001 วรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ (พัชลินจ์ จีนนุ่น)

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 273

วรรณคดี

เกี่ยวกับ
ประวัติศาสตร์
Literature as Related to History

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชลินจ์ จีนนุ่น


สาขาวิชาภาษาไทย
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ
~๑~

คำนำ

วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์เป็ นวรรณคดีทแ่ี ต่งขึน้ โดยมีเนื้อหาทางประวัตศิ าสตร์เป็นแก่น


ของเรื่อ ง ซึ่งอาจจะเป็ นประวัติค วามเป็ นมาของคนในชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเป็ นอยู่
ตลอดจนความรู้ส ึก นึ ก คิด ของคนในชาติ ซึ่งอาจเขีย นในรูป แบบของเรื่อ งเล่ าที่เป็ น ต านาน หรือ
พงศาวดารก็ได้ โดยใช้กลวิธกี ารเล่าเรื่องทีใ่ ห้ความเพลิดเพลินเป็ นสาคัญ วรรณคดีในทีน่ ้ีผเู้ ขียนขยาย
ขอบเขตครอบคลุมไปจนถึงวรรณกรรมร่วมสมัย ประเภท นวนิยาย ภาพยนตร์ บทละคร ในยุคปจั จุบนั
ด้วย เพื่อให้เห็นการศึกษาวรรณคดีทม่ี เี นื้อหาทันสมัยตามกระแสสังคมปจั จุบนั
ก่อนอื่น ผูเ้ ขียนขอเล่าเท้าความภูมหิ ลังในการเขียนตาราวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์เล่มนี้
ว่า เกิดจากผู้เขียนสอนรายวิชาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ (๐๑๑๑๒๖๓) โดยเริม่ จากการเขียน
เอกสารประกอบการสอนขึ้นมาก่อ น เพื่อ ให้นิสติ มีเครื่องมือในการศึกษามากยิง่ ขึ้น ในระยะแรก ๆ
เนื้ อ หาของเอกสารไม่ ส มบู รณ์ ม ากนั ก ผู้เ ขีย นวางบทคร่า ว ๆ ไว้ จ านวน ๕ บท และวางเนื้ อ หา
โดยสัง เขป โดยได้เคยน าไปประกอบการสอนให้ แ ก่ นิ ส ิต ระดับ ปริญ ญาตรี ชัน้ ปี ท่ี ๒ สาขาวิช า
ภาษาไทย คณะมนุ ษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ ต่อมาจึง จัดทาเป็นตาราเพื่อให้ม ี
ความเข้มข้นขึน้ ทัง้ นี้ ผูเ้ ขียนได้ปรับปรุงโครงสร้างของรายวิชาอย่างต่อเนื่อง โดยยึดคาอธิบายรายวิชา
เป็ นสาคัญทีว่ ่า “วิเคราะห์ลกั ษณะเฉพาะของวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ ด้านรูปแบบ เนื้อหา และ
ศิล ปะการประพัน ธ์ การใช้ว าทกรรม และความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับ ประวัติศ าสตร์ ศึกษา
งานค้นคว้าทีเ่ กีย่ วข้อง”
การจัดทาตาราในครัง้ นี้ ผูเ้ ขียนใช้เวลาในการสืบค้นข้อมูลนานพอสมควร เพื่อประกอบการเขียน
ในแต่ละบท และได้ขยายบทเป็ น ๗ บทเพื่อให้ผู้อ่านทาความเข้าใจเนื้อหาอย่างเป็ น ลาดับขัน้ ตอน โดย
เพิ่มบทนาเพื่อให้ความรูพ้ ้นื ฐานทางการศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศ าสตร์ เพิ่มบทแนวทางการ
วิเคราะห์วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ในแง่มุมต่าง ๆ เนื่องจากผู้เขียนพบว่า ปญั หาสาคัญประการ
หนึ่งของนิส ิต คือ การขาดแนวทางในการวิเคราะห์งาน ผู้เขียนจึงจัด ทาบทนี้ ข้นึ มาเพื่อแก้ไขปญั หา
ดังกล่าว และได้ขยายขอบเขตการศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไปจนถึงการศึกษาวรรณคดี
เกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ในท้องถิน่ ต่าง ๆ โดยมีตวั อย่างงานวิจยั ของผูเ้ ขียน รวมถึงงานวิจยั ของนักวิจยั
ท่านอื่นมานาเสนอให้เห็นเป็ นช่องทางหนึ่งในการทารายงานหรือคิดหาประเด็นการทาสารนิพนธ์ วิจยั ใน
อนาคตต่อไปนอกเหนือจากการศึกษางานค้นคว้าทีเ่ กีย่ วข้องในบทที่ ๒ ทีไ่ ด้นาเสนอไว้บา้ งแล้ว และเพิม่
บทสรุปเพื่อให้เห็นภาพรวมทัง้ หมดของตาราเล่มนี้ เนื้อหาของหนังสือจึงเหมาะสมสาหรับนิสติ ระดับนี้
นอกจากนี้ยงั เหมาะสมสาหรับผูส้ นใจทัวไปที ่ ต่ อ้ งการนาไปศึกษาหรือทาความเข้าใจด้วยตนเอง
นอกจากนี้ ในการเขียนตาราเล่มนี้ ผูเ้ ขียนปรับปรุงขึน้ ด้วยความตระหนักว่า เอกสารทีเ่ กี่ยวข้อง
กับวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ในยุคปจั จุบนั ยังมีน้อย ไม่หลากหลาย และขาดทางเลือกในการศึกษา
ค้นคว้า ในการเขียน ส่ วนหนึ่งผู้เขียนสังเคราะห์มาจากผลงานของนักวิชาการต่าง ๆ เช่น กฤตวิทย์
ดวงสร้อยทอง นิพนธ์ สุขสวัสดิ ์ ประสิทธิ ์ กาพย์กลอน และบุญยงค์ เกศเทศ ในการแบ่งบททัง้ ๗ บท
~๒~

ผู้ เ ขีย นวางไว้ ดัง นี้ บทแรก ผู้ เ ขีย นมุ่ ง ให้ ค วามรู้พ้ื น ฐานเกี่ ย วกั บ การศึ ก ษาวรรณคดีเ กี่ ย วกั บ
ประวัตศิ าสตร์ บทที่ ๒ ระบุงานค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ บทที่ ๓ อธิบาย
หรือให้ภาพรวมลักษณะเฉพาะของวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ บทที่ ๔ กล่าวถึงวรรณคดีกบั บริบท
ทางประวัติศาสตร์ โดยจะศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ตงั ้ แต่สมัยสุโขทัยครอบคลุมไปจนถึง
สมัยปจั จุบนั (รัชกาลที่ ๙) ควบคู่กบั การศึกษาบริบททางประวัตศิ าสตร์ (หมายรวมถึงบริบททางสังคม
วัฒนธรรม การเมือง และเหตุการณ์ ท่ีสาคัญ ๆ ทางประวัติศาสตร์) เพื่อเผยให้เห็นความสัมพันธ์และ
พัฒนาการของงานเขียนแนวนี้อ ย่างเด่นชัดยิง่ ขึ้น บทที่ ๕ ศึกษาวาทกรรมที่ใช้ในวรรณคดีเกี่ยวกับ
ประวัตศิ าสตร์ โดยจะให้แนวทางการศึกษาไว้พอสังเขป เนื่องจากใช้สอนนิสติ ระดับปริญญาตรีชนั ้ ปีท่ี ๒
ที่ยงั ไม่เชี่ยวชาญในเชิงทฤษฎีนัก บทที่ ๖ บอกแนวทางการวิเคราะห์วรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
และบทที่ ๗ สรุปภาพรวมการศึก ษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โดยในบทที่ ๒ กับบทที่ ๖ นัน้
ผู้เขียนมุ่งนาเสนอบทคัดย่องานวิจยั เพื่อให้นิสติ หรือผู้สนใจอื่น ๆ ทราบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับงานที่
ค้นคว้าทางด้านวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ และการนาเสนอแนวทางต่าง ๆ ทีเ่ หมาะสม โดยผูอ้ ่าน
ควรศึกษาค้นคว้าเพิม่ เติมในศาสตร์ดา้ นอื่น ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องด้วยเพื่อจะได้เกิดความกระจ่างชัดมากยิง่ ขึน้
การค้น คว้าข้อ มูล เพื่อ ประกอบการเขีย นเพื่อ ให้ผู้เรียนใช้เป็ น แนวทางในการศึก ษาและฝึ ก
วิเคราะห์ หากมีขอ้ ผิดพลาดประการใด ผูเ้ ขียนต้องขออภัย ไว้ ณ ทีน่ ้ดี ว้ ย
ผูเ้ ขียนขอขอบคณาจารย์ กัลยาณมิตรที่คอยชี้แนะ ให้กาลังใจจนทาให้ผลงานเล่มนี้เป็ นรูปเป็ น
ร่างขึน้ พร้อมที่จะเป็ นแนวทางให้แก่นิสติ นักศึกษาและบุคคลทัวไป ่ และขอขอบพระคุณผูท้ รงคุณวุฒทิ ่ี
ช่วยเสนอแนะปรับปรุงการเขียนตาราเล่มนี้ให้มคี วามสมบูรณ์มากยิง่ ขึน้
ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณ นักเขียน นักวิชาการ และนักวิจารณ์ ท่ีได้นาเอางานเขียนมาเป็ น
ตัวอย่างโดยไม่ได้ขออนุ ญาตอย่างเป็ นทางการ ทัง้ นี้ เนื่องจากเขียนขึน้ มาเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
หวังว่าจะเป็ นประโยชน์ ส าหรับนิส ิต นัก ศึกษา และผู้สนใจที่จะได้ใช้ประโยชน์ ในการศึกษา ค้น คว้า
เพิม่ เติมสาหรับพัฒนาการเรียนรูแ้ ละองค์ความรูท้ างด้านนี้ต่อไป

พัชลินจ์ จีนนุ่น
พ.ศ.๒๕๖๐
~๓~

คำนำครัง้ ที่ ๒

การปรับปรุงตาราวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ในครัง้ นี้ ผูเ้ ขียนได้ตดั ทอน ปรับชื่อบท และ


สลับปรับเปลีย่ นการนาเสนอในแต่ละบท โดยมีการเพิม่ บทนาอีก ๑ บทเพื่อให้เนื้อหามีความเชื่อมโยง
เป็ นเอกภาพมากยิง่ ขึ้น นอกจากนี้ก็ได้เพิ่มเติม รายละเอียดปลีกย่อ ยในแต่ ล ะบท โดยเฉพาะ การ
ยกตัวอย่างประกอบ เพื่อให้งา่ ยต่อการทาความเข้าใจ ดังนัน้ ตาราเล่มนี้จากเดิมทีเ่ คยวางบทต่าง ๆ ไว้
๗ บท เมื่อเพิม่ จานวนบทอีก ๑ บท จึงมีจานวนบทรวมทัง้ สิ้น ๘ บท ซึ่งบุคคลทัวไปก็ ่ ยงั สามารถทา
ความเข้าใจได้ดว้ ยตนเอง การปรับปรุงก็เพื่อให้สะดวกแก่การนาไปใช้ประโยชน์ ได้มากยิง่ ขึน้ ผู้เขียน
ขอขอบพระคุณผูท้ รงคุณวุฒจิ านวน ๓ ท่านจากหน่วยงานต่าง ๆ ทีไ่ ด้กรุณาชีแ้ นะการเขียนตาราเล่มนี้
ให้มปี ระสิทธิภาพมากยิง่ ขึ้น ต าราที่ปรับปรุงขึ้นนี้ได้เผยแพร่ให้แก่นิสติ ระดับปริญ ญาตรี ชัน้ ปี ท่ี ๒
สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุ ษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณทีเ่ รียนรายวิชาวรรณคดี
เกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ (๐๑๑๑๒๖๓) นอกจากนี้กเ็ ผยแพร่ในสื่ออื่น ๆ ด้วย

พัชลินจ์ จีนนุ่น
สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ
พ.ศ.๒๕๖๒
~๔~

สำรบัญ
หน้ ำ

บทที่
๑ บทนา ๑
๒ ความรูพ้ น้ื ฐานทางวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ ๔
๒.๑ ขอบข่ายของวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ ๔
๒.๒ ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกบั ประวัตศิ าสตร์ ๑๖
๒.๓ ข้อแตกต่างระหว่างวรรณคดีและประวัตศิ าสตร์ ๑๗
๓ ลักษณะเฉพาะของวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ ๒๒
๓.๑ ด้านรูปแบบ ๒๓
๓.๒ ด้านเนื้อหา ๓๔
๓.๓ ด้านศิลปะการประพันธ์ ๗๕
๔ วรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์และบริบททางประวัตศิ าสตร์ ๘๗
๔.๑ วรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ในสมัยสุโขทัย ๘๘
๔.๒ วรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ในสมัยอยุธยา ๙๓
๔.๓ วรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ในสมัยธนบุร ี ๑๐๙
๔.๔ วรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ในสมัยรัตนโกสินทร์ ๑๒๒
๕ แนวคิดวาทกรรมกับการประกอบสร้างวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ ๑๔๖
๕.๑ วาทกรรมกษัตรานิยม: กษัตริยค์ อื ศูนย์รวมของสรรพสิง่ ๑๕๐
๕.๒ วาทกรรมชาตินิยม: การสถาปนาความชอบธรรมของรัฐชาติ ๑๕๗
๕.๓ ภาคปฏิบตั กิ ารของวาทกรรมทีใ่ ช้ในวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ ๑๖๑
๖ การสังเคราะห์งานศึกษาวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ ๑๗๘
๖.๑ เอกสารทีเ่ กีย่ วข้องกับวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ ๑๗๘
๖.๒ บทความทีเ่ กีย่ วข้องกับวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ ๑๘๒
๖.๓ งานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้องกับวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ ๑๘๖
๗ แนวทางการวิเคราะห์วรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ ๑๙๗
๗.๑ ศึกษาวรรณคดีเพียงเรือ่ งเดียวอย่างลุ่มลึก ๑๙๗
๗.๒ ศึกษาหาลักษณะเด่น ๒๐๐
๗.๓ ศึกษาภาพรวมการสร้างงาน ๒๐๐
๗.๔ ศึกษาทรรศนะหรือมุมมองของผูแ้ ต่งทีม่ ตี ่อสังคมของตนหรือสังคมอื่น ๒๐๑
๗.๕ ศึกษาวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ของชาติอ่นื ๒๐๓
๗.๖ ศึกษาแนวเปรียบเทียบ ๒๐๕
~๕~

๗.๗ ศึกษาโดยมุง่ แนวคิดทฤษฎี ๒๐๖


๗.๘ ศึกษาจากกลุ่มข้อมูลวรรณกรรมท้องถิน่ ๒๐๘
๘ บทสรุป ๒๓๖
บรรณานุกรม ๒๔๐
ดัชนีคน้ คา ๒๕๖
~๖~

สำรบัญตำรำง

ตำรำงที่ หน้ ำ
๑ เปรียบเทียบบริบททางสังคมวัฒนธรรมสมัยสุโขทัยและรัตนโกสินทร์ ๑๒
๒ เปรียบเทียบเนื้อหาในเรือ่ งลิลติ ตะเลงพ่ายกับพงศาวดาร ๑๒๗
๓ รายชื่อวรรณกรรมทีม่ เี นื้อหาอิงประวัตศิ าสตร์ ๑๔๐
~๗~

สำรบัญภำพ
ภำพที่ หน้ ำ
๑ การจัดกระบวนทัพเมือ่ ออกรบ ๖๓
๒ การตัง้ ทัพแบบปทุมพยุหะและปมธุกพยูหะ ๖๔
๓ อาณาจักรสุโขทัย ๙๓
๔ วรรณกรรมเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์เชิงชีวประวัตขิ องชาวต่างชาติ ๑๔๓
๕ วรรณกรรมเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ทน่ี ามาแปรรูปเป็นละครโทรทัศน์ ๑๔๔
๖ การนาเรือ่ งเล่าของพันท้ายนรสิงห์มาแปรรูปเป็นภาพยนตร์องิ ประวัตศิ าสตร์เรือ่ งพันท้ายนรสิงห์๑๔๔
๗ วีรกรรมการชนช้างของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราช ๑๕๓
๘ ภาพยนตร์เรือ่ งตานานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๑๕๖
๙ หนังสือบุดทีศ่ ูนย์ศลิ ปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ๑๙๗
๑๐ นวนิยายของนักเขียนชาวต่างชาติทเ่ี ขียนถึงชาติไทย ๒๐๒
๑๑ นวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ทน่ี าเสนอตัวละครตัวเดียวกันแต่มองต่างมุม ๒๐๓
๑๒ นวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์เกาหลี ๒๐๕
๑๓ วรรณกรรมท้องถิน่ ภาคใต้ยคุ การพิมพ์ (ช่วง พ.ศ. ๒๕๗๐-๒๕๒๐) ๒๑๖
๑๔ วรรณกรรมท้องถิน่ ประเภทตานาน ๒๑๘
๑๕ วรรณกรรมอิงประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ภาคใต้ เรือ่ งประวัตพิ ทั ลุง – ตรัง เล่มที่ ๑ ๒๓๕

บทที่ ๑
บทนำ

วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ เป็นวรรณคดีทน่ี าบริบททางประวัตศิ าสตร์ ไม่ว่าจะเป็ น


เหตุการณ์ ฉาก สถานที่ สังคมวัฒนธรรม ตัวละครที่มอี ยู่จริงในประวัตศิ าสตร์มาเป็ นแก่นของ
เรื่อ ง ในการแต่ งวรรณคดีเกี่ย วกับประวัติศ าสตร์มมี านานแล้ว ตัง้ แต่ ส มัยโบราณจนกระทัง่
ปจั จุบนั คาที่ใช้เรียกก็ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม หากแต่งเป็ นคาประพันธ์ประเภทร้อย
กรอง นักวิชาการมัก เรียกว่าวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ หากแต่งเป็ นร้อยแก้ว ประเภท
ตานาน พงศาวดาร จารึกสมัยโบราณ กระทังนวนิ ่ ยาย ภาพยนตร์หรือบทละครสมัยใหม่กใ็ ช้คา
ว่า วรรณกรรม ซึ่งเป็ นคาเรียกกว้าง ๆ ทัง้ นี้ทงั ้ นัน้ จะใช้เรียกว่าวรรณคดีหรือวรรณกรรม ก็สุด
แท้แต่การนิยาม เพราะทัง้ หมด คือ เรือ่ งเล่า (narrative) ทีอ่ งิ กับบริบททางประวัตศิ าสตร์
ในการแต่งวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์มพี ฒ ั นาการอย่างเห็นได้ชดั ในช่วงก่อนสมัย
รัชกาลที่ ๓ มักแต่งด้วยคาประพันธ์ประเภทร้อยกรอง เช่น แต่งด้วยคาประพันธ์ประเภทลิลติ คา
ฉันท์ กลอนเพลงยาว ร่าย เป็ นต้น ครัน้ ในช่วงเวลาต่อมาก็เริม่ แต่งเป็ นร้อยแก้วมากขึน้ ซึ่งเกิด
จากผูแ้ ต่งได้รบั อิทธิพลจากรูปแบบของวรรณกรรมตะวันตก เราจะพบงานเขียนแนวนี้ในรูปแบบ
ทีเ่ ป็ นนวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ บทละครอิงประวัตศิ าสตร์ หรือภาพยนตร์องิ ประวัตศิ าสตร์มาก
ยิง่ ขึน้ และมีการแต่งที่องิ กับค่านิยมของโลกสมัยใหม่ท่เี น้นความสมจริง บ้างก็องิ กับวาทกรรม
ทางสังคม มีการสร้างภาพแทนของตัวละครที่มอี ยู่จริงในประวัตศิ าสตร์ท่มี ที งั ้ การผลิตซ้าภาพ
บางภาพและการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ ของตัว ละครให้ต่ างไปจากเดิม ด้ว ย ท าให้เรื่อ งเล่ า
ประเภทนี้ไม่น่าเบื่อ หรือจืดชืดจนเกินไป หลาย ๆ เรื่อ งที่เคยแต่ งเป็ นนวนิยายก็มกี ารนาไป
ดัดแปลงเป็ นบทละครโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์จนได้รบั ความนิยมจากผูช้ มอย่างล้มหลาม ทัง้ นี้
เกิดจากความสนุกของการวางโครงเรือ่ ง เนื้อเรือ่ ง และกลวิธกี ารนาเสนอของผูส้ ร้างงาน
ในสมัยโบราณ ในการแต่งวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ ผู้อ่านมักพบว่า เรื่องเล่าที่
ผู้ แต่ ง น ามาเสนอมัก เป็ น เรื่อ งเล่ าวีรกรรมการสู้รบหรือ พระราชกรณี ย กิจ ที่ส าคัญ ๆ ของ
พระมหากษัตริย์ โดยผูแ้ ต่งก็มกั เป็นผูท้ อ่ี ยูใ่ นรัว้ ในวัง เช่น พระมหากษัตริย์ ข้าราชบริพารต่าง ๆ
ทีไ่ ด้ตามเสด็จในขณะทรงงาน ครัน้ ต่อมาเนื้อหาของวรรณกรรมแนวนี้มเี นื้อหาทีห่ ลากหลายมาก
ยิง่ ขึน้ มีทงั ้ การนาเรื่องเล่าในอดีตมาเล่าใหม่ในสังคมปจั จุบนั การเล่าที่องิ กับบริบททางสังคม
เช่น การสอดแทรกเรื่องคนชายขอบ การเมืองแห่งยุคสมัย การสอดแทรกเหตุการณ์สาคัญ ๆ ที่
สะเทือนขวัญของประชาชน แม้แต่การเล่าเรื่องราวของพระมหากษัตริยก์ ็องิ กับการทาเพื่อปวง
ชนมากยิง่ ขึน้ บางครัง้ ก็เป็ นการบันทึกเหตุการณ์สาคัญ ๆ ที่เกิดขึน้ ในบ้านเมือง เช่น การเกิด
ภัย ธรรมชาติ ต่ า ง ๆ ป ญ ั หาความขัด แย้ ง ของคนที่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ การพั ฒ นาประเทศ
นอกจากนัน้ ยังมีกลวิธกี ารนาเสนอเรื่องเล่าที่แปลกใหม่ ทาให้ผู้อ่านได้ขบคิดมากยิง่ ขึน้ ผ่าน

กลวิธตี ่าง ๆ เช่น แต่งในแนวเมตาฟิ กชัน่ (Meta fiction) ที่เน้ นให้เห็นกระบวนการเล่าเรื่อง ที่
บางครัง้ ก็ทาให้ผอู้ ่านเกิดความสับสนงงวยว่า เป็นเรือ่ งจริงหรือเรือ่ งแต่ง
นอกจากนี้ เมื่อศึกษาบริบทของงานที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวรรณคดีประวัติศาสตร์ก็
พบว่า งานเขียนประเภทหนังสือ ตารา งานวิจยั หรือวิทยานิพนธ์ มีพฒ ั นาการการเขียนอย่าง
เด่นชัด ในช่วงแรก ๆ ผลงานเหล่านี้มกั นาเสนอในเชิงการวิเคราะห์ตวั บท เช่น การวิเคราะห์
องค์ประกอบของเรื่อง ทัง้ โครงเรือ่ ง แก่นเรือ่ ง ตัวละคร ฉาก ภาษา เป็ นต้น บ้างก็มุ่งประเด็นใด
ประเด็นหนึ่ง มีทงั ้ การวิเคราะห์เพียงเรื่องเดียว และการวิเคราะห์ทงั ้ ยุคสมัยเพื่อให้เห็นภาพรวม
ด้านรูปแบบ ภาษา เนื้อหา กลวิธกี ารประพันธ์ เป็ นต้น สิง่ ที่เหมือนกัน คือ การเชื่อมโยงกับ
บริบทของสังคมร่วมสมัยหรือบริบททางประวัติศาสตร์ ครัน้ ในเวลาต่ อมา โดยเฉพาะในช่ว ง
พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นไป พบว่าเริม่ เห็นแนวทางการเขียนงานทีอ่ งิ กับแนวคิดทฤษฎีหลังสมัยใหม่
มากขึน้ และการศึกษาที่ขยายไปสู่การวิเคราะห์ว รรณกรรมท้องถิน่ ในมิตทิ างประวัตศิ าสตร์ ซึ่ง
ทาให้เห็นว่าในการศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ สามารถศึกษาได้ทงั ้ อย่างหลากหลาย
ทัง้ การวิเคราะห์ตวั บท และการอิงแนวคิดทฤษฎีหลังสมัยใหม่ นอกจากนี้ก็สามารถใช้ตวั บทที่
เป็ นงานเขียนวรรณคดีโบราณ วรรณกรรมร่วมสมัย กระทังวรรณกรรมท้ ่ องถิน่ โดยตาราเล่มนี้ม ี
การนาเสนอประเด็นต่าง ๆ ดังทีก่ ล่าวมานี้อย่างชัดเจนเพื่อให้ผอู้ ่านเห็นมิตทิ ห่ี ลากหลาย
ในการนาเสนอเนื้อหาในตาราเล่มนี้ ผู้เขียนมุ่งให้ผู้อ่ านมีค วามรูค้ วามเข้าใจเกี่ยวกับ
วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ในมิตติ ่าง ๆ แต่จะนาเสนอในภาพกว้าง ๆ บางบทเขียนในเชิง
วิเคราะห์สงั เคราะห์อย่างลุ่มลึก เพราะหลอมรวมจากการอ่านเอกสารต่าง ๆ เริม่ จากการวางบท
แรกที่เ ป็ น นิ ย ามของวรรณคดี วรรณกรรม และขอบข่ า ยในการศึก ษาวรรณคดีเ กี่ย วกับ
ประวัติศ าสตร์ โดยจะชี้ใ ห้เห็น ว่ าการศึก ษาวรรณคดีเกี่ย วกับ ประวัติศ าสตร์ แตกต่ างจาก
การศึก ษาประวัติศ าสตร์ เพราะมุ่งความบัน เทิงมากกว่าความรู้ บทต่ อ มา ผู้เขียนน าเสนอ
ลัก ษณะเฉพาะของวรรณคดีเกี่ย วกับ ประวัติศ าสตร์ ตามด้ว ยการศึก ษาวรรณคดีเกี่ย วกับ
ประวัติศ าสตร์แ ละบริบ ททางประวัติศ าสตร์ เป็ น การศึก ษาวรรณคดีท่ีอิงบริบ ททางสัง คม
ประวัติศาสตร์ในสมัยต่ าง ๆ โดยจะขยายขอบเขตถึงปจั จุบนั เพื่อให้ผู้อ่านเห็นพัฒนาการด้าน
เนื้อหาที่เด่นชัดยิง่ ขึน้ ถัดมา คือ การนาเสนอแนวคิดวาทกรรมกับการประกอบสร้างวรรณคดี
เกี่ยวกับ ประวัติศ าสตร์ โดยจะยกวาทกรรมที่ป รากฏอย่างเด่ น ชัด เท่ านัน้ ต่ อ เนื่ อ งด้ว ยการ
นาเสนอการสังเคราะห์งานศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และการนาเสนอแนวทางใน
การศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์เพื่อให้ผเู้ รียนหรือผูส้ นใจอื่น ๆ นาไปประยุกต์ใช้อย่าง
เหมาะสม และปิดท้ายด้วยการสรุปภาพรวมในการศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ ในการ
น าเสนอเนื้ อ หาแต่ ล ะบท ผู้เขีย นยกตัว อย่ างประกอบพอสมควร ทัง้ ตัว อย่า งจากบทความ
งานวิจยั วิทยานิพนธ์ของนิสติ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยจะยกตัวอย่าง ทัง้ จากวรรณคดี
สมัยโบราณ วรรณกรรมสมัยใหม่ ประเภทนวนิยาย บทละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เป็ นต้น และ
วรรณกรรมทีเ่ ผยแพร่ในท้องถิน่ รวมถึงการยกตัวอย่างรูปภาพต่า ง ๆ และการรวบรวมรายชื่อ

นวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ไว้อกี จานวนหนึ่ง ซึ่งยังไม่มใี ครเคยรวบรวมมาก่อน ทาให้เห็นความ


ทันสมัยของตาราเล่มนี้มากยิง่ ขึน้ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้อ่านที่สนใจงานแนวนี้มตี วั เลือกในการอ่าน
วรรณกรรมมากยิ่งขึ้น หรือ สามารถน าไปเป็ น แนวทางในการท ารายงานหรื อ ท าวิจยั ต่ อ ไป
กระนัน้ แม้ไม่ประสงค์ดงั ทีก่ ล่าวมาก็อ่านเพื่อประดับความรู้ เพิม่ พูนปญั ญาได้เป็ นอย่างดี
อนึ่ง ในการเขียนตาราเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์เล่มนี้ ผู้อ่านบางคนอาจพบเนื้อหาที่ขาด
หายไปบ้าง อาจมีว รรณกรรมหลายเล่ มที่ผู้อ่านรู้จกั แต่ ผู้เขียนไม่ได้นาเสนอ ซึ่ งน่ าจะมีมาก
สาหรับ ผู้อ่ านที่เป็ น นั ก อ่ านตัว ยง หรือ อาจยังสงสัย ใคร่รู้เนื้ อ หาบางช่ ว งบางตอน ที่ผู้เขีย น
นาเสนอโดยสังเขป นอกจากนี้อาจเห็นการวิเคราะห์ตวั บททีม่ ที ศิ ทางทีเ่ หมือนและแตกต่างจาก
นักวิชาการอื่น ๆ บ้าง ซึง่ บางคนสนใจวิเคราะห์เชิงขนบ หรือการอิงกับตัวบท ในขณะที่บางคน
เน้นการนาแนวคิดหลังสมัยใหม่มาอธิบายตัวบทเพื่อตีความใหม่ หรือรือ้ สร้างความหมายใหม่
เพื่อให้เห็นอานาจ การครอบงาบางอย่างในสังคม ทัง้ นี้ ตาราเล่มนี้องิ กับแนวคิดวรรณคดีศกึ ษา
เป็ นสาคัญ จึงอาจเห็นการวิเคราะห์สงั เคราะห์ท่เี ป็ นโครงสร้างเก่าอยู่ แต่ก็พยายามนาแนวคิด
ใหม่ ๆ เข้า มาเขีย นด้ ว ย เช่ น การน าเสนอในเชิง วาทกรรมเพื่อ ให้ แ ตกต่ า งจากเอกสาร
ประกอบการสอนหรือตาราทีผ่ ่าน ๆ มาทีม่ งุ่ ศึกษารูปแบบ ภาษา เนื้อหา เป็นต้น
ผูเ้ ขียนตระหนักดีว่า ตาราเล่มนี้ไม่ได้นาเสนอในทุกแง่มุม เนื่องจากอิงกับ ขอบข่ายของ
รายวิชาเท่านัน้ ผูเ้ ขียนจึงหวังว่า ตาราเล่มนี้น่าจะจุดประกายให้ผอู้ ่านนาไปต่อยอด หรือค้นคว้า
เพิม่ เติมได้อกี ด้วยอาจมีมติ หิ รือแง่มุมที่ต้องการขยายความเพิม่ ในขณะเดียวกันตาราเล่มนี้ก็
อาจช่วยเพิม่ พูนความรูใ้ นบางเรือ่ งให้กระจ่างแจ้งยิง่ ขึน้ ดังจะนาเสนอในแต่ละบทต่อไปนี้

บทที่ ๒
ควำมรู้พืน้ ฐำนทำงวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์

วรรณคดี คือ บทประพันธ์ท่มี ุ่งให้ค วามเพลิดเพลิน ใช้ถ้อ ยค าสานวนโวหารไพเราะ


สละสลวย ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ยกระดับจิตใจให้สูง และใช้เป็ นแบบแผนในการแต่งได้
(วิทย์ ศิวะศริยานนท์, ๒๕๑๔ : ๑-๘) วรรณคดีมกั สัมพันธ์กบั บริบททางประวัตศิ าสตร์หรือสภาพ
สังคมในยุคสมัยนัน้ ๆ การอ่านวรรณคดีเพื่อให้ได้คุณค่าทีแ่ ท้จริง จึงจาเป็ นจะต้องศึกษาควบคู่
กับบริบททางประวัติศาสตร์ เช่น ด้านผู้แต่ง ที่มาของเรื่องที่เป็ นต้นเค้า อาจจะได้รบั อิทธิพล
ภายในประเทศ หรือ ที่ได้รบั อิท ธิพ ลจากต่ างประเทศ ความมุ่งหมายที่แต่ ง วิว ฒ ั นาการและ
ความสัมพันธ์ต่อเนื่องระหว่างวรรณคดีแต่ละสมัย สภาพสังคมในสมัยที่แต่ง เช่น วัฒนธรรม
สภาพสังคม และเหตุการณ์ ของบ้านเมือง รวมถึงอิทธิพลที่วรรณคดีมตี ่อสังคมทัง้ ในสมัยที่แต่ง
และในสมัยต่อมา ในการทาความเข้าใจวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ ผูอ้ ่านอาจต้องมีความรู้
พื้น ฐานด้านขอบข่ายของการศึกษาวรรณคดีเกี่ย วกับ ประวัติศ าสตร์ ความสัมพัน ธ์ระหว่าง
วรรณคดีกบั ประวัตศิ าสตร์ และข้อแตกต่างระหว่างวรรณคดีและประวัตศิ าสตร์ ดังนี้

๒.๑ ขอบข่ำยของกำรศึกษำวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์
ขอบข่ายของการศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์เป็ นการศึกษาเพื่อให้เห็นความ
แตกต่างระหว่างวรรณคดีโดยทัวไปกั่ บวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ โดยผูเ้ ขียนจะให้นิยาม
และความส าคัญ ของของวรรณคดีโ ดยทัว่ ไปก่ อ น ต่ อ มาก็ จ ะนิ ย ามวรรณคดีเ กี่ ย วกั บ
ประวัติศ าสตร์ วิธกี ารศึก ษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศ าสตร์ และประโยชน์ ของการศึกษา
วรรณคดีเกี่ย วกับ ประวัติศ าสตร์ ซึ่งจะช่ ว ยให้ผู้อ่ านเข้าใจขอบข่ายของวรรณคดีเกี่ย วกับ
ประวัตศิ าสตร์อย่างกระจ่างชัดมากขึน้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๒.๑.๑ นิ ยำมและควำมสำคัญของของวรรณคดี
วรรณคดีป ระกอบขึ้น จากค าว่า "วรรณ" ซึ่งเป็ น ค าที่ม าจากภาษาสันสกฤต แปลว่า
"หนังสือ " ส่ วนค าว่า "คดี" มาจาก "คติ" ซึ่งเป็ นค าบาลีสนั สกฤต แปลว่า"เรื่อง"ตามรูปศัพ ท์
วรรณคดีจงึ แปลว่า "เรื่องที่แต่งเป็ นหนังสือ" ตามคาที่เข้าใจกันทัวไปคื
่ อ "หนังสือที่แต่งดี" มี
ความหมายตรงกัน ค าว่ า Literature ในภาษาอัง กฤษ พจนานุ ก รมราชบัณ ฑิต สถาน พ.ศ.
๒๕๕๔ (๒๕๕๕ : ๑๐๐๐) ให้คาจากัดความว่าวรรณคดี คือ วรรณกรรมที่ได้รบั การยกย่องว่า
แต่งดี มีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ถงึ ขนาด
พระราชกฤษฎีก ารจัดตัง้ วรรณคดีสโมสร กล่าวว่าวรรณคดีเป็ นหนังสือดี เป็ นเรื่องที่
สมควรซึ่งสาธารณชนจะอ่านได้โดยไม่เสียประโยชน์ คือไม่เป็ นเรื่องที่ชกั จูงความคิดผู้อ่าน ไป

ในทางอันไม่เป็ น แก่ น สาร ซึ่งจะชวนให้ค ิดวุ่น วาย ทางการเมื อ งอัน เกิด เป็ น เรื่อ งราคาญแก่
รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั และเป็ นหนังสือแต่ งดี ใช้วธิ เี รียบเรียงอย่างใด ๆ ก็
ตามแต่ตอ้ งให้เป็นภาษาไทยอันดี และถูกต้อง (เสฐียรโกเศศ, ๒๕๑๘ : ๑-๑๐)
วรรณคดีเป็ นความรูส้ กึ นึกคิดของกวี ซึง่ ถอดออกมาจากจิตใจให้ปรากฏเป็ นรูปหนังสือ
มีถ้อยคาเหมาะเจาะเพราะพริ้ง เร้าใจให้ผู้อ่านหรือผู้ฟงั เกิดความรูส้ กึ ทาหน้ าที่เป็ นเครื่องมือ
บันทึกชีวติ มนุษย์มาหลายยุคหลายสมัย เป็นผลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ทม่ี เี นื้อหาเชื่อมโยงกับ
วิถชี วี ติ ของมนุ ษย์ และเป็นทีย่ อมรับกันว่าเนื้อหาหลักของวรรณคดี คือ ประสบการณ์ของมนุษย์
ซึง่ บางครัง้ อาจสะท้อนออกมาในทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ ขึน้ อยู่กบั ว่าผูป้ ระพันธ์จะต้องการให้
ออกมาในลักษณะอย่างไรเพื่อให้เกิดความงดงาม และมีวรรณศิลป์ (บุญ เหลือ เทพยสุวรรณ,
๒๕๒๒: ๑-๓) นอกจากนี้ยงั เป็ นเสมือนกระจกเงาฉายให้เห็นชีวติ และความเป็ นอยู่ซง่ึ ซ่อนเร้น
อยู่ในร่างกายของคนและในชาติซ่งึ สาแดงออกมาให้ปรากฏเป็ นวัฒนธรรม วรรณคดีท่สี ูงเป็ น
เครือ่ งขัดเกลาอัธยาศัย และกล่อมอารมณ์ให้หายความหมักหมม หมกมุน่ หนุ นจิตใจให้ผ่องแผ้ว
ชื่นบาน และร่าเริงใจในชีวติ ทีต่ อ้ งการสาละวนอยู่กบั การทางานอาชีพอันจาเป็ น ให้ได้เห็นแง่คดิ
และความจริงให้กว้างขวางออกไป (เสฐียรโกเศศและนาคะประทีป, ๒๕๑๕ : ๑๙)
ในสมัยรัชกาลที่ ๗ เกิดคาว่า “วรรณกรรม” ขึน้ มาแทนที่วรรณคดีโบราณซึ่งปรากฏใน
พระราชบัญ ญัติคุ้ม ครองศิล ปะและวรรณกรรม พ.ศ.๒๔๗๕ โดยนิ ย าม “วรรณกรรมและ
ศิลปกรรม” รวมกันไว้หมายถึงสิง่ ทีเ่ ขียนขึน้ จะใช้รปู แบบใดก็ได้หรือเพื่อความมุ่งหมายอย่างใดก็
ได้ เช่น นวนิยาย เรื่องสัน้ ครัน้ สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มกี ารจัดตัง้ สานักงาน
วัฒนธรรมทางวรรณกรรมรวมอยู่ในกระทรวงวัฒนธรรมแห่งชาติพ.ศ. ๒๔๘๕ มีหน้าทีเ่ ผยแพร่
วรรณกรรมและส่งเสริมศิลปะการแต่งหนังสือ เพื่อรักษาวัฒนธรรมไทยอย่างเป็ นทางการสืบต่อ
จากวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ ๖ (ธวัช ปุณโณทก, ๒๕๒๗ : ๑) ในขณะที่ในพจนานุ กรม
ราชบัณ ฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ (๒๕๕๕ : ๑๐๐๐) ให้คาจากัดว่าวรรณกรรม คือ งานหนังสือ
งานประพันธ์ บทประพันธ์ทุกชนิด ทัง้ ทีเ่ ป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง
การแยกความแตกต่างระหว่างวรรณคดีและวรรณกรรมเริม่ มีให้เห็นอย่างชัดเจนมากขึน้
รัญจวน อินทรกาแหง (๒๕๑๙ : ๔-๕) กล่าวถึงความแตกต่างของวรรณคดีและวรรณกรรมว่า
นอกจากถือคุณสมบัตดิ า้ นวรรณศิลป์เป็ นเครื่องแบ่ง ยังมีผถู้ อื คุณสมบัติดา้ นเวลา หรือความเก่า
- ใหม่ เป็ นเครื่องแบ่งวรรณกรรมกับวรรณคดีดว้ ย กล่าวคือ ถือว่าหนังสือซึ่งเขียนขึน้ ตัง้ แต่ต้น
จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั ซึ่งเป็ นเวลาที่ยงั ไม่ได้รบั อิทธิพลจาก
วรรณกรรมตะวันตกเป็ นหนังสือประเภทวรรณคดี และถือว่าหนังสือที่เขียนขึน้ หลัง จากทีไ่ ด้รบั
อิทธิพลจากวรรณกรรมตะวันตกเป็นหนังสือประเภทวรรณกรรม
รื่น ฤทัย สัจ จพั น ธุ์ (๒๕๔๙ : ๕๘-๖๘) แยกความแตกต่ า งระหว่ า งวรรณคดี กั บ
วรรณกรรมว่า งานประพันธ์ท่สี บื ทอดกันมาช้านาน และมีผู้ยกย่องคุณค่า เป็ นที่ประจักษ์อย่าง
กว้างขวางมักได้รบั การเรียกขานว่า “วรรณคดี” ส่วนงานประพันธ์ในรูปแบบอย่างใหม่ซง่ึ ปรากฏ

นั บ แต่ ส มัย รัช กาลที่ ๕ เป็ น ต้ น มา มีคุ ณ ค่ า ในฐานะเป็ น งานประพั น ธ์ ร่ ว มสมัย เรีย กว่ า
“วรรณกรรม” แม้จะเรียกต่างกัน แต่วรรณคดีและวรรณกรรมต่างมีคุณลักษณะสาคัญ คือ เป็ น
ศิลปกรรมทีถ่ ่ายทอดความรูส้ กึ นึกคิดของมนุษย์ดว้ ยภาษา อันอาจเป็นภาษาพูดหรือเขียนก็ได้
อนึ่ง การใช้คาว่า “วรรณคดี” ในทีน่ ้ี ผูเ้ ขียนขยายขอบเขตไปจนถึงวรรณกรรมหรืองาน
เขียนทีใ่ ช้ภาษาถ่ายทอดความรูส้ กึ นึกคิดของมนุ ษย์ มีทงั ้ ร้อยแก้วและร้อยกรอง เช่น กวีนิพนธ์
นวนิยาย เรื่อ งสัน้ บทภาพยนตร์ บทโทรทัศ น์ และเรื่อ งเล่าต่ าง ๆ ที่เกี่ยวกับประวัติศ าสตร์
เนื่องจากศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกบั ประวัตศิ าสตร์ทเ่ี ชื่อมโยงจนถึงปจั จุบนั
๒.๑.๒ นิ ยำมของวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์
วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ คือ วรรณคดีทแ่ี ต่งขึน้ โดยมีเนื้อหาทางประวัตศิ าสตร์เป็ น
แก่นของเรื่อง ซึ่งอาจเป็ นประวัติความเป็ นมาของคนในชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความ
เป็นอยู่ ตลอดจนความรูส้ กึ นึกคิดของคนในชาติ (สายใจ อินทรัมพรรย์, ๒๕๔๑ : ๒๑๙) สามารถ
ใช้เป็ นเครื่อ งมือ บันทึก พงศาวดาร ต านาน (อุ ดม รุ่งเรือ งศรี, ๒๕๓๓ : ๕) และจดหมายเหตุ
พรรณนาเหตุการณ์ ความเป็ นไปของบ้านเมือง (ประสิทธิ ์ กาพย์กลอน,๒๕๒๓ : ๒) เป็ นการนา
เนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ในประวัตศิ าสตร์มาสร้างสรรค์ ขน้ึ ใหม่โดยใช้ตวั ละครที่มตี วั ตนอยู่จริง
ในประวัติศาสตร์และที่ส มมุติข้นึ มาใหม่แสดงบทบาทร่วมกัน (ราชบัณ ฑิต ยสถาน, ๒๕๔๕ :
๒๑๑) หากแต่งเป็ นนวนิยาย ผู้แต่งมักเลือกเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง หรืออาจนาการศึกษา
ค้น คว้าของนัก ประวัติศ าสตร์บ างคนมาเป็ น ข้อ มู ล แล้ว ผูกเรื่อ งราวด้ว ยกลวิธ ีก ารน าเสนอที่
หลากหลาย โดยผู้แ ต่งต้อ งมีพ้นื ความรู้ ในสาขาวิชาที่นามาเป็ นพื้นหลังของงานของตนมาก
พอสมควร ทัง้ ยังต้องระมัดระวังความถูกต้องตามข้อเท็จจริง ในสาขาวิชานัน้ ๆ ด้วยเพื่อมิให้บนั ่
ทอนคุณค่าของเนื้อหาในเรือ่ ง (วินิตา ดิถยี นต์, ๒๕๓๕ : ๓๖)
วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์อาจอยู่ในรูปแบบของคาประพันธ์ประเภทร้อยกรอง ร้อย
แก้ว หรือ แต่งเป็ นเรื่องเล่า (narrative) ที่มที งั ้ เรื่องจริงและเรื่องแต่งผสมกัน ก็ได้ เช่น ข่าว บท
ละครโทรทัศน์ นิทาน ตานาน ภาพยนตร์ ภาพในจิตรกรรมฝาผนังซึง่ มีการเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ
เป็ นต้น โดยผูแ้ ต่งอาจเล่าผ่านตัวละคร เสียง หรือภาพก็ได้ ทัง้ นี้ การนาเสนอวรรณคดีเกี่ยวกับ
ประวัติศ าสตร์ใ นฐานะเรื่อ งเล่ า ถือ ว่ า เป็ น กลวิธ ีท างวรรณศิ ล ป์ ที่ ม ีก ารตั ด -ต่ อ แต่ ง -เติ ม
เหตุการณ์ต่าง ๆ มีการซ่อนเร้นจุดมุ่งหมายหรืออุดมการณ์บางอย่างของผูแ้ ต่งแต่ละช่วงเวลาไว้
อย่างแยบยล จึงต้องอาศัยการตีความสิง่ ที่ซ่อนเร้นไว้นัน้ เพราะสิง่ ที่สะท้อนอยู่ในวรรณศิลป์
ไม่ใช่ “ความจริง” ทัง้ หมด แต่เป็นเพียง “ความจริง” ผ่านทัศนะของผูแ้ ต่ง
การศึก ษาข้อ มูล ทางประวัติศ าสตร์ช่วยให้ศึกษาวรรณคดีท่ีแจ่มชัดขึ้น เพราะเอกสาร
ต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นสภาพสังคมในแต่ละสมัยทีแ่ ตกต่างกัน ดังวรรณกรรมประเภทจารึกมักถือ
กาเนิดในสมัยสุโขทัย วรรณกรรมประเภทตานานเกิดขึน้ ตอนปลายสมัยสุโขทัยและต้นกรุงศรี
อยุธยา วรรณกรรมประเภทพงศาวดารเกิดขึ้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาได้ก่อร่างสร้างตัวอย่างมันคง ่

ราวพุ ท ธศตวรรษที่ ๒๑ ผู้แ ต่ งอาจเขียนในลักษณะที่เป็ นร้อ ยแก้วหรือ ร้อ ยกรองก็ได้ แม้จด


บันทึกเรือ่ งราวในเครือ่ งมือต่าง ๆ แต่ต้องใช้ถอ้ ยคาสละสลวยในเชิงวรรณคดี (นิพนธ์ สุขสวัสดิ ์,
๒๕๒๐ : ๔-๕) ตัวอย่าง เรือ่ งถกเขมรของม.ร.ว.คึกฤทธิ ์ ปราโมช ทีผ่ เู้ ขียนใช้กลวิธกี ารบรรยาย
เพื่อให้ผอู้ ่านทราบประวัตขิ องปราสาทนครวัด โดยใช้ภาษาทีเ่ ข้าใจง่าย เห็นภาพ
พอเรารูส้ กึ ว่าเริม่ จะร้อนและเหงื่อตก เราก็มาถึงประตูชนั ้ นอกของนครวัดซึง่ มีกาแพงหิน
ล้อมรอบ ความจริงถ้าเรียกสิง่ ก่อสร้างนี้ว่าประตู ดูจะไม่ถูก กับขนาดความใหญ่ โต ต้อง
เรียกว่าทวารจึงจะถูก และทวารนี้สร้างเป็ นปราสาทสามยอด มีระเบียงแล่นถึงกันตลอด
ยาวประมาณ ๒๕๐ เมตรสองข้างทวารหรือปราสาทนี้มปี ระตูใหญ่อยูร่ ะดับเดียวกับพืน้ ดิน
เป็ นทางเข้าสาหรับช้าง เมื่อพ้นทวารนี้เข้าไปแล้วเราต้องสะดุง้ อีกครัง้ เพราะเราได้ แลเห็น
ตัวปราสาทนครวัดอยู่ขา้ งหน้า และก่อนที่เราจะถึงปราสาทนัน้ เราจะต้องเดินไปตามถนน
ศิลาซึง่ ยาวอีก ๓๕๐ เมตร และกว้างประมาณ ๑๐ เมตร (ถกเขมร)

การสอดแทรกเรื่องราวทางประวัตศิ าสตร์ในบทประพันธ์ของตนนัน้ ย่อมสื่อถึงแนวคิด


และทัศนคติของผู้แต่งและยุคสมัยที่แต่งได้ดี เพราะประวัตศิ าสตร์เป็ นเหตุการณ์ ท่ผี ่านไปแล้ว
ยิ่ง เป็ น ประวัติศ าสตร์ใ นยุ ค สมัย ที่ก าลเวลาล่ ว งเลยมานานแล้ว ไม่ ม ีห ลัก ฐานที่แ สดงถึง
เหตุการณ์ทเ่ี กิดขึน้ จริง แนวคิดทีเ่ กิดขึน้ ก็ย่อมเปลี่ยนไป อาจมาจากมีหลักฐานเพิม่ เติมหรือมี
แนวคิดวิเคราะห์ทเ่ี กิดขึน้ ใหม่ ฉะนัน้ เรือ่ งราวทางประวัตศิ าสตร์อาจเปลีย่ นไปจากเดิมได้ ทัง้ นี้
ในการศึกษาวรรณกรรม ผู้ศึกษาต้องทาความเข้าใจว่าวรรณกรรมเป็ นสิง่ ที่ผู้แต่งแต่งขึน้ จาก
จินตนาการ ผูแ้ ต่งจึงมีสทิ ธิ ์ที่จะเสนอความคิดเห็นหรือแต่งเติมข้อมูลอย่างไรก็ได้ โดยพยายาม
ให้ขอ้ มูลตัง้ อยูบ่ นพืน้ ฐานแห่งความจริง เพื่อให้นวนิยายนัน้ เกิดความสมจริงมากทีส่ ุด

๒.๑.๓ วิ ธีกำรศึกษำวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์
การศึก ษาวรรณคดีเกี่ยวกับ ประวัติศ าสตร์ วิธกี ารศึกษาที่ดี คือ การที่ผู้อ่ านต้อ งท า
ความเข้าใจว่าวรรณคดีเป็ นสิง่ ทีส่ ะท้อนให้เห็นถึงชีวติ และสภาพสังคมในสมัยของผูแ้ ต่ง สภาพ
สังคมของตัวละครในบทประพันธ์นัน้ ๆ ตลอดจนเป็ นสิง่ ที่ส ะท้อนให้เห็นความรู้สกึ อารมณ์
จินตนาการ และโลกทัศน์ของผู้แต่งที่มตี ่อโลกภายนอก วรรณคดีมไิ ด้ก่อกาเนิดขึน้ มาในความ
ว่ างเปล่ า เพราะได้ร วมวัฒ นธรรมต่ า ง ๆ ของสัง คมที่ว รรณคดีนั น้ ถือ ก าเนิ ด ขึ้น ผู้แ ต่ งได้
สร้างสรรค์วรรณคดีขน้ึ มาในช่วงใดช่วงหนึ่งของประวัตศิ าสตร์เพื่อต้องการสื่อมายังผูอ้ ่าน ฉะนัน้
ผู้ศึก ษาจะต้อ งมีค วามรู้แ ละความเข้าใจภู ม ิห ลังทางประวัติศ าสตร์พ อสมควรเพื่อ ให้เข้าใจ
วรรณคดีบ างแง่ บ างมุ ม ได้ ล ึก ซึ้ง ยิ่ง ขึ้น (สายทิพ ย์ นุ กู ล กิจ , ๒๕๒๓ : ๑๘๒) ที่ส าคัญ คือ
การศึกษาถึงสภาพแวดล้อมทางสังคมจะเป็นเครื่องช่วยไขความมืดมนในบางแง่มมุ ของวรรณคดี
ได้ แต่ผเู้ รียนจะต้องไม่ยดึ ถือว่าวรรณคดีคอื เอกสารทางประวัตศิ าสตร์ ทัง้ นี้ เพราะไม่อาจเชื่อถือ
ในความถูกต้องแม่นยาในการเสนอข้อเท็จจริง ทางประวัตศิ าสตร์ของผู้แต่งได้เสมอไป หรือไม่

ทราบว่าการนาเสนอข้อ เท็จจริงทางประวัติศาสตร์ของผู้แต่งถูกต้องแม่นยามากน้ อยเพียงใด


(ประสิทธิ ์ กาพย์กลอน, ๒๕๒๓ : ๕) ผูแ้ ต่งบางคนอาจจะบิดเบือนข้อเท็จจริงทางประวัตศิ าสตร์ก็
ได้ อย่างไรก็ต าม การมีค วามรู้ท างประวัติศ าสตร์ ก็ถือ ว่าสาคัญ ดังที่ ห ม่อ มหลวงบุ ญ เหลือ
เทพยสุ ว รรณ (๒๕๒๐ : ๑๓-๑๔) กล่ า วว่ า หากไม่ ม ีค วามรู้เพีย งพอเกี่ย วกับ ภู ม ิห ลัง ทาง
ประวัตศิ าสตร์จะไม่ได้ประโยชน์ จากการศึกษาวรรณคดีนกั

๒.๑.๔ ประโยชน์ ของกำรศึกษำวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์


ในการศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ย่อมสามารถเอื้อประโยชน์ ให้แก่
ผูอ้ ่านได้เป็ นอย่างดี ซึ่งผู้เขียนพบว่าประโยชน์ของการศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกั บประวัตศิ าสตร์ม ี
ั ญาของผู้ แ ต่ ง วรรณคดี รู้เ หตุ ก ารณ์ เ บื้ อ งหลัง ทาง
ทัง้ การท าให้ ท ราบบ่ อ เกิ ด และภู ม ิป ญ
ประวัติศ าสตร์ ทราบความเป็ น มาและจุ ด เปลี่ย นชีว ิต ของคนป จั จุ บ ัน รู้จ ัก ตนเอง ปลู ก ฝ งั
วัฒนธรรมของชาติ และโน้มน้าวให้รกั ชาติและภูมใิ จในบรรพชน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

๒.๑.๔.๑ ท ำให้ ท รำบบ่ อ เกิ ด และภูมิ ปั ญ ญำของผู้แต่ ง วรรณคดี สิท ธา


พินิ จภูวดลและ นิต ยา กาญจนะวรรณ (๒๕๒๗ : ๖๒-๖๖) กล่าวว่าการศึกษาวรรณคดีแนว
ประวัตทิ าให้ทราบต้นกาเนิดของวรรณคดีว่าเกิดขึน้ ได้อย่างไร เกิดขึน้ ในสมัย ใด เกิดขึน้ มาอย่าง
เดียวกันหรือไม่ รูจ้ กั ผูแ้ ต่งวรรณคดีว่ากวีคอื ใคร มีความรูส้ กึ นึกคิดอย่างไร อะไรเป็ นเหตุทาให้
เขาแต่งเรื่องเช่นนัน้ ในบางยุคสมัยผู้แต่งวรรณคดีเป็ นคนในราชสานักเป็ นส่วนมาก การศึกษา
ประวัติวรรณคดีทาให้เข้าใจแนวสร้างวรรณคดี และทาให้ทราบพลังปญั ญาของบุคคลในชาติ
เช่ น การแสดงพลังปญั ญาในการนาเรื่องราวทางการเมืองมาเรียบเรียงเป็ นบทเพลงหรือ บท
ประพันธ์แทนการเล่าเรื่อ งอย่างธรรมดา ๆ คนที่มคี วามสามารถจะหาทางออกในแนวแปลก
งดงามและมีผลดี วรรณคดีทม่ี แี นวต่าง ๆ กันเป็ นผลของการแสดงพลังปญั ญาของบุคคลในชาติ
ดังเรื่องลิลติ ตะเลงพ่ายของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุ ชติ ชิโนรสทีผ่ แู้ ต่งนามาจาก
พงศาวดาร ในขณะที่เรื่อ งลิล ิต ดัน้ สดุ ดี บ้านบางระจัน ของพระยาอุ ป กิต ศิล ปสารน ามาจาก
พงศาวดารไทยรบพม่าของสมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุ ภาพ
จบ เสร็จเสาวพากย์ถอ้ ย วิตถาร แถลงนา
ลิลติ ราชพงศาวดาร แต่ก้ี
ตะเลง เหล่าดัสกรลาญ มลายชีพ ลงฤๅ
พ่าย พระเดชหลีกลี้ ประลาตต้อนแตกสยาม
(ลิลติ ตะเลงพ่าย)

บางระจันเรือ่ งนี้ นาเสนอ


จากเรือ่ งรบพม่าของ พระเจ้า-
บรมวงศ์เธอ กรมพระ ดารงฯ นา
ผูกลิลติ เค้าดัน้ ประดับกรรณ
(ลิลติ ดัน้ สดุดบี า้ นบางระจัน)

๒.๑.๔.๒ รู้เหตุกำรณ์ เบื้องหลังทำงประวัติศำสตร์ ในการศึกษาวรรณคดี


เกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ ประโยชน์ อย่างหนึ่ง คือ การรูเ้ หตุการณ์เบื้องหลังทางประวัตศิ าสตร์ซ่งึ
เกิดจากการค้นคว้าข้อมูลทางประวัตศิ าสตร์และจากข้อมูลประกอบอื่น ๆ เช่น วรรณคดี คาบอก
เล่า ผนวกกับจินตนาการและศิลปะการประพันธ์ของผู้แต่ง นับว่าเป็ นการจาลองโลกในอดีตให้
กลับ ฟื้ น ขึ้น มามีชีว ิต อย่ างสมจริงตามรูป แบบนวนิ ย าย ผู้อ่ า นที่ด้อ ยประสบการณ์ ก ารเสพ
วรรณกรรมและขาดภู ม ิรู้ท างประวัติ ศ าสตร์ อาจไม่ ส ามารถแยกแยะระหว่ า งข้อ มู ล ทาง
ประวัตศิ าสตร์กบั จินตนาการของผูแ้ ต่งได้ ดังผูอ้ ่านทีย่ ดึ ว่า โสภาค สุวรรณ เขียนเรือ่ งสายโลหิต
ดีเกินไป (โสภาค สุวรรณ, ๒๕๔๕ : หน้าคานา)
วรรณคดีเกี่ย วกับ ประวัติศ าสตร์ห ลายเรื่อ งสะท้อ นให้เห็น สภาพสังคมหรือ
เหตุการณ์ ทางประวัตศิ าสตร์ได้เป็ นอย่างดี ฉะนัน้ การทาความเข้าใจถึงสถานการณ์ ทางด้าน
สังคม และเหตุการณ์ ทางด้านประวัติศาสตร์ ตลอดจนประวัติของผู้แต่งจะทาให้เข้าใจตัวงาน
วรรณคดียงิ่ ขึน้ ดังการทาความเข้าใจเบือ้ งหลังเรือ่ งนิราศลอนดอนว่าเกีย่ วข้องกับความสัมพันธ์
ด้านการทูตในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ห ัว เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ สมัยนัน้ สมเด็จ
พระราชินีวกิ ตอเรีย พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ได้ทรงแต่งตัง้ ให้เซอร์ยอห์น เบาริง เป็นราชทูตเชิญ
พระราชสาสน์ และเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หวั และ
ขอให้รฐั บาลไทยทาหนังสือ สัญ ญาพระราชไมตรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั ทรง
พระราชดาริเห็นว่า การที่เซอร์ยอห์น เบาริงเข้ามาคราวนี้ เป็ นอย่างเดียวกับเมื่อครัง้ แผ่นดิน
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ราชทูตฝรังเศสเชิ ่ ญพระราชสาสน์ของพระ
เจ้าหลุ ยส์ท่ี ๑๔ เข้ามาเจริญ พระราชไมตรี จึงโปรดให้จดั การรับ รองราชทูต ให้เป็ นการใหญ่
หลังจากการรับรองราชทูตของสมเด็จพระราชินีวกิ ตอเรียแห่งกรุงอังกฤษแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้
จัดส่งคณะทูตประกอบด้วยพระยามนตรีสุรยิ วงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) เป็ นราชทูต เจ้าหมื่นสรรเพชร
ภักดี (เพ็ญ เพ็ญกุล) เป็นอุปทูต จมื่นมณเฑียร พิทกั ษ์ (ด้วง) เป็นตรีทูต หม่อมราโชทัย (หม่อม
ราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) เป็ นล่ามหลวงจมื่นราชามาตย์ (ท้วม บุนนาค) เป็ นผู้กากับเครื่อง
ราชบรรณาการ นายพิจารณ์สรรพกิจ (ทองอยู่ กัลยาณมิตร) เป็ นผู้ดูแลเครื่องราชบรรณาการ
และมีบุคคลอื่นทีม่ หี น้าทีร่ องลงไปอีก ๒๑ คน รวมเป็ นคณะทูต ๒๗ คน เชิญพระราชสาสน์และ
เครื่องราชมงคลราชบรรณาการไปถวายสมเด็จพระราชินีวกิ ตอเรีย เป็ นการเจริญพระราชไมตรี
ตอบ หม่อมราโชทัยซึง่ เป็นล่ามหลวงได้ออกเดินทางร่วมไปในคณะราชทูตด้วย การเดินทางไปสู่
๑๐

ราชส านัก สมเด็จพระราชินีว ิกตอเรียครัง้ นัน้ นอกจากหม่อมราโชทัยบันทึก การเดินทางเพื่อ


ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั แล้ว ยังได้แต่งคากลอนนิราศให้ช่อื ว่า
“นิราษเมืองลอนดอน” ขึน้ ด้วยอีกสานวนหนึ่งเพื่อบันทึกเรื่องน่ ารูต้ ่าง ๆ ของบ้านเมืองที่ได้เห็น
จนหมอบรัดเลย์ได้ขอซื้อ ลิขสิทธิ ์พิมพ์จาหน่ ายและตัง้ ชื่อหนังสือนี้ ว่า “นิราษเมือ งลอนดอน”
นับว่าเป็ นการซือ้ ขายลิขสิทธิ ์ครัง้ แรกในประวัตกิ ารพิมพ์ของไทย ครัน้ มีการชาระวรรณคดีและมี
การตีพมิ พ์เป็ นเล่มให้แพร่หลายยิง่ ขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อเป็ น นิราศลอนดอน ต่อมาสมเด็จพระเจ้า
บรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุ ภาพ เมื่อครัง้ ดารงตาแหน่ งนายกราชบัณฑิตยสภา ทรง
เห็นว่า นิราศลอนดอน นอกจากเป็ นกวีนิพนธ์ท่นี ่ ารูอ้ ่านแล้วยังมีความสาคัญในเชิงเป็ นเอกสาร
ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี จึงได้ทรงนามาจัดพิมพ์ไว้ในหนังสือสาคัญของชาติ คือ ชุด
ประชุมพงศาวดาร ภาค ๔๕ เมือ่ พ.ศ. ๒๔๗๐

๒.๑.๔.๓ ทรำบควำมเป็ นมำและจุดเปลี่ยนชีวิตของคนปัจจุบนั การศึกษา


วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ช่วยให้ผู้อ่านรับรูท้ ่ีมาของตนเองเพื่อนามาเชื่อมโยงกับสังคม
ปจั จุบนั ทัง้ ในด้านความเชื่อ ค่านิยม วิถชี วี ติ วัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ ทาให้เห็นจุดเชื่อมโยง
และจุด เปลี่ย นด้านต่ าง ๆ เช่ น การกล่ าวถึงการแต่ งกายของสตรีช าววังในนวนิ ย ายเรื่อ งสี่
แผ่นดิน สมัยรัชกาลที่ ๕ กับสมัยรัชกาลที่ ๖ ที่แตกต่างกัน สมัยรัชกาลที่ ๕ กล่าวถึงการแต่ง
กายของผู้ห ญิ ง ว่ า มัก นุ่ ง ผ้า ลาย โจงกระเบน ใส่ เสื้อ กระบอก ส่ ว นเครื่อ งประดับ ที่ใ ช้ เช่ น
สร้อยคอ สร้อยตัว สร้อยข้อมือ กาไล แหวน และเข็มขัด ดังรายละเอียดจากเรือ่ งสีแ่ ผ่นดิน
สตรีทุกคนทีเ่ ข้ามา ในห้องนัน้ แต่งกายสะอาดสะอ้าน เป็นแบบเดียวกัน ทุกคนนุ่ ง
ผ้าลายห่มผ้าแถบสีประจาวัน อย่างเดียวกัน จะผิดกันก็ท่แี หวน หรือสายสร้อย
เครื่องประดับกาย ทุกคนหอมกรุ่นไปด้วยกลิน่ อบ กลิน่ ร่ า นัง่ ที่ไหน ก็หอมติด
กระดาน ผมใส่น้ ามันหวีเรียบ แต่ละคนขัดสีฉวีวรรณ ร่างกายตนมาแล้วอย่างยอด
เยีย่ ม (สีแ่ ผ่นดิน)

ส่ ว นการแต่ ง กายของพระวรกัญ ญาฯ พระคู่ ห มัน้ ของรัช กาลที่ ๖ ซึ่ง เป็ น


แบบอย่างให้แก่ ค นในยุค นัน้ (ซึ่งต่อ มาการแต่ งกายเหล่ านี้ก็ปรับเปลี่ยนไปตามยุค สมัย) ดัง
ข้อความตอนหนึ่งที่กล่าวถึงยุคสมัยของพระวรกัญญาฯ ในเรื่องสีแ่ ผ่นดินว่า ผูห้ ญิงนิยมใส่เสื้อ
ยาวคลุมเข่าคล้ายกระโปรง ไว้ผมยาว บ้างก็ตดั เป็ นลอน หรือตัดสัน้ โดยซอยด้านหลังให้ลาด
เฉียงลงแนบต้นคอ ใครผมยาวก็มกั เกล้ามวย และมักใช้เครือ่ งประดับคาดรอบศีรษะ
บรรดาสตรีทงั ้ สาวและไม่ส าวก็เริม่ แต่ งกายไปตามแบบที่พ ระวรกัญ ญาฯ โปรดทรง
แบบนัน้ ก็คอื นุ่ งผ้าโจงกระเบน ใส่ถุงเท้า รองเท้า และเสื้อรัดเอวปล่อยชายยาวลงมา
เหมือนกระโปรงเกือบจะคลุมผ้านุ่ งนัน้ มิด ดูไกล ๆ ก็เหมือนกระโปรงแหม่มอย่างสัน้ ๆ
๑๑

ใครที่ไว้ผมยาวก็เกล้ามวย แล้วใช้แถบกามะหยีห่ รือแพรรัดที่หน้าผาก ผู้หญิงคนใดที่


แต่งตัวกันอย่างนี้กน็ บั ว่าทันสมัยเป็นที่สุด (สีแ่ ผ่นดิน เล่ม ๒)

เมื่อศึกษาเรื่อง “พาราสาวัตถี” ซึ่งเป็ นกวีนิพนธ์ของคมทวน คันธนู ในหนังสือ


กวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย : บทวิเคราะห์และสรรนิพนธ์ (สุมาลี วีระวงศ์และคณะ, ๒๕๔๔: ๑๔๑-
๑๔๓) โดยนามาเปรียบเทียบกับเรื่องศิลาจารึก พ่อขุนรามค าแหงแล้วพบว่าบริบ ททางสังคม
เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน ในสมัยสุโขทัยสะท้อนให้เห็นสภาพสังคมที่ร่มเย็นเป็ นสุข สภาพ
เศรษฐกิจดี และการตัดสินคดีความเป็ นไปด้วยความยุตธิ รรม การโกงกินมีน้อย ในขณะทีส่ งั คม
สมัยรัตนโกสินทร์สะท้อนให้เห็นสภาพสังคมทีแ่ ร้นแค้น มีแต่การฉ้อฉลโดยทัวไป
่ ดังตัวอย่าง

บริ บทสังคมวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย บริ บทสังคมวัฒนธรรมสมัยรัตนโกสิ นทร์


พ่อกูช่อื ศรีอนิ ทราทิตย์ แม่กูช่อื นางเสือง พี่กู พ่อกูช่อื ศรี อยู่ถนนพระอาทิตย์ แม่กูช่อื นางชื้น
ชื่อบานเมือง ตูพน่ี ้องท้องเดียวห้าคน ผูช้ ายสาม พี่กูช่อื บานชื่น กูพ่นี ้องท้องเดียว ๗ คน ผู้ชายสาม
ผูญ้ งี โสง พีเ่ ผือผูอ้ า้ ยตายจากเผือเตียมแต่ยงั เล็ก ผูห้ ญิงสี่ พีก่ ูคนหนึ่งอดข้าวตายตัง้ แต่เล็ก
เมื่อ กู ข้นึ ใหญ่ ได้ สิบ เก้าเข้า ขุน สามชนเจ้า เมื่อกูอายุได้สบิ ขวบ กูวงิ่ ขายหนังสือพิมพ์ตามสี่
เมือ งฉอดมา ท่ เมือ งตากพ่ อ กู ไ ปรบ ขุ น สาม แยก ขุน สิท ธิเจ้าเมือ งโฉด สังให้ ่ ต ารวจชนพวกกู
ชน หัวซ้ายขุนสามชนขับมา หัวขวา ขุนสามชน มันโผล่มาทางซ้าย กูยา้ ยมาทางขวา ส่วนแม่กูเป็ น
เกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกูหนีญญ่าย พ่ายจะ หาบเร่ หอบไม้คานหนียะย้าย เทศบาลมันไล่จะแจ
แจ้น กูบ่หนี กูขช่ี า้ งเบกพล กูขบั เข้าก่อนพ่อกู กู พ่อ กูข่ตี ุ๊ กตุ๊กพุ่งเข้ารับ กูรบี ขนของขึ้นรถ พ่ อกูจงึ
ต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้างขุนสามชนตัว ชื่อกูว่ารอด เมือ่ กูพุ่งขวางทางตารวจเทศกิจ
ชื่อ มาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจงึ ขึ้น
ชื่อกูช่อื พระรามคาแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน
เมือ่ ชัวพ่
่ อกู กูบาเรอแก่พ่อกู กูบาเรอแก่แม่กู กู เมื่อ ชัว่ พ่ อ กู กู บ าเรอแก่ พ่ อ กู แ ม่กู พี่น้ อ งกู ก็
ได้ตวั เนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้ม บ าเรอแก่ บ้านกู ข ายพวงมาลัย ขายหนังสือ พิม พ์
หมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อ ขายของเก่ า ฯลฯ ก็เอามาแก่พ่อกู ของใดที่กินได้
กู กู ไปตี หนังวังช้างได้ กู เอามาแก่ พ่ อ กู กูไปท่ ตามถังขยะ ก็เอามาแก่ญาติกู พีส่ าวกูไปนวดให้ใคร
บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปวั ่ ได้นาง ได้เงือน ได้ผ ัว ได้ส ตางค์ ได้ เงิน ได้ท อง ก็ส่ งมาให้แก่ พ่ อ กู
ได้ทอง กู เอา มาเวนแก่ พ่ อ กู พ่ อกูต ายยังพี่กู กู พ่อกูเป็นปอดบวมตาย ยังแม่กู กูพร่าบาเรอแก่แม่กู
พร่าบาเรอแก่พก่ี ู ดังบ ่ าเรอแก่พ่อกู พีก่ ูตาย จึง่ ได้ น้องกู แม่กูปว่ ยพวกกูกเ็ ศร้าทัง้ กลม
เมืองแก่กูทงั ้ กลม
เมื่อชัวพ่
่ อขุนรามคาแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ใน เมื่อชัวยั
่ งชีพเป็นอ้ายรอด เมืองรัตนโกสินทร์น้ี
น้ า มีป ลา ในนามีข้า ว เจ้า เมือ งบ่ เ อาจกอบใน ดี มีน้ าในตา ในนามีข้ี คนนัง่ เมืองมีแต่จะกอบจาก
ไพร่ลูท่าง เพื่อ นจูงวัว ไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจัก ไพร่ทุ กทาง เพื่อ นจู งวัว ไปขาย จูงควายไปใช้ห นี้
๑๒

ใคร่ค้าช้างค้า ใครจัก ใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้า ท่านใคร่คา้ ฝิ่นค้า ค้าของเถื่อนค้า ท่านใคร่คา้ เงินค้า


เงือนค้าทองค้า ไพร่ฟ้ าหน้ าใสลูกเจ้าลูก ขุนผู้ใด ทองค้า ไพร่ฟ้าหน้ าเซียว ทุกข์เข้าทุกคนทัวไปแล้ ่
แล้ ล้ม ตายหายกว่ า เหย้าเรือ นพ่ อ เชื้อ เสื้อ ค า วิ่ง แร่ห นี ต ายห่ า ไปซาอุ ฯ ทุ ก เหย้ า เรือ นเสื้อ ตัว
มัน ช้า งขอ ลู ก เมีย เยีย ข้า ว ไพร่ ฟ้ าข้ า ไท ป่ า กางเกงตัว ทิง้ ลูกเมียนอนเสียใจ รอฟงั ข่าว
หมากป่าพลูพ่อเชื้อมันไว้แก่ลูกมันสิน้ ไพร่ฟ้าลูก จารึก ดช.รอด (หน้าที่ ๑)
เจ้าลูก ขุน ผิแ ลผิด แผกแสก ว้างกัน สวนดู แท้
แล้ จึง่ แล่งความแก่ขาด้วยซื่อ เข้าผูล้ กั มักผูซ้ ่อน
เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พนี เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด คน
ใดขีช่ า้ งมาหา พาเมืองมาสู่ ช่อยเหนือเฟื้อกู้ มัน
บ่ มี ช้ า งบ่ มี ม้ า บ่ มี ป ัว่ บ่ มี น าง บ่ มี เ งื อ น บ่ มี
ทอง ให้แก่มนั ช่อยมันตวงเป็ นบ้านเป็ นเมือง ได้
เข้าเสือกข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบก็ดี บ่ฆา่ บ่ตี
(ทีม่ า : ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๔)
ตำรำงที่ ๑ เปรียบเทียบบริบทสังคมวัฒนธรรมสมัยสุโขทัยและรัตนโกสินทร์
อนึ่ง มีการนาเรื่อง “พาราสาวัตถี” ไปประยุกต์ใช้กบั ทฤษฎีรปู แบบนิยมรัสเซีย
ด้วย ดังสุรเดช โชติอุดมพันธ์ (๒๕๕๙ : ๗๓-๗๔) กล่าวว่าเรื่อง “พาราสาวัตถี” ผูแ้ ต่งจงใจใช้คา
และโครงสร้างประโยคทีค่ ล้ายคลึงกับตอนต้นของศิลาจารึกหลักทีห่ นึ่งเพื่อทาให้ผอู้ ่านรูส้ กึ สะดุด
แต่กจ็ งใจบิดผันข้อความบางอย่างในกวีนิพนธ์ไม่ให้เหมือนกับความในศิล าจารึก อาทิ “พ่อกูช่อื
ศรี อยู่ถนนพระอาทิตย์” การจงใจล้อเลียนภาษาในศิลาจารึกนัน้ เกิดจากต้องการให้ผอู้ ่านราลึก
ถึงสภาพสังคมไทยในอดีตที่ “ในน้ ามีปลา ในนามีขา้ ว” มีทรัพยากรต่าง ๆ อุดมสมบูรณ์และผูค้ น
อยู่กนั อย่างมีความสุข หากแต่ในปจั จุบนั กลับเป็ นสังคมที่เสื่อมทราม ผู้คนเต็มไปด้วยความขม
ขืน่ และทุกข์ยาก ผูป้ กครองก็ปกครองด้วยความไม่เป็ นธรรม มุ่งหวังแต่ จะกอบโกยผลประโยชน์
คาว่า “รอด” ซึ่งเป็ นชื่อของเด็กที่จารึกมีความหมายเปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน กล่าวคือ จากเดิมมี
นัยของการรอดพ้นจากภยันตรายต่าง ๆ มาเป็ นนัยของการเอาตัวรอดในเมืองใหญ่ เมืองในที่น้ี
จึงไม่ใช่สุโขทัยในอดีต แต่มลี กั ษณะคล้าย “พาราสาวัตถี” ซึง่ เป็ นเมืองในคากาพย์เรื่องพระไชย
สุรยิ า ที่ต้องล่มสลาย เพราะผู้คนไม่มศี ลี ธรรมจรรยา การใช้ภาษาตามศิลาจารึกหลักที่หนึ่งนัน้
เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างสังคมปจั จุบนั กับสังคมในอดีต ภาษาหรือรูปแบบการ
นาเสนอจึงไม่สามารถแยกออกได้จากความคิดของกวี การใช้ภาษาตามแบบศิลาจารึกหลั กที่
หนึ่งจึงเป็ นการทาให้แปลกและเป็นการขับให้ตวั เน้นมาอยู่ทภ่ี าษาและการนาเสนอมากกว่าอยู่ท่ี
ความสมจริงของภาพสังคมร่วมสมัย นอกจากนัน้ การทาความเข้าใจกวีนิพนธ์บทนี้แสดงให้
เห็นถึงความจาเป็นทีผ่ อู้ ่านต้องรูต้ วั บทอื่น ๆ ในโลกของวรรณกรรมนันคื
่ อ ศิลาจารึกหลักทีห่ นึ่ง
๑๓

๒.๑.๔.๔ รู้จกั ตนเอง การรูจ้ กั ตนเองมาจากการประยุกต์สงิ่ ทีอ่ ่านมาใช้ให้เป็ น


ประโยชน์แก่ชวี ติ เช่น เมือ่ เผชิญหน้ากับสถานการณ์ ต่าง ๆ ผูอ้ ่านอาจนาเอาพฤติกรรมของตัว
ละคร เหตุการณ์ หรือข้อคิดในเรื่องมาแก้ปญั หาของชีวติ ตนได้ ซึ่งช่วยให้เป็ นคนใจกว้าง รูเ้ ท่า
ทันคนอื่น เข้าใจแก่นแท้ของชีวติ เข้าใจธรรมชาติของมนุ ษย์ ไม่ตระหนกตกใจจนเกินควร และที่
สาคัญ คือ รูจ้ กั ตนเอง ลงทุนเพียงน้อยนิดแต่มปี ระโยชน์ในการเพิม่ พูนประสบการณ์ให้ตนเอง

๒.๑.๔.๕ ปลูก ฝัง วัฒ นธรรมของชำติ การเรียนรู้ว ฒ ั นธรรมของชาติผ่ าน


วรรณคดีช่วยให้เรามองเห็นสภาพชีวติ ความเป็ นอยู่ วิถีชวี ติ และจิตใจได้ เช่น การอ่านเรื่อง
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหงทาให้เรียนรูล้ กั ษณะนิสยั ของพ่อ ขุนรามคาแหงมหาราชว่าทรงเป็ น
กษัตริยท์ ม่ี คี วามกตัญญู ในยามศึกสงครามก็เข้าช่วยบิดาสูร้ บกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ครัน้
ได้เงิน ได้ทอง ได้ผลไม้กเ็ อามาให้พระราชบิดาหมด ครัน้ พระราชบิดาสวรรคตก็บาเรอแก่พน่ี ้อง
ของตนต่อไป สิง่ เหล่านี้สามารถนามาปลูกจิตสานึกสานึกของผูอ้ ่านให้ตระหนักถึงวัฒนธรรมอัน
ดีงามนี้ ได้ หรือ เรื่อ งสี่แ ผ่ น ดิน ที่กล่ าวถึงประเพณี วนั ลอยกระทงที่มกี ารสืบ ทอดกัน มาจนถึง
ปจั จุบนั ผูแ้ ต่งบรรยายเกีย่ วกับประเพณีน้ไี ว้อย่างละเอียด ดังนี้
คืนวันเพ็ญเดือน ๑๒ เวลาสองยามนัน้ อากาศเยือกเย็นท้องฟ้าแจ่มใสปราศจากเมฆ
และพระจันทร์ดวงโตที่สุด ในรอบปี ลอยอยู่ตรงกลางศีรษะพอดี พอถึงเวลาเสด็จออก
ท่ามกลางเสียงประโคม ทุกอย่างทีเ่ ตรียมไว้พร้อม ก็เริม่ มีชวี ติ พลอยยังจาได้ดถี งึ เสียง
โขลนร้องลากเสียงบอกกันต่อไป เวลาเจ้านายเสด็จออกจากวังว่า “เปิ ดข้าง !” แล้วมี
เสียงร้องรับกลับมาว่า “เปิดข้างแล้ว !” เป็ นสัญญาณว่าได้เปิดประตูขา้ งให้เจ้านายเสด็จ
ผ่ าน พระเจ้าอยู่ห ัว เสด็จออกประทับเรือ บัล ลังก์ จอดอยู่ห น้ าต าหนักแพพร้อ มด้ว ย
เจ้า นายข้างใน ฝ่ า ยพลอยและช้อ ยก็ป ะปนอยู่ก ับ หมู่ข้าหลวงตามเสด็จ พยายาม
กระเถิบออกไปจนได้ท่นี ัง่ ชิดริมน้ าที่สุด เพื่อจะดูกระทงให้เต็มตา เบื้องหน้าออกไปใน
ท้องน้ามีเรือล้อมวง จอดอยู่เรียงราย มีเสียงปี่พาทย์และกลองแขกดังอยู่ไม่ขาด ระหว่าง
เรือล้อมวง มีทุ่นหยวกปกั ไต้จดุ สว่างทอดไว้เป็ นระยะ กาหนดบริเวณมิให้ใครเข้ามากล้า
กราย นอกทุ่นออกไปเป็ นเรือราษฎร ทีม่ าดูงานและมาเฝ้าในหลวงมากมายหลายพันลา
ดูมดื เต็มท้องน้ าไปหมด และมีเรือจ้างพนักงานปกั โคมบังพาย ขึ้นล่องคอยตรวจตรา
รักษาความสงบ (สีแ่ ผ่นดิน)
แม้ แ ต่ ใ นท้ อ งถิ่ น ก็ ม ี ก ารปลู ก ฝ งั วั ฒ นธรรมของชาติ ผ่ า นวรรณ กรรมเกี่ ย วกั บ
ประวัติศ าสตร์เช่ นเดียวกัน เช่ น นวนิ ยายเรื่อ งหนึ่ งฟ้ าดินเดียวของกฤษณา อโศกสิน มีก าร
กล่าวถึงประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า คือ การนาเอาฟื นมาเผา เพื่อให้พระพุทธเจ้าได้ผงิ ไฟ
จัดขึ้นประมาณเดือ นธัน วาคมถึงมกราคม ในวันขึ้น ๑๕ ค่ าของเดือ น เนื่อ งจากเป็ น ช่ว งที่ม ี
อากาศหนาวเย็น ชาวล้านนามีความเชื่อว่าพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธรูปในวิหารก็รสู้ กึ ถึงความ
๑๔

หนาวเย็นเช่นเดียวกับคนเรา โดยจะเตรียมพานข้าวตอกดอกไม้ ฟื นที่จะถวายตัดเป็ นท่อน ๆ


ผูก ติดกันกับอาหารถวายพระสงฆ์ ต่ อ มาก็ไหว้พ ระ รับศีล จากพระสงฆ์ แล้ว กล่ าวค าถวาย
จากนัน้ นาเอาฟืนเข้าประเคนหน้าพระพุทธรูปองค์ประธานเป็นเสร็จพิธ ี ดังนี้

ทันใดนัน้ พนักงานก็เชิญขันข้าวตอกดอกไม้ ขันใส่ฟืนแลสะโตกบรรจุภตั ตาหาร คลาน


เข้ามาถวายแด่เจ้าหลวง พระชายา ข้าหลวงสามหัวเมืองจากกรุงเทพแลพระญาติพระ
วงศ์เป็ นลาดับ เจ้าหลวงก็ทรงประเคนทัง้ สามสิง่ แด่พระสงฆ์แลสามเณรบนอาสนะโดย
กล่าวคาถวายตามผ้าขาวสูงอายุผู้นาสวดเสียงดัง ครัง้ นัน้ เจ้าหลวงจึงทรงนาขันบรรจุ
ฟื นไปประเคนตรงหน้ าพระพุทธสิหงิ ค์โดยมีขา้ หลวงแลพระญาติประเคนต่อกันอย่าง
สืบเนื่องจนครบทุกคน (หนึ่งฟ้าดินเดียว)
๒.๑.๔.๖ โน้ มน้ ำวให้ ร กั ชำติ และภูมิ ใ จในบรรพชน วรรณคดีเกี่ย วกับ
ประวัตศิ าสตร์ส่วนใหญ่มเี นื้อหาทีโ่ น้มน้าวหรือปลุกใจให้ผอู้ ่านรักชาติและภูมใิ จในบรรพชนของ
ตน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ผูอ้ ่านทีเ่ ป็ นคนปจั จุบนั ซึง่ จะรับรูว้ รี กรรมของบรรพชนทีพ่ ยายามปกป้อง
ชาติบ้านเมืองของตน ซึ่งการได้อ่านเรื่องราวต่าง ๆ ทัง้ ความชื่นชมยินดีจากการทาสงคราม
หรือการรับรูค้ วามสูญเสียต่าง ๆ อาจเป็ นบทเรียนและอุทาหรณ์ สาคัญทีส่ อนใจคนรุ่นปจั จุบนั ให้
มีจติ สานึกในความรักชาติบ้านเมือง เกิดความสามัคคีท่จี ะปกป้องประเทศชาติ นอกจากนี้ การ
เห็นภาพลักษณ์ ท่ดี บี างประการของวีรชน ย่อมให้คนรุ่นหลังเอาเป็ นแบบอย่างได้ ดังการแสดง
ความภาคภูมใิ จในวีรกรรมของชาวบ้านบางระจันทีย่ อมสละชีวติ เพื่อปกป้องชาติบา้ นเมือง

ลือนามไปเมือ่ หน้า เกียรติยศเรือ้ งจ้า จิรกาล


อาจารย์ธมั มโชตได้ ปลุกจิตต์ศษิ ย์กล้าไว้ เกียรติระบือ
นายแท่นแก้ว เกียรติท่านเลิศล้าแพร้ว เพริดพราย
นายทองเหม็นได้ ประดิษฐ์ความกล้าไว้ อนันต์
พันเรืองเอย ท่านม้วย ด้วยรักชาติพร้อมด้วย เกียรติคุณ
ขุนสรรค์เอย ท่านสร้าง เกียรติแก่คนข้างหน้า อนันต์
อ้า ! นายจันทร์หนวดเขีย้ ว เกียรติท่านเพราะพริง้ เกีย้ ว โศรตรสหาย
นายทองแสงใหญ่แพร้ว เกียรติท่านผ่องแผ้วพ้น มืดมัว
ท่านหัวหน้านอกนี้ แม้ชพี ลับลีแ้ ล้ว เกียรติคง
(ลิลติ ดัน้ สดุดบี า้ นบางระจัน)
บทละครพู ด เรื่อ งพระร่ว ง พระราชนิ พ นธ์พ ระบาทสมเด็จ พระมงกุ ฎ เกล้ า
เจ้าอยูห่ วั มีใจความยา้ เรือ่ งความสามัคคี และโน้มน้าวให้คนไทยช่วยกันบารุงบ้านเมือง ดังนี้
๑๕

อย่าเห็นแก่ตวั มัวพะวง ลุ่มหลงริษยาไม่ควรที่


อย่าต่างคนต่างแข่งกันแย่งดี อย่าให้ช่องไพรีทม่ี งุ่ ร้าย
แม้เราริษยากันและกัน มิชา้ พลันจะพากันฉิบหาย
ระวังการยุยงส่งร้าย นันแหละเครื
่ อ่ งทาลายสามัคคี
คณะใดศัตรูผฉู้ ลาด หมายมาดทาลายให้เร็วรี่
ก็ยแุ ยกให้แตกสามัคคี เช่นกษัตริยล์ จิ ฉวีวงศ์โบราณ
พราหมณ์ผเู้ ดียวรับใช้ไปยุแหย่ สาระแนยุญาติให้แตกฉาน
จนเวลาศัตรูจไู่ ปราญ มัวเกีย่ งกันเสียการเสียนคร
ฉะนัน้ ไซร้ขอไทยจงร่วมรัก จงร่วมสมัครสโมสร
เอาไว้เผื่อมีไพรีรอน จะได้สดู้ สั กรด้วยเต็มแรง
ไทยรวมกาลังตัง้ มัน่ จะสามารถป้องกันขันแข็ง
ถึงแม้ว่าศัตรูผมู้ แี รง มายุทธ์แย้งก็จะปลาตไป
ขอแต่เพียงไทยเราอย่าผลาญญาติ ร่วมชาติรว่ มจิตเป็นข้อใหญ่
ไทยอย่ามุง่ ร้ายทาลายไทย จงพร้อมใจพร้อมกาลังระวังเมือง
ให้นานาภาษาเขานิยม ชมเกียรติยศฟูเฟื่อง
ช่วยกันบารุงความรุง่ เรือง ให้ช่อื ไทยกระเดื่องทัวโลกา

ช่วยกันเต็มใจใฝผ่ ดุง บารุงทัง้ ชาติศาสนา
ให้อยูจ่ นสิน้ ดินฟ้า วัฒนาเถิดไทย ไชโย
(บทละครพูดเรือ่ งพระร่วง)

เรื่องสายโลหิต ผู้แต่งโน้มน้าวให้เห็นความรักชาติบา้ นเมืองของชาวบ้านบางระจันผ่าน


ตัวละครหลวงไกรทีก่ ล่าวยกย่องวีรกรรมของชาวบ้านบางระจันทีย่ อมเสียสละชีวติ เพื่อชาติ ดังนี้
“ค่ ายบางระจัน รวมไพร่พ ลได้ก ว่ า พัน เข้า ไปแล้ว คนพวกนั น้ เป็ น ชาวบ้ า น
ธรรมดา ไม่ใช่แม่ทพั นายกอง วางมือจากงานสวนนามาจับดาบ ปื น เพราะใจตรงกัน
เพียงรัก แผ่ นดิน ...หวงแหน เสียดายและโกรธแค้นที่ศ ัต รูบ ังอาจย่ ายีท าลายแผ่ นดิน
แม่...” “กล้าหาญสามัคคีเป็ นน้ าหนึ่งใจเดียวยิง่ กว่าแม่ทพั นายกองมียศถาบรรดาศักดิ ์ใน
กรุง บรรพบุ รุษ ละเลงเลือ ดนองแผ่ น ดิน กู้เอกราชมาแล้ว เพื่อ ลูกหลาน ท าไมเราจะ
เสียสละต่อไปเพื่อหลานเหลนในกาลข้างหน้าจะได้รม่ เย็นเป็นสุขไม่ได้เล่า”
(สายโลหิต)

ในตอนท้ายเรื่องสายโลหิต ผู้แต่งให้ตวั ละครดาวเรืองแสดงทัศนะของผู้ท่รี กั และสานึก


บุญคุณของบรรพบุรษุ ทีเ่ สียสละชีวติ เพื่อชาติบา้ นเมือง ให้ภมู ใิ จในบรรพชน ดังนี้
๑๖

“พ่อจันทร์เอ๋ย ความหลังเหล่านัน้ ยังแจ่มชัดอยู่เลย แม่รกั กรุงเก่าเป็ นชีวติ จิตใจ


เคารพสักการะพระเจ้าแผ่นดิน ทุกพระองค์เสมอกันหมด กรุงศรีอยุธยามีพระมหาราช
เจ้าถึงสองพระองค์ มีวรี กษัตริย์ สมเด็จพระสุรโิ ยทัย สมควรจะรักษาหลักฐาน มีพระ
นามพระเจ้าแผ่นดินไว้เป็ นที่เคารพของประชาชนลูกหลานไทย สืบสายโลหิตต่อๆ กัน
มานะลูก” “แม่กาลังคิดถึงคุณพ่อ” ผูอ้ ่อนวัยกว่าเปรยแผ่ว ๆ อย่างจะเดาใจมารดา
“คิดถึงทุกคน ไม่ว่าจะเป็ นพระมหากษัตริย์ ชาวบ้านบางระจัน ไพร่พลที่รบสู้
พม่าอยู่ท่ปี ากน้ าโยทกา พวกกองอาทมาตวิเศษไชยชาญ ทุกคนแหละพ่อจันทร์ ไม่ม ี
ท่านพวกนัน้ ก็คงไม่มแี ม่ ลูก หลาน เหลน ไม่มแี ผ่นดิน ราชธานีพระนครอย่างทุกวันนี้”
ดาวเรือ งเช็ดน้ าตาจนแห้งสนิทบอกลูกว่า “ความกตัญ ญูกตเวทิต ารู้คุ ณ บิดา
มารดาแลบรรพบุรุษนัน้ เป็ นของประเสริฐ ผู้ใดละเลยไม่นึกถึง ไม่เคารพคารวะก็เสียที
เกิดเป็ นคน บาปกรรมแก้ไขอย่างไร ๆ ก็ไม่มวี นั หลุดพ้น” ลูกชายถอนใจใหญ่ มองไป
ข้างหน้า “สักวันหนึ่ง...อย่างที่คุณพ่อชอบพูด...สักวันขอรับคุณแม่ลูกหลานเหลนโหลน
ต่อไปอาจคิดอย่างเดียวกับแม่สานึกในบุญคุณอดีตพระมหากษัตราธิราชแลบรรพบุรุษ
ช่วยกันรือ้ ฟื้นกรุงเก่า ให้มชี วี ติ ชีวารึอย่างน้อย...ก็เก็บหลักฐานไว้เตือนใจคนรุ่นต่อไป”
(สายโลหิต)
การศึก ษาขอบข่ายของวรรณคดีเกี่ยวกับ ประวัติศ าสตร์น้ี ท าให้เห็น ความแตกต่ าง
ระหว่างวรรณคดีกบั วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ ผ่านการนิยามความสาคัญ วิธกี ารศึกษา
และประโยชน์ ซึง่ ช่วยให้ผอู้ ่านสามารถเข้าใจขอบข่ายของวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ได้

๒.๒ ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงวรรณคดีกบั ประวัติศำสตร์


เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกบั ประวัตศิ าสตร์พบว่า มีจุดทีเ่ ชื่อมโยงกัน
อยู่บางประการ กล่าวคือ วรรณคดีอาศัยประวัติศาสตร์เข้ามาเป็ นบริบทในการเขียนงานด้วย
โดยการนาเหตุการณ์ในประวัตศิ าสตร์มาเป็นเนื้อหาเค้าโครงเรื่อง เช่น ลิลติ ยวนพ่าย ลิลติ ตะเลง
พ่าย และสามกรุง แต่การนาเนื้อหาในประวัตศิ าสตร์มาแต่งเป็ นวรรณคดีนนั ้ มิได้เขียนตรงตาม
เหตุการณ์ในประวัตศิ าสตร์เสมอไป มีการแต่งเติม เสริมต่อ เพื่อให้ครบองค์ศลิ ปะของวรรณคดี
เช่น การเพิม่ เติมบทชมนกชมไม้ การคร่าครวญ อย่างไรก็ตาม ประวัตศิ าสตร์เป็ นที่มาของแรง
บันดาลใจ ที่ช่วยโอบอุ้มจารีต ประเพณีและความเจริญ รุ่งเรือง ทาให้สมั ผัส ได้ถึงอารมณ์ ของ
เหตุ ก ารณ์ ท่ีเคยผ่ านมา ดังนั น้ กวีห ลาย ๆ คนจึงเขีย นวรรณคดีท่ีอ าศัย เค้าโครงเรื่อ งจาก
เหตุการณ์ในประวัตศิ าสตร์ หรือจาลองเรื่องราวจากประวัตศิ าสตร์มาเป็ นเนื้อหาโดยสอดแทรก
อารมณ์ความรูส้ กึ ยกย่องสรรเสริญความกล้าหาญ ความทะนงองอาจแห่งวีรบุรุษ ของตน หรือ
พรรณนาเหตุ ก ารณ์ ต อนใดตอนหนึ่งในประวัติศ าสตร์ และจิ นตนาการสร้างสรรค์ในรูปแบบ
๑๗

วรรณคดีป ระวัติศ าสตร์อย่างงดงาม ส่ วนประวัติศ าสตร์ก็สามารถอาศัยวรรณคดีเหล่านี้เป็ น


ร่องรอยในการศึกษาข้อเท็จจริงทางประวัตศิ าสตร์ได้
วินัย พงศ์ศรีเพียร (๒๕๔๘ : ๑-๓) กล่าวว่า วรรณคดีกบั ประวัติศาสตร์ย่อมส่องทาง
ให้ แ ก่ ก ัน เพราะวรรณคดีจ ัด อยู่ใ นฐานะหลัก ฐานทางประวัติศ าสตร์ช ัน้ ต้ น ในการศึก ษา
วัฒนธรรม สังคม โลกทัศน์ คติความเชื่อ ประเพณี พิธกี รรม ภาษา ประวัตศิ าสตร์และการเมือง
การเข้าหาวรรณคดีกเ็ พื่อให้เข้าใจประวัตศิ าสตร์ทส่ี มบูรณ์ขน้ึ และทาให้เข้าใจประสบการณ์ดา้ น
ต่าง ๆ ของมนุ ษย์ ผ่านงานเขียนที่มคี ุณค่า ทางวรรณศิลป์ ความสาเร็จของการศึกษาจึงอยู่ท่ี
การทาให้สงั คมเห็นความเชื่อมโยงของวรรณคดีเก่าสู่บริบทของสังคมและวัฒนธรรมไทย และ
เห็นความต่อเนื่องของธารวัฒนธรรมไทยจากอดีตถึงปจั จุบนั ตัวอย่างการศึกษาวรรณคดีทส่ี ่อง
ทางประวัตศิ าสตร์ เช่น ศึกษาภูมปิ ญั ญาไทยจากเรื่องไตรภูมพิ ระร่วง ศึกษาเรื่องยวนพ่ายใน
ฐานะหลัก ฐานทางประวัติ ศ าสตร์ ร่ ว มสมัย ศึ ก ษาเรื่อ งมหาชาติ ค าหลวงเพื่ อ ไขป ญ ั หา
ประวัตศิ าสตร์ไทย ศึกษาเรื่องตารับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี และนิราศ
ไทรโยคในฐานะภาพสะท้อนทางสังคมและวัฒนธรรม ในทางกลับกันนักประวัตศิ าสตร์ก็อาศัย
วรรณคดีในการเข้าหาประวัตศิ าสตร์ อย่างไรก็ตาม วิธกี ารวิเคราะห์ของนักประวัตศิ าสตร์จะให้
ความส าคัญ แก่ บ ริบ ททางการเมือ ง เศรษฐกิจ สังคม การแสวงหานั ย และความหมายจาก
เรือ่ งราวและการแสดงออกทางภาษา โดยทีน่ กั ประวัตศิ าสตร์ไม่ได้มงุ่ ทฤษฎีซง่ึ เป็นการมองจาก
ภายนอกเข้าไปภายใน แต่ เป็ นการมองจากภายในออกมา สิง่ ที่นักประวัติศ าสตร์สนใจ เช่น
ผูแ้ ต่งและสมัยทีแ่ ต่ง ภูมหิ ลังทางประวัตศิ าสตร์ของวรรณคดีไทยแต่ละเรื่อง ลักษณะภูมปิ ญั ญา
ไทยในกลุ่มหนังสือ “บารุงปญั ญา” ภาษาและสานวนภาษา ทัง้ นี้ เพื่อประโยชน์ ของการวินิจฉัย
ปญั หาทางประวัตศิ าสตร์ นักประวัตศิ าสตร์มวี ธิ กี ารเช่นไรก็ควรทาความเข้าใจกับวรรณคดีทเ่ี ขา
ศึกษา คือ ต้องเข้าใจวรรณคดีอย่างทีค่ นเขียนหรือคนในสังคมของผูส้ ร้างสรรค์ผลงานเข้าใจ

๒.๓ ข้อแตกต่ำงระหว่ำงวรรณคดีและประวัติศำสตร์
การศึกษาวรรณคดีและการศึกษาประวัตศิ าสตร์ย่อมมีขอ้ แตกต่างกันทัง้ วิธกี ารและหลัก
วิชา เนื้อหา ภาษา และวัตถุประสงค์ในการแต่ง ดัง กระแสร์ มาลยาภรณ์ และชุดา จิตพิทกั ษ์
(๒๕๒๘ : ๑๐๖) กล่าวถึงความแตกต่างของวรรณคดีและประวัตศิ าสตร์ว่า
วรรณคดีและประวัตศิ าสตร์ต่างก็บนั ทึกเรื่องราวของมนุ ษย์และเหตุการณ์ ท่ผี ่านมาแล้ว
ในอดีตแต่บนั ทึกของวรรณคดีและประวัตศิ าสตร์ต่างกันในแง่ทว่ี ่าวรรณคดีเป็ นศิลปะมุ่ง
ในเรื่อ งอารมณ์ จิน ตนาการ ความงาม ความไพเราะ เมื่อ เวลาบัน ทึก ไม่เน้ น ใน
ข้อเท็จจริงเพียงแต่แสดงออกมาในแง่ของการคิดงามและเขียนงาม ส่วนประวัตศิ าสตร์
เป็ นเรื่องที่องิ ข้อเท็จจริง มุ่งที่จะสืบสวนค้นคว้าและติดตามหาความจริงจึงมีวธิ บี นั ทึก
อย่างมีระเบียบวิธกี ารเพื่ออธิบายสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ และเหตุการณ์ในอดีตทีเ่ กิดขึน้ จุดมุ่งหมาย
๑๘

ของประวัตศิ าสตร์จะแตกต่างกันในวิธกี ารหลักวิชา และจุดประสงค์ในการศึกษา แต่


วิท ยาการทัง้ สองแขนงนี้ก็ม ีค วามสัมพัน ธ์ กันอยู่ม าก กล่ าวคือ วรรณคดีต้อ งอาศัย
ประวัตศิ าสตร์ และประวัตศิ าสตร์กต็ อ้ งอาศัยวรรณคดีเช่นเดียวกัน
ลัก ษณะร่ว มของวรรณคดีและประวัติศ าสตร์ คือ ต่ างก็เป็ นการบัน ทึก เรื่อ งราวของ
มนุ ษ ย์ แต่ ก ารบันทึก ก็ม ีค วามแตกต่ างกัน ดังค ากล่ าวของอริสโตเติลว่า “ผู้แต่ งวรรณกรรม
แตกต่ างจากผู้จ ารึก ประวัติศ าสตร์ มิใ ช่ ต่ างกัน เพราะรูป แบบของค าประพัน ธ์ท่ีใ ช้ หากแต่
แตกต่างกัน เพราะผู้จารึกประวัตศิ าสตร์จดั ทาผลงานเกี่ยวข้องกับสิง่ อันเกิดขึน้ แล้วจริง ๆ แต่
ผู้แต่งวรรณกรรมจัดทาผลงานที่อาจจะเกิดขึ้น ” (อริสโตเติล ๑๙๖๑ : ๖๘ อ้างถึงใน ประจักษ์
สายแสง, ๒๕๒๖ : ๘๘) โดยนิ พ นธ์ สุ ขสวัส ดิ ์ (๒๕๒๐ : ๔-๕) กล่ าวถึงความแตกต่ างของ
วรรณคดีกบั ประวัตศิ าสตร์ในด้านต่าง ๆ อย่างชัดเจน ทัง้ วิธกี ารแต่ง เนื้อหา และภาษา ดังนี้

๒.๓.๑ วิ ธี ก ำรและหลัก วิ ช ำ วรรณคดีแ ละประวัติศ าสตร์ใ ช้ว ิธ ีก ารและหลัก วิช าที่


แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชดั กล่าวคือ วรรณคดีเป็ นงานประพันธ์ทแ่ี สดงศิลปะของการเรียบเรียง
ถ้อยคา ภาษามีความประณีตงดงามทาให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ให้ความเพลิดเพลินจากการ
อ่าน และให้คุณค่าทางด้านเนื้อหาสาระหรือข้อคิดเห็นทีก่ ลมกลืนกัน วรรณคดีจงึ ไม่ใช่ส่อื ความรู้
หรือข้อเท็จจริง จึงไม่ต้องอ่านอย่างอ่านตาราหรือคาดหวังข้อเท็จจริงทัง้ หมด เพราะจะทาให้
ไม่ได้รสของวรรณคดีตามหน้าที่ของวรรณคดี กระนัน้ ความรูแ้ ละความเข้าใจเกี่ยวกับวรรณคดี
เชิงประวัตกิ เ็ ป็ นสิง่ สาคัญ เช่น ลักษณะของวรรณคดี ประวัตวิ รรณคดี ประวัตกิ วี ความนิยมใน
การแต่ งวรรณคดี ฯลฯ หากเข้าใจสิง่ เหล่านี้ก็จะเข้าใจเรื่อ งที่อ่านมากขึ้น สาหรับวิธกี ารของ
วรรณคดีเป็ นจิตวิสยั ในขณะทีห่ ลักวิชาของประวัตศิ าสตร์มุ่งทีจ่ ะสืบสวนค้นคว้า และติดตามหา
ความจริงเกี่ยวกับความเป็ นไปของมนุ ษย์ท่เี กิดขึน้ และเสร็จสิ้นจากหลักฐานต่าง ๆ โดยอาศัย
การค้นคว้า วิเคราะห์ และตีความจากหลักฐานที่มอี ยู่ โดยใช้ระเบียบวิธวี ทิ ยาศาสตร์เพื่อหา
ข้อเท็จจริง โดยไม่นาเอาอารมณ์ความรูส้ กึ ของผูบ้ นั ทึกมาตัดสิน วิธกี ารจึงเป็นวัตถุวสิ ยั

๒.๓.๒ เนื้ อหำ วรรณคดีและประวัตศิ าสตร์แสดงเนื้อหาทีแ่ ตกต่างกัน ประวัตศิ าสตร์เป็ น


งานทีร่ วบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อหาข้อเท็จจริง เขียนอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่คานึงว่าผูอ้ ่านจะ
เกิดความสะเทือนใจหรือไม่ แต่วรรณคดีเป็ นงานศิลปะทีม่ งุ่ แสดงอารมณ์ จินตนาการ ความงาม
และความไพเราะ วรรณคดีเกี่ยวกับ ประวัติศ าสตร์อาศัยเรื่องราวหรือ เหตุ การณ์ บางตอนใน
ประวัตศิ าสตร์มาเขียนโดยผูกเรื่องแต่งเติม อาจสมมติให้มตี วั ละครสอดคล้องกับเหตุการณ์หรือ
เรือ่ งราวนัน้ ๆ โดยไม่จาเป็นต้องเดินตามประวัตศิ าสตร์ แต่ต้องอยู่ในกรอบของเหตุผล อย่างไร
ก็ตาม บางครัง้ กวีก็อาจมองข้ามข้อเท็จจริงไป หรือบางครัง้ อาจห่อหุ้มข้อเท็จจริงนัน้ ด้วยความ
งามอีกชัน้ หนึ่ง วรรณคดีหลายเรื่องเป็ นข้อมูลเสริมในการศึกษาประวัตศิ าสตร์ของชาติ ได้ แต่จะ
๑๙

ไม่มนี ้ าหนักเท่ากับเอกสารทางประวัตศิ าสตร์ เพราะเนื้อหาของประวัตศิ าสตร์เป็ นเรื่องทีเ่ กิดขึน้


จริงในอดีต มีหลักฐานพิสจู น์เชื่อถือได้ (รืน่ ฤทัย สัจจพันธุ,์ ๒๕๒๓ : ๒๒)
ยุรฉัตร บุญสนิท (อ้างถึงใน ว.วินิจฉัยกุล, ๒๕๓๑ : บทนา) กล่าวถึงการเขียนนวนิยายอิง
ประวัติศาสตร์ว่า เป็ นการเขียนนวนิยายที่ผู้เขียนต้องค้นคว้ารวบรวมข้อ มูล ซึ่งเป็ นหลักฐาน
ข้อเท็จจริงทางประวัตศิ าสตร์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามโครงเรื่องที่วางไว้ แต่นวนิยายไม่ใช่ตารา
ไม่ใช่หลักฐานอ้างอิงทางประวัตศิ าสตร์ จึงทาหน้าทีเ่ หมือนภาพวาดเหตุการณ์ในอดีต ภาพวาด
นี้จะงดงามหรือบูดเบี้ยวอยู่ท่ฝี ี มอื ของผู้วาด ลักษณะพิเศษของนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ คือ
การพรรณนาฉากท้องเรือ่ งทีด่ ูสมจริง ส่วนกุสุมา รักษมณี (๒๕๔๗ : ๓๓๕-๓๓๖) กล่าวถึงความ
แตกต่างระหว่างนวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์กบั ประวัตศิ าสตร์ว่า ประวัตศิ าสตร์เขียนขึ้นจากเรื่อง
จริง แต่นวยายเป็ นเรื่องแต่งอาจจะแต่งขึน้ จากเรื่องจริงหรืออาจจะแต่งจากอารมณ์ฝนั ของกวีก็
ได้ จะนาเอานวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์มาอ้างในฐานะเป็ นบันทึกข้อเท็จจริงเหมือนกับการอ้างอิง
พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึก ฯลฯ ไม่ได้ ในขณะที่เจตนา นาควัชระ กล่าวถึงความแตกต่าง
ระหว่างนวนิยายและประวัติศาสตร์ว่า ผู้แต่งนวนิยายอิงประวัติศาสตร์จาเป็ นต้องสร้างความ
สมจริงในนวนิยาย โดยผสานระหว่างจินตนาการกับข้อมูลประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของหลัก
เหตุผล เพื่อสร้างความสมจริงเพื่อโน้มน้าวอารมณ์ของผูอ้ ่านว่าเป็ นเรื่องจริง หากผูอ้ ่านเห็นจริง
ตามเรื่องราวมากเพียงใด รสทางอารมณ์ ซ่งึ ถือเป็ นหน้ าที่หลักของนวนิยายก็จะบังเกิดขึ้นแก่
ผูอ้ ่านมากเพียงนัน้ (เจตนา นาควัชระ, ๒๕๔๒ : ๓๖)
ผูแ้ ต่งบางคนอาจอาศัยแค่เหตุการณ์ในประวัตศิ าสตร์มาเป็ นเค้าโครงเรื่อง แต่มไิ ด้เขียน
ตรงตามประวัติศาสตร์ทงั ้ หมด อาจมีการแต่งเติมเสริมต่อเพื่อให้ครบองค์ศลิ ปะของวรรณคดี
เช่น การเพิม่ เติมบทชมนกชมไม้ หรือใส่ขนบทางวรรณคดี ผู้อ่านทีด่ จี งึ ไม่ควรตกหลุมพรางที่ผู้
แต่ ง วางไว้ เพราะท าให้ เ ข้ า ใจพั น ธกิ จ ของวรรณคดี ค ลาดเคลื่อ นไป เช่ น นวนิ ย ายอิ ง
ประวัตศิ าสตร์เรื่อง ผูช้ นะสิบทิศ ของยาขอบทีอ่ าศัยข้อมู ลจากพงศาวดารเพียง ๘ บรรทัด หรือ
ผลงานของนักเขียนสมัยหลัง เช่น วินทร์ เลียววาริณ แต่งเรื่องประชาธิปไตยบนเส้นขนานและ
ปี กแดง โดยอาศัย แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ จนมีการทักท้วงกันขึ้น เพราะผู้อ่านแยกไม่
ออกระหว่าง 'ความจริง' ในประวัตศิ าสตร์ กับความสมจริงในนวนิยาย เพราะเกิดการข้ามเส้น
แบ่งกรอบของการรับรูค้ วามจริงมาอยู่ในชัน้ ของเรือ่ งจริง ซึง่ อาจจะสร้างความสับสนให้แก่ผู้อ่าน
ทีไ่ ม่รเู้ ท่าทัน ดังตัวอย่างการใช้ขอ้ มูลทางประวัตศิ าสตร์บอกเหตุการณ์รฐั ประหารปี พ.ศ. ๒๕๐๐
ช่ว งสองสามปี สุ ดท้ายในชีวติ การเมือ งของจอมพล ป. พิบูล สงครามขัว้ อานาจแตก
ออกเป็ นสามกลุ่ม คือ กลุ่มขวาสุดได้แก่ จอมพล ป. กลุ่มกลาง ได้แก่ กลุ่มของ จอมพล
ผิณ ชุณหะวัณ และกลุ่มซ้ายสุด คือ กลุ่มของ พลเอกสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ แรงอานาจทัง้ สาม
แตกออกจากกัน ชัด เจนขึ้น หลังการเลือ กตัง้ ทัว่ ไปวัน ที่ ๒ มีน าคม ๒๕๐๐ ซึ่ง ถู ก
กล่าวหาว่าเป็ นการเลือกตัง้ ที่สกปรกที่สุด นักศึกษาประชาชนเดินขบวนไปที่ทาเนียบ
๒๐

จอมพล ป. ประกาศภาวะฉุ ก เฉิ น มอบให้พ ลเอกสฤษดิ ์เป็ นผู้บญ ั ชาการ ฝ่ ายทหาร


ปราบปรามก่อความไม่สงบ แต่พลเอกสฤษดิ ์กลับเข้ากับฝ่ายนักศึกษาที่เดินขบวนโดย
ประกาศว่ า “ทหารจะไม่ ม ีว ัน ท าร้า ยประชาชนเป็ นอั น ขาด “สองอาทิ ต ย์ ต่ อ มา
ั ชาการฝ่ายทหาร ในวันนัน้ เอง
นายกรัฐมนตรีก็ยกเลิกภาวะฉุ กเฉินและตาแหน่ งผู้บญ
พลเอกสฤษดิ ์ออกประกาศทางสถานี ว ิท ยุว่ าด้ว ยความว่ า “แล้ว พบกัน ใหม่เมื่อ ชาติ
ต้องการ” (ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน)
๒.๓.๓ ภำษำ วรรณคดีและประวัตศิ าสตร์ใช้ภาษาทีแ่ ตกต่างกัน วรรณคดีใช้ภาษาแห่ง
อารมณ์ สะเทือนใจ ใช้คาที่มคี วามหมายลึกซึ้ง การเรียบเรียงไม่คานึงถึงหลักไวยากรณ์ ส่วน
ประวัตศิ าสตร์เน้นใช้ภาษาเชิงวิชาการ เช่น
พ่ อ กู ช่อื ศรีอินทราทิต ย์ แม่กูช่อื นางเสือ ง พี่กูช่อื บานเมือ ง ตูพ่ีน้อ งท้อ งเดียวห้าคน
ผูช้ ายสามผู้หญิงโสง พีเ่ ผือผูอ้ ้ายตายจากเผือเตียมแต่ย ังเล็ก เมื่อกูขน้ึ ใหญ่ได้ สิบเก้า
เข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด มาท่อเมืองตาก พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัว ซ้าย ขุนสามชน
ขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้ าใสพ่อกู หนีญญ่ายพายจแจ้น กูบ่หนี
กูขช่ี ้างเบกพล กูขบั เข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้าง ขุนสามชนตัว
ชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจงึ ขึน้ ชื่อกู ชื่อพระรามคาแหง (ศิลาจารึก)
๒.๓.๔ วัตถุประสงค์ในกำรแต่ ง วรรณคดีและประวัตศิ าสตร์มวี ตั ถุประสงค์ในการแต่ง
ทีแ่ ตกต่างกัน วรรณคดีมุ่งให้ความบันเทิง กล่อมเกลาจิตใจให้มคี วามละเมียดละไม เข้าใจคุณค่า
ของชีวติ ส่วนประวัตศิ าสตร์ช่วยให้เกิดทัศนคติทด่ี ี รูจ้ กั ไต่ถามและวิพากษ์วจิ ารณ์ รูจ้ กั คิดอย่าง
มีเหตุผล ดังการแต่งเรื่องลิลติ ดัน้ สดุดบี า้ นบางระจันของพระยาอุปกิตศิลปสารที่มวี ตั ถุประสงค์
เพื่อสดุดคี ุณงามความดีของชาวบ้านบางระจันทีท่ าเพื่อชาติบา้ นเมือง
เอมใจจองประพันธ์ สรรเสริญ เกียรติศ ักดิ ์ พรรคพวกบางระจัน พลันเสร็จสม
ปรารถนา โดยมหาสวัสดี เสนอกวีทวยไทย ตามวิษยั สามารถ แห่งอาตมะผูห้ วังดี ขอจุ่ง
ศรีศุภสวัสดิ ์ สรรพพิพฒ ั น์ มงคล วิบุลผลโอภาส ลุแก่ชาติชาวสยาม งามคู่จนั ทราทิตย์
ขอลิขติ แห่งตู เนาตรูค่สู ยามรัฐรุง่ โรจน์ นานคู่กบั ฟ้าหล้า ตลอดเทอญ
(ลิลติ ดัน้ สดุดบี า้ นบางระจัน)
เมื่อศึกษาวรรณคดีและประวัตศิ าสตร์แล้วทาให้เห็นว่าทัง้ วรรณคดีและประวัตศิ าสตร์ม ี
หลักบางประการทีแ่ ตกต่างกันอย่างเห็นได้ชดั ทัง้ ในด้านวิธกี ารและหลักวิชา เนื้อหา ภาษา และ
วัตถุประสงค์ในการแต่ง ซึง่ ช่วยให้ผอู้ ่านมองเห็นลักษณะเด่นของทัง้ สองศาสตร์ทช่ี ดั เจนยิง่ ขึน้
๒๑

สรุป
การศึก ษาความรู้พ้ืนฐานทางวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศ าสตร์สะท้อ นให้เห็นว่า ใน
การศึก ษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศ าสตร์ ผู้เรียนควรทาความเข้าใจว่า วรรณคดีเกี่ยวกับ
ประวัติศ าสตร์แ ต่ งขึ้นโดยมีเนื้อหาทางประวัติศ าสตร์เป็ นแก่นของเรื่อ ง ซึ่งอาจเป็ นประวัติ
ความเป็ นมาของคนในชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเป็ นอยู่ ตลอดจนความรูส้ กึ นึกคิด
ของคนในชาติกไ็ ด้ หรือใช้เป็ นเครือ่ งมือ บันทึกพงศาวดาร ตานาน และจดหมายเหตุพรรณนา
เหตุการณ์ ความเป็ นไปของบ้านเมืองก็ได้ การนาเอาเหตุการณ์ทางประวัตศิ าสตร์มาอธิบาย
เรื่อ งราวในวรรณคดีเพื่อ ให้ เข้า ใจวรรณคดีบ างแง่บ างมุ ม ได้ล ึก ซึ้ง ยิ่ ง ขึ้น ประโยชน์ ข อง
การศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ คือ ทาให้ทราบบ่ อเกิดและภูมปิ ญั ญาของผู้แต่ ง
วรรณคดี รูเ้ หตุการณ์เบือ้ งหลังทางประวัตศิ าสตร์ ช่วยให้ทราบความเป็นมาและจุดเปลีย่ นชีวติ
ของคนปจั จุบนั รูจ้ กั ตนเอง ปลูกฝงั วัฒนธรรมของชาติ โน้มน้าวให้รกั ชาติและภูมใิ จในบรรพ
ชน แม้ว รรณคดีก ับประวัติศ าสตร์ต่ างก็ท าหน้ าที่บ ันทึกเหตุ การณ์ แต่ก็มขี ้อ แตกต่ างกัน ที่
วิธกี ารและหลักวิชา เนื้อหา ภาษาและวัตถุประสงค์ในการแต่ง กล่าวคือ วรรณคดีเป็ นศิลปะที่
มุ่งในเรื่องอารมณ์ จินตนาการ และความงาม ความไพเราะ ส่วนประวัตศิ าสตร์เป็ นเรื่องที่องิ
ข้อเท็จจริง มุง่ ทีจ่ ะสืบสวนข้อเท็จจริง มุง่ ทีจ่ ะสืบสวนค้นคว้า และติดตามหาความจริง กระนัน้
วรรณคดีกบั ประวัตศิ าสตร์กย็ ่อมส่องทางให้แก่กนั เพราะวรรณคดีจดั อยู่ในฐานะหลักฐานทาง
ประวัติศ าสตร์ช ัน้ ต้ น ในการศึก ษาสังคมวัฒ นธรรม ความเชื่อ ประเพณี พิธ ีก รรม ภาษา
ประวัตศิ าสตร์และการเมือง การเข้าหาวรรณคดีเพื่อให้เข้าใจประวัตศิ าสตร์ท่สี มบูรณ์ขน้ึ และ
ทาให้เข้าใจประสบการณ์ดา้ นต่าง ๆ ของมนุษย์ ผ่านงานเขียนทีม่ คี ุณค่าทางวรรณศิลป์
๒๒

บทที่ ๓
ลักษณะเฉพำะของวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์

ในบทที่ ๒ ผูเ้ ขียนได้ให้ความรูค้ วามเข้าใจพืน้ ฐานทางวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์


ในประเด็นต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผอู้ ่านมองเห็นความแตกต่างระหว่างการศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับ
ประวัตศิ าสตร์กบั การศึกษาประวัตศิ าสตร์มากยิง่ ขึน้ บทนี้ ผู้เขียนจะนาเสนอลักษณะเฉพาะ
ของวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์บา้ ง สาหรับลักษณะเฉพาะในทีน่ ้ี คือ ลักษณะเฉพาะของ
วรรณคดีท่ีทาให้ผู้อ่ านทราบ และเข้าใจได้ว่าวรรณคดีป ระเภทนี้ แตกต่ างไปจากวรรณคดี
ประเภทอื่น ๆ อย่างไร อาจกล่าวได้ว่า คือ ลักษณะพิเศษที่จะทาให้สามารถแยกแยะความ
แตกต่ างของวรรณคดีแ ต่ ล ะประเภทได้ ซึ่งถือ เป็ น หัว ใจส าคัญ ของการศึก ษางาน โดยมี
เจตนารมณ์ไม่ให้เกิดความสับสนหลงผิดในประเภทวรรณคดีนนั ้
ในการจ าแนกวรรณคดีนัน้ ผู้เขีย นพบว่ า มีก ารจ าแนกกัน อย่างหลากหลาย เช่ น
ปญั ญา บริสุทธิ ์ (๒๕๓๔ : ๗) จาแนกวรรณคดีตามลักษณะเด่น เช่น การจาแนกตามรูปแบบ
ค าประพัน ธ์ อาทิ วรรณคดีค าฉั น ท์ วรรณคดีเ พลงยาว วรรณคดีล ิล ิต การจ าแนกตาม
จุดมุ่งหมายของการแต่ง เช่น วรรณคดีคาสอน วรรณคดียอพระเกียรติ วรรณคดีนิทาน การ
จาแนกตามการนาไปใช้ เช่น วรรณคดีบทละคร การจาแนกตามกลวิธกี ารแต่ง เช่น วรรณคดี
นิราศ และการจาแนกตามวัตถุประสงค์ เช่น วรรณคดีนิราศ วรรณคดีนิทาน ส่วนวัชรี รมยะ
นันทน์ (๒๕๓๘ : ๙๗ - ๑๑๒) ได้จาแนกวรรณคดีตามจุดประสงค์ในการแต่งว่าเพื่อประโยชน์
อย่ า งไรบ้ า ง ได้แ ก่ วรรณคดีป ระเภทบัน ทึก เพื่ อ บัน ทึก เรื่อ งราวต่ า ง ๆ ทางพงศาวดาร
วรรณคดีประเภทบันทึกพิธ ี มีวตั ถุประสงค์เพื่อบันทึกพิธตี ่าง ๆ ทีป่ ฏิบตั มิ า วรรณคดีประเภท
บันทึกการเดินทาง มีวตั ถุประสงค์เพื่อบันทึกการเดินทางของกวี วรรณคดีประเภทบันทึกภาพ
มีวตั ถุประสงค์เพื่อบันทึกภาพสาคัญ ๆ วรรณคดีประเภทสอนศาสนา มีวตั ถุประสงค์เพื่อสอน
ศาสนา วรรณคดีประเภทสอนหนังสือ มีวตั ถุประสงค์เพื่อสอนหนังสือไทย วรรณคดีประเภท
สุภ าษิต มีว ัต ถุ ประสงค์เพื่อสอนความประพฤติ และสอนหน้ าที่บ างเรื่อ งมีท่มี าจากอินเดีย
วรรณคดีประเภทยอพระเกียรติ มีวตั ถุประสงค์ในการยอพระเกียรติพระมหากษัตริยด์ า้ นการ
รบ และด้านการปกครอง วรรณคดีการแสดง มีวตั ถุประสงค์เพื่อใช้แสดง วรรณคดีนิทาน มี
วัตถุประสงค์เล่านิทาน วรรณคดีประเภทเห่เรือ มีวตั ถุประสงค์เพื่อใช้ในการเห่ เรือ วรรณคดี
ประเภทเห่กล่อม มีวตั ถุประสงค์เพื่อใช้เห่กล่อม มีตงั ้ แต่กล่อมเจ้านาย กล่อมช้างเผือก และ
วรรณคดีประเภทจดหมาย มีวตั ถุประสงค์เพื่อเป็นจดหมายหรือเพลงยาว
ในส่วนทีเ่ ป็ นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะของวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ คือ
การมีจุดมุ่งหมายเพื่อบันทึก เรื่องราวสาคัญ ๆ ทางประวัติศาสตร์ โดยอาจบันทึกในรูปแบบ
ของพงศาวดาร ประวัตศิ าสตร์ ตานาน จารึก และการกล่าวถึงเรือ่ งราวสาคัญทีเ่ กี่ยวกับบุคคล
๒๓

ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ ผู้แ ต่ งใช้เนื้อหาทางประวัติศ าสตร์เป็ นแก่ นของเรื่อ ง โดยเลือกใช้


รูปแบบ และกลวิธกี ารประพันธ์ทห่ี ลากหลายเพื่อเสริมเนื้อหาให้น่าสนใจยิง่ ขึน้ ดังรายละเอียด

๓.๑ ด้ำนรูปแบบ
การศึก ษารูป แบบของวรรณคดีเกี่ย วกับ ประวัติศ าสตร์ ผู้เขีย นมุ่งศึก ษารูป แบบค า
ประพันธ์และรูปแบบการเขียน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

๓.๑.๑ รูปแบบคำประพันธ์
รูปแบบคาประพันธ์เป็ นการเรียบเรียงถ้อยคาให้เป็ นระเบียบตามบัญ ญัติแห่ง
ฉันทลัก ษณ์ โดยมีก าหนดข้อ บังคับ ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความไพเราะแตกต่ างไปจากถ้อยค า
ธรรมดา ในการแต่งวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์พบว่า ผูแ้ ต่งใช้รปู แบบคาประพันธ์ ทัง้ ทีเ่ ป็ น
ร้อยแก้วและร้อยกรองอิงประวัตศิ าสตร์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

๓.๑.๑.๑ รูปแบบที่ เป็ นร้อยแก้ ว ร้อ ยแก้ว คือ หนังสือ ที่แต่ งเป็ น ความเรียง
สละสลวย ไม่มกี ารกาหนดจานวนค าในวรรค ตาแหน่ งสัมผัส เสียง หรือ น้ าหนัก วรรณคดี
เกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ท่แี ต่งเป็ นร้อยแก้วมีจานวนมากตัง้ แต่สมัยสุโขทัย จนถึงปจั จุบนั แต่ม ี
มากทีส่ ุดในสมัยรัชกาลที่ ๗ เป็นต้นมา เช่น ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง จารึกหลักต่าง ๆ สาม
ก๊ ก ราชาธิร าช จดหมายเหตุ แ ละพระราชหัต ถเลขาพระราชนิ พ นธ์พ ระบาทสมเด็จ พระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั (เช่น จดหมายเหตุ รายวันระยะทางเสด็จประพาสไทรโยค จ.ศ. ๑๒๓๙
จดหมายเหตุเสด็จประพาสเกาะชวาครัง้ ที่ ๑ - ๓ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันภาคต่าง ๆ
จดหมายเหตุเสด็จประพาสหัวเมืองในแหลมมลายู ร.ศ. ๑๐๙ ร.ศ. ๑๑๗ ร.ศ. ๑๑๘ ร.ศ. ๑๑๙
ร.ศ. ๑๒๔ และร.ศ. ๑๒๘ พระราชหัต ถเลขาเมื่อเสด็จพระราชด าเนิ นประพาสยุโรป พ.ศ.
๒๔๔๐ พระราชหัตถเลขาคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ. ๒๔๔๔ พระราชหัตถเลขาคราว
เสด็จประพาสมณฑลราชบุร ี พ.ศ. ๒๔๕๒ พระราชนิพ นธ์ไกลบ้าน และจดหมายเหตุเสด็จ
ประพาสอินโดจีน พ.ศ. ๒๔๗๓) เกิดวังปารุสก์ นิทานโบราณคดี นิราศนครวัด และหัวใจนักรบ
ในส่วนทีแ่ ต่งเป็ นนวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ยุคปจั จุบนั เช่น สีแ่ ผ่นดิน เจ้าไล และเลือดสุพรรณ
ตัวอย่างเรื่องไกลบ้าน พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั ทีท่ รงบรรยาย
ให้ เ ห็ น สภาพสัง คม วัฒ นธรรม ตลอดจนอั ช ฌาสัย ของชาวต่ า งชาติ โดยมีก ารน ามา
เปรียบเทียบกับบริบทสังคมไทย ทาให้ผอู้ ่านมองเห็นภาพมากยิง่ ขึน้
เซอยอนแอนเดอซัน กิรยิ าอัชฌาไศรยเรียบร้อย พูดจาด้วยสบายใจดี ขึน้ ไป
ตอบ แต่งทหารเรือขาวมีกระบีต่ ดิ ตราด้วย แต่ทหารเรือขาวเดีย๋ วนี้เขาไม่มหี มวกเฮลเม็ต
ถูกแห่เปิดประทุนรถกาลังเทีย่ งร้อนเปรียะทีเดียว ทัง้ แห่ไปแห่กลับ การเยีย่ มเยียนเช่นนี้ก็
๒๔

ตามเคย ไม่น่าจะต้องเล่า แต่ไม่ได้กลับลงมาเรือ หยุดเปลือ้ งเครื่องแลกินกลางวันทีแ่ รฟลั


โฮเตล ขนมปงั ฝรังเศสอร่ ่ อยเสียจริงๆ บ้านเราทาไมมันไม่ทาบ้าง เวลาจวนบ่าย ๒ โมง
ไปขึน้ รถไฟทีส่ เตชันแตงก์ ่ โรด รถไฟนัน้ ก็เหมือนรถไฟในเมืองมลายูทงั ้ ปวงคือรางเล็ก ไป
อย่างคนธรรมดาไม่ใช่พระราชา หยุดสเตชันรายทาง ่ ๕ แห่งจึงถึงท่า แต่มนั ไม่เร็วตามที่
นึกว่าจะเร็ว เมือ่ ยังไม่มรี ถไฟใช้รถม้าประมาณสักชัวโมงครึ
่ ง่ นี่กเ็ ดินชัวโมงหนึ
่ ่ง เลียบไป
ข้างทางเก่า น่าบ้างหลังบ้าง ฟากทางข้างทีย่ งั ไม่มบี า้ นมีทว่ี ่างมาก เห็นปลูกแต่สปั รศเปน
พื้น พริกไทยก็เซีย ๆ ไม่งาม เขาว่าดินในกลางเกาะไม่ดี มีไร่รา้ งหลายแห่ง เพราะเปน
ดินทราย ต้นไม้ทร่ี ากตืน้ ๆ กลางวันเหีย่ วพับ ต้นไม้โตช้าแท้ ๆ ตลอดจนกระทังต้ ่ นประดู่
แลต้นปาม เห็นเท่าไรก็เท่านัน้ ไม่ใคร่โตขึน้ พวกปามจีนทีเ่ ราปลูกทีหลังมีลูกตัง้ ปล้องสูงๆ
ทีน่ ่ไี ม่เห็นโตขึน้ เท่าไร ใกล้ลงไปข้างทเลคงเปนพืน้ น้าท่วม ต้นโกงกางเหมือนกับทีไ่ หน ๆ
ในหัวเมืองตวันตก มีเรือไฟข้ามส่งไปขึ้นที่น่าโฮเต็ล (เมืองยะโฮ) ขึ้นรถจ้างซึ่งมีแต่รถ
เดียว นอกนัน้ เปนรถเจ๊ก เทีย่ วทางแถบตลาดก่อน แวะซือ้ ของทีโ่ รงจานา มีของทองคาที่
จะพึงซื้อได้แต่กาไลที่ส่งเข้ามาคู่เดียว นอกนัน้ ไม่มอี ะไรปลาดเลย ถนนพาหุรดั สนุ กกว่า
มาก สิง่ ทีค่ วรจะสรรเสริญแต่ถนนทัง้ สิงคโปร์แลยะโฮ ขึน้ ชื่อว่าเปนถนนแล้ว ได้ทาแล้วไม่
มีทง้ิ เลย ราบเปนน่ าโต๊ะบิลเลียดทัง้ นัน้ ขึน้ รถเทีย่ วต่อไปผ่านตลาดของสดจนถึงทีฝ่ งั ศพ
สุลต่านอาบูบะกา ที่น่ีเห็นจะเปนป่าช้าเก่า มีศพผู้อ่นื มากฝงั ชิดกันอย่างธรรมเนียมแขก
แต่ต้นไม้ของเขาปลูกงามเรียกว่าต้นตาบุดสู อาภารูจ้ กั ชื่อภาษาไทย เปนลาต้นตรง พุ่ม
เปนต้นไม้เงินทอง เขาว่าเปนเร็วด้วย เรียกว่าต้นรุ่ย ศพสุลต่านนัน้ อยู่ในตึก พืน้ ชัน้ เดียว
หลังใหญ่มโี ดมกลาง พอขึน้ ไปใกล้ได้ยนิ เสียงสวด มีนักบวชมาสวดเหมือนอย่างที่ไกโร
นึกว่าเขาห้ามก็จะไม่เข้าไป แต่ไม่ห้าม ตาพระกลับมาเชื้อเชิญให้เข้าไป ที่ๆ ตาเหล่านัน้
สวดนัน้ เปนเตียงนอนแขก ๆ แคบยาวคนละหลัง ทีแกจะนอนด้วย ศพสุลต่านอยู่ตรงโดม
ข้างซ้ายทีเ่ ราเข้าไปมีศพอาอยู่ศพหนึ่ง ข้างขวานัน้ มีหลายศพ ทีต่ ายใหม่คนหนึ่งก็กางมุง้
เหมือนอย่างเมืองตรังกานู ที่ตายเก่าจึงทารูปโลงด้วยศิลา เปนศิลาฝรังอย่ ่ างงาม ๆ ทา
เปนอย่างแขกแต่กห็ ลงเปนฝรังไปบ้ ่ าง

๓.๑.๑.๒ รูปแบบที่เป็ นร้อยกรอง


ร้อยกรอง คือ ถ้อยคาทีเ่ รียบเรียงขึน้ โดยมีขอ้ บังคับเรื่องคา เสียง สัมผัสและ
น้ าหนักของคาเพื่อให้เกิดความไพเราะ ตามกฎเกณฑ์ ทีไ่ ด้วางไว้ในฉันทลักษณ์ คาประพันธ์
ประเภทร้อยกรอง เช่น โคลง ร่าย ลิลติ กลอน กาพย์ และฉันท์ สาหรับรูปแบบทีเ่ ป็ นร้อยกรอง
ในวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์พบว่า มีทงั ้ การแต่งเป็นร้อยกรองเดีย่ ว และการแต่งเป็นร้อย
กรองผสมผสาน ดังรายละเอียดในแต่ละประเภทต่อไปนี้
๒๕

๑) กำรแต่ งด้ วยร้อยกรองเดี่ ยว คือ การแต่งด้วยคาประพันธ์ชนิดใดชนิด


หนึ่งเป็นหลัก เช่น แต่งด้วยคาประพันธ์ประเภทโคลง กลอน ฉันท์ ร่าย ดังนี้

๑.๑) โคลง วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ทแ่ี ต่งด้วยคาประพันธ์ประเภท


โคลง มีทงั ้ โคลงสีส่ ุภาพ และโคลงสีด่ นั ้ ได้แก่ โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช ของ
พระศรีมโหสถ โคลงเฉลิมพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร ี ของ นายสวนมหาดเล็ก โคลงสรรเสริญ
พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุ ทธยอดฟ้าจุฬาโลก ของพระชานิโวหาร โคลงดัน้ เฉลิมพระ
เกียรติสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของพระยาตรัง โคลงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระรามาธิบ ดีท่ี ๒ พระพุ ท ธเลิศ หล้า นภาลัย พระราชนิ พ นธ์พ ระบาทสมเด็จ พระนั ง่ เกล้า
เจ้าอยู่ห ัว พ.ศ. ๒๓๓๐-๒๓๙๔ โคลงเรื่อ งพระราชประวัติพ ระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หวั พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ โคลงสรรเสริญ
พระบารมีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ของหม่อมเจ้าสุวรรณ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชัน้ ๑
กรมหมื่นไกรสรวิชติ โคลงเฉลิมพระเกียรติของพระยามหาอามาตย์ (หรุ่น ศรีเพ็ญ) โคลงเฉลิม
พระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเหมมาลา กรมพระบาราบปรปกั ษ์ ของพระยาศรี
สุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร) โคลงดัน้ ปฏิสงั ขรณ์วดั พระเชตุพน พระนิพนธ์ในสมเด็จพระ
สมณะเจ้า กรมพระปรมานุ ชติ ชิโนรส โคลงยอพระเกียรติและสรรเสริญ กระบวนแห่เฉลิมพระ
นามสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร พระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่น
สถิตย์ธารงสวัสดิ ์ โคลงยอพระเกียรติว่าด้วยเรื่องทรงผนวชสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ของศก
กรุง สุญาโณ และชาติ วัฒนธรรมไทย แวดล้อมพระมหากษัตริยข์ องฉันทิชย์ กระแสสินธุ์
๏ อยุทธยายศยิง่ ไท้ ทัง้ สาม ภพฤๅ
องค์อดิศรสวม สุขหล้า
บูชติ สาสนราม เรืองท- วีปแฮ
บุญพระตวงฟ้าค้า ค่าสวรรค์ ฯ
๏ เจดียส์ ลับสล้างพระ พรายแสง ทองแฮ
โบสถ์สระศาลานันต์ เนื่องด้าว
ธรรมาสน์อาสนสงฆ์แสดง สะเดาะสัตว์ ทุกข์ทวั ่
แผ่นสุธาท้าวสร้าง สัจศิล ฯ
๒๖

๏ เผยอผยองไตรรัตน์ตงั ้ เตือนใจ โลกย์แฮ


เสมอมหามินรุธร ทรุดชัน้
ยากยกขัตติยแดนใด โดยง่าย
ภุมเมศร์สุรชัน้ ฟ้า เฟื่องคุณ ฯ
(โคลงดัน้ นิราศตามเสด็จทัพลาน้าน้อย)
๑.๒) ลิ ลิต วรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ทแ่ี ต่งในรูปแบบของลิลติ คือแต่ง
โดยใช้คาประพันธ์ประเภทโคลงและร่ายเป็นหลัก เช่น ลิลติ ยวนพ่าย ลิลติ ตะเลงพ่าย ของสมเด็จ
พระสมณะเจ้า กรมพระปรมานุ ชติ ชิโนรส ลิลติ ดัน้ สดุดบี า้ นบางระจันของพระยาอุปกิตศิลปสาร
ลิลติ มหามกุฎราชคุณานุ สรณ์ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ตานาน
พระแท่นมนังคศิลาบาตรของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ลิลติ สมเด็จพระ
เจ้าตากสินมหาราช ของพิศาล เสนะเวส ลิลติ เฉลิมพระเกียรติรชั กาลที่ ๕ ของเจ้าพระยาภาสกร
วงศ์ ลิลติ เฉลิมพระเกียรติของพระองค์เจ้าคัคณางคยุคล ลิลติ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
พระอรุณ นิภาคุณ ากร ลิลติ สดุดพี ระราชบัญ ญัติประถมศึกษาของพระยาอุปกิตศิลปสาร ลิลติ
ราชาภิเษกสมรส บรมราชาภิเษก และเฉลิมพระราชมนเทียรพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช ของ
จิระภา อ่อนเรือง ดังตัวอย่างการแต่งเป็นลิลติ เรือ่ งลิลติ ดัน้ สดุดบี า้ นบางระจัน
(ร่ายดัน้ )
ยังมีชายชาวสยาม นามนายแท่นกับสหาย นายโชตินายเมืองนายอิน อยู่แดน
ดินสิงห์บุร ี ณ บ้านศรีบวั ทอง อีกสองชายชาวเขต เมืองวิเศษชัยชาญ นามขนาน
นายดอก บอกตาบลบ้านกรับ กับนายทองแก้ว อยู่หมู่บา้ นโพธิ ์ทะเล หกนายเหหา
กัน พลัน ปรึก ษาปรองดอง ปองแก้แ ค้น แทนชาติ ตกประดาษอาดู ร ดาลเทวษ
เหลือจักนังก้
่ มหน้า นิ่งดู
(โคลงสีด่ นั ้ )
สยามเจ้าสยามปกเกล้า ชาวสยาม เพรงเอย
ชูพกั ตร์ชชู าติชู ศาสน์พร้อม
งามเกียรติยศงาม ธรรมทศ-พิธแฮ
เป็นสุขทุกหน้าน้อม นบคุณ
(ลิลติ ดัน้ สดุดบี า้ นบางระจัน)
๒๗

๑.๓) กลอน วรรณคดีเกี่ย วกับ ประวัติศ าสตร์ ท่ีแ ต่ ง ด้ว ยค าประพัน ธ์


ประเภทกลอน มักแต่งด้วยฉันทลักษณ์ประเภทกลอนเพลงยาว เช่น เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรี
อยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระนั ง่ เกล้า ฯของนายมี นิ ร าศกวางตุ้ ง ของพระยามหานุ ภ าพ นิ ร าศรบพม่ า ที่ท่ า ดิน แดง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กลอนสรรเสริญ พระบารมีพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้า ฯ ภาค ๑ ของหม่อมเจ้าสุ วรรณ และเพลงยาวสรรเสริญ พระเกียรติพระราช
ประวัตพิ ระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ภูมพิ ลอดุลยเดช ของนายเกื้อ ณ นคร
ตัวอย่างเรื่องนิราศกวางตุ้ง ของพระยามหานุ ภาพ (อัน) ผู้แต่งบันทึกการเดินทางไปเมืองจีน
โดยได้ร่วมไปกับคณะราชฑูต เพื่อเจริญ สัมพันธไมตรีกบั เซียนหลงฮ่ องเต้ (พระเจ้าเฉียนหลง
บางแห่งว่า พระเจ้าเกาจงสุนฮ่องเต้ หรือพระเจ้ากรุงต้าฉิ่ง) ณ กรุงปกั กิง่ เมื่อวันอังคารเดือน ๗
แรม ๑๓ ค่า พุทธศักราช ๒๓๒๔ โดยมีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราชเป็ นหัวหน้าคณะ คณะราชฑูต
ได้ออกเดินทางในช่วงปลายราชการแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุร ี และเดินทางถึงสยามเมื่อพระเจ้า
กรุง ธนบุ รสี วรรคตแล้ว เรื่อ งนี้ แ ต่ งด้ว ยกลอนสุ ภ าพ ในเรื่อ งมีก ารบัน ทึก สภาพบ้ านเมือ ง
ตลอดจนบริบทสังคม วัฒนธรรมของชาวจีน เช่น ประเพณีการห่อเท้าของผูห้ ญิงจีน ดังนี้
อันร้านรายขายของทัง้ สองฟาก ประหลาดหลากล้วนทาด้วยฉาฉา
ประจงเจียนเขียนวาดแล้วชาดทา ทีต่ งั ้ หน้าตรงร้านกระดานทอง
เป็นวิสยั ลูกค้าบรรดาขาย จารึกรายไว้ให้ดรู ขู้ อง
ทีก่ ระถางธูปเทียนนัน้ เขียนทอง ทัง้ เตียงรองหลันลดนั ่ น้ รจนา
อันเครือ่ งร้านทีส่ าหรับประดับของ ล้วนแก้วแหวนเงินทองนัน้ หนักหนา
แพรพรรณสรรพสิง่ ละลานตา ทัง้ เสือ้ ผ้ามุง้ ม่านตระการใจ
ทัง้ ถ้วยโถโอจานแลจันอับ จะคณนานามนับไปเป็ นไหนไหน
บ้างหาบคอนร่อนขายอุบายไป บ้างเคาะไม้แทนปากก็มากมาย
(นิราศกวางตุง้ )
อันชมสาวทีช่ าวสถลมาศ ไม่อุจาดเหมือนจีนประจาท่า
อันรูปทรงสรรเสริญจาเริญตา ครัน้ พิศเบือ้ งบาทาก็เสียดาย
เอาผ้าคาดขึงเหนี่ยวจนเรียวรัด พาวิบตั อิ นิ ทรียใ์ ห้มสี ลาย
จะดาเนินมิใคร่ตรงพอทรงกาย ย่อมใช้ชายขายค้ามาให้กนิ
(นิราศกวางตุง้ )

๑.๔) ฉันท์ วรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ทแ่ี ต่งด้วยคาประพันธ์ประเภท


ฉันท์ เช่น เรื่องลาดับกษัตริย์กรุงเก่าคาฉันท์ คาฉันท์สรรเสริญพระเกียรติสมเด็จพระพุทธเจ้า
ปราสาททอง ค าฉั น ท์ย อเกี ย รติช าวนครราชสีม า และกรุงเทพฯ ค าฉั น ท์ ตัว อย่างค าฉัน ท์
๒๘

สรรเสริญ พระเกีย รติส มเด็จ พระพุ ท ธเจ้า หลวงปราสาททอง เป็ น วรรณคดีใ นสมัย อยุ ธ ยา
ประพัน ธ์ พ.ศ.๒๑๘๑ เป็ น ค าฉัน ท์ ประกอบด้ว ยฉัน ท์แ ละกาพย์รวม ๗ ชนิ ด โดยธวัช ชัย
ดุลยสุจริต (๒๕๕๗ : ๑๗๖-๒๐๘) กล่าวถึงเนื้อหาของเรื่องนี้ว่า เป็ นการบันทึกเหตุการณ์สาคัญ
และพระราชกรณียกิจในสมัยนี้ เช่น พระราชพิธอี นิ ทราภิเษก พระราชพิธลี บศักราช พระราชพิธ ี
ออกสนาม เนื้อหาเริม่ ต้นด้วยบทไหว้ครู หรือประณามพจน์ เป็ นวสันตดิลกฉันท์ ๑๒ บท เริม่
ตัง้ แต่ น มัส การสมเด็จ พระพุ ท ธเจ้า พระธรรม และสงฆ์ และสรรเสริญ พระบาทสมเด็จ พระ
เจ้าอยู่หวั กล่าวชมพระนคร พระประวัตโิ ดยสรุป ตัง้ แต่ประสูตจิ นเสวยราชสมบัติ พระราชดาริ
เรื่องการลบศักราช กระทังพระราชพิ
่ ธอิ นิ ทราภิเษก และพระราชพิธลี บศักราชซึง่ จัดขึน้ ในคราว
เดียวกัน พร้อมกับการบาเพ็ญทานรอบพระ พระราชพิธอี อกสนาม พระราชกรณียกิจในกิจการ
ภายในและสัมพันธไมตรีกบั ต่างประเทศ บางตอนได้พรรณนาถึงเหตุการณ์ต่างๆ โดยละเอียด
คาประพันธ์ท่ใี ช้เป็ นคาฉันท์ ใช้ฉันท์ร่วมกับกาพย์ มีจานวนทัง้ สิ้น ๗ ชนิด ได้แก่ วสันตดิลก
ฉันท์ (๒๐ บท) อินทรวิเชียรฉันท์ (๓๓ บท) โตฏกฉันท์ (๗ บท) มาลินีฉันท์ (๑๐ บท) สัทธา
ฉันท์ (๒๓ บท) กาพย์ฉบัง (๒๒๑ บท) กาพย์สุรางคนาง (๘๔ บท) รวมทัง้ สิน้ ๓๙๘ บท ส่วน
ใหญ่ดาเนินเรื่องด้วยกาพย์ฉบับ จะใช้ฉันท์ก็เมื่อถึงตอนสาคัญ ที่พรรณนาถึงสิง่ ศักดิ ์สิทธิ ์และ
พระเจ้าแผ่ นดิน ความยาวตอนหนึ่งไม่มากนัก ลักษณะของฉันท์ท่ใี ช้เน้ นการออกเสียงเป็ น
สาคัญ ไม่ได้ยดึ ครุลหุจากคาเป็ นหลัก และไม่เคร่งครัดเรื่องการส่งและรับสัมผัสมากนัก ดังนัน้
จึงมีการส่งสัมผัสระหว่างบทด้วยคาเดียวปรากฏโดยทัวไป ่ ดังตัวอย่าง
๏ ขอถวายประนมบรมสรร- เพชญพุทธศาสดา
ตัดเบญจพิธพลมา- รมุนินทรเลิศไกร
๏ ลายลักษณอุดมวรา- ดุลเรียบระเบียบใน
บาทาธุลบี รมไตร- ภพโลกยโมลี
๏ นบพระสตัปกรณา อภิธรรมเปรมปรีด ิ ์
อันเปนนิยายิกแลตรี ภพย่อมนมัสการ
๏ พระสูตรพระอรรถกถา บรมัตถยอดญาณ
นาสัตวสู่บรมฐาน บทโมกข์ศวิ าลัย
(คาฉันท์สรรเสริญพระเกียรติสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงปราสาททอง)

๑.๕) ร่ำย วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ท่แี ต่งด้วยคาประพันธ์ประเภท


ร่าย เช่น ร่ายดัน้ ถวายชัยมงคล เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หวั จากยุโรปคราว
แรก ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชติ ปรีชาการ
๒๙

