Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 11

Book Review : Talking to Strangers (ศิลปะแห่งการอ่านคน)

ผู้เขียน : Malcolm Gladwell

จัดทำโดย
1.) นางสาว พัชชา ระตะนะอาพร 6202460090
2.) นาย ณัฐ สีน้ำเงิน 6202470222

เสนอ
ดร. คันธิรา ฉายาวงศ์

รายวิชา กธ.313 วัฒนธรรมและธรรมเนียมทางธุรกิจ (Culture and Business Etiquette)


ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สารบัญ
เนื้อหา หน้า
บทนำ 1
ภาคที่ 1 : สายลับและนักการทูต 3
ภาคที่ 2 : พร้อมจะเชื่อใจคนอื่น 4
ภาคที่ 3 : เห็นทะลุปรุโปร่ง 5
ภาคที่ 4 : จะเกิดอะไรเมื่อคนแปลกหน้าเป็นผูก้ ่อการร้าย 7
ภาคที่ 5 : การจับคู่เชือ่ มโยง 8
บทสรุป 9
1

Talking to Strangers : ศิลปะแห่งการอ่านคน

การพบปะกับคนแปลกหน้าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เด็กจนโต ทุก ๆ คนล้วนมี


ปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าอยู่เสมอ ไม่ว่าจะในระดับที่ไม่ได้ส่งผลกับชีวิตของเรามาก อย่างเช่น การเรียกรถ
แท็กซี่เพื่อเดินทางไปยังจุดหมาย และ การเรียกเก็บเงินกับพนักงานแคชเชียร์ ไปจนถึงระดับที่มีอิทธิพลอย่าง
มากกับชีวิตของเรา อย่างเช่น การสอบสัมภาษณ์งานใหม่ และ การออกเดตเป็นครั้งแรก ซึ่งในสถานการณ์
ดังกล่าว การสื่อสารเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เราสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างปฏิสัมพันธ์นั้น ๆ การ
สื่อสารนั้นเป็นเรื่องที่ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เราไม่รู้จัก เพราะ มนุษย์ทุกคนในสังคมล้วนแตกต่างกัน
ทั้งต่างภาษา ต่างพื้นฐานที่มา และต่างความเชื่อ ซึ่งจะนำมาสู่ความเข้าใจผิดกันได้ง่าย เราสามารถเห็น
เหตุการณ์เช่นนี้ได้บ่อย ๆ ที่คนสองคนพบเจอกันเป็นครั้งแรก แต่ก็เกิดเรื่องเข้าใจผิดกันจนกลายเป็นเรื่องราว
ใหญ่โต โดยคนทั่วไปที่มองมาจากภายนอกมักจะแสดงความคิดเห็นให้เหตุผลที่แตกออกเป็นสองเสียงว่า ฝ่ายนี้
เป็นฝ่ายถูก และอีกฝ่ายเป็นฝ่ายที่ผิด ซึ่งเหตุผลนั้น ๆอาจจะถูกต้องเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะทุกคนล้วน
ตัดสินผู้อื่นตามความเข้าใจที่ถูกสะสมมาจากประสบการณ์ของตนเอง แต่เหตุผลเบื้องหลังที่แท้จริงอาจจะเป็น
เพราะคนเราไม่ชำนาญกับการพบปะกับคนแปลกหน้ามากนัก

หนังสือ Talking to Strangers ศิลปะแห่งการอ่านคน เขี ยนโดย มัลคอล์ม แกลดเวลล์ (Malcolm


Gladwell) แปลไทยโดยคุณ นุชนาฎ เนตรประเสริฐศรี จากสำนักพิมพ์ อมรินทร์ How to หนังสือเล่มนี้จัด
ประเภทเป็นหนังสือสารคดี (Non-Fiction Book) นำเสนอข้อมูล เกี่ยวกับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม
มุมมองและการพิพากษาตัดสินคนที่ เราไม่รู้จักหรือ เพิ่งพบเจอกันครั้งแรกหรือแม้แต่คนที่เราคิดว่ารู้จักเขาดี
โดยผู้เขียนเปิดประเด็นด้วยคำถาม ปริศนา 2 ข้อคือ “ทำไมเราถึงจับไม่ได้เมื่อโดนคนที่ไม่รู้จักโกหกต่อหน้าต่อ
ตา” และ “ทำไม บางทีการได้พบปะคนแปลกหน้าจึงกลับทำให้เราเข้าใจบุคคลนั้นได้ยากกว่ าการไม่พบ”ซึ่ง
คำตอบของคำถามนี้ถูกอธิบายผ่านกรณีศึกษา การทดลอง เรื่องราวหรือคดีความที่เกิดขึ้น จริงในอดีต ในบท
นำผู้เขียนเปิดเรื่องจากการยกตัว อย่างคดีความที่เกิดขึ้นเมื่อ 7 ปีก่อน ในปี 2015 ของหญิงสาวที่ชื่อว่า
ซานดร้า แบลนด์ (Sandra Bland) ซึ่งเป็นสาวผิว สีธรรมดาคนหนึ่งในอเมริกา เธอโดนตำรวจที่เป็นคนขาว
เรียกให้จอดรถ เพียงเพราะไม่ได้เปิดสัญญาณไฟขณะเลี้ยวรถ หลังจากนั้นเธอได้มีปากเสียงกับตำรวจ เรื่องราว
ก็รุนแรงขึ้นจนมาถึงขั้นใช้กำลังบังคับในการจับกุม ภายหลังเธอเกิดภาวะความเครียดจนฆ่าตัวตายในห้องขัง
ภายหลัง 3 วันหลังจากการจับกุม เหตุการณ์นี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยคนทั่วไปมองถึงปัญหาใน
เหตุการณ์นี้ว่าเป็นประเด็นการเหยียดเชื้อชาติเป็นหลัก แต่ผู้เขียนกลับมองว่ามีเหตุผลเบื้องหลังที่สามารถ
อธิบายเรื่องนี้ได้
2

