Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 13

การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบเลือด

เลือดประกอบด้ วยเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดและส่วนที่เป็ นพลาสมาเลือดไหลเวียนไปยัง


ส่วนต่างๆของร่างกาย เลือดมีสีแดงสดจากออกซิเจนรวมกับฮีโมโกลบินและออกซิเจนในเซลล์เม็ดเลือดแดง ส่วนใน
หลอดเลือดดำจะมีสีแดงคล้ำกว่าเพราะมีจำนวนออกซิเจนต่ำกว่าในเลือดแดง เลือดเป็ นด่างอ่อน มี pH 7.35 – 7.45 มี
ความหนืดมากกว่าน้ำ 3-4 เท่า ปริมาณเลือดในร่างกายประมาณ 4-5 ลิตรต่อคน ส่วนประกอบของเลือดจะมีสว่ นของ
พลาสมา ร้ อยละ 55 นอกนันเป็ ้ นส่วนของเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด พลาสมาเป็ นส่วนของเหลวในเลือดมีหน้ าที่คือรักษา
ระดับปริ มาณเลือดในร่างกายให้ คงที่ ประกอบด้ วยส่วนที่เป็ นน้ำและส่วนที่เป็ นโปรตีน ซึง่ หมายถึง ซีรัมแอลบูมิน เป็ นตัว
สำคัญในการรักษาความดันออสโมติกในร่างกายและอิมมูโนกลอบูริน จะประกอบด้ วย IgM ,IgG,IgA,IgD,IgE ซึง่ เป็ น
ตัวสำคัญในการต่อต้ านการติดเชื ้อ โปรตีนที่สำคัญในการช่วยการแข็งตัวของเลือดคือไฟรบิโนเจนและโปรทรอมบิน ส่วน
ประกอบที่เหลือน้ อยกว่าร้ อยละ 1 คือของเสียที่เกิดจากเมตาบอลิซมึ ในร่างกาย เอนไซม์ ฮอร์ โมน สารแข็งตัวอื่นๆ และเก
ลืออนินทรี ย์      ถ้ านำน้ำเลือดไปปั่ นเพื่อให้ เซลล์เม็ดเลือด เพลตเลต และโปรตีนแยกออกจากน้ำเลือดส่วนที่เหลือจะ
เป็ นน้ำใสๆเรี ยกว่า ซีรัม ประกอบด้ วยชิ ้นส่วนของเลือดที่ ออกมาหลังจากการแข็งตัว  มีสารแอนติบอดีหลายชนิด ถ้ าฉีด
เซรัมให้ กบั คนทัว่ ๆไปสารนี ้สามารถที่จะเป็ นภูมิค้ มุ กันชัว่ คราวในการต่อต้ านการติดเชื ้อต่างๆได้  

อิมมูโนโกลบูลิน แบ่งออกเป็ น 5 ชนิด

- IgG มีจำนวนมากที่สดุ ในเลือด ทำหน้ าที่ตอบสนองทางภูมิค้ มุ กันต่อแอนติเจนแทบทุกชนิด สามารถผ่านรกของ


ทารกและช่วยป้องกันชีวิตทารกได้
- IgM จะถูกสร้ างขึ ้นเป็ นลำดับแรกภายหลังจากที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้ าสู่ร่างกายก่อนอิมมูโนโกลบูลินอื่นๆ
- IgA พบมากในสารคัดหลัง่ ที่หลัง่ ออกมาตามเยื่อบุ จึงช่วยป้องกันเยื่อบุไม่ให้ ติดเชื ้อ มีมากในน้ำนมมารดา
- IgD พบน้ อยมากในเลือดและยังไม่ทราบหน้ าที่ชดั เจน
- IgE หลัง่ สารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่อร่างกายออกมาสูก่ ระแสเลือด

          Plasma: นํ ้าเลือด  เป็ นของเหลวสีซีดๆ ( มีนํ ้าอยูป่ ระมาณ 90%) ซึง่ มีเซลล์เม็ดเลือดลอยอยูใ่ นนํ ้าเลือด  จะมีสาร
อาหารละลายอยูเ่ พื่อส่งไปให้ เซลล์ตา่ งๆของร่างกาย  นอกจากนี ้ยังมีแอนติบอดี   ซึง่ เป็ นสารที่ต้านทานเชื ้อโรค  มี
เอนไซม์  และฮอร์ โมน  ซึง่ เป็ นสารที่ช่วยควบคุมกระบวนการต่างๆของร่างกายให้ เป็ นปกติ

หน้ าที่ของเลือด
1. พาออกซิเจนไปเลี ้ยงยังส่วนต่างๆของร่างกายและนำคาร์ บอนไดออกไซด์ออกจากเซลล์
2. ป้องกันการติดเชื ้อที่จะเข้ าสูร่ ่างกาย โดยใช้ เม็ดเลือดขาวและแอนตี ้บอดี ้ เคลื่อนตัวไปยังบริ เวณที่มีการอักเสบติด
เชื ้อหรื อบริ เวณที่ได้ รับอันตราย
3. ช่วยควบคุมภาวะเลือดออกผิดปกติให้ คงที่โดยใช้ เกล็ดเลือดและสารแข็งตัว ( clotting factor )
4. พาอาหารที่ดดู ซึมจากกระเพาะอาหารไปให้ เนื ้อเยื่อต่างๆ และนำของเสียจากเนื ้อเยื่อไปยังไต ผิวหนังและปอด
เพื่อขับออกนอกร่างกาย
5. พาฮอร์ โมนจากต่อมไร้ ทอ่ ไปให้ สว่ นต่างๆของร่างกาย
6. รักษาระดับความสมดุลของอุณหภูมิของร่างกาย โดยนำความร้ อนไปสูเ่ ส้ นเลือดเล็กๆบนผิวหนังขับออก

ชนิดของเลือดและส่วนประกอบของเลือด

        1.    Whole Blood เม็ดเลือดชนิดรวม คือเลือดครบอายุไม่เกิน 21 วัน มักให้ ในรายที่มีการเสียเลือด


       2.    Fresh Whole Blood คือ คือเลือดครบที่มีอายุไม่เกิน 24 ชัว่ โมง
         3.    Pack Red Cell (PRC) คือ เม็ดเลือดแดงอัดแน่น เฉพาะส่วนของเม็ดเลือดแดงโดยแยกเอาส่วน Plasma ออก
ประมาณ 80% ให้ เพื่อต้ องการเพิ่มจำนวนตัวนำออกซิเจน 1 ยูนิต ประมาณ 250 -350 มล.
        4.   White Blood Cell (Leukocytes) สำหรับผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำ
         5.    Platelets  เป็ นส่วนประกอบของเลือดเฉพาะส่วนของ Platelet concentrate คือเกล็ดเลือดมากๆ เม็ดมี
พลาสมาบ้ างจะให้ ในรายที่มีเลือดออกเนื่องจากเกล็ดเลือดน้ อย 1 ยูนิต ประมาณ 20 – 30 มล.
6. Fresh Frozen Plasma (FFP) หมายถึง ส่วนที่แยกออกจากเลือดครบสมบูรณ์ซงึ่ ประกอบด้ วยพลาสมา สาร
แข็งตัวทั ้งหมดไม่มีเกล็ดเลือด พลาสมาแข็งนี ้จะแยกออกจากเลือดครบสมบูรณ์ภายใน 4 ชัว่ โมง หลังเจาะแล้ ว
เก็บไว้ ที่อณ
ุ หภูมิต่ำกว่า – 20 องศาเซลเซียสทันที ปริ มาณ 1 ยูนิต ประมาณ 200 – 250 มล.
7. Fresh plasma พลาสมาสด หมายถึง พลาสมาที่แยกออกจากเม็ดเลือดขาว จะให้ ผ้ ปู ่ วยภายใน 6 ชัว่ โมงหลัง
เจาะ