๒) ร้อยกรองผสมผสำน คือ การแต่งด้วยการใช้คาประพันธ์มากกว่า ๑ ชนิด


เช่น เรื่องสามกรุง ของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) แต่งด้วย โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และ
ร่าย บทละครเรื่องพันท้ายนรสิงห์ ของพระเจ้าบรมวงศ์เ ธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ แต่ง
ด้วยโคลงสี่สุภาพ กาพย์ยานี และกลอนละคร ดังเรื่องสามกรุง ผู้แต่งเล่าเหตุการณ์ตงั ้ แต่สมัย
กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุร ี และกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเริม่ ตัง้ แต่สมัยพระเจ้าเอกทัศน์เสียกรุงไปถึง
ตอนญี่ปนุ่ เข้ามาตัง้ ฐานทัพในไทยสมัยสงครามโลกครัง้ ที่ ๒ ตรงกับรัชกาลที่ ๘ ตอนท้ายนี้ผแู้ ต่ง
มุ่งเสียดสีพ ฤติก รรมของผู้นาไทยที่ไปเข้าร่วมกับ ญี่ปุ่นโดยหวังว่ าไทยจะได้เป็ นมหาอานาจ
อย่างไรก็ตาม เนื้อหาส่วนใหญ่ของเรื่องจะเป็ นการสรรเสริญพระเกียรติคุณของพระเจ้าตากสิน
มหาราชกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ดังคาประพันธ์ผสมผสานต่อไปนี้
การแต่งด้วยคาประพันธ์ประเภทกลอน
สรวงสวรรค์ชนั ้ กวีรจุ รี ตั น์ ผ่องประภัศร์พลอยหาวพราวเวหา
พริง้ ไพเราะเสนาะกรรณวัณณนา สมสมญาแห่งสวรรค์ชนั ้ กวี ฯ
อิม่ อารมณ์ชมสถานวิมานมาศ อันโอภาศแผ่ผายพรายรังสี
รัศมีมเี สียงเพียงดนตรี ประทีปทีฆรัสสะจังหวะโยน
รเมียรไม้ใบโบกสุโนคเกาะ สุดเสนาะเสียงนกซึง่ ผกโผน
โผต้นนัน้ ผันตนไปต้นโน้น จังหวะโจนส่งจับรับกันไป
เสียงนกร้องคล้องคาลานาขับ ดุรยิ ศัพท์สานึกเมือ่ พฤกษ์ไหว
โปรยประทิน่ กลิน่ ผกาสุราลัย เป็นคลื่นในเวหาศหยาดยินดีฯ
บังคมคัลอัญชลีกวีเทพ ซึง่ สุขเสพย์สาราญมาณศรี
ณภพโน้นในสวรรค์ชนั ้ กวี แลภพนี้ในถ้อยทีร่ อ้ ยกรอง
ไม่มเี วลาวายในภายน่ า เนาในฟ้าในดินทัง้ ถิน่ สอง
เชิญสดับรับรศบทลบอง ซึง่ ข้าปองสดุดกี วีเอย ฯ
(สามกรุง)
การแต่งด้วยคาประพันธ์ประเภทโคลง
เก้าปีเอกทัศได้ ครองดิน
สมเด็จสุรยิ ามรินทร์ ฤกษ์รา้ ย
เสียฉัตรปิ่นปฐั พินทร์ เสียชีพ
ขาดปุดดุจดังด้าย ดิง่ ด้นหนสลาย
(สามกรุง)
๓๐

การแต่งด้วยคาประพันธ์ประเภทกาพย์
รณรงค์ทรงปราบจลาจล จูงสยามมณฑล
ประสบซึง่ สามัคคี
เอกจิตเอกฉัตรสวัสดี รบล้างไพรี
ปะระประเทศเฉทไป
(สามกรุง)
๓.๑.๑.๓ รูปแบบผสม รูปแบบผสม คือ รูปแบบทีผ่ สมผสานระหว่างร้อยแก้วและ
ร้อยกรอง วรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ทแ่ี ต่งด้วยรูปแบบผสม เช่น สาส์นสมเด็จ ของสมเด็จ
กรมพระยาดารงราชานุ ภาพและสมเด็จกรมพระยานริศรานุ วดั ติวงศ์ แต่งทัง้ ร้อยแก้วและร้อย
กรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย ตัวอย่างทีเ่ ป็ นร้อยแก้วในเรื่องสาส์นสมเด็จ ใน
เล่มที่ ๗ ผลงานของสมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุ ภาพ ลงวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๔๗๘ เขียนที่
Cinnamon Hall มีใจความตอนหนึ่งเล่าถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวทีป่ ีนงั ดังนี้
เมื่อวันเสาร์ท่ี ๓ นี้ทป่ี ี นังแผ่นดินไหวเวลาเช้า ๘.๓๐ นาฬิกา เวลานัน้ หม่อมฉันยัง
ไม่ต่นื หญิงพูนกับหญิงเหลือตื่นแล้วอยู่ในห้อง เล่าว่าบานประตูหน้าต่างลันหมด ่ โคม
ไฟฟ้าแกว่ง น้ าในถ้วยกระฉอก เปนอยู่ครู่เดียว แต่หญิงพูนไม่เคยเห็นแผ่นดินไหวมา
แต่ก่อน รูส้ กึ ออกจะเวียนหัว จะเปนด้วยตกใจหรือมิฉะนัน้ ก็เมาแผ่นดินกับเมาอากาศ
เมาคลื่นด้วยอีกอย่างหนึ่ง ที่ปีนังเวลานี้อากาศวิปริต ฝนแล้งร้อนจัดมาสักเดือนหนึ่ง
แล้ว เมื่อปี กลายถึงระดูน้ีกาลังเย็นสบาย กลางคืนต้องนอนห่มผ้าทุกคืน ปี น้ีเกือบต้อง
ถอดเสือ้ ลงนอนกับกระดาน
(สาส์นสมเด็จ)

การศึกษาเรื่องรูปแบบคาประพันธ์ของวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์สะท้อนให้เห็นว่า
การใช้รปู แบบคาประพันธ์เปลีย่ นแปลงไปตามยุคสมัย ในสมัยสุโขทัย ผูแ้ ต่งนิยมแต่งด้วยรูปแบบ
คาประพันธ์ท่เี ป็ นร้อยแก้ว พบในงานเขียนประเภทจารึก หลักต่าง ๆ ครัน้ สมัยอยุธยานิยมแต่ง
ด้ว ยรูป แบบค าประพัน ธ์ป ระเภทลิล ิต และโคลง ต่ อ มาในสมัย ธนบุ ร ีนิ ย มแต่ งด้ ว ยรูป แบบ
ค าประพัน ธ์ป ระเภทโคลง ครัน้ สมัยรัต นโกสิน ทร์ ต อนต้น นิ ย มแต่ งด้ว ยรูป แบบค าประพัน ธ์
ประเภทกลอน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมานิยมแต่งด้วยรูปแบบคาประพันธ์ประเภทร้อย
แก้วทีเ่ ป็นนวนิยาย ซึง่ เกิดจากการได้รบั อิทธิพลด้านรูปแบบจากตะวันตกนันเอง

๓.๑.๒ รูปแบบกำรเขียน
รูปแบบการเขียน คือ วิธกี ารเรียบเรียงเนื้อหาเมื่อจะเขียน ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก
บางอย่างทีแ่ สดงลักษณะเฉพาะอยูข่ น้ึ อยูก่ บั จุดประสงค์ของผูแ้ ต่งว่าต้องการเขียนให้เป็นแบบใด
๓๑

สาหรับรูปแบบการเขียนวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์นนั ้ พบว่ามี ๒ รูปแบบ คือ รูปแบบการ


เขียนทีเ่ ป็ นอุดมคติ และรูปแบบการเขียนทีเ่ ป็นเน้นความสมจริง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๓.๑.๒.๑ รูป แบบกำรเขี ย นที่ เป็ นอุ ด มคติ (Idealistic) กุ ห ลาบ มัล ลิก ะมาส
(ม.ป.ป : ๕๔) กล่าวว่า อุดมคติเน้นความงามเลิศ หรือความประพฤติอนั ดีเลิศโดยสมบูรณ์ตาม
อุดมคติของคนแต่ละสมัย เช่น สร้างตัวเอกให้เป็ นผู้สูงศักดิ ์ มีตระกูลอันดีเลิศ ทรงคุณธรรม มี
ความดีเลิศด้านจิตใจ ศีลธรรม และความประพฤติ รวมทัง้ มีความงามส่วนร่างกาย เป็ นการผสม
ระหว่างความนึกคิดของกวีหรือศิลปินเอง โดยใช้ภาษาทีป่ ระณีตงดงามเป็ นอย่างมาก
การเขียนแบบอุ ดมคติในวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศ าสตร์ส่ วนใหญ่ มกั ปรากฏใน
รูปแบบของร้อยกรอง เช่น การชมบ้านเมืองที่งดงามดังเมืองสวรรค์ การยกย่องความสามารถ
และบุญ ญาธิการของกษัตริย์อย่างดีเลิศ ดังโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร ีของนายสวน
มหาดเล็ก มีการสดุดพี ระเกียรติคุณของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรวี ่าประกอบด้วยบุญญาภินิหาร
พระเดชานุ ภาพ พระสติปญั ญา เสมอด้วยสมเด็จพระนารายณ์ผทู้ รงครุฑ เสด็จจากเกษียรสมุทร
มาอุบตั ใิ นโลกเป็ นเจ้าแผ่นดินสยามผูท้ รงบาเพ็ญบารมีหวังพระโพธิญาณเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมาย
สูงสุด พระองค์ประกอบด้วยความรู้ทงั ้ สาม คือ รูอ้ ดีต ปจั จุบนั และอนาคต อุบตั มิ าในโลกเพื่อ
กอบกูพ้ ุทธศาสนาทีใ่ กล้จะสิน้ สูญให้เจริญก้าวหน้า
บุญพระภูวนาถเกล้า จักรพาฬ
ทรงฤทธิ ์เดโชชาญ เชีย่ วพ้น
พระสติวทิ ยาญาณ ขยันยอด ชนแฮ
ทรงสมาธิปญั ญาล้น แหล่งหล้าฤๅเสมอฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี

เสมอองค์หริรกั ษ์เรือ้ ง รงค์รทุ


ลล่วงพาหนะครุฑ สู่หล้า
ฤๅจรจากเกษียรสมุท มาทวีป นี้แฮ
เนื้อหน่อพุทธพงศ์กล้า ก่อสร้างโพธิญาณฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี
๓๒

พระตรีญาณประเวศด้วย นรชน
เห็นทุกข์เมทนีดล แด่ขว้า
ยลสาสนพระพุทธพล โรยร่อย
หวังช่วยเชิดชูปล้า ปลุกให้คงเกษมฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี
ผูแ้ ต่งเรือ่ งโคลงดัน้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกล่าว
ยกย่องพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่า ทรงเป็ นพระจักรพรรดิเจ้าโลก พระเกียรติ
ปรากฏเหมือนพลุท่สี ่องแสงในท้องฟ้า บรรดากษัตริยท์ ่เี ป็ นเมืองขึน้ ต่างส่งช้างเผือกมาถวาย
ทรงมีพระเดชานุภาพทีย่ งิ่ ใหญ่ประเทศใกล้เคียงยอมอ่อนน้อม ขอเป็นเมืองขึน้ ดังความว่า
พระจอมจักรพรรดิเจ้า จอมเกศ
พรเพียบพรพลุโพยม เอิบอ้าง
ออกเมืองส่งสารเศวต ถวายท่าน แลแฮ
ล้วนแต่เผือกผูช้ า้ ง มิง่ เมือง
(โคลงดัน้ ฯ)
พระมีมหิทธิเรือ้ ง วรเด-ชาพ่อ
ทุกประเทศมาเป็ น บาทไท้
มอญมัตมะเท ครัวครอก มานา
สู่โพธิสมภารใต้ บาทบงสุ์
(โคลงดัน้ ฯ)
๓.๑.๒.๒ รูปแบบกำรเขียนที่ เน้ นควำมสมจริ ง (realistic) คือ การเขียนงานโดย
ยึดหลักความเป็ นจริง เห็นอย่างไรก็พูดไปอย่างนัน้ ผู้อ่านรูส้ กึ ได้ว่านี่คอื เรื่องที่อาจเป็ นจริงได้
นักเขียนพยายามสะท้อนเหตุการณ์ ท่เี ป็ นจริง พยายามนาเอาชีวติ จริงของคนที่อยู่ร่วมสมัยกับ
ตนมากล่าว หรือแสดงความคิดของตนทีม่ ตี ่อเหตุการณ์ทเ่ี ป็นจริง หากจะใช้จนิ ตนาการก็ต้องให้
อยู่ในขอบเขตของความสมจริงทีผ่ อู้ ่านยอมรับได้ บางครัง้ อาจทาให้เห็นภาพทีอ่ อกมาน่ าเกลียด
น่าชัง หรือนาความน่ าทุเรศน่าอนาถของชีวติ มาตีแผ่กไ็ ด้ วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ทแ่ี ต่ง
แนวสมจริงมักเป็ นประเภทของร้อยแก้วที่เน้นความจริงทัง้ เนื้อหาและการแสดงออก ความคิดที่
ปรากฏไม่ได้อ อกมาลอย ๆ แต่ อิงกับหลักฐานและเหตุ ผล ภาษาที่ใช้มคี วามแม่นยา กระชับ
ผู้อ่านสามารถเข้าใจตรงกันโดยตลอด มิได้ตกแต่งถ้อยคาอย่างพิสดารเหมือนร้อยกรอง เน้ น
กล่าวตรงไปตรงมาว่าใคร ทาอะไร ทีไ่ หน เมื่อไร และอย่างไร งานเขียนประเภทนี้มกั ปรากฏใน
๓๓

รูปแบบของจดหมายเหตุ ต านาน พงศาวดาร และนวนิ ยายอิงประวัติศ าสตร์ในป จั จุบนั ดัง


ตัว อย่า งการเขีย นแนวสมจริง ในนวนิ ย ายเรื่อ งเพชรพระนารายณ์ ข องหลวงวิจ ิต รวาทการ
กล่าวถึงการทาสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับพม่า ซึ่งเกิดจากมอญอพยพเข้ามายังกรุงศรี
อยุธยา พม่าจึงขอให้ส่งตัวพวกมอญกลับไป แต่ฝา่ ยไทยปฏิเสธ การศึกสงครามจึงเกิดขึน้ ดังนี้

การทาสงครามระหว่างพม่าทีย่ กทัพมากรุงศรีอยุธยา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สงครามไทร


โยค ซึง่ เกิดจากการอพยพของมอญฝ่ายใต้ทก่ี ่อจลาจลจึงต้องอพยพมาพึง่ พระบรมโพธิ
สุขของกรุงศรีอยุธยา พระสมเด็จพระนารายณ์ได้ ให้การต้อนรับเป็ นอย่างดี พม่าได้ส่ง
หนั งสือ ขอให้ไทยส่ งมอญกลับ คืน ให้ แต่ ไทยไม่ย อมส่ งคืน พม่า จึงยกทัพ มาตีไทย
สงครามครัง้ นี้พระยาสีหราชเดโชได้เดินทางจากเมืองเชียงใหม่เพื่อทาสงครามกับพม่า
โดยได้รบั คาสังจากพระยาโกษาเหล็
่ กให้เดินทางไปทีส่ งั คระ เมื่อถึงแล้วกองทัพของพระ
ยาสีหราชเดโช ต้องทาสงครามกับพม่าทัง้ สองด่าน กองทัพของเจ้าพระยาโกษาเหล็ก
เข้ามาสมทบกับกองทัพของพระยาสีหราชเดโช และสามารถตีทพั หลวงของพม่าซึ่ง
ตัง้ อยู่ท่ไี ทรโยคแม่ทพั ของพม่าได้รบั บาดเจ็บจากปื นของไทย พม่าจึงถอยทัพกลับไป
ทางด่านเจดียส์ ามองค์ (เพชรพระนารายณ์)

ใจความข้างต้นมีความสมจริง เพราะผู้แต่งอิงกับเหตุการณ์ ทางประวัติศาสตร์ซ่งึ


กล่าวถึงเหตุการณ์ ตอนนี้ว่า เมื่อพม่าทราบว่า บรรดามอญเมาะตะมะ และเมืองขึ้นต่างพากัน
กวาดครัวหนีไปพึ่งอยุธยาจึงมีหนังสือขอให้ส่งมอญกลับมา มิฉะนัน้ ส่งจะยกกองทัพเข้ารบเอา
ให้จงได้ สมเด็จพระนารายณ์ทรงให้ยกทัพไปตัง้ ค่ายรับอยู่ทางเมืองทวายทัพหนึ่ง ทัพหลวงตัง้
ค่ายใหญ่ รบั อยู่รมิ เมืองกาญจนบุร ี ฝ่ายพม่าก็ได้ยกทัพเข้ามาตัง้ ทัพตาบลเมืองไทรโยค ต่อมา
ทัพใหญ่และทัพหน้าของไทยก็เข้าระดมตีทพั พม่าเป็ นระยะเวลา ๓ วัน จนทัพพม่าแตกพ่ายไป
ฝ่ายนายทัพนายกองและไพร่ล้มตายและถูกจับได้เป็ นจานวนมาก (พระราชพงศาวดารกรุงศรี
อยุธยาฉบับ สมเด็จพระพนรัตน์, ๒๕๑๔ : ๔๐๖-๔๑๒)
การศึกษาเรื่องรูปแบบการเขียนวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์สะท้อนให้เห็นว่า
การใช้รปู แบบต่าง ๆ มักเปลีย่ นแปลงไปตามยุคสมัย ดังในสมัยสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ผู้แต่งนิยมใช้รูปแบบการเขียนที่เป็ นอุดมคติ รูปแบบนี้มกั พบในเนื้อหาของวรรณคดีเกี่ยวกับ
ประวัตศิ าสตร์ทเ่ี น้นการทาศึกสงครามของพระมหากษัตริย์ และมักแต่งเป็ นร้อยกรอง ทัง้ นี้กเ็ พื่อ
ยอพระเกียรติพระมหากษัตริยท์ ่อี ยู่ในอุดมคตินัน่ เอง ครัน้ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็ นต้นมา ผู้แต่ง
นิยมใช้รปู แบบที่เน้นความสมจริง และมักแต่งเป็ นร้อยแก้วตามรูปแบบวรรณกรรมประเภทนว
นิยายมากขึน้ การใช้รปู แบบนี้ส่วนใหญ่มกั พบในวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ทแ่ี สดงเนื้อหา
บันทึกสภาพบ้านเมือง สังคม และวัฒนธรรมร่วมสมัย
๓๔

๓.๒ ด้ำนเนื้ อหำ


เนื้อหา คือ เรื่องราวที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารถึงผู้อ่าน ผู้แต่งมักนาเสนอเนื้อหาที่เป็ น
โครงสร้างสาคัญ ๆ สามส่วน คือ ส่วนนาเรื่อง ส่วนสาระสาคัญ ของเรื่อง และส่วนท้ายเรื่อง โดย
วรรณคดีเ กี่ย วกับ ประวัติศ าสตร์ แ ละวรรณคดีป ระเภทอื่น ๆ ที่แ ต่ ง ตัง้ แต่ ส มัย สุ โ ขทัย ถึง
รัตนโกสินทร์ตอนต้นมักมีโครงสร้างดังกล่าวอย่างชัดเจน แล้วคลีค่ ลายไปในเวลาต่อมา ส่วนนา
เรือ่ งของวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ทแ่ี ตกต่างจากวรรณคดีโดยทัวไป ่ คือ การเน้นพรรณนา
สภาพบ้านเมือ งและยอพระเกียรติพ ระมหากษัต ริย์ ส่ ว นสาระส าคัญ ของเรื่อ งของวรรณคดี
เกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์มกั บอกเล่าเรื่องการทาสงคราม สภาพเหตุ การณ์ บ้านเมือง และวิถชี วี ติ
ของคน และส่วนท้ายเรือ่ งมักบอกชื่อผูแ้ ต่งหรือวัตถุประสงค์ในการแต่ง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๓.๒.๑ ส่วนนำเรื่อง เมือ่ ศึกษาส่วนนาเรือ่ งในวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ พบว่า
ส่ ว นน าเรื่อ งของวรรณคดีเกี่ย วกับ ประวัติศ าสตร์ ม กั เริม่ ต้ น ด้ว ยบทไหว้ค รู การกล่ าวชม
บ้ า นเมื อ ง อศิ ร วาทพ ระมหากษั ต ริย์ ไ ทย ต่ อ มาก็ ก ล่ า วสรรเสริญ พ ระเกี ย รติ ข อง
พระมหากษัตริยท์ ย่ี งิ่ ใหญ่เหนือกว่าบุคคลธรรมดา ทัง้ ด้านการรบ การทาศึกสงคราม และพระ
ราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องลิลติ ยวนพ่ายที่เริม่ ด้วยการกล่าวนมัสการพระคุณเจ้า และ
กล่าวถึงความวุ่นวายของโลก จนเทพเจ้าทัง้ สามมีพระพรหม พระนารายณ์ พระอิศวร ได้สร้าง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถให้อุ บตั ิข้นึ เพื่อปราบยุค เข็ญ ต่ อ มาก็กล่าวถึงภาพลักษณ์ ด้าน
ต่าง ๆ ทีเ่ หนือบุคคลธรรมดา เช่น มีลกั ษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ มีมงคล ๑๐๘ ประการ มี
ลักษณะเล็ก ๆ น้อย ๆ อีก ๘๐ ประการ และมีพระรัศมี ๖ แสง
ศรีสทิ ธิสวัสดิ ชยัศดุมงคล วิมลบูลย์ อดูลยาดิเรก เอกภูธรกรกช ทสนัขสมุชลิต
วิกสิตสโรโชดม บรมนบอภิวาท บาทรโชพระโคดม สนุ พระสัทธรรมาทิตย์ บพิตรมหิทธิ
เหาฬาร มหานดาทธนาศรย หฤทัยธวรงค์ ทรงทวดึงษมหาบุรษุ ลักษณ์ อัครอัษโฎษดร
บวรสัตมงคล อนนตญาณอเนก อเศกษาอภิต อสิตยานุ พยญ ชนพิรญชิต ฉายฉัพพิธ
รังษี พยงรพีพรรณ จันทรโกฏิ โชติสหัสชัชวาล วิศาลแสงรุง่ เร้า เท้าหกห้องฟ้าหล้าสีส่ บ
ดารนพมณฑล สรณาภิวนทนสัทธรรมาคม อุดมาภิวนั ทนอรรษฎารยาภิวาท อาทิยุคขุก
เข็ญ เป็ นกรลีกรลาพรธรณิดล จลพิจลต่างต่าง พ่างจะขว้าทัง้ สีห่ ล้า ฟ้าทังหกพกหงาย
รสายสยบภพมณฑล ในกษษนัน้ บัน้ พรหมพิษณุ อิศวรอดุลเดช เหตุบพิตรคิดกรุณา
ประชาราษ ฎร อยยวจพิ น าศทั ง มู ล สู ญ ภพสบสิ่ ง ธจิ่ ง แกล้ ง แส้ ง สรวบ รวบ
เอาอัษ เฎามูรรดิม ามิศ ร ด้ว ยบพิต รเสร็จ ก็เสด็จมาอุ บ ัติ ในกระษัต รี ทวีดิว งษพงษ
อภิชาติ รงับราชรีปู ชูแผ่นดินให้ห งาย ทายแผ่นฟ้ าบให้ขว้า ลากรัณ ธรัต นวัด ถวี ตรี
โลกยบให้อูน หนูนพระพุทธศาสนให้ตรง ดารงกรษัตรให้กรสานต์ ประหารทุกขให้กษย
ไขยเกศตรให้เกษม เปรมใจราษฎรนิกร กาจรยศโยค ดิลกโลกยอาศรย ชยชยนฤเบนท
ราทรงเดช ฦๅล่งดินฟ้าฟุ้งข่าวขจรฯ (วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม ๑)
๓๕

แม้ว่ า วรรณคดีเกี่ย วกับ ประวัติศ าสตร์ห ลายเรื่อ งมัก เริ่ม ต้ น ด้ว ยบทไหว้ค รูห รือ บท
นมัสการ แต่ก็มบี างเรื่องที่ไม่ม ี เช่น เรื่องโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร ีขน้ึ ต้นด้วยการ
บอกชื่อ ศักราชทีแ่ ต่ง และบอกความมุง่ หมายในการแต่ง ดังผูแ้ ต่ง ระบุว่าชื่อนายสวน มหาดเล็ก
แต่งในเดือนเก้า ขึน้ สิบค่า ปีเถาะ มีจดุ มุง่ หมายเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุร ี
นายสวนมหาดเล็กเจ้า จอมกษัตริย์
แถลงเรือ่ งราชศรีสวัสดิ ์ กราบเกล้า
ถวายต่างบุษปรัตน์ มาลย์มาศ
ภุมวารเดือนเก้า สิบขึน้ เถาะตรีฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี
บังคมบทรัชไท้ ทรงทศ ธรรมนา
พระปิ่นอยุธยายศ ยอดฟ้า
ขอแถลงนิพนธ์พจน์ เฉลิมบาท พระเอย
ไว้พระเกียรติท่วมหล้า โลกเหลือ้ งฤๅเสมอฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี

๓.๒.๒ ส่ วนสำระส ำคัญ ของเรื่อง ส่ ว นสาระสาคัญ ของเรื่อ งเป็ น ส่ ว นที่ใช้บ อกเล่ า


เรื่องราวสาคัญในเรื่อง วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์มสี ่วนสาระสาคัญของเรื่องที่หลากหลาย
บางเรื่องเน้ นการยอพระเกียรติพระมหากษั ตริย์ บ้างก็เน้ นบันทึก เหตุการณ์ และบ้างก็เน้นยก
ย่ อ งผู้ ท าความดีด้ า นใดด้ า นหนึ่ ง ส าหรับ การจ าแนก สาระส าคัญ ของวรรณคดีเ กี่ ย วกับ
ประวัติศ าสตร์พ บว่ า มีนั ก วิช าการจ าแนกกัน อย่ า งหลากหลายเช่ น เดีย วกัน เช่ น สายใจ
อินทรัมพรรย์ (๒๕๔๑ : ๒๑๙-๒๓๐) จาแนกสาระสาคัญของวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์
เป็ น ๔ ประเภท คือ สดุดวี รี กรรมของพระมหากษัตริย์ บันทึกและรายงานเหตุการณ์ สาคัญ ที่
เกิด ขึ้น ในบ้านเมือ ง บัน ทึก ลางสังหรณ์ แ ละอิท ธิป าฏิห าริย์ และบัน ทึก เกร็ด เบื้อ งหลัง ทาง
ประวัติศ าสตร์ ประสิท ธิ ์ กาพย์ก ลอน (๒๕๒๓ : ๒๑-๒๒) จาแนกสาระสาคัญ ของวรรณคดี
เกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์เป็น ๓ ประการ คือ สดุดวี รี บุรษุ และวีรสตรี ยกย่องสรรเสริญผูท้ าความดี
ด้านใดด้านหนึ่ง และพรรณนาเหตุ การณ์ ตอนใดตอนหนึ่งในประวัติศ าสตร์ ในขณะที่สุรรี ตั น์
ทองคงอ่วม (๒๕๔๒ : ๔-๗) จาแนกสาระสาคัญ ของวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เป็ น ๔
ประเภท ได้แ ก่ วรรณคดีประวัติศ าสตร์ประเภทเฉลิมพระเกียรติพ ระมหากษัต ริย์ วรรณคดี
ประวัติศ าสตร์ประเภทบันทึก การเดินทาง วรรณคดีประวัติศาสตร์ประเภทบันทึกเหตุ การณ์
ทัวไป
่ และวรรณคดีประวัตศิ าสตร์ประเภทสดุดวี รี กรรม ส่วนผู้เขียนขอจาแนกสาระสาคัญของ
วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์โดยประมวลจากนักวิชาการข้างต้นแล้วแบ่งประเด็นปลีกย่อย
ออกเป็นประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้เห็นรายละเอียดมากยิง่ ขึน้ ดังนี้
๓๖

๓.๒.๒.๑ บันทึ ก เหตุกำรณ์ หรือเรื่องรำวทำงประวัติศ ำสตร์ การบันทึก


เหตุการณ์หรือเรื่องราวทางประวัตศิ าสตร์ปรากฏทัง้ ในร้อยแก้ว ประเภทตานาน พงศาวดาร
พระราชหัต ถเลขา จารึก และร้อ ยกรองประเภทต่ า ง ๆ มีท ัง้ บัน ทึก การท าศึก สงคราม
เหตุการณ์บา้ นเมือง สภาพสังคม เศรษฐกิจ เป็นต้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๑) บันทึกเหตุกำรณ์ สำคัญที่ เกิ ดขึ้นในบ้ำนเมือง วรรณคดีเกี่ยวกับ
ประวัตศิ าสตร์ทม่ี เี นื้อหาบันทึกเหตุการณ์สาคัญ ที่เกิดขึน้ ในบ้านเมือง เช่น จดหมายเหตุบนั ทึก
ความทรงจาของกรมหลวงนรินทรเทวี บันทึกเหตุการณ์ในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาจวนจะแตก
จนกระทังถึ่ งสมัยรัช กาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เรื่องสามกรุงของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
(น.ม.ส.) บันทึกการทาสงคราม ตัง้ แต่กรุงศรีอยุธยาตอนปลายเสียให้แก่พม่า พระเจ้าตากสินตัง้
กรุ ง ธนบุ ร ี จนสร้า งกรุ ง รัต นโกสิน ทร์ต ัง้ แต่ ร ัช กาลที่ ๑ - รัช กาลที่ ๘ เสภาเรื่อ งพระราช
พงศาวดาร ของสุนทรภู่บนั ทึกการทาสงครามในสมัยพระเจ้าอู่ทองทีโ่ ปรด ฯ ให้พระราเมศวรไป
ตีเขมร จบจากเขมรก็เป็ นเรื่องพระเจ้าหงสาวดีขอช้างเผือกในแผ่นดินพระมหาจักรพรรดิ จนถึง
สงครามสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ดังตัวอย่างการขอช้างเผือกของพม่า ดังนี้
ในลักษณพระราชสารสวัสดิ ์ จอมกระษัตริยซ์ ง่ึ ดารงเมืองหงษา
ทรงพระยศทศธรรม์กรุณา ให้เย็นใจไพร่ฟ้าประชาชี
มีเมืองน้อยร้อยเอ็ดเปนเขตรขอบ มานบนอบน้อมประนตบทศรี
กับกรุงเพทวาราวดี เปนทางราชไมตรีได้มมี า
ทราบว่าองค์ทรงยศมีคชเรศ ล้วนเผือกผูค้ ่พู ระเดชพระเชษฐา
เสมอบุญจุลจักรทรงศักดา จนฦๅชาปรากฏบทมาลย์
เมืองหงษาวดีทใ่ี หญ่กว้าง ไม่มชี า้ งเผือกผูค้ ่ถู นิ่ ฐาน
ขอพระองค์ทรงมหาปรีชาชาญ โปรดประทานให้น้องสักสองช้าง
จะฦๅนามงามภักตร์สงู ศักดิ ์แสง สมประเทศเขตรแขวงทีก่ ว้างขวาง
ให้รว่ มแดนแผ่นดินร่วมถิน่ ทาง ขอพระองค์จงสร้างทางไมตรี
แม้นทรงศักดิ ์รักข้างช้างเผือกผู้ ไม่ช่วยชูภกั ตร์น้องจะหมองศรี
กรุงอยุธยากับหงษาวดี จะขาดราชไมตรีซง่ึ มีมา ฯ
(เสภาเรือ่ งพระราชพงศาวดาร)
เรื่องโคลงภาพพระราชพงศาวดาร บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจ
ดังทีป่ ระสิทธิ ์ กาพย์กลอน (๒๕๒๓ : ๘๐-๘๒) กล่าวไว้ดงั นี้
รูปที่ ๑ เหตุการณ์ในสมัยพระรามาธิบดีท่ี ๑ สร้างกรุงศรีอยุธยา
รูปที่ ๒ เหตุการณ์ในสมัยพระราเมศวรตอนตีเมืองเชียงใหม่
รูปที่ ๓ เหตุการณ์ในสมัยพระราเมศวรตอนตีเมืองละแวก
๓๗

รูปที่ ๔ เหตุการณ์ครัง้ พระนครินทราธิราช ตอนเจ้าอ้ายพญากับเจ้ายีพ่ ญาชนช้างกัน


รูปที่ ๕ เหตุการณ์สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ตอนพระอินทราราชชนช้างกับหมื่นด้งนคร
รูปที่ ๖ เหตุการณ์ในสมัยพระรามาธิบดีท่ี ๒ ตอนหล่อพระศรีสรรเพชรญ์
รูปที่ ๗ บรรยายเหตุการณ์ในสมัยพระยอดฟ้า ตอนเสด็จทอดพระเนตรช้างบารุงงา
รูปที่ ๘ - ๙ เหตุการณ์ในสมัยขุนวรวงศาธิราช ตอนพระเทียรราชาเสีย่ งเทียน และตอน
ขุนพิเรนทรเทพกับพวกจับขุนวรวงศาธิราช
รูปที่ ๑๐ - ๑๕, ๑๗ เหตุการณ์ ในสมัยพระมหาจักรพรรดิ ตอนพระสุรโิ ยทัยขาดคอช้าง
การใช้ปืนใหญ่ ยงิ ค่ายพม่า ตอนช้างพลายศรีมงคลและพลายมงคลทวีปอาละวาด ตอนคล้อง
ช้างเผือกแม่ลกู และตอนพระมหาจักพรรดิและพระเจ้าหงสาวดีทาสัตย์ต่อกัน
รูปที่ ๒๐ - ๒๗ เหตุการณ์ ในสมัยพระมหาธรรมราชา ตอนยิงพระจาปาธิราชและพระ
นเรศวรทรงปีนข้ามแม่น้ าสะโตง ฯลฯ
รูปที่ ๒๘ - ๓๖ เหตุการณ์ ในสมัยพระนเรศวร ตอนตีทพั หน้าพระมหาอุปราชาและทา
ยุทธหัตถีกบั พระมหาอุปราชา เป็นต้น
รูปที่ ๓๗ เหตุการณ์ในสมัยพระเอกาทศรถ ตอนทูตแขกเมืองไทรเข้าเฝ้า
รูปที่ ๓๙ เหตุการณ์ในสมัยพระเจ้าศรีเสาวภาคย์ ตอนพระพิมลธรรมเป็นกบฏ
รูปที่ ๔๐ เหตุการณ์ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ตอนญีป่ นุ่ เข้าพระราชวัง
รูปที่ ๔๑ เหตุการณ์ในสมัยพระเจ้าเชษฐาธิราช ตอนเจ้าพระยากลาโหมเป็นขบถ
รูปที่ ๔๒ เหตุการณ์ในสมัยพระศรีสุธรรมราชา ตอนพระนารายณ์ยกเข้าตีพระราชวัง
รูปที่ ๔๓ - ๕๑ เหตุการณ์ ในสมัยพระนารายณ์ ฯ ตอนทูต ไทยไปฝรังเศส ่ และพระยา
สีหราชเดโชไชยตีค่ายพม่า
รูปที่ ๕๒ - ๕๔ เหตุการณ์ในสมัยพระเพทราชา ตอนพระบรมศพพระนารายณ์ และอ้าย
ธรรมเถียรเป็นกบฏ ฯลฯ
รูปที่ ๕๕ - ๕๖ เหตุการณ์ในสมัยพระเจ้าเสือ ตอนเสด็จช้างทรงข้ามบึงหูกวาง และพัน
ท้ายนรสิงห์ถวายชีวติ
รูปที่ ๕๗ - ๕๘ เหตุการณ์ในสมัยพระเจ้าท้ายสระ ตอนพระมหาอุปราชาแทงช้างพระที่
นังและภาพชะลอพระนอนวั
่ ดปา่ โมกข์
รูปที่ ๕๙ เหตุการณ์ในสมัยพระเจ้าบรมโกษฐ์ ตอนขุนชานาญสูก้ บั พระธนบุร ี
รูปที่ ๖๐ - ๖๑ เหตุการณ์ ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ตอนอลังกปูนีถวายนกกระจอกเทศ
และตอนพระยาไทรถวายช้างเล็บครบ
รูปที่ ๖๒ - ๖๔ เหตุการณ์ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ตอนจลาจล ตอนพระยาวชิรปราการ
รบพม่าและตอนพระเจ้าตากสินตีค่ายพม่าทีโ่ พธิ ์สามต้น
รูปที่ ๖๕ - ๗๒ เหตุการณ์ ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุร ี ตอนพระยาปตั ตานีสงฆ่ั ่ าเจ้านคร
ตอนตีสวางคบุร ี ฯลฯ
๓๘

รูปที่ ๗๓ - ๘๙ เหตุการณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ตอนปราบดาภิเษก


ตอนยิงลูกปืนไม้ ตอนท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทรรักษาเมืองถลาง ฯลฯ
รูปที่ ๙๐ - ๙๑ เหตุการณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ
่ าฯ ตอนกัปตันเฮนรีเ่ บอร์น่เี ข้าเฝ้า
รูปที่ ๙๒ เหตุการณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนังเกล้

บาหยัน อิม่ สาราญ (๒๕๕๔: ๑๒๑-๑๕๖) กล่าวว่า เรื่องโคลงภาพพระ


ราชพงศาวดารตัดตอนเรื่องราวในพระราชพงศาวดารแล้วนามาแต่งเป็ นโคลงทัง้ หมด ๓๙๖ บท
เรื่องราวที่นามานัน้ เป็ นเหตุการณ์ ท่เี กิดขึ้นในแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ ๒๕ พระองค์ เริม่
ตัง้ แต่แผ่นดินของสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๑ คือ การสร้างกรุงศรีอยุธยา จนกระทังถึ ่ งแผ่นดินของ
สมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยู่หวั พระมหากษัต ริย์ท่ปี รากฏเรื่องราวมากที่สุด ได้แก่ สมเด็จพระ
นเรศวร เหตุ ก ารณ์ ท่ีต ัด ตอนมาเขีย นเกี่ยวข้อ งกับ เรื่อ งต่ าง ๆ ได้แก่ ๑) สงครามและความ
ขัดแย้งภายใน แสดงออกให้เห็นด้วยการสูร้ บกันระหว่างคู่ขดั แย้ง ความขัดแย้งที่เกิดขึน้ มีสอง
ลักษณะ ลักษณะแรกเป็ นความขัดแย้งภายนอก ได้แก่ การกระทาศึกสงครามกับพม่าและหัว
เมืองใกล้เคียง ลักษณะทีส่ อง ความขัดแย้งภายใน ได้แก่ การแย่งชิงราชสมบัติ ความบาดหมาง
กันระหว่างเจ้านายเชื้อพระวงศ์ และการก่อขบถการทาศึกสงครามเป็ นภาพที่มมี ากที่สุด มีทงั ้
สงครามที่เกิดขึ้นเพราะถูก รุกรานและสงครามที่รุกรานอาณาจักรและหัวเมือ งข้างเคียง โดย
สงครามที่ถู ก รุก ราน คู่ส งครามส่ ว นใหญ่ คือ พม่า ทุ ก เหตุ ก ารณ์ จะแสดงการต่ อ สู้อ ย่างสุ ด
ความสามารถของพระมหากษัตริย์ ทหารและข้าราชบริพารทัง้ หลาย ๒) ภาพพระราชพิธ ี เป็ น
การแสดงภาพเหตุการณ์เกี่ยวกับการประกอบพระราชพิธขี องราชสานัก ส่วนใหญ่เป็ นพระราช
พิธอี นั เป็ นมงคล มีการสมโภชใหญ่และพระราชพิธที างศาสนา ๓) ภาพพระราชกรณียกิจ มีทงั ้
พระราชกรณียกิจด้านการศาสนา พระราชกรณียกิจด้านการต่างประเทศ และพระราชกรณียกิจ
เรื่องการเสด็จคล้องช้าง พระราชกรณียกิจด้านการศาสนา ๔) ภาพการแสดงพระบุญญาบารมี
ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นบุญญาบารมีของสามัญชนให้ปรากฏก่อนที่ จะได้เป็ นกษัตริย์ ๕) ภาพ
การแสดงพระบรมเดชานุ ภาพ เป็ นภาพที่แสดงให้เห็นพระราชอานาจของพระมหากษัตริยท์ แ่ี ผ่
ไพศาลไปทัว่ เป็ นที่ยาเกรงแก่หวั เมืองและอาณาจักรข้างเคียง และ ๖) เรื่องเล่าปลีกย่อย เป็ น
เหตุการณ์ เบ็ดเตล็ดในประวัติศาสตร์ ที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับสถานะพระมหากษัตริยโ์ ดยตรง
แต่กเ็ ป็ นเรื่องราวซึ่งน่ าตื่นเต้น จัดเป็ นเรื่องปลีกย่อยทีแ่ ปลกน่ าสนใจในยุคสมัยนัน้ ๆ ตัวละคร
สาคัญในโคลงภาพพระราชพงศาวดาร เกือบทัง้ หมดตัวละครเป็ นตัวละครชายที่เป็ นชนชัน้ สูง
ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุ วงศ์ ส่วนที่เหลือเป็ นขุนนางข้าราชสานัก และมีไพร่ฟ้า
อีก เล็ก น้ อ ย ส่ ว นตัว ละครหญิ ง อยู่ ไ ม่ ม ากนั ก โดยเรื่อ งนี้ ส่ือ แสดงความศิว ิไ ลซ์ ใ นระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์
วรรณคดีเรื่องลิลติ พายัพ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ
เกล้าเจ้าอยู่หวั รัชกาลที่ ๖ ครัง้ ดารงพระอิสริยยศเป็ นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหา
๓๙

วชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงใช้พระนามแฝงว่า “หนานแก้วเมืองบูรพ์” เรื่องนี้บนั ทึกการ


เดินทางเมื่อครัง้ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั เสด็จฯ เปิ ดทางรถไฟที่ตาบลบ้าน
ภาชี เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ โดยมีพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธตามเสด็จ จากนัน้ พระบรม
โอรสาธิราช ฯ พร้อ มคณะได้เดิน ทางไปยังมณฑลพายัพ หรือ ล้านนา ผู้แ ต่ งชี้ให้ผู้อ่ านเห็น
ภาระหน้าทีข่ องชนชัน้ นาในการพาประเทศไปสู่ความศิวไิ ลซ์ตามแบบตะวันตก
ธีรพัฒน์ พูลทอง (๒๕๕๘ : ๑๑๕-๑๓๘) กล่าวว่า เรือ่ งลิลติ พายัพบันทึก
ถึงสิง่ ต่าง ๆ ที่ได้พบเห็น ทาให้ทราบข้อมูลท้องถิน่ เช่น ประชากร ทรัพยากร ภูมทิ ศั น์ชุมชน
เส้นทางการเดินทาง ตลอดจนเหตุการณ์ทางสังคมการเมืองที่เปลีย่ นไปในขณะนัน้ ในตอนเปิ ด
เรื่องด้วยร่ายสุภาพมีการบรรยายให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปสู่
ความทันสมัย อาทิ การเกิดขึน้ ของถนนหลวง มีทงั ้ รถม้า รถราง รถจักร ทัง้ ยังมีไฟฟ้าที่สว่าง
ไสวไปทัวทั ่ ง้ เมือง เป็ นการพัฒนาบ้านเมืองตามแบบตะวันตกมีการนาระบบคมนาคมทางรถไฟ
มาใช้ในประเทศ เพื่อเชื่อมต่อความสัมพันธ์ของผู้คนพลเมืองตามท้องถิน่ ต่างๆ ที่ห่างไกล ให้
ใกล้ชิดเข้าหากันและประสานเข้าหาศูนย์กลาง คือ กรุงเทพมหานคร การคมนาคมขนส่ งยัง
ขยายออกไปในรูปของการตัดถนนหนทางผ่านพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อเชื่อมโยงผูค้ นและสินค้า ความ
เจริญในอีกด้านหนึ่ง คือ การขยายระบบการศึกษาแผนใหม่ไปสู่ชนบท จากศาลาวัดเปลีย่ นเป็ น
โรงเรียน มีการจัดสร้างโรงเรียนเพื่อให้เยาวชนได้ศกึ ษาหาความรูต้ ามหลักสูตรและแผนการสอน
ที่ก าหนดขึ้นโดยรัฐสยาม เป็ นรูปแบบหนึ่งของการหลอมรวมความเป็ นชาติผ่ านชุดความรู้ท่ี
ศูนย์กลางแฝงฝงั อุดมการณ์ไว้อย่างแยบยล นอกจากนี้กบ็ นั ทึกการเปิดโรงเรียนต่าง ๆ
นิ ต ย ส า ร ศิ ล ป วั ฒ น ธ ร ร ม (สื บ ค้ น จ า ก https://www.silpa-
mag.com/history/article_๒๖๒๖๕) กล่ าวถึงการเปิ ด โรงเรียนในเรื่อ งนี้ว่า โรงเรีย นแรกที่ถู ก
กล่าวถึงในเรื่องลิลติ พายัพ คือ โรงเรียนบุญวาทย์วทิ ยาลัย จังหวัดลาปาง เสด็จพระดาเนินไป
เปิ ดโรงเรียนแห่งนี้ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๘ ครัน้ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.
๒๔๔๘ จึงเสด็จฯ โรงเรียนหลวงประจามณฑลพายัพทีจ่ งั หวัดเชียงใหม่ พระราชทานนามใหม่ว่า
“โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย” ต่อมาก็เสด็จพระราชดาเนินไปโรงเรียนเด็กชาย หรือเป็นทีร่ จู้ กั กันใน
นามโรงเรียนชายวังสิงคา เมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ พระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า
“The Prince Royal’s College” ดังข้อความทีป่ รากฏดังต่อไปนี้
ทีส่ องวาระเช้า หน่ อพุทธเจ้าทรงรถ แสนงามงดม้าเรียบ สองคู่เหยียบดินสนัน่
รถหลายคันขับตาม ข้ามฝากทางสะพานดลถึงตาบลจะสร้าง โรงเรียนกว้างควรดู อัน
เหล่าครูผเู้ พียร สอนคฤสเตียนลัทธิ อะเมริกะชาติ ฉลาดจัดทาขึน้ ไว้ ปางรถไผทขับถึง
จึงอาจารย์แฮริส เชิญ พระอิศรธารง ทรงดาเนินสู่บลั ลังก์ ฟ งั ครูแมคกิลเวรี่ กล่าววาที
อ่านอ้อน
ครัน้ ผองจบอาจารย์ แฮร์รสิ อ่ านสารเปรื่อ ง อธิบายเรื่อ งปรารภ จบแล้วเชิญ
ยุพราช ให้ยุรยาตรตรงทรงวาง ศิลากลางสนามใหญ่ ให้เป็ นฤกษ์เหลือดี ครัน้ ภูมตี รัส
๔๐

ตอบ ขอบใจเสร็จ เสด็จ ลง ทรงจับ เกรีย งถือ ปูน แล้ว ศิล าศู น ย์ท รงวาง กลางที่ต าม
กาหนด ประทับรถบ่มชิ า้ สารถีขบั สีม่ า้ กลับเข้าคืนทีป่ ระทับนาฯ
(ลิลพิ พายัพ)

การเปิดโรงเรียนได้สะท้อนแนวคิดเรือ่ งพัฒนาการการศึกษาออกเป็น ๓
รูปแบบที่แตกต่ างกัน สาหรับโรงเรียนของเจ้านายฝ่ายเหนือ คือ โรงเรียนบุ ญ วาทย์วทิ ยาลัย
ได้รบั ความอุปถัมภ์จากเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผูค้ รองนครลาปาง สะท้อนให้เห็นว่าเจ้านาย
ฝา่ ยเหนือให้ความสาคัญด้านการศึกษาเพื่อสนองแนวพระบรมราโชบายของพระเจ้าแผ่นดินกรุง
สยาม ต่อมา คือ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เป็ นโรงเรียนอันเนื่องมาจากพระบรมราโชบายของ
รัชกาลที่ ๕ ทีต่ ้องการขยายการศึกษาออกสู่หวั เมือง เพื่อแก้ปญั หาการขาดแคลนบุคลากร และ
ความต้ อ งการจัด การศึก ษาตาม “ประกาศจัด การเล่ า เรีย นในหัว เมือ ง พ.ศ. ๒๔๔๑” ส่ ว น
โรงเรียนของคณะมิชชัน นารี หรือ โรงเรียนปริน ซ์รอยแยลส์ว ิทยาลัย สะท้อ นให้เห็นถึงคณะ
มิ ช ชั น นารีท่ี ต้ อ งการเผยแผ่ ศ าสนาตามหั ว เมื อ งต่ า ง ๆ โดยใช้ ก ารศึ ก ษาที่ เ น้ นด้ า น
ภาษาต่างประเทศในการดึงดูดในบรรดาผูม้ อี นั จะกินส่งบุตรหลานมาเรียนโรงเรียนคริสต์
๒) บันทึกลำงสังหรณ์ และอิ ทธิ ปำฏิ หำริ ย์ วรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ทม่ี ี
เนื้ อ หาบัน ทึก ลางสังหรณ์ แ ละอิทธิป าฏิห าริย์ เช่ น จดหมายเหตุ ค วามทรงจาของกรมหลวง
นรินทรเทวี บันทึกลางสังหรณ์และอิทธิปาฏิหาริยใ์ นคราวทีพ่ ระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา
โลกมหาราชเสด็จย้ายเมืองหลวงจากฝงธนบุ ั ่ รมี ายังกรุงเทพฯ ว่าพระอาทิตย์ทรงกลดอยู่ ๗ วัน
ส่วนเรือ่ งเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา เริม่ เรือ่ งกล่าวถึงกรุงศรีอยุธยาว่าจะสมบูรณ์พนู สุขจน
ศักราช ๒๐๐๐ แล้วจะเกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์ ๑๖ ประการ ดังตัวอย่าง
พระมหากษัตริยจ์ ะเสื่อมสิงหนาท ประเทศราชจะเสื่อมซึง่ ยศถา
อาสัจจะเลื่องลือชา พระธรรมาจะตกลึกลับ
ผูก้ ล้าจะเสื่อมใจหาญ จะสาบสูญวิชาการทัง้ ปวงสรรพ
ผูม้ สี นิ จะถอยจากทรัพย์ สัปบุรษุ จะอับซึง่ น้าใจ
ทัง้ อายุศม์จะถอยเคลื่อนจากเดือนปี ประเวณีจะแปรปรวนตามวิสยั
ทัง้ พืชแผ่นดินจะผ่อนไป ผลหมากรากไม้จะถอยรส
ทัง้ แพทย์พรรณว่านยาก็อาเพศ เคยเป็นคุณวิเศษก็เสื่อมหมด
จวงจันทน์พรรณไม้อนั หอมรส จะถอยถดไปตามประเพณี
ทัง้ เข้าก็จะยากหมากจะแพง สารพันจะแห้งแล้งเป็นถ้วนถี่
จะบังเกิดทรพิษมิคสัญญี ฝูงผีจะวิง่ เข้าปลอมคน
(เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา)
๔๑

เพลงยาวพยากรณ์ กรุงศรีอยุธยานี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม


พระยาดารงราชานุ ภาพ ได้ทรงวิเคราะห์วจิ ารณ์ว่าพระนารายณ์ไม่ได้พยากรณ์ หากแต่อา้ งตาม
คาพยากรณ์ ทีม่ อี ยูแ่ ล้วในมหาสุบนิ ชาดก (อ้างถึงในธรรมโมลี (เกตุ ติสสโร), ๒๕๔๑ : ๗๙) ซึง่
กล่าวถึงพระสุบนิ นิมติ ๑๖ ประการของพระเจ้าปเสนทิโกศล เมือ่ ครัง้ ทีไ่ ด้ไปทูลถามพระพุทธเจ้า
และพระพุทธองค์กต็ รัสว่า เหตุรา้ ยเหล่านัน้ จะเกิดขึน้ จริง แต่จะยังมิได้เกิดขึน้ เวลานี้ จะเกิดขึน้
เมือ่ กษัตริยม์ ไิ ด้อยูใ่ นทศพิธราชธรรม พร้อมกับได้พระราชทานพุทธพยากรณ์ ๑๖ ข้อ สรุปได้ว่า
ข้อ ๑ ทรงนิมติ เห็นหญ้าขึ้นเต็มท้องพระโรง สัตว์จตุบาท ๔ ชนิด มา
แย่ ง กัน กิ น แต่ ม ีพ ลัง วิเ ศษกดดัน ให้ ก ระเด็ น ไปคนละทิ ศ ละทาง ท านายว่ า ค าสอนของ
พระพุทธเจ้าจะวิปริต มีคนชัวมาบวช ่ ข้าราชการไม่เห็นอกเห็นใจประชาชน ฟ้าดินจะสะเทือน ผี
ปา่ จะเข้าเมือง ผีเมืองจะถูกแย่งที่ น้ าจะแดงดังสีเลือด ผูห้ ญิงจะแต่งตัวเป็ นชาย กษัตริยจ์ ะไปอยู่
ในไพร วัดจะหาพระสงฆ์แท้จริงได้ยาก เมือ่ ใดทีผ่ คู้ นถือความสุจริตจะแคล้วคลาดจากภัยเหล่านี้
ข้อ ๒ ต้นไม้อ่อ นมีผลดกเต็มต้น ฝูงนกพากันจิก กิน ทานายว่าหญิง
ชายจะลืมชาติตระกูลของตัว ขาดความสานึกในเครือญาติ ผูป้ กครองจะค้าชูคนโกง
ข้อ ๓ แม่โคละทิฐขิ อนมลูก ทานายว่าผูส้ งู วัยทีข่ อพึง่ พาลูกจะผิดหวัง
ข้อ ๔ โคใหญ่ ไม่ยอมรับคันไถ ปล่ อยลูกโคที่ยงั ไม่เติบโตพอทางาน
แทน ทานายว่า พระมหากษัตริยห์ รือเชือ้ พระวงศ์ระดับสูงจะคบคนพาลตัง้ แต่พระเยาว์
ข้อ ๕ มีมา้ สองปากอดอยากกินไม่รอู้ มิ่ คนสองคนป้อนอาหารก็ไม่พอ
่ าตาปริบ ๆ ทานายว่าทนายความจะสร้างความเท็จให้ทงั ้ ฝ่ายโจทก์จาเลยสูก้ นั
จนต้องนังลงท
ข้อ ๖ เครือ่ งราชูปโภคถูกสุนขั ขึน้ ไปนัง่ ทานายว่าไพร่จะได้ดมี ยี ศศักดิ ์
ข้อ ๗ คนโง่ฟนเชืั ่ อกหนังปล่อยปลายลง จนสุนัขมากัดกิน ฟนเท่ ั ่ าไหร่
ก็ไม่พอใช้การ ทานายว่า สามีอุตส่าห์หาเลีย้ งภรรยาปานใด ฝา่ ยหญิงก็ไม่รคู้ ุณ ไปคบชูส้ ่ชู าย
ข้อ ๘ ชาวบ้านพากันตักน้าใส่ตุ่มใหญ่ใบเดียว ใบเล็ก ๆ นับร้อยนับพัน
กลับว่างเปล่าทานายว่าประชาชนยากจน หาได้ไม่พอกินพอใช้ ผูป้ กครองรีดภาษี ยกย่องเศรษฐี
ข้อ ๙ มีสระน้ าประหลาดริมสระน้ าใสสะอาด มีสตั ว์น้ าชุกชุ ม กลางสระ
กลับ ขุ่ น ข้น หญ้ า แฝกขึ้น เต็ ม ท านายว่ า ประเทศที่รุ่ง เรือ งทอดทิ้ง จารีต ประเพณี รับ เอา
วัฒนธรรมต่างชาติ ทัง้ แนวคิดและวิถชี วี ติ ประพฤติชวมั ั ่ วยาเสพติ
่ ด
ข้อ ๑๐ หญิงหุงข้าวในหม้อ มีทงั ้ สุก ไหม้ แฉะ ดิบ ไม่พอดี ทานายว่า
พระเสือ้ เมืองจะบันดาลให้บ้านเมืองวิปริต ไม่ใช่หน้าฝนฝนก็ตก หน้าหนาวกลับร้อน ร้อนกลับ
หนาว แร้งลงกลางนครตอนกลางวันแสก ๆ ไก่ป่านกไส้เข้ามาอยู่ในเมือง ฆ้องกลองระฆังดังเอง
หอกดาบของมีคมจะแดงดังสีเลือด และโชติช่วงในตอนกลางคืน เทวดาประจาเมืองใฝต่ ่ า
ข้อ ๑๑ คนโง่ไ ด้แ ก่ น จัน ทน์ แต่ ไม่ รู้ค่ า เอาไปแลกนมโคท านายว่ า
พระสงฆ์จะลดละวินยั เอาพระธรรมไปขาย ศาสนาจะมัวหมอง ของดีกลับชัว่ สิง่ ชัวกลั ่ บดี
ข้อ ๑๒ น้าเต้าจม ทานายว่านักปราชญ์จะตกต่า คาสอนดีถูกเหยียด
๔๒

ข้อ ๑๓ หินลอยน้ า ทานายว่า ผู้มอี านาจจะรักคนพาล ประจบสอพลอ


ยกย่องให้มอี านาจเป็นเสนาบดีใหญ่โต ใครร้องเรียนจะโดนกลันแกล้ ่ ง ไม่ตายก็คางเหลือง
ข้อ ๑๔ กบเขียดไล่กดั งูนับร้อยนับพันตัว งูพยายามหนีแต่กไ็ ปไม่รอด
ทานายว่าสตรีพาลจะข่มเหงผัว ฝกั ใฝก่ ารพนัน ดื่มสุรายาเมา ไม่สนใจการบ้านการเรือน ขีเ้ กียจ
ข้อ ๑๕ หงส์ไปอยูก่ บั กาและพากันมามัวในเมื
่ อง ทานายว่า ผูม้ ตี ระกูล
หรือตาแหน่งสูง แต่งตัง้ คนพาลเป็นทีป่ รึกษาและงานบังคับบัญชา คอยยุยงให้ทาความชัว่
ข้อ ๑๖ เนื้อสมันไล่กดั เสือ กระต่ายขู่หมี อวดฤทธิ ์วางก้าม ทานายว่า
ลูกศิษย์คดิ ล้างครู เมียกดขีผ่ วั บ่าวคดนาย ข้าทรยศเจ้า ลูกด่าพ่อแม่ คนดีตอ้ งหนีหรือละวาง
อนึ่ง ในคัมภีรส์ ุตตันตปิฎก ฉบับบาลีมไิ ด้ขยายความ มีแต่ขอ้ ความฝนั
ของพระเจ้าปเสนทิโกศลว่าเห็น โคอุ สุ ภ ราช ๑ ต้น ไม้ ๑ แม่โค ๑ โคสามัญ ๑ ม้า ๑ ถาด
ทองคา ๑ สุนัขจิง้ จอก ๑ หม้อน้า ๑ สระโบกขรณี ๑ ข้าวสารทีห่ ุงไม่สุก ๑ แก่นจันทน์ ๑ น้ าเต้า
จมน้ า ๑ หินลอยน้ า ๑ นางเขียดกลืนงูเห่า ๑ หงส์ทองแวดล้อมกา ๑ เสือกลัวแพะ ๑ ส่วนใน
หนังสือวิปสั สนาทีปนีของพระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙,๒๕๔๔: ๓๔๔) ได้รจนาถึง
ลักษณะของกษัตริยผ์ ไู้ ร้ทศพิธราชธรรมว่าต้องประสบกับความวิบตั สิ ญ ู สิน้ อานาจวาสนา
๓ ) บั น ทึ ก เก ร็ ด ท ำงป ระวั ติ ศ ำส ต ร์ ก ารบั น ทึ ก เก ร็ ด ท าง
ประวัตศิ าสตร์ คือ ผูแ้ ต่งให้รายละเอียดเกีย่ วกับเรือ่ งใดเรือ่ งหนึ่งทีผ่ อู้ ่านอาจไม่เคยรู้ เหตุการณ์
นัน้ บางครัง้ ก็ไม่กล่าวไว้ในพงศาวดาร เช่น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เขียน
เรื่องเกิดวังปารุสก์ มีเนื้อหาบันทึกเกร็ดประวัตศิ าสตร์ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ
ทรงเล่ าถึงสภาพชีวติ ภายในราชสานักตัง้ แต่ พ.ศ. ๒๔๕๐-๒๔๙๒ ซึ่งเป็ นเรื่องเกี่ยวกับการ
เมืองไทยในปลายรัชกาลที่ ๕ ถึง รัชกาลที่ ๙ รวมทัง้ กล่าวถึงสภาพภูมปิ ระเทศ การศึกษาและ
พระศาสนา นอกจากนี้ยงั ได้รวบรวมเรื่องราวเกีย่ วกับพระราชวงศ์ของประเทศอังกฤษ ตลอดจน
พระราชพิธ ี พระราชวงศ์และประเพณีต่าง ๆ ของประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรปไว้ด้วย ในขณะที่
นิทานโบราณคดีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดารงราชานุ ภาพบันทึกเรื่อ งราวทีพ่ ระองค์
ได้ยนิ ได้ฟ งั หรือ ประสบมา ทัง้ การได้รบั ฟ งั ความรู้ต่ าง ๆ จากสมเด็จเจ้าฟ้ ากรมสมเด็จพระ
บาราบปรปกั ษ์ทว่ี งั ตรงหน้าประตูวเิ ศษชัยชาญ บ้างก็อ่านจากฉบับทีเ่ ป็ นลายลักษณ์ ทรงเห็นว่า
มีแ ก่ น สารจึง น ามาเขีย นเป็ นนิ ท านโบราณคดี ตั ง้ แต่ พ .ศ. ๒๔๘๓ โดยเนื้ อ เรื่อ งที่ เ ป็ น
เกร็ดพงศาวดารนี้เล่าในรูปแบบนิทานจานวน ๒๑ เรื่องปะปนกันไป ดังตัวอย่างเนื้อหาเต็มที่
บันทึกเกร็ดทางประวัตศิ าสตร์เกีย่ วกับเสือใหญ่เมืองชุมพร
๔๓

นิ ทำนโบรำณคดี
เรือ่ งที่ ๓ เสือใหญ่เมืองชุมพร
เมื่อพ.ศ. ๒๔๓๓ (ร.ศ. ๑๐๙) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั จะเสด็จเลียบหัว
เมืองแหลมมลายูทงั ้ ปกั ษ์ใต้และฝ่ายตะวันตก กาหนดระยะทางเสด็จไปทางเรือจากกรุงเทพฯ ถึง
เมืองชุมพร แต่เมืองชุมพรเสด็จโดยทางบกข้ามแหลมมลายูตรงกิว่ กระ ไปลงเรือทีเ่ มืองกระบุรลี ่อง
ลาน้ าปากจันลงไปยั
่ งเมืองระนอง ต่อนัน้ เสด็จไปเรือทางทะเล แวะตามหัวเมืองฝ่ายตะวันตกจน
ตลอดพระราชอาณาเขต แล้ว เลยไปอ้อ มแหลมมลายูท่ีเมือ งสิง คโปร์ เลีย บหัว เมือ งป กั ษ์ ใ ต้
ขึน้ มา เมือ่ ขากลับกรุงเทพฯ โปรดให้ฉนั เป็นผูจ้ ดั การเสด็จประพาสครัง้ นัน้
เพราะเหตุใดจึงโปรดให้ฉันเป็ นผู้จดั การเสด็จประพาสเป็ นเรื่องอันหนึ่งใน ประวัติศาสตร์
ของตัว ฉั น เองจะเล่ า ฝากไว้ ด้ ว ยตรงนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒ (ร.ศ. ๑๐๘) พระบาทสมเด็ จ พระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จประพาสหัวเมืองปกั ษ์ใต้ โปรดให้ฉนั ไปตามเสด็จเป็นมัคคุเทศก์ เพราะ
ฉันได้เคยไปเที่ยวหัวเมืองทางนัน้ รูเ้ บาะแสมาแต่ปีก่อนก็การที่เป็ นมัคคุเทศก์นัน้ มีหน้ าที่เป็ นต้น
รับสัง่ กะการประพาสที่ต่าง ๆ ตลอดทางที่เสด็จไป ฉันสนองพระเดชพระคุณชอบพระราชหฤทัย
สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง แต่นนั ้ มาจึงทรงพระกรุณาโปรดให้ฉันเป็ นผู้จดั การเสด็จประพาสแต่ชอบ
เรียกกัน เป็ นคาแผลงภาษาอังกฤษว่า Lord Program Maker ตามเสด็จประพาสต่อมาเป็ นนิตย์
จนตลอดรัช กาลที่ ๕ และคงอยู่ในต าแหน่ งนัน้ สืบ มาในรัช กาลที่ ๖ อีก ๓ ปี รวมเวลาที่ได้เป็ น
ผู้จดั การเสด็จประพาสอยู่ ๒๖ ปี จึงพ้น จากหน้ าที่นัน้ พร้อ มกับ ถวายเวนคืน ต าแหน่ งเสนาบดี
กระทรวงมหาดไทยถึงรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั โปรดให้เข้าไปจัดการ
เสด็จประพาสถวายอีก เมื่อเสด็จเลียบหัวเมืองมณฑลพายัพครัง้ หนึ่ง และเมื่อเสด็จเลียบหัวเมือง
มณฑลภูเก็ตอีกครัง้ หนึ่ง จึงอ้างได้ว่าได้รบั ราชการเป็นผูจ้ ดั การเสด็จประพาสสนองพระเดชพระคุณ
มา ๓ รัชกาล แต่เมื่อไปตามเสด็จครัง้ หลัง สมเด็จพระเจ้าอยู่หวั กลับต้องทรงระวังมิให้ฉันเหนื่อย
เกินไป เพราะตัวฉันแก่ชราอายุเกือบ ๗๐ ปีแล้วก็เป็นครัง้ ทีส่ ุดซึง่ ฉันได้จดั การเสด็จประพาสครัง้ นัน้
เมื่อ จัด การเสด็จประพาสครัง้ ร.ศ. ๑๐๙ แล้ว ต้อ งล่ ว งหน้ าลงไปจัด พาหนะสาหรับ ทาง
บก และตรวจพลับพลาทีป่ ระทับกับทัง้ การทาทางทีจ่ ะเสด็จไปแต่เมืองชุมพรจนถึงเมืองระนองแล้ว
จึงกลับมาเข้าขบวนตามเสด็จทีเ่ มืองชุมพร ฉันไปถึงเมืองชุมพรได้ฟงั เขาเล่าเรือ่ งเสือใหญ่ซง่ึ กาลังดุ
ร้ายกินคนอยู่ในแขวงเมืองชุมพรในเวลานัน้ และไปมีเหตุข้นึ ด้วยเรื่องเสือตัวนัน้ เห็นเป็ นเรื่อง
แปลกประหลาด จึงเขีย นเล่ าไปยังหอพระสมุ ด วชิรญาณ ซึ่งฉั น เป็ น กรรมการอยู่ด้ว ยคนหนึ่ ง
สาหรับให้ลงพิมพ์ในหนังสือวชิรญานวิเศษ ดูเรื่องเข้ากับนิทานโบราณคดีทเ่ี ขียนบัดนี้ เหมาะดีจงึ
คัดสาเนาจากหนังสือวชิรญานวิเศษมาแก้ไขถ้อยคาบ้างเล็กน้อย และเขียนเล่าเรื่องเสือตัวนัน้ อันมี
ต่อมาเมื่อภายหลัง ยังไม่ปรากฏในหนังสือซึง่ ฉันเขียนไว้แต่ก่อนเพิม่ เติมให้สน้ิ กระแสความ เรื่องที่
เขียนไว้แต่เดิมดังต่อไปนี้
เรือ่ งเสือใหญ่ทเ่ี มืองชุมพร
เรื่อ งที่ จ ะกล่ า วต่ อ ไปนี้ กล่ า วตามที่ ฉั น ได้ ย ิน ด้ ว ยหู แ ละได้ เ ห็ น ด้ ว ยตาของตั ว เอง
๔๔

เพราะฉะนัน้ ท่ านผู้อ่ านอย่าได้ส งสัย ว่าเป็ น ความเท็จ ซึ่งแต่ งแต่ โดยเดาเลย เป็ นความจริงแท้
ทีเดียว เมื่อวันที่ ๖ เมษายน (ร.ศ. ๑๐๙) นี้ ฉันไปถึงเมืองปากน้ าเมืองชุมพรลงเรือบดขึน้ ไปทีบ่ ้าน
ด่าน หาเรือซึ่งจะรับขึน้ ไปที่เมืองชุมพร ด้วยเรือไฟที่มาส่งฉันเขาจะต้องรีบใช้จกั รไปราชการที่อ่นื
อีก ขณะเมื่อ ฉันนัง่ พัก คอยเรือ อยู่ท่ีบ้านด่ านนัน้ ได้ส นทนากับ ขุนด่ านและกรมการราษฎรชาว
ปากน้ าชุมพรหลายคน ซึ่งฉันได้รจู้ กั มาแต่ก่อนบ้างทีย่ งั ไม่รจู้ กั บ้าง พูดจาไต่ถามถึงทุกข์สุขต่าง ๆ
ตลอดไปจะเรื่องการทามาหากินของราษฎร และเรือ่ งสัตว์สงิ ห์ต่าง ๆ คือเสือ เป็ นต้น เขาจึงเล่าให้
ฟงั เป็ นปากเดียวกันดังนี้ว่าในเวลานัน้ มีเสือที่ดุแขวงเมืองชุมพรตัวหนึ่ง เสือตัวนัน้ ใหญ่ ยาวสัก ๙
ศอก เท้าเป๋ข้างหนึ่ง จึงเรียกกันว่า “อ้ายเป๋” เทีย่ วกัดกินคนตามแขวงบ้านใหม่ บ้านละมุ เสียหลาย
คน ประมาณกันแต่หกเจ็ดคนขึน้ ไปถึงสิบคนยีส่ บิ คนและว่าเสือตัวนี้กล้าหาญผิดกับเสือซึง่ เคยมีมา
แต่ก่อน ถึงเข้ากัดคนกลางวันแสก ๆ บางทีคนนัง่ ทอผ้าอยู่ใต้ถุนเรือน ก็เข้ามาฉวยเอาไป บางคน
ไปขึน้ พะองทาตาลก็มาลากเท้าคาบไป จนชาวบ้านชาวเมืองพากันครันคร้ ่ ามไม่อาจจะไปป่าหากิน
แต่คนเดียวสองคนได้ บางคนก็ว่าเป็ นเสือสมิงศักดิ ์สิทธิ ์ไม่มผี ู้ใดอาจจะไปดักหรือไปยังจนทุกวันนี้
เขาเล่าให้ฟงั อย่างนี้ได้สบื ถามตามชาวเมืองจนกระทังกรมการทั ่ ง้ เมืองชุมพร และเมืองกระบุรกี ็รู้
เรื่อ งเสือ ดุ ต ัว นี้ แ ทบทุ ก คน ฉั น จึงให้ท าบัญ ชีรายชื่อ คนถู ก เสือ กัด ซึ่งตามภาษาชาวชุ ม พรเขา
เรียกว่า “เสือขบ” ไว้สาหรับกราบทูลพระเจ้าอยูห่ วั ได้รายชื่อเขาจดมาให้ดงั นี้
อ าเภอท่ าแซะแขวงเมือ งชุ ม พร จ านวนคนที่เสือ ขบ นายช่ ว ยผัว อ าแดงจัน ทร์ ต าบล
บางรึกคนหนึ่ง อาแดงเกตบ้านหาดพงไกรคนหนึ่ง นายน้อยบ้านท่าแซะคนหนึ่ง นายเบีย้ วบ้านท่า
แซะคนหนึ่ ง อ าแดงเช้า ภรรยานายลอมบ้ า นคู ร ิ งคนหนึ่ ง หลานนายยอดบ้า นหาดพังไกรคน
หนึ่ง นายนองผัวอาแดงสายทองบ้านรับร่อคนหนึ่ง นายน้ อยบุตรขุนตะเวนบ้านล่อคนหนึ่ง นาย
เชตบ้านหาดหงคนหนึ่ง รวมที่ได้รายชื่อ ๙ คน บัญชีได้เพิ่มเติมมาจากเมืองกระบุรมี รี ายพิสดาร
ออกไป
๑) นายอ่อน หมายเลขกองกลาง อยู่บ้านรับร่อไปตัดจากมุงเรืองที่ปลายคลองรับร่อ เมื่อ
เดือนพฤศจิกายน เวลาบ่าย ๕ โมง เสือกัดตาย ตามผีไม่ได้
๒) นายนอง ว่าทีห่ มื่นจบ คุมเลขกองด่าน อยู่บา้ นหาดพังไกรไปขึน้ ทาตาลทีก่ ลางนาหาด
พังไกร เมื่อเดือนตุลาคมข้างขึน้ เวลากลางวันตะวันเทีย่ งพอกลับลงจากปลายตาลเสือกัดตาย ตาม
ผีมาได้ครึง่ หนึ่ง
๓) อาแดงแป้น ลูกขุนชนะ คุมเลขกองกลาง อยู่บ้านท่าญวน ไปหาผักริมนาท่าญวน เมื่อ
เดือนตุลาคมข้างแรม กลางวันบ่าย ๓ โมง เสือกัดตาย ตามผีได้
๔) นายแบน เป็นเลขกองกลาง อยูบ่ า้ นท่าญวนไปหาตัวเลขจะพามาทารับเสด็จทีเ่ มืองกระ
เมือ่ เดือนกุมภาพันธ์ เวลาพลบค่า เสือกัดตายทีน่ าปา่ ตอ อาเภอท่าญวน
๕) อาแดงเลีย้ น ภรรยานายพลอย เลขกองกลางอยูบ่ า้ นเขาปูน นังสานสาดอยู ่ ่ทใ่ี ต้ถุนร้าน
ไล่นกทีใ่ นไร่ เวลาตะวันเทีย่ ง เสือกัดตาย ตามผีได้
ตามคาที่เล่าและสืบได้ช่อื กับจานวนคนที่เสือกัด พอฟงั เป็ นยุตไิ ด้ว่าที่เมืองชุมพรเดีย๋ วนี้ม ี
๔๕

เสือใหญ่ดุรา้ ยกัดคนตายเสียหลายคน ชาวบ้านชาวเมืองพากันครันคร้ ่ ามเสือตัวนัน้ อยูแ่ ทบทัวกั ่ นทัง้


เมือง นี่ว่าตามทีไ่ ด้ยนิ ด้วยหู ทีน้จี ะเล่าถึงทีไ่ ด้เห็นด้วยตาตัวเองต่อไป
เมื่อฉันขึน้ ไปถึงเมืองชุมพร แต่แรกเจ้าเมืองกรมการเขาจะให้พกั ทีท่ าเนียบริมจวนเจ้าเมือง
แต่ฉันเห็นว่าห่างไกลจากธุระของฉัน จึงขอไปพักอยู่ทท่ี าเนียบชายทุ่งริมทีท่ าพลับพลารับเสด็จ ใน
ค่ าวันนัน้ กรมการเขาจัดคนมากองไฟรอบที่พกั ฉัน (ซึ่งยังไม่ได้ทารัว้ ล้อม) มีผู้คนนัง่ อยู่ด้วยกัน
หลายสิบคน ทัง้ คนที่ไปด้วยและชาวพื้นเมืองพวกคนทาพลับพลาก็อกี หลายร้อยคน อยู่ในชายทุ่ง
นัน้ ด้วยกัน ในคืนแรกฉันไปอยู่ฉันนอนหลับตลอดรุ่ง ต่อเช้าขึน้ จึงได้ทราบว่าเมื่อเทีย่ งคืนพวกกอง
ไปร้องโวยวายกันขึน้ พวกที่ไปกับฉันให้ไปสืบถาม ได้ความว่าได้ยนิ เสียงเสือเข้ามาร้องอยู่ท่รี มิ บึง
ต่อชายทุ่งนัน้ เสียงที่รอ้ งนี้ พวกที่ไปกับฉันได้ยนิ ก็ม ี แต่ คนพวกนัน้ ไม่เคยได้ยนิ เสียงเสือ ไล่เลียง
เข้าก็เป็ นแต่ว่าได้ยนิ เสียงแต่จะเป็ นเสียงอะไรก็ไม่รู้ ฉันถามกรมการว่าในทีเ่ หล่านัน้ เสือเคยเข้ามา
หรือไม่ เขาบอกว่าเคยเข้ามาอยูบ่ า้ งก็เป็นสงบกันไป จนค่าวันทีส่ อง
ฉันนอนกาลังหลับสนิทสะดุ้งตกใจได้ยนิ เสียงโวยวายโกลาหลกันใหญ่ ลุกทะลึ่งออกมาดู
เห็นบรรดาพวกทีไ่ ปกับฉันซึง่ นอนอยู่ในเรือนหลังเดียวกัน บางคนปี นขึน้ ไปอยู่บนขื่อก็มที เ่ี ข้าห้อง
ปิ ดประตูก็ม ี นอกจากนัน้ ก็ลุกขึ้นอยู่บนที่นอนของตน ล้วนแต่โบกมือเฮ้อวๆ ๆ ๆ อยู่ด้วยกันเต็ม
เสียง กาลังมัวนอนไม่รู้เรื่องรูร้ าวอันใดก็พลอยเฮ้อวไปด้ วยกันกับเขาสองสามที จึงได้สติถามว่า
“อะไรกัน” เขาบอกว่าเสือเข้ามา ฉันร้องห้ามให้สงบโวยวายกันลง ในขณะนัน้ เดือนหงายสว่างมอง
ไปดูเห็นพวกทีไ่ ปด้วยกันทีอ่ ยู่เรือนอีกหลัง หนึ่งตรงกันข้าม กาลังลุกขึน้ ร้องโบกมือเฮ้อว ๆ เหมือน
เช่นพวกข้างนี้ ส่วนพวกหัวเมืองทัง้ ที่มาทาพลับพลาและมากองไฟล้อมทาเนียบเบ็ดเสร็จเห็นจะ
กว่ า ๓๐๐ คน ดูรวมกัน เป็ น จุก ๆ อยู่ท่ีนัน่ หมู่ห นึ่ ง อยู่ท่ีน่ี ห มู่ห นึ่ งเป็ น กลุ่ ม ๆ กัน ไป ต่ างร้อ ง
โวยวายกันทัวทุ ่ กคน เสียงโวยวายในเวลานัน้ ถ้าจะประมาณแต่ในวังก็เห็นจะได้ยนิ ถึงเสาชิงช้า
ค่อยสงบลง ๆ จนเงียบกันเกือบเป็ นปรกติ ฉันจึงให้คนไปสืบถามให้ได้ความว่าเสือมันเข้ามาทาง
ไหน และได้ทาใครเป็ นอันตรายบ้างหรืออย่างไร เมื่อถามซักไซร้ก็ได้ความว่าต้นเหตุเกิดที่โรงไว้
ของข้างหลังเรือนพักฉัน โรงนัน้ เป็ นโรงใหญ่ไม่มฝี าอยู่สองด้าน มีคนนอนอยู่หลายคนคนหัวเมือง
คนหนึ่งละเมอเสียงโวยวายขึน้ คนหัวเมืองอีกคนหนึ่งนอนอยู่เคียงกัน ได้ยนิ เสียงเพื่อนกันโวยวาย
ก็ตกใจลุกทะลึง่ ขึน้ ร้องว่า “เสือ” แล้วก็วงิ่ หนีด้วยเข้าใจว่าเสือมากันไอ้คนละเมอ ส่วนไอ้คนละเมอ
เห็นเขาวิง่ ร้อง “เสือ เสือ” ก็สาคัญว่าเสือเข้ามาพลอยลุกขึน้ วิง่ ร้อง “เสือ” ตามเขาไป อ้ายสองคน
นี้ เข้าทีไ่ หนคนก็ลุกขึน้ ร้องโวยวายต่อ ๆ ไปด้วย ครัน้ ได้ความชัดอย่างนี้ก็ได้แต่หวั เราะกันไป อีก
กว่าชัวโมงจึ
่ งสงบเงียบหลับกันไปอีก นี่แลทีฉ่ ันได้เห็นในเรื่องเสือตัวใหญ่นนั ้ ด้วยตาของฉันเอง แต่
มิใช่เห็นเสือตัวใหญ่นนั ้ ดอกนะ (เรือ่ งทีล่ งหนังสือวชิรญานวิเศษหมดเพียงเท่านี้)
หนทางบกที่เดินข้ามกิว่ กระ แต่เมืองชุมพรไปจนลาน้ าปากจัน่ ณ เมืองกระบุร ี ระยะทาง
เพียง ๑,๐๘๓ เส้น ( ๑ก.ม = ๒๕ เส้น ) พวกชาวเมืองที่ไปมาค้าขายเขาเดินวันเดียวตลอด แต่
ขบวนเสด็จผูค้ นมากต้องกะให้เดินเป็น ๒ วัน เพราะต้องข้ามเขาบรรทัดเป็ นทางกันดาร ได้ลองนับ
ที่จะต้องขึน้ เขาและลงข้ามไหล่เขามีถงึ ๓๑ แห่ง ข้ามลาธาร ๕๓ แห่ง ลุยไปตามลาธาร ๒๑ แห่ง
๔๖

พาหนะก็ใช้ได้แต่ช้างม้ากับคนเดินหาบหาม ขบวนคนมากต้องเดินช้าอยู่เอง เมื่อฉันล่วงหน้ าไป


ตรวจทางครัง้ นัน้ ได้พบเห็นของประหลาดที่ไม่เคยรูเ้ ห็นมา แต่ก่อนบางอย่าง จะเล่าไว้ด้ว ยอย่าง
หนึ่งคือ ต้นไม้ใบมีพษิ เรียกว่า “ตะลังตังช้าง” เป็ นต้นไม้ขนาดย่อยสูงรางห้าศอก ขึน้ แซกแซมต้นไม้
อื่นอยู่ในป่าไม้อ ย่างนี้ ท่ีครีบใบมีขนเป็ นหนามเล็ก ๆ อยู่รอบใบ ถ้าถู กขนนัน้ เข้า ก็จะเกิดพิษ ให้
เจ็บปวด เขาว่าพิษร้ายแรงถึงช้างกลัว เห็นต้นไม้ไม่เข้าใกล้ เพียงเอาใบตะลังตังช้างจีใ้ ห้ถูกตัวช้างก็
วิง่ ร้องไป จึงเรียกว่า ตะลังตังช้าง
ชาวเมืองชุมพรเล่าต่อไปว่า หาดริมทางแห่งหนึ่งในทางที่ฉันไปนัน้ เรียกกันว่า “หาดพม่า
ตาย” เพราะเมื่อพม่ามาตีเมืองไทยในรัชกาลที่ ๒ พักนอนค้างทีห่ าดนัน้ พวกหนึ่งไม่รวู้ ่าใบตะลังตัง
ช้างมีพ ิษ เอามาปูน อน รุ่งขึ้น ก็ต ายหมดทัง้ พวก คนไปเห็น พม่านอนตายอยู่ท่ีห าดจึงเรียกกัน
ว่า หาดพม่าตายแต่นัน้ มา แต่ฉันฟงั เล่า ออกจะสงสัยว่าที่จริงเห็นจะเป็ นเมื่อพม่าหนีไทยกลับไปมี
พวกทีถ่ ูกบาดเจ็บถึงสาหัสไปตายลงทีห่ าดนัน้ จึงเรียกว่าหาดพม่าตายมาแต่เดิม เผอิญคนไปเห็น
ทีแ่ ถวนัน้ มีต้นตะลังตังช้างชุม ผูไ้ ม่รเู้ หตุเดิมจึงสมมุตวิ ่าตายเพราะถูกพิษใบตะลังตังช้าง ถ้าเอาใบ
ตะลังตังช้างมาปูนอนดังว่าคงรูส้ กึ พิษสงของใบตัง้ แต่แรก พอหนีเอาตัวรอดได้ ไหนจะนอนทนพิษ
อยู่จนขาดใจตาย ยังมีบางคนกล่าวต่อไปอีกอย่างหนึ่งว่าใบตะลังตังช้างนัน้ ถ้าตัดเอาครีบ ตรงที่ม ี
ขนออกเสียให้หมดแล้วใช้เป็นผักจิม้ น้าพริกหรือใส่แกงกินอร่อยดีดกู ็ แปลก แต่ไม่ได้ทดลองให้ใคร
กินใบตะลังตังช้าง หรือเอามาจีช้ ้างให้ฉันดู เป็ นแต่ให้เอามาพิจารณาดูรปู ร่างอยู่ในประเภทใบไม้
เหลี่ยม เช่น ใบมะเขือ ขนาดเขื่องกว่าใบพลูสกั หน่ อยหนึ่ง แต่ ท่คี รีบมีขนเหมือนขลิบรอบทัง้ ใบ
ใบไม้มพี ษิ พวกนัน้ ยังมีอกี ๒ อย่างเรียกว่า “ตะลังตังกวาง” อย่างหนึ่ง “สามแก้ว” อย่าง หนึ่งแต่รปู
ใบรีปลายมนเป็ นไม้ต่างพันธุ์ก ับตะลังตังช้าง เป็ นแต่ท่คี รีบมีขนเช่นเดียวกันและมีพิษสงอ่อนไม่
ร้ายแรงถึงตะลังตังช้าง ได้ยนิ เขาว่าทางข้างเหนือทีเ่ มืองลาพูน ต้นตะลังตังกวางก็ม ี แต่ฉันไม่ได้
เห็น แก่ ต าเหมือ นที่แหลมมลายู เมื่อ ไปถึงต าบล “บกอิน ทนิ ล ” ในแดนเมือ งกระบุ ร ี ซึ่งจัดเป็ น ที่
ประทับร้อน ในวันที่ ๒ ก็เห็นของประหลาดอีก ฉันได้ยนิ เสียงสัตว์รอ้ งอยู่ในป่าที่ต้นเลียบใหญ่
ใกล้ ๆ กับทีป่ ระทับ ฟงั เสียงเหมือนตุ๊กแก ไปดูกเ็ ห็นตุ๊กแกมีอยูใ่ นโพรงต้นเลียบนัน้ หลายตัว ออก
ประหลาดใจ เพราะเคยสาคัญมาแต่ก่อนว่า ตุ๊กแกมีแต่ตามบ้านผู้เรือนคน เพิง่ ไปรูเ้ มื่อครัง้ นัน้ ว่า
ตุ๊ ก แกป่าก็ม ี แต่ นัน้ มาอีก หลายปี ฉันตามเสด็จไปเมือ งชวา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ ตอนนัน้ เสด็จไป
ทอดพระเนตรภูเขาไฟโบรโม ประทับแรมอยู่ท่บี นเขาโตสารีห้องที่ฉันอยู่ในโฮเต็ลใกล้กบั ห้องของ
นักปราชญ์ฝรังผู ่ เ้ ชีย่ วชาญวิชาสัตว์ศาสตร์คนหนึ่ง ซึง่ ออกมาเทีย่ วหาสัตว์แปลก ๆ ทางตะวันออก
นี้ จะเป็ นเยอรมันหรือฮอลันดาหาทราบไม่ แต่ดูเป็ นคนแก่แล้วพูดกันได้ในภาษาอังกฤษ จึงชอบ
พูดจาสนทนากัน แกบอกว่าทีใ่ นป่าเมืองชวามีสตั ว์ประหลาดอย่างหนึ่ง เวลาคนเดินทางนอนค้าง
อยู่ในป่า มันมักลอบมาอมหัวแม่ตีนดูดเอาเลือ ดไปกิน คนนอนไม่รู้สกึ ตัวเป็ นแต่ อ่อนเพลียไป
จนถึงตายก็ม ี ฉันว่าสัตว์อย่างนัน้ ในเมืองไทยก็ม ี เรียกว่า “โปง่ ค่าง” ฉันเคยได้ยนิ เขาเล่าว่ามันลอบ
ดูดเลือดคนกินเช่นนัน้ แต่ฉันไม่เคยเห็นรูปร่างของมันว่าเป็ นอย่างไร แกบอกว่าแกหาตัวสัตว์อย่าง
นัน้ ได้ทเ่ี มืองชวาหลายตัว ฉันอยากเห็น แกจึงพาเข้าไปดูในห้องสานักงานของแก เห็นเอาใส่ขวด
๔๗

แช่เหล้าไว้เข้าไปพิจารณาดูก็ตุ๊กแกเรานี่เอง จึงหวนราลึกขึน้ ทันที ถึงตุ๊กแกในโพรงต้นเลียบที่บก


อินทนิล คงเป็ นตุ๊กแกปา่ นันเองที
่ เ่ ราเรียกตัวโปง่ ค่าง
เมื่อฉันไปพักอยู่ท่เี มืองระนองก็มเี รื่องแปลกประหลาดเกิดขึน้ อีกเรื่องหนึ่ง สมัยนัน้ ยังไม่ม ี
ต ารวจภูธ ร กรมหมื่น ปราบปรป กั ษ์ ผู้ บ ัญ ชาการทหารเรือ ทรงจัด ให้ ม ีท หารเรือ หมวดหนึ่ ง มี
นายทหารเรือ คุมไปสาหรับรัก ษาที่พกั ของฉัน ทหารเรือพวกนัน้ จึงไปด้ว ยกันกับฉันจนถึงเมือ ง
ระนอง วันหนึ่งฉันกาลังนัง่ อยู่กบั พระยาระนอง (คอซิมก้องซึ่งภายหลังได้เป็ นพระยาดารงสุจริตฯ
สมุเทศาภิบาลมณฑลชุมพร) และพระกระบุร ี (คอซิมบี้ ซึ่งภายหลังได้เป็ นพระยารัษฎานุ ประดิษฐ์
สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต) ข้าราชการที่ไปกับฉันก็นัง่ อยู่ด้วยหลายคน ขณะนัน้ นายทหารเรือ
เข้าไปบอกว่าทหารเรือปว่ ยไปคนหนึ่ง อาการเป็นไข้ตวั ร้อนและมีเม็ดผุดขึน้ ตามผิวหนังดูเหมือนจะ
ออกฝี ดาษ พอพระยาระนองกับ พระกระบุ รไี ด้ยนิ ก็ต กใจ ออกปากว่าน่ าจะเกิดล าบากเสียแล้ว
เพราะราษฎรแถวนัน้ ยังกลัวฝีดาษยิง่ นักผิดกับชาวหัวเมืองชัน้ ใน
ถ้ารูว้ ่ามีคนออกฝีดาษอยู่ทน่ี นั ่ เห็นจะพากันหลบหนีไม่มใี ครทาการรับเสด็จ ฉันก็ตกใจถามว่า
จะทาอย่างไรดี เจ้าเมืองทัง้ สองคนบอกว่าตามประเพณีของราษฎรทางนัน้ ถ้ามีคนออกฝี ดาษที่
บ้านไหน พวกชาวบ้านช่วยกันปลูกทับกระท่อมให้คนเจ็บไปอยู่ต่างหาก หายาและข้าวปลาอาหาร
ไปวางไว้ให้ท่กี ระท่อม แล้วพวกชาวบ้านพากันทิ้งเรือนไปอยู่เสียให้ห่างไกลจนคนไข้หายสนิทจึง
กลับมา ถ้าคนไข้ตายก็เผาเสียให้สญ ู ไปด้วยกันกับกระท่อม เขาอยากให้ฉนั ส่งทหารเรือคนทีเ่ จ็บไป
ไว้ท่เี กาะว่างผู้คนกลางลาน้ าปากจัน่ เขาจะให้ไปปลูกทับกระท่อมที่อาศัยและจะลองหาคนที่เคย
ออกฝี ดาษแล้วไปช่วยอยู่รกั ษาพยาบาล มิฉะนัน้ ถ้าฉันพาคนไข้กลับไปด้วย ไปถึงไหนราษฎรที่
ทางานอยู่ท่นี ัน่ ก็คงพากันหลบหนีไปหมด ฉันสงสารทหารเรือคนไข้ยงั มิรทู้ ่จี ะว่าประการใด พระ
ทิพจักษ์ฯ หมอทีป่ ระจาตัวฉันพูดขึน้ ว่าจะไปตรวจดูเสียให้แน่ ก่อน แกไปสักครู่หนึ่งก็เดินยิม้ กลับมา
บอกว่าไม่ต้องทรงวิตกแล้ว คนเจ็บเป็ นแต่อสี ุกอีใสมิใช่ฝีดาษ เพราะเม็ดทีข่ น้ึ ห่าง ๆ กันไม่เป็ นพืด
เหมือนเม็ดฝีดาษ พิษไข้กไ็ ม่รา้ ยแรงเหมือนอย่างออกฝีดาษ รักษาไม่ก่วี นั ก็หาย ไดฟงั ดังนัน้ ก็โล่ง
ใจไปด้วยกันหมด ขากลับจากเมืองระนอง แกรับคนไข้มาลาเดียวกับแก เมื่อขึน้ เดินบกฉันก็จดั ช้าง
ตัวหนึ่งให้คนไข้นอนมาในสัปคับ นาหน้าช้างตัวที่ฉันขีม่ าจนถึงเมืองชุมพร รักษาไม่ก่วี นั ก็หายเป็ น
ปรกติ ต่อเมื่อคนไข้หายสนิทแล้ว พระทิพจักษ์ฯ จึงกระซิบบอกฉันว่าที่จริงทหารคนนัน้ ออกฝีดาษ
นัน่ เองแต่ออกอย่างบางพิษสงไม่รา้ ยแรงแกเห็นพอจะ พามาได้จงึ คิดเอากลับมา ฉันก็มริ ทู้ ่จี ะว่า
ประการใด นอกจากขอบใจเพราะรอดมาได้ดว้ ยมายาของแก
เรื่องเสด็จเลียบหัวเมืองปกั ษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก เมื่อ ร.ศ. ๑๐๙ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้
ทรงพระราชนิพนธ์ไว้โดยพิสดาร พิมพ์อยู่ในหนังสือ “เรื่องเสด็จประพาสแหลมมลายู” แล้ว ฉันจะ
เล่าเรื่องเสือใหญ่ต่อไป เมื่อเสด็จกลับมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว ต่อมาไม่ชา้ ใน พ.ศ. ๒๔๓๓ นัน่ เองได้
ข่าวว่าเสือใหญ่ทช่ี ุมพรถูกยิงตายแล้ว ฉันอยากรูเ้ รื่องทีย่ งิ เสือใหญ่ตวั นัน้ ให้สบื ถามได้ความว่าชาย
ชาวเมือง ชุมพรคนหนึ่ง มีกจิ ธุระทีจ่ ะต้องเดินทางไปในปา่ เอาปื นติดมือไปด้วย แต่มไิ ด้ตงั ้ ใจจะยิง
เสือ เดินไปในเวลากลางวันพอเลีย้ วต้นไม้ท่บี งั อยู่รมิ ทางแห่ งหนึ่งก็เจอไอ้เป๋ เสือใหญ่ประชันหน้า
๔๘

กันใกล้ ๆ ชายคนนัน้ มีสติเพียงลดปื นลงจากบ่าขึน้ นกหลับตายิงไปตรงหน้าแล้วก็ทง้ิ ปืน วิง่ หนีเอา


ตัวรอด แต่ เป็ นเพราะพบเสือใกล้ ๆ ข้างฝ่ายเสือ ก็เห็นจะไม่ได้คาดว่าจะพบคน คงยืนชะงักอยู่
ลูกปื นจึงถูกที่หวั เสือตายอยู่กบั ที่สน้ิ ชีว ิตเสือใหญ่เพียงนัน้ แต่ยงั ไม่หมดเรื่อง ฉันนึกถึงความหลัง
เกิดอยากได้หนังหรือหัวกระโหลกเสือตัวนัน้ ให้ไปถามหา ได้ความว่าเมื่ออ้ายเป๋ถู กยิงตายแล้ว
กานันนายตาบลเอาซากไปส่งต่อพระยาชุมพร (ยัง) พระยาชุมพรออกเงินให้เป็ นบาเหน็จแก่คนยิง
แล้วได้ซากเสือไว้ มิรจู้ ะทาอย่างไรมีเจ็กไปขอซื้อว่าจะเอาไปทายา พระยาชุมพรก็เลยขายซากให้
เจ็กไป ฉันให้ลงไปถามหาช้าไปจึงไม่ได้หนังหรือหัวกระโหลกอ้ายเป๋ดังประสงค์เป็ นสิ้น เรื่องเสือ
ใหญ่เมืองชุมพรเพียงเท่านี้
(ทีม่ า : นิทานโบราณคดี จัดพิมพ์โดย สานักพิมพ์ดอกหญ้า พ.ศ. ๒๕๔๕: ๒๐-๓๐)

๔) บันทึ กเชิ งอัตชี วประวัติ วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ท่มี เี นื้อหาบันทึก


เชิงอัตชีวประวัติ เน้ นการบันทึก เรื่องราวของบุคคลสาคัญ ต่าง ๆ เช่น เรื่อ งโครงกระดูก ในตู้
บันทึก ชีว ประวัต ิข องม.ร.ว.คึก ฤทธิ ์ ปราโมช ฟื้นความหลัง ทีบ่ นั ทึกประวัตชิ วี ติ ส่วนหนึ่งของ
พระยาอนุ มานราชธน รวมทัง้ บันทึกขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีไทยในสมัยที่แต่ง เรื่อง
เกิดวังปารุสก์ บันทึกอัตชีวประวัตขิ องสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ใน
ระยะเวลา ๔๒ ปี ทรงเล่าถึงสภาพชีวติ ในราชสานักตัง้ แต่ พ.ศ. ๒๔๕๐-๒๔๙๒ ในปลายรัชกาล
ที่ ๕ ถึง รัชกาลที่ ๙ รวมทัง้ กล่าวถึงสภาพภูมปิ ระเทศ การศึกษา ศาสนา ราชวงศ์ของอังกฤษ
พระราชพิธ ี และประเพณีต่าง ๆ ของประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป คนต่างชาติท่ที รงคุ้นเคยและ
รูจ้ กั รวมถึงบุคคลทีเ่ กีย่ วข้อง พอจะยึดเป็นแนวทางการศึกษาค้นคว้าได้ ตัวอย่าง
ทูลหม่อมลุงท่านทรงมีสุนัขทีท่ ่านโปรดของท่านอย่างยิง่ ชื่อ ย่าเหล ดูเหมือนสุนัขตัวนัน้
จะมีเงินเดือนด้วย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เป็ นการสนุ กขบขันและน่ าเอ็นดู ได้ทรงเอาเงิ น
ที่ว่าเป็ นของย่าเหลนัน้ สละเรีย่ ไรซื้อเรือรบ จึงมีเจ้าหน้ าที่ออกความคิดมีป้ายติดตาม
ถนน มีรปู สุนัขนัน้ พูดออกมาว่า “ควรจะเอาอย่างฉัน ฉันเป็นแต่สุนัขยังได้สละเงินเรีย่ ไร
ซือ้ เรือรบ ไม่ให้กส็ ฉู้ นั ไม่ได้” (เกิดวังปารุสก์ เล่ม ๑)

เรื่องศิลาจารึก หลักที่ ๑ บันทึกเชิงอัตชีวประวัติของพ่อขุนรามคาแหงด้าน


ต่าง ๆ ตัง้ แต่ชาติกาเนิด วีรกรรม พระราชกรณียกิจ นิสยั ใจคอ สภาพสังคม เศรษฐกิจ และ
วัฒนธรรมในสมัยทีพ่ ระองค์ครองราชย์ ดังตัวอย่าง “เมื่อชัวพ่ ่ อขุนรามคาแหง เมืองสุโขทัย นี้ดี
ในน้ ามีปลาในนามีขา้ ว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ล่ทู าง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขีม่ า้ ไปขาย ใครจัก
ใคร่คา้ ช้างค้า ใครจักใคร่คา้ ม้าค้า ใครจักใคร่คา้ เงือนค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส” (ศิลาจารึก)
๓.๒.๒.๒ ยอพระเกี ย รติ พระมหำกษั ต ริ ย์ การแสดงเนื้ อ หายอพระเกี ย รติ
พระมหากษัตริยน์ บั ว่าเป็นลักษณะเด่นของวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ ทัง้ นี้เกิดจากคนไทย
๔๙

ผูกพันกับสถาบันกษัตริย์ การได้เห็นหรือรับรูเ้ รื่องราวของพระมหากษัตริยท์ ่ีแสดงความกล้า


หาญทางการรบ หรือบาเพ็ญประโยชน์ แก่บา้ นเมืองมักเป็ นแรงบันดาลใจในการแต่ง ดังที่ผแู้ ต่ง
ยอพระเกียรติพระมหากษัตริยใ์ นด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
๑) ด้ ำนกำรท ำสงครำม วรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท่มี เี นื้อ หายอพระ
เกียรติพระมหากษัตริยด์ ้านการทาสงครามมักนาเสนอพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์
ตัง้ แต่การเตรียมการรับมือกับข้าศึก จนถึงการรบในขัน้ ตอนสุดท้ายทีแ่ สดงความสามารถเหนือ
ศัตรู ซึ่งส่วนใหญ่ เป็ นพม่า ดังเรื่องลิลติ ยวนพ่าย ยอพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถที่
ทรงรบชนะเชียงใหม่ เรือ่ งลิลติ ตะเลงพ่าย สดุดสี มเด็จพระนเรศวรมหาราชทีส่ ามารถทาสงคราม
ยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชาของพม่าได้ หรือ เรื่องโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร ี ยอ
พระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรที ่ที รงยกทัพขึน้ ไปปราบข้าศึกจนราบคาบ ดังนี้
ปางเมืองนครราชตัง้ ตัวปทุษฐ์
ก่อพิกลการยุทธ ศึกสร้าง
พระยกพยูหรุด รานราบ
น้อยโทษเลีย้ งใหญ่ลา้ ง ชีพสิน้ สูญหายฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี
๒) ด้ำนกำรปกครองประเทศ
วรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท่มี เี นื้อหายอพระเกียรติพระมหากษัตริยด์ ้าน
การปกครองมักนาเสนอภาพลักษณ์ของพระมหากษัตริยท์ ม่ี คี วามสามารถด้านการปกครองรอบ
ด้าน ได้แก่ ความสามารถด้านการใช้หลักธรรมต่าง ๆ ในการปกครองประเทศจนเป็ นที่รกั ของ
ประชาชน ความสามารถในการผูกใจไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ความสามารถในการทานุบารุงบ้านเมือง
และความสามารถในการเป็นทีพ่ ง่ึ ของหัวเมืองต่าง ๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๒ .๑ )ก ำรมี ห ลั ก ธรรม ใน ก ำรป กค รอ งป ระเท ศ เนื่ อ งจาก
พระมหากษัตริยเ์ ป็นผูม้ คี วามสาคัญต่อราษฎร เป็ นพระประมุขทีพ่ สกนิกรคอยถือเป็ นแบบอย่าง
พระมหากษัตริยท์ ่ที รงใช้หลักธรรมในการปกครองบ้านเมืองย่อมดารงรัฐให้อยู่เย็นเป็ นสุขได้ ทัง้
ช่วยเพิม่ พูนความดีงามของชนทัง้ หลาย หลักธรรมทีพ่ ระมหากษัตริยใ์ ช้ในการปกครองประเทศ
ประกอบด้วยหลักทศพิธราชธรรม หลักจักรวรรดิวตั ร และหลักราชสังคหวัตถุ ดังนี้
ทศพิ ธ รำชธรรม พจนานุ ก รมพุ ท ธศาสตร์ ฉบับ ประมวลธรรมของ
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต, ๒๕๓๔ : ๓๑๕) ได้ให้คาอธิบายทศพิธราชธรรม สรุปได้ดงั นี้
๑. ทาน คือ สละทรัพย์สงิ่ ของบารุงเลีย้ ง ช่วยเหลือประชาราษฎร์ และ
บาเพ็ญสาธารณประโยชน์
๒. ศีล คือ สารวมกายและวจีทวาร ประกอบแต่การสุจริตรักษากิตติ
คุณให้ควรเป็นตัวอย่าง และเป็นทีเ่ คารพนับถือของประชาราษฎร์ มิให้มขี อ้ ทีใ่ ครจะดูแคลน
๕๐

๓. ปริจจาคะ คือ เสียสละความสุขสาราญ ตลอดจนชีวติ ของตนเพื่อ


ประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
๔. อาชชวะ คือ ซื่อตรง จริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน
๕. มัททวะ คือ มีอธั ยาศัย ไม่เย่อหยิง่ หยาบคายกระด้างถือองค์ มี
ความงามสง่าเกิดแต่ท่วงทีกริ ยิ าสุภาพนุ่ มนวลละมุนละไม ให้ได้ความรักภักดีแต่มขิ าดยาเกรง
๖. ตปะ คือ แผดเผากิเลสตัณหา มิให้เข้ามาครอบครองย่ายีจติ ระงับ
ยับยัง้ ข่มใจได้ ไม่ยอมให้หลงใหลหมกมุน่ ในความสุขสาราญและความปรนเปรอ มีความ
เป็นอยูส่ ม่าเสมอหรืออย่างสามัญ มุง่ มันแต่ ่ จะบาเพ็ญเพียรทากิจให้บริบูรณ์
๗. อักโกธะ คือ ไม่เกรีย้ วกราด ลุอานาจความโกรธจนเป็นเหตุให้
วินิจฉัยความและกระทาการต่าง ๆ ผิดพลาดเสียธรรม มีเมตตาประจาใจไว้ระงับความเคืองขุน่
วินิจฉัยความและกระทาการด้วยจิตอันราบเรียบเป็ นตัวของตนเอง
๘. อวิหงิ สา คือ ไม่กดขี่ เช่น เก็บภาษีขดู รีด หรือเกณฑ์แรงงานเกิน
ขนาด ไม่หลงอานาจ หาเหตุเบียดเบียนลงโทษราษฎร เพราะอาศัยความอาฆาตเกลียดชัง
๙. ขันติ คือ อดทนต่องานทีต่ รากตรา ไม่ทอ้ ถอย แม้จะถูกเย้ยหยัน
ด้วยคาเสียดสีถากถางก็ไม่หมดกาลังใจไม่ยอมทิง้ กรณีทบ่ี าเพ็ญโดยชอบธรรม
๑๐. อวิโรธนะ คือ หนักแน่นในธรรม คงที่ ไม่เอนเอียงหวันไหว ่ สถิต
มันในธรรม
่ ทัง้ ส่วนยุตธิ รรมคือความเทีย่ งธรรมก็ดี นิตธิ รรมคือระเบียบแบบแผนหลักการ
ปกครอง ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอนั ดีงามก็ดี ไม่ประพฤติให้เคลื่อนคลาดไป
จักรวรรดิ วตั ร ๑๒ สมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงวชิรญาณ (๒๕๒๖ :
๒๗–๒๘) กล่าวว่าจักรวรรดิวตั ร ๑๒ ได้แก่ ๑) การพระราชทานโอวาทและอนุเคราะห์ชน
ภายใน และชนภายนอกคือพลกายกองทหารจนถึงราษฎร ๒) การผูกพระราชไมตรีกบั กษัตริย์
แห่งประเทศนัน้ ๆ ๓) การสงเคราะห์เหล่าเชือ้ พระวงศ์ขา้ ราชบริพาร ๔) การเกือ้ กูลพราหมณ์
และคหบดีทงั ้ หลาย ๕) การอนุเคราะห์ประชาชนชาวชนบททัง้ หลาย ๖) การอุปการะสมณะ
พราหมณ์ผมู้ ศี ลี ประพฤติชอบ ๗) การจัดรักษาฝูงเนื้อและนกไม่ให้ใครเบียดเบียน ๘) การห้าม
ชนทัง้ หลายไม่ให้ทากิจการอันผิดธรรม ๙) การพระราชทานทรัพย์เจือจานให้เลีย้ งชีพผูข้ ดั สน
ไร้ทรัพย์ ๑๐) สอบถามสมณะพราหมณ์เรือ่ งบาปบุญกุศลอกุศลให้ประจักษ์ ๑๑) การเว้นไม่ให้
เกิดอธรรมราคะในนิคมนิยสถาน และ ๑๒) การห้ามจิตมิให้ปรารถนาลาภทีไ่ ม่ควรจะได้
รำชสังคหวัตถุ ๔ สมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงวชิรญาณ (๒๕๒๖:
๒๖) กล่าวถึงราชสังคหวัตถุ ๔ ว่าเป็นทีต่ งั ้ แห่งการสงเคราะห์ยดึ เหนี่ยวน้ าใจราษฎร ได้แก่
๑. มีพระปรีชาในการบารุงพืชพันธุธ์ ญ ั ญาหารให้บริบรู ณ์
๒. ฉลาดในการสงเคราะห์บุรษุ ข้าทูลละอองพระบาททัง้ ฝา่ ยทหาร
และพลเรือน เป็นต้นว่ายกย่องความสามารถและความชอบในราชการ
๕๑

๓. รูจ้ กั ผูกใจประชาชน บาบัดความทุกข์เดือดร้อนของประชาชน


๔. มีวาจาอ่อนหวาน ทาให้เป็นทีร่ กั เช่น ปราศรัยแก่บุคคลทุกชัน้
ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา (๒๕๔๒ : ๔๙๖๕) กล่าวว่า อานาจของ
สถาบันพระมหากษัตริยใ์ นสังคมไทยแต่โบราณมี ๒ มิติ คือ ทรงเป็ นที่ตงั ้ ของอานาจสูงสุด
ของมนุ ษ ย์ใ นสัง คมการเมือ งส่ ว นอีก มติห นึ่ งด้ว ยเหตุ ท่ีท รงเป็ น สมมติเทพ จึงทรงเป็ น จุ ด
เชื่อมโยงระหว่างอานาจหรืออานุ ภาพของธรรม กับความเป็ นไปของสังคมการเมืองของมนุ ษย์
โดยส่วนรวม ดังในไตรภูมพิ ระร่วง (พญาลิไทย, ๒๕๒๖ : ๕๙) ที่กล่าวว่า หากพระเจ้าแผ่นดิน
ปกครองแผ่นดินด้วยความชอบธรรม ไพร่ฟ้าจะอยู่เย็นเป็ นสุข น้ าท่าอุดมสมบูรณ์ แต่ถ้าพระเจ้า
แผ่นดินทาผิดไม่ชอบทานองคลองธรรม แม้ฝนก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทาไร่นาก็เสียหาย พระ
ราชจริยวัตรของพระมหากษัตริยจ์ งึ เป็ นดัชนีบ่งชีถ้ งึ ความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม
จารีตประเพณีในสังคมไทยเน้นเรื่องทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวตั ร
จรรยา ของผู้ปกครองบ้านเมืองเป็ นอย่างมาก การละเลยหรือหละหลวมในวัตรปฏิบตั ิเหล่านี้
ก่อให้เกิดความระส่ าระสายในโครงสร้างแห่งอานาจทัง้ เบื้องบนและเบื้องล่างจนกระทังในที ่ ่สุด
แล้ว อาจก่อให้เกิดความหายนะแก่สงั คมมนุ ษย์หรือบ้านเมืองได้ การสอนเรือ่ งเหล่านี้จงึ ปรากฏ
โดยมาก ดังเรื่องลิลติ ตะเลงพ่าย ตอนท้ายเรื่อง มีการยอพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรทีท่ รงใช้
ทศพิธราชธรรม ราชสดุดี และจักรพรรดิวตั รในการปกครองประเทศให้อยูเ่ ย็นเป็นสุข ดังนี้

๑. ทาน (การทาทาน)
พระเปรมปฏิบตั เิ บือ้ ง ทศธรรม์ ถ้วนแฮ
ทานวัตรพัศดุสรรพ์ สิง่ ให้
ทวยเถมินมัวหมู่ พ่ นั พกพวก แคลนนา
วันละวันตัง้ ไว้ หกห้างแห่งสถาน
๒. สีล (การรักษาศีล)
เถลิงการกุศลสืบสร้าง เบญจางค ศีลเฮย
เนืองนิวทั ธ์ฤๅวาง ว่างเว้น
บาเทิงหฤทัยทาง บุญเบื่อ บาปนา
แสวงสัคมัคโมกข์เร้น รอดรือ้ สงสาร
๓. ปริจฺจาค (การบริจาคทรัพย์ทาบุญ)
สมภารพระก่อเกือ้ การก ธรรมแฮ
ชินศาสนุปถัมภก เพิม่ ตัง้
จตุราปจั เยศยก บริจาค ออกเอย
อวยแด่ชุมชีทงั ้ ทัวแคว้
่ นแขวงสย
๕๒

๔. อาชฺชว (ความซื่อตรง)
พระงามอุชุภาพพร้อม ไตรพิธ ทวารเฮย
กายกมลภาษิต ซื่อซ้อง
บาเพ็ญเพิม่ สุจริต เจริญสัตย์ สงวนนา
สิง่ คดปลดเปลือ้ งข้อง แต่ครัง้ ฤๅมี
๕. มทฺทว (ความอ่อนโยน)
ปรานีมาโนชน้อม มฤทู
ในนิกรชนชู ชุ่มเผ้า
พระเอือ้ พระเอ็นดู โดยเทีย่ ง ธรรมนา
อดโทษโปรดเกศเกล้า ผิดพลัง้ สังสอน

๖. ตป (ความประพฤติตบะ)
สังวรอุโบสถสร้าง ประดิทนิ
มาสประมาณวารถวิล สีถ่ ว้ น
อัษฎางคิกวิรยิ นิ ทรียส์ งัด กามเอย
มละอิสริยสุขล้วน โลกซ้องสรรเสริญ
๗. อกฺโกธ (ความไม่โกรธ)
ทรงเจริญมิตรภาพเพีย้ ง พรหมาน
ทิศทศจรดทุกสถาน แผ่แผ้ว
ชัคสัตว์เสพสาราญ รมย์ทวั ่ กันนา
เย็นยิง่ จันทรกานต์แก้ว เกิดน้าฉ่ าแสง
๘. อวิหสึ ญฺจ (ความไม่เบียดเบียน)
เสด็จแสดงยศเยือกเหล้า แหล่งไผท
เพื่อพระกรุณาใน เขตข้า
บ่กอบบ่ก่อภัย พิบตั เิ บียด เบียนเอย
บานทุกหน้าถ้วนหน้า นอบนิ้วถวายพร
๙. ขนฺตญ ิ ฺจ (ความอดทน)
ถาวรอธิวาสน์เค้า ขันตี ธรรมฤๅ
ดาฤษณวิโรธราคี ขุน่ ข้อน
เพ็ญผลพุทธบารมี วิมตุ ติสุข แสวงนา
เนืองโลกโศกเสื่อมร้อน สิง่ ร้ายฤๅพาน
๕๓

๑๐. อวิโรธน (ความไม่ประพฤติผดิ )


พระญาณยลเยีย่ งเบือ้ ง โบราณ รีตนา
ในนิตริ าชศาสตร์สาร สืบไว้
บแปรประพฤติพาล แผกฉบับ บูรพ์เฮย
โดยชอบกอบกิจไท้ ธเรศตัง้ แต่ปาง
ไปว่ างขัตติยวัตรเว้น สักอัน
ทัวทศพิ
่ ธราชธรรม์ ท่านสร้าง
สงเคราะห์จตั ุราบรร ษัทสุข เสมอนา
สังคฤหพัสดุอา้ ง สีไ่ สร้สบื ผล
๑. สสฺสเมธ (การบูชาด้วยข้าวกล้า)
ใดชนแคลนกล้าคู่ โคไถ
ทรงประสาทเสมอใจ จ่ายถ้วน
ปางผลเพิม่ พูนใน นาราษฎร์ นัน้ ฤๅ
ส่วนสิบหยิบยกล้วน หนึ่งไว้ในฉาง
๒. ปุรสิ เมธ (การบูชาบุรษุ )
เสนางค์เนืองเนกหน้า ในสนม
ทัวทุ่ กหมูท่ ุกกรม แต่งตัง้
ผจงแจกธนสารสม สิง่ ชอบ เขาแฮ
หกมาสอาจอวยครัง้ ขวบสิน้ คราสอง
๓. สมฺมาปาส (บ่วงอันชอบ)
ใดปองพาณิชย์สร้าง สินศูนย์
เสนอลักษณ์เพื่อเอาธูร ท่านให้
ไตรพรรษเพิม่ ทวีคณ ู คืนส่ง สนองนา
ปางราษฎร์ปราศทุกข์ไร้ สว่างร้อนผ่อนเกษม
๔. วาจาเปยฺย (วาจาเป็นทีร่ กั )
เอมโอชอมฤตอืน้ โองการ ท่านฤๅ
ในอเนกคณะบริพาร ทุกหน้า
บหมิน่ ประมาณฐาน พฤติภาพ เขาเฮย
ควรปูค่ ่ลู ุงน้า หนึ่งนัน้ บัณฑูร
๕๔

๕. นิรคฺคล (การไม่มลี มิ่ สลักคือไม่ตอ้ งใส่กลอนประตูบา้ น)


ไพบูลย์สงเคราะห์ถว้ น ทวยชน
สังคฤหพัสดุผล เพิม่ พ้อง
บาเทิงธราดล โจรจืด แลแฮ
ทวารเย่าเปล่าลิม่ ป้อง เปิดได้โดยถวิล
ประดิทนิ กรรมบถเบือ้ ง ทศางค์ สิน้ นา
สืบกุศลธรรมทาง ถ่องแท้
จักรพรรดิวตั รวิรยิ างค์ ยุกดิ ์เยีย่ ง แลฤๅ
ทวารทศพจนพากย์แก้ ก่อเกือ้ เผื่อผล
๑. อนฺโตชนสฺม ึ พลกายสฺม ึ (ทรงจักรวรรดิวตั รในชนภายใน และหมูพ่ ลทหาร)
ชุมชนบริรกั ษ์ทงั ้ หญิงชาย
ทัวทุ
่ กนางทุกนาย ใฝเ่ ฝ้า
ทรงขจัดอุปทั วันตราย บาราศ ทุกข์นา
ใจใส่ไปค่าเช้า ชื่นหน้าอ่าโฉม
๒. ขตฺตเิ ยสุ (ในกษัตริยท์ งั ้ หลาย)
บรรโลมเลีย้ งโลกด้วย การุญ
ในขัตติยทุกขุน เขตด้าว
อานวยรัตนวิบุล นาเนก แลเฮย
มีอาทิราชหัยห้าว เห็จเพีย้ งลมผัน
๓. อนุยนฺเตสุ (ในผูต้ ดิ ตามทัง้ หลาย)
เนืองนันต์นราธิปผู้ เผ่าพงศ์
โดยเสด็จดาเนินคง คู่ไท้
พระเอือ้ พระอวยมง คลยัว่ ยานแฮ
ดุรงค์รถคชพ่าหน์ให้ ห่อนเว้นเป็นเฉลิม
๔. พฺราหฺมณคหปติเกสุ (ในพราหมณ์และหบดีทงั ้ หลาย)
เผดิมผดุงชีพ่อพร้อม พราหมณ์ผอง
พัสตร์โภชน์โหติกูณฑ์กอง กอบถ้วน
นายกเย่าปูนปอง ประโยชน์ครบ ครันเฮย
สบสิง่ สารดล้วน เครือ่ งใช้ไปเ่ หลือ
๕๕

๕. เนคมชานปเทสุ (ในชาวนิคมและชาวชนบททัง้ หลาย)


ผจงเจือแจงแจกทัง้ ชนบท สิน้ นา
ในนอกนิคมคามหมด ขอบขัน้
ภิยโยพระยศทศทิศร่ม ร้อนฤๅ
เย็นเฉกพรหมฉัตรชัน้ เชิดฟ้าฟูฉาย
๖. สมณพฺราหฺมเณสุ (ในสมณะและพราหมณ์ทงั ้ หลาย)
ทวยหลายลอยบาปร้าง รางับ ราคฤๅ
บริสุทธิศลี สีส่ รรพ สฤษฏ์รงั ้
สมณะหนึ่งนามนับ นามหนึ่ง พราหมณ์นา
นฤนาถอาจอวยทัง้ สิง่ ถ้วนบริขาร
๗. มิคฺคปกฺขสี ุ (ในเนื้อและนกทัง้ หลาย)
อภัยทานท่านแต่งตัง้ ต่อสรรพ สัตว์เอย
มวลมฤคปกั ษีพรรค์ แผ่กา้ ง
อย่าเริม่ อย่าริรนั ทาโทษ มันแฮ
ห้ามบ่ให้ใครมล้าง ล่วงพ้นชนม์กษัย
๘. อธมฺมการปฏิกฺขโป (ห้ามการไม่เป็ นธรรม)
หฤทัยอนุเคราะห์ถว้ น ทาสภู
บาปสร่างสร้างบุญขู เขตท้าว
เบญจาพิธไพรู โรยเริด ลงฤๅ
เพราะเพื่อพระนาถน้าว หน่วงโน้มในกุศล
๙. อธนาน ธนุปทาน (การให้ทรัพย์แก่ผไู้ ร้ทรัพย์ทงั ้ หลาย)
ชนใดใจขุน่ ข้น ธนแคลน
ทรงจ่ายรายทรัพย์แสน สิง่ ให้
อาวรณ์ห่อนหวงแหน หายิง่ ยากแฮ
ชุบช่วยทวยธเรศไร้ เสื่อมร้อนรอนเข็ญ
๑๐. สมณพฺราหฺมเณ อุปสงฺกมิตฺวา ปญฺหาปุจฺฉน (การเข้าไปหาสมณพราหมณ์แล้วถาม
ปญั หา)
ปวงเป็นบาพรตพร้อม พรหมจรรย์
มานะมละสบสรรพ์ สิง่ เก้า
เสด็จสู่ศกึ ษาธรรม์ ถามโทษ คุณแฮ
เสร็จทราบบาปบุญเค้า ขาดข้อกังขา
๕๖

๑๑. อธมฺมราคสฺส ปหาน (ละความกาหนัดในอธรรมคือล่วงประเวณี)


ภูวนายกนาถเกล้า กษัตรีย์
ขจัดจากอธรรมราคี เกลียดใกล้
ทุจริตราคฤดี โดยกล่าว ไว้นา
ทัวอคมนิ
่ ยฐานไท้ ธิราชร้างห่างขวน
๑๒. วิสมโลภสฺส ปหาน (การละความโลภอันไม่สม่าเสมอเสีย)
ไปด่ ลมหิจฉภาพเอือ้ เอาสาร ทรัพย์เฮย
แห่งบ่ให้เหตุพาล โอบอ้าง
โดยกิจกอบพลการ ปองประโยชน์ ตนนา
นามวิสมโลภมล้าง เล่หน์ นั ้ ฤๅมี
พิธที วาทศพร้อง พรรณนา นี้ฤๅ
จักรพรรดิวตั รจรรยา ชื่อชี้
เรืองรุง่ ราชกฤษฎา ธิการเกียรติ เกริกแฮ
เจริญสวัสดิ ์ขัตติเยศกี้ ก่อสร้างสืบแสวง
(ลิลติ ตะเลงพ่าย)
๒.๒) กำรผูกใจไพร่ฟ้ำข้ ำแผ่นดิ น ดังปรากฏในโคลงยอพระเกียรติพระเจ้า
กรุงธนบุร ี ผู้แต่งกล่าวยกย่องสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุร ีท่รี จู้ กั ผูกใจไพร่ฟ้ าข้าแผ่ นดิน เช่น ให้
รางวัล ผูท้ ท่ี าความชอบ การมีเมตตาธรรม การให้ทพ่ี านัก และการเป็นทีพ่ ง่ึ ยามทุกข์รอ้ น ดังนี้
ครัน้ ดับเด็จร้ายทัว่ ธรณี
หมูม่ าตย์เปรมปรีดี ทัวได้

บาเหน็จพระพูนทวี ทุกเมือ่
ทรัพยกองโกยให้ ทุกเถีย้ วโดยหวังฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี

เปนทีพ่ านักถ้วน นรชน


เปนทีก่ รุณาคน ยากไร้
เปนทีส่ งสั
ั ่ ตวดล เมืองโมกข์
เป็ นทรัพย์ปจั จุบนั ให้ ทัวหน้
่ าเนืองเขษมฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี
๒.๓) กำรทำนุบำรุงบ้ำนเมือง ดังปรากฏในเรือ่ งกาพย์เห่เรือ ของน.ม.ส. พระ
ราชนิพนธ์ทูลเกล้าถวายฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เนื่องในพระราชพิธที รงเปิ ดสะพาน
๕๗

ปฐมบรมราชานุ สรณ์ พ.ศ. ๒๔๗๕ เนื้อหากล่าวสดุดพี ระราชกรณียกิจของพระเจ้าตากสินและ


รัชกาลที่ ๑ ทีท่ รงทานุบารุงบ้านเมืองให้เจริญรุง่ เรือง ดังปรากฏในข้อความดังนี้
อาวุธยุทธสถาน ป้อมปราการปานปุษกร
สามารถฟาดฟนั บร ผิวเห่อกล้าเข้ามาลอง
วังเวียงเพียงนิรมิต แสนโสภิตพิศเพียงปอง
ระเมียรมนเทียรทอง เชิดช่อฟ้าใบระกากาญจน์
งามสุดฝา่ ยพุทธจักร วิมลมรรคสมาทาน
กอบเกือ้ เอือ้ เอาภาร อารักขาเนื้อนาบุญ
(กาพย์เห่เรือ ของน.ม.ส.)
โคลงของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ยอพระ
เกียรติสมเด็จพระปิ ยมหาราชที่ทรงทานุ บารุง บ้านเมือง เช่น ขุดคลอง สร้างถนน สร้างสะพาน
พระราชทานที่ ดิน ท ากิน แก่ ค นจน สร้า งโรงเรีย น บู ร ณะวัด วาอาราม และส่ ง เสริม ศิล ปะ
โดยเฉพาะการเขียนภาพฝาผนังตามซุม้ วิหาร
๒.๔) กำรเป็ นที่ พึ่งของหัวเมืองต่ ำง ๆ ดังปรากฏในเรื่องโคลงยอพระเกียรติ
พระเจ้าปราสาททองที่ยอพระเกียรติพระเจ้าปราสาททองว่า เมืองต่าง ๆ ต่ างก็ส่งเครื่องราช
บรรณาการมาถวาย เพื่อขอเป็นทีพ่ ง่ึ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
นานาประเทศขึน้ ยังหลาย
เป็นทีท่ ลู ทางถวาย ดอกไม้
หิรญ ั รัตนทองพราย สรรพสัง่ มานา
ทัง้ พระยาไทรไซร้ มอบเกล้าสดุดฯี
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี
ส่วนเรื่องลิลติ ยวนพ่ายกล่าวว่ากษัตริย์รอ้ ยเอ็ดหัวเมืองต่ างเข้ามาสวามิภกั ดิ ์
โดยการถวายดอกบัวทองแด่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเพื่อขอให้พระองค์ช่วยปกป้องคุม้ ครอง
ทาให้เห็นถึงบุญบารมีประดุจแสงพระอาทิตย์ ทัง้ มอญและลาวต่างก็พ่ายแพ้ในฐานะข้าศึก
ร้อยท้าวรวมรีบเข้า มาทูล ท่านนา
ถวายประทุมทองเปน ปิ่นเกล้า
สมภารพ่อพยวสูรยิ โสภิต
มอญแลยวนพ่ายเข้า ข่ายบรฯ
(วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม ๑)
๕๘

๓) ด้ ำนกำรต่ ำงประเทศ วรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท่มี เี นื้อหายอพระ


เกี ย รติ พ ระมหากษั ต ริย์ ด้ า นการต่ า งประเทศมัก ยอพระเกี ย รติ พ ระปรีช าสามารถของ
พระมหากษัตริย์ท่สี ามารถเชื่อมสัมพันธไมตรีกบั ประเทศต่าง ๆ ได้ เป็ นอย่างดี ไม่ว่าจะเสด็จ
พระราชดาเนิ นประพาสต่ างประเทศด้วยพระองค์เองหรือ ส่ งตัว แทนไปก็ต าม ดังเรื่อ งนิราศ
กวางตุ้ง กล่าวถึงพระราชกรณียกิจของพระเจ้ากรุงธนบุร ีในการส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกบั
เมืองจีน หรือในพระราชหัตถเลขาฉบับต่าง ๆ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หวั เช่น ไกลบ้าน และประพาสยุโรป ร.ศ.๑๑๖ กล่าวถึงการเสด็จพระราชดาเนินประพาส
ยุโรปทีส่ ่งผลดีทางการเมืองและนาความเปลีย่ นแปลงตามมาสู่กรุงสยามในเวลาต่อมา คือ ทาให้
ไทยไม่ตกเป็ นเมืองขึน้ ของอังกฤษ และฝรังเศส ่ หรือในนวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ยุคปจั จุบนั ก็
กล่าวถึงบทบาทด้านการต่างประเทศของพระมหากษัตริยไ์ ทย ดังเรื่องเพชรพระนารายณ์ของ
หลวงวิจติ รวาทการกล่าวถึงบทบาทของพระนารายณ์ดา้ นนี้ว่า
อังกฤษเข้ารุก รานอิน เดีย ได้รบั สัม ปทานจากรัฐบาลอังกฤษให้จ ั ด ตัง้ บริษัท อิน เดีย
ตะวันออก มีอานาจผูกขาดการค้าทางตะวันออก พระยาวิชเยนทร์ชกั ชวนชาวอังกฤษ
มาเดินเรือ กับไทย มีค นอังกฤษ ๒ คน คือ ริชาร์ดเบอนาบี และ แซม เอลไวต์ ซึ่งมี
ความรูค้ วามชานาญหลายอย่างเข้ารับราชการในไทย ต่อมาบริษัทอินเดียตะวันออกเข้า
มาบุก รุก เข้ามาเอาเมือ งมะริดที่เป็ นของไทย เจ้าพระยาวิชเยนทร์จงึ กราบบังคมทูล
สมเด็จพระนารายณ์ถวายความเห็นให้จดั สร้างเมืองมะริดเป็ นเมืองท่าเรือตามแบบใหม่
และสร้างป้อมปราการสาหรับป้องกันการรุกรานของบริษทั อินเดียตะวันออก โปรดเกล้า
แต่งตัง้ ให้รชิ าร์ดเบอนาบีมบี รรดาศักดิ ์เป็ นออกพระ และให้เป็ นเจ้าเมืองมะริด ตัง้ แซม
เอลไวต์เป็ นเจ้าท่า ไปสร้างท่าเรือและป้อมปราการที่เมืองมะริด เป็ นทีจ่ อดเรือและเป็ น
เมืองสาคัญแห่งหนึ่งของไทย ซึง่ เป็ นผลเสียแก่บริษทั อินเดียตะวันออก บริษทั จึงร้องไป
ยังรัฐบาลอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษมีคาสังให้ ่ คนอังกฤษที่รบั ราชการในรัฐบาลไทยออก
ทัง้ หมด และได้ส่งเรือรบสามลามาที่เมือ งมะริด ยกทหารขึ้นบกเข้าจับตัว คนอังกฤษ
รวมทัง้ เจ้าเมืองมะริด และยังเรียกค่าเสียหายจากไทยด้วย (เพชรพระนารายณ์)

๔) ด้ำนภำพลักษณ์ ที่เหนื อบุคคลธรรมดำ วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ท่ี


มีเนื้ อ หายอพระเกีย รติพ ระมหากษัต ริย์ด้า นภาพลัก ษณ์ ท่ีเ หนื อ บุ ค คลธรรมดา กวีเน้ น ใช้
ภาพพจน์อติพจน์เพื่อพรรณนาภาพลักษณ์ดงั กล่าว เช่น การพรรณนาบุญญาบารมีของพระบรม
ไตรโลกนาถว่าพระองค์อุบตั มิ าอย่างกึกก้อง รุ่งเรืองด้วยแรงบุญ ทัง้ มนุ ษย์และเทวดาต่างก็ยา
เกรงพากันกราบไหว้ ทรงแสดงคุณในการครองโลก จนกษัตริยท์ งั ้ ร้อยเอ็ดขอชื่นชมบารมี ดังนี้
๕๙

พระมาคฤโฆษเรือ้ ง แรงบุญ ท่านนา


ทุกทัวดิ
่ นบนเกรง กราบเกล้า
พระเสด็จแสดงคุณ ครองโลกย ไส้แฮ
เอกษัตรส้องเฝ้า ไฝเ่ ห็นขอเห็น ฯ
(วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม ๑)
นอกจากนี้ พ ระบรมไตรโลกนาถยังทรงรอบรู้พ ระธรรมดังพระพุ ท ธเจ้า ทรง
แกล้วกล้าดังราชสีห์ มีความรูก้ ว้างดังพระอาทิตย์ มีความหนักแน่นดังแผ่นดินทัง้ สีท่ วีป
พระทรงธรรมมิศรแม้ พระธรรม
พระแกว่นกลไกรสร แกว่นกล้า
พระญาณพ่างพนมแสง แสงรอบ เรืองแฮ
พระกษมาเสมอหล้า สีแ่ ดน ฯ
(วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม ๑)
๕) ด้ ำนกำรมีควำมรู้ในศำสตร์ต่ำง ๆ วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ท่มี ี
เนื้ อ หายอพระเกีย รติพ ระมหากษัต ริย์ด้านการมีค วามรู้ในศาสตร์ต่ าง ๆ ผู้แ ต่ งมัก น าเสนอ
ภาพลักษณ์ของพระมหากษัตริยท์ ม่ี คี วามรอบรูใ้ นศิลปศาสตร์แขนงต่าง ๆ ดังเรือ่ งลิลติ มหามกุฎ
ราชคุณ านุ สรณ์ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ท่กี ล่าวสรรเสริญ พระ
เกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ในด้านความสามารถในเชิงกวี โคลงของหม่อม
เจ้าสุวรรณและลิลติ ของพระองค์เจ้าคัคณางคยุคล (กรมหลวงพิชติ ปรีชากร) สรรเสริญพระบารมี
พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้า ที่ทรงมีค วามรู้ในด้านต่ าง ๆ เช่น คดีโลก คดีธ รรม กาพย์
กลอน ธรรมศาสตร์ ไสยศาสตร์ สุภาษิต ภาษาต่างประเทศ พระพุทธศาสนาและวิชาเลข ดังนี้

ราชานุวตั รครัง้ โบราณ ก็ดี


ฤๅปตั ยุบนั กาล ใหม่แก้
ฤๅต่างประเทศสถาน ฉบับแบบ อื่นเอย
พระจัดพระเจนแปล้ ปล่งถ้วนทุกลบองฯ
คดีโลกปราชญ์ใหม่แจ้ง กิจจา ไว้ฤๅ
คดีโลกแต่เดิมมา กล่าวพร้อง
คดีธรรมพุทธจริยา นุวตั รโลก ถือเอย
เจนหฤทัยถิน่ ข้อง ขัตนัน้ ฤๅมีฯ
๖๐

กาพย์กลอนพจนพากย์ลว้ น แสนเสนาะ
ทรงนิพนธ์ไพเราะ โสตกล้า
ทุกอย่างห่อนเฉพาะ แต่นนั ่ นี่เลย
เปนมหัศจรรย์ล้า โลกซ้องสดุดฯี
ธรรมศาสตรไสยศาสตรทัง้ ราชนิติ ์
โลกวัตรสุภาษิต ก่อนกี้
ไทยขอมแขกอังกฤษ วจนวากย์
สรรพศาสตรดังเช่
่ นชี้ พระแจ้งเจนเฉลียวฯ
(ลิลติ ของพระองค์เจ้าคัคณางคยุคล)
๓.๒.๒.๓ ให้ ควำมรู้เกี่ยวกับพระรำชกรณี ยกิ จด้ ำนต่ ำง ๆ ของพระมหำกษัตริ ย์
วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ท่มี เี นื้อหาให้ความรูเ้ กี่ยวกับพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ ของ
พระมหากษัตริย์ มักนาเสนอพระราชกรณียกิจด้านเด่น ๆ ในช่วงทีพ่ ระมหากษัตริยพ์ ระองค์นัน้
บริหารราชการแผ่นดิน ดังเรื่องตานานพระแท่นมนังคศิลาบาตร ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม
พระนราธิปประพันธ์พงศ์ กล่าวถึงพระราชกรณียกิจของพ่อขุนรามคาแหงด้านศาสนา และการ
ประดิษฐ์ตวั อักษร เรื่องกลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติรชั กาลที่ ๓ ของนายมีกล่าวถึงพระ
ราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยู่หวั ด้านการบูรณะพระพุทธบาท การบูรณะ
บ้านเมือง การบูรณปฏิสงั ขรณ์และทรงพระราชทานนามวัดใหม่จานวน ๑๙ วัด ได้แก่ วัดทอง
วัดนาค วัดแจ้ง วัดเลียบ วัดบางลาพู วัดหมูผลัด วัดประโคน วัดพลับ วัดบางจาก วัดท้ายตลาด
วัดนครเขื่อนขัณฑ์ วัดบางยีเ่ รือใต้ วัดบางยีเ่ รือกลาง วัดบางยีเ่ รือเหนือ วัดท่านราชมนตรี วัด
ท่ านโชฎึก วัด พระยาศรีพ ิพ ัฒ น์ วัด ศาลาสี่ห น้ า และวัด เชิงเลน บางวัด ก็โปรดให้ใช้ช่ือ วัด
ตามเดิม ได้แ ก่ วัดกลาง วัดระฆัง วัดกุ ฎ วัดกุ ฎ วัดสระเกศ วัดสมอราย วัดคอกกระบือ วัด
จัก รวรรดิ วัดโลกสุ ธา และวัดศาลาปูน โดยทรงบาเพ็ญ พระราชกุ ศลและถวายภัต ตาหารแก่
พระภิกษุสงฆ์ในวันสาคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างสม่าเสมอ โปรดให้มกี ารเทศน์มหาชาติเป็ น
ประจาทุก ปี ทัง้ ทรงพระกรุณ าทรงอุ ป การะให้พ ระภิกษุ ส ามเณรเรียนปริยตั ิธรรม และโปรด
อุปการะโดยการถวายปจั จัยในการศึกษาเล่าเรียนและการประกอบกิจของสงฆ์
พระทีน่ งเฉลิ
ั ่ มหล้ามหาปราสาท ก็พระราชศรัทธาเป็นราศี
ตัง้ นักปราชญ์พวกราชบัณฑิตดี บอกบาลีสุรยิ วงศ์พระสงฆ์เณร
พระราชทานเงินเดือนบ้างเลื่อนยศ ด้วยสอนรสธรรมามหาเถร
กระยาหารหวานคาวทัง้ เช้าเพล ถวายเณรพระสงฆ์ทอ่ี งค์เรียน
ทัง้ เภสัชอัฐบานสาราญรืน่ ให้แช่มชื่นชูจติ พินิจเสถียร
วันละสามสิบเศษในเพศเพียร เข้ามาเรียนอัตถ์แปลแซ่สาเนียง
บ้างเรียนมูลเรียนคัมภีรอ์ ยูม่ ฉ่ี าว ตัง้ แต่เช้าจนบ่ายไม่วายเสียง
๖๑

ทีแ่ ม่นยาจาได้ออกไล่เลียง แล้วชุบเลีย้ งเป็นมหาแลบาเรียน


ถวายปจั จัยไตรปีมไิ ด้ขาด ทีเ่ ณรราชบัณฑิตพินิจเสถียร
ให้บณ ิ ฑบาตในพระราชวังเวียน บารุงเพียรปญั ญาวิชาธรรม
ทีเ่ รียนน้อยพลอยเพียรเล่าเรียนกล้า ด้วยพระศรัทธาเลีย้ งชุบอุปถัมภ์
เพราะพระราชกุศลเป็นต้นนา พระสัทธรรมจึงฟุ้งอยูร่ งุ่ เรือง ฯ
(กลอนเพลงยาวฯ)
๓.๒.๒.๔ สดุดีวีรกรรมและพฤติ กรรมของบุคคลทัวไป ่ นอกจากวรรณคดีเกี่ยวกับ
ประวัตศิ าสตร์จะนาเสนอเนื้อหาเกีย่ วกับการยอพระเกียรติพระมหากษัตริยไ์ ทยแล้ว ยังนาเสนอ
เนื้อหาทีเ่ กีย่ วกับการสดุดวี รี กรรมและพฤติกรรมของบุคคลทัวไปด้
่ วย เพื่อให้เห็นความสามารถ
และคุ ณ งามความดีท่ี บุ ค คลนัน้ ๆ ท าเพื่อ แผ่ น ดิน ดังปรากฏในเรื่อ งค าฉั น ท์ย อเกีย รติช าว
นครราชสีมา ที่สดุดคี วามกล้าหาญของคุณหญิงโม พระยาปลัด และพระยายกกระบัตร เรื่อง
ลิล ิต ดัน้ สดุ ดีช าวบ้านบางระจัน ของพระยาอุ ป กิต ศิล ปาสาร กล่ าวถึง วีรกรรมของชาวบ้า น
บางระจันว่าเมื่อพม่ายกมาตีไทยในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ชาวบ้านบางระจันมีอาจารย์ธรรมโชติ
เป็ นหัวหน้า ได้ปลุกขวัญคนไทย ร่วมกับผูก้ ล้าหาญอีกหลายคน เข้าตีทพั พม่าอย่างแข็งขันจน
พม่าต้องพ่ายแพ้ไปถึงเจ็ดครัง้ บทละครเรื่องพระราชพงศาวดารไทย ตอนพันท้ายนรสิงห์ ของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กระพระนราธิปประพันธ์พงศ์ กล่าวยกย่องพันท้ายนรสิงห์ท่ซี ่อื สัต ย์ต่ อ
หน้าทีแ่ ละเคารพในกฎหมาย และเป็นบุคคลตัวอย่างในด้านศีลธรรม ดังนี้

ภูบาลบาเหน็จให้ โทษถนอม ใจนอ


พันไม่ยอมอยูย่ อม มอดม้วย
พระโปรดเปลีย่ นโทษปลอม ฟนั รูป แทนพ่อ
พันกราบทูลทัดด้วย ท่านทิง้ ประเพณี
ภูมปี ลอบกลับตัง้ ขอบรร ลัยพ่อ
จาสังเพชฌฆาตฟ
่ นั ฟาดเกล้า
โขนเรือกับหัวพัน เซ่นที่ ศาลเเล
ศาลสืบกฤติคุณ คติไว้ในสยาม
(โคลงพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวติ )
๓.๒.๒.๕ สะท้ อ นสภำพเศรษฐกิ จ สัง คมในยุ ค สมัย นั ้น ๆ วรรณคดีเกี่ย วกับ
ประวัตศิ าสตร์ทม่ี เี นื้อหาสะท้อนสภาพเศรษฐกิจสังคมในยุคสมัยปรากฏโดยทัวไป ่ ดังปรากฏใน
เรื่อ งศิล าจารึก หลัก ที่ ๑ ที่ส ะท้อ นสภาพเศรษฐกิจ ในสมัยพ่ อ ขุน รามค าแหงว่ามีค วามอุ ด ม
สมบูรณ์ ในน้ามีปลาในนามีขา้ ว ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมและหัตถกรรม
๖๒

๓.๒.๒.๖ ให้ควำมรู้ด้ำนต่ำง ๆ ในสังคมไทย


วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ท่สี อดแทรกความรู้ด้านต่าง ๆ ในสังคมไทยนี้
ชุดความรูท้ ป่ี รากฏในสมัยหนึ่งอาจสืบทอดมาจนถึงปจั จุบนั หรืออาจเกิดขึน้ ในช่วงเวลาใดเวลา
หนึ่ง ต่อมาชุดความรูน้ นั ้ ก็มกี ารเปลีย่ นแปลงหรือหายไปก็ได้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๑) ควำมรู้ด้ำนกระบวนกำรรบทัพจับศึก ดังปรากฏในเรื่องลิลติ ละเลงพ่ายมี
การให้ความรูเ้ รือ่ งกระบวนการรบทัพจับศึกอยูห่ ลายตอน ดังกฤตวิทย์ ดวงสร้อยทอง (๒๕๒๔ :
๑๓๕-๒๕๓) กล่าวถึงประเพณีการแต่งกายเมื่อออกศึกของแม่ทพั ในเรื่องว่าจะต้องแต่งกายให้
ถูกต้องตามสีวนั เพื่อเป็ นสวัสดิมงคล การเตรียมตัวก่อนการแต่งกายออกศึก ได้แก่ การอาบน้ า
การทรงเครื่องทรงที่สวยงามเพื่อข่มขวัญคู่ต่อสูใ้ ห้เกิดความยาเกรง การเลือกพระแสงศาสตรา
วุธที่จะทรงถือให้ถูกต้องตรงตามวัน การกล่าวถึงลักษณะช้างศึกที่ต้องตามตาราพิชยั สงคราม
เช่น มีลกั ษณะสวยงาม ศีรษะขมวดดุจแกล้งปนั ้ เท้าทัง้ ๔ ยืนติดพื้นมันคงดุ ่ จเสาประโคน ปาก
แดงดังชาด งางอนดุจงอนรถ หูใหญ่ งวงแลหางลากถึงดิน มีน้ ามันหน้ าหลัง เสียงดุจฟ้าร้อง
เมือ่ เดินดุจราชสีห์ ดาปลอด ส่วนม้าศึกต้องคัดเลือกเอาแต่ทด่ี มี ลี กั ษณะถูกต้องตามตาราว่าด้ว ย
ม้าเจ็ดตระกูล มีสแี ดง ดา เขียว (ปลัง)่ กระเลียว ผ่านแซม ขาว และฟ่าย (เทา) สาหรับพลเดิน
เท้า จาแนกออกเป็ นหลายเหล่าตามอาวุธที่ถอื เป็ นต้นว่าเหล่าทวนทอง เหล่าเขนทอง เหล่าโล่
เหล่าดัง้ เหล่าดาบ บางเหล่าถือปื นทองปราย นกสัน แซงซ้ายขวาเป็ นกระบวน ๆ ไป นายทัพ
นายกองของทหารเดินเท้าเหล่านี้สวมเสือ้ ผ้าต่างสีกนั เพื่อบอกเหล่าของตน หลังจากเตรียมพยุ
หโยธาเรียบร้อยแล้ว จะต้องมีการจัดกระบวนทัพ เพื่อความเป็ นระเบียบ เช่น ทัพของพระมหา
อุปราชาจัดเป็ นสัตตเสนา คือ แบ่งเป็ น ๗ กอง มีทพั นา ทัพหน้ า ทัพเกียกกาย ทัพหลวง ทัพ
ยกกระบัต ร ทัพ หลัง และทัพ หนุ น ในขณะที่ส มเด็จพระนเรศวรจัดทัพ แบบเบญจเสนา คือ
แบ่งเป็ น ๕ กองใหญ่ ๆ ได้แก่ ทัพหน้ า ทัพเกียกกาย ทัพหลวง ทัพยกกระบัตร และทัพหลัง
ทัง้ นี้ ตัวแม่ทพั และนายกองปีกซ้ายขวาทีช่ า้ ง ถ้าเป็ นนาย กองแซงขีม่ า้ นาไพร่พลออกรบ เว้น
แต่ทพั หลวง มีทหารทัง้ สีเ่ หล่าห้อมล้อมพร้อมพรังอยู ่ ่ เป็ นต้นว่า ทัพของสมเด็จพระนเรศวรจัด
กองอาสาหกเหล่า อาสาญี่ปุ่นอยู่หน้ า ต่อมาเป็ นเหล่าทหารตะลวงฟนั ถือโล่ เขนทอง ดาบสอง
มือ ต่ อ มาเป็ น หมู่พ ระต ารวจถือ ดาบ ทวนทอง แล้วจึงเป็ นช้างทรง รวมทัง้ จตุ รงคบาท และ
พนักงานเชิญเครือ่ งสูงต่าง ๆ ถัดจากนัน้ จึงเป็ นกองช้าง มีชา้ งโลด ช้างแล่น ช้างโจมทัพ ช้างดัง้
ช้างกัน ช้างแซง ช้างแทรก ช้างแปรก ช้างค่ายค้า ช้างพังคา มีแซงซ้ายขวาเป็นกระบวนม้า ปีก
ซ้ายขวาเป็นไพร่ราบ มีนายขีช่ า้ งนากระบวน ดังตัวอย่างภาพการจัดกระบวนทัพเมือ่ ออกรบ
๖๓

ภำพที่ ๑ การจัดกระบวนทัพเมือ่ ออกรบ


(ทีม่ า : ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และนิยะดา ทาสุคนธ์, ๒๕๔๓)
การตัง้ ทัพ อาจตัง้ เป็ นรูปต่าง ๆ เช่น รูปครุฑนาม นาคนาม ปทุมพยุห และสี
หนาม สาหรับการตัง้ ค่ายแบบครุฑนาม คือ ตัง้ ค่ายบริเวณทีม่ จี อมปลวกและมีต้นไม้ใ หญ่ ๑ ต้น
การตัง้ ค่ายแบบพยัคฆนาม คือ ตัง้ ค่ายบริเวณแนวป่าริมทาง การตัง้ ค่ายแบบสีหนาม คือ ตัง้
ค่ายบริเวณที่มตี ้นไม้ใหญ่ ๓ ต้นเรียงกันขึน้ บนภูเขาหรือจอมปลวก การตัง้ ค่ายแบบสุนัขนาม
คือ ตัง้ ค่ายตามรายทางใกล้บ้านคน การตัง้ ค่ายแบบมุสกิ นาม คือ ตัง้ ค่ายบริเวณทีเ่ ป็ นดินโพรง
การตัง้ ค่ายแบบอัชนาม คือ ตัง้ ค่ายกลางทุ่งหญ้าที่เลี้ยงสัตว์ การตัง้ ค่ายแบบนาคนาม คือ ตัง้
ค่ายใกล้หว้ ย คลอง และการตัง้ ค่ายแบบคชนาม คือตัง้ ค่ายบริเวณทีม่ หี ญ้า ปา่ ไผ่หรือปา่ หนาม
ส่วนการจัดกระบวนทัพเพื่อการตัง้ รับและเข้าตีขณะประจันหน้ากัน เช่น จัดรูป
ทัพรูปสีหนามพยูห์ เป็ นการตัง้ รับรูปสิงห์ในอิรยิ าบถก้าวเดิน ใช้สาหรับการตัง้ ทัพในพื้นทีอ่ นั มี
ชัยภูมปิ ระกอบด้วยป่าชายเขาดงใหญ่ โดยกาหนดให้ทพั หน้ าอยู่ท่คี อสิงห์ ทัพหลวงอยู่ท่ที ้อง
สิงห์ ทัพหลังอยู่ทห่ี างสิงห์ และมีกองแซงล้อมรอบอยู่ ๔ ทิศ จัดทัพรูปปทุมพยูห์ เป็ นการตัง้ ทัพ
รูปดอกบัว ได้ทงั ้ ตัง้ ทัพและเดินทัพ ในพื้นที่อนั มีชยั ภูมอิ นั เป็ นที่ราบกลางทุ่งโล่ง และถ้าจัดทัพ
ตัง้ รับรูปปมธุกพยูห์มรี ูปดังรวงผึ
่ ้งย้อย ให้จดั พลรบเข้าตีด้วย ธนุ กะพยูห์มรี ปู ดังคั ่ นธนู เป็ นต้น
(สืบค้นจาก http://talk.mthai.com/topic/341802)
๖๔

ภำพที่ ๒ การตัง้ ทัพแบบปทุมพยุหะและปมธุกพยูหะ


(ทีม่ า : ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และนิยะดา ทาสุคนธ์, ๒๕๔๓)
กฤตวิทย์ ดวงสร้อยทอง (๒๕๒๔ : ๑๓๕-๒๕๓) กล่าวถึงการจัดขบวนเรือว่า
วางเป็ นสีส่ าย สายกลางเป็ นริว้ เรือพระทีน่ งั ่ สายนอกซ้ายขวาเป็ นริว้ เรือกัน นอกจากนี้ กระบวน
พยุห ยาตรานัน้ แบ่งเป็ น ๕ ตอน ตอนหน้ าเรียกว่า กระบวนนอกหน้ า ได้แก่ ทหารกองนอก
ประกอบด้วยเรือพิฆาตสามคู่ เรือแซงห้าคู่ มีรปู ร่างคล้ายเรือชับโกลน หัวท้ายเขียนลายน้ ายา
เรือชัยสิบคู่ เรือรูปสัตว์สองคู่ ได้แก่ เรือราชสีห์น้อย และเรือราชสีห์ใหญ่ มีเรือม้า ใหญ่และเรือ
เลียงผาเป็ นเรือประตู ถัดเข้าไปเรียกว่ากระบวนในหน้ า ได้แก่ กองทหารรักษาพระองค์ เรือ
กระบวนนี้ประกอบด้วยเรือรูปสัตว์ ๑๒ คู่ ได้แก่ เรือรูปลิง เรือนกอินทรี เรือหัสดิน เรือนกเทศ
เรือนกหงอนตัง้ เรือสิงโต เรือกิเลน เรือสิงห์ เรือนาค เรือนาคสามเศียร เรือเหรา และเรือครุฑ มี
เรือชัยรัตนพิมานพื้นดา และเรือชัยบวรสวัสดิ ์พื้นดาเป็ นเรือประตู ตอนกลางเป็ นกระบวนเรือ
พระราชยาน ในทีน่ ้ีสมเด็จพระนเรศวรทรงเรือสมรรถชัยเป็ นเรือพระทีน่ ัง่ ส่วนสมเด็จพระเอกา
ทศรถทรงเรือไกรสรมุขเป็ นเรือพระทีน่ งั ่ ถัดมาเป็ นกระบวนหลังชัน้ ใน เรีย กว่าเป็ นกระบวนของ
กองรักษาพระองค์ ถัดมาเป็ นเรือกองหลังชัน้ นอก เรียกว่ากระบวนนอกหลัง ได้แก่ ทหารกอง
นอก ระหว่างกระบวนเรือทัง้ ห้ากระบวนนี้จะมีเรือประตูคนอยู ั ่ ่ทุกตอน เมื่อกองทัพเดินทางใน
ระยะเวลานาน ต้องมีการปลงทัพเพื่อให้กาลังพลได้พกั ผ่อน แต่ต้องจัดรูปทัพให้อยู่ ในระเบียบ
ต่อมาเมื่อมีการตัง้ ทัพที่เป็ นหลักแหล่งจะต้องทาตามตารา คือ พิจารณาถึงภูมปิ ระเทศบริเวณ
ทีต่ งั ้ ทัพว่าจะตัง้ ทัพอย่างไร เพื่อให้มชี ยั เหนือข้าศึกได้ แม้มกี าลังพลน้อยกว่าก็ตาม
ในการทาศึก สงคราม เมื่อ ตัง้ ทัพ แล้ว แม่ท ัพ มักให้ท หารลอบไปสืบ ข่ าวของ
ข้าศึกเพื่อใช้วางแผนในการรบ เช่น ในตอนทีพ่ ระมหาอุปราชาทรงตัง้ ทัพอยู่ ณ ตาบลพังตรุ ได้
๖๕

