Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 132

1

กลศาสตร์
1. บทนํา และการวัด
เลขนัยสําคัญและการวัด
1. (มี.ค. 52)นักเรียนคนหนึ่งวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมวงหนึ่งได้ 5.27 เซนติเมตร เขาควรจะบันทึกรัศมี
วงกลมวงนี้ เป็นกี่เซนติเมตร
1. 3 2. 2.6 3. 2.64 4. 2.635

2. (ก.ค. 52) ผลลัพธ์ของ 16.74 + 5.1 มีจํานวนเลขนัยสําคัญเท่ากับตัวเลขในข้อใด


1. -3.14 2. 0.003 3. 99.99 4. 270.00

3. (มี.ค.53)ควรใช้เครื่องมือชนิดใดในการวัดความหนาของเหรียญสลึงจึงจะเหมาะสมที่สุด
1. ไม้บรรทัด 2. ไม้โปรแทรกเตอร์
3. เวอร์เนียร์คาลิเปอร์ 4. ไมโครมิเตอร์

4. (มี.ค.54)ชุดตัวเลขแสดงความยาวถั่วงอกในหน่วยเซนติเมตรเป็นดังนี้
2.1 , 4.3 , 1.25 , 3 และ 5.723
ค่าเฉลี่ยของความยาวมีเลขนัยสําคัญกี่ตัว
1. 1 2. 2 3. 3 4. 4

5. (มี.ค.56) ในการทดลองวัดอัตราเร็วเฉลี่ยของวัตถุที่เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง พบว่า วัตถุเคลื่อนที่ได้ระยะทาง


36.0 เซนติเมตร ในเวลา 1.5 วินาที ควรบันทึกอัตราเร็วเฉลี่ยของวัตถุนี้อย่างไร
1. 24 cm/s 2. 24.0 cm/s
3. 24.00 cm/s 4. 2.4 x 101 cm/s
2

6. (เม.ย.57)ถ้านักเรียนคนหนึ่งใช้ไม้บรรทัดที่หาซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป ไปวัดความหนาของเหรียญ 1
บาท เขาควรจะบันทึกผลความหนานี้อย่างไร จึงจะเหมาะสมที่สุด
1. 1/2 mm. 2. 1 mm. 3. 1.1 mm 4. 1.11mm

7. (เม.ย.57)วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่เป็นระยะทาง 20 Gm ในเวลา 5 Ts จะมีอัตราเร็วเท่าใด


1. 4 m/s 2. 4 m m/s 3. 4 μm/s 5. 4 km/s

8. (มี.ค.58) ทรงกลมโลหะ วัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ 12.25 cm นักเรียนคนหนึ่งทําการหาปริมาตรโดยใช้สูตร


4 3
V r โดยที่  = 3.14 นักเรียนควรวัดหาปริมาตรโดยบันทึกข้อมูลด้วยเลขนัยสําคัญกี่ตัว
3
1. 1 2. 2 3. 3 4. 4

ความคลาดเคลื่อน
9. (ต.ค. 55)กําหนดให้ปริมาณ A=5  1 , B=3  2 และ C=4  1 ความคลาดเคลื่อนแบบมากที่สุดของปริมาณ
A  2B
อยู่ในช่วงคําตอบใด
C
1. (-∞,1.0] 2. (1.0,3.0] 3. (3.0,5.0] 4. (5.0,∞)

A  2B
10.(มี.ค. 56)กําหนดให้ปริมาณ A  5 1 , B  3 2 และ C  4 1 ถ้าปริมาณ R จง
C
R
คํานวณหาปริมาณ โดยใช้หลักความคลาดเคลื่อนเชิงสถิติ คําตอบที่ได้อยู่ในช่วงคําตอบใด
R
1. (0,1] 2. (1, 2]
3. (2,3] 4. (3, 4]
3

11.(มี.ค.58) กําหนดค่า x  5.4  0.5 และ y  3.2  0.2 โดยให้ x y จงหาความคลาดเคลื่อนมากที่สุด


1. 0.25 2. 0.3 3. 0.5 4. 0.7

หน่วยทางฟิสกิ ส์
12. (มี.ค.56) ในการทดลองหนึ่งพบว่า ขนาดของแรงต่อพื้นที่ ( ) ขึ้นกับค่าคงตัวของพลังค์ ( h ) อัตราเร็วของ
แสงในสุญญากาศ ( c ) และระยะห่าง ( d ) ข้อใดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหล่านี้ได้ถูกต้อง
2
1.   hc2 2.   hd
d c
d4
3.  4.   hc4
hc d

13. (พ.ย.58) หน่วย Pa/s เทียบได้กับหน่วยใด


1. W/m3 2. W/m2 3. J/m3
4. J/m2 5. J

เวกเตอร์
14. (มี.ค.56) เมื่อนําเวกเตอร์ความเร็ว v  3xˆ เมตร/วินาที มาบวกกับเวกเตอร์ความเร่ง a  4 yˆ เมตร/
วินาที2 โดย xˆ, yˆ เป็นเวกเตอร์ หนึ่งหน่วยในทิศ  x และ  y ตามลําดับ เวกเตอร์ลัพธ์จะมีขนาดเท่าใด
1. 1 2. 5
3. 7 4. ไม่สามารถรวมกันได้
4

2. การเคลื่อนที่ในแนวตรง
-แนวราบ
การกระจัด ระยะทาง ความเร็ว อัตราเร็ว ความเร่ง
15. (มี.ค. 52) ชายคนหนึ่งขับรถบนทางตรงด้วยอัตราเร็ว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร แล้ว
ขับต่อด้วย อัตราเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็นระยะทางอีก 10 กิโลเมตร และด้วยอัตราเร็ว 80 กิโลเมตรต่อ
ชั่วโมงเป็น ระยะทางอีก 10 กิโลเมตรอัตราเร็วเฉลี่ยของรถคันนี้เป็นเท่าใด
1. 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 2. มากกว่า 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
3. น้อยกว่า 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 4. ข้อมูลไม่เพียงพอ

16. (ก.ค. 52) มาตราวัดความเร็วบนหน้าปัดรถยนต์ชี้ที่เลข 60 km/hr หมายความว่าอย่างไร


1. ขณะนั้นรถยนต์มีความเร็วเฉลี่ยเท่ากับ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
2. ขณะนั้นรถยนต์มีอัตราเร็วเฉลี่ยเท่ากับ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
3. ขณะนั้นรถยนต์มีความเร็วขณะใดขณะหนึ่งเท่ากับ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
4. ขณะนั้นรถยนต์มีอัตราเร็วขณะใดขณะหนึ่งเท่ากับ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

17. (มี.ค..54) สําหรับการเคลื่อนที่ใน 1 มิติ ข้อความใดต่อไปนี้เมื่อนํามาเติมในประโยคแล้วให้ใจความที่ถูกต้อง


“สําหรับความเร่งที่มีทิศเดียวกับความเร็ว ถ้าอัตราเร็วของวัตถุกําลังเพิ่มขึ้นแล้วขนาดของ ความเร่งจะ
................”
1. เพิ่มขึ้นเท่านั้น 2. คงที่เท่านั้น
3. เพิ่มขึ้นหรือคงที่เท่านั้น 4. เพิ่มขึ้น คงที่ หรือลดลงก็ได้

18. (ต.ค. 55) ในกีฬาโอลิมปิก นักวิ่ง 100 m สามารถวิ่งได้ในเวลา 9.34 s โดยที่มีลมพัดในทิศเดียวกับที่เขาวิ่ง


0.4 m/s ถ้าเขาวิ่งในลักษณะเดิมโดยที่ไม่มีลมพัดช่วย เขาน่าจะใช้เวลาในช่วงคําตอบข้อใด
1. (3.90,9.40]s 2. (9.40,9.50]s
3. (9.50,9.60]s 4. (9.60,10.00]s
5

19. ( มี.ค. 56)วัตถุก้อนหนึ่งกําลังเคลื่อนที่บนแกน X ถ้าเครื่องหมายของเวกเตอร์การกระจัด ความเร็ว และ


ความเร่ง เป็น ลบ ลบ และบวก ตามลําดับ ข้อใดบรรยายสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุได้ถูกต้อง
1. วัตถุอยู่ที่ตําแหน่ง X<0 กําลังเคลื่อนที่ไปในทิศ –X และกําลังช้าลง
2. วัตถุอยู่ที่ตําแหน่ง X<0 กําลังเคลื่อนที่ไปในทิศ –X และกําลังเร็วขึ้น
3. วัตถุอยู่ที่ตําแหน่ง X<0 กําลังเคลื่อนที่ไปในทิศ +X และกําลังช้าลง
4. วัตถุอยู่ที่ตําแหน่ง X<0 กําลังเคลื่อนที่ไปในทิศ +X และกําลังเร็วขึ้น

การคํานวณ โดยใช้สมการการเคลื่อนที่
20. (มี.ค. 52)รถยนต์คันหนึ่งเมื่อเคลื่อนที่ด้วยความเร็วแล้วเบรกโดยมีระยะเบรกเท่ากับ x0 ถ้ารถคันนี้เคลื่อนที่
ด้วยความเร็ว เป็น 2 เท่าของความเร็วเดิม จะมีระยะเบรกเป็นเท่าใด (กําหนดให้เหยียบเบรกด้วยแรงเท่ากัน
ทั้งสองครั้ง)
1. x0 2. x0
3. 2X0 4. 4X0
4 2

21. (ก.ค. 52)เครื่องบินลําหนึ่งเคลื่อนที่จากหยุดนิ่งด้วยความเร่ง a เพื่อทะยานขึ้นฟ้าด้วยอัตราเร็ว v ถ้า


เครื่องบินลํานี้ ต้องการทะยานขึ้นฟ้าด้วยอัตราเร็ว 2v โดยใช้ระยะทางวิ่งเท่าเดิม จะต้องเคลื่อนที่ด้วย
ความเร่งเท่าใด
1.2v2 2. 4v2 3. 2a 4. 4a

22. (พ.ย.57) วัตถุหนึ่งกําลังไถลขึ้นไปตามพื้นเอียงลื่น ผ่านจุด A ด้วยความเร็ว +2 เมตร/วินาที ณ ตําแหน่งที่มี


การกระจัด +3 เมตร จากจุด A ขึ้นไปตามแนวพื้นเอียง วัตถุมีความเร็ว -1 เมตร/วินาที ณ ตําแหน่งนั้น
วัตถุเคลื่อนที่ผ่านจุด A ไปแล้วกี่วินาที
1. 1.5 2. 2.0 3. 3.0 4. 6.0
6

23. (มี.ค.58) วัตถุเคลื่อนที่ในแนวราบแกน x ด้วยความเร่งคงตัว เมื่อเริ่มพิจารณาวัตถุอยู่ที่ตําแหน่ง x 1 m


ความเร็ว -2 m/s อีกกี่วินาที วัตถุจึงจะอยู่ที่ x  3 m ความเร็ว = 1 m/s
1. 2 2. 4 3. 6 4. 8

กราฟของการเคลื่อนที่
24. (ต.ค. 52) มดตัวหนึ่งเดินไปบนกระดาษกราฟโดยเริ่มจากพิกัด (1 , 4) เดินไปตามเส้นโค้งดังภาพนักเรียน
บันทึก ตําแหน่งของมดทุกๆ 1 วินาที

ทิศของความเร็วเฉลี่ยในช่วงเวลา 0-3 วินาที ประมาณได้ว่าอยู่ในทิศใด


1. เหนือ 2. ใต้ 3. ตะวันออก 4. ตะวันตก

25. (มี.ค. 53) กราฟแสดงตําแหน่งของนักเรียน 4 คน เป็นดังรูป ในช่วงเวลา 5 วินาที นักเรียนคนใดบ้างที่มีการ


กระจัดเท่ากัน

1. คนที่ 1 และคนที่ 2 2. คนที่ 2 และคนที่ 3


3. คนที่ 3 และคนที่ 4 4. ไม่มีข้อใดถูก
7

26. (มี.ค.53)วัตถุเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร่งตามกราฟ โดยเริ่มต้นเคลื่อนที่จาก ความเร็วต้น 20 เมตร/


วินาที ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนได้ในช่วงเวลา 4 วินาที เป็นกี่เมตร

1. 47 2. 69 3. 92 4. 94

27. (ต.ค.53) กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วกับเวลาของวัตถุที่เคลื่อนที่ในแนวตรง

ข้อความต่อไปนี้กล่าวถูกกี่ข้อ
ก) ในช่วงเวลา 0-8 วินาทีวัตถุมีการกระจัดเท่ากับ 11 เมตร
ข) ในช่วงเวลา 0-2 วินาที และช่วงเวลา 4-6 วินาที วัตถุมีความเร่งเท่ากัน
ค) ในช่วงเวลา 6-8 วินาที วัตถุมีความหน่วง
1. ถูก 1 ข้อ 2. ถูก 2 ข้อ
3. ถูกทุกข้อ 4. ไม่มีข้อใดกล่าวถูก
8

28. (ต.ค. 54)กราฟของความเร่งในข้อใดสอดคล้องกับกราฟของความเร็วที่กําหนดให้ ถ้าบริเวณที่แรเงา คือ


ช่วงเวลาที่ไม่ได้พิจารณา

1. 2.

3. 4.

29. (มี.ค. 55)ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเส้นกราฟต่อไปนี้

1. ถ้า Ⓐ คือกราฟของความเร็วกับเวลาแล้ว Ⓔ คือกราฟของตําแหน่งกับเวลา


2. ถ้า Ⓑ คือกราฟของความเร่งกับเวลาแล้ว Ⓔ คือกราฟของตําแหน่งกับเวลา
3. ถ้า Ⓒ คือกราฟของตําแหน่งกับเวลาแล้ว Ⓑ คือกราฟของความเร็วกับเวลา
4. ถ้า Ⓓ คือกราฟของตําแหน่งกับเวลาแล้ว Ⓒ คือกราฟของความเร็วกับเวลา
9

30. (มี.ค. 57)หากแรงกระทําวัตถุมวล 1 กิโลกรัม ในแนวแกน x ดังแสดงดังรูป

พิจารณาการเคลื่อนที่1มิติ โดยไม่มีแรงต้าน ถ้าวัตถุหยุดนิ่งที่ตําแหน่ง x=5 จงหาความเร็วของมวลขณะที่อยู่


ตําแหน่ง x=0
1. -7 2. -5 3. 0 4. 7

31. (พ.ย.57) จากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างตําแหน่ง (x) กับเวลา (t) ของวัตถุ A , B และ C ดังรูป ณ เวลา
10 วินาที วัตถุใดมีขนาดของความเร็วสูงที่สุด
1. A
2. B
3. C
4. วัตถุทั้งสามมีขนาดของความเร็วเท่ากัน

32. (พ.ย.58) ขณะที่เราอยู่ห่างจากรถคันหน้า 20 เมตร และมีรถสวนทางมาในระยะ 400 เมตร เทียบกับคัน


ข้างหน้า ถ้ารถทุกคันมีความเร็วเท่ากันคือ 72 กิโลเมตร/ชั่วโมง ถ้าเราต้องการแซงรถคันข้างหน้าอย่าง
ปลอดภัย เราต้องเหยียบคันเร่งให้เกิดความเร่งอย่างน้อยกี่เมตร/วินาที2 จึงจะแซงได้อย่างปลอดภัย
1. 0.1 2. 0.2 3. 0.4 4. 0.5 5. 0.8
10

-แนวดิ่ง
33. (มี.ค. 52) ชายคนหนึ่งปล่อยก้อนหินจากหน้าผาแห่งหนึ่ง เมื่อก้อนหินก้อนแรกตกลงไปเป็นระยะทาง 2 เมตร
เขาก็ ปล่อยก้อนหินอีกก้อนหนึ่งที่มีมวลเท่ากันทันที ถ้าไม่คิดแรงต้านของอากาศ ข้อใดถูกต้อง
1. ก้อนหินทั้งสองก้อนอยู่ห่างกัน 2 เมตรตลอดเวลาที่ตก
2. ก้อนหินทั้งสองก้อนอยู่ห่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ
3. ก้อนหินก้อนที่สองตกถึงพื้นหลังก้อนแรก 0.4 วินาที
4. ก้อนหินก้อนแรกตกถึงพื้นด้วยความเร็วที่มากกว่าก้อนที่สอง

34. (ก.ค. 52) กระสวยลําหนึ่งพุ่งขึ้นฟ้าในแนวดิ่งด้วยความเร็วคงที่ค่าหนึ่ง เมื่อเคลื่อนที่ขึ้นไปได้ระยะหนึ่งก็ต้อง


ปลดถัง เชื้อเพลิงเปล่าใบหนึ่ง โดยกระสวยอวกาศยังคงพุ่งขึ้นต่อไปด้วยความเร็วคงเดิม กราฟความสัมพันธ์
ระหว่างการกระจัดจากพื้นดินกับเวลาของกระสวยอวกาศ (เส้นทึบ) และถังเชื้อเพลิงที่ถูกปลด (เส้นประ)
เป็นเช่นใด
1. 2.

3. 4.

35. (มี.ค.53)วัตถุ 2 ก้อน มีมวลไม่เท่ากัน โดยที่มวลก้อนที่ 1 มีขนาดเป็นสองเท่าของมวลก้อนที่ 2 ถ้าปล่อย


วัตถุทั้งสอง ให้ตกอย่างเสรีจากตึกสูง 50 เมตร ข้อใดกล่าวถูกต้อง
1. วัตถุทั้งสองก้อนมีความเร่งไม่เท่ากัน
2. วัตถุทั้งสองก้อนใช้เวลาตกถึงพื้นเท่ากัน
3. วัตถุก้อนที่ 1 กระทบพื้นด้วยขนาดความเร็วมากกว่าวัตถุก้อนที่ 2
4. มีคําตอบถูกมากกว่า 1 ข้อ
11

36. (ก.ค. 53) ถ้าเราปล่อยก้อนหิน A ให้ตกแบบเสรี ส่วนก้อนหิน B ถูกโยนขึ้นตามแนวดิ่งด้วยความเร็วต้นค่า


หนึ่ง หลังจากที่ก้อนหินทั้งสองเคลื่อนที่ออกจากมือไปแล้ว จงเปรียบเทียบความเร่งของก้อนหินทั้งสองนี้ (ไม่
ต้องคิดผลของแรงต้านทางอากาศ)
1. ก้อนหินทั้งสองมีความเร่งเท่ากัน
2. ก้อนหิน A มีขนาดของความเร่งมากกว่าก้อนหิน B
3. ก้อนหิน A มีขนาดของความเร่งน้อยกว่าก้อนหิน B
4. ก้อนหินทั้งสองมีขนาดของความเร่งเท่ากัน แต่มีทิศทางตรงกันข้าม

37. (ก.ค. 53)แดงกับดํายืนอยู่บนตึกสูง ถ้าแดงปาก้อนหิน A ขึ้นในแนวดิ่งด้วยความเร็วต้น 10 เมตรต่อวินาที


พร้อมกันกับที่ดําปาก้อนหิน B ลงในแนวดิ่งด้วยขนาดความเร็วเท่ากัน ข้อใดต่อไปนี้สรุปได้ถูกต้อง (ไม่ต้องคิด
ผลของแรงต้านของอากาศ)
1. ก้อนหิน A มีขนาดของความเร็วเฉลี่ยมากกว่าของก้อนหิน B
2. ก้อนหินทัง้ สองตกกระทบพื้นด้วยความเร็วเท่ากัน
3. ก้อนหินทัง้ สองมีความเร็วเฉลี่ยเท่ากัน
4. มีคําตอบถูกมากกว่า 1 ข้อ

38. (มี.ค.53)โยนลูกบอลขึ้นไปในแนวดิ่งบนดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง พบว่าความสัมพันธ์ ระหว่างความสูงลูกบอล


ในแนวดิ่ง จากพื้นกับเวลา เป็นดังรูป ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของดาวดวงนี้ มีค่ากี่เมตร/วินาที2

1. 5.3 2. 10 3. 16 4. 20
12

39. (ก.ค. 53) ปาลูกบอลขึ้นไปในแนวดิ่งจากดาวดวงหนึ่งที่มีความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงที่ไม่เท่ากับโลก พบว่า


ความสัมพันธ์ระหว่างความสูงของลูกบอลในแนวดิ่งกับเวลาเป็นดังกราฟ ความเร็วต้นของลูกบอลเป็นกี่เมตร
ต่อวินาที

1. 20 2. 30 3.40 4. 50
40. (มี.ค.54)ปล่อยวัตถุก้อนหนึ่งให้แกว่งลงมาดังรูป ความเร่งที่ตําแหน่งต่ําสุดมีขนาดเท่าใด

41. (ต.ค.55) เส้นสนามในข้อใดต่อไปนี้แสดงสนามโน้มถ่วงของโลก


1. 2.