การตรวจทางห้ องปฎิบตั ิการเกี่ยวกับระบบเลือด


1. การตรวจดูองค์ประกอบของเลือด ( complete blood count ) ค่าปกติชาย 14-18 g/dl , หญิง 12-16 g/dl
1.1 การตรวจฮีโมโกลบิน ( hemoglobin ) ประกอบด้ วย heme คือส่วนของธาตุเหล็ก และส่วนของโปรตีนที่
เรี ยกว่า โกลบิน ซึง่ มีหน้ าที่ในการนำออกซิเจนและคาร์ บอนไดออกไซด์ไปสูเ่ นื ้อเยื่อและปอด และเป็ นตัว
รักษาความสมดุลของกรดด่างในร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของค่าฮีโมโกลบินที่บอกถึงความผิดปกติ คือ
ภาวะเลือดออกอย่างรุนแรง ภาวะโลหิตจาง โดยการขาดธาตุเหล็ก ภาวะเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย ภาวะ
เลือดเข้ มข้ น เป็ นต้ น
1.2 ค่าฮีมาโตคริต ( hematocrit )เป็ นการตรวจหาค่าปริ มาณของเซลล์เม็ดเลือดแดงอย่างคร่าวๆ คือวันปริ มาตร
ของเม็ดเลือดแดงอัดแน่น คิดเป็ นร้ อยละต่อปริ มาตรของเลือดทั ้งหมด ผลของความผิดปกติของฮีมาโตคริ ต
เช่น โลหิตจาง ภาวะเลือดออกอย่างรุนแรง ลิวคีเมีย ภาวะเสียน้ำ ภาวะเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ
1.3 ค่าดัชนีเม็ดเลือดแดง เป็ นตัวช่วยวินิจฉัยแยกชนิดของโลหิตจางได้ แบ่งเป็ น
1.3.1 MCV ( mean corpuscular volume ) คือค่าปริ มาตรโดยเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดง 1 เซลล์ มีคา่ ปกติ
= 80-95 cu,µ หากน้ อยกว่า 80 เกิดภาวะโลหิตจากการขาดธาตุเหล็ก ทาลัสซีเมีย โรคเรื อ้ รัง และ
หากมากกว่า 100 พบเมกาโลบาสในไขกระดูก เนื่องจากภาวการณ์ขาดโฟเลต และขาดวิตามินบี
สิบสอง
1.3.2 MCH ( mean corpuscular hemoglobin ) ค่าเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดง 1 เซลล์ ค่าปกติ = 27 – 31
Pg.
1.3.3 MCHC (mean corpuscular hemoglobin concentration ) ค่าเฉลี่ยของความเข้ มข้ นของฮีโมโก
ลบินในเม็ดเลือดแดงคิดเป็ นเปอร์ เซ็นต์ ค่าปกติ = 32 – 36 g/dl
1.4 ค่าความแตกต่างของเม็ดเลือดขาว ( differential white blood cell count ) เป็ นการหาค่าเปอร์ เซ็นต์ของ
เม็ดเลือดขาวแต่ละชนิด ดังนี ้ ( ค่าปกติของจำนวนเม็ดเลือดขาว 5,000 – 10,000 cell /mm³ )
1.4.1 นิวโตรฟิ ล ( neutrophil ) เป็ นเซลล์ที่มีปริ มาณมากที่สดุ ในเม็ดเลือดขาวทั ้งหมด เป็ นตัวแรกที่ทำ
หน้ าที่จบั กินและฆ่าแบคทีเรี ยที่เข้ าสูร่ ่างกาย จะมีคา่ สูงเมื่อ มี การติดเชื ้อ มีภาวะเลือดออกอย่าง
รุนแรง มีการทำลายของเนื ้อเยื่อและจะมีคา่ ต่ำลงเมื่อ มีการติดเชื ้อไวรัส โรคเลือดเช่น อะพลาสติก
1.4.2 อีโอซิโนฟิ ล ( eosinophil ) เป็ นตัวสำคัญในการตอบสนองต่อการติดเชื ้อพยาธิ โดยจะพบมีการหลัง่
ฮีสตามีนออกมาในบริเวณเนื ้อเยื่อถูกทำลาย จะพบค่าสูงเมื่อ เป็ นหืด ลมพิษ พบค่าต่ำเมื่อ ภาวะ
เครี ยด โลหิตจางเมื่อขาดวิตามินบีสิบสอง
1.4.3 เบโซฟิ ล ( basophil ) พบค่าสูงเมื่อเป็ นลิวคีเมีย พบค่าต่ำเมื่อ เกิดการแพ้ ขึ ้นฉับพลัน ภาวะเครี ยด
ได้ รับสเตอรอยด์นานๆ
1.4.4 ลิมโฟไซต์ ( lympholyte )เป็ นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีมากเป็ นอันดับที่ 2 แบ่งเป็ น 2 ชนิด คือ T –
lymphocyte เป็ นตัวให้ ภมู ิค้ มุ กันไว้ ตอ่ สู้เชื ้อรา ไวรัส เซลล์มะเร็ ง และ B-lymphocyte ซึง่ จะเป็ นตัว
สร้ างพลาสมาเซลล์ ทำหน้ าที่สร้ างแอนตี ้บอดี หรื ออิมมูโนโกลบูลิน 5 ชนิด IgM ,IgG,IgA,IgD,IgE
ไวต่อการต่อสู้กบั แบคทีเรี ยและป้องกันการติดเชื ้อไวรัสซ้ำ
1.4.5 โมโนไซต์ ( monocyte ) จะทำหน้ าที่จบั กินเชื ้อโรคที่มีขนาดใหญ่หลังจากเม็ดเลือดขาวชนิดนิว
โตรฟิ ลทำหน้ าที่จบั กินเชื ้อโรคไปแล้ ว 12 ชัว่ โมง
1.5 เกล็ดเลือด ( platelets ) จะกระจายอยูใ่ นกระแสเลือด เมื่อเส้ นเลือดถูกทำลายเล็กน้ อยเกล็ดเลือดจะห้ าม
เลือดได้ โดยปฏิกิริยารวมตัวกันเกิดเป็ นกลุม่ เลือดอุดรอยรั่วของเลือดและส่งเสริ มให้ เลือดแข็งตัวมากขึ ้นโดย
หลัง่ สารแข็งตัวช่วยให้ เลือดเกิดการแข็งตัวเพิ่มขึ ้น ค่าปกติจำนวนเกล็ดเลือด 150,000 – 400,000
เซลล์/ลบ.มม. ภาวะที่ทำให้ เกล็ดเลือดต่ำ เช่นมีการทำลายของไขกระดูก ม้ ามโตผิดปกติ ภาวะที่ทำให้ เกล็ด
เลือดเพิ่มขึ ้นพบในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ที่ตดั ม้ ามออก
ภาวะการเป็ นโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron Deficiency Anemia) เป็ นโลหิตจางที่พบมากและมักจะ
