Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 8

Walailak Procedia 2019; 2019(3): ST.

43
http://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch

ผลของปริมาณซิ ลิกาต่อสมบัติของยางธรรมชาติ เสริมแรงด้วยซิ ลิกาที่มียางธรรมชาติ อิพอกไซด์


เป็ นสารเพิ่ มความสามารถในการเข้ากัน

วริศรา บรภาค, ณรงค์ เชื่องชยะพันธุ,์ สกุลรัตน์ พิ ชยั ยุทธ์ และ วรรณรัตน์ เชื่องชยะพันธุ*์

สาขาเทคโนโลยียาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี


ตําบลมะขามเตี้ย อําเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000

*
wannarat.p@psu.ac.th

บทคัดย่อ
ซิลกิ าเป็ นสารเสริมแรงทีใ่ ช้กนั อย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ยาง อย่างไรก็ตามเนื่องจากบนพืน้ ผิวของซิลกิ ามีหมู่ไซลานอลเป็ น
จํานวนมาก ทําให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างซิลกิ ากับยาง ส่งผลให้ซลิ กิ าเกาะกลุ่มเป็ นก้อน การกระจายตัวในเฟสของยางตํ่า ส่งผล
โดยตรงต่อสมบัตผิ ลิตภัณฑ์ยางทีไ่ ด้ ดังนัน้ เพื่อปรับปรุงข้อด้อยดังกล่าวจําเป็ นต้องใช้สารคู่ควบไซเลน (Silane coupling agent) หรือ
สารเพิม่ ความสามารถในการเข้ากัน (Compatibilizer) โดยในงานวิจยั นี้ยางธรรมชาติผสมซิลกิ าและใช้ยางธรรมชาติอพิ อกไซด์ทม่ี หี มู่
อิพอกซี่ 25 % (ENR25) ปริมาณ 15% โดยนํ้าหนักของซิลกิ า เป็ นสารเพิม่ ความสามารถในการเข้ากันระหว่างยางธรรมชาติกบั ซิลกิ าและ
ใช้ซลิ กิ า ตัง้ แต่ 0 ถึง 60 phr ศึกษาสมบัตกิ ารคงรูป สมบัตเิ ชิงกลและลักษณะสัณฐานวิทยาของยางธรรมชาติคอมพอสิต ผลการทดลอง
พบว่ามอดุลสั ที่ 100% มอดุลสั ที่ 300% และดัชนีการเสริมแรง (M300/M100) มีแนวโน้มเพิม่ สูงขึน้ เมื่อปริมาณซิลกิ า แต่ระยะเวลาสก
อร์ช (Scorch time) และระยะเวลาคงรูป (Cure time) ความต้านทานต่อแรงดึง ระยะยืด ณ จุดขาด และอุณหภูมกิ ารเปลีย่ นแปลง
สถานะคล้ายแก้ว (Glass transition temperature, Tg) ลดลงเมื่อเพิม่ ปริมาณซิลกิ า

คําสําคัญ: ยางธรรมชาติ ยางธรรมชาติอพิ อกไซด์ ซิลกิ า สารเพิม่ ความสามารถในการเข้ากันได้

