พื้นฐานเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 11

พื้นฐานเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

เศรษฐศาสตร์ เป็นสาขาวิชาหนึ่งของสังคมศาสตร์ เป็นการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับการ


ดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อันได้แก่ กิจกรรมการผลิต การกระจายสินค้าและบริการต่างๆที่ผลิตได้ไปสู่
ผู้บริโภคและผู้ใช้บริการ กิจกรรม ทางเศรษฐกิจดังกล่าวนี้เกี่ยวข้องกับชีวติ ประจาวันของเราทุกคน เพราะเรา
ต่างก็คือผู้ผลิตและ/หรือ ผู้บริโภค เศรษฐศาสตร์จึงมิใช่วิชาที่อยูไ่ กลตัว หากเราได้ศึกษาและทาความเข้าใจ
กฎเกณฑ์และเนื้อหาของวิชาเศรษฐศาสตร์ไปตาม ลาดับขั้น ก็ย่อมจะเกิดความเข้าใจในสาขาวิชานี้ได้ไม่
ยากนัก

ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
โดย ทั่วไปก่อนที่จะศึกษาอะไร สิ่งที่ผู้ศึกษาควรจะต้องทราบเป็นลาดับแรกก็คือสาขาวิชานั้นๆเป็น
ศาสตร์ที่ ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใด สาหรับการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ ( Economics) ก็เช่นเดียวกัน มีผู้รู้ได้ให้
คานิยามของวิชาเศรษฐศาสตร์ไว้มากมายหลายท่าน อาทิ

อัลเฟรด มาร์แชลล์ (Alfred Marshall) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้กล่าวถึงความหมาย ของวิชา


เศรษฐศาสตร์ไว้ในหนังสือ Principle of Economics ว่าเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม ของมนุษย์ทั้ง
ระดับบุคคลและสังคม ในการดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อการดารงชีพให้ได้รับความสุขสมบูรณ์
พอ ล แซมมวลสัน (Pual Samuelson) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกนั ได้ให้คานิยามวิชาเศรษฐศาสตร์
ว่าคือวิชาที่ศึกษาเกีย่ วกับวิธีการที่มนุษย์ และสังคมจะโดยใช้เงินหรือไม่ก็ตาม ตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากร
การผลิตที่มีอยู่อย่างจากัดไปในการผลิตสินค้าและ บริการ และจาหน่ายจ่ายแจกสินค้า และบริการเหล่านั้น
ไปยังกลุ่มบุคคลต่างๆในสังคมทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ส่วนคานิยามที่ได้รับความนิยมได้แก่คานิยาม
ของไลโอเนล รอบบินส์ (Lionel Robbins) ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือชื่อ An Essay on the Nature and
Significance of Economic Science ว่า เศรษฐศาสตร์คือวิชาที่ศกึ ษาถึงการเลือกหาหนทางที่จะใช้ปัจจัย
การผลิตอันมี อยู่อย่างจากัด เพื่อให้บรรลุผลสาเร็จตามจุดประสงค์ที่มีอยู่อย่างนับไม่ถว้ น
ประยูร เถลิงศรี ให้คานิยามไว้ในหนังสือ หลักเศรษฐศาสตร์ ว่า วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาสังคมศาสตร์ที่
เกี่ยวกับการศึกษาว่ามนุษย์เลือก ตัดสินใจอย่างไรในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจากัด เพื่อผลิตสิง่ ของและ
บริการ และแบ่งปันสิ่งของและบริการเหล่านั้นเพือ่ อุปโภคและบริโภคระหว่างบุคคล ต่างๆในสังคม ทั้งใน
เวลาปัจจุบันและในอนาคต
มนูญ พาหิระ ให้คานิยามไว้ในหนังสือ ทฤษฎีราคา ว่าเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาในเรื่อง ที่เกี่ยวกับการ
นาทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจมาทาการผลิตสินค้าและ บริการเพื่อสนองหรือบาบัดความต้องการ
ของมนุษย์
นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการอีกหลายท่านที่ได้ให้ความหมายของคาว่าเศรษฐศาสตร์ไว้ อย่างไรก็ตาม พอสรุป
ได้ว่า วิชา เศรษฐศาสตร์เป็นการศึกษาถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรอันมีอยู่อย่างจากัดเพื่อ ผลิตสินค้าและ
บริการต่างๆสนองความต้องการของมนุษย์ซึ่งโดยทั่วไปมีความต้อง การไม่จากัด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์
แนว ความคิดทางเศรษฐศาสตร์มีมาตั้งแต่สมัยโบราณโดยแทรกอยู่ในข้อเขียนและหนังสือ สอนศาสนา
ของนักปราชญ์ในสมัยนั้น เช่น หลักปรัชญาของโซเครตีส (Socrates) เพลโต (Plato) ฯลฯ แต่แนวความคิด
ดังกล่าวยังไม่ถอื เป็นหลักหรือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งเป็นสมัยที่การค้า
ทางยุโรปเจริญรุ่งเรืองมาก ได้เกิดลัทธิพาณิชย์นิยม (mercantilism) หรือพวกที่นิยมการทาการค้า นัก
พาณิชย์นิยมมีความเชื่อว่าประเทศจะมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจก็ต่อเมื่อ ประเทศนั้นๆขายสินค้าขาออกให้
ต่างประเทศเป็นมูลค่ามากกว่าการซื้อสินค้าขา เข้า หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเศรษฐกิจของประเทศจะมั่นคงก็
ต่อเมื่อประเทศนั้นมี ดุลการค้าที่เกินดุล ทั้งนี้ เพราะเห็นว่าการที่ประเทศมีดุลการค้าเกินดุลทาให้มีทองคา
และเงินตราไหลเข้า ประเทศมากๆจะเป็นการส่งเสริมการจ้างงานภายในประเทศ เนื่องจากเมื่อประเทศมี
ปริมาณเงินหมุนเวียนมากจะทาให้การค้าเจริญ เมื่อการค้าเจริญการผลิตย่อมเพิ่มขึน้ ตาม ส่งผลให้เกิดการ
ว่าจ้างแรงงานเพิ่มขึน้ ในที่สุด ประชาชนจะมีความอยู่ดีกนิ ดีเนื่องจากมีงานทาและมีรายได้เพิ่ม ขึน้
นอกจากนี้ นักพาณิชย์นิยมยังมีความเชื่อว่า การที่ประเทศจะมั่งคั่งคือมีดุลการค้าที่เกินดุลนั้น รัฐจะต้องเข้า
มามีบทบาทในการแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในด้านการค้ากับต่างประเทศ กล่าวคือ รัฐ
จะต้องส่งเสริมให้มีการส่งออกให้มากพร้อมกับให้มีการจากัดการนาเข้า สินค้าจากต่างประเทศ รัฐจะเป็นผู้
กาหนดนโยบายการค้าและนโยบายด้านเศรษฐกิจอื่นๆ โดยเอกชนเป็นผู้ดาเนินการตามนโยบายของรัฐ