3. 4.
13

42. (เม.ย.57) กราฟระหว่างความเร็วในแนวดิ่งกับเวลาในข้อใดที่สอดคล้องกับการที่ลูกบอลถูกโยนขึ้นไปใน


แนวดิ่งแล้วถูกจับไว้ชั่วขณะหนึ่ง โดยที่ลูกบอลยังขึ้นไปไม่ถึงตําแหน่งสูงสุด จากนั้นจึงถูกขว้างออกไปในแนว
ระดับ
1. 2.

3. 4.

43. (พ.ย.57) ปล่อยวัตถุ 2 ก้อนที่เหมือนกันทุกประการลงบนพื้นระดับ ถ้าก้อนหนึ่งตกอย่างเสรี ในขณะที่อีก


ก้อนหนึ่งได้รับแรงคงที่ในแนวระดับตลอดเวลา ข้อใดถูก
1.วัตถุทงั้ สองตกถึงพื้นพร้อมกัน
2.วัตถุที่ตกอย่างเสรีตกถึงพื้นก่อน
3. วัตถุที่ได้รับแรงในแนวระดับตกถึงพื้นก่อน
4. วัตถุที่ได้รับแรงในแนวระดับจะเคลื่อนทีเ่ ป็นเส้นตรงไปตามทิศของแรงลัพธ์

44. (มี.ค.58)ปล่อยมวลเท่ากัน 2 ชิ้นให้ตก วัตถุหนึ่งปล่อยให้ตกในแนวดิ่ง ส่วนอีกก้อนหนึ่งปล่อยให้ไถลลงพื้น


เอียงที่ไร้แรงเสียดทาน ซึ่งมีความสูงเท่ากัน ปริมาณใดบ้างของวัตถุที่มีค่าเท่ากัน
1. เวลาที่ใช้เท่ากัน 2. ความเร็วเท่ากัน
3. โมเมนตัมเท่ากัน 4. แรงสุทธิที่กระทําต่อวัตถุเท่ากัน
14

สมการคํานวณ แนวดิ่ง
45. (มี.ค. 55) ชาตรีมองออกไปนอกหน้าต่างๆ เห็นลูกบอลกําลังเคลื่อนที่ผ่านพ้นหน้าต่างขึ้นไป หลังจากนั้น
สักครู่หนึ่ง ก็เห็นลูกบอลลูกเดิมเคลื่อนที่ตกลงมา ถ้าเขาเริ่มจับเวลาในทันทีที่เริ่มเห็นลูกบอลในขาขึ้น และ
หยุดจับเวลาในทันทีท่เี ริ่มเห็นลูกบอลอีกครั้งหนึ่งในขาลง พบว่าใช้เวลา 2 วินาที ถ้าหน้าต่าง มีความสูง 1
เมตร ลูกบอลขึ้นไปได้สูงสุดกี่เมตรจากขอบบนหน้าต่าง ไม่คิดแรงต้านอากาศ
1. 0.5 2. 1.0 3. 1.5 4. 2.0

46. (ต.ค. 55) ยิ ง วั ตถุ ขึ้น ฟ้ าในแนวดิ่ ง ด้ วยอัตราเร็ว 2 m/s จากตํา แหน่ง y=+4 m โดยมี พิกั ดอ้ างอิง ดั งรู ป
กําหนดให้ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงเท่ากับ 9.8 m/s2 สมการของตําแหน่งของวัตถุคือข้อใด

1. y  4  2t  4.9t 2
2. y  4  2t  4.9t 2
3. y  4  2t  4.9t 2
4. y  4  2t  4.9t 2

47. (มี.ค.59) ที่เวลา t=0 ปล่อยก้อนหินลงมาในแนวดิ่ง เมื่อเวลาผ่านไป 10 วินาที ปาก้อนหินอีกก้อนตามลงมา


ถ้าต้องการให้ก้อนหินทั้งสองทันกันที่เวลา t= 20 วินาที จะต้องปาก้อนหินลงมาด้วยอัตราเร็วกี่เมตรต่อ
วินาที (g=10 m/s2)
1. 50 m/s 2. 100 m/s 3. 150 m/s
4. 200 m/s 5. 250 m/s
15

3.แรง มวล และกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน


กฎของนิวตัน

48. (มี.ค. 52) ออกแรง F ขนานกับพื้นราบลื่นกระทํากับกล่อง A และ B ที่วางติดกัน ดังรูป

ข้อใดถูกต้อง
1. ถ้า mA>mB แรงที่กล่อง A กระทํากับกล่อง B มีขนาดมากกว่าแรงที่กล่อง B กระทํากับกล่อง A
2. ถ้า mA>mB แรงที่กล่อง A กระทํากับกล่อง B มีขนาดน้อยกว่าแรงที่กล่อง B กระทํากับกล่อง A
3. แรงที่กล่อง A กระทํากับกล่อง B มีขนาดเท่ากับแรงที่กล่อง B กระทํากับกล่อง A โดยไม่
ขึ้นกับมวลของกล่องทั้งสอง
4. แรงลัพธ์ที่กระทํากับกล่อง A มีขนาดเท่ากับแรงลัพธ์ที่กระทํากับกล่อง B

49. (ก.ค. 52)กล่อง A และกล่อง B วางติดกันบนพื้นราบลื่นและมีแรงขนาด F กระทํากับกล่อง A หรือ


กล่อง B ดังรูป กําหนดให้ mA > mB

ข้อใดถูกต้อง
1.แรงปฏิกิริยาระหว่างกล่องในกรณีที่ 1 มากกว่าแรงปฏิกิริยาระหว่างกล่องในกรณีที่ 2
2.แรงปฏิกิริยาระหว่างกล่องในกรณีที่ 1 น้อยกว่าแรงปฏิกิริยาระหว่างกล่องในกรณีที่ 2
3.แรงปฏิกิริยาระหว่างกล่องในกรณีที่ 1 เท่ากับแรงปฏิกริ ิยาระหว่างกล่องในกรณีที่ 2
4.ทั้งสองกรณี แรงที่กล่อง A กระทํากับกล่อง B มีค่าเท่ากับแรงทีก่ ล่อง B กระทํากับ
กล่อง A และมีขนาดเท่ากับ F

50. (ก.ค. 53) นักเรียนคนหนึ่งออกแรงผลักรถเข็นให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า ข้อใดสรุปเกี่ยวกับขนาดของแรงที่


รถเข็นกระทํากับนักเรียนได้ถูกต้อง
1. มากกว่าขนาดของแรงที่นกั เรียนกระทํากับรถเข็นตลอดเวลา
2. เท่ากับขนาดของแรงที่นักเรียนกระทํากับรถเข็นตลอดเวลา
3. น้อยกว่าขนาดของแรงที่นกั เรียนกระทํากับรถเข็นตลอดเวลา
4. มากกว่าขนาดของแรงที่นกั เรียนกระทํากับรถเข็นเมื่อยังไม่เคลื่อนที่ แต่น้อยกว่าขนาดของ
แรงที่นักเรียนกระทํากับรถเข็นเมื่อเคลื่อนที่ไปแล้ว
16

51. (ต.ค.53) เด็กชายคนหนึ่งยืนอยู่ในลิฟต์ที่กําลังเคลื่อนที่ขึ้น ขนาดของแรงที่พื้นลิฟต์กระทําต่อเท้าของเด็กชาย


คนนี้มีค่า เป็นอย่างไร
1. เท่ากับขนาดของน้ําหนักของเด็กชาย
2. น้อยกว่าขนาดของน้ําหนักของเด็กชาย
3. มากกว่าขนาดของเด็กชาย
4. เท่ากับขนาดของแรงที่เท้าของเด็กชายคนนี้กระทําต่อพื้นลิฟต์

52. (มี.ค.54) ถุงทรายซึ่งวางอยู่บนพื้นถูกดึงด้วยเครื่องชั่งสปริง เครื่องชั่งดังกล่าวถูกดึงด้วยแรง F ในขณะที่ถุง


ทรายมี ความเร็วคงที่ ตาชั่งสปริงอ่านค่าได้ 2 N ข้อใดกล่าวถูกต้อง

1. ถุงทรายถูกดึงด้วยแรงผลลัพธ์ 2 N
2. แรงเสียดทานจลน์เท่ากับ 2 N
3. แรงเสียดทานจลน์มีค่าน้อยกว่า 2 N
4. ผลต่างระหว่างแรง F และแรงเสียดทานจลน์เท่ากับ 2 N

53. (มี.ค. 55) สมชายพบว่า วัตถุหนึ่งกําลังเคลื่อนที่ไปทางขวา ข้อใดเป็นข้อสรุปที่ถูกต้อง


1. ถูกกระทําด้วยแรงลัพธ์ที่มีทิศไปทางขวา
2. ถูกกระทําด้วยแรงที่มีทิศไปทางขวา
3. ถูกแรงกระทํามากกว่า หนึ่งแรง
4. ข้อมูลไม่เพียงพอต่อการสรุป

54. (มี.ค. 55) ในกรณีของรถยนต์ที่ขับเคลื่อนล้อหน้าที่วิ่งเป็นเส้นตรงบนถนนราบ ขณะที่รถกําลังเพิ่มความเร็ว


ข้อใดถูกเกี่ยวกับทิศทางของแรงเสียดทานที่กระทําต่อล้อรถยนต์
1. มีทิศไปข้างหน้าทั้งสีล่ ้อ
2. มีทิศไปข้างหลังทัง้ สี่ล้อ
3. มีทิศไปข้างหลังสําหรับล้อหน้า และมีทิศไปข้างหน้าสําหรับล้อหลัง
4. มีทิศไปข้างหน้าสําหรับล้อหน้า และมีทิศไปข้างหน้าสําหรับล้อหลัง
17

55. (ต.ค.55) เอามือจับมวล 2 kg ไว้ ต่อมาปล่อยมือให้มวลทั้งสองก้อนตกลงมาด้วยแรงโน้มถ่วง แรงตึงเชือกจะ


มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
1.ลดลงจนเท่ากับศูนย์
2.เท่าเดิมตลอดเวลา
3. เพิ่มขึ้นไปสู่ค่าๆ หนึ่งที่น้อยกว่า 2g
4. เพิ่มขึ้นไปสู่ค่า 2g

56. (มี.ค.56 )แรงเสียดทานสถิตสูงสุดระหว่างมวลทั้งสองก้อนมีค่าเท่ากับ 10 N และแรงเสียดทานสถิตสูงสุด


ระหว่างมวลก้อนล่างกับพื้นมีค่าเท่ากับ 8 N ถ้าเราเพิ่มแรงจาก F ขึ้นเรื่อย ๆ จากศูนย์จนกระทั่งมวล 2 kg
เริ่มขยับเมื่อเทียบกับพื้น มวล 4 kg จะมีสภาพการเคลื่อนที่อย่างไรเมื่อเทียบกับพื้น

1. หยุดนิ่งตลอดเวลา
2. เริ่มขยับ โดยติดไปกับมวล 2 kg ( มวลทั้งสองมีความเร่งเท่ากัน )
3. เริ่มขยับ แต่ไม่ได้ติดไปกับมวล 2 kg (มวลทั้งสองมีความเร่งไม่เท่ากัน)
4. สถานการณ์นี้เป็นไปไม่ได้

57. (เม.ย.57)หากพิจารณารถยนต์ทั้งคัน รวมทั้งล้อที่เป็นระบบเดียวกัน แรงใดต่อไปนี้ที่ทําให้ระบบรถยนต์นี้


เคลื่อนที่ด้วยความเร่ง ( ไม่ต้องพิจารณาแรงต้านอากาศ)
1.แรงจากเพลาล้อ 2. แรงจากน้ํามันเชื้อเพลิง
3. แรงเสียดทานระหว่างล้อกับพื้นถนน 4. ถูกทุกข้อ

58. (พ.ย.57) นักบินอวกาศนําเครื่องชั่งน้ําหนักตัวที่ผลิตขึ้นบนโลก ไปชั่งน้ําหนักของตนเองที่พื้นผิวของดาว


เคราะห์ดวงหนึ่ง ซึ่งมีความแรงของสนามโน้มถ่วงที่พื้นผิวเป็น4.0 นิวตัน/กิโลกรัม ถ้าเขาอ่านเลขที่ปรากฏ
บนเครื่องชั่งได้ 100 กิโลกรัม มวลของนักบินอวกาศ (รวมชุดนักบิน ) เป็นกี่กิโลกรัม
1.41 2. 100 3. 245 4. 400
18

การคํานวณเกี่ยวกับกฏของนิวตัน
59. (ก.ค. 52)วางกล่องใบหนึ่งบนรถกระบะ สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตระหว่างกล่องกับพื้นกระบะเท่ากับ
0.5 ถ้าต้องการเร่งความเร็วของรถกระบะจากหยุดนิ่งเป็น 20 เมตรต่อวินาที โดยใช้เวลาให้น้อยที่สุดและ
กล่องไม่ ไถลไปบนพื้นกระบะ จะต้องใช้เวลาเท่าใด
1. 2 วินาที 2. 4.1 วินาที 3. 9.8 วินาที 4. 40 วินาที

60. (มี.ค. 52) วางกล่องใบหนึ่งบนรถกระบะ สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตระหว่างกล่องกับพื้นกระบะเท่ากับ


0.45 ความเร่งสูงสุดของรถกระบะที่ไม่ทําให้กล่องไถลไปบนพื้นกระบะมีค่าเท่าใด
1. 0.046 m/s2 2. 0.45 m/s2 3. 4.4 m/s2 4. 44 m/s2

61. (มี.ค.53) ขณะที่ลิฟต์กําลังเคลื่อนที่ขึ้นด้วยความเร่ง 2 เมตร/วินาที2 นักเรียนคนหนึ่งชั่งน้ําหนักตัวเองได้ 700


นิวตัน นักเรียนคนนี้มีมวลกี่กิโลกรัม

62. (ก.ค. 53) กล่อง ก และ ข มีน้ําหนัก 40 นิวตัน และ 20 นิวตันตามลําดับ กล่อง ค ต้องมีน้ําหนักน้อยที่สุดกี่
นิวตันจึงจะไม่ทําให้กล่อง ก ไถล ถ้าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตระหว่างพื้นโต๊ะกับกล่อง ก เป็น 0.2

1. 20 2. 40
3. 60 4. 80
19

63. (ต.ค.53) แรงขนาดหนึ่งเมื่อกระทําต่อวัตถุซึ่งมีมวล m1 ทําให้วัตถุนี้มีความเร่ง 8.0 เมตร/วินาที2 เมื่อแรง


ขนาดเดียวกันนี้กระทําต่อวัตถุมวล m2 ทําให้ m2 เคลื่อนที่จากจุดหยุดนิ่งได้ 48 เมตร ในเวลา 2 วินาที
อัตราส่วนระหว่าง m2 ต่อ m1 คือ
1.1:1 2. 1:2 3.1:3 4. 1:4

64. (มี.ค.54)กล่องมวล 2 kg วางซ้อนอยู่บนกล่องมวล 4 kg ซึ่งทั้งหมดวางอยู่บนพื้นไร้ความเสียดทาน ถ้า


สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตและสัมประสิทธิ์ความเสียดทานจลน์ระหว่างกล่องทั้งสอง มีค่าเท่ากับ 0.4
และ 0.2 ตามลําดับ ต้องออกแรงผลักกล่อง 4 kg ในทิศขนานกับพื้นอย่างน้อยกี่นิวตัน จึงจะทําให้กล่องมวล
2 kg เริ่มไถลไปบนกล่องมวล 4 kg ได้

65. (ต.ค. 54) วัตถุมวล 2 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 2 เมตร/วินาที ในทิศเหนือ ถูกแรงลัพธ์คงตัวกระทํา


เป็นเวลา 2 วินาที จนมีขนาดความเร็วในทิศตะวันออกเป็น 6 เมตร/วินาที และขนาดความเร็วในทิศเหนือ
เป็น 10 เมตร/วินาที ขนาดของแรงลัพธ์ที่กระทําต่อวัตถุนี้เป็นกี่นิวตัน
1. 5 2. 6 3. 8 4. 10

66. (มี.ค.57)ออกแรงบีบวัตถุมวล m จํานวนหลายชิ้นเข้าด้วยกันแล้วยกขึ้น ถ้าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน


ระหว่างวัตถุแต่ละชิ้นเท่ากับ 0.2 และให้แรงเสียดทานระหว่างนิ้วกับวัตถุมีค่าสูงมาก จงหาจํานวนชิ้นมวล
มากที่สุด ที่สามารถยกได้ด้วยแรงบีบ F=3mg

1. 3 2. 4 3. 5 4.6
20

67. (พ.ย.57) กล่องหนัก 50 นิวตัน อยู่บนพื้นเอียงที่ทํามุม 370 องศากับแนวระดับ สัมประสิทธิ์ความเสียดทาน


สถิตและสัมประสิทธิ์ความเสียดทานจลน์ระหว่างกล่องกับพื้นเอียงเป็น 0.5 และ 0.3 ตามลําดับ ถ้าออกแรง
F ดึงกล่องขนานกับพื้นเอียง ดังรูป ข้อใดถูก

1. แรง F น้อยที่สุดที่ทําให้กล่องอยู่นิ่งคือ 10 นิวตัน


2. แรง F น้อยที่สุดที่ทําให้กล่องอยู่นิ่งคือ 50 นิวตัน
3. แรง F ที่ทําให้กล่องเคลื่อนที่ขึ้นด้วยความเร็วคงที่คือ 50 นิวตัน
4. แรงF ที่ทําให้กล่องเคลื่อนที่ลงด้วยความเร็วคงที่คือ 42 นิวตัน

68. (มี.ค.58)เชือกเส้นหนึ่ง ถ้าผูกกับมวล 4 kg เชือกจะขาดพอดี ถ้านําเชือกนี้ไปผูกกับมวล 3kg จะต้องดึงมวลนี้


