Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 13

เที่ยวทิพย์ พระราชวังในเกาหลีแห่ งที่ ๑

โดย นายสั ณหวัช รามพูล

เตรียมอุดมศึกษา รุ่นที่ ๗๙

สาขาวิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่ าพระ

         เที่ยวทิพย์พระราชวังในเกาหลี ตอนที่ ๑ ในครั้งนี้ ผูเ้ ขียนจะพานำชมแหล่งท่องเที่ยวในประเทศเกาหลีใต้ที่ใครมาเยือน


ประเทศนี้ แล้ว ท่านจะต้องมาเยีย่ มชมสถานที่แห่งนี้ ถ้าท่านพลาดมาที่แห่งนี้ อาจถือว่า ท่านมาไม่ถึงประเทศเกาหลีใต้กไ็ ด้
แหล่งท่องเที่ยวนี้ คือ พระราชวังคย็องบกกุง (Gyeongbokgung Palace) ณ กรุ งโซล ประเทศเกาหลีใต้

·       พระราชวังคย็องบกกุง (Gyeongbokgung Palace) ตอนที่ ๑

ภาพที่ ๑ ภาพมุมสู งของพระราชวังคย็องบกกุง (Gyeongbokgung Palace) กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้

ที่มาของภาพ : http://www.san-shin.net/

          พระราชวังคย็องบกกุง (Gyeongbokgung Palace) เป็ นพระราชวังที่ใช้งานเป็ นหลักของบรรดาพระราชวังทั้งหมดใน


สมัยโชซอน (พุทธศักราช ๑๙๓๕ - ๒๔๔๐) โดยความหมายของ “คย็องบกกุง” ในภาษาเกาหลีหมายความว่า “พระราชวัง
แห่งพรที่ส่องสว่าง (The Palace of Shining Blessings)” หรื อ “พระราชวังแห่งความสุ ขจากสวรรค์” หรื อ “พระราชวังแห่ง
ความสุ ขที่ยงิ่ ใหญ่” เนื่องจากตั้งอยูท่ างเหนือของเมืองหลวง ทำให้มกั เรี ยกกันว่า “Bukgweol” ในภาษาเกาหลีที่แปลว่า “พระ
ราชวังเหนือ” (๑)

ภาพที่ ๒ พระบรมสาทิสลักษณ์ ของพระเจ้ าแทโจ (King Taejo) ปฐมกษัตริย์แห่ งราชวงศ์ โชซอน (ครองราช
สมบัติในปี พุทธศักราช ๑๙๓๕ – ๑๙๔๑)
ที่มาของภาพ : https://en.wikipedia.org/

          พระเจ้าแทโจ (King Taejo) ปฐมกษัตริ ยแ์ ห่งราชวงศ์โชซอน (ครองราชสมบัติในปี พุทธศักราช ๑๙๓๕ – ๑๙๔๑) ได้
ทรงสร้างพระราชวังคย็องบกกุง ณ เมืองหลวงแห่งใหม่ หลังจากราชวงศ์โครยอ (พุทธศักราช ๑๔๖๑ – ๑๙๓๕) ล่มสลาย
โดยพระราชวังคย็องบกกุง แล้วเสร็ จในเดือนกันยายน ปี พุทธศักราช ๑๙๓๘ ซึ่งประกอบไปด้วย ๓๙๐ ห้อง แต่ต่อมาถูกไฟ
ไหม้จากสงครามกับญี่ปุ่นในปี พุทธศักราช ๒๑๔๓ ที่รู้จกั กันในนามว่า “สงครามอิมจิน (Imjin War - Japanese invasions of
Korea : 1592–1598)” ภายหลังได้รับการบูรณปฏิสงั ขรณ์ในปี พุทธศักราช ๒๔๑๐ แล้วเสร็ จนับจำนวนห้องทั้งหมดได้กว่า
๗,๒๒๕ ห้อง (๒)

ภาพที่ ๓ พระบรมสาทิสลักษณ์ ของพระเจ้ าแทโจ (King Taejo) ปฐมกษัตริย์แห่ งราชวงศ์ โชซอน (ครองราชสมบัติในปี
พุทธศักราช ๑๙๓๕ – ๑๙๔๑)