ทรงตัง้ กองหน้าลาดตระเวนเพื่อคอยสืบข่าวทัพของสมเด็จพระนเรศวร ดังนัน้ เมื่อสมเด็จพระ


นเรศวรมหาราชทรงยกทัพมาถึงตาบลหนองสาหร่าย กองม้าลาดตระเวนจึงนาข่าวไปบังคมทูล
แก่พระมหาอุปราชา เพื่อให้ทรงทราบจะได้ทรงมีพระราชดาริหาทางโต้ตอบต่อไป นอกจากนี้
ต้องคานึงถึงการวางกลศึก การกาหนดอัยการศึก และการเลือกอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ด้วย
๒) ควำมรู้ด้ำนประเพณี พิ ธีกรรม ดังปรากฏในเรื่องโคลงดัน้ เฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทีเ่ ราจะรับรูพ้ ระราชพิธสี าคัญประจาปีจากเรื่อง เช่น เดือนอ้าย
มีพธิ ตี รียมั ปวาย เดือนยีม่ ปี ระเพณีชกั ว่าว ดังนี้
ทวาทศมาสตัง้ ตามพิ ธีแฮ
สาหรับราชธรณินทร์ เนื่องไท้
พร้อมพฤฒิประสิทธิ ไสยเพท
เจริญสุขสวัสดิ ์ให้ เหตุเห็น
(โคลงดัน้ เฉลิมพระเกียรติ ฯ)
เดือนอ้ายหลายหล่างพร้อม พฤฒิชาติ
ทาพิธตี รียาปวาย หย่อนช้า
พร้อมเสร็จพระไสยาสน์ ทรงแต่ ไว้แฮ
สาหรับนครหล้า แหล่งสมฯ
(โคลงดัน้ เฉลิมพระเกียรติ ฯ)
เดือนยีต่ าแหน่งนัน้ วิธแี ผลง
ชักว่าวหง่าวลอยลม เลิกขึน้
วิฆเนศอิศรแสดง วิษณุเดช
หวังเพื่อพายุฟ้ืน พัดงามฯ
(โคลงดัน้ เฉลิมพระเกียรติ ฯ)
เรือ่ งลิลติ ตะเลงพ่ายแสดงพิธกี รรมทางไสยศาสตร์ เช่น พิธโี ขลนทวาร พิธตี ดั ไม้
ข่มนาม และพิธลี ะว้าเซ่นไก่ เพื่อสร้างขวัญกาลังใจแก่ทหาร สาหรับพิธโี ขลนทวารทาเป็ นประตู
ปา่ ซุม้ ประตูประดับด้วยกิง่ ไม้สด ๆ ให้ทหารในกองทัพลอด มีพราหมณ์ค่หู นึ่งนัง่ บนร้านสูงสอง
ข้างประตู ทาพิธ ีสวดพระเวท และประพรมน้ ามนต์เพื่อ เป็ นสิรมิ งคลแก่ กองทัพ เมื่อเสร็จศึก
สงครามแล้ว ต้องผ่านโขลนทวารอีกเพื่อป้องกันเสนียดจัญไร ดังที่ว่า “พลันขยายพยุหบาตรา
คลาเข้าโขลนทวาเรศ สงฆ์สวดชเยศพุทธมนต์ ปรายประชลเฉลิมทัพ ตามตาหรับราชรณยุทธ์”
(หน้า ๖๘) ส่วนพิธตี ดั ไม้ข่มนามผู้ทาพิธจี ะตัง้ โรงพิธขี น้ึ เอาดินจากใต้สะพาน ดินท่าน้ า ดินใน
ป่ า ช้ า อย่ า งละ ๓ แห่ ง มาผสมป นั ้ เป็ น รู ป ข้ า ศึ ก แล้ ว เขีย นชื่อ แม่ ท ัพ ข้ า ศึ ก ลงยัน ต์ พุ ท ธ
จักร บรรลัยจักร ทับลงบนชื่อนัน้ แต่งตัวให้หุ่นดังกล่าวเป็ นตามเพศภาษาข้าศึก เอาต้นกล้วย
๖๖

และไม้มชี ่อื ร่วมตัวอักษรเดียวกับชื่อของข้าศึกผู้เป็ นแม่ทพั มาปลุกเสกในโรงพิธแี ล้วเอาหุ่นผูก


ติดกับต้นกล้วย เอาไม้นัน้ ประกบกันเข้า หลังจากนัน้ พราหมณ์ อ่านพระเวท เมื่อได้ฤกษ์แล้ว
พระมหากษั ต ริย์จ ะมีพ ระบรมราชโองการให้ ขุ น พลทหารคนใดคนหนึ่ ง ท าพิ ธ ีแ ทน โดย
พระราชทานพระธามรงค์เนาวรัตน์ และพระแสงดาบอาญาสิทธิ ์แล้วให้ขุนพลใช้ดาบอาญาสิทธิ ์
ฟนั ไม้นนั ้ ให้ขาดใน ๓ ที แล้วกลับเข้าไปบังคมทูลว่าได้ปราบข้าศึกมีชยั ชนะตามพระราชโองการ
แล้ว พร้อมถวายพระแสงดาบอาญาสิทธิ ์และพระธามรงค์คนื ในเรื่องลิลติ ตะเลงพ่ายผู้ท่ไี ด้รบั
พระราชทานดาบจากสมเด็จพระนเรศวรให้ทาพิธตี ดั ไม้ข่มนาม คือ หลวงมหาวิชยั ดังนี้ “พลางธ
ส่ งแสงอาชญา แด่ห ลวงมหาวิชยั ใจทระนงองอาจ ยาตรตัด ไม้ข่มนาม ตามต ารั บไสยเพท”
ในขณทีพ่ ธิ ลี ะว้าเซ่นไก่ เป็ นพิธบี วงสรวงเจ้าป่าเจ้าเขา ผีสางเทวดา เพื่อเป็นสิรมิ งคลแก่กองทัพ
โดยผูท้ าพิธจี ะตัง้ เครือ่ งสังเวยบวงสรวงขอให้การออกรบทาศึกสาเร็จสมปรารถนา แล้วเสีย่ งทาย
โดยถอดกระดูกไก่เครื่องเซ่นตัวหนึ่งมาดูถ้ากระดูกยาวมีขอ้ ถี่ ถือว่าเป็ นนิมติ ดี ดังนี้ “ปวงละว้า
เซ่นไก่ ไขว่สรวงพลีผสี าง” (หน้า ๖๘)
๓) ควำมรู้ด้ำนโชคลำง และฤกษ์ ยำมต่ ำง ๆ ดังปรากฏในเรื่องลิลติ ละเลง
พ่ ายตอนที่ส มเด็จพระนเรศวรทรงพระสุ บินว่ามีส ายน้ าไหลนองท่ว มบ่ ามาแต่ ทิศ ตะวันตก
สมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จลงลุยสายน้ าอันเชี่ยวกรากนัน้ พลันได้พบกับจระเข้ตวั ใหญ่โผเข้า
ทาร้ายพระองค์ พระองค์จงึ ทรงประหารจระเข้ทนั ที ซึ่งจระเข้ในที่น้ี เป็ นสัญ ลักษณ์ ของฝ่าย
ข้าศึกทีจ่ ะพ่ายแพ้ในทีส่ ุด ความฝนั เช่นนี้เป็ นลางบอกเหตุในการชนะศึก ตอนหนึ่งกล่าวว่าเมื่อ
ใกล้ฤกษ์ยกทัพ สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จไปยังเกยทรงช้างพระทีน่ งั ่
ตามพิชยั ฤกษ์ พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีรกิ ธาตุ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง ส่อง
แสงเรืองอร่าม ลอยมาในท้องฟ้าทางทิศใต้ แล้วลอยวนรอบกองทัพไทย เป็ นทักษิณาวัตร ๓
รอบ จากนัน้ จึงลอยขึน้ ไปทางทิศ เหนือ สมเด็จพระนเรศวร และพระอนุ ชาทรงปี ตยิ นิ ดีต้นื ตัน
พระราชหฤทัยยิง่ นัก ทรงนมัสการและอธิษ ฐานให้พ ระบรมสารีรกิ ธาตุ นัน้ ปกป้อ งคุ้มครอง
กองทัพไทย ให้พน้ อันตราย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
สองขัตติยายุรยาตร ยังเกยราชหอทัพ ขุนขับทัพได้ ทวยหาญเพียบแผ่นภู ดูมหิมา
ดาด สระพราศพร้อมโดยขวาน องค์อดิศวรสองกษัตริย์ นฤขัตรพิชยั บัดเดีย๋ วไททฤษฎี
พระศรีสารีรกิ บรมธาตุ ไขโอภาสโศภิต ช่วงชวลิตพ่างผล ส้มเกลีย้ งกลกุ ฟ่องฟ้าฝา่ ย
ทักษิณ ผินแวดวงตรงทัพ นับคารบสามคน เป็ นทักษิณาวรรตเวียน ว่ายฉวัดเฉวียน
อัมพร ผ่าอุดรโดยด้าว พลางบพิตรโทท้าว ท่านตัง้ สดุด ี (ลิลติ ตะเลงพ่าย)

อีกตอนหนึ่งกล่าวว่ามีเมฆตัง้ เค้ามาจากทิศพายัพ ในขณะที่ทพั ไทยกาลังชุม


พลอยู่ มีลมพัดเมฆกระจายไปจนเห็นท้องฟ้าโปร่งใส เป็นเครือ่ งหมายว่าจะโชคดีในการทาศึก
๖๗

เกิดเป็นหมอกมืดห้อง เวหา หนเฮย


ลมชื่อเวรัมภา พัดคลุม้
หวนหอบหักฉัตรา คชขาด ลงแฮ
แลธุลกี ลัดกลุม้ เกลื่อนเพีย้ งจักรผัน
(ลิลติ ตะเลงพ่าย)
๔) ควำมรู้ด้ำนชื่อสถำนที่ ชื่อบ้ำนนำมเมือง และสัตว์พำหนะ ดังเรื่องลิลติ
ตะเลงพ่ ายที่ให้ความรูเ้ รื่องชื่อบ้านนามเมืองและสถานที่ท่สี มเด็จพระมหาอุปราชายกทัพไป
และที่สมเด็จพระนเรศวรทรงตัง้ ค่าย เช่น กล่าวถึงกองทัพของพระมหาอุปราชากับเจ้านคร
ั ่ น้ าสะโตง
เชียงใหม่ว่าเดินทางออกจากกรุงหงสาวดี และได้หยุดพักไพร่พลอยูท่ บ่ี ริเวณริม ฝงแม่
และรอนแรมผ่านเมืองเมาะตะมะข้ามฟากแม่น้ า จนกระทังถึ ่ งเมาะลาเลิง และเมืองสถิ เข้าเขต
แดนไทยทางด่านเจดียส์ ามองค์ เดินทางต่อถึงตาบลสังคร่า และตาบลสามสบ ตัง้ ค่ายทีต่ าบล
ไทรโยค โดยมีแผนการทีจ่ ะเข้าตีเมืองกาญจนบุร ี ต่อมาได้เคลื่อนทัพออกจากตาบลไทรโยคไป
ยังลากระเพิน ประทับแรมหนึ่งคืนที่กาญจนบุร ี เช้ารุ่งขึน้ ก็เดินทางไปถึงตาบลพนมทวน เมื่อ
ถึงเดินทางถึงตาบลตะพังตรุกท็ รงให้ไพร่พลหยุดพักตัง้ ค่าย ต่อมาเดินทางออกจากค่ายทีต่ ะพัง
ตรุมาถึงทีโ่ คกเผาข้าวและได้ปะทะกับทหาร ในขณะทีส่ มเด็จพระนเรศวรเคลื่อนพลยกทัพจาก
อยุธ ยาตอนเช้า ทรงไปยังต าบลปากโมกและทรงตัง้ ค่ ายที่ห นองสาหร่าย นอกจากนี้ย งั ให้
ความรูเ้ รื่องช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรว่าชื่อ ช้างไชยานุ ภาพ ส่วนช้างปราบไตรจักรเป็ น
ช้างทรงของพระเอกาทศรถ ส่วนช้างพาหนะที่ใช้ในการทาศึกสงครามของฝ่ายพระมหาอุป
ราชา เช่น ช้างไอยราม ช้างชัยมงคล ช้างสมิงนนทสุรยิ ะ ช้างพลายสุระ ช้างพลายอนันตโยธา
ช้างพลายอายมนทยา ช้างสิงหนารายณ์ ช้างนันทสุระ ช้างสีหนาเคนทร์ช้างนาคพินาย ช้าง
พิจติ รหัสดิน ช้างหัสดาภรณ์ ช้างมาตางค์กุณฑล ช้างพลายมงคลชาตรี และช้างแขแมหัสดิน
๓.๒.๒.๗ ให้ ควำมรู้ด้ำนต่ ำง ๆ ของชำวต่ ำงชำติ ส่วนใหญ่ ผู้แต่งมักให้ความรูด้ ้าน
สภาพสังคม ประเพณีและวัฒนธรรม ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาฉบับต่าง ๆ พระราชนิพนธ์
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั เช่น พระราชหัตถเลขาคราวเสด็จประพาสชวาครัง้
ที่ ๓ ทรงให้ความรูเ้ กี่ยวกับประเพณี วัฒนธรรมและสถาปตั ยกรรมของชาวชวาอย่างละเอียด
นับแต่ทเ่ี มืองบุยเตนซอค ทรงให้ความรูเ้ กี่ยวกับสวนหลวง และโรงงานทาหมวกสานทีเ่ ตงการัง
เมื่อ ถึงเมือ งบันดอง ทรงให้ค วามรู้เกี่ยวกับ โรงงานท ายาควินิ น เมื่อ ถึงเมือ งบันดอง ทรงให้
ความรูเ้ กี่ยวกับพิธเี กีย่ วข้าวทีต่ าบลปาดาราลัง ถึงเมืองโซโล ทรงให้ความรูเ้ กี่ยวกับนางรามดูโย
ถึงเมืองสุราบายา ทรงให้ความรูเ้ กีย่ วกับหอสูง ถึงเมืองยกยา ทรงให้ความรูเ้ กีย่ วกับระบาสะเรม
ปี เทวสถานปรัมบานัน วัดจันดิเสวู เครื่องอาวุธของสุลต่า น โรงละคร วัดเมนดุด และโรงทหาร
เมือ่ เสด็จกลับถึงเมืองบเตเวีย ทรงให้ความรูเ้ กีย่ วกับโรงงานทาฝิ่นของรัฐบาล
๖๘

เรื่องนิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย บันทึกสังคมและวัฒนธรรมของลอนดอนอย่าง


ละเอียด เช่น โรงพยาบาล โรงทาเหรียญกษาปณ์ การละเล่นต่าง ๆ การซ้อมทหาร การอาวาหะ
ทีค่ ุมขังคนบ้า และบริตชิ มิวเซียม สภาพบ้านเมืองของฝรังเศส
่ เมืองมักหะ เมืองคาลี และเมือง
สิงคโปร์ ดังตัวอย่างการให้ความรูเ้ กีย่ วกับสภาพบ้านเมืองของชาวลอนดอน
ในธานีมถี นนหลายร้อยแห่ง คนจัดแจงกวาดเลีย่ นเตียนหนักหนา
ทีก่ ว้างนัน้ ประมาณสักแปดวา บ้างแคบกว่านี้ไปก็หลายทาง
เอาศิลามาทาเหมือนแผ่นอิฐ แล้วปูชดิ พลิกแพลงตะแคงขวาง
สาหรับม้ารถไปเอาไว้กลาง ริมสองข้างก่อยกขึน้ หกนิ้ว
ปูศลิ าหน้าใหญ่สกั ศอกเศษ ทางประเวศราษฎรคอนหาบหิว้
กว้างประมาณห้าศอกออกตลิว แลเปนทิวขวักไขว่คนไปมา
ถนนรายมีนายอาเภออยู่ ทุกแห่งดูเหตุภยั ได้รกั ษา
ระวังเวียนเปลีย่ นผลัดกันอัตรา ทัง้ ทิวาราตรีมเี ปนนิตย์
ใส่เสาเหล็กสองข้างทางถนน งามชอบกลไว้วางช่างประดิษฐ
บนปลายเสาโคมสว่างทุกทางทิศ แลวิจติ รเยือ้ งกันเปนฟนั ปลา
มิได้ปกั ปนคู่ดจู งั หวะ ไว้ระยะนัน้ ก็ไม่ไกลหนักหนา
ในระหว่างห่างราวสักสิบวา ให้แสงมาส่องต่อกันพอดี
ไฟทีต่ ามนามอังกฤษร้องเรียกแค๊ศ ดูแจ่มแจ๊ดแจ้งกระจ่างสว่างศรี
ประหลาดจิตต์คดิ ทาล้าอัคคี ไม่ตอ้ งมีดา้ ยใส่ไส้น้ามัน
เปนแต่หลอดขึน้ ไปไฟก็ตดิ แปลกชนิดธรรมดาวิชาขยัน
เมือ่ จะให้ไฟดับจับสาคัญ ทีค่ วงขันบิดขวับพออับลม
เปลวอัคคีสแี สงทีแ่ ดงช่วง ก็ดบั ดวงดังจานงประสงค์สม
อันไฟแค๊ศเมืองอังกฤษติดอุดม ทุกนิคมใช้การในบ้านเรือน
แต่บรรดาตึกรามดูงามงด ทัวทั่ ง้ หมดเมืองไหนจะได้เหมือน
หนทางตรงลิว่ แลไม่แชเชือน ทีเ่ ปรอะเปื้อนสกปรกรกไม่ม ี
บางตึกก่อด้วยศิลาดูหนาแน่น ตามเขตรแคว้นสองข้างทางวิถี
บางตึกก่อด้วยอิฐประดิษฐดี ทาท่วงทีลดหลันกั ่ นขึน้ ไป
บ้างสามสีห่ า้ ชัน้ รันถึงหก หลังคาตกแบนแต้แปล้ไถล
บานหน้าต่างนอกแก้วดูแววไว บานไม้ในเปนสองชัน้ กันศัตรู
มีมา่ นแพรแลวิไลบ้างใช้ผา้ ให้บงั ตาข้อราคาญการอดสู
กระดาษลายปิดฝาก็น่าดู พืน้ นัน้ ปูเจียมพรมอุดมดี
จะหาเสื่อเหลือยากไม่หยากได้ ช่างกไรเย่าเรือนเหมือนเศรษฐี
ริมฝาใส่เตารุมสุมอัคคี พอไอมีรอ้ นกรุน่ อุ่นสบาย
๖๙

แล้วเปิดปล่องช่องไฟไปตลอด ให้ควันลอดขึน้ หลังคาเวหาหาย


คนทีใ่ นเมืองมิง่ ทัง้ หญิงชาย ต่อมากมายด้วยสมบัตวิ ฒ ั นา
จึงได้มเี รือนบ้านสถานถิน่ ด้วยทีด่ นิ ติดแรงแพงหนักหนา
ทัง้ ค่าจ้างช่างทาเกินตารา มีเงินตราพันหนึ่งจึงจะพอ
ถ้าเงินทองเพียงสองสามร้อยชัง่ อย่าคิดหวังว่าจะสร้างซึง่ ห้างหอ
ต้องเช่าตึกเขาอาศรัยคับใจฅอ ยังงอนหง่อเงียบชื่อไม่ฤๅนาม
ถ้าแม้มยี ส่ี บิ สามสิบชัง่ เหมือนเซซังขัดสนคนไม่ขาม
บางทีเข้ารับใช้ดงั ชายทราม ทาการตามนายสังทุ ่ กอย่างไป
อันเสือ้ ผ้าสารพัดจะขัดข้อง อิกทัง้ ห้องไสยาทีอ่ าศรัย
จะกินอยูด่ ทู ุเรศสังเวชใจ นายเขาให้พอเพียงเลีย้ งชีวติ
จะออกหากินบ้างอยูต่ ่างหาก ความลาบากเหลือล้นต้องจนจิตต์
ด้วยเข้าของแพงมากยากจะคิด ทุนน้อยนิดนึกเห็นไม่เปนการ
ตามแถวตึกชัน้ ล่างข้างถนน ในตาบลบุรนิ ทร์ทุกถิน่ ฐาน
เขาขายของต่างต่างเปนห้างร้าน ช่างคิดอ่านหากาไรได้สบาย
มีเครือ่ งเงินทองแก้วแววกระจ่าง เครือ่ งเหล็กวางเครือ่ งทองแดงจัดแจงขาย
เครือ่ งทองเหลืองแลเครือ่ งศิลาลาย บ้างยักย้ายเปนเครือ่ งกระเบือ้ งชาม
อันเครือ่ งไม้ทาดีเก้าอีน้ งั ่ อิกโต๊ะตัง้ เตียงตูด้ อู อกหลาม
ทัง้ แพรผ้ากามะหยีส่ งี ามงาม สิง่ อื่นอื่นดื่นตามจะจานง
(นิราศลอนดอน)
เรื่องนิราศนครวัด สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุ ภาพทรงให้ความรู้ เกี่ยวกับประวัติ
ความเป็ น มาของปราสาทนครวัด และปราสาทหิน อื่น ๆ ของเขมรอย่ า งละเอีย ด โดยมี
ศาสตราจารย์ย อชเซเดส์ผู้เชี่ย วชาญประวัติศ าสตร์ แ ละโบราณคดีร่ว มให้ค วามรู้ด้ว ย ดัง ที่
สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุ ภาพทรงกล่าวถึงความงดงามและความยิง่ ใหญ่ของปราสาทหิน
นครวัดว่ามีความยิง่ ใหญ่ สง่างามกว่าที่คดิ ไว้ ตัง้ แต่ เชิงสะพานหิน ปรางค์ประตูและระเบียง
ชัน้ นอก ตลอดจนตัวปราสาทในนิราศนครวัด ดังนี้
จะกล่าวแต่ว่าเมื่อเห็นตัวนครวัดเข้าจริง รูส้ กึ ว่าผิดกับที่คาดหมายไว้แต่ก่อนอย่างไร
คือว่าใหญ่โตกว่าที่คาดหมายนัน้ อย่าง ๑ ดูงามสง่ากว่าที่คาดหมายด้วยอีกอย่าง ๑ น่ า
ชมช่างผู้คดิ แบบอย่างวางแผนที่นครวัด ว่าเป็ นช่างฉลาดทาให้จบั ใจคนดู เริม่ ต้นแต่
เมือ่ ถึงเชิงสะพานหินก่อนทีจ่ ะข้ามคูไปเข้าในบริเวณทางด้านตะวันตก แลดูปรางค์ประตู
และพระระเบียงชัน้ นอก มีปราสาทใหญ่ ๙ ยอดสูงตระหง่านอยู่ขา้ งในก็งามจับใจเสีย
ชัน้ หนึ่ง เมื่อข้ามสะพานผ่านประตูเข้าไปถึงลานในบริเวณ เปลี่ยนรูปเห็นปราสาทอยู่
กลางบริเวณ มีพระระเบียงล้อมเป็ นชัน้ ๆ ขึน้ ไปสมทรวดทรง ก็งามจับใจอีกชัน้ หนึ่ง
๗๐

ครัน้ เข้าถึงปราสาท ตัง้ แต่ข้นึ บันไดพลับพลาพระระเบียงชัน้ นอกขึน้ ไปก็ได้เห็นฝี มอื


การจาหลักลายต่าง ๆ น่าพิศวง ขึน้ ไปจนถึงองค์ปรางใหญ่ ดูได้เพลิดเพลินไปทุกชัน้
(นิราศนครวัด)

๓.๒.๓ ส่วนลงท้ำยเรื่อง
ส่ วนลงท้ายเรื่อ งเป็ น ส่ วนที่ผู้แต่ งใช้ส รุป เรื่อ ง หรือ กล่ าวถึงองค์ป ระกอบอื่น ๆ ที่อ ยู่
นอกเหนื อ จากสาระส าคัญ ของเรื่อ งซึ่ง เป็ น เนื้ อ หาหลัก จากการศึก ษาวรรณคดี เกี่ย วกับ
ประวัตศิ าสตร์พบว่าส่วนลงท้ายเรือ่ งมีความหลากหลายน่ าสนใจ ได้แก่ บอกวัตถุประสงค์ในการ
แต่ ง บอกความปรารถนาของผู้ แ ต่ ง บอกที่ม า และวัน เวลาที่แ ต่ ง และบอกทัง้ ชื่อ ผู้ แ ต่ ง
วัตถุประสงค์ในการแต่ง และความปรารถนาของผูแ้ ต่ง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๓.๒.๓.๑ คำลงท้ ำยซึ่ งบอกวัตถุประสงค์ในกำรแต่ ง ดังปรากฏในเรื่องโคลงยอพระ
เกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร ขี องนายสวน มหาดเล็กระบุจุดมุ่งหมายในการแต่งไว้ว่าเพื่อสนองคุณ
พระมหากษัตริย์ และเพื่อให้กุลบุตรทราบถึงพระเกียรติคุณของพระเจ้ากรุงธนบุร ี ดังความว่า
คิดด้วยสุจริตด้วย กตัญญู
คุณพระปกกระหม่อมชู ชื่นซร้อง
หาสิง่ จะสนองภู ธรสุด สนองนา
จึง่ แต่งตามขบวนต้อง เรือ่ งไว้เป็นเฉลิมฯ
หวังให้กุลบุตรเบือ้ ง อนาคต
ให้ปรากฏเกียรติยศ ปิ่นเกล้า
ไปย่ ลแต่สดับพจน์ ราวเรือ่ ง สนองนา
ก็จะสาธุการเช้า ค่าชีช้ มผลฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี
๓.๒.๓.๒ คำลงท้ ำยซึ่ งบอกควำมปรำรถนำของผู้แต่ ง ดังโคลงเฉลิมพระเกียรติพระ
นารายณ์ ผูแ้ ต่งขอพรเทพเจ้าให้ช่วยคุม้ ครองพระนารายณ์ ดังนี้
ขอพรเพญโพธไท้ วนิดา
ภควดีคงคา กล่าวกล้อย
ขอจงนฤเบนทรา- ธิปราช
สุขสมบูรณ์ทา้ วร้อย กราบเกล้าอภิวนั ท์ ฯ
(วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม๒)
๗๑

๓.๒.๓.๓ คำลงท้ ำยซึ่ งบอกที่ มำ และวันเวลำที่ แต่ ง ดังปรากฏในเรื่องลิลติ ดัน้ สดุดี


บ้านบางระจัน ที่บอกในตอนท้ายว่าดาเนินเรื่องตามหนังสือ “ไทยรบพม่า” ของสมเด็จกรมพระ
ยาดารงราชานุภาพ แต่งในวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๕ ดังนี้
บางระจันเรือ่ งนี้ นาเสนอ
จากเรือ่ งรบพม่าของ พระเจ้า
บรมวงศ์เธอ กรมพระ ดารง ฯ นา
ผูกลิลติ เค้าดัน้ ประดับกรรณ
ณ วันทีส่ บิ เก้า กุมภา พันธ์พ่อ
พุทธศกสองพัน สีร่ อ้ ย
เศษหกสิบห้าวา ระศ ศินา
จบเสร็จถีถ่ ว้ นถ้อย ทีแ่ ถลง
(ลิลติ ดัน้ สดุดบี า้ นบางระจัน)
๓.๒.๓.๔ ค ำลงท้ ำ ยซึ่ ง บอกทัง้ ชื่ อ ผู้แ ต่ ง วัต ถุป ระสงค์ ในกำรแต่ ง และควำม
ปรำรถนำของผูแ้ ต่ ง ดังปรากฏในเรือ่ งโคลงปราบดาภิเษกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ
พุ ทธเลิ ศ หล้ า นภาลั ย กล่ า วว่ า ผู้ แ ต่ ง คื อ พ ระเจ้ า ลู ก เธอ กรมหมื่ น เจษ ฎาบดิ น ท ร์
(พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยู่หวั ) มีวตั ถุประสงค์เพื่อสนองพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ
หล้านภาลัยเมื่อครัง้ ที่ปราบดาภิเษกเป็ นพระมหากษัตริย์ ต่ อมาก็กล่าวสรรเสริญ พระเกียรติ
รัชกาลที่ ๒ ขอให้สงิ่ ศักดิ ์สิทธิ ์คุม้ ครองพระองค์ รวมถึงนางสนมกานัล ประชาชน และขอให้ช่วย
ปกป้องคุม้ ครองบ้านเมือง ให้ปราศจากทุกข์ภยั ทัง้ มวล ตอนท้ายระบุช่อื ผูแ้ ต่งอีกครัง้ ดังนี้
ปราบดาภิเษกเจ้า ธรณินทร์
กรมเจษฎาบดินทร์ กล่าวอ้าง
ปราชญ์ใดได้สดับยิน ติช่วย เติมแฮ
เฉลิมพระเกียรติเจ้าช้าง เผือกผู้ พึงฟงั ฯ
คารมโคลงสุภาพข้า บาทละออง
ถวายธิเบนทราสนอง เดชเจ้า
ต่างสังคีตพิณทอง กล่อมราช ไซ้นา
ตราบสุเมรุเป็ นเถ้า ขนบนี้อย่าศูนย์
จบบริบูรณสิ้น เสร็จ เสด็จพยุห ยาตรา เลียบพาราโปรยทาน ครองบริพ าร
เกษมสุข สนุ กทัวแดนด้
่ าว ทัวทุ
่ กท้าวประเทศราช โอภาสเพียงทินกร พระนครทวา
ราวดี ศรีอยุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานี บุรรี มย์อุดมราชสถาน ปานสุทรรศน
เทพสถิต โศภิตพ้นทีร่ ่า ตูขา้ พร่าสรรเสริญ เชิญอมรแมนมาป้อง สิง่ ทีข่ อ้ งอย่าให้เคือง
๗๒

ให้มงิ่ เมืองมงกุฎเกล้า ขอพรเจ้าจอมไกลาส ให้พระบาทราชบพิตร ประกาษิต สาป


สรรพสัตว จงชางัดอย่ารูม้ ะลาย ขอพรนารายณ์สนิ ธุอาสน์ ให้ฤทธิราชเทียมเธอ เลอ
ล้ากษัต ริย์ทดั ประเทศ ขอพรกมเลสให้อ ยู่ห ัว มัวในธรรมอันเป็ นประโยชน์ บาบัด
โทษนรราษฎร์ ขอพรเมรุมาศบรรพต ให้ได้คชเผือกเพิม่ เหิม หฤทัยในสมบัติ ขอพร
วรรษวฬาหก ให้วรุฬตกต้องระดูกาล ธัญญาหารจงมองมูล บริบูรณทุกหมู่ไม้ ขอพร
ไท้มารุต ท่าน ให้ผ่ านพัดใบเภตรา แต่ งไปมาสะดวกดี ขอพรลัก ษมีแ ม่ห วั เจ้า เฝ้ า
อภิบาลสนมแน่ ง ทุกตาแหน่ งแต่งนางใน อย่าให้ใจเผื่อพาล เบิกบานกมลกลเกษม
เปรมในราชบารุง ผดุงไท้ให้ศุขสวัสดิ ขอพรจัตุโลกบาล จงแผ้วพาลอันตราย ทัง้ หญิง
ชายชนประชา ทัวสิ ่ มามณฑล ทัวสากลเมื
่ องขึน้ ออก คอกช้างม้าวัวควาย ตายผีห่า
อย่ารูม้ ี สิง่ ใดดีจงเกิดกอบ สิง่ ใดชอบจงมูลมัง่ ล้นหลังถั
่ งมาเอง
่ เพื่อบุญเพรงพระเจ้า
หล้า ข้าประนตบทบัวบาท บงกชมาศผ่านเผ้า ขอพระเจ้ากรุงกษัตริย์ ตัดโทษทุกข์ขุก
เข็ญ เย็นเกศข้าหน้าเบินบาน จงชานาญในกิจราช ขาดใจรักภักดี อย่ารูม้ คี ุ้งชีพวาย
เอาตัวตายต่างเจ้าได้ ให้ฦๅชื่อต่ออยู่หวั ขอมอบตัวเป็ นข้าบาท ตราบศูนย์ชาติอย่า
เกิดไกล โดยใจจงคงค าข้า พระเจ้าหล้าเลิศ เลื่อ งบุ ญ ทรงพระคุ ณ เหลือ ที่อ้าง ศรี
อยุธยาเจ้าช้าง เผือกผูพ้ นู เกษม ฯ
ปราบดาภิเษกสิน้ เรือ่ งเรียง
ขนบพยุหเลียบเวียง ขบถล้าง
จบบริบรู ณเพียง พอสติ ตรองแฮ
กรมเจษฎ์เกลากลอนอ้าง ว่าไว้เป็ นเฉลิม ฯ
จบพระเกียรติยศเจ้า จอมไกร
พัทยากรคลังใน สืบบ้าง
กลสดับกลอนไทย เสนาะถ้อย เพราะเฮย
บารเมศพระเจ้าสร้าง เกือบใกล้จวบถึง
(โคลงปราบดาภิเษกฯ)
เรื่องลิลติ ตะเลงพ่าย ตอนท้ายบอกวัตถุประสงค์ในการแต่งว่าแต่งตามพระราชประสงค์
ในพระบาทสมเด็จ พระนั ง่ เกล้ า เจ้า อยู่ ห ัว ซึ่ง ขณะที่พ ระนิ พ นธ์นั ้น รัช กาลที่ ๓ ทรงก าลัง
ปฏิสงั ขรณ์วดั พระเชตุพน การแต่งครัง้ นี้เพื่อยอพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวร ต่อมาก็บอกชื่อ
ผูแ้ ต่งว่า คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุ ชติ ชิโนรส บอกชื่อผูร้ ่วมนิพนธ์ คือ พระ
เจ้าปิษฐาขัตยิ กุมาร ผูแ้ ต่งขออานิสงส์ในการแต่งให้ไปเกิดเป็ นพระอัครสาวกเบือ้ งขวาผูม้ ปี ญั ญา
ของพระพุทธเจ้า และเข้าถึงพระนิพพาน หากยังเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎอยู่กใ็ ห้เกิดเป็ น
กวีทุกชาติ ตราบจนหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ปิดท้ายด้วยการบอกชื่อเรือ่ ง
๗๓

เสร็จแสดงพระยศเจ้า จอมอยุธ ยาเอย


องค์อดิศรสมมุติ เทพไท้
นเรศวรรัตนมกุฎ เกศกษัตริย์ สยามฤๅ
หวังอยูค่ ่ธู เรศไว้ ฟากฟ้าดินเฉลิม
รังเริม่ รจเรขอ้าง อรรถา แถลงเอย
เสมอทิพย์มาลย์ผกา เก็บร้อย
ฉลองบทรัชนรา ธิปผ่าน ภพฤๅ
โดยบ่เชีย่ วเชลงถ้อย ถ่องแท้แลฉงาย
บรรยายกลกาพย์แสร้ง สมญา ไว้แฮ
สมลักษณ์เล่หเ์ สาวนา เรือ่ งรู้
"ตะเลงพ่าย" เพื่อตะเลงปรา ชัเยศ พระเอย
เสนอฤทธิ ์สองราชสู้ ศึกช้างกลางสมร
อวยพรคณะปราชญ์พร้อม พิจารณ์ เทอญพ่อ
ใดวิรธุ บรรหาร เหตุดว้ ย
จงเฉลิมแหล่งพสุธาร เจริญรอด หึงแฮ
มลายโลกอย่ามลายม้วย อรรถอืน้ อัญขยม
กรมหมื่นนุ ชติ เชือ้ กวีวร
ชิโนรส มิง่ มหิศร เสกให้
ศรีสุคต พจนสุนทร เถลิงลักษณ์ นี้นา
ขัตติยวงศ์ ผจงโอษฐ์ไว้ สืบหล้าอย่าศูนย์
ไพบูลย์โดยบทเบือ้ ง โบราณ รีตฤๅ
รังสฤษฏ์พระหลานตู ต่อบ้าง
กปิษฐาขัตติยกุมาร สมมติ นามนา
หน่อบพิตรเจ้าช้าง เผือกผูส้ ามทรง
บรรจงเสาวเลขแล้ว หลายคุง ขวบฤๅ
ปางปิ่นธเรศอารุง โลกเลีย้ ง
ทานุกเชตุพนผดุง เผดิมตึก เต็มเอย
อาวาสอาจเพ่งเพีย้ ง แผ่นฟ้ามาเสมอ
อาเภอพิรยิ ภาพพ้อง ปรีชา เชีย่ วแฮ
เสาะส่องสุขมุ ปญั ญา กอบกู้
คามภีรพ์ ากย์สุภา ษิตสืบ แสวงนา
สบสิง่ สรรพศัพท์รู้ รวบร้วมรวมเฉลย
๗๔

มละเลยกิจอื่นเอือ้ เอาธูร เดียวพ่อ


สัมฤทธิ ์มโนรถวิบลู บ่รา้ ง
จงเป็ นปจั เยศพูน ศราพก พระเอย
หนปกั ษ์ทกั ษิณสร้าง สฤษฏ์ได้ดงถวิั่ ล
แห่งปิ่นวิสุทธเทพไท้ ทศพล
อันอุบตั อิ นาคตดล อย่าแคล้ว
ปญั ญาธิกญาณยล สีส่ จั แลฤๅ
มล้างเกลศลามกแผ้ว ผ่องเพีย้ งเพ็ญแข
แปรมุขเมือ่ มุง่ ห้อง นฤพาน
พ้นจัตุเภทกันดาร ดัดดัน้
เบญจาพิธมวลมาร มลายล่ง แลเฮย
เสวยวิมตุ ติลาภซัน้ เสร็จซ้องปองประสงค์
ผิววงว่ายวัฏเวิง้ วารี โอฆฤๅ
บลุโลกุตรโมลี เลิศล้น
จงเจนจิตกวี วรวากย์ เฉลียวเอย
ตราบล่วงบ่วงภพพ้น เผด็จเสีย้ นเบียนสมร
จบกลอนเกลาพากย์อา้ ง อภิปราย
เถลิงเกียรติราชบรรยาย ยศไท้
เฉกนพรัตน์ตงั วาย วิจติ รแจก ไว้นา
เสนอหมูเ่ มธาให้ อ่านเอือ้ นเตือนเกษม
จบ เสร็จเสาวพากย์ถอ้ ย วิตถาร แถลงนา
ลิลติ ราชพงศาวดาร แต่ก้ี
ตะเลง เหล่าดัสกรลาญ มลายชีพ ลงฤๅ
พ่าย พระเดชหลีกลี้ ประลาตต้อนแตกสยาม
(ลิลติ ตะเลงพ่าย)

การศึก ษาเนื้ อ หาของวรรณคดีเกี่ยวกับ ประวัติศ าสตร์ท าให้ท ราบเรื่อ งราวที่ผู้เขีย น


ต้องการสื่อสารถึงผู้อ่าน ผ่านโครงสร้าง ๓ ส่วน คือส่วนนาเรื่อง ส่วนสาระสาคัญ ของเรื่อง และ
ส่ว นท้ายเรื่อง ส่ว นนาเน้ นการไหว้ส ิ่งศัก ดิ ์สิทธิ ์ พรรณนาสภาพบ้านเมืองและยอพระเกียรติ
พระมหากษั ต ริย์ ส่ ว นสาระส าคัญ ของเรื่อ งมีท ัง้ การบัน ทึ ก เหตุ ก ารณ์ หรือ เรื่อ งราวทาง
ประวัติศาสตร์ ยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ
ของพระมหากษัตริย์ สดุดวี รี กรรมและพฤติกรรมของบุคคลทัวไป ่ สะท้อนสภาพเศรษฐกิจสังคม
ในยุคสมัยนัน้ ๆ ให้ความรูด้ า้ นต่าง ๆ ในสังคมไทย และให้ความรูด้ า้ นต่าง ๆ ของชาวต่างชาติ
๗๕

๓.๓ ด้ำนศิ ลปะกำรประพันธ์


ศิลปะการประพันธ์ หมายถึง การเรียบเรียงภาษาถ้อยคาและฉั นทลักษณ์ เพื่อให้เกิด
ความไพเราะแตกต่างไปจากถ้อยคาธรรมดา วรรณคดีท่แี สดงศิลปะในการประพันธ์ต้องให้ทงั ้
คุ ณ ค่ าด้านวรรณศิล ป์ แ ละสติป ญ ั ญา โดยศิล ปะการประพัน ธ์ท่ี ป รากฏในวรรณคดีเกี่ยวกับ
ประวัตศิ าสตร์มที งั ้ ศิลปะการประพันธ์ท่เี กิดจากการอรรถาธิบาย ศิลปะการประพันธ์ท่เี กิดจาก
การเล่นเสียงเล่นค า ศิลปะการประพันธ์ท่เี กิดจากการใช้ภาพพจน์ และสัญ ลักษณ์ ศิลปะการ
ประพัน ธ์ท่ีเกิด จากการใช้ค าที่ก่ อ ให้เกิด จิน ตภาพ ศิล ปะการประพัน ธ์ท่ีเกิด จากการใช้ร ส
วรรณคดี และศิลปะการประพันธ์ทเ่ี กิดจากการใช้วาทศิลป์ของตัวละคร ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๓.๓.๑ ศิ ลปะกำรประพันธ์ที่เกิ ดจำกกำรอรรถำธิ บำย (exposition) การอรรถาธิบาย
คือ การอธิบายหรือให้ความกระจ่างในเรือ่ งใดเรื่องหนึ่งอย่างมีศลิ ปะ ช่วยสนับสนุ นให้การโต้แย้ง
มีน้ าหนักและหนักแน่ นขึน้ (ราชบัณฑิตยสถาน,๒๕๓๙: ๑๐๓) ทัง้ มุ่งให้ผอู้ ่านเข้าใจหรือมุง่ เสนอ
เหตุผลมากกว่าเน้นอารมณ์สะเทือนใจหรือเกิดจินตนาการ ช่วยสนับสนุ นให้การโต้แย้งมีน้ าหนัก
และช่วยให้การบรรยายหนักแน่ น กลวิธกี ารอรรถาธิบายที่ปรากฏอย่างเด่นชัดพบในวรรณคดี
เกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ประเภทบันทึก โดยเฉพาะอย่างยิง่ งานพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ซึง่ มีความโดดเด่นด้านกลวิธกี ารอรรถาธิบาย ทีม่ ที งั ้ การบรรยาย การ
เปรียบเทียบ การพรรณนา และการวิจารณ์ในประเด็นต่าง ๆ เช่น ปรากฏในเรื่องไกลบ้าน พระ
ราชหัตถเลขาเรือ่ งต่าง ๆ ดังตัวอย่างพระราชหัตถเลขาคราวประพาสชวาครัง้ หลังต่อไปนี้
กรณี ศึกษำกลวิ ธีกำรอรรถำธิ บำย พระรำชนิ พนธ์เรื่องเสด็จประพำสชวำครัง้ หลัง
พระราชนิพนธ์จดหมายรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั เมื่อเสด็จ
ประพาสเกาะชวาครัง้ หลังนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั ทรงบันทึก เป็ นครัง้ ที่ ๓
ระหว่างวันที่ ๕ พฤษภาคม ถึง วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๔๔ การเสด็จในครัง้ นี้ทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสทีส่ าเร็จการศึกษาจากยุโรปตามเสด็จหลายพระองค์ โดย
มีพระราชประสงค์ คือ การพามาดูงานในด้านต่าง ๆ เพื่อนาไปประยุกต์ใช้ในการปฏิรปู สยามให้
เจริญทัดเทียมชาติอ่นื ๆ โดยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั ทรงบันทึกเรื่องราวขณะเดินทางอย่าง
ละเอียดในลักษณะการเขียนความเรียงเชิงอรรถาธิบายเพื่อช่วยให้ผอู้ ่านเข้าใจง่าย ดังนี้
๑. กำรบรรยำยสิ่ งที่พบเห็นอย่ำงกระจ่ำงแจ้ง
การบรรยายสิง่ ที่พบเห็นเป็ นการเล่าถึงสิง่ ที่พบเห็นระหว่ างการเดินทาง เช่น สถานที่
เหตุ ก ารณ์ ต่ าง ๆ สภาพแวดล้อ ม หรือ บุค คลที่เกี่ยวข้อ งอย่างละเอียด ทาให้เห็นภาพอย่าง
กระจ่างแจ้ง ที่เห็นอย่างเด่นชัดมี ๒ ประการ คือ การบรรยายสถานที่ต่าง ๆ และการบรรยาย
บุคคลต่าง ๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๗๖

๑.๑ กำรบรรยำยสถำนที่ ต่ำง ๆ ดังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั ทรง


เสด็จถึงเมืองบันดอง พระองค์ทรงแวะดูโรงฆ่ากระโบแล้วทรงบรรยายไว้ว่าโรงฆ่ากระบือแห่งนี้
ค่อ นข้างสกปรก เพราะพวกแขกและพวกเจ๊กนิยมกิน เนื้อกระบือ มากกว่าเนื้อ โค เพราะเนื้ อ
กระบือมีราคาถูกกว่า คนที่กนิ เนื้อโคส่วนใหญ่เป็ นฝรังที ่ ค่ ่อนข้างมีเงิน ดังนี้ “แวะดูโรงฆ่ากระโบ
ค่อนจะอยู่ขา้ งสกปรก แขกแลเจ๊กในเมืองนี้กนิ กระโบเพราะราคาถูก โคมีราคาแพงมากกินแต่
ฝรัง”่ (พระราชนิพนธ์จดหมายรายวัน เสด็จประพาสชวา ครัง้ หลัง) หรือ ทรงบรรยายโรงจานาใน
เมืองบันดองว่ามีเพียงไม่ ก่แี ห่ง สถานที่แห่งนี้เป็ นที่พ่งึ สาหรับผู้คนที่เดือดร้อน ทรัพย์สนิ ที่มา
วางจานองมีหมายเลขกากับไว้ ดังนี้ “แวะดูโรงจานาที่น่ีดกี ว่าโรงจานาบางกอก ของทัง้ ปวงไม่
ได้มาตัง้ เปิ ดเผยเก็บเข้าตู้ มีฉลากนาเบอร์ตดิ ทัง้ สิ้น เปนที่อาศรัยราษฎรได้จริง ๆ ทัง้ เมืองบัน
ดองให้ตงั ้ เพียงโรงเดียวเท่านัน้ ” (พระราชนิพนธ์จดหมายรายวัน เสด็จประพาสชวาครัง้ หลัง)
๑.๒ กำรบรรยำยบุคคลต่ ำง ๆ ดังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั ทรง
บรรยายถึงแอสซิต ัน ต์เรซิเดนต์ว่ามีกิรยิ าดีและคุ้นเคยกับ การรับ ราชการ ดังนี้ “แอสซิต ัน ต์
เรซิเดนต์แกมีกริ ยิ าดีแลคุน้ เคยราชการมาก” (พระราชนิพนธ์จดหมายรายวัน เสด็จประพาสชวา
ครัง้ หลัง) หรือทรงบรรยายรูปร่างของมิสซิสดาเมอรว่ารูปร่างไม่ถึงกับอ้วนแต่หน้ าตาเป็ นผู้ดี
เป็ นคุณยายที่ใจดี ดังนี้ “รูปร่างไม่สอู้ ้วนแต่หน้าตาเปนผูด้ ี เปนอย่างคุณยายใจดี ๆ ” (พระราช
นิพนธ์จดหมายรายวัน เสด็จประพาสชวาครัง้ หลัง)
๒. กำรเปรียบเทียบกับสิ่ งที่ผอ้ ู ่ำนคุ้นเคย
การเปรียบเทียบ เป็ นการหาแนวเทียบสิง่ แปลกใหม่หรือสิง่ ทีผ่ ฟู้ งั ไม่คุน้ เคยมาก่อน โดย
พยายามหาสิง่ ที่ผู้ฟงั ผู้อ่านคุ้นเคยหรือรูจ้ กั ดีอยู่แล้ว แล้วนาสิง่ นัน้ มาเทียบเคียงและอธิบายให้
เห็ น ว่ า สิ่ง ใหม่ ท่ี อ ธิบ ายนั ้น มีอ ะไรบ้ า งที่ ค ล้ า ยคลึง หรือ แตกต่ า งไปจากที่ คุ้ น เคยอยู่ การ
เปรียบเทียบที่เห็นอย่างเด่นชัดมี ๒ ประการ คือ การเปรียบเทียบสถานที่ในต่ างประเทศกับ
สถานทีใ่ นไทย และการเปรียบเทียบข้าวของเครือ่ งใช้กบั ข้าวของเครือ่ งใช้ในเมืองไทย ดังนี้
๒ .๑ กำรเป รี ย บเที ยบ สถำน ที่ ใน ต่ ำงป ระเท ศ กั บ สถำน ที่ ใน ไท ย ดั ง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั ทรงเปรียบเทียบถนนสายหนึ่งว่าเหมือ นถนนราช
ดาเนินในประเทศไทย “กรมดารงไปแลเห็นถนนทางไปบเตเวีย ซึ่งมีเสาออบลิกหมายเขตรมิว
นิสเิ ปอลชมว่าถนนตรงดี เราว่าเหมือนถนนราชดาเนิน ” (พระราชนิพนธ์จดหมายรายวัน เสด็จ
ประพาสชวาครัง้ หลัง) หรือ ในคราวประพาสน้ าพุ ต าบลจรุงซึ่งใช้ระยะเวลาในการเดิน ทาง
ประมาณครึง่ ชัวโมงพระองค์
่ ทรงเปรียบการไปยังน้ าพุตาบลจรุง ว่าเหมือนการเดินขึ้นลงภูเขา
ทอง ดังนี้ “เวลาบ่ายวันนี้ไปทีน่ ้ าพุตาบลจรุง ทางประมาณครึง่ ชัวโมงเศษที ่ ไ่ ด้เคยไปแล้วคราว
ก่อน ลงไปด้วยม้าครึ่งทางจึงได้เดิน คราวนี้เดินตลอดทัง้ ขึ้นทัง้ ลง อันที่จริงแล้วมันก็เกือบจะ
เท่ากับขึน้ ลงภูเขาทอง” (พระราชนิพนธ์จดหมายรายวัน เสด็จประพาสชวาครัง้ หลัง)
๗๗

๒.๒ กำรเปรียบเที ยบข้ำวของเครื่องใช้ กบั ข้ำวของเครื่องใช้ ในเมืองไทย ดัง


ตอนทีพ่ ระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั เสด็จเมืองเตนซอคซึง่ เป็ นทีต่ งั ้ โรงทาหมวกไม้
ไผ่ เมื่อทอดพระเนตรหมวกที่ผ่งึ แดดก็ทรงเปรียบว่าคล้า ยหมวกกะหล๋าป๋าของไทย ดังนี้ “บุย
เตนเปนที่ตงั ้ โรงทาหมวกด้วยไม้ไผ่ เจ้าของผู้ท่ที าเปนฝรังเศส
่ เมื่อมาถึงที่หน้ าเรือนนัน้ เห็น
หมวกผึ่ง แดดเต็ม ไปทัง้ ลานบ้า น รูป พรรณสัณ ฐานตัง้ ต้ น เปนอย่ า งที่ไทยเราเรีย กหมวก
กะหล๋าป๋า” (พระราชนิพนธ์จดหมายรายวัน เสด็จประพาสชวาครัง้ หลัง)
๓. กำรแปลควำม
การแปลความเป็ น การถ่ายความหมายจากภาษาหนึ่งไปสู่อกี ภาษาหนึ่งเพื่อให้ผู้อ่าน
เข้าใจความหมาย รูค้ วามหมายของคา ๆ นัน้ หรือเรื่องราวเหล่านัน้ การแปลความที่เห็นอย่าง
เด่นชัดมี ๒ ประการ คือ การแปลคาอังกฤษเป็นไทยและการแปลคาชวาเป็นไทย ดังนี้
๓.๑ กำรแปลค ำอังกฤษเป็ นไทย ดังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั
ทรงแปลค าว่ า โปสการ์ด ว่ าบัต รรูป ดังนี้ “โปสการ์ด คือ บัต รรูป เขาขายในตลาดมีรูป ทหาร
อังกฤษ” (พระราชนิพนธ์จดหมายรายวัน เสด็จประพาสชวาครัง้ หลัง) หรือทรงแปลคาว่าสเตชัน
ว่าที่จอดรถไฟ ดังนี้ “ค่ าแล้วเปนต้องลงรถไฟที่สเตชันคือที่จอดรถไฟ ไปต่อพรุ่งนี้ ” (พระราช
นิพนธ์จดหมายรายวัน เสด็จประพาสชวาครัง้ หลัง)
๓.๒ กำรแปลคำชวำเป็ นไทย ดังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั ทรง
แปลคาว่ากระโบในภาษาชวาว่าคือกระบือของไทย ดังนี้ “กระโบหรือกระบือนัน้ เขาฆ่าเพื่อเอา
ไปเปนอาหารของแขกแลเจ็ค (พระราชนิพนธ์จดหมายรายวัน เสด็จประพาสชวาครัง้ หลัง)
๔. กำรวิ พำกษ์วิจำรณ์ อย่ำงตรงไปตรงมำ
การคิดวิพากษ์เป็นความสามารถในการพิจารณา ประเมินและตัดสินสิง่ ต่าง ๆ อย่างมี
เหตุมผี ล ส่วนการวิจารณ์ เป็ นการพิจารณาเทคนิคหรือกลวิธ ี ท่แี สดงออกมาว่ามีองค์ประกอบ
ใดบ้างมีคุ ณ ค่ า น่ าชมเชย องค์ป ระกอบใดน่ าท้วงติงหรือบกพร่อ ง โดยอาศัยความรู้ เหตุ ผ ล
หลักเกณฑ์และความรอบคอบ การวิพากษ์วจิ ารณ์จงึ เน้นที่การพินิจพิจารณาสิง่ ต่าง ๆ อย่างมี
เหตุ ม ีผ ลว่ามีอ งค์ป ระกอบใดที่น่ าสนใจหรือ ไม่น่ าสนใจ อย่างไร เพราะเหตุ ใด โดยเน้ นการ
วิพ ากษ์ว ิจารณ์ อ ย่างตรงไปตรงมา ที่เห็นอย่างเด่นชัดมี ๒ ประการ คือ การวิพ ากษ์วจิ ารณ์
พฤติกรรมของคน และการวิพากษ์วจิ ารณ์อาหารของชาวต่างชาติ ดังนี้
๔.๑ กำรวิ พำกษ์วิจำรณ์ พฤติ กรรมของคน ดังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หวั พระองค์ทรงวิพากษ์วจิ ารณ์ พฤติกรรมการแต่งกายของหลวงเปรษนาธิคมตอนที่พบ
กันในเมืองบันดองว่าการแต่งกายนัน้ ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยทอดพระเนตร ดังนี้ “หลวง
เปรษนาธิคมแกเปนคนที่ไม่รจู้ กั เปลี่ยนแปลงอันใด แต่งตัวเหมือนอย่างกับเมื่อ ๓๐ ปีเศษที่เรา
ได้เห็น คือ ใส่เสือ้ เชิดคอตัง้ เตีย้ ๆ เหมือนเสือ้ กระบอก ผูกผ้า ผูกคอแพรดาเล็กห้อยร่องแร่งเปน
๗๘

ไม้ ก างเขน” (พระราชนิ พ นธ์ จ ดห มายรายวั น เสด็ จ ประพาสชวาครัง้ หลั ง ) หรือ ทรง
วิพากษ์วจิ ารณ์การกินอาหารและดื่มเครือ่ งดื่มของระเด่นอธิปติไว้ว่าระเด่นอธิปเลือกดื่มชาซึง่ ไม่
ค่อยเห็น ทัง้ ยังเลือกกินอาหารทีอ่ ่อนเบาท้อง ทัง้ ทีม่ อี าหารให้เลือกจานวนมาก เมื่อสอบถามจึง
ได้ความว่าเพราะระเด่นอธิปแกงดของที่ไม่ดตี ่อร่างการนัน่ เอง ดังนี้ “ตื่นเองแต่ตี ๑๑ ครึง่ ออก
จากโฮเตลไปขึน้ รถไฟ ถึงจันยอเรซิเดนต์ลงมารับ มีของเลี้ยงต่าง ๆ แต่แปลกระเด่นอธิปติด่มื
ชา รับประทานของอ่อนอาหารมากแต่ รบั ประทานได้ไม่เท่าไหร่ ได้ความว่าของดของชัว”่ (พระ
ราชนิพนธ์จดหมายรายวัน เสด็จประพาสชวาครัง้ หลัง)
๔.๒ กำรวิ พ ำกษ์ วิ จ ำรณ์ อำหำรของชำวต่ ำ งชำติ ดัง พระบาทสมเด็ จ พระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั ทรงวิพากษ์วจิ ารณ์อาหารของของโรงแรมแรฟเฟอลว่าเป็ นอาหารรสเลิศ
ดังนี้ “กับเข้าทาอย่างวิเศษเต็มฝี มอื ของแรฟเฟอลโฮเตล แมนู ยาวมาก เปนอาหารอย่างแก้ว ”
(พระราชนิพนธ์จดหมายรายวัน เสด็จประพาสชวาครัง้ หลัง) ทรงวิจารณ์อาหารในเมืองบันดอง
ว่าเสวยเข้าไปแล้วทาให้พระองค์ทอ้ งอืด เพราะใช้วธิ นี ่ึงในการทาให้เข้าสุก แต่กห็ ุงจนเกินสุกทา
ให้ขา้ วแฉะเหมือนข้าวแช่ ดังนี้ “อาหารที่โฮเตล คราวนี้เลวกว่าคราวก่อ น แต่กนิ เข้าไปท้องขึน้
อืดใหญ่ เพราะมันเปนเข้านาทุ่งอย่างหนึ่งมียางมาก อีกอย่างหนึ่งหุงเข้าเมืองนี้มนั ใช้น่ึงเหมือน
เข้าทีจ่ ะทาข้าวแช่” (พระราชนิพนธ์จดหมายรายวัน เสด็จประพาสชวาครัง้ หลัง) หรือทรงวิจารณ์
ลักษณะและรสชาติของซาเต๊ะว่ามีรสชาติพอเสวยได้ แต่ค่อนข้างจะหวาน ดังนี้ “ซะเต๊ะมีซุบ
น้ ากะทิซ่งึ ปนขมิน้ สีเหลือง ๆ มาก อาหารเหล่านี้พอกินจะเรียกว่าอร่อยก็ควร แต่ค่อยจะอยู่ขา้ ง
ออกหวาน ๆ ” (พระราชนิพนธ์จดหมายรายวัน เสด็จประพาสชวาครัง้ หลัง)

๓.๓.๒ ศิ ลปะกำรประพันธ์ที่เกิ ดจำกกำรเล่นเสียงเล่นคำ


การเล่นเสียงเล่นคา การเล่นเสียงเป็ นการเลือกสรรเสียงสัมผัสมาใช้ในคาประพันธ์ ทัง้
เล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์เพื่อความไพเราะเมื่ออ่านออกเสียง ส่วนการเล่น
ค าเป็ น การสรรค ามาใช้ เช่ น เล่ น ค าพ้อ ง และการเล่ น ค าซ้ า เพื่อ ช่ ว ยย้ าค าและความให้ ม ี
ความหมายทีเ่ ด่นชัดยิง่ ขึน้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๓.๓.๒.๑ กำรเล่ น เสี ย งสระ พยัญ ชนะและวรรณยุ ก ต์ การเล่ น เสีย งสระ
พยัญชนะและวรรณยุกต์ ช่วยทาให้บทประพันธ์มคี วามไพเราะสละสลวยมากยิง่ ขึน้ ดังเรื่องศิลา
จารึกพ่อขุนรามคาแหงมีการเล่นเสียงเล่นเสียงสระ เช่น “ตูพน่ี ้ องท้องเดียวห้าคน” (หน้า ๑๖)
“ตนกูบ่หนี กูขี่ชา้ งเบกพล” (หน้า ๑๖) “ช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้างขุนสามชนตัวชื่อ” (หน้า
๑๖) “กูได้ตวั เนื้อ ตัวปลำกูเอามำแก่พ่อกู” (หน้า ๑๖) และ “ในน้ามีปลำ ในนำมีขา้ ว” (หน้า ๑๖)
มีการเล่นเสียงพยัญชนะ เช่น “พีเ่ ผือผู้อ้ายตายจากเผือเตี ยมแต่ ยงั เล็ก” (หน้า ๑๖) และมีการ
เล่นเสียงวรรณยุกต์ เช่น “ใครจักใคร่ค้ำช้ ำงค้ำ ใครจักใคร่ค้ำม้ำค้ำ ใครจักใคร่ค้ำเงือนค้ ำ
ทองค้ำ” (หน้า ๑๖) ส่วนเรือ่ งนิราศลอนดอน มีการเล่นเสียงพยัญชนะ ดังตัวอย่าง
๗๙

กรรณิกาการเกดพิกลุ แก้ว โศกซ้องแมวสุกรมนมสวรรค์


พุมเรียงรงโรกรักลักจัน่ ขนุนขนันเนี ยมหนาดลางสาดทรวง
มลุลีมลิ ลำกับกาหลง ลาดวนดงดกดอกออกสล้าง
สละเสลาลางลิ งมะปริ งปราง ข่อยแคคางคูนเคี่ยมแมงคุดคำ
(นิราศลอนดอน)
๓.๓.๒.๒ กำรเล่ นค ำ การเล่น คาช่ว ยย้าค าและความให้มคี วามหมายที่เด่น ชัด
ยิง่ ขึน้ เช่น เรื่องลิลติ ตะเลงพ่ายมีการเล่นคาพ้องเสียงหลายแห่ง โดยนาคาทีส่ ่อื ถึงนางอันเป็ นที่
รักเล่นกับคาทีเ่ ป็นชื่อของพันธุไ์ ม้ต่าง ๆ เพื่อตอกยา้ อารมณ์ความรูส้ กึ ทีค่ ดิ ถึงคนรัก ดังตัวอย่าง
อบเชยอบชื่นชี้ เฌอสม ญาฤๅ
อบว่าอรอบรม รืน่ เร้า
อบเชยพีเ่ ชยชม กลิน่ อบ เฌอนา
อบดังอบองค์
่ เจ้า จักให้เรียมเชยฯ
(ลิลติ ตะเลงพ่าย)

เรื่องโคลงดัน้ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เล่นคาว่า “พระเดช”


เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ของพระมหากษัตริยท์ ม่ี ี “เดช” มากกว่าบุคคลธรรมดา ดังตัวอย่าง
พระเดชมามีก่ อ้ ง เกรียงไกร
พระเดชบุรบทระบือ โหล่งล้วน
พระเดชสุกใสเสียง กมเลศ
พระเดชทศถ่องถ้วน ถีธ่ รรมฯ
(โคลงดัน้ ฯ)
๓.๓.๓ ศิ ล ปะกำรประพัน ธ์ ที่ เกิ ด จำกกำรใช้ ภ ำพพจน์ แ ละสัญ ลัก ษณ์ สุ จ ิต รา
จงสถิตย์วฒ ั นา (๒๕๔๑ : ๑๒๒) กล่าวว่า ภาพพจน์มคี วามสัมพันธ์กบั สัญลักษณ์ ภาพพจน์เป็ น
กลวิธกี ารใช้ภาษาสร้างภาพ สัญ ลักษณ์ เป็ นกลวิธ ีใช้ภาพพจน์ ส่อื ความหมายหลายระดับจาก
“ภาพ” ทีส่ ร้างจากภาษา สัญลักษณ์มกั เกิดจากภาพพจน์ทใ่ี ช้อย่างสม่าเสมอในงานประพันธ์ช้นิ
ใดชิน้ หนึ่งหรือของกวีคนใดคนหนึ่ง จนกลายเป็ นสัญลักษณ์ทส่ี ่อื ความหมายเฉพาะมากขึน้ เช่น
การเปรียบความงามของผูห้ ญิงเหมือนดอกไม้ หรือเหมือนดวงจันทร์ เมื่อใช้กนั อย่างแพร่หลาย
จนเป็น “ขนบ” ดอกไม้หรือดวงจันทร์กจ็ ะกลายเป็นสัญลักษณ์แทนผูห้ ญิงทีง่ ดงามไป ดังนี้
๘๐

๓.๓.๓.๑ อุปมำ (Simile) คือ การเปรียบเทียบระหว่างของสองอย่าง ซึ่งอาจ


ไม่ใช่ของชนิดเดียวกันหรือเรื่องเดียวกัน ในการเปรียบเทียบมีคาที่แสดงว่าเหมือนเป็ นเครื่อง
เชื่อม เช่น คาว่า กล ดัง (ประ) ดุจ ประหนึ่ง เพียง ถนัดดัง่ ละม้าย แม้น เหมือน เฉก (เช่น) และ
ราว (กับ) (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๒ : ๕๖๖) ดังผูแ้ ต่งเปรียบการทาสงครามระหว่างพระมหา
อุปราชากับสมเด็จพระนเรศวรว่าเหมือนท้าวไพจิตราสูรรบกับพระอินทร์ ดังนี้
เสด็จแสดงพิรยิ พ่าห์เพีย้ ง ไพจิต ราเฮย
ปองปจั จามิตรแมน มุง่ ฟ้า
อมราธิปสิงสถิต เมรุมงิ่ เมืองฤๅ
เสมออยุธเยศหล้า แหล่งไท้เถลิงถวัลย์
(ลิลติ ตะเลงพ่าย)

อีกตอนหนึ่งผูแ้ ต่งเปรียบเทียบความสามารถของสมเด็จพระนเรศวรว่าเหมือน
พระรามปราบยักษ์ให้สน้ิ ไป ดังจะเห็นได้จากโคลงต่อไปนี้
บุญเจ้าจอมภพพืน้ แผ่นสยาม
แสยงพระยศยินขาม ขาดแกล้ว
พระฤทธิ ์ดังฤทธิ
่ ์ราม รอนราพณ์ แลฤา
ราญอริราชแผ้ว แผกแพ้ทุกภาย
(ลิลติ ตะเลงพ่าย)
๓.๓.๓.๒ บุคคลวัต (Personification) คือ ภาพพจน์รปู แบบหนึ่ง ซึง่ กาหนดให้
สิง่ ซึ่งไม่ใช่มนุ ษย์ (เช่น สัตว์ สิง่ ของ สถานที่ ต้นไม้ ดอกไม้ ความคิด หรือนามธรรมใด ๆ) มี
สภาวะเป็ นมนุ ษย์ ทากิรยิ าอาการพูด คิด มีสติปญั ญา และอารมณ์ ความรูส้ กึ อย่างมนุ ษย์ทุก
ประการ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๒ : ๒๘๖) ดังการใช้คาว่า “แผ่นดินมอญพลันมอดม้วย” เพื่อ
แสดงให้เห็นว่า แผ่นดินมอญซึง่ ไม่ใช่คนกาลังจะดับสูญ ดังนี้
ณรงค์นเรศดร์ดา้ ว ดัสกร
ใครจักอาจออกรอน รบสู้
เสียดายแผ่นดินมอญ พลันมอด ม้วยแฮ
เหตุบ่มมี อื ผู้ อื่นต้านทานเข็ญ
(ลิลติ ตะเลงพ่าย)
๓.๓.๓.๓ อติ พ จน์ (Hyperbole) คือ ภาพพจน์ รูปแบบหนึ่ง ที่ผู้แต่งจงใจหรือ
เจตนาเน้นข้อความที่กล่าวนัน้ ให้มคี วามหนักแน่ นยิง่ ขึ้น ให้ความรูส้ กึ เพิ่มขึ้น อาจเป็ นการโอ้
๘๑

อวดเกิน จริง แต่ อ ย่ า งไรก็ม ีเค้า แห่ ง ความจริ ง เจือ ปนอยู่ ไม่ ใช่ เ รื่อ งกุ ข้ึน หลอกลวงล้ว น ๆ
(ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๒ : ๕๓๙) ดังการกล่าวถึงความทุกข์ของพระมหาอุปราชที่ต้องจาก
นางสนมมาว่าทัง้ หนักอก อกไหม้ ตรมตรอมเหมือนกับถูกทุ่มด้วยภูผาหลวง (ภูเขาใหญ่ ) แม้
ไพร่พลหาบของหนัก ยังวางพักได้ แต่หนักรักนี้จะแก้ไขให้เบาลงได้อย่างไร ดังนี้
หน่ายเชยหนักอกช้า ก่าทรวง
ถนัดดังภู
่ ผาหลวง ทุ่มแท้
หนักหาบทีพ่ ลปวง ปลงพัก ได้นา
หนักเสน่หน์ ึกแท้ เกีย่ งให้เบาไฉน
(ลิลติ ตะเลงพ่าย)
๓.๓.๓.๔ สัท พจน์ (Onomatopoeia) คือ วิธ ีก ารถ่ ายทอดเสียงที่เกิด ขึ้น จาก
ธรรมชาติ เช่น เสียงฟ้าร้อง เสียงครวญคราง เสียงลมพัด เพื่อให้ผอู้ ่านได้รบั รส เพิม่ อารมณ์และ
ความรูส้ กึ ดังการเลียนเสียงเครือ่ งดนตรีทด่ี งั กึกก้อง การเลียนเสียงของช้าง และการต่อสู้ ดังนี้
ชันหูชูห างแล่ น แปร้นแปร๋แลคะไขว่ บาทย่างใหญ่ ดุ่ มด่ วน ป่วนกิรยิ าร่าเริง
บาเทิงมันครันครึ
่ ก เข้าสูศ้ กึ โรมราญ ควาญคัดท้ายบมิอยู่ วู่วามวิง่ ฉับฉิ ว
(ลิลติ ตะเลงพ่าย)
๓.๓.๓.๕ สัญลักษณ์ (Symbols) คือ การนาสิง่ มีชวี ติ หรือไม่มชี วี ติ เพื่อ ใช้แทน
หรือเป็นตัวแทนสิง่ อื่นทีม่ สี มบัตบิ างประการร่วมกัน เช่น สีแดงอาจเป็นสัญลักษณ์ของเลือด หรือ
แทนคาว่า “หยุด” ในเครื่องหมายของการจราจร โดยทัวไปสั ่ ญลักษณ์ในวรรณคดี อาจเป็ นวัตถุ
สิง่ ของ ท่าทาง (กิรยิ าอาการ) สี ดอกไม้ สัตว์จริง สัตว์ในจินตนาการ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ
(ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๒ : ๕๐๐) ดังการใช้คาว่า “บัว” แทนหน้าอกของนาง ดังนี้
นางนาวนึกนิ่มน้อง นวลปราง
จากพรากพรากจากนาง หนึ่งนัน้
พิราบพิลาปคราง ครวญแข่ง ข้าฤา
บัวว่าบัวนุ ชปนั ้ อกน้องเรียมถนอม
(ลิลติ ตะเลงพ่าย)

๓.๓.๔ ศิ ลปะกำรประพันธ์ที่เกิ ดจำกกำรใช้ คำที่ ก่อให้ เกิ ดจิ นตภำพ จินตภาพ คือ
ภาพทีป่ รากฏในจินตนาการตามประสบการณ์เดิม ซึง่ กวีทาให้ปรากฏขึน้ ในความรูส้ กึ ของผูอ้ ่าน
จินตภาพมีหลายประเภท อาจมองเห็นด้วยตา เกิดขึน้ เป็ นเสียง เกิดขึน้ เป็นกลิน่ หรือเกิดขึน้ เป็ น
อาการสัม ผัส การใช้ภ าษาที่ก่ อ ให้เกิด จิน ตภาพหรือ ภาพในจิต ช่ ว ยท าให้บ ทร้อ ยกรองเป็ น
๘๒

รูปธรรมมากกว่านามธรรม (ธัญ ญา สังขพันธานนท์ , ๒๕๓๙ : ๒๓๙) ดังเรื่อ งลิล ิต ยวนพ่าย


ผูแ้ ต่งพรรณนาขบวนเรือ จนทาให้เกิดจินตภาพเกี่ยวกับเรือที่แล่นซ้อนกัน มีทงั ้ เรือแห่เรือแหน
เรือพิทยั เรือพิทนั และเรือแซเรือซา ซึง่ ทัง้ หมดห้อมล้อมกันอย่างแน่นหนา ดังนี้
เรือหุม้ เรือห่อซ้อน ซับกัน
เรือแห่เรือแหนแหน แห่หอ้ ม
พิทุยพิทนั แซ ชามาก
ทุกท่าทุกท่งห้อม หนันหนาฯ

(ลิลติ ยวนพ่าย)
๓.๓.๕ ศิ ลปะกำรประพันธ์ที่เกิ ดจำกกำรใช้ รสวรรณคดี กุสุมา รักษมณี (๒๕๔๙ :
๑๑๔- ๒๒๙) กล่าวว่ารสวรรณคดี หมายถึง สภาวะอารมณ์ของผูอ้ ่านทีเ่ ป็ นปฏิกริ ยิ าตอบสนอง
หลังจากได้อ่านวรรณกรรมบทหนึ่ง ๆ หรือเรือ่ งหนึ่ง ๆ จบลง ขัน้ ตอนการเกิดรสเริม่ ขึน้ เมือ่ กวีม ี
ความประทับใจในเรือ่ งใดเรือ่ งหนึ่งจนปรารถนาจะถ่ายทอดให้ผอู้ ่นื ได้รบั รู้ สิง่ นัน้ เรียกว่า “ภาวะ”
วรรณคดีสนั สกฤตมีภาวะ ๙ ลักษณะ คือ ความรัก (รติ) ความขบขัน (หาสะ) ความทุกข์
โศก (โศกะ) ความโกรธ (โกรธะ) ความมุ่งมัน่ (อุตสาหะ) ความน่ ากลัว (ภูยะ) ความน่ ารังเกียจ
(ชุคุปสา) ความน่ าพิศวง (วสมยะ) และความสงบ (ศมะ) และมีรสเสริม เช่น ความริษยา ความ
สิน้ หวัง ความละอาย ความเกียจคร้าน ความมัวเมา ความวิตก ความเฉยชาและความลุ่มหลง
การแสดงภาวะต่าง ๆ ให้ผอู้ ่นื รับรูต้ ้องมีเหตุของภาวะ (เรีย กว่าวิภาวะ) เช่น เหตุการณ์
บุคคล หรือสิง่ ต่าง ๆ ทีก่ วีกาหนดขึน้ เช่น การอยู่กบั ผูท้ ถ่ี ูกตาต้องใจทาให้เกิดความรัก ต่อมาก็
แสดงผลของภาวะ (เรียกว่า อนุภาวะ) ได้แก่ การแสดงออกของสีหน้า แววตา ท่าทาง เช่น เอียง
อาย ยิม้ แย้ม เหม่อลอย อารมณ์ดี ซึง่ ทาให้ผอู้ ่านรับรูว้ ่าตัวละครกาลังอยู่ในอารมณ์ใด เช่น การ
อยู่กบั นางอันเป็ นที่รกั (วิภาวะ) ทาให้เกิดความรัก (ภาวะ) ตัวละครจึงแสดงผลของภาวะ (อนุ
ภาวะ) ได้แก่ การพูดจาอ่อนหวาน การยิม้ แย้ม หรือการพลัดพรากจากคนรัก (วิภาวะ) ทาให้ตวั
ละครโศกเศร้าเสียใจ (ภาวะ) จึงแสดงท่าทางหมดอาลัยตายอยาก (อนุภาวะ)
ภาวะหลัก ดังที่กล่าวมาทาให้ผู้อ่านเกิดรสวรรณคดีต่ าง ๆ เช่น ความรักทาให้เกิดรส
ซาบซึง้ ในความรัก (ศฤงคารรส) เมื่อขบขันทาให้เกิดรสสนุ กสนาน (หาสยรส) ความทุกข์โศกทา
ให้เกิดรสสงสาร (กรุณารส) ความโกรธทาให้เกิดรสแค้นเคือง (เราทรรรส) ความมุง่ มันท ่ าให้เกิด
รสชื่นชม (วีรรส) ความน่ ากลัวทาให้เกิดรสเกรงกลัว (ภยานกรส) ความน่ ารังเกียจทาให้เกิดรส
ขยะแขยง หรือ เบื่อระอา (พีภตั สรส) ความน่ าพิศ วงทาให้เกิดรสอัศจรรย์ใจ (อัทภุต รส) และ
ความสงบทาให้เกิดความสงบใจ (ศานตรส) โดยรสศานตรสเป็ นรสทีเ่ พิม่ เข้ามาภายหลัง คงเป็ น
อิทธิพลของศาสนาพุทธทีถ่ อื ว่าความสงบใจเป็นสิง่ ประเสริฐ เป็นทางสู่นิพพาน
สาหรับรสในวรรณคดีสดุดี (หรือวรรณคดีท่เี กี่ยวกับประวัติศาสตร์ท่เี น้ นสุดดีวรี กรรม
ของพระมหากษัตริย)์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความชื่นชมในวีรกรรมหรือความอัศจรรย์
๘๓

ในบุญญาธิการของวีรบุรุษ ภาวะที่กวีต้องการ คือ ความอุตสาหะในการรบ หรือความน่ าพิศวง


ของคุณ ลักษณ์ พเิ ศษของวีรบุรุษ เกิดจากกวีคอื ผู้ท่อี ยู่ใกล้เบื้องยุคลบาท วีรบุรุ ษในสายตากวี
คือ พระมหากษัต ริย์ ความประทับ ใจที่มตี ่ อ พระราชจริยวัต รและพระราชกรณี ยกิจเป็ น แรง
บันดาลใจประพันธ์วรรณคดีสดุดขี น้ึ โดยมุ่งแสดงอัทภุตรสเป็ นสาคัญ เพราะเป็ นภาวะน่ าพิศวง
แห่งบุญญาธิการนัน้ เช่น การมีรปู ลักษณ์ ท่เี หนือปุถุชนธรรมดา โดยเปรียบเทียบกับองค์เทพ
เช่น พระนารายณ์ และเปรียบเทียบบ้านเมืองของพระมหากษัตริยก์ บั สวรรค์หรือเป็ นสิง่ ที่เทพ
เนรมิต การมีสงิ่ ที่เสริมบารมี เช่น ม้าต้น ช้างต้น และกาลังทัพที่แสนยานุ ภาพ จนเทวดาและ
ประชาชนต่างพากันสรรเสริญแซ่ซอ้ ง แม้แต่ศตั รูกเ็ กิดอาการหวาดกลัว โดยมีวรี รสเป็นรสเสริม
วรรณคดีสดุดบี างเรือ่ งมีวรี รสเป็ นรสเอก เช่น เรือ่ งลิลติ ยวนพ่าย กวีช่นื ชมทีส่ มเด็จพระ
บรมไตรโลกนาถรบชนะเชียงใหม่ บทบรรยายและพรรณนาจึงเน้นการสูร้ บกับพระเจ้าติโลกราช
ทีโ่ ดยเหตุ (วิภาวะ) คือ พระบรมไตรโลกนาถเป็ นตัวละครทีม่ คี วามอุตสาหะ “แกล้วการยุทธยิง่ ”
และพระเจ้าติโลกราชเป็ นศัตรูท่ี “ลักโลภ” “น้ าใจโจร” “ใจร้ายไป่โอบอ้อม” และ “อวดกล้า” กวี
แสดงให้เห็นผล (อนุ ภาวะ) ของความอุตสาหะทีจ่ ะเอาชนะศัตรูของพระบรมไตรโลกนาถจากการ
“ตามต่อยไพรี” จน “พังพ่ายส้าน” บังเกิดเสียงสะเทือนราวกับพระสุเมรุพงั โค่น ฝา่ ยข้าศึกกลัวจน
“ร้อนรัวรัว” และ โจนบ่เหลียวโกรย” เพียงแต่ได้ยนิ ข่าวว่าพระองค์จะยกทัพไป ข้าศึกก็ “พรัน่
พรันอกพลแสน
่ ส่ากล้า” พระองค์ทรงหยังก ่ าลังข้าศึก ทรงวางกาลังรบเอง และทรงนาทัพไปเอง
ทหารของพระองค์จงึ สามารถ “เข้าปะทะได้กลดีดนิ้ว สิบคนต่อลาวพัน ภูใหญ่ หันเด็ ่ จหัวได้ห้วิ
ถังถวาย”
่ ฝ่ายศัตรูเกิดอาการ “ตรลึง ตรลานหดหัวห่อ ” และ “วิง่ เหยงย้ายว้า วุ่นวัน ” ภาวะ
ต่าง ๆ ทาให้ผอู้ ่านรูส้ กึ ประทับใจความมุ่งมันในการรบของวี
่ รบุรุษ ส่วนรสเสริมทีข่ าดไม่ได้ คือ
อัทภุตรส กวีมุ่งแสดงความน่ าพิศวงของบุญญาธิการและเดชานุภาพของวีรบุรุษ เพื่อทาหนุนให้
ชื่นชมในความอุตสาหะที่เด่นชัดขึน้ ทาให้รสู้ กึ ว่าทรงสูงส่งและพรังพร้ ่ อมด้วยบารมี เช่น การมี
กาเนิดจากเทพ ๑๑ องค์ เมื่อปกครองบ้านเมืองและปราบข้าศึกทรงมี “ทุกเทพทุกท้าวไหง้ว
ช่วยไชย” ทรงเพียบพร้อมด้วยพระเดช พระยศจนแม้แต่เทพไทหรือ “พันมวลเมธา” ก็สามารถ
กล่ าวสรรเสริญ ได้ ทรงมีแสนยานุ ภาพของทัพเรือ ซึ่งมีเรือ ต่ าง ๆ “ถ้วนแถวหนาหนัน่ ” และ
“เสียงพวกพลกล้าแกล้ว โห่หรรษ์ ” เมื่อยกพลขึ้นบกก็ม ี “ช้างม้าเดียรดาษซ้าย แซมขวา” และ
พรังพร้ ่ อมด้วย “อาวุธมลังเมลือง” ช้างทรงสง่างาม “ควรคู่ไอยราพต” ช้างศึกแต่ละเชือกล้วน
แกล้วกล้า “ลางช่างชนหมัน้ สู้ ส่ายบร” “ลางส่ าสองงางอน เงือดฟ้า” “ลางสารอาจเอาธาร ชาญ
เชีย่ ว” มีมา้ ศึกที่ “แรงเรีย่ วแข็งขลังเร็ว รวจผ้าย” และมีทหารที่ “ทรนงทรนองหา แหนราช” และ
“กล้ากล้ากลาศไปหนา หนัน่ แฮ” ทรงมีอ นุ ภาพเสมอกับดวงตะวัน “ชยชยานุ ภาพท้าวเทียม
ทินกรแฮ” เหล่าคนธรรพ์ต่างขับลานาสรรเสริญ “เมืองเทพคนธรรพ์ฤๅ ทรานุ ภาพ” เมืองทัง้ ร้อย
ต่ างก็ม าสวาภัก ดิ ์ “ บุ ญ เบอกเมือ งถ้ว นร้อ ย รอบถวาย” และด้ว ยบุ ญ บารมี พระองค์จงึ ทรง
“ปราบประไลกัลป์ ทุกทวีปร้อยพิภพเหลื้อมหล้า อยู่เย็น” ในขณะที่เรื่องลิลติ ตะเลงพ่ายจะเห็น
ภาพ “จอมสยาม” ผู้มทิ รง “ขามศึก” แต่ทรง “บานกมลเปรมปรีด ิ ์” ที่จะ “ปราบเสี้ยน” และทรง
๘๔

ประสงค์ จ ะให้ ข้า ศึก “เห็ น มือ ไทยที่แ กล้ว ” กวีแ สดงอนุ ภ าวะให้ เห็ น ความแกล้ว กล้ า ของ
พระมหากษัตริยไ์ ทยด้วยการกาหนดให้ขา้ ศึก “ฝ่อใจห้าวบมิหาญ ลาญใจแกล้วบมิกล้า” และ
“ไท้ทุกเขตทุกด้าว น้าวมกุฎมานบ” ตอนทีส่ มเด็จพระนเศวรฯ ทรงหลงไปในหมู่ขา้ ศึกก็ทรงขับ
ช้างไปหาพระมหาอุปราชาโดย “ไป่เกรงประภาพเท่าเผ้า พักตร์ท่านผ่องฤๅเศร้า สู้เสี้ยนไป่หนี
หน้านา” แม้ความสามารถในการสู้รบของทัง้ สองทัดเทียมกัน “ขุนเสียมสามารถต้านขุนตะเลง
ขุ น ต่ อ ขุ น ไป่ เยง หย่ อ นห้ า ว” แต่ ด้ว ย “พระเดชพระแสดงอาจ เผด็ จคู่ เข็ญ แฮ” สมเด็จ พระ
นเรศวร ฯ จึงทรงพิชติ พระมหาอุปราชาและข้าศึกก็ “เห็นประภาพเจ้าช้าง เชีย่ วกว่าเชีย่ วเหลือ
อ้าง เอิกเอื้ออัศจรรย์ ยิง่ นา” นอกจากชนะ เพราะมี “พระเดโช” แล้วยังเพราะ “พระยศยิง่ ภิยโย
ผ่านแผ่ ภพนา” “เพ็ญ พระยศเจ้าหล้า โลกเพี้ยงพิศวง” ความน่ าพิศวงปรากฏหลายตอน เช่ น
พระสุบนิ ที่ “เทวัญแสดงเหตุให้ สังหรณ์ เห็นแฮ” คือ พระบรมสารีรกิ ธาตุเวียนทักษิณาวรรตรอบ
กองทัพ เมื่อเคลื่อนทัพหลวงได้ทรงประกาศ “แก่เทพทุกถิน่ สถาน ฉชัน้ ” ให้ช่วยขจัดธุมาการ
เพื่อให้เห็นเหล่าข้าศึกได้ถนัด “พอวายวรวากย์อา้ ง โอษฐ์พระ” ก็มลี มพัดกอบฝุ่นควันไปหมดสิน้
ความน่าพิศวงนี้เกิดจากพระองค์เป็น “ไทเทเวศอ้างสมมุต”ิ นันเอง ่
นอกจาก เรื่องลิลติ ตะเลงพ่ายมีรสวีรรสเป็ นรสหลัก และมีอทั ภุตรสเป็ นรสเสริมที่เด่ น
แล้ว ยังมีรสอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีก เช่น การสัมผัสถึงรสโกรธของสมเด็จพระนเรศวร ฯ ที่พบว่า
เหล่าแม่ทพั ตามเสด็จไม่ทนั กวีเปรียบเทียบให้เห็นความโกรธ (เราทรรรส) ในครัง้ นี้ว่าเหมือนดัง
ไฟทีร่ อ้ นแรงทาลายทุกอย่างได้ ดังตัวอย่าง
พระลานดาลเดือดฟุ้ง ไฟเข็ญ
เสียงหวีดกรีดกราดเห็น ห่อนได้
กะลียคุ อย่างจักเป็น ควันพลุ่ง แล้วแฮ
มาตรว่ามิตรฤๅใกล้ กลับดัน้ เดินหนี
(ลิลติ ตะเลงพ่าย)
๓.๓.๖ ศิ ลปะกำรประพันธ์ที่เกิ ดจำกกำรใช้ วำทศิ ลป์ ของตัวละคร คือ ศิลปะในการ
ใช้ถ้อยคาสานวนโวหารที่ทาให้ผฟู้ งั สนใจฟงั เกิดความประทับใจ และคล้อยตาม ซึง่ จาเป็ นต้อง
อาศัยจิตวิทยาในการพูดด้วย ดังการใช้พลังทางวาทศิลป์ของสมเด็จพระนเรศวรเพื่อ โน้มน้ าว
สมเด็จพระมหาอุปราชาให้ออกมาสูร้ บกับพระองค์ ด้วยการเยินยอพระมหาอุปราชาอย่างน่ าฟงั
ว่ามีพระเดชจนสิบทิศต่างพากันเกรงกลัว ต่อมาก็อา้ งถึงภาพลักษณ์ของพระมหากษัตริยท์ ต่ี อ้ งมี
เกียรติมศี กั ดิ ์ศรี และอ้างถึงผลทีเ่ กิดจากการสูร้ บ พระมหาอุปราชาก็ตดั สินใจออกรบ
๘๕

อ้าไทภูธเรศหล้า แหล่งตะเลง โลกฤๅ


เผยพระยศยินเยง ย่านแกล้ว
สิบทิศทัวลื ่ อละเวง หวันเดช่ ท่านนา
ไปเ่ ริม่ รอฤทธิ ์แผ้ว เผือดกล้าแกลนหนี
พระพีพ่ ระผูผ้ ่าน ภพอุต- ดมเอย
ไปช่ อบเชษฐ์ยนื หยุด ร่มไม้
เชิญราชร่วมคชยุทธ์ เผยอเกียรติ ไว้แฮ
สืบกว่าสองเราไสร้ สุดสิน้ ฤๅมี
หัสดีรณเรศอ้าง อวสาน นี้นา
นับอนาคตกาล ห่อนพ้อง
ขัตติยายุทธ์บรรหาร คชคู่ กันแฮ
คงแต่เผือพีน่ ้อง ตราบฟ้าดินกษัย
ไว้เป็นมหรสพซ้อง สุขศานติ ์
สาหรับราชสาราญ เริม่ รัง้
บาเทิงหฤทัยบาน ประดิยทุ ธ์ นัน้ นา
เสนอเนตรมนุษย์ตงั ้ แต่หล้าเลอสรวง
ปวงไท้เทเวศทัง้ พรหมาน
เชิญประชุมในสถาน ทีน่ ้ี
ชมชื่นคชราบาญ ตูต่อ กันแฮ
ใครเชีย่ วใครชาญชี้ ชเยศอ้างอวยเฉลิม
หวังเริม่ คุณเกียรติกอ้ ง กลางรงค์
ยืนพระยศอยูค่ ง คู่หล้า
สงครามกษัตริยท์ รง ภพแผ่น สองฤๅ
สองราชรอนฤทธิ ์ร้า เรือ่ งรูส้ รเสริญ
ดาเนินพจน์พรากพร้อง พรรณนา
องค์อคั รอุปราชา ท่านแจ้ง
กอบเกิดขัตติยมา- นะนึก หาญเฮย
ขับคชเข้ายุทธ์แย้ง ด่วนด้วยโดยถวิล
(ลิลติ ตะเลงพ่าย)
การศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ทาให้เห็นว่าผูแ้ ต่งใช้ศลิ ปะการประพันธ์ดา้ น
ต่าง ๆ เพื่อสร้างความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านไม่ต่างจากวรรณคดีประเภทอื่น ๆ ทัง้ การใช้ศลิ ปะ
การประพันธ์ผ่านการรอรรถาธิบาย การเล่นเสียงเล่นคา การใช้ภาพพจน์ และสัญลักษณ์ การใช้
๘๖

คาที่ก่อให้เกิดจินตภาพ การใช้รสวรรณคดี และการใช้วาทศิลป์ของตัวละคร ซึง่ ช่วยให้การอ่าน


วรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์เกิดอรรถรสมากยิง่ ขึน้

สรุป
จากข้อมูลข้างต้นเห็นได้ว่า วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์มลี กั ษณะเฉพาะ ทัง้ ด้าน
รูปแบบ เนื้อหา และศิลปะการประพันธ์ ด้านรูปแบบมีทงั ้ การแต่งเป็ นร้อยแก้ว ร้อยกรอง และ
รูปแบบทีผ่ สมผสานกัน มีรปู แบบการเขียนทีเ่ ป็นทัง้ แนวอุดมคติ คือ เน้นความงาม ความดีเลิศ
และการเขียนแนวสมจริง คือ อิงกับสภาพความเป็ นจริง ด้านเนื้อหามีทงั ้ บันทึก เรื่องราวหรือ
เหตุ ก ารณ์ ในประวัติศาสตร์ ยอพระเกียรติพ ระมหากษัตริย์ สดุดี ผู้ท่ที าคุ ณ ประโยชน์ ให้แก่
แผ่นดิน และการให้ความรู้ด้านต่าง ๆ การศึกษาเนื้อหาทาให้ทราบประวัติศาสตร์เหตุการณ์
บ้านเมืองในยุคสมัย ความรูเ้ กี่ยวกับบุคคลสาคัญๆ ในประวัตศิ าสตร์ สภาพสังคมโดยรวม วิถี
ชีวติ ความเชื่อ ค่านิยม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ได้เป็ นอย่างดี ในส่วนของ
ศิลปะของการประพันธ์กม็ คี วามหลากหลาย เน้นทีก่ ารโน้มน้าวให้ผอู้ ่านคล้อยตาม ด้วยการใช้
กลวิธตี ่าง ๆ ทัง้ ด้านการอรรถาธิบายและการใช้ภาพพจน์โวหาร ซึง่ ผูศ้ กึ ษาควรให้ความสาคัญ
ทัง้ นี้ เพราะศิลปะการประพันธ์เป็นส่วนสาคัญทีจ่ ะดึงดูดให้ผอู้ ่านคล้อยตามวรรณคดีเรือ่ งนัน้ ๆ
๘๗

บทที่ ๔
วรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์และบริ บททำงประวัติศำสตร์

ในบทที่ ๒ และ บทที่ ๓ ผู้เขียนได้ให้ความรูค้ วามเข้าใจพื้นฐานทางวรรณคดีเกี่ยวกับ


ประวัติศ าสตร์ รวมไปถึงลักษณะเฉพาะของวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ บทนี้ผู้เขียนมุ่ง
แสดงให้เห็นถึง มิติของวรรณคดีเกี่ยวกับ ประวัติศ าสตร์และบริบททางประวัติศ าสตร์ในสมัย
ต่ า ง ๆ ที่ ม ีค วามสัม พั น ธ์ ก ั น เพื่ อ สะท้ อ นให้ เ ห็ น ลัก ษณะเฉพาะของวรรณคดีเ กี่ ย วกั บ
ประวัติศาสตร์ว่า ในการนาเสนอเนื้อหา ผู้แต่ งมักจะหยิบยกเหตุการณ์ ในอดีต ของมนุ ษ ย์มา
เขียน ไม่ว่าจะเป็ นเหตุการณ์บา้ นเมือง ระบบชนชัน้ สถานภาพชายหญิง ค่านิยม โครงสร้างทาง
เศรษฐกิจ ประเพณี ว ัฒ นธรรม ป ญ ั หาต่ า ง ๆ เป็ น ต้น อาจกล่ าวได้ว่ า ลัก ษณะเฉพาะของ
วรรณคดีก ลุ่ ม นี้ คือ การแสดงความสัม พัน ธ์กับ บริบ ทสังคม ทัง้ นี้ อาจเกิด จากผู้แต่ งได้รบั
อิทธิพลจากสังคมสมัยทีแ่ ต่ง หรือสภาพสังคมมีอทิ ธิพลต่อ ผูแ้ ต่ง โดยตรีศลิ ป์ บุญขจร (๒๕๔๗ :
๔ - ๗) กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคมว่า อาจแบ่งได้ ๓ ลักษณะ ลักษณะ
แรก วรรณกรรมสะท้อนสภาพสังคม คือ สะท้อนประสบการณ์ ของผู้เขียนและเหตุการณ์ ส่วน
หนึ่งของสังคม ลักษณะทีส่ อง สังคมมีอทิ ธิพลต่อวรรณกรรมหรือต่อนักเขียน นักเขียนที่อยู่ใน
สังคมย่อมได้รบั อิทธิพลจากสังคมทัง้ ด้านวัฒนธรรม ศาสนา ปรัชญาและการเมือง โดยสภาพ
เศรษฐกิ จ และการเมือ งมีส่ ว นก าหนดแนวโน้ ม ของวรรณกรรมด้ ว ย และลัก ษณะที่ ส าม
วรรณกรรมหรือนักเขียนมีอิทธิพ ลในการสร้างค่านิยม รวมทัง้ ความรู้สกึ นึกคิด นักเขียนจึงมี
บทบาทในฐานะผู้นาแนวความคิดของสังคมและผู้นาทางวัฒนธรรมที่สาคัญ ยิง่ นอกจากนี้ก็
สอดคล้องกับที่ วิทย์ ศิวะศริยานนท์ กล่าวว่า เนื่องจากกวีเป็ นหน่ วยหนึ่งของคนในสังคม จึงไม่
สามารถหลบหลีกจากสภาพแวดล้อมได้ทต่ี นเกิดได้ (๒๕๔๑ : ๑๙๖ - ๒๑๑)
การเรียนรู้ว รรณคดีเกี่ยวกับประวัติศ าสตร์ จึงจาเป็ น ต้อ งพิจารณาบริบ ทสังคมหรือ
บริบททางประวัตศิ าสตร์ประกอบด้วย ซึง่ หมายถึง การพิจารณาสภาพเหตุการณ์บา้ นเมือง การ
ดาเนินชีวติ ของคนในสังคมในแต่ละยุคสมัยเพื่อ สะท้อนเห็นความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกบั
สังคมแห่งยุคสมัยได้อย่างทีช่ ดั เจนยิง่ ขึน้ สาหรับการนาเสนอวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ใน
บทนี้ ผูเ้ ขียนจะนาเสนอตัง้ แต่วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ในสมัยสุโขทัย วรรณคดีเกี่ยวกับ
ประวัติศ าสตร์ในสมัย อยุ ธ ยา วรรณคดีเกี่ย วกับ ประวัติศ าสตร์ในสมัย ธนบุ ร ี และวรรณคดี
เกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ในสมัยรัตนโกสินทร์ ทัง้ นี้ ผูเ้ ขียนจะยกทัง้ บริบททางประวัตศิ าสตร์ และ
บริบททางวรรณคดีในแต่ ละยุคสมัยมาประกอบการอธิบายโดยสังเขป เพื่อให้ผู้อ่ านมองเห็น
ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกบั ประวัตศิ าสตร์มากยิง่ ขึ้น ดังรายละเอียดความสัมพันธ์ระหว่าง
วรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์กบั บริบททางประวัตศิ าสตร์ในยุคสมัยต่าง ๆ ต่อไปนี้
๘๘

๔.๑ วรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์ในสมัยสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยอยู่ภายใต้การปกครองของขอมมาอย่างยาวนาน ราวต้นพุทธศตวรรษ
ที่ ๑๖ อานาจของขอมในแหลมอินโดจีนเสื่อมลง พ่อขุนบางกลางท่าวเจ้าเมืองบางยางกับพ่อขุน
ผาเมืองเจ้าเมืองราดช่วยกันขจัดอิทธิพลของขอมออกจากสุโขทัยได้สาเร็จ และประกาศอิสรภาพ
ไม่ขน้ึ กับขอมอีกต่อไป พ่อขุนบางกลางท่าวสถาปนาตนขึน้ เป็ นกษัตริย์นามว่าพ่อขุนศรีอนิ ทรา
ทิต ย์ เมื่อ พ่ อ ขุน ศรีอิน ทราทิต ย์ส วรรคต พ่ อ ขุน รามค าแหงจึงขึ้น ครองราชย์ เป็ น องค์ต่ อ มา
ส าหรับ การศึก ษาวรรณคดี เ กี่ย วกับ กับ ประวัติศ าสตร์ ในสมัย สุ โขทัย นี้ ผู้เขีย นน าเสนอทัง้
เหตุ ก ารณ์ บ้ า นเมือ ง บริบ ทวรรณคดีเ กี่ย วกับ ประวัติศ าสตร์ท่ีแ ต่ ง ในสมัย สุ โขทัย และยก
กรณีศกึ ษาเรือ่ งศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหงประกอบการอธิบาย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๔.๑.๑ เหตุกำรณ์ บ้ำนเมือง
การกล่าวถึงเหตุการณ์บา้ นเมืองในสมัยสุโขทัย ผูเ้ ขียนเน้นศึกษาเหตุการณ์บา้ นเมืองใน
สมัยพ่อขุนรามคาแหง เพราะเป็นยุคสมัยทีอ่ าณาจักรสุโขทัยเจริญรุง่ เรืองเป็นอย่างมาก
ในรัช สมัย ของพ่ อ ขุ ม รามค าแหง ได้ ข ยายอาณาเขตออกไปอย่ า งกว้ า งขวางจน
เจริญรุ่งเรืองกว่ารัชกาลอื่น ๆ ภายหลังเมื่อสวรรคต พระเจ้าเลอไท พระราชโอรสได้ครองราชย
สมบัติ สมัยนี้หวั เมืองมอญซึ่งเป็ นเมืองขึน้ ของกรุงสุโขทัย ในสมัยพ่อขุนรามคาแหงเป็ นกบฏตัง้
แข็งเมือง พระเจ้าเลอไท ส่งกองทัพออกไปปราบปราม แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ ต่อมาพระราช
โอรสได้ขน้ึ ครองราชย์ ทรงพระนามว่า "พระมหาธรรมราชาลิไทย (ที่ ๑)" ทรงเป็ นกษัตริยท์ ่เี อา
พระทัยใส่แต่ในทางธรรม ทาให้สุโขทัยขาดความเข้มแข็ง จนไม่สามารถควบคุมประเทศราชไว้
ได้ ดังนัน้ พระเจ้าอู่ท อง จึงแข็งเมือ งและประกาศอิส รภาพ ไม่ย อมขึ้น กับ กรุงสุ โขทัย พ.ศ.
๑๘๙๓ เป็นต้นมา ขุนหลวงพะงัว่ แห่งอยุธยา เสวยราชสมบัติ และได้ส่งกองทัพมาตีเมืองต่าง ๆ
ของสุโขทัย แต่ไม่สามารถตีหกั เข้าเมืองได้ จนกระทังเข้ ่ าสู่ยุค "พระเจ้าลือไท" (พระมหาธรรม
ราชาที่ ๒) ขึน้ ครองราชย์ กรุงศรีอยุธยาจึงยกกองทัพไปตีเมืองชากังราว (กาแพงเพชร) ซึง่ พระ
เจ้าลือไทย เสด็จมาบัญชาการรบเอง จนขุนหลวงพะงัวไม่ ่ สามารถตีหกั เอาเมืองได้ แต่ต่อมาทรง
พระราชดาริว่า หากขืนรบต่อไปก็คงเอาชนะกองทัพของขุนหลวงพะงัวไม่ ่ ได้ จึงทรงยอมอ่อน
น้อมโดยดี นับแต่นนั ้ มากรุงสุโขทัยก็สญู เสียเอกราชกลายเป็นเมืองขึน้ ของกรุงศรีอยุธยา
พิสฐิ เจริญวงศ์ และคณะ (๒๕๓๔ : ๘๕) กล่าวว่า อาณาจักรสุโขทัยรุง่ เรืองมากในสมัย
พ่อขุนรามคาแหงมหาราช สมัยนี้มรี ะบบการปกครองแบบบิดาปกครองลูกหรือการปกครองคน
ในครอบครัว คือพระมหากษัตริยเ์ ป็ นเสมือนพ่อ ข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนคนในครอบครัว
โดยปกครองลดหลันกั ่ นไป ครัน้ อิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงจึงเปลี่ยนไปใช้คาว่าพระยา
ทาให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริยก์ ลายสภาพเป็ นข้ากับเจ้า บ่าวกับนายไป
ในสมัย พ่ อ ขุ น รามค าแหงเจริญ สู ง สุ ด ทัง้ ในด้ า นศาสนา ศิล ปวัฒ นธรรม วิช าการ
ตลอดจนเศรษฐกิจ พระองค์ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยทศพิธราชธรรม หลังจากสิ้นสมัยของ
๘๙

พระองค์บ รรดาหัว เมือ งต่ าง ๆ จึงเริม่ แยกตัว เป็ น อิส ระ ครัน้ ถึงสมัย พระยาลิไท แม้อ านาจ
ทางการเมื อ งจะไม่ เ ที ย บเท่ า กั บ สมั ย พ่ อ ขุ น รามค าแหงมหาราช แต่ ก็ รุ่ ง เรือ งในทาง
พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเป็ นอันมาก อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้สุโขทัย ประสบกับปญั หาการ
คุกคามจากอาณาจักรอยุธยา สุดท้ายก็ถูกผนวกให้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไป

๔.๑.๒ บริ บทวรรณคดี


วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์สมัยสุโขทัยมักแต่งเป็ นจารึก เช่น ศิลาจารึกหลักที่ ๑
(ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง) ศิลาจารึกหลักที่ ๒ (ศิลาจารึกวัดศรีชุม) ศิลาจารึกหลักที่ ๓ (ศิลา
จารึกนครชุม) ศิลาจารึกหลักที่ ๔ ๕ ๖ และ๗ (ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง) ศิลาจารึกหลักที่ ๘ (ศิลา
จารึกเขาสุมนกุฎ) ศิลาจารึกหลักที่ ๙ (ศิลาจารึกพ่อวัดป่าแดง) ศิลาจารึกหลักที่ ๑๐ (ศิลาจารึก
พ่อ จ. ศ. ๗๖๖) ศิลาจารึกหลักที่ ๑๑ (จารึกวัดเขาถม เมืองปากน้ าโพ) ศิลาจารึกหลักที่ ๑๒
(จารึกที่เมืองก าแพงเพชร) ศิลาจารึกหลักที่ ๑๓ (จารึกรอยพระพุทธยุคล บาทวัดบวรนิเวศ)
ศิลาจารึกหลักที่ ๑๔ (ศิลาจารึกวัดเขมา) และศิลาจารึกหลักที่ ๑๕ (ศิลาจารึกวัดพระเสด็จ)
กรณี ศึกษำเรื่องศิ ลำจำรึกพ่อขุนรำมคำแหงที่สมั พันธ์กบั ประวัติศำสตร์
ศูนย์มานุ ษยวิทยา (๒๕๕๐, อ้างถึง ตรงใจ หุตางกูร วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก
พยัคศรี, ๒๕๔๖) กล่าวถึงภูมหิ ลังของจารึกพ่อขุนรามค าแหงว่า บ้างเรียกว่า หลักที่ ๑ ศิล า
จารึกพ่ อขุนรามค าแหง จังหวัดสุโขทัย หรือศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง จารในปี พุทธศักราช
๑๘๓๕ มีจานวน ๔ ด้าน มี ๑๒๗ บรรทัด ด้านที่ ๑ มี ๓๕ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๓๕ บรรทัด ด้าน
ที่ ๓ มี ๒๗ บรรทัด และด้านที่ ๔ มี ๒๗ บรรทัด วัตถุของจารึกเป็ นหินทรายแป้งเนื้อละเอียด
ลักษณะวัตถุเป็ นหลักสี่เหลี่ยมด้านเท่า ทรงกระโจม ขนาดกว้างด้านละ ๓๕ ซม. สูง ๑๑๑ ซม.
เรือ่ งทีม่ ใี นศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหงนี้แบ่งออกได้เป็ นสามตอน ตอนที่ ๑ ตัง้ แต่บรรทัดที่ ๑ ถึง
๑๘ พ่อขุนรามคาแหงเล่าประวัตขิ องพระองค์ตงั ้ แต่ประสูตจิ นเสวยราชสมบัติ ใช้คาว่า “กู” เป็ น
พื้น ตอนที่ ๒ ไม่ใช้ค าว่า “กู” ใช้คาว่า “พ่อ ขุนรามคาแหง” เล่าเหตุต่ าง ๆ และธรรมเนียมใน
เมืองสุโขทัย เรื่องสร้างพระแท่นมนังศิลาเมื่อ ม.ศ. ๑๒๑๔ เรื่องสร้างพระธาตุเมืองศรีสชั นาลัย
เมือ่ ม.ศ. ๑๒๐๗ และทีส่ ุดเรือ่ งประดิษฐ์ตวั อักษรไทยขึน้ เมือ่ ม.ศ. ๑๒๐๕ ตอนที่ ๓ ตัง้ แต่ดา้ นที่
๔ บรรทัดที่ ๑๒ ถึงบรรทัด สุ ดท้าย เข้าใจว่า ได้จารึก ภายหลังหลายปี เพราะตัว หนังสือ ไม่
เหมือนกับตอนที่ ๑ และ ที่ ๒ คือ ตัวพยัญชนะลีบกว่าทัง้ สระทีใ่ ช้กต็ ่างกันบ้าง ตอนที่ ๓ นี้ เป็ น
คาสรรเสริญยอพระเกียรติพ่อขุนรามคาแหง และกล่าวถึงอาณาเขตเมืองสุโขทัยทีแ่ ผ่ออกไป
ด้านที่ ๑ กล่าวโดยสรุปว่า พ่อขุนรามคาแหงทรงเรียกพระองค์เองว่า “กู” ทรงเล่าพระ
ราชประวัตขิ องพระองค์ว่าทรงเป็นโอรสของพ่อขุนศรีอนิ ทราทิตย์กบั นางเสือง มีพระเชษฐา พระ
อนุ ชา และพระขนิษฐภคินี ร่วมพระมารดาเดียวกัน ๕ พระองค์ องค์โตสวรรคตตัง้ แต่ยงั ทรงพระ
เยาว์ เมื่อพระองค์มพี ระชนมายุได้ ๑๙ พรรษา พระองค์ทรงทายุทธหัตถีกบั ขุนสามชน เจ้าเมือง
๙๐

ฉอด พระองค์ ท รงได้ช ัย ชนะ พระราชบิด าจึง พระราชทาน พระนามว่ า “พระรามค าแหง”
ระหว่างทีพ่ ่อขุนศรีอนิ ทราทิตย์ยงั มีพระชนมายุอยู่ พระองค์ทรงดูแลพระราชบิดาและพระชนนี
โดยไม่ขาดตกบกพร่อง และเมื่อพระเชษฐาขึน้ ครองราชย์ พระองค์ก็ทรงปฏิบตั ติ ่อพระเชษฐา
ดังที่ปฏิบตั ิต่ อพระชนกและพระชนนี และเมื่อ พระเชษฐาสวรรคต พระองค์ทรงได้ราชสมบัติ
ทัง้ หมด เมือ่ พระองค์ขน้ึ เสวยราชสมบัตแิ ล้ว ทรงใช้คาว่า “พ่อขุนรามคาแหง” ทรงกล่าวถึงความ
อุดมสมบูรณ์ ของเมืองสุโขทัย ว่ามีทงั ้ การค้าขายอย่างเสรี ทรงปกครองคนด้วยความยุติธรรม
ทรงเอื้อเฟื้ อต่อผูท้ ่มี าของความช่วยเหลือ ทรงมีความกรุณาปรานีต่อเชลยศึก ทรงโปรดเกล้า ฯ
ให้แขวนกระดิง่ ไว้ทห่ี น้าประตูเพื่อให้ราษฎรไปสันกระดิ่ ง่ เพื่อถวายฎีกาต่อพระองค์ได้
ด้านที่ ๒ กล่าวโดยสรุปว่าหลังจากทีท่ รงได้ยนิ กระดิง่ และรับฎีกาแล้วพ่อขุนรามคาแหง
ทรงวินิจฉัยด้วยความเป็ นธรรม จนเป็ นทีก่ ล่าวขวัญของราษฎร ทรงกล่าวถึงความอุดมสมบูรณ์
ของผลหมากรากไม้ในสุโขทัย การมีน้ าสมบูรณ์ และมีปราการที่มนคง ั ่ ชาวเมืองสุโขทัยทุกชน
ชัน้ ตัง้ แต่ เจ้าเมือ งลงมาต่ างถือ ศีล เมื่อ เข้า พรรษา เมื่อ ออกพรรษาก็ท าบุ ญ กราลกฐิ น ที่ว ัด
อรัญญิกนอกเมืองสุโขทัย ครัน้ เสร็จพิธแี ล้วชาวเมืองจะเข้ามาในเมืองเพื่อดูเจ้าเมืองเผาเทียน
เล่ น ไฟ ต่ อ มาก็ ก ล่ า วถึ ง สภาพภู ม ิศ าสตร์ข องเมือ งสุ โ ขทัย ว่ า เริ่ม บริเ วณใจกลางเมือ งมี
พระพุทธรูปทอง มีพระอัฐฐารศ มีพระอารามขนาดใหญ่ ขนาดกลาง มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่
ขนาดกลาง และมีพระภิกษุ ในระดับต่าง ๆ ด้านทิศตะวันตกมีวดั อรัญ ญิกอันเป็ นที่พานักของ
พระสัง ฆราช ผู้ ซ่ึ ง มีป ญ ั ญาหลัก แหลมกว่ า พระเถระชัน้ ผู้ ใ หญ่ ทุ ก องค์ ล้ ว นมาจากเมือ ง
นครศรีธรรมราชและทีก่ ลางวัดอรัญญิกนี้มวี หิ ารขนาดใหญ่ ประดิษฐานพระอัฐฐารศยืน ด้านทิศ
ตะวันออกมีพระอาราม มีสระน้ าขนาดใหญ่ มีไร่มนี า และหมู่บา้ นขนาดเล็กและใหญ่ สวยงามดัง
เนรมิต ขึ้น ด้านที่ ๓ กล่ าวถึงภูมปิ ระเทศและถาวรวัต ถุ สถานด้านทิศ เหนือ ของเมือ งสุ โขทัย
กล่าวถึงภูมปิ ระเทศและไร่นาด้านทิศใต้ของเมืองสุโขทัย กล่าวถึงเทวดาผู้มพี ระนามว่า “พระ
ขพุง” ผูพ้ ทิ กั ษ์รกั ษาเมืองสุโขทัย เมือ่ มหาศักราช ๑๒๑๔ พ่อขุนรามคาแหงโปรดเกล้า ฯ ให้ช่าง
ทากระดานหินขึน้ และนาไปตัง้ ไว้กลางสวนตาล ซึ่งพระองค์ทรงปลูกไว้เมื่อ ๑๔ ปี ก่อน เพื่อใช้
เป็นธรรมาสน์ให้พระเถระขึน้ เทศน์ในวันอุโบสถ และใช้เป็นบัลลังก์ประทับสาหรับพระองค์ในการ
ออกว่ าราชการในวัน ที่ไ ม่ ใ ช่ ว ัน อุ โบสถ ในวัน สิ้น เดือ นและวัน เพ็ญ พ่ อ ขุน รามค าแหงทรง
ช้างเผือกเสด็จไปยังวัดในเขตอรัญ ญิก ต่อมาก็กล่าวถึงศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคาแหงอีก ๓
หลัก อยู่ท่ีเมือ งเชลีย งหลัก หนึ่ ง อยู่ใ นถ้ าพระรามหลัก หนึ่ ง และอยู่ใ นถ้ ารัต นธารหลัก หนึ่ ง
กล่าวถึงศาลา ๒ หลังทีส่ ร้างไว้ในสวนตาลและกระดานหินทีม่ ชี ่อื ว่า “มนังคศิลาบาตร” และด้าน
ที่ ๔ กล่าวเฉลิมพระเกียรติพ่อขุนรามคาแหงว่าเป็ นใหญ่ในเมืองศรีสชั ชนาลัย สุโขทัย และนานา
ประเทศราช เมื่อมหาศักราช ๑๒๐๗ พ่อขุนรามคาแหงทรงขุดพระธาตุขน้ึ บูชา แล้วทรงนาไป
บรรจุไว้ในเจดียก์ ลางเมืองศรีสชั นาลัย เมื่อมหาศักราช ๑๒๐๕ พ่อขุนรามคาแหงทรงประดิษฐ์
อักษรไทย ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน กล่าวถึงอาณาเขตด้านทิศตะวันออกของเมืองสุโขทัยในรัชสมัย
พ่อขุนรามคาแหง กล่าวถึงอาณาเขตด้านทิศใต้ ด้านทิศตะวันตก ด้านทิศเหนือ
๙๑

สาหรับเนื้อหาของเรื่องศิลาจารึก พ่อขุนรามคาแหงที่สมั พันธ์กบั ประวัตศิ าสตร์ มีทงั ้ ใน


ด้านการศึกสงคราม การบริหารบ้านเมือง การเกษตรกรรม พระพุทธศาสนา การประกอบอาชีพ
และวัฒนธรรมประเพณี ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๑. ด้ ำนกำรศึ กสงครำม ในสมัยพ่อขุนรามคาแหง มีการกล่าวถึงการทาศึกสงคราม
ระหว่างพ่อขุนรามคาแหงกับเจ้าเมืองฉอด จนได้รบั ชัยชนะ พ่อขุนศรีอนิ ทราทิตย์จงึ ให้พระนาม
ว่า “พระรามคาแหง” ดังข้อความที่ว่า “เมื่อกูขน้ึ ใหญ่ได้สบิ เก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาที่
เมืองตาก พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้าไพร่ฟ้า
หน้าใสพ่อกู หนีญญ่ายพายจแจ้น กูบ่หนี กูขช่ี า้ งเบกพล กูขบั เข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสาม
ชน ตนก็พุ่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนีพ่อกูจงึ ขึน้ ชื่อกูพระรามคาแหง”
นอกจากนี้ยงั ทรงรวบรวมเผ่าไทยต่าง ๆ เข้ามาอยูภ่ ายใต้การครอบครอง ดังสามารถปราบเมือง
ทางตะวันออก คือ สระหลวง ลุมบาจาย สคา ลุ่มแม่น้าโขง จนไปถึงเวียงจันทน์ เวียงคา ด้านทิศ
ใต้มเี มืองคนที เมืองพระบาง เมืองแพรก สุพรรณภูม ิ ราชบุร ี เพชรบุร ี นครศรีธรรมราช จนถึงฝงั ่
ทะเล ด้านตะวันตกมีเมืองฉอด เมืองหงสาวดี ถึงฝงสมุ ั ่ ทร ด้านทิศเหนือมีเมืองแพร่ เมืองม่าน
ั ่ จนกระทังถึ
เมืองพลัว ฝงโขง ่ งเมืองชวา ดังความว่า
พ่อขุนรามคาแหงนัน้ หาเป็ นท้าวเป็ นพระยาแก่ไทยทังหลาย หาเป็ นครูอาจารย์
สังสอนไทยทั
่ งหลายให้รบู้ ุญรูธ้ รรมแท้ แต่คนอันมีในเมืองไทยด้วย รูด้ ว้ ยหลวก
ด้วยแกล้วด้วยหาญ ด้วยแคะ ด้วยแรง หาคนจักเสมอมิได้ อาจปราบฝูงข้าเสีก
มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบือ้ งตะวันออก รอดสระหลวง สองแคว ลุมบาจาย
ั่
สคา เท้าฝงของเถี งเวียงจันทน์เวียงคาเป็ นทีแ่ ล้ว เบื(้ อ)งหัวนอน รอดคนที พระ
บาง แพรก สุพรรณภูม ิ ราชบุร ี เพชรบุร ี ศรีธรรมราช ฝงทะเลสมุ ั่ ทรเป็ นทีแ่ ล้ว
เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมือง...น หงสาวดี สมุทรหาเป็ นแดน เบื้องตีน
นอน รอดเมืองแพลเมืองม่าน เมืองน... เมืองพลัว พ้นฝงของเมื ั่ องชวา เป็ นที่
แล้ว ปลูกเลีย้ ง ฝูงลูกบ้านลูกเมืองนัน้ ชอบด้วยธรรมทุกคน
(ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง)

พิรยิ ะ ไกรฤกษ์ (๒๕๔๗: ๑๐๙) กล่าวถึงการทาสงครามของพ่อขุนรามคาแหงว่า เมื่อ


พ่อขุนรามราช อายุได้ ๑๙ ปี ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดตีเมืองตาก ซึ่งเป็ นเมืองอยู่ในอาณาเขต
ปกครองของพ่อขุนศรีอนิ ทราทิตย์ พ่อขุนรามราชได้ช่วยพระราชบิดาออกสูร้ บด้วย และสามารถ
ชนช้างชนะขุนสามชนได้ พ่อขุนศรีอนิ ทราทิตย์จงึ ขนานนามพ่อขุนราชราชว่า “พระรามคาแหง”
ชื่อ “พระรามคาแหง” ราตรี ธันวารชร (๒๕๔๒: ๗๕) กล่าวว่าชื่อนี้หมายถึง “พระรามผูเ้ ข้มแข็ง”
หรือ “เจ้ารามผู้เข้มแข็ง” เมื่อขุนศรีอินทราทิตย์ส้นิ พระชนม์พ่อขุนบานเมืองได้ข้นึ ครองราชย์
๙๒

ต่อมา แต่อยู่ในช่วงระยะสัน้ ๆ เมื่อพ่อขุนบานเมืองสิน้ ประชนม์ พ.ศ. ๑๘๒๒ พ่อขุนรามคาแหง


จึงได้ครองราชย์ต่อ ทรงเป็นมหาราชพระองค์แรกของชนชาติไทย
๒. ด้ ำนกำรบริ หำรบ้ำนเมือง ในสมัยพ่อขุนรามคาแหงใช้ระบบการปกครองแบบพ่อ
ปกครองลูก พระมหากษัตริยป์ กครองประชาราษฎร์อย่างใกล้ชดิ ดังพ่อกับลูก เพื่อให้เกิดความ
มันคงปลอดภั
่ ยของราชธานี การแบ่งพื้นที่การปกครองแบ่งเป็ น ๓ ชัน้ คือ ตัวราชธานีเป็ นเขต
ชัน้ ใน บรรดาเมืองต่าง ๆ ทีอ่ ยู่รายรอบราชธานี เป็นเขตชัน้ กลาง และเมืองต่าง ๆ ทีอ่ ยูช่ นั ้ นอก
ออกไปเป็ นเมืองประเทศราช มีการสร้างคันดินคูน้ าเป็ นกาแพงเมือง และมีคูเมืองล้อมรอบอยู่
สามชัน้ เรียกว่า ตรีบูร มีป้อมประจาประตูเมืองทัง้ สี่ทศิ อาณาเขตของกรุงสุโขทัยแผ่ไปอย่าง
กว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคาแหงมหาราช (พ.ศ.๑๘๒๒-๑๘๖๒) ดังที่ศลิ าจารึก หลักที่ ๑
กล่าวว่าทิศเหนือได้เมืองหลวงพระบาง ทิศตะวันออกได้เมืองเวียงจันทน์ และเมืองเวียงคา ทิศ
ใต้ได้เมืองนครศรีธรรมราช ไปจนสุดแหลมมาลายู ทิศตะวันตกได้เมืองหงสาวดี
พ่อขุนรามคาแหงปกครองประชาชนแบบพ่อปกครองลูก เมื่อราษฎรมีเรื่องทุกข์รอ้ นก็
สามารถกราบบังคมทูลได้ โดยมาสันกระดิ ่ ง่ ที่ประตู พระองค์จะเสด็จมารับฟงั ทุกเรื่อง ดังความ
ว่า “ในปากประตูมกี ระดิง่ อันหนึ่งแขวนไว้นนั ้ ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ
เจ็บท้องข้องใจ มันจัก กล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลันกระดิ่ ง่ ” (หน้า ๒๐) และ “ ผิใช่วนั สวดธรรม
พ่อขุนรามคาแหงเจ้าเมืองศรีสชั นาลัยสุโขทัย ขึน้ นัง่ เหนือขดารหิน ให้ฝงู ท่วยลูกเจ้าลูกขุน ถือ
บ้านถือเมือง” (หน้ า ๒๑) ประชาชนต่ างอยู่เย็นเป็ นสุข ดังที่ว่า “ไพร่ฟ้าหน้ าใส” ทัง้ นี้เกิดจาก
เมืองสุโขทัยเป็นเมืองทีอ่ ุดมสมบูรณ์ ในน้ ามีปลา ในนามีขา้ ว ชาวเมืองจึงไม่มกี ารแก่งแย่ง มีแต่
ความเสมอภาพ และได้รบั ความเป็นธรรมโดยทัวหน้ ่ า
๓. ด้ ำนกำรเกษตรกรรม ชาวสุ โขทัย นิ ยมประกอบอาชีพ เกษตรกรรม มีการสร้าง
สรีดภงส์ หรือทานบพระร่วงเพื่อกัน้ น้ าจากภูเขา และมีรางน้ านาไปยังไร่นาของราษฎร เมืองนี้
อุดมไปด้วยพืชพันธุธ์ ญ ั ญาหาร เช่น หมาก พลู มะพร้าว มะขาม มะม่วง และขนุ น ส่วนนอกตัว
เมืองก็มพี ชื สวนนานาชนิด เช่น ทิศตะวันออก ปลูกสวนหมาก สวนพลู สวนมะม่วง สวนมะขาม
ทิศตะวันตก ปลูกสวนมะม่วง ทิศเหนือ (เบื้องปลายตีนนอน) ปลูกสวนมะพร้าว และสวนหมา
กลาง (ขนุ น) ส่วนทิศใต้ (เบือ้ งหัวนอน) ปลูกทัง้ สวนมะม่วง สวนมะขาม สวนมะพร้าว และสวน
หมากลาง “เบือ้ งตะวันออกเมืองสุโขไทนี้ มีพหิ าร มีป่คู รู มีทะเลหลวงมีป่าหมากป่าพลู มีไร่มนี า
มีถนิ่ ฐาน มีบา้ นใหญ่บา้ นเล็ก มีปา่ ม่วงปา่ ขาม ดูงามดังแกล้งแต่ง” (หน้า ๒๒)
๔. ด้ำนพระพุทธศำสนำ ชาวสุโขทัยศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยพ่อขุนรามคาแหง
อาราธนาพระภิกษุสงฆ์ฝ่ายลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราชร่วมกับภิกษุ สงฆ์ฝ่ายเถรวาทเดิมให้
มาอบรมสังสอน ่ มีทงั ้ พระภิกษุสงฆ์ฝ่ายคามวาสี และอรัญวาสี มีการตัง้ สมณศักดิ ์เป็ นปู่ครู เถระ
และมหาเถระ ประชาชนปฏิบตั กิ จิ การทางศาสนาเป็ นประจา เช่น มีการฟงั เทศน์ ฟงั ธรรม รักษา
ศีล ทาบุญ ให้ทาน สร้างวัด “วันเดือนดับ เดือนออก แปดวัน วันเดือนเต็ม เดือนบ้าง แปดวัน ฝูง
๙๓

ปูค่ รู มหาเถรขึน้ นัง่ เหนือขะดารหิน สวดธรรมแก่อุบาสก ฝูงท่วยจาศีล ” และ “คนในเมืองสุโขไท


นี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน” (หน้ า๒๑) ส่งผลให้ชาวเมืองและผู้ปกครองมีจติ เมตตาต่อ
ผูย้ าก “ ได้ขา้ เลือก ข้าเสือหัวพุ่งหัวรบก็ดี บ่อฆ่าบ่ตี” (หน้า๒๑)
๕. ด้ ำนกำรประกอบอำชี พ ในเมืองสุโขทัย พ่อขุนรามคาแหงให้เสรีภาพทางการค้า
อย่างเต็มที่ ทัง้ ยังยกเลิกการเก็บภาษีผ่านด่านภายในประเทศ ซึ่งทาให้มพี ่อค้าเข้ามาทาการ
ค้าขายมากขึน้ ดังศิลาจารึกกล่าวไว้ว่า “เจ้าเมืองบ่เอา จกอบในไพร่ล่ทู าง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขีม่ า้
ไปขาย ใครจักใคร่คา้ ช้างค้า ใครจักใคร่คา้ ม้าค้า ใครจักใคร่คา้ เงือนค้าทองค้า” (หน้า๒๑)
๖. ด้ำนวัฒนธรรมประเพณี ได้แก่ การรักษาศีลในระหว่างเข้าพรรษา และการ
ทอดกฐินหลังออกพรรษา ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง มีงานนักขัตฤกษ์เผาเทียนเล่นไฟ

ภำพที่ ๓ อาณาจักรสุโขทัย (๒๕๕๙. สืบค้นจาก http://sukhothaisongs.blogspot.com)

๔.๒ วรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์ในสมัยอยุธยำ
อาณาจักรกรุงศรีอยุธยามีระยะเวลายาวนานถึง ๔๑๗ ปี ในสมัยนี้มพี ระมหากษัตริย์
ปกครองกันหลายพระองค์ สภาพบ้านเมืองเต็มไปด้วยเรือ่ งราวต่าง ๆ ทัง้ ด้านการทาศึกสงคราม
กับพม่า สงครามภายใน การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ การให้ชาวต่างชาติเข้ามารับราชการ
การจัดการปกครองแบบใหม่ ซึ่งเรียกว่า จตุสดมภ์ ดังที่ชาญวิทย์ เกษตรศิร ิ (๒๕๔๘ : ๓-๑๐)
อยุธยาเป็ นเมืองหลวงของสยาม ๔๐๐ กว่าปี อาณาจักรนี้ถอื กาเนิดมาจากการรวมตัวของแว่น
๙๔

แคว้นสุพรรณบุรแี ละลพบุร ี ประวัติศาสตร์ช่วงแรกเป็ นเรื่องการแก่งแย่งอานาจของราชวงศ์อู่


ทองและราชวงศ์สุพ รรณบุร ี จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสุพ รรณบุร ี ในช่วงแรกของอาณาจัก ร
กษัตริย์พ ยายามขยายอ านาจออกไป เช่น การยึดอาณาจักรขอม การครอบครองอาณาจัก ร
สุโขทัย ยึดอานาจของเมืองนครศรีธรรมราช การพยายามมีอานาจเหนือรัฐมลายู มีการแข่งขัน
และขัดแย้งกับพม่าอยู่ต ลอดเวลาเรื่องการแย่งชิงอ านาจ มีการปกครองโดยใช้ระบบศักดินา
แบ่งเป็ นเจ้า-ขุนนาง-พระสงฆ์-ราษฎร สถาบันกษัตริยพ์ ยายามใช้พธิ กี รรมทัง้ ฮินดูและพราหมณ์
เพื่อ สร้างอ านาจและความศัก ดิ ์สิทธิ ์ ในการปกครองจะผสมผสานระหว่าง “ธรรมราชา” และ
“เทวราชา” ส าหรับ สภาพทางภู ม ิศ าสตร์ พ บว่ า เป็ น เกาะที่ม ีแ ม่ น้ า ล้อ มรอบ ได้ แ ก่ แม่ น้ า
เจ้าพระยา ป่าสักและลพบุร ี สภาพภูมศิ าสตร์เป็ นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว และอยู่
ใกล้ทะเล จึงเป็นการผสมผสานระหว่างอาณาจักรในแผ่นดิน (คุมการเกษตร) และอาณาจักรทาง
ทะเล (คุ ม การค้า) ถือ ว่ าเป็ น อาณาจัก รที่เอื้อ ต่ อ การค้ากับ ต่ างประเทศมาก เช่ น จีน มลายู
อินโดนีเซีย อินเดีย ญี่ปุ่น โปรตุเกส อังกฤษ ฝรังเศส ่ และฮอลันดา เมื่อถูกพม่าทาลายจนย่อย
ยับ ผู้น าไทยรุ่น ต่ อ มา คือ พระเจ้าตากสิน หรือ พระพุ ท ธยอดฟ้ าจุฬ าโลก รัช กาลที่ ๑ ต่ าง
พยายามสร้างศูนย์กลางขึน้ ใหม่สองฝงแม่ ั ่ น้ าของบางกอก โดยสืบมรดกทางประวัตศิ าสตร์และ
วัฒนธรรมจากอยุธยา แต่ก็สร้างลักษณะเด่นไปด้วย โดยในการนาเสนอบริบทสังคมอยุธยานี้
ผู้เขียนจะนาเน้ นไปที่เหตุการณ์ บ้านเมืองที่ส่งผลต่อการแต่งวรรณคดีซ่งึ พบว่าเน้ นการบันทึก
เหตุการณ์และยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๔.๒.๑ เหตุกำรณ์ บ้ำนเมือง
กรุงศรีอยุธยากาเนิดขึ้น พ.ศ.๑๘๙๓ มีพระเจ้าอู่ทองซึ่งเสวยราชย์ข้นึ เป็ นสมเด็จพระ
รามาธิบดีท่ี ๑ รัชสมัยของพระองค์นบั ได้ว่าเป็ นยุคของการก่อร่างสร้างเมือง และวางรูปแบบการ
ปกครองขึน้ ใหม่ ทรงแบ่งการบริหารราชการออกเป็ น ๔ กรม ประกอบด้วย เวียง วัง คลัง และ
นา หรือที่เรียกกันว่า จตุสดมภ์ สมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๑ ครองราชย์ได้เพียง ๑๙ ปี ก็สวรรคต
สมเด็จพระราเมศวรโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๑ จึงขึน้ ครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา แต่
ครองราชย์ได้เพียงปี เดียวก็ถู ก ขุนหลวงพะงัวจากราชวงศ์
่ สุพ รรณภูมผิ ู้มศี ัก ดิ ์เป็ นลุ งแย่ง ชิง
อานาจไป แล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็ นสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ศุ ภ รัต น์ เลิศ พาณิ ชย์กุ ล ,
๒๕๓๔: ๑๑๗) เมื่อสิน้ รัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราช พระราชโอรสชื่อเจ้าทองลันก็เสด็จ
ขึน้ ครองราชย์ต่อ แต่ครองได้เพียง ๗ วันก็ถูกสมเด็จพระราเมศวรชิงราชสมบัตกิ ลับคืน แล้วให้
พระรามราชาพระราชโอรสขึน้ ครองราชย์ต่อจากพระองค์ จนกระทังถึ ่ งปีท่ี ๒๑ พระรามราชาก็ม ี
เรื่องทะเลาะกับเจ้าเสนาบดี จนเจ้าเสนาบดีต้องไปเชิญพระอินทราชา เจ้าเมืองสุพรรณบุรผี เู้ ป็ น
พระราชนัดดาของขุนหลวงพะงัวขึ ่ น้ ครองราชย์แทน นับแต่นัน้ มามีการแย่งชิงอานาจและผลัด
กันขึน้ เป็นใหญ่ระหว่าง ๒ ราชวงศ์น้ีอยูถ่ งึ ๔๐ ปีจนกระทังสมเด็
่ จพระนครอินทร์ ซึง่ เป็ นใหญ่อยู่
ทางสุพรรณภูมแิ ละมีความสัมพันธ์แน่ นแฟ้นกับสุโขทัยเข้ามาแย่งชิงอานาจจนสาเร็จ ในสมัยที่
๙๕

ขึน้ ครองราชย์ พระองค์พยายามเข้าไปตีเขมรอยู่บ่อยครัง้ แต่กไ็ ม่สาเร็จ จนมาถึงยุคของสมเด็จ


เจ้าสามพระยา พระราชโอรส จึงสามารถตีนครธมเมืองหลวงของเขมรได้
ในสมัยสมเด็จเจ้าสามพระยามีการผนวกสุโขทัยและสุพรรณภูมไิ ว้ดว้ ยกันเพื่อมิให้ตกอยู่
ใต้อทิ ธิพลของล้านนาซึง่ เป็ นคู่แข่งของอยุธยา สมัยนี้มกี ารติดต่อค้าขายกับกับจีน วัดวาอาราม
ต่าง ๆ ได้รบั การบูรณะขึน้ ใหม่ หลังรัชกาลสมเด็จเจ้าสามพระยาแล้ว กรุงศรีอยุธยาเข้าสู่ยุคของ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโอรสของเจ้าสามพระยา สมัยนี้ท รงขยายอาณาเขตของกรุงศรี
อยุธยาออกไปอย่างกว้างขวาง มีการติดต่อค้าขายกับบ้านเมืองภายนอก รวมทัง้ มีการปฏิรปู การ
ปกครองบ้า นเมือ งขึ้น ใหม่ เช่ น ทรงยกเลิก การปกครองที่ ก ระจายอ านาจให้เมือ งลูก หลวง
ปกครองอย่างเป็ นอิสระมาเป็ นการรวบอานาจไว้ทพ่ี ระมหากษัตริย์ มีการสร้างระบบการถ่วงดุล
อานาจ โดยแยกกิจการทหารออกจากพลเรือน การใช้ระบบศักดินาเป็ นเครื่องมือในการสร้าง
ความสัมพันธ์ทางชนชัน้ มีการส่งผู้รงั ้ ไปปกครองหัวเมืองชัน้ ใน ขึน้ ตรงต่อเมืองหลวง ทัง้ มีการ
ผนวกหัว เมือ งประเทศราช ได้แ ก่ สุ โขทัย และนครศรีธ รรมราช เข้า มาเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ
ราชอาณาจักรอยุธยา สมัยนี้กรุงศรีอยุธยากลายเป็ นเมืองที่งดงามและมีระเบียบแบบแผนมาก
ขึน้ มีวดั พระศรีสรรเพชญ์เป็นวัดคู่เมือง อย่างไรก็ตาม การทีพ่ ระบรมไตรโลกนาถทรงลดอานาจ
ของขุนนางลง ส่งผลให้เกิดการต่อต้านการปฏิรปู การปกครองกันขึน้ กล่าวคือ พระยายุทธิษฐิระ
หรือพระยาเปลียง เจ้านายเชื้อพระวงศ์สุโขทัย ซึ่งได้รบั การแต่งตัง้ จากอยุธยาให้เป็ นเจ้าเมือง
ศรีสชั นาลัยได้ก่อกบฏขึน้ โดยหันไปสมคบกับพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา และชักนา
ให้พระเจ้าติโลกราชยกทัพมาตีพษิ ณุ โลกและกาแพงเพชร แต่ตไี ม่สาเร็จ ช่วงนี้สมเด็จพระบรม
ไตรโลกนาถต้องอพยพไปอยู่ท่พี ษิ ณุ โลกเพื่อทาศึกกับล้านนา (พระราชพงศาวดารฉบับหลวง
ประเสริฐนิติ ์, ๒๕๐๗ : ๔๔๘ - ๔๕๐)
สาเหตุความขัดแย้งระหว่างพระยายุทธิษฐิระกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เกิดจาก
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเคยดาริไว้สมัยทรงพระเยาว์ว่า หากได้ขน้ึ เป็ นพระมหากษัตริย์
จะชุบ เลี้ยงพระยายุท ธิษ ฐิระให้ได้เป็ น พระร่ว งเจ้าสุ โขทัย ครัน้ ทรงครองราชย์แล้ว กลับ ทรง
แต่งตัง้ ให้พระยายุทธิษฐิระเป็ นเพียงพระยาสองแคว ซึง่ มีบรรดาศักดิ ์ลดลงกว่าตาแหน่ งพระมหา
ธรรมราชา (พระร่วงเจ้าสุโขทัย) โดยก่อนหน้านี้พระยา ยุทธิษฐิระซึ่งเป็ นพระยาเชลียงครอง
เมืองศรีสชั นาลัยอยู่คดิ จะตัง้ ตนเป็ นพระมหาธรรมราชา (พระร่วงเจ้าสุโขทัย) ต่อจากพระอัยกา
แต่ขา้ ราชบริพารทางสองแควกลับยกพระราเมศวรขึน้ เป็ นพระร่วงแทน พระยายุทธิษฐิระเกรง
พระบารมีจงึ ทรงนิ่งเสีย แต่เมื่อทรงไม่ได้ตามประสงค์จงึ ทรงเริม่ เอาใจออกห่างจากพระบรมไตร
โลกนาถไปขึน้ กับพระยาติโลกราช กษัตริยล์ า้ นนาในขณะนัน้ เหตุการณ์น้ีส่งผลให้เกิดการเฉลิม
พระนามกษัตริยล์ า้ นนาจากพระยาเป็นพระเจ้าเพื่อให้เสมอศักดิ ์ด้วยกรุงศรีอยุธยา พระนามพระ
ยาติโลกราชจึงได้รบั การเฉลิมเป็ นพระเจ้าติโลกราช (พิเศษ เจียจันทร์พงษ์, ๒๕๕๓: ๒๐; สุจติ ต์
วงษ์เทศ, ๒๕๔๘: ๑๓๘) หลังจากทีพ่ ระยายุทธิษฐิระนาสุโขทัยไปขึน้ กับล้านนา สมเด็จพระบรม
ไตรโลกนาถจึงเสด็จจากกรุงศรีอยุธยากลับมาพานัก ณ เมืองสรลวงสองแคว ต่อมาจึงสถาปนา
๙๖

เมืองนี้ขน้ึ เป็ นเมืองพระพิษณุโลกสองแคว เป็ นราชธานีฝา่ ยเหนือของอาณาจักรแทนสุโขทัย ใน


เวลาเจ็ดปี ให้หลังสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงตี เอาสุโขทัยคืนได้ แต่เหตุการณ์ทางเมือง
เหนือยังไม่เข้าสู่ภาวะทีน่ ่ าไว้วางใจ จึงทรงตัดสินพระทัยพานักยังนครพระพิษณุ โลกสองแควต่อ
จนสิ้นรัชกาล ส่วนทางอยุธยาทรงได้สถาปนาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ พระราชโอรสเป็ น
พระมหาอุ ปราช ดูแลอยุธยาและหัว เมือ งฝ่ายใต้ สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถือว่าเป็ น
กษัตริยท์ ค่ี รองราชย์ยาวนานทีส่ ุดในกรุงศรีอยุธยา คือ เป็นระยะเวลาถึง ๔๐ ปี
เมื่อ สมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๒ (โอรสของพระบรมไตรโลกนาถ) สิ้นพระชนม์ใน พ.ศ.
๒๐๗๒ พระอาทิตยเจ้าก็ทรงสืบราชบัลลังก์ต่อ ทรงใช้พระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ที่
๔) ครัน้ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ สิ้นพระชนม์ พระรัษ ฎาธิราชพระโอรสวัย ๕ พรรษาก็ข้นึ
ครองราชย์เป็ นล าดับต่ อ มา แต่ ถู กพระไชยราชาสาเร็จโทษแล้ว ขึ้น ครองราชย์แทน โดยทรง
แต่งตัง้ พระเทียรราชาพระอนุชาขึน้ เป็นพระอุปราช สมัยนี้ทรงยกทัพไปตีลา้ นนาจนสาเร็จ
กล่าวถึงพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้กษัตริย์พม่าได้แผ่อทิ ธิพลลงมายึดเมืองมอญ บรรดามอญ
จากเมืองเชียงกรานทีไ่ ม่ยอมตกอยู่ใต้อานาจของพม่าจึงหนีมาพึง่ ฝ่ายไทย ส่งผลให้พระเจ้าไชย
ราชาธิราชจาต้องยกกองทัพไปขับไล่พม่าและยึดเมืองเชียงกรานคืนมาได้ (ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์
กุล, ๒๕๓๔ : ๑๗๑ – ๑๗๒) ทาให้ความขัดแย้งระหว่างไทยกับพม่าเปิดฉากขึน้ ในช่วงทีท่ าศึก
สงครามอยู่น้ี ท้าวศรีสุดาจันทร์มเหสีของพระไชยราชาธิราชลอบมีชกู้ บั ขุนชินราช ผูด้ ูแลหอพระ
แล้วลอบวางยาพิษปลงพระชนม์พระไชยราชา เมื่อพระไชยราชาสิน้ พระชนม์ พระยอดฟ้าโอรส
ของพระไชยราชาจึงขึน้ ครองราชย์แทน แต่กถ็ ูกท้าวศรีสุดาจันทร์ปลงพระชนม์อกี เพื่อสถาปนา
ขุนชินราชขึน้ เป็ นกษัตริยพ์ ระนามว่าขุนวรวงศา ในช่วงนี้พระเทียรราชาได้ทรงผนวชเพื่อเลี่ยง
ภัย เมื่อเข้าสู่ภาวะคับขัน ข้าราชการจึงร่วมกันปลงพระชนม์ขุนวรวงศาและท้าวศรีสุดาจันทร์
แล้วอัญเชิญพระเทียรราชาให้ลาสิกขาบทขึน้ ครองราชย์แทน ทรงพระนามว่าพระมหาจักรพรรดิ
ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าหงสาวดีได้ส่งเครื่อ งราชบรรณาการมา
ถวาย เพื่อจะทูลขอช้างเผือก นับว่าเป็ นกลอุบายเพื่อยกทัพมาตีไทย เพราะรูว้ ่าจะถูกปฏิเสธ
พระเจ้าหงสาวดีได้ยกทัพมาทางด่านแม่ละเมา ต่อมาก็เข้าตีเมืองกาแพงเพชรแล้วแยกทัพไปตี
เมือ งสุ โขทัย หลัง จากนั ้น จึง ล้ อ มเมือ งพิ ษ ณุ โ ลกไว้ ฝ่ า ยพระมหาธรรมราชาผู้ ร กั ษาเมือ ง
พิษณุโลกได้เข้าต่อสูก้ บั ข้าศึกอย่างแข็งขัน แต่กส็ ไู้ ม่ไหว เพราะเกิดไข้ทรพิษขึน้ ในเมือ งและขาด
เสบียงอาหาร จนต้องยอมจานนต่อพม่า พระเจ้าบุเรงนองเอาใจพระมหาธรรมราชาโดยยกให้
เป็ น ใหญ่ ท างเหนือ แล้ว นาพระราเมศวร พระยาจักรี พระยาสุ นทรสงคราม และสมเด็จพระ
นเรศวรไปเป็ นองค์ประกัน ในระหว่างทีพ่ ระมหาจักรพรรดิผนวชอยู่ พระมหินทราธิร าชพระราช
โอรสของพระองค์ขน้ึ ครองราชย์แทน สมัยนี้เกิดการแย่งชิงอานาจระหว่างพระมหินทราธิราชกับ
พระมหาธรรมราชาขึน้ (สายชล วรรณรัตน์ , ๒๕๓๔ : ๑๘๗) เมื่อเหตุการณ์ เริม่ บานปลายพระ
มหาจักรพรรดิจงึ ทรงลาผนวช แล้วเสด็จขึน้ ครองราชย์อกี ครัง้ ทรงยกทัพขึน้ มาเมืองพิษณุ โลก
เพื่อรับพระวิสุทธิกษัตรี (พระมเหสีของพระมหาธรรมราชา) รวมถึงพระราชโอรสและพระราช
๙๗

ธิดาของพระมหาธรรมราชาซึ่งขณะนัน้ อยู่กรุงหงสาวดีลงมาเป็ นองค์ประกันอยู่ท่กี รุงศรีอยุธยา


พระมหาธรรมราชาส่งสาสน์ให้พระเจ้าหงสาวดียกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ระหว่างการทาสงคราม
สมเด็จ พระมหาจัก รพรรดิท รงประชวรและสวรรคตในเวลาต่ อ มา อย่ างไรก็ต าม พม่ าก็ไ ม่
สามารถตีก รุงศรีอยุธยาได้ เพราะขุนนางอยุธยามีความสามารถไม่น้อ ย พระเจ้าหงสาวดีจงึ
สอบถามพระมหาธรรมราชาถึงเรื่องการรบชนะไทย พระมหาธรรมราชาทรงออกอุบายให้นาตัว
พระยารามมาไว้ท่พี ม่า หลังจากนัน้ จึงส่งสาสน์ถงึ พระอัครชายาว่าการเกิดศึกสงครามในครัง้ นี้
เกิดจากพระยารามยุยงให้พ่นี ้องทะเลาะกัน จึงควรส่งตัวพระยารามมาให้พระเจ้าหงสาวดีเพื่อ
เชื่อมสัมพันธไมตรี พระมหินทราธิราชหลงกลจึงส่งพระยารามให้พระเจ้าหงสาวดี ฝ่ายพระเจ้า
หงสาวดีได้ส่งเจ้าพระยาจักรีท่จี บั ตัวได้ตอนสงครามช้างเผือกไปเป็ นไส้ศกึ ในไทย ครัน้ พระยา
จัก รีมาอยู่ในไทยก็ใส่ ร้ายพระศรีเสาวภาคย์ว่าเป็ นกบฏจนถู กสาเร็จโทษ ทัง้ ยังย้ายแม่ท ัพ ที่
ชานาญในการรบไปไว้ในตาแหน่ งที่ไม่สาคัญ ทาให้การป้องกันพระนครเริม่ อ่ อนแอ จนทาให้
ฝา่ ยไทยต้องเสียกรุงให้แก่พม่าครัง้ แรก และพลอยทาให้ราชวงศ์สุพรรณภูมซิ ง่ึ มีอานาจปกครอง
อยุธยาต้องหมดอานาจไปด้วย เมื่อขาดผู้ครองเมือง พระมหาธรรมราชาจึงขึน้ ครองราชย์แทน
แล้วได้ขอให้สมเด็จพระนเรศวรมาช่วยราชการ บุเรงนองจึงขอแลกกับพระสุพรรณกัล ยาซึง่ เป็ น
พระพีน่ างของสมเด็จพระนเรศวร เพื่อนาไปเป็นพระชายาและองค์ประกัน
หลังจากทีไ่ ทยเสียกรุงให้แก่พม่าเพียงปีเดียว พระยาละแวกจากเขมรถือโอกาสเข้ามาตี
เมืองนครนายก ทัง้ ทีเ่ คยให้สจั จะว่าจะขอเป็นมิตรกับไทย พระมหาธรรมราชาจึงทรงรับสังให้่ ยก
ทัพไปปราบจนเขมรแตกพ่าย ต่อมาพระยาละแวกเห็นว่าไทยสูศ้ กึ หงสาวดีอยู่ จึงฉวยโอกาสยก
ทัพเข้ามาตีเมืองปราจีนบุรอี กี สมเด็จพระนเรศวรเห็นว่าพระยาละแวกผูน้ ้ีตระบัดสัตย์จงึ ยกทัพ
ไปปราบ ทาให้ทหารเขมรล้มตายเป็ นจานวนมาก ครัน้ ทรงขึน้ ครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระมหา
ธรรมราชาจึงยกทัพไปตีเมืองละแวกอีกครัง้ เพราะเห็นว่ากษัตริย์เขมรมักซ้าเติมฝา่ ยไทยในยาม
ทาศึกกับพม่า จนสามารถเอาชนะเขมรได้ ต่อมาไม่นานพม่าได้ยกทัพมาตีไทยทีด่ ่านเจดียส์ าม
องค์ สมเด็จพระนเรศวรได้เข้าทายุทธหัตถีกบั พระมหาอุ ปราชาบุตรของพระเจ้านันทบุเรง ทรง
ฟนั พระมหาอุปราชาด้วยพระแสงของ้าวจนสิน้ พระชนม์บนคอช้าง จนพม่าต้องถอยทัพกลับไป
เมื่อเสร็จศึกพระมหาอุปราชาแล้ว สมเด็จพระนเรศวรก็ยกทัพไปตีพม่า ต่อ เมื่อพระองค์
เห็นว่าพระเจ้าแปร พระเจ้าอังวะ และพระเจ้าตองอูยกทัพมาช่วยกรุงหงสาวดีจงึ ยกทัพกลับพระ
นคร ต่อมาไม่นานสมเด็จพระนเรศวรทรงจัดกองทัพเตรียมยกไปตีกรุงหงสาวดีอกี ครัง้ โดยมี
เมืองยะไข่และตองอูเข้ามาสวามิภกั ดิ ์ด้วย จนสามารถยึดเมืองหงสาวดีไว้ได้ ภายหลังพระเจ้า
ตองอูคดิ กบฏต่อไทย สมเด็จพระนเรศวรจึงสังให้ ่ เผาเมืองหงสาวดีท้งิ แล้วยกทัพไปล้อมเมือง
ตองอูไว้ร่วม ๒ เดือน เมื่อเสบียงอาหารเริม่ หมด จึงทรงสังให้
่ ถอยทัพ สมเด็จพระนเรศวรทรง
ตรากตราการศึกสงครามเพื่อกอบกูช้ าติบา้ นเมืองเป็นเวลา ๒๐ ปีจงึ สวรรคต ณ เมืองหาง
หลัง จากสมเด็จ พระนเรศวรสวรรคตแล้ ว สมเด็จ พระเอกาทศรถพระอนุ ช าจึง ขึ้น
ครองราชย์ต่อไป ช่วงนี้เป็ นช่วงเวลาที่อยุธยาเริม่ ว่างเว้นจากการสงคราม จึงเริม่ มีพ่อค้าชาว
๙๘

