Micro 3 1

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 30

บทที่ 3

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน

จากบทที่ แล้ว เราทราบแล้วว่าปริ มาณความต้องการซื้ อและปริ มาณขายสิ นค้าจะสัมพันธ์กบั


ระดับราคาสิ นค้า ในขณะใดขณะหนึ่ ง ซึ่ งความสัมพันธ์ดงั กล่าวจะเป็ นไปตามกฎอุปสงค์และอุปทาน
การเปลี่ยนแปลงของราคาสิ นค้าจะกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของปริ มาณความต้องการซื้อและขายด้วย
ซึ่งเมื่อสังเกตจะเห็นว่าปริ มาณซื้อหรื อปริ มาณขายของสิ นค้าบางอย่างมีปฏิกิริยาต่อการเปลี่ยนแปลงของ
ตัวกาหนดอุปสงค์และอุปทานค่อนข้างสู ง ในขณะที่ปฏิกิริยาดังกล่าวของสิ นค้าบางชนิดค่อนข้างน้อย
เพื่ออธิ บายปรากฏการณ์ ดังกล่าวนี้ จึงได้มีการสร้ างเครื่ องมื อเพื่ อวัดปฏิ กิ ริยาตอบโต้ข องปริ ม าณซื้ อ
หรื อปริ มาณขายที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่เป็ นตัวกาหนดต่าง ๆ ซึ่งเครื่ องมือดังกล่าวนี้ เรี ยกว่า
“ความยืดหยุน่ ” (Elasticity) (วันรักษ์ มิ่งมณี นาคิน. 2555 : 55)
บทนี้ จะเป็ นการอธิ บายแนวคิดเกี่ยวกับเรื่ องความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน ซึ่ งเป็ นค่าที่
ชี้ให้เห็นว่าปริ มาณความต้องการซื้ อและขายจะได้รับผลกระทบอย่างไร มากน้อยแค่ไหน โดยจะศึกษา
เกี่ยวกับความหมาย วิธีการวัดหาค่าความยืดหยุ่นและปั จจัยที่มีผลต่อการกาหนดค่าความยืดหยุน่ ทั้งของ
อุปสงค์และอุปทาน ตามลาดับ

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์

1. ความหมายของความยืดหยุ่นของอุปสงค์

ความยืดหยุ่นของอุป สงค์ (Elasticity of Demand) หมายถึ ง ร้ อยละการเปลี่ ย นแปลงปริ มาณ


ความต้องการซื้ อในขณะใดขณะหนึ่ ง ต่ อร้ อยละการเปลี่ ย นแปลงของปั จจัย อื่ น ๆ ที่ เป็ นตัวก าหนด
ปริ มาณความต้องการซื้อนั้น ๆ
จากคานิ ยามดังกล่าว ถ้า ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของปริ มาณความต้องการซื้ อมีมากจะเรี ยกว่า
“ค่าความยืดหยุ่นมาก” แต่ถา้ ร้อยละการเปลี่ ย นแปลงของปริ ม าณความต้องการซื้ อมี น้อยจะเรี ย กว่า
“ค่าความยืดหยุ่นน้อย” และถ้าร้อยละการเปลี่ยนแปลงของปริ มาณความต้องการซื้ อไม่มีเลยจะเรี ยกว่า
“ค่าความยืดหยุน่ คงที่”
อนึ่ง ในการหาค่าความยืดหยุ่น ค่าความยืดหยุน่ ที่ได้จะไม่มีหน่วยเป็ นค่าใด ๆ เนื่องจากเป็ นการ
เปรี ยบเทียบระหว่างร้อยละการเปลี่ย นแปลงหรื อเปอร์ เซ็นต์ของค่าตัวแปรที่กาลังพิ จารณาอยู่ไ ม่ใ ช่
เปรี ยบเทียบจานวนการเปลี่ยนแปลง
56

เนื่องจากการศึกษาเรื่ องความยืดหยุ่นของอุปสงค์ จะเป็ นการศึกษาตามลักษณะของอุปสงค์ที่ได้


ศึกษามาแล้วในบทก่อนหน้านี้ ดังนี้
1) ความยืดหยุน่ ของอุปสงค์ต่อราคา (Price Elasticity of Demand)
2) ความยืดหยุน่ ของอุปสงค์ต่อรายได้ (Income Elasticity of Demand)
3) ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ต่ อ ราคาสิ นค้าชนิ ด อื่ น หรื อ ความยืด หยุ่น ไขว์ (Cross
Elasticity of Demand)

2. ความหมายของความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ต่อราคา

ความยื ด หยุ่ น ของอุ ป สงค์ ต่ อ ราคา (Price Elasticity of Demand) หมายถึ ง ร้ อ ยละการ
เปลี่ ยนแปลงของปริ มาณความต้องการซื้ อในขณะใดขณะหนึ่ ง ต่อร้อยละการเปลี่ยนแปลงของราคา
สิ น ค้า ชนิ ด นั้น โดยก าหนดให้ปั จ จัย อื่ น ๆ คงที่ กล่ า วคื อ เป็ นค่ า ที่ บ อกว่ า เมื่ อ ราคาสิ น ค้า ชนิ ด นั้น
เปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 1 จะส่ งผลทาให้ปริ มาณความต้องการเสนอซื้ อเปลี่ยนแปลงเป็ นร้อยละเท่าไร
อาจเขียนสูตรได้วา่

ค่ าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ต่อราคา (Edp) ร้ อยละการเปลีย่ นแปลงของปริมาณเสนอซื้อ


=
ร้ อยละการเปลีย่ นแปลงของราคา

เนื่ องจากปริ มาณความต้องการซื้อแปรผกผันกับราคาสิ นค้า ดังนั้น ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์


ต่อราคาที่ ค านวณได้จะมี ค่า ติ ดลบเสมอ เครื่ องหมายลบนี้ จะเป็ นเพีย งตัวบอกทิ ศทางความสั มพันธ์
ระหว่างปริ มาณความต้องการซื้ อกับราคาเท่านั้น ส่ วนร้อยละการเปลี่ยนแปลงของปริ มาณความต้องการ
ซื้ อที่มีต่อการร้อยละการเปลี่ยนแปลงของราคาจะดูจากตัวเลขของค่าความยืดหยุ่นที่หาได้ในรู ปของค่า
สัมบูรณ์ ซึ่งจะไม่นาเครื่ องหมายมาพิจารณา ดังนี้

ถ้า |Edp| > 1 แสดงว่า อุปสงค์มีความยืดหยุน่ มาก (Elastic)


|Edp| = 1 แสดงว่า อุปสงค์มีความยืดหยุน่ คงที่ (Unit Elastic)
|Edp| < 1 แสดงว่า อุปสงค์มีความยืดหยุน่ น้อย (Inelastic)
57

ส่วนการคานวณหาค่าความยืดหยุน่ สามารถทาได้ 2 วิธี คือ

1) การคานวณหาค่าความยืดหยุน่ แบบจุด (Point Elasticity)


2) การคานวณหาค่าความยืดหยุน่ แบบช่วง (Arc Elasticity)

3. การวัดค่ าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ต่อราคา

3.1 การคานวณหาค่ าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ต่อราคาแบบจุด (Point Elasticity of


Demand) เป็ นการหาค่าความยืดหยุน่ ของจุดใดจุดหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ จะใช้ในกรณีที่ราคาเปลี่ยนแปลง
น้อยมากจนแทบจะสังเกตไม่เห็น แต่ในทางทฤษฎีถือว่ามี ผลทาให้ปริ มาณซื้อมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย
ไม่มากก็นอ้ ย ดังนั้นจึงต้องมีการวัดความยืดหยุ่นตรงจุดดังกล่าวนี้ ดว้ ย จึงใช้วิธีวดั ความยืดหยุ่นแบบจุด
สามารถเขียนสู ตร ดังนี้

ค่ าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ต่อราคา ร้ อยละการเปลีย่ นแปลงของปริมาณเสนอซื้อ


=
(Edp) ร้ อยละการเปลี่ยนแปลงของราคา

การเปลี่ยนแปลงของปริ มาณความต้องการซื้ อ x 100


ปริ มาณความต้องการซื้ อเดิม
=
การเปลี่ยนแปลงของราคาสิ นค้า x 100
ราคาสิ นค้าเดิม

Q2 – Q1
x 100
=
Q1
P2 – P1
x 100
P1

∆Q
Q1
=
∆P
P1
58

เพราะฉะนั้นจะได้ Edp ∆Q P
= x 1
∆P Q1

ราคา (P)

P2 = 6 A
∆P=1
P1 = 5 B
∆Q=2

D
ปริ มาณ (Q)
0 Q2 = 18 Q 1 = 20

รู ปที่ 3.1 การคานวณค่าความยืดหยุน่ ของอุปสงค์แบบจุด

จากรู ปที่ 3.1 กาหนดให้ Q1 คือ ปริ มาณความต้องการซื้ อเดิม


P1 คือ ราคาเดิม
Q2 คือ ปริ มาณความต้องการซื้ อใหม่
P2 คือ ราคาใหม่

การหาค่ าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ต่อราคา ณ จุด A

สมมติให้ P1 = 5 , P2 = 6
Q1 = 20 , Q2 = 18
เมื่อแทนค่าต่างๆ ลงในสู ตรจะได้ค่าความยืดหยุน่ ของอุปสงค์ ดังนี้
Edp 18 – 20 5
= x
6–5 20
-2 x 5
=
1 20
-1
=
2
= - 0.5
59

