Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 8

6/18/22, 4:55 PM บทเรียนวิทยาศาสตร์ออนไลน์ เรื่อง เครื่องผ่อนแรง

บทเรียนออนไลน์ บทเรียนวิทยาศาสตร์ออนไลน์   เรื่อง  เครื่องผ่อนแรง


แบบทดสอบก่อนเรียน รอก
ใบความรู้
ลูกรอกเป็ นวิวัฒนาการมาจากลูกล้อ และมีความมุ่งหมายที่จะลดความฝื ดในการ
 -  รอก เปลี่ยนทิศทางของแรง เช่น ลูกรอกบนยอดเสาธง ช่วยเปลี่ยนทิศแรงที่คนชักเชือก
 -  คาน ลงให้เป็ นแรงฉุดธงขึ้น และลดความเสียดทานระหว่างเชือกกับเสาธง การใช้
ลูกรอกเพียงลูกเดียว ไม่อาจจะช่วยผ่อนแรงได้ แต่ถ้าใช้ลูกรอกสองลูกให้ลูกบน
 -  ลิ่ม เป็ นลูกที่ตรึงติด ลูกล่างเคลื่อนที่ได้ ผูกเชือกกับรอกลูกบนแล้วคล้องกับรอกลูก
 - พื้นเอียง ล่าง เอาเชือกกลับขึ้นไปพาดกับรอกลูกบนอีกในลักษณะนี้ น้ำหนักถูกแขวนไว้ด้วย
เชือกสองเส้น แรงดึงในเชือกแต่ละเส้นจึงเท่ากับครึ่งเดียวของน้ำหนักที่ยกและ
 - ล้อ เพลา
เท่ากับแรงที่ใช้ฉุดยก ดังนั้น ถ้าเพิ่มจำนวนลูกรอกที่ติดตรึงและที่เคลื่อนที่ได้ให้
แบบทดสอบหลังเรียน เป็ นรอกตับสองตับ คือ ตับบนและตับล่าง รอกตับชุดนั้นก็จะสามารถผ่อนแรงได้
มากยิ่งขึ้น อัตราในการผ่อนแรงของรอกตับนั้นขึ้นกับจำนวนเส้นเชือกที่พันทบ
ระหว่างลูกรอกทั้งสองตับนั้น เช่น มีเชือกสี่เส้นก็จะผ่อนแรงได้สี่เท่า แต่แรง
พยายามจะต้องฉุดเชือกเป็ นความยาวถึงสี่เท่าของระยะที่น้ำหนักนั้นถูกยกขึ้นไป
ปั้นจั่นที่ใช้ตามท่าเรือ หรือสถานที่ก่อสร้าง ก็คือ เครื่องจักรกลแบบง่าย ๆ ซึ่งใช้
เครื่องผ่อนแรงแบบลูกรอก รวมกับระบบผ่อนแรงแบบอื่นๆ เข้าไว้ในเครื่องเดียวกัน

รอก คือ เครื่องกลที่ช่วยอำนวยความสะดวก  หรือช่วยผ่อนแรงในการทำงาน แบ่ง


เป็ น 3 ประเภท  คือ

1. รอกเดี่ยวตายตัว  ไม่ผ่อนแรงแต่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน
2. รอกเดี่ยวเคลื่อนที่   ผ่อนแรงได้  2  เท่า
3. รอกพวง   ผ่อนแรงได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนเส้นเชือกที่คล้องผ่าน
รอก
แรงที่เกิดจากน้ำหนักของวัตถุที่จะใช้รอกยก  เรียกว่า  แรงต้านทาน   ส่วน
แรงที่กระทำต่อเชือกเพื่อดึงวัตถุให้ยกสูงขึ้น  เรียกว่า  แรงพยายาม       
1. รอกเดียวตายตัว ( Fixed Pulley ) เป็ นรอกที่ไม่ช่วยผ่อนแรง แต่ช่วย

อำนวยความสะดวก

ให้            E           =            แรงดึง ( นิวตัน )


                           w            =          น้ำหนักหรือความต้านทาน ( นิวตัน )
                           T            =          แรงตึงของเชือก ( นิวตัน )
           เมื่อดึงวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่
                           E           =           T
                          T            =          W
www.kksci.com/elreaning/rang/page/rang_1.htm 1/8
6/18/22, 4:55 PM บทเรียนวิทยาศาสตร์ออนไลน์ เรื่อง เครื่องผ่อนแรง

