, Silpakorn University Academic Year 2011


Student's signature ........................................
Thesis Advisor's signature ........................................


กิตติกรรมประกาศ

วิ ท ยานิ พ นธ์ ฉ บับ นี้ จะสํา เร็ จ ลงไม่ ไ ด้ห ากปราศจากความอนุ เ คราะห์ แ ละเมตตา
จากผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา นิ พทั ธ์สุขกิ จ ที่กรุ ณารับเป็ นอาจารย์ที่ปรึ กษาวิทยานิ พนธ์
ขอบพระคุณอาจารย์ที่ให้ท้ งั กําลังใจและคําแนะนําอันเป็ นประโยชน์แม้ในช่วงเวลานอกราชการ
อีกทั้งยังตรากตรํากับการตรวจแก้ภาษาที่ห่างไกลจากความเป็ นวิชาการ
ขอกราบขอบพระคุณ ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.พวงทิพย์ เกียรติสหกุล ที่กรุ ณาให้เกียรติ
เป็ นประธานกรรมการสอบวิทยานิ พนธ์ และขอกราบขอบพระคุณรองศาสตราจารย์ ดร.ดารารัตน์

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
เมตตาริ กานนท์ ที่กรุ ณาสละเวลาอันมีค่าทางวิชาการมาเป็ นกรรมการสอบวิทยานิ พนธ์ และรวมไปถึง


ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.วรพร ภู่พงศ์พนั ธุ์ และคณาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิ ลปากรทุกท่านกับความห่ วงใยในการสอบถามถึ งความก้าวหน้าระหว่างการทํา
วิทยานิพนธ์ รวมไปถึงพี่จรู ญ วัดม่วงท่าเจ้าหน้าที่ประจําภาควิชาประวัติศาสตร์
ขอบคุ ณ เพื่ อ น ๆ พี่ ๆ น้อ ง ๆร่ ว มภาควิ ช าสําหรั บ กําลัง ใจและการฝ่ าฟั น ในการทํา
วิทยานิ พนธ์ไปพร้อม ๆ กัน วทัญ�ู ฟั กทอง, นาตยา ภูศรี , ศิวาวุฒน์ ชัยเชาว์, เพชรรุ่ ง เทียนปิ๋ วโรจน์
และคนอื่น ๆ
ขอบคุณเพื่อนกลุ่ม BIGLY ถึงแม้จะไม่สามารถช่วยเหลือเชิงวิชาการได้ แต่สาํ หรับมิตร
ไมตรี ที่มีให้กนั เกื อบสิ บปี ก็เกิ นพอสําหรับกําลังใจ และรวมไปถึง ชัยณรงค์ กองกลิ่น สําหรับทุก
กําลังใจในการยืนข้างกัน
และมากไปกว่าคําขอบคุณสําหรับครอบครัว “แม่” อุบล สิ นธุ มาลย์ และ “พ่อ” วิศิษฐ์
สิ นธุ มาลย์ ความรู ้สึกทั้งหมดไม่อาจบรรยายด้วยตัวอักษรใด ๆ ได้ในระยะเวลาอันสั้น สําหรับทุก
การสนับสนุนตั้งแต่วินาทีแรกที่ลืมตาจนทุกขณะจิต
สุ ดท้ายนี้ ขอน้อมรําลึกถึงบรรดาครู อาจารย์ผปู ้ ระสิ ทธิ์ ประศาสตร์ วิชานับแต่วยั เยาว์มา
ตลอดจนผูใ้ ห้การศึกษาในปั จจุบนั อีกทั้งความรู ้ท้ งั ในและนอกตําราทั้งหลายขอน้อมไว้เพื่อระลึกถึง
คุณแห่ งความรู ้ทุกสรรพสิ่ ง ความดีอนั จะเกิดจากการทําวิทยานิ พนธ์น้ ี ขออุทิศให้กบั ครู อาจารย์ทุก
ท่าน บุคคลทั้งที่ได้กล่าวถึงและรวมไปถึงผูม้ ีส่วนในชีวิตทุกคนที่อาจเอ่ยนามได้ไม่ครบ ทั้งที่สนิท
หรื อเพียงแค่ผา่ นมาในชีวิต ขอให้กุศลเหล่านั้นจงน้อมนําให้ทุกชีวิตที่เกี่ยวข้องมีสติเป็ นที่ต้ งั และมี
ทางที่ดีในการดําเนินชีวิต


สารบัญ
หน้ า
บทคัดย่ อภาษาไทย....................................................................................................................... ง
บทคัดย่ อภาษาอังกฤษ.................................................................................................................. จ
กิตติกรรมประกาศ....................................................................................................................... ฉ
สารบัญภาพ.................................................................................................................................. ฌ
บทที่
1 บทนํา............................................................................................................................. 1

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ความเป็ นมาและความสํ าคัญของปัญหา................................................................. 1


ทบทวนวรรณกรรม................................................................................................ 4
ความมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์ ของการศึกษา...................................................... 6
สมมติฐานของการศึกษา......................................................................................... 6
ขอบเขตในการศึกษา............................................................................................... 7
ข้ อตกลงเบือ้ งต้ น..................................................................................................... 7
วิธีดําเนินการศึกษา.................................................................................................. 9
ประโยชน์ ทคี่ าดว่ าจะได้ รับ...................................................................................... 9
2 ความสั มพันธ์ ระหว่ างไทยกับลาวในบริบทการสร้ างชาติ : ศึกษาผ่ าน
ประวัติศาสตร์ นิพนธ์ ..................................................................................................... 10
งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ไทย...................................................................... 12
จากพงศาวดารสู่ การเป็ นประวัติศาสตร์ แห่ งชาติของไทย.................. 14
พัฒนาการของงานเขียนประวัติศาสตร์ ไทยช่ วงสมัยการสร้ างชาติ... 27
งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ลาว...................................................................... 31
พัฒนาการงานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของลาว................................ 33
ประวัติศาสตร์ นิพนธ์ ลาวสมัยศักดินา.................................. 34
ประวัติศาสตร์ นิพนธ์ ลาวสมัยราชอาณาจักร........................ 35
ประวัติศาสตร์ นิพนธ์ ลาวสมัยการปฏิวตั ิสังคมนิยม............ 41
จุดมุ่งหมายของการสร้ างงานเขียนทางประวัติศาสตร์ ลาว
ช่ วงสมัยการสร้ างชาติ......................................................................... 45
ความสั มพันธ์ ระหว่ างไทยกับลาวในบริบทประวัติศาสตร์ ................................ 49


บทที่ หน้ า
ผลกระทบทางความสั มพันธ์ ไทย – ลาวอันเนื่องมาจากการสร้ างประวัตศิ าสตร์
จากพงศาวดารสู่ แบบเรียน................................................................................ 54
รัฐชาติ : การสร้ างมายาคติเพือ่ รักชาติ.................................................................. 61
3 สาระสํ าคัญของแบบเรียนประวัติศาสตร์ ไทยและลาว.................................................... 63
แบบเรียนประวัติศาสตร์ ไทย............................................................................ 67
แบบเรียนลาว.................................................................................................... 90

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
การกล่ อมเกลารูปแบบความสั มพันธ์ ระหว่ างไทยกับลาวผ่ านแบบเรียน


ประวัติศาสตร์ ไทย – ลาว.................................................................................. 92
จุดเริ่มต้ นของรูปแบบความสั มพันธ์ ระหว่ างไทยกับลาว
ในแบบเรียนไทย – ลาว........................................................................ 93
การรับรู้รูปแบบความสั มพันธ์ ระหว่ างไทยกับลาว ผ่ านแบบเรียน
ประวัติศาสตร์ ไทย – ลาว..................................................................... 97
“พีใ่ หญ่ ” จากแบบเรียนไทย................................................... 98
“ศัตรู” จากแบบเรียนลาว..................................................... 101
“บทเรียน” จาก “แบบเรียน”............................................................................ 103
4 ผลกระทบทางความสั มพันธ์ ไทย –ลาว อันเนื่องมาจากการสร้ างประวัตศิ าสตร์ ........... 107
วรรณกรรม : นวนิยาย ผลสะท้ อนจากแบบเรียนทางประวัติศาสตร์ ............... 111
ลาวในฐานะมิตรประเทศทีด่ ี............................................................... 113
ลาวในฐานะตํา่ กว่ าไทย....................................................................... 125
สื่ อ : ผลสะท้ อนจากแบบเรียนทางประวัตศิ าสตร์ ............................................ 138
5 บทสรุป........................................................................................................................... 151

บรรณานุกรม................................................................................................................................ 154

ประวัติผ้ ูวจิ ัย................................................................................................................................. 168


สารบัญภาพ
ภาพที่ หน้ า
1 เจ้ าพระยาทิพากรวงศ์ ...................................................................................... 16
2 สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ.............................................................. 17
3 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้ าอยู่หัว......................................................... 21
4 ขุนวิจิตรมาตรา (สง่ า กาญจนาคพันธุ์)............................................................ 23
5 หลวงวิจิตรวาทการ.......................................................................................... 26
6 มหาสิ ลา วีระวงส์ กับหนังสื อประวัติศาสตร์ ลาว ............................................... 38
7
น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
แบบเรียนประวัติศาสตร์ ช้ันมัธยมศึกษาปี ที่ 1-6 หลักสู ตรการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน


พุทธศักราช 2544 จากสํ านักพิมพ์ วฒ ั นาพานิชทีใ่ ช้ ในการวิจยั .......... 66
8 แบบเฮียนวิดทะยาสาดสั งคมชั้นมัดทะยม ปี ที่ 1 – 6 ของ
กระทรวงศึกษาธิการลาว................................................................................. 67
9 รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง วินิตา ดิถียนต์ เจ้ าของนามปากกา “ว. วินิจฉัยกุล”กับ
ผลงานเรื่อง “ตามลมปลิว”................................................................. 114
10 นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะเจ้ าของนามปากกา “พงศกร” กับผลงานเรื่อง
“รอยไหม”.......................................................................................... 119
11 สุ วพงศ์ ดิษสถาพร เจ้ าของนามปากกา “เจ้ าสํ าราญ” กับผลงาน
เรื่อง “ศรีสองรัก”...................................................................................... 123
12 หลวงวิจิตรวาทการ กับวรรณกรรมประเภทนวนิยายเรื่อง “ดอกฟ้าจําปาศักดิ์. 126
13 รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง วินิตา ดิถยี นต์ เจ้ าของนามปากกา “แก้วเก้า”
กับผลงานเรื่อง “แต่ ปางก่อน”............................................................... 131
14 นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะเจ้ าของนามปากกา “พงศกร” กับผลงานเรื่อง
“สาปภูษา”.......................................................................................... 133
15 ภาพยนตร์ เรื่อง สะบายดีหลวงพระบาง, สะบายดีหลวงพระบาง 2
“ไม่ มีคาํ ตอบจากปากเซ” และสะบายดี วันวิวาห์ ................................ 146


บทที่ 1
บทนํา

ความเป็ นมาและความสํ าคัญของปัญหา


ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้น้ ี ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
จัดเป็ นคู่ประเทศที่มีความผูกพันกันอย่างยาวนาน เพราะนอกจากจะมีพรมแดนติดต่อกันแล้วยังมี
ความเกี่ยวโยงของสายสัมพันธ์ทางเชื้อชาติร่วมกัน และยังเป็ นคู่ประเทศที่สามารถพูดกันได้เข้าใจ

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
โดยไม่ ต ้อ งอาศัย ภาษากลางในการสื่ อ สาร ความใกล้ชิ ด ที่ แ น่ น แฟ้ นมายาวนาน ทํา ให้สั่ ง สม


ประสบการณ์ร่วมกันมากมายจนน่ าจะเรี ยกระดับความใกล้ชิดได้ว่าสนิ ทแนบแน่ น หากแต่ลึก ๆ
สิ่ งที่ทุกคนรับรู ้คือ ความรู ้สึกที่แฝงไปด้วยความอ่อนไหวพร้อมที่จะเกิดรอยแยกทางความสัมพันธ์
ได้เสมอ ทั้งนี้ความรู ้สึกไม่เท่าเทียมนั้นได้เกิดและสัง่ สมมานานในหน้าประวัติศาสตร์ที่ผา่ นมา
ความสัมพันธ์ที่มีกลับกลายเป็ นชนวนที่เหมือนรอยร้าวลึก ทั้งนี้หากจะพิจารณาถึงความ
คลอนแคลนทางความรู ้สึกแล้ว จะพบว่าช่วงเวลาที่ผ่านมาความสัมพันธ์ที่มีน้ นั ไม่ได้อยู่ในฐานะ
ที่เท่าเทียม แต่เป็ นในลักษณะของประเทศที่มีอาํ นาจเหนื อกว่ากับประเทศในอาณัติ ในขณะที่ไทย
มองลาวในฐานะตํ่ากว่าเนื่ องจากความสัมพันธ์ที่มีมาไทยเป็ นเจ้าประเทศราช ส่ วนลาวมองไทย
ในภาพของ “ศักดินาสยาม” ศัตรู แห่งชาติและผูร้ ้ายในประวัติศาสตร์ 1
จักรวรรดินิยมตะวันตกมีส่วนกระตุน้ ความรู ้สึกในการ “สร้างชาติ” การกําหนดเขตแดน
ที่แน่นอน การเขียนแผนที่ และการเขียนประวัติศาสตร์ชาติ และนี้ คือเหตุปัจจัยเริ่ มต้นที่ทาํ ให้การเขียน
ประวัติศาสตร์ ชาติอุบตั ิ ข้ ึนในดิ นแดนเอเชี ยอาคเนย์ สําหรั บประเทศไทยนั้นเกิ ดขึ้นในช่ วงสมัย
รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ที่พบว่ามีการเขียนงานทางประวัติศาสตร์จาํ นวนมาก2
เพื่อ อธิ บ ายถึ ง ที่ ม า เขตอิ ทธิ พ ล และบรรดาเขตแดนที่ เป็ นของไทย ส่ ว นในลาวช่ ว งเวลาแห่ ง
“การสร้างชาติ” จะตรงกับค.ศ. 1945 ซึ่ งเป็ นช่วงเวลาหลังจากที่ลาวได้รับเอกราช เกิดการผลิตงาน
ประวัติศาสตร์ออกมาอย่างแพร่ หลาย

1
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, “งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของลาวสมัยได้รับเอกราชค.ศ.1945 จนถึง
ปั จจุบนั ,” ใน โคลนไม่ติดล้อคนไม่ติดกรอบ (กรุ งเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545), 363.
2
Sunait Chutintaranond, “Historical Writting, Historical Novels and Period Movies and Dramas an
Observation Concerning Myanmar in Thai Perception and Understanding,” Asian Review 12 [1998] : 10-20.
1
2

ภายหลังจากที่ลาวได้รับเอกราช ผูน้ ําทางด้านความคิดของลาวได้ผลิตงานประเภท


พงศาวดารและหนังสื อประวัติศาสตร์ ออกมาจํานวนมาก 3 ความจําเป็ นที่ตอ้ งการให้คนในชาติ
เป็ นอันหนึ่ งอันเดียวกันกลายเป็ นวาระแห่ งชาติ ดังนั้นช่วงที่ลาวสร้างชาติน้ ี จึงเป็ นช่วงที่สาํ คัญยิ่ง
นักประวัติศาสตร์ ลาวได้สร้างประวัติศาสตร์ ชาติลาวขึ้นมา เพื่อเป็ นเครื่ องมือในการสร้างชาติลาว
ให้เป็ นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเขียนประวัติศาสตร์ จึงกลายเป็ นเครื่ องมือในการปลุกระดมความคิด
พร้ อ มกับ อธิ บ ายถึ ง ที่ ม าของชนชาติ เป็ นการเขี ย นประวัติ ศ าสตร์ โ ดยใช้ต ัว เองเป็ นศู น ย์ก ลาง
โดยบันทึกถึงชาติผรู ้ ุ กรานว่าเป็ น “ศัตรู ” ผูค้ อยกดขี่และทําร้าย และการผลิตงานซํ้าๆของทางการ
จึงเป็ นการตอกยํ้ากับแนวคิด “ศัตรู ” ผูท้ าํ ร้ายชาติ

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
งานเขียนทางประวัติศาสตร์ของลาวแบ่งเป็ นสามช่วงใหญ่ดว้ ยกัน โดยช่วงแรกนับตั้งแต่

อดีตมาจนถึงเวลาก่อนค.ศ.1945 เป็ นการเขียนเพื่อยกย่องสดุดีวีรกรรมกษัตริ ย ์ โดยกลุ่มพระสงฆ์
นักปราชญ์ และราชบัณฑิตลาว ช่วงเวลาต่อมาเป็ นเวลาหลังจากที่ลาวได้รับเอกราชคือ ค.ศ.1945
ซึ่ งเป็ นช่วงที่มีการผลิตงานเขียนออกมาอย่างแพร่ หลาย โดยมีจุดประสงค์ชดั เจนเพื่อการสร้างชาติ
มีการจัดทําประวัติศาสตร์ลาวขึ้นใหม่ นักเขียนที่โดดเด่นคือ มหาสี ลา วีรวงศ์ ซึ่ งเป็ นที่ยอมรับกันว่า
สําหรั บการศึกษาประวัติศาสตร์ ลาว พงสาวะดานลาวของ มหาสี ลา วีรวงศ์ จัดเป็ นคัมภีร์เบิกทาง
ที่ผศู ้ ึกษาทั้งหลายต้องผ่านตา ความสําคัญของพงสาวะดานลาวของมหาสี ลานี้ ได้รับการรับรองจาก
กรมวรรณคดี ลาว และทางกระทรวงศึกษาธิ การลาวให้จดั พิมพ์เผยแพร่ พร้อมทั้งระบุไว้ในคํานํา
อย่างชัดเจนอี กว่า “ถ้าแม่นมัน่ ว่าหนังสื อเล่มนี้ จะยังไม่สมบูรณ์ หรื อขาดตกบกพร่ อง ก็ยงั นับว่า
เป็ นหนังสื อเล่มหนึ่ งซึ่ งพอจะเป็ น “ไต้ส่องทางในยามมืด” ของผูส้ นใจอ่านพงสาวะดานลาวที่จะ
สื บเสาะหาหลักฐานจากแหล่ งอื่นๆมาแต่งเติ มเสริ มต่อให้สมบูรณ์ ยิ่งขึ้นอี กต่ อไป...หนังสื อนี้ ดี
มีประโยชน์ จึงจัดพิมพ์ออกเผยแพร่ แก่ประชาชนทัว่ ไปในราชอาณาจักรลาว”4
ช่วงที่สามนับแต่ ค.ศ.1975 เป็ นต้นมา เมื่อลาวเปลี่ยนระบบการปกครองใหม่ งานเขียน
ช่วงนี้ จึงเป็ นการเขียนเพื่อรับใช้และเป็ นกระบอกเสี ยงให้กบั พรรคประชาชนปฏิวตั ิลาว เพิ่มพื้นที่
ให้กบั บทบาทของขบวนการต่อสูข้ องประชาชนและพรรคประชาชนปฏิวตั ิลาวในประวัติศาสตร์ ชาติ
โดยให้เห็นถึงความบากบัน่ ในการต่อต้านกําลังอํานาจจากประเทศต่างๆที่หวังจะแผ่อิทธิ พลเข้ายึด
ครองลาว เน้นให้เห็นศัตรู ของชาติอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งศักดินาสยามว่ามีบทบาทสําคัญ
ในการกดขี่ เกณฑ์กาํ ลังคนลาวไปใช้งานโยธา ขูดรี ดเอาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในหัวเมืองลาว

3
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, ประวัติศาสตร์ลาวหลายมิติ (กรุ งเทพฯ : ด่านสุ ทธาการพิมพ์, 2548), 103.
4
เรื่ องเดียวกัน, 104.
3

เพื่อเป็ นบรรณาการส่ งไปยังบางกอก5 และนับตั้งแต่ค.ศ. 1986 อันเข้าสู่ ยคุ แห่ งการจินตนาการใหม่น้ นั


งานเขียนของลาวเกิ ดลักษณะประวัติศาสตร์ ทอ้ งถิ่นในรู ปประวัติศาสตร์ แขวงและประวัติศาสตร์
โบราณสถาน โบราณวัตถุ เพื่อเป็ นหนังสื อประกอบการท่องเที่ยว 6
เป็ นที่ยอมรับว่างานเขียนที่ผลิตออกมามีผลต่อการรับรู ้และความเข้าใจของคนในชาติ
การผลิ ตงานซํ้า ๆ เป็ นการตอกยํ้าความรู ้ สึก สร้ าง“ทัศนะแห่ งชาติ”7 เป็ นกรอบครอบงําความคิด
เพื่อให้มองเห็ นภาพตามที่ทางการวางแนวทางไว้ ความสัมพันธ์ที่มีในอดี ตระหว่างไทยและลาว
เป็ นความสัมพันธ์ในรู ปแบบเมืองขึ้นกับเจ้าประเทศราช แม้เวลาที่ล่วงผ่านไปทําให้เรื่ องราวในอดีต
ได้รับการตีความในแง่มุมใหม่ การสร้างชุดความคิดให้ผคู ้ นในชาติไปในทิศทางเดียวกันโดยตระหนัก

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ถึงความรักชาติ ความภาคภูมิใจในเชื้อชาติ โดยชี้ประเด็นให้เห็นการบ่อนทําลายในอดีตว่าเป็ นเรื่ อง

ร้ายแรง เกิดการตีความเหตุการณ์ใหม่ โดยยํ้าซํ้า ๆ ว่า ไทย คือ ศัตรู จนกลายเป็ นความรู ้สึกที่ฝังราก
ลึกในทัศนะของคนลาวทัว่ ไป
การสร้ างความคิดของรั ฐได้อาศัยแบบเรี ยนเป็ นเครื่ องมือ รั ฐต้องการคนแบบใดก็ใส่
แนวความคิดลงไปในตําราเรี ยน เอกลักษณ์ของแบบเรี ยนลาว คือวิธีการใช้แบบเรี ยนลาวในการสร้าง
สํานึ กความเป็ นชาติ ที่สําคัญคือไม่ใช่หนังสื อเพียงเล่มเดียวหรื อแบบเรี ยนเพียงวิชาเดี ยวแต่สร้าง
สํานึ กครอบคลุมไปทั้งหลักสู ตรทุกวิชา 8 แบบเรี ยนคือเบ้าหลอมคนในแบบที่รัฐต้องการ ดังนั้นจึง
ไม่น่าแปลกใจที่แบบเรี ยนไทยและลาวจะมีความต่างกัน ดังกรณี เจ้าอนุวงศ์เป็ นสําคัญ
“เจ้าอนุวงศ์” ในแบบเรี ยนลาว ถูกจดบันทึกในฐานะมหาวีรบุรุษ ผูก้ ล้าลุกขึ้นมาท้าทาย
เจ้าประเทศราชเพื่อหวังประกาศเอกราชและนําพาลาวกลับคืนสู่ ความเป็ นเอกประเทศ แต่หากใน
แบบเรี ยนไทย การเขียนเรื่ องราวเล่าขานถึง เจ้าอนุ วงศ์ กับอยู่ในภาพของ “อ้ายกบฏ” ต้นเหตุแห่ ง
ความไม่สงบในการปกครองประเทศราช ดังกล่าวได้ว่าจุดประสงค์ในการเขียนประวัติศาสตร์ ของ
สองประเทศคือความต้องการสร้างจินตกรรมทางความคิดเพื่อสํานึกรักในชาติตน

5
กิติรัตน์ สี หบัณท์, “ประวัติศาสตร์ นิพนธ์ลาวสมัยใหม่ (ค.ศ. 1975 – ปั จจุบนั )” (วิทยานิ พนธ์ดุษฎี
บัณฑิต สาขาวิชาไทศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2549), 4.
6
เรื่ องเดียวกัน, 5.
7
กรอบที่รัฐสร้างขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนมองเห็นและเข้าใจสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน เพื่อง่ายต่อ
การปกครอง โดยอาศัยผ่านเครื่ องมือต่างๆ เช่นแบบเรี ยน เพื่อปลูกฝังความคิดครอบงําให้กบั ประชาชน, ผูว้ จิ ยั .
8
ดูรายละเอียดใน ปณิ ตา สระวาสี , การสร้างสํานึกความเป็ นชาติของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิ ปไตย
ประชาชนลาว โดยผ่านแบบเรี ยนชั้นประถมศึกษาตั้งแต่ ค.ศ.1975 – 2000 (กรุ งเทพฯ : สํานักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจยั , 2546).
4

จากประเด็นข้างต้นทั้งหมดที่กล่าวมาจึงนํามาสู่ การศึกษาเรื่ อง การรับรู ้ประวัติศาสตร์


ความสัมพันธ์ไทย-ลาว : ผ่านแบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ไทยและลาวชั้นมัธยมศึ กษาปี ที่ 1- 6
(ค.ศ.1975-2009) เพื่อชี้ให้เห็นที่มา สาเหตุ ตลอดจนผลกระทบของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาว
ผ่านแบบเรี ยนประวัติศาสตร์ไทยและลาว
ทบทวนวรรณกรรม
การศึกษาเกี่ยวกับประเทศลาวในไทยได้รับความสนใจและมีการศึกษาในหลายแง่มุม
ในส่ วนของงานที่ เกี่ ยวข้องกับหัวข้อที่สนใจจะทําการศึกษานี้ พบว่างานเขียนที่ ผ่านมาสามารถ
จัดแบ่งภาพสะท้อนลาวใน 3 มิติ 9 ด้วยกันคือ

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
1. ลาวในฐานะมิตรประเทศที่ดี งานเขียนในกลุ่มนี้มุ่งเน้นสะท้อนและแก้ไขปั ญหาอีกทั้งยัง


พยายามสานสัมพันธ์ให้แนบแน่น ดังเช่น งานวิจยั เรื่ อง ความสัมพันธ์ไทย – ลาว ในสายตาของคนลาว
โดย เขียน ธี รวิทย์ และคณะ บทความเรื่ อง สัมพันธภาพไทย – ลาว เชิ งประวัติศาสตร์ ก่อน
คริ สตศตวรรษที่ 20 โดย ฉลอง สุ นทรวาณิ ชย์
2. ลาวในฐานะตํ่ากว่าไทย เป็ นมุมมองที่ดูว่าลาวได้รับการช่วยเหลือจากไทยเพราะลาว
เปรี ยบเสมือนประเทศที่ไทยต้องคอยดูแล วิทยานิ พนธ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรื่ อง “บทบาท
ของรั ฐบาลและผูน้ าํ ทางการเมื องไทยต่อขบวนการต่อสู ้เพื่อเอกราชลาวระหว่าง พ.ศ.2483 -
พ.ศ.2496” ของ พิมพ์รต พิพฒั นกุล
3. ลาวในฐานะผูก้ ่อความไม่สงบให้ไทย วิทยานิพนธ์ของ พรรษา สิ นสวัสดิ์ มหาวิทยาลัย
ศิลปากร เรื่ อง “ความสัมพันธ์ระหว่างกรุ งเทพฯ กับเวียงจันทน์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้า
เจ้าอยูห่ วั พ.ศ. 2367 – 2370” และวิทยานิ พนธ์ของ ธวัชชัย ไพใหล มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ
เรื่ อง “ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับหลวงพระบาง เวียงจันทน์และจําปาศักดิ์ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1
– รัชกาลที่ 5 ( พ.ศ. 2325 – 2446 )” วิทยานิ พนธ์ที่ยกมาข้างต้นจะมีมุมมองตามแบบชาตินิยม
มองว่าปฏิ บตั ิ การตอบโต้ของฝ่ ายไทยต่อการก่ อการของฝ่ ายลาวเป็ นเรื่ องสมควร เพื่อยุติปัญหา
ประเทศราชที่คิดแข็งข้อ ซึ่งเป็ นเสมือนภาพที่ช่วยยํ้า “ลาว” ตามแบบเรี ยนไทยที่ได้ปลูกฝังกันมา
การมองลาวสามมิติขา้ งต้นนี้ เป็ นผลสะท้อนมาจากการปลูกฝังวางแนวคิดลงในแบบเรี ยน
อันเป็ นเครื่ องมือแห่ งรัฐ ประวัติศาสตร์มีหลายแง่มุม แต่ส่ิ งที่นาํ เสนอกลับเป็ นการสงครามเพื่อสร้าง
ความรู ้สึกชาตินิยม ยิง่ รัฐใดต้องการสร้างชาติ ประวัติศาสตร์ มกั ถูกนํามาใช้เป็ นเครื่ องมือเสมอ ดังที่
สุ จิตต์ วงษ์เทศ ได้เสนอว่า ประวัติศาสตร์ ไทยมักตอกยํ้าให้เห็นว่า พม่าคือศัตรู พร้อมกันนั้นก็ดูถูก
ลาว เขมร มอญ อันถือเป็ นการเหยียดหยามทางชนเผ่าต่าง ๆ ในทางกลับกัน ตําราประวัติศาสตร์ของ

9
สุ เนตร ชุตินธรานนท์ และคณะ, ทัศนคติเหยียดหยามเพื่อนบ้านผ่านแบบเรี ยนชาตินิยมในแบบเรี ยน
ชาตินิยมในแบบเรี ยนไทย (กรุ งเทพฯ : มติชน, 2552) , 128.
5

ลาวกับเขมร ก็เขียนว่าไทยไปรุ กรานเขา มรดกตกทอดทางประวัติศาสตร์ จึงมีแต่ความไม่เข้าใจกัน


เกลียดชังกัน ทั้งที่ประวัติศาสตร์มีหลายด้าน
ด้วยความตระหนักในความสําคัญของแบบเรี ยน จึงทําให้ปัจจุบนั ได้มีการนําแบบเรี ยนทั้ง
ของไทยและลาวมาวิเคราะห์ตีความ การเขียนประวัติศาสตร์ ลาวในแบบเรี ยนลาว บทความของ
ดารารั ตน์ เมตตาริ กานนท์ งานวิจ ัยเรื่ อง การสร้ างสํานึ ก ความเป็ นชาติ ของรั ฐบาลสาธารณรั ฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยผ่านแบบเรี ยนชั้นประถมศึกษา ตั้งแต่ ค.ศ.1975 – 2000 โดยปณิ ตา
สระวาสี งานวิจยั ของจารุ วรรณ ธรรมวัตรและคณะเรื่ อง การกล่อมเกลาทางสังคมจากแบบเรี ยนระดับ
ประถมศึกษาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามของ

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ประภาส สุ วรรณศรี เรื่ องการกล่อมเกลาทางสังคมจากแบบเรี ยนของรั ฐ ระดับประถมศึกษาใน

สาธารณรั ฐประชาธิ ปไตยประชาชนลาว ภายหลังการเปลี่ ยนแปลงทางการเมื องพ.ศ. 2518-2538
บทความของสุ เนตร ชุ ตินธรานนท์ และคณะ ที่ รวบรวมบทความตี พิมพ์ใน ทัศนคติ เหยียดหยาม
เพื่อนบ้านผ่านแบบเรี ยนชาตินิยมในแบบเรี ยนไทย บทความเรื่ อง แบบเรี ยนไทยกับเอเชียตะวันออก
เฉี ยงใต้ : “เพื่อนบ้านของเรา” ภาพสะท้อนเจตนคติอุดมการณ์ชาตินิยมไทย ของวารุ ณี โอสถารมย์
บทความเรื่ อง แบบเรี ยนลาวในกระแสโลกาภิวตั น์ ของนริ นทร์ พุดลา และจากผูเ้ ขียนคนเดียวกัน
ในงานระดับวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคามเรื่ อง ตัวตนทางวัฒนธรรมในแบบเรี ยนลาว
และนอกจากจะศึ ก ษาแบบเรี ย นแล้ว ยังมี บทความที่ ศึก ษาภาพรวมของงานเขี ย นของลาว โดย
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์ เรื่ องงานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของลาวสมัยได้เอกราชค.ศ.1945 จนถึง
ปัจจุบนั
นอกจากนี้ ย งั มี การแปลงานแบบเรี ยนลาวเพื่อให้เห็ นภาพจากฝ่ ายลาวต่ อเหตุ การณ์
ทางประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ฉบับกระทรวงศึกษาธิ การฯลาว ของ ศิลปวัฒนธรรม เป็ นการนํา
แบบเรี ยนหนังสื อประวัติศาสตร์ลาวชั้นอุดม 3 (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 ของไทย) มาถอดความ
เป็ นภาษาไทย ประวัติศาสตร์ ลาว (ดึ ก ดําบรรพ์-ปั จ จุ บนั ) เป็ นประวัติศาสตร์ ลาวฉบับสมบูรณ์
กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรมของลาว เป็ นผูด้ าํ เนินการจัดพิมพ์เผยแพร่ แปลโดย ทรงคุณ จันทจร
และวิ ท ยานิ พ นธ์ ม หาวิ ท ยาลัย มหาสารคามของ กิ ติ รั ต น์ สี ห บัณ ท์ “ประวัติ ศ าสตร์ นิ พ นธ์ ล าว
สมัยใหม่ (ค.ศ. 1975 – ปั จจุบนั )”
จากการศึ ก ษางานก่ อ นหน้า ทํา ให้เ ห็ น ว่ า ยัง ขาดส่ ว นเติ ม เต็ม ที่ จ ะเชื่ อ มโยงจุ ด เริ่ ม
ของความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมอันเป็ นผลต่อการรับรู ้และเข้าใจทางประวัติศาสตร์ ที่สะท้อนผ่าน
แบบเรี ยนซึ่ งลากยาวทั้งช่วงชั้นระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย มีเพียงบทความในหนังสื อ
สารคดี เรื่ อง “เจ้าอนุ วงศ์” ในแบบเรี ยนไทย-ลาว : ความเหมือนที่แตกต่าง ที่นาํ แบบเรี ยน
ประวัติศาสตร์ ลาว ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 กับแบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ไทยชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3
6

มายกตัวอย่างเนื้ อหาให้เห็นภาพความต่างโดยยกกรณี เหตุการณ์เจ้าอนุวงศ์ให้เห็น แต่นนั่ ก็เป็ นเพียง


บทความสั้น ๆ ที่ ยงั ขาดเหตุปัจจัยมี เพียงส่ วนหนึ่ งของบทเรี ยนไทยและลาวที่ หยิบขึ้นมาเท่านั้น
ในส่ ว นของบทความเรื่ อง การรั บรู ้ เรื่ อง “ลาว” ในพงศาวดารและแบบเรี ยนไทย ของ ทวี ศิ ลป์
สื บวัฒนะ เป็ นการจุดประกายให้ผวู ้ ิจยั มีความสนใจในการศึกษางานวิจยั นี้ เพราะบทความนี้ กล่าวว่า
พงศาวดารมี อิ ทธิ พลต่ อแบบเรี ย นของไทยและลาว การเน้น ยํ้าภาพของสงครามเป็ นการสร้ าง
ความรู ้ สึก “เหนื อกว่า” และ “ชิ งชัง” แบบเรี ยนไทยและลาวมี ความต่ างในรายละเอี ยดทั้งที่ เป็ น
เหตุการณ์เดียวกัน บทความนี้ ใช้แบบเรี ยนเก่าประกอบการเขียน ผูว้ ิจยั จึงมีความสนใจว่าท่ามกลาง
กระแสโลกาภิวฒั น์ที่ทวั่ โลกกําลังแสวงหาความร่ วมมือและพันธมิตรนั้น ไทยและลาวในฐานะที่เป็ น

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ประเทศใกล้ชิดกันมีการรับรู ้ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทยและลาวที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรื อไม่

งานวิจยั เรื่ องนี้ จึงพยายามอธิ บายปรากฏการณ์ ที่เกิ ดขึ้น โดยกลับไปมองที่จุดเริ่ มต้น
เพื่ อ ให้ เ ห็ น พัฒ นาการของความสั ม พัน ธ์ ร ะหว่ า งไทยและลาว ผ่ า นแบบเรี ยนประวัติ ศ าสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1- 6 ของไทยและลาว เพื่อชี้ให้เห็นบริ บทซึ่ งส่ งผลกระทบต่อการรับรู ้และความ
เข้าใจของคนทั้งสองชาติในปั จจุบนั โดยพยายามใช้มุมมองแบบคนไร้ สัญชาติให้หลุดกรอบจาก
พันธนาการแห่ งชาติ เพื่อที่จะได้เห็นภาพกว้าง ไม่ใช่ มุมมองชาตินิยมดัง่ ที่โดนปลูกฝังจนลงลึกใน
ความเข้าใจจนเกิดภาพในลักษณะเฉพาะทางชนชาติที่กลายเป็ นปั ญหากระทบความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศของไทยและลาวในปั จจุบนั งานศึกษาเรื่ องนี้ จึงใช้แบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ของไทยและลาว
ในชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1– 6 ของไทยและลาว เป็ นตัวเปรี ยบเทียบเพื่อที่จะได้เห็ นภาพชัดเจน
ของความเหมื อนที่ แตกต่ างในเนื้ อหา เพราะตระหนักดี ว่าแบบเรี ยนเป็ นเครื่ องมื อชั้นยอดที่ รั ฐ
ใช้ปลูกฝังคนให้เติบโตมาตามแนวคิดที่รัฐต้องการ
ความมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์ ของการศึกษา
1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวในบริ บททางประวัติศาสตร์และสาเหตุ
ของการสร้างประวัติศาสตร์
2. เพื่อศึกษาสาระสําคัญของแบบเรี ยนไทยและลาว
3. เพื่อศึกษาผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวอันเนื่องมาจากการสร้าง
ประวัติศาสตร์
สมมติฐานของการศึกษา
1. แบบเรี ยน คือ เครื่ องมือสําคัญในการสร้างคนของรัฐ การปลูกฝังความคิดของคน
ในชาติผ่านแบบเรี ยนนับเป็ นกระบวนการสําคัญในการสร้างประชากรตามแนวทางที่รัฐต้องการ
ซึ่งจุดประสงค์ในการสร้างคนผ่านแบบเรี ยนนี้เองที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสัมพันธ์ไทยและลาว
7

2. ในสภาวการณ์ปัจจุบนั สังคมมีความคาดหวังในการแสวงหามิตรไมตรี ระหว่าง


ประเทศมากขึ้น แต่ “แบบเรี ยน”ในฐานะเครื่ องมือผลิตคนแห่งรัฐยังคงเป็ นการปลูกฝังแนวคิดตามเดิม
ทั้งที่ในปั จจุบนั งานวิจยั อีกทั้งบทความต่าง ๆ มีความเป็ นอิสระในการนําเสนองานทางวิชาการมากขึ้น
แต่ในตัวบทเรี ยนยังคงไม่มีความเปลี่ยนแปลงในวิธีการนําเสนอประวัติศาสตร์ ที่ต่างไปจากเดิ ม
ประวัติศาสตร์ ที่รับรู ้ยงั คงเป็ นประวัติศาสตร์ กระแสหลัก ซึ่ งดูเป็ นภาพที่สวนทางกับความต้องการ
แสวงหาความร่ วมมือในภูมิภาคของรัฐ
ขอบเขตในการศึกษา
งานวิ จ ัย ได้ก ํา หนดให้ ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518) เป็ นปี ที่ เ ริ่ มทํา การวิ จ ัย เนื่ อ งจาก

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ในคริ สตศักราชนี้ ประเทศลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ ระบอบใหม่โดยพรรคประชาชน


ปฏิวตั ิลาว ขึ้นมามีบทบาทชี้นาํ ประเทศ ภายใต้ระบอบการปกครองใหม่น้ ี รัฐมีแบบเรี ยนเป็ นเครื่ องมือ
ในการสร้างคน การศึกษาผ่านแบบเรี ยนจะช่วยให้เห็นภาพและลักษณะของพลเมืองตามที่รัฐต้องการ
ส่ วนการกําหนด ให้ค.ศ.2009 (พ.ศ. 2552) เป็ นปี สิ้ นสุ ดของขอบเขตการวิจยั เนื่ องจากใน ค.ศ. 2010
(พ.ศ. 2553) ลาวกําลังปรับปรุ งหลักสู ตรการศึกษา ในขณะที่ทาํ วิจยั เรื่ องนี้ แบบเรี ยนลาวที่ปรับปรุ งใหม่
ยังมี ออกเผยแพร่ ไม่ ครบทุ กรายวิชาและทุกระดับชั้นซึ่ งรวมไปถึงแบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ดว้ ย
และประการสําคัญการที่กาํ หนดให้ ค.ศ. 2009 เป็ นปี สิ้ นสุ ดของขอบเขตการวิจยั ดังที่กล่าวมา
ก็เพื่อที่จะให้งานวิจยั นี้มีภาพที่ใกล้เคียงกับปัจจุบนั มากที่สุด
ท่ามกลางกระแสโลกาภิวตั น์ที่แต่ละประเทศล้วนถวิลหาความร่ วมมือและพันธมิตรนั้น
เป็ นที่น่าสนใจว่าแบบเรี ยนในฐานะเครื่ องมือแห่ งรัฐได้เปลี่ยนทัศนะในการผลิตคนต่างไปจากเดิม
หรื อ ไม่ ด้ว ยเหตุ น้ ี ผูว้ ิ จ ัย จึ ง เลื อ กใช้แ บบเรี ย นประวัติ ศ าสตร์ ข องไทยและลาว ตั้ง แต่ ร ะดับ ชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 เป็ นแกนหลักในการทําวิจยั ทั้งนี้ เพราะตระหนักว่า
นักเรี ยนในช่วงชั้นนี้ เป็ นช่ วงชั้นที่กาํ ลังจะเติบโตเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา อันจะกลายเป็ น
กําลัง สํา คัญในการพัฒนาชาติ จึ ง นําแบบเรี ย นในช่ ว งชั้น นี้ ของทั้ง ไทยและลาวมาเปรี ย บเที ย บ
ความต่างในเนื้ อหาด้านประวัติศาสตร์ ที่ระบุลงในแบบเรี ยน เพื่อที่ จะได้เห็ นภาพความต้องการ
ของรัฐไทยและลาว ว่าต้องการสร้างคนให้มีความรับรู ้และเข้าใจต่อเพื่อนบ้านแบบใดในกระแส
สังคมปั จจุบนั
ข้ อตกลงเบือ้ งต้ น
ประวัติศาสตร์ เป็ นสาระการเรี ยนรู ้หนึ่ งในกลุ่มสาระการเรี ยนรู ้สังคมศึกษา ศาสนาและ
วัฒนธรรมของประเทศไทย โดยในหลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กาํ หนดให้
เป็ นวิชาเรี ยนที่แยกมาวัดผลการเรี ยนรู ้จากกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมแต่ยงั คง
จัดเป็ นรายวิชาในกลุ่มสาระการเรี ยนรู ้สงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
8

ในการจัดหลักสู ตรการศึกษาของไทยนั้น คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะกําหนด


หลักสู ตรแกนกลางในแต่ละระดับชั้นและกลุ่มสาระวิชาต่าง ๆ เพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงาน
ระดับท้องถิ่นและสถานศึกษาที่จดั การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้นาํ ไปใช้เป็ นกรอบและทิศทางในการ
จัดการเรี ยนการสอน 10
ในการทําวิจยั นี้ผวู ้ ิจยั ได้เลือกใช้แบบเรี ยนประวัติศาสตร์ของไทยชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1-6
หลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จากสํานักพิมพ์วฒั นาพานิ ช ซึ่ งมีเนื้ อหาตรงกับ
หลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่ งถือเป็ นหลักสู ตรปรับปรุ งล่าสุ ด เนื่ องจากในปี
ที่ทาํ การวิจยั นั้น แบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ตามหลักสู ตรการศึ กษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ยังมีออกมาใช้ไม่ครบในทุกชั้นเรี ยน กระทรวงศึกษาธิ การได้ประกาศให้ใช้หลักสู ตรการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เฉพาะโรงเรี ยนต้นแบบการใช้หลักสู ตรและโรงเรี ยนที่มีความพร้อม
ตามรายชื่ อ ที่ ก ระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารประกาศ โดยในระหว่ า งที่ ร อความพร้ อ มการใช้ห ลัก สู ต ร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในทุกชั้นเรี ยนนั้น กระทรวงศึกษาธิ การมีประกาศให้ยึด
หลักสู ตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้ทุกโรงเรี ยน ใช้ประกอบการคัดเลือก
แบบเรี ย นของแต่ ล ะสํา นัก พิ ม พ์ ในการทํา วิ จ ัย นี้ ผูว้ ิ จ ัย จึ ง ได้นํา หลัก สู ต รแกนกลางการศึ ก ษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มาวิเคราะห์ประกอบแบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ช้ นั มัธยมศึกษาปี ที่ 1-6
หลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และเลือกใช้แบบเรี ยนจากสํานักพิมพ์วฒั นาพานิช
ในการทํา วิ จ ัย ฉบับ นี้ เพราะสอดคล้อ งตามประกาศกระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารเรื่ อ งหลัก สู ต รใหม่
ทุกประการ
ในส่ ว นของแบบเรี ย นประวัติศาสตร์ ลาวนั้น แม้จ ะมี ก ารปรั บปรุ งหลัก สู ตรมาแล้ว
ถึง 2 ครั้ง แต่ในส่ วนของสาระความรู ้ยงั คงได้อิทธิ พลตกทอดมาจากพงศาวดารเป็ นสําคัญ เนื้ อหา
ที่เกี่ ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวยังคงเป็ นการเน้นยํ้าประวัติศาสตร์ รูปแบบเดิ ม
ผูว้ ิจ ัยจึ งเลื อกใช้แบบเฮี ยนวิดทะยาสาดสังคมชั้นมัดทะยม ปี ที่ 1 – 6 ซึ่ งเป็ นแบบเรี ยน
ของกระทรวงศึกษาธิ การฉบับล่าสุ ด (ก่อนปรับปรุ งหลักสู ตรในปี 2010) ที่ใช้มายาวนานถึง 20 ปี
เป็ นหลัก ฐานสํ า คัญ ในการวิ จ ัย ซึ่ งสะท้อ นให้ เ ห็ น การเน้น ยํ้า วาทกรรมที่ ล าวตองการสร้ า ง
แก่ ประชาชนเป็ นอย่า งดี ส่ ว นการอ้างอิ ง ถึ ง เอกสารลาว หลัก ฐานลาว ตลอดจนแบบเรี ย นลาว
ในการศึกษานี้จะใช้ตวั สะกดตามแบบลาว เพื่อคงรักษาเนื้อหาและอารมณ์ตามแบบต้นฉบับ

10
กระทรวงศึกษาธิ การ, ตัวชี้ วดั และสาระการเรี ยนรู้ แกนกลาง กลุ่มสาระการเรี ยนรู้ สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (กรุ งเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทย, 2551), คํานํา.
9

วิธีดําเนินการศึกษา
ใช้วิธีวิจยั ทางประวัติศาสตร์ โดยเน้นการวิเคราะห์ตีความจากเอกสาร แบบเรี ยน หนังสื อ
และวิทยานิพนธ์ จากหอสมุดของสถาบันต่าง ๆ รวมไปถึงแหล่งข้อมูลออนไลน์โดยนําเสนอในรู ปแบบ
ของการพรรณนาวิเคราะห์ โดยได้คน้ คว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
1. หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ และพระราชวังสนามจันทร์
2. หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒประสานมิตร

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
5. หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


6. หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น
7. หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ประโยชน์ ทคี่ าดว่ าจะได้ รับ
1. เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวในบริ บททางประวัติศาสตร์ และรวมไปถึง
สาเหตุของการสร้างประวัติศาสตร์
2. เข้าใจถึงสาระสําคัญของแบบเรี ยนไทยและลาว
3. เข้าใจถึงผลกระทบทางความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวอันเนื่องมาจากการสร้าง
ประวัติศาสตร์
บทที่ 2
ความสั มพันธ์ ระหว่ างไทยกับลาวในบริบทการสร้ างชาติ : ศึกษาผ่ านประวัติศาสตร์ นิพนธ์

ระบอบอาณานิคมได้เปลี่ยนแปลงเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้จาก “รัฐจารี ต” มาสู่ ความเป็ น“รัฐสมัยใหม่”


ทั้งในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และชีวิตความเป็ นอยู่ และที่สําคัญคือเป็ นปั จจัยที่ผลักดันให้
เกิดแนวคิดเกี่ยวกับ “ความเป็ นรัฐชาติ” แทนความเป็ น “ราชอาณาจักร” ซึ่ งเป็ นการจุดประกายให้กบั กระแส
ความคิด “ชาตินิยม” และการเรี ยกร้องเอกราชในระยะต่อมา 1

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

ดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ในช่วงที่บริ บทสังคมโลกตะวันตกกําลังแผ่อิทธิ พลเข้า
ครอบงํานั้น ในรัฐต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อแสนยานุภาพและอิทธิ พลของชาติตะวันตก
การตอบโต้น้ นั เกิดขึ้นหลายกระบวนการดังที่เป็ นปรากฏการณ์สาํ คัญ ๆ 2 อันนํามาสู่ กระแสความคิด
“ชาตินิยม” และการเรี ยกร้องเอกราชจากผูค้ นในเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้
ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ชาตินิยม” คือแนวความคิดที่จกั รวรรดินิยมตะวันตกนําเข้ามาและทิ้งไว้
กลายเป็ นมรดกแก่ เอเชี ยตะวันออกเฉี ยงใต้ 3 แนวคิดนําเข้านี้ ได้มีส่วนในการสร้างจิตสํานึ กเพื่อ
รวบรวมความรู ้สึกแห่ งชาติให้เป็ นหนึ่ งเดี ยว กระแสชาตินิยมและการเรี ยกร้องเอกราชที่เกิดขึ้นใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้น้ นั กล่าวได้วา่ ส่ วนหนึ่งเกิดจากระบบการศึกษาแผนตะวันตกหรื อแผนใหม่
ที่ประเทศจักรวรรดินิยมนํามาให้ประชาชนในดิ นแดนเอเชี ยตะวันออกเฉี ยงใต้ เพื่อรองรับระบบ
การบริ ห ารและเศรษฐกิ จ แบบใหม่ ที่ ข ยายตัว ขึ้ น อย่ า งรวดเร็ ว แต่ ก ารศึ ก ษาแผนตะวัน ตกนี้
กลับกลายเป็ นจุดเริ่ มต้นแนวคิดในการต่อต้านชาติตะวันตก
ระบบการศึกษาแบบใหม่ที่ได้รับการวางรากฐานนี้ ถูกใช้เพื่อต่อต้านการเข้าครอบงําของ
ชาวต่างชาติ ปลุกกระแสแนวคิดชาตินิยมให้แพร่ หลายไปทัว่ 4 ทั้งอาณาบริ เวณเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้

1
ชุลีพร วิรุณหะ, “เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 415457 Seminar in Southeast Asian History”
ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2551. (อัดสํานา)
2
ดูรายละเอียดใน ดี. จี . อี. ฮอลล์, ประวัติศาสตร์ เอเชี ยตะวันออกเฉี ยงใต้ สุ วรรณภูมิ – อุษาคเนย์
ภาคพิส ดาร, เล่ม 2, พิ ม พ์ค รั้ งที่ 3, ชาญวิท ย์ เกษตรศิ ริ , บรรณาธิ การ (กรุ งเทพฯ : มูลนิ ธิ โ ครงการตํารา
สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ , 2549) ; and Norman G. Owen, (ed.), The Emergence of Modern Southeast Asia
: A New History ( Honolulu : University of Hawai’i, 2005).
3
Warshaw Steven, Southeast Asia Emerge, 4th ed. (San Francisco : Canfield, 1975), 68.
4
D.J. Steinberg et al, Insearch of Southeast Asia : A modern History (Honolulu : University of
Hawai’i, 1985), 202.
10
11

นํามาสู่ การเรี ยกร้ องเอกราชและการสร้างชาติในดิ นแดนเอเชี ยอาคเนย์ ซึ่ งล้วนแล้วแต่เกิ ดขึ้นในเวลา


ไล่เลี่ยกัน และในช่วงการรวบรวมประวัติศาสตร์เพื่อสร้างชาติข้ ึนนี้ เองที่เราจะพบงานเขียนมากมาย
ที่บอกเล่าถึงความเป็ นมาและจุดเริ่ มของชนชาติตน เพื่อให้คนในชาติรวมไปถึงคนภายนอกได้ตระหนัก
ถึงความเป็ นมาอันยิ่งใหญ่ตามแต่ผรู ้ วบรวมจะกล่าวอ้างถึง ซึ่ งงานหลายชิ้นที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้
ได้กลายมาเป็ นแม่แบบตลอดจนเป็ นประเด็นข้อโต้เถียงให้กบั คนรุ่ นต่อ ๆ มาอย่างไม่จบสิ้ น ดังเช่น
งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของเจ้าพระยาทิพกรวงศ์ และพระนิ พนธ์ทางประวัติศาสตร์ ของ สมเด็จฯ
กรมพระยาดํารงราชานุภาพ เป็ นต้น
นั บ แต่ ยุ ค อาณานิ ค มแผ่ อิ ท ธิ พ ลทั่ว อาณาบริ เวณเอเชี ย ตะวัน ออกเฉี ย งใต้ นํา มาสู่

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ปรากฏการณ์ การเปลี่ ยนผ่านจาก “รั ฐจารี ต” เข้าสู่ ความเป็ น “รั ฐสมัยใหม่ ” เกิ ดการเปลี่ ยนแปลง

ขึ้นมากมายในอาณาบริ เวณนี้ และหนึ่งในนั้นคือ “การสร้างชาติ” ของบรรดารัฐต่าง ๆ
ในบริ บทความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวนับว่าช่วงเวลานี้คือจุดสําคัญที่หากได้ศึกษาแล้ว
จะช่วยให้เข้าใจว่า จุดเริ่ มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวได้ถูกกําหนดหรื อถูกวางรากฐาน
ในบริ บทและเงื่อนไขใด ซึ่ งจะส่ งผลต่อการขยายภาพความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวในปั จจุบนั
ให้ตรงกับข้อเท็จจริ งทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น
ในบทนี้ จึงจะศึกษาประวัติศาสตร์ นิพนธ์ท้ งั ของไทยและลาวในช่ วงสมัยการสร้างชาติ
เพื่อเป็ นพื้นฐานสําคัญในการทําความเข้าใจจุดเริ่ มต้นของสภาพสังคมที่มีผลต่อการเขียนประวัติศาสตร์
ของทั้งสองประเทศ
การศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยในช่วงสมัยการสร้างชาติน้ ี จะให้ความสําคัญกับการ
ปูพ้ืนฐานของบริ บททางประวัติศาสตร์ คือเป็ นการเริ่ มต้นทําความเข้าใจถึงจุดเริ่ มต้นของสภาพสังคม
ที่ มี ผลต่ องานนิ พนธ์ ท างประวัติ ศ าสตร์ ช่ ว งสมัย การสร้ า งชาติ โดยจะไม่ ล งลึ ก หรื อ วิ เ คราะห์
เปรี ยบเทียบสาเหตุของงานเขียนทางประวัติศาสตร์หรื อประวัติชีวิตของเจ้าของผลงานอย่างละเอียด
ดังเช่นที่มีผทู ้ าํ การศึกษามาบ้างแล้ว 5เพราะจุดประสงค์ของการทําวิจยั ในบทนี้ คือการเตรี ยมความรู ้
5
ดูรายละเอียดใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, “สกุลประวัติศาสตร์ : แสงสว่างในความมืด,” ศิลปวัฒนธรรม
6,1 (พฤศจิกายน 2527) ; สมเกียรติ วันทะนะ, “สองศตวรรษของรัฐและประวัติศาสตร์ นิพนธ์ไทย,” ธรรมศาสตร์
13,3 (กันยายน 2527) ; นิ ธิ เอี ยวศรี วงศ์, “200 ปี ของการศึ กษาประวัติศ าสตร์ ไทยและทางข้างหน้า,”
ศิลปวัฒนธรรม 7,4 (กุมภาพันธ์ 2529) ; ยุพา ชุมจันทร์ , “ประวัติศาสตร์ นิพนธ์ไทย พ.ศ. 2475 – 2516”
(วิทยานิ พนธ์ปริ ญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530) ; ราม
วัช รประดิ ษ ฐ์ , “ พัฒ นาการของประวัติ ศ าสตร์ ช าติ ใ นประเทศไทย พ.ศ. 2411-2478” (วิท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญา
มหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิ ตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539) ; อรรถจักร สัตยานุ รักษ์,
การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผูน้ าํ ไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงพุทธศักราช 2475, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุ งเทพฯ :
สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541).
12

ขั้นปฐมเหตุของที่ มาในการผลิ ตประวัติศาสตร์ อนั ส่ งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาว


ที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนกัน
1. งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ไทย
จารี ตการเขี ยนประวัติศาสตร์ แบบพงศาวดารเป็ นการบันทึ กประวัติศาสตร์ ของไทย
มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ประวัติศาสตร์ ที่ออกนอกแบบแผนของจารี ตพงศาวดารมักถูกขจัดออกนอกทาง
และถือว่าไม่ใช่ประวัติศาสตร์ 6 พงศาวดารนับเป็ นงานเขียนประวัติศาสตร์ ทางราชการที่ยงั คงเหลือ
และตกทอดมาถึงปั จจุบนั อย่างเป็ นชิ้นเป็ นอัน และเป็ นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ไทยยึดถือมา
อย่ างยาวนาน ความรั บรู ้ แ ละความเข้าใจประวัติ ศ าสตร์ ข องไทยอยู่ภ ายใต้ก รอบอิ ท ธิ พ ลของ

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ประวัติ ศ าสตร์ แ บบพงศาวดารหลายช่ ว งสมัย พงศาวดารคื อ ตัว แทนของความเข้า ใจเกี่ ย วกับ


ประวัติศาสตร์ และแนวคิดของไทยที่ก่อตัวและฝั งรากมาเป็ นเวลานานนับแต่สมัยกรุ งศรี อยุธยา
เป็ นต้นมา 7
ประวัติศาสตร์ไทยในแบบแผนของจารี ตพงศาวดารถูกจํากัดให้รับรู ้กนั ในหมู่ชนชั้นนํา
ของสังคม กว่าจะเริ่ มเปิ ดเผยออกมาสู่ ประชาชนก็ล่วงเข้าในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 อันเป็ นผลจาก
การนําเข้าแท่นพิมพ์ ทําให้การพิมพ์หนังสื อและหนังสื อพิมพ์แพร่ หลาย เป็ นการกระจายความรู ้และ
ขยายฐานการศึ กษาออกไปในวงกว้าง อี กทั้งทัศนคติ ความรู ้ ตลอดจนวิทยาการที่ ได้รับมาจาก
ตะวันตก 8 ไม่ว่าจะเป็ นระบบการสื่ อสาร ทางรถไฟ หรื อการเปลี่ยนระบบการค้าที่ชดั เจนขึ้นจากการ
แลกเปลี่ยนสิ่ งของ มาใช้ระบบเงินตราเป็ นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน และรวมไปถึงการพัฒนาระบบ
เศรษฐกิจให้เหมาะสมกับชุมชนที่เริ่ มวิวฒั นาการเข้าสู่ ความเป็ นสังคมเมือง และเพื่อให้เกิ ดความ
คล่องตัวในการติดต่อค้าขาย นอกจากนายจ้างต่างชาติจะเริ่ มหัดพูดภาษาท้องถิ่ นแล้ว ยังพบว่า
นายจ้างต่างชาติเริ่ มให้แรงงานท้องถิ่นมีการศึกษาภาษาต่างประเทศของเจ้าอาณานิคมนั้น ๆ 9 อีกด้วย
การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยภายหลังการทําสนธิ สัญญาบาวริ่ งใน ค.ศ. 1855 (พ.ศ.
2398) คือการเปิ ดรั บอารยธรรมตะวันตก และการปรั บตัวเพื่อเผชิ ญหน้ากับการล่าอาณานิ คม
ของประเทศตะวันตก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และ
ภูมิปัญญาของคนไทย ระบบเศรษฐกิจ เปลี่ยนไปสู่ การผลิตเพื่อการค้าและระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา
อย◌่างเต็มตัว ระบบเศรษฐกิ จไทยเข้าไปผูกพันอยู่กับระบบเศรษฐกิ จโลก ระบบการเมื องเดิ ม

6
ยุพา ชุมจันทร์ , “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย พ.ศ. 2475 – 2516”, 12.
7
เรื่ องเดียวกัน.
8
เรื่ องเดียวกัน, 76.
9
Warshaw Steven, , Southeast Asia Emerge, 68.
13

ถูกกระทบจนต้องปรับเปลี่ยนด้วยการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อให้ความเป็ น
“สยามประเทศ” ดํารงอยูไ่ ด้
อย่างไรก็ดี พลังผลักดันจากภายนอกเพียงอย่างเดียวไม่เคยกําหนดแนวทางความเปลี่ยนแปลง
ของสังคมใดได้อย่างแท้จริ ง “การจะเข้าใจแนวทางความเปลี่ ยนแปลงของสังคมใด ควรจะให้
ความสําคัญอย่างเพียงพอแก่เชื้อแห่งความเปลี่ยนแปลงซึ่ งสถิตในสังคมนั้นอยูแ่ ล้ว ปราศจากเชื้อเหล่านี้
สิ่ งที่มาจากภายนอกจะไม่มีทางงอกงามขึ้นได้” 10 ดังนั้นจะเห็ นได้ว่าพัฒนาการของรัฐที่ส่งผลต่อ
การเปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นไม่ได้เกิดจากอิทธิ พลภายนอกซึ่ งหมายถึงผลกระทบจาก
ตะวันตกแต่เพียงอย่างเดียว การเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ยังได้รับแรงผลักดันจาก

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ภายในสังคมขณะนั้นด้วยนับตั้งแต่ความพยายามปฏิ รูปประเทศจากสมัยรั ชกาลที่ 4 เป็ นต้นมา

ส่ ง ผลให้ เ กิ ด ความพร้ อ มในการรวมศู น ย์อ ํา นาจทางการเมื อ ง เกิ ด เป็ นการปกครองระบอบ
สมบูรณาญาสิ ทธิ ราชย์ที่มนั่ คงที่สุดอย่างไม่เคยมีมาก่อน ในขณะเดียวกันแนวคิดการสร้างรัฐชาติ
ก็เกิดขึ้นเพื่อสนองความมัน่ คงภายในและพยุงฐานะของประเทศให้ยนื อยูใ่ นสังคมโลกและสามารถ
ฝ่ าภยันตรายที่กาํ ลังคุกคามจากภายนอก11
การเปลี่ ยนแปลงเหล่านี้ นับเป็ นตัวกระตุน้ สําคัญต่ อความอยากรู ้ อยากศึ กษาของคน
ทัว่ ทั้งเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ ถึงแม้รัฐไทย ไม่ได้ตก เป็ นอาณานิ คมก็หนี ไม่พน้ กระแสอิทธิ พลของ
3 3

อาณานิ คม การปฏิ รูปประเทศและการสถาปนารั ฐชาติ ได้สร้ างความจําเป็ นในการศึกษาค้นคว้า


เพื่ออธิ บายความเป็ นมาของชาติ ไทย ทั้งนี้ ก็เพื่อสร้ างเอกภาพและความเป็ นอันหนึ่ งอันเดี ยวกัน
ให้เกิดขึ้นในสังคม และที่จาํ เป็ นที่สุดก็เพื่อสร้างความเป็ นชาติในการเผชิญหน้ากับลัทธิ ล่าอาณานิ คม
ของตะวันตกที่เป็ นภัยร้ายแรงในขณะนั้น เหตุผลและเงื่อนไขต่าง ๆ เหล่านี้ ทาํ ให้ตอ้ งขยายการศึกษา
ความเป็ นมาของชาติต่อสังคมวงกว้างให้มากกว่ารั้วพระราชฐานดังที่ยดึ เป็ นขนบมา
การเผชิ ญหน้ากับอิทธิ พลตะวันตกในรั ชกาลที่ 4-5 ส่ งผลให้เกิ ดความเปลี่ยนแปลง
อย่างเป็ นรู ปธรรมที่มีเป้ าหมายสําคัญอยูท่ ี่ความอยูร่ อดของราชอาณาจักรไทย นอกจากนั้นยังส่ งผล
ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านนามธรรมทั้งความคิดและภูมิปัญญา ส่ งผลให้เกิดการพัฒนาประเทศ
ให้ ท ัน สมัย ตามแบบตะวัน ตก (Modernization) สะท้อ นออกมาทางงานประวัติ ศ าสตร์ นิ พ นธ์
ที่เกิดขึ้นในเวลานั้น12 กล่าวได้วา่ สิ่ งที่เกิดขึ้นนี้ ทาํ ให้รัฐไทยก้าวเข้าสู่ ความเป็ นสมัยใหม่เพื่อการยอมรับ
จากประเทศตะวันตกที่เฝ้ าจับตาอยูอ่ ย่างใกล้ชิด

10
นิ ธิ เอียวศรี วงศ์, ปากไก่และใบเรื อ รวมความเรี ยงว่าด้วยวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ตน้ รัตนโกสิ นทร์
(กรุ งเทพฯ : อมริ นทร์การพิมพ์, 2527), บทนํา.
11
ยุพา ชุมจันทร์, “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย พ.ศ. 2475 – 2516”, 26.
12
เรื่ องเดียวกัน, 27.
14

ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิ จและสังคม ช่วยกระตุน้ ให้เกิ ด


สํานึ กแห่ งความเป็ นชาติ ชัดเจนมากขึ้น นํามาสู่ เหตุผลที่ ว่าเหตุ ใดกระแสประวัติศาสตร์ ชาติ จึงมี
ความสําคัญ เพราะเป็ นเครื่ องแสดงถึงความเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติไทย 13
ผูป้ กครองและชนชั้นนําไทยพยายามสร้างความเป็ นรัฐชาติข้ ึนเพื่อรักษาเอกราชของประเทศ
ให้มีฐานะเป็ นรั ฐหนึ่ งในประชาคมโลก การเขี ยนพงศาวดารได้รับการใส่ ใจนํามาใช้เพื่ออธิ บาย
ความสื บเนื่องของพระราชอํานาจกษัตริ ย ์ และการรวมศูนย์ความรู ้สึกสํานึ กร่ วมกันของสังคมไทย 14
นอกจากเป็ นเครื่ องมือที่มุ่งให้บทเรี ยนหรื อคําสอนเรื่ องกษัตริ ยแ์ ก่ราชสํานักเป็ นข้อใหญ่ 15 ดังที่เคย
เป็ น

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
เมื่อบทบาทของประวัติศาสตร์คือการสร้างความรู ้สึกเป็ นเอกภาพร่ วมกันของประชาชน

จึงมีการนําพงศาวดารมาใช้ปลูกฝังให้เกิดความรักชาติ และสํานึ กในความเป็ นไทย เพราะพงศาวดาร
เน้นในเรื่ องกษัตริ ยซ์ ่ ึ งเข้ากันได้กบั นโยบายการสร้ างรั ฐชาติที่มีสถาบันกษัตริ ยเ์ ป็ นศูนย์รวมของ
คนในชาติเพื่อความเป็ นอันหนึ่ งอันเดียวกัน การสอนให้รักชาติก่อให้เกิดความจงรักภักดีต่อกษัตริ ย ์
ด้วยเหตุผลที่วา่ รัฐเป็ นอิสระมาได้กเ็ พราะการปกครองของกษัตริ ย 16์
1.1 จากพงศาวดารสู่ การเป็ นประวัติศาสตร์ แห่ งชาติของไทย
สําหรับหัวข้อนี้ ผูว้ ิจยั จะศึกษาแนวทางประวัติศาสตร์ นิพนธ์ โดยเลือกศึกษางานเขียน
ทางประวัติศาสตร์ ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ พระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) พระยาอนุมานราชธน และหลวงวิจิตร
วาทการ ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการของประวัติศาสตร์ นิพนธ์ไทยและบริ บททางสังคมที่ส่งผล
กระทบต่องานเขียนทางประวัติศาสตร์ จากรู ปแบบพงศาวดารสู่การเป็ นประวัติศาสตร์แห่ งชาติ
ดังที่ กล่าวมาแล้วว่าการศึ กษาประวัติศาสตร์ และการบันทึกเหตุการณ์ สําคัญในอดี ต
ลงในพงศาวดารนั้นถูกสงวนไว้ในกลุ่มชนชั้นสู งของสยาม จุดประสงค์ของการบันทึกพงศาวดาร
แตกต่างกันไปตามวาระของผูท้ ี่ข้ ึนมามีอาํ นาจ และพงศาวดารยังถูกมองว่าเป็ นเครื่ องมือแห่ งอํานาจ
ของบรรดาเจ้านายหลายยุคสมัย หากแต่ “ภาวะที่เกิดความเคลื่อนไหวทางภูมิปัญญารวมทั้งเกิดความ
เปลี่ ย นแปลงทางการเมื อ งเศรษฐกิ จ และสั ง คม ย่ อ มส่ ง ผลต่ อ ทัศ นะและรู ป แบบการเขี ย น

13
ราม วัชรประดิษฐ์, “พัฒนาการของประวัติศาสตร์ ชาติในประเทศไทย พ.ศ. 2411-2478”, 90.
14
ยุพา ชุมจันทร์ , “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย พ.ศ. 2475 – 2516”, 29.
15
สมเกียรติ วันทะนะ, บทความประกอบการสัมมนากึ่งศตวรรษธรรมศาสตร์ : 2477 – 2527
(สถาบันไทยคดีศึกษา : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2527), 149.
16
วิทย์ วิศทเวทย์, ปรัชญาการศึกษาไทย 2411-2475 (กรุ งเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการการศึกษา
แห่งชาติ, 2528), 32 – 33. อ้างใน ยุพา ชุมจันทร์. “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย พ.ศ. 2475 – 2516.”, 77.
15

ประวัติศาสตร์ ” 17 เจ้าพระยาทิพกรวงศ์ คือบุคคลแรก ๆ ที่เริ่ มเปลี่ยนแปลงธรรมเนี ยมปฏิบตั ิในการ


บันทึกพงศาวดาร เป็ นผูน้ าํ วิธีการบันทึกพงศาวดารแบบจารี ตสู่ การบันทึกพงศาวดารแบบสมัยใหม่ 18
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เป็ นตัวแทนปั ญญาชนที่แสดงความเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ใหม่
ในระยะนั้น 19 แม้ว่าผลงานทางประวัติศาสตร์ ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ จะยังคงรักษาจารี ตเดิ ม
ตามรู ปแบบของพงศาวดาร คือเนื้ อหายังคงแวดล้อมเรื่ องราวของพระมหากษัตริ ย ์ แบ่งลําดับเรี ยง
ตามเวลาเกิดเหตุการณ์ แต่ลกั ษณะผลงานที่เสนอมีแนวทางใหม่ ๆ เข้ามาในการเขียนประวัติศาสตร์
แบบพงศาวดารคือ แนวคิดการอธิ บายเหตุผลต่าง ๆ ด้วยความคิดแบบวิทยาศาสตร์ สะท้อนถึงการ
ยอมรับวิทยาการเทคโนโลยีของตะวันตก รวมทั้งใช้เอกสารและหลักฐานจากแหล่งต่าง ๆ เป็ นข้อมูล
ในการเขียนงาน 20
ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

17
พงศ์ธิดา เกษมสิ น, “ประวัติศาสตร์ นิพนธ์ไทย : ศึกษาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยูห่ วั ,” วารสารอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 17,1 (มกราคม 2528) : 101.
18
พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนับเป็ นอี กบุ คคลหนึ่ งที่ ท รงมี พฒ
ั นาการของงานเขี ยน
ทางประวัติศาสตร์ ตามแบบสมัยใหม่โดยการใช้หลักเหตุผล การตั้งคําถาม และการใช้หลักฐานประเภทเอกสาร
ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ, ดูรายละเอียดใน พงศ์ธิดา เกษมสิ น, “ประวัติศาสตร์ นิพนธ์ไทย : ศึกษาพระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ,”.
19
นิ ธิ เอี ย วศรี วงศ์, ปากไก่ แ ละใบเรื อ รวมความเรี ยงว่ า ด้ว ยวรรณกรรมและประวัติ ศ าสตร์
ต้นรัตนโกสิ นทร์ , 568.
20
ดูรายละเอียดใน, วิกลั ย์ พงศ์พนิ ตานนท์, “พระราชพงศวดารกรุ งรัตนโกสิ นทร์ รัชกาลที่ 1-4 ฉบับ
เจ้าพระยาทิ พากรวงศ์ : ประวัติศาสตร์ ไทยยุคใหม่,” วารสารอักษรศาสตร์ จุ ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 17,1
(มกราคม 2528).
16

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

ภาพที่ 1 เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ นักประวัติศาสตร์คนแรก ๆ ที่เริ่ มรับอิทธิพลการเขียนแบบตะวันตก
มาประยุกต์ใช้กบั การนิพนธ์ประวัติศาสตร์ไทย
ที่มา : สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวลชั้นที่ 3 [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2554. เข้าถึงได้จาก
http://www.bunnag.in.th/prarajpannuang003.html

เอกสารสําคัญในการศึ กษาประวัติศาสตร์ รัตนโกสิ นทร์ อย่างเช่ น พระราชพงศาวดาร


กรุ งรัตนโกสิ นทร์รัชกาลที่ 1 - 4 ฉบับ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์น้ นั เป็ นหลักฐานที่ช้ ีให้เห็นชัดว่า
การเขียนงานประวัติศาสตร์ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ยังยึดวัตถุประสงค์ตามแบบจารี ต และใช้เพื่อ 3

เป็ นเครื่ องมื อถวายความรู ้ แด่ ยุวกษัต ริ ย ์21 อย่างไรก็ดีพระราชพงศาวดารรั ตนโกสิ นทร์ สํานวน
สมเด็ จ ฯ กรมพระยาดํา รงราชานุ ภ าพ ที่ ท รงชํา ระมาจากสํา นวนของ เจ้า พระยาทิ พ ากรวงศ์
กลับมีเนื้ อหาบางตอนที่แตกต่างจากต้นฉบับ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่เปลี่ยนไป
ของผูช้ าํ ระ หรื อกล่าวได้ว่าการผลิ ตงานทางประวัติศาสตร์ ของ เจ้าพระยาทิพกรวงศ์ ยังไม่พบ
ร่ องรอยของการใช้ประวัติศาสตร์ เพื่อเป็ นเครื่ องมือสร้างชาติ คงพบแต่รูปแบบที่เริ่ มพัฒนาตามหลัก
ตะวันตก ซึ่ งนับเป็ นก้าวแรกของงานประวัติศาสตร์ ไทยที่ออกนอกกรอบการบันทึกตามจารี ตที่
ยึดถือกันมาเท่านั้น ส่ วนการเปลี่ยนแปลงประโยชน์ของงานเขียนประวัติศาสตร์ จะปรากฏเด่นชัด

21
จีรพล เกตุจุมพล, “การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างขององค์ความรู ้ของกลุ่มชนชั้นนําสยามรุ่ นใหม่
พ.ศ. 2367-2468” (วิท ยานิ พนธ์ ปริ ญ ญามหาบัณฑิ ต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิ ตวิท ยาลัย จุ ฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2539), 18.
17

ในงานของ สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุ ภาพ ผูส้ ร้างแนวคิดประวัติศาสตร์ แห่ งชาติ ผูน้ าํ พา


นักเขียนงานทางประวัติศาสตร์อีกหลายท่านผลิตงานในโครง “ชาตินิยม” แม้จะต่างยุคสมัยกัน

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

ภาพที่ 2 สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย


ที่มา : สายชล สัตยานุรักษ์, สมเด็จฯกรมพระยาดํารงราชานุภาพ การสร้างอัตลักษณ์ “เมืองไทย” และ
“ชั้น” ของชาวสยาม (กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์มติชน, 2546), 308.