หลังจากที่ผู้เขียนเล่าเหตุการณ์ดังกล่าวพร้อมกับตั้งคำถามในผู้อ่านได้ไตร่ตรอง ผู้เขียนก็ได้บรรยาย
เล่าเรื่อง และ วิเคราะห์เหตุการณ์ในประเด็นอื่น ๆ ที่มีความเชื่อมโยงกับเรื่องราวในบทนำ แล้วในตอนท้ายก็ได้
ย้อนกลับมาสรุปขมวดปมประเด็นให้ผู้อ่านได้เห็นความสัมพันธ์กันของทุกเรื่องราวทั้งหมดว่ามีประเด็นสำคัญ
อะไรแฝงอยู่ ซึ่งเทคนิคการเล่าเรื่องแบบนี้ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเหมือนกับการต่อจิ๊กซอว์ ที่เริ่มจากจิ๊กซอว์ชิ้นแรก
ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่เชื่อมไปยังจิ๊กซอว์ชิ้นอื่น ส่วนการที่ผู้เขียนยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆนั้น
ก็เปรียบเสมือนกับการที่ผู้อ่านได้ลองย้ายจิ๊กซอว์ ชิ้นอื่น ๆ ไปมาเพื่อให้เข้ากับชิ้นส่วนที่ได้วางต่อไปก่อนหน้า
จนสุดท้ายก็ปะติดปะต่อเรื่องราวต่างๆออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทำให้ผู้อ่านได้เห็นข้อสรุปตรงตามประเด็น
ที่ผู้เขียนอยากจะสื่อ เทคนิคการเล่าเรื่องราวดังกล่าวเป็นเทคนิคที่คล้ายกับการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ ที่มีการ
สลับเล่าเรื่อง เปลี่ยนสถานการณ์ต่าง ๆ ไปมาผ่านเหตุการณ์หลาย ๆ เหตุการณ์ที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน เมื่อ
พิจารณาในบริบทของการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ เทคนิคนี้ทำให้ผู้อ่านรู้สึกสนุกเพลิดเพลิน เนื่องจากการเปิด
อ่านไปในแต่ละหน้านั้น ผู้อ่านเหมือนได้เชื่อมโยงเหตุการณ์ต่าง ๆ ก่อนหน้าด้วยตัวเอง ไม่ได้รู้สึกเหมือนกับการ
นั่งอ่านบทสรุปเป็นประเด็นเป็นข้อ ๆ และ ไม่ได้รู้สึกว่าการที่ผู้เขียนเปลี่ยนเรื่องเล่าไปเรื่อย ๆ เป็นการเล่าเรื่อง
ที่กระโดดไปกระโดดมา เพราะทุกครั้งที่ผู้เขียนเล่าถึงตอนจบของเรื่องใดก็ตาม จะมีการทิ้งข้อความให้ได้ฉุกคิด
อยู่เสมอ ทำให้ผู้อ่านได้มองลึกลงไปถึงต้นเหตุ และผูกเรื่องราวของปัญหาจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่าแท้จริงแล้ว
ต้นสายปลายเหตุมันเกิดมาจากอะไรกันแน่

หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 5 ภาค ได้แก่


- ภาคที่ 1 : สายลับและนักการทูต : ปริศนาสองข้อ
- ภาคที่ 2 : พร้อมจะเชื่อใจคนอื่น
- ภาคที่ 3 : เห็นทะลุปรุโปร่ง
- ภาคที่ 4 : บทเรียนต่างๆ
- ภาคที่ 5 : การจับคู่เชื่อมโยง

โดยแต่ละภาคจะประกอบด้วยเคสกรณีศึกษาที่แสดงเรื่องราวให้ผู้อ่านทำความเข้าใจปัญหาด้านต่างๆ
ที่เกิดขึ้นระหว่างเรากับคนที่เราไม่รู้จัก
3