 การคำนวณ สูตร E           =          W


2. รอกเดี่ยวเคลื่อนที่ ( Movable Pulley ) เป็ นลอกที่ช่วยอำนวยความสะดวก

และช่วยผ่อนแรง
            ให้                 E+T             =            W
                                T                   =             E ( เพราะเป็ นเชือกเส้นเดียวกัน
)
                                E+E             =             W
                                2E                =             W
       การคำนวณ สูตร E                  =            W/2
3.  รอกพวง ( Block Pulley) เกิดจากการนำรอกหลายๆอันมาผูกกันเป็ นพวง
เดียว ทำให้ผ่อนแรงมากขึ้น การคำนวณให้คิดทีละตัว แบบรอกเดียว

หรือ สูตร              E             =                W/2กำลังn


                               n             =                จำนวนลอกที่เคลื่อนที่

คาน
คาน(Lever) คือ เครื่องกลชนิดหนึ่งที่ใช้ดีด-งัดวัตถุให้เคลื่อนที่รอบจุด
หมุน(จุดFulcrum)  มีลักษณะแข็งเป็ นแท่งยาว เช่นท่อนไม้หรือโลหะยาว
คานอาจจะตรงหรือโค้งงอก็ได้ การทํางานของคานใช้หลักของโมเมนต์
ส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานของคานมี 3 ส่วนดังนี้
1. แรงความต้านทาน(W)หรือนํ้าหนักของวัตถุ
2.แรงความพยายาม(E)หรือแรงที่กระทำต่อคาน
3.จุดหมุนหรือจุดฟัลครัม(F=Fulcrum)

คานจำแนกได้เป็ น 3 ประเภท หรือ 3 อันดับ ดังนี้


คานอันดับที่ 1 เป็ นคานที่มีจุดหมุน(F)อยู่ระหว่างแรงความพยายาม(E)และ
แรงความต้านทาน(W)เครื่องใช้ที่ใช้หลักของคานอันดับหนึ่ง ได้แก่ ชะแลง

www.kksci.com/elreaning/rang/page/rang_1.htm 2/8
6/18/22, 4:55 PM บทเรียนวิทยาศาสตร์ออนไลน์ เรื่อง เครื่องผ่อนแรง

กรรไกรตัดผ้า แจว คีมตัดลวด กรรไกรตัดเล็บ

4.
คานอันดับที่ 2 คือ คานที่มีแรงความต้านทาน(W)อยู่ระหว่างแรงความ
พยายาม(E)และจุดหมุน(F)เครื่องใช้ที่จัดเป็ นคานอันดับที่2 ไดแก่ รถเข็นดิน
ที่เปิดขวด ที่ตัดกระดาษ ที่หนีบกล้วยสาบ 

www.kksci.com/elreaning/rang/page/rang_1.htm 3/8
6/18/22, 4:55 PM บทเรียนวิทยาศาสตร์ออนไลน์ เรื่อง เครื่องผ่อนแรง

คานอันดับที่ 3 คือ  คานที่มีแรงความพยายาม (E) อยู่ระหว่างแรงความต้านทาน


(W) และจุดหมุน(F) เครื่องใช้ที่จัดเป็ นคานอันดับ 3 ได้แก่ แหนบ ตะเกียบ พลั่ว คีม
คีบถ่าน ปากกา ไม้กวาดด้ามยาว  การผ่อนแรงของคานจะมีมากหรือน้อยให้
พิจารณาจากระยะทางจาก Eถึง F และ W ถึง F ว่าระยะทาง EF ยาวหรือสั้นกว่า
WF ถ้ายาวกว่า ก็จะผ่อนแรงถ้าสั้นกว่าจะไม่ผ่อนแรง

 ลิ่ม
ลิ่ม เป็ นวัตถุแข็งตัน  ซึ่งปลายด้านหนึ่งมีลักษณะแบนหรือแหลม   ส่วนอีกด้านหนึ่ง
เป็ นหน้าเรียบ  เมื่อใช้ลิ่มตอกลงไปในวัตถุ  ลิ่มจะแทรกลงไปในวัตถุได้ด้วยแรง
ตอก  
เป็ นเครื่องมือกลพื้นฐาน ซึ่งโดยหลักการคือการใช้พื้นเอียงในการแยกของสองสิ่ง
ออกจากกัน การให้แรงในแนวตั้งฉากกับส่วนหัว จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแรงตั้งฉาก
ไปแนวแรงในแนวตั้งฉากกับพื้นเอียงจะทำให้เกิดการได้เปรียบเชิงกล ขึ้นอยู่กับ
สัดส่วนของความยาวและความกว้างของตัวลิ่ม โดย ถ้าลิ่มมีความกว้างมาก จะต้อง
ใช้แรงมากกว่า ลิ่มที่มีความกว้างน้อยกว่า  ตัวอย่างของการใช้ลิ่ม เช่น ขวาน ตะปู
มีด สิ่ว เป็ นต้น

