หนังสือรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2565

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 94

2 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำ�ปี พ.ศ. 2565


สงวนลิขสิทธิ์ โดย มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
พิมพ์ครั้งที่ 1 วันที่ 9 สิงหาคม 2565
จำ�นวนพิมพ์ 800 เล่ม

จัดทำ�โดย
มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

ดำ�เนินการโดย
คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
ข้อมูลทางบรรณานุกรม

มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำ�ปี พ.ศ. 2565.-- กรุงเทพฯ : มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2565.
92 หน้า.
1. นักวิทยาศาสตร์ I. ชื่อเรื่อง.
925
ISBN 978-616-8154-09-0
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 3

สารบัญ

สารประธานคณะกรรมการมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ 4
สารมูลนิธิเอสซีจี 5
สารบริษัท ปตท. จำ�กัด (มหาชน) 6
สารสำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 7
สารสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 8
คำ�ปรารภประธานคณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น 9
รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2565 (2022 Outstanding Scientist Award)
คำ�ประกาศเกียรติคุณ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วิปร วิประกษิต 10
Curriculum Vitae: Professor Dr. Vip Viprakasit 19
List of Publications: Professor Dr. Vip Viprakasit 24
The Achievements of Professor Dr. Vip Viprakasit 34
งานวิจัยทางด้านโลหิตวิทยาและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เพื่อพัฒนาการวินิจฉัยและการรักษาด้วยนวัตกรรม 44
รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ พ.ศ. 2565 (2022 Young Scientist Awards)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กมลวัช งามเชื้อ 56
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรชัย กาญจนาคม 64
ประวัติมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ 72
ใบอนุญาตจัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ 73
หนังสือให้อำ�นาจจัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ 74
หนังสือพระราชทานพระมหากรุณาให้มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ 75
มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นองค์การ
หรือสถานสาธารณกุศล ลำ�ดับที่ 481 ของประกาศกระทรวงการคลังฯ 76
รายงานผลการดำ�เนินงาน มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในพระบรมราชูปถัมภ์ประจำ�ปี พ.ศ. 2564 77
โครงการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ 81
รายนามนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น (List of Outstanding Scientists) 83
รายนามนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ (List of Young Scientists) 88
คณะกรรมการมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ 91
4 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

สารประธานคณะกรรมการ
มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

โลกในปัจจุบันและอนาคตพึ่งพาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ทั้งในการพัฒนาทางเศรษฐกิ จ การเสริมสร้างสุขภาวะ และการ
ป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม ประเทศไทยได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะใช้กลไกการพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหนึ่งในปัจจัยส�ำคัญที่จะขับเคลื่อนให้ประเทศ
ก้า วข้า มกั บ ดั ก รายได้ป านกลาง ซึ่ ง เราอยู ่ใ นต� ำ แหน่ง การเป็น ประเทศ
รายได้ป านกลางมาประมาณ 20 ปีแ ล้ว แต่ยั ง ไม่ส ามารถก้า วไปเป็น
ประเทศรายได้สูงได้ส�ำเร็จ ดังนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงให้ความส�ำคัญ
ต่อ การพั ฒ นาทางวิ ท ยาศาสตร์แ ละเทคโนโลยี และการน� ำ วิ ท ยาศาสตร์
และเทคโนโลยี ไ ปใช้ป ระโยชน์ไ ด้อ ย่า งเต็ ม ประสิ ท ธิ ภ าพและไม่เ กิ ด ผล
กระทบที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ที่จะเป็นผู้สร้างความรู้และเทคโนโลยี และถ่ายทอดความรู้และ
เทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนา

มู ล นิ ธิ ส ่ง เสริ ม วิ ท ยาศาสตร์แ ละเทคโนโลยี ใ นพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ไ ด้เ ล็ ง เห็ น ความส� ำ คั ญ


ในการส่งเสริมผูม ้ ีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี แ ก่ป ระชาชนโดยเฉพาะเยาวชนรุ ่น ใหม่ เพื่ อ ให้เ กิ ด แรงบั น ดาลใจในการที่ จ ะเลื อ กการศึ ก ษาและอาชี พ
ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงเริ่มดําเนินโครงการ “รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น” มาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2525 เพื่อ
เชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ทางด้านวิชาการ ได้อุทิศตนพัฒนางานวิทยาศาสตร์มาอย่าง
ต่อเนื่องจนเกิ ดผลกระทบที่สําคัญต่อแวดวงวิชาการและสังคม และเป็นผู้ที่มีความประพฤติดีมีจรรยาบรรณ เป็นที่
เคารพนั บ ถื อ เป็น แบบอย่า งที่ ดี เพื่ อ ให้เ ยาวชนได้ยึ ด ถื อ เป็น แนวทางในการดํ า เนิ น รอยตามได้ และเพื่ อ สร้า ง
นักวิทยาศาสตร์รุน ่ ใหม่ ซึ่งจะเป็นกําลังสําคัญของประเทศต่อไปในอนาคต มูลนิธิฯ จึงได้ริเริ่มให้มีการมอบ “รางวัล
นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่” ขึ้นในปีพุทธศักราช 2534 โดยการสรรหาบุคคลอายุไม่เกิน 35 ปี ที่มีความสามารถในการวิจัย
ให้ได้รบ
ั รางวัลนี้ เพือ่ เป็นก�ำลังใจและเป็นแรงผลักดันให้นก ั วิจย
ั รุ่นใหม่ มีความมุง่ มัน
่ สร้างผลงานวิจย
ั ให้มค
ี ณ
ุ ภาพดียงิ่ ๆ ขึน

และพัฒนาต่อไปอย่างเต็มศักยภาพ

มูลนิธิฯ ใคร่ขอขอบคุณประธานและกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ที่ร่วมกันทํางานอย่างเข้มแข็งและยุติธรรม


จนได้มาซึ่งนักวิทยาศาสตร์ผู้มีความสามารถสมควรได้รับเกียรติในปีนี้ และขอขอบคุณ เอสซีจี สํานักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และบริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) ที่ให้การสนับสนุน
เงิ น รางวั ล เพื่ อ เป็น กํ า ลั ง ใจแด่นั ก วิ ท ยาศาสตร์ดี เ ด่น และนั ก วิ ท ยาศาสตร์รุ ่น ใหม่ด ้ว ยดี เ สมอมา และขอถื อ โอกาสนี้
แสดงความยินดีกับนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจําปีพุทธศักราช 2565 ทุกท่าน ขอแสดง
ความชื่นชมในผลงานที่ทรงคุณค่าและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประเทศชาติ พร้อมทั้งขอส่งกําลังใจให้ท่านสามารถปฏิบต ั ิ
งานค้นคว้าวิจัยต่อไปได้อย่างราบรื่นไม่หยุดนิ่ง ไม่ท้อถอย เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศชาติและสังคมโลก
อย่างยั่งยืนสืบไป

(รองศาสตราจารย์ ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน)


ประธานคณะกรรมการ
มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 5

สารมูลนิธิเอสซีจี

จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ภาวะเงินเฟ้อ และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำ�ลัง


เผชิญได้ส่งผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติ ในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิ จ สังคม และ
สิง่ แวดล้อม ทำ�ให้เราได้เห็นบทบาทอันสำ�คัญของวงการวิทยาศาสตร์ ทีเ่ ป็นแนวหน้า
ต่อสู้และรับมือวิกฤติต่างๆ อย่างชัดเจน โดยเฉพาะการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่
และเทคโนโลยี ซึง่ ได้รบ ั การคิดค้นอย่างเร่งด่วนเพือ
่ นำ�มาแก้ปญั หาวิกฤติ และลด
ปัญหาความเหลือ ่ มล้ำ�ในสังคม เพือ
่ ยกระดับคุณภาพชีวต ิ และคุณภาพสังคมให้ดขี น
ึ้

มูลนิธิเอสซีจี องค์กรสาธารณกุศลดำ�เนินงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ ภายใต้


หลักปรัชญา “เชื่อมั่นในคุณค่าของคน” ได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของบุคลากร
ผู้ช่วยขับเคลื่อนวงการวิทยาศาสตร์ในอนาคต จึงสนับสนุนการพัฒนาทักษะของ
เยาวชนให้ตอบโจทย์และตรงกับสภาวการณ์ปัจจุบันผ่านแนวคิด “Learn to Earn
เรียนรู้เพื่ออยู่รอด” มุ่งเน้นให้ทุนการศึกษาและเสริมสร้างพัฒนาทักษะด้านความรู้
โดยเฉพาะ ด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ด้านเทคโนโลยี IT เช่นเดียวกับมูลนิธิส่งเสริม
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการสนับสนุนบุคลากรในวงการวิทยาศาสตร์
ที่สร้างผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติกว่า 39 ปี

ในโอกาสนี้ มูลนิธิฯ ขอแสดงความยินดีกับ ศ.ดร.นพ.วิปร วิประกษิต สาขาวิชาโลหิตวิทยา และอองโคโลยี ภาควิชากุมาร


เวชศาตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี
พ.ศ. 2565 นอกจากนี้ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.กมลวัช งามเชื้อ สาขาวิชาเคมี สานักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีสุรนารี และ ผศ.ดร.สรุชัย กาญจนาคม ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ที่ได้รับคัดเลือก
ให้เป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำ�ปี พ.ศ. 2565

มูลนิธิเอสซีจีขอขอบคุณท่านคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิทยาศาสตร์ทุกท่านที่มุ่งมั่นสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์
ต่อคนไทย และเชื่อมั่นว่ารางวัลดังกล่าวจะเป็นกำ�ลังใจให้นักวิทยาศาตร์ไทยมีพลังใจใช้ความรู้ ความสามารถในการวิจัย
และสร้างสรรค์ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวทันนานาประเทศ รวมถึงเป็นแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนรุ่นใหม่
ก้าวเข้าสู่วงการวิทยาศาสตร์ไทยต่อไป

(นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส)
ประธานกรรมการ
มูลนิธิเอสซีจี
6 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

สารบริษัท ปตท. จำ�กัด (มหาชน)

นับตั้งแต่ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ได้ส่งผลกระทบต่อ


สุขภาพ สังคม ระบบเศรษฐกิจไปทั่วโลก กลุ่ม ปตท.ได้มีส่วนร่วมเป็นแรงขับเคลื่อน
ให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤตด้วยการนำ�ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ส่งเสริมการทำ�งานของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาวิกฤติ
การแพร่ระบาดโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 จนถึงปัจจุบันสถานการณ์ดีขึ้น
จนสามารถกลับมาดำ�เนินชีวิตได้ในรูปแบบใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

หากมองย้อนกลับไปในภาวะวิกฤตินั้นอาจกระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้าด้าน
นวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วยในการดำ�รงชีวิตมากขึ้นทำ�ให้พฤติกรรม
การดำ�รงชีวิต และการทำ�งานเปลี่ยนแปลงไป เช่น การใช้เทคโนโลยีมาใช้
ในการทำ�งานผ่านระบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น สามารถทำ�งานได้อย่างต่อเนื่องและ
คงประสิทธิภาพเอาไว้ได้อย่างเต็มเปี่ยม หรือการสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ
เช่นหุน
่ ยนต์ และโดรน เข้ามาช่วยในการทำ�งานทดแทนเพือ
่ ลดการสัมผัสเป็นการเว้นระยะห่าง
ระหว่างบุคคล ช่วยลดการแพร่กระจายของโรคระบาด เป็นต้น

บริษัท ปตท. จำ�กัด (มหาชน) เป็นองค์กรหนึ่งที่ได้ปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน โดยได้กำ�หนดวิสัยทัศน์


ใหม่ Powering Life with Future Energy and Beyond “ขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต”โดยวิสัยทัศน์ใหม่
นี้ ปตท. จะยังคงเป็นผู้สร้างความมั่นคงทางพลังงานให้แก่ประเทศ ซึ่งแนวทางการใช้พลังงานของโลกกำ�ลังจะเปลี่ยนไปสู่
พลังงานสะอาด ปตท. พร้อมมุ่งพัฒนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG
ภายใต้แนวคิด Journey to the Green Future and Beyond อาทิ นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียนและ
ระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ นวัตกรรมเพื่อสุขภาพ การแพทย์ การเกษตรอัจฉริยะ วัสดุและเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน รวมไปถึง
ผลิตภัณฑ์ Circular living เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

ในวาระที่ มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำ�เนินโครงการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น


และรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำ�ปี 2565 เพื่อมอบรางวัลเป็นเกียรติให้แก่นักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีผลงานวิจัย
โดดเด่นและงานวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิทยาศาสตร์ทั้งภายในและต่างประเทศ ปตท. ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับ
รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น และนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำ�ปี 2565 และพร้อมสนับสนุนบุคลากรทางวิทยาศาสตร์
อันเป็นกำ�ลังสำ�คัญของชาติเพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

(นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน)
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 7

สารสำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม
การพัฒนาประเทศจำ�เป็นต้องอาศัยวิทยาศาสตร์ การวิจย ั และนวัตกรรม และศิลปวิทยาการ
แขนงต่างๆ ให้เกิดความรู้ เพือ
่ นำ�ไปใช้ในการสร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและ
สังคม รวมทั้งจำ�เป็นต้องพัฒนากำ�ลังคนให้มีเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและ
นวัตกรรม ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์
ที่สามารถสนองต่อความต้องการของประเทศ

สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็น


หน่วยงานทีจ่ ด
ั ตัง้ ขึน
้ ตามพระราชบัญญัตส ิ ภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน
การพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจย ั และนวัตกรรมของประเทศ โดยการจัดทำ�แผนด้าน
วิทยาศาสตร์ วิจย
ั และนวัตกรรม (ววน.) เพือ ่ กำ�หนดทิศทางอย่างมีเอกภาพ และจัดสรร
และบริหารงบประมาณด้วยกลไกของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจย ั และนวัตกรรม ให้
แก่หน่วยงานต่างๆในระบบววน. มีการติดตามประเมินผลการปฏิบต ั งิ าน และสนับสนุนการนำ�
ผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สกสว. ให้ความสำ�คัญอย่างยิง่ ต่อการพัฒนากำ�ลังคนด้านวิทยาศาสตร์ วิจย


ั และนวัตกรรมของประเทศ โดยกำ�หนดยุทธศาสตร์
เรื่อง “การพัฒนากำ�ลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และ นวัตกรรม ให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยัง่ ยืน โดยใช้วท ิ ยาศาสตร์ การวิจย
ั และนวัตกรรม” ในแผนด้าน ววน. ฉบับปี
พ.ศ. 2566-2570 และได้รว่ มกับสำ�นักงานการวิจย ั แห่งชาติ จัดทำ�แผนการพัฒนาบุคลากรวิจย ั และนวัตกรรม พ.ศ. 2565-
2570 เพื่อใช้กำ�หนดทิศทางของการผลิตและพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เป็นฐานในการขับเคลื่อนการ
พัฒนาประเทศ ยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และพร้อมก้าวสู่อนาคต

ในโอกาสนี้ สกสว. ขอขอบคุณมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ได้จัดกิจกรรมโครงการ


รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น และรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่มาอย่างต่อเนื่อง และขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัล
“นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น” และ “นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่” ประจำ�ปี 2565 ทุกท่าน นับเป็นแบบอย่างที่น่าชื่นชมและควรเผย
แพร่เกียรติคุณเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้แก่บุคลากรในวงการวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของไทยต่อไป สกสว. รู้สึกเป็น
เกียรติทเี่ ป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนี้และขออำ�นวยพรให้ทก
ุ ท่านทีไ่ ด้รับรางวัลอันทรงคุณค่านีม
้ พ
ี ลังในการสร้างสรรค์ผลงาน
วิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนสืบไป

(รองศาสตราจารย์ ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล)


ผู้อำ�นวยการ
สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
8 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

สารสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ

งานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหนึ่งในปัจจัยสำ�คัญ


ในการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจและสังคม และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของประเทศไทย จึงมีความจำ�เป็นอย่างยิง่ ในการส่งเสริมให้นก
ั วิจย
ั นักวิทยาศาสตร์
สร้างองค์ความรู้ใหม่ในศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่สามารถนำ�มาประยุกต์ใช้ในภาค
เศรษฐกิจ ที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศ ทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม
สาธารณสุข พลังงาน และสิง่ แวดล้อม ให้เกิดประโยชน์และช่วยพัฒนาประเทศ
ให้มีความยั่งยืน

สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงาน


ที่มีภารกิจด้านการวิจัยและพัฒนา และได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เป็นหนึ่ง
ในองค์กรหลักในการขับเคลือ ่ นการพัฒนาประเทศให้สามารถเติบโตได้ในระยะยาว
สวทช. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจ
หมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) ทีม ่ น
ี ายก
 รัฐมนตรีเป็นประธาน และในฐานะเลขานุการคณะกรรมการขับเคลือ ่ นการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model
ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธาน ได้ผลักดันการจัดทำ�แผนปฏิบัติ
การด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐ ที่ได้รับความเห็นชอบจาก
คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ และสวทช.ได้กำ�หนดทิศทางการดำ�เนินงานตามแผนกลยุทธ์ สวทช. ฉบับที่ ๗
(พ.ศ. ๒๕๖๕ – ๒๕๗๐) ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่เน้นการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดล
เศรษฐกิจ BCG เช่นกัน ซึ่งในการดำ�เนินงานตามแผนทุกระดับดังกล่าว จำ�เป็นต้องอาศัยบุคลากรวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ
ระดับสูง เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐาน ที่สามารถนำ�มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG สวทช.
จึงมีความยินดีอย่างยิง่ ในการสนับสนุนกิจกรรมรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดเี ด่นและนักวิทยาศาสตร์รน ุ่ ใหม่ เพือ
่ ส่งเสริม ให้กำ�ลังใจ
และเป็นเกียรติให้แก่นก ั วิทยาศาสตร์ไทยทีม ่ ผ
ี ลงานวิจยั ทางวิทยาศาสตร์ในสาขาของตนดีเด่นเป็นทีป่ รากฏชัด มีความเชีย่ วชาญ
ระดับสูงและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในวงการวิทยาศาสตร์ทั้งภายในประเทศและระดับนานาชาติ ตลอดจนเป็นแบบอย่าง
ของการอุทิศตนให้กับวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง

ในโอกาสนี้ สวทช. ขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิง่ กับนักวิทยาศาสตร์ทไี่ ด้รบ


ั รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดเี ด่น และนักวิทยาศาสตร์
รุ่นใหม่ ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ทุกท่าน และขอชื่นชมความมุ่งมั่นทุ่มเทที่ท่านได้ให้กับการทำ�งานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้
เกิดผลงานที่มีคุณค่า สามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ ตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และหวังว่าทุกท่าน
จะผลิตผลงานที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพัฒนานักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยรุ่นใหม่ ๆ เพื่อร่วมขับเคลื่อนประเทศไทย
สู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป

(ดร. ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล)


ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 9
คำ�ปรารภประธานคณะกรรมการ
รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
การถือกำ�เนิดของการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ที่มาพร้อมกับอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things, IoT) การนำ�เทคโนโลยีอัจฉริยะ
มาใช้ รวมทั้งระบบดิจิทัล ได้ส่งผลกระทบอย่างสำ�คัญต่อสังคมของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงนวัตกรรมแบบทวีคูณและการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ ในบริบทนีก ้ ารวิจย
ั และพัฒนาบางประเภทได้ถก ู แทนทีด่ ว้ ยการใช้หน
ุ่ ยนต์ตอ ่ ประสาน (Interface) ระหว่างมนุษย์กบ ั เครือ
่ งจักร
ควบคูด่ ว้ ยระบบปัญญาประดิษฐ์ และมีแนวโน้มว่าจะเกิดการเปลีย ่ นแปลงต่อระบบการวิจย ั อย่างก้าวกระโดดในอัตราทีส ่ งู มาก และหากนวัตกรรม
ถูกมองว่าเป็นผลโดยตรงหรือโดยอ้อมของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ในอนาคตอันใกล้นี้เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่านักวิทยาศาสตร์จะมีบทบาท
ต่อการเปลี่ยนแปลงการวิจัย พัฒนาและ นวัตกรรมอย่างรวดเร็วยิ่ง
การที่จะยกระดับประเทศไทยให้ก้าวไปสู่การพัฒนาแบบก้าวกระโดด และเปลี่ยนจากการเป็นผู้ซื้อเทคโนโลยีมาเป็นผู้สร้างนวัตกรรม เช่นเดียว
กับประเทศชัน ้ นำ�ของโลกนัน
้ จำ�เป็นต้องอาศัยปัจจัยด้านต่างๆ เข้ามาประกอบกัน เพือ ่ สร้างสรรค์วท ิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรมนัน ้ ๆ
ปัจจัยเหล่านี้ประกอบด้วย การส่งเสริมความเป็นเลิศในสาขาวิจัยที่สร้างศักยภาพให้กับประเทศ การสนับสนุนนักวิจัยและผู้นำ�กลุ่มนักวิจัย
ขั้นแนวหน้า และที่สำ�คัญคือการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนด้านการวิจัย เพื่อเร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัย ที่มีคุณภาพให้เพียงพอต่อ
ความต้องการ สำ�หรับพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ
เราจำ�เป็นต้องส่งเสริมการวิจย ั และพัฒนา “งานวิจยั ขัน
้ แนวหน้า” เพราะจะเป็นพลังขับเคลือ ่ นอันสำ�คัญทีจ่ ะช่วยปลดล็อกประเทศไทยให้ไปสูก ่ าร
เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ผลักดันให้ประเทศหลุดจากสภาวะ “กับดักรายได้ปานกลาง” ดังนัน ้ การสร้างนักวิทยาศาสตร์และนักวิจย ั ระดับโลกทีร่ อบรู้
และมีความเป็นผู้นำ�ในการบุกเบิกการวิจัยวิทยาศาสตร์ใหม่ เพื่อการสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม นำ�ความรู้ไปขับเคลื่อนการพัฒนา
ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศและสอดรับกับทิศทางของโลก จำ�เป็นต้องทำ�งานวิจัยขั้นแนวหน้า (Frontier Research) ที่ครอบคลุม
ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (Energy and Environment) วัสดุขั้นสูง (Advanced Materials) เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
และเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) รวมทั้งการส่งเสริมความเป็นเลิศในสาขาวิจัยที่สร้างศักยภาพให้กับประเทศ
งานวิจยั และพัฒนาด้านเทคโนโลยีชวี ภาพ เช่น การปรับแต่งจีโนม (รหัสพันธุกรรมทัง้ หมดในสิง่ มีชวี ต ิ หนึง่ ) การปรับแต่งยีน (รหัสพันธุกรรมเฉพาะส่วน
ของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง) และชีววิทยาสังเคราะห์ (Synthetic Biology) นั้นมีความสำ�คัญยิ่งทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพราะความก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยีชีวภาพเหล่านี้ สามารถช่วยให้เราปรับเปลี่ยนพืชผลได้ตามต้องการ ช่วยรักษาและกำ�จัดโรค ช่วยพัฒนาวัคซีนใหม่ๆ เช่น วัคซีน
โควิด-19 และช่วยสร้างความก้าวหน้าทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพหลากหลายสาขา
ในส่วนของเทคโนโลยีดจิ ท ิ ล
ั นัน
้ เชือ่ มโยงกับเทคโนโลยีหลัก 5 สาขา ได้อย่างแนบชิดคือ เทคโนโลยีหน ุ่ ยนต์ขนั้ ก้าวหน้า (Advanced Robotics)
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things), เทคโนโลยีอุปกรณ์สวมใส่ได้ (Wearable
Technology) และ เทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 4 มิติ (4D Printing Technology) อีกทัง้ เกีย ่ วข้องกับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เทคโนโลยี
บล็อกเชน (Blockchain Technology) และ เทคโนโลยีเสมือนจริงผสมผสาน (Extended Reality or XR Technology) มีความจำ�เป็น
ที่เราต้องการเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์ขั้นแนวหน้าเข้าด้วยกัน และสนับสนุนให้เกิดการลงทุนด้านการวิจัยเพื่อเร่งผลิตนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัย
ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งเป็น รากฐานสำ�คัญในการพัฒนาประเทศ
การคัดสรรนักวิจย ั และผูน ้ ำ�กลุม ่ นักวิจย
ั ชัน
้ แนวหน้า ให้เพียงพอต่อความต้องการ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำ�คัญในการผลักดันโครงการเขตนวัตกรรม
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
มีการมอบรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่เป็นประจำ�ทุกปี โดยรางวัลนักวิทยาสตร์ดีเด่นนั้นเริ่มมีการมอบรางวัลตั้งแต่
ปีพุทธศักราช 2525 เป็นต้นมา วัตถุประสงค์หลักของโครงการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น (Outstanding Scientist Award) และรางวัล
นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ (Young Scientist Award) นั้น มีเพื่อเป็นขวัญและกำ�ลังใจให้กับนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับคัดเลือก ก่อเกิดพลังในการ
มุง่ มัน
่ ทำ�งานวิจย
ั ประกอบคุณงามความดีเพือ ่ ประเทศชาติและมนุษยชาติตอ ่ ไปในอนาคต ตลอดจนสร้างแบบอย่างทีด ่ แ
ี ก่นก
ั เรียน นักศึกษา และ
เยาวชนของชาติ ให้สงั คมไทยได้มองเห็นและร่วมยกย่องเชิดชู เพือ ่ ให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์
ดีเด่นจึงได้วางแนวทางการคัดเลือกนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ (Academic Excellence) มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ (High
Quality Research Output) และสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด (High Impact) อีกทั้งยังมีความสำ�คัญและเป็นคุณประโยชน์ต่อ
ประเทศชาติ (Nationally Important) และเป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล (Globally Visible) รวมถึงพิจารณาจากคุณสมบัติส่วนบุคคล
ในด้านการอุทิศตนเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง มีความประพฤติเป็นที่น่าเคารพนับถือและมีลักษณะเป็นผู้นำ�ทางวิชาการ เหมาะสม
ที่จะได้รับการยกย่องให้เป็น “นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น”และ “นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่” ที่จะเป็นต้นแบบที่ดีงามของสังคมไทยและสังคมโลก
ในการสรรหานักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำ�ปีพุทธศักราช 2565 นั้น คณะกรรมการฯ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒใิ ห้เสนอชื่อ
นักวิทยาศาสตร์ไทยทีม ่ ค
ี ณุ สมบัตส ิ อดคล้องกับเกณฑ์การพิจารณา นอกจากนีค ้ ณะกรรมการฯ ยังได้นำ�รายชือ ่ นักวิทยาศาสตร์ทอ ี่ ยูใ่ นลำ�ดับสูงของ
การพิจารณาในปีทผ ี่ า่ นมาเข้ามาร่วมพิจารณาด้วย โดยในปีนค ี้ ณะกรรมการฯได้มม ี ติเป็นเอกฉันท์ ยกย่อง ศ.ดร.นพ.วิปร วิประกษิต ศาสตราจารย์
ทางกุมารเวชศาสตร์ประจำ�ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้คด ิ ค้นและพัฒนาระเบียบวิธีการ
วินิจฉัยโรคทางโลหิตวิทยาด้วยเทคโนโลยีจีโนมิกส์ ให้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565 สำ�หรับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่
ประจำ�ปี 2565 ได้แก่ ผศ. ดร.กมลวัช งามเชื้อ อาจารย์ประจำ�สาขาวิชาเคมี สำ�นักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผู้คด ิ ค้น
และพัฒนางานวิจย ั ขัน ้ พืน้ ฐานทางเคมีไฟฟ้าและการประยุกต์ใช้เทคนิคเคมีไฟฟ้าในเซ็นเซอร์ตรวจวัดสารบ่งชีโ้ รคและสารพิษในสิง่ แวดล้อม และ
ผศ.ดร.สุรชัย กาญจนาคม อาจารย์ประจำ�ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้คิดค้นและพัฒนางานวิจัย การพัฒนาตัวเร่ง
ปฎิกิริยาเพื่อใช้ในการผลิตไบโอออยล์และสารเคมีมูลค่าเพิ่มจากชีวมวล
กระผมขอขอบพระคุณ คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น และผู้ร่วมงานทุกท่านที่ได้ช่วยให้การพิจารณารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
และรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ในปีนี้สำ�เร็จลุล่วงด้วยดี และในนามของคณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ขอแสดงความชื่นชมยินดี
ต่อนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำ�ปีพุทธศักราช 2565 โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลงานและเกียรติประวัติอันดีเด่น
ของทุกท่าน จะช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้ผเู้ กีย ่ วข้องทุกฝ่าย ตระหนักถึงความสำ�คัญของวิทยาศาสตร์ และร่วมส่งเสริมให้วงการวิทยาศาสตร์ไทย
มีความโดดเด่นและก้าวหน้าสืบไป

(ศาสตราจารย์ ดร. จำ�รัส ลิ้มตระกูล)


ประธานคณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
10 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

คำ�ประกาศเกียรติคุณ
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วิปร วิประกษิต
นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ประจำ�ปีพุทธศักราช 2565

ด้วยคณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ได้พิจารณาเห็นว่า ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วิปร วิประกษิต เป็นผู้มี


ผลงานโดดเด่นในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยเป็นผู้ที่บุกเบิกงานวิจัยด้านโลหิตวิทยาในระดับอณูในประเทศไทยโดย
ใช้โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโรคโลหิตวิทยาที่สำ�คัญที่สุดของประเทศไทยและประทศในภูมิภาคเอเชียเป็นต้นแบบ
สร้างผลงานวิจัยชั้นแนวหน้าของไทยและนานาชาติจำ�นวนมากที่เกี่ยวข้องกับพยาธิสรีรวิทยาของโรคทั้งในแง่กลไก
ทางพันธุกรรมด้านการควบคุมการแสดงออกของยีนโกลบิน ตรวจหายีนที่เป็นปัจจัยส่งผลต่อการแสดงออกของอาการและ
ความรุนแรงของโรคที่มีความหลากหลาย อุบัติการณ์ สาเหตุ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะแทรกซ้อนต่างๆของโรคทั้งใน
ผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ เช่น ภาวะพร่องฮอร์โมน ภาวะกระดูกพรุน ภาวะขาดวิตามินดี ความผิดปกติต่อการหลั่งอินซูลินและ
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในอนาคต ผลงานดังกล่าวมีคุณค่าและมีประโยชน์และนำ�ไปสู่การปรับใช้ในการพัฒนา
การดูแลผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในประเทศไทยและทั่วโลก

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วิปร วิประกษิต ยังมีผลงานการค้นพบโรคทางโลหิตวิทยาชนิดใหม่ที่เกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์


ของยีนส์ KLF1 ซึ่งได้รับการยอมรับให้ตีพม ิ พ์ในวารสารทางวิชาการทางโลหิตวิทยาอันดับ 1 ในระดับนานาชาติ เป็นการ
กลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นกับยีนซึ่งทำ�หน้าที่ในการควบคุมการแสดงออกของยีนจำ�นวนมาก ที่จำ�เพาะและจำ�เป็นต่อการสร้างเซลล์
เม็ดเลือดแดง การกลายพันธุ์จึงส่งผลกระทบต่อความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดงได้อย่างหลากหลาย ต่อมาจึงมีรายงาน
การค้นพบผู้ป่วยโรคดังกล่าวในประเทศอื่นๆ แสดงให้เห็นว่าพันธุกรรมและการกลายพันธุ์ของโรคดังกล่าวมีการกระจายตัว
อยู่ทั่วไป ไม่จำ�เพาะแต่ประชากรชาวไทย เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่มีประโยชน์ต่อ การวินิจฉัย การดูแลรักษา และควบคุม
ป้องกันผู้ป่วยโรคโลหิตจางจากการแตกทำ�ลายของเม็ดเลือดแดง ชนิด KLF1 ทั่วโลก

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วิปร วิประกษิต และคณะ ยังมีงานวิจย ั ทีด


่ ำ�เนินการเป็นการบูรณาการแบบสหสาขา สหสถาบัน
ผ่านเครือข่ายวิจัยธาลัสซีเมีย ที่เป็นความร่วมมือระหว่างภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ ภาควิชารังสีวท ิ ยา
ศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ สถาบันทางการแพทย์ของมหาวิทยาลัย
ชั้นนำ�ในประเทศไทย และต่างประเทศ เพื่อโครงการจัดสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการแปลผลและตรวจวิเคราะห์
หาปริมาณเหล็กสะสมในหัวใจและตับด้วยการวิเคราะห์ภาพจากเครือ ่ งตรวจคลืน ่ แม่เหล็กไฟฟ้าขึน
้ เป็นครัง้ แรกในประเทศไทย
และในภูมิภาคเอเชีย ทำ�ให้แพทย์สามารถทำ�การประเมินภาวะเหล็กเกินของผู้ป่วยได้โดยตรง เพื่อสามารถปรับขนาดยา
ขับเหล็กที่ใช้ได้อย่างถูกต้องนำ�ไปสู่การเพิ่มอายุขัยเฉลี่ยของผู้ป่วยและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีย่ิงขึ้น ปัจจุบันโปรแกรม
ดังกล่าวมีใช้อย่างแพร่หลายทัง้ ในและต่างประเทศ ทำ�ให้ผป ู้ ว่ ยชาวไทยทีย ่ ากจนได้เข้าถึงเทคโนโลยีทท ี่ น
ั สมัยและลดการพึง่ พิง
และสูญเสียเงินตราให้กบ ั ต่างประเทศอีกด้วย ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วิปร วิประกษิต และคณะ ยังมีผลงานวิจย ั เกีย
่ วกับ
การรักษาใหม่ๆ สำ�หรับผู้ป่วยธาลัสซีเมียผ่านเครือข่ายดังกล่าวแบบสหสถาบัน อาทิ การวิจัยยาขับเหล็กชนิดรับประทาน
ที่ผลิตขึ้นเองในประเทศไทย โดยองค์การเภสัชกรรม นำ�ไปสู่การขึ้นทะเบียนยาดังกล่าวและการกำ�หนดนโยบายการเบิกจ่าย
ในระดับประเทศเพือ ่ ให้ผปู้ ว่ ยได้เข้าถึงยา และส่งออกยาดังกล่าวไปยังประเทศเพือ ่ นบ้าน สามารถนำ�เงินตราเข้าประเทศได้อก ี
โสตหนึง่ ด้วย เครือข่ายวิจย ั ธาลัสซีเมียเป็นต้นแบบทีแ่ สดงให้เห็นถึงความร่วมมือกันอย่างดีระหว่างสหสาขาวิชา มีการแบ่งปัน
ผลงานทางวิชาการ นำ�ไปสู่การสร้างและพัฒนางานวิจัยที่มีผลกระทบในวงกว้างมากกว่าการวิจัยภายในสาขาวิชาเดียว
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 11

ตลอดช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วิปร วิประกษิต และทีมวิจัยได้ทุ่มเททำ�งานวิจัยและบริการ


วิชาการอย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้เกิดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อวงการด้านโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์ระดับอณูทั้งในและ
ต่างประเทศ ได้สร้างห้องปฏิบัตก ิ ารด้านเวชศาสตร์ระดับอณูที่มีความพร้อมในการตรวจวินจิ ฉัยดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ สามารถ
ทำ�การตรวจวิเคราะห์จีโนมในมนุษย์ได้อย่างครอบคลุม พัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยโรคในระดับอณูทั้งการตรวจ
คัดกรอง การตรวจยืนยัน การตรวจในตัวอย่างเนื้อเยื่อที่มาจากการวินจิ ฉัยก่อนคลอด ไปจนถึงการตรวจวิเคราะห์พันธุกรรม
ของตัวอ่อน ได้ครอบคลุม ถูกต้อง แม่นยำ� เพือ ่ ใช้เป็นบริการให้กบ
ั ประชาชนชาวไทยได้ทด
ั เทียมกับบริการทีม
่ ใี นต่างประเทศ
ด้านนี้ ซึ่งได้ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้แพทย์ นักศึกษาและอาจารย์/นักวิจัยทางด้านโลหิตวิทยา ตลอดจนผู้ป่วยจาก
ทั่วประเทศสามารถเข้าถึงการตรวจวินจิ ฉัยได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ มีผลงานวิจัยตีพม ิ พ์ในวารสารวิชาการระดับ
ชาติและนานาชาติมากกว่า 180 เรื่อง โดยผลงานเหล่านี้ได้ถูกอ้างอิงมากกว่า 10,135 ครั้ง และค่า h-index เท่ากับ
49 (ฐานข้อมูล Google Scholar) และยังได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณมากมายจากผลงานวิจัย อาทิ
ทุนเมธีวจิ ยั สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจย
ั (สกว.) สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รางวัลปาฐกถาเกียรติยศ
จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา จากสมาคมโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์การธนาคารเลือด ประเทศฟิลป ิ ปินส์
จากสมาคมโลหิตวิทยา ประเทศพม่า และจากสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย รางวัลสถาบันศูนย์แห่งความเป็นเลิศ
ด้านโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียนานาชาติ สุลต่าน บิน คาลิฟา ประเทศสหพันธรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น
ทางคลินก ิ (พ.ศ. 2557) และทางด้านสาธารณสุขและชุมชนสังคม (พ.ศ. 2565) คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัย
มหิดล รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นประจำ�ปี คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลคุณภาพและปริมาณการตีพิมพ์ผลงานวิจัย
ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในรูปแบบเอกสารวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล รางวัลผู้ที่มีส่วนร่วมในการนำ�นวัตกรรม
เข้ามาแก้ไขปัญหาวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 19 และรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การ
แพทย์ สำ�นักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วิปร วิประกษิต เป็นที่รู้จักในวงวิชาการระดับชาติและนานาชาติอย่างกว้างขวางในฐานะ


ผูเ้ ชีย
่ วชาญด้านโลหิตวิทยาและธาลัสซีเมีย เป็นทีป
่ รึกษาและผูป
้ ระสานงานทางการแพทย์ของสมาพันธ์ธาลัสซีเมียนานาชาติ
เป็นกรรมการผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกในการกำ�หนดนิยามภาวะซีดในมนุษย์ ได้รับเชิญให้นำ�เสนอผลงานและ
บรรยายในที่ประชุมวิชาการชั้นนำ�ของวงวิชาการวิทยาศาสตร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศมากกว่า 200 ครั้ง ตลอดจน
การเป็นวิทยากรพิเศษบรรยายในโครงการและกิจกรรมต่างๆ เป็นกรรมการผูเ้ ชีย ่ วชาญให้กบ ั หน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนือ
่ ง
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วิปร วิประกษิต ยังได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒส ิ ำ�หรับพิจารณาบทความวิจัยให้แก่วารสาร
วิชาการชั้นนำ�ทั้งระดับชาติและนานาชาติ เป็นผู้นิพนธ์และเป็นกองบรรณาธิการหนังสือแนวทางเวชปฏิบัตใิ นการดูแลผู้ป่วย
ธาลัสซีเมียในระดับนานาชาติที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก อีกทั้งได้เคยดำ�รงตำ�แหน่งผู้บริหารของศูนย์วิจัยและศูนย์แห่งความ
เป็นเลิศ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วิปร วิประกษิต ครองตนด้วยความมุ่งมั่น อุทศ ิ ตน เสียสละ รับผิดชอบต่อหน้าที่ เป็นแบบอย่าง
ที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่ทั้งที่ได้รับมอบหมายและกิจกรรมต่างๆขององค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์ และประสิทธิภาพสูงสุด
ต่อผลงานทั้งด้านการบริการผู้ป่วยและการวิจัยต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนางานด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและ
ควบคุมโรคตามความเชี่ยวชาญ รวมถึงการมุ่งมั่นในการพัฒนางานวิจัย เพื่อให้เกิดแนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาส่งเสริม
และป้องกันโรค ในช่วง พ.ศ. 2563 ที่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ไปทั่วโลก ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์
วิปร วิประกษิต ได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ในด้านอณูเวชศาสตร์ออกแบบและจัดสร้างรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยต้นแบบ
โดยใช้ทุนส่วนตัวขึ้นน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 โดยผลงานดังกล่าว
ได้มีบทบาทสำ�คัญในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในประเทศไทย ท่านยึดหลักการในความประพฤติ
คุณธรรม ค่านิยมองค์กร ความคุ้มค่า รวมไปถึงการยึดมั่นในจรรยาบรรณของวิชาชีพแพทย์ เป็นผู้ที่มีความสามารถในการ
ประสานพลังเพื่อให้เกิดความร่วมแรง ร่วมใจในการพัฒนางาน ของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน โดยใช้หลักการยอมรับ
ฟังความคิดเห็น กล้ารับผิดชอบในการทำ�งาน ความมีนำ�้ ใจช่วยเหลือภารกิจต่างๆขององค์กร เป็นผูใ้ ฝ่ศก ึ ษา ค้นคว้า แสวงหา
ข้อมูล ความรูใ้ หม่ๆ อยูเ่ สมอ โดยมุง่ เน้นผลสัมฤทธิ์ รวมถึงการสนับสนุน ช่วยเหลือ ผูใ้ ต้บงั คับบัญชา ให้ปฏิบต
ั งิ านได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยใช้ความรูค ้ วามสามารถ ให้สอดคล้องกับหลักการต่างๆ ได้อย่างถ่องแท้ เป็นผู้ที่มีทักษะและความสามารถ
ในการทำ�งานที่ยาก หรือท้าทาย ให้สำ�เร็จไปได้ด้วยดี โดยคำ�นึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

ด้วยเหตุที่ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วิปร วิประกษิต เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณวุฒิและคุณธรรม คณะกรรมการรางวัล


นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ยกย่อง ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วิปร วิประกษิต เป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำ�ปีพุทธศักราช 2565
12 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

ศาสตราจารย์
ดร. นายแพทย์ วิปร วิประกษิต
นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
ประจำ�ปี พ.ศ. 2565
ประวัติ
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วิปร วิประกษิต เกิดเมื่อวันที่ 12 เดือนกันยายน พ.ศ. 2513 เป็นบุตรคนโตในจำ�นวนบุตร 2 คน
ของนายอำ�พล วิประกษิต และ นางศรีจันทร์ พิมพะกร อดีตรองอธิบดี กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
สมรสกับ รศ.ดร. สพญ. อารีย์ ทยานานุภัทร อาจารย์พิเศษและสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยาในสัตว์ อดีตผู้อำ�นวยการ
โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีบุตรชาย 1 คน คือ นายศีล วิประกษิต (เจได) ศึกษา
ในระดับมัธยมปลายที่ประเทศนิวซีแลนด์
ปัจจุปน
ั ศาสตราจารย์ ดร. นพ. วิปร วิประกษิต ทำ�งานเป็นอาจารย์ประจำ�สาขาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
และกรรมการบริหาร ศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2537 แพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2539 ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขากุมารเวชศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. 2541 วุฒิบัตรผู้มีความรู้ความชำ�นาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ แพทยสภา
พ.ศ. 2545 ปรัชญาดุษฎีบัณทิต (อณูเวชศาสตร์) มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร
พ.ศ. 2547 วุฒิบัตรการฝึกอบรมระดับหลังปริญญาเอก (อณูโลหิตวิทยา) สถาบันวิจัยการแพทย์ระดับโมเลกุล
เวเธอร์รอล มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร

ประวัติการรับราชการและตำ�แหน่งทางวิชาการ
ธ.ค. พ.ศ. 2540 – ธ.ค. พ.ศ. 2547 อาจารย์ประจำ�สาขาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ธ.ค. พ.ศ. 2547 – ส.ค. พ.ศ. 2549 ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ประจำ�สาขาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 13

ส.ค. พ.ศ. 2549 – ก.ย. พ.ศ. 2558 รองศาสตราจารย์ ประจำ�สาขาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี ภาควิชากุมารเวชศาสตร์


คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ก.ย. พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน ศาสตราจารย์ ประจำ�สาขาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ประวัติการทำ�งาน
พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน กรรมการหลักสูตรมหาบัณทิตและดุษฎีบณ
ั ทิต ภาควิชาวิทยาภูมค
ิ ม
ุ้ กัน คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2549 – ปัจจุบัน กรรมการบริหาร ศูนย์ธาลัสซีเมีย คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2557 – ปัจจุบัน ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทแอทยีนส์ จำ�กัด ซึ่งเป็นบริษัทที่บริการด้านไบโอเทคโนโลยี
เพื่อการวินิจฉัยโรคพันธุกรรมที่มีพื้นฐานมาจากงานวิจัยเป็นบริการหลัก
พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน ประธานศู น ย์ แ ห่ ง ความเป็ น เลิ ศ ด้ า นเซลล์ แ ละยี น บำ�บั ด คณะแพทยศาสตร์ ศิ ริ ร าชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล

ประสบการณ์ด้านบริหารงานวิจัย
พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน หัวหน้าโครงการวิจย
ั เกีย
่ วกับการศึกษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในทุกบริบท ตัง้ แต่การศึกษาความผิดปกติ
ทางพันธุกรรมระดับโมเลกุลและความสัมพันธ์ตอ ่ ความแตกต่างระหว่างพยาธิสรีรวิทยาระดับโมเลกุลและ
อาการทางคลินิกในโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติในผู้ป่วยชาวไทย การพัฒนาการตรวจวินจิ ฉัย
การตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมียและความผิดปกติของฮีโมโกลบินในทารกแรกเกิดอย่างครบวงจรสำ�หรับ
ประเทศไทย การตรวจประเมินภาวะแทรกซ้อน การรักษาด้วยการให้เลือด การให้ยาขับธาตุเหล็ก ระบบ
บริการ จำ�นวน 15 โครงการ โดยได้รับทุนสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจาก คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจย ั (สกว.) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ Medical Research Council (MRC) ประเทศ
สหราชอาณาจักร
14 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน หัวหน้าโครงการวิจัยยาขับเหล็กชนิดรับประทานดีเฟอราซีร็อกซ์ ร่วมกับบริษัทโนวาร์ตีส เซอร์วิสเซส


(ไทยแลนด์) จำ�กัด จำ�นวน ๑๐ โครงการ
พ.ศ. 2554 – 2558 หัวหน้าโครงการวิจย
ั การศึกษาติดตามระยะยาวในกลุม
่ ผูป
้ ว่ ยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (Thalassemia
Clinical Research Network; TCRN) ได้ทุนจาก สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institute
of Health; NIH) ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2557 – ปัจจุบัน หัวหน้าโครงการวิจัยพยาธิสรีรวิทยาระดับโมเลกุลของโรค KLF 1 ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของโรคโลหิตจาง
ในผู้ป่วยชาวไทย ได้ทุนจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2559 – 2562 หัวหน้าโครงการวิจย
ั ยาแอลเจพีซ-ี 401 ร่วมกับบริษท
ั La Jolla Pharmaceutical ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน หัวหน้าโครงการวิจัยยาลุสพาเทอเซปต์ ร่วมกับบริษัทเซลจีน คอร์ปอเรชั่น ประเทศสหรัฐอเมริกา
จำ�นวน 4 โครงการ
พ.ศ. 2560–2562 หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง ความรู้ วัฒนธรรม และอุปสรรคทางสังคมในกลุ่มผู้อพยพชาวพม่าและลาว
ในประเทศไทยที่มีต่อการตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย ได้ทุนจาก VECD Fogarty Global Health
Fellowship American Society of Hematology Fellowship & Duke University
ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2561– 2562 หั ว หน้ า โครงการวิ จั ย ยาไบโตเปอร์ ติ น ร่ ว มกั บ บริ ษั ท เอฟ. ฮอฟแมนน์ - ลาโรช จำ�กั ด
ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

ประวัติการได้รับรางวัลและการประกาศเกียรติคุณ
พ.ศ. 2535 – 2537 เหรียญทองแดง และทุนรางวัลศาสตราจารย์อภิชาติ วิชญารัตน์ สำ�หรับนักศึกษาแพทย์ที่ได้คะแนน
ยอดเยี่ยมตลอดหลักสูตรในวิชา อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2542 ทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ทุนสมเด็จพระราชบิดา (Prince Mahidol Fellowship)
จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2543 รางวัลในการนำ�เสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์จากสมาคมโลหิตวิทยา ประเทศสหราชอาณาจักร
ในการประชุมวิชาการนานาชาติ hemoglobin switching ครั้งที่ 12 ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2543 รางวั ล ในการนำ�เสนอผลงานวิ จั ย แบบปากเปล่ า ในการประชุ ม วิ ช าการธาลั ส ซี เ มี ย นานาชาติ
ประเทศกรีซ
พ.ศ. 2543 รางวัลในการนำ�เสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการสมาคมโลหิตวิทยา ประเทศสหรัฐอเมริกา
ครั้งที่ 43
พ.ศ. 2544 รางวัลในการนำ�เสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการสมาคมโลหิตวิทยา ประเทศสหรัฐอเมริกา
ครั้งที่ 44
พ.ศ. 2544 รางวัลในการนำ�เสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่าดีเด่น ในการประชุมวิชาการสมาพันธ์โลหิตวิทยา
แห่งภาคพื้นยุโรป ครั้งที่ 6 ประเทศเยอรมันนี
พ.ศ. 2545 รางวัลในการนำ�เสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการสมาคมโลหิตวิทยา ประเทศสหรัฐอเมริกา
ครั้งที่ 45
พ.ศ. 2546 รางวัลในการนำ�เสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่า 2 เรื่อง ในการประชุมวิชาการธาลัสซีเมียนานาชาติ
ประเทศอิตาลี
พ.ศ. 2546 รางวัลในการนำ�เสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการสมาคมโลหิตวิทยา ประเทศสหรัฐอเมริกา
ครั้งที่ 46
พ.ศ. 2548 ทุนเมธีวิจัย สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
พ.ศ. 2555 รางวัลปาฐกถาเกียรติยศ Harvard Blood Scholars มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2555 รางวัลปาฐกถาเกียรติยศ Prof. Alendry P. Caviles Jr. จาก สมาคมโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์
การธนาคารเลือด ประเทศฟิลิปปินส์
พ.ศ. 2556 รางวัลสถาบันศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียนานาชาติ สุลต่าน บิน คาลิฟา
ประเทศสหพันธรัฐอาหรับเอมิเรตส์
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 15

พ.ศ. 2557 รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นทางคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล


พ.ศ. 2559 รางวัลผลงานวิจย ั ดีเด่นประจำ�ปี จากคณะกรรมการสภาวิจย ั แห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. 2559 รางวัลคุณภาพและปริมาณการตีพม ิ พ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ในรูปแบบเอกสาร
วิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2559 รางวัลปาฐกถาเกียรติยศประจำ�ปี สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2562 รางวัลปาฐกถา เกียรติยศ Dr. Khin Mar Mar Memorial สมาคมโลหิตวิทยา ประเทศพม่า
พ.ศ. 2564 รางวัลผูท
้ ม
ี่ ส
ี ว่ นร่วมในการนำ�นวัตกรรมเข้ามาแก้ไขปัญหาวิกฤตการแพร่ระบาดของเชือ ้ ไวรัสโคโรนา 19
(Prime Minister Award: Innovation for Crisis) สำ�นักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. 2564 รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำ�นักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวง
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. 2565 รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นประจำ�ปี ด้านสาธารณสุขและชุมชนสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล

หน้าที่และกิจกรรมในองค์กรระดับประเทศ
พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน กรรมการมูลนิธโิ รคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า
โสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน กรรมการผู้เชี่ยวชาญห้องปฏิบัติการความปลอดภัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำ�นักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พ.ค. 2552 – ปัจจุบัน ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรายงานโครงการวิจัย อนุกรรมการกำ�กับเทคโนโลยีฐาน เทคโนโลยีการออกแบบ
และสังเคราะห์วัสดุนาโน และเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์ มาตรวิทยา มาตรฐานและความปลอดภัย
ด้านนาโนเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พ.ศ. 2554 – 2561 อนุกรรมการฝ่ายวิชาการและวารสาร สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน กรรมการจัดทำ�และเลขานุการคณะกองบรรณาธิการ แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรค
โลหิตจางธาลัสซีเมีย ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. 2557 – ปัจจุบัน คณะทำ�งานป้องกันและควบคุมความผิดปกติแต่กำ�เนิด แผนงานสนับสนุนระบบบริการส่งเสริมสุขภาพ
และป้องกันโรค สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
พ.ค. 2558 – ปัจจุบัน กรรมการผูเ้ ชีย
่ วชาญจัดทำ�คูม่ อื ทางห้องปฏิบต ั ก
ิ ารและพัฒนาระบบเพือ่ สนับสนุนการควบคุมและป้องกัน
โรคธาลัสซีเมีย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
พ.ค. 2559 – ปัจจุบัน กรรมการจัดทำ�ข้อมูลการลงทะเบียนผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย และการกำ�หนดรหัส ICD 9 และ
ICD 10 ในการสนับสนุนการจัดบริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย สำ�นักงานหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ
พ.ค. 2559 – ปัจจุบัน กองบรรณาธิการวารสาร จดหมายเหตุการแพทย์ไทย แพทยสมาคม
พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน กรรมการผู้เชี่ยวชาญเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการผลักดันและพัฒนาการดูแลรักษาเด็กพิการแต่
กำ�เนิดในแผนงานการดูแลรักษาปัญหาเด็กพิการแต่กำ�เนิดของประเทศไทย สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
มหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน กรรมการผูป ้ ระเมินสถานทีฝ
่ ก ึ ปฏิบตั งิ านของ โรงพยาบาลร่วมสอน และประเมินโรงพยาบาลในโครงการ
เพิ่มพูนทักษะแพทย์ ในสาขากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน คณะกรรมการดำ�เนินการโครงการนวเมธีศิรริ าช คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล
พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน คณะทำ�งานบริหารห้องปฏิบัติการเซลล์เพื่อการบำ�บัด คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล
พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน ทีป่ รึกษาด้านการวิจยั และผูท
้ รงคุณวุฒพ ิ จิ ารณาผลงานวิจยั ทุนสร้างสรรค์สบ
ื สานรอยศาสตร์พระราชา
คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน กรรมการผู้เชี่ยวชาญประเมินโครงการวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน คณะทำ�งานจัดเตรียมข้อมูลเพื่อจัดทำ�มาตรฐานห้องปฏิบัติการเซลล์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข
16 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน คณะกรรมการพิจารณาโครงการวิจัยและติดตามประเมินผลงานวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย


เงินงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ.2563 – ปัจจุบัน คณะกรรมการประเมินให้ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นโครงการวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
(สวรส.) กระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน กรรมการทรงคุณวุฒิพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัย
พะเยา
พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน กรรมการพิจารณาโครงการวิจัยและติดตามประเมินผลงานวิจัย ที่เสนอขอทุนเงินรายได้มหาวิทยาลัย
ทุนเสริมสร้างพันธมิตรการวิจัยต่างประเทศ กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน คณะกรรมการหลักสูตร คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน คณะกรรมการผู้ตรวจประเมินเพื่อจัดทำ�ประกาศแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 33 (1)
แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 กลุ่มรับรองห้องปฏิบัติการ สำ�นักมาตรฐาน
ห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน รองเลขาธิการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้า
จุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

หน้าที่และกิจกรรมในองค์กรระดับนานาชาติ
พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน ได้รับเชิญเป็นคณะกองบรรณาธิการวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ ได้แก่ Blood Research/
International Journal of Blood Transfusion & Immunohematology/Thalassemia
Reports Journal/Scientific World Journal
พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน ได้รบ
ั เชิญเป็นผูท
้ รงคุณวุฒพ
ิ จิ ารณาบทความเพือ
่ ตีพม
ิ พ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติเช่น Scientific
Report/Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health/Journal of
Obstetrics and Gynaecology/Hemoglobin/Blood Cells, Molecules and Diseases/
Haematologica/Pediatric Hematology Oncology/Journal of Trace Elements in
Medicine and Biology/BMC Hematology/International Journal of Hematology/
European Journal of Haematology/Annals of the New York Academy of Sciences/
Blood/Expert Opinion On Pharmacotherapy/Expert Review of Hematology/British
Journal of Haematology/Acta Haematologica/Bioinformatics/Clinical Chemistry/
Clinica Chimica Acta/American Journal of Hematology/Genetics in Medicine/Clinical
Investigative Medicine/The Hematology Journal/Archive of Medical Research and
Medical Science Monitor
พ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญและผู้ประสานงานด้านการแพทย์ (Medical Collaborator) สมาพันธ์ธาลัสซีเมีย
นานาชาติ (Thalassemia International Federation: TIF) ให้คำ�ปรึกษากับประเทศต่างๆ
ในด้านการพัฒนาการดูแลรักษาและควบคุมป้องกันโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน กรรมการจัดตั้งและเลขาธิการ Asia Pacific Iron Academy (APIA) และเป็นผู้รเิ ริ่มการจัดประชุม
วิ ช าการระดั บ นานาชาติ ด้ า นเหล็ ก และโรคที่ เ กี่ ย วข้ อ งในมนุ ษ ย์ ขึ้ น เป็ น ครั้ ง แรกในภู มิ ภ าค
เอเชียแปซิฟิค ภายใต้ช่ือ Asia Pacific Iron Academy (APIA) โดยดำ�เนินการจัดการประชุม
ครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน กรรมการผู้ตรวจประเมิน (External Reviewer) แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย
โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่ได้รับเลือดอย่างสม่ำ�เสมอ ให้แก่ กระทรวงสาธารณสุข ประเทศมาเลเซีย
กระทรวงสาธารณสุข ประเทศโอมาน และสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
พ.ศ. 2556 – ปัจจุบัน ผูน
้ พ
ิ นธ์และกองบรรณาธิการ หนังสือแนวทางเวชปฏิบต ั ใิ นการดูแลรักษาผูป ้ ว่ ยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
ให้กับสมาพันธ์ธาลัสซีเมียนานาชาติ (Thalassemia International Federation) โดยเป็น
กรรมการผู้ เ ชี่ ย วชาญเพี ย งคนเดี ย วที่ ม าจากทวี ป เอเชี ย ที่ ไ ด้ รั บ เกี ย รติ ใ ห้ เ ขี ย นและจั ด ทำ�หนั ง สื อ
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย จำ�นวน 2 ฉบับ คือ “Guideline
for the Management of Non Transfusion Dependent Thalassaemia (NTDT)”
ในปี พ.ศ. 2556 และ “Guidelines for the Management of Transfusion Dependent
Thalassaemia (TDT)” ในปี พ.ศ. 2557 โดยแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
ทั้งชนิดที่ไม่พึ่งพาเลือด และพึ่งพาเลือดทั้ง 2 เล่มนี้ ถือเป็นแนวทางการรักษาที่เป็นมาตรฐาน
เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และถูกนำ�ไปปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียทั่วโลก
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 17

พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2561 ที่ปรึกษาในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยาที่เกี่ยวกับโรคของเม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบิน


ผิดปกติให้กับสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศ สหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน กรรมการและที่ปรึกษาในฐานะผู้เชี่ยวชาญ (Technical consultant) เพื่อพัฒนาแนวทาง
เวชปฏิบัตขิ ององค์การอนามัยโลก (WHO Guideline Development Group) เพื่อกำ�หนด
นิยามของภาวะซีดในมนุษย์โดยใช้ฮีโมโกลบิน

บทบาทฐานะผู้เชี่ยวชาญเป็นวิทยากรในระดับนานาชาติ
พ.ศ. 2558 ได้รบ
ั เชิญเป็น Invited speaker ในการประชุมวิชาการจำ�นวน 14 ครัง้ ได้แก่ การประชุม The Global
Iron Summit (GIS) 2015 ณ เมืองเบอร์ลน ิ ประเทศเยอรมนี/การประชุม The 21st International
Federation of Clinical Chemistry (IFCC) EURO-MEDLAB Paris 2015 ณ กรุงปารีส
ประเทศฝรั่งเศส/การประชุม The Iron Expert Panel 2015 ณ เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน/การ
ประชุม The 8th Congress of the Association of Diabetes and Endocrinology HCMC
expanded ณ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม/การประชุม The 4th National Thalassemia
Symposium ณ เมืองบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน/การประชุม The 1st Egyptian Iron Summit
- EIS 2015 ณ เมืองไคโร ประเทศอียิปต์/การประชุม The 6th Meeting of the International
BioIron Society ณ เมืองหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน/การประชุม The International CME
on Hematology and 7th Annual Meet of Odisha Hematology ณ เมืองคัตแทค ประเทศ
อินเดีย/การประชุม The 2nd Pan-Asian Conference on Haemoglobinopathies ณ เมือง
ฮานอย ประเทศเวียดนาม/การประชุม The Meet the Expert Session: Maximizing Patient
Benefits through Iron Control in the Liver, Heart and Beyond ณ เมืองปาดัง ประเทศ
อินโดนีเซีย/การประชุม The Northern Haematology Updates 2015 ณ กรุงปีนัง ประเทศ
มาเลเซีย/การประชุม The Tenth Cooley’s Anemia Symposium ณ กรุงชิคาโก ประเทศ
สหรัฐอเมริกา/การประชุม The 26th Regional Congress of the International Society
of Blood Transfusion (ISBT) ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย/การประชุม The Pan Arab
Thalassemia & Haemoglobinopathies Conference 2015 ณ เมืองอาบูดาบี สหรัฐอาหรับ
เอมิเรตส์/การประชุม The American Society of Hematology 57th ASH Annual Meeting
and Exposition ณ เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2559 ได้รบ
ั เชิญเป็น Invited speaker ในการประชุมวิชาการจำ�นวน 14 ครัง้ ได้แก่ การประชุม The Global
Iron and Hematopoiesis Summit (GIHS) 2016 ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน/การประชุม The
Agios Beta thalassemia Scientific Advisory Board Meeting ณ กรุงลอนดอน ประเทศ
อังกฤษ สหราชอาณาจักร/การประชุม The MEDLAB ASIA PACIFIC 2016 มหาวิทยาลัยแห่งชาติ
สิงคโปร์ ณ ประเทศสิงคโปร์/การประชุม The Singapore Society of Haematology Annual
Scientific Meeting 2016 ณ ประเทศสิงคโปร์/การประชุม The 13th Malaysian Society of
Haematology (MSH) Annual Scientific Meeting ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย/
การประชุม The Thalassemia Expert Forum The TIF Guidelines Perspective ณ
กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย/การประชุม The 5th Thailand Society of Hematology
(TSH) International Symposium (TSH-IS 2016) ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ กรุงเทพมหานคร/
การประชุม The Meet the Expert Forum The Role of Exjade in TDT: Liver, Heart and
Beyond ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์/การประชุม The European Hematology Association
(EHA) Conference 2016 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก/การประชุม The 34th
International congress of the International Society of Blood Transfusion (ISBT)
ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์/การประชุม The 8th East Malaysia Thalassemia
Forum ณ รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย/การประชุม The Philippine Society Hematology
and Blood Transfusion (PSHBT) ณ กรุงมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ /การประชุม The 10th
Anniversary Conference UK Thalassemia Society ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
สหราชอาณาจักร/การประชุม The American Society of Hematology 58th ASH Annual
Meeting and Expositionณ เมืองซานดิเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2560 ได้รับเชิญเป็น Invited speaker ในการประชุมวิชาการจำ�นวน 15 ครั้ง ได้แก่ การประชุมThe 2017
Novartis South Africa Haematology Symposium ณ เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้/
การประชุม The Hong Kong Society for the Study of Thalassemia ฮ่องกง ประเทศสาธารณรัฐ
18 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

ประชาชนจีน/การประชุม The Thalassemia Expert Forum 2017 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศ


มาเลเซีย/การประชุม The 11th SIOP Asia Congress (SIOP Asia 2017) กรุงเทพมหานคร/
การประชุม The European Haematology Association (EHA) ณ กรุงมาดริด ประเทศ
สเปน/การประชุม The 9th East Malaysia Thalassemia ณ เมืองโกตากีนาบาลู ประเทศ
มาเลเซีย/การประชุม The Scientific symposium on achievements in Oncology &
Hematology ณ เมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม/การประชุม The International Congress
of Bone Marrow Transplantation (BMT) 2017 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้/การประชุม
The VIII. International Hematology Oncology Congress ณ เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี/
การประชุม The 2017-Thalassemia International Federation Conference ณ เมืองลิมาสซอล
ประเทศกรีซ/การประชุม The ACE-536-B-THAL-001 Asia-Pacific Investigator Meeting
กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย/การประชุม The SAARC countries workshop on Prevention
and Management of Haemoglobinopathies and Hemophilia ณ กรุงนิวเดลี ประเทศ
อินเดีย/การประชุม The BEYOND ACE-536-B-THAL-002 Global Investigator Meeting
ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี/การประชุม The 1st European School of Haematology (ESH)
International conference on Erythropoiesis Control and Ineffective Erythropoiesis
: from bench to bedside ณ เมืองบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี/การประชุม The International
Thalassemia Forum ณ เมืองเบรุต ประเทศเลบานอน
พ.ศ. 2561 ได้รับเชิญเป็น Invited speaker ในการประชุมวิชาการจำ�นวน 5 ครั้ง ได้แก่ การประชุม The 2nd
Pan Arab Thalassemia & Haemoglobinopathies Conference (PATH 2018) and
The Eight Emirates Haematology Conference (8th EHC) ณ เมืองอาบูดาบี ประเทศ
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ /การประชุม The Global Globin Challenge Conference (GG2020) ณ
รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย/การประชุม The International Eurasian Hematology – Oncology
Congress ณ เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี/การประชุม The 11th Annual Academy for Sickle
Cell and Thalassemia (ASCAT) ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร/การประชุม
The 60th American Society of Hematology (ASH) Annual Meeting and Exposition
Session: Education ณ เมืองแซนดีเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2562 ได้รับเชิญเป็น Invited speaker ในการประชุมวิชาการจำ�นวน 4 ครั้ง ได้แก่ การประชุม The 2019
Korean Society of Hematology International Conference (ICKSH 2019) ณ กรุงโซล
ประเทศเกาหลี /การประชุม The 2nd European School of Haematology (ESH) International
conference – Erythropoiesis Control and Ineffective Erythropoiesis : from bench to
bedside ณ เมืองบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี /การประชุม The 2nd Asian Thalassemia Forum
2019 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย /การประชุม The 7th Conference of Myanmar
Society of Haematology 2019 ณ เมืองย่างกุ้ง ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
พ.ศ. 2563 ได้รับเชิญเป็น Invited speaker (webinar) ในการประชุมวิชาการจำ�นวน 4 ครั้ง ได้แก่ การประชุม
องค์การอนามัยโลก Micronutrient Forum 5th Global Conference 2020 in Bangkok,
THAILAND/การประชุม The Advances in the Care and Cure of Thalassaemia: online
webinar /การประชุม The Thalassemia Webinar for Malaysia HCPs/การประชุม The
MEDLAB Asia & Health 2020/การประชุม The Clinical Management in Thalassemia,
Thalassemia International Federation (TIF)
พ.ศ. 2564 ได้รับเชิญเป็น Invited speaker (webinar) ในการประชุมวิชาการจำ�นวน 10 ครั้ง ได้แก่ การประชุม
The Annual Meeting College of Pathologists, Academy Medicine of Malaysia/การ
ประชุม The 2nd Translational Research E-Conference Erythropoiesis Control and
Ineffective Erythropoiesis: from bench to bedside/การประชุม The Agios Advisory
Board: Thalassemia Burden of Disease/การประชุม The Global Thalassaemia
Review: The Premiere/การประชุม The New Paradigms in The Management of
Hemoglobinopathies/การประชุม The Virtual BMS Updates in Hematology Session:
EHA 2021/การประชุม The 18th Annual Science Meeting (ASM) of Malaysia Society
of Haematology (MSH) /การประชุม The Thalassaemia International Federation(TIF):
Discussion on the Access to Innovative Therapies Part II: The Luspatercept/
Reblozyl Case/การประชุม The BMS : Beta-thalassemia webinar series/การประชุม
The MEDLAB Asia 2021:Molecular Diagnostics
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 19

CURRICULUM VITAE
PROFESSOR
DR. VIP VIPRAKASIT
DATE OF BIRTH 12 September 1970
PLACE ON BIRTH Phaya Thai, Bangkok
MARITAL STATUS Married to Associate Professor Aree Thayananuphat, former Director, veterinary
teaching hospital, Faculty of Veterinary Medicine, Kasetsart University with one
son, Sean Viprakasit (Jedi)
OFFICE ADDRESS Division of Hematology & Oncology, Department of Pediatrics and Siriraj-Thalassemia
Center, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700,
Thailand

EDUCATION
1994 M.D. (1st Class Honors), Mahidol University
1995 Certificate in Clinical Science (Pediatrics), Chiang Mai University
1997 Diploma Thai Board of Pediatrics, Medical Council of Thailand
2002 D. Phil. (Molecular Medicine), University of Oxford, United Kingdom
2004 Postdoctoral Fellowship in Molecular Hematology, Weatherall Institute of Molecular
Medicine, University of Oxford, United Kingdom

PROFESSIONAL EXPERIENCE
December 1997 – December 2004 Lecturer, Department of Pediatrics, Faculty of Medicine
Siriraj Hospital, Mahidol University
December 2004 – August 2006 Assistant Professor, Department of Pediatrics, Faculty of Medicine
Siriraj Hospital, Mahidol University
August 2006 – September 2015 Associate Professor, Department of Pediatrics, Faculty of Medicine
Siriraj Hospital, Mahidol University
September 2015 – Present Professor, Department of Pediatrics, Faculty of Medicine
Siriraj Hospital, Mahidol University

ADMINISTRATIVE DUTIES
2005 – present Member of graduate program committee in molecular immunology, Department
of Immunology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University
2006 – present Vice-Chairmen and steering committee, Siriraj Thalassemia Center, Faculty
of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University
2014 – Present Founder and President of ATGenes Co. Ltd., a biotech start-up focusing deep
technology of DNA diagnosis
2019 – Present Chairman, Siriraj Center of Excellence on Cell and Gene Therapy, Faculty of
Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University
20 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

HONORS AND WARDS


1992-1994 Honorable medal and Professor Apichart Vitchayarat’s scholarship for the highest
total marks in Internal Medicine for the Class of Siriraj 99
1999-2002 Prince Mahidol Scholarship, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University
2003 British Journal of Haematology Research Trust Travel Grant for poster presentation
at the 12th Conference on Haemoglobin Switching, Seattle, USA
2001 Travel Award from European Society of Haematology for the best oral presentation
at the 6th European Haematology Association Meeting (EHA), Frankfurt, Germany
2001 Medical Research Council (MRC) Award, UK for an oral presentation at the 8th
International Conference on Thalassaemia, Athens, Greece
2001 Medical Research Council (MRC) Award for an oral presentation at the 43rd Annual
Meeting of American Society of Haematology, Orlando, Florida
2002 Medical Research Council (MRC) Award for oral presentation at the 44th Annual
Meeting of American Society of Haematology, Philadelphia, Pennsylvania.
2003 Medical Research Council (MRC) Award, UK for two oral presentations at the 9th
International Conference on Thalassaemia, Palermo, Italy
2003 Medical Research Council (MRC) Award for oral presentation at the 45th Annual
Meeting of American Society of Haematology, San Diego, California
2004 Travel award from American Society of Hematology for the best oral presentation
at the 46th Annual Meeting of American Society of Haematology, San Diego,
California
2005 Methevijai Research Fellowship from The Thailand Research Fund
2012 The 6th Prof. Alendry P. Caviles Jr. Memorial Lecture; “Thalassemia Screening in
Developing Countries”, The Philippine Society of Hematology and Blood Transfusion
(PSHBT), Quezon City, Philippines
2012 Harvard Blood Scholar Lecture; “Thalassemia Research in the Far East: When
the East Meets the West”, Harvard Medical School, Boston, USA
2013 Sutan Bin Kalifa International Thalassaemia Award (SITA) for the Best Centre of
Excellence on Thalassaemia Care, Abu Dhabi, UAE
2015 The Best Research Award of the Year, The National Research Council of Thailand
(NRCT), Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, The Royal
Thai Government and Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University
2016 The Best Researcher Award for the Top Cited Scientist in Medical Science of
the Year, Mahidol University
2017 Honorary Presidential Lecture; “A Novel Forms of Hereditary Anemia in Thailand
Identified Through NGS”, Thailand Society of Hematology, Bangkok, Thailand
2019 The 3rd Dr. Khin Mar Mar Memorial Lecture; “Past, present and future of Thalassemia
Research in the Far East”, Myanmar Society of Hematology, Yangon, Myanmar
2021 The Outstanding Researcher of the Year (Medical Science), The National Research
Council of Thailand (NRCT), Ministry of Higher Education, Science, Research and
Innovation, The Royal Thai Government
2021 Prime Minister’s Award: Innovation for Crisis 2021 in Individual Award Category,
The National Innovation Agency (NIA), Ministry of Higher Education, Science,
Research and Innovation, The Royal Thai Government
2022 The Best Research Award of the Year on Social and Public Health, Faculty of
Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 21

MEMBERSHIP/COMMITTEE MEMBER- THAILAND


2004 – Present Reviewer for national conferences
2009 – Present Reviewer of research proposals/reports for funding agencies, universities, and
research institutes and government agencies
2009 – Present Member of Steering Committee Thalassemia Foundation of Thailand under
the Royal Patronage of Her Royal Highness Princess Soamsawali Krom Muen
Suddhanarinatha
2009 – Present Member of Safety and Biohazard Supervisory Subcommittee National Nanotechnology
Center (NANOTEC)
2010 – Present Reviewer of the research grant, awards for funding agencies, universities, and
research institutes and government agencies
2011 – 2018 Member of Academic and Publication Subcommittee Thailand Society of Hematology
2012 – Present Secretary and Member of Academic Subcommittee for Thailand National Clinical
Practice Guideline for Thalassemia Department of Medical Services, Ministry of
Public Health (MOPH)
2014 – Present Academic Editorial Board Members of Journal of Hematology and Blood Transfusion,
Thailand Society of Hematology
2014 – Present Member of Working Group for Thailand National Birth Defect Control Program
National Health Security Office (NHSO)
2015 – Present Reviewer for academic positions
2015 – Present Member of Expert Committee for Thailand National Laboratory Guideline and
System Integration for Prevention and Control of Thalassemia Department of
Medical Science Ministry of Public Health (MOPH)
2016 – Present Member of Working Group for Thailand National Thalassemia Registry Program
(ICD 9 and 10) National Health Security Office (NHSO)
2016 – Present Academic Editorial Board Members of Journal Medical Association Thailand
2016 – Present Member of Expert Committee for Monitoring Thailand National Birth Defect Program
National Institute of Child Health Department of Medical Services, Ministry of
Public Health (MOPH)
2016 – Present Member of Committee for Evaluating Teaching Hospital for Medical Training
Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University
2017 – Present Member of Research Fellowship Committee for Young Medical Researchers
(Nawamethee Program) Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University
2018 – Present Member of Steering Committee of Core Facilities for Cellular and Gene Therapy
Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University
2018 – Present Member of Research and Development Supervisory Subcommittee
National Nanotechnology Center (NANOTEC) - Nanostructure and Systems
2019 – Present Consultant on Research Faculty of Veterinary Science Kasetsart University
2019 – Present Member of Working Group of National Standard Laboratory Guideline for Advanced
Therapy Medicinal Product Department of Medical Science Ministry of Public
Health (MOPH)
2022 – Present Deputy Secretary General Princess Chulabhorn Award Foundation
22 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

MEMBERSHIP/COMMITTEE MEMBER- INTERNATIONAL


2004 – Present Reviewer for international journals, including of Scientific Report/Southeast
Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health/Journal of Obstetrics and
Gynaecology/Hemoglobin/Blood Cells, Molecules and Diseases/Haematologica/
Pediatric Hematology Oncology/Journal of Trace Elements in Medicine and
Biology/BMC Hematology/International Journal of Hematology/European Journal
of Haematology/Annals of the New York Academy of Sciences/Blood/Expert
Opinion On Pharmacotherapy/Expert Review of Hematology/British Journal of
Haematology/Acta Haematologica/Bioinformatics/Clinical Chemistry/Clinica
Chimica Acta/American Journal of Hematology/Genetics in Medicine/Clinical
Investigative Medicine/The Hematology Journal/Archive of Medical Research
and Medical Science Monitor
2004 – Present Editorial Board Members of Blood Research/International Journal of Blood
Transfusion & Immunohematology/Thalassemia Reports Journal/Scientific World
Journal
2007 – Present Medical Collaborator and Scientific Consultant Thalassemia International Federation
(TIF)
2009 – Present Founder and Secretary General Asia Pacific Iron Academy (APIA) and organized
the first Asian conference on iron related disorders in man at Chiang Mai
2009 – Present External Expert Reviewer for Malaysia Oman Australia and New Zealand on
National Clinical Practice Guideline for Thalassemia Management
2013 – 2014 Scientific Consultant of Red Blood Cell Disorders and Hemoglobinopathies
American Society of Hematology
2013 – Present Editorial Board Members of Guideline for the Management of Non-Transfusion
Dependent Thalassaemia (NTDT) and Transfusion Dependent Thalassaemia (TDT)
Thalassemia International Federation (TIF)
2013 – Present Technical Consultant of WHO Guideline Development Group for Anemia in Man,
World Health Organization (WHO)
2015 Invited speaker: The Global Iron Summit (GIS) 2015, Berlin, Germany/The 21st
International Federation of Clinical Chemistry (IFCC) Euro Medlab, Paris France/
The Iron Expert Panel, Barcelona, Spain/The 8th Congress of the Association
of Diabetes and Endocrinology, HCMC, Vietnam/The 4th National Thalassemia
Symposium, Brunei/The 1st Egyptian Iron Summit, Cairo, Egypt/The 6th Meeting
of the International BioIron Society, Hangzhou, PRC/The International CME on
Hematology and 7th Annual Meet of Odisha Hematology, Odisha, India/The 2nd
Pan-Asian Conference on Haemoglobinopathies, Hanoi, Vietnam/ The Meet the
Expert Session : Maximizing Patient Benefits through Iron Control in the Liver,
Heart and Beyond, Bandung, Indonesia/ The Northern Haematology Updates,
Penang, Malaysia/The Tenth Cooley’s Anemia Symposium, Chicago, USA/The
26th Regional Congress of the International Society of Blood Transfusion (ISBT),
Bali, Indonesia/The Pan Arab Thalassemia & Haemoglobinopathies Conference,
Abu Dhabi, UAE/The American Society of Hematology 57th ASH Annual Meeting
and Exposition, Orlando, USA
2016 Invited speaker: The Global iron and Hematopoiesis Summit (GIHS) 2016, Madrid,
Spain/The Agios Beta thalassemia Scientific Advisory Board Meeting, London,
UK/The ASIA PACIFIC, Singapore/ The Singapore Society of Haematology Annual
Scientific Meeting, Singapore/The 13th Malaysian Society of Haematology (MSH)
Annual Scientific Meeting, Kuala Lumpur, Malaysia/The Thalassemia Expert Forum
with The TIF Guidelines Perspective, Kuala Lumpur, Malaysia/ The 5th Thailand
Society of Hematology (TSH) International Symposium, Bangkok, Thailand/Meet
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 23

the Expert Forum The Role of Exjade in TDT: Liver, Heart and Beyond, Doha, Qatar/
The European Hematology Association (EHA) Conference, Copenhagen, Denmark/
The 34th International congress of the International Society of Blood Transfusion
(ISBT), Dubai, UAE/The 8th East Malaysia Thalassemia Forum, Sarawak, Malaysia/
The Philippine Society Hematology and Blood Transfusion (PSHBT) Conference,
Manila, The Philippines/The 10th Anniversary Conference UK Thalassemia Society,
London, UK/The American Society of Hematology 58th ASH Annual Meeting and
Exposition, San Diego, USA
2017 Invited speaker: The Novartis South Africa Haematology Symposium, Cape Town,
South Africa/ The Hong Kong Society for the Study of Thalassemia, Hong Kong/The
Thalassemia Expert Forum, Kuala Lumpur, Malaysia/The 11th SIOP Asia Congress,
Bangkok, Thailand/The European Haematology Association Conference (EHA),
Madrid, Spain/The 9th East Malaysia Thalassemia Forum, Kota Kinabalu, Malaysia/
The Scientific symposium on achievements in Oncology & Hematology, HMMC,
Vietnam/ The International Congress of Bone Marrow Transplantation (BMT),
Seoul, Korea/The VIII International Hematology Oncology Congress, Istanbul,
Turkey/The Thalassemia International Federation Conference, Limassol, Greece/
The ACE-536-B-THAL-001 Asia-Pacific Investigator Meeting, Kuala Lumpur,
Malaysia/The SAARC countries workshop on Prevention and Management of
Haemoglobinopathies and Hemophilia, New Delhi, India/The BEYOND ACE-536-
B-THAL-002 Global Investigator Meeting, Rome, Italy/The 1st European School
of Haematology (ESH) International conference on Erythropoiesis Control and
Ineffective Erythropoiesis : from bench to bedside, Budapest, Hungary/The
International Thalassemia Forum, Beirut, Lebanon
2018 Invited speaker: The 2nd Pan Arab Thalassemia & Haemoglobinopathies Conference
and The Eight Emirates Haematology Conference, Abu Dhabi, UAE/The Global
Globin Challenge Conference (GG2020), Penang, Malaysia/The International
Eurasian Hematology – Oncology Congress, Istanbul, Turkey/The 11th Annual
Academy for Sickle Cell and Thalassemia (ASCAT), London, UK/The 60th American
Society of Hematology (ASH) Annual Meeting and Exposition Session: Education,
San Diego, USA
2019 Invited speaker: The Korean Society of Hematology International Conference
(ICKSH 2019), Seoul, Korea/ The ESH International conference – Erythropoiesis
Control and Ineffective Erythropoiesis: from bench to bedside, Budapest, Hungary/
The 2nd Asian Thalassemia Forum, Kuala Lumpur, Malaysia/The 7th Conference
of Myanmar Society of Haematology, Yangon, Myanmar
2020 Invited speaker (webinar): The WHO Micronutrient Forum 5th Global Conference
2020, Bangkok, THAILAND/The Advances in the Care and Cure of Thalassaemia,
Sri Lanka/The Thalassemia Webinar for Malaysia HCPs/The Medlab Asia & Health,
Singapore/The Clinical Management in Thalassemia, Thalassemia International
Federation (TIF)
2021 Invited speaker (webinar): The Annual Meeting College of Pathologists, Academy
Medicine of Malaysia/The 2nd Translational Research E-Conference Erythropoiesis
Control and Ineffective Erythropoiesis: from bench to bedside/The Agios Advisory
Board: Thalassemia Burden of Disease/The Global Thalassaemia Review: The
Premiere/The New Paradigms in The Management of Hemoglobinopathies 2021/ The
Virtual BMS Updates in Hematology Session: EHA 2021/The 18th Annual Science
Meeting (ASM) of Malaysia Society of Haematology (MSH) /The Thalassaemia
International Federation(TIF): Discussion on the Access to Innovative Therapies
Part II: The Luspatercept/Reblozyl®Case/The BMS : Beta-thalassemia webinar
series/The MEDLAB Asia 2021:Molecular Diagnostics
24 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