ขึ้นด้วยความเร่งเท่าใดจึงจะขาดพอดี
7g
1. g 2. 3. g 4. 4g
3 3

แรงดึงดูดระหว่างมวล
69. (ต.ค. 55) ค่า g ที่ผิวโลก มีค่าเท่ากับ 9.8 m/s2 ค่า g ที่ความสูงจากพื้นดิน 300 km อยู่ในช่วงคําตอบใด
กําหนดให้มวลโลกเท่ากับ 5.95 x 1024 kg และ ค่าคงตัวโน้มถ่วงสากล G=6.67x10-11 Nm2 /kg2
1. (0.0,5.0]m/s2 2. (5.0,7.0]m/s2
3. (7.0,9.0]m/s2 4. (9.0,9.8)m/s2
21

70. (มี.ค. 55) อนุภาคสองชนิดที่มีมวล m และ 2m ตามลําดับ อยู่ห่างกันเป็นระยะ R ถ้าต้องการนําอนุภาค


อีกชนิดหนึ่งที่มีมวล 3m จากที่ไกลมาก ๆ มายังตําแหน่งกึ่งกลางระหว่างอนุภาคสองชนิดแรก งาน ของ
แรงที่ใช้ ในการเคลื่อนที่ย้ายอนุภาคชนิดที่สามนี้เป็นเท่าใด
2
18Gm 2
1.  18Gm 2.
R R
9Gm 2 9Gm 2
3.  4. 
R R

4.สมดุล
71. (มี.ค.53)ในการแข่งขันยูโด วิธีใดต่อไปนี้มีโอกาสที่จะทาให้คู่ต่อสู้ล้มได้ง่ายที่สุด
1. ยก 2. งัด
3. ลาก 4. ดัน

72. (ต.ค.53)คานสม่ําเสมอยาว 2L น้ําหนัก 2W ดังรูป ก เมื่อวางจุดกึ่งกลางคานไว้ที่คมมีด พบว่าคานดังกล่าวอยู่


ใน สภาพสมดุล ถ้าตัดคานด้านขวาไป 2 ท่อนเล็ก ยาวท่อนละ(1/3)L แล้ววางบนส่วนที่เหลือดังรูป ข จะ
ได้ผล ตามข้อใด

1.คานในรูป ข สมดุลเหมือนเดิม
2.ต้องออกแรงดึงในทิศลงที่จดุ A ด้วยขนาด (4/3)W จึงจะทําให้คานในรูป ข สมดุล
3.ต้องออกแรงดึงในทิศลงที่จดุ B ด้วยขนาด (4/3)W จึงจะทําให้คานในรูป ข สมดุล
4.ต้องออกแรงดันในทิศขึ้นทีจ่ ุด B ด้วยขนาด (4/3)W จึงจะทําให้คานในรูป ข สมดุล
22

73. (ต.ค.54)แขวนวัตถุมวล m ที่ตําแหน่งกึ่งกลางเชือกเบาเส้นหนึ่งที่ตรึงปลายทั้งสองด้านกับกําแพง ขณะที่


ระบบอยู่ในสภาพสมดุลพบว่า ปลายเชือกทั้งสองด้านทํามุมน้อย ๆ กับแนวระดับ ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับแรง
ดึงเชือก T ในสถานการณ์นี้
1. T  mg 2. T  mg
2 2
mg
3. T  mg 4. T  mg
2

74. (มี.ค. 55) เสา 2 ต้น ที่ทําจากวัสดุชนิดเดียวกัน มีความสูงเริ่มต้นเท่ากัน ปักไว้ห่างกัน 2 เมตร บนเสาทั้งสอง
มีคานยาว 4 เมตร มวล 10 กิโลกรัม วางอยู่ โดยเสาต้นหนึ่งอยู่ที่กึ่งกลางของคาน ส่วนเสาอีกต้นหนึ่ง อยู่ที่
ปลายด้านซ้ายของคาน จะต้องวางวัตถุที่มีมวล 20 กิโลกรัม ที่ตําแหน่งห่างจากปลายด้านซ้าย กี่เมตร จึงจะ
ทําให้คานวางตัวในแนวระดับพอดี ค่ามอดูลัสของยังของเสาแต่ละต้นเป็น 1.0x1011 นิวตัน/ตารางเมตร
1. 0 2. 0.5 3. 2 4. ที่ไหนก็ได้

75. (ต.ค. 55) ขับรถให้ล้อหน้าทั้งสองทับไปบนตาชั่งที่อยู่ในระดับเดียวกับถนน อ่านน้ําหนักจากตาชั่ง ได้ W1


ขับรถต่อไปให้ล้อหลังทับไปบนตาชั่งตัวเดิม และล้อหน้าอยู่บนถนน อ่านค่าน้ําหนักได้ W2 ถ้าน้ําหนักของรถ
ที่แท้จริงคือ W และศูนย์กลางมวลของรถค่อนมาทางด้านหลัง ข้อสรุปใดถูกต้อง
1. W1  W2 และ W1 + W2 ≠ W
2. W1  W2 และ W1 + W2  W
3. W1  W2 และ W1 + W2 ≠ W
4. W1  W2 และ W1 + W2  W
23

76. (มี.ค.56) แขวนไม้เมตรเนื้อสม่ําเสมออันหนึ่งให้ทํามุม  กับแนวระดับด้วยเชือกเบาสองเส้น ดังรูป

อัตราส่วนแรงตึงเชือก T1 ต่อ T2 เป็นเท่าใด


1. 1 2. 1  sin 
1
3. cos 4.
1  sin 

77. (พ.ย.57)แผ่นโลหะสม่ําเสมอยาวด้านละ 20  เซนติเมตร ถูกเจาะออกด้วยส่วนที่เป็นวงกลมที่มีเส้นผ่าน


ศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร ดังรูป ตําแหน่งศูนย์กลางมวลในแนวแกน x ของแผ่นโลหะที่ถูกเจาะ (ส่วนที่แรเงา)
นี้อยู่ในช่วงกี่เซนติเมตร

1.(10.0 , 11.0) 2. (17.0,18.0)


3. (18.0,19.0) 4. (19.0,20.0)
24

5. งานและพลังงาน
งานและพลังงาน
78. ถ้างานที่ใช้เร่งวัตถุจากหยุดนิ่งให้มีอัตราเร็ว v เท่ากับ W งานที่ต้องใช้ในการเร่งวัตถุจากอัตราเร็ว v ไปสู่
อัตราเร็ว 2v เท่ากับเท่าใด
1. W 2. 2W 3. 3W 4. 4W

79. (ก.ค. 52)รถยนต์มวล 1 ตัน จะต้องใช้กําลังกี่วัตต์เพื่อเร่งความเร็วจาก 10 เมตรต่อวินาที เป็น 20


เมตรต่อ วินาที ภายในเวลา 2 วินาที
1. 5x103 วัตต์ 2. 2.5x104 วัตต์
3. 7.5x104 วัตต์ 4. 1.5x105 วัตต์

80. (มี.ค. 52)จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้


ก. งานที่เกิดจากแรงกระทําในทิศตั้งฉากกับความเร็วของวัตถุมีค่าเป็นศูนย์เสมอ
ข. เครื่องยนต์ที่ทํางานได้ 4 จูลในเวลา 5 วินาที มีกําลังมากกว่าเครื่องยนต์ที่ทํางานได้ 5 จูลใน
เวลา 10 วินาที
ค. เครื่องยนต์ A มีกําลังมากกว่าเครื่องยนต์ B เป็น 2 เท่า แสดงว่าเครื่องยนต์ A ทํางานได้เป็น
2 เท่าของ เครื่องยนต์ B
มีข้อความที่ถูกต้องกี่ข้อความ
1. 1 ข้อความ 2. 2 ข้อความ 3. 3 ข้อความ 4. ไม่มีข้อความใดถูกต้อง

81. (มี.ค. 52)วัตถุก้อนหนึ่งวางอยู่บนพื้นราบ เมื่อแตกออกเป็น 2 ก้อน โดยก้อนหนึ่งมีพลังงานจลน์เป็น 2 เท่า


ของอีก ก้อนหนึ่งก้อนที่มีพลังงานจลน์มากกว่ามีมวลเป็นกี่เท่าของก้อนที่มีพลังงานจลน์น้อยกว่า
1.1/4 2.1/2 3. 2 4. 4
25

82. (ต.ค. 52) จากรูป

ดึงมวล m สองก้อน ด้วยแรง T1 และ T2 มวลทั้งสองก้อนเริ่มเคลื่อนที่ขึ้นจากพื้นพร้อมกันและเคลื่อนที่ขึ้น ด้วย


อัตราเร็วคงตัวเดียวกันข้อใดถูกต้อง
ก. แรง T1 มีค่ามากกว่าแรง T2
ข. กําลังของแรง T1 น้อยกว่ากําลังของแรง T2
ค. งานของแรง T1 เท่ากับงานของแรง T2
ง. ถ้าวัตถุที่อยู่บนพื้นดินมีพลังงานศักย์โน้มถ่วงเป็นศูนย์ มวลแต่ละก้อนต่างก็มีการอนุรักษ์พลังงานกล
1. ก 2. ก และ ข 3. ก และ ค 4. ก และ ง

83. (ต.ค.53)ออกแรง F ขนาด 40 นิวตัน กระทําต่อวัตถุมวล 2 กิโลกรัม ดังรูป ทําให้วัตถุเคลื่อนที่ขึ้นตามพื้น


เอียงเป็นระยะทาง 0.5 เมตร งานของแรง F ที่กระทําต่อวัตถุนี้เป็นกี่จูล

1.12.4 2. 17.3 3. 24.8 4. 34.6

84. (เม.ย.57)ถ้าแรงต้านอากาศที่กระทํากับรถที่เคลื่อนที่มีค่าแปรผันตามอัตราเร็วของรถยกกําลังสองและ
อัตราเร็วสูงสุดของรถก็ถูกจํากัดด้วยแรงต้านอากาศ ถ้ากําลังของรถคันนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 อัตราเร็วสูงสุด
ของรถจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละเท่าใด
1. 15 2. 20 3. 30 4. 50
26

พลังงาน
85. (ต.ค.54) พิจาณาระบบที่ประกอบด้วยวัตถุมวล m และโลกมวล M ปล่อยวัตถุมวล m จากจุดหยุดนิ่ง พบว่า
ตกกระทบพื้นโลกด้วยอัตราเร็ว v อัตราส่วนระหว่างพลังงานจลน์ของโลก ต่อพลังงานจลน์ของวัตถุเป็น
เท่าใด
m M
1. 0 2. 1 3. 4.
M m

86. (ต.ค. 52)การขับรถด้วยอัตราเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ประสานงากับรถอีกคันหนึ่งที่แล่นสวนมาด้วย


อัตราเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเกิดความรุนแรงใกล้เคียงกับการตกตึกประมาณกี่ชั้น กําหนดให้ตึก 1
ชั้นสูง 4 เมตร
1. 4 2. 6 3. 10 4. 15

87. (มี.ค.54) วัตถุชิ้นหนึ่งกําลังเคลื่อนที่โดยมีแรงคงที่กระทําอยู่ ถ้าขนาดของแรงดังกล่าวลดลงอย่างสม่ําเสมอ


โดยไม่ เปลี่ยนทิศของแรง พลังงานจลน์ของวัตถุจะเป็นอย่างไร
1. เพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่สม่ําเสมอ 2. เพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่ไม่สม่ําเสมอ
3. ลดลงด้วยอัตราที่สม่ําเสมอ 4. ลดลงด้วยอัตราที่ไม่สม่ําเสมอ
27

กฏการอนุรักษ์พลังงาน
88. (ต.ค. 52)มวลก้อนหนึ่งถูกปล่อยที่สูงตกลงมากระทบกับสปริงตัวหนึ่งซึ่งเบามาก และตั้งอยู่บนพื้นแข็งแรง ผล
ของการกระทบทําให้สปริงหดสั้นเป็นระยะทาง h หลังจากนั้นมวลก้อนนี้ก็ถูกสปริงดันขึ้นทําให้มวลเคลื่อนที่
กลับมาที่ความสูงที่ปล่อย

ข้อใดถูก
1. ขณะอยู่ที่ตาํ แหน่งต่ําสุด มวลไม่อยู่ภายใต้สภาวะสมดุลแรง
2. ระยะหดของสปริงสามารถคํานวณได้จากการอนุรักษ์ของผลรวมระหว่างพลังงานจลน์และพลังงาน
ศักย์โน้มถ่วง
3. ขณะที่อยู่ตาํ แหน่งต่ําสุด พลังงานศักย์ยดื หยุ่นในสปริงมีค่าเป็นศูนย์
4. ขณะอยู่ที่ตาํ แหน่งต่ําสุด มวลมีความเร่งเป็นศูนย์

89. (ต.ค.54) ผูกวัตถุมวล m กับเชือกเบาเส้นหนึ่งแล้วนําไปคล้องผ่านรอกเบา โดยปลายอีกข้างหนึ่งของเชือกผูก


ติดกับสปริงที่วางตัวในแนวดิ่ง ดังรูป ที่ตําแหน่ง A วัตถุถูกจับให้อยู่นิ่งโดยที่สปริงยังไม่ยืดไม่หด ถ้าปล่อย
วัตถุให้เคลื่อนที่จากตําแหน่ง A ไปตําแหน่ง B ซึ่งไม่ใช้ตําแหน่งต่ําสุด

ข้อใดกล่าวถูกต้อง
1. พลังงานศักย์ที่ตําแหน่ง A มากกว่าพลังงานศักย์ที่ตําแหน่ง B
2. พลังงานศักย์ที่ตําแหน่ง A น้อยกว่าพลังงานศักย์ที่ตําแหน่ง B
3. ที่ตําแหน่ง A มีพลังงานศักย์ ส่วนที่ตําแหน่ง B มีแต่พลังงานจลน์
4. พลังงานศักย์โน้มถ่วงที่ตําแหน่ง A เปลี่ยนเป็นพลังงานศักย์ยืดหยุ่นทีต่ ําแหน่ง B
28

90. (มี.ค. 55) เด็กคนหนึ่งมวล 50 กิโลกรัม กระโดดหนีไฟจากหน้าต่างสูง 10 เมตร ลงมาที่ตาข่ายช่วยชีวิต


ปรากฏว่าตาข่ายยืดออกมากที่สุด 1 เมตร ในแนวดิ่ง พลังงานศักย์สูงสุดของตาข่ายนี้เป็นกี่จูล ( เทียบกับ
ตอนที่ยังไม่ยืดออก )
1. 245 2. 490 3. 4900 4. 5390

91. (ต.ค. 55) ปล่อยวัตถุมวล 2 kg จากความสูง 100 m เมื่อมาถึงพื้นดิน วัตถุมีความเร็ว 80 km/h แรงต้าน
อากาศเฉลี่ยมีค่าอยู่ในช่วงใด (กําหนดให้ g=10 m/s2)
1. (6,12]N 2. (12,18]N
3. (18,24]N 4. (24,50]N

92. (มี.ค.56) แขวนก้อนวัตถุมวล 200 กรัม ในแนวดิ่งด้วยสปริงที่มีค่าคงตัวสปริง 0.1 นิวตัน/เมตร และปล่อยให้


หยุดนิ่ง ต่อมาเอามือยกก้อนวัตถุขึ้นในแนวดิ่งเป็นระยะ 4 เซนติเมตร แล้วปล่อยมือ ก้อนวัตถุจะสั่นโดยมีพลังงาน
จลน์มากที่สุดกี่มิลลิจูล
1. 0.08 2. 78.5
3. 86.4 4. ตอบไม่ได้ ขึ้นกับการกําหนดระดับอ้างอิงของพลังงานศักย์

93. (มี.ค.57) วางสปริงบนพื้นราบโดยปลายด้านหนึ่งยึดไว้กับผนัง ปลายอีกข้างหนึ่งมีมวล 0.5 กิโลกรัมติดไว้


และสปริงถูกดึงยืดออก 10 เซนติเมตร จากสมดุล ทําให้สปริงมีพลังงานศักย์ยืดหยุ่น 100 จูล ถ้าแรงเสียดทาน
ระหว่างมวลกับพื้นเท่ากับ 100 นิวตัน จงหาว่าหลังจากปล่อยมือ สปริงจะถูกอัดเข้าไปจากตําแหน่งสมดุลเป็น
ระยะกี่เซนติเมตร
1. 8 2. 8.5 3. 9 4. 9.5
29

94. (พ.ย.57)วัตถุมวล 2 กิโลกรัม วางอยู่บนปลายสปริงที่ถูกยึดไว้กับพื้นให้ตั้งขึ้นในแนวดิ่ง โดยสปริงมีค่าคงตัว


สปริง 196 นิวตัน/เมตร เมื่อกดวัตถุลงในแนวดิ่งเล็กน้อยแล้วปล่อย พบว่าที่ปลายสปริงจะเกิดการสั่นแบบ
ฮาร์มอนิกอย่างง่าย จะต้องกดวัตถุให้สปริงหดลงไปอย่างน้อยที่สุดกี่เซนติเมตร วัตถุจึงจะหลุดไปจากสปริง
พอดี
1. 5 2. 10 3. 19.6 4. 39.2

95. (พ.ย.57)กล่องมวล 2 กิโลกรัม กําลังเคลื่อนที่ขึ้นพื้นเอียงที่ทํามุม 37 องศากับแนวระดับ เมื่อเคลื่อนผ่านจุดที่


สูงสุดจากพื้น 2 เมตร กล่องมีอัตราเร็ว 4 เมตร/วินาที และมีความร้อนเกิดขึ้น 20 จูล พลังงานจลน์ของกล่อง
เมื่ออยู่ที่ปลายล่างของพื้นเอียงเป็นกี่จูล
1. 35.2 2. 36.0 3. 43.2 4. 75.2

96. (มี.ค.58)เชือกบันจีจัมป์มีค่าคงที่ของสปริง 1,000 N/m2 ชายคนหนึ่งมีมวล 80 kg และสูง 1.5 m เขาผูก


เชือกที่ข้อเท้าและกระโดดออกจากกระเช้าที่ความสูง 60 m เชือกจะต้องมีความยาวไม่เกินกี่เมตร ชายคนนี้
จึงจะกระโดดได้อย่างปลอดภัย
1. 9.7 2. 48.8 3. 50.3 4. 58.5
30

6. โมเมนตัม
97. (ก.ค. 52)วัตถุก้อนหนึ่งวางอยู่บนพื้นลื่น ต่อมาแตกออกเป็น 2 ชิ้น โดยที่แต่ละชิ้นมีมวลไม่เท่ากัน จง
พิจารณา ข้อความต่อไปนี้
ก. โมเมนตัมของวัตถุก่อนแตกตัวมีค่าเท่ากับผลรวมโมเมนตัมของวัตถุทั้งสองชิ้นหลังแตกตัว
ข. หลังแตกตัว วัตถุแต่ละชิน้ มีโมเมนตัมเท่ากัน
ค. หลังแตกตัว วัตถุแต่ละชิน้ มีพลังงานจลน์เท่ากัน
มีข้อความที่ถูกต้องกี่ข้อความ
1. 1 ข้อความ 2. 2 ข้อความ
3. 3 ข้อความ 4. ไม่มีข้อความใดถูกต้อง