ภาคที่ 1 : สายลับและนักการทูต : ปริศนาสองข้อ


“คนที่เราไม่รู้จัก ไม่ได้เข้าใจง่าย”
ผู้เขียนได้เริ่มต้นด้วย ปริ ศนาแรกในการสร้างความพันธ์กับคนแปลกหน้าที่ว่า “ทำไมเราถึงจับไม่ได้
เมื่อโดนคนที่ไม่รู้จักโกหกต่อหน้าต่อตา” โดยยกเหตุการณ์ขององค์กร CIA (Central Intelligence Agency)
หน่วยงานข่าวกรองที่รับผิดชอบงานด้านสืบราชการลับที่มีความเชี่ยวชาญแต่กลับถูกสายลับจากคิวบา โซเวียต
และ เยอรมันตะวันออก แทรกซึมในองค์กรเต็มไปหมด แม้กระทั่งในตำแหน่งระดับสูง อีกทั้งยังมีอีกหนึ่ง
เหตุการณ์ ในปี 1996 ที่เครื่องบินรบของประเทศคิวบาได้ยิงเครื่องบินพลเรือนของสหรัฐอเมริการ่วงสองลำที่
บินอยูใ่ นน่านฟ้าของนานาชาติซ่งึ เครื่องบินทั้งสองลำคือ เครื่องบินจากองค์กรที่ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่อพยพมาจาก
ประเทศคิว บา จากการสืบ สวนพบกว่า ก่อนหน้าการเกิดเหตุการณ์นี้ CIA ได้รับการแจ้งเตือนว่าจะเกิ ด
เหตุการณ์เช่นนี้ ทำให้ผู้คนกล่าวโทษองค์กรว่าองค์กรปล่อยปะละเลย หลังจากนั้นไม่กี่วัน เจ้าหน้าที่ CIA ก็ได้มี
การแถลงข้อชี้แจงกับสำนักข่าวใหญ่อย่าง CNN (CNN International) ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดเรียงร้อยกันลงตัว
ราวกับมีการวางแผนมาก่อน จึงทำให้เกิดการสอบสวนขึ้นใน CIA ผู้ต้องสงสัยคือ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเทศ
คิวบา หลังจากการสัมภาษณ์ก็ไม่พบสิ่งผิดปกติจนกระทั่งห้าปีต่อมาพบว่ามีเจ้าหน้าที่สาวคนหนึ่งเป็นสายลับ
จากคิวบาปลอมตัวเข้ามาสอดแนมใน CIA ทั้ง ๆที่มีพิรุธมากมายแต่ก็ไม่ถูกจับได้จนกระทั่งห้าปีต่อมา อีกทั้ง
สายลับสาวคิวบายังได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนร่วมงาน และ ได้รับรางวัลชื่นชมจากผู้ดำรงตำแหน่ง ระดับสูง
คำถามที่ผู้เขียนได้กระตุ้นให้ผู้อ่านฉุกคิดตามไปด้วยคือ ถ้าหาก CIA ยังมองคนผิดได้ แล้วคนธรรมดาอย่างเรา
จะมองคนออกได้อย่างถูกต้องจริง ๆ หรือ
ปริศนาข้อที่สอง คือ “ทำไม บางทีการได้พบปะคนแปลกหน้าจึงกลับทำให้เราเข้าใจบุคคลนั้นได้ยาก
กว่าการไม่พบ” ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี 1939 นายกรัฐมนตรีจากประเทศต่าง ๆ ได้เดินทางไป
เจรจากับเอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เพื่อดูเจตนาว่าต้องการจะเริ่มต้นสงครามหรือไม่ นักการเมืองที่ได้
พบกับฮิตเลอร์ รวมถึงรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษเนวิล เชมเบอร์เลน (Neville Chamberlain) ยืนยันเป็น
เสียงเดียวกันว่า ฮิตเลอร์ไม่ได้มีเจตนาจะก่อสงคราม ในขณะที่นักการเมืองที่ไม่ได้ไปพบฮิตเลอร์ดันเป็นฝ่ายที่
คาดการณ์ได้ถูกต้องว่าฮิตเลอร์ต้องการจะทำสงคราม ผู้เขียนยังยกตัวอย่างอีกเหตุการณ์ที่เป็นเรื่องของผู้
พิพากษาในสหรัฐอเมริกา ที่ต้องพบกับนักโทษ ก่อนจะตัดสินว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่ หากผู้พิพากษา
ตัดสินใจผิด แล้วปล่อยตัวอาชญากรกลับเข้าสู่สังคม ผลคือจะมีผู้ได้รับความเดือนร้อนมหาศาล ผู้พิพากษามี
ข้อมูลเกี่ยวกับนักโทษรอบด้าน เพียงพอต่อการตัดสินใจตั้งแต่พื้นฐานครอบครัว ข้อมูลทางการเงิน การ
ประกอบอาชีพ ประวัติอาชญากร และที่สำคัญที่สุดคือ ผู้พิพากษาได้พบเจอกับตัวนักโทษจริง แต่ผลปรากฎว่า
เมื่อทดลองนำข้อมูลที่มีอยู่ป้อนให้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นักโทษที่ถูกตัดสินให้ประกันตัวผ่านระบบ
คอมพิวเตอร์ มีโอกาสน้อยกว่า ทีี่จะก่ออาชญากรรมถึงยี่สิบห้าเปอร์เซ็นต์ แม้ว่าจะไม่ได้พบเจอกับนักโทษตัว
จริง ซึ่งเหตุผลสามารถอธิบายได้จากทฤษฎี และเหตุการณ์ต่าง ๆที่ผู้เขียนจะเล่าในบทต่อไป ผู้เขียนได้ทิ้งท้าย
ในบทแรกไว้ว่า คนเรามักจะคิดว่าสามารถอ่านใจคนแปลกหน้าได้อย่างทะลุปรุโปร่ง โดยติดสินจากเบาะแส
เพียงเล็กน้อยก็สามารถอ่านออกได้อย่างง่ ายดายว่าคนแปลกหน้านั้นเป็นคนอย่างไร แต่ถ้าหากมองในมุม
กลับกันผู้อื่นไม่สามารถตัดสินเราได้ง่ายแบบนั้น เรากลับมองว่า ตัวเราที่เป็นปัจเจกบุคคลนั้นซับซ้อนยากที่จะ
เข้าใจแต่จริง ๆ แล้วคนแปลกหน้าก็ซับซ้อนเหมือนกับเรานั่นแหละ
4

ภาคที่ 2 : พร้อมจะเชื่อใจคนอื่น
“เราไม่ได้เชื่อใครสักคน เพราะไม่ได้มีข้อสงสัยอะไรในตัวเขาเลย”
ทฤษฎีจากการวิจัยของทิม เลอวีน (Timothy R. Levine) ศาสตราจารย์ด้านการสื่อสารที่มีชื่อว่า
“Truth-Default Theory” หรือ “ทฤษฎีพร้อมที่จะเชื่อใจคนอื่น” ทฤษฎีนี้มีกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องคือ การ
ทดลองทีใ่ ห้คนทั่วไปลองดูวิดีโอของคนที่โกหก และ คนที่พูดความจริง แล้วให้แจกแจงว่าวิดีโอไหนบ้างที่มีมีคน
โกหก วิดีโอไหนบ้างที่มีคนพูดความจริง ผลปรากฎว่าคนเราสามารถแยกแยะได้อย่างดีเยี่ยมว่าคนไหนกำลังพูด
ความจริง ในขณะเดียวกันเราแทบจะมองไม่ออกว่าคนไหนกำลังโกหกอยู่ ทฤษฎีนี้กล่าวว่าคนเรามักจะเชื่อไป
ก่อนว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะพูดความจริงเสมอและต้องมีหลักฐานมากเพียงพอจนไม่สามารถหาคำอธิบายหักล้างได้
แล้วจึงจะเชื่อว่าอีกฝ่ายเป็นฝ่ายโกหก

ในปริศนาแรก ที่ถามว่าทำไมเราถึงจับไม่ได้ ว่ามีคนกำลังโกหกเราอยู่ต่อหน้าต่อตาจากกรณีที่สายลับ