กล่าว โดยสรุป แนวความคิดของลัทธิพาณิชย์นิยมไม่สนับสนุนแนวความคิดของระบบเศรษฐกิจแบบเสรี แต่


เป็นลัทธิที่สนับสนุนให้รัฐบาลมีบทบาทในการควบคุมและแทรกแซงกิจกรรมทาง เศรษฐกิจ โดยพยายามทา
ให้ประเทศมีดุลการค้าที่เกินดุลมากๆแล้วเศรษฐกิจของประเทศจะ มั่งคั่ง ประชาชนจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขนึ ้

ต่อ มาในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อดัม สมิท (Adam Smith) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ซึ่งเป็น


แกนนาของนักเศรษฐศาสตร์สานักคลาสสิก (classical school) ได้เขียนหนังสือชื่อ An Inquiry into the
Nature and Causes of the Wealth of Nations หรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่า The Wealth of Nations ใน
ค.ศ. 1776 นับได้ว่าเป็นตาราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกและยิ่งใหญ่ที่สุด เล่มหนึ่งของโลกมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง
ทาให้อดัม สมิทได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็น บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ แนว คิดหลักของสานัก
คลาสสิกสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ( laissez-faire) โดยจากัดบทบาทของรัฐบาลในด้าน
เศรษฐกิจเพราะมีความเชื่อว่าระบบเศรษฐกิจแบบ เสรีนิยม จะทาให้ประเทศพัฒนาไปได้ด้วยดี เศรษฐกิจ
ของประเทศจะมีความมั่งคั่งก็ต่อเมื่อรัฐบาลแทรกแซงหรือมีบทบาทใน กิจกรรมทางเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด
(ไม่แทรกแซงเลยดีที่สุด) รัฐบาลมีหน้าที่เพียงแต่คอยอานวยความสะดวก รักษาความสงบเรียบร้อยของ
บ้านเมือง และป้องกันประเทศ ปล่อยให้เอกชน เป็นผู้ดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเสรี นั่นคือ สมิทเชื่อ
ใน พลังงานกลไกตลาด (ราคา) หรือ ที่เขาเรียกว่า มือที่มองไม่เห็น (invisible hand) นอกจากสมิทแล้วนัก
เศรษฐศาสตร์ในกลุ่มของ คลาสสิกยังมีทอมัส มัลทัส (Thomas Multhus) เดวิด ริคาร์โด (David
Ricardo) จอห์น มิลล์ (John Mill)

หลัง จากกลุ่มของสานักคลาสสิกก็เป็นกลุ่มของสานักนีโอคลาสสิก ( neoclassical school) ซึ่งเป็นสานัก


เศรษฐศาสตร์ที่ก่อตัวและพัฒนาขึน้ ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 แนวคิดหลักของสานักนีโอคลาสสิก
ส่วนมากสืบต่อหรือดัดแปลงแก้ไขมาจากแนวคิดของ สานักคลาสสิก โดยเชื่อว่าการแข่งขันอย่างเสรีจะเป็น
แรงผลักดันให้เศรษฐกิจมีความมั่งคั่ง นั่นคือ สนับสนุนแนวคิดของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีเช่นเดียวกับของ
สานักคลาสสิก นอกจากนั้น ยังเน้นให้เห็นว่าเนื่องจากทรัพยากรมีจานวนจากัด ดังนั้นผู้บริโภคจะต้อง
พยายามเลือกบริโภคสินค้าและบริการเพือ่ ให้ได้รับความ พอใจสูงสุด และเช่นเดียวกัน ผู้ผลิตจะต้อง
ตัดสินใจเลือกวิธีการผลิตที่ทาให้เสียต้นทุนตา่ ที่สดุ หรือให้ ได้กาไรสูงสุด นั่นคือ แต่ละฝ่ ายจะต้องพยายาม
ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและประหยัดที่สุด นักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นผู้ วางรากฐานแนวคิดที่สาคัญของสานักนี
โอคลาสสิกคืออัลเฟรด มาร์แชลล์ นอกจากนี้ ยังมีเลอง วาลรา ( Walras) วิลเฟรโด พาเรโต (Vilfredo
Pareto) ฯลฯ

นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ของทั้งสานักคลาสสิกและนีโอคลาสสิกต่างมีความเชื่อว่า อุปทานจะเป็นตัว


สร้างอุปสงค์ (supply creates its own demand) ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันว่าคือ กฎของ
เซย์ (Say's law) ซึ่งมีสาระสาคัญว่า อุปทานจะเป็นตัวกระตุน้ ให้เกิดอุปสงค์ กล่าว คือ ไม่ว่า ผู้ผลิตจะผลิต
สินค้าหรือบริการอะไรออกมาก็จะมีผู้รบั ซื้ออยู่ตลอดเวลา นั่นคือ จะไม่เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด ภาวะ
เศรษฐกิจตกต่า หรือเกิดการว่างงาน ซึ่งต่อมาแนวความคิดนี้ไม่ตรงกับความเป็นจริง เนื่องจากเกิดภาวะ
เศรษฐกิจตกต่าอย่างรุนแรง เกิดปัญหาการว่างงานจานวนมากใน ค.ศ. 1930 ซึ่งกฎของเซย์ไม่สามารถ
อธิบายปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึน้ ดังกล่าวได้

ในขณะนั้น จอห์น เคนส์ (John Keynes) แกนนาแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์สานักเคนส์ (Keynesian


Economics) ได้เขียนหนังสือชื่อ The General Theory of Employment, Interest and Money ซึ่ง
ถือว่าเป็นตาราเศรษฐศาสตร์มหภาคเล่มแรกของโลก ใน ค.ศ. 1936 เพื่ออธิบายถึงสาเหตุของภาวะสินค้า
ล้นตลาด เศรษฐกิจตกต่า และการว่างงานจานวนมากตลอดจนวิธกี ารแก้ไข นับเป็นครั้งแรกของวงการ
เศรษฐศาสตร์ที่ได้มีการศึกษาเศรษฐศาสตร์โดยรวมของ ทั้งระบบเศรษฐกิจหรือของทั้งประเทศ เคนส์มีความ
เชื่อว่าแนวความคิดที่ถูกต้องคืออุปสงค์จะเป็นตัวกาหนดอุปทาน ซึ่งตรงข้ามกับกฎของเซย์ โดยอุปสงค์และ
อุปทานดังกล่าวเป็นตัวมวลรวมของทั้งประเทศ เคนส์อธิบายว่าสาเหตุที่ทาให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่าคือ
การที่ระบบเศรษฐกิจมี อุปสงค์มวลรวมน้อยเกินไป ดังนั้นวิธีแก้ไขคือการเพิ่มอุปสงค์มวลรวมของระบบ
เศรษฐกิจโดยใช้นโยบายการ เงินการคลัง จะเห็นได้ว่าเคนส์เป็นนักเศรษฐศาสตร์คนแรกของโลกที่กล่าวถึง
หรือให้ความสนใจ กับเศรษฐกิจมวลรวม อันเป็นมูลเหตุที่ทาให้มีการแยกศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์
ออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคเศรษฐกิจส่วนย่อยซึ่งเรียกว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาค กับภาคเศรษฐกิจส่วนรวมซึ่ง
เรียกว่าเศรษฐศาสตร์มหภาค และยกย่อง ให้เคนส์เป็น บิดาของวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค

ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย

สาหรับ ประเทศไทยเป็นที่เชื่อกันว่าการดาเนินการเกี่ยวกับเศรษฐกิจตั้งแต่สมัย สุโขทัยเป็นต้น มา


อาศัยแนวความคิดเศรษฐกิจแบบเสรี ดังจะเห็นได้จากหลักศิลาจารึกในสมัยพ่อขุนรามคาแหงมหาราชมี
ใจความตอนหนึ่ง ว่า ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้า
ใส อย่าง ไรก็ตาม ในสมัยนั้นยังไม่มีการรวบรวมความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไว้เป็นหลักเกณฑ์ ที่แน่นอน
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2454 พระยาสุริยานุวัตรได้แต่งตาราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกขึน้ มีชื่อว่า ทรัพย
ศาสตร์ โดย มีสาระเกี่ยวกับการสร้างทรัพย์และผลตอบแทนในรูปต่างๆ ได้แก่ ค่าเช่า ค่าจ้าง กาไร ฯลฯ แต่ก็
มิได้นาออกเผยแพร่ในขณะนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 จึงได้พิมพ์เผยแพร่โดยใช้ชื่อว่า เศรษฐศาสตร์วทิ ยา
ภาคต้น เล่ม 1 และในปี พ.ศ. 2459 กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) ได้ ทรงแต่งตาราเรื่อง ตลาด
เงินตรา ขึน้ แต่ก็ไม่เป็นที่แพร่หลายนัก