อังกฤษเข้ามาค้าขายเป็ นระยะ ๆ แต่กม็ ศี กึ สงครามกับพม่าอยูบ่ า้ ง เช่น การตีเมืองทวายคืนจาก


พม่าจนได้รบั ชัยชนะ หลังจากสมเด็จพระเอกาทศรถสวรรคต สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์พระราช
โอรสขึน้ ครองราชย์เป็ นองค์ต่อมา แต่เนื่องจากทรงเป็ นกษัตริย์ ท่อี ่อนแอและมีพระเนตรพิการ
เหล่าขุนนางจึงพากันกราบทูลเชิญพระอินทราชาพระโอรสอี กพระองค์หนึ่งของพระเอกาทศรถ
ซึง่ กาลังผนวชขึน้ ครองราชย์แทน และได้สาเร็จโทษสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์เสีย
เมื่อพระอินทราชาปราบดาขึน้ เป็ นกษัตริย์ เปลี่ยนพระนามใหม่ว่า สมเด็จพระเจ้าทรง
ธรรม สมัยนี้มปี ญั หาเรื่องการก่อกบฏของเหล่าทหารอาสาญี่ปุ่นที่ไม่พอใจการขึน้ ครองราชย์ใน
ครัง้ นี้ จนทาให้พระองค์ต้องประหารเหล่าขุนนางตลอดจนผูน้ าของญี่ป่นุ จานวนมาก การกระทา
ครัง้ นี้ ทาให้ทหารญี่ป่นุ ไม่พอใจถึงกับบุกเข้าไปจับตัวถึงในพระราชวัง แต่กองทัพของอยุธยาก็
ช่วยไว้ได้ ในการนัน้ พระเจ้าทรงธรรมได้ตงั ้ ยามาดะทหารญี่ป่นุ เพื่อช่วยประนีประนอมกับญี่ป่นุ
ด้วย ภายหลังยามาดะได้รบั ตาแหน่งเป็นออกญาเสนาภิมุข (สายชล วรรณรัตน์ , ๒๕๓๔: ๒๐๕)
ในช่วงปลายรัชกาล พระเจ้าทรงธรรมต้องการสนับสนุ นพระราชโอรส ทาให้เกิดความ
ขัดแย้งกันขึน้ เมื่อขุนนางส่วนหนึ่ง ต้องการให้พระศรีศลิ ป์พระอนุ ชาขึน้ ครองราชย์ อีกส่วนหนึ่ง
สนับสนุ นพระราชโอรสของพระเจ้าทรงธรรม (วัน วลิต , ๒๑๘๒ : ๑๐๙) ครัน้ พระเจ้าทรงธรรม
สวรรคตจึงเกิดการแย่งชิงราชสมบัตกิ นั อย่างชัดเจน โดยฝ่ายพระราชโอรสได้รบั การสนับสนุ น
จากยามาดะและเจ้าพระยากลาโหมเป็ นฝ่ายชนะ อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระเชษฐาธิราชเกิด
ระแวงว่าเจ้าพระยากลาโหมจะเป็ นภัยจึงนากาลังเข้าจัดการ สุดท้ายก็ถู กเจ้าพระยากลาโหม
ส าเร็จโทษ หลังจากนั น้ เจ้าพระยากลาโหมก็ทูล เชิญ สมเด็จพระอาทิต ย์ว งศ์ พ ระอนุ ช าขึ้น
ครองราชย์ แต่ไม่นานก็กล่าวกับขุนนางว่าพระมหากษั ตริย์ยงั ทรงพระเยาว์ไม่เหมาะกับการ
ปกครองแผ่นดิน จึงจับสาเร็จโทษแล้วขึน้ ครองราชย์แทนทรงพระนามว่าพระเจ้าปราสาททอง
ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง พระองค์ประกอบพระราชกรณียกิจหลายอย่าง เช่น ให้
จาลองพระนครวัดของขอมมาสร้างพระนครหลวงเป็ นพระราชวังประทับร้อนที่ ข้างวัดจันทร์
สร้างวัด ไชยวัฒ นาราม จัก รวรรดิไชยนต์ม หาปราสาท วัด ชุม พลนิ ก ายาราม และพระมหา
ปราสาทพระวิหาร ครัน้ สิน้ รัชสมัยนี้ สมเด็จเจ้าฟ้าชัยก็ขน้ึ ครองราชย์ แต่ก็ถูกพระนารายณ์กบั
พระศรีสุธรรมยึดอ านาจ ครัน้ พระศรีสุ ธรรมราชาขึ้นครองราชย์ก็ถูกพระนารายณ์ สาเร็จโทษ
เช่นเดียวกัน ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ นับว่าเป็ นสมัยที่เจริญ รุ่งเรืองในด้านต่าง ๆ ช่วงต้น
รัชกาลทรงให้โกษาเหล็กยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ แต่กท็ รงยกทัพไปช่วยด้วยจนตีเมืองได้ ถัด
จากนัน้ ก็ยกทัพไปตีเมืองอังวะ แต่กลับตีไม่ได้ สมัยนี้ม ีการค้าขายกับต่างประเทศ มีการส่งทูต
(โกษาปาน) ไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ท่ี ๑๔ มีการสร้างวังที่ลพบุร ี มีการจ้างชาวต่ างชาติเข้ามา
รับราชการ เช่น ฟอลคอลซึง่ เป็ นชาวกรีซได้เข้ารับราชการเป็ นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ หลังจากที่
พระนารายณ์ ส วรรคต มีก ษัต ริย์ค รองราชย์ต่อ ๆ กันมา คือ พระเพทราชา พระเจ้าเสือหรือ
สมเด็จพระสรรเพชญ์ท่ี ๘ สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ท้ายสระ สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ และสมเด็จพระ
เจ้าอุทุมพร แต่กท็ รงสละราชสมบัตใิ ห้พระเจ้าเอกทัศน์ครองราชย์แทน ส่วนพระองค์ออกผนวช
๙๙

เมื่อพม่าทราบว่ากาลังของไทยเริม่ อ่อนแอจึงยกทัพมาตี พระเจ้าอลองพญายิงปื นใหญ่


เข้ามาในพระนคร แต่ปืนใหญ่ระเบิดจนพระอาการสาหัส พม่าจึงถอยทัพกลับมาทางด่านแม่ละ
เมา อยู่มาไม่นานพระเจ้าอลองพญาก็ส้นิ พระชนม์ทเ่ี มืองตาก โดยมีพระเจ้ามังระพระราชโอรส
ขึน้ ครองราชย์เป็ นองค์ต่อมา พระเจ้ามังระสังให้ ่ แม่ทพั ชื่อมังมหานรธายกทัพมาตีทวาย ตะนาว
ศรี ระนอง ชุมพร ประจวบคีรขี นั ธ์และเพชรบุร ี แต่กถ็ ูกพระยาตากสิน และพระยาพิพฒ ั น์โกษาตี
จนทัพ พม่าแตกพ่ ายไป ต่ อ มาพระเจ้ามังระได้ให้เนเมียวสีหบดีและมังมหานรธายกทัพ เข้า
ประชิดพระนครอีก ตรงกับยุคของพระเจ้าเอกทัศน์ซง่ึ ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศ
สมัยพระเจ้าเอกทัศน์มนี ักรบมีฝีมอื หลายคนโดยเฉพาะที่เมืองวิเศษชัยชาญ เช่น นาย
แท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง นายดอก และนายทองแก้ว คนเหล่านี้ช่วยกันฆ่าพม่า ตายไป
หลายคน แล้วมารวมตัวกับชาวบ้านบางระจัน โดยมีหวั หน้ า คือ ขุนสรรค์ พันเรือง นายทอง
เหม็น นายจันทร์หนวดเขี้ยว และนายทองแสงใหญ่ แม้พม่าจะยกทัพมาตีถึง ๗ ครัง้ ก็ไม่อาจ
เอาชนะได้ ชาวบ้านตัดสินใจขอปืนใหญ่จากพระนคร แต่กถ็ ูกปฏิเสธจึงหล่อกันเอง แต่ปืนใหญ่ท่ี
ทาขึน้ นี้กลับใช้งานไม่ได้ เมือ่ สุกแ้ี ม่ทพั พม่าเห็นดังนัน้ จึงสังให้
่ ขุดอุโมงค์เข้าไปใกล้ค่ายบางระจัน
แล้วเอาปื นใหญ่ตงั ้ หอสูงระดมยิงใส่ค่ายจนค่ายแตก ทาให้ค่ายแตกในทีส่ ุด ต่อมาพม่าก็เริม่ บุก
เข้าพระนคร แล้วจุดไฟเผาวัดวาอาราม ราชวัง ปราสาท ปล้นเอาทรัพย์สนิ ทัง้ จุดไฟสุมหลอม
เอาทองคาทีห่ ่อหุม้ องค์พระพุทธรูปในวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชรกลับไปด้วย
๔.๒.๒ บริ บทวรรณคดี
วรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในสมัยอยุธยามีจานวนหลายเล่มด้วยกัน เนื้อหามีทงั ้
สดุดพี ระมหากษัตริย์และบันทึก เหตุการณ์ การทาศึกสงคราม อาจเพราะมีการทาสงครามกัน
ยาวนานที่สุ ด เช่ น บทละครเรื่อ งพระราชพงศาวดารตอนพระรามเดโชเจ้า นครแข็ง เมือ ง
จดหมายเหตุเรื่องสมเด็จพระบรมศพ พระราชพงศาวดารกรุ งเก่าฉบับหลวงประเสริฐ เพลงยาว
พยากรณ์กรุงศรีอยุธยา ลาดับกษัตริย์กรุงเก่าคาฉันท์ ลิลติ ยวนพ่าย โคลงเฉลิมพระเกียรติพระ
เจ้าปราสาททอง โคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ และโคลงเจ้าฟ้าอภัยไปลพบุร ี
กรณี ศึกษำเรื่องลิ ลิตยวนพ่ำยที่สมั พันธ์กบั ประวัติศำสตร์

เรื่องลิลติ ยวนพ่ ายแต่งขึ้นโดยมีวตั ถุประสงค์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตร


โลกนาถที่สามารถทาศึกชนะพระเจ้าติโลกราชเจ้าเมืองเชียงใหม่ท่ี มาชิงหัวเมืองฝ่ายเหนือได้
เนื้อหาตอนต้นกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าและนาหัวข้อธรรมมาแจกแจงทานองยกย่องสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถว่า ทรงคุณธรรมข้อนัน้ ๆ กล่าวถึงพระราชประวัติ ตัง้ แต่ประสูตจิ นได้ราช
สมบัติ ผู้แต่งบรรยายตัง้ แต่หลังจากที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ สวรรคตที่เมืองพิษณุ โลก
แล้ว สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงอัญเชิญพระศพของพระราชบิดามาถวายพระเพลิงทีก่ รุง
๑๐๐

ศรีอยุธยา ต่อมาเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึน้ เสวยราชสมบัตกิ ป็ กครองราษฎรด้วย


ความเป็ นธรรม ส่งผลให้กรุงศรีอยุธยามีความสุขยิง่ เมืองสวรรค์ พระองค์ทรงสร้างพระสถูปพระ
บรมอัฐพิ ระราชบิดาเป็ นที่เลื่องลือไปไกล กวีกล่าวถึงพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ ของสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถว่ามีทงั ้ การสละราชสมบัตเิ พื่อผนวช ในขณะทีผ่ นวชก็งามดังพระพุทธองค์
ทาให้แผ่นดินมีความสุข นอกจากนี้กม็ พี ระราชกรณียกิจด้านการสร้างวัดพุทไธศวรรย์ และสร้าง
กาแพงเมืองพิษณุ โลก จนส่งผลให้พระนามของพระองค์ฟ้ ุ งเฟื่ องไปในหมู่ขา้ ศึก กวีบรรยายถึง
พระราชกรณี ยกิจที่ส าคัญ ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คือ การท าศึกสงคราม กล่ าวคือ
หลังจากทีท่ รงได้ข่าวว่าพระเจ้าติโลกราชเจ้าเมืองเชียงใหม่ยกกองทัพมาตีเมืองชัยนาท (ชื่อเดิม
ของเมืองพิษณุ โลก ซึ่งก่อนหน้านัน้ ได้ยกทัพมาตีเมืองกาแพงเพชรแล้ว) เพราะพระยุทธิษฐิระ
(โอรสของพระยารามคาแหง พระอนุ ชาพระยาบาลเมือง) ได้ขน้ึ ไปสวามิภกั ดิ ์พระเจ้าติโลกราช
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงยกทัพไปตีขา้ ศึกที่เมืองชัยนาทจนพ่ายไป เมื่อ ทรงกลับมาที่
กรุงศรีอยุธยาก็ได้จดั ไพร่พลรักษาเมืองไว้ แล้ว แต่งตัง้ ให้พระยากลาโหมยกกองทัพไปตีสุโขทัย
กลับคืนมาได้ ต่อมากวีกล่าวถึงพระเจ้าติโลกราชว่า ทรงเลือกเอาหมื่นด้งนครมาป้องกันเมือง
เชียงชื่น เพราะเห็นว่าเป็ นผูม้ คี วามสามารถ ในช่วงนี้พระเจ้าติโลกราชมีพระอาการเสียพระจริต
เกิดระแวงกลัวพระราชโอรส คือ ศรีบุญเรืองคิดชิงราชสมบัติ จึงจับประหารเสีย ต่อมาก็กลัวว่า
หมื่นด้งนครจะคิดเป็ นใหญ่ในแผ่นดิน (อาจเพราะมีแต่คนเกรงกลัวในความกล้าหาญ และฉลาด
หลักแหลม) ทัง้ ๆ ที่ไม่มคี วามผิด จึงคิดจะฆ่าเสีย (โดยได้รบั คายุยงจากผู้อจิ ฉาริษยาหมื่นด้ง
นครเป็นทุนเดิมอยูแ่ ล้ว คือ เจ้าเมืองน่าน เมืองแพร่)
สุดท้ายพระเจ้าติโลกราชก็สงให้ ั ่ แสนฟ้าเรื่อจับตัวหมื่นด้งนครไปตัดหัวเสียบไว้ระหว่าง
เขตแดนลาวกับไทย เมื่อนางเมืองทราบข่าวการตายของหมื่นด้งนครผูเ้ ป็ นสามีจงึ สังให้ ่ ขุนหมื่น
ลาวนาสาสน์ ไปขอพึ่งพิงสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นางเมืองได้ปิดประตูเมืองและวางเขื่อน
เพื่อรอสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถยกกองทัพมาช่วย แต่ไม่ทนั ทีพ่ ระองค์จะยกมา เจ้าเมืองน่ าน
และเจ้าเมืองแพร่ก็ยกกองทัพมาที่หน้ากาแพงเมืองเสียก่ อน นางเมืองได้เข้าต่อสู้อย่างแข็งขัน
แต่ก็พลาดพลัง้ เสียที เพราะพันมโนราชเป็ นหนอนบ่อนไส้เปิ ดประตูให้ข้าศึกเข้ามา พระเจ้าติ
โลกราชลงมาป้องกันเมืองเชียงชื่นด้วยพระองค์เอง ต่อมาก็สงให้ ั ่ ทหารพากันซ่อมแซมกาแพง
เมืองและหอรบ มีไพร่พลคอยระวังกันจานวนมาก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถวางแผนการยุทธ์
โดยสังให้
่ ทหารจานวนหนึ่งยกล่ว งหน้ าไปก่ อ นจนถึงแดนเมืองเชียงชื่น ให้พระมหาพิชยั คุ ม
กองทัพไปจนถึงฝ่ายข้าศึก ต่อมาให้พระยาศรีราชเดโชและหมื่นพ้านคุมกองทัพช้างไปเพิม่ เติม
ทางตาบลม่วงค้าน พระยาสุโขทัยและพระยากาแพงเพชรคุมกองทัพม้ากองทัพช้างคอยคุม้ กัน
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในการเดินทางครัง้ นี้ตรงกับยามพระพุธ (๐๓.๐๐ - ๐๖.๐๐ น.) โดย
เสด็จทางชลมารค มีเรือจานวนมาก ในการสูร้ บครัง้ นี้ แม้ว่าพวกลาวจะแต่งกาแพงปราการแน่ น
หนา แต่ก็ไม่สามารถสู้ฝ่ายของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและกองทัพที่ช่วยกันฟนั แทงทหาร
ลาว และม้าทุกตัวได้ ตอนท้าย กวีบรรยายว่ากษัตริย์ทงั ้ ร้อยเอ็ดหัวเมืองต่ างเข้ามาสวามิภกั ดิ ์
๑๐๑

ถวายดอกบัวทอง ขอให้พระองค์คุม้ ครอง บุญบารมีของพระองค์ประดุจแสงพระอาทิตย์ ทัง้ มอญ


และลาวพ่ายแพ้แก่พระองค์ในฐานะข้าศึก
เนื้อหาที่สมั พันธ์กบั ประวัตศิ าสตร์พบว่า มีทงั ้ ด้านการทาสงครามของสมเด็จพระบรม
ไตรโลกนาถ ประกอบด้วย การทาสงครามกับเขมร การปราบพระยายุทธิษฐิระ พระเจ้าติโลก
ราชกาจัดพระราชบิดา พระราชโอรสและหมื่นด้งนครผู้เป็ นอา และการตีเมืองเชียงชื่นจากเจ้า
เมืองแจ้ห่ม ต่อมา คือ ด้านพระพุทธศาสนา และด้านพระปรีชาสามารถ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
๑. ด้ำนกำรทำสงครำมของสมเด็จพระบรมไตรโลกนำถ มีดงั นี้
๑.๑ กำรทำสงครำมกับเขมร เรื่องลิลติ ยวนพ่ายกล่าวถึงพระบรมราชาธิราชที่ ๒
พระราชบิดาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถว่าเสด็จยกกองทัพไปตีเมืองยโสธรหรือนครธม
เมืองหลวงของเขมรไว้ได้ ดังตัวอย่างโคลงต่อไปนี้
แต่น้จี กั ตัง้ อาทิ กลกานท แลนา
เป็นสูตรสถานีอนั รยบร้อย
แถลงปางปิ่นภูบาล บิดุราช
ยังยโสธรคล้อย คลีพ่ ล ฯ
แถลงปางพระมาตรไท้ สภพ ท่านนา
แดนดาบลพระอุทย ท่งกว้าง
แถลงปางเกลื่อนพลรบ เรืองเดช
เอามิง่ เมืองได้งา้ ง แง่บร ฯ
ปางเทนคเรศเรือ้ ยังกรุง
พระนครอโยทธยา ยิง่ ฟ้า
แถลงปางท่านผดุงเอา รสราช
เวนพิภพไว้หล้า เศกศรี ฯ
(ลิลติ ยวนพ่าย)
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุ มาศ (๒๕๐๖ : ๑๑) กล่าวถึงการไปตีเขมร
ของพระบรมราชาธิราชว่าเกิดขึ้นในศักราช ๗๘๓ ปี ฉลูตรีศก (พ.ศ. ๑๙๖๔) ช่วงนัน้ พระบรม
ราชาธิร าชเสด็จ ไปเอาเมือ งนครหลวงได้ แล้ ว ให้ พ ระนครอิน ทร์เ จ้า เสวยราชสมบัติแ ทน
สอดคล้อ งกับ ที่พ ลตรี หลวงวิจติ รวาทการ (๒๕๑๔ : ๒๖๒) และเจริญ ไชยชนะ (อ้างถึงใน
บุญยงค์ เกศเทศ, ๒๕๒๐ : ๗๘) กล่าวไว้ในทานองเดียวกัน
๑.๒ กำรปรำบพระยำยุธิษฐิ ระ เรื่องลิลติ ยวนพ่ายกล่าวว่าพระยายุธษิ ฐิระเจ้าเมือง
พิษณุโลกเอาใจออกห่างไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราชเจ้าเมืองเชียงใหม่ ดังความว่า
๑๐๒

แถลงปางปราโมทยเชือ้ เชอญสงฆ
สสโมสรสบ เทศไท้
แถลงปางเมือ่ ลาวลง ชยนาท นัน้ ฤๅ
พระยุทธิษฐิรได้ ย่างยาว ฯ
(ลิลติ ยวนพ่าย)
ในประวัติศาสตร์เล่าว่าสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระยายุทธิษ ฐิระเจ้าเมือ ง
เชลีย งลอบไปเป็ น ไมตรีก ับ เมือ งเชีย งใหม่ พระเจ้า ติโ ลกราชได้ทีจ ึง ยกกองทัพ มาตีเ มือ ง
ก าแพงเพชร จนถึงเมือ งชัย นาถ สมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถยกกองทัพ ขึ้น ไปปราบตีท ัพ
เชียงใหม่จนแตกพ่าย เมื่อการศึกสงบสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจะเอาตัวพระยายุทธิษฐิระมา
ลงอาญา แต่ พระยายุทธิษฐิระหนีไปสวามิภกั ดิ ์ต่ อพระเจ้าติโลกราชพร้อมทัง้ อาสานาทัพมาตี
เมืองสุโขทัย ต่อมาก็มาตีกาแพงเพชรแต่ไม่สาเร็จเพราะพวกฮ่อยกมาตีเชียงใหม่เสียก่อนจึงต้อง
ยกทัพกลับไปช่วย แต่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็สามารถตีสุโขทัยให้กลับคืนมาได้
พ.ศ. ๒๐๐๖ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถยกทัพไปตีเชียงใหม่อกี ครัง้ แต่ไม่สาเร็จจึง
เปลี่ยนราโชบายไปประทับที่เมืองพิษณุ โลก และยกเมืองพิษณุ โลกเป็ นราชธานี พ.ศ. ๒๐๑๖
พระเจ้าติโลกราชเกิดพระสติวปิ ลาสฆ่าราชบุตรของตนเอง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเห็นได้ที
จึงทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงชื่น ได้ผู้คนชาวเชลียงที่พระเจ้าติโลกราชกวาดต้อนเอาไปกลับคืน
มา เมืองเชียงใหม่ขอทาไมตรีดว้ ย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็ยนิ ดี
สงวน โชติสุขรัตน์ (๒๕๑๕ : ๓๐๔-๓๐๕) กล่าวว่าสาเหตุท่พี ระยายุธษิ ฐิระเอาใจออก
ห่างเกิดจากเมื่อครัง้ ทีส่ มเด็จพระบรมไตรโลกนาถยังไม่เสวยราชสมบัติ ยังเป็ นสหายกับพระยา
ยุธษิ ฐิระ พระยายุธษิ ฐิระทรงถามว่าหากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นใหญ่แล้วจะให้ตนอยูใ่ น
ตาแหน่ งใด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตรัสว่าจะให้เป็ นอุปราชกินเมืองครึง่ หนึ่ง แต่ครัน้ พระ
บรมไตรโลกนาถเป็ นใหญ่ก็ไม่ทาตามสัญญาที่ให้ไว้ พระองค์เพียงให้พระยายุธษิ ฐิระกินเมือง
สองแควเท่านัน้ พระยายุธษิ ฐิระจึงมีความโกรธแค้น ซึง่ ใจความนี้เจริญ ไชยชนะ กล่าวไว้ทานอง
เดียวกันว่า “พระยายุธษิ ฐิระเจ้าเมืองเชลียงซึ่งคุมแค้นอยู่ด้วยไม่ได้รบั ตาแหน่ งพระมหาธรรม
ราชา เห็นเป็ นโอกาสเหมาะทีพ่ ระบรมไตรโลกนาถทรงห่างเหินหัวเมืองเหนือ จึงลอบไปทาไมตรี
กับพวกเชียงใหม่” (อ้างถึงในบุญ ยงค์ เกศเทศ, ๒๕๒๐ : ๗๗) สอดคล้องกับที่กฤตวิทย์ ดวง
สร้อยทอง (๒๕๒๑ : ๗๙) กล่าวถึงสาเหตุการเอาใจออกห่างของพระยายุทธิษฐิระว่าปี ๑๙๘๑
พระมหาธรรมราชาที่ ๔ แห่งกรุงสุโขทัยสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๒ โปรดให้พระรา
เมศวรเป็ นอุปราชครองเมืองพิษณุ โลก เป็ นการผนวกอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอยุธยา พระยา
รามซึง่ เป็ นน้องของพระมหาธรรมราชาที่ ๔ ไม่พอพระทัย เพราะพระองค์มโี อรสคือพระยายุทธิ
ษเฐียร (ยุทธิษฐิร) ซึง่ มีพระชนมายุรุ่นราวคราวเดียวกับพระราเมศวร พระยารามกับพระยาราม
ผู้น้ อ งจึง ไปขอความช่ ว ยเหลือ จากเชีย งใหม่ แต่ ย งั ไม่ เป็ น ที่เปิ ด เผย เมื่อ พระราเมศวรขึ้น
๑๐๓

ครองราชย์เป็ นพระบรมไตรโลกนาถจึงตัง้ ให้ยุทธิษฐิรเป็ นพระยาสองแคว พระยายุทธิษฐิร โกรธ


จึงไปนัดหมายพระเจ้าติโลกราชมาตีเมืองปากยม สุโขทัยและชากังราว (กาแพงเพชร) แล้วจึง
ยกทัพกลับ หลังจากนัน้ พระยายุทธิษฐิรได้รบั การแต่งตัง้ เป็นเจ้าเมืองพะเยา
นิพนธ์ สุขสวัสดิ ์ (๒๕๒๐ : ๕๙-๖๐) กล่าวถึงการปราบพระยายุทธิษฐิระว่าในตอนที่
พระเจ้าติโลกราชยกกองทัพ มาตีเมืองกาแพงเพชร แล้วยกทัพมากวาดผู้คนถึงเมืองชัยนาท
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถยกกองทัพขึ้นไปปราบ ทาให้พระเจ้าติโลกราชต้องถอยทัพกลับ
กองทัพกรุงศรีอยุธยาติดตามขึน้ ไปถึงเมืองเถินได้รบพุ่งกับเมืองเชียงใหม่ ตีทพั เชียงใหม่แตก
พ่าย เมื่อการศึกสงบ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจะเอาตัวพระยายุทธิษฐิระมาลงอาญา แต่พระ
ยายุทธิษฐิระหนีไปสวามิภกั ดิ ์ต่อพระเจ้าติโลกราช รับอาสานาทัพมาตีสุโขทัย เมื่อพ.ศ. ๒๐๐๔
ยกมาตีเมืองกาแพงเพชร แต่ไม่ทนั สาเร็จ พอดีพวกฮ่อยกมาตีแดนเชียงใหม่ทาให้พระเจ้าติโลก
ราชต้องยกทัพไปปราบ ฝ่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ยกทัพไปตีเมืองสุโขทัยกลับคืนมา
ครัน้ ถึงพ.ศ. ๒๐๐๖ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงยกทัพไปตีเชียงใหม่อกี ครัง้ หนึ่ง แต่ไม่สาเร็จ
เกรงว่าเมื่อยกกองทัพกลับกรุงศรีอยุธยา พวกเชียงใหม่จะยกทัพมาย่ายีอกี จึงเปลีย่ นราโชบาย
เสด็จไปประทับเมือ งพิษ ณุ โลก โปรดเกล้าฯ ให้พ ระราชโอรสครองกรุงศรีอ ยุธ ยา ครัน้ พ.ศ.
๒๐๑๖ พระเจ้าติโลกราชเกิดเสียพระจริตประหารราชบุตร สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงยก
กองทัพไปตีเมืองเชียงชื่น เมื่อพ.ศ. ๒๐๑๗ ได้ผคู้ นชาวเชลียงซึง่ พระยายุทธิษฐิระกวาดต้อนไป
คืนมา เมืองเชียงใหม่ขอทาไมตรีดว้ ย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็ยอมรับ
๑.๓ พระเจ้ำติ โลกรำชกำจัดพระรำชบิ ดำ พระรำชโอรสและหมื่นด้งนคร ผู้เป็ น
อำ เรื่องลิลติ ยวนพ่ายกล่าวถึงพระเจ้าติโลกราชว่าเป็ นคนชัว่ เพราะแย่งเมืองของพระราชบิดา
ประหารชีวติ ของพระราชโอรสของตนเอง ต่อมาก็มรี บั สังให้ ่ นาหมื่นด้งนครมาเฝ้าที่เชียงใหม่
เพื่อประหาร โดยวิตกว่าหมื่นด้งนครจะแย่งเมือง เนื่องจากว่ามีความสามารถ และมีแต่คนยก
ย่อง ซึง่ ข้อความเหล่านี้สอดคล้องกับในประวัตศิ าสตร์ ดังตัวอย่างบางตอนทีว่ ่า
ปางนัน้ มหาราชแส้ง ส่งสรรค
เอาหมืน่ นครมา แต่งตัง้
เปนเดิมดกลกรร ชยงชื่น คืนเเฮ
ใครยิง่ ยกไว้รงั ้ รอบแดน ฯ
เพื่อเกรงพระเจ้าคลื่น คลาพล แลพ่อ
พรันพรั
่ นอกพลแสน
่ ส่ากล้า
ครันเสด็จดกลหัว เมืองมอบ แล้วแฮ
กลับเกลื่อนพลช้างม้า คล่าวเมือ ฯ
๑๐๔

แต่นนั ้ ลาวบ้าบอบ ใจเจ็บ แลนา


ทาชื่อใดดูเหลือ หลากถ้อย
กลางแดดุจหนามเหน็บ หนีบอยู่
แปรเกิดความร้ายร้อย สิง่ แสลง ฯ
ดังเอารสเรื
่ อ้ งคู่ คือองค นัน้ นา
นามบุนเรืองแสดง ชื่อชี้
เพราะแรงระวังหวง แทนราช
กุลูกลยวฟนฟี ั้ ้ พีพ่ งศ์ ฯ
กรุงลาวอานาจน้า ใจโจร ก่อนนา
เคยบยดบิดรองค์ อวดรู้
ชีสาท่านโอนเอา ดีต่อ ก็ดี
คิดใคร่ควักดีผู้ เผ่าดี
บังควรข้าผูก้ ่อ การภัก ดีนา
หมายหมืน่ นครมี ซื่อซร้อม
เหนหาญหื่นแหลมหลัก ไกรกว่า ตนนา
ไท้เทศทุกผูน้ ้อม นอบกลัว ฯ
ขุนลาวลักว่าใน้ ใจเท็จ
รังกยจเกรงตัวยยว หันหล้
่ า
บมีโทษใดเห็จ ทาคยด คุนา
คิดใคร่ขา้ ข้าผู้ ชอบชาญ ฯ
(ลิลติ ยวนพ่าย)
กฤตวิท ย์ ดวงสร้อ ยทอง (๒๕๒๑ : ๗๙-๘๐) กล่ า วถึงพระเจ้า ติโลกราชว่ า เป็ น
มหาราชของลานนาหรือเชียงใหม่ ได้ชงิ สมบัตจิ ากพระราชบิดา คือ พระเจ้าสามฝงแกนแล้ ั่ วให้
พระราชบิดาไปอยูท่ แ่ี คว้นฉาน โดยมีพระยาสามเด็กย้อยเป็ นผูช้ ่วยเหลือ โปรดเกล้าฯ ให้พระยา
สามเด็กย้อยเป็ นเจ้าแสนข่าน ต่อมาพระยาสามเด็กย้อยคิดจะครองราชย์ เสียเอง พระเจ้าติโลก
ราชจึงเชิญหมื่นด้งนครผู้เป็ นอามาช่วย ได้จบั เจ้าแสนข่านถอดยศเป็ นหมื่นทวนไปครองเมือง
เชียงแสน ในปีนนั ้ ท้าวช้อยหรือท้าวสิบซึง่ เป็นโอรสองค์เล็กครองเมืองฝางยกทัพมาเชียงใหม่ แต่
ถูกหมื่นด้งนครปราบได้ ปี ๒๐๐๖ พระบรมไตรโลกนาถยกทัพไปตีเชียงใหม่ พระเจ้าติโลกราชตี
ทัพอยุธยาแตกลงมา จนมาถึงเมืองสองแคว แล้วไปตีเมืองพงในแคว้นสิบสองปนั นา ฝ่ายสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถยกทัพไปตีเมืองแพร่ทางเขาพลึง ต่อมาพระเจ้าติโลกราชเกิดระแวงผูค้ นจะ
ชิงราชสมบัตจิ งึ ประหารชีวติ หนานบุญเรืองราชโอรส ครัน้ ทราบว่าราชโอรสไม่ผดิ ก็เสียพระทัย
ครัน้ สนมเอก คือ นางหอมมุกข์เสียชีวติ ก็ทรงเศร้าโศกมากยิง่ ขึน้ ต่อมาก็กลัวหมื่นโลกสามล้าน
๑๐๕

(หมื่นด้งนคร) เนื่องจากหมื่นด้งนครมีความสามารถในการรบเป็ นอย่างมาก แม้อายุ ๘๕ ปี กย็ งั


ออกรบ พระเจ้าติโลกราชจึงเรียกมาประหารชีวติ ทีเ่ ชียงใหม่ในขณะทีห่ มืน่ ด้งนครมีอายุ ๙๑ ปี
๑.๔ กำรตี เมืองเชี ยงชื่ นจำกเจ้ ำเมืองแจ้ ห่ม เรื่องลิลติ ยวนพ่ายกล่าวถึงการไปตี
เมืองเชียงชื่นของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถว่าเกิดจากนางเมืองผูเ้ ป็ นภรรยาของหมื่นด้งนคร
เกิดความเจ็บแค้นที่สามีถูกประหารทัง้ ๆ ทีท่ าหน้าทีอ่ ย่างซื่อสัตย์จงึ ไปขอพึ่งบารมีของสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงยกทัพมาสู้ศึกกับเจ้าเมืองแจ้ห่ม ผู้ครอง
เมืองแทนหมืน่ ด้งนคร สุดท้ายก็สามารถเอาชนะเจ้าเมืองแจ้ห่มได้ ดังนี้
กรุงลาวฦๅข่าวเจ้า จอมปราณ
ยกย่างพลพลันเทา เท่าแล้ว
กลอยมาแต่งการกรร ชยงชื่น เองแฮ
แซห่เหนแกล้วแกล้ง เลอกเอา ฯ
มาตัง้ แทนหมืน่ ดัง้ คืนครอง ไพร่แฮ
ใครว่าฦๅเลอเขา ขึง่ ตัง้
แทนทงงถ่วยปองพึง พึงพึง่ พระนา
เตอมแต่งพลไว้รงั ้ รอบแดน ฯ
แต่งตัง้ ไว้แล้วจึง่ คืนไคล แลนา
จักอยูน่ านแคลนเกรง ปิ่นเกล้า
ครัง้ คืนครรไลลุ ชยงใหม่
ขุกข่าวพระเจัาเร้ง รยบพล ฯ
(ลิลติ ยวนพ่าย)

พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) (ม.ป.ป. : ๓๔๐) กล่าวว่า “ศักราช ๘๓๖ ปี


มะเมีย ฉศก หมื่นด้งผูก้ นิ เมืองเชียงชื่นถึงแก่กรรม โปรดให้หมื่นแคว้นผูก้ นิ เมืองแจ้ห่ม ไปกิน
เมือ งเชีย งชื่น แทน ให้ห มื่น กองผู้กิน เชีย งเรือ กไปครองเมือ งนคร ในปี เดีย วกัน นัน้ พระยา
หลวงศุกโขทัยยกพลศึกขึน้ มาตี ปล้นเอาเมืองเชียงชื่นได้ ฆ่าหมืน่ แคว้นผูก้ นิ เมืองเชียงชื่นตาย
เสด็จยกทัพหลวงไปตีทพั สุโขทัยถอยไป ได้เมืองเชียงชื่นคืน ให้ผกู้ ินเมืองนครไปรัง้ เมืองเชียง
ชื่น” ส่วนสงวน โชติสุขรัตน์ (๒๕๑๕ : ๓๓๔) กล่าวสอดคล้องกันว่า “ปีมะเมีย ฉศก จุลศักราช
๘๓๖ (พ.ศ. ๒๐๑๗) หมืน่ ด้งผูก้ นิ เมืองเชียงชื่นถึงแก่ อนิจกรรม เอาหมื่นแคว้นผูก้ นิ เมืองแจ้ห่ม
ไปกินเมืองเชียงชื่นแทน เอาหมื่นกองผู้กินเมืองเชียงเรือไปกินนครลาปาง ในปี เดียวกันนัน้
พระยาหลวงเมืองสุโขทัยยกพลมาปล้นเอาเมืองเชียงชื่น ได้ฆ่าหมื่นแคว้นผู้กนิ เมืองเชียงชื่น
ตาย เลยได้เชียงชื่นคืนดังเก่า ยามนัน้ หมืน่ ผูก้ นิ นครไปรัง้ เชียงชื่นออกหนีได้พน้ ไป”
๑๐๖

บุญยงค์ เกศเทศ (๒๕๒๐ : ๗๙) กล่าวถึงการตีเมืองเชียงชื่นของสมเด็จพระบรม


ไตรโลกนาถว่าบางตอนในลิลติ ยวนพ่ายกับในพงศาวดารขัดแย้งกันด้วย ในพงศาวดารไม่ได้
กล่าวว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถยกทัพไปตีเชีย งชื่นด้วยตนเอง แต่ให้พระยาสุโขทัย ไป
แทน ในขณะทีใ่ นวรรณคดีเรือ่ งลิลติ ยวนพ่ายกล่าวว่าเสด็จยกทัพไปตีเชียงชื่น จึงไม่เป็ นอันยุติ
ว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เสด็จไปตีเชียงชื่นหรือไม่
ปทั มา ฑีฆประเสริฐกุล และชลดา เรืองรักษ์ลขิ ติ (๒๕๕๗ : ๒๖๙-๒๘๖) กล่าวว่า
จุดเน้นสาคัญในเรื่องยวนพ่ายโคลงดัน้ อยู่ทก่ี ารทาสงครามกับล้านนาโดยเฉพาะศึกเมืองเชียง
ชื่น โดยในเอกสารทางประวัตศิ าสตร์ไม่ได้กล่าวถึงการศึกเมืองเชียงชื่นอย่างชัดเจนนัก และไม่
มีเนื้อความทีบ่ รรยายเมืองเชียงชื่นอย่างละเอียด แต่เรื่องนี้กลับสร้างและให้ความสาคัญกับศึก
เป็ นอย่างมาก แสดงให้เห็นว่าผูเ้ ล่าได้ประกอบสร้างเมืองเชียงชื่นให้มคี วามสาคัญและโดดเด่น
อย่างมีนัยยะ ซึ่งมีผลต่อการสร้างภาพลักษณ์ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในเรื่องผู้เล่า
บรรยายเมืองเชียงชื่นอย่างละเอียดทัง้ สภาพทางกายภาพและการเตรียมเมื องเพื่อรับศึกของ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เช่น กล่าวถึงการถมปิ ดประตูเมืองทุกแห่ง การวางอาวุธไว้ทุก
ช่องทาง พลเมืองเชียงชื่นรวมกับพลเมืองเชียงใหม่ ผูเ้ ล่ายังบอกสภาพเมืองเชียงชื่นทีเ่ อาชนะ
ด้วยกาลังพลได้ยาก เพราะประกอบด้วย เบญจทูรดาการ คือ ลักษณะเข้าถึงยาก ๕ ประการ มี
เส้นทางบกที่มนคงแข็
ั่ งแรง ไพร่พล ช้าง ม้า ล้วนส่งเสียงอื้ออึง มีคลองบางเม็งเป็ นขื่อกัน้
ด้านหน้า มีแม่น้ ายมขวางกัน้ มีภูเขา ๓ ลูกเป็ นแนวป้องกัน และมีคูเมือง ๓ ชัน้ ที่มคี วามลึก
และเต็มไปด้วยขวากหนาม การบรรยายฉากที่ยงิ่ ใหญ่ เป็ นเครื่องยืนยันความสาคัญของเมือง
เชียงชื่น ทาให้ให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถต้องทรงเตรียมกองทัพอย่างยิง่ ใหญ่เพื่อเข้าโจมตี
เมือ ง ก่ อ นเข้า ตีเมือ ง ผู้เล่ า เรื่อ งได้ส ร้างเรื่อ งราวของหมื่น ด้งนครและนางเมือ งเพื่อ สร้า ง
ความชอบธรรมอย่างบริสุทธิ ์ให้แก่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในการเข้าตีเมืองเพื่อปกป้อง
และช่วยเหลือผูม้ ที ุกข์เดือดร้อนทีห่ นีมาขอความช่วยเหลือ ทัง้ ยังเป็ นการตอกยา้ ให้เห็นว่าพระ
เจ้าติโลกราชทรงเป็ นพระมหากษัตริย์ท่ไี ร้คุณธรรม การสร้างเมืองเชียงชื่น จึงเป็ นการสร้าง
ความหมายใหม่จากทีเ่ ป็ นเพียงสถานทีห่ รือเมืองหนึ่งในพืน้ ทีท่ างประวัตศิ าสตร์ เป็ นพืน้ ทีแ่ ห่ง
การแสดงวีรกรรมอันเปี่ ยมด้วยคุณธรรมของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เพราะทรงต้องการ
ปลดปล่อยความทุกข์ของชาวเชียงชื่นทีอ่ ยูใ่ ต้การปกครองของพระเจ้าติโลกราชผูไ้ ร้คุณธรรม
๒. ด้ำนพระพุทธศำสนำ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนา
เป็นอย่างมาก ดังการออกผนวชทีว่ ดั จุฬามณี เพื่อสละบาปและออกแสวงบุญ
แถลงปางจอมนารถน้อม ใจหวัง
สวะบาปแสวงบุญบท ทีแ่ ล้ว
ปางบุตรท่านท้าวลัง กาทวีป
เชิญช่วยสงฆผูแ้ ผ้ว เกลศไกล ฯ
๑๐๗

แถลงปางแสดงดิพรเกือ้ บุญบง บาปนา


เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย
แถลงปางเมือ่ พระทรง พระผนวช นัน้ นา
งามเงือ่ นสรรเพชญผ้าย แผ่นเกษม ฯ
แถลงปางไท้เรือ้ งรวจ แรงกรรม
แผ่นมนุษยเปรมปราย ดอกไม้
แถลงปางถ่วยบรทรรป์ ทาอ่า องคนา
เพราะเพื่อพระเจ้าได้ ผนวชฟ้าดินยอ ฯ
แถลงปางพลพ่าหไท้ เอารส ท่านนา
นบนอบพระขอเชอญ ช่วยป้อง
แถลงปางท่านลาพรต ครองราษฎร
ทุกเทศทุกท้าวสร้อง ส่วยถวาย ฯ
ปางสร้างอาวาศแล้ว ฤๅแสดง
คือพุทไธสวรรยหมาย ชื่อชี้
ปางถกลกาแพงพระ พิศณุโลกย แล้วแฮ
อยูช่ ่างพระเจ้าฟี้ เฟื่องบร ฯ
(ลิลติ ยวนพ่าย)
ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุ มาศ (๒๕๐๖ : ๑๔) กล่าวถึงพระราชกรณีย
กิจของพระบรมไตรโลกนาถด้านพระพุ ท ธศาสนาว่า “ศัก ราช ๘๑๑ ปี มะเส็ง เอกศก (พ.ศ.
๑๙๙๒) สมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้าทรงผนวชที่ว ดั จุฬ ามณี ได้ ๘ เดือ นแล้ว ลาผนวช” ส่ ว น
นิพนธ์ สุขสวัสดิ ์ (๒๕๒๐ : ๖๐) ก็กล่าวทานองเดียวกันว่าหลังจากทีส่ มเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ย้ายราชธานีขน้ึ ไปตัง้ อยู่ท่พี ษิ ณุ โลกแล้วก็ทรงทานุ บารุงพระพุทธศาสนาหลายอย่าง เช่น สร้าง
พระศรีรตั นมหาธาตุ (พระปรางค์วดั พระศรีรตั นมหาธาตุ) เมืองพิษณุ โลก และให้ราชทูตออกไป
นิมนต์พระเถระจากลังกาทวีปเข้ามา แล้วทรงพระราชศรัท ธาออกผนวชที่ว ดั จุฬ ามณี เมื่อลา
ผนวชแล้วได้ชา้ งเผือกมาสู่บารมี เป็ นช้างเผือกเชือกแรกทีไ่ ด้ในสมัยอยุธยา นอกจากนี้ หนังสือ
คาให้การชาวกรุงเก่า คาให้การขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวง
ประเสริฐอักษรนิติ ์ (อ้างถึงในบุญยงค์ เกศเทศ, ๒๕๒๐ : ๗๒-๗๓) ก็กล่าวตรงกันว่า “พระบรม
ไตรโลกนาถทรงทศพิธราชธรรมหนักหนา ตัง้ อยู่ในศีล และอุ โบสถศีล มิได้ขาด แล้วพระองค์
ตัง้ อยู่ในธรรม ๑๐ ประการ พระองค์ชานาญในคันถธุระ ทรงบารุงพระพุทธศาสนาโดยสุจริตใน
เดือนหนึ่งสีอ่ ุโบสถ พระองค์บารุงศีลาพรหมจรรย์มไิ ด้ขาด แสวงหาฝ่ายสวรรค์และการนิพพาน
พระองค์มไิ ด้รอนสัตว์ให้ตกั ษัย เป็ นราชประเพณีจาเป็ นจาเสด็จออกพระโรงแล้วว่าราชการตาม
๑๐๘

กิจประเพณีกษัตริย์แต่ก่อนมา ใครชอบก็ประทานรางวัล ใครผิดก็พพิ ากษาตามกฎพระอัยการ


ถ้าโทษใหญ่และลูกขุนพิจารณาใส่ในพระอัยการมาพระองค์ขอโทษไว้มใิ ห้ตาย”
๓. ด้ ำนพระปรีช ำสำมำรถของสมเด็จพระบรมไตรโลกนำถ นิ พ นธ์ สุ ข สวัส ดิ ์
(๒๕๒๐ : ๕๗) กล่าวว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเป็ นกษัตริย์ ท่รี อบรูด้ ้านต่าง ๆ เช่น
อักษรศาสตร์ นิตศิ าสตร์ ศาสนศาสตร์ ตาราพิชยั สงคราม และคชลักษณ์ ดังในวรรณคดีเรื่อง
ลิลติ ยวนพ่ายทีก่ ล่าวว่าทรงรูแ้ จ้งในพระไตรปิฎก และรูใ้ นคาถาต่าง ๆ
กลฉลยวฉลาดเรือ้ ง แรงพุทธ เพรอศพ่อ
กลโจทยกลแจงอรรถ ปล่งแปล้
โลกียโลกุดดร รุดรวจ เรวแฮ
กลกรรกลแก้แท้ ท่ยงชาญ ฯ
สนยงสนวดแม้น มฤธุรา เรือ่ ยแฮ
ทนยบทนองการ เลิศล้วน
ทนองทานุกภา รตรองตรยบ รยบแฮ
ดนอกดนานถ้วน ถ่องกล ฯ
รบินรบยบท้าว เบาราณ
รบอบรบับยล ยิง่ ผู้
รบยนรบิการย เกลากาพย ก็ดี
รเบอดรปดั รู้ รอบสรรพ ฯ
(ลิลติ ยวนพ่าย)
เมื่อประมวลความรู้เกี่ยวกับพระราชประวัตขิ องพระบรมไตรโลกนาถก็พบว่ามีความ
สอดคล้อ งกับ ในประวัติศ าสตร์ ท่ีก ล่ าวว่าในช่ ว งก่ อ นเจ้าสามพระยาสวรรคต ท่ านถู ก ส่ งไป
ปกครองเมืองพิษณุ โลก ต่อมาเมื่อพระราชบิดาสวรรคตจึงกลับมาครองราชย์ท่อี ยุธยา กษัตริย์
พระองค์น้ีมพี ระราชมารดาเป็ นพระราชธิดาของกษัตริยส์ ุโขทัย เป็ นกษัตริยท์ ่เี พียบพูนไปด้วย
ทศพิธ ราชธรรม พระองค์ท รงใช้ว ิธ ีของกษัต ริย์อิน เดีย โดยปรับ ใช้ต าราอรรถศาสตร์ในการ
ปกครองอาณาจักร ทรงเป็ นผู้ท่ใี ห้ความสาคัญ กับการสร้างรากฐานทางศาสนาการเมือง โดย
อาศัยการสนับสนุ นจากวงศ์สงฆ์ในสมัยโบราณ ในช่วงแรกทีท่ รงปกครองเสด็จประทับที่อยุธยา
และให้เจ้านายทางสุโขทัยปกครองกันเอง อย่างไรก็ตาม การรุกเข้าครอบครองทางเหนือของ
อยุธยาทาให้เจ้า นายบางองค์ไม่พอใจจึงเอาใจออกห่างและขอความช่วยเหลือ จากเชียงใหม่
ส่งผลให้เจ้าเมืองเชียงใหม่และทหารสุโขทัยรุกมาประชิดเพื่อตีเมืองชัยนาทอันเป็นเมืองลูกหลวง
ทางเหนือแล้วกวาดต้อนผู้คนไปยังเชียงใหม่ ในเวลาต่อมา พระบรมไตรโลกนาถจึงจาต้องไป
ประทับ ที่เมือ งพิษ ณุ โลก และยกเป็ น เมือ งหลวงเพื่อ เชื่อ มสองอาณาจัก รไว้ด้ว ยกัน แล้ว ลด
อยุธยาเป็ นเมืองลูกหลวงให้พระราชโอรสไปครอง ส่งผลให้สามารถเอาชนะเมืองเชียงใหม่ และ
๑๐๙

ทาให้พระราชวงศ์สุโขทัยบางส่วนหันกลับมาสวามิภกั ดิ ์ดังเดิม ในช่วงทีผ่ นวช ทรงใช้ศาสนาเป็ น


ฐานการปกครอง กล่าวคือ ทรงดาเนินรอยตามกษัตริยส์ ุโขทัย คือ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ เพื่อ
กล่อมเกลีย้ น้ าใจของราษฎรฝา่ ยเหนือและเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณไปยังอาณาจักรเพื่อนบ้าน
ทรงผนวชพร้อมพระสงฆ์ของสุโขทัย จานวน ๒๓๔๘ รูป ช่วงนี้มกี ารบูรณะวัดพระพุทธชินราช
แล้วจัดงานสมโภชอย่างยิง่ ใหญ่ ทัง้ จัดให้มกี ารแต่งมหาชาติคาหลวงด้วย ผลตามมา คือ ราษฎร
ต่างพากันสรรเสริญ ว่าทรงเป็ นนักปกครองที่ทรงคุณธรรม แม้ศตั รูก็ยอมรับ ทัง้ หมดนี้เพื่อให้
ศาสนาเป็ นเครื่องหล่อหลอมเอาขนบธรรมเนียมฝ่ายเหนือฝ่ายใต้เข้ามาบรรจบด้วยกัน ศาสนา
จึงกลายเป็ น ฐานทางการเมือ งที่ท าให้เกิด อ านาจอัน ชอบธรรมในการปกครองบนฐานทาง
ศีลธรรม (ชาญวิทย์ เกษตรศิร,ิ ๒๕๔๘ : ๑๗๖-๑๘๔)

๔.๓ วรรณคดีเกี่ยวกับกับประวัติศำสตร์ในสมัยธนบุรี
สมัยกรุงธนบุร ี กษัตริยผ์ ปู้ กครองเมือง คือ “พระบรมราชาธิราชที่ ๔" (แต่ประชาชนนิยม
เรียกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุร)ี พระองค์ทรงปกครองกรุง
ธนบุรเี ป็นเวลา ๑๕ ปี ในรัชสมัยของพระองค์มเี รือ่ งการทาศึกสงครามตลอดเวลา ดังรายละเอียด
๔.๓.๑ เหตุกำรณ์ บ้ำนเมือง สุดารา สุจฉายา (๒๕๕๐ : ๔๑ - ๔๘) กล่าวถึงพระราช
ประวัตสิ มเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรวี ่าพระราชสมภพในปีขาล ฉอศก จุลศักราช ๑๐๙๖ ตรงกับ พ.ศ.
๒๒๗๗ ในแผ่ นดินพระเจ้าบรมโกศ พระนามเดิมว่าสิน บิดาชื่อ ไหยฮอง เป็ นขุนพัฒน์ นาย
อากรบ่อนเบี้ย เจ้าพระยาจักรีสมหุนายกรับเลี้ยงในฐานะบุตรบุญธรรม ครัน้ เติบใหญ่ศกึ ษาเล่า
เรียนทีว่ ดั โกษาวาสน์ จากนัน้ ถวายตัวเป็นมหาดเล็กและได้เลื่อนเป็ นพระยาตาก พระราชประวัติ
หลังจากนัน้ ได้มบี นั ทึก ในพงศาวดารฉบับต่าง ๆ ว่า พ.ศ. ๒๓๐๘ พระยาตากมาช่วยราชการ
ป้องกันพม่าในกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากมีความชอบในการทาสงครามจึงได้เลื่อนตาแหน่ งเป็ น
พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกาแพงเพชร พ.ศ. ๒๓๐๙ ระหว่างทาสงครามรักษาพระนคร เกิด
ความท้อใจที่เห็นผู้บงั คับบัญชาอ่อนแอ จึงตัดสินใจพาไพร่พลออกไปจากค่ายวัดพิชยั ตีฝ่าวง
ล้อมพม่าไปทางทิศตะวันออก ตอนเที่ยงคืน ขณะเกิดไฟไหม้ขน้ึ ในพระนคร ต่อมาก็เดินทัพไป
ทางบ้านหันตรา ปะทะกับกองทหารพม่า พม่าสูไ้ ม่ได้กล็ ่าถอยไป พระยาตากยกพลไปทางบ้าน
ข้าวเม่า บ้านสามบัณฑิต ลุถงึ บ้านโพสามหาว หรือโพสาวหาญหรือโพสังหาร ในตอนเช้าต่อสู้
กับพม่าทีต่ ดิ ตามมาจนแตกพ่ายไป พระยาตากเดินทัพต่อไปจนถึงบ้านพรากนกจึงหยุดพักแรม
ก่อนจะเดินทางต่อไปยังเมืองนครนายก ผ่านบ้านบางดง หนองไม้ซุง บ้านนาเริง่ จนถึงเมือง
ปราจีนบุร ี ปะทะเข้ากับกองทหารพม่าที่บ้านคู้ลาพัน ชายทุ่งศรีมหาโพธิ ได้ตพี ม่าแตกพ่ายไป
จากนัน้ จึงข้ามแม่น้ าบางปะกง ผ่านแปดริว้ เข้าเมืองชลบุร ี มายังบ้านนาเกลือ (บางละมุง) นายก
ล่าซึง่ เป็ นนายชุมนุ มทีน่ นน
ั ่ าเสด็จไปพัทยา ประทับแรมทีน่ าจอมเทียน ทุ่งไก่เตีย้ สัตหีบ แห่งละ
คืน ก่อนเข้าเมืองระยอง ประทับทีว่ ดั ลุ่ม (มหาชัยมงคล) แล้วชักชวนให้กรมการเมืองระยองร่วม
๑๑๐

กูช้ าติ แต่กรมการเมืองอันมีขุนรามหมื่นส้อง นายทองอยู่ นกเล็ก ขุนจ่าเมือง ฯลฯ คบคิดทาร้าย


จึงปราบปรามจนราบคาบแล้วยกพลไปที่ระยอง ๗ - ๘ วัน ต่อมาได้เกลี้ยกล่อมพระยาจันทบูร
ให้อ่อนน้อม แต่พระยาจันทบูรเชื่อคายุยงของขุนรามหมื่นส้องทีห่ นีมาจากเมืองระยองเพื่อจับกุม
พระยาตาก แต่พระยาตากรูแ้ ผนการเสียก่อน คืนนัน้ จึงบุกยึดเมืองจันทบุรใี ห้กลายเป็ นฐานทีม่ นั ่
ของตน (สาเหตุท่พี ระยาตากเลือกเมืองจันทบุรเี กิดจากเป็ นเมืองใหญ่ ท่ปี ลอดจากสงคราม มี
ก าลัง คนและเสบีย งอาหารก็ อุ ด มสมบู รณ์ มีป้ อมประตู ห อรบแข็ง แรง ตัง้ อยู่ ใกล้ ช ายทะเล
ตะวันออก ยากทีพ่ ม่าจะส่งกาลังมาตี เพราะอยู่ไกล ลาบากแก่การส่งคนและเสบียง ทัง้ พม่าไม่ม ี
กาลังเรือเพียงพอในการทาสงคราม จันทบุรยี งั เป็ นปากทางทีห่ นีสะดวก ซือ้ อาวุธจากเรือค้าขาย
ต่างประเทศได้ง่าย และเอื้ออานวยต่อการเดินทัพเรือแทนทางบก เพราะไม่ต้องกลัวการลอบ
โจมตีของพม่าทีก่ ระจายอยูต่ ามทีต่ ่าง ๆ)
เมื่อตัง้ มันแล้
่ วพระยาตากก็เริม่ ดาเนินกอบกู้ราชอาณาจักรอยุธยาโดยการปราบปราม
ชุมนุ มต่าง ๆ ทีต่ งั ้ ตัวเป็ นชุมนุ มอิสระให้มารวมอยู่ในอาณาจักรเดียวกัน โดยเริม่ จากการตีเมือง
ตราด ซึง่ เป็ นชุมนุ มพ่อค้านายสาเภาทัง้ ปวง จากนัน้ ก็เตรียมเรือรบและกาลังพลทีเ่ มืองจันทรบุร ี
แล้วยกทัพเรือจากเมืองจันทบุรเี ข้ามาทางปากน้ า เมืองสมุทรปราการ แล้วเข้ายึดเมืองธนบุ รไี ว้
ได้ ต่อมาก็ยกพลไปยังค่ายโพธิ ์สามต้นซึง่ เป็ นค่ายของพม่า มีชยั ชนะเหนือสุก้พี ระนายกอง แม่
ทัพของพม่า ซึ่งศึกครัง้ นี้เท่ากับประสบความสาเร็จในการยึดกรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า พร้อม
กับได้อญ ั เชิญพระบรมศพสมเด็จพระสุรยิ าศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) เข้ามาถวายพระเพลิง
ตามโบราณราชประเพณี เมื่อ เห็น ว่ ากรุงศรีอ ยุ ธ ยามีส ภาพอัน ปรัก หัก พัง ยากที่จ ะฟื้ น คืน
ประกอบกับท้องที่ลุ่มน้ าภาคกลางอยู่ในสภาพจลาจล มีกลุ่มค่ายตัง้ ก๊ กมากมาย ยากแก่ การ
จัดการในระยะเวลาอันสัน้ พระยาตากจึงนาไพร่พลไปตัง้ มันที ่ ่เมืองธนบุร ี ซึ่งต่อมากลายเป็ น
ศูนย์กลางอานาจแห่งใหม่ของราชอาณาจักร พร้อมกับทาพิธปี ราบดาภิเษกขึน้ เป็ นกษัตริย์ เมื่อ
พ.ศ. ๒๓๑๑ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ หรือที่คนทัวไปเรี ่ ยกว่า สมเด็จพระเจ้า
กรุงธนบุร ี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสิน ในจดหมายเหตุโหรกล่าวถึงวันประกอบพระราชพิธวี ่าตรง
กับวันอังคาร แรม ๔ ค่า เดือนอ้าย จ.ศ. ๑๑๒๙
ในรัชสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงทาศึกสงครามเป็นเวลา ๑๕ ปี โดยมิได้
หยุดหย่อน จนได้รบั การถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยได้ทา
ศึกสงครามกับพม่า และอาณาจักรอื่น ๆ ดังนี้
พ.ศ. ๒๓๑๐ ตีค่ายโพธิ ์สามต้น สามารถยึดอยุธยาคืน ต่อมาทัพพม่าก็เข้าล้อมค่ายจีน
ทีบ่ างกุง้ แขวงเมืองสมุทรสงคราม สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรยี กทัพเรือไปตีพม่าจนแตกพ่าย
พ.ศ. ๒๓๑๓ กองทัพพม่าจากเชียงใหม่เข้ามาตีสวรรคโลก เจ้าพระยาสุรสีห์ เจ้าเมือง
พิษ ณุ โลก พระยาสีห ราชเดโช เจ้าเมือ งพิชยั และพระยาท้ายน้ าช่ วยตีพ ม่าจนสาเร็จ ต่ อ มา
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุร ยี กทัพไปตีพม่าที่เชียงใหม่ เพราะตกเป็ นของพม่าก่อนเสียกรุ ง แต่ไม่
ประสบความสาเร็จ เพราะไพร่พลน้อย
๑๑๑

พ.ศ. ๒๓๑๕ พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชยั ครัง้ แรก เจ้าพระยาสุรสีห์และพระยาสีหราช


เดโชช่วยกันขับไล่จนสาเร็จ
พ.ศ. ๒๓๑๖ พม่า ยกทัพ มาตีเมือ งพิช ัย ซ้ า ทัพ ไทยช่ ว ยกัน ตีท ัพ พม่ าจนแตกพ่ า ย
สงครามครัง้ นี้เกิดวีรกรรมพระยาพิชยั ดาบหัก
พ.ศ. ๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรยี กทัพไปตีเชียงใหม่ ครัง้ ที่ ๒ ได้หวั เมืองล้านนา
ไทยกลับคืนมา เพราะผู้นาท้องถิน่ คือ พระยาจ่าบ้านและพระยากาวิละร่วมทาศึกกับพระองค์
ต่อมาพม่ายกทัพมาตีเมืองกาญจนบุรตี งั ้ ค่ายที่บางแก้ว ราชบุร ี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรยี กทัพ
มาจากหัวเมืองเหนือล้อมค่ายจับพม่า และประหารชีวติ พระเทพโยธรา เพราะขัดราชโองการ
พ.ศ. ๒๓๑๘ อะแซหวุ่ น กี้แ ม่ ท ัพ พม่ า ยกทัพ มาตีห ัว เมือ งทางเหนื อ เข้า ล้อ มเมือ ง
พิษณุ โลก และสุโขทัย เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์เป็ นแม่ทพั รับศึกที่พิษ ณุ โลก โดย
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรยี กทัพหลวงเข้าไปช่วย ทัพไทยรับศึกไม่ไหวจึงสละเมือง ประจวบกับ
พม่าเกิดผลัดแผ่นดิน อะแซหวุ่นกี้จงึ ยกทัพกลับ ศึกครัง้ นี้อะแซหวุ่นขอดูตวั เจ้าพระยาจักรี และ
ทานายว่าเจ้าพระยาจักรีจะได้เป็นกษัตริยอ์ งค์ต่อไป
พ.ศ. ๒๓๑๙ กองทัพพม่าจากเชียงแสนยกมาตีเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุร ี
โปรดเกล้าฯ ให้พ ระยาสุรสีห์เป็ นแม่ทพั ไปช่วยทัพเชียงใหม่จนได้รบั ชัยชนะ แต่ ต้องทิ้งเมือ ง
เชียงใหม่ให้เป็ นเมืองร้าง เนื่องจากไม่มกี าลังพอที่จะป้องกันเมืองขนาดใหญ่ได้ นอกจากนี้กย็ ก
ทัพไปตีอาณาจักรล้านช้าง ได้เมืองจาปาศักดิ ์ อัตตะบือ และดินแดนล้านช้างตอนล่าง
พ.ศ. ๒๓๒๐ เลื่อนยศเจ้าพระยาจักรีเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริยศ์ กึ
พ.ศ. ๒๓๒๑ โปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศกึ และเจ้าพระยาสุรสีหไ์ ปตี
เมืองเวียงจันทน์และหลวงพระบาง หัวเมืองลาวทัง้ หมดกลับขึน้ มากับไทย
พ.ศ. ๒๓๒๒ กองทัพไทยยกทัพกลับ พร้อมอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาด้วย
มีการเฉลิมฉลองพระแก้วมรกต ๗ วัน ๗ คืน ช่วงนี้หลวงสรวิชติ (หน) แต่งอิเหนาคาฉันท์
พ.ศ. ๒๓๒๔ เกิดจลาจลในกัมพูชา โปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ ศึก
เจ้าพระยาสุรสีห์ และเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทกั ษ์ยกทัพไปปราบ ยังไม่ทนั สาเร็จเกิดจลาจลใน
ธนบุร ี ช่วงนี้มกี ารส่งคณะทูตไทยไปจีน ต่อมาพระยาสรรค์เข้าด้วยพวกกบฏยกกาลังมาตีธนบุร ี
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรที รงออกผนวช พระยาสุรยอภัยยกทัพเข้ามาปราบ
พ.ศ. ๒๓๒๕ เกิดเหตุจลาจลขึน้ คือ พระยาสรรค์ได้ตงั ้ ตัวเป็ นกบฏ ได้บุกมาบังคับให้
พระเจ้ากรุงธนบุรผี นวช ขณะนัน้ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศกึ ทรงทาศึกอยู่ท่กี มั พูชา ทรง
ทราบข่าวจึงได้เสด็จกลับมาปราบปรามจลาจลแล้วสาเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรแี ละพระ
ราชโอรส สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริยศ์ ึกได้ปราบดาภิเษกขึน้ เป็ น พระบาทสมเด็จพระพุทธ
ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริยแ์ ห่งราชวงศ์จกั รี และให้ยา้ ยราชธานีมายังฝงตะวั ั ่ นออก
ของแม่น้าเจ้าพระยา ต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า กรุงรัตนโกสินทร์
๑๑๒

เมื่อกล่าวถึงสภาพบ้านเมืองสมัยกรุงธนบุร ี ชัย เรืองศิลป์ (๒๕๔๑ : ๒ - ๑๖) กล่าวว่า


ช่ว งต้น รัชกาล สภาพบ้านเมือ งเสียหายจากการสงครามอย่างหนัก ทัง้ เกิดทุ พ ภิกขภัยครัง้
ร้ายแรงที่สุดในประวัตศิ าสตร์ จนทาให้ขา้ วมีราคาแพง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรที รงสละทรัพย์
ส่วนพระองค์ซ้อื ข้าวมาให้แก่ราษฎรจานวนมาก ในสมัยนี้กรุงธนบุรเี ป็ นเมืองท่าที่สาคัญ ที่สุด
ของไทยแทนกรุงศรีอยุธยาเดิมที่ถูกเผาทาลายไป และเนื่องจากเมืองมะริดและตะนาวศรีได้ตก
เป็ นของพม่า จึงทาให้เมือ งถลางได้กลายเป็ นเมือ งท่าสาคัญ ในการค้าขายกับต่ างชาติ แทน
เช่นเดียวกับเมืองไชยาและเมืองสงขลา โดยมีชาวจีนเข้ามาอาศัยอยู่มาก จนนาความเจริญมาสู่
กรุงธนบุ ร ี เพราะคนจีน ขยัน กว่ า คนไทย นอกจากนี้ ก็ม ีภู ม ิป ระเทศและภู ม ิอ ากาศเอื้อ ต่ อ
เกษตรกรรม ทรงปรับปรุงด้านวัฒนธรรมหลายด้าน เช่น ด้านศาสนา ด้านศิลปะ เพียงแต่ผลงาน
ไม่เด่นชัด และด้านการศึกษา โดยเน้นให้โอกาสเด็กผูช้ ายเรียนหนังสือ
กล่าวโดยสรุป สมัยพระเจ้าตากสินมหาราชมีการกู้เอกราชจากพม่าจนสาเร็จ ภายหลังกู้
เอกราชสมเด็จพระเจ้าตากสินมีพ ระราชกรณี ยกิจในการระงับ การจลาจลในบ้านเมือ ง สร้าง
บ้านเมืองใหม่ ทัง้ ทางฝา่ ยพุทธจักรและอาณาจักรและปราบชุมชนต่าง ๆ เพื่อรวมเป็นหนึ่งเดียว

๔.๓.๒ บริ บทวรรณคดี


ในสมัยธนบุรมี กี ารทาสงครามบ่อยครัง้ จึงทาให้วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์เกิดขึน้
น้อย เรือ่ งทีเ่ ด่น ๆ เช่น นิราศกวางตุง้ โคลงเฉลิมพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร ี

กรณี ศึกษำเรื่องโคลงยอพระเกียรติ พระเจ้ำกรุงธนบุรีที่สมั พันธ์กบั ประวัติศำสตร์


เรือ่ งโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรบี อกชื่อผูแ้ ต่งว่า คือ นายสวน มหาดเล็ก แต่ง
เพื่อสรรเสริญพระเกียรติและถวายความจงรักภักดีแด่พระเจ้ากรุงธนบุร ี แต่ง ในวันอังคาร เดือน
๘ ขึน้ ๑๐ ค่า ปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๑๔ เนื้อหาพรรณนาและบรรยายสภาพบ้านเมือง ปราสาทราชวัง
โรงช้าง โรงม้า สนมกานัล ตามด้วยการสดุดแี ละวิงวอนให้สงิ่ ศักดิ ์สิทธิ ์คุม้ ครองพระเจ้ากรุงธนบุร ี
ส่วนที่สมั พันธ์กบั ประวัตศิ าสตร์นัน้ เน้นกล่าวถึงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุร ี
ด้านการทาศึกสงคราม การปกครองคน การบริหารบ้านเมือง การสร้างเมืองและการสมโภชพระ
นคร รวมถึงชีวติ ส่วนพระองค์ ดังนี้
๑. ด้ ำนกำรท ำสงครำม เนื้ อ หากล่ าวถึงพระเจ้าตากสิน ว่าเมื่อ ทราบข่าวว่ากรุงศรี
อยุธยาเสียแก่พม่า จึงยกกองทัพออกจากจันทบุรมี ายังกรุงธนบุรเี พื่อกอบกูอ้ สิ รภาพ
พระตรีญาณประเวศด้วย นรชน
เห็นทุกข์เมทนียดล แด่ขว้า
ยลสาสนพระพุทธพล โรยร่อย
หวังช่วยเชิดชูปล้า ปลุกให้คงเขษม ฯ
๑๑๓

จึงยกพยุหยาตรข้าม กันดาร ชเลนา


จรจากจันทบูรสถาน ท่าไท้
สถิตย์ธนนครินราน อริราช
หวังสาสนสมบูรณ์ให้ เทพซร้องสดุด ี ฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี
ในหนังสือ ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๕ (อ้างถึงในบุญ ยงค์ เกศเทศ, ๒๕๒๐ : ๙๙)
กล่าวถึงประเด็นข้างต้นว่าจุลศักราช ๑๑๒๙ ปี กุน นพศก พระเจ้าตากสินมหาราชทราบว่ากรุง
ศรีอยุธยาพินาศ ชาวเมืองได้รบั ความทุกข์ยาก ศาสนาเศร้าหมอง พม่าตัง้ พระนายกองรัง้ เมือง
และผู้ค รองเมือ งเอก โท ตรี จัต วา บรรดาเมือ งขึ้น ตัง้ ตัว เป็ น ใหญ่ พระองค์จ ึงทรงพระราช
อุตสาหะยกพลทหารพร้อมด้วยศาสตราวุธเป็นอันมาก ออกจากเมืองจันบุรที างชลมารค
สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุ ภาพกล่าวในหนังสือ ไทยรบพม่า (อ้างถึงใน สุดารา
สุจฉายา, ๒๕๕๐ : ๕๓) ถึงการเลือกเมืองธนบุร ขี องพระยากตากว่าเนื่องจากกรุงศรีอยุธยามี
ขนาดใหญ่ เกินกองกาลังขนาดเล็กของพระยาตากที่จะรักษาไว้ได้ ทัง้ เป็ นสมรภูมทิ ่ยี งั ไม่สงบ
ข้าศึกสามารถยกพลประชิดเมืองได้สะดวกทัง้ ทางบกและทางน้ า ผิดกับ เมืองธนบุรที ่เี ป็ นเมือง
ขนาดย่อม มีป้อมปราการมันคง ่ และอยู่ไม่ห่างจากอยุธยา ทัง้ อยู่ใกล้ ทะเล ยากที่จะตีเมืองได้
หากไม่มกี องทัพเรือ หรือหากรักษาเมืองไม่ได้ก็สามารถล่าทัพออกทะเลกลับจันทรบุรไี ด้ง่าย
ต่อมา คือ ปจั จัยทางการเมือง ธนบุรตี งั ้ อยูฝ่ งน
ั ่ ้ าซึง่ เป็ นเส้นทางติดต่อระหว่างต่างประเทศกับหัว
เมืองเหนือทัง้ ปวง เป็ นการป้องกันไม่ให้เมืองต่าง ๆ ซือ้ หาอาวุธจากต่างประเทศได้โดยตรง และ
เกิดจากปจั จัยทางเศรษฐกิจ เพราะตัง้ อยู่ในทาเลทีเ่ หมาะสมต่อการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
เรือสาเภาสามารถเข้ามาโดยง่าย ทัง้ ผืนดินก็อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก มีการกล่าวถึง
การรบระหว่างพระเจ้ากรุงธนบุรกี บั กัมพูชาด้วย โดยกัมพูชาเคยตกเป็ นเมืองขึน้ ของไทยตัง้ แต่
สมัยอยุธยา แต่มาตัง้ ตัวเป็นอิสระหลังเสียกรุง ดังนี้
๏ นักองค์รามนเรศแม้น รามา
เป็นปิ่นกัมพูชา ใช่น้อย
นักฟ้าทลหะมหา อุปราช เขมนแฮ
มาพึง่ บทรัชช้อย ชื่นเฝ้าบริบาล ฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี
เสทื้อน ศุภโสภณ (อ้างถึงในบุญยงค์ เกศเทศ, ๒๕๒๐ : ๑๐๒-๑๐๓) กล่าวว่ากัมพูชา
เคยตกเป็ นเมืองขึน้ ของอยุธยา ครัน้ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า กัมพูชาจึงตัง้ ตัวเป็ นอิสระ ล่วงมา
๒ ปี กัมพูชาเกิดจลาจลขึ้น ด้วยสมเด็จพระนารายณ์ ราชา (นักองค์ต น) กษัตริย์ กัมพูชาเกิด
วิวาทกับพระรามราชา (นักองค์นนท์) พระมหาอุปราช สมเด็จพระนารายณ์ราชาขอกาลังญวน
๑๑๔

มาช่วยปราบ ฝ่ายพระรามราชาสู้ไม่ได้จงึ มาขอพึ่งไทย พระเจ้ากรุงธนบุรจี งึ ขอให้สมเด็จพระ


นารายณ์ ราชาจัดต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี แต่ถูก
ปฏิเสธด้วยเหตุผลที่ว่าพระเจ้ากรุงธนบุรมี ใิ ช่เชื้อพระวงศ์ของอยุธยามาแต่เดิม สมเด็จพระเจ้า
กรุงธนบุรกี ริว้ มากจึงส่งกองทัพไปตีกมั พูชา โดยให้พระยาอภัยรณฤทธิ ์ (รัชกาลที่ ๑) กับพระยา
อนุ ชติ ราชา (สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) เป็ นแม่ทพั ยกไปตีเมืองเสียมราฐ กับ
ให้พ ระยาโกษาธิบ ดีเป็ น แม่ ท ัพ ยกไปตีเมือ งพระตะบอง แต่ ย ังไม่ ท ัน ตีน ครหลวงได้ส าเร็จ
กองทัพ ต้ อ งถอยทัพ กลับ มาเสีย ก่ อ น ด้ ว ยได้ข่ า วลือ ว่ า พระเจ้า กรุง ธนบุ ร ีส วรรคตที่เ มื อ ง
นครศรีธรรมราช ระหว่างเสด็จไปปราบชุมนุ มนครศรีธรรมราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรจี งึ โปรด
ให้เรียกกองทัพกลับหมด การตีกมั พูชาครัง้ แรกจึงไม่สาเร็จ ภายหลังทีก่ องทัพไปตีเชียงใหม่ครัง้
แรกแล้ว ก็โปรดให้จดั กองทัพไปตีกมั พูชาอีก มีเจ้าพระยาจักรี (รัชกาลที่ ๑) เป็ นแม่ทพั บกยก
ออกไปทางเมืองปราจีนบุร ี โดยให้พาพระรามราชาไปด้วย ตีได้เมืองพระตะบอง เมืองโพธิสตั ว์
เมืองบริบูรณ์ และเมืองพันทายเพศราชธานี ฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรคี ุมกองทัพเรือ มีพระ
ยาโกษาธิบดีเป็ นแม่ทพั หน้ ายกออกไปทางทะเล เข้าตีเมืองกาพงโสม เมืองบันทายมาศ และ
เมืองพนมเปญ จนได้ชยั ชนะ มีพระรามราชาเป็ นเจ้ากรุงกัมพูชา ส่วนสมเด็จพระนารายณ์ราชา
หนีไปอยู่ในเขตญวน แต่ในทีส่ ุดก็ขอกลับมาคืนดีดว้ ย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรจี งึ ตัง้ ให้เป็ นมหา
อุปโยราชกับให้นกั องค์ธรรม เจ้านายเขมรทีส่ าคัญอีกองค์หนึ่งเป็ นมหาอุปราช
นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงการรบกับชุมนุ ม ต่าง ๆ ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุร ีด้วย ดังที่
การไปปราบชุมนุ มเจ้าพิมาย (เมืองนครราชสีมา) ซึ่งถือว่าเป็ นชุมนุ มแรก ต่อมาก็คอื ชุมนุ มเจ้า
นครศรีธรรมราช โดยมีเจ้าปาตลิบุตรเป็นเจ้าเมือง ซึง่ สู้ศกึ ไม่ได้จงึ หนีไปพึง่ พระยาตานี ฝา่ ยพระ
ยาตานีเกรงอานาจของพระเจ้ากรุงธนบุรจี งึ ส่งตัวกลับมา ต่อ มาก็ต งั ้ เจ้าดารานเรศ (เจ้านรา
สุรยิ วงศ์) ครองเมืองแทน ถัดมาก็ไปตีเมืองสวางคบุร(ี พระฝาง) จนได้รบั ชัยชนะ ดังนี้
ปางเมืองนครราชตัง้ ตัวปทุษฐ
ก่อพิกลการยุทธ ศึกสร้าง
พระยกพยูหรุด รานราบ
น้อยโทษเลีย้ งใหญ่ลา้ ง ชีพสิน้ สูญหาย ฯ
ปางปาตลิบุตรเจ้า นัครา
แจ้งพระยศเดชา ปิ่นเกล้า
ทรนงศักดิ ์อหังกา เกกเก่ง อยูแ่ ฮ
ยังไปน่ ้อมประนตเข้า สู่เงือ้ มบทมาลย์ ฯ
๑๑๕

ยกพยุหยาตรเยือ้ ง บทศรี
ดังพระกฤษณตรี โลกล้น
พลหาญหื่นมหิทธิม ี ฤทธิภาพ
ทลวงล่วงเขตรนครปล้น ไล่ลุย้ ตลุยไป ฯ
เจ้าปาตลิบุตรนัน้ อัปรา ชัยเอย
ไปสถิตย์เทพาพา พวกแพ้
หนีเข้าพึง่ ตนนา ทัพเล่า
ทัพราชรีบรบแหร้ แขกม้วยเมืองทลาย ฯ
จึง่ ยกอพยพเข้า ตานี
พญาแขกเกรงบารมี ส่งให้
มาถวายกับบุตรี มาลย์มงิ่ เมืองนา
พระประทานอภัยให้ กลับเลีย้ งเป็นเฉลิม ฯ
ปางสวางค์บุเรศร้าย จาแลงผิด
พุทธบุตรละพุทธกิจ ก่อแกล้ว
ทุศลี ทุจริตอิจ ฉาราช
เสด็จปราบสัตว์บาปแผ้ว ฟอกฟื้นสาสนา ฯ
แล้วฉลองพุทธธาตุแท้ สุจริต
สมณะบรรพชิต ใช่น้อย
พระอวยชนอุทศิ ทานทัว่
มีมหรศพช้อย ชื่นช้อยชนเขษม ฯ
เมืองชัยทีร่ ว่ มร้าย เวียงสวางค์
พ่ายพระเดชคุณปาง ปิ่มม้วย
กลับน้อมศิโรตมางค์ มาเล่า
มาภักดิ ์เป็ นทหารด้วย อยูใ่ ต้บาทบงสุ์ ฯ
ปางปาตลิบุตรทัง้ เวียงสวางค์
นครราชสิมาหมาง ปิ่นหล้า
ถ้าแต่หมูท่ หารกลาง หมวดหนึ่ง ก็ดี
ก็จะมีชยั แก่ขา้ ศึกเสีย้ นสยบแสยง ฯ
พระเห็นพลพระห้าว เหลือหาญ
เกรงราษฎรจะลาญ ชีพม้วย
จึงเสด็จผดับการ รงค์รวด ระงับแฮ
หวังปราบหวังการุณด้วย ดังนี
่ ้ทรงถวิล ฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี
๑๑๖

เสทื้อน ศุภโสภณ (อ้างถึงในบุญยงค์ เกศเทศ, ๒๕๒๐ : ๑๐๖-๑๑๐) กล่าวถึงการทา


สงครามของพระยาตากว่าในสมัยกรุงธนบุรมี กี ารปราบชุมนุ มเจ้าพิมายขึน้ เกิดจากกรมหมื่น
เทพพิพธิ โอรสของพระเจ้าบรมโกศ คิดกบฏต่อพระเจ้าเอกทัศน์จงึ ถูกเนรเทศไปอยู่เกาะลังกา
ในระหว่างทีพ่ ม่าล้อมกรุงได้กลับมาเกลีย้ กล่อมผูค้ นให้สู้รบกับพม่า แต่ถูกพม่าตีพ่ายไป ต่อมา
จึงหนี ไปอยู่เมือ งนครราชสีม า และยึด เอาเมือ งพิม ายไว้ได้ ภายหลังหลวงแพ่ งน้ อ งพระยา
นครราชสีมายกกลับมาเอาเมืองคืน และจะจับกรมเทพพิพธิ ประหาร แต่พระพิมายขอชีวติ ไว้ จงึ
เอาตัวไปคุมไว้ท่พี มิ าย ครัน้ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พม่าจับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายใน
พระราชวงศ์ไปหมด พระพิมายนับถือราชตระกูลจึงยกกรมหมื่นเทพพิพธิ ขึน้ เป็นเจ้า ส่วนตัวเอง
กรมหมื่นเทพพิพธิ แต่งตัง้ ให้เป็ นเจ้าพระยาศรีสุรยิ วงศ์ เมื่อกรมหมื่นเทพพิพธิ เป็ นใหญ่จงึ คิด
กาจัดหลวงแพ่งจนได้เมืองนครราชสีมาและหัวเมืองขึน้ ทัง้ ปวงมาไว้ในอานาจ แล้วตัง้ ตนเป็ น
ใหญ่ทพ่ี มิ าย ซึง่ อยู่ในเขตนครราชสีมา เรียกกันว่าเจ้าพิมาย ต่อมาพระเจ้ากรุงธนบุรยี กกองทัพ
ไปปราบชุมนุมเจ้าพิมายจนแตกพ่าย เจ้าพิมายไปหลบภัยทีก่ รุงศรีสตั นาคนหุต เวียงจันทน์ แต่
ขุนชนะกรมการเมืองนครราชสีมาตามจับตัวมาถวายพระเจ้ากรุงธนบุร ี เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุร ี
เห็นว่ากรมหมื่นเทพพิพ ิธกระด้างกระเดื่องไม่ยอมอ่อนน้ อมจึงทรงประหารชีวติ เสีย ถือได้ว่า
ชุ ม นุ ม เจ้าพิม ายเป็ น ชุ ม นุ ม แรกที่พ ระเจ้า กรุงธนบุ ร ีป ราบได้ส าเร็จ ต่ อ มาก็ไปปราบชุ ม นุ ม
นครศรีธรรมราช ในการปราบครัง้ นี้ พระเจ้ากรุงธนบุรใี ห้พระยาจักรีเป็ นแม่ทพั ใหญ่ ยกทัพไป
ปราบ แต่แม่ทพั เกิดไม่ปรองดองกันเอง จึงไม่สามารถตีเมืองได้ พระเจ้ากรุงธนบุรจี งึ ต้องยก
กองทัพเรือ ลงไปบัญ ชาการด้วยพระองค์เอง แต่ก็ไม่สามารถจับเจ้านครได้ จะจับได้ก็ต่อเมื่อ
ภายหลังแล้ว เนื่องจากเจ้านครหนีไปอาศัยพระยาปตั ตานีศรีสุลต่านทีเ่ มืองปตั ตานี พระยาจักรี
จึงมีจดหมายไปถึงพระยาปตั ตานีฯ ว่าเจ้านครเป็ นศัตรูของพระเจ้ากรุงธนบุร ี ให้ส่งตัวมาถวาย
พระยาปตั ตานีเกรงกลัวกองทัพไทยจึงยอมส่งตัวเจ้านครมาถวาย ในตอนแรกแม่ทพั นายกอง
ปรึกษาให้ประหารชีวติ เจ้านครเสีย แต่พระเจ้ากรุงธนบุรที รงเห็นว่าเจ้านครมิได้เป็ นข้าราชการ
ของพระองค์ เมื่อพระองค์ตงั ้ ตัวเป็ นใหญ่ได้ เจ้านครก็สามารถทาได้เช่นกัน ทีส่ าคัญคือ เมื่อจับ
ตัวได้แล้วเจ้านครก็ยอมอ่อนน้อมต่อตน จึงให้คุมตัวมารับราชการทีก่ รุงธนบุร ี แล้วให้เจ้าหลาน
เธอ เจ้านราสุรยิ วงศ์ครองเมืองนครศรีธรรมราชแทน ส่วนในการตีเมืองสวางคโลกครัง้ นัน้ เกิด
จากมีชา้ งเผือกเพิง่ ตกลูก ครัน้ เสีย่ งหญ้าจึงรูว้ ่าเป็นช้างคู่บารมีพระเจ้ากรุงธนบุร ี แต่เ จ้าพระฝาง
กลับพาช้างหนีไป ทาให้กองทัพต้องยกไปปราบจนได้ชา้ งมาถวาย
ในขณะที่สุดารา สุจฉายา (๒๕๕๐ : ๕๗-๕๘) กล่าวถึงการทาสงครามของพระเจ้ากรุง
ธนบุ รวี ่ าหลังจากอาณาจัก รอยุธ ยาล่ ม สลาย บ้านเมือ งตกอยู่ในสภาพไร้ศูน ย์อ านาจในการ
ปกครองและควบคุม กลุ่มคนที่รวมตัวกันเป็ นชุมนุ ม หรือก๊กเหล่าน้อยใหญ่ตามเมืองหรือชุมนุ ม
เมือ งต่ า ง ๆ ตัง้ แต่ ก่ อ นกรุง แตกยิ่ง ทวีจ านวนมากขึ้น มีท ัง้ ที่ร วมกลุ่ ม เพื่อ ป้ องกัน ตนเอง
ปล้นสะดมผูอ้ ่นื หรือหวังทีจ่ ะตัง้ ตนเป็นกษัตริย์ เมือ่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรยี กทัพไปพม่าทีบ่ าง
๑๑๗

กุ้ง สมุทรสงครามจนได้รบั ชัยชนะ เป็ นผลให้ชุมนุ มเล็กในท้องที่ภาคกลางต่างพากันยอมรับใน


พระราชอานาจ แต่ยงั คงเหลือชุมนุ มขนาดใหญ่อยู่ ได้แก่ ชุมนุ มเจ้าพิษณุ โลก ชุ มนุ มเจ้าพิมาย
ชุมนุ มเจ้านครศรีธรรมราช และชุมนุ มเจ้าพระฝาง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรจี งึ ต้องปราบปราม
ชุมนุ มเหล่านี้เพื่อความเป็นเอกภาพของบ้านเมือง และเพื่อขยายอานาจให้ครอบคลุมถึงดินแดน
ทีเ่ คยเป็นของอาณาจักรอยุธยามาก่อน เริม่ จากการยกทัพไปปราบชุมนุ มเจ้าพิษณุโลก แต่ ปราบ
ไม่ส าเร็จ เพราะทรงถูก กระสุนปื นบาดเจ็บต้องยกทัพ กลับ ฝ่ายเจ้าพิษ ณุ โลกเห็นเป็ นโอกาส
เหมาะจึงตัง้ ตนเป็ นกษัตริย์ แต่ราชาภิเษกได้เพียง ๗ วันก็ถงึ แก่พริ าลัย เปิดโอกาสให้ชุมนุ มเจ้า
พระฝางซึง่ เข้มแข็งกว่าตีเมืองพิษณุ โลกได้ ในปีเดียวกันสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรรี กั ษาพระองค์
จนหาย จึงได้ยกทัพไปปราบชุมนุ มเจ้าพิมาย และสามารถจับขุนหมื่นเทพพิพธิ พระเจ้าลูกเธอ
ในสมเด็จพระเจ้าบรมโกศที่ต้องการแยกตัวจากอยุธยาไว้ได้ หลังจากนัน้ ก็สงให้ ั ่ ประหารชีวติ
ต่อมาก็ยกทัพไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช จนได้รบั ชัยชนะแล้วแต่งตัง้ ให้เจ้านราสุร ิยวงศ์
พระเจ้าหลานยาเธอครองเมืองนครศรีธรรมราชแทน เมื่อจะเสด็จกลับธนบุร ี ก็ได้ทรงอัญ เชิญ
พระไตรปิ ฎ กของเมือ งนครศรีธ รรมราชมาคัดลอกไว้ท่ีกรุงธนบุ ร ี พร้อ มทัง้ คุ มตัวเจ้าพระยา
นครศรีธรรมราชกลับมารับราชการทีธ่ นบุร ี และอาราธนาพระภิกษุขน้ึ มาจานวนหนึ่งด้วย ชุมนุ ม
สุดท้าย คือ ชุมนุ มเจ้าพระฝาง ซึ่งแม้จะตีเมืองพิษณุ โลกได้ก็ยงั ตัง้ ศูนย์กลางอานาจอยู่ท่เี มือง
ฝางหรือสวางคโลกอยู่ เพราะหัวหน้าชุมนุ มผูกพันอยู่กบั ความศักดิ ์สิทธิ ์ของพระธาตุพระฝาง แต่
เมืองนี้ขาดระเบียบและการบริหารทีด่ ี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรจี งึ สามารถเข้ าตีได้อย่างง่ายดาย
ชัยชนะครัง้ นี้เท่ากับสามารถรวบรวมแผ่นดินทีเ่ คยเป็นของอยุธยากลับคืนมาได้ และเป็นจุดทีท่ า
ให้จนี ซึง่ เดิมไม่ยอมรับสถานะกษัตริยข์ องสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรตี อ้ งยอมรับ
๒. ด้ ำนกำรเป็ นที่ พึ่งของรำษฎร ในช่วงที่บ้านเมืองเกิดข้าวยากหมากแพง พระเจ้า
กรุงธนบุรพี ระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ซอ้ื ข้าวปลาบริจาคแก่ราษฎร ดังความว่า
พระมามอบชีพช้อน ชีพติ
อวยโภชนทานอุทศิ ทัวได้

อเนกบริจาคนิตย์ สนองสาส นานา
ธรณินหวาดไหวไหว้ เชิดชีช้ มผล ฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี
ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖ และภาคที่ ๖๕ (อ้างถึงในบุญ ยงค์ เกศเทศ, ๒๕๒๐ :
๙๙) กล่าวถึงพระราชกรณียกิจด้านการเป็ นทีพ่ ง่ึ ของประชาชนของพระยาตากว่า “อาณาประชา
ราษฎรยาจกวณิพ กคนโซอนาถาทัวทุ ่ กเสมามณฑล เกลื่อนกล่ นมารับพระราชทานมากกว่า
๑๐,๐๐๐ ฝ่ายข้าราชการทหารพลเรือน จีน ไทย รับประทานข้าวสารคนละถัง กินคนละ ๒๐ วัน”
ส่วนสุดารา สุจฉายา (๒๕๕๐ : ๗๓) กล่าวว่าผลทีพ่ ม่ายกทัพตีอยุธยา คือ การขาดแคลนอาหาร
๑๑๘

และกาลังคน ด้วยเรือกสวนไร่นาถูกพม่าเผาทาลาย กอปรกับเกิดภัยแล้ง ราษฎรไม่สามารถทา


มาหากินได้ตลอดช่วงศึกสงคราม ผู้คนอดอยากและมีโจรผู้รา้ ยชุกชุม สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุร ี
จึงทรงซื้อข้าวจากเมืองพุทไธมาศ ประเทศกัมพูชามาแจกจ่าย พร้อมกับเกณฑ์เจ้านายและขุน
นางทีม่ ไี พร่ให้ทานาปลูกข้าวนาปรัง สาหรับการแก้ไขระยะยาว คือ การเพิม่ พืน้ ทีท่ านาด้วยการ
ั ่ เป็ นท้องนา
แปลงพืน้ ทีน่ อกกาแพงพระนครทัง้ สองฝงให้
๓. ด้ำนกำรจัดระเบียบกำรปกครอง เรื่องโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรแี สดง
ให้เห็นการจัดระเบียบการปกครองทีด่ าเนินตามแบบการปกครองของอยุธยา ดังนี้
ฝา่ ยหมูมขุ มาตย์เฝ้า บริบาล
ชาญกิจชาญรงคชาญ เลิศล้วน
สมุหกลาโหมหาญ หาญยิง่
นายกยกพจน์ถว้ น ถีถ่ อ้ ยขบวนความ ฯ
จัตุสดมภ์เดชล้วน รบือนาม
หกเหล่าอาสาสนาม แกว่นแกล้ว
แปดตารวจรวดเร็วความ กมลราช
มหาดเล็กชาววังแพร้ว พรังพร้่ อมรวังวัง ฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี
เมื่อ พิจ ารณาบริบ ทการปกครองในสมัย อยุธ ยาพบว่ ามีก ารก าหนดให้ส่ ว นกลาง มี
ตาแหน่ งอัครมหาเสนาบดี หน้ าที่บริหารฝ่ายสมุหพระกลาโหม และฝ่ายสมุหนายก รวมทัง้ มี
ตาแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์อกี ๔ ตาแหน่ง คือ กรมเมือง กรมวัง กรมพระคลังและกรมนา
๔. ด้ำนกำรเชื่ อมสัมพันธ์กบั ต่ ำงประเทศ เรื่องโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร ี
ให้ความรูท้ างประวัติศาสตร์ว่าในสมัยกรุงธนบุรมี กี ารติดต่อกับต่างประเทศ ได้แก่ ชวา มลายู
จีน ฝรังเศส
่ ฮอลันดา โปรตุเกส ลาว และมอญ ดังความว่า
แขกชวาวรเทศทัง้ มลายู
จีนฝรังลั
่ นดาดู ดาษเฝ้า
ลาวมอญย่อมถนอมชู วรบาท พระนา
พระกรุณเหนือเกล้า กล่อมเกลีย้ งควรฐาน ฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี

เสทือ้ น ศุภโสภณ (อ้างถึงในบุญยงค์ เกศเทศ, ๒๕๒๐ : ๑๐๓-๑๐๕) พบว่าในสมัยกรุง


ธนบุรมี พี ่อค้าแล่นเรือสาเภาจีนมาติดต่อค้าขายตลอดรัชกาล ในปลายรัชกาล สมเด็จพระเจ้ากรุง
ธนบุรไี ด้ส่งคณะฑูตมีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราชเป็ นหัวหน้าไปเจริญสัมพันธไมตรีกบั พระเจ้ากรุง
๑๑๙

จีน ในแผ่นดินพระเจ้าเกาจงสุนฮ่องเต้ (บ้างก็ว่าพระเจ้ากรุงต้าฉิ่ง) เพื่อให้จนี ยกเว้นค่าจังกอบ


เมื่อจะจัดแต่งสาเภาหลวงมาค้าขายทีเ่ มืองจีน และขอซือ้ ของบางอย่าง เช่น อิฐเพื่อใช้สร้างพระ
นครกับขอให้จนี ช่วยหาต้นหนสาเภาสาหรับแต่งออกไปซื้อทองแดงที่เมืองญี่ปุ่นเพื่อสร้างพระ
นครเช่นเดียวกัน ประเทศต่อมา คือ โปรตุเกส โดยฝ่ายสยามได้ตดิ ต่อค้าขายอยู่บา้ ง ต่อมา คือ
อังกฤษซึ่งในขณะนัน้ ได้เข้ามาครอบครองแหลมมลายู รวมทั ง้ แขกเมืองตรังกานู และแขกเมือง
ยัก ตรา (แขกเมือ งจาการ์ต า ในเกาะชวา) ได้ถวายเครื่อ งศัต ราวุธและเครื่องราชบรรณาการ
ต่าง ๆ แก่พระเจ้ากรุงธนบุร ี ส่วนสุดารา สุจฉายา (๒๕๕๐ : ๗๔) กล่าวถึงพระราชกรณียกิจด้าน
นี้ว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรตี ิดต่ อ ชาวต่ างชาติ จริง ไม่ว่าจะเป็ นชาติต ะวนตกอย่างอังกฤษ
ฮอลันดา โดยเฉพาะอย่างยิง่ กับจีน เพื่อรือ้ ฟื นการค้าในระบบบรรณาการที่เคยทารายได้ให้แก่
อาณาจักรอยุธยา ทัง้ ยังสนับสนุ นให้ชาวจีนแต้จวิ๋ เดินทางเข้ามายังสยาม ด้วยการให้สทิ ธิพเิ ศษ
จนรูจ้ กั กันในนาม “จีนหลวง” ซึง่ ช่วยเพิม่ พูนกาลังคนและแรงงานให้แก่อาณาจักร บ้านเมืองจึง
กลับมาบริบรู ณ์อกี ครัง้ เศรษฐกิจการค้าก็ฟ้ืนตัวอย่างรวดเร็ว แม้จะไม่สมบูรณ์เท่าอยุธยาก็ตาม

๕. ด้ ำนกำรผูกใจทหำร เรื่องโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร ีกล่าวว่าภายหลัง


เสร็จศึกสงครามมีการแต่งตัง้ ให้ผู้มคี วามดีความชอบครองเมือ งต่ าง ๆ ได้แก่ พระยายมราช
(กรมพระราชวังมหาสุรสิงหนาท) ให้เป็ นเจ้าพระยาสุรสีหพ์ ษิ ณวาธิราชครองเมืองพิษณุ โลก ให้
พระยาพิชยั ราชาเป็ นเจ้าพระยาครองเมืองสวรรคโลก ให้ พระยาสีหราชเดโชชัยเป็ นพระยาพิชยั
ให้พระท้ายน้ าเป็ นพระสุโขทัย ให้พระยาสุรบดินทร์เมืองชัยนาทเป็ นพระยากาแพงเพชร ให้พระ
ยาอนุรกั ษ์ภธู ร เป็นพระยานครสวรรค์
ครัน้ ดับเด็จร้ายทัว่ ธรณี
หมูม่ าตย์เปรมปรีดี ทัวได้

บาเหน็จพระพูนทวี ทุกเมือ่
ทรัพย์กองโกยให้ ทุกเถีย้ วโดยหวัง ฯ
ทหารเอกพระมอบหมัน้ เมืองเอก
ตามทีต่ รีโทเศก ส่งให้
ขนานนามย่อมอดิเรก ตาแหน่ง มีนา
ทัง้ ราชนิกูลไท้ เศกสร้างตามขบวน ฯ
เจ้าดารานเรศเรือ้ ง รวิวงศ์
ทรงพระกรุณาปลง โปรดให้
ครองปาตลิบุตรทรง ธรณิศ
ตัง้ พระหฤทัยไท้ ท่านตัง้ ตามสถาน ฯ
๑๒๐

เจ้าพระยาอนุชติ เชือ้ อาสา


ครองพิษณุโลกา เพริศแพร้ว
เจ้าพระยาพิชยั รา ชาชื่อ ฤาแฮ
ครองสวรรคโลกแผ้ว ผ่องน้าใจถวิล ฯ
เจ้าพระยาอนุรกั ษ์เรือ้ ง รงค์รทุ
ครองนครสวรรค์ผุด ผาดแผ้ว
ฤทธิ ์จะประมาณสุด คาร่า ถึงฤา
เจ้าพระยาสรรค์ทแกล้ว โปรดให้เมืองสรรค์ ฯ
บาเหน็จดาแน่งน้อย พอประมาณ ก็ดี
พระโปรดประทานสถาน ทีไ่ ด้
เป็นพระยาพระหลวงทหาร ในนอก
เมืองเอกโทตรีให้ ครอบเลีย้ งประชาชน ฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี
ใจความข้างต้นกล่าวตรงกับในประชุมพงศาวดาร ภาค ๖๕ เช่น ให้พระยาอภัยรณฤทธิ ์
(รัชกาลที่ ๑) เป็นพระยายมราชบัญชาการกระทรวงมหาดไทยแทนสมุหนายกด้วย
๖. ด้ ำนควำมเลื่อมใสศรัท ธำในพระพุท ธศำสนำ โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุง
ธนบุ รกี ล่ าวถึงความสนพระทัย ของพระเจ้ากรุงธนบุ รดี ้านพระพุ ท ธศาสนาซึ่งสอดคล้อ งกับ
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ดังตัวอย่างการบูชาพระพุทธเจดียส์ าคัญ เช่น สมโภชพระธาตุท่ี
เมืองฝาง สมโภชพระพุทธชินราช ชินสีห์ และพระศรีศาสดาทีพ่ ษิ ณุโลก
แล้วฉลองพุทธธาตุแท้ สุจริต
สมณะบรรพชิต ใช่น้อย
พระอวยชนอุทศิ ทานทัว่
มีมหรศพช้อย ชื่นช้อยชนเขษม ฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี
สุ ด ารา สุ จ ฉายา (๒๕๕๐: ๘๐ - ๘๒) กล่ า วว่ า หลัง จากที่ ก รุ ง แตก วัด วาอาราม
ตารับตาราคัมภีรท์ างศาสนาถูกทาลายไปมาก พระสงฆ์กระจัดกระจาย ไม่ล้มตายก็ถูกจับเป็ น
เชลย หรือไม่กท็ าผิดวินัย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุร ีจงึ โปรดเกล้าฯ ให้จดั สังฆมณฑลใหม่ มีการ
ออกประกาศใช้พระราชกาหนดว่าด้วยศีลสิกขาเพื่อบังคับพระสงฆ์ให้ปฏิบตั ิตนอยู่ในระเบียบ
พระวินัยทีด่ ี มีการสืบเสาะหาพระไตรปิฎกตามหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวง
ขึน้ เช่น คราวตีเมืองนครศรีธรรมราชก็ได้ยมื พระไตรปิ ฎกขึน้ มาคัดลอกที่ธนบุร ี หรือครัง้ ปราบ
เจ้าพระฝาง ก็นาพระไตรปิฎกจากเมืองล้านนามาสอบทานกับฉบับของเมืองนครฯ แต่ยงั ไม่ทนั
๑๒๑

ได้สร้างพระไตรปิ ฎกฉบับหลวงขึน้ ก็ส้นิ รัชกาลเสียก่อน นอกจากนี้ก็มกี ารสร้างและปฏิสงั ขรณ์


วัดวาอารามสาคัญ เช่น วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เมืองนครศรีธรรมราช วัดบางยีเ่ รือเหนือ
(วัดราชคฤห์) วัดบางยีเ่ รือใต้ (วัดอินทาราม) วัดบางหว้าใหญ่ วัดหงส์ ฯลฯ และทีส่ าคัญ คือ วัด
แจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) ทรงสถาปนาให้เป็ นวัดในเขตพระราชฐานคู่กบั วัดท้ายตลาด (วัดโมลี
โลกยาราม) เมื่อพระองค์ได้พระแก้วมรกตและพระบางมาจากเวียงจันทร์ก็โปรดเกล้าฯ ให้ปลูก
โรงรับเสด็จขึน้ ประดิษฐาน ณ ข้างพระอุโบสถวัดแจ้ง พร้อมกับจัดงานฉลอง ๗ วัน ๗ คืน เมื่อ
เสด็จยกทัพไปตามที่ต่าง ๆ ทรงปฏิบตั บิ ูชาพระพุทธเจดียส์ าคัญ เช่น สมโภชพระธาตุท่เี มือง
ฝาง สมโภชพระพุทธชินราช ชินสีห์ และสมโภชพระบรมธาตุทน่ี ครศรีธรรมราช
๗. ด้ ำนกำรสร้ำงเมืองใหม่และกำรขยำยเมือง หลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุร ี
สามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยาไว้ได้ แต่สภาพของเมืองยากแก่การบูรณปฏิสงั ขรณ์ให้ดดี งั เดิมได้
พระเจ้ากรุงธนบุรจี งึ ย้ายเมืองหลวงไปที่ธนบุร ี เพราะมีทาเลที่เอื้อต่อการป้องกันข้าศึก ต่อมาก็
สถาปนากรุงธนบุรเี ป็ นราชธานีในวันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึน้ ๑๕ ค่า จุลศักราช ๑๑๒๙ ตรงกับวันที่
๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐ และมีการขยายเมืองใหม่ให้กว้างขวางขึน้ แล้วสถาปนากรุงธนบุรอี กี
ครัง้ หนึ่ง ซึง่ เนื้อความนี้ตรงกับประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
จึง่ แต่งฐานทีต่ งั ้ ภูมไชย
ให้สถิตย์สถาวรไป ตราบเท้า
กัลปาวสานใน ธรณิศ
ธนบุรนิ ปิ่นเกล้า ตริสร้างเวียงสถาน ฯ
เมืองเก่าดูระคดะด้วย รนามวัน
พงพ่านผักโหมหัน แหกขึน้
กองกอบอศุภสรรพ์ เนียรชีพ
ครัน้ พระมาสถิตย์ฟ้ืน กลับแผ้วผ่องไสว ฯ
พระยลพลหนักแหน้น พสุธา
ขยายยักนัครามา ใหม่สร้าง
เทียมสรวงบุรสี ถา พรทัว่ สถานเอย
มหรศพครบสิง่ สล้าง หลากเหล้นงานฉลอง ฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี
๘. ด้ ำนชี วิตส่วนพระองค์ นอกจากเรื่องโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรจี ะจารึก
พระราชกรณียกิจของพระเจ้ากรุงธนบุรใี นด้านต่าง ๆ แล้วยังกล่าวถึงชีวติ ส่วนพระองค์ด้วยว่า
ทรงมีมเหสีและพระสนมหลายพระองค์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
๑๒๒

มีอคั เรศฝา่ ยซ้าย ขวาผจง


หมูพ่ ระสนมองค์ อ่อนพริม้
ย่อมเผ่าขัตยิ พงศ์ เมืองออก
โลกเลงสมรปิ้ม ล่มล้มเททรวง ฯ
แต่ละองค์ทรงภาคเพีย้ ง พิมพ์สวรรค์ แลฤา
ฤๅว่าจันทร์แจ่มจรัล สู่ไท้
วิมลมุขภมูฉนั ฉายเฉิด ฉมนา
ศุภลักษณวิไลยไล้ เลื่อนฟ้ามาดิน ฯ
มาทูลถนอมบาทไท้ ขจรขจาย
ดูดุจดาราราย เรือ่ ฟ้า
ล้อมจันทรพิมลหมาย หมดเมฆ
จันทร์เฉกจอมยานหล้า เลิศล้วนควรชม ฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี

อัครมเหสีของพระเจ้าตากสิน คือ หม่อมสอน ได้รบั สถาปนาเป็ นกรมหลวงบาทบริจา


ภายหลังเมือ่ สิน้ รัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรจี งึ ถูกปลดยศและถูกสาเร็จโทษ อย่างไรก็ตาม พระเจ้า
กรุงธนบุรมี สี นมอีกหลายคน เช่น หม่อมอุบล หม่อมปราง หม่อมญวน และหม่อมฉิม

๔.๔ วรรณคดีเกี่ยวกับกับประวัติศำสตร์ในสมัยรัตนโกสิ นทร์


การศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ในสมัยรัตนโกสินทร์ ผูเ้ ขียนขอแบ่งออกเป็ น
๒ ช่วง ช่วงแรก คือวรรณคดีเกี่ยวกับกับประวัติศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๖ ช่วงนี้
เป็ นช่วงที่ผู้แต่งยังนิยมแต่งวรรณคดีวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์แบบเดิมอยู่ คือ หากแต่ง
เป็ นร้อยกรอง ผูแ้ ต่งมักนาเสนอเนื้อหาทีเ่ น้นการสดุดพี ระมหากษัตริยท์ ม่ี บี ทบาทในด้านต่าง ๆ
หากแต่ งเป็ นร้อยแก้ว ก็มกั บันทึก เหตุ การณ์ ต่ าง ๆ ปรากฏในรูปแบบของจดหมายเหตุ พระ
ราชหัตถเลขา ทัง้ ยังมีขนบทางวรรณกรรมทีค่ ล้ายกับวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ทแ่ี ต่งก่อน
หน้ า นี้ ช่ ว งที่ส อง ผู้เขีย นน าเสนอวรรณคดีเกี่ย วกับ กับ ประวัติศ าสตร์ใ นสมัย รัช กาลที่ ๗ -
รัชกาลที่ ๙ เนื่องจากเริม่ มีรปู แบบทีเ่ ป็ นบันเทิงคดีสมัยใหม่และมีกลวิธตี ่าง ๆ ทีแ่ ตกต่างไปจาก
เดิม ส่วนใหญ่แต่งเป็นร้อยแก้ว แสดงกลวิธที เ่ี น้นความสมจริงมากยิง่ ขึน้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๔.๔.๑ วรรณคดีเกี่ยวกับกับประวัติศำสตร์ในสมัยรัชกำลที่ ๑ - รัชกำลที่ ๖
๔.๔.๑.๑ เหตุกำรณ์ บ้ำนเมือง
หลังจากปราบดาภิเษกขึ้น เป็ น พระมหากษัต ริย์ พ.ศ. ๒๓๒๕ แล้ว สมเด็จ
เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงใช้พระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก" ทรง
๑๒๓

ั่
ย้ายราชธานี จากกรุงธนบุ ร ีข้ามแม่ น้ าเจ้าพระยามายังฝ งตรงข้ าม และตัง้ ชื่อ ราชธานี ใหม่ว่า
"กรุงเทพมหานคร" พร้อมกับการสถาปนาราชวงศ์จกั รีขน้ึ มา พระองค์ทรงนาแบบแผนต่าง ๆ
ของอยุธ ยามาใช้ รวมทัง้ อัญ เชิญ พระพุ ท ธรูปสาคัญ มาไว้ท่กี รุงเทพฯ ทรงระดมช่างฝี มอื ซึ่ง
หลงเหลืออยู่ในเวลานัน้ มาสร้างพระราชวังและพระอาราม ที่ยงิ่ ใหญ่ คือ วัดพระศรีรตั นศาสดา
รามหรือวัดพระแก้ว ทัง้ ทรงฟื้นฟูศลิ ปวัฒนธรรม ทรงรวบรวมตาราจากหัวเมืองต่าง ๆ ทีร่ อดพ้น
จากการถูกเผามาเก็บไว้ท่กี รุงเทพฯ ช่วงนี้สยามยังผจญกับศึกสงครามรอบด้าน ครัง้ ใหญ่ท่สี ุด
ในประวัตศิ าสตร์ คือ “สงครามเก้าทัพ" ซึง่ ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าปดุง กษัตริยแ์ ห่งพม่า
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศ หล้า ฯ พระเจ้าปดุงกษัต ริย์พม่า ทรง
ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงพระชรา และกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท
สิ้นพระชนม์แล้ว จึงคิดจะขยายอานาจเข้ามาในไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ จึง
โปรด ฯ ให้กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุ รกั ษ์ยกทัพไปตีทพั พม่าจนแตกพ่าย ต่อมาพระเจ้า
จักกายแมง ราชนัดดาของพระเจ้าปดุงได้ยกทัพเข้ามาตีไทยอีก แต่เมืองพม่าเกิดกบฏขึน้ พม่า
จึงต้องโอนทหารไปปราบกบฏจนลุกลาม เป็นเหตุให้ววิ าทกับอังกฤษ จนต้องงดการเข้ามาตีไทย
แม้ว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุ ท ธเลิศ หล้าฯ มีการท าศึกสงครามกัน
บ่อยครัง้ แต่ รชั กาลนี้ก็ทรงใฝ่พระทัยในศิลปวัฒนธรรมมาก ทรงสร้างและบูรณะวัดวาอาราม
จานวนมาก เช่น การบูรณะวัดสลักใกล้พระราชวังเดิมฝงธนบุ ั ่ ร ี จนกลายเป็ นวัดประจารัชกาล
ของพระองค์พระราชทานนามว่า "วัดอรุณราชวรารามมหาวิหาร" ทรงมีฝีพระหัตถ์เชิงช่าง และ
ทรงพระอัจฉริยภาพในทางกวีด้วย พระราชนิพนธ์ช้นิ สาคัญ ของพระองค์ เช่น บทละครเรื่อ ง
อิเหนา และ รามเกียรติ ์ ทัง้ ยังทรงเป็ นองค์อุปถัมภ์บรรดาศิลปิ นและกวีด้วย ยุคนี้จงึ เรียกได้ว่า
เป็ นยุคสมัยที่กวีรุ่งเรืองที่สุด ในด้านการต่างประเทศ พระองค์ทรงเริม่ ฟื้ นฟู ความสัมพันธ์ กับ
ประเทศตะวันตกใหม่ โดยมีพระบรมราชานุญาตให้โปรตุเกสเข้ามาตัง้ สถานทูตได้เป็นชาติแรก
ในสมัย พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้ า ฯ สืบ เนื่ อ งจากที่พ ม่า วิว าทกับ อังกฤษ
อังกฤษได้ชวนไทยไปช่ วยรบ ฝ่ายไทยนาทัพ สมทบกับอังกฤษตีต องอู และหงสาวดี ต่ อมา
พระยาชุมพรเกิดวิวาทกับอังกฤษ เพราะทัพเรือของพระยาชุมพรไปกวาดต้อนชาวเมืองมะริดซึง่
อังกฤษครอบครองอยู่มาไว้กบั ไทย รัชกาลที่ ๓ จึงทรงสังให้ ่ เรียกกองทัพกลับ แล้วลงโทษพระ
ยาชุมพรที่ละเมิดสิทธิของอังกฤษ ต่อมาอังกฤษได้ส่งร้อยเอกเฮนรี เบอร์นี เป็ นทูตมาชวนไทย
ร่วมรบอีก เมื่อ ไทยร่วมรบจนสามารถรักษาเมืองเมาะตะมะไว้ไ ด้ก็ขอให้องั กฤษแบ่งดินแดน
บางส่วนให้บา้ ง อังกฤษกลับบ่ายเบีย่ ง รัชกาลที่ ๓ จึงโปรด ฯ ให้เรียกกองทัพกลับพระนคร เมื่อ
มีข่าวลือไปถึงเวียงจันทน์ ว่าไทยกับอังกฤษวิวาทกัน เจ้าอนุ วงศ์จงึ ถือโอกาสยกทัพลงตีไทย
ต่อมาได้เข้าไปตีเมืองนครราชสีมา คุณหญิงโมผู้เป็ นภริยาพระยาปลัดเมืองนครราชสีมาได้เข้า
ต่อสูฆ้ ่าฟนั ชาวเวียงจันทน์ลม้ ตายเป็ นจานวนมาก พระบาทสมเด็จพระนังเกล้
่ า ฯ ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโมเป็น "ท้าวสุรนารี" ต่อมาฝา่ ยไทยได้ยกทัพไปตีทพั ลาวจนแตก
พ่ ายไป เจ้าอนุ วงศ์แ ละครอบครัวต้องหลบหนีไปพึ่งญวน เมื่อ ยึดเวียงจันทน์ ได้แล้วก็จบั เจ้า
๑๒๔

อนุ วงศ์กบั ครอบครัวเข้ากรุงเทพ ฯ เจ้าอนุ วงศ์ถึงแก่พิราลัยในเวลาต่ อมา ต่ อมาไทยก็เข้าตี


ญวน สงครามครัง้ นี้ยดื เยือ้ ประมาณ ๑๔ ปี สุดท้ายก็ยตุ ิ เนื่องจากญวนถูกฝรังเศสรุ ่ กราน
กล่าวถึงเมือ งไทรบุรเี กิดกบฏขึ้น แม่ทพั ไทยยกทัพไปปราบกบฏไทรบุรจี น
พ่ายไป หลังจากนัน้ พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้า ฯ ก็โปรด ฯ ให้เกณฑ์กองทัพเชียงใหม่ ลาปาง
และล าพู น ไปตี พ ม่ า ที่ เ มื อ งเชี ย งตุ ง เพื่ อ มิ ใ ห้ ม ี อ านาจ อี ก ต่ อ ไป แต่ ตี ท ั พ ไม่ ท ั น ส าเร็ จ
พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าฯ ก็ ส วรรคตเสียก่ อ น สาหรับ พระราชกรณียกิจที่สาคัญ ในสมัย
รัชกาลที่ ๓ คือ การโปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตชาระตรวจสอบและเลือกสรรตารา
ต่าง ๆ ทีส่ มควรเผยแพร่จารึกไว้ทว่ี ดั พระเชตุพนฯ เพื่อให้เป็นแหล่งหาความรูข้ องประชาชน
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ไทยยกทัพไปตีเมืองเชียงตุง ๒ ครัง้
ครัง้ ที่ ๑ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท และเจ้าพระยายมราชยกไปตี แต่ ไม่สาเร็จ ครัง้ ที่ ๒ ไทย
ถึงกับตัง้ ค่ายล้อมเมืองเชียงตุงอยู่ ๒๑ วัน แต่ก็ตไี ม่สาเร็จ จึงยกทัพกลับ นับแต่นนั ้ ต่อมาก็ไม่ม ี
เหตุ ก ารณ์ ไ ทยรบกับ พม่ า อีก เลย จนกระทัง่ พม่ า ตกเป็ น เมือ งขึ้น ของอังกฤษ สมัย นี้ ม ีก าร
เปลี่ยนแปลงทางสังคมครัง้ สาคัญ เมื่อไทยเริม่ ติดต่อกับชาติตะวันตก เริม่ มีคณะมิชชันนารีมา
สอนภาษาอังกฤษในพระบรมมหาราชวัง แต่การเรียนรูว้ ฒ ั นธรรมตะวันตกยังจากัดอยู่ในชน
ชัน้ สูง หรือในรัว้ ในวัง สมัยนี้เกิดเหตุ การณ์ ต่าง ๆ จานวนมาก เช่น เกิดปญั หาด้านการเมือง
ภายใน สืบเนื่องมาตัง้ แต่ครัง้ ทีท่ รงแต่งตัง้ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยูห่ วั ดารงตาแหน่งวัง
หน้าให้มฐี านะเท่าเทียมกับพระมหากษัตริย์ ส่งผลให้อานาจของวังหน้ามีมาก ครัน้ มาถึงยุคสมัย
รัชกาลที่ ๕ จึงให้ท่ปี ระชุมเลือกวังหน้าแทน แต่ผทู้ ่ไี ด้รบั ตาแหน่ งกลับมาจากการสนับสนุ นของ
บรรดาขุนนางในตระกูล “บุนนาค” ซึง่ มีอานาจทางการเมืองมาตัง้ แต่สมัยรัชกาลที่ ๓ นอกจากนี้
ยัง มีก ลุ่ ม สยามหนุ่ ม ที่ต้ อ งการเห็ น การเปลี่ย นแปลงในประเทศไทย (ธารทอง ทองสวัส ดิ,์
๒๕๒๗ : ๔๑๓ - ๔๒๗) โดยออกหนังสือพิมพ์ช่อื “ดรุโณวาท” เพื่อวิพากษ์วจิ ารณ์ถงึ สิง่ ที่ควร
เปลี่ยนแปลงในประเทศไทย และมีภยั คุกคามจากตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่ห ัว จึงทรงด าเนิ น วิ เทโศบาย ผูก สัม พัน ธไมตรีกับ ประเทศมหาอ านาจเพื่อ ถ่ ว งดุ ล กับ
มหาอานาจอย่างอังกฤษและฝรังเศสที ่ ่กาลังคุกคามประเทศ โดยประพาสยุโรปถึง ๒ ครัง้ ณ
ประเทศฝรังเศส ่ รัส เซีย เยอรมนี อังกฤษ ออสเตรีย ฮังการี เบลเยี่ย ม อิต าลี สวีเดน และ
เดนมาร์ก ซึง่ ในขณะนัน้ ยุโรปกาลังเผชิญกับปญั หาการแบ่งแยกขัว้ อานาจกัน โดยอังกฤษครอง
ความเป็นมหาอานาจอันดับหนึ่งของโลก ขณะทีฝ่ รังเศสก็ ่ กาลังแข่งขันกับอังกฤษในการแสวงหา
อาณานิคมแถบภูมภิ าคอินโดจีน (สุปราณี มุขวิชติ , ๒๕๓๒ : ๑๔๐ - ๑๕๐) ในช่วงนี้ไทยถูกบีบ
ให้เสีย ดิน แดนบางส่ ว นเป็ น ครัง้ แรก คือ ดิน แดนสิบ สองจุไทให้แ ก่ ฝ รังเศส ่ ต่ อ มาก็สูญ เสีย
ดินแดนฝงซ้ ั ่ ายแม่น้ าโขงให้แก่ฝรังเศสอี
่ ก (ร.ศ.๑๑๒) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั
ยอมเสียดินแดนส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่เอาไว้ (สุมติ รา จันทร์เงา, กรกฎาคม ๒๕๓๗ : ๑๒-
๑๕) แต่ ความระหองระแหงระหว่างไทยกับฝรังเศสและอั ่ งกฤษยังเกิดขึ้นอีกหลายครัง้ ตลอด
รัชกาล จนทาให้ไทยต้องเสียดินแดนส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่ไว้อกี หลายหน
๑๒๕

พระราชกรณียกิจที่สาคัญในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เช่น การ


ปรับปรุงประเทศให้ทนั สมัยซึง่ ยืนอยู่บนพื้นฐานความเสมอภาคในสังคม มีการแก้ไขการจัดเก็บ
ภาษี การปราบปรามการทุจริตของข้าราชการ มีการนาธนบัตรมาใช้เพื่อความสะดวก การจัดตัง้
โรงเรียนในพระบรมมหาราชวัง และมีการรวมอานาจเข้าสู่สถาบันพระมหากษัตริย์
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ยังคงเกิด การคุกคามจากจักรวรรดิ
นิยมไม่ว่าจะเป็ นอังกฤษ หรือฝรังเศส่ นอกจากนี้ยงั เกิดสงครามโลกครัง้ ที่ ๑ โดยมีสมรภูมอิ ยูใ่ น
ทวีปยุโรป รัชกาลที่ ๖ จึงทรงตัดสินพระทัยร่ว มรบกับสัมพันธมิต รในยุโรป ทัง้ นี้ก็เพื่อแสดง
เกียรติภูมคิ วามเท่าเทียมกับนานาชาติ (จุมพล หนิมพานิช , ๒๕๒๗ : ๔๗๖) สาหรับพระราช
กรณียกิจสาคัญในสมัยนี้ เช่น การปรับปรุงด้านการศึกษา การตราพระราชบัญญัตปิ ระถมศึกษา
การปลูกฝงั ความรักชาติ โดยใช้บทพระราชนิพนธ์ต่าง ๆ เพื่อเป็ นเครื่องมือ สนับสนุ นความรูส้ กึ
ชาตินิยม มีการจัดตัง้ กองเสือป่าเพื่อป้องกันบ้านเมืองยามศึกสงคราม และเป็ นการสร้างความ
สามัคคี อย่างไรก็ตาม การจัดตัง้ กองเสือป่าส่งผลให้นายทหารน้ อยใหญ่ไม่พอใจ เพราะเห็นว่า
ก้าวก่ายหน้าทีข่ องตน ก่อให้เกิดความระส่าระสายในการบังคับบัญชาในหน้าทีป่ ระจา ทาให้เกิด
การวิพ ากษ์วจิ ารณ์ ในหมู่หนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ สมัยนี้ฐานะทางการคลังของประเทศอยู่ใน
ภาวะลาบาก เพราะมีก ารนาเงินไปใช้ในการบารุงกิจกรรมเสือป่า ค่าเครื่องแต่ งตัว การสร้าง
พระราชวัง เป็ นต้น รวมไปถึงการประสบวิกฤตการณ์การผลิตข้าว และการปกครองแบบระบบ
อุ ป ถัม ภ์ด้ว ย ส่ งผลให้ส มาชิก ขบวนการ ร.ศ. ๑๓๐ ไม่ พ อใจ และขาดความศรัท ธาในการ
ปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงพยายามเคลื่อนไหวเพื่อเปลีย่ นแปลงการปกครอง แต่
ไม่ทนั จะได้ลงมือก็ถูกจับกุมเสียก่อน อย่างไรก็ดี ขบวนนี้มอี ทิ ธิพลต่อคนรุน่ หลังเป็นอย่างมาก
๔.๔.๑.๒ บริ บทวรรณคดี
ในสมัยรัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๔ เนื้อหาของวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ยงั
เน้นสุดดีพระมหากษัตริยแ์ ละบันทึก การทาสงคราม เช่น โคลงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โคลงยอเกียรติสามรัชกาล โคลงดัน้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย โคลงสรรเสริญ พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
โคลงปราบดาภิเษกเฉลิมพระเกียรติพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระ
เกียรติพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยู่หวั โคลงดัน้ สรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ
นังเกล้
่ าเจ้าอยู่หวั คราวปฏิสงั ขรณ์วดั พระเชตุพน ลิลติ ตะเลงพ่าย เพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั จดหมายเหตุ
ของหม่อมราโชทัย นิราศลอนดอน ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ และเสภาพระราชพงศาวดาร
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เริม่ มีเนื้อหาบันทึก เรื่องราวของชาวต่างชาติมากขึ้น เช่น
เรื่องเสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุร ี ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑ ) จดหมายเหตุรายวันระยะทาง
เสด็จประพาสไทรโยค จ.ศ. ๑๒๓๙ จดหมายเหตุ เสด็จประพาสเกาะชวาครัง้ ที่ ๑ - ๓ เสด็จ
๑๒๖

ประพาสต้นครัง้ ที่ ๒ พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั เรื่องเสด็จ


ประพาสแหลมมลายู ร.ศ. ๑๐๘ ๑๐๙ ๑๑๗ และ๑๒๐ พระราชหัตถเลขาเมื่อเสด็จพระราชดาเนิน
ประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ พระราชหัตถเลขาคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ. ๒๔๔๔ พระ
ราชหัตถเลขาคราวเสด็จประพาสมณฑลราชบุร ี พ.ศ. ๒๔๕๒ นิราศหนองคาย - การปราบฮ่อ
ไกลบ้าน และโคลงภาพพระราชพงศาวดาร นอกจากนี้ก็มเี นื้อ หาที่สดุดพี ระมหากษัตริย์ด้วย
เช่น คากลอนสรรเสริญพระบารมีรชั กาลที่ ๕ ลิลติ เฉลิมพระเกียรติรชั กาลที่ ๕ ร่ายดัน้ ถวาย
มงคล เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั เสด็จกลับจากยุโรปครัง้ แรก ลิลติ เฉลิมพระ
เกียรติของพระเจ้าคัค ณางคยุค ล (กรมขุน พิชิต ปรีชากร) โคลงเฉลิม พระเกียรติพ ระยามหา
อามาตย์ และคาประพันธ์เฉลิมพระเกียรติของนายชิด บูรทัต
มีขอ้ สังเกตว่า สมัยรัชกาลที่ ๕ นักเขียนเริม่ เขียนงานแนวประวัตศิ าสตร์สงั คม
มากขึ้น เช่น เทียนวรรณ หรือ ต.ว.ส. วัณ ณาโภ เป็ นนามปากกาของ เทียน วัณ ณาโภออก
หนังสือพิมพ์รายปกั ษ์ ชื่อ "ตุลวิภาคพจนกิจ" และ "ศิรพิ จนภาค" เพื่อวิจารณ์สงั คมไทยในยุคนัน้
เช่น การมีภรรยาหลายคน การเล่นการพนัน การรับสินบน และยังเสนอแนะให้รฐั บาลปรับปรุ ง
พัฒ นาประเทศ ตัง้ โรงเรียนสอนวิชาแพทย์ วิชาช่าง ตัง้ ศาลยุติธ รรม ตัดถนนและทางรถไฟ
ก่อตัง้ กิจการไปรษณีย์ โทรเลข และธนาคารพาณิชย์ เสนอกฎหมายห้ามสูบฝิ่ น เลิกทาส ห้าม
เล่ น การพนัน นอกจากนี้ ยงั มี ก.ศ.ร. กุ ห ลาบ (กุ ห ลาบ ตฤษณานนท์) ซึ่งเป็ น บรรณาธิก าร
หนังสือพิมพ์สยามออบเซิรฟ์ เวอร์ ได้ออกหนังสือพิมพ์ช่อื "สยามประเภท" เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐
เขียนบทความวิพ ากษ์ สงั คม เสียดสีชนชัน้ สูงที่ทาตัวฟุ้ งเฟ้ อ อีกทัง้ ยังมีแนวคิด แบบพวกหัว
ก้าวหน้า ซึง่ ได้รบั อิทธิพลจากตะวันตก จึงเป็นทีเ่ พ่งเล็งจากทางการ แต่โชคดีทไ่ี ม่ตดิ คุก
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงเขียนหนังสือทางด้านประวัตศิ าสตร์ และด้านการทหาร
เช่น บทละครพูดเรื่องพระร่วง หัวใจนักรบ และฉวยอานาจ นอกจากนี้ยงั มีวรรณคดีจากกวีท่าน
อื่น เช่น ลิล ิต มหามกุ ฎราชคุ ณ านุ สรณ์ ของ กรมพระนราธิปประพันธ์พ งศ์ ลิลติ สุ ภาพ สดุดี
พระราชบัญ ญัติประถมศึกษา ของ พระยาอุปกิตศิลปาสาร โคลงยอพระเกียรติและสรรเสริญ
กระบวนแห่พระนามสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร โคลงยอพระเกียรติว่าด้วย
เรื่องทรงผนวชสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ประเภทบันทึก
เช่น นิราศนครวัด ของ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กระพระยาดารงราชานุภาพ
ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกบั ประวัตศิ าสตร์ในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น เรือ่ ง
ลิลติ ตะเลงพ่ายที่ดาเนินเรื่องตามพงศาวดาร (ยกเว้นการพรรณนาธรรมชาติและการใช้ภาษา
เพื่อสร้างภาพพจน์โวหารและรสวรรณคดี รวมทัง้ บทไหว้ครูทย่ี งั เดินตามสูตรสถานีอยู)่ ดังนี้
๑๒๗

พระรำชพงศำวดำรฉบับพันจันทนุมำศ ลิ ลิตตะเลงพ่ำย
พระมหาอุปราชากราบทูลพระราชบิดาว่า โหร บุตรท่านยินถ้อถอย ข้อยผู้ขา้ บาทบงสุ์ โหรควร
ทายว่าชันษาข้าพระพุ ทธเจ้าร้ายหนัก สมเด็จ คงทานาย ทายพระเคราะห์ถึงฆาต ฟ งั สารราช
พระเจ้าหงศาวดีตรัสว่า พระมหาธรรมราชาไม่ เอารส ธก็ผะชดบัญ ชา เจ้าอยุธยามีบุตร ล้วนยง
เสีย แรงมีบุ ต ร การสงครามไม่ พ ัก ให้บิด าเลย
ยุ ท ธ์เชี่ย วชาญ หาญหัก ศึก บ่ ม ิย่ อ ต่ อ สู้ศึก บ่ ม ิ
หย่อ น ไป่พ กั วอนว่าใช้ ให้ธหวงธห้าม แม้นเจ้า
ต้องห้ามเสียอีกและซึง่ เจ้าว่าเคราะห็รา้ ยอยู่แล้ว
ก็ อ ย่ า ไปเลย เอาผ้ า นุ่ ง สตรีนุ่ ง เสีย เถิด จะได้
คร้ามเคราะห์ก าจ จงอย่ายาตรยุท ธนา เอาพัส
สิน้ เคราะห์ ตราสตรี สวมอินทรียส์ ร่างเคราะห์
สมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ตรัสแก่มุขอามาตย์ว่าสองกษัต ราบรรหาร แห่ งเหตุ ก ารณ์ อ ริราช
แผ่นดินกรุงกัมพูชากุรุราฐ ผู้ใดครองสมบัติจติ
ด้ ว ยมวลมาตย์ ม นตรีว่ า กรุ ง ศรีย โศธร นคร
มัก เป็ นสัน ดานทางทุ จริต มาถึงวัด สามพิห าร
อินทรปรัสถ์ กุ รุรสั ประเทศ กัมพุ ชเพศพิสยั ผิว
จนเสียพระจาปาธิราชลูกชายก็ยงั หาเข็ดหลาบ ผู้ใดเถลิงถวัล ย์ มัก โมหัน ธ์เห็น ผิด ริทุ จริต เรื่อ ง
ไม่ มีศึก หงสาวดีติด พระนครครัง้ ใด ก็มแี ต่ยก
พ าล โด ย สั น ด าน แ ต่ ป ระถ ม …อ อ ก ยุ ท ธ์
ทัพ มาพลอยซ้ า ตีก วาดเอาประชาราษฎรข้อ เจ้ากัม พุ ช พัก พล ต าบลสามพิห าร พลเราราญ
ขอบขัณฑเสมาไปทุก ๆ ครัง้ ขอมแขก แตกตายตากพสุ ธ า เสีย พระจ าปา
เอารส ขาดคอคชคืน เมือ ง ทวยหาญเปลือ งไป่
(ที่มา : พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ หลาบ คอยข่ า วทราบศึก มอญ ติด นครคราใด
พันจันทนุมาศ (เจิม). ๒๕๕๓) พลอยชิงชัยแทรกซ้า ค้าเป็ นศึกสองหน้ า กวาด
เอาข้าขอบขัณฑ์ ปนั ไปสู่ถนิ่ ตน
ตำรำงที่ ๒ เปรียบเทียบเนื้อหาในเรือ่ งลิลติ ตะเลงพ่ายกับพงศาวดาร

๔.๔.๒ วรรณคดีเกี่ยวกับกับประวัติศำสตร์ในสมัยรัชกำลที่ ๗ - รัชกำลที่ ๙


๔.๔.๒.๑ เหตุกำรณ์ บ้ำนเมือง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ขึน้ ครองราชย์ เป็ นเวลาที่เศรษฐกิจทัว่
โลกกาลังอยู่ในภาวะตกต่ า ซึ่งเป็ นผลมาจากสงครามโลกครัง้ ที่ ๑ และการใช้จ่ายในราชสานัก
ตอนปลายรัชกาลที่ ๖ สังคมในสมัย นี้ย งั มีโครงสร้างแบบศักดิน า ท าให้เกิด ความเหลื่อ มล้า
ระหว่างเชื้อพระวงศ์และคนธรรมดาสามัญค่อนข้างมาก ในสมัยนี้การใช้อานาจสิทธิขาดใด ๆ
ของพระมหากษัต ริย์ติด ขัด ที่ค ณะอภิรฐั มนตรีส ภากับ พระบรมวงศานุ ว งศ์ท่ีพ ากัน คัด ค้า น
(อวยชัย ชะบา, ๒๕๒๗ : ๕๑๔) ก่อให้เกิดความไม่พอใจในกลุ่มคนที่เสียเปรียบ จนเป็ นส่วน
หนึ่งทีน่ าไปสู่การเปลีย่ นแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ฝา่ ยพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๗ ทรงเบื่อ
หน่ ายความขัดแย้งในรัฐบาล จึงทรงสละราชบัลลังก์ โดยมีพระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๒ มีนาคม
๒๔๗๗ มายังเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (ทินพันธ์ นาคะตะ, ๒๕๓๒ : ๕๗๔) รัฐบาลจึงได้กราบบังคม
๑๒๘

ทูลเชิญ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลโอรสของกรมหลวงสงขลานครินทร์ในรัชกาลที่ ๕ มาเป็ น


กษัตริยพ์ ระองค์ท่ี ๘ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั อานันทมหิดล ในขณะทีท่ รง
มีพระชนมายุเพียง ๑๐ ชันษา และกาลังศึกษาอยู่ท่ปี ระเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในสมัยรัฐบาลจอม
พล ป. พิบูลสงครามมีการนาลัทธิชาตินิยมมาใช้ โดยจอมพล ป. มอบหมายให้หลวงวิจติ รวาท
การเป็ นผู้ดาเนินการ “ปลูกต้นรักชาติ” (สิรริ ตั น์ ขันธพิน, ๒๕๔๐ : ๕๔ - ๖๐, ๑๖๓) สมัยนี้เกิด
เหตุการณ์สาคัญ คือ สงครามโลกครัง้ ที่ ๒ และสงครามมหาเอเชียบูรพา ช่วงพ.ศ. ๒๔๘๙ พระ
เจ้าอยู่หวั อานัน ทมหิดลสวรรคต พระองค์น้ อ งยาเธอพระองค์เจ้าภูมพิ ลอดุ ล ยเดช เสด็จขึ้น
ครองราชย์ในเวลาต่อมา โดยมีพ ระราชพิธบี รมราชาภิเษกใน พ.ศ. ๒๔๙๓ ครัน้ พ.ศ. ๒๕๐๓
เกิด สงครามเวีย ดนาม (รื่น ฤทัย สัจจพัน ธุ์ , ๒๕๔๑ : ๒๓ - ๓๒) ในสมัย นี้ ป ระเทศไทยเกิด
เหตุการณ์ สาคัญ ๆ เช่น ช่วง พ.ศ. ๒๕๐๑ - ๒๕๐๖ เป็ นสมัยของจอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์ท่มี ี
นโยบายพัฒนาประเทศให้เป็ นอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันก็ใช้อานาจเผด็จการปราบปรามฝ่าย
ตรงข้าม ส่งผลให้นักการเมืองฝ่ายค้าน นักหนังสือพิมพ์ นักเขียน และกวีถูกจับเป็ นจานวนมาก
แม้ในช่วง พ.ศ. ๒๕๐๗ - ๒๕๑๙ ก็ยงั เป็ นยุคเผด็จการทหารอยู่ ส่งผลให้มนี ิสติ นักศึกษาและ
ประชาชนพากัน ประท้ว งรัฐ บาล และลงเอยด้ว ยการนองเลือ ดในเวลาต่ อ มา หรือ ช่ ว งพ.ศ.
๒๕๓๕ มีเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็ นเหตุการณ์ท่ปี ระชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาล พล.อ.
สุจนิ ดา คราประยูร จนบาดเจ็บล้มตายกันจานวนมาก นอกจากนี้ก็มเี หตุการณ์ ท่เี กี่ยวกับภัย
ธรรมชาติและอื่น ๆ เช่น เกิดเหตุการณ์น้าท่วม พ.ศ.๒๔๘๕ และ พ.ศ. ๒๕๕๔ เกิดแผ่นดินไหว
และคลื่นสึนามิใน พ.ศ. ๒๕๔๗ และปญั หาการฆาตกรรมที่บริเวณ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ของ
ประเทศไทย ทัง้ หมดนี้เป็นเหตุการณ์ทส่ี ะเทือนขวัญคนไทยเป็ นอย่างมาก

๔.๔.๒.๒ บริ บทวรรณคดี


สมัย รัช กาลที่ ๗ เป็ น ต้ น มา วรรณคดี เ กี่ ย วกับ ประวัติ ศ าสตร์ ม ีเ นื้ อ หาที่
หลากหลายมากยิง่ ขึน้ นักเขียนนิยมเขียนทัง้ ประเภทร้อยแก้วและร้อยกรอง ผลงานประเภทร้อย
กรอง เช่น สาส์นสมเด็จ ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ สามกรุง
ของ กรมหมืน่ พิทยาลงกรณ (น.ม.ส.) สัปดมราชมหาจักรีวงศ์ของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
ห ลั ง จ า ก ที่ ป ร ะ เท ศ ไ ท ย เป ลี่ ย น แ ป ล ง ก า ร ป ก ค ร อ ง จ า ก ร ะ บ อ บ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็ นระบอบประชาธิปไตย และเริม่ มีการจัดตัง้ รัฐบาลในการบริหาร
ประเทศเป็นต้นมา งานทีเ่ ขียนเพื่อสดุดวี รี กรรมของพระมหากษัตริยเ์ ริม่ มีน้อยลง อาจเกิดจากใน
ยุคนี้อานาจการบริหารบ้านเมืองอยู่ท่รี ฐั บาลมิใช่กษัตริย์ดงั แต่ก่อน ประชาชนมีสทิ ธิมเี สียงใน
การวิพากษ์วจิ ารณ์การบริหารงานของรัฐบาลได้อย่างเสรีภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนู ญอันสูงสุด
ของประเทศ ในยุคนี้จงึ มีวรรณกรรมที่สะท้อนการบริหารงานของรัฐบาลเข้ามาแทนที่จานวน
มาก อย่างไรก็ตาม การสืบทอดเนื้อหาด้านการยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ก็ยงั คงอยู่ เช่น
บทกวีเรื่องความสุขของแผ่นดินกล่าวสรรเสริญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ภู มพิ ลอดุลยเดชที่
๑๒๙

ทรงนาหลักทฤษฎีความพอเพียงมาช่วยเหลือราษฎรให้มชี วี ติ อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข กวี


เน้ นย้าให้เห็น ว่าประเทศไทยโชคดีท่ีได้อ ยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิส มภารในพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยูห่ วั ทาให้ประชาชนอยูด่ ี กินดี มีความสุข ดังความว่า
คนชาวสวนไร่นาหน้าตาใส เล่าให้ชายชราฟงั ความหลังต่อ
พวกเราเริม่ ทฤษฎีใหม่ไม่รรี อ เมือ่ แรกทาก็เริม่ ท้อไม่อดทน
เคยทามาหากินแบบเก่าเก่า กลัวรับเอาแบบใหม่ใหม่ไม่ได้ผล
แต่พ่อหลวงท่านล้าเลิศประเสริฐคน ยากแค่ไหนจึงไม่พน้ พยายาม
คอยปรับปรุงเป็นระยะทีละน้อย ครัน้ ร่องรอยผลปรากฏหมดคาถาม
ไม่โต้แย้งไม่ยอ้ื ซ้ารีบทาตาม ความยับย่อยจึงค่อยงามตามทฤษฎี
มีขนุ เขาเฝ้าผืนปา่ รักษาน้ า มีปา่ ไม้สดสวยล้าเสกสรรสี
มีน้าใสไหลแทรกซ่านธารนที มีผนื ดินมีถนิ่ ทีม่ งี านทา
เรือนหลังใหม่เลีย่ งให้ห่างทางน้าไหล พืชล้มลุกปลูกใกล้ใกล้ทล่ี ุ่มต่า
ไม้ยนื ต้นกันลมดีทป่ี ระจา ยางใหญ่ค้าปาล์มเคียงเรียงรายรอง
เกษตรผสมผสานคนขานรับ พืชสลับไม่รวู้ ายค้าขายคล่อง
ผักสวนครัวไม่กลัวล้นมีคนจอง อีกลองกองมังคุดขายได้ราคา
หมูเห็ดเป็ดไก่ทงั ้ ไข่เค็ม เลีย้ งขุนเต็มเข้มเติมเสริมคุณค่า
ชายทะเลถูกทะเลเร่จบั ปลา สดก็ขายตายก็คา้ เป็นปลาเค็ม
ใช้ป๋ ยชี
ุ วภาพปราบมลพิษ หลับสนิทไม่กลัวตายสักปลายเข็ม
ลมหายใจโล่งตลอดใส่ปอดเต็ม ไม่ตอ้ งเม้มปากจมูกน้ามูกย้อย
ล้มครัง้ หนึ่งไม่ถงึ ตายไม่ไร้ค่า เมือ่ สองขายืนหยัดอยูส่ อู้ ย่าถอย
ไม่ยงิ่ ใหญ่ไม่ประเสริฐไม่เลิศลอย ไม่ต่าต้อยไม่ดอ้ ยแพ้-แค่พอเพียง
(ความสุขของแผ่นดิน)
พระบรมราโชวาทที่ก ล่ า วถึง ความพอเพีย งนี้ ป รากฏโดยทัว่ ไป ดัง สมพร
เทพสิทธา (๒๕๔๙ : ๑-๒) กล่าวถึงพระบรมราโชวาท พ.ศ. ๒๕๑๗ ว่าทรงกระตุ้นให้ผู้บริหาร
ประเทศและประชาชนเห็นถึงความสาคัญของการอยูแ่ บบพอมีพอกิน มีความสงบ
คนอื่น จะว่ า อย่ า งไรก็ ช่ า งเขาจะว่ า เมือ งไทยล้ า สมัย ว่ า เมือ งไทยเชย ว่ า
เมือ งไทยไม่ม ีส ิ่งที่ส มัย ใหม่ แต่ เราอยู่พ อมีพ อกิน และขอให้ทุ ก คนมีค วาม
ปรารถนาทีจ่ ะให้เมืองไทยพออยูพ่ อกิน มีความสงบและทางานตัง้ จิตอธิษฐานที่
จะให้เมืองไทยอยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอดแต่ว่ามีความพออยู่พอกิน
มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้
เราก็จะยอดยิง่ ยวดได้ ประเทศต่ าง ๆ ในโลกนี้ ก าลังตก ก าลังแย่ ก าลังยุ่ง
๑๓๐

เพราะแสวงหาความยิง่ ยวดทัง้ ในอ านาจ ทัง้ ในความก้าวหน้ าทางเศรษฐกิจ


ทางอุตสาหกรรม ทางลัทธิ ฉะนัน้ ถ้าทุกท่านซึ่งถือว่าเป็ นผู้มคี วามคิดและมี
อิทธิพล มีหวังทีจ่ ะทาให้ผอู้ ่นื ซึง่ มีความคิดเหมือนกัน ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้
อยูด่ กี นิ ดีพอสมควร ขอยา้ พอควร พออยูพ่ อกิน มีความสงบ
กวีนิพ นธ์เรื่องความสุขของแผ่นดินยังกล่าวสรรเสริญ พระมหากษัตริย์ไทยว่า
ทรงเป็ นผู้มบี ุญบารมีทาให้บ้านเมืองสงบสุข ราษฎรอยู่เย็นเป็ นสุข พสกนิกรมีเสรีภาพในการ
ประกอบอาชีพ มีงานทาและช่วยเหลือตนเองได้ ทัง้ ยังสามารถใช้ชวี ติ บนผืนแผ่นดินไทยอย่าง
เต็มภาคภูม ิ พสกนิกรทุกคนรักในหลวง ทรงทาให้เมืองไทยเป็นดังเมื ่ องสวรรค์
ชายชราเนาถิน่ นี้ ธรรมส่องใจสงบชี้
สื่อให้ชนเห็น
สงบเย็นใจสว่างยา้ เรืองรุง่ แลสะอาดล้า
ส่งยิม้ สม่าเสมอ
บาเรอชนบทเบือ้ ง เคียงคู่ศาสนาเรือ้ ง
แผ่พน้ื สราญใส
ในเมืองวาวสวัสดิ ์รุง้ แลเฟื่องลอยฟ่องฟุ้ง
พร่างฟ้าผกายฝนั
สัมพันธ์เพียงพีน่ ้อง ทรงค่าดุลยภาพพ้อง
ครอบคุม้ แดนสยาม
เมืองงามยามสุขท้น พ่อหลวงเลื่องบารมีลน้
ปกป้องส่งเสริม
เติมเต็มอิสระให้ บุญส่งเสรีภาพได้
เติบกล้าเคียงสมัย
ผองไทยรักท่านเพีย้ ง คือพ่อไทยท่านเลีย้ ง
ราษฎร์ซร้องสรรเสริญ
เดินแผ่นดินมันเท้
่ า ยืนอยูย่ งั ถิน่ เหย้า
มุง่ สร้างทรัพย์สนิ
หากินงานก่อเกือ้ บุญพ่อหลวงดังเชื
่ อ้
ราษฎร์ใช้ผะดาขวัญ
(ความสุขของแผ่นดิน)
การมี เ นื้ อ หาที่ ย ัง เน้ น สดุ ดี พ ระมหากษั ต ริย์ อ ยู่ จ นถึ ง ป จั จุ บ ั น เนื่ องจาก
พระมหากษัตริยใ์ นสมัยต่าง ๆ ต่างก็ใช้หลักธรรมในการปกครองประเทศ สอดคล้องกับที่ประทีป
๑๓๑

ชุมพล (๒๕๒๖ : ๘๑) กล่ าวว่า ในสมัยพระยาลิไททรงดาเนิ นรอยตามแนวทางการปกครอง


บ้ า นเมือ งให้ ร่ม เย็น เช่ น ที่ พ ระเจ้า อโศกมหาราชได้ ท รงปฏิบ ัติม าก่ อ น แม้ ใ นสมัย ป จั จุ บ ัน
พระมหากษัตริยก์ ย็ งั อาศัยหลักธรรมในการปกครองบ้านเมืองเพื่อให้บา้ นเมืองเกิดความสงบสุข
การยอพระเกียรติพระมหากษัตริยใ์ นกวีนิพนธ์เรือ่ งความสุขของแผ่นดินเน้นที่
พระราชจริยวัตรอันงดงาม ไม่เน้นสดุดีวรี กรรมการทาสงครามเหมือนในอดีต เช่น ลิลติ ยวน
พ่ายที่ยอพระเกียรติพระบรมไตรโลกนาถที่รบชนะพระเจ้าติโลกราช หรือลิลติ ตะเลงพ่ายยอ
พระเกียรติส มเด็จพระนเรศวรที่รบชนะพม่า อาจเกิด จากสมัย ปจั จุบ ันอ านาจสูงสุ ดในการ
บริหารประเทศจะอยู่ทร่ี ฐั บาลมิใช่พระมหากษัตริยเ์ หมือนในอดีต บทบาทของพระมหากษัตริย์
ในปจั จุบนั คือ การเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของปวงชน การปฏิบตั พิ ระราชกรณียกิจต่าง ๆ ด้วย
ความเหน็ดเหนื่อยก็เพื่อช่วยให้ประชาชนยืนหยัดอยู่บนผืนแผ่นดินไทยได้ รูจ้ กั ใช้ชวี ติ อย่าง
พอเพียง รูร้ กั สามัคคี และเดินทางสายหลักตามหลักพุทธศาสนาเพื่อมิให้ประชาชนหลงไปกับ
ค่านิยมทางวัตถุจนเกินไป ภาพลักษณ์ ของพระมหากษัตริย์ยุคปจั จุบนั จึงแตกต่ างจากอดีต
ตรงที่มคี วามเป็ นปุถุ ชนมากขึ้น เน้ นการเป็ น มิง่ ขวัญ ของปวงชนชาวไทย ประชาชนอยู่ได้
เพราะมีพระมหากษัตริยท์ ม่ี บี ุญบารมีนาความสุขมาสู่แผ่นดินท่ามกลางปญั หาทีร่ ุมเร้าในสังคม
นอกจากผู้แต่งมุ่งสดุดีพระมหากษัต ริย์แล้ว ยังมุ่งบันทึกประวัติศ าสตร์สงั คม
การเมือง เหตุการณ์ ครัง้ สงครามโลก และภัยธรรมชาติต่าง ๆ ด้วย เช่น ทมยันตีเขียนเรื่องคู่
กรรม พ.ศ. ๒๕๐๘ สะท้อนผลกระทบจากการทาสงครามโลกครัง้ ที่ ๒ ซึง่ เป็ นช่วงทีญ ่ ่ปี ุ่นบุกเข้า
มาเมืองไทย ต่อมาก็แต่งคู่กรรม ๒ ขึน้ อีก โดยนาเค้าโครงเรือ่ งมาจากเหตุการณ์การวันต่อต้าน
สินค้าญี่ปนุ่ พ.ศ. ๒๕๑๕ และเหตุการณ์ช่วง ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ นวนิยายเรือ่ งนี้สะท้อนให้
เห็นผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ จากการทาสงครามและเห็นบทบาทของนิสติ นักศึกษาทีม่ ตี ่อประเทศชาติ
ด้วย ดังการนาเสนอการเดินขบวนต่อต้านสินค้าญี่ปนุ่ ของนิสติ นักศึกษา
สถานการณ์ ท างการเมือ งเริ่ม ก่ อ ตัว ขึ้น เพราะมวลนิ ส ิต รวมตัว กัน โดยบรรดานิ ส ิต
นักศึกษาได้รวมกลุ่มเดินขบวนโห่รอ้ งเพื่อเรียกร้องรัฐบาลต่อข้อเสนอที่ได้ย่นื ไป มีการ
ปกั ป้ายเผาหุ่นเป็ นการเรียกร้อง ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และได้เคลื่อนขบวนไปยัง
อนุ สาวรียท์ หารอาสา เวลา ๑๒.๐๐ น. ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ณ ลานพระบรมรูปทรง
ม้า บริเวณลานกว้างเวิ้งว้างอันเคยระอุด้วยไอแดดสะท้อนจากพื้นดินบัดนี้คลาดคล่ า
ด้วยเด็กหนุ่ มสาวจากเครื่องแต่งกายบอกชัดว่ามาจากหลากมหาวิทยาลัย แม้กระทัง่
อาชีวะ ป้ายผ้าดิบมากมายถูกขึง หันไปทางกองบัญชาการคณะปฏิวตั สิ นามเสือป่า หุ่น
ทีอ่ ยู่ตรงกลางมีป้ายแขวนชัด ...ตัวไทย ใจญี่ปุ่น” เสียงจากโทรโข่งและไมโครโฟนจาก
รถบรรทุกเล็กดังแจ้ว...” พี่น้องทัง้ หลาย เราได้ย่นื ข้อเสนอของเราต่อคณะปฏิวตั ิแล้ว
ตัง้ แต่วนั ที่ยส่ี บิ พฤศจิกายน รัฐบาลจะต้องมีคาตอบให้เราว่า จะพิจารณาข้อเสนอของ
เราอย่างไร” ...“พวกเราไปรวมกันที่อนุ สาวรียท์ หารอาสา” เสียงสังการเป็
่ นทอด ๆ รถ
๑๓๒