ประเภทของลิ่ม
 ลิ่มที่ใช้ประกอบระหว่างเพลากับชิ้นส่วนอื่นไม่ว่าจะเป็ นเฟือง พลูเลย์ หรือล้อ
สายพานต่างๆลิ่มมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการใช้งาน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

www.kksci.com/elreaning/rang/page/rang_1.htm 4/8
6/18/22, 4:55 PM บทเรียนวิทยาศาสตร์ออนไลน์ เรื่อง เครื่องผ่อนแรง

ลิ่มส่งกำลัง
                ประเภทนี้มีหน้าที่ส่งกำลังระหว่างล้อกับเพลาในเครื่องจักรกลใหญ่ๆที่ใช้
ล้อสายพาน ใช้เฟือง ใช้คลัตช์ หรือเครื่องจักรกลเกษตร  ก็ใช้ลิ้มส่งกำลัง ลิ้มชนิดนี้
ถอดประกอบได้ง่าย ลิ้มส่งกำลังจะมีความลาด 1 ต่อ 100 หมายถึง  ที่ความยาว 100
มิลลิเมตร  ความสูงของ ลิ้มจะลดลง 1 มิลลิเมตร ดังรูป

ลิ่มส่วนอัดเข้าไปในล้อกับเพลา
                ลิ่มประเภทนี้จะมีหัวท้ายปลายตัดตรง การใช้สอดใส่เข้าไประหว่างล้อกับ
เพลา จากนั้นจึงใช้แรงกระแทกอัดให้แน่นให้ได้ตำแหน่งตามต้องการ ร่องลิ่มจะ
ต้องมีความยาวมากกว่าลิ่มสองเท่า การใส่ในทิศทางหนึ่งและเวลาต้องถอดใน
ทิศทางตรงกันข้ามดังรูป

www.kksci.com/elreaning/rang/page/rang_1.htm 5/8
6/18/22, 4:55 PM บทเรียนวิทยาศาสตร์ออนไลน์ เรื่อง เครื่องผ่อนแรง

ลิ่มมีหัว
                ลิ่มประเภทนี้จะใช้ในกรณีที่ล้อ และเพลาสามารถในลิ่มได้เพียงด้านเดียว
ดังนั้นการถอดประกอบก็ต้องถอดเพียงด้านเดียว  ดังรูป

ลิ่มขวาง
                ลิ่มประเภทนี้เหมาะสำหรับยึดชิ้นงานที่ต้องการกับแรงดัด  แรงดัดโก่ง
และแรงอัด  แต่ มีข้อเสียคือชิ้นงานจะมีความแข็งแรงน้อยลงเพราะรูขวางอยู่ ดังรูป

ลิ่มอัด
                ลิ่มประเภทนี้ไม่มีความลาดตามแนวยาว จะขนานตามแนวยามตลอดลำ
ตัว  ดังนั้นแรงที่ขับขี่ล้อหรือเพลาให้หมุนนั้นจะกระทำผ่านผิวด้านของลิ้ม  ผิวด้าน
ข้างลิ้มจะรับภาระเฉลือนแต่ข้อดีคือ  ระหว่างล้อกับเพลาจะไม่มีการเยื้องศูนย์ ลิ่ม
ประเภทนี้เหมาะสำหรับเพลาที่หมุนดังรูป

www.kksci.com/elreaning/rang/page/rang_1.htm 6/8
6/18/22, 4:55 PM บทเรียนวิทยาศาสตร์ออนไลน์ เรื่อง เครื่องผ่อนแรง

