ข้อสอบปากเปล่าความรู้ชั้นเนติบัณฑิต

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 25

-1-

อินทร์ทองช่วยTutor
ข้อสอบปากเปล่าความรู้ชั้นเนติบัณฑิต

ข้อสอบปากเปล่าความรู้ชั้นเนติบัณฑิต นี้สามารถใช้เป็นแนวข้อสอบสัมภาษณ์
นิติกรปฏิบัติการ สำนักงานศาลยุติธรรมได้ เพราะคำถามสัมภาษณ์จะมีคำถามเกี่ยวกับ
ตั ว บทกฎหมาย (ควรเปิ ด ตั ว บทกฎหมายประกอบ เนื ่ อ งจากประมวลกฎหมายใน
บางมาตรามีการแก้ไขใหม่)

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ 72 ครั้งที่ 1


ประจำปีการศึกษา ๒๕62
คำถาม “การห้ามพิพากษาหรือมีคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 มีข้อยกเว้นอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างมา 3 อนุมาตรา”
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๑๔๒ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีต้องตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ แต่
ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เว้นแต่
(๑) ในคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่จำเลย ถ้า
ศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้ คำสั่งเช่นว่านี้ให้ใช้บังคับ
ตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้น ซึ่งไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษ
ให้ศาลเห็นได้
(๒) ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด แต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่
ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้
(๓) ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้อง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะ
พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจนถึงวันที่ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาก็ได้
(๔) ในคดี ท ี ่ โ จทก์ ฟ้ องเรีย กค่ า เช่ า หรือ ค่า เสี ยหายอั นต่อ เนื่ องคำนวณถึง วันฟ้อ ง เมื ่ อ ศาล
เห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้ชำระค่าเช่าและค่าเสียหายเช่นว่านี้จนถึงวันที่ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาก็ได้
(๕) ในคดีที่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างได้นั้น เมื่อ
ศาลเห็นสมควร ศาลจะยกข้อเหล่านั้นขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้
(๖) ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยซึ่งมิได้มีข้อตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ย
กันไว้ เมื่อศาลเห็นสมควรโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ศาลจะ
พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายแต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าต่อ
ปีนับตั้งแต่วันฟ้องหรือวันอื่นหลังจากนั้นก็ได้

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-2-
อินทร์ทองช่วยTutor
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ 71 ครั้งที่ 1
ประจำปีการศึกษา ๒๕61
คำถาม การถามคำให้การผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อ. จะต้องแจ้งสิทธิใดแก่ผู้ ต้องหาบ้าง และผลตาม
กฎหมายของการไม่แจ้งสิทธิดังกล่าวเป็นอย่างไร
หากผู้ต้องหาให้การต่อพนักงานสอบสวนก่อนที่จะมีการแจ้งสิทธิดังกล่าว ผลเป็นอย่างไร
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๓๓ ทวิ ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายอันมิใช่ความผิด
ที่เกิดจากการชุลมุนต่อสู้ ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ ความผิดฐานกรรโชก ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ตามประมวล
กฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่ า ด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้า ประเวณี ความผิ ด ตาม
กฎหมายว่าด้วยมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก ความผิดตามกฎหมายว่าด้ วย
สถานบริการ หรือคดีความผิดอื่นที่มีอัตราโทษจำคุก ซึ่งผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีร้อง
ขอ การถามปากคำผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ให้พนักงานสอบสวนแยกกระทำเป็น
ส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และ
พนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยในการถามปากคำเด็กนั้น และในกรณีที่นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เห็นว่า
การถามปากคำเด็กคนใดหรือคำถามใด อาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจเด็กอย่างรุนแรง ให้พนักงาน
สอบสวนถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เป็นการเฉพาะตามประเด็นคำถามของพนักงานสอบสวน
โดยมิให้เด็กได้ยินคำถามของพนักงานสอบสวนและห้ามมิให้ถามเด็กซ้ำซ้อนหลายครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องแจ้งให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่
เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการทราบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กทราบถึงสิทธิตามวรรคหนึ่งด้วย
นักจิตวิทยาหรือนั กสังคมสงเคราะห์ หรือพนักงานอัยการที่เข้าร่วมในการถามปากคำอาจถูก
ผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กตั้งรังเกียจได้ หากมีกรณีดังกล่าวให้เปลี่ยนตัวผู้นั้น
ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๑๓๙ การถามปากคำเด็กตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มี
การบันทึกภาพและเสียงการถามปากคำดังกล่าวซึ่งสามารถนำออกถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่องไว้เป็นพยาน
ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอนักจิตวิทยาหรือนักสัง คมสงเคราะห์
บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำพร้อมกันได้ ให้พนักงานสอบสวนถามปากคำ
เด็กโดยมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งตามวรรคหนึ่งอยู่ร่วมด้วยก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุที่ไม่อาจรอบุคคลอื่นไว้ในสำนวน
การสอบสวน และมิให้ถือว่าการถามปากคำผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กในกรณีดังกล่าวที่ไ ด้กระทำไปแล้ว
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา ๑๓๔/๑ ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้ องหามีอายุไม่เกินสิบแปดปีใน
วันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความ
หรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้
ในคดี ท ี ่ ม ี อ ั ต ราโทษจำคุ ก ก่ อ นเริ ่ ม ถามคำให้ ก ารให้ พ นั ก งานสอบสวนถามผู ้ ต ้ อ งหาว่ า มี
ทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและผู้ต้องหาต้องการทนายความ ให้รัฐจัดหาทนายความให้
การจัดหาทนายความตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้ทนายความที่รัฐจัดหาให้ได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายตาม
ระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-3-
อินทร์ทองช่วยTutor
เมื่อได้จัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสามแล้ว ในกรณี
จำเป็นเร่งด่วน หากทนายความไม่อาจมาพบผู้ต้องหาได้ โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้พนักงานสอบสวนทราบหรือ
แจ้งแต่ไม่มาพบผู้ต้องหาภายในเวลาอันสมควร ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนผู้ต้องหาไปได้โดยไม่ต้อง
รอทนายความ แต่พนักงานสอบสวนต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย
มาตรา ๑๓๔/๒ ให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๑๓๓ ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การสอบสวน
ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี
มาตรา ๑๓๔/๓ ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้
มาตรา ๑๓๔/๔ ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า
(๑) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การนั้นอาจใช้
เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
(๒) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้
เมื่อผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใดก็ให้จดคำให้การไว้ ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลยก็ให้บันทึกไว้
ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิต ามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่
จะดำเนินการตามมาตรา ๑๓๔/๑ มาตรา ๑๓๔/๒ และมาตรา ๑๓๔/๓ จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการ
พิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ 71 ครั้งที่ 2