ผลงานประวัติศาสตร์ นิพนธ์ที่เด่ นและเป็ นต้นแบบในการเป็ นเครื่ องมื อเพื่อรองรั บ


แนวความคิด “รัฐชาติ” 22 ที่มีอิทธิพลและยึดถือเป็ น “กรอบ” ให้แก่งานสมัยต่อ ๆ มา คือผลงานของ
สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ จากพระนิพนธ์ตลอดพระชนม์ชีพ 1,050 เรื่ อง เป็ นเรื่ องเกี่ยวกับ
ประวัติศาสตร์ 297 เรื่ อง แยกออกเป็ น ประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยว 15 เรื่ อง ชีวประวัติ 128 เรื่ อง

22
รัฐชาติ หรื อ รัฐประชาชาติ (national state) ตามความหมายของ สมเกียรติ วันทะนะ หมายถึงรัฐ
ที่ประกอบด้วย อาณาเขตที่แน่นอน อํานาจอธิปไตยเป็ นของประชาชาติโดยส่ วนรวม และประชาชนที่มีสาํ นึกร่ วม
ทางสังคมและการเมือง, ซึ่ งสมเกียรติ วันทะนะได้แสดงทัศนะไว้วา่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไทยยังไม่ใช่รัฐประชาชาติ
ที่สมบูรณ์, ดูรายละเอียดใน สมเกียรติ วันทะนะ, บทความประกอบการสัมมนากึ่งศตวรรษธรรมศาสตร์ : 2477 –
2527.
18

นิ ทานโบราณคดี 6 เรื่ อง ประวัติศาสตร์ 148 เรื่ อง23 พระองค์เป็ นผูส้ นใจแสวงหาความรู ้อย่างจริ งจัง
ทรงสะท้อนทัศนะแห่ งการวิพากษ์ให้เห็นจากพระนิพนธ์คาํ นําและคําอธิ บายในพระราชพงศาวดาร
ฉบับพระราชหัตเลขา ทรงให้ความสําคัญกับการตรวจสอบหลักฐาน ส่ วนการแสวงหาและความ
พยายามอธิ บ ายสาเหตุ ข องเหตุ ก ารณ์ จ ะเห็ น ได้ชัด ในงานพระนิ พ นธ์ พ ระราชพงศาวดารกรุ ง
รัตนโกสิ นทร์รัชกาลที่ 2 “หนังสื อที่เรี ยกว่า พงศาวดารของเราที่แต่งกันมาแล้ว ...ไม่ตรงกับหลักของ
ประวัติศาสตร์ คือหลักของประวัติศาสตร์ น้ นั แม้จะเอาการกําหนดตั้งเป็ นหลักเรื่ องที่จะลําดับก่อน
และหลังกัน มีขอ้ สําคัญที่ตอ้ งถือเป็ นหลัก 3 ส่ วน คือ
ส่ วนที่ 1 เกิดเหตุการณ์อย่างไร

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ส่ วนที่ 2 ทําไมจึงเกิดเหตุการณ์อย่างนั้น

ส่ วนที่ 3 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นให้ผลอย่างไร” 24
การเผชิ ญการคุ กคามจากมหาอํานาจตะวันตกก่ อให้ เกิ ดการสร้ าง “ขอบเขต” 25 ของ
ประวัติศาสตร์ แห่ งชาติ (National History) ที่มีมาอย่างคลุมเครื อเลื่อนลอยในสมัยก่อนให้เด่นชัดขึ้น
ประวัติศาสตร์ในยุคนี้มิใช่พระราชพงศาวดารที่อธิบายความชอบธรรมและการสื บสันตติวงศ์ของกษัตริ ย ์
หากเป็ นการสร้างความสํานึ กในการมีประวัติศาสตร์ร่วมกันของประชาชน และพยายามเน้นยํ้าความรู ้
เกี่ ยวกับอดี ตของประชาชนซํ้าแล้วซํ้าเล่า เพื่อให้ประชาชนรับรู ้และเกิ ดสํานึ กทางประวัติศาสตร์
ตามที่ กาํ หนดให้ได้ชัดเจน ทรงพยายามนําเสนอความเป็ นไทยแทรกเข้าไปในเนื้ อหาเอกสารที่ทรง
ตรวจตราหรื อ “ชําระ” 26 และที่สาํ คัญงานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของพระองค์ถือว่ามีอิทธิ พลต่อความ
รับรู ้ และการเขียนประวัติศาสตร์ ไทยอย่างยิ่ง ทรงพัฒนาวิธีการทางประวัติศาสตร์ การตรวจสอบ

23
หอสมุดแห่ งชาติ กรมศิลปากร, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพ : พระนิ พนธ์
(พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2512), 47-102. กล่าวถึงใน ราม วัชรประดิษฐ์. “พัฒนาการของประวัติศาสตร์ ชาติ
ในประเทศไทย พ.ศ. 2411-2478”, 100.
24
สมเด็จกรมพระยานริ ศรานุ วตั ิวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา ดํารงราชานุ ภาพ,
สาสน์สมเด็จ, เล่ม 4 (พระนคร : องค์การค้าคุรุสภา, 2505), หน้า 26. กล่าวถึงใน ราม วัชรประดิษฐ์, “พัฒนาการ
ของประวัติศาสตร์ชาติในประเทศไทย พ.ศ. 2411-2478”, 101.
25
เมื่อชาติตะวันตกเริ่ มเข้ามามีอิทธิ พลในอาณาบริ เวณเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ ประเทศไทยเริ่ มตระหนัก
ถึงความสําคัญของประวัติศาสตร์ ในฐานะหลักฐานความชอบธรรมของการมีอาํ นาจเหนื อบริ เวณที่ปกครอง และ
เพื่อความสมบูรณ์ของประวัติศาสตร์ “ขอบเขต”ของประวัติศาสตร์ จึ งเป็ นสิ่ งจําเป็ นในการกล่าวอ้าง “ขอบเขต”
ในที่น้ ีจึงมีความหมายรวมถึง ขอบเขตของเวลา, ขอบเขตของพื้นที่, ผูว้ จิ ยั .
26
ราม วัชรประดิ ษฐ, “พัฒนาการของประวัติศาสตร์ ชาติ ในประเทศไทย พ.ศ. 2411-2478”, 101.
“ชําระ” หมายถึง การเรี ยบเรี ยงข้อมูลและหลักฐานเพื่อแก้ไขงานจากฉบับเดิม หรื อบางทีอาจเป็ นการแทรกทัศนะ
ของผูเ้ ขียนเพิ่มเติมจากต้นฉบับ, ผูว้ จิ ยั .
19

หลักฐานและการใช้หลักฐานที่ มีความหลากหลาย อี กทั้งยังทรงเปิ ดกว้างทางความคิ ด ดังที่ ทรงยํ้า


ในพระนิ พนธ์คาํ นําในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาความว่า “ข้าพเจ้าเป็ นแต่ผูศ้ ึกษา
พงศาวดารคนหนึ่ง จะรู ้เรื่ องถ้วนถี่รอบคอบหรื อรู ้ถูกต้องไปหมดไม่ได้”27 วิธีการศึกษาค้นคว้างานทาง
ประวัติศาสตร์ ของ สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุ ภาพ ได้รับอิทธิ พลตามแบบตะวันตกทําให้งาน
มีความก้าวหน้าไปจากรู ปแบบเดิมที่ยดึ จารี ตมานาน
แม้ว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ ตามวิธีของตะวันตกจะมีอิทธิ พลต่องานพระนิ พนธ์ของ
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดํารงราชานุ ภาพ ทั้งในการตรวจสอบหลักฐานและการใช้หลักฐานต่ าง ๆ
ประกอบงานพระนิ พนธ์ แต่ดว้ ยข้อจํากัดบางประการของสังคมในขณะนั้นเป็ นเหตุสาํ คัญให้งาน

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
พระนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์ ของพระองค์มิใช่ขอ้ เท็จจริ งทั้งหมด ทรงเลือกวิธีการนําเสนอความคิด

ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมทางความคิดของสังคมไทย 28 สิ่ งหนึ่ งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือทรงมีส่วน
ซ่ อนเร้ นความจริ งทางประวัติศาสตร์ ที่อาจมีผลกระทบต่อเสถียรภาพของกษัตริ ยแ์ ละพระราชวงศ์
รวมทั้งผลประโยชน์บางประการ 29 นอกจากนี้ไม่ว่าโดยเจตนาหรื อไม่ก็ตาม พระองค์ได้มีส่วนสร้าง
ประวัติศาสตร์ ที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริ ง เมื่ อมี การตรวจสอบค้น คว้าในภายหลัง เช่ น กรณี เมื องเก่ า
ของพระเจ้าอู่ทองที่ สุพรรณบุ รี กรณี คนไทยอพยพมาจากจี น และอาณาจักรน่ านเจ้าเป็ นอาณาจักร
ของคนไทย ด้วยจุ ดมุ่งหมายในการสร้ างความเป็ นชาติที่มีประวัติอนั ยาวนาน เพื่อสนองนโยบาย
ในการสร้างรัฐชาติ
ข้อจํากัดของงานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของ สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุ ภาพ
เกิดจากปั จจัยภายในและภายนอกที่กาํ ลังสั่นคลอนสถาบันกษัตริ ย ์ ไม่ว่าจะเป็ นการท้าทายพระราชอํานาจ
ของพระมหากษัตริ ยจ์ ากบรรดาขุนนางผูใ้ หญ่ ภัยจากลัทธิ อาณานิคมของชาติตะวันตก กลายเป็ นบริ บท
และเหตุผลที่เป็ นข้อจํากัดสําคัญของงานพระนิ พนธ์ทางประวัติศาสตร์ ของ สมเด็จฯ กรมพระยาดํารง
ราชานุ ภ าพ ที่ น อกจากจะสะท้อ นอัต ลัก ษณ์ ข องพัฒ นาการงานพระนิ พ นธ์ ต ามแบบสมัย ใหม่
ในขณะเดียวกันก็พยายามคงไว้ซ่ ึงเสถียรภาพของชาติและรักษาสถาบันกษัตริ ยไ์ ปพร้อม ๆ กัน
ความจํา เป็ นและบริ บททางสั ง คมที่ ส่ ง ผลต่ อการสร้ างประวัติ ศาสตร์ ของ สมเด็ จ ฯ
กรมพระยาดํารงราชานุ ภาพ สอดคล้องกับความต้องการแห่ งชาติในการเป็ นต้นแบบทางความคิด
และความเข้าใจเกี่ ย วกับรั ฐให้กับประชาชนในสั งคมไทย จึ งทําให้พระนิ พนธ์ ทางประวัติศาสตร์

27
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา, เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 10 (กรุ งเทพฯ : สํานักวรรณกรรม
และประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2548) , คํานํา.
28
สายชล สัตยานุ รักษ์, สมเด็จฯกรมพระยาดํารงราชานุ ภาพ การสร้างอัตลักษณ์ “เมืองไทย” และ “ชั้น”
ของชาวสยาม (กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์มติชน, 2546), 18.
29
ยุพา ชุมจันทร์, “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย พ.ศ. 2475 – 2516”, 41.
20

ของพระองค์กลายมาเป็ นเนื้ อหาและข้อสรุ ปที่ รัฐบาลกําหนดไว้ในหลักสู ตรการศึกษาและเป็ นการ


กําหนดกรอบความรู ้ของคนไทย 30 ในยุคต่อมา
กล่าวได้ว่า สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุ ภาพ เป็ นปั ญญาชนรุ่ นแรก ๆ ที่ทาํ การศึกษา
ประวัติศาสตร์ อย่า งจริ ง จัง และเป็ นระบบ นอกจากจะมี เอกลัก ษณ์ ใ นการเขี ย นประวัติศาสตร์
ที่โดดเด่นแล้ว พระนิ พนธ์ของพระองค์ยงั เป็ นต้นแบบให้กบั คนในสมัยต่อ ๆ มา ทําให้มีการตีพิมพ์
พระนิ พนธ์ซ้ าํ แล้วซํ้าอีก31 งานเขียนของพระองค์แม้จะมีความก้าวหน้าในการค้นคว้าและตรวจสอบ
หลักฐานแต่ยงั คงไว้ซ่ ึงอคติแบบไทย ที่เทิดทูนกลุ่มชนชั้นสู งและยึดหลักไทยที่เป็ นไท 32 จนมีการจัด
สกุลสังกัดนักประวัติศาสตร์ที่มีแนวอนุรักษ์นิยมไว้วา่ สกุลดํารงราชานุภาพ33 ซึ่ งมีแนวทางการเขียน

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ประวัติศาสตร์ แบบรัฐชาติ ที่เน้นความเป็ นศูนย์กลางของสถาบัน งานเขียนในยุคต่อ ๆ มาเป็ นการ

สื บทอดแนวความคิดที่ เป็ นไปอย่างต่ อเนื่ อง ไม่ขาดตอนจาก “กรอบ” ที่ สมเด็จฯ กรมพระยาดํารง
ราชานุ ภาพ ทรงเริ่ มวางโดยการ “กําหนด” ขอบเขตความเป็ นชาติที่มีดินแดนอันแน่นอน งานเขียน
ในช่ วงต่อมาจึ งเป็ นการอธิ บายและแสวงหาหลักฐานมาขยายความหรื ออ้างอิงถึงความเป็ นชาติ
เพิ่มมากขึ้น เพื่อขยายความจาก “ขอบเขต” ที่ทรงวางแบบแผนไว้
ปฏิ กิ ริยาโต้ตอบต่อภัยจากการล่าอาณานิ คมของตะวันตก ช่ วยสร้ างกระแสการเขียน
ประวัติศาสตร์ ไทยที่พยายามอธิ บายที่มาและความเป็ นชาติ อันเป็ นผลมาจากสํานึ กถึงความจําเป็ น
ที่จะต้องมีรัฐ ที่เป็ นเอกภาพ จนกลายเป็ นการสร้างงานเขียนประวัติศาสตร์ชาติสืบเนื่องมาอย่างยาวนาน
ความเป็ น “รัฐชาติ” อันเป็ นพื้นฐานรองรับความรู ้สึกชาตินิยมได้เกิดขึ้นแล้วในสมัยรัชกาลที่ 5 และ
ลัทธิชาตินิยมได้เริ่ มปรากฏตัวแตกหน่ออ่อนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั 34

30
ยุพา ชุมจันทร์, “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย พ.ศ. 2475 – 2516”, 42.
31
สายชล สัตยานุ รักษ์. สมเด็จฯกรมพระยาดํารงราชานุ ภาพ การสร้างอัตลักษณ์ “เมืองไทย” และ
“ชั้น” ของชาวสยาม, 18.
32
หมายถึง ทัศนะที่แสดงถึงความยิง่ ใหญ่และความเป็ นมาอันยาวนานของชนชาติไทย, ผูว้ จิ ยั .
33
ดูรายละเอียดใน กอบเกื้อ สุ วรรณทัต-เพียร, “การศึกษาประวัติศาสตร์ ของสกุลดํารงราชานุ ภาพ,”
อักษรศาสตร์ พิจารณ์ 6,2 (พฤศจิกายน 2517) ; และ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, “สกุลประวัติศาสตร์ : แสงสว่างในความมืด,”
ศิลปวัฒนธรรม 6,1 (พฤศจิกายน 2527).
34
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2475 : การปฏิวตั ิของสยาม 1932 Revolution in Siam, พิมพ์ครั้ งที่ 2
(กรุ งเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ , 2543), 38.
21

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

ภาพที่ 3 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ ัว กษัตริ ยผ์ ซู ้ ่ ึ งนําอัจฉริ ยภาพด้านอักษรศาสตร์
มาเป็ นเครื่ องมือในการสร้างนิยามรักชาติไทย
ที่มา : รัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสเมืองพิชยั [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2554. เข้าถึงได้จาก
http://aksara-home.blogspot.com/2011/10/6.html

แม้มิได้ตกเป็ นอาณานิ คมโดยตรง แต่ไทยก็ถูกคุกคามโดยลัทธิ อาณานิ คม และนับแต่


สนธิ สัญญาบาวริ่ ง ไทยก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิ พลทางเศรษฐกิ จของตะวันตกเรื่ อยมา อี กทั้งการถูก
เหยียดหยามทางวัฒนธรรมในเรื่ อง ผิวขาว – ผิวเหลือง35 ล้วนแล้วแต่มีส่วนกระตุน้ ให้เกิดลัทธิชาตินิยม
ในสั งคมไทย ดัง นั้น เพื่ อ ให้เ ป็ นที่ ยอมรั บจากประเทศตะวันตก พระบาทสมเด็ จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยูห่ วั ทรงนําไทยเข้าสู่ ความเป็ นอารยประเทศหลายด้านดังนี้ คือ นําประเทศเข้าร่ วมรบสงครามโลก
ครั้งที่ 1 ส่ งเสริ มให้คนไทยมีวิถีชีวิตที่ทนั สมัยแบบตะวันตก เช่ น ให้ความสําคัญแก่สตรี มากขึ้น
มีนามสกุล ธงไตรรงค์ และที่สาํ คัญที่สุดคือทรงเน้นยํ้าว่าคนทันสมัยต้องมีสาํ นึ กในความเป็ นชาติ
เห็ นแก่ ประโยชน์ ส่ วนรวมไม่ เห็ นแต่ ประโยชน์ ส่วนตน 36 ทรงสร้ างนิ ยาม “หลักไทย” ขึ้ น ใหม่
ที่ประกอบด้วย “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริ ย”์ อันได้อิทธิพลมาจากอังกฤษในเรื่ องของ God, King

35
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2475 : การปฏิวตั ิของสยาม 1932 Revolution in Siam, 38.
36
มลิ ว ัล ย์ แตงแก้ว ฟ้ า, สองศตวรรษบนเส้ น ทางการเมื อ งไทย (นครปฐม : คณะอัก ษรศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม, 2547), 91.
22

and Country หรื อจากระบอบของรัสเซี ยในสมัยพระเจ้าซาร์ 37 การจงรักภักดีต่อสถาบันทั้งสามนี้


จะทําให้ดาํ รงความเป็ นไทยไว้ได้ตลอดไป 38
ด้วยความจริ งที่ ว่ าการปลู กจิ ตสํานึ กชาติ นิ ยม เป็ นเรื่ องที่ ท าํ ได้ยากในเมื องที่ ไม่ เคย
ตกเป็ นเมืองขึ้นของใคร ด้วยเหตุน้ ี รัชกาลที่ 6 จึงทรงใช้ชาวจีนที่อพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทย
และค้าขายจนมีอิทธิ พลทางเศรษฐกิจเหนื อกว่าคนไทย เป็ นตัวกระตุน้ ให้คนไทยเกิดความรู ้สึกร่ วมรัก
ชาติ ผ่านบทพระราชนิ พนธ์เรื่ องต่าง ๆ เช่น ยิวแห่ งบูรพทิศ, โคลนติดล้อ, เมืองไทยจงตื่นเถิด และ
พระร่ วง เป็ นต้น บทพระราชนิ พนธ์เ หล่ านี้ ล้ว นแล้ว แต่ สะท้อนพระราชประสงค์ใ นการสร้ าง
ความรู ้ สึ ก เป็ นอัน หนึ่ ง อัน เดี ย วกัน ให้ เ กิ ด แก่ ค นในสั ง คมไทยโดยมี จุ ด ศู น ย์ก ลางอยู่ที่ ส ถาบัน
พระมหากษัตริ ย ์
ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

ทศวรรษ 1930 (2470) ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ได้เขียนหนังสื อเรื่ อง
“หลักไทย” ตี พิมพ์ในค.ศ. 1928 (พ.ศ. 2471) งานชิ้ นดังกล่าว อาศัยแนวคิดของนักวิชาการ
ต่างประเทศสองคน คือ วิลเลี่ยม คลิฟตัน ดอตด์ (William Clifton Dodd) ในงานเรื่ อง The Tai Race
: The Elder Brother of the Chinese ค.ศ. 1909 (พ.ศ. 2452) และ W.A.R. Wood ในงานเรื่ อง
A History of Siam ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2467) แล้วนํามาขยายความ39
งานเขียนเรื่ อง “หลักไทย” ของขุนวิจิตรมาตรานั้นจัดเป็ นตัวอย่างของการสร้างความรู ้สึก
ชาตินิยมในงานเขียนทางประวัติศาสตร์ชาติ ด้วยความพยายามสร้างความรู ้สึกชาตินิยมให้กบั สังคม
โดยการประกาศเน้นยํ้าให้คนไทยได้ตระหนักถึงความยิง่ ใหญ่อนั ยาวนานของชนชาติไทย ดังความว่า
ไทยสื บเชื้อสายมาแต่เชื้อชาติมองโกล อันถือเป็ นชนเผ่าเก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งถิ่นฐานอยูท่ ี่บริ เวณ
เทือกเขาอัลไต และระยะต่อมาก็พฒั นาขึ้นเป็ นชุมชนเกษตรกรรมอยูท่ ี่บริ เวณลุ่มแม่น้ าํ เหลือง (ฮวงโห)
กับลุ่มนํ้ายังจื๊อ (ยางจีเคียง) เกิดเป็ นนครรัฐที่สาํ คัญ 3 นครรัฐคือ นครลุง นครปา นครเงี้ยว อันแสดง
ถึงวิวฒั นาการเป็ นชุมชนจากเดิมเป็ นเพียงพวกเร่ ร่อน ซึ่งถือว่าความรุ่ งเรื องจัดอยูใ่ นยุคสมัยเดียวกับ
อารยธรรมลุ่มนํ้าไนล์ ในขณะที่คนไทยพัฒนาความเจริ ญก้าวหน้าขึ้นเป็ นชุมชนแล้ว คนจีนยังคงล้า
หลังเป็ นเพียงพวกชุมชนเร่ ร่อน ชาติไทยเป็ นผูว้ างรากฐานความเจริ ญลงในลุ่มนํ้าเหลืองรุ่ งเรื องมาแต่
ดึกดําบรรพ์ ภายหลังชาติจีนจึงได้บุกรุ กมาเบียดเบียนชาติไทย จนจีนได้ปกครองลุ่มนํ้าเหลือง และ
ดําเนินตามรอยความเจริ ญแห่งชาติไทยซึ่งเป็ นเจ้าของมาแต่เดิม โดยเหตุน้ ีชาวจีนจึงยกย่องชาติไทยโดย

37
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2475 : การปฏิวตั ิของสยาม 1932 Revolution in Siam, 38.
38
David K. Wyatt, Politics of Reform : Education in the Reign of King Chulalongkorn (Bangkok :
Thai Watanapanich, 1969), 229.
39
ยุพา ชุมจันทร์ , “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย พ.ศ. 2475 – 2516”, 84.
23

ขนานนามตามสมญาเดียวกับที่ยกย่องเรี ยกพระมหากษัตริ ยข์ องจีนเอง ว่าชาติ “ไต๋ ” หรื อ “ไต” หรื อ


“ไท” เพราะเป็ นชาติใหญ่อย่างที่เรี ยกกันว่ามหาอํานาจ40

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

ภาพที่ 4 ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) เจ้าของหนังสื อเรื่ อง “หลักไทย”


ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุ กรมเสรี , ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ
19 มีนาคม 2554. เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%29

ความสําคัญของหนังสื อ “หลักไทย” อยู่ที่สามารถขยายระยะเวลาแห่ งประวัติศาสตร์


ของไทยให้เก่าแก่ข้ ึนไปถึงอาณาจักรไทยมุง คือราว 4500 ปี ก่อนพุทธกาล โดยใช้สถาบันชาติ ศาสนา
และพระมหากษัตริ ยเ์ ป็ นแกนในการดําเนินเรื่ อง และสถาบันทั้ง 3 นี้เองคือ หลักไทย41 ในช่วงเวลานั้น
นอกจากนี้ รางวัลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาประชาธิ ปก พระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และประกาศนี ยบัตรวรรณคดี ของราชบัณฑิตสภาใน ค.ศ.1928 (พ.ศ. 2471) 42
ที่ได้พระราชทานรางวัลแก่หนังสื อเล่มนี้ คงจะช่วยเป็ นเครื่ องยืนยันถึงความสําเร็ จของ “หลักไทย”
ที่สามารถบรรลุอุดมการณ์สําคัญของการเป็ นหนึ่ งในเครื่ องมือ “การสร้างชาติ” ทําหน้าที่กล่าวยํ้า
ความยิง่ ใหญ่ของชาติและเชิดชูสถาบันกษัตริ ยซ์ ่ ึ งขณะนั้นกําลังเผชิญกับการท้าทายจากการขัดแย้ง

40
ขุนวิจิตรมาตรา, หลักไทย, พิมพ์ครั้งที่ 7 (พระนคร : รวมสาส์น, 2518), 3-20.
41
สมเกียรติ วันทะนะ, “สองศตวรรษของรัฐและประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย,”, 163.
42
ขุนวิจิตรมาตรา, หลักไทย, คํานํา.
24

ทางความคิดการเมืองของ “ผูน้ าํ ระบอบเก่า” กับ “ผูน้ าํ ระบอบใหม่” 43 จนส่ งผลให้หนังสื อเล่มนี้ เป็ น
หนัง สื อ ประวัติ ศ าสตร์ ที่ ไ ด้รั บ เลื อ กจากคณะกรรมการของราชบัณ ฑิ ต ยสภาให้ไ ด้รั บ รางวัล
พระราชทานรางวัลและยังเป็ นการสื บทอดแนวทางการเขียนประวัติศาสตร์ ที่เน้นความเป็ นศูนย์กลาง
ของชาติภายใต้ร่มพระเศวตรฉัตรให้คู่กบั สังคมไทย
การแสดงความคิดชาตินิยมที่เน้นสถาบันกษัตริ ยเ์ ป็ นจุดศูนย์กลาง เริ่ มลดความสําคัญลง
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 1932 (พ.ศ. 2475) ผูน้ าํ กลุ่มใหม่ตระหนักในความสําคัญของการสร้าง
จิตสํานึ กใหม่ เพื่อรองรับศูนย์อาํ นาจที่เปลี่ยนแปลงไป กระบวนการสร้างศรัทธาและความชอบธรรม
ของกลุ่มผูน้ าํ ใหม่ถูกเน้นผ่านระบบการศึกษาและการสื่ อสารทุกรู ปแบบ ตัวอย่างของอดีตอันเกรี ยงไกร

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
แห่งชาติ นับแต่ก่อร่ างสร้างตัวได้รับการผูกโยงกับผูน้ าํ ที่เข้มแข็ง ผ่าน ๆ มาจนยุคสมัยการเปลี่ยนแปลง

การปกครองที่เน้นผูน้ าํ แบบทหาร เช่ น จอมพล ป. พิบูลสงคราม และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ 44
ซึ่งก็ยงั คงเป็ นผูน้ าํ ที่เข้มแข็งดังเดิม
โครงเรื่ อ งประวัติ ศ าสตร์ ช าติ ไ ม่ ไ ด้ผูก ติ ด อยู่ เ ฉพาะกษัต ริ ย ์แ ละราชวงศ์อี ก ต่ อ ไป
แต่กระจายลงไปในกลุ่มปั ญญาชนและข้าราชการ เค้าโครงเรื่ องประวัติศาสตร์ ชาติที่ให้ความสําคัญ
ในเรื่ องถิ่นกําเนิ ดและการอพยพของชนชาติไทยไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลง การสื บทอดแนวความคิด
ของ สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุ ภาพยังคงเกิ ดขึ้นอย่างต่อเนื่ อง เพียงแต่เปลี่ยนจุดศูนย์กลาง
แห่ งประวัติศาสตร์ จากการเน้นเอกภาพภายใต้ก ษัตริ ยแ์ ละเมื องหลวง มาเป็ นความรุ่ งเรื องและ
ความยิง่ ใหญ่อย่างต่อเนื่องของรัฐไทย 45
นอกไปจากการเขียนถึงความยิ่งใหญ่ของชาติไทยแล้ว ยังมีความพยายามอ้างความเป็ น
เจ้าของสิ่ งต่าง ๆ ในแหลมอินโดจีน ขึ้นไปจนถึงบริ เวณที่เชื่ อว่าเป็ นถิ่นฐานของไทยในจีน ว่าเป็ นของ
ชนชาติไทยไปเสี ยทั้งหมด46 นโยบายของรัฐบาล หรื ออาจจะกล่าวได้ว่าอิทธิ พลจากกระแสการเมือง
ของโลกก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ทาํ ให้ความรู ้สึกชาตินิยมคุกรุ่ นเป็ นวงกว้าง ส่ งผลต่อการ

43
“ผูน้ าํ ระบอบเก่า” คือกลุ่มคนที่สืบเชื้ อสายจากราชวงศ์หรื อขุนนางระดับสู ง มีอาํ นาจหน้าที่ในการ
บริ หารประเทศหรื อเป็ นข้าราชการโดยผ่านระบบอุปถัมภ์ “ผูน้ าํ ระบอบใหม่” คือ กลุ่มคนที่ได้รับการศึกษาจาก
ต่างประเทศและเห็ นการเปลี่ยนแปลงทางการเมื องในประเทศต่าง ๆ และไม่พอใจกับระบบอุปถัมภ์ของไทย
ที่ปิดกั้นโอกาสชนชั้นกลาง, ผูว้ ิจยั . การขัดแย้งทางความคิดการเมืองของสองกลุ่ม เป็ นหนึ่ งในสาเหตุของการ
เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ดูรายละเอียดใน, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2475 : การปฏิวตั ิของสยาม 1932
Revolution in Siam, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุ งเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ , 2543).
44
ราม วัชรประดิษฐ์, “พัฒนาการของประวัติศาสตร์ ชาติในประเทศไทย พ.ศ. 2411-2478”, 101.
45
ยุพา ชุมจันทร์ , “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย พ.ศ. 2475 – 2516”, 83.
46
เรื่ องเดียวกัน, 87.
25

เขียนประวัติศาสตร์ไทยจากที่ก่อนหน้านี้เน้นศูนย์กลางของความเป็ นชาติ มาสู่ การเขียนประวัติศาสตร์


ชาตินิยมและกระแสนี้จะถึงจุดสู งสุ ดในสมัยรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
นับแต่ ค.ศ. 1938 (พ.ศ. 2481) เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นกุมอํานาจทางการเมืองนั้น
ได้เกิดยุค “เชื่อผูน้ าํ ชาติพน้ ภัย” เพื่อสร้างฐานพลังการเมืองที่มนั่ คงให้แก่ผนู ้ าํ ชาติกลุ่มใหม่ที่พยายาม
ลดค่านิ ยมของสถาบันพระมหากษัตริ ยใ์ นสายตาของสามัญชนไทย 47 ประวัติศาสตร์ ชาตินิยมแบบ
เน้นผูน้ าํ จึงทวีบทบาทพัฒนาอย่างเห็นได้ชดั เกิดเป็ นประวัติศาสตร์ ความคิดที่ผลิตออกมาในรู ปแบบ
เกี่ ยวกับรัฐชาติโดยเน้นความสําคัญของชาติไทยว่า การที่ชาติจะเข้มแข็งและยิ่งใหญ่ได้น้ นั ต้องมี
ผูน้ าํ ที่มีความสามารถเพื่อนําพาประเทศสู่ ความยิง่ ใหญ่

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
แนวโน้ม การค้น คว้า เพื่ ออธิ บายเรื่ อ งของชาติ ไ ทยที่ ย งั คงยืน ยัน ถึ ง ความเกรี ย งไกร

อันยาวนานนั้น ยังคงผลิ ตออกมาอย่างต่ อเนื่ อง “เรื่ องของชาติ ไทย” โดยพระยาอนุ มานราชธน
ใน ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2483) เป็ นอีกงานหนึ่งที่ผลิตออกมาเพื่อกล่าวถึงความเป็ นมาและความรุ่ งเรื อง
อันยาวนานของชนชาติไทยนับแต่อยูใ่ นจีน หนังสื อใช้ตาํ นานหรื อหลักพื้นเมืองเป็ นข้อมูลในการเขียน
นับว่าเป็ นการศึกษาตํานานที่สาํ คัญอีกชิ้นหนึ่ งในประวัติศาสตร์ นิพนธ์ไทย 48 “เรื่ องของชาติไทย”
เล่าถึงแผ่นดินผืนใหญ่ที่ “เป็ นของไทย” อันประกอบด้วยล้านนาไทยตอนเหนื อแถวเชียงแสน แผ่นดิน
ตอนใต้ของยูนนาน ซึ่ งรวมแคว้นสิ บสองปั นนาเข้าด้วยแคว้นฉานใต้ แคว้นสิ บสองจุ ไทย และ
หลวงพระบางสําหรั บเมื องแรกที่ มาสร้ างนั้น อยู่ใ นอาณาจัก รล้านนา ซึ่ ง ถื อ เป็ นอาณาจัก รแรก
ของไทยในดินแดนประเทศไทย 49
เป็ นไปไม่ ได้เลยที่ เมื่ อศึ กษางานเขี ยนประวัติ ศาสตร์ แบบชาติ นิ ยมแล้วจะไม่ กล่ าวถึ ง
หลวงวิจิตรวาทการ ผูท้ ี่มีแนวคิดชาตินิยมเด่นชัด เข้ากันได้ดีกบั การสร้างชาติไทยให้เป็ นมหาอํานาจ
ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และบูรณาการชาติของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
“ข้าพเจ้าเป็ นชาตินิยมจริ ง ๆ ข้าพเจ้าเป็ นชาตินิยมมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ยังเป็ น
ชาตินิยมเมื่อถูกจับขังฟ้ องร้องในตอนสิ้ นสุ ดสงครามโลกครั้งที่ 2 และยังเป็ นชาตินิยมอยูม่ าจนถึง
ทุกวันนี้ ไม่มีโทษทัณฑ์หรื อวิถีทางใด ๆ จะมาเปลี่ยนข้าพเจ้าเป็ นอย่างอื่นนอกจากชาตินิยมได้” 50

47
กอบเกื้อ สุ วรรณทัต-เพียร, “การเขียนประวัติศาสตร์ แบบชาตินิยม : พิจารณาหลวงวิจิตรวาทการ,”
วารสารธรรมศาสตร์ 6,1 (2519) : 152.
48
นิ ธิ เอียวศรี วงศ์, “200 ปี ของการศึกษาประวัติศาสตร์ ไทยและทางข้างหน้า,” ศิลปวัฒนธรรม 7,4
(กุมภาพันธ์ 2529) : 115.
49
เสถียรโกเศศ, เรื่ องของชาติไทย (ธนบุรี : บรรณาคาร, 2515), 229-235.
50
หลวงวิจิตรวาทการ, รวมปาฐกถา (กรุ งเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, 2504), 233 กล่าวถึงใน ราม
วัชรประดิษฐ์, “พัฒนาการของประวัติศาสตร์ชาติในประเทศไทย พ.ศ. 2411-2478”, 203.
26

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

ภาพที่ 5 หลวงวิจิตรวาทการ นักประวัติศาสตร์ชาตินิยมคนสําคัญ
ที่มา : ประวัติและผลงานของพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2554.
เข้าถึงได้จาก http://www.thaidances.com/vijitvatakran/index1.asp

ความคิดชาตินิยมรุ นแรงของ หลวงวิจิตรวาทการ นั้น พิจารณาได้จากการแสดงความคิด


ที่ปรากฏในเนื้ อหาทั้งที่เป็ นงานเขียน การบรรยาย บทละคร และบทเพลง ซึ่งล้วนแต่สะท้อนถึงความ
เป็ นชาติในทัศนคติของหลวงวิจิตรวาทการ งานเขียนของท่านเป็ นการกําหนดความเป็ นคนไทยที่ดี
ให้ภาพชัดเจนในการยึดเป็ นหลักปฏิบตั ิ หลวงวิจิตรวาทการ ถือเป็ นตัวแทนสมบูรณ์แบบของผูผ้ ลิต
ประวัติศาสตร์ ชาติ นิยมที่ พ ฒ ั นาไปจนถึ งระดับรุ นแรง เป็ นผูป้ ลูก หน่ อแห่ ง ความรู ้ สึก ชาติ นิ ย ม
สมกับที่ได้รับมอบหมายจากท่านผูน้ าํ ให้กระทําการ “ปลูกต้นรักชาติในหมู่ประชาชน” 51
โดยทัว่ ไปงานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของหลวงวิจิตรวาทการก่อน ค.ศ.1932 (พ.ศ. 2475)
มักจะถูกพิจารณาทํานองว่า “...ท่านว่าตาม สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงฯ ในเรื่ องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
ไทยทุกเรื่ อง...” 52 ซึ่ งแม้แต่ตวั หลวงวิจิตรวาทการ เองก็ยอมรับว่าการเขียนนั้นตน “ก็อปปี้ ” มาจาก
พระนิ พนธ์ของ สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงฯ 53 แต่ ห ากพิจ ารณาแล้ว จะพบว่า การเสนอภาพทาง
ประวัติศาสตร์ ของหลวงวิจิตรวาทการวางอยู่บนพื้นฐานความรู ้ สึกชาตินิยมที่เปลี่ยนแปลงตาม

51
ยุพา ชุมจันทร์, “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย พ.ศ. 2475 – 2516”, 106.
52
อัจฉราพร กมุทพิสมัย, “แนวการเขียนประวัติศาสตร์ ของหลวงวิจิตรวาทการ,” ใน ประวัติศาสตร์
และนักประวัติศาสตร์ ไทย, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุ ชาติ สวัสดิ์ศรี , บรรณาธิ การ (กรุ งเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเฌศ ,
2519), 270.
53
หลวงวิจิตรวาทการ, ประวัติศาสตร์สากล, เล่ม 1 (พระนคร : โรงพิมพ์วริ ิ ยานุภาพ, 2473), คํานํา.
27

กระแสทางสังคม กล่าวคือนําประวัติศาสตร์ มาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการหรื อกระแสสังคม


และการเมืองในเวลานั้น ๆ
ในทศวรรษ 1940 (2480) งานประวัติศาสตร์ ของหลวงวิจิตรวาทการจะเน้นความยิง่ ใหญ่
ของชาติ และตัวผูน้ ํา แต่ในทศวรรษ 1960 (2500) เมื่ อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรั ชต์ ขึ้ นสู่ อาํ นาจ
ประวัติ ศาสตร์ ของ หลวงวิ จิ ตรวาทการ กลับเน้นถึ งความรั กชาติ ที่ วางอยู่บนพื้ นฐานของความ
จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริ ยแ์ ละการต่อต้านคอมมิวนิ สต์54 การเขียนงานทางประวัติศาสตร์ ชาตินิยม
ของ หลวงวิจิตรวาทการ นั้นแปรเปลี่ยนตามกระแสสังคม แม้ว่าจะอิงข้อมูลจาก สมเด็จฯ กรมพระยา
ดํารงราชานุ ภาพ แต่ตอ้ งยอมรับว่าความรู ้สึกชาตินิยมของ หลวงวิจิตรวาทการ กลับอิงตามสภาวะ

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ทางการเมืองเป็ นสําคัญ การสร้าง “ความเป็ นไทย” ของหลวงวิจิตรวาทการเป็ นไปในรู ปแบบของ

การค้นหาและจรรโลง “ความเป็ นไทย” อันดีงามที่เคยมีมาในอดีต 55
พัฒนาการของการเขียนประวัติศาสตร์ 56 นั้นมีจุดมุ่งหมายของการผลิตแตกต่างกันไป
ตามวาระของเหตุการณ์ ในแต่ละช่ วงเวลา บริ บทแวดล้อมทางสังคมไทยมี อิทธิ พลสําคัญต่อรู ปแบบ
งานเขียนทางประวัติศาสตร์ และนี้เองที่ทาํ ให้ประวัติศาสตร์ นิพนธ์แบบพงศาวดารที่นิยมมาต้องปรับ
รู ปแบบสู่ การนิ พนธ์ประวัติศาสตร์ แบบพงศาวดารใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับความจําเป็ นที่เกิ ดขึ้น
ในขณะนั้น ซึ่ งการนิ พนธ์ประวัติศาสตร์ ในรู ปแบบของประวัติศาสตร์ นิพนธ์แบบพงศาวดารใหม่
ที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกนี้ เป็ นฐานสําคัญของงานเขียนทางประวัติศาสตร์ ที่พฒั นาเข้าสู่ รูปแบบ
ของประวัติศาสตร์นิพนธ์แบบชาตินิยม ที่เป็ นกระแสหลักของสังคมไทยจนปั จจุบนั
1.2 พัฒนาการของงานเขียนประวัติศาสตร์ ไทยช่ วงสมัยการสร้ างชาติ
สําหรับหัวข้อวิจยั นี้ได้กาํ หนด “ช่วงสมัยการสร้างชาติ”โดยอาศัยรู ปแบบและวัตถุประสงค์
ของงานเขียนทางประวัติศาสตร์เป็ นตัวกําหนดสําคัญ จึงแบ่งระยะเวลาของงานเขียนจากช่วงการผลิต
ประวัติศาสตร์ นิพนธ์แบบพงศาวดารสมัยใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึง การผลิตงานเขียนทาง
ประวัติศาสตร์แบบชาตินิยม (ค.ศ.1932 (พ.ศ. 2475) – สงครามโลกครั้งที่ 2)

54
ยุพา ชุมจันทร์, “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย พ.ศ. 2475 – 2516”, 112.
55
สายชล สั ต ยานุ รั ก ษ์, ความเปลี่ ย นแปลงในการสร้ า ง “ชาติ ไ ทย” และ “ความเป็ นไทย” โดย
หลวงวิจิตรวาทการ (กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์มติชน, 2545), 120.
56
รู ปแบบของประวัติศาสตร์ นิพนธ์ พบว่ามีจารี ตทางประวัติศาสตร์ นิพนธ์ที่แตกต่างอย่างชัดเจน
พัฒนาขึ้นมา 5 รู ปแบบ ประกอบด้วย ประวัติศาสตร์ นิพนธ์แบบพงศาวดาร, ประวัติศาสตร์ นิพนธ์แบบพงศาวดารใหม่,
ประวัติศาสตร์ นิพนธ์แบบชาตินิยม, ประวัติศาสตร์ นิพนธ์แบบมาร์ กซิ สต์ และประวัติศาสตร์ นิพนธ์แบบวิชาการ
จัดแบ่งโดยใช้การเปลี่ยนแปลงของรู ปแบบ และวัตถุประสงค์ของงานเขียนทางประวัติศาสตร์ เป็ นเกณฑ์สําคัญ,
ดูรายละเอียดใน สมเกียรติ วันทะนะ, “สองศตวรรษของรัฐและประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย,”.
28

งานเขียนประวัติศาสตร์ นิพนธ์แบบพงศาวดารสมัยใหม่ที่พบในช่วงรัชกาลที่ 5 จนถึง


ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) เป็ นการพัฒนางานเขียนทางประวัติศาสตร์ ที่เริ่ มออกจากจารี ตเดิม โดยเริ่ ม
ให้น้ าํ หนักกับการวิเคราะห์ สังเกต ตั้งคําถาม ตามหลักวิธีการแบบตะวันตก
กล่าวได้ว่างานเขียนของ สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ คือต้นแบบที่เริ่ มบุกเบิก
ทางให้กบั งานเขียนประวัติศาสตร์ นิพนธ์แบบพงศาวดารใหม่ โดยเป็ นผูเ้ ริ่ มวาง “ขอบเขต”ในการ
กําหนดความเป็ นชาติที่ยึดถือกันเป็ นต้นแบบและเป็ นส่ วนสําคัญในการคํ้ายันสถาบันหลักอันเป็ น
แกนกลางของประวัติศาสตร์นิพนธ์แบบพงศาวดารใหม่ซ่ ึงจุดมุ่งหมายในการเน้นเอกภาพและความ
สามัคคี โดยใช้สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริ ย ์ เป็ นแกนหลักในการดําเนินเรื่ อง พบเด่นชัด

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ในการวางโครงเรื่ อง “หลักไทย” ของขุนวิจิตรมาตรา งานเขียนทางประวัติศาสตร์ รูปแบบนี้ พยายาม

ก่อให้เกิดสํานึ กของการอยูร่ วมกันและความเป็ นอันหนึ่ งอันเดียวของรัฐ ก่อนที่จะพัฒนารู ปแบบ
การเขียนงานเข้าสู่ ประวัติศาสตร์นิพนธ์แบบชาตินิยม
ช่วง ค.ศ.1932 - สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็ นช่วงเวลาปรากฏงานเขียนทางประวัติศาสตร์
แบบชาตินิยม ประวัติศาสตร์ นิพนธ์ในระยะนี้ ให้ความสําคัญกับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริ ย ์ และ
รัฐธรรมนูญ และประเด็นที่ได้รับการเน้นเป็ นพิเศษจนบดบังประเด็นอื่น ๆ คือ “ชาติ” หลวงวิจิตรวาทการ
มีบทบาทโดดเด่นในการเพิ่มอรรถรสของการผลิตงานเพื่อสร้างภาพของรัฐชาตินิยมอย่างเข้มข้น
เป็ นการให้ภาพเพื่อให้คนในสังคมปฏิบตั ิตาม หลวงวิจิตรวาทการ ได้สร้างนิ ยาม “ชาติไทย” และ
“ความเป็ นไทย” อย่างจริ งจังนับแต่ทศวรรษ 1930 (2470) จนถึงกลางทศวรรษ 1960 (2500) 57
โดยพัฒนาการงานเขียนประวัติศาสตร์ของท่านให้เหมาะสมกับยุคสมัยของการเมือง
ในระยะแรกคือหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงคริ สตศักราช 1957 (พุทธศักราช
2500) ประวัติศาสตร์ของ หลวงวิจิตรวาทการ ตอบสนองนโยบายของ จอมพล ป. พิบูลสงครามโดย
การเน้นหนักถึ งความสําคัญและหน้าที่ของคนไทยที่ตอ้ งรั กชาติ และภักดี ต่อท่านผูน้ าํ และเมื่ อ
เข้าร่ วมงานกับ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ “ชาตินิยม” ของ หลวงวิจิตรวาทการ ได้พฒั นาความรักชาติ
เข้ากับการต่อต้านคอมมิวนิสต์ตามกระแสการเมืองในขณะนั้น โดยอาศัยสถานภาพทางสังคมที่ได้มา
จากตํา แหน่ ง ต่ า ง ๆ ที่ ด าํ รงอยู่ใ นขณะนั้น เป็ นเครื่ องมื อในการเผยแพร่ ความคิ ด เรื่ องชาติ นิ ย ม
ผ่านระบบการศึกษา ข้อคิดผลงานที่ตีพิมพ์และที่แสดงออกอากาศทางวิทยุกระจายเสี ยงมีผลช่วยสร้าง
สํานึกของคนไทยในเรื่ องของชาติและบทบาทที่พึงมีต่อชาติไทย 58

57
สายชล สัตยานุ รักษ์, ความเปลี่ยนแปลงในการสร้าง “ชาติไทย” และ “ความเป็ นไทย” โดยหลวง
วิจิตรวาทการ, 22.
58
ยุพา ชุมจันทร์ , “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย พ.ศ. 2475 – 2516”, 106.
29

การบรรยายปาฐกถาในสถานที่ราชการต่าง ๆ ตลอดจนการผลิตตําราเรี ยนอย่างเช่ น


หนังสื อชุด “ประวัติศาสตร์สากล” ที่ใช้เป็ นตําราในระดับอุดมศึกษานั้นถือเป็ นอุปกรณ์ที่เสริ มสร้าง
ค่านิ ยมให้แก่ลทั ธิ ชาตินิยมในหมู่เยาวชนที่มีปัญญาและโอกาสดีทางการศึกษา 59 ซึ่ งกลุ่มคนเหล่านี้
ถือเป็ นกลไกสําคัญที่จะมาเป็ นกําลังหลักของสังคม และด้วยเหตุน้ ี เองจึงกลายมาเป็ นเหตุที่ว่า แม้ว่า
การเขี ย นประวัติศ าสตร์ แ บบชาติ นิ ย มจะมี พลัง เข้ม ข้น จริ ง ๆ เพี ย งชั่ว ระยะสั้น คื อ “ประมาณ
คริ สตศักราช 1937 – 1945 (พุทธศักราช 2480 – 2488) แต่อิทธิพลที่เกิดจากงานเขียนประวัติศาสตร์
ชาติ นิยมกลับมี ส่วนอย่า งลึ กซึ้ งในการครอบงําความเข้าใจของสามัญชนเกี่ ยวกับชาติ ไทยและ
ชาติอื่น ๆ โดยเฉพาะเพื่อนบ้านอย่างมาก” 60

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

สิ่ งหนึ่ งที่ประวัติศาสตร์ ชาตินิยมได้สร้างไว้และยังคงหลงเหลือมาจนปั จจุบนั คือ การศึกษา
ประวัติศาสตร์ แบบมีอคติ เป็ นการศึกษาประวัติศาสตร์จากการมองมุมเดียว สร้างทัศนคติระหว่างไทย
กับเพื่อนร่ วมภูมิภาคที่เน้นถึงความยิ่งใหญ่ ความสําคัญ ความเหนื อกว่าในพัฒนาการทุกด้านของ
ไทย และการดูถูกเหยียดหยามชาติเพื่อนบ้านด้วยการเชิญชวนให้พิจารณาประวัติศาสตร์ ไทยและ
เพื่อนบ้านแบบบิ ดเบื อนข้อเท็จจริ ง เพื่อจรรโลงไว้ซ่ ึ งความเหนื อกว่าของไทยซึ่ งความเข้าใจผิด
เกี่ยวกับประเทศเหล่านั้นมีผลต่อมติมหาชนไทยและการดําเนินนโยบายต่างประเทศที่ผิดพลาด 61

ในแต่ละช่ วงของประวัติศาสตร์ ความต้องการและอุดมการณ์มกั แตกต่างกัน และเมื่อ


ประวัติศาสตร์ถูกมองว่าเป็ นเครื่ องมือชั้นยอดที่ช่วยสานฝันทางอุดมการณ์ของสังคม ประวัติศาสตร์
จึงจําต้องแปรสภาพตามความต้องการใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับการเป็ นเครื่ องมือที่รับใช้รัฐ
มาทุกยุคสมัย และเมื่อยุคสมัยแห่ งการสร้างชาติมาถึง ประวัติศาสตร์ จึงมีหน้าที่เป็ นเครื่ องมือในการ
ปลุ กกระแสความคิ ด และสร้ างจิ ตสํานึ กอี ก ทั้ง ปลู ก ฝั ง อุ ด มการณ์ ข องความเป็ นชาติ ใ ห้ก ับ คน
ในสังคมที่ยงั ไม่คุน้ ชิ้นกับอุดมการณ์ใหม่ของรัฐ
ตัวอย่างที่เป็ นรู ปธรรมของการใช้ประวัติศาสตร์ เป็ นเครื่ องมือต่างวาระ ต่างอุดมการณ์
ในบริ บททางสังคมที่ ผนั แปร คื อ กรณี ก ารชําระพระราชพงศาวดารกรุ งรั ต นโกสิ น ทร์ สํานวน
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุ ภาพ จากเดิมที่เจ้าพระยาทิพากรวงศ์
แต่งพระราชพงศาวดารด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อถวายการศึกษาแด่ยวุ กษัตริ ย ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดํารง
ราชานุ ภาพ ทรงชําระและทรงพระนิ พนธ์ข้ ึนใหม่ในช่วงต้นรัชกาลที่ 5 เพื่อใช้เป็ นเครื่ องมือสําคัญ

59
กอบเกื้อ สุ วรรณทัต-เพียร, “การเขียนประวัติศาสตร์ แบบชาตินิยม : พิจารณาหลวงวิจิตรวาทการ,”
วารสารธรรมศาสตร์ 6,1 (2519) : 158-159.
60
เรื่ องเดียวกัน, 163.
61
เรื่ องเดียวกัน.
30

ในการสร้างอัตลักษณ์ของ “เมืองไทย”62 ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมของรัฐ ณ ขณะนั้น เห็นชัดได้วา่


ประวัติศาสตร์ ผนั แปรภายใต้เงื่ อนไขของสังคมที่ เปลี่ยนแปลง ซึ่ งสะท้อนโอกาสทางการศึกษา
ของประชาชนทัว่ ไปและโอกาสในการปลูกฝังความเป็ นพลเมืองของชาติแบบที่รัฐต้องการ
เบน แอนเดอร์สัน นิยาม “ชาติ” ในฐานะชุมชนจินตกรรม และอธิ บายว่าการเผชิญหน้า
กับมหาอํานาจตะวันตกก่ อให้เกิ ด “สํานึ กแห่ งความเป็ นชาติ” ที่หมายถึงการก่อเกิ ดความรู ้ สึกเป็ น
อันหนึ่ งอันเดี ยวของกลุ่มสังคมภายในรัฐที่มีตวั ตนแน่ นอน 63 การที่จะทําให้คนในรัฐสัมผัสได้ถึง
สิ่ งที่เป็ นนามธรรมคือไม่มีอยู่จริ ง อย่างเรื่ องของความเป็ นชาติ รั ฐจําต้องสร้ างเรื่ อง (ประวัติศาสตร์ )
เพื่อก่อเกิ ดความรู ้สึก (ชาตินิยม) ร่ วม และเพื่อให้ผูค้ นรู ้สึกเสมือนเป็ นหนึ่ งเดี ยวกัน ประวัติศาสตร์

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
จึงเป็ นคําตอบที่ดีที่สุดสําหรับการสร้างชาติโดยปลูกสํานึกและความรู ้สึกชาตินิยมให้ผคู ้ น

นับแต่ช่วงรั ชกาลที่ 4 รั ชกาลที่ 5 เค้าโครงการเขียนงานประวัติศาสตร์ ที่เรี ยกว่า
ประวัติศาสตร์กระแสหลัก หรื อประวัติศาสตร์ “ทางการ” ก่อตัวขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้าง “รัฐชาติ”
ฉะนั้นประวัติศาสตร์ กบั การสร้างรัฐชาติจึงสัมพันธ์กนั อย่างแยกไม่ออก 64 การเขียนประวัติศาสตร์
ไทยมีพฒั นาการอย่างเป็ นลําดับตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมตลอดเวลา แต่ถึงการเปลี่ยนแปลง
แต่ละช่วงสมัยที่ผา่ นเข้ามาในสังคมจะทวีอิทธิพลมากน้อยเพียงใดก็ตาม ประวัติศาสตร์กระแสหลัก
ที่ยงั คงมีอิทธิ พลอยู่ในสังคมไทยอย่างเห็ นได้ชัดคือ การเขียนประวัติศาสตร์ ที่เน้นจุดศูนย์กลาง
ภายใต้ร่มฉัตรและความเป็ นรัฐชาติที่ก่อกระแสชาตินิยม
จะเห็ นได้ว่าพัฒนาการงานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของไทยที่เกิ ดขึ้นในช่ วงแห่ งการ
สร้ า งชาติ ของรั ฐ ล้ว นแล้ว แต่ ช้ ี ให้ เ ห็ น ที่ ม าของชนชาติ และความยิ่ ง ใหญ่ ท างเผ่า พัน ธุ์ ภ ายใต้
ร่ มพระบรมโพธิ สมภาร งานเขียนช่ วงนี้ สร้ างสํานึ กให้เราเห็ นว่า ไทย คือชนชาติโบราณที่มีความ
เป็ นมาที่ ย่ิงใหญ่ภายใต้ผูน้ าํ ที่ แข็งแกร่ งมี ปรี ชาสามารถรวบรวมไทยให้เป็ นปึ กแผ่น จนบางเวลา
แผ่อิทธิพลครองอํานาจเหนือรัฐโดยรอบ เป็ นการนําความรู ้สึก “เหนือกว่า” เข้ามาในมโนสํานึ กของ
ชาวไทย จุ ดนี้ อาจถือได้ว่าความรู ้ สึก “เหนื อกว่า” ประเทศเพื่อนบ้านให้กลายเป็ นความรู ้ สึก
ที่ถูกสร้างขึ้นท่ามกลางบรรยากาศของการสร้างชาติในช่วงเวลานั้น

62
สายชล สัตยานุ รักษ์, สมเด็จฯกรมพระยาดํารงราชานุ ภาพ การสร้างอัตลักษณ์ “เมืองไทย” และ
“ชั้น” ของชาวสยาม, 86.
63
เบน แอนเดอร์สัน, ชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกําเนิดและการแพร่ ขยายของชาตินิยม, ชาญ
วิทย์ เกษตรศิริ, บรรณาธิการแปล (กรุ งเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2552).
64
โสภา ชานะมูล, “ชาติไทย” ในทัศนะปัญญาชนหัวก้าวหน้า (กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์มติชน, 2550), 4.
31

2. งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ลาว
ลาวคืออีกหนึ่งประเทศที่ต้ งั อยูบ่ นภาคพื้นทวีปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีท้ งั พื้นฐาน
ทางภาษา วัฒนธรรมและชาติ พนั ธุ์ใกล้เคี ยงกับประเทศไทย ลาวอยู่ในกระแสความรั บรู ้ ของคน
ในสังคมไทยมายาวนานจนกลายเป็ นความคุน้ ชินในฐานะมิตรประเทศ แม้ว่าชนชาติลาวจะมีประวัติ
ความเป็ นมาควบคู่มากับชนชาติไท หากแต่เทียบกับเอกสารของฝ่ ายไทยแล้วเอกสารของลาวโบราณ
นั้นหายาก65 เพราะนับแต่รัชสมัยพระเจ้าฟ้ างุ่มสิ้ นสุ ดลง ราชอาณาจักรล้านช้างมีเหตุขดั แย้งภายใน
จนแตกออกเป็ นสามอาณาจักรในปี ค.ศ. 1698 (พ.ศ. 2201)66 อันประกอบด้วย จําปาศักดิ์ หลวงพระบาง
และเวียงจันทน์ ไม่นานจากนั้นก็ตกเป็ นประเทศราชแก่สยามใน ค.ศ.1779 (พ.ศ. 2322) 67 หัวเมือง

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ลาวฝั่งซ้ายและฝั่งขวาแม่น้ าํ โขงตกอยูใ่ ต้พระราชอํานาจของพระเจ้ากรุ งธนบุรี จนถึงปี 1893 (พ.ศ.


2436) รวมระยะเวลา 114 ปี แล้วตกเป็ นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสอีก 60 ปี ถึง ค.ศ. 1953 (พ.ศ. 2496)
แล้วตกเป็ นหัวเมืองขึ้นแบบใหม่ 68 ของจักรวรรดิ อเมริ กาอีก 22 ปี จึงถูกปลดปล่อยเป็ นเอกราช
สมบูรณ์ 69 และด้วยเหตุที่ลาวตกอยู่ใต้อาํ นาจต่างชาตินานหลายศตวรรษนี้ เอง หลักฐานตลอดจน

65
ดารารั ตน์ เมตตาริ กานนท์, “งานเขี ยนทางประวัติศาสตร์ ของลาวสมัยได้รับเอกราช ค.ศ.1945
จนถึงปัจจุบนั ,” ในโคลนไม่ติดล้อคนไม่ติดกรอบ (กรุ งเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545), 331.
66
สิ ลา วีระวงศ์, ประวัติศาสตร์ ลาว, แปลโดย สมหมาย เปรมจิตต์ (เชียงใหม่ : สถาบันวิจยั สังคม.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2535), 87.
67
เรื่ องเดียวกัน, 96.
68
จักรวรรดินิยมแบบใหม่ คือการให้ความช่วยเหลือในรู ปแบบของเงินทุนงบประมาณหรื อกองกําลัง
เสมื อนเป็ นที่ปรึ กษามีส่วนช่วยในการตัดสิ นใจหรื อวางแผนการภายในประเทศ ซึ่ งแตกต่างกับจักรวรรดิ นิยม
แบบเก่าที่จะเข้ากุมอํานาจบริ หารและการจัดการภายในเบ็ดเสร็ จ, ผูว้ ิจยั . ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกตก
อยู่ ใ นสภาวะสงครามเย็น การเมื อ งโลกแบ่ ง เป็ นสองฝ่ ายคื อ ระบบคอมมิ ว นิ ส ต์ แ ละเสรี ประชาธิ ป ไตย
สหรัฐอเมริ กามีบทบาทโดดเด่นในฐานะมหาอํานาจและตัวแทนประเทศฝ่ ายเสรี ประชาธิ ปไตย รัฐบาลอเมริ กนั
เชื่อมัน่ ในระบบการปกครองระบบเสรี ประชาธิ ปไตยและเศรษฐกิจในรู ปแบบทุนนิ ยมว่าเป็ นสิ่ งที่ดีที่สุด และถือ
เป็ นภาระที่จะนําพาแนวคิดทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจเหล่านี้เผยแผ่ไปทัว่ โลก รัฐบาลอเมริ กาเริ่ มสนับสนุน
รัฐบาลราชอาณาจักรลาวในปลาย ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) ในรู ปแบบของการสนับสนุ นด้านเงิ นทุนและ
งบประมาณต่ า ง ๆ เพื่ อ หวัง ให้ล าวเป็ นหลัก ในการต่ อ ต้า นระบบคอมมิ ว นิ ส ต์ใ นเอเชี ย ตะวัน ออกเฉี ย งใต้,
ดูรายละเอียดใน, แกรนท์ อีแวนส์ , ประวัติศาสตร์ สังเขปประเทศลาว ประเทศกลางแผ่นดินใหญ่เอเชียอาคเนย์,
แปลโดย ดุษฎี เฮย์มอนด์ (เชียงใหม่ : สํานักพิมพ์ซิลค์เวอร์ม, 2549).
69
บุนมี เทบสี เมื อง, ความเป็ นมาของชนชาติลาว เล่ม 1 การตั้งถิ่นฐานและการสถาปนาอาณาจักร,
แปลโดยไผท ภูธา (กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์สุขภาพใจ, 2553), 7.
32

เอกสารการบันทึกถึงเรื่ องราวในอดีตต่าง ๆ กว่า 90 เปอร์ เซ็นจึงสู ญหาย 70 ไปกับบรรดาเจ้าอาณานิ คม


ต่าง ๆ ที่ผลัดกันขึ้นมีอาํ นาจในลาว
เอกสารประวัติศาสตร์ ลาวจัดเป็ นเอกสารที่หาได้ยากแม้ในประเทศลาวเอง ทั้งนี้ เพราะ
ในอดีตนิ ยมการจารเอกสารลงบนใบลานซึ่ งยากต่อการเก็บรักษาจากสภาพอากาศ แมลง กาลเวลา
และสงคราม อีกทั้งการผลัดเปลี่ยนขึ้นมีอาํ นาจทางการเมืองของประเทศตะวันตกในประวัติศาสตร์
การเมืองลาวนั้น ก็เป็ นเหตุสาํ คัญที่ทาํ ให้เอกสารสําคัญต่าง ๆ ถูกละทิ้ง 71 ไม่ได้รับการดูแลอย่างที่
ควรจะเป็ น ความสัมพันธ์เชิงสงครามกับสยามก็เป็ นอีกชนวนสําคัญที่เอกสารโบราณของลาวต้อง
อันตรธานออกจากลาวไป ต่อข้อเท็จจริ งประการนี้ท่านคําเพา พอนแก้ว นักประวัติศาสตร์อาวุโสลาว

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ได้แสดงทัศนะว่า “บางตํานานเขียนไว้ในใบลาน ก็มกั เป็ นการคัดลอกขึ้นมาใหม่ซ่ ึ งข้อความบางแห่ ง

ก็ตกหล่นขาดหายไป หรื อบิดเบือนเนื้ อหาข้อความที่เป็ นจริ ง ด้วยเหตุว่า เป็ นข้อมูลที่ถูกคนชาติอื่น
ปล้นสะดมไปแล้วแก้ไขปรับปรุ งใหม่ตามอัชฌาศัยของพวกขา” 72

ตามคําบอกเล่าของเจ้าอาวาสอยู่หลวงพระบาง กองทัพสยามต้องใช้ชา้ ง 7 เชื อก เพื่อต่าง


เอกสารใบลานอันสําคัญจากเวียงจันทน์ไปยังบางกอกในปี 1827 (พ.ศ. 2370) และช้างอีก 20 กว่าเชือก
ต่างเอกสารอื่น ๆ ไปไว้เมืองยโสธร ... ทุกการบันทึกเกี่ยวกับประวัติแขวงเวียงจันทน์กไ็ ด้สูญหายไป
... ถึงอย่างใดก็ดี อาจเป็ นไปได้สาํ หรับนักค้นคว้าผูโ้ ชคดี และทั้งมีความมานะอดทนที่จะค้นพบเอกสาร
ลาวดั้งเดิมเกี่ยวกับสมัยนั้น ตามที่พวกเฮารู้จนถึงปั จจุบนั ก็มีเพียงแต่นกั ค้นคว้าสองคนที่ได้นาํ เอาแหล่ง
ดังกล่าวมาหมุนใช้คือ ผลงานค้นคว้า ของมหาสิ ลา วีระวงส์ และ มหาคํา จําปาแก้วมณี 73

สิ่ งที่เกิดขึ้นนี้ มีผลกระทบต่อช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ ลาวที่บางเหตุการณ์ถูกลืมเลือน


หรื อแม้กระทัง่ บิดเบือนไปพร้อมกับการสู ญหายของหลักฐานตลอดจนเอกสารโบราณต่าง ๆ
ช่วงเวลาประวัติศาสตร์ของลาวแทบจะเรี ยกได้วา่ อยูภ่ ายใต้ร่มเงาของต่างชาติที่ผลัดกันเข้า
มามีอาํ นาจ ดังนั้นการสร้างสํานึ กร่ วมทางชนชาติโดยใช้ประวัติศาสตร์ เป็ นเครื่ องมือ จึงเป็ นหน้าที่
เร่ งรัดอันจําเป็ นภายหลังจากที่ได้รับเอกราชคืนจากฝรั่งเศส สําหรับไทยนั้นในบริ บทของอุดมการณ์

70
Mayoury and Pheuiphanh Ngaosyvathn, “Lao Historiography and Historians: Case Study of
the War Between Bangkok and the Lao in 1827,” in Journal of Southeast Asian Studies, XX, I [March 1989] : 57.
71
Ibid.
72
บุนมี เทบสี เมือง, ความเป็ นมาของชนชาติลาว เล่ม 1 การตั้งถิ่นฐานและการสถาปนาอาณาจักร, 7.
73
มะยุรี และเผยพัน เหงาสี วฒั น์, (ม.ป.ท., 1988), 12-13. กล่าวถึงในดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์,
“งานเขียนทางประวัติศาสตร์ของลาวสมัยได้รับเอกราช ค.ศ.1945จนถึงปัจจุบนั ,”, 331.
33

ชาตินิยมไทยที่แผ่ขยายตัวอย่างกว้างขวางมีพลังอยูใ่ นระหว่างทศวรรษ 1910 – 1940 (2450-2480) 74


และในช่วงทศวรรษ 1930 -1940 (2470-2480) ลัทธิ ชาตินิยมถูกปลูกฝังอย่างมัน่ คงและเป็ นระบบ
ที่สุด 75 นั้น

ช่วงระยะนี้ เองที่ประวัติศาสตร์ “ชาติ” และต่อมา ประวัติศาสตร์ นิพนธ์แนว “ชาตินิยม” ถือ


กําเนิ ดมาในประเทศไทย และกลายเป็ นกระแสหลักของไทยอยูเ่ ป็ นเวลายาวนาน ...และเมื่อพิจารณา
อย่างพินิจพิเคราะห์ ก็จะประจักษ์ในวิธีการดําเนิ นเรื่ องราวที่ คล้ายคลึ งกันอย่างน่ าประหลาดใจ
ระหว่างหนังสื อ พงสาวะดานลาว ของมหาสิ ลา วีระวงส์ กับนักประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย 76

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
แม้ว่ า ช่ ว งแห่ ง การสร้ างชาติ ร ะหว่ างไทยกับลาวจะมี ระยะเวลาต่ างกัน แต่ ก ลับใช้

ประวัติ ศาสตร์ ใ นฐานะเครื่ อ งมื อ สํา คัญ ของการสร้ า งชาติ อ ัน เป็ นที่ ม าแห่ ง ความรู ้ สึ ก ชาติ นิ ย ม
ที่หล่อหลอมให้คนในสังคมรักแผ่นดินที่ยนื อยูเ่ ช่นเดียวกัน
2.1 พัฒนาการงานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของลาว
ในทางการเมือง ลาวเปลี่ยนระบอบการปกครองในหลายขั้วอํานาจ และยังมีช่วงเวลา
ที่ต่างชาติผลัดกันเข้ามามีอาํ นาจในลาวอย่างต่อเนื่ อง การศึกษาในหัวข้อนี้ จะศึกษาพัฒนาการของ
งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ลาว โดยจะไม่กล่าวถึงบรรยากาศทางการเมืองหรื อขั้วอํานาจต่าง ๆ
ที่ผลัดกันขึ้นมามีอิทธิพลทางการเมือง ส่ วนเรื่ องการจัดแบ่งช่วงเวลาและการจัดลําดับของงานเขียน
ทางประวัติศาสตร์ ลาวนั้นได้มีผ◌ู ◌้ทาํ วิจยั ไว้บา้ งแล้ว คือ กิติรัตน์ สี หบัณท์ และดารารัตน์ เมตตาริ กา
นนท์ โดยภาพรวมของงานค้นคว้า ทั้งสองท่านได้จดั แบ่งลําดับช่วงเวลาและพัฒนาการของงานเขียน
ทางประวัติศาสตร์ลาวออกเป็ นช่วง ๆ 77 โดยจัดลําดับตามระยะเวลา ดังนี้

74
ฉลอง สุ นทราวาณิ ชย์, “พงสาวะดานลาว ของ มหาสิ ลา วีระวงส์ ,” ใน จักรวาลวิทยา, ธเนศ วงศ์
ยานนาวา, บรรณาธิการ (กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์มติชน, 2549), 22.
75
สุ เนตร ชุตินธรานนท์ และคณะ, ทัศนคติเหยียดหยามเพื่อนบ้านผ่านแบบเรี ยน ชาตินิยมในแบบเรี ยน
ไทย (กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์มติชน, 2552), 68.
76
ฉลอง สุ นทราวาณิ ชย์, “พงสาวะดานลาว ของ มหาสิ ลา วีระวงส์,” 22.
77
ในหัวข้อนี้ จะไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดทั้งหมด จะหยิบยกภาพรวมของพัฒนาการงานเขียนทาง
ประวัติศาสตร์ ลาวและยกตัวอย่างงานสําคัญ ๆ ของแต่ละช่ วงเท่านั้น หากสนใจดูรายละเอียดเพิ่มใน กิ ติรัตน์
สี หบัณท์, “ประวัติศาสตร์ นิพนธ์ลาวสมัยใหม่ (ค.ศ. 1975 – ปั จจุบนั )” (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบณ
ั ฑิต สาขาวิชาไทศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2549) ; และ ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, “งานเขียนทางประวัติศาสตร์
ของลาวสมัยได้รับเอกราชค.ศ.1945จนถึงปัจจุบนั ,”.
34

1. งานเขียนทางประวัติศาสตร์ลาวช่วงก่อน ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488)


2. งานเขียนทางประวัติศาสตร์ลาวช่วง ค.ศ. 1945-1975 (พ.ศ. 2488 - 2518)
3. งานเขียนทางประวัติศาสตร์ลาวช่วง ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518) เป็ นต้นมา
ผูว้ ิจยั ใช้กรอบของเวลาตามที่มีผูศ้ ึกษาไว้แล้วนี้ ในการศึกษา โดยเพิ่มเติมรายละเอียด
ของเนื้อหาลงไปเพื่อความสมบูรณ์ของงานวิจยั ให้มากขึ้น
2.1.1 ประวัติศาสตร์ นิพนธ์ ลาวสมัยศักดินา
ช่ ว งแรก คื อ งานเขี ย นทางประวัติศาสตร์ ข องลาวช่ ว งก่ อน ค.ศ. 1945 เรี ย กว่า
ประวัติศาสตร์ นิพนธ์ลาวสมัยศักดินา 78 เป็ นงานเขียนที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่สมัยโบราณ

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
จนกระทัง่ ก่ อน ค.ศ. 1945 ก่ อนที่ลาวจะได้รับเอกราชจากฝรั่ งเศส จากการสํารวจงานเขี ยน


ทางประวัติศาสตร์ ของลาวในช่วงก่อนได้รับเอกราช พบว่า เหลือตกทอดมาถึงปั จจุบนั น้อยมาก 79
เนื่องจากข้อจํากัดของใบลานและการผลัดเปลี่ยนขึ้นมีอาํ นาจของบรรดาเจ้าอาณานิคมต่าง ๆ ในลาว
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผูป้ ระพันธ์ส่วนใหญ่ในยุคนี้ ได้แก่ นักปราชญ์ ราชบัณฑิตลาว พระสงฆ์
ที่มีความรู ้ ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริ ย ์ ดังนั้นประวัติศาสตร์ ที่ถูกสร้ างขึ้นจึ งเป็ นเรื่ องราวเกี่ ยวกับ
สถาบัน พระมหากษัต ริ ย ์ บทบาทของพระมหากษัต ริ ย ์ใ นการทํา นุ บ าํ รุ ง บ้า นเมื อ ง ทํา นุ บ าํ รุ ง
พระพุทธศาสนา ตลอดจนการทําสงครามเพื่อเพิ่มความมัน่ คงของอาณาจักรและการขยายดินแดน
ประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวยุคนี้ส่วนใหญ่นิยมจารเหตุการณ์ไว้ในใบลาน 80

งานเขียนของลาวในช่วงนี้ ได้แก่ ตํานานขุนบรม ราชาธิ ราช (อักษรธรรม 81) ตํานานเมื องพวน


(อักษรธรรม) พงศาวดารย่อเวียงจันทน์ (เจ้าขัตติยะเขียนไว้ในปี จ.ศ. 1091) ตํานานพระแก้วพระบาง
พระแซกคํา (อักษรธรรม) นิ ทานจันทพานิ ช (อักษรธรรม) วรรณคดีเรื่ องท้าวฮุ่ง หรื อ เจือง (อักษร
ธรรม) และกฎหมายโบราณของลาว เป็ นต้น ในงานเหล่านี้ ได้มีการแปลเป็ นภาษาลาวบางส่ วน
นอกจากนี้ ยัง มี ที่ เ กี่ ย วกับ ขุ น บรม หรื อ พงศาวดารล้า นช้า ง หรื อ ที่ ล าวใช้เ รี ย กอี ก ชื่ อ หนึ่ งคื อ

78
กิติรัตน์ สี หบัณท์, “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวสมัยใหม่ (ค.ศ. 1975 – ปัจจุบนั )”, 2.
79
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, “งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของลาวสมัยได้รับเอกราช ค.ศ.1945
จนถึงปัจจุบนั ,”, 331.
80
กิติรัตน์ สี หบัณท์, “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวสมัยใหม่ (ค.ศ. 1975 – ปัจจุบนั )”, 2.
81
อักษรธรรม หมายถึง อักษรที่มีรูปแบบคล้ายๆ อักษรเมือง ตัวเมือง หรื ออักษรลานนาไทยที่ใช้กนั
อยูใ่ นภาคเหนื อ, ธวัช ปุณโณทก, เอกสารพื้นเวียง. บันทึกประวัติศาสตร์ ของปราชญ์ชาวอีสาน, เอกสารประกอบ
การสัมมนาประวัติศาสตร์อีสาน, (16 – 18 พฤศจิกายน 2521), มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ มหาสารคาม.
35

“พื้นขุนบรม” ซึ่ งถื อ ว่าเป็ นบันทึ กประวัติศาสตร์ ที่สําคัญชิ้ นหนึ่ งในการทําความเข้าใจเกี่ ยวกับ
ประวัติศาสตร์ลาว 82

การเริ่ มทําความเข้าใจและรู ้จกั กับประวัติศาสตร์ลาวควรเริ่ มจากการศึกษา “พื้นขุนบรม


หรื อ พงศาวดารเมืองล้านช้าง”83 ซึ่งบางฉบับใช้ชื่อว่า “นิทานขุนบรม” “ตํานานขุนบรม” นอกจากนี้ ยงั
ปรากฏในชื่ ออื่น เช่ น “พื้นพระบาง” “พื้นเมืองพวนขุนบรม” “กงดินเมืองหลวงพระบางราชธานี
ศรี สัต นาคนหุ ต อุ ต มะราชธานี ล ้า นช้า ง” “ตํา นานเมื อ งหลวงพระบาง” และ“พงศาวดารเมื อ ง
หลวงพระบาง” เป็ นต้น 84 ซึ่ ง “พื้นขุนบรม” ที่คน้ พบทั้ง 39 ฉบับนี้ ถือเป็ นพงศาวดารที่เก่าแก่ที่สุด

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ของลาว 85 เขี ยนขึ้ นภายใต้ว ัฒนธรรมการเขี ยนประวัติ ศาสตร์ แ บบดั้ง เดิ ม ก่ อ นการรั บ อิ ท ธิ พ ล


ประวัติ ศ าสตร์ แ บบตะวัน ตกที่ เ น้น การให้ค วามสํา คัญ ในการค้น หาหลัก ฐานการวิ จ ารณ์ แ ละ
การตรวจหลักฐาน 86 เนื้ อหาทุกฉบับล้วนกล่าวถึงขุนบรมในฐานะต้นวงศ์แห่ งกษัตริ ยล์ าว และยัง
กล่าวถึงพระราชวงศ์ พระราชสํานัก พระราชกรณี ยกิจของกษัตริ ยใ์ นอาณาจักรล้านช้าง โดยสรุ ป
แล้วงานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของลาวในช่วงนี้ จะเน้นการเขียนเกี่ยวกับสถาบันกษัตริ ยข์ องลาว
เป็ นหลักและยึดแนวการเขียนประวัติศาสตร์แบบพงศาวดารอันได้แบบอย่างมาจากไทย 87
2.1.2 ประวัติศาสตร์ นิพนธ์ ลาวสมัยราชอาณาจักร
พัฒนาการงานเขียนทางประวัติศาสตร์ลาวช่วงที่สองคือ ค.ศ. 1945-1975 ประวัติศาสตร์
นิพนธ์ลาวสมัยราชอาณาจักร88 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวสมัยนี้ถูกสร้างขึ้นภายใต้บรรยากาศการเมือง
82
ดารารั ตน์ เมตตาริ กานนท์, “งานเขี ยนทางประวัติศาสตร์ ของลาวสมัยได้รับเอกราช ค.ศ.1945
จนถึงปัจจุบนั ,”, 331.
83
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, ประวัติศาสตร์ ลาวหลายมิติ (กรุ งเทพฯ : ด่านสุ ทธาการพิมพ์, 2548),
102.
84
นาตยา ภูศรี , “หมิงสื อลู่ในฐานะหลักฐานประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับลาว,” ใน ไผ่แตกกอ, เพชรรุ่ ง เทียน
ปิ๋ วโรจน์ และณัฐพล อยูร่ ุ่ งเรื องศักดิ์, บรรณาธิการ (กรุ งเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์, 2552), 8-9.
85
Souneth Phothisane, “The Nidan Khun Borom : Annotate Translation and Analysis,” [Ph.D.
dissertation, The University of Queensland, 1996], 29.
86
ฉลอง สุ นทราวาณิ ชย์, “ 2519, “วิวฒั นาการการเขียนประวัติศาสตร์ ไทย,” ใน ประวัติศาสตร์ และ
นักประวัติศาสตร์ ไทย (กรุ งเทพฯ : ประพันธ์สาส์น , 2519), 66 ; และ Souneth Phothisane, “The Nidan Khun
Borom: Annotate Translation and Analysis,”, 29. กล่าวถึงในกิติรัตน์ สี หบัณท์, “ประวัติศาสตร์ นิพนธ์ลาว
สมัยใหม่ (ค.ศ. 1975 – ปัจจุบนั )”, 28.
87
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, “งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของลาวสมัยได้รับเอกราชค.ศ.1945 จนถึง
ปั จจุบนั ,”, 333.
88
กิติรัตน์ สี หบัณท์, “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวสมัยใหม่ (ค.ศ. 1975 – ปัจจุบนั )”, 2.
36

การปกครองที่ลาวเพิ่งได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส เป็ นช่วงที่งานเขียนประวัติศาสตร์ และการเขียน


พงศาวดารได้กลับมามี ชีวิตอีกครั้ ง เนื่ องจากเป็ นช่ วงสร้ างชาติ 89 ความคุ กรุ่ นของแรงปรารถนา
ในการสร้ างชาติจึงเป็ นบรรยากาศหลักในการผลิตงานทางประวัติศาสตร์ ในงานเขียนของลาว
บางเล่มเรี ยกปี 1975 (พ.ศ. 2518) ว่าเป็ นปี แห่ งการเริ่ มสันติภาพ เอกราช เอกภาพและสังคมนิ ยม
และยังถือว่าเป็ นช่วงแรกระยะเปลี่ยนผ่านในการก้าวขึ้นสู่สงั คมนิยมของลาว 90
นักเขียนประวัติศาสตร์ ชาติของลาวที่สาํ คัญในยุคนี้ ได้แก่ สิ ลา วีระวงส์ คําหมั้น วงกตรัตนะ
อู่คาํ พมวงสา และยุน อ่อนพม ซึ่ งนักประวัติศาสตร์ ลาวที่มีชื่อเหล่านี้ ถือว่าเป็ นตัวแทนของการ
ปกครองระบอบราชอาณาจักร91 ในด้านเนื้อหาของงานเขียนทางประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานี้ ดารารัตน์

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก
เมตตาริ กานนท์ ได้จดั แบ่งออกเป็ น 2 ประเภท คือ
ลาง

ประเภทที่ 1 งานเขียนเกี่ยวกับประวัติบุคคลสําคัญ งานเขียนประเภทนี้ ของลาวในช่วงนี้
ยังมี ไม่ มากนัก แต่ ที่ สํา คัญ คื อ งานของท้า วอุ่ น คํา ชนะนิ ก ร หรื อ ท้า วอุ่ น ตี น เย็น ที่ เ ขี ย นเรื่ อ ง
“ความหลัง อัตชีวประวัติของท้าวอุ่น ชนะนิกร” ตีพิมพ์ครั้งแรกใน ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) แปลเป็ น
ภาษาไทยใน ค.ศ.1976 (พ.ศ. 2519) และแปลเป็ นภาษาอังกฤษโดยโครงการเอเชี ยอาคเนย์
มหาวิทยาลัยคอร์ แนลใน ค.ศ.1975 (พ.ศ. 2518) เนื้ อหาในเล่มส่ วนใหญ่เน้นการเคลื่อนไหวต่อสู ้เพื่อ
เอกราชในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งการเคลื่อนไหวในประเทศไทยและลาว งานเขียนเล่มนี้
ท้าวอุ่นตั้งจุดมุ่งหมายไว้หลายข้อที่สาํ คัญคือ

อยากให้พี่นอ้ งร่ วมชาติลาวด้วยกันได้รู้แจ้งเห็นจริ งในเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง


ของเรา ทั้งสมัยที่ อ ยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่ งเศสและสมัย ที่ ไ ด้เ อกราชแล้ว ได้รู้ ข ้อ เท็จ จริ ง
ที่เกี่ยวกับการกอบกูเ้ อกราชของบ้านเมืองลาวด้านต่าง ๆได้รู้ถึงการเคลื่อนไหวและความปั่ นป่ วนทาง
การเมื องของประเทศเรา...ในที่ สุดอยากให้อนุ ชนลูกหลานลาว ได้สํานึ กถึ งความลําบากยากแค้น
และความเสี ยสละของลาวรุ่ นก่ อ น เพื่อ กอบกู้เอกราช และเพื่อรั กษาไว้ซ่ ึ งเอกราช อธิ ปไตยและ
ดินแดนลาว92

89
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, “งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของลาวสมัยได้รับเอกราชค.ศ.1945 จนถึง
ปั จจุบนั ,”, 333.
90
เรื่ องเดียวกัน, 334.
91
กิติรัตน์ สี หบัณท์, “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวสมัยใหม่ (ค.ศ. 1975 – ปัจจุบนั )”, 2.
92
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, “งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของลาวสมัยได้รับเอกราชค.ศ.1945 จนถึง
ปั จจุบนั ,”, 335.
37

นอกจากนี้ ยังมี งานของ เจ้าคําหมั้น วงกตรั ตนะ เรื่ อง “พระราชประวัติ วงศ์ว งั หน้า
ราชตระกูลเจ้าอุปราชอุ่นแก้ว” ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) เป็ นงานที่เขียนขึ้นเพื่อ “ถวายแด่
เจ้านายในตระกูลวังหน้า” 93
ประเภทที่ 2 พงศาวดารและหนังสื อประวัติศาสตร์ พบว่าผลิตออกมามากในช่วงเวลานี้
เนื่ องจากเป็ นช่ วงเวลาหลังได้รับเอกราช ในช่ วงเวลานั้นภายในลาวเกิ ดความแตกแยกความคิด
ทางการเมืองเกิดการแบ่งขั้วอํานาจ จึงเกิดงานเขียนมากมายขึ้นเพื่อรองรับความเป็ นชาติและสร้าง
ความรู ้สึกร่ วมสนองต่อความจําเป็ นที่ตอ้ งการให้คนในชาติเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ดังนั้น ในช่วงเวลานี้ ถือเป็ นช่วงเวลาแห่ งการสร้างชาติของลาว ถือเป็ นช่วงหนึ่งที่สาํ คัญ

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ยิ่งที่นักประวัติศาสตร์ ลาวได้สร้างประวัติศาสตร์ ลาวขึ้นมาเป็ นจํานวนมาก 94 เพื่อสนองต่อความ

จํา เป็ นเร่ ง ด่ ว นในการสร้ า งชุ ด ความคิ ด ให้ก ับ คนในสั ง คมที่ เ พิ่ ง หลุ ด พ้น จากการครอบงํา ทาง
การเมืองจากต่างชาติ จึงต้องมีแกนกลางทางความคิดที่เป็ นมติแห่ งรัฐในช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่าน
ทางสังคมและการเมืองที่กาํ ลังคุกรุ่ น
งานเขี ยนชิ้ นสําคัญที่ปรากฏคือ “พงศาวดารลาว” ของมหาสิ ลา วีระวงส์ ซึ่ งถื อเป็ น
ปราชญ์คนสําคัญของลาวที่มีช่วงชีวิตผูกพันกับประเทศไทยตั้งแต่เกิดและเริ่ มต้นศึกษา เดินทางไปมา
ระหว่างไทยและลาว และที่สาํ คัญคือมีโอกาสทํางานอยูใ่ นหอสมุดแห่ งชาติของไทยซึ่ งเป็ นสถานที่
ที่ท่านได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนํามาเป็ นฐานข้อมูลในการเขียนงานสําคัญ ๆ หลายเล่มด้วยกัน
โดยเฉพาะอย่างยิง่ “พงศาวดารลาว”95
มหาสิ ลา วีระวงส์ ใช้ชีวิตอยูใ่ นประเทศไทย ทั้งขณะบวชเรี ยน และช่วงที่ล้ ีภยั ทางการเมือง
กลับมาในประเทศไทยช่ วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีส่วนที่ได้รับอิทธิ พลทางความคิดจากงาน
วิชาการไทยจึงทําให้ “ประเพณี และวิถีชีวิตของลาวที่หนองแส ที่ปรากฏในหนังสื อ พงสาวะดานลาว นั้น
ดูเหมือนว่าจะหยิบยืมมาจากเรื่ องเดี ยวกันในงานเขียนของเสฐี ยรโกเศศและอันที่จริ งกล่าวได้ว่า
ประวัติศาสตร์ก่อนหน้าสมัยอาณาจักรล้านช้างในหนังสื อพงสาวะดานลาวนั้นก็คือ เรื่ องเดียวกันกับ
ประวัติศาสตร์ ยุคก่ อนหน้ากรุ งสุ โขทัยในพระนิ พนธ์ของ สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุ ภาพ
ในงานเขี ย นของของขุ น วิ จิ ต รมาตรา หลวงวิ จิ ต รวาทการ และเสถี ย รโกเศศ ความแตกต่ า ง

93
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, “งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของลาวสมัยได้รับเอกราชค.ศ.1945 จนถึง
ปั จจุบนั ,”, 335.
94
เรื่ องเดียวกัน, 336.
95
ศึกษารายละเอียดใน, มะหาสิ ลา วีระวงส์ ชีวิต ผูข่ า้ My life อัดตะชีวะปวัด, คํากอนพุททะทํานาย
16 ข้อ และกอนลําชุมปี 2487 (นะคอนหลวงเวียงจัน : มันทาตุราด, 2547).
38

เพีย งประการเดี ย ว อยู่ที่ค าํ ว่ า “ลาว” และ “ไทย” ที่ สามารถสลับ ที่ เปลี่ ย นแปลงไปตามบริ บ ท
ที่ควรจะเป็ นเท่านั้น” 96
“พงศาวดารลาว” ของมหาสิ ลา วีระวงส์ นั้น กระทรวงศึกษาธิ การตีพิมพ์ใน ค.ศ.1957
(พ.ศ. 2500) นับจากลาวได้เ อกราชคื น จากฝรั่ ง เศสเพีย ง 4 ปี เท่ านั้น 97 นับแต่ น้ ันเป็ นต้นมา
“พงศาวดารลาว” จัด เป็ นหนัง สื อ ประวัติ ศ าสตร์ ล าวในภาษาลาวที่ ส มบู ร ณ์ ที่ สุ ด เท่ า ที่ ค นลาว
พึงสามารถหามาอ่ านได้ และนอกจากนี้ ยงั กลายเป็ นหนังสื ออ้างอิ งมาตรฐานที่นักศึ กษาต่างชาติ
ใช้สาํ หรับศึกษาประวัติศาสตร์ลาว 98

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
$ ส

ภาพที่ 6 มหาสิ ลา วีระวงส์ นักประวัติศาสตร์ลาวคนสําคัญ กับหนังสื อประวัติศาสตร์ลาว ที่ปรับปรุ ง


มาจาก “พงศาวดารลาว” ผลงานที่กลายมาเป็ นแม่แบบของประวัติศาสตร์ลาว
ที่มา : มะหาสิ ลา วีระวงส์ ชีวิต ผูข่ า้ My life อัดตะชีวะปวัด, คํากอนพุททะทํานาย 16 ข้อ และ
กอนลําชุมปี 2487. นะคอนหลวงเวียงจัน : มันทาตุราด, 2547; และ ฉลอง สุ นทราวาณิ ชย์, “พงสาวะ
ดานลาว ของ มหาสิ ลา วีระวงส์,” ใน จักรวาลวิทยา, ธเนศ วงศ์ยานนาวา, บรรณาธิ การ (กรุ งเทพฯ :
สํานักพิมพ์มติชน, 2549), 29.