ทุกคันเริม่ ตัง้ ขบวนเคลื่อนไปตามถนนราชดาเนินนิสติ นักศึกษา แม้กระทังประชาชน



พรังพรู
่ ...อุณหภูมกิ ารเมืองเริม่ ระอุ (คู่กรรม ๒)
ด้านการบันทึก เหตุ การณ์ บ้านเมือ งปรากฏมากเป็ น พิเศษช่ว งก่ อ นทศวรรษ
๒๕๒๐ เช่ น เสนี ย์ เสาวพงศ์ เขีย นเรื่อ ง “ปี ศ าจ” สด กู รมะโรหิต เขีย นเรื่อ ง “ระย้า ” อิศ รา
อมันตกุล เขียนเรื่อง “ธรณีประลัย” สุวฒ ั น์ วรดิลก เขียนเรือ่ ง “หลังเลื
่ อดลงโลมดิน” คาสิงห์ ศรี
นอก เขียนเรือ่ ง “ฟ้าบ่กนั ้ ” อัศนี พลจันทร เขียนเรื่อง “เราชนะแล้วแม่จา๋ ” โดยช่วงพ.ศ. ๒๕๑๖ -
พ.ศ. ๒๕๑๙ วรรณกรรมบันทึกการต่ อสู้ของนักศึกษา ชาวนา กรรมกรกับอานาจรัฐมากเป็ น
พิเศษ ในกรณีท่เี ป็ นเรื่องสัน้ เช่น สถาพร ศรีสจั จัง เขียนเรื่อง “ก่อนไปสู่ภูเขา” วัฒน์ วรรลยาง
กูร เขียนเรื่อง “งูกนิ นา” ศรีดาวเรือง เขียนเรื่อง “ชายผ้าเหลือง” วิสา คัญทัพ เขียนเรื่อง “แค้น
ของคาพา” สุวฒ ั น์ ศรีเชือ้ เขียนเรื่อง “คดีฆาตกรรมบนก้อนเมฆ” และกรณ์ ไกรลาศ เขียนเรือ่ ง
“บัน ทึก ของคนแซ่ ปึ ง ” ในกรณี ท่ีเป็ น นวนิ ย าย เช่ น สุ ว ัฒ น์ วรดิล ก เขีย นเรื่อ ง “พิร าบแดง”
สุจติ ต์ วงษ์เทศ เขียนเรือ่ ง “ไผ่ตนั ” และวัฒน์ วรรลยางกูร เขียนเรือ่ ง “ตาบลช่อมะกอก”
ครัน้ ช่วงพ.ศ. ๒๕๒๐ - ปจั จุบนั มีงานเขียนแนวประวัติศาสตร์ท่หี ลากหลาย
มากขึ้น ทัง้ แนวโหยหาสังคมและวีรบุรุษ สมัยเก่า เช่น รัตนโกสินทร์ และสองฝงคลองของ ั่ ว.
วินิจฉัยกุล ตากสินมหาราชของคึกเดช กันตามระ และเจ้าไล ของแรเงา และบงกชเพชร แนว
สะท้อนประวัตศิ าสตร์ชุมชนหรือสังคมร่วมสมัย เช่น เสียงเพรียกจากท้องน้ า ของประทีป ชุมพล
นาเสนออัตลักษณ์ของชาวอูรงั ลาโว้ยซึง่ เป็นชนกลุ่มน้อยทางตอนใต้ของประเทศไทย (ทีค่ นนิยม
เรียกว่าชาวเล) ผ่านการผสมผสานนวนิยายกับชาติพนั ธุว์ รรณา (ethnography) นวนิยายเรื่อง
รอยแผลของสายพิณ ของสาคร พูลสุข เล่าเรื่องราวของอาณาจักรกระเบือ้ งโบราณเหนือลุ่มน้ า
ทะเลสาบ นวนิยายเรื่องในวารวันของปิ ยะพร ศักดิ ์เกษม สะท้อนให้เห็นสภาพสังคมวัฒนธรรม
ของเมืองชลบุร ี หรือนวนิยายเรื่องโศกนาฏกรรมแหลมตะลุมพุก ของปราโมทย์ ดวงศิร ิ สะท้อน
ภาพการดาเนินชีวติ ทีเ่ ป็ นไปตามวิถขี องชาวบ้านปา่ ชายเลน ดังการกล่าวถึงการไร้ซง่ึ ทีอ่ ยูอ่ าศัย
และการพลัดพรากจากบุคคลอันเป็ นที่รกั ของชาวปากพนัง อันเนื่องจากได้รบั ผลกระทบจาก
เหตุการณ์วาตภัยทีเ่ กิดขึน้ บริเวณแหลมตะลุมพุกไว้ ดังตัวอย่าง
บ้านเรือนที่เคยตัง้ เรียงรายตามลาคลอง หมู่บ้านเหลือแต่เสาเรือน บ้านที่ก่อสร้างด้วย
ซีเมนต์ต งั ้ โด่เด่อยู่สามหลัง หลังคาไม่ม ี บ้านเรือนพังเสียหายหลายร้อยหลังคาเรือ น
เขือ่ นชลประทานพังไปกับกระแสน้ า ไม่มแี ม้แต่ร่องรอยโรงเรียนเหลือแต่เสาตัง้ เรียงราย
โด่เด่ โอ่งน้าหลายสิบใบทีไ่ ว้สารองน้าฝนลอยหายไปกับสายน้า โต๊ะเรียน เก้าอี้ อุปกรณ์
การเรียนไม่เหลือ หรอ นากุ้งเสียหายเป็ นหมื่นไร่เงินทองที่ลงทุนลงแรงไป ตลอดจน
หยาดเหงือ่ ทีท่ ุ่มเทลงไปหายไปกับสายน้าทีเ่ ชีย่ วกรากไปในพริบตาชาวบ้านล้มหายตาย
ไปเป็ นพันศพ บางคนไร้ญาติขาดมิตรไม่มที ่พี ่งึ พ่อแม่เสียชีวติ ลูกพลัดพรากนับเป็ น
ความสูญเสียครัง้ ยิง่ ใหญ่ท่มี นุ ษย์ถูกวาตภัยถล่มเล่นงานอย่างหนัก ที่ไม่เคยปรากฏมา
๑๓๓

ก่อน ผูค้ นไร้ทอ่ี ยู่อาศัย บางครอบครัวต้องอพยพกันไปอยูท่ อ่ี ่นื เนื่องจากความเสียหายที่


เกิดขึ้นมากเกินที่จะฟื้ นฟู ให้หมู่บ้านกลับมาเป็ นเหมือนเดิมได้ อีกทัง้ เป็ นเรื่อ งราวที่
สะเทือนความรูส้ กึ สาหรับผูท้ ต่ี อ้ งสูญเสียครอบครัวอันเป็นทีร่ กั ไป จนกลายเป็ นหมู่บา้ น
ร้างผูค้ นเงียบเหงา (โศกนาฏกรรมแหลมตะลุมพุก)
ผูแ้ ต่งหลายคนนิยมบันทึกเรือ่ งราวเชิงประวัตขิ องบุคคลสาคัญ สาหรับบุคคลใน
ประวัตศิ าสตร์ทผ่ี เู้ ขียนนิยมนามาสร้างเป็ นนวนิยาย เช่น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จ
พระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระพี่นางสุ พรรณกัล ยา ท้าวศรีสุ ดาจันทร์ สมเด็จพระสุ รโิ ยทัย
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมเด็จพระมหาธรรมราช และศรีปราชญ์
มีข้อ สังเกตว่า ในสมัย รัชกาลที่ ๙ มีการน าบริบ ททางประวัติศ าสตร์ในสมัย
อยุธยามาเป็ นข้อมูลในการเขียนนวนิยายจานวนมาก เช่น ไม้เมืองเดิมนาเหตุการณ์ ในสมัยพระ
เจ้าอยู่หวั บรมโกศ พระเจ้าเอกทัศน์ และการเสียกรุงศรีอยุธยาครัง้ ที่ ๒ ให้แก่พม่ามาเป็ นฉากใน
เรื่องทหารเอกพระบัณฑูร และข้าหลวงเดิม ทัง้ นาเหตุการณ์ส่วนหนึ่งตอนเสียกรุงครัง้ ที่ ๒ มา
เป็ นฉากในเรือ่ งบางระจัน โดยเน้นนาเสนอวีรกรรมของวีรบุรุษในอดีตทีม่ ฝี ีมอื ในการรบ ในขณะ
ทีท่ มยันตีกเ็ ขียนเรือ่ งอตีตาเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความรักชาติและความเสียสละชีวติ เพื่อปกป้อง
แผ่ น ดิน ของบรรพบุ รุษ ในยุค บางระจัน เช่ น เดีย วกัน หลวงวิจติ รวาทการเขียนเรื่อ งกรุงแตก
นาเสนอเหตุ การณ์ ในสมัยเสียกรุงศรีอ ยุธยาครัง้ ที่ ๑ หรือ ศุ ภร บุ นนาค เขียนเรื่อ งฟ้ าใหม่ มี
เนื้อหาอิงประวัตศิ าสตร์ไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
สุ จ ิต ต์ วงษ์ เ ทศ เขีย นเรื่อ งศึก มัก กะสัน เมือ งบางกอกที่เ นื้ อ หาสัม พัน ธ์กับ
เหตุการณ์ทางประวัตศิ าสตร์ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ไม่ว่าจะเป็ นตัวละครทีป่ รากฏในเรื่อง
คือ คอนสแตนตินฟอลคอล หรือเจ้าพระยาวิชเยนทร์ และเชวาลิเอร์เดอะฟอร์บงั หรือออกพระ
ศักดิ ์สงคราม อีกทัง้ ยังมีเหตุการณ์กบฏมักกะสันทีเ่ มืองบางกอก ซึง่ ถือเป็ นเหตุการณ์ทร่ี า้ ยแรง
เหตุการณ์หนึ่งในสมัยพระนารายณ์มหาราช โดยมีเชวาลิเอร์เดอะฟอร์บงั ขุนนางฝรังเศสที ่ ่เข้า
มารับราชการในกรุงศรีอยุธยา เป็นบุคคลสาคัญในการปราบกบฏมักกะสันทีเ่ มืองบางกอก
คึกเดช กันตามระ เขียนเรือ่ ง “เจ้าไล” เพื่อเล่าเรือ่ งราวเชิงอัตชีวประวัตขิ องพระ
เจ้าปราสาททอง พระมหากษัต ริย์อ งค์ท่ี ๒๒ แห่ งกรุงศรีอ ยุธ ยา ซึ่ง เป็ น โอรสลับ ของพระ
เจ้าอยู่หวั เอกาทศรถและเริม่ ต้นชีวติ จากนายทหารขึน้ สู่ตาแหน่งประมุขของแผ่นดิน แต่ดว้ ยพระ
บุญญาธิการและพระปรีชาญาณอย่างยิง่ ของพระองค์ จึงเป็นทีป่ ระจักษ์แก่ผคู้ นทุกชนชัน้
ผูแ้ ต่งบางคนนาเรื่องราวของบุคคลสาคัญ ทีเ่ ป็นชาวต่างชาติแต่มารับราชการใน
สมัยอยุธยามาแต่ง เช่น คึกเดช กันตามระ ได้นาเรื่องราวของท้าวทองกีบม้า ซึ่งรับราชการใน
สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายมาเขียนเป็ นนวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ โดยแทรกเกร็ดความรูท้ าง
ประวัติศ าสตร์ ภูม ิศ าสตร์ และวัฒ นธรรมประเพณี ส มัย กรุงเก่ าไว้อ ย่างชัด เจน เรื่อ งนี้ เล่ า
เกี่ยวกับท้าวทองกีบม้า หรือมารี กีมาร์ สตรีช าวญี่ปุ่น-โปรตุเกส ที่ได้แต่งงานกับฟอลคอนขุน
๑๓๔

นางชาวกรีกผูท้ รงอิทธิพลทีส่ ุดในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มารีได้นาเสนอสูตรขนม


หวานของโปรตุเกสมาเผยแพร่ในราชสานักอยุธยา ซึง่ ขนมหวานเหล่านัน้ ได้กลายเป็ นต้นฉบับ
ของขนมไทยชนิดต่าง ๆ ทัง้ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทองและอีกมากมาย
การแต่งนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ท่นี าบริบทในสมัยอยุธยามากนัน้ ส่วนหนึ่ง
เกิดจากสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็ นสมัยที่มชี ่วงเวลาการปกครองที่ยาวนานถึง ๔๑๗ ปี สมัยนี้ม ี
ความเจริญทางศิลปวัฒนธรรม และเรือ่ งราวทางประวัตศิ าสตร์ทน่ี ่าสนใจทัง้ การปกครอง การศึก
สงคราม ฯลฯ จึงเป็นเหตุให้มผี แู้ ต่งนิยมแต่งเรือ่ งทีม่ เี นื้อหาในสมัยนี้มากทีส่ ุด
ผู้เขียนพบว่า มีการน าบริบทของประวัติศ าสตร์ส มัยอื่น ๆ มากล่าวด้ว ย ดัง
แรเงาและบงกชเพชรเล่าประวัตศิ าสตร์ในสมัยพระเจ้าตากสินในนวนิยายเรื่องตากสินมหาราช
โดยเนื้อหาของเรื่องเล่าว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้ชาติไทยจากพม่า เมื่อคราว
เสียกรุงศรีอยุธยาครัง้ ที่ ๒ ในขณะที่บา้ นเมืองอยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด เพราะพม่าทา
สงครามกับไทยครัง้ นี้ ไม่ได้คดิ จะรักษาเมืองเมืองไทยไว้เป็ นเมืองขึ้น หมายแต่จะเอาทรัพย์
สมบัติ กับกวาดต้อนผูค้ นไปเป็นเชลย เพื่อเอาไว้ใช้สอยในเมืองพม่า เมื่อพม่าตีเมืองไหนได้ จึง
เผาเสียทัง้ เมืองน้อยเมืองใหญ่ ตลอดจนกรุงศรีอยุธยา แล้วเลิกทัพกลับไป คงทิ้งกาลังไว้ส่วน
หนึ่งเพื่อคอยแสวงหาทรัพย์สมบัตแิ ละผูค้ นทีต่ กค้างอยู่ เพื่อรวบรวมส่งไปเมืองพม่าต่อไป ด้วย
เหตุน้ีพม่าจึงยังมีอานาจอยู่ในพืน้ ทีก่ รุงศรีอยุธยา และหัวเมืองใกล้เคียง ส่วนหัวเมืองทีไ่ ม่ได้เสีย
แก่พม่า เมื่อไม่มพี ระเจ้าแผ่นดินปกครองก็กลายเป็ นเมืองอิสระ ทีเ่ ป็ นเมืองเล็กก็ยอมอ่อนน้อม
ไปขึ้นอยู่กบั เมืองใหญ่ ท่อี ยู่ใกล้เคียง ผู้ท่เี ป็ นเจ้าเมืองใหญ่ ก็คดิ ตั ้งตัวเป็ นเจ้า ด้วยหวังจะเป็ น
ใหญ่ในแผ่นดินไทยต่อไป เมืองไทยในครัง้ นัน้ จึงแตกออกเป็ นกลุ่มเป็ นพวก สมเด็จพระเจ้าตาก
สิน มหาราช นอกจากจะกู้ประเทศไทยกลับ คืนจากพม่าอันเป็ น ภารกิจหลักแล้ว ยังต้องทรง
รวบรวมเมืองไทย ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเช่นแต่ก่อน ตลอดรัชสมัยของพระองค์ และทรงทา
ได้สาเร็จด้วยพระอัจฉริยภาพ และพระปรีชากล้าหาญของพระองค์ จนประสบผลสาเร็จทีย่ งิ่ ใหญ่
นาประเทศไทยกลับมามีเอกราชและยิง่ ใหญ่อกี ครัง้ หนึ่งในประวัตศิ าสตร์ชาติไทย ดังตัวอย่าง
การกล่ า วถึง การปราบชุ ม นุ ม ต่ า ง ๆ ของพระเจ้า ตากสิน เช่ น การปราบชุ ม นุ ม เจ้า เมือ ง
นครศรีธรรมราช ดังนี้ “พระยานครเห็นว่าสู้ไม่ได้แน่ แล้วจึงบอกครอบครัว รีบ หนี เหตุ การณ์
ชุลมุนขวัญ หนี ฝ่ายผู้ห ญิงพากันร้องไห้ หวีดร้องเมื่อได้ยนิ เสียงปื นดังมาติด ๆ กันหลายนัด ”
(ตากสิน มหาราช) หรือ การปราบชุ ม นุ ม เจ้าพระฝาง ดัง นี้ “พระเจ้าตากตรัส เสีย งดัง “เมือ ง
พิษณุ โลกขาดพระเจ้าอยู่หวั ปกครอง จักเป็ นที่ให้คนพาลเข้ามายึดอานาจได้ กูจกั จัดการงาน
เมืองในพิษณุโลกให้เสร็จก่อนแล้วจึงค่อยหากลศึกจัดการกับอ้ายเถรทุศลี ” (ตากสินมหาราช)
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เขียนเรื่องเกิดวังปารุสก์ มีเนื้อหา
สอดแทรกเกร็ด ประวัติศาสตร์ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ทรงเล่าถึงสภาพชีวติ
ภายในราชสานักตัง้ แต่ พ.ศ. ๒๔๕๐-๒๔๙๒ ซึง่ เป็นเรือ่ งเกีย่ วกับการเมืองไทยในปลายรัชกาลที่
๕ ถึง รัชกาลที่ ๙ รวมทัง้ กล่าวถึงสภาพภูมปิ ระเทศ การศึกษาและพระศาสนา นอกจากนี้ยงั ได้
๑๓๕

รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชวงศ์ของประเทศอังกฤษ ตลอดจนพระราชพิธ ี พระราชวงศ์


และประเพณีต่าง ๆ ของประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรปไว้ด้วย ในขณะที่ ว.วินิจฉัยกุล เขียนนว
นิยายเรื่องบูรพาเป็ นนวนิยายเพื่อสะท้อนเรื่องราวสังคมระหว่างชาวสยามในสมัยรัชกาลที่ ๔
และชาวอังกฤษยุควิคตอเรียน ทีม่ ที งั ้ ความแตกต่างของพิธที างศาสนาตัง้ แต่เกิดจนตาย และการ
สะท้อนค่านิยมต่าง ๆ ในขณะที่ม.ร.ว. คึกฤทธิ ์ ปราโมช เขียนเรื่องสีแ่ ผ่นดินเพื่อสะท้อนเรือ่ งราว
ในช่ ว งรัช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ ห ั ว รัช กาลที่ ๕ จนถึ ง รัช สมั ย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั อานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๖ - ปจั จุบนั มีการแต่งนวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์จานวนมาก
ดังผูเ้ ขียนจะนาเสนอนวนิยายทีป่ รากฏในช่วงเวลาดังกล่าวต่อไปนี้
วรรณกรรม ผูแ้ ต่ง
บัลลังก์เชียงรุง้ หลวงวิจติ รวาทการ
กรุงแตก หลวงวิจติ รวาทการ
พานทองรองเลือด หลวงวิจติ รวาทการ
พลีชพี เพื่อชู้ หลวงวิจติ รวาทการ
เลือดสุพรรณ หลวงวิจติ รวาทการ
ยอดเศวตฉัตร หลวงวิจติ รวาทการ
เพชรพระนารายณ์ หลวงวิจติ รวาทการ
ฟากฟ้าสาละวิน หลวงวิจติ รวาทการ
บูชารัก หลวงวิจติ รวาทการ
ฟ้าใหม่ ศุภร บุนนาค
บุญเพรงพระหากสรรค์ ศุภร บุนนาค
สีแ่ ผ่นดิน ม.ร.ว. คึกฤทธิ ์ ปราโมช
กฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้ ม.ร.ว. คึกฤทธิ ์ ปราโมช
โครงกระดูกในตู้ ม.ร.ว. คึกฤทธิ ์ ปราโมช
ฉากญีป่ นุ่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ ์ ปราโมช
พม่าเสียเมือง ม.ร.ว. คึกฤทธิ ์ ปราโมช
ฝรังศั
่ กดินา ม.ร.ว. คึกฤทธิ ์ ปราโมช
ยิว ม.ร.ว. คึกฤทธิ ์ ปราโมช
อุโมงค์ผ่านภูผา วัธนา บุญยัง
รางเหล็กในปา่ ลึก วัธนา บุญยัง
ทหารเอกพระบัณฑูร ไม้ เมืองเดิม
๑๓๖

วรรณกรรม ผูแ้ ต่ง


บางระจัน ไม้ เมืองเดิม
ข้าหลวงเดิม ไม้ เมืองเดิม
สาเภาล่ม ไม้ เมืองเดิม
เศวตฉัตรน่านเจ้า ลพบุร ี
พญาเสือฟ้า ผูช้ นะแปดทิศ ลพบุร ี
ถล่มโยนก ลพบุร ี
ชิงบัลลังก์แสนหวี ลพบุร ี
ญาติกา โสภาค สุวรรณ
สายโลหิต โสภาค สุวรรณ
สิครี ยิ า โสภาค สุวรรณ
รัตนโกสินทร์ ว. วินิจฉัยกุล
สองฝงคลองั่ ว. วินิจฉัยกุล
ร่มฉัตร ทมยันตี
อตีตา ทมยันตี
เวียงกุมกาม ทมยันตี
ทวิภพ ทมยันตี
คู่กรรม ทมยันตี
อธิราชา ทมยันตี
กษัตริยา ทมยันตี
รัตนโกสินทร์ กาเนิดกรุงเทพฯ ปองพล อดิเรกสาร
พ่อ ภาค ๑ และ ๒ ปองพล อดิเรกสาร
ท้าวทองกีบม้า คึกเดช กันตามระ
ตานานรักศรีปราชญ์ คึกเดช กันตามระ
เจ้าไล คึกเดช กันตามระ
สุรโิ ยทัย คึกเดช กันตามระ
ขุนดาบทนายเลือก คึกเดช กันตามระ
เชงสอบู คึกเดช กันตามระ
เจษฎาบดินทร์จอมราชัน คึกเดช กันตามระ
จิตตานุภาพ คึกเดช กันตามระ
ตากสินมหาราชชาตินกั รบ claire keefe – fox /กล้วยไม้ แก้วสนธิ แปล
๑๓๗

วรรณกรรม ผูแ้ ต่ง


หยดน้าตาสยาม claire keefe – fox /สุมาลี แปล
ฟอลคอลแห่งอยุธยา claire keefe – fox /กล้วยไม้ แก้วสนธิ แปล
หนึ่งฟ้าดินเดียว กฤษณา อโศกสิน
ขุนหอคา กฤษณา อโศกสิน
เวียงแว่นฟ้า กฤษณา อโศกสิน
นางพญาหลวง กฤษณา อโศกสิน
บารมีพระแม่ป้อง ปกพืน้ ธรณิน แก้วเก้า
ตานานพระเจ้าชาลมาญ แก้วเก้า
ขุนศึกมหาราช รพีพร
ท้าวศรีสุดาจันทร์ รพีพร
ลูกทาส รพีพร
จอมทหารธรรมธิเบศ รพีพร
ปีกแดง วินทร์ เลียววาริณ
ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน วินทร์ เลียววาริณ
๑๗ องศาเหนือ ประชาธิปไตยบน วินทร์ เลียววาริณ
เส้นขนาน ภาค ๑.๑
บุหงาปารี บุหงาตานี วินทร์ เลียววาริณ
น้าเงินแท้ วินทร์ เลียววาริณ
ศึกมักกะสันเมืองบางกอก สุจติ ต์ วงษ์เทศ
ศึกเจ้าพระยา สุจติ ต์ วงษ์เทศ
แม่นางเมือง สุจติ ต์ วงษ์เทศ
ขุนศึกสยามข้ามภพ (สงคราม ๙ ทัพ) สิงขรลักษณ์
ศึกรบสองราชันย์ สิงขรลักษณ์
เกาะแก้วกรุงอินทร์ ศรีฟ้า ลดาวัลย์
บุญบรรพ์ ศรีฟ้า ลดาวัลย์
“ศรีวรรณ” วีรสตรีโลกลืม น.นกยูง /วรุตม์ นกยูงทอง
สงคราม ความรัก มาตุภมู ิ น.นกยูง /วรุตม์ นกยูงทอง
มหาราช ๒ แผ่นดิน น. นกยูง/วรุตม์ นกยูงทอง
ข้ามสมุทร วิษณุ เครืองาม
ชีวติ ของประเทศ (เล่ม ๑-๒ จบ) วิษณุ เครืองาม
๑๓๘

วรรณกรรม ผูแ้ ต่ง


ข้าบดินทร์ วรรณวรรธน์
หนึ่งด้าวฟ้าเดียว วรรณวรรธน์
จันทราอุษาคเณย์ วรรณวรรธน์
เจ้าพ่อลายมังกร ภราดร ศักดา
ยอดวีรชนสงคราม ๙ ทัพ ภราดร ศักดา
มังกรเยาวราช ภราดร ศักดา
รากนครา ปิยะพร ศักดิ ์เกษม
ในวารวัน ปิยะพร ศักดิ ์เกษม
ตะวันเบิกฟ้า ปิยะพร ศักดิ ์เกษม
ทัพทัน พ. วังน่าน
พระเจ้าเสือ ประกายดาว
อุษณกรนารายณ์ จันทร์บณ ั รสี
ผูอ้ ยูเ่ หนือเงือ่ นไข สุภา ศิรมิ านนท์
เนเมียวสีหบดี กุดารัศมี
เศวตฉัตรนาคา บัณฑิตางกูร
เมืองแม่ นราวดี
นิราศสองภพ ฐา-นวดี
ดาบนันทกาวุธ ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์
ลายน้าทอง วุฒเิ ฉลิม
อาถรรพณ์แห่งนครวัด ประสาร เปรมะสกุล
ผลัดแผ่นดิน สุกจิ สุวานิช
สืบราชสมบัติ น.ม.ส.
รอยประทับ นฤมล เทพไชย
ฅนไทยทิง้ แผ่นดิน จรัสพงศ์ษ์ สุรสั วดี
พระนางแก้วเก็งยา จุตศิ ร
โจรสลัดแห่งสยาม สมโพธิ
ทัดมาลา เหล็กน้าพี้
โจรสลัดเกาะตะรุเตา แสวง ตุงคะบรรหาร
บ่วงบรรจถรณ์ กีรติ ชนา
นายขนมต้ม คมทวน คันธนู
๑๓๙

วรรณกรรม ผูแ้ ต่ง


พายุตะวันตก เฉลิมศักดิ ์ แหงมงาม
เจ้านางแสนหวี ธิตนิ ดั ดา
คนดีศรีอยุธยา เสนีย์ เสาวพงศ์
ผูช้ นะสิบทิศ ยาขอบ
ท้าวทองกีบม้า กาญจนี ละอองศรี
นิยายรักสุนทรภู่ ก้องภพ รืน่ ศิร ิ และคึกเดช กันตามระ
ทหารกล้ากรุงศรีอยุธยา หม่อมหลวง นรานุกูล ชุมพล
ฤาจะสิน้ ปาฏิหาริย์ จุรมี าตร์ เจริญจิตต์
ดับสุรยิ าทีห่ ว้ากอ พิมาน แจ่มจรัส
โศกนาฏกรรมแหลมตะลุมพุก ปราโมทย์ ดวงศิร ิ
ชาติพยัคฆ์ หอมไกล
ตะวันจวนสิน้ แสง พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
พระพีน่ างสุพรรณกัลยา ราชนารีทถ่ี ูกลืม เวนิสา เสนีวงศ์ฯ
พระพีน่ างสุพรรณกัลยาณี กาญจนา นาคนันทน์
จอมภพมฤตยู สุวฒ ั น์ วรดิลก
ประวัตศิ าสตร์ของความเงียบ อติภพ ภัทรเดชไพศาล
ตากสินมหาราช แรเงาและบงกชเพชร
ยามาดะ นางามาสะ เอนโด ซูซากุ /บุษบา บรรจงมณีแปล
พายุตะวันตก เฉลิมศักดิ ์ แหงมงาม
ม่านนางรา ชาตบุษย์ นฤดม
ดาบเหล็กน้าพี้ อายัณโฆษ
อิฐพระองค์ดา เขมชาติ
อยุธยามหายุทธ ฑิภากร บารเมษฐ์
แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม Landon, Margaret /กัณหา แก้วไทย แปล
รัฐปตั ตานี รอกี ตุรอ้ บ
บุพเพสันนิวาส รอมแพง
นิยายรักในราชสานักฝา่ ยใน แอนนา เลียวโนเวนส์, อบ ไชยวสุ แปล
ทุ่งมหาราช เรียมเอง
ขุนไพร ภิญโญ ศรีจาลอง
มหาราชโสด ประชา พูนวิวฒ ั น์
๑๔๐

วรรณกรรม ผูแ้ ต่ง


ร่มบุญ...เรือนบัว นุสมล
ทรามสวาท สุรยิ าทิศ
นางละคร ดรสา
เนเมียวสีหบดี กุดารัศมี
ออกญา กรกุณารี
เจ้าพระยา มานพ ถนอมศรี
วายัง อมฤต อนุสรณ์ ติปยานนท์
ฝากไว้ในแผ่นดิน ยุวดี ต้นสกุลรุง่ เรือง
สายสัมพันธ์สามกษัตริย์ ทวีศกั ดิ ์ ระมิงค์วงศ์
ศึกสองมหาราช สุกจิ สุวานิช
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พรกมล สุนทรนันท์
มหาบุรษุ ผูก้ ชู้ าติ รวมแผ่นดิน
รุกสยาม ในนามของพระเจ้า ผูเ้ ขียน Morgan Sportes (มอร์กาน สปอร์แตช)
ผูแ้ ปล กรรณิกา จรรย์แสง
ชาติเสือไม่ทง้ิ ลาย ลพบุร ี

ตำรำงที่ ๓ รายชื่อวรรณกรรมทีม่ เี นื้อหาอิงประวัตศิ าสตร์

ปรีดี พิศภูมวิ ถิ ี (๒๕๕๖ : ๑๙๓-๑๙๔) กล่าวถึงการเขียนนวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ใน


ประเทศไทยว่า เริม่ ต้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ โดยขุนธนกิจวิจารณ์ ได้แต่ งนวนิยายเรื่องดาบศักดิ ์
เหล็กน้าพี้ขน้ึ ใช้นามปากกาว่าอายัณโฆษ ลงพิมพ์เป็ นตอน ๆ ในวารสารไทยเขษมรายเดือน
ช่วง พ.ศ.๒๔๖๘-๒๔๖๙ มีนวนิยายอิงประวัติศาสตร์หลายเล่ม ได้แก่ เรื่องออกพระฑัณฑาธิ
กรณ์ ของพัน ธุ์งาม (หม่อ มเจ้าพงศ์รุจา รุจวิช ัย ) ทหารเอกพระเจ้าราชาธิราช ของคุ รุภ าพ
(ศาสตราจารย์พระเวทวรวิสษิ ฐ์) ออกขุนราชเสนา ของ ว.เผ่ามณี ทหารเอกพระเจ้ากรุงธนบุร ี
ของศิวะ ศริยานนท์ ชาติเสือไม่ท้งิ ลาย ของ ลพบุร ี (ชุ่ม ณ บางช้าง) พ.ศ. ๒๔๗๑ อายัณโฆษ
แต่งเรือ่ งอัครมหาเสนางคธิบดี ต่อมาหลวงวิจติ รวาทการแต่งเรือ่ งครุฑ นเรศวรประกาศอิสรภาพ
พระเจ้า กรุง ธน ศึก ถลาง น่ า นเจ้า พ่ อ ขุน ผาเมือ ง หลังสงครามโลกครัง้ ที่ ๒ มีน วนิ ย ายอิง
ประวัตศิ าสตร์บางเรื่องทีไ่ ด้รบั ความนิยม เช่น เรื่องขุนศึก บางระจัน ทหารเอกพระบัณฑูร ของ
ไม้ เมืองเดิม ช่วง พ.ศ.๒๔๙๓ นวนิยายที่เน้นฉากประวัติศาสตร์ในพระบรมมหาราชวังได้รบั
ความนิยมจากผู้อ่านเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่อง สี่แผ่นดิน ของพลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ ์ ปราโมช ที่
บัน ทึก เหตุ ก ารณ์ ท างประวัติศ าสตร์ต งั ้ แต่ รชั กาลพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่ห ัว
๑๔๑

รัชกาลที่ ๕ จนถึงรัชกาลที่ ๘ นอกจากนี้ก็มนี วนิยายเรื่องร่มฉัตรของทมยันตี ฟ้าใหม่และบุญ


เพรงพระหากสรรค์ ของศุภร บุนนาค ปจั จุบนั นวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์หลายเรื่องได้รบั ความ
นิยมในหมู่นักอ่าน เพราะผู้ประพันธ์เลือกเหตุการณ์ สาคัญในช่วงสมัยต่าง ๆ ในอดีตเป็ นโครง
เรือ่ ง นวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ในยุค พ.ศ.๒๕๑๖ จนถึงปจั จุบนั เช่น รัตนโกสินทร์ ราตรีประดับ
ดาว บูรพา ของ ว.วินิจฉัยกุล เจ้าไล และท้าวทองกีบม้า ของ คึกเดช กันตามระ เวียงแว่นฟ้า
ของกฤษณา อโศกสิน เป็ นต้น นวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ในช่วงหลัง ๆ มีความละเมียดละไมใน
การเขียนมากขึน้ เพราะผูแ้ ต่งได้สบื ค้นข้อมูลมาเป็นอย่างดี
เมื่อพิจารณาลักษณะของนวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์หรือนวนิยายที่เขียนในยุคปจั จุบนั
พบว่า มีหลายลักษณะ โดยรอยัล เอ. เกตแมน (Royal A. Gettman) (อ้างถึงในพรรณี วราทร,
๒๕๑๙: ๑๒-๑๓) ได้จาแนกนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ตามลักษณะและจุดมุ่งหมายการประพันธ์ ไว้
๔ ลักษณะ ได้แก่ ๑. นวนิยายเกี่ยวกับยุคสมัย (period novel) เป็ นเรื่องแสดงรายละเอียดทาง
สัง คมในอดีต โดยสร้า งตัว ละครขึ้น ใหม่ ๒. นวนิ ย ายโลดโผนอิ ง ประวัติศ าสตร์ (historical
romance) เป็ นเรื่อ งราวเกี่ยวกับ เหตุ การณ์ บ้านเมืองและการผจญภัยในอดีต ๓. นวนิยายอิง
ประวัตศิ าสตร์อย่างแท้จริง (historical novel proper) เป็ นเรือ่ งแสดงข้อเท็จจริงแห่งยุคสมัย โดย
มุ่งเน้ น ให้อดีต เป็ นตัวอย่างแก่ ป จั จุบนั และ ๔. นวนิยายแสดงเบื้อ งหลัง (confession novel)
เป็ นเรื่องที่ใช้เหตุการณ์ในประวัตศิ าสตร์ หรือข่าวซึ่งคนทัวไปสนใจเป็
่ นโครงเรื่อง แยกย่อยได้
เป็น นวนิยายลึกลับแนวกอทิก อาชญนิยาย และนวนิยายเชิงวิทยาศาสตร์
อย่างไรก็ดี ธงชัย วินิจจะกูล (๒๕๖๐) กล่าวถึงแนวการเขียนนวนิยายประวัตศิ าสตร์ยุค
ปจั จุบนั ว่า แบ่งได้ ๒ แบบหลัก ๆ คือ แบบที่หนึ่ง คือ ใช้ประวัตศิ าสตร์เป็ นฉากหลังของเรื่อง
โรแมนซ์รกั ริษยาอาฆาต นวยายแนวนี้มตี วั เรื่องที่ไม่เป็ นประวัติศาสตร์ แต่ มฉี ากหลังที่ทาให้
เชื่อว่าเป็ นความจริง แบบที่สอง คือ ใช้กรอบตายตัวของชาตินิยมหรือราชาชาตินิ ยม เนื้อหา
ของนวนิยายออกแนววีรกรรมปกป้องชาติบา้ นเมืองให้พนั จากอันตรายด้วยน้ ามือของต่างชาติ
และของผู้รา้ ยภายในชาติ โดยวีรกรรมเกิดในยุคสมัยใดก็ได้ จะจินตนาการตัวละครผู้รกั ชาติ
อย่างไรก็ได้ นวนิยายทัง้ สองแบบจะได้รบั การชื่นชมจากผู้เสพมากหรือน้ อยขึ้นอยู่กับความ
ถูกต้อง ตรงตามความเชื่อที่มอี ยู่ทวไปในสั
ั่ งคมไทย ถูกต้องกับเรื่องเล่าแม่บท โครงเรื่องและ
มโนทัศน์หลัก ดังนัน้ ผูเ้ ขียนจึงห้ามใช้จนิ ตนาการตีความประวัตศิ าสตร์เกินขอบเขต อนุ ญาตให้
จิน ตนาการในส่ ว นที่เป็ น รายละเอีย ดเพื่อ ท าให้ค วามจริง ตามที่เชื่อ มีชีว ิต ไม่ ส นั ่ คลอนต่ อ
อุดมการณ์ทางประวัตศิ าสตร์ ไม่กระทบกระเทือนเรื่องราวแม่บท ไม่เปลี่ยนโครงเรื่อง ไม่สงสัย
ตัง้ คาถามกับมโนทัศน์ และคุณค่าต่าง ๆ ทีป่ ระวัตศิ าสตร์เป็ นฐานรองรับอยู่ ในขณะทีก่ ารศึกษา
ประวัตศิ าสตร์ตามหลักวิชาการมีขอ้ จากัดด้วยหลักฐาน ไม่สามารถจินตนาการหรือตีความเกิน
กว่าทีส่ นับสนุ นได้ ภารกิจของนวนิยายประวัตศิ าสตร์ทด่ี ีจงึ ต้องอาศัยความรูท้ างประวัตศิ าสตร์
เป็นฐาน นวนิยายประวัตศิ าสตร์ทด่ี จี ะสามารถช่วยให้ผเู้ สพเติบโตทางปญั ญา คิดต่อจากอดีตได้
๑๔๒

หลากหลายแง่มุม ส่ ว นการวิพ ากษ์ ว ิจารณ์ คุ ณ ค่ าของนวยายประวัติศ าสตร์ไม่ได้ ข้นึ อยู่กับ


ความสามารถของนวนิยายที่ตอกย้าขนบหรือกรอบความเชื่อเดิม ๆ แต่อยู่กบั ความสามารถ
ของนวนิยายที่ทาให้ผู้อ่านผู้เสพสามารถเห็นอดีตเลยออกไปจากขนบหรือกรอบความเชื่อเดิม
ล่วงเข้าไปสู่ดนิ แดนทีน่ กั ประวัตศิ าสตร์ไม่สามารถเข้าไปถึงได้
นอกจากนั ก เขีย นไทยน าประวัติ ศ าสตร์ ไ ทยมาเขีย นแล้ ว ยัง มีก ารแปลนวนิ ย าย
ประวัตศิ าสตร์ของนักเขียนต่างชาติด้วย ส่วนใหญ่เป็ นการมองประวัติศาสตร์ไทยผ่านมุมมอง
ของตัวละครชาวต่างชาติ หรือมุมมองของตัวละครต่าง ๆ เพื่อสร้างความสมจริง โดยยุรฉัต ร
บุญสนิท (๒๕๓๔ : ๑๖๕) กล่าวถึงการศึกษาเบือ้ งหลังของประวัตศิ าสตร์ว่า จาเป็นต้องมองรอบ
คือ ไม่เพียงใช้สายตาของพวกเราเอง แต่ต้องใช้สายตาของผู้เป็ นเจ้าของความสัมพันธ์อกี ฝ่าย
หนึ่งด้ว ย ผู้อ่านสามารถรับรู้เบื้องหลังของประวัติศ าสตร์ ทัง้ ในมุม มองของผู้เขียน ที่อาจจะ
ส่งผ่านตัวละครทีเ่ ป็นเจ้าของความสัมพันธ์ หรือตัวละครทีเ่ ป็นผูเ้ ข้ามาสร้างความสัมพันธ์กไ็ ด้
นวนิยายหลายเรือ่ งได้รบั การแปลเป็ นภาษาไทย เช่น กล้วยไม้ แก้วสนธิ แปลนวนิยาย
เรื่อ งฟอลคอนแห่ งอยุธ ยา (Le Ministre des Moussons) ของแคลร์ คีฟ หรือ นามปากกาว่ า
แคลร์ คีฟ-ฟอกซ์ ชาวฝรังเศส ่ จัดพิมพ์โดยสานักพิมพ์นานมีบุ๊คเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๖ เล่าถึงชีวติ ใน
วัยเด็ก ของฟอลคอน กระทัง่ ถู ก จับประหารชีว ิต ในสมัย พระเพทราชา นวนิยายอีกเรื่อ งของ
นัก เขีย นนั ก แปลคนเดีย วกัน คือ เรื่อ ง ตากสิน มหาราชชาตินั ก รบ (Le Roi des Rizières)
จัดพิมพ์โดยสานักพิมพ์นานมีบุ๊คเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙ เล่าวีรกรรมของพระเจ้าตากสินในสมัยมีชวี ติ
จนกระทังวาระสุ
่ ดท้ายของรัชกาลทีถ่ ูกจับกุมไปสาเร็จโทษผ่านตัวละครเอกของเรื่อง คือ มาธิว-
ชาร์ล เดอ แอร์เว (Mathieu-Charles de Hervé) ชาวฝรังเศส ่ เรื่องนี้เน้นนาเสนอเหตุการณ์ ใน
สมัยกรุงศรีอยุธยาก่ อนจะเสีย ให้แก่พม่า นอกจากนี้ก็มนี ักแปลคนอื่น ๆ อีกจานวนมาก เช่น
บุษบา บรรจงมณี แปลเรื่อง ยามาดะ นางามาสะ ของเอนโด ซูซากุ ชาวญี่ปุ่น ที่ได้ถ่ายทอด
เรื่องราวของประวัตศิ าสตร์ไทยในความรับรูข้ องตน ใจความว่า ยามาดะซึ่งเป็ นชาวญี่ปุ่นมารับ
ราชการในสมัยอยุธยา มีช่ อื บรรดาศักดิ ์ไทยว่า ออกญาเสนาภิมุข ยามาดะเข้ามาในแผ่นดิน
สยามตัง้ แต่สมัยพระเจ้าทรงธรรม พระเชษฐาธิราช พระอาทิตยวงศ์ และพระเจ้าปราสาททอง
ในการเล่ าเรื่อ ง ผู้แ ต่ ง เล่ าถึงชาวญี่ ปุ่น ที่อ อกไปเผชิญ โลกกว้างจนได้รบั การแต่ ง ตัง้ ให้ด ารง
ตาแหน่ งสาคัญ เสมือนหนึ่งเป็ นกษัตริย์น้อยในอาณาจักรสยาม มีการเพิม่ รายละเอียดเกี่ยวกับ
ตัวละครยามาดะให้มคี วามสมบูรณ์ กว่าในประวัติศาสตร์ ทัง้ ในประเด็นด้านการชิงบัลลังก์ใน
อยุธยา การได้รบั ตาแหน่ งเจ้าเมืองนครศรีฯ และวาระสุดท้ายของยามาดะ ในขณะทีก่ ณ ั หา แก้ว
ไทย แปลนวนิ ย ายเรื่อ งแอนนากับ พระเจ้า กรุงสยาม จากเรื่อ ง ‘Anna and the King of
Siam’ ซึ่งประพันธ์โดยมาร์กาเร็ต แลนดอนที่ได้รวบรวมเรื่องราวจากหนังสือ สองเล่ม คือ ‘The
English Governess at the Siamese Court’และ ‘The Romance of the Harem’ เรื่อ งนี้
เล่ า เกี่ ย วกั บ แอนนา เลี ย วโนเวนส์ ครู แ หม่ ม ช าวอั ง กฤษ ที่ ไ ด้ เ ข้ า มาสอนหนั ง สื อ ใน
๑๔๓

พระบรมมหาราชวังอยู่เป็ นระยะเวลา ๕ ปี คือในช่วงปี ๒๔๐๕ - ๒๔๑๐ โดยบันทึกเหตุการณ์ท่ี


ตนเองได้ประสบมาในช่วงเวลานัน้ ตามมุมมองของตนทัง้ ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ
การศึกษา และประเพณีวฒ ั นธรรม ดังตัวอย่างนวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ของชาวต่างชาติ

ภำพที่ ๔ วรรณกรรมเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์เชิงชีวประวัตขิ องชาวต่างชาติ


(ทีม่ า: กัณหา แก้วไทย, แปล, ๒๕๔๒)

เมื่อพิจารณาการเขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์โดยใช้ขอ้ มูลจากประวัติศาสตร์ไทยก็
พบว่ า ผู้เขีย นมัก เล่ า ผ่ า นตัว ละครชาวต่ างชาติท่ีเข้า มามีป ฏิส ัม พัน ธ์กับ คนกลุ่ ม ต่ าง ๆ ใน
สังคมไทย โดยผู้อ่านจะรูส้ ึกว่า เหตุ การณ์ ท่เี กิดขึ้น เสมือนนัก เขียนได้เข้าไปสัมผัสเหตุการณ์
เหล่านัน้ จริง ๆ สอดคล้องกับที่ฤทธิศกั ดิ ์ วงษ์วุฒพิ งษ์ (๒๕๕๖ : ๒๑๔-๒๑๕) ทีไ่ ด้ศกึ ษาเรื่อง
แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม และรอยประทับ แล้วพบว่าทัง้ สองเรื่องทาให้เห็น ภาพลักษณ์ ทาง
วัฒ นธรรมของสยามรวมถึง แง่มุ ม ทางประวัติศ าสตร์ข องสยามในความเห็ น ของตัว ละคร
ชาวตะวันตกทีไ่ ด้รบั ประสบการณ์การปะทะทางวัฒนธรรมทีแ่ ตกต่าง รวมถึงความพยายามทีจ่ ะ
ปลูกฝงั หรือถ่ ายทอดวัฒ นธรรมใหม่ให้แก่ สงั คมใหม่ท่ตี ัวเองได้เดินทางไปอยู่ ซึ่งทาให้ผู้อ่าน
สามารถมองเห็นความคิดของอานาจอาณานิคมทีแ่ ฝงอยูใ่ นการกระทาและความคิดของตัวละคร
๑๔๔

ผู้เขียนพบว่า มีการนาวรรณกรรมที่เกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ไปผลิตเป็ นละครโทรทัศน์


และภาพยนตร์อย่างต่อเนื่อง ซึง่ สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมได้เป็นอย่างดี ดังตัวอย่าง

ภำพที่ ๕ วรรณกรรมเกี่ย วกับ ประวัติ ศ าสตร์ ท่ีน ามาแปรรูป เป็ น ละครโทรทัศ น์


(๒๕๕๙. สืบค้นจาก http://www.magazinedee.com/home/main/magazinedetail)

ภำพที่ ๖ การนาเรื่องเล่ าของพันท้ายนรสิงห์มาแปรรูปเป็ นภาพยนตร์อิงประวัติศ าสตร์เรื่อ ง


พันท้ายนรสิงห์ (๒๕๕๙. สืบค้นจาก http://www.majorcineplex.com/news/pantainor-legend)
๑๔๕

สรุป
จากการศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และบริบททางประวัติศาสตร์ เห็นได้ว่า
วรรณคดีสมั พันธ์กบั บริบททางสังคม ประวัตศิ าสตร์ทุกยุคทุกสมัย มูลเหตุของการแต่งส่วนใหญ่
เกิดขึน้ จากการที่ผู้แต่งได้รบั แรงบันดาลใจจากการเห็นสภาพและเหตุการณ์ ท่แี วดล้อมตนอยู่
เช่น มีความชื่นชมในวีรกรรม ความสามารถหรือบุญบารมีของบุคคลสาคัญก็แต่งเรื่องวรรณคดี
เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โดยเน้ นเนื้ อหาไปที่การสดุดี ถ้าประสบพบเห็นสิง่ ที่ประทับใจหรือจุด
ประกายให้ เ ขีย นก็เขีย นในเชิง บัน ทึก สภาพเหตุ ก ารณ์ บ้ า นเมือ ง ซึ่ง การศึก ษาบริบ ททาง
ประวัตศิ าสตร์น้ี ช่วยให้ผอู้ ่านเข้าใจเกี่ยวกับบริบททางสังคมหรือประวัตศิ าสตร์ในสมัยต่าง ๆ ได้
ดียงิ่ ขึน้ อาจได้ความรู้เกี่ยวกับภาษาและลักษณะอักขรวิธสี มัยต่าง ๆ จากการศึกษาศิลาจารึก
พ่อขุนรามคาแหง หลักที่ ๑ หรือศึกษาลิลติ ยวนพ่าย อาจได้ความรูเ้ กี่ยวกับความสัมพันธ์กบั
ต่างประเทศสมัยต่าง ๆ เช่น ศึกษาจากเรื่องนิราศกวางตุ้ง นิราศลอนดอน ได้ความรูเ้ กี่ยวกับ
การทาศึกสงครามของชนชาติไทยและพม่าที่สอดคล้องกับในพงศาวดาร เช่น ศึกษาจากลิลติ
ตะเลงพ่าย หรือได้ความรูเ้ กี่ยวกับวัฒนธรรม สภาพสังคม และเหตุการณ์บา้ นเมือง เช่น ศึกษา
นิทานโบราณคดี สาสน์สมเด็จ และสีแ่ ผ่นดิน
๑๔๖

บทที่ ๕
แนวคิ ดวำทกรรมกับกำรประกอบสร้ำงวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์

บททีผ่ ่านมา ผูเ้ ขียนได้ให้ความรูค้ วามเข้าใจพืน้ ฐานทางวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์


ลักษณะเฉพาะของวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์และบริบท
ทางประวัติศ าสตร์ในสมัยต่ าง ๆ เพื่อ แสดงให้เห็น ว่า วรรณคดีมคี วามเชื่อ มโยงสัม พันธ์กับ
ประวัติศ าสตร์อ ย่างชัดเจน บทนี้ ผู้เขียนมุ่ งน าเสนอแนวคิดวาทกรรมกับ การประกอบสร้าง
วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ ซึง่ ไม่ใคร่มนี ักวิชาการเขียนเกีย่ วกับประเด็นนี้นกั ผูเ้ ขียนพบว่า
การประกอบสร้างหรือเขียนวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ในแต่ละยุคสมัยมีวาทกรรมเข้ามา
เกีย่ วข้องด้วย วาทกรรมทีโ่ ดดเด่น คือ วาทกรรมกษัตรานิยม และวาทกรรมชาตินิยม
วาทกรรมเป็ นเรื่องของระบบ ระเบียบ กฎเกณฑ์ เงื่อนไข และความเป็ นไปได้ของการ
ดารงอยูข่ องสรรพสิง่ ทาหน้าทีใ่ นการสร้าง ผลิตเอกลักษณ์และความหมายให้กบั สรรพสิง่ ต่าง ๆ
ในสังคม ไม่ว่าจะเป็ นความรู้ ความจริง อานาจ หรือตัวตนของเรา ต่อมาก็ตรึงสิง่ ที่สร้างขึน้ ให้
กลายสภาพเป็ น วาทกรรมหลัก (dominant discourse) โดยผ่ านภาคปฏิบ ัติการจริงของวาท
กรรม (discursive discourse) ทัง้ ยังท าหน้ าที่เก็บกด ปิ ดกัน้ มิให้เอกลักษณ์ และความหมาย
บางอย่างเกิดขึน้ หรือไม่ก็ไม่ทาให้เอกลักษณ์และความหมายบางอย่างที่ดารงอยู่แล้วในสังคม
เลือนหายไปพร้อม ๆ กันด้วย โดยวาทกรรมทีส่ ร้างขึน้ มีลกั ษณะลื่นไหล ไม่แน่นอน และหยุดนิ่ง
มิเชล ฟู โก (Michel Foucault, อ้างถึงใน ไชยรัต น์ เจริญ สินโอฬาร, ๒๕๔๒ : ๖-๕๓)
กล่าวว่าวาทกรรม คือ ระบบ กระบวนในการสร้าง ผลิตเอกลักษณ์และความหมายให้กบั สรรพสิง่
ต่าง ๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความจริง อานาจ หรือตัวตนของเรา (โดยอานาจในทีน่ ้มี ใิ ช่
ความรุนแรงเสมอไป แต่เป็นเรือ่ งของการกระทา และการสร้างโอกาส ความเป็นไปได้ให้เกิดการ
กระทาบางอย่างขึน้ ) วาทกรรมเป็ นชุดส่วนเสี้ยวที่ไม่มคี วามสัมพันธ์ ต่อเนื่องกัน แต่ต้องมาอยู่
รวมกัน และไม่ ม ัน่ คง อยู่ ใ นฐานะชุ ด วาทกรรมที่ม ีค วามแตกต่ า งและหลากหลาย และมี
ยุทธศาสตร์ทไ่ี ม่เหมือนกัน วาทกรรมใดทีท่ าหน้าทีต่ รึงสิง่ ทีส่ ร้างขึน้ ให้ดารงอยู่และเป็ นทีย่ อมรับ
ในสังคมในวงกว้างจะกลายสภาพเป็ นวาทกรรมหลัก ทาหน้าที่กด ปิ ดกัน้ ไม่ให้เอกลักษณ์และ
ความหมายบางอย่างเกิดขึน้ หรือทาให้เอกลักษณ์และความหมายบางอย่างทีด่ ารงอยู่แล้วเลือน
หายไป โดยกาหนดกฎเกณฑ์เงือ่ นไขและกลไกต่าง ๆ ในการพูด การเขียน ผ่านภาคปฏิบตั ิการ
จริงของวาทกรรม ซึ่งผนวกด้วยจารีตปฏิบตั ิ ความคิด ความเชื่อ คุณค่า และสถาบันในสังคม
วาทกรรมจึงสร้างสรรพสิง่ ขึ้นมาจากความแตกต่างระหว่างสิง่ ที่สามารถพูดได้อย่างถูกต้องใน
ช่ว งเวลาหนึ่ง กับสิง่ ที่ถูก พูดอย่างแท้จริงภายใต้กฎเกณฑ์อีกชุดหนึ่ง กฎเกณฑ์ น้ีจะเป็ นตัว
กาหนดการดารงอยู่ เปลีย่ นแปลง ลื่นไหล หรือเลือนหายไปของสรรพสิง่ ทีส่ งั คมสร้างขึน้ มา วาท
กรรมจึงมีมากกว่าเรื่อ งของภาษา ค าพูดหรือ การตีค วาม แต่ เป็ นเรื่อ งของอ านาจและความ
๑๔๗

รุนแรง โดยอานาจนี้ได้รบั การขัดเกลาในรูปของความรู้ อานาจจึงสร้างความจริง สร้างสรรพสิง่


ต่าง ๆ ในสังคมและสร้างพิธกี รรมให้กบั สิง่ ทีเ่ รียกว่าความจริง แนวคิด เกี่ยวกับการวิเคราะห์วาท
กรรมจึงเป็ นการพยายามศึกษาและสืบค้นถึงกระบวนการ ขัน้ ตอน ลาดับเหตุการณ์ และลาดับ
ปลีกย่อยต่างๆ ในการสร้างเอกลักษณ์และความหมายต่าง ๆ ให้กบั สรรพสิง่ ที่ห่อหุ้มเราอยู่ใน
สังคมในรูปแบบของวาทกรรมและภาคปฏิบตั ิการของวาทกรรมว่าด้วยเรื่อ งนัน้ ๆ ว่าเป็ นมา
อย่างไร มีก ารต่ อ สู้เพื่อ ช่ว งชิงการกาหนดกฎเกณฑ์ว่าด้ว ยเรื่อ งนัน้ ๆ อย่างไรบ้าง มีค วาม
เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กบั บุคคล สถานที่ เหตุการณ์อะไรบ้างและผลกระทบที่เกิดขึน้ จากการสร้าง
รวมตลอดถึงการเก็บกด ปิดกัน้ สิง่ เหล่านี้ของวาทกรรมมีอย่างไร การศึกษาวาทกรรมช่วยให้เรา
เห็นธาตุแท้ของสิง่ ต่าง ๆ ว่าไม่ใช่เป็ นเรื่องของความรู้ เทคนิควิทยาการ ข่าวสาร ฯลฯ แต่เป็ น
การต่ อสู้ท่หี ลากหลาย รอบด้านเพื่ อช่ว งชิงในการสร้างกฎเกณฑ์ท่เี ป็ นตัว กาหนดหรือ สร้าง
ความหมาย และการดารงอยู่ของสิง่ นัน้ ๆ ในรูปของวาทกรรม จากนัน้ ก็พยายามสถาปนาวาท
กรรมนัน้ ให้เป็ นที่ยอมรับ กว้างขวางในสังคมและระหว่างสังคม ทัง้ ยังช่วยให้เราตระหนักถึง
จุดยืน ความคิด ความเห็น ความเชื่อ ความรู้ ความหมาย ฯลฯ ของคนในสังคมว่ามิใช่เป็ นเรื่อง
ของการไตร่ตรองอย่างรอบคอบหรือการตกผลึกทางความคิด หรือเป็ นผลมาจากการโต้แย้ง
ถกเถียงในเชิงเหตุผลหรือตรรกะล้วน ๆ แต่สงิ่ เหล่านัน้ มาจากกฎเกณฑ์ของวาทกรรมชุดหนึ่งที่
บุคคลนัน้ รับมาและยืดถือไว้ นัน่ คือ วาทกรรมเป็ นตัวกาหนดจุดยืน ความคิด ความเห็น ฯลฯ
ของคนในสังคม สอดคล้องกับที่ซาร่า มิลส์ (Sara Mills) กล่าวว่าวาทกรรมเป็ นชุดของคากล่าว
หรือวาทะที่ไหลเวียนอยู่ในสังคม และเป็ นชุดของคาพูดที่ผ่านกระบวนการทาให้เป็ นกลายเป็ น
ความรู้ หรือ ความจริง มีห น้ าที่ก าหนดการรับ รู้ข องคนในสังคมต่ อ สิ่งต่ าง ๆ นอกจากนี้ ย ัง
สัมพันธ์กบั อานาจและสถาบันทางสังคม เนื่องจากกระบวนการสถาปนาชุดของคากล่าวหนึ่ง ๆ
ให้กลายเป็ นความรู้ หรือความจริงผ่านการรับรองจากสถาบันที่ทรงอานาจในสังคม โดยวาท
กรรมเหล่านัน้ ช่วยค้าจุนสถาบันทางสังคมให้ดารงอยูด่ ว้ ย (Mills, ๒๐๐๔ : ๕๓-๖๖)
สุรเดช โชติอุดมพันธ์ (๒๕๕๙ : ๑๐๘-๑๑๓) สรุปภาพรวมแนวคิด เกี่ยวกับเรื่อ งวาท
กรรมและภาพแทนโดยอ้ า งถึ ง คริส บาร์เ กอร์ (Chris Baker,๒๐๐๐ : ๓๘๔) นั ก วิช าการ
วัฒนธรรมที่กล่าวว่า วาทกรรมเป็ นภาษาและปฏิบตั กิ ารภาษา หรือแบบการพูดที่ถูกควบคุม
กากับ ในทางกลับกันก็นิยาม ประกอบสร้างและผลิตสิง่ ทีเ่ ป็นความรู้ ตัวบทต่าง ๆ ทีร่ ายล้อมวิถี
ชีว ิต ประจาวันของเรา ไม่ว่าจะเป็ นหนังสือ พิมพ์ นิต ยสาร สุภ าษิต ค าพังเพย ต่ างทาหน้ าที่
เสมือนประจักษ์ พ ยานที่แสดงถึงกระบวนการควบคุมหรือ จัดการวิธคี ิดของมนุ ษ ย์ ซึ่งตัวบท
ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงโลกทัศน์หรือวิธกี ารมองโลกของแต่ละยุคแต่ละสมัยหรือของแต่ละกลุ่ม
ชน ทัง้ อ้างมิเชล ฟูโกต์ (๑๙๘๔ : ๗๔) ทีเ่ ห็นว่าแนวคิดเรือ่ งวาทกรรมนาไปสู่ขอ้ สรุปทีว่ ่า “ความ
จริงในอุ ดมคติ” หรือ “ความจริงสมบูรณ์ ” นัน้ ไม่ได้มอี ยู่จริง หากแต่ ข้นึ อยู่กับบริบทและสาย
สัมพันธ์ระหว่างความรูแ้ ละอานาจ ผูใ้ ดก็ตามทีม่ สี ทิ ธิกาหนดว่าสิง่ ใด คือ “ความรู”้ นับว่าเป็นผูม้ ี
อานาจในการกาหนดกรอบความคิดของสังคมเพื่อให้สงั คมเห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกัน โดย
๑๔๘

ระเบียบวินัยและข้อบังคับนัน้ อาจไม่ได้แสดงออกในรูปแบบของการลงโทษและให้รางวัลโดยตรง
แต่ก ารแสดงออกผ่ านปฏิบตั ิการทางวาทกรรมที่เคลือบแฝงในรูปของตัวบทที่รายล้อมและมี
อิทธิพลต่อวิถชี วี ติ เรา ในการวิเคราะห์วาทกรรมจึงไม่ควรพิจารณาเพียงแค่ว่าสิง่ หนึ่งถูกให้ค่ า
หรือ ความหมายอย่างไร แต่ ค วรพิจารณาด้ว ยว่าผู้ให้ค่ าหรือ ความหมายดังกล่ าวเป็ นใคร มี
ต าแหน่ งใดในสัง คมหรือ อยู่ส ถาบัน ใด และการให้ค่ า หรือ ความหมายดัง กล่ า วสัม พัน ธ์กับ
การเมืองเรือ่ งอานาจอย่างไร ในแง่น้ีแนวคิดเรือ่ งภาพแทนทีน่ ิยามโดยสจ็วต ฮอลล์ (Stuart Hall,
๑๙๙๗: ๑๕-๒๓) จึง ทวีค วามส าคัญ ในการศึ ก ษาวรรณกรรมและมีก ารพิ จ ารณาศึ ก ษา
วรรณกรรมในฐานะภาพแทนมากขึ้น โดยสจ็ว ต ฮอลล์ มองว่าภาพแทน หมายรวมถึง การ
นาเสนอหรือการสร้างภาพแทนด้วย ดังนัน้ จึงอาจแปลได้ว่า “การนาเสนอภาพแทน” หรือ “การ
สร้างภาพแทน” มีแง่มุมของ “การนามาเสนอใหม่” และ “การเป็นตัวแทน” ด้วย ดังนัน้ ภาพแทน
จึงเป็ นเพียงความหมายหนึ่งของคาที่ซบั ซ้อนคานี้ การนาเสนอภาพแทนมีขนั ้ ตอนที่กลันกรอง ่
ความเป็ นจริงอย่างน้ อ ย ๒ ระดับ คือ การกลันกรองและจั่ ดการเรียบเรียงความรูค้ วามคิดใน
สมองมนุ ษย์ และการกลันกรองและจั
่ ดการเรียบเรีย งภายนอกโดยผ่านระบบสัญญะเช่นภาษา
การสร้างภาพแทนเป็ นการ “สร้าง” ความหมาย ซึ่งตัง้ อยู่บนความเชื่อพื้นฐานที่ว่าการนาเสนอ
ภาพแทนนัน้ ไม่ได้เป็ นกระบวนการที่โปร่งใสหรือ เป็ นเพียงการถ่ ายทอดสิ่งรอบข้างโดยตรง
ไม่ ได้ม ีก ารบิด เบือ น แต่ เป็ น การผลิต ความหมายแอบแฝงอยู่ กล่ าวคื อ สิ่งรอบข้างไม่ได้ม ี
ความหมายในตัวของมันเอง ผูท้ น่ี าเสนอภาพแทนเป็ นผู้ใส่ “ความหมาย” ลงไปในกระบวนการ
นาเสนอ จากแง่มุมดังกล่าวการศึกษาภาพแทนจึงสามารถเชื่อมโยงแนวคิดเรื่องวาทกรรมได้
เป็ นอย่างดี เนื่องจากแนวคิดทัง้ สองมองว่าผู้เขียนหรือผู้นาเสนอมีบทบาทเป็ นผู้กาหนดกรอบ
และให้ความหมายสิง่ รอบข้างทีอ่ าจไม่ได้มคี วามหมายหรือสารัตถะในตัวเองตัง้ แต่แรก
ส าหรับ องค์ค วามรู้ใ นการศึก ษาวาทกรรม วัน ชนะ ทองค าเภา (๒๕๕๔ : ๒๑-๒๖)
ประมวลแนวคิดเรื่องวาทกรรมของมิเชล ฟูโกต์ วิทยานิพนธ์ของปิ ยรัตน์ ปนลี ั ้ ้ สมฤดี เกียรติศริ ิ
กุ ล ธร และจัน ทิม า เอีย มานนท์ สรุป ได้ว่ า วาทกรรมมีรูป องค์ค วามรู้ ดังนี้ (๑) กรอบของ
ค าอธิบ ายเกี่ยวกับ ความรู้ท่สี ามารถให้ค วามเข้าใจที่ชดั เจน และเฉพาะกิจเกี่ยวกับเรื่อ งราว
หนึ่ง ๆ (๒) กฎเกณฑ์ในการกล่าวถึงหรือแสดงความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ (๓) องค์
ประธานทีท่ าให้มองเห็นภาพของวาทกรรมนัน้ ชัดเจน (๔) วิธกี ารทีท่ าให้วาทกรรมนัน้ น่าเชื่อถือ
มีฐานะเป็ น “ความจริงแท้” ที่มพี ลังในสังคม (๕) กิจกรรมทางสังคมและสถาบันทางสังคมที่ใช้
บริหารจัดการองค์ประธานในวาทกรรม และ (๖) การยอมรับว่าในอนาคตจะต้องมีวาทกรรมชุด
อื่นทีก่ ่อร่างขึน้ มาจากองค์ความรู้ และวิธกี ารมองโลกแบบใหม่ ๆ ขึน้ มาแทนวาทกรรมชุดเก่า
ในต าราเล่ ม นี้ ผู้เขีย นใช้ ค าว่ า “วาทกรรมกับ การประกอบสร้า งวรรณคดีเกี่ย วกับ
ประวัตศิ าสตร์” ในแง่มุมของชุดคากล่าวทีเ่ กี่ยวกับวรรณคดีประวัตศิ าสตร์ ซึง่ ผสานด้วยความคิด
ความเชื่อบางอย่างทีไ่ หลเวียนอยู่ในสังคม โดยชุดคากล่าวทีป่ รากฏนัน้ ได้ผ่านกระบวนการทาให้
กลายเป็ น ความรู้ หรือ ความจริงโดยสถาบัน ทางสังคม (เช่น สถาบัน การศึ ก ษา) โดยพิเชฐ
๑๔๙

แสงทอง (๒๕๕๙ : ๒๒๕-๒๒๗) กล่าวว่า วรรณกรรมเป็นพืน้ ทีเ่ ปิด สามารถให้โอกาสวาทกรรม


ต่างๆ อันหลากหลายพาดทับกันได้ วรรณกรรมในฐานะวาทกรรมจึงมีปฏิบตั กิ ารทางวาทกรรม
ที่มอี านาจเหมือนกับปฏิบตั ิการทางวาทกรรมอื่น ๆ และดูเหมือนจะมีความสาคัญ มากกว่าตัว
วาทกรรมเองด้ ว ยซ้ า เช่ น การวิเ คราะห์ ว าทกรรม “ความยิ่ง ใหญ่ ” ของพระธาตุ ข องรัฐ
นครศรีธรรมราชในวรรณกรรมเรื่อง “นิพพานโสตร” อาจเริม่ ต้นด้วยคาถามว่าอะไร คือ ความ
ยิง่ ใหญ่ แต่ ไม่ใช่เพื่อ ไปสู่คาตอบที่ผ ิวเผินว่าความยิง่ ใหญ่ คือ การที่ผู้ค นจากถิ่นต่าง ๆ เข้ า
มาร่วมสร้างและทานุ บารุงพระธาตุ แต่เพื่อนาไปสู่คาตอบว่าความยิง่ ใหญ่นัน้ ถูกสร้างขึน้ มาได้
อย่างไร เปลีย่ นแปลงอย่างไร และเพื่อเป้าประสงค์ใด ซึ่งจะพบว่าความยิง่ ใหญ่ของพระธาตุถูก
พยุงด้วยการอ้างอิงพุ ทธประวัติในพระไตรปิ ฎก พระสุต ตันตปิ ฎกตอนเสด็จปรินิพพาน อ้าง
ความยิง่ ใหญ่ของความเป็ นดินแดนแห่งพุทธศาสนาอย่างลังกา ขณะเดียวกัน ความยิง่ ใหญ่ของ
พระธาตุยงั ไปค้าจุนความยิง่ ใหญ่และความเป็ นตัวของตัวเองของนครศรีธรรมราชอีกด้วย การ
วิเคราะห์ว าทกรรมที่ร่ว มด้ว ยวิธ ีว ิท ยาของประวัติศ าสตร์แ นวใหม่ ส ามารถเปิ ด เผยให้เห็น
ความหมายของวรรณกรรมเรื่อ งนิ พ พานโสตรในบริบ ทของการปฏิรูป การปกครองสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั อีกด้วย เพราะเขียนและแพร่กระจายในสังคมภาคใต้
กฤติย า สิท ธิเชนทร์ (๒๕๕๓ : ๒๔๐-๒๖๘) กล่ าวว่า ในการศึก ษาวรรณกรรมแนว
นวประวัติ ศ าสตร์ นั ้น เป็ น การศึ ก ษาวรรณกรรมที่ อิ ง อยู่ กั บ แนวคิ ด ประวัติ ศ าสตร์นิ ย ม
(historicism) โดยถื อ ว่ า ประวัติ ศ าสตร์เ ป็ น ตั ว ก าหนดทุ ก สิ่ง ทุ ก อย่ า งในสัง คม รวมถึ ง ตั ว
วรรณกรรมด้วย วรรณกรรมถูกมองว่ามีประวัตศิ าสตร์มาคอยกากับอยู่ เมื่อพิจารณาวรรณกรรม
ในแนวประวัติศาสตร์นิยมจึงต้องเชื่อมโยงตัวบทวรรณกรรมเข้ากับบริบททางประวัตศิ าสตร์ท่ี
แวดล้อมวรรณกรรมนัน้ อยู่ ไม่สามารถมองแต่ตวั บทวรรณกรรมเพียงลาพังได้ แต่การเชื่อมโยง
แบบเก่าอาจล้มเหลว เพราะไม่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างตัวบทกับบริบทได้อย่างน่ า
พึงพอใจ จึงมีการปรับปรุงแก้ไขด้วยแนวนวประวัตศิ าสตร์ทม่ี องว่าวรรณกรรมไม่ใช่เป็นเพียงแค่
ผลผลิตของประวัตศิ าสตร์ แต่ยงั ผลิตประวัตศิ าสตร์ดว้ ย กล่าวคือ มีส่วนในการช่วยกาหนดโลก
ทัศน์ของผู้อ่าน และประกอบสร้างความเชื่อหรือทัศนคติให้แก่ชุมชน จนกลายเป็ นค่านิยมและ
ได้รบั การสถาปนาเป็ น ประวัติศ าสตร์ในท้ายที่สุ ด สาหรับ แนวทางในการศึก ษาวรรณกรรม
แนวนวประวัตศิ าสตร์ คือ การเชื่อมโยงตัวบทเข้ากับบริบทผ่านช่องทางของสิง่ ที่เรียกว่า “วาท
กรรม” และอาจรวมไปถึงปฏิบตั กิ ารทางสังคมด้วย (วาทกรรม คือ ข้อความที่ผคู้ นพูด เขียนกัน
ในสังคมยุคหนึ่งเกี่ยวกับประเด็นนัน้ ๆ โดยที่ว่าข้อความทัง้ หลายเหล่านี้ถูก กากับด้วยกรอบ
ความรู้ (episteme) และกรอบความรูจ้ ะเป็ นตัวมากาหนดว่า สิง่ ทีพ่ ดู และเขียนออกมานัน้ เป็ นสิง่
ที่ยอมรับได้หรือไม่ในสังคมยุคนัน้ ๆ นอกจากนี้ “อุดมการณ์ ” (ideology) หรือกรอบความคิด
ของคนก็เป็ นอีกสิง่ หนึ่งทีค่ อยกากับวาทกรรมไว้ อุดมการณ์ไม่ได้แน่ นิ่งตายตัว หากแต่มพี ลวัต
สามารถเปลีย่ นแปลงทิศทางได้ตลอดเวลา ในสังคมยุคหนึ่งมักมีมากกว่าหนึ่งกระแสอุดมการณ์
และมีความขัดแย้งระหว่างอุดมการณ์ต่าง ๆ ชนชัน้ ที่มอี านาจอยู่จงึ มักครอบงาโดยการทาให้
๑๕๐

อุดมการณ์ของตนเป็ นสากล ทัง้ นี้ วรรณกรรมและประวัตศิ าสตร์ต่างถูกสร้างผ่านกระบวนการ


ทาให้เป็ นตัวบทเช่นเดียวกัน ประวัตศิ าสตร์มกี ระบวนการการสร้างเรื่องเล่าให้เป็ นเรือ่ งราวทาง
ประวัติศ าสตร์ท่ีเป็ นเหตุ เป็ นผลโดยคัดเลือ ก กลันกรอง
่ ตัดเหตุ บ ังเอิญ โดยสร้างโครงเรื่อ ง
(Emplotment) ให้มตี วั เอก มีปมขัดแย้ง ฯลฯ ไม่ต่างจากวรรณกรรม มีกรอบวรรณศิลป์ครอบอยู่
โดยเฉพาะกรอบรูปแบบการประพันธ์ เช่น โศกนาฏกรรม สุขนาฏกรรม ละครเสียดสี ฯลฯ และ
การสร้างวีรบุรุษเพื่อให้น่าเชื่อถือ นอกจากทาให้ “ความจริง”ถูกบิดเบือนแล้ว กรอบวรรณศิลป์
ยังสามารถกาหนดทัศนคติของผูร้ บั ประวัตศิ าสตร์ได้อกี ด้วย
อนึ่ง การศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ทเ่ี ชื่อมโยงกับกรอบแนวคิดเกี่ยวกับวาท
กรรมในครัง้ นี้ ทาให้ผอู้ ่านเข้าใจการแต่งวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์มากยิง่ ขึน้ เช่น ช่วยให้
เข้าใจจุดมุ่งหมายในการแต่ง เข้าใจภาพเสนอ (ภาพแทน) ของวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์
ในแต่ละยุคสมัย เข้าใจสิง่ ทีผ่ แู้ ต่งต้องการเชิดชูและปิดกัน้ ประวัตศิ าสตร์ตวั ตนของคนบางกลุ่มไว้
ภายใต้โครงสร้างทางสังคมและการจัดระเบียบทางสังคม ในการวิเคราะห์ว าทกรรมที่ใช้ใน
วรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ในครัง้ นี้จงึ เน้นการสืบค้นกระบวนการ หรือรายละเอียดปลีกย่อย
ต่าง ๆ ทีห่ ่อหุ้มวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์อยู่ในรูปของวาทกรรม และภาคปฏิบตั กิ ารของ
วาทกรรมที่เป็ นตัวกาหนดการพูดถึงสิง่ นัน้ ๆ อาจเป็ นสถาบันต่าง ๆ กระบวนการทางสังคม
แบบแผนพฤติกรรม หรือจารีตปฏิบตั ิ เพื่อเชิดชู หรือตอกย้าระบบความคิดบางอย่าง สาหรับ
วาทกรรมที่ใช้ในวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติ ศาสตร์เป็ นการนาเสนอความรู้ชุดหนึ่ง ซึ่งอาจไม่ใช่
ความจริงแท้ แต่นาเสนอโดยสัมพันธ์กบั โครงสร้างอานาจในสังคมสมัยหนึ่ง ๆ ซึง่ เมื่อศึกษาวาท
กรรมทีใ่ ช้ในวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์พบว่า ปรากฏวาทกรรมหลักอยู่ ๒ วาทกรรม ได้แก่
วาทกรรมกษัตรานิยมและวาทกรรมชาตินิยม วาทกรรมทัง้ สองเป็นวาทกรรมด้านบวกทีน่ าเสนอ
ภาพแทนของกษัต ริย์แ ละภาพแทนของชาติท่ีเป็ นองค์รวม หรือ มีค วามเป็ น หนึ่ งเดียวอย่าง
เด่นชัด โดยกดทับวาทกรรมรองอื่น ๆ ไว้ เช่น วาทกรรมทีเ่ กี่ยวกับการแบ่งชนชัน้ วรรณะ หรือ
การเอารัดเอาเปรียบของชนชัน้ ปกครอง ดังรายละเอียดทีจ่ ะนาเสนอต่อไปนี้
๕.๑ วำทกรรมกษัตรำนิ ยม: กษัตริ ย์ คือ ศูนย์รวมของสรรพสิ่ ง
วาทกรรมวาทกรรมกษัตรานิยมปรากฏอย่างเด่นชัดในวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์สมัย
สุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมองว่ากษัตริยเ์ ป็ นศูนย์รวมของคนในชาติ ผูแ้ ต่งมุ่งนาเสนอ
พระมหากษัตริยท์ ม่ี ภี าพลักษณ์ดงี าม ผ่านการใช้ภาษา และชุดองค์ความรูท้ างประวัตศิ าสตร์ ใน
สมัยสุโขทัย ผู้แต่งมุ่งนาเสนอภาพของพระมหากษัตริย์ท่ีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรง
กล้า และเป็ นนัก ประดิษ ฐ์ ดังปรากฏในเรื่อ งศิล าจารึก พ่ อขุนรามค าแหง ครัน้ ในสมัยอยุธ ยา
มุง่ เน้นไปทีก่ ารสร้างภาพลักษณ์ของกษัตริยท์ เ่ี ป็นนักรบ มีบุญบารมีเหนือกว่าคนธรรมดา มีชาติ
กาเนิดที่สูงส่ง มีบทบาทในการกอบกู้และปกป้องเอกราชของชาติ เป็ นผูร้ อบรูศ้ าสตร์ต่าง ๆ มี
ความสามารถในการจูงใจให้คนให้รสู้ กึ เกรงกลัว สยดสยอง และยอมศิโรราบ และมีรูปลักษณ์
๑๕๑

สง่า งาม เช่ น เรื่อ งลิล ิต ยวนพ่ า ย ต่ อ มาในสมัย กรุง ธนบุ ร ีจ ึง มุ่ ง เน้ น ลัก ษณะของนั ก รบที่ม ี
ความสามารถ และผู้ ทาคุณ ประโยชน์ เพื่อแผ่นดิน เช่น โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร ี
ส่ ว นสมัย รัต นโกสิน ทร์ต อนต้น เน้ น พระมหากษัต ริย์ท่ีม ี บ ทบาทในการท าคุ ณ ประโยชน์ เพื่อ
แผ่ นดินมากขึ้น เช่น ฟื้ นฟู ซ่อมแซม บูรณะวัดวาอาราม สถานที่ต่าง ๆ เช่น กลอนเพลงยาว
สรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยู่หวั โคลงยอพระเกียรติสามรัชกาล โคลง
ปราบดาภิเษกยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นต้น
วรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์หลายเรื่องมักนาเสนอภาพลักษณ์ ของกษัตราธิราชที่
สร้างวีรกรรมอันยิง่ ใหญ่เหนือมนุ ษย์ ช่วยปลดปล่อยชาติบา้ นเมืองจากการถูกครอบงาจากศัตรู
หรือ ผู้ค ิด ร้าย และสร้างความยิ่ง ใหญ่ ข องอาณาจัก รด้ว ยการขยายอาณาเขตเพื่อ ผนวกให้
อาณาจักรยิง่ ใหญ่ขน้ึ เฉกเช่นเดียวกับวีรบุรุษ สร้างภาพลักษณ์ให้เป็ นสมมติเทพที่ศกั ดิ ์สิทธิ ์ มี
บารมีและมีอภินิหารเหนือคนธรรมดา และสร้างภาพลักษณ์ของพระพุทธเจ้าที่รอบรูด้ า้ นธรรมะ
ถือกาเนิดมาเพื่อปราบมาร ทัง้ หมดนี้เป็ นการเน้นย้าภาพลักษณ์ของกษัตริยท์ ่ไี ม่ใช่คนธรรมดา
วาทกรรมนี้ปรากฏอย่างโดดเด่นในสมัยอยุธยา ดังการแสดงพลังอานาจเยี่ยงวีรบุรุษของพระ
นเรศวรทีแ่ ม้จะรบกับฝา่ ยตรงข้ามทีม่ คี วามสามารถไม่แพ้กนั แต่ในทีส่ ุดก็สามารถเอาชนะได้
๏ สองโจมสองจูจ่ ว้ ง บารู
สองขัตติยสองขอชู เชิดด้า
กระลึงกระลอกดู ไวว่อง นักนา
ควาญขับคชแข่งค้า เข่นเขีย้ วในสนาม ฯ
๏ งามสองสุรยิ ราชล้า เลอพิศ นาพ่อ
พ่างพัชรินทรไพจิตร ศึกสร้าง
ฤๅรามเริม่ รณฤทธิ ์ รบราพณ์ แลฤๅ
ทุกเทศทุกทิศอ้าง อื่นไท้ไปเ่ ทียม ฯ
๏ ขุนเสียมสามรรถต้าน ขุนตะเลง
ขุนต่อขุนไปเ่ ยง หย่อนห้าว
ยอหัตถ์เทิดลบองเลบง อังกุศ ไกวแฮ
งามเร่งงามโทท้าว ท่านสูศ้ กึ สาร ฯ
๏ คชยานขัตติเยศเบือ้ ง ออกถวัลย์
โถมปะทะไปท่ นั เหยียบยัง้
สารทรงราชรามัญ ลงล่าง แลนา
เสยส่ายท้ายทันต์ทงั ้ คูค้ ้าคางเขิน ฯ
๑๕๒

๏ ดาเนินหนุนถนัดได้ เชิงชิด
หน่อนเรนทรทิศ ตกด้าว
เสด็จวราฤทธิ ์ ราร่อน ขอแฮ
ฟอนฟาดแสงของ้าว อยูเ่ พีย้ งจักรผัน ฯ
๏ เบือ้ งนัน้ นฤนาถผู้ สยามมินทร์
เบีย่ งพระมาลาผิน ห่อนพ้อง
ศัสตราวุธอรินทร์ ฤๅถูก องค์เอย
เพราะพระหัตถ์หากป้อง ปดั ด้วยขอทรง ฯ
๏ บัดมงคลพ่าห์ไท้ ทวารัติ
แว้งเหวีย่ งเบีย่ งเศียรสะบัด ตกใต้
อุกคลุกพลุกเงยงัด คอคช เศิกแฮ
เบนบ่ายหงายแหงนให้ ท่วงท้อทีถอย ฯ
๏ พลอยพล้าเพลียกถ้าท่าน ในรณ
บัดราชฟาดแสงพล- พ่ายฟ้อน
พระเดชพระแสดงดล เผด็จคู่ เข็ญแฮ
ถนัดพระอังสางข้อน ขาดด้าวโดยขวา
๏ อุรารานร้าวแยก ยลสยบ
เยนพระองค์ลงทบ ท่าวดิน้
เหนือคอคชซอนซบ สังเวช
วายชิวาตม์สุดสิน้ สู่ฟ้าเสวยสวรรค์ ฯ
๏ บัน้ ท้ายคชาเรศท้าว ไทยไผท
ถึงพิราลัยลาญ ชีพมล้าง
เพราะเพื่อพิพธิ ไพ- รีราช แลนา
โซรมสาดตราดปืนขว้าง ตอกต้องตนสลาย ฯ
๏ ฝา่ ยองค์อศิ วรนาถน้อง นฤบาล
แสดงยศคชยุทธยาน ยาตรเต้า
มางจาชโรราญ ฤทธิ ์ราช แลฤๅ
เร็วเร่งคเชนทรเข้า เข่นค้าบารู ฯ
๏ บัดภูธเรศพ่าห์ได้ เชิงชน
ลงล่างง้างโททนต์ เทิดใต้
พัชเนียงเบีย่ งเบนตน เซซวน ไปแฮ
หัวปนหัั ่ นข้างให้ เพลีย่ งพลัง้ เสียที ฯ
๑๕๓

๏ ภูมมี อื ง่าง้าว ของอน


ฟนั ฟาดขาดคอบร บันเกล้
่ า
อินทรียซ์ บกุญชร เมือชีพ แลเฮย
เผยพระเกียรติผ่านเผ้า พีน่ ้องสองไท ฯ
๏ ทันใดกลางคชเจ้า จุลจักร
มลายชิพติ ลาญทัก ท่าวซ้า
เหลือหลามเหล่าปรปกั ษ์ ปืนปา่ ย เอาเฮย
ตรึงอกพกตกขว้า อยูเ่ บือ้ งบนสาร ฯ
๏ พระราญอริราชด้วย เดโช
สีท่ าสสนองบาทโท ท่านท้าว
พระยศยิง่ ภิยโย ผ่านแผ่ ภพนา
สองรอดโดยเสด็จด้าว ศึกสูเ้ สียสอง ฯ
(ตะเลงพ่าย)
ผู้ เขีย นพบว่ า มีก ารน าเสนอวาทกรรมกษั ต รานิ ย มผ่ า นภาพวาดกัน อย่ า ง
แพร่หลาย โดยเฉพาะ การนาเสนอภาพลักษณ์ ของสมเด็จพระนเรศวร พระมหากษัตริยใ์ นสมัย
อยุธยาทีช่ นช้างจนได้รบั ชัยชนะเหนือศัตรู สะท้อนถึงผูเ้ ป็นวีรบุรษุ อย่างแท้จริง ดังตัวอย่าง

ภำพที่ ๗ วีรกรรมการชนช้างของสมเด็จพระนเรศวรกับพระมหาอุปราช (๒๕๕๙. สืบค้น


จาก https://free๒๒๒๓๓.wordpress.com)
๑๕๔

ผูเ้ ขียนพบว่า การนาเสนอการทายุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรฯ กับสมเด็จพระมหา


อุปราชาด้วยความกล้าหาญและเด็ดเดีย่ ว ยังคงมีการผลิตซ้าในนวนิยายยุคปจั จุบนั เพื่อตอกยา้
ความเป็ นวีรบุรษุ ต้นแบบของสมเด็จพระนเรศวร ดังในนวนิยายเรือ่ งอิฐพระองค์ดาทีว่ ่า
พระนเรศวรมหาราชเป็ นแบบอย่าง เป็ นต้นแบบ เป็ นแบบฉบับของการรบแบบคน
น้ อยแต่เอาชนะคนมาก ไม่มพี ระมหากษัต ริย์ชาวไทย-ไทพระองค์ไหนที่ส ร้างความ
เสีย หายให้แ ก่ พ ม่ า ได้เท่ า พระนเรศวร เมื่อ พระองค์ท รงกระท ายุท ธหัต ถี -สงคราม
ศักดิ ์สิทธิ ์ระหว่างกษัตริย์ต่อกษัตริย์ พระมหาอุปราชามังรากยอชวาถูกพระนเรศวร
สามารถสังหาร ราชสานักหงสาวดีไหวหวันพรั ่ นพรึ
่ งไปทัว่ ต่อมาพระมหาวีรราชเจ้าชาว
ไทยกรีธาพลยกประชิดหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีถงึ กับย้ายเมืองหลวงหนีขน้ึ ไปตองอู
ความยิง่ ใหญ่ เกรียงไกรของพระองค์ปลุกเร้าจิต ใจของเมืองขึ้นหรือเมืองประเทศราช
ทัง้ หลายของพม่าต่างไม่ยอมอยู่ใต้แอกพม่าอีกต่อไป มหาอาณาจักรพม่าซึ่งมหาราช
บุเรงนองสร้างขึน้ ถึงคราวระส่ าระสาย ทัง้ นี้เป็ นผลมาจากเจ้าฟ้าพระองค์ดาองค์เดียว
แท้ หากพระองค์ไม่สวรรคตเสียก่อนที่เมืองหางแห่งนี้เชื่อมันได้ ่ ว่าพระองค์ตีพม่าจน
แตกกระจุย พระบรมเดชานุ ภาพของพระองค์ทรงทาให้เข็ดขยาดไปนานนับตัง้ แต่นัน้
มาพม่าไม่ก ล้ามาโจมตีอยุธยาอีก มหาราชชาวไทยผู้ส ามารถสันสะเทื ่ อนความเป็ น
ปึกแผ่นมันคงของราชวงศ์
่ บุเรงนองจนคลอนแคลนในอดีตกาล (อิฐพระองค์ดา)
วาทกรรมกษัต รานิ ย มยังพยายามน าเสนอภาพลัก ษณ์ ของสภาพบ้านเมือ งในสมัย
อยุธยาทีเ่ จริญรุ่งเรืองเพื่อเชิดชูความยิง่ ใหญ่ของสถาบันกษัตริยอ์ กี ด้วย โดยมักพรรณนาให้เห็น
ว่าสมัยที่กษัตริยอ์ งค์นนั ้ ๆ ครองราชย์ พื้นที่ทุกแห่งล้วนอุดมสมบูรณ์ พระพุทธศาสนารุ่งเรือง
ประชาชนอยู่ดกี นิ ดี มีสงิ่ ก่อสร้างทีแ่ ข็งแรง สวยงาม บริบูรณ์ไปด้วยสัตว์พาหนะที่จาเป็ นในการ
ทาศึกสงคราม มีสญ ั ลักษณ์ทแ่ี สดงความเชิดหน้าชูตาในสังคม เช่น เครื่องสูง ช้างพระที่นงั ่ ดัง
เรื่องลิลติ ตะเลงพ่ายกล่าวถึงยุคสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชว่าผลจากการทายุทธหัตถี
กับพระมหาอุปราชามีแต่ความยิง่ ใหญ่ ข้าศึกเกรงพระบรมเดชานุ ภาพ ไม่กล้าเสีย่ งทาสงคราม
จึงพากันยอมอ่อนน้อมเป็ นเมืองขึน้ กรุงศรีอยุธยามีความสุขสาราญพรังพร้ ่ อมด้วยโภคสมบัติ
พืชพันธุ์ธญ ั ญาหารอันสมบูรณ์ บ้านเมืองมีแต่ความสงบปราศจากศึกสงคราม ข้าราชการ ทัง้
ฝ่ายหน้ าและฝ่ายในก็พากันเฝ้าแหนอย่างพร้อมพรัง่ เหล่าทหารพล ช้าง ม้า อาวุธ ปื นไฟ ก็ม ี
มากมาย ทัวโลกล้
่ วนสรรเสริญสดุดี
ศรีส วัสดิเดชะ ชนะราชอรินทร์ ยินพระยศเกริก เกรียง เพียงพกแผ่นฟากฟ้ า
หล้าล่มเลื่องชัยเชวง เกรงพระเกียรติระย่อ ฝ่อใจห้าวบมิหาญ ลาญใจแกล้วบมิกล้า บค้า
อาตม์ออกรงค์ บคงอาตม์ออกฤทธิ ์ ท้าวทัวทิ่ ศทัวเทศ
่ ไท้ทุกเขตทุกด้าว น้าวมกุฎมานบ
น้อมพิภพมานอบ มอบบัวบาทวิบุล อดุลยานุ ภาพ ปราบดัสกรแกลนกลัว หัวหันหาย ่
๑๕๕

กายกลาด ดาษเต็มท่งเต็มดอน พม่า มอญพ่ายหนี ศรีอโยธยารมเยศ พิเศษสุขบาเทิง


สาเริงราชสถาน สาราญราชสถิต พิพธิ โภคสมบัติ พิพฒ ั น์โภคสมบูรณ์ พูนพิภพดับเข็ญ
เย็นพิภพดับทุกข์ สนุ กสบสีมา ส่ าเสนานอบเกล้า ส่ าสนมเฝ้าฝ่ายใน ส่ าพลไกรเกริก
หาญ ส่ าพลสารสินธพ สบศาสตราศรเพลิง เถลิงพระเกียรติฟ้ ุ งฟ้า ลือตรลบแหล่งหล้า
โลกล้วนสดุดี ฯ (ลิลติ ตะเลงพ่าย)
อภิญ ญา นนท์นาท ( ๒๕๕๕ : ๗๔-๘๑) กล่าวถึงสภาพสังคมสมัยอยุธยาที่ช่วยเสริม
พลังอานาจของพระมหากษัตริยว์ ่า สมัยนี้เป็ นสมัยที่อยุธยา “ยศยิง่ ฟ้า” มีพระราชวังหลวงแบ่ง
ออกเป็ น ๓ ชัน้ ประกอบด้วย พระราชฐานชัน้ นอก ชัน้ กลาง และชัน้ ใน อันเป็ นแบบอย่างตก
ทอดมาถึง กรุง รัต นโกสิน ทร์ เขตพระราชฐานชัน้ นอกใช้ ส าหรับ พระมหากษั ต ริย์ป ระทับ
ทอดพระเนตรกระบวนแห่ ต่ าง ๆ ที่จดั ขึ้นในสนามหน้ าจักรวรรดิ ด้านหน้ าพระราชวัง เขต
พระราชฐานชัน้ กลาง ใช้ในพระราชพิธรี าชาภิเษก โสกันต์ เสด็จออกว่าราชการ และรับราชทูต
พระมหากษัตริยใ์ ช้ประทับทอดพระเนตรกระบวนแห่พยุหยาตราทางชลมารค เขตนี้ยงั มีโรงไว้
พระมหาพิชยั ราชรถ โรงช้าง โรงม้าพระทีน่ ัง่ ศาลาลูกขุนใหญ่ โรงคลังแสง ห้องพระภูษามาลา
พระคลังมหาสมบัติ และต าหนั ก น้ อ ยใหญ่ ต่ าง ๆ เขตพระราชฐานชัน้ ในเป็ น ที่ป ระทับ ของ
พระมหากษัต ริย์แ ละฝ่ายใน เป็ นมณฑปยอดเดีย ว มีมุขโถงออกมาจากมุขใหญ่ ทงั ้ สี่ด้าน มี
กาแพงแก้วล้อมรอบชาลาพระมหาปราสาทและมีสระน้ าล้อมรอบ สาหรับพระราชวังจันทน์หรือ
วังหน้ามีโรงสรรพาวุธ โรงช้าง โรงม้า โรงรถ ศาลาลูกขุนสาหรับให้ขุนนางได้พกั เมืองจะเข้าเฝ้า
ศาลาชาระความตามกรมทัง้ ๖ ได้แก่ ศาลาเวรมหาดไทย กลาโหม กรมท่า กรมวัง กรมนา กรม
เมือง ซึ่งมีค ดีพ ระราชวังหน้ า ศาลาสารบาญชี ฝ่ายในพระราชวังหน้ า คุก ใส่นักโทษ เป็ นต้น
บริเวณใกล้วดั พุ ทไธสวรรย์เต็มไปด้ว ยเรือนแพอยู่อ าศัยและค้าขาย บริเวณทุ่งภูเขาทองอยู่
ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ นอกจากเป็นแหล่งปลูกข้าว ผลิตผลาหารและที่อยูอ่ าศัยแล้ว ยัง
เป็ นชัยภูมทิ ่ดี ใี นยามศึกสงคราม เพียงแค่รอช่วงฤดูน้ าหลากเข้าท่วมทุ่ง ข้าศึกจาต้องยอมถอย
ทัพกลับไป ทัง้ ยังเป็ นชุมชนชาวมุสลิมในพระนครศรีอยุธยา ซึ่งตัง้ ถิ่นฐานกันมากในบริเวณนี้
เลยไปถึงแถบทุ่งลุมพลี หัวแหลม มีวดั ไชยวัฒนารามที่สะท้อนคติการจาลองจักรวาลเกี่ยวโยง
กับการเสริมพระราชอานาจของพระพระมหากษัตริยใ์ นฐานะจักรพรรดิราชและได้กลายเป็ นวัด
หลวงส าคัญ และที่ถ วายเพลิงพระศพพระบรมวงศานุ ว งศ์ ในสมัยต่ อ มา ส่ ว นใกล้ป้ อ มเพชร
เรียกว่า ย่านบ้านน้ าวนบางกะจะ มีตลาดน้ าขนาดใหญ่ แถบนัน้ มีแพ พวกลูกค้าไทย จีน แขก
จาม แขกเทศ นั ง่ ร้านแพขายสรรพสิ่งต่ าง ๆ ส่ ว นด้านหลังป้ อ มเพชรเป็ น ชุ ม ชนชาวจีน ตัง้
บ้านเรือนอยู่ต งั ้ แต่ช่วงวัดพนัญ เชิงถึงปากคลองสวนพลู ตรงวัดสุวรรณดาราราม ชาวจีนทา
การค้า ต้มสุรา เลีย้ งสุกร รวมถึงรับซือ้ ของป่าหายากจากชาวสยาม แลกเปลีย่ นกับสินค้าจาพวก
แพรไหม เครื่องเคลือบ ในแม่น้ าเต็มไปด้วยเรือกาปนั ่ เรือสาเภา เพราะบริเวณนี้นอกจากเป็ น
ย่านการค้าสาคัญแล้ว ถัดจากป้อมเพชรไปไม่ไกลมีอู่เรือทะเลสาหรับต่อ และซ่อมแซมเรือของ
๑๕๖

ทางการ อีกทัง้ ใต้วดั พนัญ เชิงลงไปก็เป็ นหมู่บ้านชาวต่างประเทศ ในอยุธยามีชาวต่างชาติตงั ้


รกรากอยู่ได้อย่างเสรี และประกอบพิธกี รรมทางศาสนาของตนได้อย่างเปิ ดเผย ได้แก่ หมู่บา้ น
โปรตุเกสอยู่ใต้เกาะเมืองตรงป้อมเพชร ด้านหน้าทางตะวันตกติดแม่น้ าเจ้าพระยา ส่วนอีกสาม
ด้านขุดคูน้ าล้อมรอบ ภายในเป็ นที่ตงั ้ บ้านและโบสถ์ ข้ามมาอีกฟากหนึ่งของแม่น้ า เจ้าพระยา
ตอนใต้วดั พนัญเชิง เป็ นหมู่บ้านฮอลันดา ใต้หมู่บา้ นฮอลันดาเป็ นหมู่บ้านอังกฤษ ถัดลงมาทาง
ตอนใต้เป็ นหมูบ่ า้ นญีป่ นุ่
น่ าสนใจว่า เมื่อ อ่ านวรรณคดีเกี่ยวกับ ประวัติศ าสตร์มกั พบว่าความรู้ชุด หนึ่ งที่ช่ ว ย
สถาปนาวาทกรรมหลักทีม่ พี ระมหากษัตริยเ์ ป็ นศูนย์กลางให้ยงิ่ ใหญ่อกี คือ การนาเสนอฝา่ ยตรง
ข้าม คือ พม่าให้เป็ นสัญลักษณ์ของผูร้ า้ ย ทีเ่ ป็ นทัง้ ผูร้ ุกรานชาติไทย เป็ นผูร้ า้ ยมาปล้นสะดมเอา
เอกราชของชาติ เป็นศัตรูท่ี “ลักโลภ” “น้าใจโจร” “ใจร้ายไปโ่ อบอ้อม” และ “อวดกล้า” กษัตริยจ์ งึ
ต้องเป็นผูน้ าชาติไทย ต้องต่อสูก้ บั ศัตรูเพื่อให้ชาติดารงอยูไ่ ด้ การผลิตซ้าการทาสงครามกับพม่า
จึงเป็นการตอกยา้ วาทกรรมนี้ไปเรือ่ ย ๆ ดังภาพยนตร์ยคุ ปจั จุบนั ทีย่ งั คงนาเสนอวาทกรรมนี้

ภำพที่ ๘ ภาพยนตร์เรือ่ งตานานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


(๒๕๕๙. สืบค้นจาก http://www.listenhitmusic.com)
มีข้อสังเกตว่า วาทกรรมกษัตรานิยมที่ปรากฏในบันเทิงคดีอิงประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
ลักษณะที่ล่นื ไหลบ้าง คือ เน้นประกอบสร้างกษัตริย์ท่เี หมือนมนุ ษย์ธรรมดา ๆ มากขึน้ มีคุณ
งามความดีธรรมดา ๆ มากกว่าเน้นพลังอานาจทีเ่ หนือมนุ ษย์ เช่น เมื่อจะรบก็รบด้วยสติปญั ญา
๑๕๗

ไม่มเี ทพคอยส่ งเสริม เมื่อ ท าสงครามต้อ งประสบกับความยากล าบาก ทุก ข์ใจ เศร้าใจ และ
ตรากตรา ต้องเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อชาติ (ผู้แต่งมักกาหนดให้ตวั ละครมีมเหสี ในขณะที่
ในอดีตไม่มภี าพดังกล่าว) ดังการสร้างนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องมหาราชโสด ของประชา
พูนวิวฒั น์ เรื่องอธิราชาของทมยันตี วรรณกรรมเรื่องเล่าทีเ่ ป็ นการ์ตูน เช่น การ์ตูนเรื่องสมเด็จ
พระนเรศวรมหาราช การ์ตูนเรื่องมหากาพย์กู้แผ่นดิน วรรณกรรมเรื่องเล่าที่เป็ นบทละคร เช่น
บทละครเรื่องพระนเรศวรประกาศอิสรภาพ บทละครเรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และละคร
อิงประวัติศาสตร์เรื่องสมเด็จพระนเรศวร ตลอดจนภาพยนตร์เรื่องตานานสมเด็จพระนเรศวร
มหาราช เรื่องเล่าเหล่านี้กาหนดให้พระนเรศวรมีภาพลักษณ์ ของมนุ ษย์ปุถุชนธรรมดา คือ มี
รูปลักษณ์เหมือนมนุ ษย์ ได้รบั การอบรมสังสอนจากบิ
่ ดามารดาตัง้ แต่พระเยาว์เพื่อให้เติบโตมา
อย่างคนมีคุ ณ ภาพ สามารถกระท าการใหญ่ ได้ เมื่อ ยามศึกก็ยอมเสียสละความสุ ข เพื่อ ชาติ
บ้านเมือง และออกรบโดยอาศัยความสามารถไม่ใช่บุญญาธิการหรือมีเทพคอยคุม้ ครอง อย่างไร
ก็ตาม ภาพโดยรวมก็ตอ้ งเป็นคนดีตามอุดมคติของคนในสังคม

๕.๒ วำทกรรมชำติ นิยม: กำรสถำปนำควำมชอบธรรมของรัฐชำติ


ชาตินิยม เป็ นกระบวนการปลูก ฝ งั ความรู้สกึ “เป็ นชาติ” โดยการทาให้ผู้อ่านรู้ส ึกถึง
ความเป็ นพวกเดียวกัน เป็ นการย้าเตือนและหล่อหลอมให้บุคคลเกิดความรัก ความภาคภูมใิ จ
และความหวงแหนในความเป็ นชาติ โดยวุ ฒ ิชยั มูลศิลป์ (๒๕๔๗ : ๑๓๐) กล่าวถึงแนวคิด
ชาตินิยมไว้ว่าการที่ประเทศไทยเราเจริญรุ่งเรืองดารงความเป็ นเอกราชอธิปไตย ประชาชนมี
อิสรภาพเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยในวันทุกวันนี้กด็ ว้ ยบรรพบุรษุ ของเรามีความรักชาติ
มีความสามัคคี เสียสละเนื้อและชีวติ ในการต่อสูป้ ้ องกันรักษาชาติตลอดมาทุกยุคสมัย มีความ
ศรัท ธาความยึด มัน่ ในสถาบั น ชาติ และมีร ะบอบการปกครอง แบบประชาธิป ไตยที่ ม ี
พระมหากษัตริยเ์ ป็ นประมุข สอดคล้องกับทีน่ ิธ ิ เอียวศรีวงศ์ (๒๕๕๐ : ๒๖) กล่าวไว้ว่าชาติทุก
ชาติย่อมอาศัยความจงรักภักดีเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความกล้าหาญ และความพยายามอัน
มันคงแห่
่ งชนชาวชาตินนั ้ ชาติไทยที่จะหวังมันคงอยู
่ ่ต่อไปได้ ก็ต้องอาศัยกาลังและความรูส้ กึ
รักชาติอนั แท้จริง และมีพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หวั เรื่อง
“เมืองไทยตื่นเถิด ” กล่าวไว้ว่า ความเป็ นชาติโดยแท้นัน้ ใครแสดงตนว่าเป็ นอิสระแก่ตน ไม่ม ี
ความจงรักดีต่อผู้ใด จัดว่าผู้นัน้ เป็ นคนไม่มชี าติ เพราะคนเดียวหรือหมู่เดียวจะตัง้ ตนขึ้นเป็ น
ชาติต่างหากไม่ได้ ถ้าเขาจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินต่อพระเจ้าแผ่ นดินสยามเขาจึงเป็ นไทย
แท้ การแสดงความจงรักภักดีต่อชาติ หรือพระเจ้าแผ่นดินก็นบั ว่าผูน้ นั ้ ถือธรรมะทีช่ ่อื ว่าภักดี
แนวคิดชาตินิยมเกิดขึน้ ครัง้ แรกในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั
โดยเน้ น การเป็ น พลเมือ งดีข องชาติ ความรัก และความเสีย สละเพื่ อ ชาติ ศาสนา และ
๑๕๘

พระมหากษัตริย์ ครัน้ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีการกระตุ้นความรักชาติผ่านงานพระราชนิพนธ์เรื่อง


ต่าง ๆ และการใช้ส่อื ประเภทเพลง ภาพ คาแถลงการณ์ และวรรณคดี
วาทกรรมชาตินิยมที่เข้มข้นที่สุด คือ ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผ่านนโยบายที่
เรียกว่า "รัฐนิยม" ซึ่งส่งผลต่อวิถชี วี ติ ของผู้คนในสมัยนัน้ นโยบายรัฐนิยมใช้กฎหมายในการ
ควบคุม ใครไม่ปฏิบตั ติ ามถือว่าผิดกฎหมาย นโยบายรัฐนิยมส่งผลต่อระบบความคิด ความเชื่อ
ของคนในสังคมไทยมาถึงปจั จุบนั เช่น การตื่นนอนแปดโมงเช้า การเข้าแถวเคารพธงชาติ การ
แต่งกายให้สุภาพในการเข้าไปในสถานทีร่ าชการ ซึง่ การสร้างวาทกรรมในช่วงนี้สามารถควบคุม
คนได้ ร ะดับ หนึ่ ง โดยรัฐ พยายามครอบง าวาทกรรมนี้ ผ่ า นวิท ยุ ก ระจายเสีย ง บทเพลง
หนังสือพิมพ์ วรรณกรรม หนังสือแบบเรียน คาขวัญ บทละคร เป็นต้น
ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เหตุการณ์ทไ่ี ม่เชิดชูความเป็ นชาติจะถูกละเลยไป เช่น
การแย่งชิงอานาจ การทารัฐประหารกันอย่างถี่ยบิ ความอ่อนด้อยของทหาร และความขัดแย้ง
กับมหาอานาจ แต่เน้นความยิง่ ใหญ่ของชาติ ดังการนาเสนอผ่านวรรณกรรมของหลวงวิจติ รวาท
การนักคิดในสมัยสร้างชาติให้แก่จอมพล ป. พิบลู สงครามถึงยุคจอมพลสฤษดิ ์ ธนะรัชต์
การปลูกฝงั วาทกรรมชาตินิยมทาได้ดว้ ยวิธกี ารต่าง ๆ เช่น การนาประวัติ ศาสตร์ของ
ประเทศบรรจุไว้ในวรรณคดีเพื่อบ่งบอกความเป็ นมาของชาติไทยในสมัยต่าง ๆ การนาเสนอ
ภาพเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ของชาติเพื่อแสดงเอกลักษณ์ของความเป็ นชาติ การใช้
ภาษาเพื่อโน้มน้าวให้เห็นความสาคัญของการเป็นพวกเดียวกัน เช่น

อย่าเห็นแก่ตวั มัวพะวง ลุ่มหลงริษยาไม่ควรที่


อย่าต่างคนต่างแข่งกันแย่งดี อย่าให้ช่องไพรีทม่ี งุ่ ร้าย
แม้เราริษยากันและกัน มิชา้ พลันจะพากันฉิบหาย
ระวังการยุยงส่งร้าย นันแหละเครื
่ อ่ งทาลายสามัคคี
คณะใดศัตรูผฉู้ ลาด หมายมาดทาลายให้เร็วรี่
ก็ยแุ ยกให้แตกสามัคคี เช่นกษัตริยล์ จิ ฉวีวงศ์โบราณ
พราหมณ์ผเู้ ดียวรับใช้ไปยุแหย่ สาระแนยุญาติให้แตกฉาน
จนเวลาศัตรูจไู่ ปราญ มัวเกีย่ วกันเสียการเสียนคร
ฉะนัน้ ไซร้ขอไทยจงร่วมรัก จงร่วมสมัครสโมสร
เอาไว้เผื่อมีไพรีรอน จะได้สดู้ สั กรด้วยเต็มแรง
ไทยรวมกาลังตัง้ มัน่ จะสามารถป้องกันขันแข็ง
ถึงแม้ว่าศัตรูผมู้ แี รง มายุทธ์แย้งก็จะปลาตไป
ขอแต่เพียงไทยเราอย่าผลาญญาติ ร่วมชาติรว่ มจิตเป็นข้อใหญ่
ไทยอย่ามุง่ ร้ายทาลายไทย จงพร้อมใจพร้อมกาลังระวังเมือง
ให้นานาภาษาเขานิยม ชมเกียรติยศฟูเฟื่อง
๑๕๙

ช่วยกันบารุงความรุง่ เรือง ให้ช่อื ไทยกระเดื่องทัวโลกา



ช่วยกันเต็มใจใฝผ่ ดุง บารุงทัง้ ชาติศาสนา
ให้อยูจ่ นสิน้ ดินฟ้า วัฒนาเถิดไทยไชโย
(บทละครพูดเรือ่ งพระร่วง)
วรรณกรรมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์หลายเรื่องมักนาเสนอภาพลักษณ์ ของหญิงชายที่ม ี
จิตใจห้าวหาญ ไม่กลัวตาย และยอมเสียสละเพื่อชาติจนได้รบั การสดุดวี ่าเป็นวีรบุรษุ วีรสตรี ทัง้ นี้
เพื่อให้คนไทยรูส้ กึ ถึงความเป็นพวกเดียวกันและเกิดความภาคภูมใิ จทีม่ คี นรักชาติยงิ่ ชีพ ดังการ
นาเสนอภาพลักษณ์ของวีรชนทีย่ อมสละชีวติ เลือดเนื้อเพื่อชาติบา้ นเมืองเพื่อผดุงความเป็นชาติ
ลือนามไปเมือ่ หน้า เกียรติยศเรือ้ งจ้า จิรกาล
อาจารย์ธมั มโชตได้ ปลุกจิตต์ศษิ ย์กล้าไว้ เกียรติระบือ
นายแท่นแก้ว เกียรติท่านเลิศล้าแพร้ว เพริดพราย
นายทองเหม็นได้ ประดิษฐ์ความกล้าไว้ อนันต์
พันเรืองเอย ท่านม้วย ด้วยรักชาติพร้อมด้วย เกียรติคุณ
ขุนสรรค์เอย ท่านสร้าง เกียรติแก่คนข้างหน้า อนันต์
อ้า ! นายจันทร์หนวดเขีย้ ว เกียรติท่านเพราะพริง้ เกีย้ ว โศรตรสหาย
นายทองแสงใหญ่แพร้ว เกียรติท่านผ่องแผ้วพ้น มืดมัว
ท่านหัวหน้านอกนี้ แม้ชพี ลับลีแ้ ล้ว เกียรติคง
(ลิลติ ดัน้ สดุดบี า้ นบางระจัน)
นอกจากนี้กม็ กี ารปลูกฝงั ให้ผเู้ รียนเรียนรูแ้ ละภาคภูมใิ จในวัฒนธรรมไทย (เช่น พูดและ
ั ญาของไทย)
ใช้ภ าษาไทยให้ ถู ก ต้ อ ง แต่ ง กายเอกลัก ษณ์ แ บบไทย ช่ ว ยกัน อนุ รกั ษ์ ภู ม ิป ญ
ปลูกฝงั ให้เข้าใจหลักคาสอนของศาสนาเพื่อให้ปฏิบตั ติ าม ปลูกฝงั ให้ผู้เรียนรักพระมหากษัตริย์
(โดยสอดแทรกพระประวัตขิ องพระมหากษัตริยข์ องไทยในสมัยต่าง ๆ ) เช่น เรือ่ งอิฐพระองค์ดา
กล่าวถึงความรักชาติของตัวละครทีพ่ ร้อมจะสูร้ บเพื่อชาติว่า “พวกกูจะสู้ สูจ้ นเลือดหยดสุดท้าย
พวกกูไม่ตายจนเกลีย้ งแผ่นดิน แผ่นดินไทเท่าฝา่ มือเดียวอย่าหมายได้ครอง” (หน้า ๑๔๒)
ผู้เขียนพบว่า วาทกรรมชาตินิย มในยุค หนึ่ งสามารถเลื่อ นไหลเปลี่ย นแปลงได้ เช่ น
ภาพยนตร์เรื่องมหาอุตม์ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ทีส่ ร้างให้ผู้รา้ ยทาลายอนุ สาวรียช์ ยั สมรภูมซิ ่งึ สร้างใน
สมัยจอมพล ป. เพื่อยกย่องวีกรรมของทหาร สะท้อนว่าสังคมไทยซึง่ อ่อนไหวในเรื่องอนุ สาวรีย์
ไม่ นิ ย มรัฐ บาลชุ ด นี้ หรือ เรื่อ งอารีร ัง เล่ า เรื่อ งทหารของรัฐ บาลจอมพล ป.ไปร่ ว มรบกั บ
สหประชาชาติในสงครามเกาหลี ผูแ้ ต่งสื่อความรักระหว่างทหารไทยกับสาวเกาหลีแทนการเน้น
เรือ่ งของชาติทาให้เห็นนัยของการต่อต้านรัฐบาลชุดดังกล่าว
๑๖๐

การศึกษาวาทกรรมชาตินิยมที่ปรากฏในวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์เริม่ เข้มข้นใน


สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา จนกระทังมี ่ ความเข้มข้นทีส่ ุดในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบลู สงคราม
ดังที่พมิ พาภรณ์ บุญ ประเสริฐ (๒๕๕๗ : ดาวน์ โหลด) กล่าวถึงวาทกรรมความรักชาติ ตัง้ แต่
พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๕๕๐ ว่าการใช้มโนทัศน์ เรื่องความรักชาติสามารถยึดเหนี่ยวจิตใจให้คนร่วม
เป็ นน้ าหนึ่งใจเดียวกัน มีเป้าหมายร่วมกัน พร้อมทีจ่ ะสละเพื่อส่วนรวม ความรักชาติจงึ สามารถ
ใช้เป็ นอุดมการณ์ทางการเมืองได้ ภายหลังการเปลีย่ นแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ แนวคิด
เรื่องชาตินิยมปรากฏเป็ นนโยบายของรัฐบาลในการบริหารประเทศ ดังสมัยรัฐบาล จอมพล ป.
พิบูลสงคราม สมัยนี้มกี ารประกาศใช้ “รัฐนิยม” ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมครัง้
ใหญ่ เช่น เปลีย่ นจากสยามเป็ นไทย เรื่องการเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระ
บารมี และเรื่องการแต่งกาย สมัยนี้วาทกรรมต่าง ๆ ทีส่ นับสนุนการสร้างชาติ ได้แก่ วาทกรรมที่
สื่อสารว่ารัฐบาล คือ ผู้สร้างและพัฒนาชาติ ประชาชนควรร่วมมือกับรัฐบาลเพื่อแสดงความรัก
ชาติผ่านคาแถลงนโยบายของรัฐบาล เพื่อสร้างภาพลักษณ์ ของรัฐบาลว่าเป็ นผู้จงรักภักดีต่ อ
่ ปญั หาเพื่อ
สถาบันชาติ ผู้ห่วงใยประชาชน ผู้หวังดีต่อประเทศชาติ ผู้ซ่อื สัตย์สุจริต ผู้มุ่งมันแก้
พัฒนาประเทศชาติ โดยพยายามเน้ นคาว่า “เทิดทูน ” “เคารพสักการะ” “เชื่อ มันอย่ ่ างจริงใจ”
“รักษาราชบัลลังก์” ทัง้ นี้ เพื่อสถาปนาความเชื่อมัน่ บอกถึงความมันใจของรั
่ ฐ โดยมีคาเหล่านี้
ร่วมอยู่ด้ว ย เช่น “สถาปนา” “สรรค์สร้าง” “เร่งรัด ” “เร่งสร้าง” “ผลักดัน ” “ส่ งเสริม ” “รณรงค์”
กลุ่มคาเน้นไปทางบวก โดยมีวาทกรรมอื่น ๆ ที่สนับสนุ นวาทกรรมหลัก เช่น วาทกรรมความ
สามัคคี และสมานฉันท์เพื่อแสดงสาระเรือ่ งความสามัคคีและพัฒนาชาติ เพื่อเน้นยา้ ว่าชาติจะอยู่
รอดก็ด้วยทุ ก คนในชาติเป็ นหนึ่งเดียวเท่านัน้ นอกจากนี้ ยังมีว าทกรรมเชิดชูคุ ณ ค่ า และจิต
วิญญาณของความเป็ นไทยอีกชุดหนึ่งทีส่ นับสนุนเรื่องการสร้างชาติ ผ่านแถลงการณ์ต่าง ๆ ซึง่
ภาพรวม คือ การสื่อให้เห็นว่ารัฐส่งเสริมให้ประชาชนรักและหวงแหนความเป็ นไทย เป็ นผูฟ้ ้ืนฟู
วางแนวทางสืบสานวัฒนธรรมไทย เป็ นผูป้ กป้องศิลปวัฒนธรรมไทยไม่ให้ใครมาทาลาย ต่อมา
คือ วาทกรรมความมันคงของประเทศ
่ เพื่อสะท้อนบทบาทของรัฐในการดูแลความสงบเรียบร้อย
ทัง้ ภายในและภายนอกประเทศ เพื่อดารงเอกราช อธิปไตย ความมันคงและผลประโยชน์
่ ของ
ชาติ วาทกรรมดังทีก่ ล่าวมาเป็ นการสร้างคุณค่าและความสาคัญของรัฐบาลในฐานะผูส้ ร้างวาทะ
ผ่านกระบวนการสร้างความหมายเพื่อประชาสัมพันธ์หรือปลูกฝงั อุดมการณ์ชาตินิยม จึงสัมพันธ์
กับการสร้างมโนทัศน์เรือ่ งความรักชาติและทาเพื่อประชาชน
๑๖๑

๕.๓ ภำคปฏิ บตั ิ กำรของวำทกรรมที่ใช้ในวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์


ผู้เขียนพบว่าวาทกรรมที่ใช้ในวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์มาจากการครอบงาของ
ชุดความรูท้ างประวัตศิ าสตร์ จารีตประเพณี และอื่น ๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๕.๓.๑ ชุดควำมรู้ทำงประวัติศำสตร์ มีทงั ้ ชุดความรูท้ เ่ี ป็นจารึก ตานาน จดหมายเหตุ
พงศาวดาร บันทึกทัง้ ของชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทัง้ เอกสารต่าง ๆ เช่น หลักฐานทาง
โบราณคดี และความรูท้ างประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
๕.๓.๑.๑ จำรึก จารึกมักบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เช่น ธรรมะ ลัทธิความเชื่อทาง
ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม อารยธรรม ประวัตบิ ุคคล และธรรมเนียมประเพณีการดารงชีวติ ในสังคม
เพื่อให้ผู้อ่นื ทราบ ซึ่งผู้อ่านใช้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของสังคมในอดีตได้ วรรณกรรมเกี่ยวกับ
ประวัติศาสตร์ท่เี ขียนในลักษณะจารึก เช่น ศิลาจารึกหลักที่ ๑ (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง)
ศิลาจารึกหลักที่ ๒ (ศิลาจารึกวัดศรีชุม) ศิลาจารึกหลักที่ ๓ (ศิลาจารึกนครชุม) ศิลาจารึกหลัก
ที่ ๔ ๕ ๖ และ ๗ (ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง) ศิลาจารึกหลักที่ ๘ (ศิลาจารึกเขาสุมนกูฎ) ศิลาจารึก
หลักที่ ๙ (ศิลาจารึกวัดปา่ แดง) ศิลาจารึกหลักที่ ๑๐ (ศิลาจารึก จ.ศ. ๗๖๖) ศิลาจารึกหลักที่ ๑๑
(ศิลาจารึกวัดเขาถม เมืองปากน้ าโพ) ศิลาจารึกหลักที่ ๑๒ (จารึกรอยพระพุทธยุคลบาทวัดบวร
นิเวศ) ศิลาจารึกหลักที่ ๑๓ (จารึกทีเ่ มืองกาแพงเพชร) ศิลาจารึกหลักที่ ๑๔ (ศิลาจารึกวัดเขมา)
และศิลาจารึกหลักที่ ๑๕ (ศิลาจารึกวัดพระเสด็จ)
๕.๓.๑.๒ ตำนำน ตานาน คือ เรือ่ งราวทีจ่ ดจาต่อ ๆ กันมา ปราศจากหลักฐาน
ที่ม า แฝงไปด้ว ยความคิด ความเชื่อ ส านึ ก เช่ น นิ ท านพื้น บ้าน หรือ นิ ยายปรัม ปราต่ าง ๆ
นอกจากนัน้ ยังหมายถึงเรื่องราวทีม่ หี ลักฐานจดบันทึก เอาไว้เป็ นตัวหนังสือ วรรณกรรมเกี่ยวกับ
ประวัตศิ าสตร์ทเ่ี ขียนในลักษณะตานาน เช่น เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา ตานานพระแก้ว
มรกต ตานานสิงหนวัติกุมาร ตานานสิบห้าราชวงศ์ ตานานเมืองสุวรรณโคมคา ตานานเมือง
หริภุญ ไชยและจามเทวีวงศ์ ตานานหิรญ ั นครเชียงแสน ต านานพิงควงศ์ ตานานเมือ งพะเยา
ตานานเมืองเชียงราย ตานานเมืองน่ านและตานานเกร็ดต่าง ๆ ตานานมักเป็นเรือ่ งเกีย่ วกับพุทธ
ศาสนา สิง่ ศักดิ ์สิทธิ ์ อภินิหารและความอยูเ่ หนือธรรมชาติ (วิวฒ
ั น์ เอีย่ มไพรวัน, ๒๕๓๔ : ๑๔)
๕.๓.๑.๓ จดหมำยเหตุ จดหมายเหตุ คือ หนังสือบอกข่าวคราว รายงาน หรือ
บันทึกเหตุการณ์ทเ่ี กิดขึน้ (พระวรวงศ์ เธอกรมหมืน่ นราธิปพงศ์ประพันธ์, ๒๕๐๖ : ๕๖๖ -๕๘๓)
จดหมายเหตุตามความหมายเดิม มีลกั ษณะเป็ นบันทึกเหตุการณ์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่เกิดขึน้ ใน วัน
เดือน ปีนนั ้ ๆ ทีผ่ จู้ ดเห็นว่าสาคัญ ธรรมเนียมการจดบันทึกเหตุการณ์เช่นนี้มมี าแต่โบราณ เกิด
จากราชสานัก โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ ทรงพระกรุณ าโปรดเกล้า ฯ ให้อ ารักษ์ จดบันทึก
เหตุการณ์ของบ้านเมืองไว้ สมัยโบราณนัน้ เจ้าหน้าทีป่ ระจาผูจ้ ดบันทึก เป็ นหน้าทีข่ องนายเสน่ ห์
และนายสุดจินดา หุม้ แพร มหาดเล็กทีต่ ้องจดหมายเหตุเหตุการณ์ต่างๆ เก็บไว้ในหอศาสตร์คม
หรือหอหนังสือ นอกจากราชสานักแล้ว ยังมีเหตุการณ์ท่เี ขียนโดยบุคคล เช่น มิชชันนารี หรือ
๑๖๒

โหร อีกด้วย จดหมายเหตุ ตามความหมายเดิมของไทย จึงเป็ นเอกสารโบราณประเภทหนึ่ง


เช่นเดียวกับพงศาวดาร ปูมคาให้การ ซึ่งต่อมาได้มกี ารรวบรวม ชาระ และตีพมิ พ์ เป็ นข้อมูล
ทางประวัตศิ าสตร์ ตัวอย่างของจดหมายเหตุโบราณ ได้แก่ จดหมายเหตุโหร จดหมายเหตุหอ
ศาสตราคม จดหมายเหตุหมอบรัดเลย์ จดหมายเหตุหม่อมราโชทัย จดหมายเหตุเรื่องสมเด็จ
พระบรมศพ จดหมายเหตุลาลูแบร์ จดหมายเหตุปลายรัชกาลที่ ๔ และต้นรัชกาลที่ ๕ จดหมาย
เหตุเรือ่ งต่าง ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๕
๕.๓.๑.๔ พงศำวดำร พงศาวดารมักบันทึกเหตุการณ์สาคัญทีเ่ กีย่ วข้องกับพระ
ราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ ของผูป้ กครองในแนวใดแนวหนึ่ง การบันทึกจึงอาจมีการคัดเลือก หรือ
ตัดทอนข้อมูลก็ได้ (พระวรวงศ์ เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ , ๒๕๐๖ : ๕๖๖ - ๕๘๓) เช่น
พงศาวดารเหนือ พงศาวดารโยนก พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ของสมเด็จ
กรมพระยาด ารงราชานุ ภ าพ พระราชพงศาวดารกรุง รัต นโกสิน ทร์ รัช กาลที่ ๑ - ๔ ของ
เจ้าพระยาทิวากรวงศ์ (ขา บุนนาค) พงศาวดารกรุงเก่า ฉบับบริตชิ มิวเซียม พงศาวดารกรุงเก่า
ฉบับพระพนรัตน์ พงศาวดารกรุงเก่า ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ พงศาวดารกรุงเก่า ฉบับกรม
พระปรมานุ ชติ ชิโนรส พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุ มาศ (เจิม ) พระราช
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเลย์ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุ
มาศ พระราชพงศาวดารฉบับ พระจัก รพรรดิพ งศ์ พงศาวดารกรุง ศรีอ ยุธ ยา ฉบับ วัน วลิต
พงศาวดารฉบับคาให้การของขุนหลวงหาวัด พงศาวดารฉบับคาให้การของชาวกรุงเก่า และ
พงศาวดารกรุงเก่ า ฉบับหลวงประเสริฐอัก ษรนิ ติ ์ โดยพงศาวดารในแต่ ล ะฉบับจะจดบันทึก
รายละเอียดไว้ผดิ กัน หากผูช้ นะเป็นผูเ้ ขียนมักใส่ความดีความชอบของตนลงไป
ผูแ้ ต่งวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์มกั นาเนื้อหาส่วนหนึ่งมาจากองค์ความรู้
ทางประวัตศิ าสตร์ โดยอาจหยิบยกตอนใดตอนหนึ่งมาเล่า อาจตัดต่อ หรือพลิกแพลงให้ขอ้ มูล
แตกต่างไปจากเดิมก็ได้ ดังเรื่องลิลติ ตะเลงพ่ายที่นามาจากพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุ
มาศ (เจิม) โดยมาก ส่วนทีเ่ หลือก็นามาจากวรรณคดีเก่า และจินตนาการของผูแ้ ต่ง
จบ เสร็จเสาวพากย์ถอ้ ย วิตถาร แถลงนา
ลิลติ ราชพงศาวดาร แต่ก้ี
ตะเลง เหล่าดัสกรลาญ มลายชีพ ลงฤๅ
พ่าย พระเดชหลีกลี้ ประลาตต้อนแตกสยาม
(ลิลติ ตะเลงพ่าย)
ชุดความรูท้ างประวัตศิ าสตร์ขา้ งต้นนี้ช่วยตรึงวาทกรรมหลักทีใ่ ช้ในวรรณกรรม
ให้คงอยู่ต่อไปได้ และมักแปรเปลี่ยนกันไปในแต่ละสมัย เช่น จารึก มักถือกาเนิดในสมัยสุโขทัย
ตานานเกิดขึน้ ตอนปลายสมัยสุโขทัยและต้นกรุงศรีอยุธยา พงศาวดารเข้ามาแทนที่ราวพุทธ
ศตวรรษที่ ๒๑ ต่อ มาเปลี่ยนเป็ นการเขียนแบบประวัติศ าสตร์สมัยใหม่ โดยผู้เขียนมักเลือ ก
๑๖๓

นาเสนอตามจุดมุ่งหมายและอุดมการณ์ บางอย่าง ดังที่สรณัฐ ไตลังคะ (๒๕๔๙) กล่าวว่าการ


เลือกใช้ ตัดทิง้ หรือเน้นบางเหตุการณ์ ให้เด่นกว่าเหตุการณ์อ่นื ก็เพื่อจุดมุ่งหมายและอุดมการณ์
ทางการเมืองบางอย่าง การเลือกทีจ่ ะจดจาหรือลืมเหตุการณ์บางเหตุการณ์น่าทีจ่ ะมีจุดประสงค์
เพื่อสร้างความเข้าใจอะไรบางอย่าง เพื่อน้อมนาไปสู่การกระทาทีต่ อ้ งประสงค์
อนึ่ง เมื่อพิจารณาสงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับพระมหาอุป
ราชาจากพงศาวดารของพม่าฉบับอูกาลาและฉบับหอแก้วพบว่าผิดแผกกัน โดยสุเนตร ชุตนิ ธรา
นนท์ (๒๕๓๗; อ้างถึงใน https://www.sanook.com/movie/๑๕๘๐๗) กล่าวถึงการทาสงคราม
ครัง้ นี้จากพงศาวดารของพม่าถอดความว่า ทัพมหาอุปราชาเคลื่อนมาถึงกรุงศรีอยุธยา ในวันขึน้
๘ ค่ า เดือ น ๓ (กุ ม ภาพัน ธ์ พ.ศ. ๒๑๓๖) (ทัพ เคลื่อ นออกจากกรุงหงสาวดีในวันพุ ธ เดือ น
ธันวาคม พ.ศ. ๒๑๓๕) มหาอุปราชาทรงพระคชาธารนาม งะเยโซง (ฉบับหอแก้วระบุนามพระ
คชาธารว่า เยโปงโซ) หลักฐานไทยระบุนามช้างทรงนี้ว่า พัทธกอ เบื้องขวาพระองค์ คือ พระ
คชาธารและก าลังไพร่พ ลของพระอนุ ชาตะโดธรรมราชา (เจ้าเมือ งแปร) เบื้อ งซ้าย คือ พระ
คชาธารและไพร่พลของนัตชินนอง (โอรสพระเจ้าตองอู) เบื้องขวาไม่ไกลจากมหาอุปราชา คือ
ั่
ฝงของเจ้ าเมืองซามะโร (ไทยว่าเป็ นพระพี่เลีย้ งชื่อจาปะโร) ซึง่ ขีช่ า้ งกาลังตกมันหนักถึงกับต้อง
ั่
ใช้ผา้ คลุมหน้าช้างไว้ ฝงพระนเรศวรกษั ตริยท์ รงพระคชาธารชื่อพระลโบง (ฝ่ายไทยว่าพระยาไช
ยานุ ภาพ) ครัน้ ทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาก็ไสพระคชาธารไปยังตาแหน่งทีป่ ระทับทันที
ฝ่ายเจ้าเมืองซามะก็เปิ ดผ้าคลุมหน้ าช้างพาหนะของตนหมายสกัดช้างทรงองค์นเรศวรไว้ แต่
ช้างกลับ ตัว เข้าโถมแทงช้างทรงของพระอุ ป ราชาแทน พระมหาอุ ป ราชาจึงจ าต้ อ งขับ พระ
คชาธารเข้ารับไว้ จนช้างทรงบาดเจ็บสาหัส ข้างอยุธยาก็ระดมปืนยิงฝา่ ยพม่าจนถูกองค์อุปราชา
สิน้ พระชนม์ซบกับคอคชาธาร คุเยงพละกลางช้างพระที่นงั ่ รีบเข้าพยุงพระศพไว้แล้วบังคับช้าง
ทรงเข้ากาบังในพุ่มไม้ พระนเรศวรไม่ทรงทราบว่า มหาอุปราชาสิน้ พระชนม์ชพี จึงรอยัง้ อยู่ ไม่
ทรงขับพระคชาธารตามติด นัตชินนองทีอ่ ยู่เบือ้ งซ้ายพระนเรศวรจึงไสพระคชาธารนามอูบอตะ
กะเข้าชนพระคชาธารขององค์นเรศวร จนพระนเรศวรจาต้องถอยร่น ฝ่ายตะโดธรรมราชาเห็น
จอมทัพอยุธยาเพลี่ยงพล้าร่นถอยก็ขบั ช้างนารีพ้ ลตามติดทัพขององค์นเรศวรถอยร่นถึงคูพระ
นครก็รบี นาทัพเข้าภายในพระนครนัน้ ตัง้ รับ พม่าที่ไล่ตามติด มีเจ้าเมืองโทงโบและเจ้าเมืองเว
งยอ ถลารุกรบเข้าไปมากจนถูกจับเป็ นเชลย ข้างฝ่ายอยุธยา ออกญาเปะและออกญาจักรีก็ถูก
ทหารนัตชินนองล้อมจับได้เช่นกัน เมื่อเกิดเหตุจนมหาอุปราชาถึงสิน้ พระชนม์แล้ว ตะโดธรรม
ราชาและเหล่าทหารจึงปรึกษาราชการศึกว่าจะจัดการพระศพองค์อุปราชาในแดนโยธยาแล้ว
ระดมตีกรุงต่อไป หรือจะนาพระบรมศพกลับสู่พระนคร ได้ผลประชุมว่า ไม่ควรตีอยุธยาต่อไป
ทัง้ ไม่เหมาะทีจ่ ะจัดการพระศพในแดนอยุธยา เพราะจะถูกปรามาสจากองค์บพิตรและพระญาติ
พระวงศ์ได้ และสงครามครัง้ นี้กย็ งั นับว่ามีชยั อยูใ่ ช่น้อย แต่ตอ้ งถอยกลับก่อน ภายภาคหน้าค่อย
ยกมาอีก ทหารใหญ่น้อยได้ต่อโลงใส่พระศพด้วยไม้มะม่วง เอาปรอทกรอกพระศพแล้วก็เชิญ
พระศพองค์อุปราชากลับคืนพระนคร
๑๖๔

หลักฐานจากพงศาวดารของทัง้ สองฝ่ายสะท้อนให้เห็นว่า พงศาวดารเขียนขึน้


โดยใครก็มกั ใส่ความดีความชอบของตนลงไปด้วย ส่งผลให้การบันทึกรายละเอียดแตกต่างกัน

๕.๓.๒ จำรีตประเพณี จารีตประเพณี หรือ tradition หมายถึง การสืบทอด หรือส่งต่อ


ความคิด กฎระเบียบ และธรรมเนียมการปฏิบตั ิ จารีตประเพณียงั อาจมีความหมายกว้าง ๆ ทีใ่ ช้
อธิบ ายการกระท าบางอย่างที่ต่ อ เนื่ อ ง ทัง้ ที่เป็ น รูป แบบ พฤติก รรม หรือ ความเข้าใจ กลุ่ ม
อนุ รกั ษ์นิยมกล่าวว่าจารีตประเพณี เปรียบเสมือนผู้ชท้ี ศิ ทางของสังคม มีการสืบทอดและดารง
อยู่ได้ต ราบเท่ าที่ยงั คงมีก ารปฏิบตั ิอ ยู่ อาจเป็ นความสืบ เนื่ องของประวัติศ าสตร์ด้ว ย จารีต
ประเพณีม ี ๒ ส่วน คือ ประเพณีหลวง (Great Tradition) เกีย่ วข้องกับการบันทึกเป็ นลายลักษณ์
อักษรของชนชัน้ ปกครองและความเจริญ ก้าวหน้ าของอารยธรรม และประเพณีราษฎร์ (Little
Tradition) หมายถึง ประเพณีของชาวบ้าน หรือชุมชนชาวนาซึ่งไม่มตี วั หนังสือ และไม่มกี าร
ปฏิบตั อิ ย่างเคร่งครัด ความแตกต่างนี้ถูกนาไปอธิบายในสังคมระดับรัฐ การทาความเข้าใจเรื่อง
จารีตประเพณีดว้ ยแนวคิดนี้ทาให้มองเห็นลักษณะความต่อเนื่องทีม่ าพร้อมกับการเปลีย่ นแปลง
ซึ่งดาเนินควบคู่กนั ไปได้ (นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ ; อ้างจาก Robert H. Winthrop, ๒๕๓๔ : ๓๐๐-
๓ ๐๓ สื บ ค้ น จาก http://www.sac.or.th/main/content_detail.php?content_id=๑๘ ) ซึ่ ง เมื่ อ
พิจารณาวาทกรรมที่ใช้ในวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พบว่าไม่ว่าจะเป็ นวาทกรรมกษัตรา
นิยม หรือชาตินิยม ล้วนผูกติดอยู่กบั จารีตประเพณีของรัฐทีส่ ร้างขึน้ มาเพื่อ ครอบงาคนในสังคม
วรรณกรรมมักนาเสนอขนบธรรมเนียม วิถปี ฏิบตั ติ ามระบบชนชัน้ การพยายามเชิดชูคนดี กล้า
หาญ และทาเพื่อชาติ การให้ความสาคัญกับบทบาทหรืออิทธิพลของชนชัน้ ปกครอง และมักยก
ย่องระบบศักดินา โดยนิยมสร้างภาพลักษณ์ ของพระมหากษัตริย์ท่ปี ฏิบตั ิตามขนบของจารีต
ประเพณี อ ย่ างเคร่งครัด ซึ่ง ช่ ว ยให้บุ ค คล (ผู้อ่ า น/คนในสังคม) เห็น ท่ าที การกระท า หรือ
พฤติกรรมของคนทีต่ นยกย่อง อันช่วยสร้างมาตรฐาน และแบบฉบับจากการประพฤติปฏิบตั ขิ อง
บุคคลนัน้ ๆ ซึ่งการมีโครงสร้างศักดินานี้ยงั ช่วยสนับสนุ นวาทกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็ นวาทกรรม
หลักในสังคมเพื่อให้คนปฏิบตั ติ ามข้อกาหนดโดยมีชนชัน้ ผู้ปกครองเป็ นผู้สร้างขึน้ เพื่อควบคุม
ประชาชน ผ่านระบบความจงรักภักดี ระบบอุปถัมภ์ กฎหมาย ระบบบุญคุณ ฯลฯ ตัวอย่างเรื่อง
พระราชพิธสี บิ สองเดือน พระราชนิพนธ์ รชั สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั ที่ม ี
การกล่าวถึงพระราชพิธศี รีสจั จปานกาลคือถือน้ าพิพฒ ั น์สจั จาที่กระทากันในเดือนห้าที่มอี ย่าง
สืบเนื่องกันมาตัง้ แต่สมัยโบราณ ทัง้ นี้ เพื่อเป็นเครือ่ งยืนยันพระราชอานาจของกษัตริย์ ดังนี้
การถือน้ าครัง้ กรุงเก่า ซึง่ ได้ความตามคาเล่าสืบมาก็ว่าเหมือนกันกับที่กรุงรัตน
โกสินทรนี้ เช่นแบบอย่างในรัชกาลที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ แปลกแต่ขา้ ราชการถือน้าทีว่ ดั พระศรี
สรรเพชญ แล้วย้ายไปทีว่ หิ ารพระวัดมงคลบพิตร เมือ่ ถือน้ าแล้วมีดอกไม้ธปู เทียนเข้าไป
ถวายบังคมพระเชษฐบิดร ซึง่ เป็ นพระรูปพระเจ้าอู่ทอง คือสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๑ ซึง่
ได้สร้างกรุงทวาราวดีศรีอยุธยา แล้วจึงได้เข้าไปถวายบังคมพระเจ้าแผ่นดินพร้อมกัน
๑๖๕

แต่พระราชวงศานุวงศ์นนั ้ ไม่ได้เสด็จไปถือน้ าวัด ดังกฎมนเทียรบาลซึง่ ได้ยกมากล่าวไว้


ข้างต้นแล้วนัน้
ครัน้ ในกรุงรัตนโกสินทรนี้ ข้าราชการก็ไปพร้อมกันถือน้ าพระพิพฒ ั น์สจั จาทีว่ ดั
พระศรีรตั นศาสดาราม แล้วมีธปู เทียนมาถวายบังคมพระบรมอัฐิ ในรัชกาลที่ ๑ โปรดให้
ถวายบังคมพระอัฐสิ มเด็จพระปฐมบรมมหาปยั กาธิบดีแทนพระเชษฐบิดร ในรัชกาล
ต่อๆ มาก็ถวายบังคมพระบรมอัฐิ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ซึง่ เสด็จสวรรคตล่วงไป
โดยลาดับนัน้ ด้วย แล้วจึงพร้อมกันเฝ้ากราบถวายบังคมพระเจ้าแผ่นดินในท้องพระโรง
เหมือ นอย่างแต่ ก่ อ น แต่ พ ระราชวงศานุ ว งศ์ต งั ้ แต่ กรมพระราชวังเป็ นต้น ลงไป เจ้า
พนักงานนาน้ ามาถวายให้เสวยในท้องพระโรงหน้าพระทีน่ งั ่ เวลาทีเ่ สด็จออกข้าราชการ
ถวายบังคมนัน้
ครัน้ เมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั เมื่อประชุมพร้อมกัน
เชิญ เสด็จขึ้น เถลิงถวัล ยราชสมบัตินั น้ เป็ น เวลาทรงผนวช เสด็จพระราชด าเนิ น มา
ประทับอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรตั นศาสดาราม พระบรมวงศานุ วงศ์และข้าราชการ
ทาสัตยานุ สตั ย์ถวายครัง้ แรก ก็ต้องทาทีพ่ ระอุโบสถวัดพระศรีรตั นศาสดาราม ไม่ได้มา
ทาทีพ่ ระทีน่ งั ่ อมรินทรวินิจฉัย เหมือนอย่างเมื่อเปลีย่ นรัชกาลที่ ๑ เป็ นที่ ๒ รัชกาลที่ ๒
เป็ นที่ ๓ รัชกาลที่ ๔ เป็ นที่ ๕ จึงทรงพระราชดาริว่า การที่ประชุมพร้อมกันทาสัตยานุ
สัตย์ ถือน้ าพระพิพฒ ั น์สจั จาเฉพาะพระพักตร์พระมหามณีรตั นปฏิมากร และพระพุทธ
ยอดฟ้ าจุฬาโลก พระพุ ทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งเป็ นพระฉลองพระองค์สมเด็จพระบรม
อัยกาธิราช สมเด็จพระบรมชนกนาถทัง้ สองพระองค์น้ี ดูเป็ นการสวัสดิมงคลและพร้อม
เพรียงกัน ดีกว่าที่แยกย้ายกันอย่างแต่ก่อน จึงได้เสด็จพระราชดาเนินออกวัดพระศรี
รัตนศาสดารามในเวลาถือน้ าต่อๆ มา ด้วยอ้างว่าเป็ นเหตุท่ที รงเคารพต่อพระมหามณี
รัต นปฏิม ากร และพระพุ ท ธรูป ฉลองพระองค์ท งั ้ สองพระองค์นัน้ เมื่อ เสด็จพระราช
ดาเนินออกวัดดังนี้ การเพิม่ เติมต่างๆ และเปลีย่ นแปลงการเก่าก็เกิดขึน้ หลายอย่างดังที่
ได้เป็ นอยูใ่ นปจั จุบนั นี้
(พระราชพิธสี บิ สองเดือน, สืบค้นจาก https://vajirayana.org)

วาทิน ศานติ ์ สันติ (๒๕๕๓: สืบค้นจากhttps://www.gotoknow.org/posts/๓๔๔๓๗๕)


กล่าวถึงพระราชพิธศี รีสจั จปานกาลว่า คือ พระราชพิธถี อื น้ าพิพฒ ั น์สตั ยา บ้างเรียกพระราชพิธ ี
ถือน้ าพิพฒ ั น์สจั จา) เป็ นพระราชพิธที ย่ี งิ่ ใหญ่และศักดิ ์สิทธิ ์สาหรับแผ่นดินสืบเนื่องมาแต่โบราณ
มีความผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริยใ์ นระบอบสมบรูณาญาสิทธิราชย์ทพ่ี ระมหากษัตริยเ์ ป็ น
ผูม้ พี ระราชอานาจสูงสุดและเป็ นศูนย์กลางของพระราชอาณาจักร มีรปู แบบทีจ่ ดั ขึน้ เพื่อให้พระ
บรมวงศานุ วงศ์และข้าราชการดื่มน้ าสาบานว่า จะจงรักภักดีและซื่อตรงต่อพระมหากษัตริย์ โดย
นาศาสตราวุธต่างๆ มาทาพิธสี วดหรือสาปแช่ง ถือว่าเป็ นพิธรี ะงับยุคเข็นของบ้านเมือง (อ้างอิง
๑๖๖

จาก เบญจมาศ พลอินทร์, ๒๕๒๓ : ๒๒) สาหรับพระราชพิธถี ือน้ าพระพิพฒ ั น์ สตั ยาในสมัย
อยุ ธ ยาจะประกอบพระราชพิ ธ ีน้ี ใ นวาระต่ า ง ๆ ๔ วาระด้ ว ยกั น คือ ๑) พระราชพิ ธ ีถื อ
น้ าพระพิพฒ ั น์สตั ยาเมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสวยสิรริ าชสมบัติ กล่าวคือ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จ
สวรรคต พระบรมโอรสาธิราชผูส้ บื ราชสมบัติ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มพี ระบรมราชโองการให้พระ
บรมวงศานุ วงศ์ ข้าราชการ เจ้าหัวเมืองน้ อยใหญ่ มาเข้าเฝ้ายังพระราชวังเพื่อดื่มน้ าถวายสัตย์
สาบาน แสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินองศ์ใหม่ ๒) พระราชพิธถี อื น้าพระพิพฒ ั น์สตั ยา
ประจาปี เพื่อเป็นการตรวจสอบบรรดาข้าราชการ และเจ้าหัวเมืองต่าง ๆ หากผูใ้ ดไม่เข้ามาร่วม
พิธกี จ็ ะถือว่าเป็นกบฏ อีกทัง้ ยังเป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่ขา้ ราชการด้วย ๓) พระราชพิธ ี
ถือ น้ าพระพิพ ัฒ น์ ส ัต ยาในสงคราม เป็ น การแสดงความจงรัก ภัก ดีต่ อ พระเจ้า แผ่ น ดิน และ
ประเทศชาติท่กี าลังจะเสียสละชีวติ ในการออกสงคราม เพื่อเป็ นการสร้างขวัญกาลังให้แก่เหล่า
ทหาร และ ๔) พระราชพิธถี อื น้าพระพิพฒ ั น์สตั ยาในทางการเมือง ถือเป็ นพิธชี ่วยประสานไมตรี
และสร้างความมันคงทางการเมื
่ องของบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ จะประกอบพระราชพิธกี ็ต่อเมื่อ
เห็นว่าหัวเมืองนัน้ แสดงความกระด้างกระเดื่องมีแนวโน้มจะแข็งเมือง (อ้างอิงจาก สุภาพรรณ
ณ บางช้า ง, ๒๕๓๙ : ๑๑๘–๑๔๘) ส าหรับ ค าประกาศถวายสัต ย์ส าบานในพระราชพิธ ีถือ
น้าพระพิพฒ ั น์สตั ยาในรัชการที่ ๕ มีดงั นี้

ข้าพระพุ ท ธเจ้าขอพระราชทานกระท าสัต ยาธิฐานสบถสาบานถวายแต่ พ ระ


เจ้ า อยู่ ห ั ว จ าเพาะพ ระพั ก ตร์ พ ระพุ ท ธเจ้ า พ ระธรรมเจ้ า พระสงฆ์ เ จ้ า ด้ ว ย
ข้าพระพุทธเจ้าจะกระทาราชกาลฉลองพระเดชพระคุณโดยสัจสุจริต ซื่อตรง แต่ความ
สัจจริง มิได้กบฏประทุษร้าย มิได้เอาน้ าใจไปแผ่เผื่อไว้แก่ไท้ต่างด้าวท้าวต่างแดน เพื่อ
จะให้กระทาประทุษร้ายสมเด็จพระพุทธเจ้าอยูห่ วั ถ้ามีการศึกยกมากระทาแก่พระนครก็
ดี พระพุ ทธเจ้าอยู่หวั จะใช้ข้าพระพุ ทธเจ้าไปกระทาสงครามแห่งใด ต าบลใดก็ดี ถ้า
ข้าพระพุ ทธเจ้าเกรงกลัวข้าศึกมากกว่าเจ้า ไม่ทาการเอาชัยชนะข้าศึกได้ ขอให้เทพย
เจ้าอันรักษาโลกในมงคลจักรวาฬ หมื่นโกฎิจกั รวาฬแสนโกฏิจกั รวาฬ มาเข้าดลพระทัย
พระเจ้า อยู่ห ัว ให้ ต ัด หัว ผ่ า อกข้า พระพุ ท ธเจ้า แต่ ใ นป จั จุ บ ัน ขณะเดีย วนี้ เ ถิด อนึ่ ง
ข้าพระพุทธเจ้าเห็นแก่จกั ษุ ได้ฟงั แก่โสต รูว้ ่าผู้อ่นื คิดกบฏประทุษร้ายด้วยความทุจริต
ผิดด้วยพระราชบัญญัติ แล้วนาเอาเนื้อความขึน้ กราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบ ถ้า
ข้าพระพุ ทธเจ้ามิได้ ตัง้ อยู่ในความสัจสาบานดุจกล่ าวมานี้ ขอจงภูมเิ ทวดา อารัก ษ
เทวดา อากาศเทวดา รุกขเทวดา ท้าวจตุโลกบาล ท้าวอัฐโลกบาล ท้าวทัศโลกบาลอันมี
ฤทธิ ์สิทธิศกั ดิ ์ลงสังหารผลาญชีวติ ฯ ข้า ฯ ให้ฉิ นทภินทะพินาศ ด้วยอุ ปะปี ฬ ก, อุ ป
เฉทคกรรมุปะฆาฏด้วยอัสนีบาตรสายฟ้าฟาด ราชสัตถาวุธดาบ องครักษ์จกั รนารายณ์
กระบือเสีย่ ว ช้างแทง เสือสัตว์อนั ร้ายในน้ าในบก จงพิฆาฏอย่าให้ปราศจากปญั จวีสติ
มหาภัย ๒๕ ประการ และทวดึงส์ กรรมกรณ์ ๓๒ ประการ ถ้ าข้าพระพุ ท ธเจ้า รับ
๑๖๗