98. (ต.ค. 52) นายอ้วนและนายผอมยืนอยู่บนพื้นน้ําแข็งลื่น นายอ้วนมีมวล 80 กิโลกรัม นายผอมมีมวล 40


กิโลกรัม ทั้งสองคนออกแรงเล่นชักเย่อกัน ในจังหวะที่นายอ้วนออกแรงดึงเชือก จนตนเองมีอัตราเร็ว 0.2
เมตรต่อวินาทีนายผอมจะมีอัตราเร็วกี่เมตรต่อวินาที
1. 0.1 2. 0.2 3. 0.4 4. 0.6

99. (มี.ค.53)ชาย 2 คน มวล 50 กิโลกรัม และ100 กิโลกรัม ยืนอยู่บนลานน้าแข็งราบและลื่น จับปลายเชือกเบา


ยาว 9 เมตร คนละด้าน เมื่อชายมวล 100 กิโลกรัม ดึงเชือกเข้าหาตัวเองเขาจะเลื่อนไปชนกัน ณ ตําแหน่งที่
ห่างจากตําแหน่งเดิมของเขาเป็นระยะกี่เมตร
1. 3 2. 4 3. 5 4. 6

100. (มี.ค.53) ระเบิดลูกหนึ่งเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ (projectile motion) เมื่อเคลื่อนที่ถึงจุดสูงสุดระเบิด


ออกเป็นมวล 3 ก้อนที่เท่ากัน ถ้าทันทีที่ระเบิดมีมวลสองก้อนเคลื่อนที่ในแนวดิ่งด้วยอัตราเร็วเท่ากัน ข้อ
ใดต่อไปนี้สรุปได้ ถูกต้องเกี่ยวกับมวลก้อนที่สาม (ทันทีที่ระเบิด)
1. มีขนาดความเร็วเป็น 3 เท่าของขนาดความเร็วของลูกระเบิด ณ จุดสูงสุดก่อนการระเบิด
2. มีพลังงานจลน์เป็น 3 เท่าของพลังงานจลน์ของลูกระเบิด ณ จุดสูงสุดก่อนการระเบิด
3. มีขนาดโมเมนตัมเป็น 3 เท่าของขนาดโมเมนตัมของลูกระเบิด ณ จุดสูงสุดก่อนการระเบิด
4. มีคําตอบถูกมากกว่า 1 ข้อ
31

101. (มี.ค.55)วัตถุมวล m วางอยู่บนวัตถุรูปทรงสามเหลี่ยมมวล M ซึ่งอยู่บนพื้นราบลื่น วัตถุมวล m เริ่มไถลลง


จากจุดหยุดนิ่ง หากพบว่า ณ ขณะหนึ่งวัตถุมวล m มีความเร็วในแนวราบเป็น vx และความเร็วในแนวดิ่งเป็น
vy ขณะนั้นวัตถุรูปทรงสามเหลี่ยมมีขนาดและทิศทางของความเร็วเทียบกับพื้นราบเป็นอย่าไร

1. vx มีทิศไปทางซ้าย 2. vx มีทิศไปทางขวา
m m 2 2
3. vx มีทิศไปทางซ้าย 3. vx  v y มีทิศขึ้นตามแนวพื้นเอียง
M M

102. (ต.ค.55)บีบมวล 2 kg และ 6 kg เข้าด้วยกันบนพื้นลื่นโดยมีสปริงคั่นกลาง บีบเข้าไปจนสปริงหดมีพลังงาน


ศักย์ยืดหยุ่น 100 J เมื่อปล่อยมือให้มวลทั้งสองก้อนวิ่งออกจากกัน เมื่อมวลทั้งสองหลุดออกไปจากสปริง
มวล 6 kg จะมีอัตราเร็วอยู่ในช่วงใด
1. (0.0,1.0]m/s 2. (1.0,2.0]m/s
3. (2.0,3.0]m/s 4. (3.0,4.0]m/s

103. (มี.ค.56) ก้อนมวล 1 kg กําลังเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว +0.5 m/s เข้าชนก้อนมวล 2 kg ซึ่งอยู่นิ่ง และมี


สปริงที่มีค่าคงตัวสปริง 1.0 N/m ติดอยู่ ดังรูป

ถ้าการชนนี้เกิดขึ้นบนพื้นไร้ความเสียดทาน ขณะที่ก้อนมวล 1 kg มีอัตราเร็วลดลงเหลือ +0.2 m/s เราจะ


สามารถคํานวณหาอัตราเร็วของก้อนมวล 2 kg ได้หรือไม่ ถ้าได้ จะได้ด้วยหลักการใด ถ้าไม่ได้ จะไม่ได้ด้วยเหตุผล
ใด
1. ได้ โดยใช้หลักการอนุรักษ์พลังงาน
2. ได้ โดยใช้หลักการอนุรักษ์โมเมนตัม
3. ไม่ได้ เพราะขาดข้อมูลระยะหดของสปริง
4. ไม่ได้ เพราะโจทย์ไม่ได้ให้ข้อมูลว่าก้อนมวล 1 kg ยังคงสัมผัสกับปลายสปริง ณ ขณะดังกล่าวหรือไม่
32

104. (มี.ค.57) จรวดเด็กเล่น มวล 0.5 กิโลกรัม เมื่อจุดระเบิดด้วยดินปืน จะเกิดแรงคงตัวขนาด 20 นิวตัน กระทํา
ต่อจรวดเป็นเวลา 2 วินาที ถ้าจรวดนี้อยู่ในแนวระดับ ขนาดของความเร็วของจรวดหลังจุดระเบิดเป็นกี่เมตรต่อ
วินาที ถ้าถือว่ามวลของดินปืนน้อยมากเมื่อเทียบกับมวลจรวดและไม่คิดแรงต้านอากาศ
1. 19.6 2. 28 3. 80 4. 82.5

105. (เม.ย.57)วัตถุ A และ วัตถุ B เหมือนกันทุกประการถูกยิงขึ้นจากตําแหน่งเดียวกันด้วยขนาดความเร็วที่


เท่ากันแต่ทํามุมกับแนวระดับต่างกัน โดยยิงวัตถุ A เอียงทํามุม 300 กับแนวระดับ ในขณะที่ยิงวัตถุ B เอียง
ทํามุม 600 ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องเมื่อวัตถุทั้งสองตกลงมายังระดับที่ยิงอีกครั้งหนึ่ง ( ไม่ต้องคิดแรงต้านอากาศ)
1. วัตถุทั้งสองมีการดลและอัตราเร็วเท่ากัน
2. วัตถุ A มีการดลมากกว่าวัตถุ B
3. วัตถุ B มีการดลมากกว่าวัตถุ A
4. วัตถุทั้งสองมีการดลและความเร็วเท่ากัน

106. (พ.ย.57)รถสองคันมวลเท่ากันวิ่งมาตามทางที่ตั้งฉากกันด้วยอัตราเร็วเท่ากัน และเกิดชนกัน เมื่อมาถึง สี่แยก


โดยรถคันหนึ่งแล่นมาจากทางแยกในทิศตะวันออก อีกคันหนึ่งแล่นมาจากทางแยกในทิศใต้ หลังการชน รถ
ทั้งสองคันเคลื่อนที่ติดกันไปทํามุม  กับแนวทิศตะวันออก ถ้าก่อนชน รถคันที่แล่นมาทางทิศตะวันตกมี
อัตราเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ข้อใดถูกต้อง
1. ขนาดโมเมนตัมหลังชนลดลง และมุม  เพิ่มขึ้น
2. ขนาดโมเมนตัมหลังชนลดลง และมุม  ลดลง
3. ขนาดโมเมนตัมหลังชนเพิ่มขึ้น และมุม  เพิ่มขึ้น
4. ขนาดโมเมนตัมหลังชนเพิ่มขึ้น และมุม  ลดลง

107. (มี.ค.58)รถยนต์สองคันชนกัน ในสภาพความเป็นจริง ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม และกฎ


การอนุรักษ์พลังงาน
1.กฏอนุรักษ์โมเมนตัม และกฎอนุรักษ์พลังงานใช้ได้ตลอดทุกสภาพ
2.กฏอนุรักษ์โมเมนตัมใช้ได้ตลอด แต่กฎอนุรักษ์พลังงานใช้ไม่ได้
3.กฏอนุรักษ์โมเมนตัมใช้ได้เมื่อคิดเฉพาะแรงปะทะ แต่กฎอนุรักษ์พลังงานใช้ได้ตลอดทุกสภาพ
4.กฏอนุรักษ์โมเมนตัมใช้ได้เมื่อคิดเฉพาะแรงปะทะ แต่กฎอนุรักษ์พลังงานใช้ไม่ได้
33

7. การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ
โปรเจกไทล์
108. (ต.ค. 52) การยิงวัตถุแบบโพรเจกไทล์ด้วยอัตราเร็วต้นและมุมยิงเดียวกัน บนดวงจันทร์ที่มีแรงโน้มถ่วงต่ํา
กว่าบนโลก เมื่อเปรียบเทียบกับบนโลก จะเป็นตามข้อใด
กําหนดให้ เส้นประ ------------- แทนแนวการเคลื่อนที่บนโลก
เส้นทึบ แทนแนวการเคลื่อนที่บนดวงจันทร์
1. 2.

3. 4.

109. (ต.ค.53) ขว้ างลู กบอลจากสนามหญ้ ามายั ง ลานหน้า บ้ าน ถ้ าลู ก บอลลอยอยู่ ใ นอากาศนาน 2.0 วิ นาที
ตําแหน่งของลูกบอล ณ จุดสูงสุดอยู่สูงจากระดับที่ขว้างในแนวดิ่งกี่เมตร (ไม่ต้องคิดผลของแรงต้านอากาศ)
34

110. (มี.ค.54) ยิงวัตถุทรงกลมขึ้นท้องฟ้าทําให้เกิดการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ หากเราเปลี่ยนจากวัตถุดังกล่าว


เป็น ลูกขนไก่ที่มีมวลเท่ากับวัตถุ ตีให้มีอัตราเร็วต้นเท่าเดิมในทิศทางเดียวกัน ผลของแรงต้านอากาศจะทําให้
เส้นทางการเคลื่อนที่แตกต่างไปอย่างไร
1. 2.

3. 4.

111. (มี . ค.54) วั ต ถุ A และ B เริ่ ม ไถลพร้ อ มกั น บนพื้ น เอี ย งไร้ ค วามเสี ย ดทานด้ ว ยอั ต ราเร็ ว ต้ น uA และ uB
ตามลําดับ ทิศของ ความเร็วต้นของวัตถุ B ทํามุม  กับสันของพื้นเอียงดังรูป เงื่อนไขใดที่สามารถทําให้วัตถุ
ทั้งสองลงมาถึงพื้นราบพร้อมกันได้

ก.  u A  uB   0 และ   0o
ข. u A  0, uB  0 และ   0o
ค. u A  0, uB  0 และ   0o
ง. u A  0, uB  0 และ   0o

1.ก และ ข 2.ค และ ง 3.ก และ ค 4.ข และ ง


35

112. (ต.ค. 54) ยิงวัตถุสองก้อน A และ B แบบโพรเจกไทล์ขึ้นจากพื้นที่ตําแหน่งเดียวกัน โดยมีขนาดความเร็วต้น


uA และ uB ทํามุม A และ B กับแนวระดับ ตามลําดับ ถ้าวัตถุทั้งสองนี้ตกลงบนพื้นที่ตําแหน่งต่างกัน โดย
B ตกไกลกว่า A แต่วัตถุทั้งสองเคลื่อนที่ได้สูงสุดเท่ากัน ถ้าไม่คิดผลของแรงต้านอากาศ ข้อใดกล่าวถูกต้อง
เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุทั้งสอง
1.วัตถุทงั้ สองตกถึงพื้นพร้อมกัน โดย uA uB
2.วัตถุทั้งสองตกถึงพื้นพร้อมกัน โดย uA  uB
3. วัตถุ A ตกถึงพื้นก่อนวัตถุ B โดย uA  uB
4. วัตถุ A ตกถึงพื้นก่อนวัตถุ B โดย uA  uB

113. (ต.ค. 55) ยิงวัตถุด้วยอัตราเร็ว 10 m/s ขึ้นท้องฟ้า ทํามุม 30 องศากับแนวระดับ ปรากฏว่าวัตถุตกลงไม่


ถึงเป้าหมาย โดยขาดไปอีก 1 เมตร ถ้าจะยิงครั้งที่สองเพื่อให้วัตถุตกที่ตําแหน่งเป้าหมายพอดี จะต้องยิงด้วย
อัตราเร็วเท่าใดในมุมเดิม คําตอบที่ได้อยู่ในช่วงคําตอบใด (ใช้ g=10 m/s2)
1. (10.0,10.4]m/s 2. (10.4,10.6] m/s
3. (10.6,10.8] m/s 4. (10.8,11.0] m/s

114. (มี.ค. 56 ) ยิงวัตถุบนพื้นราบด้วยอัตราเร็วต้น u โดยทํามุม  กับพื้น วัตถุไปตกไกลจากตําแหน่งที่ยิง


เป็นระยะ x ข้อสรุปใดถูกต้อง
1. x  sin 2  ถ้า u คงที่ 2. x  cos 2 ถ้า u คงที่
3. x  u ถ้า  คงที่ 4. x  u 2
ถ้า  คงที่

115. (มี.ค.57)ปืน m16 รุ่นA1 สามารถยิงออกไปในแนวระดับด้วยอัตราเร็ว 990 m/s ถ้าเป้าอยู่ห่างออกไป


460 m เราต้องเล็งปืนให้สูงกว่าเป้าประมาณกี่เมตร กระสุนจึงจะใกล้เป้ามากที่สุด
1.0.5 2. 1.1 3. 1.6 4. 2.2
36

116. (เม.ย.57)เตะลูกบอลขึ้นจากพื้นโดยมีเส้นทางการเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งพาราโบลา ณ ตําแหน่งใด ที่ความเร็ว


ของลูกบอลมีทิศตั้งฉากกับความเร่งของลูกบอล
1. ทุก ๆ ตําแหน่งของการเคลื่อนที่
2. ตําแหน่งสูงสุดของการเคลือ่ นที่
3. ตําแหน่งที่ลกู บอลกระทบพื้น
4. ไม่มีตําแหน่งดังกล่าว

การเคลื่อนที่แบบวงกลม
117. (มี.ค. 52) ชายคนหนึ่งมีมวล 80 กิโลกรัม ขับรถไปตามถนนด้วยอัตราเร็วคงที่ 15 เมตรต่อวินาทีถ้าพื้นถนนมี
หลุมที่มี รัศมีความโค้งเท่ากับ 60 เมตร แรงที่เบาะนั่งกระทํากับชายคนนี้ ณ ตําแหน่งต่ําสุดของหลุมเป็น
เท่าใด
1. 300 N 2. 484 N 3. 784 N 4. 1084 N

118. (ก.ค. 52) ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับวัตถุที่เคลื่อนที่เป็นวงกลมระนาบอย่างสม่ําเสมอ


1.ความเร็วของวัตถุคงที่ 2.อัตราเร็วของวัตถุคงที่
3.แรงที่กระทํากับวัตถุคงที่ 4.มีข้อถูกมากกว่า 1 ข้อ

119. (ก.ค. 52)วัตถุมวล 1 กิโลกรัมเคลื่อนที่เป็นวงกลมอย่างสม่ําเสมอบนพื้นราบด้วยขนาดของความเร็ว 2


เมตรต่อ วินาที โดยมีรัศมี 0.5 เมตร งานเนื่องจากแรงสู่ศูนย์กลางเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ได้ครึ่งรอบเป็นเท่าใด
1.0 จูล 2. 2 จูล 3. 4 จูล 4. 8 จูล
37

120. (ต.ค. 52)ชายคนหนึ่งนําเชือกไปผูกกับลูกตุ้มแล้วนํามาแกว่งเหนือศีรษะ เป็นวงกลมระนาบ ขนานกับผิวโลก

จงเลือกแรงที่เพียงพอต่อการพิจารณาสภาพการเคลื่อนที่ของลูกตุ้ม
1. ก และ ข 2. ก ข และ ง
3. ก ข ค และ ง 4. ก และ ง
121. (ต.ค. 52)ดาวเทียมมวล m ที่โคจรรอบโลกที่มีมวล M จะเกิดแรงสู่ศูนย์กลางซึ่งนําไปสู่การหาอัตราเร็วของ
ดาวเทียมที่รัศมีโคจร r จากจุดศูนย์กลางโลกดังนี้

ถ้า
GmM mv 2 GmM GM
1. F 2.  3. v
r2 r r2 r
จากสมการ (3) จะเห็นได้ว่าอัตราเร็ววงโคจรที่เพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับรัศมีวงโคจรที่ลดลง ข้อใดถูก
1. สมการ (3) ใช้ไม่ได้ถ้ามวลของดาวเทียมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
2. ดาวเทียมที่กําลังโคจรเป็นวงกลมรอบโลก งานเนื่องจากแรงดึงดูดระหว่างมวลมีค่าเป็น
ศูนย์
3.จากสมการ (3) ถ้าต้องการให้ดาวเทียมลดรัศมีวงโคจร เราต้องทําให้ดาวเทียมจุดระเบิด
เครื่องยนต์เพื่อ ดันให้ดาวเทียมโคจรเร็วขึ้น
4.ในขณะที่ดาวเทียมกําลังโคจรเป็นวงกลมรอบโลกด้วยอัตราเร็วคงที่ จะมี.ค.วามเร่งเป็นศูนย์
122. (มี.ค.53)ดาวเทียมดวงหนึ่งโคจรรอบดาวเคราะห์ที่ความสูง h จากพื้นผิว ถ้าดาวเคราะห์มีรัศมี R และมีมวล
M คาบการหมุนของดาวเทียมรอบดาวเคราะห์นี้เท่ากับเท่าใด เมื่อ G คือค่าคงที่โน้มถ่วงสากล
 R  h  R  h  R  h  R  h
3 2

1. 2 2. 2 3. 2 4. 
GM GM GM GM
38

123. (มี.ค. 56) วัตถุก้อนหนึ่งเคลื่อนที่เป็นวงกลม มีเวกเตอร์ตําแหน่งเป็น R   cos  xˆ  sin  yˆ โดยที่ xˆ , yˆ
คือเวกเตอร์หนึ่งหน่วยในทิศ  x และ  y ตามลําดับ ถ้ามุม   2 t เรเดียน โดยที่ t คือเวลาใน
หน่วยวินาที วัตถุดังกล่าวมีสภาพการเคลื่อนที่เริ่มจากเวลา t  0 ตามรูปใดบนวงกลม 1 หน่วย
1. 2.

3. 4.