96
ฉลอง สุ น ทราวาณิ ชย์. “พงสาวะดานลาว ของ มหาสิ ล า วีร ะวงส์ , ” ใน จักรวาลวิท ยา, ธเนศ
วงศ์ยานนาวา, บรรณาธิการ (กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์มติชน, 2549), 26 – 27.
97
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, ประวัติศาสตร์ลาวหลายมิติ, 103.
98
ฉลอง สุ นทราวาณิ ชย์, “พงสาวะดานลาว ของ มหาสิ ลา วีระวงส์,”, 4-5.
39

เนื้ อหาของ “พงศาวดารลาว” แบ่ งเป็ น 7 บท บทที่ 1 เป็ นเรื่ องของภู มิประเทศ
มนุษยชาติโบราณในแหลมอินโดจีน บทที่ 2 กําเนิ ดชาติลาว กําเนิ ดคําว่าลาว ความหมายของคําว่าลาว
บทที่ 3 อาณาจักรเดิมของลาว บทที่ 4 อาณาจักรหนองแสหรื อน่ านเจ้า ขุนบรมราชาธิ ราชทรงตั้ง
เมืองเกาหลงหรื อหรื อเมืองแถน บทที่ 5 ราชอาณาจักรลาวล้านช้างเริ่ มรัชกาลพระเจ้าฟ้ างุ่ม จนถึง
รัชกาลพระเจ้าสุ ริยวงศาธรรมิกราช บทที่ 6 ประเทศลาวแบ่งเป็ น 3 อาณาจักร บทที่ 7 อาณาจักรลาว
ทั้ง 3 อยูภ่ ายใต้การปกครองของไทย
อนึ่ งเพื่อเป็ นการขยายเนื้ อความให้ครอบคลุมกับลําดับพัฒนาการของประวัติศาสตร์ ลาว
ตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปั จจุบนั ให้ได้มากที่สุด ในภายหลัง “พงศาวดารลาว” ของ มหาสิ ลา วีระวงส์

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
จึงมีการปรับปรุ งเพิ่มเติมเนื้ อหาลงไปอีกคือ บทที่ 8 ไทยจัดการปกครองลาว (ค.ศ.1739 -1893 (พ.ศ.

2282 - 2436)) บทที่ 9 ฝรั่งเศสได้ดินแดนลาว และบทที่ 10 ประเทศลาวสมัยอยูภ่ ายใต้การปกครอง
ของฝรั่งเศส ซึ่งแบ่งเนื้อหาออกเป็ น 5 ตอน คือสมัยอยูภ่ ายใต้การปกครองฝรั่งเศส, สงครามระหว่าง
ไทยกับฝรั่งเศส, การปกครองของฝรั่งเศส หลัง ค.ศ. 1941(พ.ศ. 2484), ญี่ปุ่นยึดอินโดจีนและ
ประเทศลาว และฝรั่งเศสเจรจากับไทย การปรับปรุ งเนื้ อหาใหม่ลงไปครั้งนี้ ให้ชื่อหนังสื อใหม่ว่า
“ประวัติศาสตร์ ลาว” 99 ซึ่ งกระทรวงศึกษาธิ การลาวตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ.1956 (พ.ศ. 2499) และแก้ไข
ใน ค.ศ.1985 (พ.ศ. 2501) และตีพิมพ์ล่าสุ ดเมื่อ ค.ศ.2001(พ.ศ. 2544) 100
“พงศาวดารลาว” ของมหาสิ ลา เป็ นที่ยอมรับว่าใช้สาํ หรับการศึกษาประวัติศาสตร์ ลาว
จัดเป็ นคัมภีร์เบิกทางที่ผูศ้ ึกษาทั้งหลายต้องผ่านตา ความสําคัญของพงศาวดารลาวของ มหาสิ ลา
ยังเห็นได้จากการได้รับการรับรองจากกรมวรรณคดีลาว และกระทรวงศึกษาธิ การลาวให้จดั พิมพ์
เผยแพร่ พร้อมทั้งระบุไว้ในคํานําอย่างชัดเจนว่า

ถ้าแม่นมัน่ ว่าหนังสื อเล่มนี้จะยังไม่สมบูรณ์หรื อขาดตกบกพร่ อง ก็ยงั นับว่าเป็ นหนังสื อเล่มหนึ่ง


ซึ่ งพอจะเป็ น “ไต้ส่องทางในยามมื ด” ของผูส้ นใจอ่านพงศาวดารลาวที่ จะสื บเสาะหาหลักฐานจาก
แหล่งอื่น ๆ มาแต่งเติมเสริ มต่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นอีกต่อไป...หนังสื อนี้ ดี มีประโยชน์ จึ งจัดพิมพ์ออก
เผยแพร่ แก่ประชาชนทัว่ ไปในราชอาณาจักรลาว 101

งานเขียนชิ้ นนี้ จัดเป็ นตําราฉบับมาตรฐานที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุด และกลายเป็ น


การบันทึกประวัติศาสตร์ลาวชิ้นสําคัญที่เป็ นแม่แบบให้กบั นักประวัติศาสตร์ลาวรุ่ นต่อ ๆ มา

99
ฉลอง สุ นทราวาณิ ชย์, “พงสาวะดานลาว ของ มหาสิ ลา วีระวงส์,”, 30.
100
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, ประวัติศาสตร์ลาวหลายมิติ, 105.
101
เรื่ องเดียวกัน, 104.
40

นอกจาก “พงศาวดารลาว” ของ มหาสิ ลา วีรวงศ์แล้ว ยังปรากฏงานเขียนอื่น ๆ ที่น่าสนใจ


ในช่ วงเวลานี้ อี ก หลายเล่ ม เช่ น “พงศาวดารชาติ ลาว” ของ เจ้า คําหมั้น วงกตรั ต นะ ซึ่ ง ลาวจัด
เจ้าคําหมั้น ว่าเป็ นนักประวัติศาสตร์ลาวคนสําคัญท่านหนึ่ง 102 ที่มีบทบาทในช่วงเวลานี้ “พงศาวดาร
ชาติลาว” มีเนื้ อหากล่าวโดยสรุ ปคือ กล่าวถึงถิ่นฐานเดิมของไทยลาวบริ เวณแม่น้ าํ โขง ลําดับการณ์
ของกษัตริ ยล์ า้ นช้าง ตํานานเมืองเวียงจันทน์ และสิ้ นสุ ดที่ตาํ นานเมืองหลวงพระบาง และนอกจาก
“พงศาวดารชาติลาว” แล้ว เจ้าคําหมั้น ยังมีผลงานอีกชิ้นหนึ่ งคือ “พงศาวดารเมืองพวน” กล่าวถึง
ปฐมเหตุแห่ งการกําเนิ ดเมืองพวน และลําดับวงศ์กษัตริ ยท์ ี่ข้ ึนเถลิงราชสมบัติและพระราชกรณี ยกิจ
ที่สาํ คัญเป็ นลําดับ

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
“ความเป็ นมาของลาว” โดย อู่คาํ พรหมวงศา เป็ นหนังสื อที่ได้กล่าวถึงความเป็ นมาของ

ชาติลาว แต่ปางบรรพ์ถึงสมัยปั จจุบนั อย่างสังเขป 103 และจากผูแ้ ต่งคนเดียวกันยังมีเรื่ อง “เล่าเรื่ อง
ลาว-ไท” เป็ นงานที่เน้นความสัมพันธ์อนั ดี ระหว่างลาวกับไทยจนถึงกับนําธงชาติและเพลงชาติ
ของลาวและไทยขึ้นหน้าแรกของหนังสื อ 104 “พงศาวดารลาว สมัยเป็ นหัวเมืองขึ้นของประเทศสยาม
และประเทศฝรั่ง” โดยท้าวยุน อ่อนพม มีกลิ่นอายของการเขียนพงศาวดารแบบเรี ยงลําดับเหตุการณ์
ตามวันเวลา ผสานกับการนําเสนอการเขียนพงศาวดารแบบใหม่ที่นิยมแบ่งเป็ นหัวข้อ โดยสรุ ป
งานเล่มนี้ เป็ นการย่อพงศาวดาร โดยกล่าวถึงลาวก่อนเสี ยเอกราชจนตกเป็ นเมืองขึ้นของสยามและ
ประเทศฝรั่งเศสตามลําดับ
ในวันที่ 25 กันยายน – 1 ตุลาคม ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) ได้เกิดปรากฎการณ์ครั้งสําคัญ
ของวงการประวัติศาสตร์ ลาว คือ การรวมตัวกันจัดสัมมนาทางประวัติศาสตร์ ลาว 105โดยผูเ้ ชี่ ยวชาญ
ด้านประวัติศาสตร์ลาว106 ที่ประชุมมีมติให้จดั แบ่งยุคประวัติศาสตร์ลาว ดังนี้

102
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, “งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของลาวสมัยได้รับเอกราชค.ศ.1945จนถึง
ปั จจุบนั ,”, 339.
103
เรื่ องเดียวกัน, 343.
104
เรื่ องเดียวกัน, 345.
105
ดูรายละเอี ยดใน ดารารั ตน์ เมตตาริ กานนท์, ประวัติศาสตร์ ลาวหลายมิ ติ ; และ“งานเขี ยน
ทางประวัติศาสตร์ของลาวสมัยได้รับเอกราชค.ศ.1945 จนถึงปัจจุบนั ,”.
106
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, “งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของลาวสมัยได้รับเอกราชค.ศ.1945
จนถึงปัจจุบนั ,” , 347.
41

1. สมัยดึกดําบรรพ์ นับตั้งแต่ดินแดนสุ วรรณภูมิประเทศ ตั้งแต่ 600 ปี ก่อน ค.ศ. จนถึง


อาณาจักรศรี โคตรบอง ค.ศ. 600 (พ.ศ. 1143)
2. สมัยโบราณ ตั้งแต่อาณาจักรศรี โคตรบอง ค.ศ. 600 (พ.ศ. 1143) จนถึงขุนบรม ค.ศ.
1100 (พ.ศ. 1643)
3. สมัยกลาง ตั้งแต่ขนุ บรม ค.ศ. 1100 (พ.ศ. 1643)จนถึงเจ้าฟ้ างุ่ม ค.ศ. 1350 (พ.ศ.
1893)
4. สมัยใหม่ ตั้งแต่เจ้าฟ้ างุ่มจนถึงฝรั่งเศสปกครอง ค.ศ. 1893 (พ.ศ. 2436)
5. สมัยปั จจุบนั ตั้งแต่ฝรั่งเศสปกครอง ค.ศ. 1893 (พ.ศ. 2463) จนถึงปั จจุบนั 107

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ในช่วงท้ายของพัฒนาการงานเขียนทางประวัติศาสตร์ ลาวช่วงที่สอง (ค.ศ. 1945-1975) นี้

พบว่าในช่ วงปลายทศวรรษ 1960 (2500) งานเขียนทางประวัติศาสตร์ เริ่ มมีการเผยแพร่ ผลงาน
ของฝ่ ายปฏิวตั ิ 108 โดย พูมี วงศ์วิจิตร ผลิตงานออกมาหลายชิ้ นเพื่อรองรั บจุ ดประสงค์หลักในการ
ต่อต้านลัทธิล่าเมืองขึ้นของอเมริ กา เช่น “ประวัติศาสตร์ เมืองพวน” และ “ประเทดลาวและการต่อสู ้
มีชยั ของประชาชนลาว ต่อต้านลัทธิล่าเมืองขึ้นแบบใหม่ของอเมริ กา” เป็ นต้น
จะเห็นได้ว่างานเขียนต่าง ๆ ที่แพร่ หลายออกมาในช่วง ค.ศ. 1945-1975 (พ.ศ. 2488 - 2518)
ล้วนแล้วแต่ออกมารองรับแนวทางในการสร้างชาติของลาวตามสภาวะจําเป็ นทางการเมืองในขณะนั้น
ผลงานที่เกิ ดขึ้นในช่ วงเวลานี้ เป็ นการรวบรวมเอกสาร หลักฐานเท่าที่หลงเหลือมาเรี ยบเรี ยงเป็ น
พงศาวดารเพื่ อ อธิ บ ายถึ ง ที่ ม าของชนชาติ ตลอดจนลํา ดับ การณ์ ต่ า ง ๆ ของราชอาณาจัก รเก่ า
ที่เคยรุ่ งเรื อง สภาวะแห่ งการแตกแยกภายใน ตลอดจนความขมขื่นภายใต้การปกครองของต่างชาติ
งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ในช่วงเวลานี้ ลว้ นแล้วแต่เป็ นการสร้างความรู ้สึกให้เกิดการหวนคํานึ ง
ถึงความรุ่ งเรื อง และความทุกข์ยากเมื่อครั้งต้องแตกแยก และการทุกข์ทนจากการโดนกดขี่ข่มเหง
จาก “ผูร้ ้าย” ที่เข้าครอบครอง รวมไปถึงประเด็นสําคัญในเรื่ องของความรักชาติและความสามัคคี
2.1.3 ประวัติศาสตร์ นิพนธ์ ลาวสมัยการปฏิวตั ิสังคมนิยม
หลังจากวาระการสร้ างชาติโดยใช้งานเขียนทางประวัติศาสตร์ เป็ นเครื่ องมือแล้วนั้น
พัฒนาการงานเขียนทางประวัติศาสตร์ลาวเข้าสู่ ช่วงที่สาม คือ ค.ศ. 1975 เป็ นต้นมา

เป็ นสมัยที่ลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ ระบอบสังคมนิยม ประวัติศาสตร์ ชาติลาวภายหลัง


ปี 1975 (พ.ศ. 2518) ได้ลดความสําคัญของประวัติศาสตร์ สมัยศักดิ นามาให้ความสําคัญกับ

107
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, “งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของลาวสมัยได้รับเอกราชค.ศ.1945
จนถึงปัจจุบนั ,”, 347-348.
108
เรื่ องเดียวกัน, 350.
42

ประวัติ ศ าสตร์ ส มัยการปฏิ ว ตั ิ สั งคมนิ ยม อุ ทิ ศ พื้ นที่ ข องหน้าประวัติ ศ าสตร์ ใ ห้ก ับ บทบาทของ
ขบวนการต่ อ สู้ ข องพรรคประชาชนและพรรคประชาชนปฏิ ว ตั ิ ล าวในประวัติ ศ าสตร์ ข องชาติ
การนํา เสนอภาพของขบวนการของประชาชนและชนเผ่าในพื้ น ที่ ข องประวัติศ าสตร์ ข องชาติ
เน้นให้เห็นการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยชาติให้เป็ นอิสระตั้งแต่สมัยที่ลาวตกอยูภ่ ายใต้การปกครองของ
ศักดิ นาพม่า ศักดิ นาสยาม และนักล่าเมื องขึ้ นฝรั่ งเศส ผูน้ าํ ปฏิ วตั ิระดับสู งเข้ามามี บทบาทสําคัญ
ในการเขียนประวัติศาสตร์ 109

หลังทศวรรษ 1990 (2530) เป็ นต้นมา พบว่ารู ปแบบของงานเขียนทางวิชาการมีความ


หลากหลายมากขึ้น 110 ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์ ได้จดั แบ่งงานในช่วงนี้ ออกเป็ น 3 ประเภทย่อย
คือ
ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

ประเภทที่ 1 งานเขียนเกี่ ยวกับประวัติบุคคลสําคัญของลาวในช่วงเวลานี้ มีที่สําคัญคือ
“ความทรงจําของชี วิตเฮาในระบอบวิวฒั น์แห่ งประวัติศาสตร์ ของประเทศลาว” โดย พูมี วงวิจิตร
ตีพิมพ์โดยสถาบันค้นคว้าวิทยาศาสตร์ สังคมของกระทรวงศึ กษาใน ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528)
“3 บุรุษเหล็กแห่ งเมืองท่าแขก” โดย ดวงไซ หลวงพะสี ตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์แห่ งรัฐ ใน ค.ศ.1993
(พ.ศ. 2536)ให้ ร ายละเอี ย ดชี ว ประวัติ แ ละการต่ อ สู ้ ข องเจ้า สุ พ านุ ว งศ์ ท่ า นนายพลสิ ง กะโป
สี โคตรจุนนะมาลี ท่านนายพลโทเหวียนแจ้ง และยังมีการให้รายละเอียดของแคว้นคําม่วน เมืองท่าแขก
ก่อนการปฏิวตั ิ สิ งหาคม ค.ศ.1945 (พ.ศ. 2488) นอกจากนี้ หนังสื อยังให้รายละเอียดต่าง ๆ ของ
กระแสการปฏิวตั ิของลาวในช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง 111 “เจ้าสุ พานุวงศ์ ผูน้ าํ ปฏิวตั ิ”
โดยคณะกรรมการวิทยาศาสตร์สังคม แห่ ง ส.ป.ป. ลาว ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1989 (พ.ศ. 2532) เป็ นการ
รวมงานเขี ย นของนัก เขี ย นคนสํ า คัญ ของลาวที่ เ ขี ย นถึ ง การปฏิ ว ัติ แ ละเสด็ จ เจ้า สุ พ านุ ว งศ์ 112
“เจ้าเพ็ชราชบุรุษเหล็กแห่ งราชอาณาจักรลาว” โดย มหาสิ ลา วีระวงส์ ตีพิมพ์ครั้งที่สองใน ค.ศ.1997
(พ.ศ. 2540) และงานของ 3349 (นามแฝง) เรื่ อง “เจ้าเพ็ชราชบุรุษเหล็กแห่ งราชอาณาจักรลาว”
ซึ่ งเนื้ อหาในหนังสื อทั้งสองเล่มมีความคล้ายกันแตกต่างเพียงรายละเอียดบางส่ วน เป็ นการกล่าวถึง
ประวัติเจ้าเพ็ชราชและการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยเฉพาะช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 113

109
กิติรัตน์ สี หบัณท์, “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวสมัยใหม่ (ค.ศ. 1975 – ปัจจุบนั )”, 3-4.
110
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, “งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของลาวสมัยได้รับเอกราชค.ศ.1945
จนถึงปัจจุบนั ,”, 352.
111
เรื่ องเดียวกัน, 352-353.
112
เรื่ องเดียวกัน, 353.
113
เรื่ องเดียวกัน, ,354.
43

ประเภทที่ 2 งานเขียนเกี่ยวกับพงศาวดารของลาวและงานเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
ทัว่ ไป ช่ วงเวลานี้ งานเขียนเกี่ ยวกับประวัติศาสตร์ ของลาวมีการผลิตออกมาจํานวนมาก รวมทั้ง
พงศาวดารก็ย งั มี การผลิ ตออกมาให้เห็ นเช่ นกัน งานเขียนพงศาวดารชิ้ นสําคัญในช่ วงเวลานี้ เช่ น
“คู่มือพงศาวดารลาว คนลาวแผ่นดินลาว” โดย ดวงไซ หลวงพะซี จัดพิมพ์โดยประธานคณะกรรมการลาว
เพื่อสันติโลกใน ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) และ “สมเด็จเจ้าอนุ วงศ์” พิมพ์ครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1975
(พ.ศ. 2518) 114
ทางด้านงานเขี ยนเกี่ ยวกับประวัติศาสตร์ ลาวทัว่ ๆ ไปมี การผลิ ตออกมามากจากหลาย
หน่ วยงานของรั ฐ เช่ น “สรุ ป สงครามปฏิ ว ัติ ป ลดปล่ อ ยชาติ ข องกองทัพ และประชาชนลาว”

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
โดย กระทรวงป้ องกัน ประเทศตี พิ ม พ์ค .ศ. 2001 (พ.ศ. 2544) และตี พิ ม พ์ใ นปี เดี ย วกัน เรื่ อ ง

“การเมืองพวน” โดยคณะค้นคว้าภาควิชาภาษาลาว - วรรณคดี หนังสื อจากกระทรวงศึกษาธิ การ
กีฬาและธรรมการ เรื่ อง “ประเทศลาวภายหลังการปฏิวตั ิ 1945-1971(พ.ศ. 2488 - 2514)” ตีพิมพ์
ค.ศ.1977 (พ.ศ. 2520) กระทรวงต่างประเทศพิมพ์หนังสื อ เรื่ อง “เรื่ องความเป็ นจริ งแห่ งการพัวพัน
ไท-ลาว” ตีพิมพ์ค.ศ. 1984 (พ.ศ. 2527) และ“ประวัติพรรคประชาชนปฏิวตั ิลาว” โดยสถาบัน
วิทยาศาสตร์สงั คมแห่ งชาติ ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532) เป็ นต้น 115
นอกเหนื อจากหน่วยงานของรัฐ ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์ ยังเสนอว่ามีงานของภาคเอกชน
และบุคคลต่าง ๆ เช่น พงษ์สวัสดิ์ บุปผา เรื่ อง “การขยายตัวของรัฐ” ตีพิมพ์ ค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539)
บุญทวี สัมพันไซ เรื่ อง “ประวัติศาสตร์ลาว คนลาว แผ่นดินของลาว (จากเวียงจันทน์ร้างถึงประกาศ
เอกราช)” เป็ นเอกสารโรเนียวเย็บเล่มออก ค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539) และที่สาํ คัญคืองานของผูน้ าํ ลาว
ท่านไกสอน พรหมวิหาร เรื่ อง “บางบทเรี ยนต้นตอและบางปั ญหาเกี่ ยวกับทิศทางใหม่ของการ
ปฏิวตั ิลาว ตีพิมพ์ ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522) 116 เนื้ อหาของหนังสื อประวัติศาสตร์ ในช่ วงนี้ เด่นชัด
ในเรื่ องขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเรี ยกร้องเอกราช เน้นการต่อสู ้และความยากลําบากของขบวนการ
ทั้งช่วงสมัยศักดินาจนกระทัง่ ลาวเข้าสู่ การปกครองแบบสังคมนิยม
ประเภทที่ 3 หนังสื อแบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ลาว ประวัติศาสตร์ ถูกนํามาใช้เป็ นส่ วนหนึ่ ง
ของการปลูกฝั งความคิดให้กบั หน่ ออ่อนของลาว รั ฐใช้ประวัติศาสตร์ เป็ นเครื่ องมือในการสร้าง
ชุดความคิดให้กบั ประชาชนโดยอาศัยกระบวนการศึกษากล่อมเกลาและสร้างชุดความคิดตามแบบ
ที่ รัฐต้องการ แบบเรี ย นประวัติ ศาสตร์ ของลาวมี ความเข้มข้น ในเรื่ องการปลูก ฝั งความรั ก ชาติ

114
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, “งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของลาวสมัยได้รับเอกราชค.ศ.1945
จนถึงปัจจุบนั ,”, 355.
115
เรื่ องเดียวกัน, 355-356.
116
เรื่ องเดียวกัน, 356.
44

สร้างคนให้รําลึกและรู ้สึกถึงความเป็ นชาตินิยมอยูท่ ุกจังหวะ เพื่อให้คนลาวสัมผัสได้ถึงความเป็ นลาว


ตามแบบรั ฐนิ ย มรั ฐ ใช้ประวัติ ศาสตร์ เ ป็ นเครื่ อ งมื อ โดยผ่า นกระบวนการการหล่ อ หลอมทาง
การศึกษา 117
เห็นได้ชดั เจนว่าพัฒนาการงานเขียนทางประวัติศาสตร์ลาวในช่วงแรกคือก่อน ค.ศ. 1945 นั้น
มีวฒั นธรรมคล้ายกับรัฐจารี ตทัว่ ไปที่สงวนพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ ไว้ให้กบั ชนชั้นสู ง เจ้าชีวิตหรื อ
วีรกษัตริ ยผ์ กู ้ ล้าทั้งหลาย เน้นบทบาทของกษัตริ ยใ์ นการปกครองบ้านเมือง ทํานุบาํ รุ งพระพุทธศาสนา
ตลอดจนการทําสงครามเพื่อความมัน่ คงของอาณาจักรและการขยายดินแดน ใน ค.ศ. 1945-1975
หรื อช่วงที่สองของพัฒนาการงานเขียนทางประวัติศาสตร์ ลาว เห็นได้ชดั ว่าปฏิกิริยาที่ส่งผลกระทบ

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
โดยตรงต่อพัฒนาการงานเขียนทางประวัติศาสตร์ ลาวที่ปรากฏคือ สภาวะการตื่นตัวภายในสังคม

เนื่ องจากเป็ นช่วงที่ลาวเพิ่งได้สัมผัสกับเอกราช ทําให้เกิดงานเขียนมากมายจากนักประวัติศาสตร์
หลายท่าน ที่ช่วยกันผลิตงานออกมาเพื่อสนับสนุ นจุดประสงค์หลักในการกําหนดทิศทางของชาติ
ผลักดันให้เกิดความสมานสามัคคีภายในลาว และปลูกฝังทัศนะเจืออคติในวาระสมัยนิ ยมตามแบบ
การสร้ างชาติ ที่ เร่ งการวางฐานรากแห่ ง ความคิ ดรั กชาติ ให้กับประชาชนตามแบบสัง คมทัว่ ไป
ที่ใช้ประวัติศาสตร์เป็ นเครื่ องมือในการปูพ้ืนชุดความคิดชาตินิยมให้แตกหน่อในสังคม
พัฒนาการงานเขียนประวัติศาสตร์ ลาวที่เกิ ดขึ้นในช่ วงนี้ นับเป็ นการปูพ้ืนความรู ้ สึก
รักชาติและสร้างความรู ้สึกชาตินิยมในลาว ก่อนที่จะพัฒนางานเขียนทางประวัติศาสตร์ เข้าสู่ ช่วง
หลัง ค.ศ.1975 ที่งานมีความโดดเด่นทางการเพิ่มพื้นที่ให้กบั การเคลื่อนไหวต่อสู ้เพื่อเอกราชและ
ประชาชนมากกว่าราชวงศ์สาํ คัญดังที่นิยมตามจารี ตโบราณ เพราะเมื่อลาวเปลี่ยนแปลงมาสู่ ระบอบสังคม
นิยมในช่วงนี้ ผูท้ ี่มีบทบาทสําคัญในการเขียนประวัติศาสตร์ คือนักประวัติศาสตร์และนักวิชาการที่เป็ น

117
กรณี การสร้างความรู้สึกชาตินิยมในแบบเรี ยนลาวดูรายละเอียดเพิ่มใน, ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์,
“การเขียนประวัติศาสตร์ ลาวในแบบเรี ยนลาว,” มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 17,1 (ตุลาคม–ธันวาคม2542) ;
ปณิ ตา สระวาสี , การสร้ างสํานึ กความเป็ นชาติ ของรั ฐบาลสาธารณรั ฐประชาธิ ป ไตยประชาชนลาวโดยผ่าน
แบบเรี ยนชั้นประถมศึกษาตั้งแต่ ค.ศ.1975 – 2000, (กรุ งเทพฯ : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั , 2546) ;
จารุ วรรณ ธรรมวัตร, ประภาส สุ วรรณศรี และ พรสวรรค์ สุ วรรณธาดา, “การกล่อมเกลาทางสังคมจากแบบเรี ยน
ระดับประถมศึกษาในสาธารณรัฐประชาธิ ปไตยประชาชนลาว”, ประกอบการสัมมนา รื้ อตําราเรี ยนไทย-ลาว
เผยอุดมการณ์ชาตินิยม, 2 พฤศจิ กายน 2543. (อัดสําเนา) ; ประภาส สุ วรรณศรี , “การกล่อมเกลาทางสังคมจาก
แบบเรี ยนของรัฐ ระดับประถมศึกษาในสาธารณรัฐประชาธิ ปไตยประชาชนลาว ภายหลังการเปลี่ยนแปลงทาง
การเมือง พ.ศ. 2518-2538” (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาไทศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
2542) ; นริ นทร์ พุดลา, แบบเรี ยนลาวในกระแสโลกาภิวตั น์, (ม.ป.พ., ม.ป.ป.) ; และ นริ นทร์ พุดลา,“ตัวตนทาง
วัฒ นธรรมในแบบเรี ย นลาว” (วิ ท ยานิ พ นธ์ ดุ ษ ฎี บ ัณ ฑิ ต สาขาวิ ช าไทศึ ก ษา บัณ ฑิ ต วิ ท ยาลัย มหาวิ ท ยาลัย
มหาสารคาม, 2551).
45

ข้าราชการและสมาชิกพรรคประชาชนปฏิวตั ิลาว การเขียนประวัติศาสตร์ จึงเขียนตามแนวนโยบาย


ของพรรคประชาชนปฏิวตั ิลาวที่เน้นเนื้ อหาสําคัญของการนําเสนออุดมการณ์ชาติ ผ่านการต่อสู ้ของ
วีรชนและประชาชนลาว 118 เป็ นการขยายฐานความรู ้สึกชาตินิยมที่เริ่ มพัฒนารู ปแบบมาจากการวาง
ฐานรากของงานเขี ย นทางประวัติ ศ าสตร์ ล าวในช่ ว งค.ศ. 1945-1975 ที่ ไ ด้ส ร้ า งสํา นึ ก รั ก ชาติ
ให้กระจ่างชัดในงานเขียนประวัติศาสตร์ลาวไว้ก่อนหน้านี้
2.2 จุดมุ่งหมายของการสร้ างงานเขียนทางประวัติศาสตร์ ลาวช่ วงสมัยการสร้ างชาติ
ชาตินิยมที่เกิดขึ้นในลาวมีผลโดยตรงมาจากการตื่นตัวภายในสังคมที่ตอ้ งการดํารงไว้
ซึ่งเอกราชโดยการปลุกเร้าประชาชนให้ตระหนักรู ้ถึงที่มาและความยิง่ ใหญ่ทางชนชาติ ความสําคัญ

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ของความเป็ นชาติ ตลอดจนความทุกข์ยากภายใต้การปกครองของต่างชาติที่สร้างรอยหมองไว้ใน


ผืนดิน พัฒนาการของงานเขียนทางประวัติศาสตร์ลาวช่วง ค.ศ.1945-1975 จึงเป็ นจุดเริ่ มของภาวะ
ตื่นตัวในหมู่ปัญญาชนที่นาํ ตัวหนังสื อมาเรี ยงร้อยแทนอาวุธ ใช้ประวัติศาสตร์เป็ นเครื่ องมือในการสร้าง
ความคิดให้แก่ประชาชน สร้างชาติในแบบฉบับของลาวที่มาจากคนลาวเพื่อคนลาว

การเรี ยนประวัติศาสตร์ หรื อพงศาวดารของชาติ เป็ นทางจูงใจให้เกิดความรักชาติอย่างแก่กล้า


เพราะเมื่อเราได้ทราบว่า สมัยนั้นประเทศชาติบา้ นเมืองของเรามีความเจริ ญรุ่ งเรื อง มีอาํ นาจสามารถ
ปราบชนะข้า ศึ ก ศัต รู ไ ด้ เราก็ มี ค วามปลาบปลื้ ม ใจ เมื่ อ ได้ท ราบว่า ประเทศชาติ ข องเราล่ ม จม
หรื อถูกศัตรู ทาํ ร้าย เราก็มีความเสี ยใจ คิดอยากแก้ไข... ประเทศลาวเราได้ยุบยอบลงในสมัยหนึ่ ง
ที่ ล่วงมาแล้วนั้นก็เพราะประเทศเราแบ่งแยกกัน ประชาชนพลเมื องและเจ้านายทั้งหลายแตกกัน
เป็ นหลายพวก ไม่สามัคคีกนั ... สมัยนี้ เราทั้งหลาย กําลังทําการฟื้ นฟูประเทศชาติ เพื่อให้เราเป็ นชาติ
อยูไ่ ด้และให้เจริ ญทันชาติอื่น ดังนั้นการเรี ยนรู ้พงศาวดารชาติของตน จึ งเป็ นการจําเป็ นและสําคัญ
ยิง่ 119

การสร้ างความรู ้ สึกชาติ นิยมนี้ เป็ นวัตถุ ดิ บสําคัญในสภาวการณ์ ที่ตอ้ งการสร้ างความ
รู ้สึกร่ วมให้กบั คนในสังคม นักประวัติศาสตร์ ลาวเองก็ให้ความสําคัญกับประวัติศาสตร์ ในฐานะ
เครื่ องมือแห่ งการสร้ างชาติที่ไม่ละเลยเล่าความตามทัศนะอิงอคติที่ยึดแกนกลางสําคัญตามวาระ
การสร้างชาติ
งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ลาวในช่วง ค.ศ.1945-1975 นับว่ามีความสัมพันธ์กบั บริ บท
ทางการเมืองการปกครองลาวอย่างมาก หลักฐานที่รองรับความคิดนี้ คือ การปรากฏตัวของหนังสื อ
ประวัติศาสตร์ลาวเล่มแรกที่เขียนโดยคนลาว คือ “พงศาวดารลาว” ของมหาสิ ลา วีระวงส์ ออกพิมพ์

118
กิติรัตน์ สี หบัณท์, “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวสมัยใหม่ (ค.ศ. 1975 – ปัจจุบนั )”,186.
119
สิ ลา วีระวงส์, ประวัติศาสตร์ลาว, คําอธิบายของผูร้ จนา.
46

เผยแพร่ ภายหลังจากลาวได้รับเอกราชจากฝรั่ งเศสใน ค.ศ. 1957 120 สาเหตุ ที่ลาวต้องเขี ยน


และพิมพ์เผยแพร่ ประวัติศาสตร์ ในช่วงนี้ “เป็ นเพราะลาวตกเป็ นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก ต่างชาติ
ที่ปกครองลาว เป็ นเจ้านายของลาว ขัดขวางไม่อยากให้พลเมืองลาวได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของชนชาติ
ตนเอง เพราะกลัวว่าลาวจะตื่นตัวขึ้นมา ทําให้ต่างชาติ ปกครองลาวลําบากขึ้น” 121และนับจากนี้ มา
จะพบงานเขียนประวัติศาสตร์ ลาวออกมาเป็ นลําดับทั้งนี้ เป็ นเพราะช่ วงเวลานี้ ถือเป็ นช่ วงเวลาที่
ละเอียดอ่อน เนื่ องจากประชาชนกําลังสับสนกับภาวะทางการเมืองที่ผนั ผวน ผูน้ าํ ลาวจึงมีความ
พยายามในการสร้างชาติเพื่อเป็ นการรวมศูนย์ความคิดให้กบั ประชาชน

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
มีชาวตะวันตก อย่างเช่น ชาวอังกฤษและฝรั่ งเศส มาค้นคว้าประวัติศาสตร์ แบบผ่าน ๆ ไป


ด้วยว่า พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงและเก็บเกี่ยวตํานานท้องถิ่นได้เท่าที่ควร บางตํานานเขียนไว้ในใบลาน
ก็มกั เป็ นการคัดลอกขึ้นมาใหม่ ซึ่ งบางข้อความบางแห่ ง ก็ตกหล่นขดหายไป หรื อบิดเบือนเนื้ อหา
ข้อความที่เป็ นจริ ง ด้วยเหตุวา่ เป็ นข้อมูลที่ถูกคนต่างชาติอื่นปล้นสะดมไปแล้วแก้ไขปรับปรุ งใหม่
ตามอัชฌาศัยของพวกเขา 122

เมื่อสมัยแห่ งอิสรภาพภายหลังจากการได้รับเอกราชคืนจากฝรั่งเศสดําเนิ นมาถึง และ


เมื่อโอกาสทางการเมืองเปิ ดให้มีการเขียนประวัติศาสตร์ จึงปรากฏว่าในระยะสั้น ๆ ของการปกครอง
สมัยราชอาณาจักร มี การเขี ยนและพิมพ์เผยแพร่ ประวัติศาสตร์ ชาติ ในหนังสื อหลายเล่ม 123 เช่ น
ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501)“เล่าเรื่ องชาติลาวหรื อความเป็ นมาของลาว” ของอู่คาํ พมวงสา ค.ศ. 1971
(พ.ศ. 2514) “พงศาวดารชาติ ลาว” ของคําหมั้น วงกตรั ตนะ และในปี เดี ยวกัน “เอกสารสัมมนา
ประวัติ ศ าสตร์ ล าว” ซึ่ งเกิ ด จากคณะผู ้เ ชี่ ย วชาญด้า นประวัติ ศ าสตร์ ล าวร่ วมกัน จัด สั ม มนา
ประวัติ ศ าสตร์ ล าวขึ้ น ที่ ก ระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร 124 และงานสํา คัญ ที่ ถื อ กํา เนิ ด ไปก่ อ นหน้า นี้ ใน
ค.ศ. 1957 อย่าง “พงศาวดารลาว” ของมหาสิ ลา วีระวงส์ ก็ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิ การ
ให้เป็ นหลักฐานในการเรี ยนของชาติ 125 เหล่านี้ คือชิ้ นงานสําคัญที่ผลิตออกมาในภาวะเร่ งด่วนนี้
กลายเป็ นมรดกตกทอดสําคัญในการเป็ นวัตถุดิบให้รัฐใช้สร้างและพัฒนาชุดความคิดให้กบั สังคม

120
กิติรัตน์ สี หบัณท์, “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวสมัยใหม่ (ค.ศ. 1975 – ปัจจุบนั )”, 34.
121
อู่คาํ พมวงสา, ความเป็ นมาของลาว หรื อเล่าเรื่ องชาติลาว (เวียงจันทน์ : ยุวสมาคมแห่ งประเทศลาว,
1967), คํานํา. กล่าวถึงใน กิติรัตน์ สี หบัณท์, “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวสมัยใหม่ (ค.ศ. 1975 – ปัจจุบนั )”, 34.
122
บุนมี เทบสี เมือง, ความเป็ นมาของชนชาติลาว เล่ม 1 การตั้งถิ่นฐานและการสถาปนาอาณาจักร, 7.
123
กิติรัตน์ สี หบัณท์, “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวสมัยใหม่ (ค.ศ. 1975 – ปัจจุบนั )”, 34.
124
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, ประวัติศาสตร์ลาวหลายมิติ, 115.
125
กิติรัตน์ สี หบัณท์, “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวสมัยใหม่ (ค.ศ. 1975 – ปัจจุบนั )”,34.
47

จุดมุ่งหมายและสาระสําคัญในการสร้างสํานึ กทางประวัติศาสตร์ ช่วง ค.ศ.1945-1975


กิ ติรัตน์ สี หบัณท์ ได้ทาํ การศึ กษางานของ จารุ วรรณ ธรรมวัตร ในบทความ “การฟื้ นฟูชาติลาว
กับ งานเขี ย นพงศาวดาร” โดยนํา เสนอมุ ม มองเกี่ ย วกับ ปั จ จัย ของการเขี ย นประวัติ ศ าสตร์ ล าว
ในช่วงเวลานี้ ว่ามีจุดมุ่งหมายสําคัญเพื่อสร้างสํานึ กทางประวัติศาสตร์ และสร้างความรู ้สึกชาตินิยม
ที่มีสาระสําคัญโดยกระทําผ่านประเด็นสําคัญ 2 ประการ
ประการแรก คือการสร้ างความภูมิใจในชาติ ลาว พบในงาน “พงศาวดารลาว” ของสิ ลา
วีระวงส์ และ “พงศาวดารลาว” ของเจ้าคําหมั้น วงกตรัตนะ และ “ความเป็ นมาของชนชาติลาว หรื อ
เล่าเรื่ องชาติลาว”ของ อู่คาํ พรหมวงศา ซึ่ งล้วนแต่เป็ นผลงานที่สร้างมโนทัศน์ชาวลาวมีต่อจักรวาล

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ต่อตนเองและต่อสังคม ซึ่ งสามารถพิจารณาได้จากแนวคิดสําคัญของผูแ้ ต่ง ที่นาํ เสนอว่าบรรพชน

ชาวลาว คือ กลุ่มชาวอ้ายลาว ซึ่งถือถิ่นฐานอยูบ่ ริ เวณหนองแสง ในเขตมณฑลยูนานของจีนทุกวันนี้
ขุนบรม คือ กษัตริ ยแ์ ห่ งราชอาณาจักรหนองแสง ทรงพระนามว่า พีลอ้ โก๊ะได้ยกรี้ พลลงมาสร้างเมือง
นาน้อยอ้อยหนู ขนานนามว่า เมืองแถนหรื อเมืองเกาหลง ซึ่งก็คือเมืองเชียงรุ่ งในปั จจุบนั นอกจากนี้
โดยเฉพาะอย่างยิง่ ผลงานของ สิ ลา วีระวงส์ ยังได้นาํ เสนอแนวคิดสําคัญให้กบั ผูอ้ ่าน เพื่อให้เห็นถึง
ความเก่ าแก่ ของชนชาติ ลาว โดยชี้ ให้เห็ นว่า “ชนชาติ ลาวได้ถือกําเนิ ดมาแล้วในโลก พร้ อมกับ
ชนชาติจีน นับว่าเป็ นชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกชาติหนึ่ ง ซึ่ งมีความเจริ ญไม่แพ้ชาติอื่น ๆ ในสมัย
เดียวกัน” 126
ประการสุ ดท้าย คือการสร้างวีรกษัตริ ยล์ าว มีจุดมุ่งหมายเพื่อนําเสนอเป็ นแบบอย่างต่อ
อนุ ชนรุ่ นหลัง การสร้างวีรบุรุษ เป็ นบทบาทของงานเขียนประวัติศาสตร์ ของมหาสิ ลา วีระวงส์ ซึ่ งเด่น
ที่สุด ได้อาศัยวิธีการเขียนแบบเสนอรายละเอียดคล้ายการเขียนตําราประวัติศาสตร์ หรื อสารคดีเชิ ง
ประวัติศาสตร์ ไม่เขียนสั้น ๆ ตามธรรมเนี ยมพงศาวดารทั้งหลาย ใช้วิธีบนั ทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
โดยเน้นความยิง่ ใหญ่ทางด้านวีรบุรุษ นักรบและธรรมกษัตริ ยผ์ ทู ้ าํ นุบาํ รุ งพุทธศาสนาหรื อธรรมิกราชา
ผูร้ ักษาธรรมไว้เหนือสมบัติท้ งั ปวง วีรกษัตริ ยท์ ี่เสนอไว้เป็ นแบบอย่างต่ออนุชนรุ่ นหลัง 127
สําหรั บกรณี ศึกษาสําคัญที่ควรให้ความสนใจเพื่อจะได้เห็ นภาพและจุดประสงค์ของ
พัฒนาการงานเขียนทางประวัติศาสตร์ ลาวในช่วง ค.ศ. 1945 – 1975 ชัดเจนขึ้น คือการจัดสัมมนา
ประวัติศาสตร์ โดยการรวมตัวของกลุ่มผูเ้ ชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ลาว โดยมีมติจากการสัมมนา
ในการจั ด แบ่ ง ยุ ค ประวัติ ศ าสตร์ ล าว และที่ น่ า สนใจคื อ เอกสารประกอบการสั ม มนา ที่
นักประวัติศาสตร์ลาวได้ร่วมกันเขียนขึ้นนั้น

126
สิ ลา วีระวงศ์, ประวัติศาสตร์ลาว, 10.
127
กิติรัตน์ สี หบัณท์, “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวสมัยใหม่ (ค.ศ. 1975 – ปัจจุบนั )”, 35.
48

จุ ดมุ่งหมายแทบทั้งหมดแต่งขึ้นเพื่อให้ชาวลาวมี ความรั กสามัคคีในชาติตน และต้องการ


ชี้ให้เห็นว่าชาติลาวเองเป็ นชาติที่มีประวัติศาสตร์ มายาวนานและมีความยิง่ ใหญ่มาก่อนภายใต้การนํา
ของสถาบันพระมหากษัตริ ย.์ .. พระมหากษัตริ ยท์ ี่งานเขียนเหล่านี้ ยกย่องที่สําคัญคือ พระเจ้าฟ้ างุ่ม
ในฐานะผูท้ รงรวบรวมบ้านเมื องเข้าเป็ นอาณาจักรล้านช้าง สมเด็จพระเจ้าวิชุลราชผูท้ รงบํารุ ง
พุทธศาสนาและอักษรศาสตร์ สมเด็จพระโพธิ สาลราชผูท้ รงอัญเชิญพระไตรปิ ฎกจากล้านนาและ
ทรงเป็ นปฐมกษัตริ ยผ์ อู้ อกบวชในพุทธศาสนา และพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 หรื อพระเจ้าอนุวงศ์
ผูท้ รงรักชาติ รักอิสรภาพในการต่อสู้เพื่อเอกราชลาว 128

ทิศทางที่ผเู ้ ชี่ ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ลาวได้เห็ นพ้องกันในจุดประสงค์ของเอกสาร

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ประกอบการจัดสัมมนาประวัติศาสตร์ น้ ัน เป็ นการชี้ ให้เห็ นจุ ดยืนของพัฒนาการของงานเขียน


ทางประวัติศาสตร์ลาวช่วง ค.ศ.1945-1975 อันถือเป็ นสมัยแห่ งการสร้างชาติลาวนี้ เพราะเห็นได้ชดั ว่า
งานเขียนร่ วมสมัยที่ปรากฏขึ้นส่ วนใหญ่เป็ นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเน้นเนื้ อหาถึงความเป็ นมา
ของชนชาติ ล าวที่ มี พ ัฒ นาการอย่ า งยาวนาน อี ก ทั้ง ร่ วมกั น แสดงภาพของพระราชาแห่ ง
ราชอาณาจักรโบราณของลาวที่เพียบพร้อมไปด้วยความปรี ชาสามารถดังเช่นวีรกษัตริ ยผ์ กู ้ ล้า อันมี
พุทธศาสนาเป็ นเสาหลักในการปกครอง ซึ่ งเป็ นไปตามธรรมเนี ยมของการสร้างความรู ้สึกฮึกเหิ ม
ที่จะต้องสร้างเมืองให้มน่ั คง และมัง่ คัง่ ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ราชธานี ใด ๆ เพื่อให้คนลาวเกิดความภูมิใจ
ในชนชาติและราชธานีโบราณก่อนที่จะต้องสูญเสี ยให้กบั ต่างชาติที่เข้ายึดครอง
การสร้ า งอาณาจัก รโบราณให้มี ความเป็ นมาที่ ยิ่ง ใหญ่ แ ละมี ชนชาติ ด้ ัง เดิ ม ที่ เ ก่ า แก่
ได้มากเท่าไร ก็จะยิ่งให้ภาพความสู ญเสี ยและความรู ้สึกคับแค้นภายหลังที่ตอ้ งเสี ยเอกราชให้มีความ
แจ่มชัดในมโนสํานึกได้มากเป็ นเท่าทวี วีรบุรุษทั้งหลายที่พากันปรากฏตัวในเหตุการณ์กบู้ า้ นคืนเมือง
นั้นก็เพื่อเป็ นการเน้นยํ้า และสร้ างพื้ นที่ ให้กับตัวละครในการเรี ยกความศรั ทธาพร้ อมไปกับสร้ าง
อุดมการณ์ทางการเมือง เพื่อการรวบรวมความรู ้สึกแห่งชาติให้มนั่ คง
เป็ นไปตามคําพูดที่ว่า “อุดมการณ์ ที่สูงส่ งที่สุดที่เรี ยกร้ องความร่ วมมือของพสกนิ กร
ทุ ก ชั้น ทุ ก วัย ได้โดยง่ า ย คื อความรั ก ชาติ ที่ ถู ก กระตุ ้น โดยอาศัย การสร้ างศัต รู ของชาติ ข้ ึ น เป็ น
เป้ าหมาย”129 การที่จะสร้ างทัศนะให้ประชาชนตระหนักถึงความทุกข์ยากในการได้มาซึ่ งเอกราช
จําเป็ นที่จะต้องมี “ศัตรู ” เพื่อจะได้กาํ หนด “พวกเรา” “พวกเขา” ให้ชดั เจน ศัตรู ที่เด่นชัดแน่ นอนว่า
ต้องมีศกั ดินาสยามร่ วมด้วย “เพราะใครก็รู้ดีว่านับแต่ลาวล้านช้างเสื่ อมโทรมลงในท้ายรัชกาลของ

128
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, “งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ของลาวสมัยได้รับเอกราชค.ศ.1945
จนถึงปัจจุบนั ,”, 349.
129
กอบเกื้อ สุ วรรณทัต-เพียร, “การเขียนประวัติศาสตร์แบบชาตินิยม : พิจารณาหลวงวิจิตรวาทการ,”, 151.
49

พระสุ ริยวงศาธรรมิกราช (ค.ศ. 1695 / พ.ศ. 2238) ประเทศลาวล้านช้างก็ปั่นป่ วนแบ่งแยกและ


ตกเป็ นเมืองส่ วยของสยาม 114 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1779 – 1893”130 (พ.ศ. 2322 - 2436)
จากข้อเท็จจริ งทางประวัติ ศาสตร์ ต ้องยอมรั บว่า ไทยปกครองลาวนานนับศตวรรษ
และเหตุของความจริ งที่ไทยมีอิทธิ พลเหนื อลาวในช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ น้ ี เอง ที่กลายมาเป็ น
มุ ม มองของลาวในความรู ้ สึ ก ของผูถ้ ู ก เอาเปรี ยบ เมื่ อมี ผูป้ กครองกับผูอ้ ยู่ใต้ปกครอง ผูก้ ดขี่ กับ
ผูถ้ ูกกดขี่ ผูช้ นะกับผูแ้ พ้ จึงเป็ นธรรมดาที่ประวัติศาสตร์ของลาวมีความแตกต่างในมุมมองและเนื้อหา
ไปจากประวัติศาสตร์ ของทางฝ่ ายไทย การสร้างประวัติศาสตร์ ในภาวะอารมณ์น้ ี จึงมีผลต่อความรับรู ้
ที่สืบทอดมาในรู ปแบบความสัมพันธ์ของไทยและลาวที่เป็ นแม่แบบทางความคิดในมุมมองของไทย

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ที่ มีต่อลาว และมุมมองที่ ลาวมี ต่อไทย อัน เป็ นมรดกจากพัฒนาการงานเขี ยนในช่ วงสร้ า งชาติ
เป็ นสําคัญ ส
3. ความสั มพันธ์ ระหว่ างไทยกับลาวในบริบทประวัติศาสตร์
ความจริ งทางวิชาการในปั จจุบนั ต่างยอมรับว่า ไทย และ ลาว เป็ นกลุ่ม “ไท” ด้วยกัน
ตามลักษณะทางวัฒนธรรม เพี ยงแต่กระจายตัวไปตามพื้นที่ ต่าง ๆ 131 มี กาํ เนิ ดและพัฒนาการทาง
วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ร่วมกันมาช้านาน 132 ไทยและลาวมีความใกล้ชิดทางด้านศาสนา ภาษา
วัฒ นธรรม และมี ความผสมกลมกลื น ทางเชื้ อชาติ เ นื่ องด้ว ยอาณาเขตไทยและลาวมี พรมแดน
คาบเกี่ยวกันตามลักษณะของรัฐจารี ตทําให้การเคลื่อนย้ายตัวของประชากรนั้นแปรไปตามความเข้มแข็ง
ของอาณาจักร ในแง่มุมทางประวัติศาสตร์ ไทยและลาวมีความสัมพันธ์กนั ทางลักษณะวัฒนธรรมและ
ภาษาที่เติบโตมาในกลุ่มตระกูลเดียวกัน ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นมีลกั ษณะเกื้อกูลและพึ่งพา และเป็ น
ธรรมดาของรั ฐจารี ตที่ ต ้องมี ความสั มพันธ์ เชิ งสงครามเพื่ อชิ งกําลังคน แต่ ค วามสั ม พัน ธ์ ที่ รั บ รู ้
มาเนิ่ น นานกลับ เน้ น ในลัก ษณะคู่ ส งคราม มากกว่ า มิ ต รประเทศทั้ง ที่ ห ลัก ฐานสั ม พัน ธ์ อ ัน ดี
มีปรากฏทั้งตํานานและพระราชพงศาวดารอีกทั้งศาสนสถานที่ยงั คงหลงเหลือจนปัจจุบนั
ดังปรากฏในคราวการทําข้อตกลงแบ่งดินแดนระหว่างพระเจ้าฟ้ างุ่ม แห่ งอาณาจักรล้านช้าง
กับกรุ งศรี อยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าอู่ทอง เมื่อพระเจ้าฟ้ างุ่มขยายอํานาจเข้ามาในอีสานจนถึงเมือง
ร้ อ ยเอ็ ด ในกลุ่ มแม่ น้ ําชี น้ ัน ก็ หยุดแต่ เพี ยงเท่ านั้น เพราะตํ่าลงไปจะเป็ นเขตของกรุ งศรี อยุ ธยา 133

130
บุนมี เทบสี เมือง, ความเป็ นมาของชนชาติลาว เล่ม 1 การตั้งถิ่นฐานและการสถาปนาอาณาจักร, 7.
131
ทวีศิลป์ สื บวัฒนะ, “การรั บรู้ เรื่ อง “ลาว” ในพงศาวดารและแบบเรี ยนไทย,” ใน สังคมศาสตร์
ปริ ทศั น์. 16,1 (2535) : 114.
132
เติ ม วิภาคย์พจนกิ จ, ประวัติศาสตร์ ลาว (กรุ งเทพฯ : มูลนิ ธิโครงการตําราสังคมศาสตร์ และ
มนุษยศาสตร์, 2530), คํานํา (5).
133
สุ จิตต์ วงษ์เทศ, เจ๊กปนลาว (กรุ งเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2530), 52.
50

พระเจ้าฟ้ างุ่ม จึงมีพระราชสาสน์ถึงพระรามาธิ บดีอู่ทองเจ้ากรุ งศรี อยุธยาว่า “จักรบหรื อรู ้ว่าสิ่ งใดนั้นจา”
พระรามาธิ บดีอู่ทอง ตอบคืนว่า “เราหากเป็ นพี่น้องกันมาแต่ขุนบรมโน้นเหมือนกัน 134 เจ้าอยากได้
บ้านได้เมืองให้เอาแต่เขตดงสามแดน (ดงพระยาไฟ) ไปจดภูพระยาพ่อและแดนเมืองนครไทยเป็ นเจ้า
เถิด อนึ่ งข้าจักส่ งนํ้าอ้อย นํ้าตาลงบ อนึ่ งลูกหญิงข้า ชื่ อนางแก้วลอดฟ้ า ใหญ่มาแล้ว จักส่ งไปปูเสื่ อปู
หมอนแก่เจ้าฟ้ าแล”135 ข้อตกลงฉันมิตรครั้งนี้ จึงสรุ ปด้วยการแบ่งดินแดนของอาณาจักรล้านช้างกับ
กรุ งศรี อยุธยาและการแสดงความปรารถนาจะยกราชธิ ดาจากกษัตริ ย ์อยุธยาแด่ เจ้าชี วิ ตล้านช้าง
เพื่อราชอาณาจักรทั้งสองจะได้เป็ นพี่นอ้ งชัว่ กาลนาน136
นอกจากจะมีกล่าวในตํานานและพงศาวดารถึงความสมานสามัคคีอนั ดีระหว่าง อาณาจักร

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ล้านช้างก◌ับกรุ งศรี อยุธยาแล้ว ยังมีหลักฐานอยูใ่ นศิลาจารึ กและศาสนสถาน กล่าวถึงความสัมพันธ์

ใกล้ชิดของผูป้ กครองกรุ งศรี อยุธยากับกษัตริ ยล์ า้ นช้างในการทําสัญญาทางพระราชไมตรี สร้างหลักเขต
แบ่งพรมแดนระหว่างกรุ งศรี อยุธยากับกรุ งศรี สัตนาคนหุ ต 137 คือ “พระธาตุเจดียศ์ รี สองรักษ์” ทั้งนี้
เนื่องจากสมัยนั้นพม่าเรื องอํานาจมาก ยกทัพมารุ กรานกรุ งศรี อยุธยาและกรุ งศรี สัตนาคนหุ ตหลายครั้ง
พระไชยเชษฐากับพระมหาจักรพรรดิ์จึงทําไมตรี ต่อกันและทรงร่ วมสร้างเจดีย ์ 138 เพื่อเป็ นสักขีพยาน
ของสัมพันธไมตรี ที่ดีของสองอาณาจักร139 “ตามตํานานกล่าวไว้ว่าเจดียศ์ รี สองรักสร้างขึ้น ณ กึ่งกลาง
ระหว่างแม่น้ าํ น่ านบนโคกไม้ติดกัน เริ่ มสร้างเมื่อ ค.ศ. 1560 (พ.ศ. 2103) ตรงกับปี วอกโทศก
จุลศักราช 922 เสร็ จเมื่อ ค.ศ. 1563 (พ.ศ. 2106) ตรงกับปี กุน เบญจศกจุลศักราช 925 ในวันพุธขึ้น
14 คํ่าเดือน 6 และทําพิธีฉลองเมื่อวันพฤหัสบดีข้ ึน 15 คํ่า เดือน 6”140
ในคําจารึ กที่ “พระธาตุเจดียศ์ รี สองรักษ์” เมืองด่านซ้าย ค.ศ. 1560 (พ.ศ. 2103) ยืนยันถึง
สัมพันธ์ อนั ใกล้ชิดระหว่างพระไชยเชษฐาธิ ราชแห่ งกรุ งศรี สัตนาคนหุ ต กับพระมหาจักรพรรดิ

134
คํากล่าวนี้ น่าจะเป็ นจุดเริ่ มต้นของคําพูดที่ปัจจุ บนั นิ ยมใช้เมื่ อเอ่ยถึงความสัมพันธ์ไทยและลาว
“ไทยและลาวใช่อื่นไกลเป็ นบ้านพี่เมืองน้องกัน” แต่ใครจะเป็ นบ้านพี่เมืองน้องก็ข้ ึนอยูก่ บั ว่าผูพ้ ดู คือใคร และใช้
ในจุดประสงค์ใด แต่สาํ หรับลาวมักจะนิยมกล่าวถึงความสัมพันธ์ไทยและลาวว่า เป็ นบ้านใกล้เรื อนเคียง, ผูว้ จิ ยั .
135
สิ ลา วีระวงส์, ประวัติศาสตร์ลาว, 33.
136
พ.ต.อ.สุ รพล จุลละพราหมณ์, ศึกศามเจ้าลาว (พระนคร : โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์, 2505), 452 – 453
กล่าวถึงใน ทวีศิลป์ สื บวัฒนะ, “การรับรู้เรื่ อง “ลาว” ในพงศาวดารและแบบเรี ยนไทย,” ,115.
137
สุ จิตต์ วงษ์เทศ, เจ๊กปนลาว, 99.
138
ป้ ายอธิ บายประวัติความเป็ นมาของพระธาตุศรี สองรัก,ตั้งอยูห่ น้าบันไดทางขึ้นพระธาตุ, พระธาตุ
ศรี สองรัก อ.ด่านซ้าย จ.เลย
139
ทวีศิลป์ สื บวัฒนะ, “การรับรู้เรื่ อง “ลาว” ในพงศาวดารและแบบเรี ยนไทย,”, 115.
140
ป้ ายอธิ บายประวัติความเป็ นมาของพระธาตุศรี สองรัก,ตั้งอยูห่ น้าบันไดทางขึ้นพระธาตุ, พระธาตุ
ศรี สองรัก อ.ด่านซ้าย จ.เลย
51

กษัตริ ยก์ รุ งศรี อยุธยาซึ่ งตามความในจารึ กกษัตริ ยส์ องแผ่นดิ นได้ร่วมทําพิธีปักปั นเขตแดนกัน 141
ดังข้อความตอนหนึ่งในคําประกาศสัตยาธิษฐานในการก่อสร้างพระธาตุเจดียศ์ รี สองรักษ์ ว่า

...เพื่อจัดให้เป็ นบรมสุ ขสวัสดีเป็ นประโยชน์แก่สมณพราหมณาจารย์เจ้า ชาวประชาราษฎร์ ท้ งั หลาย


ตราบต่อเท้าถ้วนกัปนี้ เป็ นเค้าเป็ นประธานสารคดีในมหาพีคีริต (คีรี) ในฮ่อมห้วยภูเขาสกลสี ลวังถ์
(เอกสี มงั วะ) ขอจงเป็ นเอกสี มาปริ มณฑลอันเดียวกัน เกลี้ยงกลมงามมณฑลเท้าพงษ์พนั ธุ์ลูกเต้าหลานเหลน
อย่าได้ชิงส่ วย ล่วงแดนแสนหญ้า อย่าได้กระทําโลภเกี้ยวแก่กนั จนเท้าเสี้ ยง พระอาทิตย์พระจันทร์ เจ้า
ตกลงมาอยูเ่ หนือแผ่นดินอันนี้เถิด” 142

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
คําจารึ กที่ “พระธาตุเจดี ยศ์ รี สองรั กษ์” เมืองด่านซ้าย นี้ เป็ นการแสดงถึงสัมพันธภาพ

ที่ ผู ้ส ร้ า งต้อ งการให้ ป รากฏไมตรี สื บ ชั่ว ลู ก หลาน เพราะนอกจากคํา ประกาศนี้ ยัง มี ป รากฏ
เจตน์จาํ นงร่ วมในศิลาจารึ กที่จารึ กด้วยอักษรธรรม ระบุถึงการร่ วมแรงร่ วมใจสร้างพระธาตุศกั ดิ์สิทธิ์
โดยหลัง่ นํ้าลงตรงที่จะสร้างและมีการช่วยเหลือของทั้งสองที่จดั ตั้งคณะครัวไทยและลาวมาทํางาน
ร่ วมกันเพื่อความรักสามัคคี 143 จะได้มีปรากฏสื บไป
ความสัมพันธ์ของพระไชยเชษฐาธิ ราช กับพระมหาจักรพรรดิ เห็ นได้อีกครั้งจากการ
ร่ วมกันรบกับพม่า ใน ค.ศ. 1564 (พ.ศ. 2107) พระเจ้าหงสาวดียกกองทัพตีเชี ยงใหม่และเลยลงไป
เวี ย งจัน ทน์ จับ เจ้ า อุ ป ราช มเหสี แ ละนางสนมของพระไชยเชษฐาธิ ร าชไปหงสาวดี 144 เมื่ อ
พระไชยเชษฐาธิ ราชได้ราชธานี คืนมาทรงขอพระราชทานพระเทพกษัตรี ราชธิ ดาพระมหาจักรพรรดิ
อันเกิดจากพระศรี สุริโยทัยไปเป็ นมเหสี แต่เนื่ องด้วยพระเทพกษัตรี ประชวร กรุ งศรี อยุธยาจึงจัดส่ ง
พระแก้วฟ้ าอันเป็ นราชธิ ดาที่เกิดจากพระสนมไปแทน พระเจ้าไชยเชษฐาทรงส่ งพระแก้วฟ้ ากลับคืน
กรุ งศรี อยุธยา “ถึงแม้ว่าพระนางแก้วฟ้ าจะมีสีสันวรรณะโสภางามกว่าพระนางเทพกษัตรี ยร์ ้อยเท่า
พันทวีก็ตาม ก็ไม่ลบล้างกิ ตติศพั ท์พระนางเทพกษัตรี เสี ยได้ ก็เป็ นที่อปั ยศอับอายมากยิ่งหนักหนา

141
“คําจาฤกที่ พระธาตุเจดี ยศ์ รี สองรั กษ์เมื องด่านซ้าย,” ใน ประชุ มจดหมายเหตุ สมัยอยุธยา ภาค 1
(พระนคร : สํานักนายกรัฐมนตรี , 2510), 1 – 15. กล่าวถึงใน สุ เนตร ชุตินธรานนท์ และคณะ, ทัศนคติเหยียดหยาม
เพื่อนบ้านผ่านแบบเรี ยน ชาตินิยมในแบบเรี ยนไทย, 40.
142
ไพโรจน์รําลึก (อีสานปริ ทศั น์) (กรุ งเทพฯ : ชมรมวรรณกรรมอีสานและคณาจารย์-นักศึกษา
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2532), 130.
143
ทวีศิลป์ สื บวัฒนะ, “การรับรู้เรื่ อง “ลาว” ในพงศาวดารและแบบเรี ยนไทย,”, 131.
144
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1 (กรุ งเทพฯ : สํานักวรรณกรรมและ
ประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2548), 279 – 280.
52

ข้าพระองค์จึงขอส่ งพระนางแก้วฟ้ าคืนมา ขอพระองค์จงพระราชทานพระนางเทพกษัตรี แก่ขา้ พระองค์


ดุจดังทรงอนุญาตไปแต่ก่อน”145
ความสัมพันธ์อนั ดีระหว่างไทยและลาวในหน้าประวัติศาสตร์ยงั มีปรากฏในคราวล้านช้าง
ร่ วมมือกับอยุธยารบกับพม่าดังปรากฏในพระราชพงศาวดารไทย “ครั้ น ค.ศ. 1568 (พ.ศ. 2111)
ทัพหลวงจากเมืองหงสาวดียกมาตีกรุ งศรี อยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระมหิ นทราธิ ราช ก็ได้กองทัพของ
พระไชยเชษฐากรุ งศรี สัตนาคนหุ ตมาตีกระหนาบทัพพม่า” 146 แต่ก็ถูกกองทัพพม่าตีแตกพ่ายกลับ
นครเวียงจันทน์ 147
ในสมัยกรุ งรัตนโกสิ นทร์ปรากฏความสัมพันธ์อนั ดีระหว่างนครเวียงจันทน์กบั กรุ งเทพ ฯ

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 มีการสร้างความสัมพันธ์ทางสายเลือด

โดยการสมรส พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ าจุฬาโลกมหาราช ทรงขอเจ้านางทองสุ กและพระนาง
เขียวค่อม พระราชธิดาเจ้าอินทวงศ์ กษัตริ ยเ์ วียงจันทน์มาเป็ นพระสนม และทรงสถาปนาพระราชธิดา
ที่ประสู ติกบั เจ้านางเวียงจันทน์ คือ “พระองค์เจ้าหญิงจันทบุรีเป็ นเจ้าฟ้ ากุณฑลทิพยวดี แล้วมีงาน
สมโภชสามวัน เมื่ อถึ งพิธีโสกัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ าจุฬาโลกโปรดเกล้า ฯ ให้มี
พระราชพิธีอย่างใหญ่โต” 148 ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระองค์ได้ยกย่องเจ้าฟ้ ากุณฑลทิพยวดี (พระธิ ดา
ของรัชกาลที่ 1 กับเจ้านางทองสุ กแห่ งเวียงจันทน์) ขึ้นเป็ นมเหสี 149 แม้ว่าความสัมพันธ์ไทยและ
ลาวในช่วงต้นรัตนโกสิ นทร์ น้ ี จะอยู่ในฐานะของเจ้าประเทศราชกับประเทศใต้ปกครองแต่วิธีการ
สร้างความสัมพันธ์ทางเครื อญาติโดยการสมรส ถือได้ว่าช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างราชสํานัก
ไทยและลาวให้แน่นแฟ้ นยิง่ ขึ้น
เป็ นที่แน่ชดั ว่าความสัมพันธ์อนั ดีระหว่างไทยและลาวมีสืบมาแต่ครั้งกรุ งศรี อยุธยาทั้งใน
ฐานะมิ ตรประเทศและความสั มพันธ์ ทางเครื อญาติ แต่ ด้วยความจําเป็ นบางอย่างของรั ฐทําให้
สัมพันธภาพทางประวัติศาสตร์ ที่ดีถูกบดบังแล้วแทนที่ดว้ ยภาพของสงครามที่เน้น “ผูแ้ พ้” “ผูช้ นะ”
ให้โดดเด่น การบันทึกเรื่ องราวของรัฐเริ่ มทวีความเข้มข้นขึ้นเมื่อเกิด “รัฐชาติ” การเขียนประวัติศาสตร์
145
สิ ลา วีระวงส์, ประวัติศาสตร์ลาว, 97.
146
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1, 282.
147
สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุ ภาพ, ไทยรบพม่า (ธนบุรี : โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2514), 45- 63,
กล่าวถึงใน ทวีศิลป์ สื บวัฒนะ, “การรับรู้เรื่ อง “ลาว” ในพงศาวดารและแบบเรี ยนไทย,” , 114.
148
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดารกรุ งรัตนโกสิ นทร์ รัชกาลที่ 1 (กรุ งเทพฯ : โรงพิมพ์
การศาสนา, 2531), 96, กล่าวถึงใน ทวีศิลป์ สื บวัฒนะ, “การรับรู้เรื่ อง “ลาว” ในพงศาวดารและแบบเรี ยนไทย,”, 115.
149
ธวัชชัย ไพรใหล, “ความสัมพันธ์ระหว่างไทย กับหลวงพระบาง เวียงจันทน์และจําปาศักดิ์ ตั้งแต่
สมัยรัชกาลที่ 1 – 5 (พ.ศ. 2325 – 2446)” (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ เอเชีย บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ, 2534), 50 – 51.
53

จึ งเป็ นการเล่ าเรื่ องตามที่ รั ฐต้องการกล่ าวอ้าง รั ฐต้องมี ความชัดเจนด้านเขตแดน และกําลังคน


การเขียนประวัติศาสตร์ เพื่อกล่าวถึงที่มา ความเข้มแข็งยิ่งใหญ่เหนื อบรรดารัฐทั้งหลายจึงชัดเจนขึ้น
ตามความจําเป็ นของแต่ละรัฐที่ตอ้ งการสร้างประวัติศาสตร์ ให้ชดั เจน เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
ที่ เกิ ดขึ้ นจึ งมี ความโดดเด่ นในเรื่ องของผูแ้ พ้ผูช้ นะเพื่ อสร้ างความรู ้ สึ กร่ วมให้กับคนในรั ฐและ
กลายเป็ นเหตุของความไม่เท่าเทียมทางประวัติศาสตร์ที่ส่งผลในปัจจุบนั
คริ สศตวรรษที่ 20 ลัทธิ ชาตินิยมกลายเป็ นพลังผลักดันทางด้านความคิดที่ไม่ได้อยูเ่ ฉพาะ
แต่ในประเทศที่เป็ นอาณานิคมเท่านั้น ลัทธิชาตินิยมมีบทบาทเป็ นพลังผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
รู ปแบบของประเพณี เก่ าในรู ปของการปฏิ ว ตั ิ หรื อการปฏิ รูป โดยมี จุ ดมุ่ งหมายที่ จะทําให้สังคม

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ก้าวหน้าไปสู่ รูปแบบของ “สังคมสมัยใหม่” 150 อิ ทธิ พลจากการปฏิ รูปประเทศสมัยเมจิ ของญี่ ปุ่ น

จนสามารถพัฒนาประเทศและชนะสงครามในรัสเซียจนกลายต้นแบบของการล้มอํานาจประเทศยุโรป
โดยชาวเอเชี ย และการปฏิ วตั ิ ในจี นโดยซุ นยัดเซน ซึ่ งถื อเป็ นต้นแบบการเปลี่ ยนรู ปแบบความคิ ด
ทางการเมืองให้กบั ปั ญญาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตกอยูใ่ ต้อาํ นาจของระบอบอาณานิคม
ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้เสี ยเอกราชเช่นเดียวกับบรรดาประเทศในเอเชี ยตะวันออก
เฉี ยงใต้ แต่ก็หนี ไม่พน้ จากภัยคุกคามของจักรวรรดิ นิยมเช่ นเดี ยวกัน สําหรับไทยนั้นอุดมการณ์
ชาตินิยมได้ทวีบทบาทในระหว่างทศวรรษ 1910 – 1940 (2450 – 2480) และกลายมาเป็ นแนวคิด
ทางการเขียนประวัติศาสตร์แบบ “ชาตินิยม” 151 ที่กลายเป็ นกระแสหลักของการเขียนประวัติศาสตร์ไทย
อยู่เป็ นเวลานาน152 สิ่ งที่เกิ ดขึ้นนี้ เป็ นช่วงเวลาเดียวกับนักชาตินิยมลาว คือ มหาสิ ลา วีระวงส์ ได้เขียน
“พงศาวดารลาว” ขึ้น153เช่นกัน

การจัด ระเบี ย บองค์ ค วามรู้ ใ หม่ ที่ เกิ ด ขึ้ น เกิ ดจากการปรั บ ตัวเข้าสู่ ค วามเป็ น “รั ฐ ชาติ ”
องค์ความรู้ต่าง ๆ ถูกเรี ยบเรี ยง ชําระ และ “จัดระบบ” เพื่อแสดงตัวตนของรัฐชาติ ปฏิกิริยาตื่นตัว
ภายในของแต่ละรัฐนํามาสู่ การเขียน “ชีวประวัติของชาติ” ทัศนคติที่มีต่อเพื่อนบ้านในปั จจุบนั มีตน้ ราก

150
พรเพ็ญ ฮัน่ ตระกูล, “พัฒนาการของลัทธิ ชาตินิยม,” วารสารอักษรศาสตร์ 26 , 1 (มิถุนายน –
พฤศจิกายน 2546) : 37.
151
ฉลอง สุ นทราวาณิ ชย์, “พงสาวะดานลาว ของ มหาสิ ลา วีระวงส์,”, 21 - 22.
152
กอบเกื้อ สุ วรรณทัต-เพียร, “การเขียนประวัติศาสตร์ แบบชาตินิยม : พิจารณาหลวงวิจิตรวาทการ,”,
149 - 180.
153
ฉลอง สุ นทราวาณิ ชย์, “พงสาวะดานลาว ของ มหาสิ ลา วีระวงส์,”, 22.
54

อันเกิดจากการวางรากฐานการรับรู้ ความเข้าใจจากความรู้ดา้ นประวัติศาสตร์ ที่ถูก “จัดระบบ” ในช่วงนี้


เป็ นปฐม 154

ต้องยอมรับว่าวัตถุประสงค์การสร้างชาติของไทยและลาว มีจุดประสงค์ในการสร้าง
ความรู ้สึกชาตินิยมเหมือนกัน และสิ่ งที่เกิดขึ้นคือความรู ้สึกชาตินิยมถูกสร้างขึ้นในบริ บทที่ต่างกัน
ของสองประเทศ
ไทยอยูใ่ นสถานะที่ตอ้ งการสร้างประวัติศาสตร์ ชาติเพื่อให้เห็นความเป็ นมาจากจุดเริ่ ม
ของชนชาติ เพื่อให้ตะวันตกที่จอ้ งจะยึดครองได้รับรู ้ถึงภูมิหลังที่ยิง่ ใหญ่ ประวัติศาสตร์ จึงถูกเขียน

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ขึ้นเพื่อให้เห็นถึงอารยธรรมอันยาวนานของรัฐอีกทั้งอํานาจที่เคยไพศาล ในขณะที่ลาวเพิ่งหลุดพ้น


จากการยึดครองของฝรั่ งเศสต้องการสร้ างความรู ้ สึกกลมเกลียวในชาติ จึงใช้เหตุการณ์ที่เกิ ดขึ้น
ในประวัติศาสตร์ มาเป็ นเครื่ องมื อบอกเล่าถึ งความโหดร้ ายของประเทศต่ าง ๆ ที่ เข้าครอบครอง
เพื่อสร้างความรู ้สึกรักชาติ จุดประสงค์ของการสร้างความรู ้สึกชาตินิยมในบริ บทของการสร้างชาติ
ที่ต่างกันนี้ กล่าวได้ว่าเป็ นที่มาของความสัมพันธ์ไทย – ลาวในความรู ้สึกไม่เท่าเทียม ท่ามกลาง
บริ บททางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น
4. ผลกระทบทางความสั มพันธ์ ไทย – ลาวอันเนื่องมาจากการสร้ างประวัติศาสตร์ จากพงศาวดาร
สู่ แบบเรียน
การจะทําความเข้าใจคนในสังคมใดควรให้ความสําคัญกับงานเขียนที่ออกมาในช่วงนั้น
เพราะนอกจากจะเป็ นการแสดงทัศนะของผูเ้ ขียนแล้ว ยังทําให้เข้าใจแนวโน้มของทิ ศทางสังคม
ในช่วงเวลานั้นได้เป็ นอย่างดี งานเขียนทางประวัติศาสตร์ในทุกสมัย มักถูกนํามาใช้เพื่อเป็ นเครื่ องมือ
และการดําเนิ นกลไกแห่ งรั ฐ งานเขี ยนทางประวัติศาสตร์ ในช่ วงสร้ างชาติน้ ี ก็เช่ นกัน ถูกพัฒนา
เพื่อประโยชน์ของรัฐในการสร้างชุดความคิดให้กบั สังคม แม้วา่ พระราชพงศาวดารจะเป็ นหลักฐานที่
มีประโยชน์มากทั้งในแง่ของการศึกษาประวัติศาสตร์ นิพนธ์และประวัติศาสตร์ แต่ก็เป็ นหลักฐาน
ที่ควรใช้ด้วยความระมัดระวังยิ่ง เพราะขีดจํากัดของเอกสารช่ วงสมัยการสร้ างชาติ คือ การเขียน
ประวัติศาสตร์ในมุมมองและทัศนะอิงอคติตามเป้ าประสงค์แห่งรัฐ การศึกษาประวัติศาสตร์ในช่วงนี้
จึงมักให้ภาพและมุมมองที่ไม่รอบด้าน เพราะมักนําเสนอโดยใช้การเล่าเรื่ องผ่านสายตารั กชาติของ
ผูน้ ิพนธ์เป็ นสําคัญ
กรณี “สงครามเจ้าอนุ วงศ์” เป็ นตัวอย่างสําคัญของการศึกษาเพื่อทําความเข้าใจต่อการ
สร้างทัศนะและการรับรู ้ในช่วงเวลาสร้างชาติที่มีผลต่อความสัมพันธ์ไทยและลาวในฐานะที่เป็ นจุดเริ่ ม

154
สุ เนตร ชุ ติ น ธรานนท์ และคณะ, ทัศนคติ เหยี ยดหยามเพื่ อ นบ้านผ่านแบบเรี ย น ชาติ นิ ยมใน
แบบเรี ยนไทย, 60 - 69.
55

ของหลักฐานที่แสดงความสัมพันธ์ในรู ปแบบไม่เท่าเทียม ในส่ วนของงานประวัติศาสตร์ นิพนธ์ลาว


กรณี “สงครามเจ้าอนุ วงศ์” มี ง านที่ น่ าสนใจคื อ “พงศาวดารลาว” ของมหาสิ ล า วีร ะวงส์ และ
“พงศาวดารชาติลาว” ของเจ้าคําหมั้น วงกตรัตนะ “เอกสารทั้งสองเล่มเป็ นงานเขียนที่มีผใู ้ ช้มาก
ที่สุดในลาว จนมี ผูก้ ล่าวว่าการที่ จะศึกษาประวัติศาสตร์ ลาวที่คนลาวเขียน ควรศึ กษาจากเอกสาร
ทั้งสองชิ้ นเป็ นหลัก แต่ ในส่ วนของ “สงครามเจ้าอนุ วงศ์” พงศาวดารชาติ ลาวของ เจ้าคําหมั้น
ที่เรี ยบเรี ยงเสร็ จภายหลังจากพงศาวดารลาว ของมหาสิ ลา วีระวงส์ ออกพิมพ์เผยแพร่ แล้ว 4 ปี นั้น
รายละเอียดก็มีไม่มากนัก มีเพียง 7 หน้า เมื่อเทียบกับพงสาวดารลาว ของมหาสิ ลา วีระวงส์ ที่มีเนื้ อหา
ถึง 48 หน้า” 155 ผูว้ ิจยั จึงให้ความสนใจที่พงศาวดารลาว ของ มหาสิ ลา วีรวงส์ เพราะนอกจาก

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ความสําคัญทั้งหมดที่กล่าวมายังได้รับการรับรองจากกรมวรรณคดีลาว และกระทรวงศึกษาธิ การลาว

รับรองและจัดพิมพ์เผยแพร่ พร้อมทั้งระบุไว้ในคํานําอย่างชัดเจนในฐานะ “ไต้ส่องทางในยามมืด”
ของผูส้ นใจอ่านพงศาวดารลาว 156 ซึ่งสะท้อนถึงความสําคัญของพงศาวดารฉบับนี้ได้เป็ นอย่างดี
จากมุมมองของลาวในพงศาวดารเล่มสําคัญของมหาสิ ลา พบว่า อุทิศพื้นที่ส่วนสําคัญให้แก่
รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับสงครามระหว่างไทยลาวช่วงทศวรรษ 1780 (2320) และการต่อสู ้กบั ไทย
ของเจ้า อนุ ว งศ์ พื้ น ที่ ห นึ่ ง ในสี่ จึ ง เป็ นเรื่ อ งราวของยุคสมัย ที่ ล าวตกอยู่ภ ายใต้ก ารครอบงํา ของ
เมืองไทย 157 ทั้งนี้เพราะ

ไม่มียคุ สมัยใดในประวัติศาสตร์ ที่ยงั หมาดอย◌ู ◌่ในความทรงจําร่ วมของคนลาว ที่จะมีวีรกรรม


จากการต่ อสู้ “เพื่ อชาติ ” และความองอาจหาญกล้า ท้า ความตาย เต็ม ไปด้ว ยสี สั น และก่ อ ให้เ กิ ด
แรงบันดาลใจ มากเท่ากับยุคสมัยที่ลาวตกอยู่ใต้อาํ นาจของไทย เหตุการณ์เรื่ องราวของยุคสมัยนี้
ที่ปรากฏอยูจ่ ึงมีพลังและประสิ ทธิภาพมากที่สุด 158

โครงเรื่ องประวัติศาสตร์จึงมีแกนกลางอยูท่ ี่สงคราม “กูเ้ อกราช” ลาว ต่อต้านการกดขี่และ