ที่มาของภาพ : http://english.cha.go.kr/

ภาพที่ ๔ พระบรมสาทิสลักษณ์ ของพระเจ้ าแทโจ (King Taejo) ปฐมกษัตริย์แห่ งราชวงศ์ โชซอน (ครองราชสมบัติในปี
พุทธศักราช ๑๙๓๕ – ๑๙๔๑)

ที่มาของภาพ : https://artsandculture.google.com/

          พระราชวังคย็องบกกุงตั้งอยูใ่ นชัยภูมิที่ดีและมงคลเป็ นอย่างยิง่ โดยด้านหลังมีภูเขาพูกกั ซานที่เรี ยกในภาษาเกาหลีวา่


“Bukaksan” พระราชวังหันหน้าไปทางทิศใต้ ในขณะที่ทางด้านซ้ายเป็ นตำแหน่งของศาลเจ้าชงมโย (Jongmyo Shrine) ซึ่ง
เป็ นศาลเจ้าในลัทธิขงจื๊อใหม่ที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่กษัตริ ยแ์ ละราชินีของราชวงศ์โชซอน ส่วนทางด้านขวาเป็ นตำแหน่ง
ของแท่นบูชา Sajikdan (Sajikdan Altar) ซึ่งเป็ นสถานที่บวงสรวงเทพเจ้าแห่งผืนแผ่นดินและพืชผลธัญญาหาร ด้านหน้า
พระราชวัง คือ ภูเขา Namsan อีกทั้งภายในเมืองหลวงมีแม่น้ำ Cheongyechoen ที่ไหลไปเชื่อมต่อกับแม่น้ำ Han ที่อยู่
ภายนอกเมืองหลวง ซึ่งแนวคิดในการออกแบบพระราชวังไปตามแนวคิดเรื่ องฮวงจุย้ (Pungsu) ที่มีตน้ กำเนิดมาจากจีน
กล่าวคือ มีภูเขาด้านหลัง ภูเขาโอบล้อม และพระราชวังหันหน้าไปทางทิศใต้ รวมทั้งได้รับแรงบันดาลใจจากงาน
สถาปัตยกรรมของดินแดนอื่น คือ พระราชวังต้องห้ามในแผ่นดินจีน โดยอาคารหรื อสิ่ งปลูกสร้างที่สำคัญในพระราชวังคย็
องบกกุง (Gyeongbokgung Palace) เป็ นสถาปัตยกรรมในศิลปะเกาหลี สมัยโชซอน (พุทธศักราช ๑๙๓๕ - ๒๔๔๐) เห็นได้
จากสิ่ งปลูกสร้างทาด้วยสี สนั สดใส (๓) ต่อไปนี้ ผูเ้ ขียนจะพาผูช้ มเข้าสู่ เขตพระราชฐานชั้นนอกกัน

ภาพที่ ๕ พระราชวังคย็องบกกุงตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ดแี ละมงคลเป็ นอย่ างยิง่ โดยด้ านหลังมีภูเขาพูกกั ซานที่เรียกใน


ภาษาเกาหลีว่า “Bukaksan”

ที่มาของภาพ : https://en.wikipedia.org/
    

       ต่อไป ผูเ้ ขียนจะมานำชม เพื่อพาผูอ้ ่านหรื อผูช้ มที่น่ารักทุกท่านไปชมและเข้าสู่    เขตพระราชฐานชั้นนอกของพระรา


ชวังคย็องบกกุง (Gyeongbokgung Palace) กันครับ 

          เขตพระราชฐานชั้นนอก

๑. ประตููควางฮวามุน (Gwanghwamun Gate) เป็ นประตูทางเข้าหลักแห่งที่ ๑ ของพระราชวังด้านทิศใต้ ซึ่งอยูใ่ นตำแหน่ง