การ ศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ของประเทศไทยเริ่มขึน้ อย่างจริงจังเมื่อมีการก่อตั้ง มหาวิทยาลัย


ธรรมศาสตร์และการเมืองในปี พ.ศ. 2477 โดยได้มีการเปิ ดสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งในขณะนั้นได้มีผู้รู้ทาง
เศรษฐศาสตร์ของไทยแต่งตาราเศรษฐศาสตร์เพิ่มเติม จากเดิม ได้แก่ นายสหัส กาญจนพังคะ แปลตารา
ชื่อ หลักเศรษฐศาสตร์ของชาลส์ จีด จาก ตารา The Principles of Political Economy ของ
ศาสตราจารย์ชาลส์ จีด (Charles Gide) ในปี พ.ศ. 2479 พระสารสาส์นพลขันธ์ได้แต่งตารา
ชื่อ เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการค้า และ เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเงิน ในปี พ.ศ. 2480 และ 2481 ตามลาดับ

อย่าง ไรก็ตาม การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ต้องหยุดชะงักไปชั่วคราวอันเนื่องจากเกิดสงครามโลก ครั้ง


ที่ 2 โดยภายหลังจากสงครามสงบลง ในปี พ.ศ. 2492 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองได้จัดแบ่ง
การศึกษาออกเป็นสาขาวิชาต่างๆ 4 คณะด้วยกัน คือ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการ
บัญชี คณะรัฐศาสตร์ และคณะนิตศิ าสตร์ นับตั้งแต่นั้นมาจึงได้มีการศึกษา วิชาเศรษฐศาสตร์กันอย่าง
แพร่หลายในสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปัจจุบันในระดับปริญญา
เอก รวมทั้งได้ขยายการศึกษาออกไปสู่ระดับต่ากว่าปริญญาตรีด้วย
ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์

ก่อนที่จะกล่าวถึงประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์ คาถามหนึ่งที่น่าสนใจคือ ทาไมเราจึงต้องศึกษาวิชา


เศรษฐศาสตร์ จาก ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ดังกล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆในโลกต่าง
ต้องประสบกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจร่วม กัน อันเนื่องมาจากความไม่สมดุลระหว่างปริมาณของ
ทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ อย่างจากัดกับความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จากัด ทาให้จาเป็นต้องมี
การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อหาวิธีการที่ดีที่สดุ ที่จะนา มาใช้จัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจากัดไปในการ
ผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบ สนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จากัดให้เกิด ประสิทธิภาพ
สูงสุด อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าเฉพาะแต่ผู้เรียนทางด้านเศรษฐศาสตร์เท่านั้นที่จาเป็นต้อง ศึกษาวิชาการ
นี้ ผู้เรียนในสาขาอื่นๆรวมทั้งประชาชนทั่วไปก็ควรมีความรู้พื้นฐานทางด้าน เศรษฐศาสตร์ดว้ ย เพื่อจะได้มี
ความเข้าใจในปัญหาเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นในระดับส่วนตัว ครอบครัว หรือระดับของประเทศ ซึ่งเป็นที่
ยอมรับกันทั่วไปว่าปัญหาด้านเศรษฐกิจเป็นปัญ หาที่ทุกๆคนไม่ สามารถหลีกเลีย่ งได้เนื่องจากเป็นปัญหาใน
ชีวิตประจาวันของแต่ละบุคคล ดังนั้นการมีความรู้พื้นฐาน ทางด้านเศรษฐศาสตร์จะเป็นประโยชน์ต่อตัวของ
บุคคลนั้นทั้งทางตรงและทางอ้อม

ผู้ศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์สามารถนาเอาความรู้ที่ได้รบั มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในด้านต่ างๆ มากมายดังนี้


1. ในฐานะผู้บริโภค ทาให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้าและบริการที่ทาให้ตนได้รับความพอใจ
สูงสุดภายใต้ระดับรายได้ที่มีอยู่ เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์มากที่สุด
นอกจากนี้ ยังทาให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจในการเปลีย่ นแปลงของปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่ เกิดขึน้ และ
สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์นั้นๆได้เป็นอย่างดี เช่น สามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของราคา
สินค้าและบริการได้อย่างถูกต้องและมี เหตุมีผล กาหนดแผนการบริโภค การออม และการดาเนินกิจกรรม
ทางเศรษฐกิจในชีวิตประจาวันได้อย่างเหมาะสม เป็นต้น

2. ในฐานะผู้ผลิต ทาให้ผู้ผลิตตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจากัดไปในการผลิต สินค้าและ


บริการอย่างคุ้มค่า ประหยัด ช่วยลดต้นทุนการผลิต ทาให้ธุรกิจได้รับกาไรเพิ่มขึน้ และใน ทานองเดียวกับ
ผู้บริโภคคือทาให้ผู้ผลิตมีความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่เกิดขึน้ เช่น เข้าใจ ในความเป็นไปของ
ปรากฏการณ์ของวัฏจักรเศรษฐกิจว่าโดยปกติเศรษฐกิจจะมีการ เปลี่ยนแปลงขึน้ ๆ ลงๆอย่างนี้เรือ่ ยไป ทาให้
ผู้ผลิตสามารถตัดสินใจเลือกลงทุนในการดาเนินธุรกิจเหมาะสมกับสถานการณ์ ในขณะนั้นๆ เป็นต้น