จากการค านวณจะได้ค่า ความยืดหยุ่น เท่ากับ – 0.5 และจากที่ ก ล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ความ


ยืดหยุน่ ของอุปสงค์ต่อราคาจะติดลบเสมอ เนื่องจากราคากับปริ มาณความต้องการซื้ อจะเปลี่ยนแปลงใน
ทิศทางตรงกันข้าม ดังนั้นจะไม่นาเครื่ องหมายลบมาพิจารณา จึงกล่าวได้ว่า ความยืดหยุ่นของอุปสงค์
ต่อราคามีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่า ถ้าราคาสิ นค้าเพิ่มสู งขึ้นร้อยละ 1 จะทาให้จานวนซื้ อลดลงร้อยละ 0.5
เมื่อกาหนดให้ตวั แปรอื่น ๆ คงที่
3.2 การคานวณหาค่ าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ต่อราคาแบบช่ วง (Arc Elasticity
of Demand) เป็ นการวัด ความยื ด หยุ่ น ระหว่ า งจุ ด 2 จุ ด บนเส้ น อุ ป สงค์ จะใช้ใ นกรณี ที่ ร าคามี ก าร
เปลี่ ย นแปลงมากจนเห็ นได้ชัด โดยค่ าที่ ค านวณได้จะไม่ใ ช่ ความยืดหยุ่นของจุ ดใดจุ ดหนึ่ งบนเส้น
อุปสงค์ในช่วงนั้น ๆ แต่จะเป็ นค่าถัวเฉลี่ยของความยืดหยุ่นทุก ๆ จุดในช่วงดังกล่าว ซึ่ งสามารถเขียน
สู ตรได้ดงั นี้

ค่ าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ต่อราคา ร้ อยละการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอซื้อ


=
(Edp) ร้ อยละการเปลีย่ นแปลงของราคา

Q2 – Q1
x 100
(Q2 + Q1) / 2
=
P2 – P1
x 100
(P2 + P1) / 2

Q2 – Q1 P2 – P 1
= x
Q2 + Q1 P2 + P 1

เพราะฉะนั้นจะได้วา่ Edp ∆Q P 2 + P1
= x
∆P Q2 + Q1
60

ราคา (P)

P1 = 15 A
∆P
P2 = 10 B
∆Q
D

0 Q1 = 60 Q2 = 100 ปริ มาณ (Q)

รู ปที่ 3.2 การคานวณค่าความยืดหยุน่ ของอุปสงค์แบบช่วง

จากภาพที่ 3.2 กาหนดให้


P1 คือ ราคาเดิม
Q1 คือ ปริ มาณความต้องการซื้อเดิม
P2 คือ ราคาใหม่
Q2 คือ ปริ มาณความต้องการซื้อใหม่

การหาค่ าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ต่อราคาช่ วง AB

สมมติให้ P1 = 15 , Q1 = 60
P2 = 10 , Q2 = 100

เมื่อแทนค่าต่าง ๆ ลงในสู ตรจะได้ค่าความยืดหยุน่ ของอุปสงค์ ดังนี้

Edp 100 - 60 10 + 15
= x
10 - 15 100 + 60
40 25
= x
-5 160
= - 1.25
61

จากการคานวณ จะได้ค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ – 1.25 ซึ่ งหมายความว่า ในช่วงราคา 10 บาท


ถึง 15 บาท การลดลงของราคาสิ นค้าโดยเฉลี่ยร้อยละ 1 จะทาให้ปริ มาณความต้องการซื้ อเพิ่มขึ้นเท่ากับ
ร้อยละ 1.25 เมื่อกาหนดให้ตวั แปรอื่น ๆ คงที่

4. ความสั มพันธ์ ระหว่ างความชันกับความยืดหยุ่น

ความชัน (Slope) ของเส้นอุปสงค์ หมายถึง อัตราส่ วนของการเปลี่ยนแปลงของราคาต่อการ


เปลี่ยนแปลงของปริ มาณความต้องการเสนอซื้อ เขียนสู ตรได้ ดังนี้

Slope ∆P
=
∆Q

จากสู ตรจะได้ว่า ค่าความชันเป็ นค่าที่ แสดงถึ งการเปลี่ย นแปลงของราคาและปริ มาณความ


ต้องการเสนอซื้อ
ส่ วนค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา จะแสดงการเปลี่ยนแปลงของราคาและปริ มาณความ
ต้องการเสนอซื้อในรู ปของร้อยละหรื อเปอร์เซ็นต์ ดังสู ตรความยืดหยุน่ แบบจุด

Edp ∆Q P
= x
∆P Q

จะเห็นว่า ความชันไม่สามารถใช้เปรี ยบเทียบสิ นค้าต่างชนิ ดที่มีหน่วยวัดต่างกันได้ เช่น ราคา


อาจจะมีหน่วยเป็ น บาท ดอลลาร์ เยน เป็ นต้น ส่ วนปริ มาณอาจจะใช้หน่วยวัดเป็ น กิโลกรัม เมตร หรื อ
ตัว เป็ นต้น ในขณะที่ความยืดหยุน่ จะใช้เปรี ยบเทียบสิ นค้าต่างชนิดที่มีหน่วยวัดต่างกันได้ เนื่องจากคิด
เป็ นร้อยละ และเมื่อนาสูตรความชันมาแทนค่าลงในสูตรความยืดหยุน่ จะได้

Edp ∆Q P
= x
∆P Q
Edp 1 P
= x
Slope Q
62

จากสู ตรความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาข้างต้น จะเห็นได้ว่า ความชันจะมีความสัมพันธ์ใน


ทิศทางตรงกันข้ามกับความยืดหยุ่น กล่าวคือ ถ้าเส้นอุปสงค์มีความชันมาก ความยืดหยุ่นของอุปสงค์
จะน้อย และถ้าเส้นอุปสงค์มีความชันน้อย ความยืดหยุน่ ของอุปสงค์จะมาก ดังรู ปที่ 3.3 ก) และ ข)
อย่างไรก็ตาม การดูความยืดหยุ่นโดยดูจากความชัน (Slope) สามารถใช้ดูได้คร่ าว ๆ โดยใน
กรณี ที่จะเปรี ยบเทียบความยืดหยุ่นของอุปสงค์ 2 เส้นที่อยู่คนละรู ปโดยดูจากความชันนั้น จะต้องมัน่ ใจ
ว่าหน่วยวัดด้านราคาและปริ มาณของรู ปทั้งสองมีหน่วยวัดหน่ วยเดียวกันและใช้สเกลการวัดเป็ นสเกล
เดียวกัน
ราคาสินค้า (P)
ราคาสิ นค้า (P)

Slope มาก Slope น้อย

0 ปริ มาณสินค้า (Q) 0


ปริ มาณสิ นค้า (Q)

ก) อุปสงค์มีความยืดหยุน่ น้อย ข) อุปสงค์มีความยืดหยุน่ มาก

รู ปที่ 3.3 ความยืดหยุน่ ของอุปสงค์เมื่อเทียบกับความชัน

5. ความยืดหยุ่นบนเส้ นอุปสงค์ ที่เป็ นเส้ นตรง

โดยปกติ เส้นอุป สงค์ที่ เป็ นเส้นตรง ความชันของเส้ นจะมี ค่ า คงที่ หรื อเท่ า กันตลอดทั้ง เส้ น
แต่ความยืดหยุ่นบนเส้นอุปสงค์จะมีค่าแตกต่างกันไป ซึ่งเราสามารถนาหลักในการหาค่าความยืดหยุ่น
แบบจุดมาอธิบายการคานวณค่าความชันและความยืดหยุน่ ของอุปสงค์ต่อราคา ได้ดงั ตารางที่ 3.1
63

ตารางที่ 3.1 การคานวณหาค่าความชันและค่าความยืดหยุน่ ของเส้นอุปสงค์ต่อราคา


ราคา ปริมาณซื้อ ค่าความชัน ค่ าความยืดหยุ่น ( |Edp| )
(P) (Q) = ∆P =
∆Q x P
∆Q ∆P Q
∆1 0 ∆-5 30 -1/5 = -0.2 (-5/1) X (0/30) = |0|
∆1 1 ∆-5 25 -1/5 = -0.2 (-5/1) X (1/25) = |-0.20|
∆1 2 ∆-5 20 -1/5 = -0.2 (-5/1) X (2/20) = |-0.50|
3 15 -1/5 = -0.2 (-5/1) X (3/15) = |-1.00|
∆1 ∆-5
4 10 -1/5 = -0.2 (-5/1) X (4/10) = |-2.00|
∆1 ∆-5
5 5 -1/5 = -0.2 (-5/1) X (5/5) = |-5.00|
∆1 6 ∆-5 0 -1/5 = -0.2 (-5/1) X (6/0) = |∞|

ค่าความยืดหยุน่ ที่คานวณได้จากตารางที่ 3.1 เมื่อนามาพล็อตรู ปกราฟ แสดงค่าความยืดหยุ่นบน


เส้นอุปสงค์ จะเห็นได้ว่าแต่ละจุดบนเส้นอุปสงค์จะมีความยืดหยุ่นไม่เท่ากัน โดยที่ ณ จุดกึ่งกลางของ
เส้นอุปสงค์จะมีความยืดหยุ่นคงที่ ทุก ๆ จุดที่อยู่ทางซ้ายมือของจุดกึ่งกลางของเส้นอุปสงค์จะมีความ
ยืดหยุ่นมากกว่า 1 และทุก ๆ จุดที่อยู่ทางขวามือของจุดกึ่งกลางของเส้นอุปสงค์จะมีความยืดหยุ่นน้อย
กว่า 1 และตรงจุดตัดแกนตั้งและแกนนอนของเส้นอุปสงค์ จะมีค่าความยืดหยุน่ เป็ น ∞ และ 0 ตามลาดับ
ดังรู ปที่ 3.4
ราคาสินค้า (P)
Edp = ∞