สาวจากคิวบาตกเป็นผู้ต้องสงสัยที่มาแทรกแทรง CIA มีผู้คนที่สงสัยเธอจริง แต่เธอก็สามารถหลุดพ้นข้อ
กล่าวหาได้เพียงเพราะการให้เหตุผลของเธอฟังดูเป็นไปได้ ผู้คนจึงเลือกที่จะเชื่อใจว่าเธอพูดความจริง ซึ่ง
สอดคล้องกับทฤษฎีพร้อมที่จะเชื่อใจคนอื่นได้เป็นอย่างดี นอกเหนือจากนี้ทฤษฎีนี้ยังพูดถึงการที่คนเรามีอคติที่
จะเชื่อในสิ่งที่ดูเป็นไปได้มากที่สุด ผู้เขียนยกตัวอย่างเหตุการณ์คดีทำอนาจารเด็กที่แพทย์ประจำทีมยิมนาสติก
หญิงทีมชาติสหรัฐที่เชี่ยวชาญในการรักษาอุ้งเชิงกรานผิดปกติสอดนิ้วเข้าไปในช่องคลอดของเด็กสาวโดยไม่ได้
ขอความยินยอม ไม่ได้สวมถุงมือ และ ทำโดยไม่มีความจำเป็นโดยใช้ขั้นตอนการแพทย์ปิดบัง เด็กสาวหลายคน
รู้สึกถึงความผิดปกติ และ ไม่สบายใจจึงแจ้งให้ผู้ปกครองรวมถึงโค้ชให้ทราบ เมื่อโค้ชทราบเรื่องราวก็ก่อให้เกิด
ความสงสัย แต่ก็ไม่มากพอจึงทำให้เรื่องราวผ่านไป อีกทั้งผู้ปกครองส่วนใหญ่เลือกที่จะเชื่อว่าลูกสาวกังวลมาก
เกินไปมากกว่าการที่แพทย์ที่ดูน่าเชื่อถือมีหน้ามีตาในสังคมจะทำเรื่องเลวร้ายเช่นนี้ต่อหน้าต่อตา เพราะความ
เป็นไปได้ช่างน้อยเหลือเกิน ท้ายที่สุดสิบปีต่อมานายแพทย์ก็โดนจับได้ เนื่องจากตำรวจพบหลักฐานเป็นรูป
อนาจารของเด็กที่เป็นคนไข้กว่าสามหมื่นเจ็ดพันรูปในไดร์ฟของนายแพทย์ มีคำกล่าวหนึ่งที่มาจากเหยื่อของ
นายแพทย์ที่ป้องป้อง และยืนข้างเคียงเขา “ฉันเชื่อในตัวคุณมาตลอด จนกระทั่งเชื่อไม่ไหวอีกแล้ว” ประโยคนี้
สรุปทฤษฎีนี้ได้เป็นอย่างดีว่า เราเลือกที่จะเชื่อไปก่อนว่าอีกฝ่ายพู ดความจริงจนกระทั่งมีความระแวง มี
หลักฐานที่จะพิสูจน์มากพอจนหาคำอธิบายไม่ได้ เราจึงจะเลิกเชื่อ

ในหนังสือ ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างตัวละคร Holy Fools ซึ่งคือคนที่ซื่อสัตย์ และมักจะพูดความจริง


เพราะตนเป็นคนนอกคอก ไม่ได้สนใจว่าจะได้รับผลกระทบอย่างไรตามมา ยกตัวอย่ างเช่น นิทานที่พระราชา
สวมเสื้อคลุมล่องหนและเดินด้วยร่างกายเปลือยเปล่าไปทั่วอาณาจักร Holy Fools ในที่นี้ คือชาวเมืองที่เป็น
เด็กที่กล่าวออกไปโต้ง ๆ ว่าพระราชาแก้ผ้าเปลือยเปล่า ซึ่งหลังจากที่ได้รู้จักทฤษฎีนี้แล้วถ้าหากทุกคนในสังคม
พร้อมใจที่จะตั้งข้อสังเกต รู้จักตั้งข้อสงสัย ระมัดระวัง และกล้าที่จะพูดความจริง สังคมก็อาจจะน่าอยู่มากขึ้น
แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากเราต้องอยู่ในสังคมที่มัวแต่จับผิด ตั้งแง่กับอีกฝ่ายอยู่เสมอ สังคมก็อาจจะไม่
สามารถเดินต่อไปได้ การคบหาเพื่อนฝูง หรือการทำธุรกิจจะเป็นไปได้ยาก หากมั วแต่สังสัยไม่เชื่อใจซึ่งกันและ
กัน ต้องคอยหาหลักฐานมาพิสูจน์ว่าอีกฝ่ายนั้นพูดความจริง
5

ภาคที่ 3 : เห็นทะลุปรุโปร่ง
“แค่ดูหน้าก็รู้ใจเป็นความเชื่อผิดๆ ที่เรารับมาจากการดูละครโทรทัศน์หรืออ่านนิยายมากไป”
เชื่อว่าหลายคนคงเคยดูละครซิตคอมสัญชาติอเมริกัน อย่าง “FRIENDS” และถึงแม้ว่าซีรีส์นี้จะมีโครง
เรื่องพลิกผันหักมุมเพียงใด ผู้ชมก็ไม่มีทางสับสนหรือไม่เข้าใจเนื้อเรื่องได้ อาจกล่าวได้ว่าต่อให้ผู้ชมปิดเสียงดูก็
อาจจะดูรู้เรื่องด้วยซ้ำเพราะเรื่องราวที่เกิดขึ้นมันถูกแสดงออกมาได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งผ่านการแสดงออกทาง
สี ห น้ า ท่ า ทางของผู ้ แ สดง อย่ า งในภาพ
ตัวอย่างนี้สิ่งที่ ผู้ชมเข้าใจคือนักแสดงกำลัง
แสดงความโกรธ สังเกตจากตาโต คิ้วย่น ริม
ฝีปากบนยก ริมฝีปากล่างแบะลง กล่าวโดย
สรุปคือเป็นไปตามแบบฉบับที่มนุษย์ทั่วไปจะ
เข้าใจได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ซึ่งกิริยาท่าทาง
และพฤติกรรมของผู้คนคือช่องทางหนึ่ง ใน
การแสดงความรู้สึกในใจออกมาให้เห็นภายนอก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่เราพอจะใช้ในการทำความเข้าใจคนที่ไม่รู้จัก
ได้ แต่ในชีวิตจริงมันไม่เหมือนซีรีส์เรื่องนี้เสมอไป ตัวอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนยกขึ้นมาคือ มีนักสังคมวิทยานำ
ภาพถ่ายใบหน้า 6 รูปที่แสดงสีหน้าต่างๆทั้งสุขเศร้า โกรธ กลัว รังเกียจและเฉยๆ โดยเอาไปให้คนในหมู่เกาะ
เล็กๆชื่อโทรเบรียนด์เพื่อให้พวกเขาเลือกอารมณ์ ที่แสดงจากภาพถ่ายสีหน้านั้นๆ ผลการทดลองออกมาว่าชาว
เกาะโทรเบรียนด์ตอบไม่ค่อยถูกกันเลย ซึ่งตอบถูกเพียงร้อยละ 58 เท่านั้น หรือกล่าวได้ว่าพวกเขาเข้าใจ
อารมณ์ไม่เหมือนพวกเราเลย ดังนั้นถ้านำซีรีส์ Friends ไปฉายให้ชาวเกาะโทรเบรียนด์ดู พวกเขาจะเข้าใจ
อารมณ์ของตัวละครไม่เหมือนพวกเราสักนิดเดียว และอีกหลากหลายการทดลองที่สะท้อนว่าแม้แต่วัฒนธรรม
เดียวกัน ความเชื่อทางจิตวิทยาที่ว่าสีหน้าสัมพันธ์กับอารมณ์ในใจกลับไม่เป็นจริงเสมอไป

ตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความผิดพลาดจากการตัดสินคนแปลกหน้าโดยใช้ความคิดตามแบบฉบับ
คือคดีอื้อฉาวในเท็กซัสที่ชายหนุ่ม เอาปืนจ่อหัวยิงแฟนเก่าแต่บังเอิญว่าขณะที่เขาลั่นไกไปนั้นปืนเกิดติดขัด แต่
ในชั้นศาลผู้พิพากษากลับลดวงเงินประกันตัวจากที่เคยตัดสินไปในตอนแรกและได้ปล่อยตัวให้ยอมประกัน
ออกไป จากนั้นสี่เดือนต่อมาระหว่างที่ได้ประกันตัวออกไปเขาก็ไปยิงแฟนสาวเสียชีวิตในที่สุด เนื่องมาจากวิธี
ปฏิบัติของการให้ประกัน ผู้พิพากษาไม่สามารถตัดสินจากข้อมูลทางอีเมลหรือโทรศัพท์ได้ แต่จำเป็นต้องได้เห็น
หน้าค่าตากันแล้วค่อยพิจารณาว่าจะให้ประกันหรือไม่ให้ประกัน และสาเหตุหลักๆที่เขาได้ประกันตัวออกไปนั้น
ก็เพราะว่าผู้พิพากษาคิดว่าตนเข้าใจจำเลยได้อย่างทะลุปรุโปร่งหลังจากเห็นท่าทีที่แสดงความสำนักผิด ที่เขาตี
หน้าเศร้า ก้มหน้าลดสายตามองพื้นก็เหมือนกับท่าทีที่ใครก็เข้าใจว่ามันคือการแสดงอาการสำนักผิดที่เห็นได้
บ่อยตามการแสดงต่างๆในโทรทัศน์หรือในชีวิตจริง หรืออาจสรุปได้ว่าการได้พบปะหน้าตาของจำเลยไม่ได้ช่วย
อะไรแต่กลับส่งผลเสียต่อผู้พิพากษาให้มีเหตุผลมาหักล้างข้อเท็จจริงที่ชัดแจ้งว่าเขาเอาปืนจ่อหัวแฟนสาวและ
พยายามฆ่าจริงๆและที่ฆ่าไม่สำเร็จเพียงเพราะปืนขัดข้อง
6

ตัวอย่างสุดท้ายที่ผู้เขียนยกขึ้นมาเพื่อสะท้อนถึงปัญหาการที่เราไม่สามารถมองหรือตัดสินคนได้อย่าง
ทะลุปรุโปร่งจากความคิดตามแบบแผน คือคดีที่อมันดา น็อกซ์ (Amanda Knox) ตกเป็นผู้ต้องหาในการ
ฆาตกรรมเพื่อนร่วมห้องของเธอ และแน่นอนว่าต้นสายปลายเหตุลึกๆแล้วมันเกิดจากสีหน้าท่าทางของเธอสื่อ
ได้ไม่ตรงกับความรู้สึกในใจ เพราะท้ายที่สุดแล้วความจริงก็คือเธอเป็นคนบริสุทธิ์ที่มีท่าทางเหมือนคนผิดแค่
นั้นเอง ตอนเกิดเรื่องเธอเป็นสาวสวยอยู่ในวัย 20 มีนัยน์ตาสีฟ้างามเด่น และเธอมีฉายาว่า “แม่จิ้งจอกน็อกซี”
(Foxy Knoxy) ซึ่งแท้จริงแล้วฉายาดังกล่าวเธอได้มันมาตั้งแต่วัยเด็กเนื่องจากเล่นกีฬาเก่ง ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่อง
ในทางเพศแต่อย่างใด แต่หนังสือพิมพ์ที่ชอบขายข่าวฉาวก็ประโคมข่าวว่าเธอเป็นผู้หญิงที่ชอบใช้เสน่ห์ย่วั ยวน
ชาย จนนำไปสู่มุมมองที่ชักจูงคนที่ได้เห็นข่าวก็รู้สึกว่าการฆาตกรรมดังกล่าวเกิดมาจากเกมเสพเซ็กซ์ที่มีสุรา
และยาเสพติดเป็นตัวกระตุ้นให้เธอพลาดพลั้งลงมือฆ่าเพื่อนร่วมห้องพักของตัวเอง และแน่นอนว่าเรื่องราวก็ลง
เอยว่าเธอมีความผิดแต่สุดท้ายความจริ งก็คือเธอบริสุทธิ์และได้รับการปล่อยตัวออกมาหลังจากโดนขังอยู่ 4 ปี
ซึ่งเหตุผลหลักๆที่หลายคนต่างมองว่าเธอคือคนฆ่าเพียงเพราะท่าทางของเธอไม่ได้ดูโศกเศร้า ซึ่งคนปกติมองก็รู้
ว่าเธอไม่มีท่าทีว่าจะเสียใจกับการจากไปของเพื่อน และคำแก้ต่างของเธอนั้นดูเย็นชาและดูพูดไป ตามบท
มากกว่าจะสำนึกผิดจริงๆ และหลายคนมองว่าเธอทำตัวประหลาด แต่เธอกลับพูดตอบกลับซึ่งมันก็น่าคิดว่า
“เวลาเจอเรื่องน่ากลัวทุกคนไม่ได้แสดงออกเหมือนกันไปหมด”และเธอได้ทิ้งทายในการให้สัมภาษณ์ว่า “จริงๆ
แล้วมันไม่ได้มีร่องรอยของฉันอยู่ในห้องของเพื่อนฉันที่ถูกฆ่าเลย แต่คุณกลับพยายามหาคำตอบจากดวงตาของ
ฉัน คุณจับจ้องพิจารณาฉัน ทำไมกันล่ะ นี่มันนัยน์ตาของฉันนะ ไม่ใช่วัตถุพยาน” จากเหตุการณ์นี้จะเห็นได้ว่า
ความผิดพลาดของการตัดสินคดีความไม่เป็นธรรมแก่คนที่สื่อสารไม่ตรงใจ เธอถูกส่งเข้าคุกระหว่างรอพิจารณา
คดีเพียงเพราะเธอดูผิดเพี้ยนจากคนธรรมดา และเธอก็โดนตัดสินจากคนที่ไม่ได้รู้จักกันเลยแต่ทำเป็นรู้ดีว่าเธอ
เป็นคนอย่างไรโดยตัดสินจากสีหน้าแววตาของเธอ