3. ในฐานะรัฐบาล การที่รัฐบาลมีความรูท้ างเศรษฐศาสตร์จะทาให้เข้าใจลักษณะและโครงสร้างทาง


เศรษฐกิจของประเทศ สามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาทางเศรษฐกิจและหาแนวทาง แก้ไข โดย
กาหนดออกมาเป็นแผนและนโยบายทางเศรษฐกิจที่จะนาไปใช้แก้ปัญหาให้เกิด ประสิทธิภาพ และ
ประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ

เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค
ปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์แยกการศึกษาเศรษฐศาสตร์ออกเป็น 2 สาขาใหญ่ๆ คือ

1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (microeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วย


เศรษฐกิจใดหน่วยเศรษฐกิจหนึ่ง เช่น การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภครายใดรายหนึ่งว่าจะมีการ
ตัดสินใจใน การเลือกบริโภคสินค้าและบริการอย่างไร จานวนเท่าใด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความพอใจสูงสุด
ภายใต้ขีดจากัดของรายได้จานวนหนึ่ง พฤติกรรมของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมใด
อุตสาหกรรมหนึ่งว่าจะ ตัดสินใจเลือกผลิตสินค้าอะไร จานวนเท่าใด ด้วย วิธีการอย่างไร และจะกาหนด
ราคาเท่าไร จึงจะได้กาไรสูงสุด ศึกษาพฤติกรรมการลงทุน การออมของ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ศึกษากลไก
ตลาดและการใช้ระบบราคาเพื่อการจัดสรรสินค้า บริการ และทรัพยากร อื่นๆ จะเห็นได้ว่าเศรษฐศาสตร์
จุลภาคส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาเรือ่ งที่เกี่ ยวกับ ราคาในตลาดแบบต่างๆ นักเศรษฐศาสตร์บางท่านจึงเรียก
วิชาเศรษฐศาสตร์อีกชื่อหนึ่งว่า ทฤษฎีราคา (Price Theory)

2. เศรษฐศาสตร์มหภาค (macroeconomics) เป็นการศึกษาภาวะเศรษฐกิจโดยส่วนรวม ทั้งระบบ


เศรษฐกิจหรือทั้งประเทศ อันได้แก่ การผลิตของระบบเศรษฐกิจ การบริ โภค การออม และการลงทุนรวมของ
ประชาชน การจ้างงาน ภาวะการเงินและการคลังของประเทศ ฯลฯ เศรษฐศาสตร์มหภาคโดยทั่วไปจะ
ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น รายได้ประชาชาติ วัฏจักรเศรษฐกิจ เงินเฟ้อและระดับราคา การคลังและหนี้
สาธารณะ เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ การเงินและสถาบันการเงิ น และเศรษฐศาสตร์การพัฒนา ฯลฯ
ความสัมพันธ์ของวิชาเศรษฐศาสตร์กบั ศาสตร์อื่นๆ

เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในด้านต่างๆ เช่น การเลือกการผลิต การบริโภค


การดารงชีพ และการปฏิบัติต่อบุคคลต่างๆที่อยู่ในสังคมเดียวกันหรือต่างกัน ดังนั้นเศรษฐศาสตร์จึงเป็นวิชา
หนึ่งของสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาปัญหาต่างๆที่เกิดขึน้ ในหมู่มนุษย์ที่มี ผลมาจากการอยู่รวมกันใน
สังคมและมีการดาเนินกิจกรรมต่างๆร่วมกัน ซึ่งในการศึกษาและการแก้ไข ปัญหาต่างๆ ตลอดจนการจัด
ระเบียบวิธีที่เกี่ยวกับมนุษย์จาเป็นที่วิชาเศรษฐศาสตร์ต้องไป เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับวิชาอื่นๆใน
สังคมศาสตร์ เช่น การบริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์ จิตวิทยา ประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ และอื่นๆ

1. เศรษฐศาสตร์กับการบริหารธุรกิจ มีความสัมพันธ์กนั กล่าวคือ ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์นั้นส่วนหนึ่ง


จะเป็นการศึกษาเกีย่ วกับพฤติกรรมของผู้ ผลิต เช่น การศึกษาทฤษฎีการผลิต ต้นทุนการผลิตและตลาด
ฯลฯ จะเห็นได้ว่าแต่ละหัวข้อจะมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการดาเนินธุรกิจ ดังนั้นกล่าวได้ว่าการ
บริหารธุรกิจส่วนหนึ่งเป็นการนาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ มาประยุกต์ เพื่อให้การดาเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ นั่นคือ ให้ได้รับกาไรสูงสุดและธุรกิจเจริญเติบโตก้าวหน้า

2. เศรษฐศาสตร์กับรัฐศาสตร์ มี ความสัมพันธ์กนั ในแง่ที่ว่าแต่ละประเทศจะไม่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจ


ให้เจริญ รุ่งเรืองได้หากประเทศไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง เนื่องจากนักลงทุนทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศไม่มีความมั่นใจจึงชะลอการลงทุน ทาให้เศรษฐกิจเข้าสูภ่ าวะถดถอย ในทางกลับกัน หากนัก
ลงทุนมีความมั่นใจในสถานการณ์ทางการเมือง การลงทุนจะเพิ่มขึน้ ทาให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต ดังนั้นอาจ
กล่าวได้ว่าปัญหาการเมืองกับปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาควบคู่กนั ไม่ สามารถแยกจากกันได้ กล่าวคือ
จะต้องพัฒนาไปพร้อมๆกันประเทศจึงจะมีการพัฒนาอย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพ

3. ศรษฐศาสตร์กับนิติศาสตร์ มี ความสัมพันธ์กันในลักษณะที่กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่ ใช้ควบคุม


พฤติกรรมของมนุษย์ ในสังคม และส่วนหนึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ ดังนั้นหากนัก
กฎหมายมีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ย่อมจะเป็นผลดีต่อการตราหรือออก ใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ
เศรษฐกิจของประเทศ ในทานองเดียวกัน เนื่องจากกฎหมายเป็นเครื่องมือสาคัญที่ ใช้ในการแก้ไขปัญหา
เศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นนักเศรษฐศาสตร์เองจาเป็นจะต้องมีความรูเ้ กี่ยวกับกฎหมายด้วย ทั้งนี้ เพื่อการ
ใช้กฎหมายในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจจะได้เป็นไปตามที่มุ่งหวัง
4. เศรษฐศาสตร์กับประวัติศาสตร์ วิชา ประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งส่วน
หนึ่งสามารถใช้เป็นบทเรียนหรือเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาและแก้ ปัญหาเศรษฐกิจ อย่างน้อยที่สุด
ประวัติศาสตร์จะเป็นกระจกที่สะท้อนให้เห็นถึงลาดับของ เหตุการณ์ในอดีตที่ เกิดขึน้ ความรู้เกีย่ วกับ
ประวัติศาสตร์จึงเป็นเรื่องที่มีความสาคัญต่อทุกสาขาวิชา รวมทั้งวิชาเศรษฐศาสตร์ด้วย ดังจะเห็นได้จาก
ปัจจุบันได้มีการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของการเรียนการสอน
ทางด้านเศรษฐศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัย
5. เศรษฐศาสตร์กับจิตวิทยา เนื่อง จากวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นเรือ่ งที่ศึกษาเกี่ยวกั บพฤติกรรมของมนุษย์
ดังนั้นความรู้ในด้านจิตวิทยาจึงมีส่วนสาคัญต่อการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์ เพราะต่างก็ศึกษาเรือ่ งเกี่ยวกับ
พฤติกรรมของมนุษย์ เช่น การจะอธิบายปรากฏการณ์บางอย่างที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ เช่น การเลือก
บริโภคสินค้าของผู้ซื้อ ถ้ามีความรู้เกี่ยวกับจิ ตวิทยาของมนุษย์ยอ่ มช่วยให้เข้าใจการกระทาบางอย่าง ของ
มนุษย์ได้ ในเวลาเดียวกัน นักจิตวิทยาอาจนาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ได้

6. เศรษฐศาสตร์กับคณิตศาสตร์และสถิติ สาขา หนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ศึกษากันอยู่ในปัจจุบันคือ


การศึกษาเศรษฐศาสตร์ เชิงปริมาณ ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องอาศัยคณิตศาสตร์และสถิติเป็นเครื่องมือในการศึกษา
วิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรทางเศรษฐกิจต่างๆหรือเพื่ออธิบาย ความสัมพันธ์ของตัวแปรทาง
เศรษฐกิจเหล่านั้น

กล่าว โดยสรุป เศรษฐศาสตร์มิใช่วิชาเอกเทศ ผู้ที่จะศึกษาเศรษฐศาสตร์ได้ดีและสามารถนา ความรู้


ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ให้เกิดผลจาเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจศาสตร์ อื่นๆด้วย แต่ก็มิได้ หมายความ
ว่าจะต้องศึกษาศาสตร์ทุกแขนงโดยละเอียด เพราะอาจเป็นเรือ่ งสุดวิสยั ที่จะทาได้ การศึกษา ศาสตร์อื่นๆ
เฉพาะในแง่ที่มีความสัมพันธ์กับเศรษฐศาสตร์จะช่วยให้ผู้ศึกษา เข้าใจวิชาเศรษฐศาสตร์ได้ดีขนึ ้
ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

เนื่อง จากความต้องการของมนุษย์โดยทั่วไปมีอยู่ไม่จากัด (unlimited wants) แต่ทรัพยากร ของโลก


มีอยู่อย่างจากัด (limited resources) หรือเป็นของหายากและใช้หมด (scarce) จึงเกิดปัญหาว่าจะทา
อย่างไรจึงจะจัดสรรหรือใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจากัด นั้นไปในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อบาบัดความ
ต้องการของมนุษย์ให้ได้มากที่ สุดและเกิดประโยชน์สูงสุด ปัญหานี้ก็คอื ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจซึ่งทุกๆ
ประเทศในโลกไม่ว่าจะมีระบบ เศรษฐกิจแบบใดก็ตามต่างต้องประสบกับปัญหาดังกล่าวทั้งสิน้ ซึ่งสามารถ
แบ่งออกเป็น 3 ปัญหา คือ

1. ผลิตอะไร (what to produce) เนื่องจากทรัพยากรทางเศรษฐกิจของโลกมีจากัดและไม่สามารถ