6 Edp = ∞ Edp > 1


5 Edp = 5
Edp = 1
4 Edp = 2
3 Edp = 1 Edp < 1
2 Edp = 0.5
1 Edp = 0.2
Edp = 0 Edp =ปริ0 มาณสินค้า (Q)
0 10 20 30 40 50 60

รู ปที่ 3.4 ค่าความยืดหยุน่ บนเส้นอุปสงค์ที่เป็ นเส้นตรง


64

6. ค่ าความยืดหยุ่นกับลักษณะของเส้ นอุปสงค์

จากค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ในรู ปที่ 3.4 จะเห็นได้ว่า ช่วงต่าง ๆ ของอุปสงค์เส้นเดียวกันจะ


มีค่าความยืดหยุน่ ต่างกัน ซึ่งแต่ละค่าจะแสดงให้ทราบว่าอุปสงค์มีความยืดหยุน่ มากน้อยเพียงใด อย่างไร
ก็ตามจะมีกรณี พิเศษอยู่สามกรณี ที่ทุก ๆ จุดบนอุปสงค์เส้นเดียวกันจะมีค่าความยืดหยุ่นเท่ากันตลอด
ทั้งเส้น ซึ่งได้แก่กรณี ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (วันรักษ์ มิ่งมณี นาคิน. 2550 : 58)
1) เมื่ อ อุ ปสงค์ เป็ นเส้ นตั้ งฉากกับ แกนนอน หรื อเป็ นอุปสงค์ที่ ไ ม่มี ความยืดหยุ่นเลย
(Perfectly Inelastic Demand) คือ ปริ มาณความต้องการซื้ อจะไม่เปลี่ ยนแปลงเลย ไม่ว่าราคาสิ นค้าจะ
เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร จึงเท่ากับว่า ปริ มาณความต้องการซื้ อไม่มีปฏิกิริยาต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา
สิ นค้าเลย ดังนั้นค่าความยืดหยุน่ ในกรณี น้ ีจึงมีค่าเท่ากับ 0 ดังรู ปที่ 3.5
ราคาสิ นค้า (P)
D

P2
%∆Q < %∆P |Edp| = 0
P1

ปริ มาณสิ นค้า (Q)


0 Q1

รู ปที่ 3.5 เส้นอุปสงค์ที่ไม่มีความยืดหยุน่ เลย

2) เมื่ออุปสงค์ เป็ นเส้ น Rectangular Hyperbola หรื อเป็ นอุปสงค์ที่มีความยืดหยุน่ คงที่


คือ การเปลี่ยนแปลงของปริ มาณการความต้องการซื้ อจะเท่ากับการเปลี่ยนแปลงของราคาสิ นค้า ทั้งนี้
เนื่ องจาก เส้นอุป สงค์ที่ มี ล ัก ษณะเป็ นเส้นโค้งแบบ Rectangular Hyperbola จะมี คุณสมบัติพิ เศษ คือ
พื้นที่รูปสี่ เหลี่ยมใต้เส้นโค้งจะมีพ้ืนที่เท่ากับหมด ซึ่งในกรณี น้ ีทุก ๆ จุดบนเส้นอุปสงค์จะมีความยืดหยุ่น
เท่ากับ 1 ตลอดทั้งเส้น ดังรู ปที่ 3.6
65

ราคาสิ นค้า (P)

P2
∆P %∆Q = %∆P |Edp| = 1
P1
D
∆Q
0 Q2 Q1 ปริ มาณสิ นค้า (Q)

รู ปที่ 3.6 เส้นอุปสงค์ที่มีความยืดหยุน่ คงที่

3) เมื่อเส้ นอุปสงค์ เป็ นเส้ นตรงขนานกับแกนนอน หรื ออุปสงค์มีความยืดหยุน่ มากที่สุด


คื อ การเปลี่ ย นแปลงของราคาสิ น ค้า แม้แ ต่ เ พี ย งเล็ ก น้ อ ย จะมี ผ ลท าให้ ป ริ ม าณความต้อ งการซื้ อ
เปลี่ ย นแปลงไปไม่ มี ที่ สิ้ น สุ ด แสดงว่ า ปริ มาณความต้อ งการซื้ อ จะมี ค วามไวอย่ า งมากต่ อ การ
เปลี่ยนแปลงของราคา กล่าวคือ ถ้าผูข้ ายรักษาระดับราคาให้อยู่ในระดับนี้ หรื อลดราคาลง จานวนซื้ อจะ
เพิ่มขึ้นโดยไม่จากัด คือมีเท่าไรซื้ อหมด แต่ถา้ ราคาสู งขึ้นเกินระดับราคานี้ ผูบ้ ริ โภคจะไม่ซ้ื อสิ นค้านั้น
เลย ดังนั้นในกรณี น้ ีความยืดหยุน่ จึงมีค่าเป็ น ∞ ดังรู ปที่ 3.7
ราคาสิ นค้า (P)

%∆Q > %∆P |Edp| = ∞

ไม่ซ้ือเลย
P D
มีเท่าไรซื้อหมด

∆Q
0 Q1 Q2 ปริ มาณสิ นค้า (Q)

รู ปที่ 3.7 เส้นอุปสงค์ที่มีความยืดหยุน่ มากที่สุด


66

นอกจากนั้น หากเส้นอุปสงค์มีลกั ษณะดังรู ปที่ 3.8 หมายความว่า เมื่อราคาสิ นค้าเปลี่ยนแปลง


ไปในอัตราที่มากกว่าการเปลี่ยนแปลงของปริ มาณความต้องการซื้อ นัน่ แสดงว่า ค่าความยืดหยุน่ ในกรณี
จะมีค่าน้อยหรื อมีค่ามากกว่า 0 แต่น้อยกว่า 1 (0 < |Edp| < 1) กล่าวคือ เปอร์ เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของ
จานวนซื้อจะน้อยกว่าเปอร์ เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของราคา ซึ่งส่ วนใหญ่จะเป็ นอุปสงค์ของสิ นค้าจาเป็ น
เช่น ข้าวสาร น้ าปลา เกลือ เป็ นต้น
ราคาสิ นค้า (P)

%∆Q < %∆P 0 < |Edp| < 1


P1
∆P
P2

∆Q D

0 ปริ มาณสิ นค้า (Q)


Q1 Q2

รู ปที่ 3.8 เส้นอุปสงค์ที่มีความยืดหยุน่ น้อย

และหากเป็ นเส้นอุปสงค์ของสิ นค้าประเภทฟุ่ มเฟื อย เช่น น้ าหอม เครื่ องสาอาง กระเป๋ าแฟชัน่
เป็ นต้น ค่าความยืดหยุ่นจะมีค่ามากหรื อมีค่ามากว่า 1 แต่น้อยกว่า ∞ (1 < |Edp| < ∞) ซึ่ งหมายความว่า
เปอร์ เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของจานวนซื้ อจะมากกว่าเปอร์ เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของราคา นัน่ คือ เมื่อ
ราคาเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย แต่ส่งผลทาให้ปริ มาณความต้องการซื้ อเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าการ
เปลี่ยนแปลงของราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ดังรู ปที่ 3.9
ราคาสินค้า (P)

%∆Q > %∆P (1 < |Edp| < ∞)

P1
∆P
P2 D

∆Q
ปริ มาณสินค้า (Q)
0 Q1 Q2

รู ปที่ 3.9 เส้นอุปสงค์ที่มีความยืดหยุน่ มาก


67

เพราะฉะนั้น จึ งสามารถสรุ ปลักษณะของความยืดหยุ่นของเส้นอุปสงค์ต่อราคาออกได้เป็ น


5 ชนิด ซึ่งมี 3 กรณี ที่ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์มีค่าเท่ากันตลอดทั้งเส้น ได้แก่ อุปสงค์ที่มีลกั ษณะเส้น
ขนานแกนนอน เส้นอุปสงค์ที่ต้ งั ฉากกับแกนตั้ง และอุปสงค์ที่เป็ นเส้นโค้งแบบ Rectangular Hyperbola
ส่ วนอุปสงค์ที่เป็ นเส้นตรง ถ้าความยืดหยุ่นมีค่าค่อนข้างน้อย (0 < |Edp| < 1) หรื อเส้นอุปสงค์ชันมาก
ส่ วนใหญ่จะเป็ นลักษณะของเส้นอุปสงค์ของสิ นค้าประเภทที่มีความจาเป็ นต่อการดารงชีวิต และถ้า
ความยืดหยุ่นมีค่าค่อนข้างมาก (1 < |Edp| < ∞) หรื อเส้นอุปสงค์มีความชันน้อย ก็จะเป็ นลักษณะเส้น
อุปสงค์ของสิ นค้าประเภทฟุ่ มเฟื อย ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

7. ค่ าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ และความสั มพันธ์ กบั รายรับรวม

ค่าใช้จ่ายที่ผซู ้ ้ือจ่ายซื้ อสิ นค้าจะกลายไปเป็ นรายได้ของผูข้ ายสิ นค้า ดังนั้นเงินทั้งหมดที่ผซู ้ ้ื อจ่าย


