Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 34

ครั้งที่ 1 (05/11/18)

Consumption Tax (ภาษีธุรกิจเฉพาะ)

By k’kra

Specific Business Tax (SBT)

เวลาเราเรียนกฎหมาย สิ่งแรกที่เราจะเรียนก็คือโครงสร้างของกฎหมายนั้นเอง ถ้าเราเข้าใโค


รงสร้างของกฎหมายแล้ว การเรียนกฎหมายมันก็ง่ายเพราะเราจะตีความไปในขอบเขตของ
โครงสร้างมัน

กฎหมายภาษีธุรกิจเฉพาะจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

ภาคกฎหมาย - เค้าก็จะเขียนว่าโดยหลักเค้าจะเก็บภาษีจากใคร เก็บจากอะไร อัตราเท่าไหร่


ข้อยกเว้นมีอะไร

เพราะงั้นในหัวของคุณจะเรียงแบบนี้

ภาคปฏิบัติ - กรมสรรพากรเค้าจะให้คนเสียภาษีธุรกิจเฉพาะไปจนทะเบียน จดทะเบียนก็คือ


คุณเข้าไปใน track ของเค้าแล้ว เข้าไปในกับดักเค้าแล้วเพราะคุณจดทะเบียน พอจดทะเบียน
ก็ต้องเสียภาษี

ฉะนั้นเค้าก็จะบอกว่าคุณต้องจดทะเบียน ถ้าคุณไม่ทำตามกฎหมาย คุณจะเห็นผลร้าย


ยังไง อาจจะถูกปรับ ถูกจำคุกแล้วแต่เรื่อง

วิธีการของสรรพากรเค้าจะตรวจสอบยังไง มีอายุความยังไงในการตรวจสอบภาษีคุณ

background

• ภาษีธุรกิจเฉพาะมันเป็นภาษีซึ่งอัตราอาจจะต่ำหรือสูงกว่า VAT เราไม่รู้ เราจะทำยังไงเมื่อเรา


เปลี่ยนภาษีการค้าซึ่งมีหลายอัตรามาเป็น VAT ในอัตราเดียว

เพราะฉะนั้นกิจการหลายอันเราต้อง classify ออกจาก VAT แล้วมาเสียภาษีธุรกิจ


เฉพาะ ก็เศษๆที่เสีย 3% เสีย 1% หรือเสียมากกว่านั้นก็มาอยู่ตรงนี้

ถ้าอะไรที่เสียมากกว่า 10% เราจะเตะโด่งไปอยู่ภาษีสรรพาสามิตร

ภาษีสรรพสามิตเนี่ย เมื่อก่อนมันก็จะเป็นยังเงี้ย

• ภาษีการค้าจะมีตั้งแต่ 5-20% เยอะไปหมดเลย คนก็บอกว่าโอ้ยเสียยากลำบาก ตีความอัน


นู้นจะเข้าอันนี้ ยังไม่พอภาษีการค้ายังเป็นต้นทุนของสินค้า

1
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

เช่น สมมติว่าคุณปลูกฝ้าย แล้วคุณเอาปุยฝ้ายไปขาย คุณเป็นผู้ผลิตสำลี คุณก็ต้องเสีย


ภาษีละ แล้วคนที่ซื้อปุยฝ้ายไปเค้าเอาไปทำเส้นด้าย พอผลิตเส้นด้ายก็เสียภาษีอีก
ไอภาษีทุกตอนเนี่ยก็เอาเป็นต้นทุนของสินค้าไปเรื่อยๆ พอคนซื้อเส้นด้ายไปย้อมก็เสีย
ภาษีอีอก เส้นด้ายไปย้อมเสร็จไปทอเป็นผ้าก็เสียภาษีอีก เอาผ้าไปทำเสื้อเชิ้ตก็เสียภาษี
อีก เพราะฉะนั้นส่งออก ภาษีจึงจะอยู่ในสินค้าสูงมาก จนกระทั่งเราส่งออกแล้วสู้ตลาด
นอกไม่ได้ เพราะมันบวกเข้าไปบวกเข้าไป

• ดังนั้น กรมสรรพากรจึงคิดว่าจะใช้ VAT ทีนี้ VAT มันเป็นการเก็บภาษีทุกขั้นตอน แต่ภาษีซื้อ


กับภาษีขายมันลบกัน มันก็เลยเข้าไปอยู่ในต้นทุนนิดเดียว ซึ่งต่างกับภาษีการค้า

• เราเอา VAT แต่พอเราจะเปลี่ยนจากระบบหนึ่งไประบบหนึ่งเราเรียกว่า การปฏิรูปภาษี

• เมื่อเราเป็นระบบใหม่แล้วประชาชนก็บอกว่า ถ้ามีหลายอัตราเดือดร้อนแน่เลย

• VAT มันเลยมีสองอันเท่านั้น คือ 0% กับ 10% แล้วพอเกิดวิกฤติเศรษฐกิจก็ลดเป็น 7%

เกิดวิกฤติเศรษฐกิจปุ้บ ถ้ามันเกิดภาวะเงินฝืน เราต้องให้ประชาชนมีเงินใช้ เราต้อง


ลดอัตราภาษี ปชชก็จะซื้อของได้มากขึ้น

• ทีนี้พอภาษีการค้ามันเป็นยังงี้ปุ้บ VAT มันมีแค่ 10% มันก็มีปัญหาก็จริง เราก็แตกเป็นสอง


กอง กองที่ต่ำลงภาษีธุรกิจเฉพาะ กองที่สูงไปสรรพสามิต ดังนั้นคุณจะเรียนกับอาจารย์ก็คือ
กองต่ำกองสูงสองอัน เรียกภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีสรรพสามิต

• พอเราแรกสูงต่ำงี้ เราก็จะมาแยกต่อว่าอาชีพอะไรหละ ที่จะจับให้เสียภาษีสรรพสามิต อาชี


พอะไรจะให้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ของบางอย่างเราเก็บสูงไม่ได้มันกระทบความเป็นอยู่ของ
ราษฎร

เช่น อสังหา ถ้าอสังหาเกิดเสีย VAT เนี่ย มันจะปั่นป่วนขนาดไหน คุณจะซื้อบ้านแพง


ขึ้นขนาดไหน เพราะมัน 10% >> เพราะฉะนั้นเราก็เอามาอยู่ภาษีธุรกิจเฉพาะ

2
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

1. กิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

มาตรา 91/21 จะสังเกตเห็นว่าทั้งหมดเนี้ยจะเกี่ยวกับการเงิน อสังหา และการประกันภัย

"การเงิน" ก็คือการธนาคารนั้นเอง

"การประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคาร" เยี่ยงธนาคารคือตัวเค้าเองไม่ใช่ธนาคาร แต่มีพฤติกรรมให้


กู้ยืมเงินเหมือนธนาคารเลย

ข้อสังเกต : สิ่งที่คุณเรียนไม่ยากหรอกถ้าธนาคาร เพราะว่าธนาคารมันเป็นไปตามพ


รบ.ธนาคารพาณิชย์ เพราะฉะนั้นพอธนาคารได้เป็นไปตามพรบ.ธนาคารพาณิชย์ซึ่งไม่ได้อยู่
ในข้อยกเว้น อันนี้ก็ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะให้หมดเลย

*การประกอบธุรกิจเงินทุน หลักทรัพย์ >> ทำอะไร? #ให้กู้ เค้ากู้ด้วย

**ธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์จะต่างกับธนาคาร

1 มาตรา ๙๑/๒  ภายใต้บังคับมาตรา ๙๑/๔ การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร ให้อยู่ในบัง


คับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามบทบัญญัติในหมวดนี้
(๑) การธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือกฎหมายเฉพาะ
(๒) การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการ
ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(๓) การรับประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
(๔) การรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
(๕) การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงิน ค้ำประกัน แลกเปลี่
ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ
(๖) การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธี
ใดก็ตาม  ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
(๗) การขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในตลาดหลัก
ทรัพย์
(๘) การประกอบกิจการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
ในกรณีที่บุคคลอยู่นอกราชอาณาจักรประกอบกิจการโดยผ่านสถานประกอบการหรือตัวแทน
ของตนที่อยู่ในราชอาณาจักร ให้ถือว่าประกอบกิจการในราชอาณาจักรตามมาตรานี้
ในกรณีที่มีปัญหาว่ากิจการใดเป็นกิจการตาม (๕) หรือไม่ อธิบดีจะเสนอให้คณะกรรมการ
วินิจฉัยภาษีอากรพิจารณากำหนดขอบเขต และเงื่อนไขของการประกอบกิจการที่อยู่ภายใต้บังคับตาม
มาตรานี้ก็ได้ และเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรได้วินิจฉัยแล้ว ให้ประกาศคำวินิจฉัยของคณะ
กรรมการวินิจฉัยภาษีอากรในราชกิจจานุเบกษา

3
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

1.1 ธนาคาร

คือ คุณเอาเงินไปฝากธนาคาร คุณเป็นเจ้าหนี้ธนาคาร ในชีวิตประจำวันของคุณ คุณเอาเงินพ่อ


แม่ไปฝากธนาคาร เวลาเราฝากธนาคารเราใช้คำว่าเราฝาก แต่จริงๆธนาคารได้เงินเรา เราได้
ดอกเบี้ย ซึ่งดอกเบี้ยที่เราได้รับเนี่ยต้องเสียภาษีเงินได้

ตัวธนาคารเอาเงินเราไปปล่อยกู้ต่อ เค้าได้ดอกเบี้ย ธนาคารเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เราเสียภาษี


เงินได้เพราะเราไม่ใช่ธนาคารเราเป็นคนฝากเงิน

ถ้าจารจะพูดว่า เอาเงินไปให้กู้ คุณก็จะติดในเรื่องหนี้ แต่ธนาคารมันไม่ใช่ เค้าใช้คำประหลา


ดหลายคำ

ตัวอย่าง การสนับสนุนโครงการ - มันก็คือให้กู้นั่นเอง จำได้มั้ยที่จารย์เคยวาดรูปว่าหมู่บ้านจัด


สรรนั้นมีโฉนดที่ดินใบเดียว เค้าก็เอาโฉนดเนี่ยไปค้ำประกันเงินกู้ กู้เงินจากธนาคาร ดังนั้นเค้า
ต้องจ่ายดอกเบี้ยธนาคาร ในขณะเดียวกันเค้าก็จะบอกคุณว่าคุณซื้อบ้านผมผมจะพาคุณไป
ไฟแนนซ์กับธนาคาร ก็คือเอาคุณไปเป็นลูกหนี้ธนาคาร ไปยืมเงินธนาคารแล้วมาจ่ายให้บ้านจัด
สรรนั่นเอง

การตกลงกันที่ธนาคารหมดเลย ไอนี่มีที่ดินอย่างเดียวก็ไปกู้เงินธนาคาร เราเรียกว่าป


ล่อยกู้โครงการ >> ธนาคารก็จะเอาโฉนดค้ำประกันเงินกู้ไว้ แล้วเค้าก็ทำบ้าน เค้าก็
ขายบ้านให้กับคนซื้อ คนซื้อก็ไปกู้เงินธนาคาร แล้วก็มาจ่ายค่าบ้านเค้า เมื่อจ่ายค่า
บ้านแล้วเค้าก็ชำระหนี้ แล้วก็ไถ่จำนอง แล้วเวลาเราไปกู้ยืมธนาคาร เราก็เอาโฉนดผืน
เล็กๆเราไปให้ธนาคารถือไว้ ไถ่จำนองของหมู่บ้านจัดสรรแต่รับจำนองต่อของเรา

แต่ทีนี้คุณจะเห็นเลยว่าหนี้ของบ้านจัดสรรมันหมดไปเลยหลังจากเราเอาลูกบ้านไปกู้เงิน
แล้วเอาเงินสดไปให้ แล้วเหลือแต่เราซึ่งเป็นลูกบ้าน ผ่อนธนาคารหัวโตสามสิบปีพร้อม
ดอกเบี้ย

นี่ก็คืออาชีพของธนาคาร

ตัวอย่าง2 syndicated loan - ถ้ามันเป็นโปรเจ็คใหญ่ เช่น ทำรถไฟ ทำโรงไฟฟ้า ต้องใช้เงิน


เยอะ บริษัทเดียวจะไปขอกู้ธนาคาร ธนาคารก็มีความรู้สึกว่าถ้าให้แกกู้คนเดียวชั้นก็เสี่ยงคน
เดียวถ้าเกิดแกไม่สำเร็จ แกเจ๊งชั้นก็จะลำบากไปด้วย

ธนาคารก็จะมี syndicated loan หมายถึงว่า ธนาคาร ก ไปชวนธนาคาร ข-ฮ มารวม


กัน แล้วมาบอกว่าเรามาปล่อยกู้ลูกหนี้เดียวกัน สมมติเขาขอกู้ 5000 m กสิกรก็บอก
ชั้นลงขันไป 500m แบ้งกรุงเทพบอก 800m แล้วแต่ใครเท่าไหร่แล้วก็ให้ธนาคารไป

4
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

ทีนี้การให้กู้เป็นอย่างๆเนี่ยมันก็มีการคิดอะไร ซึ่งตามกฎหมายบอกว่า การให้กู้เงินคุณ


จะคิดไปกว่าดอกเบี้ยไม่ได้ ทางแพ่งไรเงี้ย

**แต่ในกรณีของธนาคาร ดอกเบี้ยมันหมายถึงทุกอย่างที่ธนาคารเรียก เพราะฉะนั้นเวลาที่คุณ


กู้เงินธนาคาร syndicated loan ดอกเบี้ยสมมติ 4% แต่เนื่องจากมันเป็น syndicated loan
ทุกคนให้กู้ไม่เท่ากัน เพราะงั้นธนาคารก็บอกว่า ผมเสนอให้มีผู้จัดการ syndicated loan คนนึง
แล้วผู้จัดการคนนี้แต่ละครั้งที่มาดาวน์ จะเบิกเงินกันยังไง

EX. รัฐบาลต้องการทำโรงไฟฟ้า 15000m รัฐบาลก็จ้างบริษัทประจำคือบริษัท ก

เรารับก็สร้างแล้ว เงินรัฐบาลก็ยังไม่จ่าย ก็ต้องไปกู้แบ้งก์ จารก็ไปกู้แบ้ง ดอกเบี้ย 5%


จารก็เอาโปรเจ็คที่จารรับมาจากรัฐบาลไปค้ำประกัน แปลว่าถ้าจารย์ไม่ชำระเงินคืน
เค้าก็ไปรับชำระจากรัฐบาลแทน ภาษาต่างประเทศเค้าเรียกว่าสวมสิทธิอาจารย์

ถ้ารัฐบาลจะทำโรงไฟฟ้าซักโรงนึง จารย์ประมูลได้ 5000m จารต้องสร้างก่อนถึงจะได้


เงินถูกมั้ย จารไม่มีตังก็ไปหาแบ้งกรุงเทพขอกู้ 5000m แล้วจารก็บอกว่าเอาโปรเจ็
คนี้ค้ำประกัน แม้ว่าจารจะชำระไม่ได้ เค้าก็ไปรับเงินจากรัฐบาลแทนอาจารย์ได้ ก็คือ
สวมสิทธิของอาจารย์ไปรับเงินแทน เพราะงั้นแบ้งก์ก็ปลอดภัย