เป็ นโรคเรื อ้ รัง เมื่อเกิดภาวะนี ้ในร่างกายจะส่งผลถึงความผิดปกติตามมาอีกหลายอวัยวะในร่างกาย ทั ้งในเลือดและใน
เนื ้อเยื่อต่างๆ เนื่องจากเหล็กเป็ นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึง่ ของฮีโมโกลบิน ในระบบไหลเวียนเลือดปริ มาณเหล็ก 1
มิลลิกรัมของเม็ดเลือดแดงอัดแน่น ( pack red cell ) มีเหล็กสะสม 1 มิลลิกรัม
สาเหตุของโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กแบ่งเป็ น 4 กลุม่ คือ
1. จากการขาดอาหาร เช่นวัยเด็กได้ รับอาหารไม่ถกู ส่วน ได้ รับไม่เพียงพอ
2. ขาดเนื่องจากภาวะการดูดซึมไม่ดี โดยปกติจะดูดซึมบริ เวณกระเพาะอาหาร ลำไส้ เล็กส่วนต้ น และจะดูดซึมได้ ดี
ในภาวะที่เป็ นกรด ผู้ป่วยที่ได้ รับการผ่าตัดบริ เวณกระเพาะอาหารและลำไส้ จะมีโอกาสขาดธาตุเหล็ก
3. มีภาวะอยูใ่ นขณะที่เสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก เช่นหญิงตั ้งครรภ์ ขณะคลอดและขณะให้ นมบุตร
4. ขาดเนื่องจากมีการสูญเสียเลือด ซึง่ เป็ นสาเหตุหลักที่พบบ่อยที่สดุ ถ้ าร่างกายเสียเลือดเกินวันละ 6 – 8 ลบ.ซม.
จะเกิดอาการโลหิตจางได้ ขณะที่ร่างกายเริ่ มขาดธาตุเหล็กใหม่ๆจะไม่ร้ ูสกึ ผิดปกติแต่เมื่อขาดมากขึ ้นจะรู้สกึ
อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสัน่ เจ็บหน้ าอก หากขาดนานๆ จะพบว่ามีลิ ้นเลี่ยนแดง(glossitis) มุมปาก
เปื่ อย(angular stomatitis) ผมร่วง เล็บอ่อนแบบช้ อนขึ ้น (koilonychia) ถ้ าซีดมากจนระดับ Hemoglobin
(Hb) ต่ำถึง 1-3 กรัม% อาจมีอาการหัวใจวายได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจ
การรั กษา ให้ รับประทานยา Ferroussulfate (มีธาตุเหล็ก 60 มก.) ครัง้ ละ 1-2 เม็ด วันละ 3 ครัง้ ก่อน
อาหาร ถ้ ามีอาการปวดมวนท้ อง คลื่นไส้ หรื อท้ องเดิน ควรเปลี่ยนมาให้ หลังอาหารหรื อ ลดขนาดลง หรื อเปลี่ยนเป็ นยา
รูปอื่น เช่น Ferrousgluconate , Ferrous fumarate หลังได้ รับยา 2 วันผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ ้น แต่ในสัปดาห์แรก Hb จะ
ยังไม่เพิ่มขึ ้น หลังจากนั ้นค่า Hb ควรเพิ่มขึ ้น 0.5-1 g% ต่อสัปดาห์ ( ถ้ าไม่ดีขึ ้นแพทย์จะหาสาเหตุตอ่ ) เมื่อหายซีดแล้ ว
ควรรับประทานยาต่ออย่างน้ อย 3-6 เดือน
ในรายที่การดูดซึมไม่ดีเช่นได้ รับการผ่าตัด กระเพาะ-ลำไส้ และมีความจำเป็ นจริ งๆแพทย์อาจให้ เหล็กฉีดเข้ า
กล้ ามหรื อให้ ทางเส้ นเลือด วันละ 100-200 มก. 1-3 ครัง้ ต่อสัปดาห์ แต่ยาพวกนี ้มีผลข้ างเคียงคือความดันโลหิตต่ำ
เป็ นตะคริ ว คลืน่ ไส้ ปวดศีรษะ อาเจียน ท้ องเดิน
การพยาบาล
1. อธิบายให้ ผ้ ปู ่ วยเข้ าใจถึงความสำคัญของการรักษา การรับประทานยาตามแพทย์สงั่ และหากมีอาการข้ าง
เคียงจากยาเกิดขึ ้น เช่น อาการคลื่นไส้ ให้ เปลี่ยนไปรับประทานยาหลังอาหาร หรื อหากอาการข้ างเคียงเป็ นมากต้ องมา
พบแพทย์ เมื่อหายแล้ วยังจะต้ องรับประทานยาต่อเนื่องไปอีกระยะหนึง่
2. ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลีย ซีด แนะนำให้ ระมัดระวังการลุกจากที่นอนหรื อนัง่ เพื่อช่วย ลดอาการหน้ ามืด
ระมัดระวังเรื่ องอุบตั ิเหตุโดยเฉพาะผู้สงู อายุ
3.ในรายที่เป็ นพยาธิแพทย์จะให้ ยาถ่ายพยาธิต้องแนะนำเรื่ องการรักษาความสะอาดหลังการขับถ่าย ใน
ประเทศไทยพยาธิปากขอยังเป็ นปั ญหาที่พบอยู่ ผู้ที่เคยเป็ นควรได้ รับการถ่ายพยาธิปีละ 1-2 ครัง้ (โดยเฉพาะชาวนา
ชาวสวน ที่ไม่ได้ สวมรองเท้ า เพราะความจำเป็ นของงานที่ทำ )
4. การรับประทานอาหารที่ช่วยเสริมให้ ได้ รับธาตุเหล็กเพิ่ม เช่น ไข่ ตับ ผักใบเขียว โดยเฉพาะผู้ที่รับประทาน
อาหารมังสวิรัติแบบเคร่งครัดมานาน ไม่รับประทานไข่หรื อนม และเป็ นผู้สงู อายุควรปรึกษาแพทย์
5. ยาเม็ดเหล็กทุกชนิดมีลกั ษณะน่ากิน ต้ องเก็บให้ พ้นมือเด็กเพราะขนาดสูงเกินไปจะเป็ นพิษ
6. ดูแลให้ ได้ รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ เช่น จัดท่านอนศีรษะสูง
7. ติดตามผลทางห้ องปฏิบตั ิการ สังเกตอาการผิดปกติ
ข้ อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1. เซลล์ได้ รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำลง
2. เนื ้อเยื่อได้ รับเลือดไปเลี ้ยงไม่พอ ทำให้ เกิดแผลกดทับได้ ง่าย
3. การขาดธาตุเหล็กซ้ำ

ภาวะโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 (Cobalamin deficiency, pernicious anemia)


เป็ นสารอาหารที่มีความสำคัญเพราะทำหน้ าที่เป็ น coenzyme ถ้ าขาดจะทำให้ Folate metabolism หยุด
ชะงักไปด้ วย ทำให้ เกิดภาวะเลือดจางแบบ megaloblastic anemia ในประเทศไทยปั ญหาการขาด B12 ไม่ได้ มาจาก
อาหาร เพราะในน้ำปลา กะปิ ก็มีวิตามินตัวนี ้มาก การดูดซึมวิตามินตัวนี ้ต้ องอาศัย intrinsic factor (IF) ซึง่ หลัง่ มา
จากส่วน fundus ของกระเพาะ โดยจะดูดซึมที่ลำไส้ เล็ก (ileum) บริ เวณ 80 ซม.สุดท้ าย ร่างกายต้ องการวิตามินบี 12
วันละ 2-5 ไมโคกรัม วิตามินบี 12 นี ้เมื่อผ่านจากลำไส้ เล็กแล้ วจะผ่านตับไปยังเซลล์เนื ้อเยื่อเพื่อช่วยในการสร้ าง DNA
และ coenzyme หลายชนิดที่ชว่ ยให้ เม็ดเลือดแดงเจริ ญเป็ นตัวแก่ที่สมบูรณ์เต็มที่
สาเหตุ
1. สาเหตุสว่ นใหญ่มาจากการดูดซึมที่ผิดปกติ เรี ยกว่า IF-related malabsorbtion ได้ แก่ การขาด
intrinsic factor ซึง่ เป็ นความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ มี autoimmune ทำลาย gastric parietal cell
ซึง่ เป็ นที่สร้ าง IF ทำให้ เกิดภาวะโลหิตจางที่เรี ยกว่า pernicious anemia ในประเทศไทยพบน้ อย
2. ผู้ที่รับการผ่าตัดกระเพาะทิ ้ง gastrectomy หรื อ surgical resection of terminal ileum ปั จจุบนั การ
ทำผ่าตัดแบบนี ้ลดลงมาก( การดูดซึมวิตามินบี12 ต้ องอาศัยแฟกเตอร์ ภายใน IF ที่หลัง่ จากเยื่อบุกระ
เพาะอาหาร หากเกิดเหตุใดก็ตามที่ทำให้ เยื่อบุผิดปกติแล้ วลดการหลัง่ แฟกเตอร์ ภายในลง จะส่งผลให้
ร่างกายดูดซึมวิตามินบี12 ได้ น้อยลง )
3. การรับประทานยาบางอย่างเป็ นประจำเป็ นเวลานานมาก เช่น antacid ,cochicine
4. ครอบครัวที่รับประทานอาหารประเภทมังสะวิรัติ
5. โรคของตับอ่อนเรื อ้ รัง
6. มีภาวะกรดเพิ่มขึ ้นในลำไส้ เล็กจนถึงไอเลียม
อาการและอาการแสดง เมื่อขาดวิตามินบี 12 ทำให้ การสร้ าง DNA เพื่อช่วยให้ เม็ดเลือดแดงเจริ ญเป็ นตัวแก่
ที่สมบูรณ์ไม่ได้ เม็ดเลือดแดงจะถูกทำลายก่อนที่จะออกจากไขกระดูกมาสูก่ ระแสเลือดร่างกายไม่สามารถสร้ างเม็ด
เลือดแดงใหม่ให้ เร็ วพอที่จะช่วยรักษาระดับให้ คงที่ นอกจากนี ้เซลล์ประสาทก็ต้องการวิตามินบี 12 สำหรับทำหน้ าที่ให้
ปกติ ดังนันหากขาดวิ
้ ตามินบี 12 จะมีอาการทางประสาทด้ วย ได้ แก่ อาการชา , กล้ ามเนื ้อไม่มีแรง, สัน่ และเดินล้ ม
( spastic ataxia ) เนื่องจากมี degeneration ที่ lateral และ posterior column ของไขสันหลัง อาการทางสมองจะพบ
ปลอกไมอีลินของประสาทขาวเสื่อม ผู้ป่วยจะแสดงอาการทางสมอง เช่นหงุดหงิดง่าย อ่อนเพลีย ง่วงซึม อารมณ์
แปรปรวน สับสนอาจมีอาการทางจิต มีภาวะสติปัญญาและอารมณ์เสื่อมลง ( dementia ) ซึง่ จะตรวจพบว่าค่าวิตามินบี
12 ในซีรัมต่ำกว่า 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร
การรั กษา สำหรับผู้ที่รับประทานมังสะวิรัติอย่างเคร่งครัดแนะนำให้ รับประทานเสริ มวันละ 2-6 ไมโครกรัม ใน
รายที่ขาดวิตามินบี 12 จะใช้ เวลารักษายาวนานโดยให้ ขนาด 1000 ไมโครกรัมเข้ ากล้ ามเนื ้อทุกวัน นาน 2
สัปดาห์ และให้ สปั ดาห์ละครัง้ นาน 1 เดือนและให้ เดือนละครัง้ ตลอดชีวิต
ข้ อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1. เซลล์ได้ รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากจำนวนเม็ดเลือดแดงที่สมบูรณ์ทำหน้ าที่ปกติมีจำนวนน้ อย
2. ผู้ป่วยขาดความสามารถในการดูแลตนเอง
3. ผู้ป่วยไม่เข้ าใจในการปฏิบตั ิตนเองเมื่อได้ รับยาอย่างต่อเนื่อง
4. ผู้ป่วยปฏิบตั ิตนในการพ้ นจากภาวะขาดวิตามินบี 12 โดยการปรับเปลี่ยนอาหารให้ เหมาะสมไม่ได้
ภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลต ( Folic acid deficiency)
Folate (แปลว่าใบไม้ ) เป็ นวิตามินที่จำเป็ นในการสร้ างนิวเคลียส ถ้ าขาดทำให้ เกิดโลหิตจาง เม็ดเลือดแดงมี
ขนาดใหญ่กว่าปกติ จึงเรี ยกว่า megaloblastic anemia
Folate พบมากใน ผักใบเขียว เนื ้อ นม ไข่ แต่ถกู ทำลายได้ งา่ ยจากความร้ อน แม้ จะรับประทานอาหาร
สมบูรณ์แต่ถ้าต้ มสุกหมดก็จะขาดได้ ปกติร่างกายต้ องการ Folate วันละ 50 ไมโครกรัม
สาเหตุการขาด
1. รับประทานไม่พอ เนื่องจาก ความยากจน , เจ็บป่ วยเรื อ้ รังทำให้ รับประทานอาหารน้ อย, รับประทานแต่
อาหารที่ต้มสุกหมด(โดยเฉพาะคนชรา) ,การดื่มแต่นมแพะ (นมแพะมี Folate น้ อยมาก)
2. มีความต้ องการเพิ่มมากขึ ้น เช่น การตังครรภ์้ ทารกในครรภ์มีความต้ องการเพื่อการเจริ ญเติบโต , ผู้ป่วยที่
ได้ รับการฟอกเลือด สูญเสีย Folate ไปทาง dialysis membrane ,ผู้ป่วย thalassemia เพราะใช้ มากในการ
สร้ างเม็ดเลือดแดง
3. คนที่ติดสุราเรื อ้ รัง หรื อเป็ นโรคตับแข็ง
4. ผู้ที่มีปัญหาการดูดซึม Folate จะถูกดูดซึมที่ duodenum และ jejunum พบว่าผู้ที่มีปัญหานี ้จะขาดสาร
อาหารหลายชนิด เช่น เหล็ก , Folate,วิตามิน B 12
5. การใช้ ยากันชักนานๆ เช่นผู้ที่เป็ นลมบ้ าหมู ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคมะเร็ ง ยาพวกนี ้ลดการดูด
ซึม Folate ในลำไส้
6. ติดสุราหรื อเป็ นโรคตับแข็ง
อาการและอาการแสดง ส่วนใหญ่ไม่มีอาการอื่น นอกจากอาการที่เกิดจากภาวะซีดและมีอาการเหมือนกับ
การขาดวิตามินบี12 แต่จะไม่พบอาการทางจิตประสาท
การวินิจฉัย การขาด Folate พบน้ อยในประเทศไทยเพราะคนไทยส่วนใหญ่นิยมรับประทานผักดิบและผลไม้
กันมาก การจะวินิจฉัยว่าเป็ นภาวะโลหิตจางจากการขาด Folate คือ มีโฟเลตในซีรัมต่ำกว่า 4 นาโนกรัม ปกติ 7-20
นาโนกรัม และมีข้อบ่งชี ้ที่ชดั เจน เช่น
1. จากการซักประวัติ พบสาเหตุดงั ที่ได้ กล่าวข้ างต้ นคือ เป็ นผู้สงู อายุที่ไม่รับประทานผักดิบ ,ติดสุรา ,หญิง
ตังครรภ์
้ ที่มีฐานะยากจน รับประทานอาหารไม่ถกู ต้ อง เป็ นแนวทางสำคัญที่ใช้ วินิจฉัยโรคมากที่สดุ
2. ผลการตรวจเลือดจากห้ องปฏิบตั ิการ พบเม็ดเลือดแดงมี ขนาดใหญ่ megaloblast
หรื อ multisegmented neutrophil (multisegmented neutrophil พบในภาวะขาดวิตามิน B 12 เช่น
กัน แต่เนื่องจากปั ญหานี ้พบน้ อยมากในประเทศไทย จึงใช้ วินิจฉัย Folate ได้ )
3. เจาะไขกระดูกพบว่ามี megaloblast อาจพบ multisegmented neutrophil ได้
4. การตรวจหาระดับ Folate ใน serum สามารถทำได้ แต่มีปัญหาความแม่นยำในการแปลผลเพราะยังมี
โรคอื่นที่แสดงผล Folate เหมือนๆกัน
การรักษา ให้ ยาโฟลิกขนาด 0.1 – 0.5 มิลลิกรัมต่อวัน จนกว่าผลเลือดจะกลับเข้ าสูป่ กติ หากพบว่าอาการไม่ดี
ขึ ้นอาจพิจารณาให้ ยาฉีดเข้ ากล้ ามเนื ้อ แพทย์อาจจะให้ วิตามินซีร่วมด้ วยเพราะช่วยให้ โฟลิกเพิ่มการสร้ างเม็ด
เลือดได้ ดีขึ ้น
ข้ อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1. การดูดซึมของอาหารลดลง ทำให้ เซลล์ได้ รับอาหารไม่เพียงพอ

