Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 5

ประวัติเพลง

“Land” เป็นบทเพลงสำหรับ Marimba Solo (Marimba 5 Octave) ประพันธ์โดย Takatsugu Muramatsu นักประพันธ์
เพลงชาวญี่ปุ่น บทเพลงนี้ประพันธ์ให้นักมาริมบาชาวญี่ปุ่น Momoko Kamiya

บทเพลงนี้เป็นบทเพลงที่บรรยายเรื่องราวความสวยงามของธรรมชาติ โดยอาศัยเมโลดี้ ท่วงทำนองที่สวยงาม ผสมผสานกับ


จังหวะrubatoเข้าด้วยกัน ทำให้นักดนตรีสามารถบรรยายเรื่องราวและแสดงอารมณ์ผ่านบทเพลงนี้ได้ดียิ่งขึ้น

ประวัติผู้ประพันธ์

Takatsugu Muramatsu เกิดเมื่อปีพ.ศ. 2521 ในเมือง Hamamatsu จังหวัด Shizuoka เขาจบการศึกษาจากหลักสูตร


Composition Course จากมหาวิทยาลัย Kunitachi College of Music

Takatsugu เดบิวต์ตั้งแต่ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลาย ด้วยอัลบั้มเปียโนโซโล่ของเขา "The Window" และเขาได้ออกอัลบั้มเปีย


โซโล่ของตัวเองอีก4อัลบั้ม ได้แก่ Tokyo , Spiritual of The Mind , Piano Sings และ Lovely Notes of Life

พรสวรรค์ของเขาในฐานะนักแต่งเพลงภาพยนตร์และละครได้รับความสนใจตั้งแต่ช่วงปีแรกๆ เขาแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์
เรื่อง "Inugami" ในปีพ.ศ.2544 ในช่วงปีสุดท้ายของการเรียนในมหาวิทยาลัย และแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "The
Choice of Hercules" ในปีพ.ศ.2545

ในปีพ.ศ.2547 เขากลายเป็นผู้กำกับเพลงที่อายุน้อยที่สุด ในละครโทรทัศน์เรื่อง "Tenka" ของ NHK .

หลังจากนั้นเขาได้แต่งเพลงให้กับภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายเรื่อง เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Yunagi no Machi, Sakura


no Kuni (Town of Evening Calm, Country of Cherry Blossoms) , "Orion-za Kara no Shotaijou" และละครซีรีส์
เรื่อง Kansahoujin , DanDan

นอกเหนือจากภาพยนตร์และละครแล้วเขายังจัดทำเพลงให้กับ "Song & Dance" ของบริษัท Shiki Theatre และสำหรับการ


แสดงละครเพลงบรอดเวย์ "Cabaret" ที่ญี่ปุ่น

นอกจากนั้นเขายังได้แต่งเพลงให้กับศิลปินที่มีชื่อเสียงในหลากหลายแนวเพลงรวมถึงดนตรีคลาสสิกเช่น Chisako Takashima


(violin) , Naori Uchida (harp) , Ayako Takagi (flute) และ Momoko Kamiya (marimba) และเขาก็ทำงานเป็นโปรดิว
เซอร์ด้วยเช่นกัน
วิเคราะห์บทเพลง “Land” for Marimba Solo

ในช่วงแรกของบทเพลง จะถูกนำเสนอด้วยทำนองในจังหวะแบบrubato ในคีย์ A Major

หลังจากอินโทรผ่านไป ในเข้าสู่ช่วงจังหวะช้ าในห้องที่10 และthemeหลักของบทเพลงนี้(Theme A)จะปรากฏขึ้นในห้องที่ 12

เมื่อจบ Theme A ในครั้งแรก Theme A จะถูกเล่นต่ออีกครั้งโดยไลน์accomp.จะเพิ่มส่วนโน๊ตจากเขบ็ด1ชั้นเป็นเขบ็ด2ชั้น


เพื่อเพิ่มความน่าสนใจของบทเพลงมากยิ่งขึ้น

ในช่วงท้ายของ Theme A ครั้งที่สองนี้ จะมีทำนองใหม่สั้นมาต่อท้ายเพื่อจบ Theme A นี้อย่างสวยงาม


หลังจากนั้นจะเข้าสู่ท่อนใหม่ของบทเพลงนี้ (theme B) ด้วยการเล่นคอร์ด ฮาร์โมนี และเมโลดี้ในช่วงท้ายของแต่ละห้องใน
จังหวะแบบrubato โดยในท่อนนี้ผู้ประพันธ์ได้ผู้เล่นเป็นคนออกแบบจังหวะในท่อนนี้ด้วยตัวเอง และสิ่งสำคัญอีกอย่างในท่อน
นี้คือมีการ crescendo และ decrescendo ในทุกๆห้อง ทำให้เพลงมีมิติมากขึ้นเพราะมีไดนามิคที่ดังขึ้นและเบาลงตลอดเวลา
โดยในท่อนนี้มีเทคนิคสำคัญ คือการใช้ไม้ 3 2 1 เล่นต่อกันอย่างไหลลื่นและมีเสียงที่เรียบเนียน