แบงก์กรุงเทพบอกว่า จารมากู้ตั้ง 5000m ถ้าแกทำไม่สำเร็จล่ะ การที่รับโปรเจ็คมา


แล้วสร้างต่อมันยุ่งยาก ฉะนั้นเค้าจะไม่เสี่ยง เพื่อกระจายความเสี่ยง แบ้งก์กรุงเทพให้
อาจารย์ 500m กสิกรไทยให้ 1000m อยุธยาให้ 2000m ทหารไทยให้อีก 2,500m
ได้ครบ 5000m แต่ละคนให้กู้แบบนี้ แต่เวลาที่อาจารย์ดาวน์เงินเนี่ย จารย์ไม่แคร์
หรอกว่าแบ้งไหนจะให้เท่าไหร่ จารก็บอกงวดนี้ขอเบิกเท่ากับงานที่ทำเสร็จที่จะไปเอา
มาจาก..ฟังไม่ออก.. ก็ขอเบิก 1000m >> 1000m ล้านอันนี้ จะต้องมี manager อันหนึ่ง
คอยเฉลี่ยว่าแต่ละคนเนี่ยตามสัดส่วนกัน รวมแล้วให้ได้ 1000m เพราะเขามีความรับ
ผิดร่วมกัน ให้กู้เป็น syndicated loan ร่วมกัน แต่จำนวนที่ให้กู้มันไม่เท่ากัน เพราะ
ฉะนั้นเค้าก็จะมี manager หนึ่งคน ให้สัดส่วนว่าแบ้งกรุงเทพจะออกเท่าไหร่ กสิกรจะ
ออกเท่าไหร่ ให้มันเท่ากับ 1000m >> พอได้มา manager ก็จะเฉลี่ยดอกเบี้ยว่า ขึ้น
ไปใครจะได้เท่าไหร่ๆ เพราะฉะนั้นแบ้งก์กรุงเทพบอกว่า ผมไม่ออกเงินค่า manager
นะ คุณในฐานะเงินกู้ต้องออกเงินค่าอันนี้ด้วย เค้าเรียก manager to syndicated
loan

ทางกฎหมายเค้าบอกว่าอะไรก็ได้ที่เราต้องจ่ายเนื่องจากการกู้เงินถือเป็นดอกเบี้ยทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นเงินเดือนของ manager ก็ถือเป็นดอกเบี้ยด้วย เพื่อเสียภาษีในการนี้

5
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

# อะไรก็ตามที่คิดจากผู้กู้มากกว่าดอกเบี้ยที่คิดตรงๆก็ถือเป็นดอกเบี้ยทั้งสิ้น เพราะในแพ่ง
ดอกเบี้ยมัน 15% เกินไม่ได้

- เงินที่จ่ายให้แก่ manager ที่จัดการ loan ว่า proportion จะจ่ายให้เค้าเท่าไหร่เนี่ย


ดอกเบี้ยจะเฉลี่ยกันยังไงเวลาเราส่งเงินไปให้ เวลาเราส่งก็ดอกเบี้ยปนพันล้าน เราก็ไม่แคร์
ว่ามาจากไหน >> manager เค้าก็ไปจัดกสิกรได้เท่าไหร่ ทหารไทยได้เท่าไหร่ เค้าจัดการตรง
นี้มาโดยตลอดเพราะฉะนั้นเราก็ต้องจ่ายค่าตรงนี้ด้วย

- นายหน้ากฎหมาย ก็ถือว่าเป็นดอกเบี้ยด้วย

- “เงินเปิดปากถุง” สมัยก่อนธนาคารเค้าจะมีคนวิ่งมาชักชวนให้คุณเอาเงินไปฝาก หรือ


ชักชวนให้เอาเงินไปกู้ เราเรียกคนนี้ว่า คำปะโด?? คำปะโดคนนี้เค้าก็จะคิดค่าไปช่วยเจรจา
ให้เรากู้ แต่ในวันนี้อันนี้มันไม่มีแล้ว ถ้ามีก็ต้องเปิดเผยแล้วก็ให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย

สรุป

- การกู้เงินแบ้งก์มันก็จะมีอะไรต่างๆออกมา ไมใช่ตัวดอกเบี้ยอย่างเดียว เพราะงั้นเวลาไปกู้


โครงการคุณต้องระวังด้วย

- อะไรก็ตามที่ธนาคารได้มามันก็คือดอกเบี้ย

นอกจากนั้นธนาคารไม่ได้ทำหน้าที่กู้เงินหรือหใ้กู้อย่างเดียว ธนาคารทำหน้าที่อย่างอื่นด้วย

ปัจจุบันนี้ธนาคารทำไรบ้าง?

EX. เซเว่นทำไรได้บ้าง? คุณจะคุ้นกับเซเว่นมากกว่า เช่น เคาท์เตอร์เซอร์วิส จ่ายค่าน้ำค่าไฟค่า


โทรศัพท์ อันนี้ไม่เข้าอยู่ใน SBT ถือว่าเป็นบริการ ต้องเสีย VAT

หลัก SBT เสียแค่ตัวดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียมเท่านั้น ค่ากิจการอย่างอื่น เช่น เราไปเช่า box


ในธนาคาร ตู้นิรภัยเนี่ยอันนี้ก็เป็นบริการ ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ก็เสีย VAT ไป

# เพราะฉะนั้นธนาคารจะเสียภาษี 2 อย่าง เสีย SBD และ VAT

>> กิจกรรมอันไหนที่ไม่เกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน ถ้าเป็นบริการก็เสีย VAT

>> กิจกรรมไหนที่เกี่ยวกับกู้ยืมเงิน มีดอกเบี้ยปนอยู่ในเงินต้น อันนี้ก็เสีย SBD ไป

6
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

ทีนี้คุณดูว่าเค้าจะเสียยังไง เอาธนาคารก่อน

มันมีคำพพษฎีกา ซึ่งถ้าคุณเปิดดูในตัวบทอันนี้ ในตัวบทฎีกาที่อยู่ข้างล่างเนี่ย หลักมันแกว่งๆ


นะ คือ

Case - ในเรื่องบริษัทไทยเป็นโจทก์ กรมสรรพากรเป็นจำเลย วินิจฉัยว่าการขายสินค้า แม้


ตกลงราคากันเป็นเงินสด แต่กำหนดให้ลูกค้าชำระราคาสินค้าด้วยตั๋วสัญญาจะใช้เงินที่ยังไม่ถึง
กำหนดชำระ เป็นการซื้อขายเงินเชื่อ การคิดราคาสูงกว่าราคาเงินสด ไม่ว่าจะกำหนดสูงขึ้นตาม
ความพอใจหรืออาศัยหลักเกณฑ์ หาแตกต่างกันไม่ การที่ผู้ขายคิดดอกเบี้ยจากลูกค้าจำนวน
หนึ่งเพิ่มขึ้นจากราคาเงินสด เป็นเพียงแต่การนำดอกเบี้ยเป็นหลักในการกำหนดราคาขายสิน
เชื่อเท่านั้น (หน้าแรก)

วิเคราะห์ : อาจารย์คิดว่า ดอกเบี้ยมันจะต้องเกิดจากกิจกรรมดังต่อไปนี้(ไหน??) แต่อันนี้เค้า


พูดถึงดอกเบี้ยในการซื้อขาย คือทั้งศาลและกรมสรรพากรบางทีตีความเลยไป ให้อาจารย์อธิ
บายก่อนที่คุณจะจด

โดยหลักแล้ว ดอกเบี้ยธนาคารคือการกู้ยืมเงินของธนาคาร ดอกเบี้ยจากธุรกิจเงินทุ


นก็จากการกู้ยืมเงินของธุรกิจเงินทุน หลักทรัพย์ ดอกเบี้ยจากการประกันชีวิต

บริษัทประกันชีวิตเค้าไม่สามารถให้คนธรรมดากู้เงินได้ แต่เค้าให้สถาบันกู้เงินได้ เช่น


ให้รัฐบาลกู้เงินได้ ให้รัฐวิสาหกิจกู้เงินได้ แต่เค้าไม่สามารถบุคคลธรรมดากู้แบบแบ้
งก์ได้

1.4 การรับจำนำตามกฎหมายโรงรับจำนำ

SBT คำนวณจากดอกเบี้ยที่ผู้จำนำเอาทรัพย์สินไปจำนำ

1.5 การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์

“การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคาร” หมายถึงว่า คนธรรมดาซึ่งไม่ใช่ธนาคารแต่มีการให้กู้เงิน


แบบธนาคาร ล้วนแต่จะเกิดจากการกู้เงินทั้งสิ้น มันไม่ใช่เกิดจาก ฮานรี่คอนแทรกจากการซื้อ
ขาย

ทีนี้กรมสรรพากรเวลาตีความ จะตีความเลยไป

• แนววินิจฉัยของกรมสรรพากร

7
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

ดอกเบี้ยการจ่ายช้า

Q : หมอนี่ตกลงซื้อของ แล้วเค้าก็บอกว่าราคาเงินสดเท่านี้ แล้วก็บอกว่าให้ชำระโดยตั๋วเงินได้


มั้ย ก็อาจจะชำระเลทได้ แล้วตั๋วเงินนี้ก็มีดอกเบี้ย

หมายเหตุ : ตั๋วสัญญาใช้เงินคุณนึกภาพออกมั้ย ในหน้าตั๋วมันมีดอกเบี้ยกับเงินต้นรวม


กัน

ในกรณีอย่างงี้คุณคิดว่ามันเป็นการซื้อสินค้าในราคาแพงขึ้นหรือเป็นการกู้เงิน?

A : ถ้าเป็นการซื้อสินค้าในราคาแพงขึ้นก็ไม่มี SBT นะ ก็ไปเสีย VAT >> ถ้าคุณตีความแบบนี้


โดนทั้ง SBT ทั้ง VAT นะตายพอดี >> การกระทำอันเดียวกันมันไม่ควรจะเสียภาษีสองตัว ซึ่ง
มันเป็นภาษีทางอ้อมสองตัวซ้อนกัน มันเป็นไปไม่ได้

***ตัวกฎหมายนี้มันล้วนแต่เป็นดอกเบี้ยเกิดจากการกู้ยืมเงินทั้งสิ้น

เช่น ถ้าเป็นจำนำก็คือคุณไปกู้เงินเค้า แล้วคุณก็เอา movable property ไปวางที่โรง


รับจำนำ เป็นการประกันหนี้ มันก็กู้ยืมเงิน หรือ

ประกันชีวิตก็ให้กู้ยืมเงินสถาบัน หรือ

การประกอบธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ก็กู้ยืมเงิน หรือ

ธนาคารก็กู้ยืมเงิน

# ดังนั้น SBT อันนี้ถ้ามันเป็นดอกเบี้ย มันต้องเป็นดอกเบี้ยกู้ยืมเงินเท่านั้น มันไม่ใช่ดอกเบี้ย


อย่างอื่น

Q : ในคำพพษฎีกานี้มันเป็นการซื้อขาย แล้วก็บอกว่าราคาเงินสด 10 บาท จะจ่ายช้านิดนึง


เอาตั๋วเงินให้ได้มั้ย ตั๋วเงินก็บวกเงินต้นกับดอกเบี้ย

หมายเหตุ : ภาษีการค้ากับภาษีธุรกิจเฉพาะปัจจุบัน มันไม่เคยเปลี่ยน มันก็กฎหมายอันนี้แหละ เวลาเค้าเปลี่ยน


เค้าเปลี่ยน VAT เค้าเอาผลักมาธุรกิจเฉพาะเท่านั้นเอง

A : มาตรา 91/2 เป็นเรื่องกู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยเกิดจากการกู้ยืมเงินทั้งสิ้น ไม่ว่าคุณจะเรียกจำ


นำอะไรทั้งสิ้นมันก็คือกู้ยืมเงิน เพราะฉะนั้นถ้ามันเป็นซื้อขาย ราคาที่ตกลงซื้อขายกันมันจะต้อง
เสีย VAT แต่อันนี้เค้าบอกราคานี้เป็นราคาเงินสด เค้าจะจ่ายช้านะเพราะฉะนั้นเค้าก็เอาตั๋ว
สัญญาใช้เงินให้ได้มั้ย ตั๋วสัญญาใช้เงินคือเงินต้น(มูลค่าเงินสด)บวกดอกเบี้ยจากจำนวนวันที่
เค้าจ่ายช้า หรอ???

8
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

Q : แล้วฎีกานี้บอกว่า ดอกเบี้ยนี้ให้เสีย SBT แล้วแปลว่าตัวเงินสดนั้นไปเสีย VAT


หรอ?

A : SBT มันเกิดพร้อม VAT แกจะมาถามว่าสมัยนั้นมีแวทยังได้ไง >> สมัยนั้นมันมีภาษี


การค้า แล้วมันมีปัญหา เราก็เอา VAT มาใช้ อะไรเสียต่ำปัดลง SBT หมด อะไรเสียสูง
ปัดไปสรรพาสามิตหมด เพราะฉะนั้นมันเกิดพร้อมกัน

ในการค้าระหว่างประเทศเยอะมากเลยเวลาที่คุณซื้อโดยคุณจะช้า คุณก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้เค้า
เวลาคุณนำเข้า เพราะฉะนั้นถ้าเวลาคุณนำเข้า สินค้าที่นำเข้ามาในฐานะเป็น black คุณเป็น
importer คุณจะเสีย VAT ถูกมั้ย จะไม่มี SBT เข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าเอาตามฎีกานี้ อันที่ดอกเบี้ย
จ่ายช้าคุณวิ่งไปเสีย SBT เงินต้นคุณเสีย VAT มั้ย

คือทุกเงินมันต้องเสีย VAT ต้องเสียทั้งดอกเบี้ยด้วย แต่กรณีนี้ไม่ใช่ เพราะฉะนั้นเราก็จะบอกว่า


เราอย่าติดคำว่าดอกเบี้ย แต่เราต้องติดคำว่า transaction นั้นมันคืออะไร มาตรา 91/2 มัน
ต้องเป็นเรื่องกู้ยืมเงินเท่านั้น มันต้องเสีย SBT อยู่

สรุป มันไม่ใช่ดอกเบี้ย มันเป็นราคาที่เพิ่มขึ้นเพราะคุณจ่ายช้า แล้วก็ไปเสีย VAT ทั้งหมด ไม่


ใช่แบ่งตัวดอกเบี้ยมาเสีย SBT แล้วเอาเงินต้นไปเสีย VAT มันไม่ใช่

ฎีกา - บริษัทไทยเปอิ้งจำกัด(โจทก์) กรมสรรพากร(จำเลย)วินิจฉัยว่าการขายสินค้าแม้


ตกลงราคาเป็นเงินสด แต่กำหนดให้ลูกค้าชำระเป็นตั๋วเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ยังไม่ถึง
กำหนดชำระเป็นสัญญาซื้อขายเงินเชื่อ การคิดราคาสูงกว่าราคาเงินสดไม่ว่าจะกำ
หนดสูงขึ้นตามความพอใจหรือหลักเกณฑ์ใดก็หาแตกต่างกันไม่ การที่ผู้ขายคิด
ดอกเบี้ย ..