บทนํา
ยางธรรมชาติ (Natural rubber, NR) มีโครงสร้างทางเคมีประกอบด้วยซิส-1,4-พอลิไอโซพรีน (Cis-1,4-polyisoprene) เป็ นพอลิเมอร์ท่ี
ได้จากธรรมชาติสามารถผลิตใหม่ขน้ึ มาทดแทนได้ (Renewable resource) เป็ นวัสดุทม่ี สี มบัตเิ ชิงกลและเชิงพลวัตทีด่ ี คือ มีความ
ยืดหยุ่นและความต้านทานต่อการฉีกขาดสูง มีสมบัตทิ ด่ี เี ยีย่ มในด้านความต้านทานต่อแรงดึง (Tensile strength) อีกทัง้ มีความร้อน
สะสมในการใช้งานตํ่า ทําให้ยางธรรมชาติถูกนําไปใช้งานในการผลิตผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด อย่างไรก็ตามยางธรรมชาติมคี วาม
ว่องไวต่อความร้อน ปฏิกริ ยิ าออกซิเดชันและไม่ทนต่อตัวทําละลายทีไ่ ม่มขี วั ้ เนื่องจากยางธรรมชาติมพี นั ธะคู่บนสายโซ่หลักและเป็ น
โมเลกุลทีป่ ระกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอนล้วน เป็ นสาเหตุให้ยางธรรมชาติมขี อ้ จํากัดในการนําไปประยุกต์ใช้งาน (Juntuek et al.,
2011)
ในกระบวนการแปรรูปจะต้องนํ ายางผสมกับสารเคมี เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ท่มี ีสมบัติเฉพาะตามการใช้งาน ซึ่งสารเคมีท่เี ป็ น
องค์ประกอบสําคัญทีจ่ ะทําให้ได้ผลิตภัณฑ์ท่ตี ้องการ ได้แก่ สารกระตุ้น สารคงรูปยาง สารป้องกันการเสื่อมสภาพ และสารเสริมแรง
เป็ นต้น สารเสริมแรงที่ใช้ ได้แก่ เขม่าดํา (Carbon black) และซิลกิ า (Silica) ซึ่งสารเสริมแรงทัง้ สองนัน้ เป็ นสารเสริมแรงที่มี
ความสําคัญต่อผลิตภัณฑ์ยางในเชิงวิศวกรรม (Rattanasom et al., 2007) โดยซิลกิ าเป็ นสารเสริมแรงชนิดหนึ่งทีน่ ิยมใช้ในผลิตภัณฑ์
ทีต่ อ้ งการสีสนั และในผลิตภัณฑ์ทต่ี อ้ งการเพิม่ ความแข็งและสมบัตเิ ชิงกลอื่นๆ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยางล้อ เนื่องจากยางคอมพาวนด์
ทีใ่ ช้ซลิ กิ าเป็ นสารเสริมแรงให้สมบัติด้านความต้านทานต่อการหมุน (Rolling resistance) ความต้านทานต่อการสึกกร่อน (Wear
resistance) และการยึดเกาะบนพืน้ เปี ยก (Wet traction) ทีด่ กี ว่าการใช้เขม่าดํา (พงษ์ธร, 2550) แต่อย่างไรก็ตามการ ใช้ซลิ กิ าเป็ นสาร
เสริมแรงในยางยังมีปญั หาในเรื่องการแตกตัว (Dispersion) และกระจายตัว (Distribution) ของซิลกิ า เนื่องมาจากบริเวณพืน้ ผิวของซิลกิ า
ประกอบไปด้วยหมู่ไซลานอล (Si-OH) ในปริมาณมาก ทําให้ซลิ กิ ามีความเป็ นขัว้ สูง ซึง่ หมู่ไซลานอลนี้ทาํ ให้อนุภาคของซิลกิ ามีอนั ตรกิรยิ า
การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วจิ ยั ” ครัง้ ที่ 11 วันที่ 27-28 มีนาคม 2562
ผลของปริมาณซิลกิ าต่อสมบัตขิ องยางธรรมชาติเสริมแรงด้วยซิลกิ าทีม่ ยี างธรรมชาติอพิ อกไซด์
http://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch

ระหว่างกันสูง (Filler-Filler interaction) ส่งผลให้ซลิ กิ ามีความสามารถในการผสมเข้ากับยางทีไ่ ม่มขี วั ้ หรือทีม่ ขี วั ้ ตํ่าได้ยาก ดังนัน้ ซิลกิ า
จึงรวมกันเป็ นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ ส่งผลให้ยางคอมพาวนด์มคี วามหนืดสูงขึน้ ในระหว่างกระบวนการแปรรูปยาง เพื่อลดปญั หาดังกล่าว
และช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพการเสริมแรงของซิลกิ าในยาง จึงมีการใช้สารคู่ควบไซเลน (Silane coupling agent) ในการปรับปรุงพืน้ ผิว
ของซิลกิ า โดยหมู่แอลคอกซี่ (Alkoxy group) เช่น หมู่เมทอกซี่ (-OCH3) หรือหมู่เอทอกซี่ (-OC2H5) ของไซเลนจะเข้าทําปฏิกริ ยิ ากับ
หมู่ไซลานอลผ่านปฏิกริ ยิ าไซลาไนเซชัน (Silanization) เกิดเป็ นพันธะไซลอกเซน (Si-O-Si) (Sengloyluan et al., 2013) ทําให้ซลิ กิ ามี
อันตรกิรยิ าต่อกันลดลง แตกตัวและกระจายตัวในยางได้ง่ายยิง่ ขึน้ การปรับปรุงผิวหน้าของซิลกิ าสามารถเตรียมได้ก่อนหรือในระหว่าง
การบดผสม โดยในการเกิดปฏิกริ ยิ าไซลาไนเซชันของ สารคู่ควบไซเลนกับซิลกิ าที่ทําให้ระหว่างการผสมจะใช้อุณหภูมสิ ูง เพื่อให้
เกิดปฏิกริ ยิ าไซลาไนเซชันเกิดขึน้ ได้ดี (ชญาภา, 2554) แต่การใช้สารคู่ควบไซเลนเป็ นปฏิกริ ยิ าทีม่ คี วามซับซ้อนและปฏิกริ ยิ าขึน้ อยู่กบั
สภาวะการผสม ได้แก่ อุณหภูมกิ ารผสม เวลาและแรงเฉือนเชิงกล (Kaewsakul et al., 2012) แนวทางหนึ่งทีช่ ่วยในการกระจายตัว
ของซิลกิ าในยางให้มากขึน้ คือการดัดแปรโมเลกุลยางให้มคี วามเป็ นขัว้ เพิม่ มากขึน้ เพื่อเพิม่ อันตรกิรยิ าระหว่างยางและซิลกิ าให้มาก
ขึน้ เช่น การดัดแปรโมเลกุลยางธรรมชาติให้มหี มู่อพี อกซีใ่ นการช่วยเพิม่ อันตรกิรยิ าระหว่างยางกับซิลกิ า (Cataldo et al., 2002;
Sengloyluan et al. 2014)
ดังนัน้ งานวิจยั นี้จดั ทําขึน้ เพื่อเพิม่ มูลค่าและเพิม่ ความหลากหลายในการใช้งานให้แก่ยางธรรมชาติ โดยทําการศึกษาผลของ
ปริมาณซิลกิ า ใช้ยางธรรมชาติอพิ อกไซด์ทม่ี หี มู่อพิ อกซี่ 25 % (ENR25) เป็ นสารเพิม่ ความสามารถในการเข้ากันระหว่างยางธรรมชาติกบั ซิลกิ า
ปริมาณ 15% โดยนํ้าหนักของซิลกิ า ทําการแปรปริมาณซิลกิ าตัง้ แต่ 0 – 60 phr ทําการเปรียบเทียบกับยางคอมพาวนด์ทไ่ี ม่ใส่ซลิ กิ า