ความโหดร้ ายของไทย ทัศนะของฝ่ ายลาวที่ มองไทยจึ งเป็ นความรู ้ สึ กของผูถ้ ู กข่ มเหง เจ้าอนุ วงศ์
ในหลัก ฐานของลาวถู ก จารึ ก พระนามในฐานะแบบอย่า งของวี ร กษัต ริ ย ์นัก รบผูย้ อมเสี ย สละ
เลือดเนื้อและชีวิตเพื่อกอบกูเ้ อกราชของลาว

155
ดารารั ต น์ เมตตาริ ก านนท์, “การรั บ รู้ เ หตุ ก ารณ์ “เจ้า อนุ ว งศ์ พ.ศ. 2369” ในเอกสารลาว,”
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 16,2 (พฤศจิกายน 2541- เมษายน 2542) : 5 -7.
156
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, ประวัติศาสตร์ลาวหลายมิติ, 104.
157
ฉลอง สุ นทราวาณิ ชย์. “พงสาวะดานลาว ของ มหาสิ ลา วีระวงส์,”, 13.
158
เรื่ องเดียวกัน, 21.
56

แม้สงครามเจ้าอนุ วงศ์จะเป็ นเหตุการณ์ที่ล่วงมานานแล้ว แต่ประวัติศาสตร์ ในช่ วงนี้


ยังหมาดในความทรงจําเสมือนบาดแผลที่ยงั สดใหม่ เหตุการณ์ในครั้งนั้นมักถูกหยิบยกมาวิจารณ์
อย่างกว้างขวางเสมอไม่ต่างไปจากความเจ็บปวดของช่วงประวัติศาสตร์ ที่ลาวถูกฝรั่งเศสยึดครอง
“เพิ่นเล่าออกมาด้วยจิดใจขมขื่น เจ็บแค้นแสนสาหัด คือว่าเหดกานนั้น ๆ ยังใหม่ ๆ บ่ต่างหยังกับ
พวกเฮาได้ฟังนักปะติวดั เฮาในปะจุบนั เล่าเลื่องกานต่อสู ก้ บั พวกจักกะพัดล่าเมืองขึ้นแบบเก่าและใหม่
ใน 20 – 30 ปี ที่ผา่ นมานี้เอง”159 ฝรั่งเศสรู ้ความจริ งข้อนี้ จึงพยายามยํ้าข้อเท็จจริ งทางประวัติศาสตร์ เพื่อ
กีดกันคนลาวออกจากไทย 160 โดยใช้ขอ้ บาดหมางในอดีตให้เกิดประโยชน์ “ประวัติศาสตร์ เจ้าอนุ ฯ
ได้รับการส่ งเสริ มโดยลัทธิล่าอาณานิ คมฝรั่งเศสเพราะว่ามีเหตุผลในการยกความดีความชอบให้กบั

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ฝรั่งเศสว่าเป็ นผู ้ “ปกป้ องลาว” ไว้จากคนสยาม” 161

ช่วงฝรั่งเศสเข้าปกครองลาวแม้จะมีการพัฒนาระบบการศึกษาโดยการสร้างโรงเรี ยน
แต่กม็ ีการจํากัดสิ ทธิเข้าเรี ยนเฉพาะชนชั้นสูง และคนต่างชาติ ประชาชนทัว่ ไปไม่ค่อยได้รับโอกาส
ทางการศึกษามากนัก เพื่อต้องการให้เกิดความเรี ยบร้อยในการปกครอง ฝรั่งเศสไม่ได้ส่งเสริ ม
ให้เกิดการพัฒนาอย่างจริ งจัง ปล่อยให้ประชาชนมีความเชื่อทางศาสนาตามเดิม ให้ดาํ เนินชีวิต
ตามสภาพที่เคยมีมา ด้วยเหตุน้ ีประวัติศาสตร์ลาวสมัยฝรั่งเศสเข้ามาปกครองจึงแบ่งเป็ น 2 ทัศนะ
คือ นักประวัติศาสตร์ลาวสมัยศักดินามองฝรั่งเศสในเชิงบวก เช่น สิ ลา วีระวงส์ ได้กล่าวว่า
“บ้านเมืองในสมัยฝรั่งเศสปกครองนั้นมีแต่ความสงบและสบาย จนมีผกู ้ ล่าวสรรเสริ ญและยกยอ
บุญคุณฝรั่งเศสอยูเ่ ป็ นอันมาก” ด้านนักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่ได้รับอิทธิพลตามแนวคิดสังคมนิยม

159
มะหาวิทะยาไลแห่งชาด, คะนะพาสา วันนะคะดี และมะนุดสาด, ตามหารอยเจ้าอะนุวง (เวียงจัน :
คะนะพาสา วันนะคะดี และมะนุดสาด มะหาวิทะยาไลแห่งชาด, 2010), 16.
160
ช่ วงสมัยนายกรั ฐ มนตรี จ อมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้ นดํารงตําแหน่ ง เป็ นช่ วงที่ ชาติ นิยมสยาม
ถูกส่ งเสริ มในทุกด้าน หนึ่ งในนั้นคือ ความพยายามที่จะรวมประชากรที่พูดภาษาไทให้เป็ นหนึ่ งเดียวกัน มีการ
เปลี่ยนชื่อประเทศ เป็ น ประเทศไทย อันหมายถึงประเทศผูเ้ ป็ นใหญ่แห่งเชื้อชาติ”ไท” เพื่อส่ งเสริ มให้เห็นถึงความ
เป็ นผูน้ าํ ของคนชนชาติ “ไท” และความยิง่ ใหญ่ของระบบอาณาจักรในอดีต ฝรั่งเศสจึงส่ งเสริ มชาตินิยมลาว ในลาว
เพื่อเป็ นการต่อต้านชาติ นิยมไทย กี ดกันว่า ลาว คื อ ลาว ไม่ใช่ ลาวที่ เป็ นของ ไทย, ดูรายละเอี ยดเพิ่มเติ มใน
แกรนท์ อี แวนส์ , ประวัติศาสตร์ สังเขปประเทศลาว ประเทศกลางแผ่นดิ นใหญ่เอเชี ยอาคเนย์, แปลโดย ดุษฎี
เฮย์มอนด์ (เชียงใหม่ : สํานักพิมพ์ซิลค์เวอร์ม, 2549).
161
แกรนท์ อีแวนส์, ประวัติศาสตร์สังเขปประเทศลาว ประเทศกลางแผ่นดินใหญ่เอเชียอาคเนย์, 26.
57

จะมีความคิดเห็นในมุมมองที่ต่างออกไป ตีความว่าฝรั่งเศสคือผูร้ ุ กราน กดขี่ ขูดรี ด162 และแน่นอน


ที่สุดว่า ในสายตาลาวแล้วฝรั่งเศสในฐานะเจ้าอาณานิคม ก็คือ “ผูร้ ้าย” ที่ไม่ต่างจากศักดินาสยาม

เกี่ยวกับปะหวัดสาดลาวในท้ายสะตะวัดที่ 18 – ต้นสะตะวัดที่ 19 นี้ กม็ ีความหมายสําคันคือ


กันกับปะหวัดสาดไลยะอื่น ๆ ...แต่ปะหวัดสาดลาวในระยะนี้ , โดยสะเพาะแม่นไลยะกานต่อสู้กชู้ าด
ของปะชาชนลาว พายใต้กานนําพาของเจ้าอะนุ วงนี้ แม่ นยังมี ห ลายข้อ คิ ดเห็ น, หลายทัดสะนะ
ที่ ส มควนแก่ ก านสนทะนากัน ยิ่ง ไปกว่า นั้น ยัง มี กุ่ม คนจํา นวนหนึ่ ง ใช้ค วามพะยายามปกปิ ด
และบิดเบือนความจิ งของปะหวัดสาดเซิ่ งเป็ นกานบ่ถึกต้องเหมาะสมและทังเป็ นกานใส่ ร้ายป้ ายสี
จิดใจรักชาดของปะชาชนลาวอีกด้วย 163

ำน ก
ั ห อ ส ม ุ ด ก ล าง สศตวรรษที่ 19 นั้นมีความสําคัญ
ปรากฏการณ์ส
ของสงครามไทยและลาวในช่วงต้นคริ
ทางประวัติศาสตร์ ลาวไม่ ต่างกับระยะอื่ น ๆ แต่มูลเหตุสําคัญที่ มกั ทําให้มีการย้อนรอยอดี ตของ
เหตุการณ์บ่อยครั้งเพราะเหตุการณ์ช่วงนี้ โดนปกปิ ด อําพรางและบิดเบือนความจริ งต่อการรับรู ้ก่อให้
คนในชาติ ลาวมี ความเข้าใจผิด “เพาะมี แ ต่ ความจริ งอัน ปาสะจากกานบิ ดเบื อนและปั้ นแต่ งขึ้ น
เพื่อเยียบยํ่าซึ่ งกันและกันเท่านั้นที่จะสามาดส้างพื้นถานอันหมั้นคงคะนงแก่นได้ให้แก่กานพัวพัน
กานบ้านพี่เมื องน้องที่ แท้จิ ง ละหว่ างสองชาดลาวและไท” 164 ด้ว ยเหตุ น้ ี “สงครามเจ้า อนุ ว งศ์”
จึ งนับเป็ นอี กเหตุ การณ์ ที่มีความหมายอย่างยิ่ง ต่อประวัติศาสตร์ สัมพัน ธภาพไทย-ลาว 165 เป็ น
ความสัมพันธ์เชิ งสงครามที่มีความเข้มข้นทางอารมณ์มีผลกระทบต่อความรับรู ้ของผูค้ นในสังคม
วงกว้าง
ในประวัติ ศ าสตร์ ล าวถื อ ว่ า เจ้า อนุ ว งศ์ เ ป็ นวี ร บุ รุ ษในตํา นานของแผ่ น ดิ น ลาว
ที่สร้างความรู ้สึกชาตินิยม 166 สงครามเจ้าอนุ วงศ์ถือเป็ นสงครามที่ควรยกย่อง เพราะเป็ นสงคราม
ปลดแอกลาวให้พน้ จากการเป็ นเมืองขึ้นของไทย

162
ศึกษารายละเอียดเพิ่มใน จารุ วรรณ และคณะ, “การกล่อมเกลาทางสังคมจากแบบเรี ยนระดับชั้น
ประถมศึกษาในสาธารณรัฐประชาธิ ปไตยประชาชนลาว,” ใน ลาวฮูห้ ยัง – ไทยรู้อะไรวิเคราะห์แบบเรี ยนสังคม
ศึกษา (กรุ งเทพฯ : โครงการอาณาบริ เวณศึกษา 5 ภูมิภาค, 2544).
163
มะหาวิทะยาไลแห่งชาด, คะนะพาสา วันนะคะดี และมะนุดสาด, ตามหารอยเจ้าอะนุวง, 25.
164
เรื่ องเดียวกัน, 15.
165
ทวีศิลป์ สื บวัฒนะ, “การรับรู้เรื่ อง “ลาว” ในพงศาวดารและแบบเรี ยนไทย,”,131.
166
Peter and Sanda Simms Richmond , The kingdoms of Laos : six hundred years of history
[Surrey : Curzon Press, 1999], 125.
58

เจ้าอนุ เป็ นกษัตริ ยผ์ สู้ ามารถ และเข้มแข็งในการสงคราม พระองค์เคยยกกองทัพไปช่วยไทย


รบพม่า แต่ครั้ งยังดํารงตําแหน่ งเป็ นอุปราชอยู่สองครั้ ง... ได้ยกทัพไปตีเมื องเชี ยงแสนจนได้ชยั ชนะ
เมื่อเจ้าอนุวงศ์ ได้เป็ นเจ้าแผ่นดินในนครเวียงจันทน์แล้วนั้น พระองค์ก็ได้ทรงจัดแจงสร้างบ้านเมือง
ให้เจริ ญรุ่ งเรื องหลายประการ เป็ นต้นว่าในทางพุทธศาสนา พระองค์ได้ทรงปฏิ สังขรณ์วดั วาอาราม
หลายแห่ ง ในทางการทหารก็ท รงส่ งเสริ ม บํารุ งให้เข้มแข็งอยู่เสมอ... พระเจ้าอนุ วงศ์เป็ นนักรบ
ผูส้ ามารถ แลเข้มแข็งผูห้ นึ่ง ทั้งมีความรักชาติ รักอิสรภาพเป็ นที่สุด พระองค์จึงพยายามคอยหาโอกาส
ที่จะปลดแอก จากความเป็ นประเทศหัวเมืองขึ้นของไทยอยูต่ ลอดมา 167

“ในการที่พระองค์ทาํ การกูอ้ ิสรภาพในคราวนั้น พระองค์คิดแต่เพียงจะกูอ้ ิสรภาพฟื้ นฟู

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ประเทศให้กลับคืนเป็ นเอกราชเท่านั้น มิได้คิดจะรบเอาประเทศไทย หรื อรบรากับประเทศไทยเพื่อ


แก้แค้น” 168 เจ้าอนุวงศ์ปรารถนาเพียงต้องการเป็ นอิสระจากไทยเท่านั้นไม่ได้คิดแก้แค้นหรื อเข้าหัก
ตีไทย แต่ “การกูอ้ ิสรภาพ” ของเจ้าอนุ วงศ์ตามคําเรี ยกของหลักฐานฝ่ ายลาวจะเปลี่ยนเป็ น “กบฏ”
ทันทีที่เมื่อปรากฏในหลักฐานฝ่ ายไทย
หลักฐานของทางฝ่ ายไทยในช่วงสร้างชาติชองลาวนี้ ให้ความรู ้สึกถึงเจ้าอนุวงศ์ที่แตกต่าง
ออกไปจากหลักฐานฝ่ ายลาว “คนไทยในสมัยนั้นและนักประวัติศาสตร์ ไทยมองว่า เจ้าอนุวงศ์ เป็ น
กบฏ เป็ นคนใจร้าย ในจดหมายเหตุ พระราชพงศาวดาร จะเรี ยกเจ้าอนุ วงศ์ว่า “อ้ายอนุ ” และเรี ยกผูน้ าํ
กบฏคนอื่นๆ อย่างดูถูก โดยมีคาํ ว่าอ้ายนําหน้าเช่นเดียวกัน” 169 ดังปรากฏใน จดหมายเหตุ รัชกาลที่ 3
เล่ม 3 ที่ลดฐานะเจ้าอนุวงศ์ และเจ้านายต่าง ๆในสรรพนามใหม่ เช่น เจ้าอนุวงศ์ เป็ น “อ้ายอณุเวียงจัน”
เจ้าราชวงศ์ เป็ น “อ้ายราชวง” ซึ่ งคําขานนี้ ตรงกับในประชุมจดหมายเหตุเรื่ องปราบกบฏเวียงจันท์
(เรี ยกการก่อการของเจ้าอนุวงศ์วา่ เป็ นกบฏตั้งแต่ชื่อที่บนั ทึก) ที่จารึ กชื่อชาวลาวลงในจดหมายเหตุดว้ ย
“อ้าย” ลงข้างหน้าชื่อหรื อยศของฝ่ ายลาว เช่น “อ้ายลาว”,“อ้ายเวียงจันท์”, “อ้ายเชียงทับ”, “อ้ายปลัด
คุมไพร่ ”, “อ้ายพระยานริ นท์”, “อ้ายพระยาสี หนาท”, “อ้ายอุปราช”, “อ้ายอนุ”, และ “อ้ายอนุเวียงจันท์”
เป็ นต้น และในพระราชพงศาวดารกรุ งรัตนโกสิ นทร์ รัชกาลที่1 - 4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ที่ถือว่า
เป็ นหลักฐานที่มีบทบาทและแพร่ หลาย อันเป็ นหลักฐานสําคัญของทางฝ่ ายไทยช่ วงสมัยสร้างชาติ
ซึ่ ง ในเวลาต่ อ มากลายเป็ นเอกสารหลัก ให้แ ก่ งานเขี ย นชิ้ น อื่ น ๆ ทั้ง ของไทยและต่ า งประเทศ

167
สิ ลา วีระวงส์. ประวัติศาสตร์ลาว, 109 - 110.
168
เรื่ องเดียวกัน, 110.
169
สุ วทิ ย์ ธีรศาศวัต, ประวัติศาสตร์ ลาว 1779 – 1975 (กรุ งเทพฯ : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั
สกว. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543), 132.
59

แม้กระทัง่ งานเขียนของลาว 170 ให้ภาพเจ้าอนุวงศ์ในฐานะผูน้ าํ กบฏที่คิดทรยศสยามจบลงด้วยการ


จับมาประจานจนสิ้ นชีพที่กรุ งเทพฯ อันแตกต่างออกไปจากภาพวีรกษัตริ ยใ์ นหลักฐานลาว

ให้ทาํ ที่ประจานลงที่หน้าพระที่นั่งสุ ทไธสวรรค์ ทําเป็ นกรงเหล็กใหญ่สําหรับใส่ อนุ มีร้ ั ว


ตารางล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน มีกรงเหล็กน้อย ๆ สําหรับใส่ บุตรหลานภรรยาอนุ ถึง 13 กรง มีเครื่ อง
กรรกรณ์คือ ครก สาก สําหรั บโขลก มีเบ็ดสําหรั บเกี่ยวแขวน กระทะสําหรับต้ม มี ขวานสําหรั บ
ผ่าอก มีเลื่อยสําหรับเลื่อยไว้ครอบทุกสิ่ ง แล้วตั้งขาหยัง่ เสี ยบเป็ นเวลาเช้าๆ ไขอนุกบั ... รวม 14 คน
ออกมาขังไว้ในกรงจําครบแล้ว ให้นางคําปล้องซึ่ งเป็ นอัครเทพีถือพัดกาบหมาก เข้าไปนัง่ ปรนนิ บตั ิ
อยูใ่ นกรง ให้นางเมียสาวแต่งตัวถือกะบายใส่ ขา้ วปลาอาหารออกไปเยงกันที่ประจาน ราษฎรชายหญิง

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ทั้งในกรุ งพากันมาแน่นอัดไปทุกเวลามิได้ขาด ที่ลูกผัวญาติพี่นอ้ งต้องเกณฑ์ไปทัพตายเสี ยครั้งนั้น

ก็มานัง่ บ่นพรรณนาด่าแช่งทุกวัน ครั้นเวลาบ่ายแดดร่ มก็เอาบุตรหลานที่จบั ได้มาขึ้นขาหยัง่ เป็ นแถว
ให้ร้องประจานโทษตัว เวลาจวนพลบก็เอาเข้ามาจําไว้ที่ทิมดังเก่า ทําดัง่ นี้อยูไ่ ด้ประมาณ 7 วัน 8 วัน
พออนุป่วยเป็ นโรคลงโลหิ ตก็ตาย โปรดให้เอาศพไปเสี ยบประจานไว้ที่สาํ เหร่ 171

เมื่อลาวยกย่องพระเจ้าไชยเชษฐาธิ ราชที่ 3 หรื อพระเจ้าอนุ วงศ์ ในฐานะผูท้ รงรักชาติ


รักอิสรภาพในการต่อสู ้เพื่อเอกราชลาว แน่ นอนเป็ นที่สุดว่าศัตรู ที่เด่ นชัดต้องเป็ นศักดิ นาสยาม
ผูก้ ระทําการโหดร้ ายต่ อเจ้าอนุ วงศ์ ข้อ ความตามหลัก ฐานของลาวยัง บัน ทึ ก ถึ ง ภาพสะเทื อนใจ
ที่ราชธานี โบราณถูกทําลายย่อยยับจากฝี มือฝ่ ายไทย การเผาเวียงครั้งนั้นคือความเจ็บปวดที่ถูกบันทึก
เป็ นหลักฐานว่า

กองทัพไทยตีได้นครเวียงจันทร์ ครั้งที่ 2 ในรัชกาลของพระเจ้าอนุ น้ ี พระเจ้าแผ่นดินไทย


องค์ที่ 3 (พระนัง่ เกล้า) ได้สั่งให้ทาํ ลายนครเวียงจันทน์หมด โดยให้ร้ื อทําลายกําแพงเมืองตัดต้นไม้
ลงให้หมดไม่ ผิดกับการทําไร่ แล้วเอาไฟเผา นครเวียงจันทน์ถูก ไฟเผาเป็ นเถ้า ถ่าน พระพุท ธรู ป
หลายร้อยพันองค์ถูกไฟเผาจนละลาย กองระเนระนาดอยูต่ ามวัดต่าง ๆ วัดในนครเวียงจันทน์เหลือเพียง
วัดเดียวที่ไม่ถูกไฟไหม้ คือวัดศรี สะเกษ การที่พระเจ้าแผ่นดินไทยสั่งให้ทาํ ลายเวียงจันทน์ให้สิ้นซาก
ก็เพื่อมิให้เวียงจันทน์กลับคืนเป็ นเมืองได้อีก แล้วให้ลม้ เลิกอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์เสี ย มิให้มีเมือง
และเจ้าครองเมืองอีกต่อไป ราชวงศ์ลา้ นช้างเวียงจันทน์สิ้นสุ ดลงเพียงเท่านี้ นครเวียงจันทน์ที่สวยงาม
อุดมสมบูรณ์จึงเป็ นเมืองร้าง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1828 (พ.ศ. 2371) นั้นมา 172

170
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์, “การรับรู้เหตุการณ์ “เจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. 2369” ในเอกสารลาว,”, 2.
171
เจ้า พระยาทิ พ ากรวงศมหาโกษาธิ บ ดี , พระราชพงศาวดารกรุ งรั ต นโกสิ น ทร์ รั ช กาลที่ 3,
พิมพ์ครั้งที่ 6 (กรุ งเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2538), 36 -37.
172
สิ ลา วีระวงส์, ประวัติศาสตร์ลาว, 111.
60

และด้วยข้อเท็จจริ งที่เกิดขึ้นนับแต่ลาวตกเป็ นประเทศราชของไทย ค.ศ. 1779 (พ.ศ. 2322) 173


ในสมัยพระเจ้าตากสิ น การพูดถึ งลาวในหลักฐานของไทยและการพูดถึงไทยในหลักฐานของลาว
ถู กนําเสนอในมุ มมองที่ ต่ า งกัน การยอมรั บในเอกสารขึ้ นอยู่กับการตี ความเนื้ อหาของแต่ ละรั ฐ
เพราะเอกสารเดี ยวกันอาจเป็ นที่ ยอมรั บในสังคมหนึ่ ง แต่ ถู กปฏิ เสธว่าเป็ นเท็จจากอี กสังคมหนึ่ ง
หากเนื้อหาไม่เป็ นประโยชน์ต่อการปกครองของรัฐนั้น
ผูว้ ิจยั ขอเสนอ “พื้นเวียง” เป็ นกรณี ศึกษา เพราะนอกจากจะเป็ นเรื่ องราวที่เกี่ยวกับเหตุการณ์
สมัยสงครามเจ้าอนุ วงศ์แล้ว ยังนับว่าเป็ นเอกสารประวัติศาสตร์ สําคัญอีกเรื่ องที่เป็ นกรณี ตวั อย่าง
ต่อการรับรู ้ของไทยและลาว ต่อข้อขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

เป็ นที่ รู้กนั ในหมู่คณะกรรมการการชําระประวัติศาสตร์ ไทยชุดปั จจุ บนั ว่า “เอกสารพื้นเวียง”
ได้เคยนํามาเข้าที่ ประชุ มไม่น้อยกว่าครั้ งหนึ่ งแล้ว แต่ก็มิได้นาํ มาเปิ ดเผยต่อสาธารณชน เพราะมี
เนื้ อ หาที่ ข ดั แย้งกับ เอกสารในกรุ งเทพฯ อย่างชนิ ดที่ เรี ยกว่ารั บไม่ ได้เอาเลยที เดี ยว เอกสารหรื อ
วรรณกรรมชิ้ นนี้ จึงถูกบรรจุ ไว้อย่างระมัดระวังในสุ สานหนังสื อของหอพระสมุ ดแห่ งชาติ และ
กลายเป็ นเอกสารต้องห้ามไปโดยปริ ยาย” 174

จนเมื่ อ นิ ต ยสารสยามนิ ก รตี พิ ม พ์บ ทความเรื่ อ ง “เอกสารพื้ น เวี ย ง ข้อ ขัด แย้ง ใหม่
ในประวัติศาสตร์ ” เมื่อ ค.ศ. 1978 (พ.ศ. 2521) จนนําไปสู่ การสัมมนาประวัติศาสตร์อีสานที่จดั ขึ้น
ที่จงั หวัดมหาสารคาม เมื่อเดื อน พฤศจิกายน ค.ศ. 1978 (พ.ศ. 2521) ที่นาํ เสนอโดย อาจารย์ธวัช
ปุ ณ โณฑก 175 นํา มาซึ่ งความสนใจและรู ้ จ ัก เอกสารพื้ น เวี ย งในหมู่ นัก วิ ช าการด้า นลาวศึ ก ษา
มาจนกระทัง่ ปั จจุบนั
ประเด็นที่ น่าสนใจคือ “พื้นเวียง” เป็ นเอกสารที่ เขียนขึ้นภายหลังเหตุการณ์ สงคราม
เจ้าอนุ วงศ์ เป็ นการจดบันทึกโดยชาวบ้านอีสาน ที่มีขอ้ จํากัดทางด้านการเมืองน้อยมาก ให้ภาพ
เหตุการณ์ที่ต่างไปจากเอกสารฝ่ ายไทย (ที่เขียนช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังเหตุการณ์เจ้าอนุ วงศ์
หลายปี ) เช่น ไม่ปรากฏวีรกรรมท้าวสุ รนารี แต่ปรากฏพฤติกรรมของเจ้าเมืองโคราชที่คดโกง สาเหตุ
จากการก่อการของเจ้าอนุวงศ์ เพราะชาวบ้านได้รับการเดือดร้อนจากการสักเลก และหัวเมืองอีสาน
มีใจฝักใฝ่ กับเจ้าอนุวงศ์ เป็ นต้น ซึ่งแน่นอนว่าในทัศนะของนักประวัติศาสตร์ ไทยกลุ่มหนึ่ งไม่ยอมรับ

173
สิ ลา วีระวงส์, ประวัติศาสตร์ลาว, 107.
174
ประทีป ชุมพล, พื้นเวียง วรรณกรรมแห่งการกดขี่ (กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์อดีต, 2525), 2.
175
เรื่ องเดียวกัน.
61

“พื้ น เวี ย ง” เพราะเห็ น ว่า ให้ภ าพที่ ต่ างโดยสิ้ น เชิ งกับ พระราชพงศาวดารกรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ 176
ซึ่งแตกต่างไปจากสายตาของนักประวัติศาสตร์ลาวที่เห็นว่า “พื้นเวียง” คือ ข้อเท็จจริ งที่มีความพยายาม
ปกปิ ดจากรัฐไทย “มีแต่ความจริ งอันปาสะจากกานบิดเบือนและปั้ นแต่งขึ้นเพื่อเยียบยํ่าซึ่ งกันและกัน
เท่านั้นที่จะสามาดส้างพื้นถานอันหมั้นคงคะนงแก่นได้ให้แก่กานพัวพันกานบ้านพี่เมืองน้องที่แท้จิง
ละหว่างสองชาดลาวและไท”177
ความแตกต่ า งด้า นมโนทัศน์ท างประวัติศ าสตร์ มิใ ช่ เ รื่ องเล็ก น้อยที่ อาจมองข้า มได้
เพราะอาจส่ งผลต่ อการรั บรู ้ ความเข้าใจ ตลอดจนมุ มมองในการสร้ างทัศนคติ ที่ บิดเบื อนไปจาก
ข้อเท็จจริ ง

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

คนไทยสมัยธนบุรีและรัตนโกสิ นทร์ มีความรู้สึก “เหนื อกว่า” อาณาจักรลาวหลายประการ ต่อมา
จากการเกิ ดกรณี เจ้าอนุ วงศ์เวียงจันทน์ทาํ ให้ความรู้สึก “ชิงชัง” ลาวเพิ่มมากขึ้น... ความเหนื อกว่าและ
3 3

ความชิงชังดังกล่าวปรากฏในพงศาวดาร และมีอิทธิ พลต่อแบบเรี ยนของไทยอีกด้วย ขณะเดียวกัน


พงศาวดารลาว และแบบเรี ยนลาวก็แสดงความรู้สึก ชิงชังไทยอย่างเห็นได้ชดั 178

5. รัฐชาติ : การสร้ างมายาคติเพือ่ รักชาติ


จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวในบริ บทการสร้างชาติดงั ที่กล่าวมานี้
ทําให้ทราบว่าบริ บทที่สําคัญของประวัติศาสตร์ อย่างหนึ่ ง คือ มายาคติ ซึ่ งหมายถึง กระบวนการ
ชวนให้หลงผ่านรู ปแบบการใช้สัญลักษณ์ ต่าง ๆ เพื่อก่ อให้เกิ ดความหมาย กระบวนการเหล่านี้
เกิดขึ้นในชี วิตประจําวัน แท้จริ งแล้วเราสามารถสังเกตเห็ นได้หากแต่เราคุน้ ชิ นจนเชื่ อว่ามันเป็ น
ความจริ ง 179
ชาตินิยม คือ มายาคติรูปแบบหนึ่งที่รัฐสร้างขึ้นมา เพื่อกําหนดสํานึกร่ วมให้กบั ประชาชน
ในสังคม การสร้ างสํานึ กร่ วมแบบชาตินิยมมักจะต้องสร้ างมายาคติ ขึ้นมา เพื่อให้คนในสังคมเกิ ด
ความรู ้สึกถึงความเป็ นพวกพ้อง โดยการแบ่งแยกในความเป็ นเรา ความเป็ นเขา ในกระบวนการสร้าง

176
ดูรายละเอียดใน ประทีป ชุมพล, พื้นเวียง วรรณกรรมแห่งการกดขี่ ; และ ธวัช ปุณโณฑก, พื้นเวียง :
การศึกษาประวัติศาสตร์ และวรรณกรรมอีสาน (กรุ งเทพฯ : สถาบันไทยคดีศึกษา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,
2526).
177
มะหาวิทะยาไลแห่งชาด, คะนะพาสา วันนะคะดี และมะนุดสาด, ตามหารอยเจ้าอะนุวง,15.
178
ทวีศิลป์ สื บวัฒนะ, “การรับรู้เรื่ อง “ลาว” ในพงศาวดารและแบบเรี ยนไทย,”, 114.
179
โรล็องด์ บาร์ ตส์, มายาคติ Mythologies, พิมพ์ครั้งที่ 3, แปลโดย วรรณพิมล อังคศิริสรรพ, นพพร
ประชากุล, บรรณาธิการ (กรุ งเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2551).
62

ชาตินิยมไม่ว่าจะรั ฐใดก็ตอ้ งสร้ างชาตินิยมที่แบ่งเราเขาให้ชัดเจน เพื่อสร้างความรู ้ สึกร่ วมให้กบั


ประชาชนในสังคมเพื่อจะได้อุทิศตนเพื่อรัฐ
ด้วยบริ บททางสังคมที่ แตกต่างเป็ นปั จจัยของฝ่ ายไทยและลาว ที่ มีส่วนสําคัญที่ ทาํ ให้
การบันทึกทางประวัติศาสตร์ คลาดเคลื่อนทั้งที่มาจากจุดเริ่ มเรื่ องเดียวกัน การรักชาติเป็ นสิ่ งที่ถูกต้อง
แต่ตอ้ งรักบนความเหมาะสม ควรตระหนักว่า ประวัติศาสตร์ คือศาสตร์ ที่ควรศึกษาเพื่อให้รู้เท่าทัน
เหตุ ผลและข้อเท็จจริ งทางสังคม ใช้ขอ้ มูลในประวัติศาสตร์ ในฐานะหลักฐานอ้างอิ งเพื่อให้ภาพ
ที่สมบูรณ์และเข้าใจผูค้ นตลอดจนการกระทําในอดีต และที่สาํ คัญที่สุดคือ ไม่ควรตกเป็ นเครื่ องมือของ
ประวัติศาสตร์ โดยลุ่มหลงกับมายาคติที่รัฐสร้างขึ้นจนละเลยข้อเท็จจริ ง

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ประวัติศาสตร์ ชาตินิยมนับว่ามีคุณูปการต่อการสร้างความสมานสามัคคีภายในสังคม

แต่อีกด้านหนึ่งก็ส่งผลต่อความสัมพันธ์กบั สังคมภายนอก เพราะเมื่อไทยต้องการสร้างชาติที่ยงิ่ ใหญ่
เป็ นที่ยอมรับเป็ นธรรมดาที่สุดที่ตอ้ งกดให้ทุกอย่างรอบตัวเล็กลง และสําหรับลาวการบอกเล่าถึง
ความสู ญเสี ยและการต่อสู ก้ บั ต่างชาติที่เข้าครอบครองคือหลักสําคัญของการสร้างพลังจากมวลชน
ความคิดนักประวัติศาสตร์ ชาติ นิยมก้าวก่ ายเข้าไปในช่ วงเวลาที่ รัฐยังไม่ เกิ ดรั ฐชาติ
ใช้ขอ้ เท็จจริ งทางประวัติศาสตร์ ที่เกิ ดขึ้ นโดยใส่ ความรู ้ สึกคลัง่ ชาติเพื่อปลูกถ่ายความคิดให้กับ
ประชาชน ตราบเท่ า ที่ ก ารสร้ า งประวัติ ศาสตร์ แ บบชาติ นิ ย มยัง ผลิ ต งานออกมาโดยปราศจาก
ความรู ้ เท่าทัน ของคนในสังคมและยังคงเป็ นแม่แบบสําคัญของตําราเรี ยน ความสัมพันธ์ในรู ปแบบ
3 3

ไม่ เท่ าเที ยมก็จะยังคงดําเนิ นต่ อไป ต่ อข้อเท็จจริ งนี้ ในบทต่ อไปจะศึ กษาแบบเรี ย นไทยและลาว
เพื่ อให้เ ห็ น ถึ ง ความต้อ งการของรั ฐ ในการสร้ างแบบเรี ย นในฐานะต้น แบบความคิ ด ให้ก ับ คน
ในสังคม
บทที่ 3
สาระสํ าคัญของแบบเรียนประวัติศาสตร์ ไทยและลาว

เบน แอนเดอร์ สัน กล่ าวว่า “ชาติ” หรื อ “ชุ มชนจิ นตกรรม” คือ สิ่ งที่สร้ างขึ้นด้วย
จินตนาการ เพื่อให้สัมผัสได้ว่ามีอยูจ่ ริ งผ่านทางเครื่ องมือต่าง ๆ ในการสร้างความรู ้สึกร่ วมให้เกิดขึ้น
“ไม่ว่าจะเป็ น ภาษา หรื ออดีตของ “ชาติ” ใดก็ตามย่อมถูกสร้างสรรค์ข้ ึนเพื่อรองรับจินตนาการ
ถึงชุมชนที่เรี ยกว่า “ชาติ” ทั้งสิ้ น ข้อมูลที่ขาดหลักฐานหรื อการตรวจสอบหลักฐานจึงปรากฏเป็ น

น ก
ั ห อ ส มุ
ธรรมดาในประวัติศาสตร์ของแบบเรี ยนทุก “ชาติ” 1
ำ ด ก ลาง

“ชาติ” คือสิ่ งที่ ไม่มีอยู่จริ ง แต่มีความสําคัญในการอธิ บายให้เห็ นถึงการดํารงอยู่
ความสําคัญของการสร้างชาติได้ถูกอธิ บายในบทที่ผา่ นมาจนทําให้เข้าใจได้ว่าประวัติศาสตร์ ชาติ
นับแต่ก่อกําเนิดมาได้ถูกกําหนดให้ทาํ หน้าที่รับใช้อาํ นาจรัฐมาตลอดทุกยุคทุกสมัย ความจําเป็ น
ในบริ บทต่าง ๆ ทําให้บุคคลซึ่ งมีอาํ นาจหน้าที่กาํ หนดประวัติศาสตร์ ชาติ ปรับเปลี่ยนโครงเรื่ อง
และอธิบายสัมพันธภาพต่าง ๆ ของปรากฏการณ์ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์แห่งรัฐในช่วงนั้น ๆ
ดังเช่น ในสมัยรัชกาลที่ 5 การสถาปนารัฐชาติ ได้สร้างความจําเป็ นในการศึกษาค้นคว้า
เพื่ออธิ บายความเป็ นมาของชาติไทย ทั้งนี้ ก็เพื่อสร้างเอกภาพและความเป็ นอันหนึ่ งอันเดียวกัน
ให้ เ กิ ด ขึ้ น ในสั ง คม และที่ จ ํา เป็ นที่ สุ ด ก็ เ พื่ อ สร้ า งความเป็ นชาติ ใ นการเผชิ ญ หน้ า กับ ลัท ธิ
ล่าอาณานิคมของตะวันตกที่เป็ นภัยร้ายแรงในขณะนั้น ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ชาวจีน กลายเป็ น
ตัวละครสําคัญใน “ลัทธิ ชาตินิยม” ของพระองค์ ทรงใช้ชาวจีนที่อพยพเข้ามาอาศัยในประเทศ
ไทยและค้าขายจนมีอิทธิ พลทางเศรษฐกิจเหนื อกว่าคนไทย เป็ นตัวกระตุน้ ให้คนไทยเกิดความรู ้สึก
ร่ วมรักชาติ ผ่านบทพระราชนิพนธ์ต่าง ๆ
การเปลี่ยนนิยาม “ชาติ” ตามวาระอํานาจของรัฐเห็นได้ชดั จากการกําหนดความหมาย
“ชาติ ” ของ หลวงวิ จิ ต รวาทการ เพื่ อ ตอบสนองนโยบายของ จอมพล ป. พิ บู ล สงคราม
หลวงวิจิตรวาทการอธิ บายความหมายของ “ชาติ”โดยการเน้นหนักถึงความสําคัญและหน้าที่
ของคนไทยที่ตอ้ งรักชาติ และภักดีต่อท่านผูน้ าํ และเมื่อเข้าร่ วมงานกับ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
“ชาตินิยม” ของ หลวงวิจิตรวาทการ ได้พฒั นาความรักชาติเข้ากับการต่อต้านคอมมิวนิสต์ตามกระแส
การเมื องในขณะนั้น “ประวัติศาสตร์ ” กับ “ชาติ ”จึ งมี ห น้าที่ ผูก พัน อยู่กับอํานาจรั ฐเรื่ อยมา
ไม่วา่ จะเพื่ออธิบายความหมายใดในบริ บทใดก็ตาม
1
นิ ธิ เอียวศรี วงศ์, ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรี ยนและอนุ สาวรี ย ์ : ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และ
รู ปการจิตสํานึก (กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์มติชน, 2538), 70.
63
64

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประวัติศาสตร์ ถูกใช้เป็ นเครื่ องมือหล่อหลอมความคิดของ


ประชาชนให้แก่รัฐผ่านพัฒนาการกล่อมเกลาต่าง ๆ จนกลายมาเป็ นแบบเรี ยน และ “วิชาสังคม
ศึกษา เป็ นวิชาที่ถูกใช้เป็ นเครื่ องมือในการเผยแพร่ อุดมการณ์ของชาติมากที่สุด ถูกใช้กล่อมเกลา
เพาะบ่มให้เยาวชนรักชาติ เชื่อฟัง ปฏิบตั ิตามแนวทางมาตรฐานที่ชาติกาํ หนด เพื่อเป็ นพลเมืองดี
ตามที่ชาติตอ้ งการ อันนําไปสู่ การเกิดความสามัคคีปรองดองในหมู่คนในชาติ เพื่อเอกภาพ เอกราช
และความมัน่ คงของชาติ หรื อเรี ยกรวม ๆ ว่า อุดมการณ์ชาตินิยม” 2
“พลเมือง” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช 2542 ได้ให้ความหมาย
ไว้วา่ หมายถึง ประชาชน ชาวประเทศ โดยถือสัญชาติเป็ นเกณฑ์หลักในการแบ่งการเป็ นพลเมือง

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ของประเทศใดประเทศหนึ่ ง สั ญ ชาติ ข องพลเมื อ งประเทศนั้น ย่อ มจะได้สิ ท ธิ แ ละหน้า ที่

ของความเป็ นพลเมืองของประเทศนั้น และแน่ นอนที่สุดทุกประเทศ ไม่ว่าจะปกครองระบอบ
การเมืองแบบใด ย่อมต้องการให้พลเมืองของตนเป็ นพลเมืองดีมีส่วนร่ วมในการปกครองและ
พัฒนาประเทศอย่างมีประสิ ทธิภาพ
แม้วา่ โดยรายละเอียดแล้วนั้นความต้องการในการสร้างพลเมืองที่ดีของแต่ละประเทศ
จะมีความแตกต่างไปตามค่านิ ยม จารี ต คติความเชื่ อ แบบแผนทางวัฒนธรรมอีกทั้งรู ปแบบ
การปกครองแต่ ท ้า ยที่ สุ ด แล้ว แบบเรี ย นวิ ช าสัง คมศึ ก ษาก็ ถื อ เป็ นเครื่ อ งมื อ หลัก ของทุ ก รั ฐ
ในการสร้ างชุ ดความคิดให้กบั คนในสังคม ให้สอดคล้องตามแนวทางความต้องการแห่ งรั ฐ
เพราะ “การเป็ นพลเมืองดีของประเทศนั้นสามารถเรี ยนรู ้ได้เยาวชนไม่ได้เป็ นพลเมืองดีดว้ ยเหตุ
บังเอิญ” 3

แบบเรี ยนวิชาสังคมศึ กษาจึ งมิ ใช่สื่อเพื่อความรู้ เพียงอย่างเดี ยวแต่เป็ นสื่ อปลูกฝั งความคิ ด
ทัศนคติ เจตนคติของอุดมการณ์ชาตินิยมอย่างมีสีสัน ตามทิศทางที่รัฐ/ชาติตอ้ งการด้วย หากเปรี ยบเทียบ
แบบเรี ยนสังคมศึกษาของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกับของประเทศไทยก็ลว้ นสนอง
อุดมการณ์ชาตินิยมต่างสาระและจุดประสงค์4

2
วารุ ณี โอสถารมย์ และคณะ, ลาวฮูห้ ยัง – ไทยรู้อะไรวิเคราะห์แบบเรี ยนสังคมศึกษา, กาญจนี
ละอองศรี , บรรณาธิการ(กรุ งเทพฯ : โครงการอาณาบริ เวณศึกษา 5 ภูมิภาค, 2544), 8.
3
Allen, Garth and Martin, Education and Community : The Politics of Practice (Wiltshire :
Red wood book, 1992), 146.
4
วารุ ณี โอสถารมย์ และคณะ, ลาวฮูห้ ยัง – ไทยรู้อะไรวิเคราะห์แบบเรี ยนสังคมศึกษา, 8.
65

ในช่ วงเวลาที่ผ่านมาได้มีผทู ้ าํ วิจยั เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ไทยและลาว


ในหนังสื อแบบเรี ยนไทยและลาวมาบ้างแล้ว และมีมติเห็นพ้องกันว่า “แบบเรี ยนประวัติศาสตร์
ไทย – ลาว ทําให้คนเป็ นศัตรู กนั มากกว่าเป็ นมิตรที่ดีต่อกัน” 5 ทั้งที่จริ งแล้วประวัติศาสตร์
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวยังมีมิติของความร่ วมมือปรากฏควบคู่ไปด้วย
ภาวการณ์ร่วมมือกันของโลกในยุคหลังสงครามเย็นส่ งผลให้ไทยมีนโยบายต่อเนื่ อง
ที่เน้นการส่ งเสริ มสร้างความสัมพันธ์กบั ประเทศเพื่อนบ้านเห็นได้จากมีการแลกเปลี่ยนการเยือน
ระดับสูงอย่างสมํ่าเสมอ ใน ค.ศ. 1986 ลาวเปิ ดประเทศมากขึ้น และปฏิรูประบบเศรษฐกิจสู่ ระบบ
ตลาด กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 ไทยและลาวทําสนธิ สัญญามิตรภาพและความร่ วมมือระหว่างกัน

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
(Treaty of Amity and Cooperation) ในกรอบของอาเซี ยน ยืนยันว่าจะเคารพในเอกราชและไม่

แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน รวมทั้งตกลงจะระงับข้อขัดแย้งโดยสันติวิธี 6 และจาการที่
ลาวเข้าเป็ นสมาชิ กอาเซี ยนโดยสมบูรณ์ เมื่อเดื อนกรกฎาคม ค.ศ. 1997 ก็นับเป็ นการกระชับ
ความสั ม พัน ธ์ ข องไทยและลาวนอกเหนื อ ไปจากการค้า ทั้ง ในแบบทวิ ภ าคี แ ละพหุ ภ าคี
ปั จ จัยพื้ น ฐานของไทยและลาวที่ มี ความผูก พัน บนพื้ นฐานความใกล้ชิ ด ทางภู มิ ศาสตร์ แ ละ
วัฒนธรรม การพูดภาษาเดียวกัน การนับถือพุทธศาสนาเหมือนกัน และตํานานความเชื่ อในเรื่ อง
เดียวกันน่าจะเป็ นการตอกยํ้าความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกว่าคู่คา้ ใด ๆ
ในบทนี้จึงจะศึกษาว่าท่ามกลางกระแสโลกาภิวฒั น์ที่ทวั่ โลกกําลังแสวงหาความร่ วมมือ
และพันธมิตรนั้น ไทยและลาวมีการรับรู ้ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทยและลาวที่เปลี่ยนแปลง
ไปจากเดิมหรื อไม่ โดยอธิ บายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นผ่านแบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ช้ นั มัธยมศึกษา
ปี ที่ 1- 6 ของไทยและลาว โดยผูว้ ิจยั ได้เลือกใช้แบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ของไทยชั้นมัธยมศึกษา
ปี ที่ 1- 6 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จากสํานักพิมพ์วฒั นาพานิ ช ซึ่ งมีเนื้ อหา
ตรงกับหลักสู ตรการศึ กษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่ งถื อเป็ นหลักสู ตรปรั บปรุ งล่าสุ ด
เนื่ องจากในปี ที่ ทาํ การวิจ ัยนั้น แบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ตามหลักสู ตรการศึ ก ษาขั้น พื้น ฐาน
พุทธศักราช 2551 ยังมีออกมาใช้ไม่ครบในทุกชั้นเรี ยน กระทรวงศึกษาธิ การได้ประกาศให้ใช้
หลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เฉพาะโรงเรี ยนต้นแบบการใช้หลักสู ตรและ

5
นริ ทร์ พุดลา, “ตัวตนทางวัฒนธรรมในแบบเรี ยนลาว” (วิทยานิ พนธ์ดุษฎี บณ ั ฑิ ต สาขาวิชา
ไทศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2551), 6.
6
กระทรวงการต่างประเทศ, กรมเอเชี ยตะวันออก, สถานะความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย – ลาว
(พฤศจิกายน 2541), 6, กล่าวถึงใน สุ ภารัตน์ เชาวน์เกษม, “ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในทัศนะของคนลาว :
กรณี ก าํ แพงนครเวี ย งจัน ทน์ ” (วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญามหาบัณ ฑิ ต ภาควิช าภู มิ ภ าคศึ ก ษา บัณ ฑิ ต วิท ยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544), 3.
66

โรงเรี ย นที่ มี ค วามพร้ อ มตามรายชื่ อ ที่ ก ระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารประกาศ โดยในระหว่ า งที่ ร อ
ความพร้ อ มการใช้ ห ลัก สู ต รการศึ ก ษาขั้น พื้ น ฐาน พุ ท ธศัก ราช 2551 ในทุ ก ชั้น เรี ยนนั้ น
กระทรวงศึกษาธิการมีประกาศให้ยดึ หลักสู ตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ในทุกโรงเรี ยน ประกอบการคัดเลือกแบบเรี ยนของแต่ละสํานักพิมพ์ที่ทางโรงเรี ยนเลือกใช้
ในการทําวิจยั นี้ผวู ้ ิจยั ได้นาํ หลักสู ตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มาวิเคราะห์
ประกอบแบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ช้ ันมัธยมศึ กษาปี ที่ 1-6 หลักสู ตรการศึ กษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544 จากสํานักพิมพ์วฒั นาพานิ ชที่ผวู ้ ิจยั เลือกใช้ในการทําวิจยั ฉบับนี้ ซึ่ งสอดคล้อง
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่ องหลักสูตรใหม่ทุกประการ

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ในส่ วนของแบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ลาวนั้น แม้จะมีการปรับปรุ งหลักสู ตรมาแล้ว

ถึง 2 ครั้ง แต่ในส่ วนของสาระความรู ้ยงั คงได้อิทธิ พลตกทอดมาจากพงศาวดารเป็ นสําคัญ
เนื้ อหาที่ เ กี่ ย วข้องกับความสัมพัน ธ์ระหว่างไทยกับลาวยัง คงเป็ นการเน้น ยํ้าประวัติศาสตร์
รู ปแบบเดิม ผูว้ ิจยั จึงเลือกใช้แบบเฮียนวิดทะยาสาดสังคมชั้นมัดทะยม ปี ที่ 1 – 6 ซึ่งเป็ นแบบเรี ยน
ของกระทรวงศึกษาธิการฉบับล่าสุ ด (ก่อนปรับปรุ งหลักสู ตรในปี 2010) ที่ใช้มายาวนานถึง 20 ปี
เป็ นหลักฐานสําคัญในการวิจยั

ภาพที่ 7 แบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ช้ นั มัธยมศึกษาปี ที่ 1-6 หลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน


พุทธศักราช 2544 จากสํานักพิมพ์วฒั นาพานิชที่ใช้ในการวิจยั
67

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

ภาพที่ 8 แบบเฮียนวิดทะยาสาดสังคมชั้นมัดทะยม ปี ที่ 1 – 6 ซึ่ งเป็ นแบบเรี ยนของ
กระทรวงศึกษาธิการลาวที่ใช้ในการวิจยั

1. แบบเรียนประวัติศาสตร์ ไทย
ประเทศไทยได้มีการพัฒนาหลักสู ตรเป็ นกระบวนการต่อเนื่ อง มีหน่ วยงานทุกระดับ
ชุ มชน และผูเ้ กี่ ยวข้องเข้ามามีส่วนร่ วมในการพัฒนาหลักสู ตร สํานักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กําหนดมาตรฐานการเรี ย นรู ้ แ ละหลัก สู ตรแกนกลางขึ้น 7 และมี ก ารปรั บปรุ งและพัฒนาให้
เหมาะสมกับสภาพการณ์ของสังคม ยกตัวอย่างเช่ นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี
พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมายของการศึกษา ที่สาํ คัญคือ เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ
แนวคิดและระบอบการปกครองประชาธิ ปไตย และเพื่อแก้ปัญหาความตกตํ่าของอุตสาหกรรม
พื้นบ้านอันเนื่ องมาจากการหลัง่ ไหลเข้ามาของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่างประเทศ ในการนี้
ได้มีการบรรจุเรื่ องของประชาธิ ปไตยไว้ในหลักสู ตร อย่างไรก็ตามผลที่ได้ไม่เป็ นที่พอใจนัก
จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสู ตรอีก คือในปี พ.ศ. 2503 8
จากการสัมภาษณ์ สุ วชั ราภรณ์ แย้มนุ่ น ครู วิทยฐานะชํานาญการพิเศษ โรงเรี ยน
วัดโรงวัว สํานักงานการศึกษาประถมศึกษาชัยนาทเขต 1 ครู ผสู ้ อนประจํากลุ่มสาระการเรี ยนรู ้สังคม
ศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ได้ให้ขอ้ สังเกตเกี่ ยวกับแบบเรี ยนและหลักสู ตรว่า “แต่ละโรงเรี ยน

7
สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึ กษา, กรอบแนวทางการปรั บปรุ งหลักสู ตรการศึ กษาขั้น
พื้นฐานพุทธศักราช 2544 (กรุ งเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2549), 3.
8
ธํารง บัวศรี , ทฤษฏีหลักสู ตร การออกแบบและพัฒนา, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุ งเทพ ฯ : สํานักพิมพ์
พัฒนศึกษา, 2542), 145.
68

จะยึดหลักสู ตรแกนกลางที่ ทางกระทรวงศึ กษาธิ การกําหนดเป็ นหลักในการสอนในชั้นเรี ยน


เป็ นสําคัญ แม้ว่าในแต่ละโรงเรี ยนจะเลือกใช้แบบเรี ยนที่ต่างสํานักพิมพ์กนั ไป ก็ไม่ใช่ ประเด็น
สําคัญเพราะหลักสู ตรจากกระทรวงศึกษาธิ การจะเป็ นตัวกําหนดทิศทางแบบเรี ยน เนื้ อหาของทุก
สํานักพิมพ์ จะยึดหลักสู ตรเป็ นสําคัญ แบบเรี ยนของแต่ละสํานักพิมพ์จะแตกต่างกันแค่ในรู ปแบบ
ของการนําเสนอเท่านั้น ดังนั้นแบบเรี ยนจึ งเป็ นเพียงส่ วนประกอบในด้านเนื้ อหาที่อาจจะมีเสริ ม
ใบความรู ้เพิ่มเติมตามความเหมาะสมกับสถานการณ์จริ งในปั จจุบนั ผูส้ อนจะยึดหลักสู ตรแกนกลาง
มาวิเคราะห์และปรับใช้ให้เหมาะสมกับผูเ้ รี ยนตามประกาศกระทรวงเป็ นสําคัญ”
จากความสําคัญของหลักสู ตรแกนกลางที่ทางกระทรวงศึกษาธิ การกําหนด ดังกล่าวมา

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ข้างต้น ดังนั้นในหัวข้อวิจยั นี้จะเริ่ มศึกษาพัฒนาการของแบบเรี ยนประวัติศาสตร์โดยให้ครอบคลุม

กับหัวข้อวิจยั การรับรู ้ประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ไทย-ลาว : ผ่านแบบเรี ยนประวัติศาสตร์ไทย
และลาว ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 – 6 (ค.ศ. 1975 – 2009) จึงให้ความสําคัญในการวิเคราะห์หลักสู ตร
ในลําดับแรก โดยเริ่ มศึกษาที่หลักสู ตรประถมศึกษาและมัธยมศึกษา พ.ศ. 2503 จนถึงหลักสู ตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อหาคําจํากัดความของวิชาประวัติศาสตร์ ที่ส่วนกลาง
กําหนดเนื้อหาขึ้นเพื่อเป็ นกรอบในการสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพตามเป้ าประสงค์แห่ งรัฐ
จากหลักสู ตรประถมศึกษาและมัธยมศึกษา พ.ศ. 2503 จนถึงหลักสู ตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พบว่ามีการปรับปรุ งหลักสู ตรทั้งสิ้ น 5 ครั้งในระยะ 48 ปี แต่ละครั้ง
ที่ทาํ การปรับปรุ งหลักสู ตรไม่มีกฎเกณฑ์เรื่ องเวลาที่แน่ นอน จะปรับปรุ งตามการวิจยั ติดตาม
การใช้หลักสู ตรเพื่อให้มีการพัฒนาหลักสู ตรที่ต่อเนื่อง 9 โดยทั้ง 5 หลักสูตรมีรายละเอียด ดังนี้
1. หลักสู ตรประถมศึกษาและมัธยมศึกษา พ.ศ. 2503 ได้จดั การเรี ยนการสอน
แยกออกเป็ นรายวิชาต่าง ๆ เช่นเรี ยงความย่อความ วรรณคดี คณิ ตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม ฯลฯ
2. พ.ศ. 2521 กระทรวงศึกษาธิการจัดทําหลักสู ตรและการเรี ยนการสอนแบบบูรณาการ
ในระดับ ชั้น ประถมและมัธ ยมต้น เพราะผูบ้ ริ ห ารและนัก วิ ช าการด้า นการศึ ก ษาเห็ น ว่ า
การให้เรี ยนแยกเป็ นรายวิชาต่าง ๆ เด็กไม่สามารถนําไปใช้ในชีวิตจริ ง จึงควรบูรณาการวิชาต่าง ๆ
ที่มีเนื้ อหาใกล้เคียงกันเข้าเป็ นกลุ่มเดียวกัน หลักสู ตรมัธยมศึกษาตอนต้นปี 2521 จึงแบ่งเป็ น
กลุ่มวิชาได้แก่
• กลุ่มภาษา มีภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
• กลุ่มคณิ ตศาสตร์
9
สํา นัก วิ ช าการและมาตรฐานการศึ ก ษา, กรอบแนวทางการปรั บ ปรุ ง หลัก สู ต รการศึ ก ษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544, 12 - 15.
69

• กลุ่มวิทยาศาสตร์
• กลุ่มสังคมมีภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม
• กลุ่มพัฒนาบุคลิกภาพมีศิลปะ พลศึกษา สุ ขศึกษา
ขณะที่หลักสู ตรมัธยมศึกษาตอนปลายยังคงใช้หลักสู ตรปี 2518 ที่แยกเป็ นรายวิชาต่าง ๆ
จากนั้นได้มีการจัดทําหลักสู ตรมัธยมศึกษาตอนปลายปี 2524 แบ่งเป็ นกลุ่มรายวิชาลักษณะ
เดียวกับหลักสู ตรมัธยมศึกษาตอนต้นปี 2521
3. ปี พ.ศ. 2533 ได้จดั หลักสู ตรประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษา
ตอนปลาย ปี พ.ศ.2521 (ฉบับปรับปรุ งพ.ศ.2533) โดยปรับปรุ งคําอธิ บายรายวิชาให้ชดั เจนขึ้น

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
บอกถึงกิจกรรมการเรี ยนการสอน เรื่ องที่สอนและวัตถุประสงค์ แต่ยงั แบ่งเป็ นกลุ่มวิชาเช่นเดิม


4. ต่อมาได้มีการปรับปรุ งหลักสู ตรใหม่ คือ หลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐานปี 2544
แบ่งเป็ น 8 กลุ่มสาระการเรี ยนรู ้ได้แก่
• ภาษาไทย
• คณิ ตศาสตร์
• วิทยาศาสตร์
• ภาษาต่างประเทศ
• สุ ขศึกษาและพลศึกษา
• ศิลปะ
• การงานอาชีพและเทคโนโลยี
• สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

สําหรั บกลุ่มสาระการเรี ยนรู ้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมประกอบด้วย 5


สาระวิชา ได้แก่

• ศาสนา ศีลธรรม จริ ยธรรม


• หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดําเนินชีวิตในสังคม
• เศรษฐศาสตร์
• ประวัติศาสตร์
• ภูมิศาสตร์
70

แม้ว่าจะมีการปรับปรุ งตามหลักสู ตรของกระทรวงศึกษาธิ การมาหลายครั้ง จนพัฒนา


สถานะของวิชาประวัติศาสตร์ จากเป็ นเนื้ อหาหน่ วยย่อยที่กระจายตัวสอดแทรกตามกลุ่มวิชา
ประสบการณ์ต่าง ๆ จนปี พ.ศ. 2542 วิชาประวัติศาสตร์ ได้เป็ นวิชาเฉพาะที่รวมอยูใ่ นกลุ่มสาระ
การเรี ยนรู ้สงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม แต่โดยหลักแล้วความหมายของวิชาประวัติศาสตร์
ในทุกหลักสูตรมุ่งให้เด็กมีความรู ้ ความเข้าใจความเป็ นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย
มีความภูมิใจและธํารงความเป็ นไทย ซึ่ งเนื้ อหาสาระประวัติศาสตร์ ตอ้ งการให้เด็กเรี ยนรู ้
ประวัติศาสตร์ ไทยตามลําดับเวลา เช่น สมัยสุ โขทัย อยุธยา ธนบุรี และบุคคลสําคัญ มีความเข้าใจ
ประวัติศาสตร์ แต่ละยุคสมัย รู ้ จกั คิดวิเคราะห์เหตุการณ์ ประวัติศาสตร์ อย่างมีเหตุผล และ

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ประเด็ น ที่ น่า สนใจอี ก ประการคื อ เนื้ อหาสาระของแบบเรี ย นประวัติ ศาสตร์ ต ามหลัก สู ต ร

หลักสู ตรการศึกษา พ.ศ. 2503 พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2533 และ พ.ศ. 2544 ที่เกี่ ยวข้องกับ
ความสัมพันธ์ระหว่างลาวกับไทย ยังคงเป็ นการนําเสนอภาพของ “ความเหนือกว่า” เช่นเดิม
5. ใน พ.ศ. 2551 กระทรวงศึกษาธิ การปรับปรุ งหลักสู ตรอีกครั้งหนึ่ ง ซึ่ งถือเป็ น
ครั้งล่าสุ ด และในการวิจยั นี้ ผวู ้ ิจยั ใช้แบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ช้ นั มัธยมศึกษาปี ที่ 1-6 หลักสู ตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จากสํานักพิมพ์วฒั นาพานิช ซึ่งเนื้ อหาตรงกับหลักสู ตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่ งถือเป็ นหลักสู ตรปรับปรุ งล่าสุ ด สอดคล้องกับคําสั่ง
จากกระทรวงศึกษาธิการที่มีประกาศให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551
ตามคําสั่งกระทรวงศึกษาธิ การที่ สํานักงานคณะกรรมการการศึ กษาขั้นพื้นฐาน
ที่ 293/2551 เรื่ อง ให้ใช้หลักสู ตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2551
กําหนดให้สถานศึ กษาในสัง กัด จัด การเรี ย นการสอนโดยใช้ห ลัก สู ต รแกนกลางการศึ ก ษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 10 ดังนี้
1. โรงเรี ยนต้นแบบการใช้หลักสู ตรและโรงเรี ยนที่มีความพร้ อมตามรายชื่ อ
ที่กระทรวง ศึกษาธิการประกาศ ใช้หลักสูตรฯ ดังนี้
ปี การศึกษา 2552 ให้ใช้หลักสู ตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ในชั้นประถมศึกษาปี ที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 และ 4
ปี การศึกษา 2553 ให้ใช้หลักสู ตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ในชั้นประถมศึกษาปี ที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 และ 2 และชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 และ 5

10
กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร, หลัก สู ต รแกนกลางการศึ ก ษาขั้น พื้ น ฐาน พุ ท ธศัก ราช 2551.
(กรุ งเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด, 2551).
71

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 เป็ นต้นไป ให้ใช้หลักสู ตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน


พุทธศักราช 2551 ทุกชั้นเรี ยน
2. โรงเรี ยนทัว่ ไป ให้ใช้หลักสู ตรฯ ดังนี้
ปี การศึกษา 2553 ให้ใช้หลักสู ตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ในชั้นประถมศึกษาปี ที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 และ 4
ปี การศึกษา 2554 ให้ใช้หลักสู ตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ในชั้นประถมศึกษาปี ที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 และ 2 และชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 และ 5
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็ นต้นไป ให้ใช้หลักสู ตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ทุกชั้นเรี ยน
ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

จากประกาศกระทรวงข้างต้นแสดงให้เห็ นว่าในปี ที่ ผูว้ ิจยั ทําการศึ กษาค้นคว้า นี้
โรงเรี ยนทัว่ ไป ยังใช้แบบเรี ยนตามหลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีเพียง
โรงเรี ยนต้นแบบการใช้หลักสู ตรและโรงเรี ยนที่มีความพร้อมตามรายชื่อที่กระทรวงศึกษาธิ การ
ประกาศ เริ่ มใช้แบบเรี ยนตามหลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในปี การศึกษา
2552 ในบางชั้นเรี ยนไปก่อนแล้ว ซึ่ งแบบเรี ยนตามหลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
จะพร้อมใช้ในทุกชั้นเรี ยนทัว่ ประเทศ ในปี การศึกษา 2555 โดยในระหว่างนี้ แต่ละสถานศึกษาจะใช้
หลักสู ตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็ นแกนกลางที่สอดคล้องกันทัว่ ประเทศ
เนื่ อ งจากในการจัด ทํา โครงสร้ า งหลัก สู ต ร สถานศึ ก ษาต้อ งพิ จ ารณาข้อ มู ล จากหลัก สู ต ร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยยึดเป็ นเป้ าหมายและจุดมุ่งหมายในการ
พัฒนาผูเ้ รี ยน แล้วจึ งดําเนิ นการจัดทําโครงสร้างหลักสู ตรสถานศึกษาให้เหมาะสมกับแต่ละ
ท้องถิ่น ดังนั้นทุกโรงเรี ยนจึงยึดตามหลักสู ตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
เป็ นแกนสํ า คัญ ในการจัด การเรี ยนการสอนให้ ส อดคล้อ งกัน ทั่ว ประเทศตามแนวทางที่
กระทรวงศึกษาธิการกําหนดไว้
จากการสัมภาษณ์ ศึกษานิ เทศก์จงั หวัด ฝ่ ายสารสนเทศ สังกัดสํานักงานการศึ กษา
ประถมศึกษา นครสวรรค์ เขต 3 นายไพศาล ทับวงศ์ ได้ให้ขอ้ สังเกตว่า หลักสู ตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้พฒั นามาจากหลักสู ตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544 โดยมีการปรั บปรุ งแก้ไขจุดที่เป็ นปั ญหาอุปสรรคในการนําหลักสู ตรสู่
การปฏิบตั ิ ให้มีความชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้นบนฐานข้อมูลที่ได้จากการวิจยั และติดตาม
ประเมินผลการใช้หลักสู ตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1. เพิ่มวิสัยทัศน์หลักสู ตร ที่มุ่งพัฒนาผูเ้ รี ยนทุกคนให้เป็ นมนุษย์ที่มีความสมดุล
ทั้งด้านร่ างกาย ความรู ้ คุณธรรม มีจิตสํานึ กในความเป็ นพลเมืองไทยและเป็ นพลโลก ยึดมัน่ ใน
72

การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริ ยท์ รงเป็ นประมุข มีความรู ้และทักษะ


พื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จาํ เป็ นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต
โดยมุ่งเน้นผูเ้ รี ยนเป็ นสําคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรี ยนรู ้และพัฒนาตนเองได้
เต็มตามศักยภาพ
2. เพิ่มสมรรถนะสําคัญของผูเ้ รี ยน 5 ประการ คือ
2.1 ความสามารถในการสื่ อสาร เป็ นความสามารถในการรับและส่ งสาร
ที่ใช้ถ่ายทอดความคิดความรู ้ความเข้าใจ ความรู ้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารและประสบการณ์อนั จะเป็ นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจา

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ต่อรองเพื่อขจัดและลดปั ญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรื อไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลัก

เหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่ อสารที่มีประสิ ทธิ ภาพโดยคํานึ งถึง
ผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
2.2 ความสามารถในการคิด เป็ นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิด
สังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็ นระบบ เพื่อนําไปสู่
การสร้างองค์ความรู ้หรื อสารสนเทศเพื่อการตัดสิ นใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
2.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็ นความสามารถในการแก้ปัญหาและ
อุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูล
สารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู ้
ประยุกต์ความรู ้มาใช้ในการป้ องกันและแก้ไขปั ญหา และมีการตัดสิ นใจที่มีประสิ ทธิ ภาพ
โดยคํานึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่ งแวดล้อม
2.4 ความสามารถในการใช้ทกั ษะชี วิต เป็ นความสามารถในการนํา
กระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดําเนินชีวิตประจําวัน การเรี ยนรู ้ดว้ ยตนเอง การเรี ยนรู ้อย่าง
ต่อเนื่อง การทํางาน และการอยูร่ ่ วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริ มความสัมพันธ์อนั ดีระหว่าง
บุคคล การจัดการปั ญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทนั กับการเปลี่ยนแปลง
ของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู ้จกั หลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
2.5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็ นความสามารถในการเลือก และใช้
เทคโนโลยีดา้ นต่างๆ และมีทกั ษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม
ในด้านการเรี ยนรู ้ การสื่ อสาร การทํางานการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม
และมีคุณธรรม
3. ปรับปรุ งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่มุ่งเน้นให้ผเู ้ รี ยนสามารถอยูร่ ่ วมกับผูอ้ ื่น
ในสังคมได้อย่างมีความสุ ข ในฐานะเป็ นพลเมืองไทยและพลโลก 8 ข้อ คือ 1. รักชาติ ศาสน์
73

กษัตริ ย ์ 2. ซื่ อสัตย์สุจริ ต 3. มีวินยั 4. ใฝ่ เรี ยนรู ้ 5. อยูอ่ ย่างพอเพียง 6. มุ่งมัน่ ในการทํางาน
7. รักความเป็ นไทย 8. มีจิตสาธารณะ
4. ปรับมาตรฐานการเรี ยนรู ้ช่วงชั้น เป็ นตัวชี้วดั ชั้นปี ได้มีการกําหนดตัวชี้วดั ชั้นปี
สําหรับการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาปี ที่ 1- มัธยมศึกษาปี ที่ 3) เพื่อให้เกิดความเป็ นเอกภาพ
และความชัดเจนในการจัดการเรี ยนการสอนและประเมินผลในแต่ละระดับชั้น รวมทั้งช่ วย
แก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา ส่ วนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษา
ปี ที่ 4- 6) ยังคงใช้ตวั ชี้วดั ช่วงชั้น
5. กําหนดสาระการเรี ยนรู ้แกนกลางเพื่อให้เป็ นจุดร่ วมที่ผูเ้ รี ยนทุกคนในระดับ

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐานต้องเรี ยนรู ้ ช่วยให้เกิดความเป็ นเอกภาพในการจัดการศึกษา

6. ปรับโครงสร้างเวลาเรี ยน หลักสู ตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 ได้กาํ หนดกรอบโครงสร้างเวลาเรี ยนขั้นตํ่าสําหรับกลุ่มสาระการเรี ยนรู้ 8 กลุ่ม และกิจกรรม
พัฒนาผูเ้ รี ยน
7. ปรับเกณฑ์การวัดประเมินผล เปลี่ยนจากเดิมที่หลักสู ตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ให้สถานศึกษาเป็ นผูก้ าํ หนดหลักเกณฑ์การประเมินโดยความ
เห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา มาเป็ นส่ วนกลางเป็ นผูก้ าํ หนดเกณฑ์การวัดประเมินผล
กลางให้
ความแตกต่างของหลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กับหลักสู ตร
การศึ กษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ที่ มีผลสําคัญต่อหัวข้อวิจยั “การรั บรู้ ประวัติศาสตร์
ความสั มพันธ์ ไทย-ลาว : ผ่ านแบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ไทยและลาว ชั้ นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 – 6
(ค.ศ. 1975 – 2009)” คือ ได้มีการกําหนดให้ประวัติศาสตร์ เป็ นวิชาเรี ยนที่แยกการวัดผล
การเรี ยนรู ้ ออกจากกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม แต่ยงั คงจัดเป็ นรายวิชาในกลุ่ม
สาระการเรี ยนรู ้ สั ง คมศึ ก ษา ศาสนาและวัฒ นธรรมซึ่ งต่ า งจากหลั ก สู ต รที่ ผ่ า นมา ๆ
ที่ประวัติศาสตร์ เป็ นเพียงส่ วนเรี ยนย่อย ๆ ที่แทรกตามกลุ่มประสบการณ์วิชา หรื อหน่ วยย่อย
ของสาระวิชาสังคมศึกษาเท่านั้น
ประเด็ น เปลี่ ย นแปลงที่ สํ า คัญ ในหลัก สู ต รแกนกลางการศึ ก ษาขั้น พื้ น ฐาน
พุทธศักราช 2551 ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ที่แตกต่างไปจากเนื้ อหา
หลักสู ตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม นั้นคือ มีการปรับปรุ งเนื้ อหาบางเรื่ องที่ลา้ สมัยไม่ทนั เหตุการณ์ เพิ่มเติมเนื้ อหา
บางเรื่ องที่ เ ป็ นปั จ จุ บนั ในแบบเรี ย น เช่ น การให้ความรู ้ พ้ืน ฐานเกี่ ย วกับประชาคมอาเซี ย น
74

เพื่อการเตรี ยมพร้อมสําหรับผูเ้ รี ยน ขานรับตามนโยบายส่ วนกลางที่ตอ้ งการให้เกิดการร่ วมมือ


ระหว่างภูมิภาคอาเซียนด้วยกัน
ในหลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กระทรวงศึกษาธิ การได้กาํ หนด
ตัวชี้วดั และสาระการเรี ยนรู ้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรี ยนรู ้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ ของชั้นมัธยมศึกษาชั้นปี ที่ 1 – 6 ตามหลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ไว้ดงั นี้

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

75

ตารางที่ 1 ตารางแสดงตัวชี้วดั และสาระการเรียนรู้แกนกลาง


สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสําคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็ นระบบ

ชั้น ตัวชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง


ม.1 1. วิเคราะห์ความสําคัญของเวลา • ความสํ า คั ญ ของเวลาและ
ในการศึกษาประวัติศาสตร์ ช่ วงเวลาสํ า หรั บการศึ กษา

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง ประวัติศาสตร์
ส • ความสัมพันธ์และความสําคัญ
ของอดี ต ที่ มี ต่ อ ปั จจุ บ ั น และ
อนาคต
• ตัวอย่างการใช้เวลา ช่วงเวลาและ
ยุ ค สมั ย ที่ ป รากฏในเอกสาร
ประวัติศาสตร์ไทย
2. เทียบศักราชตามระบบต่าง ๆ ที่ • ที่ ม าของศั ก ราชที่ ป รากฏ
ใช้ประวัติศาสตร์ ในเอกสารประวัติ ศ าสตร์ ไ ทย
ได้แก่ จ.ศ. / ม.ศ. / ร.ศ. / พ.ศ. /
ค.ศ. / และ ฮ.ศ.
• วิ ธี เ ที ย บศัก ราชต่ า ง ๆ และ
ตัวอย่างการเทียบ
• ตัว อย่างการใช้ศกั ราชต่ าง ๆ
และตัวอย่างการเทียบ
• ตัวอย่างการใช้ศกั ราชต่าง ๆ ที่
ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์
ไทย
3. นําวิธีการทางประวัติศาสตร์ • ความหมายและความสํา คัญ
ม า ใ ช้ ศึ ก ษ า เ ห ตุ ก า ร ณ์ ท า ง ของประวัติศาสตร์ และวิ ธีการ
ประวัติศาสตร์ ท า ง ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ที่ มี
ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
76

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ชั้น ตัวชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง


ม.1 (ต่อ) • ตัวอย่างหลักฐานในการศึกษา
ประวัติศาสตร์ ไทยสมัยสุ โขทัย
ทั้งหลักฐานชั้นต้น และหลักฐาน
ชั้นรอง (เชื่อมโยงกับ มฐ. ส 4.3)*
เ ช่ น ข้ อ คว า ม ใ น ศิ ล า จ า รึ ก

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง สมัยสุ โขทัย
ส • นําวิธีการทางประวัติศาสตร์
ไ ป ใ ช้ ศึ ก ษ า เ รื่ อ ง ร า ว ข อ ง
ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ที่ มี อ ยู่
ในท้องถิ่นตนเองในสมัยใดก็ได้
( ส มั ย ก่ อ น ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์
สมัย ก่ อ นสุ โ ขทัย สมัย สุ โ ขทัย
ส มั ย อ ยุ ธ ย า ส มั ย ธ น บุ รี
ส มั ย รั ต น โ ก สิ น ท ร์ ) แ ล ะ
เหตุการณ์สาํ คัญในสมัยสุ โขทัย
ม. 2 1. ประเมินความน่ าเชื่ อถือของ • วิธีการประเมินความน่ าเชื่อถือ
หลัก ฐานทางประวัติ ศ าสตร์ ใ น ของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ลักษณะต่าง ๆ ในลัก ษณะต่ า ง ๆ อย่ า งง่ า ย ๆ
เช่ น การศึ กษาภู มิหลังของผูท้ าํ
2. วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่าง
หรื อผู ้ เ กี่ ย วข้ อ ง สาเหตุ ช่ ว ง
ความจริ ง กั บ ข้ อ เท็ จ จริ งขอ ง
ระยะเวลารู ปลักษณ์ของหลักฐาน
เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
ทางประวัติศาสตร์ เป็ นต้น
3. เห็นความสําคัญของการตีความ • ตัวอย่างการประเมินความ
หลั ก ฐานทางประวั ติ ศ าสตร์ ที่ น่าเชื่อถือของหลักฐานทาง
น่าเชื่อถือ ประวัติศาสตร์ไทยที่อยูใ่ นท้องถิ่น
ของตนเอง หรื อหลักฐานสมัย
อยุธยา (เชื่อมโยงกับ มฐ. ส 4.3)
77

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ชั้น ตัวชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง


ม. 2 (ต่อ) • ตัว อย่า งการวิ เ คราะห์ ข ้อ มู ล
จากเอกสารต่ า ง ๆ ในสมั ย
อยุธยาและธนบุรี(เชื่ อมโยงกับ
มฐ. ส 4.3) เช่น ข้อความบางตอน
ในพระราชพงศาวดารอยุ ธ ยา

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง จดหมายเหตุชาวต่างชาติ
ส • การแยกแยะระหว่างข้อมูลกับ
ความคิ ด เห็ น รวมทั้ง ความจริ ง
กับ ข้อเท็จจริ งจากหลักฐานทาง
ประวัติศาสตร์
• ตัวอย่างการตีความข้อมูลจาก
หลั ก ฐานที่ แ สดงเหตุ ก ารณ์
สําคัญในสมัยอยุธยาและธนบุรี
• ความสําคัญของการวิเคราะห์
ข้ อ มู ล แ ล ะ ก า ร ตี ค ว า ม ท า ง
ประวัติศาสตร์
ม. 3 1. วิเคราะห์ เรื่ องราวเหตุการณ์ • ขั้ น ต อ น ข อ ง วิ ธี ก า ร ท า ง
สํ า คัญ ๆ ทางประวัติ ศ าสตร์ ไ ด้ ประวัติศาสตร์ สาํ หรับการศึกษา
อย่ า งมี เ หตุ ผ ลตามวิ ธี การทาง เหตุ ก ารณ์ ท างประวัติ ศาสตร์ ที่
ประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นในท้องถิ่นของตนเอง
• นํา วิธีการทางประวัติศาสตร์
2. ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์
มาใช้ ใ นการศึ ก ษาเรื่ องราวที่
ในการศึกษาเรื่ องราวต่าง ๆ ที่ตน
เกี่ ย วข้อ งกับตนเอง ครอบครั ว
สนใจ
และท้องถิ่นของตน
• วิ เ คราะห์ เ หตุ ก ารณ์ สํ า คั ญ
ในสมัย รั ต นโกสิ น ทร์ โดยใช้
วิธีการทางประวัติศาสตร์
78

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ชั้น ตัวชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง


ม. 4 – 6 1. ตระหนักถึงความสําคัญของ • เวลาและยุค สมัย ทาง
เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ประวั ติ ศาสตร์ ที่ ปรากฏใน
ที่ แ สดงถึ ง การเปลี่ ย นแปลงของ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไทย
มนุษยชาติ และประวัติศาสตร์สากล
•ตั ว อย่ า งเวลาและยุ ค สมั ย

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง ทางประวัติ ศ าสตร์ ข องสั ง คม
ส มนุ ษ ย์ที่ มี ป รากฏในหลัก ฐาน
ทางประวัติศาสตร์ (เชื่อมโยงกับ
มฐ. ส. 4.3)
• ความสําคัญของเวลาและยุค
สมัยทางประวัติศาสตร์
2. สร้ า งองค์ค วามรู ้ ใ หม่ • ขั้ น ต อ น ข อ ง วิ ธี ก า ร ท า ง
ทางประวัติ ศาสตร์ โดยใช้วิธี ก าร ประวั ติ ศ าสตร์ โดยนํ า เสนอ
ทางประวัติศาสตร์อย่างเป็ นระบบ ตั ว อ ย่ า ง ที ละ ขั้ น ต อ น อ ย่ า ง
ชัดเจน
• คุ ณ ค่ า และประโยชน์ ข อง
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ที่มีต่อ
การศึกษาทางประวัติศาสตร์
79

ตารางที่ 1 (ต่อ)
มาตรฐาน ส 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุ ษยชาติจากอดี ตจนถึงปั จจุบนั ในด้าน
ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่ อง ตระหนัก ถึงความสําคัญและ
สามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น

ชั้น ตัวชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง


ม. 1 1. อธิ บายพัฒนาการทางสังคม • ที่ต้ งั และสภาพทางภูมิศาสตร์
เศรษฐกิ จ แ ละ ก า ร เ มื อ ง ขอ ง ของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ประเทศต่ า ง ๆ ในภู มิ ภ าคเอเชี ย เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ที่มีผล

ตะวันออกเฉี ยงใต้ ต่อพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ
• พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
สั ง คม เศรษฐกิ จ และการเมื อง
ของประเทศต่ า ง ๆ ในภู มิ ภ าค
เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้
• ความร่ วมมือผ่านการรวมกลุ่ม
เป็ นอาเซี ย นของประเทศใน
ภูมิภาคเอเชี ยตะวันออกเฉี ยงใต้
ที่ ถื อ ว่ า เป็ น พั ฒ นาก าร ขอ ง
ภูมิภาค
2. ระบุความสําคัญของแหล่ง • ที่ ต้ ั งและความสํ า คั ญ ของ
อ า ร ย ธ ร ร ม ใ น ภู มิ ภ า ค เ อ เ ชี ย แหล่ ง อารยธรรมในภู มิ ภ าค
ตะวันออกเฉี ยงใต้ เอเชี ย ตะวัน ออกเฉี ย งใต้ เช่ น
แหล่งมรดกโลกในประเทศต่าง ๆ
ของเอเชี ย ตะวัน ออกเฉี ย งใต้
(เชื่อมโยงกับ มฐ. ส 4.3)
• อิ ท ธิ พ ล ข อ ง อ า ร ย ธ ร ร ม
โบราณในดิ น แดนไทยที่ มี ต่ อ
พั ฒ น า ก า ร ข อ ง สั ง ค ม ไ ท ย
ในปั จจุบนั
80

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ชั้น ตัวชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง


ม. 2 1. อธิ บายพัฒนาการทางสังคม • ที่ต้ งั และสภาพทางภูมิศาสตร์
เศรษฐกิ จ และการเมื องของ ของภูมิภาคต่าง ๆ ในทวีปเอเชี ย
ภูมิภาคเอเชีย (ยกเว้นเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้)
ที่มีผลต่อพัฒนาการโดยสังเขป
• พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง สังคม เศรษฐกิ จ และการเมื อ ง
ส ของภูมิภาคเอเชี ย (ยกเว้นเอเชี ย
ตะวันออกเฉี ยงใต้)
2. ระบุความสําคัญของแหล่ง • ที่ ต้ ั งและความสํ า คั ญ ของ
อารยธรรมโบราณในภูมิภาคเอเชีย แหล่งอารยธรรมตะวันออกและ
แหล่ ง มรดกในประเทศต่ า ง ๆ
ในภูมิภาคเอเชีย
• อิทธิพลของอารยธรรมโบราณ
ที่มีต่อภูมิภาคเอเชียในปัจจุบนั
ม. 3 1. อธิ บายพัฒนาการทางสังคม • ที่ต้ งั และสภาพทางภูมิศาสตร์
เศรษฐกิ จ และการเมื องของ ของภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก (ยกเว้น
ภูมิภาคต่าง ๆ ในโลกโดยสังเขป เอเชีย) ที่มีผลต่อพัฒนาการ
โดยสังเขป
2. วิเคราะห์ผลของการเปลี่ยนแปลง • พัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ
ที่ นําไปสู่ ความร่ วมมื อ และความ และการเมืองของภูมิภาคต่าง ๆ
ขั ด แย้ง ในคริ สต์ ศ ตวรรษที่ 20 ของโลก(ยกเว้นเอเชีย)
ตลอดจนความพยายามในการขจัด • อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก
ปั ญหาความขัดแย้ง ที่ มี ผ ล ต่ อ พั ฒ น า ก า ร แ ล ะ
การเปลี่ ยนแปลงของสังคมโลก
โดยสังเขป
81

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ชั้น ตัวชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง


ม. 3 (ต่อ) • ความร่ วมมือและความขัดแย้ง
ในคริ สต์ ศ ตวรรษที่ 20 เช่ น
สงครามโลกครั้ งที่ 1 ครั้ งที่ 2
สงครามเย็น องค์กรความร่ วมมือ
ระหว่างประเทศ
ม. 4-6
น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
1. วิเคราะห์ อิทธิ พลของอารย
ำ • อารยธรรมของโลกยุคโบราณ

ธรรมโบราณ และการติ ด ต่ อ ได้แ ก่ อารยธรรมลุ่ ม แม่ น้ ํา ไท
ระหว่ า งโลกตะวัน ออกกับ โลก กรี ส – ยูเฟรตีส ไนล์ ฮวงโห
ตะวันตกที่มีผลต่อพัฒนาการและ สิ นธุ และอารยธรรมกรี ก โรมัน
การเปลี่ยนแปลงของโลก • ก า ร ติ ด ต่ อ ร ะ ว่ า ง โ ล ก
2. วิเคราะห์เหตุการณ์สาํ คัญต่าง ๆ ตะวันออกกับโลกตะวันตก และ
ที่ ส่ ง ผลต่ อ การเปลี่ ย นแปลงทาง อิทธิพลทางวัฒนธรรมที่มีต่อกัน
สังคม เศรษฐกิจและการเมืองเข้าสู่ และกัน
โลกสมัยปั จจุบนั • เหตุ ก ารณ์ สํ า คั ญ ต่ า ง ๆ ที่
ส่ ง ผลต่ อ การเปลี่ ย นแปลงของ
โลกในปั จ จุ บ ัน เช่ น ระบอบ
ศัก ดิ น าสวามิ ภ ัก ดิ์ สงครามครู
เสด การฟื้ นฟูศิลปวิทยาการการ
ปฏิ ว ั ติ ท างวิ ท ยาศาสตร์ การ
สํ า รวจทางทะเล การปฏิ รู ป
ศาสนา การปฏิวตั ิอุตสาหกรรม
แ น ว คิ ด เ ส รี นิ ย ม แ น ว คิ ด
จักรวรรดินิยม แนวคิดชาตินิยม
82

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ชั้น ตัวชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง


ม. 4-6 (ต่อ) 3. วิเคราะห์ผลกระทบของการ • การขยาย การล่ า อาณานิ ค ม
ขยายอิทธิพลของประเทศยุโรปใน และผลกระทบ
ยุโรปไปยังทวีปอเมริ กา แอฟริ กา • ความร่ วมมือและความขัดแย้ง
และเอเชีย ข อ ง ม นุ ษ ย ช า ติ ใ น โ ล ก ใ น
4. วิเคราะห์สถานการณ์ของโลก คริ สต์ศตวรรษที่ 20

น ก
ั ห อ ส ม
ในคริ สต์วรรษที่ 21
ำ ุ ด ก ลาง • สถานการณ์ สํ า คัญ ของโลก
ส ในคริ สต์ศตวรรษที่ 20 เช่น
- เหตุการณ์ระเบิดตึก World
Trade Center 11 กันยายน 2001
- การขาดแคลนทรัพยากร
- การก่อการร้ายและการต่อต้าน
การก่อการร้าย
- ความขัดแย้งทางศาสนา
83

ตารางที่ 1 (ต่อ)
มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็ นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก
ความภูมิใจและธํารงความเป็ นไทย

ชั้น ตัวชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง


ม. 1 1. อธิ บายเรื่ องราวทางประวัติศาสตร์ • สมัย ก่ อ นประวัติ ศ าสตร์ ใ น
สมัย ก่ อนสุ โขทัย ในดิ น แดนไทย ดินแดนไทยโดยสังเขป
โดยสังเขป • รัฐโบราณในดินแดนไทย เช่น
2.
ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก
วิ เ คราะห์ พ ฒ ลาง
ั นาการของ ศรี วิชยั ตามพรลิงค์ ทวารวดี

อาณาจักรสุ โขทัยในด้านต่าง ๆ •รั ฐ ไทยในดิ น แดนไทย เช่ น
ล้ า น น า น ค ร ศ รี ธ ร ร ม ร า ช
3. วิเคราะห์อิทธิพลของวัฒนธรรม
สุ พรรณภูมิ
และภู มิ ปั ญ ญาไทยสมัย สุ โ ขทัย
• การสถาปนาอาณาจักรสุ โขทัย
และสังคมไทยในปั จจุบนั และปั จ จัย ที่ เ กี่ ย วข้อ ง (ปั จ จั ย
ภายในและภายนอก)
• พั ฒ นาการของอาณาจั ก ร
สุ โขทั ย ในด้ า นการเมื อ งการ
ปกครอง เศรษฐกิ จ สังคม และ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
• วัฒ นธรรมสมัย สุ โ ขทัย เช่ น
ภาษาไทย วรรณกรรม ประเพณี
สําคัญ ศิลปกรรมไทย
• ภูมิปัญญาไทยในสมัยสุ โขทัย
เช่น การชลประทาน เครื่ องสังค
โลก
• ความเสื่ อมของอาณาจั ก ร
สุ โขทัย
ม.2 1.วิเคราะห์พฒั นาการของอาณาจักร • การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา
อยุธยาและธนบุรีในด้านต่าง ๆ • ปั จ จั ย ที่ ส่ ง ผ ล ต่ อ ค ว า ม
เจริ ญรุ่ งเรื องของอาณาจั ก ร
อยุธยา
84

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ชั้น ตัวชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง


ม.2 (ต่อ) 2. วิ เคราะห์ ปัจ จัย ที่ ส่ง ผลต่ อ • พั ฒ นาการของอาณาจั ก ร
ความมัน่ คงและความเจริ ญรุ่ งเรื อง อยุ ธ ยาในด้ า นการเมื อ งการ
ของอาณาจักรอยุธยา ปกครอง สัง คม เศรษฐกิ จ และ
3. ระบุภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ไทยสมัย อยุ ธ ยาและธนบุ รี และ • การเสี ยกรุ งศรี อยุธยาครั้ งที่ 1

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
อิทธิ พลของภูมิปัญญาดังกล่าว ต่อ และการกูเ้ อกราช

การพัฒนาชาติไทยในยุคต่อมา • ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
สมัย อยุ ธ ยา เช่ น การควบคุ ม
กําลังคนและศิลปวัฒนธรรม
• การเสี ยกรุ งศรี อยุธยาครั้งที่ 2
การกู้เ อกราชและการสถาปนา
อาณาจักรธนบุรี
• ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
สมัยธนบุรี
• วีร กรรมของบรรพบุ รุษ ไทย
ผลงานของบุคคลสําคัญของไทย
ที่มีส่วนสร้างสรรค์ชาติไทย เช่น
- สมเด็จพะรามาธิบดีที่ 2
- พระสุ ริโยทัย
- พระนเรศวรมหาราช
- พระนารายณ์มหาราช
- สมเด็จพระเจ้าตากสิ น
มหาราช
- พระบาทสมเด็จพระ
พุทธยอดฟ้ าจุฬาโลกมหาราช
- สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหา
สุ รสิ งหนาถ
85

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ชั้น ตัวชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง


ม. 3 1.วิเคราะห์พฒั นาการของไทยสมัย • การสถาปนากรุ งเทพมหานคร
รัตนโกสิ นทร์ในด้านต่าง ๆ เป็ นราชธานีของไทย
2. วิ เคราะห์ ปัจ จัย ที่ ส่งผลต่ อ • ปั จจัยที่ ส่งผลต่อความมัน่ คง
ความมัน่ คงและความเจริ ญรุ่ งเรื อง และความเจริ ญรุ่ งเรื องของไทย
ของไทยสมัยรัตนโกสิ นทร์ สมัยรัตนโกสิ นทร์
3.
ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
วิ เ คราะห์ ภู มิ ปั ญ ญาและ • บทบาทพระมหากษัตริ ยไ์ ทย

วัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสิ นทร์ ในราชวงศ์จกั รี ในการสร้างสรรค์
และอิทธิพล ต่อการพัฒนาชาติไทย ความเจริ ญและความมัน่ คงของ
4. วิ เคราะห์ บทบาทของไทย ชาติ
ในสมัยประชาธิปไตย • พัฒ นาการของไทยในสมัย
รัตนโกสิ นทร์ ทางด้านการเมือง
การปกครอง สั ง คม เศรษฐกิ จ
และความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง
ประเทศตามช่วงต่าง ๆ
• เหตุ ก ารณ์ สํา คัญ สมัย
รั ต นโกสิ นทร์ ที่ มี ผ ลต่ อ การ
พั ฒ นาชาติ ไ ทย เช่ น การทํ า
สนธิ สั ญ ญาเบาว์ ริ งในสมั ย
รั ช กาลที่ 4 การปฏิ รู ป ประเทศ
สมัยรั ชกาลที่ 5 การเข้าร่ วม
สงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
โดยวิเคราะห์ ส าเหตุ แ ละปั จ จัย
และผลของเหตุการณ์ต่าง ๆ
86

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ชั้น ตัวชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง


ม. 3 (ต่อ) • ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
ใ น ส มั ย รั ต น โ ก สิ น ท ร์ ที่ มี
อิ ท ธิ พ ลต่ อ การพัฒ นาชาติ ไ ทย
จ น ถึ ง ปั จ จุ บั น โ ด ย เ ฉ พ า ะ
พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทร

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิ ตลาธิเบ
ส ศรรามาธิ บ ดี จัก รี นฤบดิ น ทร
สยามิ น ทราธิ ราช บรมนาถ
บพิ ต ร และสมเด็จ พระนางเจ้า
สิ ริกิต์ ิพระบรมราชินีนาถ
• บ ท บ า ท ข อ ง ไ ท ย ตั้ ง แ ต่
เปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึง
ปั จจุบนั ในสังคมโลก
ม.4 – 6 1. วิ เ คราะห์ ป ระเด็ น สํ า คัญ ของ  ป ร ะ เ ด็ น สํ า คั ญ ข อ ง
ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสตร์ ไทย เช่น แนวคิด
2. วิ เ คราะห์ ความสํ า คั ญ ของ เกี่ยวกับความเป็ นมาของชาติไทย
สถาบัน พระมหากษัต ริ ย ์ต่ อ ชาติ อาณาจักรโบราณในดินแดนไทย
ไทย และอิ ท ธิ พ ลที่ มี ต่ อ สั ง คมไทย
3. วิ เ ค ร า ะ ห์ ปั จ จั ย ที่ ส่ ง เ ส ริ ม ปั จ จั ย ที่ มี ผ ลต่ อ การสถาปนา
ความสร้ า งสรรค์ภู มิ ปั ญ ญาไทย อาณาจักรไทยในช่วงเวลาต่าง ๆ
และวัฒ นธรรมไทย ซึ่ งมี ผ ลต่ อ สาเหตุ แ ละผลของการปฏิ รู ป
สังคมไทยในยุคปั จจุบนั
การปกครองบ้านเมือง การเลิกทาส
เลิกไพร่ การสเด็จประพาสยุโรป
และหั ว เมื อ งสมั ย รั ช กาลที่ 5
แนวคิดประชาธิปไตยตั้งแต่สมัย
รัชกาลที่ 6
87

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ชั้น ตัวชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง


ม.4 – 6(ต่อ) จนถึ ง การเปลี่ ย นแปลงการ
ปกครอง พ.ศ. 2475 สมัยรัชกาล
ที่ 7 บทบาทของสตรี ไทย
4. วิ เ คราะห์ ผ ลงานของบุ ค คล  บ ท บ า ท ข อ ง ส ถ า บั น
สําคัญทั้งชาวไทยและต่างประเทศ พระมหากษัต ริ ย ์ใ นการพัฒ นา

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ที่มีส่วนสร้างสรรค์วฒั นธรรมไทย ชาติ ไทยในด้ า นต่ างๆ เช่ น

และประวัติศาสตร์ไทย การป้ องกัน และรั ก ษาเอกราช
ข อ ง ช า ติ ก า ร ส ร้ า ง ส ร ร ค์
วัฒนธรรมไทย
 อิ ท ธิ พ ล ข อ ง วั ฒ น ธ ร ร ม
ตะวันตก และตะวันออกที่มีต่อ
สังคมไทย
 ผลงานของบุ ค คลสํา คัญ ทั้ง
ชาวไทยและต่ า งประเทศ ที่ มี
ส่ วนสร้างสรรค์ วัฒนธรรมไทย
และประวัติศาสตร์ไทย
-พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
- พระบาทสมเด็จพระนัง่
เกล้าเจ้าอยูห่ วั
- พระบาทสมเด็จมงกุฎ
เกล้าเจ้าอยูห่ วั
- สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงวงษาธิราชสนิท
88

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ชั้น ตัวชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง


ม.4 – 6(ต่อ) - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยานริ ศรานุวดั ติวงศ์
- สมเด็จพระเจ้ารมวงศ์เธอ
กรมพระยาดํารงราชานุภาพ
- หม่อมราโชทัย หม่อม

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร
ส - สมเด็จเจ้าพระยามหาศรี
สุ ริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
- บาทหลวงปา เลอกัวซ์
- พระยากัลป์ ยาณไมตรี
(Dr. Francis B. Sayre ดร.ฟราน
ซีส บี แซร์)
- ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
- พระยารัษฎานุประดิษฐ์
มหิ ศรภักดี (คอซอมบี้ ณ ระนอง)
 ปั จ จั ย แ ละ บุ ค ค ล ที่
ส่ ง เสริ ม สร้ า งสรรค์ภู มิ ปั ญ ญา
ไทย และวัฒ นธรรมไทย ซึ่ ง มี
ผลต่อสังคมไทยในยุคปั จจุบนั
-พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ
พระเจ้าอยูห่ วั ภูมิพลอดุลยเดช
- สมเด็จพระนางเจ้าสิ ริกิต์ ิ
พระบรมราชินีนาถ
- สมเด็จพระศรี นคริ น
ทราบรมราชชนนี
89

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ชั้น ตัวชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง


ม.4 – 6(ต่อ) - สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ ากัลยาณิ วฒ ั นา กรมหลวง
นราธิวาสราชนคริ นทร์
5.วางแผนกํา หนดแนวทางและ  สภาพแวดล้อมที่ มี ผลต่ อการ
การมี ส่ วนร่ วมการอนุ รั ก ษ์ ภู มิ สร้ างสรรค์ ภู มิ ปั ญ ญ า แ ล ะ

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด
ปั ญญาไทยและวัฒนธรรมไทย ก ลาง วัฒนธรรมไทย
ส  วิ ถี ชี วิ ต ของคนไทยในสมัย
ต่าง ๆ
 การสื บทอดและเปลี่ยนแปลง
ของวัฒนธรรมไทย
 แนวทางการอนุ รั กษ์ ภู มิ
ปั ญญาและวัฒนธรรมไทยและ
การมีส่วนร่ วมในการอนุรักษ์
 วิธีการมีส่วนร่ วมอนุ รักษ์ภูมิ
ปัญญาและวัฒนธรรมไทย
* มฐ. ส 4.3 หมายถึง มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็ นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญา
ไทย มีความรัก ความภูมิใจและธํารงความเป็ นไทย

ที่มา : กระทรวงศึกษาธิการ, ตัวชี้วดั และสาระการเรี ยนรู ้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรี ยนรู ้ สังคมศึกษา


ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (กรุ งเทพฯ : ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่ งประเทศไทย, 2551), 92 - 108.

จากตารางตัวชี้วดั และสาระการเรี ยนรู ้แกนกลาง สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ ของหลักสู ตร


การศึ กษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สะท้อนให้เห็ นว่าส่ วนกลางมุ่งเน้นให้ผูเ้ รี ยนวิชา
ประวัติ ศ าสตร์ น้ ัน เข้า ใจความหมาย ความสํา คัญ ของเวลาและยุค สมัย ทางประวัติ ศ าสตร์
สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็ นระบบ อีกทั้งยังเข้าใจ
90

พัฒนาการของมนุ ษยชาติ จากอดี ตจนถึ งปั จจุ บนั ในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ ยนแปลง


ของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสําคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ ยัง มุ่ ง หวัง ประการสํา คัญ ให้ ผู เ้ รี ย นเข้า ใจความเป็ นมาของชาติ ไ ทย
วัฒ นธรรม ภู มิ ปั ญ ญาไทย มี ค วามรั ก ความภู มิ ใ จและธํา รงความเป็ นไทย และในการนี้
กระทรวงศึกษาธิการคาดหวังว่า เมื่อผูเ้ รี ยนจบชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 ต้องมีความรู ้เรื่ องภูมิปัญญาไทย
ความภูมิใจในความเป็ นไทย ประวัติศาสตร์ ของชาติไทย ยึดมัน่ ในวิถีชีวิต และระบบการปกครอง
ระบอบประชาธิ ปไตยอันมีพระมหากษัตริ ยท์ รงเป็ นประมุข ซึ่ งสิ่ งที่กล่าวมานี้ ได้ถูกกําหนดจาก
กระทรวงศึกษาธิ การเป็ นแกนกลางหลักสู ตรที่ทุกโรงเรี ยนต้องนําไปปรั บใช้ให้เข้ากับแต่ละ
ท้องถิ่น 11
ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
2. แบบเรียนลาว ส
หลัง ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518) สาธารณรัฐประชาธิ ปไตยประชาชนลาวบริ หารประเทศ
ด้วยอุดมการณ์สังคมนิ ยมโดยพรรคประชาชนปฏิวตั ิลาว ในขณะที่สังคมตกอยูใ่ นภาวะสับสน
เศรษฐกิ จไร้ทิศทาง อีกทั้งประชาชนที่กาํ ลังแตกแยกทางความคิดกลัวต่ออํานาจการปกครอง
ใหม่ รัฐกําลังมองหาเครื่ องมือที่ช่วยสร้างแบบแผนและทิศทางตามเป้ าประสงค์แห่ งรัฐ การศึกษา
ถื อเป็ นเครื่ องมื อสํา คัญ อย่ า งหนึ่ ง ของรั ฐ ในการส่ ง ผ่า นอุ ด มการณ์ ค วามเป็ นชาติ ข องรั ฐ สู่
ประชาชน
รัฐบาลลาวโดยพรรคประชาชนปฏิวตั ิลาวให้ความสําคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติ
ศูนย์กลางพรรคมีมติเกี่ยวกับงานศึกษาว่า “เอาการศึกษาไปก่อนงานอื่นก้าวหนึ่ ง” โดยระบุว่า
เพื่อเป็ นเครื่ องมือสร้าง “คนใหม่” แบบสังคมนิ ยมตามที่รัฐต้องการ 12 แบบเรี ยนได้ปรับเปลี่ยนมา
รับใช้อุดมการณ์สังคมนิ ยมใหม่แบบเต็มตัว และสิ่ งหนึ่ งที่เป็ นเอกลักษณ์ของแบบเรี ยนลาว คือ
วิธีการใช้แบบเรี ยนลาวในการสร้ างสํานึ กความเป็ นชาติ น้ ัน ไม่ ได้ใช้หนังสื อเล่มเดี ยวหรื อ
แบบเรี ยนวิชาเดียว เช่น วิชาประวัติศาสตร์ มาสร้างสํานึกความรักชาติ แต่ครอบคลุมไปทุกวิชา
ทั้งหลักสู ตร เช่น การใช้โจทย์ปัญหาคณิ ตศาสตร์ สร้างสํานึ กความเป็ นชาติท้ งั ในแง่ประวัติศาสตร์
ความสัมพันธ์ของคนในชาติ และศัตรู ของชาติ” 13

11
กระทรวงศึกษาธิ การ, ตัวชี้วดั และสาระการเรี ยนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรี ยนรู้ สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551, 5.
12
ปณิ ตา สระวาสี , การสร้างสํานึกความเป็ นชาติของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิ ปไตยประชาชน
ลาวโดยผ่านแบบเรี ยนชั้นประถมศึกษาตั้งแต่ ค.ศ.1975 – 2000, (กรุ งเทพฯ : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั ,
2546), 3.
13
เรื่ องเดียวกัน, 47 – 48.
91

ด้วยเหตุ น้ ี รั ฐบาลลาวจึ งรั กษาอํานาจในการผลิ ตแบบเรี ยนอย่างเข้มงวดมาตั้งแต่


ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518) โดยเฉพาะการจัดทําหลักสู ตรการศึกษาในระดับชั้นสามัญนั้นมี “สถาบัน
ค้นคว้าวิทยาศาสตร์การศึกษาแห่ งชาติ” สังกัดกระทรวงศึกษาธิ การ เป็ นผูร้ ับผิดชอบในการแต่ง
และเรี ยบเรี ยงแบบเรี ยน หรื อกล่าวได้ว่าลาวถูกกําหนดจากพรรคประชาชนปฏิ วตั ิลาวให้ใช้
แบบเรี ยนเดี ย วกัน ทั้ง ประเทศ ในการวิ จ ัย นี้ จึ ง ได้เ ลื อ กใช้แ บบเฮี ย นวิ ด ทะยาสาดสั ง คม
ชั้นมัดทะยม ปี ที่ 1 – 6 ซึ่งเป็ นแบบเรี ยนของกระทรวงศึกษาธิการลาว
ลาวให้ความสําคัญกับวิชา “ประวัติศาสตร์ ” มากเห็ นได้จากการให้คาํ จํากัดความ
ตั้งแต่หน้าแรกของแบบเรี ยนวิชาประวัติศาสตร์ ช้ นั มัธยมศึกษาปี ที่ 1 ถึงความสํานึ กร่ วมเกี่ยวกับ
วิชาประวัติศาสตร์วา่
ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

วิชาปะหวัดสาด แม่นขะแหนงหนึ่ง ของวิทะยาสาดสังคม ที่ช่วยให้พวกเฮารับรู้อะดีดตะกาน
หรื อความเป้ นมาของกานดําลงชีวิด, กานต่อสู้, วัดทะนะทํา และสังคมของมะนุ ดเฮา ปะหวัดสาด
แม่นสิ่ งที่ได้ผา่ นพ้นไป, ได้สะแดงออกตามไลยะเวลาสั้น หรื อยาว ในนี้ พวกเฮาจะเว้าเถิง ปะหวัดสาด
ของมะนุด, เช่นว่ามะนุดเฮากําเนิดมาแต่ใส, แต่เมื่อใด, ดําลงชีวิด และมีกานเคื่อนไหวคือแนวใด,
มะนุ ด เรามี ก านเปี่ ยนแปง และมี ค วามก้า วหน้า แนวใดแด่ นั้น แม่ น ปั น หาต่ า ง ๆ เหล่ า นั้น
กะจ่างแจ้งขึ้น 14

แบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ลาวช่ วยให้เราเห็ นภาพที่ชดั เจนในการใช้ประวัติศาสตร์


ที่เน้นการต่อสู ้ของชาติเป็ นเครื่ องมือในการสร้างสํานึ กรักชาติและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
(แบบที่รัฐต้องการ)ให้กบั ผูเ้ รี ยน โดยกําหนดเป็ นเป้ าหมายของการเรี ยนรู ้ประวัติศาสตร์ความว่า

การเรี ยนปะหวัดสาด ช่วยให้พวกเฮารู้และเข้าใจเกี่ยวกับความเป้ นมาของมะนุด, ของชาด


....ช่วยให้พวกเฮาเข้าใจอย่างถึกต้อง เถิงเหดผนของปะกดกานทางด้านสังคมและสายพัวพัน
เซิ่ งกันและกันละหว่างปะกดกานเหล่านั้น...ปะเทดชาดของพวกเฮาเคยถึกพวกสักดิ นา และ
จักกะพัดต่างด้าวรุ กราน แต่ปะชาชนลาวก่อได้ดาํ เนิ นต่อสู้ย่างทอละหดอดทน จนก้าวไปเถิง
ไชชะนะคั้งสุ ดท้าย นั้นแม่นกานสะถาปะนา สาทาละนะลัด ปะชาทิปะไต ปะชาชนลาว ในวันที่
2 ทันวา ปี ค.ส. 1975 15

14
กะซวงสึ กสาทิกาน, แบบเฮียนวิทะยาสาดสังคมชั้นมัดทะยม ปี ที่ หนึ่ ง (เวียงจัน : สะถาบัน
ค้นคว้า วิทะยาสาดกานสึ กสา, 1996.), 1.
15
เรื่ องเดียวกัน, 1-2.
92

“รั ฐตระหนักในความสําคัญของการศึกษาเพราะระบบการศึกษาผ่านโรงเรี ยนเป็ น


กลไกหลักในการสร้างสํานึ กความเป็ นชาติ เผยแพร่ ภาษาประจําชาติ และส่ งผ่านความทรงจํา
ของชาติ และของประชาชนในชาติ แบบเรี ยนซึ่ ง ผลิ ตขึ้ นโดยกระทรวงศึ กษาธิ การของลาว
จึงยังคงเป็ นเครื่ องมือสื่ อสารทางสังคมอันหนึ่ งที่สามารถสะท้อนความพยายามของรัฐในการสร้าง
สํานึ กความเป็ นชาติได้เป็ นอย่างดีต้ งั แต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงปั จจุบนั ” 16 การทําความ
เข้าใจในแบบเรี ยนจึงเปรี ยบเสมือนการทําความรู ้จกั กับรัฐ ในฐานะกระจกสะท้อนชุดความคิด
ตามอุดมคติแห่งรัฐ
3. การกล่อมเกลารู ปแบบความสั มพันธ์ ระหว่ างไทยกับลาว ผ่ านแบบเรียนประวัติศาสตร์ ไทย - ลาว

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้นของการวิจยั ว่า “การเป็ นพลเมืองดีของประเทศนั้นสามารถ


เรี ยนรู ้ได้เยาวชนไม่ได้เป็ นพลเมืองดีดว้ ยเหตุบงั เอิญ”17 ซึ่งแน่นอนว่าพลเมืองที่ดีของแต่ละประเทศ
จะมีความแตกต่างไปตามค่านิ ยม จารี ต คติความเชื่ อ แบบแผนทางวัฒนธรรมอีกทั้งรู ปแบบ
การปกครอง การกล่อมเกลาประชาชนในแต่ละรั ฐจึ งถื อเป็ นจุ ดมุ่ งหมายสําคัญ ในการผลิ ต
ชุ ดความคิดโดยผ่านเครื่ องมื อต่ าง ๆ ของรั ฐ เพื่อให้ได้ประชาชนที่เติ บโตมาพร้ อมแนวทาง
ตามที่รัฐกําหนดจุดมุ่งหมายไว้
การพัฒนาคุ ณลักษณะของประชาชนพลเมื องภายในสังคมให้เอื้ อต่ อการพัฒนา
ประเทศ มีความรู ้ ความเข้าใจ ตลอดจนมีเจตคติ และค่านิ ยมตามแบบแผนของสังคม รวมทั้งรู ้
บทบทหน้าที่ของตนเอง ให้มีความรั กและภาคภูมิใจในที่มาและชาติของตน เหล่านี้ ลว้ นเป็ น
จุ ดมุ่งหมายหลักที่ สําคัญของทุกประเทศ การมองผ่านแบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ไทยและลาว
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 – 6 (ค.ศ. 1975 – 2009) ที่แม้จะมีการปรับปรุ งหลักสู ตรบ้างในปี 1979
(พ.ศ. 2522)แต่กย็ งั เน้นยํ้าภาพและเหตุการณ์เดิม ที่สาํ คัญแบบเรี ยนลาวถูกใช้มายาวนานถึง 20 ปี
ดังนั้นการมองผ่านแบบเรี ยนลาวชุดนี้ จะช่วยให้เข้าใจการสร้าง “มายาคติของรัฐ” 18 ต่อการรับรู ้
ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-ลาว ที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ไทยและลาวในปั จจุบนั

16
ปณิ ตา สระวาสี , การสร้างสํานึกความเป็ นชาติของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
โดยผ่านแบบเรี ยนชั้นประถมศึกษา ตั้งแต่ค.ศ. 1975 – 2000, 3 – 4.
17
Allen, Garth and Martin, Education and Community : The Politics of Practice, 146.
18
มายาคติของรัฐ ในที่น้ ี สื บเนื่ องมาจากการให้ความหมาย “ชาติ”ของ เบน แอนเดอร์ สัน ว่าเป็ น
สิ่ งที่ไม่มีอยูจ่ ริ ง “มายาคติของรัฐ” ผูว้ ิจยั จึงหมายถึง การสร้างความสํานึ กให้กบั ประชาชน ในเรื่ องการรักชาติ
ภาคภูมิใจชาติ ร่ วมไปถึงความรู้สึกห่ วงแหนในชาติ ให้กลายเป็ นความรู ้สึกร่ วมของประชาชน โดยผ่านองค์
ความรู้ที่รัฐใช้อาํ นาจกําหนดเป็ นผูก้ าํ หนดแบบเรี ยน, ผูว้ จิ ยั .
93

เนื่องด้วยเนื้อหาภายในแบบเรี ยนประวัติศาสตร์ไทยและลาว ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 – 6


แบ่ ง ออกเป็ นหลายส่ ว นด้ ว ยกั น ผู ้วิ จ ัย จึ ง จะยกเฉพาะมิ ติ สํ า คัญ ที่ เ กี่ ย วข้อ งกั บ การรั บ รู ้
ประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ไทย-ลาว ในการเปรี ยบเทียบแบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ไทยและลาว
เท่านั้น
3.1 จุดเริ่มต้ นของรู ปแบบความสั มพันธ์ ระหว่ างไทยกับลาวในแบบเรียนไทย – ลาว
ตามที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นถึงความสําคัญของ “แบบเรี ยน”ในฐานะเครื่ องมือแห่ งรัฐ
ที่ใช้ปลูกฝังความคิดให้กบั ผูเ้ รี ยนตามแต่รูปแบบของพลเมืองที่รัฐนั้น ๆ วางไว้ตามแต่พ้ืนฐาน
ความต้องการในแต่ ละรั ฐ ในหัว ข้อนี้ จะศึ ก ษาถึ งจุ ด เริ่ ม ต้น ของความสัมพัน ธ์ไ ทยและลาว

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
เมื่ อกล่ า วถึ งกัน ในบริ บททางประวัติศาสตร์ ผ่านแบบเรี ย น เพื่อให้เห็ น ภาพแรกของผูเ้ รี ย น


ในการทําความรู ้ จกั ซึ่ งกันและกันผ่านแบบเรี ยนที่รัฐลาวสร้างขึ้น ซึ่ งอาจจะเป็ นเพียงจุดเล็ก ๆ
ที่นาํ มาขยายภาพ หรื อเป็ นการรั บรู ้ ประวัติศาสตร์ ในมุมมองใหม่ ที่ต่างไปจากความสัมพันธ์
ทางประวัติศาสตร์ ของไทยและลาวที่บนั ทึกตามพงศาวดารของไทยและลาวที่ผวู ้ ิจยั ได้กล่าวถึง
ไว้ในบทที่ 2
เมื่อกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างลาวและไทยนั้น แบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ลาว ใช้
พงศาวดารลาวปูพ้ืนฐานความเข้าใจให้กบั ผูเ้ รี ยนถึงอาณาจักรโบราณ กล่าวถึง

ก่อนนี้ สองพันกว่าปี ...มีนะคอนหนองแส หลีตาลีฟู (ยูป่ ะเทดจีน) เป้ นเมืองหลวง. มีความ


จะเลินรุ่ งเรื อง, มีอานาเขดกว้างขวาง มีกะสัดเจ้าขุนบูลมลาชาทิลาดปกคอง เจ้าขุนบูลมมีลูกชาย
7 คน, เพื่อขะหยายเขดแดนปกคองลงมาทางใต้; พะองได้แต่งตั้งให้ลูกชายทั้ง 7 นั้นไปส้างสาและ
ปกคองเมื องต่าง ๆ” ความสําคัญของ ขุนบรม ที่ลาวกล่าวถึงในแบบเรี ยนนี้ คือ สายสัมพันธ์
ระหว่างลาวและอาณาจักรต่าง ๆ ที่ เป็ นพี่น้องกันมาแต่ครั้ งอดี ต ซึ่ งบุตรทั้ง 7 ที่ ไปปกครอง
ยังดิ นแดนต่าง ๆ 19 ตามที่ พงศาวดารกล่าว คื อ หลวงพระบาง ตาลี ฟู(จี น) ตงแกงเหวียดนาม
เชี ย งใหม่ สี โ คดตะบอง เชี ย งขวาง และ อยุ ธ ยา ความสั ม พัน ธ์ ต ามพงศาวดารที่ ก ล่ า วถึ ง
ในแบบเรี ยนสรุ ปได้วา่ ไทยและลาว “เป็ นพี่นอ้ งกันมาแต่ขนุ บรมโน้น20

สําหรับแบบเรี ยนไทยเริ่ มกล่าวถึงลาวในหัวข้อ อารยธรรมในเอเชียตะวันออกเฉี ยง


ใต้ในฐานะรัฐโบราณ เล่าถึงพัฒนาการของลาวจากรัฐอิสระจนรวบรวมเป็ นปึ กแผ่นได้ภายใต้
การนํา ของ พระเจ้าฟ้ างุ่ม

19
กะซวงสึ กสาทิกาน, แบบเฮียนวิทะยาสาดสังคมชั้นมัดทะยม ปี ที่ หนึ่ง, 18.
20
สิ ลา วีระวงส์, พงศาวดารลาว. แปลโดย ทองสื บ ศุภะมาร์ ค (กรุ งเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา,
2528), 33.
94

อาณาจักรล้านช้าง หรื อ ศรี สัตนาคนหุ ต ตามพงศาวดารล้านช้างกล่าวว่า มีชนกลุ่มหนึ่ ง


ที่เรี ยกว่า พวกลาว ได้อพยพมาจากจีนตอนใต้และตั้งถิ่นฐานในเขตลุ่มนํ้าโขงตอนบนสถาปนารัฐ
อิสระขึ้ นหลายรั ฐในเวลาใกล้เคี ยงกับที่ ไทยอี กเผ่าหนึ่ งตั้งถิ่ นฐานอยู่แถบลุ่มแม่น้ าํ เจ้าพระยา
ตอนบนเป็ นอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุ โขทัยและอื่น ๆ อาณาจักรสุ โขทัยเคยแผ่ขยายอาณาเขต
ไปจนจดเวียงจันทน์ แต่เมื่ออิทธิ พลของอาณาจักรสุ โขทัยและเขมรอ่อนแอลง รัฐแถบลุ่มนํ้าโขง
ตอนบนก็มีความเข้มแข็งมากขึ้ น โดยการนําของ พระเจ้าฟ้ างุ่ม ซึ่ งได้รวบรวมรั ฐอิสระต่าง ๆ
ของพวกลาวเป็ นรัฐเดียวกันได้สาํ เร็ จในพุทธศตวรรษที่ 19 รัฐนี้ มีชื่อว่าอาณาจักรล้านช้าง หรื อ
ศรี สัตนาคนหุต มีนครหลวงอยูท่ ี่หลวงพระบาง 21

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ความแตกต่างที่ไม่น่าแปลกใจในบทเรี ยนไทยและลาวในการเริ่ มต้นของความสัมพันธ์

ไทยและลาวนี้ คือ ไทยจะจบตรงที่พระเจ้าฟ้ างุ่มสามารถพัฒนารัฐอิสระและสถาปนาขึ้นเป็ น
อาณาจักรได้ในที่สุด แต่สาํ หรับแบบเรี ยนลาวแล้ว วีรกรรมต่าง ๆ ของ พระเจ้าฟ้ างุ่มถูกนํามา
ขยายความ

เจ้าฟ้ างุ่ม เป็ นเจ้าชีวดิ ที่ดาํ ลงคงตนอยูใ่ น ลาชะสมบัดที่เป็ นทํา, เถิงว่าอายุยงั น้อย แต่ชีวดิ
ของเพิ่นก่ได้ผา่ นผ่าอุปะสักนา ๆ ปะกานเพื่อความยูเ่ ย้นเป้ นสุ กของปวงชนลาว. นับแต่กาง
สะตะวัดที่ 14 เป้ นต้นมา อานาจักลาวล้านช้าง ได้จะเลินเข้มแขง เคียงคู่กบั อาณาจักต่าง ๆ ที่อยู่
ฮ้อมข้างเช่น : อะยุดทะยา, ดายเหวียด, ขะเหมน, พะม้า... 22

และที่ น่ า สนใจคื อ การกล่ า วถึ ง ความสั ม พัน ธ์ ร ะหว่ า งไทยและลาวในสมั ย


พระเจ้าฟ้ างุ่ม ที่ไม่พบในแบบเรี ยนไทย

ต่พายนอกเจ้าฟ้ างุ่ม ได้ส้างสายสําพัน อันดีงาม, มีลกั สะนะพิเสดกับเจ้า ไชยะวอละมันปะ


ละเมสวน กะสัดแห่งขะเหมน.ต่สะหยามเจ้าฟ้ างุ่ม ได้เฮ้ดให้เจ้าอู่ทอง แห่งอะยุดทะยาเกงขาม
แล้วยอมแบ่งเขดนํ้าแดนดิน ละหว่างลาวล้านช้าง กับสะหยาม และได้ส้าสายพัวพันแบบบ้านใก้
เฮือนเคียงที่ดีงามย่างแท้จิง 23

21
ไพฑูรย์ มีกุศล และคณะ, หนังสื อเรี ยนสาระการเรี ยนรู้พ้ืนฐาน ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา
ปี ที่ 1 ช่วงชั้นที่ 3 กลุ่มสาระการเรี ยนรู ้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544, (กรุ งเทพฯ : วัฒนาพานิช, 2550), 138.
22
กะซวงสึ กสาทิกาน, แบบเฮียนวิทะยาสาดสังคมชั้นมัดทะยม ปี ที่ หนึ่ง, 30.
23
เรื่ องเดียวกัน.
95

แบบเรี ย นลาวให้ ภ าพที่ เ ป็ นพัฒ นาการอย่า งเป็ นลํา ดับ เวลาซึ่ ง แน่ น อนที่ สุ ด ว่ า
แตกต่างไปจากแบบเรี ยนไทย แบบเรี ยนลาวใส่ เนื้ อหาของความรุ่ งเรื องของอาณาจักรภายหลัง
รั ชสมัยพระเจ้า ฟ้ างุ่ ม ควบคู่ไปกับการทํา สงครามเพื่อรั กษาอํานาจพร้ อมกันนั้น ยัง กล่ าวถึ ง
ความสัมพันธ์ที่มีต่ออยุธยาในฐานะเท่าเทียมทั้งประเทศคู่คา้ และมิตรประเทศใกล้เคียงที่ทาํ
สงครามกันเองและช่วยกันทําสงครามอย่างเป็ นลําดับ
“ ค.ส. 1486 – 1496 พะยาหล้านํ้าแสนไตผูเ้ ป้ นน้องชายของเจ้าแท่นคํา...ได้ผกู ไมตี
กับกุงสี อะยุดทะยา ให้แน่นแฟ้ นยิง่ ขึ้น” 24
“เจ้าโพธิสาละลาด...สามาดตีตา้ นกนอุบาย แผ่อาํ นาด ของสักดินาสยาม ให้ปะลาไชลง
ในปี ค.ส. 1540”25
ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

เจ้าไชยะเชดถาทิ ลาด จึ่ งผูกไมตี กบั กุงสี อ ะยุดทะยา ได้ยา้ ยนะคอนหลวง จากนะคอน
เชียงทองลงมาส้างตั้งยูเ่ มืองเวียงจัน. ...ทังสะดวกในกานติดต่, พัวพันกัหัวมืองต่าง ๆ ของอานาจัก
ลาวล้านช้าง ก่คือกับกุงสี อะยุดทะยา. ...พะองได้ผกู ไมตีกบั อะยุดทะยา เพื่อร่ วมแรงร่ วมใจกัน
เพาะว่าทั้งสองอาณาจัก ล้วนแต่ถึกไพข่มขู่จากพะม้า. ปะชาชนสองอานาจัก ได้ร่วมกันส้าง
พะทาดสี สองรัก ที่เมืองด่านช้าย (จังหวัดเลีย ปะทดไท) ขึ้นในปี ค.ส. 1560 -1563 เชิ่งยูเ่ กิ่งกาง
ละหว่าง แม่น้ าํ ของกับแม่น้ าํ น่าน และเป้ นชายแดนของอานาจักทังสอง ในสะไหมนั้น. พะทาด
สี สองรักเป้ นสันยาลัก แห่งไมตีจิด มิดตพาบ ละหว่างอานาจักลาวล้านช้าง และอานาจักอะยุดทะยา26

“ในปี ค.ส. 1638 สมัยของเจ้าสุ ลิยะวงสาเป็ นไลยะที่ละบอบสักดินาลาว ได้กา้ วขึ้นสู่


ความจะเลินรุ่ งเรื อง, ลาว – กุงสี อะยุดทะยา ได้มีกานส่ งลาชะทูด และเคื่องบันนากาน ต่าง ๆ
มาแลกเปี่ ยนกันเป้ นปะจําในทุก ๆ ปี ” 27
แบบเรี ย นไทย กล่ า วถึ ง ลาวในระยะเวลากว่า สองศตวรรษภายหลัง รั ชสมัย ของ
พระเจ้าฟ้ างุ่ม ด้วยการสรุ ปแบบน่าสนใจเพียงว่า

ภายหลัง จากอาณาจัก รล้า นช้า งมี ค วามสั ม พัน ธ์ ใ กล้ชิ ด กับ อาณาจัก รล้า นนา ต่ อ เมื่ อ
อาณาจักรล้านนาตกเป็ นเมืองขึ้นของพม่า พม่าจึงทําสงครามกับอาณาจักรล้านช้าง และมีชยั ชนะ
เหนื ออาณาจักรล้านช้างใน พ.ศ. 2117 นับแต่น้ นั มาจนถึงเสี ยกรุ งศรี อยุธยาครั้งที่ 2 พม่า อยุธยา

24
กะซวงสึ กสาทิกาน, แบบเฮียนวิทะยาสาดสังคมชั้นมัดทะยม ปี ที่ หนึ่ง, 33.
25
เรื่ องเดียวกัน, 34.
26
เรื่ องเดียวกัน, 36 - 37.
27
เรื่ องเดียวกัน, 42 - 45.
96

และเวี ย ดนามก็แ ข่ ง กัน ขึ้ น มี อ าํ นาจเหนื อ ดิ น แดนอาณาจักรล้านช้าง อาจกล่ าวได้ว่า ตั้งแต่


พุทธศตวรรษที่ 22 เป็ นต้นมาอาณาจักรล้านช้างมีช่วงเวลาที่เป็ นเอกราชน้อยมาก เพราะมักตกอยู่
ใต้อาํ นาจของรัฐรอบข้างที่มีความเข้มแข็งมากกว่าอยูเ่ สมอ 28

การกล่ า วถึ ง ลาวแบบสรุ ป ความโดยให้เ ห็ น พัฒ นาการของลาวที่ พ ฒ


ั นามาจาก
รั ฐอิ สระและเป็ นปึ กแผ่นได้โดยการรวบรวมของ “พระเจ้าฟ้ างุ่ ม” และตกอยู่ในอํานาจของ
ต่างชาติที่เปลี่ยนมือกันเป็ นระยะ ๆ จนนํามาสู่ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวที่เปลี่ยนจาก
ฐานะประเทศที่เท่าเทียมมาเป็ นประเทศใต้อาํ นาจกับประเทศเจ้าอาณานิ คม ซึ่ งแบบเรี ยนไทย

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก
ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์เชิงสงครามระหว่างไทยและลาวในแบบเรี ยนด้วยการเริ่ มต้นและจบลง
ลาง
เพียงสามบรรทัด

เมื่ อ พระบาทสมเด็จ พระเจ้า ตากสิ น มหาราชทรงสถาปนากรุ ง ธนบุ รี เ ป็ นเมื อ งหลวง
ของไทยแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาพระมหากษัตริ ยศ์ ึกและเจ้าพระยาสุ รสี ห์นาํ ทัพ
ไปปราบอาณาจักรล้านช้างได้สําเร็ จ ทั้งยังได้นําพระแก้วมรกต หรื อ พระพุท ธมหามณี รั ตน
ปฏิมากรกลับมาด้วย 29

นํ้าเสี ยงในแบบเรี ยนไทยต่อความสัมพันธ์เชิงสงครามในครั้งนี้ ราบเรี ยบไม่ต่างจาก


การกล่าวถึงสิ่ งธรรมดาสามัญที่พึงจะเกิดขึ้น ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้ นเชิงกับแบบเรี ยนลาว
สํา หรั บ แบบเรี ย นลาวนั้น การเริ่ ม ต้น ทํา สงครามระหว่ า งไทยและลาวในครั้ ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสิ น แห่ งกรุ งธนบุรีน้ ี เป็ นเพียงจุดเริ่ มของแบบเรี ยนที่เป็ นเครื่ องมือ
สําคัญในการสร้างความรู ้สึก “รักชาติ”โดยใช้ความจริ งทางประวัติศาสตร์ระหว่าง “สักดินาสยาม”30

28
ไพฑูรย์ มีกุศล และคณะ, หนังสื อเรี ยนสาระการเรี ยนรู้พ้ืนฐาน ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา
ปี ที่ 1 ช่วงชั้นที่ 3 กลุ่มสาระการเรี ยนรู ้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544, 138.
29
เรื่ องเดียวกัน.
30
“สักดินาสยาม” เป็ นคําที่พบในเอกสารลาว ในบริ บทที่กล่าวถึง ไทย ในช่วงเวลาที่ลาวอยูใ่ ต้
การปกครองของไทยในฐานะประเทศราช รวมไปถึงเป็ นคําที่ ใช้เพื่อแสดงความรู้ สึกชิ งชังต่อการตกเป็ น
หัวเมืองขึ้นภายใต้การกดขี่ของประเทศไทย, ผูว้ จิ ยั .
97

เป็ นเครื่ องมือสําคัญ “สงคามยาดชิ งอํานาดกัน ละหว่างกุ่มสักดินาต่าง ๆ 31 ย่างยืดเยื้อยาวนาน


ในสะวัดที่ 18 ได้เฮ้ดให้ปะชาชนทุกยากลําบากและเฮ้ดให้อานาจักลาวล้านช้าง อ่อนเพียรอบด้าน,
ก้าวไปเถิงกานตกเป็ นหัวเมืองขึ้นของสักดินาสะหยาม” 32
เป็ นที่น่าสังเกตว่าในแบบเรี ยนลาวจะมีการกล่าวถึงพัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศลาวและไทยมาอย่างเป็ นลําดับขั้น อาจเป็ นเพราะต้องการให้ผเู ้ รี ยนเห็นถึงความยิง่ ใหญ่
และความเจริ ญ ของอาณาจัก รโบราณที่ เ ติ บ โตมาควบคู่ กับ ประเทศรอบข้า งจึ ง มี ก ารให้
รายละเอี ย ดในแบบเรี ยนอย่ า งเป็ นลํา ดับ ขั้น ซึ่ งต่ า งจากไทยที่ เ ป็ นการสรุ ป แบบรวบรั ด
ในไม่กี่ย่อหน้าในการสร้ างภาพของประเทศลาวกับผูเ้ รี ยน การสร้ างองค์ความรู ้ เกี่ ยวกับลาว

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ในไม่กี่ย่อหน้านี้ ละเลยถึ งความสัมพันธ์ในรู ปแบบมิตรประเทศ คงมี แต่การสรุ ปอย่างรวดรั ฐ

ถึงลาว ในฐานะรั ฐอิ สระที่พฒั นาขึ้นมาและถูกครอบครองจากต่างชาติ ที่ผลัดกันเข้ามีอาํ นาจ
ซึ่งรวมถึงไทยเองในท้ายที่สุด
3.2 การรับรู้ รูปแบบความสั มพันธ์ ระหว่ างไทยกับลาว ผ่ านแบบเรียนประวัติศาสตร์ ไทย – ลาว
จากข้อเท็จจริ งทางประวัติศาสตร์ ตอ้ งยอมรั บว่า ไทยปกครองลาวนานนับศตวรรษ
และเหตุของความจริ งที่ไทยมีอิทธิพลเหนื อลาวในช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ น้ ี เอง ที่กลายมาเป็ น
มุมมองของลาวในความรู ้ สึกของผูถ้ ูกเอาเปรี ยบ เมื่ อมี ผูป้ กครองกับผูอ้ ยู่ใต้ปกครอง ผูก้ ดขี่กบั
ผูถ้ ูกกดขี่ ผูช้ นะกับผูแ้ พ้ จึงเป็ นธรรมดาที่แบบเรี ยนของลาวมีความแตกต่างในมุมมองและเนื้ อหาไป
จากแบบเรี ยนของทางฝ่ ายไทย การสร้างแบบเรี ยนโดยอาศัยประวัติศาสตร์เป็ นเครื่ องมือในภาวะ
อารมณ์น้ ี จึงมีผลต่อความรับรู ้ในรู ปแบบความสัมพันธ์ของไทยและลาวที่เป็ นแม่แบบทางความคิด
ในมุมมองของไทยที่มีต่อลาว และมุมมองที่ลาวมีต่อไทย
ด้วยอาณาเขตภูมิประเทศที่ต้ งั ของไทยและลาวมีพรมแดนติดกัน อีกทั้งยังมีภูมิหลัง
ทางประวัติ ศาสตร์ ร่ ว มกัน มายาวนาน ในแบบเรี ย นของไทยจึ ง มี ก ารกล่ าวถึ งลาวบ่ อ ยครั้ ง
เช่ นเดี ยวกับแบบเรี ยนลาวที่มีการพูดถึ งไทยบ่อยครั้ งเช่ นกัน แต่ในการวิจยั นี้ จะไม่ กล่าวถึ ง
ในทุกหน้า ที่กล่าวถึง “ลาว” ในแบบเรี ยนไทย และจะไม่กล่าวถึงทุกบรรทัดที่พูดถึง “ไทย”
ในแบบเรี ยนลาว ผูว้ ิจยั จะหยิบยกเฉพาะมิติที่เป็ นการรั บรู ้รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างไทย
และลาวที่พบในแบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ไทย – ลาว และจะไม่มีการวิเคราะห์ว่าแบบเรี ยนของใคร

31
นับแต่ ค.ศ. 1713 อาณาจักรลาวล้านช้างแยกเป็ นสามอาณาจักร อันได้แก่ หลวงพระบาง
เวียงจันทน์ จําปาศักดิ์ ทั้งสามอาณาจักรต่างช่วงชิงอํานาจและขัดแย้งผลประโยชน์กนั เอง ต่างฝ่ ายต่างหันไปพึ่ง
อํานาจจากภายนอก คือสยามและพม่า “กุ่มสักดินาต่าง ๆ” จึ งหมายถึง หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จําปาศักดิ์
พม่า และสยาม, ผูว้ จิ ยั .
32
กะซวงสึ กสาทิกาน, แบบเฮียนวิทะยาสาดสังคมชั้นมัดทะยม ปี ที่ หนึ่ง, 48.
98

ถูกหรื อผิดตามข้อเท็จจริ งทางประวัติศาสตร์ แต่จะให้เห็นถึงมุมมองที่ไทยพูดถึงลาว และลาว


พูดถึงไทย ผ่านแบบเรี ยนประวัติศาสตร์เท่านั้น
3.2.1 “พีใ่ หญ่ ” จากแบบเรียนไทย
การสร้างแบบเรี ยนของไทยและลาว ด้วยข้อเท็จจริ งทางประวัติศาสตร์ ที่มีมุมมอง
ต่างกันระหว่างไทยและลาวนี้เอง ทําให้การนําเสนอเนื้อหาในแบบเรี ยนประวัติศาสตร์ไทยและลาว
ใช้วิ ธีก ารกล่ อ มเกลาผูเ้ รี ย นต่ อกรณี รูปแบบความสั มพัน ธ์ ร ะหว่า งไทยและลาวในลัก ษณะ
ที่ แ ตกต่ า งกัน ไทย จึ งสร้ างพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ เน้นการไม่ เคยตกอยู่ใต้การปกครอง
ของประเทศใดเลย อีกทั้งยังสามารถขยายอํานาจเข้ามีอิทธิ พลต่อประเทศใกล้เคียงเป็ นต้นทุน

น ก
ั ห อ ส มุ
ในการสร้างความรู ้สึกร่ วมให้แก่ผเู ้ รี ยน
ำ ด ก ลาง

การให้ภาพความเข้มแข็งของรัฐในอดีตที่สามารถแผ่ขยายอํานาจไปปกครองประเทศ
ใกล้เคียงเป็ นการสร้างความรู ้สึกภาคภูมิใจให้เกิดแก่ผเู ้ รี ยน รวมไปถึงการกดให้ประเทศเพื่อนบ้าน
ต่าง ๆ เป็ นเพียงองค์ประกอบเล็ก ๆ ในการขยายอํานาจของรัฐไทยในอดีต ก็ยิ่งเป็ นการกระตุน้
ความรู ้สึกรักและภาคภูมิใจกับประเทศมากขึ้นไปด้วย ปั จจัยเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อการอธิ บาย
รู ปแบบความสัมพันธ์กบั ลาวในแบบเรี ยนไทย ใน 2 มิติ คือ
1. ลาวในฐานะมิตรประเทศ เป็ นการกล่าวถึงลาวในบทบาทของประเทศที่มีฐานะ
เท่าเทียมกัน ซึ่ งพบในประเด็นการกล่าวขยายมุมมองจากหัวข้อ ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับ
เพื่อนบ้าน ที่บรรยายความสัมพันธ์อนั ดีระหว่างไทยและลาว ไว้ 2 ประเด็นด้วยกัน
ประเด็นแรกเป็ นรู ปแบบความสัมพันธ์ของการกระชับอํานาจด้วยการสร้างสายสัมพันธ์
ทางเครื อญาติ “ในลักษณะที่มีมิตรไมตรี ต่อกันตลอดมา ตั้งแต่ครั้งเริ่ มต้นสมัยอยุธยา...ครั้นเมื่อ
พระเจ้าสามแสนไทยสื บราชสมบัติ สมเด็จพระรามาธิ บดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ก็ได้พระราชทาน
นางแก้วฟ้ าแก่พระเจ้าสามแสนไทย อยุธยากับล้านช้างจึงมีความสัมพันธ์ทางเครื อญาติกนั ” 33
และความสัมพันธ์ในรู ปแบบนี้ยงั ดําเนินต่อไปในสมัยหลังเมื่อ “พระจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงสู่ ขอ
พระนางเทพกษัตรี พระราชธิดาสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระองค์พระราชทานให้” 34
ประเด็นสุ ดท้ายเป็ นรู ปแบบความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรช่วยเหลือด้านการสงคราม
“สมเด็จพระมหาจักรพรรดิร่วมทําไมตรี กบั พระเจ้าไชยเชษฐาธิ ราชแห่ งล้านช้าง ในการร่ วมกัน
ต่อต้านอํานาจของพระเจ้าบุ เรงนองกษัตริ ยพ์ ม่า โดยปรากฏหลักฐานคือพระธาตุศรี สองรั ก

33
ไพฑูรย์ มี กุศล และ ทวีศกั ดิ์ ล้อมลิ้ม, หนังสื อเรี ยนสาระการเรี ยนรู้ พ้ืนฐาน ประวัติศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 ช่วงชั้นที่ 3 กลุ่มสาระการเรี ยนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสู ตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 (กรุ งเทพฯ : วัฒนาพานิช, 2547), 74.
34
เรื่ องเดียวกัน.
99

ที่อาํ เภอด่านซ้าย จังหวัดเลย” 35 และ “ต่อมาในสงครามสี ยกรุ งศรี อยุธยาครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2112
อาณาจักรล้านช้างส่ งทัพมาช่วยอยุธยา แต่ถูกพม่าโจมตีจนถอยล่ากลับไป ภายหลังปี พ.ศ. 2112
อยุธยากับล้านช้างยังคงเป็ นไมตรี ต่อกันจนสิ้ นอยุธยา” 36
การกล่าวถึงลาวในแบบเรี ยนไทยในฐานะประเทศที่มีฐานะเท่าเทียมกันนี้ แม้จะมีเพียง
พื้นที่เล็ก ๆ แทรกตัวอยู่ในหัวข้อย่อยของแบบเรี ยนไทย ถ้าตัดประเด็นการเมืองในกรณี สร้าง
สัมพันธ์เพื่อกระชับอํานาจและเกื้ อกูลเพื่อหวังหามิตรประเทศช่วยรบ ก็กล่าวได้ว่าเป็ นไปใน
ทิ ศทางที่ ดี แม้ใ นบทเรี ย นไทยอาจจะไม่ ได้เน้น ยํ้าถึ งความผูก พัน หรื อไมตรี ต่ อลาวมากนัก
แต่ก ารศึ กษาจากบทเรี ย นก็ทาํ ให้ผูเ้ รี ย นเข้าใจได้ว่าครั้ งหนึ่ งไทยและลาวเคยมี สายสัมพัน ธ์

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ทางเครื อญาติและความช่วยเหลือให้แก่กนั แม้จะไม่ใช่ประเด็นสําคัญที่ถูกกล่าวถึงมากนักก็ตาม

2. ลาวในฐานะประเทศใต้การปกครอง ความสัมพันธ์ในรู ปแบบสงครามเป็ นการสร้าง
ความรู ้สึกร่ วมที่ดีได้วิธีหนึ่ง เพราะสงครามก่อให้เกิด “ผูแ้ พ้” และ “ผูช้ นะ” ใจความสําหรับลาว
ในแบบเรี ยนไทยก่ อนที่จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของไทยนั้นดู จะเป็ นการสรุ ปแบบให้ภาพ
ชัดเจนกับผูเ้ รี ยนถึงสายสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาว “สมัยใดที่ไทยเข้มแข็ง ไทยจะขยายอํานาจ
เข้าปกครองลาวในฐานะประเทศราช หากสมัยใดที่ไทยอ่อนแอ ลาวจะตั้งตนเป็ นอิสระหรื อไม่ก็
ตกอยูภ่ ายใต้อิทธิ พลของเวียดนาม” 37 และความสัมพันธ์ในรู ปแบบสงครามกับลาวในบทเรี ยน
ไทยทั้งในสมัยกรุ งธนบุรีและรั ตนโกสิ นทร์ ตอนต้นก็ช่วยเพิ่มความ “เหนื อกว่า” ให้กบั ไทย
ในฐานะ “ผูช้ นะ” อย่างต่อเนื่อง

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสิ นมหาราชทรงปราบก๊กต่าง ๆ จนเป็ นปึ กแผ่นมัน่ คงแล้ว ทรงต้องการ


ให้แคว้นของลาวทั้งหมดเข้ามาอยูใ่ ต้อาํ นาจของกรุ งธนบุรีเหมือนเช่นสมัยอยุธยา ในพ.ศ. 2319
สมเด็จพระเจ้าตากสิ นมหาราชจึ งให้เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) เป็ นแม่ทพั ยกไปตีจาํ ปาศักดิ์
จนสามารถยึดจําปาศักดิ์ได้สาํ เร็ จ...ต่อมาในปี พ.ศ. 2321 ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริ ยศ์ ึก

35
ไพฑูรย์ มี กุศล และ ทวีศกั ดิ์ ล้อมลิ้ม, หนังสื อเรี ยนสาระการเรี ยนรู้ พ้ืนฐาน ประวัติศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 ช่วงชั้นที่ 3 กลุ่มสาระการเรี ยนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสู ตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544, 74.
36
เรื่ องเดียวกัน, 75.
37
ไพฑูรย์ มี กุศล และ ทวีศกั ดิ์ ล้อมลิ้ม, หนังสื อเรี ยนสาระการเรี ยนรู้ พ้ืนฐาน ประวัติศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ช่วงชั้นที่ 3 กลุ่มสาระการเรี ยนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสู ตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 (กรุ งเทพฯ : วัฒนาพานิช, 2548), 54.
100

ยกทัพไปตีกรุ งเวียงจันทน์และเมืองต่าง ๆ ที่ข้ ึนกับเวียงจันทน์ได้สําเร็ จ...ลาวจึงกลับมาอยูใ่ ต้


การปกครองของไทยอีกครั้งสมัยกรุ งธนบุรี 38
ในสมัยรัชกาลที่ 3 ไทยประสบปั ญหาเกี่ยวกับการปกครองประเทศราช..สถานการณ์
ดังกล่าวทําให้เจ้าอนุเห็นเป็ นโอกาสที่จะเป็ นอิสระจากไทยจึงก่อการกบฏกอบกูเ้ อกราช...เจ้าอนุ
ได้เข้ายึดเมืองต่าง ๆ ตามเส้นทางที่ยกไปตีกรุ งเทพฯ...ได้กวาดต้อนผูค้ นและทรัพย์สินจํานวนมาก
ส่ งไปที่เวียงจันทน์ ทัพเจ้าอนุยกมาถึงเมืองสระบุรี ทางกรุ งเทพฯ จึงได้ทราบข่าวการกบฏของ
เวียงจันทน์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึ งโปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพใหญ่ภายใต้
บังคับบัญชาของกรมพระราชวังบวรตีกองทัพจากเวียงจันทน์จนต้องถอยร่ นไป เจ้าอนุ หนีกลับไป
เวียงจันทน์แล้วอพยพครอบครัวไปหนีไปพึ่งเวียดนาม

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ในเดือนสิ งหาคม พ.ศ. 2370 เจ้าอนุ พร้อมทหารเวียดนามจํานวนหนึ่ งได้เดินทางกลับ


เวียงจันทน์ พบว่ามีทหารไทยรักษาการณ์อยู่ เจ้าอนุจึงแกล้งทําทีสาํ นึกผิดขอผูกไมตรี ต่อทหารไทย
เมื่อทหารไทยเผลอเจ้าอนุก็ยกกําลังเข้าโจมตีทหารไทยจนต้องล่าถอยข้ามแม่น้ าํ โขงไปตั้งหลัก
ที่ยโสธร
ต่อมาพระยาราชสุ ภาวดี ได้ยกทัพโจมตีเวียงจันทน์อีกครั้งหนึ่ ง ส่ วนเจ้าอนุ ได้หนี ไปพึ่ง
เวียดนามอีกเช่นเคย สงครามครั้งนี้เมืองเวียงจันทน์เสี ยหายอย่างหนัก ต่อมาเจ้าอนุถูกทหารไทย
ตามไปจับ ได้แ ละส่ ง มายัง กรุ ง เทพฯ และถู ก จํา ขัง ได้ไ ม่ กี่ ว ัน ก็ ถึ ง แก่ ก รรม...ต่ อ จากนั้ น
พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ ัวทรงให้ปรับปรุ งการปกครองหัวเมืองทางภาคอีสานใหม่
โดยลดอาณาเขตเวียงจันทน์ให้เล็กลง...เมื องที่ อยู่ใต้การปกครองเวียงจันทน์ให้ข้ ึนกับไทย
โดยตรง...เพื่อสร้างความเข้มแข็งสําหรับต่อต้านการกบฏเวียงจันทน์หากเกิดขึ้นอีก 39

ความจริ งทางประวัติศาสตร์ ที่เกิดขึ้นกับความสัมพันธ์ไทยและลาวในรู ปแบบของ


ประเทศเจ้าอาณานิ คมนี้ เป็ นข้อเท็จจริ งสําคัญที่สร้างมิติที่แตกต่างในแบบเรี ยนไทยและลาว
แบบเรี ยนไทยใช้สงครามในประวัติศาสตร์ ไทยและลาวสร้ างความรู ้ สึก “เหนื อกว่า” ในฐานะ
“ผูช้ นะ” เจ้าประเทศราชผูม้ ีสิทธิ์ ในการปราบปรามผูแ้ ข็งข้อให้กบั ผูเ้ รี ยน การรับรู ้และเข้าใจลาว
ในแบบเรี ยนไทยสร้างความรู ้สึก “เหนือกว่า”ให้กบั ผูเ้ รี ยนได้ไม่ยาก
จนปั จจุบนั แม้ลาวมีเสรี ทางการปกครองแล้ว ไทยยังคงถือตนเป็ น “พี่ใหญ่” ในภูมิภาค
ที่คอยจัดการดูแล และให้ความช่วยเหลือในฐานะประเทศที่ “เหนือกว่า” มาแต่ครั้งอดีต ซึ่ งทัศนะ

38
ไพฑูรย์ มีกุศล และคณะ, หนังสื อเรี ยนสาระการเรี ยนรู้พ้ืนฐาน ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา
ปี ที่ 4 ช่วงชั้นที่ 4 กลุ่มสาระการเรี ยนรู ้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544 (กรุ งเทพฯ : วัฒนาพานิช, 2550), 114.
39
เรื่ องเดียวกัน, 115.
101

ที่หล่อหลอมภาพสายสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวในลักษณะนี้ เป็ นผลมาจากแบบเรี ยนเป็ น


สําคัญ
3.2.2 “ศัตรู ” จากแบบเรียนลาว
เป็ นที่ ทราบกันดี ว่ า เอกลักษณ์ ของแบบเรี ยนลาว คื อความโดดเด่ นในการสร้ าง
ความรู ้สึกรักชาติ ที่ใช้แบบเรี ยนในการสร้างสํานึ กความเป็ นชาติ ไม่ใช่ หนังสื อเพียงเล่มเดี ยว
หรื อแบบเรี ยนวิชาเดียวแต่ครอบคลุมไปทั้งหลักสู ตรทุกวิชา ประวัติศาสตร์ จึงเป็ นวิชาหลักสําคัญ
ในการสร้างฐานความคิดให้กบั ผูเ้ รี ยน ลาวใช้ความจริ งที่ตกอยูภ่ ายใต้การปกครองของศักดินา
ต่างชาติเป็ นเครื่ องมือสําคัญในการปลุกระดมความรู ้สึกรักชาติ ยิง่ แบบเรี ยนให้ภาพความโหดร้าย

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
และความทรมานภายใต้อาํ นาจการปกครองของต่างชาติได้มากเท่าไรก็จะยิง่ ขับความรู ้สึกรักชาติ


ให้เกิดขึ้นกับผูเ้ รี ยนมากตามไปด้วย
ในแบบเรี ยนลาว ไทย คือ “ศักดินาสยาม” “ศัตรู ” สําคัญที่ทาํ ร้ายลาว

รอดปี ค.ส. 1778 เจ้าชีวิดสะหยาม (ตากสิ น) ได้ส่งทะหานกองทับใหญ่เข้ามาตีเอานะคอน


จําปาสัก...เคื่ อนทับเข้าทําลายเวียงจัน กวาดต้อนเอาคนลาวอยู่เวียงจัน เป็ นหมื่ น ๆ คอบคัว
ไปอยูบ่ ูลี (ปะเทดไท), เอาพะแก้วมอละกด, พะบาง และสับสิ นเงิน, คําของปะชาชนลาวไป...
พายหลังยึดคองอานาจักลาวล้านช้าง ทังสามได้แล้ว, พวกสักดินาสะหยาม ได้สืบต่กนอุบาย
อันแนบเนียน เพื่อส้างความแตกแยกในกุ่มสักดินาลาว, เฮ้ดให้อาณาจักรลาวล้านช้างยิง่ อ่อนเพย
เป้ ยล่อยลง40, โดยบ่ให้มีโอกาด เต้าโรมรัน และให้ข้ ึนกับสะหยามแบบตะหลอดกาน 41

นอกจากแบบเรี ยนลาวจะกล่าวถึงวิธีการของปกครองไทยที่กดให้ลาวไม่มีเอกภาพ
ภายในแล้ว ยังอธิบายถึงภาวะหลังสงครามได้อย่างมีอารมณ์ร่วม

สักดินาสะหยามได้กดขี่ขดู รี ดปะชาชนลาวอย่างหนักหน่วง, ในแต่ละปี ทังสามอานาจัก


ต้องส่ งเคื่องบันนากาน อันมีค่า พ้อมทังส่ วยสาอากอนที่เก็บได้ จากปะชาชนลงไปถวายให้เจ้าชีวิด
สะหยามอยูบ่ างกอก”42 นอกจากนั้น “ยังได้เก้บเกนเอาปะชาชนลาว ไปตัดต้นตานยูเ่ มืองสุ พนั บูลี,
ไปขุดคองนํ้าอ้อมกําแพงบางกอก ด้วยความลําบากกากกําย่างแสนสาหัด จนเถิงขั้นเอิ้นคองนํ้า
นั้นว่า “คองแสนแสบ” เถิงทุกวันนี้ .” 43 และยิ่งไปกว่านั้น “เพื่อกอบโกยผนปะโหยดเข้าคังหลวง

40
อ่อนเพยเป้ ยล่อยลง มีความหมายในภาษาไทยใกล้เคียงกับคําว่า อ่อนเปลี้ยเพลียแรง, ผูว้ จิ ยั .
41
กะซวงสึ กสาทิกาน, แบบเฮียนวิทะยาสาดสังคมชั้นมัดทะยม ปี ที่ หนึ่ง, 50.
42
เรื่ องเดียวกัน, 51.
43
เรื่ องเดียวกัน.
102

และเพื่อส้างฮัง่ คูนมี แก่ตนเองนั้น พวกสักดิ นาสะหยาม ได้ออกละเบี ยบกาน หาลายได้ข้ ึ น


เชิ่งเอิ้นว่า “ที่มาของผนปะโหยดแผ่นดิน 3 แห่ง...นับแต่ปี ค.ส. 1779 เป้ นต้นมา, ปะชาชนลาว
ได้ตกยูใ่ ต้แอกยึดคองของสะหยาม อันได้เฮ้ดให้ชีวิดกานเป้ นยู,่ เสดถะกิด, วัดทะนะทํา สังคมลาว
นับมี้นบั ซุดโซมลง. 44

เหตุ ก ารณ์ สํา คัญ ทางประวัติ ศ าสตร์ ใ นแบบเรี ย นลาวต่ อ ความสั ม พัน ธ์ กับ ไทย
อี กเรื่ องหนึ่ งคื อ กรณี สงครามเจ้าอนุ วงศ์ ไทยได้กลายเป็ นผูร้ ้ ายที่ โหดเหี้ ยม เป็ น “ศัตรู ” ที่
บ่อนทําลายความเจริ ญของลาวให้ยอ่ ยยับ ซึ่ งแบบเรี ยนลาวได้ระบุเนื้ อหาอย่างละเอียดถึงความ

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด
ลํา บากและความทรมานภายใต้ก ารปกครองของไทย จนนําไปสู่ ก ารต่ อสู ้ เ พื่ อเอกราชของ
ก ลาง
เจ้าอนุวงศ์ ที่ทา้ ยสุ ดกลายมาเป็ นความสูญเสี ยอย่างย่อยยับให้กบั ลาว

ในปี ค.ส. 1824 เจ้าแผ่นดินลาชะกานที่สามของสะหยาม ได้ออกคําสั่งให้ เจ้าหน้าที่
บางกอก ขึ้นมาสักตัวเลกยูเ่ มืองลาว, โดยใช้เหล็กเผาไฟจนแดง แล้วเอามาสักตัวเลกใส่ คนลาว,
เพื่อเฮ้ดให้คนลาวกายเป้ นสยาม, เฮ้ดให้เมืองของลาวกายเป็ นเมืองต่าง ๆ ของสะหยาม เจ้าอานุวง
ได้ตอบโต้กานสักเลกโดยสั่งให้ ดับสู นเจ้าหน้าที่สะหยาม.
ในปี ค.ส. 1825 เจ้าอานุ วงและบุกคนใก้ชิดของเพิ่นได้ร้องขอนําเจ้าแผ่นดินสะหยาม
ขอพะแก้วมอละกด และคอบคัวคนลาว ที่ถึกกวาดไปยูส่ ะหยามในปี ค.ส. 1778,...แต่บางกอก
บ่ยอมส่ งตามความร้องขอ สะนั้นเจ้าอานุ วงจึ่ งได้นาํ พาขบวนกานลุกขึ้นต่อสู ้ยาดเอาเอกะลาด
จากสะหยาม
กองทับสะหยามได้มา้ งเพทําลายเมืองเวียงจันแล้วจับกุมเอาปะชาชนลาว พ้อมทั้งเก้บ
กวาดเอาสมบัด อันมีค่าไปนํา ย่างหลวงหลาย...อานาจักลาวล้านช้างที่เคยเป้ นอานาจักอันกว้าง
ใหย่ไพสาน และจะเลินรุ่ งเรื องมาแต่สะไหมเจ้าไชยะเชดถาทิลาด และเจ้าสุ ลิยะวงสานั้น บัดนี้
ได้ถึกทําลาย, เผาผานจนราบเกี้ยง ยังเหลือแต่อานาจักหลวงพบางเท่านั้น, แต่ก่ตอ้ งถึกบังคับให้
เสี ยส่ วย แก่สะหยาม. อานาจักลาวล้านช้างในไลยะนี้ ถึกสักดินาต่างด้าวควบคุม, บ้านเมืองบ่มี
ความหมั้นคง, ปะชาชนตกทุกลํ้าบาก. 45

การสร้างความรู ้สึกร่ วมรักชาติที่ได้ผลเป็ นอย่างดีทางหนึ่ ง นั้นคือการสร้าง “ศัตรู ”


แห่ งชาติ ให้เป็ นที่ ระบายภาวะคับแค้นนําไปสู่ การรั กสามัคคีของคนในชาติ ไทยอยู่ในฐานะ
ตัวละครสําคัญในบทบาทของ “ศัตรู ” ในแบบเรี ยนลาว
ในรู ปแบบความสัมพันธ์เชิ งสงครามระหว่างลาวกับไทย ในแบบเรี ยนไทยเป็ น
มุมมองของ “ผูช้ นะ” ส่ วนในแบบเรี ยนลาวเป็ นอีกมิติของประเทศที่ถูกยึดครอง ภาวะของความ

44
กะซวงสึ กสาทิกาน, แบบเฮียนวิทะยาสาดสังคมชั้นมัดทะยม ปี ที่ หนึ่ง, 51 - 52.
45
เรื่ องเดียวกัน, 60 - 61.
103

โหดร้ ายทารุ ณเมื่ อตกอยู่ใต้อาํ นาจของไทยในมุมมองของ “ผูแ้ พ้” “ศัตรู ” จากแบบเรี ยนลาว
อาจลบภาพ “พี่ ใ หญ่ ” จากแบบเรี ย นไทย หรื อ อาจเป็ นส่ ว นขยายภาพความเป็ น “พี่ ใ หญ่ ”
ให้ชดั เจนขึ้นก็เป็ นได้ ขึ้นอยูก่ บั การตีความตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ดังที่ สุ จิตต์ วงเทศ
ได้แ สดงทัศนะในหนังสื อ “ประวัติศาสตร์ กัมพูชา แบบเรี ยนของเขมรที่ เ กี่ ยวข้องกับไทย”
ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2546 ว่าประวัติศาสตร์ไทยมักตอกยํ้าให้เห็นว่า พม่าเป็ นศัตรู พร้อมกันนั้นก็ดูถูก
ลาว เขมร มอญ ส่ วนในประวัติศาสตร์ ของลาวกับเขมรก็เขียนว่าไทยไปรุ กรานเขา ในทาง
ประวัติศาสตร์ จึงมีแต่ความไม่เข้าใจกัน เกลียดชังกัน การเขียนประวัติศาสตร์ มีแต่เรื่ องการทํา
สงครามทั้ง ๆ ที่ประวัติศาสตร์ อาจมีหลายด้าน สํานึ กประวัติศาสตร์ ที่ทาํ ให้เข้าใจผิดกันจึงถูก
สัง่ สมมาช้านาน 46
ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

จนถึงปี ปั จจุบนั ที่มีการปรับใช้หลักสู ตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 แล้ว นั้น เนื้ อ หาในแบบเรี ย นไทยก็ ไ ม่ ต่ า งไปจากทัศ นะที่ สุ จิ ต ต์ วงเทศ ได้ก ล่ า วไว้
แบบเรี ย นไทยยัง คงกล่ า วถึ ง ประเทศลาวในฐานะประเทศใต้ป กครองที่ เ น้น ยํ้า ภาพของ
“ความเหนื อกว่า” ในฐานะประเทศเจ้าอาณานิ คม และแบบเรี ยนของลาวก็ยงั คงเน้นยํ้าแต่ภาพ
ของสงคราม สร้างความรู ้สึกเกลียดชังศัตรู ต่างชาติที่โหดร้ายเพื่อสร้างสํานึ กแห่ งชาติ ซึ่ งเป็ น
เอกลัก ษณ์ สํา คัญ ของแบบเรี ย นลาว การถ่ า ยทอดองค์ค วามรู ้ ต ามที่ รั ฐ กํา หนดนี้ เพื่ อ สร้ า ง
ความรู ้สึกรักชาติผา่ นองค์ความรู ้ต่าง ๆ โดยใช้บริ บททางประวัติศาสตร์เป็ นองค์สาํ คัญแก่ผเู ้ รี ยน
ตามแนวทางที่ส่วนกลางได้กาํ หนดไว้เป็ นสําคัญ
4. “บทเรียน” จาก “แบบเรียน”
ไทยและลาวได้รับการปลูกฝังทัศนคติตามแบบเรี ยนของรัฐที่ปลูกฝังแบบแผนทาง
ความรู ้ จนกลายเป็ นความรู ้สึกที่สั่งสมติดตัวในการดําเนิ นชี วิต การใช้ภาษาในแบบเรี ยนลาว
ล้วนแล้วก่อให้เกิดความรู ้สึกร่ วมได้ไม่ยาก เพราะแม้ภาษาในแบบเรี ยนลาวจะไม่เน้นการใช้ภาษา
ทางวิชาการแต่สมบูรณ์ไปด้วยความรู ้สึกที่อ่านแล้วชวนให้คล้อยตาม ในขณะที่แบบเรี ยนไทย
แม้จะมีการนําเสนอเรื่ องราวเป็ นลําดับหัวข้อที่เรี ยบเรี ยงด้วยภาษาเชิ งวิชาการ แต่กลับแห้งแล้ง
ทางอารมณ์ กระนั้นก็ไม่ได้ทาํ ให้แบบเรี ยนถูกลดบทบาทในการเป็ นเครื่ องมือของรัฐ ทุกพื้นที่
เต็มไปด้วยความรู ้สึกเป็ นไท
ลาวรับรู ้จากแบบเรี ยนมาตลอดว่าประเทศไทย คือ “ศักดินาสยาม” ที่เข้ามาครอบครอง
และทําลายความมัน่ คงของอาณาจักรล้านช้างโบราณ ภายใต้อาํ นาจของศักดินาสยามมีแต่การ
กดขี่

46
สุ จิตต์ วงเทศ, บรรณาธิ การ, ประวัติศาสตร์ กมั พูชา แบบเรี ยนของเขมรที่เกี่ ยวข้องกับไทย,
ศานติ ภักดีคาํ , ถอดความ (กรุ งเทพ : มติชน, 2546), 11-19.
104

โทดกําของสะหยาม ที่มีต่อปะชาชนลาวอย่างหลวงหลาย ร้ายแรงไปกว่านั้น แม่นกานปาบปาม


ย่างโหดร้ายป่ าเถื่อนที่สุด ต่อขบวนลุกรี่ ข้ ึน กูเ้ อกะลาด ของปะชาชนลาวบันดาเผ่า พายใต้กาน
นําพาของเจ้าอานุ วงเซิ่ งสะหยามเอิ้นว่า เป้ นกะบด. เมื่อสะหยามสําเล้ดกานปาบปามขบวนรักชาด
ดัง่ ก่าว,พวกเขาก็รีบร้อนจัดตั้งกานปกคองลาวคึนใหม่ ด้วยวิทีกานยุบเลิกอานาจักเวียงจัน บ่ให้มี
เจ้าปกคองต่อไป อันเป้ นกานเยียบยํา่ ทําลาย, หวังดับสูนล้าวล้านช้าง 47

ความรู ้สึกชิ งชังก่อตัวขึ้นในความรู ้สึกของชาวลาวผ่านประสบการณ์การถ่ายทอด


ด้วยแบบเรี ยนแห่ งรัฐ เน้นยํ้าภาพสงครามระหว่างลาวและไทยในแบบเรี ยน
ไทยปูพ้ืนถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรโบราณที่มีอาํ นาจแผ่ขยายในดินแดนเอเชี ย

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ตะวันออกเฉี ยงใต้ และมีอาํ นาจเหนื อดินแดนโบราณในอาณาบริ เวณเดียวกัน พูดถึงลาวในฐานะ

ประเทศใกล้เคียงที่สุดท้ายก็กลายเป็ นประเทศอาณานิ คมและโดนปราบปรามในท้ายที่สุดเมื่อคิด
ทําสงครามก่อกบฏต่อฝ่ ายไทย

เมื่อกองทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายล่าถอยกลับไปแล้ว พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ ัว


รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้จดั ทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์...ตีได้เมืองต่าง ๆ ตามรายทางที่เคย
สวามิภกั ดิ์ต่อเจ้าอนุวงศ์ พอถึงวียงจันทน์ก็ยึดได้โดยง่าย เจ้าอนุ วงศ์หนี ไปลี้ภยั ในญวน แต่ครั้น
ไทยยกกองทัพกลับ เจ้าอนุวงศ์ก็กลับมาเวียงจันทน์อีก คราวนี้ มีทหารญวนหนุ นหลังด้วยทําให้
พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ ัว รัชกาลที่ 3 ต้องทรงส่ งกองทัพไปเวียงจันทน์อีก ในพ.ศ.
2371 มีพระยาราชสุ ภาวดีเป็ นแม่ทพั ทัพไทยสามารถจับตัวเจ้าอนุวงศ์ได้ที่ชายแดนลาว – ญวน
นํามาจําขังที่กรุ งเทพฯ และเสี ยชีวติ ในเวลาต่อมา 48