# มันเป็นดอกเบี้ยปะ มันไม่ใช่ดอกเบี้ยจากลูกค้าจำนวนหนึ่งเพิ่มขึ้นจากราคาเงินสด
แต่เป็นแต่เพียงนำดอกเบี้ยนั้นมาเป็นหลักในการกำหนดราคาขายเงินเชื่อเท่านั้น เพ
ราะฉะนั้นในเรื่องนี้ ดอกเบี้ยนั้นไม่ได้แยกมาเสีย SBT มันก็เป็นราคาขายอันหนึ่ง
เท่านั้น

หลัก ดอกเบี้ยต้องเป็นดอกเบี้ยกู้ยืมเท่านั้นถึงจะเสีย SBT ถ้าเป็นดอกเบี้ยการซื้อขายคือราคาที่


เพิ่มขึ้นเท่านั้น มันจะไม่ใช่ดอกเบี้ย

9
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

ประกอบกิจการรับซื้ออินวอยส์ของลูกค้า

ฎีกา - บริษัท siam general factoring(โจทก์) กรมสรรพากร(จำเลย) โจทก์ซื้อสิทธิ


เรียกร้องด้วยเงินสดต่ำกว่าราคาสิทธิเรียกร้อง โจทก์เก็บเงินไม่ได้ ผู้ขายสิทธิต้อง
ชดเชยใช้เงินให้แก่โจทก์ ส่วนต่างของราคาคือดอกเบี้ยถือได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการ
เยี่ยงธนาคารพาณิชย์ไม่ใช่นายหน้าตัวแทน

ต่อมาออกกฤษฎีกาฉบับนี้กำหนดให้แฟคทอริ่งเป็นกิจการที่ต้องเสียธุรกิจเฉพาะ

“Factoring” คือ เวลาที่คุณมีหนี้ มีลูกหนี้ เขาซื้อของแล้วไม่จ่ายเงินคุณ คุณก็ออกอินวอยส์เก็บ


ตังแล้ว หรือเค้าจ้างคุณทำงานว่าความ คุณออกอินวอยส์เก็บตังแล้วแต่เขาไม่จ่ายให้คุณ ดังนั้น
การบริหารเนี่ย คุณต้องการเงินสด คุณก้เอาอินวอยส์เหล่านี้ไปขายให้พวกบริษัทการเงิน เรียก
แฟคทอริ่ง >> บริษัทซึ่งรับซื้อเค้าก็จะดูว่าหนี้นั้นเราใช้เวลานานมั้ย ถ้านานก็แสดงว่าโอกาสที่
จะได้รับชำระหนี้อ่ะน้อย ถ้าหากว่ามันเป็นหนี้ใหม่สดๆ พึ่งออกใบทวงหนี้อาทิตย์ที่แล้วนี่เอง
เค้า consider ว่าอันนี้ก็หนี้ดี เพราะว่ายังไม่นาน ดังนั้นใบทวงหนี้แต่ละใบก็จะมีราคาลดลง
มาตามสัดส่วนว่า ทวงหนี้ไม่ได้ ร้อยบาทอาจจะซื้อยี่สิบห้าบาท แต่ถ้าอันนี้เป็นใหม่สดๆอาจจะ
ซื้อ95บาทก็ได้ แล้วแต่กรณี แล้วแต่ลักษณะของหนี้

= เค้าซื้อหนี้มาทวงหนี้เอง เค้าก็มีวิธีทวงหนี้ เค้าก็จ่ายเงินให้เรา แล้วไปทวงหนี้

ปรากฎว่าถ้าเค้าซื้อมาแล้วเค้าทวงหนี้ไม่ได้ ในสัญญาแฟคทอริ่งจะเขียนว่า ‘ในกรณีที่ชั้นทวง


หนี้ไม่ได้ชั้นก็ขายคืนให้แก ตะกี้ร้อยบาทชั้นซื้อมายี่สิบห้า ชั้นขายคืนให้แกแกต้องจ่ายดอกเบี้ย
ให้ชั้นด้วย’ เสมือนหนึ่งยืมสตังชั้นตั้งแต่เอาสตังไปวันแรกยี่สิบห้าบาท

# ดอกเบี้ยนี้ เป็นดอกเบี้ยที่ต้องเสีย SBT

**มันไม่ใช่ตั๋วเงิน นี่มันคือหนี้ที่เป็นหนี้อยู่แล้วค่อยเอาไปขาย

ตัวอย่าง สำนักงานทนายความรับว่าความเยอะเลย แล้วก็ออกใบแจ้งหนี้ อินวอยส์ให้ลูกความ


แล้ว แต่ลูกความก็ยังไม่จ่ายเงิน สำนักงานทนายความก็ไม่มีตัง ก็เอาใบแจ้งหนี้ทั้งหมดวิ่งไปที่
บริษัทแจ้งหนี้แล้วก็เอาไปขาย

ถ้าเป็นใบแจ้งหนี้สดๆร้อนๆ เค้าก็สืบดูเบื้องหลังลูกหนี้นิดหน่อย แล้วก็จะให้ราคาสูง


95% ก็ได้จากร้อย เราก็ได้เงินสดมาใช้ไง

เพราะฉะนั้นมันก็กลัวว่าจะเสียเปรียบ มันก็มีเงื่อนไขว่า ‘กรณีที่ชั้นไปเก็บเงินแล้วเกิดไม่ได้เค้า


ก็จะมาคืน ให้เราเอาเงินสดไปคืนเค้า คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่เราเอาเงินไป’

10
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

1 ม.ค. สำนักงานทนายขายใบแจ้งหนี้ เงินทั้งหมด 1m (กี่ใบก็ไม่รู้รวมแล้วได้ 1m) มูลค่าใน


ใบแจ้งหนี้ 1m แต่บริษัท factoring ซื้อ 950k เค้าต้องซื้อลดลงเพราะเค้าจะกินส่วนต่าง เค้า
ก็ให้เราเท่านี้ หนี้เราเท่านี้ แล้วเค้าก็จ่ายไปเท่านี้ เราก็รับเงินไอนี่มา แต่ปรากฎว่าเวลาทวงถาม
เก็บไม่ได้ เค้าก็ถือว่าเราเป็นหนี้ แล้วดอกเบี้ยนับแต่ 1 ม.ค. วันขายหนี้

จริงๆแล้วจะเล่าให้ฟังว่า แฟคทอริ่งมีสองชนิด

ชนิด 1 ในสัญญาบอกว่า recourse - ถ้าเค้าเก็บหนี้ไม่ได้ ถือว่าเราเป็นหนี้เค้าเท่าที่


เค้ารับซื้อ แล้วเราต้องจ่ายดอกเบี้ย

ถ้าเป็นแบบชนิดที่ 1 เค้าไม่เสี่ยง ถ้าเค้าเก็บได้เค้าก็ได้กำไร แต่ถ้าเค้าเก็บไม่


ได้เราเป็นหนี้เค้า 950k+ดอกเบี้ย เค้าก็ไม่เสี่ยงอะไรเลย เหมือนแบ้งให้ยืมเงิน
อะ

ชนิด 2 ในสัญญาบอกว่า Non-recourse - ก็ซื้อขายไปเลย เค้าก็ไปผจญภัยเอาเอง

ชนิดที่ 2 หมายความว่า เค้าขายคืนไม่ได้ ดังนั้นเค้าจะไม่ซื้อเราหนึ่งล้านกับ


เก้าแสนห้าหรอก เค้าจะซื้อแค่แปดแสนเอง เราได้น้อยแต่ชัวร์ในเรื่องที่เค้าไม่
มาคืน เค้าก็กินส่วนต่างไม่มีดอกเบี้ย ซื้อขาดเลย เก้บหนี้เอาเอง ถ้าเก็บไม่ได้
ก็ซวยไป เค้าก็ไม่เสีย SBT เพราะมันไม่ใช่ดอกเบี้ย

แต่ถ้าแบบแรก เวลาเค้าเก็บไม่ได้คืนให้เราแล้วถือว่าเรากู้เงินเค้าตั้งแต่วันที่ได้เงินมา
เราต้องจ่ายดอกเบี้ย ดอกเบี้ยนี้ต้องเสีย SBT

ดอกเบี้ยการรูดบัตรเครดิต

การที่โจทก์ให้บริการแก่สมาชิกผู้ถือบัตรเครดิตในการเบิกถอนเงินฉุกเฉินจากเครื่องเบิกถอน
เงินเอทีเอ็มของธนาคารต่างๆที่จะมีสัญญากับโจทก์ได้ โดยโจทก์คิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อย
ละ 5 ของยอดเงินที่เบิกถอนบวกค่าบริการอีกครั้งละ 100 บาท แม้โจทก์จะไม่ใช่ธนาคารพาณิช

11
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

ย์ แต่โจทก์ประกอบกิจการให้เบิกถอนเงินสดฉุกเฉินได้เช่นเดียวกับธนาคาร จึงต้องถือว่าโจ
ทก์ประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า(กฎหมายเก่า)
ก็เทียบกับกฎหมายธุรกิจเฉพาะได้

เรื่องบัตรเครดิต หลักๆมีพรฎ.บอกว่า ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะกิจการบัตรเครดิต สรรพากรเลย


ยุ่งกันใหญ่

คนที่ออกบัตร (issuer) แล้วก็อันนี้เป็นร้านขายของ(วาดรูป) อันนี้เรียก establishment อันนี้คือ


คนคือพวกเรา

บัตรเครดิตก็จะไปบอกร้านขายของว่า ที่ขายของทุกวันนี้มันก็มีคนซื้อของโดยไม่จ่ายเงิน คือซื้อ


เชื่อใช่มั้ย ร้านขายของบอกใช่ก็มีคนมาซื้อเช่า แล้วคนที่ซื้อเชื่อได้เงินยากมากบางทีอาจจะไม่
ได้เลยอาจจะต้องปรับหนี้สูญด้วย ยุ่งยากตามประมวลรัษฎากร บัตรเครดิตก็บอกว่า แกมาทำ
สัญญากับชั้นสิ ถ้าใครถือบัตรชั้นไปซื้อนะแกขายเลย แล้วเดี๋ยวชั้นจะโอนเงินเข้าไปให้ ดังนั้น
แกไม่มีลูกหนี้เสียเลย ร้านนี้คนรูด สลิปอันหนึ่ง ใบก๊อปปี้ที่มันรูดมันก็จะมาตรงนี้ ตรงนี้ก็จ่าย
เงินสดให้เลย ร้านก็สมประโยชน์ ไม่มีลูกหนี้เสียเลย แต่บัตรเครดิตไม่ใช่คนใจดีนะ ไม่ทำให้
ฟรีหรอหก มันก็ขอ 3% ร้านก็บอกเอ้อก็ดี จ่าย3% ดีกว่าไปไล่ทวงลูกหนี้ที่ไม่จ่ายเงินวุ่นวาย
เพราะฉะนั้นร้านก็จะแฮปปี้มีคนเอาบัตรเครดิตมาลูกเพราะไม่เกินสามวันก็ได้เงิน

ทีนี้ บัตรเครดิตก็ไปติดต่อคนธรรมดา ป้าๆ ชอบเดินทางไปตปทไปไหนๆต้องพกเงินสดใช่มั้ย


พกแล้วถูกฉกเอาไปป้าก็เดือดร้อน ป้าเอาบัตรเครดิตไปนะแล้วก็สามารถจะใช้เงินล่วงหน้าได้
ด้วย สิ้นเดือนถึงจะหักบัญชี คนซื้อไม่มีตังยังซื้อได้เลยเพราะสิ้นเดือนยังหักบัญชี ก็เท่ากับคุณ
ใช้เงินล่วงหน้าไปสามสิบวันทั้งๆที่ไม่มี มันก็ดีกว่าการพกเงินสด ที่ถ้าไม่มีตังก็ซื้อไรไม่ได้เลย
แต่ถ้ามีบัตรคุณซื้อได้แล้วสามสิบวันค่อยหาเงินใช้หนี้ทีหลัง แล้วขโมยก็ไม่อยากได้บัตรเครดิต
คุณหรอก คุณก็ไม่ต้องพกเงิน ใบเดียวก็ไปได้แล้ว คนก็สมัครสมาชิก บัตรเครดิตก็เอาเงินค่า
สมาชิก กับดอกเบี้ย (ตอนหลังแข่งขันกันสูง ค่าสมาชิกก็ยกเลิกไป มีแต่ดอกเบี้ย)

ดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นได้ไง? พอถึงวันที่สามสิบแล้วคุณไม่มีตังจ่ายเค้า คุณก็ต้องจ่ายดอกเบี้ย 18%

**ที่ใช้อัตรา 18% ได้เพราะ 15% ตามแพ่งเป็นกรณีการกู้ แต่ธุรกิจนี้มันบอกว่ามันไม่ใช่กู้ยืม


เงิน จึงเอา 18% ได้ >> แต่พอ SBT จะให้มันเสียในฐานะกู้ยืมเงิน

- ระหว่าง issuer กับ establishment มันก็คือบริการนั่นเอง แกขายของเอาบัตรพลาสติกชั้น


นะ แล้วสามวันชั้นโอนเงินให้ได้เลยแล้วขอ 3%

- ระหว่าง issuer กับ card holder ก็คือบริการ แกจ่ายเงินชั้น

12
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

เมื่อก่อนนี้ค่าสมาชิกคือค่าบริการ ตอนนี้ค่าสมาชิกยกเลิกไปถ้าเรามีเงินอยู่ในแบ้ง วันที่สามสิ


บเค้ามาหักบัญชีเค้าก็จะไม่ได้ดอกเบี้ย 18% และจะไม่ได้อะไรจากเราเลย

แต่ต่อมามันบอกว่า เอาบัตรนี้ไปตู้ ATM แล้วรูด.. ที่มันทำงี้เพราะไร เพราะตัว establishment


(ตัวบริษัทเครดิตการ์ดเนี่ย ไปทำสัญญากับธนาคาร แบ้งกสิกรไทยไรก็แล้วแต่เค้าไปทำสัญญา
ไว้ว่าถ้าคนถือการ์ดมา รูดเกิน ในแบ้งปล่อยกู้ทันที แล้วแบ้งก็จะมาเก็บดอกเบี้ยจากบริษัท แบ้
งก็บอกว่า เค้าจะไม่เกี่ยวกับคนรูดการ์ดแกนะ เค้าไม่ใช่ลูกค้าชั้น เค้าเป็นลูกค้าแกแกต่างหาก
เป็นลูกค้าชั้น เพราะฉะนั้นธนาคารก็จะเก็บดอกเบี้ยจากบริษัทเครดิตกาด บริษัทเครดิตกาดก็
จะมาเก็บจากเราตรงนี้ ค่ารูดร้อยบาท ดอกเบี้ยถ้าการกู้เงินไม่ว่าจะเรียกว่าไร เนื่องจากการกู้
เงินก็คือดอกเบี้ย ดังนั้นร้อยบาท บอกกับอีกกี่เปอเซนมันก็คือดอกเบี้ย ฉะนั้นนี่ก็คือดอกเบี้ย

แล้วบริษัทเครดิตการ์ดก็จ่ายเงินให้กับธนาคาร เค้าก็มาเก็บเงินจากเรา

# สรุปง่ายๆ บริษัทเครดิตการ์ด พอเรารูดครบเค้าก็เป็นหนี้ธนาคารกสิกร ธนาคารกสิกรถือว่า


บริษัทเครดิตการ์ดเป็นหนี้เค้าไม่ใช่ผู้รูด ผู้รูดเป็นลูกหนี้ของบริษัทเครดิตการ์ดอีกทีนึง ฉะนั้นตัว
ดอกเบี้ยสองอันมันต่างกัน

- ดอกเบี้ยอันแรก มาจากเครดิตการ์ดจ่ายให้แบ้งกสิกร

- ดอกเบี้ยที่สอง เราจ่ายให้เครดิตการ์ด

Q : ดอกเบี้ยที่เราจ่ายให้เครดิตการ์ด ต้องเสีย SBT มั้ย?