LIST OF PUBLICATIONS
ORIGINAL RESEARCH ARTICLES (INTERNATIONAL)
1. Viprakasit, V., Gibbons, R.J., Broughton, B.C., Tolmie, J.L., Brown, D., Lunt, P., Winter, R.M., Marinoni, S.,
Stefanini, M., Brueton, L., Lehmann, A.R., Higgs, D.R. 2001. Mutations in the general transcription factor TFIIH
result in beta-thalassaemia in individuals with trichothiodystrophy. Hum Mol Genet, 10(24), 2797-802.
2. Viprakasit, V., Tanphaichitr, V.S. 2001. Recurrent A353V mutation in a Thai family with X-linked dyskeratosis
congenita. Haematologica, 86(8), 871-2.
3. Viprakasit, V., Tanphaichitr, V.S., Mahasandana, C., Assteerawatt, A., Suwantol, L., Veerakul, G., Kankirawatana,
S., Pung-Amritt, P., Suvatte, V. 2001. Linear growth in homozygous beta-thalassemia and beta-thalassemia/
hemoglobin E patients under different treatment regimens. J Med Assoc Thai, 84(7), 929-41.
4. Tanphaichitr, V.S., Chonlasin, R., Suwantol, L., Pung-Amritt, P., Tachavanich, K., Yogsan, S., Viprakasit, V.
2002. Effect of red blood cell glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency on patients with dengue
hemorrhagic fever. J Med Assoc Thai, 85 Suppl 2 S522-9.
5. Viprakasit, V., Green, S., Height, S., Ayyub, H., Higgs, D.R. 2002. Hb H hydrops fetalis syndrome associated
with the interaction of two common determinants of alpha thalassaemia (--MED/(alpha)TSaudi(alpha)). Br
J Haematol, 117(3), 759-62.
6. Viprakasit, V., Kankirawatana, S., Akarasereenont, P., Durongpisitkul, K., Chotewuttakorn, S., Tanphaichitr,
V.S. 2002. Baseline levels of plasma endothelin-1 (ET-1) and changes during transfusion in thalassemic
patients. Am J Hematol, 70(3), 260-2.
7. Viprakasit, V., Pung-Amritt, P., Suwanthon, L., Clark, K., Tanphaichtr, V.S. 2002. Complex interactions of
deltabeta hybrid haemoglobin (Hb Lepore-Hollandia) Hb E (beta(26G-->A)) and alpha+ thalassaemia in a
Thai family. Eur J Haematol, 68(2), 107-11.
8. Viprakasit, V., Tachavanich, K., Suwantol, L., Pung-Amritt, P., Chinchang, W., Tanphaichitr, V.S. 2002. Allele
related mutation specific-polymerase chain reaction for rapid diagnosis of Hb New York (beta 113 (G15)
Val-->Glu, beta(CD113 GTG-->GAG)). J Med Assoc Thai, 85 Suppl 2 S558-63.
9. Viprakasit, V., Tanphaichitr, V.S. 2002. Compound heterozygosity for alpha0-thalassemia (- -THAI) and Hb
constant spring causes severe Hb H disease. Hemoglobin, 26(2), 155-62.
10. Viprakasit, V., Tanphaichitr, V.S., Pung-Amritt, P., Petrarat, S., Suwantol, L., Fisher, C., Higgs, D.R. 2002.
Clinical phenotypes and molecular characterization of Hb H-Pakse disease. Haematologica, 87(2), 117-25.
11. Viprakasit, V., Wiriyasateinkul, A., Sattayasevana, B., Miles, K.L., Laosombat, V. 2002. Hb G-Makassar
[beta6(A3)Glu-->Ala; codon 6 (GAG-->GCG)]: molecular characterization, clinical, and hematological effects.
Hemoglobin, 26(3), 245-53.
12. Merryweather-Clarke, A.T., Cadet, E., Bomford, A., Capron, D., Viprakasit, V., Miller, A., McHugh, P.J., Chapman,
R.W., Pointon, J.J., Wimhurst, V.L., Livesey, K.J., Tanphaichitr, V., Rochette, J., Robson, K.J. 2003. Digenic
inheritance of mutations in HAMP and HFE results in different types of haemochromatosis. Hum Mol Genet,
12(17), 2241-7.
13. Pointon, J.J., Viprakasit, V., Miles, K.L., Livesey, K.J., Steiner, M., O’Riordan, S., Hien, T.T., Merryweather-
Clarke, A.T., Robson, K.J. 2003. Hemochromatosis gene (HFE) mutations in South East Asia: a potential
for iron overload. Blood Cells Mol Dis, 30(3), 302-6.
14. Tanphaichitr, V.S., Viprakasit, V., Veerakul, G., Sanpakit, K., Tientadakul, P. 2003. Homozygous hemoglobin
Tak causes symptomatic secondary polycythemia in a Thai boy. J Pediatr Hematol Oncol, 25(3), 261-5.
15. Viprakasit, V., Ayyub, H., May, A. 2003. Dinucleotide deletion in -alpha3.7 allele causes a severe form of
alpha+ thalassaemia. Eur J Haematol, 71(2), 133-6.
16. Viprakasit, V., Kidd, A.M., Ayyub, H., Horsley, S., Hughes, J., Higgs, D.R. 2003. De novo deletion within the
telomeric region flanking the human alpha globin locus as a cause of alpha thalassaemia. Br J Haematol,
120(5), 867-75.
17. Robson, K.J., Merryweather-Clarke, A.T., Cadet, E., Viprakasit, V., Zaahl, M.G., Pointon, J.J., Weatherall, D.J.,
Rochette, J. 2004. Recent advances in understanding haemochromatosis: a transition state. J Med Genet,
41(10), 721-30.
18. Steensma, D.P., Viprakasit, V., Hendrick, A., Goff, D.K., Leach, J., Gibbons, R.J., Higgs, D.R. 2004. Deletion
of the alpha-globin gene cluster as a cause of acquired alpha-thalassemia in myelodysplastic syndrome.
Blood, 103(4), 1518-20.
19. Viprakasit, V., Chinchang, W., Pung-Amritt, P., Tanphaichitr, V.S. 2004. Identification of Hb Q-India (alpha64
Asp-->His) in Thailand. Hematology, 9(2), 151-5.
20. Viprakasit, V., Tanphaichitr, V.S. 2004. Unusual phenotype of hemoglobin EE with hemoglobin H disease:
a pitfall in clinical diagnosis and genetic counseling. J Pediatr, 144(3), 391-3.
21. Viprakasit, V., Tanphaichitr, V.S., Chinchang, W., Sangkla, P., Weiss, M.J., Higgs, D.R. 2004. Evaluation of
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 25

alpha hemoglobin stabilizing protein (AHSP) as a genetic modifier in patients with beta thalassemia. Blood,
103(9), 3296-9.
22. Viprakasit, V., Tanphaichitr, V.S., Veerakul, G., Chinchang, W., Petrarat, S., Pung-Amritt, P., Higgs, D.R. 2004.
Co-inheritance of Hb Pak Num Po, a novel alpha1 gene mutation, and alpha0 thalassemia associated with
transfusion-dependent Hb H disease. Am J Hematol, 75(3), 157-63.
23. Viprakasit, V., Vathesathokit, P., Chinchang, W., Tachavanich, K., Pung-Amritt, P., Wimhurst, V.L., Yenchitsomanus,
P.T., Merryweather-Clarke, A.T., Tanphaichitr, V.S. 2004. Prevalence of HFE mutations among the Thai
population and correlation with iron loading in haemoglobin E disorder. Eur J Haematol, 73(1), 43-9.
24. Viprakasit, V., Veerakul, G., Sanpakit, K., Pongtanakul, B., Chinchang, W., Tanphaichitr, V.S. 2004. Acute
haemolytic crisis in a Thai patient with homozygous haemoglobin Constant Spring (Hb CS/CS): a case
report. Ann Trop Paediatr, 24(4), 323-8.
25. Chinchang, W., Viprakasit, V., Pung-Amritt, P., Tanphaichitr, V.S., Yenchitsomanus, P.T. 2005. Molecular
analysis of unknown beta-globin gene mutations using polymerase chain reaction-single strand conformation
polymorphism (PCR-SSCP) technique and its application in Thai families with beta-thalassemias and beta-
globin variants. Clin Biochem, 38(11), 987-96.
26. Chinthammitr, Y., Chinchang, W., Ruchutrakool, T., Viprakasit, V. 2005. Identification of the novel signal
peptide mutation, antithrombin-Siriraj causes type-I antithrombin deficiency in thai patients. Thromb
Haemost, 94(3), 678-9.
27. Drakesmith, H., Schimanski, L.M., Ormerod, E., Merryweather-Clarke, A.T., Viprakasit, V., Edwards, J.P.,
Sweetland, E., Bastin, J.M., Cowley, D., Chinthammitr, Y., Robson, K.J., Townsend, A.R. 2005. Resistance to
hepcidin is conferred by hemochromatosis-associated mutations of ferroportin. Blood, 106(3), 1092-7.
28. Laosombat, V., Sattayasevana, B., Janejindamai, W., Viprakasit, V., Shirakawa, T., Nishiyama, K., Matsuo,
M. 2005. Molecular heterogeneity of glucose-6-phosphate dehydrogenase (G6PD) variants in the south
of Thailand and identification of a novel variant (G6PD Songklanagarind). Blood Cells Mol Dis, 34(2), 191-6.
29. Pongtanakul, B., Narkbunnam, N., Veerakul, G., Sanpakit, K., Viprakasit, V., Tanphaichitr, V.T., Suvatte, V.
2005. Dengue hemorrhagic fever in patients with thalassemia. J Med Assoc Thai, 88 Suppl 8 S80-5.
30. Premawardhena, A., Fisher, C.A., Olivieri, N.F., de Silva, S., Arambepola, M., Perera, W., O’Donnell, A., Peto,
T.E., Viprakasit, V., Merson, L., Muraca, G., Weatherall, D.J. 2005. Haemoglobin E beta thalassaemia in Sri
Lanka. Lancet, 366(9495), 1467-70.
31. Schimanski, L.M., Drakesmith, H., Merryweather-Clarke, A.T., Viprakasit, V., Edwards, J.P., Sweetland, E.,
Bastin, J.M., Cowley, D., Chinthammitr, Y., Robson, K.J., Townsend, A.R. 2005. In vitro functional analysis of
human ferroportin (FPN) and hemochromatosis-associated FPN mutations. Blood, 105(10), 4096-102.
32. Vathana, N., Viprakasit, V., Sanpakit, K., Chinchang, W., Veerakul, G., Tanphaichitr, V. 2005. Clinical phenotypes
and molecular diagnosis in a hitherto interaction of Hb E/beta thalassemia syndrome (beta(E)/beta(-31),
(A -->G)). J Med Assoc Thai, 88 Suppl 8 S66-71.
33. Viprakasit, V., Chinchang, W., Glomglao, W., Tanphaichitr, V.S. 2005. A rare association of alphaO-thalassemia
(--SEA) and an initiation codon mutation (ATG-->A-G) of the alpha2 gene causes Hb H disease in Thailand.
Hemoglobin, 29(3), 235-40.
34. Viprakasit, V., Chinchang, W., Suwanthol, L., Tanphaichitr, V.S. 2005. Common origin of a rare beta-globin
initiation codon mutation (ATG-->AGG) in Asians. Clin Lab Haematol, 27(6), 409-15.
35. Viprakasit, V., Suwanthol, L., Sangpraypan, T., Glomglao, W., Utto, W., Veerakul, G. 2005. Hematological
parameters and red blood cell indices in healthy Thai children: a revision for 2005. J Med Assoc Thai, 88
Suppl 8 S188-96.
36. Wasant, P., Viprakasit, V., Srisomsap, C., Liammongkolkul, S., Ratanarak, P., Sathienkijakanchai, A., Svasti,
J. 2005. Argininosuccinate synthetase deficiency: mutation analysis in 3 Thai patients. Southeast Asian
J Trop Med Public Health, 36(3), 757-61.
37. De Gobbi, M., Viprakasit, V., Hughes, J.R., Fisher, C., Buckle, V.J., Ayyub, H., Gibbons, R.J., Vernimmen, D.,
Yoshinaga, Y., de Jong, P., Cheng, J.F., Rubin, E.M., Wood, W.G., Bowden, D., Higgs, D.R. 2006. A regulatory
SNP causes a human genetic disease by creating a new transcriptional promoter. Science, 312(5777),
1215-7.
38. Pattaragarn, A., Viprakasit, V., Supavekin, S., Sumboonnanonda, A. 2006. Immune-mediated hemolytic
anemia in pediatric renal transplantation. Pediatr Transplant, 10(6), 740-3.
39. Viprakasit, V., Chinchang, W., Chotimarat, P. 2006. Hb Woodville, a rare alpha-globin variant, caused by
codon 6 mutation of the alpha1 gene. Eur J Haematol, 76(1), 79-82.
40. Viprakasit, V., Harteveld, C.L., Ayyub, H., Stanley, J.S., Giordano, P.C., Wood, W.G., Higgs, D.R. 2006. A novel
deletion causing alpha thalassemia clarifies the importance of the major human alpha globin regulatory
element. Blood, 107(9), 3811-2.
41. Chinchang, W., Viprakasit, V. 2007. Further identification of Hb G-Coushatta [beta22(B4)Glu-->Ala (GAA--
>GCA)] in Thailand by the polymerase chain reaction-single-strand conformation polymorphism technique
and by amplification refractory mutation system-polymerase chain reaction. Hemoglobin, 31(1), 93-9.
26 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

42. Khositseth, S., Sirikanerat, A., Wongbenjarat, K., Opastirakul, S., Khoprasert, S., Peuksungnern, R.,
Wattanasirichaigoon, D., Thongnoppakhun, W., Viprakasit, V., Yenchitsomanus, P.T. 2007. Distal renal
tubular acidosis associated with anion exchanger 1 mutations in children in Thailand. Am J Kidney Dis,
49(6), 841-850 e1.
43. Puehringer, H., Najmabadi, H., Law, H.Y., Krugluger, W., Viprakasit, V., Pissard, S., Baysal, E., Taher, A., Farra,
C., Al-Ali, A., Al-Ateeq, S., Oberkanins, C. 2007. Validation of a reverse-hybridization StripAssay for the
simultaneous analysis of common alpha-thalassemia point mutations and deletions. Clin Chem Lab Med,
45(5), 605-10.
44. Sura, T., Busabaratana, M., Youngcharoen, S., Wisedpanichkij, R., Viprakasit, V., Trachoo, O. 2007. Haemoglobin
Hope in a northern Thai family: first identification of homozygous haemoglobin Hope associated with
haemoglobin H disease. Eur J Haematol, 79(3), 251-4.
45. Sura, T., Trachoo, O., Viprakasit, V., Vathesatogkit, P., Tunteeratum, A., Busabaratana, M., Wisedpanichkij, R.,
Isarangkura, P. 2007. Hemoglobin H disease induced by the common SEA deletion and the rare hemoglobin
Quong Sze in a Thai female: longitudinal clinical course, molecular characterization, and development of
a PCR/RFLP-based detection method. Ann Hematol, 86(9), 659-63.
46. Viprakasit, V., Chinchang, W. 2007. Two independent origins of Hb Dhonburi (Neapolis) [beta 126 (H4) Val-
->Gly]: an electrophoretically silent hemoglobin variant. Clin Chim Acta, 376(1-2), 179-83.
47. Ekwattanakit, S., Riolueang, S., Viprakasit, V. 2008. Epigenetic Analysis of Beta-Globin Gene Cluster during
Hematopoiesis. Blood, 112(11), 1863-1863.
48. Pariyaprasert, W., Pacharn, P., Visitsunthorn, N., Chokephaibulkit, K., Sanpakit, K., Viprakasit, V., Vichyanond,
P., Jirapongsananuruk, O. 2008. Successful treatment of disseminated BCG infection in a SCID patient
with granulocyte colony stimulating factor. Asian Pac J Allergy Immunol, 26(1), 71-5.
49. Fucharoen, S., Viprakasit, V. 2009. Hb H disease: clinical course and disease modifiers. Hematology Am
Soc Hematol Educ Program, 26-34.
50. Laosombat, V., Viprakasit, V., Chotsampancharoen, T., Wongchanchailert, M., Khodchawan, S., Chinchang,
W., Sattayasevana, B. 2009. Clinical features and molecular analysis in Thai patients with HbH disease.
Ann Hematol, 88(12), 1185-92.
51. Lok, C.Y., Merryweather-Clarke, A.T., Viprakasit, V., Chinthammitr, Y., Srichairatanakool, S., Limwongse, C.,
Oleesky, D., Robins, A.J., Hudson, J., Wai, P., Premawardhena, A., de Silva, H.J., Dassanayake, A., McKeown,
C., Jackson, M., Gama, R., Khan, N., Newman, W., Banait, G., Chilton, A., Wilson-Morkeh, I., Weatherall, D.J.,
Robson, K.J. 2009. Iron overload in the Asian community. Blood, 114(1), 20-5.
52. Lower, K.M., Hughes, J.R., De Gobbi, M., Henderson, S., Viprakasit, V., Fisher, C., Goriely, A., Ayyub, H., Sloane-
Stanley, J., Vernimmen, D., Langford, C., Garrick, D., Gibbons, R.J., Higgs, D.R. 2009. Adventitious changes
in long-range gene expression caused by polymorphic structural variation and promoter competition. Proc
Natl Acad Sci U S A, 106(51), 21771-6.
53. Tachavanich, K., Tanphaichitr, V.S., Utto, W., Viprakasit, V. 2009. Rapid flow cytometric test using eosin-5-
maleimide for diagnosis of red blood cell membrane disorders. Southeast Asian J Trop Med Public Health,
40(3), 570-5.
54. Tachavanich, K., Viprakasit, V., Chinchang, W., Glomglao, W., Pung-Amritt, P., Tanphaichitr, V.S. 2009.
Clinical and hematological phenotype of homozygous hemoglobin E: revisit of a benign condition with
hidden reproductive risk. Southeast Asian J Trop Med Public Health, 40(2), 306-16.
55. Tachavanich, K., Viprakasit, V., Pung-Amritt, P., Veerakul, G., Chansing, K., Tanphaichitr, V.S. 2009.
Development of a comprehensive red blood cell enzymopathy laboratory in Thailand: the study of normal
activity in eight erythroenzymes in Thais. Southeast Asian J Trop Med Public Health, 40(2), 317-26.
56. Viprakasit, V., Lee-Lee, C., Chong, Q.T., Lin, K.H., Khuhapinant, A. 2009. Iron chelation therapy in the
management of thalassemia: the Asian perspectives. Int J Hematol, 90(4), 435-445.
57. Cappellini, M.D., Porter, J., El-Beshlawy, A., Li, C.K., Seymour, J.F., Elalfy, M., Gattermann, N., Giraudier, S.,
Lee, J.W., Chan, L.L., Lin, K.H., Rose, C., Taher, A., Thein, S.L., Viprakasit, V., Habr, D., Domokos, G., Roubert,
B., Kattamis, A., Investigators, E.S. 2010. Tailoring iron chelation by iron intake and serum ferritin: the
prospective EPIC study of deferasirox in 1744 patients with transfusion-dependent anemias. Haematologica,
95(4), 557-66.
58. Horby, P., Sudoyo, H., Viprakasit, V., Fox, A., Thai, P.Q., Yu, H., Davila, S., Hibberd, M., Dunstan, S.J.,
Monteerarat, Y., Farrar, J.J., Marzuki, S., Hien, N.T. 2010. What is the evidence of a role for host genetics
in susceptibility to influenza A/H5N1? Epidemiol Infect, 138(11), 1550-8.
59. Laosombat, V., Viprakasit, V., Dissaneevate, S., Leetanaporn, R., Chotsampancharoen, T., Wongchanchailert,
M., Kodchawan, S., Thongnoppakun, W., Duangchu, S. 2010. Natural history of Southeast Asian Ovalocytosis
during the first 3 years of life. Blood Cells Mol Dis, 45(1), 29-32.
60. Law, M.J., Lower, K.M., Voon, H.P., Hughes, J.R., Garrick, D., Viprakasit, V., Mitson, M., De Gobbi, M., Marra,
M., Morris, A., Abbott, A., Wilder, S.P., Taylor, S., Santos, G.M., Cross, J., Ayyub, H., Jones, S., Ragoussis, J.,
Rhodes, D., Dunham, I., Higgs, D.R., Gibbons, R.J. 2010. ATR-X syndrome protein targets tandem repeats
and influences allele-specific expression in a size-dependent manner. Cell, 143(3), 367-78.
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 27

61. Monteerarat, Y., Suptawiwat, O., Boonarkart, C., Uiprasertkul, M., Auewarakul, P., Viprakasit, V. 2010. Inhibition
of H5N1 highly pathogenic influenza virus by suppressing a specific sialyltransferase. Arch Virol, 155(6),
889-93.
62. Nuinoon, M., Makarasara, W., Mushiroda, T., Setianingsih, I., Wahidiyat, P.A., Sripichai, O., Kumasaka, N.,
Takahashi, A., Svasti, S., Munkongdee, T., Mahasirimongkol, S., Peerapittayamongkol, C., Viprakasit, V.,
Kamatani, N., Winichagoon, P., Kubo, M., Nakamura, Y., Fucharoen, S. 2010. A genome-wide association
identified the common genetic variants influence disease severity in beta0-thalassemia/hemoglobin E.
Hum Genet, 127(3), 303-14.
63. Pennell, D.J., Porter, J.B., Cappellini, M.D., El-Beshlawy, A., Chan, L.L., Aydinok, Y., Elalfy, M.S., Sutcharitchan,
P., Li, C.K., Ibrahim, H., Viprakasit, V., Kattamis, A., Smith, G., Habr, D., Domokos, G., Roubert, B., Taher, A.
2010. Efficacy of deferasirox in reducing and preventing cardiac iron overload in beta-thalassemia. Blood,
115(12), 2364-71.
64. Pennell, D.J., Porter, J.B., Cappellini, M.D., Chan, L.L., El-Beshlawy, A., Aydinok, Y., Ibrahim, H., Li, C.K.,
Viprakasit, V., Elalfy, M.S., Kattamis, A., Smith, G., Habr, D., Domokos, G., Roubert, B., Taher, A. 2011. Continued
improvement in myocardial T2* over two years of deferasirox therapy in beta-thalassemia major patients
with cardiac iron overload. Haematologica, 96(1), 48-54.
65. Porter, J.B., Lin, K.H., Beris, P., Forni, G.L., Taher, A., Habr, D., Domokos, G., Roubert, B., Thein, S.L., Epic Study
Investigators. 2011. Response of iron overload to deferasirox in rare transfusion-dependent anaemias:
equivalent effects on serum ferritin and labile plasma iron for haemolytic or production anaemias. Eur J
Haematol, 87(4), 338-48.
66. Rienhoff, H.Y., Jr., Viprakasit, V., Tay, L., Harmatz, P., Vichinsky, E., Chirnomas, D., Kwiatkowski, J.L., Tapper,
A., Kramer, W., Porter, J.B., Neufeld, E.J. 2011. A phase 1 dose-escalation study: safety, tolerability, and
pharmacokinetics of FBS0701, a novel oral iron chelator for the treatment of transfusional iron overload.
Haematologica, 96(4), 521-5.
67. Saiviroonporn, P., Viprakasit, V., Boonyasirinant, T., Khuhapinant, A., Wood, J.C., Krittayaphong, R. 2011.
Comparison of the region-based and pixel-wise methods for cardiac T2* analysis in 50 transfusion-
dependent Thai thalassemia patients. J Comput Assist Tomogr, 35(3), 375-81.
68. Viprakasit, V., Ibrahim, H., Ha, S.Y., Ho, P.J., Li, C.K., Chan, L.L., Chiu, C.F., Sutcharitchan, P., Habr, D., Domokos,
G., Roubert, B., Xue, H.L., Bowden, D.K., Lin, K.H. 2011. Clinical efficacy and safety evaluation of tailoring
iron chelation practice in thalassaemia patients from Asia-Pacific: a subanalysis of the EPIC study of
deferasirox. Int J Hematol, 93(3), 319-328.
69. Ekwattanakit, S., Monteerarat, Y., Riolueang, S., Tachavanich, K., Viprakasit, V. 2012. Association of xmn I
polymorphism and hemoglobin E haplotypes on postnatal gamma globin gene expression in homozygous
hemoglobin e. Adv Hematol, 2012 528075.
70. Neufeld, E.J., Galanello, R., Viprakasit, V., Aydinok, Y., Piga, A., Harmatz, P., Forni, G.L., Shah, F.T., Grace,
R.F., Porter, J.B., Wood, J.C., Peppe, J., Jones, A., Rienhoff, H.Y., Jr. 2012. A phase 2 study of the safety,
tolerability, and pharmacodynamics of FBS0701, a novel oral iron chelator, in transfusional iron overload.
Blood, 119(14), 3263-8.
71. Pennell, D.J., Porter, J.B., Cappellini, M.D., Chan, L.L., El-Beshlawy, A., Aydinok, Y., Ibrahim, H., Li, C.K., Viprakasit,
V., Elalfy, M.S., Kattamis, A., Smith, G., Habr, D., Domokos, G., Roubert, B., Taher, A. 2012. Deferasirox for
up to 3 years leads to continued improvement of myocardial T2* in patients with beta-thalassemia major.
Haematologica, 97(6), 842-8.
72. Phumeetham, S., Chat-Uthai, N., Manavathongchai, M., Viprakasit, V. 2012. Genetic association study of
tumor necrosis factor-alpha with sepsis and septic shock in Thai pediatric patients. J Pediatr (Rio J), 88(5),
417-22.
73. Saiviroonporn, P., Viprakasit, V., Maneesai, A., Siritanaratkul, N., Pongtanakul, B., Wood, J.C., Krittayaphong,
R. 2012. Inter-site validations of the Pixel-Wise method for cardiac T2* analysis in transfusion-dependent
Thai thalassemia patients. J Med Assoc Thai, 95 Suppl 2 S165-72.
74. Saiviroonporn, P., Viprakasit, V., Sanpakit, K., Wood, J.C., Krittayaphong, R. 2012. Intersite validations of the
pixel-wise method for liver R2* analysis in transfusion-dependent thalassemia patients: a more accessible
and affordable diagnostic technology. Hematol Oncol Stem Cell Ther, 5(2), 91-5.
75. Steensma, D.P., Viprakasit, V., Kyle, R.A., Shampo, M.A. 2012. Prince Wongsa Dhiraj Snid--Thai physician
and diplomat. Mayo Clin Proc, 87(11), e93.
76. Taher, A.T., Porter, J., Viprakasit, V., Kattamis, A., Chuncharunee, S., Sutcharitchan, P., Siritanaratkul, N.,
Galanello, R., Karakas, Z., Lawniczek, T., Ros, J., Zhang, Y., Habr, D., Cappellini, M.D. 2012. Deferasirox reduces
iron overload significantly in nontransfusion-dependent thalassemia: 1-year results from a prospective,
randomized, double-blind, placebo-controlled study. Blood, 120(5), 970-7.
77. Tritipsombut, J., Phylipsen, M., Viprakasit, V., Chalaow, N., Sanchaisuriya, K., Giordano, P.C., Fucharoen, S.,
Harteveld, C.L. 2012. A single-tube multiplex gap-polymerase chain reaction for the detection of eight
beta-globin gene cluster deletions common in Southeast Asia. Hemoglobin, 36(6), 571-80.
28 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

78. Chalaow, N., Thein, S.L., Viprakasit, V. 2013. The 12.6 kb-deletion in the beta-globin gene cluster is the
known Thai/Vietnamese (deltabeta)0-thalassemia commonly found in Southeast Asia. Haematologica,
98(9), e117-8.
79. Nakavachara, P., Viprakasit, V. 2013. Children with hemoglobin E/beta-thalassemia have a high risk of
being vitamin D deficient even if they get abundant sun exposure: a study from Thailand. Pediatr Blood
Cancer, 60(10), 1683-8.
80. Nakavachara, P., Viprakasit, V. 2013. Adrenal insufficiency is prevalent in HbE/beta-thalassaemia paediatric
patients irrespective of their clinical severity and transfusion requirement. Clin Endocrinol (Oxf), 79(6),
776-83.
81. Pongtanakul, B., Viprakasit, V. 2013. Twice daily deferasirox significantly improves clinical efficacy in
transfusion dependent thalassaemias who were inadequate responders to standard once daily dose.
Blood Cells Mol Dis, 51(2), 96-7.
82. Taher, A., Vichinsky, E., Musallam, K., Cappellini, M.D., Viprakasit, V., in: D. Weatherall (Ed.), Guidelines for
the Management of Non Transfusion Dependent Thalassaemia (NTDT), Nicosia (Cyprus), 2013.
83. Taher, A.T., Porter, J.B., Viprakasit, V., Kattamis, A., Chuncharunee, S., Sutcharitchan, P., Siritanaratkul,
N., Galanello, R., Karakas, Z., Lawniczek, T., Habr, D., Ros, J., Zhang, Y., Cappellini, M.D. 2013. Deferasirox
demonstrates a dose-dependent reduction in liver iron concentration and consistent efficacy across
subgroups of non-transfusion-dependent thalassemia patients. Am J Hematol, 88(6), 503-6.
84. Taher, A.T., Porter, J.B., Viprakasit, V., Kattamis, A., Chuncharunee, S., Sutcharitchan, P., Siritanaratkul,
N., Galanello, R., Karakas, Z., Lawniczek, T., Habr, D., Ros, J., Zhu, Z., Cappellini, M.D. 2013. Deferasirox
effectively reduces iron overload in non-transfusion-dependent thalassemia (NTDT) patients: 1-year
extension results from the THALASSA study. Ann Hematol, 92(11), 1485-93.
85. Taher, A.T., Viprakasit, V., Musallam, K.M., Cappellini, M.D. 2013. Treating iron overload in patients with
non-transfusion-dependent thalassemia. Am J Hematol, 88(5), 409-15.
86. Viprakasit, V. 2013. Alpha-thalassemia syndromes: from clinical and molecular diagnosis to bedside
management. Hematology Education: the education program for the annual congress of the European
Hematology Association, 7 329-338.
87. Viprakasit, V., Gattermann, N., Lee, J.W., Porter, J.B., Taher, A.T., Habr, D., Martin, N., Domokos, G., Cappellini,
M.D. 2013. Geographical variations in current clinical practice on transfusions and iron chelation therapy
across various transfusion-dependent anaemias. Blood Transfus, 11(1), 108-22.
88. Viprakasit, V., Limwongse, C., Sukpanichnant, S., Ruangvutilert, P., Kanjanakorn, C., Glomglao, W., Sirikong,
M., Utto, W., Tanphaichitr, V.S. 2013. Problems in determining thalassemia carrier status in a program for
prevention and control of severe thalassemia syndromes: a lesson from Thailand. Clin Chem Lab Med,
51(8), 1605-14.
89. Viprakasit, V., Nuchprayoon, I., Chuansumrit, A., Torcharus, K., Pongtanakul, B., Laothamatas, J., Srichairatanakool,
S., Pooliam, J., Supajitkasem, S., Suriyaphol, P., Tanphaichitr, V.S., Tuchinda, S. 2013. Deferiprone (GPO-L-
ONE((R)) ) monotherapy reduces iron overload in transfusion-dependent thalassemias: 1-year results from
a multicenter prospective, single arm, open label, dose escalating phase III pediatric study (GPO-L-ONE;
A001) from Thailand. Am J Hematol, 88(4), 251-60.
90. Cappellini, M.D., Cohen, A., Porter, J., Taher, A., Viprakasit, V. (Eds.) 2014. Guidelines for the Management
of Transfusion Dependent Thalassaemia (TDT), Nicosia (CY).
91. Aydinok, Y., Kattamis, A., Viprakasit, V. 2014. Current approach to iron chelation in children. Br J Haematol,
165(6), 745-55.
92. Cappellini, M.D., Viprakasit, V., Taher, A.T. 2014. An overview of current treatment strategies for β-thalassemia.
Expert Opinion on Orphan Drugs, 2(7), 665-679.
93. Jindatanmanusan, P., Riolueang, S., Glomglao, W., Sukontharangsri, Y., Chamnanvanakij, S., Torcharus, K.,
Viprakasit, V. 2014. Diagnostic applications of newborn screening for alpha-thalassaemias, haemoglobins
E and H disorders using isoelectric focusing on dry blood spots. Ann Clin Biochem, 51(Pt 2), 237-47.
94. Nakavachara, P., Pooliam, J., Weerakulwattana, L., Kiattisakthavee, P., Chaichanwattanakul, K., Manorompatarasarn,
R., Chokephaibulkit, K., Viprakasit, V. 2014. A normal reference of bone mineral density (BMD) measured
by dual energy X-ray absorptiometry in healthy thai children and adolescents aged 5-18 years: a new
reference for Southeast Asian Populations. PLoS One, 9(5), e97218.
95. Pennell, D.J., Porter, J.B., Piga, A., Lai, Y., El-Beshlawy, A., Belhoul, K.M., Elalfy, M., Yesilipek, A., Kilinc, Y.,
Lawniczek, T., Habr, D., Weisskopf, M., Zhang, Y., Aydinok, Y., Cordelia Study Investigators. 2014. A 1-year
randomized controlled trial of deferasirox vs deferoxamine for myocardial iron removal in beta-thalassemia
major (CORDELIA). Blood, 123(10), 1447-54.
96. Pongtanakul, B., Sanpakit, K., Chongkolwatana, V., Viprakasit, V. 2014. Normal cognitive functioning in a
patient with Hb Bart’s hydrops successfully cured by hematopoietic SCT. Bone Marrow Transplant, 49(1),
155-6.
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 29

97. Sanpakit, K., Viprakasit, V. 2014. Variable genotype-phenotype correlations in patients with a rare
nondeletional alpha-thalassemia; Hb Pak Num Po (HBA1: c.396_397insT). J Pediatr Hematol Oncol, 36(3),
e185-9.
98. Taher, A.T., Musallam, K.M., Viprakasit, V., Porter, J.B., Cappellini, M.D. 2014. Iron chelation therapy for non-
transfusion-dependent thalassemia (NTDT): a status quo. Blood Cells Mol Dis, 52(2-3), 88-90.
99. Taher, A.T., Porter, J.B., Viprakasit, V., Kattamis, A., Chuncharunee, S., Sutcharitchan, P., Siritanaratkul, N.,
Origa, R., Karakas, Z., Habr, D., Zhu, Z., Cappellini, M.D. 2014. Approaching low liver iron burden in chelated
patients with non-transfusion-dependent thalassemia: the safety profile of deferasirox. Eur J Haematol,
92(6), 521-6.
100. Tanphaichitr, A., Kusuwan, T., Limviriyakul, S., Atipas, S., Pooliam, J., Sangpraypan, T., Tanphaichitr, V.S.,
Viprakasit, V. 2014. Incidence of ototoxicity in pediatric patients with transfusion-dependent thalassemia
who are less well-chelated by mono- and combined therapy of iron chelating agents. Hemoglobin, 38(5),
345-50.
101. Viprakasit, V., Ekwattanakit, S., Chalaow, N., Riolueang, S., Wijit, S., Tanyut, P., Chat-Uthai, N., Tachavanich,
K. 2014. Clinical presentation and molecular identification of four uncommon alpha globin variants in
Thailand. Initiation codon mutation of alpha2-globin Gene (HBA2:c.1delA), donor splice site mutation of
alpha1-globin gene (IVSI-1, HBA1:c.95 + 1G>A), hemoglobin Queens Park/Chao Pra Ya (HBA1:c.98T>A) and
hemoglobin Westmead (HBA2:c.369C>G). Acta Haematol, 131(2), 88-94.
102. Viprakasit, V., Ekwattanakit, S., Riolueang, S., Chalaow, N., Fisher, C., Lower, K., Kanno, H., Tachavanich,
K., Bejrachandra, S., Saipin, J., Juntharaniyom, M., Sanpakit, K., Tanphaichitr, V.S., Songdej, D., Babbs, C.,
Gibbons, R.J., Philipsen, S., Higgs, D.R. 2014. Mutations in Kruppel-like factor 1 cause transfusion-dependent
hemolytic anemia and persistence of embryonic globin gene expression. Blood, 123(10), 1586-95.
103. Viprakasit, V., Rodmai, S., Srichairatanakool, S. 2014. Deferiprone for transfusional iron overload and its
roles in developing countries. Expert Opinion on Orphan Drugs, 2(2), 189-200.
104. Viprakasit, V., Tyan, P., Rodmai, S., Taher, A.T. 2014. Identification and key management of non-transfusion-
dependent thalassaemia patients: not a rare but potentially under-recognised condition. Orphanet J Rare
Dis, 9 131.
105. Aydinok, Y., Kattamis, A., Cappellini, M.D., El-Beshlawy, A., Origa, R., Elalfy, M., Kilinc, Y., Perrotta, S.,
Karakas, Z., Viprakasit, V., Habr, D., Constantinovici, N., Shen, J., Porter, J.B., Investigators, H. 2015. Effects
of deferasirox-deferoxamine on myocardial and liver iron in patients with severe transfusional iron overload.
Blood, 125(25), 3868-77.
106. Aydinok, Y., Porter, J.B., Piga, A., Elalfy, M., El-Beshlawy, A., Kilinc, Y., Viprakasit, V., Yesilipek, A., Habr,
D., Quebe-Fehling, E., Pennell, D.J. 2015. Prevalence and distribution of iron overload in patients with
transfusion-dependent anemias differs across geographic regions: results from the CORDELIA study. Eur
J Haematol, 95(3), 244-53.
107. Phuakpet, K., Sanpakit, K., Vathana, N., Takpradit, C., Chokephaibulkit, K., Viprakasit, V. 2015. Hemophagocytic
lymphohistiocytosis following dengue hemorrhagic fever in Hb H/Hb Constant Spring patient. Pediatr Int,
57(4), 763-5.
108. Rujanapun, N., Aueviriyavit, S., Boonrungsiman, S., Rosena, A., Phummiratch, D., Riolueang, S., Chalaow, N.,
Viprakasit, V., Maniratanachote, R. 2015. Human primary erythroid cells as a more sensitive alternative in
vitro hematological model for nanotoxicity studies: Toxicological effects of silver nanoparticles. Toxicol
In Vitro, 29(8), 1982-92.
109. Saiviroonporn, P., Viprakasit, V., Krittayaphong, R. 2015. Improved R2* liver iron concentration assessment
using a novel fuzzy c-mean clustering scheme. BMC Med Imaging, 15 52.
110. Taher, A.T., Porter, J.B., Viprakasit, V., Kattamis, A., Chuncharunee, S., Sutcharitchan, P., Siritanaratkul, N.,
Origa, R., Karakas, Z., Habr, D., Zhu, Z., Cappellini, M.D. 2015. Defining serum ferritin thresholds to predict
clinically relevant liver iron concentrations for guiding deferasirox therapy when MRI is unavailable in
patients with non-transfusion-dependent thalassaemia. Br J Haematol, 168(2), 284-90.
111. Taher, A.T., Radwan, A., Viprakasit, V. 2015. When to consider transfusion therapy for patients with non-
transfusion-dependent thalassaemia. Vox Sang, 108(1), 1-10.
112. Viprakasit, V. 2015. α−thalassaemia: a genotype–phenotype correlation and management. ISBT Science
Series, 10(S1), 295-304.
113. Cappellini, M.D., Porter, J.B., Musallam, K.M., Kattamis, A., Viprakasit, V., Galanello, R., Taher, A.T. 2016.
Development of a new disease severity scoring system for patients with non-transfusion-dependent
thalassemia. Eur J Intern Med, 28 91-6.
114. Engert, A., Balduini, C., Brand, A., Coiffier, B., Cordonnier, C., Dohner, H., de Wit, T.D., Eichinger, S., Fibbe, W.,
Green, T., de Haas, F., Iolascon, A., Jaffredo, T., Rodeghiero, F., Salles, G., Schuringa, J.J., E.H.A. Roadmap
for European Hematology Research. 2016. The European Hematology Association Roadmap for European
Hematology Research: a consensus document. Haematologica, 101(2), 115-208.
115. Foong, W.C., Ho, J.J., Loh, C.K., Viprakasit, V. 2016. Hydroxyurea for reducing blood transfusion in non-
transfusion dependent beta thalassaemias. Cochrane Database Syst Rev, 10 CD011579.
30 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

