Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 9

   ☺  

     



การออกแบบการทดลองเพื่อหาคาสภาวะที่เหมาะสมในกระบวนการอบ
ไมยางพารา
Design of Experiment for Evaluating The Optimal Condition in Drying
Process of Rubberwood
สมศักดิ์ แกวพลอย1* , กุลยุทธ บุญเซง1
Somsak Kaewploy1, Kulyuth Boonseng1
โปรแกรมวิชาวิศวกรรมศาสตร คณะเทคโนโลยีอตุ สาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
1

Correspondent author : somsakkp@hotmail.com


*

บทคัดยอ
งานวิจยั นีม้ วี ตั ถุประสงคเพือ่ หาคาสภาวะทีเ่ หมาะสมในกระบวนการอบไมยางพารา เพือ่ นำไปใชประโยชนใน
อุตสาหกรรมแปรรูปไมยางพาราโดยใชวธิ กี ารออกแบบการทดลองและวิเคราะหผลดวยโปรแกรมมินแิ ทป รนุ 16 ปจจัย
ทีท่ ำการศึกษาประกอบดวยอุณหภูมิ เวลาและการเปด-ปดปลองระบายในกระบวนการอบ เพือ่ ใหไดคา เปอรเซ็นตความ
ชืน้ ตามมาตรฐานทีก่ ำหนด การทดลองนีใ้ ชไมยางพาราขนาดหนาไม 2 นิว้ ทีผ่ า นกระบวนการอัดน้ำยามาแลว โดยใช
การออกแบบการทดลองแฟคทอเรียล เต็มรูปแบบทัว่ ไป พบวาปจจัยอุณหภูมแิ ละเวลาในการอบเปนปจจัยทีม่ ผี ลตอคา
ความชืน้ อยางมีนยั สำคัญทางสถิติ หลังจากนัน้ ทำการออกแบบการทดลองเพือ่ หาคาสภาวะทีเ่ หมาะสมในกระบวนการอบ
ไมยางพาราโดยใชการออกแบบการทดลองแบบบ็อกซ-เบหเคน เมื่อทำการวิเคราะหพบวาสามารถกำหนดสภาวะใน
การอบไมยางพาราดวยสมการถดถอยคือ เปอรเซ็นตความชืน้ = 343.640 – 0.788A – 42.464B + 1.339B2 + 0.053AB ซึง่
เปนสมการทีไ่ ดจากการวิเคราะหขอ มูลทีม่ คี วามเชือ่ ถือไดและกำหนดคาเปอรเซ็นตความชืน้ อยใู นชวง 8-12%

Abstract
This research work aimed to evaluate the optimal condition in drying process of rubberwood that had been
applied in lumber trade of rubberwood. The design of experiment approach and result analysis by applying the
Minitab program of version 16 were applied in the present study. The study factors affecting on % moisture content
as standard required were temperature, time and open-close damping in drying process. In the present experiment,
the material was 2 inch-thickness rubberwood through a fumigation process. After applying experimental design of
completely general factorial model, It was found that the factors of temperature and time in drying, affected on the
wood moisture significantly statistic. After that, the optimal drying condition of rubber wood was evaluated by applying
Box-Behnken Design. The analytical result concluded that regression equation of drying condition of rubberwood
was % moisture content = 343.640 – 0.788A – 42.464B + 1.339B2 + 0.053AB which derived from analysis of reliable
data in 8- 12% limited moisture content range.
คำสำคัญ : การออกแบบการทดลอง, ไมยางพารา, กระบวนการอบไม
Keywords : Design of Experiment, Rubberwood, Drying Process
  ☺   