วิ ธีดาํ เนิ นการวิ จยั


ยางธรรมชาติ และสารเคมี
ยางธรรมชาติเกรด STR5L (Natural rubber, NR) ผลิตโดยการยางแห่งประเทศไทย (อ.ส.ย. นาบอน) สารเพิม่ ความสามารถใน
การเข้ากันได้ระหว่างยางกับซิลกิ า คือ ยางธรรมชาติอพิ อกไซด์ (Epoxidized natural rubber, ENR) ทีม่ ปี ริมาณหมู่อพิ อกซี่ 25% ผลิต
โดยบริษทั เมืองใหม่กตั ทรี จํากัด มหาชน สาขาสุราษฏร์ธานี สารกระตุน้ ทีใ่ ช้คอื ซิงค์ออกไซด์ (Zinc oxide, ZnO) ลักษณะเป็ นผงสีขาว มีความ
หนาแน่น 5.57 g/cm3 ผลิตโดยบริษทั Global Chemical จํากัดและกรดสเตียริก (Stearic oxide) ลักษณะเป็ นเกล็ดสีขาวขุ่น ไม่ละลาย
นํ้า มีความหนาแน่ น 0.85 g/cm3 มีสตู รโครงสร้าง C11H35COOH ผลิตโดยบริษทั Imperial Industry Chemical จํากัด ซิลกิ า (Silica)
เป็ นสารตัวเติมเสริมแรงสีขาว (White reinforcing filler) เกรด Ultrasil VN3 มีค่า CTAB 165 m2/g ผลิตโดยบริษทั Evomik Industries
AG จํากัด สารตัวเร่งได้แก่ ไดเบนโซไทอะซีลไดซัลไฟด์ (Dibenzothiazyldisulfide, MBTS) และ ไดฟีนิลกัวนิดนี (Diphenylguanidine,
DPG) ผลิตโดยบริษทั Flexsys จํากัด กํามะถัน (Sulfur) เป็ นสารวัลคาไนซ์ (Vulcanizing agent หรือ Curing agent) ลักษณะเป็ นผงสี
เหลือง ผลิตโดยบริษทั Ajax Chemical จํากัด

การเตรียมยางคอมพาวนด์
ลําดับการผสมยางคอมพาวด์ผสมซิลกิ าด้วยเครื่องผสมแบบปิ ด (Internal mixer) ขนาดห้องผสม 500 cm3 ใช้อุณหภูมเิ ริม่ ต้นการ
ผสมเท่ากับ 90oC ความเร็วโรเตอร์ (Rotor speed) 60 rpm และค่าฟิลแฟคเตอร์ (Fill factor) เท่ากับ 0.70 แสดงดังตารางที่ 1 โดยสูตร
ยางทีใ่ ช้ในการศึกษาปริมาณของซิลกิ า แสดงดังตารางที่ 2

2 การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วจิ ยั ” ครัง้ ที่ 11 วันที่ 27-28 มีนาคม 2562


ผลของปริมาณซิลกิ าต่อสมบัตขิ องยางธรรมชาติเสริมแรงด้วยซิลกิ าทีม่ ยี างธรรมชาติอพิ อกไซด์
http://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch

ตารางที่ 1 ลําดับการผสมยางคอมพาวนด์
Mixing procedure Cumalative time (min)
ขัน้ ตอนที ่ 1 : Internal mixer
- บดยาง NR และ ENR25 0
- เติมซิลกิ าครึง่ หนึ่ง 2
- เติมซิลกิ าอีกครึง่ หนึ่งกับนํ้ามันอะโรมาติก 7
- เติมซิงค์ออกไซด์และกรดสเตียริก 12
- นํายางออก 15
ขัน้ ตอนที ่ 2 : Two roll mill
- เติมไดฟีนิลกัวนิดนี ไดเบนโซไทอะซีลไดซัลไฟด์และกํามะถัน 5

ตารางที่ 2 สูตรยางทีใ่ ช้ในการศึกษาปริมาณของซิลกิ าตัง้ แต่ 0 – 60 phr


Formula
Materials
0 10 20 40 60
STR5L 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
Zinc oxide 5.0 5.0 5.0 5.0 5.0
Stearic acid 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0
Ultrasil VN3 0 10 20 40 60
Aromatic oil 5.0 5.0 5.0 5.0 5.0
MBTS 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0
DPG 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5
Sulfur 2.5 2.5 2.5 2.5 2.5
ENR25 -* 1.5* 3* 6* 9*
*15wt% of silica

การทดสอบสมบัติการคงรูป
ทดสอบด้วยเครื่องรีโอมิเตอร์แบบดายเคลื่อนที่ (Moving die rheometer) โดยนํายางคอมพาวนด์มาตัดเป็ นชิน้ เล็กใส่ในดาย เพื่อ
ทดสอบลักษณะการเชื่อมโยงที่อุณหภูมิ 150oC ข้อมูลทีไ่ ด้จากการทดสอบด้วยเทคนิค MDR จะบันทึกค่าความสัมพันธ์ระหว่างค่า
แรงบิด (Torque) กับเวลา (Time) เรียกว่า Cure curve ทีส่ ามารถบันทึกค่าต่างๆได้ดงั นี้ แรงบิดตํ่าสุด (Minimum torque, ML) แรงบิด
สูงสุด (Maximum torque, MH) ระยะเวลาสกอร์ช (Scorch time, tS2) ค่าความแตกต่างของแรงบิด (MH - ML) ระยะเวลาคงรูป (Cure
time, t90) และดัชนีอตั ราการคงรูป (Cure rate index, CRI)

การทดสอบสมบัติเชิ งกล (Mechanical properties)


สมบัตแิ รงดึงของยาง ได้แก่ ความต้านทานต่อแรงดึง (Tensile strength) ระยะยืด ณ จุดขาด (Elongation at break) มอดุลสั ที่
100% และ 300% (100% Modulus และ 300% Modulus) มาตรฐานทีใ่ ช้ทดสอบแรงดึงคือ ASTM D 412 ได้กาํ หนดอัตราเร็วในการ
ดึงเท่ากับ 500 mm/min โดยชิน้ ทดสอบทีใ่ ช้จะเป็ นรูปดัมเบลล์

การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วจิ ยั ” ครัง้ ที่ 11 วันที่ 27-28 มีนาคม 2562 3


ผลของปริมาณซิลกิ าต่อสมบัตขิ องยางธรรมชาติเสริมแรงด้วยซิลกิ าทีม่ ยี างธรรมชาติอพิ อกไซด์
http://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch

การทดสอบสมบัติเชิ งกลพลวัต (Dynamic mechanical thermal analysis, DMTA)


สมบัตทิ างกลเชิงพลวัตเป็ นการทดสอบสมบัตวิ สิ โคอิลาสติกของพอลิเมอร์ โดยนําชิน้ ทดสอบอุณหภูมติ งั ้ แต่ -100 ถึง 100oC ซึง่ มี
อัตราการให้อุณหภูมิ 3oC และใช้โหมดการดึง

ลักษณะสัณฐานวิ ทยา (Scanning electron microscopy, SEM)


ลักษณะสัณฐานวิทยาของยางวัลคาไนซ์สามารถศึกษาโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อเิ ล็กตรอนชนิดส่องกราด (SEM) ซึง่ ชิน้ ทดสอบ
ต้องนําไปแช่ไนโตรเจนเหลวจนกระทังชิ
่ น้ ทดสอบแข็งตัว จากนัน้ นําชิน้ ทดสอบมาหักแล้วทําการเคลือบผิวหน้าด้วยทองก่อนทําการ
ทดสอบ