เพื่อซื้อสิ นค้า ก็คือ รายรับของผูข้ าย (Revenue) นัน่ เอง
การคานวณรายจ่ ายรวมของผูซ้ ้ื อจะหาได้จาก ราคา x ปริ มาณซื้ อทั้งหมด เมื่อราคาและ/หรื อ
ปริ มาณซื้อเปลี่ยนแปลงไป ก็ยอ่ มส่ งผลต่อรายรับรวมของผูซ้ ้ื อด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของ
รายรับรวมไม่ จาเป็ นต้องเปลี่ยนไปในทิศทางเดียวกันกับราคาสิ นค้า การที่รายรับรวมจะเปลี่ ย นไป
อย่างไรนั้นจะขึ้นอยูก่ บั ความยืดหยุน่ ของอุปสงค์ ซึ่งอธิบายได้ดว้ ยตารางที่ 3.2

ตารางที่ 3.2 การคานวณรายรับรวมและความยืดหยุน่ ของอุปสงค์ต่อราคา


ราคา ปริมาณซื้อ รายรับรวม ความยืดหยุ่นของอุปสงค์
(P) (Q) (TR) |Edp|
8 3 24 TR -
7 4 28 เพิ่มขึ้น 2.14 Edp มาก
6 5 30 1.44
5 6 30 TR คงที่ 1.00 Edp คงที่
4 7 28 0.69
TR
3 8 24 ลดลง
0.47 Edp น้อย
2 9 18 0.29

จากตารางที่ 3.2 จะเห็นว่า เมื่อราคาสิ นค้าลดลงจาก 8 บาท เป็ น 7 บาท และ 6 บาท จะมีผล
ทาให้รายรับรวมของผูข้ ายเพิ่มสู งขึ้น ในช่วงนี้ อุปสงค์จะมีความยืดหยุน่ มาก และเมื่อราคาลดลงมาเหลือ
5 บาท ณ ระดับราคาดังกล่าวนี้ จะไม่ส่งผลทาให้รายรับรวมของผูข้ ายเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ค่าความ
68

ยืดหยุ่นที่ได้ในช่วงนี้ จะคงที่ และหากราคายังคงลดลงต่อไปเรื่ อย ๆ จนถึง 2 บาท รายรับรวมของผูข้ าย


ก็จะลดลง และความยืดหยุ่นช่วงนี้ จะมีค่าน้อย ดังนั้นเมื่ออุปสงค์มีความยืดหยุ่นน้อย หากผูข้ ายต้องการ
ให้ ร ายรั บ รวมเพิ่ ม ขึ้ น เขาควรเพิ่ ม ราคาสิ น ค้า ในทางตรงกัน ข้า ม เมื่ อ อุ ป สงค์มี ค วามยื ด หยุ่ นมาก
หากผูข้ ายต้องการให้รายรับรวมเพิ่มขึ้น เขาควรลดราคาสิ นค้าแทน ซึ่ งสามารถสรุ ปให้เห็นได้ดงั รู ปที่
3.10 ก) และ ข)
TR
28
24
TR

ก) อุปสงค์มีความยืดหยุน่ มาก Q
P
Edp > 1
7
6
5 Edp = 1

Q
0 6
TR
28
24
TR

ข) อุปสงค์ที่มีความยืดหยุน่ น้อย Q
P

Edp = 1
5
Edp < 1
4
3
0 Q
6

รู ปที่ 3.10 ความสัมพันธ์ของรายรับรวมกับความยืดหยุน่ ของอุปสงค์


69

จากรู ปที่ 3.10 ก) ถ้าอุปสงค์มีความยืดหยุ่นมาก เมื่อราคาสิ นค้าเท่ากับ 7 บาท ผูข้ ายจะมีรายรับ


ทั้งหมด 24 บาท แต่ถา้ เขาลดราคาสิ นค้าเหลือเพียง 6 บาท เขาจะได้รายรับรวมเพิ่มขึ้นเป็ น 28 บาท
จากรู ปที่ 3.10 ข) ถ้าอุปสงค์มีความยืดหยุ่นน้อย เมื่อราคาสิ นค้าเท่ากับ 3 บาท ผูข้ ายจะมีรายรับ
24 บาท ถ้าเขาต้องการรายรับเพิม่ เป็ น 28 บาท เขาควรจะขึ้นราคาสิ นค้าเป็ น 4 บาท ดังรู ปที่ 3.10 ข)

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ต่อรายได้

ความยื ด หยุ่ น ของอุ ป สงค์ ต่ อ รายได้ (Income Elasticity of Demand) หมายถึ ง ร้ อ ยละการ
เปลี่ยนแปลงของปริ มาณความต้องการซื้ อต่อร้อยละการเปลี่ยนแปลงของรายได้ โดยกาหนดให้ปัจจัย
อื่น ๆ คงที่ กล่าวคือ เป็ นค่าที่บอกว่า “ถ้ารายได้ของผูซ้ ้ือเปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 1 จะส่งผลทาให้ปริ มาณ
ความต้องการซื้อของผูซ้ ้ือเปลี่ยนแปลงไปร้อยละเท่าไร” สามารถเขียนเป็ นสู ตรได้ดงั นี้

Edy =
ร้ อยละการเปลีย่ นแปลงปริมาณความต้องการซื้อ
ร้ อยละการเปลีย่ นแปลงของรายได้

จากสู ตรจะได้ว่า ถ้า ร้ อยละการเปลี่ ยนแปลงของปริ ม าณความต้องการซื้ อ มากกว่า ร้ อยละ


เปลี่ยนแปลงของรายได้ อุปสงค์จะมีความยืดหยุน่ มาก
ถ้าร้อยละการเปลี่ยนแปลงปริ มาณความต้องการซื้อ น้อยกว่า ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของรายได้
อุปสงค์จะมีความยืดหยุน่ น้อย
และถ้าร้อยละการเปลี่ยนแปลงปริ มาณความต้องการซื้ อ เท่ากับ ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของ
รายได้ อุปสงค์จะมีความยืดหยุน่ คงที่

เนื่องจากค่าความยืดหยุน่ ของอุปสงค์ต่อรายได้ แสดงถึง ความสัมพันธ์ของรายได้ที่เปลี่ยนแปลง


ไปกับปริ มาณความต้องการซื้ อ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ดังนั้นค่าที่ได้อาจมีเครื่ องหมายเป็ นบวกหรื อลบก็
ได้ เครื่ องหมายดังกล่าวจะเป็ นเพียงตัวบอกทิศทางความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสอง กล่าวคือ ถ้าค่าความ
ยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้มีค่าเป็ นบวก แสดงว่า เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นปริ มาณความต้องการซื้ อจะมาก
ขึ้นด้วย นัน่ หมายความว่า ความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสองเป็ นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่ งก็คือ ลักษณะ
ของสิ นค้าปกติ (Normal Goods) ถ้าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้มีค่าเป็ นลบ แสดงว่า เมื่อรายได้
เพิ่มขึ้นปริ มาณความต้องการซื้ อสิ นค้าชนิ ดนั้นจะลดลง นัน่ หมายความว่า ความสัมพันธ์ของตัวแปรตัว
70

ทั้ง เป็ นไปในทิ ศ ทางตรงกัน ข้า ม ลัก ษณะความสั ม พัน ธ์ เ ช่ น นี้ เป็ นลัก ษณะของสิ น ค้า ด้อ ยคุ ณ ภาพ
(Inferior Goods)
ส่ วนการพิจารณาค่าความยืดหยุ่นที่คานวณได้ว่ามีค่าสู งหรื อต่าเพียงใด จะดูจากค่าสมบูรณ์
(Absolute number) เช่นเดียวกับอุปสงค์ต่อราคา
ในส่ ว นของการค านวณหาค่ า ความยื ด หยุ่ น ของอุ ป สงค์ ต่ อ รายได้ สามารถท าได้ 2 วิ ธี
เช่ น เดี ย วกับ การหาความยื ด หยุ่ น ของอุ ป สงค์ต่ อ ราคาที่ ไ ด้ศึ ก ษาแล้ว เพี ย งแต่ แ ทนค่ า ที่ อัต ราการ
เปลี่ยนแปลงของราคาสิ นค้าด้วยอัตราการเปลี่ยนแปลงของรายได้เท่านั้น

ดังนั้น ถ้าให้ Q คือ ปริ มาณความต้องการซื้อ


Y คือ รายได้

จะเขียนสู ตรความยืดหยุน่ ของอุปสงค์ต่อรายได้ท้ งั 2 วิธี ดังนี้

1. การคานวณหาค่าความยืดหยุน่ แบบจุด (Point Elasticity)

Edy = ∆Q x Y
∆Y Q

2. การคานวณหาค่าความยืดหยุน่ แบบช่วง (Arc Elasticity)

Edy ∆Q Y +Y
= x 2 1
∆Y Q2 + Q1

โดยกาหนดให้ Edp คือ ความยืดหยุน่ ของอุปสงค์ต่อรายได้


∆Q คือ ส่ วนเปลี่ยนแปลงของปริ มาณความต้องการซื้อ
∆Y คือ ส่วนเปลี่ยนแปลงของรายได้
Y1 คือ รายได้เดิมก่อนการเปลี่ยนแปลง
Y2 คือ รายได้ใหม่หลังการเปลี่ยนแปลง
Q1 คือ ปริ มาณความต้องการซื้ อเดิมก่อนรายได้เปลี่ยนแปลง
Q2 คือ ปริ มาณความต้องการซื้ อใหม่หลังรายได้เปลี่ยนแปลง
71

ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ก็เช่นเดียวกับค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา คือ
จะใช้ค่า 1 เป็ นเกณฑ์ในการพิจารณาเปรี ยบเทียบ กล่าวคือ
ถ้า |Edp| > 1 แสดงว่า อุปสงค์มีความยืดหยุน่ มาก (Elastic)
|Edp| = 1 แสดงว่า อุปสงค์มีความยืดหยุน่ คงที่ (Unittary Elastic)
Edp| < 1 แสดงว่า อุปสงค์มีความยืดหยุน่ น้อย (Inelastic)

ในส่ วนของการแบ่งค่าของความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้จะเหมือนกับการแบ่งชนิ ดของ


ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาทุกประการ เพียงแต่เปลี่ ยนแปลงจากราคาเป็ นรายได้เท่านั้น และ
โดยทัว่ ไปสิ นค้าฟุ่ มเฟื อยจะมี ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้สูง ในขณะที่สินค้าจาเป็ นจะมี ค่า
ความยืดหยุน่ ของอุปสงค์ต่อรายได้ที่ต่า

สรุป ถ้ า Edy + สินค้าปกติ


Edy - สินค้าสิ นค้ าด้ อยคุณภาพ
และ ถ้า Edy > 1 สิ นค้ าฟุ่ มเฟื อย
Edy < 1 สินค้าจาเป็ น

ความยืดหยุ่นไขว้

ความยืดหยุ่นไขว้ (Cross Elasticity) หรื อความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสิ นค้าชนิ ดอื่ นที่


เกี่ยวข้อง หมายถึง ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของปริ มาณความต้องการซื้ อสิ นค้าชนิ ดใดชนิ ดหนึ่ง ณ ขณะ
ใดขณะหนึ่ ง ต่อร้อยละการเปลี่ยนแปลงของราคาสิ นค้าอีกชนิ ดหนึ่ งที่เกี่ยวข้อง โดยกาหนดให้ปัจจัย
อื่นๆ คงที่ กล่าวคือ เป็ นค่าที่บอกให้รู้ว่า “ถ้าราคาสิ นค้าชนิ ดหนึ่ งมีการเปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 1 จะ
ส่ งผลต่อปริ มาณความต้องการซื้ อสิ นค้าอีกชนิ ดหนึ่ งเปลี่ยนแปลงไปร้อยละเท่าไร” สามารถเขียนเป็ น
สู ตรได้ดงั นี้

Edc ร้ อยละการเปลีย่ นแปลงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิด A


=
ร้ อยละการเปลีย่ นแปลงของราคาสินค้า B
72

และเช่นเดียวกันกับกรณี ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ ค่าที่บอกความมากน้อยของ


ความสัมพันธ์ของสิ นค้าทั้งสองชนิ ด และเครื่ องหมายบวกหรื อลบของค่าที่ได้ จะเป็ นเพียงค่าที่บอกให้รู้
ถึงลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างสิ นค้าทั้งสองชนิดว่ามีความสัมพันธ์กนั อย่างไร กล่าวคือ ถ้าตัวเลขที่ได้
มีค่าสัมบูรณ์ของความยืดหยุ่นไขว้มากเท่าไร ก็แสดงว่า สิ นค้าทั้งสองชนิ ดนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง
กันมากเท่านั้น แต่ถา้ สิ นค้าทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์กนั เลย ค่าความยืดหยุน่ ไขว้ที่ได้จะมีค่าเป็ นศูนย์
ส่ วนเครื่ องหมายของค่าความยืดหยุน่ ของอุปสงค์ไขว้ ถ้าค่าความยืดหยุน่ มีค่าเป็ นบวก แสดงว่า
สิ นค้าทั้งสองเป็ นสิ นค้าที่ใช้ทดแทนกันได้ ส่ วนสิ นค้าที่มีค่าความยืดหยุ่นเป็ นลบ แสดงว่า สิ นค้าทั้งสอง
เป็ นสิ นค้าที่ตอ้ งใช้ประกอบกัน

สรุป ถ้ า Edc + เป็ นสินค้าที่ใช้ ทดแทนกันได้


Edy - เป็ นสินค้าที่ใช้ ประกอบกัน
และ ถ้า Edy มาก มีความสัมพันธ์ กนั มาก
Edy น้ อย มีความสัมพันธ์ กนั น้ อย
Edy 0 ไม่มีความสัมพันธ์ กนั เลย

ทั้งนี้จากที่ได้ศึกษามาแล้วในบทที่ 2 จึงสามารถสรุ ปได้วา่


สิ นค้าที่ใช้ทดแทนกัน (Substitution Goods) ปริ มาณความต้องการซื้ อสิ นค้า A จะเปลี่ยนแปลง
ในทิศทางเดียวกับราคาสิ นค้า B ยกตัวอย่างเช่น สิ นค้า A คือ เนื้อหมู ส่ วนสิ นค้า B เนื้อไก่
สิ น ค้า ที่ ใ ช้ ป ระกอบกั น (Complementary Goods) ปริ มาณความต้ อ งการซื้ อสิ น ค้ า A จะ
เปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาสิ นค้า B ยกตัวอย่างเช่น สิ นค้า A คือ กาแฟ ส่วนสิ นค้า B คือ
ครี มเทียม
การวัดความยืดหยุน่ ไขว้ มี 2 วิธี เช่นเดียวกับการวัดความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาและรายได้ คือ
1. การคานวณหาค่าความยืดหยุน่ แบบจุด (Point Elasticity)

Edc ∆QA P
= x B
∆PB QA

2. การคานวณหาค่าความยืดหยุน่ แบบช่วง (Arc Elasticity)

Edc ∆QA PB2 + PB1


= x
∆PB QA2 + QA1
73

โดยกาหนดให้
Edc คือ ความยืดหยุน่ ของอุปสงค์ไขว้
∆QA คือ ส่ วนเปลี่ยนแปลงของปริ มาณความต้องการซื้อสิ นค้า A
∆PB คือ ส่วนเปลี่ยนแปลงของราคาสิ นค้า B
QA1 คือ ปริ ม าณความต้องการซื้ อสิ นค้า A เดิ ม ก่ อนราคาสิ นค้า B เปลี่ ย น
QA2 คือ ปริ มาณความต้องการซื้อสิ นค้า A ใหม่หลังราคาสิ นค้า B เปลี่ยน
PB1 คือ ราคาสิ นค้า B เดิม
PB2 คือ ราคาสิ นค้า B ใหม่

ปัจจัยที่กาหนดค่ าความยืดหยุ่นของอุปสงค์

การที่สินค้าแต่ละชนิ ดมีค่าความยืดหยุน่ ไม่เท่ากัน มากบ้างน้อยบาง ทั้งนี้ ก็เป็ นผลมาจากสาเหตุ


ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ชนิดของสินค้า
สิ นค้า ที่ มี ค วามจาเป็ นต่อการดารงชี วิต จะมี ค่าความยืดหยุ่นต่ ากว่าสิ นค้าประเภทฟุ่ มเฟื อย
เนื่ องจากสิ นค้าจาเป็ นจะมีความจาเป็ นต่อการบริ โภค ทาให้เมื่ อราคาสิ นค้าเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรื อ
ลดลง ก็ไม่อาจทาให้ผบู ้ ริ โภคลดปริ มาณการบริ โภคสิ นค้านั้นได้มากนัก เช่น ข้าวสาร ฉะนั้น ถ้าสิ นค้าใด
เป็ นสิ นค้าที่มีความจาเป็ น สิ นค้านั้นจะมีค่าความยืดหยุ่นน้อย แต่ถา้ สิ นค้าใดเป็ นสิ นค้าฟุ่ มเฟื อย สิ นค้า
นั้นจะมีค่าความยืดหยุน่ มาก
2. ความสามารถในการใช้ แทนกันได้ของสินค้า
สิ นค้าใดมีสินค้าอื่นใช้แทนได้มาก อุปสงค์ของสิ นค้านั้นจะมีความยืดหยุ่นมาก เนื่ องจากการ
เปลี่ยนแปลงของราคาเพียงเล็กน้อย จะทาให้ผซู ้ ้ื อหัน ไปซื้ อสิ นค้าอื่นทดแทนทันที เช่น ถ้าราคาเนื้ อหมู
แพง ผูบ้ ริ โภคจะหันไปซื้ อสิ นค้า โปรตี นประเภทอื่ นทดแทน ทาให้จานวนซื้ อเนื้ อหมูล ดลง ในทาง
ตรงกันข้าม ถ้าราคาเนื้ อหมูถูกลง ผูบ้ ริ โภคส่ วนใหญ่ที่เคยหันไปซื้ อสิ นค้าอื่นที่ใช้แทนกันได้ก็จะหันมา
ซื้ อเนื้ อหมูเพิ่มขึ้น สรุ ปได้ว่า ถ้าสิ นค้าใดมีสินค้าชนิ ดอื่นทดแทนได้มาก สิ นค้านั้นจะมีค่าความยืดหยุ่น
มาก และถ้าสิ นค้าใดมีสินค้าชนิดอื่นที่ใช้แทนกันได้นอ้ ย สิ นค้านั้นจะมีค่าความยืดหยุน่ น้อย
74