1. บทนำ ไมที่ทำการตรวจวัดคาความชื้นไมไดตามที่กำหนดก็จะ
ทำการอบตอไป (4) จนกวาจะไดคา ความชืน้ ของไม ยางพารา
ยางพาราเปนพืชเศรษฐกิจทีน่ ยิ มปลูกในภาคใต ซึง่ ตามมาตรฐาน (5) หรือในบางครัง้ อาจใชการดมกลิน่ หรือ
จุดประสงคหลักของการปลูกยางพาราเพือ่ ตองการน้ำยาง การฟงเสียงการเคาะเพือ่ ตรวจสอบคาความชืน้ (6)
แตเมือ่ ตนยางพารามีอายุได 25 ถึง 30 ป และใหน้ำยางนอย งานวิจัยนี้เปนการศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมใน
ลง เกษตรกรจะทำการตัดโคนตนยางพาราเพื่อปลูกใหม กระบวนการอบไมยางพาราโดยวิธกี ารออกแบบการทดลอง
ทดแทน โดยในอดีตตนยางพาราที่ถูกตัดโคนจะนำไปใช โดยการนำไมทผี่ า นกระบวนการเลือ่ ย และกระบวนการอัด
ทำเป น ฟ น เผาถ า นหรื อ เผาทำลายทิ้ ง เนื่ อ งจากขาด น้ำยามาทำการอบ เพือ่ ตรวจสอบวาสภาวะทีเ่ หมาะสมทีส่ ดุ
เทคโนโลยีในการรักษาเนื้อไม และเทคนิคในการผลิตที่ ทีจ่ ะทำใหไดคณุ ภาพตามทีต่ อ งการคือเปอรเซ็นตความชืน้
ดีเพียงพอ (1) แตในปจจุบันตนยางพาราที่ไดจากการตัด อยใู นชวง 8-12% สภาวะใดทำใหไมยางพารามีความชืน้ ที่
โคนจะถูกนำไปแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรมไมยางพารา เหมาะสม
ไมยางพารานับเปนทรัพยากรทีม่ คี วามทนทานตาม
ธรรมชาติต่ำ ถูกทำลายดวยแมลง มอดและราไดงา ย รวมถึง 2. วิธวี จิ ยั
เปนไมที่มีปริมาณแปงและน้ำตาลสูง จึงกลายเปนอาหาร
ของพวกแมลงและเชือ้ รา (2) ซึง่ เปนปญหาทีส่ ำคัญของผู 2.1 เครื่องจักรอุปกรณและเครื่องมือ
ประกอบการอุตสาหกรรมไมยางพารา การปองกันการผุพงั งานวิ จั ย นี้ เ ป น การศึ ก ษาสภาวะที่ เ หมาะสมใน
จากการเขาทำลายของแมลง เชือ้ ราและศัตรูทำลายไมอนื่ ๆ กระบวนการอบไมยางพาราโดยวิธกี ารออกแบบการทดลอง
ดวยการนำสารประเภทกำจัดเชื้อราและแมลงเพื่อชวยยืด โดยใชเครือ่ งจักรอุปกรณและเครือ่ งมือประกอบดวย
อายุการใชงานของไม โดยการใชน้ำยาเคมีซงึ่ เปนสารทีม่ ี 2.1.1 ไมยางพารา
ประสิทธิภาพในการปองกันรักษาเนื้อไมใหแทรกซึมเขา หลังจากเลือ่ ยไมยางพาราขนาดหนาไม 2 นิว้ ตาม
ไปในเนื้อไมไดมากที่สุดและคงทนติดกับเนื้อไมโดยการ จำนวนทีต่ อ งการแลวจะนำไมมาเรียงกอง ใหไดขนาดกอง
อัดน้ำยาดวยแรงดัน ซึง่ จะชวยใหน้ำยาเขาไปในเนือ้ ไมได ประมาณ 1x1x1.5 เมตร เพือ่ จัดเขาถังอัดน้ำยาและอัดน้ำยา
ลึกและทัว่ ถึงภายในเวลาอันรวดเร็ว หากน้ำยาสามารถซึม ซึง่ ก็จะไดไมยางพาราทีผ่ า นกระบวนการอัดน้ำยา ดังรูปที่ 1
เขาไปถึงใจกลางไมไดจะเปนการปองกันทีด่ ที สี่ ดุ
กระบวนการผลิตไมยางพาราแปรรูปในโรงงาน
อุตสาหกรรมประกอบดวย กระบวนการเลือ่ ยไม กระบวน
การการอัดน้ำยา และกระบวนการอบ ซึง่ องคความรทู ใี่ ชใน
กระบวนการผลิตดังกลาวจะขึ้นอยูกับประสบการณของ
บุคลากรภายในโรงงานเปนหลัก ทำใหประสิทธิภาพการ
รูปที่ 1 ไมยางพาราทีผ่ า นการอัดน้ำยา
ผลิตไมสูงเทาที่ควร และผลผลิตไมแปรรูปที่ไดไมได
มาตรฐานเดียวกันและมีความไมแนนอน 2.1.2 เครือ่ งตอกวัดความชืน้ ไม
ปญหาในการแปรรูปไมยางพารามีหลายอยาง เชน เครื่องตอกวัดความชื้นยี่หอ DELMHORST เปน
การคั ด เลื อ กไม แ ละขนาดไม กระบวนการอั ด น้ำ ยา เครือ่ งตอกวัดคาความชืน้ ประเภท Resistance-Type เครือ่ ง
กระบวนการอบ เปนตน โดยในกระบวนการการอบถือวา มือประเภทนีใ้ ชหลักของการเปนฉนวนไฟฟาทีแ่ ปรผันไป
เปนกระบวนการทีม่ คี วามสำคัญกระบวนการหนึง่ (3) กอน กับการไหลของกระแสไฟฟาตรง (Direct Electric Current:
ทีจ่ ะนำไปจำหนายสงใหลกู คาตอไป เนือ่ งจากตองใชเวลา DC) การเปนฉนวนไฟฟาของไมเพิม่ ขึน้ มากเมือ่ ความชืน้
และพลังงานสูง ซึ่งจะตองควบคุมความชื้นของไมที่ผาน ในไมลดลง ซึง่ สามารถวัดคาความชืน้ ไดสงู สุด 80 % และ
การอบใหได ความชืน้ อยใู นชวง 8-12% อยางไรก็ตามหาก ต่ำสุดได 5 % โดยใชการปลอยกระแสไฟฟาผานเข็มตอก
   ☺  