ความรู ้ สึ ก ที่ ถ่ า ยทอดในแบบเรี ย นของส่ ว นกลางปลู ก ฝั ง ความรู ้ สึ ก เหนื อ กว่ า


ที่มีมาตลอด จนกลายเป็ นความเคยชินในฐานะประเทศที่มีอาํ นาจเหนื อกว่า เมื่อรวมกับความรู ้สึก
แบบประเทศเสรี ที่เปิ ดกว้างทางทุนนิ ยม ส่ งผลให้เกิ ดการตัดสิ นว่าประเทศอื่น ๆ อยู่ในฐานะ
ที่ดอ้ ยพัฒนากว่าสังคมของตน ดังเช่ นที่ประเทศไทยเคยถูกมองจากประเทศมหาอํานาจว่า
“กําลังพัฒนา”

47
กะซวงสึ กสาทิกาน, แบบเฮียนวิทะยาสาดสังคมชั้นมัดทะยม ปี ที่ หนึ่ง, 63.
48
ไพฑูรย์ มี กุศล และทวีศกั ดิ์ ล้อมลิ้ม, หนังสื อเรี ยนสาระการเรี ยนรู้ พ้ืนฐาน ประวัติศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ช่วงชั้นที่ 3 กลุ่มสาระการเรี ยนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสู ตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544, 111.
105

ปั จจุบนั ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ ซึ่ งรวมถึงไทยและลาวกําลัง


ตื่นตัวกับการร่ วมมื อทางด้านการค้าเศรษฐกิ จ หรื อการรวมตัวกันในกลุ่มประชาคมอาเซี ยน
รัฐต่าง ๆพยายามปลูกฝังคนในประเทศให้เห็นถึงข้อดีของการมีประเทศคู่คา้ และการเปิ ดกว้าง
ร่ วมมือกับประเทศร่ วมภูมิภาค มีการเตรี ยมพร้อมและทําความเข้าใจพื้นฐานถึงประเทศภายใน
กลุ่มอาเซียนแต่สิ่งหนึ่งที่เป็ นพื้นฐานของความรู ้ท้ งั หมดคือการเริ่ มทําความเข้าใจถึงจุดเริ่ มแห่ ง
ความสั ม พัน ธ์ แ ละพัฒนาการที่ มีร่ ว มกัน มา แบบเรี ย นจากส่ ว นกลางยัง คงเป็ นรู ป แบบเดิ ม
ที่ เ น้น ถึ ง ประวัติ ศ าสตร์ เ ชิ ง สงคราม ที่ มี เ พี ย งภาพของ “ผูแ้ พ้” และ “ผูช้ นะ” เพื่ อ กอบโกย
ความรู ้สึกสร้างสํานึกรักชาติให้กบั คนในสังคมของตน

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
การเน้นสร้ างภาพความร่ วมมือระหว่างภูมิภาคในปั จจุ บนั ทําให้รัฐเร่ งให้ความรู ้

เกี่ยวกับอาเซียน แต่ละเลยถึงความรู ้พ้ืนฐานเบื้องต้นของการทําความเข้าใจที่ควรแก้ไขภาพของ
สงครามที่ยงั คงเป็ นประวัติศาสตร์ ต่างมุมที่ตราตรึ งความรู ้สึกของผูเ้ รี ยน โดยเชิงโครงสร้างรัฐ
เรี ยกหาความเข้าใจในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสร้ างความร่ วมมือภายในภูมิภาค แต่ในเชิ งลึ ก
สิ่ งที่ยงั คงเป็ นปั ญหาและมีผลต่อพื้นฐานความรู ้ความเข้าใจที่จะกลายเป็ นทัศนคติในการดําเนิ น
ชี วิตคือ “แบบเรี ยน” ที่ยงั คงเน้นประวัติศาสตร์ เชิ งสงครามมากกว่ามิติของความสัมพันธ์อนั ดี
เพื่อสร้ างความร่ วมมือระหว่างไทยและลาวอย่างแท้จริ ง หรื อการอธิ บายให้เข้าใจมุมมองทาง
ประวัติศาสตร์ เพื่อให้ผเู ้ รี ยนเข้าใจที่มาของการเขียนประวัติศาสตร์ของไทยและลาว
แม้ประเทศไทยจะมีการปรับปรุ งหลักสู ตรมาหลายครั้งและหลักสู ตรปั จจุบนั เนื้ อหา
ในสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมที่แยกประวัติศาสตร์มาเป็ นหน่วยความรู ้ในอีกวิชาหนึ่ง
และมี การปรั บปรุ งเนื้ อหาให้ทนั สมัยเพิ่มความรู ้ เกี่ ยวกับประชาคมอาเซี ยน ตามที่หลักสู ตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 บัญญัติไว้ แต่ในเชิงความสัมพันธ์ระหว่าง
ไทยและลาว ยังคงเป็ นการเล่าประวัติศาสตร์ เชิงสงครามที่ไทยมีอาํ นาจเหนื อฝ่ ายลาว และการทํา
สงครามที่ยงั คงไม่เปลี่ยนแปลงไป
ทัศนะความคิดแบบแปลกแยกของ คนไทย หรื อ คนชนชาติไทย ต่อประเทศเพื่อนบ้าน
ในความเป็ นคนต่างชาติ ต่างรัฐ ต่างประเทศ โดยที่ถือชนชาติเราดีและเหนือกว่าชาติอื่น และยึดเอา
ผลประโยชน์ของไทยเป็ นสําคัญก่ อนพวกอื่ นหรื อคนชาติ อื่น รั ฐอื่ น ถู กใช้เ ป็ นบรรทัดฐาน
ในการสร้างงานประวัติศาสตร์และปลูกฝังสํานึ กทางประวัติศาสตร์มาจนถึงปั จจุบนั ทั้งนี้ ก็ดว้ ย
การส่ งผ่านสู่ ประชาชนไทยทุกคน ผ่านระบบการศึกษาในระบบที่รัฐจัดตั้งควบคุมตําราเรี ยน
ได้ถูกนํามาใช้เป็ นสื่ อกลางการถ่ายทอด ตั้งแต่รัฐสมัยสมบูรณาญาสิ ทธิราชย์ถึงสมัยรัฐบาลพลเรื อน
106

ทหาร และเรื่ อ ยมาจนถึ ง หลัก สู ตรการศึ ก ษาในปั จ จุ บนั สมัย โดยกระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารไทย
อันเป็ นเวลาเกือบร้อยปี 49
แบบเฮียนวิดทะยาสาดสังคมของลาวเองก็ยงั คงใช้แบบเรี ยนที่ผลิตภายใต้การควบคุม
ของพรรคประชาชนปฏิ วตั ิลาว ที่ใช้มาตั้งแต่ครั้งพรรคขึ้นมีอาํ นาจหลังจากได้รับเอกราชคืน
จากประเทศฝรั่ งเศส แบบเรี ย นของรั ฐยังคงถ่ ายทอดบทเรี ยนที่ สร้ างความรู ้ สึก สามัคคีผ่าน
ประวัติศาสตร์การต่อสู ท้ ี่มีศตั รู แห่งชาติเข้ามาสร้างความรู ้สึกรักชาติตามเป้ าหมายของรัฐ ผูเ้ รี ยน
ของลาวยังคงรับรู ้เกี่ยวกับไทยผ่านแบบเรี ยนที่เน้นภาพของความโหดร้ายภายใต้การปกครอง
ของ “ศักดินาสยาม”

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
การรั บ รู ้ ผ่า น “แบบเรี ย น” ของไทยและลาวยัง คงเป็ น “บทเรี ย น” ที่ ส ร้ า งภาพ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เน้นประวัติศาสตร์เชิงสงครามที่มี “ผูช้ นะ” และ “ศัตรู ” มากกว่า
ความสัมพันธ์อนั ดี ซึ่ งสวนทางกับความต้องการของรัฐไทยและลาวในปั จจุบนั ที่รณรงค์ให้
ประชาชนเตรี ยมตัวเข้าสู่ ประชาคมอาเซี ยนเพื่อแสวงหาความร่ วมมือในระดับภูมิภาค จุดเริ่ มต้น
ของการเรี ยนรู ้เรื่ องราวทางประวัติศาสตร์ ระหว่างกันเป็ นภาพที่ขดั แย้งกับความต้องการในปั จจุบนั
ที่ รัฐวางเป้ าหมายแสวงหาความเป็ นเอกภาพและความร่ วมมือ เพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม
ประชาคมอาเซี ยน และยังคงไม่อาจลบเลือนภาพด้านลบในความรู ้ สึกของประชาชนทั้งสอง
ประเทศลงได้
ไทยยังเป็ น “ศัตรู ” ของชาติลาว และลาวยังเป็ น “ประเทศราช” ที่มีความด้อยกว่า
ไทยอยูร่ ่ าํ ไป การเสนอประวัติศาสตร์ผา่ นแบบเรี ยนยังไม่เคยอธิบายที่มาของการอธิ บายการรับรู ้
และการสร้างสํานึ กทางประวัติศาสตร์ ให้แตกต่างกันจาก “มุมมอง” ที่ต่างกัน อันส่ งผลให้เกิด
การรับรู ้และความเข้าใจที่บิดเบือนอันเนื่องมาจากการสร้างความรู ้สึกชาตินิยม ซึ่งจะเห็นได้ชดั จาก
“สื่ อ” อื่น ๆ ที่ท้ งั ไทยและลาวผลิตออกมา อย่างไรก็ดี ยังเป็ นเรื่ องดีที่การผลิตงานอิงประวัติศาสตร์
หรื องานที่มีพ้ืนฐานมาจากความรั บรู ้ ประวัติศาสตร์ ของทั้งสองชนชาติยงั เหลือพื้นที่สําหรั บ
ความเข้าใจอันดี และความร่ วมมือกันไว้ดว้ ย

49
สุ เนตร ชุ ติ นธรานนท์ และคณะ, ทัศนคติ เหยียดหยามเพื่ อ นบ้านผ่านแบบเรี ยน ชาติ นิ ย ม
ในแบบเรี ยนไทย (กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์มติชน, 2552), 23 - 24.
บทที่ 4
ผลกระทบทางความสั มพันธ์ ไทย – ลาว อันเนื่องมาจากการสร้ างประวัตศิ าสตร์

พัฒ นาการของรั ฐ ในอดี ตได้สอนให้รู้ว่า “ประวัติศาสตร์ ” คื อเครื่ องมื อแห่ งอํานาจ


อันสําคัญของผูป้ กครอง ที่ถ่ายทอดกันมาจากรุ่ นสู่ รุ่น “ประวัติศาสตร์ ชาตินิยม” คือ อีกบทพิสูจน์หนึ่ ง
ของความสําเร็ จ ในการสร้างประวัติศาสตร์ จนพัฒนาเข้าสู่ “แบบเรี ยน” ซึ่งถือเป็ นอาวุธสําคัญอันทรง

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
อิทธิพลของชนชั้นปกครองในการกําหนดทิศทางความรู ้เพื่อสร้างคนมาเป็ นพลเมืองของรัฐ


ผลกระทบทางความสัมพันธ์ระหว่างไทย – ลาว คือภาพสะท้อนของการสร้าง “แบบเรี ยน”
ที่ประสบความสําเร็ จ ของรัฐ ที่สามารถสร้างความรู ้สึกไม่เท่าเทียมให้เกิดขึ้นได้ โดยอาศัยบริ บท
ทางประวัติศาสตร์ ตามแนวทางที่ส่วนกลางได้กาํ หนดไว้เป็ นกรอบในการกําหนดความรู ้พ้ืนฐาน
เกี่ ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งไทยและลาวต่างได้รับการปลูกฝั งทัศนคติตามแบบเรี ยนของรั ฐ
ที่มีเอกลักษณ์ในแบบของตนเอง
แบบเรี ยนของไทย พยายามเน้นความสําคัญของชาติในรู ปแบบความสัมพันธ์เชิ งสงคราม
เพื่อเน้น “ผูช้ นะ” และ “ผูแ้ พ้” ในส่ วนแบบเรี ยนลาว เป็ นการสร้ างความรู ้ สึกชาติ นิยม โดยเน้น
บาดแผลจากการโดนครอบงําจากต่างชาติ เพื่อสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้น การปลูกฝังแบบแผน
ทางความรู ้ ผ่า น “แบบเรี ยน” ซํ้าไปซํ้ามาจนกลายเป็ นความรู ้ สึกที่ ส่ังสมติ ดตัวในการดําเนิ นชี วิต
และเป็ นแว่นประจําตัวที่แฝงอคติในการมองเพื่อนบ้าน จนกลายเป็ นปั ญหาที่กระทบความสัมพันธ์
ไทยและลาว อัน มี ผ ลสื บ เนื่ อ งมาจากการกํา หนดองค์ค วามรู ้ ท างประวัติ ศ าสตร์ ข องรั ฐ ผ่ า น
“แบบเรี ยน” เป็ นสําคัญ
ในประวัติศาสตร์ ไทยและลาว ทั้งสองชนชาติ อยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลา
อันยาวนาน มี ท้ ัง ความร่ ว มมื อ และความขัด แย้ง เคยเป็ นทั้ง พัน ธมิ ต รและศัต รู กัน ในบางครั้ ง
แต่ส่วนใหญ่แล้ว เป็ นพันธมิตรมากกว่าศัตรู ทั้งนี้เพราะความผูกพันระหว่างคนไทยกับคนลาวมิอาจ
ตัดขาดแบ่งแยกออกจากกันได้ เนื่องด้วยไทยและลาวมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทางประวัติศาสตร์
และชาติ พ นั ธุ์ มี เ ชื้ อ สายคนไทยหรื อ ไตซึ่ ง มาจากต้น กําเนิ ด เดี ย วกัน มี รู ป ร่ า ง ผิว พรรณ ภาษา
ขนบธรรมเนียมและวิถีชีวิตแบบเดียวกัน
อย่างไรก็ดี อิทธิพลของสงครามเย็นส่ งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย
และลาวทําให้ความสัมพันธ์หยุดชะงักไปในระยะเวลาหนึ่ ง อันเนื่ องมาจากความแตกต่างในลัทธิ
และอุดมการณ์ทางการเมืองที่อยู่ตรงข้ามกัน เมื่อภาวะสงครามเย็นจางลงบรรยากาศทางการเมือง

107
108

ของไทยและลาวก็เริ่ มเป็ นไปในทิ ศทางที่ ดีข้ ึน ข้อพิสูจน์คือเมื่ อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ.1994


(พ.ศ. 2537) ได้มีมติดาํ เนิ นการเพื่อให้มีการจัดตั้งสมาคมส่ งเสริ มสนับสนุ นสายสัมพันธ์และ
ความเข้าใจอันดีระหว่างไทย - ลาว ในรู ปของการดําเนิ นกิจกรรมทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ
วิชาการ และสนับสนุ นการดําเนิ นนโยบายของรัฐบาล โดยฝ่ ายไทยใช้ชื่อว่า สมาคมไทย-ลาว
เพื่อมิตรภาพ และฝ่ ายลาวใช้ชื่อว่า สมาคมลาว-ไทยเพื่อมิตรภาพ
นอกจากความร่ วมมือระดับประเทศในการจัดตั้งสมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพ หรื อ
สมาคมลาว-ไทยเพื่อมิตรภาพแล้วนั้น ยังมีการจัดทําสนธิสัญญามิตรภาพและความร่ วมมือระหว่างกัน
ระหว่างไทยและลาว (Treaty of Amity and Cooperation) ในกรอบของอาเซียน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) ที่ยนื ยันว่าจะเคารพในเอกราชและไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน


รวมทั้งตกลงที่จะระงับข้อขัดแย้งด้วยสันติวิธี1 และยิ่งเป็ นการกระชับความสัมพันธ์ของไทยและลาว
ให้แน่ นแฟ้ นทั้งในแบบทวิภาคีและพหุ ภาคี เมื่อลาวเข้าเป็ นสมาชิ กอาเซี ยนโดยสมบูรณ์ เมื่อเดือน
กรกฎาคม ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540)
กระทรวงการต่างประเทศของไทยได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวไว้ว่า
“ความสัมพันธ์ไทย – ลาวในปั จจุบนั ดําเนินไปอย่างราบรื่ นใกล้ชิดบนพื้นฐานของการเคารพซึ่ งกันและกัน
และผลประโยชน์ ร่วมกันโดยมี ปัจจัยเกื้ อกูล ได้แก่ ความใกล้ชิดทางเชื้ อชาติ ศาสนา ภาษา และ
วัฒนธรรม โดยเฉพาะราชวงศ์ไทยมี บทบาทสําคัญยิ่งในการเสริ มสร้ างความใกล้ชิดสนิ ทสนม
ในหมู่ประชาชนไทย – ลาว โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุ ดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราช
ดําเนินเยือนประเทศลาวอย่างเป็ นทางการครั้งแรก เมื่อเดือน มีนาคม 1990 ตามคํากราบบังคมทูลเชิญ
ของรัฐบาลลาว และมีการเสด็จเยือนอย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจความคืบหน้าของโครงการในพระราชดําริ
ที่จดั ตั้งเพื่อเป็ นศูนย์พฒั นาในลาว และนอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศยังได้อญั เชิญผ้าพระกฐิน
พระราชทานไปทอดถวายยังวัดในสาธารณรัฐประชาธิ ปไตยประชาชนลาว นับตั้งแต่ค.ศ. 1995
(พ.ศ. 2538) อย่างต่อเนื่องอีกด้วย2
โครงการพระราชดําริ คือความร่ วมมือเพื่อการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจและคุณภาพชีวติ
ให้แก่ประชาชนใน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อาทิโครงการศูนย์พฒั นาและบริ การ

1
กระทรวงการต่างประเทศ, กรมเอเชี ยตะวันออก, สถานะความสัมพันธ์ ทวิภาคี ไทย – ลาว
(พฤศจิกายน 2541), 6, กล่าวถึงใน สุ ภรัตน์ เชาว์เกษม, “ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในทัศนะของคนลาว : กรณี
กํา แพงนครเวี ย งจัน ทน์ ” (วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญามหาบัณ ฑิ ต สาขาวิ ช าภู มิ ภ าคศึ ก ษา บัณ ฑิ ต วิ ท ยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544), 3.
2
กระทรวงต่างประเทศ, ความสัมพันธ์ไทย - ลาว ปี 2551 – 2552 [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่ อ 14
กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก http://www.mfa.go.th/web/1795.php?id=31563
109

ด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว (หลัก 22) และโครงการส่ งเสริ มกิจกรรมโรงเรี ยนวัฒนธรรมเด็ก


กําพร้า (หลัก 67) ในพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุ ดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ตามลําดับ นอกจากนี้ ยังมีโครงการแปลงสาธิตการเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งเป็ น
โครงการภายใต้โครงการความร่ วมมือทางวิชาการระหว่างมูลนิธิชยั พัฒนา กับมหาวิทยาลัยจําปาสัก
ด้วย3
การแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสู งซึ่ งรวมไปถึงระดับประมุขของประเทศไทยและลาว
อย่างต่อเนื่ องนั้น เป็ นผลให้สองฝ่ ายสามารถใช้กลไกความร่ วมมือด้านต่าง ๆ ที่จดั ตั้งขึ้นในกรอบ
ทวิภาคีและพหุ ภาคี ผลักดันความร่ วมมือและปรึ กษาหารื อเพื่อแก้ไขปั ญหาและหาทางออกร่ วมกัน

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ได้อย่างสันติ ความร่ วมมือระหว่างไทย – ลาว ในปั จจุบนั ขยายตัวครอบคลุมในทุกมิติ และมีพฒั นาการ

เชิงบวกอย่างต่อเนื่อง4 ส
กล่าวโดยสรุ ปคือ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาว ได้รับการส่ งเสริ มเกื้อกูลจากปั จจัย
หลายประการ ได้แก่ ความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ และวัฒนธรรม การพูดภาษาเดียวกัน การนับถือพุทธ
ศาสนาเหมือนกัน นโยบายที่ต่อเนื่ องของไทยที่เน้นเสริ มสร้างความสัมพันธ์กบั ประเทศเพื่อนบ้านที่
ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสู งอย่างสมํ่าเสมอ รวมทั้งการที่ลาวเปิ ดประเทศมากขึ้น และปฏิรูป
เศรษฐกิจไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดในค.ศ. 19865(พ.ศ. 2529)
แม้ความสัมพันธ์ทางการทูตในระดับสู งและระดับรั ฐบาลจะเป็ นความสัมพันธ์อนั ดี
ต่อกัน มีการแลกเปลี่ยนการเยือนกันอย่างต่อเนื่ อง แต่กระนั้นอุปสรรคในการพัฒนาความสัมพันธ์
ระหว่างไทยและลาวก็ยงั คงมีอยูแ่ ละเกิดจากปัญหาที่สะสมคัง่ ค้างมายาวนาน นัน่ คือ ปั ญหาเขตแดน
และชายแดน (ซึ่ งยาวกว่า 1,800 กม.), ปั ญหาเรื่ องคนบ่ดี หรื อกลุ่มบุคคลผูไ้ ม่หวังดีต่อรัฐบาลลาว
และต่อความสัมพันธ์ไทยและลาว, การทําธุรกิจของฝ่ ายไทยในลาวที่มุ่งหาผลประโยชน์ฝ่ายเดียวใน
ระยะสั้น6 และประการสําคัญที่เป็ นปมปัญหาค้างคาคือ ทัศนคติที่เป็ นผลมาจากอดีต

3
กระทรวงการต่างประเทศ แขวงสะหวันนะเขต, กองเอเชี ยตะวันออก 2, กรมเอเชี ยตะวันออก
ความสั ม พัน ธ์ ไ ทย - ลาว ปี 2553 – 2554 [ออนไลน์ ], เข้า ถึ ง เมื่ อ 14 กุม ภาพัน ธ์ 2555.เข้า ถึ ง ได้จ าก
http://www.thaisavannakhet.com/savannakhet/th/knowledge/relationships/
4
กระทรวงต่างประเทศ, ความสัมพันธ์ไทย - ลาว ปี 2551 – 2552 [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14
กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก http://www.mfa.go.th/web/1795.php?id=31563
5
ดูรายละเอียดใน สุ ภรัตน์ เชาว์เกษม, “ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในทัศนะของคนลาว : กรณี
กําแพงนครเวียงจันทน์”.
6
วันเพ็ญ สุ รฤกษ์, บรรณาธิ การ, ไทย – ลาว การจัดการทรัพยากรลุ่มนํ้าโขง (เชียงใหม่ : หน่วยพิมพ์
เอกสารวิชาการ คณะวิทนาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541), 10. กล่าวถึงใน สุ ภรัตน์ เชาว์เกษม, “ภาพลักษณ์
ของประเทศไทยในทัศนะของคนลาว : กรณี กาํ แพงนครเวียงจันทน์”, 4.
110

ในแง่มุมทางประวัติศาสตร์ ไทยและลาวมีความสัมพันธ์กนั ทางลักษณะวัฒนธรรมและ


ภาษา ที่ เติ บโตมาในกลุ่ มตระกูลเดี ยวกัน ภาษาที่ ใ ช้ใ กล้เคี ย งกัน จึ งทําให้สามารถสื่ อสารกัน ได้
โดยง่าย แต่บางครั้งการไม่เข้าใจถ่องแท้ถึงความต่างทางวัฒนธรรมหรื อการตีความหมายทางภาษา
ที่ ผิดไปจากความหมายดั้งเดิ มของแต่ ละสังคมก็ทาํ ให้เกิ ดปั ญหาเหลื่ อมลํ้าที่ เป็ นประเด็น ค้างคา
เช่นกรณี “หมากเตะโลกตะลึง” ภาพยนตร์ จากค่าย จีทีเอช ซึ่ งมีกาํ หนดฉายในปี 2006 (พ.ศ. 2549)
คือผลสะท้อนหนึ่ งของความเปราะบางทางความสัมพันธ์ ระหว่างไทยและลาว เนื่ องจากได้รับการ
ประท้วงว่ามีบางฉากที่ไม่เหมาะสมรวมถึงการใช้ชื่อประเทศ “ลาว”เป็ นตัวละครหลักในการดําเนินเรื่ อง
จึงมีมติเห็นควรให้เปลี่ยนชื่ อภาพยนตร์ ใหม่เป็ น “หมากเตะรี เทิร์นส” และแก้ไขบทภาพยนตร์

น ก
ั ห อ ส
บางส่ วนให้มีความเหมาะสมก่อนนําออกฉาย
ำ มุ ด ก ลาง

ละครเรื่ อง เพลงรั กสองฝั่ งโขง ของบริ ษ ัท พอดี ค าํ จํากัด ในเครื อบริ ษ ัทเวิ ร์ คพอยท์
จากสถานี โ ทรทัศ น์ ช่ อ ง 7 ที่ มี ก ํา หนดออกอากาศในปี 2007 (พ.ศ. 2550) กลับ ต้อ งถู ก เลื่ อ น
ออกอากาศเนื่ องจาก นายหมุนแก้ว ออละมูน รั ฐมนตรี กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรมของ
ประเทศสาธารณรัฐประชาธิ ปไตยประชาชนลาว มีหนังสื อขอความร่ วมมือให้ช่วยแก้ไขเพราะบางตอน
มีบทไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมของประเทศลาว อีกทั้งยังมีบทพูดภาษาลาวที่ไม่ชดั เจน ฉากที่เป็ น
ประเด็นคือนางเอกได้นาํ เอาดอกไม้ “จําปา” ซึ่ งเป็ นดอกไม้ประจําชาติของลาวมามอบให้กบั ฝ่ าย
ชายไทย แต่กลับถูกหนุ่มไทยขว้างทิ้งอย่างไม่ใยดี นอกจากนี้ยงั มีเรื่ องของคําสบถที่ค่อนข้างหยาบคาย
รวมไปถึ งการที่ ละครสื่ อ ออกไปในลักษณะที่ ว่าผูห้ ญิ งลาวใจง่ าย เห็ น หน้าหนุ่ มเพีย งครั้ งเดี ย ว
ก็เกิดอาการหลงรักทันที ทางบริ ษทั ผูผ้ ลิตต้องแก้ไขบางฉากให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบ
ต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวและเลื่อนกําหนดการออกอากาศออกไป
จะเห็นได้ว่า แม้การกําหนดนโยบายของรัฐจะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา แต่ความ
จําเป็ นในการสร้างชาติส่งผลให้เกิดวาทกรรมชุดหนึ่ง ที่มีผลต่อทัศนคติของคนในสังคม ลงรากลึก
จนกลายเป็ นสิ่ งเรื้ อรังที่สร้างปั ญหาในรู ปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและลาว
ปมปั ญหาในเรื่ องความเห็ น ต่ า งกั น นี้ เป็ นประเด็ น ของความไม่ เ ท่ า เที ย มกั น
อันเนื่ องมาจากผลกระทบจากกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมที่มุ่งหล่อหลอมและปลูกฝั งให้
ประชาชนเกิ ดความเชื่ อ และความรู ้ สึกนึ กคิด คล้อยตามไปในทางที่ รัฐประสงค์ ผ่านรู ปแบบและ
กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐใช้เป็ นเครื่ องมือในการกล่อมเกลาทางสังคม เช่น เพลงปลุกใจ ประวัติศาสตร์ และ
แบบเรี ยน ดังได้กล่าวถึงแล้วในบทที่ผา่ นมาจนกลายเป็ นทัศนคติของคนในสังคมที่ทบั ซ้อนอยูบ่ น
ความละเอียดอ่อนทางความรู ้สึกต่อรู ปแบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่กลายเป็ นปั ญหาจนทุก
วันนี้
111

ความไม่วางใจและความหวาดระแวงระหว่างไทยและลาวเป็ นปัญหาสื บเนื่องมาแต่อดีต


ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวนั้น ไทยมักถือว่าตนเองอยูใ่ นฐานะประเทศ “ผูพ้ ี่”
ที่มีอิทธิ พลเหนื อลาวมาโดยตลอด ขณะเดี ยวกันลาวก็อยู่ในฐานะเสี ยเปรี ยบและต้องพึ่งพาไทย
หลายประการข้อเท็จจริ งทางประวัติศาสตร์ที่ผา่ นมาสร้างความรู ้สึกไม่เท่าเทียมให้เกิดขึ้นซํ้าแล้วซํ้าอีก
สาเหตุเหล่านี้นบั เป็ นอุปสรรคสําคัญที่ทาํ ให้ภาพรวมความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาว ไม่สามารถ
พัฒนาเร่ งรัดได้อย่างเต็มที่ตามสภาพข้อเท็จจริ งในระดับโครงสร้างที่ไทยกําลังเปิ ดประเทศเข้าสู่
ประชาคมอาเซี ยน ในค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ในเรื่ องความร่ วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้ากับ
ประเทศร่ วมภูมิภาค

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ในบทนี้ จะศึ ก ษาเพื่ อ ให้เ ห็ น ผลกระทบต่ อ ความสั ม พัน ธ์ ร ะหว่า งไทย – ลาว

อัน เนื่ อ งมาจากการปลู ก ฝั ง วาทกรรมทางประวัติ ศ าสตร์ ของสองประเทศนี้ ผ่านสื่ อต่ าง ๆ เช่ น
เพลงปลุกใจ และแบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ผลกระทบที่เกิดขึ้นเห็นได้ผา่ นสื่ อสาธารณะต่าง ๆ รวมทั้ง
งานวรรณกรรมของทั้งไทยและลาว ในด้านหนึ่ งการผลิตสื่ อสาธารณะ, วรรณกรรม, ภาพยนตร์ ,
เพลง, ละคร และฯลฯ เป็ นผลจากการสร้ างประวัติศาสตร์ ของทั้งสองชาติที่เสนอผ่านแบบเรี ยน
แต่ในอีกด้านหนึ่งสื่ อต่าง ๆ เหล่านี้ รวมทั้งวรรณกรรม, เพลง, ภาพยนตร์, ละคร ฯลฯ ก็เป็ นวาทกรรม
ที่ผลิ ตซํ้า และส่ งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างชาติท้ งั สองด้วยเช่ นกัน ซึ่ งเมื่อร่ วมเข้ากับ
การศึกษาประวัติศาสตร์ ผา่ นแบบเรี ยน การรับรู ้เรื่ องราวแบบ “ประวัติศาสตร์ กระแสหลัก”7 ซํ้าแล้ว
ซํ้าเล่า ก็ยิ่งเน้นให้ความรู ้ สึกของชาวไทยและลาวไม่แตกต่างจากเดิ ม เพราะทั้งชาวไทยในทัศนะ
ของคนลาว และชาวลาวในทัศนะของคนไทยยังคงเป็ นภาพแบบเดิ มที่ ไม่เปลี่ ย นแปลง นั่นคื อ
ต่างมองภาพของความขัดแย้งโดยเฉพาะกรณี เจ้าอนุวงศ์ จากมุมของตนเอง
1. วรรณกรรม : นวนิยาย ผลสะท้ อนจากแบบเรียนทางประวัติศาสตร์
“วรรณกรรมประเภทร้อยแก้วขยายตัวขึ้นเรื่ อย ๆ ตามธรรมชาติของพฤติกรรมสังคม
เมื่อมีคนช่างคิดมากขึ้น การเขียนก็เพิ่มมากขึ้น... มาถึงยุคนี้ นักเขียนจะเลือกเอาร้อยแก้วเป็ นพาหะ
มากกว่าร้อยกรอง”8
การเลื อ กให้ค วามสนใจหยิบ วรรณกรรมโดยใช้น วนิ ย าย มาวิ เ คราะห์ ใ นประเด็ น
ผลกระทบทางความสัมพันธ์ไทย – ลาว อันเนื่องมาจากการสร้างประวัติศาสตร์ น้ นั เนื่องจากผูว้ ิจยั

7
“ประวัติศาสตร์ กระแสหลัก ” หมายถึ ง ประวัติศาสตร์ ที่เน้นเรื่ องชาติ เป็ นศูนย์กลาง ปลูกฝั งให้
ผูเ้ รี ยนมีความคิดแบบชาตินิยมเป็ นสําคัญ, ผูว้ ิจยั .
8
ตรี ศิลป์ บุญขจร, “นวนิ ยายไทยในรอบทศวรรษ : ข้อสังเกตบางประการ”, เอกสารประกอบ
การสัมมนา สองศตวรรษรัตนโกสิ นทร์ : ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย, สมาคมสังคมสาสตร์ แห่ งประเทศไทย
มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วารสารธรรมศาสตร์ 3-5 กุมภาพันธ์ 2525, 4.
112

วิเคราะห์วา่ นวนิยายเป็ นพื้นฐานของงานวรรณกรรมที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนทางสังคมได้หลากหลาย


มากกว่างานทางวิชาการที่ มกั มี ขอ้ จํากัดทางวิชาการแวดล้อม งานวรรณกรรม ประเภทนวนิ ยายนี้
อยู่นอกเหนื อข้อจํากัดที่ลดทอนความคิดเห็นส่ วนตัวของผูป้ ระพันธ์ เพราะไม่ใช่คนภายใต้การบังคับ
ของรัฐที่ตอ้ งเขียนงานเพื่อรับใช้ตามหน้าที่หรื อสนองนโยบายแห่งรัฐ จึงสามารถสะท้อนทัศนะของคน
ในสังคมและเป็ นสิ่ งแสดงถึงองค์ความรู ้ของผูค้ นในสังคมที่อยูน่ อกเหนื อพันธนาการแห่ งรัฐ อีกทั้ง
ยังทําให้เห็นถึงผลสะท้อนจากแบบเรี ยนที่เป็ นและอธิ บายตามประวัติศาสตร์ กระแสหลัก ที่ส่งผล
โดยตรงต่อมิติความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวในปัจจุบนั
เมื่อลาวเปลี่ยนแปลงมาสู่ ระบอบสังคมนิ ยม ผูท้ ี่มีบทบาทสําคัญในการเขียนประวัติศาสตร์

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
คือนักประวัติศาสตร์และนักวิชาการที่เป็ นข้าราชการและสมาชิกพรรคประชาชนปฏิวตั ิลาว ซึ่งเขียน


ประวัติศาสตร์ ตามแนวนโยบายของพรรคประชาชนปฏิวตั ิลาว เน้นเนื้ อหาสําคัญของการนําเสนอ
อุดมการณ์ ชาติ ผ่านการต่อสู ้ของวีรชนและประชาชนลาว 9 เพิ่มพื้นที่ให้กบั การเคลื่อนไหวต่อสู ้
เพื่อเอกราชและประชาชนมากกว่าให้แก่ ราชวงศ์สําคัญดังที่ นิยมตามจารี ตโบราณ สอดคล้องกับ
รุ่ งมณี เมฆโสภณ ผูแ้ ปล “ไฟดับไม่สิ้นแสง ศรัทธายังไม่แล้งในเมืองลาว” ของ คําแสง สี นนทอง
นั ก เขี ย นซี ไ รต์ ล าว ประจํา ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) เป็ นภาษาไทย กล่ า วถึ ง นวนิ ย ายลาวว่ า
“นวนิ ยายลาวมี แต่เรื่ องปฏิ วตั ิ นวนิ ยายลาวอาจมี หลายยุคหลายสมัย ทั้งร่ วมสมัยและสมัยใหม่
ส่ วนใหญ่จะสะท้อนจิตใจปฏิวตั ิ”10 จึงยากที่จะหางานนวนิยายของลาวที่เกี่ยวข้องกับไทย
อย่างไรก็ดี งานเขียนของลาวที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย – ลาว ส่ วนใหญ่เป็ นงาน
ทางวิชาการขยายกรณี “สงครามเจ้าอนุ วงศ์”เช่ น “วีระกัมพระเจ้าอะนุ วงส์ ” ที่จดั พิมพ์โดยแผนก
ประวัติศาสตร์ อารยธรรม สังกัด สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรม กระทรวงแถลงข่าว และวัฒนธรรม
ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) และการรวมบทความสัมมนาประวัติศาสตร์ลาว เรื่ อง “ตามหารอยเจ้าอะนุวง”
ของ มะหาวิ ท ะยาไลแห่ ง ชาด คะนะพาสา วัน นะคะดี และมะนุ ด สาด, ตี พิ ม พ์ใ นค.ศ. 2010
(พ.ศ. 2553)
ในขณะที่ การศึกษาเกี่ ยวกับประเทศลาวในไทยกลับได้รับความสนใจและมีการศึกษา
ในหลายแง่มุม ในส่ วนของงานวรรณกรรมประเภทนวนิ ยายที่เกี่ยวข้องกับรู ปแบบความสัมพันธ์
ระหว่างไทยกับลาวที่ กล่ าวอ้างถึ ง “ลาว” หรื อใช้ฉาก และตัวละครที่ ระบุชัดเจนว่าเป็ น “ลาว”
อย่างชัดเจน มิใช่ เพียงแค่การตั้งชื่ อคนหรื อประเทศสมมติและให้ความหมายโดยนัยว่าหมายถึง

9
กิติรัตน์ สี หบัณท์, “ประวัติศาสตร์ นิพนธ์ลาวสมัยใหม่ (ค.ศ. 1975 – ปั จจุบนั )” (วิทยานิ พนธ์ดุษฎี
บัณฑิต สาขาวิชาไทศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2549),186.
10
นงค์ลกั ษณ์ เหล่าวอ, “เส้นทางนักเขียน”, หนังสื อพิมพ์กรุ งเทพธุ รกิ จ จุ ดประกาย วรรณกรรม,
7 มีนาคม 2553, 1 - 3.
113

ประเทศลาวหรื อคนลาว คือนวนิ ยายเรื่ อง ตามลมปลิว, รอยไหม, ศรี สองรั ก, ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์ ,
แต่ปางก่อน และสาปภูษา
อย่างไรก็ดีตอ้ งอธิบายว่า มีงานที่กล่าวถึง “ลาว” อยูจ่ าํ นวนหนึ่ง ที่ไม่ได้ระบุถึงฉากหรื อ
ตัวละครที่เป็ น “ลาว” อย่างตรงไปตรงมา ส่ วนใหญ่มกั จะบอกโดยนัยให้ผอู ้ ่านคิดเองว่าหมายถึง “ลาว”
เช่น นวนิยายเรื่ องโสมส่ องแสง, รอยอินทร์, ศิลามณี , มณี หยาดฟ้ า, ละอองดาว และคุณชายรัชชานนท์
(เล่ม 4 จากนวนิยายชุด สุ ภาพบุรุษจุฑาเทพ) เป็ นต้น ในที่น้ ี จึงเลือกใช้วรรณกรรมประเภทนวนิยาย
จํานวน 6 เล่ม ดังกล่าว เพื่อประกอบการวิเคราะห์ให้เห็น ผลสะท้อนจากแบบเรี ยนทางประวัติศาสตร์
ที่เห็นได้จากงานวรรณกรรมประเภทนวนิยาย ซึ่งจะเห็นภาพสะท้อนได้ 2 คือ

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
1. ลาวในฐานะมิตรประเทศที่ดี งานเขียนในกลุ่มนี้ สะท้อนความพยายามสานสัมพันธ์

ให้แนบแน่ น เน้นฉากและบรรยากาศ ตลอดจนวัฒนธรรมที่สวยงาม อีกทั้งความสัมพันธ์ชิดใกล้
ระหว่างลาวและไทย ได้แก่นวนิยายเรื่ อง ตามลมปลิว, รอยไหม และศรี สองรัก
2. ลาวในฐานะตํ่ากว่าไทย เป็ นมุมมองที่ดูวา่ ลาวได้รับการช่วยเหลือจากไทย เพราะลาว
เปรี ยบเสมือนประเทศที่ไทยต้องคอยดูแลในฐานะประเทศราชที่มกั ก่อปั ญหาและความไม่สงบเสมอ
คือนวนิยายเรื่ อง ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์, แต่ปางก่อน และสาปภูษา
1.1 ลาวในฐานะมิตรประเทศทีด่ ี
วรรณกรรมประเภทนวนิ ยายในมิ ติของความสั มพันธ์ ที่ แสดงให้เห็ น ลาวในฐานะมิ ตร
ประเทศที่ดีของไทย พบได้จากวรรณกรรม 3 เรื่ อง มีการดําเนิ นเรื่ อง ใช้ตวั ละคร หรื อฉากเป็ น “ลาว”
อย่างตรงไปตรงมาไม่ตอ้ งใช้นัยแฝงให้ผูอ้ ่านตีความเอาเอง ซึ่ งเป็ นวรรณกรรมประเภทนวนิ ยาย
ที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวในมุมมองความเกี่ยวโยงทางสายสัมพันธ์อนั ดีที่มีมา
แต่อดีต ดังนี้
ตามลมปลิว
“ตามลมปลิ ว” (ค.ศ. 2004) ของ ว. วินิ จฉัยกุล ซึ่ งเป็ นนามปากกาของ รองศาสตราจารย์
ดร.คุณหญิง วินิตา ดิถียนต์ เกิดเมื่อ14 มีนาคม ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492) นักเขียนชื่อดังผูน้ ้ ีมีนามปากกา
ที่เป็ นที่รู้จกั ในหลายชื่อด้วยกัน คือ ว.วินิจฉัยกุล, แก้วเก้า, รักร้อย, ปารมิตา, วัสสิ กา, อักษรานี ย ์
จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 จากโรงเรี ยนมาแตร์ เดอีวิทยาลัย มัธยมศึกษาปี ที่ 5 จากโรงเรี ยน
เตรี ยมอุดมศึกษา จบปริ ญญาตรี จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้นได้บรรจุ
เป็ นอาจารย์ประจําภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวัง
สนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม และได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริ กา จนจบปริ ญญาเอกสาขา
หลักสู ตรและการสอนวรรณคดีจาก University of Northern Colorado และกลับมารับราชการ
ที่ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็ นเวลา 25 ปี หลังจากนั้นจึงลาออก
114

มาเป็ นข้าราชการบํานาญ มีตาํ แหน่งทางวิชาการเป็ นรองศาสตราจารย์ระดับ 9 ปั จจุบนั เป็ นอาจารย์


พิเศษ สาขาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่ อสารและการพัฒนาสอนนักศึกษาปริ ญญาโทของสถาบันวิจยั
ภาษา ฯ มหาวิทยาลัยมหิ ดล

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

ภาพที่ 9 รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง วินิตา ดิถียนต์ เจ้าของนามปากกา “ว. วินิจฉัยกุล”กับผลงานเรื่ อง


“ตามลมปลิว” ที่ใช้ประกอบการวิจยั
ที่มา : รักษ์ มนัญญา, เรี ยงด้วยภาพ: ค่ายเยาวชนนักเขียน [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 27 มกราคม 2555.
เข้าถึงได้จาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=rakmananya&month=07

คุ ณ หญิ ง วิ นิ ต า เป็ นนั ก เขี ย น นั ก วิ ช าการ นั ก วิ จ ารณ์ นั ก แปล และนั ก แต่ ง เพลง
นามปากกา ว.วินิจฉัยกุล และ แก้วเก้า ได้รับรางวัลด้านผลงานประพันธ์ จากภาครั ฐและเอกชน
18 รางวัล เช่น รัตนโกสิ นทร์ , นิ รมิต, มาลัยสามชาย, ราตรี ประดับดาว และ ฯลฯ นอกจากนี้ ยงั เป็ น
เจ้าของ www. reurnthai. com เพื่อเผยแพร่ ความรู ้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม ภาษาและวรรณคดี
ประวัติ ศาสตร์ โดยใช้น ามปากกา เทาชมพู มี งานอดิ เรกคื อ แต่ ง เพลงให้ว งดนตรี สุ น ทราภรณ์
นอกจากนี้ ยงั ได้รับรางวัลเกียรติคุณต่าง ๆ อีกมากมาย เช่นค.ศ.1994 (พ.ศ. 2537) ได้รับรางวัลบุคคล
ดี เด่ นทางด้านอนุ รั กษ์มรดกไทยสาขาภาษาและวรรณกรรม เนื่ องในปี อนุ รั กษ์มรดกไทย
(The Thai National Heritage Preservation Award) , รับรางวัลบุคคลดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขา
วรรณศิลป์ ของสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่ งชาติ ประจําค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540)
(The Thai National Culture Award), ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547)ได้รับเกียรติให้เป็ นศิลปิ นแห่ งชาติ
สาขาวรรณศิลป์ , ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) เป็ นคนต่างชาติคนแรกที่ได้รับปริ ญญาอักษรศาสตรดุษฎี
115

บัณฑิตกิตติมศักดิ์ (Doctor of Humane Letters) จาก สภามหาวิทยาลัย (Board of Trustees) ของ


University of Northern Colorado U.S.A. ในฐานะศิษย์เก่าที่มีผลงานทางด้านอักษรศาสตร์เป็ นที่
ยอมรับในระดับชาติ และ นําชื่อเสี ยงมาสู่ มหาวิทยาลัย และ ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) ได้รับรางวัล
สุ รินทราชา ในฐานะนักแปลอาวุโสดีเด่น ของสมาคมล่ามและนักแปลแห่งประเทศไทย11
“ตามลมปลิ ว” เป็ นวรรณกรรมประเภท นวนิ ยาย ที่ ใช้ หลวงพระบาง เป็ นฉากสําคัญ
ในการเป็ นที่พกั ใจของนางเอก “พราว”เดินทางไปยังเมืองหลวงพระบาง เพราะต้องการหลบชี วิตคู่
ที่ผิดพลาด จนไปพบกับวิถีชีวิตรู ปแบบใหม่ ที่ต่างไปจากชีวิตในกรุ งเทพ ฯ และได้พบกับพระเอก
ตัวจริ งของเธอคือ “ต้นไทร” หนุ่มไทยที่ทาํ งานในลาว

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
นวนิ ยายเรื่ องนี้ ประพันธ์ข้ ึนภายหลังจากที่ เมื องหลวงพระบางได้รับยกย่องให้เป็ น


มรดกโลกแล้ว 9 ปี เป็ นอีกหนึ่งสถานที่ที่คนไทยมักเดินไปท่องเที่ยวชื่นชมในสิ่ งที่ คนไทย “ละทิ้ง”
ไปพร้ อมกับการขยายตัวแบบเมื องใหญ่ตามวิถีชาวกรุ ง ในขณะที่ “หลวงพระบาง” ยังคงรั กษา
ความเป็ นอดีต” เอาไว้ได้
“ตามลมปลิว” แนะนํา “หลวงพระบาง” สู่ ผอู ้ ่านด้วยฉากเปิ ดตัว บรรยายว่า “หลวงพระบาง
เป็ นเมื องน้อยกลางขุนเขาใหญ่ เหมือนเพชรเม็ดเดี่ ยวกลางผ้าสักหลาดสี เขียวแก่ ผืนกว้างปูลาด
ซับซ้อนสุ ดสายตา”12 การเล่าเรื่ องของผูป้ ระพันธ์ผา่ นสายตาของตัวละครเอกที่เป็ นชาวกรุ งเทพ ฯ
โดยกําเนิ ด แฝงไว้ดว้ ยความชื่นชมในความสงบและเรี ยบง่ายของหลวงพระบางที่แตกต่างไปจากวิถี
ชีวิตชาวเมืองใหญ่ เช่น กรุ งเทพฯ เป็ นการเปรี ยบเทียบความน่าอยูข่ องหลวงพระบางตามสายตาของ
ชาวไทย
“ได้เ วลาโรงเรี ย นเลิ ก เห็ น นัก เรี ย นขี่ จ ัก รยานกัน เป็ นหมู่ ๆ สวนทางรถ สลับ ด้ว ย
จักรยานคันเล็ก ๆ แล่นมาอย่างช้า ๆ ท้องถนนค่อนข้างว่างจากยวดยานพาหนะ แต่ก็ไม่มีใคร
ถือโอกาสควบขับตะบึงโลดโผน ยังคงขับขี่กนั ด้วยความระมัดระวัง”13
“ความมืดและความเปล่าเปลี่ยวเป็ นสิ่ งที่สั่นคลอนขวัญตามประสาสาวชาวกรุ งที่เคยชิน
กับข่าวร้ายตามหน้าหนังสื อพิมพ์ทุกเมื่อเชื่อวัน”14 แต่สาํ หรับหลวงพระบางแม้ในยามกลางคืนบน
ถนนเปลี่ยว “ที่น้ ีไม่ค่อยมีเรื่ องน่ากลัว เมืองเล็ก คนรู ้จกั กันทั้งเมือง”15

11
วินิตา ดิถียนต์ (ว. วินิจฉัยกุล), ตามลมปลิว, พิมพ์ครั้งที่ 4 (กรุ งเทพ ฯ : สํานักพิมพ์ทรี บีส์, 2551),
397 - 403.
12
เรื่ องเดียวกัน, 127.
13
เรื่ องเดียวกัน, 129.
14
เรื่ องเดียวกัน, 205
15
เรื่ องเดียวกัน, 144.
116

สิ่ งที่แสดงถึงความแตกต่างจากวิถีชีวิตคนเมืองของหลวงพระบาง ซึ่งผูป้ ระพันธ์กล่าวถึง


ด้วยความรู ้สึกชื่ นชม คือ แม้จะไม่รู้จกั กันแต่ชาวหลวงพระบางก็จดั พิธีสู่ ขวัญต้อนรับ “พิธีสู่ ขวัญ
มีพานทองเหลืองและขันลงหิ นสามใบซ้อนประดับด้วยใบตองและดอกไม้สด ผูค้ นในละแวกใกล้เคียง
จะทยอยมาร่ วมพิธีโดยไม่จาํ เป็ นต้องรู ้จกั กันมาก่อนมีท้ งั ผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่เรื่ อยลงมาจนถึงวัยกลางคนและ
หนุ่ มสาว พิธีเริ่ มด้วยผูส้ ู งวัยคนหนึ่ งกล่าวคําเชิ ญขวัญ เป็ นคําอวยชัยให้พรเชิ งมงคล พอจบก็ผูก
ด้ายขวัญที่ขอ้ มือ และคนอื่น ๆ ผลัดกันมาผูกด้ายขวัญจนครบ ทิ้งด้ายขวัญไว้สามวันห้ามแกะออก”16
ด้วยความชํานาญในด้านอักษรศาสตร์ เจ้าของบทประพันธ์ “ตามลมปลิว” จึงทําหน้าที่
ถ่ายทอดและแนะนําสถานที่ ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในหลวงพระบางด้วยภาษาที่ทาํ ให้เกิ ดจิ นตภาพตาม

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ได้อย่างชัดเจน ซึ่ งสะท้อนให้เห็นถึงทัศนะด้านบวกในหลวงพระบางเพราะตลอดเรื่ อง ตัวละคร


ไม่แสดงทัศนะเกี่ยวกับหลวงพระบางด้วยมุมมองด้านลบเลย
แม้แต่ในสถานที่ ที่มีชื่อที่ให้ความหมายเป็ นลบในภาษาไทย ผูป้ ระพันธ์ก็ยงั ไม่ละเลย
ที่จะอธิ บายให้เห็ นว่าในภาษาลาวนั้นสถานที่น้ ี หมายถึงอะไร “ตลาดมืด คือการปิ ดถนน จัดวาง
สิ นค้าพื้นเมือง ทั้งผ้าทอและงานฝี มืออื่น ๆ เรี ยงรายกันริ มถนนและตรงเส้นกึ่งกลางถนน เว้นที่ว่าง
ให้คนซื้อเดินชมข้าวของกันเรื่ อย ๆ มีโคมของแต่ละร้านส่ องแสงสว่างแลเห็นสิ นค้าที่วางอยูบ่ นพื้นถนน
รองรับด้วยผ้าปูอีกทีหนึ่ง”17
วิธีการใส่ บาตรของหลวงพระบางเป็ นอีกสิ่ งหนึ่ งที่แสดงมุมองเชิ งบวกผ่านตัวอักษร
ของผูป้ ระพันธ์ “เมื่อมองย้อนขึ้นไปทางต้นถนนจะเห็ นภาพงามจับตาของสายธารทองคําเหลือง
ผ่องใสสะท้อนแสงอรุ ณใต้ฟ้าครามสะอาดตา ไหลเลื่ อนลงมาเป็ นแถว ที่ จริ งคือผูท้ รงศี ลในผ้า
กาสาวพัสตร์นบั จํานวนร้อย เดินอย่างสํารวมเป็ นแถวตรง”18
แต่ ล ะฉากของเรื่ อง “ตามลมปลิ ว ” คื อ สถานที่ สํ า คัญ ของเมื อ งหลวงพระบาง
ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมไปเยือนทั้งสิ้ น

พระราชวังหลวงพระบางตั้งอยู่ในพื้นที่ กว้างขวาง ด้านหลังจดแม่น้ าํ โขง หันหน้ามาทาง


ถนนใหญ่ในเมือง เมื่อเดินเข้าไปเห็นแนวต้นตาลสู งเรี ยบ เป็ นระเบียบ ขนาบข้างทางที่ตดั ตรงเข้าสู่
อาคารหมู่ช้ นั เดี ยว มียอดปราสาทแหลมผุดขึ้นโดดเด่นอยู่เหนื ออาคารหลังกลาง... มุขทวารหน้า
หน้าบันเป็ นรู ปช้างสามเศียรอันเคยเป็ นสัญลักษณ์ของราชอาณาจักรลาว ด้านหน้าก่อนถึงทางเข้า
ก็เ สี ยค่ า บัตรผ่านประตูแ ละมี ม ัคคุ เทศก์ของทางการนําชมที่ ประทับ พระบางพระพุทธรู ปทอง
คู่บา้ นคู่เมืองประดิษฐานอยูใ่ นห้องเบื้องหลัง ประทับยืนในปางห้ามสมุทร... ห้องโถงแรกเป็ นห้อง

16
วินิตา ดิถียนต์ (ว. วินิจฉัยกุล), ตามลมปลิว, 173 – 176.
17
เรื่ องเดียวกัน, 142.
18
เรื่ องเดียวกัน, 191.
117

ฟั งธรรมของเจ้ามหาชี วิต ดูคล้ายท้องพระโรงขนาดย่อม เครื่ องประดับห้องชิ้ นเด่นคือธรรมาสน์


ลวดลายวิจิตร หน้าธรรมาสน์ปูพรมซึ่ งเป็ นที่ประทับของเจ้ามหาชีวิตเสด็จออกฟั งธรรม ด้านซ้าย
เป็ นห้องรับรองแขกของพระมเหสี ซ่ ึ งปั จจุบนั เป็ นห้ องตั้งแสดงของขวัญจากประเทศต่าง ๆ รวมทั้ง
ประเทศไทยด้วย...19
วัด เชี ย งทอง..โบสถ์ดู ส ะดุ ด ตาด้ว ยหลัง คาที่ ซ้อ นลดหลั่น กัน ถึ ง สามชั้น เหนื อ ตัว อาคาร
ที่ ค่ อ นข้างเตี้ ย ช่ างออกแบบชายคาแต่ ละชั้นให้ชายงอนอ่ อนช้อยแบบปี กนก ในแสงแดดสว่างใส
โบสถ์เหมือนหงส์ทองตัวงามพร้อมจะเหิ นบินขึ้นสู่ ฟ้าสี ครามสด.. ผนังด้านนอก เป็ นแบบลงรักปิ ดทอง
ลวดลายอร่ ามเหลืองอยูบ่ นพื้นสี ดาํ ขรึ ม เป็ นภาพพุทธประวัติคล้ายกับของไทย... สิ่ งก่อสร้างอีกแบบหนึ่ง
กระทบสาตา สี ชมพูแอร่ มแปลกตากลางแดดแจ่ม ผนังด้านนอกฉาบพื้นสี ชมพูตกแต่งด้วยกระจกสี สด

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ชิ้นเล็ก ๆ หลากสี ช่างจัดกลุ่มตกแต่งเข้าเป็ นรู ปคน ต้นไม้ใบไม้และบ้านเรื อนแสดงภาพการดําเนิ น


ชี วิตของชาวบ้าน ดูสดใสและบริ สุทธิ์ ... วิหารน้อยอี กหลังก็ประดับด้วยกระจกสี ในแนวเดี ยวกัน
แต่ว่าลวดลายแตกต่างกันไปบนพื้นสี แดงสด สี สันสดใส ภายในโบสถ์ ค่อนข้างแคบและเงียบเชียบ
ปราศจากคน พระประธานซึ่ งเป็ นพระพุทธรู ปปางมารวิชยั องค์ใหญ่ประทับเด่นเป็ นสง่าในเงาสลัว
ของบรรยากาศ สิ่ งแปลกตาในโบสถ์คือรางยาว เป็ นไม้แกะสลักมี หัวเป็ นพญานาค ทอดจากด้านข้าง
พระพุทธรู ปผ่านออกไปนอกโบสถ์ สี ดาํ และทองขรึ ม ๆ ที่ตกแต่งผนังโบสถ์ท้ งั ด้านในด้านนอกกลมกลืน
กันดี20

การสอดแทรกความรู ้เป็ นไปอย่างแนบเนียนและถ้าจะมีการกล่าวเปรี ยบเทียบกับกรุ งเทพ ฯ


ก็ไม่มีนยั ยะของการเหลื่อมลํ้าทางความรู ้สึก

รางไม้มีไว้สรงนํ้าพระบางจําลองวันสงกรานตร์ มี น้ าํ มนต์ไหลไปตามท่อให้ชาวบ้านมารอง
ไปดื่มกินได้จากนอกโบสถ์ดว้ ย ภาพพุทธประวัติบนผนังด้านซ้ายเป็ นตอนมารผจญ แต่รายละเอียด
ไม่เหมื อนของไทย พุทธประวัติของไทย เมื่ อมารมาผจญพระพุทธองค์ ส่ งธิ ดาทั้งสาม นางราคา
นางตัณหา นางอรดี มายัว่ ยวน แม่พระธรณี ก็ข้ ึนมาบีบนํ้าจากมวยผมกลายเป็ นกระแสนํ้าเชี่ยวกราก
พัดพรากพวกมารทั้งหมดหายไป แต่ภาพที่ วดั คื อนางทั้งสามกลายเป็ นยายแก่แร้ งทึ้ งหลังโกง”21
และวิธีการใส่ บาตรนั้น “ขบวนพระสงฆ์เดิ น มาถึงตัว ท่ านไม่ได้หยุดนิ่ งรอรั บของใส่ บาตรอย่าง
พระไทย แต่วา่ เปิ ดฝาให้ใส่ บาตร ขณะเคลื่อนขบวนต่อไปโดยไม่หยุด22

19
วินิตา ดิถียนต์ (ว. วินิจฉัยกุล), ตามลมปลิว, 291 – 294.
20
เรื่ องเดียวกัน, 161 - 167.
21
เรื่ องเดียวกัน, 168.
22
เรื่ องเดียวกัน, 191.
118

สังเกตได้ว่าไม่มีการวิพากษ์ว่าสิ่ งใดถูกหรื อผิด เป็ นการพูดถึงว่ากรุ งเทพ ฯ เป็ นแบบนี้


พบสิ่ งนี้ ในหลวงพระบางเป็ นแบบนี้ และพบสิ่ งนั้น
ตามลมปลิว เป็ นการแสดงมิติของความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวในบริ บทที่เท่าเทียม
เพราะผูป้ ระพันธ์เลือกใช้ “หลวงพระบาง” เป็ นสถานที่การพักใจของตัวละครเอก และยังเป็ นสถานที่
ตัวละครเอกใช้เริ่ มต้นชีวิตและเริ่ มต้นมุมองของชีวิตใหม่ ก่อนจะกลับไปจัดการแก้ไขปั ญหาชีวิตคู่
ที่คา้ งคา และเมื่อมีการกล่าวถึงในเชิงเปรี ยบเทียบระหว่างหลวงพระบางกับกรุ งเทพ ฯ ก็ไม่ปรากฏ
ความนัยแฝงที่เอนเข้าข้างหนึ่ งใด
นอกเหนือไปจากทัศนะคติในเชิงบวกที่กล่าวมายังถือได้ว่า “ตามลมปลิว” เป็ นนวนิยาย

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
เชิงท่องเที่ยวแนะนําสถานที่ต่าง ๆ ใน หลวงพระบาง ซึ่งการเขียนนวนิยายเชิงแนะนําการท่องเที่ยวนี้

จะพบได้ชดั เจนจาก นวนิยายแนวลึกลับเรื่ อง “รอยไหม”
รอยไหม
“รอยไหม” (2007) ของ พงศกร หรื อ นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะ นักเขียนนวนิยาย
ผูม้ ีนามปากกาว่า พงศกร และ ดารกาประกาย เป็ นคน จ.ราชบุรี จบการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับทุนจากกระทรวงสาธารณสุ ขไปศึกษาวิชาทางการแพทย์ดา้ นเวชศาสตร์
ครอบครั วจาก Pennsylvania University รัฐ Pennsylvania ประเทศสหรัฐอเมริ กา ปั จจุบนั เป็ น
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวประจําโรงพยาบาลราชบุรี
พงศกร เป็ นนัก เขี ย นที่ ประสบความสําเร็ จ อย่างรวดเร็ ว จากปี ค.ศ. 2001 (พ.ศ.2544)
“เบื้องบรรพ์” ผลงานเรื่ องแรก ได้รับรางวัลชมเชย สุ ภาว์ เทวกุล และเป็ นที่รู้จกั อย่างมากจากนวนิ ยาย
“ซีรีส์ผผี า้ ” ตั้งแต่ “สาปภูษา” จนถึง “รอยไหม” ที่ผลิตเป็ นละครทางไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่ง ทั้ง 2 เรื่ อง
ได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดหนังสื อดีเด่นประเภทนวนิ ยาย ประจําปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550)23
ขณะที่ “กี่เพ้า” กําลังอยูร่ ะหว่างการถ่ายทําเพื่อผลิตเป็ นละครออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 และ
“สิ เน่หาส่ าหรี ” ก็ติดทําเนียบนวนิยายขายดีจากซีรีส์ผผี า้ เช่นกัน

23
พงศกร จินดาวัฒนะ (พงศกร), รอยไหม, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุ งเทพ ฯ : บุ๊คพลับบิชชิ่ง , 2553), 525 – 527.
119

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

ภาพที่ 10 นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะเจ้าของนามปากกา “พงศกร” กับผลงานเรื่ อง “รอยไหม”
ที่ใช้วิเคราะห์ประกอบการวิจยั
ที่มา : หมอโอ็ต, พบกับ พงศกร ได้ที่งานหนังสื อนะครับ [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 27 มกราคม 2555.
เข้าถึงได้จาก http://www.groovebooks.com/index.php?mo=14&newsid=134034

รอยไหม “เป็ นนวนินายที่ผมเขียนขึ้นจากความประทับใจในความงามของหลวงพระบาง


ความดี ท้ งั หมดของ “รอยไหม” ผมขอกราบแทบเบื้ องพระบาทอุ ทิศถวายแด่ เจ้ามหาชี วิต และ
พระบรมวงศานุ วงศ์แห่ งราชวงศ์ลา้ นช้างของหลวงพระบางทุกพระองค์”24 คําอธิ บายนี้ สะท้อน
ความรู ้สึกของผูเ้ ขียนต่อหลวงพระบางได้เป็ นอย่างดี
มณี ริน นางเอกของเรื่ อง เป็ นสาวไทย เดินทางไปหลวงพระบางเพื่อหลบปั ญหาวุ่นวาย
ด้านความรักไปพักที่เกสท์เฮาส์ ของ “แม่หญิงวันดารา” และพบรักกับ “สุ ริยวงศ์” พระเอกที่เป็ น
ลูกครึ่ งลาว – ฝรั่งเศส เรื่ องราวเริ่ มต้นด้วยผ้าทอปริ ศนาที่เจ้าของเดิมทอไม่เสร็ จ นําไปสู่ การโยงใย
สายสัมพันธ์ของรักสามเส้าจากอดีตกาลข้ามภพชาติมาจนปัจจุบนั
ความสําคัญของ “รอยไหม” ต่อมิติความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวคือการใช้ฉาก
ดําเนินเรื่ องที่ หลวงพระบาง เป็ นฉากสําคัญ ตลอดทั้งเรื่ องจะเห็นถึงความสวยงามของวิถีชีวิตที่รุ่งเรื อง
มาแต่อดีตจนปั จจุบนั เป็ นการถ่ายทอดความรู ้สึกถึงมิตรภาพที่ดีระหว่างลาวและไทย เพราะตลอด
การดําเนินเรื่ องเต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งความชื่นชมในขนบโบราณที่ยงั คงงดงามจนปัจจุบนั
ฉากเปิ ดตัวของหลวงพระบางถูกอธิ บายด้วยสายตาของมณี ริน ผูผ้ ่านชี วิตจากกรุ งเทพฯ
“ หลวงพระบาง เป็ นเมืองสะอาด เป็ นระเบียบ เป็ นเมืองแห่ งมิตรภาพ หลวงพระบางไม่ใหญ่โตมาก
24
พงศกร จินดาวัฒนะ (พงศกร), รอยไหม, คํานํา.
120

มีถนนเพียงสองสามด้าน ทอดตัวไปตามสายแม่น้ าํ โขง ฟากหนึ่งของตัวเมืองมีแม่น้ าํ คานมาบรรจบกัน


ที่ ห น้า วัด เชี ย งทอง รถมี ไ ม่ ม าก ไม่ วุ่ น วายอย่า งในกรุ ง เทพ ฯ ใช้ม อเตอร์ ไ ซค์ และจัก รยาน
เป็ นพาหนะหลักในการสัญจร”25
“อ้ายวันดารา” และ “สุ ริยวงศ์” เป็ นตัวละครสําคัญที่ใช้ถ่ายทอดและอธิ บายความเป็ น
หลวงพระบางทั้งในด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรมตั้งแต่โบราณจนการดําเนิ นชี วิตในปั จจุ บนั ของคน
หลวงพระบาง ตลอดจนให้ความรู ้เชิงภาษา ที่แม้ว่าจะมีความคล้ายคลึงกับภาษาไทยแต่บางคํากลับ
ไม่คุน้ เคย หรื อมีความหายต่างจากคําในภาษาไทยภาคกลาง
“ดอกลัน่ ทม ในความหมายของไทย หมายถึง “ดอกจําปา” ในภาษาลาว”26

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
“ข้าวแลง หมายถึง ข้าวเย็น ในภาษาไทย”27

“บัตรซื้อตัว๋ ก็คือ ปี้ ”28
ผูเ้ ขียนอธิ บายถึงความเปลี่ยนแปลงของชาวหลวงพระบางที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่ องจาก
อิ ทธิ พ ลของโลกภายนอกที่ เ ข้า มาในสถานที่ แ ห่ งนี้ ว่า “คนหลวงพระบางเป็ นคนรั ก สงบ ไม่ มี
อาชญากรรม มีแต่นกั ท่องเที่ยวที่มาก่อปัญหา”29 และเมื่อ “UNESCO ประกาศให้หลวงพระบาง เป็ น
มรดกโลก ด้านวัฒนธรรม เมื่อปี 2538 แต่เหรี ยญก็มกั มีสองด้าน มีขอ้ ดี ข้อเสี ย เสมอ เราได้รับงบ
มาพัฒนาอาคารบ้านเรื อน สถานที่ราชการต่าง ๆ มากมาย แต่วิถีชีวิตคนลาวเริ่ มเปลี่ยนไป เริ่ มมี
สถานที่เที่ยวกลางคืน มีผบั มีบาร์ โสเภณี ”30 ความเจริ ญที่เข้ามาคือสาเหตุของความเปลี่ยนแปลงนั้น
ผูเ้ ขียนยังชี้ ให้เห็นความสัมพันธ์อนั ดีระหว่างไทยและลาว ผ่านการศึกษาของชาวลาว
ด้วยว่า “แต่เดิ มมีมหาวิทยาลัยที่เวียงจันทน์เพียงแห่ งเดียว มีไม่กี่คณะ คนส่ วนใหญ่จะข้ามมาเรี ยน
ที่ขอนแก่น ถ้าได้รับทุน ซึ่ งมีท้ งั ทุนรัฐบาลของไทยและลาว ก็จะมาเรี ยนเพิ่มเติมต่อที่ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย หรื อไม่ก็ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ถา้ เป็ นลูกคนรวยจะมาเรี ยนมหาวิทยาลัยเอกชน
เช่น เอแบ็ค หรื อไม่ก็ มหาวิทยาลัยกรุ งเทพ”31 ซึ่ งสอดคล้องกับความเป็ นจริ งที่ว่าชาวลาวที่มีฐานะ
หรื อมีโอกาส มักจะส่ งบุตรหลานมาเล่าเรี ยนในประเทศไทย จนกระทัง่ ปัจจุบนั ก็ยงั เป็ นเช่นนั้น

25
พงศกร จินดาวัฒนะ (พงศกร), รอยไหม, 7 - 11.
26
เรื่ องเดียวกัน, 9.
27
เรื่ องเดียวกัน, 27.
28
เรื่ องเดียวกัน, 44.
29
เรื่ องเดียวกัน, 16.
30
เรื่ องเดียวกัน, 50.
31
เรื่ องเดียวกัน, 48.
121

สิ่ งสําคัญที่แสดงถึงความยิง่ ใหญ่ของหลวงพระบางอีกด้านหนึ่ง คือ วัฒนธรรมด้านการกิน


ที่ถ่ายทอดมาในรู ปแบบอาหาร อธิ บายความสําคัญนี้ ดว้ ยกรรมวิธีการของ อ้ายวันดารา และสายตา
ของ มณี ริน ที่ถือเป็ นตัวแทนของ กรุ งเทพ ฯ

ขะนาบปลา คล้าย ปิ้ งงบของไทย วิธีการทําคือเอาเนื้ อปลามาขูดผสมกับเครื่ องเทศปิ้ งไฟแล้วกิน


กินกับผักสมุนไพร ความยากของ ขะนาบปลา คือการขู ดเนื้ อปลาออกมาผสมกับผักเครื่ องสมุนไพร
แล้วจึ งมาทําเป็ นแผ่นย่างไฟ ใช้ใบกล้วยห่ อ ห่ อเหมือนข้าวต้มมัดของไทย ขะนาบปลาจะทํากิ นกัน
แต่ในวัง ชาวบ้านไม่นิยมทําเพราะยุง่ ยาก32

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด
เอาะหลาม เปรี ยบเทียบ เหมือน แกงโฮะ ทางเหนื อ มีผกั หลายอย่าง เป็ นอาหารพิเศษ มีกินที่
ก ลาง
หลวงพระบางเท่านั้น เวียงจันทน์ จําปาศักดิ์ ไม่มี มีชิ้นวัว ชิ้ นควายเป็ นส่ วนประกอบสําคัญ เริ่ มต้น

ด้วยการนําชิ้ นวัว ชิ้ นควายที่ย่างไฟมาเคี่ยว ให้ดีเหยาะนํ้าปลาร้า ปรุ งรสตามใจชอบ เคี่ยวให้งวดสัก
สองวันถึงจะกินได้ ก่อนกินตั้งไฟอีกครั้งใส่ ผกั เช่น โหระพา แมงลัก หรื อตําลึง33
ก่อนมา มณี ริน หลับตาคิดถึงแต่ ส้มตํา, ไก่ยา่ ง, ลาบ , นํ้าตก แต่แท้จริ งแล้ว อาหารหลวงพระบาง
รสชาติเหมือนทางเหนื อของไทย นุ่ มลิ้น ไม่เน้นเผ็ดอย่างลาวใต้ ลงไปทางใต้แขวงจําปาศักดิ์ อาหาร
เน้นเผ็ดจนนํ้าหูน้ าํ ตาไหล ข้างเวียงจันทน์เป็ นลาวกลาง ๆ มีลกั ษณะผสมกันไปกับลาวเหนื อและลาวใต้
แต่อาหารที่ถือเป็ นที่สุดของลาว ก็เป็ นที่หลวงพระบาง อาจจะเป็ นเพราะ เจ้ามหาชีวิตเคยประทับอยูท่ ี่น้ ี
ที่ไหนที่มีเจ้ามหาชี วิตอยู่ อาหารจะต้องถูกปรุ งอย่างพิเศษ คัดสรรมาแล้ว จึ งทําให้อาหารของหลวง
พระบางถือเป็ นที่สุดของอาหารลาว34

การบรรยายผ่านตัวอักษรของผูป้ ระพันธ์สะท้อนความสําคัญของหลวงพระบางในอดีต
และสะท้อนความเหนื อกว่าของชาวหลวงพระบางเมื่อเปรี ยบเทียบกับชาวลาวในส่ วนอื่น โดยเฉพาะ
“ลาวใต้” หรื อ จําปาศักดิ์ ซึ่ งชาวลาวถือกันว่าเป็ นราษฎรธรรมดา แต่ดูเหมือนว่าสําหรับชาวไทย
ในปัจจุบนั ความเป็ นลาวที่ชาวไทยรู ้จกั กันดี โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรมจะมาจากชาวลาวใต้น้ ีเอง
“รอยไหม” นอกจากจะเป็ นนวนิยายแนวลึกลับย้อนยุคแล้ว ยังถือได้ว่าเป็ นคัมภีร์ในการ
เริ่ มทําความรู ้จกั กับหลวงพระบางและใช้เป็ นคู่มือในการทําความรู ้จกั กับหลวงพระบางในเบื้องต้น
ในมิติของอดีตจนปัจจุบนั ให้ความรู ้เกี่ยวกับหลวงพระบางทั้งด้านความเป็ นมาความสําคัญในฐานะ
นครหลวงเก่า ที่ เจริ ญด้วยอารยธรรมวัฒนธรรม กลิ่นไอแบบดั้งเดิ มจนได้รับการยกย่องให้เป็ น
มรดกโลกด้านวัฒนธรรมจากองค์การ UNESCO

32
พงศกร จินดาวัฒนะ (พงศกร), รอยไหม, 24 – 25.
33
เรื่ องเดียวกัน, 78 79.
34
เรื่ องเดียวกัน, 77 – 78.
122

ทุกบรรทัดที่ถ่ายทอดความเป็ นหลวงพระบาง เป็ นการแสดงถึงทัศนะของผูป้ ระพันธ์


ในมิ ติ ข องความสั มพันธ์ ระหว่างไทยและลาวในบรรยากาศที่ ดี “รอยไหม” แสดงจุ ดยืนชัดเจน
ต่อรู ปแบบความผูกพันที่มาอย่างยาวนานระหว่างไทยและลาวโดยเล่าถึงเรื่ องราวที่ “สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุ ดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนิ นเยือนหลวงพระบาง เมื่อปี 2533 และได้
ถวายมาลาดอกไม้ผ า้ เป็ นพุ ท ธบู ช า อยู่ ใ นพานเบื้ อ งหน้า พระพุ ท ธรู ป ยื น ปางห้ า มสมุ ท ร ณ
พิพิธภัณฑ์แห่ งชาติน้ ี แสดงให้เห็นว่าที่แท้ไทยกับลาว เป็ นพี่นอ้ งกัน”35 ประโยคนี้ แสดงถึงความ
รั บ รู ้ ข องชาวไทย เรื่ องความเป็ นพี่ เ ป็ นน้ อ ง ระหว่ า งไทยกับ ลาวอัน เนื่ อ งมาจากการศึ ก ษา
ประวัติศาสตร์ เป็ นสําคัญ
ศรีสองรัก
ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

“ศรี สองรัก” (2010) โดย “เจ้าสําราญ” เป็ นนามปากกาของ สุ วพงศ์ ดิษสถาพร จบการศึกษา
ปริ ญญาตรี สาขาเทคโนโลยีไ ฟฟ้ าอุ ตสาหกรรม จากสถาบันราชภัฏเพชรบุ รี ปั จจุ บนั ทํางานที่
การไฟฟ้ าส่ วนภูมิภาค จังหวัดเพชรบุรี มีนามปากกาด้วยกันสองชื่ อ คือ นายตัม๋ และเจ้าสําราญ
ผลงานรวมเล่ม คือ ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) เรื่ อง ผีที่รัก, ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) เรื่ อง เพียงสบตาเธอ
ก็เผลอรัก และ บอดี้การ์ดมาดต๊อง, ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) เรื่ องแด่ดวงใจด้วยไม้หน้าสาม, ปาย...ฝัน
เมื่อวันรัก และ ทองอาถรรพ์, ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) เรื่ อง สุ ดทาง..ที่บางรัก และ เพียงดาวนฤมิต,
ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) เรื่ อง คืนใต้แสงจันทร์ และทหารเสื อราชิ นี, ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552)
เรื่ อง พรายพยาบาท และขุนเขา สายนํ้า ความรัก, ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554) เรื่ องศาสตร์ มรณะ และ
รัก ณ เชียงคาน
“ศรี สองรัก” เป็ นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ จับความตอน ค.ศ.1560 (พ.ศ. 2103) เหตุการณ์
พระราชไมตรี ระหว่างสมเด็จพระมหาจักพรรดิ์แห่ งกรุ งศรี อยุธยา และสมเด็จพระไชยเชษฐาธิ ราช
แห่ ง อาณาจัก รล้า นช้า ง ร่ ว มกัน สร้ า ง “พระธาตุ ศ รี ส องรั ก ” เพื่ อ เป็ นสั ก ขี พ ยานแห่ ง พระราช
สัมพันธไมตรี ระหว่างสองดินแดน เป็ นเหตุให้ “เจ้านางมณี รินทร์ ” แห่ งนครเวียงจันทน์ ได้พบกับ
“เขน” ทหารคนสําคัญแห่ งกรุ งศรี อยุธยาและทั้งสองได้กล่าวคําสัญญาอธิ ษฐานว่าจะขอผูกพันกัน
ในทุกชาติภพไป

35
พงศกร จินดาวัฒนะ (พงศกร), รอยไหม, 47.
123

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ภาพที่ 11

สุ วพงศ์ ดิ ษสถาพร เจ้าของนามปากกา “เจ้าสําราญ” กับผลงานเรื่ อง “ศรี สองรั ก”
วรรณกรรมประเภทนวนิยายที่ใช้ประกอบการวิเคราะห์ในงานวิจยั
ที่มา : สุ วพงศ์ ดิษสถาพร, พนักงานการไฟฟ้ าส่ วนภูมิภาค จังหวัดเพชรบุรี และ นักเขียน.