3. ความคงทนของสินค้า
สิ นค้าใดมีอายุการใช้งานนานหรื อเป็ นสิ นค้าประเภทคงทนถาวร เช่น ตูเ้ ย็น ทีวี เครื่ องซักผ้า
อัตโนมัติ รถยนต์ เป็ นต้น ค่าความยืดหยุ่นของสิ นค้าประเภทนี้ จะมาก เนื่ องจาก ถ้าราคาสิ นค้าเปลี่ยน
สู งขึ้น ผูบ้ ริ โภคจะหันไปทาการซ่ อมแซมเพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวออกไปแทนการซื้ อใหม่ ทาให้
จานวนซื้ อสิ นค้าชนิ ดนั้นลดลง ในทางตรงกันข้าม ถ้าราคาสิ นค้าถูกลง ผูบ้ ริ โภคจะมี แนวโน้ม ที่ จะ
เปลี่ยนเป็ นของใหม่เร็ วขึ้น ดังนั้น ถ้าสิ นค้าชนิดใดมีความคงทนมาก ค่าความยืดหยุน่ ของอุปสงค์จะมีค่า
มากกว่าสิ นค้าที่มีความคงทนน้อย
4. ราคาสิ นค้ าเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ ของผู้บริโภค
สิ นค้าใดที่มีราคาค่อนข้างแพง ผูบ้ ริ โภคจะต้องตัดสิ นใจค่อนข้างนานในการซื้ อแต่ละครั้ ง จะ
เป็ นสิ นค้าที่มีค่าความยืดหยุน่ มาก เช่น รถยนต์ ถ้าราคารถยนต์ลดลงเพียงเล็กน้อย ผูบ้ ริ โภคจะรู ้สึกว่ามัน
ถูกลงมาก ทาให้มีจานวนซื้ อเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าราคารถยนต์แพงขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย ผูบ้ ริ โภคก็
จะรู ้สึกว่ามันแพงขึ้นมาก ทาให้จานวนซื้อลดลงอย่างมาก
ในส่ วนของกรณี ที่สินค้ามีราคาถูกมาก ๆ เมื่อเทียบกับรายได้ของผูบ้ ริ โภค และผูซ้ ้ื อใช้เวลาใน
การตัดสิ นใจไม่นาน สิ นค้าเหล่านี้ จะมีความยืดหยุ่นน้อย ตัวอย่างเช่น เมื่อราคาเกลือแพงขึ้นจากถุงละ
1 บาทเป็ นถุ ง ละ2 บาทจะเห็ น ว่ า จ านวนซื้ อ เกลื อ แทบจะไม่ ล ดลงเลยทั้ง ๆ ที่ ร าคาสู ง ขึ้ น ถึ ง 100
เปอร์เซ็นต์
5. จานวนทางที่สินค้านั้น ๆ
สามารถใช้ประโยชน์ได้ สิ นค้าใดที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้หลายทาง ความยืดหยุ่นของ
สิ นค้านั้นจะมีค่ามากกว่าสิ นค้าที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้ทางเดียว ยกตัวอย่างเช่น ความยืดหยุ่น
ของไม้ยอ่ มสูงกว่าตะปู เป็ นต้น
6. นิสัยหรื อความเคยชินของผู้บริโภค
สิ น ค้า ใดที่ ผูบ้ ริ โ ภคใช้ห รื อ บริ โ ภคอยู่เ ป็ นประจ า หรื อ มี ค วามเคยชิ น ในการบริ โ ภค การ
เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรื อลดลงของราคาสิ นค้าชนิ ดนั้น จะไม่มีผลกระทบต่อปริ มาณความต้องการซื้ อ
มากนักเมื่อเทียบกับสิ นค้าที่ผูบ้ ริ โภคไม่เคยชิ นหรื อไม่ได้บริ โภคอยู่เป็ นประจา ยกตัวอย่างเช่น บุหรี่
แอลกอฮอล์ เป็ นต้น
75

7. ระยะเวลาในการปรับตัวของผู้บริโภค
หากผูบ้ ริ โภคมีเวลามากพอที่จะเสาะหาสิ นค้าอื่นมาใช้ทดแทนได้ เมื่อราคาสิ นค้าสู งขึ้น ปริ มาณ
เสนอซื้อสิ นค้านั้นก็จะลดลงได้มาก แสดงว่า ความยืดหยุน่ ของอุปสงค์ของสิ นค้าชนิดนั้นมีมาก
ปั จ จัย ต่ า ง ๆ ที่ ก ล่ า วมา มี ส่ ว นก าหนดค่ า ความยืด หยุ่น ได้พ ร้ อ ม ๆ กัน โดยไม่ จ าเป็ นต้อ ง
ก่ อให้เกิ ดผลทิ ศทางเดี ยวกัน ปั จจัยบางตัวอาจมาหักล้าง ทาให้ค่าความยืดหยุ่นที่ ได้มีค่าน้อยลงหรื อ
มากขึ้น ดังนั้นในการหาค่าความยืดหยุน่ ดังกล่าว จึงควรนาปัจจัยทุกชนิดมาพิจารณาร่ วมกัน

ความยืดหยุ่นของอุปทาน

1. ความหมาย และการวัดความยืดหยุ่นของอุปทาน

ความยืดหยุ่นของอุปทาน (Elasticity of Supply) หมายถึง ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของปริ มาณ


ความต้องการขายต่อร้อยละการเปลี่ยนแปลงของราคา ณ ขณะใดขณะหนึ่ง โดยกาหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ
คงที่ กล่าวคือ เป็ นค่าที่บอกว่า “ถ้าราคาเปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 1 จะส่ งผลทาให้ปริ มาณความต้องการ
เสนอขายสิ นค้าของผูข้ ายเปลี่ยนแปลงไปร้อยละเท่าไร” สามารถเขียนเป็ นสู ตรได้ดงั นี้

Es ร้ อยละการเปลีย่ นแปลงปริมาณความต้องการขาย
=
ร้ อยละการเปลีย่ นแปลงของราคา

แนวคิดในเรื่ องความยืดหยุ่นของอุปทานจะเป็ นไปในทานองเดียวกันกับเรื่ องความยืดหยุ่นของ


อุปสงค์แต่จะแตกต่างกันตรงที่ เครื่ องหมายของความยืดหยุน่ ของอุปทานจะมีค่าเป็ นบวกเสมอ เนื่องจาก
ปริ มาณความต้องการเสนอขายสิ นค้าของผูข้ ายจะแปรผันตามราคา ซึ่งเป็ นไปตามกฎของอุปทาน ดั งที่
กล่าวมาแล้วในบทที่ 2
ในส่วนของการคานวณหาค่าความยืดหยุน่ ของอุปทาน ก็สามารถทาได้ 2 วิธี เช่นเดียวกับการหา
ความยืดหยุ่นของอุป สงค์ดัง ที่ ไ ด้ศึ ก ษาแล้ว เพี ย งแต่แทนค่าที่ อัต ราการเปลี่ ย นแปลงปริ มาณความ
ต้องการซื้อเป็ นอัตราการเปลี่ยนแปลงปริ มาณความต้องการขายเท่านั้น

ดังนั้น ถ้าให้ Q คือ ปริ มาณความต้องการขายสิ นค้า


P คือ ราคาสิ นค้า
76

และเขียนสู ตรความยืดหยุน่ ของอุปทานทั้ง 2 วิธี ดังนี้


1. การคานวณหาค่าความยืดหยุน่ แบบจุด (Point Elasticity)

Es ∆Q P
= x
∆P Q

2. การคานวณหาค่าความยืดหยุน่ แบบช่วง (Arc Elasticity)

Es ∆Q P +P
= x 2 1
∆P Q2 + Q1

โดยกาหนดให้ Es คือ ความยืดหยุน่ ของอุปทาน


∆Q คือ ส่วนเปลี่ยนแปลงของปริ มาณความต้องการเสนอขาย
∆P คือ ส่วนเปลี่ยนแปลงของราคาสิ นค้า
P1 คือ ราคาเดิมก่อนการเปลี่ยนแปลง
P2 คือ ราคาใหม่หลังการเปลี่ยนแปลง
Q1 คือ ปริ มาณความต้องการขายเดิมก่อนราคาเปลี่ยนแปลง
Q2 คือ ปริ มาณความต้องการขายใหม่หลังราคาเปลี่ยนแปลง

ค่าความยืดหยุ่นของอุปทานก็เช่นเดียวกับค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ คือ จะใช้ค่า 1 เป็ นเกณฑ์


ในการพิจารณาเปรี ยบเทียบเช่นเดียวกัน กล่าวคือ
ถ้า |Es| > 1 แสดงว่า อุปทานมีความยืดหยุน่ มาก (Elastic)
|Es| = 1 แสดงว่า อุปทานมีความยืดหยุน่ คงที่ (Unitary Elastic)
|Es| < 1 แสดงว่า อุปทานมีความยืดหยุน่ น้อย (Inelastic)

2. ค่ าความยืดหยุ่นกับลักษณะของเส้ นอุปทาน

จากการวิเคราะห์และชี้ให้เห็นมาแล้วว่า ทุก ๆ จุดบนเส้นอุปสงค์ที่เป็ นเส้นตรงนั้นจะมีค่าความ


ยืดหยุ่นมากน้อยแตกต่างกันไปตลอดทั้งเส้น ซึ่ งค่าที่แตกต่างกันนี้ มีได้ต้ งั แต่เป็ นค่ามากที่สุด (∞) ลด
ต่าลงมาเป็ นค่ามากกว่า 1 น้อยกว่า 1 และน้อยที่สุดถึง 0 ซึ่งต่างจากกรณี ของเส้นอุปทานที่เป็ นเส้นตรง
77