โรคโลหิตจางอะพลาสติก ( Aplastic anemia)


ภาวะโรคโลหิตจางจากไขกระดูกไม่ทำงาน เป็ นโรคเรื อ้ รังทางโลหิตวิทยาและอาจเกิดภาวะแทรกซ้ อน เช่น ภาวะ
หัวใจวายจากการซีด การมีเลือดออกในอวัยวะภายในและการติดเชื ้อที่รุนแรงทำให้ ผ้ ปู ่ วยเสียชีวิต สาเหตุมาจาก
ไขกระดูกไม่ทำงานหรื อโรคไขกระดูกฝ่ อ เป็ นภาวะที่เม็ดเลือดแดง ขาวและเกล็ดเลือดต่ำเนื่องจากมีความผิดปกติใน
ไขกระดูกทำให้ ไม่สร้ างเม็ดเลือดทั ้ง 3 ชนิด หรื อสร้ างได้ น้อยลงซึง่ เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิดหรื อเกิดขึ ้นภายหลัง
ก็ได้ สารที่พบว่าทำลายไขกระดูก เช่น พลังงานจากรังสี x- ray เบนซิน เช่นทินเนอร์ ในสีทาบ้ าน ยาที่ใช้ รักษามะเร็ ง เช่น
คลอแรมฟิ นิคอล ซัลโฟนาไมค์ สารรังสีจะหยุดการเจริ ญช่วงตอนที่มีการเจริ ญเติบโตและแบ่งเซลล์ในระยะไมโตซีส
เป็ นต้ น
อาการและอาการแสดง
1. เกล็ดเลือดต่ำ ทำให้ มีเลือดออกในอวัยวะต่างๆ มีจดุ จ้ำเลือดตามลำตัว(petechiae ) แขนขา เลือดออกตาม
ไรฟั นและเลือดกำเดาออกในทางเดินอาหาร ทำให้ มีอาการอาเจียนหรื อถ่ายเป็ นเลือด
2. อาการที่เกิดจากเม็ดเลือดแดงต่ำ ทำให้ มีอาการซีด เหนื่อยง่าย ชีพจรเบาเร็ วและถ้ ามีการเสียเลือดร่วมด้ วย จะ
ทำให้ มีอาการซีดรุนแรงจนเกิดภาวะหัวใจล้ มเหลวได้
3. อาการเม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้ มีการติดเชื ้อได้ ง่าย มีไข้

การรักษา
1. ถ้ าพบซีดมากระดับฮีโมโกลบินต่ำ จะให้ เลือดชนิดรวม ( whole blood )ถ้ าพบจุดเลือดออกตามตัวหรื อมีจ้ำเลือด
เพิ่มขึ ้น ควรได้ รับเกล็ดเลือด
2. ให้ ยาปฎิชีวนะ มักจะให้ ยาฆ่าเชื ้อแบคทีเรี ยมากกว่าให้ ยาชนิดยับยั ้งการเจริ ญเติบโตเนื่องจากมีภาวะเม็ดเลือด
ขาวต่ำจนทำหน้ าที่ชว่ ยในการฆ่าเชื ้อนันเป็
้ นไปได้ น้อยลง
3. กระตุ้นการทำงานของไขกระดูกโดยให้ เมลทิลเทศโทสเทอโรน ขนาดเม็ดละ 25 มก. อมใต้ ลิ ้น วันละ 3 เม็ด
ภายใน 3 เดือนหากไม่ได้ ผลอาจให้ ได้ ถึง 1 ปี จนกว่าระดับฮีโมลโกลบินจะขึ ้นจนถึงระดับปกติแล้ วค่อยๆหยุดยา
4. การให้ ยากดภูมิต้านทาน เช่นคลอติโคสเตอรอยขนาดสูงๆ เพื่อกระตุ้นการสร้ างเม็ดเลือด เพิ่มความแข็งแรงของ
หลอดเลือด
5. เปลี่ยนถ่ายไขกระดูก ( bone marrow transplantation )ผู้ป่วยรักษาด้ วยยามาแล้ วมากกว่า 3 สัปดาห์ แต่ผล
ตรวจทางห้ องทดลองไม่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ ้น คือ
เกล็ดเลือด ต่ำกว่า 20000 เซลล์ ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร
เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิ ลต่ำกว่า 500 เซลล์ ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร
เรติคโู ลซัย น้ อยกว่าร้ อยละ 1 ใช้ ในกรณีที่มีภาวะโลหิตจางจากไขกระดูกไม่ทำงานขั ้นรุนแรง มีซีด เลือดออก ติด
เชื ้อรุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้ วยยา โดยเปลี่ยนถ่ายไขกระดูกจากพ่อแม่เดียวกัน หรื อเหมือนกัน
ใกล้ เคียงกันที่สดุ หากเปลี่ยนได้ สำเร็จจะช่วยให้ ผ้ ปู ่ วยหายขาดได้ ถึงร้ อยละ 90
6. การรักษาตามอาการ เป็ นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ เลือดในรายที่มีอาการซีดรุนแรง
หรื อมีเลือดออกในอวัยวะต่าง ๆ
การพยาบาล
1. การบันทึกสัญญาณชีพและ intake/output มีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของ
ผู้ป่วย
2. ป้องกันภาวะเนื ้อเยื่อพร่องออกซิเจน ป้องกันการมีเลือดออกในอวัยวะต่างๆ
3. ระวังเรื่ องการติดเชื ้อและภาวะ septicemia , shock ดูแลให้ ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
4. อาหารเป็ นอาหารอ่อน high protein เสริ มธาตุเหล็ก folic acid vit B12 ดื่มน้ำให้ เพียงพอ
5. สังเกตว่ามีเลือดออกจากส่วนใดของร่างกายหรื อไม่ ดูแลเมื่อผู้ป่วยได้ รับเลือดหรื อเกล็ดเลือด และ ระวังภาวะ
แทรกซ้ อนจากการให้
6. ติดตามผลทางห้ องปฏิบตั ิการ
7. สังเกตผลข้ างเคียงจากการได้ รับยาฮอร์ โมน เช่นมีขนดก สิว เสียงห้ าว ผิวแตก เต้ านมและอวัยวะเพศโตขึ ้น
8. ดูแลเรื่ องการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย หากอยูใ่ นระยะที่มีอาการอ่อนเพลียมาก พยาบาลต้ องให้ การช่วย
เหลือ เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ ้นก็สนับสนุนให้ ผ้ ปู ่ วยมีกิจวัตรเพิ่ม ให้ คำแนะนำในการระวังเรื่ องอุบตั ิเหตุ
9. ให้ ความรู้และคำแนะนำเพื่อให้ ผ้ ปู ่ วยเกิดความเข้ าใจ ซึง่ จะช่วยให้ ผ้ ปู ่ วยสามารถดูแลตนเองได้ อย่างเหมาะสม
ตลอดจนมีความเข้ าใจต่อภาวะแทรกซ้ อนที่เกิดขึ ้นจากโรค อาการข้ างเคียงจากยาและกระบวนการรักษา