จากการสัมภาษณ์ผปู ้ ระพันธ์พบว่า ความมุ่งหมายในการเขียนนวนิ ยายเรื่ องนี้ เนื่ องจาก


ยังไม่มีนกั เขียนคนใด เขียนถึงความสัมพันธ์ระหว่างกรุ งศรี อยุธยาและล้านช้าง “ศรี สองรัก” จึงเป็ น
การพยายามสะท้อนการใช้ความรับรู ้ทางประวัติศาสตร์ ไทย – ลาว จากพงศาวดาร และแบบเรี ยน
ได้อย่างชัดเจน เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏในวรรณกรรมแสดงให้เห็นถึง “ความรู ้” และ “การรับรู ้”
ทางประวัติศาสตร์ ของผูป้ ระพันธ์ในด้านรู ปแบบความสัมพันธ์ ระหว่างไทยและลาว ที่ถ่ายทอด
ในมิติที่เท่าเทียมกัน เนื่ องจากเหตุการณ์ช่วงเวลาของการดําเนิ นเรื่ องเป็ นช่วงเวลาที่ไทยและลาว
มีความสัมพันธ์อนั ดี จนมี “พระธาตุศรี สองรัก” เป็ นอนุสรณ์สถาน

สมเด็จพระมหากษัตริ ยเ์ จ้ากรุ งศรี สัตนาคนหุ ต สมเด็จพระมหากษัตริ ยเ์ จ้ากรุ งอยุธยามหาดิลก


จึงมีพระราชวงศาสองพระองค์เจรจากันทางให้เป็ นพระราชไมตรี โดยบุพประเพณี เพื่อจะสื บเชื้ อ
คือสุ ริยวงศา และญาติวงศาพันธมิตร อุตส่ าห์สัมมนาเพื่อจักให้เป็ นบรมสุ ขสวัสดี เป็ นประโยชน์แก่
สมณพราหมอาจารย์เจ้า ชาวประชาราษฎร์ ตราบต่อเท่าถ้วนกัป อันนี้ เป็ นเค้าเป็ นประธานสารคดี
ในมหาปฐพีคีรี ใกล้หอมห้วยภูเขาสกลศิลา ขอจงเอาเป็ นเอกสี มาปริ มณฑลเป็ นอันเดียวกัน เกลี้ยงกลม
งามมณฑลเท่าพงศ์พนั ธุ์ลูกเต้าหลานเหลน อย่าได้ชิงช่วงล่วงด่านแดนแสนหญ้า อย่าได้กระทําโลภ
เลี้ยงแก่กนั จนเท่าเสี้ ยง พระอาทิตย์พระจันทร์ เจ้าตกลงมาอยูเ่ หนือแผ่นดินอันนี้ เทอญ... แล้วพระสงฆ์
124

ผูเ้ ป็ นประธานและมหาอํามาตย์ท้ งั สองฝ่ ายก็หลัง่ นํ้าสัจจาลงบนปฐพี นับแต่น้ ี อยุธยากับล้านช้าง


จะมีไมตรี ต่อกัน ชัว่ กาลปวสาน36

ถ้อ ยคํา ที่ ป รากฏในนวนิ ย าย ล้ว นตรงกับ คํา จารึ ก ที่ “พระธาตุ เ จดี ย ์ศ รี ส องรั ก ษ์ ”
เมื องด่ านซ้ายทุ กตัวอักษร แสดงถึ งความใส่ ใจในการนําหลักฐานจริ งมาประกอบเป็ นนวนิ ยาย
เสริ มจินตนาการ
นอกจากนี้ “ศรี สองรัก” ยังกล่าวถึงข้อเท็จจริ งที่เกิดขึ้นทางประวัติศาสตร์ จากกรณี ส่งตัว
พระแก้วฟ้ าให้พระไชยเชษฐาธิ ราชแทนพระเทพกษัตรี “อยุธยาเป็ นฝ่ ายรั บผิดและยินดี ทาํ ตาม

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
พระประสงค์ หากสมเด็จ พระไชยเชษฐาธิ ราชทรงต้องการอย่างไรก็จะปฏิบตั ิตามนั้น ถ้าต้องการ


พระแก้วฟ้ าก็ถือตามนั้น แต่ทรงยืนยันว่าต้องเป็ นพระเทพกษัตรี ขุนนางอยุธยาก็จะอัญเชิญพระแก้วฟ้ า
กลับ และจะกราบบังคมทูลต่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงทราบ”37 ผูแ้ ต่งไม่ได้วิพากษ์เหตุการณ์
ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นแต่เล่าด้วยบทสรุ ปว่า “คณะขุนนางกรุ งศรี อยุธยาต่างพากันโล่งใจตาม ๆ กัน
เมื่ อ สมเด็ จ พระไชยเชษฐาธิ ร าชทรงหายกริ้ ว เมื่ อ ทรงทราบว่ า เป็ นการเข้า ใจผิด ต่ า งฝ่ ายต่ า ง
ปรารถนาดีต่อกัน”38
นอกจากจะมีการพยายามสานสัมพันธ์ในแบบสายเลือดโดยการสมรสแล้วนั้น ไทยและ
ลาวในช่วงเวลาของ “ศรี สองรัก” ยังมีศตั รู ร่วมกันคือ พม่า “กองทัพหงสาวดีเข้าชิงพระเทพกษัตรี
โดยการซุ่มโจมตีระหว่างการเดินทางไปเวียงจันทน์”39 และจากเหตุการณ์ชิงตัวพระเทพกษัตรี ซ่ ึ งเป็ น
ข้อเท็จจริ งในประวัติศาสตร์ ผูแ้ ต่งยังใช้เป็ นชนวนสําคัญของบทสรุ ปนวนิ ยาย ที่ นํามาซึ่ งความ
พลัดพรากและสูญเสี ยของตัวละครเอก
การเลือกหยิบข้อเท็จจริ งทางประวัติศาสตร์ ในช่วงการสร้าง พระธาตุศรี สองรักเป็ นวัตถุดิบ
ในการเขี ยนนั้น ทําให้ “ศรี สองรั ก ” เป็ นวรรณกรรม ประเภทนวนิ ยาย ที่ สะท้อนความสัมพันธ์
ระหว่ า งไทยกับ ลาวในมิ ติ ข องมิ ต รประเทศที่ มี ฐ านะเท่ า เที ย มกัน และสะท้อ นการใช้ค วามรู ้
ทางประวัติศาสตร์ของผูเ้ ขียนได้เป็ นอย่างดี
วรรณกรรมประเภทนวนิ ยาย ที่กล่าวถึงมิติความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวในฐานะมิตร
ประเทศที่ดี ได้แก่ ตามลมปลิว, รอยไหม และศรี สองรัก เป็ นบทประพันธ์ที่สะท้อนแง่มุมของ

36
สุ วพงศ์ ดิษสถาพร (เจ้าสําราญ), ศรี สองรัก 2 ภาค “สัจจะและไมตรี ”, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุ งเทพ ฯ :
สํานักพิมพ์บา้ นวรรณกรรม, 2553), 119 – 120.
37
เรื่ องเดียวกัน, 264.
38
เรื่ องเดียวกัน, 272.
39
เรื่ องเดียวกัน, 298 - 338.
125

มิตรภาพอันดี ที่ มีสายสัมพันร่ วมกันอย่างยาวนาน เป็ นการสร้ างสรรค์สานสัมพันธ์ระหว่างกัน


เพราะนอกจากจะชื่ นชมในวิถีชีวิต วัฒนธรรมแล้วยังการกล่าวถึงด้วยความประทับใจในสถานที่
ท่องเที่ยวต่าง ๆ ช่วยกระชับความรู ้สึกอันดีระหว่างไทยกับลาวให้แน่นเเฟ้ น ซึ่งจะให้ภาพที่แตกต่างไป
จากงานเขียนประเภทนวนิ ยายในมิติของลาวในฐานะตํ่ากว่าไทย ซึ่งจะเป็ นการให้ทศั นะเชิงลบอัน
สื่ อถึงรู ปแบบความเข้าใจที่แตกต่างออกไปในอีกรู ปแบบหนึ่งของความสัมพันธ์
1.2 ลาวในฐานะต่ากว่ าไทย
วรรณกรรมประเภทนวนิ ยายในมิ ติของความสัมพันธ์รูปแบบ ลาวในฐานะตํ่ากว่าไทย
พบได้จากวรรณกรรม 3 เรื่ อง มีการดําเนิ นเรื่ อง ใช้ตวั ละคร หรื อฉากเป็ น “ลาว” อย่างตรงไปตรงมา

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ไม่ตอ้ งใช้นัยแฝงให้ผอู ้ ่านตีความเอาเอง ประกอบด้วยนวนิ ยายเรื่ องดอกฟ้ าจําปาศักดิ์ , แต่ปางก่อน


และสาปภูษา ซึ่ งเป็ นวรรณกรรมประเภทนวนิ ยายที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาว
ในมุมมองของฐานะที่ไม่เท่าเทียม อันมีผลมาจากความสัมพันธ์ในรู ปแบบสงครามเป็ นสําคัญ
ดอกฟ้าจาปาศักดิ์
“ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์” (1949) ผลงานของ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ นามเดิมคือ กิมเหลียง
วัฒนปฤดา เกิดเมื่อวันที่ 11 สิ งหาคม ค.ศ. 1898 (พ.ศ. 2441) ที่จงั หวัดอุทยั ธานี จบการศึกษาจาก
โรงเรี ยนจังหวัดอุทยั ธานี จบเปรี ยญ ๕ ประโยค สํานักวัดมหาธาตุ กรุ งเทพฯ เรี ยนกฎหมายไทย
สอบได้ภาค 1 แล้วออกไปรับราชการ เป็ นผูช้ ่วยเลขานุการ ในสถานทูตไทย, เรี ยนกฎหมายและ
รัฐศาสตร์ ที่ฝรั่งเศส ,ปริ ญญาดุษฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์ วิชาการทูต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,
ปริ ญญาดุษฏีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์ วิชาเศรษฐศาสตร์ สหกรณ์ จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ
ปริ ญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบณั ฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลวงวิจิตรวาทการ ดํารงตําแหน่ งสําคัญทางการเมืองหลายตําแหน่ ง เช่น รัฐมนตรี ว่าการ
กระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตไทยในหลายประเทศ อธิบดีกรมศิลปากร รัฐมนตรี ว่าการ
กระทรวงการคลัง รั ฐมนตรี ว่าการกระทรวงเศรษฐการ และได้ดาํ รงตําแหน่ ง "ปลัดบัญชาการ"
สํานักนายกรัฐมนตรี (เทียบเท่าปลัดสํานักนายก รัฐมนตรี ในปั จจุบนั นี้ ) เป็ นคนแรก และคนเดียว
ในประวัติศาสตร์ไทย
126

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

ภาพที่ 12 หลวงวิจิตรวาทการ กับวรรณกรรมประเภทนวนิยายเรื่ อง “ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์
ที่มา : หอสมุดดนตรี พระบาสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 และห้องสมุดดนตรี ทูลกระหม่อม
สิ ริน ธร, หลวงวิ จ ตรวาทการ [ออนไลน์ ], เข้า ถึ งเมื่ อ 27 มกราคม 2555 เข้าถึ งได้จาก
http://www.kingramamusic.org/history/p6.htm

หลวงวิจิตรวาทการ เป็ นนักคิด นักพูด นักเขียนคนสําคัญของไทย มี ความรู ้ เชี่ ยวชาญ


ในศิลปะวิชาการทุกด้านทุกสาขา เช่น การทูต การเมือง การปกครอง การศึกษา ปรัชญา จิตวิทยา
ประวัติศาสตร์ สังคม ตลอดจนศิลปะ วรรณคดี และการละคร จนมีผลงานด้านวิชาการมากมาย
เป็ นผูแ้ ต่งหนังสื อ ประวัติศาสตร์ สากลทั้ง 5 เล่ม เป็ นผูป้ ระพันธ์คาํ ร้ องและทํานองเพลงปลุกใจ
ตื่ นเถิ ด ชาวไทย และต้น ตระกูลไทย เป็ นต้น นอกจากนี้ ยังแต่งบทละครอิ งประวัติศาสตร์ และ
เพลงประกอบละครไว้ห ลายเรื่ องและหลายเพลง เป็ นผูห้ นึ่ ง ที่ มี บทบาทสําคัญในการปลุ กเร้ า
ความรู ้สึกชาตินิยมในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็ นนายกรัฐมนตรี
“ข้าพเจ้าเป็ นชาตินิยมจริ ง ๆ ข้าพเจ้าเป็ นชาตินิยมมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ยังเป็ นชาตินิยม
เมื่อถูกจับขังฟ้ องร้องในตอนสิ้ นสุ ดสงครามโลกครั้งที่ 2 และยังเป็ นชาตินิยมอยูม่ าจนถึงทุกวันนี้
ไม่ มี โ ทษทัณ ฑ์ ห รื อวิ ถี ท างใด ๆ จะมาเปลี่ ย นข้า พเจ้า เป็ นอย่ า งอื่ น นอกจากชาติ นิ ย มได้ ”40
หลวงวิจิตรวาทการถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505)

40
หลวงวิจิตรวาทการ, รวมปาฐกถา (กรุ งเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, 2504), 233 กล่าวถึงใน ราม
วัช รประดิ ษ ฐ์ , “พัฒ นาการของประวัติ ศ าสตร์ ช าติ ใ นประเทศไทย พ.ศ. 2411-2478” (วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญา
มหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539), 203.
127

“ดอกฟ้ าจํา ปาศัก ดิ์ ” เป็ นการดํา เนิ น เรื่ อ งโดยย้อ นเวลากลับ ไปในช่ ว ง ค.ศ. 1819
(พ.ศ. 2362) ใช้นครจําปาศักดิ์ซ่ ึงในขณะนั้นเป็ นประเทศราชของไทยเป็ นฉากสําคัญ ตัวละครทุกตัว
เป็ นชาวจําปาศักดิ์ ดําเนินเรื่ องและเหตุการณ์ 7 ปี ก่อนเกิดสงครามเจ้าอนุวงศ์41
หลวงวิจิตรวาทการ ซึ่ งในขณะนั้นดํารงตําแหน่ งรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงต่างประเทศ
ได้แต่ง “ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์” ภายใต้บริ บททางการเมือง ภายหลังจากกองทัพไทยยึดนครจําปาศักดิ์
จากกรณี พิพาทกับอินโดจีน กลับมาได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ “ก่อนสงครามเอเชียบรู พาจะพรากจําปาศักดิ์
ออกจากไทยอี ก ครั้ ง” ตามสํา นวนชาติ นิ ย ม ที่ ส ามารถอธิ บ ายด้ว ยเพลงที่ ห ลวงวิ จิ ต รวาทการ
ได้ประพันธ์เนื้อร้องและทํานองเพลง นครจําปาศักดิ์ ดังนี้

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาเป็ งนที่รักของชาวไทย

นครจํ
า ปาศั
พลัดพรากจากไทยไป
ก ์
ดิ
อยูต่ ่างแดนเสี ยช้านาน
ไทยเฝ้ าคํานึง ไทยมุ่งรําพึง ระลึกถึงตลอดกาล
ฤกษ์งามยามดี ไทยเข้าโจมตี เหล่าร้ายไพรี แตกหนีแหลกลาญ
ธงไทย ธงไทย ปลิวโบกอยูใ่ น เขตแคว้นไพศาล
กองทัพเกรี ยงศักดิ์ (ชโย) ยกเข้าหาญหัก (ชโย)
ได้จาํ ปาศักดิ์ มาสมัครสมาน
พี่นอ้ งเลือดไทย ล้วนใจชื่นบาน
เทิดเกียรติทหารหาญ ของไทยยิง่ เอย42

หลวงวิจิตรวาทการ ใช้นวนิ ยายเรื่ องนี้ “บูชาความรัก ซึ่ งข้าพเจ้ามีอยู่ในจําปาศักดิ์ ในองค์


เจ้านครในพระประยูรญาติ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเจ้านายน้อย ๆ สององค์ ซึ่ งข้าพเจ้าเคยเลี้ยง
และรั กเหมือนลูกของข้าพเจ้าเอง ถ้าหากว่าเรื่ อง “ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์ ” ที่ได้อ่านนี้ มีโชคดีเล็ดลอด
เข้าไปถึงจําปาศักดิ์ได้ ก็ขอให้พี่นอ้ งจําปาศักดิ์ที่ได้อ่านทราบว่าข้าพเจ้าได้ฝากดวงใจไว้กบั ถ้อยคํา
ทุก ๆ คํา ที่เขียนเรื่ องนี้ และตลอดเวลาที่เขียน ข้าพเจ้ารู ้สึกเหมือนว่าได้อยูใ่ กล้ชิดกับชาวจําปาศักดิ์
ซึ่ งข้าพเจ้าถือว่าเป็ นเลือดเนื้ อของข้าพเจ้าเอง”43 การเขียนนวนิ ยายเรื่ องนี้ ของ หลวงวิจิตรวาทการ
แม้จะอธิบายว่าเขียนด้วยความรักในจําปาศักดิ์ แต่แอบแฝงนัยแห่งความภูมิใจ ในการที่เมืองจําปาศักดิ์
เคยเป็ นส่ วนหนึ่งของไทยมาก่อน และแม้แต่เจ้านายของจําปาศักดิ์กย็ งั มาเป็ น “ลูก” ของผูเ้ ขียน

41
ศึกษารายละเอียดทางประวัติศาสตร์กรณี สงครามเจ้าอนุวงศ์ใน บทที่ 2
42
พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ, ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์, พิมพ์ครั้งที่ 4 (กรุ งเทพฯ : สร้างสรรค์บุคส์, 2542), (13).
43
เรื่ องเดียวกัน, (12).
128

เหตุการณ์ สําคัญที่เกิ ดขึ้นในนวนิ ยายเรื่ องนี้ คือ กรณี ของ “สาเกี ยดโง้ง” ที่ถือเป็ น
ปฐมฤกษ์ของการก่อการ “สงครามเจ้าอนุวงศ์” “ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์” เป็ นนวนิ ยายอิงประวัติศาสตร์
เล่าถึง เจ้าหญิงสุ ดาดวง ธิ ดาของเจ้าผูค้ รองนครจําปาศักดิ์ที่พบรักกับชายสามัญอย่าง จงรัก สร้าง
ความผิดหวังให้กบั เจ้าชายพงศ์พิศาล นัดดาของเจ้านครพระคู่หมั้น จุดแตกหักของเจ้าหญิงสุ ดาดวง
กับเจ้าชายพงพิศาล คือความเห็นต่างต่อเหตุการณ์ที่มีพระอ้างตัวเป็ นผูว้ ิเศษ ชื่อ “อ้ายสา” รวบรวม
ผูค้ นเข้ายึดนครจําปาศักดิ์ เจ้าหญิงสุ ดาดวงคิดว่า จําปาศักดิ์ควรต่อสู ้เพื่อรอความช่วยเหลือจากไทย
ที่เป็ นเจ้าประเทศราช แต่เจ้าชายพงพิศาลมีความเห็นว่าจําปาศักดิ์ไม่ควรรอความช่วยเหลือจากไทย
เพราะกว่าทัพไทยจะยกมาช่วยต้องใช้เวลานานเนื่องจากต้องร้องขอผ่านไปนครราชสี มาแล้วจึงส่ งเรื่ อง

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ต่อไปถึงกรุ งเทพซึ่ งกินเวลานาน ควรขอความช่ วยเหลือจากเวียงจันทน์ซ่ ึ งอยู่ใกล้เมืองจําปาศักดิ์

มากกว่า สุ ดท้ายแล้วจําปาศักดิ์ตอ้ งแตกเพราะไม่สามารถต้านทัพของอ้ายสาที่มีมากกว่าหลายเท่าได้
สําเร็ จ ทัพจากเวียงจันทน์มาช่ วยเหลือตามคําสั่งของกรุ งเทพฯ และท้ายที่สุดด้วยความดี ที่ปราบ
“สาเกียด” ได้ เจ้าอนุ วงศ์แห่ งเวียงจันทน์ จึงกราบทูลมายังกรุ งเทพฯ ขอให้แต่งตั้งเจ้าโย่ราชบุตร
ขึ้นครองนครจําปาศักดิ์
ตัว ละคร ที่ ป รากฏในนวนิ ย ายเรื่ อ งนี้ สามารถแบ่ ง แยกได้ชัด เจนจากการเลื อ กฝ่ าย
กล่าวคือ นางเอกและพระเอก จะเข้าข้างไทย แต่ในขณะที่ตวั ร้ายของเรื่ องจะเลือกเข้าข้างเวียงจันทน์
และฝ่ ายญวน (เวียดนาม)
“เจ้า หญิ ง สุ ด าดวง” และ “จงรั ก ” นางเอกและพระเอกของเรื่ อ งเป็ นตัว แทนของ
หลวงวิจิตรวาทการ ในการวิพากษ์ประเด็นต่าง ๆ หลวงวิจิตรวาทการคิดเห็ นต่อเหตุการณ์ ทาง
ประวัติศาสตร์อย่างไรสามารถศึกษาได้จากทัศนะของตัวละครเอกในเรื่ อง ดังนี้
“วิธีการของญวนเป็ นวิธีฉวยโอกาสก่อให้เกิดความยุ่งยากให้พะว้าพะวัง ให้แดนลาว
ทั้งหลายแลเห็น ว่าไทยอ่อนกําลัง แดนลาวทั้งหมดจะได้หนั ไปหาญวน”44
“การที่ให้กองทัพเจ้าอนุมาช่วยกูน้ ครจําปาศักดิ์ครั้งนี้ เป็ นความคิดที่ผดิ มาก กองทัพไทยแท้ ๆ
มีถมไป ลําพังแต่กองทัพนครราชสี มากองทัพเดียว ก็สามารถเอาชนะได้ ถึงแม้กองทัพสาเกียดจะยัง
อยูใ่ นสภาพแข็งแรงที่สุด มีพลครบถ้วนแปดพันคน มีอาวุธพร้อมมูล ก็ไม่สามารถจะต่อต้านกองทัพ
นครราชสี มาเพียงกองทัพเดียว ไม่ควรจะต้องไปเอาทัพเวียงจันทน์มาด้วย”45

44
พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ,ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์, 103.
45
เรื่ องเดียวกัน, 104.
129

“ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์ ” มี กลิ่นไอแบบหลวงวิจิตรวาทการ นั้นคือเป็ นอีกหนึ่ งพื้นที่ที่ใช้


แสดงทัศนะวิพากษ์การเมืองในรู ปแบบของ “ไทย(เป็ น)ใหญ่”46 สิ่ งที่ช่วยยืนยันประเด็นนี้ คือการใช้
“ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์”เป็ นพื้นที่แสดงความคิดเห็นต่อ “พระเจ้าอนุวงศ์” และ “นครเวียงจันทน์” ดังนี้
“ในไม่ชา้ ทางกรุ งเทพฯ ก็จะทราบเองว่าคิดผิดไปและต้องเสี ยใจภายหลัง ชาวกรุ งเทพฯ
ไม่รู้จกั เจ้าอนุเพียงพอ แต่ชาวแม่น้ าํ โขงรู ้ดี ว่าคนคนนี้มีเล่ห์เหลี่ยมสูงพียงใด”47

เจ้าอนุ เป็ นคนรู ปร่ างสง่าผ่าเผยวงหน้าแสดงความฉลาด ดวงตาคม จ้องแทงเข้ามาในดวงตา


ผูท้ ี่แลสบ แม้อายุจะกว่า 50 แล้ว ก็ดูท่าทางยังแข็งแรงองอาจ กระดูกแก้มขึ้นสู ง คางใหญ่แสดงความ

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
เป็ นคนเจ้าทิ ฐิและเป็ นนักกลอุบาย ไม่ทาํ อะไรโดยปราศจากความมักใหญ่ ใฝ่ สู ง ริ มฝี ปากงอนขึ้ น


แสดงว่าเป็ นคนเปลี่ยนใจง่าย ถึงแม้จะมีแผนการใหญ่หลวงอะไรก็อาจจะท้อถอยหยุดเลิกโดยเร็ ว คนที่
มี ลกั ษณะอย่างนี้ จะทําการก้าวหน้าใหญ่ หลวง ก็แต่เมื่ อเป็ นโอกาสอํานวย เขาจะก้าวหน้าไปอย่าง
ไม่หยุดยั้งและไม่มีขอบเขต แต่ถา้ ไปพบสิ่ งต้านทานหรื ออุปสรรคเข้าสักนิ ดเดียวจะหยุดยั้งท้อถ้อย
และเลิกล้มเสี ยง่าย ๆ เพราะไม่มีความเข้มแข็งพอที่ จะฝ่ าฟั นทําลายอุปสรรคอย่างนั้น เข้าหลักที่ ว่า
เป็ นคนมีทิฐิ แต่ไม่มีมานะ ถ้าเป็ นเรื่ องชิงไหวชิงพริ บ คนคนนี้ จะสามารถเอาชนะคนได้มาก ๆ แต่ถา้
เป็ นเรื่ องที่ตอ้ งต่อสู้กนั อย่างเผชิญหน้า หรื องัดข้อต่อกรกันอย่างจริ ง ๆ แล้ว คนคนนี้จะหนีมากกว่าสู้...
ฐานะของเจ้าอนุ เป็ นเหมือนสิ่ งก่อสร้างสู งใหญ่มหึ มา แต่ไม่มีรากฐาน ถ้าถูกผลักดันเข้าสักเล็กน้อย
ก็จะล้มราบลงไปทันที48

“ในที่สุดก็มาถึงเวียงจันทน์ ซึ่ งไม่ใช่เมืองสวรรค์อย่างที่พูดกันนักหนา สําหรับเจ้าหญิง


สุ ดาดวง ซึ่งเคยลงมากรุ งเทพ ฯ แล้ว เวียงจันทน์ไม่ได้ทาํ ให้เธอเกิดความตื่นเต้นแต่อย่างใด”49
นอกจากจะใช้แสดงทัศนะและวิพากษ์ตามทัศนะนักชาตินิยมแล้ว หลวงวิจิตรวาทการ
ยังสอดแทรกความรู ้เชิงวิชาการเพื่อเพิ่มความสมจริ งให้กบั นวนิยายโดยอ้างอิงจากพงศาวดารซึ่งถือ
ว่าเป็ นแหล่งรวบรวมข้อมูลที่มีความเชื่อถือในช่วงเวลานั้นอีกด้วย

46
“ไทย(เป็ น)ใหญ่” หมายถึง ความคิดตามลัทธิ ชาตินิยม ที่เห็น ว่าประเทศไทยเป็ นอาณาจักรที่เกรี ยง
ไกร เข้มแข็ง และมี อาํ นาจแข็งแกร่ ง จนบดบังอาณาเขตรอบข้าง ทุกเหตุการณ์ที่เกิ ดขึ้นมี เหตุผลและถูกเสมอ,
ผูว้ ิจยั .
47
พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ,ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์, 119.
48
เรื่ องเดียวกัน, 180 - 181.
49
เรื่ องเดียวกัน, 201.
130

เจ้าอนุ ให้เจ้าราชบุตรเป็ นผูค้ ุมทัพ เจ้าราชบุตรคนนี้ ก็มีชื่อแปลกประหลาด เขียนได้หลายอย่าง


อย่างหนึ่ งเขียนว่า “โย่” อีกอย่างหนึ่ งเขียนว่า “โย้” พระราชพงศาวดารฉบับหนึ่ งเขียนว่า เจ้าโย้ราชบุตร
อีกฉบับหนึ่ งเขี ยนว่า เจ้าโย่ราชบุตร อันที่ จริ งถูกทั้งสองอย่าง เพราะถ้าเราไปฟั งพวกเขาออกเสี ยง
เรี ยกชื่ อเจ้าองค์น้ ี เข้าแล้ว เราจะรู้สึกว่าเขียน “โย่” หรื อ “โย้” ก็ได้ เพราะสําเนี ยงที่เขาพูดนั้น เป็ นทั้ง
สองอย่าง จะใช้ไม้เอกหรื อไม้โทก็ถกู ทั้งนั้น50
มีเหตุการณ์อนั หนึ่ งเกิ ดขึ้นในกรุ งเทพ ฯ ซึ่ งเป็ นเรื่ องร้ายแรง... เหตุการณ์อนั นี้ ก็คืออหิ วาตกโรค
ซึ่ งได้เกิ ดขึ้นเป็ นครั้ งร้ ายแรงที่ สุดในประวัติการณ์ ไม่มีทางใดจะเล่าเรื่ องนี้ ได้ดีไปกว่า ที่ จะคัดเอา
ข้อความตอนหนึ่งในพระราชพงศวดาร มาไว้ดงั ต่อไปนี้ เมื่อเดือน 7 ปี มะโรง โทศกนั้น อหิ วาตกโรค
หรื อที่เรี ยกในเวลานั้นว่า ไข้ป่วงใหญ่ เริ มมาเกิดขึ้นเป็ นคราวใหญ่ที่ผคู้ นเป็ นอันตรายมาก ในจดหมาย

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
เหตุเรื่ องเกิดอหิ วาตกโรคครั้งนั้น จดไว้วา่ เมื่อ ณ เดือน 7 ข้างขึ้น เวลายามเศษ ทางทิศพายัพแลเห็น


เหมือนแสงเพลิงติดในอากาศ เรี ยกว่าขุมเพลิง แต่น้ นั ก็เกิดไข้ป่วงใหญ่มาแต่ทางทะเล ไข้น้ นั เกิดมาแต่
เกาะหมากก่ อ น แล้ว ข้า มมาหั ว เมื อ งฝ่ ายตะวัน ตกติ ด ต่ อ ขึ้ น มาจนถึ ง ปากนํ้า เจ้าพระยา ชาวเมื อง
สมุทรปราการตายลงเป็ นอันมาก ราษฎรพากันอพยพหนี ความไข้ข้ ึ นมากรุ งเทพ ฯ บ้าง แยกย้ายไป
หัวเมืองอื่นบ้าง คนในกรุ งเทพ ฯ ก็เป็ นโรคป่ วงใหญ่ข้ ึนตั้งแต่ ณ วันเดือน 7 ขึ้น 6 คํ่า ไปถึงวันเพ็ญ
คนตายทั้งชายหญิง... อหิ วาตกโรคมีมากอยูป่ ระมาณ 15 วัน ถึง ณ วันเสาร์ เดือน 7 แรม 7 คํ่า โรคจึง
เสื่ อมถอยน้อยลงโดยลําดับ51

การใช้พงศวดารมาบรรยายเหตุการณ์ของหลวงวิจิตรวาทการ เป็ นการแทรกความรู ้เพิ่ม


ความสมจริ งให้กบั นวนิ ยาย จน “ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์” จนได้รับความนิ ยมอย่างแพร่ หลายถูกตีพิมพ์
ด้วยกันทั้งหมด สี่ ครั้ง ซึ่งถือเป็ นจํานวนที่มากเมื่อเทียบกับนวนิยายที่พิมพ์ในช่วงเวลาเดียวกัน
“ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์” ของ หลวงวิจิตรวาทการ เป็ นการเปิ ดศักราชนวนิ ยายที่ใช้ตวั ละคร
และการดําเนินเรื่ องที่ปรากฏตัวละครตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล้วนเป็ นทรัพยากรลาวอย่างสมบูรณ์
อี ก ทั้ง ตัว ผูป้ ระพัน ธ์ ย งั ถื อ ได้ว่ า ทรงอิ ท ธิ พ ลทางด้า นความคิ ด อย่า งสู ง ในช่ ว งเวลานั้น ผลงาน
ในรู ปแบบต่าง ๆ ของหลวงวิจิตรวาทการ ถูกใช้เป็ นเครื่ องมือในการสร้างชุดความคิดนิยมชาติดงั ที่
กล่าวถึงแล้วในบทที่ 2
“ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์” จึงถือเป็ นวรรณกรรมที่สร้างทัศนะคติต่อผูอ้ ่าน อันสะเทือนต่อรู ปแบบ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวในช่วงเวลาแรก ๆ ผลสะท้อนของนวนิ ยายเรื่ องนี้ คือการสร้างความ
เหลื่อมลํ้าให้เกิดขึ้นในมิติของ “ไทยใหญ่” ที่ใช้สายตานักชาตินิยมเป็ นผูป้ ระพันธ์

50
พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ,ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์, 106.
51
เรื่ องเดียวกัน, 120 - 121.
131

แต่ ปางก่อน
“แต่ปางก่อน”(1987) ของ แก้วเก้า เป็ นนามปากกาของ รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง
วินิตา ดิถียนต์52 เป็ นนวนิยายแนวย้อนยุค ช่วง ค.ศ. 1947 (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2) ที่เล่าย้อนกลับ
ไปยังจุ ดเริ่ มเรื่ องในช่ วงรั ชสมัยรั ชกาลที่ 6 อันเป็ นจุ ดเริ่ มต้นความรั กระหว่างหม่อมเจ้ารั งสิ ธร
บุตรชายคนเดียวของเสด็จในกรม ฯ ซึ่งได้พบรักกับเจ้านางม่านแก้ว เจ้านายจากลาว แต่ถูกกลั้นแกล้ง
จนเสี ยชีวิตในวันแต่งงาน

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

ภาพที่ 13 รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง วินิตา ดิถียนต์ เจ้าของนามปากกา “แก้วเก้า”กับผลงานเรื่ อง


“แต่ปางก่อน” ที่ใช้ประกอบการวิจยั
ที่มา : ณัฐกานต์, รศ.ดร.คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ เจ้าของนามปากกา “ว.วินิจฉัยกุล” [ออนไลน์],
เข้าถึงเมื่อ 27 มกราคม 2555. เข้าถึงได้จากhttp://www.ejobeasy.com/kmdetail.php?n=110602173843

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวใน “แต่ปางก่อน” ถูกกําหนดอยูใ่ นบริ บทที่ไม่เท่าเทียม


แม้ว่าตัวนางเอกซึ่ งเป็ นเจ้านายจากฝั่งลาวจะได้รับการยอมรับทั้งฐานะและความรู ้จากคนส่ วนใหญ่
ในวังของเสด็จในกรม ฯ

52
ศึ ก ษารายละเอี ย ดในส่ ว นของประวัติ รองศาสตราจารย์ ดร.คุ ณหญิ ง วิ นิ ตา ดิ ถี ยนต์ ในเรื่ อง
“ตามลมปลิว” ที่กล่าวถึงมาแล้วในข้างต้น
132

เจ้านางน้อยเป็ นธิ ดาเจ้านายจากฝั่งโขงโน้น เจ้าป้ าของเธอได้มาเป็ นเจ้าจอมที่เมืองไทย ชื่อว่าเจ้า


จอมบัวคํา... เจ้าจอมบัวคําประสงค์จะให้เจ้านางน้อยได้รับการศึกษาอย่างสมัยใหม่มากกว่าที่เคยได้
ศึกษามาที่วงั เดิม จึงฝากเจ้านางน้อยไว้กบั เจ้าจอมมารดาแส ประกอบกับเสด็จในกรมท่านไม่มีธิดาจึง
เอ็นดูเจ้านางน้อยมาก เจ้านางน้อยเป็ นหญิ งสาวที่ สวยงามมากและมี ความรู้ ดี สามารถพูดภาษา
ฝรั่ งเศสได้คล่องแคล่วตามที่ เคยเรี ยนมาก่ อน ต่อมาก็เรี ยนรู้ ภาษาอังกฤษได้อีก ภาษาหนึ่ ง จึ งวาง
พระทัยให้ทาํ หน้าที่เลขานุการช่วยค้นคว้าเรี ยบเรี ยงตําราต่าง ๆ มีงานการก็ให้ออกงานอย่างมีหน้ามีตา53

คําพูดจากฝ่ ายตรงข้ามที่เดียดฉันท์อย่าง “หม่อมพเยีย” หม่อมแม่ของหม่อมเจ้ารังสิ ธรที่


ไม่พอใจกับพฤติกรรมของบุตรชายคนเดียวที่มีใจให้เจ้านางจากลาว มักสะท้อนให้เห็นว่าลึกลงไปแล้ว

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ยังคงมีทศั นะที่ต่างชั้นระหว่างลาวและไทยเจือปนในสังคม

ฉันไม่เคยนิ ยมยินดีพวกลาวพวกกาว ถือเป็ นต่างชาติต่างภาษาไม่ควรมาปะปนในวัง ถึงจะอ้าง
ว่าเป็ นเจ้า ก็ไม่ใช่เจ้านายไทยจะได้กราบไหว้ได้สนิ ท54 และการเปรี ยบตัวเจ้านางเป็ น ดอกจําปาลาว
เมื่อมาปลูกในเมืองไทยคนไทยเขาไม่นิยม ถือเป็ นอัปมงคล ไม่ปลูกไว้ในบ้าน55

การใช้คาํ พูดเหน็บแนมจากตัวละครฝ่ ายตรงข้ามเป็ นการสะท้อนทัศนะมุมมองที่ยงั ฝังลง


ในความคิดของสังคมไทย ที่ยงั มีติดตัวอยูใ่ นบางกลุ่มคน “แต่ปางก่อน” จึงเป็ นวรรณกรรมประเภท
นวนิยายอีกเรื่ องหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าลึกลงไปแล้วความรู ้สึกต่อลาวยังมีมิติความต่างที่ไม่เท่าเทียม
ในรู ปแบบความสัมพันธ์สถิตอยูใ่ นสังคมไทย
สาปภูษา
“สาปภู ษ า” (2006) ของ พงศกร นามปากกาของ นายแพทย์พงศกร จิ นดาวัฒนะ56
เป็ นนวนิ ยายแนวลึ ก ลับ ย้อ นยุค ซึ่ ง ย้อนกลับ ไปช่ ว งสมัย แผ่น ดิ น ที่ สามของกรุ ง รั ตนโกสิ น ทร์
ตัวเอกของเรื่ อง คือเจ้าสี เกด เป็ นเจ้านางจากฝั่งลาวที่อพยพมาพร้อมกับเจ้านายอีกหลายพระองค์
สมัยสงครามเจ้าอนุ วงศ์ จนพบรักกับหม่อมทัด เจ้านายฝ่ ายไทย ความรักที่ไม่สมหวังทําให้เจ้านาง
ฝังความแค้นไว้กบั ผ้า จนกลับมาเป็ นจุดเริ่ มเรื่ องในปัจจุบนั

53
วินิตา ดิถียนต์ (แก้วเก้า), แต่ปางก่อน, พิมพ์ครั้งที่ 11 (กรุ งเทพ ฯ : สํานักพิมพ์ทรี บีส์, 2551), 57 – 58.
54
เรื่ องเดียวกัน, 64 – 65.
55
เรื่ องเดียวกัน, 143.
56
ศึกษารายละเอียดในส่ วนของประวัติ นายแพทย์พงศกร จิ นดาวัฒนะ ได้จากเรื่ อง “รอยไหม”
ที่กล่าวถึงแล้วในข้างต้น
133

ำ น ก
ั ห อ ส ม ุ ด ก ลา“พงศกร”
ง กับผลงานเรื่อง “สาปภูษา”

ภาพที่ 14 นายแพทย์พงศกร จิ น
ที่ใช้วิเคราะห์ประกอบการวิจยั
ดาวั
ฒ นะเจ้
า ของนามปากกา

ที่มา : เล่มโปรด [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 27 มกราคม 2555. เข้าถึงได้จากhttp://www.praphansarn.com


/new/c_link/detail.asp?ID=158

“สาปภูษา” สะท้อนแง่มุมความสัมพันธ์ไทยและลาวในฐานะไม่เท่าเทียมได้เด่ นชัด


อีกเรื่ องหนึ่ งเนื่ องจากช่ วงเวลาสมมติใน “สาปภูษา” เป็ นเหตุการณ์หลังสงครามเจ้าอนุ วงศ์ เนื้ อหา
กว่าสิ บหน้าเป็ นการใช้ขอ้ เท็จ จริ งทางประวัติศาสตร์ เป็ นตัว ดําเนิ นเรื่ องควบคู่ไ ปกับการเล่ าถึ ง
ความสัมพัน ธ์ของตัวละคร แสดงให้เห็ น ถึ งที่ มาและเป็ นการสร้ างความรู ้ สึกร่ ว มต่ อเหตุก ารณ์
ที่เกิดขึ้นจริ ง โดยเล่าให้เห็นพัฒนาการมาตั้งแต่ตน้ จนสิ้ นสงคราม

ลุถึงปี วอก พ.ศ.2367 ครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธเจ้าอยูห่ ัวของ


ชาวสยามเสด็จสวรรคตนั้น เจ้านางสี เกดเพิ่งอายุได้เพียงห้าปี มีเรื่ องเล่าลือกันใหญ่โตว่าเวียงจันทน์
จะกรี ฑาทัพเข้ายึดสยาม... ปี รุ่ งขึ้นปี ระกา พ.ศ. 2368 พระเจ้าอนุ วงศ์ ผูค้ รองอาณาจักรล้านช้าง
เวียงจันทน์กเ็ สด็จลงมาถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย... ลงมา
กรุ งเทพคราวนั้น มีคนลาวร้องเรี ยนมายังเจ้าอนุวงศ์วา่ ถูกขุนนางไทยกดขี่ข่มเหง จึงคิดขอพระราชทาน
ครัวชาวเวียงจันทน์ที่ถูกกองทัพไทยกวาดต้อนมาแต่แผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุ งธนบุรีกลับบ้านกลับ
เมือง กับคิดจะขอเอาครู ละครในราชสํานักสยามไปสอนนาฏศิลป์ ที่เมืองลาวบ้าง
หากพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ ัวทรงพิจารณาตรึ กตรองดูแล้วเห็นว่าไม่เป็ นการสมควร
จึงมิได้พระราชทานไปตามที่เจ้าอนุวงศ์ขอ ครั้นเสร็ จการพระบรมศพเจ้าอนุวงศ์กลับเมืองไป และ
เกิดความคิดก่อกบฏนับแต่บดั นั้น ลุถึงปี จอ พ.ศ. 2369 เจ้าสี เกดอายุได้เจ็ดปี ข่าวเล่าลือในเวียงจันทน์
ว่าสยามเกิดวิวาทกับอังกฤษด้วยเรื่ องสัญญาการค้าขายที่ตกลงกันไม่ได้ และกองทัพเรื ออังกฤษกําลัง
จะบุกเข้าโจมตีสยาม
134

เจ้าอนุ วงศ์เห็ น เป็ นโอกาสดี ด้วยสยามกําลังอ่อนแอ มัวเตรี ยมการศึ กกับอังกฤษ มิ ทนั ได้
ระวังเวียงจันทน์ จึงได้ส่ังการให้เจ้าครองนครจําปาศักดิ์ ซึ่ งเป็ นพระราชบุตรนามว่าโย้ ยกกองทัพ
ข้ามแม่น้ าํ โขงเข้ามาทางทิศตะวันออก เพื่อยึดเมืองอุบลราชธานี – ดอนมดแดง ทั้งยังสั่งให้เจ้าอุปราช
ติ ส สะ พระอนุ ช าเจ้ า อนุ ว งศ์ ผู้เ ป็ นพระเจ้ า ปู่ ของเจ้ า สี เกด คุ มกองทั พ เคลื่ อ นลงมาทาง
ตะวันออกเฉี ยงเหนือ เพื่อยึดร้อยเอ็ดและหัวเมืองแถบนั้น
กองทัพเวียงจันทน์ ทัพหน้า และทัพหลวง นัดหมายไปพบกันที่โคราชก่อนจะเคลื่อนเข้าตี
กรุ งเทพ ฯ ต่อไป ... วางแผนศึกเรี ยบร้อยยังไม่ทนั จะเคลื่อนทัพ ก็เกิดลางร้ายขึ้นเสี ยก่อน คืนก่อน
จะเคลื่อนทัพ เกิดมีลมพายุใหญ่พดั มาอย่างรุ นแรง จนทําให้ยอดหอพระบางหักกระเด็น นอกจากนี้
พายุยงั พัดพาให้เรื อนพักของสนมพระเจ้าอนุวงศ์บา้ นชาวเมืองเวียงจันทน์พงั ทลายไปหลายหลัง

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ครั้นพอถึงยามดึกราวสองยามของวันเดียวกันนั้น หม่อมมารดาของเจ้าสี เกดก็ปลุกบุตรสาว


ขึ้นมา แล้วชี้ ให้เจ้าองค์น้อยแหงนดูดวงดาวสี ส้มอมแดงขึ้นอยู่บนท้องฟ้ าข้างทักษิณด้วยท่าทาง
ปริ วติ ก... หากพระเจ้าอนุวงศ์กย็ งั คงมีพระบัญชาให้เคลื่อนทัพมุ่งหน้าสู่ กรุ งเทพฯ ตามแผนการเดิม
..กลายเป็ นว่ายังมิทนั จะเข้าตีกรุ งเทพฯ กองทัพพระเจ้าอนุ วงศ์ก็แตกเสี ยตั้งแต่ที่โคราชแล้ว
เจ้าอนุวงศ์ตอ้ งถอยหนีไปตั้งมัน่ อยูท่ ี่ช่องข้าวสาร เมื่อทัพหลวงกรุ งเทพ ฯ มาถึง กรมพระราชวังบวร
สถานมงคลก็มีพระราชบัณฑูรรับสั่งให้แบ่งทัพหน้าออกเป็ นทัพย่อยตามไปตีกระหนาบจนทัพของ
ฝ่ ายลาวแตกพ่าย เจ้าราชบุตร (โย้) ถูกจับตัวได้ ส่ วนเจ้าราชวงศ์ (เง่ า) นั้นเมื่ อค่ายแตกก็หนี ไป
สมทบกับพระเจ้าอนุวงศ์ผเู้ ป็ นบิดา จากนั้นพากันหนีไปต่อจนถึงญวน
กรมพระราชวัง บวรนั้น ยกทัพ ตามติ ด ไปจนถึ ง เมื อ งพัน พร้ า ว ใกล้กับ เมื อ งเวีย งจัน ทน์
หากไม่เสด็จเข้าเวียงจันทน์ เพียงมีรับสั่งให้พระยาสุ ภาวดีทาํ ลายเมืองเวียงจันทน์ให้สิ้นกับกวาดต้อน
เอาผูค้ นลงไปกรุ งเทพ ฯ เพื่อไม่ให้รวบรวมกําลังแล้วก่อกบฏได้ในอีกต่อไป
พระบิดาของสี เกดต้องปื นของกองทัพไทยสิ้ นชีพ... ทหารจากสยามที่เข้ามาในพระราชวัง
จึ งเห็ นเจ้าสี เกดดับมารดาหมอบราบอยู่กบั พื้น ตัวสั่นงันงกด้วยความหวาดกลัว ในเช้าวันต่อมา
พระบรมวงศานุวงศ์เวียงจันทน์ทุกพระองค์กถ็ กู เชิญให้เสด็จลงไปกรุ งเทพ ฯ พร้อมกองทัพ
เจ้า อุ ป ราชติ ส สะพระเจ้า ปู่ ของสี เ กดนั้น มิ ได้เ ห็ น กับ พระเจ้า อนุ วงศ์ต้ งั แต่ ค รั้ งแรกแล้ว
พอเหตุการณ์เป็ นเช่นนี้ จึ งยอมเข้าสวามิภกั ดิ์ กบั กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และตามเสด็จมา
เข้าเฝ้ าพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั
หลังจากเข้าเฝ้ า มีพระกรุ ณาโปรดเกล้า ฯ เจ้าติสสะให้ไปพํานักอยูท่ ี่วงั เจ้าลาว แถวบางยี่ขนั
อันเป็ นวังที่พระเจ้าอนุวงศ์และพระญาติเคยมาอยูก่ ่อน ส่ วนเจ้าสี เกดและพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน
องค์อื่น ๆ ก็โปรดให้เข้ามารับราชการอยูก่ บั เสด็จพระองค์หญิงซึ่ งมีเชื้อสายเวียงจันทน์พระองค์หนึ่ง
ลุถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2370 พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั เห็นว่าลาวเวียงจันทน์น้ นั
เคยเป็ นกบฏหลายครั้งหลายหน กับมักฉวยโอกาสใจไปเข้ากับญวนเสมอ ตัวเจ้าอนุวงศ์เองก็ยงั หลบหนี
จับตัวไม่ ได้ พระองค์ไม่ มีพระราชประสงค์ให้เมื องเวียงจันทน์ฟ้ื นตัวตั้งใหม่ ได้อีก จึ งโปรดให้
พระยาราชสุ ภาวดียกทัพกลับขึ้นไปอีกครั้งเพื่อทําลายเมืองกับกวาดต้อนครอบครัวลาวที่ยงั หลงเหลืออยู่
ลงมากรุ งเทพ ฯ
135

พอเดิ นทางไปถึ ง ทหารในกองทัพไทยกลับถูกเจ้าเมื องเวียงจันทน์จับตัวเอาโดยยําเกรง


สื บได้ความว่าเป็ นเพราะเจ้าเมืองญวนพาพระเจ้าอนุ วงศ์และเจ้าราชวงศ์ (เง่า) กลับคืนเวียงจันทน์
ชาวเมืองจึงฮึกเหิ ม เกิดการสู้รบขึ้น
แต่สุดท้ายแล้วฝ่ ายสยามมีชยั เจ้าอนุวงศ์เลยหนีกลับไปพึ่งบารมีญวนอีกครั้งหนึ่ง... เจ้าน้อย
เมืองพวนแท้จริ งเป็ นราชบุตรเขยของพระเจ้าอนุวงศ์ แต่เมื่อเห็นแสนยานุภาพของฝ่ ายกองทัพไทยแล้ว..
จึงยอมสวามิภกั ดิ์กบั พระยาราชสุ ภาวดีแล้วจับตัวเจ้าอนุวงศ์ส่งให้กองทัพที่ต้ งั รออยูน่ อกเมือง
ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2370 เจ้าสี เกดกับหม่อมมารดาออกไปรอรับเสด็จพระเจ้าอนุวงศ์ที่ท่าช้าง
ครั้นหม่อมมารดาของเจ้านางองค์นอ้ ย เห็นพระเจ้ามหาชี วิตที่เคยมีพระราชอํานาจคุม้ เกล้าคุม้ เกศ
ต้องถูกจองจําตีตรวนมาในกรงเหล็กพร้อมกับพระราชบุตรหมดสิ้ นสง่าไร้ราศี ก็ร้องไห้โฮ ซวนกาย
สิ้ นสติสมประดีไป
ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

พระเจ้าอนุวงศ์ถกู ใสกรงเหล็กตั้งประจานอยูห่ น้าพระที่นง่ั สุ ทไธสวรรค์เวลาคํ่าก็ถูกนําไปจํา
ขังไว้ ตรอมพระทัยอยูเ่ ช่นนี้เป็ นเวลา 7 วัน ก็ถึงแก่พิราลัย57

การเล่าถึงพัฒนาการของสงครามเจ้าอนุวงศ์ ตั้งแต่ชนวนเหตุจูงใจ จนกระทัง่ การก่อการ


วางแผน ไปจนถึ ง จุ ด สิ้ น สุ ด ของสงครามนั้น ทํา ให้ เ ห็ น ถึ ง พัฒ นาการของตัว ละครเอกอย่ า ง
“เจ้าสี เกด”ที่เป็ นเสมือนตัวแทนลาวในการรองรับภาวะอารมณ์ของคนไทย “ความโชคร้ายทั้งหมด
ของเจ้านางองค์นอ้ ยมีเพียงเกิดมาเป็ นลูกหลานของพระเจ้าเมืองลาวเท่านั้นเอง”58 “ดูอีลูกลาวหลาน
กบฏนั่นสิ สมวันนี้ คงลืมพกเอาห่ อข้าวเหนี ยวมากินด้วย จึงรี บดินจํ้ากลับวังเสี ยขนาดนั้น”59 และ
แม้แต่ด้านความรั ก “หม่อมเจ้าทัดชอบดอกลัน่ ทม ด้วยทั้งสวยทั้งหวาน เขาปรารถนาจะดอมดม
ดอกไม้กลีบบางให้ชื่นใจ ติดอยูต่ รงที่เป็ นดอกไม้ลาว กับชื่อลัน่ ทมที่ชาววังถือเป็ นอัปมงคล ลัน่ ทม
สําหรับชายหนุ่ ม จึงมีเพียงค่าแค่เด็ดดม มิใช่มาประดับเป็ นศรี แก่วงั ”60 ไม่เพียงแต่เฉพาะตัวบุคคล
ทัศนะด้านลบต่อลาวทั้งหมดก็มีให้เห็นในการวิพากษ์ถึงพฤติกรรมโดยรวมของชาวลาว “พวกที่ลง
มาจากทางเหนื อ ล้านนา ล้านช้าง ผูใ้ หญ่เคยเล่าว่า ลาวล้านช้างบางคน ถึงกับเลี้ยงผีเอาไว้ใช้ไปทํา
ร้ายผูอ้ ื่น”61
แม้ว่ารู ปแบบความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวมีหลายแง่มุมแต่ส่ิ งที่ถูกเน้นและตอกยํ้า
บ่อยครั้ง คือการนําเสนอรู ปแบบความสัมพันธ์ในรู ปแบบสงครามเพื่อระดมความรู ้สึกรักชาติให้กบั รัฐ
ในรู ปแบบของงานวรรณกรรมภาพลักษณ์ที่ตรึ งใจผูอ้ ่านคือความเหนื อจริ งของเหตุการณ์ ในกรณี ของ
57
พงศกร จินดาวัฒนะ (พงศกร), สาปภูษา, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์เพื่อนดี, 2552), 401 -406.
58
เรื่ องเดียวกัน, 406.
59
เรื่ องเดียวกัน, 407.
60
เรื่ องเดียวกัน, 419.
61
เรื่ องเดียวกัน, 383.
136

วรรณกรรมรู ปแบบลาวในฐานะตํ่ากว่าไทยนั้น ตัว ละครลาวที่ ปรากฏในวรรณกรรมมักได้รับ


การดู แ คลนในลักษณะคนต่ างถิ่ นที่ มีว ฒ ั นธรรมหรื อความเจริ ญที่ ต่ าํ กว่าไทย รู ปแบบที่ ปรากฏ
ในงานวรรณกรรมสอดคล้อ งกับ ข้อ เท็จ จริ ง ทางสัง คมที่ ป รากฏในช่ ว งเวลาต้น รั ต นโกสิ น ทร์
วรรณกรรมประเภทนวนิยาย เรื่ องดอกฟ้ าจําปาศักดิ์, แต่ปางก่อน และสาปภูษา สะท้อนภาพลักษณ์
ของอคติ ที่ ไ ทยมี ต่ อ ลาว อัน มี ผ ลมาจากการปลู ก ฝั ง ในแบบเรี ย นอย่า งยาวนานจนกลายเป็ น
ประวัติศาสตร์กระแสหลัก
เรี ยงลําดับปี ที่ตีพิมพ์ของวรรณกรรมประเภทนวนิยายที่นาํ มาวิเคราะห์ท้ งั 6 เรื่ อง จะพบว่า
ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์ เป็ นเรื่ องแรกในนวนิ ยายทั้งหมด ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์ ของ หลวงวิจิตรวาทการ

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
กล่าวได้ว่าเป็ นการนําลาว มาใช้เป็ นตัวละครสําคัญในการเล่าเรื่ องอย่างตรงไปตรงมา และ “ลาว”

ในนวนิ ยายของหลวงวิจิตรนี้ ได้สะท้อนทัศนะท่ามกลางสภาวการณ์ ในช่ วงเวลาที่ “ชาติ นิยม”
เบ่งบานในไทย ได้เป็ นอย่างดี
“ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์” ของหลวงวิจิตรวาทาการ จึงเป็ นแม่แบบการกําหนดความสัมพันธ์
ระหว่างไทยและลาว ในวรรณกรรมประเภทนวนิยายช่วงแรก ของนักประพันธ์ที่มีสายตาแห่งชาตินิยม
ที่ส่งผ่านความคิดไปยังผูอ้ ่าน และวรรณกรรมประเภทนวนิยายเล่มอื่น ๆ ในเวลาต่อมา
เมื่อบรรยากาศทางการเมืองระหว่างไทยและลาวเริ่ มคลี่คลาย การเดินทางท่องเที่ยวในลาว
ได้สร้างทัศนะใหม่ให้กบั ผูป้ ระพันธ์นิยายของไทยที่ต่างชื่นชมและหลงรัก กับความสงบเรี ยบง่าย
ในบรรยากาศแบบเก่าที่คงไว้ซ่ ึงความงาม ที่กรุ งเทพ ฯ ได้ละทิ้งไป กลายมาเป็ นนวนิยายเชิงท่องเที่ยว
ที่เน้นบรรยาย ภาพความสวยงามของลาว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความสัมพันธ์ในรู ปแบบ ลาวใน
ฐานะตํ่ากว่าไทย ยังคงพบในวรรณกรรมประเภทนวนิ ยายของไทยเช่นกัน ไทยถูกปลูกฝังจนเชื่ อ
อย่างฝังลึกว่า ไทยยิง่ ใหญ่และมีอิทธิพลเหนื อประเทศใกล้เคียงใด ๆ จนกลายเป็ นทัศนะเหยียดหยาม
และดูถูกจนเป็ นนิสยั เมื่อมองในมุมลาวจะพบว่าสายตาในเชิงนี้จะน้อยกว่ามาก
หนังสื อประกอบภาพของลาว เรื่ อง “บ๊อบในบางกอก” ของ ลุงชาช่ า นามปากกาของ
ชาช่า อาลิสัน อดีตนักจัดพิมพ์หนังสื อ นครบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริ กา จัดพิมพ์โดยแผนกศึกษา
ประจําแขวงหลวงพระบาง “เพื่อให้นกั เรี ยน นักศึกษา ชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ได้ชมใช้
..อ่านเพื่อขยายความรู ้”62
“บ็อบในบางกอก” เป็ นหนังสื อประกอบรู ปภาพที่มีภาษาอังกฤษ ควบคู่ไปกับภาษาลาว
ใช้กรุ งเทพ ฯ เป็ นฉากดําเนิ นเรื่ องอย่างตรงไปตรงมา โดยตัวเอกของเรื่ องเป็ นลิงชื่อ “บ๊อบ” ลิงที่อาศัย
ในป่ ามีความสุ ขดี แต่บางวันก็เบื่อ จนวันหนึ่ งได้มีหญิงสาวสองคนที่เดินเข้ามาในป่ าและพูดคุยกัน
เรื่ องกรุ งเทพ ฯ บ๊อบจึงอยากไปดูว่ากรุ งเทพ ฯ เป็ นเมืองแบบใด เมื่อไปถึงกรุ งเทพ ฯ ก็เกิ ดความ
62
ชาช่า อาลิสัน (ลุงชาช่า), บ๊อบในบางกอก (เวียงจันทน์ : ดอกเกด, 2006), คํานํา.
137

เข้าใจผิดเพราะต่างไปจากป่ าที่เคยอยู่ บ๊อบตื่นเต้นกับการดํารงชีวิตที่แตกต่างไป และเมื่อเที่ยวจนทัว่


แล้วก็ดินทางกลับบ้านเล่าการผจญภัยให้ครอบครัวฟัง
หนังสื อประกอบภาพนี้ เป็ นการเล่าเรื่ องการออกเดินทางของบ๊อบเพื่อไปพิสูจน์คาํ พูด
ที่ได้ยนิ ถึงกรุ งเทพ ฯ
“สาวใส่ เสื้ อแดงพูดว่า : “เจ้ารู ้บ่ แม่น้ าํ สายนี้ ไหลไปเถิงบางกอกพุน้ เด้อ, พี่ขอ้ ยจะพาข้อย
ไปบางกอกอาทิดหน้า.”
สาวใส่ เสื้ อสี แดงพูดว่า : “บางกอก! เจ้าบ่ยา้ นบ่? บางกอกใหย่ และอันตะลาย, ข้อยบ่มกั
บางกอก.”

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
สาวใส่ เสื้ อสี เขียวพูดว่า : “ข้อยเคยไปอยูบ่ างกอกมาแล้ว, มันใหย่ และตื่นเต้นดี, เจ้ายากได้

หยังก่ได้ในบางกอก, คักหลาย, ข้อยมักบางกอก.”63
ในสายตาของบ๊อบที่แรกเห็นบางกอกแตกต่างไปจากป่ าที่เคยอยู่ “เห็นว่าป่ าไม้ ต่างตาไป
เป็ นต้นไม้ปะหลาด ทังใหย่สูง เป็ นชงเลี่ยม...”64ความรู ้สึกแรกที่มีคือ “บางกอกใหย่ และตื่นเต้นดีแท้ ๆ
เจ้ายากได้หยังก่ได้ตามที่ตอ้ งกาน.. ข้อยมักบางกอก”65 เพราะสามารถหาของกินง่าย “ต้นไม้มีแต่
หมากไม้หน่วยใหย่ ๆ”66 แม้จะตื่นเต้นกับบางกอกแต่บอ๊ บก็เห็นว่า “บางกอกเป้ นตาย้าน และอันตะลาย”67
เพราะมี “ต้นไม้สูงคือพู, ช้างใหย่(รถ)และเสื อสี เขียว(มอเตอร์ไซต์)อยู”่ 68
ด้วยความที่ เคยชิ นกับการอยู่ป่า บ๊อบจึ งเข้าใจผิดว่าสามารถกิ นของต่าง ๆ ได้ฟรี ๆ
แบบในป่ า จึงกินผลไม้จากร้านค้าจนหมด จนเมื่อรู ้จากแม่คา้ ว่าต้องใช้เงินแลก “หมากไม้ยอ้ นใบ
สี่ เลี่ยมน้อย ๆ สองใบ”69 จึงช่วยแม่คา้ ขายของเป็ นการตอบแทนที่เคยกินผลไม้จนหมด และเดินทาง
กลับบ้านตามคําแนะนําของแม่คา้ “ คอบคัวของเจ้าคงจะคิดเถิงฮอดเจ้าหลาย,..เป้ นหยังเจ้าจึ่งบ่ไป
ยานคอบคัวของเจ้า? เจ้าสามาดกับมาหาข้อยอีกยามใดก่ได้ตามใจ”70
“บ๊อบในบางกอก” ใช้วิธีเล่าเรื่ องแบบให้คนอ่านคิดเอง ยกเหตุผลทั้งด้านดี และไม่ดี
ตามที่บ๊อบได้ยินผูห้ ญิงสองคนในป่ าคุย เปรี ยบเทียบกับที่บ๊อบไปบางกอกและเห็นเอง แต่หนังสื อ
ประกอบภาพของลาวนี้ ไม่ได้ให้ขอ้ สรุ ปชัดเจนแก่ผอู ้ ่านว่า บางกอกดีหรื อไม่ดี เพราะลงท้ายเรื่ อง
63
ชาช่า อาลิสัน (ลุงชาช่า), บ๊อบในบางกอก (เวียงจันทน์ : ดอกเกด, 2006), 5.
64
เรื่ องเดียวกัน, 8.
65
เรื่ องเดียวกัน, 12.
66
เรื่ องเดียวกัน, 11 - 12.
67
เรื่ องเดียวกัน, 16.
68
เรื่ องเดียวกัน, 1 - 17.
69
เรื่ องเดียวกัน, 22.
70
เรื่ องเดียวกัน, 28.
138

ด้วยความเห็นของพี่ชายบ๊อบหลังจากที่ได้ฟังบ๊อบเล่าเรื่ องบางกอกแล้วว่า “ข้อยยากไปเห้นต้นไม้ใหย่


เหล่านั้น ในมื้อใดมื้อหนึ่ ง แล้วข้อยจะบ่ยา้ นพวกเสื อ และช้าง,แต่ขอ้ ยบ่เชื่ อเกี่ ยวกับใบไม้สี่เลี่ยม,
บ่มีใผดอกจะโง่จา้ แบบนั้น”
2. สื่ อ : ผลสะท้ อนจากแบบเรียนทางประวัติศาสตร์
“สื่ อ” ตามความหมายของ พจนานุ กรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้
ความหมายของ สื่ อ (กริ ยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่ อความหมาย, ชักนําให้รู้จกั กัน สื่ อ(นาม)
หมายถึ ง ผูห้ รื อสิ่ งติดต่อให้ถึงกัน หรื อชักนําให้รู้จกั กัน แต่สําหรั บ“สื่ อ” ในหัวข้อวิจยั นี้ มีความ
หมายถึ ง “สื่ อ มวลชน” คื อ สื่ อ ที่ ใ ช้ใ นการนํา เสนอข่ า วสารใด ๆ ไปสู่ ป ระชาชนหรื อ มวลชน

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ประชาชนสามารถรับข่าวสารได้โดยการชม การดู หรื อการอ่าน ประเภทของสื่ อมวลชนได้แก่ วิทยุ


โทรทัศน์ หนังสื อพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ภาพยนตร์ และฯลฯ
จากผลงานวิจยั เรื่ อง ความสัมพันธ์ไทย – ลาว ในสายตาของคนลาว ปี ค.ศ. 2001 (พ.ศ. 2544)
พบว่า “พฤติ ก รรมบางอย่างของคนไทยที่ คนลาวถื อว่าไม่ เป็ นมิ ตร คื อ ไม่ จริ งใจในการปฏิ บตั ิ
ตามสั ญญา ชอบเอาเปรี ย บคนลาว คนไทยเคยปล้น สะดมพระแก้ว มรกต เผาผลาญลาว ขโมย
โบราณวัตถุทางศาสนา ชอบดูถูกลาว นักลงทุนไทยไปเอาคนลาวเป็ นเมียน้อย”71 และคนลาวคิดว่า
คนไทยดูถูกเขามากที่สุด โดยเปรี ยบเทียบกับหลายชาติที่ยกมาเป็ นตัวอย่างให้พิจารณา ได้แก่ อเมริ กา
จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น กัมพูชา และไทย คิดเป็ นร้อยละ 56 และเมื่อถามว่าคนไทยกลุ่มไหนที่เขารู ้สึกว่า
ชอบดูถูกคนลาวมากที่สุด ร้อยละ 40 ตอบว่า ศิลปิ น นักร้อง ดาราโทรทัศน์ รองลงมาคือ สื่ อมวลชนไทย
ร้อยละ 2772
ข้อ เท็จ จริ ง ทางประวัติ ศาสตร์ ที่ ลาวเคยตกอยู่ใ ต้อ าํ นาจของไทยประกอบกับ ความ
เจริ ญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของไทยที่มีมากกว่าลาวนั้น กลายเป็ นความหวาดระแวงที่ลาวกลัวโดน
ดูถูกและกลัวถูกเอาเปรี ยบจากไทย ยิ่งในปั จจุบนั ที่สื่อสารมวลชนไทยมีอิทธิ พลและมีอิสระในการ
กระจายข่ าวสารมากขึ้ น ประกอบกับ การนิ ย มบริ โ ภคข่ าวสารไทยจากฝั่ ง ลาว ยิ่ง ทํา ให้เ กิ ด การ
บาดหมางได้ง่าย การนําเสนอข่าวจากสื่ อไทยที่ขาดความรู ้หรื อยังไม่ตระหนักถึงความต่างทางพื้นฐาน
วัฒนธรรม มักกลายเป็ นปั ญหาให้กบั ความสัมพันธ์ไทยและลาวอยูเ่ สมอ ต่อกรณี น้ ี อดิศร เสนแย้ม
จากสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ยกกรณี หนังสื อ SPICY ที่บอกว่า ผูห้ ญิงสวย ภาษา
ลาวบอกว่า “สวยตายห่ า” ถ่ายรู ป บอกว่า “แหกตาสามัคคี” ซูเปอร์แมน เป็ น “บักอึดถลาลม” หรื อ

71
เขียน ธี ระวิทย์ และคณะ, ความสัมพันธ์ไทย – ลาว ในสายตาของคนลาว (กรุ งเทพฯ : โรงพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544), 28.
72
เรื่ องเดียวกัน, 57 – 63.
139

ไททานิก เรี ยกว่า “ชูร้ ักเรื อล่ม” ซึ่ งไม่เป็ นความจริ ง ไม่เคยมีคาํ แบบนี้ ในลาว ตรงนี้ เป็ นกรณี ต่าง ๆ
ที่ทาํ ให้คนลาวรู ้สึกไม่พอใจ73
กรณี คลิป “ล๊าว..ลาว” ที่นกั ศึกษาธรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ทําเป็ นรายงานส่ งอาจารย์เผยแพร่
ในเวบไซต์ยทู ูปเมื่อกลางเดือนมีนาคม ค.ศ. 2011 (พ.ศ.2554) จัดทําโดย น.ส.มุฑิตา เขียวหวาน
น.ส.วรรณดี วงศ์วฒ ุ ิวฒั น์ น.ส.นุสรา ช่วยปัญญา โดยมีอาจารย์ทรงยศ แววหงส์ เป็ นผูก้ าํ กับการเขียนเรื่ อง
คลิปอื้อฉาวยาวไม่ถึง 12 นาที เริ่ มต้นด้วยเสี ยงหญิงสาวพูดหยอกล้อกันเป็ นภาษาไทย และมี
ซับไตเติ้ลกํากับเช่นกันคําที่วา่ "อีลาว" "ลาว" "ลาวว่ะ" "โคตรลาว" หรื อ วลี "แต่งตัวล๊าวลาว.." ฯลฯ
ซึ่งหลายคนในคลิปกล่าวว่า เป็ นการเรี ยกผูท้ ี่ตนคิดว่าด้อยพัฒนาล้าหลังกว่า โดยมีเจตนานําเสนอ

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ปัญหาที่คนไทยจํานวนหนึ่ ง ใช้คาํ ว่า "ลาว" โดยไม่เหมาะสมและขาดความเคารพต่อประชาชนลาว


ซึ่ งทําให้ชาวลาวเป็ นเดือดเป็ นแค้น จนกระทัง่ หนุ่มนิ รนามรายหนึ่ งทําคลิปออกโต้กลุ่มนักศึกษา
ธรรมศาสตร์ ประณามด้วยถ้อยคํารุ นแรงถึงการกระทําของนักศึกษาธรรมศาสตร์กลุ่มนี้ และลงท้าย
คลิปด้วยคําด่าที่แสดงความคัง่ แค้นอย่างหนักต่อการกระทําของคนไทยทั้งหมดที่เคยพูดจาดูถูกคนลาว
เนื้ อหาคลิป TU 110 22010 หรื อ คลิป “ล๊าว..ลาว” ของนักศึกษาธรรมศาสตร์ ที่ถูก
เผยแพร่ ทางเวบไซต์ ยู ทู ป http://www.youtube.com/watch?v=051xU70-RgU&feature=related
มีความยาวคลิป 11 : 56 นาที

เริ่ มต้นด้วยเสี ยงพากย์ อี๋ !!!ลาว! ล๊าว ลาว ลาวจังเลย ทําหน้าลาวนะ แต่งตัวก็ลาวอะ
และเริ่ มต้นด้วยการตั้งคําถามว่า ทําไมต้องลาว? เคยว่าเพื่อนว่า “ลาว” ไหม ?
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 1 : ไม่เคยนะ เพราะเราไม่ชอบดูถูกเพื่อน
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 2 : ก็เคยนะ
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 3 : เด็ก ๆ เคยนะ ตอนนี้กย็ งั เด็กอยู่
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 4 : ก็เคยค่ะ เคยใช้คาํ ว่าลาว ในกรณี ที่เพื่อนทําอะไรที่แบบ เห่ ยมาก
ทําอะไรที่ไม่เข้ากับสไตล์ของเรา เราก็ด่ามันว่า อีลาว!!! อะไรงี้ แต่เดี๋ยวนี้ ก็ไม่ค่อยได้ใช้แล้ว เพราะ
มันซอฟต์ไปแล้ว ในความรู ้สึกของตัวเองมันซอฟต์ไปแล้ว เดี๋ยวนี้มีคาํ อื่นมาด่าเช่น อีโจ้ อะไรอย่างนี้
เป็ นต้น คําอื่นที่มนั ร้ายแรงกว่านี้ อาจจะไม่สามารถออกสื่ อได้นะคะ
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 5 : ตอนนี้ไม่ได้ใช้แล้วครับ แต่เมื่อก่อนเคยใช้ครับ
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 6 : เคยค่ะ
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 7: เคยเหมือนกันค่ะ

73
สุ ภตั รา ภูมิประภาส, ลาวมองไทย : วัยรุ่ นไทย “ควร” อ่านอย่างแรง!!! [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ
20 มกราคม 2555. เข้าถึงได้จาก http://www.obobza.com/forum/topic-16686-
140

ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 8: ไม่ค่อยได้ใช้นะคะ


และถามต่อ ด้วยคําถามว่า “เอามาจากไหนกัน ?”
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 1 : อาจจะเป็ นวิวฒั นาการทางภาษานะครับ เป็ นคําแสลง เป็ นภาษาแสลง
อย่างหนึ่งนะครับ ตอนนี้พอดีวา่ กําลังทํารายงานวิชาการเรื่ องคําแสลงอยู่ ก็เลยรู ้
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 2 : ก็ได้ยินตั้งแต่สมัยไหนต่อสมัยไหน แล้วก็รู้สึกว่ามันไว้สื่อถึงอะไรที่
เสี่ ยว ๆ ไม่ดี ๆ ก็เลยเอาไว้วา่ เพื่อน แต่วา่ ไม่ได้คิดว่าเป็ นคําว่าที่เจ็บ ว่าเล่น ๆ มากกว่า
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 3 : เป็ นมาตรฐานที่ใคร ๆ เขาก็รู้กนั ครับ เป็ น common sense
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 4 : ก็เพราะโดนเพื่อนว่ามาก่อน เหมือนเราแต่งตัวไม่ตามแฟชัน่ ไม่ตามเทรนด์

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
เราก็โดนเพื่อนว่า ถ้าวันไหนเรามีโอกาสเราก็วา่ เพื่อนคืน

ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 5 : อาจจะติดมาจากเพื่อน ๆ บ้าง จริ ง ๆ แล้วก็ไม่ควรไปว่าเขา เพราะเขา
มี 3G ใช้ แต่เราไม่มีใช้
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 6 : ได้ยนิ จากพี่ ๆ ที่อายุมากว่า เด็ก ๆ ด้วยกันที่อายุมากกว่า
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 7 : ได้ยนิ เขามา ตามกระแสอ่ะ
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 8 : จําเขามาอีกทีหนึ่งเหมือนกันค่ะ
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 9 :พ่อแม่กพ็ ดู พอเราโตก็ได้ยนิ มา เราก็เลยพูดตาม
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 10 : ได้ยนิ ตามละคร ตามหนัง เพื่อน ๆ ก็มีพดู กันด้วย
คําถามถามต่อว่า “พูดเพราะอะไรกัน”
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 1 : ก็อนั ดับแรกอาจจะเป็ นเพื่อสร้างความสัมพันธ์แบบสนุ กสนาน
หรื อไม่กท็ าํ เพื่อความสะใจของส่ วนตัว อะไรประมาณนี้นะครับ
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 2 : เพื่อนอาจจะทําตัวเปิ่ น ๆ แต่ถา้ มองในอีกแง่หนึ่งก็ไม่ได้เป็ นการดูถูก
เชื้อชาติเขา เหมือนกับเป็ นคําที่เข้าใจตรงกัน ไอ้ลาวหมายถึงไอ้เปิ่ น คนที่ทาํ อะไรไม่เข้าท่าประมาณนี้
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 3 : รู ้สึกว่ามันเป็ นคําที่ตรงดี ยังไม่มีคาํ ไหนที่สามารถสื่ อได้ตรงเท่ากับคํานี้
ก็เลยด่าไป
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 4 : เหมือนลาวยังเป็ นชาติที่ยงั ไม่พฒั นา เหมือนไปว่าเพื่อนว่าไม่ทนั สมัย
ไม่พฒั นา ประมาณนี้ แต่จริ ง ๆ เราก็ไม่ได้ต้ งั ใจดูถูกไรเขานะ
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 5 : มันอินเทรนด์น่ะครับ
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 6: มันอาจจะเป็ นลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งที่เพื่อนทําแล้ว เราเห็นว่า เห้ย
มันลาววะ เหมือนเป็ นคําพูดมากกว่าที่เราจะใส่ ใจรายละเอียดของคํา
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 7 : แกล้งเพื่อน หน้าเพื่อนเหมือนลาวมั้ง ไม่รู้ซิ ประมาณนั้นน่ะ
คําถามถามต่อว่า “ทําไมต้องคําว่า “ลาว”?
141

ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 1 : มันได้อารมณ์นะ แบบ “ลาวว่ะ” ใช่ปะ เห้ยแบบ “ลาวอี๊”


ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 2 : ก็มนั ออกเสี ยงง่ายดีนะ “ลาว”
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 3 : อย่างที่บอกไป เหมือนว่าลาวเป็ นประเทศที่ตอนนั้นยังไม่พฒั นา
แล้วตอนนั้นเราก็ยงั เด็กด้วยแหละ พูดไรไปเราก็ไม่ค่อยได้คิดไรมาก
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 4 : คือถ้ามองจากคนสมัยนั้น เขาก็คงมองว่าเป็ นประเทศที่ยงั ไม่พฒั นา
ก็เลยเอามาใช้ด่าคนที่แบบทําอะไรที่หลุดคอกไป
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 5 : ทําไมต้องใช้หรอ มันเป็ นคําติดปาก มันเป็ นคําที่เราใช้กนั ติดปากมากกว่า
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 6 : ก็ใช้หลาย ๆ คําเหมือนกันค่ะ อย่างพม่าไรก็ใช้

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 7 : ก็ไม่ดูแบบ ไม่ค่อยแรงไง ดูน่ารักดี

คําถามถามต่อว่า “รู ้สึกอะไรตอนพูด ?”
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 1 : รู ้สึกเหนือกว่านิด ๆ อ่ะ แต่ว่าในความคิดไม่ได้มองถึงในแง่เชื้อชาติว่า
เราไปว่าเขา แต่วา่ มันเป็ นสิ่ งที่ถึงแบบ “เฮ้ยแกแบบไม่ได้เรื่ องวะ” ทําอะไรที่คนอื่นเขาไม่ทาํ กัน
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 2 : รู ้สึกเราเหนือกว่านะ “ลาวอะ หล่อนไม่ไหวนะ” ตอนนั้นยอมรับว่า
เราไม่ไหวอ่ะ เราหยาบคายมาก
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 3 : ก็ไม่ได้คิดอะไร
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 4 : หยอกกับเพื่อนเฉย ๆ ว่าเพื่อนเฉย ๆ แต่ก็ไม่ได้คิดอะไร ไม่ได้จะดูถูก
อะไรเลย
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 5 : ก็ไม่ได้มีอะไรเป็ นพิเศษ คือเราก็พดู ไปไม่ได้คิดไรมาก ว่ามันแบบจะ
ส่ งผลกระทบต่อใครหรื อป่ าว
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 6 : ก็ไม่ได้ต้ งั ใจดูถูกคนลาวนะ ก็พดู กันเล่น ๆ เฉย ๆ
คําถามถามต่อว่า “เจตนาดูถูกคนลาวล่ะ ?”
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 1 : ถ้าในทางทัศนคตินะครับ ก็บางคนก็อาจจะไม่ได้คิด เพราะว่าเขา
ไม่ได้เจาะจงว่า เขาด่าว่าสัญชาติลาว มันเป็ นการเปลี่ยนความหมายของคําว่าลาว
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 2 : ถ้าเป็ นตอนนั้น ก็ยอมรั บว่าใช่ แต่ ว่าเดี๋ ย วนี้ เราก็เห็ น ว่าลาว
เขาพัฒนาขึ้นแล้วนะ จัดงานซีเกมส์ สนามกีฬาเขาก็เก๋ อยูน่ ะ เขาก็ได้รับความยอมรับขึ้นมาในระดับหนึ่ง
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 3 : ถ้าเมื่อก่อนก็คงใช่ครับ เป็ นการดูถูกใช่ครับ
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 4 : คือไม่ได้เจตนาดูถูกจริ ง ๆ นะครับจากใจ แค่ตอ้ งการใช้เล่นกับเพื่อนเฉย ๆ
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 5 : ไม่ได้ดูถูก ก็แค่แกล้งเล่นเฉย ๆ เขาพูดยังไงมาก็พดู ตามเขา เป็ นคนไม่คิด
อะไรมาก
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 6 : ไม่ ๆ เราไม่ได้คิดถึงประเด็นประเทศเพื่อนบ้านเลย
142

คําถามถามต่อว่า “คิดว่าลาวด้อยกว่าไทยไหม”
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 1 : ถ้าในแง่แบบเทคโนโลยีก็อาจจะไม่เท่าเรา แต่ถา้ ในแง่แบบจิตใจ
สถานที่ท่องเที่ยว วัฒนธรรมก็ไม่ได้ยง่ิ หย่อนไปมากกว่าเราเลย ไม่ได้ดอ้ ยกว่าเราเลย
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 2 : เขาอาจจะดั้งแนบกว่าป่ ะ นิ ดนึ งอ่ะ เขาอาจจะไม่คมเข้มอะไร
ประมาณนี้ แต่เรื่ องอื่นไม่รู้จริ ง ๆ เพราะว่าเราก็ไปตัดสิ นใครไม่ได้
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 3 : ก็ไม่นะ ถ้าไม่ถือว่าลัทธิ ชาตินิยมอะไรมากกว่า พี่คิดว่าประเทศไทย
ด้อยกว่าหลาย ๆ ประเทศเขานะ
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 4 : ตอนนี้ พี่ก็คิดว่าเขาด้อยกว่าเราอยู่นิดนึ ง แต่ว่าในอนาคต เขาคง

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ทัดเทียมเราแหละ ดูภาพรวม เศรษฐกิจอะไรแบบนี้กย็ งั ถือว่าเขาด้อยกว่าเราอยู่

ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 5 : ถ้าในปัจจุบนั มองในสภาพสังคมคิดว่าไม่ครับ เพราะว่าอย่างที่เห็นได้ชดั
คือเทคโนโลยีที่พฒั นาไปแล้ว 3G ซึ่งบ้านเราก็ไม่มีใช่ไหมครับ
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 6 : เดี๋ยวนี้มนั ก็ไม่ บางเรื่ องก็ดอ้ ย บางเรื่ องก็ไม่ หน้าตานี้ไม่ดอ้ ย
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 7 : ถ้าพูดตามความรู ้สึกของเรานะ ปั จจุบนั ประเทศเรายังดูดีกว่าประเทศลาว
เพราะว่า ทางด้านศักยภาพของคน เทคโนโลยีและภูมิประเทศ ประเทศไทยเราจะค่อนข้างดีกว่าค่ะ
แต่วา่ ถ้าบ้านเรายังอยูท่ ี่เดิม อีกไม่นานลาวก็จะขึ้นมาเท่าเทียมกับเรา
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 8 : เขาดูแบบ ดูดอ้ ยกว่าเรา ตํ่ากว่าเรานิ ดนึ ง ในแง่สังคม วัฒนธรรม
หน้าตา
คําถามถามต่อว่า “อยากฝากอะไรถึงคนลาวไหม ?”
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 1 : ก็อยากจะฝากถึงคนลาวทุก ๆ คน อย่าไปน้อยใจกับการที่คนบางคน
เอาคําว่าลาวไปด่าคนนู ้นคนนี้ แล้วสื่ อถึงความหมายในทางที่ไม่ดี มันไม่ทนั สมัย มันไม่โมเดริ์ น
คุณค่าของเราอยูท่ ี่ตวั เองไม่ใช่คนพูดคําว่าลาวนะครับ ก็ตอ้ งฝาก แล้วอย่าไปใส่ ใจกับคําคํานั้น
ผูถ้ ูกสัมภาษณ์ 2 : ก็อยากบอกว่าอย่าทะเลาะกันเหมื อนเขมรนะคะ รั กกันไว้นะคะ
แล้วเจอกันค่ะ
เมื่ อคลิ ปทําการสัมภาษณ์ สอบถามความคิ ดเห็ นจากนักศึ กษาธรรมศาสตร์ แล้ว ทาง
ผูจ้ ดั ทําคลิปได้ต้ งั คําถามสอบถามกับคนลาวชายและหญิงที่เข้ามาทํางานในประเทศไทย “คนลาว
รู ้สึกยังไง”
คําถาม : “พี่เคยได้ยนิ คนไทยว่ากันโดยใช้คาํ ว่าลาวไหมคะ”
ชายลาว : “เคยครับ”
คําถาม : “พี่รู้สึกยังไงคะ”
143

ชายลาว : “ก็รู้สึกเสี ยใจครับ ความจริ งแล้วเขาไม่น่าจะพูดอย่างนี้ เลย เพราะว่าคําอื่นก็มี


เยอะแยะ ทําไมเขาไม่ไปใช้กนั ทําไมต้องบอกว่าลาวด้วย อะไรอย่างงี้ครับ”
หญิงลาว : “ไม่น่าจะเอาลาวไปเปรี ยบเทียบกับไทย การเปรี ยบเทียบมันเหมือนลาว
ด้อยกว่าไทย ในความรู ้สึกว่ามันไม่ดี ถ้าเอาเราไปเปรี ยบเทียบอย่างนั้น มันรู ้สึกไม่ดี มันรู ้สึกไม่ดี
แล้วอยากให้วยั รุ่ นทุกคนเข้าใจว่า ถึงจะเป็ นลาวหรื อเป็ นไทยก็แล้วแต่ ก็มีจิตใจเดียวกัน เป็ นมนุษย์
เหมือนกัน อยากให้เคารพตรงนี้ดว้ ย”
คําถาม : “พี่เคยโดนดูถูกไหมคะว่าเป็ นคนลาว”
ชายลาว : “ก็เคยครับ อยูท่ ี่โรงงาน”

น ก
ั ห อ ส
หญิงลาว : “ก็พอมีบา้ งค่ะ”
ำ มุ ด ก ลาง

คําถาม : “เขาพูดประมาณไหนคะ”
ชายลาว : “เค้าบอกว่าทําอะไรก็เหมือนลาว แต่งตัวก็แต่งเหมือนลาว”
คําถาม : “เขาว่าพี่ประมาณไหน”
หญิงลาว : “เวลาเราทํางานถ้าเราทํางานดีกว่าเค้า เค้าก็จะบอกว่าดีขนาดไหนก็แล้วแต่
ก็เป็ นลาวอยูด่ ี ทํางานเก่งค่าแรงก็ไม่ได้เยอะเท่าคนไทยหรอก”
คําถาม : “พี่คิดว่าไทยกับลาวมีขอ้ แตกต่างกันตรงไหนคะ”
หญิงลาว : “ก็มีบา้ งอย่างการพัฒนา อย่างไทยก็เจริ ญใช่ม้ ยั แต่ประเทศลาวก็ยงั ไม่เจริ ญ
มากเท่าประเทศไทยซักเท่าไร แต่ว่าเดี๋ยวนี้ เราก็ ประเทศของเราก็เริ่ มพัฒนาเหมือนกับประเทศไทย
จะใกล้ ๆ ประเทศไทยแล้ว”
คําถาม : “คิดว่าคุณค่าความเป็ นคนระหว่างคนไทยกับคนลาวต่างกันไหมคะ”
หญิงลาว : “ถ้าถามว่าความเป็ นคน ระหว่างคนไทยกับคนลาวเนี้ย คิดว่าเท่าเทียมกันนะคะ
เพราะต่างคน ก็เป็ นคนเหมือนกันใช่ม้ ยั คะ”
ชายลาว : “ก็เท่ากันน่ะครับ ก็มีความเท่าเทียมกัน”
คําถาม : “คิดว่าคนไทยกับคนลาวไม่ต่างกันใช่ไหมคะ”
ชายลาว : “ครับผม ไม่แตกต่างกัน”
คําถาม : “อยากฝากอะไรหน่อยไหมคะ ?”
หญิงลาว : “ก็อยากฝากว่า ถึงจะเป็ นลาวหรื อไทยก็ขอให้รักกันนะคะ ยังไงเราก็เป็ นพี่
น้องกันนะคะ”
144