สำหรับข้อสรุปทั้งหมดในบทที่ 3 นี้ได้แจกแจงคำตอบข้อแรก คือ เรามีอคติซึ่งพร้อมจะยอมเชื่อคนอื่น


อยู่แล้ว จากเหตุผลหรือข้อมูลที่ปราฏว่ามัน ดูเหมือนฟังขึ้น แต่สุดท้ายแล้วถ้าข้อมูลนั้นผิดพลาดกว่าเราจะจับ
โกหกหรือทราบข้อเท็จจริงได้ก็หลังจากเกิดเรื่องไปนานหลายสัปดาห์ หลายเดือน บางครั้งก็หลายปีแล้ว หรือ
อาจกล่าวสรุปสั้นๆได้ว่า “คนแปลกหน้าที่สื่อไม่ตรงใจนั้นดูออกได้ยากที่สุด” และข้อคิดที่ได้เรียนรู้จากบทนี้ก็
คือ เวลาเผชิญกับคนแปลกหน้าเราต้องหัดเปลี่ยนจากคิดตามแบบฉบับไปคิดตามประสบการณ์เฉพาะหน้า
เพราะการคิดตามแบบฉบับมักผิดพลาดบ่อยเหลือเกิน ผู้รีวิวจะขอยกตัวอย่างเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน
ประเทศไทยที่สัมพัน ธ์กับ แนวคิดนี้ โดยยกตัวอย่างจากคดี การเสียชีวิตของเด็กผู้ ห ญิงคนหนึ่งในจังหวัด
มุกดาหาร และมีผู้เข้าไปแสดงความเห็นต่างๆมากมายทั้งฝั่งที่อยู่ข้างพ่อแม่ของน้องผู้เสียชีวิตและฝั่งของคุณลุง
ที่ตกเป็นผู้ต้องสงสัย นิสัยอย่างหนึ่งของคนไทยคือมีความเห็นใจผู้อื่น คนบางกลุ่มจึงมองว่ายังไม่มีหลักฐาน
ชัดเจนว่าเขาผิ ด ฉะนั้น เขาก็ มี โ อกาสที ่จ ะเป็นผู้ บริส ุ ทธิ์ และเขาควรได้ รั บ การเยียวยาจึ งเป็ น ที่ ม าของ
ปรากฎการณ์สร้างไอดอลที่โด่งดั่งเนื่องจากหลายสื่อทั้ง YouTuber ต่างก็ให้ความสำคัญนำเสนอเรื่องราวจนดู
เหมือนเป็นเรื่องบันเทิงมากกว่าเป็นคดีความเสียแล้ว จะเห็นได้ว่าคนบางกลุ่มนั้นมีมุมมองต่อคนแปลกหน้าตาม
ข้อมูลที่ได้รับมาจากสื่อกล่าวคือพวกเขาพร้อมจะเชื่อใจคนอื่นอยู่เสมอแม้ยังไม่ทราบข้อเท็จจริงอย่างถี่ถ้วน
7

ภาคที่ 4 : จะเกิดอะไรเมือ่ คนแปลกหน้าเป็นผู้ก่อการร้าย


ในบทนี้เป็นเหตุการณ์ของนักจิตวิทยาคนหนึ่งกับเพื่อนร่วมงานของเขาซึ่งทั้งสองนั้นมีทักษะพิเศษใน
การสอบปากคำบุ ค คลประเภท “ความเสี่ยงสูง ” โดยได้รับมอบหมายให้ไ ปสอบปากคำ Khalid Shaikh
Mohammed ที่เป็นผู้วางแผนบงการเหตุวินาศกรรม
9/11 ซึ ่ ง เทคนิ ค ที ่ พ วกเขาใช้ ใ นการเปิ ด ปาก
ผู้ก่อการร้ายคนนี้คือ “เทคนิคทรมานร่วมด้วย” เช่น
บังคับไม่ให้นอน หรือใช้วิธีขึงร่างเชลยไว้บนเตียงปรับ
องศาให้ศีรษะห้อยต่ำกว่าเท้า เอาผ้าคลุมหน้าแล้วราด
น้ำลงไปในจมูกและปากให้รู้สึกเหมือนจมน้ำตาย แต่
อย่างไรก็ตามวิธีการทรมานต่ างๆต้องไปตามกฎของ
กระทรวงยุติธรรม เช่นให้ทรมานโดยให้อดนอนได้ไม่เกิน 72 ชั่วโมง หรือวิธีการให้สำลักน้ำที่สามารถราดน้ำ
ต่อเนื่องได้คราวละ 20 – 40 วินาทีและต้องปล่อยให้หายใจคั่นก่อนค่อยราดต่อ ท้ายที่สุดแล้ว KSM หรือ คา
ลิด ชีค โมฮัมเหม็ด ก็ยอมเปิดเผยความจริงออกมา ซึ่งประเด็นสำคัญของการสอบปากคำเพื่อเค้นความจริงนี้
มันอยู่ที่ว่า เนื่องจากเขาก็รู้ว่าท้ายที่สุดแล้วตนจะไม่มีทางได้เห็นเดือนเห็นตะวันอีกแล้ว ความจริงที่ออกมาจาก
ปากเขานั้นครบถ้วนถูกต้องเพียงใด เพราะสิ่งที่เขาพูดออกมานั้นมันคือการไล่เรียงปฏิบัติการสารพัดอย่ างที่
ผู้ก่อการร้ายทำจนดูเหมือนว่าเขาสารภาพยอมรับผิดการกระทำผิดทุกคดี ในโลกว่าตัวเขาเองเป็นผู้บงการ
วางแผนทั้งหมด ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้มันก็คือปัญหาพื้นฐานของเราในการทำความเข้าใจผู้คนที่เราไม่รู้จัก อีกทั้ง
เรายังมีอคติที่พร้อมจะยอมเชื่อข้อมูลที่ได้รับมาซึ่งบางครั้งอาจชักจูงให้เราหลงทางไปเลยก็ได้

ในตอนสุดท้ายของบทนี้ ผู้เขียนให้ข้อสรุปว่า “สิ่งที่เราอยากเรียนรู้เกี่ยวกับคนที่เราไม่รู้จ ั กนั้น