สำคัญ ดังนั้นประตูแห่งนี้จึงมีลกั ษณะแตกต่างจากประตูอื่น ได้แก่ ประตูประกอบด้วยหลังคาสองชั้นและปรากฏประตูสาม
ช่อง ส่วนหน้าที่การใช้งานของประตูควางฮวามุ
ู น (Gwanghwamun Gate) คือ การเป็ นประตูแบบป้ อมปราการของ
พระราชวังแห่งนี้  (๔)

ภาพที่ ๖ ประตููควางฮวามุน (Gwanghwamun Gate) กับรูปปั้น Haetae (해태) สิ งโตมีเขา : สัตว์ ในเทพนิยาย


ของเกาหลี

ที่มาของภาพ : http://www.royalpalace.go.kr/

ภาพที่ ๗ ประตููควางฮวามุน (Gwanghwamun Gate)

ที่มาของภาพ : https://en.wikipedia.org/

๒. ประตูฮึงนเยมุน (Heungnyemun Gate) เป็ นประตูทางเข้าหลักแห่งที่ ๒ ของพระราชวังด้านทิศใต้และมีลกั ษณะเช่น


เดียวกันกับประตูควางฮวามุ
ู น (Gwanghwamun Gate) ส่วนหน้าที่การใช้งานของประตูฮึงนเยมุน (Heungnyemun Gate) คือ
ใช้สำหรับให้ขนุ นางเข้าเฝ้ าฯ พระมหากษัตริ ย ์ รวมทั้งใช้เป็ นสถานที่สำหรับสอบสวนผูก้ ระทำความผิดร้ายแรงทางอาญา
และการประกาศใช้กฎหมายของพระราชอาณาจักรต่าง ๆ (๕)

ภาพที่ ๘ ประตูฮึงนเยมุน (Heungnyemun Gate)

ที่มาของภาพ : http://www.royalpalace.go.kr/

 
๓. สะพานยองเจกโย (Yeongjegyo Bridge) และลำธารคึมชอน (Geumcheon Stream) สะพานยองเจกโย (Yeongjegyo
Bridge) ตั้งอยูร่ ะหว่างประตูฮึงนเยมุน (Heungnyemun Gate) กับประตู  คึนชองมุน (Geunjeongmun Gate) ซึ่งประตูทางเข้า
หลักแห่งที่ ๓ ของพระราชวังด้านทิศใต้ที่กล่าวต่อไป รวมทั้งสะพานยองเจกโย (Yeongjegyo Bridge) ตั้งอยูใ่ จกลางลำธาร
คึมชอน (Geumcheon Stream) ที่ไหลลงมาจากภูเขาพูกกั ซาน (Bukaksan Mountain) ผ่านพระราชวังจากทางตะวันตกไป
ทางตะวันออก (๖) ซึ่งเป็ นไปตามแบบแผนโบราณราชประเพณีของการสร้างพระราชวังในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกที่มกั
มีสายน้ำไหลผ่านพระราชวังจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก หลังจากไหลลงมาจากภูเขาด้านหลังพระราชวัง (๗)

ภาพที่ ๙ สะพานยองเจกโย (Yeongjegyo Bridge) มองจากทางทิศใต้ ของสะพาน ทำให้ มองเห็นประตูคนึ จ็องมุน


(Geunjeongmun Gate)

ที่มาของภาพ : http://www.royalpalace.go.kr/

ภาพที่ ๑๐ ลำธารคึมชอน (Geumcheon Stream)

ที่มาของภาพ : http://www.royalpalace.go.kr/

๔. ประตูคนึ จ็องมุน (Geunjeongmun Gate) เป็ นประตูทางเข้าหลักแห่งที่ ๓ ของพระราชวังด้านทิศใต้  และมีลกั ษณะเช่น


เดียวกันกับประตูควางฮวามุ
ู น (Gwanghwamun Gate) และประตูฮึงนเยมุน (Heungnyemun Gate) ส่วนหน้าที่การใช้งานของ
ประตูคึนจ็องมุน (Geunjeongmun Gate) คือ การประชุมขนาดเล็กของพระมหากษัตริ ยก์ บั ขุนนางฝ่ ายพลเรื อนและทหาร (๘)