A : ต้องเสีย SBT เพราะบริษัทบัตรเครดิตการ์ดให้เรากู้ยืมเงิน โดยตัวเองกู้แบงก์แล้วเรากู้ต่อ

หนี้ของบริษัทเครดิตการ์ดจะเกิดทันทีที่คุณรูดบัตร แล้วหนี้คุณที่มีต่อบริษัทเครดิตการ์ด
ก็เกิดขึ้นทันทีที่คุณรูดบัตรด้วย

บริษัทเครดิตการ์ดเค้ามีสัญญากับธนาคารว่าถ้าลูกค้าเค้ามารูดบัตรก็ให้ธนาคารปล่อย
เงินเลยจากตู้เอทีเอ็ม ซึ่งเค้าเป็นลูกหนี้ธนาคาร ธนาคารไม่ต้องเก็บเงินจากลูกค้าชั้น
หรอก ชั้นจะเก็บเงินจากลูกค้าชั้นเอง บริษัทเครดิตการ์ดก็จ่ายหนี้ให้ธนาคารเรียบร้อย
ไม่มีหนี้กันแล้ว แต่มันเหลือแต่เรากับบริษัทเครดิตการ์ดเป็นหนี้กัน มันก็คือการกู้เงิน
จากแบงก์แล้วเอามาให้กู้ต่อนั่นเอง เพราะเงินนั้นไม่ใช่ของบริษัทเครดิตการ์ดไง เค้ากู้
การกู้จะเกิดขึ้นเมื่อลูกค้าเราเอาไปรูดการ์ด แล้วแบงก์ปล่อยบริษัทเครดิตการ์ด แต่เงิน
อะเราได้เพราะเราเป็นลูกหนี้บริษัทเครดิตการ์ด

มันจะเกิดขึ้นในวินาทีเดียวกันเลยการกู้เงินนี้

13
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

มันจะเกิดเมื่อรูดบัตร เมื่อคนไปรูดบัตรมันก็จะเกิดการกู้แบบนี้ ธนาคารจะปล่อยกู้บริษัทเครดิต


การ์ด เครดิตการ์ดก็ให้เรารูดบัตร เราก็ได้ตัง

ช่วงนั้นธนาคารก็เสีย SBT ปกติ แต่ช่วงนี้เครดิตการ์ดต้องเสียเพราะเครดิตการ์ดจะเสียเยี่ยง


ธนาคารเพราะเครดิตการ์ดไม่ใช่ธนาคาร

เยี่ยงธนาคารก็คือให้กู้ เพราะฉะนั้นวันนี้ก็เลยบอกว่าอันนี้มันเทียบกับ SBT ได้เพราะว่ามันประ


กอบกิจการอันเดียวกัน

1.3 บริษัทประกันชีวิต

• บริษัทประกันชีวิตเค้าจะได้เบี้ยประกันเยอะและเค้าไม่สามารถให้บุคคลธรรมดากู้ได้เพราะเค้า
ไม่ใช่กิจการธนาคาร

• ดังนั้น บริษัทประกันชีวิต รัฐบาลจะถือเป็น source income นึงของรัฐบาล เพราะฉะนั้น


รัฐบาลก็จะให้บริษัทประกันชีวิตให้กู้สถาบัน เช่น ให้กู้อสมท. ให้กู้เทศบาล ให้กู้กับรัฐบาล
ก็เป็นหนี้สถาบันทั้งนั้น

ฎีกา - บริษัทประกันชีวิต v. กรมสรรพากรกับพวก ในการประกอบกิจการประกันชีวิต ประมวล


รัษฎากรกำหนดให้ถือเอาดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลจากการนำเบี้ยประกันภัยไปลงทุนหรือหาประ
โยชน์ รวมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าบริการในการกู้ยืมเงินเป็นรายรับ ..ฟังไม่ออก..

ถ้าคุณเห็น AIA >> AIA เป็นบริษัทประกันชีวิต ทำสองอย่างคือ สร้างตึกไว้ให้เช่า


คุณจะเห็นตึก AIA ตรงนั้นตรงนี้ ธนาคาร สำนักงานไปให้เช่า อีกอย่างก็ให้รัฐบาลกู้
เงิน

เพราะฉะนั้นการให้เช่าก็ให้เช่าไป ไม่เกี่ยวกับ SBT แต่พอให้กู้เงิน เค้าก็จะได้ดอกเบี้ย


ดอกเบี้ยกู้เงินสถาบันเค้าได้ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยตรงนี้เค้าก็ต้องเสีย SBT

ในนี้เค้าจะพูดถึงว่า ศาลฎีกาเขียนไม่ชัด มันต้องแยกออกเป็นสองอันว่าถ้าให้เช่าเค้าก็ต้องไป


เสียภาษีที่เกี่ยวกับเช่า มันจะไม่เกี่ยวกับ SBT >> SBT จะเกี่ยวกับการกู้เงิน เค้าสรุปว่า คำว่า
ดอกเบี้ยจึงหมายถึงดอกเบี้ยที่ผู้ประกอบการรับประกันชีวิตได้เนื่องจากการประกอบการค้าของ
ต้น ไม่ว่าดอกเบี้ยนั้นจะเกิดจากการให้กู้ยมืเงิน ซื้อหุ้นกู้ หรือซื้อลดตั๋วแลกเงิน ดอกเบี้ยสัญญา
ใช้เงิน และฝากเงินไว้กับธนาคารก็ตาม

ดอกเบี้ยเนี่ย ไม่ได้หมายความ่วาให้กู้ยืมเงินอย่างเดียว เพราะว่าใน SBT ข้างล่างเนี้ย. เราจะ


พูดถึงการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารสำหรับคนที่ไม่ใช่ธนาคาร

14
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคาร มันมีทั้งการแลกเปลี่ยนเงินตรา การออกซื้อ? การ


ขายตั๋ว? การขายเงินไปตปท? ด้วย เพราะฉะนั้นถ้าบริษัทประกันชีวิตประกอบกิจการ
เยี่ยงธนาคารก็ต้องเสีย SBT ด้วย นอกจากดอกเบี้ย

• เอาใหม่ คือบริษัทประกันชีวิตเนี่ย เค้าสามารถที่จะให้สถาบันกู้เงินได้ กู้เงินเค้าก็จะได้


ดอกเบี้ย ขณะเดียวกันถ้าเค้าประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารด้วยเช่น เค้าออกซื้อขายตั๋วเงิน
รับส่งเงินตราต่างประเทศต่างๆเค้าก็ต้องเสียในฐานะเยี่ยงธนาคารด้วยเพราะเค้าเป็นบริษัท
ประกันไม่ใช่ธนาคาร

• ส่วนธนาคารทำ xyz ก็เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือถ้าเป็นบริการก็ VAT หรือถ้าคนอื่นทำ


กิจการอย่างเดียวกันธนาคารแต่ตัวเองไม่ใช่ธนาคาร ไม่ว่าเค้าจะเป็นใครก็ตาม ถ้าได้
ดอกเบี้ยมาแล้วก็ต้องเอาไปเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย

• ฎีกานี้เสียดายไม่ได้เขียนให้ชัดเจน เค้าบอกว่าไม่ว่าดอกเบี้ยนั้นจะเกิดจากการให้กู้ยืมเงิน
ซื้อหุ้นกู้ ถ้าเค้าลงทุนไปซื้อหุ้นกู้ หุ้นกู้นี่ได้เงินปันผลมั้ย ไม่ได้ ถ้าซื้อหุ้นกู้จะได้ดอกเบี้ย ถ้าซื้อ
ลดตั๋วเงิน คำพพษไปไกลเกินไป เพราะบริษัทประกันชีวิตไม่ซื้อลดตั๋วเงินอยู่แล้ว

"ซื้อลดตั๋วเงิน" คือ คุณไม่มีตัง แล้วอาจารย์ก็เป็นเจ้าหนี้คุณ คุณก็ออกเช็คให้อาจารย์


ใบนึง แล้วจารก็ขึ้นเงิน ไม่มี คุณก็ติดคุก ทีนี้คุณบอกไม่มีตัง คุณก็เขียนเช็คใบนึงแล้ว
เอาไปขายลดให้ธนาคาร สมมติว่าเช็คใบละร้อยล้าน คุณต้องใช้หนี้อาจารแปดสิบล้าน
คุณเขียนเช็คร้อยล้าน คุณก็ไปขายให้ธนาคาร ขายได้แปดสิบล้าน คุณเอาตังมาให้
อาจาร การที่คุณทำยังงี้เท่ากับคุณเป็นลูกหนี้แบ้งกู้เงินร้อยล้าน มันใช้ตั๋วเงินนั้นเป็น
instrument ในการกู้เงินจากธนาคารเท่านั้นเอง คุณเป็นหนี้แบ้งร้อยล้าน คุณก็จ่าย
ดอกเบี้ยมาสิ ดอกเบี้ยตรงเนี้ยคือดอกเบี้ยการซื้อลดตั๋วเงิน ก็ต้องเอามาสียภาษีด้วย

ธนาคารถ้าเค้าไม่แน่ใจจริงๆเค้าไม่ยอมจะซื้อลดเช็คหรอกเพราะเดี๋ยวมันไม่มีจ่าย
เพราะการซื้อลดเช็คคือการกู้ซึ่งไม่มีหลักประกัน เพราะฉะนั้นเค้าก็ต้องดูประวัติคน

• การที่คุณรูด บริษัทเครดิตการ์ดก็เป็นหนี้แบ้ง มันก็จ่ายแบ้งไป เท่ากับคุณเป็นหนี้บริษัทเครดิต


การ์ด มันก็เท่ากับเยี่ยงธนาคารนั่นแหละ มันกู้เงินมาแล้วก็เอามาให้กู้เงินต่อเท่านั้นเอง

ข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้า

หมายเหตุ : วัตถุประสงค์ของบริษัท ทุกคนเวลาเราจทบบริษัท เราจะให้กู้หรือกู้ยืมเงินเราจะให้ใส่ ไม่งั้น


เดี๋ยวเราจะเอาเงินแบ้งไม่ได้ เราต้องใส่ มันไม่ใช่สาระสำคัญที่จะมาดูว่าวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินแกปฏิบัติ
การเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ มันไม่ใช่

15
ครั้งที่ 1 (05/11/18)
วัตถุประสงค์ทุกบริษัทจะต้องเขียนใน 3-4 ข้อแรก ว่าให้กู้ หรือกู้ยืมเงิน ไม่งั้นจะกู้แบ้งไม่ได้

ฎีกา - วถปสเค้าเขียนไว้ยังงั้น แต่ชาวไร่อ้อยเนี่ย คุณต้องเห็นว่าชาวไร่อ้อยกับโรงน้ำตาล


เหมือนของคู่กัน คนไร่อ้อยเค้ามองโรงน้ำตาลเหมือนธนาคารเค้า เค้าจะเอาอ้อยมาส่งแต่เค้ายัง
ไม่มีเงินนะ แต่ขณะนี้อ้อยยังไม่ได้ตัดเค้าไม่มีเงินนะ ขอตังไปก่อน

ทีนี้โรงน้ำตาลเมื่อก่อนเค้าก็ให้ พอให้ก็เหมือนกู้ยืมเงิน ก็เป็นภาษี SBT ปวดหัว ตอนหลังเค้า


คิดว่ธีใหม่ว่า พอชาวไร่อ้อยไม่มีอ้อยมาให้ ก็ขอตังเค้า เค้าก็ทำเช็คให้ใบนึง แล้วเช็คใบนี้ให้
คนไร่อ้อยไปขายลดที่แบ้ง ก็กลายเป็นว่าคนไร่อ้อยเป็นหนี้แบ้งไม่ใช่หนี้เค้า ฉะนั้นดอกเบี้ยก็
ไปจ่ายให้แบ้ง เค้าก็ไม่ต้องเสีย SBT

สรรพากรก็ไปประเมินเค้า

# ศาลก็ไปตัดสินว่าไม่ใช่ เพราะน้ำตาลดิบไม่ได้ให้กู้ยืมเงิน เค้าเพียงแต่ให้โอกาสคนไร่อ้อย


ได้ไปขายลดเช็คเอาเงินจากธนาคารเท่านั้นเอง

ดอกเบี้ยก็เสียให้ธนาคาร ไม่ได้เสียให้โรงงานน้ำตาลเลย จึงไม่ใช่การประกอบกิจการ


เยี่ยงธนาคาร

ถ้าคุณอ่านหนังสือของอาจารย์ไพจิตร เวลาจารไพจิตรเขียนเค้าจะพูดว่า ภาษีธุรกิจเฉพาะคือไร


แล้วก็โดดมาที่มาตราเลย เค้าจะพูดว่าร้อยละ 0.1 สำหรับการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลัก
ทรัพย์

2.5 สำหรับประกันชีวิตและโรงรับจำนำ

3 สำหรับกิจการธนาคารและเยี่ยงธนาคาร

เค้าจะมีอัตราให้ดู แต่ละอย่างมี transaction อย่างไร อ่านยังงี้มันง่ายไง ขายหลักทรัพย์ก็ 0.1


ประกันชีวิตก็ 2.5 โรงรับจำนำก็ 2.5 ธนาคารเยี่ยงธนาคารก็ 3

ธนาคาร/เยี่ยงธนาคาร

>> เยี่ยงธนาคาร คือคนไม่ใช่ธนาคารแล้วมันทำแบบธนาคาร เสียภาษีแบบธนาคาร คือโดย


หลักมันไม่ใช่ธนาคาร

เช่น จารไม่ใช่ธนาคาร แล้วคุณมายืมเงินจาร จารให้คุณไปร้อยล้าน ดอกเบี้ยร้อยละ


สาม คุณเอาดอกเบี้ยมาให้จาร จารก็ต้องไปเสียภาษีเยี่ยงธนาคาร จารไม่ใช่ธนาคาร

16
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

# ฉะนั้นถ้าคุณเข้าใจว่าธนาคาร เยี่ยงธนาคารก็คือไม่ใช่ธนาคารเท่านั้นเอง กิจกรรมทำเหมือ


นกัน

>> ประกันชีวิต มันให้สถาบันกู้เงิน มันได้ดอกเบี้ย ก็เสียภาษี 2.5

1.x โรงรับจำนำ

>> โรงรับจำนำ เวลาจำนำมันอาจจะมีระยะเวลา 3-6 เดือนแล้วถึงจะมีการไถ่ถอน บางทีก็ 1 ปี


ส่วนใหญ่จะไม่เกินปี เพราะโรงรับจำนำเค้าจะต้องได้เงินเร็ว แต่ว่า 3 6 เดือนหรือหนึ่งปีคุณมา
ไถ่ถอน ในบัญชีของโรงรับจำนำในขณะที่คุณไม่ไถ่ถอน แต่ดอกเบี้ยคุณต้องจ่ายทุกเดือน ดอก
เบี้ยจะเป็นรายเดือน จะจ่ายทุกเดือน ดังนั้นหากดอกเบี้ยถึงดิวที่จะต้องจ่ายแล้ว โรงับจับนำจะ
ต้องลงบัญชีว่าได้รับดอกเบี้ยแล้ว(ตามภาษีเงินได้นิติบุคคล) โรงรับจำนำเนี่ย เมื่อดอกเบี้ยถึง
ดิวแต่ละเดือน แล้วเค้ายังไม่ได้จ่ายดอกเบี้ยคุณ คุณก็ต้องลงบัญชีว่าได้รับแล้วตามเกณฑ์สิทธิ
ในภาษีเงินได้นิติบุคคล

คุณจะเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าตอนคุณเสียภาษีธุรกิจเฉพาะคุณจดทะเบียน คุณ


เลือกเอา cash basis หรือ accrual basis

- ถ้าคุณเลือก accrual basis ทันทีที่คุณลง.. accrual incourage? ในบัญชีคุณ คุณต้องเสีย


SBT แล้วยื่นเสียเลย

- ถ้าบอกว่า cash basis คุณยังไม่ต้องเสีย

เมื่อไหร่ที่คุณเสียก็สำคัญนะ ในนั้นมันไม่เขียนไง

EX. โรงรับจำนำมันจะมีระยะสั้น อย่างแม่ค้าเอาครกไปจำนำ แกต้องตำน้ำพริกขาย


แกก็อาจจะจำนำสามเดือน หกเดือนหรือหนึ่งปีอย่างมาก โรงรับจำนำจะไม่รับจำนำ
อะไรนานเพราะเขาจะได้เงินช้า ทีนี้ลงบัญชีจะต้องลงระบบ accrual basis เท่านั้น
เพราะภาษีเงินได้นิติบุคคล

# เพราะงั้นเมื่อถึงดิวที่จะต้องจ่ายประจำเดือนแล้วเค้ายังไม่มาจ่าย ต้องลงไว้ก่อนว่าได้
รับแล้ว accrual ไว้แล้ว และก็ต้องไปเสีย SBT

ภาษีธุรกิจเฉพาะของคุณก็ขึ้นอยู่กับว่าเวลาคุณจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะคุณเลือกเสียแบบ
cash basis or accrual basis ถ้าคุณเลือกตาม accrual basis คุณก็ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉ
พาะในแต่ละเดือน แต่ถ้าคุณเอา cash basis คุณก็ยังไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะเพราะคุณยัง
ไม่ได้รับ

17
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

EX. สมมติเดือนแรก accrual ออกไปสิบ พอเดือนที่สามคุณต้องมาไถ่ถอน ไถ่ถอนก็


แปลว่าเขาต้องเอา ต้น+ดอก มาให้โรงรับจำนำแล้วคุณก็เอาแหวนคืนไป

# ถ้าโรงรับจำนำนั้นใช้ accrual basis ก็เสียภาษีธุรกิจเฉพาะหมดแล้ว ไม่ต้องเสียอีก


ตอนที่ได้รับดอกเบี้ยจริงๆ

แต่ถ้า Cash basis ก็เอาดอกนี้มาเสียในวันที่ได้รับในเดือนที่3

EX. ถ้าสมมติว่า ไอ้หมอนี่จำนำ 3 เดือน ดอกก็ไม่ส่ง แล้วเดือนที่ 3 ก็ไม่มาไถ่ถอน ให้ขายเลย


โรงรับจำนำก็จะเอาแหวนนี้ไปขาย พอเค้าขาย ในกฎหมายแพ่งก็ทำนองว่าขาย option ขาย
ให้มีการประมูลเปิดเผย แล้วก็หักค่าใช้จ่าย หักดอกเบี้ย หักเงินต้น หักค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการ
ขาย เหลือเท่าไหร่คืนให้หมอนั่นไป เรื่องจริงไม่มีหรอก

Q : ถามว่า ทำไมล่ะ เขาบังคับให้ลงบัญชี accrual ยุ่งยาก ทำไมไม่เอาตอนจบเลย?