ผลและอภิ ปรายผล
สมบัติการคงรูป
ผลของการแปรปริมาณซิลกิ าของยางคอมพาวนด์ท่มี ตี ่อสมบัติการคงรูป แสดงดังรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่า การแปรปริมาณซิลกิ า
ตัง้ แต่ 0-60 phr ทําให้ระยะเวลาสกอร์ช (Scorch time) และระยะเวลาคงรูป (Cure time) นัน้ เพิม่ ขึน้ เนื่องจากบนพืน้ ผิวของซิลกิ า
ประกอบด้วยหมู่ไซลานอลจะทําหน้าทีด่ ดู ซับสารตัวเร่ง ส่งผลให้สารตัวเร่งมีประสิทธิภาพลดลง ยางคอมพาวนด์เกิดปฏิกริ ยิ าการเชื่อมโยง
และวัลคาไนซ์ได้ช้าลง ซึ่งสอดคล้องกับค่าดัชนีการคงรูป (CRI) ที่มคี ่าลดลง บ่งบอกว่ายางคอมพาวนด์มีการวัลคาไนซ์ท่ชี ้าลง
นอกจากนี้การเพิม่ ปริมาณซิลกิ ายังทําให้ ML และ MH เพิม่ สูงขึน้ เพราะปริมาณซิลกิ าทีม่ ากขึน้ ไปขัดขวางการเคลื่อนไหวของสายโซ่
โมเลกุลของยาง ความหนืดของยางคอมพาวนด์จงึ เพิม่ ขึน้ แต่อย่างไรก็ตามค่าความแตกต่างของแรงบิด (MH - ML) มีค่าใกล้เคียงกัน
แสดงว่าความหนาแน่นของการเชื่อมโยงใกล้เคียงกัน ดังตารางที่ 3

รูปที่ 1 สมบัตกิ ารคงรูปของยางคอมพาวนด์ทแ่ี ปรปริมาณซิลกิ า ตัง้ แต่ 0-60 phr

4 การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วจิ ยั ” ครัง้ ที่ 11 วันที่ 27-28 มีนาคม 2562


ผลของปริมาณซิลกิ าต่อสมบัตขิ องยางธรรมชาติเสริมแรงด้วยซิลกิ าทีม่ ยี างธรรมชาติอพิ อกไซด์
http://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch

ตารางที่ 3 ลักษณะการคงรูปของยางคอมพาวนด์ทแ่ี ปรปริมาณซิลกิ า ตัง้ แต่ 0-60 phr

Silica content Cure characteristics


(phr) ts2 (min) t90 (min) MH (dNm) ML (dNm) MH-ML (dNm) CRI (min-1)
0 1.99 4.84 8.16 0.52 7.64 35.09
10 3.90 7.49 7.93 0.69 7.24 27.86
20 4.31 7.95 8.00 0.78 7.22 27.47
40 3.09 14.41 11.90 4.56 7.34 8.83
60 4.97 16.48 14.08 6.22 7.86 8.69

สมบัติเชิ งกล
กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความเค้น-ความเครียดและตารางแสดงสมบัตกิ ารทดสอบแรงดึงแสดงในรูปที่ 2 และตารางที่ 4 จาก
ผลการทดลองพบว่า สมบัตมิ อดุลสั ที่ 100 และ 300% และดัชนีการเสริมแรง (M300/M100) มีแนวโน้มเพิม่ สูงขึน้ เมื่อปริมาณซิลกิ า
เพิม่ ขึน้ ถึง 50 phr แต่มคี ่าลดลงเมื่อเพิม่ ปริมาณซิลกิ าเป็ น 60 phr อาจเป็ นผลเนื่องมาจากการเติมซิลกิ า ส่งผลให้ยางมีความแข็งตึง
(Stiffness) มากขึน้ และมีโอกาสเกิดโครงข่ายระหว่างอนุ ภาคของซิลกิ ากับยางวัลคาไนซ์ (จุฑาทิพย์ และคณะ, 2556) ในขณะทีค่ ่า
ความต้านทานต่อแรงดึง (Tensile strength) และระยะยืด ณ จุดขาดมีค่าลดลงตามปริมาณซิลกิ าทีเ่ พิม่ ขึน้ เป็ นผลเนื่องมาจากเมื่อเพิม่
ปริมาณซิลกิ าอาจทําให้อนุภาคของซิลกิ าอยู่ใกล้กนั มาก จนทําให้อนั ตรกิรยิ าระหว่างยางและสารตัวเติมลดลง ส่งผลให้ซลิ กิ ามีแนวโน้ม
เกิดอันตรกิรยิ าระหว่างอนุภาคซิลกิ าด้วยกันเอง ทําให้เกิดการจับตัวเป็ นก้อนแอกกรีเกตทีม่ ขี นาดใหญ่ขน้ึ เกิดเป็ นจุดอ่อนในยางวัลคา
ไนซ์ ค่าความต้านทานต่ อแรงดึงที่ได้ลดลง นอกจากนี้ซิลิกาที่มกี ารจับตัวกันเป็ นก้อนแอกกรีเกตขนาดใหญ่ น้ียงั ไปขัดขวางการ
เคลื่อนไหวสายโซ่โมเลกุลของยางขณะยืด ระยะยืด ณ จุดขาดจึงลดลง (Sae-oui et al. 2007) การเกาะกลุ่มกันของซิลกิ ายืนยันได้
ลักษณะสัณฐานทีท่ ดสอบด้วยเทคนิค SEM ในรูปที่ 4 และค่า Tg ทีม่ คี ่าลดลงจากผลสมบัตเิ ชิงกลทีไ่ ด้แสดงให้เห็นว่าการใช้ ENR ทีม่ ี
หมู่อพิ อกซี่ 25 % ปริมาณ 15% โดยนํ้าหนักของซิลกิ าทีส่ ภาวะการบดผสมดังกล่าว ไม่สามารถช่วยเพิม่ ความเข้ากันได้ระหว่างยาง
กับซิลกิ าได้ อาจเป็ นผลมาจากอันตรกิรยิ าระหว่างซิลกิ ากับยาง ENR ทีเ่ กิดขึน้ เกิดผ่านแรงดึงดูดระหว่างหมู่ไซลานอลกับหมู่อพิ อ็ กซี่
เท่านัน้ และความแตกต่างของความเป็ นขัว้ ระหว่างยางทัง้ สองชนิดจึงส่งผลให้ เกิดการแยกเฟสระหว่างยางธรรมชาติกบั ENR25
(Sengloyluan et al., 2014) และระหว่างซิลกิ ากับยางธรรมชาติเพิม่ ขึน้ ตามปริมาณซิลกิ าทีเ่ พิม่ ขึน้ สมบัตเิ ชิงกลทีไ่ ด้จงึ มีค่าลดลง