ดานหนึ่งไปอีกดาน โดยอาศัยความชื้นในไมระหวางหัว เชน การตั้งคาของอุณหภูมิในหองอบ การเปดปดปลอง


ตอกวัดและสงผลมายังหนาจอเพือ่ แสดงคาความชืน้ ของไม ระบายอากาศ การจายไอน้ำเขาหองอบ การควบคุมการหมุน
ดังรูปที่ 2 เวียนของพัดลม (7) เปนตน ดังรูปที่ 5

รูปที่ 5 ตคู วบคุมการทำงานอัตโนมัติ


รูปที่ 2 เครือ่ งวัดความชืน้ สัมพัทธและอุณหภูมิ 2.1.6 เตาอบ
2.1.3 พาลเลตหรือไมหนุน (Pallet) เตาอบมีขนาด 6x7x6 ลูกบาศกเมตร โดยจะสราง
พาลเลตเปนอุปกรณที่ใชสำหรับวางรองไมเพื่อ หองติดกันและหันหลังใหกนั ในหนึง่ แถวจะมี 5 หอง ใน
นำเขาหองอบ ซึง่ ทำมาจากไมหรือเหล็กดังรูปที่ 3 หองจะแบงออกเปนสองสวนคือ สวนดานลางไวสำหรับ
วางไม และสวนบนสำหรับระบบการทำงานของพัดลม
และระบบความรอน ดังรูปที่ 6

รูปที่ 3 พาลเลตหรือไมหนุน
2.1.4 สายไฟ
สายไฟเปนอุปกรณชว ยในการนำความชืน้ จากไม รูปที่ 6 ลักษณะของเตาอบแบบหอง
ผานออกมาตามสายนอกหองอบมารออยูที่ปลายสายอีก
ดานหนึง่ เพือ่ รอการตรวจสอบคาความชืน้ ของไม โดยไม 2.2 วิธีการทดลอง
ตองเปดเตาอบเพือ่ นำไมออกมาตรวจสอบดังรูปที่ 4 โดยเริม่ จากศึกษากระบวนการอบไมยางพารา และ
ขอมูลการอบ เพื่อระบุปญหาที่เกิดขึ้นและตองไดรับการ
แกไข จากการศึกษาพบวามีคา ความชืน้ (Humidity) ของไม
ยางพาราไมไดตามมาตรฐานเมื่อถึงเวลาที่ใชในการอบ
ทำใหตอ งใชเวลาในการอบตอไปจนกวาจะไดคา ความชืน้ ที่
ตองการ ทำใหสูญเสียพลังงานสูง (8) ดังนั้นจึงมีความ
จำเปนจะตองหาคาสภาวะที่เหมาะสมในกระบวนการอบ
ไมยางพาราโดยวิธีการออกแบบการทดลอง (Design of
รูปที่ 4 ลักษณะของสายไฟที่ใชตอออกมาเพื่อตรวจ Experiment) จากการวิเคราะหโดยวิธีระดมความคิดเห็น
สอบคาความชืน้ ของไม ของผเู ชีย่ วชาญพบวาปจจัยหลักทีส่ ำคัญมาจากสาเหตุไมวา
จะเปนวัตถุดบิ เครือ่ งจักร วิธกี าร และคน จึงเลือกปจจัยที่
2.1.5 ตคู วบคุมระบบการทำงาน
มีความสำคัญที่สามารถควบคุมไดมาใชในการวิจัยคือ
ตคู วบคุมระบบการทำงานอัตโนมัติ เปนสวนทีใ่ ช
อุณหภูมิ เวลาในการอบไมยางพารา และเวลาการเปด-ปด
ในการควบคุมการทำงานของระบบอัตโนมัติ ในสวนตางๆ
ปลองระบาย
  ☺   