124. (มี.ค.57)ผูกวัตถุไว้ด้วยเชือกและกําลังเคลื่อนที่เป็นวงกลมด้วยอัตราการหมุนคงตัว ดังรูป

ทิศของความเร่งลัพธ์อยู่ในทิศตามหมายเลขใด
1. 1 2. 2 3. 3 4. 4
125. (เม.ย.57) วัตถุก้อนหนึ่งเคลื่อนที่เป็นวงกลมอย่างสม่ําเสมอในแนวระดับโดยมีรัศมีเท่ากับ 4 เมตร ถ้าวัตถุนี้
มีพลังงานจลน์คงที่ 100 จูล ขนาดของแรงสู่ศูนย์กลางที่กระทําต่อวัตถุก้อนนี้เป็นกี่นิวตัน
1. 25 2. 50 3. 75 4. 100
39

126. (เม.ย.57)อัตราเร็วเชิงมุมของเข็มสั้นบนนาฬิกาประมาณกี่เรเดียน/วินาที
1.7.3x10-5 2. 1.5x10-4 3. 1.7x10-3 4. 0

127. (พ.ย.57) ดาวเทียมดวงหนึ่งโคจรรอบโลกเป็นวงกลม การเปลี่ยนแปลงในข้อใดที่ทําให้ต้องมีการเพิ่ม


อัตราเร็วในการโคจรของดาวเทียม เพื่อให้ดาวเทียมสามารถโคจรรอบโลกได้
1. การเพิ่มมวลของดาวเทียม
2. การลดมวลของดาวเทียม
3. การเพิ่มรัศมีวงโคจรของดาวเทียม
4. การลดรัศมีวงโคจรของดาวเทียม

128. (มี.ค.58) ดาวเทียมไทยคมปรากฏนิ่งอยู่บนฟ้าที่สูงจากระดับพื้นโลก 30,000 km ถ้ารัศมีโลกมีค่าเท่ากับ


6,500 km ดาวเทียมจะโคจรด้วยความเร็วประมาณกี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง
1. 2,600 2. 5,200 3. 9,500 4. 15,000

ฮาร์มอนิกอย่างง่าย
ลูกตุ้มนาฬิกา
129. (ก.ค. 53)ลูกตุ้มอย่างง่ายมวล mA , mB ,.mC , และ mD ถ้า mA = 2mB ,mB = 0.5mC , mC = 3mD
โดยความยาวของเชือกที่ผูกกับมวลแต่ละก้อนเท่ากัน คาบการแกว่งของมวลแต่ละก้อนเป็น
TA , TB ,TC และ TD ตามลําดับ ข้อใดถูกต้อง
1. TA = TB = TC = TD
2. TA > TB , TB < TC , TC < TD
3. TA < TB , TB > TC , TC < TD
4. TA < TB , TB < TC , TC < TD
40

130. (มี.ค. 55)พิจารณาการแกว่งของลูกตุ้มอย่างง่ายมวล m มีความยาวเชือก  มีคาบการแกว่ง T ถ้า ณ เวลา


t=0 ลูกตุ้มมีการกระจัดเชิงมุม 0 ข้อใดถูกต้อง
3
1. ณ เวลา T ลูกตุ้มหยุดชั่วขณะที่ตําแหน่งต่ําสุด
4
2. ที่ตําแหน่งสูงสุด ลูกตุ้มอยู่ในสภาพสมดุล
3. ที่ตําแหน่งต่ําสุด ลูกตุ้มอยู่ในสภาพสมดุล
4. ไม่มีตําแหน่งใดทีล่ ูกตุ้มอยู่ในสภาพสมดุล

131. (มี.ค.56 )แกว่งลูกตุ้มอย่างง่ายที่มีเชือกยาว 2 เมตรในระนาบดิ่ง โดยมีมุมสูงสุด 30 องศาเทียบกับแนวดิ่ง


ดังรูป

เงาของลูกตุ้มที่ปรากฏบนพืน้ ดิน ณ ขณะที่พระอาทิตย์อยู่เหนือศีรษะพอดีจะมีอัตราสูงสุดกี่เมตร/วินาที2


1. 2.2 2. 4.2 3. 4.9 4. 9.8

132. (มี.ค.57) ลูกตุ้มเพนดูลัม ยาว 19.6 เมตร แกว่งกลับไปกลับมาโดยทํามุมสูงสุด 30 องศา กับแนวดิ่ง อัตราเร็ว
เฉลี่ยของการแกว่งจากสุดด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งมีค่าประมาณกี่เมตรต่อวินาที
1.4.41 2. 4.62 3. 8.82 4. 9.24
41

133. (เม.ย.57)ลูกตุ้มอย่างง่ายอันหนึ่งมีเชือกยาว L แขวนไว้ที่ตะปูตัวบนและมีตะปูอีกตัวหนึ่งอยู่ใต้ลงมาเป็น


ระยะ L/2 หากเริ่มต้นดึงลูกตุ้มให้เชือกทํามุม 300 กับแนวดิ่ง เมื่อเชือกแกว่งไปโดนตะปูตัวล่างแล้ว เชือก
ส่วนล่างจะแกว่งขึ้นไปเป็นมุมเท่าใด
1.น้อยกว่า 300
2. เท่ากับ 300
3. มากว่า 300 แต่ไม่ถึง 600
4. มากกว่า 600

มวลติดสปริง
134. (มี.ค.53) สปริงเบา ยาว 30 เซนติเมตร มีค่าคงตัวของสปริงเท่ากับ 200 นิวตันต่อเมตร ถ้านําปลายด้านหนึ่ง
ยึดติดกับเพดาน ส่วนปลายอีกด้านหนี่งผูกกับมวล 1.0 กิโลกรัม แล้วปล่อยให้วัตถุเคลื่อนที่ขึ้น-ลงในแนวดิ่ง
สปริงจะยืดออกจากเดิมได้มากที่สุด กี่เซนติเมตร (ไม่ต้องคิดผลของแรงต้านอากาศ)

135. (ต.ค.53) มวล 5 กิโลกรัม ติดอยู่ที่ปลายสปริง ซึ่งตรึงอยู่กับยอดพื้นเอียงที่ทํามุม 600 กับแนวระดับ โดย


สปริงยืดออก 10 เซนติเมตร จากความยาวปกติ ถ้าระบบอยู่ในสภาวะสมดุล และสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน
ของพื้นเอียงเป็น 0.3 แรงคืนตัวของสปริงในขณะนั้นเท่ากับกี่นิวตัน
42

136. (เม.ย.57)วัตถุมวล m1 อยู่บนพื้นราบลื่นและติดอยู่ที่ปลายสปริงที่มีค่าคงที่สปริง k ผูกวัตถุอีกก้อนหนึ่งมวล


m2 ด้วยเชือกเบาที่คล้องผ่านรอกเบาแล้วนําไปผูกติดกับมวล m1 ดังรูป

เริ่มต้นสปริงไม่ยืดไม่หด และใช้มือจับมวล m2 เอาไว้ เมื่อปล่อยมือให้ระบบนี้สั่น มวล m2 จะสั่นขึ้นลงรอบจุด


สมดุล จุดสมดุลนี้อยู่ต่ํากว่าตําแหน่งของ m2 ก่อนปล่อยมือเท่าใด
3.  1 2  4.  2 1 
m m g m m g
1. m1 g 2. m2 g
k k k k

137. (พ.ย.57)การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายของมวลที่ติดอยู่ที่ปลายสปริงบนพื้นระดับลื่น ครั้งแรกดึงมวล


ออกเป็นระยะ A จากตําแหน่งสมดุลแล้วปล่อย ครั้งที่สองดึงมวลออกมาเป็นระยะ 2A ผลที่ได้เป็นดังข้อใด
1.ความถี่ของครั้งที่สองเท่ากับครั้งแรก
2. คาบของครั้งที่สอง เป็น 2 เท่าของครั้งแรก
3. พลังงานรวมของครั้งทีส่ องเป็น 2 เท่าของครั้งแรก
4. ความเร่งสูงสุดของครัง้ ที่สองเป็น 4 เท่าของครัง้ แรก

138. (มี.ค.58)การสั่นแบบซิมเปิลฮาร์มอนิกอย่างง่ายของมวลติดสปริงในแนวราบ ถ้าที่ x0 เป็นตําแหน่ง


สมดุล และตําแหน่งมวลมีค่าเป็นบวก ความเร็วและความเร่งมีค่าเป็นอย่างไร
1. ความเร็วมีค่าเป็นบวก ความเร่งมีค่าเป็นลบ
2. ความเร็วมีค่าเป็นลบ ความเร่งมีค่าเป็นบวก
3. ความเร็วมีค่าเป็นบวกหรือลบก็ได้ ความเร่งมีค่าเป็นลบ
4. ความเร็วมีค่าเป็นบวกหรือลบก็ได้ ความเร่งมีค่าเป็นบวก
43

139. (มี.ค.58)สปริงติดวัตถุสั่นในแนวดิ่ง ถ้าเพิ่มมวล เป็น 4 เท่าของเดิม คาบการสั่นจะเป็นอย่างไร


1. คาบการสั่นเป็น 0.25 เท่าของคาบเดิม 2. คาบการสั่นเป็น 0.5 เท่าของคาบเดิม
3. คาบการสั่นเป็น 2 เท่าของคาบเดิม 4. คาบการสั่นเป็น 4 เท่าของคาบเดิม

140. (พ.ย.58) มวลขนาด 9/400 kg ติดอยู่ที่ปลายสปริงที่มีค่าคงตัวเท่ากับ  2 N/m และวางอยู่บนพื้นไร้ความ


เสียดทาน ดึงมวลให้สปริงยืดออกมาอยู่ที่ตําแหน่ง x=+0.4 m แล้วปล่อยมือ ถ้าที่เวลา t=0 มวลอยู่ที่
ตําแหน่งx=+0.2 m และความเร็วเป็นลบ เมื่อเวลาผ่านไป 1 s ความเร็วในลักษณะใดถูกต้องที่สุด
1. มีขนาดสูงสุด และเป็นบวก
2. มีขนาดสุงสุด และเป็นลบ
3. เป็นบวก
4. เป็นลบ
5. เป็นศูนย์

141. (พ.ย.58) มวล 0.5 kg ติดอยู่ที่ปลายสปริงที่มีค่าคงตัวสปริง 100 N/m และวางอยู่บนพื้นราบไร้แรงเสียด


ทาน โดยตรึงปลายด้านหนึ่งของสปริงไว้กับกําแพง เมื่อออกแรงคงตัว 50 N กระชากสปริงจากตําแหน่ง
สมดุลและปล่อยมือเมื่อสปริงยืดออก 10 cm. หลังจากนั้นมวลจะเคลื่อนที่ออกไปเป็นระยะกี่เซนติเมตร
1. 12 2. 22 3. 32
4. 42 5. 52

8. การเคลื่อนที่แบบหมุน
142. (มี.ค. 52) จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. ทรงกลมตันและทรงกลมกลวงที่มีมวลเท่ากัน มีรัศมีเท่ากัน กลิ้งโดยไม่ไถลด้วยอัตราเร็วเท่ากัน ทรง
กลมตันจะมีพลังงานจลน์มากกว่าทรงกลมกลวง
ข. เมื่อผูกเชือกแขวนค้อนให้สมดุลในแนวระดับได้ แสดงว่าตําแหน่งที่ผูกเชือกนั้นเป็นตําแหน่งที่มวล
ด้านซ้ายเท่ากับมวลด้านขวา
ค. ทุกตําแหน่งบนวัตถุหมุนมีอัตราเร็วเชิงมุมเท่ากัน
มีข้อความที่ถูกต้องกี่ข้อความ
1. 1 ข้อความ 2. 2 ข้อความ 3. 3 ข้อความ 4. ไม่มีข้อความใดถูกต้อง
44

143. (ต.ค. 52)ดินน้ํามันก้อนหนึ่งมวล M ถูกนํามาปั้นเป็นทรงกลมหลายลูกและเสียบกับไม่เสียบลูกชิ้น กําหนดให้


แกนหมุนผ่านกึ่งกลางไม้เสียบลูกชิ้นและตั้งฉากกับแกนไม้ รูปในข้อใดมีโมเมนต์ความเฉื่อยสูงสุด
1. 2.

3. 4.

144. (ต.ค. 52)รถยนต์คันหนึ่งมีมวล 1,000 กิโลกรัม ล้อรถยนต์รัศมี 20 เซนติเมตร แต่ละล้อรับมวล 250


กิโลกรัม จงคํานวณทอร์กขั้นต่ําสุดที่ต้องให้แก่ล้อหน้าแต่ละล้อ เพื่อให้ปีนฟุตบาทซึ่งสูง 10 เซนติเมตร ได้

1. 25g 3 2. 25g 3. 25g 2 4. 25g/ 2

145. (ต.ค. 55) วัตถุรูปทรงกระบอกรัศมี r มวล m มีโมเมนต์ความเฉื่อยรอบแกนทรงกระบอกเท่ากับ I กําลังกลิ้ง


โดยไม่ไถล ลงมาตามพื้นเอียงซึ่งทํามุม  กับแนวระดับ ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตมีค่าเท่าใด
tan  tan  tan 
1. tan  2. 3. 4.
 mr 2   mr 2   mr 2 
  1   1  
 I   I   I 
45

146. (มี.ค.56)เค้กก้อนหนึ่งมีรัศมี 30 เซนติเมตร และมวล 0.5 กิโลกรัม กําลังหมุนอยู่บนแป้นหมุนที่เบามากด้วย


อัตราเร็ว 0.5 รอบ/วินาที ถ้าคนแต่หน้าเค้กทําการบีบครีมปริมาณ 0.1 กิโลกรัม ลงบนหน้าเค้ก หลังการ
บีบครีมเค้กก้อนดังกล่าวจะหมุนกี่รอบ/วินาที
1. 0.35 2. 0.42 3. 0.48 4. 0.60

147. (มี.ค.57) มอเตอร์กําลัง 50 วัตต์ ต่อกับแกนกลางจานหมุน มวล 10 กิโลกรัม รัศมี 20 เซนติเมตร จะสามารถ
ทําให้จานหมุนหมุนจากหยุดนิ่งจนมีความเร็ว 300 รอบต่อนาที ได้ในเวลาประมาณกี่วินาที
1. 1 2. 2 3. 3 4. 4
46

คลื่น เสียง แสง


9. คลื่น
ลักษณะต่าง ๆ ของคลื่น
148. (ก.ค. 52) คลื่นในเส้นเชือกที่เวลาต่างกัน 0.2 วินาที เป็นดังภาพ

จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. แหล่งกําเนิดคลื่นมีความถี่เท่ากับ 2.5 เฮิรตซ์
ข. แหล่งกําเนิดคลื่นอาจมีความถี่น้อยกว่า 2.5 เฮิรตซ์
ค. แหล่งกําเนิดคลื่นอาจมีความถี่มากกว่า 2.5 เฮิรตซ์
มีข้อความที่ถูกต้องกี่ข้อความ
1. 1 ข้อความ 2. 2 ข้อความ
3. 3 ข้อความ 4. ไม่มีข้อความใดถูกต้อง

149. (มี.ค. 52) การแทรกสอดของคลื่นบนผิวน้ําจากแหล่งกําเนิดอาพันธ์ 2 แหล่งทําให้เกิดคลื่นนิ่งพิจารณากรณี


ต่อไปนี้
ก. สันคลื่นซ้อนทับสันคลื่น
ข. สันคลื่นซ้อนทับท้องคลื่น
ค. ท้องคลื่นซ้อนทับท้องคลื่น
การซ้อนทับกันกรณีใดทําให้เกิดจุดบัพ
1. ก และ ค 2. ข 3. ข และ ค 4. ค

150. (มี.ค.53)ในเหตุการณ์สึนามิ บุคคลใดต่อไปนี้มีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุด


1. นาย A อยู่บนยอดต้นมะพร้าวริมทะเล
2. นาย B ตกปลาอยู่บนเกาะกลางทะเล
3. นาย C ทํากับข้าวอยู่ที่ครัวโรงแรมริมทะเล
4. นาย D กําลังว่ายน้ําอยู่กลางทะเล
47

151. (ต.ค.53) คลื่นในเชือกเส้นหนึ่งซึ่งขึงให้ตึงที่ปลายทั้งสองข้าง กําลังสั่นในแนวดิ่ง ญ เวลา t =0 วินาที รูปร่าง


ของเชือก เป็นดังรูป(ก) เมื่อเวลาผ่านไป 0.2 วินาที รูปร่างของเชือกเป็นดังรูป(ข) และถ้าเวลาผ่านไป 0.4
วินาที รูปร่าง ของเชือกจะกลับมาเป็นรูป (ก) อีกครั้ง ถ้าระยะห่างระหว่างจุดตรึงของเชือกเท่ากับ 12 เมตร
อัตราเร็วของ คลื่นในเส้นเชือกเป็นกี่เมตร/วินาที

1. 10 2. 20 3. 30 4. 40
152. (ต.ค. 55) คลื่นในเส้นเชือกกําลังเคลื่อนที่จากซ้ายไปขวามือ ซึ่งเป็นปลายตรึง อัตราเร็วคลื่นคือ 1 ช่องต่อ
วินาที หลังจากผ่านไป 4 วินาที คลื่นจะเป็นเช่นใด

1. 2.