ภาพที่ ๑๑ ประตูคนึ จ็องมุน (Geunjeongmun Gate)

ที่มาของภาพ : https://en.wikipedia.org/

๕. พระที่นั่งคึนชองจอน (Geunjeongjeon Hall) เป็ นพระที่นงั่ ประธานและสำคัญที่สุด เห็นได้จากการใช้ฐานหิ นอ่อน ๒


ชั้น ในขณะที่อาคารประเภทอื่นใช้ฐานหิ นประเภทอื่นและปรากฏเพียง ๑ ชั้น โดยพระที่นงั่ คึนชองจอนใช้สำหรับประกอบ
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริ ยแ์ ห่งเกาหลี รัฐพิธี และพระราชพิธีต่าง ๆ รวมทั้งใช้สำหรับพระมหากษัตริ ย ์
ออกว่าราชการกับเหล่าขุนนาง เพื่อปรึ กษาหารื อเกี่ยวกับงานกิจการบ้านเมืองและออกต้อนรับเหล่าคณะทูตานุทูตและพระ
ราชอาคันตุกะ นอกจากนี้พระราชวังแห่งนี้ยงั เป็ นสถานที่ใช้สำหรับให้เหล่าขุนนางถวายพระพรแด่พระมหากษัตริ ยใ์ นวัน
ขึ้นปี ใหม่ตามขนบธรรมเนียมประเพณี ของเกาหลีดว้ ย (๙)

          ชื่อของพระที่นงั่ “คึนชองจอน” มีความหมายว่า “พระที่นงั่ แห่งความขยันหมัน่ เพียรสู่ การปกครองอันปราดเปรื่ องยิง่ ”


ซึ่งมาจากความเชื่อที่วา่ “อาณาจักรที่มีผปู้ กครองที่ทรงธรรม ขยันหมัน่ เพียรและปรี ชาสามารถก็จกั นำพาอาณาจักรนั้นไปสู่
ความเจริ ญรุ่ งเรื องได้” (๑๐)

          สภาพของพระที่นงั่ คึนชองจอนในปัจจุบนั ที่อยูใ่ นปัจจุบนั นั้น ได้ผา่ นการบูรณปฏิสงั ขรณ์มาแล้วในปี ที่ ๔ ของรัช
สมัยพระเจ้าโคจง (ปี พุทธศักราช ๒๔๑๐) หลังจากได้รับความเสี ยหายจากเพลิงไหม้ในสงครามญี่ปุ่นรุ กรานเกาหลีในปี
พุทธศักราช ๒๑๓๕ แต่อย่างไรก็ตาม สภาพของพระที่นงั่ คึนชองจอนในภายหลังจากการบูรณปฏิสงั ขรณ์มีความแตกต่าง
จากสภาพเดิม พระที่นงั่ คึนชองจอนในปัจจุบนั ได้ข้ ึนทะเบียนเป็ นสมบัติแห่งชาติ หมายเลข ๒๒๓ (๑๑)

ภาพที่ ๑๒ พระที่นั่งคึนชองจอน (Geunjeongjeon Hall)

ที่มาของภาพ : https://en.wikipedia.org/

๖. พระที่นั่งซาจ็องจอน (Sajeongjeon Hall) เป็ นสถานที่สำหรับทรงงานของพระมหากษัตริ ยแ์ ห่งเกาหลี คือ การปรึ กษา
หารื อข้อราชการกับเหล่าขุนนางและทรงศึกษาภาษาจีน วิทยาการ ความรู้และขนบธรรมเนียมประเพณี ของจีนจาก
ข้าราชการของพระองค์ในยามปกติ รวมทั้งใช้เป็ นสถานที่สำหรับทรงออกต้อนรับและมีพระราชปฏิสนั ถารกับเหล่า
ทูตานุทูตและพระราชอาคันตุกะ ทรงจัดงานสังสรรค์ร่วมกับพระประยูรญาติและขุนนางชั้นผูใ้ หญ่ และทรงควบคุมการ
สอบคัดเลือกเพื่อรับราชการเป็ นขุนนางที่จดั ขึ้นในบริ เวณพระที่นงั่ แห่งนี้  (๑๒)