ในงานวิจยั นีผ้ วู จิ ยั ไดใชการออกแบบการทดลอง 2 วิเคราะหผลการทดลอง และใชหลักการวิเคราะหขอมูล


ขัน้ ตอนคือ (1) การทดลองเบือ้ งตนเพือ่ ทีจ่ ะกรองปจจัยที่ แบบแผนการทดลองแบบสมุ สมบูรณ (Randomization) (11)
ไมมีผลตอคาความชื้นของไมยางพาราที่ไดจากกระบวน ซึ่งสามารถออกแบบการทดลองไดดังนี้ ปจจัยที่สามารถ
การอบ (9) โดยใชการออกแบบการทดลองแฟคทอเรียลเต็ม ควบคุมไดในกระบวนการอบไมยางพารา ซึง่ ทำการอบตาม
รูปแบบทัว่ ไป (Generals Full Factorial Design) และ (2) แผนการอบที่โรงงานใชอยู คืออุณหภูมิในการอบ โดยมี
การทดลองเพื่อหาคาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับกระบวน ระดับปจจัย (Factor Level) 2 ระดับ (65oC และ 70oC) เวลา
การอบไมยางพาราโดยใชการออกแบบการทดลองแบบ ในการอบ มีระดับปจจัย 3 ระดับ (4 วัน 8 วัน และ 12 วัน)
บ็อกซ- เบหนเคน แลวจึงทำการยืนยันผลจากการวิเคราะห และการเปด-ปดปลองระบายในทุกๆ 1 ชั่วโมง มีระดับ
ขอมูลดังรูปที่ 7 ปจจัย 2 ระดับ (เปด 2 นาที ปด 6 นาที และเปด 3 นาที ปด
6 นาที) โดยทำการทดลองซ้ำภายใตเงือ่ นไขเดียวกัน (Rep-
lication) เทากับ 3 ซ้ำ ซึง่ มีตวั แปรตอบสนองคือคาความชืน้
โดยไดสภาวะการทดลองจำนวน 12 สภาวะ รวมทัง้ หมด 36
การทดลอง ดังแสดงในตารางที่ 1 การกำหนดลำดับสภาวะ
โดยวิธกี ารสมุ แบบปกติเพือ่ ลดความแปรปรวน แลวนำผล
การทดลองมาวิเคราะหทางสถิติดวยโปรแกรม Minitab
R.16
รูปที่ 7 กรอบแนวคิดในการออกแบบการทดลอง

3. ผลและการวิเคราะห
3.1 การหาขนาดสิง่ ตัวอยาง (Sample Size)
สำหรับการอบไมยางพาราเพือ่ การทดสอบความชืน้
(Humidity) ซึง่ ใชโปรแกรม Minitab การวิเคราะหขอ มูลที่
ระดับความมีนยั สำคัญ 0.05 โดยการเก็บขอมูลจากการอบ
ทีอ่ ณ
ุ หภูมิ 70 องศาเซลเซียส และเวลาในการอบทีเ่ วลา 14
วันไดคา ความเบีย่ งเบนมาตรฐานของคาความชืน้ เทากับ 0.6
เปอรเซ็นต2 ในการหาขนาดสิ่งตัวอยางจากโปรแกรม รูปที่ 8 ขนาดสิง่ ตัวอยางในการทดลอง
Minitab จะอาศัยหลักการวิเคราะหความไว (Sensitivity
Analysis) โดยพิจารณาจากคากำลังในการทดสอบ (Power
of Test; 1-β) ทีม่ คี า สูงแทน (10) ดังแสดงในรูปที่ 8 ซึง่ การวิเคราะหเริ่มจากการตรวจสอบคุณภาพของ
ผลการหาขนาดสิง่ ตัวอยางเทากับ 3 ตัวอยาง จะมีกำลังใน ขอมูล เมือ่ ดำเนินการทดลองตามทีไ่ ดออกแบบไว ดังนัน้
การทดสอบ (Power of Test; 1-β) เทากับ 0.9388 ดังนัน้ กอนทีจ่ ะนำขอมูลไปวิเคราะหตอ งตรวจสอบกอนวาขอมูล
สำหรับในการทดลองนีจ้ งึ ใชขนาดสิง่ ตัวอยางเทากับ 3 ใน ทีเ่ ก็บมานัน้ เปนขอมูลทีม่ คี ณ
ุ ภาพหรือไม (12) โดยมีความ
การทดลอง จำเปนตองพิสจู นถงึ คุณสมบัติ (Model Adequacy Check-
3.2 การออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียล (Factorial ing) ของขอมูล 3 ประการดวยกันคือ การทดสอบความอิสระ
Design) ของขอมูล (Independence Test) การทดสอบความเปน
เปนการทดลองเบื้องตนเพื่อศึกษาปจจัยที่คาดวา ปกติของขอมูล (Normality Test) และการทดสอบความมี
จะมีผลตอคาความชืน้ ของไมยางพารา โดยใชสถิตใิ นการ เสถียรภาพของขอมูล (Variance Stability Test)
   ☺  