ดังที่กล่าวมาแล้วว่าเมื่อมีการเผยแพร่ คลิป ล๊าว..ลาว ของนักศึกษาธรรมศาสตร์ ก็ได้เกิด


การเผยแพร่ คลิปของชาวลาวเพื่อแสดงความไม่พอใจตอบโต้ต่อคลิปดังกล่าว โดยเผยแพร่ เป็ นคลิป
คนลาวด่ าไทย จาก http://www.youtube.com/watch?v=Nrsua8x4UlM&feature=related ความยาว
คลิป 1 : 38 นาที

“หลังจากที่ได้เบิ่งวีดีโอยูทูปแล้วก็เฟสบุค๊ ที่หมู่ลายคนได้เอามาโพสท์ลงหรื อว่าคอมเมน


รู ปอีย้งั ต่าง ๆอยูใ่ นไฮไฟว์ หรื อเฟสบุ๊คที่คนไทยมาดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยามคนลาวเฮา เห็นแล้วก็อด
ใจบ่ได้ ก็เลยออกมาเฮ็ดวีดีโอนี้ ออกมา อยากบอกว่าสิ่ งที่พวกคนไทยเว้า เค้าบ่คึดไส้เลยว่า สันดาน

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
และกําพืดของเค้ามันตํ่ากว่าคนลาวซํ่าได้ ที่ออกมาเว้าจังซั้นทําจังซั้น แล้วตัว๋ เองก็ยงั มีหน้าเว้าว่าเป็ น


ประเทศที่เจริ ญกว่า หรื อว่ามีอีหยัง่ ที่ล้ าํ หน้ากว่า แล้วยังมาเฮ็ดตัวตํ่า ๆ แบบบ่มีการศึกษา บ่น่าเลย
ที่มีเฮ็ดจังซี้ คึดแล้วสมเพชตัวเองซํ้า ถ้าพวกคนไทยหรื อว่าคนอีสานผูใ้ ดได้เบิ่งวีดีโอนี้ ก็อยากให้
เอาไปบอกกับพวกคนไทยว่า สันดานของข้าเจ้าหรื อว่าความชัว่ ของข้าเจ้าหรื อว่าอีย้งั ตํ่ากว่าคนลาวหลาย
เพราะว่าคนลาวบ่เคยไปเว้าหรื อเฮ็ดอีย้งั ใส่ ใครคือกับคนไทยจังซี้ เป็ นต้นแม่นเรื่ อง เขมร เว้าเรื่ อง
ใหญ่ ๆ คือว่าเรื่ องน้อย ๆ เป็ นต้นแม่นว่าด่า เสี ยดสี ดูถูกคนลาวตามวีดีโอ มิวสิ ค เพลง หนัง รู ปภาพ
อยูเ่ วบไซต์ต่างๆ บ่วา่ เป็ น เฟสบุค๊ หรื อไฮไฟว์ เหี้ ยสุ ดๆเลย พวกเหี้ ยเอ๊ย หมาสี้ แม่สู”

จากกรณี การตอบโต้ระหว่าง คลิปดังกล่าว นายปริ ญญา เทวานฤมิตรากุล รองอธิการบดี


ฝ่ ายกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นาํ หนังสื อของ ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี
ธรรมศาสตร์ ไปมอบให้แก่ นายอ้วน พมมะจัก เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน
ลาวประจําประเทศ ในวันศุกร์ 25 มีนาคม ค.ศ. 2011 (พ.ศ.2554) แสดงการขอโทษต่อชาวลาว
โดยชี้แจงว่าคลิปมีเจตนาดี แต่ยอมรับว่าวิธีนาํ เสนอไม่เหมาะสม “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงขออภัย
ประชาชนลาวที่นกั ศึกษาของมหาวิทยาลัยได้กระทําในสิ่ งที่กระทบต่อความรู ้สึกของประชาชนลาว
และจะได้ดาํ เนินการตักเตือนนักศึกษาโดยจะไม่ให้เกิดปัญหานี้อีกในอนาคต”74
การกระทบกระทัง่ กันเป็ นเรื่ องธรรมดาของผูท้ ี่ อยู่ใกล้ชิดกัน และยิ่งมี พ้ืนฐานภาษา
ที่ใกล้เคียงกัน สามารถเข้าใจกันได้ง่ายโดยไม่ตอ้ งผ่านคนกลางแปล ในแง่น้ ี มีท้ งั ข้อดี และข้อเสี ย
ข้อเสี ยคือการผิดใจกันโดยง่ายซึ่ งอาจเป็ นชนวนขัดแย้งนําไปสู่ ความไม่เข้าใจกันในระดับมหภาค
ปั ญหาในด้านนี้ ปรากฏอยู่บ่อยครั้งในการแสดงออกทางคําพูด การพาดหัวข่าวของสื่ อมวลชนและ
มุขตลกต่าง ๆ ของนักแสดงที่แสดงออกถึงความไม่เท่าเทียมกัน และความคิดที่ว่าไทยเหนือกว่าลาว

74
junjeow@clipmass, ธรรมศาสตร์ ข อโทษคลิ ป “ล๊า ว..ลาว” หลัง โดนด่ า เจ็บ “สุ นัข เฮ็ด ..”
[ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2555. เข้าถึงได้จาก http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2109279
145

ซึ่ งกลายเป็ นปั ญ หาที่ เ ป็ นปมค้า งคาในเรื่ อ งของความสั ม พัน ธ์ ร ะหว่ า งประเทศไทยและลาว
ที่มีให้เห็นอยูบ่ ่อยครั้ง
หมากเตะโลกตะลึง ภาพยนตร์จากค่าย จีทีเอช มีกาํ หนดฉายในปี ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549)
คือผลสะท้อนหนึ่ งของความเปราะบางทางความสัมพันธ์ไทยและลาว เมื่อ นายเหี ยม พมมะจัน
เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิ ปไตยประชาชนลาวประจําประเทศไทย เกรงว่าจะเกิ ดความ
ไม่พอใจของชาวลาวเพราะตัวอย่างเนื้ อหาภาพยนตร์ ที่สื่อออกมาเกี่ยวข้องกับคนลาวและเหมือนเป็ น
การดูถูกลาว “ภาพที่ฉายออกมาไม่มีความจริ งโดยสิ้ นเชิง เนื่องจากนักฟุตบอลทีมชาติลาวไม่มีพฤติกรรม
ตามที่ปรากฏในหนัง ไม่ว่าจะเป็ นฉากที่ให้นกั ฟุตบอลย้อมผมเป็ นสี ทอง ชูใต้หว่างแขนให้เห็นขนสี ทอง

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ซึ่ งดูไม่งามตา ไม่สุภาพ และไม่เหมาะสม รวมทั้งฉากที่นกั กีฬาลาวอารมณ์ร้อนคนหนึ่ งปรี่ เข้าไป


เพื่อจะทําร้ายกรรมการหรื อว่าเล่นในสนามด้วยความรุ นแรงซึ่ งเป็ นการทําให้เสี ยภาพพจน์อย่างยิ่ง”
เพื่อไม่ให้เป็ นปั ญหาระหว่างประเทศผูผ้ ลิตต้องระงับการออกฉาย และทําการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาใหม่
โดยเปลี่ยนประเทศลาวในเรื่ อง ให้เป็ นประเทศสมมุติ ชื่อว่า “ราชรัฐอาวี” และเปลี่ยนชื่อภาพยนตร์
ใหม่เป็ น “หมากเตะรี เทิร์นส”
การกระทบทัง่ จากภาพยนตร์ หมากเตะโลกตะลึง ที่ได้รับการประท้วงนํามาสู่ ภาพยนตร์
ร่ ว มทุ นสร้ า งของเอกชนระหว่า งไทยและลาว เป็ นหนังไตรภาค เรื่ องสะบายดี หลวงพระบาง,
สะบายดีหลวงพระบาง 2 “ไม่มีคาํ ตอบจากปากเซ”, และสะบายดี วันวิวาห์ เพื่อสานสัมพันธ์อนั ดี
ระหว่างไทยและลาวให้แน่นแฟ้ น
“สะบายดี หลวงพะบาง” เป็ นภาพยนตร์ ร่วมทุนเพื่อเชื่ อมสัมพันธ์ระหว่างไทย-ลาว
ถือเป็ นหนังเอกชนเรื่ องแรกของวงการภาพยนตร์ลาวในรอบ 33 ปี กํากับโดย ศักดิ์ชาย ดีนาน และ
อนุสอน สิ ริสักดา จัดทําโดยบริ ษทั สปาต้า ครี เอทีฟ และบริ ษทั ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ บริ ษทั ลาวอาร์ต
มีเดีย
146

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

ภาพที่ 15 ภาพยนตร์เรื่ อง สะบายดีหลวงพระบาง, สะบายดีหลวงพระบาง 2 “ไม่มีคาํ ตอบจากปากเซ”


และสะบายดี วันวิวาห์ หนังร่ วมทุนสร้างระหว่างประเทศไทยและลาว

ลาวมีภาพยนตร์ที่สร้างปี ละประมาณ 10 เรื่ องเพื่อนําฉายในเมืองใหญ่ๆที่มีโรงหนัง คือ


เวียงจันทน์ ปากเซ สะวันนะเขต หลวงพระบาง กระทัง่ เมื่อเมื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ
ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518) การสร้างภาพยนตร์ ในประเทศลาวก็ยตุ ิลงไปเมื่อเข้าสู่ การปกครองในระบอบ
คอมมิวนิสต์ เพราะภาพยนตร์เป็ นสิ่ งฟุ่ มเฟื อยในชีวิตประจําวัน กระทัง่ เมื่อค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) ก็
มีภาพยนตร์ จากต่างประเทศเข้ามาฉายบ้าง ส่ วนใหญ่จากจีน เวียดนาม ตั้งแต่เปลี่ยนการปกครอง
วงการภาพยนตร์ของลาวมีการสร้างหนังเพียง 3 เรื่ อง ที่สร้างโดยรัฐบาลลาว คือ เสี ยงเพลงจากทุ่ง
ไหหิ น บัวแดง และ ขรัวพญาช้าง ที่รัฐบาลเวียดนามสนับสนุนด้านการเงิน“สบายดีหลวงพระบาง”
จึงเป็ นภาพยนตร์เรื่ องแรกของเอกชนที่ถ่ายทําในลาวในรอบ 35 ปี
นําแสดงโดย อนันดา เอเวอร์ร่ิ งแฮม จากไทยและนางเอก ชาวลาว อาลี่ คําลี่ พิลาวง จาก
ลาว ออกฉายในประเทศไทยและลาว วันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) ภาพยนตร์เรื่ องนี้
ถ่ายทําในเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และจําปาสัก เนื้ อเรื่ องเล่าถึง“สอน” ช่างภาพที่ถูกส่ งตัว
ไปถ่ายรู ปที่ประเทศลาว แบบไม่เต็มใจนัก ถึงแม้ว่าสอนจะมีเชื้อสายลาวอยูแ่ ต่ไม่มีขอ้ มูลและไม่เคย
ไปประเทศลาวเลยสักครั้ง จนมาถึงเมืองปากเซ เขาจ้างไกด์ที่ชื่อ “น้อย” พาเดินทางถ่ายรู ปในแถบ
ลาวใต้ แต่เนื่องจาก น้อย เพิ่งทํางานครั้งแรกจึงพาหลงไปตลอดทาง และสอนจําใจไปบ้านเก่าของพ่อ
147

ตามที่เคยสั่งไว้ เมื่อถึงสอนพบกับญาติที่ห่างไปหลายสิ บปี แต่ต่างจําเขาได้และได้รับการต้อนรับ


อย่างดี จนสอนเปลี่ยนความคิดว่าลาวก็คือบ้านหนึ่งของเขา
“สะบายดีหลวงพระบาง” เปิ ดฉากที่ปากเซ ทางใต้ของลาว ไปนํ้าตกหลี่ผ,ี คอนพะเพ็ง
และสี่ พนั ดอน จากนั้นก็เดิ นเรื่ องขึ้ นไปเวียงจันทน์ และไปจบที่ หลวงพระบาง เมื องมรดกโลก
เน้นความงดงามของสถานที่และประเพณี วฒั นธรรมที่คนไทยเรา “โหย หา” เพราะหาไม่ได้จากวิถีชีวิต
แบบเมือง นําเสนอวิถีชีวิตของคนลาว แง่มุม แนวคิด วัฒนธรรมที่เกิดจริ งในแบบลาว การนําเสนอ
ภาพข้างทางของประชาชนชาวลาวทําให้เห็นถึงความสงบแต่เป็ นสุ ข ที่แตกต่างออกไปจากสังคม
กรุ งเทพ ฯ

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
สะบายดีหลวงพระบาง 2 “ไม่มีคาํ ตอบจากปากเซ” “ปอ” ผูก้ าํ กับหนุ่มไทยที่ลม้ เหลวทั้ง

เรื่ องความรัก และการงาน กําลังอยูใ่ นช่วงตกอับ เขาจําใจเดินทางไปเมืองปากเซ เพื่อรับจ้างถ่ายภาพ
งานแต่งงาน ในงานนั้น เขาได้รู้จกั กับหญิงสาวชื่อ “สอนไพรวัลย์” สาวลาวที่ดูใสซื่อน่ารัก กลายเป็ น
แรงบันดาลใจทําให้ชายหนุ่มเขียนบทหนังเรื่ องใหม่
สะบายดีหลวงพระบาง 2 “ไม่มีคาํ ตอบจากปากเซ” ดําเนินฉากส่ วนใหญ่ในปากเซ ยังคง
เล่าถึงวิถีชีวิตที่เรี ยบง่ายของลาว มุมมองความน่ารักและงดงามที่ประทับใจคนกรุ งเทพ ฯ แต่ในมุม
กลับกันหนังเล่าถึงมุมมองของนางเอกที่มีต่อชาวเมืองว่าเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงและคาดเดายาก
และยังไม่สามารถเชื่ อได้ง่าย เป็ นทัศนะที่สะท้อนมุมมองเล็ก ๆ ในด้านความสัมพันธ์ไทยและลาว
ที่แอบแทรกไว้ในภาพยนตร์แนวท่องเที่ยวเรื่ องนี้
“สะบายดี วันวิวาห์ ” เล่าถึง “เชน”หนุ่ มไทย ทํางานเป็ นนักเขียนสกู๊ปให้กบั นิ ตยสาร
ชั้นนําฉบับหนึ่ง เชนเคยเดินทางมาทําข่าวที่ประเทศลาวเมื่อ 6 เดือนก่อน ในครั้งนั้นเขาได้รู้จกั กับ
“คํา” หญิงสาวชาวลาวที่เขารู ้สึกผูกพันและชอบพอกับเธอ เขาให้สัญญาว่าจะกลับมาเยือนที่นี่อีกครั้ง
เชน ทําตามคํามัน่ โดยไม่คาดคิดมาก่อนว่าการกลับมาเยือนครั้งนี้ จะทําให้เกิดเรื่ องราวโกลาหล
จนถึงขั้นต้องแต่งงานกับเธอ โดยที่ท้ งั เขาและเธอก็ยงั ไม่มนั่ ใจและไม่แน่ใจในงานแต่งงานครั้งนี้นกั
บทส่ งท้ายของภาพยนตร์ ไตรภาค "สะบายดี " นําเสนอแง่ มุมความแตกต่างทาง
วัฒนธรรมและวิถีชีวิตในหลาย ๆ ด้านของไทยและลาวทั้งความทันสมัยของคนเมืองซึ่งดูขดั แย้งกับ
ความงดงามและเรี ยบง่ายแบบดั้งเดิมของวิถีชีวิตชาว ช่วงเวลา 3 - 4 วันก่อนงานแต่งงาน ชายหนุ่มจาก
เมืองใหญ่ และหญิงสาวในเมืองเล็กที่มีวฒั นธรรมแวดล้อมแตกต่างกัน ทั้งคู่ตอ้ งเรี ยนรู ้และปรับตัว
ร่ วมกันเพื่อที่จะเริ่ มต้นชี วิตครอบครัวใหม่ ให้ได้ “ฝน” ตัวละครไทยเพื่อนสาวสมัยเรี ยนของเชน
เป็ นตัวละครที่ถ่ายทอดสายตาของชาวเมืองที่ประเมินค่าวิถีชีวิตแบบเรี ยบง่ายต่างไปจากสังคมเมือง
“ฝน”ยังเป็ นตัวละคร ที่ นาํ เสนอแง่มุมของเล่ห์เหลี่ยมชาวเมืองที่พร้อมเล่นงานกับความสัตย์ซื่อ
ของคนในเมืองเล็ก
148

หนังไตรภาค “สะบายดี ” ทําหน้าที่สานสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวได้อย่างดี เล่าถึง


ความงามแบบเรี ยบง่ ายของลาว และวิถีชี วิตที่ เรี ยบง่ าย ที่ กลายเป็ นเสน่ ห์ ชวนเดิ นทางไปสัมผัส
ในขณะเดี ยวกันก็แอบแทรกมุมมองที่ชาวลาวมีต่อไทย ผ่านตัวละครพระเอกทั้งในสามเรื่ อง จะมี
ลัก ษณะแบบนักท่ องเที่ ยวที่ ห ลงความงามในระยะเวลาอัน สั้นแต่ พอกลับไปเมื องไทยก็ ละทิ้ ง
ความรู ้สึกอย่างรวดเร็ ว จนกลายเป็ นความไม่ไว้วางใจเล็ก ๆ ในการสานสัมพันธ์ เพราะคาดเดายาก
และเปลี่ยนแปลงได้ง่าย
วรรณกรรมประเภทนวนิ ย าย ละคร ตลอดจน ภาพยนตร์ สะท้อ นทัศ นะรู ป แบบ
ความสัมพันธ์ไทยและลาวในมิติที่มีความเหลื่อมลํ้าทางความรู ้ สึก แม้จะมีความพยายามในการ

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
สร้างสรรค์มิติของสายสัมพันธ์อนั ดีในรู ปแบบความสัมพันธ์แต่ก็มกั จะพบว่า มักมีสอดแทรก เสี ยดสี

สังคมเมืองที่เปลี่ยนแปลงง่ายและเต็มไปด้วยความไม่วางใจอยู่เสมอ เหล่านี้ เป็ นการสะท้อนผลจาก
แบบเรี ยนที่ถ่ายทอดความคิดแบบซํ้าไปมาของความสัมพันธ์ในรู ปแบบสงคราม และฐานะความต่าง
ที่ไม่เท่าเทียม จนกลายเป็ นความรู ้สึกที่ฝังลึกลงในความคิดของคนส่ วนใหญ่ในสังคมอันมีผลสวนทาง
กับการขานรับเป็ นประชาคมอาเซี ยนในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ที่ “เชื่อมัน่ ในความจําเป็ นที่จะ
กระชับสายสัมพันธ์ที่มีอยูข่ องความเป็ นอันหนึ่ งอันเดียวกันในระดับภูมิภาค เพื่อบรรลุประชาคม
อาเซียนที่มีความเหนียวแน่นทางการเมือง การรวมตัวทางเศรษฐกิจ และมีความรับผิดชอบทางสังคม
เพื่อที่จะตอบสนองอย่างมีประสิ ทธิ ภาพต่อความท้าทายและโอกาสในปั จจุบนั และอนาคต”75 หากมี
ความสัมพัน ธ์ อนั ดี ก็จ ะนํา ไปสู่ ทิศทางที่ ดีในการร่ ว มมื อกัน ทางด้านเศรษฐกิ จ และโดยเฉพาะ
ในปั จจุ บนั ที่ เศรษฐกิ จเป็ นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ซึ่ งแน่ นอนว่ารวมไปถึงความ
คาดหวังในอัตราการเติบโตด้านการลงทุนของไทยในลาวด้วย
เมื่อวันพฤหัสที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) เวลา 17 : 04 น. สํานักข่าวไทย
รายงานข่าวว่า “ไทยมีมูลค่าการลงทุนในลาวเป็ นอันดับ 3 รองจากเวียดนามและจีน” ข่าวนี้ น่าตกใจ
เพราะหมายความว่าไทยเสี ยอันดับการค้าจากที่ เคยเป็ นผูค้ า้ อันดับหนึ่ งของลาว นับแต่ลาว
เปิ ดประเทศเป็ นต้นมาอย่างยาวนาน แต่ในที่สุดไทยก็ไม่สามารถรักษาอันดับผูค้ า้ และผูล้ งทุน
ที่เคยเป็ นอันดับหนึ่งได้ เพราะนับแต่จีนมีนโยบายขยายตัวด้านเศรษฐกิจ ใน ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552)
ได้ส่งผลโดยตรงต่อการลงทุนของไทยในลาว แต่กระนั้นก็ยงั พอเข้าใจได้ว่าเป็ นเพราะจีนมีเงินทุน
มหาศาล และเศรษฐกิจของประเทศไทยกําลังประสบปัญหา แต่ในปี นี้เองไทยกลายเป็ นผูค้ า้ อันดับสาม
เป็ นผูค้ า้ และลงทุนในลาวที่มาหลังเวียดนามและจีน

75
กระทรวงการต่างประเทศ, กฎบัตรอาเซี ยน [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก
http://www.mfa.go.th/web/1795
149

ผลที่ตามมาจากกรณี ศึกษานี้ มิได้สะท้อนเฉพาะประเด็นด้านเศรษฐกิจ หากแต่ยงั แสดง


ให้เห็นว่าในรู ปแบบความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวที่ผา่ นมาไม่สามารถสร้างความไว้ใจต่อกัน
ได้อย่างแท้จริ ง ลาวจึงยินดีอา้ แขนรับนักลงทุนชาติอื่นได้โดยไม่ไยดีไทยที่เข้าไปบุกเบิกตลาด
ก่อนชาติใด นี้ อาจเป็ นอีกผลสะท้อนหนึ่ งของการสร้างทัศนะจากแบบเรี ยน เพราะโดยพื้นฐาน
ไทยควรจะครองอันดับหนึ่ งในการลงทุนในลาว เนื่ องจากไทยครอบครองปั จจัยพื้นฐานทั้งในแง่
ของภูมิศาสตร์ ความใกล้เคียงทางภาษาและวัฒนธรรม ที่เป็ นปั จจัยสําคัญในด้านการลงทุน แต่ลาว
กลับไม่ได้สงวนพื้นที่ ทางเศรษฐกิ จไว้ให้กับไทยดังเช่ นมิ ตรประเทศที่ไว้ใจกันและใกล้ชิดกัน
พึงกระทําต่อกัน

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ในการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี ยน หรื อ AEC ที่จะมีผลบังคับใช้ใน ค.ศ. 2015

สํานักข่าวไทยรายงานว่า ไทยและลาวมีโครงการเร่ งพัฒนาเส้นทางเชื่ อมต่อชายแดนและขจัด
อุปสรรคทางการค้า เพื่อเตรี ยมพร้อมในการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี ยนในอีก 3 ปี ข้างหน้า
ซึ่ งหมายความว่าทั้งสองประเทศกําลังมุ่งหน้าพัฒนาด้านเศรษฐกิ จร่ วมกัน ต้องไม่ลืมว่า ลาว
มีทางเลือกอื่นด้วย ทั้งเวียดนามและจีนต่างรอที่จะขยายการลงทุนในลาว ประเทศที่ยงั อุดมไปด้วย
ทรัพยากรกรธรรมชาติที่น่าสนใจ และลาวเองก็มองว่าประเทศลาวคือทางเชื่อมสู่ ประเทศอื่น ๆ
ในภูมิภาค ยิง่ การคมนาคมสะดวกขึ้นทั้งทางถนนและระบบราง โอกาสของลาวย่อมมากขึ้น และโอกาส
ที่ประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ไทยจะเข้าไปลงทุนในลาวก็ยอ่ มเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ดังนั้น รัฐบาลและเอกชนไทยควรหันกลับมาพิจารณาปั ญหาและอุปสรรคที่จะส่ งผลต่อ
เศรษฐกิจการค้าและการลงทุนในลาวอย่างสําคัญคือ การทําความรู ้จกั กันในฐานะเพื่อนบ้านที่ดี
เป็ นมิตรและธํารงมิตรภาพกันมาอย่างยาวนาน แม้ว่าลาวจะเคยตกอยูใ่ นฐานะประเทศราชของไทย
หรื อเคยเกิดปั ญหาจนนํามาสู่ การสงครามระหว่างกัน แต่ก็เป็ นไปตามบริ บททางประวัติศาสตร์
ณ เวลานั้น แบบเรี ยนจึงควรจะเปลี่ยนภาพที่เน้นรู ปแบบความสัมพันธ์เชิ งสงครามมาเน้นมิตรภาพ
ระหว่างไทยและลาว และอธิ บายมูลเหตุของสงครามที่เกิดขึ้นจากมุมมองของทั้งสองฝ่ าย ทั้งนี้ เพราะ
บรรยากาศทางการเมืองที่เคยคุกรุ่ นในช่วงสมัยการสร้างชาติได้ผ่านพ้นมาสู่ ยุคแห่ งความร่ วมมือ
ทั้งด้านการค้าและเศรษฐกิจแล้ว “แบบเรี ยน” ในฐานะเครื่ องมือสร้ างคนของรัฐจึงไม่ควรเน้น
รู ปแบบเดิม รัฐควรใช้อาํ นาจที่เคยทําสําเร็ จเมื่อครั้งสร้างความรู ้สึกรักชาติในช่วงชาตินิยมมาเปลี่ยนเป็ น
การสร้างประวัติศาสตร์ความร่ วมมือระหว่างไทยและลาว มากกว่าการเน้นประวัติศาสตร์เชิงสงคราม
อย่างที่เป็ นอยู่
ดั ง ที่ ก ล่ า วมาแล้ว เสมอ ๆ ว่ า “แบบเรี ยน” ที่ ใ ช้ กั น ในปั จ จุ บ ัน มัก เน้ น รู ปแบบ
ความสัม พัน ธ์ ไ ทยและลาวเชิ ง สงคราม มากกว่าความสัมพัน ธ์ ใ นรู ปแบบการร่ ว มมื อ หรื อเป็ น
พันธมิตรกัน โดยเฉพาะกรณี สงครามเจ้าอนุวงศ์ ที่มกั กลายเป็ นจุดต่างทางประวัติศาสตร์ไทยและลาว
150

ปมปั ญหานี้ มกั ชัดเจนกว่ารู ปแบบความสัมพันธ์อนั ดีในทางประวัติศาสตร์ เช่นเดียวกับสถานการณ์


ปั จจุ บนั ที่ แม้ว่าจะมี ความพยายามในการนําเสนอรู ปแบบความสัมพันธ์ไทยและลาวในมิ ติของ
ความสัมพันธ์อนั ดีแบบเท่าเทียมจากภาครัฐและเอกชน แต่มิติของความสัมพันธ์ที่มกั ได้รับความสนใจ
และเด่ นชัดกว่ า จนกลายเป็ นปั ญ หาคื อ การนํา เสนอความสั ม พัน ธ์ ใ นรู ป แบบที่ เ หลื่ อ มลํ้า ทาง
ความรู ้สึก ทั้งนี้ อาจเป็ นเพราะความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ และความใกล้เคียงทางภาษาและวัฒนธรรม
จึงทําให้มีการคาดหวังว่าจะยอมรับกันได้อย่างเท่าเทียม และแบบเรี ยนก็สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า
ยังไม่เกิดความพยายามที่จะเข้าใจกันและกันจากมุมมองของฝ่ ายตรงกันข้าม

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

บทที่ 5
บทสรุ ป

วิ ท ยานิ พ นธ์ เ รื่ อ งนี้ เป็ นการศึ ก ษาการรั บ รู ้ ป ระวัติ ศ าสตร์ ค วามสั ม พัน ธ์ ไ ทย-ลาว :
ผ่านแบบเรี ยนประวัติศาสตร์ไทยและลาว ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 – 6 (ค.ศ. 1975 – 2009) ผลการศึกษา
พบว่า แบบเรี ยนของไทยและลาวมีพฒั นาการมาจากการสร้างประวัติศาสตร์ ชาตินิยม ซึ่ งส่ งผล
โดยตรงต่อรู ปแบบความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวจนถึงปั จจุบนั

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ในทุกสมัย มักถูกนํามาใช้เป็ นเครื่ องมือดําเนิ นกลไกแห่ งรัฐ


งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ในช่วงสร้างชาติก็เช่นกัน ถูกพัฒนาเพื่อประโยชน์ของรัฐในการสร้าง
ชุดความคิดให้กบั สังคม ความจําเป็ นในการสร้างชาติของไทยและลาวที่ต่างกันไปตามบริ บทแวดล้อม
กลายมาเป็ นอิทธิพลสําคัญต่อการเขียนประวัติศาสตร์ วัตถุดิบในการสร้างประวัติศาสตร์ ชาติของลาว
เน้นหนักในการให้ภาพของสงครามและการต่อสู ้ ส่ วนการสร้ างประวัติศาสตร์ ชาติของไทย คือ
การเล่าถึงความเกรี ยงไกรทั้งด้านอาณาเขตดินแดนตลอดจนอิทธิ พลที่แผ่ไปปกครองอาณาบริ เวณ
โดยรอบ อิทธิ พลของประวัติศาสตร์ ชาตินิยมหยัง่ รากแก้วเป็ นแม่แบบที่เติบใหญ่ท้ งั ในการสร้าง
ประวัติศาสตร์ ของไทยและลาว ถือเป็ นพิมพ์เขียวสําคัญให้กบั แบบเรี ยนของรัฐ ในฐานะเครื่ องมือ
กําหนดทิ ศทางความรู ้ แก่ สังคมที่ ผลิ ตซํ้าไปมาตามเจตนาสร้ างความรั กชาติ ให้ปรากฏแก่ ผูเ้ รี ยน
ของรัฐเป็ นสําคัญ
เป็ นที่ตระหนักกันดีวา่ ทุกยุคสมัยที่ผา่ นมาประวัติศาสตร์ถูกใช้เป็ นเครื่ องมือหล่อหลอม
ความคิดของประชาชนให้แก่รัฐผ่านพัฒนาการการกล่อมเกลาต่าง ๆ จนกลายมาเป็ น “แบบเรี ยน”
แม้ว่าปั จจุบนั ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชี ยตะวันออกเฉี ยงใต้ ซึ่ งรวมถึงไทยและลาวกําลังตื่นตัว
ในการร่ วมมือทางด้านการค้าและเศรษฐกิจ และการรวมตัวกันในกลุ่มประชาคมอาเซียน ประเทศต่าง ๆ
พยายามปลูกฝังคนของตนให้เห็นถึงข้อดีของการมีประเทศคู่คา้ และการเปิ ดกว้างร่ วมมือกับประเทศ
ร่ วมภูมิภาค มีการเตรี ยมพร้อมและทําความเข้าใจพื้นฐานกับประเทศภายในกลุ่มอาเซี ยน แต่ปัจจัยที่เป็ น
พื้นฐานของความรู ้ท้ งั หมดคือการทําความเข้าใจจุดเริ่ มแห่งความสัมพันธ์และพัฒนาการที่มีร่วมกันมา
ซึ่ งย่อมมีความสัมพันธ์และพัฒนาการร่ วมกันในหลายด้าน อย่างไรก็ดีแบบเรี ยนจากส่ วนกลาง
ของไทยและลาวยังคงเป็ นรู ปแบบเดิม คือเน้นเฉพาะประวัติศาสตร์ เชิงสงคราม ที่ให้ภาพของ “ผูแ้ พ้”
และ “ผูช้ นะ” เพื่อสร้างความรู ้สึกสํานึกรักชาติให้กบั คนในสังคมของตน
แบบเรี ยนประวัติศาสตร์ ลาวที่ อยู่ภายใต้การควบคุ มของพรรคประชาชนปฏิ วตั ิ ลาว
ก็ยงั คงเอกลักษณ์ เดิ มตลอด 20ปี คือการเน้นยํ้าแต่ภาพสงคราม และใช้ประโยชน์จากข้อเท็จจริ ง

151
152

ทางประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างความรู ้สึกเกลียดชังศัตรู ต่างชาติที่โหดร้าย เพื่อสร้างสํานึ กแห่ งชาติ


ร่ วมกันว่า “ศักดินาสยาม” เป็ นศัตรู ผรู ้ ุ กรานในแบบเรี ยนลาว
ในขณะเดียวกัน แบบเรี ยนไทยที่แม้จะมีการปรับปรุ งหลักสู ตรหลายครั้ง จนถึงหลักสู ตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ใช้ในปี ปั จจุบนั วิชาประวัติศาสตร์ ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม มีเพียงการปรับปรุ งเนื้ อหาบางเรื่ องที่ลา้ สมัยไม่ทนั เหตุการณ์ เพิ่มเติมเนื้ อหา
บางเรื่ องที่ เป็ นปั จจุ บนั ลงไปในแบบเรี ยน แต่เนื้ อหาด้านความสัมพันธ์ไทยกับลาวยังคงเป็ น
ประวัติศาสตร์เชิงสงคราม เน้น “ผูแ้ พ้” และ “ผูช้ นะ” เพื่อสร้างความรู ้สึกเหนือกว่าอยูเ่ หมือนเดิม
แบบเรี ยนไทยยังคงกล่าวถึงประเทศลาวในฐานะประเทศใต้ปกครอง เน้นยํ้าภาพของ

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
“ความเหนื อกว่า” ในฐานะประเทศเจ้าอาณานิคม ซึ่ งสวนทางกับนโยบายของรัฐในการเตรี ยมสร้าง

ความรู ้พ้ืนฐานเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนเพื่อการเตรี ยมพร้อมสําหรับผูเ้ รี ยน ขัดกับนโยบายส่ วนกลาง
ที่ตอ้ งการให้เกิดการร่ วมมือระหว่างภูมิภาคอาเซียนด้วยกัน
การเน้นสร้างภาพความร่ วมมือระหว่างภูมิภาคในปั จจุบนั ทําให้รัฐเร่ งให้ความรู ้เกี่ยวกับ
ประเทศในประชาคมอาเซียน แต่ละเลยความรู ้พ้ืนฐานเบื้องต้นว่าควรแก้ไขภาพของความสัมพันธ์
เชิงสงคราม
“แบบเรี ยน” จึ งยังคงเป็ นปั ญหาอันมีผลต่อพื้นฐานความรู ้ความเข้าใจที่กลายเป็ น
ทัศนคติในการดําเนิ นชี วิต ส่ งผลโดยตรงต่อรู ปแบบความสัมพันธ์ไทยและลาวอย่างหลีกเหลี่ยง
ไม่ได้
“แบบเรี ยน” ไทยและลาว เป็ นต้นแบบทางความคิดที่รัฐสร้างขึ้นให้กบั ผูเ้ รี ยน ความรู ้
ที่ได้จากแบบเรี ยนสร้างชุดความคิดชาตินิยมให้ผเู ้ รี ยนได้สาํ เร็ จ การกล่าวเนื้ อหาแบบซํ้าไปซํ้ามา
หลายรอบ กลายเป็ นการปลูกฝังความคิดแห่ งรัฐที่แทรกตัวลงในความรับรู ้ของผูค้ น จนท้ายที่สุด
แล้วความคิดรักชาติเหล่านั้นก็ได้ส่งผลต่อการดําเนิ นชี วิตที่กระทบต่อรู ปแบบความสัมพันธ์ไทย
และลาว ให้ความรู ้สึกความเหลื่อมลํ้าจากวิธีการนําเสนอข้อมูลในรู ปแบบต่าง ๆ ซึ่ งบ่อยครั้งที่
เกิดปรากฎการณ์สะท้อนกลับจากฝ่ ายลาวต่อการนําเสนอข้อมูลจากสื่ อต่าง ๆ ของไทย
ทั้งที่จริ งแล้วไทย – ลาว มีประวัติศาสตร์ ร่วมกันในมิติของความร่ วมมืออย่างยาวนาน
แต่ประวัติศาสตร์เชิงสงครามกลับเป็ นสิ่ งที่ถูกเน้นและยํ้าใน “แบบเรี ยน” มากกว่า โดยเฉพาะกรณี
สงครามเจ้าอนุวงศ์ ที่กลายเป็ นวิวาทะประจําที่ถูกผลิตซํ้าทุกยุคสมัยในแบบเรี ยนของไทยและลาว
ซึ่ งมีมุมมองการนําเสนอต่างกัน ส่ งผลต่อการรั บรู ้ และความรู ้ สึกของประชาชนทั้งสองชาติ
ที่แตกต่างกัน จนกลายเป็ นวาทกรรมที่ได้รับการกล่าวขานอยู่เสมอ และมีส่วนสําคัญในการทําให้
มิตรภาพไม่แนบแน่นเท่าที่ควร
153

เมื่อ วันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) เวลา 13:58 น.ผูว้ ิจยั ได้ต้ งั คําถามในเครื อข่าย
สังคมออนไลน์เฟสบุค๊ บนหน้าเพจของ สมาคมลาวเวียง (Laovien association) ว่า “ช่วยแสดงความ
คิดเห็นว่า แบบเรี ยนหรื อหนังสื อเรี ยนที่ใช้กนั อยู่ในปั จจุบนั มีส่วนในการสร้างทัศนคติดา้ น
ความสัมพันธ์ไทยและลาว หรื อไม่ อย่างไร” คําถามที่ผวู ้ ิจยั ตั้งไว้น้ ี เจ้าของหน้าเพจสมาคมลาวเวียง
เข้ามาตอบ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 2012 เวลา 19:10 น. ว่า“ประวัติศาสตร์เป็ นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
จริ งและก็ผา่ นมาแล้ว เราคงไม่สามารถกลับไปแก้ไขอะไรได้แล้ว เพียงแต่การเลือกเอาประวัติศาสตร์
มาพูด ต้องเอาออกมาให้หมดเปลือก ไม่ใช่วา่ จะเลือกเอาเฉพาะบางส่ วนที่ตนเองต้องการมานําเสนอ
เท่านั้น เพราะมันจะทําให้ผเู ้ รี ยนมีโลกทัศน์ที่แคบและขาดวุฒิภาวะในการเข้าใจโลก”

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
หลังจากนั้นได้มีผูเ้ ข้ามาแสดงความคิดเห็ นเพิ่มเติม ซึ่ งเป็ นไปในทิศทางที่ยงั คงเน้น

ให้เห็นถึงความเหลื่อมลํ้าของคนทั้งสองชาติเช่นเดิม Ford Thanakorn Pornrattanaphan ได้แสดง
ความคิดเห็นว่า “ประวัติของเราที่สอนกันมา ไม่เคยพูดความจริ งทั้งหมด บิดเบือน และไม่ยอมรับ
ข้อผิดพลาดของตัวเอง เลยทําให้คนรุ่ นใหม่ไม่คิดแก้ไข” Dongs Sakrapee ได้แสดงความคิดเห็นว่า
“แบบเรี ยนไทยเคยส่ งเสริ มความสัมพันธ์กบั ประเทศรอบ ๆ ด้วยหรอ !!! คิดว่าอวยประเทศตัวเอง
อย่างเดียว” แต่ละทัศนะล้วนแสดงถึงรู ปแบบการรับรู ้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวในทิศทางเดิม
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ผูต้ อบซึ่ งเป็ นสมาชิกของหน้าเพจของ สมาคมลาวเวียง ที่มีสมาชิกส่ วนใหญ่
เป็ นชาวลาว หรื อลูกครึ่ งลาวในประเทศไทย ยังคงมีความรับรู ้ประวัติศาสตร์ ระหว่างลาว – ไทย
ในด้าน “ผูแ้ พ้” “ผูช้ นะ” “ศัตรู ของชาติ” ตามแบบอิทธิพลของประวัติศาสตร์ชาตินิยมที่ยงั คงฝังรากลึก
ในแบบเรี ยน และยังคงเป็ นการตีกรอบตามประวัติศาสตร์ กระแสหลักที่อิงความรักชาติเป็ นสําคัญ
เช่นเดิม ซึ่งแสดงว่ารัฐทั้งไทยและลาวล้วนประสบความสําเร็ จในการสร้างประวัติศาสตร์ และกําหนด
ทิศทางเนื้อหาในแบบเรี ยนของทั้งสองชาติ ซึ่ งการกําหนดสาระเนื้ อหาของแบบเรี ยนเช่นนี้ คงใช้ได้ดี
ในเวลาและบริ บทที่ตอ้ งการสร้ างชาติ แต่ในปั จจุบนั นั้นเนื้ อหาที่เน้น “ความเหนื อกว่า” “ผูแ้ พ้”
“ผูช้ นะ” ย่อมทําให้เกิดปั ญหา และเป็ นอุปสรรคต่อความร่ วมมือระหว่างกัน
ความรู ้คือปั จจัยพื้นฐานที่สาํ คัญที่สุดในการดําเนินชีวิต “แบบเรี ยน” และ “ประวัติศาสตร์”
ต่างมีอาํ นาจในฐานะเครื่ องมือที่ทรงประสิ ทธิ ภาพในทุกยุคทุกสมัยของรัฐ ประเด็นที่น่าสนใจ
ที่ควรจะมีการศึกษาต่อจากงานวิจยั นี้ คือ รัฐควรจะสร้างหรื อพัฒนาชุ ดความคิดผ่านแบบเรี ยน
อย่างไรให้เหมาะสมต่อการสร้างความร่ วมมือให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริ ง ในภาวะที่สังคมกําลังเปิ ดตัว
เข้าสู่ สงั คมและเศรษฐกิจแห่งความร่ วมมือหรื อ ประชาคมอาเซียน
154

บรรณานุกรม
กรมวิชาการ. การจัดสาระการเรี ยนรู ้ กลุ่มสาระการเรี ยนรู ้สงั คมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 1 – 6 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุ งเทพฯ :
กรมวิชาการ, 2546.
กรมวิชาการ. กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสู ตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2544. กรุ งเทพฯ :
กรมวิชาการ, 2545.
กระทรวงศึกษาธิการ. ตัวชี้วดั และสาระการเรี ยนรู ้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรี ยนรู ้ สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุ งเทพฯ : ชุมนุม

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
สหกรณ์การเกษตรแห่ งประเทศไทย, 2551


_________. หลักสู ตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2518. กรุ งเทพฯ :
กระทรวงศึกษาธิการ, 2518
_________. หลักสู ตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524. กรุ งเทพฯ :
กระทรวงศึกษาธิการ, 2523
_________. หลักสู ตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521. กรุ งเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ,
2520.
กุสุมา รักษมณี , กรรณิ การ์ วิมลเกษม และ จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ, ผูแ้ ปล. นิทานลาวเรื่ อง นางตันไต.
กรุ งเทพฯ : โครงการแปลวรรณกรรมเพื่อนบ้าน, 2529.
แกรนท์ อีแวนส์. ประวัติศาสตร์สงั เขปประเทศลาว ประเทศกลางแผ่นดินใหญ่เอเชียอาคเนย์. แปลโดย
ดุษฎี เฮย์มอนด์. เชียงใหม่ : สํานักพิมพ์ซิลค์เวอร์ม, 2549.
ขุนวิจิตรมาตรา. หลักไทย. พิมพ์ครั้งที่ 7. พระนคร : รวมสาส์น, 2518.
เขียน ธีระวิทย์ และคณะ. ความสัมพันธ์ไทย – ลาวในสายตาของคนลาว : Thai – Lao relations in
laotion perspective. กรุ งเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.
จารุ วรรณ ธรรมวัตร. พงศาวดารแห่ งประเทศลาว คือ หลวงพระบาง, เวียงจันท์, เมืองพวน, และจําปาสัก.
มหาสารคาม : สถาบันวิจยั ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ
มหาสารคาม, ม.ป.พ..
จิตร ภูมิศกั ดิ์. ความเป็ นมาของคําสยาม ไทย ลาว และขอม. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุ งเทพฯ :
สํานักพิมพ์ศยาม, 2544.
ชาอวม, ไผเผง และ โสมอิม. ประวัติศาสตร์กมั พูชา แบบเรี ยนของเขมรที่เกี่ยวข้องกับไทย. แปลโดย
ศานติ ภักดีคาํ . สุ จิตต์ วงษ์เทศ, บรรณาธิการ. กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์มติชน, 2546.
155

ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์. “การเขียนประวัติศาสตร์ลาวในหนังสื อแบบเรี ยนลาว.” มนุษยศาสตร์และ


สังคมศาสตร์ 17,1 (ตุลาคม–ธันวาคม2542) : 33-42.
_________. ประวัติศาสตร์ลาวหลายมิติ. กรุ งเทพฯ : ด่านสุ ทธาการพิมพ์, 2548.
ดี. จี. อี. ฮอลล์. ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สุ วรรณภูมิ – อุษาคเนย์ภาคพิสดาร. เล่ม 2.
พิมพ์ครั้งที่ 3. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, บรรณาธิการ. กรุ งเทพฯ : มูลนิธิโครงการตํารา
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2549.
เติม วิภาคย์พจนกิจ. ประวัติศาสตร์ ลาว. กรุ งเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,
2530.

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ทวีศกั ดิ์ ล้อมลิ้ม และ ประทุมกุมาร. หนังสื อเรี ยนสาระการเรี ยนรู ้พ้นื ฐาน ประวัติศาสตร์


ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 ช่วงชั้นที่ 4 กลุ่มสาระการเรี ยนรู ้สงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ตามหลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุ งเทพฯ : วัฒนาพานิช, 2547.
_________. หนังสื อเรี ยนสาระการเรี ยนรู ้พ้ืนฐาน ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 ช่วงชั้นที่ 4
กลุ่มสาระการเรี ยนรู ้สงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุ งเทพฯ : วัฒนาพานิช, 2547.
ทรงคุณ จันทจร, ผูแ้ ปล. ประวัติศาสตร์ลาว (ดึกดําบรรพ์- ปั จจุบนั ). 2 เล่ม. มหาสารคาม :
สถาบันวิจยั ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน, 2551.
ทองสื บ ศุภะมาร์ค. พงศาวดารลาว. กรุ งเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, 2528.
ทิพากรวงศ์, เจ้าพระยา มหาโกษาธิบดี. พระราชพงศาวดารกรุ งรัตนโกสิ นทร์ รัชกาลที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุ งเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2538.
ธํารง บัวศรี . ทฤษฎีหลักสู ตร : การออกแบบและพัฒนา. กรุ งเทพ : สํานักพิมพ์พฒั นาศึกษา, 2542.
ธวัช ปุณโณฑก. พื้นเวียง : การศึกษาประวัติศาสตร์และวรรณกรรมอีสาน. กรุ งเทพฯ : สถาบัน
ไทยคดีศึกษา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2526.
นริ นทร์ พุดลา. แบบเรี ยนลาวในกระแสโลกาภิวตั น์. มปพ. มปป.
นิธิ เอียวศรี วงศ์. ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรี ยนและอนุสาวรี ย.์ กรุ งเทพฯ : มติชน, 2538.
_________. ปากไก่และใบเรื อ รวมความเรี ยงว่าด้วยวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
ต้นรัตนโกสิ นทร์. กรุ งเทพฯ : อมริ นทร์การพิมพ์, 2527.
บุนมี เทบสี เมือง. ความเป็ นมาของชนชาติลาว เล่ม 1 การตั้งถิ่นฐานและการสถาปนาอาณาจักร.
แปลโดย ไผท ภูธา . กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์สุขภาพใจ, 2553.
156

ปณิ ตา สระวาสี . การสร้างสํานึกความเป็ นชาติของรัฐบาลประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยผ่าน


แบบเรี ยนชั้นประถมศึกษา ตั้งแต่ ค.ศ. 1975 – 2000. กรุ งเทพฯ : สํานักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจยั , 2546
ประชุมพงศาวดาร เล่ม 1. (ประชุมพงศาวดารภาค 1 ตอนต้น). กรุ งเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา,
2506.
ประชุมพงศาวดาร เล่ม 2. (ประชุมพงศาวดารภาค 1 ตอนปลาย). กรุ งเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา,
2506.
ประชุมพงศาวดาร เล่ม 10. (ประชุมพงศาวดารภาค 10 และภาค 11 - 12). กรุ งเทพฯ : องค์การค้า
ของคุรุสภา, 2507.
ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

ประชุมพงศาวดาร เล่ม 43 (ประชุมพงศาวดารภาค 69 - 70) เรื่ องเกี่ยวกับกรุ งเก่าตอนที่ 1 เรื่ องเมือง
นครจําปาศักดิ์ และขุนบรมราชา. กรุ งเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2512.
ประชุมพงศาวดาร เล่ม 44. (ประชุมพงศาวดารภาค 70 ต่อ 71) เรื่ องเมืองนครจําปาศักดิ์ (ต่อ)
พงศาวดารละแวก. กรุ งเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2512.
ประทีป ชุมพล. พื้นเวียง วรรณกรรมแห่งการกดขี่. กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์อดีต, 2525.
พงศกร จินดาวัฒนะ (พงศกร). รอยไหม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุ งเทพ ฯ : บุค๊ พลับบิชชิ่ง , 2553.
_________. สาปภูษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์เพื่อนดี, 2552.
พิศพันธ์ เดชะคุปต์, พรทิพย์ ศิริสมบูรณ์เวช และ รัชนีกร หงส์มนัส, บรรณาธิการ. ประมวล
บทความเรื่ องหลักสู ตรและการพัฒนาหลักสูตรตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุ งเทพ :
โรงพิมพ์แห่ งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
ไพฑูรย์ มีกศุ ล และคณะ. หนังสื อเรี ยนสาระการเรี ยนรู ้พ้ืนฐาน ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1
ช่วงชั้นที่ 3 กลุ่มสาระการเรี ยนรู ้สงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุ งเทพฯ : วัฒนาพานิช, 2550.
_________. หนังสื อเรี ยนสาระการเรี ยนรู ้พ้ืนฐาน ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ช่วงชั้นที่ 4
กลุ่มสาระการเรี ยนรู ้สงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุ งเทพฯ : วัฒนาพานิช, 2550.
ไพฑูรย์ มีกศุ ล และ ทวีศกั ดิ์ ล้อมลิ้ม. หนังสื อเรี ยนสาระการเรี ยนรู ้พ้ืนฐาน ประวัติศาสตร์ ชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 2 ช่วงชั้นที่ 3 กลุ่มสาระการเรี ยนรู ้สงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ตามหลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุ งเทพฯ : วัฒนาพานิช, 2547.
157

ไพฑูรย์ มีกศุ ล และ ทวีศกั ดิ์ ล้อมลิ้ม. หนังสื อเรี ยนสาระการเรี ยนรู ้พ้ืนฐาน ประวัติศาสตร์ ชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 3 ช่วงชั้นที่ 3 กลุ่มสาระการเรี ยนรู ้สงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ตามหลักสู ตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุ งเทพฯ : วัฒนาพานิช, 2548.
ไพโรจน์รําลึก (อีสานปริ ทศั น์). กรุ งเทพฯ : ชมรมวรรณกรรมอีสานและคณาจารย์-นักศึกษา
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2532.
พระราชพงศาวดารกรุ งสยาม (จากต้นฉบับที่เป็ นสมบัติของบริ ติชมิวเซียมกรุ งลอนดอน). กรุ งเทพฯ
: ก้าวหน้า, 2507.
พระราชพงศาวดารกรุ งศรี อยุธยา ฉบับ พันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น ๆ. นนทบุรี : ศรี ปัญญา,
2553.
ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง

พระราชพงศาวดารกรุ งศรี อยุธยา ฉบับ หมอบรัดเล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุ งเทพฯ : โฆษิต, 2549.
พระราชพงศาวดารกรุ งศรี อยุธยา ฉบับ หลวงประเสริ ฐ และฉบับกรมพระปรมานุชิตฯ. กรุ งเทพฯ :
องค์การค้าคุรุสภา, 2504.
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุ งเทพฯ : สํานักวรรณกรรม
และประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2548.
มลิวลั ย์ แตงแก้วฟ้ า. สองศตวรรษบนเส้นทางการเมืองไทย. นครปฐม : คณะอักษรศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม, 2547.
มาร์ติน สจ๊วต – ฟอกซ์. ประวัติศาสตร์ลาว. แปลโดย จิราภรณ์ วิญญรัตน์. กาญจนี ละอองศรี และ
ปรี ยา แววหงส์, บรรณาธิการ. กรุ งเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์, 2553.
มิลตัน ออสบอร์น. สังเขปประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้. แปลโดย มัทนา เกษกมล และคณะ.
เชียงใหม่ : ตรัสวิน, 2544.
โรล็องด์ บาร์ตส์. มายาคติ Mythologies. พิมพ์ครั้งที่ 3. แปลโดย วรรณพิมล อังคศิริสรรพ. นพพร
ประชากุล, บรรณาธิการ. กรุ งเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2551.
วิจิตรวาทการ, หลวง. ประวัติศาสตร์สากล. เล่ม 1. พระนคร : โรงพิมพ์วิริยานุภาพ, 2473.
_________. ดอกฟ้ าจําปาศักดิ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุ งเทพฯ : สร้างสรรค์บุคส์, 2542.
วินิตา ดิถียนต์ (แก้วเก้า). แต่ปางก่อน. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุ งเทพ ฯ : สํานักพิมพ์ทรี บีส์, 2551.
_________ (ว. วินิจฉัยกุล). ตามลมปลิว. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุ งเทพ ฯ : สํานักพิมพ์ทรี บีส์, 2551.
วิรัช นิยมธรรม. คิดแบบพม่า ว่าด้วยชาติและวีรบุรุษในตําราเรี ยน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม, 2551.
158

วารุ ณี โอสถารมย์ และคณะ. ลาวฮูห้ ยัง-ไทยรู ้อะไร : วิเคราะห์แบบเรี ยนสังคมศึกษา.


กาญจนี ละอองศรี , บรรณาธิการ. กรุ งเทพฯ : โครงการอาณาบริ เวณศึกษา 5 ภูมิภาค,
2544.
สมชาย นิลอาธิ, ผูแ้ ปล. ประวัติศาสตร์ฉบับกระทรวงศึกษาธิการฯลาว. กรุ งเทพฯ : มติชน, 2545.
สมเกียรติ วันทะนะ. บทความประกอบการสัมมนากึ่งศตวรรษธรรมศาสตร์ : 2477 – 2527. สถาบัน
ไทยคดีศึกษา : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2527.
สันติสุข โสภณสิ ริ, ผูแ้ ปล. รวมเรื่ องสั้นเยาวชนลาวยุคใหม่. กรุ งเทพฯ : โครงการแปลวรรณกรรม
เพื่อนบ้าน, 2530.

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
สายชล สัตยานุรักษ์. ความเปลี่ยนแปลงในการสร้าง “ชาติไทย” และ “ความเป็ นไทย” โดย


หลวงวิจิตรวาทการ. กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์มติชน, 2545.
_________. สมเด็จฯกรมพระยาดํารงราชานุภาพ การสร้างอัตลักษณ์ “เมืองไทย” และ “ชั้น” ของ
ชาวสยาม. กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์มติชน, 2546.
สายพิณ แก้วงามประเสริ ฐ. การเมืองในอนุสาวรี ย ์ ท้าวสุ รนารี . กรุ งเทพฯ : มติชน, 2538.
สิ ลา วีระวงศ์. ประวัติศาสตร์ลาว. แปลโดย สมหมาย เปรมจิตต์. เชียงใหม่ : สถาบันวิจยั สังคม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2535.
________, พงศาวดารลาว. แปลโดย ทองสื บ ศุภะมาร์ค. กรุ งเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, 2528.
สุ จิตต์ วงษ์เทศ, บรรณาธิการ. นิราศทัพเวียงจันท์. กรุ งเทพฯ : มติชน, 2544.
_______. “พลังลาว” ชาวอีสานมาจากไหน. กรุ งเทพฯ : มติชน, 2549.
สุ เนตร ชุตินธรานนท์ และคณะ. ทัศนคติเหยียดหยามเพือ่ นบ้านผ่านแบบเรี ยนชาตินิยมในแบบเรี ยน
ชาตินิยมในแบบเรี ยนไทย. กรุ งเทพฯ : มติชน, 2552 .
สุ ภาพร คงศิริรัตน์. อัตลักษณ์ วิถีความคิดของคนไทยและคนลาวจากวรรณกรรมแบบเรี ยน.
พิษณุโลก : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2548.
สุ รศักดิ์ ศรี สาํ อาง. ลําดับกษัตริ ยล์ าว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุ งเทพฯ : สํานักโบราณคดีและ
พิพิธภัณฑสถานแห่ งชาติ กรมศิลปากร, 2545.
สุ วพงศ์ ดิษสถาพร (เจ้าสําราญ). ศรี สองรัก ภาค “สัญญาและสาบาน”. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุ งเทพ ฯ :
สํานักพิมพ์บา้ นวรรณกรรม, 2553.
_________. ศรี สองรัก 2 ภาค “สัจจะและไมตรี ”. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุ งเทพ ฯ : สํานักพิมพ์บา้ น
วรรณกรรม, 2553.
สุ วิทย์ ธีรศาศวัต. ความสัมพันธ์ไทย – ฝรั่งเศส ร.ศ. 112 – 126 การเสี ยดินแดนฝั่งขวาแม่น้ าํ โขง.
กรุ งเทพฯ : แสงรุ ้งการพิมพ์, 2523.
159

สุ วิทย์ ธีรศาศวัต. จักรวรรดินิยมเหนือแม่น้ าํ โขง. กรุ งเทพฯ : มติชน, 2552.


_________. ประวัติศาสตร์ลาว 1779 – 1975. กรุ งเทพฯ : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั สกว.
และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
เสฐียรโกเศศ. เรื่ องของชาติไทย. ธนบุรี : บรรณาคาร, 2515.
โสภา ชานะมูล. “ชาติไทย” ในทัศนะปัญญาชนหัวก้าวหน้า. กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์มติชน, 2550.
บุญช่วย ศรี สวัสดิ์. ราชอาณาจักรลาว.พิมพ์ครั้งที่ 2. อรรคภาค เล้าจินตนาศรี , บรรณาธิการ.
กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์ศยาม, 2547.
เบน แอนเดอร์สนั ชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกําเนิดและการแพร่ ขยายของชาตินิยม.

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, บรรณาธิการแปล. กรุ งเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตร์

และมนุษยศาสตร์, 2552.
อรรถจักร สัตยานุรักษ์. การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผูน้ าํ ไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึง
พุทธศักราช 2475. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่ งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2541.
อัจฉราพร กมุทพิสมัย. “แนวการเขียนประวัติศาสตร์ ของหลวงวิจิตรวาทการ.” ใน ประวัติศาสตร์
และนักประวัติศาสตร์ไทย. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุ ชาติ สวัสดิ์ศรี , บรรณาธิการ.
กรุ งเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเฌศ , 2519.

หนังสื อภาษาต่ างประเทศภาษาอังกฤษ


Coupe Laurence. Myth. London : New York, 1997.
D.J. Steinberg et al. Insearch of Southeast Asia : A modern History. Honolulu : University of
Hawai’i, 1985.
Evans Grant. The Politics of Ritual and Remembrance Laos since 1975. 2th ed. Bangkok :
Printing House, 2000.
_________. Path to Conflagraion Fifty years of Diplomacy and Warfarein Laos, Thailand and
Vietnam, 1778 – 1828. New York : Cornell Southeast Asia Program, 1998.
Mayoury and Pheuiphanh Ngaosyvathn. “Lao Historiography and Historians: Case Study of the
War Between Bangkok and the Lao in 1827.” Journal of Southeast Asian Studies 20,1
[March 1989] : 55-69.
Norman G. Owen. (ed.). The Emergence of Modern Southeast Asia : A New History. Honolulu :
University of Hawai’i, 2005.
160

Pholsena Vatthana. Post – war Laos The Politics of Culture, and Identity. Chaing Mai : Silkworm,
2006.
Simms Richmond , Peter and Sanda. The kingdoms of Laos : six hundred years of history. Surrey
: Curzon Press, 1999.
Staut - Fox Martin. The Lao Kingdom of Lan Xang: Rise and Decline. Thailand : White Lotus
Press, 1998.
Sunait Chutintaranond. “Historical Writting, Historical Novels and Period Movies and Dramas an
Observation Concerning Myanmar in Thai Perception and Understanding.” Asian

ำน ก
ั ห อ ส
Review 12 [1998]: 10-20. มุ ด ก ลาง

Souneth Phothisane. “The Nidan Khun Borom: Annotate Translation and Analysis.” Ph.D.
dissertation, The University of Queensland, 1996.
Vatthana Pholsena. “The Changing Historiographies of Laos : A Focus on the Early
Period.” Journal of Southeast Asian Sudies 35, 2 [June 2004] : 235 – 259.
Vietnamese Source Materials Concerning The 1827 Conflict between the court of Siam and The
Lao Principalities. Vol.1-2. Tokyo : Komiyama Printing, 2001.
Warshaw Steven. Southeast Asia Emerge. 4th ed. San Francisco : Canfield, 1975.
Wyatt, David K. Politics of Reform : Education in the Reign of King Chulalongkorn. Bangkok :
Thai Watanapanich, 1969.

หนังสื อภาษาภาษาลาว
กะซวงถะแหลงข่าวและวัดทะนะทัม. วีระกัมพระเจ้าอะนุวงส์. เวียงจัน : พแนกปะหวัดสาด
อาระยะทัม สะถาบันค้นคว้า วัดทะนะทัม, 2003.
กะซวงสึ กสาทิกาน. แบบเฮียนวิทะยาสาดสังคมชั้นมัดทะยม ปี ที่ หนึ่ง. เวียงจัน : สะถาบันค้นคว้า
วิทะยาสาดกานสึ กสา, 1996.
_________. แบบเฮียนวิทะยาสาดสังคมชั้นมัดทะยม ปี ที่ สอง. เวียงจัน : สะถาบันค้นคว้า วิทะยา
สาดกานสึ กสา, 1997.
_________. แบบเฮียนวิทะยาสาดสังคมชั้นมัดทะยม ปี ที่ สาม. เวียงจัน : สะถาบันค้นคว้า วิทะยา
สาดกานสึ กสา, 2008.
_________. แบบเฮียนปะหวัดสาดชั้นมัดทะยมสึ กสา ปี ที่ สี่ . เวียงจัน : สะถาบันค้นคว้า วิทะยาสาด
กานสึ กสา, 2008.
161

กะซวงสึ กสาทิกาน. แบบเฮียนปะหวัดสาดชั้นมัดทะยมสึ กสา ปี ที่ ห้า. เวียงจัน : สะถาบันค้นคว้า


วิทะยาสาดกานสึ กสา, 2008.
_________. แบบเฮียนปะหวัดสาดชั้นมัดทะยมสึ กสา ปี ที่ หก. เวียงจัน : สะถาบันค้นคว้า วิทะยา
สาดกานสึ กสา, 2008.
_________. แบบเฮียนพาสาลาวชั้นปะถม ปี ที่ ห้า. เวียงจัน : สะถาบันค้นคว้า วิทะยาสาดกานสึ กสา
แห่ งซาด, 1997.
ชาช่า อาลิสนั (ลุงชาช่า). บ๊อบในบางกอก. เวียงจันทน์ : ดอกเกด, 2006.
ดวงไช หลวงพะสี . อานาจักขุนเจือง. พิมพ์เทื่อที่ 3. เวียงจัน : โรงพิมหนุ่มลาว, 2001.

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ดวงเดือน บุนยาวง. กํ่าพ้า กับ ผีนอ้ ย. พิมพ์ครั้งที่ 5. เวียงจัน : ดอกเกด, 2003.

ดารา กันละยา (ดวงจําปา). รักดอกจึ่งบอกมา. ดวงเดือน บุนยาวง และ โอทอง คําอินชู, บันนาทิกาน.
เวียงจัน : จําปากานพิม, 2005.
เดวิด โจล สะเตนเบิก. รู ้จกั ปะเทดในอาชีตาวันออกเสี ยงใต้. พากที่ 1. โลกในสะตะวัดที่ 18. แปลโดย
ดารา กันละยาและคณะ. นะคอนหลวงเวียงจัน : หอสะมุดแห่งชาด, 2004.
_________. รู ้จกั ปะเทดในอาชีตาวันออกเสี ยงใต้. พากที่ 2. กานท้าทายใหม่ ต่ออํานาดเก่า. แปลโดย
ดารา กันละยาและคณะ. นะคอนหลวงเวียงจัน : หอสะมุดแห่งชาด, 2004.
บุนมี เทบสี เมือง. ความเป้ นมาของซนซาดลาว. เล่ม 1 กานตั้งถิ่นถาน และ กานส้างอานาจัก. เวียงจัน :
โรงพิมสึ กสา, 2006.
_________. ความเป้ นมาของซนซาดลาว. เล่ม 2 สะพาบกานในปะเทดอ้อมข้าง, ในอานาจักลาว
ล้านช้างตอนต้น และวิวดั ทะนากานด้านอะริ ยะทํา ของชนชาดลาว. เวียงจัน : โรงพิม
สี สะหวาด, 2009.
พูทอง แสงอาคม. ชาดลาว คนลาว อะดีด และ ปะจุบนั (สะบับดัดแปง). พิมพ์ค้งั ที่ 2. เวียงจัน :
นะคอนหลวง, 2006.
มะหาวิทะยาไลแห่ งชาด คะนะพาสา วันนะคะดี และมะนุดสาด. ตามหารอยเจ้าอะนุวง. เวียงจัน :
คะนะพาสา วันนะคะดี และมะนุดสาด มะหาวิทะยาไลแห่งชาด, 2010.
มะหาสิ ลา วีระวงส์ ชีวติ ผูข่ า้ My life อัดตะชีวะปวัด, คํากอนพุททะทํานาย 16 ข้อ และกอนลําชุม
ปี 2487. นะคอนหลวงเวียงจัน : มันทาตุราด, 2547.
สี พอน สู นนะลาด. แมวถือสิ น และเลื่องอื่น. เวียงจันทน์ : ดอกเกด, 2006.
162

บทความจากหนังสื อ
จารุ วรรณ และคณะ. “การกล่อมเกลาทางสังคมจากแบบเรี ยนระดับชั้นประถมศึกษาในสาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว.” ใน ลาวฮูห้ ยัง – ไทยรู ้อะไรวิเคราะห์แบบเรี ยนสังคม
ศึกษา, กรุ งเทพฯ : โครงการอาณาบริ เวณศึกษา 5 ภูมิภาค, 2544.
ฉลอง สุ นทราวาณิ ชย์. “พงสาวะดานลาว ของ มหาสิ ลา วีระวงส์.” ใน จักรวาลวิทยา. ธเนศ
วงศ์ยานนาวา, บรรณาธิการ. กรุ งเทพฯ : สํานักพิมพ์มติชน, 2549.
_________.“ 2519, “วิวฒั นาการการเขียนประวัติศาสตร์ไทย.” ใน ประวัติศาสตร์และนัก
ประวัติศาสตร์ไทย. กรุ งเทพฯ : ประพันธ์สาส์น.

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์. “งานเขียนทางประวัติศาสตร์ของลาวสมัยได้รับเอกราชค.ศ.1945 จนถึง


ปั จจุบนั .” ในโคลนไม่ติดล้อคนไม่ติดกรอบ. กรุ งเทพฯ : จุฬาฯ, 2545.
นาตยา ภูศรี . “หมิงสื อลู่ในฐานะหลักฐานประวัติศาสตร์เกี่ยวกับลาว.” ใน ไผ่แตกกอ. เพชรรุ่ ง
เทียนปิ๋ วโรจน์ และณัฐพล อยูร่ ุ่ งเรื องศักดิ์, บรรณาธิการ. กรุ งเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์
, 25529.

บทความจากวารสาร
กอบเกื้อ สุ วรรณทัต-เพียร. “การเขียนประวัติศาสตร์แบบชาตินิยม : พิจารณาหลวงวิจิตรวาทการ.”
วารสารธรรมศาสตร์ 6,1 (2519) : 149 – 180.
_________. “การศึกษาประวัติศาสตร์ของสกุลดํารงราชานุภาพ,” อักษรศาสตร์พิจารณ์ 6,2
(พฤศจิกายน 2517) :.28 – 44.
กําพล จําปาพันธ์. “ภาพลักษณ์ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ในประวัติศาสตร์ไทย-ลาว.” ศิลปวัฒนธรรม
30,12 (ตุลาคม 2552) : 74 – 97.
_________. “รัฐและความเป็ นไทย ในประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาว (พ.ศ. 2429 – 2484).” เมืองโบราณ
35, 2 (เมษายน - มิถุนายน 2552) : 50 – 68.
ฉลอง สุ นทราวาณิ ชย์. “สัมพันธภาพไทย-ลาว เชิงประวัติศาสตร์ก่อนคริ สต์ศตวรรษที่๒๐.”
วารสารแผนที่ 29,1 (กรกฎาคม-กันยายน2529) : 23-32.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. “สกุลประวัติศาสตร์ : แสงสว่างในความมืด.” ศิลปวัฒนธรรม 6,1.
(พฤศจิกายน 2527) : 36 – 44.
ดารารัตน์ เมตตาริ กานนท์. “การรับรู ้เหตุการณ์ “เจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. 2369” ในเอกสารลาว.” มนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ 16,2 (พฤศจิกายน 2541- เมษายน 2542) : 1-22.
163

ทวีศิลป์ สื บวัฒนะ. “การรับรู ้เรื่ อง “ลาว” ใน พงศาวดารและแบบเรี ยนไทย.” สังคมศาสตร์


ปริ ทศั น์.16,1 (2535) : 106-116.
นิธิ เอียวศรี วงศ์. “200 ปี ของการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยและทางข้างหน้า.” ศิลปวัฒนธรรม 7,4
(กุมภาพันธ์ 2529) : 104 – 120.
พงศ์ธิดา เกษมสิ น. “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย : ศึกษาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยูห่ วั .” วารสารอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 17,1 (มกราคม 2528) : 101 - 118.
พรเพ็ญ ฮัน่ ตระกูล. “พัฒนาการของลัทธิชาตินิยม.” วารสารอักษรศาสตร์ 26 , 1 (มิถุนายน –
พฤศจิกายน 2546) : 32 - 41.

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ยุวรี อภิรักษ์ภูสิทธิ์. “ขุนบรม วีรบุรุษของประชาคมลุ่มแม่น้ าํ โขง.” ศิลปวัฒนธรรม 7,6 (เมษายน

2529) : 96-103.
วิกลั ย์ พงศ์พนิตานนท์. “พระราชพงศวดารกรุ งรัตนโกสิ นทร์รัชกาลที่ 1-4 ฉบับเจ้าพระยา
ทิพากรวงศ์ : ประวัติศาสตร์ ไทยยุคใหม่.” วารสารอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย 17,1 (มกราคม 2528) : 119 - 138.
สายชล วรรณรัตน์. “การศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ในประเทศไทย.” วารสารธรรมศาสตร์ 9,1.
(กรกฎาคม-กันยายน 2522) : 150 – 166.
สมเกียรติ วันทะนะ. “สองศตวรรษของรัฐและประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย.” ธรรมศาสตร์ 13,3
(กันยายน 2527) : 152 – 171.
สุ เจน กรรพฤทธิ์. “จากเวียงจันทน์ถึงบางกอก ตามรอย เจ้าอนุวงศ์ คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว.”
สารคดี: (พฤษภาคม 2552) : 101 – 152.
อุมาริ นทร์ ตุลารักษ์. “ชาติ” ในวรรณกรรมลาว หลังการปฏิวตั ิ ค.ศ. 1975.” วารสารสังคมลุ่มนําโขง
1,3 (กันยายน – ธันวาคม 2548) : 121-147.

วิทยานิพนธ์
กิติรัตน์ สี หบัณท์. “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวสมัยใหม่ (ค.ศ. 1975 – ปั จจุบนั ).” วิทยานิพนธ์
ดุษฎีบณั ฑิต สาขาวิชาไทศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2549.
เจนศึก ศิลามณี รัตน์. “นโยบายต่างประเทศต่อลาวสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ.” วิทยานิพนธ์
มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 2548.
จีรพล เกตุจุมพล. “การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างขององค์ความรู ้ของกลุ่มชนชั้นนําสยามรุ่ นใหม่
พ.ศ. 2367-2468.” วิทยานิพนธ์ปริ ญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 25398.
164

ธวัชชัย ไพรใหล. “ความสัมพันธ์ระหว่างไทย กับหลวงพระบาง เวียงจันทน์และจําปาศักดิ์ ตั้งแต่


สมัยรัชกาลที่ 1 – 5 (พ.ศ. 2325 – 2446).” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชา
ประวัติศาสตร์เอเชีย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ, 2534.
นริ นทร์ พุดลา. “ตัวตนทางวัฒนธรรมในแบบเรี ยนลาว.” วิทยานิพนธ์ดุษฎีบณั ฑิต สาขาวิชาไท
ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2551.
บังอร ปิ ยะพันธุ์. “ประวัติศาสตร์ของชุมชนลาวในหัวเมืองชั้นในสมัยรัตนโกสิ นทร์ตอนต้น.”
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2529.

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ประภาส สุ วรรณศรี . “การกล่อมเกลาทางสังคมจากแบบเรี ยนของรัฐ ระดับประถมศึกษาใน

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ.
2518-2538.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2542.
ปริ ยาภรณ์ สังขยานนท์. “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว พ.ศ. 2518-2534.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2550.
พิมพ์รต พิพฒั นกุล. “บทบาทของรัฐบาลและผูน้ าํ ทางการเมืองไทยต่อขบวนการต่อสู เ้ พื่อเอกราช
ลาว ระหว่าง พ.ศ. 2483 – 2492.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.
พรรษา สิ นสวัสดิ์. “ความสัมพันธ์ระหว่างกรุ งเทพฯ กับเมืองเวียงจันทน์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั พ.ศ. 2367 – 2370 .” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชา
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2521.
ภักดี รัตนา. “ภาพลักษณ์ผหู ้ ญิงเหนือ ตั้งแต่พทุ ธศตวรรษที่ 25 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 26.”
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาปะวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
2543.
ภูเก็ต กาญจนะวณิ ชย์. “อินโดจีน : การให้ความหมายภายใต้บริ บทการเมืองไทย หลัง พ.ศ. 2518.”
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546.
ยุพา ชุมจันทร์. “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย พ.ศ. 2475 – 2516.” วิทยานิพนธ์ปริ ญญามหาบัณฑิต
ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530.
ราม วัชรประดิษฐ์. “พัฒนาการของประวัติศาสตร์ชาติในประเทศไทย พ.ศ. 2411-2478.”
วิทยานิพนธ์ปริ ญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
165

วีระพงศ์ ยศบุญเรื อง. “การจัดเก็บภาษีในหัวเมืองลาวฝ่ ายตะวันออก พ.ศ.2367 – 2433.”


วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546.
สุ ภรัตน์ เชาว์เกษม. “ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในทัศนะของคนลาว : กรณี กาํ แพงนครเวียงจันทน์.”
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544.
อุศนา นาศรี เคน. “อีสานในการรับรู ้และทัศนะของผูป้ กครองกรุ งเทพฯ ตั้งแต่หลังกบฏเจ้าอนุวงศ์
พ.ศ. 2369 ถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548.

เอกสารอืน่ ๆ

กระทรวงการต่างประเทศ. กฎบัตรอาเซียน [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึง
ได้จาก http://www.mfa.go.th/web/1795
_________. ความสัมพันธ์ไทย - ลาว ปี 2551 – 2552 [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2555.
เข้าถึงได้จาก http://www.mfa.go.th/web/1795.php?id=31563
กระทรวงการต่างประเทศ แขวงสะหวันนะเขต, กองเอเชียตะวันออก 2, กรมเอเชียตะวันออก.
ความสัมพันธ์ไทย - ลาว ปี 2553 – 2554 [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ14 กุมภาพันธ์ 2555.
เข้าถึงได้จากhttp://www.thaisavannakhet.com/savannakhet/th/knowledge/relationships/
คนลาวด่าไทย [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2554. เข้าถึงได้จาก
http://www.youtube.com/watch?v=Nrsua8x4UlM&feature=related
จารุ วรรณ ธรรมวัตร, ประภาส สุ วรรณศรี และ พรสวรรค์ สุ วรรณธาดา. “การกล่อมเกลาทางสังคม
จากแบบเรี ยน ระดับประถมศึกษาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.”
ประกอบการสัมมนา รื้ อตําราเรี ยนไทย-ลาว เผยอุดมการณ์ชาตินิยม, 2 พฤศจิกายน
2543. (อัดสําเนา)
ชุลีพร วิรุณหะ, “เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 415457 Seminar in Southeast Asian History.”
ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2551. (อัดสํานา)
ณัฐกานต์, รศ.ดร.คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ เจ้าของนามปากกา “ว.วินิจฉัยกุล” [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ
27 มกราคม 2555. เข้าถึงได้จากhttp://www.ejobeasy.com/kmdetail.php?n=110602173843
ธวัช ปุณโณทก. “เอกสารพื้นเวียง.” บันทึกประวัติศาสตร์ของปราชญ์ชาวอีสาน,
ประกอบการสัมมนาประวัติศาสตร์อีสาน, 16 – 18 พฤศจิกายน 2521. (อัดสําเนา)
166

ตรี ศิลป์ บุญขจร, “นวนิยายไทยในรอบทศวรรษ : ข้อสังเกตบางประการ”, เอกสารประกอบการ


สัมมนา สองศตวรรษรัตนโกสิ นทร์ : ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย, สมาคม
สังคมศาสตร์แห่ งประเทศไทย มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3-5
กุมภาพันธ์ 2525, 4. (อัดสําเนา)
นงค์ลกั ษณ์ เหล่าวอ. “เส้นทางนักเขียน”. หนังสื อพิมพ์กรุ งเทพธุรกิจ จุดประกาย วรรณกรรม, 7
มีนาคม 2553, 1 - 3.
ประวัติและผลงานของพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2554. เข้าถึงได้จาก
http://www.thaidances.com/vijitvatakran/index1.asp

ำน ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ป้ ายอธิบายประวัติความเป็ นมาของพระธาตุศรี สองรัก,ตั้งอยูห่ น้าบันไดทางขึ้นพระธาตุ, พระธาตุศรี

สองรัก อ.ด่านซ้าย จ.เลย
“มูลมรดกชนชาติอา้ ยลาว.” อนุสรณ์สถานงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระยอดแก้ว
พุทธชิโนรสสกลสังฆปาโมกข์ สมเด็จพระสังฆราชแห่ งราชอาณาจักรลาว, 12 มีนาคม
2528. (อัดสําเนา)
รักษ์ มนัญญา. เรี ยงด้วยภาพ: ค่ายเยาวชนนักเขียน [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 27 มกราคม 2555. เข้าถึงได้จาก
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=rakmananya&month=07
รัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสเมืองพิชยั [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2554 เข้าถึงได้จาก
http://aksara-home.blogspot.com/2011/10/6.html
เล่มโปรด [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 27 มกราคม 2555. เข้าถึงได้จาก http://www.praphansarn.com
/new/c_link/detail.asp?ID=158
“ล๊าว..ลาว” [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2554. เข้าถึงได้จาก
http://www.youtube.com/watch?v=051xU70-RgU&feature=related
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี . ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม
2554 เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%29สาย
เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวลชั้นที่ 3 (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2554. เข้าถึงได้จาก
http://www.bunnag.in.th/prarajpannuang003.html
สุ ภตั รา ภูมิประภาส. ลาวมองไทย : วัยรุ่ นไทย “ควร” อ่านอย่างแรง!!! [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 20
มกราคม 2555. เข้าถึงได้จาก http://www.obobza.com/forum/topic-16686-
หมอโอ็ต. พบกับ พงศกร ได้ที่งานหนังสื อนะครับ [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 27 มกราคม 2555. เข้าถึงได้จาก
http://www.groovebooks.com/index.php?mo=14&newsid=134034
167

หอสมุดดนตรี พระบาสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 และห้องสมุดดนตรี ทูลกระหม่อม


สิ รินธร, หลวงวิจตรวาทการ [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 27 มกราคม 2555 เข้าถึงได้จาก
http://www.kingramamusic.org/history/p6.htm
junjeow@clipmass. ธรรมศาสตร์ขอโทษคลิป “ล๊าว..ลาว” หลังโดนด่าเจ็บ “สุ นขั เฮ็ด..” [ออนไลน์].
เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2555. เข้าถึงได้จาก http://www.dek-
d.com/board/view.php?id=2109279

การสั มภาษณ์

น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
นายไพศาล ทับวงศ์, ศึกษานิเทศก์จงั หวัด ฝ่ ายสารสนเทศ สํานักงานการศึกษาประถมศึกษา


นครสวรรค์ เขต 3. สัมภาษณ์, 19 ตุลาคม 2554.
สุ วพงศ์ ดิษสถาพร, พนักงานการไฟฟ้ าส่ วนภูมิภาค จังหวัดเพชรบุรี. สัมภาษณ์, 27 มกราคม 2555.
สุ วชั ราภรณ์ แย้มนุ่น ครู วิทยฐานะชํานาญการพิเศษ โรงเรี ยนวัดโรงวัว สํานักงานการศึกษา
ประถมศึกษาชัยนาท เขต 1. สัมภาษณ์, 11 กันยายน 2552.
168

ประวัติผ้ ูวจิ ัย

ชื่อ – สกุล นางสาววิลุบล สิ นธุมาลย์


ที่อยู่ 70 ซอย สระตาเฉื่อย ตําบล ตาคลี อําเภอ ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 60140

ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2550 สําเร็ จการศึกษาปริ ญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) คณะอักษรศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2550
น ก
ั ห อ ส มุ ด ก ลาง
ศึกษาต่อระดับปริ ญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย


มหาวิทยาลัยศิลปากร

You might also like