เปราะบาง ถ้าเดินไม่ระวังก็จะย่ำมันแหลกไปใต้เท้าเรานั่นเอง” และอีกข้อที่ควรพึงระวังคือ “เราต้องยอมรับว่า
การหาทางเข้าใจคนที่เราไม่รู้จักมีขอบเขตจำกัดจริงๆ เราจะไม่มีวันรู้ความจริงทั้งหมดหรอก เราต้องพอใจกับ
สิ่งที่ขาดตกบกพร่องไปบ้าง วิธีที่สมควรใช้พูดคุยกับคนที่เราไม่รู้จักคือทำด้วยความระมัดระวังและถ่อมตน เรา
น่าจะป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องร้ายๆวุ่นวายสับสนได้”

สำหรับแง่คิดที่ผู้รีวิวคิดว่าสามารถนำมาปรับใช้ได้ แน่นอนว่าคงไม่ใช่เรื่องของการเค้นความลับ กับคน


แปลกหน้าเพื่อให้เขายอมเอ่ยปากพูดข้อเท็จจริงออกมา แต่เป็นการตระหนักถึงความถูกต้องของข้อมูลที่เรา
ได้รับมาจากคนที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ผิดปกติที่ต้องบังคับให้เขาพูดความจริง ดังที่ผู้เขียนได้สรุปไว้ว่าให้
เรารู้จักพอใจกับสิ่งที่ขาดตกบกพร่องไปบ้าง หรือกล่าวได้ว่าความจริงที่เราได้รับมานั้นอาจถูกบิดเบือนไปบ้าง
เป็นธรรมดา มันทำให้เราเลิกคาดหวังและยึดติดกับทุกคำตอบที่ได้ฟังทุกคำพูดที่ได้ยินอาจจะไม่น่าเชื่อถือเสมอ
ไป และมันยังทำให้เรารู้จักใช้สติในการอ่านคน รวมถึงมองลึกลงไปในวัตถุประสงค์ของคนที่เราสื่อสารด้วยว่า
แท้จริงแล้วเค้าทำเพื่ออะไร ดังเช่นในบทนี้ที่เป็นผู้ก่อการร้ายที่พร้อมจะเก็บงำความลับของตนเอาไว้
8

ภาคที่ 5 : การจับคู่เชื่อมโยง
ในยุค 1900s วิธีการฆ่าตัวตายด้วยการรมก๊าซคาร์บอนมอนออกไซน์ที่อยู่ในก๊าซหุงต้ม หรือไอเสียรถยนต์สมัย
นั้นเป็นสัดส่ว นการฆ่ าตัว ตายอั น ดั บ
หนึ่งเพราะคนส่วนใหญ่รู้ว่าวิธีนี้ใช้ฆ่า
ตัวตายได้ ในปี 1962 อังกฤษและเวลส์
มีคนฆ่าตัวตาย 5,588 ราย ในจำนวน
นั ้ น 2,469 รายหรื อ คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ
44.2 ใช้วิธีด้วยการรมก๊าซ หลังจากนั้น
ในปี 1960 เป็ น ต้ น ไป โครงการของ
รัฐ บาลที่ตัดสิน ใจเปลี่ย นจากการใช้
แก๊ ส หุ ง ต้ ม ไปเป็ น ก๊ า ซธรรมชาติ ไ ด้
สำเร็จเนื่องจากในอดีตต้องประสบกับปัญหาราคาแก๊สหุงต้มมีราคาแพงขึ้นและยังมีการค้นพบแหล่งก๊าซ
ธรรมชาติขนาดใหญ่ในทะเลเหนือ ผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ อัตราการฆ่าตัวตายด้วยแก๊สนั้น
ลดลงอย่างมาก คำถามที่ผู้อ่านหลายคนสงสัยก็คือ แล้วคนที่อยากปลิดชีวิตตัวเองจะเปลี่ยนไปใช้วิธีอื่นไหมซึ่ง
คำถามนี้อยู่บนสมมติฐานที่ว่าเมื่อคนคิดจะทำอะไรร้ายแรงขนาดฆ่าตัวตายแล้ว เป็นเรื่องยากที่จะหยุดยั้งเขา
การที่ตัวเลือกในการฆ่าตัวตายโดยวิธีที่นิยมกันนั้นถูกปิดกั้นคงไม่ได้ส่งผลแตกต่างมากนัก คำตอบของคำถามนี้
อธิบายได้ด้วย แนวคิดเรื่องการจับคู่เชื่อมโยง (Coupling) ซึ่งเชื่อว่าพฤติกรรมต่างๆเชื่อมโยงสภาพการณ์
และเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงมากๆ ซึ่งบทสรุปสุดท้ายของเหตุการณ์นี้คือ คนที่เคยคิดจะฆ่าตัวตายด้วยการรวม
แก๊ส แต่พอมีการเปลี่ยนไปใช้แก๊ส ธรรมชาติที่มีส่วนผสมไม่อันตรายเหมือนแก๊สหุงต้มกล่าวคื อ ไม่อันตรายถึง
ชีวิตแต่ส่งผลแค่ทำให้รู้สึกปวดหัวเล็กน้อยเมื่อสูดดม พอเป็นเช่นนี้คนส่วนใหญ่ก็ล้มเลิกความคิดและไม่ได้คิดจะ
หาวิธีอื่นในการฆ่าตัวตาย ผู้เขียนให้แง่คิดไว้ว่า “ความผิดพลาดชุดแรกที่เราทำกับคนที่เราไม่รู้จัก คือการพร้อม
ที่จะยอมเชื่อและภาพลวงตาเรื่องการเห็นทะลุปรุโป่รงนั้น เป็นกนณีซึ่งเราไม่สามารถจะทำความเข้าใจคนที่เรา
ไม่รู้จักในฐานะบุคคลหนึ่งได้ แต่นอกเหนือจากความผิดพลาดแบบนั้นแล้ว ยังมีปัจจัยอีกอย่างที่ผลักดันให้
ปัญหาที่เรามีกับคนที่เราไม่รู้จักยิ่งรุนแรงถึงขั้นวิกฤติ นั่นก็คือ เราไม่เข้าใจความสำคัญของบริบทในการกระทำ
ของคนที่เราไม่รู้จัก ” ผู้รีวิวจะขอยกตัวอย่างอีกเหตุการณ์หนึ่งสั้นๆคือ อัตราการฆ่าตัวตายโดยการกระโดด
สะพาน Golden Gate ในเมืองซานฟรานซิสโก ลดลงหลังจากติดเครื่องกั้นป้องกันคนกระโดดสะพานหรือติด
ตาข่ายรองรับไว้ก่อนร่างตกถึงน้ำ พบว่าในคนที่อยากฆ่าตัวตายโดยการกระโดดสะพาน 515 คนระหว่างปี
1937 ถึง 1971 แต่ถูกขัดขวางโดยไม่คาดคิด มีเพียง 25 คนจาก 515 คนเท่านั้นที่ยังหาวิธีฆ่าตัวตายโดยวิธีอื่น
เนื่องจากคนส่วนมากที่อยากกระโดดสะพานโกลเด้นเกตตายนั้นล้วนทำไปเพราะอารมณ์ชั่ววูบเท่านั้น ซึ่งเรา
เพิ่งตระหนักถึงการสร้างที่ป้องกันคนกระโดดสะพานฆ่าตัวตายจากเหตุการณ์นี้ แต่ก่อนหน้านี้เอาเงินไปทำที่
กั้นทางจักรยานที่ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุเลย จะเห็นได้ว่าไม่ว่าการจับคู่การฆ่าตัวตายกับวิธีการหรือสถานที่นั้น
บางครั้งเรามองไม่เห็นถึงทางออกของปัญหาเนื่องจาก “เราไม่เข้าใจความสำคัญของบริบทในการกระทำของ
คนที่ไม่รู้จัก”
9