ตารางที่ 1 ผลการทดลองแบบแฟคทอเรียลเต็มรูปแบบทัว่ ไป
เวลาในการอบ (วัน)
อุณหภูมิ
4 วัน 8 วัน 12 วัน
ในการอบ
เวลาเปดปลองระบาย เวลาเปดปลองระบาย เวลาเปดปลองระบาย
(oC)
2 นาที 3 นาที 2 นาที 3 นาที 2 นาที 3 นาที
79.59 79.72 73.87 79.45 40.34 36.59
65oC 79.65 79.79 75.58 73.12 38.25 37.85
80.12 81.75 74.89 74.32 37.73 36.95
80.01 79.07 76.68 72.68 34.74 33.89
70oC 79.78 78.86 75.78 72.54 33.79 33.18
79.19 78.22 71.61 69.89 34.49 34.33

99.61 เปอรเซ็นต2 สามารถอธิบายไดดวยตัวแบบถดถอย


สวนปริมาณทีเ่ หลือสามารถอธิบายไดเนือ่ งจากสาเหตุทไี่ ม
สามารถควบคุมได แสดงวาขอมูลมีสารสนเทศตอการ
วิเคราะห และพิจารณาคา R2 ทีไ่ ดรบั การปรับคา (Adjusted
R2 มีคา เทากับ 99.43%) ซึง่ มีคา ใกลกบั คา R2 แสดงวาจำนวน
ขอมูลมีเพียงพอทีจ่ ะนำมาวิเคราะหผลการทดลอง
จากตารางที่ 2 ในการวิเคราะหความแปรปรวน
(ANOVA) โดยเริ่มตนจากการวิเคราะหความมีนัยสำคัญ
ของอิทธิพลรวม (Interaction Effect) กอนแลวทำการ
รูปที่ 9 การตรวจสอบคุ ณ ภาพของข อ มู ล ของการ วิเคราะหความมีนยั สำคัญของอิทธิพลหลัก (Main Effect)
ทดลองแบบแฟคทอเรียล ต อ ซึ่ ง พิ จ ารณาจากค า P-Value พบว า อิ ท ธิ พ ลร ว มมี
ผลกระทบตอคาความชื้นอยางไมมีนัยสำคัญ ที่ระดับนัย
จากรูปที่ 9 ขอมูลมีการกระจายไรรปู แบบ ซึง่ แสดง สำคัญ 0.05 สวนอิทธิพลหลักมีผลกระทบตอคาความชืน้
วามีความอิสระของขอมูลนัน่ คือขอมูลเก็บมาอยางสมุ นอก อยางมีนยั สำคัญ ทีร่ ะดับนัยสำคัญ 0.05
จากนี้กราฟที่ไดมีลักษณะเปนเสนตรงแสดงใหเห็นถึง จากรูปที่ 10 ผลการทดลองเบือ้ งตนพบวาปจจัยหลัก
ความเปนปกติของขอมูลทีไ่ ดดำเนินการทดลอง และจาก ทีส่ ง ผลตอความชืน้ ไมยางพาราคืออุณหภูมใิ นการอบ โดย
การทดลองขอมูลมีความเสถียรภาพของความแปรปรวน มีแนวโนมวาเมือ่ เพิม่ ปริมาณอุณหภูมจิ าก 65oC เปน 70oC
ตามทีไ่ ดออกแบบไว ดังนัน้ สรุปไดวา ขอมูลมีคณ
ุ สมบัตทิ งั้ คาความชืน้ จะลดลง โดยเมือ่ ปรับอุณหภูมเิ พิม่ ขึน้ และเวลา
3 ประการ ในการอบเพิ่มขึ้นจะทำใหคาความชื้นลดลงดวย และจาก
การวิเคราะหผลการทดลองของการทดสอบความ รูปที่ 11 พบวาปจจัยรวมอืน่ ๆ ไมสง ผลตอความชืน้ จากการ
ชื้นโดยการวิเคราะหความแปรปรวนจากการทดลองวัด ทดลองเบือ้ งตน จึงไดมกี ารออกแบบเพือ่ หาสภาวะทีเ่ หมาะสม
ความชืน้ ตามทีไ่ ดออกแบบไวดงั แสดงในตารางที่ 2 ไดผลวา ของอุณหภูมิ เวลาในการอบและเวลาการเปด-ปดปลอง
R2 มีคา เทากับ 99.61% ซึง่ หมายความวาถาหากความแปร ระบายตอไป
ปรวนในขอมูลมี 100 เปอรเซ็นต2 แลวความแปรปรวน
  ☺   