ทุก ๆ จุดบนอุปทานเส้นตรงจะมี ค่าความยืดหยุ่นที่ มีลกั ษณะเดี ยวกันตลอดทั้งเส้น กล่าวคือ ถ้าเส้น


อุปทานเส้นนั้นมีค่าความยืดหยุน่ มากกว่า 1 ทุก ๆ จุดบนเส้นอุปทานเส้นนั้นก็จะมีค่ามากกว่า 1 ตลอดทั้ง
เส้น แต่ค่าความยืดหยุ่นที่ได้ไม่จาเป็ นต้องมีค่าเท่ากันหรื อเป็ นตัวเลขเดียวกัน ค่าความยืดหยุ่นของเส้น
อุ ป ทานจะมี ล ัก ษณะใด ทั้ง นี้ จะขึ้ นอยู่กับ ว่ า อุ ป ทานของเส้ น ตรงนั้น จะตัดที่ แกนตั้ง หรื อแกนนอน
ซึ่งสามารถหาค่าความยืดหยุน่ ของอุปทานเส้นตรงในกรณี ต่าง ๆ ได้ดงั นี้
1) กรณีที่อุปทานเป็ นเส้ นตรงตัดแกนตั้ง
ราคาสินค้า (P)
S

A
P1

P2 B

0 Q1 ปริ มาณสินค้า (Q)


รู ปที่ 3.11 อุปทานเส้นตรงตัดแกนตั้ง

จากรู ปที่ 3.11 เส้นอุปทาน S ตัดแกนตั้งที่ จุด P2 กาหนดให้ ณ ระดับราคา OP1 บาท
จานวนเสนอขาย เท่ากับ OQ1 หน่ วย และ ณ ระดับราคา OP2 บาท จานวนเสนอขาย เท่ากับ 0 หน่ วย
ถ้าต้องการคานวณหาค่าความยืดหยุ่นของอุปทานที่จุด A สามารถคานวณโดยใช้การหาค่าความยืดหยุน่
แบบจุดได้ ดังนี้
Es ∆Q P
= x
∆P Q

โดยที่ Q1 = OQ1 , Q2 = 0
P1 = P1O , P2 = P2O

Es 0 – OQ1 P1 O
= x
P2O – P1O OQ1
78

- P1O
=
P2O – P1O

- P1O
=
P1 P2

AQ1
=
AB
จากรู ปจะเห็นได้ว่า ระยะของช่วง AQ1 > AB ดังนั้น ค่าความยืดหยุ่นของเส้นอุปทาน
ที่ได้จึงมีค่ามากกว่า 1 (Es > 1)
จากตัว อย่ า งข้า งต้น ที่ ก ล่ า วมาอาจสรุ ป ได้ว่ า ถ้า เส้ น อุ ป ทานเป็ นเส้ น ที่ ตัด แกนตั้ง
ความยืดหยุน่ แต่ละจุดบนเส้นอุปทานจะไม่เท่ากัน โดยเส้นอุปทาน QA มีความยืดหยุน่ ต่อราคาน้อยมาก
(มีค่าน้อยกว่า 1) ขณะที่เส้นอุปทาน QC มีความยืดหยุน่ ต่อราคามาก (มีค่ามากกว่า 1) ดังรู ปที่ 3.12
ราคาสิ นค้า (P)
A
B

Q
0 ปริ มาณสิ นค้า (Q)

รู ปที่ 3.12 ค่าความยืดหยุน่ ของเส้นอุปทานตัดแกนตั้ง

2) กรณีที่อุปทานเป็ นเส้ นตรงตัดแกนนอน

การค านวณหาค่า ความยืดหยุ่นของอุปทาน สามารถคานวณโดยใช้ก ารหาค่าความ


ยืดหยุน่ แบบจุดได้ ดังนี้

Es ∆Q P
= x
∆P Q
79

โดยที่ Q1 = OQ1
Q2 = OQ2
P1 = P1O
P2 = 0

Es OQ2 - OQ1 P1 O
= x
0 - P1O OQ1
OQ2 - OQ1
=
OQ1
Q2Q1
=
OQ1

ค่าความยืดหยุ่นของเส้นอุปทานจะมีค่าน้อยกว่า 1 (Es < 1) แสดงว่า ทุก ๆ จุดบนเส้นอุปทานที่


ตัดแกนนอน จะมีความยืดหยุน่ ไม่เท่ากัน แต่จะมีค่าน้อยกว่า 1 เสมอ

3) กรณีที่อุปทานเป็ นเส้ นตรงออกจากจุดกาเนิด

การค านวณหาค่า ความยืดหยุ่นของอุปทาน สามารถคานวณโดยใช้ก ารหาค่าความ


ยืดหยุน่ แบบจุดได้ ดังนี้
Es ∆Q P
= x
∆P Q

โดยที่ Q1 = OQ1
Q2 = 0
P1 = P1O
P2 = 0

Es 0 - OQ1 OP1
= x
0 - OP1 OQ1

- OQ1 OP1
= x
- OP1 OQ1
= 1
80

ค่าความยืดหยุน่ ของเส้นอุปทานจะมีค่าเท่ากับ 1 (Es = 1) แสดงว่า ทุก ๆ จุดบนเส้นอุปทานออก


จากจุดกาเนิด จะมีความยืดหยุน่ ดเท่ากับ 1 ตลอดทั้งเส้น
ส าหรั บ กรณี ที่ อุ ป ทานเป็ นเส้ น โค้ง ค่ า ความยื ด หยุ่ น ของเส้ น อุ ป ทานก็ อ าจมี ไ ด้ต้ ัง แต่ ค่ า
∞ จนกระทัง่ น้อยที่สุดถึง 0 ซึ่งต่างกับกรณี ของอุปสงค์ที่เป็ นเส้นตรง ค่าความยื ดหยุ่นของอุปสงค์ที่เป็ น
เส้ นโค้ง จะมี ค่ า เท่ า กันตลอดทั้ง เส้ น คื อเท่ า กับ 1 เนื่ องจากมี ล ัก ษณะเป็ นเส้นโค้งแบบ Rectangular
Hyperbola ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้น การจะหาค่าความยืดหยุ่นของอุปทานที่เป็ นเส้นโค้ง จะทาได้
โดยการลากเส้นตรงสัมผัสเส้นอุปทานที่จุด ที่ตอ้ งการหาค่าความยืดหยุ่น แล้วคานวณค่าความยืดหยุ่น
ด้วยสูตรตามวิธีการที่ได้ศึกษามาแล้วข้างต้น ดังรู ปที่ 3.13
ราคาสิ นค้า (P)
S

0 ปริ มาณสิ นค้า (Q)

รู ปที่ 3.13 อุปทานที่เป็ นเส้นโค้ง

จากกรณี ที่เส้นอุปทานออกจากจุดกาเนิ ด จะมีค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ 1 ตลอดทั้งเส้นแล้วยังมี


เส้นอุปทานอีก 2 กรณี ที่มีค่าความยืดหยุน่ เท่ากันตลอดทั้งเส้นเช่นเดียวกัน ได้แก่
1) กรณี ที่เส้นอุปทานเป็ นเส้นตั้งฉากกับแกนนอน ดังรู ปที่ 3.14 ก) ซึ่ งค่าความยืดหยุ่นของ
ทุก ๆ จุดบนเส้นอุปทานจะเท่ากับ 0
2) กรณี ที่อุปทานเป็ นเส้นขนานกับแกนนอน ดังรู ปที่ 3.14 ข) ซึ่ งค่าความยืดหยุ่นของทุก ๆ
จุดบนเส้นอุปทานจะเท่ากับ ∞
81

ราคาสิ นค้า (P) S ราคาสิ นค้า (P)

0 ปริ มาณสิ นค้า (Q) 0 ปริ มาณสิ นค้า (Q)

ก) เส้นอุปทานตั้งฉากกับแกนนอน ข) เส้นอุปทานขนานกับแกนนอน

รู ปที่ 3.14 เส้นอุปทานที่มีค่าความยืดหยุน่ เท่ากันตลอดทั้งเส้น

ปัจจัยที่มีส่วนกาหนดค่ าความยืดหยุ่นของอุปทาน

จากที่ทราบแล้วว่า ความยืดหยุ่นของอุปทานเป็ นค่าที่บอกให้รู้ว่า ปริ มาณความต้องการขาย