A : ภาษีเงินได้นิติบุคคลมันม.ค. จบธ.ค. หมอนี่อาจจะมาจำนำเดือนพ.ย. เพราะฉะนั้น


มันจำนำสามเดือน ตอนจบมันก็ม.ค. สมมติว่า 61 นี้มันก็กลายเป็น 62 เพราะฉะนั้น
พ.ย. ธ.ค. ข้ามปีเป็นม.ค. เงินได้จะแบ่งออกเป็นสองช่วง ปีภาษี 62 กับปีภาษี 61 เงิน
ได้นิติบุคคลถูกแบ่งเป็นสองกอง เค้าเลยให้ลงทุกเดือนเพื่อจะแบ่งรายได้ได้ถูกต้อง

แต่ถ้าตอนจบเค้าไม่มาไถ่ถอน คุณขายไปคุณก็ล้างบัญชีที่ลงทุกเดือนทิ้งให้หมดเลย
แล้วก็บอกว่าเค้าจ่ายแล้ว คุณยึดแหวนเค้าเค้าไม่มาจ่ายเงินต้น คุณก็เอาแหวนเค้าไป
ขายตามปพพ แล้วคุณก็หักต้น หักดอก หักคชจทางการขาย ทั้งหมดก็หักลบกันไป
หมอนั่นก็ไม่ได้อะไรไป ของคุณคุณก็จะได้แบบนี้ แล้วบัญชีของคุณที่คุณเคย accrual
ไว้มันก็ล้างทิ้งไง เพราะดอกจริงๆมาจ่ายคุณตอนเอาทรัพย์สินไปจ่าย ก็ล้างทิ้งเลย ก็ไม่
ได้หมายความว่าคุณเสีย 2 ครั้ง

สรุป ภาษีธุรกิจเฉพาะก็ขึ้นอยู่กับ method ที่คุณเลือกว่าคุณจะเลือกเสียแบบ cash or accrual

- ถ้าคุณใช้ระบบ acrrual basis คุณเสีย SBT ไปแล้ว เพราะฉะนั้นเวลาที่คุณขายคุณก็ไม่ต้อง


จ่ายอีก

- ถ้าคุณขาย cash basis คุณไม่ accrual ไว้เลย คุณก็จ่ายตอนที่คุณขาย

ฎีกา - โรงรับจำนำ >> ศาลฎีกาและภรรยาท่านมีโรงรับจำนำ ถูกสรรพากรประเมินธุรกิจ


เฉพาะ ท่านก็ไม่เข้าใจว่า เอ้ะตอนจบที่ขายทรัพย์สินเราก็จ่ายภาษีไปแล้ว ทำไมสรรพากรจะให้

18
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

ลงบัญชีประจำเดือนอยู่ ทีนี้ก็มีผู้เชี่ยวชาญมาอธิบายว่า ตอนที่เขายังไม่มาไถ่ จารก็ยังไม่รู้หรอก


ว่าเขาจะไม่มาไถ่ เพราะฉะนั้นเวลาที่เสียดอกเบี้ย เค้าจึงให้จารลงบัญชีไว้่ก่อน ถ้าเสียไปแล้วก็
ล้างออกได้ทีหลังตอนที่อาจารย์เอาทรัพย์สินเค้าไปขาย ถ้าจารใช้ cash basis? จารก็ล้างทิ้ง
แล้วไปเสียตอนจบเท่านั้นเอง

นำเงินทุนบริษัทไปให้คนอื่นกู้ยืม

ฎีกา - บริษัทประกอบธุรกิจนำเข้าและจำหน่ายเครื่องดื่ม นอกจากนี้ยังนำเงินทุนของบริษัทตน


เองออกให้บริษัทอื่นกู้ยืมอยู่ครั้งคราวเพียง 1-2 ครั้งต่อปี การกู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นการประกอ
บกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เลยได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียน
ภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ... ประกาศอธิบดี

# เป็นการทำกิจการชั่วคราว ต้องเสีย SBT แต่ไม่ต้องจดทะเบียนก็ได้

ข้อสังเกต : ถ้าปีนึงเค้าให้กู้ 2-3 ครั้งแล้วมันทำบ่อยทุกปี มันก็เป็นปกติธุระสิ แต่ถ้ามันเกิดมา


โผล่ปีเดียวให้กู้สองครั้งแล้วก็ไม่เคยให้กู้อีกเลย มันก็ไม่เป็นปกติธุระมั้ย แต่คุณต้องระวัง สรร
พากรเนี่ย คำว่าปกติธุระจะทำเป็นไม่เห็นอะ เค้าจะประเมินเรา เพราะฉะนั้นก็จะต้องระวัง

ถ้าคุณให้กู้ปีละหนึ่งครั้งทุกปีมันก็จะเป็นปกติธุระ สองครั้งยิ่งเป็นหนักเข้าไปอีก สาม


ครั้งยิ่งเป็นหนักเข้าไปอีก ก็เป็นเยี่ยงธนาคารแล้ว แต่ถ้าคุณทำครั้งเดียวแล้วไม่ทำอีก
เลยมันจะไม่เป็น

หรือสองครั้งแล้วต่อไปจะไม่ทำอีกเลยมันจะไม่เป็นปกติธุระ มันก็จะหลุดจาก SBT

บริษัทประกอบกิจการนำเข้าและจำหน่ายเครื่องมือ นอกจากนี้ยังนำเงินทุนของตัวเองไปให้ผู้อื่น
กู้เป็นครั้งคราว เพียง 1-2 ครั้งต่อปี การให้กู้ยืมเงินดังกล่าว เป็นการประกอบกิจการโดยปก
ติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียน เพราะให้
เสียแต่ไม่จดทะเบียน เพราะมันทำเป็นครั้งคราวเท่านั้น มันไม่ทำเป็นล่ำเป็นสัน

แต่ทีนี้ ใจอาจารย์คิดว่า ถ้ามันทำทุกปีมันต้องจดทะเบียน แต่มันทำ 1-2 ครั้งแล้วไม่ทำอีกเลย


ก็ไม่ต้องจด แล้วการทำเนี่ยมันจะต้องทำเป็นปกติธุระด้วย เนี่ยอันนี้ fact ไม่เคลีย เพราะฉะนั้น
คุณจดไปเลยว่า

1.ต้องทำสม่ำเสมอ -> 2.เยี่ยงธนาคา -> 3.ต้องจด

แต่เรื่องนี้จารคิดว่าเค้าไม่ได้ทำสม่ำเสมอถึงไม่ต้องจด

19
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

แนววินิจฉัยเงินทดรองจ่ายให้แก่พนักงานหรือกรรมการ

เงินทดรองจ่ายให้แก่พนักงานหรือกรรมการ บริษัทไม่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใดกู้ยืมเงินเว้นแต่พนัก
งานหรือกรรมการของบริษัทเดือดร้อน บริษัทจะทดรองจ่ายเงินให้เพื่อเป็นการบรรเทาภาระเป็น
ครั้งคราวโดยไม่มีการวางระเบียบการกู้ยืมเงิน ไม่มีการคิดดอกเบี้ยในการให้กู้ยืมเงิน การที่กู้
ยืมเงินดังกล่าวจึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดอัตราดอก
เบี้ย

• ถ้าคุณเขียนเป็นกฎสวัสดิการของพนักงาน แล้วในกฎสวัสดิการของพนักงานบริษัทให้กู้ยืม
เพื่อไปซื้อรถ ซื้อบ้าน เดือดร้อนอะไรและดอกเบี้ยในอัตราต่างๆ ในกรณีเช่นนี้ไม่ถืว่า
เป็นการให้กู้ยืมเงินที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ถ้ามันอยู่ในกฎสวัสดิการ

ถ้ามันอยู่ในสวัสดิการบริษัทถือเป็นการช่วยเหลือกันแม้จะคิดดอกเบี้ยก็ไม่ต้องเสียธุรกิจ
เฉพาะ

• แต่ถ้าไม่เขียนในระเบียบสวัสดิการแล้วมีการให้กู้ เช่นนี้ถึงแม้ไม่คิดดอกเบี้ย พนักงานประ


เมินก็จะประเมินอัตราดอกเบี้ยให้ด้วย คุณต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ถ้าไม่มีในสวัสดิการของบริษัท แม้คุณจะให้กู้และวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน แก่


พนักงานหรือกรรมการอย่างเดียวกันด้วย และแม้ไม่มีดอกเบี้ย สรรพากรก็ยังสามารถ
ประเมิน SBT โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้คุณได้

# ดังนั้น เพื่อไม่ให้เจออันนี้ คุณก็ต้องไปทำอยู่ในสวัสดิการบริษัท

เงินทดรองจ่ายให้แก่บริษัทอื่น บริษัทประกอบกิจการขายสินค้าประเภทเครื่องดื่มที่มีแอลกอ
ฮอล์เจือปน โดยวางขายตามห้างสรรพสินค้าเป็นปกติ ในการธุรกิจดังกล่าวบริษัทได้จด
ทะเบียนจัดตั้งบบริษัทขึ้นมารอรับการขายสินค้าและค่าจ้างพนักงานขาย โดยไม่ได้ระบุประกอบ
ธุรกิจย่างอื่น และบริษัททั้งสองก็ไม่ได้เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน การดำเนินกิจการของบริษัท
ก เป็นส่วนนึของการประกอบธุรกิจการขายสินค้าและสนับสนุนธุรกิจของบริษัท บริษัทจึงจำเป็น
ต้องสนับสนุนด้านการเงินให้แก่ บริษัท ก ดังกล่าว เช่น ทดรองจ่ายเงินเดือนพนักงานแต่ละ
เดือน

ทดรองจ่ายอื่นๆ เป็นต้น บริษัทจะจ่ายคืนให้แก่บริษัทภายในระยะเวลา 20-30 วันนับแต่วันที่


บริษัททดรองจ่ายเงนไป ซึ่งการทดรองจ่ายเงินบริษัทจะได้รับดอกเบี้ยตามปกติ กรณีที่บริษัทได้
ทดรองจ่ายเงินให้แก่บริษัท ก ก็เป็ฯลักษณะการให้กู้ยืม ไม่ให้การกู้ยืมเงินของบริษัทในเครือ

20
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

เดียวกัน จึงเข้าลักษณะเป้นการประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ จึงถูกบังคับให้ต้องเสียภาษี


SBT

ข้อยกเว้น

การที่ให้บริษัทในเครือเดียวกันกู้เงิน ไม่ต้องเสีย SBT

แต่กรณีนี้ไม่เป็นเครือเดียวกัน เพราะบริษัทหนึ่งมันไม่ได้ไปถือหุ้นในอีกบริษัทหนึ่ งแต่ผู้ถือหุ้น


อาจจะเป็นบุคคลธรรมเดียวกัน แต่บริษัทไม่ได้เป็นเครือเดียวกัน ก็ถือว่าเป็น seperate entity
ไม่เกี่ยวข้องกัน

บริษัท ก มันเอาของไปฝากขาย บริษัท ข ก็จะจัดหาพนักงานมาขาย ก็จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น


ก็บอก ก ให้ออก advance เงินก้อนนี้ให้แล้วก็จ่ายคืนทีหลังโดยเสียดอกเบี้ย นี่ก็ถือว่า

1. บริษัทไม่มีความสัมพันธ์กัน

2. เป็นการให้กู้ยืมเงินทำ operation เพราะฉะนั้นในกรณีนี้ก็ต้องเสีย SBT

ถ้าคุณจะทำคุณทำไงอะ?

ก็เอาบริษัท ก ไปถือหุ้นบริษัท ข สิ มันเครือเดียวกันก็ไม่มี SBTละ

SBT ถ้าเป็นบริษัทที่มีคนถือหุ้นร่วมกัน มันจะมีข้อยกเว้น เดี๋ยวเราค่อยเรียนข้อยกเว้น

ทีนี้ท่านจารเค้าลืมว่าคุณยังไม่เรียนข้อยกเว้นแล้วเอามาใส่ อ่านไปก็ไม่รู้จะจับหลักตรงไหน

ในนี้เขียนชัดเจนวาบริษัทไม่ได้เป็นเครือเดียวกัน ก็คือบริษัทไม่ได้ถือหุ้นระหว่างกัน

สอง การให้กู้เงินเพื่ไปทำ operation แล้วก็จ่ายดอกเบี้ยมา มันก็เหมือนให้บุคคลภายนอกกู้


เงิน มันจะเป็น SBT

หลักก็มีอยู่แค่นี้

ดังนั้นถ้าไม่อยากจ่าย SBT ? >> ก็เอา ก ถือหุ้น ข สิจะได้จบ

ซื้ออินวอยลูกค้า - แฟคทอริ่ง

จารท่านก็เอาฎีกานั้นมาแหละ และฎีกานั้นมันก็จะมีรูลลิ่งกรมสรรพากรรองรับ จารก็เอามาใส่

21
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

การที่บริษัทรับซื้ออินวอยของลูกค้า ก็คือเราเป็นแฟคเตอ เราก็ซื้ออินวอยของลูกค้าโดยจ่ายเงิน


ทดรองด้วยเงินสดเพื่อรับโอนสิทธิ มันซื้อเลยด้วยเงินสด แลเ้วไอนั่นก็โอนสิทธิให้เรา แล้วเรา
ไปเก้บไม่ได้ ในสัญญาก็บอกว่ากรณีที่เราเก็บไม่ได้ชั้นคืนแกนะให้ถือว่าแกเป็นหนี้ชั้นเท่ากับเงิน
ต้นที่แกเอาไปบวกดอกเบี้ยด้วย

อันนี้ โดยจ่ายเงินทดรองด้วยเงินสดเพื่อรับโอนสิทธิจะได้รับชำระเงินตามอินวอย โดยหาก


บริษัทเรียกเก็บเงินตามอินวอยจากลูกหนี้ไม่ได้ ลูกค้าของบริษัทก็ยังคงต้องรับผิดตอบริษัทโดย
ที่บริษัทยังมีสิทธิที่จะฟ้องเอาจากลูกค้าได้

นี่เป็นการย่อที่ไม่ดีเลย

การที่บริษัทรับซื้ออินวอยดังกล่าว บริษัทได้รับปยจากค่าธรรมเนียมในการรับซื้ออินวอยและ
ดอกเบี้ยที่เรียกคืนเก็บจากลูกค้าเนื่องจากการจ่ายเงินทดรอง ส่วนต่างของเงินทดรองที่จ่ายให้
กับลูกค้าเพื่อรับซื้ออินวอยในราคาที่ต่ำกว่ายอดเงินตามอินวอย ซึ่งส่วนต่างดังกล่าวที่บริษัทได้
รับคือดอกเบี้ย >> ไม่ใช่ อันนี้อธิบายผิด

เวลาทำแฟคตอริ่งคุณจำได้มั้ยที่อาจารย์บอกว่า อินวอยของคุณล้านนึง อาจารย์ซื้อคุณเลยนะ