บทสรุป
จากตัวอย่างสถานการณ์ทั้งหมดที่ได้กล่าวไปนั้นพบว่าไม่ว่าจะเป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะความสามารถ
ในการอ่านคนหรือตัดสินคน อย่างนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ เจ้าหน้าที่ CIA เจ้าหน้าที่สำนักงานข่าวกรอง
กลาโหม ผู้พิพากษาตัดสินคดี ก็มโี อกาสที่จะผิดพลาดในการอ่านใจหรือตัดสินคนเช่นกัน

ทำให้หลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้จบจะรู้สึกว่าเราในฐานะมนุษย์ธรรมดาคนนึงไม่ควรรีบด่วนตัดสินหรือ
พิพากษาใครแบบ 100% เพียงเพราะเรารู้จักเค้ามานานแล้วไม่ว่าจะเป็นคนรอบตัว เพื่อนหรือ แม้แต่คนใน
ครอบครัวเราก็ตาม แม้กระทั่งแต่คนแปลกหน้าที่เพิ่งเจอกันครั้งแรก เราไม่ควรรีบตัดสินคนจากท่าทางหรือการ
แสดงออกทางสีหน้าของคนๆนั้น เช่นบางสถานการณ์ที่บุคคลนั้นแสดงสีหน้าไม่ตรงกับที่คนอื่นคาดการณ์ว่า
ภายใต้สถานการณ์แบบนี้ทุกคนต้องแสดงออกแบบนี้ เพียงเพราะแค่มันไม่ตรงกับสิ่งที่สังคมต้องการเห็นไม่ได้
แปลว่าเค้าจะเป็นคนไม่ดีหรือทำผิดเสมอไป มันอาจเป็นเพียงเพราะเค้าเป็นคนไม่ชอบเข้าสังคมเลยแสดง
อารมณ์ไม่เก่ง และไม่รู้ว่าจะสื่อสารออกมาอย่างไรให้ตรงกับเกณฑ์ที่สังคมตั้งไว้ กล่าวคือเราไม่ได้มีเซนส์
(sense) ในการอ่านพฤติกรรม อ่านแววตา อ่านใบหน้าหรือท่าทางของคนอื่น ได้เก่งขนาดนั้นและเราอย่าไว้ใจ
ตัวเองว่าเราเข้าใจคนอื่นได้ดี เราไม่อาจรู้จักผู้คนที่เพิ่งเคยเจอกันไม่กี่ชั่วโมงแล้วไปตัดสินเค้าจากความเชื่อหรือ
สิ่งที่ตัวเองคิดได้ มันทำให้เราลดอคติที่มีต่อผู้คนไม่ว่าจะเป็นอคติด้านบวกหรือด้านลบก็ตาม

หนังสือเล่มนี้ยังสอนให้รู้ว่า อย่าเชื่อทุกสิ่งที่เราคิดเพราะมันอาจจะผิดก็ได้ ในชีวิตจริงในโลกปัจจุบันที่


เราสามารถพบเจอคนแปลกหน้าใหม่ๆได้อยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นในสื่อ Social Media ต่างๆ หรือสื่ออื่นๆไม่
ว่าจะเป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ โดยหนังสือเล่มนี้จะเปลี่ยนมุมมองในการมองคนแปลกหน้าหรือ
คนที่เรายังไม่รู้จักเค้าดีพอ เช่น เราลองสังเกตตัวเองเวลาเราอ่านข่าวที่ มีเนื้อหาเกี่ยวกับคนในสังคม ไม่ว่าจะ
เป็นข่าวดารา หรือเหตุการณ์ร้ายๆ เรามักจะใช้ข้อมูลที่สื่อนั้นนำเสนอประกอบร่างกับความเชื่อพื้นฐานของเรา
ในการประมวลผลจนออกมาเป็นการพิพากษาเหตุการณ์หรือบุคคลนั้นไปแล้ว โดยที่ก็ไม่รู้แน่ชัดว่าสุดท้ายแล้ว
ข้อเท็จจริงคืออะไรกันแน่ ผลสุดท้ายเราอาจจะตัดสินผิดก็ได้ และเราก็อาจจะไม่ได้ระมัดระวังหรือยับยั้งชั่งใจ
กับความคิดจนเผลอแสดงความเห็นออกไปในทางที่ผิดจนนำผลเสียมาสู่ตัวเราเอง

ผู้รีวิวขอทิ้งท้ายบทสรุปของหนังสือเล่มนี้โดยการยกคำพูดของนักเขียนชื่อดังอย่างคุณ สราวุธ เฮ้ง


สวัสดิ์ (นามปากกา: นิ้วกลม) กล่าวว่า “หน้าไม่ได้บอกใจ รู้หน้าไม่ได้รู้ใจ ดวงตาไม่ใช่หน้าต่างของหัวใจแบบที่
เราคิดเสมอ” ดังนั้นชื่อบทเพลงของนักร้องอย่างคุณ อิ้งค์ วรันธร หรือเพลง “สายตาหลอกกันไม่ได้” ในชีวิต
จริงมันอาจจะไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป เพราะการแสดงออกทางใบหน้าและดวงตาไม่ได้สะท้อนถึงความรู้สึกในใจ
ได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์

You might also like