รูปที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นกับความเครียดของยางวัลคาไนซ์ทแ่ี ปรปริมาณซิลกิ า ตัง้ แต่ 0-60 phr

การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วจิ ยั ” ครัง้ ที่ 11 วันที่ 27-28 มีนาคม 2562 5


ผลของปริมาณซิลกิ าต่อสมบัตขิ องยางธรรมชาติเสริมแรงด้วยซิลกิ าทีม่ ยี างธรรมชาติอพิ อกไซด์
http://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch

ตารางที่ 4 สมบัตเิ ชิงกลและอุณหภูมกิ ารเปลีย่ นสถานะคล้ายแก้ว (Tg) ของยางวัลคาไนซ์ทแ่ี ปรปริมาณซิลกิ าตัง้ แต่ 0-60 phr

Silica 100%Modulus 300%Modulus TS. EB. Tg at tan δ


M300/M100 O
content (phr) (MPa) (MPa) (MPa) (%) ( C) peak
0 0.86 ± 0.05 2.37 ± 0.31 2.75 21.54 ± 1.52 671 ± 34 -56.1 1.78
10 0.81 ± 0.04 2.40 ± 0.15 2.96 20.61 ± 0.28 678 ± 35 -58.7 2.04
20 0.82 ± 0.01 2.53 ± 0.10 3.08 20.75 ± 0.54 658 ± 31 -58.7 1.48
40 0.87 ± 0.03 2.65 ± 0.13 3.04 14.03 ± 0.57 650 ± 25 -60.9 0.99
60 0.78 ± 0.03 2.28 ± 0.25 2.92 14.09 ± 0.78 608 ± 28 -61.8 0.74

สมบัติเชิ งกลพลวัต
จากรูปที่ 3(a) แสดงค่ามอดุลสั สะสมของยางวัลคาไนซ์ทแ่ี ปรปริมาณซิลกิ าจะเห็นได้ว่าค่ามอดุลสั สะสมสูงขึน้ เมื่อปริมาณซิลกิ า
เพิ่มขึ้นทัง้ นี้เป็ นผลมาจากการเกิดอันตรกิริยาระหว่างซิลิกากับซิลิกา ส่งผลให้อนุ ภาคของซิลิกาอยู่ใกล้กนั และเกาะกลุ่มกันเป็ น
โครงสร้างตาข่าย (Network) มากขึน้ นอกจากนี้ยงั มีความเป็ นไปได้ว่าปริมาณซิลกิ าทีเ่ พิม่ ขึน้ ทําให้ค่ามอดุลสั สะสมเพิม่ ขึน้ อาจเกิดจาก
การที่ซิลิก าแตกตัว ได้ไ ม่ ดีใ นระหว่ า งการบดผสมจึง ส่ ง ผลให้ มีค่ า ความต้ า นทานต่ อ แรงดึง ลดลงตามปริม าณซิลิก าที่เ พิ่ม ขึ้น
(Rattanasom et al. 2007)
รูปที่ 3(b) ค่าแทนเดลต้าของยางวัลคาไนซ์ทแ่ี ปรปริมาณซิลกิ า พบว่าความสูงของค่าแทนเดลต้ามีแนวโน้มลดลงเมื่อปริมาณซิลิ
กาเพิม่ ขึน้ และจากตารางที่ 4 ค่าอุณหภูมกิ ารเปลีย่ นสถานะคล้ายแก้วของยางวัลคาไนซ์มแี นวโน้มลดลงตามปริมาณซิลกิ าทีเ่ พิม่ ขึน้
แสดงว่าอันตรกิรยิ าระหว่างยางกับซิลกิ าน้อยลงเมื่อปริมาณซิลกิ ามากขึน้ ซึง่ ให้ตรงข้ามกับงานวิจยั Sarkawi และคณะ (2014) ทีใ่ ช้ไซ
เลนเป็ นสารคู่ควบในยาง/ซิลกิ าคอมพอสิต พบว่าคอมพอสิตทีม่ กี ารใช้ไซเลนจะให้ค่า Tg สูงกว่ายางคอมพอสิตทีไ่ ม่มกี ารเติมไซเลน
เป็ นผลมาจากการเคลื่อนไหวของสายโซ่โมเลกุลยางเกิดได้ยากขึน้ เนื่องจากไซเลนช่วยปรับปรุงอันตรกิรยิ ายางธรรมชาติและซิลกิ า
เพิม่ มากขึน้ (Sengloyluan et al. 2014)