116. Jiang, Z., Luo, H.Y., Huang, S., Farrell, J.J., Davis, L., Theberge, R., Benson, K.A., Riolueang, S., Viprakasit, V.,
Al-Allawi, N.A., Unal, S., Gumruk, F., Akar, N., Basak, A.N., Osorio, L., Badens, C., Pissard, S., Joly, P., Campbell,
A.D., Gallagher, P.G., Steinberg, M.H., Forget, B.G., Chui, D.H. 2016. The genetic basis of asymptomatic
codon 8 frame-shift (HBB:c25_26delAA) beta(0) -thalassaemia homozygotes. Br J Haematol, 172(6), 958-
65.
117. Porter, J.B., El-Alfy, M., Viprakasit, V., Giraudier, S., Chan, L.L., Lai, Y., El-Ali, A., Han, J., Cappellini, M.D. 2016.
Utility of labile plasma iron and transferrin saturation in addition to serum ferritin as iron overload markers
in different underlying anemias before and after deferasirox treatment. Eur J Haematol, 96(1), 19-26.
118. Taher, A.T., Cappellini, M.D., Aydinok, Y., Porter, J.B., Karakas, Z., Viprakasit, V., Siritanaratkul, N., Kattamis,
A., Wang, C., Zhu, Z., Joaquin, V., Uwamahoro, M.J., Lai, Y.R. 2016. Optimising iron chelation therapy with
deferasirox for non-transfusion-dependent thalassaemia patients: 1-year results from the THETIS study.
Blood Cells Mol Dis, 57 23-9.
119. Taher, A.T., Porter, J.B., Kattamis, A., Viprakasit, V., Cappellini, M.D. 2016. Efficacy and safety of iron-chelation
therapy with deferoxamine, deferiprone, and deferasirox for the treatment of iron-loaded patients with
nontransfusion-dependent thalassemia syndromes. Drug Des Devel Ther, 10 4073-4078.
120. Sanpakit, K., Pongtanakul, B., Narkbunnam, N., Viprakasit, V., Veerakul, G., Stanphaichitr, V., Issaragrisil, S.,
Suvatte, V. 2017. How can we get the best outcomes from cord blood stem cell transplantation in severe
thalassemic patients: When does the cell number really matter? Southeast Asian J Trop Med Public Health,
48 274-283.
121. Krittayaphong, R., Viprakasit, V., Saiviroonporn, P., Siritanaratkul, N., Siripornpitak, S., Meekaewkunchorn, A.,
Kirawittaya, T., Sripornsawan, P., Jetsrisuparb, A., Srinakarin, J., Wong, P., Phalakornkul, N., Sinlapamongkolkul,
P., Wood, J. 2017. Prevalence and predictors of cardiac and liver iron overload in patients with thalassemia:
A multicenter study based on real-world data. Blood Cells Mol Dis, 66 24-30.
122. Krittayaphong, R., Zhang, S., Saiviroonporn, P., Viprakasit, V., Tanapibunpon, P., Komoltri, C., Wangworatrakul,
W. 2017. Detection of cardiac iron overload with native magnetic resonance T1 and T2 mapping in patients
with thalassemia. Int J Cardiol, 248 421-426.
123. Porter, J.B., Cappellini, M.D., Kattamis, A., Viprakasit, V., Musallam, K.M., Zhu, Z., Taher, A.T. 2017. Iron overload
across the spectrum of non-transfusion-dependent thalassaemias: role of erythropoiesis, splenectomy
and transfusions. Br J Haematol, 176(2), 288-299.
124. Ekwatthanakit, S., Nakavachara, P., Viprakasit, V. 2017. Microsoft® Office Excel-based worksheet program
for rapid calculation of weight-for-age (WA) and height-for-age (HA) Z-scores in Thai pediatric population
(THAI-Z) Southeast Asian J Trop Med Public Health, 48 265-273.
125. Saliba, A.N., Musallam, K.M., Cappellini, M.D., Graziadei, G., Daar, S., Viprakasit, V., Taher, A.T. 2017. Serum
ferritin values between 300 and 800 ng/mL in nontransfusion-dependent thalassemia: A probability curve
to guide clinical decision making when MRI is unavailable. Am J Hematol, 92(3), E35-E37.
126. Songdej, D., Babbs, C., Higgs, D.R., Bhfs International Consortium. 2017. An international registry of survivors
with Hb Bart’s hydrops fetalis syndrome. Blood, 129(10), 1251-1259.
127. Taher, A.T., Saliba, A.N., Kuo, K.H., Giardina, P.J., Cohen, A.R., Neufeld, E.J., Aydinok, Y., Kwiatkowski, J.L.,
Jeglinski, B.I., Pietropaolo, K., Berk, G., Viprakasit, V. 2017. Safety and pharmacokinetics of the oral iron
chelator SP-420 in beta-thalassemia. Am J Hematol, 92(12), 1356-1361.
128. Cappellini, M.D., Porter, J.B., Viprakasit, V., Taher, A.T. 2018. A paradigm shift on beta-thalassaemia
treatment: How will we manage this old disease with new therapies? Blood Rev, 32(4), 300-311.
129. Ekwattanakit, S., Riolueang, S., Viprakasit, V. 2018. Interaction between Hb E and Hb Yala (HBB:c.129delT);
a novel frameshift beta globin gene mutation, resulting in Hemoglobin E/beta(0) thalassemia. Hematology,
23(2), 117-121.
130. Ekwattanakit, S., Siritanaratkul, N., Viprakasit, V. 2018. A prospective analysis for prevalence of complications
in Thai nontransfusion-dependent Hb E/beta-thalassemia and alpha-thalassemia (Hb H disease). Am J
Hematol, 93(5), 623-629.
131. Krittayaphong, R., Viprakasit, V., Saiviroonporn, P., Wangworatrakul, W., Wood, J.C. 2018. Serum ferritin in
the diagnosis of cardiac and liver iron overload in thalassaemia patients real-world practice: a multicentre
study. Br J Haematol, 182(2), 301-305.
132. Nakavachara, P., Petchkul, J., Jeerawongpanich, K., Kiattisakthavee, P., Manpayak, T., Netsakulnee, P.,
Chaichanwattanakul, K., Pooliam, J., Srichairatanakool, S., Viprakasit, V. 2018. Prevalence of low bone mass
among adolescents with nontransfusion-dependent hemoglobin E/beta-thalassemia and its relationship
with anemia severity. Pediatr Blood Cancer, 65(1).
133. Saiviroonporn, P., Korpraphong, P., Viprakasit, V., Krittayaphong, R. 2018. An Automated Segmentation of
R2* Iron-Overloaded Liver Images Using a Fuzzy C-Mean Clustering Scheme. J Comput Assist Tomogr,
42(3), 387-398.
134. Viprakasit, V., Ajlan, A., Aydinok, Y., Al Ebadi, B.A.A., Dewedar, H., Ibrahim, A.S., Ragab, L., Trad, O., Wataify,
A.S., Wong, L.L.L., Taher, A.T. 2018. MRI for the diagnosis of cardiac and liver iron overload in patients with
transfusion-dependent thalassemia: An algorithm to guide clinical use when availability is limited. Am J
Hematol, 93(6), E135-E137.
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 31

135. Viprakasit, V., Ekwattanakit, S. 2018. Clinical Classification, Screening and Diagnosis for Thalassemia.
Hematol Oncol Clin North Am, 32(2), 193-211.
136. Cappellini, M.D., Kattamis, A., Viprakasit, V., Sutcharitchan, P., Pariseau, J., Laadem, A., Jessent-Ciaravino,
V., Taher, A. 2019. Quality of life in patients with beta-thalassemia: A prospective study of transfusion-
dependent and non-transfusion-dependent patients in Greece, Italy, Lebanon, and Thailand. Am J Hematol,
94(10), E261-E264.
137. Chinprateep, B., Ratanasit, N., Kaolawanich, Y., Karaketklang, K., Saiviroonporn, P., Viprakasit, V., Krittayaphong,
R. 2019. Prevalence of left ventricular diastolic dysfunction by cardiac magnetic resonance imaging in
thalassemia major patients with normal left ventricular systolic function. BMC Cardiovasc Disord, 19(1),
245.
138. Hockham, C., Ekwattanakit, S., Bhatt, S., Penman, B.S., Gupta, S., Viprakasit, V., Piel, F.B. 2019. Estimating
the burden of alpha-thalassaemia in Thailand using a comprehensive prevalence database for Southeast
Asia. Elife, 8.
139. Krittayaphong, R., Zhang, S., Saiviroonporn, P., Viprakasit, V., Tanapibunpon, P., Rerkudom, B., Yindeengam,
A., Wood, J.C. 2019. Assessment of Cardiac Iron Overload in Thalassemia With MRI on 3.0-T: High-Field
T1, T2, and T2* Quantitative Parametric Mapping in Comparison to T2* on 1.5-T. JACC Cardiovasc Imaging,
12(4), 752-754.
140. Potirat, P., Wattanapanitch, M., Viprakasit, V., Kheolamai, P., Issaragrisil, S. 2019. An integration-free iPSC
line (MUSIi008-A) derived from a patient with severe hemolytic anemia carrying compound heterozygote
mutations in KLF1 gene for disease modeling. Stem Cell Res, 34 101344.
141. Prayongratana, K., Viprakasit, V. 2019. Co-inheritance of Southeast Asian Ovalocytosis (SAO) and G6PD
deficiency associated with acute hemolysis in a Thai patient. Blood Cells Mol Dis, 79 102347.
142. Taher, A., Cappellini, M.D., Viprakasit, V., Sutcharitchan, P., Mahmoud, D., Laadem, A., Khan, A., Gwaltney,
C., Harding, G., Attie, K., Zhang, X., Zou, J., Pariseau, J., Henry Hu, X., Kattamis, A. 2019. Validation of a
patient-reported outcomes symptom measure for patients with nontransfusion-dependent thalassemia
(NTDT-PRO((c)) ). Am J Hematol, 94(2), 177-183.
143. Taher, A., Viprakasit, V., Cappellini, M.D., Sutcharitchan, P., Ward, R., Mahmoud, D., Laadem, A., Khan, A.,
Gwaltney, C., Harding, G., Attie, K., Zhang, X., Zou, J., Pariseau, J., Hu, X.H., Kattamis, A. 2019. Development
of a patient-reported outcomes symptom measure for patients with nontransfusion-dependent thalassemia
(NTDT-PRO((c)) ). Am J Hematol, 94(2), 171-176.
144. Xu, J.Z., Riolueang, S., Glomglao, W., Tachavanich, K., Suksangpleng, T., Ekwattanakit, S., Viprakasit, V.
2019. The origin of sickle cell disease in Thailand. Int J Lab Hematol, 41(1), e13-e16.
145. Cappellini, M.D., Viprakasit, V., Taher, A.T., Georgiev, P., Kuo, K.H.M., Coates, T., Voskaridou, E., Liew, H.K.,
Pazgal-Kobrowski, I., Forni, G.L., Perrotta, S., Khelif, A., Lal, A., Kattamis, A., Vlachaki, E., Origa, R., Aydinok,
Y., Bejaoui, M., Ho, P.J., Chew, L.P., Bee, P.C., Lim, S.M., Lu, M.Y., Tantiworawit, A., Ganeva, P., Gercheva, L.,
Shah, F., Neufeld, E.J., Thompson, A., Laadem, A., Shetty, J.K., Zou, J., Zhang, J., Miteva, D., Zinger, T., Linde,
P.G., Sherman, M.L., Hermine, O., Porter, J., Piga, A., Investigators, B. 2020. A Phase 3 Trial of Luspatercept
in Patients with Transfusion-Dependent beta-Thalassemia. N Engl J Med, 382(13), 1219-1231.
146. Hasan, M.N., Fraiwan, A., An, R., Alapan, Y., Ung, R., Akkus, A., Xu, J.Z., Rezac, A.J., Kocmich, N.J., Creary, M.S.,
Oginni, T., Olanipekun, G.M., Hassan-Hanga, F., Jibir, B.W., Gambo, S., Verma, A.K., Bharti, P.K., Riolueang,
S., Ngimhung, T., Suksangpleng, T., Thota, P., Werner, G., Shanmugam, R., Das, A., Viprakasit, V., Piccone,
C.M., Little, J.A., Obaro, S.K., Gurkan, U.A. 2020. Paper-based microchip electrophoresis for point-of-care
hemoglobin testing. Analyst, 145(7), 2525-2542.
147. Kattamis, A., Forni, G.L., Aydinok, Y., Viprakasit, V. 2020. Changing patterns in the epidemiology of beta-
thalassemia. Eur J Haematol, 105(6), 692-703.
148. Nakavachara, P., Kajchamaporn, W., Pooliam, J., Viprakasit, V. 2020. Early development of decreased
beta-cell insulin secretion in children and adolescents with hemoglobin H disease and its relationship
with levels of anemia. Pediatr Blood Cancer, 67(4), e28109.
149. Sanpakit, K., Narkbunnam, N., Buaboonnam, J., Takpradit, C., Viprakasit, V., Pongtanakul, B. 2020. Impact of
splenectomy on outcomes of hematopoietic stem cell transplantation in pediatric patients with transfusion-
dependent thalassemia. Pediatr Blood Cancer, 67(9), e28483.
150. Buaboonnam, J., Takpradit, C., Viprakasit, V., Narkbunnam, N., Vathana, N., Phuakpet, K., Sanpakit, K.,
Pongtanakul, B. 2021. Long-Term Effectiveness, Safety, and Tolerability of Twice-Daily Dosing with
Deferasirox in Children with Transfusion-Dependent Thalassemias Unresponsive to Standard Once-Daily
Dosing. Mediterr J Hematol Infect Dis, 13(1), e2021065.
151. Ekwattanakit, S., Hantaweepant, C., Khuhapinant, A., Siritanaratkul, N., Viprakasit, V. 2021. An urgent need
for improving thalassemia care due to the wide gap in current real-life practice and clinical practice
guidelines. Sci Rep, 11(1), 13283.
152. Mungomklang, A., Trichaisri, N., Jirachewee, J., Sukprasert, J., Tulalamba, W., Viprakasit, V. 2021. Limited
Sensitivity of a Rapid SARS-CoV-2 Antigen Detection Assay for Surveillance of Asymptomatic Individuals
in Thailand. Am J Trop Med Hyg, 105(6), 1505-1509.
32 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

153. Musallam, K.M., Cappellini, M.D., Viprakasit, V., Kattamis, A., Rivella, S., Taher, A.T. 2021. Revisiting the
non-transfusion-dependent (NTDT) vs. transfusion-dependent (TDT) thalassemia classification 10 years
later. Am J Hematol, 96(2), E54-E56.
154. Porter, J., Taher, A., Viprakasit, V., Kattamis, A., Coates, T.D., Garbowski, M., Durrenberger, F., Manolova,
V., Richard, F., Cappellini, M.D. 2021. Oral ferroportin inhibitor vamifeport for improving iron homeostasis
and erythropoiesis in beta-thalassemia: current evidence and future clinical development. Expert Rev
Hematol, 14(7), 633-644.
155. Taher, A.T., Bou-Fakhredin, R., Kattamis, A., Viprakasit, V., Cappellini, M.D. 2021. Improving outcomes and
quality of life for patients with transfusion-dependent beta-thalassemia: recommendations for best clinical
practice and the use of novel treatment strategies. Expert Rev Hematol, 14(10), 897-909.
156. Taher, A.T., Viprakasit, V., Cappellini, M.D., Kraus, D., Cech, P., Volz, D., Winter, E., Nave, S., Dukart, J.,
Khwaja, O., Koerner, A., Hermosilla, R., Brugnara, C. 2021. Haematological effects of oral administration of
bitopertin, a glycine transport inhibitor, in patients with non-transfusion-dependent beta-thalassaemia.
Br J Haematol, 194(2), 474-477.
157. Takpradit, C., Viprakasit, V., Narkbunnam, N., Vathana, N., Phuakpet, K., Pongtanakul, B., Sanpakit, K.,
Buaboonnam, J. 2021. Using of deferasirox and deferoxamine in refractory iron overload thalassemia.
Pediatr Int, 63(4), 404-409.
158. Tangsricharoen, T., Natesirinilkul, R., Phusua, A., Fanhchaksai, K., Ittiwut, C., Chetruengchai, W., Juntharaniyom,
M., Charoenkwan, P., Viprakasit, V., Phokaew, C., Shotelersuk, V. 2021. Severe neonatal haemolytic anaemia
caused by compound heterozygous KLF1 mutations: report of four families and literature review. Br J
Haematol, 194(3), 626-634.
159. Tulalamba, W., Assawamakin, A., Thayananuphat, A., Viprakasit, V. 2021. Evaluation of potassium
peroxymonosulfate (MPS) efficacy against SARS-CoV-2 virus using RT-qPCR-based method. Int J Infect
Dis, 110 162-164.
160. Wantanajittikul, K., Saiviroonporn, P., Saekho, S., Krittayaphong, R., Viprakasit, V. 2021. An automated liver
segmentation in liver iron concentration map using fuzzy c-means clustering combined with anatomical
landmark data. BMC Med Imaging, 21(1), 138.
161. Xu, J.Z., Foe, M., Tanongsaksakul, W., Suksangpleng, T., Ekwattanakit, S., Riolueang, S., Telen, M.J., Kaiser,
B.N., Viprakasit, V. 2021. Identification of optimal thalassemia screening strategies for migrant populations
in Thailand using a qualitative approach. BMC Public Health, 21(1), 1796.
162. Xu, J.Z., Tanongsaksakul, W., Suksangpleng, T., Ekwattanakit, S., Riolueang, S., Telen, M.J., Viprakasit, V.
2021. Feasibility of and barriers to thalassemia screening in migrant populations: a cross-sectional study
of Myanmar and Cambodian migrants in Thailand. BMC Public Health, 21(1), 1177.
163. Al-Samkari, H., Galacteros, F., Glenthoj, A., Rothman, J.A., Andres, O., Grace, R.F., Morado-Arias, M., Layton,
D.M., Onodera, K., Verhovsek, M., Barcellini, W., Chonat, S., Judge, M.P., Zagadailov, E., Xu, R., Hawkins,
P., Beynon, V., Gheuens, S., van Beers, E.J., Activate Investigators. 2022. Mitapivat versus Placebo for
Pyruvate Kinase Deficiency. N Engl J Med, 386(15), 1432-1442.
164. Halim-Fikri, B.H., Lederer, C.W., Baig, A.A., Mat-Ghani, S.N.A., Syed-Hassan, S.R., Yusof, W., Abdul Rashid,
D., Azman, N.F., Fucharoen, S., Panigoro, R., Silao, C.L.T., Viprakasit, V., Jalil, N., Mohd Yasin, N., Bahar, R.,
Selvaratnam, V., Mohamad, N., Nik Hassan, N.N., Esa, E., Krause, A., Robinson, H., Hasler, J., Stephanou,
C., Raja-Sabudin, R.Z., Elion, J., El-Kamah, G., Coviello, D., Yusoff, N., Abdul Latiff, Z., Arnold, C., Burn, J.,
Kountouris, P., Kleanthous, M., Ramesar, R., Zilfalil, B.A., On Behalf Of The Global Globin Network, G. 2022.
Global Globin Network Consensus Paper: Classification and Stratified Roadmaps for Improved Thalassaemia
Care and Prevention in 32 Countries. J Pers Med, 12(4).
165. Lai, Y.R., Cappellini, M.D., Aydinok, Y., Porter, J., Karakas, Z., Viprakasit, V., Siritanaratkul, N., Kattamis,
A., Liu, R., Izquierdo, M., Lasher, J., Govindaraju, S., Taher, A. 2022. An open-label, multicenter, efficacy,
and safety study of deferasirox in iron-overloaded patients with non-transfusion-dependent thalassemia
(THETIS): 5-year results. Am J Hematol, 97(8), E281-E284.
166. Nakavachara, P., Weerakulwattana, P., Pooliam, J., Viprakasit, V. 2022. Bone mineral density in primarily
preadolescent children with hemoglobin E/beta-thalassemia with different severities and transfusion
requirements. Pediatr Blood Cancer, 69(9), e29789.
167. Wali, Y., Hassan, T., Charoenkwan, P., Trompeter, S., Tartaglione, I., Origa, R., Gamberini, M.R., Viprakasit, V.,
Izquierdo, M., Opio, S., Roy, T., Taher, A. 2022. Crushed deferasirox film-coated tablets in pediatric patients
with transfusional hemosiderosis: Results from a single-arm, interventional phase 4 study (MIMAS). Am J
Hematol, 97(8), E292-E295.

ORIGINAL RESEARCH ARTICLES (NATIONAL)


1. Viprakasit, V., Sanguansermsri, T. 1997. Prevention and control of severe thalassemia syndrome: Chiang
Mai Strategy. Chiang Mai University, Faculty of Medicine Bulletin, 36 Suppl.
2. Viprakasit, V., Gulapong, P. 1997. Reactive haemophagocytic syndrome in children. Chiang Mai University,
Faculty of Medicine Bulletin, 36 Suppl.
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 33

3. Viprakasit, V., Tanphaichitr, V. S. 1999. Molecular basis of alpha thalassemia. Thai Journal of Hematology
and Transfusion Medicine, 9, 219-230.
4. Kankirawatana, S., Suwattee, V., Mahasanthana, C., Tanphaichitr, V. S., Veerakul, G., Viprakasit, V. 1999.
Management for pediatric patients with severe aplastic anemia. Siriraj Hospital Gazzette, 51(3), 180-191.
5. Sanpakit, K. S., Tanphaichitr, V. S., Veerakul, G., Pongtanakul, B., Viprakasit, V., Pung-Amritt, P. 2004.
Hereditary methemoglobinemia due to cytochrome b5 reductase deficiency. Thai Journal of Hematology
and Transfusion Medicine, 14, 281-287.
6. Viprakasit, V. 2005. Hemoglobin Pak Num Po (Hb PNP), a novel unorthodox α hemoglobin variant causing
severe form of α thalassemia. Siriraj Medical Journal, 57, 477-478.
7. Glomglao, W., Utto, W., Chansing, W., Pung-Amritt, P., Chinchang, W., Viprakasit, V. 2006. Application of
the Multiplex GAP Polymerase Chain Reaction (PCR) Analysis for 7 Common Deletional α-Thalassemias
Detection in Routine Laboratory Service. Journal of Medical Technology and Physical Therapy, 18, 43-50.
8. Manavathongchai, M., Boonyarittipong, P., Sanguanwongthong, A., Booranavanich, K., Karnjanabad, S.,
Viprakasit, V. 2007. Incidence and risk factors of post-phototherapy neonatal bilirubin rebound. Vajira
Medical Journal, 51(1), 25-31.
9. Sanpraypan, T., Sripiboonkit, N., Tachavanich, K., Suwantol, L., Viprakasit, V. 2009. Patients’ satisfaction on
services provided at pediatric regular transfusion clinic, Siriraj hospital. Institute of Chest Medical Journal.
10. Kusuwan, T., Pangnukroh, L., Leekamnerdthai, W., Sangpraypan, T., Viprakasit, V. 2008. Analysis of treatment
complicance and related health and social determining factors in Thai thalassemia patients under long-
term deferrioxamine administration. Siriraj Nursing Journal, 2(1), 1-14.
11. Ekwattanakit, S., Viprakasit, V. 2021. Potential hazard from using mesenchymal stem cells: What hematologists
should beware of. Journal of Hematology and Transfusion Medicine, 31(4), 355-362.

BOOKS AND BOOK CHAPTER


1. Taher, A., Vinchinsky, E., Musallam, K., Cappellini, M.D., Viprakasit, V. 2013. Guidelines for the Management
of Non Transfusion Dependent Thalassaemia (NTDT). Thalassaemia International Federation (TIF), Nicosia,
Cyprus. ISBN 978-9963-717-11-8
2. Cappellini, M.D., Cohen, A., Porter, J., Taher, A., Viprakasit, V., 2014. Guidelines for the Management of
Transfusion Dependent Thalassaemia (TDT). Thalassaemia International Federation (TIF), Nicosia, Cyprus.
3. Viprakasit, V., Kriengsoontornkit, W. 2014. Metal Antagonists (Iron Chelator). In: Aronson, J. (Ed). Side Effects
of Drugs, Annual 35, Chapter 23. Amsterdam: Elsevier, p 419-433.

BOOK CHAPTERS (IN THAI)


1. Viprakasit, V. 2006. Thalassemia diagnosis. In: Prayoonwiat V. (Ed). Common Pitfalls in Hematology. Bangkok
(Thailand): Thailand Society of Hematology, p 88-104.
2. Viprakasit, V. 2006. Acute anemia. In: Soogsawang J., Auengpreang P., Wisuthseriwong W., Srisuparo P.,
Limprayoon G. (Ed). The Essentials in Pediatric Emergency. Bangkok (Thailand): The How Can Do., p 185-
195.
3. Viprakasit, V. 2007. Update on molecular genetics of thalassemia in Thailand. In: Sanansilpa, W., et al.
(Ed). Excellent Medical Practice with Sufficiency Economy. Bangkok (Thailand): The P.A. Living, p 275-286.
4. Viprakasit, V. 2008. Inherited Bone Marrow Failure Syndrome: An Update. In: Soogsawang, J., Limprayoon,
G., Nguengchum, S., Sanpakit, K., T. (Ed). New Frontier in Pediatrics. Bangkok (Thailand): The How Can Do,
p 229-241.
5. Viprakasit, V. 2008. Molecular Basis of Neonatal Hyperbilirubinemia. In: Soogsawang, J., Limprayoon, G.,
Nguengchum, S., Sanpakit, K., T. (Ed). New Frontier in Pediatrics. Bangkok (Thailand): The How Can Do, p 20-32.

BOOKLETS
1. Viprakasit, V. 2006. An update on iron chelation therapy. Bangkok (Thailand): Media-Mate Publ., p 1-12.
2. Viprakasit, V. 2007. How to maximize efficacy of desferioxamine therapy. Bangkok (Thailand): Media-Mate
Publ., p 1-12.
3. Viprakasit, V. 2007. What is Thalassemia Carrier. Bangkok (Thailand): Media-Mate Publ., p 1-12.
4. Viprakasit, V. 2007. 10 Steps for oral chelation therapy-A focus on deferasirox. Bangkok (Thailand): Media-
Mate Publ., p 1-24.
5. Viprakasit, V. 2008. IPD vaccine for thalassemia patient. Bangkok (Thailand): Media-Mate Publ., p 1-12.
6. Viprakasit, V., Kusuwan, T. 2009. Handbook for Blood Transfusion in Thalassemia. Bangkok (Thailand):
Media-Mate Publ., p 1-45.
7. Viprakasit, V. 2009. Clinical Practice Guideline for Deferiprone in Patients with Iron Overload. Bangkok
(Thailand): Government Pharmaceutical Organization (GPO), p 1-34.
34 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

THE
ACHIEVEMENTS OF
PROFESSOR DR. VIP VIPRAKASIT
RESEARCH IN HEMATOLOGY:
FROM BASIC MEDICAL SCIENCES
TO INNOVATIVE DIAGNOSTICS
AND TREATMENTS
Professor Vip Viprakasit has initiated his research team and networks
that crossed disciplinary, institution barriers, both domestically and
internationally for 20 years since he returned to work in Thailand after
studying in the UK. He has continuously worked extensively with the
applications of basic medical science technology such as the medical
genomics, medical engineering, physics, pharmacology, and health
economics to develop of new knowledge and create modified technology
to suit the context of Thailand. He created several prototype innovations
to tackle the problems and challenges of the country in particularly
health issues. The main objective is to improve the quality of patient
care and increase the quality of life of the Thai population in terms of
health and public health under the sufficient economy mindset.
As an applied scientist, Professor Vip’s various kinds of work can be
summarized as follows:
1. Research related to the discovery of the new hematological
disease in Thai population
Professor Vip Viprakasit, as a pediatric hematologist, has an
opportunity to take care of many patients with anemia. Initially,
he discovered eight Thai families with hemolytic anemia having
symptoms that are like patients with classical thalassemia and
those with hemolytic enzyme deficiency, especially pyruvate
kinase deficiency. Both thalassemia and pyruvate kinase
deficiency are common causes of hemolytic anemia in man and
have been well established in the literatures and textbooks.
However, when Professor Vip analyzed their families, he found
no mutations in the α- and β-globin genes and the pyruvate
kinase genes. He then furthered analyze other erythroid specific
genes that might be responsible for this abnormality such
as the AE1 genes, causing red blood cell membranopathies,
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 35

the AHSP gene or Alpha Hemoglobin Stabilizing hemoglobin can occur through explicitly down-
Protein, a class of genes that control gene regulation of KLF1 due to mutations in patients
expression on red blood cells are GATA1, described by Professor Vip.
NFE2, XPD and TFIIH genes. None of these
genes were found to be abnormal that can be The results of this research have been well
used to describe the signs and symptoms of recognized as a publication in the academic
the patient. Using a novel in-depth genomic journal, “Blood”, which is ranked as the number
re-sequencing, he found that these patients one international hematology journal and has
had a common abnormality from a mutation in the highest impact factor score on the subject.
a gene known as KLF1 or Küppel-Like Factor In addition, the detecting the KLF1 mutations in
1 that is an autosomal recessive inheritance eight families that were not related by kinship
pattern. This gene is a transcoding gene for is also of great importance in epidemiological.
proteins that act as transcription factor, which This indicates that this mutation is likely to
plays an important role in regulating the function be prevalent in the Thai population or in the
of several genes responsible for the structure population of Southeast Asia. This mutation
of normal red blood cell formation. Therefore, may be a factor contributing to the severity
genes such as α- and β-globin genes, the and expression of genetic diseases affecting
erythrocyte cytoskeletal genes; AE-1, pyruvate red blood cells common in the region including
kinase genes, etc. are all regulated by the thalassemia. After the discovery of the first
KLF1 genes. Consequently, mutations in the 8 cases, Professor Vip began to study the
KLF1 genes affect the expression of many epidemiology of the KLF1 disease in the Thai
downstream genes under KLF1 gene regulation population and can now calculate the incidence of
leading to decrease expression and induced the disease in Thailand. The risks and problems
clinical signs and symptoms similar to patients of importance in the health economics of such
with mutations occurred in those genes. This is diseases in the Thai population have been
a novel mechanism on pathophysiology in human successfully documented. The results of this
genetics known as “trans acting mutations”. additional research were later presented and
Another important observation was the detection published in high quality international academic
of embryonic hemoglobins; epsilon and zeta journals.
globin production and increased fetal or gamma
globin gene expression in these patients. This The results of such research work led Professor
finding indicates that under normal conditions, Vip to receive the “Outstanding National
the KLF1 gene controls hemoglobin switching Research Award 2015” from the Office of the
during embryonic to fetal and adult hematopoiesis. National Research Council of Thailand (NRCT)
When such a mutation occurs, the regulation and the “Outstanding Clinical Research Award”
and inhibition process cannot occur normally. Year 2014” from the Faculty of Medicine, Siriraj
Thus, the expression of embryonic hemoglobin Hospital, Mahidol University. Recently, with
in the postpartum period, as can be detected this discovery of a new hematologic disease
in all such patients. These discoveries are in man, he has been awarded the “National
therefore of great importance and interest in Outstanding Researcher (Medical Science)
the academic community at the international for the year 2021” from the National Research
level because for the first time it has been Support Office, Ministry of Higher Education,
demonstrated that the upregulation of embryonic Science, Research, and Innovation as well.
36 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

2. Clinical research related to the use of iron


chelators for the treatment of iron overload
in patients with thalassemia
Secondary iron overload is caused by chronic
anemia in which iron overload occurs because of
additional iron intake from blood transfusions or
increased iron absorption from the gastrointestinal
tract due to ineffective erythropoiesis and/or hepatic
dysfunction that results in decreased secretion
of hepcidin, which controls iron absorption from
the small intestine. In Thailand, the most common
cause of iron overload occurs in patients with
thalassemia, the most common hemolytic anemia in
man due to a high genetic prevalence of carriers in
the country. It is estimated that about 50% of Thai
population are carriers of thalassemia genes and
1% of the population is affected with the disease,
or about 500,000 to 600,000 cases. Patients with
severe symptoms need to be treated with regular
blood transfusions and likely to be not less than
50,000 cases per year. This group of transfusion (good compliance) compared to well-developed
dependent thalassemia (TDT) is the largest in countries. The proportion of Western patients who
the country to develop iron overload. However, uses drugs well is around 59-69%, while a study
transfusion independent thalassemia (NTDT) at Siriraj Hospital by Professor Vip found that only
patients are still at high risk for iron overload as 14% of Thai patients were able to achieve good
well. This is because iron absorption through the compliance with such therapy.
intestines is an important factor in the subsequent
occurrence of iron overload. Major causes of Therefore, treatment with oral iron chelator is
iron overload occur because the human body an important solution for Thai patients with iron
does not have a mechanism to remove excess overload. From studies in well-developed countries,
iron out. Every bag of blood the patient receives patients’ cooperation with oral iron chelators was
contains 200 - 250 milligrams of iron, which is markedly higher by 79-95% (good compliance).
100 - 150 times the normal amount of iron the The first iron chelator was deferiprone or L1, that
body receives from iron absorption through the was produced since the 1980s onwards. However,
digestive system daily. Therefore, the accumulated the effectiveness and safety of such drugs is
iron in the body will have a negative impact on questionable. This is because few international
the functioning of organs such as the liver, heart, studies have shown that there is a wide range
kidneys and endocrine system leading to other and conflicting responses to deferiprone (L1) in
complications followed by many, including a heart reducing iron levels in the body and potential
attack, an arrhythmia, liver cirrhosis and failure, adverse events reported causing a concern of
diabetes, thyroid and other hormone deficiency. applying this medicine in the clinical practice.
In pediatric patients with iron overload, they are The adverse events related to deferiprone
short, small and do not have normal puberty. include neutropenia, both agranulocytosis and
Therefore, iron chelation therapy is very important severe neutropenia and early liver fibrosis and
to improve quality of life, reduce complications cirrhosis, make the use of the drug very limited.
as well as increase the survival rate in patients In Europe, it must be used as second line therapy
with thalassemia. In the past, iron chelation was in patients who cannot use the desferrioxamine.
only available as an injection, desferrioxamine Therefore, it is important that the use of such
(Desferal®), which has a very short half-life in oral iron chelators must be closely supervised
the human body. Therefore, it is necessary to by a medical professional as well as having a
use in the form of injections under the skin, each system to monitor and manage complications to
time 8 - 10 hours / day, 5 - 7 days / week to be reduce the risk of adverse effects on the body
effective. Previous studies clearly shows that and long-term patient health.
survival rates in patients with iron overload were
correlated with compliance with iron chelation. Since 2005, the Government Pharmaceutical
However, due to the difficulty in administering Organization (GPO) Thailand has succeeded in
such drugs, not many thalassemia patients in developing and producing deferiprone from raw
Thailand can use and administer such injection materials both at the laboratory and industrial
drugs properly, appropriately, and consistently level, The molecule has been analyzed for the
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 37

study of iron chelation in more than 150 Thai


patients in 6 leading medical institutions, Siriraj
Hospital, Ramathibodi Hospital, Chulalongkorn
Hospital, Phramongkutklao Hospital, Institute
of Science and Technology Research and
Development Mahidol University and the Queen
Sirikit National Institute of Child Health. The study
was successfully conducted and published in a
highly recognized international journal, “American
Journal of Hematology” and later widely cited
around the world. The results of this research
have monumentally driven deferiprone to be
registered and listed on the main drug list in
Thailand. More than 50,000 patients in Thailand
have benefited from the drug. Moreover, this
research is also reference evidence for the
Government Pharmaceutical Organization (GPO)
to register deferiprone in Malaysia and Indonesia
for exporting and bringing back foreign money to
support our economy.
bioequivalence to be similar to that of the original
drug manufactured abroad (Ferriprox®, Apopharm In addition, Professor Vip has also authored the
Co. Ltd., Canada). However, due to the limitations of first “Guidelines for the treatment of iron overload
the aforementioned possible adverse events due with Deferipone” published in July 2009 by the
to deferiprone, If the drug is to be widely used in Government Pharmaceutical Organization (GPO)
Thailand without adequate prior knowledge of the Thailand. Based on the data from his experiences
clinical application in Thai patients, there will be a and research results from the Faculty of Medicine
high-risk situation for all stakeholders, including Siriraj Hospital to formulate the national policy
physicians, patients and government agencies of using deferipone for Thailand. Professor Vip
involved. Two important basic knowledge of the developed the pilot project named “Good-SMP:
use of deferiprone are, the efficacy to reduce GPO-L-ONE Safety Monitoring Program” supported
the level of iron that accumulates in the blood by GPO, Thalassemia Foundation of Thailand and
and in the body of deferiprone as measured National Health Security Office (NHSO) to provide
by the response rate of appropriate doses of a guideline for physicians to use and monitor
deferiprone in Thai patients and complications and this medicine in a standardized fashion and it is
adverse effects in Thai patients. Both information beneficial to patients with iron overload country
will be important bodies of knowledge to build wide.
confidence in the use of such drugs among
medical personnel and patients as well as to be At present, Professor Vip continues to conduct
able to use in formulating a policy for deferiprone research on iron overload, iron chelators and the
correctly under the right dosage with minimal side novel treatment of thalassemia patients. He is a
effects as well as being the basic information for research project leader and principal investigator
laying out guidelines for good monitoring and in more than 50 international clinical trial projects.
evaluation using such drugs at the national level. The results of this research series reflect his
In addition, the results of such research studies expertise in the treatment of thalassemia, both
should be recognized internationally, especially as the principal investigator and co-investigator.
the Government Pharmaceutical Organization These studies are sponsored by international
of Thailand has a policy to export this medicine pharmaceutical companies from phases I-II to
to neighboring countries. Therefore, it is critical phase III levels and collaborating with several
that efficiency and safety of “Thailand-made research institutes in many countries around
deferiprone” be assessed with a standardized the world. These research works have led to the
research protocol conducted by internationally development of novel iron chelators and other
recognized researchers such as Professor Vip. medicine for thalassemia worldwide. Professor
Vip is the only specialist from Thailand and the
In this regard, Professor Vip Viprakasit was assigned Asian region that has been recognized as a
by Thalassemia Foundation of Thailand (TFT) to study steering committee, study safety board
lead a clinical trial of deferiprone for the first time and principal investigator of these world-class
in Thailand. This is a first Thailand’s multi-center research projects on thalassemia.
38 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

3. Development of the first Thailand’s MRI was started for the first time in Thailand
software for the assessment of iron and Asia. This research program has led to
levels accumulated in internal organs more than 15 publications in peer-reviewed
using Magnetic Resonance Imaging (MRI) international journals and 1 patent by Department
of Intellectual Property (IP).
At present, the determination of the amount
of iron overload accumulation in the important Moreover, Professor Vip has also disseminated
internal organs, especially liver and heart, can and expanded cooperation abroad in the AEC
be performed well using Magnetic Resonance (ASEAN Economic Community) countries by
Imaging (MRI) evaluation which is a standard providing technical assistance to National
method widely accepted internationally with Children’s Hospital of the Philippines (National
accurate results. However, such analyses require Institute of Child Health Center, The Philippines)
an analytical software imported from abroad, to send images of MRI examinations to be
which are expensive and licensing costs that analyzed in Thailand without charge. Moreover,
must be paid annually to foreign countries. similar approach was applied to many research
Therefore, the iron overload evaluation using institutes and medical centers in Thailand.
MRI is rather limited, inaccessible, or likely This work also made national executives to be
impossible for Thai patients. aware of the severe incidence of iron overload
in Thailand and help other research studies
To solve this problem, Professor Vip developed to develop additional tools such as the use
the Thalassemia Research Network at Faculty of of serum ferritin to predict cardiac and liver
Medicine Siriraj Hospital, which is a collaboration iron accumulation in the case of hospitals or
between the Department of Pediatrics, Department institutions that do not have such an MRI tool.
of Internal Medicine, Department of Radiology At Siriraj hospital, this work led to improve
and the Queen Sirikit Heart Center in 2009. the quality of life of patients since clinicians
Professor Vip has initiated a project to create can directly assess iron overload, correctly
a computer program to analyze iron content in adjusting the iron chelation doses leading to
the heart and liver. With a strong collaboration increase in the average life expectancy of
of Associate Professor Dr. Pairat Saiwiroonporn thalassemia patients over the past 10 years.
and Professor Dr. Rungroj Krittayapong from
Faculty of Medicine Siriraj Hospital, a research In addition, the aforementioned research work
project to accurately determine of heart and has been copyrighted from the Department
liver iron including other internal organs by of Intellectual Property. Currently there are
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 39

private companies that have bought copyrights Pra Ya. They were published in all world-
to market the software in many hospitals. renowned academic international journals and
Patients who received treatment at the Faculty this knowledge helps to improve diagnosis
of Medicine Siriraj Hospital have access to and management of patients with hemoglobin
such technology without any cost but there are disorders.
also patients from other medical institutions,
including Ramathibodi Hospital, Chulalongkorn Professor Vip conducted several studies related
Hospital, Queen Sirikit National Institute of Child to the pathophysiology of thalassemia from
Health Srinakarin Hospital, Khon Kaen Hospital, genetic mechanisms for regulating the expression
Prince of Songkla University Hospital, Bhumibol of globin genes, identification of genes that
Hospital, Naresuan University Hospital, and affect phenotype and genotype correlation,
patients from all over the country who have had incidence, etiology, and factors associated with
the opportunity to use the program through the the occurrence of complications in adult and
Asia Pacific Iron Assessment-MRI (APIA-MRI) pediatric patients with thalassemia. Professor
program that Professor Vip started free of charge. Vip studied extensively several thalassemia
In addition, research from the network is also a complications such as growth retardation, cortisol
model that demonstrates a good cooperation deficiency, osteoporosis, vitamin D deficiency in
among academia between multidisciplinary particular, the study of factors associated with
areas that led to the development of research insulin secretion and the risk of future diabetes
that has a greater impact than working within in the α-thalassemia patients’ group. It is the
a single discipline. first study in the world to show the problems
and risks of such complications that can occur
4. Research on Pathophysiology of Anemia in in patients since childhood and adolescence.
Thalassemia and Molecular Hematology in He also reported rare complications such as
Thailand hemophagocytosis in α-thalassemia, hemoglobin
Over 20 years of experience in researching to H/CS, that is clinically important because it
improve the care of patients with thalassemia is difficult to diagnose and is often ignored
and hematological diseases of red blood cells, by physicians. Reporting such complications
Professor Vip has created several academic is therefore valuable and useful that less
works that are the benefits in many other areas experienced physicians can draw lessons
include: from these studies to better caring for their
patients. These works have been published
Professor Vip reported the world’s first discovery in all world-renowned academic journals and
of various new hemoglobin mutations among lead to the development of clinical practice
Thai patients including Hemoglobin Pak Num guideline for thalassemia patients in Thailand
Po, Hemoglobin Yala and Hemoglobin Chao and applied around the world.
40 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