ข้ อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1. มีภาวะเซลล์ได้ รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากมีภาวะโลหิตจางและเม็ดเลือดแดงมีจำนวนลดลง
2. มีภาวะเลือดออกได้ งา่ ยเนื่องจากไขกระดูกสร้ างเกล็ดเลือดไม่ได้
3. มีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื ้อเนื่องจากเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้ าที่จบั กินเชื ้อโรคมีจำนวนลดลง
4. ขาดความรู้ในการปฏิบตั ิตนเมื่อต้ องเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก
5. ขาดความรู้ความเข้ าใจในการปฏิบตั ิตนเมื่อกลับสูช่ มุ ชน
6. มีภาวะเครี ยดสูงจากการเจ็บป่ วยเรื อ้ รัง
โรคธาลัสซีเมีย เป็ นโรคซีดทางพันธุกรรม ที่เกิดจากความผิดปกติในการสังเคราะห์โกลบิน ทำให้ การสร้ างฮีโม
โกลบินลดลง ส่งผลให้ เม็ดเลือดแดงมีอายุสั ้น เกิดปั ญหาซีดเรื อ้ รังตังแต่
้ แรกเกิด โรคนี ้เป็ นโรคซีดที่เกิดจากเม็ดเลือดแดง
แตกที่พบบ่อยที่สดุ ในประเทศไทย
สาเหตุหลักเกิดจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้ างเส้ นโพลีเปบไทด์ที่ประกอบกันเป็ นฮีโมโกลบินยีนที่
ผิดปกตินี ้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่มีความผิดปกติจะผิดปกติ 2 ยีน โดยได้ รับยีนตัวหนึง่ มาจากโครโมโซมที่ได้ จากบิดา
และอีกตัวได้ มาจากยีนผิดปกติ 2 ยีน จากมารดา เรี ยกว่าเป็ น Homozygote ซึง่ จะแสดงอาการของโรค ส่วนผู้ที่มีความ
ผิดปกติเพียงยีนเดียว เรี ยกว่าเป็ น Heterozygote จะไม่เป็ นโรคแต่จะเป็ นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย
อาการและอาการแสดง จะมากน้ อยขึ ้นกับชนิดของโรคที่เป็ น ซึง่ สามารถแบ่งได้ เป็ น
1. ชนิดรุนแรง ได้ แก่ Homozygous alpha thalassemia หรื อ Hb Bart s Hydrops Fetalis ซึง่ มีอาการรุนแรงจน
ทารกตายในครรภ์ Homozygous beta thalassemia หรื อ Hb E ซึง่ ผู้ป่วยมักจะมีอาการซีดในขวบปี แรกและมัก
ถึงแก่กรรมในวัยเด็ก อาการที่พบ ได้ แก่ ภาวะซีดรุนแรงจนเกิดภาวะหัวใจล้ มเหลว ต้ องให้ เลือดเป็ นประจำ ทำให้
เกิดภาวะเหล็กเกินไปจับอวัยวะต่างๆ จนเกิดพยาธิสภาพได้ แก่ เบาหวาน สีผวิ คล้ำ ตาและตัวเหลือง การเจริ ญ
เติบโตช้ า ตับม้ ามโตเต็มช่องท้ อง กระดูกบางและเปราะแตกหักง่าย มีการเปลี่ยนแปลงของใบหน้ าชัดเจน คือ ดั ้ง
จมูกแฟบ ตาห่างกัน โหนกแก้ มนูน ฟั นบนซี่ใหญ่และยื่น กะโหลกศีรษะปูดนูนเป็ นลอน
ธาตุเหล็กที่มีอยูใ่ นเม็ดเลือดแดง คือ เลือด 1 ยูนิตหรื อ 1 ถุง จะมีธาตุเหล็กเทียบเท่ากับธาตุเหล็กที่ได้ จากการดูด
ซึมจากอาหารเป็ นเวลานานเป็ นเดือนซึง่ เป็ นปั จจัยที่ทำให้ เกิดภาวะธาตุเหล็กเกินและสะสมในอวัยวะต่างๆ เช่นผิวหนังจะ
มีผิวคล้ำจนเป็ นสีดำออกเขียว สะสมที่กล้ ามเนื ้อหัวใจ จะทำให้ หวั ใจทำหน้ าที่บกพร่อง หัวใจโต ล้ มเหลว กล้ ามเนื ้อหัวใจ
พิการ สะสมที่ตบั จะทำให้ เกิดตับแข็ง ตับอักเสบ สะสมที่ตอ่ มไร้ ทอ่ จะทำให้ การทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์ลดลง ต่อม
ไทรอยด์ทำงานน้ อยลง เบาหวาน มีน้ำตาลในเลือดสูง

2. ชนิดรุนแรงปานกลาง ได้ แก่ beta thalassemia หรื อ Hb E , Hb H อาการที่พบ ได้ แก่ ซีดปานกลาง อาจต้ องให้
เลือดเป็ นครัง้ คราว เหลืองเล็กน้ อย ม้ ามโตแต่มกั ไม่เกินระดับสะดือ
3. ชนิดไม่มีอาการ ได้ แก่กลุม่ ที่มียีนธาลัสซีเมีย แต่ไม่มีอาการซีดหรื อตับม้ ามโต คือกลุม่ Heterozygote หรื อ
thalassemia trait ทุกชนิด Hb E เป็ นต้ น