สิ นค้า ของผูข้ ายจะเปลี่ ยนแปลงไปมากน้อยเท่ าไร เมื่ อราคาสิ นค้า เปลี่ ยนแปลงไป ดัง นั้นสาเหตุใด
ก็ตามที่ส่งผลทาให้ผูข้ ายสามารถนาสิ นค้าออกมาเสนอขายได้มากขึ้น ย่อมเป็ นปั จจัยที่เป็ นตัวกาหนด
ค่าความยืดหยุน่ ของอุปทานทั้งสิ้ น ซึ่งในที่น้ ีจะสรุ ปได้พอสังเขป ดังนี้
1. ความยากง่ายและระยะเวลาในการผลิต
ถ้าสิ นค้าที่จะนาออกเสนอขายมีการผลิตที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และใช้ระยะเวลาในการผลิตน้อย
ค่าความยืดหยุ่นของอุปทานจะมีค่ามากกว่าสิ นค้าที่มีวิธีการผลิตที่ยุ่งยากซับซ้อน ยกตัวอย่างเช่น สิ นค้า
อุตสาหกรรมโดยส่ วนใหญ่จะเป็ นสิ นค้าที่ไม่ตอ้ งพึ่งพาธรรมชาติ และใช้ระยะเวลาค่อนข้างสั้นในการ
ผลิต ดังนั้นจึงสามารถผลิตสิ นค้าออกมาเสนอขายได้ทนั ตามการเปลี่ยนแปลงของราคา ต่างจากสิ นค้า
เกษตรกรรมซึ่งส่ วนใหญ่จะต้องอาศัยดินฟ้าอากาศ และระยะเวลาในการผลิตต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้าง
นาน เช่น กุง้ ต้องใช้เวลาในการเลี้ยงนานถึง 4 เดือน เป็ นต้น ดังนั้นเมื่อราคาสิ นค้าเพิ่มขึ้น จึงไม่สามารถ
นากุง้ ออกมาเสนอขายได้ทนั กับราคาที่สูงขึ้น จึงทาให้ความยืดหยุ่นของอุปทานขอสิ นค้าปรเภทนี้ มกั มี
ค่าน้อยกว่าสิ นค้าอุตสาหกรรม
2. ความสามารถในการกักตุนสิ นค้ า
สิ นค้าใดที่สามารถเก็บกักตุน หรื อยืดระยะเวลาในการขายได้ ย่อมมีความยื ดหยุ่นของอุปทาน
มากกว่าสิ นค้าที่ไม่สามารถเก็บรักษาเพื่อรอการขายได้ อย่างเช่น สิ นค้าที่เป็ นประเภทอาหารสด ได้แก่
82

เนื้ อสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ นค้าเหล่านี้ มกั จะไม่สามรถเก็บรักษาเพื่อรอการขายได้นาน ดังนั้นเมื่อราคาสิ นค้า


แพงขึ้น จึงไม่สามารถนาสิ นค้าออกมาเสนอขายได้
3. ความยากง่ายในการเคลื่อนย้ายสินค้า
สิ นค้าใดที่มีขนาดใหญ่ มีน้ าหนักมาก และอยู่ในสถานที่เคลื่อนย้ายได้ลาบาก อุปทานจะมี
ความยืดหยุ่นน้อย แต่ถา้ สิ นค้าใดที่ มีขนาดเล็ก น้ าหนักน้อย และอยู่ในสถานที่ เคลื่ อนย้ายได้สะดวก
อุปทานจะมีความยืดหยุ่นมาก ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพิจารณาอุปทานของปาล์มในหมู่บา้ น ก ซึ่ งถนนไม่
สามารถเข้าถึงได้ กับอุปทานของปาล์มในหมู่บา้ น ข ซึ่งมีถนนไปถึงสะดวก จะพบว่า อุปทานปาล์มใน
หมู่บา้ น ก จะมีความยืดหยุน่ น้อยกว่าอุปทานปาล์มในหมู่บา้ น ข เพราะเมื่อราคาปาล์มในหมู่บา้ นทั้งสอง
สู งขึ้น หมู่บา้ น ก ไม่สามารถนาเอาสิ นค้าออกมาเสนอขายได้มากนัก เนื่องจากไม่สามารถขนย้ายปาล์ม
ออกจากหมู่บา้ นมาขายในตลาดได้สะดวก ในขณะที่หมูบา้ น ข จานวนสิ นค้าที่นาออกมาเสนอขายจะ
มีมาก เพราะผูผ้ ลิตในหมู่บา้ นสามารถขนย้ายสิ นค้ามาขายในตลาดได้สะดวกกว่า ฉะนั้น ความยืดหยุ่น
ของอุปทานปาล์มในหมู่บา้ น ก จึงมีค่าน้อยกว่าหมู่บา้ น ข เป็ นต้น

สรุปท้ ายบท

ความยืดหยุ่น เป็ นเครื่ องมือที่ใช้วดั ปฏิกิริยาตอบโต้ของปริ มาณความต้องซื้ อหรื อขายที่มีผลต่อ


การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่เป็ นตัวกาหนดต่าง ๆ ได้แก่
1. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริ มาณความต้องการ
ซื้อต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา ค่าความยืดหยุน่ ที่ได้จะมี 3 ลักษณะ คือ ความยืดหยุน่ มีค่ามากกว่า
1 เท่ากับ 1 และน้อยกว่า 1 การคิดค่าความยืดหยุน่ จะพิจารณาจากค่าสัมบูรณ์ ซึ่งสามารถคานวณได้ 2 วิธี
คือ 1) การหาค่าความยืดหยุ่นแบบจุด เป็ นการหาความยืดหยุ่นของจุดใดจุดหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ และ 2)
การหาแบบช่วง เป็ นการหาจากจุดสองจุดบนเส้นอุปสงค์ ซึ่งความยืดหยุน่ บนอุปสงค์ที่เป็ นเส้นตรงจะมี
ค่าไม่เท่ากัน
2. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ เป็ นการวัดปฏิกิริยาตอบโต้ของปริ มาณความต้องการซื้อ
เมื่อรายได้เปลี่ยนแปลงไป ถ้าค่าความยืดหยุน่ ที่ได้มีค่าเป็ นลบ แสดงว่า สิ นค้านั้นเป็ นด้อยคุณภาพ แต่ถา้
เป็ นบวก แสดงว่า สิ นค้านั้นเป็ นสิ นค้าปกติ
3. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้ จะเป็ นการวัดอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริ มาณความต้องการ
ซื้อสิ นค้าใดชนิดหนึ่ง ต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาสิ นค้าอีกชนิ ดหนึ่งที่เกี่ยวข้อง โดยที่ถา้ ค่าความ
83

ยืดหยุน่ มีค่าเป็ นลบ แสดงว่า สิ นค้าที่เกี่ยวข้องนั้นเป็ นสิ นค้าประกอบกัน แต่หากเป็ นบวก แสดงว่า สิ นค้า
ที่เกี่ยวข้องนั้นเป็ นสิ นค้าทดแทนกันได้
นอกจากความยืดหยุ่นของอุปสงค์แล้ว การวัดปฏิกิริยาตอบโต้ของปริ มาณความต้องการขาย
เมื่อราคาสิ นค้าเปลี่ยน จะเป็ นการวัดความยืดหยุ่นของอุปทาน ซึ่ งจะมีเครื่ องเป็ นบวกเสมอ โดยการ
คานวณหาความยืดหยุ่นของอุปทานสามารถหาได้ 2 วิธีเช่นเดียวกับการหาความยืดหยุ่นของอุปสงค์
อีกทั้งค่าความยืดหยุน่ ที่ได้จะพิจารณาจากค่าสัมบูรณ์เช่นเดียวกัน
84

แบบฝึ กหัดท้ ายบท

1. ความรู ้เรื่ องความยืดหยุน่ ของอุปสงค์สามารถนาไปใช้ประโยชน์เรื่ องอะไรได้บา้ ง


2. อธิบายถึงปัจจัยที่กาหนดค่าความยืดหยุน่ ของอุปสงค์และอุปทาน มาเป็ นข้อ ๆ
3. ความยืดหยุน่ ของอุปสงค์ต่อราคา มีความสัมพันธ์กบั รายรับรวมอย่างไรในเชิงราคา
4. เส้นอุปสงค์แบบใดบ้างที่มีค่าความยืดหยุน่ ของอุปสงค์ต่อราคาเท่ากันทุกจุดตลอดทั้งเส้น
5. จงอธิบายลักษณะของเส้นอุปทานแต่ละแบบทั้ง 5 แบบ
6. ให้หาค่าความยืดหยุน่ ของอุปสงค์ต่อราคาที่ช่วง AB (แสดงวิธีทาประกอบ)
ราคา

25 A

15 B

D
ปริ มาณ
0 70 150

7. ราคาทุเรี ยนในตลาดแห่ งหนึ่ งกิโลกรัมละ 20 บาท จะมีผูซ้ ้ื อวันละ 280 กิโลกรัม ถ้าราคา
ทุเรี ยนลดลงเหลือกิโลกรัมละ 15 บาท จะมีผซู ้ ้ื อวันละ 350 กิโลกรัม จงหาค่าความยืดหยุ่นแบบช่วง
ของอุปสงค์ต่อราคาของทุเรี ยน
8. ส้มกิโลกรัมละ 15 บาท มีผูซ้ ้ื อจานวน 300 กิโลกรัม ถ้าส้มราคาลดลงเหลือ 12 บาท มีผูซ้ ้ื อ
จานวน 400 กิโลกรัม ให้หาความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาของส้มแบบจุด ณ ระดับราคาและจานวน
ซื้อก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลง
9. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาของเค็กเป็ น 45 บาท/ชิ้น พรทิพย์ตอ้ งการเพิ่มรายรั บรวม
ของเธอ คุณจะแนะนาให้พรทิพย์เพิม่ หรื อลดราคาเค็กของเธอ จงอธิบายพร้อมวาดรู ปประกอบ
10. เมื่อฝนตกหนักในแปลงกล้ว ยในภาคกลาง ราคาของกล้วยเพิ่มจากหน่ วยละ10 บาท เป็ น
20 บาท ผูข้ ายกล้วยขายกล้วยลดลง แต่รายรับทั้งหมดยังคงไม่เปลี่ยนแปลง จงตอบคาถามว่าอุปสงค์ของ
กล้วยจากภาคกลางมีความยืดหยุน่ มากหรื อยืดหยุน่

You might also like