Professor Vip also conducted several research diseases in pregnancy using the real time
works to the creation of a new tool for evaluating polymerase chain reaction (RT-PCR) assay for
thalassemia patients for diagnosis and screening. detecting Hb Bart’s hydrops that cause fetal
Besides, laboratory evaluation, Professor Vip’s death by high sensitivity and specificity up to
research expertise covering also the physical, 100% and can be examined by amniocentesis
mental, social, and quality of life of patients or chorionic villous sampling. This replaces the
with thalassemia through a comparative study umbilical cord blood test, which is difficult and
of the quality of life of patients with thalassemia high-risk for mothers and babies. Moreover,
in Thailand and worldwide. This work led to Professor Vip led several studies to develop
the development of a new tool called NTDT- new tools such as novel neonatal screening
PROS, or Patient Reported Outcome (PRO), to for thalassemia with isoelectric focusing and
assess patient response to treatment. The tool capillary electrophoresis (CE), developed
is currently being used in many international a multiple ligation probe assay (MLPA) for
drug research projects and is an accepted gene deletion and a single cell analysis for
tool by the US Food and Drug Administration pre-implantation genetic diagnosis (PGD) for
and the European Union’s federal agency for single gene disorder, aneuploidy test and
drug approval. HLA typing for selecting the best embryos for
uterine transfer. In addition, Professor Vip led
In molecular hematology, Professor Vip led several to the development of mutation detection in
research works related to the development of hematologic diseases using genome technology,
diagnosis of thalassemia and hematological including whole exome sequencing (WES) and
diseases of erythrocytes, including the development whole genome sequencing (WGS) with next
of laboratory tests for enzyme deficiency in generation sequencing (NGS) technology, for the
red blood cells, namely glucose-6-phosphate. first in Thailand. The work has been presented
dehydrogenase (G6PD), 6-phosphogluconate at national and international conferences in
dehydrogenase (6PGD), pyruvate kinase (PK), hematology. and has been published in all
hexokinase (HK), glucose phosphate isomerase world-renowned academic journals.
(GPI), phosphofructokinase (PFK), aldolase
(ALD) and phosphoglycerate kinase (PGK) and Importantly, all research has led to its
detection of erythrocyte membrane defects application in the development of clinical care
using flow cytometry technology for the first for thalassemia and hematological diseases
time in Southeast Asia. He also developed a in Thailand and be referenced throughout the
more sensitive prenatal diagnosis for genetic world. Professor Vip is the only Asian physician
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 41

invited to be the editor of the Guidelines for disorders such as the induced pluripotent
The Management of Transfusion Dependent stem cells (iPSc) model and primary erythroid
Thalassemia (TDT) and the Guidelines for The cell model for the use in pathophysiological
Management of Non-Transfusion Dependent research studies. These models can be
Thalassemia (NTDT) published by Thalassemia utilized to explore mechanism of disease,
International Federation (TIF). Recently, he has test for drug or chemical before applying in
been invited as only Asian physician to be expert the future patients or even evaluating in the
consultant of the World Health Organization safety of some types of chemicals, such as
(WHO) to develop a new definition of anemia nanoparticles and nanomaterials. These works
in humans and this work will be a standard that on ex-vivo model development in Thailand
is used all over the world. will lead to the development of “upstream- or
basic science research” for the future studies
The research in this series demonstrates the that would be beneficial of the new drug and
expertise of Professor Vip, as a scientist in novel treatment modalities development for
molecular hematology, where his knowledge hematology patients in Thailand.
in DNA and molecular medicine has led to the
discovery of new mutations and new technology Impact of Professor Vip Viprakasit on
for improving laboratory diagnosis. The results the public and the country’s science and
of this analysis are useful in terms of future technology
prognosis and severity of the disease in other
Professor Vip’s scientific research and
patients. In addition, Professor Vip was also
technology development has been applied in
invited by Professor Dr. David Chui, Boston
various dimensions and in many contexts. His
University, United States to participate in
clinical works has formulated as a standard
the DNA analysis of patients found in the
clinical practice guideline for the treatment of
United States. The US sent the patient’s DNA
thalassemia patients worldwide endorsed by
to Professor Vip for analysis in Thailand to
the Thalassemia International Federation (TIF)
determine the genetic factors associated with
with Professor Vip as a co-editor. The results
the symptoms and the severity of the patient
of the diagnostic research were used in the
demonstrating a recognition as a specialist in
laboratory service at Siriraj hospital and at
DNA analysis and gene regulation of Professor
the private setting through his biotechnology
Vip internationally. start-up, ATGenes Co., Ltd. This is the first
social enterprise on biotechnology in Thailand
5. Research on molecular genetics of other that Professor Vip founded since 2014 which
hereditary diseases in Thailand has provided services to millions of people in
Professor Vip also has research works in Thailand and neighboring countries. Almost all
genetics in many areas, including the first his research, more than 180 original articles,
diagnosis the cause of hereditary iron overload have been published in leading international
in Southeast Asia. By detecting the genes and and national academic journals and have been
causative mutation that led to the discovery cited more than 10,000 times in the international
of a mutation in the ferroportin type C326Y databases. The results of the improving clinical
gene, the underlying mutation of the hereditary care for thalassemia patients at the Faculty of
iron overload syndrome known as ferroportin Medicine Siriraj Hospital under the leadership of
disease. In addition, he also initiated genetic Professor Vip are evident on a global scale. In
testing to be applied in many areas of clinical 2013, the Thalassemia Center at the Faculty of
practice, such as studying the genetics that Medicine Siriraj Hospital, under the supervision
cause avian influenza infection, congenital bone of Professor Vip, has been awarded, the Sultan
marrow failure, distal renal tubular acidosis Bin Khalifa International Thalassemia Award
(dRTA) and hemolysis of red blood cells due from United Arab Emirates, UAE, as the “Center
to hereditary red cell membrane disorders, of Excellence in Thalassemia”. It is the first
detection of genes responsible for sepsis and institute in the world to receive this honor and
septic shock. These works are all published makes the Faculty of Medicine Siriraj Hospital
and used to help improving clinical diagnosis a standard institute that drawing many doctors
and care of patients in Thailand. around the world to learn on how to care
thalassemia patients from Thailand.
6. Developing ex-vivo model to study Most recently, Professor Vip also applied
hematologic diseases including thalassemia his knowledge and expertise in molecular
Professor Vip as a molecular scientist, has laboratory on designing an innovation during
conducted various research works in developing the COVID-19 pandemic. In early 2020,
experimental models to study hematological he designed and built the prototype of a
42 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

“Biosafety Mobile Unit” for COVID-19 sample real clinical practice to improve diagnosis and
collection. This unit uses a positive pressure treatment of patients, not only in Thailand but
concept that help medical personals who work also benefiting patients at the international level.
inside the chamber collecting nasopharyngeal Professor Vip determines and always set his
swab samples without the need of personal goals that his research must provide solutions
protection equipment (PPE). In addition, the to the patients and people’s requirement and
unit has all safety measures to protect the viral serve the society and the country carrying on
spreading into the environment while keeping the royal wishes of His Majesty Prince Mahidol’s
the samples at the highest standard before remarks that “True success is not in the learning,
they reach molecular laboratories. Moreover, but in its application to the benefit of mankind.”
medical staff and medical personnel can work
for several hours with convenience since this Acknowledgments to all giants who paved
unit is air-conditioned. The unit is built on a the way forward
pick-up truck therefore this innovation can help
speeding in collecting samples in hard-to-reach In my life, I have been very lucky to have the
areas and suitable for an active case finding opportunity to be born into a good family with
disease control model. Professor Vip donated parents who set great examples, my sister
his prototype to His Majesty the King Rama-X in and family, wife and sons who are important
which his Royal Highness graciously requested supporters. Most importantly, I had the opportunity
the Department of Disease Control, Ministry to study at “Faculty of Medicine Siriraj Hospital”
of Public Health (MOPH), Thailand to test this and “University of Oxford” where I met various
mobile unit in the field. Without any doubt, this noble medical teachers. There are four people
novel system has been confirmed by the MOPH that I would humbly like to mention the name
to be useful for COVID-19 disease control, then to honor because they have an important role
His Majesty the King has graciously bestowed to be my inspiration, to grow me and allow me
his personal fund to support the production of to follow in their footsteps, both as a physician
additional 12 units and gave the Department of and a clinical researcher. The first one is late
Disease Control on July 6, 2020. So far, total 60 Professor Emeritus Dr. Anong Piankijagum
“Royal Biosafety Mobile Unit” have served more who has taught me since I was a third-year
than 1,200,000 Thai people through active medical student. I was impressed with her
case finding for COVID-19 infection across academic ability as a hematologist and having
Thailand. Therefore, such initiative is one of the an opportunity to study with her as 4th year
mechanisms that have made Thailand successful medical student under her supervision. She had
in controlling the spread of COVID-19 and this an excellent knowledge, the ability to discuss
was recognized worldwide. patient problems clearly, incomparable clinical
skills and, most importantly, she is a great
For his mindset, all scientific research of clinical scientist along with being a physician
Professor Vip as a pediatrician and scientist, too. Professor Anong is a true “model” as a
should not be limited to specialized disciplines doctor, researcher, and scientist. She showed
or only accepted for numerous publications in me that being physicians you must have the
leading academic journals. Nevertheless, every ability to care for patients and need to have
single piece of his works must be utilized in a scientific skills and abilities in the pursuit of
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 43

measures for the better caring for patients. I academia. His research works have been used
had the opportunity to learn cytology techniques as references in several textbooks and used to
directly from her and see the benefits that define treatment guidelines or clinical practice
we can use science and technology to help both locally and internationally. Although being
diagnosis and treat patients in a timely manner. a Thai physician from a developing country,
The truth-seeking skills are the core-value of by conducting multi-institutional research at
being a medical scientist. the highest standard, this approach can bring
about an academic leadership or authority both
Another physician who has influenced my career
national and international levels.
as a clinical scientist is Professor Emeritus Dr.
Voravarn S. Tanphaichitr, a pediatric hematologist The last but not least person is my own personal
specializing in thalassemia. I had the opportunity lifelong mentor, who is a great teacher, kind doctor
to learn and inherited her method of clinical and remarkable scientist, Professor Douglas R.
observation: collecting detailed clinical data Higgs, M.D., DSc., FRS, who is my mentor and
from patients. Professor Voravarn did her best supervisor, during my DPhil study at University
to develop scientific community in our small of Oxford. Professor Higgs taught me several
hospital laboratories, build a research network lessons to groom me to be a good scientist.
with other hospitals in Thailand and in foreign The most important lesson is prioritizing what
countries. And most importantly, even being you do, contemplation thoughtfully designed
a medical doctor, she also leaded weekly experiment before conducting and practically
lab meetings within the Division of pediatric asking the right questions. He showed me how
hematology team of scientists and medical to think as a scientist critically and logically
technologists. This made me see the prototype and more importantly set the standard and
that a medical doctor can be a scientist in the highest bar to reach on how a clinical scientist
same person. So, these two mentors were the to communicate his findings to the world.
main inspiration that made me decide to study These lessons are the most important tools I
hematology and do basic scientific research to have used in my work to this day. Even after
find new knowledge in academic hematology my graduation, Professor Higgs continues to
later. support my works at the beginning mentally and
financially. It should not be over exaggerated
Professor Emeritus Dr. Amorn Leelarasamee at
to say that I should not come this far without
Siriraj hospital is the third person who inspired
his supports and generosity.
me to be a clinical researcher doing clinical
trials. In the last year of my studying at Siriraj, I Finally, I would like to thank all that happened
listened to one of his lectures for post-graduated and coming through in my life, good or bad
doctors at a corporate symposium. This lecture as a “researcher and clinical scientist”. This
was another important turning point in my life. would have been impossible if I hadn’t been
He gave a lecture on antimicrobial drugs citing cultivated and learned from every “teacher and
several references from his research studies mentors” and most importantly “my patients”
conducted at Siriraj Hospital and published in who has been kind, thoughtful and inculcated
leading journals internationally. Everything he inspiration in life. I am wholeheartedly grateful
said was based on his direct experience from to all ‘Giants” who allowed me to stand on their
his own research. His lecture is an eye-opening shoulder.
for me: showing the way how to be a real
44 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

งานวิจัย
ทางด้านโลหิตวิทยาและ
วิทยาศาสตร์ประยุกต์
เพื่อพัฒนาการวินิจฉัยและ
การรักษาด้วยนวัตกรรม
ศาสตราจารย์
ดร. นายแพทย์ วิปร วิประกษิต
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วิปร วิประกษิต และคณะฯ และอาการแสดงที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับโรคโลหิตจาง
จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ธาลัสซีเมีย แต่ก็มีการแตกทำ�ลายของเม็ดเลือดแดง
ตลอดจนเครือข่ายวิจัยข้ามศาสตร์ ข้ามสถาบัน ทั้งใน คล้ายกับผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องเอ็นไซม์ไพรูเวทไคเนส
และต่างประเทศที่ ศาสตราจารย์วิปร ได้ริเริ่มจัดตั้งมา (pyruvate kinase) ในเม็ดเลือดแดง แต่กลับตรวจ
ไม่พบการกลายพันธุ์ของยีนอัลฟ่าและเบต้าธาลัสซีเมีย
ร่วม 20 ปีนับภายหลังจากการศึกษาต่อในประเทศสห
และยีน pyruvate kinase ต่อมาเมื่อศึกษายีนอื่นๆ
ราชอาณาจักร ได้ร่วมกันทำ�งานอย่างต่อเนื่องด้วยการ
ทีเ่ กีย
่ วข้องเช่น ยีน AE1 ซึง่ ควบคุมการแสดงออกของผนัง
ประยุกต์เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์หลายด้าน เช่น จีโนม เม็ดเลือดแดง ยีน AHSP หรือ Alpha Hemoglobin
ทางการแพทย์ วิศวกรรมการแพทย์ ฟิสิกส์ทางการแพทย์ Stabilizing Protein ยีนที่ควบคุมการแสดงออกของ
เภสัชวิทยา และเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข มาประยุกต์ใช้ ยีนอืน ่ ๆในเม็ดเลือดแดง ได้แก่ ยีน GATA1 NFE2 XPD
ในการพัฒนาหาองค์ความรู้ใหม่ ดัดแปลงเทคโนโลยีเพื่อ TFIIH ก็ไม่พบความผิดปกติใดๆทีส ่ ามารถนำ�มาอธิบาย
ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ตลอดไปจนถึงการ ถึงอาการและอาการแสดงของผูป ้ ว่ ยได้ ศาสตราจารย์วป ิ ร
จัดสร้างนวัตกรรมต้นแบบ เพื่อตอบโจทย์ปัญหาและความ ได้ริเริ่มนำ�การตรวจโดยการทำ� in-depth genomic
ท้าทายของประเทศ โดยมีเจตนารมณ์หลักที่จะพัฒนา resequencing จึงตรวจพบว่าผูป ้ ว่ ยเหล่านีม ้ ค
ี วามผิด
ปกติรว่ มกันจากการกลายพันธุข์ องยีนทีช่ อ ื่ ว่า KLF1 หรือ
คุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยและเพิ่มคุณภาพชีวิตของ
Küppel-Like Factor 1 มีแบบแผนการถ่ายทอดทาง
ประชากรชาวไทยในด้านสุขภาพและการสาธารณสุข สามารถ
พันธุกรรมแบบยีนด้อย หรือ autosomal recessive
สรุปผลงานในฐานะนักวิทยาศาสตร์ของ ศาสตราจารย์ ยีนนี้เป็นยีนซึ่งทำ�หน้าที่ในการถ่ายรหัสสำ�หรับโปรตีน
วิปร ที่หลากหลายได้ดังนี้ี ซึ่งทำ�หน้าที่เป็น transcription factor ซึ่งมีหน้าที่
สำ�คัญในการควบคุมการทำ�งานของยีนจำ�นวนมากที่
1. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการค้นพบโรคโลหิตวิทยา เป็นโครงสร้างของการสร้างเม็ดเลือดแดงทีป ่ กติสมบูรณ์
ชนิดใหม่ในประชากรชาวไทย ดังนัน ้ ยีนต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นยีนโกลบิน ยีนผนังเม็ดเลือดแดง
ในฐานะที่ ศาสตราจารย์วป ิ ร วิประกษิต เป็นกุมารแพทย์ AE-1 ยีน pyruvate kinase และอื่นๆ จะอยู่ภายใต้
ทางโลหิ ต วิ ท ยาจึ ง ได้ มี โ อกาสดู แ ลผู้ ป่ ว ยที่ มี ปั ญ หา การควบคุมการทำ�งานโดยยีน KLF1 ทั้งสิ้น ดังนั้นการ
ซีดเป็นจำ�นวนมาก และได้ตรวจพบว่าผู้ป่วยชาวไทย กลายพันธุท ์ เี่ กิดขึน
้ กับยีน KLF1 จึงส่งผลสะเทือนต่อการ
จำ�นวน 8 ครอบครัวแรก ซึ่งมีภาวะโลหิตจาง มีอาการ แสดงออกของยีนทีอ ่ ยูใ่ ต้ตอ
่ การแสดงออกของยีน KLF1
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 45

เมื่อยีน KLF1 มีการกลายพันธุ์และลดการแสดงออก แม้แต่ในภูมภ


ิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การกลายพันธุ์
จึงส่งผลเสมือนหนึ่งว่ายีนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ ของยีนนีอ
้ าจจะเป็นปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อระดับความรุนแรง
ยีน KLF1 นั้นมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นด้วย เหนี่ยวนำ� และการแสดงออกของโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียซึ่งเป็น
ให้เกิดอาการและอาการแสดงทางคลินิกประหนึ่งว่า โรคพันธุกรรมทีพ่ บบ่อยในภูมภ ิ าคนี้ ศาสตราจารย์วป
ิ ร
ยีนปลายทางมีการกลายพันธุ์เสียเอง และคณะฯ จึงได้เริม
่ ดำ�เนินการศึกษาถึงระบาดวิทยาและ
ความชุกของโรคดังกล่าวในประชากรชาวไทย สามารถ
ผลจากการกลายพันธุท ์ ส
ี่ ำ�คัญอีกประการคือการตรวจพบ
คำ�นวณอัตราการเกิดโรค ความเสี่ยงและระดับความ
ฮีโมโกลบินในระยะเอมบริโอ (embryonic hemoglobin)
สำ�คัญของปัญหาในทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขของ
ชนิด เอฟซีลอนและแกมม่าที่เพิ่มมากขึ้น การค้นพบ
โรคดังกล่าวในประชากรชาวไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ดังกล่าวเป็นดัชนีทบ ี่ ง่ ชีว้ า่ ในสภาวะปกติยน ี KLF1 จะทำ�
ผลงานวิจัยเพิ่มเติมดังกล่าวนี้ได้รับการนำ�เสนอและ
หน้าทีใ่ นการควบคุมการเปลีย ่ นแปลงของชนิดฮีโมโกลบิน
อ้างอิงในวารสารทางวิชาการที่มีคุณภาพสูงในระดับ
(hemoglobin switching) ระหว่ า งการเจริ ญ
นานาชาติต่อมา
เปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือดแดงจากระยะเอมบริโอเป็น
ระยะฟีตส ั ไปจนถึงระยะตัวเต็มวัย เมือ ่ มีการกลายพันธุ์ ผลงานการวิจัยดังกล่าวทำ�ให้ ศาสตราจารย์วิปร ได้รับ
เกิดขึ้นจึงทำ�ให้กระบวนการควบคุมและกระบวนการ รางวัล “ผลงานวิจย ั ระดับดีเด่นแห่งชาติ ประจำ�ปี 2558”
ยับยั้งดังกล่าวไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติ จึงทำ�ให้ จากสำ�นักงานคณะกรรมการวิจยั แห่งชาติ (วช.) และรางวัล
ยังมีการแสดงออกของฮีโมโกลบินในระยะเอมบริโอ “ผลงานวิจย ั ดีเด่นด้านคลินก ิ ประจำ�ปี พ.ศ. 2557” จาก
สืบเนือ่ งมาจนถึงระยะหลังคลอดดังทีไ่ ด้ตรวจพบในผูป ้ ว่ ย คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ดังกล่าวทุกราย การค้นพบดังกล่าวจึงมีความสำ�คัญและ และเป็นผลงานที่ทำ�ให้ ศาสตราจารย์วิปร ได้รับรางวัล
เป็นทีส ่ นใจอย่างยิง่ ในวงการวิชาการในระดับนานาชาติ ได้ “นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)
รับการยอมรับให้ได้รบ ั การตีพม ิ พ์ในวารสารทางวิชาการ ประจำ�ปี 2564” จากสำ�นักงานการวิจย ั แห่งชาติอก
ี ด้วย
คือวารสาร “Blood” ซึ่งเป็นวารสารทางโลหิตวิทยา
อันดับ 1 ในระดับนานาชาติ เพราะเป็นครั้งแรกที่แสดง 2. ผลงานวิจัยทางด้านโลหิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับ
ให้เห็นว่าการควบคุมของฮีโมโกลบินในระยะเอมบริโอ การรักษาและการใช้ยาขับธาตุเหล็กเพือ
่ การรักษา
เกิดขึน
้ ผ่านกระบวนการควบคุมของ KLF1 อย่างชัดเจน ภาวะเหล็กเกินในผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
การตรวจพบการกลายพันธุ์ในผู้ป่วย 8 ครอบครัว ภาวะเหล็กเกินทางพันธุกรรมแบบทุตย ิ ภูมิ (secondary
ทีไ่ ม่ได้มค
ี วามเกีย
่ วดองทางเครือญาติยงั มีความสำ�คัญ iron overload) เกิดจากโรคซีดเรื้อรังต่างๆที่มีภาวะ
ในทางระบาดวิทยา แสดงให้เห็นถึงว่าการกลายพันธุ์ เหล็กเกิ นจากการที่ร่างกายได้รับธาตุเหล็กเพิ่มเติม
ดังกล่าวนี้น่าจะมีความชุกในประชากรชาวไทยหรือ จากการได้รับเลือดหรือการดูดซึมเหล็กเพิ่มจากระบบ
ทางเดินอาหาร เนื่องจากภาวะไขกระดูกทำ�งานไม่มี
ประสิทธิภาพ (ineffective erythropoiesis) หรือ
โรคตับที่ทำ�ให้มีการหลั่งสารเฮปซิดิน (hepcidin) ซึ่ง
ควบคุมการดูดซึมเหล็กจากลำ�ไส้เล็กลดลง โดยสาเหตุ
สำ�คัญของภาวะเหล็กเกินในประเทศไทยเกิดจากโรค
โลหิตจางธาลัสซีเมียซึ่งเป็นโรคพันธุกรรมที่พบได้บ่อย
ที่สุดในประเทศไทย ประมาณการว่าประมาณ 1% ของ
ประชาการชาวไทยป่วยด้วยโรคดังกล่าว หรือประมาณ
500,000 ถึง 600,000 ราย โดยมีผู้ป่วยโรคโลหิต
จางธาลัสซีเมียไม่น้อยกว่า 50,000 รายที่มีอาการ
รุนแรงและมีความจำ�เป็นต้องได้รบ ั การรักษาด้วยการให้
เลือดอย่างสม่ำ�เสมอ หรือ ธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือด
(transfusion dependent thalassemia) เป็นผู้
ป่วยกลุม่ ใหญ่ทจี่ ะมีภาวะเหล็กเกินสืบเนือ ่ งโดยตรงจาก
การได้รบ ั เลือด อย่างไรก็ตาม แม้ในผูป
้ ว่ ยกลุม่ ทีไ่ ม่พงึ่ พา
เลือด (transfusion independent thalassemia)
ก็ยังมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะเหล็กเกินจากการดูดซึม
เหล็กผ่านทางลำ�ไส้เป็นปัจจัยสำ�คัญ เนื่องจากร่างกาย
มนุษย์นน ้ั ไม่มก
ี ลไกในการกำ�จัดธาตุเหล็กทีเ่ กินออกไป
46 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

โดยในผูป ้ ว่ ยทีไ่ ด้รบ


ั เลือดอย่างสม่ำ�เสมอผูป ้ ว่ ยจะได้รบ
ั สูงขึ้นอย่างชัดเจนถึง 79 - 95% โดยยาขับเหล็ก
ธาตุเหล็กในปริมาณ 200 - 250 มิลลิกรัมต่อเลือด 1 ดังกล่าว คือ ยาดีเพอริโพรน (deferiprone) ซึ่งเป็น
ถุง คิดเป็น 100 - 150 เท่าของปริมาณปกติที่ร่างกาย ยาขับเหล็กชนิดรับประทานชนิดแรกที่ผลิตขึ้นและมีใช้
ได้รบั จากการดูดซึมธาตุเหล็ก ผ่านระบบทางเดินอาหาร ในทางคลินิกนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา
ในแต่ละวัน เหล็กทีส ่ ะสมในร่างกายจะส่งผลเสียต่อการ อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของยาดังกล่าวยังเป็นทีก ่ งั ขา
ทำ�งานของอวัยวะต่างๆ อาทิ ตับ หัวใจ ไต และระบบ เนือ
่ งจากการศึกษาในต่างประเทศพบว่าการตอบสนอง
ต่อมไร้ทอ ่ นำ�ไปสูโ่ รคแทรกซ้อนอืน ่ ๆ ตามมาได้แก่ หัวใจ ต่อยาดีเพอริโพรนในการลดระดับธาตุเหล็กในร่างกาย
วาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ ตับแข็ง ตับวาย เบาหวาน ภาวะ มีความหลากหลาย มีทงั้ ทีย ่ าดังกล่าวได้ผลและไม่ได้ผล
พร่องฮอร์โมนต่างๆ ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะเหล็กเกิน ในการลดระดับธาตุเหล็ก ยิง่ กว่านัน ้ ยังมีรายงานของผล
จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการเป็นหนุ่มสาวตาม แทรกซ้อนและผลข้างเคียงจากการใช้ยาดังกล่าวได้แก่
ปกติ ดังนั้นการรักษาด้วยการใช้ยาขับธาตุเหล็ก (iron ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ� (neutropenia) และต่ำ�แบบ
chelation therapy) จึงมีความสำ�คัญเป็นอย่างยิ่ง รุนแรงมาก (agranulocytosis) ตลอดจนมีรายงาน
ในการเพิ่มคุณภาพชีวิต ลดโรคแทรกซ้อน ตลอดจน การเกิดพังผืดในตับ (liver fibrosis) จึงทำ�ให้ยา
เพิม
่ อัตราการรอดชีวต ิ ในผูป
้ ว่ ยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ดังกล่าวไม่เป็นทีใ่ ช้อย่างแพร่หลายและมีขอ ้ จำ�กัดในข้อ
บ่งชี้ของการใช้ยา ในยุโรปยาดีเพอริโพรนจะถูกใช้เป็น
ในอดีตยาขับเหล็กมีเฉพาะยาฉีดคือ desferrioxamine ยาขั้นที่ 2 (second line therapy) ในกรณีที่ผู้ป่วย
(Desferal®) ซึง่ มีคา่ ครึง่ ชีวติ สัน
้ มากในร่างกายมนุษย์ ไม่สามารถใช้ยาฉีดได้เท่านั้น จึงมีความจำ�เป็นที่การ
จึงจำ�เป็นต้องใช้ในรูปฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ครั้งละ 8 - 10 ใช้ยาดีเพอริโพรนดังกล่าวจะต้องอยู่ในความดูแลของ
ชั่วโมง/วัน 5 - 7 วัน/สัปดาห์ จึงจะได้ประสิทธิผลดี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชด ิ ตลอดจนมีระบบในการ
การศึกษาในต่างประเทศแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ตรวจติดตามและบริหารจัดการปัญหาผลแทรกซ้อนเพือ ่
อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยภาวะเหล็กเกิ นมีความ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดผลเสียต่อร่างกาย และสุขภาพ
สัมพันธ์ตรงกับความสม่ำ�เสมอ (compliance) ของ ของผู้ป่วยในระยะยาว
การใช้ ย าฉี ด ขั บ ธาตุ เ หล็ ก อย่ า งไรก็ ต ามเนื่ อ งจาก
ความยุ่งยากในการบริหารยาดังกล่าว ผู้ป่วยที่สามารถ นับตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2548 องค์การเภสัชกรรมประเทศไทย
ใช้และบริหารยาดังกล่าวได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและ ประสบความสำ�เร็จในการพัฒนาและผลิตยาดีเพอริโพรน
มีความต่อเนื่อง (good compliance) จึงมีไม่มาก จากสารตัง้ ต้น ทัง้ ในระดับห้องทดลองและระดับอุตสาหกรรม
ในต่างประเทศนัน ้ สัดส่วนของผูป ้ ว่ ยทีใ่ ช้ยาได้เป็นอย่าง ตลอดจนมีการศึกษาชีวสมมูล (Bioequivalence)
ดี มีเพียง 59 - 69% เท่านั้น ในขณะที่จากการศึกษา พบความสอดคล้ อ งใกล้ เ คี ย งกั บ ยาต้ น แบบซึ่ ง ผลิ ต
ของ ศาสตราจารย์วป ิ ร และคณะฯ ทีโ่ รงพยาบาลศิรริ าช ในต่างประเทศ อย่างไรก็ตามเนื่องจากข้อจำ�กัดของยา
พบว่ามีผป ู้ ว่ ยไทยเพียง 14% เท่านัน ้ ทีส่ ามารถมี good ดีเพอริโพรนที่กล่าวมาข้างต้น หากยาดังกล่าวจะถูก
compliance กับการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าว นำ�มาใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทยโดยปราศจาก
ข้อมูลองค์ความรู้พื้นฐานของการใช้ยา ดีเพอริโพรน
ด้วยเหตุนี้การรักษาด้วยยาขับเหล็กในรูปรับประทาน ในผู้ป่วยชาวไทยที่เหมาะสมก่อนก็จะสร้างความเสี่ยง
จึงเป็นทางออกที่สำ�คัญของผู้ป่วยที่มีภาวะเหล็กเกิน ให้กับทุกภาคส่วนทั้งแพทย์ ผู้ป่วย และส่วนราชการ
จากการศึกษาในต่างประเทศแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ที่เกี่ยวข้อง โดยข้อมูลพื้นฐานของการใช้ยาดังกล่าว
ความร่วมมือของผู้ป่วยต่อยาขับเหล็กชนิดรับประทาน ทีส
่ ำ�คัญคือ ประสิทธิผลของการใช้ยาดังกล่าวโดยวัดจาก
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 47

อัตราการตอบสนองของยาดีเพอริโพรนเพื่อหาขนาด องค์การเภสัชกรรมแห่งประเทศไทยโดยอิงอาศัยข้อมูล
ที่เหมาะสมในผู้ป่วยชาวไทยในการลดระดับธาตุเหล็ก จากประสบการณ์และผลงานวิจย ั จากคณะแพทยศาสตร์
ที่สะสมในเลือดและในร่างกาย และอุบัติการณ์ของ ศิริราชพยาบาล ผลงานดังกล่าวได้ถูกนำ�ไปใช้ในการ
ผลแทรกซ้ อ นและผลข้ า งเคี ย งอั น ไม่ พึ ง ประสงค์ กำ�หนดนโยบายของการใช้ยาขับเหล็กดีเฟอริโพนใน
ในผู้ป่วยชาวไทย ระดับประเทศ ผ่านโครงการนำ�ร่อง “Good-SMP:
GPO-L-ONE Safety Monitoring Program” ซึ่ง
ข้อมูลทั้ง 2 ประการ จะเป็นองค์ความรู้สำ�คัญที่จะ ได้รับการสนับสนุนจาก องค์การเภสัชกรรม มูลนิธิโรค
สร้างความเชื่อมั่นในการใช้ยาดังกล่าว ในหมู่บุคลากร โลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทยและ สำ�นักงาน
ทางการแพทย์และผู้ป่วย ตลอดจนสามารถนำ�ไปใช้ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นำ�ไปสู่การผลักดันยาขับ
ในการกำ�หนดนโยบายในการใช้ยาดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง เหล็กให้อยู่ในบัญชียาหลัก สามารถเบิกจ่ายได้ในชุด
ภายใต้ขนาดที่เหมาะสมโดยมีปัญหาแทรกซ้อนและ สิทธิประโยชน์ของสำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ผลข้างเคียงน้อยที่สุดและเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวาง เป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยที่มีภาวะเหล็กเกินทั้งประเทศ
แนวทางในการตรวจติดตามประเมินผลดีและผลเสีย
จากการใช้ยาดังกล่าวในระดับประเทศต่อไป นอกจากนี้ ในปัจจุปัน ศาสตราจารย์วิปร ยังคงดำ�เนินการวิจัยและ
เพื่อให้ผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวเป็นที่ยอมรับในระดับ มีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาภาวะเหล็กเกิน
นานาชาติ เนือ ่ งจากองค์การเภสัชกรรมแห่งประเทศไทย และการรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียอย่างต่อเนื่อง โดยเป็น
มีนโยบายที่จะขยายตลาดของยาขับเหล็กดีเพอริโพรน หัวหน้าโครงการวิจัยและนักวิจัยหลักในโครงการวิจัย
ไปยังประเทศเพือ ่ นบ้านใกล้เคียง จึงจำ�เป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะ ระดับนานาชาติมากกว่า 50 โครงการ ผลงานวิจัยใน
ต้องมีการประเมิน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของยา ชุดนี้แสดงถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการรักษา
ดังกล่าวด้วยการวิจัยที่ได้มาตรฐานและดำ�เนินการโดย ผู้ป่วยด้วยยาขับธาตุเหล็กของ ศาสตราจารย์วิปร ใน
นักวิจัยที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โครงการวิจัยยาขับธาตุเหล็กที่ได้รับการสนับสนุนจาก
บริษท ั ยาในระดับนานาชาติ ทัง้ การวิจยั ในระยะที่ 1-2 ไป
ในการนี้ ศาสตราจารย์วป ิ ร จึงได้รบ
ั มอบหมายจาก มูลนิธิ จนถึงระยะที่ 3 โดยการวิจย ั เหล่านีเ้ ป็นการวิจยั แบบสห
โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย ให้เป็นหัวหน้า สถาบันในหลายประเทศทัว่ โลก ศาสตราจารย์วป ิ ร เป็น
โครงการวิจัยทางคลินิก (clinical trial) ของการใช้ยา ผู้เชี่ยวชาญเพียงคนเดียวจากประเทศไทยและภูมิภาค
ดังกล่าวขึน ้ เป็นครัง้ แรกในประเทศไทย ในกลุม ่ ประชากร เอเชียที่ได้รับการยอมรับให้เป็นคณะกรรมการบริหาร
ชาวไทยจำ�นวนกว่า 150 ราย ในสถาบันทางการแพทย์ชน ั้ โครงการวิจย ั และเป็นนักวิจย
ั หลักของงานวิจย ั ในระดับ
นำ�ในประเทศไทย 6 สถาบันคือ โรงพยาบาลศิรริ าช โรง โลกเหล่านี้ ผลงานวิจัยเหล่านี้จะนำ�ไปสู่การพัฒนาเพื่อ
พยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาล แสวงหายาขับเหล็กชนิดใหม่ๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้
พระมงกุฎเกล้า สถาบันวิจย ั และพัฒนาวิทยาศาสตร์และ ป่วยที่มีภาวะเหล็กเกินในอนาคต
เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันสุขภาพเด็ก
แห่งชาติมหาราชินี โดยการศึกษาวิจย ั ดังกล่าวได้ดำ�เนิน
การจนได้ผลสำ�เร็จอย่างดีเยีย ่ มและได้รบ ั การตีพมิ พ์เผย
แพร่ในระดับนานาชาติในวารสาร American Journal
of Hematology ในปี พ.ศ. 2556 โดยผลงานวิจัยดัง
กล่าวมีสว่ นผลักดันให้ยาขับเหล็กดีเพอริโพรนได้รบ ั การ
ขึน
้ ทะเบียนและอยูใ่ นบัญชียาหลักของประเทศไทย โดย
มีผปู้ ว่ ยมากกว่า 50,000 รายได้รบ ั ประโยชน์จากยาดัง
กล่าว ยิง่ ไปกว่านัน้ ผลงานวิจย ั ดังกล่าวยังเป็นหลักฐาน
อ้างอิงให้องค์การเภสัชกรรม สามารถนำ�ยาดีเพอริโพ
รนที่ผลิตในประเทศไทยไปขึ้นทะเบียนในประเทศอื่นๆ
อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สามารถส่งออกยาดังกล่าว
เพื่อนำ�เงินตราจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศได้อีก
ทางหนึ่งด้วย

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์วิปร ยังได้ดำ�เนินการจัดทำ�


“แนวทางเวชปฏิบต ั ใิ นการรักษาภาวะเหล็กเกินด้วยยาดี
เฟอริโพน” จัดพิมพ์เมือ่ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 โดย
48 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

3. ผลงานวิจย ั ด้านการพัฒนาการตรวจประเมินระดับ นอกจากนี้ผลงานวิจัยดังกล่าวได้รับการจดลิขสิทธิ์จาก


เหล็กที่สะสมในอวัยวะภายในด้วยเครื่องตรวจ กรมทรัพย์สินทางปัญญาและปัจจุบันมีบริษัทเอกชน
แม่เหล็กไฟฟ้า (เครื่องเอ็มอาร์ไอ; Magnetic ที่ได้ซื้อลิขสิทธิ์ไปจำ�หน่ายในหลายโรงพยาบาลเอกชน
Resonance Imaging, MRI) ทัว่ ประเทศไทย นอกจากนี้ ศาสตราจารย์วป ิ ร และคณะ
ในปั จ จุ บั น การตรวจประเมิ น ปริ ม าณเหล็ ก ที่ ส ะสม ได้เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยชาวไทยในโรงพยาบาลของรัฐ
ในอวัยวะภายในทีส ่ ำ�คัญ คือ ตับ และหัวใจสามารถทำ�ได้ ไม่เฉพาะแต่ผป ู้ ว่ ยทีม
่ ารับการรักษาทีค ่ ณะแพทยศาสตร์
ด้วยการใช้เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเอ็มอาร์ไอ ศิริราชพยาบาลเท่านั้นที่ได้เข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าว
ซึ่ ง เป็ น วิ ธี ก ารมาตรฐานที่ ย อมรั บ กั น ในระดั บ สากล แต่ ยั ง มี ผู้ ป่ ว ยจากสถาบั น การแพทย์ อื่ น ๆ ได้ แ ก่
มีผลการตรวจทีแ่ น่นอนเชือ ่ ถือได้ อย่างไรก็ตาม การตรวจ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สถาบัน
ดังกล่าวจำ�เป็นต้องใช้โปรแกรมวิเคราะห์ที่นำ�เข้าจาก สุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โรงพยาบาลศรีนครินทร์
ต่ า งประเทศที่ มี ร าคาแพง มี ค่ า ใช้ จ่ า ยด้ า นลิ ข สิ ท ธิ์ จังหวัดขอนแก่น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ที่ต้องจ่ายรายปีให้กับบริษัทต่างประเทศ จึงทำ�ให้การ โรงพยาบาลภูมิพล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
ตรวจประเมินปริมาณเหล็กที่สะสมในอวัยวะภายใน จังหวัดพิษณุโลก และผูป ้ ว่ ยจากทัว่ ประเทศให้ได้มโี อกาส
ด้วยวิธีการดังกล่าวมีข้อจำ�กัดในผู้ป่วยที่มีฐานะยากจน ใช้โปรแกรมดังกล่าว ผ่านโครงการ Asia Pacific Iron
ไม่สามารถเข้าถึงการตรวจได้ Assessment-MRI (APIA-MRI) โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ยิง่ ไปกว่านัน ้ ศาสตราจารย์วป ิ ร ยังได้แผ่ขยายความร่วมมือ
ศาสตราจารย์วิปร จึงได้ริเริ่มเครือข่ายวิจัยธาลัสซีเมีย ไปยังต่างประเทศในกลุ่มประเทศ AEC (ASEAN
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่เป็นความร่วมมือ Economic Community) โดยให้ความช่วยเหลือ
ระหว่างภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ ทางวิชาการแก่ โรงพยาบาลเด็กแห่งชาติของประเทศ
ภาควิชารังสีวท ิ ยา และศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระนางเจ้า ฟิลิปปินส์ (National Institute of Child Health
สิรกิ ิต์ิ ในปี พ.ศ. 2552 เพือ ่ โครงการจัดสร้างโปรแกรม Center, The Philippines) ให้สามารถส่งภาพการตรวจ
คอมพิวเตอร์ในการแปลผลและตรวจวิเคราะห์หาปริมาณ ด้ ว ยเครื่ อ งเอ็ ม อาร์ ไ อมารั บ การตรวจวิ เ คราะห์
เหล็กสะสมในหัวใจและตับ (Accuracy of cardiac MRI ในประเทศไทยผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้โดย
on iron overload evaluation in thalassaemia ไม่ คิ ด ค่ า ใช้ จ่ า ยอี ก ด้ ว ย โครงการดั ง กล่ า วยั ง ทำ�ให้
patients) โดยได้รบ ั ความร่วมมือจาก รองศาสตราจารย์ ผู้บริหารในระดับประเทศได้รับทราบถึงอุบัติการณ์
ดร. ไพรัช สายวิรุณพร และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ความรุนแรงของภาวะเหล็กเกินทีเ่ กิดขึน ้ ในประเทศไทย
รุ่งโรจน์ กฤตยพงศ์ ด้วยการวิเคราะห์ภาพจากเครื่อง และสามารถสร้างการศึกษาวิจย ั อืน่ ๆ เพือ
่ พัฒนาเครือ
่ ง
เอ็มอาร์ไอขึน ้ เป็นครัง้ แรกในประเทศไทยและในภูมภ ิ าค มือเพิม ่ เติม เช่น การใช้ระดับซีรม ั่ เฟอไรตินเพือ่ พยากรณ์
เอเชีย โดยผลงานวิจัยดังกล่าวได้นำ�ไปสู่ผลงานตีพิมพ์ ผลสะสมของเหล็กในหัวใจและตับในกรณีของโรงพยาบาล
ในวารสารทางวิชาการจำ�นวนมากกว่า 15 บทความ หรือสถาบันทีไ่ ม่มเี ครือ ่ งมือเอ็มอาร์ไอดังกล่าว งานวิจย ั นี้
ในวารสารระดับนานาชาติในต่างประเทศทั้งหมด ทำ�ให้แพทย์สามารถทำ�การประเมินภาวะเหล็กเกินได้
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 49