ภาพที่ ๑๓ พระที่นั่งซาจ็องจอน (Sajeongjeon Hall)

ที่มาของภาพ : http://www.royalpalace.go.kr/

๗. ประตูคอ็ นชุนมุน (Geonchunmun Gate) เป็ นประตูประจำทิศตะวันออก ชื่อของประตูมีความหมายว่า "การเริ่ มต้นของ


ฤดูใบไม้ผลิ" หน้าที่ของประตูน้ ี โดยส่ วนใหญ่ ใช้สำหรับองค์รัชทายาทและข้าราชบริ พารในพระองค์ สภาพประตูใน
ปัจจุบนั ได้รับการบูรณะขึ้นเมื่อครั้งการบูรณปฏิสงั ขรณ์พระราชวังคย็องบกขึ้นใหม่ในปี พุทธศักราช ๒๔๐๘ ตรงกับปี ที่ ๒
ของรัชสมัยพระเจ้าโคจง (King Gojong) (๑๓)

ภาพที่ ๑๔ ประตูคอ็ นชุนมุน (Geonchunmun Gate)

ที่มาของภาพ : http://english.cha.go.kr/

๘. ประตูยอ็ งชูมุน (Yeongchumun Gate) เป็ นประตูประจำทิศตะวันตก ชื่อของประตูมีความหมายว่า “ยินดีตอ้ นรับฤดู


ใบไม้ร่วง” หน้าที่ของประตูน้ ี โดยส่ วนใหญ่ ใช้สำหรับเจ้าหน้าที่ประจำศาลแพ่งและศาลทหารเป็ นหลัก โดยเฉพาะขุนนางที่
ทำงานในอาคารของหน่วยงานราชการที่ต้ งั อยูท่ างทิศตะวันตก ประตูยอ็ งชูมุนในปัจจุบนั ได้รับการบูรณะในปี พุทธศักราช
๒๕๑๘ (๑๔)

 
ภาพที่ ๑๕ ประตูยอ็ งชูมุน (Yeongchumun Gate)

ที่มาของภาพ : http://www.royalpalace.go.kr/

๙. ประตูซินมูมุน (Sinmumun Gate) เป็ นประตูประจำทิศเหนือ สร้างขึ้นภายหลังการก่อสร้างกำแพงด้านเหนือเสร็ จสิ้ นลง


ในปี พุทธศักราช ๒๐๑๘ ซึ่งตรงกับปี ที่หกของรัชสมัยพระเจ้าซองจง (King Seongjong) ส่ วนหน้าที่การใช้งานของประตูน้ ี
ปรากฏว่ามีผใู้ ช้งานประตูประจำทิศเหนือไม่มากนัก โดยในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าย็องโจ (King Yeongjo) ซึ่งครองราช
สมบัติในปี พุทธศักราช ๒๒๖๗ – ๒๓๑๙ เมื่อมีการจัดพิธีอุทิศและรำลึกถึงบรรพบุรุษสำหรับพระราชมารดาของพระเจ้าย็
องโจ นามว่า “ซุกบิน (Sukbin)” ปรากฏการจัดพิธีผา่ นประตูน้ ี เพื่อเป็ นเส้นทางไปยังศาลเจ้ายุกซังกุง (Yuksanggung
Shrine) ซึ่งเป็ นศาลเจ้าของพระนางซุกบิน (Sukbin) ผูม้ าจากตระกูลชเว (Choe) โดยเป็ นพระสนมเอกของพระเจ้าซุกจง
(King Sukjong) ซึ่งเป็ นพระราชบิดาของพระเจ้าย็องโจ ประตูซินมูมุนมีขนาดเดียวกับประตูคอ็ นชุนมุน สภาพของประตูใน
ปัจจุบนั ได้รับการบูรณะขึ้นเมื่อมีการบูรณปฏิสงั ขรณ์พระราชวังคย็องบกกุงขึ้นใหม่ในปี พุทธศักราช ๒๔๐๘ (๑๕)