ในช่วงกลางของ Theme B มีการเปลี่ยนคีย์จากคีย์ A major เป็น C major โดยทำนองในคีย์ C major จะมีทำนองและการ


ดำเนินคอร์ดที่คล้ายกัน แตกต่างกันเพียงเมโลดี้ในช่วงท้ ายของแต่ละห้อง

และในช่วงท้ายของ Theme B ได้เข้าสู่ช่วงdevelopmentเพื่อเตรียมที่จะส่งไปยังท่อนถัดไป โดยมีการย้ำโมทีฟ(motif) ใน


ห้องแรกของการdevelopmentเพื่อเน้นไดนามิคที่แข็งแรงขึ้น แต่ยังรักษาไดนามิคที่ดังขึ้นและเบาลงเหมือนใน theme B

และในส่วนท้ายของท่อนdevelopmentนี้ มีการ crescendo ขึ้นไปจนถึงไดนามิค fortissimo (ff) ซึ่งเป็นจุดclimaxที่ดังที่สุด


ตั้งแต่เพลงนี้ถูกบรรเลงมา จากนั้นจะมีการยืดจังหวะ ช้าลง เพื่อเตรียมตัวไปยังท่อนจบ
ในท่อนจบจะเปลี่ยนมาเป็นคีย์ F major โดยเป็นการนำ Theme A ในตอนต้นกลับมาเล่นอีกครั้ง ในไดนามิคที่ดังขึ้น รวมถึง
จังหวะและอารมณ์ ที่เร็วขึ้นเล็กน้อย ส่วน Grandioso คือการเล่นอย่างสง่างาม

เมื่อถึงปลายประโยคของ Theme A ได้มีการต่อทำนองเพิ่มอีก3ห้อง โดยใน2ห้องท้ายจะเล่นโน๊ตเหมือนกันแต่ห้องสุดท้ายจะ


เพิ่มขึ้น1octave รวมถึงไดนามิคที่ค่อยๆเบาลง เพื่อคลายอารมณ์และส่งไปยังตอนจบที่เบาและสงบ

ในท่อนจบของเพลงเป็นการเล่น broken chord ในคอร์ด F major โดยค่อยๆไล่ octave ขึ้นไปเรื่อยๆ และมีการ


decrescendo ในห้องที่3ก่อนจบ และ crescendo ขึ้นเพื่อส่งไปยัง 3 คอร์ดสุดท้าย โดยในคอร์ดสุดท้ายเป็นการ broken
chord ในคอร์ด F major และจบเพลงอย่างสวยงาม
ประวัตินักดนตรี

วรัตม์ ก่อคามเขต (ตะวัน) เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2544 วรัตม์เริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่อายุ 6 ปี และกีตาร์


คลาสสิคตอนอายุ 11 ปี ภายใต้การดูแลควบคุมของอาจารย์นิตินัย เทพธรณี

ในปีพ.ศ.2556 วรัตม์ได้เข้าเรียนระดับชั้นมัธยมที่โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีน ครินทรวิโรฒ ปทุมวัน โดยได้เข้า


ร่วมวงโยธวาทิตประจำโรงเรียนตั้งแต่ม.1เป็นต้นมา ในตำแหน่ง Percussion ภายใต้การควบคุมของอาจารย์วรงค์ เจนพิทักษ์
พงศ์ และเรียนจนจบการศึกษาจากโรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน แผนการเรียนศิลป์ – ดนตรี

ปัจจุบันวรัตม์เป็นนักศึกษาทุน กำลังศึกษาอยู่ที่คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาการแสดงดนตรี


เอก Percussion ภายใต้การควบคุมของอาจารย์เผ่าพันธุ์ อำนาจธรรม

ผลงานทางด้านดนตรี

- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขัน The Asia Pacific Percussion Online Competition 2020


ในประเภท Public Classical (Marimba Solo)
- นักดนตรีวง Princess Galyani Vadhana Institute of Music Youth Orchestra (PYO) ในตำแหน่ง
Percussion (พ.ศ.2563)
- นักดนตรีวง Thailand Wind Philharmonia (TWP) (พ.ศ.2563)
- นักดนตรีวง Thai Youth Orchestra (TYO) (พ.ศ.2561 – 2562)
- นักดนตรีวง Siam Sinfonietta (พ.ศ.2561 – 2562)

You might also like