โดยตรง สามารถปรับขนาดยาขับเหล็กทีใ่ ช้ได้อย่างถูกต้อง ความรุนแรงของโรคที่มีความหลากหลาย อุบัติการณ์


นำ�ไปสู่การเพิ่มอายุขัยเฉลี่ยของผู้ป่วยในโรงพยาบาล สาเหตุ และปั จ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ของการเกิ ด ภาวะ
ศิรริ าชเพือ
่ คุณภาพชีวต
ิ ของผูป
้ ว่ ยดียง่ิ ขึน
้ ในระยะ 10 ปี แทรกซ้อนในด้านต่างๆ ของโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
ที่ผ่านมา นอกจากนี้ผลงานวิจัยจากเครือข่ายดังกล่าว ทั้งกลุ่มผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ เช่น ภาวะพร่องฮอร์โมน
ยังเป็นต้นแบบทีแ ่ สดงให้เห็นถึงความร่วมมือกันอย่างดี คอร์ ติ ซ อล ภาวะกระดู ก พรุ น ภาวะขาดวิ ต ามิ น ดี
ระหว่างสหสาขาวิชา มีการแบ่งปันผลงานทางวิชาการ นำ� โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง การศึ ก ษาปั จ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ
ไปสูก ่ ารสร้างและพัฒนางานวิจยั ทีม่ ผ
ี ลกระทบในวงกว้าง ความผิ ด ปกติ ต่ อ การหลั่ ง อิ น ซู ลิ น และความเสี่ ย ง
มากกว่าการทำ�งานภายในสาขาวิชาเดียว ต่อการเกิดโรคเบาหวานในอนาคตในกลุ่มผู้ป่วยอัลฟ่า
ธาลัสซีเมียซึ่งถือเป็นงานวิจัยครั้งแรกในโลกที่แสดง
4. ผลงานวิจย ั ด้านพยาธิสรีรวิทยาของโรคโลหิตจาง ให้เห็นถึงปัญหาและความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน
ธาลัสซีเมียและอณูชวี วิทยาของโรคทางโลหิตวิทยา ดังกล่าวที่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยตั้งแต่วัยเด็กและ
(Molecular Haematology) ในประเทศไทย วัยรุน ่ ตลอดจนภาวะแทรกซ้อนทีพ ่ บได้ไม่บอ
่ ย เช่น ภาวะ
จากประสบการณ์ในการวิจัยค้นคว้าหาองค์ความรู้เพื่อ hemophagocytosis ในผูป ้ ว่ ยอัลฟ่าธาลัสซีเมีย ชนิด
พัฒนาการดูแลรักษาผูป้ ว่ ยธาลัสซีเมียและโรคทางโลหิต hemoglobin H/CS แต่มีความสำ�คัญในทางคลินิก
วิทยาของเม็ดเลือดแดง มากกว่า 20 ปี ศาสตราจารย์ เนื่องจากวินิจฉัยได้ยากและแพทย์มักจะไม่คิดถึงภาวะ
ดร. นายแพทย์วิปร วิประกษิต ได้สร้างสรรผลงาน ดังกล่าวเพราะผูป ้ ว่ ยธาลัสซีเมียมักจะมีภาวะซีดมากขึน ้
ทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ในอีกหลายด้าน ได้แก่ เมื่อมีการติดเชื้อ การรายงานภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว
จึงมีคณ ุ ค่าและมีประโยชน์สำ�หรับแพทย์นำ�ไปใช้ในการ
- ผลงานการค้นพบการกลายพันธุข์ องฮีโมโกลบินชนิดใหม่ ดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น โดยผลงานดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์
เป็นครั้งแรกในโลก ในผู้ป่วยชาวไทย ได้แก่ การค้นพบ ในวารสารทางวิชาการที่มีชื่อเสียงในระดับโลกทั้งหมด
ฮีโมโกลบิน ปากน้ำ�โพ (Hemoglobin Pak Num Po) และนำ�ไปสู่การนำ�ไปดัดแปลงใช้ในการพัฒนาการดูแล
ฮีโมโกลบิน ยะลา (Hemoglobin Yala) ฮีโมโกลบิน ผูป
้ ว่ ยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในประเทศไทยและปรับใช้
เจ้าพระยา (Hemoglobin Chao Pra Ya) โดยผลงาน ไปทั่วโลก
ดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่มี
ชื่อเสียงในระดับโลกทั้งหมด อันเป็นชื่อเสียงแก่วงการ - ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครื่องมือใหม่ใน
วิชาการของประเทศไทย การประเมินผู้ป่วยธาลัสซีเมีย โดยเป็นการวิจัยของ
ศาสตราจารย์วิปร ที่ครอบคลุมไปจนถึงบริบททางด้าน
- ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพยาธิสรีรวิทยาของโรค
กาย จิตใจ สังคมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคโลหิต
โลหิตจางธาลัสซีเมีย ทั้งในแง่กลไกทางพันธุกรรม
จางธาลัสซีเมียด้วยการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวต ิ
ด้านการควบคุมการแสดงออกของยีนโกลบิน การตรวจหา
ของผูป ้ ว่ ยในประเทศไทยกับในต่างประเทศ ผลงานวิจย ั
ยีนที่เป็นปัจจัยส่งผลต่อการแสดงออกของอาการและ
นี้นำ�ไปสู่การพัฒนาเครื่องมือใหม่ที่เรียกว่า Patient
50 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

Reported Outcome สำ�หรับผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ของยีนด้วยวิธี multiple ligation probe assay


เพื่อการประเมินการตอบสนองของผู้ป่วยต่อการรักษา (MLPA) การพัฒนาการตรวจวินจิ ฉัยตัวอ่อนก่อนการฝัง
ปัจจุบันเครื่องมือดังกล่าวถูกนำ�ไปใช้ในโครงการวิจัย ตัว (pre-implantation genetic diagnosis) ทัง้ การ
ยาระดับนานาชาติหลายโครงการและเป็นที่ยอมรับ วินจิ ฉัยยีนทีผ ่ ด
ิ ปกติ ร่วมกับการตรวจหาภาวะโครโมโซม
โดยองค์การอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ผิดปกติ (aneuploidy test) และตรวจเทียบจีโนไทป์
และหน่วยงานกลางในการอนุมัติยาของสหภาพยุโรป ของยีน HLA (HLA genotype) เพื่อการคัดเลือกตัว
- ผลงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการตรวจ อ่อนที่เหมาะสมที่สุดต่อการฝังตัว การพัฒนาการตรวจ
วินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียและโรคทางโลหิตวิทยาของเม็ด หาการกลายพันธุข์ องโรคทางโลหิตวิทยาด้วยเทคโนโลยี
เลือดแดง ได้แก่ การพัฒนาทางห้องปฏิบัติการในการ genome ได้แก่การใช้ whole exome sequencing
ตรวจหาภาวะพร่องเอ็นไซม์ในเม็ดเลือดแดง ได้แก่ (WES) และ whole genome sequencing (WGS)
glucose-6-phosphate dehydrogenase ด้วยเทคโนโลยี next generation sequencing
(G6PD), 6-phosphogluconate dehydrogenase (NGS) ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยผลงานดัง
(6PGD), pyruvate kinase (PK), hexokinase กล่าวได้รบ ั การนำ�เสนอในการประชุมวิชาการทางโลหิต
(HK), glucose phosphate isomerase (GPI), วิทยาในระดับชาติและในระดับนานาชาติ ตลอดจนได้รบ ั
phosphofructokinase (PFK), aldolase (ALD)
การตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่มีชื่อเสียงในระดับ
and phosphoglycerate kinase (PGK) และ
โลก ทีส ่ ำ�คัญงานวิจย ั ทัง้ หมดได้นำ�ไปสูก ่ ารนำ�ไปดัดแปลง
การตรวจหาภาวะผนังเม็ดเลือดแดงบกพร่องด้วยการ
ใช้ในการพัฒนาการดูแลผูป ้ ว่ ยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
ใช้เทคโนโลยี flow cytometry ขึ้นเป็นครั้งแรกใน
ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ การตรวจวินิจฉัยก่อน และโรคทางโลหิตวิทยาในประเทศไทยและอ้างอิงใช้ไป
คลอดด้วยการตรวจดีเอ็นเอแบบใหม่ที่มีความไวและ ทั่วโลก โดย ศาสตราจารย์วป ิ ร เป็นแพทย์ชาวเอเชียคน
ความครอบคลุมมากขึ้น เช่น การตรวจ real time เดียวทีไ่ ด้รบั เชิญให้เป็นบรรณาธิการในหนังสือ แนวทาง
polymerase chain reaction (PCR) เพื่อนำ�มา เวชปฏิบัติในการรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียทั้งชนิดพึ่งพา
ใช้ในการตรวจหาภาวะ Hb Bart’s hydrops ที่ทำ�ให้ เลือด (Guidelines for The Management of
ทารกเสียชีวต ิ ในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ�มากขึน้ โดยมีความ Transfusion Dependent Thalassemia (TDT) และ
ไวและความจำ�เพาะสูง ถึง 100% และสามารถตรวจได้ ไม่พงึ่ พาเลือด (Guidelines for The Management
โดยการเจาะตรวจน้ำ�คร่ำ�และเนือ ้ รก แทนทีก
่ ารเจาะตรวจ of Non-Transfusion Dependent Thalassemia
เลือดของทารกจากสายสะดือซึ่งทำ�ได้ยากและมีความ (NTDT) จัดพิมพ์โดย สมาพันธ์ธาลัสซีเมียนานาชาติ
เสีย
่ งสูงแก่มารดาและทารก การตรวจกรองทารกแรกเกิด (Thalassemia International Federation, TIF)
ด้วยเทคนิค isoelectric focusing และ Capillary
ศาสตราจารย์วิปร ยังเป็นกุมารแพทย์ด้านโลหิตวิทยา
electrophoresis (CE) การตรวจหาการขาดหายไป
ชาวเอเชียเพียงคนเดียวทีไ่ ด้รบ ั เชิญให้เป็นทีป
่ รึกษาของ
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization,
WHO) ในคณะกรรมการที่กำ�หนดนิยามของ ภาวะซีด
ในมนุษย์ ซึ่งจะเป็นมาตรฐานที่ถูกนำ�ไปใช้ทั่วโลก
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 51

WHO technical meeting: Use and interpretation of


haemoglobin concentrations for assessing
anaemia status in individuals and populations
29-30 November and 1 December 2017
WHO HQ Salle C

ผลงานวิจัยในชุดนี้แสดงถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญของ กลายพันธุต ์ น
้ แบบของโรคเหล็กเกินทางพันธุกรรมทีเ่ รียก
ศาสตราจารย์วิปร ในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้าน ว่า ferroportin disease นอกจากนี้ ศาสตราจารย์
โลหิตวิทยาระดับอณู (molecular hematology) วิปร ยังริเริ่มการตรวจทางพันธุกรรมเพื่อนำ�มาปรับใช้
โดยอาศัยความรูค ้ วามชำ�นาญในด้านการตรวจวิเคราะห์ ทางคลินก ิ ในอีกหลายโรค เช่น การศึกษาหาปัจจัยเสี่ยง
ดีเอ็นเอนำ�ไปสู่การค้นพบการกลายพันธุ์ชนิดใหม่ๆ อีก ทางพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อไข้หวัดนก
ทั้งยังนำ�มาวิเคราะห์เพิ่มเติมในเชิงอาการและอาการ โรคไขกระดูกฝ่อทางพันธุกรรม (congenital bone
แสดงออก ผลการตรวจวิเคราะห์น้ีจะมีประโยชน์ในแง่ marrow failure) การตรวจหาสาเหตุทางพันธุกรรม
ของการนำ�ไปใช้เพื่อการพยากรณ์โรคและระดับความ ของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคไตไม่ขับกรดซึ่งมีการ
รุนแรงของโรคในผู้ป่วยรายอื่นๆในอนาคต นอกจากนี้ แตกทำ�ลายของเม็ดเลือดแดง (distal renal tubular
ศาสตราจารย์วป ิ ร ยังได้รบ
ั เชิญจาก ศาสตราจารย์ นาย acidosis; dRTA) โรคผนังเม็ดเลือดแดงผิดปกติ
แพทย์ David Chui แห่ง มหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศ (hereditary red cell membrane disorders)
สหรัฐอเมริกา ให้รว่ มทำ�การวิเคราะห์ดเี อ็นเอของผูป
้ ว่ ย รวมถึงการตรวจหายีนที่เป็นปัจจัยในการเกิ ดภาวะ
จากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทางสหรัฐอเมริกาได้จัด ติดเชื้ออย่างรุนแรง (sepsis and septic shock)
ส่งดีเอ็นเอของผู้ป่วยมาให้ ศาสตราจารย์วิปร ทำ�การ
วิเคราะห์ในประเทศไทยเพื่อหาปัจจัยทางพันธุกรรม 6. ผลงานวิ จั ย ด้ า นอณู ชี ว วิ ท ยา (molecular
ที่เกี่ยวข้องกับอาการและอาการแสดงตลอดจนระดับ biology) เพือ
่ การศึกษาในทางวิทยาศาสตร์บริสท ุ ธิ์
ความรุนแรงของผู้ป่วย แสดงให้เห็นถึงการยอมรับใน ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วิปรยังมีผลงานวิจัย
ฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอและ ในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านอณูชีววิทยา ในการ
การควบคุมการแสดงออกของยีนของ ศาสตราจารย์วป ิ ร พั ฒ นารู ป แบบการทดลองทางวิ ท ยาศาสตร์ หรื อ
ในระดับนานาชาติและระดับโลก experimental models ทั้งการทำ� induced
pluripotent stem cells (iPSc model) และ การพัฒนา
5. ผลงานวิจยั ด้านอณูชวี วิทยาพันธุกรรม (molecular primary erythroid cell model เพือ ่ ใช้ในการศึกษา
genetics) ของโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ ใน วิจัยทางพยาธิสรีรวิทยา กลไกการเกิดโรค การใช้เป็น
ประเทศไทย model ในการตรวจหายา หรือ สารเคมีทจี่ ะนำ�มารักษาผูป ้ ว่ ย
ในอนาคต หรือแม้แต่การทดสอบในเชิงความปลอดภัย
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วิปร ยังมีผลงานวิจัยทาง ของสารเคมีบางประเภท เช่น สารเคมีที่มีขนาดเล็ก
พันธุกรรมในอีกหลายด้าน ได้แก่ การตรวจวินจิ ฉัยหา ในระดั บ อนุ ภ าคนาโน งานวิ จั ย เหล่ า นี้ เ ป็ น ต้ น แบบ
สาเหตุของภาวะเหล็กเกินทางพันธุกรรมเป็นคนแรก ที่จะนำ�ไปสู่การพัฒนางานวิจัย “ต้นน้ำ�” หรือ “การวิจัย
ในภูมภิ าคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการตรวจหายีน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน” เพื่อประโยชน์ในการพัฒนา
และการกลายพันธุท ์ เี่ ป็นสาเหตุอน
ั นำ�ไปสูก
่ ารค้นพบการ การรักษาดูแล และแสวงหาการรักษาด้วยยาใหม่ๆ สำ�หรับ
กลายพันธุข์ องยีน ferroportin ชนิด C326Y ทีเ่ ป็นการ ผู้ป่วยโรคโลหิตวิทยาของประเทศไทยต่อไปในอนาคต
52 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

ความสำ�คัญและประโยชน์ต่อสาธารณชนและประเทศ
จากผลงานของ ศาสตราจารย์ วิปร และคณะฯ
ผลงานวิจย ั และพัฒนาของ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วป ิ ร
ได้ถูกนำ�ไปปรับใช้ในทุกมิติและในหลายบริบทอย่างกว้าง
ขวาง ทั้งการนำ�ไปกำ�หนดเป็นแนวทางในการรักษาผู้ป่วย
โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียทัว่ โลกผ่านหนังสือแนวทางการรักษา
ผูป
้ ว่ ยธาลัสซีเมียทีจ่ ด
ั ทำ�โดยสมาพันธ์ธาลัสซีเมียนานาชาติ
ที่ ศาสตราจารย์วิปร เป็นบรรณาธิการร่วม ผลงานการวิจัย
เชิงการวินจิ ฉัยถูกนำ�ไปใช้ในการเปิดบริการแก่สาธารณะชน
ผ่าน บริษัท แอท-ยีนส์ จำ�กัด บริษัทด้าน biotechnology
แห่งแรกของประเทศไทยที่ ศาสตราจารย์วิปร เป็นผู้ก่อตั้ง
ในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งได้ให้บริการแก่ผู้ป่วยไปนับล้านราย
ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ผลงานวิจัยเกือบ
ทั้งหมด จำ�นวนกว่า 180 เรื่อง ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร
ทางวิชาการชั้นนำ�ในต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) และ
ในประเทศได้รบ ั การอ้างอิงมากกว่า 10,000 ครัง้ ในฐานข้อมูล
ต่างประเทศ ผลงานการพัฒนาการดูแลรักษาผูป ้ ว่ ยธาลัสซีเมีย
ภายในคณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาลภายใต้การนำ�ของ
ศาสตราจารย์วิปร เป็นที่ประจักษ์ในระดับโลก ทำ�ให้ใน
ปี พ.ศ. 2556 ศูนย์ธาลัสซีเมีย คณะแพทยศาสตร์ศิริราช
พยาบาลที่อยู่ภายใต้การดูแลของ ศาสตราจารย์วิปร ได้รับ
รางวัล จากมูลนิธิ Sultan Bin Khalifa International
Thalassemia Award ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรต์
(United Arab Emirates, UAE) ในฐานะ “ศูนย์แห่งความ
เป็นเลิศด้านการดูแลรักษาผูป ้ ว่ ยธาลัสซีมย ี ” นับเป็นสถาบัน
แห่งแรกในโลกทีไ่ ด้รบ ั เกียรตินี้ และทำ�ให้ คณะแพทยศาสตร์
ศิรริ าชพยาบาล เป็น สถาบันมาตรฐานทีม ่ แี พทย์จากทัว่ โลก
มาศึกษาดูงานด้านการดูแลรักษาผูป ้ ว่ ยธาลัสซีมย ี ในทุกๆ ปี
เมื่อเริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในปี
พ.ศ. 2563 ศาสตราจารย์วป ิ ร ยังได้นำ�ความรู้ ความชำ�นาญ
ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ด้านอณูชีววิทยา ไปใช้ออกแบบ
คิดค้นนวัตกรรม (innovation) ในสถานการณ์ ซึ่งเป็น
ปัญหาสำ�คัญของโลกและของประเทศ ด้วยทุนทรัพย์สว่ นตัว
จำ�นวนกว่า 2 ล้านบาท จัดสร้างเป็น “รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย
พระราชทาน” จำ�นวน 1 คัน น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย
ต้นแบบแด่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสน ิ ทร
มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ท่าน
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ กรมควบคุม
โรค กระทรวงสาธารณสุขได้นำ�ไปทดลองใช้เพื่อการเก็บ
ตัวอย่างหาเชื้อโควิด-19 จากโพรงจมูก พบว่ารถดังกล่าว
มีประสิทธิภาพที่ดี มีความปลอดภัยสูงแก่เจ้าหน้าที่แพทย์
และบุคคลากรทางการแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน มีความสะดวก
และให้ความรวดเร็วในการเก็บตัวอย่างในพืน ้ ทีซ่ งึ่ เข้าถึงยาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห ่ วั ได้ทรงพระกรุณาพระราขทาน
พระราชทรัพย์สว่ นพระองค์ให้จด ั สร้าง “รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย
พระราชทาน” เพิม ่ เติมอีกรวมเป็นจำ�นวน 60 คัน พระราชทาน
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 53

ให้กรมควบคุมโรคได้นำ�ไปใช้เก็บตัวอย่างหาเชื้อโควิด-19 นักวิจย ั ในเวลาเดียวกัน ท่านแรกคือ ศาสตรจารย์เกียรติคณ ุ


แบบการตรวจเชิงรุก (active case finding) มากกว่า แพทย์หญิงอนงค์ เพียรกิจกรรม ผมโชคดีได้เรียนกับท่าน
1,200,000 รายทั่วประเทศไทย ผลงานดังกล่าวนับเป็น ตัง้ แต่เป็นนักศึกษาแพทย์ปท ี ส
ี่ าม ประทับใจในความสามารถ
กลไกประการหนึ่งที่ทำ�ให้ประเทศไทยประสบความสำ�เร็จ ทางวิชาการของท่าน ในฐานะโลหิตแพทย์และซาบซึง้ จากการ
อย่างงดงามในการควบคุมการระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้มีโอกาสขึ้นฝึกปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยแผนกอายุรศาสตร์
ในระดับแนวหน้าของโลกและได้มก ี ารนำ�รถต้นแบบดังกล่าว ทีท ่ า่ นรับผิดชอบ อาจารย์เป็นผูม ้ ค
ี วามรูด
้ เี ลิศ สามารถในการ
ไปใช้ในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงอีกด้วย อภิปรายปัญหาผู้ป่วยได้อย่างฉาดฉาน มีทักษะทางคลินิก
ที่หาตัวจับได้ยากและที่สำ�คัญท่านยังเป็น นักวิทยาศาสตร์
ผลงานทางวิชาการและงานวิจัย ของ ศาสตราจารย์วิปร
ระดับปริญญาเอกจากประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมกับการ
ในฐานะกุมารแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ จึงมิได้มน ี ย
ั ยะจำ�กัด
เป็นแพทย์ด้วย ท่านเป็น “ต้นแบบ” อย่างแท้จริง ในฐานะ
เฉพาะสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญและเพื่อได้รับการยอมรับจาก
แพทย์ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ ท่านแสดงให้ผมเห็น
การตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการชั้นนำ�เท่านั้น แต่ผลงาน
ว่านอกเหนือจาก แพทย์จะต้องมีความสามารถในการดูแล
ทุกชิ้น ทุกเรื่อง ได้ถูกนำ�ไปใช้ได้จริงในทางคลินิกเพื่อการ
ผู้ป่วย ในทางคลินิกแล้ว แพทย์ยังจำ�เป็นที่จะต้อง มีทักษะ
พัฒนาปรับปรุงการวินจิ ฉัยและการรักษาดูแลผูป ้ ว่ ย ไม่จำ�เพาะ
และความสามารถทางวิทยาศาสตร์ ในการแสวงหาความจริง
แต่ในประเทศไทย แต่ยงั ประโยชน์แก่ผป ู้ ว่ ยในระดับนานาชาติ
เพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย ผมได้มีโอกาสเรียน
เนื่องเพราะ ศาสตราจารย์วิปร ยึดมั่นเสมอมาว่า “งานวิจัย
รู้เทคนิคทางเซลล์วิทยาจากท่านแบบจับมือสอนและเห็น
ทีด
่ ี ต้องมีประโยชน์ ตอบโจทย์คนไข้ รับใช้สงั คม” เพือ ่ สืบสาน
ประโยชน์ที่เราสามารถนำ�ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการไปใช้
พระราชปณิธานของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดช
ช่วยการวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยได้ทันท่วงที ทักษะ
วิกรมพระบรมราชชนกทีว่ า่ “ความสำ�เร็จทีแ่ ท้จริงอยูท ่ ก
ี่ ารนำ�
ในการแสวงหาความจริงคือ ทักษะของการเป็นนักวิทยาศาสตร์
ความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ”
การแพทย์ นั้นเอง
กิตติกรรมประกาศของแพทย์นักวิทยาศาสตร์ อาจารย์ แ พทย์ อี ก ท่ า นที่ มี อิ ท ธิ พ ลทางความคิ ด ของผม
ผมมีความโชคดีหลายอย่างในชีวต ิ โชคดีทไี่ ด้มโี อกาสเกิดมา ในฐานะแพทย์นก ั วิทยาศาสตร์ คือ ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ
ในครอบครัวทีม ่ ค
ี ณ
ุ พ่อคุณแม่ซงึ่ เป็นแบบอย่างทีด ่ ี มี ภรรยา แพทย์หญิงวรวรรณ ตันไพจิตร ท่านเป็นกุมารแพทย์ทางโลหิต
และบุตรชายเป็นกำ�ลังใจที่สำ�คัญ ตลอดจนมีน้องสาวและ วิทยาทีม ่ คี วามเชีย่ วชาญด้านโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ผมได้
ญาติมิตรที่คอยสนับสนุน และที่สำ�คัญคือ ผมได้มีโอกาส มีโอกาสเรียนรูแ้ ละรับถ่ายทอดวิธก ี ารในการสังเกต เก็บข้อมูล
เข้าเรียนที่ “คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล” ซึง่ เป็นสถานที่ ทางคลินก ิ ของผูป้ ว่ ยจากท่านอย่างละเอียด อาจารย์มค ี วาม
ที่ทำ�ให้ผมได้พบกับ ครูแพทย์ ที่ประเสริฐหลากหลายท่าน พยายามในการพัฒนาการตรวจทดสอบทางวิทยาศาสตร์
มีบางท่านทีผ่ มขออนุญาตเอ่ยนามไว้เพือ่ เป็นการบูชาพระคุณครู ในห้องปฎิบัติการในโรงพยาบาลศิริราช สร้างเครือข่ายใน
เพราะท่านเหล่านีม ้ บ
ี ทบาทสำ�คัญทีเ่ ป็น แรงบันดาลใจให้ผม การวิจยั กับต่างประเทศ และทีส ่ ำ�คัญแม้อาจารย์จะเป็นแพทย์
เติบโตและเจริญรอยตามท่านในแนวทางของแพทย์คลินก ิ และ แต่ทา่ นก็เป็นผูน้ ำ�ในการประชุมแลบ (lab meeting) ประจำ�
54 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

สัปดาห์กบ ั ทีมนักวิทยาศาสตร์และนักเทคนิคการแพทย์ของ ก็สามารถทำ�สิง่ นีไ้ ด้ดว้ ยการเป็นนักวิจย


ั ทีด
่ แ
ี ละสร้างผลงาน
สาขา ทำ�ให้ผมได้เห็นต้นแบบว่า แพทย์ก็สามารถเป็นนัก วิจัยที่มีคุณภาพ
วิทยาศาสตร์ได้ในคนคนเดียวกัน อาจารย์ทั้ง 2 ท่าน จึงเป็น
ท่านสุดท้ายคือ ครูแพทย์นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษของ
แรงบันดาลใจสำ�คัญทีท ่ ำ�ให้ผมตัดสินใจ เรียนโลหิตวิทยาและ
ผม ศาสตราจารย์ นายแพทย์ Douglas R. Higgs FRS
ทำ�งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เพื่อหาแนวทางในการ
ผู้เป็นอาจารย์พี่เลี้ยงและเจ้านายผม ในระหว่างการเรียน
วินิจฉัยโรคใหม่ๆ ให้กับผู้ป่วยในเวลาต่อมา
ในระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ครูฮิกส์
ปูชนียาจารย์อก ี ท่านทีผ
่ มมีความประทับใจและเป็นแรงบันดาล ได้สอนผมในหลายๆ เรื่อง เพื่อปลูกฝังให้ผมสามารถเป็น
ใจให้ผมเป็นแพทย์นักวิจัยทางด้านคลินก ิ สนใจการทำ�วิจัย นักวิทยาศาสตร์ที่ดี บทเรียนที่สำ�คัญที่สุดคือ การจัดลำ�ดับ
แบบ clinical trial คือ ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ นายแพทย์ ความสำ�คัญของสิง่ ทีท ่ ำ� การคิดใคร่ครวญออกแบบการทดลอง
อมร ลีลารัศมี ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ ในความคิดอย่างแยบคายจนกระจ่างแล้วจึงค่อยลงมือทำ�
ในปีสุดท้ายของการเรียนที่ศิริราช ผมได้ฟังการบรรยาย และฝึกฝนการตัง้ คำ�ถามทีถ ่ ก
ู ต้อง และทีส
่ ำ�คัญ สอนหลักการ
ของท่านในการประชุมวิชาการครั้งหนึ่งที่ท่านสอนแพทย์ ในการสื่อสาร อธิบายความเพื่อถ่ายทอดความคิดและ
ผูเ้ ชีย
่ วชาญ การบรรยายนัน ้ เป็นอีกจุดเปลีย่ นทีส ่ ำ�คัญในชีวต
ิ สิ่งที่เราค้นพบให้สาธารณชนได้เข้าใจ บทเรีย นเหล่านี้
ท่านบรรยายเกี่ยวกับยาต้านเชื้อจุลชีพ โดยอ้างอิงงานวิจัย เป็นเครื่องมือสำ�คัญที่ผมใช้ในการทำ�งานตราบจนทุกวันนี้
หลายชิ้นที่อาจารย์ดำ�เนินการศึกษาในโรงพยาบาลศิริราช ความสำ�เร็จทั้งหมดที่เกิดขึ้นและผ่านมาในชีวิตผม ในฐานะ
และรับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำ�ในต่างประเทศ ข้อมูล “นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์การแพทย์” จะเป็นไปไม่ได้เลย
ส่วนใหญ่ที่ท่านพูดนำ�มาจากประสบการณ์ตรงที่ได้จากงาน หากผมไม่ได้รับการปลูกฝัง และได้เรียนรู้จาก “ครู” ผู้เป็น
วิจัยของตนเอง สำ�หรับผมในฐานะผู้ฟัง การบรรยายนี้มี ต้นแบบของผมทุก ๆ ท่าน ทีไ่ ด้เมตตา อบรมสัง่ สอน ตลอดจน
น้ำ�หนัก น่าเชือ
่ ถือ มัน
่ ใจได้วา่ ผูพ
้ ด
ู มีความรูจ้ ริง ไม่ได้บรรยาย ผู้ป่วยทุกคนที่ผมได้ดูแล ท่านเหล่านั้น เป็นแรงบันดาลใจ
จากการไปอ่านทบทวน หรือสรุปความจากผลงานวิจยั ของคนอืน ่ ในชีวิต ผมดีใจ และภาคภูมิใจที่ผมเป็น “ศิษย์มีครู”
ผลงานของท่านได้ถูกนำ�ไปใช้อ้างอิง ในตำ�รา และใช้ในการ
กำ�หนด แนวทางการรักษา หรือ Clinical Practice รายชื่อผู้ร่วมวิจัยในประเทศ
Guidelines ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาจารย์อมร มหาวิทยาลัยมหิดล: ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรวรรณ
ได้แสดงให้ผมเห็นว่าองค์ความรู้ทางคลินิกต่างๆ ในตำ�รา ตันไพจิตร ศาสตราจารย์ นายแพทย์วน
ิ ย
ั สุวต
ั ถี ศาสตราจารย์
มีที่มาจากงานวิจัยทางคลินิก (clinical trial) ที่ดี มีการ แพทย์หญิง จุฬารัตน์ มหาสันทนะ ศาสตราจารย์ นายแพทย์
ทำ�งานวิจย ั แบบสหสถาบันเพือ ่ สร้างการเป็นผูน ้ ำ�ทางวิชาการ รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ไพรัลยา
(authority) ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ แพทย์ไทย นาควัชระ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงกลีบสไบ สรรพกิจ
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 55

รองศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช สายวิรณ ุ พร รองศาสตราจารย์ Thomas D. Coates (Children’s Hospital Los
นายแพทย์บญ ุ ชู พงศ์ธนากุล ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ นายแพทย์ Angeles, LA); Professor David Chui, Boston
กมล เผือกเพ็ชร รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ นัทธี นาคบุญนำ� University, MA)
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เจษฎา บัวบุญนำ� ผู้ช่วย อิตาลี: Professor Maria Domenica Cappellini
ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงกวิวณ ั ณ์ วีรกุล ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ (Universit à degli Studi di Milano, Milan);
แพทย์หญิงณัศวีร์ วัฒนา ดร. นายแพทย์ศภ ุ ชัย เอกวัฒนกิจ Professor Renzo Galanello (Azienda Ospedaliera
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์นพดล ศิริธนารัตนกุล Brotzu-Microcitemico, Cagliari); Professor
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุภร จันท์จารุณี อาจารย์ Gobbi Marco de (Department of Clinical and
Biological Sciences, Turin); Professor Antonio
นายแพทย์ชนินทร์ ลิม ่ วงศ์ ดร. แพทย์หญิงยุวรัตน์ มณฑีรรัตน์
Piga (Università degli Studi di Torino, Turin);
อาจารย์ แพทย์หญิงชญามน ทักษ์ประดิษฐ์ ดร. นาย
Professor Raffaella Origa (Università degli Studi
แพทย์อาจรบ คูหาภินันทน์ ดร. ธิดารัตน์ สุขแสงเปล่ง di Cagliari, Cagliari); Professor G. L. Forni (E.O.
วรวุฒิ จีนช้าง สุชาดา ริว้ เหลือง กัลยา เตชะวณิชย์ วราภรณ์ Ospedali Galliera, Genoa)
กลมเกลา นิพนธ์ ชาเหลา นันทวุฒิ ฉัตรอุทัย ตวงรัตน์
เลบานอน: Professor Ali T Taher (American
แสงพรายพรรณ์ และ ดร. วรุตม์ ดุละลัมพะ University of Beirut Medical Center, Beirut)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิง
ปราณี สุจริตจันทร์ ศาสตราจารย์ดร. นายแพทย์ อิศรางค์ ตุรกี: Professor Yeşim Aydınok (Ege University
Medical School, Izmir); Professor Zeynep Karakaş
นุชประยูร
(İstanbul Tıp Fakültesi, Istanbul)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: ศาสตราจารย์ ดร. สมเดช ศรีชยั รัตนกูล
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพิมพ์ลักษณ์ เจริญขวัญ อียป
ิ ต์: Professor Mohsen Saleh ElAlfy (Thalassemia
Center, Cairo); Professor Amal M. El-Beshlawy
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง
(Kasr El-Aini School of Medicine, Cairo)
ผกาทิพย์ ศิลปมงคลกุล รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง
พัชรพรรณ สุรพลชัย เนเธอร์แลนด์: Associate Professor Cornelis
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: ศาสตราจารย์ นายแพทย์ Leonard Harteveld (Leids Universitair Medisch
Centrum, Leiden)
วิชัย เหล่าสมบัติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรพรรณ
ศรี พ รสวรรค์ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธี ร ชิ ต กรีซ: Professor Antonis C. Kattamis (Ethnikó ke
โชติสัมพันธ์เจริญ Kapodistriakó Panepistímio Athinón, Athens)
กระทรวงสาธารณสุข: แพทย์หญิงมนธนา จันทรนิยม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์: Dr. Khaled M. Musallam
แพทย์หญิงวิลาสลักษณ์ ทะนงศักดิ์สกุล (Thalassemia Center, Abu Dhabi)
มาเลเซีย: Dr. Hishamshah Ibrahim (Kuala Lumpur
รายชื่อผู้ร่วมวิจัยในต่างประเทศ Hospital, Kuala Lumpur)
สหราชอาณาจักร: Professor Douglas R. Higgs, ศรีลังกา: Professor Anuja P. Premawardhena
Professor Sir David J. Weatherall, Professor (Colombo North Teaching Hospital, Ragama)
Richard J. Gibbons, Professor H. Drakesmith
(University of Oxford); Dr. Christopher A. Fisher,
Dr. Alison T. Merryweather-Clarke, Dr. Kathryn
J.H. Robson (John Radcliffe Hospital, Oxford),
Professor John B. Porter (University College
Hospital, London)
สหรัฐอเมริกา: Professor John C. Wood (University
of Southern California, LA); Professor Ellis J.
Neufeld (St. Jude Children’s Research Hospital,
TN); Professor Swee Lay Thein (National Heart,
Lung, and Blood Institute (NHLBI), MD); Assistant
Professor Julia Zhe Xu (National Heart, Lung,
and Blood Institute (NHLBI) MD); Professor
56 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

ASSISTANT
PROFESSOR
DR. KAMONWAD
NGAMCHUEA
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กมลวัช งามเชื้อ

นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่
ประจำ�ปี พ.ศ. 2565
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กมลวัช งามเชื้อ เกิดเมื่อวันที่
12 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ที่จังหวัดภูเก็ต เป็นบุตรคนโต
ของนายสมยศ งามเชื้อและนางศิริวรรณ งามเชื้อ ได้รับทุน
พัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี (พสวท.) เพื่อศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลายทางด้านวิทยาศาสตร์ ณ ศูนย์โรงเรียนหาดใหญ่
วิทยาลัย สำ�เร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในปี พ.ศ.
2552 หลังจากนั้นได้สอบผ่านเข้ารับทุน พสวท. เพื่อ
ศึกษาต่อต่างประเทศในระดับปริญญาตรี-โท-เอก และได้รับ
การตอบรับเข้าเรียนที่ Department of Chemistry,
University of Oxford สหราชอาณาจักร สำ�เร็จ
การศึกษาระดับปริญญาตรีควบโท Master of Chemistry
(First Class Honours) ในปี พ.ศ. 2558
จากนัน
้ ได้เข้าศึกษาระดับปริญญาเอกต่อที่ Department of Chemistry,
University of Oxford ในสาขาวิชา Physical and Theoretical
Chemistry หัวข้อวิทยานิพนธ์คอื “Chemical analysis of biomarkers
and silver nanoparticles” โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ Professor
Dr. Richard G. Compton ในระหว่างการศึกษาในระดับปริญญาเอก
ดร.กมลวัชได้รับรางวัล Ronald Belcher Award จาก Royal Society
of Chemistry สหราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2561 รางวัล Educational
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 57

Award for Excellence สาขาวิชาวิทยาศาสตร์จาก


Anglo-Thai Society ในปี พ.ศ. 2560 และรางวัล
การนำ�เสนอจากงานประชุมวิชาการ เช่น Analytical
Research Forum, Royal Society of Chemistry
ในปี พ.ศ. 2561 Great Western Electrochemistry
Meetings สหราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2559 และ
พ.ศ. 2560 และ Pure and Applied Chemistry
International Conference ประเทศไทย ในปี พ.ศ.
2559 ดร.กมลวัชสำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก
Doctor of Philosophy (D.Phil.) สาขาวิชา Physical
and Theoretical Chemistry จาก University of
Oxford ในปี พ.ศ. 2561

หลังจากสำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ดร.กมลวัช
ได้เข้าทำ�งานเป็นอาจารย์ประจำ�สาขาวิชาเคมี สำ�นักวิชา
วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีในปี พ.ศ.
2561 ได้รบ ั การแต่งตัง้ ให้ด�ำ รงตำ�แหน่งวิชาการเป็นผูช
้ ว่ ย
ศาสตราจารย์ในปี พ.ศ. 2563 ได้รบ ั ทุนสนับสนุนการวิจย ั
Royal Society of Chemistry Research Fund จาก
Royal Society of Chemistry สหราชอาณาจักร โดย
ทำ�วิจัยในหัวข้อ “Non-invasive electrochemical
sensors for health monitoring” ในปี พ.ศ. 2562
58 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

ได้รับทุนพัฒนาศักยภาพในการทำ�งานวิจัยของอาจารย์
รุ่ น ใหม่ จากสำ � นั ก งานปลั ด กระทรวงการอุ ด มศึ ก ษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) โดยทำ�วิจัย
ในหัวข้อ “Nanoparticle-modified carbon fiber
microelectrodes for direct electrochemical detection
of uric acid” ในปี พ.ศ. 2563 ได้รับทุนอัจฉริยภาพ
นักวิจัยรุน่ ใหม่ จากสำ�นักงานการวิจย
ั แห่งชาติ (วช.) โดยทำ�
วิจยั ในหัวข้อ “Microelectrode array sensing platform
for the diagnosis and monitoring of chronic
diseases” ในปี พ.ศ. 2564 และได้รบ ั รางวัลวิทยานิพนธ์
ระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากสำ�นักงาน
การวิจัยแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2563

กลุ่มวิจัยของ ดร.กมลวัชมีความเชี่ยวชาญทางด้านเคมี
ไฟฟ้า โดยศึกษาตั้งแต่ขั้นทฤษฎี ตลอดจนการประยุกต์ใช้
เทคนิคเคมีไฟฟ้าในการวิเคราะห์ปริมาณและสมบัตเิ ชิงเคมี
ของสาร ในด้านของการวิจัยขั้นพื้นฐาน ดร.กมลวัชศึกษา
เกี่ยวกับผลของการเคลื่อนที่แบบ diffusion, migration
และ convection ต่อสัญญาณเคมีไฟฟ้าโดยการสร้าง
แบบจำ�ลองระบบเคมีไฟฟ้าในระดับ macro-, micro- และ
nano-scale และศึกษาความสัมพันธ์ของโครงสร้าง
องค์ประกอบ หมู่ฟังก์ชั่น ลักษณะสัณฐาน และความพรุน
ต่อคุณสมบัตท ิ างเคมีไฟฟ้าของวัสดุ โดยเน้นการทำ�ความเข้าใจ
ปฏิกิรยิ าเคมีไฟฟ้าทีเ่ กิดขึน
้ ทัง้ การถ่ายโอนอิเล็กตรอน กลไก
การเกิดปฏิกิรย ิ า และจลนพลศาสตร์เคมี ซึง่ เป็นปัจจัยสำ�คัญ
ในการพัฒนาวัสดุขั้วไฟฟ้าสำ�หรับระบบกักเก็บพลังงาน
ตัวเร่งปฏิกิริยา และเซนเซอร์เคมีไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม
วัสดุใหม่หลายชนิดประกอบด้วยองค์ประกอบหลายส่วน
ที่ตอบสนองหรือส่งผลต่อสัญญาณเคมีไฟฟ้า ทำ�ให้การ
วิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล และการศึ ก ษากลไกการเกิ ด ปฏิ กิ ริ ย า
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 59