รูปที่ 3 สมบัตเิ ชิงกลพลวัตของยางวัลคาไนซ์ทแ่ี ปรปริมาณซิลกิ า ตัง้ แต่ 0 – 60 phr (a) ค่ามอดุลสั สะสม (Storage modulus, E’), (b) ค่า
แทนเดลต้า (Tan δ)

ลักษณะสัณฐานวิ ทยา
สมบัตกิ ารกระจายตัวของซิลกิ าเป็ นปจั จัยทีส่ าํ คัญของยางคอมพาวนด์ โดยรูปที่ 4 แสดงลักษณะสัณฐานวิทยาของยางวัลคาไนซ์
ทีแ่ ปรปริมาณซิลกิ า พบว่า รูปที่ 4(b) และ 4(c) ทีม่ ปี ริมาณซิลกิ า 10 และ 20 phr จะเห็นว่ามีระดับการกระจายตัวของซิลกิ าค่อนข้างดี
กล่าวคือไม่ค่อยมีซลิ กิ าเกาะกลุ่มกันเป็ นก้อน ซึ่งสอดคล้องกับค่าความต้านทานต่อแรงดึงของยางคอมพาวนด์ทม่ี ปี ริมาณซิลกิ า 10
6 การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วจิ ยั ” ครัง้ ที่ 11 วันที่ 27-28 มีนาคม 2562
ผลของปริมาณซิลกิ าต่อสมบัตขิ องยางธรรมชาติเสริมแรงด้วยซิลกิ าทีม่ ยี างธรรมชาติอพิ อกไซด์
http://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch

และ 20 phr ให้ค่าทีส่ งู กว่ายางคอมพาวนด์ทม่ี ปี ริมาณซิลกิ า 40 และ 60 phr เนื่องจากเมื่อปริมาณซิลกิ าเพิม่ ขึน้ ทําให้อนุภาคซิลกิ าอยู่
ใกล้กนั ส่งผลให้อนั ตรกิรยิ าระหว่างยางกับสารตัวเติมลดลงซิลกิ าจึงมีแนวโน้มรวมตัวเป็ นก้อนแอกกรีเกตที่มขี นาดใหญ่ขน้ึ นอกจากนี้ยงั
ส่งผลให้ค่ามอดุลสั สะสมเพิม่ ขึน้ อีกด้วย ในรูปที่ 4(d) และ 4(e) โดยเมื่อปริมาณเพิม่ ขึน้ ที่ 40 และ 60 phr เห็นว่าซิลกิ ามีการกลุ่มกัน
เป็ นก้อนอย่างชัดเจน

(a) (b)

(c) (d)

(e)

รูปที่ 4 ลักษณะสัณฐานวิทยาของยางวัลคาไนซ์ทแ่ี ปรปริมาณซิลกิ า (a) o phr (b) 10 phr (c) 20 phr (d) 40 phr และ (e) 60 phr

สรุปผลการวิ จยั
การใช้ย างธรรมชาติอิพอกไซด์ท่ีมีหมู่อิพ อกซี่ 25% ที่ปริมาณ 15% โดยนํ้ า หนัก ของซิล ิก า ยัง ไม่ ส ามารถช่ ว ยเพิ ่ม
ความสามารถในการเข้า กัน ได้ร ะหว่ า งยางกับ ซิล ิก า โดยยางคอมพอสิต ให้ค วามต้า นทานต่ อ แรงดึง ระยะยืด ณ จุ ด ขาด
อุ ณ หภู ม ิก ารเปลี่ย นแปลงสถานะคล้า ยแก้ว และการกระจายตัว ของซิล ิก าลดลงเมื่อ ปริม าณซิล ิก าเพิ่ม ขึ้น เมื่อ เทีย บกับ ยาง
คอมพาวนด์ท่ีไ ม่ ใ ส่ซิลิก า

การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วจิ ยั ” ครัง้ ที่ 11 วันที่ 27-28 มีนาคม 2562 7