ภาพที่ ๑๖ สุ สานหลวงของพระเจ้ าซองจง (The Royal Tombs of King Seongjong) ณ กรุงโซล ประเทศ
เกาหลีใต้  

ที่มาของภาพ : https://th.m.wikipedia.org/

ภาพที่ ๑๗ พระบรมสาทิสลักษณ์ ของพระเจ้ าย็องโจ (King Yeongjo) ซึ่งครองราชสมบัติในปี พุทธศักราช ๒๒๖๗ – ๒๓๑๙

ที่มาของภาพ : https://en.wikipedia.org/ 

ภาพที่ ๑๘ ประตูซินมูมุน (Sinmumun Gate)

ที่มาของภาพ : http://www.royalpalace.go.kr/

ภาพที่ ๑๙ ประตูซินมูมุน (Sinmumun Gate)

ที่มาของภาพ : https://www.heritage.go.kr/
ภาพที่ ๒๐ - ๒๑ ศาลเจ้ ายุกซังกุง (Yuksanggung Shrine)

ที่มาของภาพ : http://english.cha.go.kr/

๑๐. กำแพงพระราชวังคย็องบกกุง (Gyeongbokgung Palace Walls) เป็ นกำแพงสูงล้อมรอบพระราชวัง โดยกำแพงด้านทิศ


ตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตก สร้างขึ้นในปี พุทธศักราช ๑๙๔๑ ตรงกับปี ที่เจ็ดในรัชสมัยพระเจ้าแทโจ (King Taejo)
ประกอบด้วยประตูคอ็ นชุนมุน (Geonchunmun Gate) ทางทิศตะวันออก ประตูควางฮวามุ
ู น (Gwanghwamun Gate) ทางทิศ
ใต้ และประตูยอ็ งชูมุน (Yeongchumun Gate) ทางทิศตะวันตก ซึ่งสร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับกำแพงพระราชวัง ต่อมาส
ร้างกำแพงด้านทิศเหนือพร้อมกับประตูประจำทิศเหนือ คือ ประตูซินมูมุน (Sinmumun Gate) (๑๖)

          กำแพงพระราชวังเป็ นผังรู ปสี่ เหลี่ยมผืนผ้า โดยด้านซ้ายและด้านขวาของกำแพงพระราชวังด้านหน้าประกอบด้วยหอ


สังเกตการณ์สองแห่ง ได้แก่ ทงซิบจากัก (Dongsibjagak) และซอซิบจากัก (Seosibjagak) แม้วา่ อาคารในพระราชวังทั้งหมด
จะได้รับความเสี ยหายจากเหตุเพลิงไหม้ระหว่างการรุ กรานของญี่ปุ่นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ กำแพงพระราชวังได้
รับการซ่อมแซมและสร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัยของพระเจ้าโคจง (King Gojong) แต่ในช่วงการยึดครองของกองทัพจักรววรดิ
ญี่ปุ่น (พุทธศักราช ๒๔๕๓ – ๒๔๘๘) กำแพงพระราชวังด้านหน้าถูกรื้ อถอนและส่ วนที่เหลือได้รับความเสี ยหายระหว่าง
สงครามเกาหลี (พุทธศักราช ๒๔๙๓ – ๒๔๙๖) สภาพของกำแพงพระราชวังในปัจจุบนั ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่หลายครั้ง
ตั้งแต่น้ นั มา โดยมีการทาสี ใหม่เพิ่มเติมบนกำแพงพระราชวังเดิม (๑๗)

ภาพที่ ๒๒ กำแพงพระราชวังคย็อง
บกกุง (Gyeongbokgung Palace Walls) ในช่ วงประมาณปี พุทธศักราช ๒๔๕๔ - ๒๔๖๓

ที่มาของภาพ : http://www.royalpalace.go.kr/

ภาพที่ ๒๓ - ๒๔ กำแพงพระราชวังคย็องบกกุง (Gyeongbokgung Palace Walls) ในปัจจุบัน

ที่มาของภาพ : http://jsk33.blogspot.com/
๑๑. หอสั งเกตการณ์ทงซิบจากัก (Dongsibjagak Watchtower)