3. 4.
48

153. (มี.ค. 53) นําเชือกสองเส้นที่มีขนาดต่างกันมาต่อกัน โดยเส้นเล็กมีน้ําหนักเบากว่าเส้นใหญ่ ทําให้เกิดคลื่น


ดลในเชือกเส้นเล็ก ดังรูป

เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปถึงรอยต่อของเชือกทําให้เกิดการสะท้อน และการส่งผ่านของคลื่น ลักษณะของคลื่น


สะท้อนและคลื่นส่งผ่านในเส้นเชือก.ค.วรเป็นอย่างไร

154. (ต.ค. 54) ยึดปลายข้างหนึ่งของเส้นเชือกกับกําแพง แล้วสะบัดเชือกที่ปลายอีกข้างหนึ่งให้เกิดคลื่นในเส้น


เชือก ถ้าต้องการให้คลื่นที่เกิดขึ้นมีความยาวคลื่นมากขึ้น ควรจะทําอย่างไร
1. สะบัดให้คลืน่ ในเส้นเชือกมีแอมพลิจูดน้อย ๆ
2. เพิ่มความยาวของเส้นเชือกให้มากขึ้น
3. สะบัดเชือกอย่างรวดเร็ว
4. สะบัดเชือกอย่างช้า ๆ

155. (เม.ย.57)นักเรียนคนหนึ่งสะบัดเชือกขึ้นลงเพื่อให้เกิดคลื่นในเส้นเชือก ถ้าเขาเพิ่มความถี่ในการสะบัดเชือก


เป็น 2 เท่า โดยที่เชือกยังคงมีความตึงเชือกเท่าเดิม ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับอัตราเร็วของคลื่นในเส้นเชือก ณ
ขณะนี้
1. เท่าเดิม โดยความยาวคลื่นเพิ่มเป็น 2 เท่า
2. เท่าเดิม โดยความยาวคลื่นลดลงเป็น 2 เท่า
3. เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยความยาวคลื่นเท่าเดิม
4. เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยความยาวคลื่นเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
49

การแทรกสอด และเลี้ยวเบนของคลื่น
156. (ต.ค. 55 ) คลื่นไมโครเวฟที่มีความยาวคลื่น 5 cm. ความเข้ม I0 ถูกแยกออกเป็นสองลําแล้วค่อยกลับไป
รวมกันใหม่ ณ จุด P ซึ่งมีหัววัดอยู่โดยใช้ตัวสะท้อนคลื่นไมโครเวฟ ถ้าต้องการให้ความเข้ม ณ ตําแหน่งหัววัด
เป็นศูนย์ ความยาว x ควรเป็นกี่เซนติเมตร

1.0.88 2. 3.02 3. 3.54 4. 6.04

157. (มี.ค.56) ในการสาธิตการเกิดคลื่นนิ่งในถาดคลื่นที่ใส่น้ํา แหล่งกําเนิดอาพันธ์ 2 อัน อยู่ห่างกัน 9


เซนติเมตร เคาะลงบนผิวน้ําเป็นจังหวะ ด้วยมอเตอร์ที่หมุนด้วยอัตราเร็วรอบ 10 รอบ/วินาที ถ้าในการทดลอง
พบว่า เกิดการแทรกสอดแบบเสริมกันทั้งสิ้น 5 แนว อัตราเร็วของคลื่นน้ําในถาดมีค่าอยู่ในช่วงกี่เซนติเมตร/วินาที
1. (18 , 23) 2. (23 , 29)
3. (29 , 46) 4. (46 , 90)

158. (มี.ค.57)นักเรียนคนหนึ่งสังเกตคลื่นเคลื่อนที่ โดยคาบเท่ากับ 2 วินาที และพบว่าคลื่นแต่ละลูกเคลื่อนที่


ผ่านเสาสองต้นซึ่งอยู่ห่างกัน 45 เมตร ในเวลา 25 วินาที ความยาวคลื่นของคลื่นน้ําที่สังเกตเห็นเท่ากับกี่เมตร
1. 0.3 2. 0.9 3. 1.1 4. 3.6
50

10. เสียง
สมบัติของคลื่นเสียง
159. (มี . ค. 52)เมื่ อเสียงเดินทางจากแหล่ ง กําเนิ ดเสีย งที่ห ยุ ดนิ่ ง ผ่า นตัวกลางหนึ่ง เข้าไปในอีก ตั วกลางหนึ่ง
ปริมาณใดของเสียงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
1. ความถี่ 2. ความยาวคลื่น
3. อัตราเร็วคลื่น 4. ไม่มีปริมาณใดที่ไม่เปลี่ยนแปลง

160. (ก.ค. 52)การพูดผ่านกรวยกระดาษไปยังผู้ฟังที่อยู่ไกลออกไป จะทําให้ผู้ฟังได้ยินเสียงที่ชัดขึ้นลักษณะ


ดังกล่าว อธิบายได้ด้วยสมบัติข้อใดของคลื่นเสียง
1. การหักเห 2. การสะท้อน
3. การแทรกสอด 4. การเลี้ยวเบน

161. (ต.ค. 52)กําหนดให้ T เป็นแรงตึงในเส้นเชือกมีหน่วยเป็นนิวตัน หรือ กิโลกรัมเมตรต่อวินาทียกกําลังสอง


T
และ μ เป็น มวลของเชือกต่อหน่วยความยาว มีหน่วยเป็นกิโลกรัมต่อเมตร ปริมาณ มีหน่วยเดียวกับ

ปริมาณใด
1. ความเร็ว 2. พลังงาน
3. ความเร่ง 4. รากที่สองของความเร่ง

162. (ต.ค.53) เหตุใดจึงไม่เกิดโพลาไรเซซั่นในคลื่นเสียง


1. เสียงเป็นคลืน่ ตามยาว
2. เสียงมีหน้าที่เป็นทรงกลม
3. เสียงเป็นคลืน่ กลที่อาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่
4. เสียงมีอัตราเร็วไม่คงที่ มีค่าเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิของตัวกลาง

163. (มี.ค. 55 )คลื่นเสียงตัวโน้ตใด ๆ จากขลุ่ยเพียงออ ประกอบไปด้วยคลื่นความถี่มูลฐานและฮาร์มอนิกที่ 2,


3, 4,... ความสัมพันธ์ระหว่างแอมพลิจูดของแต่ละฮาร์มอนิกกับความถี่ของแต่ละฮาร์มอนิกเป็นอย่างไร
1. ทุกฮาร์มอนิก คลื่นจะมีแอมพลิจูดใกล้เคียงกัน
2. ที่ฮาร์มอนิกสูงขึ้น คลื่นจะมีแอมพลิจูดลดลง
3. ที่ฮาร์มอนิกสูงขึ้น คลื่นจะมีแอมพลิจูดเพิ่มขึ้นเช่นกัน
4. ไม่สามารถระบุความสัมพันธ์ที่แน่ชัดได้
51

164. (ต.ค.55) อัลตราซาวน์ที่ใช้เพื่อการสลายนิ่วนั้นใช้หลักการใดของฟิสิกส์


1.การสะท้อน 2. การหักเห
3. การสั่นพ้อง 4. ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์

อัตราเร็วคลืน่ เสียง การสะท้อน


165. (ก.ค. 53) เรือลําหนึ่งเคลื่อนที่เข้าหาหน้าผาชันด้วยความเร็วคงตัว 20 เมตรต่อวินาที เมื่ออยู่ห่างจากหน้า
ผาระยะหนึ่งกัปตันเปิดหวูด 1 ครั้ง และได้ยินเสียงสะท้อนกลับของเสียงหวูด เมื่อเวลาผ่านไป 2 วินาที ขณะที่เปิด
หวูดเรืออยู่ห่างจากหน้าผากี่เมตร กําหนดให้อัตราเสียงในอากาศเท่ากับ 340 เมตรต่อวินาที
1. 360 2. 540 3. 680 4. 960

166. (มี.ค.54) นักเรียนคนหนึ่งยืนอยู่ห่างจากกําแพง 102 เมตร ร้องตะโดนออกไปและได้ยินเสียงตะโกนของ


ตนเองใด เวลา 0.6 วินาที ถ้าความยาวคลื่นเสียงเป็น 0.5 เมตร ความถี่ของเสียงที่ได้ยินเป็นกี่เฮิรตซ์
1. 85 2. 122 3. 170 4. 680

167. (ต.ค. 54) รถไฟขบวนหนึ่งเริ่มเคลื่อนที่บนรางตรงเข้าสู่ชานชาลา พร้อมกับเปิดหวูดรถไฟ ขณะเดียวกัน


เสียงเสียดสีระหว่างล้อเหล็กกับรางเหล็กก็ถูกส่งผ่านรางเหล็กมาด้วยอัตราเร็วที่สูงกว่าเสียงหวูดรถไฟ ที่อุณหภูมิ
ปกติ อัตราเร็วเสียงในเหล็กมีค่าประมาณ 5,000 เมตร/วินาที และอัตราเร็วเสียงในอากาศมีค่าประมาณ 350
เมตร/วินาที ถ้าเรายืนอยู่ที่ชานชาลาและได้ยินเสียงหวูดรถไฟหลังจากที่ได้ยินเสียงจากรางเหล็กแล้ว 2 วินาที
ขณะเปิดหวูด รถไฟขบวนดังกล่าวอยู่ห่างจากชานชาลาเป็นระยะทางกี่เมตร
1. 750 2. 753 3. 1,022 4. 2,325
52

ความเข้มเสียง ระดับความเข้มแสง
168. (ต.ค. 52) ถ้าระดับความเข้มข้นเสียงจากแหล่งกําเนิดเสียงหนึ่งเปลี่ยนจาก 20 เดซิเบล เป็น 40เดซิเบล
ความเข้มเสียงเพิ่มขึ้นกี่เท่า
1. 2 2. 10 3. 20 4. 100

169. (ต.ค. 54) การจุดประทัดเพียงนัดเดียวให้ระดับความเข้มเสียงประมาณ 100 เดซิเบล ถ้าจุดประทัดพร้อม


กัน20 นัด จะทําให้ได้ยินเสียงดังได้มากที่สุดประมาณกี่เดซิเบล กําหนด log 2=0.3
1. 103.3 2. 111.3 3. 113.0 4. 131.0

170. (เม.ย. 57) สมศักดิ์ยืนอยู่ห่างจากแหล่งกําเนิดเสียงที่แผ่ในทุกทิศทางอย่างสม่ําเสมอเป็นระยะทาง 5 เมตร


เขาวัดระดับความเข้มเสียงได้ 70 เดซิเบล ถ้าสมศรีซึ่งอยู่ห่างจากแหล่งกําเนิดเสียงเป็นระยะ 20 เมตร จะ
วัดระดับความเข้มเสียงได้กี่เดซิเบล กําหนด log4=0.6
1.17.5 2. 58 3. 64 4. 70
53

การสั่นพ้องของเสียง
171. (ต.ค. 52) หลอดเรโซแนนซ์ปลายปิดด้านหนึ่ง มีความยาว 2 เมตร ความยาวคลื่นของฮาร์มอนิกที่สาม
เท่ากับกี่เมตร
1. 1.33 2. 1.6 3. 2.67 4. 4

172. (มี.ค.53)วางแหล่งกําเนิดเสียงไว้ใกล้กับท่อปลายปิด 1 ด้าน ยาว 1 เมตร ดังรูป เมื่อปรับความถี่ของ


แหล่งกําเนิด เสียงเพื่อให้ได้ยินเสียงดังที่สุด ถ้าอัตราเร็วเสียงในอากาศเท่ากับ 340เมตร/วินาที เสียงจะดังที่สุดที่
ความถี่กี่ เฮิรตซ์

1. 80 2. 255 3. 420 4. 695

173. (ต.ค.53) ในการทดลองการสั่นพ้องในท่อปลายเปิด 1 ข้าง ปลายปิด 1 ข้าง โดยสามารถปรับระดับความ


ยาวของลําท่อ อากาศภายในท่อได้ ระยะจากตําแหน่งที่ได้ยินเสียงดังครั้งที่ 1 และตําแหน่งที่ได้ยินเสียงดังครั้งที่ 4
เท่ากับ กี่เซนติเมตร ถ้าคลื่นเสียงที่ส่งเข้าไปใน ท่อมีความถี่ 400 เฮิรตซ์ และอัตราเร็วเสียงในอากาศเท่ากับ 340
เมตร/วินาที
1. 85.0 2. 127.5 3. 148.8 4. 170.0
54

174. (เม.ย. 57) นักเรี ยนคนหนึ่งทํ าการทดลองเคาะส้อมเสียงที่ไม่ท ราบความถี่ อันหนึ่งเหนือปากหลอดเร


โซแนนซ์ อันหนึ่งซึ่งยาว 1 เมตร พบว่าได้ยินเสียงดังขึ้นครั้งแรก เมื่อมีระดับน้ําในหลอดสูง 12.5 เซนติเมตร
และครั้งที่สองเมื่อเติมน้ําลงไปอีก 25 เซนติเมตร ถ้าเขายังคงเติมน้ําลงไปเรื่อย ๆ เขาจะได้ยินเสียงดังขึ้นอีก
กี่ครั้ง
1. 2 2. 3 3. 4 4. 5

ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์
175. (มี.ค.55)รถพยาบาลกําลังแล่นด้วยอัตราเร็ว 1/100 ของอัตราเร็วเสียง อัตราส่วนของความยาวคลื่นเสียง
ไซเรนด้านหลังต่อด้านหน้ารถ ที่ปรากฏต่อผู้สังเกต ที่ยืนนิ่งบนถนนเป็นเท่าใด
1. 0.99/1.01 2. 1.01/0.99
3. 1.01/1.02 4. 1.02/1.02

176. (ต.ค. 55) รถไฟขบวนหนึ่งเปิดหวูดขณะกําลังจะแล่นผ่านสี่แยกหนึ่ง นักเรียนที่ยืนตรงสี่แยกนั้นวัดความถี่


เสียงหวูดได้ 590 Hz. และวัดอีกครั้งเมื่อรถไฟเคลื่อนที่ผ่านไปแล้วได้ 540 Hz รถไฟแล่นด้วยอัตราเร็วในช่วงกี่
เมตร/วินาที สมมติให้รถไฟแล่นด้วยอัตราเร็วคงตัว และอัตราเร็วเสียงในอากาศขณะนั้นเป็น 340 m/s
1. (0,30] 2. (30,85]
3. (85,130] 4. (130,190]
55

177. (มี.ค.56) เครื่องบินลําหนึ่งกําลังบินไปทางหอบังคับการบิน โดยมีอัตราเร็วสัมพัทธ์กับอากาศเป็น 170


เมตร/วินาที ขณะที่อยู่ห่างจากหอบังคับการบิน 3 กิโลเมตร ได้ส่งสัญญาณเสียงความถี่สูงไปยังหอบังคับการบิน
ถ้าขณะนั้นมีลมปะทะมาจากด้านหน้าเครื่องบินด้วยอัตราเร็ว 50 เมตร/วินาที เทียบกับพื้นดิน สัญญาณเสียงจะ
ไปถึงหอบังคับการบินในเวลากี่วินาที ถ้าอัตราเร็วเสียงในอากาศเป็น 340 เมตร/วินาที
1. 5.9 2. 6.5 3. 8.8 4. 10.3

178. (มี.ค.56) ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง


1. ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ของเสียงขึ้นกับอัตราเร็วสัมพัทธ์ระหว่างแหล่งกําเนิดเสียงและผู้สงั เกตเท่านั้น
2. เราสามารถสังเกตลวดลายการแทรกสอดที่เกิดจากแหล่งกําเนิดอาพันธ์เท่านั้น
3. แหล่งกําเนิดคลื่นที่มีเฟสต่างกัน 1800 เป็นแหล่งกําเนิดไม่อาพันธ์
4. มีข้อความถูกมากกว่า 1 ข้อความ

179. (มี.ค.57)ผู้สังเกตคนหนึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ เข้าหาแหล่งกําเนิดเสียงความถี่คงที่ ค่าหนึ่งซึ่งอยู่นิ่ง


แล้วผ่านเลยไป กราฟในข้อใดแสดงความถี่ของเสียงที่ผู้สังเกตวัดได้ ถ้า A คือตําแหน่งของแหล่งกําเนิดเสียง
1. 2.

3. 4.
56

180. (พ.ย.57)ลําโพงที่อยู่นิ่งส่งเสียงความถี่ 1,000 เฮิรตซ์ ไปยังชายคนหนึ่งที่อยู่ห่างออกไป 500 เมตร ถ้า


ขณะนั้นมีลมพัดในทิศจากลําโพงไปยังชายคนนั้นด้วยอัตราเร็ว 50 เมตร/วินาที ชายคนนี้จะได้ยินเสียงจาก
ลําโพงมีความถี่กี่เฮิรตซ์ กําหนดให้อัตราเร็วเสียงในอากาศเป็น 330 เมตร/วินาที
1. 868 2. 1,000
3. 1,152 4. 1,179

181. (มี.ค.58)รถพยาบาลปล่อยคลื่นเสียงที่มีความถี่ 1kHz เคลื่อนที่เข้าหาเราด้วยอัตราเร็ว 20 m/s ถ้าอัตราเร็ว


เสียงมีค่าเป็น 350 m/s ความยาวคลื่นด้านหน้ารถจะมีค่ากี่เมตร
1. 0.33 2. 0.34 3. 0.35 4. 0.36
57

11. แสง
การหักเหแสง
182. (มี.ค.53) ชายคนหนึ่ง มองวัตถุในน้ําตามแนวดิ่ง เห็นภาพของวัตถุสูงจากตําแหน่งของวัตถุ 10 เซนติเมตร
ตําแหน่งภาพที่เขามองเห็นจะอยู่ห่างจากผิวน้ํากี่เซนติเมตร กําหนดให้ ดัชนีหักเหของน้ําเท่ากับ 4/3 และ
ดัชนีหักเหของอากาศเท่ากับ 1

183. (ต.ค. 54) แสงความยาวคลื่นเดียวผ่านจากอากาศเข้าไปในปริซึมที่มีดัชนีหักเห 1.5 ข้อใดกล่าวถูกต้อง


เกี่ยวกับสมบัติของแสงนี้ในปริซึม
1. มีความถี่เท่าเดิม แต่ความยาวคลื่นสั้นลง
2. มีความถี่เท่าเดิม แต่ความยาวคลื่นเพิ่มขึ้น
3. ความยาวคลื่นเท่าเดิม แต่ความถี่เพิ่มขึ้น
4. ความยาวคลื่นเท่าเดิม แต่ความถี่ลดลง

184. (ต.ค. 55) แสงเลเซอร์ตกกระทบผนังด้านบนภายในวัสดุชนิดหนึ่งที่มีดัชนีหักเห 1.5 ด้วยมุมตกกระทบ 600


ดังรูป

ถ้าวัสดุนี้อยู่ในอากาศ แสงเลเซอร์จะออกจากวัสดุนี้เป็นครั้งแรกที่ตําแหน่งใด
1. A 2. B
3. C 4. สะท้อนอยู่ภายในไม่ออกมา

185. (เม.ย.57)ฉายแสงเลเซอร์ในอากาศตกกระทบวัตถุโปร่งใสชนิดหนึ่งที่มีดัชนีหักเห 1.5 ถ้ามุมตกกระทบ


เท่ากับ 30 องศา ลําเลเซอร์นี้จะหลุดออกจากแท่งวัตถุนี้เป็นครั้งแรกที่ด้านใด
1. A
2. B
3. C
4. D
58

186. (พ.ย.57)แหล่งกําเนิดแสงแบบจุดที่ส่องแสงออกทุกทิศทางอยู่ลึกลงไป 1 เมตร จากผิวหน้าของของเหลว


ชนิดหนึ่งที่มีค่าดัชนีหักเห 2.0 เมื่อมองจากด้านบน จะเห็นผิวหน้าของของเหลวสว่างเป็นวงกลมที่มีรัศมี
มากที่สุดกี่เมตร
1 3
1. 2.
3 2
3. 1 4. 3

187. (มี.ค.57)ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับแสงจากเปลวเทียน
1. เป็นแสงอาพันธ์ เกิดจากการสั่นของอิเล็กตรอน
2. เป็นแสงไม่อาพันธ์ เกิดจากการสั่นของอิเล็กตรอน
3. เป็นแสงอาพันธ์ เกิดจากการเปลี่ยนระดับชั้นพลังงานของอิเล็กตรอน
4. เป็นแสงไม่อาพันธ์ เกิดจากการเปลี่ยนระดับชั้นพลังงานของอิเล็กตรอน

188. (พ.ย.57)ปรากฏการณ์ในข้อใดที่อธิบายด้วยหลักการที่แตกจากข้ออื่น
1. สีสันของฟองสบู่ 2. สีสันของรุง้ กินน้ํา
3. สีสันของขนนกยูง 4. สีสันของคราบน้ํามันบนผิวน้ํา

189. (มี.ค.58)ชายคนหนึ่งยืนอยู่ริมขอบสระว่ายน้ําที่ไม่มีน้ํา สระนี้ลึก 2 เมตร เท่ากันทั้งสระ เมื่อสระนี้มีน้ําเต็ม


เขาจะเห็นก้นสระตรงจุดที่เขายืนอยู่และก้นสระฝั่งตรงข้ามเป็นอย่างไร ตามลําดับ
1. ลึกกว่าปกติทั้งสองด้าน
2. ตื้นกว่าปกติทั้งสองด้าน
3. ด้านที่ยืนอยู่ตื้นกว่าปกติ ด้านฝั่งตรงข้ามลึกกว่าปกติ
4. ด้านที่ยืนอยู่ลึกกว่าปกติ ด้านฝั่งตรงข้ามตื้นกว่าปกติ
59

แทรกสอดและเลี้ยวเบน
190. (มี.ค. 52) เมื่อแสงแดดผ่านแผ่นเกรตติง ภาพที่ปรากฏบนฉากรับภาพจะเป็นอย่างไร

1. 2.