เป็นเรือ่ งทีท
่ า้ ทาย กลุม
่ วิจยั ของ ดร.กมลวัชร่วมมือกับกลุม ่ วิจยั งานวิจัยของ ดร.กมลวัชและกลุ่มวิจัยยังครอบคลุมไปถึง
วัสดุศาสตร์และการเร่งปฏิกิริยาเชิงคำ�นวณ มหาวิทยาลัย เซนเซอร์ทางด้านสิง่ แวดล้อม เช่น การวิเคราะห์สารประกอบ
เทคโนโลยีสุรนารี ในการใช้แบบจำ�ลองในระดับอะตอม ฟีนอล ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และสารอินทรีย์เปอร์
ร่วมกับการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ขั้นสูง ด้วยความร่วมมือ ออกไซด์ เป็นต้น ดร.กมลวัชยังได้เริม ่ ต้นงานวิจย
ั ใหม่โดยใช้
กับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนในการทดลองเพื่อศึกษา microelectrode arrays ในเซนเซอร์เคมีไฟฟ้าที่จะ
เชิงลึกถึงปฏิกิรย ิ ารีดอกซ์ของวัสดุขวั้ ไฟฟ้าและสารทีต ่ อ
้ งการ สามารถประยุกต์ใช้งานแบบ in-vitro และ in-vivo ได้
วิเคราะห์ ด้วยความเข้าใจขัน ้ พืน
้ ฐานนี้ ดร.กมลวัชได้ท�ำ การ ปัจจุบน ั ดร.กมลวัชมีผลงานตีพม ิ พ์ในวารสารวิชาการระดับ
พัฒนาวิธีทางเคมีไฟฟ้าในการวิเคราะห์อนุภาคนาโนชนิด นานาชาติจำ�นวน 38 เรื่อง (h-index = 15) โดยเป็นผู้วจิ ัย
core-shell รวมถึงวิธีทางเคมีไฟฟ้าที่สามารถตรวจจับ แรกหรือผู้วิจัยหลัก 23 เรื่อง มีผลงานตีพิมพ์บทความวิจัย
อนุภาคนาโนเดีย ่ วได้ และศึกษาอันตรกิรย ิ าระหว่างอนุภาค ทีอ
่ ยูใ่ นกลุม
่ อันดับสูงสุดร้อยละสิบ (Top 10% ในปี 2564)
นาโนกับไอออนโลหะอืน ่ ๆ ในสารละลาย ทำ�ให้เข้าใจถึงบทบาท เช่น วารสาร Electrochimica Acta, Analytical
ของ capping agents ในการกำ�หนดความจำ�เพาะของ Chemistry, Advanced Functional Materials
วิธีวิเคราะห์
ความสำ�เร็จทีก ่ ล่าวมาข้างต้น เกิดขึน ้ ได้ดว้ ยการสนับสนุนจาก
ความเข้าใจในกลไกการเกิดปฏิกิรย ิ าและจลนพลศาสตร์เคมี ครอบครัว ทุน พสวท. และการอบรมสัง่ สอนจากครูบาอาจารย์
ทีส่ ง่ ผลต่อสัญญาณไฟฟ้านำ�ไปสูก่ ารพัฒนาเซนเซอร์เคมีไฟฟ้า ทุกท่าน โดยเฉพาะ Professor Dr. Richard G. Compton
แบบ bottom-up approach ทีส ่ ามารถดึงประสิทธิภาพ และ Dr. Christopher Batchelor-McAuley ผู้เป็น
ของวัสดุและเทคนิคการวิเคราะห์มาใช้ได้อย่างสูงสุด จนถึง ต้นแบบในการเป็นนักวิทยาศาสตร์และหล่อหลอมทักษะ
ปัจจุบัน ดร.กมลวัชได้พัฒนาเซนเซอร์เชิงเคมีไฟฟ้าสำ�หรับ การทำ � วิ จั ย ที่ สำ � คั ญ ผลงานทั้ ง หมดนี้ จ ะเกิ ด ขึ้ น ไม่ ไ ด้
ตรวจวัดสารบ่งชีท ้ างชีวภาพ เช่น ครีเอตินนิ (โรคไต) กรดยูรกิ หากขาดความร่ ว มมื อ และความทุ่ ม เทของนั ก วิจั ย และ
(โรคเกาต์) กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) โดพามีน (สารสื่อ นักศึกษาในกลุม ่ วิจย ั ทุกคนตัง้ แต่อดีตจนถึงปัจจุบนั สุดท้ายนี้
ประสาท) และกลูตาไธโอน (สารต้านอนุมล ู อิสระ) ในตัวอย่าง ขอขอบคุณผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่สำ�นักวิชา

ปัสสาวะและนำ�ลาย โดยใช้อุปกรณ์วิเคราะห์ขนาดพกพา วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี เป็นอย่างสูงสำ�หรับ
ทีม ่ คี วามไวและความแม่นยำ�ในการวิเคราะห์สงู นอกจากนี้ ความช่วยเหลือและการสนับสนุนในด้านต่างๆ อย่างต่อเนือ ่ ง
60 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

ASSISTANT PROFESSOR
DR. KAMONWAD NGAMCHUEA
Assistant Professor Dr. Kamonwad
Ngamchuea was born in Phuket on
12th August 1991. She is the first child
of Mr. Somyod Ngamchuea and Mrs.
Siriwan Ngamchuea. Dr. Kamonwad
was awarded a scholarship from The
Development and Promotion of Science
and Technology Talents Project (DPST)
to study in a science program at
Hatyaiwittayalai School. She graduated
from high school in 2009 and was Compton, a world-leading group which focuses
on both fundamental electrochemistry and its
awarded the DPST scholarship to study
applications building on in-depth theoretical,
Chemistry abroad from Batchelor to computational, and experimental studies. Dr.
Ph.D. levels. Dr. Kamonwad was affiliated Kamonwad graduated with Master of Chemistry
with University College, University of (First Class Honours) from University of Oxford
Oxford, UK, for her undergraduate study in 2015 with five publications in the area of
in the Department of Chemistry. fundamental and computational electrochemistry.

Chemistry at Oxford is a four-year integrated Dr. Kamonwad continued her Ph.D. study in Physical
Masters course. In her fourth year, she joined and Theoretical Chemistry at Department of Chemistry,
the research group of Professor Dr. Richard G. University of Oxford, UK, under the supervision
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 61

of Professor Dr. Richard G. Compton at St John’s


College. For her Ph.D. research, Dr. Kamonwad
shifted her interest to nano-electrochemistry
and electroanalysis. During her Ph.D. study, Dr.
Kamonwad received Ronald Belcher Award from
the Royal Society of Chemistry, UK, in recognition
of quality of research in analytical chemistry
in 2018, Educational Award for Excellence in
the science category from Anglo-Thai Society
in 2017, and several presentation awards at
international conferences such as Analytical
Research Forum, Royal Society of Chemistry,
UK in 2018, Great Western Electrochemistry
Meetings in 2016 and 2017, and Pure and Applied
Chemistry International Conference, Thailand in
2016. She graduated with a Doctor of Philosophy
(D.Phil.) in Physical and Theoretical Chemistry
from University of Oxford in 2018.

Dr. Kamonwad started working as a lecturer


at School of Chemistry, Suranaree University
of Technology in 2018. She then became
an assistant professor in 2020. In 2019, Dr.
Kamonwad was awarded the Royal Society of
Chemistry’s Research Fund to conduct research
on the topic of “Non-invasive electrochemical
sensors for health monitoring.” In 2020, she
received a Research Grant for New Scholar
funded by the Office of the Permanent Secretary,
Ministry of Higher Education, Science, Research
and Innovation on the topic of “Nanoparticle-
modified carbon fiber microelectrodes for direct
electrochemical detection of uric acid.” In 2021,
she was awarded a Research Grant for Talented
Young Researcher funded by the National
Research Council of Thailand on the topic of
“Microelectrode array sensing platform for the
diagnosis and monitoring of chronic diseases.”
She also received an outstanding thesis award
in the field of Chemical Sciences and Pharmacy
from the National Research Council of Thailand
in 2020.

Dr. Kamonwad’s research has embraced both


fundamental electrochemistry and electroanalysis.
62 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

Her early work studied mass transport effects investigated the electrochemistry of single
due to diffusion, migration, and convection. nanoparticle and how nanoparticles interact with other
More generally, Dr. Kamonwad has been asking metal ions in solution, emphasizing the essential
the question on the relationships between the role of the capping agent in controlling analytical
material structure/surface functional groups/ selectivity while at the same time developing
geometry/porosity and electrochemical properties. methods for the detection of nanoparticles –
Understanding electrochemical reactions is an urgent and demanding analytical challenge.
key to developing state-of-the-art electrode Subsequently, Dr. Kamonwad has focused on
materials for energy storages, electrocatalysts, the development of chemical sensors using
and electrochemical sensors. However, recent electroanalytical methods. Her generic bottom-up
novel materials contain a variety of possible active approach to chemical sensors and electroanalysis
sites, posing challenges to the interpretation of building on rigorous physicochemical insight
electrochemical data and the evaluation of complex provides a clear advantage over conventional
reaction mechanisms. Dr. Kamonwad and her practice of sensor development.
research group use a combination of computational
studies and advanced experimental techniques,
in collaboration with Suranaree University of
Technology Computational Materials Science
and Catalysis Research Group and Synchrotron
Light Research Institute, to gain physicochemical
insights into the crystal structures, electronic
structures, and redox reactions of the electrode
materials and the target analytes.

On the experimental front, Dr. Kamonwad made


insightful experiments showing how electrochemistry
can characterize core-shell nanoparticles and
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 63

To date, methods for the detection of biomarkers Her progress and success to date are thanks to
such as creatinine (kidney diseases), uric acid the effort of the family and the DPST scholarships
(gout), ascorbic acid (vitamin C), dopamine from the Thai Government who provided full funding
(neurotransmitter) and glutathione (antioxidant) for her studies from high school to Ph.D. She is
have been developed, validated, and applied to indebted to all the teaching from teachers and
measurements in urine and saliva. Her work in the lecturers, especially Professor Dr. Richard G.
use of electrochemistry in sensors also extend Compton and Dr. Christopher Batchelor-McAuley
to environmental applications, for example, in the who help shape her research practice, critical
analysis of phenolic compounds, hydrogen peroxide, thinking, and setting an excellent example
and organic peroxides. Recently, Dr. Kamonwad on how to lead a successful research group.
has engaged in the use of microelectrode arrays in Importantly, all of these research projects would
electroanalysis due to their potential in-vitro and not be possible without the work and support of
in-vivo applications. To date, Dr. Kamonwad has a researchers, collaborators, staffs, and students
total of 38 international papers, 23 of which she from past to present. Finally, she is always grateful
is the first and/or corresponding author (h-index for faculty members and staffs at the Institute of
of 15). Her work has been published in leading Science, Suranaree University of Technology for
journals (top 10%) such as Electrochimica Acta, their help and support over the years.
Analytical Chemistry, and Advanced Functional
Materials.
64 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

ASSISTANT
PROFESSOR
DR. SURACHAI
KARNJANAKOM
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. สุรชัย กาญจนาคม

นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่
ประจำ�ปี พ.ศ. 2565
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรชัย กาญจนาคม
เกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ที่จังหวัด
กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนเล็กของนายสมศักดิ์
ลิ้มทองชัย และนางพรทิพย์ จิรมหาลาภ สำ�เร็จ
การศึ ก ษาระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลายในปี
พ.ศ. 2550 จากโรงเรียนนนทรีวิทยา จังหวัด
กรุ ง เทพมหานคร จากนั้ น เข้ า ศึ ก ษาต่ อ ระดั บ
ปริญญาตรี ณ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยรังสิต สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญา
ตรี สาขาเคมีประยุกต์ (เกียรตินิยมอันดับสอง)
ในปี พ.ศ. 2554 และได้รับรางวัลผลงานวิจัย
ยอดเยีย่ ม จากมหาวิทยาลัยรังสิต ในหัวข้อวิจยั เรือ
่ ง
“การเตรียมผงกระตุ้นจากลูกยางใบซอเพือ ่ กำ�จัด
สียอ้ มรีแอคทีฟในน้ำ�เสีย” โดยมีรองศาสตราจารย์
ปัญญา มณีจักร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ด้วยความสนใจในงานวิจัยด้านเคมี ดร. สุรชัย ได้เข้าศึกษาต่อ
ในระดับปริญญาโททีภ ่ าควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในระหว่างที่กำ�ลังศึกษาต่อในระดับ
ปริญญาโท ดร. สุรชัย ได้มโี อกาสร่วมเป็นนักเรียนแลกเปลีย ่ นและ
เดินทางไปทำ�วิจยั ระยะสัน
้ ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร. Guoqing Guan
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 65

ที่ North Japan Research Institute for Sustainable ในหัวข้อวิทยานิพนธ์เรือ ่ ง “การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิรย


ิ าของแข็ง
Energy (NJRISE) มหาวิทยาลัยฮิโรซากิ ประเทศญี่ปุ่น ทีม ่ คี วามว่องไวสูงต่อการปรับปรุงคุณภาพของไบโอออยล์”
เป็นเวลา 3 เดือน ในหัวข้อวิจัยเรื่อง “การสังเคราะห์และ ในช่วงที่กำ�ลังศึกษาระดับปริญญาเอกอยู่นั้น ดร. สุรชัย
การประยุกต์ใช้วัสดุแลกเปลี่ยนประจุสำ�หรับการแยกโลหะ มีความสนใจที่จะพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาของแข็งชนิดต่างๆ
หนักออกจากน้ำ�เสีย” ผลงานวิจัยเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์ มีความเป็นกรด-เบส ที่มีพื้นที่ผิว มีความเป็นรูพรุน และ
ในวารสารนานาชาติ Electrochimica Acta ภายหลัง มีความเสถียรสูง เพื่อใช้สำ�หรับกระบวนการผลิตก๊าซและ
จากนั้น ดร. สุรชัย ได้สำ�เร็จการศึกษาและได้รับปริญญา น�ำ ้ มันเชือ้ เพลิง ตลอดจนการปรับปรุงคุณภาพของน�ำ ้ มันเชือ้ เพลิง
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเคมี ในปี พ.ศ. 2557 ภายใต้ ทีไ่ ด้จากการไพโรไลซิสของสารชีวมวล โดยผลงานวิจยั ดังกล่าว
หัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “การหาสภาวะที่เหมาะสมของการ ได้ถูกนำ�เสนอในที่ประชุมวิชาการต่างๆ และได้รับรางวัล
ผลิตไบโอดีเซลจากน้�ำ มันเมล็ดยางพาราด้วยตัวเร่งปฏิกิรย ิ า นำ�เสนอทั้งสิ้นจำ�นวน 4 รางวัล ได้แก่ รางวัล Best Oral
SO3H-MCM-41” โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. ชนาธิป Presentation Award ประจำ�ปี พ.ศ. 2559 รางวัล
สามารถ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ผลงานวิทยานิพนธ์ของ Best Poster Award ประจำ�ปี พ.ศ. 2560 รางวัล
ดร. สุรชัย ได้รบ
ั การตีพม
ิ พ์ในวารสารวิจยั นานาชาติ 3 บทความ Excellent Paper Award และ รางวัล Research
ได้แก่ วารสาร Journal of Environmental Chemical Encouragement Award ประจำ�ปี พ.ศ. 2561 นอกจากนี้
Engineering, Journal of the Japan Institute of ผลงานของ ดร. สุรชัย ในระดับปริญญาเอกยังได้รับการ
Energy และ Arabian Journal of Chemistry เพือ ่ บรรลุ ตีพม ิ พ์ 9 บทความวิจย ั ลงในวารสารนานาชาติ เช่น Energy
เป้าหมายทางด้านวิชาการทีส ่ งู ขึน
้ ดร. สุรชัย ได้เข้าศึกษาต่อ Conversion and Management, RSC Advances,
ในระดับปริญญาเอก ณ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Journal of Physical Chemistry C, Journal of
มหาวิทยาลัยฮิโรซากิ ประเทศญีป ่ นุ่ ภายใต้การสนับสนุนจาก Molecular Catalysis A: Chemical, Journal of
ทุนการศึกษาของรัฐบาลญีป ่ นุ่ Japanese Government Energy Chemistry และ ChemCatChem ในปี พ.ศ.
(Monbukagakusho: MEXT) Scholarship โดยมี 2561 ดร. สุรชัย สำ�เร็จการศึกษาได้รบ ั ปริญญาวิศวกรรมศาสตร
ศาสตราจารย์ ดร. Guoqing Guan เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีความปลอดภัย
66 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

และรางวัล Excellent Student Award จากมหาวิทยาลัย ต่อการเร่งปฏิกิรยิ าต่างๆ รวมทัง้ สามารถนำ�กลับมาใช้ซ�้ำ ใหม่
ฮิโรซากิ ประเทศญี่ปุ่น ได้หลายครัง้ โดยผลงานทีผ ่ า่ นมาของ ดร. สุรชัยและทีมวิจย ั
ได้พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาหลากหลายชนิด ยกตัวอย่าง
หลังจากสำ�เร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2561 ดร. สุรชัย ได้
เช่น การปรับเปลี่ยนสภาพความเป็นกรด-เบส การติดหมู่
เข้ารับการบรรจุในตำ�แหน่งอาจารย์ประจำ�ภาควิชาเคมี
ฟังก์ชนั การปรับอัตราการแพร่หรือขนาดอนุภาคของโลหะ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และได้รบ ั การแต่งตัง้
ออกไซด์ บนตัวรองรับที่เป็นวัสดุรูพรุน เช่น Ni/MCM-
ให้ด�ำ รงตำ�แหน่งผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ สาขาเคมีอต ุ สาหกรรม
41, Al-SBA-15, Cu/KIT-6, Fe/Alumina, Cu-Mg/
ในปี พ.ศ. 2563 สำ�หรับด้านการวิจัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561
zeolite และ Cu/Ni/Fe-activated carbon ซึง่ ตัวเร่ง
ถึง ปัจจุบัน ดร. สุรชัย ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย เงินรางวัล
ปฏิกิรย ิ าต่างๆ เหล่านีส ้ ามารถช่วยเพิม ่ ร้อยละผลผลิตหรือ
ตีพม ิ พ์ผลงานวิจย
ั จากสถาบันวิจย ั มหาวิทยาลัยรังสิต ในปี
ความจำ�เพาะเจาะจงของสารทีต ่ อ
้ งการนัน ้ ๆ ได้เป็นอย่างดี
พ.ศ. 2564 ดร. สุรชัยยังได้เข้าร่วมทำ�งานวิจยั กับทีมวิจยั ของ
ตัวเร่งปฏิกิริยาเหล่านี้ได้ถูกนำ�ไปประยุกต์ใช้ในหลายๆ
มหาวิทยาลัย IPB ประเทศอินโดนีเซีย ซึง่ ได้รบ ั ทุนสนับสนุน
ปฏิกิรย ิ า เช่น (1) กระบวนการดีออกซิเจนเนชันและอะโรมา
การวิจัย จาก Indonesian Endowment Fund for
ไทเซชันเพือ ่ เปลีย่ นสารประกอบออกซิเจนไปเป็นสารประกอบ
Education (LPDP) และ the Indonesian Science
อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (2) กระบวนการผลิตไบโอดีเซล
Fund (DIPI) ภายใต้ International Collaboration
ผ่านกระบวนการทรานเอสเทอริฟเิ คซัน และ (3) การเปลีย ่ น
RISPRO Funding Program นอกจากนี้ ดร. สุรชัย ยังได้รบ ั
กลีเซอรอลให้เป็นสารเติมแต่งเชื้อเพลิงผ่านกระบวนการ
การสนับสนุนการทำ�วิจัยมาโดยตลอดจาก ภาควิชาเคมี
อะเซทิเลชัน เป็นต้น โดยงานวิจัยที่กำ�ลังทำ�ในปัจจุบันของ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ตลอดจนความร่วมมือ
ดร. สุรชัย อยู่ภายใต้กรอบแนวคิดการหาแหล่งพลังงาน
ทีด
่ ท
ี างด้านงานวิจย ั กับทีมวิจย
ั ต่างๆทัง้ ภายในประเทศและ
ทดแทนจากสารชีวมวลทางการเกษตรทีม ่ รี าคาถูก หาได้งา่ ย
ต่างประเทศ เช่น ไทย อินโดนีเซีย จีน และญี่ปุ่น
และมีจ�ำ นวนมาก โดยการมุง่ เน้นไปทีก ่ ารสังเคราะห์สารทีม ่ ี
ผลงานวิจัยของ ดร. สุรชัย เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ มูลค่าเพิม ่ เช่น ไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟรู ล ั (5-HMF), เอทิล
วัสดุรูพรุนที่แปลกใหม่ มีความว่องไวและความเสถียรสูง เลวีลิเนต (EL) หรือ แกมมาวาเลอโรแลคโตน (GVL) จาก
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 67

กระบวนการเปลี่ยนน้ำ�ตาลภายใต้ระบบสารผสมยูเทกติก
กับระบบอัลตราโซนิก โดยใช้ตวั เร่งปฏิกิรย
ิ าทีม
่ ค
ี วามว่องไว
และความเสถียรสูง

ปัจจุบนั ดร. สุรชัย มีผลงานตีพมิ พ์จ�ำ นวนมากว่า 60 เรือ่ ง


โดยได้รบ ั การตีพม
ิ พ์ลงในวารสารวิชาการระดับนานาชาติทม ี่ ี
คุณภาพสูง เช่น วารสาร ACS Sustainable Chemistry
& Engineering, Sustainable Energy & Fuels,
Journal of Environmental Chemical Engineering,
Energy Conversion and Management, ACS
Omega, Reaction Chemistry & Engineering,
Catalysis Communications และ Molecular
Catalysis เป็นต้น รวมถึงได้รับเชิญเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ
พิจารณาบทความวิจัยให้แก่วารสารชั้นนำ�ต่าง ๆ เช่น
วารสาร Applied Catalysis A: General, Journal
of Cleaner Production, Fuel, Green Energy & จากสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
Environment, New Journal of Chemistry, Heliyon, ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม
Process Safety and Environmental Protection, ราชกุมารี ในปี พ.ศ. 2564 และรางวัลศิษย์เก่ายอดเยี่ยม
Environmental Pollution, Biomass Conversion “ผูป ้ ระสบความสำ�เร็จในฐานะนักคิด/นักวิชาการและวิจย ั ”
and Biorefinery, Scientific Reports และ Materials จาก สมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยรังสิต ในปี พ.ศ. 2565
Letters เป็นต้น ดร. สุรชัย ยังเป็นสมาชิกกองบรรณาธิการ ทัง้ นีค
้ วามสำ�เร็จของ ดร. สุรชัย เป็นผลมาจากคำ�แนะนำ�และ
ของวารสาร Carbon Resources Conversion และ การสนับสนุนอย่างดีจากคณาจารย์และบุคลากร โดยเฉพาะ
Journal of Current Science and Technology อย่างยิ่งขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ปัญญา มณีจักร์
ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2563 จนถึง ปัจจุบัน นอกจากนี้ ดร. สุรชัย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บุณยรัศมิ์ สุขเขียว ภาควิชา
ยังได้รับรางวัลอาจารย์สอนดีเด่น จากมหาวิทยาลัยรังสิต เคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ขอขอบคุณ
ในปี พ.ศ. 2563 รางวัล Editorial Excellence Award ดร. Asep Bayu และ ดร. Obie Farobie สำ�หรับ
จากวารสาร Carbon Resources Conversion ความร่วมมือและความช่วยทางด้านงานวิจย ั และทีข่ าดไม่ได้
รางวัลบุคลากรดีเด่นด้านวิชาการ “ประเภทนักวิจย ั รุน
่ ใหม่ คือกำ�ลังใจและการสนับสนุนมาโดยตลอดจากครอบครัว
ระดับยอดเยี่ยม” กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และครูบาอาจารย์
68 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

ASSISTANT PROFESSOR
DR. SURACHAI KARNJANAKOM
Assistant Professor Dr. Surachai By his interest in chemistry field, Dr. Surachai
Karnjanakom was born on June 7, decided to study the Master of Science Program
1989 in Bangkok. He is the youngest in Chemistry at the Department of Chemistry,
Faculty of Science and Technology, Thammasat
son of Mr. Somsak Limthongchai and
University. During his M.Sc. study, he had the
Mrs. Pontip Jiramahalap. He completed opportunity to join as an exchange student for
his high school education from Nonsi short-term research for three months under the
Witthaya School, Bangkok in 2007. supervision of Professor Dr. Guoqing Guan at
In 2011, Dr. Surachai received his North Japan Research Institute for Sustainable
B.Sc. degree in Applied Chemistry Energy (NJRISE), Hirosaki University, Japan.
(Second Class Honors) from the His research focused on the synthesis and
Department of Chemistry, Faculty applications of electroactive ion exchange
materials for separation of heavy metal ions
of Science, Rangsit University. He
from wastewater. This work has been published
was also awarded the Excellent in Electrochimica Acta. In 2016, Dr. Surachai
Research from Rangsit University for received his M.Sc. degree in Chemistry. He
the research entitled “Preparation of published 3 research articles in Journal of
Activated Powder from the Seed of Environmental Chemical Engineering, Journal
Ficus lyrata for Removal of Reactive of the Japan Institute of Energy and Arabian
Dyes in wastewater” under the Journal of Chemistry under the supervision
of Associate Professor Dr. Chanatip Samart
supervision of Associate Professor
with the dissertation title of “Optimization for
Panya Maneechakr. Biodiesel Production from Para Rubber Seed
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 69

Oil by SO3H MCM-41 Catalyst”. To achieve his have been published in international journals
academic goals, Dr. Surachai decided to join such as Energy Conversion and Management,
the doctoral program at Graduate School of RSC Advances, Journal of Physical Chemistry
Science and Technology, Hirosaki University, C, Journal of Molecular Catalysis A: Chemical,
Japan under the supervision of Professor Dr. Journal of Energy Chemistry and ChemCatChem.
Guoqing Guan with the dissertation title of In 2018, Dr. Surachai received the Doctor of
“Development of Highly Active Solid Catalysts Engineering in Safety Science and Technology,
for Upgrading of Bio-Oils”. His doctoral study and was awarded the Excellent Student from
was supported by the Japanese Government Hirosaki University, Japan.
(Monbukagakusho: MEXT) Scholarship. During
After his graduation in 2018, Dr. Surachai was
his study, Dr. Surachai intensively focused
appointed as a lecturer at the Department
on development of the solid catalysts with
of Chemistry, Faculty of Science, Rangsit
outstanding properties such as high acidity-
University. In 2020, he was promoted to an
basicity, high surface area, high porosity,
Assistant Professor in the field of Industrial
high stability and long-term reusability for
Chemistry. From 2018 to present, he received
further applications in fuel production as well
the research funds and the publication awards
as bio-oil upgrading derived from pyrolysis
by the Research Institute of Rangsit University.
of biomass. The work had been presented in
In 2021, he joined research collaboration with
several conferences, and four awards, Best Oral
the Indonesian team at IPB University, funded by
Presentation Award (2016), Best Poster Award
the Indonesian Endowment Fund for Education
(2017), Excellent Paper Award and Research
(LPDP) and the Indonesian Science Fund (DIPI)
Encouragement Award (2018), were obtained.
through the International Collaboration RISPRO
Nine articles of his doctoral research work
70 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

Funding Program. His research work was also deoxygenation and aromatization processes for
well supported by the Department of Chemistry, selective conversion of oxygenated compounds
Faculty of Science, Rangsit University. His to aromatic hydrocarbons, (2) transesterification
research group has strong collaboration with process for facile production of biodiesel, and
other research groups from Thailand, Indonesia, (3) acetylation process for transformation of
China and Japan. glycerol to bio-fuel additives. Currently, his
research interests are under the investigation
Dr. Surachai’s research areas include the
of renewable energy resources from agricultural
novel synthesis and development of porous
biomass having low price, available and large
materials which possess high selectivity and
abundant. He emphasizes on the selective
stability for several catalytic reactions as well
synthesis of high value-added chemicals
as their excellent reusability. Previously, many
such as 5-hydroxymethylfurfural (5-HMF), ethyl
methods for facile preparation of novel catalysts
levulinate (EL) and gamma-valerolactone (GVL)
had developed such as modification process
from sugar conversion under the combination
of acidic-basic properties, functionalization
between deep eutectic solvents (DES) with
and adjustment techniques of diffusion rate or
ultrasonic system over highly active catalyst.
particle size of metal oxide on porous supports
such as Ni/MCM-41, Al-SBA-15, Cu/KIT-6, Fe/
Alumina, Cu-Mg/zeolite and Cu/Ni/Fe-activated
carbon, leading to the well increasing of
product yield and selectivity. These catalysts
were applied for several reactions such as (1)
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 71

To date, Dr. Surachai has published more than the Teaching Excellence Award from Rangsit
60 articles in international journals such as ACS University in 2020, the Editorial Excellence
Sustainable Chemistry & Engineering, Sustainable Award by Carbon Resources Conversion, the New
Energy & Fuels, Journal of Environmental Researcher Award in Science and Technology
Chemical Engineering, Energy Conversion and (Excellent Level) by ASSOCIATION OF PRIVATE
Management, ACS Omega, Reaction Chemistry HIGHER EDUCATION INSTITUTIONS OF THAILAND
& Engineering, Catalysis Communications and in 2021 and the Outstanding Alumni Award
Molecular Catalysis. He has been invited as in Field of Research by Rangsit University
a reviewer in many top international journals in 2022. All of Dr. Surachai’s achievements
such as Applied Catalysis A: General, Journal result from nice guidance and encouragement
of Cleaner Production, Fuel, Green Energy & of members, especially Associate Professor
Environment, New Journal of Chemistry, Heliyon, Panya Maneechakr and Assistant Professor
Process Safety and Environmental Protection, Dr. Boonyaras Sookkheo at the Department
Environmental Pollution, Biomass Conversion of Chemistry, Faculty of Science, Rangsit
and Biorefinery, Scientific Reports and Materials University. Many thanks to my friends, Dr. Asep
Letters. Also, He is the editorial member of Bayu and Dr. Obie Farobie, for strong research
Carbon Resources Conversion and Journal of collaborations. Finally, it could not be possible
Current Science and Technology from 2020 to without the continuing encouragement and
present. Moreover, Dr. Surachai also received support from his family and teacher.
72 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

ประวัติ
มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในพระบรมราชูปถัมภ์

ความเป็นมา
ในปีเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ฯ พ.ศ. 2525 นั้น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ได้จด
ั งานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติเป็นครัง้ แรกในวันที่ 18 สิงหาคม โดยในพิธเี ปิด องคมนตรีผแ ู้ ทนพระองค์ในพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้มอบ “รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น” ซึ่งได้รับความสนใจและเผยแพร่ข่าวในสื่อมวลชนอย่าง
กว้างขวาง รางวัลดังกล่าวจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของพิธเี ปิดงานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติตอ ่ เนือ
่ งมาจนปัจจุบนั เพือ
่ ให้มี
องค์กรรับผิดชอบการให้รางวัลโดยเฉพาะ สมาคมฯ จึงระดมทุนเพือ ่ จัดตัง้ มูลนิธส
ิ ง่ เสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึง่ ได้
รับอนุมัติให้จดทะเบียนเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2526 และเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2528 ได้รับพระราชทาน
พระมหากรุณาธิคุณรับมูลนิธฯ ิ อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต่อมากระทรวงการคลังได้ประกาศให้มูลนิธฯ ิ เป็นองค์การ
สาธารณกุศลว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2545

กิจกรรม
นอกจากการให้รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติทุกปีแล้ว เพื่อพัฒนาฐานนักวิจัยรุ่นกลางให้
กว้างขึ้น มูลนิธิฯ จึงได้ตั้งรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ แก่นักวิจัยอายุไม่เกิน 35 ปี ขึ้นในปี 2534 นอกจากนั้น
มูลนิธฯ
ิ ยังเห็นว่าเทคโนโลยีมค ี วามสำ�คัญคูก
่ บ
ั วิทยาศาสตร์พน
ื้ ฐาน จึงเพิม
่ การให้รางวัลนักเทคโนโลยีดเี ด่น และ รางวัล
นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ในปี 2544 โดยมีการรับรางวัลในวันเทคโนโลยีแห่งชาติ (19 ตุลาคม ของทุกปี)

การสรรหาและรางวัล
มูลนิธิฯ แต่งตั้งคณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น และคณะกรรมการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น เพื่อดำ�เนิน
การสรรหาโดยอิสระโดยเปิดเผยเฉพาะชื่อประธานเท่านั้น ผู้ได้รับรางวัลจะได้รับโล่พระราชทาน (สาขาวิทยาศาสตร์)
หรือพระบรมรูปเหรียญพระราชทาน (สาขาเทคโนโลยี) และเงินรางวัลตามที่ก�ำ หนดไว้สำ�หรับแต่ละระดับและสาขา
โดยจำ�นวนเงินได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็นลำ�ดับตามการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินและการสนับสนุนของผู้บริจาค ผู้สนับสนุนเงิน
รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ปัจจุบัน คือ เอสซีจี (SCG) สำ�นักงานคณะกรรมการ
ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา บริษัท ปตท. จำ�กัด
(มหาชน) (ปตท.) ได้เริ่มให้การสนับสนุนอีกองค์กรหนึ่ง ส่วนรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่
มีส�ำ นักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และ สวทช. เป็นผูส ้ นับสนุน

การเผยแพร่กิตติคุณและการขยายผล
มูลนิธฯ
ิ จัดทำ�หนังสือแสดงผลงานของผู้ได้รับรางวัลเพื่อแจกในวันแถลงข่าว วันพิธีเปิดงานวันวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี
แห่งชาติ รวมทัง้ งานแสดงปาฐกถาของผูไ้ ด้รบ ั รางวัลดีเด่นในวันดังกล่าวด้วย อนึง่ ผูไ้ ด้รบ
ั รางวัลจะได้รบ
ั เชิญไปบรรยาย
ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วทท.) การประชุมนักวิจัยรุ่นใหม่พบเมธีวจิ ัยอาวุโส สกสว. รวมทั้ง
ตามสถานศึกษาต่างๆ ผู้ได้รับรางวัลหลายคนได้รับการเสนอให้ได้รับรางวัลระดับภูมภ ิ าค นอกจากนี้ส่วนใหญ่ของผู้ได้
รับรางวัลมักจะได้รบ ั ทุนวิจย
ั ประเภทต่างๆ ของ สกสว. สวทช. และสำ�นักงานคณะกรรมการวิจย ั แห่งชาติ (วช.) เพือ
่ ผลิต
งานวิจัยที่มีคุณค่าให้ประเทศสืบต่อไป
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 73

ใบอนุญาตจัดตั้ง
มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์
ใบอนุญาตจัดตั้ง
มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์


74 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565
หนังสือให้อำนาจจัดตั้ง
หนังสือให้อำ�นาจจั
มูลนิธิส่งเสริดมตั
วิท้ง
ยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
ด้านหน้า

ด้านหน้า

ด้านหลัง
ด้านหลัง
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 75

หนังสือพระราชทานพระมหากรุ ณาให้
หนังสือพระราชทานพระมหากรุณาให้
มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์


76 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
เป็นองค์มูกลรหรื
นิธิสอ่งสถานสาธารณกุ
เสริมวิทยาศาสตร์ศแลละเทคโนโลยี อยู่ในพระบรมราชู
ลำ�ดับที่ 481 ปถัมภ์
ของประกาศกระทรวงการคลั งฯ
เป็นองค์กรหรือสถานสาธารณกุศล ลำดับที่ 481 ของประกาศกระทรวงการคลังฯ


2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 77

รายงานผลการดำ�เนินงานประจำ�ปี พ.ศ. 2564


มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

งานแถลงข่าวรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น และรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำ�ปี พ.ศ. 2564


มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ได้จัดงานแถลงข่าวรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น และ
รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำ�ปี พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี
ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจยั และนวัตกรรม เป็นประธานในงาน

รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี พ.ศ. 2564 ได้แก่


(1) ศาสตราจารย์ ดร. วินิช พรมอารักษ์ สำ�นักวิชาวิทยาการโมเลกุล สถาบันวิทยสิรเิ มธี (VISTEC)

รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำ�ปี พ.ศ. 2564 ได้แก่


(1) รองศาสตราจารย์ ดร. ธีระพงษ์ สุขสำ�ราญ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาลัยเชียงใหม่
(2) ดร. สุดเขต ไชโย สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
78 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

การเข้ารับพระราชทานรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำ�ปี พ.ศ. 2564


สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลแก่นก ั วิทยาศาสตร์
ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำ�ปี พ.ศ. 2564 ในวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ณ วังสระปทุม กรุงเทพฯ
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 79

การบรรยายของนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี พ.ศ. 2564


นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นให้การบรรยายในหัวข้อ Efficient
Solution-Processable Emissive Materials
for Simple Structured Organic Light-Emitting
Diodes (OLED) เมือ ่ วันที่ 5 ตุลาคม 2564 ในการประชุม
วิชาการวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี แ ห่ ง ประเทศไทย
ครั้งที่ 47 (วทท. 47) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

งานประกาศผลรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำ�ปี พ.ศ. 2564


มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์และสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA)
ได้จัดงานประกาศผลรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำ�ปี พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม
2564 ภายใต้หัวข้อ “HARNESSING INNOVATION for FUTURE GROWTH” ณ สมาคมการจัดการธุรกิจ
แห่งประเทศไทย ชั้น 2 ห้อง SCG ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. ศักรินทร์ ภูมริ ัตน ประธาน
มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ร่วมแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับรางวัลในโอกาสเดียวกันนี้

รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำ�ปี พ.ศ. 2564 มี 1 รางวัล ได้แก่


(1) รองศาสตราจารย์ ดร. ศกร คุณ วุฒ ฤิ ทธิร ณ จาก ภาควิช าสัต วบาล คณะเกษตร มหาวิท ยาลัย เกษตรศาสตร์
ผลงาน : ระบบการประเมินพันธุกรรมจีโนมของโคนมในประเทศไทย”

รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำ�ปี พ.ศ. 2564 มี 1 รางวัล


(1) ผู ้ ช ่ ว ยศาสตราจารย์ ดร. ชั ย รั ต น์ ตรี ท รั พ ย์ ส ุ น ทร จาก สถาบั น พั ฒ นาและฝึ ก อบรมโรงงานต้ น แบบ และ
คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ผลงาน : กำ�แพงต้นไม้บำ�บัดมลพิษอัจฉริยะ
(2) ดร. ลัญจกร อมรกิจบำ�รุง จาก บริษท
ั เวลตี้ ม็อกกี้ อินโนเวชัน
่ จำ�กัด และ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงาน : เทคโนโลยีเพิ่มมูลค่ามันสำ�ปะหลังไทยเพื่อผลิตภัณฑ์ทรายแมว
80 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

การเข้ารับพระราชทานรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำ�ปี พ.ศ. 2564


สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลแก่นก ั เทคโนโลยี
ดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำ�ปี พ.ศ. 2564 ในวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ณ วังสระปทุม กรุงเทพฯ
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 81
โครงการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่