พระราชทานน้ าพิพฒ ั น์สจั จาธิษฐานนี้แล้ว จงบันดาลให้เกิดฝีพษิ ฝีกาลอติสารชราพาธ


ฉันนะวุตโิ รคร้าย ๙๖ ประการ ให้อกาลมรณภาพตายด้วยความทุกข์เวทนาลาบากให้
ประจักษ์แก่ ตาโลกใน ๓ วัน ๗ วัน แล้วจงไปบังเกิดในมหานรกหมกไหม้อยู่ส้นิ แสน
กัล ป์ อนั น ตชาติ ครัง้ สิ้น กรรมจากที่นั ้น แล้ ว แล้ว จงไปบัง เกิด ในภพใด ๆ อย่ า ให้
ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า พบพระพุ ท ธเจ้ า พระธรรมเจ้ า พระสงฆ์ เ จ้ า ซึ่ ง จะมาโปรดให้
ข้า พระพุ ท ธเจ้า ได้เลย ถ้ า ข้าพระพุ ท ธเจ้า ตัง้ ในกตัญ ญู ก ตเวที ความสัจ สุ จ ริต โดย
บรรยายกล่าวมาแต่หนหลัง ขอจงภูมเิ ทวดา อารักษเทวดา รุกขเทวดา อากาศเทวดา
ท้าวจัตุ โลกบาล ท้าวอัฐโลกบาล ท้าวทัศ โลกบาล เทวดาผู้ม ีฤ ทธิ ์สิท ธิศ ัก ดิ ์ จงช่ ว ย
อภิบ าลข้าพระพุ ท ธเจ้าให้ เจริย ศรีส วัส ดิโ์ ดยบรรยายอัน กล่ าวมานั น้ จงทุ ก ประการ
ข้าพระพุทธเจ้ารับพระราชทานน้ าพิพฒ ั สัจจาธิษฐานแล้ว จงให้ขา้ พระพุทธเจ้าบังเกิด
สุขสวัสดิภาพพ้นจากฉันนะวุฒโิ รค ๙๖ ประการ เจริญอายุวรรณะสุขพละ ให้ถงึ แก่อายุ
บริเฉทกาหนดด้วยสุขเวทนา ดุจนอนหลับแล้ว และตื่นขึน้ ในดุสติ พิมาน เสวยทิพยสุไข
สวรรย์ส้นิ แสนกัล ป์ อ นั น ตชาติค รัน้ ข้าพระพุ ท ธเจ้าจากสวรรค์เทวโลกแล้ว ลงมาใน
มนุ ษย์โลกจงได้พบพระพุทธเจ้าพระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า แล้วเสร็จแก่พุทธภูม ิ อรหัต
ภูม ิ พ้นจากสารทุกข์ดว้ ยความสัจสุจริตกตัญญูนนั ้ เถิด
(เบญจมาศ พลอินทร์, ๒๔๒๓ : ๒๓)
๕.๓.๓ คติ ควำมเชื่ อทำงศำสนำ คติความเชื่อในพระพุทธศาสนาเป็ นแนวทางในการ
ปฏิบตั ขิ องสังคมไทยมาเป็ นเวลาช้านาน พระพุทธศาสนาทาให้คนไทยมีกรอบความคิดและโลก
ทัศ น์ เ ป็ น ไปตามค าสัง่ สอนในพระพุ ท ธศาสนา ตัง้ แต่ ค นธรรมดา ไปจนกระทัง่ สถาบัน
พระมหากษัตริย์ จากการศึกษาวาทกรรมทีใ่ ช้ในวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์พบว่าวาทกรรม
กษัตรานิยมมีคติความเชื่อทางศาสนาไปช่วยเชิดชูว าทกรรมนี้ให้เด่นชัดยิง่ ขึน้ ดังการระบุว่า
พระมหากษัตริยใ์ นวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์มกั ใช้หลักทศพิธราชธรรม ๑๐ และจักรวรรดิ
วัตร ๑๒ ในการปกครองประเทศ มักให้ทาน รักษาศีลอย่างสม่าเสมอ และเป็ นผูอ้ ุปถัมภ์กจิ การ
ในพระศาสนา จนหัวเมืองต่าง ๆ พากันเลื่อมใส หันมานอบน้อมขอเป็ นเมืองขึน้ และยอมรับฟงั
คาสังสอน
่ ก่อให้เกิดศูนย์รวมอานาจทีเ่ ข้มแข็งและเป็นปึกแผ่น เป็นรากฐานการปกครองทีม่ นคง ั่
มาจนถึงพระมหากษัตริยอ์ งค์ปจั จุบนั ดังปรากฏในเรือ่ งลิลติ ตะเลงพ่ายทีก่ ล่าวถึงคุณสมบัตขิ อง
พระนเรศวรที่ใช้หลักทศพิธราชธรรม ราชสังคหวัตถุ ๔ และจักรวรรดิวตั ร ๑๒ ในการปกครอง
ประเทศ หรือ เรื่อ งลิล ิต ยวนพ่ ายที่บ อกคุ ณ สมบัติ ข องสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถที่ค ล้า ย
พระพุ ทธเจ้า เช่น มีลกั ษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ มีมงคล ๑๐๘ ประการ มีล กั ษณะเล็ก ๆ
น้อย ๆ อีก ๘๐ ประการ นอกจากนี้กย็ งั เข้าถึงหลักธรรมนานัปการ ทัง้ นี้กเ็ พื่อโน้มน้าวให้ผอู้ ่าน
เห็นภาพลักษณ์ของกษัตริยท์ ม่ี คี ุณสมบัตเิ ป็นพุทธราชามากยิง่ ขึน้ ดังส่วนนาเรือ่ งลิลติ ยวนพ่าย
๑๖๘

๏ ศรีสทิ ธิสวัสดิ ชยัศดุมงคล วิมลวิบูลย์ อดูลยาดิเรก เอกภูธรกรกช ทสนัขส


มุชลิต วิกสิตสโรโชดม บรมนบอภิวาท บาทรโชพระโคดม สนุพระสัทธรรมาทิตย์ บพิตร
มหิทธิมเหาฬาร มหานดาทธยาศรย หฤทยธวรงค์ ทรงทวดึงษ มหาบุรุษลักษณ์ อัคร
อัษโฎษดร บวรสัตมงคล อนนตญาณอเนก อเศกษาอภิต อสิตยานุ พยญ ชนพิรญชิต
ฉายฉัพ พิธ รังษี พยงรพีพ รรณ จัน ทรโกฏิ โชติส หัส ชัชวาล วิศ าลแสงรุ่งเร้า เท้าหก
ท้องฟ้าหล้าสี่สบ ดารนพมณฑล สรณาภิวนทนสัทธรรมาคม อุดมาภิวนั ทนอรรษฎาร
ยาภิวาท อาทิยคุ ขุกเข็ญ เป็ นกรลีกรลาพรธรณิดล จลพิจลต่างต่าง พ่างจะขว้าทังสีห่ ล้า
ฟ้ าทังหกพกหงาย รสายสยบภพมณฑล ในกษษนัน้ บัน้ พรหมพิษ ณุ อิศ วรอดุลเดช
เหตุบพิตรคิดกรุณ า ประชาราษฎร อยยวจพินาศทังมูล สูญ ภพสบสิง่ ธจิง่ แกล้งแส้ง
สรวบ รวบเอาอัษเฎามูรรดิมามิศร ด้วยบพิตรเสร็จ ก็เสด็จมาอุบตั ิ ในกระษัตรี ทวีดวิ งษ
พงษอภิชาต รงับราชรีปู ชูแผ่นดินให้หงาย ทายแผ่นฟ้าบให้ขว้า ล้ากรัณธรัตนวัดถวี
ตรีโลกยบให้อูน หนุ นพระพุทธศาสนให้ต รง ดารงกรษัต รให้กร-สานต์ ประหารทุกข
ให้ก ษย ไขยเกษตรให้เกษม เปรมใจราษฎรนิกร กาจรยศโยค ดิลกโลกยอาศรย ชย
ชยนฤเบนทราทรงเดช ฤๅลงดินฟ้าฟุ้งข่าวขจร ฯ
(ลิลติ ยวนพ่าย)

การที่พ ระมหากษัต ริย์ย ึด หลัก ปฏิบ ัติต ามหลัก ศาสนาเพื่อ เป็ น ธรรมราชาที่ดีห รือ
พระราชาผูป้ ระพฤติธรรมจะมีส่วนสร้างแนวประพฤติปฏิบตั ใิ ห้กบั คนในสังคมด้วย รวมไปถึงการ
ออกข้อบังคับต่าง ๆ ทีแ่ สดงนัยถึงการสร้างความเป็ นปึกแผ่นมันคงให้
่ กบั อาณาจักร ดังตัวอย่าง
โคลงยอพระเกียรติส มเด็จพระเจ้ากรุงธนบุ ร ีท่กี ล่ าวถึงภาพลักษณ์ ของกษัต ริย์พ ระองค์น้ีว่า
ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก
แล้วฉลองพุทธธาตุแท้ สุจริต
สมณะบรรพชิต ใช่น้อย
พระอวยชนอุทศิ ทานทัว่
มีมหรศพช้อย ชื่นช้อยชนเขษม ฯ
(โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร)ี
๕.๓.๔ แนวคิ ดเกี่ยวกับกำรสร้ำงวีรบุรษุ นิธ ิ เอียวศรีวงศ์ (๒๕๑๘ : ๓๕-๕๔) กล่าว
ว่า ในทางสังคม บุคคลทัง้ ที่มอี ยู่จริงและไม่มจี ริงในประวัตศิ าสตร์ บางคนได้รบั การยกย่องสูง
เนื่ อ งจากการกระท าที่ม ีป ระโยชน์ แ ก่ ค นในวงกว้า ง การกระท าดังกล่ าวมีคุ ณ ค่ าในทุ ก กาล
โดยเฉพาะ ในสมัยทีย่ งั ยกย่องบุคคลนัน้ อยู่ บุคคลประเภทนี้อาจเรียกกว้าง ๆ ว่าเป็ น “วีรบุรุษ”
เมื่อมีการยกย่องวีรบุรุษย่อมมีการให้ความหมายใหม่แก่การกระทาของวีรบุรุษนัน้ ๆ ให้น่ายก
ย่องสมกับยุคสมัย การให้ความหมายทาได้หลายอย่าง นับแต่การแต่งเรือ่ งวีรบุรุษใหม่แล้วยกให้
๑๖๙

เป็ นการกระทาของวีรบุรุษนัน้ ไป ตกแต่งรายละเอียดของการกระทาที่เล่ากันให้เกิดความหมาย


ใหม่ หรือเปลี่ยนบริบทของการกระทาที่เล่ากันมาให้กลายเป็ นบริบทของปจั จุบนั เพื่อทาให้การ
กระทานัน้ มีจุด มุ่งหมายสอดคล้อ งกับปจั จุบนั โดยกระบวนการตีความหมายวีรุบุรุษทาอย่าง
สืบ เนื่ อ งมาแต่ โบราณ เพื่อ ท าให้ว ีร บุ รุษ ยืน ยงอยู่ไ ด้ท่ า มกลางความเปลี่ย นแปลงในระบบ
การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม สาหรับการแบ่งประเภทวีรบุรษุ นัน้ นิธใิ ช้คาเรียกตาม
การให้ความหมายที่หลากหลาย เช่น วีรบุรุษทางวัฒนธรรม วีรบุรุษของประชาชน วีรบุรุษของ
ราชสานัก วีรบุรุษของพุทธศาสนา และวีรบุรุษของรัฐชาติ เช่น วีรบุรุษของประชาชน ที่พบว่า
วีรกรรมหรือ การกระท าของวีร บุ รุษ ดูจ ะมีค วามส าคัญ น้ อ ยกว่ าบุ ค ลิก ภาพของวีรุบุ รุษ เอง
กล่ าวคือ บุ ค คลผู้นัน้ เป็ นคนอย่างไรจะได้รบั การยกย่อ งมากกว่าบุ ค คลผู้นัน้ ได้ท าอะไร เช่น
คาให้การชาวกรุงเก่า และพงศาวดารเหนือที่กล่าวเหมือนกันว่า คนสาคัญ ๆ ที่นามาเล่าไว้นัน้
ล้ว นเป็ น “คนมีบุ ญ ” ทัง้ สิ้น ดัง พระราชประวัติข องสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชที่ส ะท้ อ น
ความสาคัญว่า เป็ นคนมีบุญญาธิการมาก เมื่อไปประทับที่เมืองหงสาวดี ขณะเสด็จขึน้ เฝ้าพระ
เจ้าหงสาวดี เมื่อเข้าไปถึงพระราชมนเทียรก็หวันไหวจนพระเจ้
่ ากรุงหงสาวดีถงึ กับออกปากว่า
พระนเรศวรนัน้ มีบุญมาก จึงได้ห้ามปรามมิให้พระมหาอุปราชาเสด็จไปตามตัวพระนเรศวรเมื่อ
เสด็จหนีจากเมืองหงสาวดีกลับกรุงศรีอยุธยา หรือการให้นิยามความหมายเกี่ยวกับ วีรบุรุษของ
ราชสานักในสมัยรัตนโกสินทร์ท่เี ปลี่ยนแปลงไปมีการขยายความ เติมต่อไปอีกมาก โดยทาให้
วีรบุรุษเป็ นมีภารกิจทีช่ ดั เจนยิง่ ขึน้ หรือมีอุดมคติของคุณธรรมชัดเจนสาหรับเป็ นเครื่องยกย่อง
สดุด ี ซึง่ สามารถนามาประยุกต์ใช้สบื ต่อเมือ่ สังคมไทยได้รบั อิทธิพลตะวันตกมากขึน้ ได้อย่างดี
แนวคิดเกี่ยวกับวีรุบุรุษ ข้างต้น เป็ นตัวอย่างให้เห็นว่า ในการแต่ ง วรรณคดีเกี่ยวกับ
ประวัติศาสตร์ ผู้แต่งมักนาเสนอเนื้อหาสดุดวี รี กรรมพระมหากษัตริย์ ซึ่งน่ าจะเกิดจากการรับ
แนวคิด เกี่ย วกับ การสร้างวีร บุ รุษ อยู่ จึงท าให้เ ห็น ภาพของตัว ละครเอกที่ม ีค วามสามารถ
เหนือกว่าบุคคลธรรมดา มีพลังพิเศษ มีชาติกาเนิดพิเศษ มีความสามารถพิเศษ และมีคุณสมบัติ
ด้านพฤติกรรมอื่น ๆ ที่ยงิ่ ใหญ่ สง่างาม สอดคล้องกับที่พจนานุ กรมวรรณกรรมอังกฤษ-ไทย
ฉบับราชบัณ ฑิตยสถาน (๒๕๔๕ : ๒๐๘) กล่าวถึงลักษณะของวีรบุรุษว่าต้องมีลกั ษณะที่กล้า
หาญ เข้มแข็ง ฉลาดหลักแหลม มีเทพเจ้าคอยช่วยเหลือ โดยเชื่อว่าสืบเชือ้ สายมาจากเทพเจ้า
ส่วนสุ กญ ั ญา สุ จฉายา (๒๕๔๒ : ๔๒) กล่าวถึงวีรบุรุษ มีล กั ษณะ ๒ ประการ คือ วีรบุรุษ ใน
ประวัตศิ าสตร์ท่ไี ด้รบั การกล่าวขานถึงวีรกรรมด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องการศึกสงคราม การ
ขยายดินแดน และวีรบุรุษทางวัฒนธรรมทีก่ ารวางรากฐานทางวัฒนธรรมบางด้านให้แก่กลุ่มชน
สอนความคิดความเชื่อบางอย่างหรือนากลุ่มชนมาสร้างเมือง มีช่อื ในตานาน พงศาวดารหรือ
นิทานประจาถิน่ เช่น ท้าวอู่ทอง และพระร่วง
สิทธา พินิจภูวดล (๒๕๓๘) กล่าวว่า วีรบุรุษในวรรณกรรมสดุดวี รี กรรมมักเป็ นบุคคลที่
ปรากฏจริงในประวัตศิ าสตร์ มีความยิง่ ใหญ่โดดเด่น เป็ นมนุ ษย์ก่งึ เทพ ชะตากรรมของกลุ่มชน
หรือมวลมนุ ษย์แขวนอยู่กบั ตัวเอกนี้ มีความยิง่ ใหญ่ดา้ นความคิด สติปญั ญา และภูมริ ู้ มีพลังสูง
๑๗๐

ทัง้ พลังกาย พลังอาวุธ และพลังจิตทีเ่ ข้มแข็งหนักแน่ น เมื่อปฏิบตั กิ ารใด ๆ จะยิง่ ใหญ่ บาเพ็ญ
คุณประโยชน์ทย่ี งิ่ ใหญ่ ยากทีบ่ ุคคลธรรมดาจะกระทาได้ เช่น การต่อสู้ การเผชิญอันตราย การ
ตกอยู่ในภาวะคับขันจนตรอก การเผชิญการทรยศหักหลัง ฯลฯ ผลงานจากการปฏิบตั ภิ ารกิจ
อาจยิง่ ใหญ่ ถึงขัน้ สร้างเมือง สร้างดินแดนและประเทศชาติ นอกจากนี้ยงั ต้องมีคุณธรรม การ
ค้นหาความจริง และมีความพิเศษด้านรูปลักษณ์ ในขณะที่ผุสดี ศรีเขียว และคณะ (๒๕๒๘)
กล่าวว่าวีรบุรุษแบบอัศวินจะต้องมีความกล้าหาญด้านการรบ มีน้าใจต่อศัตรูผู้ ปราชัย มีอุเบกขา
ญาณในการข่มอารมณ์ มีความใจกว้างและร่าเริง มีความสุภาพอ่อนน้ อม มีความน่ าเชื่อถือ มี
ความเมตตาปรานีต่อคนยากไร้และเจ็บปว่ ย มีความอ่อนโยน ละมุนละม่อม ใฝร่ แู้ ละฝึกฝนตน
ลักษณะของวีรบุรุษ ในวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ท่ปี รากฏอย่างสม่าเสมอ เช่น มี
ความสามารถในการทาศึกสงคราม เชิงการต่อสู้ โดยอาศัยสติปญั ญาความมุ่งมัน่ มีความมานะ
พยายามในการทาศึก มีความกล้าหาญเด็ดเดีย่ ว ไม่ย่อท้อ และการไม่กลัวความตาย มีคุณธรรม
และศีลธรรมทีด่ งี าม เป็ นผูเ้ สียสละเพื่อบ้านเมือง เมตตาปรานีต่อผูย้ ากไร้ ให้อภัยต่อผูแ้ พ้ มีพลัง
อานาจหรือลักษณะทีโ่ ดดเด่นเหนือผูอ้ ่นื สามารถทางานจนบรรลุเป้าหมาย ส่งผลให้บา้ นเมืองอยู่
เย็นเป็ นสุข เช่น พระบรมไตรโลกนาถจากเรื่องลิลติ ยวนพ่าย สมเด็จพระนเรศวรจากเรื่องลิลติ
ตะเลงพ่าย หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุร ีจากโคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุร ี แม้
่ ยายยุคปจั จุบนั ผูแ้ ต่งยังคงผลิตซ้าภาพลักษณ์น้ีอยู่ เช่น เรือ่ งอิฐพระองค์ดาผลิตซ้า
กระทังนวนิ
ภาพลักษณ์ของพระนเรศวรมหาราชทีม่ คี วามกล้าหาญในการกอบกูช้ าติเฉกเช่นวีรบุรษุ ดังนี้
พระองค์ดา คือ กษัตริย์ผู้ยงิ่ ใหญ่ ของอยุธยา พระองค์ท่านช่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยว น่ า
ประทับใจยิง่ นัก พระองค์ท่านตัดสินใจทายุทธหัตถีกบั พระมหาอุปราชา ช้างต่อช้างชน
กัน คนต่ อคนฟนั กันบนหลังช้าง นี่คอื สงครามครัง้ ยิง่ ใหญ่ ระหว่างกษัตริย์ต่อกษัตริย์
พระองค์คอื ผูส้ ร้างความสะเทือนให้แก่มหาอาณาจักรในอดีตของเราอย่างที่ไม่มเี จ้าหัว
เมือง ประเทศราชผูใ้ ดเคยทามาก่อน พระองค์สร้างความระส่าระส่า ยให้แก่การปกครอง
ของเราอย่างพวกมอญ พวกไทยใหญ่ พวกโยน พวกลาว พวกอาระกัน ยะไข่ กระแย
จนความมันคงเป็่ นปึ กแผ่นที่มหาวีรราชเจ้าบุเรงนอง หรือพระเจ้าอลองพญา หรือมหา
กษัตริยอ์ ่นื ๆ ที่เข้มแข็งแกร่งกล้าของเรา แต่ความเก่งกล้าของเจ้าองค์ดานั ้ นเราต้อง
ยอมรับว่ายิง่ ใหญ่มาก สาหรับอาณาจักรเล็ก ๆ อย่างอยุธยา (อิฐพระองค์ดา)

๕.๓.๕ วัฒนธรรมทำงวรรณศิ ลป์ ในการแต่งวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์น้ีสงิ่ ที่


ท าให้ ชุ ด “ความรู้ ” ชุ ด หนึ่ ง ตรึง อยู่ ไ ด้ นอกเหนื อ จากภาคปฏิ บ ัติ ก ารที่เ ป็ น เอกสารทาง
ประวัตศิ าสตร์แล้ว วัฒนธรรมทางวรรณศิลป์กม็ สี ่วนในการสร้างวาทกรรมในวรรณคดี ดังนี้
๑) การสร้างโครงเรื่องแบบสุขนาฏกรรม - โศกนาฏกรรม การวางโครงเรื่องแนว
สุขนาฏกรรมของฝ่ายไทยมักเริม่ จากการวางภูมหิ ลังด้านชาติกาเนิดที่ยงิ่ ใหญ่ของกษัตริยท์ ่ตี ่าง
๑๗๑

จากคนธรรมดาสามัญ ต่ อมาก็ให้ภาพของกษัต ริย์ท่มี คี วามสามารถ มีสติปญั ญา มีคุณ ธรรม


สามารถครองใจคนได้ทุก ผู้ค น เมื่อ มีการทาศึกสงคราม แม้จะรบกับ กองทัพ ที่ยงิ่ ใหญ่ ก ว่าก็
สามารถเอาชนะได้อย่างง่ายดาย นอกจากนัน้ ก็ให้ภาพสภาพบ้านเมือง ผูค้ นทีอ่ ยู่เย็นเป็ นสุข มี
เมืองต่าง ๆ ขอเข้ามาพึ่งบารมี ทัง้ หมดนี้เป็ นสัญ ลักษณ์ ของความสุข ส่วนการวางโครงเรื่อง
แบบโศกนาฏกรรมของฝ่ายตรงข้าม คือ การวางโครงเรือ่ งโดยให้ภาพของอีกฝ่ายทีด่ ูขลาดเขลา
เบาปญั ญาคิด จะมาสู้รบกับคนดี คนเก่ง และคนมีบุญ สุดท้ายก็พ่ายแพ้ ผู้แต่งจะให้ภาพของ
ความหายนะ ความอ่อนแอ และความทุกข์ใจของอีกฝา่ ยเพื่อเป็ นสัญลักษณ์ส่อื ถึงความทุกข์
๒) การใช้สานวนโวหารต่าง ๆ เพื่อเน้ นย้าเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ ทัง้ การ
บรรยายโวหารที่ให้รายละเอียดเกี่ย วกับ ภูมหิ ลังของกษัต ริย์ และรายละเอียดด้านการทาศึก
สงครามของกษัตริย์ การพรรณนาโวหารที่เน้นการให้ภาพด้านอารมณ์ความรูส้ กึ ของตัวละคร
ในขณะทาสงคราม การให้ภาพลักษณ์ ท่นี ่ าอัศจรรย์ใจของกษัตริย์ หรือการให้ภาพความกล้า
หาญของคนในกองทัพขณะทาสงคราม เทศนาโวหารที่เน้ นการสังสอนตั ่ วละครในด้านต่าง ๆ
เช่น การสอนหลักธรรมในการปกครองคน สอนหลักในการดาเนินชีวติ หรือการให้ขอ้ คิดด้าน
ต่าง ๆ สุดท้าย คือ อุปมาโวหารที่เน้นการเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพมากยิง่ ขึน้ ตัวอย่างการ
ใช้ภาษาพรรณนาให้เห็นภาพความเจริญรุง่ เรืองของอยุธยา
อยุทธยายศยิง่ ฟ้า ลงดิน แลฤๅ
อานาถบุญเพรงพระ ก่อเกือ้
เจดีลอออินทร ปราสาท
ในทาบทองแล้วเนื้อ นอกโสรมฯ
(โคลงกาศรวลสมุทร)

๓) การใช้ถ้อ ยค าภาษา ภาพพจน์ และสัญ ลัก ษณ์ เพื่อ เน้ น ย้าความยิง่ ใหญ่
อานาจ ความดี และความงามของฝา่ ยไทย ส่วนฝา่ ยตรงข้ามสื่อภาพด้านลบ เช่น ความพ่ายแพ้
อ่อนแอ ความโง่เขลา และความมัวเมาลุ่มหลง ดังตัวอย่างการนาเสนอภาพของฝ่ายไทยที่ม ี
ก าลังน้ อ ยกว่า แต่ ม ีค วามฮึก เหิม กล้าหาญ และมีค วามสามารถจนศัต รูพ ากัน ขวัญ หนี ด ีฝ่ อ
สุดท้ายก็สามารถเอาชนะฝ่ายตรงข้ามที่มกี องทัพมากกว่าได้อย่างง่ายดาย ภาพของชาวลาวที่
เห็น คือ ล้มตายเกลื่อนกลาด ทีม่ ชี วี ติ ก็ถูกลากจูงเป็นทีน่ ่าสมเพช เวทนาแก่ผพู้ บเห็น ดังนี้

๏ หมวกทองลุกแล่นเข้า ขบฟนั ต่อนา


เข้าประทะได้กล ดีดนิ้ว
สิบคนต่อลาวพัน ภูใหญ่
หันเด็
่ จหัวได้หว้ิ ถังถวาย
่ ฯ
๑๗๒

๏ แพนดัง้ ไย่ไย่เข้า ทักแทน ก่อนนา


ตัวต่อตัวลาวตาย ตื่นหยัน้
หางยูงหักโหมแพน ทองท่าว
ญวนพ่ายพลล้านร้น ค่ายคึง ฯ
๏ พันฦกล้าฟ้าผ่าว เผากัลป์
ฦๅเลวงอึกอึง แหล่งหล้า
พราหมณพรตสังวาลวัล โหงหูต แล้วแฮ
มากปูเ่ ปนบ้าเต้น ตื่นหนี ฯ
๏ หมากขามรกรูดช้าง ลงเชอง
ลาวล่ามมัวผีเมา ม่วยม้วย
ถางกันไขว่ขวินเชวอง ดยรดาษ
ยงยิง่ ลากล้วยล้า ล่าวเลือน ฯ
๏ กัง้ กลดไทท้าวราช เอารส ท่านนา
ขวัญก่ยงกินเผือนไป เผือดหน้า
ตรลึงตรลานหต หัวห่อ ตนแฮ
ยวนยิง่ เหยงย้ายว้า วุ่นวนน ฯ
๏ เสียนางลเอ่งเนื้อ นมเฉลา
เสียสาตราวุธสรรพ์ ใช่น้อย
เสียพาลยพัฬเหา ทองแท่ง
เสียกันโทงถ้
่ วนร้อย มาศเมลือง ฯ
๏ เห็นเราทุกแห่งห้อม ติดตาม
โหมประนงงเมืองโจม จวบล้าง
เงินทองแหล่เหลือหาม ทุกหมู่
นางมิง่ เมืองม้าช้าง ถังถวาย
่ ฯ
๏ เชลอยลากลู่มา้ มือมัด
เขาเมือ่ ยจาจูงขาย แลกเหล้า
พระยศพ่อท่านทัด ไตรโลกย์
ดินหื่นหอมฟ้าเร้า รวดขจร ฯ
(ลิลติ ยวนพ่าย)

เรื่อ งกษัต ริย า มีก ลวิธ ีก ารใช้ภ าษาในเชิงลบต่ อ กษัต ริย์พ ม่ า เช่ น การมอง
สมเด็จพระเจ้าบุเรงทอง กษัตริยข์ องพม่าว่า “ฝีมอื ไม่เท่าไหร่” “ไม่มปี ญั ญา” “ปากดี” “ความคิด
เจ้าเล่ห”์ ดังนี้ “ยิง่ อ่าน จะยิง่ รูว้ ่า อันพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองนัน้ ‘ฝีมอื ไม่เท่าไหร่’จะดีกแ็ ต่‘ปาก’
๑๗๓

กับความคิดเจ้าเล่ห์เจ้ากล ยกพลมาถึงห้าแสน (ตอนนี้คงเหลือไม่ครบแล้วละ เพราะเอาศพไป


ถมจองถนนเสียก็มาก) ช่องกาแพงเมืองตรงมุมเกาะแก้วก็โหว่ ยังไม่มปี ญั ญาข้ามอีกเลย (หน้า
๓๒๘) นอกจากนั ้น ก็ ก ล่ า วหาว่ า สมเด็ จ พระเจ้ า บุ เ รางนองเป็ น ผู้ รุ ก รานชาติ ไ ทย ไม่ ม ี
ทศพิธราชธรรม เป็ นกษัตริยโ์ หดร้าย เลือดเย็น ชอบเผาเมือง ทาให้ประชาชน เกิดความ “ยาก
เข็ญ” “แค้นเคือง” “สาหัส” “หวาดหวัน”
่ “มิรม่ เย็น” ดังตอนทีว่ ่า

พระเจ้าหงสาวดีบุ เ รงนองนั น้ เมื่อ จะขึ้น เป็ น ใหญ่ ต้ อ งปราบปรามหัว เมือ งทัง้ หลาย
โดยเฉพาะรามัญ เป็ นการปราบปรามอย่างขนานใหญ่ บุเรงนองเข้าทีใ่ ด ชอบเผาเมือง
ประชาชนยากเข็ญ แค้นเคืองสาหัสสมเด็จพระมหาจักรพรรดิย้อนยอกให้พิจารณาใน
ทศพิธราชธรรม หงสาวดีในขณะนี้นนั ้ ทุกหัวเมืองหวาดหวัน่ แต่มริ ม่ เย็น พระเจ้าหงสาว
ดีบุเรงนองเป็นกษัตราธิราชผูย้ งิ่ ใหญ่ เหตุใดไม่มชี า้ งเผือกมาสู่โพธิสมภาร?
(กษัตริยา)

๔) การสร้างตัวละครทีม่ ลี กั ษณะของวีรบุรษุ คือ การสร้างตัวละครทีม่ คี ุณสมบัติ


่ ทัง้ ชาติกาเนิด รูปร่างหน้าตา ความสามารถ ความคิด สติปญั ญา และการ
เหนือกว่าบุคคลทัวไป
มองโลก แล้วเน้นยา้ ให้เห็นว่าบุคคลดังกล่าวเกิดมาเพื่อปกป้องและคุม้ ครองโลก จึงรบเก่ง และมี
ความสามารถอื่น ๆ รอบด้าน ไม่มใี ครสามารถต่อกรหรือสู้รบปรบมือกับวีรบุรุษเช่นนี้ได้ เช่น
การสร้างสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชในเรื่อ งลิล ิต ตะเลงพ่ าย การสร้า งสมเด็จ พระบรมไตร
โลกนาถในเรื่องลิลติ ยวนพ่าย และการสร้างสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในเรื่องโคลงยอพระ
เกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรที ม่ี คี ุณสมบัตขิ องวีรบุรษุ ทีท่ าเพื่อปกป้องบ้านเมือง
๕) การซ้าแนวเรือ่ งทีเ่ น้นทัง้ การบันทึก เหตุการณ์สาคัญ ๆ ในอดีตและการสดุดี
พระมหากษัต ริย์เพื่อ ตอกย้าความยิ่ง ใหญ่ ข องสภาพบ้านเมือ งอยู่ภ ายใต้ก ารปกครองของ
พระมหากษัตริยพ์ ระองค์ใดพระองค์หนึ่ง เช่น เรือ่ งลิลติ พายัพพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หวั พ.ศ. ๒๔๔๘ ขณะยังดารงพระอิสริยยศเป็ นสมเด็จพระบรมโอรสาธิ
ราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ โดยเรือ่ งนี้แต่งกัน ๔ คน มีเจ้านายและขุนนางแต่งร่วมอีก ๓ คน ได้แก่
น้อยสบจินดา หรือหม่อมเจ้าถูกถวิล หนานขวาย หรือ พระยาบาเรอบริรกั ษ์ (สาย ณ มหาชัย)
และนายมยู ร หรือ พระยาสุ ร ิน ทราชา (นกยู ง วิเ ศษกุ ล ) บัน ทึ ก การเดิ น ทางเมื่อ ครัง้ ที่
พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หวั เสด็จฯ เปิ ดทางรถไฟที่ต าบลบ้านภาชี เมื่อ พ.ศ.
๒๔๔๘ โดยมีพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธตามเสด็จ จากนัน้ พระบรมโอรสาธิราช ฯ
พร้อมเหล่าบรรดาขุนนางได้เดินทางต่อไปยังมณฑลพายัพหรือล้านนา ในเรื่องนี้มกี ารกล่าวถึง
การสร้างความเจริญ ของประเทศเพื่อนาพาไปสู่ความศิวไิ ลซ์หลายด้าน เช่น การเปิ ดโรงเรียน
การเปิ ด ถนน และการเปิ ด ทางรถไฟ ดังตอนเริ่ม เรื่อ งที่แ ต่ ง เป็ น ร่า ยสุ ภ าพกล่ า วถึง ความ
๑๗๔

เจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่น การเกิดขึน้ ของถนนหลวง ระบบการคมนาคมทางบกทีม่ ที งั ้ รถ


ม้า รถราง รถจักร ทัง้ ยังมีไฟฟ้าทีส่ ว่างไสว นับเป็นการพัฒนาบ้านเมืองตามแบบตะวันตก

ศรีสวัสดิวชิ ยั ไกรกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราโยธยา สยาม


ราชาธิราชสถิต ยิง่ พิศยิง่ พิศวง งงงวยแทบลืมพริบ แม้จกั หยิบสิง่ งาม หรือกล่าวความ
ขยายบรรยายถึงสิง่ สรรพ์ อันควรชมทัง้ หมด ต้องกาหนดเพลานาน นี้พยานความเจริญ
เหล่าไทยเดิรขึน้ มา กว่าเมื่อปางก่อนกี้ ข้อนี้เห็นถนัดเจียว ถ้าไปเที่ยวในนคร สัญ จร
ตามถนนหลวง ปวงรถม้าดาดาษ รถรางกลาดเกลื่อนไป รถจักรใช้จกั รรุด ไฟฟ้ าจุด
ชัชวาล แลโอฬารเพลินตา เดิรไปมาแสนสุข ชนนฤทุกข์ทวหน้ ั ่ า พึง่ พระเดชผ่านฟ้า ปก
เกล้าเย็นเกษม ทัวนา
่ ฯ (ลิลพิ พายัพ)

ในการนาระบบคมนาคมทางรถไฟมาใช้ในประเทศ ชนชัน้ นาหวังให้ประชาชน


ได้ “สุ ขทัง้ พูนสิน ” จากการมีทรัพ ย์ส ินเงินทอง ผู้ค นสามารถขนส่ งสินค้าเพื่อ การค้าขายจาก
ภูมภิ าคหนึ่งมาสู่อกี ภูมภิ าคหนึ่งได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ง่ายต่อการขนส่งทรัพยากรต่างๆ
เข้าสู่ศูนย์กลาง รวมไปถึงความมุ่งหวังที่จะประสานผูค้ นให้เกิดความสานึกในการเป็ น “คนชาติ
เดียวกัน” แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาประเทศตามเยีย่ งอย่างชาติตะวันตกได้เป็นอย่างดี
จอมไทยดารัสโต้ ตอบคา อมาตย์นา
ไพเราะสุดควรจา จดไว้
รถไฟเป็นเครือ่ งนา ผลสู่ ประเทศแฮ
ปวงราษฎรจักได้ สุขทัง้ พูนสิน
(ลิลติ พายัพ)

แผ่นดินก็จกั ได้ รับผล อีกนา


จักช่วยผูกประชาชน ชิดเข้า
ความรักรัฐมณฑล จักเกิด ทวีพ่อ
ความรักชาติจกั เร้า เร่งให้ไทยเจริญ
(ลิลพิ พายัพ)

๖) การใช้น้ าเสียงที่ขงึ ขัง เด็ดเดี่ยว เพื่อโน้ มน้ าวให้ผู้อ่านคล้อยตาม ยอมรับ


ศรัทธาในตัวผูน้ า ภูมใิ จในบรรพชน และปลุกจิตสานึกของความรักชาติ เช่น บทเห่ชมชายทะเล
ตอนต้นเรื่อง กวีทรงชีใ้ ห้เห็นความสาคัญของการเป็ นทหารเพื่อปกป้องภัยจากศัตรูเพื่อนาเสนอ
ความคิดเรือ่ งความรักชาติ ดังความว่า
๑๗๕

แม้มศี กึ สงคราม ถึงสยามในวันใด


จาพรากจากทรามวัย ไปต่อสูศ้ ตั รูพาล
เกิดมาเป็นชาวไทย ต้องทาใจเป็นทหาร
รักเจ้าเยาวมาลย์ ก็จาหักรักรีบไป
จะยอมให้ไพรี เหยียบย่ายีแผ่นดินไทย
เช่นนัน้ สิจญ
ั ไร ไม่รกั ชาติศาสนา
เพราะรักประจักษ์จริง จึงต้องทิง้ เจ้าแก้วตา
จงรักภักดีมา อาสาต้านราญริปู
(กาพย์เห่เรือจากสมัยอยุธยาถึงสมัยรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช)

๗) การล าดับเรื่อ งราวที่อิงกับบริบททางประวัติศาสตร์ วรรณกรรมเกี่ยวกับ


ประวัตศิ าสตร์ส่วนใหญ่ผแู้ ต่งจะนาเรือ่ งด้วยการกล่าวถึงสภาพบ้านเมืองทีล่ ่มสลายก่อนมีวรี บุรุษ
ต่อมาก็กล่าวถึงประวัตคิ วามเป็ นมาของวีรบุรุษ การบอกคุณสมบัติของตัวละครสาคัญ ๆ ซึง่ มัก
ปรากฏในประวัตศิ าสตร์ โดยมักระบุว่ามีสถานภาพเป็ นกษัตริย์ แม่ทพั หรือทหาร และจบด้วย
การกล่าวยกย่องสดุดอี กี ครัง้ เช่น ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง ลิลติ ยวนพ่าย และลิลติ ตะเลงพ่าย
บางเรือ่ งมีการลาดับเรือ่ งราวทีอ่ งิ กับแผ่นดินของพระมหากษัตริยพ์ ระองค์ต่าง ๆ เช่น โคลงภาพ
พระราชพงศาวดารลาเหตุ ก ารณ์ ท่เี กิดขึ้นในแผ่ นดินของพระมหากษัต ริย์ ๒๕ พระองค์ เริม่
ตัง้ แต่แผ่นดินของสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๑ คือ การสร้างกรุงศรีอยุธยา จนกระทังถึ ่ งแผ่นดินของ
สมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยู่หวั คือ กัปตันเฮนรี เบอร์นีทูตอังกฤษเข้าเฝ้า โดยมีวตั ถุประสงค์เพื่อ
แสดงความยิง่ ใหญ่ของพระมหากษัตริย์ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ การประกอบสร้างวาทกรรมกษัตรา
นิยมในสังคมสยาม โดยอาศัยศิลปะต่าง ๆ ในการนาเสนอ ดังที่บาหยัน อิ่มสาราญ (๒๕๕๔:
๑๒๑-๑๕๖) กล่าวว่า เรื่องโคลงภาพพระราชพงศาวดารการอาศัยลายลักษณ์ อกั ษรในการสื่อ
ความหมายทัง้ ในเชิงของการบรรยาย การอธิบาย การให้ภาพ และการเสนอข้อคิด เรื่องนี้เป็ น
ตัวอย่างของศิลปะและวรรณกรรมในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ท่ี มจี ุดมุ่งหมายจะสาแดง
ตัวตนของสถาบันกษัต ริย์ในสังคมสยามด้ว ยเรื่อ งราวจากพงศาวดารที่การตัดตอนมาอย่าง
กระชับรัดกุม การใช้ส่อื ผสมระหว่างทัศนศิลป์กบั วรรณศิลป์แสดงให้เห็นพระราชนิยมทางศิลปะ
ทีล่ ้าสมัย อันได้แก่ ความสามารถในการผสานความศิวไิ ลซ์จากโลกตะวันตกให้เข้ากับแบบแผน
ตามจารีตแบบไทย อีกทัง้ ยังทาให้ศลิ ปะทัง้ สองแขนงอยูร่ ่วมอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ศิลปะและ
วรรณกรรมชุดโคลงภาพพระราชพงศาวดารนี้จงึ ถึงซึง่ คุณค่าของความงามและประโยชน์ใช้สอย
เป็ นการประกาศจุดยืนแห่งความเป็ นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของราชสานักไทยในสมัยรัชกาลที่
๕ ด้วยรูปแบบศิลปะทีศ่ วิ ไิ ลซ์ ในบรรยากาศทีโ่ อ่อ่าอลังการแบบลัทธิเทวราชา
๑๗๖

๘) การใช้วงศัพท์ท่แี สดงความอลังการเพื่อยกย่อง เชิดชูสภาพบ้านเมืองและ


ภาพลัก ษณ์ ข องพระมหากษัต ริย์ ดังตัว อย่างการใช้ว งศัพ ท์ในเรื่อ งลิล ิต ยวนพ่ ายเพื่อ เชิด ชู
ภาพลักษณ์ของพระมหากษัตริยท์ อ่ี ยูเ่ หนือคนธรรมดา ในตอนเริม่ เรือ่ ง ดังนี้

๏ ศรีสทิ ธิสวัสดิ ชยัศดุมงคล วิมลวิบูลย์ อดูลยาดิเรก เอกภูธรกรกช ทสนัขส


มุชลิต วิกสิตสโรโชดม บรมนบอภิวาท บาทรโชพระโคดม สนุพระสัทธรรมาทิตย์ บพิตร
มหิทธิมเหาฬาร มหานดาทธยาศรย หฤทยธวรงค์ ทรงทวดึงษ มหาบุรุษลักษณ์ อัคร
อัษโฎษดร บวรสัตมงคล อนนตญาณอเนก อเศกษาอภิต อสิตยานุ พยญ ชนพิรญชิต
ฉายฉัพ พิธ รังษี พยงรพีพ รรณ จัน ทรโกฏิ โชติส หัส ชัชวาล วิศ าลแสงรุ่งเร้า เท้าหก
ท้องฟ้าหล้าสี่สบ ดารนพมณฑล สรณาภิวนทนสัทธรรมาคม อุดมาภิวนั ทนอรรษฎาร
ยาภิวาท อาทิยคุ ขุกเข็ญ เป็ นกรลีกรลาพรธรณิดล จลพิจลต่างต่าง พ่างจะขว้าทังสีห่ ล้า
ฟ้ าทังหกพกหงาย รสายสยบภพมณฑล ในกษษนัน้ บัน้ พรหมพิษ ณุ อิศ วรอดุลเดช
เหตุบพิตรคิดกรุณ า ประชาราษฎร อยยวจพินาศทังมูล สูญ ภพสบสิง่ ธจิง่ แกล้งแส้ง
สรวบ รวบเอาอัษเฎามูรรดิมามิศร ด้วยบพิตรเสร็จ ก็เสด็จมาอุบตั ิ ในกระษัตรี ทวีดวิ งษ
พงษอภิชาต รงับราชรีปู ชูแผ่นดินให้หงาย ทายแผ่นฟ้าบให้ขว้า ล้ากรัณธรัตนวัดถวี
ตรีโลกยบให้อูน หนุ นพระพุทธศาสนให้ต รง ดารงกรษัต รให้กร-สานต์ ประหารทุกข
ให้ก ษย ไขยเกษตรให้เกษม เปรมใจราษฎรนิกร กาจรยศโยค ดิลกโลกยอาศรย ชย
ชยนฤเบนทราทรงเดช ฤๅลงดินฟ้าฟุ้งข่าวขจร ฯ
(ลิลติ ยวนพ่าย)

๙) การเลือกใช้มุมมองผูเ้ ล่าเรื่อง ซึง่ ส่วนใหญ่ผเู้ ล่าจะทาหน้าที่เป็ นผูเ้ ล่าเรื่องที่


ไม่ปรากฏตัว ผู้เล่าเรื่องแบบนี้จะรูท้ วั ่ รูไ้ ปถึงจิตใจของตัวละคร ทัง้ ตัวละครฝ่ายไทยและคู่ตรง
ข้าม มีอานาจเต็มที่ในการควบคุมเนื้อเรื่องและตัวละคร บางเรื่องผู้เล่ารูเ้ หตุการณ์ทงั ้ หมดและ
เล่าทัง้ หมด ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจเนื้อเรื่องได้ครบถ้วนและแจ่มชัดในทันที อันจะเป็ นผลดีต่อ
การดาเนินเรื่องที่รวดเร็ว กระชับ สามารถนาผู้อ่านไปสู่เหตุการณ์อ่นื โดยไม่เสียเวลา เมื่อเล่าก็
จะอาศัยเรื่อ งราวหรือ เหตุ ก ารณ์ บ างตอนในประวัติศ าสตร์ท่ีต นเห็น ดีเห็น ชอบมาสนับ สนุ น
ความคิดของตน ต่อมาก็ผูกเรื่องแต่งเติม สมมติเรื่องราวให้น่าติดตามเพื่อครอบงาความคิดของ
ผูอ้ ่าน ถือว่าเป็ นการสร้างชุดความรูอ้ กี ชุดหนึ่งนอกเหนือจากตาราทางประวัตศิ าสตร์ เป็ นการ
แต่งวรรณคดีประเภทบันเทิงคดี (fiction) เพื่อเป็นชุดความรู้ (fact)
๑๗๗

สรุป
การศึกษาแนวคิดวาทกรรมกับการประกอบสร้างวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์สะท้อน
ให้เห็นว่า วาทกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏในวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทาหน้ าที่ในการสร้าง
ผลิตเอกลักษณ์และความหมายให้กบั วรรณคดีประเภทนี้ ต่อมาก็ตรึงสิง่ ทีส่ ร้างขึน้ ให้กลายสภาพ
เป็ นวาทกรรมหลัก เช่น วาทกรรมกษัตรานิยม และวาทกรรมชาตินิยม โดยผ่านภาคปฏิบตั กิ าร
จริงของวาทกรรม เช่น ชุดความรู้ทางประวัติศาสตร์ จารีตประเพณี คติความเชื่อทางศาสนา
แนวคิด เกี่ยวกับ การสร้างวีรบุ รุษ และวัฒ นธรรมทางวรรณศิล ป์ โดยวาทกรรมที่ส ร้างขึ้น มี
ลักษณะลื่นไหล ไม่แน่นอน ตายตัว และหยุดนิ่ง กล่าวคือ จากแต่เดิมวาทกรรมทีป่ รากฏ รัฐหรือ
ผูเ้ ขียน (ซึง่ เป็ นคนในราชสานัก และเป็ นสัญลักษณ์ของตัวแทนรัฐ) เป็ นฝา่ ยคัดเลือกรูปแบบวาท
กรรมให้ประชาชนได้ปฏิบตั ิผ่านวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ ปจั จุบนั ประชาชนมีสทิ ธิท่จี ะ
เลือกใช้วาทกรรมที่เหมาะกับตนเองและสังคม ทาให้ลกั ษณะทางวาทกรรมในยุคปจั จุบนั อยู่ใน
รูปของการแย่งชิงการให้นิยามความหมายเพื่อสนับสนุ นวาทกรรมของฝ่ายตน ดังนัน้ เราอาจมี
ประเด็นต่าง ๆ ทีต่ ้องถกเถียงกันต่อไปว่าใครเป็ นผูค้ วบคุมวาทกรรมเหล่านัน้ วาทกรรมนี้ได้รบั
การเผยแพร่ด้วยวิธใี ด และการนาเสนอนัน้ มีวาทกรรมใดที่ถูกบดบัง บิดเบือนหรือ กดทับไป
หรือไม่ จึงอาจกล่าวได้ว่า วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ทน่ี าเสนอมานี้น่าจะเป็ นเครือ่ งมือทีร่ ฐั
ใช้ในการรักษาความมันคง ่ ควบคุมคนและกาหนดทิศทางของสังคมในแต่ละยุคสมัยให้เป็ นไป
ตามประสงค์ของรัฐ โดยการจากัดความรู้และแทรกซึมกรอบความคิดบางอย่างลงไปในการ
นาเสนอ เครื่อ งมือ ควบคุ มโดยตรง คือ ต าราเรียนทางประวัติศ าสตร์ ท าให้ผู้อ่ าน (ผู้เรีย น)
แม้กระทัง่ ผูส้ อนเชื่อว่าประวัตศิ าสตร์ชุดนี้ คือ ความจริง และไดรับการแทรกซึมผ่านวรรณคดี
เกี่ยวกับประวัติศ าสตร์เรื่องต่ าง ๆ ที่ยดึ โยงอยู่กบั กรอบความคิดการนาเสนอประวัติศาสตร์
เดียวกัน โดยปิดกัน้ ช่องทางการรับรูอ้ ่นื ๆ
๑๗๘

บทที่ ๖
กำรสังเครำะห์งำนศึกษำวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์

ในการศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ นอกจากผู้เรียนหรือผู้อ่านต้องมีความรู้
ความเข้าใจพื้นฐานทางวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ ทราบลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับวรรณคดี
ประวัติศาสตร์ เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกบั บริบททางประวัตศิ าสตร์ และทราบวาท
กรรมที่ใช้ในวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์แล้ว ผู้เขียนเห็นว่า ผู้เรียนผู้อ่านอาจจาเป็ นต้อง
ศึกษางานค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับวรรณคดีประวัตศิ าสตร์เพิม่ เติมด้วย เพื่อช่วยให้เห็นแง่มุมใน
การศึกษาวรรณคดีประเภทนี้มากยิง่ ขึน้ ทัง้ ยังสามารถนาไปเป็ นแนวทางในการวิเคราะห์งานได้
อันจะทาให้ไม่ต้องคิดงานซ้ากับคนอื่น และช่วยให้เป็ นคนทันสมัย ทันโลก และทันเหตุการณ์
ทัง้ นี้ ผูเ้ ขียนได้สงั เคราะห์กลุ่มข้อมูลทีน่ าเสนอวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์แล้วพบว่า มีการ
นาเสนอในรูปแบบต่าง ๆ จานวน ๓ รูปแบบ คือ การนาเสนอในรูปแบบของเอกสาร ประเภท
ตารา และหนังสือ การนาเสนอในรูปแบบของบทความ และการนาเสนอในรูปแบบของงานวิจยั
เช่น รายงานวิจยั วิทยานิพนธ์ งานค้นคว้าอิสระ สารนิพนธ์ ภาคนิพนธ์ เป็นต้น ดังรายละเอียด

๖.๑ เอกสำรที่เกี่ยวข้องกับวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์
จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พบว่า ยังปรากฏอยู่
น้อย ส่วนใหญ่เน้นการรวบรวมวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ในสมัยต่าง ๆ มีดงั นี้
๖.๑.๑ เอกสำรที่ศึกษำภำพรวมของวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์
จากการศึกษาเอกสารที่เป็ นหนังสือหรือตาราเกี่ยวกับวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์
พบว่า ส่ ว นใหญ่ ผู้เขียนมุ่งศึก ษาประวัติ ผู้แ ต่ ง จุด มุ่งหมายในการแต่ ง ลัก ษณะค าประพัน ธ์
เนื้อหาหรือคุณค่าโดยสังเขป อาจมีการนาประเด็นด้านใดด้านหนึ่งมาศึกษาอย่างละเอียด มีดงั นี้
นิ พ นธ์ สุ ขสวัส ดิ ์ (๒๕๒๐) เขีย นเรื่อ งวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศ าสตร์ โดยรวบรวม
วรรณคดีในสมัยต่าง ๆ ผู้เขียนแบ่งบทในการศึกษาเป็ น ๕ บท บทแรกกล่าวถึงความสัมพันธ์
ระหว่างวรรณคดีกบั ประวัตศิ าสตร์ ความแตกต่างทางด้านการบันทึกวรรณคดีและประวัตศิ าสตร์
บทที่ ๒ เน้ นศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ประเภทร้อ ยกรองบางเรื่อ ง โดยกล่ าวถึง
เนื้อ หาคร่าว ๆ ตัง้ แต่ ส มัยสุ โขทัย ถึงสมัยรัช กาลที่ ๙ เช่น ต านานพระแท่ นมนังคศิล าบาตร
ตะเลงพ่าย ลิลติ ยวนพ่าย ลิลติ สามกรุง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร และลิลติ สรรเสริญพระ
บารมีรชั กาลที่ ๕ บทที่ ๓ ว่าด้วยการศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ประเภทร้อยแก้ว
บทที่ ๒ และที่ ๓ นี้ ผูเ้ ขียนศึกษาตัง้ แต่ ผูแ้ ต่ง จุดประสงค์ในการแต่ง ลักษณะคาประพันธ์ เนื้อ
เรื่อง และคุณค่าของวรรณคดีเรื่องนัน้ ๆ ส่วนบทที่ ๔ และ ๕ มีการวิเคราะห์วรรณคดีเกี่ยวกับ
๑๗๙

ประวัติศ าสตร์บ างเรื่อ งโดยละเอีย ด เช่ น ลิล ิต ยวนพ่ าย โคลงเฉลิม พระเกีย รติส มเด็จ พระ
นารายณ์ โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุร ี ลิลติ ตะเลงพ่ายและสามกรุง
บุญยงค์ เกศเทศ (๒๕๒๐) เขียนเรื่องวรรณกรรมประวัตศิ าสตร์ เล่มนี้ผเู้ ขียนมุง่ รวบรวม
เกี่ยวกับวรรณกรรมประวัติศาสตร์ในสมัยต่าง ๆ ทัง้ ที่เป็ นร้อยแก้วและร้อยกรอง โดยบทที่ ๑
ผูเ้ ขียนกล่าวถึงวรรณกรรมทีบ่ นั ทึก ในสมัยสุโขทัย แยกย่อยได้เป็ น วรรณกรรมประวัตศิ าสตร์ท่ี
จารึกไว้บนแผ่นศิลา และวรรณกรรมประวัติศาสตร์ท่บี นั ทึกไว้นอกแผ่นศิลา ต่อมาก็กล่าวถึง
แนวคิดที่ได้จากการศึกษาวรรณกรรมประวัตศิ าสตร์สมัยสุโขทัย บทที่ ๒ กล่าวถึงวรรณกรรม
ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา แยกย่อยได้เป็ น วรรณกรรมบันทึกในสมัยอยุธยา และวรรณกรรม
เฉลิมพระเกียรติในสมัยอยุธยา บทที่ ๓ กล่าวถึงวรรณกรรมประวัติศาสตร์ในสมัยธนบุร ี มีทงั ้
วรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติ และวรรณกรรมบันทึก บทที่ ๔ กล่าวถึงวรรณกรรมประวัตศิ าสตร์
สมัยรัต นโกสินทร์ มีทงั ้ วรรณกรรมบันทึกและวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติสมัยรัชกาลที่ ๑ –
รัชกาลที่ ๓ บทที่ ๕ กล่าวถึงวรรณกรรมประวัตศิ าสตร์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีทงั ้ วรรณกรรมเฉลิม
พระเกียรติและวรรณกรรมบันทึก บทที่ ๖ กล่าวถึงวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติในสมัยรัชกาลที่
๕ บทที่ ๗ กล่ าวถึงวรรณกรรมประวัติศ าสตร์ในสมัย รัชกาลที่ ๕- รัช กาลที่ ๖ และบทที่ ๘
กล่าวถึงวรรณกรรมประวัตศิ าสตร์ในสมัยปจั จุบนั ในแต่ละเรือ่ งผูเ้ ขียนจะกล่าวถึงลักษณะทัวไป ่
จุดมุง่ หมาย ผูแ้ ต่ง เนื้อเรือ่ ง และคุณค่าของวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์
กฤตวิทย์ ดวงสร้อยทอง (๒๕๒๑) เขียนเรื่องวรรณกรรมประวัตศิ าสตร์ จานวน ๒ เล่ม
เล่ มแรกผู้เขียนกล่ าวถึงประวัติศ าสตร์ไทยสมัย โบราณ ตัง้ แต่ เริม่ มีต ัวอักษรบัน ทึก หรือ ยุค
ประวัติศาสตร์ ซึ่งเริม่ จากประวัติศาสตร์ในสมัยทวาราวดี ศรีวชิ ยั สุโขทัย อยุธยา และธนบุร ี
ต่อมาก็ศกึ ษาเชิงวรรณกรรม* โดยแบ่งเป็น ๒ ภาค ภาคแรก คือ การศึกษาวรรณกรรมในแง่ของ
วรรณศิลป์ในฐานะทีเ่ ป็นข้อมูลทางประวัตศิ าสตร์เพื่อศึกษาประวัตศิ าสตร์จากวรรณกรรม ภาคที่
๒ เริม่ ตัง้ แต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๙ โดยยกตัวอย่าง
วรรณกรรมบางเรือ่ งในแต่ละสมัยมาเป็นกรณีศกึ ษา ศึกษาตัง้ แต่บริบททางประวัตศิ าสตร์ในสมัย
นัน้ ผูแ้ ต่ง ปีทแ่ี ต่ง ลักษณะของคาประพันธ์ ความมุง่ หมายในการแต่ง และเนื้อหา
ประสิทธิ ์ กาพย์กลอน (๒๕๒๓) เขียนเรือ่ งวรรณกรรมประวัตศิ าสตร์ เล่มนี้แบ่งออกเป็ น
๑๐ บท บทที่ ๑ เป็ นบทนา เพื่อทาความเข้าใจเกี่ยวกับคาบางคา เช่น จดหมายเหตุ ตานาน
พงศาวดาร ประวัตศิ าสตร์ ความแตกต่างของการศึกษาประวัติศาสตร์กบั วรรณกรรมเกี่ยวกับ
ประวัตศิ าสตร์ บทที่ ๒ บอกแนวการเขียนวรรณกรรมประวัตศิ าสตร์รอ้ ยแก้วและร้อยกรอง ซึง่ มี
ทัง้ แนวสัจนิยมและอุดมคติ บทที่ ๓ กล่าวถึงลีลาการเขียนและการจาแนกเนื้อหาวรรณกรรม

*มีขอ
้ สังเกตว่า ผูเ้ ขียนเอกสารทีเ่ กีย่ วข้องกับวรรณคดีประวัตศิ าสตร์บางคนใช้คาว่าวรรณคดีเกีย่ วกับ
ประวัตศิ าสตร์ บ้างก็ใช้วรรณกรรมประวัตศิ าสตร์ ทัง้ ๆ ทีใ่ ช้ขอ้ มูลกลุ่มเดียวกัน ซึง่ สาหรับผูเ้ ขียนแล้วหมาย
รวมถึงสิง่ เดียวกัน เพราะเป็ นผลงานทีใ่ ช้ศลิ ปะในการแต่งทัง้ สิน้
๑๘๐

ประวัติศ าสตร์ร้อยกรอง เช่น ลีลาการเขียนแบบใช้ภาษายาก ๆ ลีล าการเขียนแบบใช้ภาษา


เฉพาะตัวมาก ลีลาการเขียนทีเ่ คร่งครัดในระเบียบแบบแผน ลีลาการเขียนทีใ่ ช้ภาษาแบบง่าย ๆ
ลีลาการเขียนแบบดาษ ๆ ส่วนการจาแนกเนื้อหาของวรรณกรรมประวัตศิ าสตร์ จาแนกได้เป็ น
วรรณกรรมที่สดุดวี รี บุรุษ วีรสตรี วรรณกรรมที่ยกย่องสรรเสริญ บุคคลผู้ทาความดีด้านใดด้าน
หนึ่ง และวรรณกรรมทีบ่ รรยายหรือพรรณนาเหตุการณ์ ตอนใดตอนหนึ่งในประวัตศิ าสตร์ บทที่
๔ กล่าวถึงวรรณกรรมร้อยกรองสดุดวี รี ชนเรื่องต่าง ๆ บทที่ ๕ กล่าวถึงวรรณกรรมร้อยกรอง
สดุดบี ุคคลผู้กระทาความดีด้านใดด้านหนึ่ง บทที่ ๖ ว่าด้วยวรรณกรรมร้อยกรองบรรยายหรือ
พรรณนาเหตุการณ์ในประวัตศิ าสตร์ บทที่ ๗ กล่าวถึงวรรณกรรมดุษฎีสงั เวย บทที่ ๘ กล่าวถึง
ความคลี่ค ลายของวรรณกรรมประวัติศ าสตร์ประเภทร้อ ยแก้ว บทที่ ๙ กล่าวถึงวรรณกรรม
ประวัติศาสตร์รอ้ ยแก้วฉบับที่สาคัญ และลีลาการเขียนวรรณกรรมประวัติศาสตร์ประเภทร้อย
แก้ว ด้านลีลาการเขียน เช่น ลีลาการเขียนแบบเทศนา ลีลาการเขียนแบบวิจารณ์ ลีลาการเขียน
ที่มแี บบแผน ลีลาการเขียนสัน้ ๆ และตรงจุดหมาย ลีลาการเขียนแบบกระจ่างชัดและชัดเจน
ลีลาการเขียนแบบใช้ประโยคยาวคู่กบั ประโยคสัน้ ลีลาการเขียนแบบใช้ภาษาสูง ๆ และลีลาการ
เขียนแบบใช้ภาษาง่าย ๆ ส่ วนบทที่ ๑๐ ผู้เขียนศึกษาวรรณกรรมเรื่อ งพระราชวิจารณ์ เรื่อ ง
จดหมายเหตุความทรงจาของกรมหลวงนรินทรเทวี ด้านความเป็ นมา ขอบข่ายของการศึกษา
พระราชวิ นิ จ ฉั ย ตั ว จดหมายเหตุ ลัก ษณ ะพระราชวิ จ ารณ์ และพระอั จ ฉริย ลัก ษณ์ ใน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ จากพระราชวิจารณ์
นิ ธ ิ เอีย วศรีว งศ์ (๒๕๒๗) เขีย นหนั ง สือ ปากไก่ แ ละใบเรือ รวมความเรีย งว่ า ด้ว ย
วรรณกรรมและประวัตศิ าสตร์รตั นโกสินทร์ ประกอบด้วยบทความแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
วรรณกรรมกับประวัติศาสตร์ โดยใช้วรรณกรรมเป็ นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพื่อช่วยให้
มองเห็นพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในช่วงอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ ทัง้ สะท้อนโลกทัศน์
ความรูส้ กึ นึกคิดของผูแ้ ต่งและค่านิยมบางเรือ่ งของยุคสมัย รวมถึงบทบาทของผูอ้ ่าน
สมบัติ จันทรวงศ์ (๒๕๔๗) เขียนหนังสือบทพิจารณ์ ว่าด้วยวรรณกรรม การเมืองและ
ประวัติศาสตร์ เน้ นวิเคราะห์ตวั บทวรรณกรรมประเภทต่ าง ๆ เพื่อพิเคราะห์ความหมายทาง
การเมืองและประวัตศิ าสตร์สมัยปลายกรุงศรีอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ เช่น การวิเคราะห์งาน
เขียนประเภทนิทานของสุนทรภู่ โดยมองว่าการศึกษาแง่ใดแง่หนึ่งของความคิดของสุนทรภู่จะ
เป็ นวิถที างทีช่ ่วยให้เข้าใจความคิดอ่าน ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมของบุคคลในสมัยนัน้ ได้ โดย
พบว่างานของสุนทรภู่สะท้อนให้เห็นสังคมการเมืองสมัยทีส่ ุนทรภู่มชี วี ติ อยู่ว่าเป็ นสังคมแบบปิด
จากัด การเมืองเป็ นเรื่องของกษัตริย์และคนใกล้ชดิ มีส่วนสัมพันธ์กบั ผูอ้ ยูใ่ ต้ปกครอง งานเขียน
ของสมบัตเิ น้นความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคมผ่านผูเ้ ขียนหรือผูป้ ระพันธ์ วรรณกรรม
จึงเป็นหลักฐานแสดงความคิด เหตุการณ์ ความเคลื่อนไหวของสังคมการเมืองทีเ่ ด่นชัด
พิเชฐ แสงทอง (๒๕๕๙) เขียนหนังสือซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์เรื่องตานานและ
เรื่องเล่าปรัมปราท้องถิน่ ภาคใต้ :อัตลักษณ์ วัฒนธรรม อานาจ และการต่อต้านในประวัตศิ าสตร์
๑๘๑

ความเป็ นไทย โดยรวบรวมตานานซึ่งเป็ นเรื่องเล่าปรัมปราเกี่ยวกับผู้นาและความเป็ นมาของ


เมืองและชุมชนในกลุ่มตานานไทยพุทธ ฮิก ายัตมลายูมุสลิม และตานานผสมผสานจานวน ๕
เรื่อง คือ กลุ่มตานานเมืองนครศรีธรรมราช ฮิกายัตปตั ตานี ฮิกายัตมะโรง มหาวงศ์ ตานานนาง
เลือ ดขาว และต านานเกี่ยวกับมัสยิดกรือเซะและเจ้าแม่ล้มิ กอเหนี่ยว ต านานเหล่านี้ส ะท้อ น
ประวัติศาสตร์ความคิดได้อย่างน่ าสนใจ ผู้เขียนใช้มโนทัศน์ วฒั นธรรมศึกษาวิเคราะห์ต ัวบท
ตานาน ในฐานะตัวบททางวัฒนธรรม (cultural text) โดยสร้างคาอธิบายผ่านแนวคิด เรื่องวาท
กรรมเพื่อเปิ ดเผยประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์ เชิงอานาจ ในการช่วงชิงนิยามความหมาย
เกีย่ วกับตัวตนทางวัฒนธรรมและการเมืองของชุมชนในภาคใต้สมัยโบราณ
๖.๑.๒ เอกสำรที่ศึกษำวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่ งหรือสมัย
ใดสมัยหนึ่ ง
จากการศึกษาเอกสารที่ศกึ ษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง พบว่า
ส่วนใหญ่ผเู้ ขียนมุ่งศึกษาประวัตผิ แู้ ต่ง จุดมุ่งหมายในการแต่ง ลักษณะคาประพันธ์ เนื้อหาหรือ
คุณค่าโดยสังเขป อาจมีการนาประเด็นด้านใดด้านหนึ่งมาศึกษาอย่างละเอียด เช่น ลัลลนา ศิร ิ
เจริญ (พ.ศ. ๒๕๑๘) เขียนคู่มอื ลิลติ ยวนพ่าย พิชติ อัคนิจ (พ.ศ. ๒๕๓๖) เขียนวรรณกรรมไทย
สมัยกรุงสุ โขทัย - กรุงศรีอ ยุธ ยา วันเนาว์ ยูเด็น (พ.ศ. ๒๕๓๘) เขียนประวัติว รรณคดีส มัย
สุโขทัยและอยุธยา เครือวัลย์ โกมุทแดง (พ.ศ. ๒๕๓๘) เขียนประวัตวิ รรณคดีสมัยสุโขทัยและ
อยุธยา โดยมีวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์รว่ มอยูด่ ว้ ย ราชบัณฑิตยสถาน (พ.ศ. ๒๕๔๔ และ
พ.ศ. ๒๕๔๔) จัดท าพจนานุ ก รมศัพ ท์ว รรณคดีเกี่ยวกับประวัติศ าสตร์เ รื่อ งศิล าจารึก พ่ อ ขุน
รามคาแหงหลักที่ ๑ และเรือ่ งโคลงยวนพ่าย เอกรัตน์ อุดมพร (พ.ศ.๒๕๔๔) ศึกษาภาพรวมของ
วรรณคดีสมัยต่าง ๆ ตัง้ แต่สมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ และเสาวลักษณ์ อนันตศานต์
(พ.ศ.๒๕๔๗) เขียน “เล่าเรื่องวรรณคดีไทย ลิลติ ตะเลงพ่าย” นอกจากนี้ยงั มีการนาวรรณคดี
เกี่ย วกับประวัติศ าสตร์บ างเรื่อ งมาแปลและถอดความด้ว ย ใช้ช่อื ชุด ว่าวรรณกรรมอาเซีย น
(Asian Literature) เช่น ยวนพ่ายโคลงดัน้ และโคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุร ี

จากข้อมูลข้างต้น เห็นได้ว่า เอกสารทีเ่ กี่ยวข้องกับวรรณคดีประวัตศิ าสตร์ ไม่ว่าจะเป็ น


หนังสือหรือตารา ผู้เขียนมักให้ภาพกว้าง ๆ ของวรรณกรรมเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ในแต่ละยุค
สมัย เมื่อนาเสนอยุคใดก็มกั บอกรายชื่อวรรณคดี พร้อมบอกชื่อผู้แต่ง วัตถุประสงค์ในการแต่ง
ลักษณะคาประพันธ์ บริบททางประวัตศิ าสตร์ พร้อมบอกคุณค่าด้านต่าง ๆ ทาให้ผอู้ ่านมองเห็น
ภาพรวมของวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ในยุคสมัยต่าง ๆ ชัดเจนมากยิง่ ขึน้
๑๘๒

๖.๒ บทควำมที่เกี่ยวข้องกับวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์
บทความทีเ่ กีย่ วข้องกับวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ มีการศึกษาทัง้ ด้านภาพลักษณ์
ของตัวละคร ที่ได้รบั ความนิยมมากที่สุด คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช นอกจากนี้ก็ศึกษา
เนื้อหา หรือวรรณศิลป์ดา้ นใดด้านหนึ่ง โดยเชื่อมโยงกับบริบททางประวัตศิ าสตร์ ดังรายละเอียด
ชลดา ศิรวิ ิทยเจริญ (๒๕๑๙) เขียนบทความเรื่อ ง การศึกษาลิล ิต ตะเลงพ่ ายในแนว
สุนทรียศาสตร์ ผู้เขียนเล่าถึงวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรที่ทรงทายุทธหัตถีชนะเหนือศัตรู
เป็นนักรบผูก้ ล้า และภาพลักษณ์ของนักปกครองทีท่ รงธรรม และมีพระราชจริยวัตรทีด่ งี าม
นิตยา แก้วคัลณา (๒๕๔๒) เขียนบทความเรื่อง ภาพสะท้อนเกี่ยวกับสถานภาพของ
กษัต ริย์ในวรรณกรรม โดยศึก ษาสถานภาพของกษัต ริย์ในสมัยต่ าง ๆ ผลการศึก ษาพบว่า
สถานภาพกษัตริย์ในสมัยสุโขทัย คือ บิดรผู้เป็ นใหญ่ และทรงศักดิ ์ และเป็ นผู้สงสอน ั่ ในสมัย
อยุธ ยาภาพสะท้อ นสถานภาพของกษัต ริย์ คือ การเป็ น เทวราชา ธรรมราชา เป็ น นัก รบ มี
บุญญาธิการ มีสริ โิ ฉมงดงามและมีบารมี ในสมัยธนบุร ีภาพสะท้อนสถานภาพของกษัตริย์ คือ
การเปี่ ยมล้นไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณ และพระปรีชาสามารถด้านการปกครอง การรบและ
เศรษฐกิจ ครัน้ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีภาพของพระผูเ้ ป็ นเจ้า เป็ นจักรพรรดิ เป็ นสมมติเทพ
มีบุญญาธิการ เปี่ยมทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวตั ร ๑๒ และไม่นิยมเผด็จการ
อัควิทย์ เรืองรอง (๒๕๔๒) เขียนบทความเรือ่ ง การใช้คาเรียกและความเปรียบเกีย่ วกับ
กษัต ริย์ในยวนพ่ า ยโคลงดัน้ ผลการศึก ษาพบว่ าเรื่อ งยวนพ่ า ยโคลงดัน้ มีก ารใช้ค าเรีย กที่
หลากหลาย เช่น การใช้คาเรียกเพื่อบ่งบอกหน้าที่ในการรบ การใช้คาเรียกเพื่อบ่งบอกหน้าที่ท่ี
เป็ น ผู้คุ้ม ครองคนคุ้ม ครองแผ่ น ดิน ผู้รกั ษาและปฏิบ ัติธ รรม การใช้ค าเรีย กเพื่อ แสดงพระ
คุณ สมบัติว่าเป็ นผู้มบี ารมี เป็ นตัวแทนของพระพุ ทธเจ้า เป็ นตัวแทนสิง่ ศักดิ ์สิทธิ ์ทางศาสนา
พราหมณ์ เป็ นต้นกาเนิดของกษัตริยผ์ ยู้ งิ่ ใหญ่ เป็ นผูส้ ง่างาม และมีพระราชทรัพย์ นอกจากนี้ยงั
มีการใช้ความเปรียบที่น่าสนใจ ทัง้ ความเปรียบอุปมา อุปลักษณ์ และอติพจน์ เช่น เปรียบพระ
บรมไตรโลกนาถกับ เทพเจ้าส าคัญ ของพราหมณ์ เปรีย บหน้ าที่ในด้านการหวงแหนกับพระ
พรหม เปรีย บพระคุ ณ สมบัติค วามเที่ย งธรรมกับ พระยม และเปรีย บพระคุ ณ สมบัติค วาม
ปราดเปรื่อง รุ่งเรือง สว่างไสวกับพระอาทิตย์ ความเปรียบที่ใช้มคี วามประณีต บรรจง แสดง
อัจฉริยภาพทางภาษาของกวี เพื่อเชิดชู สดุดกี ษัตริยใ์ นฐานะเทวราชา พุทธราชาและธรรมราชา
สรณั ฐ ไตลังคะ (๒๕๔๙) เขีย นบทความวิเคราะห์ ป ระวัติศ าสตร์นิ พ นธ์แล้ว พบว่ า
ประวัตศิ าสตร์นิพนธ์ คือ วาทกรรมที่ “ประกอบสร้าง” ขึน้ มาคล้ายงานเขียนบันเทิงคดี โดยยก
งานเขียนรวมบทความชื่อ Tropics of Discourse: Essays in Cultural Criticism (๑๙๘๕) ของ
เฮย์เดน ไวต์ท่ชี ้ใี ห้เห็นว่านักประวัตศิ าสตร์ทางานโดยการรวบรวมเหตุการณ์ ท่เี ป็ นข้อเท็จจริง
ต่างๆ แต่เนื่องจากเหตุการณ์ท่เี กิดนัน้ มีจานวนมากมายเกินกว่าที่เขาจะสามารถรวบรวมและ
เรียบเรียงเป็ นเรื่องราว สิง่ ที่เกิดขึ้นก็คอื เขาจะต้ องตัดหรือทิ้งข้อมูลบางอย่างที่เขาเห็นว่าไม่
๑๘๓

เกี่ยวข้องไป นอกจากนัน้ การทีเ่ ขาพยายามจะร้อยเรียงเหตุการณ์ต่างๆ ตามที่คน้ คว้ามาเป็ น


เรื่องราวเพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นในช่วงเวลานัน้ ๆ ทาให้เขาต้องพยายาม “เติม
ช่องว่าง” ให้เต็มด้วยการหาคาอธิบายที่มคี วามเป็ นไปได้ ความพยายามดังกล่าวก็คอื การทีน่ ัก
ประวัตศิ าสตร์ได้ “ตีความ” ข้อมูลที่เขามีอยู่ นักประวัตศิ าสตร์มวี ธิ กี ารตีความข้อมูล ๒ วิธ ี วิธ ี
แรก คือ การเลือกโครงสร้างของเรื่องซึง่ ทาให้เหตุการณ์ต่างๆ นัน้ อยู่ในรูปของเรื่องเล่าทีเ่ ป็ นที่
คุ้น เคยกัน ในวัฒ นธรรมนั ้น ๆ และวิธ ีท่ีส อง คือ การเลือ กวิธ ีก ารในการอธิบ าย (mode of
explanation) เช่น การหาความคล้ายคลึงกันของปรากฏการณ์เพื่อจับรวมเข้าด้วยกัน การทา
ความเข้าใจเหตุการณ์ในลักษณะทีส่ มั พันธ์กนั เป็ นเหตุเป็ นผล และการทาความเข้าใจเหตุการณ์
หนึ่ ง ในลัก ษณะที่เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของเหตุ ก ารณ์ ท่ีเ ป็ น องค์ รวม ทัง้ หมดนี้ เพื่อ ตอบสนองต่ อ
อุดมการณ์ของตนซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็ น ๔ ประเภท ได้แก่ พวกอนาธิปไตย คือ พวกที่ไม่
ชอบระบบการปกครอง (anarchist) พวกอนุรกั ษ์นิยม (conservative) พวกหัวรุนแรง (radical)
และพวกเสรีนิยม (liberal) ดังนัน้ การทีก่ ล่าวว่า ประวัตศิ าสตร์นิพนธ์เป็ นงานทีม่ คี วามเป็นกลาง
นั ้น เป็ น ไปไม่ ไ ด้ เพราะนั ก ประวัติ ศ าสตร์ย่ อ มมีอุ ด มการณ์ ท่ี แ น่ น อนหนึ่ ง ๆ การตี ค วาม
ประวัติศาสตร์ของนักประวัติศาสตร์ย่อมต้องผ่าน “แว่น” อุดมการณ์ น้ี ด้วยเหตุน้ี เราจึงพบว่า
ประวัตศิ าสตร์นิพนธ์หลายๆ เล่มที่เป็ นการอธิบายเหตุการณ์เดียวกันและในช่วงเวลาเดียวกัน
นัน้ อาจมีความแตกต่างกันมาก ความแตกต่างไม่ใช่เกิดจากการที่นักประวัติศาสตร์เหล่านี้ได้
ข้อมูลมากน้อยต่างกัน แต่เกิดจากมีการสร้างโครงเรื่องที่ตนคิดว่าเหมาะสมและสอดคล้องกับ
จุดมุ่งหมายของการเขียนประวัตศิ าสตร์ช่วงนัน้ ๆ หรือตรงกับอุดมการณ์ของตน ดังนัน้ เราจึง
ควรเข้าใจประวัติศาสตร์นิพนธ์เสียใหม่โดยยอมรับว่าประวัติศาสตร์นิพนธ์ไม่ใช่การ “ค้นพบ”
อดีต แต่เป็ นการ “ประกอบสร้าง” เรื่องราวจากเหตุการณ์ในอดีตขึน้ มา นอกจากนี้ วิธกี ารสร้าง
โครงเรือ่ งหรือการลาดับเหตุการณ์ของประวัตศิ าสตร์นิพนธ์นนั ้ มีลกั ษณะคล้ายคลึงกับโครงเรื่อง
ของวรรณคดีทด่ี ารงอยูใ่ นวัฒนธรรมนัน้ ๆ ดังประวัตศิ าสตร์นิพนธ์เกีย่ วกับการปฏิวตั ฝิ รังเศสที ่ ม่ ี
ความแตกต่างกัน ซึ่งเกิดจากการที่นักประวัตศิ าสตร์แต่ละคนใช้วธิ กี ารที่ต่างกันในการตีความ
และการสร้างโครงเรื่อง นักประวัตศิ าสตร์บางคนใช้วธิ กี ารอธิบายเหตุการณ์การปฏิวตั ฝิ รังเศส ่
ด้วยโครงเรื่องแบบจินตนิยม บ้างใช้โครงเรื่องแบบโศกนาฏกรรม บ้างใช้แบบสุขนาฏกรรม หรือ
บ้างก็ใช้แบบเสียดสี นอกจากนี้ นักประวัตศิ าสตร์ก็คอื นักเล่าเรื่องที่มคี วามสามารถในการเล่า
เรื่องราวทีน่ ่ าจะเป็ นไปได้จากข้อเท็จจริงทีเ่ ป็ นบันทึก ทางประวัตศิ าสตร์ ข้อเท็จจริงเมื่อยังไม่ได้
นามาจัดระเบียบเหล่านี้จะเป็นสิง่ ทีเ่ ข้าใจได้ยาก เพราะกระจัดกระจายและไม่สมบูรณ์ ดังนัน้ สิง่
ทีน่ ักประวัตศิ าสตร์ทาก็คอื การใช้ “จินตนาการประกอบสร้าง” ในการอธิบายเรื่องราวทีเ่ ป็ นไป
ได้ ท่ีส ร้า งจากเหตุ ก ารณ์ ใ นประวัติ ศ าสตร์ ประวัติศ าสตร์นิ พ นธ์ต่ า งๆ เกิด จากการที่นั ก
ประวัตศิ าสตร์ เลือกใช้ ตัดทิ้ง หรือ เน้นบางเหตุการณ์ให้เด่นกว่าเหตุการณ์อ่นื โดยใช้เทคนิค
ของการสร้างตัวละคร การซ้าแนวเรื่อง (motif) การใช้น้ าเสียง การใช้บทบรรยายหรือพรรณนา
แบบต่างๆ รวมทัง้ การใช้มุมมองเพื่อจัดระเบียบข้อเท็จจริงในประวัตศิ าสตร์ทอ่ี ยูห่ ่างไกล เป็นสิง่
๑๘๔

ทีแ่ ปลกหรือไม่คุน้ เคยให้เข้าใจได้ดว้ ยการนาเสนอโดยใช้กรอบวิธคี ดิ ทีเ่ ป็ นทีเ่ ข้าใจในหมู่นักอ่าน


ทัวไปนั
่ นเอง
่ และกรอบความคิดทีว่ ่านัน้ ก็คอื ขนบของการเล่าเรือ่ งในวรรณคดีของวัฒนธรรมนัน้
สรณั ฐ ไตลัง คะ ได้ น าแนวคิด ของไวต์ ม าวิเ คราะห์ เ รื่อ งเล่ า เชิง ประวัติ ศ าสตร์ ใ น
สังคมไทย โดยตรวจสอบวิธกี าร “เล่าเรื่อง” ในประวัตศิ าสตร์นิพนธ์ไทยในพงศาวดารอยุธยา ๒
เล่ม คือ พงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ และพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ
(เจิม) โดยอภิปรายเฉพาะเหตุการณ์ ในแผ่นดินสมเด็จพระยอดฟ้า ขุนวรวงศาธิราช และสมเด็จ
พระมหาจักรพรรดิ พบว่าการร้อยเรียงเหตุการณ์ มลี กั ษณะเหมือนวรรณคดี ท่มี โี ครงเรื่อง ตัว
ละครและความขัด แย้ ง ชี้ใ ห้ เ ห็ น ว่ า ประวัติ ศ าสตร์นิ พ นธ์ ม ีก ารต่ อ เติ ม ตี ค วาม และใช้
“จินตนาการประกอบสร้าง” ในการนาเหตุการณ์ มาเรียงร้อยเป็ นโครงเรื่อ ง ทัง้ ๒ เรื่อ งมีการ
ลาดับเรื่องราวเป็ นเหตุเป็ นผล (causality) ตามจุดมุ่งหมาย มีการเพิม่ เหตุการณ์ความสัมพันธ์
ระหว่างท้าวศรีสุดาจันทร์และพันบุตรศรีเทพอย่างละเอียด สาหรับพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับ
พันจันทนุ มาศ (เจิม) มีวธิ กี ารเล่าเรื่องทีห่ ลากหลายแบบบันเทิงคดี คือ มีการเล่าย่อ (summary
คือ การเล่าเหตุการณ์ทอ่ี าจเกิดแก่ตวั ละครเป็ นเวลานับปีอย่างสรุป เช่น อาจเล่าในย่อหน้าเดียว
เพื่อให้เรื่องเดินเร็วขึน้ ) เล่าข้าม (ellipsis คือ การตัดบางตอนออกไปเพราะไม่สาคัญ หรือตัง้ ใจ
เล่าข้ามไปเพื่อ กระตุ้นความสนใจ ก่ อ นที่จะย้อ นมาเล่ า ) เล่ าแบบให้รายละเอียดแบบดูล ะคร
(scene คือ การบรรยายบทสนทนาหรือการเล่าแบบให้รายละเอียดมาก) นอกจากนี้ พระราช
พงศาวดารได้เปลีย่ นวิธกี ารเล่าเรือ่ งเป็ นบทสนทนา และเป็ นการเสนอคาพูด ยิง่ ทาให้มลี กั ษณะ
ของการเป็ น “บันเทิงคดี” มากยิง่ ขึน้ อีกทัง้ ยังมีการเปลี่ยนไปเล่าเรื่องผ่านมุมมองของฝ่ายพม่า
ด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า “ผูช้ าระ” พงศาวดารฉบับนี้ได้ทาหน้าทีเ่ ป็ นเสมือน “ผูเ้ ล่าเรื่อง” ในขนบ
ของเรื่องเล่า กล่าวคือ เป็ นผู้เลือกสรรข้อมูลและวิธกี ารนาเสนอเรื่อง ซึ่งย่อมสามารถควบคุม
ทัศนคติของผู้อ่านได้ นอกจากนี้ การเขียนพงศาวดารในสมัยรัชกาลที่ ๑ ผู้เขียนยังใช้ภาษา
วรรณศิลป์ เช่น การพรรณนากองทัพอย่างละเอียด ภาษามีความไพเราะ การใช้วงศัพท์แบบ
วรรณกรรม การใช้ภาษาทีใ่ ห้ความหมายชัดเจน มีการบรรยายคาพูดทีท่ าให้เกิดจินตภาพอย่าง
บันเทิงคดี ทาให้งานเล่มนี้ไม่ได้เป็ นไปเพื่อการบอกเล่าเอาความว่าเกิดอะไรขึน้ เท่านั ้ น แต่เป็ น
งานที่จรรโลงใจและการโน้ มน้ าวจิต ใจผู้อ่ านโดยการใช้พ ลังของจินตภาพและภาษาที่งดงาม
การนาวิธ ีก ารทางวรรณคดีมาใช้ในประวัติศ าสตร์นิพ นธ์ จึงเป็ น ไปเพื่อ สร้าง “ความสมจริง ”
นับเป็ นการนาเอาความเป็ น fiction มาใช้เพื่อแสดงความเป็ น fact ซึ่งการเปลี่ยนวิธกี ารเขียน
ดังกล่าวนี้น่าจะแสดงว่าผู้ท่อี ่านพงศาวดารมีความหลากหลายและมีจานวนมากขึ้น จึงมีการ
เปลีย่ นแปลงแนวการเขียนเพื่อเชิดชูอุดมการณ์ หนึ่ง ๆ และโน้มน้าวใจผูอ้ ่าน พงศาวดารกรุงศรี
อยุธยาฉบับพันจันทนุ มาศ (เจิม) จึงเป็ นตัวอย่างที่แสดงว่าได้เกิดแนวการเขียนแบบบันเทิงคดี
ร้อยแก้วในสมัยรัชกาลที่ ๑ แล้ว แต่ทย่ี งั ไม่ปรากฏชัดเจนเพราะซ่อนตัวอยูใ่ นรูปของพงศาวดาร
บาหยัน อิ่มส าราญ (๒๕๔๘) เขียนบทความเรื่อง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช: จาก
วีรบุรุษราชสานักสู่วรี บุรษุ ราชาชาตินิยม ผูเ้ ขียนนาเรือ่ งเล่าเกีย่ วกับพระนเรศวรมาศึกษาจานวน
๑๘๕

๖ เรื่อ งพบว่ า ที่ผ่ านมามีก ารพยายามให้ค วามหมายความเป็ น วีร บุ รุษ ของพระนเรศวร ๓


ลักษณะ คือ วีรบุรษุ ราชสานัก วีรบุรษุ ชาตินิยมและวีรบุรษุ ราชาชาตินิยม
อภิรกั ษ์ ชัยปญั หา (๒๕๔๙) เขียนบทความเรื่อง การนาเสนอแบบศึกษาบันเทิงในนว
นิยายอิงประวัติศาสตร์ไทย ผลการศึกษาพบว่าผู้อ่านมักมีค่านิยมในนวนิยายว่าต้องให้ความ
บันเทิงและให้ค วามรู้อย่างถู ก ต้อ งควบคู่กัน ผู้ส ร้างสรรค์จงึ นากลวิธ ี การนาเสนอแบบศึกษา
บันเทิงมาใช้ในลักษณะต่าง ๆ เช่น การชี้แจงของผูเ้ ขียนผ่านคานา การนาวิธกี ารเขียนเอกสาร
วิชาการมาใช้ การคัดข้อมูลทางประวัติศาสตร์ขนั ้ ปฐมภูมแิ ละการนาบทวิจารณ์มาพิมพ์ในเล่ม
ซึง่ ช่วยให้นวนิยายน่าเชื่อถือ แต่อาจมีผลข้างเคียง คือ ทาให้คุณค่าด้านความบันเทิงลดลง
ชลดา เรืองรักษ์ลขิ ติ (๒๕๕๐) เขียนบทความเรื่อง ความรักหลายมิตใิ นลิลติ ตะเลงพ่าย
กับภาพลักษณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชวีรบุรษุ ต้นแบบ ผลการศึกษาพบว่าการนาเสนอความ
รักที่หลากหลายมิตใิ นเรื่องลิลติ ตะเลงพ่าย นอกจากจะให้อารมณ์หลากหลายแก่ผู้อ่านแล้ว ยัง
สะท้อนลัก ษณะนิส ยั และภาพลัก ษณ์ ของตัวละครสาคัญ ๆ ได้เป็ นอย่างดี รวมทัง้ ส่ งเสริมให้
ภาพลักษณ์ สมเด็จพระนเรศวรในฐานะวีรบุรุษ ต้นแบบเด่นชัดขึ้น ทัง้ ที่เป็ นต้นแบบนักรบที่ม ี
ปฏิภาณ หรือต้นแบบของกษัตริยห์ รือนักปกครองทีม่ คี ุณธรรม
ปทั มา ฑีฆประเสริฐกุล และชลดา เรืองรักษ์ลขิ ติ (๒๕๕๓) เขียนบทความเรือ่ ง การสร้าง
ภาพลัก ษณ์ ส มเด็จพระบรมไตรโลกนาถในยวนพ่ ายโคลงดัน้ ด้ว ยการใช้ข้อ มูล วรรณคดี ผล
การศึกษาพบว่ากวีผแู้ ต่งได้นาวรรณคดี ๓ เรื่อง ได้แก่ มหาภารตะ รามายณะ และมโหสถชาดก
มาใช้ในการสร้างภาพลักษณ์ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในสมัยอยุธยาตอนต้น การเลือกใช้
ข้อมูลทางวรรณคดีดงั กล่าวเป็ นกลวิธ อี นั แยบคายในการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตร
โลกนาถ ทัง้ ในด้านการเป็นกษัตริยน์ กั รบทีย่ งิ่ ใหญ่ ความเป็นเทวราชาและความเป็นพุทธราชา
กฤติย า สิท ธิเชนทร์ (๒๕๕๓) เขีย นบทความเรื่อ ง โจรสลัด แห่ ง ตะรุเตา: ผู้ร้ายใน
ประวัติศาสตร์แห่งสยามประเทศ โดยศึกษาจากนวนิยายเรื่องโจรสลัดแห่งตะรุเตา ผู้เขียนใช้
ทฤษฎีวรรณกรรมศึกษาแนวนวประวัตศิ าสตร์ (New Historicism) และทฤษฎีวรรณกรรมศึกษา
แนวโพสต์โคโลเนียล (Post-Colonial) ผลการศึกษาในมิติป ระวัติศาสตร์พบว่าเรื่องนี้นาเสนอ
เกี่ยวกับโจรสลัดเกาะตะรุเตาที่มชี ่อื เสียงเรื่องความโหดร้ายทารุณ ปองพล อดิเรกสารดาเนิน
เรื่องตามหลักฐานตามประวัตศิ าสตร์ โดยนาความรู้ ในเหตุการณ์ ตอนสงครามโลกครัง้ ที่ ๒ มา
เขียน และเหตุการณ์ท่เี กิดขึน้ ระหว่างประเทศไทย มาเลเซีย อังกฤษและ ญี่ปุ่น มีการสร้างตัว
ละครทีส่ อดคล้องกับบุคคลในประวัตศิ าสตร์ แม้ตวั ละครสมมติกค็ วามสมจริงจนแทบแยกไม่ออก
ว่าเป็ นแค่ตวั ละครที่สมมุตขิ น้ึ โดยการเขียนนวนิยายนี้คล้ายกับการเขียนประวัตศิ าสตร์นิพนธ์
เพราะผู้แต่งจัดทาเอกสารที่ผ่านกระบวนการวิจยั การรวบรวมข้อมูลหลักฐาน การตีความและ
การสรุปผลการเขียน ทาให้เห็นความสัมพันธ์ เชิงอ านาจที่ซ่อนอยู่ ดังประวัติศาสตร์นิพนธ์ท่ี
เกี่ยวพันกับความสัมพันธ์เชิงอานาจ มีการกดบีบ คัดสรร เน้นนาเสนอในบางเรื่อง ซึ่งเกี่ยวพัน
กับความพยายามครอบงาของกลุ่มชนที่มอี านาจ ประวัตศิ าสตร์เป็ นวาทกรรมที่พยายามสร้าง
๑๘๖

ระบอบแห่งความจริง (regime of truth) ขึน้ เพื่อให้ประชาชนได้ยดึ ถือ ประวัตศิ าสตร์ทไ่ี ด้รบั การ
นาเสนอจึงไม่ได้ทาให้เราเข้าใกล้ไปถึง “ความจริงสมบูรณ์” หากแต่เป็ นการสร้าง “ความจริงอีก
ชุดหนึ่ง” ขึน้ ให้คนในสังคมได้ยดึ ถือ ภายใต้ผลประโยชน์ กรอบคิด และอุดมการณ์ทแ่ี ตกต่างกัน
สุภญ ิ ญา ยงศิร ิ (๒๕๕๗) เขียนบทความเรื่อง การปลุกจิตสานึกความรักชาติและความ
สามัคคีในเรื่องสายโลหิตของโสภาค สุวรรณ ผลการศึกษาพบว่าเรื่องนี้นาเสนอเหตุการณ์ ใน
ท้องเรื่องและความรู้ส ึก ของตัว ละครที่ต้องทนเห็นบ้านเมือ งล่มสลายไปต่ อหน้ า นอกจากจะ
สะท้อนให้เห็นว่าความรักความสามัคคีเป็ นส่วนสาคัญทีจ่ ะนาพาชาติบา้ นเมืองให้รอดพ้นวิกฤต
แล้ว ความพ่ายแพ้ต่อกิเลสตัณหาของมนุษย์อาจเป็นเหตุแห่งหายนะทัง้ ต่อตนเองและผูอ้ ่นื
สุพรรษา ภักตรนิกร (๒๕๕๗) กระบวนการสร้างอุดมการณ์รกั ชาติไทยด้วยกลวิธที าง
ภาษาในนวนิ ย ายแนวอิงประวัติศ าสตร์ข องวิม ล ศิร ิไพบู ล ย์ มีว ัต ถุ ป ระสงค์ เพื่อ วิเคราะห์
กระบวนการสร้างอุดมการณ์ รกั ชาติไทยด้วยกลวิธที างภาษาในนวนิยายของวิมล ศิรไิ พบูลย์
จานวน ๖ เรื่อง คือ คู่ก รรม ร่มฉัตร ทวิภพ อตีต า กษัตริยา และอธิราชา โดยใช้แนวคิดวาท
กรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์ของนอร์แมน แฟร์คลาฟ พบว่า นวนิยายแนว
อิงประวัติศาสตร์ของวิมล ศิรไิ พบูลย์มกี ารผลิตสร้างอุดมการณ์รกั ชาติไทย โดยการใช้คาและ
การผูกประโยคแบบต่าง ๆ และกลวิธที างวรรณศิลป์ ซึ่งปรากฏในข้อความบรรยาย หรือบท
สนทนาของตัวละคร อุดมการณ์รกั ชาติไทยในนวนิยายแนวอิงประวัตศิ าสตร์ของวิมล ศิรไิ พบูลย์
ประกอบไปด้วย การยกย่องความเป็นไทยด้วยการแสดงให้เห็นถึง “คุณค่าความเป็นไทย”
จากข้อมูลข้างต้น เห็นได้ว่า บทความที่เกี่ยวข้องกับ วรรณคดีประวัติศาสตร์ ผู้เขียน
นาเสนอประเด็นการศึกษาทีห่ ลากหลาย โดยมักศึกษาประเด็นใดประเด็นหนึ่งทีเ่ ป็นลักษณะเด่น
ของเรื่อ ง และมัก เลือ กวิเคราะห์ ว รรณกรรมเพียง ๑ เรื่อ ง ท าให้ผู้อ่ านมองเห็น ขัน้ ตอนการ
วิเคราะห์งานทีเ่ ป็นลาดับขัน้ ตอน สมเหตุสมผล และมีมติ ทิ น่ี ่าสนใจมากขึน้

๖.๓ งำนวิ จยั ที่เกี่ยวข้องกับวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์ ดังนี้


๖.๓.๑ งำนวิ จยั ที่ เกี่ยวกับวีรบุรุษ วีรสตรี ส่วนใหญ่เน้ นศึกษาการสร้างภาพลักษณ์
ภาพแทน และความสามารถของวีรบุรษุ วีรสตรีคนสาคัญ ๆ เช่น พระนเรศวรมหาราช พระมหา
ธรรมราชา และท้าวสุรนารี ดังนี้
สายพิน แก้วงามประเสริฐ (๒๕๓๗) ทาวิทยานิพนธ์เรื่อง ภาพลักษณ์ ท้าวสุ รนารีใน
ประวัติศ าสตร์ไ ทย ผลการศึก ษาพบว่ าภาพลัก ษณ์ ข องคุ ณ หญิ ง โมในป จั จุ บ ัน คือ วีรสตรี
แห่งชาติ โดยมีอนุ สาวรีย์เป็ นหลักฐานยืนยันความชอบธรรมนี้ ตลอดจนการผลิตซ้าของงาน
เขียนที่ก ล่ าวถึงวีรกรรมของย่าโม โดยเฉพาะงานเขียนหรือ พระนิ พ นธ์ท่ใี ห้ค วามสาคัญ กับ
บทบาทการต่ อ สู้ข องคุ ณ หญิงโมเป็ น พิเศษ ซึ่งการผลิต ซ้ านี้ ม ีเงื่อ นไขขึ้น อยู่กับ บริบ ท ทาง
การเมืองของรัฐทีต่ อ้ งการใช้ประโยชน์จากวีรกรรมของคุณหญิงโม
๑๘๗

ทรงภพ ขุ น มธุ ร ส (๒๕๔๙) ท าวิท ยานิ พ นธ์ เ รื่อ ง ขัต ติ ย นารีใ นนวนิ ย ายไทยอิ ง
ประวัติศ าสตร์ โดยมุ่งศึก ษาขัต ติยนารีด้านภาพสะท้อ นขัต ติยนารีและวิธ ีก ารน าเสนอภาพ
สะท้อ น จากนวนิ ย ายอิง ประวัติศ าสตร์เรื่อ งบารมีพ ระแม่ ป้ อง ปกพื้น ธรณิ น ของแก้ ว เก้ า
กษัตริยา และแก้วกัลยาแห่ งแผ่นดินของทมยันตี และพระนางสุพรรณกัลยาณี ของกาญจนา
นาคนันทน์ ผลการศึกษาพบว่านักเขียนทัง้ สามนาเสนอบทบาทของขัตติยนารี ๒ ลักษณะ คือ
บทบาทด้านการครองเมือง และบทบาทด้านการครองเมือง บทบาทด้านการครองเมืองเป็ น
บทบาทเด่น ได้แก่ บทบาทของนักปกครอง บทบาทของนักรบ บทบาทของตัวประกันและ
นักการข่าว และบทบาทในฐานะเครื่องบรรณาธิการ ด้านการครองเรือน ได้แก่ บทบาทของธิดา
ภรรยาและมารดา ซึ่งท าได้อ ย่า งไม่ ข าดตกบกพร่อ ง ทัง้ นี้ นั ก เขีย นได้แ สดงทัศ นะที่ม ีต่ อ
ขัตติยนารี ๖ ด้าน คือ ด้านความมีสติปญั ญา ความกล้าหาญ ความอดทนอดกลัน้ ความเสียสละ
ความเมตตากรุณ า และความรักชาติบ้านเมือง เป็ นคุณลักษณะที่นักเขียนต้องการชี้ให้สงั คม
มองเห็นความสามารถและบทบาทของสตรีว่าสามารถกระทาสิง่ ต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกับบุรุษ และ
เป็ นแบบอย่างที่ดใี ห้แก่สตรีในปจั จุบนั กลวิธกี ารนาเสนอภาพสะท้อนขัตติยนารีม ี ๓ วิธ ี ได้แก่
การนาเสนอตัวละคร การนาเสนอเนื้อเรื่อง และการนาเสนอฉาก โดยนักเขียนปรับเปลีย่ นข้อมูล
ทางประวัติศ าสตร์ให้ต่ างจากเอกสารทางประวัติศ าสตร์ มีการเพิ่มรายละเอีย ดต่ าง ๆ และ
สอดแทรกความรูท้ างประวัตศิ าสตร์ทก่ี ลมกลืนไปกับเนื้อเรือ่ ง ส่งผลให้เห็นภาพขัตติยนารีทโ่ี ดด
เด่น คมชัดและสมจริง ทาให้ผอู้ ่านเกิดอรรถรส ชื่นชมและยอมรับความสามารถของสตรียงิ่ ขึน้
วันชนะ ทองค าเภา (๒๕๕๐) ทาวิทยานิพนธ์เรื่อง ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหา
ธรรมราชาในวรรณกรรมไทย ตัง้ แต่สมัยรัตนโกสินทร์ถึง พ.ศ. ๒๕๕๖ (ปจั จุบนั วิทยานิพนธ์
ฉบับนี้ได้รบั การเผยแพร่ในรูปแบบของหนังสือ) ผลการศึกษาพบว่าภาพตัวแทนของสมเด็จพระ
มหาธรรมราชาไม่ใช่ภาพสะท้อนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาทีเ่ ป็ นบุคคลในประวัตศิ าสตร์ แต่
ถูกสร้างขึน้ ด้วยกลวิธที างวรรณศิลป์และความคิดทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมในยุคสมัย
ของการประพันธ์ ภาพตัวแทนแบ่งได้ตามสถานภาพทัง้ ในขณะทีเ่ ป็ นขุนพิเรนทรเทพ พระมหา
ธรรมราชา และสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิกราช ด้านกลวิธกี ารเล่าเรื่องเพื่อนาเสนอภาพให้
แตกต่ างกัน ได้แ ก่ การสร้างโครงเรื่อ งเพื่อ น าเสนอแก่ น เรื่อ ง กลวิธ ีก ารสร้างตัว ละคร การ
เลือกใช้ผเู้ ล่าและมุมมองของการเล่าเรื่องทีแ่ ตกต่างกัน และการใช้ฉากซึ่งเป็ นพืน้ ทีข่ องการเล่ า
เรือ่ ง ความคิดทางการเมือง สังคมและวัฒนธรรมส่งผลต่อการประกอบสร้างตัวละครสมเด็จพระ
มหาธรรมราชา ได้แก่ วาทกรรมชาตินิยม ความแตกต่างด้านโลกทัศน์เกีย่ วกับพม่า การเปลีย่ น
แปรมโนทัศ น์ เกี่ยวกับบรรพบุ รุษ วาทกรรมการเมือ งในวิก ฤตการณ์ ๑๔ ตุ ล า ๒๕๑๖ และ
พฤษภาทมิฬ วาทกรรมประวัตศิ าสตร์กระแสรอง และอิทธิพลเรือ่ งมโนทัศน์พ่อของแผ่นดิน โดย
วิทยานิพ นธ์เล่ มนี้ ได้ประยุก ต์ทฤษฎี และความรู้จากสหสาขามาอธิบายปรากฏการณ์ ต่าง ๆ
ครอบคลุมถึงบริบททางการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ทาให้เห็นภาพของสมเด็จพระมหาธรรม
๑๘๘

ราชาในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์หลาย ๆ เล่มที่แตกต่ างกันไป ดังที่ตุ ลยภาค ปรีชารัชช


(ดาวน์โหลด) กล่าวว่า
กลวิธกี ารเล่าเรื่องเป็ นเครื่องมือ ที่ใช้นาเสนอตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชาใน
วรรณกรรมแต่ละเรื่องให้แตกต่างกัน นับตัง้ แต่การสร้างโครงเรื่องเพื่อนาเสนอแก่น
เรือ่ ง กลวิธกี ารสร้างตัวละคร การเลือกใช้ผเู้ ล่าและมุมมองของการเล่าเรือ่ งทีต่ ่างกัน
ไป จนถึงการใช้ฉ ากในฐานะพื้น ที่ข องการเล่ าเรื่อ ง นอกจากนี้ ย งั พบ ว่ าป จั จัย
ภายนอกตัวบทวรรณกรรมทางด้านการเมือง สังคม และวัฒนธรรมได้เข้ามากากับ
ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมแต่ละเรื่องให้แตกต่างกัน
ไปด้วย ได้แก่ วาทกรรมชาตินิยม มโนทัศน์เรือ่ งวีรบุรุษ องค์ความรูแ้ ละทรรศนะต่อ
ชนชาติพม่า วาทกรรมการเมืองในวิกฤตการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และพฤษภาคม
๒๕๓๕ วาทกรรมประวัตศิ าสตร์กระแสรอง และมโนทัศน์เรื่องพ่อของแผ่นดิน...ข้อ
ค้ น พบดัง กล่ า วชี้ใ ห้ เ ห็ น ว่ า ภาพของสมเด็จ พระมหาธรรมราชาที่ป รากฏใน
วรรณกรรมอิงประวัตศิ าสตร์ไทยทีน่ ามาศึกษานัน้ ไม่ใช่ภาพสะท้อนทีเ่ ทีย่ งตรงของ
สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่เป็ นบุคคลในประวัติศาสตร์ แต่กลับถูกสร้างขึ้นด้วย
กลวิธ ีท างการประพัน ธ์ท่ีซ ับ ซ้อ น ในมิ ติท างการเมือ ง สังคม และวัฒ นธรรมที่
หลากหลาย ข้อค้นพบดังกล่าวช่วยยืนยันว่าการศึกษา วรรณกรรมอิงประวัตศิ าสตร์
นัน้ ไม่อ าจทาให้ส มบูรณ์ ได้ด้วยการใช้ต ัว บทเป็ นหลักฐานทางประวัติศ าสตร์แต่
เพียงอย่างเดียว แต่ควรศึกษาอย่างรอบด้านโดยพิจารณาถึงมิตทิ างการประพันธ์
และบริบททางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมของยุคสมัยทีป่ ระพันธ์ดว้ ย

อธิพร ประเทืองเศรษฐ์ (๒๕๕๖) วิเคราะห์ตวั ละครเอกในนวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ของ


คึก เดช กันตามระ โดยมีว ตั ถุ ประสงค์ เพื่อ วิเคราะห์การสร้างตัวละครเอก และการวิเคราะห์
ลักษณะเด่นของนวนิยาย ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ของคึกเดช กันตามระ
ทุกเล่มล้วนเป็ นนวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์เชิงชีวประวัติ ที่นาเสนอเรื่องราวชีวติ ของวีรบุรุษ และ
วีรสตรีทผ่ี ปู้ ระพันธ์มงุ่ ให้เป็ นแบบอย่างในด้านต่างๆ ตัวละครเอกเหล่านี้มที งั ้ บุคคลทีเ่ ป็ นวีรบุรุษ
วีรสตรีในความรับรูข้ องคนทัวไปอยู ่ ่แล้ว บุคคลทีม่ คี ุณสมบัติเยีย่ งวีรบุรุษวีรสตรี แต่ไม่เป็นทีร่ จู้ กั
อย่างกว้างขวาง บุคคลที่เป็ นที่รจู้ กั กันทัวไป
่ แต่มใิ ช่ในฐานะทีเ่ ป็ นวีรบุรุษวีรสตรี และบุคคลที่ม ี
ภาพลบในความรับ รู้ข องคนทัว่ ไป ผู้ป ระพัน ธ์น าเสนอชีว ิต ของบุ ค คลเหล่ านี้ผ่ านกลวิธ ี ก าร
ประพันธ์อนั หลากหลาย ได้แก่ การสร้างโครงเรือ่ งและเนื้อเรือ่ ง การสร้างตัวละครประกอบ และ
การนาเสนอเรื่อ ง เพื่อ เป็ นการเชิดชูต ัว ละครเอก ผู้ป ระพันธ์ใช้วธิ ีการคัดสรรเหตุ การณ์ ทาง
ประวัติศาสตร์มาผสานกับจินตนาการอย่างประณีตบรรจง เพื่อสร้างเป็ นโครงเรื่อง จัดการกับ
รายละเอียดของเหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ในเนื้อเรื่องอย่างแยบคาย รวมทัง้ การนาเสนอเรือ่ งผ่าน
การบรรยายเหตุการณ์ บทสนทนา และภาพประกอบทีส่ วยงามของตัวละครเอก
๑๘๙

นอกจากลักษณะเด่นในแง่การเป็ นนวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ เชิงชีวประวัติวรี บุรุษ และ


วีรสตรีในสมัยอยุธยาแล้ว นวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ของคึกเดช กันตามระยังมีความโดดเด่นใน
ด้านการเป็ นนวนิยายเชิงวิชาการที่มกี ารนาเสนอเรื่องราวอย่างกระชับ รวมทัง้ มีการสอดแทรก
บทกวีแ ละรูป ภาพประกอบที่ง ดงามโดยตลอดทุ ก เรื่อ ง ซึ่ง เป็ น ผลมาจากป จั จัย ในด้ า นตัว
ผูป้ ระพันธ์และวิธกี ารเผยแพร่บทประพันธ์เป็ นหลัก
๖.๓.๒ งำนวิ จยั ที่ เกี่ยวข้องกับ วำทกรรม อุดมกำรณ์ กำรสื่ อสำรและกลวิ ธีของ
เรื่องเล่ำ งานวิจยั แนวนี้เน้นศึกษาควบคู่กบั แนวคิด ต่าง ๆ เช่น ประวัตศิ าสตร์ วาทกรรม การ
สื่อสารมวลชนเพื่อเสริมมิตขิ องวรรณคดีทเ่ี กีย่ วข้องกับประวัตศิ าสตร์ให้น่าสนใจยิง่ ขึน้ มีดงั นี้
อภิรดี เจริญธัญ สกุล (๒๕๔๒) ทาวิทยานิพนธ์เรื่องแนวทางการปลูกฝงั ลัทธิชาตินิยม
ผ่านหนังสือพิมพ์ของรัฐบาลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั กับรัฐบาลในจอม
พล ป. พิบูล สงคราม มีว ตั ถุ ประสงค์ เพื่อ วิเคราะห์เปรียบเทีย บและอธิบายถึงเป้าหมายและ
แนวทางในการปลูกฝงั ลิทธิชาตินิยมผ่านหนังสือพิมพ์ทงั ้ ๑๒ ฉบับที่คดั เลือกมาเป็ นตัวอย่าง
ตลอดจนเพื่อวิเคราะห์ถงึ บทบาทหน้ าที่และวิธกี ารปลูกฝงั ลัทธิชาตินิยมของรัฐทัง้ สองสมัย โดย
ศึกษาจากเนื้อหาที่สะท้อนถึงแนวคิดและอุดมการณ์ การปลูกฝงั ลัทธิชาตินิยมของหนังสือพิมพ์
ดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่ารัฐทัง้ สองได้ใช้หนังสือพิมพ์เพื่อเป็ นเครื่องมือ ในการปลูกฝงั ลัทธิ
ชาติ นิ ย ม โดยจอมพล ป. พิ บู ล สงครามได้ น าแนวทางการปลู ก ฝ งั ลัท ธิช าติ นิ ย มมาจาก
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หวั อีกทีหนึ่ง แต่ด้วยบริบททางการเมือง เศรษฐกิจและ
สังคมที่แตกต่างกัน ทาให้การปลูกฝงั ลัทธิชาตินิยมต่างกัน โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หวั เน้นการปลูกฝงั ลัทธิชาตินิยมไปที่ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ในขณะทีจ่ อมพล
ป. พิบูลสงครามเน้ นที่ (รัฐ) ชาติ ทหาร ผู้นา และวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม แนวคิดต่าง ๆ ก็
ได้รบั การนาเสนอในลักษณะเดียวกัน คือ การเน้นย้าในอานาจกษัตริย์ อานาจผู้นา และความ
มันคงของทหาร
่ แสดงให้เห็นสัญลักษณ์สาคัญของการสร้างชาติว่าเน้นความสาคัญของนักรบ
ความต้องการในลักษณะเดียวกันนี้เพื่อให้เห็นความสาคัญของสถานะเดิม ๆ ในสังคมนันเอง ่
วสัน ต์ รัต นโภคา (๒๕๕๐) ท าวิท ยานิ พ นธ์ เรื่อ งกลวิธ ีก ารเล่ าเรื่อ งในงานเขีย นเชิง
ประวัตศิ าสตร์ของหม่อมราชวงศ์คกึ ฤทธิ ์ ปราโมช มีวตั ถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธกี ารเล่าเรื่องใน
งานเขีย นเชิ ง ประวัติ ศ าสตร์ข องหม่ อ มราชวงศ์ ค ึก ฤทธิ ์ ปราโมช จ านวน ๖ เรื่อ ง ได้ แ ก่
กฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้ โครงกระดูกในตู้ ฉากญีป่ นุ่ พม่าเสียเมือง ฝรังศั ่ กดินา และยิว เพื่อ
แสดงให้เห็นว่าผูเ้ ขียนได้ใช้กลวิธกี ารเล่าเรือ่ งในการแสดงทัศนคติทม่ี ตี ่อสิง่ ต่าง ๆ และใช้ภาษา
ทีม่ ลี กั ษณะอันเป็ นเอกลักษณ์ เพื่อส่งเสริมให้งานเขียนมีความโดดเด่นในฐานะงานที่ให้ความรู้
และบันเทิง เมื่อพิจารณากลวิธกี ารเล่าเรื่องพบว่าผูเ้ ขียนใช้วธิ กี ารเล่าเรื่องเพื่อให้ความรู้ ความ
เข้าใจ ช่วยส่งเสริมความเป็ นงานเขียนเชิงวิชาการ ด้วยการให้ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์
ควบคู่ ก ับ การให้ ค าศัพ ท์ ส าคัญ ทางประวัติศ าสตร์เป็ น ภาษาต่ างประเทศเพื่อ ประโยชน์ ใน
๑๙๐

การศึกษาค้นคว้าในระดับสูง ในขณะเดียวกันผู้อ่านก็สามารถเข้าใจเรื่องราวที่ผู้เขียนต้องการ
นาเสนอได้ดยี งิ่ ขึ้นจากการเปรียบเทียบ ผู้เขียนยังสร้างมิติแห่ งเรื่อ งเล่าแทรกไปในเนื้อ หาที่
ผูเ้ ขียนต้องการนาเสนอได้อย่างกลมกลืน ทาให้เรื่องทีเ่ ข้าใจยากกลายเป็ นเรื่องสนุ กและน่ าอ่าน
และใช้กลวิธกี ารเล่าเรื่องเพื่อแสดงทรรศนะโดยวิธกี ารตัง้ ข้อสังเกต คาดเดาความคิดของบุคคล
ในประวัติศ าสตร์ ตลอดจนแสดงทรรศนะเชิงเสียดสีท่ีท าให้ผู้อ่ านได้รบั ทัง้ ความรู้และความ
เพลิดเพลินควบคู่กนั ทางด้านการใช้ภาษา มีทงั ้ การสร้างคาใหม่ การสรรคา และการเล่นคาและ
ความ แสดงให้เห็นถึงความเป็ นปราชญ์ทางภาษาของผูเ้ ขียน และยังเป็ นการแสดงทรรศนะของ
ผู้เขียนที่ม ีต่ อ สิ่งต่ าง ๆ นอกจากนี้ยงั มีการใช้ภ าษาพูดที่ช่ วยสร้างความบันเทิงให้แก่ ผู้อ่ าน
ภาษาในงานเขียนเชิงประวัตศิ าสตร์ดงั กล่าวจึงเป็ นภาษาที่สร้างความรู้ ความบันเทิง และแฝง
ทัศนคติของผูเ้ ขียนไว้อย่างครบถ้วน กลวิธกี ารเล่าเรือ่ งและการใช้ภาษาทีม่ คี วามเป็ นเอกลักษณ์
เฉพาะตัวในงานเขียนของผู้เขียนสามารถแสดงทัศนคติท่มี ตี ่อสิง่ ต่าง ๆ ได้ ทาให้งานมีความ
โดดเด่นในฐานะงานเขียนทีใ่ ห้ความรูแ้ ละความบันเทิงได้ชดั เจน
กฤษณะ นาคประสงค์ (๒๕๔๖) วิเคราะห์การสื่อสารการเมืองของสมเด็จพระนเรศวร
มหาราช เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ ข้อจากัด รูปแบบและผลของการสื่อสารการเมืองเพื่อกอบกู้
เอกราช รัก ษาอ านาจ ขยายพระราชอาณาเขตและทานุ บ ารุงกรุงศรีอ ยุธยาของสมเด็จพระ
นเรศวรมหาราช ผลการวิจ ยั พบว่ า สถานการณ์ แ ละข้อ จ ากัด ทางการเมือ งทัง้ ภายในและ
ภายนอกกรุงศรีอยุธยาส่งผลให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงต้องใช้การสื่อสารในการตอบโต้
สถานการณ์ และข้อจากัดทางการเมืองเหล่านัน้ ได้แก่ การสื่อสารเพื่อจัดการ การสื่อสารเพื่อ
ประชาสัมพันธ์ การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ การสื่อสารในเชิงสัญญะทีพ่ บมากทีส่ ดู คือการสื่อสาร
โน้ ม น้ าวใจโดยใช้จุด จูงใจให้ค วามเด็ ด เดี่ย วของพระองค์ ผลของการสื่อ สารการเมือ งท าให้
พระองค์ทรงสามารถกอบกูเ้ อกราชและรักษาไว้ซง่ึ พระราชอานาจ
เฉลิม พล แซ่ ก้ิน (๒๕๕๐) ทาวิทยานิพ นธ์เรื่อ ง พระนเรศวร : วาทกรรมจากอดีต ที่
แปรเปลี่ย นไปสู่ว าทกรรมเชิงสัญ ลักษณ์ แห่ งกองทัพ บกไทย โดยมีว ตั ถุ ป ระสงค์เพื่อ ศึกษา
เรื่อ งราวของสมเด็จพระนเรศวรในฐานะที่เป็ นสัญ ลักษณ์ ทางอ านาจของกองทัพ บกไทย ผล
การศึกษาพบว่าก่อนที่พระนเรศวรจะกลายเป็ นสัญลักษณ์ของกองทัพบกนัน้ ในอดีตเรื่องราว
ของพระองค์ถูกสร้าง ผลิต ให้มภี าพลักษณ์ สู่สงั คมตามยุคสมัย โดยผูท้ ่คี รอบครองอานาจการ
ปกครองหรือชนชัน้ นาจะเป็ นผู้กาหนดและสอดแทรกคติคดิ เข้าไปจวบจนยุคสมัยที่กองทัพบก
ขึน้ มามีอานาจจากการปกครองประเทศ แม้แต่ในยุคปจั จุบนั ก็ตาม
มารศรี สอทิพย์ (๒๕๕๑) ทาวิทยานิพนธ์เรือ่ งเรือ่ งเล่าทางประวัตศิ าสตร์เกีย่ วกับสมเด็จ
พระนเรศวรมหาราช: กลวิธกี ารเล่าเรื่องกับการสร้างภาพลักษณ์ โดยมุ่งศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างกลวิธกี ารเล่าเรื่องของเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ประเภทต่าง ๆ เกี่ยวกับสมเด็จพระ
นเรศวรมหาราช กับการสร้างภาพลักษณ์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอันสัมพันธ์กบั บริบท
๑๙๑

ทางสัง คมและวัฒ นธรรมไทย ผลการศึก ษาพบว่ า กลวิธ ีก ารเล่ า เรื่อ งที่ใ ช้ ใ นการน าเสนอ
ภาพลักษณ์ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีความหลากหลาย ได้แก่ การสร้างความขัดแย้ง
เพื่อนาเสนอแก่นเรื่อง การสร้างตัวละคร การสร้างฉาก การนาเสนอมุมมองในการเล่าเรือ่ ง การ
ใช้คาเรียกสมเด็จพระนเรศวรมหาราช การใช้ความเปรียบ และการตัง้ ชื่อเรือ่ ง ภาพลักษณ์หลัก
ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็ นพระมหากษัต ริย์ผู้ยงิ่ ใหญ่ ในด้านบุญ บารมี และเป็ นผู้ม ี
เมตตา ส่วนภาพลักษณ์เสริมแตกต่างกันไปตามบริบททางสังคมและวัฒนธรรมไทยในยุคสมัย
ของการประพัน ธ์ ส่ ว นบริบ ททางสัง คมและวัฒ นธรรมไทยที่ส่ ง ผลต่ อ การประกอบสร้า ง
ภาพลัก ษณ์ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้แก่ การชาระพระราชพงศาวดาร วาทกรรม
ชาตินิยม ความขัดแย้งทางความคิดทางการเมืองในสังคมไทย คติความเชื่อทางศาสนา แนวคิด
เรือ่ งการสร้างวีรบุรษุ และวัฒนธรรมวรรณศิลป์
เรือ่ งเล่าทางประวัตศิ าสตร์เกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนาเสนอภาพลักษณ์ ของ
พระองค์ ดังนี้ ในเรื่อ งเล่ าประเภทพระราชพงศาวดาร ภาพลัก ษณ์ ข องสมเด็จพระนเรศวร
มหาราช คือ ผู้มบี ุญ บารมี ผู้มเี มตตา เรื่องเล่าประเภทบทประพันธ์รอ้ ยกรองเน้ นภาพลักษณ์
ผู้ปราบยุคเข็ญ ผู้ทรงธรรม และผู้สร้างชาติ ให้ยงิ่ ใหญ่ เหนือชาติอ่นื ๆ เรื่องเล่าประเภทความ
เรียงเน้ นภาพลัก ษณ์ ว ีรบุ รุษ ผู้ปราบยุค เข็ญ เรื่อ งเล่ าประเภทนวนิยายอิงประวัติศ าสตร์เน้ น
ภาพลัก ษณ์ ผู้ เสีย สละความสุ ข ส่ ว นตัว เพื่อ ส่ ว นรวม เรื่อ งเล่ า ประเภทหนั ง สือ การ์ตู น เน้ น
ภาพลัก ษณ์ ของวีรบุรุษ ผู้ก ล้าหาญและผู้เสียสละ เรื่อ งเล่ าประเภทละครนาเสนอภาพลักษณ์
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชในลักษณะสัญญะของการสร้างความรักชาติและความสามัคคี โดยให้
คนเอาเยี่ยงอย่างพระองค์ เรื่องเล่าประเภทภาพยนตร์ผสมผสานภาพลักษณ์ ของสมเด็จพระ
นเรศวรมหาราชตามแบบพระราชพงศาวดาร และนวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ อาจกล่าวได้ว่าเรื่อง
เล่าทางประวัตศิ าสตร์เกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทุกประเภทล้วนนาเสนอภาพลักษณ์
หลักของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในฐานะวีรบุรษุ ผูย้ งิ่ ใหญ่ทจ่ี ะอยูใ่ นใจของคนไทยตลอดไป
พิช ชาพร วิธ ีเจริญ (๒๕๕๖) ท าวิท ยานิ พ นธ์เรื่อ ง กลวิธ ีก ารเล่ าเรื่อ งและการสร้าง
บุคลิกลักษณะตัวละครสมเด็จพระสุรโิ ยทัยในบันเทิงคดีองิ ประวัตศิ าสตร์ไทย ผลการวิจยั พบว่า
กลวิธเี ล่าเรื่องในบันเทิงคดีองิ ประวัตศิ าสตร์เกี่ยวกับสมเด็จพระสุรโิ ยทัย และบุคลิกลักษณะตัว
ละครสมเด็จพระสุรโิ ยทัยที่ป รากฏในสื่อต่ างๆ มีรูป แบบการเล่ าเรื่อ ง และสร้างตัวละครของ
สมเด็จพระสุรโิ ยทัย ที่มคี วามเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตามยุคสมัย แต่แก่นของเรื่องเล่า คือ เพื่อ
สดุดพี ระวีรกรรมของสมเด็จพระสุรโิ ยทัย ความเสียสละของพระองค์ ทีส่ ละชีพเพื่อพระสวามีและ
เพื่อ แผ่ น ดิน ยัง คงเดิม ในทุ ก ฉบับ ส่ ว นบุ ค ลิก ตัว ละครของสมเด็จ พระสุ ร ิโยทัย ก็ม ีค วาม
เปลีย่ นแปลงเล็กน้อย แต่ลกั ษณะเด่นคือ ความกล้าหาญแบบนักรบ ควบคู่ไปกับความอ่อนโยน
ในแบบสตรีผู้เป็ นภรรยาและมารดา พร้อมด้วยอุดมการณ์ ความเสียสละและรักชาติบ้านเมือง
ยังคงเด่นชัดเหมือนเดิมทุกฉบับเช่นกัน สมเด็จพระสุรโิ ยทัย ทรงมีความเป็ นอุดมคติ ๔ ประการ
คือ ความกตัญ ญู การตระหนัก รู้ในอ านาจและหน้ าที่ การรักษาเกียรติ และ การเสียสละเพี่อ
๑๙๒

แผ่ นดิน โดยรวมแล้ว พระองค์ถู กสร้างให้ม ีค วามโดดเด่น มากขึ้น ตามยุค สมัย วีรกรรมของ
พระองค์ นอกจากความเป็นนักรบทีส่ ละชีพเพื่อแผ่นดินแล้ว การต่อสูเ้ พื่อปกป้องอานาจทางการ
เมือ งของพระองค์ก็โดดเด่นมากขึ้น มีการเพิ่มเติมภูมหิ ลัง ที่ทาให้พ ระองค์ก ลายเป็ นสตรีท่ี
เกี่ยวข้องกับการปกป้องแผ่นดินในทุกแง่มุม ตัง้ แต่สายเลือดความเป็นเจ้าสืบมา และการกระทา
ทัง้ ในทางการเมืองและทางการรบ และยังไม่ทง้ิ ความเป็นแม่ทด่ี ี สมเด็จพระสุรโิ ยทัย จึงเป็ นพระ
ราชินี ในอุดมคติ ในคติความเชื่อของสังคมไทยในปจั จุบนั
๖.๓.๓ งำนวิ จยั ที่ศึกษำองค์ประกอบ หรือกลวิ ธีกำรประพันธ์
งานวิจยั แนวนี้เน้นศึกษาวรรณคดีเรือ่ งใดเรื่องหนึ่ง สมัยใดสมัยหนึ่ง ประเภทใดประเภท
หนึ่ง หรือศึกษานักเขียนคนใดคนหนึ่งเพื่อดูองค์ประกอบด้านโครงเรือ่ ง ฉาก ตัวละคร แก่นเรือ่ ง
คุ ณ ค่ า เป็ นต้น และดู ก ลวิธ ีก ารประพันธ์ เช่น กลวิธ ีการเสนอเรื่อ ง ท่ วงท านองการแต่ ง กล
วิธกี ารใช้ภาษา ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ประคอง เจริญ จิต รกรรม (๒๕๒๗) ท าวิท ยานิ พ นธ์ เ รื่อ ง การศึ ก ษานวนิ ย ายอิ ง
ประวัติศ าสตร์ไทยระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๐-พ.ศ. ๒๕๒๕ มีว ตั ถุ ป ระสงค์ เพื่อ ศึกษาเนื้ อ หาและ
แนวคิด พบว่านวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ส่วนใหญ่เป็ นเรื่องราวในสมัยอยุธยา เหตุการณ์ทผ่ี แู้ ต่ง
นามาเป็นฉากมากทีส่ ุด ได้แก่ เหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาครัง้ ที่ ๒ เนื้อหาและแนวคิดทีป่ รากฏ
ส่วนใหญ่ เป็ นการเชิด ชูวรี กรรมของกษัต ริย์และวีรชนที่ทาสงครามเพื่อปกป้องชาติบ้านเมือ ง
ยอมเสียสละเพื่อชาติโดยไม่หวังสิง่ ตอบแทน ดังจะเห็นได้จากบทบาทของตัวละครเอก
สายสร้อ ย สุ ด หอม (๒๕๓๐) ท าวิท ยานิ พ นธ์ เรื่อ ง นวนิ ย ายอิงประวัติศ าสตร์ เ รื่อ ง
เศวตฉัตรน่ านเจ้า: การศึกษาด้านกลวิธเี สนอเรื่องและท่วงทานองการแต่ง พบว่าผูแ้ ต่งใช้กลวิธ ี
ในการเสนอเรื่องทัง้ ในด้านโครงเรือ่ ง ตัวละคร บทสนทนา และฉากอย่างมีชนั ้ เชิง เร้าความสนใจ
ใคร่รแู้ ก่ผอู้ ่าน ทาให้นวนิยายมีความสมจริง และให้ความบันเทิง ด้านท่วงทานองการแต่ง มีการ
เลือ กใช้ค า โวหาร ประโยค และการบรรยายความด้ว ยภาษาที่สุ ภ าพ เรียบง่าย แต่ ม ีค วาม
ไพเราะ มีการสอดแทรกทรรศนะเกี่ยวกับความรักว่าเป็ นสิง่ ที่ควรเชื่อมัน่ ยึดมัน่ นอกจากนี้ยงั
เห็นความสัมพันธ์ระหว่างภูมหิ ลังของผู้แต่งกับนวนิยาย จากการที่ผู้แต่งจาลองประสบการณ์
ชีวติ บุคลิกภาพ อุปนิสยั ของตนและบุคคลใกล้ชดิ มาใช้ในการประพันธ์ได้อย่างกลมกลืน
รัชนีกร แท่นทอง (๒๕๓๙) ทาสารนิพนธ์เรื่อง วิเคราะห์นวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์เรื่อง
ฟ้าใหม่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบของนวนิยายและความสัมพันธ์กบั ประวัติศาสตร์
ผลการวิจยั พบว่านวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์เรื่องนี้ ใช้ขอ้ มูลประวัตศิ าสตร์ทม่ี กี ารจดบันทึกไว้เป็ น
โครงเรื่องและฉากของเรื่อง ใช้ตวั ละครดาเนินเรื่องเพื่อสะท้อนภาพเหตุการณ์ ประวัตศิ าสตร์ ใน
ด้านกลวิธกี ารเล่าเรื่องมีความน่ าสนใจ ชวนติดตาม ใช้บทสนทนาสลับกับการบรรยายในการ
ดาเนินเรื่อง มีการนาเสนอเรือ่ งตามลาดับปฏิทนิ ใช้ภาษาสานวนไพเราะ มีลลี าเฉพาะตัว มีการ
แสดงทรรศนะต่ อ เหตุ ก ารณ์ ท างประวัติศ าสตร์ท่ีน ามาใช้เป็ น ฉากของเรื่อ ง แก่ น เรื่อ งแสดง
๑๙๓

วีรกรรมของวีรบุรุษ ผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทย อันเป็ นการแสดงความจงรักภักดีต่ อชาติ


ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทัง้ สอดแทรกความรูต้ ่าง ๆ อันถือเป็นเบือ้ งหลังทางประวัตศิ าสตร์
สุรรี ตั น์ ทองคงอ่วม (๒๕๔๒) ทาวิทยานิพนธ์เรือ่ ง การวิเคราะห์วรรณคดีประวัตศิ าสตร์
ประเภทสดุดีวรี กรรม มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์วรรณคดีประเภทนี้จานวน ๕ เรื่อง คือ ลิลติ
ยวนพ่าย ลิลติ ตะเลงพ่าย ลิลติ ดัน้ สดุดบี า้ นบางระจัน อาทิตย์ถงึ จันทร์ และเลือดเนื้อพลีเพื่อไทย
ด้านประวัติ องค์ประกอบ ลักษณะค าประพันธ์และการสร้างรส ผลการศึกษาพบว่าวรรณคดี
ประวัตศิ าสตร์ประเภทสดุดวี รี กรรมมีองค์ประกอบ ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนนาประกอบด้วยบทไหว้ครู
เป็ นการไหว้สงิ่ ทีก่ วีเคารพยกย่อง และความนา เป็ นการแสดงวัตถุประสงค์ ในการแต่ง เนื้อเรื่อง
กล่าวถึงเหตุการณ์ในเรือ่ งตามลาดับเวลา โดยใช้วธิ กี ารเล่าเรื่องและใช้บทสนทนาในการดาเนิน
เรื่อ ง และส่ ว นสรุป หรือ นิ ค มคาถา กล่ าวถึงรายละเอีย ดเกี่ย วกับ ผู้แ ต่ งและประวัติก ารแต่ ง
วรรณคดีทงั ้ ๕ เรื่องสามารถจาแนกตามคาประพันธ์ได้ ๒ กลุ่ม กลุ่มแรกแต่งด้วยคาประพันธ์
ประเภทร่ายดัน้ และโคลงดัน้ กลุ่มที่ ๒ แต่งด้วยคาประพันธ์ประเภทโคลงสุภาพและร่ายสุภาพ
วรรณคดีทงั ้ ๕ เรือ่ งมีวรี รสเป็นรสเอก นอกจากนี้ยงั มีอทั ภุตรสและกรุณารสเป็นรสเสริม
สุภญ
ิ ญา ยงศิร ิ (๒๕๔๕) ศึกษาเชิงวิเคราะห์นวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์สมัยรัตนโกสินทร์
ผลการศึกษาพบว่าผู้แต่งนวนิยายสร้างโครงเรื่อง เนื้อเรื่อง ตัวละคร ฉาก และมีศิลปะการใช้
ภาษาเพื่อเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริยด์ า้ นต่าง ๆ ได้แก่ พระมหากษัตริยท์ รงสร้างความมันคง ่
และดารงเอกลักษณ์ชาติไทย ทรงเป็ นศูนย์รวมจิตใจ ทรงสร้างรัตนโกสินทร์ให้เป็นราชธานี และ
ทรงปกป้องเอกราชของชาติไทยโดยทรงทาศึก สงครามปกป้อ งประเทศและทรงผูกไมตรีก ับ
ต่างประเทศ ประเทศไทยจึงมีค วามมันคงและด ่ ารงเอกราชได้จนถึงทุกวันนี้ นวนิยายเชิดชู
พระมหากษัตริยท์ ท่ี รงสร้างความมันคงให้
่ ทดั เทียมอารยประเทศ ทรงเลิกทาสและทรงปรับปรุง
คุณภาพของประชาชน ทรงสร้างบ้านเมืองให้รุ่งเรืองและสงบสุข การสร้างโครงเรื่อง เนื้อเรื่อง
ตัวละครและฉากเพื่อแสดงสภาพของสังคมและวัฒ นธรรมไทยด้วย กล่าวคือ มองเห็นความ
เปลีย่ นแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตัง้ แต่ สมัยรัชกาลที่ ๑ จนถึงปจั จุบนั ได้แก่ วิถชี วี ติ ความ
เป็ นอยู่ของชนชัน้ ต่าง ๆ บทบาทและการวางตัวของผู้หญิง การแต่งกาย สภาพบ้านเมืองและ
การคมนาคม การศึกษา การปกครอง เศรษฐกิจ การใช้ภาษายังเหมาะสมกับยุคสมัยอีกด้วย
อภิรกั ษ์ ชัยปญั หา (๒๕๔๖) ทาวิทยานิพนธ์เรื่อง วิเคราะห์นวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์
การเสีย กรุง ศรีอ ยุ ธ ยาครัง้ ที่ ๒ ด้ว ยการเปรีย บเทีย บข้อ มู ล ทางประวัติศ าสตร์ วิเคราะห์
องค์ประกอบและศิลปะการประพันธ์ ผลการศึกษาพบว่าสามารถแบ่งนวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์
ได้ ๓ ยุค คือ ยุคเริม่ ต้น ยุคปรับตัวและยุครุ่งเรือง โดยภูมหิ ลังของผูแ้ ต่งและบริบททางสังคมมี
ผลต่ อจุดมุ่งหมายในการแต่ง กลวิธ ีการประพันธ์ และสถานภาพของนวนิยาย ในด้านผู้อ่าน
จุดมุ่งหมาย ประสบการณ์ ในการอ่ านและภูม ิรู้ป ระวัติศ าสตร์ของผู้อ่ านส่ งผลต่ อ การเข้าถึง
วรรณกรรม ความนิยมและหน้าทีข่ องผูอ้ ่านส่งผลต่อพัฒนาการของนวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ทงั ้
๑๙๔

ในด้า นการสร้า งสรรค์ การเผยแพร่ และการแปรรูป สู่ศิล ปะประเภทอื่น การน าข้อ มูล ทาง
ประวัตศิ าสตร์มาใช้ในการประพันธ์เพื่อสร้างความสมจริงและความบันเทิง หน้าทีข่ องนวนิยาย
คือด้านสุนทรียภาพ ด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะการปลุกจิตสานึกแห่งความเป็ นไทย
ด้านบันเทิง คือ การให้ความรูเ้ ชิงประวัตศิ าสตร์แก่ผอู้ ่านผ่านสื่อบันเทิงประเภทนวนิยาย
วรมน เหรียญสุวรรณ (๒๕๔๘) ทาวิจยั เรื่อง มิติสถานที่ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์
ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ศึกษาจากงานประพันธ์ของ “ทมยันตี” จานวน ๔ เรือ่ งคือ คู่กรรม ร่มฉัตร
ทวิภพ และคู่กรรม ๒ พบว่าผูป้ ระพันธ์สร้างตัวละครขึน้ จากจินตนาการให้เข้าไปดาเนินชีวติ ใน
สถานทีท่ างประวัตศิ าสตร์ตามยุคสมัยทีผ่ ปู้ ระพันธ์ตอ้ งการ เกิดจากความสัมพันธ์ของผูป้ ระพันธ์
ที่มตี ่อประวัติศาสตร์โดยตรงและหรือผ่านคาบอกเล่า โดยใช้สถานที่เป็ นกลวิธ ี ในการเล่าเรื่อง
และด าเนิ น เรื่อ งด้ว ย ได้แ ก่ การใช้ส ถานที่เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในการก าหนดโครงเรื่อ ง ก าหนด
บุคลิกภาพของตัวละคร สร้างความสมจริงและแสดงโลกทัศน์ ของนักประพันธ์ ซึ่งช่วยให้เกิด
ความสมจริงที่ส อดคล้อ งกับประวัติศ าสตร์และความสมจริงของตัวละคร ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจ
บรรยากาศของเหตุการณ์ ในประวัตศิ าสตร์ รวมทัง้ สะท้อน “โลกภายใน” ของนักประพันธ์ด้วย
การที่ผปู้ ระพันธ์มปี ระสบการณ์ตรงหรือทุ่มเทศึกษาหาข้อมูลจนสามารถนาไปเขียนนวนิยายได้
หลายเรื่องนับเป็ นวิธกี ารใช้ขอ้ มูลอย่างคุ้มค่าและเป็ นโอกาสแสดงความคิดสร้างสรรค์ในการใช้
สถานที่เดิม ในสถานการณ์ ใหม่ ๆ รวมทัง้ สร้างส านึ ก ให้ผู้อ่ านตระหนั ก ในความส าคัญ ของ
สถานทีใ่ นบทบาทเป็นผูก้ าหนดมนุษย์เช่นเดียวกับทีม่ นุษย์เป็ นผูก้ าหนดสถานที่
จิณ ณพัด โรจนวงศ์ (๒๕๔๙) ท าวิท ยานิ พ นธ์ เรื่อ ง ภาษาจิน ตภาพในนวนิ ย ายอิง
ประวัติศาสตร์ มีวตั ถุ ประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของภาษาจินตภาพในนวนิยายเรื่อง ขุนศึก
กษัตริยา รัตนโกสินทร์ สีแ่ ผ่นดินและประชาธิปไตย ผลการศึกษาพบว่าลักษณะภาษาจินตภาพ
มี ๒ ลักษณะ ลักษณะแรก คือ การใช้คาเพื่อทาให้ผอู้ ่านเกิดจินตภาพและเกิดอารมณ์ความรูส้ กึ
คือการใช้คาเรียกสี การใช้คาบอกแสง การใช้คาบอกอารมณ์ความรูส้ กึ และการใช้คาบอกความ
เคลื่อ นไหว ลัก ษณะที่ส อง คือ การใช้ ภ าพพจน์ ได้ แ ก่ อุ ป มา อุ ป ลัก ษณ์ อติ พ จน์ และ
บุคลาธิษฐาน ทาให้ผอู้ ่านเกิดจินตภาพ เกิดอารมณ์ความรูส้ กึ เกิดอรรถรสในการอ่าน มองเห็น
ภาพและเหตุการณ์ ต่าง ๆ การใช้คาและภาษาช่วยให้ผอู้ ่านมองเห็นภาพต่าง ๆ เมื่ออ่าน ทราบ
ถึงอารมณ์ความรูส้ กึ ทีป่ รากฏในนวนิยาย
วรารัต น์ สุ ข วัจ นี (๒๕๕๑) ท าวิท ยานิ พ นธ์ เรื่อ ง การศึก ษาวิเ คราะห์ น วนิ ย ายอิง
ประวัตศิ าสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา ผลการศึกษาพบว่านวนิยายสมัยนี้มแี นวคิด ในการแย่งชิงราช
บัลลังก์ การรบและการปกป้องบ้านเมือง การเชิดชูวรี บุรษุ และวีรกษัตริย์ การเสียกรุงศรีอยุธยา
และการกอบกู้ เอกราช ความรัก ระหว่ า งสงคราม ความกตัญ ญู ความเสีย สละ และความ
จงรักภักดี กลวิธกี ารประพันธ์มกี ารเปิ ดเรื่องและการสร้างความขัดแย้งในการดาเนินเรื่อง การ
เรียงลาดับเหตุการณ์ ในการดาเนินเรื่อง และการจบเรื่อง ฉากที่ปรากฏ เช่น ฉากก่อร่างสร้าง
๑๙๕

เมือง ฉากสภาพบ้านเมือง ฉากความวุ่นวายในราชสานักและการแย่งชิงราชสมบัติ ฉากสงคราม


และการต่อสูเ้ พื่ออิสรภาพ ตัวละครมี ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มทีม่ าจากบุคคลจริงในประวัตศิ าสตร์ กลุ่ม
ทีม่ าจากเค้าของบุคคลจริงในประวัตศิ าสตร์ และกลุ่มที่สมมุตขิ น้ึ ใหม่ บทสนทนามีทงั ้ การใช้คา
โบราณ ใช้คาปจั จุบนั และใช้ทงั ้ ๒ อย่าง มีการใช้คาและสานวนโบราณเพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อ
เรื่อง การใช้โวหารภาพพจน์ ส่อื ความหมายที่ชดั เจนและสร้างอารมณ์ ความรู้สกึ การนาเสนอ
เรือ่ งตรงกับพงศาวดาร และต่างกันด้วย โดยมีการเพิม่ และตัดเหตุการณ์เพื่อให้เกิดอรรถรส
สุ ภิ ญ ญา ขจรกิ ต ติ ยุ ท ธ (๒๕๕๗) ท าวิท ยานิ พ นธ์ เ รื่อ ง การศึ ก ษานวนิ ย ายเชิ ง
ประวัตศิ าสตร์ของหลวงวิจติ รวาทการ ด้านกลวิธ ีการแต่งและจุดมุ่งหมาย ผลการศึกษาพบว่า
กลวิธกี ารแต่งมี ๓ วิธ ี ได้แก่ ด้านการสร้างเนื้อเรื่องและเรื่องแทรก การสร้างตัวละคร และการ
สร้างฉาก ด้านการสร้างเนื้อเรื่องและเรื่องแทรกมีดงั นี้ การสร้างเนื้อเรื่องมี ๓ ลักษณะ คือ สร้าง
เนื้อ เรื่อ งตรงตามประวัติศ าสตร์ การดัดแปลงเนื้อ เรื่อ ง และการสมมติเนื้ อ เรื่อ งขึ้นใหม่ ส่ ว น
วิธกี ารสร้างเนื้อเรื่องมี ๓ ลักษณะ ลักษณะแรก คือ สร้างโดยคงเนื้อหาไว้ตามประวัติศาสตร์
และแต่งเติมรายละเอียดบางส่วน เพื่อให้เรื่องดาเนินไปตามโครงเรือ่ ง เพื่อสร้างอารมณ์รว่ ม และ
เพื่อสื่อความคิด ลักษณะที่สอง คือ การดัดแปลงเนื้อเรื่องเพื่อให้เรื่องดาเนินไปตามโครงเรื่อง
เพื่อเพิม่ บทบาทให้ตวั ละครเด่นขึน้ เพื่อสร้างอารมณ์สะเทือนใจ และเพื่อสื่อความคิด ลักษณะที่
สาม คือ การสมมติเนื้อเรื่องเพื่อให้เรื่องดาเนินไปตามโครงเรื่อง เพื่อสร้างอารมณ์ สะเทือนใจ
เพื่อสื่อความคิด และเพื่อดาเนินเรือ่ งตามความเชื่อถือของผูแ้ ต่ง ในการสร้างเนื้อเรื่องมีการสร้าง
เรื่องแทรกไว้ ๒ แบบ คือ การสร้างเรื่องทีเ่ ป็ นเหตุการณ์ ประวัตศิ าสตร์ และการสร้างเรื่องทีเ่ ป็ น
บุคคลในประวัตศิ าสตร์ สาหรับวิธกี ารสร้างเรื่องแทรก มีทงั ้ การสร้างเรื่องตรงตามประวัตศิ าสตร์
และการดัด แปลงเรื่อ ง และการสร้างตามบุค คลในประวัติศ าสตร์ ด้านวิธ ีก ารสร้างตัว ละคร
พบว่ามีทงั ้ สร้างตรงกับบุคคลในประวัตศิ าสตร์ ดัดแปลงตัวละครจากบุคคลในประวัตศิ าสตร์ และ
สมมติตวั ละคร ส่วนด้านวิธกี ารสร้างฉากพบว่ามี ๒ ลักษณะ คือ การสร้างจากประวัตศิ าสตร์
และการดัดแปลงประวัติศ าสตร์ จุดมุ่งหมายของผู้แต่ ง นอกจากให้ค วามเพลิดเพลินแล้ว ยัง
ปลูกฝงั แนวคิดชาตินิยม คติธรรม ความเชื่อทางพระพุทธศาสนาและให้ความรู้
๖.๓.๔ งำนวิ จยั ที่ ศึ กษำภำพสะท้ อนทำงประวัติศ ำสตร์ งานวิจยั แนวนี้ผู้วจิ ยั เน้ น
ศึกษาภาพสะท้อนในวรรณกรรมในภูมภิ าคต่าง ๆ ดังนี้
นัย นา ครุฑ เมือ ง (๒๕๔๗) ศึก ษานวนิ ย ายอิง ประวัติศ าสตร์ ล้า นนา: ภาพสะท้อ น
การเมืองและสังคม มีวตั ถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพการเมืองและสังคมล้านนาทีป่ รากฏในนว
นิยายอิงประวัตศิ าสตร์ลา้ นนาสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุรยิ วงศ์จนถึงสมัยพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ โดย
ศึกษาจากนวนิยายเรื่อง เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอิ นทร์แขวน ของมาลา คาจันทร์ ราก
นครา ของปิ ยะพร ศักดิ ์เกษม ทัพทัน ๑๙๐๒ ของพ.วังน่ าน เวียงแว่นฟ้า และหนึ่งฟ้าดินเดียว
ของกฤษณา อโศกสิน จากการศึก ษาพบว่ า ในด้ า นการเมือ งผู้ ป ระพัน ธ์ไ ด้ น าเสนอภาพ
๑๙๖

ความสัมพันธ์เชิงอานาจภายในอาณาจักรล้านนากับสยาม พม่า และมหาอานาจตะวันตก ตัง้ แต่


ยุค ที่ล้านนาเป็ นประเทศราชของสยามจนถึงช่วงเวลาที่เปลี่ยนเป็ นระบอบการปกครองแบบ
มณฑลเทศาภิบาล ซึง่ ได้สะท้อนให้เห็นภาพการรวมอาณาจักรล้านนาเข้ากับสยาม ผูป้ ระพันธ์ม ี
ทัศนะต่อการรวมดินแดนล้านนาแตกต่างกัน ผู้ประพันธ์ท่เี ป็ นคนนอกวัฒนธรรมล้านนา เช่น
กฤษณา อโศกสิน และปิยะพร ศักดิ ์เกษม มีมมุ มองทีเ่ ห็นด้วยกับการรวมดินแดนล้านนาเข้าเป็ น
ส่วนหนึ่งของสยาม ส่วนผูป้ ระพันธ์ทม่ี ถี นิ่ กาเนิดในล้านนา เช่น มาลา คาจันทร์ และพ.วังน่ านมี
มุมมองที่แตกต่างออกไป ในมุมมองของมาลา คาจันทร์ สยามเป็ นผูร้ ุกรานดินแดนล้านนาและ
เข้ายึดอานาจจากผู้นาท้องถิ่น ส่ วน พ.วังน่ านได้ช้ใี ห้เห็นปฏิกิรยิ าการต่ อต้านอ านาจรัฐบาล
สยามของชาวล้านนา ในด้านสังคม ผูป้ ระพันธ์ช้ใี ห้เห็นภาพความสัม พันธ์ภายในสังคมของชาว
ล้านนาในมิตขิ องชนชัน้ และสถานภาพทางเพศ โดยมีโครงสร้างทางสังคม คติความเชื่อ ค่านิยม
และขนบธรรมเนียมประเพณีเป็ นปจั จัยกาหนดบทบาทและหน้าทีข่ องคนในสังคม นอกจากนี้ ยงั
เห็นภาพลักษณ์ ของสตรีลา้ นนาที่เป็ นผู้หญิงเก่งและแกร่งส่วนหนึ่งมาจากสภาพสังคมที่เอื้อให้
สตรีมบี ทบาทสาคัญในครอบครัวและสังคมและอีกส่วนหนึ่งมาจากทัศนคติของ ผูป้ ระพันธ์ทเ่ี ป็ น
สตรียคุ ปจั จุบนั ตัวละครสตรีลา้ นนาจึงปรากฏลักษณะของผูห้ ญิงยุคปจั จุบนั ด้วย
จากข้อมูลข้างต้น เห็นได้ว่า งานวิจยั ที่เกี่ยวข้องกับวรรณคดีประวัติศาสตร์มปี ระเด็น
การศึกษาทีห่ ลากหลาย สาหรับประเด็นการศึกษา มีทงั ้ การวิเคราะห์ตวั บทในแง่มุมใดแง่มมุ หนึ่ง
เช่น วิเคราะห์องค์ประกอบของวรรณกรรม วรรณศิลป์ คุณค่า ลีลาภาษา เป็ นต้น และการอาศัย
แนวคิดทฤษฎีเพื่อช่วยให้การอธิบายมีความน่ าเชื่อถือ มากยิง่ ขึ้น เช่น แนวคิดวีรบุรุษ วีรสตรี
แนวคิด การเล่ าเรื่อ ง แนวคิด สัมพัน ธบท เป็ น ต้น โดยผู้เรียนหรือ ผู้ท่สี นใจทัวไปสามารถน
่ า
แนวคิดต่าง ๆ ไปเป็นแนวทางในการจัดทารายงาน หรือทาวิจยั ในอนาคตได้
สรุป
การสังเคราะห์ งานศึก ษาวรรณคดีเกี่ย วกับ ประวัติศ าสตร์ ในบทนี้ ส ะท้อ นให้เห็น ว่ า
ปจั จุบ ัน มีเอกสาร บทความและงานวิจยั ที่เกี่ย วข้อ งกับ วรรณคดีป ระเภทนี้ จานวนมาก โดย
น าเสนอกั น ในหลายลัก ษณะ มีท ั ง้ การพิ จ ารณาวรรณคดี แ บบองค์ ร วม หรือ วิเ คราะห์
ความสัม พัน ธ์ในลัก ษณะ “ไตรภูม แิ ห่งวรรณคดี” คือ วิเคราะห์ค วามสัมพันธ์ระหว่างผู้เขียน
ผู้อ่าน และวรรณกรรม การศึกษาเฉพาะประเด็นที่เห็นว่าน่ าสนใจ การหยิบยกแง่มุมใดแง่มุม
หนึ่งมาตีความใหม่โดยใช้ทฤษฎีทห่ี ลากหลาย ทัง้ ในมิตปิ ระวัตศิ าสตร์และอื่น ๆ เช่น วาทกรรม
กลวิธกี ารเล่าเรื่อง ภาพแทน และมายาคติ โดยผู้เรียนและผู้สนใจสามารถค้นคว้างานประเภทนี้
ได้จากแหล่งต่าง ๆ เช่น เอกสารตามศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรม วัด หอสมุดแห่งชาติ พิพธิ ภัณฑ์สถาน
แห่งชาติ หอสมุดของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หรือดาวน์โหลด (Download) จากเอกสารในเว็บไซต์
ต่าง ๆ เช่น เรือนไทย หอมรดกไทย ภูมปิ ญั ญาไทย และศูนย์มานุ ษยวิทยาสิรนิ ธร
๑๙๗