ตารางที่ 2. การวิ เ คราะห ค วามแปรปรวนของการ โดยใช แ ผนการทดลองแบบบ็ อ กซ - เบห น เคน (Box-
ทดลองแบบแฟคทอเรียล Behnken Design) (11) โดยมีการทดลองทั้งหมดมี 13
สภาวะรวมทัง้ หมด 15 การทดลอง ซึง่ แผนการทดลองนีไ้ ด
มีการกำหนดระดับของปจจัยทีใ่ ชในการทดลอง 3 ระดับ
โดยการเพิม่ คากลางของระดับปจจัยทีใ่ ชศกึ ษาในแผนการ
ทดลองเบือ้ งตน ดังนัน้ อุณหภูมใิ นการอบ (ปจจัย A) ศึกษา
ที่ 65oC 70oC และ 75oC เวลาในการอบ (ปจจัย B) ศึกษาที่ 8
วัน 10 วัน และ 12 วัน เวลาการเปด-ปดปลองระบายในทุกๆ
1 ชัว่ โมง (ปจจัย C) ศึกษาที่ เปด 2 นาทีปด 6 นาที เปด 3
นาทีปด 6 นาที และเปด 4 นาทีปด 6 นาที จากนัน้ ดำเนิน
การทดลองแบบสมุ สมบูรณ (Completed Randomization)
ซึง่ ออกแบบการสมุ โดยใชโปรแกรม Minitab และดำเนิน
การตามแผนทีว่ างไว
ตารางที่ 3 วิเคราะหการถดถอยแบบพืน้ ผิวผลตอบสนอง
สำหรับการทดลองแบบบ็อกซ-เบหนเคน

รูปที่ 10 อิทธิพลหลักทีส่ ง ผลตอคาความชืน้ ไมยางพารา

หลังจากดำเนินการทดลองตามทีอ่ อกแบบไปแลวมี
รูปที่ 11 อิทธิพลรวมทีส่ ง ผลตอคาความชืน้ ไมยางพารา
ความจำเปนตองทำการตรวจสอบคุณภาพของขอมูลที่
3.3 การออกแบบการทดลองเพื่อหาคาสภาวะที่เหมาะสม เก็ บ มาว า เป น ข อ มู ล ที่ มี คุ ณ ภาพหรื อ ไม จึ ง ต อ งพิ สู จ น
การปรับตัวแปรเพือ่ หาคาความชืน้ เพือ่ ศึกษาปจจัย คุณสมบัติขอมูล จากการตรวจสอบคุณภาพของขอมูล
ทีม่ ผี ลตอความชืน้ จากการทดลองเบือ้ งตนพบวาปจจัยหลัก ปรากฏวาขอมูลมีคณ ุ ภาพทัง้ 3 ประการคือมีการเก็บขอมูล
ที่สงผลตอความชื้นของไมยางพาราคืออุณหภูมิและเวลา มาอยางสมุ มีความเปนปกติของขอมูล และขอมูลมีความ
ในการอบ ดังนัน้ จึงทำการออกแบบการทดลองทีเ่ หมาะสม เสถียรภาพของความแปรปรวนตามทีไ่ ดออกแบบไว
   ☺  

เมือ่ ทำการวิเคราะหความแปรปรวน พบวา R2 มีคาหลังจากวิเคราะหผลจากโมเดลลดรูปแลว จะสราง