ประจำปีการศึกษา ๒๕61
คำถาม การเป็นผู้ใช้ตามมาตรา 84 และการเป็นผู้สนับสนุนตามมาตรา 86 มีหลักเกณฑ์อย่างไร
แตกต่างกันอย่างไร จงยกตัวอย่างประกอบ
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๘๔ ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดไม่ว่าด้วยการใช้ บัง คับ ขู่เข็ญ จ้าง วานหรือยุยง
ส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด
ถ้าความผิดมิได้กระทำลงไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ ยังไม่ได้กระทำ หรือเหตุอื่นใด
ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียงหนึ่งในสามของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ และถ้าผู้ถูกใช้เป็นบุคคลอายุ
ไม่เกินสิบแปดปี ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ ลูกจ้างหรือผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ใช้ ผู้ที่มีฐานะยากจน หรือผู้ต้อง
พึ่งพาผู้ใช้เพราะเหตุป่วยเจ็บหรือไม่ว่าทางใด ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้ใช้กึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับผู้
นั้น
มาตรา ๘๖ ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่
ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความ
สะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้
สำหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-4-
อินทร์ทองช่วยTutor
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๗๐ ครั้งที่ ๑
ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐
คำถาม ถ้าคู่วามเสียชีวิตในระหว่างพิจารณาคดีแพ่ง จะต้องดำเนินการอย่างไร
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๔๒ ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาล
พิพากษาคดี ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ
หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้ จะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ โดยมีคำขอเข้ามาเอง หรือโดย
ที่ศาลหมายเรียกให้เข้ามา เนื่องจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอฝ่ายเดียว คำขอเช่นว่านี้จะต้องยื่นภายใน
กำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ
ถ้าไม่มีคำขอของบุคคลดังกล่าวมาแล้ว หรือไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งภายในเวลาที่
กำหนดไว้ ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเรื่องนั้นเสียจากสารบบความ

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๗๐ ครั้งที่ 2


ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐
คำถาม เหตุที่ทำให้ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด มีได้ในกรณีใดบ้าง
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๒๐๓ ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้ง
ปวงก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้
โดยพลันดุจกัน
ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระ
หนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นก็ได้
มาตรา ๒๐๔ ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูก หนี้แ ล้ว
ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว
ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้ ท่านว่า
ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อน
การชำระหนี้ ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว
มาตรา ๒๐๖ ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๙ ครั้งที่ ๑


ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙
คำถาม หลักเกณฑ์การแก้ฟ้อง ในคดีแพ่ง และคดีอาญา มีอย่างไร ต่างกันอย่างไร
ธงคำตอบ คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๑๗๕ ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ โจทก์อาจถอนคำฟ้องได้โดยยื่นคำ
บอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล
ภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล
ชั้นต้น เพื่อ อนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่
เห็นสมควรก็ได้ แต่
www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์
-5-
อินทร์ทองช่วยTutor
(๑) ห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาต โดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมี ก่อน
(๒) ในกรณีที่โจทก์ถอนคำฟ้อง เนื่องจากมีข้อตกลงหรือประนีประนอมยอม
ความกับจำเลย ให้ศาลอนุญาตไปตามคำขอนั้น
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๖๓ เมื่อมีเหตุอันควร โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอแก้หรือ
เพิ่มเติมฟ้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ถ้าศาลเห็นสมควรจะอนุญาตหรือจะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อน
ก็ได้ เมื่ออนุญาตแล้วให้ส่งสำเนาแก้ฟ้องหรือฟ้องเพิ่มเติมแก่จำเลยเพื่อแก้ และศาลจะสั่งแยกสำนวนพิจารณา
ฟ้องเพิ่มเติมนั้นก็ได้
เมื่อมีเหตุอันควร จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การของเขา
ก่อนศาลพิพากษา ถ้าศาลเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ส่งสำเนาแก่โจทก์
มาตรา ๑๖๔ คำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องนั้น ถ้าจะทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ในการต่อสู้คดี ห้ามมิให้ศาลอนุญาต แต่การแก้ฐานความผิดหรือรายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้องก็ดี การเพิ่มเติม
ฐานความผิดหรือรายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวไว้ก็ดี ไม่ว่าจะทำเช่นนี้ในระยะใดระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้น มิให้
ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบ เว้นแต่จำเลยได้หลงต่อสู้ในข้อที่ผิดหรือที่มิได้กล่าวไว้นั้น

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๙ ครั้งที่ ๒


ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙
คำถาม การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย กับการกระทำโดยบันดาลโทสะตาม มีหลักเกณฑ์
อย่างไร พร้อมยกตัวอย่าง
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๖๘ ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่ง
เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ
การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด
มาตรา ๗๒ ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำ
ความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็
ได้

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๘ ครั้งที่ ๑


ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘
คำถาม การตายโดยผิดธรรมชาตินั้น คืออะไรบ้าง
ธงคำตอบ ป.วิ.อ. มาตรา 148 วรรคสอง การตายโดยผิดธรรมชาตินั้น คือ
(๑) ฆ่าตัวตาย
(๒) ถูกผู้อื่นทำให้ตาย
(๓) ถูกสัตว์ทำร้ายตาย
(๔) ตายโดยอุบัติเหตุ
(๕) ตายโดยยังมิปรากฏเหตุ

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-6-
อินทร์ทองช่วยTutor
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๘ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘
คำถาม นิติกรรมที่เป็นโมฆียะ เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นิติกรรมที่เป็นโมฆียะ เพราะเหตุดังนี้
มาตรา ๑๕๓ การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล การ
นั้นเป็นโมฆียะ
มาตรา ๑๕๗ การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ
ความสำคั ญ ผิ ด ตามวรรคหนึ่ ง ต้ อ งเป็ นความสำคัญ ผิ ด ในคุณ สมบัต ิ ซึ ่ง ตามปกติถ ื อว่ า เป็น
สาระสำคัญ ซึ่งหากมิได้มีความสำคัญผิดดังกล่าวการอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น
มาตรา ๑๕๙ การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การ
อันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น
ถ้าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลโดยบุคคลภายนอก การแสดงเจตนานั้นจะเป็น
โมฆียะต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงกลฉ้อฉลนั้น
มาตรา ๑๖๔ การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ
การข่มขู่ที่จะทำให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึง และ
ร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว ซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้กระทำขึ้น

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๗ ครั้งที่ ๑


ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๗
คำถาม ข้อยกเว้นของการยื่นคำร้องแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การภายหลังจากศาลชี้สองสถานแล้ว
ว่ามีอย่างไรบ้าง
ธงคำตอบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้
แล้ว ให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการ
ชี้สองสถาน เว้นแต่
๑. มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือ
๒. เป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือ
๓. เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๗ ครั้งที่ ๒


ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๗
คำถาม สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน คืออะไร จงยกตัวอย่างประกอบ
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น
รวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น
(๑) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่ งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่น ดินโดย
ประการอื่น ตามกฎหมายที่ดิน
(๒) ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ
www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์
-7-
อินทร์ทองช่วยTutor
(๓) ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า ป้อมและโรงทหาร สำนัก
ราชการบ้านเมือง เรือรบ อาวุธยุทธภัณฑ์