ตอบสนองความต้องการ ทั้งหมดของมนุษย์ได้ จึงจาเป็นต้องมีการเลื อกว่าจะผลิตสินค้าและบริการอะไรบ้าง
ผลิตในจานวนเท่าใด ลาดับของการผลิตควรเป็นอย่างไร อะไรควรผลิตก่อน อะไรควรผลิตหลัง เนื่องจาก
ทรัพยากรมีจากัด ไม่พอเพียงกับความต้องการ เราจึงควรเลือกผลิตสินค้า และบริการซึ่งเป็นที่ต้องการและมี
ความจาเป็นมากที่สุดก่อนเป็นลาดับแรก และผลิตตามความต้องการ ลดหลั่นลงมาเรือ่ ยๆ ทั้งนี้ เพื่อให้
สินค้าและบริการที่ผลิตขึน้ มาได้นั้นสามารถนาไปใช้ตอบสนองความ ต้องการของมนุษย์ให้ได้มากที่สุด
เพราะถ้าไม่ผลิตตามความต้องการแล้วสินค้าและบริการที่ผลิตขึน้ มา ได้ก็จะเกิดการสูญเปล่าเนื่องจากไม่ได้
ถูกนาไปใช้ ถือเป็นการสูญเสียทรัพยากรไปโดยเปล่าประโยชน์
2. ผลิตอย่างไร (how to produce) เมื่อทราบแล้วว่าจะผลิตอะไร จานวนเท่าใด ปัญหาต่อมาก็คือจะ
เลือกใช้เทคนิคการผลิตอย่างไรจึงจะทาให้การผลิตสินค้าและ บริการนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
กล่าวคือ มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่าที่สุด โดยให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ
คาว่า ประสิทธิภาพ (ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่าที่สุด) หมายถึง

3. ผลิตสินค้าและบริการให้ได้จานวนหน่วยของผลผลิตตามที่ต้องการ โดยใช้ทรัพยากร หรือปัจจัยการ


ผลิตให้น้อยที่สุด

4. ผลิต สินค้าและบริการให้ได้จานวนหน่วยของผลผลิตมากที่สุด ภายใต้ต้นทุนการผลิต จานวนหนึ่ง ซึ่ง


ถ้าเป็นไปในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังกล่าวจะถือว่าเป็นการผลิตที่มี ประสิทธิภาพสูงสุด

ผลิตเพื่อใคร (for whom to produce) ปัญหาสุดท้ายคือ สินค้าและบริการที่ผลิตขึน้ มาได้แล้วนัน้ จะ


จาหน่ายจ่ายแจกหรือกระจายไปยังบุคคลต่างๆในสังคมอย่างไร (ให้แก่ใคร จานวนเท่าใด) จึงจะเหมาะสม
และเกิดความยุตธิ รรม เพื่อแต่ละบุคคลจะได้ประโยชน์สูงสุดจากสินค้าและบริการนั้น

แนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

ไม่ ว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจแบบใดต่างก็ประสบกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจดังกล่าว ทั้งสิ้น


อย่างไรก็ตาม ระบบเศรษฐกิจแต่ละระบบต่างก็มีวิธกี ารแก้ไขปัญหาพืน้ ฐานทางเศรษฐกิจที่แตก ต่างกันไป
ดังนี้

1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม (capitalism) จะใช้กลไกตลาด (ราคา) หรือที่มักเรียกว่า มือ


ที่มองไม่เห็น เป็นเครื่องมือหรือกลไกในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กล่าวคือ ราคา จะเป็นตัวช่วยตอบปัญหา
ต่างๆตั้งแต่เริ่มผลิตอะไร อย่างไร และเพื่อใคร ปกติสินค้าและบริการใดที่เป็นที่ต้องการผู้บริโภคก็จะเสนอ
ราคาซื้อสูง นั่นคือ ราคาจะเป็นตัวสะท้อนที่ทาให้ผู้ผลิตทราบความต้องการของผู้ บริโภค ทาให้ผู้ผลิต
สามารถผลิตสินค้าและบริการตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ปัญหาที่ว่า ผลิตอย่างไร ซึ่งเป็นปัญหาใน
เรื่องของเทคนิคการผลิตว่าจะผลิตโดยเน้นใช้ปัจจัยแรงงานหรือ ปัจจัยทุน ก็ขนึ ้ อยู่กับราคาโดยเปรียบเทียบ
ของปัจจัยแต่ละประเภท โดยมีหลักว่าผู้ผลิตจะเลือกผลิต หรือใช้ปัจจัยการผลิตในประเภทที่ทาให้ต้นทุนการ
ผลิตต่อหน่วยต่าสุด ซึ่งราคาก็เป็นเครือ่ งชี้อีกเช่นเดียวกัน สาหรับปัญหา ผลิตเพือ่ ใคร กล่าวคือ ใครควรจะ
ได้รับการจัดสรรสินค้าและบริการไปอุปโภคบริโภคมากหรือน้อยเพียงใด ก็ขนึ ้ อยู่กับใครมีอานาจซื้อและ
เสนอราคาให้มากกว่า ผู้ผลิตหรือผู้ขายก็จะเสนอขายสินค้าและบริการนั้นไปให้ บุคคลนั้นก็จะได้รับสินค้า
และบริการไปอุปโภคบริโภคตอบสนองความต้องการของตน โดยสรุป ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้ราคาจะเป็น
เครื่องมือหรือกลไกที่สาคัญในการช่วยแก้ไข ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

2. ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ แนว ทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจจะถูกกาหนดมาจาก


ส่วนกลางหรือรัฐบาล กล่าวคือ รัฐบาลจะเป็นผู้วางแผนดาเนินการสั่งการแต่เพียง ผู้เดียว เอกชนมีหน้าที่
ปฏิบัติตามคาสั่งของรัฐ รัฐจะเป็นผู้กาหนดว่าจะผลิตอะไร จานวนเท่าใด อย่างไร และจาหน่ายจ่ายแจกหรือ
กระจายสินค้าและบริการไปให้กับใคร

3. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เนื่อง จากระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเป็นระบบ เศรษฐกิจที่มี


ลักษณะใกล้เคียงกับระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ดังนั้น แนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐานของระบบ
เศรษฐกิจนี้จึงใช้กลไกรัฐเป็นกลไกสาคัญใน การจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับระบบเศรษฐกิจ
แบบคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตาม มีการใช้กลไกราคาอยู่บ้าง แต่ยังมีบทบาทค่อนข้างจากัด

4. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม แนวทางการแก้ไขปัญหาจะใช้ทั้งกลไกราคาและกลไกรัฐร่วมกันไป กล่าวคือ


กิจการที่เป็นกิจการที่มีความสาคัญต่อประชาชนโดยส่วนรวม เช่น กิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ รัฐ
จะเป็นผู้ดาเนินการเพื่อให้บริการกับประชาชนเอง (กลไกรัฐ) แต่กิจการโดยทั่วไปจะปล่อยให้เป็นไปตาม
ระบบของกลไกตลาด (ราคา)
สรุปท้ายบท

เศรษฐศาสตร์ เป็นสาขาวิชาหนึ่งของสังคมศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับการเลือกวิธกี ารจัดสรรทรัพยากรที่มี


อยู่อย่างจากัดไปในการ ผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จากัดให้
เกิด ประโยชน์มากที่สุด
แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์มีการพัฒนามาเป็นลาดับขั้น กล่าวคือ

ลัทธิ พาณิชย์นิยมคือพวกที่นิยมในการทาการค้า นักพาณิชย์นิยมมีความเชื่อว่าประเทศจะมีความมั่งคั่ง


ในทางเศรษฐกิจก็ต่อ เมื่อประเทศมีดุลการค้าที่เกินดุล โดยสนับสนุนให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการ
ควบคุมและแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
สานัก คลาสสิกโดยการนาของอดัม สมิท (บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์) เชื่อว่าเศรษฐกิจของประเทศจะมั่งคั่ง
ก็ต่อเมื่อรัฐไม่เข้ามาแทรกแซงใน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยปล่อยให้กลไกตลาด (ราคา) เป็นกลไกในการ
จัดสรรทรัพยากร

สานักนีโอคลาสสิกคล้ายกับของกลุม่ คลาสสิก คือสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจแบบเสรี โดยเน้นให้มีการใช้


ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและประหยัด
สา นักเคนส์สนับสนุนให้รัฐเข้ามามีบทบาทในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยใช้นโยบายการเงินการคลังเข้ามา
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวไปใน ทิศทางที่พึงประสงค์
ปัจจุบัน เราแบ่งการศึกษาเศรษฐศาสตร์ออกเป็น 2 สาขา คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค (ศึกษาเกี่ยวกับ
เศรษฐกิจส่วนย่อย) กับเศรษฐศาสตร์มหภาค (ศึกษาเกีย่ วกับเศรษฐกิจส่วนรวม) ผู้ที่จะศึกษาเศรษฐศาสตร์
ได้ดีและสามารถนาความรูท้ างเศรษฐศาสตร์ไปใช้ให้ เกิดผล นอกจากจะต้องศึกษาเศรษฐศาสตร์ทั้งสอง
สาขาเป็นอย่างดีแล้ว ยังจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์อื่นๆในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์ด้วย
เช่น นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ จิตวิทยา ประวัติศาสตร์ บริหารธุรกิจ คณิตศาสตร์และสถิติ เป็นต้น และจาก
ความไม่สมดุลระหว่างปริมาณทรัพยากรของโลกกับความต้องการ ของมนุษย์ ทาให้ทุกๆประเทศในโลกต่าง
ประสบกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ 3 ประการ คือ ผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร ซึ่งแนวทาง
การแก้ไขปัญหาพื้นฐานก็ขนึ ้ อยู่กบั ว่าประเทศนั้นๆเป็นระบบ เศรษฐกิจแบบใด กล่าวคือ หากเป็นระบบทุน
นิยมจะใช้กลไกราคา ระบบคอมมิวนิสต์จะใช้กลไกรัฐ ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิ ยมจะใช้กลไกรัฐเป็น
หลัก กลไกราคามีบทบาทอยู่บ้าง แต่ค่อนข้างจากัด ส่วนระบบเศรษฐกิจแบบผสมจะใช้ทั้งกลไกราคาและ
กลไกรัฐร่วมกันในการจัดสรร ทรัพยากร

You might also like