3.

4.

191. (ก.ค. 52)สมบัติข้อใดของแสงเลเซอร์ ที่ทําให้ผลการเลี้ยวเบนด้วยแผ่นเกรตติง ปรากฏภาพการเลี้ยวเบน


ได้ชัดเจน
1. มีความใกล้เคียงความถี่เดียว
2. มีลําแสงที่แคบและไม่บานออกเหมือนแสงทั่วไป
3. มีความเข้มสูงมาก
4. มีการเลี้ยวเบนได้ดีกว่าแสงประเภทอื่น
60

192. (ต.ค. 52) ถ้าทําการทดลองการเลี้ยวเบนของแสงผ่านสลิตเดี่ยวในน้ําเปรียบเทียบกับที่ทดลองในอากาศ ข้อ


ใดถูก
1. ระยะห่างระหว่างแถบมืดบนฉากมีค่ามากขึ้น
2. สีของแถบสว่างบนฉากเปลี่ยนแปลงไป
3. แถบสว่างกลางมีความกว้างเพิ่มขึ้น
4. ผลที่ได้ไม่แตกต่างกัน

193. (มี.ค.53) การทดลองวัดความยาวคลื่นแสงด้วยสลิตคู่ที่มีระยะระหว่างสลิต 2 x10-4 เมตร เกิดแถบสว่าง


บนฉากที่วาง อยู่ห่างจากสลิต 80 เซนติเมตร โดยตําแหน่งของแถบสว่างลําดับที่ 2 อยู่ห่างจากกึ่งกลาง
ฉาก 4.0 มิลลิเมตร ความยาวคลื่นแสงที่ทดลองมีค่ากี่นาโนเมตร
1. 400 2. 500 3. 600 4. 700

194. (ก.ค. 53) ฮีเลียม-นีออนเลเซอร์ให้แสงที่มีความยาวคลื่น 630 นาโนเมตร เมื่อฉายผ่านสลิตเดี่ยวที่กว้าง


200 ไมโครเมตร จะเกิดริ้วการเลี้ยวเบนบนฉากที่อยู่ห่างจากสลิตเป็นระยะ 2.0 เมตร ความกว้างของ
แถบสว่างกลางที่เกิดขึ้นบนฉากนี้เป็นกี่มิลลิเมตร
1. 0.63 2. 1.26 3. 6.30 4. 12.6

195. (มี.ค.54) นักเรียนคนหนึ่งทําการทดลองการแทรกสอดของยัง ถ้าแสงที่ใช้มีความยาวคลื่น 650 นาโนเมตร


และ ระยะห่างระหว่างช่องแคบคู่กับฉากเป็น 2.0 เมตร วัดระยะห่างของแถบสว่างจากแนวกลางบนฉาก
ได้ผล ดังรูป ช่องแคบคู่ที่ใช้มีระยะห่างระหว่างช่องเป็นกี่มิลลิเมตร

1. 0.13 2. 0.26 3. 0.33 4. 0.65


61

196. (มี.ค.54) ข้อใดถูกเกี่ยวกับการเลี้ยวเบนของแสงเลเซอร์ผ่านสถิตเดี่ยวเมื่ออุปกรณ์ทั้งหมดอยู่ใต้ผิวน้ํา


เปรียบเทียบกับ เมื่อทําการทดลองในอากาศ
1. ไม่เกิดริ้วการเลี้ยวเบนในน้ํา
2. ริ้วการเลี้ยวเบนในน้ําอยู่ห่างเท่ากับในอากาศ
3. ริ้วการเลี้ยวเบนในน้ําอยู่ชิดกันมากกว่าในอากาศ
4. ริ้วการเลี้ยวเบนในน้ําอยู่ห่างกันมากกว่าในอากาศ

197. (ต.ค.54) เงื่อนไขสําคัญในการสร้างโพลาไรเซชันโดยการสะท้อนคือข้อใด


1. รังสีตกกระทบทํามุม 90 องศากับรังสีสะท้อน
2. รังสีตกกระทบทํามุม 90 องศากับรังสีหกั เห
3. รังสีสะท้อนทํามุม 90 องศากับรังสีหักเห
4. รังสีหักเหทํามุม 90 องศากับเส้นตั้งฉาก ( เส้นปกติ )

198. (ต.ค. 54). ถ้าระยะ S1Q มีค่าต่างจากระยะ S2Q อยู่ 1,300 นาโนเมตร ตําแหน่ง Q ของแสงความยาวคลื่น
500 นาโนเมตร จะมีสมบัติอย่างไร
1. เป็นตําแหน่งมืดที่สุด
2. เป็นตําแหน่งสว่างที่สุด
3. อยู่ใกล้ตําแน่งมืดมากกว่าตําแหน่งสว่าง
4. อยู่ใกล้ตําแหน่งสว่างมากกว่าตําแหน่งมืด

199. (มี.ค. 55)เราสามารถมองเห็น “ภาพเสมือน” ได้หรือไม่


1. ไม่ได้ เพราะรังสีของแสงไม่ตัดกันจริง
2. ไม่ได้ เพราะรังสีของแสงไม่มีจริงในธรรมชาติ
3. ได้ ถ้ารังสีของแสงถูกรวมด้วยเลนส์ตา
4. ได้ โดยใช้ฉากรับภาพ และเรามองเห็นทีภ่ าพนั้น
62

200. (มี.ค.55) พิจารณาการแทรกสอดจากช่องแคบคู่ ดังรูป

สูตร S1Q  S2Q  d sin   n ใช้สําหรับพยากรณ์ตําแหน่งแถบสว่างของการแทรกสอดจากช่องแคบคู่


สูตรนี้จะให้ผลที่ผิดพลาด ในกรณีใด
1. d < 
2. L  10d
3. แหล่งกําเนิดแสงเป็นแสงกระพริบ
4. แสงที่ใช้เป็นแสงสีเดียว แต่เป็นชนิดโพลาไรส์เชิงเส้น

201. (มี.ค. 56) ฉายแสงความยาวคลื่น 650 นาโนเมตร ผ่านเกรตติงที่จํานวน 2,000 เส้นต่อเซนติเมตร จะ


สังเกตเห็นแถบสว่างปรากฏบนฉากที่อยู่ไกลออกไปกี่แถบ (รวมแถบสว่างกลางด้วย)
1. 8 2. 14 3. 15 4. 17

202. (มี.ค.57) ผลการทดลองการแทรกสอดของแสงผ่านช่องแคบคู่เป็นดังรูป

ถ้าพบว่าความต่างระยะทาง (Path Difference ) ของระยะทางจากช่องแคบที่หนึง่ (S1 )ไปยังกึ่งกลางของแถบ


มืด A และระยะทางจากช่องแคบที่สอง( S2 )ไปยังกึ่งกลางของแถบมืด A มีค่า มากกว่าความต่างระยะทางจาก
ช่องแคบที่หนึง่ ไปยังกึ่งกลางของแถบมืด B และระยะทางทางจากช่องแคบที่สอง ไปยังกึ่งกลางแถบมืด B อยู่
500 นาโนเมตร ความยาวของแสงทีใ่ ช้เท่ากับกี่นาโนเมตร
1.250 2. 333 3. 500 4. 750
63

203. (เม.ย.57) นักเรียนคนหนึ่งทําการทดลองการแทรกสอดจากสลิตคู่ของยัง พบว่า ผลต่างของระยะทางจากส


ลิ ตที่ ห นึ่ง ไปยัง ตํ าแหน่ง แถบสว่ างลําดั บที่ส องจากแถบสว่ างกลาง และจากสลิต ที่สองไปยังแถบสว่าง
เดียวกันนั้นเป็น 1200 นาโนเมตร ผลต่างของระยะทางจากสลิตที่หนึ่งไปยังตําแหน่งแถบมืดลําดับที่สอง
จากแถบสว่างกลาง และจากสลิตที่สองไปยังแถบมืดเดียวกันนั้นเป็นกี่นาโนเมตร
1. 700 2. 800 3. 900 4. 1000

204. (พ.ย.57)ในการทดลองการแทรกสอดจากสลิตคู่ของยัง เมื่อใช้แสงที่มีความยาวคลื่นค่าหนึ่ง สังเกตเห็น


แถบสว่าง-แถบมืดบนฉาก หากเปลี่ยนมาใช้แสงที่มีความถี่ลดลง แถบสว่างลําดับที่ 3 ที่ปรากฏบนฉากจะ
เปลี่ยนเป็นอย่างไร
1. อยู่ห่างจากแถบสว่างกลางมากขึ้น
2. อยู่ห่างจากแถบสว่างกลางน้อยลง
3. อยู่ห่างจากแถบสว่างกลางเท่าเดิม
4. อยู่ห่างจากแถบสว่างกลางเท่าเดิม แต่ความกว้างมากขึ้น

205. (มี.ค.58)คลื่นแสงสามารถเลี้ยวเบนผ่านช่องแคบเดี่ยวได้มากขึ้นในกรณีใด
1. เพิ่มความยาวคลื่น ลดขนาดช่องแคบ
2. ลดความยาวคลื่น ลดขนาดช่องแคบ
3. เพิ่มความยาวคลื่น เพิ่มขนาดช่องแคบ
4. ลดความยาวคลื่น เพิ่มขนาดช่องแคบ
64

เลนส์
206. (มี.ค. 52) มองยอดตึกสูงที่อยู่ไกลออกไป 100 เมตรผ่านเลนส์นูนความยาวโฟกัส 0.15 เมตร และให้เลนส์
อยู่ห่างจากตา 0.60 เมตร ถ้าภาพยอดตึกเมื่อมองด้วยตาเปล่าเป็นดังนี้

ภาพยอดตึกที่เห็นผ่านเลนส์จะเป็นดังข้อใด
1. 2.

3. 4.

207. (ต.ค.53) วางวัตถุไว้หน้าเลนส์นูนที่มีความยาวโฟกัส 8.0 เซนติเมตร โดยวางที่ตําแหน่ง 20 เซนติเมตรหน้า


เลนส์ วัตถุกับภาพอยู่ห่างกันกี่เซนติเมตร

208. (มี.ค.54)วางวัตถุอันหนึ่งไว้หน้ากระจกเว้าที่มีความยาวโฟกัส 4.0 เซนติเมตร โดยอยู่ห่างจากกระจกเว้า 2.0


เซนติเมตร ถ้าภาพที่เกิดขึ้นมีความสูง 2 เซนติเมตร วัตถุนี้มีความสูงเท่าใด
65

209. (ต.ค. 55) วางวัตถุห่างจากเลนส์บาง 30 cm เกิดภาพหัวตั้งขนาดเป็น 2 เท่าของวัตถุ ข้อใดกล่าวถูกต้อง


เกี่ยวกับเลนส์นี้
1. เป็นเลนส์เว้า , ทางยาวโฟกัส 20 cm. 2. เป็นเลนส์นูน , ทางยาวโฟกัส 20 cm.
3. เป็นเลนส์เว้า , ทางยาวโฟกัส 60 cm. 4. เป็นเลนส์นูน , ทางยาวโฟกัส 60 cm.

210. (เม.ย.57)วางวัตถุไว้ห่างจากฉากเป็นระยะคงที่คา่ หนึ่ง เมื่อวางเลนส์บางอันหนึ่งระหว่างวัตถุกับฉาก โดยให้


เลนส์อยู่ใกล้กับฉากมากกว่าวัตถุ พบว่า เกิดภาพชัดเจนบนฉาก ถ้าต้องการให้เกิดภาพชัดเจนบนฉากมี
ขนาดใหญ่ ขึ้นกว่าตอนแรก จะต้องเลื่อนสิ่งใด (เพียงอย่างเดียวเท่านั้น) จากตําแหน่งปัจจุบัน
1.เลื่อนฉากให้ใกล้เลนส์มากขึ้น 2. เลื่อนฉากให้ไกลเลนส์ออกไป
3. เลื่อนเลนส์ให้ใกล้ฉากมากขึ้น 4. เลื่อนเลนส์ให้ไกลฉากออกไป

211. (มี.ค. 56) แสงจากแหล่งกําเนิดแสงที่ไกลมากมากตกกระทบเลนส์นูนบาง 2 อัน ที่มีความยาวโฟกัส f


เท่ากัน ถ้าเลนส์นูนอันแรกวางที่ตําแหน่ง x  0 เลนส์อันที่สองวางอยู่ที่ตําแหน่ง x  d โดยที่ d  f
แสงจากแหล่งกําเนิดจะโฟกัสที่ตําแหน่งใด
1. f 2. 2 f  d
3. d  
f f d
4. d  
f f d
d 2f d

กระจกเงาราบ กระจกโค้ง
212. (ก.ค. 52)เสากลมต้นหนึ่งมีแผ่นสเตนเลสหุ้มอยู่ แผ่นสเตนเลสมีผิวเรียบมากและสะท้อนแสงได้ดีเหมือน
กระจกนูน ถ้าเรายืนห่างจากเสาต้นนี้มากกว่าระยะสองเท่าของความยาวโฟกัสของกระจกนูนนี้ เราจะ
เห็นภาพของตนเองในกระจกเป็นอย่างไร
1. ผอมลงและยืนหัวตั้ง 2. อ้วนขึ้นและยืนหัวตั้ง
3. ผอมลงและยืนกลับหัว 4. อ้วนขึ้นและยืนกลับหัว
66

213. (ต.ค. 52) กระจกเว้าบานหนึ่งให้ภาพหัวตั้งขนาดเป็น 2 เท่าของวัตถุ เมื่อระยะวัตถุเป็น 30 เซนติเมตร


ความยาวโฟกัสของกระจกเว้าบานนี้เท่ากับกี่เซนติเมตร
1. +10 2. +20 3. -30 4. +60

214. (มี.ค.58)วางวัตถุที่จุดศูนย์กลางความโค้งของกระจกเงาโค้งกลม จะเกิดภาพที่ใดและมีลักษณะเป็นอย่างไร


1. เกิดที่จุดศูนย์กลางความโค้ง เป็นภาพจริง หัวกลับ
2. เกิดที่จุดศูนย์กลางความโค้ง เป็นภาพเสมือน หัวตั้ง
3. เกิดที่ครึง่ หนึ่งของรัศมีความโค้ง เป็นภาพจริง หัวกลับ
4. เกิดที่ครึง่ หนึ่งของรัศมีความโค้ง เป็นภาพเสมือน หัวตั้ง

215. (มี.ค. 56) ถ้านักเรียนยืนมองภาพตนเองในกระจกเงาราบ แต่มองเห็นเพียงครึ่งตัวเท่านั้น นักเรียนจะทํา


อย่างไรเพื่อให้มองเห็นภาพตัวเองในกระจกเงาเต็มตัว
1. ถอยออกห่างจากกระจกเงาเป็นระยะอย่างน้อย 2 เท่าของระยะเดิม
2. ถอยออกห่างจากกระจกเงาเป็นระยะระหว่าง 1 ถึง 2 เท่าของระยะเดิม
3. เดินเข้าหากระจกเงาจนกระทัง้ มองเห็นเต็มตัว
4 ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกระจกเงาบานนี้
67

ไฟฟ้า และ แม่เหล็ก

12. ไฟฟ้าสถิต
การเหนี่ยวนํา
216. (ต.ค. 52)เมื่อนําแท่งพีวีซีถูกกับผ้าสักหลาดแล้วนําไปจ่อใกล้ๆ กระดาษชิ้นเล็กๆ ข้อใดถูก
1. 2. 3. 4.

217. (ต.ค. 55)ทรงกลมตัวนํา x,y และ z ที่มีประจุสุทธิเป็นศูนย์ วางติดกันบนขาตั้งที่เป็นฉนวนไฟฟ้า ดังรูป

เมื่อนําแท่งวัตถุที่มีประจุบวกมาวางใกล้ ๆ กับทรงกลม x แต่ไม่แตะ ข้อใดแสดงสิง่ ที่เกิดขึ้นได้ถูกต้อง


1. 2.

3. 4.
68

218. (มี.ค.56) นําจานโลหะที่เป็นกลางทางไฟฟ้าไปไว้ใกล้ ๆ แต่ไม่สัมผัสกับวัตถุที่มีประจุบวก ดังรูป

จากนั้นต่อสายดินกับจานโลหะโดยสัมผัสที่ดา้ นบนของจานโลหะ แล้วจึงนําสายดินออก สุดท้ายจึงแยกจานโลหะ


ออกไปจากวัตถุที่มีประจุบวก ข้อใดถูกเกี่ยวกับจานโลหะในขณะนี้
1. มีประจุสุทธิเป็นบวก
2. มีประจุสทุ ธิเป็นลบ
3. เป็นกลาง โดยด้านบนของจานโลหะเป็นประจุบวก ส่วนด้านล่างของจานเป็นประจุลบ
4. เป็นกลาง โดยด้านบนของจานโลหะเป็นประจุลบ ส่วนด้านล่างของจานเป็นประจุบวก

219. (มี.ค.57)จงเรียงลําดับเหตุการณ์ที่ทําให้อิเลกโทรสโคปที่เป็นกลางทางไฟฟ้า กางออกค้างไว้


ก. ต่อสายดินออกจากอิเล็กโทรสโคป
ข. เอาสายดินออกจากอิเล็กโทรสโคป
ค. นําวัตถุมีประจุไฟฟ้าเข้าใกล้อิเล็กโทรสโคป
ง. นําวัตถุมีประจุไฟฟ้าออกห่างจากใกล้อิเล็กโทรสโคป
1. ค  ก  ง  ข 2. ค  ก  ข  ง
3. ก  ค  ง  ข 4. ก  ค  ข  ง

แรงทางไฟฟ้า
220. (ต.ค.53) ตัวนําทรงกลม A มีรัศมี 12 เซนติเมตร และมีประจุไฟฟ้าขนาด 360 ไมโครคูลอมบ์ ตัวนําทรง
กลม B มีรัศมี 3 เซนติเมตร แต่ยังไม่มีประจุไฟฟ้า เมื่อนํา A มาแตะกับ B แล้วแยกห่างจากกัน 200
เซนติเมตร แรงไฟฟ้าที่ A กระทําต่อ B มีค่ากี่นิวตัน (ไม่ต้องคิดแรงดึงดูดระหว่างมวลของตัวนําทั้งสอง )
กําหนดให้ K=9x109 นิวตันเมตร2 ต่อคูลอมบ์
69

221. (ต.ค. 55) วางประจุ Q ที่จุดเซนทรอยด์ของสามเหลี่ยมด้านเท่ารูปหนึ่ง เมื่อวางประจุที่สองขนาด +Q ที่จุด


ยอดของสามเหลี่ยม แรงไฟฟ้าที่กระทําต่อประจุที่หนึ่งเป็น 4 นิวตัน ถ้าวางประจุที่สามขนาด +Q ที่จุด
ยอดอีกจุดหนึ่งของสามเหลี่ยม แรงลัพธ์ที่กระทําต่อประจุที่หนึ่งเป็นกี่นิวตัน
1. 0 2. 4 3. 4 2 4. 8

222. (พ.ย.57)ประจุไฟฟ้า 3 ประจุเรียงกันอยู่ในแนวเส้นตรง ดังรูป ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับขนาดของแรงไฟฟ้าที่