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๖ ครั้งที่ ๑


ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๖
คำถาม คดีมโนสาเร่ คือ คดีอย่างไร
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 189 บัญญัติว่า คดีมโนสาเร่ คือ
(1) คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องอันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกิน สามแสนบาทหรือ
ไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
(2) คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสัง หาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เ ช่าได้
ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสามหมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๖ ครั้งที่ ๒


ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๖
คำถาม ข้อแตกต่างระหว่างยักยอกกับลักทรัพย์
ธงคำตอบ ข้อแตกต่างระหว่างยักยอกกับลักทรัพย์ อยู่ตรงที่ว่า
๑. หากทรัพย์ของผู้อื่นนั้นมีผู้ครอบครองอยู่และผู้กระทำเข้าแย่งการครอบครองทรัพย์นั้นโดย
ทุจริตตั้งแต่ขณะที่เข้าแย่งการครอบครอง การกระทำก็เป็นลักทรัพย์ไม่ใช่ยักยอก (อ.เกียรติขจรฯ) ถ้าผู้กระทำ
ได้การครอบครองมาแล้วต่อเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไปโดยทุจริตในภายหลัง เป็นยักยอก ไม่ใช่ลักทรัพย์ (หรือ
กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ลักทรัพย์ ทำลายคุณธรรมทางกฎหมายในเรื่องของการครอบครองและกรรมสิทธิในทรัพย์
ส่วนยักยอกทำลายฯ เฉพาะกรรมสิทธิ์ เพราะขณะกระทำผิดผู้กระทำครอบครองทรัพย์นั้นอยู่)
๒. ลักทรัพย์ต้องมีการพาทรัพย์นั้นไป ดังนั้นโดยสภาพทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งการกระทำจึงมีได้
เฉพาะสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ส่วนยักยอกโดยสภาพมีได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ (อ.หม่อมหลวง
ไกรฤกษ์ฯ)
๓. กรณีลักทรัพย์กับยักยอกทรัพย์สินหาย นั้นจุดต่างอยู่ตรงที่ ผู้กระทำความผิดรู้หรือไม่ว่า
เจ้าของทรัพย์กําลังติดตามเอาทรัพย์คืน ถ้าหากรู้ผิดลักทรัพย์ ถ้าไม่รู้ผิดยักยอกตาม ป.อ.มาตรา ๓๕๒
๔. ลักทรัพย์เป็นความผิดยอมไม่ได้ (ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว) ยักยอก เป็นความผิดอันยอมความ
ได้ (ความผิดต่อส่วนตัว)

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๕ ครั้งที่ ๑


ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕
คำถาม การดำเนินคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กำหนดหลักการให้ผู้เสียหายกระทำการอื่นใดในการได้มาซึ่งค่าสินไหมทดแทนนอกจากจะฟ้องเป็นคดีต่างหาก
จากคดีอาญาไว้หรือไม่ อย่างไร
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิ ธ ีพ ิ จ ารณาความอาญา บั ญ ญั ต ิ ใ นเรื ่ อ งการดำเนิ นคดี แพ่ง
เกี่ยวเนื่องคดีอาญาไว้ในมาตรา 44/1 ดังนี้

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-8-
อินทร์ทองช่วยTutor
มาตรา ๔๔/๑ ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหม
ทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกายชื่อเสียง
หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้อง
ต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้
การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน ในกรณีที่ไ ม่มีการ
สืบพยานให้ยื่นคำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องตามบทบัญญัติแห่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งนั้น ทั้งนี้ คำร้องดังกล่าว
ต้องแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับความเสียหายและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง หากศาลเห็น
ว่าคำร้องนั้นยังขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องให้ชัดเจนก็ได้
คำร้องตามวรรคหนึ่งจะมีคำขอประการอื่นที่มิใช่คำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอัน
เนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญามิได้ และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับคำฟ้องในคดีอ าญาที่
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ และในกรณีที่พนักงานอัยการได้ดำเนินการตามความในมาตรา ๔๓ แล้ว ผู้เสียหาย
จะยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่งเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์สินอีกไม่ได้

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๕ ครั้งที่ ๒


ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕
คำถาม ดอกผลของทรัพย์ หมายความว่าอย่างไร
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 บัญญัติว่า ดอกผลของทรัพย์ได้แก่
ดอกผลธรรมดา และดอกผลนิตินัย
ดอกผลธรรมดา หมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์โดย
การมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น
ดอกผลนิตินัย หมายความว่า ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์
จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น และสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๔ ครั้งที่ ๑


ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔
คำถาม บุคคลจะใช้สิทธิทางศาลในคดีแพ่งได้เมื่อใด
ธงคำตอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๕
เมื่อบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลในคดีแพ่ง บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่ง
ที่มีเขตอำนาจได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นการเสนอคดี
ต่อศาลในลักษณะที่เป็นการใช้สิทธิทางศาลของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยไม่มีบุคคลอื่นใดโต้แย้ง สิทธิหรือหน้าที่
ของบุคคลนั้น การเสนอคดีต่อศาลในกรณีนี้ จึงเป็นการเสนอคดีโดยไม่มีข้อพิพาทกับบุคคลใด กล่าวคือ ไม่มี
บุคคลใดเป็นคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งในฐานะจำเลย บุคคลผู้เสนอคดีมีความจำเป็นจะต้องใช้สิทธิทางศาลตามที่มี
กฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนเพื่อรับรองหรือคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่ ให้เริ่มต้นคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อ
ศาล และผู้เริ่มต้นคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทนี้เรียกว่าผู้ร้อง