ตัวแบบความสัมพันธของผลตางคาความชืน้ จากปจจัยทีม่ ี
เทากับ 99.95% ซึง่ หมายความวาถาหากความแปรปรวนใน
ขอมูลมี 100 เปอรเซ็นต2 แลวความแปรปรวน 99.95 ผลกระทบ แตในการประมาณคาพารามิเตอรของตัวแบบ
เปอรเซ็นต2 สามารถอธิบายไดดวยตัวแบบถดถอย สวน ความสัมพันธหรือตัวแบบถดถอยนัน้ ผวู จิ ยั ไมทราบวาตัว
แบบทีแ่ ทจริงของขอมูลผลตางคาความชืน้ นัน้ เปนอยางไร
ปริมาณที่เหลือสามารถอธิบายไดเนื่องจากสาเหตุที่ไม
สามารถควบคุมได ดังนั้นจะเห็นไดวาความผันแปรของ จึงจำเปนตองทำการวิเคราะหตวั แบบถดถอยเสียกอนดวย
ขอมูลคาความชืน้ สวนใหญสามารถอธิบายไดดว ยตัวแบบ
วิธีการทดสอบความไมสมรูปกับขอมูล ซึ่งจะเปนการ
ถดถอย แสดงวาการออกแบบการทดลองนีม้ คี วามถูกตอง ทดสอบความมีนยั สำคัญของปริมาณเศษเหลือจากความไม
และมีความเหมาะสม จึงสามารถวิเคราะหความแปรปรวน สมรูปของตัวแบบกับขอมูล โดยจะวิเคราะหผลผานความ
ได ดังแสดงในตารางที่ 3 ไมสมรูปกับขอมูล (Lack of Fit) (13) จากผลการวิเคราะห
จากตารางที่ 3 พบวาอิทธิพลรวมระหวางอุณหภูมิ
พบวาคา P-Value ของการทดสอบความไมสมรูปกับขอมูล
และเวลาเปด-ปดปลองระบาย (A*C) เวลาในการอบกับและ(Lack of Fit) มีคา สูง (P=0.620) ทำใหคา F หรืออัตราสวน
เวลาเปด-ปดปลองระบาย (B*C) พจนกำลังสองของเวลา ความแปรปรวน (Variance Ratio) มีคา นอย แสดงวาความ
เปด-ปดปลองระบาย (C*C) พจนกำลังสองของอุณหภูมิ สมรูปของตัวแบบกับขอมูลมีความเหมาะสม จึงสามารถ
(A*A) และอิทธิพลหลักของเวลาเปด-ปดปลองระบาย (C)ยอมรั บ ตั ว แบบนี้ แ ละจะได ส มการความสั ม พั น ธ ข อง
มีผลตอความความชืน้ ของไมยางพาราอยางไมมนี ยั สำคัญ
ผลตางคาความชืน้ ดังแสดงในสมการที่ 1
ทีร่ ะดับนัยสำคัญ 0.05 ดังนัน้ จึงทำการเพิม่ องศาความอิสระ
เปอรเซ็นตความชืน้ = 343.640 - 0.788A - 42.464B
(DF) กับรีพที ทะบิลติ ดี้ ว ยการรวมอิทธิพลรวมใหกบั รีพที ทะ
+ 1.339B2 + 0.053AB (1)
บิลติ โี้ ดยการลดรูป (Reduce Model) ดังแสดงในตารางที่ 4 ผลจากการใช Response Optimizer ไดคา ระดับของ
ปจจัยที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการอบไมยางพารา
ตารางที่ 4 วิเคราะหการถดถอยแบบพืน้ ผิวผลตอบสนอง ดังแสดงในตารางที่ 5
โดยการลดรูป
ตารางที่ 5 ค า ระดั บ ของป จ จั ย ที่ เ หมาะสมสำหรั บ
กระบวนการอบไมยางพารา
ปจจัย ระดับ
อุณหภูมใิ นการอบ (oC) 75
เวลาในการอบ (วัน) 12

3.4 การยืนยันผลการวิเคราะหขอมูล
การยืนยันผลโดยนำคาพารามิเตอรทไี่ ดจากตารางที่
5 ไปใชในกระบวนการผลิตจริง โดยทำการเก็บขอมูลรวม
ทัง้ หมด 100 ตัวอยาง การวิเคราะหสมรรถภาพกระบวนการ
และคาสถิตขิ องกระบวนการ พบวา 95% ชวงความเชือ่ มัน่
ของเปอรเซ็นตความชื้นของกระบวนการอบไมยางพารา
อยูในเกณฑที่ไดมาตรฐาน และมีคา Cpk อยูในเกณฑดี
ดังแสดงในตารางที่ 6
  ☺   