ซื้อขาดเลย 900k บาท แต่จารมีข้อนึงในสัญญาว่า มันต้องซื้อขาดก็สวมสิทธิได้ จารสวมสิทธิ
คุณไปเก็บเงินจากคุณคนนี้ แกเหนียวแกไม่ให้เลย จารมีสิทธิเอาอินวอยนั้นคืนให้คุณแล้วคุณ
ก็เป็นหนี้จารเก้าแสน และดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่คุณเอาตังไป

เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่เงินทดรอง มันเป็นเงินค่าซื้อขาดเลยแหละ และดอกเบี้ยที่จ่ายก็ต้องเสีย


SBT

ทีนี้ถ้าในกรณีที่เค้า ซื้อไปเก้าแสนแล้วเค้าไปเก็บเงินจากคุณคนนี้ล้านนึง มันไม่ใช่ดอกเบี้ย


มันคือมูลหนี้ที่เต็ม มูลหนี้เต็มมันล้านนึง แล้วจารขายให้คุณเก้าแสน คุณเก็บเงินได้ล้าน คุณก็
ได้ตามมูลหนี้ สวมสิทธิตามมูลหนี้ มันเป็นมูลหนี้ มันไม่ใช่ดอกเบี้ย ทีนี้การที่เราย่ออะไรมา
เนี่ยแล้วเราไม่เข้าใจโครงสร้างของแฟคตอริ่งแล้วใช้คำผิดหมด

เพราะฉะนั้นคุณเข้าใจนะที่จารอธิบายบนกระดาน จารเอาหนี้ไปขายให้คุณโดยขายลดราคา
คุณเอาตังให้จารเป็นการซื้อหนี้นะ เป็นการทดรองจ่ายโดยซื้อหนี้ ซื้อใช่มะ ซื้อ แต่การซื้อนั้น
มีเงื่อนไขว่าถ้าคุณไปเก็บหนี้ไม่ได้คุณจะคืนอินวอยใบนั้นให้จาร และจารก็ต้องเป็นหนี้คุณตาม
เงินที่เอาไปพร้อมกับจ่ายดอกเบี้ยด้วย

ดอกเบี้ยนั้นเสีย SBT

ถ้าเป็นกรณีที่คุณซื้อไปแล้ว ซื้อเก้าแสนเก็บได้ล้าน อันนั้นเป็นมูลหนี้จริงที่คุณเก็บได้ที่คุณไป


สวมสิทธิ มันไม่ใช่ดอกเบี้ย ไม่มี SBT

22
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

ดอกเบี้ยจะต้องมีเงินต้น สมัยก่อนตอนที่จารทำงานใหม่ๆ ซิติแบ้งเค้าขายฉ้วบ??

มีคน 2 คนไปที่แบ้งด้วยกันทั้งคู่ แบ้งเดียวกันต่างแบ้งอะไรก็ได้ เป็นหนี้แบ้ง โดยคนนึงกู้ ดอก


เบี้ยคงที่(เค้าเป็นคนคอนเซอเวทีฟ) เค้าก็บอกเอาดอกเบี้ยบวกหนี้แหละจะได้รู้ว่าค่าใช้จ่ายทั้ง
หมดเท่าไหร่กันแน่ ใช้ดอกเบี้ยทวงหนี้ 5% ทีนี้อีกคนชอบเสี่ยง บอกไม่เอาหรอก ดอกเบี้ยบาง
ทีมันก็ลดลงต่ำกว่าห้าบางทีมันก็สูง แต่โอกาสที่จะสูงไม่มีหรอกมีแต่ลด ชั้นก็เอาดอกเบี้ย
ลอยตัว(ขึ้นลงกลางตลาด) อยู่ๆมาวันหนึ่งไอเนี่ย(ไอไหน)มันก็มีลอยขึ้น ลอยลงมันไม่ค่อยมี
ดอกเบี้ยก็ 5% สองคนก็เกิดไม่พอใจในตัวสัญญาของตัวเอง

คนนึงก็บอกชั้นเอาไอนี่แลกแทน ชั้นเอาดอกเบี้ยคงที่ไปแลกรถ อันนี้ลอยตัวมา ไอนี้ก็คงที่


โดยเบ้นเค้าไม่รู้นะไอสองคนนี้เอา liability ของตัวเองมาแลกกัน ทำสัญญาใหม่ เรียก swag??

ทีนี้ พอดอกเบี้ยมันประกาศขึ้นมา ลอยตัว ไอนี่มันก็ต้องเสีย สมมติหก ตรงนี้มันเคยเสียห้า


มันกลายเป็นจะต้องเสีย 6% ไอนี่มันน่าจะเสีย 6% เพราะลอยตัวมา 6% มันก็เสียห้าเปอเซ็น
เพราะ liability มันแลกกันละ คนลอยตัวที่พึ่งแลกคงที่มา มันก็ต้องเอาลอยตัวไปชำระให้แบ้ง
เมื่อมันแลกคงที่มาแล้ว มันได้ 5% มันเอาไปชำระหนี้แบ้งตามที่มันลอยตัวเพราะแบ้งไม่รู้เรื่องที่
มันแลก คนนี้มันก็ชำระให้แบ้งตามสัญญาเดิมคือ 5% แต่ liability มันกลายเป็น 6% แต่มัน
ชำระ 5% กับแบ้ง กับแบ้งหนี้มียังไงก็มียังงั้นอะ

ถามว่า ไอลอยตัวมันกำไรมั้ย มันไม่กำไรมันขาดทุนมาหนึ่ง ไอคงที่ตอนแรกมันจ่ายแบ้งห้าแต่


มันไปรับภาระลอยตัวมา มันก็ต้อง extra มาอีก 1 >> 1 เนี่ยมันได้จากใคร ไอคนนี้มันต้องจ่า
ยลอยตัว แต่มันจะรับคงที่มาห้า ดังนั้นไอคงที่ต้องจ่ายให้มันหนึ่ง เพราะมันแลกกันแล้ว เพราะ
ฉะนั้นไอคงที่ก็จ่ายให้ไอลอยตัวหนึ่งเปอ

ถามว่า หนึ่งเปอเป็นดอกเบี้ยหรือไม่เป็นดอกเบี้ย ตอนนั้นเมืองไทยยังไม่มีสวับ เราก็ไปอ่านหนัง


สือตะลุยเลย จนสรุปแล้วหนึ่งไม่ใช่ดอกเบี้ย มันเป็น liability ที่แลกกันเท่านั้นเอง ดอกเบี้ยมัน
คือดอกเบี้ยที่มันให้แบ้งเท่านั้น ถ้าแบ้งจะฟ้องดอกเบี้ยก็ฟ้องตามสัญญาเดิม อันนี้มันแลกกัน
เหมือน gambler เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น 1 เนี่ยก็ไม่เป็นดอกเบี้ย ไม่เป็นอะไรเลย จึงไม่เสีย
SBT เสีย income tax เฉยๆเพราะถือว่าเป็น income เข้ามา

เราก็เป็น study 99 ประเทศทั่วโลกทำตรงนี้หมดเลย สรรพากรประเมินทุกแบ้ง จนกระทั่งผ่าน


ไปเกือบ 20 ปี ท่านอธิบดีก็มาเขียนประกาศกรมสรรพากรไว้ว่าไม่ใช่ดอกเบี้ย

เรื่องดอกเบี้ยไม่ดอกเบี้ยเนี่ย ก็จำหลักไว้ให้แม่น

23
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

ดอกเบี้ยมันต้องมีเงินต้น กรณีที่เค้าแลกกันมันไม่มีเงินต้น เอาหน้าที่มาแลกกันเฉยๆ เอา


liability มาแลกกันเฉยๆ จึงไม่ใช่ดอกเบี้ย

อินวอยลูกค้า เข้าใจแฟคทอริ่งแล้วนะ เพราะฉะนั้นคำอธิบายนี้ไม่ถูก solution อาจจะถูกแต่


คำอธิบายไม่ถูกเลย

ขายข้อตกลงซื้อของล่วงหน้า

เอาฎีกาเมื่อกี้นี้แหละ เนื่องจากข้อตกลงขายล่วงหน้าในธุรกรรมการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วง
หน้าในตลาดการค้าเกษตร อันนี้คือ future

future มันเริ่มมาจากชาวนา ไม่ว่าชาวนาไทย ชาวนาญป จะเหมือนกันหมดเลย


ชาวนาเค้าปลูกข้าว ข้าวยังไม่ทันมีรวงเลย แกต้องอยากได้เงินละ ดังนั้นแกจะไปติดต่อ
โรงสีว่าขอขายข้าวเขียว (ยังไม่มีข้าวเลย ขายล่วงหน้า) ล่วงหน้าประมาณ 2-3 เดือน
โรงสีก็จะรับซื้อไว้ เมื่อข้าวมีรวงแล้วก็จะนำมาส่งมอบ โรงสีหลังจากนำตังไปให้ชาวนา
แล้วกเกิดอยากได้เงิน เลยเอาสัญญาไปขายให้ ข เพื่อให้ได้เงินมา ข ซื้อมาเอาตังให้
โรงสี ข อยากได้เงินก็เอาไปขายให้ ค จนถึง ฮ พอดีข้าวสุก คนได้รับมอบก็คือ ฮ
อันนี้เรียก future

future ก็คือ คนระหว่างกลางที่ซื้อกระดาษนั้นอะ มันเหมือนซื้อกระดาษแต่ความจริง


มันซื้อสิทธิที่จะได้ข้าว ฟิวเจอร์มันจะต้องมีของอะไรซักอย่าง ในระหว่างการวนกันเนี่ย
ของไม่ไปจริงหรอกเพราะของมันยังไม่มี แต่มือสุดท้ายถึงจะได้เงิน อันนี้คือการตกลงซื้อ
ขายล่วงหน้า มันไม่ใช่ มันเป็นสัญญาซื้อของซึ่งจะมีมาในภายหน้า

ธุรกรรมการซื้อสินค้าเกษตรล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งปทท มีลักษณะเป็นตรา
สารแสดงสิทธิในหนี้ที่ผู้ทรงตราสารมีความเป็นเจ้าหนี้เหนือผู้ออกตราสาร ดังนั้นการขายข้อ
ตกลงซื้อขายล่วงหน้าเข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ผู้ประกอบกิจ
กรรมถูกบังคับให้ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งอันนี้มันไม่ใช่!!

future ซื้อในตลาดขายล่วงหน้า แต่มันคือการซื้อสิทธิ

แต่เยี่ยงธนาคารต้องมีดอกเบี้ย ซึ่ง future ไม่มีดอกเบี้ย

เช่น จารย์เป็นชาวนา จารย์ปลูกข้าว แล้วข้าวจารยังไม่มีพวงเลย จารเลยบอกโรงสีว่าเนี่ยที่นา


ชั้นทั้งหมดตามโฉนดเนี้ย มีข้าวเต็ม แล้วประวัติเคยได้เท่ากับร้ยเกวียน ชั้นอยากได้เงินก่อน
โรงสีบอกได้ ถ้าข้าวสุกแล้วก็เอาข้าวมาให้ชั้นนะ แล้วก็เอาเงินให้จาร เวลาที่เขาเอาเงินให้จาร
เขาจะคิดยังไง อีกสามเดือนเค้าถึงจะได้ของมะ?

24
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

ถ้าคนกู้เงินคุณ สามเดือนคุณได้ดอกเบี้ยใช่ปะ ง่ายๆเลยจารไปขอกู้เงินคุณร้อยบาท ดอกเบี้ย


ร้อยละสาม กู้สามปี ก็ 9 บาท ดอกเบี้ยอันนี้ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ถ้า future มันอาจ
จะไม่เป็นปี ทีนี้สมมติจารมากู้คุณร้อยบาท แล้วก็กู้สามเดือน กู้สามเดือนถ้าดอกเบี้ยปีละ 6
บาท ร้อยละหก แต่กู้แค่สามเดือน ดอกเบี้ยก็ 2 บาท ดังนั้นจารไปรับเงินร้อยจากคุณคุณหัก 2
บาท คุณหักเลย แต่ถ้าในสัญญาต้องบอกว่ารับร้อยนะ แต่จ่ายดอกเบี้ย 2 บาท แล้ว 2 บาทนี้
ก็ต้องเสียภาษี

แต่ future มันไม่ใช่ยังงั้น มันคือ สมมติคุณให้สัญญาจารร้อยบาท อีกทีนึงพอข้าวจารสุก


จารก็เอาข้าวมาให้คุณ แล้วก็เลิกสัญญากันไป เพราะเป็นการชำระหนี้แล้ว คุณให้จารร้อยนึงก็
ได้ แล้วคุณก็ถือสัญญาอาจารย์ไว้ แล้ววันหนึ่งคุณเกิดอยากได้ตัง คุณก็เอาสัญญาไปขายให้ ข
แล้วคุณถือสัญญา future มาได้ 2 เดือนแล้ว (กู้สามเดือน) แล้วคุณก็มาขายให้ ข >> ข ก็ถือ
อีกเดือนเดียว เวลาเค้าซื้อสัญญา future จากคุณ เค้าคำนวณจากอะไร คุณต้องคำนวณว่าคุณ
ได้ 4 บาทแล้ว แล้วคุณ ข เค้าจะมีสิทธิแค่ 2 บาทเพราะเค้าถือเดือนสุดท้ายเดือนเดียว ดังนั้น
4 บาทของคุณที่คุณหักออกระหว่างนี้ก็ถือเป็นดอกเบี้ย ก็ไปเสียภาษี

อาจารย์เขียนตารางให้คุณดูนะ ถ้าไม่วาดรูปคุณจะไม่เข้าใจว่ามันได้ยังไง

(วาดรูป)

อันนี้ชาวนา อันนี้เจ้าหนี้ เราก็ขายข้าว 100 บาท เป็นหนี้ให้กระทำ?? ผู้ซื้อถือสัญญาไว้ได้ 2


เดือน (อายุสัญญา 3 เดือน) เอาสัญญาไปขายต่อให้อีกคนนึง ทีนี้ราคาจะเป็นเท่าไหร่ คนที่ซื้
คนแรกเค้าคิดแล้วว่าถ้ามาขายให้เค้าร้อยบาท กว่าเค้าจะได้ข้าวมันสามเดือน ดังนั้นเค้าต้อง
คำนวณเหมือนกับมีดอกเบี้ยอยู่ในร้อยบาทด้วย ถ้า..2.29.00..ข้าวก็จบไม่มีอะไร ก็ไม่ต้องเสีย
SBT แต่วิธีการที่เค้ามาทำสัญญากับคุณ สมมติสัญญาร้อยบาทถ้าอัตราดอกเบี้ยตามปกติมัน
ร้อยละ 6 (สามเดือนก็เดือนละ 2) เพราะฉะนั้นถือได้สองเดือนเค้าก็ต้องคิดว่า สัญญางี้โอนไป
ง่ายๆเค้าไม่ได้ไรเลยอ่อ เค้าก็คิดว่เค้าถือไว้สองเดือนเค้าก็ควรจะได้ 4 ดังนั้นราคาที่เค้าขายต่อ
ก็จะเท่ากับ 100-4=96 สรรพากรก็บอกว่าถ้าแกคำนวณแบบนี้ 4 เสีย SBT มันคือดอกเบี้ย

ดังนั้นเวลาที่คุณทำ future มันต้องมีส่วนประกอบในการคิดเสมอ สมมติว่าเค้ามาขายข้าวให้


คุณ จะใช้เวลาอีก 3 เดือนถึงจะส่งมอบ คุณต้องคำนวณราคาข้าวมันเป็นเท่าไหร่ แล้วก็มีดอก
เบี้ย 3 เดือนประกอบด้วย ดอกเบี้ย 3 เดือนในที่นี้คือ 6% แต่ทีนี้บังเอิญเค้าถือไว้แค่ 2 เดือน
เค้าจึงจะมีสิทธิแค่ 4% เวลาเค้าขายเค้ามีสิทธิที่ 4 ถ้าต้นทุนมัน100แล้วเค้ามีสิทธิที่ 4