รางวัลนี้เกิดขึ้นจากความริเริ่มของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ เกณฑ์การตัดสิน
ที่มีความห่วงใยต่อสภาวการณ์ที่วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เกี่ยวกับผลงาน
อันได้แก่ ฟิสก ิ ส์ เคมี ชีววิทยา และสาขาวิชาทีค ่ าบเกีย ่ วกับ
สาขาวิชานี้ ไม่ได้รบ ั ความสนใจและการสนับสนุนเท่าทีค ่ วร • เป็น ผลงานที่ แ สดงคุ ณ ลั ก ษณะของความคิ ด ริ เ ริ่ ม
จากผู้ บ ริ ห าร ประชาชนทั่ ว ไป และเยาวชน ทั้ ง ๆ ที่ ผลิ ต ความรู ้ใ หม่ เป็น ผลงานที่ เ ป็น ที่ ย อมรั บ ใน
วิทยาศาสตร์พื้นฐานเป็นเสมือนเสาหลักที่สำ�คัญต่อความ วงการวิทยาศาสตร์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ขณะนีเ้ ยาวชนไทยยังเลือก และพิสจู น์ได้แน่ชด
ั ว่าเป็นผลงานของบุคคลนัน ้ จริง
เรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐานกันน้อย อาจเป็นเพราะเยาวชน
• เป็นงานที่มีศักยภาพซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่อง
เหล่านี้มีความสนใจวิทยาศาสตร์พื้นฐานน้อย แต่มีความ
สมควรเป็นตัวอย่างอันดีแก่นักวิทยาศาสตร์ด้วยกัน
สนใจมากในวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือวิศวกรรมศาสตร์
หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์อื่นๆ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมี เกี่ยวกับตัวบุคคล
นักวิทยาศาสตร์พน ื้ ฐานทีม ่ ค
ี วามสามารถสูงอยูจ่ �ำ นวนไม่นอ ้ ย
• มีบุคลิก การวางตัว อุปนิสัยเป็นที่น่านิยม
ซึ่งมีผลงานดีเด่นทัดเทียมต่างประเทศ และหากได้รับการ
สนับสนุนอย่างจริงจังจะสามารถส่งผลงานเหล่านีต ้ อ
่ ไปยัง • อุ ทิ ศ ตนเพื่ อ งานวิ ท ยาศาสตร์อ ย่า งต่อ เนื่ อ งด้ว ย
นักเทคโนโลยีหรือผูอ ้ ยูใ่ นสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์เอาไป ความส�ำนึกในการสร้างวิทยาศาสตร์เพื่อส่วนรวม
ใช้ประโยชน์ต่อไปได้ ฉะนั้นจึงได้เกิดความคิดที่จะรณรงค์ • ประพฤติตนเป็นที่น่าเคารพนับถือ มีลักษณะเป็น
ให้คนไทยเกิดความตืน ่ ตัวและภูมใิ จในนักวิทยาศาสตร์ไทย ผู ้น�ำทางวิ ช าการ เหมาะสมที่ จ ะได้รั บ การยกย่อ ง
วัตถุประสงค์ของรางวัล ให้เป็นแบบอย่างนักวิทยาศาสตร์ที่ดีงาม

• เพื่อเชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์สัญชาติไทย ที่มี ทัง้ นี้ งานวิทยาศาสตร์ทม ี่ งุ่ เน้นคือ ด้านวิทยาศาสตร์พน ื้ ฐาน


ผลงานดีเด่นและเพือ ่ เป็นก�ำลังใจให้กบ
ั นักวิทยาศาสตร์ และ/หรือแขนงซึ่งคาบเกี่ยวกันระหว่างสาขาต่างๆ ของ
รุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสูงในการท�ำงานวิจัยที่มีคุณภาพ วิทยาศาสตร์พน ื้ ฐาน โดยมีผลงานทีก ่ ระทำ�ภายในประเทศ
เป็นส่วนใหญ่ในลักษณะต่อเนื่องกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
• เพื่อเป็นตัวอย่างแก่นักวิทยาศาสตร์และเยาวชนให้
5 ปี เป็นผลงานทีก ่ อ
่ ให้เกิดผลกระทบต่อการพัฒนาวงการ
เจริญรอยตาม
วิทยาศาสตร์ และ/หรือการพัฒนาประเทศ เช่น ยกระดับ
ก. โครงการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น การวิจย ั ยกระดับการศึกษาวิทยาศาสตร์ระดับสูง ก่อให้เกิด
ความงอกงามทางวิชาการ สร้างชือ ่ เสียงให้แก่ประเทศชาติ
ลักษณะรางวัล
รางวั ล มี มู ล ค่ า รางวั ล ละ 400,000 บาท และโล่ วิธีการสรรหา
พระราชทานความแตกต่างของรางวัลนี้จากรางวัลทาง คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น เป็นผู้เชิญให้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีการมอบอยู่แล้ว ผู้ทรงคุณวุฒท ิ ม
ี่ ป
ี ระสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์เป็นผู้เสนอชือ ่
ในประเทศไทย คือ ประการที่หนึ่ง มีการเสาะแสวงหา โดยเชิญจากนักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงาน ผู้บริหารงาน
นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นโดยไม่มีการสมัคร ประการที่สอง วิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัย สถาบันวิจย ั และบริษท ั เอกชน
บุ ค คลผู้ นี้ จ ะต้ อ งมี ผ ลงานทางวิ ท ยาศาสตร์ พื้ น ฐาน ทีม่ ก
ี ารวิจย
ั และพัฒนาวิทยาศาสตร์และนักวิจย ั ทีเ่ คยได้รบ

ทีม
่ คี วามสำ�คัญต่อเนือ ่ งมาเป็นเวลานาน มิใช่ผลงานชิน ้ เดียว รางวัลต่างๆ และคณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดเี ด่น
และประการสุ ด ท้ า ยมี ก ารพิ จ ารณาถึ ง คุ ณ สมบั ติ ข อง
ตัวบุคคล ทั้งในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ และในฐานะ เมือ
่ ได้รายชือ
่ มาแล้ว คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์
ที่ มี คุ ณ ธรรมและจริ ย ธรรมสู ง อั น จะเป็ น ตั ว อย่ า งที่ ดี ดีเด่นก็สืบเสาะหาผลงานอย่างละเอียดสัมภาษณ์ผู้ทรง
ก่ อ ให้ เ กิ ด ศรั ท ธาในนั ก วิ ท ยาศาสตร์ ด้ ว ยกั น และต่ อ คุณวุฒิในวงการนั้นๆ พิจารณาผลงานและบุคคลตาม
เยาวชนของชาติที่จะยืดถือปฏิบัติตาม เกณฑ์ที่วางไว้ ในชั้นต้นจะเน้นการประเมินผลงานวิจัย
82 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

ย้อนหลัง 5 ปี โดยพิจารณาปริมาณผลงาน เปรียบเทียบ ข. โครงการรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่


กับนักวิทยาศาสตร์ในสาขาเดียวกัน พิจารณาคุณภาพของ
ลักษณะรางวัล
ผลงานในด้านของความคิดริเริม ่ การผลิตความรูใ้ หม่ การเป็น
ที่ยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์ทั้งในประเทศและต่าง รางวัลมีมล ู ค่า รางวัลละ 100,000 บาท และโล่พระราชทาน
ประเทศ การเป็นผลงานทีม ่ ศ ี ก
ั ยภาพซึง่ ก่อให้เกิดการพัฒนา มีวตั ถุประสงค์เพือ ่ คัดเลือกบุคคลสัญชาติไทยทีม ่ อ
ี ายุไม่เกิน
ต่อเนื่อง สมควรเป็นแบบอย่างอันดีแก่นักวิทยาศาสตร์ 35 ปี มีผลงานวิจย ั ในสาขาวิทยาศาสตร์พน ื้ ฐาน เช่น ฟิสก ิ ส์
พิจารณาคุณภาพของวารสารที่ตีพิมพ์ผลงานว่าอยู่ใน เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และ
ระดับใดของวารสารทีต ่ พ
ี ม ิ พ์ผลงานประเภทเดียวกัน โดยดู ได้ตพ ี ม
ิ พ์ผลงานวิจย ั ทีม
่ ค ี ณ
ุ ภาพดีและเผยแพร่ในวารสารที่
Impact factor และพิจารณา Publication credit มีมาตรฐานจ�ำนวนไม่น้อยกว่า 3 เรือ ่ ง โดยผู้เสนอควรเป็น
(ผลรวมของ impact factor ของวารสารที่ผลงานได้ ผู้วิจัยหลัก และงานวิจัยเหล่านั้นท�ำในประเทศไทย ทั้งนี้
รับการตีพิมพ์) ทั้งค่ารวมและค่าเฉลี่ย (Gross และ ต้องไม่ใช่ผลงานวิจย ั ทีเ่ ป็นส่วนหนึง่ ของวิทยานิพนธ์เพือ ่ รับ
Net publication credits) ประกอบด้วย พิจารณา ปริญญาระดับใดระดับหนึง่ และเป็นผู้ท�ำการวิจย ั และพัฒนา
ว่าเป็นผู้วิจัยหลัก (Major contributor) มากน้อย วิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง มีคณ ุ ธรรมและมนุษยสัมพันธ์ทด ี่ ี
เพียงใด ได้มีการผลิตผลงานออกมาอย่างต่อเนื่องหรือไม่
การเสนอชื่อรับรางวัล
และผลงานดังกล่าวได้ผลิตขึน ้ ในประเทศมากน้อยเพียงใด
สำ�หรับด้านตัวบุคคลนั้น พิจารณาบุคลิก การวางตัวและ สามารถกระท�ำได้ 2 แบบ คือ โดยการสมัครด้วยตนเอง
อุปนิสย ั ทีน
่ า่ นิยม ความซือ่ สัตย์ในวิชาชีพด้านวิชาการ การ และคณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดเี ด่นเชิญให้ผ้ท
ู รง
อุทิศตนเพื่องานวิทยาศาสตร์โดยส่วนรวมและความเป็น คุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์เป็นผู้เสนอชื่อ
ผู้นำ�ทางด้านวิชาการ การพิจารณาขั้นตอนต่างๆ ข้างต้น
กระทำ�เป็นความลับโดยไม่เปิดเผยให้แก่ผท ู้ จี่ ะได้รบ
ั รางวัล แนวทางการตัดสิน
จนคณะกรรมการฯ มีมติขน ั้ สุดท้ายให้เชิญนักวิทยาศาสตร์ คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น น�ำรายชื่อผู้ที่
ผู้นั้นเป็นผู้ได้รับรางวัล สมัครและผู้ทไี่ ด้รบ
ั การเสนอชือ ่ เพือ
่ รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์
รุ่นใหม่มาตรวจสอบเบือ ้ งต้นว่าเป็นไปตามเกณฑ์อันได้แก่
ผลที่คาดว่าจะได้รับ สัญชาติ อายุ และสาขาวิชา ตรวจสอบจ�ำนวนผลงานวิจัย
การสดุดีเกียรติคุณบุคคลและผลงาน จะเป็นสิ่งที่โน้มนำ� ที่ผู้สมัครหรือได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้วิจัยหลัก ตรวจสอบ
เยาวชนทีม่ ค
ี วามสามารถให้มงุ่ ศึกษาและวิจยั ด้านวิทยาศาสตร์ ว่าการวิจย ั เหล่านัน
้ ท�ำในประเทศไทย และไม่เป็นส่วนหนึง่
พื้นฐาน อันเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์ประยุกต์และ ของวิทยานิพนธ์ พิจารณาคุณภาพของผลงานว่าตีพิมพ์
เทคโนโลยีทั้งหลายในระยะยาว สังคมที่มุ่งยกย่องบุคคล ในวารสารที่มี Impact factor สูงมากน้อยเพียงใด เมื่อ
ที่มีผลงานดีเด่นและคุณธรรมจะเป็นสังคมที่สามารถยก เปรียบเทียบกับวารสารทีต ่ พ
ี ม
ิ พ์ในสาขานัน ้ แล้วอยู่ในระดับใด
ระดับคุณภาพชีวิตและสังคมให้ดีขึ้น มี Publication credit มากน้อยเพียงใด โดยพิจารณา
Gross publication credit และ Net publication
credit ประกอบด้วย พิจารณาว่างานวิจย ั ทีท
่ �ำได้มก
ี ารตัง้
โจทย์วจิ ยั อย่างหนักแน่นจริงจังเพียงใด ต้องใช้ความสามารถ
พิเศษหรือไม่ มีการพิจารณาด้านคุณธรรมและความซือ ่ สัตย์
ที่มีต่องานวิจัย รวมทั้งมนุษยสัมพันธ์ที่มีต่อผู้อื่น
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 83

รายนามนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น

ปี พ.ศ. ชื่อ สาขาวิชา สถาบัน


Year Name Field Institution
2525 ศาสตราจารย์ ดร. วิรฬ
ุ ห์ สายคณิต ฟิสก
ิ ส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1982 Professor Dr. Virulh Sa-yakanit Physics Chulalongkorn University
B.Sc. (Hons., Chulalongkorn),
Ph.D. (Gothenberg)
2526 ศาสตราจารย์นายแพทย์ ประเวศ วะสี พันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
1983 Professor Dr. Prawase Wasi Genetics Mahidol University
M.D. (Siriraj), Ph.D. (Colorado)
2527 ศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว.พุฒพ
ิ งศ์ วรวุฒิ ชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1984 Professor Dr. M.R. Puttiponge Varavudhi Biology Chulalongkorn University
B.Sc. (Chulalongkorn), Ph.D.
(Weizmann Institute)
ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ชีวเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
Professor Dr. Yongyuth Yuthavong Biochemistry Mahidol University
B.Sc. (Hons., London), D.Phil. (Oxford)
2528 รองศาสตราจารย์ ดร. สกล พันธุย
์ ม
้ิ ชีวเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
1985 Associate Professor Dr. Sakol Panyim Biochemistry Mahidol University
B.S. (Berkeley), Ph.D. (lowa)
2529 รองศาสตราจารย์ ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ เคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
1986 Associate Professor Chemistry Mahidol University
Dr. Yodhathai Thebtaranonth
B.Sc. (Medical Science), Ph.D. (Sheffield)
2530 ศาสตราจารย์ ดร. สุทศ
ั น์ ยกส้าน ฟิสก
ิ ส์ทฤษฎี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
1987 Professor Dr. Suthat Yoksan Theoretical Physics Srinakharinwirot University
B.Sc. (Hons., London), Ph.D. (California)
2531 ศาสตราจารย์ ดร. สถิตย์ สิรส
ิ งิ ห จุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล
1988 Professor Dr. Stitaya Sirisinha Microbiology Mahidol University
B.S. (Hons., Jacksonville State),
Ph.D. (Rochester)
2532 ศาสตราจารย์ ดร. ถาวร วัชราภัย พฤกษศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1989 Professor Dr. Thavorn Vajrabhaya Botany Chulalongkorn University
B.S. (Cornell), Ph.D. (Cornell)
2533 รองศาสตราจารย์ สดศรี ไทยทอง ชีววิทยา (สัตววิทยา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1990 Associate Professor Sodsri Thaithong Biology (Zoology) Chulalongkorn University
B.Sc. (Hons., Chulalongkorn), M.Sc. (Mahidol)
ศาสตราจารย์ ดร. วิสท
ุ ธิ์ ใบไม้ ชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล
(พันธุศาสตร์)
Professor Dr. Visut Baimai B.Sc. (Hons., Biology (Genetics) Mahidol University
Queensland), Ph.D. (Queensland)
84 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

ปี พ.ศ. ชื่อ สาขาวิชา สถาบัน


Year Name Field Institution
2534 ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
1991 Professor Dr. Pairash Thajchayapong Computer Science King Mongkut’s Institute of
B.Sc. (Hons., London), Ph.D. (Cambridge) Technology Ladkrabang
2535 ศาสตราจารย์ ดร. อมเรศ ภูมริ ต
ั น เทคโนโลยีชวี ภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล
1992 Professor Dr. Amaret Bhumiratana Biotechnology Mahidol University
B.Sc. (Hons., U.C. at Davis), Ph.D.
(Michigan State)

2536 ศาสตราจารย์ ดร. ณัฐ ภมรประวัติ วิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล


1993 Professor Dr. Natth Bhamarapravati Medical Science Mahidol University
M.D. (Siriraj), D.Sc. (Pennsylvania)
2537 ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิศษ
ิ ฏ์ สิตปรีชา วิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1994 Professor Dr. Visith Sitprija Medical Science Chulalongkorn University
M.D. (Medical Science), Ph.D. (Colorado)
ศาสตราจารย์นายแพทย์ อารี วัลยะเสวี วิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Professor Dr. Aree Valyasevi Medical Science Mahidol University


M.D. (Siriraj), D.Sc. (Pennsylvania)
2538 ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ โศภน เซลล์ชวี วิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล
1995 Professor Dr. Prasert Sobhon Cell Biology Mahidol University
B.Sc. (Western Australia), Ph.D. (Wisconsin)
2539 ศาสตราจารย์ ดร. วัลลภ สุระกำ�พลธร ฟิสก
ิ ส์เชิงคณิตศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
1996 Professor Dr. Wanlop Surakampontorn Mathematical King Mongkut’s Institute of
B.Eng. (KMITL), Ph.D. (Kent at Canterbury) Physics Technology Ladkrabang
2540 รองศาสตราจารย์ ดร. ประพนธ์ วิไลรัตน์ ชีวเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
1997 Associate Professor Dr. Prapon Wilairat Biochemistry Mahidol University
B.Sc. (Hons., A.N.U.), Ph.D. (Oregon)
ศาสตราจารย์นายแพทย์ ยง ภูว่ รวรรณ วิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Professor Dr. Yong Poovorawan Medical Science Chulalongkorn University
M.D. (Chulalongkorn)
2541 รองศาสตราจารย์ ดร. อภิชาต สุขสำ�ราญ เคมีอน
ิ ทรีย์ มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง
1998 Associate Professor Dr. Apichart Suksamrarn Organic Chemistry Ramkhamhaeng University
B.Sc. (Hons., Mahidol), Ph.D. (Cambridge)
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. ศกรณ์ มงคลสุข เทคโนโลยีชวี ภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล
Assistant Professor Dr. Skorn Mongkolsuk Biotechnology Mahidol University
Biotechnology Mahidol University
B.Sc. (Hons., London), Ph.D. (Maryland)
2542 ศาสตราจารย์ ดร. วันเพ็ญ ชัยคำ�ภา วิทยาภูมค
ิ ม
ุ้ กัน มหาวิทยาลัยมหิดล
1999 Professor Dr. Wanpen Chaicumpa Immunology Mahidol University
D.V.M. (Hons., Kasetsart), Ph.D. (Adelaide)
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 85

ปี พ.ศ. ชื่อ สาขาวิชา สถาบัน


Year Name Field Institution
2543 ศาสตราจารย์ ดร. จงรักษ์ ผลประเสริฐ วิศวกรรมสิง่ แวดล้อม สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
2000 Professor Dr. Chongrak Polprasert Environmental Asian Institute of
B.Sc. (Chulalongkorn), Ph.D. (Washington) Engineering Technology
ศาสตราจารย์ ดร. สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ เทคโนโลยีพลังงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี
Professor Dr. Somchart Soponronnarit Energy Technology King Mongkut’s University
B.Eng. (Hons., Khon Kaen), Dr.-lng. (ENSAT) of Technology Thonburi
2544 รองศาสตราจารย์ ดร. เกตุ กรุดพันธ์ เคมีวเิ คราะห์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2001 Associate Professor Dr. Kate Grudpan Analytical Chemistry Chiang Mai University
B.S. (Chiang Mai), Ph.D. (Liverpool John Moores)
2545 ศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวต
ั น์ ชีวเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
2002 Professor Dr. M.R. Jisnuson Svasti Biochemistry Mahidol University
B.A. (Hons., Cambridge), Ph.D. (Cambridge)
ศาสตราจารย์นายแพทย์ สุทศ
ั น์ ฟูเ่ จริญ วิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Professor Dr. Suthat Fucharoen Medical Science Mahidol University
M.D. (Chiang Mai)
2546 รองศาสตราจารย์ ดร. จำ�รัส ลิม
้ ตระกูล เคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2003 Associate Professor Dr. Jumras Limtrakul Chemistry Kasetsart University
B.Sc. (Khon Kaen), Ph.D. (Innsbruck)
รองศาสตราจารย์ ดร. สุพจน์ หารหนองบัว เคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Associate Professor Dr. Supot Hannongbua Chemistry Chulalongkorn University
B.Sc. (Khon Kaen), Ph.D. (Innsbruck)
2547 ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา วิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2004 Professor Dr. Thiravat Hemachudha Medical Science Chulalongkorn University
M.D. (Chulalongkorn)
2548 ศาสตราจารย์นายแพทย์ รัชตะ รัชตะนาวิน วิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2005 Professor Dr. Rajata Rajatanavin Medical Science Mahidol University
M.D. (Mahidol)
ศาสตราจารย์นายแพทย์ บุญส่ง องค์พพ
ิ ฒ
ั นกุล วิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Professor Dr. Boonsong Ongphiphadhanakul Medical Science Mahidol University
M.D. (Hons., Mahidol)
2549 ศาสตราจารย์ ดร. ปิยะสาร ประเสริฐธรรม วิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2006 Professor Dr. Piyasan Praserthdam Chemical Chulalongkorn University
B.Eng. (Chulalongkorn), Dr.-lng. (Toulouse) Engineering
ศาสตราจารย์ ดร. สมชาย วงศ์วเิ ศษ วิศวกรรมเครือ
่ งกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี
Professor Dr. Somchai Wongwises Mechanical King Mongkut’s University of
B.Eng. (KMITT), Dr.-lng. (Hannover) Engineering Technology Thonburi
2550 ศาสตราจารย์ ดร. ยงค์วม
ิ ล เลณบุรี คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2007 Professor Dr. Yongwimon Lenbury Mathematics Mahidol University
B.Sc. (Hons., A.N.U.), Ph.D. (Vanderbilt)
86 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

ปี พ.ศ. ชื่อ สาขาวิชา สถาบัน


Year Name Field Institution
2550 ศาสตราจารย์ ดร. สมพงษ์ ธรรมพงษา คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2007 Professor Dr. Sompong Dhompongsa Mathematics Chiang Mai University
B.Sc. (Srinakharinwirot),
Ph.D. (IIIinois at Urbana-Champaign)
2551 ศาสตราจารย์ ดร. วัชระ กสิณฤกษ์ วิทยาภูมค
ิ ม
ุ้ กัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2008 Professor Dr. Watchara Kasinrerk Immunology Chiang Mai University
B.Sc. (Chiang Mai), Ph.D. (Boku)
ศาสตราจารย์นายแพทย์ อภิวฒ
ั น์ มุทริ างกูร วิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Professor Dr. Apiwat Mutirangura Medical Science Chulalongkorn University
M.D. (Chiang Mai), Ph.D. (BCM, USA)
2552 ศาสตราจารย์ ดร. สายชล เกตุษา วิทยาการพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2009 Professor Dr. Saichol Ketsa Horticultural Science Kasetsart University
B.Sc. (Kasetsart), Ph.D. (Michigan State)
ศาสตราจารย์ ดร. อารันต์ พัฒโนทัย วิทยาศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Professor Dr. Aran Patanothai Agricultural Science Khon Kaen University
B.S. (Hons., Kasetsart), Ph.D. (Iowa State)
2553 ศาสตราจารย์นายแพทย์ ประเสริฐ เอือ
้ วรากุล ไวรัสวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล
2010 Professor Dr. Prasert Auewarakul Virology Mahidol University
M.D. (Mahidol), Ph.D. (Heidelberg)
นายแพทย์ วิศษ
ิ ฎ์ ทองบุญเกิด โปรตีโอมิกส์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Dr. Visith Thongboonkerd Proteomics Mahidol University
M.D. (Chiang Mai)
2554 ศาสตราจารย์ ดร. สุทธวัฒน์ เบญจกุล วิทยาศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เทคโนโลยีอาหาร
2011 Professor Dr. Soottawat Benjakul Food Science Prince of Songkla University
B.Sc. (Prince of Songkla), Ph.D. (Oregon State) and Technology
2555 ศาสตราจารย์ ดร. ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ ประสาทวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2012 Professor Dr. Piyarat Govitrapong Neuroscience Mahidol University
B.Sc. (Mahidol), Ph.D. (Nebraska)
ศาสตราจารย์นายแพทย์ นิพนธ์ ฉัตรทิพากร สรีรวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทางไฟฟ้าของหัวใจ
Professor Dr. Nipon Chattipakorn Cardiac Chiang Mai University
M.D. (Chiang Mai), Ph.D., Electrophysiology
(Alabama at Birmingham)
2556 ศาสตราจารย์ ดร. โสพิศ วงศ์ค�ำ ชีวเคมี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2013 Professor Dr. Sopit Wongkham Biochemistry Khon Kaen University
B.Sc. (Hons., Mahidol), Ph.D. (Mahidol)
รองศาสตราจารย์ ดร. บรรจบ ศรีภา พยาธิชวี วิทยา มหาวิยาลัยขอนแก่น
Assosiate Rrofessor Banchob Sripa Pathology Khon Kaen University
B.Sc. (Khon Kaen), Ph.D. (Queensland)
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 87

ปี พ.ศ. ชื่อ สาขาวิชา สถาบัน


Year Name Field Institution
2557 ศาสตราจารย์ ดร. ธวัชชัย ตันฑุลานิ เคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2014 Professor Dr. Thawatchai Tuntulani Chemistry Chulalongkorn University
B.Eng. (Chiang Mai), Ph.D. (Texas A&M)
ศาสตราจารย์ ดร. ธีรยุทธ วิไลวัลย์ เคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Professor Dr. Tirayut Vilaivan Chemistry Chulalongkorn University
B.Sc. (Hons., Chulalongkorn), D.Phil. (Oxford)
2558 ศาสตราจารย์ ดร. พิมพ์ใจ ใจเย็น ชีวเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
2015 Professor Dr. Pimchai Chaiyen Biochemistry Mahidol University
B.Sc. (Hons., Prince of Songkla),
Ph. D. (Michigan)
2559 ศาสตราจารย์นายแพทย์ วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ เวชพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2015 Professor Dr. Vorasuk Shotelersuk Medical Genetics Chulalongkorn University
M.D. (Chulalongkorn)
2560 ศาสตราจารย์พเิ ศษ ดร. เดวิด รูฟโฟโล ฟิสก
ิ ส์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2017 Professor Dr. David Ruffolo Physics Mahidol University
B.S. (Cincinnati), Ph.D. (Chicago)
2561 ศาสตราจารย์ ดร. อรวรรณ ชัยลภากุล เคมีวเิ คราะห์​ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2018 Professor Dr. Orawon Chailapakul Analytical Chemistry​ Chulalongkorn University
B.Sc. (Mahidol), Ph.D. (New Mexico)
2562 ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. มนตรี สว่างพฤกษ์ ไฟฟ้าเคมี สถาบันวิทยสิรเิ มธี
2019 Assistant Professor Electrochemistry Vidyasirimedhi Institute of
Dr. Montree Sawangphruk Science and Technology
B.Sc. (Hons, Ubon Ratchathani),
M.Sc. (Kasetsart), D.Phil. (Oxford)
2563 ศาสตราจารย์ ดร. สุทธิชย
ั อัสสะบำ�รุงรัตน์ วิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2020 Professor Dr. Suttichai Assabumrungrat Chemical Chulalongkorn University
B.Eng. (Hons., Chulalongkorn), M.Sc. Engineering
(Imperial College London), Ph. D.
(Imperial College London)
ดร. วรรณพ วิเศษสงวน วิทยาศาสตร์และ ศูนย์พน
ั ธุวศ
ิ วกรรมและเทคโนโลยี
เทคโนโลยีอาหาร ชีวภาพแห่งชาติ, สวทช.
Dr. Wonnop Visessanguan Food Science BIOTEC, NSTDA
B. SC. (Hons., Chulalongkorn), M.Sc. and Technology
(Chulalongkorn), Ph.D. (Oregon State)
2564 ศาสตราจารย์ ดร. วินชิ พรมอารักษ์ เคมีวส
ั ดุ สถาบันวิทยสิรเิ มธี
2021 Professor Dr. Vinich Promarak Materials Vidyasirimedhi Institute of
B.Sc. (Hons., Khon Kaen University), Chemistry Science and Technology
M.Sc. (University of Sheffield),
Ph. D. (University of Oxford)
2565 ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วิปร วิประกษิต วิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2022 Professor Dr. Vip Viprakasit Medical Science Mahidol University
M.D. (Hons., Mahidol),
D. Phil. (Oxford)
88 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

รายนามนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่

ปี พ.ศ. ชื่อ-สกุล สาขาวิชา สถาบัน


2534 1. ผศ. ดร. ดุสต
ิ เครืองาม วิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ดร. จรัญญา เงินประเสริฐศิริ พันธุวศ
ิ วกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3. ผศ. ดร. วรชาติ สิรวราภรณ์ ชีววิทยาโมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
4. ผศ. ดร. ศกรณ์ มงคลสุข พันธุวศิ วกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล
2535 1. ผศ. ดร. สุพจน์ หารหนองบัว เคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ดร. สุพรรณ ฟูเ่ จริญ ชีวเคมี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3. ผศ. ดร. จิระพันธ์ กรึงไกร ชีวเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2536 1. ผศ. ดร. สุรศักดิ์ วงศ์รต
ั นชีวน
ิ จุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. ผศ. วันชัย มาลีวงษ์ ปาราสิตวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2537 1. ดร. ชนันท์ อังศุธนสมบัต ิ ชีวเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
2. ผศ. ดร. อัญชลี ทัศนาขจร ชีวเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. ดร. สุเจตน์ จันทรังษ์ อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
2538 1. ผศ. ดร. ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ชีวเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
2. ดร. เกศรา ณ บางช้าง ชีวเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
2539 1. ผศ. นพ. สิรฤ
ิ กษ์ ทรงศิวไิ ล วิทยาภูมคิ ม
ุ้ กัน มหาวิทยาลัยมหิดล
2. ผศ. ดร. ประมวล ตัง้ บริบรู ณ์รต
ั น์ เคมี (พอลิเมอร์) มหาวิทยาลัยมหิดล
3. ผศ. ดร. รศนา วงษ์รต ั นชีวน
ิ จุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4. นพ. อภิวฒ
ั น์ มุทริ างกูร พันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2540 1. ดร. ประสาท กิตตะคุปต์ ชีวเคมี ศูนย์พน
ั ธุวศ
ิ วกรรมและเทคโนโลยี
ชีวภาพแห่งชาติ, สวทช.
2. ผศ. ดร. สุภา หารหนองบัว เคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2541 1. ผศ. ดร. ธวัชชัย ตันฑุลานิ เคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2542 1. ดร. เฉลิมพล เกิดมณี สรีรวิทยา (พืช) ศูนย์พน
ั ธุวศ
ิ วกรรมและเทคโนโลยี
ชีวภาพแห่งชาติ, สวทช.
2. ดร. สนอง เอกสิทธิ์ วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์และวิศวกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2543 1. ผศ. ดร. ธีรยุทธ วิไลวัลย์ เคมีอนิ ทรีย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ผศ. ดร. ทวีชยั อมรศักดิช์ ยั ฟิสก
ิ ส์พอลิเมอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3. ผศ. ดร. ณรงค์ฤทธิ์ สมบัตส ิ มภพ เทคโนโลยีพอลิเมอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี
4. ดร. สมชาติ ฉันทศิรวิ รรณ วัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5. ผศ. นพ. ประเสริฐ เอือ้ วรากุล จุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล
6. ดร. ศิราวุธ กลิน
่ บุหงา พันธุศาสตร์ ศูนย์พน
ั ธุวศ
ิ วกรรมและเทคโนโลยี
ชีวภาพแห่งชาติ, สวทช.
2544 1. ผศ. ดร. ชาคริต สิรส ิ งิ ห พอลิเมอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2. ผศ. ดร. ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ ควอนตัมฟิสก
ิ ส์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3. ผศ. ดร. รุง่ นภา ศรีชนะ เภสัชเคมี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4. ผศ. ดร. สุทธวัฒน์ เบญจกุล เทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2545 1. ผศ. ดร. มงคล สุขวัฒนาสินท ิ ธิ์ เคมีอนิ ทรีย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. รศ. ดร. ธนัญชัย ลีภกั ดิป
์ รีดา วิศวกรรมเครือ ่ งกล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. ผศ. ดร. พิชญ์ ศุภผล วิศวกรรมพอลิเมอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. นพ. วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ พันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 89

ปี พ.ศ. ชื่อ-สกุล สาขาวิชา สถาบัน


2546 1. ดร. จรูญ จักร์มณุ ี เคมี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. ดร. จิรน
ั ดร ยูวะนิยม ชีวเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
3. ผศ. ดร. พลังพล คงเสรี เคมีอน
ิ ทรีย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
4. ดร. วรรณพ วิเศษสงวน วิทยาศาสตร์อาหาร ศูนย์พน
ั ธุวศ
ิ วกรรมและเทคโนโลยี
ชีวภาพแห่งชาติ, สวทช.
5. ผศ. ดร. ศราวุฒิ จิตรภักดี ชีวเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
6. รศ. ดร. สุทธิชย
ั อัสสะบำ�รุงรัตน์ วิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2547 1. ดร. จินตมัย สุวรรณประทีป เทคโนโลยีวส
ั ดุการแพทย์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ,
สวทช.
2. ดร. เทียนทอง ทองพันชัง่ เคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
3. ผศ. ดร. พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ เทคโนโลยีเภสัชกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
4. ผศ. ดร. มัลลิกา เจริญสุธาสินี ชีววิทยา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
5. ดร. ศรัณย์ สัมฤทธิเ์ ดชขจร โฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอเิ ล็กทรอนิกส์และ
คอมพิวเตอร์แห่งชาติ, สวทช.
6. ผศ. ดร. สุพล อนันตา ฟิสก
ิ ส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2548 1. ผศ. ดร. พิมพ์ใจ ใจเย็น เคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
2. ผศ. ดร. ยุทธนา ตันติรงุ่ โรจน์ชย
ั เคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
3. รศ. ดร. สุกจิ ลิมปิจ�ำ นงค์ ฟิสก
ิ ส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี
2549 1. ผศ. ดร. จูงใจ ปัน
้ ประณต วิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. รศ. ดร. ชนพ ช่วงโชติ พยาธิวท ิ ยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. ผศ. ดร. พวงรัตน์ ไพเราะ ฟิสก
ิ ส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี
4. นพ. วิศษ
ิ ฎ์ ทองบุญเกิด อายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
5. ผศ. ดร. อภินภัส รุจวิ ต
ั ร์ เคมี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2550 1. ผศ. ดร. เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ วิศวกรรมสำ�รวจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ผศ. ดร. นวดล เหล่าศิรพิ จน์ วิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุร ี
3. ผศ. ดร. วินชิ พรมอารักษ์ เคมี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
4. ผศ. ดร. สันติ แม้นศิร ิ ฟิสก
ิ ส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5. ผศ. ดร. อทิตยา ศิรภิ ญ
ิ ญานนท์ เคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
6. ดร. อานนท์ ชัยพานิช วัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2551 1. ผศ. นพ. ดร. นรัตถพล เจริญพันธุ ์ สรีรวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล
2. ดร. นราธิป วิทยากร วัสดุศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
3. ดร. บุรน
ิ ทร์ กำ�จัดภัย ฟิสก
ิ ส์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
4. ผศ. ดร. สาธิต แซ่จงึ คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5. ผศ. ดร. อาทิวรรรณ โชติพฤกษ์ วิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2552 1. ผศ. ดร. ธรรมนูญ ศรีทะวงศ์ วิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ผศ. ดร. สุรต
ั น์ ละภูเขียว เคมี มหาวิทยาลัยแม่ฟา้ หลวง
3. ผศ. ดร. อมรชัย อาภรณ์วชิ านพ วิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2553 1. ดร. เครือวัลย์ จันทร์แก้ว ธรณีวท ิ ยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ดร. ชนากานต์ พรมอุทย ั พืชไร่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. ดร. บรรจง บุญชม เคมี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร
4. ดร. วีระวัฒน์ แช่มปรีดา ชีวเคมี ศูนย์พนั ธุวศ
ิ วกรรมและเทคโนโลยี
ชีวภาพแห่งชาติ, สวทช.
5. ผศ. ดร. สอาด ริยะจันทร์ พอลิเมอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
6. ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชย
ั นาโนเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ, สวทช.
90 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

ปี พ.ศ. ชื่อ-สกุล สาขาวิชา สถาบัน


2554 1. ดร. ขจรศักดิ์ เฟือ
่ งนวกิจ วิศวกรรมเคมี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ, สวทช.
2. ผศ. ดร. ปิติ จันทร์วรโชติ เซลล์ชวี วิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. รศ. ดร. ยงยุทธ หล่าศิรถิ าวร ฟิสก
ิ ส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. ดร. ยุทธนันท์ บุญยงมณีรต ั น์ วัสดุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2555 1. ดร. วรวัฒน์ มีวาสนา ฟิสก
ิ ส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี
2. ดร. สิทธิโชค ตัง้ ภัสรเรือง ชีววิทยาโมเลกุลของพืช ศูนย์พน
ั ธุวศ
ิ วกรรมและเทคโนโลยี
ชีวภาพแห่งชาติ, สวทช.
3. ผศ. ดร. สัมฤทธิ์ วัชรสินธุ์ เคมีอน
ิ ทรีย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2556 1. ผศ. นพ. ดร. ฉัตรชัย เหมือนประสาท สรีรวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล
2. ผศ. ดร. ดวงกมล เบ้าวัน คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3. ดร. ประสิทธิ ์ ทองใบ ฟิสก
ิ ส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4. ผศ. ดร. วิทยา เงินแท้ เคมี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2557 1. ผศ. ดร. ทรงยศ นาคอริยกุล วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. ผศ. ดร. ธงไทย วิฑรู ย์ วิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3. ดร. ปริญญา การดำ�ริห์ ฟิสก
ิ ส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. ดร. มนตรี สว่างพฤกษ์ วิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2558 1. ผศ. ดร. นงลักษณ์ มีทอง ฟิสก
ิ ส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. ดร. เพียงพักตร์ สุขรักษ์ ชีววิทยา มหาวิทยาลัยบูรพา
3. รศ. ดร. วุฒชิ ย
ั เอือ
้ วิทยาศุภร เคมี มหาวิทยาลัยมหิดล

2559 1. ผศ. ดร. การุณ ทองประจุแก้ว วิทยาศาสตร์ชวี ภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


2. ผศ. ดร. พนิดา สุรวัฒนาวงศ์ เคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
3. ผศ. ดร. ศิรล
ิ ตา ยศแผ่น เคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
4. ผศ. ดร. อติพร แซ่อง้ึ ชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2560 1. รศ. ดร. เบญจพล เฉลิมสินสุวรรณ เคมีเทคนิค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ผศ. ดร. บูรภัทร์ อินทรียส
์ งั วร เคมี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. ผศ. ดร. วโรดม เจริญสวรรค์ ชีวเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
4. ผศ. ดร. วิบญ
ุ ตัง้ วโรดมนุกล ู วิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี
2561 1. ผศ. ดร. เจ้าทรัพย์ บุญมาก เคมี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. ดร. จุฬารัตน์ วัฒนกิจ เคมี สถาบันวิทยสิรเิ มธี

2562 1. ผศ. ดร. เอกพันธ์ ไกรจักร์ พฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


2. ผศ. ดร. ภูวดล ธนะเกียรติไกร วิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
3. ดร. ธีรพงศ์ ยะทา นาโนเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ, สวทช.
2563 1. รศ. ดร. ทวีธรรม ลิมปานุภาพ เคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
2. ดร. พิชญ พัฒนสัตยวงศ์ ฟิสก
ิ ส์ สถาบันวิทยสิรเิ มธี

2564 1. รศ. ดร. ธีระพงษ์ สุขสำ�ราญ คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


2. ดร. สุดเขต ไชโย เคมีวเิ คราะห์เพือ
่ การวินจิ ฉัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2565 1. ผศ. ดร. กมลวัช งามเชือ


้ เคมีไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี
2. ผศ. ดร. สุรชัย กาญจนาคม เคมีอต
ุ สาหกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต
2022 OUTSTANDING SCIENTIST AWARD 91

คณะกรรมการ
มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

กรรมการ
1. รศ. ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน ประธานคณะกรรมการ
2. ศ.ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ กรรมการ
3. ดร. กอปร กฤตยากีรณ กรรมการ
4. ศ. ดร. วันเพ็ญ ชัยคำ�ภา กรรมการ
5. รศ. ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ กรรมการ
6. ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช กรรมการ
7. ศ. ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการ
8. ศ. ดร. อภิชาต สุขสำ�ราญ กรรมการ
9. รศ. ดร. กำ�ธร ธีรคุปต์ กรรมการ
10. ผศ. บัวรอง ลิ่วเฉลิมวงศ์ กรรมการ
11. ดร. กัญญวิมว์ กีรติกร กรรมการ
12. ศ. ดร. จำ�รัส ลิ้มตระกูล กรรมการและประธานคณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
13. นสพ. รุจเวทย์ ทหารแกล้ว กรรมการและประธานคณะกรรมการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น
14. รศ. ดร. ทิพาพร ลิมปเสนีย์ กรรมการและเหรัญญิก
15. ศ. ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ กรรมการและเลขานุการ

ที่ปรึกษา
1. นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
2. ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
3. ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
4. ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติิ
5. ผู้อำ�นวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
6. ดร. อาชว์ เตาลานนท์
7. คุณยุทธนา เจียมตระการ

ผู้ช่วยกรรมการ
1. คุณวิมลพร ใบสนธิ์
2. คุณบำ�รุง ไตรมนตรี
92 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำ�ปี 2565

ประธานคณะกรรมการมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
1. นายบุญเยี่ยม มีศุข 2526 - 2538
2. ศ. ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต 2539 - 2549
3. ดร. กอปร กฤตยากีรณ 2549 - 2554
4. ศ. ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ 2554 – 2557
5. รศ. ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน 2557 - ปัจจุบัน

ประธานคณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
1. ศ. ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต 2525 - 2535
2. ดร. กอปร กฤตยากีรณ 2536 - 2538
3. ศ. ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ 2539 - 2542
4. ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช 2543 - 2546
5. ศ. ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ 2547 - 2553
6. ศ. ดร. อมเรศ ภูมิรัตน 2554 - 2557
7. ศ. ดร. จำ�รัส ลิ้มตระกูล 2558 - ปัจจุบัน

ประธานคณะกรรมการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น
1. ดร. วิโรจน์ ตันตราภรณ์ 2544 - 2548
2. ศ. นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล 2549 - 2553
3. รศ. ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน 2554 - 2557
4. นสพ. รุจเวทย์ ทหารแกล้ว 2558 - ปัจจุบัน

You might also like