การรักษา
1. คำแนะนำในการดูแลรักษาสุขภาพทัว่ ไป และ การมีสขุ อนามัยที่ดี สะอาด
1.1 การติดเชื ้อเนื่องจากผู้ป่วยจะมีภมู ิต้านทานโรคต่ำ ดังนันจึ ้ งต้ องหลีกเลี่ยงการอยูใ่ กล้ ชิดกับคนที่
เป็ นโรคต่างๆ ไม่อยูใ่ นที่แออัด การรักษาอนามัยส่วนบุคคลรวมทั ้งการรักษาฟั นผุตา่ งๆ ระวังอย่าให้ เป็ นแผล
ไม่สบายควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาโดยเร็ ว
1.2 ออกกำลังกายเท่าที่จะทำได้ ไม่เหนื่อยเกินไป เนื่องจากมีกระดูกเปราะหักง่าย ไม่สบู บุหรี่ ไม่ควร
ดื่มเหล้ าเพราะผลเสียต่อตับ
1.3 รับประทานอาหาร มีคณ ุ ภาพโปรตีนสูง เช่น เนื ้อสัตว์ตา่ งๆ ไข่ นม และ ผักสดต่างๆ(มี Folate )
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงได้ แก่ เลือดสัตว์ตา่ งๆ
1.4 ไม่ควรซื ้อยาบำรุงโลหิตเอง เพราะอาจได้ รับเหล็กเกิน
1.5 รับประทานยาตามแพทย์แนะนำ หากมีข้อสงสัยให้ สอบถามจากแพทย์และพยาบาลตามสถาบันหรื อโรง
พยาบาลที่รักษาอยู่ นอกจากนี ้ตามหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนบางแห่งยังเปิ ดศูนย์หรื อชมรมผู้ป่วย
ธาลัสซีเมีย เพื่อให้ คำปรึกษาและช่วยเหลือ
2. การให้ เลือด มี 2 แบบคือ
- การให้ เลือดแบบประคับประคอง เพิ่มระดับฮีโมโกลบินขึ ้นให้ สงู กว่า 6-7 กรัม/เดซิลิตร พอให้ ผ้ ปู ่ วยหายจาก
อาการอ่อนเพลีย เหนื่อย มึนงง จากอาการขาดออกซิเจน ให้ เป็ นครั ง้ คราว
- การให้ เลือดจนหายซีด เพิ่มระดับฮีโมโกลบินให้ สงู ใกล้ เคียงคนปกติ อาจต้ องให้ เลือดทุก 2-3 สัปดาห์ จนระ
ดับฮีโมโกลบินก่อนให้ เลือดอยูใ่ นเกณฑ์ 10 กรัม/เดซิลิตร
การรักษาโดยการให้ ยาขับธาตุเหล็ก โดยยาที่ใช้ กนั มากที่สดุ ก็คือ ยา Desferal ซึง่ ต้ องให้ โดยวิธีการฉีด โดยมี
เครื่ องช่วยให้ ยาเรี ยกว่า Infusion pump หากมีภาวะเหล็กเกินมาก ต้ องให้ ยาในขนาด 40-60 มิลลิลติ ร/น้ำหนักตัว 1
กิโลกรัม สัปดาห์ละ 5-6 วัน จึงจะขับธาตุเหล็กออกได้ เต็มที่จนไม่มีเหล็กเกิน นิยมฉีดก่อนนอน และถอดเข็มออกเมื่อตื่น
นอนแล้ ว เหล็กจะถูกขับถ่ายออกจากร่างกาย ทางปั สสาวะและอุจจาระ       
โรคธาลัสซีมเมียเป็ นโรคทางพันธุกรรมที่พบมากในประเทศไทย ผู้ที่เป็ นโรคนี ้จะมีอาการเรื อ้ รัง และรักษาให้
หายขาดยาก จึงเป็ นปั ญหาต่อสุขภาพกายและใจ การป้องกันสามารถทำได้ โดย คูส่ ามีที่มีโอกาสเสี่ยงมีลกู เป็ นธาลัสซี
เมีย ให้ ใช้ วิธีการคุมกำเนิดไว้ เพื่อไม่ให้ มีลกู หรื อเลือกการใช้ วิธีผสมเทียมโดยใช้ อสุจิจากผู้อื่นแทน เลือกใช้ วิธีปฏิสนธิใน
หลอดทดลอง หรื ออาจจะใช้ การวินิจฉัยก่อนคลอด โดยปั จจุบนั ได้ มีการตรวจเลือดโดยวิธีพิเศษ ได้ แก่ การตรวจหาชนิด
ของฮีโมโกลบินซึง่ สามารถรู้ได้ วา่ ผู้ใดเป็ นพาหะ หรื อเป็ นโรคได้

Idiopathic Thrombocytopenic Purpura (ITP)


ITP เป็ นโรคเลือดออกง่าย จากจำนวนเกล็ดเลือดต่ำ โดยร่างกายสร้ าง platelet antibody มาทำลายเกล็ด
เลือด จึงมีผ้ เู รี ยกโรคนี ้อีกชื่อหนึง่ ว่า AUTOIMMUNE- THROMBOCYTOPENIC PURPURA (AITP)
สาเหตุ
ไม่ทราบสาเหตุ ส่วนใหญ่พบเป็ นกับคนในวัยหนุ่มสาวหรื อกลางคน พบหญิง : ชาย เท่ากับ 3:1 จากการศึกษา
พบว่า ร่างกายสร้ าง antibody ต่อเกล็ดเลือดของตัว ออกมาจับกับเกล็ดเลือด จากนันจะถู ้ กทำลายที่ม้าม ไขกระดูก
สามารถสร้ างเกล็ดเลือดได้ ปกติ และสร้ างเพิ่มขึ ้นเพื่อชดเชย แอนติบอดีสว่ นใหญ่เป็ น IgG
อาการและอาการแสดง
เลือดออกทางผิวหนัง (petechiae) และเยื่อบุตา่ งๆ เช่น จมูก ปาก กระเพาะอาหาร และลำไส้ ในรายที่มีอาการ
รุนแรงอาจมีเลือดออกในสมอง ผู้ป่วยจะไม่มีอาการซีด ยกเว้ นมีการเสียเลือดออกไปจากร่างกายมาก เช่น เลือดกำเดา
หรื อประจำเดือนออกมาก ถ่ายเป็ นเลือด ไม่มีตบั ม้ าม และต่อมน้ำเหลืองโต

          ผู้ป่วย chronic ITP ส่วนใหญ่มาพบแพทย์ด้วยปั ญหาเลือดออกผิดปกติ อาการมักจะค่อยเป็ นค่อยไป ตําแหน่ง


ของเลือดออกที่ พบบ่อยได้ แก่ผิวหนัง (petechiae, ecchymoses) พบประมาณร้ อยละ 90 ของผู้ป่วย บางรายมีเลือด
ออกตามเยื่อบุตา่ งๆ เช่น เลือดออกตามไรฟั น เลือดกําเดา เลือดออกในทางเดินอาหาร ปั สสาวะเป็ นเลือด ผู้ป่วยหญิง
อาจมีประจําเดือนออกมากและ นานผิดปกติ ความรุนแรงของอาการผู้ป่วยขึ ้นอยูก่ บั ระดับของเกล็ดเลือด ในรายที่เกล็ด
เลือดมีระดับตํ่ากว่า 10 x 109/ลิตร อาจ มีเลือดออกในสมองได้ กรณีเช่นนี ้ถือเป็ นภาวะฉุกเฉิน ผู้ป่วยมีอตั ราตายสูงถ้ าไม่
ได้ รับการรักษาที่ถกู ต้ องเหมาะสมทันท่วงที

          อาการซีด สัมพันธ์กบั จํานวนเลือดที่ออก ผู้ป่วยบางรายที่มีประวัติการดําเนินโรคยาวนาน อาจตรวจพบภาวะ


โลหิต จางจากการขาดธาตุเหล็กร่วมด้ วย สําหรับผู้ป่วยที่เลือดออกจํานวนไม่มากและไม่มีประวัติเสียเลือดเรื อ้ รังมักไม่ซีด