ไอตัว 4 ตัวนี้มันก็ represent ดอกเบี้ย มันต้องเสีย SBT ด้วย

25
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

ทีนี้เค้าก็ขายไปให้กับคนที่ 3 คนที่ 3 เนี่ยเค้าถือไว้เดือนเดียวเพราะฉะนั้นเค้าก็ได้แค่ 2 เพ


ราะฉะนั้นแต่ละคนที่โอนไปแต่ละทอดมันจะมีดอกเบี้ยเล็กๆอยู่ตามจำนวนเดือนที่ถือเสมอ แล้
วก็จ่าย SBT ไป เท่านั้นเอง นี่ก็คือ future

ทีนี้เวลาเราขายผ่านตลาด future มันหลายทอด ดอกเบี้ยมันก็เล็กๆกระจายไป

แต่ concept ของญปกับไทยสมัยก่อน แค่ 2 ทอดก็จบแล้ว เพราะว่า 3 เดือนเมื่อข้าวสุกเค้าก็


เอามาให้แล้ว

คือ future เนี่ยมันก็คือการขาย แต่ผู้ขายเอาเงินไปล่วงหน้าแต่ของยังไม่ส่งมอบ ดังนั้นเวลาที่


คนซื้อเค้าจ่ายเงินเราแล้วของกว่าจะได้ล่วงหน้า ดังนั้นราคาซื้อเค้าจะต้องคำนวณบวกดอกเบี้ย
ไปจนถึงวันส่งมอบเสมอ เค้าคิดมาตั้งแต่วันแรกเลย บวกดอกเบี้ยจนถึงวันส่งมอบเสมอ

ฉะนั้นเวลาขายต่อ เค้าก็คำนวณว่าเค้าถือไว้กี่เดือน เค้าควรจะได้ดอกเบี้ยเท่านี้ แล้วขายต่อเท่า


ไหร่ แล้วคนขายต่อๆไปก็จะมีดอกเบี้ยเสมอ ถ้าเราคิด 2 ทอด

เอาใหม่นะ

Future ก็คือ คุณขายอะไรซักอย่างนึงซึ่งการขายนั้นคุณจะมีของอยู่ในมือหรือไม่มีก็ไม่รู้ แต่ว่า


ถึงเวลาที่จะต้องส่งมอบตามสัญญาคุณต้องส่งมอบ ผู้ที่ซื้อสินค้าของคุณ ซื้อ future คุณเนี่ย
เค้าก็คิดเหมือนเค้าปล่อยเงินกู้ ก็คือ เค้าคิดเงินต้นเท่าไหร่แล้วบวกดอกเบี้ยจนถึงวันที่ส่งมอบ
เสมอ เพราะเกณฑ์ของ contract 3,6 เดือน หรือปีนึงก็แล้วแต่ เค้าจะคิดเสมอ

เพราะฉะนั้นเค้าจะเสีย SBT ก็ต่อเมื่อเค้าคำนวณแล้วว่าเค้าถือไว้นานเท่าไหร่ กรณีนี้เค้าคำ


นวณแล้วว่าเค้าถือไว้ 2 เดือน เค้าก็คำนวณมาได้ 4 บาท >> 4 บาทนี้เค้าก็ไปเสีย SBT

เพราะฉะนั้นอันนี้ก็ให้เข้าใจ concept ของ future

ค่าหุ้นค้างชำระ

อาจารย์เล่าให้คุณฟัง บริษัทจดทะเบียนแล้วก็เรียกค่าหุ้น ปรากฎว่ามีคนหนึ่งเค้าไม่ได้จ่ายค่า


หุ้นแต่บริษัทไปจดทะเบียนที่กระทรวงพาณิชย์เค้าบอกได้รับแล้ว พอได้รับแล้วเนี่ยก็แสดงว่าผู้
ถือหุ้นคนนั้นมันต้องเป็นหนี้ใครซักคนจนได้แหละ

บริษัทจทบ แล้วก็ไปแจ้งกระทรวงพาณิชย์ว่าค่าหุ้นนี้ได้จ่ายแล้วคือได้รับแล้ว เพราะฉะนั้นใน


การที่เราลงแบบนั้นก็แสดงว่าผู้ถือหุ้นคนนั้นต้องเป็นหนี้คนหนึ่งคนใด อาจจะเป็นหนี้ตัวบริษัท
เอง หรือเป็นหนี้ผู้ถือหุ้นคนอื่นก็ได้ ดังนั้นใครเป็นเจ้าหนี้ แล้วในกรณี..ก็ต้องคิดดอกเบี้ยด้วย
แล้วก็ต้องเสีย SBT ด้วย

26
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

อันนี้เค้าบอกว่า กรณีบริษัทจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลโดยระบุในบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นว่าได้ชำ
ระค่าหุ้นเต็มมูลค่าแล้ว ณ วันจดทะเบียน โดยบริษัทได้บันทึกบัญชีในด้านหนี้สินและส่วนของผู้
ถือหุ้นว่าทุนจดทะเบียนและเรียกชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่า 160m เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่าผุ้ถือหุ้น
ไม่ได้ชำระค่าหุ้นครบตามจำนวนที่ระบุไว้ โดยทุนหมุนเวียนของบริษัทก็ย่อมจะหายไป กรณีจึง
ถือได้ว่าบริษํทได้ให้ผู้ถือหุ้น.. มันไม่ใช่ยังงั้นค่ะ

คือ เวลาบอกค่าหุ้นชำระแล้ว แปลว่ามันมีเงินเข้าไปจริงๆในบริษัท เพราะว่าถ้าคุณไม่ได้รับเงิน


ค่าหุ้นคุณจะไปแจ้งกระทรวงพาณิชย์หรอ คุณย่อมไม่แจ้งว่าได้รับชำระแล้ว แต่เวลาที่จดทะ
เบีนแล้วบอกว่าค่าหุ้นได้รับชำระแล้วเนี่ย ก็แสดงว่าผู้ถือหุ้นคนนั้นถ้าเค้าไม่เป็นหนี้บริษัท เค้า
ก็เป็นหนี้ผู้ถือหุ้นคนอื่น การชำระค่าหุ้นมันไม่ได้ชำระแล้วจริง แต่มันจะเป็นหนี้ใครเพื่อเอาเงิน
มาชำระเป็นอีกเรื่องนึง

เรื่องเล่าจาร : เมื่อก่อนนี้กระทรวงพาณิชย์ก็ไม่ได้เคร่งครัดอะไร หลังๆมาเค้าให้ออดิเตอร์ตรวจ


ว่าค่าหุ้นชำระแล้วมีเงินผ่านแบ้งมั้ย มันต้องมีเงินสดผ่านแบ้งถ้าชำระแล้ว ส่วนแกจะยืมใคร
ไปชำระก็เรื่องของแก ก็จ่ายดอกเบี้ย ก็เสีย SBT ไป

ทีนี้มีผู้ใหญ่อยู่คนนึงเค้าจดทะเบียนบริษัท 350m ค่าหุ้นก็ชำระแล้ว แต่เงินไม่ผ่านแบ้ง แล้วตอน


นั้นดอกเบี้ยร้อยละ 15 ออดิเตอร์ก็ไม่กล้าไปพูดกับผู้ใหญ่คนนี้ กลัว เค้าก็ชวนจารไป คุณ
เจ้าของบริษัทเค้าก็บอกว่า 350m มันชำระแล้ว ผมไม่ได้เอาเข้าแบ้ง เอาใส่ตู้เซฟของบริษัทนี้
แหละ จารก็บอกว่าท่านคะ ท่านเป็นธนาคาร ในขณะนี้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ใครจะเชื่อถ้าท่าน
บอกว่าท่านเอาเงิน 350m ใส่เก๊ะ ไม่ได้ดอกเบี้ยซักบาท เค้าก็หัวเราะให้ผมทำไง จารบอกท่า
นก็ต้องเซ็นต์สัญญากู้สิคะ แล้วชำระหนี้ในวันปิดบัญชี ดอกเบี้ย 1 ปีต้องจ่าย เสียดอกเบี้ย

เวลาที่เรียกค่าหุ้น เราต้องเอาเข้าแบ้งทันที แต่อันนี้ท่านว่าท่านเรียกแล้ว เค้าก็จ่ายแล้ว อยู่ใน


เก๊ะเนี่ยไม่ได้เอาไปฝากธนาคาร แต่ดอกเบี้ยสมัยนั้นร้อยละ 15 เงิน 350m ดอกเบี้ยเยอะมาก
เลยไม่มีใครบ้าเอาเงินมาใส่เก๊ะหรอก

เพราะฉะนั้นค่าหุ้นค้างชำระไม่เป็นไปตามที่อธิบายในหนังสือเพราะว่าโดยหลักแล้วเจ้าของหุ้น
เค้าจะไปเป็นหนี้ใครเค้าก็ต้องให้ดอกเบี้ยคนนั้น คุณก็ต้องจ่าย SBT เท่านั้นเอง

มันไม่มีทางไปกู้เงินของบริษัทที่ตัวจะไปลงทุนไปจ่ายค่าหุ้นก่อน มันไม่ใช่ มันต้องกู้เงินระหว่างผู้


ถือหุ้นด้วยกันเนี่ยแหละ

โอเค ทีนี้โดยหลักคุณก็จำไว้ว่า ถ้าลงบัญชีว่าชำระค่าหุ้นแล้ว แล้วเค้าไม่มีตัง แสดงว่าเค้าต้อง


เป็นหนี้ใคร >> concept คือ เป็นหนี้ใครก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้คนนั้น ถือว่าคนนั้นให้กู้ แล้ว
คนนั้นก็ต้องเสีย SBT เท่านั้นเอง

27
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

คือไหนๆก็เล่า นิดนึงนะ บริษัทนี้เนี่ย ถ้าเค้า operate ไปนานๆ ถ้าเค้าจะเพิ่มทุน เค้าก็เพิ่มทุน


ได้ เวลาบริษัทเพิ่มทุนก็ต้องขายหุ้นตามสัดส่วนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม ถ้าผู้ถือหุ้นเดิมไม่เอาก็มีผู้ถื
หุ้นหน้าใหม่เข้ามาซื้อแทนได้ ทุกคนก็ต้องลงเงิน ทีนี้บริษัทก็มีวิธีทำหลายอย่างเช่น บริษัทนี้มี
operation มีกำไร แล้วก็ dividend มีส่วนที่จะจ่ายให้ผู้ถือหุ้นมันเพียงพอที่จะจ่ายค่าหุ้น เพ
ราะฉะนั้นเค้าก็อาจจะจ่าย dividend แล้วก็ให้คนนั้นรับ dividend ไป แล้วก็เอา dividend กลับ
มาซื้อหุ้น แต่บริษัทนี้มันไม่มีศักยภาพ ถ้าบริษัทต้องการต้นทุนแล้วบริษัทให้กู้มันไม่ logic ดัง
นั้นเรื่องนี้ยังไงมันก็ไม่กู้บริษัทเฉพาะต้นทุนหรอก มันก็ต้องกู้บุคคลภายนอกมาจ่ายต้นทุน(?)
เพราะบริษัทอยากได้ cash ไง แล้วอยู่ๆทะลึ่งเอาเงินของตัวเองไปให้ผุ้ถือหุ้นกู้มาลง ให้ 5
บาทก็กลับมา 5 บาทมันก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมา คือการเพิ่มทุนต้องเอา cash เข้ามาเพื่อใช้ทำ
operation มันต้องเป็นเงินที่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่ให้กู้ห้าบาทได้กลับมาห้าบาท มันก็ไม่ได้อะไร

ก็จำไว้ว่า กรณีที่จ่าย ..ฟังไม่ออก..

..ฟังไม่ออก.. คือการร่วมทุนประเภทตั้งบริษัทใหม่ แต่ถ้าคนนั้นไม่มีเงินก็แสดงว่าแกต้องเป็นหนี้


ใครซักอย่างซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ใช่บริษัท ใครก็ตามที่ให้กู้ต้องเสียดอกเบี้ย SBT หลักก็
มีแค่นี้

กิจการร่วมค้าได้บันทึกรายการทางบัญชีด้านหนี้สิน และส่วนของผู้..2.44.30..ว่า ได้รับชำระเงิน


ลงทุนเต็มมูลค่าแล้ว แต่ปรากฎข้อเท็จจริงว่ากิจการร่วมค้าได้รับชำระเงินลงทุนเพียงบางส่วน
และยังมีลูกหนี้ค่าค้างเงินลงทุนในกิจการร่วมค้ายังไม่ได้คิดดอกเบี้ย ทำให้เงินทุนหมุนเวียน
ของกิจการร่วมค้าขาดหายไป

คือถ้าเค้าไม่ชำระเงินทุนในบางส่วน แล้วเราคิดดอกเบี้ยได้มั้ยเพราะเราไม่ได้ให้กู้อะ?

กิจการร่วมค้าคือ หลายๆบริษัทหรือบริษัทกับบุคคลธรรมดามาร่วมกัน นำเงินมากองร่วมกัน


เพื่อประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งเป็น temporary แล้วก็เป็นนิติบุคคลชนิดหนึ่งตาม
ประมวลรัษฎากร ต้องเสียภาษี

สมมติว่าจารกับคุณเป็นคนละบริษัทกัน คุณเอามา 5m จารเอามา 5m >> คุณก็เอามา 5m แต่


จารไม่เอามา 5m >> บริษัทก็ operate ไป ในกรณีนี้เช่นนี้ไม่เป็นกิจการร่วมค้า เพราะกิจการ
ร่วมค้าคุณสมบัติข้อนึงคือ ลงทุนร่วมกัน เพราะเวลาตั้งกิจการร่วมค้าเค้าบอกต้องลงทุนคนละ
ห้าล้าน ถ้าจารไม่เอามาห้าล้านเลยมีเค้าลงทุนอยู่คนเดียวห้าล้านมันก็ไม่เป็นกิจการร่วมค้า แล้ว
จะไปคิดดอกเบี้ยเข้าไปได้ไง

28
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

สมมติว่า คุณลงทุนห้าล้าน จารใส่เข้าไปสามล้าน ขาดสองล้าน เงินต้องลงทุนสัดส่วนไม่ครบ


แล้วมันจะมีดอกเบี้ยเข้ามาได้ไง ใครจะให้กู้

อย่างถ้าคุณคนนี้บอกว่า เดี๋ยวให้กู้สองล้าน จารก็กู้สองล้าน เพราะฉะนั้นลงทุนคนละห้า แต่จาร


เป็นหนี้คุณสองล้าน อันนี้คุณได้ดอกเบี้ยจากจารแต่จารก็เสีย SBT แต่ชนิดที่ไม่ลงเลยมันไม่
เป็นกิจการร่วมค้า

กิจการร่วมค้าเนี่ย

1. ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่เอาทุนมาตามสัญญา ยังไม่เป็นกิจการร่วมค้า มันไม่ร่วมกันเลย

2. ถ้าเอามาบางส่วนแล้วก็มีอีกฝั่งนึงบอกว่าให้ยืมบางส่วนในกิจการร่วมค้า แล้วก็เป็นหนี้
เพื่อนละกัน ใครได้ดอกเบี้ยคนนั้นก็จ่ายไป

แต่กิจการร่วมค้า ไม่มีทางที่จารจะเป็นหนี้กิจการร่วมค้า ในนี้อธิบายว่ากิจการร่วมค้าจะตั้งเงิน


ลงทุนเพียงบางส่วนและยังมีลูกหนี้ค่าเงินลงทุนในกิจการร่วมค้าที่ยังไม่ได้เรียกเก็บดอกเบี้ย
ทำให้เงินทุนหมุนเวียนของกิจการร่วมค้าขาดหายไป

พอไม่จ่าย ก็ไม่เป็นกิจการร่วมค้า

มันต้องเป็น partner กิจการร่วมค้าที่จะให้กู้ยืมเงิน

ทีนี้กลายเป็นเค้าคิดว่า กิจการร่วมค้าให้กู้ยืมเงินเพื่อลงทุนในกิจการร่วมค้า มันประหลาดมะ

อันเนี้ยเป็นเรื่องที่เกิดความสับสน แต่จริงๆจะเล่าว่า กิจการร่วมค้า factor แรกที่จะเป็นกิกจาร