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-9-
อินทร์ทองช่วยTutor
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๔ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔
คำถาม ให้อธิบายข้อแตกต่างระหว่างตัวการกับผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติในเรื่องตัวการไว้ในมาตรา ๘๓ และบัญญัติเรื่อง
ผู้สนับสนุนไว้ในมาตรา ๘๖
มาตรา ๘๓ บัญญัติว่า “ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป
ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น”
มาตรา ๘๖ บัญญัติว่า “ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆอันเป็นการช่วยเหลือ หรือ ให้ความสะดวก
ในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ก่อน หรือ ขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือ
หรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษ
ที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น”
ความแตกต่างระหว่างตัวการและผู้สนับสนุน
๑. ตัวการ จะต้องมีการกระทำร่วมกัน และมีเจตนาร่วมกัน “ขณะ” กระทำความผิด
ผู้สนับสนุน คือผู้ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวก “ก่อน” หรือ “ขณะ” กระทำความผิดของ
“ผู้ลงมือ” การช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวก “ขณะ” กระทำความผิดนั้น จะต้องไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำ
ร่วมกัน มิฉะนั้นจะกลายเป็นตัวการไป
๒. ตัวการนั้น ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาร่วมกัน กล่าวคือ แต่ละคนรู้ถึงการกระทำของกันและ
กัน และถือเอาการกระทำของผู้อื่นทั้งหมดเสมือนเป็นการกระทำของตน หากผู้กระทำคนหนึ่งรู้เห็นการกระทำ
ของคนอื่นและถือเอาผลของการกระทำของคนอื่นเป็นของตน แต่คนอื่นมิได้รู้เห็นด้วย เช่นนี้ ไม่ถือเป็น
ตัวการ
ผู้สนับสนุน อาจช่วยเหลือหรือให้ความสะดวก โดยที่ผู้ลงมือมิได้รู้เห็นถึงการช่วยเหลือ
หรือการให้ความสะดวกนั้นก็ได้
ข้อสังเกต ในขณะที่ผู้ลงมือกระทำความผิดนั้น ผู้เกี่ยวข้องในขณะเกิดเหตุ อาจเป็นตัวการหรือ
ผู้สนับสนุนก็ได้ หากข้อเท็จจริงปรากฎว่า การอยู่ในที่ เกิดเหตุเป็นการร่วมกระทำโดยมีเจตนาร่วมกระทำ ก็
เป็นตัวการ ถ้าไม่ใช่การร่วมกระทำก็ไม่เ ป็นตัวการ แต่ถ้าเป็นการช่วยเหลือ หรือ ให้ ความสะดวกก็ เ ป็ น
ผู้สนับสนุน

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๓ ครั้งที่ ๑


ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓
คำถาม ฟ้องซ้ำ กับ ฟ้องซ้อนในคดีแพ่งต่างกันอย่างไร
ธงคำตอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๑๔๘ บัญญัติว่า คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว ห้ามมิให้คู่ความ
เดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน และ
มาตรา ๑๗๓ วรรคสอง (๑) บัญญัติว่า นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ใน
ระหว่างพิจารณาและผลแห่งการนี้ ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-10-
อินทร์ทองช่วยTutor
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๓ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓
คำถาม การได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยการครอบครองนั้น มีหลักเกณฑ์อย่างไร
ธงคำตอบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๔๒
บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็น
อสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติ ดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครองครองติดต่อกันเป็นเวลา
ห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์
หลักเกณฑ์การได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา ๑๓๘๒
(๑) การครอบครองปรปักษ์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น
(๒) การครอบครองปรปั ก ษ์ ท รั พ ย์ ส ิ น ของผู ้ อ ื ่ น จะต้ อ งเป็ น การครอบครองเป็ น การ
ครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ
ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ ปี
ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา ๕ ปี

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๒ ครั้งที่ ๑


ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๒
คำถาม ให้อธิบายความหมายของ “คำร้องทุกข์” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ธงคำตอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๗)
“คำร้องทุกข์” หมายความถึง การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่ง
ประมวลกฎหมายนี้ ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความ
เสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ
ความหมายของคำว่า “คำร้องทุกข์” จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ คือ
๑) การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้ าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และ
๒) การกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ
คำร้ อ งทุ ก ข์ จ ะต้ อ งกระทำโดยผู ้ เ สี ย หายตามมาตร า ๒ (๔) เท่ า นั ้ น และจะ
ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ทั้งสองประการดังกล่าว หากขาดหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์
โดยชอบ

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-11-
อินทร์ทองช่วยTutor
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๒ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๒
คำถาม การลักทรัพย์โดยมีเหตุฉกรรจ์ หรือเหตุที่ต้องรับโทษหนักขึ้น ตามที่ประมวลกฎหมาย
อาญา มาตรา ๓๓๕ วรรคแรก บัญญัติไว้ ได้แก่กรณีใดบ้าง ให้ตอบเพียง ๕ กรณี
ธงคำตอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๕ วรรคแรก บัญญัติว่า
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มี
อุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกัน หรือ
อาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใดๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่า
นั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ไ ด้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทาง
ช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ได้
เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณที่ตนได้
เข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยานที่จอดรถหรือเรือสาธารณ
สาธารณสถาน สำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที ่ เ ป็ น ของผู ้ม ีอ าชี พกสิก รรม บรรดาที ่ เ ป็นผลิ ตภัณ ฑ์ พื ช พั น ธุ์ สั ต ว์ หรือ
เครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๑ ครั้งที่ ๑


ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๑
คำถาม “ความผิดซึ่งหน้า” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หมายความว่า
อย่างไร
ธงคำตอบ ตอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 80
ได้แยกความผิดซึ่งหน้าออกเป็น ๒ ประเภท คือ (๑) ความผิดซึ่งหน้าอย่างแท้จริง และ (๒) ให้ถือ
ว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า
(๑) ความผิดซึ่งหน้าอย่างแท้จริง ได้แก่
(ก) ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ (ความผิด) หรือ
www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์
-12-
อินทร์ทองช่วยTutor
(ข) พบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่า เขาได้กระทำผิดมาแล้วสดๆ
(๒) ให้ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า ได้แก่ กรณีที่ผู้จับมิได้ “เห็น” หรือ “พบ” ซึ่งหน้า แต่
เป็นกรณีที่
(ก) เป็นความผิดที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ
(ข) มีบุคคลถูกไล่จับดั่งผู้กระทำ (ความผิด) โดยมีเสียงร้องเอะอะ หรือ
(ค) เมื่อพบบุคคล
แทบจะทันทีทันใดหลังจากการกระทำผิด
ในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้น และ
มีสิ่งของที่ได้มากจากการกระทำผิด หรือ
มีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นสันนิษฐาน ได้ว่าได้ใช้ในการกระทำผิด
หรือ
มีร่องรอยพิรุธเห็นประจักษ์ที่เสื้อผ้าหรือเนื้อตัวของผู้นั้น

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๑ ครั้งที่ ๒


ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๑
คำถาม สินสมรสระหว่างสามี ภรรยา ได้แก่ทรัพย์สิน อย่างใด
ธงคำตอบ ตอบตามประมวลกฎหมายแพ่ ง และพาณิ ช ย์ มาตรา 1474 สิ น สมรส ได้ แ ก่
ทรัพย์สิน
(๑) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(๒) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินับกรรม หรือ โดยการให้เป็นหนังสือเมื่อ
พินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่า เป็นสินสมรส
(๓) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็น
สินสมรส

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๐ ครั้งที่ ๑


ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๐
คำถาม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปใน
กรณีใดบ้าง
ธงคำตอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๓๙ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดั่งต่อไปนี้
(๑) โดยความตายของผู้กระทำความผิด
(๒) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือ
ยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
(๓) เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา ๓๗
(๔) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-13-
อินทร์ทองช่วยTutor
(๕) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ ภายหลัง การกระทำผิดยกเลิกความผิ ด
เช่นนั้น
(๖) เมื่อคดีขาดอายุความ
(๗) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๖๐ ครั้งที่ ๒


ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๐
คำถาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเรื่องส่วนควบของทรัพย์ไว้อย่างไรบ้าง
ธงคำตอบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๔๔ ส่วนควบของทรัพย์ หมายความว่า ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์
หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้
นอกจากจะทำลายทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป
เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น
มาตรา ๑๔๕ ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่
ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลไม้คราวหนึ่งหรือหลาย
คราวต่อปีไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน
มาตรา ๑๔๖ ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรียนเพียงชั่วคราวไม่ถือว่าเป็น
ส่วนควบกับที่ดินหรือโรงเรือนนั้น ความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่โรงเรียนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ซึ่งผู้มีสิทธิใน
ที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๙ ครั้ง ที่ ๑


ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๙
คำถาม บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความ จะเข้ามาเป็นคู่ความในคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของ
ศาลชั้นต้นนั้น มีหลักเกณฑ์อย่างไร ให้ตอบทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
ธงคำตอบ คดีแพ่ง:ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๗ บุคคลภายนอกซึ่ง
มิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด
คดีอาญา:ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๓๐ คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วม
เป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างการพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้
มาตรา ๓๑ คดีอาญาที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้ว พนักงานอัยการจะยื่นคำ
ร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดก็ได้

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-14-
อินทร์ทองช่วยTutor
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๙ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๙
คำถาม ประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติในเรื่องริบทรัพย์สิน มีหลักเกณฑ์สำคัญอย่างไร
ธงคำตอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๒ ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบ
เสียทั้งสิ้นไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความคิด และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่
มาตรา ๓๓ ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่
บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินดังต่อไปนี้อีกด้วย คือ
(๑) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือ
(๒) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด
เว้นแต่ ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิไ ด้รู้เห็น เป็น ใจ
ด้วยในการกระทำความผิด
มาตรา ๓๔ บรรดาทรัพย์สิน
(๑) ซึ ่ ง ได้ ใ ห้ ต ามความในมาตรา ๑๔๓ มาตรา ๑๔๔ มาตรา ๑๔๙
มาตรา ๑๕๐ มาตรา ๑๖๗ มาตรา ๒๐๑ หรือมาตรา ๒๐๒ หรือ
(๒) ซึ่งได้ให้เพื่อจูงใจบุคคลให้กระทำความผิด หรือเพื่อเป็นรางวัลในการ
ที่บุคคลได้กระทำความผิด
ให้ริบเสียทั้งสิ้น เว้นแต่ทรัพย์สินนั้นเป็นของผู้อื่นซึ่งมิไ ด้รู้เห็นเป็นใจ
ด้วยในการกระทำความผิด

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๘ ครั้งที่ ๑


ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๘
คำถาม การอ้างรับฟังพยานเอกสารในคดีแพ่งมีหลักอย่างไร มีข้อแตกต่างจากคดีอาญาหรือไม่
อย่างไร
ธงคำตอบ ตอบตาม คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93
การอ้างเอกสารเป็นพยานนั้นให้ยอมรับฟังได้แต่ต้นฉบับเอกสารเท่านั้น เว้นแต่
(๑) เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว จึงให้ศาล
ยอมรับฟังสำเนาเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารนั้นได้
(๒) ถ้าต้นฉบับเอกสารหาไม่ไ ด้ เพราะสูญ หาย หรือ ถูกทำลาย โดยเหตุสุดวิสัย
หรือไม่ สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ศาลจะอนุญาตให้นำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้
(๓) ต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขาหรือในความควบคุมของทางราชการนั้น
จะนำมาแสดงได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตของรัฐมนตรี หัวหน้ากรม กอง หัวหน้าแผนก หรือผู้รักษาการแทนใน
ตำแหน่งนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณีเสียก่อน อนึ่ง นอกจากศาลจะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น สำเนาเอกสารหรือ
ข้อความที่คัดจากเอกสารเหล่านั้น ซึ่งรัฐมนตรี หัวหน้ากรมกอง หัวหน้าแผนก หรือผู้รักษาการแทนในตำแหน่ง
นั้นๆ ได้รับรองถูกต้องแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันเพียงพอในการที่จะนำมาแสดง

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-15-
อินทร์ทองช่วยTutor
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238
ต้นฉบับเอกสารเท่านั้นที่อ้างเป็นพยานได้ ถ้าหาต้นฉบับไม่ได้ สำเนาที่รับรองว่าถูกต้อง
หรือพยานบุคคลที่รู้ข้อความก็อ้างเป็นพยานได้
ถ้าอ้างหนังสือราชการเป็นพยาน แม้ต้นฉบับยังมีอยู่ จะส่งสำเนาที่เจ้าหน้าที่รับรองว่า
ถูกต้องก็ได้ เว้นแต่ในหมายเรียกจะบ่งไว้เป็นอย่างอื่น

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๘ ครั้งที่ ๒


ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๘
คำถาม การโอนหนี้อันจะพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงจะสมบูรณ์ และยก
เป็นข้อต่อสู้หรือบุคคลภายนอกได้นั้น จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
ธงคำตอบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก กล่าวคือ
1. จะสมบูรณ์ต้องทำเป็นหนังสือ
2. จะยกเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้ จะต้องบอกกล่าวการโอนเป็น
หนังสือไปยังลูกหนี้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๗ ครั้งที่ ๑


ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๗
คำถาม ให้อธิบายถึงหลักเกณฑ์การยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวผู้ถูกขัง ในกรณีที่ถูกขัง โดย
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามบทบัญญัติของ
รัฐธรรมนูญ
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๙๐
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาตรา ๒๔๐ บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีการคุม
ขังตัวบุคคลในคดีอาญาหรือในกรณีอื่นใด ผู้ถูกคุมขังเอง พนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้
ถูกคุมขัง มีสิทธิร้องต่อศาลท้องที่ที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาว่าการคุมขังเป็น การมิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อมี
คำร้องเช่นว่านี้ให้ศาลดำเนินการไต่สวนฝ่ายเดียวโดยด่วน ถ้าเห็นว่าคำร้องเช่นว่านั้นมีมูล ศาลมีอำนาจสั่งผู้คุม
ขังให้นำตัวผู้ถูกคุมขังมาศาลโดยพลัน และถ้าผู้คุมขังแสดงให้เป็นที่พอใจของศาล ไม่ได้ว่าการคุมขังเป็นการ
ชอบด้วยกฎหมาย ให้ศาลปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังไปทันที”
หมายเหตุ ปัจจุบันรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ไม่มีบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-16-
อินทร์ทองช่วยTutor
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๗ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๗
คำถาม การกระทำโดยป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 และการกระทำโดย
จำเป็นเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นภยันตราย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67(2) แตกต่างกันใน
สาระสำคัญอย่างใด
ธงคำตอบ
(1) การกระทำโดยป้องกันผู้กระทำไม่มีความผิด แต่การกระทำโดยจำเป็นผู้กระทำมี
ความผิดแต่ได้รับการยกเว้นโทษ
(2) ภยันตรายที่จะอ้างป้องกันได้ต้องเกิดจากการละเมิดกฎหมายเท่านั้น ส่วนภยันตรายที่
จะอ้างจำเป็นนั้นอาจเกิดจากการละเมิดกฎหมายหรือไม่ก็ได้
(3) ป้องกันเป็นการกระทำต่อผู้ก่อภัย ส่วนจำเป็นเป็นการกระทำต่อบุคคลที่สาม
(4) ผู้กระทำโดยป้องกันไม่จำต้องหลีกหนีภยันตรายนั้น แต่การกระทำโดยจำเป็นผู้กระทำ
จะต้องไม่สามารถหลีกเลี่ยงภยันตรายนั้นให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๖ ครั้งที่ ๑


ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๖
คำถาม คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา คือคดีอะไร มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการพิพากษาคดีส่วน
แพ่งว่าอย่างไร
ธงคำตอบ คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา คือคดีแพ่งที่มีมูลมาจากการกระทำผิดอาญา การ
พิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และคำพิพากษาคดี
ส่วนแพ่ง ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้อง
คำนึงถึงว่าจำเลย ต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๔๖ และ ๔๗)

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๖ ครั้งที่ ๒


ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๖
คำถาม การกักขังแทนค่าปรับ มีหลักเกณฑ์สำคัญอย่างไร
ธงคำตอบ ตอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๕ ครั้งที่ ๑


ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๕
คำถาม ในคดีแพ่ง และคดีอาญา คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั ้นค้นในปั ญ หา
ข้อเท็จจริงได้เพียงใด
ธงคำตอบ คดีแพ่ง ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๒๔
คดีอาญา ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๙๓ ทวิ และมาตรา ๑๙๓ ตรี (หรือตอบตาม พ.ร.บ.
จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๒ ทวิ)

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-17-
อินทร์ทองช่วยTutor
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๕ ครั้งที่ ๒
ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๕
คำถาม การขอสืบพยานล่วงหน้าในคดีแพ่งและคดีอาญามีหลักเกณฑ์อย่างไร
ธงคำตอบ คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 237 ทวิ

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๔ ครั้งที่ ๑


ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๔
คำถาม หลักกฎหมายพยานหลักฐานสำหรับคดีแพ่ง และคดีอาญา มีข้อแตกต่างที ่ ส ำคัญ
อย่างไรให้ยกตัวอย่าง ๓ กรณี
ธงคำตอบ ข้อแตกต่างที่สำคัญ เช่น
๑. การรับฟังพยานหลักฐาน
ในคดีแพ่ง คู่ความอาจตกลงกันเกี่ยวกับวิธีการรับฟังพยานหลักฐานได้ เช่น ตกลงกันเกี่ยวกับ
“คำท้า” เป็นต้น แต่ในคดีอาญาคู่ความหาอาจตกลงกันได้ไม่
๒. มาตรฐานการพิสูจน์
ในคดีแพ่ง คู่ความจะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าพยานหลักฐานของตนมีน้ำหนักดีกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจึง
จะชนะคดีได้ ส่วนคดีอาญาโจทก์จะต้องพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดโดยปราศจากข้อสงสัยตามสมควร
(ป.วิ.อ. มาตรา ๒๒๗)
๓. การรับข้อเท็จจริงโดยคู่ความ
ในคดีแพ่ง คู่ความอาจรับข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งหรือโดยปริ ยายก็ได้ คำให้การที่ไม่ป ฏิเ สธ
ข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง ต้องถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงนั้น
ส่วนคดีอาญา การรับข้อเท็จจริงของจำเลยต้องเป็นไปโดยชัดแจ้ง คำให้การที่ไม่รับข้อเท็จจริง
ในคำฟ้อง ต้องถือว่าปฏิเสธ
๔. การอ้างจำเลยเป็นพยานโจทก์
อาจทำได้ในคดีแพ่ง แต่ต้องห้ามในคดีอาญา (ป.วิ.อ. มาตรา ๒๓๒)
๕. การส่งสำเนาเอกสาร
ในคดีแพ่ง ฝ่ายที่อ้างพยานเอกสาร ต้องส่งสำเนาให้อีกฝ่ายหนึ่งก่อนสืบพยาน (ป.วิ.อ. มาตรา
๙๐) แต่ในคดีอาญา ศาลสั่งให้ฝ่ายที่อ้างเอกสารส่งสำเนาให้ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งต้องการ (ป.วิ.อ. มาตรา ๒๔๐)

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๔ ครั้งที่ ๒


ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๔
คำถาม คดีอาญามีข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงของคู่ความไว้ประการใดบ้าง
ธงคำตอบ ตอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๑๘, ๒๑๙, ๒๑๙ ทวิ,
๒๑๙ ตรี และมาตรา ๒๒๐

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-18-
อินทร์ทองช่วยTutor
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๓ ครั้งที่ ๑
ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๓
คำถาม ผู้ใดมีอำนาจฟ้อง (ก) คดีแพ่ง (ข) คดีอาญา ต่อศาลได้
ธงคำตอบ (ก) คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๕
(ข) คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๘ มาตรา ๒(๔),(๕)

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๓ ครั้งที่ ๒


ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๓
คำถาม จำเลยไม่ให้การ มีผลอย่างไร (ก) คดีแพ่ง, (ข) คดีอาญา
ธงคำตอบ (ก) ตอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๙๗ ถึง ๑๙๘
(ข) ตอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๗๒ วรรค ๒

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๒
ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๒
คำถาม ในคดีอาญา ผู้ใดมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย และมีอำนาจอย่างไรบ้าง
ธงคำตอบ ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายได้แก่ บุคคลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
อาญา มาตรา ๕ มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๑
ประจำการศึกษา ๒๕๔๑
คำถาม การยอมความในคดีแพ่งและคดีอาญา ต่างกันอย่างไร
ธงคำตอบ การยอมความในคดีแพ่ง จะต้องมีหลักฐานเป็นหนัง สือลงลายมือชื่อฝ่ายที่รับผิด
(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๐) การยอมความในคดีอาญาหามีบทบัญญัติให้ต้องมีหลักฐาน
เป็นหนังสือไม่
การยอมความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาจะกระทำเมื่อใดก็ได้ก่อนคดีถึงที่สุด
คดีแพ่งทุกชนิดอาจยอมความกันได้ และศาลจะพิพากษาไปตามทีคู่ความตกลงยอมกัน ถ้า
ข้อตกลงนั้นไม่เป็นฝ่าฝืนกฎหมาย คู่ความจะอุทธรณ์คดีไม่ได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น (ประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๓๘)
คดีอาญาอาจยอมความกันได้เฉพาะคดีความผิดอันยอมความกันได้ หรือที่เรียกว่าความผิดต่อ
ส่วนตัว (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๕ วรรคสอง) ซึ่งมีผลให้สิทธินำคดีมาฟ้องระงับไป
(ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๒))