ตารางที่ 6. คาสถิตติ า งๆ ของกระบวนการอบไมยางพารา


คาทางสถิติ กระบวนการอบไมยางพารา
เปอรเซ็นตความชืน้ ของไมยางพาราโดยเฉลีย่ 9.88
สวนเบีย่ งเบนมาตรฐาน 1.38
ชวงความเชือ่ มัน่ เปอรเซ็นตความชืน้ เฉลีย่ ที่ 95% 9.61 ≤ μ ≤ 10.16
Cpk 1.08

4. สรุปผลการวิจยั 6. เอกสารอางอิง
การหาคาสภาวะทีเ่ หมาะสมในการอบไมยางพารา (1) Boonseng K. A Study on the Influence of
โดยวิธีการออกแบบการทดลองเพื่อหาคาความชื้นใหได Rubberwood Drying Parameters. [M.Eng thesis]
ตามคามาตรฐาน โดยใชวธิ กี ารออกแบบการทดลองแบบสมุ Songkhla: Prince of Songkhla University; 2006. Thai.
สมบูรณ (Completely Randomization Factorial Design) (2) Ratanawilai T, Boonseng K, Chuchom S. Drying
โดยในเบื้ อ งต น กำหนดตั ว แปรที่ ค าดว า มี ผ ลในการ Time Reduction of Rubberwood. KKU Res J. 2012;
ทดลองคือ อุณหภูมิ เวลาในการอบและเวลาการเปด-ปด 17(4) : 505-507. Thai.
ปลองระบาย ผลตอบสนองคือเปอรเซ็นตความชืน้ ของไม (3) Yamsaengsung R, Buaphud K. Effects of superheated
ยางพารา ผลการวิ เ คราะห พ บว า ป จ จั ย ที่ มี ผ ลต อ ค า steam on the drying of rubberwood. Songklanakarin
เปอรเซ็นตความชื้นของไมยางพาราอยางมีนัยสำคัญ ที่ J. Sci. Technol. 2006; 28(4): 803-816.
ระดับนัยสำคัญ 0.05 คืออุณหภูมิ และเวลาในการอบ เมือ่ (4) Dechanan K. Fundamental of wood utilization. Royal
ทำการวิเคราะหเพือ่ หาคาทีเ่ หมาะสมโดยการออกแบบการ Forest Department; 2004. 168p. Thai.
ทดลองแบบบ็อกซ-เบหเคน สามารถเขียนเปนสมการ (5) Theppaya T. Identification of good practice in sawn
ถดถอยคือ เปอรเซ็นตความชื้น = 343.640 - 0.788A - rubberwood-drying process report. Mechanical
42.464B + 1.339B2 + 0.053AB เมือ่ ทำการทดลองยืนยัน Engineering, Faculty of Engineering, Prince of
ผลเปอรเซ็นตความชื้นโดยเฉลี่ยและชวงความเชื่อมั่นที่ Songkla University; 1999. 88 p. Thai.
95% มีคา ใกลเคียงกับมาตรฐาน และคา Cpk อยใู นเกณฑที่ (6) Theppaya T, Prasertsan S. Parameters influencing
สามารถยอมรับได drying behavior of rubberwood (Hevea Brazilliensis)
as determined from desorption experiment. Dry
5. กิตติกรรมประกาศ Technol. 2002; 20(2): 507-525.
(7) Kollman FFP, Cote WA. Principles of wood science
คณะผู ทำการวิ จั ย ขอขอบคุ ณ โปรแกรมวิ ช า and technology: solid wood. Germany: Springer-
วิศวกรรมศาสตร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหา Verlag; 1968.
วิทยาลัยราชภัฏสงขลา และบริษทั ผรู ว มทำวิจยั ทีอ่ ำนวย (8) Yamsaengsung R, Sattho T. Superheated steam
ความสะดวกและเอื้อเฟอสถานที่ที่ใหเขาไปทำการศึกษา vacuum drying of rubberwood. Dry Technol. 2008;
และทดลอง 26(6): 798–805.
   ☺  

(9) Sudasna-na-Ayudthya P, Luangpaiboon P. Design (12) Montgomery DC. Applied Statistics and Probability
and Analysis of Experiments. Bangkok. Top for Engineering. New York. John Wiley&Sons.
Publishing. 2008. Thai. 2003.
(10) Ploypanichareon K. Statistical for Engineering 2. (13) Navidi W. Statistics for Engineering and Scientists.
Bangkok. Technology Promotion Association (Thai- New York. McGraw-Hill. 2008
land-Japan). 2008. Thai.
(11) Montgomery DC. Design and Analysis of Experi-
ment. New York. John Wiley&Sons. 2000.

You might also like