การวินิจฉัย : ประวัติ , อาการและอาการแสดง


: ตรวจร่างกาย พบจุดเลือดออก petechiae โดยไม่มีอาการโลหิตจางและอาการอื่นๆ
การรักษา ส่วนใหญ่ผ้ ปู ่ วยที่เป็ น ITP จะมีอาการไม่หนัก มีเพียงแต่จดุ แดงๆตามตัว แต่อาจรับไว้ ในโรงพยาบาลถ้ า
เกร็ ดเลือดต่ำเพระอาจเกิดเลือดออกในสมองและทำให้ ถึงแก่กรรม
1. การรักษาเฉพาะ specific treatment
1.1.Glucocorticoids เช่น prednisolone ,dexamethasone ปรับขนาดยาตามอาการ บางรายหายแต่บาง
รายก็เป็ นเรื อ้ รังไปเรื่ อยๆ การให้ ยาตัวนี ้นานๆทำให้ เกิดอาการแทรกซ้ อนหลายอย่าง จึงนิยมให้ ร่วมกับยา
ตัวอื่นเพื่อลดขนาดยาลงหรื อเปลี่ยนใช้ ยาตัวอื่นแทน
1.2. Immunosuppresssive drug เช่น azathioprine, cyclophosphamide, vincristine และ vinblastine
เป็ นยากดภูมิค้ มุ กัน ยากลุม่ นี ้ถ้ าใช้ ติดต่อกันนานเกิน 1 เดือนอาจทำให้ เป็ นหมันได้
1.3. ให้ platelet หรื อ เลือดที่เจาะใหม่ในกรณีที่มีเลือดออกมาก
1.4.การให้ Intravenous immunoglobulin
1.5.การให้ fresh plasma
1.6.การตัดม้ าม ในกรณีที่การรักษาด้ วยยาแล้ วไม่ดีขึ ้น (ประมาณ 1 ปี )ไม่สามารถหยุดยาได้ การตัดม้ ามออก
จะ ช่ว ยใ ห้ platelet ข ึ ้น ม า ส รู่ ะด บั ป กต ิไ ด้ ผ ้ ปู ่ ว ย ร้ อ ย ล ะ 50-80 จะ ไ ด้ ผ ล ด ี ใน รา ย ที่ไ ม ไ่ ด้ ผ ล ต้ อ ง ใ ห้
Immunosuppresssive drug ต่อไป
2.การรักษาแบบประคับประคอง supportive treatment เป็ นการรักษาตามอาการ
การพยาบาล
1. Absolute bed rest ผู้ป่วยที่เป็ น acute ITP มี platelet น้ อยกว่า 50,000/µl หรื อผู้ป่วย chronic ITP ม ี
platelet น้ อยกว่า 20,000/µl เพราะเสี่ยงต่อการมีเลือดออกง่าย
2. สังเกตลักษณะจุดหรื อ จ้ำเลือดออก ถ้ ามีลกั ษณะแบบ wet purpura (purpura ที่คลำได้ นนู ขึ ้นมา มี
ขนาดโต 2-3 มม.ขึ ้นไป) ต้ องรายงานแพทย์ทราบทันที
3. แนะนำให้ รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย
4. ถ้ ามีเลือดออกตามไรฟั นให้ งดแปรงฟั น ให้ บ้วนปากด้ วยน้ำยาบ้ วนปาก เมื่อดีขึ ้นและจำนวน platelet
ใกล้ เคียงปกติ แนะนำให้ ใช้ แปรงสีฟันขนอ่อนและแปรงเบาๆ
5. สังเกตลักษณะอุจจาระของผู้ป่วยว่ามีเลือดปนหรื อไม่ และแนะนำให้ ผู้ป่วยเข้ าใจวิธีสงั เกต
6. กรณีที่ให้ เกล็ดเลือดทดแทน หรื อให้ fresh plasma ดูแลให้ ผ้ ปู ่ วยได้ รับตามกำหนดเวลาการรักษา
สังเกตอาการแพ้ และการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ ้น
7. ผู้ป่วยที่ได้ รับการรักษาด้ วยยา prednisone นานจะเกิดอาการข้ างเคียงจากยาเช่น มีสวิ ขึ ้น มีหนวด มี
โหนกที่ด้านหลังคอ ฯ ทำให้ เกิดความรู้สกึ สูญเสียภาพลักษณ์ ผู้ป่วยต้ องได้ รับคำอธิบายเพื่อให้ เกิด
ความเข้ าใจที่ถกู ต้ องและได้ รับการสนับสนุนทางด้ านจิตใจ เพื่อให้ สามารถเผชิญต่อภาวะเครี ยดต่างๆได้

ภาวะโลหิตข้ น ( polycythemia )
Polycythemia หมายถึง ภาวะที่มีการเพิ่มขึ ้นผิดปกติของ Hematocrit (>48% ในหญิง, >52% ในชาย),
และ/ หรื อ Hemoglobin (>16.5 g/dL ในหญิง, >18.5 g/dL ในชาย)
Polycythemia มีความหมายอีกหลายประการ เช่น ภาวะที่เม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ ้นอย่างเดียวหรื อมี
ปริ มาณเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดเพิ่มขึ ้นทั ้ง 3 อย่าง หรื อภาวะที่เม็ดเลือดแดงไม่ได้ เพิ่มขึ ้นแต่
ปริ มาณน้ำเลือดลดลง
สาเหตุ
1. โลหิตข้ นเทียม เกิดจากร่างกายเสียน้ำ เช่น ขาดน้ำ ท้ องเดิน อาเจียน
2. โลหิตข้ นแท้ ที่เกิดจากการไม่ทราบสาเหตุที่ชดั เจนหรื อมีความผิดปกติที่ไขกระดูกและภาวะเลือดข้ นที่เกิด
จากโรคอื่นแล้ วทำให้ มีภาวะเลือดข้ น เช่น โรคไต บวมน้ำ มะเร็ งรังไข่ เป็ นต้ น
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการหลากหลายไม่วา่ จะเป็ น อาการเหนื่อยง่ายเมื่อออกแรง ไอเรื อ้ รัง ประวัติมือ
เท้ าแดงคล้ำ คันเวลาอาบน้ำอุน่ อาการอ่อนเพลีย คุณภาพการนอนไม่ดี อาจสังเกตพบว่ามีหน้ าแดง หลอดเลือดดำใต้
ลิ ้นขยายตัว รวมถึงภาวะ cyanosis ที่ริมฝี ปาก ติ่งหู และ ปลายนิ ้ว ทั ้งนี ้ขึ ้นกับความรุนแรงของโรค
ภาวะที่เลือดหนืดมากทำให้ การไหลเวียนของเลือดช้ า ร่างกายต้ องใช้ พลังงานเพิ่มขึ ้นในการให้ หวั ใจปั๊ มเลือด
แต่ละครัง้ ทำให้ ผ้ ปู ่ วยเหนื่อยง่ายเมื่อออกแรง มีปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หูอื ้อ นอนไม่หลับ อาจพบภาวะก้ อนเลือดอุดตันใน
สมองและเส้ นเลือดแดงแตกในสมองได้ เนื่องจากเส้ นเลือดต้ องขยายใหญ่ขึ ้น
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
1. มีภาวะเส้ นเลือดแตกหรื ออุดตันในสมอง เนื่องจากเลือดหนืด
2. มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกในร่างกาย
3. มีภาวะแทรกซ้ อนจากการได้ รับเคมีบำบัดเพื่อบรรเทาอาการของโรค

You might also like