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๕๐
ประจำการศึกษา ๒๕๔๐
คำถาม การถอนฟ้องคดีอาญากับการถอนฟ้องคดีแพ่ง เมื่อศาลอนุญาตแล้วมีผลอย่างไร
ธงคำตอบ คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๖
คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๖
www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์
-19-
อินทร์ทองช่วยTutor

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๔๙
ประจำการศึกษา ๒๕๓๙
คำถาม ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จะมีผลในการดำเนิน คดี
อย่างไร
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๖๖

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๔๘
ประจำปีการศึกษา ๒๕๓๘
คำถาม คดีมีข้อพิพาทและคดีไม่มีข้อพิพาทต่างกันอย่างไร
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๕, ๑๘๘

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๔๗
ประจำปีการศึกษา ๒๕๓๗
คำถาม คู่ความในคดีแพ่ง มีสิทธิฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้เพียงใด
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๗

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๔๖
ประจำปีการศึกษา ๒๕๓๖
คำถาม คำสั่งระหว่างพิจารณาคืออะไร จะอุทธรณ์คำสั่งนี้ได้เพียงใด ให้ตอบทั้ง คดีแพ่ง และ
คดีอาญา
ธงคำตอบ คำสั่งระหว่างพิจารณาคือ คำสั่งใดๆ ของศาลที่ได้สั่งในระหว่างการดำเนินกระบวน
พิจารณาก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีโดยเมื่อศาลสั่งไปแล้วยัง มีกระบวนการพิจารณาที่ ศาล
จะต้องดำเนินต่อไปอีก
การอุทธรณ์คำสั่ง
คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๖, ๒๒๗, ๒๒๘
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๖

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๔๕
ประจำปีการศึกษา ๒๕๓๕
คำถาม ในคดีอาญาการพิจารณาคดีลับหลังจำเลยจะกระทำได้หรือไม่เพียงใด
ธงคำตอบ
๑. กรณีที่ศาลพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา มาตรา ๑๗๒ ทวิ
๒. กรณีการส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานหรือการไปเดินเผชิญสืบพยาน โดยจำเลย
ไม่ติดใจไปฟังการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๓๐

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-20-
อินทร์ทองช่วยTutor
๓. กรณีที่ศาลมีคำสั่งให้จำเลยออกจากห้องพิจารณา เพราะเหตุที่จำเลยขัดขวางการ
พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๘๐

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๔๔
ประจำปีการศึกษา ๒๕๓๔
คำถาม ในการสืบพยานคดีแพ่ง เมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมแสดง คู่ความจะนำ
พยานบุคคล หรือสำเนาเอกสารมาสืบแทนได้เพียงใด
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๙๔

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๔๓
ประจำปีการศึกษา ๒๕๓๓
คำถาม ให้อธิบายการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญา
ธงคำตอบ คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๖, ๒๒๗ และ ๒๒๘
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๖

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๔๒
ประจำปีการศึกษา ๒๕๓๒
คำถาม การดำเนินกระบวนพิจารณาเมื่อโจทก์มรณะระหว่างพิจารณาคดีแพ่ง และเมื่อผู้เสียหาย
ยื่นฟ้อง แล้วตายลงในคดีอาญาแตกต่างกันอย่างไร
ธงคำตอบ คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔๒
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๙

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๔๑
ประจำปีการศึกษา ๒๕๓๑
คำถาม คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่เพียงใด ให้
อธิบายทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
ธงคำตอบ คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๔
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ๑๙๓ ทวิ, ๑๙๓ ตรี

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๔๐
ประจำปีการศึกษา ๒๕๓๐
คำถาม บทบัญญัติเกี่ยวกับการให้การของจำเลยในคดีแพ่งกับการให้การของจำเลยในคดีอาญามี
อยู่อย่างไร
ธงคำตอบ คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๒, ๑๗๗ วรรคสอง
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๖๕, ๑๗๒

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-21-
อินทร์ทองช่วยTutor
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๓๙
ประจำปีการศึกษา ๒๕๒๙
คำถาม ฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนในคดีแพ่งต่างกันอย่างไร ให้อธิบาย
ธงคำตอบ ฟ้องซ้ำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๘
ฟ้องซ้อน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๗๓

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๓๘
ประจำปีการศึกษา ๒๕๒๘
คำถาม บุคคลผู้มีสิทธิเสนอคดีแพ่งและคดีอาญา ได้แก่ผู้ใดบ้าง
ธงคำตอบ คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๕, ๖๐
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๘ ประกอบด้วยมาตรา
๓, ๔, ๕, ๖

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๓๗
ประจำปีการศึกษา ๒๕๒๗
คำถาม การนั่งพิจารณาและสืบพยานในคดีแพ่งและคดีอาญานั้น ต้องทำต่อหน้าจำเลยเสมอไป
หรือไม่
ธงคำตอบ คดีแพ่งไม่ต้องทำต่อหน้าจำเลยเสมอไป ถ้าจำเลยมีทนายศาลก็ทำต่อหน้าทนายจำเลย
ได้เลย ถ้าจำเลยและทนายจำเลยจำเลยไม่มาศาล ศาลก็ดำเนินการพิจารณาไปฝ่ายเดียว โดยถือว่าจำเลยขาด
นัดพิจารณาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 , 172 ทวิ

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๓๖
ประจำปีการศึกษา ๒๕๒๖
คำถาม การฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญา เมื่อโจทก์ฟ้องแล้วก่อนศาลพิพากษาก็ดี หรือเมื่อ ศาล
พิพากษาแล้วก็ดี โจทก์คนเดียวกันนั้นจะฟ้องคดีเรื่องเดียวกันนั้นอีกได้หรือไม่
ธงคำตอบ คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๘, ๑๗๓
คดี อ าญา ประมวลกฎหมายวิ ธ ี พ ิ จ ารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๔), ประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๓ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๓๕
ประจำปีการศึกษา ๒๕๒๕
คำถาม การแก้ไขฟ้องในคดีแพ่ง และคดีอาญา มีหลักเกณฑ์อย่างไร
ธงคำตอบ คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๘๐
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๖๓

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-22-
อินทร์ทองช่วยTutor
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๓๔
ประจำปีการศึกษา ๒๕๒๔
คำถาม คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ถอนฟ้องไปจากศาลแล้ว จะนำมาฟ้องใหม่อีกได้หรือไม่
ธงคำตอบ คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๖
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๖

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๓๓
ประจำปีการศึกษา ๒๕๒๓
คำถาม ในคดีแพ่งก็ดี คดีอาญาก็ดี โจทก์ไม่มาศาลในวันสืบพยานนัดแรก ศาลจะต้องดำเนิน
กระบวนพิจารณาอย่างไรจึงจะชอบ
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๐๑, ๒๐๓
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๖๖, ๑๘๑