          หอสังเกตการณ์น้ ี ต้ งั อยูท่ ี่มุมของกำแพงพระราชวังทางทิศตะวันออกเฉี ยงใต้ โดยมีการรื้ อถอนกำแพงพระราชวังที่ต้ งั


อยูก่ ลางสี่ แยกอันพลุกพล่าน และหอสังเกตการณ์ที่มุมของกำแพงพระราชวังทางทิศตะวันตกฉี ยงใต้ คือ หอสังเกตการณ์ซอ
ซิบจากัก (Seosibjagak) ที่อยูอ่ ีกด้านหนึ่งของพระราชวังก็ถูกรื้ อถอนในปี พุทธศักราช ๒๔๖๖ ซึ่งอยูใ่ นระหว่างช่วงระยะ
เวลาการยึดครองแผ่นดินเกาหลีของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น (๑๘)

ภาพที่ ๒๕ หอสั งเกตการณ์ ทงซิบจากัก (Dongsibjagak Watchtower)

ที่มาของภาพ : http://www.royalpalace.go.kr/

ภาพที่ ๒๖ ภาพถ่ ายเก่าแสดงให้ เห็นภาพมุมสู งของบริเวณด้ านหน้ าพระราชวังคย็องบกกุง (Gyeongbokgung Palace) โดย
เฉพาะหอสั งเกตการณ์ ซอซิบจากัก (Seosibjagak Watchtower) ในอดีต ก่อนโดนรื้อถอนโดยกองทัพจักรวรรดิญี่ปนในปีุ่
พุทธศักราช ๒๔๖๖ และหอสั งเกตการณ์ ทงซิบจากัก (Dongsibjagak Watchtower) ที่ยงั คงยืนเด่ นตระหง่ านอย่ างสง่ างาม
มาจนถึงปัจจุบัน

ที่มาของภาพ : ดัดแปลงจากภาพที่นำมาจาก https://www.seouland.com/

ภาพที่ ๒๗ ภาพถ่ ายเก่าแสดงให้ เห็นหอสั งเกตการณ์ ซอซิบจากัก (Seosibjagak Watchtower) ในอดีต ก่อนโดนรื้อถอนโดย
กองทัพจักรวรรดิญี่ปนในปี
ุ่ พุทธศักราช ๒๔๖๖

ที่มาของภาพ : https://www.seouland.com/

ภาพที่ ๒๘ ป้ายอนุสรณ์ เพือ่ รำลึกถึงหอสั งเกตการณ์ ซอซิบจากัก (Seosibjagak Watchtower) ที่ก่อนโดนรื้อถอนโดย


กองทัพจักรวรรดิญี่ปนในปี
ุ่ พุทธศักราช ๒๔๖๖

ที่มาของภาพ : https://www.seouland.com/

 
       ต่อไป ผูเ้ ขียนจะมานำชม เพื่อพาท่านผูอ้ ่านหรื อผูช้ มที่น่ารักทุกคนไปชมภาพทิวทัศน์ของพระราชวังคย็องบกกุง
(Gyeongbokgung Palace) ในทัศนียภาพและช่วงเวลาต่าง ๆ กันครับ ถ้าพร้อมกันแล้ว ตามมากันได้เลยครับ

ภาพที่ ๒๙ ภาพทิวทัศน์ ของพระราชวังคย็องบกกุง (Gyeongbokgung Palace) ยามค่ำคืน

ที่มาของภาพ : https://en.wikipedia.org/

      ขอจบการนำชมไว้เพียงเท่านี้ โปรดติดตามตอนต่อไป เที่ยวทิพย์พระราชวังในเกาหลีแห่งที่ ๑ พระราชวังคย็องบกกุง


(Gyeongbokgung Palace) ตอนที่ ๒ : เขตพระราชฐานชั้นใน

เชิงอรรถอ้างอิง

(๑)

(๒)

(๓) อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช. “งานสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ในศิลปะเกาหลี (The Other Architecture in The Korean Art).”
เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ๓๑๐ ๒๒๔ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร,
๒๕๖๓.                                         

(๔) Cultural Heritage Administration - Royal Palaces and Tombs Center - Gyeongbokgung Palace Management
Office, Palace Walls and Gates, accessed August 10, 2021, available from http://www.royalpalace.go.kr/
(๕)

(๖)

(๗) อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช. “งานสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ในศิลปะเกาหลี (The Other Architecture in The Korean Art).”         