บทที่ ๗
แนวทำงกำรวิ เครำะห์วรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์
ในการน าเสนอบทที่ผ่ า น ๆ มาน่ า จะช่ ว ยให้ ผู้ เรีย นหรือ ผู้ ส นใจวรรณคดีเกี่ย วกับ
ประวัตศิ าสตร์มคี วามรูค้ วามเข้าใจและเห็นงานทีค่ น้ คว้าวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์มากขึน้
สาหรับบทนี้ ผูเ้ ขียนจะขอเสนอแนวทางการวิเคราะห์วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์เพิม่ ช่วยให้
ผู้เรียนหรือผู้สนใจมองเห็นประเด็นการวิเคราะห์ท่มี คี วามเฉพาะเจาะจงมากยิง่ ขึ้น โดยข้อมูล
ส่วนหนึ่งสังเคราะห์มาจากงานค้นคว้าวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ อีกส่วนหนึ่งได้จากการ
อ่านแนวคิดทฤษฎีสมัยใหม่ รวมถึงการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่น ประเภทนิทาน ตานาน ซึ่ง
พบว่า น่ าศึก ษาวิเคราะห์ในเชิงประวัติศ าสตร์ด้ว ย ส าหรับ แนวทางการวิเคราะห์ว รรณคดี
เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ผู้เขียนได้แบ่งแนวทางการวิเคราะห์ไว้ ๘ แนวทาง ได้แก่ การศึกษา
วรรณคดีเพียงเรื่องเดียวอย่างลุ่มลึก ศึกษาหาลักษณะเด่น ศึกษาภาพรวมการสร้างงาน ศึกษา
ทรรศนะหรือ มุ ม มองของผู้แ ต่ ง ที่ม ีต่ อ สังคมของตนหรือ สังคมอื่น ศึก ษาวรรณคดีเกี่ย วกับ
ประวัตศิ าสตร์ของชาติอ่นื ศึกษาแนวเปรียบเทียบ ศึกษาโดยมุ่งแนวคิดทฤษฎี และศึกษาจาก
กลุ่มข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่น โดยจะนาเสนอตัวอย่างบทคัดย่องานวิจยั ไว้โดยสังเขป เพื่อให้
เป็นตัวอย่างประกอบการศึกษา สาหรับแนวทางการวิเคราะห์ทงั ้ ๘ แนวทาง มีรายละเอียดดังนี้

๗.๑ ศึกษำวรรณคดีเพียงเรื่องเดียวอย่ำงลุ่มลึก
การศึกษาวรรณคดีเพียงเรื่องเดียวอย่างลุ่มลึก ให้พจิ ารณาด้านผู้แต่ง สมัยที่แต่ง ตัว
ละคร ฉาก ศิลปะการประพันธ์ ภาษา และเนื้อหาที่เชื่อมโยงกับ มิติในประวัติศาสตร์ ผู้ท่สี นใจ
ศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์เพียงเรื่องเดียวควรเลือกเรื่องทีย่ งั ไม่มกี ารศึกษากันอย่าง
แพร่หลายหรือลึกซึง้ เพียงพอ ซึง่ อาจหาตัวบททีเ่ ป็นหนังสือหายากตามหอสมุดแห่งชาติ หรือหา
หนังสือทีย่ งั ไม่มกี ารปริวรรตก็ได้ ซึง่ น่าจะเปิดมุมมองความรูใ้ หม่ ๆ ให้แก่คนรุน่ หลังได้
๑๙๘

ภำพที่ ๙ หนังสือบุดทีศ่ ูนย์ศลิ ปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช


การศึกษาแนวผลงานเพียงเรื่องเดียวอย่างลุ่มลึก เช่น อัญ ชลี ไมตรี (๒๕๔๘) ศึกษา
ลิลติ เสด็จไปขัดทัพ พม่าเมืองกาญจนบุร ี : ประวัติศ าสตร์และสังคมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วิทยานิพ นธ์ฉ บับนี้มจี ุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลิลติ เสด็จไปขัดทัพพม่าเมืองกาญจนบุร ี พระราช
นิพ นธ์ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพ ลเสพ ในฐานะที่เป็ นนิราศเดินทัพ รวมทัง้ ศึกษา
ประวัตศิ าสตร์การสงคราม สังคมและธรรมชาติทป่ี รากฏในเรื่อง จากการศึกษาพบว่าลิลติ เสด็จ
ไปขัดทัพพม่าฯ เป็ นนิราศเดินทัพทีม่ เี นื้อหาคร่าครวญถึงผูเ้ ป็ นทีร่ กั และพรรณนาการเดินทางไป
ขัดทัพพม่าที่เมืองหน้าด่านในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๓
วรรณคดีเรื่องนี้สบื ทอดฉันทลักษณ์และลีลาการแต่งมาจากลิลติ พระลอ สืบทอดโวหารนิราศมา
จากนิราศสมัยกรุงศรีอยุธยา ทัง้ ยังมีลกั ษณะเด่นในการพรรณนาการเดินทางอย่างละเอียดเป็ น
ความรู้ การคร่ าครวญถึงผู้เป็ น ที่รกั ซึ่งมีต ัว ตนจริงเป็ น ที่รู้จกั และการบรรยายเรื่อ งราวการ
สงครามเป็ นความรูจ้ ากการไปราชการศึกจริง สาหรับการศึกษาประวัตศิ าสตร์การสงครามใน
เรื่องพบว่ามีความขัดแย้งกับข้อมูลในหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์ กล่าวคือ ในลิลติ เสด็จไปขัด
ทัพพม่าฯ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพเสด็จไปขัดทัพพม่าทีเ่ มืองราชบุร ี แต่หลักฐาน
ทางประวัตศิ าสตร์บนั ทึกไว้ว่าพระองค์เสด็จไปขัดทัพทีเ่ มืองเพชรบุร ี ทัง้ นี้สนั นิษฐานได้ว่าอาจมี
การเปลีย่ นแปลงสถานทีซ่ ง่ึ ไม่ได้บนั ทึกไว้ในหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์ หรือสมเด็จพระบวรราช
เจ้ามหาศักดิพลเสพอาจดูแลทัง้ เมืองราชบุรแี ละเมืองเพชรบุร ี โดยตัง้ ทัพอยูท่ เ่ี มืองราชบุรซี ง่ึ เป็ น
ชัยภูม ิท่เี หมาะสมสามารถป้ อ งกัน พม่ าที่จะเข้ามาทัง้ ทางด่ านเมือ งราชบุรแี ละด่ านใกล้เมือ ง
เพชรบุร ี วรรณคดีเรื่องนี้บนั ทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการสงครามครัง้ พ.ศ. ๒๓๖๓ ทัง้ การจัด
กระบวนการพยุหยาตรา การทาพิธกี รรมเกี่ยวกับการสงคราม การสร้างค่าย การยกทัพไปตรวจ
๑๙๙

ด่านชายแดน โดยใช้วธิ กี ารเล่าประวัติศาสตร์ ๓ แบบ คือ การเล่าบรรยายเหตุการณ์ การเล่า


สรุปเหตุการณ์ และการเล่าเหตุการณ์ ย้อนอดีต ลิลติ เสด็จไปขัดทัพพม่าฯยังได้สะท้อนสภาพ
สังคมและธรรมชาติ ทัง้ สังคมภายในกองทัพที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างจอมทัพผูม้ อี านาจ
สูงสุดกับขุนนาง ทหารและไพร่ ส่วนสังคมภายนอกประชาชนประกอบอาชีพตามความเหมาะสม
ในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งมีความหลากหลายทางธรรมชาติทงั ้ พืชและสัตว์ ทัง้ ยังสะท้อนความเชื่อ
เกีย่ วกับผีและไสยศาสตร์ ความเชื่อทางศาสนาพุทธ และความเชื่อในสถานทีศ่ กั ดิ ์สิทธิ ์ต่างๆ ซึง่
เป็นทีย่ ดึ เหนี่ยวทางจิตใจของผูค้ นในยามสงคราม
ปทั มา ฑีฆประเสริฐกุล (๒๕๕๖) ศึกษายวนพ่ายโคลงดัน้ : ความสาคัญที่มตี ่อการสร้าง
ขนบและพัฒ นาการของวรรณคดีป ระเภทยอพระเกียรติของไทย ผู้ว ิจยั มุ่งศึกษากลวิธ ีก าร
ประพันธ์ยวนพ่ายโคลงดัน้ ทีม่ คี วามดีเด่นสมบูรณ์แบบและมีอทิ ธิพลต่อวรรณคดียอพระเกียรติ
สมัยต่อมา พบว่ายวนพ่ายโคลงดัน้ มีกลวิธกี ารประพันธ์ทด่ี เี ยีย่ มทัง้ กลวิธกี ารเล่าเรื่องและกลวิธ ี
ทางวรรณศิลป์ ผูเ้ ล่าเรือ่ ง คือ ผูป้ ระพันธ์ทแ่ี สดงตนว่าอยูฝ่ ่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงมุ่ง
สรรเสริญสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอย่างมีเอกภาพผ่านองค์ประกอบต่างๆ ของเรือ่ ง ซึง่ แสดง
ให้เห็นภาพลักษณ์กว้าง ๆ ของพระองค์ คือ พระมหากษัตริยท์ ส่ี มบูรณ์แบบและภาพทีต่ ้องการ
ั ญา และมีเมตตาธรรม
เน้ น เฉพาะในเรื่อ งนี้ ซึ่งได้แ ก่ ภาพกษัต ริย์ นั ก รบผู้ เก่ ง กล้า มีป ญ
นอกจากนี้ กวียงั สร้างตัวละครคู่ปรปกั ษ์เพื่อเชิดชูความดีงามของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถให้
เด่นชัดขึน้ การสร้างฉากเมืองเชียงชื่นแสดงให้เห็นพระเดชานุ ภาพของพระองค์ได้ชดั เจน ส่วน
กลวิธที างวรรณศิลป์ในยวนพ่ายโคลงดัน้ ทาให้บทประพันธ์มที งั ้ ความไพเราะงดงามและทาให้
การสรรเสริญ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีค วามลุ่มลึก เช่น การใช้ความเปรียบเพื่อยกย่อ ง
พระองค์ว่าดีเลิศเหมือนเทพเจ้า เหมือนพระพุทธเจ้า และเหมือนตัวละครในวรรณคดีเรือ่ งต่าง ๆ
การเล่นคาแบบซ้าคาและซ้าเสียงทีส่ ร้างทัง้ ความไพเราะและเน้นความหมายของเนื้อความ
กลวิธ ีก ารประพัน ธ์ท่ีม ีล ัก ษณะโดดเด่ น ท าให้ ย วนพ่ า ยโคลงดัน้ เป็ น ต้ น แบบให้ แ ก่
วรรณคดียอพระเกียรติสมัยต่อมา มีการแต่งบทประพันธ์เลียนแบบยวนพ่ายโคลงดัน้ เช่น การ
สร้างเนื้ อ หาให้เป็ น องค์ป ระกอบต่ าง ๆ เพื่อ เชิด ชูคุ ณ ลัก ษณ์ ข องพระมหากษัต ริย์ การเล่ า
เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ทร่ี อ้ ยเรียงต่อกันด้วยการใช้คาว่า “แถลงปาง” และการใช้ความเปรียบ
เพื่อสรรเสริญพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ต าม วรรณคดียอพระเกียรติสมัยต่อมาก็มพี ฒ ั นาการที่
ต่างออกไป ซึ่งเป็ นไปตามบริบทของสังคม เช่น การสรรเสริญ พระมหากษัตริย์จากที่เป็ นเทว
ราชาอย่างเด่นชัดในยวนพ่ายโคลงดัน้ ก็คลี่คลายเป็ นมนุ ษย์ท่ที รงธรรมและทรงงานอย่างหนัก
เพื่อประชาชนในวรรณคดียอพระเกียรติปจั จุบนั พระสติปญั ญาญาณหยังรู ่ อ้ ดีต อนาคต หรือใจ
คนก็ปรับเปลีย่ นให้เห็นพระสติปญั ญาทีเ่ กิดจากการศึกษาและเรียนรูส้ รรพวิทยา
๒๐๐

๗.๒ ศึกษำหำลักษณะเด่น
การศึกษาหาลักษณะเด่น คือ การหาลักษณะเด่นด้านต่าง ๆ ในมิตทิ างประวัตศิ าสตร์
จากวรรณกรรม เช่น ศึกษาภูมปิ ญั ญาไทยจากเรื่องไตรภูมพิ ระร่วง ศึกษาเรือ่ งยวนพ่ายในฐานะ
หลักฐานทางประวัตศิ าสตร์ร่วมสมัย ศึกษาเรื่องตารับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ขุนช้างขุนแผน พระ
อภัยมณี และนิราศไทรโยคในฐานะภาพสะท้อนทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น งานวิจยั เรือ่ ง “นัย
ทางการเมืองใน “เสภาเรื่องขุนช้าง - ขุนแผน” ของกิตติศกั ดิ ์ เจิมสิทธิประเสริฐ (๒๕๕๔: ๑๑๙ -
๑๓๔) ที่มวี ตั ถุประสงค์เพื่ออธิบายนัยทางการเมืองใน “เสภาเรื่องขุนช้าง - ขุนแผน” ทัง้ ในมิติ
ของความคิดทางการเมืองทีป่ รากฏในตัวบท ตลอดจนบริบทและวาระทางการเมืองทีข่ บั เคลื่อน
ให้เกิดการตรวจชาระและจัดพิมพ์หนังสือ เล่มนี้ ขึน้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ด้วยการตีความตัวบท
อย่างละเอียด และการวิเคราะห์เชิงบริบท ผลการวิจยั พบว่า ตัวบทของหนังสือ “เสภาเรื่องขุน
ช้าง - ขุนแผน” ฉบับหอพระสมุดฯ สามารถเป็ นภาพแทนความจริงของสังคม ทีจ่ ะเน้นยา้ ให้เห็น
ถึง ปฏิส ัม พัน ธ์เชิงอ านาจระหว่ างผู้ค นในชนชัน้ ต่ า งๆ ทัง้ ยังแฝงไว้ด้ว ยแนวคิด เรื่อ งความ
จงรักภักดี โดยเฉพาะอย่างยิง่ ของข้าราชการทหารต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึง่ เมื่อพิจารณา
ควบคู่ไปกับสถานะและบทบาทของ สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุ ภาพ สภานายกหอพระ
สมุดฯ ขณะนัน้ รวมถึงบริบทของรัฐไทยในห้วงเวลาดังกล่าว ทาให้สนั นิษฐานได้ว่า การเกิดขึน้
ของหนังสือเล่มนี้ มิน่าที่จะเป็ นไปเพียงเพื่อ “รักษาหนังสือกลอนเป็ นอย่างดีในภาษาไทยไว้ให้
ถาวร” ดังที่พระองค์ทรงกล่าวไว้ กระทังยึ ่ ดถือกันในปจั จุบนั เท่านัน้ หากแต่น่าที่จะเป็ นไปเพื่อ
วัตถุประสงค์ทางการเมือง ที่ทรงมุ่งหมายจะปลูกฝงั ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ให้เกิดขึน้ ในหมู่ประชาชน โดยอาศัยภาพแทนความจริงดังกล่าว เป็นตัวแบบ โดยผูว้ จิ ยั กล่าวใน
ตอนท้ายว่างานวิจยั ชิ้นนี้อาจจะไม่ใช่ “คาตอบสุดท้าย” ที่ “ถูกต้องทีส่ ุด” หากแต่ผู้วจิ ยั ก็มุ่งหวัง
ต่อไปว่า การวิจยั ครัง้ นี้ คงจะสามารถผันตัวไปจุดประกายทางความคิด ให้เกิดความสนใจที่จะ
ตัง้ ข้อคาถาม หรือแนวทางในการศึกษาวรรณคดีสาคัญของชาติเรือ่ งนี้ให้กว้างขวางยิง่ ขึน้ ต่อไป
๗.๓ ศึกษำภำพรวมกำรสร้ำงงำน
การศึกษาภาพรวมการสร้างงาน อาจพิจารณาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ประเภท
ใดประเภทหนึ่ง เช่น วรรณคดีประเภทสดุดี วรรณคดีประเภทบันทึก หรือวรรณคดีประเภท
ชีวประวัติ ศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์สมัยใดสมัยหนึ่ง เช่น สมัยสุโขทัย อยุธยา และ
รัต นโกสินทร์ต อนต้น หรือ ศึก ษาในเชิงพัฒ นาการ สาหรับ การศึก ษาภาพรวมของวรรณคดี
เกี่ยวกับประวัติศ าสตร์มผี ู้ศึก ษาไว้บ้างแล้ว เช่น ปราโมทย์ สกุ ลรักความสุ ข (2554) ศึกษา
ความเปรีย บเกี่ย วกับ พระมหากษัต ริย์ในวรรณคดี ย อพระเกีย รติส มัย กรุงศรีอ ยุธ ยาถึงกรุง
รัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมุ่งวิเคราะห์กลวิธใี นการเสนอความเปรียบเกีย่ วกับพระมหากษัตริยใ์ น
วรรณคดียอพระเกียรติตงั ้ แต่สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น อีกทัง้ ศึกษาแนวคิด
เกี่ย วกับ พระมหากษั ต ริย์จ ากความเปรีย บที่ป รากฏ ตลอดจนศึก ษาการสืบ ทอดขนบและ
๒๐๑

พัฒนาการในการใช้ความเปรียบเกี่ยวกับพระมหากษัตริยใ์ นวรรณคดียอพระเกียรติ ผลการวิจยั


พบว่ากวีใช้กลวิธเี สนอความเปรียบเกีย่ วกับพระมหากษัตริย์ ๘ กลวิธ ี ได้แก่ การใช้ความเปรียบ
แบบอุปมา การใช้ความเปรียบแบบอุปลัก ษณ์ การใช้ความเปรียบแบบอติพจน์ การใช้ความ
เปรียบแบบสมพจนัย การใช้ความเปรียบแบบนามนัย การใช้ความเปรียบแบบปฏิปุจฉา การใช้
ความเปรียบแบบการอ้างถึง และการใช้สญ ั ลักษณ์ ส่วนแนวคิดในการใช้ความเปรียบเกี่ยวกับ
พระมหากษัตริยพ์ บว่า กวีหรือบุคคลในสังคมมีแนวคิดว่าพระมหากษัตริยท์ รงมีพระราชฐานะอัน
สูงส่ งดัง่ พระพุ ท ธเจ้า พระโพธิส ัต ว์ เทพเจ้า ตลอดจนอยู่เหนื อ สรรพสิ่งทัง้ ปวง ทรงมีพ ระ
คุ ณ สมบัติอ ัน ประเสริฐทัง้ พระลัก ษณะพระสติป ญ ั ญา พระคุ ณ ธรรม และพระปรีช าสามารถ
นอกจากนัน้ ทรงมีสงิ่ เสริมพระบารมีท่ยี งิ่ ใหญ่ ได้แก่ ทรงมีพระราชทรัพย์อนั วิเศษ และความ
มหัศจรรย์ทท่ี รงบันดาล การใช้ความเปรียบเกี่ยวกับพระมหากษัตริยไ์ ด้มกี ารสืบทอดขนบตัง้ แต่
สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรเี รื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในกลวิธกี ารอุปมา
อติพจน์ สมพจนัย ปฏิปุจฉา และการอ้างถึง นอกจากนี้ยงั พบพัฒนาการในการใช้ความเปรียบ
อันแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ของกวี และความเชื่อความศรัทธาที่เปลีย่ นแปลงไปตามบริบท
ของสังคมตัง้ แต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นต้นมา
๗.๔ ศึกษำทรรศนะหรือมุมมองของผูแ้ ต่งที่มีต่อสังคมของตนหรือสังคมอื่น
การศึกษาทรรศนะหรือมุมมองของผูแ้ ต่งที่มตี ่อสังคมของตนหรือสังคมอื่น ให้พจิ ารณา
ทรรศนะทีผ่ แู้ ต่งต้องการเสนอต่อผูอ้ ่าน เช่น ทรรศนะต่อเหตุการณ์ บ้านเมือง ทรรศนะต่อสภาพ
สังคมไทย ทรรศนะเรื่องชนชัน้ ความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชาย ดูว่าผูแ้ ต่งแสดงทรรศนะอย่างไร
เห็นด้วยหรือมีขอ้ โต้แย้งเชิงเปรียบเทียบ ผูแ้ ต่งต้องการจะสื่ออะไร ผูแ้ ต่งแสดงทรรศนะผ่านใคร
ใช้บุรุษสรรพนามที่ ๑ หรือที่ ๓ สะท้อนความรูท้ วั ่ หรือรูอ้ ย่างจากัด เป็ นต้น สาหรับการศึกษา
ด้านนี้มผี ู้ศกึ ษาไว้บ้างแล้ว ผู้สนใจสามารถใช้เป็ นแนวทางได้ เช่น ศรัทธา พูลสวัสดิ ์ (๒๕๔๗)
ศึกษาเรือ่ ง "จีน" : จากมุมมองตะวันตกในนวนิยายของเพิรล์ เอส. บัก เพื่อวิเคราะห์การนาเสนอ
ภาพของ "จีน" จากมุมมองของผู้ประพันธ์ชาวตะวันตกในนวนิยายทัง้ ๙ เรื่องได้แก่ A House
Divides, East Wind: West Wind, Dragon Seed, Pavilion of Women, Sons, The Good
Earth, The First Wife, The Mother, The Promise รวมทัง้ วิเคราะห์ทศั นคติของผูป้ ระพันธ์ท่มี ี
ต่อ "จีน" พบว่านวนิยายทัง้ ๙ เรื่องนาเสนอภาพของ "จีน" คือ การสะท้อนภาพของสังคมจีน
ในช่วงก่อนและระหว่างเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็ นระบอบคอมมิวนิสต์ ภาพของสตรีจนี ใน
สังคมจีนและมุมมองของผู้ประพันธ์ชาวตะวันตกที่มตี ่อความเป็ นจีน ประการแรกผู้ประพันธ์ได้
ให้ภาพสังคมจีนโดยรวม ประกอบไปด้วยสังคมปิตาธิปไตย สังคมชนชัน้ ล่าง สังคมทีไ่ ด้รบั ความ
เปลีย่ นแปลงหลังรับวัฒนธรรมตะวันตก และสังคมภายใต้สงครามและการฝกั ใฝ่อานาจ ประการ
ทีส่ องนวนิยายสะท้อนให้เห็นภาพของสตรีจนี ในฐานะเป็ นปจั เจกชนในสังคมในแง่มุมทีต่ ่างกัน
ออกไป ได้แก่ ภาพของมารดา ภรรยาหลวงและภรรยาน้อย และปฏิสมั พันธ์ระหว่างแม่สามีกบั
๒๐๒

ลูกสะใภ้ ประการสุดท้ายนวนิยายยังได้สะท้อนให้เห็นมุมมองของผูป้ ระพันธ์ชาวตะวันตกทีม่ ตี ่อ


ความเป็ นจีน ประเด็นดังกล่าวเป็ นการทาให้ เห็นถึงการให้ค่าทีต่ ่างกัน ระหว่างความเป็ นจีนกับ
ความเป็ นตะวันตก กล่าวคือ การนาเสนอภาพของประเทศจีนมีเกิดขึน้ ภายใต้การให้มุมมองทัง้
ด้านบวกและด้านลบ ในขณะทีก่ ารนาเสนอภาพของตะวันตก ถูกนาเสนอด้วยมุมมองด้านบวก
เพียงด้านเดียวเท่านัน้ การศึกษานวนิยายทัง้ ๙ เรื่องซึง่ ล้วนมีการนาเสนอภาพของความเป็นจีน
ในแง่มุมที่แตกต่างออกไป จึงทาให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงความเป็ นจีนได้เป็ นอย่างดี อีกทัง้ การที่
ผูป้ ระพันธ์เป็ นชาวตะวันตก ทีม่ คี วามใกล้ชดิ และผูกพันอยู่กบั ความเป็ นจีนมาตลอดชีวติ ของเธอ
ท าให้ก ารน าเสนอภาพของจีน ในนวนิ ย ายจึงมีล ัก ษณะเป็ น การผสมผสาน ระหว่ างมุม มอง
เกีย่ วกับจีนทัง้ ในด้านบวกและด้านลบ ด้วยเหตุน้ีการนาเสนอภาพของ "จีน" ของ เพิรล์ เอส. บัก
จึงแตกต่างจากการนาเสนอภาพของประเทศจีนโดยนักประพันธ์ชาวตะวันตกทัวไป ่ หรือนัก
ประพันธ์ชาวจีนทีม่ กั มีจุดยืนในการนาเสนอด้วยจุดยืนเพียงด้านเดียว

ภำพที่ ๑๐ นวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ของนักเขียนชาวต่างชาติทเ่ี ขียนถึงชาติไทย


(ทีม่ า : กล้วยไม้ แก้วสนธิ, ผูแ้ ปล, ๒๕๕๘)
๒๐๓

ภำพที่ ๑๑ นวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ทน่ี าเสนอตัวละครตัวเดียวกันแต่มองต่างมุม


(ทีม่ า : บุษบา บรรจงมณี, ผูแ้ ปล, ๒๕๔๙)

๗.๕ ศึกษำวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์ของชำติ อื่น


การศึก ษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติอ่นื เพื่อ ขยายขอบเขตการศึกษา
วรรณคดีก ลุ่ มนี้ ให้ก ว้างขวางมากยิง่ ขึ้น นอกจากนัน้ ก็จะได้ เห็น แง่มุม การเขียนวรรณกรรม
ประวัตศิ าสตร์ของชาวต่างชาติดว้ ยว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างจากงานเขียนของไทยอย่างไร
สาหรับการศึกษาด้านนี้มผี ู้ศกึ ษาไว้บ้างแล้ว ผู้สนใจสามารถใช้เป็ นแนวทางได้ เช่น เสาวรส มิ
ตราปิ ย านุ รกั ษ์ (๒๕๓๙) ศึก ษานวนิ ย ายอิง ประวัติ ศ าสตร์ญ่ี ปุ่ น ของเจมส์ คลาเวลล์ ในแง่
ความสัม พัน ธ์ ร ะหว่ า งวรรณคดีกับ ประวัติศ าสตร์ ผลของการศึ ก ษาพบว่ า ผู้ ป ระพัน ธ์ไ ด้
เปลี่ยนแปลงข้อ มูล ประวัติศ าสตร์ให้ค ลาดเคลื่อ นไปจากข้อ เท็จจริง อีกทัง้ ยังมีก ารแต่ งเติม
เหตุ ก ารณ์ แ ละตัว ละครที่ไ ม่ ป รากฏมีจ ริง ในประวัติศ าสตร์ใ ห้ ม ีบ ทบาท ส าคัญ ในนวนิ ย าย
นอกจากนี้ ผูป้ ระพันธ์ยงั ได้สอดแทรกภาพสังคมและประเพณีวฒ ั นธรรมของชาวญีป่ ่นุ ในยุคสมัย
นัน้ แต่ทงั ้ นี้การนาเสนอเรื่องราวเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์และวัฒนธรรมญี่ป่นุ ในนวนิยายล้วนเป็ น
สิง่ ที่ผู้ประพันธ์ได้ศึกษามากพอสมควร เหตุ ท่ผี ู้ประพันธ์เปลี่ยนแปลงข้อ มูล ประวัติศ าสตร์ก็
เพราะว่าได้ยดึ หลักการเขียนนวนิยายให้น่าสนใจและน่ าตื่นเต้นชวนให้ตดิ ตาม เพื่อสร้างความ
บันเทิงและความสนุ กสนานแก่ผู้อ่าน จึงทาให้ไม่คานึงถึงความถูกต้องทางประวัตศิ าสตร์เป็ น
อันดับแรก แต่มุ่งไปทีก่ ารเขียนนวนิยายซึง่ ผูป้ ระพันธ์ได้กล่าวไว้ว่านวนิยายไม่ใช่ประวัตศิ าสตร์
๒๐๔

จึงไม่ จ าเป็ น ต้ อ งมีค วามถู ก ต้ อ งตรงตามประวัติศ าสตร์ ดัง นั น้ ผู้ป ระพัน ธ์จ ึงเปลี่ย นแปลง
ข้อเท็จจริงทางประวัตศิ าสตร์ และแต่งเติมเรือ่ งราวไปตามจินตนาการและความคิดของตน
วิทยานิพนธ์ของพิสนิ ี ฐิตวิรยิ ะ (๒๕๔๘) เรื่องวรรณกรรมเยาวชนญี่ป่นุ กับสงครามโลก
ครัง้ ที่สอง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มวี ตั ถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและกลวิธกี ารนาเสนอ
วรรณกรรมเยาวชนญี่ป่นุ ที่มเี นื้อหาเกี่ยวกับสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง วรรณกรรมเยาวชนเหล่านี้ม ี
ทัง้ เรื่องที่เป็ นบุคคลจริงและเรื่องทีแ่ ต่งจากจินตนาการ เรื่องที่เป็ นบุคคลจริงได้แก่ ความทรงจา
เดื อ นสิ ง หาคม (Hachi-gatsu ga Kurutabini )ของฮิ เ ดะ โอเอะ (Hide Ōe) กระต่ า ยแก้ ว
(Garasu no Usagi) ของโทะฌิโกะ ทะกะงิ (Toshiko Takagi) และ ซาดาโกะกับนกกระเรียนพัน
ตัว (Sadako and the Thousand Paper Cranes) ของเอลลีนอร์ โคเออร์ (Eleanor Coerr) ส่วน
เรื่องที่แต่ งจากจินตนาการ ได้แก่ ยี่สบิ สี่ดวงตา (Nijūshi no Hitomi) ของซะกะเอะ ท์ซุโบะอิ
(Sakae Tsuboi) เด็กหญิงอีดะ (Futari no Ida) ของมิโยะโกะ มะท์ซุตะนิ (Miyoko Matsutani)
และ มิเ อะโกะกับ สมบัติ ช้ิน ที่ ห้ า (Mieko and the Fifth Treasure) ของเอลลีน อร์ โคเออร์
วรรณกรรมเยาวชนญี่ปุ่นสร้างอารมณ์ สะเทือนใจด้วยการเสนอความโหดร้ายของสงครามและ
ชะตากรรรมของเด็ก ที่ต กเป็ นเหยื่อ สงคราม บทบาทตัว ละครเด็ก ญี่ปุ่ น ที่ไร้เดียงสา ก าพร้า
ยากจนหรือเจ็บป่วยทาให้รสู้ กึ สงสาร และเกิดความเห็นอกเห็นใจในชีวติ ที่ยากลาบากและน่ า
เศร้าของพวกเขา นอกจากนี้ ยังมีว ตั ถุ ป ระสงค์ เพื่อ ศึกษาบริบ ททางสังคมของญี่ปุ่ น ในช่ ว ง
สงครามโลกครัง้ ที่สอง ภูมหิ ลังและทัศ นคติของผู้ประพันธ์ ครอบครัวและสวัส ดิภาพของเด็ก
ญีป่ ่นุ ในช่วงสงครามได้รบั ผลกระทบจากนโยบายของรัฐซึง่ มุ่งส่งเสริมสงครามและชาตินิยม เมื่อ
สงครามสิน้ สุดลง เด็กญีป่ นุ่ ยังคงถูกควบคุมจากนโยบายของรัฐทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปตามอานาจของ
กองก าลัง ยึด ครองสหรัฐ อเมริก า ในงานวิจ ยั นี้ ภูม ิห ลังผู้ป ระพัน ธ์ม ีผ ลกับ ทัศ นคติแ ละการ
สร้างสรรค์งาน ผูป้ ระพันธ์มปี ระสบการณ์สงครามเมือ่ สมัยยังเป็นเด็กหรือพบเหยือ่ สงครามทีเ่ ป็ น
เด็กด้วยตนเอง วรรณกรรมเยาวชนญี่ปุ่นจึงแสดงทัศนคติต่อต้านสงครามและปฏิเสธแนวคิด
ชาตินิยมโดยมุ่งหวังให้เป็ นบทเรียนเพื่อสันติภาพ อย่างไรก็ตาม มุมมองของเอลลีนอร์ โคเออร์
ผู้ป ระพัน ธ์ท่ีอ ยู่นอกสังคมญี่ปุ่ น แตกต่ างจากมุ ม มองของผู้ป ระพัน ธ์ชาวญี่ปุ่ น ที่ร่ว มสมัย กับ
สงคราม งานของเอลลีน อร์เสนอว่ าญี่ปุ่ น ควรฟื้ น จากความทรงจาที่เจ็บ ปวดจากเหตุ ก ารณ์
ทาลายล้างของระเบิดปรมาณูทฮ่ี โิ รชิมาและนางาซากิ ขณะทีว่ รรณกรรมเยาวชนญี่ปนุ่ ทีแ่ ต่งโดย
ผูป้ ระพันธ์ชาวญี่ปุ่นแสดงความรูส้ กึ โหยหาอดีตและถ่ายทอดเฉพาะผลกระทบของสงครามที่ม ี
ต่ อ ชาวญี่ปุ่ น โดยไม่ได้ก ล่ าวเน้ นถึงการบุ ก ยึด ครองของญี่ปุ่น ต่ อ ชนชาติอ่ืน การสร้างสรรค์
วรรณกรรมเยาวชนญี่ปุ่นนี้จงึ เป็ นการรือ้ สร้างมายาคติแห่งกองทัพแล้วแทนทีด่ ้วยมายาคติแห่ง
ความทรงจาทีร่ นั ทดของการตกเป็นเหยือ่ สงครามโลกครัง้ ทีส่ อง
๒๐๕

ภำพที่ ๑๒ นวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์เกาหลี


(ทีม่ า : ชลาลัย ธนารักษ์สริ ถิ าวร, ผูแ้ ปล, ๒๕๕๓)

๗.๖ ศึกษำแนวเปรียบเทียบ
การศึก ษาแนวเปรียบเทียบ สามารถศึก ษาได้ ๓ ลัก ษณะ ลัก ษณะแรก คือ ศึก ษา
ความสัมพันธ์ของวรรณคดีในแง่ท่มี า และอิทธิพล (imply internationality) เชิงประวัติศาสตร์
(historical contact) โดยพิจารณาว่าเมื่อนักเขียนรับมาแล้วมีการสร้างสรรค์สงิ่ ใหม่เพิม่ เติมหรือ
ดั ด แป ลง (adaptation) อย่ า งไร เช่ น ท่ ว งท านองการเขี ย น (stylization) การห ยิ บ ยื ม
(borrowings) องค์ประกอบวรรณกรรม เช่น ภาพพจน์ สานวน อนุ ภาค และโครงเรือ่ ง ลักษณะที่
สองศึกษาเพื่อหาแนวลักษณะร่วมอันเป็ นสากลของมนุ ษย์ (archetypes) เน้ นพิจารณาเพื่อหา
ความเหมือนหรือเอกภาพ (unity) ทีเ่ ป็นสากล และความต่าง (diversity) ทีเ่ ป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
โดยอาจเปรียบเทียบเรือ่ งวีรบุรษุ (heroic epic) ซึง่ อาจมีองค์ประกอบร่วมกัน และลักษณะทีส่ าม
ศึกษาในแนวอิทธิพลและแรงบันดาลใจ เน้นให้เห็นว่าศิลปะแขนงหนึ่งอาจเป็ นแรงบันดาลใจให้
เกิดศิล ปะอีก แขนงหนึ่ง พิจารณาการดัดแปลง/การสร้างสรรค์สู่ส ิ่งใหม่ เช่น จากนวนิยายสู่
ภาพยนตร์ ตัวอย่างการศึกษาแนวเปรียบเทียบ เช่น เปรียบเทียบสูตรสถานีของวรรณคดีสมัย
หนึ่ ง กับ สมัย หนึ่ ง เปรีย บเทีย บแนวคิด วีร บุ รุ ษ วีร สตรีข องไทยกับ ต่ า งชาติ เปรีย บเทีย บ
วรรณกรรมทีเ่ ป็ นประเภทเดียวกันระหว่างวรรณกรรมไทยกับวรรณกรรมของชาวต่างชาติ เช่น
เปรียบเทียบวรรณกรรมไทยกับต่ างชาติท่มี เี นื้อหาสดุดเี หมือนกัน สาหรับการศึกษาด้านนี้ม ี
ผู้ศกึ ษาไว้บ้างแล้ว ผู้สนใจสามารถใช้เป็ นแนวทางได้ เช่น ศิวาวุธ ไพรีพนิ าศ(๒๕๕๗) ศึกษา
กระบวนการสร้างบทอิงประวัติศ าสตร์ในสื่อ จิน ตคดีส มัย ใหม่ งานวิจยั นี้ ม ีว ตั ถุ ป ระสงค์ ส อง
๒๐๖

ประการ คือ ศึก ษาแนวคิดและแนวทางในการน าเสนอเรื่อ งอิงประวัติศ าสตร์ในสื่อ จิน ตคดี


สมัยใหม่ และศึกษาวิธกี ารสร้างบทเพื่อนาเสนอเรื่องอิงประวัตศิ าสตร์ในสื่อจินตคดีสมัยใหม่ ซึ่ง
ผูศ้ กึ ษาวิจยั ได้เลือกสื่อสามประเภทด้วยกัน คือ ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และ ภาพยนตร์ซดี ี
โดยเลือกศึกษาวิจยั จากภาพยนตร์เรื่องโหมโรง ละครโทรทัศน์ เรื่องสายโลหิตและฟ้าใหม่ และ
ภาพยนตร์ซีดีเรื่อ งสุ พ รรณกัล ยา การวิจ ยั ครัง้ นี้ ใ ช้ก ารวิจ ยั เชิงคุ ณ ภาพ โดยได้ ศึก ษาจาก
แหล่งข้อมูลทัง้ ที่เป็ นเอกสารคือบทภาพยนตร์และบทละครโทรทัศน์ รวมทัง้ บทภาพยนตร์ซีดี
ประกอบกับ การสัม ภาษณ์ แ บบเจาะลึก ผู้ส ร้างบททัง้ สี่เรื่อ งเพื่อ น ามาร่ว มในการวิเ คราะห์
กระบวนการสร้างบท ผลการวิจยั พบว่าแนวคิดและแนวทางในการนาเสนอเรือ่ งอิงประวัตศิ าสตร์
ในสื่อจินตคดีสมัยใหม่นนั ้ เป็ นไปในทิศทางที่สอดคล้องกันสามข้อด้วยกัน คือ แนวคิด-ผู้เสนอมี
แก่ น ความคิด ในใจ แนวทาง-เลือ กชุ ด ข้อ มูล ทางประวัติศ าสตร์ม าใช้ให้ ส อดคล้อ งกับ แก่ น
ความคิด แนวคิด-ผู้เสนอหวังผลทางการตลาด แนวทาง-เลือกนวนิยายอิงประวัติศาสตร์หรือ
บุค คลที่เป็ นที่รจู้ กั ดี แนวคิด-ผู้เสนอเชื่อว่าเรื่องอิงประวัติศ าสตร์มโี อกาสประสบความสาเร็จ
แนวทาง-เลือ กชุด ข้อ มูล ใดก็ได้ท่ีน่าสนใจ ผลการวิจยั ยังพบอีกว่ากระบวนการสร้างบทเพื่อ
นาเสนอเรื่องอิงประวัตศิ าสตร์ในสื่อจิน ตคดีสมัยใหม่นนั ้ มีวธิ กี ารทางานที่เป็ นลักษณะเฉพาะตัว
ถึงแปดวิธดี ว้ ยกันซึง่ ได้นาเสนออย่างละเอียดในสรุปผลการวิจยั
๗.๗ ศึกษำโดยมุ่งแนวคิ ดทฤษฎี
การศึกษาโดยมุ่งแนวคิดทฤษฎี เพื่อช่วยอธิบายเนื้อหาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์
ให้กระจ่างชัดยิง่ ขึน้ เช่น ใช้แนวคิดเรื่องภาพแทน อัตลักษณ์ วาทกรรม มายาคติ การผลิตซ้า
มองในเชิงโครงสร้าง สัญนิยม รูปแบบนิยม การใช้แนวคิดวีรบุรุษ วีรสตรี พิจารณาในแง่ การ
ดัดแปลง ใช้แนวคิดการสร้างชาติ อุดมการณ์ แนวคิดการรือ้ สร้าง ใช้แนวคิดโหยหาอดีต ศึกษา
ภาพสะท้อน มองในแง่สหบท ดูในมิตปิ ระวัตศิ าสตร์แนวใหม่ พิจารณาในมิตบิ ทบาทหน้าที่ การ
มองวรรณกรรมประวัตศิ าสตร์ในเชิงวัฒนธรรมประชานิยม หรือการศึกษาวรรณกรรมแนวคติ
นิยมหลังสมัยใหม่ สาหรับการศึกษาด้านนี้มผี ู้ศกึ ษาไว้บ้างแล้ว ผู้สนใจสามารถใช้เป็ นแนวทาง
ได้ เช่น ภัคพรรณ ทิพยมนตรี (๒๕๔๓) ศึกษาสัญลักษณนิยมและประวัตศิ าสตร์วฒ ั นธรรมใน
วรรณกรรมของนิคม รายยวา โดยสารวจตรวจสอบระบบสัญ ลักษณ์ ท่ปี ระกอบหลอมรวมกัน
ขึ้นมาเพื่ออธิบายประเทศไทยในสมัยหลังสงครามโลกครัง้ ที่ส องว่า เหมือนหรือ แตกต่ างกับ
ภาพลักษณ์ ของประเทศไทยที่ปรากฏในสื่อ มวลชน นโยบายของรัฐ ประวัติศาสตร์ตลอดจน
เศรษฐกิจและการเมืองในช่วงเวลาเดียวกัน การศึกษาครัง้ นี้เน้นความสนใจไปที่ประวัตศิ าสตร์
วัฒนธรรมของประเทศที่แสดงออก ผลการศึกษาทาให้เห็นว่าเรื่องราวในวรรณกรรมให้ข้อมูล
และสภาพแวดล้อมที่ครอบคลุมมากกว่าบอกรายละเอียด ให้ภาพที่เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง
"เมือง" กับ "ชนบท" มากกว่าที่จะเน้ นความแปลกแยก และให้ความสนใจมิติทางจิตวิทยาใน
ประวัติศาสตร์วฒ ั นธรรมมากกว่ามิติทางวัตถุ การมองสัญลักษณนิยมในวรรณกรรมของนิคม
๒๐๗

รายยวา โดยเปรียบเทียบกับสัญลักษณนิยมในสื่อที่พูดถึงการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงเป็ น
สมัยใหม่ ทาให้เห็นอคติในสื่อทีย่ อมรับกรอบทางความคิดแบบตะวันตก มองการเป็นสมัยใหม่ใน
ทางบวก และทาให้เห็นอีกมุมหนึ่งของผลของการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรมในประเทศไทยว่าอุดม
คติทเ่ี กิดขึน้ จากการเปลีย่ นแปลงนัน้ ไม่สอดคล้องกับภาพทางวัตถุและภาพทางบวกเสมอไป
พีรยุทธ โอรพันธ์ (๒๕๕๔) ศึกษาความหมายวรรณกรรมประวัตศิ าสตร์ของชาวมลายู
ปตั ตานี: ‘ประวัตริ าชอาณาจักรมลายูปะตานี’ งานวิจยั ชิน้ นี้เป็นการศึกษาประวัตศิ าสตร์ของชาว
มลายูปตั ตานีจากวรรณกรรมประวัตศิ าสตร์ช่อื “ประวัตศิ าสตร์อาณาจักรมลายูปะตานี”ซึ่งเขียน
ขึน้ โดยอิบรอฮิม ชุกรี วรรณกรรมชิน้ นี้เป็นวรรณกรรมประวัตศิ าสตร์ชน้ิ สาคัญชิน้ หนึ่งทีเ่ ขียนขึน้
โดยชาวมลายู ป ตั ตานี แ ละในอดีต ถู ก ห้ า มตีพ ิ ม พ์ ท ัง้ ในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย
การศึกษาความหมายของวรรณกรรมชิ้นนี้ใช้แนวทางการทลายกรอบของ ฌ้าคส์ แดริดา เพื่อ
ค้นหามโนทัศน์ สาคัญทัง้ จากส่วนที่อยู่ตรงหน้ าหรือเนื้อความในตัวบทชิ้นนี้ และส่วนที่หายไป
หรือสิง่ ทีไ่ ม่ถูกกล่าวถึงในเนื้อความ แต่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กบั เนื้อความ งานวิจยั ชิน้ นี้ค้นพบมโน
ทัศ น์ ท่ีส าคัญ และน าไปสู่ก ารสื่อ ความหมายของตัว บทในมิติของอ านาจ วัฒ นธรรมและการ
สื่อสาร ทัง้ สิน้ ๘ มโนทัศน์ ได้แก่ ความรูส้ กึ เป็ นเจ้าของดินแดน ความเจริญรุ่งเรือง ความชอบ
ธรรมของผู้ปกครอง การยอมรับที่มตี ่ออานาจรัฐ ความเป็ นมิตรและศัตรูต่อกัน ความยุตธิ รรม
ความเป็ นพวกพ้องเดียวกัน และเสรีภาพในการแสดงออก มโนทัศน์ ทงั ้ หมดนี้ได้ถูกอภิปราย
อย่างกว้างขวางเพื่อ ชี้ใ ห้เห็น ว่า ภายในมโนทัศ น์ ด ังกล่ า วมีส ิ่งที่เป็ น ขัว้ ตรงข้ามกัน อยู่ และ
เนื้อความให้ความหมายขัว้ ตรงข้ามด้านใดเป็ นความหมายเหนือและด้านใดเป็ นความหมายที่
ด้อยกว่า จากนัน้ จึงทาการค้นหาร่องรอยเพื่อแสดงให้เห็นว่าความเป็ นขัว้ ตรงข้ามทีม่ ดี า้ นทีเ่ หนือ
และด้านทีด่ อ้ ยกว่านัน้ สื่อความหมายใด จากนัน้ จึงทาการพิจารณาอย่างรอบด้านเพื่อค้นหาว่ามี
ร่องรอยใดทีท่ าให้มโนทัศน์ในด้านทีด่ อ้ ยกว่านัน้ ได้กลายเป็ นด้านทีเ่ หนือกว่าได้
ศรัณย์ วงศ์ขจิตร (๒๕๕๔) วิจยั เรื่องจินตนาการปลายด้ามขวาน: อ่าน “ภูมศิ าสตร์ใน
จินตนาการ” ในนวนิยายจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปุลากง ผีเสือ้ และดอกไม้ ซือโก๊ะ แซกอ
ปอเนาะที่รกั หมู่บ้านในหุบเขา ไฟใต้ รัฐปตั ตานี กรณีฆาตกรรมโต๊ ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด
พรมแดน และ “มากกว่ารัก...จากวีรบุรุษ ยะลา” โดยใช้กรอบแนวคิด “ภูมศิ าสตร์ในจินตนาการ”
ของ Edwaed Said และ “ประวัตศิ าสตร์แบบราชาชาตินิยม” ของ ธงชัย วินิจจะกูล ส่วนการอ่าน
อิงกับอยู่ “ศาสตร์การตีความ” ของ Hans-Georg Gadamer โดยมีคาถามวิจยั สองข้อ ได้แก่ ข้อ
แรก คือ ภายใต้ ภู ม ิศ าสตร์ใ นจิน ตนาการ “ขวานทอง” ในนวนิ ย ายสร้า งและมอบอารมณ์
ความรูส้ กึ ต่อพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนใต้อย่างไร เปรียบเทียบก่อนและหลังปี พ.ศ. ๒๕๔๗ และ ข้อ
สอง คือ ในนวนิยายจัดการหรือให้ภาพความสัมพันธ์กบั ผูค้ นทีป่ ลายด้ามขวาน ในฐานะ “ความ
เป็ นอื่น” ของความเป็ นไทยเหล่านัน้ อย่างไรบ้าง จากการศึกษาพบว่า นวนิยายทัง้ สิบเรื่องต่าง
ยอมรับ “จินตกรรมขวานทอง” ในที่น้ีว่า หมายถึง “ปาตานี” ได้กลายมาเป็ น “จังหวัดชายแดน
ใต้” ของรัฐไทย โดยมิตงั ้ คาถาม มิเพียงเท่ านัน้ ยังได้ยนื ยันความชอบธรรมในการปกครองและ
๒๐๘

เหนือกว่าของ “สยาม/กรุงเทพฯ” ที่มตี ่อ “ปาตานี/พื้นที่จงั หวัดชายแดนใต้ ” อีกด้วย และหาก


กล่ าวเฉพาะนวนิ ยายที่มคี วามใกล้กับ “รัฐ” จะพบว่า นวนิ ยายเหล่ านี้ ในฐานะ “ผลผลิต ทาง
วัฒนธรรม” ได้สร้าง “โครงสร้างของทัศนคติและแหล่งอ้างอิง ” ให้เกิดขึน้ ในสังคมไทย เพื่อสร้าง
ความชอบธรรมให้กบั การดาเนินนโยบายของรัฐซึ่งจะผันแปรเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทและ
สถานการณ์ ในแต่ละยุคสมัย ได้แก่ ความพยายาม “เปลี่ยนคนมลายูให้เป็ นไทย” การพยายาม
ทาให้ความเป็ นมลายูไร้ความหมายทางการเมืองและพยายามทาให้ “ผูค้ น” และ “พืน้ ที”่ ยอมรับ
อานาจรัฐไทย การมองปญั หาจังหวัดชายแดนใต้ว่า เป็ นปญั หา “มุสลิมก่อการร้าย” ซึ่งเป็ นการ
ให้ความชอบธรรมต่อ “กรุงเทพฯ” ในฐานะผูป้ กป้องจากภัยคุกคามภายนอก ซึง่ อีกด้านหนึ่งก็คอื
ข้อกล่าวอ้างใหม่ของ “กรุงเทพ” ที่ต้องการยืนยันความชอบธรรมของตนในการปกครอง “ปา
ตานี” ข้อสังเกตส่งท้ายก็คอื ในพรมแดน และ “มากกว่ารัก...จากวีรบุรุษยะลา” เริม่ ให้ตวั ละคร
หลัก กล่าวอ้างว่า “ภารกิจ” ของเขาและเธอทาไปเพื่อถวายงานแด่องค์พระมหากษัตริยอ์ ย่าง
เด่ นชัดมากขึ้น ซึ่งนี่ เองทาให้ผู้วจิ ยั เห็นว่า เป็ นเหมือ นการฟ้ องถึงอาการของ “ภูมศิ าสตร์ใน
จินตนาการ” ทีม่ ี “กรุงเทพฯ” เป็ นศูนย์กลาง เริม่ จะหมดข้ออ้างอันชอบธรรมในการปกครอง “ปา
ตานี/พืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนใต้” ลงไปทุกขณะ เหมือนเรือ่ งอื่น ๆ อีกจานวนมากในสังคมไทย
๗.๘ ศึกษำจำกกลุ่มข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่ น
วรรณกรรมท้องถิน่ เป็ นวรรณกรรมที่ถ่ายทอดให้แก่กลุ่มคนมาเป็ นเวลานาน ผู้เล่าหรือ
ผู้เขียนเป็ นคนในท้องถิ่น อาจถ่ายทอดโดยการบอกเล่าด้วยวิธมี ุขปาฐะ ได้แก่ บทกล่อมเด็ก
นิทานพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน ปริศ นาค าทาย และภาษิต ค าทาย หรือเขียนบันทึก ไว้เป็ นลาย
ลักษณ์ในสมุดข่อย ใบลาน หนังสือบุด ฯลฯ ได้แก่ นิทาน ตานาน ตารา หรือวรรณกรรมพืน้ บ้าน
อื่น ๆ วรรณกรรมกลุ่ ม นี้ ม กั สอดแทรกบริบ ททางสังคมวัฒ นธรรม เศรษฐกิจ คติค วามเชื่อ
ประเพณี พิธ ีก รรม โลกทัศ น์ ท างการเมือ ง และจุด เปลี่ย นชีว ิต ของคน สามารถน ามาศึกษา
วรรณกรรมในมิตปิ ระวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ได้
การศึกษาวรรณกรรมในมิติประวัตศิ าสตร์ท้องถิน่ เป็ นการศึกษาประวัตศิ าสตร์ท้องถิน่
ในวรรณกรรม ประวัตศิ าสตร์ทส่ี ะท้อนผ่านวรรณกรรมมาจากความคิดความเชื่อ ของคนในสังคม
ว่าเป็ นเช่นนัน้ ซึ่งปรากฏในรูปของตานาน นิทานพื้นบ้าน เรื่องปรัมปรามา เป็ นต้น การศึกษา
ประวัตศิ าสตร์ท้องถิน่ อาจมองในมิตคิ วามสัมพันธ์ของกลุ่มชน สภาพเศรษฐกิจ ระบบความเชื่อ
พิธกี รรม การเมือ ง การปกครอง พลวัต พัฒ นาการ โดยอาจตัง้ คาถามว่า ท้องถิ่นนัน้ มีระบบ
สังคมวัฒนธรรมอย่างไร เป็ นชนกลุ่มใด ประกอบอาชีพใด มีความขัดแย้งกันหรือไม่ การศึกษา
มิตนิ ้ี เช่น วาริฎฐา ถาวโรฤทธิ ์ (๒๕๕๑) ทาเรือ่ งนัยทางสังคมการเมืองของเพลงกล่อมเด็กไทย
มีวตั ถุประสงค์เพื่อศึกษาและค้นคว้าความหมายและสาระของเนื้อร้องซึ่งเป็ นอุดมคติในเพลง
กล่อมเด็ก ในบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของไทย โดยใช้วรรณกรรมประเภทมุข
ปาฐะประกอบกับหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์ เพื่อนามาศึกษานัยทางสังคมการเมืองของเพลง
๒๐๙

กล่อมเด็กไทย แม้จุดประสงค์ของเพลงกล่อมเด็กจะถูก ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสาหรับขับกล่อมเด็ก


ณ ช่วงเวลาหนึ่งที่แสดงถึงความผูกพันในครอบครัว แต่เนื้อหาสาระของบทเพลงบางบทมีการ
สอดแทรกบริบททางสังคมของไทยในอดีตที่กล่าวถึงนัยทางสังคมการเมืองไทย ซึ่งสะท้อนถึง
การจัด ตัง้ ทางสังคม ได้ แ ก่ วิถีก ารผลิต พลังการผลิต และความสัม พัน ธ์ท างการผลิต ผล
การศึกษาพบว่า เพลงกล่อมเด็กทัง้ ๔ ภาค ซึ่งผู้วจิ ยั ศึกษาถึงนัยทางสังคมการเมืองไทย จาก
เนื้อหาสาระในเพลงกล่อมเด็กสะท้อนถึงการซ้อนเร้นทางสังคมที่มรี ฐั คอยควบคุม โดยอธิบาย
ภายใต้สมมุติฐานว่าความหมายในเพลงกล่ อมเด็กบางเพลงผิดแผกไปจากหน้ าที่ของการขับ
กล่อม ด้วยเนื้อหาสาระที่ควรจะมุ่งสื่อความหมายในทางสุนทรียศาสตร์โดยเฉพาะหากแต่เป็ น
สื่อกลางในการส่งผ่านความคิดทางการเมือง และกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม ของผูท้ ข่ี บั
กล่อม ซึ่งส่วนมากจะเป็ นการสะท้อนชีวติ ของไพร่ จึงสามารถใช้เป็ นข้อมูลในการศึกษาบริบท
ทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ในยุคศักดินา จากการศึกษาโดยใช้วรรณกรรมประเภท
เพลงกล่อมเด็กเพื่อศึกษาบริบททางเศรษฐกิจการเมือง และสังคม มิได้หมายความว่า เพลง
กล่อมเด็กทุกบทเพลงจะมีเนื้อหาแสดงถึงนัยทางสังคมการเมืองทัง้ หมด บทบาทของเพลงกล่อม
เด็กก็ยงั คงทาหน้ าที่ขบั กล่อม ให้ความสุนทรียะอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังคงมีบท
เพลงกล่อมเด็กทีม่ เี นื้อหา และสาระทีแ่ สดงถึงนัยทางสังคมการเมืองไทย ผ่านกระบวนการจัดตัง้
ทางสังคม โดยรัฐ ทีส่ ่งผ่านมาในบทเพลงกล่อมเด็ก เพื่อให้เกิดมิติของเพลงกล่อมเด็ก ทีน่ าไปสู่
การอธิบายบริบททางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของสังคมไทยในอดีต
รังสรรค์ จันต๊ะ (๒๕๕๗: ๙๖ - ๑๑๔) เขียนบทความวิจยั ซึง่ มาจากงานวิจยั เรื่องภูมนิ าม
พืน้ บ้าน: ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ กับวรรณกรรมพืน้ บ้านในเขตภาคเหนือตอนบน โดยกล่าวว่าภูม ิ
นามพื้นบ้าน เป็ นระบบวิธคี ดิ ทางวัฒนธรรมของชาวบ้านที่มคี วามหมายและสัมพันธ์อย่างแนบ
แน่ น กับ การตัง้ ถิ่น ฐานที่อ ยู่อ าศัย อัน เกี่ย วข้อ งอยู่ กับ วิธ ีค ิด ทางด้ า นภู ม ิศ าสตร์ก ายภาพ
ประวัตศิ าสตร์และวรรณกรรมท้องถิน่ ทีส่ ะท้อนถึงระบบอานาจ อัตลักษณ์ และศักดิ ์ศรีความเป็ น
มนุ ษ ย์ในตัวเองของชุมชนท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์ ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นเป็ นส่วนหนึ่งของ
กระบวนการต่ อ สู้เพื่อ ช่วงชิงความหมายและพื้นที่ทางสังคมของคนท้อ งถิ่น กับอิทธิพ ลการ
ครอบงาจากอ านาจรัฐส่ ว นกลาง โดยใช้ก ลไกการปกครอง ศาสนา สื่อ และการศึก ษาแบบ
สมัยใหม่เป็นเครือ่ งมือในการลดทอนศักดิ ์ศรี คุณค่า และความหมายทางสังคมของคนในท้องถิน่
ให้อ่อนด้อยลงไป จนชื่อหมู่บ้านหลายแห่งผิดเพี้ยนจากความหมายดัง้ เดิมไปอย่างมาก จนใน
ที่สุดอาจทาให้ท้อ งถิ่นไม่มที ่ยี นื ทางประวัติศ าสตร์ และไม่สามารถอธิบาย ความเป็ นมาของ
ตนเองให้ค นรุ่นหลังรับ ทราบในเรื่อ งที่ถู กต้อ งและเป็ นจริงได้ งานวิจยั จึงมีว ตั ถุ ป ระสงค์เพื่อ
บัน ทึก ชื่อ และความหมายดัง้ เดิม ของหมู่บ้ า นศึก ษาถึง อิท ธิพ ลทางภาษาและวัฒ นธรรม
ส่ ว นกลาง ศึก ษาวิเคราะห์เชิงคุ ณ ค่ าและความหมายของระบบภู ม ิน ามพื้น บ้าน ตามกรอบ
แนวคิ ด ทางทฤษฎี ที่ ม ี ล ัก ษณะบู ร ณาการ ทั ง้ ทางด้ า นคติ ช นวิท ยา สัง คมวิท ยา และ
มานุ ษยวิทยาวัฒนธรรม ผลการวิจยั พบว่า ชุมชนในเขตพื้นทีภ่ าคเหนือตอนบนตัง้ ชื่อหมู่บ้าน
๒๑๐

ตามบริบทต่าง ๆ เช่น ตามสภาพทางภูมศิ าสตร์ เช่น บ้านเด่น บ้านดอน บ้านสันป่าสัก บ้าน


ห้ว ยเกี๋ยงทุ่ งข้าวเน่ า ป่ าไผ่ ตามอิท ธิพ ลจากงานวรรณกรรม เช่ น บ้านย่าพาย บ้านสะลวง
(สรวงสวรรค์) บ้านพระนอน บ้านลังกา ตามความชานาญในการผลิต เช่น บ้านช่างฆ้อง ช่าง
แต้ม วัวลาย ร้อยพ้อม ตามวีรบุรุษประจาถิน่ เช่น บ้านสันต๊ะผาบ ตามกลุ่มชาติพนั ธุ์ เช่น บ้าน
มอญ ร้องเม็ง สันนาเม็ง ตามลักษณะเด่นของหมู่บ้าน เช่น บ้านบ่อส้าง บ้านน้ าบ่อหลวง บ้าน
บ่อค่าง เหล่านี้เป็ นต้น แต่ดว้ ยอิทธิพลจากอานาจรัฐส่วนกลาง อันเป็นกลไกเชิงอานาจของระบบ
การปกครองจากกระทรวงมหาดไทยครู กลไกและอานาจเชิงความรูจ้ ากการศึกษาสมัยใหม่ และ
เจ้าอาวาสวัด กลไกของความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา กลไกเหล่านี้มกั เข้ามาชี้นาและ
ครอบงาความคิดของชาวบ้าน ให้ดูถูกตัวเองและท้องถิ่นว่าต่ าต้อย ล้าหลัง ไม่ทนั สมัยทาให้
หมู่บ้านหลายแห่งที่มชี ่อื เป็ นภาษาท้องถิน่ ดัง้ เดิม เปลีย่ นเป็ นชื่อที่ผดิ เพี้ยนไปจากความหมาย
เดิมหาความหมายไม่ได้ หรือผิดเพี้ยนไปจากรากฐานของความหมายเดิมออกไป รวมถึงการ
สร้า งเรื่อ งราวแบบใหม่ ข้ึน แทนที่เ รื่อ งราวแบบพื้น บ้ า นดัง้ เดิม เมื่อ ความหลากหลายทาง
วัฒนธรรมของประชาชนท้องถิ่นถูกครอบงา ทาให้ศกั ดิ ์ศรีและอานาจของท้องถิ่นอ่อนด้อยลง
ย่อมส่งผลให้ความเป็ นรัฐชาติโดยรวมอ่อนด้อยลงไปด้วย การทาให้ท้องถิ่นเกิดจิตสานึกและ
เชื่อมันในอ
่ านาจและศักดิ ์ศรีของตัวเองย่อมมีผลทาให้ความเป็ นรัฐชาติโดยรวมเข้มแข็งและอยู่
ร่วมกันบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม เกิดความสันติสุขร่มเย็นในทีส่ ุดได้
ราชัน ย์ นิ ล วรรณาภา และพิพ ัฒ น์ ประเสริฐสังข์ (๒๕๕๘-๒๕๕๙: ๘๕-๙๗) เขีย น
บทความวิจยั ซึ่งมาจากงานวิจยั เรื่องวรรณกรรมชาดกพื้นบ้านอีสาน : ภาพสะท้อนอัตลักษณ์
ด้านความเชื่อ วิถชี วี ติ ประเพณีและพิธกี รรม การวิจยั ครัง้ นี้มจี ดุ มุ่งหมายเพื่อศึกษาวรรณกรรม
ชาดกพื้นบ้านอีสานซึ่งเป็ นผลงานการปริวรรตของพระอริยานุ วตั ร เขมจารี จานวน ๒๒ เรื่อง
โดยมีประเด็นส าคัญ ประกอบด้ว ยการศึกษา ภาพสะท้อ นอัต ลัก ษณ์ ด้านวิถีชีวติ ความเชื่อ
ประเพณีและพิธกี รรม ทีป่ รากฏในวรรณกรรมชาดกพืน้ บ้าน ผลการศึกษาพบว่าภาพสะท้อนอัต
ลัก ษณ์ ท างความเชื่อ ในวรรณกรรมชาดก กล่ าวถึงความเชื่อ เรื่อ งผีส างเทวดาและสิ่งเหนื อ
ธรรมชาติ ความเชื่อเรื่องผีเป็ นสิง่ ทีป่ ฏิสมั พันธ์กบั ชีวติ ของคนอีสานตัง้ แต่เกิดจนตาย ส่วนความ
เชื่อเรื่องโหราศาสตร์เป็ นองค์ความรูท้ ่ไี ด้รบั การถ่ายทอดสืบจากบรรพชนเพื่อจรรโลงสังคมและ
ตอบสนองด้านจิตใจ ด้านความเชื่อเกีย่ วกับนิมติ ฝนั และลางสังหรณ์ เป็นความเชื่อทีม่ อี ทิ ธิพลต่อ
การดารงชีวติ ของคนในสังคมอีสานปจั จุบนั ด้านความเชื่อเกี่ยวกับศาสนา คือ ความเชื่อเรื่อง
บาปบุญ ความเชื่อ เรื่องนรกสวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด บุพ เพสันนิว าส ส่ว นความเชื่อใน
ศาสนาพราหมณ์ ได้แก่ ความเชื่อเกีย่ วกับเทพเจ้า ความเชื่อเรือ่ งเวทมนตร์คาถาและไสยศาสตร์
ภาพสะท้อนอัตลักษณ์ด้านวิถีชวี ติ ประเพณีและพิธกี รรมในวรรณกรรมชาดก สะท้อน
สภาพแวดล้อมของสังคมอีสานไม่ว่าจะเป็ นสัตว์ป่า ลักษณะของไม้ ดอกไม้ ผลไม้ในป่า ซึง่ การ
ดารงอยูข่ องชาวอีสานมีความสัมพันธ์กบั ธรรมชาติโดยตลอด ส่วนระบบครอบครัวมี ๒ ลักษณะ
คือ ครอบครัวที่มรี ูปแบบผัวเดียวเมียเดียว และระบบครอบครัวแบบผสมที่หวั หน้ าครอบครัว
๒๑๑

สามารถมีภรรยาได้หลายคน ด้านอาชีพและการทามาหากิน ชุมชนอีสานดัง้ เดิม ดาเนินชีวติ ด้วย


การผลิตแบบพึง่ พาตนเอง รวมไปถึงการพึ่งพาธรรมชาติ การปฏิสมั พันธ์กบั สังคมภายนอกโดย
การเดินทางไปค้าขายในรูปแบบของกองเกวียน หรือที่ชาวอีสานรู้จกั ในชื่อ “นายฮ้อ ย” ด้าน
อาหาร แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติแวดล้อมที่ต้องพึ่งพากัน ปรากฏวิถกี ารกิน
หมาก ซึ่งปรับเปลี่ยนและประยุกต์ใช้จนเกิดนวัตกรรมการสร้างสรรค์เชิงช่างผ่านรูปแบบของ
ขันหมากลวดลายเฉพาะกลุ่มชนชาวอีสาน ด้านวัฒนธรรมทีอ่ ยูอ่ าศัยและสิง่ ปลูกสร้าง สะท้อนให้
อย่างชัดเจนผ่านสถาปตั ยกรรมท้องถิ่นที่มรี ะบบปลูก สร้างที่เรียบง่าย ไม่ซบั ซ้อน ได้แก่ ตูบ
เถียงนา เล้าข้าว และเยีย สาหรับวัฒนธรรมด้านดนตรี การแสดงและการละเล่น แสดงถึงเห็นอัต
ลัก ษณ์ ผ่ า นรูป แบบของความเชื่อ ประเพณี แ ละพิธ ีก รรม ดัง ในงานบุ ญ ปรากฏภาพของ
การละเล่ น และเสพงัน ดนตรี ในส่ ว นของวัฒ นธรรมด้านสิ่ง ของเครื่อ งใช้ ปรากฏเครื่อ งมือ
เครือ่ งใช้ ๒ ส่วน ส่วนแรก คือ เครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน ได้แก่ ก่องข้าว กระติบข้าว กะด้ง
กะเบียน และตะกร้า ส่วนทีส่ อง คือ เครือ่ งใช้ในการจับสัตว์ ได้แก่ เบ็ด ไซ ข้อง หวิง อวน ส่วน
วัฒนธรรมด้านกาลเวลา การนับกาลเวลาของชาวอีสาน คือ การนับเดือน นับวัน และนับยามซึง่
มีความเป็ นอัตลักษณ์ เฉพาะถิ่นของอีสาน ส่วนวัฒนธรรมด้านประเพณีและพิธกี รรม พบว่ามี
ทัง้ หมด ๒ ประเด็น คือ ประเพณีและพิธกี รรมในรอบชีวติ และประเพณีในรอบปี
เชาวน์มนัส ประภักดี (๒๕๕๗) เขียนบทความ เพลงลาวแพน: ประวัตศิ าสตร์การเมือง
ในเพลง นาเสนอให้เห็นถึงบริบททางประวัตศิ าสตร์การเมืองที่มสี ่วนในการสร้างอุดมการณ์ ให้
ชนชัน้ ปกครองของรัฐไทย อัน นาไปสู่กระบวนการจัด การวัฒ นธรรมที่ม ีค วามแตกต่ างหรือ
ขัดแย้งกับอุดมการณ์ รฐั ซึ่งส่งผลต่อการสร้างความรู้ของเพลงลาวแพน โดยนาแนวคิดวงศา
วิทยามาศึกษาวิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางประวัติศ าสตร์ การสัมภาษณ์ ใน
ประเด็นทีเ่ กีย่ วข้องกับประวัตศิ าสตร์และดนตรี ทัง้ ในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว จากการศึกษาพบว่า บริบททางสังคมและการเมืองที่มุ่งเน้นการสร้างเอกลักษณ์
ของชาติและความเป็นไทย ทัง้ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และประชาธิปไตย มีส่วนต่อการ
สร้างและนิยามความหมายให้กบั สิ่งต่ าง ๆ ที่มคี วามแตกต่ างไปจากอุ ดมการณ์ รฐั ในที่น้ีค ือ
ความเป็ นลาวที่ปรากฏอยู่ในเพลงลาวแพน ซึ่งถูกจัดการให้เปลี่ยนความหมายไปจากเดิม ซึ่ง
เคยเป็ นวาทกรรมของชาวลาวทีผ่ ลิตขึน้ เพื่อปะทะและต่อต้านกับอานาจการปกครองของสยาม
ในสมัย ต้น กรุงรัต นโกสิน ทร์ ไปสู่การนิ ย ามความหมายใหม่ และถู กใช้เป็ น เครื่อ งมือ ในการ
ปลูกฝงั อุดมการณ์รฐั สู่ประชาชนในชาติโดยสถาบันสังคม ผลของการสร้างและนิยามความหมาย
ใหม่ของเพลงลาวแพนจึงส่งผลต่อการรับรูค้ วามหมายของเพลงลาวแพนในปจั จุบนั ทีเ่ ปลีย่ นไป
พิเชฐ แสงทอง (๒๕๔๕) ศึกษาลักษณะเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนชาวนาบริเวณลุ่ม
ทะเลสาบสงขลาในวรรณกรรมนิราศ มีวตั ถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเศรษฐกิจและสังคมของ
ชุมชนชาวนาบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาในวรรณกรรมนิราศ และเพื่อศึกษาถึงศักยภาพของ
วรรณกรรมในฐานะหลักฐานสะท้อนภาพประวัตศิ าสตร์ท้องถิ่น โดยใช้ขอ้ มูลวรรณกรรมนิราศ
๒๑๒

ทัง้ สิน้ ๓๑ เรื่อง ใช้วธิ กี ารวิจยั เอกสารประกอบกับการวิจยั ภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์และการ


สังเกตการณ์ ผลการวิจยั พบว่า วรรณกรรมนิราศสะท้อนภาพเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน
ชาวนาบริเวณลุ่ ม ทะเลสาบสงขลาได้ชดั เจน ในระดับ ที่น่ าพึงพอใจ ในด้านเศรษฐกิจพบว่า
ชุมชนชาวนาด้านทิศตะวันออกอพยพเพราะปญั หาน้ าจืดในระยะแรก ๆ และปญั หาขาดแคลน
ที่ดนิ ในเวลาต่อมา ปรากฏการณ์เหล่านี้ส่งผลต่อการขยายตัวของชุมชนจากทิศตะวันออกของ
ทะเลสาบสู่ทิศ ตะวัน ตกและทิศ เหนื อ การเติบ โตของชุ ม ชนชาวนาทางด้านทิศ ตะวัน ตกถู ก
กระตุ้นโดยเส้นทางการคมนาคมทีพ่ ฒ ั นาขึน้ โดยเฉพาะ การพัฒนาของการเดินรถไฟสายใต้ ทา
ให้ชุมชนทีอ่ ยู่รมิ เส้นทางรถไฟขยายตัวเป็นชุมชนการค้า เปิดโอกาสให้ชาวนาได้ถ่ายเทสินค้าใน
ชุมชนออกไปสู่แหล่งอื่น ๆ ทัง้ ภายในและภายนอกประเทศ การอพยพยังปรากฏในลักษณะของ
การส่งลูกหลานออกไปสู่ระบบการศึกษา ทัง้ การศึกษาทางธรรม และการศึกษาสมัยใหม่ ขณะที่
ชาวนาที่ย ังอยู่ในชุ ม ชนก็พ ยายามหาทางท ามาหากิน นอกเหนื อ ไปจากท านา ลัก ษณะภู ม ิ
ประเทศทีห่ ลากหลายผนวกกับการใช้แรงงานทีม่ คี วามยืดหยุ่นสูงระหว่างเด็ก ผูห้ ญิง และผูช้ าย
ทาให้ชาวนาสามารถแบ่งแรงงานไปสู่การประกอบอาชีพเชิงซ้อนได้โดยกระทบกระเทือนการทา
นาน้ อยมาก ลักษณะการใช้แรงงานแบบยืดหยุ่นนี้ยงั ประโยชน์ ให้ชาวนาเมื่อต้องเข้าสู่ระบบ
เงินตราที่มชี าวจีนเป็ นสื่อส าคัญ ขณะที่วดั ซึ่งเป็ นศูนย์กลางดัง้ เดิมของชุมชนทาให้ความคิด
เกี่ยวกับระบบเงินตราของชาวนามีความแตกต่างกับความคิดเกี่ยวกับระบบเงินตราของชาวจีน
ชาวนามองการค้าขายว่าเป็ นเพียงการทามาหากินแบบหนึ่ง ไม่แตกต่างไปจากการทามาหากิน
เชิงซ้อนแบบเดิม ๆ ซึง่ พวกเขาคุน้ เคยอยู่แล้ว ชาวนาจึงไม่มกี ารสะสมเพื่อขยายการลงทุนหรือ
การผลิต ไม่มกี ารขยายกาลังการผลิต ข้าวเพื่อ การค้า การทานาเป็ นเพียงหลักประกันความ
มันคงทางด้
่ านอาหารเท่านัน้ ด้วยเหตุ น้ี การทานาจึงมี “คุ ณ ค่า” มากกว่า “มูลค่า” ทัง้ นี้ อาจ
สังเกตจากพิธกี รรมข้าวทีม่ คี วามเปลีย่ นแปลงน้อยมาก
วินัย สุกใส (๒๕๔๖) วิเคราะห์ภาพสะท้อนเศรษฐกิจสังคมชุมชนลุ่มทะเลสาบสงขลาที่
ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิน่ ประเภทร้อยกรองในยุคการพิมพ์ (พ.ศ. ๒๔๗๒-๒๕๐๓) มุง่ ศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการสร้างเสพวรรณกรรมในท้องถิน่ ลุ่มทะเลสาบสงขลาในยุคการ
พิมพ์ (พ.ศ.๒๔๗๒-๒๕๐๓) กับบริบททางสังคม และวิเคราะห์ภาพสะท้อนเศรษฐกิจสังคมชุมชน
ลุ่มทะเลสาบสงขลาที่ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิน่ ประเภทร้อยกรองในยุคการดังกล่าว โดยใช้
วิธกี ารศึกษาวิเคราะห์จากข้อมูลวรรณกรรม เอกสาร และการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง ผล
การศึกษาวิจยั พบว่า กระบวนการสร้างเสพวรรณกรรมท้องถิ่นลุ่มทะเลสาบสงขลาในยุคการ
พิมพ์มคี วามเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม กล่าวคือสภาพเศรษฐกิจ
สังคมลุ่มทะเลสาบสงขลาในช่วงพ.ศ.๒๔๗๒-๒๕๐๓ กาลังปรับเปลีย่ นจากระบบเศรษฐกิจแบบ
พอเลีย้ งชีพไปสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า การสร้างสรรค์งานวรรณกรรมได้มกี ารปรับเปลีย่ นให้
สอดคล้อ งกับ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมที่เกิดขึ้น นักประพันธ์ผู้ส ร้างสรรค์งาน
วรรณกรรมจะแสดงตัวเป็ นเจ้าของผลงาน แสดงความเป็ นเจ้าของลิขสิทธิ ์ผลงานประพันธ์และ
๒๑๓

บางกลุ่มก็มรี ายได้จากการจัดพิมพ์จาหน่ ายผลงานประพันธ์ การเสพวรรณกรรมมีทงั ้ การอ่าน


การฟงั การสวดหนังสือและผ่านการละเล่นประเภทหนังตะลุง วรรณกรรมร้อยกรองในยุคนี้มกี าร
เผยแพร่ทงั ้ โดยการพิมพ์จาหน่ าย พิมพ์แจกในโอกาสต่าง ๆ และผ่านประเพณีและการละเล่น
ต่าง ๆ ทาให้วรรณกรรมเหล่านี้แพร่หลายมากกว่าวรรณกรรมแบบเก่า และพบว่าวรรณกรรม
ประเภทนิทานประโลมโลกและวรรณกรรมคาสอนทีแ่ ต่งโดยนักประพันธ์พน้ื บ้าน จะได้รบั ความ
นิยมสูงกว่าผลงานของนักประพันธ์ทเ่ี ป็ นพระสงฆ์และปญั ญาชน ทัง้ นี้อาจเป็นเพราะวรรณกรรม
เหล่านี้จะให้ความบันเทิงมากกว่า และเด่นทีส่ ุดก็คอื สามารถนาไปใช้เป็นหนังสือสวดและใช้เพื่อ
การแสดงหนังตะลุงอันเป็นสื่อบันเทิงพืน้ บ้านได้เป็นอย่างดี
วรรณกรรมท้องถิน่ ลุ่มทะเลสาบสงขลา ในยุคการพิมพ์สะท้อนให้เห็นความเปลีย่ นแปลง
ทางเศรษฐกิจ สังคมของชุมชนท านาและชุมชนทาสวนไร่ไว้อ ย่างชัดเจน ใน ๒ ลัก ษณะ คือ
ลัก ษณะแรก เป็ น การสะท้อ นให้เห็น ความเปลี่ย นแปลงจากระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ ไปสู่
เศรษฐกิจแบบการค้าทีค่ ่อย ๆ เกิดขึน้ ในชุมชนหมู่บา้ น และเปลีย่ นแปลงอย่างเห็นได้ชดั เจนขึน้
ในช่วงทศวรรษ ๒๔๙๐ เป็นต้นมา ลักษณะที่ ๒ สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของรัฐทีเ่ ข้าไป
ควบคุมปจั จัยการผลิตและผลผลิตของชุมชนโดยการปลูกฝงั ความคิดทางเศรษฐกิจสังคมแบบ
ทุนนิยมผ่านงานวรรณกรรมของปญั ญาชนรุ่นใหม่ และพระสงฆ์ทผ่ี ่านการศึกษาจากเมืองหลวง
ดังนัน้ แม้ภาพรวมทีป่ รากฏจะมีลกั ษณะเศรษฐกิจสังคมแบบยังชีพอย่างชัดเจน แต่มแี นวโน้มให้
เห็นการเปลีย่ นแปลงที่กาลังจะเกิดขึน้ ได้ไม่ยากนัก และภาพสะท้อนจากวรรณกรรมที่แต่งและ
พิมพ์เผยแพร่ในช่วง พ.ศ.๒๔๙๑-๒๕๐๓ ได้สะท้อนให้เห็นถึงการเข้าไปมีบทบาทของรัฐในอันที่
จะควบคู่ปจั จัยการผลิตและผลผลิตทีช่ ดั เจนเพิม่ ขึน้ นักประพันธ์เป็ นผูท้ ม่ี บี ทบาทสาคัญในอันที่
จะเผยแพร่หรือปลูกฝงั ความคิดและค่านิยมที่สอดคล้องกับระบบทุนนิยมมากขึน้ โดยที่พ้นื ฐาน
ของกวีชาวบ้านส่วนใหญ่ได้รบั การศึกษาจากวัด ค่านิยมทีเ่ กี่ยวกับคุณธรรมดีงามตามหลักของ
ศาสนาจึงยังคงเป็ นเครือ่ งเหนี่ยวรัง้ ให้สงั คมยังคงมีค่ วามสงบสุขได้ คาสอนเกีย่ วกับการแสวงหา
ทรัพย์สนิ เพื่อความร่ารวยจึงมีคุณธรรมตามหลักศาสนากากับอยู่
พัช ลิน จ์ จีน นุ่ น (๒๕๕๖ : ๙๔-๑๐๘) ศึก ษาลัก ษณะเด่ น และบทบาททางสังคมของ
วรรณกรรมค าสอนภาคใต้ “ฉบับพิมพ์เล่ ม เล็ก ” ที่แต่ งตัง้ แต่ พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๕๑๙ ในด้าน
บทบาททางสังคมของวรรณกรรมกลุ่มนี้ พบว่า วรรณกรรมคาสอนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็ นผลงาน
ของชาวบ้านจังหวัด นครศรีธ รรมราช สงขลาและพัท ลุ ง มีบ ทบาทที่ส ัม พัน ธ์กับ สัง คมและ
วัฒนธรรมภาคใต้อย่างเด่นชัด ได้แก่ บทบาทในการปลูกฝงั จริยธรรม ให้ความรูแ้ ก่ชุมชนชาวใต้
สร้างความสามัคคี สร้างคนดีให้แก่ครอบครัว ชุมชน และรัฐบาล สะท้อนสภาพและปญั หาสังคม
และเป็ นช่องทางระบายความคับข้องใจ บทบาทต่าง ๆ เหล่านี้เข้มข้นกว่าวรรณกรรมคาสอน
ภาคใต้สมัยโบราณ เพราะเพิม่ รายละเอียดเกี่ยวกับสังคมภาคใต้ได้อย่างรูแ้ จ้งเห็นจริง ทาให้
ทราบว่าภาคใต้ขณะนัน้ เผชิญกับปญั หาหลายด้าน โดยผูแ้ ต่งคาดหวังให้คนและสังคมร่วมใจกัน
แก้ปญั หาต่อไป ทาให้เห็นว่าวรรณกรรมคาสอนกลุ่มนี้แสดงบทบาทที่นอกเหนือจากการอบรม
๒๑๔

สังสอนโดยทั
่ ่ เพราะเน้นทัง้ เกล่าเกลาสังคม แก้ปญั หาสังคม เป็ นแหล่งเรียนรูป้ ระวัตศิ าสตร์
วไป
ท้องถิน่ รวมถึงให้ความบันเทิงด้วย เพราะสอนควบคู่ไปกับการสวดหนังสือ เช่น การสะท้อน
สภาพชุมชนโคกชุมแสงทีอ่ ยู่กนั อย่างยากลาบากในสมัยสงคราม ดังเรื่องชัยภาษิตสะท้อนสภาพ
ชุมชนโคกชุมแสง จังหวัดพัทลุงในสมัยสงครามว่าชาวบ้านอยูก่ นั อย่างยากลาบาก เนื่องจากข้าว
ของมีราคาแพง โดยเฉพาะอย่างยิง่ ข้าวสาร เพราะรัฐบาลควบคุมไว้ทุกแห่ง ผูแ้ ต่งจึงแนะนาให้
ซือ้ แต่ของจาเป็นเท่านัน้ เพราะหากไม่มเี งินจะพากันอดตายได้ ดังข้อความว่า
พวกของเราหญิงชายผมไหว้สงั ่ อย่าพลาดพลัง้ ภาษิตประดิษฐ์สอน
ให้นึกลองของสมัยกับแต่ก่อน ย่อมขาดตอนกันหลายเท่าข้าวสารแพง
เกือบทุกเมืองทุกจังหวัดขัดข้าวสาร รัฐบาลควบคุมไว้ทุกแห่ง
ถึงวัวควายไร่นาผ้าก็แพง ตลอดแตงเต้าถัวหั
่ วเผือกมัน
(ชัยภาษิต)
ั หาข้า วยากหมากแพงในสมัย
ผู้ว ิจ ยั กล่ า วว่ า สาเหตุ ท่ีท าให้ ช าวบ้ า นเผชิญ กับ ป ญ
สงครามเกิดจากการมีทหารญี่ปุ่นเข้ามาควบคุมเส้นทางรถไฟสายใต้ในช่วงสงครามมหาเอเชีย
บูรพา เนื่องจากช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นต้องการซื้อสินค้าจากร้านค้าและผู้ขายราย
ปลีก ย่อ ยจานวนมากเพื่อ น ามาเลี้ย งกองทัพ พ่ อ ค้าปลีก ย่อ ยในท้อ งถิ่น ที่ติด ต่ อ กับ ก องทัพ
โดยตรง สามารถขายสินค้าในปริมาณมากและราคาสูงกว่าราษฎร ส่งผลให้เครื่องอุปโภคบริโภค
ทีจ่ าเป็ นในชีวติ ประจาวันขาดแคลน หรือถ้ามีก็ต้องซื้อในราคาที่แพงกว่าปกติ การค้าขายก็ทา
ได้ไม่คล่อง เนื่องจากขาดแคลนตู้รถไฟสาหรับขนส่งสินค้า แม้แต่ข้าวสารที่ใช้บริโภคก็มรี าคา
แพง เนื่องจากกระทรวงพานิชอนุญาตให้พ่อค้าหรือพวกเศรษฐีสงครามส่งข้าวตากออกจาหน่ าย
นอกประเทศได้ โดยไม่ม ีข้อ จากัด นอกจากนี้ ก็ส ะท้อ นป ญ ั หาการแก่ ง แย่ งที่ด ิน ท ากิน การ
สะท้อนปญั หาโจรผู้รา้ ย และการสะท้อนปญั หาโสเภณี ทาให้ทราบว่าภาคใต้ขณะนัน้ เผชิญกับ
ปญั หาหลายด้าน โดยผู้แ ต่งคาดหวังให้ค นและสังคมร่วมใจกันแก้ปญั หาต่ อไป ทาให้เห็นว่ า
วรรณกรรมคาสอนกลุ่มนี้ นอกจากสอนแล้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรูป้ ระวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ด้วย
ต่ อ มาพัชลิน จ์ จีน นุ่ น วราเมษ วัฒ นไชย ปริยากรณ์ ชูแก้ว (๒๕๖๐) ได้ท าวิจยั เรื่อ ง
วรรณกรรมภาคใต้ยุค การพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๕๒๐ : ความหลากหลาย คุ ณ ค่ า และภูม ิ
ปญั ญา โดยใช้วรรณกรรมท้องถิน่ ประเภทต่าง ๆ จานวน ๓๒ เรื่อง ได้แก่ ๑) นิทานสาธกเบ็ญ
จะศีลคากลอนเพลงกะบอก ของพระเลื่อม สุวณฺ โณ พ.ศ. ๒๔๗๖ ๒.) นิราศชื่น (นิราศเรือนจา)
ของนายชื่น ชูสกุล พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๔๗๘ ๓.) โทษผิดกาเมคาฉันท์ ของคม ภิรมยาภรณ์
พ.ศ. ๒๔๗๙ ๔.) ประสิทธิพรกลอน ของดาเนิร บุณยรัตเศรณี พ.ศ. ๒๔๘๑ ๕.) ประวัตพิ ระ
พุทธไสยาศน์ ของขุนมนตรีบริรกั ษ์ (พ.ศิรธิ ร) พ.ศ. ๒๔๘๓ ๖.) สุภาษิตสอนชูช้ ายโสด ของหนู
ฟอง จันทภาโส พ.ศ. ๒๔๙๒ ๗.) คติคากลอนเตือนเพื่อน ของท้ามกับคล้อย พ.ศ. ๒๔๙๕
๘.) มงคลประชาราษฎร์ ของแดง ประพันธ์บณ ั ฑิต พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๕ ๙.) คากลอนสอนใจ
๒๑๕

คนจน ของท้าม กับคล้อย พ.ศ. ๒๔๙๖ ๑๐.) นิราศพรม ของพรม พ.ศ. ๒๔๙๖ ๑๑.) นิราศไป
จังหวัดตรัง คลิง้ สุขะปุณณะพันธุ์ พ.ศ. ๒๔๙๖ ๑๒.) นิราศพระธาตุนคร ของขุนจาเริญ (กานัน
หนู) พ.ศ. ๒๔๙๗ ๑๓.) ประวัตกิ ารณ์เตือนไทย ของจันทร์ เชิดชู พ.ศ. ๒๔๙๗ ๑๔.) รักทีแ่ สน
เศร้า เรื่องนางปฎาจารา ของรัตนชัย เตละกุล พ.ศ. ๒๔๙๗ ๑๕.) คากลอนสอนใจ ของทอง
นวลศรี พ.ศ.๒๔๙๗ - ๒๔๙๘ ๑๖.) คากลอนมโนห์ราขีเ้ มา ของนายดัด วิเศษมาก พ.ศ. ๒๔๙๘
๑๗.) สองกุ มารค ากลอน มหาชาติ กัณ ฑ์ท่ี ๘ ภิกษุ ธ รรมวาที (จ่าย) น.ธ. เอก พ.ศ. ๒๔๙๙
๑๘.) พระพุ ท ธท านายค ากลอน ของพระถาวร ราชไพฑู รย์ พ.ศ. ๒๕๐๐ ๑๙.) องคุ ล ีม าล
แผลงฤทธิ ์ ของคล้าย ศรีพนัง พ.ศ. ๒๕๐๐ ๒๐.) พระมาลัยคากลอน ของพระผอม ศีลสัวโร ไม่
ระบุพ.ศ. ๒๑.) เมืองสิด (ขุนแกล้ว) แหมะเว ของสะมะแอ วงศ์สอาด และนายจิ เส็มหมาด พ.ศ.
๒๕๐๓ ๒๒.) หนามรัก ของ จ. ศรีอกั ขรกุล พ.ศ. ๒๕๐๔ ๒๓.) ศีลห้าภาษิต ของอินทร์ ทอง
หยู่ พ.ศ. ๒๕๐๔ ๒๔.) นิราศไปวัดเขาพง ของ ฟ. โกวิโท พ.ศ. ๒๕๐๔ ๒๕.) นิราศพระบรม
ธาตุ นครศรีธรรมราช ของ ส. ย่อ งหลี ป. ดอนธูป พ.ศ. ๒๕๐๔ ๒๖.) นิราศสงขลาคราวไป
อบรมวิชาหัตถศึกษา ของ จ. ศรีอกั ขรกุล พ.ศ. ๒๕๐๕ ๒๗.) คากลอนการขุดพระ ของควน
สราญรมย์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ๒๘.) วาตภัยคากลอน ของพระครูศลี าจารโกวิท พ.ศ.๒๕๐๖ ๒๙.)
ฆาตกรรมคากลอน ของส. พยอมไพร พ.ศ.๒๕๑๒ ๓๐.) มาตุภูมทิ ่ขี า้ รัก ของเวียงศักดิ ์ เพชร
ย้อย พ.ศ. ๒๕๑๔ ๓๑.) หนังสือ ประวัติค ากลอนของวัดใหม่ท่านางพรหม ของวัน เมือ งสง
พ.ศ.๒๕๑๕ และ ๓๒.) ลานอโศกของกามนิต ของจ.ส.ต.เปลื้อง นาควานิช พ.ศ. ๒๕๑๕ การ
วิจยั ครัง้ นี้กเ็ พื่อต่อยอดวิทยานิพนธ์ทท่ี าไว้ และเป็นการขยายขอบเขตวรรณกรรมท้องถิน่ ให้เป็ น
ที่รู้จ ัก ยิ่ง ขึ้น ด้ ว ย ผู้เ ขีย นอาศัย ทฤษฎี ด้ า นวรรณกรรม คติช น ประวัติศ าสตร์ รวมถึง การ
สัมภาษณ์ คนในชุมชนมาช่วยอธิบายข้อ มูล ผลการวิจยั พบว่า วรรณกรรมกลุ่มนี้มเี นื้อ หา ๖
ประเภท ได้แก่ นิราศ คาสอน ศาสนา บันทึก นิยายประโลมโลกและกลอนโนรา โดยเนื้อหาอิง
กับบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทยภาคใต้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา
เกิดจากมีการสร้างกับการเสพกันมากบริเวณนี้ สาหรับปจั จัยทีม่ ผี ลต่อกระบวนการสร้างกับการ
เสพ พบว่ามี ๒ ปจั จัยหลัก ปจั จัยแรกมาจากคนและสังคมท้องถิน่ ได้แก่ การมีผสู้ ร้างเป็ น “คน
ใน” ของชุมชน ทัง้ พระสงฆ์ ข้าราชการท้องถิ่นและชาวบ้าน การให้ความสัม พันธ์กนั ทางเครือ
ญาติของคนบริเวณลุ่ มทะเลสาบสงขลา การอยู่ในช่ ว งเวลาที่เหมาะสม การรับ อิท ธิพ ลจาก
วัฒนธรรมการละเล่นในท้องถิน่ และบริบทจากสภาพแวดล้อมชุมชน ส่วนปจั จัยที่สอง มาจาก
การรับอิทธิพลจากบริบทสังคมส่วนกลางและวัฒนธรรมตะวันตก ได้แก่ นโยบายการสร้างชาติ
ของรัฐบาล การรับอิทธิพลจากระบบทุนนิยมและบริโภคนิยม และการรับอิทธิพลจากหนังสือวัด
เกาะของภาคกลาง วรรณกรรมกลุ่ ม นี้ ม ีคุ ณ ค่ า ๗ ประการ ได้แ ก่ การสะท้อ นภาพสัง คม
วัฒนธรรมภาคใต้ การบอกเล่าประวัตคิ วามเป็ นมาของตานานสถานทีใ่ นท้องถิน่ การเสริมสร้าง
จิต ส านึ ก พลเมื อ งของประเทศ การสร้ า งความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งคนกั บ คนและคนกั บ
สภาพแวดล้อม การเป็ นแหล่งเรียนรูธ้ รรมชาติในท้องถิ่น การบ่งชี้อตั ลักษณ์ ของหญิงชายใน
๒๑๖

สังคม และการถ่ายทอดภูมปิ ญั ญาทางวรรณศิลป์ ทัง้ แสดงออกทางภูมปิ ญั ญา ได้แก่ ภูมปิ ญั ญา


ด้านการเลือกสรรรูปแบบคาประพันธ์ทส่ี อดรับกับวัฒนธรรมพืน้ บ้าน ภูมปิ ญั ญาด้านการเลือกใช้
ั ญาด้านการปรับ ปรน
ถ้อ ยค าภาษาที่เข้าใจง่าย โดยเฉพาะ การใช้ภ าษาไทยถิ่น ใต้ ภู ม ิป ญ
องค์ประกอบของวรรณกรรมทีส่ อดรับกับบริบทสังคมวัฒนธรรมภาคใต้ และภูมปิ ญั ญาด้านการ
นาเสนอเนื้อหาเพื่อใช้เป็ นแนวทางในการพัฒนาสังคม สะท้อนให้เห็นพลังปญั ญาของผูแ้ ต่งชาว
ใต้ทส่ี ามารถสร้างสรรค์ผลงานเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มชนของตน

ภำพที่ ๑๓ วรรณกรรมท้องถิน่ ภาคใต้ยคุ การพิมพ์ (ช่วง พ.ศ. ๒๕๗๐ - ๒๕๒๐)


(ทีม่ า : จันทร์ เชิดชู, ๒๔๙๗)
อนึ่ง ในการศึกษาวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ในบริบทท้องถิน่ นอกเหนือจากศึกษา
จากวรรณกรรมในรูปเล่มหนังสือ แล้ว ยังสามารถศึกษาจากเอกสารโบราณ ประเภท หนังสือบุด
หรือสมุดไทยทีม่ นี ักวิจยั ปริวรรต รวบรวมไว้จานวนมาก ดังไข่มุก อุทยาวลี (๒๕๔๗) กล่าวว่า
ในสมุดไทยภาคใต้ เป็ นเอกสารโบราณที่เป็ นประโยชน์ ต่อ การนาไปศึกษาประวัติศ าสตร์และ
วัฒนธรรมของชาวไทยภาคใต้ โดยเฉพาะ การตระหนักความสาคัญของการส่งเสริมการศึกษา
ด้า นหลัก ฐานประวัติศ าสตร์ท้ อ งถิ่น ในป จั จุ บ ัน และอนาคต โดยไข่ มุ ก (๒๕๔๗) วิจ ัย เรื่อ ง
การศึกษาหลักฐานประวัตศิ าสตร์ ประเภทตานานพื้นบ้านภาคใต้ประเทศไทย มีวตั ถุประสงค์
เพื่อศึกษาสารวจหลักฐานประเภทตานานพื้นบ้านภาคใต้ท่มี อี ยู่ในปจั จุบนั เพื่อศึกษาจารีตการ
บันทึกตานานพื้นบ้านภาคใต้และกระบวนการถ่ายทอดภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ ในเนื้อหาของตานาน
เพื่อศึกษาลักษณะของตานานพืน้ บ้านภาคใต้ ทัง้ ด้านแนวคิดของผูแ้ ต่งตานาน จุดประสงค์การ
๒๑๗

เรียบเรียง ปรัชญาการสร้างหรือบันทึกตานาน ตลอดจนผลสะท้อนของสภาพสังคมท้องถิน่ บาง


ประการในเนื้อหาตานานผ่านสานึกความเชื่อและโลกทัศน์ร่วมกันของคนในสังคมภาคใต้ เพื่อ
ศึกษาวิเคราะห์ลกั ษณะเด่นของการเขียนตานานภาคใต้ และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ ประเมินคุณค่า
ของต านานในฐานะหลัก ฐานทางประวัติศ าสตร์ภ าคใต้ข องไทย ผลการวิจยั พบว่า ต านาน
พื้นบ้านภาคใต้มลี กั ษณะหลากหลายขึน้ กับเนื้อหาของตานานที่ถูกบั นทึกขึน้ และสามารถจัด
ประเภทของต านานได้ ๓ กลุ่ มหลัก คือ ตานานศาสนา หมายถึง ต านานที่มเี นื้อหาเน้ นการ
บันทึกเรือ่ งราวประวัตศิ าสตร์ ความเป็นมาเกี่ยวเนื่องกับศาสนาในภาคใต้ ตานานเมือง หมายถึง
ตานานที่มเี นื้อ หาการจดบันทึกข้อ มูลประวัติศ าสตร์ ความเป็ นมาของเมือ งสาคัญ ต่ าง ๆ ใน
ภาคใต้ และตานานพืน้ บ้านในกลุ่มเบ็ดเตล็ด เป็ นตานานทีอ่ ธิบายเกร็ดความรูป้ ระวัตศิ าสตร์ของ
ภาคใต้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับบุคคลในประวัตศิ าสตร์ ปูชนียสถานสาคัญและอธิบายความสืบเนื่อง
ทางวัฒนธรรม ประเพณีของชาวภาคใต้ ตานานในภาคใต้โดยทัวไป ่ เป็ นผลงานประวัตศิ าสตร์
ของชุมชนที่มกี ารบันทึกขึน้ ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ เป็ นต้นมา โดยเฉพาะ ตานานที่เป็ น
อิทธิพลจากศาสนาพุทธลังกาวงศ์ ในด้านคุณค่าของตานานพบว่า เป็ นเอกสารประวัตศิ าสตร์ท่ี
ให้คุ ณ ค่ าในการศึก ษาสงคมไทยภาคใต้ คือ คุ ณ ค่ าในการอธิบ ายวัฒ นธรรมของคนไทยใน
ภาคใต้ ผ่านการจดบันทึกซึ่งเป็ นจารีตหรือแบบแผนหนึ่งของวัฒนธรรมท้องถิน่ เพื่อสะสมภูม ิ
ความรูใ้ นด้านวัฒนธรรมของตน ขณะเดียวกันตานานยังมีคุณ ค่าในการศึกษาประวัติศาสตร์
ท้ อ งถิ่ น ภาคใต้ เพราะเนื้ อ หาของต านานเป็ น ข้ อ มู ล จากท้ อ งถิ่ น ที่ ส ร้า งขึ้น เพื่ อ อธิบ าย
ประวัติศาสตร์ของชุมชน ความเป็ นมาของบรรพบุรุษ การดารงอยู่และพัฒ นาการของสังคม
ท้องถิ่นเอง การศึกษาประวัติศาสตร์จากตานานพื้นบ้านจึงเป็ นวิธกี ารหนึ่งเพื่อทาความเข้าใจ
ประวัติศาสตร์จากหลัก ฐานที่อ าจให้ข้อ มูลที่แตกต่ างจากหลักฐานประวัติศาสตร์ประเภทอื่น
ตานานพื้นบ้านมักสะท้อนแนวคิดของผู้บนั ทึกหรือบอกเล่าตานานทาให้ต านานมีบทบาทต่ อ
การศึกษาด้านปรัชญาประวัติศ าสตร์ของท้อ งถิ่น และยังพบว่าเรื่อ งราวที่บนั ทึกในต านานมี
ความสัมพันธ์กบั ข้อมูลประวัตศิ าสตร์อ่นื ดังนัน้ การศึกษาวิเคราะห์ตานานพื้นบ้านภาคใต้จงึ
เป็นประโยชน์ทางหนึ่งในการศึกษาประวัตศิ าสตร์ภาคใต้ ในบริบททางสังคมท้องถิน่
นอกจากนี้ ไข่ มุ ก อุ ท ยาวลี (๒๕๔๘) ยัง ศึ ก ษาต านานเมื อ งป ตั ตานี : มิ ติ ท าง
ประวัตศิ าสตร์ และวัฒนธรรมภาคใต้ พบว่าตานานเมืองปตั ตานี เป็ นข้อมูลทางประวัตศิ าสตร์ท่ี
อธิบ ายความเป็ น มาของราชอาณาจัก รปตั ตานี ในยุค ประวัติศ าสตร์ การบัน ทึก ต านานเมือ ง
ปตั ตานี เป็ นการรวบรวมเบื้องต้นจากการศึกษาประวัติศาสตร์ปตั ตานี ประเภทเอกสารภาษา
มลายูถิ่น เช่น สยาเราะห์ก รียาอันมลายูป ตั ตานี อะเคยะเกด๊ะ เป็ นต้น เนื้ อหาของต านานมี
คุณ ค่ ายิง่ ต่ อการศึกษาเรื่องราวประวัติศ าสตร์ปตั ตานีในยุคการสร้างเมืองปตั ตานี จนถึงสมัย
รัต นโกสิน ทร์ นอกจากนี้ ความส าคัญ ของต านานยัง เป็ นข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม ส าหรับ ศึ ก ษา
ประวัตศิ าสตร์ไทยกับเมืองต่าง ๆ บนแหลมมลายู การที่ตานานเมืองปตั ตานีเขียนจากมุมมอง
๒๑๘

มลายูท้องถิน่ และเรียบเรียงจากหลักฐานมลายู ให้แง่คดิ ในการศึกษาประวัตศิ าสตร์ปตั ตานีท่ี


เขียนถึงความหลากหลายในการอธิบาย และให้เหตุผลต่อประวัตศิ าสตร์ทผ่ี ่านมา

ภำพที่ ๑๔ วรรณกรรมท้องถิน่ ประเภทตานาน


(ทีม่ า : พระมหาอุทยั พิสสิ ต์พงษ์, ๒๔๙๓)
ผูเ้ ขียนขอยกตัวอย่างเนื้อหาวรรณกรรมประวัตศิ าสตร์ภาคใต้เพื่อให้เห็นว่า มีเนื้อหาที่
สามารถนาไปวิเคราะห์ในเชิงประวัติศ าสตร์ได้ จากวรรณกรรมประวัติศ าสตร์ เรื่อ ง ประวัติ
พัท ลุ งตรังทัง้ สามสมัย วรรณกรรมเรื่อ งนี้ เป็ น ผลงานของครูช าญ ไชยจัน ทร์ กับ นายพาสน์
พลชัย มีท งั ้ หมด ๓ ตอน ประกอบด้ว ย ตอนต้น ตอนกลาง และตอนปล่ าย ตอนหนึ่ ง ๆ มี
จ านวน ๕ เล่ ม ในค าน าตอนต้ น ผู้ แ ต่ ง กล่ า วถึง ส่ ว นประกอบของวรรณกรรมทัง้ หมดว่ า
ประกอบด้ว ย ตอนต้น กล่ าวถึงประวัติข องเมือ งนครศรีธ รรมราช ไชยา ถลาง และจัง หวัด
ใกล้เคียงว่ามีค วามสัม พัน ธ์ก ันอย่างไรโดยสัมพันธ์กับ สุ โขทัย กรุงศรีอ ยุธ ยา กรุงธนบุ รแี ละ
รัตนโกสินทร์มาอย่างยาวนาน ต่อมาก็กล่าวถึงประวัตขิ องบุคคลต่าง ๆ เช่น พ่อขุนรามคาแหง
พระเจ้ากรุงธนบุร ี พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก นางเลือดขาว เจ้าพระยานคร (น้อย) พระยาพัทลุง
(คางเหล็ก ) และพระยารัษ ฎานุ ป ระดิษ ฐ์ ตอนกลางกล่ าวถึง ยุค สมัย ตัง้ แต่ เปลี่ย นแปลงการ
ปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็ นประชาธิปไตย พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็ นต้นมา จนถึง
สมัยสงครามเอเชียบูรพา กระทัง่ พ.ศ. ๒๔๙๗ ตอนกลางนี้กล่าวถึงการครองชีพและศีลธรรม
ของพลเมือง ตอนปลายกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคต ตัง้ แต่ปี ๒๔๙๗ จนถึงกึ่งพุทธกาล พ.ศ.
๒๑๙

(๒๕๐๐) และเรื่อยไปว่าบ้านเมืองควรจะเป็ นอย่างไร ในเรื่องถนนหนทาง การทาสวนยาง การ


ทานา การเลี้ยงสัตว์ การบูรณะท้องถิน่ เป็ นต้น ทัง้ หมดแต่งเป็ นคาประพันธ์ประเภทร้อยกรอง
ชนิดกลอนสุภาพ ผู้เขียนกล่าวว่า เมื่ออ่านแล้วจะ “ไม่อยากตาย และเตรียมบริหารร่างกายไว้
คอยรับอารยธรรมที่จะมาถึงท่านในอนาคตอันใกล้น้ี “ (หน้าคานา ๒) โดยโน้มน้ าวว่าเนื้อหาที่
นาเสนอไม่ได้นงเที ั ่ ยนเขียน แต่นามาจากตาราต่าง ๆ เช่น ตาราภูมปิ ระวัตศิ าสตร์ของนายเจริญ
ไชยชนะ ประชุมพงศาวดารฉบับความสาคัญ ของหลวงวิจติ รวาทการ จดหมายเหตุของหลวง
อุดมสมบัติ ประวัติเมืองสาคัญของ ต. อมาตยกุล พงศาวดารเมืองพัทลุง ของหลวงศรีวรฉัตร
พงศาวดารเมืองระนองของกรมดารงราชานุ ภาพ การปกครองคณะสงฆ์และสมณศักดิ ์ของกรม
พระยาดารงฯ รอบอ่าวบ้านดอนของพุ ทธทาส ตรังสาร พัท ลุ งวิท ยา สมุดรัษ ฎานุ ส รณ์ และ
หนั งสือ ปทานุ ก รมฉบับ ราชบัณ ฑิต ยสถาน ๒๔๙๓ นอกจากนี้ ยังอาศัย การสอบถามและ
คาแนะนาของคนในท้องถิน่ เช่น พระพิศาลธรรมรังสี พระครูพนั ธวิรยิ กิจ ปญั ญานันทภิกขุ ขุน
วิจารณ์จรรยา หม่อมสังวาล (ท่านผูห้ ญิงพระยารัษฎานุ ประดิษฐ) ขุนสารสิทธากร ครูถดั พรหม
มานพ ขุนสุทธินนทนรการ ขุนศรีขนั เขต และขุนนิเทศทวารการ ทัง้ หมดนี้เพื่อ “เป็ นประโยชน์
แก่ผอู้ ่านทุกรุน่ ทุกเพศทุกวัยทุกอาชีพและทุกถิน่ ” (คานา หน้า ๔)
ตัวอย่ำง เนื้อหาวรรณกรรมอิงประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ภาคใต้ เรือ่ งประวัตพิ ทั ลุง – ตรัง เล่ม ๑
แต่ปางหลังยังมีบุรหี นึ่ง ครัง้ ก่อนกึง่ พุทธกาลนานนักหนา
ประมาณศกตกพันทีร่ อ้ ยกว่า มีนามว่าพัทลุงอันรุ่งเรือง
ใครผูต้ งั ้ ครัง้ ไหนไม่แน่ชดั มีประวัตเิ คร่า ๆ ตามเค้าเรือ่ ง
ถิน่ ไทยใต้ได้ความมีสามเมือง ทีร่ งุ่ เรืองรุน่ ราวคราว ๆ กัน
นครศรีธรรมราชและไชยา ถัดลงมาพัทลุงคงเขตขัณฑ์
ทัง้ สามเมืองเรือ่ งละม้ายคล้ายคลึงกัน นับเป็ นอันว่าตัง้ ครัง้ โบราณ
สิง่ สร้างไว้ให้คนเป็ นหลักศาสน์ คือพระธาตุสวยเด่นเป็ นหลักฐาน
สิง่ เหล่านี้ชใ้ี ห้เห็นเป็นพยาน เมืองโบราณศาสนาสถาพร
อันเมืองใดทีเ่ จริญเกินขนาด สร้างพระธาตุให้อยูเ่ ป็ นอนุสรณ์
พัทลุงไชยาและนครฯ อนุสรณ์เหล่านี้มมี ากมาย
สิง่ เหล่านี้มมี าแต่คราไหน ไม่มใี ครจาจดกาหนดหมาย
นักโบราณคดีมมี ากมาย ได้ขวนขวายค้นคว้าหาความจริง
ได้ความว่าไชยาตัง้ มาก่อน อุทาหรณ์มากมายหลายสิบสิง่
หลักศิลามีไว้ได้อา้ งอิง จารึกสิง่ ทีส่ ร้างว่าปางใด
ประมาณศกตกพันสองร้อยกว่า นักปรัชญาบัณฑิตวินิจฉัย
คือสมัยทีเ่ รียกว่าศรีวชิ ยั ต่อเนื่องในเมือ่ คราวชาวอินเดีย
ได้เข้ามาค้าขายขยายเขต เพิม่ ประเภทรายได้เจือรายเสีย
๒๒๐

พุทธศาสน์ไหลหลากจากอินเดีย มิให้เสียทีเปล่าเมือ่ เข้ามา


แล้วเผยแพร่แผ่ไปในสามเมือง ต่างรุง่ เรืองในด้านการศาสนา
ถิน่ ไทยใต้รงุ่ เรืองต่อเนื่องมา ตามเวลาดังจะกล่าวให้ยาวความ
มีพระยากรงทองครองพัทลุง ใฝผ่ ดุงมุง่ เผด็จไม่เข็ดขาม
ครองบางแก้วแนวนทีมเี ขตคาม ไม่ครันคร้
่ ามไพรีมาบีฑา
จะทิง้ พระเป็นเขตทะเลนอก เรือเข้าออกไปแคว้นแดนสงขลา
ชาวตะลุงมุง่ ประกอบชอบทานา ชีประชาผาสุกทุกคืนวัน
มีตายายหมอสดาถือกาเนิด บ้านพระเกิดเลีย้ งช้างอย่างขยัน
ส่งพระยากรงทองของกานัล ให้ได้ทนั ปีละตัวเพราะกลัวภัย
ตาสามโมยายเพ็ชร์ใจเด็ดขาด คชาชาติแกให้กนิ ไม้ไผ่
อยูว่ นั หนึ่งตายายได้เทีย่ วไป ในปา่ ไผ่ได้ประสบพบกุมาร
จึงพามาเลีย้ งไว้ให้เป็นบุตร ผิวผ่องผุดพักตราน่าสงสาร
อยูด่ ว้ ยกันต่อมาไม่ชา้ นาน ทัง้ สองท่านเทีย่ วไปปา่ ไผ่ดง
ได้ประสบพบร่างอีกนางหนึ่ง มองตะลึงรูปร่างเหมือนนางหงส์
สองตายายใฝค่ ดิ จิตจานง จึงตกลงชุบเลีย้ งด้วยเทีย่ งธรรม์
ให้ช่อื นางเลือดขาวสาวสวาท ผิวผุดผาดเหมือนอย่างนางสวรรค์
กุมารนางต่างสมัครร่วมรักกัน เหมือนอย่างพีน่ ้องร่วมท้องมา
ครัน้ เจริญรุ่นราวเป็นสาวหนุ่ ม กระชวยชุ่มน่ารักเป็ นหนักหนา
งามละม้ายคล้ายตะวันกับจันทรา ยายกับตาให้อยูเ่ ป็ นคู่ครอง
คู่หนุ่มสาวร่วมรักสมัครจิต มิได้คดิ เกลียดชังกันทัง้ สอง
ใครขาดนิดเกินหน่อยค่อยประคอง เป็นคู่ครองสุขสบายมาหลายปี
ครัน้ ต่อมาประมาณไม่นานนัก เรือ่ งประจักษ์ค่สู องต้องหมองศรี
สองตายายม้วยดินสิน้ ชีว ี คู่สามีภรรยาปรึกษากัน
จัดงานศพโตใหญ่ไม่ใครติ เอาอัฐไิ ว้ถ้าคูหาสวรรค์
มฤดกตายายมากมายครัน ก็ช่วยกันรักษาไม่ราคิน
การส่วยช้างทีส่ ่งเจ้ากรงทอง ไม่บกพร่องให้มที ต่ี ฉิ นั
ปีละตัวจัดหาเป็นอาจิณ ตามระบิลตายายได้ทามา
สองผัวเมียรูบ้ ุญคุณตายาย ทีท่ ่านได้ไปประสบพานพบหา
ไม่ถงึ ทีม่ ว้ ยดินสิน้ ชีวา เป็นภักษาเดียรฉานในดาลดง
จึงสนองคุณท่านเป็นการใหญ่ ไม่ไถลร่าเริงละเลิงหลง
สร้างกุศลผลอุทศิ จิตมุง่ ตรง ช่วยเสริมส่งตายายให้สาราญ
ท่านเกิดไหนขอให้ถงึ ซึง่ บุญข้า เชิญท่านมาเนาในพิมานสถาน
๒๒๑

ข้าทัง้ สองตัง้ จิตอุทศิ ทาน ตลอดกาลยอมพลีชวี ตี น


นางเลือดขาวเจ้าก็สร้างอุโบสถ อันงามงดขึน้ ไว้ให้ได้ผล
พระพุทธรูปตามแบบโดยแยบยล ในตาบลวัดสทังตัง้ พากเพียร
พระกุมารท่านก็สร้างทางวิหาร เป็นหลักฐานแน่ ชดั วัดตะเขียน
พระพุทธรูปตามแบบอย่างแนบเนียน ต่างพากเพียรสมสร้างแต่ทางบุญ
แล้วเทีย่ วไปในแคว้นแดนเมืองตรัง มโนตัง้ ช่วยเหลือคิดเกือ้ หนุน
เพื่อทาวัดจัดสร้างแต่ทางบุญ ให้เป็นทุนเอาไว้ได้บชู า
ได้สร้างพระบรรทมดูคมขา ไว้ทถ่ี ้าชุมทองในช่องผา
แล้วจึงได้ไปแคว้นแดนลังกา ลงเรือท่าเมืองตรังทัง้ สองคน
ได้กลับมาสร้างพระพุทธสิหงิ ค์ ดูคล้ายคลึงวัดแคว้นแดนสิงหฬ
ไว้เป็นทีส่ กั การะประชาชน ผูข้ วายขวนในธรรมพระสัมมา
ครัน้ สร้างเสร็จกลับหลังยังตะลุง เพื่อบารุงเสริมสร้างพุทธศาสนา
บ้านพระเกิดสุขสวัสดิ ์วัฒนา เป็นพาราผาสุกทุกคืนวัน
พระพุทธรูปนางก็สร้างอย่างสิงหฬ หลายตาบลในนครเทีย่ วจรผัน
เพื่ออุทศิ ส่วนกุศลผลอนันต์ ได้แบ่งปนั ส่งให้กบั ตายาย
ครัน้ ต่อมาพระราชาทรงทราบข่าว ว่าสาวเจ้าสวยนักสุดจักหา
ทรงใช้นางทองจันทน์ให้ผนั มา แล้วรับพาเลือดขาวเข้าธานี
พระเจ้ากรุงสุโขทัยวิไลโฉม อยากประโลมแก้วตามารศรี
แต่ทราบว่านางอยูค่ ่สู ามี ทัง้ นางนี้ทอ้ งมากว่าสามเดือน
ทรงนึกถึงทศพิธราชธรรม ทีป่ ระจาในพระทัยหาไหนเหมือน
ทรงชุบเลีย้ งนางไว้ไม่บดิ เบือน พอครบเดือนคลอดบุตรสุดอาลัย
พระเจ้ากรุงขอไว้ให้เป็นบุตร นางก็สุดข้องขัดอัชฌาสัย
เจ้าคอลายคงอยูส่ ุโขทัย นางครรไลกลับหลังยังธานี
ทรงช่วยเหลือมิให้ได้กนั ดาร จนถึงบ้านพระเกิดประเสริฐศรี
ครองบางแก้วเรือ่ ยมาเป็นธานี เจ็ดสิบปีต่างก็ได้มลายชนม์
ส่วนเจ้าฟ้าคอลายหมายพึง่ เจ้า ได้ทราบเค้าตริตรึกนึกฉงน
อยากจะได้เห็นหน้าบิดาตน ก็ดนั ้ ด้นสืบมาหามารดร
เมือ่ ทราบว่าบิตุมาตุมาขาดจิต เจ้าฟ้าคิดอาลัยฤทัยถอน
ไม่กลับคืนสุโขทัยใจอาวรณ์ ถึงมารดรบิตุเรศสังเวชใจ
มิได้ตอบแทนบุญคุณพ่อเจ้า ผูเ้ กิดเกล้าลูกยามาตักษัย
จึงเจ้าฟ้าคอลายหมายตัง้ ใจ ทาบุญไปใจอุทศิ บิตุมารด์
มุง่ ทากิจทุกอย่างแต่ทางชอบ หมันประกอบสิ
่ ง่ ทีม่ แี ก่นสาร
๒๒๒

แต่งโบสถแม่เจ้าไม่เร้าราญ แต่งวิหารพ่อเจ้าให้เข้าที
รักษาโบสถ์เฝ้าวิหารปานชีวติ ประกอบกิจตามศีลพระชินสีห์
ครองบางแก้วถิน่ สถานมานานปี จนชีวคี อลายถึงวายปราณ
เรือ่ งเหตุการณ์ต่อมาไม่ปรากฏ มิได้จดให้เห็นเป็ นหลักฐาน
ศักราชขาดตอนค่อนข้างนาน นับประมาณไม่น้อยกว่าร้อยปี
เจ้ากรงทองเหลนหลานพานพบ เจ้าคอลายก็จบลงเป็ นผี
ไม่ปรากฏใครป้องครองบุร ี จนสมัยกรุงศรีอยุธยา
นางเลือดขาวมีมาคราสมัย สุโขทัยเรืองอานาจวาสนา
ขุนศรีอนิ ทราทิตย์มหิทธา ตลอดมาพ่อขุนรามน่ าคร้ามครัน
พ่อขุนรามคาแหงมหาราช ผูส้ ามารถแผ่ประเทศไทยเขตขัณฑ์
อาณาจักรไทยขยายมากมายครัน คนสาคัญสุโขทัยใครไม่เทียม
มะลายูทงั ้ หมดจดสิงคโปร์ ทัง้ ยะโฮมะละกามาขึน้ เสียม
พะม่ามอญย้อนน่านลานนาเกรียม ไม่ตอ้ งเตรียมตีตรงหงสาวดี
พ.ศ.พันแปดร้อยยีส่ บิ สาม พ่อขุนรามลามมานครศรี
พัทลุงอยูใ่ กล้ไม่ตอ้ งตี ได้ยนิ ดีผ่อนตามให้งามงอน
สมัยนัน้ ครศรีคนดีมาก ยอมยุง่ ยากค้นคว้าหาคาสอน
เพื่อให้พุทธศาสนาสถาพร มีคนจรไปถึงซึง่ ลังกา
แล้วบวชเรียนตามอย่างลังกาวงศ์ เจตน์จานงเชีย่ วชาญการศึกษา
นครไม่กนั ดารการไปมา ชาวลังกามาตรังครัง้ มากมาย
ตรังมีท่าเรือดีเป็ นทีห่ นึ่ง เรือเข้าถึงแก้มดาทาค้าขาย
ไปลังกานับว่าพอสบาย นครใช้เมืองตรังตัง้ ท่าเรือ
พุทธศาสน์จงึ เจริญเกินทีใ่ ด สุโขทัยแพ้พ่ายทัง้ ใต้เหนือ
ตรังทีห่ นึ่งในด้านการทาเรือ นครเหนือสุโขทัยในอาราม
มีพระธาตุสงู ใหญ่หาไหนได้ ทีย่ อดปลายมีทองผ่องอร่าม
พระเจดียป์ ฏิมาสง่างาม หลายอารามจัดตัง้ ครัง้ โบราณ
พ่อขุนรามตีนครในตอนนัน้ ใช่ตกี นั ให้รา้ งโดยล้างผลาญ
เพื่อรวมไทยมิให้ใครมารุกราญ แบบสมานมิตรไว้ให้มนคง ั่
ในครัง้ นัน้ เจอพระมหาเถร ผูจ้ ดั เจนธรรมเทศน์วเิ ศษสงฆ์
เป็นชาวไทยบรรพชาลังกาวงศ์ ทัง้ มันคงเจนจั
่ ดปริยตั ธิ รรม
ได้นิมนต์ไปอยูส่ ุโขทัย ทรงตัง้ ใจชูชุบอุปถัมภ์
ให้เป็นพระสังฆราชปราชญ์ประจา ผดุงธรรมสุโขทัยให้ไพบูลย์
ได้สร้างวัดจัดตัง้ ข้างวังหลวง สิง่ ทัง้ ปวงสร้างไว้ไม่เสื่อมสูญ
๒๒๓

พระบวชใหม่มากมายได้เพิม่ พูน อนุกูลศาสนาให้ถาวร


ส่วนลัทธิมหายานกาลก่อนนัน้ พระทรงธรรม์เบื่อหน่ ายฝา่ ยคาสอน
ลังกาวงศ์วฒ ั นาสถาพร ชาวนครเป็นปฐมน่ าชมจริง
ได้ทรงทาไมตรีกบั ลังกา ได้นามาซึง่ พระพุทธสิหงิ ค์
อันเป็นหลักศาสนามาพึง่ พิง นับเป็ นสิง่ บุญคุณพ่อขุนราม
ครัน้ ต่อมาล่วงกาลประมาณศก พันแปดร้อยยีส่ บิ หกศกสยาม
งานชิน้ เอกทีเ่ จ้าคุณพ่อขุนราม พยายามใฝค่ ดิ ประดิษฐ์มา
คืออักษรของไทยสมัยนี้ เป็นเครือ่ งชีค้ ุณท่านนานหนักหนา
ประชาไทยได้เขียนเล่าเรียนมา เพราะปญั ญาของพระองค์ผทู้ รงคุณ
พ่อขุนรามคาแหงมหาราช ทรงสามารถมากมายได้เกือ้ หนุน
สิง่ สาคัญอีกอย่างในทางคุณ ได้การุญใฝง่ านการปกครอง
ทรงรักราษฎร์เหมือนพ่อมีต่อบุตร เป็นมงกุฎปกเกล้าชาวไทยผอง
ราษฎร์เดือดร้อนอย่างไรไปปรองดอง ภายในท้องพระโรงทุกโมงยาม
ทีห่ น้าวังมีกระดิง่ แขวนทิง้ ไว้ ยามราตรีตไี ด้ไม่ตอ้ งขาม
มีเรือ่ งด่วนทาให้ได้ทุกยาม ตัดสินความตามมียตุ ธิ รรม
ประทับนัง่ แท่นมนังคศิลาอาสน์ ทรงประกาศกล่าวความทีง่ ามขา
ทุกวันพระเป็นนิจกิจประจา ให้ถอื ธรรมจาจดเป็นกฎเกณฑ์
พระสังฆราชปราชญ์ลงั กามาสอนสัง่ เป็นคราวครัง้ ตัง้ จิตเป็ นกิจเถร
ต่างถือธรรมจาจดเป็ นกฎเกณฑ์ ทัวบริ
่ เวณสุโขทัยวิไลครัน
การปกครองประเทศเขตกว้างใหญ่ พ่อขุนรามได้เร่งรัดให้จดั สรร
ประชาราษฎร์ทงั ้ หลายชายฉกรรจ์ ทุกคนนัน้ เป็ นทหารของบ้านเมือง
พระองค์ท่านทรงยอมเป็นจอมพล ข้าราชการทุกคนปรนตามเรื่อง
เป็นนายพลนายพันตามชัน้ เมือง นายร้อยเนื่องนายตรวจนายหมวดกอง
อันหัวเมืองทัง้ หลายท่านได้จดั เป็นจังหวัดในนอกออกเป็นสอง
สุโขทัยเป็ นฐานการปกครอง มีเมืองรองรายรอบขอบธานี
เมืองศรีสชั นาลัยเป็ นอุปราช ชัน้ ขนาดเมืองรองของกรุงศรี
รองลงไปมากมายหลายบุร ี รอบธานีสุโขทัยกันภัยพาน
เมืองบางยมทุ่งยัง้ ทัง้ พระบาง เป็นรายทางต่อเนื่องเมืองทหาร
ทัง้ เมืองตากกันภัยมิให้พาน สองแควด่านสระหลวงไม่ล่วงเกิน
เมืองชัน้ นอกเป็นพระยามหานคร ก็ถาวรวัฒนาน่ าสรรเสริญ
เป็นนายพลทุกนายไม่ละเมิน จัดดาเนินการปกครองให้ตอ้ งกัน
ตัง้ พันนายร้อยตามน้อยศักดิ ์ ให้ปกปกั เรีย่ วแรงเข้มแข่งขัน
๒๒๔

ถึงคราวปจั จามิตรมาติดพัน ต้องช่วยกันยกไปในทันที


เมืองทัง้ หลายได้แก่เมืองอู่ทอง เพ็ชรบูรณ์รองถัดตะนาวศรี
เพ็ชรบุรรี าชบุรสี วรรคบุร ี ทัง้ เมืองศรีเทพนัน้ ก็มนคง
ั่
ประเทศราชจัดให้ดูชายเขต เป็นประเทศครองตามความประสงค์
ให้เจ้าของครองตามความจานง แต่ตอ้ งส่งดอกไม้ใช้เงินทอง
ถึงคราวศึกมาประชิดติดประเทศ ทุกขอบเขตช่วยประดังกันทัง้ ผอง
อย่าให้ได้ราคาญการปกครอง ให้ถูกต้องตามทีม่ บี ญ ั ชา
นครศรีธรรมราชและทะวาย เมาะตะมะเรียงรายอยูซ่ า้ ยขวา
หลวงพระบางเวียงจันทร์ถดั กันมา ทัง้ เวียงคามะละกาหงสาวดี
ยะโฮร์น่านเรียงรายอยูใ่ ต้เหนือ ถึงคราวเมือ่ ศึกประชิดอย่าคิดหนี
พ่อขุนรามกาแหงแรงฤทธี ทุกธานีเสียวสยองพองโลมา
ท่านได้เป็นราชามหาราช ไทยทัง้ ชาติพง่ึ บุญอุ่นเกศา
เป็นธงชัยของเหล่าชาวประชา พระมหาราชเจ้าเฝ้าการุญ
สิน้ สมัยพ่อขุนรามสยามเสื่อม แสนล้าเหลื่อมมากมายไร้ผหู้ นุน
พันแปดร้อยหกสิบถ้วนประมวลคุณ สิน้ พ่อขุนสูญแดนแสนเสียดาย
พัทลุงขึน้ นครในตอนนี้ เจ้าบุรชี ่อื ไรไม่จาหมาย
เจ้านครปกครองทานองนาย ครองไทยใต้เขตขัณฑ์แต่นนั ้ มา
ล่วง พ.ศ. สองพันห้าสิบเจ็ด ครัง้ สมเด็จกรุงศรีมยี ศถา
พระรามาธิบดีผปู้ รีชา ลาดับมาทีส่ องครองกรุงไกร
ในปีน้ีมพี ระยาธรรมรังคัล ไปตัง้ มันจะทิ
่ ง้ พระย้ายมาใหม่
ไม่แน่ว่าย้ายมาจากทีใ่ ด บ้างเข้าใจว่าควนแร่เป็ นแน่ นอน
สิง่ ควรกล่าวคราวพระยาได้มาตัง้ เป็นหลักยังยึดถือไม่รอ้ื ถอน
คือเจดียม์ อี ยูค่ ่นู คร สร้างเมืองฅอนกลับหลังจากลังกา
พระมหาอโนมทัสสี ผูย้ นิ ดีเร่งรัดไปจัดหา
ได้อญ ั เชิญพระบรมธาตุมา สร้างเจดียย์ ส่ี บิ วาสง่าจริง
กับสร้างวัดจัดไว้ทช่ี ายเขา นามลาเนาจาถนัดพิพทั สิงห์
เป็นวัดหลวงกัลปนาไม่ประวิง นับเป็ นสิง่ เทิดพระยาธรรมรังคัล
ปี พ.ศ.สองพันเก้าสิบเอ็ด มีภกิ ษุใจเพ็ชร์เด็ดขยัน
สามีอนิ ทร์ปรีชาปญั ญาครัน คนสาคัญแถวย่านบ้านสทัง
ไปศึกษาบาลีทน่ี คร ลือกระฉ่อนมนต์กล้าคาถาขลัง
ทราบว่าศึกพะม่ามาประดัง จึงไปยังกรุงศรีอยุธทยา
รับอาสาพระมหาจักรพรรดิ ขอให้จดั ม้าขาวเข้ามาหา
๒๒๕

กับโยธาห้าร้อยต้อยตามมา ขออาสารณรงค์หงสาวดี
ครัน้ จัดเสร็จพระอินทรยินดียงิ่ ไม่รอนิ่งขับมอญให้จรหนี
ร่ายคาถาสามคาบปราบไพรี ขีพ่ าชีนาหน้าโยธาจร
พะม่าเห็นเสียขวัญชวนกันหนี พอได้ทนี กั พรตไม่ลดผ่อน
ควบม้าไล่มอญพะม่าให้ลาจร กลับนครพ่ายแพ้แก่กรุงไทย
จึงกลับมาบูรณะวัดตะเขียน ทัง้ ซ่อมเปลีย่ นวัดสทังดังของใหม่
แล้วถวายพระกุศลยุบลไป เจ้ากรุงไทยตัง้ พระครูอนิ ทโมฬี
เจ้าคณะป้าแก้วหัวเมืองพัท- ลุงครองวัดทัง้ ตรังนครศรี
สองร้อยยีส่ บิ แปดวัดจัดมากมี วัดพุทธสิหงิ ค์ตรังทัง้ วัดงาม
ครัน้ ล่วงกาลนานมามีพระหนึ่ง ผูซ้ าบซึง้ ธรรมถกปิฎกสาม
ชาวตะลุงนามว่าสามีราม ได้เจอพราหมณ์ผเู้ ฒ่าชาวลังกา
เมือ่ คราวครัง้ เรียนธรรมประจากรุง พระเฟื่องฟุ้งเปรือ่ งปราชญ์ศาสนา
ได้แปลธรรมชนะพราหมณ์ชาวลังกา ทรงกรุณาตัง้ พระราชมุนี
กลับตะลุงมุง่ คิดแต่กจิ ศาสน์ จิตหมายมาตปรุงเมืองให้เรืองศรี
สร้างศาลาโบสถ์วหิ ารและเจดีย์ ขึน้ ในทีว่ ดั พระโคะอันโสภา
ครัน้ แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ท่านจึงได้จารึกไว้ศกึ ษา
เป็นตานานวัดพระโคะแต่นนั ้ มา นับเวลาไม่น้อยสามร้อยปี
แล้วจึงได้แต่งวัดคูหาสวรรค์ พร้อมพระครูลทั ธรรมรังสี
ทัง้ พระครูบุตรเทพผูอ้ ารี กับยังมีมหาเถรอีกหนึ่งองค์
ชื่อว่าพุทธรักขิตจิตศรัทธา ช่วยแต่งวัดคูหาให้กบั สงฆ์
หมืน่ เทพบาลท่านก็มไี มตรีตรง ได้ตกลงสร้างสรรค์ให้ทนั กาล
พระพุทธรูปยีส่ บิ สร้างสาเร็จ เจดียเ์ จ็ดได้เห็นเป็นหลักฐาน
ทีพ่ ่อขุนศรีชนาพญาบ้าน ทรงประทานเป็นทีก่ ลั ปนา
ครัน้ ออกหลวงเยาวราชเป็ นเจ้าเมือง ลุงมีเรือ่ งทุกข์เข็ญเป็นหนักหนา
สลัดแขกมาประชิดติดพารา มีนามว่าเจะอารูจโู่ จมตี
พัทลุงยับเยินเกินขนาด สลัดกวาดครอบครัวพาตัวหนี
ครัน้ ทราบความถึงเท้าเจ้าธานี แผดงศรีราชบัญชามาจัดการ
เจ้าเมืองเลยกินย่าฆ่าตัวตาย เพราะความอายยิง่ กว่าโทษประหาร
ได้ขนุ ศรีชนาพญาบ้าน จึงจัดการจาส่งไปลงทัณฑ์
ท่านหมื่นอินทพงษาบุตรพ่อขุน ได้แทนคุณทรงโปรดโทษมหันต์
เข้าอาสาจับคชาทีต่ กมัน พระทรงธรรม์อภัยโทษโปรดปราณี
ทรงตัง้ ให้เป็นขุนคชราชา ปล่อยบิดากลับตะลุงจากกรุงศรี
๒๒๖

เป็นปลัดพัทลุงตามก่อนมี พ่อขุนศรีบุญช่วยไม่มว้ ยมรณ์


ครัน้ ต่อมาสมัยออกเมืองคา สลัดซ้าตีตะลุงมุง่ รือ้ ถอน
เผาวัดโบสถ์กฏิวหิ ารบ้านราษฎร แล้วกวาดต้อนสมณะชีพระพราหมณ์
ราษฎร์หญิงชายทุกวัยพาไปหมด แสนทรหดใจบาปจิตหยาบหยาม
อยังตะนะจากะโฮร์โซเลวทราม ไม่เกรงขามบาปกรรมทาทารุณ
ออกเมืองคาหนีได้ไม่มโี ทษ พระทรงโปรดให้อภัยพระทัยหนุ น
เพราะข้าศึกมากมายได้ทารุณ ต้องวายวุ่นเดือดร้อนเกือบค่อนเมือง
ครัน้ ขุนเทพตารวจได้เข้ามา สร้างวัดวากันใหม่ให้ฟูเฟื่อง
จะทิง้ พระเขตแคว้นแดนในเมือง มีแต่เรือ่ งบูรณะสร้างอาราม
วัดแจระกะดังงานามีไชย ต่อเนื่องไปบ่อโดโอ่อร่าม
วัดชะแล้ชะแมเจดียง์ าม วัดลารามวัดโรงให้คงคืน
แขกสลัดกวาดไทยไปสองครัง้ ปวงชนังจิตระทมแสนขมขื่น
ทรงหาทางดารงให้ยงยืน จึงต้องฝืนตัง้ แขกตัง้ แขกใช่แยกไทย
ตัง้ ตาตุมะระหุ่มเป็นเจ้าเมือง ได้ยา้ ยเรือ่ งจะทิง้ พระมาตัง้ ใหม่
หัวเขาแดงปีเดียวต้องเปลีย่ วใจ ตาบรรลัยศพฝงั ยังเขาแดง
ครัน้ ต่อมาทรงตัง้ เพรีชี ย้ายไปเขาไชยบุรที ม่ี แี ฝง
มีเขารอบขอบเมืองไม่เปลืองแรง ได้แอบแฝงแขกสลัดตัดกาลัง
เพรีชชี าวนางหรงคงเรียกเพ็ชร์ เป็นคนไทยใจเด็ดท่าขึงขัง
เพรีชชี ่อื ไทยสงสัยจัง คงเขียนพลัง้ ไขว้เขวเพรีชี
ไม้ไต่คทู้ ณ ั ฑฆาตพลาด พ.ร. ไปอยูบ่ น ช.ร. ไม่ถูกที่
ทัง้ ไต่คทู้ ณั ฑฆาตพลาดเป็นอี เพรีชกี ลับกลายใช่ช่อื คน
จะผิดถูกอย่างไรไม่ชดั แจ้ง ขอแถลงแย้งความตามเหตุผล
คาว่าเพ็ชร์มากมายใช้ช่อื คน เพรีชชี กั ฉงนชนชาติใด
ประมาณศกสองพันสองร้อยกว่า ตัง้ พระยาวิชติ ฯ ให้เป็นใหญ่
แล้วหลวงศรสาครลาดับไป พระจักรีมาใหม่จากไชยา
ออกหลวงเพ็ชรกาแหงแต่งตามติด เป็ นผูค้ ดิ ฝกั ใฝใ่ นศาสนา
พระครูอนิ ทรเมาฬีผปู้ รีชา ได้บรู ณะวัดตะเขียนเพียรบรรจง
แล้วขอพระราชทานกัลปนา เบิกญาติโยมให้มาเป็นข้าสงฆ์
ได้รบั พระราชทานตามจานง บางแก้วคงวัฒนามานานปี
ออกหลวงไชยราชสงครามตามมาใหม่ ยังคงอยูเ่ ขาไชยบุรศี รี
อยูไ่ ม่นานประมาณไม่ก่ปี ี ท่านผูน้ ้ถี ูกย้ายไว้นคร
พระยาแก้วโกรพพิไชยเชษฐ มาครองเขตไชยบุรศี รีสงั ขร
๒๒๗

ครัน้ มาอยูไ่ ม่นานท่านต้องจร จะไปตอนทิศใดไม่ได้ความ


ศกสองพันสองร้อยเก้าสิบเอ็ด องค์สมเด็จบรมโกษฐโปรดไต่ถาม
อยากทราบเรือ่ งพัทลุงให้ได้ความ โปรดให้ตามนายตะตาเข้ามาทูล
ทรงแต่งตัง้ ตะตาตามฐานันดร์ พระยาราชบังสันไม่เสื่อมสูญ
เป็นพระยาพัทลุงปรุงประยูร สืบตระกูลณพัทลุงให้รงุ่ เรือง
ท่านเป็นหลานของตาตุมะระหุ่ม ครัง้ ควบคุมเขาแดงให้ฟูเพื่อง
ท่านถือศาสน์อสิ ลามตามแขกเมือง แต่เปลีย่ นเรือ่ งถือพุทธยุดพระธรรม์
ได้เป็นผูส้ าเร็จราชการเมือง นามประเทืองเจ้าประเทศราชเขตขัณฑ์
ส่งดอกไม้เงินทองของกานัล ต่อทรงธรรม์นานมาสิบห้าปี
ทรงให้มเี มืองขึน้ ถึงสีเ่ มือง พัทลุงฟุ้งเพื่องรุง่ เรืองศรี
เมืองปะเหลียนเทพาจะนะบุร ี กับยังมีสงขลามาคละกัน
ได้จดั สร้างกาแพงแข็งแรงยิง่ นับเป็ นสิง่ เทิดพระยาราชบังสัน
ปืนบาเหรีย่ มทัง้ สองไว้ป้องกัน สิง่ สาคัญเหล่านี้ชพ้ี ะยาน
พระภักดีเสนาเข้ามาครอง เป็นบุตรของพีต่ ะตาผูก้ ล้าหาญ
ครองมาได้หา้ ปีมรี าชการ พะม่าราญกรุงศรีอยุทธยา
ต้องเข้าไปกรุงตามรับสัง่ พระไม่รงั ้ ครรไลรีบไปหา
ต้องสิน้ ชีพในสนามยุทธนา อยุทธยาแตกสลายพ่ายริปู
กองทัพไทยอ่อนกว่าปจั จามิตร เจ้านายคิดพรรคพวกจะหนวกหู
ไม่กล้ายิงปืนใหญ่ใส่สตั รู เมือ่ สิน้ รูอ้ ยุทธยาต้องมลาย
ปีพ.ศ.สองพันสามร้อยสิบ ไทยยับยิบกรุงแยกแตกสลาย
พะม่าตีอยุทธยามาวอดวาย แล้วทาลายเผาผลาญบ้านเมืองไทย
เก็บกวาดทรัพย์นับล้านกว้านไปหมด แสนรันทดชาวประชาเลือดตาไหล
ทรัพย์สมบัตมิ คี ่าพาเอาไป พาไม่ไหวไฟสุมประชุมเพลิง
พระพุทธรูปมีทองต้องทาลาย พะม่าร้ายแสนระยาทายุง่ เหยิง
ชาวพะม่าฆ่าไทยใจรืน่ เริง แต่พระเพลิงเผาใจไทยประชา
กวาดผูค้ นเด็กเฒ่าทัง้ สาวหนุ่ม มันจับกุมชาวไทยไปเป็นข้า
น่าสงสารพ่อแม่แก่ชรา ทัง้ ปูย่ ่าต้องม้วยด้วยมือมัน
พะม่าหาสาวไทยไปบาเรอ เลยไปเจอไทยทีด่ ขี ยัน
ใจฉกาจอาจหาญชาญฉกรรจ์ ลวงให้มนั เข้าปา่ ฆ่าหมดเลย
คือนายแท่นนายโชติและนายอิน ทัง้ นายดอกบอกสิน้ ดังเฉลย
กับนายแก้วนายเมืองน่าชมเชย ทัง้ หกเลยไปหาท่านอาจารย์
มีนามว่าธรรมโชติโอษฐฉกรรจ์ บางระจันพร้อมพรังต้ ่ องฟงั ขาน
๒๒๘

สีร่ อ้ ยตนคนไทยใจเอาการ ท่านอาจารย์บญ ั ชาสารพัน


มีหวั หน้าห้านายไม่ขามเข็ด ล้วนใจเด็ดเลิศคุณคือขุนสรรค์
นายทองเหม็นพันเรืองเป็นกานัน กับนายจันทร์หนวดเขีย้ วเด็ดเดีย่ วจริง
ทัง้ นายทองแสงใหญ่ใจฉกาจ คนสามารถรวมเสร็จสิบเอ็ดสิงห์
รีบจัดทัพรับพะม่าไม่ประวิง ทัง้ ชายหญิงช่วยกันไม่พรันพรึ ่ ง
ในครัง้ แรกพะม่ามาร้อยห้าสิบ ต้องยับยิบล้มตายเข้าไม่ถงึ
ส่งมาใหม่มากมายไม่คานึง พอเข้าถึงมันก็แตกต้องแยกไป
พะม่าตายทัง้ นายและไพร่พล ประชาชนบางระจันไม่หวันไหว ่
ถูกตีแตกกลับหลังทุกครัง้ ไป เสียทีไทยบางระจันชักหวันเกรง ่
พะม่าตีบางระจันถึงเก้าครัง้ เพิม่ กาลังพลระดมทาข่มเหง
บางระจันยอมตายไม่กลัวเกรง เลือดละเลงบางระจันเพื่อกันภัย
หากชาวไทยทัง้ หลายได้รว่ มจิต เหมือนชีวติ บางระจันไม่หวันไหว ่
อยุทธยาคงอยูเ่ ป็นคู่ไทย ไม่มใี ครจักกล้ามารุกราญ
ไทยต้องเสียอยุทธยาในครานี้ เพราะเหตุทร่ี าชาไม่กล้าหาญ
เจ้าเอกทัศน์หนีหน้าพะม่าราญ อดอาหารสิบวันถึงบรรลัย
ไทยตัง้ ตัวเป็นเจ้าราวห้าก๊ก ต่างก็ยกตัง้ ตนเป็ นคนใหญ่
ก๊กพระฝางพระพิมายเรียงรายไป พิษณุโลกเป็นใหญ่ในพารา
จันทรบุรถี ูกตีแตกไปก่อน พระเจ้าตากจึงต้อนเข้ามาหา
เจ้านครศรีธรรมราชา ยกฐานาเป็นใหญ่ในนคร
เดิมชื่อหนูอยู่มาเป็นพระปลัด ครัน้ แจ้งชัดกรุงแตกจึงแยกถอน
ได้ตงั ้ ตัวเป็ นเจ้าเฝ้านคร นามกรหลวงสิทธิฤทธิ ์ขจาย
เป็นนายเวรมหาดเล็กผูเ้ จนจัด ทัง้ สันทัดในงานการทัง้ หลาย
มีธดิ าสาวงามอยูส่ ามราย ชุบเลีย้ งไว้มใิ ห้มรี าคีพาน
สาวคนโตยกให้ชายเจ้าพัฒน์ พระปลัดแต่งตัง้ ดังว่าขาน
เป็นมหาอุปราชว่าราชการ ช่วยเหลือท่านพ่อตาการธานี
การเป็ นเจ้าคราวนี้ของหลวงสิทธิ มุง่ ตัง้ จิตขับพะม่าให้ล่าหนี
จึงตัง้ ตัวเป็ นเจ้าเฝ้าธานี ครองบุรปี ้ องกันอันตะราย
ได้รวบรวมหัวเมืองในปกครอง เป็นทานองเจ้าประเทศเขตขยาย
ให้มเี มืองขึน้ เคียงอยูเ่ รียงราย ทางทิศใต้ถงึ ไปไทรบุร ี
พัทลุงสงขลามาขึน้ หมด ทิศเหนือจดชุมพรย้อนฉวี
เจ้านครปกครองอยูส่ องปี เจ้าหน้าทีค่ รบครันตามบัญชา
ให้หลวงฤทธิหลานเขยเป็ นอุปราช ก็สามารถช่วยกิจทุกทิศา
๒๒๙

พัทลุงทางใต้ยา้ ยเมืองมา ตัง้ ทีท่ ่าเสม็ดสาเร็จการ


ตัวเจ้าเมืองตัง้ ใหม่ไม่ทราบชื่อ ชาวเมืองลือรูเ้ ห็นว่าเป็นหลาน
ริมแม่น้ าตัง้ ประจาตาบลปราน แล้วจัดการย้ายใหม่ให้เข้าที
ไปตัง้ ใหม่ทบ่ี า้ นพยาขัน เจ้าเมืองนัน้ เป็นพระยามีราศรี
คือพระยาพิมลขันฑ์ผสู้ ามี ของท้าวเทพสตรีสามีเดิม
ครัน้ ปีสองพันสามร้อยสิบสอง พระเจ้าตากปกครองแบบส่งเสริม
ทรงรวมไทยทัง้ ประเทศเป็ นเขตเดิม มุง่ ส่งเสริมสุขสันต์กนั ทัวไป่
ทรงทราบว่าเมืองนครตัง้ เป็ นก๊ก ปลัดยกชูตนเป็นคนใหญ่
เป็นปลัดบังอาจประหลาดใจ จึงได้ไปปรามปราบไม่หยาบคาย
กองทัพหลวงล่วงปา่ มาปราบปราม ก็ตดิ ตามจับได้ดงั ใจหมาย
เจ้านครอ่อนน้อมยอมมอบกาย แล้วถวายธิดาเป็ นข้าไท
เจ้ากรุงธนยลเห็นเป็นความสัตย์ จึงได้จดั พามุง่ ไปกรุงใหญ่
ให้ช่วยเหลือราชการงานภายใน ตัง้ หลานให้ปกป้องครองนคร
เจ้านราสุรวิ งศ์ผจู้ งรัก ก็แหลมหลักชาติทหารชาญสมร
เป็นเจ้าเมืองภัยพาลไม่ราญรอน ครองนครเจ็ดปีพริ าลัย
พ.ศ.สองพันสามร้อยสิบเก้า สมเด็จเจ้ากรุงธนจอมพลใหญ่
ทรงเห็นว่าหลวงสิทธิผคู้ ดิ ไกล ได้มใี จจงรักมุง่ ภักดี
จึงทรงตัง้ ดังหมายให้เป็นเจ้า ไปครองด้าวแดนเมืองนครศรี
คุณหลวงสิทธิจติ เกษมแสนเปรมปรี ครองบุรมี สี ุขทุกคืนวัน
ส่วนธิดาสุดท้องของหลวงสิทธิ ไม่ตามติดบิตุเรศไปเขตขัณฑ์
ท่านบิดาถวายองค์พระทรงธรรม์ อยูด่ ว้ ยกันกับพีท่ ก่ี รุงธน
ตัง้ เจ้าพัฒน์เขยใหญ่ในหลวงสิทธิ ให้ตามติดบิตุเรศโดยเหตุผล
ในตาแหน่งอุปราชสมอาตม์ตน ตามยุบลบัญชาพระภูม ี
ครัน้ ต่อมาภริยาสิน้ ชีวาตม์ อุปราชมัวหมองไม่ผ่องศรี
พระเจ้าตากมีจติ คิดอารี มอบบุตรีสุดท้องของหลวงไป
แต่ความจริงบุตรีมที อ้ งอ่อน จึงอาวรณ์แทบว่าน้าตาไหล
อุปราชไม่อาจขัดพระทัย จึงรับไปโดยพลันตามบัญชา
นางคลอดบุตรเป็ นชายดังหมายมาตร์ นับเป็ นบุตรอุปราชสมยศถา
ไม่แม้นเหมือนเจ้าพัฒน์ผบู้ ดิ า ทัง้ พักตราเหมือนท้าวเจ้ากรุงธน
ตัง้ ชื่อว่าเจ้าน้อยกลอยสวาท อุปราชเมตตาไม่ฉงน
ได้ปกปกั รักษาบุตราตน เจริญชนม์สุขสบายมาหลายปี
ทางตะลุงทรงจัดถัดกันมา ชาวประชาแสนสบายไม่หมองศรี
๒๓๐