ผลของปริมาณซิลกิ าต่อสมบัตขิ องยางธรรมชาติเสริมแรงด้วยซิลกิ าทีม่ ยี างธรรมชาติอพิ อกไซด์
http://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch

ข้อเสนอแนะ
อาจต้องปรับเปลีย่ นสภาวะในการบดผสมยาง ปริมาณยางและปริมาณหมู่อพิ อ็ กซีข่ องยาง ENR ทีใ่ ช้

กิ ตติ กรรมประกาศ
ผู้วิจ ัย ขอขอบคุ ณ ทุ น วิจ ัย งบประมาณแผ่ น ดิน ประจํ า ปี 2559 รหัส โครงการ SIT590171c และทุ น อุ ด หนุ น การวิจ ัย เพื่อ
วิทยานิพนธ์ ประจําปี งบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทุนสนับสนุนค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและทุน
สนั บ สนุ น การเดิน ทางไปนํ า เสนอผลงานวิจ ัย ประจํ า ปี ง บประมาณ 2561 คณะวิท ยาศาสตร์แ ละเทคโนโลยีอุ ต สาหกรรม
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

บรรณานุกรม
Cataldo, F. (2002). Preparation of silica‐based rubber compounds without the use of a silane coupling agent through the
use of epoxidized natural rubber. Macromolecular Materials and Engineering, 287(5), 348-352.
Juntuek. P., Ruksakulpiwat. C., Chumsamrong. P., & Ruksakulpiwat. Y. (2011). Glycidyl methacrylate grafted natural
rubber: synthesis, characterization, and mechanical property. Journal of Applied Polymer Science, 122(5), 3152-
3159.
Kaewsakul, W., Sahakaro, K., Dierkes, W. K., & Noordermeer, J. W. (2015). Mechanistic aspects of silane coupling agents
with different functionalities on reinforcement of silica‐filled natural rubber compounds. Polymer Engineering &
Science, 55(4), 836-842.
Rattanasom. N., Saowapark. T., & Deeprasertkul. C. (2007). Reinforcement of natural rubber with silica/carbon black hybrid
filler. Polymer Testing, 26(3), 369-377.
Sae‐oui, P., Sirisinha, C., Wantana, T., & Hatthapanit, K. (2007). Influence of silica loading on the mechanical properties
and resistance to oil and thermal aging of CR/NR blends. Journal of Applied Polymer Science, 104(5), 3478-3483.
Sarkawi, S.S., Dierkes, W.K., & Noordermeer, J.W.M. (2014). Elucidation of filler-to-filler and filler-to-rubber interactions in
silica-reinforced natural rubber by TEM Network Visualization, 54, 118-127.
Sengloyluan, K., Sahakaro, K., & Noordermeer, J. W. (2013). Silica-reinforced natural rubber compounds compatibilized
through the use of epoxide functional groups and TESPT combination. Advanced Materials Research, 844, 272-
275.
Sengloyluan, K., Sahakaro, K., Dierkes, W. K., & Noordermeer, J. W. (2014). Silica-reinforced tire tread compounds
compatibilized by using epoxidized natural rubber. European Polymer Journal, 51, 69-79.
จุฑาทิพย์ อาจชมภู, เดีย่ ว สายจันทร์ และขวัญฤทัย บุญส่ง. (2556). ประสิทธิภาพการลดพลังงานการผสมและสมบัตเิ ชิงกลของยางวัล
คาไนซ์จากยางธรรมชาติซลิ กิ ามาสเตอร์แบท.ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครัง้ ที่ 5 (น. 241).
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ชญาภา นิ่มสุวรรณ. (2554). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างสารคู่ควบไซเลน Si-69 กับ Si-264วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียาง
วารสารเพื่อการพัฒนาของอุตสาหกรรมไทย, 5(4), 32-42.
พงษ์ธร แซ่อุย. (2550). การใช้ซลิ กิ าเป็ นสารตัวเติมในยาง. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียาง วารสารเพื่อการพัฒนาของอุตสาหกรรม
ไทย, 1(2), 30-38.
พงษ์ธร แซ่อุย. (2550). สารเคมียาง. สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี.
เอกชัย วิมลมาลา, ธีระศักดิ ์ หมากผิน และณรงค์ฤทธิ ์ สมบัตสิ มภพ. (2549). การศึกษาวัสดุเชิงประกอบระหว่างยางเอสบีอาร์ทม่ี เี ถ้า
ลอยเป็ นสารเติมแต่งโดยใช้สารคู่ควบไซเลนชนิด Si69 ใช้ปรับปรุงผิวเถ้าลอย. ว. วิจยั และพัฒนา มจธ., 2(3), 353-373.
8 การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วจิ ยั ” ครัง้ ที่ 11 วันที่ 27-28 มีนาคม 2562

You might also like