(๘) Cultural Heritage Administration - Government Complex-Daejeon, Gyeongbokgung Palace, accessed August 10,


2021, available from http://english.cha.go.kr/

(๙)

(๑๐)

(๑๑)

(๑๒)

(๑๓) Cultural Heritage Administration - Government Complex-Daejeon, Gyeongbokgung Palace.

(๑๔) Cultural Heritage Administration - Royal Palaces and Tombs Center - Gyeongbokgung Palace Management
Office, Palace Walls and Gates.

(๑๕) Ibid.

(๑๖) Ibid.

(๑๗) Ibid.

(๑๘) Ibid.

บรรณานุกรม

๑. ภาษาไทย

 ปิ ยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล. ศิลปะเกาหลี. กรุ งเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๔.


 อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช. ประวัติศาสตร์ ศิลปะจีนโดยสั งเขป. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๒
 อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช. “งานสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ในศิลปะเกาหลี (The Other Architecture in The Korean Art).”
เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ๓๑๐ ๒๒๔ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัย
ศิลปากร, ๒๕๖๓.                                            

๒. ภาษาอังกฤษ

 Academy of Korean Studies. A Portrait of King Taejo (Lee jae-jin). accessed August 13, 2021. available
from https://artsandculture.google.com/
 Cultural Heritage Administration - Government Complex-Daejeon. Gyeongbokgung Palace. accessed August
10, 2021. available from http://english.cha.go.kr/
 Cultural Heritage Administration - Government Complex-Daejeon. Portrait of King Taejo of Joseon.
accessed August 13, 2021. available from http://english.cha.go.kr/
 Cultural Heritage Administration - Government Complex-Daejeon. 경복궁이야기 : Sinmumun Gate.
accessed August 14, 2021. available from https://www.heritage.go.kr/
 Cultural Heritage Administration - Royal Palaces and Tombs Center - Gyeongbokgung Palace Management
Office. Heungnyemun Gate Compound. accessed August 10, 2021. available
from http://www.royalpalace.go.kr/
 Cultural Heritage Administration - Royal Palaces and Tombs Center - Gyeongbokgung Palace Management
Office. Palace Walls and Gates. accessed August 10, 2021. available from http://www.royalpalace.go.kr/
 Joongsuk Kim. Seoul - Gyeongbokgung Palace. accessed August 10, 2021. available
from http://jsk33.blogspot. com/
 Park Ki - seok, and Kim Hong – sik. Korean Cultural Heritage 1 Seen through Pictures and Names. Seoul:
Sigong Tech & Korea Visuals, 2005.
 The Hankyoreh. 구중궁궐은 1923 년 사라졌다…서십자각 철거와 함께. accessed
August 13, 2021. available from https://www.seouland.com/
 Wikipedia : The Free Encyclopedia. 2016 경복궁 야간특별관람 아름다운 역사속으
로 떠나는 여행. accessed August 14, 2021. available from https://th.m.wikipedia.org/
 Wikipedia : The Free Encyclopedia. Gyeongbokgung. accessed August 10, 2021. available from
https://en.wikipedia.org/
 Wikipedia : The Free Encyclopedia. Yeongjo of Joseon. accessed August 14, 2021. available from
https://en.wiki pedia.org/
 Wikipedia : The Free Encyclopedia. Seonjeongneung - Burial ground of King Seongjong, the ninth king of
the Joseon dynasty. accessed August 14, 2021. available from https://th.m.wikipedia.org/
 Wikipedia : The Free Encyclopedia. Taejo of Joseon. accessed August 13, 2021. available
from https://en.wikipedia. org/

 
 

 
 

You might also like