พิมลขันธ์หนีพรากจากบุร ี เจ้าธานีกรุงธนไม่สนใจ
ให้นายจันทร์มหาดเล็กครองตะลุง ทรงหมายมุง่ จักให้ได้เป็ นใหญ่
อยูบ่ า้ นม่วงสามปีผดิ วินยั ทรงสังให้
่ จดั ส่งไปลงทัณฑ์
พ.ศ.สองพันสามร้อยสิบห้า ตัง้ นายขุนบุตรพระยาราชบังสัน
เป็นพระยาพัทลุงรุง่ เรืองครัน แก้วโกรพพิชยั นัน้ นามพระยา
ให้ยา้ ยเมืองไปตัง้ ทีล่ าปา ณโคกลุงมุง่ ทาให้หรูหรา
พระยาขุนไม่ขดั พระบัญชา มิให้พระอนาทรร้อนพระทัย
พ.ศ.สองพันสามร้อยสิบหก มีการทอผ้ายกเป็นการใหญ่
เจ้านราสุรวิ งศ์ได้จงใจ ทอส่งไปห้าร้อยไม่น้อยเลย
ผ้าม่วงดอกเจ็ดสีหน้าเชิงกรวย ล้วนสีสวยต่าง ๆ อย่างเฉลย
หญิงสาวแก่แม่หม้ายไม่ละเลย ทอจนเคยดึกดื่นทุกคืนวัน
เรือ่ งท้อผ้านับว่าตะลุงเด่น หญิงทอเป็นทุกนางอย่างขยัน
หญิงตะลุงเก่งกาจสามารถครัน ทอเสร็จทันส่งนครก่อนสิน้ ปี
ศกสองพันสามร้อยยีส่ บิ ห้า พระยอดฟ้าปกป้องครองกรุงศรี
พระเจ้าตากม้วยดิน้ สิน้ ชีว ี เสียสติจงึ ประชาปลงพระชนม์
องค์พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระทรงโศกในจิตคิดฉงน
ไม่ทรงยอมตกลงให้ปลงชนม์ แต่ทรงเกรงจลาจลจึงจาใจ
เปลีย่ นแผ่นดินเปลีย่ นกรุงปรับปรุงเขต ทัวประเทศจั
่ ดสรรทันสมัย
การปกครองจัดต้องทานองนัย ทรงแก้ไขส่งเสริมเติมตามกาล
ขอกล่าวการปกครองของตะลุง ทีป่ รับปรุงให้เห็นเป็ นหลักฐาน
ซึง่ มีมาแต่ครัง้ โบราณกาล เพื่อให้ท่านจดจาตามตารา
เมือ่ คราวครัง้ ยังอยู่จะทิง้ พระ จัดเป็ นปละแยกตัง้ เป็ นฝงฝา ั่
ปละทะเลตะวันออกนอกพารา เจ้าเมืองมาป้องกันให้มนคง ั่
อันสัตรูหมูพ่ าลมาราญรอน ต้องฟนั ฟอนบุกตะลุยให้ผุยผง
ราชการทัง้ หลายหมายดารง ตามตกลงจัดสรรให้ทนั กาล
ปละทะเลตะวันตกให้ปลัด เป็นผูจ้ ดั ทัวสิ
่ น้ ทุกถิน่ ฐาน
อยูต่ าบลคูหาบัญชาการ ดาเนินงานการนาให้ถาวร
การนาไร่อย่าให้ได้พลัง้ พลาด ต้องเด็ดขาดคอยระวังช่วยสังสอน ่
นาน้าลึกน้ าฝนและนาดอน ต้องเร่งร้อนให้ทาเต็มกาลัง
เก็บหางข้าวค่านามาขึน้ ฉาง ให้ถูกหางทุกปีตามทีห่ วัง
เก็บรักษาเรียบร้อยคอยระวัง เป็นกาลังช่วยไทยเมือ่ ภัยพาน
การผูร้ า้ ยตรวจตราอย่าให้ม ี ให้อยูด่ กี นิ ดีทุกถิน่ ฐาน
๒๓๑

พ่อขุนศรีชนาพญาบ้าน เคยชานาญการปลัดสันทัดครัน
ลุสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ทุกบุรนิ ทร์เปลีย่ นแปลงให้แข็งขัน
ทุก ๆ เมืองจัดละม้ายคล้ายคลึงกัน ไปตามชัน้ เอกโทตรีจตั วา
ท่านเจ้าเมืองพัทลุงสมัยนัน้ นับเป็ นชัน้ เรืองอานาจวาสนา
ชัน้ พระนาพานทองครองพารา เป็นแม่ทพั บัญชาสังฆ่ ่ าคน
มีกรรมการท่านผูใ้ หญ่หลายตาแหน่ง กรมตัง้ แต่งมาให้ไม่ขดั สน
มีปลัดยกรบัตรชัน้ ละตน กับผูช้ ่วยสามคนล้วนชานาญ
รองปลัดยกรบัตรเป็ นผูช้ ่วย ก็มดี ว้ ยครบครันตามบรรหาร
กับยังมีพระพลจางวางด่าน ลาดตระเวนตรวจการทางบกเรือ
ขุนรองด่านหนึ่งนายได้ช่วยกัน คอยกวดขันในนอกออกใต้เหนือ
กันภัยพานราญรุกบุกยกเรือ ทัง้ สองเสือช่วยกันไม่หวันเกรง ่
มีตาแหน่ งมหาดไทยช่วยเจ้าเมือง ช่วยเหลือเรือ่ งทัง้ หลายไม่โฉงเฉง
ทาใบบอกออกบัตรจัดตามเพลง หนังสือเร่งราชการงานสาคัญ
มีกรมการผูน้ ้อยร่วมร้อยคน ทุก ๆ ตนเจ้าเมืองผูจ้ ดั สรร
เป็นตาแหน่งแบ่งตามความสาคัญ ประจามันตามที
่ ม่ บี ญั ชา
ตาแหน่งหนึ่งเรียกว่าจตุสดมถ์ มีสก่ี รมพร้อมพรักจัดรักษา
คือกรมเมืองกรมวังกรมคลังนา ต่างมีหน้าทีป่ ระจาตน
หลวงเพ็ชร์มนตรีศรีราชวังเมือง ว่าการเรือ่ งร้ายแรงทุกแห่งหน
บัญชาการงานหลายนายตาบล ให้ทุกคนหมันประกอบที
่ ช่ อบธรรม
ส่วนหลวงเทพมณเฑียรหน้าวังนัน้ ต้องจัดสรรงานพิธมี ถิ ลา
ทัง้ ตอนรับแขกเมืองเรือ่ งประจา หลวงวังทาเจนจัดถนัดดี
อินทมนตรีศรีราชรักษาคลัง ไม่เคยพลัง้ พลาดงานการภาษี
เรือ่ งหางข้าวค่านาประจาปี อินทมนตรีจดั รับกากับการ
ส่วนหลวงเพ็ชร์มนตรีศรีสมโภช กรมนาว่าเรือ่ งโฉนดทุกถิน่ ฐาน
พิธแี รกนาขวัญก็ทนั กาล ธัญญาหารค่านารักษาเอง
ตาแหน่งสองร้องเรียกว่าอาญา พิจารณาสินไหมให้เหมาะเหม็ง
อาญาราษฎร์ไม่ฉกรรจ์ราษฎร์หวันเกรง
่ ตัดสินเองตามคดีทห่ี นักเบา
ตาแหน่งสามนามมีทเ่ี รียกแพ่ง เป็นตาแหน่งลงโทษผูโ้ ฉดเขลา
วางเบีย้ ปรับคู่ความตามหนักเบา เมือ่ คราวเขายอมแพ้ชนะกัน
ตาแหน่งสีช่ ่อื ว่าพระธรรมนูญ เมือ่ มีมลู รับฟ้องต้องจัดสรร
ประทับพระธรรมนูญเป็นสาคัญ เสนอท่านเจ้าเมืองตามเรือ่ งมี
ตาแหน่งห้าพัสดุสรรพาวุธ ต้องรีบรุดเก็บไว้ให้ถว้ นถี่
๒๓๒

รับกระสุนดินดาจากสัสดี ให้ครบถ้วนตามมีบญ ั ชามา


ตาแหน่งหกสัสดีมหี า้ คน สัสดีกลางหนึ่งตนและซ้ายขวา
กับผูช้ ่วยสองนายให้ตรวจตรา คนทัง้ ห้าหน้าทีม่ ตี ่างกัน
ถือบัญชีเลขส่วยเลขสมศักดิ ์ ทัง้ เลขขึน้ ตามพรรคทีจ่ ดั สรร
คือขึน้ ต่อตาแหน่งทีแ่ บ่งนัน้ ชายฉกรรจ์ทงั ้ หมดจดบัญชี
มีขนุ หมื่นตัง้ ให้เป็นนายหมวด นายกองตรวจคุมไพร่มใิ ห้หนี
คุมเลขสักครบครันตามบัญชี เป็นหน้าทีส่ สั ดีรกั ษาการ
เกรฑ์เลขส่วยให้หาสรรพาวุธ สาหรับยุทธไว้ช่วยการทวยหาร
ทัง้ ให้หาเครือ่ งราชบรรณาการ ถวายท่านท้าวพระยากษัตริยไ์ ทย
ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องนาสัก ให้ประจักษ์เลขมีทต่ี รงไหน
ทีอ่ ุง้ มือหลังมือหรือทีใ่ ด เป็นหมวดใครกองใครให้ได้ความ
สองสามปีตอ้ งมีพธิ สี กั ให้เป็นหลักเอาไว้ไม่ตอ้ งถาม
ครบสิบแปดต้องออกมาบอกความ เจ็ดสิบปีเป็นยามปลดชะรา
สัสดีออกหนังสือคู่มอื ให้ ไม่ตอ้ งใช้แรงงานการส่วนสา
ถึงคราวศึกมาประชิดติดพารา หากเป็นตาก็ตอ้ งช่วยจนม้วยมรณ์
สรรพาวุธจัดหามาให้ครบ สาหรับรบสัตรูธนูศร
เครือ่ งนุ่งห่มอาหารในการจร ต้องหาบคอนจัดหาเอามาเอง
แต่ละคนกล้าหาญในการรบ ไม่หลีกหลบเลีย่ งถลาทาโฉงเฉง
ยอมสูต้ ายไว้ลายชาตินกั เลง มีคนเก่งช่วยกันไม่หวันภั ่ ย
ตาแหน่งเจ็ดพนักงานการพิธ ี เป็นหน้าทีห่ ลวงวังตัง้ เป็นใหญ่
ทุกพิธมี พี ราหมณ์จดั ตามนัย ทัง้ รักษาเทียนชัยในพิธ ี
หัวหน้าพราหมณ์แปดคนช่วยยลกิจ ให้สาฤทธิแบบกระบวนโดยถ้วนถี่
คือขุนศรีสพสมัยไชยปาวี กับขุนเทพมุนีอกี หนึ่งคน
ทัง้ ขุนศรีสยมภูผสู้ ามารถ ขุนไชยธรรมเก่งกาจไม่ฉงน
ทัง้ ขุนน้อยขุนยศใจอดทน อีกหนึ่งคนสิทธิชยั ใจเมตตา
ตาแหน่งแปดพนักงานท่านเจ้าเมือง ล้วนเป็ นเรือ่ งพิทกั ษ์เฝ้ารักษา
มีทา้ ยวังกลางวังฟงั บัญชา จัดภาระในจวนให้ควรกาล
รักษายานพาหนะเรือม้าช้าง เจ้าเมืองย่างทุกครัง้ ต้องฟงั ขาน
คุมเลขส่วยฝีพายไว้ใช้การ มิให้ท่านเจ้าเมืองเคืองระคาย
มีเวรบนเวรล่างอย่างละสี่ ผลัดเปลีย่ นทีร่ บั ใช้ไม่เสียหาย
เฝ้าประตูดกู ารงานมากมาย ต้องรับใช้สารพัดไม่ขดั ใจ
ศุภมาตราหัวหน้าของเสมียน รับใช้เขียนหนังสือมิเหลวไหล
๒๓๓

ทาคาสังหลายเรื
่ อ่ งภายใน ให้เร็วไวเสร็จทันตามบัญชา
ขุนพิพธิ ภักดีทจ่ี างวาง ไม่เหินห่างเรือ่ งทนายได้จดั หา
ทัง้ คนใช้ไว้พร้อมทุกเวลา ถือสาราคาสังยั ่ งตาบล
ตาแหน่งเก้ากรมทางงานพิเศษ ประจาเทศสามนายไม่ขดั สน
ขุนต่างจิตต่างใจไวทุกคน ขุนต่างตาอีกคนประจางาน
การปกครองท้องทีก่ จ็ ดั แบ่ง เป็นเขตแขวงทัวสิ ่ น้ ทุกถิน่ ฐาน
ตัง้ หัวเมืองประจาดาเนินงาน ให้กจิ การตาบลได้ผลดี
มีทงั ้ หลวงขุนหมื่นพืน้ ฉกาจ ล้วนสามารถปกครองในท้องที่
เรือ่ งการโจรผูร้ า้ ยมิให้ม ี ในท้องทีต่ นได้สกั รายเดียว
การไร่น่ากวดขันกันทุกแห่ง ทุกเขตแขวงข้าวกลางทุ่งนาเขียว
ต่างขยันกันทัวตั ่ วเป็นเกลียว ช่างเด็ดเดีย่ วหนักหนาชาวนาเรา
แม่น้ าใหญ่ตะลุงมีสห่ี า้ สาย ต่างก็ได้กาเนิดเกิดจากเขา
แล้วไหล่ผ่านไร่นาป่าลาเนา จากทิวเขาไหลตรงลงทะเล
มีทร่ี าบทัวในจั
่ งหวัด ต่างสันทัดนาไร่ไม่หนั เห
หัวเมืองตรวจมิให้ได้เกเร ไทยทัง้ เพมุง่ ทาเต็มกาลัง
การปลูกผักเลีย้ งสัตว์จดั กันทัว่ ทุกครอบครัวทานาแทบบ้าหลัง
ก่อนการ้องเรียกกาให้ลารัง ลุกขึน้ นังหุ
่ งหาแล้วคลาไคล
ลูกจูงวัวแม่มาค้าข้าวห่อ ส่วนตัวพ่อคว้าแอกแล้วแบกไถ
เดินตามกันเป็ นย่านทุกบ้านไป แต่ก่อนไก่ทุกวันไม่พรันพรึ่ ง
หมันท ่ าการแต่เช้าจนเข้าค่า ทนตรากตราดื่นดึกไม่นึกถึง
แม้ฝนตกฟ้าร้องคะนองอึง แดดร้อนถึงเผากายไม่ละลด
ถึงโคลนตมจมตัวหัวเลอะเทอะ หูตาเปรอะหลังลายกลายเป็ นผด
ปลิงจะกัดหมัดตอมก็ยอมอด แสนทรหดหนักหนาชาวนาเรา
ผัวไถคลาดลาดหญ้าคันนาขุด เมียรีบรุดกวาดหญ้าพาไปเผา
ลูกก็เลีย้ งวัวควายไม่ดเู บา ทุกคนเอาการสิน้ น่ายินดี
เมียถอนกล้าผัวพากล้าไปส่ง เมียก้มลงดานาจนตาหยี
โก้งโค้งทาทัง้ วันขยันดี แต่ละปีเหนื่อยกายแทบวานปราณ
ฤดูดาลาบากยากกว่าเก็บ ต้องปวดเล็บเจ็บหลังดังโดนขวาน
ทีทอ้ งแก่แต่จนทนกันดาร แสนสงสารชาวนาหน้าปกั ดา
เสร็จตอนนี้เบาใจลงไปมาก ไม่ตอ้ งจากเรือนจรนอนขนา
แต่ตอ้ งคอยตรวจดูอยูป่ ระจา เพื่อให้น้าพอดีมขิ าดแคลน
น้ามากนักปูจกั กินต้นข้าว น้าแห้งเล่าข้าวตายเสียดายแสน
๒๓๔

ต้นข้าวโตเต็มทีด่ ที ุกแดน ชาวนาแสนเพลิดเพลินเจริญใจ


ถึงเดือนสามเป็นคราวข้าวออกรวง เป็นพู่พวงช่อชูดไู สว
พวกชาวนาร่าเริงบรรเทิงใจ เมือ่ มองไปในทุ่งอันรุ่งเรือง
ถึงเดือนสีม่ หี วังตามตัง้ จิต ทัวทุ
่ กทิศมองเห็นเป็นสีเหลือง
แสนยินดีมหี วังทัวทั่ ง้ เมือง ไม่ขดั เคืองเวทนาเหมือนคราดา
ฤดูเก็บใจดีเพราะมีขา้ ว ไม่เหนื่อยเปล่าผลได้ปลายฉนา
ทัง้ พ่อแม่ลกู ด้วยช่วยกันทา เก็บเป็นกาทาเลียงไว้เรียงราย
ออกจากบ้านแต่เช้าเหมือนคราวไถ ยินเสียงไก่กอ้ งขันต้องผันผาย
ต่างช่วยเก็บกันไปใจสบาย ท้งหญิงชายบากบันกั ่ นทุกคน
แล้วหาบข้าวไปบ้านสาราญจิต มิได้คดิ เบื่อหน่ ายมุง่ ขวายขวน
ใครมีขา้ วมากมายไม่ยากจน นับเป็ นผลของงานการทานา
ลุงรักข้าวเหมือนเจ้าแม่ไพสพ เมือ่ พานพบทีใ่ ดต้องใฝห่ า
ใครทาหกตกหล่นบนพสุธา ต้องขมาแม่เจ้าทุกคราวไป
ขวัญข้าวเท่าหัวเรือเกลือหัวช้าง โบราณอ้างเอาไว้หลายสมัย
ใช่หวั เรือนังเล่
่ นเช่นเรือใบ หัวเรือไฟใหญ่โตมโหฬาร
ไทยทัง้ ชาติอยูไ่ ด้ไม่ลาบาก ไม่อดอยากทัวด้ ่ าวเรือ่ งข้าวสาร
อดอย่างอื่นทนได้เรือ่ งกันดาร อดข้าวสารต้องตายวายชีวา
กินไม่เบื่อเมือ่ น้อยกระทังใหญ่
่ ไม่มใี ครอดข้าวได้เลยหนา
เราจึงควรเห็นใจในชาวนา ทีอ่ ุส่าห์เหนื่อยยากลาบากกาย
เป็นกระดูกสันหลังคนทัง้ โลก ช่วยดับโศกเสริมสุขให้ทุกข์หาย
คนทัวทั่ ง้ แดนดินกินสบาย ไม่เหนื่อยกายเหมือนชาวนาหน้าเก็บดา
๒๓๕

ภำพที่ ๑๕ วรรณกรรมอิงประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ภาคใต้ เรือ่ งประวัตพิ ทั ลุง – ตรัง เล่มที่ ๑
(ทีม่ า: ได้รบั ความอนุเคราะห์จากวินัย สุกใส)

สรุป
ในการศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ ผูส้ นใจสามารถใช้แนวทางในการศึกษา
ทีห่ ลากหลาย ได้แก่ การศึกษาวรรณคดีเพียงเรือ่ งเดียวอย่างลุ่มลึก ศึกษาลักษณะเด่น ศึกษา
เพื่อดูภาพรวมด้านการสร้างงาน ศึกษาทรรศนะหรือมุมมองต่อสังคมของตน หรือสังคมอื่น
ศึกษาวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ของชาติอ่นื เพื่อขยายขอบเขตการศึกษาวรรณคดีกลุ่มนี้
ให้กว้างขวางมากยิง่ ขึน้ ศึกษาแนวเปรียบเทียบ ศึกษาโดยมุ่งแนวคิดทฤษฎีเพื่อช่วยอธิบาย
วรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศึกษาจากกลุ่มข้อ มูล วรรณกรรมท้อ งถิ่น ประเภทต านาน
นิทาน วรรณกรรมพื้นบ้านอื่น ๆ ทัง้ นี้ แนวทางการศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ใน
มิตติ ่าง ๆ นี้ ผูเ้ ขียนนาเสนอโดยสังเขปเท่านัน้ เพื่อให้ผทู้ ส่ี นใจนาไปต่อยอดหรือขยายประเด็น
การศึกษาวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ให้กว้างขวางออกไป
๒๓๖

บทที่ ๘
บทสรุป

วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ เป็ นวรรณคดีท่แี ต่งขึน้ โดยมีเนื้อหาทางประวัตศิ าสตร์


เป็นแก่นของเรือ่ ง ซึง่ อาจเป็นประวัตคิ วามเป็นมาของคนในชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความ
เป็ นอยู่ ตลอดจนความรูส้ ึกนึกคิดของคนในชาติก็ได้ หรือ ใช้เป็ นเครื่อ งมือ บันทึกพงศาวดาร
ต านาน และจดหมายเหตุ พ รรณนาเหตุ ก ารณ์ ค วามเป็ น ไปของบ้า นเมือ งก็ไ ด้ การน าเอา
เหตุการณ์ทางประวัตศิ าสตร์มาอธิบายเรื่องราวในวรรณคดีเพื่อให้เข้าใจวรรณคดีบางแง่บางมุม
ได้ลกึ ซึ้งยิง่ ขึน้ ประโยชน์ ของการศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ คือ ทาให้ทราบบ่อเกิด
และภูมปิ ญั ญาของผู้แต่งวรรณคดี รูเ้ หตุการณ์เบื้องหลังทางประวัตศิ าสตร์ ช่วยให้ทราบความ
เป็ นมาและจุดเปลี่ยนชีวติ ของคนปจั จุบนั รูจ้ กั ตนเอง ปลูกฝงั วัฒนธรรมของชาติ โน้มน้าวให้รกั
ชาติและภูมใิ จในบรรพชน แม้วรรณคดีกบั ประวัตศิ าสตร์ต่างก็ทาหน้าทีบ่ นั ทึกเหตุการณ์ แต่ก็ม ี
ข้อแตกต่างกันที่วธิ กี ารและหลักวิชา เนื้อหา ภาษาและวัตถุประสงค์ในการแต่ง วรรณคดีเป็ น
ศิลปะทีม่ ุ่งในเรื่องอารมณ์ จินตนาการ และความงาม ความไพเราะ ส่วนประวัตศิ าสตร์เป็ นเรือ่ ง
ที่องิ ข้อเท็จจริง มุ่งที่จะสืบสวนข้อเท็จจริง มุ่งที่จะสืบสวนค้นคว้า และติดตามหาความจริง แต่
วรรณคดีกบั ประวัตศิ าสตร์ก็ย่อมส่องทางให้แก่กนั เพราะวรรณคดีจดั อยู่ในฐานะหลักฐานทาง
ประวัติศ าสตร์ช ัน้ ต้ น ในการศึก ษาวัฒ นธรรม สัง คม ความเชื่อ ประเพณี พิธ ีก รรม ภาษา
ประวัตศิ าสตร์และการเมือง การเข้าหาวรรณคดีเพื่อให้เข้าใจประวัตศิ าสตร์ทส่ี มบูรณ์ขน้ึ และทา
ให้เข้าใจประสบการณ์ดา้ นต่าง ๆ ของมนุษย์ ผ่านงานเขียนทีม่ คี ุณค่าทางวรรณศิลป์
วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์มลี กั ษณะเฉพาะที่แตกต่างจากวรรณคดีประเภทอื่น ๆ
ตรงที่มจี ุดมุ่งหมายเพื่อบันทึก เรื่องราว เหตุการณ์ หรือบุคคลสาคัญ ๆ ทางประวัตศิ าสตร์ การ
ยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ สดุดผี ู้ท่ที าคุณประโยชน์ ให้แก่แผ่นดิน และการให้ความรู้ด้าน
ต่าง ๆ เพื่อทาให้ทราบประวัติศาสตร์เหตุการณ์ บ้านเมืองในยุคสมัย เช่น ความรูด้ ้านวิถีชวี ติ
ความเชื่อ ค่านิยม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ โดยใช้รปู แบบการแต่งทัง้ ทีเ่ ป็ นร้อย
แก้ว ร้อยกรอง และผสมผสาน อาจเขียนในแนวอุดมคติ คือ เน้นความงาม ความดีเลิศ และแนว
สมจริง คือ อิงกับสภาพความเป็ นจริงก็ได้ โดยใช้ศลิ ปะของการประพันธ์เพื่อโน้มน้าวให้ผู้อ่าน
คล้อยตาม ทัง้ ด้านการอรรถาธิบายและการใช้ภาพพจน์ โวหาร ซึ่งผู้ศกึ ษาควรให้ความสาคัญ
ทัง้ นี้ เพราะศิลปะการประพันธ์เป็นส่วนสาคัญทีจ่ ะดึงดูดให้ผอู้ ่านคล้อยตามวรรณคดีเรือ่ งนัน้ ๆ
วรรณคดีมคี วามเกี่ยวข้องกับบริบททางสังคม ประวัตศิ าสตร์ทุกยุคทุกสมัย มูลเหตุของ
การแต่งส่วนใหญ่เกิดขึน้ จากการที่ผแู้ ต่งได้รบั แรงบันดาลใจจากการเห็นสภาพและเหตุการณ์ ท่ี
แวดล้อมตนอยู่ ซึ่งการศึกษาบริบททางประวัติศ าสตร์ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเกี่ยวกับบริบททาง
สังคมหรือประวัติศาสตร์ในสมัยต่ าง ๆ ได้ดียงิ่ ขึ้น อาจได้ค วามรู้เกี่ยวกับภาษาและลักษณะ
๒๓๗

อักขรวิธสี มัยต่าง ๆ ความสัมพันธ์ของคนไทยกับชาวต่างชาติในสมัยต่าง ๆ ความรูเ้ กีย่ วกับการ


ทาศึกสงคราม หรือได้ความรูเ้ กีย่ วกับวัฒนธรรม สภาพสังคม และเหตุการณ์บา้ นเมือง
ในวรรณคดีเกี่ย วกับ ประวัติศ าสตร์ ม ีว าทกรรมต่ า ง ๆ ท าหน้ า ที่ใ นการสร้าง ผลิต
เอกลักษณ์และความหมายให้แก่วรรณคดีประเภทนี้ด้วย วาทกรรมต่าง ๆ ยังทาหน้าที่ตรึงสิง่ ที่
สร้างขึน้ ให้กลายสภาพเป็ นวาทกรรมหลัก ได้แก่ วาทกรรมกษัตรานิยม และวาทกรรมชาตินิยม
โดยผ่านภาคปฏิบตั กิ ารจริงของวาทกรรม เช่น ชุดความรูท้ างประวัตศิ าสตร์ จารีตประเพณี คติ
ความเชื่อทางศาสนา แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างวีรบุรุษ และวัฒนธรรมทางวรรณศิลป์ โดยวาท
กรรมที่ ส ร้า งขึ้น มีล ัก ษณะลื่ น ไหล ไม่ แ น่ น อน ตายตั ว และหยุ ด นิ่ ง วรรณคดี เ กี่ ย วกั บ
ประวัติศ าสตร์ท่ีเขียนขึ้น น่ าจะเป็ นเครื่อ งมือ ที่รฐั ใช้ในการรักษาความมันคง ่ ควบคุ มคนและ
กาหนดทิศทางของสังคมในแต่ละยุคสมัยให้เป็นไปตามประสงค์ของรัฐ โดยการจากัดความรูแ้ ละ
แทรกซึมกรอบความคิดบางอย่างลงไปในการนาเสนอ เครื่องมือควบคุมโดยตรง คือ ตาราเรียน
ทางประวัตศิ าสตร์ ทาให้ผอู้ ่าน (ผูเ้ รียน) แม้กระทังผู ่ ส้ อนเชื่อว่าประวัตศิ าสตร์ชุดนี้ คือ ความจริง
และไดรับการแทรกซึมผ่านวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรื่องต่าง ๆ ที่ยดึ โยงอยู่กบั กรอบ
ความคิดการนาเสนอประวัตศิ าสตร์เดียวกัน โดยปิดกัน้ ช่องทางการรับรูอ้ ่นื ๆ
ปจั จุบ ันมีก ารศึก ษาวรรณคดีเกี่ย วกับ ประวัติศ าสตร์กัน อย่างแพร่ห ลาย แนวนิ ยมที่
นักวิชาการให้ความสนใจ เช่น ศึกษาในด้านองค์ประกอบ กลวิธกี ารประพันธ์ และกลวิธกี ารเล่า
เรือ่ ง ส่วนใหญ่นักวิชาการใช้แนวคิดแบบเก่าทีพ่ ยายามอธิบายเนื้อหาในวรรณคดี ทัง้ นี้ จากการ
สารวจข้อ มูล เราสามารถหาแนวทางในการศึก ษาวรรณคดีเกี่ย วกับ ประวัติศ าสตร์ได้อ ย่าง
หลากหลาย ได้แก่ การศึกษาวรรณคดีเพียงเรื่องเดียวอย่างลุ่มลึก ศึกษาลักษณะเด่น ศึกษาเพื่อ
ดูภาพรวมด้านการสร้างงาน ศึกษาทรรศนะหรือมุมมองต่อสังคมของตน หรือสังคมอื่น ศึกษา
วรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศ าสตร์ของชาติ อ่ืนเพื่อ ขยายขอบเขตการศึกษาวรรณคดีกลุ่ ม นี้ให้
กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ศึก ษาแนวเปรีย บเทียบ ศึก ษาโดยมุ่งแนวคิด ทฤษฎี เพื่อ ช่ ว ยอธิบ าย
วรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ ศึกษาจากกลุ่มข้อมูลวรรณกรรมท้องถิน่ ประเภทตานานนิทาน
ท้อ งถิ่น น่ าสนใจว่า ปจั จุบนั มีนัก วิชาการที่พ ยายามศึกษาวรรณคดีค วบคู่ไปกับเอกสารทาง
ประวัตศิ าสตร์เพื่อดูว่าวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์นนั ้ สร้างขึน้ มาเพื่อตอบโต้ประวัตศิ าสตร์ท่ี
สร้างจากรัฐอย่างไร นอกจากนี้เพื่อทาความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อ ความรู้ ความจริงในเรื่อง
เล่าโดยนิยมใช้กรอบแนวคิด “วาทกรรม” รวมถึงภาคปฏิบตั ิการทางสังคมมากขึ้น โดยการใช้
แนวคิดเรื่องวาทกรรมเข้ามาศึกษาช่วยให้เห็นมิติใหม่ ๆ ของวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
มากยิง่ ขึน้ รวมถึงการศึกษาในแนวอื่น ๆ เช่น การศึกษาในเชิงประวัตศิ าสตร์นิยมแนวใหม่ ซึ่ง
เริม่ ได้รบั ความนิยมในระยะหลัง ๆ โดย สุรเดช โชติอุดมพันธ์ (๒๕๕๙: ๑๔๗-๑๔๘, ๑๙๕-๒๐๐)
กล่ า วว่ า การศึก ษาประวัติศ าสตร์นิ ย มแนวใหม่ เป็ น การศึก ษาในฐานะที่เ ป็ น “ปฏิบ ัติก าร”
มากกว่า “สานัก” หรือ “ระเบียบวิธ”ี โดยเรือ่ งของขอบเขตระหว่างประวัตศิ าสตร์กบั วรรณกรรม
เป็นสิง่ ทีน่ กั เขียนมักจะให้ความสาคัญเป็ นพิเศษ วรรณกรรมแนวนี้มกั ใช้หรืออ้างอิงตัวละครหรือ
๒๓๘

เหตุการณ์ ท่มี อี ยู่จริงในประวัตศิ าสตร์ แต่มกี ารจงใจเล่น พลิกผัน หรือจัดการต่าง ๆ เพื่อแสดง


ให้ เ ห็ น ถึ ง ความยอกย้ อ นของการน าเสนอ เป็ น การปะทะสัง สรรค์ ร ะหว่ า งวรรณกรรม
ประวัติศ าสตร์ และทฤษฎี ตระหนั ก ในสถานะเรื่อ งแต่ ง แต่ ก็ม ีก ารอ้างอิง และเชื่อ มโยงกับ
เหตุการณ์จริงในอดีต โดยย้อนไปมองแบบวิพากษ์
นักคิดหลังสมัยใหม่มองว่าวรรณกรรมไม่ได้ทาหน้าทีเ่ ป็ นเครื่องมือสะท้อนประวัตศิ าสตร์
อย่างตรงไปตรงมา แต่สะท้อนอุดมการณ์ของผูเ้ ขียนหรือชนชัน้ ของผูเ้ ขียน ความเป็ นกลางหรือ
ภาวะปรวิสยั ไม่เกิดขึน้ จริง เพราะนักประวัตศิ าสตร์ต่างยึดมันในอุ
่ ดมการณ์หนึ่ง ๆ ไม่ว่าจะรูต้ วั
หรือไม่ก็ตาม ชุดอุดมการณ์ ดงั กล่าวเป็ นกรอบความคิดส่งผลต่อการตีความเหตุการณ์ ต่าง ๆ
ดังที่ฟูโกต์เห็นว่าประวัติศาสตร์ไม่ได้เป็ นเส้นตรง และแต่ละยุคของช่วงประวัติศาสตร์ไม่ได้ม ี
ภาพความสัมพันธ์ระหว่างชนชัน้ หรือกลุ่มคนที่เรียบเนียนตามที่ปรากฏในตาราประวัตศิ าสตร์
แนวขนบ แต่ในทุกช่วงของประวัตศิ าสตร์มคี วามขัดแย้งของชนชัน้ มีความคิดเห็นที่แตกต่าง
หลากหลาย และมีการพยายามครอบงาของชุดอุดมการณ์กระแสหลัก การเข้าถึงประวัตศิ าสตร์
จริง ๆ ต้อ งเป็ น ไปในแบบที่แ หว่งวิ่น และเป็ น เศษเสี้ย ว แต่ นัก ประวัติศ าสตร์ก ลับ พยายาม
เชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกันและทาให้เรื่องเล่าเรียบเนียนสนิท นอกจากนัน้ ความต่อเนื่อง
หรือการจัดแบ่งยุคสมัยทางประวัตศิ าสตร์เป็ นเพียงจินตนาการของมนุ ษย์ เป็ นการตีความอย่าง
หนึ่งเพื่ออธิบายถึงความต่อเนื่องหรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึน้ จึงไม่ทาให้เราเข้าใกล้ความ
จริงสมบูรณ์อย่างทีเ่ ราคาดคิด แต่เป็ นการสร้างความรู้เพื่อเสริมระบอบความจริงในคนในสังคม
ยึดถือร่วมกัน ด้วยเหตุน้ี นักประวัตศิ าสตร์จงึ หลีกเลีย่ งความสัมพันธ์เชิงอานาจกับองค์ประกอบ
ต่าง ๆ รอบตัวไม่พน้ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันหรือมหาวิทยาลัยทีต่ นสังกัดเอง แม้ก ระทัง่ สานักพิมพ์
ทีจ่ ะตีพมิ พ์ตน้ ฉบับของเขา เหล่านี้ลว้ นมีความสาคัญและส่งผลกระทบต่อประวัตศิ าสตร์นิพนธ์
สุ ร เดช โชติ อุ ด มพั น ธ์ (๒๕๕๙ : ๑๙๕-๒๐๐) ยัง แสดงความคิ ด เห็ น ว่ า แนวคิ ด
ประวัติศาสตร์นิยมแนวใหม่มองว่าประวัติศาสตร์ไม่ได้แตกต่างจากวรรณกรรม เนื่องจากนัก
ประวัติศาสตร์เองก็ไม่สามารถหลีกหนีอคติของตนเองได้พ้น ทัง้ นี้ เนื่องจากถู กครอบงาด้วย
อุดมการณ์เช่นเดียวกับนักวรรณกรรม เพราะทัง้ คู่ต่างนาเสนอความจริงผ่านภาษา ดังนัน้ ความ
ยอกย้อนของภาษาและการทาให้เป็ นตัวบททาให้ทงั ้ วรรณกรรมและประวัตศิ าสตร์ต่างก็นาเสนอ
ความจริงผ่านความซับซ้อนและอคติซ่อนเร้นในภาษา โดยแต่เดิมเรามองว่าประวัติศาสตร์ม ี
ความชอบธรรมมากกว่าวรรณกรรม ดังจะเห็นได้จากการวิจารณ์วรรณกรรมที่ใช้ประวัตศิ าสตร์
เป็ นบริบ ทเพื่ อ อธิ บ ายตั ว บท จุ ด ที่ เ ปลี่ ย นไป คื อ การพิ จ ารณ าว่ า ทั ง้ วรรณ กรรมและ
ประวัตศิ าสตร์ต่างเป็นตัวบททีเ่ คียงคู่กนั ทาให้เข้าใจกันและกันโดยไม่ตอ้ งจัดลาดับว่าตัวบทใดมี
ความชอบธรรมมากกว่า สาหรับในแง่การประพันธ์ประวัตศิ าสตร์ เฮย์เดน ไวต์ (Hayden White,
๑๙๗๘ : ๘๕) กล่าวว่าประวัตศิ าสตร์ใช้กลวิธกี ารสร้างเรือ่ งแต่งของวรรณกรรม อาทิ การใส่โครง
เรื่องเข้าไปในเหตุการณ์ ประวัตศิ าสตร์ การสร้างตัวละครเอกและตัวละครร้าย ในการวิเคราะห์
ประวัติศาสตร์จงึ พิจารณาว่านักเขียนได้ใช้กลวิธกี ารประพันธ์ของวรรณกรรมใดเข้าไปตีความ
๒๓๙

ประวัตศิ าสตร์ เพราะเหตุใด บุคคลในประวัตศิ าสตร์กลุ่มหนึ่งจึงถูกมองว่าเป็ นตัวละครฝ่ายร้าย


และอีกกลุ่มหนึ่ งเป็ นตัวละครฝ่ายดี ส่วนการศึก ษาวรรณกรรมอาจวิเคราะห์ว่าวรรณกรรมได้
นาเสนอชุดอุดมการณ์ทต่ี อกยา้ หรือโต้แย้งกับชุดอุดมการณ์ในประวัตศิ าสตร์กระแสหลักอย่างไร
เนื่องจากนักเขียนอาจเลือกใช้รูปแบบวรรณกรรมเพื่อนาเสนอความจริงที่ไม่อาจนาเสนอได้ใน
วาทกรรมประวัติศาสตร์กระแสหลัก การศึกษาวรรณกรรมจึงไม่สามารถมองประวัตศิ าสตร์ได้
อย่างเป็นเอกเทศเหมือนแต่ก่อน เพราะมีความเหลื่อมซ้อนกันและไม่สามารถแยกจากกันได้
อนึ่ง ในการศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับประวัตศิ าสตร์ ผูศ้ กึ ษาจึงต้องทาความเข้าใจให้มาก
ว่า วรรณคดีมกี ระบวนการที่แตกต่างจากประวัตศิ าสตร์ ตรงที่เน้นความเพลิดเพลินเป็ นสาคัญ
ผ่านการใช้กลวิธตี ่าง ๆ เพื่อโน้มน้าวให้ผอู้ ่านเกิดความคล้อยตาม ผูเ้ ขียนจาเป็นต้องอาศัยข้อมูล
ทางประวัตศิ าสตร์เพื่อทาให้วรรณคดีมคี วามน่ าเชื่อถือมากยิง่ ขึน้ เช่น การอาศัยเหตุการณ์ ฉาก
สถานที่ ตัวละครทีม่ อี ยูจ่ ริงในประวัตศิ าสตร์มาสร้างเป็นองค์ประกอบสาคัญในโครงเรื่อง ในขณะ
ทีก่ ารศึกษาทางประวัตศิ าสตร์มกี ระบวนการทีค่ ่อนไปทางวิทยาศาสตร์ ให้ความสาคัญกับข้อมูล
หรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากกว่ามุ่งความเพลิดเพลินผ่านถ้อยคาภาษาและกลวิธตี ่าง ๆ
เมือ่ เข้าใจตรงกันแล้วก็จะช่วยให้อ่านวรรณคดีเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์สนุกขึน้
๒๔๐

บรรณำนุกรม
กระแสร์ มาลยาภรณ์ และชุดา จิตพิทกั ษ์. (๒๕๒๖). มนุษย์กบั วรรณกรรม. สงขลา : คณะ
วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
กฤตวิทย์ ดวงสร้อยทอง. (๒๕๓๘). วรรณกรรมประวัติศำสตร์. สงขลา : คณะมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้.
กฤติย า สิท ธิเชนทร์. (๒๕๕๓). “โจรสลัด แห่ งตะรุเตา : ผู้ร้ายในประวัติศ าสตร์ แห่ งสยาม
ประเทศ”. วำรสำรมนุษยศำสตร์สงั คมศำสตร์ มหำวิ ทยำลัยทักษิ ณ. ปีท่ี ๔ ฉบับ
ที่ ๒ (ตุลาคม ๒๕๕๒ - มีนาคม ๒๕๕๓) : ๒๔๐-๒๖๘.
กฤษณะ นาคประสงค์. (๒๕๔๖). กำรสื่ อสำรกำรเมืองของสมเด็จพระนเรศวรมหำรำช.
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กฤษณา อโศกสิน. (๒๕๔๖). หนึ่ งฟ้ ำดิ นเดียว. กรุงเทพฯ: เพื่อนดี.
กล้วยไม้ แก้วสนธิ, ผูแ้ ปล. (๒๕๕๘). ฟอลคอลแห่งอยุธยำ. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์.
ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และนิยะดา ทาสุคนธ์. (๒๕๔๓). กระบวนพยุหยำตรำ ประวัติและ
พระรำชพิ ธี. กรุงเทพฯ : สานักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร.
กัณหา แก้วไทย, แปล. (๒๕๔๒). แอนนำกับพระเจ้ำกรุงสยำม. กรุงเทพฯ : แก้วกานต์.
กิต ติศ ัก ดิ ์ เจิมสิท ธิป ระเสริฐ . (๒๕๕๒). นั ย ทำงกำรเมื องใน "เสภำเรื่องขุน ช้ ำงขุน แผน.
ศิ ล ป ศ าส ต รม ห าบั ณ ฑิ ต ส าข ารั ฐ ศ าส ต ร์ . ก รุ ง เท พ ฯ : บั ณ ฑิ ต วิ ท ย าลั ย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กุสุมา รักษมณี. (๒๕๔๗). “การสอนประวัตศิ าสตร์แบบนวนิยาย.” ใน เส้นสีลีลำวรรณกรรม,
๓๓๕-๓๓๗. กรุงเทพฯ: แม่คาผาง.
กุหลาบ มัลลิกะมาส. (ม.ป.ป). วรรณคดีวิจำรณ์ . ม.ป.ท.
ขจร สุขพานิช. (๒๕๑๖). จดหมำยเหตุควำมทรงจำ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.
เขมชาติ. (๒๕๔๖). อิ ฐพระองค์ดำ. กรุงเทพฯ: เค แอนด์ เค บุ๊ค.
ไข่มกุ อุทยาวลี. (๒๕๔๗). กำรอนุรกั ษ์สมุดไทยภำคใต้ เพื่อกำรศึกษำประวัติศำสตร์
และวัฒนธรรมท้องถิ่ น. รายงานวิจยั . ปตั ตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ไข่มุก อุ ทยาวลี. (๒๕๔๘). กำรศึ กษำตำนำนเมืองปั ตตำนี : มิ ติท ำงประวัติศ ำสตร์ และ
วัฒ นธรรมภำคใต้ . Songkla Nakarin Human & Social Science E-Journal; Vol.
11, No. 2 (2005).
๒๔๑

ไข่มุก อุ ท ยาวลี (๒๕๔๗). กำรศึ ก ษำหลักฐำนประวัติ ศ ำสตร์ ประเภทต ำนำนพื้ น บ้ ำน


ภำคใต้ ประเทศไทย. รายงานวิจยั . สงขลา: โครงการจัดตัง้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษา
กัลยาณิวฒั นา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปตั ตานี.
คึกฤทธิ ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (๒๕๔๕). สี่แผ่นดิ น (พิมพ์ครัง้ ที่ ๑๓). กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า.
จอมเกล้าเจ้าอยู่หวั , พระบาทสมเด็จพระ. (๒๔๖๔). พระรำชหัตถเลขำในพระบำทสมเด็จ
พระจอมเกล้ำเจ้ำอยู่หวั (พิมพ์ครัง้ ที่ ๒). กรุงเทพฯ : หอสมุดวชิรญาณ.
จักรรถ จิตรพงศ์. (๒๕๔๐). “การเปลีย่ นแปลงในสถาบันกษัตริย์ : มองผ่านงานสถาปตั ยกรรม,”
กำรประชุมทำงวิ ชำกำรชุดโครงกำรวิ จยั เรื่องยุโรปกับรัชสมัยพระบำทสมเด็จพระ
จุล จอมเกล้ ำเจ้ ำอยู่ ห ัว : โอกำส ควำมขัด แย้ ง และกำรเปลี่ ย นแปลง. ๑๘–๒๐
ธันวาคม.
จันทร์ เชิดชู. (๒๔๙๗). ประวัติกำรณ์ เตือนไทย. พัทลุง : โรงพิมพ์พทั ลุง.
จิณณพัด โรจนวงศ์. (๒๕๔๙). ภำษำจิ นตภำพในนวนิ ยำยอิ งประวัติศำสตร์. วิทยานิพนธ์
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จุมพล หนิมพานิช. (๒๕๒๗). “การเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๖,” ใน เอกสำรกำรสอนชุด
วิ ชำประวัติศำสตร์และกำรเมืองไทย หน่ วยที่ ๘ - ๑๕. กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั , พระบาทสมเด็จพระ. (๒๕๔๕). ไกลบ้ำน (พิมพ์ครัง้ ที่ ๖). กรุงเทพฯ:
อักษรเจริญทัศน์.
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั , พระบาทสมเด็จพระ. (๒๕๓๕). พระรำชนิ พนธ์จดหมำยรำยวัน เสด็จ
ประพำสชวำครัง้ หลัง. กรุงเทพฯ : เอ็ม.บี.ที.
จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั , พระบาทสมเด็จพระ. (๒๕๒๘). พระรำชหัตถเลขำเมื่อเสด็จพระรำช
ดำเนิ นประพำสยุโรป พ.ศ.๒๔๔๐. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรสุ ภา.
จุล จัก รพงศ์ , พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า . (๒๕๒๒). เกิ ด วัง ปำรุส ก์ (พิม พ์ค รัง้ ที่ ๙).
กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.
เจตนา นาควัชระ. (๒๕๔๒). ทฤษฎีเบือ้ งต้นแห่งวรรณคดี พิมพ์ครัง้ ที่ ๒. กรุงเทพฯ: ศยาม.
เฉลิมพล แซ่ก้นิ . (๒๕๕๐). พระนเรศวร : วำทกรรมจำกอดีตที่ แปรเปลี่ยนไปสู่วำทกรรม
เชิ งสั ญ ลัก ษณ์ แห่ ง กองทั พ บกไทย. รายงานวิจ ัย . กรุ ง เทพฯ: จุ ฬ าลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

ชลดา เรืองรักษ์ลขิ ติ . (๒๕๔๑). ตะเลงพ่ำย ศรีมหำกำพย์. กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.


๒๔๒

ชลดา เรืองรักษ์ลขิ ติ . (๒๕๕๐). “ความรักหลายมิตใิ นลิลติ ตะเลงพ่ายกับภาพลักษณ์สมเด็จพระ


นเรศวรมหาราชวีรบุรษุ ต้นแบบ,” วำรสำรรำชบัณฑิ ตยสถำน. ๓๒, ๓ : ๖๑๑ – ๖๓๕.
ชลาลัย ธนารักษ์สริ ถิ าวร, ผูแ้ ปล. (๒๕๕๓). มิ นจำยอง รำชิ นีบลั ลังก์เลือด. กรุงเทพฯ :
มติชน .
ชาญ ไชยจันทร์และพาสน์ พลชัย. (๒๕๙๗). ประวัติพทั ลุงทัง้ สำมสมัย (ตอนต้ น เล่ม ๑)
(พิมพ์ครัง้ ที่ ๒). ตรัง: ชูไทยแบบเรียน.
ชาญวิทย์ เกษตรศิร.ิ (๒๕๔๘). อยุธยำ ประวัติศำสตร์และกำรเมือง (พิมพ์ครัง้ ที่ ๔
ปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชำติ พยัคฆ์. (๒๕๕๙). สืบค้นจาก http://www.magazinedee.com/home.
ชานิ โวหาร, พระ. (๒๔๗๐). โคลงสรรเสริ ญพระเกียรติ พระบำทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ ำ
จุฬำโลกย์. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (๒๕๔๒). วำทกรรมกำรพัฒนำ (พิมพ์ครัง้ ที่ ๔). กรุงเทพฯ: วิภาษา.
เชาวน์มนัส ประภักดี. (๒๕๕๗). “เพลงลาวแพน: ประวัตศิ าสตร์การเมืองในเพลง.วำรสำร
ภำษำและวัฒนธรรม. ปีท่ี ๓๓ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๗) : ๕-๓๐.
ดวงมน จิตร์จานง. (๒๕๕๖). วรรณคดีวิจำรณ์ เบือ้ งต้ น. ปตั ตานี: ภาควิชาภาษาไทย คณะ
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ดารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (๒๕๔๓). ไทยรบพม่ำ ฉบับรวม
เล่ม พระนิ พนธ์ สมเด็จกรมพระยำดำรงรำชำนุภำพ. พระนคร : บรรณาคาร.
ดารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา. (๒๕๔๕). นิ ทำนโบรำณคดี.
กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า.
ดารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (๒๕๐๔). นิ รำศนครวัด. กรุงเทพฯ :
มูลนิธสิ มเด็จกรมพระยาดารงราชานุภาพ.
ดารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา และนริศรานุวดั ติวงศ์, สมเด็จพระเจ้า
บรมวงศ์ เธอกรมพระยา. (๒๕๐๕). สำส์นสมเด็จ เล่ม ๔. พระนคร : คุรสุ ภา.
ตรงใจ หุตางกูร วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี. (๒๕๕๖). โครงกำรฐำนข้อมูลจำรึก
ในประเทศไทย ศมส. มปท.
ตรัง, พระยา. (๒๔๖๗). โคลงดัน้ เฉลิ มพระเกียรติ พระบำทสมเด็จฯ พระพุทธเลิ ศหล้ำ
นภำลัย. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.
ตรีศลิ ป์ บุญขจร. (๒๕๔๒). นวนิ ยำยกับสังคมไทย (๒๔๗๕ - ๒๕๐๐) (พิมพ์ครัง้ ที่ ๒).
กรุงเทพฯ: โครงการตาราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตำรำพิ ชยั สงครำม.สืบค้นเมือ่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๗ จาก http://talk.mthai.com/topic/341802.
๒๔๓

ตุลยภาค ปรีชารัชช. ภำพตัวแทนของพระมหำธรรมรำชำในวรรณกรรมไทย. สืบค้น


เมือ่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๖, จาก http://blogazine.in.th/blogs/dulyapak/post.
ทรงภพ ขุนมธุรส. (๒๕๔๙). ขัตติ ย นำรี ในนวนิ ยำยไทยอิ งประวัติศ ำสตร์. ปริญ ญา
นิ พ นธ์ ป ริญ ญาศิ ล ปศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขาวิช าภาษาไทย. กรุ ง เทพฯ :
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทินพันธ์ นาคะตะ. (๒๕๓๒). “การเมืองการปกครองไทย พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๔๙๐,” ใน เอกสำร
กำรสอนชุ ด วิ ช ำประวัติ ศำสตร์ส ัง คมและกำรเมื อ งไทย หน่ วยที่ ๘ -๑๕.
นนทบุร ี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธ ยา. (๒๕๔๒). สำรำนุ กรมไทย ฉบับกำญจนำภิ เษก. กรุงเทพฯ:
ธนาคารไทยพาณิชย์.
ธงชัย วินิจจะกูล. (๒๕๖๐). ปรีดี ศึกษำและปำฐกถำศิ ลปกับสังคม. กรุงเทพฯ: มูลนิธปิ รีดี
พนมยงค์ และ สถาบันปรีดี พนมยงค์.
ธวัช ปุณ โณทก. (๒๕๒๗). แนวทำงศึ กษำวรรณกรรมปั จจุบนั . กรุงเทพฯ : ไทยวัฒ นา
พานิช.
ธวัชชัย ดุลยสุจริต.(๒๕๕๗). "ข้อสังเกตบางประการเกีย่ วกับคายืมภาษาสันสกฤต ในคาฉันท์
สรรเสริญพระเกียรติสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงปราสาททอง," จุลสำรสำส์นไทย. ปีท่ี ๒
ฉบับที่ ๑, ๑๗๖-๒๐๘.
ธารทอง ทองสวัสดิ ์. (๒๕๒๗). “การปฏิรปู การปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕,” ใน เอกสำรกำรสอน
ชุ ด วิ ช ำประวัติ ศำสตร์แ ละกำรเมื อ งไทย หน่ วยที่ ๘ – ๑๕. กรุง เทพฯ : คณะ
รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธีรพัฒน์ พูลทอง. (๒๕๕๘). วาทกรรมอาณานิคมของสยามในลิลติ พายัพ. วำรสำร
มนุษยศำสตร์. ปีท่ี ๒๒ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม-ธันวาคม), ๑๑๕-๑๓๘.
นฤพนธ์ ด้ว งวิเศษ. (๒๕๓๔). แปลจาก Robert H. Winthrop. Dictionary of Concepts in
Cultural Anthropology. New York: Greenwood Press. สื บ ค้ น จ า ก
http://www.sac.or.th/main/content_detail.php?content_id=๑๘
นราธิปประพันธ์พงศ์ , กรมพระยา. (๒๔๙๕). ลิ ลิตมหำมกุฎรำชคุณ ำนุสรณ์ . พระนคร: โรง
พิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
นราธิปพงศ์ประพันธ์, พระวรวงศ์เธอกรมหมื่น. (๒๕๐๖) .วิ ทยำวรรณกรรม. พระนคร : แพร่
พิทยา.
๒๔๔

นรินทรเทวี, กรมหลวง. (๒๕๒๖). จดหมำยเหตุค วำมทรงจำของ กรมหลวงนริ นทรเทวี


(พ.ศ.๒๓๑๐-๒๓๘๑). ม.ป.ท. : ม.ป.พ.
นริศรานุ วดั ติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา, ดารงราชานุ ภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยา. (๒๕๐๔-๒๕๐๕). สำส์นสมเด็จ. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรสุ ภา.
นัยนา ครุฑเมือง. (๒๕๔๗). นวนิ ยำยอิ งประวัติศำสตร์ล้ำนนำ: ภำพสะท้ อนกำรเมืองและ
สังคม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
นิตยา แก้วคัลณา .(๒๕๔๒). “ภาพสะท้อนเกี่ยวกับสถานภาพของกษัตริยใ์ นวรรณกรรมไทย”
วำรสำรธรรมศำสตร์. ๒๕,๑ (มกราคม- เมษายน ๒๕๔๒) : ๑๒๗-๑๓๕.
นิธ ิ เอียวศรีวงศ์. (๒๕๒๗). ปำกไก่ และใบเรือ รวมควำมเรีย งว่ ำด้ วยวรรณกรรมและ
ประวัติศำสตร์ต้นรัตนโกสิ นทร์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.
นิ พ นธ์ สุ ข สวัส ดิ.์ (๒๕๒๐). วรรณคดี ไ ทยเกี่ ย วกับ ประวัติ ศำสตร์. พิ ษ ณุ โลก: คณะ
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิ ยะดา เหล่ าสุ น ทร และคณะ. (๒๕๔๓). ภูมิ ปั ญ ญำของคนไทย : ศึ ก ษำจำกแบบเรีย น
ภำษำไทยและตำรำพิ ไชยสงครำม. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.
บาหยัน อิ่ม ส าราญ. (๒๕๕๔). “โคลงภาพพระราชพงศาวดารศิล ปะและวรรณกรรมภายใต้
ระบอบสมบู รณาญาสิท ธิราชย์ ”. วำรสำรร่ ม พฤกษ์ มหำวิ ท ยำลัย เกริ ก . ๒๙, ๓
(มิถุนายน – กันยายน), ๑๒๑-๑๕๖.
บาหยัน อิม่ สาราญ. (๒๕๔๘). วิ พำกษ์วรรณกรรม. กรุงเทพมหานคร: ตุลาราลึก.
เบญจมาศ พลอิ น ทร์. (๒๕๒๓). วรรณคดี ข นบประเพณี พระรำชพิ ธี สิ งสองเดื อ น.
กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
บุญยงค์ เกศเทศ. (๒๕๒๐). วรรณกรรมประวัติศำสตร์. กรุงเทพฯ : อักษรบัณฑิต.
บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, หม่อมหลวง. (๒๕๒๐). วิ เครำะห์รสวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ : ไทย
วัฒนาพานิช.
บุ ษ บา บรรจงมณี , ผู้แ ปล. (๒๕๔๙). สู่ แ ดนสยำม ยำมำดะ นำงำมำสะ. กรุงเทพฯ :
เนชันบุ
่ ๊คส์.
ประคอง เจริญ จิตรกรรม. (๒๕๒๗). กำรศึ กษำนวนิ ยำยอิ งประวัติศ ำสตร์ไทยระหว่ ำง
พ .ศ. ๒ ๔ ๙ ๐ -พ .ศ. ๒ ๕ ๒ ๕ . กรุ ง เทพ ฯ: โครงการวิ จ ั ย เสริ ม สร้ า งหลั ก สู ต ร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
๒๔๕

ประจักษ์ สายแสง. (๒๕๒๖). ประวัติศ ำสตร์และโบรำณคดี นครศรีธรรมรำช ชุด ที่ ๓.


นครศรีธรรมราช : วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช
ประชุมพงศำวดำร ภำคที่ ๖๓ เรื่องกรุงเก่ำ. (๒๕๕๘). พระนคร : กรมศิลปากร.
ประทีป ชุ ม พล. (๒๕๒๖). ลิ ลิ ต ยวนพ่ ำ ย : กำรศึ ก ษำวิ เครำะห์ เชิ ง ประวัติ ศ ำสตร์แ ละ
โบรำณคดี. กรุงเทพฯ : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประสิท ธิ ์ กาพย์ก ลอน. (๒๕๒๓). วรรณกรรมประวัติ ศ ำสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิท ยาลัย
รามคาแหง.
ประเสริฐ ณ นคร. (๒๕๒๗). รวมบทควำมเรื่องภำษำและอักษรไทย. กรุงเทพฯ : กอง
วรรณคดีและประวัตศิ าสตร์ กรมศิลปากร.
ประเสริฐ ณ นคร. (๒๕๔๙). “เกร็ดความรูจ้ ากศิลาจารึก,” ใน อักษร ภำษำ จำรึก วรรณกรรม.
กรุงเทพฯ: มติชน.
ปราโมทย์ ดวงศิร.ิ (๒๕๔๕). โศกนำฏกรรมแหลมตะลุมพุก. กรุงเทพ : เฟื่องอักษร.
ปราโมทย์ สกุลรักความสุข. (๒๕๕๔). ควำมเปรียบเกี่ยวกับพระมหำกษัตริ ยใ์ นวรรณคดี
ยอพระเกี ยรติ สมัยกรุงศรีอยุธยำถึงกรุงรัตนโกสิ นทร์ตอนต้ น. ปริญ ญานิพนธ์
ศศ.ม. (ภาษาไทย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปรีดี พิศภูมวิ ถิ .ี (๒๕๕๖). ประวัตศิ าสตร์ไทยในนวนิยายของนักเขียนสตรีฝรังเศส:
่ ฟอลคอน
แห่งอยุธยา และ ตากสิน มหาราชชาตินักรบ. ใน พิ พิธพรรณวรรณำ: ควำมทรงจำ
และสยำม-ไทยศึ ก ษำในบริ บ ทสำกล, ๑๙๑-๒๑๑. นั ท ธนั ย ประสานนาม,
บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวรรณคดี และกรรมการฝ่ายวิจยั คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์.
ป ัญ ญ า บ ริ สุ ท ธิ .์ (๒ ๕ ๓ ๔ ). วิ เค รำะห์ วรรณ ค ดี ไท ย โด ย ป ระเภ ท . กรุ ง เท พ ฯ :
ราชบัณฑิตยสถาน.
ปทั มา ฑีฆประเสริฐกุล. (๒๕๕๖). ยวนพ่ำยโคลงดัน้ : ควำมสำคัญที่มีต่อกำรสร้ำงขนบและ
พัฒนำกำรของวรรณคดี ประเภทยอพระเกียรติ ของไทย. อักษรศาสตรดุษฎีบณ ั ฑิต
สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปทั มา ฑีฆประเสริฐกุล และชลดา เรืองรักษ์ลขิ ติ . (๒๕๕๓). “การสร้างภาพลักษณ์ สมเด็จพระ
บรมไตรโลกนาถในยวนพ่ า ยโคลงดั น้ ด้ ว ยการใช้ ข้ อ มู ล วรรณคดี ,” วำรสำร
รำชบัณฑิ ตยสถำน. ๓๖, ๒ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๓): ๓๑๐-๓๒๒.
๒๔๖

ปทั มา ฑีฆประเสริฐกุล และชลดา เรืองรักษ์ลขิ ติ . (๒๕๕๗). เชียงชื่น: ความสาคัญทีม่ ตี ่อการ


สร้างวีรกรรมของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในยวนพ่ายโคลงดัน้ . วำรสำรสุทธิ
ปริ ทศั น์ . ๒๘, ๘๕ (มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๗) : ๒๖๙-๒๘๖.
เปลือ้ ง ณ นคร. (๒๕๑๔). คำบรรยำยวิ ชำกำรประพันธ์และหนังสื อพิ มพ์. พระนคร : ไทย
วัฒนาพานิช.
พงศำวดำรกรุงศรีอยุธยำ ฉบับวันวลิ ต. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
พนรัตน์, สมเด็จพระ. (๒๕๑๔). พระรำชพงศำวดำรกรุงศรีอยุธยำ ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์
วัดพระเชตุพน (พิมพ์ครัง้ ที่ ๔). กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.
พระเทพโมลี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (๒๕๓๑). พจนำนุกรมพุท ธศำสตร์ ฉบับประมวลศัพ ท์ .
กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พ ระน เรศ วรจำก มุ ม ม อ งพ ม่ ำ. (๒ ๕ ๕ ๐). สื บ ค้ น เมื่ อ ๑ ๓ ตุ ลาคม ๒ ๕ ๕ ๙ , จาก
https://www.sanook.com/movie/๑๕๘๐๗.
พระพรหมโมลี. (๒๕๔๔). วิ ปัสสนำทีปนี . กรุงเทพฯ : มูลนิธธิ รรมกาย.
พระมหาอุทยั พิสสิ ต์พงษ์. (๒๔๙๓). ตำนำนพระบรมธำตุคำกลอน. สงขลา: โรงพิมพ์
หาดใหญ่. (พิมพ์แจกแก่พุทธศาสนิก ผูส้ ละทรัพย์ก่อสร้างถนน วัดท่าหิน ตาบลท่าหิน
อาเภอจะทิง้ พระ จังหวัดสงขลา วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๓).
พระรำชพงศำวดำรกรุง ศรี อ ยุ ธ ยำ ฉบับ พัน จัน ทนุ ม ำศ (เจิ ม ). (๒๕๕๓). นนทบุ ร ี :
ศรีปญั ญา.
พระรำชพงศำวดำรฉบับหลวงประเสริ ฐอักษรนิ ต์ ิ . (๒๕๐๗). กรุงเทพฯ : คลังวิทยา.
พัชลินจ์ จีนนุ่ น. (๒๕๕๕). ลักษณะเด่ น และบทบำททำงสังคมของวรรณกรรมค ำสอน
ภำคใต้ “ฉบับ พิ มพ์เล่ ม เล็ก.” วิท ยานิ พนธ์อ ักษรศาสตรดุษ ฎีบ ัณ ฑิต . กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชลินจ์ จีนนุ่ น วราเมษ วัฒนไชย ปริยากรณ์ ชูแก้ว . (๒๕๖๐). วรรณกรรมภำคใต้ ยุค กำร
พิ ม พ์ พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๕๒๐: ควำมหลำกหลำย คุณ ค่ ำ และภูมิ ปั ญ ญำ. พัท ลุ ง :
มหาวิทยาลัยทักษิณ.
พัฒ นา (นามแฝง). “นักเขียนใหม่กบั นวนิ ยายประวัติศ าสตร์,” ภำษำและหนั งสื อ . (๑๑๕).
มป.ท.
พันท้ำยนรสิ งห์. (๒๕๕๙). สืบค้นเมือ่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๙ จาก
http://www.majorcineplex.com/news/pantainor-legend.
๒๔๗

พิชชา ถาวรรัตน์. (๒๕๔๗). ควำมสุขของแผ่นดิ น (พิมพ์ครัง้ ที่ ๒). กรุงเทพฯ : โมมิน.


พิชชาพร วิธเี จริญ. (๒๕๕๖). กลวิ ธีกำรเล่ำเรื่องและกำรสร้ำงบุคลิ กลักษณะตัวละคร
สมเด็จพระสุริโยทัยในบันเทิ งคดีอิงประวัติศำสตร์ไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร
มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิทยาลงกรณ์, กรมหมืน่ . (๒๕๑๑). สำมกรุง. กรุงเทพฯ : คลังพิทยา .
พิเชฐ แสงทอง. (๒๕๕๙). ต ำนำนและเรื่ อ งเล่ ำ ปรัม ปรำท้ อ งถิ่ น ภำคใต้ : อัต ลัก ษณ์
วัฒนธรรม อำนำจและกำรต่ อต้ ำนในประวัติศำสตร์ควำมเป็ นไทย. กรุงเทพฯ:
ยิปซี กรุป๊ .
พิเชฐ แสงทอง. (๒๕๕๙). วรรณกรรมท้ องถิ่ นเชิ งวิ เครำะห์ (พิมพ์ครัง้ ที่ ๓). สงขลา: ศูนย์
ทะเลสาบสงขลา.
พิเชฐ แสงทอง. (๒๕๔๕). ศึ กษำลักษณะเศรษฐกิ จและสังคมของชุมชนชำวนำบริ เวณลุ่ม
ทะเลสำบสงขลำในวรรณกรรมนิ รำศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
พิรยิ ะ ไกรฤกษ์. (๒๕๔๗). จำรึกพ่อขุนรำมคำแหง : วรรณคดีประวัติศำสตร์กำรเมืองแห่ ง
กรุงสยำม. กรุงเทพฯ : มติชน.
พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. (๒๕๕๓). ลูกเขาเมียใครทีเ่ ชียงใหม่ สุโขทัย และอยุธยา. ใน ฟื้ นฝอยหำ
ตะเข็บ. กรุงเทพฯ: มติชน.
พิส ิฐ เจริญ วงศ์ และคณะ. (๒๕๓๔). “การเมือ งการปกครองก่ อ นสมัย กรุงศรีอ ยุ ธ ยา,” ใน
เอกสำรประกอบกำรสอนชุ ด วิ ช ำประวัติ ศำสตร์ส ัง คมและกำรเมื อ งไทย.
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิ ส ิ นี ฐิ ต วิ ร ิย ะ. (๒๕๔๘). วรรณ กรรมเยำวชนญี่ ปุ่ นกั บ สงครำมโลกครัง้ ที่ สอง .
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พีรยุทธ โอรพันธ์. (๒๕๕๔). กำรศึ กษำควำมหมำยวรรณกรรมประวัติ ศ ำสตร์ข องชำว
มลำยูปั ต ตำนี : ‘ประวัติ รำชอำณำจัก รมลำยู ป ะตำนี ’. รายงานวิจยั . กรุงเทพฯ:
สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั .
ผุ ส ดี ศรีเขียวและคณะ. (๒๕๒๘). ประวัติ วรรณคดี เยอรมัน เบื้อ งต้ น . กรุงเทพฯ: วัฒ นา
พานิช.
ภัค พรรณ ทิพ ยมนตรี. (๒๕๔๓). สัญ ลัก ษณนิ ยมและประวัติ ศำสตร์ว ัฒ นธรรมใน
วรรณกรรมของนิ คม รำยยวำ. อักษรศาสตรมหาบัณ ฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ภำพยนตร์เรื่องตำนำนสมเด็จพระนเรศวรมหำรำช. (๒๕๕๙). สืบค้นเมื่อ ๑๒ มกราคม
๒๕๕๙ จาก http://www.listenhitmusic.com.
๒๔๘

มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หวั , พระบาทสมเด็จพระ. (๒๕๑๖). ลิ ลิตพำยัพ. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุ


สภา.
มะเนาะ ยูเด็น. (๒๕๔๙). “พ้นสงสัย,” มติ ชนสุดสัปดำห์. ๑๓๔๘ ( ๑๖ -๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๙):
๙๗.
มารศรี สอทิพ ย์ . (๒๕๕๑). เรื่ อ งเล่ ำ ทำงประวัติ ศำสตร์เกี่ ย วกับ สมเด็จ พระนเรศวร
มหำรำช: กลวิ ธีกำรเล่ ำเรื่องกับกำรสร้ำงภำพลักษณ์ . วิทยานิพนธ์อกั ษรศาสตร
ดุษฎีบณ ั ฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยอร์ช เซเดส์. (๒๕๒๖). ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง. ใน จำรึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ : กรม
ศิลปากร.
ยอร์ช เซเดส์. (๒๕๒๑). หลักที่ ๑ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง. ใน ประชุมศิ ลำจำรึก ภำคที่
๑ : เป็ นจำรึ กกรุงสุ โขทัย ที่ ได้ พ บก่ อ น พ.ศ. ๒๔๖๗. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการ
พิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัตศิ าสตร์ สานักนายกรัฐมนตรี.
ยุรฉัตร บุญ สนิท. (๒๕๓๔). “มิชชันนารีกบั เมืองไทยในนวนิยาย.” ใน ปำกกำขนนก, ๑๖๔-
๑๗๐. นครปฐม: วัตสาตรี.
รังสรรค์ จันต๊ะ. (๒๕๕๗). “ภูมนิ ามพืน้ บ้าน: ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ กับวรรณกรรมพืน้ บ้านในเขต
ภาคเหนือตอนบน”. วำรสำรศิ ลปศำสตร์ มหำวิ ทยำลัยแม่โจ้. ปีท่ี ๒,๒ (กรกฎาคม-
ธันวาคม ๒๕๕๗): ๙๖-๑๑๔.
รัชนีกร แท่นทอง. (๒๕๓๙). วิ เครำะห์นวนิ ยำยอิ งประวัติศำสตร์เรื่องฟ้ ำใหม่. สารนิพนธ์
ปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัญจวน อินทรกาแหง. (๒๕๑๘). วรรณกรรมวิ จำรณ์ ตอนที่ ๑. กรุงเทพฯ : ดวงกมล.
ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๒). พจนำนุ กรมฉบับรำชบัณ ฑิ ตยสถำน ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ :
นานมีบุ๊คส์พบั ลิเคชันส์
่ .
ราชบัณ ฑิตยสถาน. (๒๕๓๙). พจนำนุกรมศัพท์วรรณกรรม : ภำพพจน์ โวหำรและกลวิ ธี
กำรประพันธ์ฉบับรำชบัณฑิ ตยสถำน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน. (๒๕๔๕). พจนำนุ ก รมศั พ ท์ ว รรณ กรรม อั ง กฤษ -ไทย ฉบับ
รำชบัณฑิ ตยสถำน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๔). พจนำนุกรมศัพท์วรรณคดี ไทยสมัยสุโขทัยศิ ลำจำรึกพ่ อ
ขุนรำมคำแหง หลักที่ ๑ (พิมพ์ครัง้ ที่ ๒). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
๒๔๙

ราชันย์ นิลวรรณาภา และพิพฒ ั น์ ประเสริฐสังข์. (๒๕๕๘-๒๕๕๙). “วรรณกรรมชาดกพืน้ บ้าน


อีสาน : ภาพสะท้อนอัตลักษณ์ดา้ นความเชื่อ วิถชี วี ติ ประเพณีและพิธกี รรม”. วำรสำร
วิ จยั เพื่ อพัฒ นำสังคมและชุมชน มหำวิ ทยำลัยรำชภัฏมหำสำรคำม. ปี ท่ี ๓, ๑
(สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ – มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙): ๘๕-๙๗.
ราโชทัย, หม่อม. (๒๕๓๙). นิ รำศลอนดอน. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ.
ราตรี ธันวารชร. (๒๕๔๒). กำรศึกษำคำในศิ ลำจำรึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรำมคำแหง
มหำรำช. กรุงเทพ ฯ : ธรรมศาสตร์.
แรเงาและบงกชเพชร. (๒๕๔๘). ตำกสิ นมหำรำช. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้ากรุป๊ .
รืน่ ฤทัย สัจจพันธุ.์ (๒๕๕๖). กำพย์เห่เรือจำกสมัยอยุธยำถึงสมัยรัชสมัยพระบำทสมเด็จ
พระเจ้ำอยู่หวั ภูมิพลอดุลยเดช. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
รื่น ฤทัย สัจ จพัน ธุ์ . (๒๕๒๓). ควำมรู้ท ัว่ ไปทำงภำษำไทย ตอนที่ ๓ วรรณคดี ไทย.
กรุงเทพ ฯ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
รื่น ฤทัย สัจจพัน ธุ์ . (๒๕๔๑). บทวิ เครำะห์ แ ละสรรนิ พนธ์ ก วี นิ พนธ์ ไทย. กรุงเทพฯ :
สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั .
รืน่ ฤทัย สัจจพันธุ.์ (๒๕๔๙). “มนุษย์กบั วรรณกรรม” ใน สุนทรียภำพแห่งชีวิต, หน้า ๕๘-๖๘.
กรุงเทพฯ: โฆษิต.
ฤทธิศ ัก ดิ ์ วงษ์ วุฒ ิพ งษ์ . (๒๕๕๖). มิชชัน นารี สยาม และความทรงจา : ความแตกต่ างทาง
วัฒ นธรรมและการยอมรับ ในนวนิ ยายเรื่อ ง รอยประทับ . ใน พิ พิ ธ พรรณวรรณำ:
ควำมทรงจำและสยำม-ไทยศึ กษำในบริ บทสำกล, ๒๑๒-๒๒๖. นัทธนัย ประสาน
นาม, บรรณาธิก าร. กรุง เทพฯ: ภาควิช าวรรณคดี และกรรมการฝ่ า ยวิจ ัย คณะ
มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์.
ลิไท, พญา. (๒๕๒๖). ไตรภูมิพระร่วง. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์.
ว. วินิจฉัยกุล. (๒๕๓๑). รัตนโกสิ นทร์. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.
วสัน ต์ มหากาญจนะ. (๒๕๓๙). ต ำรำพิ ไ ชยสงครำมในฐำนะหลัก ฐำนประวัติ ศ ำสตร์
ภู มิ ปั ญ ญำไทย พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๔๑๓. วิท ยานิ พ นธ์ อัก ษรศาสตรมหาบัณ ฑิ ต .
นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วสันต์ รัตนโภคา. (๒๕๕๐). กลวิ ธีกำรเล่ำเรื่องในงำนเขี ยนเชิ งประวัติศำสตร์ของหม่อม
รำชวงศ์คึกฤทธิ์ ปรำโมช. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
๒๕๐

วรมน เหรีย ญสุ ว รรณ. (๒๕๔๘). มิ ติ สถำนที่ ใ นนวนิ ยำยอิ ง ประวัติ ศำสตร์ไ ทยสมัย
รัตนโกสิ นทร์ ศึกษำจำกงำนประพันธ์ของ “ทมยันตี .” รายงานการวิจยั . กรุงเทพฯ:
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสติ .
วรารัต น์ สุขวัจนี. (๒๕๕๑). กำรศึ ก ษำวิ เครำะห์ นวนิ ยำยอิ งประวัติ ศ ำสตร์ส มัย กรุง ศรี
อยุ ธ ยำ. ปริญ ญ าศิ ล ปศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขาวรรณ คดี ไทย. กรุ ง เทพ ฯ:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วัชรี รมยะนันทน์ . (๒๕๓๘). วิ วฒ ั นำกำรวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ : โครงการตาราคณะอักษร
ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันชนะ เกิดเภา. (๒๕๕๐). ภำพตัวแทนของสมเด็จพระมหำธรรมรำชำในวรรณกรรมไทย.
วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วาทิน ศานติ ์ สันติ (๒๕๕๓). พระรำชพิ ธี : ศรีสจั จปำนกำล หรือ พระรำชพิ ธีถือน้ ำพิ พฒ ั น์
สัต ยำ และค ำประกำศถวำยสัต ย์ส ำบำนในสมัย รัต นโกสิ น ทร์. สืบ ค้น เมื่อ ๑๒
สิงหาคม ๒๕๕๙, จากhttps://www.gotoknow.org/posts/๓๔๔๓๗๕,
วาริฎฐา ถาวโรฤทธิ ์. (๒๕๕๑). นัยทำงสังคมกำรเมืองของเพลงกล่อมเด็กไทย. วิทยานิพนธ์
ปริญ ญาเศรษฐศาสตรมหาบัณ ฑิต สาขาวิช าเศรษฐศาสตร์ก ารเมือ ง จุฬ าลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
วิจติ รวาทการ, หลวง. (๒๕๑๖). ปำฐกถำประวัติศำสตร์. พระนคร : เสริมวิทย์บรรณาคาร.
วิ จ ิ ต รวาทการ, หลวง. (๒ ๕๑๓ ). เพชรพ ระนำรำยณ์ (พิ ม พ์ ค รัง้ ที่ ๓ ). กรุ ง เทพ ฯ:
สร้างสรรค์บุ๊คส์.
วิทย์ ศิวะศริยานนท์. (๒๕๑๔). วรรณคดี และวรรณคดี วิจำรณ์ (พิมพ์ครัง้ ที่ ๔). พระนคร :
สมาคมภาษาและหนังสือ.
วินทร์ เลียววาริณ. (๒๕๔๖). ประชำธิ ปไตยบนเส้นขนำน. กรุงเทพฯ : บริษทั ๑๑๓ กาจัด
วินยั พงศ์ศรีเพียร. (๒๕๔๘). “การบรรยายพิเศษเรือ่ งประวัตศิ าสตร์กบั การศึกษาวรรณคดีไทย,”
ใน เอกสำรสัมมนำทำงวิ ชำกำรเรื่อง “นวทัศน์ ในวรรณคดีไทย” สานักศิลปกรรม
ราชบัณ ฑิต ยสถาน จัดขึ้น ณ ห้อ งปิ่ น เกล้า ๒ โรงแรมรอยัล ซิต้ี ถนนบรมราชชนนี
กรุงเทพมหานคร วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘.
วินัย สุกใส. (๒๕๔๖). วิ เครำะห์ภำพสะท้ อนเศรษฐกิ จสังคมชุมชนลุ่มทะเลสำบสงขลำที่
ปรำกฏในวรรณกรรมท้ องถิ่ น ประเภทร้อยกรองในยุคกำรพิ มพ์ (พ.ศ. ๒๔๗๒-
๒๕๐๓). ปริญ ญานิ พ นธ์ ป ริญ ญาการศึ ก ษามหาบั ณ ฑิ ต สาขาวิช าภาษาไทย
มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วินิตา ดิถยี นต์. (๒๕๓๕). “ฟ้าใหม่ ของศุภร บุนนาค : ความสัมพันธ์ระหว่างนวนิยายกับ
ประวัตศิ าสตร์,” วำรสำรอักษรศำสตร์ มหำวิ ทยำลัยศิ ลปำกร. ๑๔(๒)๑: ๓๖-๕๓
๒๕๑

วิภา กงกะนันทน์. (๒๕๓๐). วรรณคดีศึกษำ. กรุงเทพฯ :ไทยวัฒนาพานิช.


วิมล ศิรไิ พบูลย์. (๒๕๔๗). กษัตริ ยำ พิมพ์ครัง้ ที่ ๓. กรุงเทพฯ : ณ บ้านวรรณกรรม.
ั น์ เอี่ย มไพรวัน . (๒๕๓๔). เอกสำรกำรสอนชุ ด วิ ช ำประวัติ ศ ำสตร์ส ัง คมและกำร
วิว ฒ
เมืองไทย (พิมพ์ครัง้ ที่ ๗). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วีรกรรมกำรชนช้ำงของสมเด็จพระนเรศวรกับพระมหำอุปรำช. สืบค้นเมือ่ ๑๒ มกราคม
๒๕๕๙, จาก https://free๒๒๒๓๓.wordpress.com.
ศรัทธา พูลสวัสดิ ์. (๒๕๔๗). "จีน" : จำกมุมมองตะวันตกในนวนิ ยำยของเพิ รล์ เอส. บัก.
วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรัณย์ วงศ์ขจิตร. (๒๕๕๔). จิ นตนำกำรปลำยด้ำมขวำน: อ่ำน “ภูมิศำสตร์ในจิ นตนำกำร”
ผ่ำนนวนิ ยำยจังหวัดชำยแดนภำคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศรีปรีชา (เส็ง), พระยา. (๒๕๑๕). จดหมำยเหตุเสด็จประพำสยุโรป ร.ศ.๑๑๖. กรุงเทพฯ :
องค์การค้าคุรสุ ภา.
ศิรวิ รรณ ลาภสมบูรนานนท์ . (๒๕๔๓). “บางระจัน พระสุพรรณกัลยาและยุวชนทหาร เปิ ด
เทอมไปรบ กับการเสียกรุงครัง้ ทีส่ าม,” มติ ชนสุดสัปดำห์ ๒๐ ,๑๐๓๒ (พ.ค.) : ๖๔.
ศิลปวัฒนธรรม. (๒๕๖๒). บุญวาทย์ ยุพราช ปรินซ์รอยแยลส์ : การศึกษาในหัวเมืองสยามจาก
ลิลติ พายัพ. ใน นิ ตยสำรศิ ลปวัฒนธรรม. จาก https://www.silpa-
mag.com/history/article_๒๖๒๖๕.
ศิลปากร, กรม. (๒๕๔๕). วรรณกรรมสมัยอยุธยำ เล่ม ๒ (พิมพ์ครัง้ ที่ ๒). กรุงเทพฯ: กรม
ศิลปากร.
ศิวาวุธ ไพรีพนิ าศ. (๒๕๕๗). รำยงำนวิ จยั กระบวนกำรสร้ำงบทอิ งประวัติศำสตร์ในสื่ อจิ
นตคดีสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (๒๕๓๙). นิ รำศลอนดอน. กรุงเทพฯ : สถาบันภาษาไทย.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (๒๔๙๗). ลลิ ตตะเลงพ่ำย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรสุ ภา.
ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์กุล . (๒๕๓๔). “การเมืองการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๑๘๙๓ –
๒๑๑๒,” ใน เอกสำรประกอบกำรสอนชุ ด วิ ช ำประวัติ ศำสตร์ส ัง คมและกำร
เมืองไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศูน ย์มานุ ษ ยวิทยา.(๒๕๕๐). จำรึก ในประเทศไทย. สืบ ค้น เมื่อ ๒๒ ตุ ล าคม ๒๕๖๒, จาก
https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/๔๗.
๒๕๒

สมเด็ จ พระสั ง ฆราช กรมหลวงวชิ ร ญ าณ . (๒ ๕๑๖). ท ศพิ ธรำชธรรม และหลั ก


พระพุทธศำสนำ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
สมบัติ จันทรวงศ์. (๒๕๔๗). บทพิ จำรณ์ ว่ำด้ วยวรรณกรรมกำรเมืองและประวัติศำสตร์
(พิมพ์ครัง้ ที่ ๒). กรุงเทพฯ: คบไฟ.
สมพร เทพสิทธา. (๒๕๔๙). กำรเดิ นตำมรอยพระยุคลบำทเศรษฐกิ จพอเพียง (พิมพ์ครัง้ ที่
๔). กรุงเทพฯ : ธรรมสาร จากัด.
สรณัฐ ไตลังคะ. (๒๕๔๙). “ประวัตศิ าสตร์นิพนธ์กบั โฉมหน้าบันเทิงคดีรอ้ ยแก้วยุคแรกในสมัย
รัตนโกสินทร์”. วำรสำรภำษำและหนังสือ. ๑ ปีท่ี ๓๗ (๒๕๔๙).
สวน, นาย มหาดเล็ก. (๒๔๖๔). โคลงยอพระเกียรติ พระเจ้ำกรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : โสภณ
พิพรรฒนากร.
สายใจ อินทรัมพรรย์. (๒๕๔๑) . “วรรณคดีประวัตศิ าสตร์,” ใน เอกสำรประกอบกำรสอนชุด
วิ ชำ ภำษำไทย ๔ หน่ วยที่ ๑-๗. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สายชล วรรณรัต น์ . (๒๕๓๔). “การเมือ งการปกครองสมัย กรุง ศรีอ ยุ ธ ยา พ.ศ. ๒๑๑๒ –
๒๒๓๑,” ใน เอกสำรประกอบกำรสอนชุ ด วิ ช ำประวัติ ศำสตร์ส ัง คมและกำร
เมืองไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สายทิพย์ นุกูลกิจ. (๒๕๒๓). วรรณคดีวิจำรณ์ . กรุงเทพฯ : ชัยสิรกิ ารพิมพ์.
สายพิน แก้ ว งามประเสริฐ . (๒๕๓๗). ภำพลัก ษณ์ ท้ ำ วสุ ร นำรี ในประวัติ ศำสตร์ไทย.
วิ ท ย า นิ พ น ธ์ ศิ ล ป ศ า ส ต ร ม ห า บั ณ ฑิ ต . ก รุ ง เท พ ฯ : ค ณ ะ ศิ ล ป ศ า ส ต ร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สายสร้อ ย สุ ด หอม. (๒๕๓๐). นวนิ ยำยอิ งประวัติ ศำสตร์เ รื่ อ งเศวตฉั ต รน่ ำนเจ้ ำ :
กำรศึ ก ษำในด้ ำ นกลวิ ธี เสนอเรื่ อ งและท่ ว งท ำนองกำรแต่ ง . ปริญ ญานิ พ นธ์
การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุ โลก.
สิทธา พินิจภูวดล และนิตยา กาญจนะวรรณ. (๒๕๒๗). ควำมรู้ทวไปทำงวรรณกรรมไทย.
ั่
กรุงเทพฯ : กรุงสยาม.
สิทธา พินนิจภูวดล. (๒๕๓๘). “ยอยศธรรมิกราชในหมากาพย์ของยุโรป” ใน วรรณกรรม-
ศิ ล ปะสดุ ดี . กรุ ง เทพฯ: ภาควิช าวรรณคดี คณะมนุ ษ ยศาสตร์แ ละสัง คมศาสตร์
มหาวิท ยาลัยเกษ๖รศาสตร์ (จัด พิม พ์ในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ห ัว ทรง
ครองราชยสมบัตคิ รบ ๕๐ ปี ๖-๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘)
สิร ิร ตั น์ ขัน ธพิน . (๒๕๔๐). ประวัติ ศำสตร์ก ำรเมื อ งไทย. กรุง เทพฯ : มหาวิท ยาลัย
รามคาแหง.
๒๕๓

สืบแสง พรหมบุญ . (๒๕๒๓). “สถานะของวิชาประวัตศิ าสตร์ในประเทศไทย,” ใน สถำนะวิ ชำ


ประวัติศำสตร์ในปั จจุบนั : เอกสำรสัมมนำประวัติศำสตร์ สมำคมประวัติศำสตร์
แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกญ ั ญา สุจฉายา. (๒๕๔๒). “พระร่วง: วีรบุรุษในประวัตศิ าสตร์และวีรบุรุษทางวัฒนธรรม”, ใน
วำรสำรภำษำและวรรณคดีไทย. ๑๖ (ธันวาคม): ๒๐๓.
สุจติ ต์ วงษ์เทศ. (๒๕๔๘). กรุงสุโขทัย มำจำกไหน?. กรุงเทพฯ : มติชน.
สุดารา สุจฉายา. (๒๕๕๐). ประวัติศำสตร์สมัยธนบุรี. กรุงเทพฯ :สารคดี.
สุเนตร ชุตินธรานนท์ . (๒๕๓๗). พม่ ำรบไทย ว่ ำด้ วยกำรสงครำมระหว่ ำงไทยกับ พม่ ำ .
กรุงเทพฯ : มติชน.
สุปราณี มุขวิชติ . (๒๕๓๒). ประวัติศำสตร์ยุโรปตัง้ แต่ปีค.ศ. ๑๘๑๕ – ปัจจุบนั . กรุงเทพฯ:
โอเดียน สโตร์.
สุพรรษา ภักตรนิกร. (๒๕๕๗). กระบวนการสร้างอุดมการณ์รกั ชาติไทยด้วยกลวิธที างภาษา
ในนวนิยายแนวอิงประวัตศิ าสตร์ของวิมล ศิรไิ พบูลย์. มนุษยศำสตร์สงั คมศำสตร์
ปริ ทศั น์ . ปีท่ี ๒,๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๗): ๑๐๙-๑๔๐.
สุพรรณี วราทร. (๒๕๑๙). ประวัติกำรประพันธ์นวนิ ยำยไทยตัง้ แต่ สมัยเริ่ มแรกจนถึงพ.ศ.
๒๔๗๕. กรุงเทพฯ: มูลนิธโิ ครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (๒๕๓๕). ขนบธรรมเนี ยมประเพณี : ควำมเชื่ อและแนวกำรปฏิ บตั ิ
ในสมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยำตอนกลำง. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจยั ฝา่ ย
วิจยั จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ิ ญา ขจรกิตติยุทธ. (๒๕๕๗). ศึ กษำกำรศึ กษำนวนิ ยำยเชิ งประวัติศำสตร์ของหลวง
สุภญ
วิ จิ ต รวำทกำร. ปริญ ญาศิ ล ปศาสตรมหาบัณ ฑิ ต สาขาภาษาไทย. กรุ ง เทพฯ :
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุภญ
ิ ญา ยงศิร.ิ (๒๕๕๗). “การปลุกจิตสานึกความรักชาติและความสามัคคีในเรื่องสายโลหิต
ของโสภาค สุวรรณ,” วำรสำรวิ ชำกำรคณะมนุษยศำสตร์และสังคมศำสตร์. ๑๐,
๑: ๑๕๙-๑๘๑.
สุมาลี วีระวงศ์ และคณะ. (๒๕๔๔). กวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย: บทวิ เครำะห์และสรรนิ พนธ์.
กรุงเทพฯ: สยาม.
สุมติ รา จันทร์เงา. (๒๕๓๗). “ปารีส - สยามยุทธ์พ ลิกแผ่นดินไทยให้อ ยู่รอดและรุ่งเรือ ง,”
ศิ ลปวัฒนธธรม ๑๘, ๙ ( กรกฎาคม ๒๕๓๗) : ๑๒ – ๑๕.
๒๕๔

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (๒๕๕๙). ทฤษฎี วรรณคดี วิจำรณ์ ตะวันตกในคริ สต์ศตวรรษที่ ๒๐.


กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรยิ า รัตนกุล. (๒๕๓๗). ฟ้ ำใหม่. กรุงเทพฯ: สามัญชน.
สุ ร ีร ตั น์ ทองคงอ่ ว ม. (๒๕๔๒). กำรวิ เครำะห์ ว รรณคดี ป ระวัติ ศำสตร์ป ระเภทสดุ ดี
วีรกรรม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โสภาค สุวรรณ. (๒๕๔๕). สำยโลหิ ต พิมพ์ครัง้ ที่ ๕. กรุงเทพฯ: คลังวิทย.
เสฐียรโกเศศและนาคะประทีป. (๒๕๑๕). ค่ำของวรรณคดี . กรุงเทพฯ : พระนคร.
เสาวรส มิตราปิ ยานุ รกั ษ์. (๒๕๓๙). นวนิ ยำยอิ งประวัติศำสตร์ญี่ปนของเจมส์
ุ่ คลำเวลล์ :
กำรศึ กษำควำมสัมพันธ์ ระหว่ ำงวรรณคดี กบั ประวัติศำสตร์. วิทยานิพนธ์อกั ษร
ศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หอสมุดวชิรญาณ. พระราชพิธศี รีสจั จปานกาลคือถือน้ าพิพฒ ั น์สจั จา. ใน พระรำชพิ ธีสิบสอง
เดือน. สืบค้นเมือ่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙, จาก https://vajirayana.org.
ห้องสมุดดิจทิ ลั วชิรญาณ อ่านและศึกษาวรรณกรรมสาคัญของไทยออนไลน์ . นิ รำศลอนดอน
สำมกรุง สำส์นสมเด็จ. สืบค้นเมือ่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙, จาก https://vajirayana.org.
อธิพร ประเทืองเศรษฐ์. (๒๕๕๖). กำรวิ เครำะห์ตวั ละครเอกในนวนิ ยำยอิ งประวัติศำสตร์
ของคึกเดช กันตำมระ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุ มานราชธน, พระยา. (๒๕๑๘). กำรศึ กษำวรรณคดี ไทยในแง่ วรรณศิ ลป์ . กรุงเทพฯ:
บรรณาคาร.
อภิญญา นนท์นาท. (๒๕๕๕). “อยุธยายศยิง่ ฟ้า,” วำรสำรเมืองโบรำณ. ๓๘, ๑ (กรกฎาคม-
กันยายน): ๗๔-๘๑.
อภิรดี เจริญธัญสกุล. (๒๕๔๒). แนวทำงกำรปลูกฝังลัทธิ ชำติ นิยมผ่ำนหนั งสื อพิ มพ์ของ
รัฐบำลในรัชสมัยพระบำทสมเด็จพระมงกุฎเกล้ำเจ้ำอยู่หวั กับรัฐบำลในจอมพล
ป. พิ บลู สงครำม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิรกั ษ์ ชัยปญั หา. (๒๕๔๖). วิ เครำะห์นวนิ ยำยอิ งประวัติศำสตร์กำรเสียกรุงศรีอยุธยำ
ครัง้ ที่๒. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อวยชัย ชบา. (๒๕๒๗). “การเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๗,” ใน เอกสำรกำรสอนชุด
วิ ชำประวัติศำสตร์และกำรเมืองไทย หน่ วยที่ ๘ – ๑๕. กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อวยพร มิล ิน ทรางกู ร . (๒๕๑๙). ลัก ษณะค ำประพัน ธ์ ร้อ ยกรองของไทยตัง้ แต่ พ.ศ.
๒๔๗๕ – ๒๕๐๑. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
๒๕๕

อัควิทย์ เรืองรอง. (๒๕๔๒). “การใช้คาเรียกและความเปรียบเกี่ยวกับกษัตริย์ในยวนพ่ายโคลง


ดัน้ ,” วำรสำรสุโขทัยธรรมำธิ รำช. ๑๒,๓ (กันยายน-ธันวาคม): ๒๑-๒๙.
อัญ ชลี ไมตรี. (๒๕๔๘). ลิ ลิตเสด็จไปขัด ทัพ พม่ ำเมื องกำญจนบุรี : ประวัติศ ำสตร์และ
สังคมสมัยรัตนโกสิ นทร์ตอนต้ น. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
อำณำจักรสุโขทัย. (๒๕๕๙). สืบค้นจาก http://sukhothaisongs.blogspot.com.
“ภาพตัวแทนของพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย”. ใน เอกสำรจุฬำสัมพันธ์ ๕๒
ฉบับที่ ๒๐ วันจันทร์ท่ี ๘ มิถุนายน ๒๕๕๒.
Baker, Chris. (๒๐๐๐). Cultural Studies: Theory and Practice. London: Sage.
Foucault, Michael. (๑ ๙ ๘ ๔ ). “Truth and Power”, in Paul Rabinow, ed., The Foucault
Reader. New York: Pantheon Books.
Hall, Stuart. (๑ ๙ ๙ ๗ ). “The Work of Representation”, in Hall, ed., Representation:
Cultural Representation and Signifying Practices. London: Sage.
Mills, Sara. (๒๐๐๔). Michel Foucault. London and New York: Routledge.
White, Hayden. ( ๑ ๙ ๗ ๘ ) . Tropics of Discourse: Essays in Cultural Criticism.
Baltimore: The johns Hopkins University Press.
๒๕๖

ดัชนี ค้นคำ

กลวิ ธี, ๑, ๒, ๖, ๒๒, ๒๓, ๗๔, ๗๖, ๗๘, ๘๕, ๑๒๐, ๑๘๒, ๑๘๔, ๑๘๕, ๑๘๖, ๑๘๗, ๑๘๙,
๑๙๐, ๑๙๑, ๑๙๒, ๑๙๓, ๑๙๖, ๑๙๗, ๒๐๑, ๒๓๔, ๒๓๕
กลอน, ๑, ๒, ๖, ๗, ๙, ๒๔, ๒๕, ๒๗, ๒๙, ๓๐, ๓๕, ๓๖, ๕๓, ๕๘, ๕๙, ๖๐, ๗๑, ๗๓, ๑๒๓,
๑๒๔, ๑๔๙, ๑๗๖, ๑๙๗, ๒๑๑, ๒๑๒, ๒๑๖
กษัตรำนิ ยม, ๑๔๔, ๑๔๘, ๑๕๑, ๑๕๒, ๑๕๔, ๑๖๒, ๑๖๕, ๑๗๔, ๒๓๔
กษัตริ ย,์ ๑, ๑๓, ๑๔, ๒๗, ๓๑, ๓๒, ๓๕, ๔๐, ๔๑, ๔๘, ๔๙, ๕๓, ๕๖, ๕๘, ๖๕, ๗๑, ๘๔,
๘๗, ๙๒, ๙๔, ๙๕, ๙๖, ๙๗, ๙๘, ๑๐๖, ๑๐๗, ๑๐๘, ๑๐๙, ๑๑๒, ๑๑๔, ๑๒๐, ๑๒๖, ๑๔๐,
๑๔๘, ๑๔๙, ๑๕๒, ๑๕๔, ๑๕๖, ๑๖๕, ๑๖๘, ๑๗๓, ๑๗๗, ๑๗๙, ๑๘๒, ๑๘๖, ๑๘๙, ๑๙๑,
๑๙๖
กำรจำแนก, ๒๒, ๓๕, ๖๑, ๑๕๙, ๑๗๖, ๑๗๗, ๑๙๐
กำรเปรียบเทียบ, ๗๔, ๗๕, ๗๘, ๑๖๔, ๑๘๗, ๑๙๐
กำรแปลควำม, ๗๖
กำรพรรณนำ, ๑๗, ๕๘, ๗๔, ๑๒๔, ๑๖๘, ๑๘๑, ๑๘๕
กำรเมือง, ๑, ๕, ๘, ๑๗, ๑๘, ๒๐, ๒๑, ๕๐, ๘๖, ๘๘, ๑๐๖, ๑๑๑, ๑๒๒, ๑๒๙, ๑๔๑, ๑๔๖,
๑๕๗, ๑๖๐, ๑๗๗, ๑๗๘, ๑๘๓, ๑๘๔, ๑๘๕, ๑๘๖, ๑๘๗, ๑๙๒, ๑๙๗, ๒๐๓, ๒๐๕, ๒๐๘,
๒๓๓
กำรเล่นคำ, ๗๗, ๗๘, ๑๘๗, ๑๙๖
กำรเล่นเสียง, ๗๔, ๗๗, ๘๔
กำรเล่ำเรื่อง, ๑, ๘, ๑๔๐, ๑๘๐, ๑๘๑, ๑๘๔, ๑๘๕, ๑๘๖, ๑๘๗, ๑๘๘, ๑๘๙, ๑๙๑, ๑๙๓,
๑๙๖, ๒๓๔
กำรวิ พำกษ์วิจำรณ์ , ๗๖, ๑๒๓, ๑๒๖, ๑๔๐
กำรอธิ บำย, ๗๔, ๘๖, ๑๘๐, ๑๙๓, ๒๐๔, ๒๑๔, ๒๑๕
เกร็ด, ๓๕, ๔๑, ๑๓๒, ๑๕๙
แก่นของเรื่อง, ๑, ๖, ๒๐, ๒๓, ๑๙๘, ๒๓๓
ขนบธรรมเนี ยมประเพณี , ๖, ๒๐, ๔๐, ๔๙, ๕๘, ๑๓๒, ๑๙๓, ๒๓๓
ข้อแตกต่ำง, ๔, ๑๖, ๒๑, ๒๓๓
ข้อเท็จจริ ง, ๖, ๗, ๑๖, ๑๗, ๒๐, ๒๑, ๑๗๙, ๑๘๐, ๒๐๐, ๒๓๓
ขอบข่ำย, ๔, ๑๖, ๑๗๗
๒๕๗

ข้อมูลทำงประวัติศำสตร์, ๖, ๙, ๑๘, ๑๕๙, ๑๗๖, ๑๘๒, ๑๘๔, ๑๙๐, ๑๙๑, ๒๐๓, ๒๑๔,
๒๓๖
เขมร, ๖, ๓๖, ๖๘, ๙๓, ๙๕, ๙๙, ๑๑๒
ครองรำชย์, ๔๗, ๘๗, ๘๘, ๙๐, ๙๓, ๙๔, ๙๕, ๙๖, ๙๗, ๑๐๑, ๑๐๒, ๑๐๖, ๑๒๕, ๑๕๒
ควำมงำม, ๑๖, ๑๗, ๒๑, ๓๑, ๔๙, ๗๘, ๘๕, ๑๖๙, ๒๓๓
ควำมเชื่อมโยง, ๔, ๑๙, ๒๐
ควำมแตกต่ำง, ๔, ๕, ๑๒, ๑๖, ๑๗, ๒๒, ๑๓๓, ๑๔๔, ๑๖๒, ๑๗๕, ๑๗๖, ๑๘๐, ๑๘๕, ๒๐๘,
๒๐๙
ควำมไพเรำะ, ๑๖, ๑๗, ๒๑, ๒๓, ๒๔, ๗๓, ๗๗, ๑๘๑, ๑๘๙, ๑๙๖, ๒๓๓
ควำมรู้, ๒, ๓, ๔, ๖, ๗, ๑๗, ๒๐, ๓๑, ๔๑, ๕๗, ๕๘, ๕๙, ๖๑, ๖๔, ๖๕, ๖๖, ๖๗, ๖๘, ๗๓,
๗๖, ๘๕, ๑๐๖, ๑๑๖, ๑๒๒, ๑๔๓, ๑๔๔, ๑๔๕, ๑๔๖, ๑๔๗, ๑๔๘, ๑๕๔, ๑๕๘, ๑๖๐,
๑๖๘, ๑๗๔, ๑๘๒, ๑๘๔, ๑๘๕, ๑๘๖, ๑๙๐, ๑๙๑, ๑๙๒, ๑๙๔, ๑๙๕, ๑๙๘, ๒๐๗, ๒๐๘,
๒๑๐, ๒๑๔, ๒๓๓, ๒๓๔, ๒๓๕
ควำมสมจริ ง, ๑, ๗, ๑๒, ๑๘, ๓๑, ๓๒, ๓๓, ๑๒๐, ๑๔๐, ๑๘๑, ๑๘๒, ๑๘๙, ๑๙๑
ควำมสัมพันธ์, ๔, ๖, ๙, ๑๖, ๗๘, ๘๖, ๘๗, ๙๓, ๑๒๑, ๑๒๔, ๑๔๓, ๑๔๔, ๑๔๗, ๑๗๕,
๑๗๗, ๑๗๘, ๑๘๑, ๑๘๒, ๑๘๗, ๑๘๙, ๑๙๑, ๑๙๓, ๑๙๖, ๑๙๘, ๒๐๐, ๒๐๒, ๒๐๓, ๒๐๔,
๒๐๕, ๒๐๗, ๒๐๙, ๒๑๒, ๒๑๔, ๒๓๔, ๒๓๕
คำศัพท์, ๑๘๖
คุณค่ำ, ๔, ๕, ๖, ๑๗, ๑๙, ๒๐, ๒๑, ๗๔, ๗๖, ๑๒๗, ๑๔๔, ๑๕๘, ๑๗๕, ๑๗๖, ๑๗๘, ๑๘๒,
๑๘๙, ๒๐๖, ๒๐๙, ๒๑๑, ๒๑๔, ๒๓๓
คุณสมบัติ, ๕, ๑๖๕, ๑๖๗, ๑๗๓, ๑๗๙, ๑๘๕, ๑๙๘
เครื่องมือ, ๕, ๖, ๒๐, ๑๒๓, ๑๗๔, ๑๘๕, ๑๘๖, ๒๐๖, ๒๐๘, ๒๓๓, ๒๓๔, ๒๓๕
โครงเรื่อง, ๑, ๑๗, ๑๙, ๑๒๙, ๑๔๘, ๑๖๘, ๑๘๑, ๑๘๓, ๑๘๕, ๑๘๙, ๑๙๐, ๑๙๑, ๑๙๒, ๒๐๒,
๒๓๕
โคลง, ๒๔, ๒๕, ๒๖, ๒๙, ๓๐, ๓๑, ๓๒, ๓๕, ๓๖, ๔๘, ๕๕, ๕๖, ๕๘, ๖๐, ๖๔, ๖๙, ๗๐, ๗๑,
๗๘, ๗๙, ๙๗, ๙๙, ๑๑๐, ๑๑๑, ๑๑๓, ๑๑๕, ๑๑๖, ๑๑๗, ๑๑๘, ๑๑๙, ๑๒๐, ๑๒๓, ๑๒๔,
๑๔๙, ๑๖๖, ๑๖๘, ๑๖๙, ๑๗๕, ๑๗๘, ๑๗๙, ๑๘๒, ๑๙๐, ๑๙๖
งำนค้นคว้ำ, ๒, ๑๗๕
งำนวิ จยั , ๒, ๑๗๕, ๑๘๓, ๑๘๖, ๑๘๙, ๑๙๒, ๑๙๓, ๑๙๗, ๒๐๑, ๒๐๒, ๒๐๔, ๒๐๖, ๒๐๗
จดหมำยเหตุ, ๖, ๑๘, ๒๐, ๒๓, ๓๓, ๓๖, ๓๙, ๙๗, ๑๐๘, ๑๒๐, ๑๒๓, ๑๕๘, ๑๕๙, ๑๗๖,
๑๗๗, ๒๑๖, ๒๓๓
จอมพล ป. พิ บลู สงครำม, ๕, ๑๘, ๑๒๖, ๑๕๕, ๑๕๖, ๑๕๗, ๑๘๖
๒๕๘

จักรวรรดิ วตั ร, ๔๘, ๔๙, ๕๐, ๕๓, ๑๖๕, ๑๗๙


จำรีตประเพณี , ๑๙, ๔๐, ๕๐, ๑๕๘, ๑๖๑, ๑๖๒, ๑๗๔, ๒๓๔
จำรึก, ๑, ๖, ๙, ๑๐, ๑๑, ๑๒, ๑๖, ๑๙, ๒๒, ๒๓, ๓๐, ๔๗, ๖๑, ๗๗, ๘๗, ๘๘, ๘๙, ๙๐, ๙๑,
๑๑๙, ๑๒๒, ๑๔๓, ๑๔๘, ๑๕๘, ๑๖๐, ๑๗๖, ๑๗๘
จำแนก, ๒๒, ๓๕, ๖๑, ๑๗๗, ๑๙๐
จิ นตนำกำร, ๗, ๙, ๑๖, ๑๗, ๒๐, ๒๑, ๓๒, ๗๔, ๘๐, ๑๖๐, ๑๘๐, ๑๘๑, ๑๘๕, ๑๙๑, ๒๐๑,
๒๐๔, ๒๓๓, ๒๓๕
จิ นตภำพ, ๗๔, ๘๐, ๘๔, ๑๘๑, ๑๙๑
จุดเปลี่ยน, ๘, ๑๐, ๒๑, ๒๐๕, ๒๓๓
จุดมุ่งหมำยในกำรแต่ง, ๖๙, ๑๔๘, ๑๗๕, ๑๗๘, ๑๙๐
ฉันท์, ๑, ๒๒, ๒๔, ๒๗, ๒๘, ๒๙, ๓๐, ๖๐, ๙๗, ๑๐๙, ๒๑๑
ฉันทลักษณ์ , ๒๓, ๒๔, ๒๗, ๗๓, ๑๙๕
ชำติ , ๕, ๖, ๘, ๑๐, ๑๒, ๑๓, ๑๔, ๑๕, ๑๗, ๑๘, ๑๙, ๒๐, ๒๕, ๔๐, ๔๗, ๖๔, ๗๑, ๗๔, ๙๐,
๙๕, ๑๐๘, ๑๑๗, ๑๒๑, ๑๒๒, ๑๒๓, ๑๒๖, ๑๓๐, ๑๓๑, ๑๓๒, ๑๓๔, ๑๓๗, ๑๔๓, ๑๔๘,
๑๔๙, ๑๕๔, ๑๕๕, ๑๕๖, ๑๕๗, ๑๖๒, ๑๖๗, ๑๖๘, ๑๗๒, ๑๘๓, ๑๘๔, ๑๘๕, ๑๘๖, ๑๘๘,
๑๘๙, ๑๙๐, ๑๙๗, ๑๙๙, ๒๐๐, ๒๐๑, ๒๐๓, ๒๐๗, ๒๐๘, ๒๑๒, ๒๓๒, ๒๓๓, ๒๓๔
ชำติ นิยม, ๑๒๓, ๑๒๖, ๑๔๘, ๑๕๕, ๑๕๖, ๑๕๗, ๑๖๒, ๑๗๔, ๑๘๑, ๑๘๔, ๑๘๕, ๑๘๖,
๑๘๘, ๑๙๒, ๒๐๑, ๒๐๔, ๒๓๔
ชีวประวัติ, ๔๗, ๑๓๑, ๑๔๑, ๑๘๕, ๑๘๖, ๑๙๗
ชุมนุม, ๑๐๘, ๑๑๒, ๑๑๔, ๑๑๕, ๑๓๒
ต่อต้ำน, ๙๓, ๑๒๙, ๑๕๗, ๑๗๗, ๑๙๓, ๒๐๑, ๒๐๘
ตัวละคร, ๑, ๒, ๖, ๗, ๑๒, ๑๕, ๑๗, ๗๔, ๘๑, ๘๒, ๘๓, ๘๔, ๑๓๑, ๑๓๙, ๑๔๐, ๑๔๑, ๑๕๔,
๑๕๗, ๑๖๗, ๑๖๘, ๑๗๑, ๑๗๓, ๑๗๙, ๑๘๐, ๑๘๑, ๑๘๒, ๑๘๓, ๑๘๔, ๑๘๕, ๑๘๘, ๑๘๙,
๑๙๑, ๑๙๒, ๑๙๓, ๑๙๔, ๑๙๖, ๒๐๐, ๒๐๑, ๒๐๕, ๒๓๔, ๒๓๕, ๒๓๖
ตำนำน, ๑, ๖, ๒๐, ๒๒, ๒๖, ๓๓, ๕๙, ๑๓๔, ๑๓๕, ๑๕๔, ๑๕๕, ๑๕๘, ๑๕๙, ๑๖๐, ๑๖๗,
๑๗๕, ๑๗๖, ๑๗๗, ๒๐๕, ๒๑๒, ๒๑๓, ๒๑๔, ๒๓๒, ๒๓๓, ๒๓๔
ทรรศนะ, ๑๘๕, ๑๘๗, ๑๘๙, ๑๙๔, ๑๙๘, ๒๓๒, ๒๓๔
ทฤษฎี, ๒, ๑๒, ๒๐, ๖๕, ๑๒๖, ๑๒๗, ๑๘๒, ๑๘๔, ๑๙๓, ๒๐๓, ๒๐๖, ๒๑๒, ๒๓๒, ๒๓๔
ทศพิ ธรำชธรรม, ๔๐, ๔๑, ๔๘, ๕๐, ๘๗, ๑๐๕, ๑๐๖, ๑๖๕, ๑๗๙, ๒๑๘
ทำนุบำรุง, ๔๘, ๕๖, ๑๐๕, ๑๔๗, ๑๘๗
ไทย, ๕, ๘, ๙, ๑๑, ๑๔, ๑๕, ๑๙, ๒๐, ๒๒, ๒๕, ๓๓, ๓๔, ๓๗, ๔๕, ๔๘, ๕๐, ๕๗, ๕๙, ๖๐,
๖๕, ๖๖, ๗๐, ๗๑, ๗๕, ๗๖, ๘๒, ๘๗, ๘๙, ๙๐, ๙๓, ๙๔, ๙๕, ๙๗, ๙๘, ๑๐๙, ๑๑๐, ๑๑๑,
๒๕๙

๑๑๒, ๑๑๔, ๑๑๕, ๑๒๑, ๑๒๒, ๑๒๖, ๑๒๘, ๑๒๙, ๑๓๐, ๑๓๑, ๑๓๒, ๑๓๖, ๑๓๗, ๑๔๐,
๑๔๓, ๑๕๐, ๑๕๒, ๑๕๓, ๑๕๔, ๑๕๕, ๑๕๖, ๑๕๗, ๑๕๘, ๑๕๙, ๑๖๕, ๑๖๗, ๑๖๘, ๑๗๖,
๑๗๘, ๑๘๑, ๑๘๒, ๑๘๓, ๑๘๔, ๑๘๕, ๑๘๗, ๑๘๘, ๑๘๙, ๑๙๐, ๑๙๑, ๑๙๓, ๑๙๖, ๑๙๗,
๒๐๐, ๒๐๒, ๒๐๓, ๒๐๔, ๒๐๕, ๒๐๘, ๒๑๒, ๒๑๓, ๒๑๔, ๒๓๔
ธนบุรี, ๒๕, ๓๑, ๓๒, ๓๕, ๓๖, ๓๗, ๓๙, ๔๘, ๕๕, ๕๖, ๕๗, ๖๙, ๑๐๗, ๑๐๘, ๑๐๙, ๑๑๐,
๑๑๑, ๑๑๒, ๑๑๓, ๑๑๔, ๑๑๕, ๑๑๖, ๑๑๗, ๑๑๘, ๑๑๙, ๑๒๐, ๑๒๑, ๑๔๘, ๑๖๖, ๑๖๘,
๑๗๖, ๑๗๘, ๑๗๙, ๑๙๘
นวนิ ยำยอิ งประวัติศำสตร์, ๑, ๒, ๑๗, ๑๘, ๒๓, ๓๓, ๓๙, ๕๗, ๑๓๑, ๑๓๓, ๑๓๘, ๑๓๙,
๑๔๑, ๑๕๔, ๑๘๒, ๑๘๔, ๑๘๕, ๑๘๖, ๑๘๗, ๑๑๘, ๑๘๙, ๑๙๐, ๑๙๑, ๑๙๒, ๑๙๙, ๒๐๐,
๒๐๒, ๒๐๓
นิ ยำม, ๑, ๒, ๔, ๕, ๖, ๑๖, ๑๔๕, ๑๖๗, ๑๗๔, ๑๗๘, ๒๐๘
เนื้ อเรื่อง, ๑, ๔๒, ๑๗๓, ๑๗๕, ๑๗๖, ๑๘๔, ๑๘๕, ๑๙๐, ๑๙๒
เนื้ อหำ, ๑, ๒, ๓, ๕, ๖, ๑๔, ๑๖, ๑๗, ๑๙, ๒๐, ๒๓, ๓๐, ๓๒, ๓๓, ๓๔, ๓๖, ๓๙, ๔๑, ๔๗,
๔๘, ๕๖, ๕๗, ๕๘, ๕๙, ๖๐, ๖๙, ๗๓, ๘๕, ๘๘, ๘๙, ๙๗, ๙๙, ๑๑๐, ๑๒๐, ๑๒๓, ๑๒๕,
๑๒๖, ๑๒๘, ๑๓๑, ๑๓๒, ๑๓๘, ๑๔๓, ๑๖๐, ๑๖๗, ๑๗๕, ๑๗๖, ๑๗๘, ๑๗๙, ๑๘๖, ๑๘๗,
๑๘๙, ๑๙๒, ๑๙๔, ๑๙๕, ๑๙๖, ๒๐๑, ๒๐๒, ๒๐๓, ๒๐๖, ๒๑๒, ๒๑๓, ๒๑๔, ๒๓๓, ๒๓๔
แนวคิ ด, ๒, ๓, ๗, ๔๐, ๑๒๔, ๑๔๕, ๑๔๖, ๑๔๗, ๑๔๘, ๑๕๕, ๑๕๘, ๑๖๒, ๑๖๖, ๑๗๔,
๑๗๖, ๑๗๘, ๑๘๑, ๑๘๖, ๑๘๘, ๑๘๙, ๑๙๑, ๑๙๒, ๑๙๗, ๒๐๑, ๒๐๒, ๒๐๓, ๒๐๔, ๒๐๖,
๒๐๘, ๒๑๓, ๒๓๒, ๒๓๔, ๒๓๕
แนวทำงกำรวิ เครำะห์, ๑๙๔
บทควำม, ๒, ๑๒๔, ๑๗๗, ๑๗๙, ๑๘๑, ๑๘๒, ๑๘๓, ๑๙๓, ๒๐๖, ๒๐๗, ๒๐๘, ๒๔๒
บทบำท, ๖, ๕๗, ๘๖, ๑๒๐, ๑๒๙, ๑๔๒, ๑๔๖, ๑๔๘, ๑๕๘, ๑๖๒, ๑๗๗, ๑๘๓, ๑๘๔, ๑๘๖,
๑๘๙, ๑๙๐, ๑๙๑, ๑๙๒, ๑๙๓, ๑๙๗, ๒๐๐, ๒๐๑, ๒๐๓, ๒๐๖, ๒๑๐, ๒๑๔
บรรพชน, ๘, ๑๔, ๑๕, ๒๑, ๑๗๒, ๒๐๗, ๒๓๓
บรรยำย, ๖, ๑๓, ๓๗, ๗๒, ๗๓, ๗๔, ๗๕, ๘๒, ๙๗, ๑๑๐, ๑๗๗, ๑๘๐, ๑๘๑, ๑๘๕, ๑๘๙,
๑๙๕
บริ บท, ๑, ๒, ๔, ๙, ๑๐, ๑๑, ๑๒, ๑๙, ๒๐, ๘๖, ๘๗, ๘๘, ๙๓, ๙๗, ๑๑๐, ๑๑๖, ๑๒๓, ๑๒๖,
๑๓๑, ๑๓๒, ๑๔๓, ๑๔๕, ๑๔๗, ๑๗๓, ๑๗๖, ๑๘๓, ๑๘๔, ๑๘๕, ๑๘๖, ๑๘๘, ๑๙๐, ๑๙๖,
๑๙๗, ๑๙๘, ๒๐๑, ๒๐๕, ๒๐๗, ๒๐๘, ๒๐๙, ๒๑๒, ๒๑๓, ๒๓๓, ๒๓๕
บ่อเกิ ด, ๘, ๒๑, ๒๓๓
๒๖๐

บันทึก, ๑, ๕, ๖, ๙, ๑๖, ๑๗, ๒๐, ๒๒, ๓๓, ๓๕, ๓๖, ๓๙, ๔๑, ๔๗, ๖๗, ๗๓, ๗๔, ๘๕, ๘๘,
๙๓, ๙๗, ๑๐๗, ๑๒๐, ๑๒๓, ๑๒๔, ๑๒๙, ๑๓๐, ๑๓๑, ๑๔๑, ๑๔๓, ๑๕๘, ๑๕๙, ๑๖๑,
๑๗๑, ๑๗๕, ๑๗๖, ๑๘๐, ๑๘๙, ๑๙๕, ๑๙๗, ๒๐๕, ๒๐๖, ๒๑๒, ๒๑๓, ๒๑๔, ๒๓๓
บ้ำนเมือง, ๑, ๔, ๖, ๙, ๑๔, ๑๙, ๒๑, ๓๑, ๓๓, ๓๔, ๓๕, ๓๖, ๔๑, ๔๘, ๔๙, ๕๐, ๕๖, ๕๙,
๖๗, ๗๐, ๗๓, ๘๒, ๘๕, ๘๖, ๘๗, ๘๙, ๙๐, ๙๒, ๙๓, ๙๕, ๑๐๗, ๑๑๐, ๑๑๔, ๑๑๕, ๑๑๗,
๑๒๐, ๑๒๓, ๑๒๕, ๑๒๖, ๑๒๘, ๑๒๙, ๑๓๐, ๑๓๒, ๑๔๓, ๑๔๙, ๑๕๒, ๑๕๕, ๑๕๗, ๑๕๙,
๑๖๘, ๑๗๑, ๑๘๓, ๑๘๔, ๑๘๙, ๑๙๐, ๑๙๑, ๑๙๘, ๒๓๓, ๒๓๔
เบือ้ งหลัง, ๘, ๙, ๒๑, ๓๕, ๑๙๐, ๒๓๓
ปกครอง, ๑๒, ๒๒, ๔๘, ๔๙, ๕๐, ๘๒, ๘๗, ๘๘, ๙๐, ๙๒, ๙๓, ๙๕, ๙๖, ๙๗, ๑๐๖, ๑๐๗,
๑๑๐, ๑๑๔, ๑๑๖, ๑๒๓, ๑๒๕, ๑๒๖, ๑๒๘, ๑๓๒, ๑๔๑, ๑๔๗, ๑๕๕, ๑๕๗, ๑๖๑, ๑๖๕,
๑๖๘, ๑๗๑, ๑๗๗, ๑๗๙, ๑๘๐, ๑๘๒, ๑๘๔, ๑๘๗, ๑๙๐, ๑๙๓, ๑๙๘, ๒๐๔, ๒๐๕, ๒๐๖,
๒๐๘
ประกอบสร้ำง, ๑๐๔, ๑๔๔, ๑๔๕, ๑๔๗, ๑๕๔, ๑๗๙, ๑๘๐, ๑๘๑, ๑๘๔, ๑๘๘
ประโยชน์ , ๔, ๗, ๘, ๑๒, ๑๖, ๒๐, ๒๑, ๒๒, ๔๘, ๔๙, ๕๔, ๕๕, ๗๑, ๑๘๓, ๑๘๖, ๒๐๙,
๒๑๓, ๒๓๓
ประวัติวรรณคดี, ๘, ๑๗, ๑๗๘
ประวัติศำสตร์, ๑, ๓, ๔, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐, ๑๓, ๑๔, ๑๖, ๑๗, ๑๙, ๒๐, ๒๒, ๒๓, ๒๔, ๒๕,
๒๖, ๒๗, ๒๘, ๓๐, ๓๑, ๓๒, ๓๓, ๓๔, ๓๕, ๓๖, ๓๙, ๔๑, ๔๒, ๔๗, ๔๘, ๕๗, ๕๘, ๕๙,
๖๐, ๖๑, ๖๘, ๖๙, ๗๓, ๗๔, ๘๑, ๘๔, ๘๕, ๘๖, ๘๗, ๘๘, ๘๙, ๙๒, ๙๗, ๙๙, ๑๐๐, ๑๐๑,
๑๐๖, ๑๐๗, ๑๑๐, ๑๑๖, ๑๑๘, ๑๒๐, ๑๒๑, ๑๒๓, ๑๒๔, ๑๒๕,๑๒๖, ๑๒๙, ๑๓๐, ๑๓๑,
๑๓๒, ๑๓๓, ๑๓๗, ๑๔๐, ๑๔๑, ๑๔๒, ๑๔๓, ๑๔๔, ๑๔๖, ๑๔๗, ๑๔๘, ๑๔๙, ๑๕๔, ๑๕๖,
๑๕๗, ๑๕๘, ๑๕๙, ๑๖๐, ๑๖๑, ๑๖๕, ๑๖๗, ๑๖๘, ๑๗๔, ๑๗๕, ๑๗๖, ๑๗๗, ๑๗๘, ๑๗๙,
๑๘๑, ๑๘๒, ๑๘๓, ๑๘๔, ๑๘๕, ๑๘๖, ๑๘๗, ๑๘๘, ๑๘๙, ๑๙๐, ๑๙๑, ๑๙๒, ๑๙๓, ๑๙๔,
๑๙๕, ๑๙๗, ๑๙๙, ๒๐๐, ๒๐๒, ๒๐๓, ๒๐๔, ๒๐๕, ๒๐๖, ๒๐๘, ๒๑๑, ๒๑๒, ๒๑๓, ๒๑๔,
๒๓๒, ๒๓๓, ๒๓๔, ๒๓๕
เปรียบเทียบ, ๑๐, ๑๒, ๗๔, ๗๕, ๗๘, ๗๙, ๘๒, ๘๓, ๑๒๕, ๑๒๗, ๑๘๖, ๑๘๗, ๑๙๐, ๑๙๘,
๒๐๒, ๒๐๔, ๒๓๒, ๒๓๔
ผสมผสำน, ๒๔, ๒๙, ๓๐, ๘๕, ๙๒, ๑๒๗, ๑๓๐, ๑๗๘, ๑๘๘, ๑๙๙, ๒๓๓
ผูแ้ ต่ง, ๑, ๔, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๒, ๑๓, ๑๕, ๑๖, ๑๘, ๒๐, ๒๓, ๒๗, ๒๙, ๓๐, ๓๒, ๓๓, ๓๔, ๓๘,
๔๑, ๔๘, ๕๕, ๕๘, ๖๖, ๖๙, ๗๐, ๗๑, ๗๙, ๘๐, ๘๔, ๘๖, ๙๗, ๑๑๐, ๑๒๐, ๑๒๙, ๑๓๑,
๑๓๓, ๑๓๔, ๑๓๕, ๑๓๖, ๑๓๗, ๑๓๘, ๑๓๙, ๑๔๐, ๑๔๑, ๑๔๓, ๑๔๘, ๑๕๔, ๑๕๗, ๑๖๐,
๒๖๑

๑๖๗, ๑๖๘, ๑๗๓, ๑๗๕, ๑๗๗, ๑๗๘, ๑๘๒, ๑๘๙, ๑๙๐, ๑๙๒, ๑๙๔, ๑๙๘, ๒๑๐, ๒๑๑,
๒๑๓, ๒๑๕, ๒๓๓
ผูน้ ำ, ๑๓, ๘๖, ๙๓, ๙๖, ๑๐๙, ๑๕๔, ๑๗๒, ๑๗๘, ๑๘๖, ๑๙๓
พงศำวดำร, ๑, ๖, ๘, ๑๐, ๑๘, ๒๐, ๒๒, ๓๓, ๓๖, ๔๑, ๖๐, ๗๓, ๙๔, ๙๗, ๙๙, ๑๐๔, ๑๐๕,
๑๐๗, ๑๑๑, ๑๑๕, ๑๑๘, ๑๑๙, ๑๒๓, ๑๒๔, ๑๒๕, ๑๔๓, ๑๕๘, ๑๕๙, ๑๖๐, ๑๖๗, ๑๗๕,
๑๗๖, ๑๘๑, ๑๘๘, ๑๙๒, ๒๓๓
พม่ำ, ๘, ๑๕, ๒๗, ๓๓, ๓๖, ๓๗, ๔๕, ๔๘, ๖๐, ๗๐, ๙๒, ๙๔, ๙๕, ๙๗, ๑๐๗, ๑๐๘, ๑๐๙,
๑๑๐, ๑๑๑, ๑๑๒, ๑๑๔, ๑๑๕, ๑๒๑, ๑๒๒, ๑๒๙, ๑๓๑, ๑๓๒, ๑๓๓, ๑๔๓, ๑๕๒, ๑๕๔,
๑๖๘, ๑๘๑, ๑๘๔, ๑๘๕, ๑๘๖, ๑๙๓, ๑๙๕
พระเจ้ำกรุงธนบุรี, ๒๕, ๒๗, ๓๑, ๓๒, ๓๕, ๓๗, ๔๘, ๕๕, ๕๖, ๕๗, ๖๘, ๑๐๗, ๑๐๘, ๑๐๙,
๑๑๐, ๑๑๑, ๑๑๒, ๑๑๓, ๑๑๔, ๑๑๕, ๑๑๖, ๑๑๗, ๑๑๘, ๑๑๙, ๑๒๐, ๑๓๘, ๑๖๖, ๑๖๘,
๑๗๑, ๑๗๘, ๒๑๕
พระเจ้ำตำกสิ นมหำรำช, ๒๖, ๒๙, ๑๐๗, ๑๐๘, ๑๑๐, ๑๑๑, ๑๓๑, ๑๓๒, ๑๓๘, ๑๗๑
พระรำชกรณี ยกิ จ, ๑, ๒๗, ๒๘, ๔๖, ๔๗, ๕๖, ๕๗, ๕๙, ๗๓, ๘๒, ๙๖, ๙๘, ๑๐๕, ๑๑๐,
๑๑๕, ๑๑๗, ๑๑๙, ๑๒๒, ๑๒๙, ๑๕๙
พระรำชหัตถเลขำ, ๒๓, ๓๖, ๕๗, ๖๖ม ๗๔, ๑๒๐, ๑๒๓, ๑๒๕
พ่อขุนรำมคำแหง, ๑๐, ๑๑, ๑๓, ๒๓, ๔๗, ๕๙, ๖๑, ๗๗, ๘๗, ๘๘, ๘๙, ๙๐, ๙๑, ๑๔๓,
๑๔๘, ๑๕๘, ๑๗๘, ๒๑๕, ๒๑๙, ๒๒๐
พัฒนำกำร, ๑, ๒, ๓๙, ๑๗๗, ๑๙๑, ๑๙๖, ๑๙๗, ๒๐๕, ๒๑๔
ภำพตัวแทน, ๑๘๔, ๑๘๕
ภำพพจน์ , ๕๘, ๗๔, ๗๘, ๗๙, ๘๔, ๘๕, ๑๒๔, ๑๖๙, ๑๙๑, ๑๙๒, ๒๐๒, ๒๓๓, ๒๔๕
ภำพลักษณ์ , ๑, ๑๔, ๓๔, ๔๘, ๕๗, ๕๘, ๗๘, ๘๓, ๑๒๙, ๑๔๘, ๑๔๙, ๑๕๑, ๑๕๒, ๑๕๕,
๑๕๗, ๑๕๘, ๑๖๒, ๑๖๕, ๑๖๘, ๑๗๓, ๑๗๙, ๑๘๒, ๑๘๓, ๑๘๗, ๑๘๘, ๑๙๓, ๑๙๖, ๒๐๓
ภำพสะท้อน, ๒๐, ๑๗๙, ๑๘๔, ๑๘๕, ๑๙๒, ๑๙๗, ๒๐๓, ๒๐๗, ๒๐๙, ๒๑๐
ภำษำ, ๒, ๓, ๔, ๖, ๑๒, ๑๕, ๑๖, ๑๗, ๑๙, ๒๐, ๒๑, ๓๑, ๓๒, ๔๓, ๖๕, ๗๓, ๗๖, ๗๘, ๘๐,
๑๒๔, ๑๔๓, ๑๔๔, ๑๔๕, ๑๔๘, ๑๕๖, ๑๖๙, ๑๗๗, ๑๗๙, ๑๘๑, ๑๘๖, ๑๘๙, ๑๙๐, ๑๙๑,
๑๙๔, ๒๐๖, ๒๑๓, ๒๑๔, ๒๓๓, ๒๓๕
ภูมิปัญญำ, ๘, ๒๐, ๑๕๗, ๑๙๓, ๑๙๗, ๒๑๑, ๒๑๓
ภูมิหลัง, ๗, ๒๐, ๑๖๘, ๑๘๙, ๑๙๐, ๒๐๑
มุมมอง, ๑๔๐, ๑๔๑, ๑๗๓, ๑๘๐, ๑๘๑, ๑๘๔, ๑๘๕, ๑๘๘, ๑๙๓, ๑๙๔, ๑๙๘, ๒๐๑, ๒๑๕,
๒๓๒, ๒๓๔
รส, ๑๗, ๔๐, ๕๙, ๗๔, ๗๗, ๘๐, ๘๑, ๘๒, ๘๓, ๘๔, ๙๙, ๑๒๔, ๑๙๐, ๑๙๒
๒๖๒

ร้อยกรอง, ๑, ๕, ๖, ๒๓, ๒๔, ๒๕, ๒๙, ๓๐, ๓๑, ๓๒, ๓๓, ๓๖, ๘๐, ๘๕, ๑๒๐, ๑๒๖, ๑๗๕,
๑๗๖, ๑๗๗, ๑๘๘, ๒๐๙, ๒๑๖, ๒๓๔
ร้อยแก้ว, ๑, ๕, ๖, ๒๓, ๓๐, ๓๒, ๓๓, ๓๖, ๘๕, ๑๒๐, ๑๒๖, ๑๗๕, ๑๗๖, ๑๗๗, ๑๘๑,
๒๓๔
รัตนโกสิ นทร์, ๑๑, ๑๒, ๓๐, ๓๓, ๓๔, ๓๖, ๑๑๐, ๑๒๐, ๑๒๔, ๑๓๐, ๑๓๑, ๑๓๓, ๑๓๔,
๑๔๘, ๑๕๓, ๑๕๙, ๑๗๖, ๑๗๗, ๑๗๘, ๑๗๙, ๑๘๔, ๑๙๐, ๑๙๑, ๑๙๕, ๑๙๗, ๒๐๘, ๒๑๔
รัชกำลที่ ๙, ๔๑, ๔๗, ๑๒๐, ๑๒๕, ๑๓๑, ๑๓๒, ๑๗๕, ๑๗๖
รำชสังคหวัตถุ, ๔๘, ๔๙, ๑๖๕
ร่ำย, ๑, ๒๔, ๒๕, ๒๖, ๒๘, ๒๙, ๓๐, ๓๘, ๑๒๔, ๑๗๑, ๑๙๐
รูปแบบ, ๑, ๒, ๓, ๕, ๙, ๑๒, ๑๖, ๒๐, ๒๒, ๒๓, ๒๔, ๒๖, ๓๐, ๓๑, ๓๒, ๓๓, ๔๒, ๗๙, ๘๕,
๙๓, ๑๒๐, ๑๔๕, ๑๔๘, ๑๖๑, ๑๗๔, ๑๘๔, ๑๘๗, ๒๐๓, ๒๐๗, ๒๑๓, ๒๓๓, ๒๓๖
ลักษณะคำประพันธ์, ๑๗๕, ๑๗๘, ๑๙๐
ลักษณะเฉพำะ, ๒, ๒๒, ๓๐, ๘๕, ๘๖, ๑๔๔, ๑๗๕, ๒๐๓, ๒๓๓
ลักษณะเด่น, ๑๙, ๒๒, ๔๘, ๑๘๓, ๑๘๕, ๑๘๘, ๑๙๔, ๑๙๕, ๑๙๗, ๒๐๗, ๒๑๐, ๒๑๔, ๒๓๒,
๒๓๔
ล้ำนนำ, ๑๓, ๙๓, ๙๔, ๑๐๙, ๑๑๘, ๑๙๒
ลิ ลิต, ๑, ๘, ๑๔, ๑๙, ๒๒, ๒๔, ๒๖, ๓๐, ๓๔, ๔๘, ๕๐, ๕๕, ๕๖, ๕๘, ๕๙, ๖๐, ๖๑, ๖๔, ๖๕,
๖๖, ๗๐, ๗๑, ๗๓, ๗๘, ๗๙, ๘๐, ๘๑, ๘๒, ๘๓, ๘๔, ๙๗, ๙๙, ๑๐๐, ๑๐๑, ๑๐๒, ๑๐๓,
๑๐๔, ๑๐๕, ๑๐๖, ๑๒๓, ๑๒๔, ๑๒๕, ๑๒๙, ๑๔๓, ๑๔๘, ๑๕๒, ๑๕๓, ๑๕๗, ๑๖๐, ๑๖๕,
๑๖๘, ๑๗๕, ๑๗๘, ๑๗๙, ๑๘๒, ๑๙๐, ๑๙๕
ลีลำ, ๑๗๖, ๑๗๗, ๑๘๓, ๑๘๙, ๑๙๕
วรรณกรรมท้องถิ่ น, ๒, ๑๙๔, ๒๐๕, ๒๐๖, ๒๐๙, ๒๑๐, ๒๑๑, ๒๑๒, ๒๑๓, ๒๑๕, ๒๓๒,
๒๓๔
วรรณคดี, ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐, ๑๒, ๑๔, ๑๖, ๑๗, ๑๙, ๒๐, ๒๒, ๒๓, ๒๔, ๒๕,
๒๖, ๒๗, ๒๘, ๓๐, ๓๑, ๓๒, ๓๓, ๓๔, ๓๕, ๓๖, ๓๙, ๔๗, ๔๘, ๕๗, ๕๘, ๕๙, ๖๐, ๖๑,
๖๙, ๗๓, ๗๔, ๘๐, ๘๑, ๘๒, ๘๔, ๘๕, ๘๖, ๘๗, ๘๘, ๙๒, ๙๓, ๙๗, ๑๐๔, ๑๐๖, ๑๐๗,
๑๑๐, ๑๒๐, ๑๒๓, ๑๒๔, ๑๒๕, ๑๒๖, ๑๔๓, ๑๔๔, ๑๔๖, ๑๔๘,๑๔๙, ๑๕๔, ๑๕๕, ๑๕๖,
๑๕๗, ๑๕๘, ๑๖๐, ๑๖๒, ๑๖๕, ๑๖๗, ๑๖๘, ๑๗๔, ๑๗๕, ๑๗๖, ๑๗๘, ๑๗๙, ๑๘๐, ๑๘๑,
๑๘๒, ๑๘๓, ๑๘๖, ๑๘๙, ๑๙๐, ๑๙๓, ๑๙๔, ๑๙๕, ๑๙๖, ๑๙๗, ๒๐๐, ๒๐๒, ๒๐๓, ๒๑๓,
๒๓๒, ๒๓๓, ๒๓๔
๒๖๓

วรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศำสตร์, ๑, ๒, ๓, ๔, ๘, ๑๖, ๑๗, ๒๐, ๒๒, ๒๓, ๓๓, ๓๔, ๓๕,


๗๔, ๘๔, ๘๖, ๑๒๐, ๑๒๔, ๑๔๓, ๑๔๔, ๑๔๘, ๑๖๕, ๑๗๔, ๑๗๕, ๑๗๘, ๑๙๔, ๑๙๗,
๒๓๒, ๒๓๓, ๒๓๔, ๒๓๖
วรรณศิ ลป์ , ๔, ๕, ๒๐, ๒๑, ๗๔, ๑๔๘, ๑๖๘, ๑๗๔, ๑๗๖, ๑๗๙, ๑๘๑, ๑๘๔, ๑๘๘, ๑๙๖,
๒๑๓, ๒๓๓, ๒๓๔
วัฒนธรรม, ๑, ๔, ๕, ๗, ๘, ๑๐, ๑๑, ๑๒, ๑๓, ๒๐, ๒๑, ๒๕, ๓๓, ๔๐, ๔๗, ๖๖, ๖๗, ๘๖,
๘๘, ๘๙, ๙๑, ๙๓, ๑๑๐, ๑๒๒, ๑๓๐, ๑๓๑, ๑๔๑, ๑๔๓, ๑๔๕, ๑๕๖, ๑๕๗, ๑๕๘, ๑๖๗,
๑๖๘, ๑๗๔, ๑๗๗, ๑๘๐, ๑๘๔, ๑๘๕, ๑๘๖, ๑๘๘, ๑๙๐, ๑๙๑, ๑๙๓, ๑๙๗, ๑๙๘, ๒๐๐,
๒๐๓, ๒๐๔, ๒๐๕, ๒๐๖, ๒๐๘, ๒๑๐, ๒๑๒, ๒๑๓, ๒๑๔, ๒๓๓,๒๓๔
วัตถุประสงค์, ๑๖, ๑๙, ๒๑, ๒๒, ๓๔, ๖๙, ๗๐, ๗๑, ๙๗, ๑๘๕, ๑๘๖, ๑๘๗, ๑๘๙, ๑๙๐,
๑๙๑, ๑๙๒, ๑๙๗, ๒๐๑, ๒๐๒, ๒๐๕, ๒๐๖, ๒๐๘, ๒๑๓, ๒๓๓
วำทกรรม, ๑, ๒, ๓, ๑๔๔, ๑๔๕, ๑๔๖, ๑๔๗, ๑๔๘, ๑๔๙, ๑๕๑, ๑๕๒, ๑๕๔, ๑๕๕, ๑๕๖,
๑๕๗, ๑๕๘, ๑๖๐, ๑๖๒, ๑๖๕, ๑๖๘, ๑๗๔, ๑๗๕, ๑๗๘, ๑๗๙, ๑๘๒, ๑๘๓, ๑๘๔, ๑๘๕,
๑๘๖, ๑๘๗, ๑๘๘, ๑๙๓, ๒๐๓, ๒๐๘, ๒๓๔, ๒๓๕
วำทศิ ลป์ , ๗๔, ๘๓, ๘๔
วิ ทยำนิ พนธ์, ๒, ๑๔๖, ๑๗๗, ๑๘๓, ๑๘๔, ๑๘๖, ๑๘๗, ๑๘๙, ๑๙๐, ๑๙๑, ๑๙๒, ๑๙๕, ๒๐๑,
๒๑๒
วิ ธีกำรศึกษำ, ๔, ๗, ๑๖, ๒๐๙
วีรกรรม, ๑, ๑๔, ๓๕, ๔๗, ๖๐, ๗๓, ๘๑, ๑๐๙, ๑๒๖, ๑๒๙, ๑๓๑, ๑๔๓, ๑๔๙, ๑๕๑, ๑๖๗,
๑๗๙, ๑๘๓, ๑๘๙, ๑๙๐
วีรชน, ๑๔, ๑๓๖, ๑๕๗, ๑๗๗, ๑๘๙
วีรบุรษุ , ๒๐, ๓๕, ๘๑, ๘๒, ๑๓๐, ๑๓๑, ๑๔๘, ๑๔๙, ๑๕๑, ๑๕๗, ๑๖๖, ๑๖๗, ๑๗๑, ๑๗๔,
๑๗๗, ๑๘๑, ๑๘๒, ๑๘๓, ๑๘๕, ๑๘๖, ๑๘๘, ๑๙๐, ๑๙๑, ๒๐๒, ๒๐๓, ๒๐๔, ๒๐๗, ๒๓๔
วีรสตรี, ๓๕, ๑๓๕, ๑๕๗, ๑๗๗ม ๑๘๓, ๑๘๕, ๑๙๓, ๒๐๒, ๒๐๓
ศิ ลปะกำรประพันธ์, ๙, ๗๓, ๗๔, ๗๘, ๘๐, ๘๓, ๘๔, ๘๕, ๑๙๐, ๑๙๔, ๒๓๓
ศิ ลำจำรึก, ๑๐, ๑๒, ๑๓, ๑๙, ๒๓, ๔๗, ๖๑, ๗๗, ๘๗, ๘๘, ๘๙, ๙๑, ๑๔๓, ๑๔๘, ๑๕๘,
๑๗๘
เศรษฐกิ จ, ๑๐, ๒๐, ๓๖, ๔๗, ๖๐, ๗๓, ๘๖, ๘๗, ๑๑๑, ๑๑๗, ๑๒๕, ๑๒๗, ๑๔๑, ๑๗๙,
๑๘๖, ๑๙๐, ๒๐๓, ๒๐๕, ๒๐๘, ๒๐๙, ๒๑๐
สงครำม, ๕, ๑๓, ๑๔, ๑๘, ๓๓, ๓๔, ๓๖, ๔๘, ๖๑, ๖๓, ๖๔, ๖๖, ๗๙, ๘๔, ๘๙, ๙๐, ๙๒,
๙๔, ๙๕, ๙๗, ๙๘, ๙๙, ๑๐๖, ๑๐๗, ๑๐๘, ๑๐๙, ๑๑๐, ๑๑๔, ๑๑๖, ๑๑๗, ๑๒๑, ๑๒๓,
๒๖๔

๑๒๕, ๑๒๖, ๑๒๙, ๑๓๑, ๑๓๒, ๑๓๕, ๑๓๖, ๑๔๓, ๑๕๒, ๑๕๓, ๑๕๔, ๑๕๕, ๑๕๖, ๑๕๗,
๑๖๗, ๑๖๘, ๑๘๖, ๑๘๙, ๑๙๐, ๑๙๑, ๑๙๕, ๑๙๘, ๒๐๑, ๒๑๑, ๒๓๔
สดุดี, ๘, ๑๔, ๑๙, ๒๖, ๓๑, ๓๕, ๔๘, ๕๐, ๕๖, ๕๙, ๖๐, ๖๕, ๗๐, ๗๓, ๘๑, ๘๒, ๘๕, ๙๗,
๑๑๐, ๑๑๑, ๑๒๐, ๑๒๔, ๑๒๖, ๑๒๘, ๑๒๙, ๑๔๓, ๑๕๒, ๑๕๓, ๑๕๗, ๑๖๗, ๑๗๑, ๑๗๗,
๑๗๙, ๑๙๐, ๑๙๗, ๒๐๒, ๒๓๓
สถำนกำรณ์ , ๙, ๑๒, ๑๒๙, ๑๘๗, ๑๙๑, ๒๐๕
สถำนภำพ, ๘๖, ๑๗๓, ๑๗๙, ๑๘๔, ๑๙๐, ๑๙๓
สมเด็จพระนเรศวรมหำรำช, ๔๘, ๑๓๑, ๑๕๒, ๑๕๔, ๑๕๕ม ๑๖๗, ๑๗๑, ๑๗๙, ๑๘๑,
๑๘๗, ๑๘๘
สมเด็จพระบรมไตรโลกนำถ, ๓๔, ๔๘, ๕๖, ๘๒, ๙๓, ๙๗, ๙๘, ๙๙, ๑๐๐, ๑๐๑, ๑๐๒, ๑๐๓,
๑๐๔, ๑๐๕, ๑๐๖, ๑๐๗, ๑๗๑, ๑๘๒, ๑๙๖
ส่วนนำเรื่อง, ๓๔, ๗๓, ๑๖๕
ส่วนลงท้ำยเรื่อง, ๖๙
สังคม, ๑, ๒, ๓, ๔, ๖, ๗, ๙, ๑๐, ๑๑, ๑๒, ๒๐, ๒๑, ๓๓, ๓๖, ๔๗, ๕๐, ๖๐, ๖๖, ๖๗, ๗๓,
๘๕, ๘๖, ๙๓, ๑๒๒, ๑๒๔, ๑๒๕, ๑๒๖, ๑๒๙, ๑๓๐, ๑๓๓, ๑๔๓, ๑๔๔, ๑๔๕, ๑๔๖,
๑๔๗, ๑๔๘, ๑๕๒, ๑๕๓, ๑๕๕, ๑๕๘, ๑๖๑, ๑๖๖, ๑๗๔, ๑๗๗, ๑๘๓, ๑๘๔, ๑๘๕, ๑๘๖,
๑๘๗, ๑๘๘, ๑๙๐, ๑๙๒, ๑๙๕, ๑๙๖, ๑๙๗, ๑๙๘, ๒๐๐, ๒๐๑, ๒๐๕, ๒๐๖, ๒๐๗, ๒๐๘,
๒๐๙, ๒๑๐, ๒๑๑, ๒๑๒, ๒๑๔, ๒๓๒, ๒๓๓, ๒๓๔, ๒๓๕
สำระสำคัญ, ๓๔, ๓๕, ๖๙, ๗๓
สุโขทัย, ๖, ๑๐, ๑๑, ๑๒, ๒๓, ๓๐, ๓๓, ๓๔, ๔๗, ๘๗, ๘๘, ๙๐, ๙๑, ๙๒, ๙๓, ๙๔, ๙๘,
๑๐๐, ๑๐๑, ๑๐๓, ๑๐๔, ๑๐๖, ๑๐๙, ๑๑๗, ๑๔๘, ๑๖๐, ๑๗๕, ๑๗๖, ๑๗๘, ๑๗๙, ๑๙๗
หนังสือ, ๔, ๕, ๙, ๒๐, ๒๒, ๒๓, ๓๓, ๔๑, ๔๓, ๔๖, ๗๐, ๑๐๕, ๑๑๐, ๑๑๑, ๑๒๔, ๑๔๐,
๑๕๖, ๑๕๙, ๑๗๕, ๑๗๗, ๑๘๔, ๑๘๘, ๑๙๔, ๑๙๕, ๑๙๗, ๒๐๕, ๒๑๐, ๒๑๑, ๒๑๒, ๒๑๓
หลักธรรม, ๔๘, ๑๒๘, ๑๖๕
เหตุกำรณ์ , ๒, ๔, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๒, ๑๖, ๑๗, ๑๙, ๒๑, ๓๒, ๓๓, ๓๔, ๓๕, ๓๖, ๓๗, ๓๘, ๔๑,
๗๓, ๗๔, ๘๑, ๘๕, ๘๖, ๘๗, ๙๓, ๙๔, ๙๗, ๑๐๗, ๑๒๐, ๑๒๒, ๑๒๕, ๑๒๖, ๑๒๙, ๑๓๐,
๑๓๑, ๑๓๒, ๑๔๑, ๑๔๓, ๑๔๕, ๑๕๖, ๑๕๙, ๑๖๐, ๑๗๑, ๑๗๕, ๑๗๗, ๑๗๙, ๑๘๑, ๑๘๒,
๑๘๓, ๑๘๕, ๑๘๙, ๑๙๐, ๑๙๑, ๑๙๒, ๑๙๖, ๑๙๘, ๒๐๐, ๒๐๑, ๒๓๓, ๒๓๕
องค์ประกอบ, ๒, ๓๐, ๖๙, ๗๖, ๑๘๙, ๑๙๐, ๑๙๖, ๒๐๑, ๒๐๒, ๒๑๓, ๒๓๔, ๒๓๕
อยุธยำ, ๖, ๙, ๒๗, ๓๐, ๓๓, ๓๔, ๓๕, ๓๖, ๓๙, ๔๐, ๕๐, ๕๗, ๕๘, ๖๖, ๖๙, ๘๗, ๘๘, ๙๒,
๙๓, ๙๔, ๙๕, ๙๖, ๙๗, ๙๙, ๑๐๐, ๑๐๑, ๑๐๒, ๑๐๕, ๑๐๖, ๑๐๗, ๑๐๘, ๑๑๐, ๑๑๑, ๑๑๒,
๑๑๔, ๑๑๕, ๑๑๖, ๑๑๗, ๑๑๙, ๑๒๐, ๑๒๕, ๑๓๑, ๑๓๒, ๑๓๕, ๑๓๗, ๑๔๐, ๑๔๘, ๑๔๙,
๒๖๕

๑๕๑, ๑๕๒, ๑๕๓, ๑๕๙, ๑๖๐, ๑๖๘, ๑๗๖, ๑๗๗, ๑๗๘, ๑๗๙, ๑๘๑, ๑๘๒, ๑๘๖, ๑๘๗,
๑๘๙, ๑๙๐, ๑๙๑, ๑๙๕, ๑๙๗
อัตชีวประวัติ, ๔๗, ๑๓๑
อำนำจ, ๓, ๑๘, ๔๑, ๔๙, ๕๐, ๕๗, ๘๗, ๘๘, ๙๒, ๙๓, ๙๔, ๙๖, ๑๐๒, ๑๐๗, ๑๐๘, ๑๑๒,
๑๑๔, ๑๒๑, ๑๒๒, ๑๒๔, ๑๒๕, ๑๒๖, ๑๒๗, ๑๒๙, ๑๓๐, ๑๓๒, ๑๔๔, ๑๔๕, ๑๔๗, ๑๔๘,
๑๔๙, ๑๕๓, ๑๕๔, ๑๕๖, ๑๖๕, ๑๖๘, ๑๖๙, ๑๗๗, ๑๘๒, ๑๘๖, ๑๘๗, ๑๙๓, ๑๙๖, ๑๙๗,
๑๙๘, ๒๐๑, ๒๐๔, ๒๐๕, ๒๐๖, ๒๐๘, ๒๓๕
อุดมกำรณ์ , ๓๘, ๑๓๙, ๑๔๗, ๑๕๗, ๑๕๘, ๑๖๐, ๑๘๐, ๑๘๑, ๑๘๓, ๑๘๖, ๑๘๘, ๒๐๓,
๒๐๘, ๒๓๕
อุดมคติ , ๓๑, ๓๓, ๘๕, ๑๔๕, ๑๕๕, ๑๖๗ม ๑๗๖, ๑๘๘ม ๒๐๔, ๒๐๕, ๒๓๓
เอกสำร, ๒, ๓, ๖, ๗, ๑๐, ๑๗, ๑๕๘, ๑๕๙, ๑๖๘, ๑๗๕, ๑๗๖, ๑๗๘, ๑๘๒, ๑๘๔, ๑๙๓,
๒๐๓, ๒๐๘, ๒๐๙, ๒๑๓, ๒๑๔, ๒๓๔

You might also like