ร่วมค้าได้คือมีการลงทุนร่วมกัน แปลว่าเอาเงินมาตามที่ promise ไว้ คนนั้นห้าล้านๆ

สอง ถ้าสมมติว่าจารเอามาไม่ครบ พาร์ทเนอร์อีกฝั่งนึงต้องเป็นคนจ่ายให้จารยืมเงิน เพื่อจะเป็น


ทุนของกิจการร่วมค้า มันไม่ใช่จารเอามาไม่ครบแล้วยืมเงินกิจการร่วมค้า เพราะฉะนั้นกิจการ
ร่วมค้าใน fact มันเป็นไปไม่ได้

ในนี้เค้าพูดเหมือนกับค่าหุ้นค้างชำระ ซึ่งจริงๆแล้วบริษัทเค้าไม่ให้ผู้ถือหุ้นลงทุนเพื่อไปซ้ือหุ้น
หรือเพื่อไปลงทุนในกิจการร่วมค้าหรอก มันเป็นไปไม่ได้ เพราะเวลาที่เราเรียกเงินมา บริษัทมัน
อยากได้เงิน มันไม่ใช่จะเอาเงินให้เค้าไปแล้วก็ให้ผู้ถือหุ้นกลับมาซื้อหุ้นตัวเองมันไม่ใช่ นี่ก็ให้ดู
concept หุ้นค้างชำระกับกิจการค้างชำระ เค้าใช้ concept เดียวกันหมดเลย

29
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้

พูดถึงขายสินค้าบริการวิชาชีพ จารย์จะเล่าให้คุณฟังนิดนึง คำว่าดอกเบี้ยเนี่ยมันจะต้องมีเงิน


ต้น แล้วก็จะต้องเกิดจากการกู้ยืมเงิน แต่ทีนี้มันดันเป็นผิดนัดชำระหนี้

ในนี้เนี่ย ถ้าเราจะเล่าเป็นนิยายก็คือว่า ก ขายของให้ ข, ก เอาของไปแล้วแต่ยังไม่จ่ายเงิน


เสีย 100 บาท แล้วก็ไม่จ่ายอยู่นั่น ก็คูณดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ ก็บอกว่าอันนี้คือดอกเบี้ยผิดนัดใน
การชำระหนี้

ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้เป็นดอกเบี้ยเงินกู้หรือเปล่า? ไม่ใช่ เพราะถ้าคุณดูข้างหน้า มันไม่เกี่ยว


กับการผิดนัดเลย กิจการธนาคารเยี่ยงธนาคารทั้งหลายมันไม่เกี่ยวกับการผิดนัดดเลย ไม่ใช่สัก
แต่เป็นดอกเบี้ยแล้วต้องเสีย SBT ทุกอัน

เพราะฉะนั้นคุณจะให้คุณไปคิดวันนี้ว่าถ้าคุณอ่านบุคคลผู้มีหน้าที่เสียภาษีและดูกิจการของเค้า
ไปแล้ว คุณคิดว่าถ้าเป็นดอกเบี้ย ก็ต้องเสีย SBT จริงหรือไม่

จารบอกไม่จริง มันต้องเป็นดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินเท่านั้นที่จะเสีย SBT

ในเรื่อง SBT มันเขียนกฎหมาย ดูแล้วมันง่ายดี แต่ตัวอย่างของอาจารย์จะสับสนเพราะจารท่าน


นี้ไม่ได้วางหลักไว้ แต่ยังไงก็ worth ที่จะไปอ่านนะจ้ะ แต่จารอยากจะบอกคุณว่าถ้ามันเป็นตัว
อย่างจารจะค่อยๆอธิบายให้คุณฟัง ว่ามันเกี่ยวกับเรื่องนี้ เรื่องนี้มันทำกันยังไง ผลคืออะไร
คุณจะได้เข้าใจมากกว่า

ภาษีสรรพสามิต ที่บังคับให้คนขาย... แล้วบอกว่าถ้ากรมสรรพสามิตเจอว่า คนขายขึ้นราคา


ก็จะประเมินบริษัทผุ้ผลิตใหม่ คือภาษีสรรพสามิตให้ผู้ผลิตเสียภาษี แต่เสียบนราคาขายปลีก
รอบสุดท้าย แล้วจารจะไปคุยกับซิ้มขายน้ำหวานจารได้ไง ในเมื่อจารคิดขวดละสิบบาท ซิ้มอาจ
จะขายขวดละสิบบาทห้าสิบก็ได้ กรมสรรพสามิตเขียนกฎหมายบอกว่าถ้าไปเจอสิบบาทห้าสิบ
จะมาประเมินใหม่ว่าจารเสียสิบบาทไว้ ซึ่งอันนี้ถ้าจารจะให้ซิ้มขวดละสิบบาทตามที่จารแปะไว้
จารต้องควบคุมซิ้มใช่มั้ยคะ? มันเป็น vertical control ผิดกับกฎหมายแข่งขันทางการค้า
ออกกฎหมายมาขัดกัน

กฎหมายแข่งขันทางการค้า horizontal คุมแบบนี้ได้ แต่ vertical เนี่ย ผู้ผลิตคุมผู้ขายส่ง


แล้วก็คุมผู้ขายปลีก ถ้าคุณไม่คุมเค้าก็ขายสิบบาทห้าสิบจริงๆ

น้ำหวานเนี่ย ถ้าคุณซื้อที่อาซิ้มคุณอาจจะซื้อสิบบาทได้ แต่ถ้าคุณไปกินที่โรงแรมเค้าจะบวกอีก


ห้าบาท เพราะฉะนั้นกรมสรรพสามิตจะเอาราคาไร กรมสรรพสามิตใช้คำทางเศรษฐศาสตร์ว่า

30
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

ไอที่มันได้เปอร์เซ็นต์คนขายอยู่ว่า มันก็คือร้านอาหารเล็กๆพวกนี้ได้เปอร์เซ็นต์ตลาดอยู่มาก
แต่มันควรจะจบว่า เราบอกว่าเค้าควรจะขาย จารใช้คำว่า suggestion คือราคาแนะนำที่แปะไว้
ที่ขวด ส่วนถ้าเค้าจะขายเกินก็เรื่องของเค้าอย่ามาประเมินอาจารย์ เพราะจารเสียภาษีตั้งแต่เค้า
ยังไม่ขาย แล้วจารจะรู้มั้ยซิ้มทรยศขายสิบบาทห้าสิบ ถ้าสมมติจารจะให้ซิ้มขายสิบบาทก็แปล
ว่าจารต้องควบคุมตั้งแต่ผู้ขายส่งและผู้ขายปลีก ต้องคุมให้ได้ ถ้าคุมไม่ได้ผิดกฎหมายแข่งขัน
ทางการค้าทันที เป็น vertical

อันที่สองที่ยากก็คือ ภาษีน้ำหวาน

เค้าไม่ได้เก็บภาษีที่น้ำตาลที่เรา add ลงไปในน้ำผลไม้หรืออะไรที่เราขาย แต่เค้าเอาน้ำตาลที่


บวกเข้าไปในน้ำผลไม้ บวกน้ำตาลของน้ำผลไม้แล้วก็เอามาคำนวณเพื่อเสียภาษี น้ำผลไม้อันนี้
ไม่ใช่คำนวณครั้งเดียวได้ มันแล้วแต่ฝนตกมากน้ำผลไม้มันก็จืด ถ้าฝนตกน้อยน้ำผลไม้มันก็เข้ม
เพราะฉะนั้นน้ำตาลมันก็ไม่อยู่กับที่ ปวดหัวตายชักเลยจะเสียจากต้นทุนของแต่ละครั้ง แต่รา
คาขายเราเปลี่ยนไม่ได้ไง ถ้าเปลี่ยนเราขายไม่ได้หรอก แต่ต้นทุนแปรผัน อันนี้ก็จะให้ดูว่าการ
เขียนกฎหมายในลักษณะที่แสดงอำนาจแต่ฝ่ายเดียวแต่บังคับไม่ได้มันจะเป็นไง

แต่จริงๆภาษีความหวานคำนวณจากน้ำตาลที่ใส่เข้าไปง่ายกว่าเนอะ แล้วดูบัญชีก็ง่ายกว่า

โทดนะ มาบี้ไรกับน้ำหวาน กินช็อคโกแลตกินเค้กหวานกว่านี้อีก

เรามาเรียนในหลักทฤษฎีกันนะคะ มันเยอะ ใช้เวลาหน่อย ถ้าจารสอนไม่ทันคุณก็ช่วยปรึกษา


หารือกันว่าว่างวันไหนกี่โมงแล้วค่อยมาว่ากัน

———

2. กิจการที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ถ้าดูมาตรา 91/2 ต้องดูคู่กับมาตรา 91/3 เพราะว่าอาจารย์บอกว่าเวลาคุณดูคุณต้องหาหลัก


แล้วก็ต้องหาข้อยกเว้น อันนี้ก็คือข้อยกเว้น

ข้อยกเว้น

มาตรา 91/3  “ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับกิจการดังต่อไปนี้

31
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

(๑) กิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์


และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

(๒) กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

(๓) กิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์เฉพาะการให้กู้ยืมแก่สมาชิกหรือแก่สหกรณ์ออม
ทรัพย์อื่น

(๔) กิจการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

(๕) กิจการของการเคหะแห่งชาติเฉพาะการขายหรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์

(๖) กิจการรับจำนำของกระทรวง ทบวง กรม และราชการส่วนท้องถิ่น

(๗) กิจการอื่นตามมาตรา ๙๑/๒ ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา”

ถ้าเราอยู่ประเทศไทย สิ่งที่เราจะเห็นก็คือ อะไรที่หลงทางมาจะไม่เสียภาษี(?)

อันนี้อันแรก (1) ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ของรัฐบาล ก็ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้กู้เหมือ


นกัน แต่ให้ธนาคารกู้ เงินได้คือดอกเบี้ยเหมือนกัน

เช่น ธนาคารออมสิน คุณกู้แบ้งออมสินได้มั้ยคะ?

มีเรื่องตลก ธนาคารออมสินเค้ามีนโยบายว่า จะให้แต่ผู้ประกอบการรายเล็กมากู้ยืม


เพื่อคนจนจะได้มีอาชีพ วันหนึ่งคนขายเป็ดย่างมาขอกู้ยืมธนาคารออมสิน เค้าก็จะมีด
อกเบี้ยมาส่งให้โดยตลอด แล้ววันนึงเกิดส่งไม่ได้ ธนาคารออมสินก็ให้นิตกรไปทวง
ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยทั้งหมดประมาณ 700 บาท ไปทวงแล้วคนขายเป็ดย่างก็บอกผมไม่
มีให้ เอาเป็ดไปสองตัวได้มั้ยตัวละสองร้อยห้าสิบ นิติกรคนนั้นเค้าก็จบนิติศาสตร์ แกก็
เอาเป็ดมาสองตัว มาถึงทนายก็โมโหใหญ่เพราะว่ามันเป็นของบูดเสียได้ ก็เลยบอกว่า
แกเอามาก็ดีแล้ว ก็เอา 700 มาให้ชั้นแล้วเอาเป็ดสองตัวกลับบบ้านไป แม้แพ่งจะบอก
ว่าคุณจะชำระเงินโดยสิ่งของก็ได้ โดยเงินก็ได้ แต่การชำระหนี้ด้วยของที่เน่าเสียได้
มันไม่สามารถจะลงบัญชีได้

กิจการออมสิน กิจการอาคารสงเคราะห์ ก็ที่ทำบ้าน โปรเจ็ครัฐนี่แหละ

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ก็ประเภทให้ชาวนากู้เงินอะ ก็คือเวลาที่ข้าวราคาตกต่ำ


รัฐบาลก็จะให้เค้าไปซื้อข้าวเปลือกมา หรือบางทีชาวนาไม่มีเงินก็มายืมเงิน

32
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

ทั้งหมดนี้ก็คือของรัฐบาลทั้งหมด เพราะฉะนั้นก็ยกเว้นไปเลย ถึงแม้จะได้รับดอกเบี้ย

(2) อันนี้ยกเลิกไปแล้ว เจ๊งไปแล้วเรียบร้อยตอนวิกฤติเสดกิจ ตั้งขึ้นมาเพื่อลงทุนระหว่างรัฐบาล


กับพ่อค้า เอาเงินมาลงขัน ใครมีโปรเจคดีๆอยากทำก็มากู้เงินจากที่นี่ เหมือน BOI แต่เค้าไม่
ได้สิทธิพิเศษทางภาษี เค้าก็กู้เงินไปลงทุน จ่ายดอกเบี้ยราคาต่ำ แต่ตอนหลังหนี้สินก็เยอะขึ้น
เพราะคนยืมไม่ได้จ่ายดอกเบี้ยแล้วก็เจ๊งกันเป็นแถว แล้วก็เลิกไป

(3) สหกรณ์ออมทรัพย์ คุณเห็นสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬามั้ย เคได้ยินข่าวลงหนังสือพิมพ์มั้ยที่มัน


ไปปล่อยกู้ต่อ สหกรณ์ออมทรัพย์อันนี้ก็คือเงินเดือนของอาจารย์ที่เป็นสมาชิกก็จะไปลงที่สห
กรณ์อมทรัพย์ ถ้าจารจะใช้เงินก็ไปเบิกมา ที่เหลือเค้าก็จะได้ดอกเบี้ย

แล้วก็ในกรณีที่อาจารย์ต้องการเงิน เช่น ซื้อบ้าน รถ ก็กู้ได้จากสหกรณ์ออมทรัพย์ แล้วก็ชำระ


หนี้ธนาคาร ดอกเบี้ยจะต่ำมาก

สหกรณ์ออมทรัพย์ตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือข้าราชการไม่ลำบากในการกู้ยืมเงิน เพราะฉะนั้นก็
ยกเว้นภาษี SBT ให้

(4)

อันนี้ เราเรียนมาภาษีเงินไ้นิติมาแล้ว เงินเดือนของคุณก็จะถูกหัก บริษัทก็จะสมทบให้ แล้วก็ให้


บริษัทไฟแนนซ์หรือธนาคารไป manage ให้กู้ได้ดอกเบี้ยมา เอาดอกเบี้ยมาใส่ให้พวกคุณ แล้ว
เวลาที่คุณรีไทล์หรือลาออก เค้าก็จะเอาเงินก้อนนี้ให้คุณ มาจากดอกผลที่ฝากของคุณนั่นแหละ
ตอนคุณอายุหกสิบก็มีเงินนิดเดียว เค้าก็จะไม่เก็บภาษีเพื่อจะให้คุณมีมากขึ้นเท่านั้นเอง

(5)

อันเดียวกันกับธนาคารอาคารสงเคราะห์

ธนาคารอาคารสงเคราะห์เอาไว้กู้เงินให้ไปซื้อบ้าน ส่วนกิจการเคหะของบ้าน ทำบ้านขาย ถ้า


คุณกู้ธนาคารอาคารสงเคราะห์มาซื้อของการเคหะเนี่ยแหละ การเคหะนี่ทำบ้านขายนะคะ แล้ว
บอกว่าเฉพาะการขายหรือให้เช่าซื้ออสังหา ก็คือบ้านนั่นเอง

(6) กิจการจำนำของกระทรวงทบวงกรม ราชการส่วนท้องถิ่น

33
ครั้งที่ 1 (05/11/18)

โรงจำนำ มี 2 อย่าง คือ

โรงจำนำของเอกชน - ดอกเบี้ยจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

โรงจำนำของหน่วยงานรัฐบาล - ดอกเบี้ยที่ได้จากการจำนำไม่ต้องเสียภาษี ยกเว้น

(7)

เดี๋ยวอากฤษฎีกาให้ดูนะคะ

เค้ายกเว้นอันนี้เพื่อจะช่วยให้คนที่ไปกู้ยืมเงินจากตรงนี้มีต้นทุนน้อยลง แล้วก็เป็นกิจการของรัฐ
บาลเพื่อจะช่วยเหลือปชช ฉะนั้นอันนี้ก็ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้

34

You might also like