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๓๒
ประจำปีการศึกษา ๒๕๒๒
คำถาม คดีแพ่งก็ดี คดีอาญาก็ดี ถ้าจำเลยตามระหว่างพิจารณา ศาลจะดำเนินการกระบวน
พิจารณาต่อไปอย่างไร
ธงคำตอบ คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔๒
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๓๑
ประจำปีการศึกษา ๒๕๒๑
คำถาม คำบรรยายฟ้องในคดีแพ่งและคดีอาญามีหลักสำคัญอย่างไร ให้อธิบาย
ธงคำตอบ คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๒
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๘

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๓๐
ประจำปีการศึกษา ๒๕๒๐
คำถาม ในคดีแพ่งก็ดี ในคดีอาญาก็ดี ในวันสืบพยานนัดแรก โจทก์ขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้อง
ดำเนินกระบวนการพิจารณาอย่างไร และคู่ความมีสิทธิและหน้าที่อย่างไรบ้าง
ธงคำตอบ คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๐๑
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๖๖, ๑๘๑

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-23-
อินทร์ทองช่วยTutor
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๒๙
ประจำปีการศึกษา ๒๕๑๙
คำถาม คำสั่งระหว่างพิจารณาในคดีอาญาและในคดีแพ่งจะอุทธรณ์ได้เพียงไรหรือไม่
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๖, ๒๒๗, ๒๒๘
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๖

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๒๘
ประจำปีการศึกษา ๒๕๑๘
คำถาม บุคคลใดเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญา
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๕, ๕๖
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๘, ๒๙ มาตรา ๔, ๕, ๖
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๓๔

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๑๘
ประจำปีการศึกษา ๒๕๐๘
คำถาม ค่าฤชาธรรมเนียมคืออะไร การเรียกค่าธรรมเนียมมีประโยชน์อย่างไร ทำไมคดีอาญาจึง
ไม่เรียกค่าธรรมเนียม
ธงคำตอบ ค่าฤชาธรรมเนียม คือค่าใช้จ่ายในคดีเท่าที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
กำหนดไว้ (มาตรา ๑๕๒ และมาตรา ๑๖๑ วรรค ๒)
ประโยชน์ในการเรียกค่าธรรมเนียม
๑. ทำให้ยั้งคิด
๒. บุคคลมาขอประโยชน์จากรัฐเป็นพิเศษจากคนอื่นก็ต้องเสียอะไรบ้าง
คดีอาญา เป็นเรื่องของแผ่นดินจึงไม่เรียกค่าธรรมเนียม

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๑๗
ประจำปีการศึกษา ๒๕๐๗
คำถาม หน้าที่นำสืบในคดีแพ่งและคดีอาญานั้น ต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ คดีอาญา ศาลจะไม่ลงโทษจำเลยนอกจากจะปรากฏว่ากระทำผิดจริง และกฎหมาย
สันนิษฐานไว้ก่อนว่าทุกคนบริสุทธิ์ ฉะนั้นคดีจึงมีประเด็นอยู่เสมอว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่
กฎหมายจึงบัญญัติให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนเสมอ เพื่อแสดงว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง (ประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญา มาตรา ๑๗๔)
คดีแพ่ง เป็นเรื่องที่พิพาทกันว่าฝ่ายใดมีสิทธิดีกว่ากัน ฉะนั้นหน้าที่นำสืบก่อนจึง
อาจตกแก่ฝ่ายใดก็ได้แล้วแต่รูปคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๘๓

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-24-
อินทร์ทองช่วยTutor
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๑๖
ประจำปีการศึกษา ๒๕๐๖
คำถาม ในคดีแพ่ง “ชี้สองสถาน” เข้าใจว่า มีประโยชน์อย่างไร จำเป็นต้องมีการชี้สองสถานทุกคดี
หรือไม่
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๘๓ ไม่จำเป็นต้องมีทุกคดี จะมีการ
ชี้สองสถานหรือไม่แล้วแต่รูปคดี

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๑๕
ประจำปีการศึกษา ๒๕๐๕
คำถาม การอ้างพยานบุคคลในคดีแพ่ง มีหลักเกณฑ์อย่างไรต่างกับการอ้างพยานบุคคลใน
คดีอาญาหรือไม่ ประการใด
ธงคำตอบ คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๘๘
คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๑๔
ประจำปีการศึกษา ๒๕๐๔
คำถาม ให้อธิบายความแตกต่างระหว่างการถอนฟ้องคดีอาญากับการถอนฟ้องคดีแพ่ง
ธงคำตอบ คดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๕, ๓๖
คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๕, ๑๗๖

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๑๓
ประจำปีการศึกษา ๒๕๐๓
คำถาม ค่าสินไหมทดแทนในกรณีละเมิด กับกรณีผิดสัญญาต่างกันหรือไม่ อย่างไร
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๓๘ และ ๒๒๒

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๑๒
ประจำปีการศึกษา ๒๕๐๒
คำถาม การให้การต่อสู้คดีในคดีแพ่งและคดีอาญานั้นมีหลักเกณฑ์ต่างกันอย่างไร
ธงคำตอบ คดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๗ วรรค ๒ (ตั้งประเด็น)
คดีอาญา ให้การอย่างไรก็ได้ หรือไม่ให้การก็ได้

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๑๑
ประจำปีการศึกษา ๒๕๐๑
คำถาม ที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนจริงเพียงใด
ธงคำตอบ (ไม่ได้ตั้งไว้)

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์


-25-
อินทร์ทองช่วยTutor
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๑๐
ประจำปีการศึกษา ๒๕๐๐
คำถาม บุคคลอาจเป็นคู่ความ หรือโจทก์จำเลยได้อย่างไร และในกรณีใดบ้าง
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๕, ๕๖, ๕๗
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔, ๕, ๖, ๒๘

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๙
ประจำปีการศึกษา ๒๔๙๙
คำถาม ข้อเท็จจริงที่ศาลได้ชี้ขาดในคำพิพากษาเรื่องหนึ่งจะนำมาใช้ในคดีอีกเรื่องหนึ่งได้เพียงใด
หรือไม่
ธงคำตอบ (ไม่ได้ตั้งไว้)

คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๘
ประจำปีการศึกษา ๒๔๙๘
คำถาม การให้การต่อสู้คดี ในคดีแพ่งมีหลักแตกต่างกับการให้การต่อสู้คดีในคดีอาญาอย่างไรบ้าง
ธงคำตอบ (ไม่ได้ตั้งไว้)

ข้อสอบปากเปล่า
คำถามและธงคำตอบในการสอบปากเปล่า สมัยที่ ๗
ประจำปีการศึกษา ๒๔๙๗
คำถาม ในการฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่ง มีหลักสำคัญที่จะต้องแสดงให้ปรากฏในคำฟ้องแตกต่าง
กันอย่างไรบ้าง
ธงคำตอบ (ไม่ได้ตั้งไว้)

www.facebook.com/inthongchuay ณัฐศิษฏ์ ศุกลสิริสิทธิ์

You might also like