ลิ่มฝัง  เป็ นสิ่งส่งกำลังตามมาตรฐานของ DIN แบบ A ลักษณะดังรูปร่างของลิ่มฝัง


จะมีหัวท้ายเป็ นรูปโค้งครึ่งวงกลม ในการประกอบจะวางลิ่มลงในร่องเพลาก่อน 
แล้วเลื่อนล้อสวมเข้สาไปให้แน่น ตำแหน่งล้อที่อัดแน่นจะไม่สามารถกำหนดให้
แน่นอน การกัดผิวร่องกระทำได้ยากจึงไม่นิยมนำมาใช้ แต่ลิ่มชนิดนี้ฝังลงในร่องจึง
นำมาใช้ในงานที่รับโมเมนต์มากได้  ลิ่มชนิดนี้มีลักษณะรูปร่าง  ดังรูป

ลิ่มเว้า  เป็ นลิ่มส่งกำลังตามมาตรฐานของ  DIN มีด้านที่ประกอบติดกับเพลาเป็ น


รูปเว้าให้แนวติดเพลากลม ไม่ต้องปาดผิวเพลาทำให้ลดต้นทุนการผลิตใช้กับงานที่
รับโมเมนต์ต่ำพวกล้อขนาดเล็กๆลิ่มชนิดนี้มีลักษณะรูปร่าง ดังรูป

พื้นเอียง

พื้นเอียง คือ เครื่องกล ที่ช่วยผ่อนแรงมีลักษณะเป็ นไม้กระดานยาวเรียบ ใช้สำหรับ


พาดบนที่สูงเพื่อขนย้ายวัตถุสิ่งของสู่ที่สูงโดยการลากหรือผลัก
www.kksci.com/elreaning/rang/page/rang_1.htm พื้ 7/8
6/18/22, 4:55 PM บทเรียนวิทยาศาสตร์ออนไลน์ เรื่อง เครื่องผ่อนแรง

ประโยชน์ของพื้นเอียง คือ  ช่วยอำนวยความสะดวกและช่วยผ่อนแรงในการขน


ย้ายสิ่งของขึ้นหรือ
ลงจากยานพาหนะ
ตัวอย่างการคำนวณ  นาย ก. ใช้พื้นเอียงยาว 8 เมตร วางพาดกำแพงสูง 2 เมตร
โดยให้ปลายของพื้นเอียงอยู่บนกำแพงพอดี แล้วลากวัตถุหนัก 500 นิวตัน ขึ้นไปไว้
บนกำแพง จงหาว่านาย ก ออกแรงเท่าใด
ให้ออกแรงลาก = X นิวตัน

งานที่ให้= งานที่ได้  
แรงที่ใช้ลาก ? ความยาวพื้นเอียง น้ำหนักวัตถุ ? ความสูงพื้นเอียง
=
X ? 8=500 ? 2  
X= 500 ? 2 / 8 = 125 นิวตัน
 

ตอบ แรงที่ออกเท่ากับ 125 นิวตัน

ตัวอย่างการคำนวณ   นักเรียนคนหนึ่งยกของหนัก 20 นิวตัน จากพื้นห้องวางบน


โต๊ะสูง 0.90 เมตร งานเนื่องจากแรงยกของนี้มีค่าเท่าไร
                            จากสูตร      งาน    =    แรง x ระยะทาง
                                                       =     20 N  x 0.90 m
                                                       =      18   Nm               
                                               ตอบ     18    นิวตัวเมตร

ล้อ-เพลา

ล้อและเพลา เป็ นเครื่องกลที่ช่วยผ่อนแรงประกอบด้วยวัตถุทรงกระบอก 2 อันติด


กัน อันใหญ่เรียกว่าล้อ อันเล็กเรียกว่าเพลา ใช้เชือก 2 เส้น พันรอบล้อเส้นหนึ่ง อีก
เส้นหนึ่งพันรอบเพลาโดยพันไปคนละทาง        ปลายข้างหนึ่งของเชือกที่พันรอบ
เพลาผูกติดกับวัตถุ ปลายข้างหนึ่งของเชือกที่พันรอบล้อใช้สำหรับออกแรงดึง
เป็ น
เครื่องมือที่เราเห็นและใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป ได้แก่ พวงมาลัยรถยนต์ สว่าน
ไฟฟ้า พัดลม ซึ่งจะประกอบด้วยเพลาเป็ นแกนกลาง  ส่วนล้อจะอยู่ข้างนอก

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาขอนแก่น
ถนนมิตรภาพ ตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จ.ขอนแก่น 40110
Tel. 043-274154-5 Fax. 043-274046

www.kksci.com/elreaning/rang/page/rang_1.htm 8/8

You might also like