กระทําต่อประจุ A,B และ C

1. FA>FB>FC 2. FB>FC>FA
3. FC>FB>FA 4. FC>FA , FB=0

สนามไฟฟ้า
223. (ก.ค. 52)ภาพเส้นแรงไฟฟ้าบางเส้นระหว่างประจุบวกและประจุลบใน 2 มิติ

ถ้านําอิเล็กตรอนตัวหนึ่งวางไว้ที่จุด A แล้วปล่อย ข้อใดถูกต้อง


1. อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ไปตามเส้นแรงไฟฟ้าที่ผ่านจุด A และเข้าหาประจุลบ
2. อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ไปตามเส้นแรงไฟฟ้าที่ผ่านจุด A และเข้าหาประจุบวก
3. ที่จุด A อิเล็กตรอนมีความเร่งในทิศตั้งฉากกับเส้นแรงไฟฟ้า
4. อิเล็กตรอนไม่จําเป็นต้องเคลื่อนที่ไปตามเส้นแรงไฟฟ้า
70

224. (ต.ค. 52) จากรูป

ข้อใดถูก
1. สนามไฟฟ้าที่จุด A B และ C มีค่าเท่ากับศูนย์
2. เมื่อวางประจุ – q ที่จุด B ประจุจะเคลื่อนที่เข้าหาจุด C ด้วยความเร่งเพิ่มขึ้น
3. เมื่อวางประจุ + q ที่จุด B ประจุจะเคลื่อนที่เข้าหาจุด A ด้วยความเร่งเพิ่มขึ้น
4. ศักย์ไฟฟ้าจุด C มีค่าน้อยกว่าที่จุด B

225. (มี.ค.53) ข้อใดกล่าวถูกต้อง


ก. งานของแรงที่ใช้เคลื่อนประจุไฟฟ้าในสนามไฟฟ้าไม่ขึ้นกับเส้นทางการเคลื่อนที่ของประจุ ไฟฟ้า ถ้า
แรงที่ ใช้เคลื่อนประจุเป็นแรงอนุรักษ์
ข. สนามไฟฟ้าบนผิวของตัวนํามีทิศตั้งฉากกับผิวเสมอ
ค. สนามไฟฟ้าภายในตัวนําทรงกลมมีค่าเป็นศูนย์
1. ก และ ข 2. ข และ ค
3. ก และ ค 4. ถูกทุกข้อ

226. (มี.ค. 55) ข้อใดเป็นมโนภาพของกลุ่มอิเล็กตรอนในเส้นลวดโลหะที่อยู่ภายใต้ความต่างศักย์คงที่


1. อิเล็กตรอนทุกตัวเคลื่อนที่ไปพร้อม ๆ กันในทิศตรงข้ามกับสนามไฟฟ้า
2. อิเล็กตรอนทุกตัวเคลื่อนที่ไปในทิศตรงข้ามกับสนามไฟฟ้าแต่ไม่พร้อมกัน
3. กลุ่มอิเล็กตรอนมีความเร็วเฉลี่ยในทิศตรงข้ามกับสนามไฟฟ้า
4. กลุ่มอิเล็กตรอนมีความเร่งเฉลี่ยในทิศตรงข้ามกับสนามไฟฟ้า
71

ศักย์ไฟฟ้าและงานในการเลื่อนประจุ
227. (มี.ค. 52) แผ่นโลหะบางขนาดใหญ่มาก 2 แผ่น (A และ B) วางขนานกัน ห่างกันเป็นระยะ d ต่อแผ่นโลหะ
ทั้งสองเข้า กับแหล่งกําเนิดไฟฟ้าที่ให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าขนาด V0 โวลต์ดังรูป

ข้อใดถูกต้อง
1. แผ่น A มีศักย์ไฟฟ้าเท่ากับ +V0 โวลต์ แผ่น B มีศักย์ไฟฟ้าเท่ากับศูนย์
2. แผ่น A มีศักย์ไฟฟ้าเท่ากับ + V0 โวลต์ แผ่น B มีศักย์ไฟฟ้าเท่ากับ -V0 โวลต์
3. แผ่น A มีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าแผ่น B อยู่ V0 โวลต์แต่ไม่ทราบศักย์ไฟฟ้าบนแผ่น A และ B อย่างแน่ชัด
V0
4. แผ่น A และ B มีขนาดของศักย์ไฟฟ้าเท่ากันคือ โวลต์
2

228. (ก.ค. 53)เคลื่อนประจุ -2 ไมโครคูลอมบ์ จากจุด A ไปตามเส้นทาง A  B  C  D ในสนามไฟฟ้ า


สม่ําเสมอขนาด 8 โวลต์ต่อเมตร งานในการเคลื่อนประจุตลอดเส้นทางและความต่างศักย์ระหว่างจุด B กับ
จุด D มีค่าเท่าใด ตามลําดับ

1. -0.96 ไมโครจูล และ 240 มิลลิโวลต์


2. -2.92 ไมโครจูล และ 400 มิลลิโวลต์
3. 0.96 ไมโครจูล และ 240 มิลลิโวลต์
4. 2.92 ไมโครจูล และ 400 มิลลิโวลต์
72

229. (ต.ค. 54)อิเล็กตรอนตัวหนึ่งกําลังถูกดูดจากสภาพหยุดนิ่ง เข้าไปหาตัวนําทรงกลมรัศมี R ซึ่งมีศักย์ไฟฟ้าที่


ผิวเท่ากับ +V0 ถ้าอิเล็กตรอนดังกล่าวเริ่มต้นจากระยะ 9R ( วัดจากศูนย์กลางทรงกลม ) เมื่อเข้าชนผิว
ตัวนําทรงกลม จะมีอัตราเร็วประมาณเท่าใด ให้ประจุต่อมวลของอิเล็กตรอนคือ r
1 2 1 4
1. rV0 2. rV0 3. 10rV0 4. rV0
3 3 3 3

230. (มี.ค.57) ระบบที่มีประจุ +Q +2Q และ -Q เรียงตัวในแนวเส้นตรงโดยมีระยะระหว่างกันเท่ากับ R ดังรูป

ระบบนี้มีพลังงานศักย์ไฟฟ้าเท่าใด
2
KQ2 KQ 2 KQ 2
1. KQ 2. 3.  4. 
2R R 2R R

231. (พ.ย.58) ออกแรงกระทําในการเลื่อนประจุไฟฟ้าบวกจากตําแหน่ง x=-10 m ซึ่งมีศักย์ไฟฟ้า -5V ไปยัง


ตําแหน่ง x=-5 m ซึ่งมีศักย์ไฟฟ้า -2V โดยประจุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ
งานเนื่องจากแรงนี้ และทิศทางของสนามไฟฟ้าในแนวการเคลื่อนที่
1. งานเป็นบวก สนามไฟฟ้ามีทิศไปทางซ้าย
2. งานเป็นบวก สนามไฟฟ้ามีทิศไปทางขวา
3. งานเป็นลบ สนามไฟฟ้ามีทิศไปทางซ้าย
4. งานเป็นลบ สนามไฟฟ้ามีทิศไปทางขวา
5. งานเป็นศูนย์ เพราะประจุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่
73

ความสัมพันธ์ของสนามไฟฟ้าและศักย์ไฟฟ้า
232. (มี.ค.53) ยิงอิเล็กตรอนมวล me ประจุ -e ในแนวระดับเข้ากึ่งกลางระหว่างแผ่นประจุไฟฟ้าคู่ขนานความ
ต่างศักย์ 4 โวลต์ แต่ละแผ่นยาว 60 เซนติเมตร และวางห่างกัน 30 เซนติเมตร ดังรูป อิเล็กตรอนต้องมี
พลังงานจลน์กี่อิเล็กตรอนโวลต์ (eV) จึงจะชนที่ปลายของแผ่นประจุไฟฟ้าด้านบนพอดี (ไม่คิดผลของแรง
โน้มถ่วงของโลก)

233. (มี.ค.54) แขวนทรงกลมมวล m ที่มีประจุไฟฟ้า +q ด้วยเชือกเบาไว้ระหว่างแผ่นตัวนําขนานขนาดใหญ่ที่


วางไว้ใน แนวตั้งและอยู่ห่างกัน d ถ้าต้องการให้แนวเชือกที่แขวนทรงกลมเบนทํามุม 30 องศากับแนวดิ่ง
จะต้องให้ความต่างศักย์ระหว่างแผ่นตัวนําขนานขนาดเท่าใด
3mgd mgd 3qd qd
1. 2. 3. 4.
q q 3 mg mg 3

234. (มี.ค.56) ตัวนําทรงกลมที่มีประจุไฟฟ้า 3 อัน มีรัศมี R1 , R2 และ R3 ตามลําดับ ต่อกันด้วยเส้นลวดโลหะ


ถ้า R1> R2 >R3 เมื่อสมดุล สนามไฟฟ้า E ศักย์ไฟฟ้า V และประจุไฟฟ้าบนตัวนํา Q สัมพันธ์กันอย่างไร
1. V1 = V2 = V3 , E1 < E2 < E3 , Q1 > Q2 > Q3
2. V1 = V2 = V3 , E1 > E2 > E3 , Q1 > Q2 > Q3
3. V1 <V2 < V3 , E1 < E2 < E3 , Q1 = Q2 = Q3
4. V1 = V2 = V3 , E1 = E2 = E3 , Q1 > Q2 > Q3
74

235. (เม.ย.57) ละอองน้ํามันทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ไมโครเมตร มีประจุไฟฟ้าลบ ถูกทําให้ลอยอยู่


นิ่งในอากาศด้วยสนามไฟฟ้าในแนวดิ่งซึ่งสร้างจากแผ่นโลหะขนานสองแผ่นทีอ่ ยู่ห่างกัน 1 เซนติเมตร ความ
ต่างศักย์ที่ต้องใช้ต่ออิเล็กตรอน 1 ตัวมีค่าประมาณกี่โวลต์ กําหนดให้น้ํามันมีความหนาแน่น 600 กิโลกรัม/
ลูกบาศก์เมตร
1.1.5 2. 15 3. 150 4. 1500

ตัวเก็บประจุ
236. (มี.ค. 52)ตัวนําทรงกลมมีรัศมีเท่ากับ R และมีประจุเท่ากับ Q พลังงานสะสมในตัวเก็บประจุตัวนําทรงกลม
เท่ากับ E0 ถ้า ประจุบนตัวนําเพิ่มขึ้นเป็น 2Q พลังงานสะสมในตัวเก็บประจุนี้มีค่าเท่าใด
1. 0.5E0 2. 2E0 3.4E0 4. 8E0

237. (ก.ค. 52) ภาพวงจรไฟฟ้า


กําหนดให้ C2 = 2C0
จงหาพลังงานในตัวเก็บประจุ C0 และ C2 ตามลําดับ

3 1 1 2
1. C0V 2 , C0V 2 2. C0V 2 , C0V 2
2 2 3 3
2 1 1
3. C0V 2 , C0V 2 4. C0V 2 , C0V 2
9 9 2
75

238. (ต.ค.53) วงจรไฟฟ้าหนึ่งประกอบด้วย ตัวเก็บประจุ C 1 ,C 2 ,C 3 และC 4 ที่มีค่าความจุเท่ากับ 4, 2, 4 และ


3 ไมโครฟารัด ตามลําดับ ดังรูป

เมื่อสับสวิตซ์ไฟฟ้าช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นดึงสวิตซ์ไฟฟ้าขึ้น ความต่างศักย์ไฟฟ้าคร่อมตัวเก็บประจุC 1 ,C 2


,C 3 และC 4 มีค่ากี่โวลต์ ตามลําดับ
1. 0.00, 0.00 , 0.00 , 0.00 2. 4.00, 5.00 , 5.00 , 3.00
3. 4.00, 1.35 , 1.35 ,5.3 4. 4.00, 2.7 , 2.7 ,5.3

239. (มี.ค.54)หากเปรียบเทียบวงจรไฟฟ้าที่ประกอบด้วยตัวเก็บประจุ (ที่มีประจุเต็ม) และตัวเหนี่ยวนําเท่านั้น


กับระบบมวล ติดปลายสปริงที่เคลื่อนที่บนพื้นราบลื่น จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก.พลังงานทีส่ ะสมในตัวเหนี่ยวนําเปรียบได้กับพลังงานศักย์ยืดหยุ่นของสปริง
ข.กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรเปรียบได้กับอัตราเร็วของก้อนมวล
ค.ตัวเก็บประจุที่มีความจุมากเปรียบได้กับสปริงที่มีค่าคงตัวสปริงมาก
มีข้อความที่ถูกกี่ข้อ
1.1 2.2 3.3 4.0 (ไม่มีข้อถูก)

240. (ต.ค.54) ตัวเก็บประจุขนาด C ฟารัด มีความต่างศักย์ V0 (  0) ถ้านําตัวเก็บประจุอีกตัวหนึ่งซึ่งมีค่าความ


จุ 3C ฟารัด แต่ไม่มีประจุ มาต่อขนานดังรูป ที่สภาวะสมดุลความต่างศักย์ตกคร่อมตัวเก็บประจุทั้งสองเป็น
เท่าใด

1. 0.25V0 2. 0.50V0 3. 0.67V0 4. 4.00V0


76

241. (มี.ค. 55) ตัวเก็บประจุสองตัวขนาด 2 ไมโครฟารัด และ 3 ไมโครฟารัด ต่ออนุกรมกัน และต่อเข้ากับแหล่ง


กําเนิด ไฟฟ้ากระแสตรง ณ ขณะที่ตัวเก็บประจุขนาด 2 ไมโครฟารัด มีพลังงาน 2 ไมโครจูล ตัวเก็บประจุ
อีกตัวหนึ่งมีพลังงานกี่ไมโครจูล
1. 0.75 2. 1.33 3. 1.50 4. 3.00

1
242. (เม.ย.57) พลังงานในตัวเก็บประจุคือ QV มีความหมายตามข้อใด
2
1.งานที่ต้องทําเพื่อให้ตัวเก็บประจุมีประจุ Q และความต่างศักย์ V
2.งานที่ต้องทําเพื่อให้ตัวเก็บประจุมีประจุ Q/2 และความต่างศักย์ V
3. งานที่ต้องทําเพื่อให้ตัวเก็บประจุมีประจุ Q และความต่างศักย์ V/2
Q V
4. งานที่ต้องทําเพื่อให้ตัวเก็บประจุมีประจุ และความต่างศักย์
2 2

243. (เม.ย.57)ถ้านําตัวเก็บประจุตัวที่หนึ่งมีค่าความจุน้อยกว่าตัวเก็บประจุตัวที่สอง ข้อใดกล่าวถูกต้อง


1. ตัวเก็บประจุตัวที่หนึ่ง เก็บประจุ ได้น้อยกว่าตัวเก็บประจุตัวที่สอง
2. ตัวเก็บประจุตัวที่สอง เก็บพลังงาน ได้น้อยกว่าตัวเก็บประจุตัวที่สอง
3. ตัวเก็บประจุตัวที่หนึ่ง มีความต่างศักย์น้อยกว่าตัวเก็บประจุตัวที่สอง
4. ไม่มีข้อใดถูก

244. (มี.ค.58)ตัวเก็บประจุ 2 ตัวต่ออนุกรมกัน ชาร์จประจุจนเต็ม ถ้าความจุของประจุตัวที่ 1 เท่ากับ C0 ตัวที่ 2


เท่ากับ 2C0 อัตราส่วนพลังงานของประจุตัวที่ 1 ต่อประจุตัวที่ 2 เท่ากับข้อใด
1. 1 : 2 2. 2:1 3. 1:4 4. 4:1
77

13.ไฟฟ้ากระแสตรง
กระแสไฟฟ้า
245. (มี.ค.52) ในเส้นลวดโลหะขนาดสม่ําเสมอเส้นหนึ่ง ภายในเวลา t วินาที มีประจุ +Q1 คูลอมบ์ และ –Q2
คูลอมบ์ เคลื่อนที่ สวนทางกันผ่านพื้นที่หน้าตัดขนาด A ตารางเมตรของเส้นลวด กระแสไฟฟ้าในเส้นลวด
โลหะนี้คือ ข้อใด
Q1  Q2 Q1  Q2
1. 2.
t tA
Q1  Q2 Q1  Q2
3. 4.
t tA

246. (ก.ค. 52) ภาพวงจรไฟฟ้าในเครื่องไฟฟ้า

การต่อสายดินตามหมายเลขใดถูกต้อง
1. ต่อตามหมายเลข (1) 2. ต่อตามหมายเลข (2)
3. ต่อตามหมายเลข (3) 4. ต่อตามหมายเลข (1) และ (3)
78

247. (ก.ค. 52) ภาพวงจรไฟฟ้ากระแสตรง

เมื่อกดสวิตซ์ SW (ปิดวงจร) ข้อใดถูกต้อง


1. มอเตอร์จะยังไม่เริ่มหมุนจนกว่าอิเล็กตรอนตัวแรกที่ออกจากขั้วลบของถ่านไฟฉายจะไปถึงมอเตอร์
2. มอเตอร์จะยังไม่เริ่มหมุนจนกว่าอิเล็กตรอนตัวแรกที่ออกจากขั้วลบของถ่านไฟฉายจะเคลื่อนที่ผ่าน
มอเตอร์
3. มอเตอร์จะเริ่มหมุนทันทีโดยไม่ขึ้นกับอิเล็กตรอนตัวแรกที่ออกจากขั้วลบของถ่านไฟฉาย
4. มอเตอร์จะเริ่มหมุนทันทีที่อิเล็กตรอนที่ออกจากขั้วลบไปรวมตัวกับกระแสไฟฟ้าที่ไหลออกจากขั้วบวก
โดยไปรวมกันที่มอเตอร์

248. (เม.ย.57)นักเรียนคนหนึ่งทําการทดลองวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านลวดตัวนําสองชนิดโดยการเปลี่ยนค่า
ความต่างศักย์ระหว่างปลายของเส้นลวด ได้ผลการทดลอง ดังกราฟข้างล่างนี้

ข้อใดต่อไปนี้จะถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับลวดตัวนําที่ใช้ในการทดลองนี้
1.ลวดตัวนํา A มีความต้านทานมากว่าลวดตัวนํา B
2. ลวดทั้งสองมีค่าสภาพต้านทานเท่ากัน
3. ลวดตัวนําทั้งสองมีขนาดเท่ากัน
4. ลวดตัวนําทั้งสองมีมวลเท่ากัน
79

วงจรไฟฟ้า ตัวต้านทาน
249. (มี.ค.53)จากรูป แอมมิเตอร์จะอ่านค่าได้กี่แอมแปร์

1. 0 2. 0.2 3. 1.4 4. 2.9

250. (ต.ค.53)จากวงจรดังรูป ถ้าความต้านทานภายในแบตเตอรี่เป็นศูนย์ แอมมิเตอร์จะอ่านค่าได้กี่แอมแปร์

1. 1.4 2. 2.2 3. 3.8 4. 4.6

251. (ต.ค. 55) วัสดุรูปทรงกระบอก 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งมีความยาว  มีรัศมี r อีกชิ้นหนึ่งมีความยาว 3  มีรัศมี


3r ทําจากวัสดุเดียวกัน ถ้าทรงกระบอกเล็กมีความต้านทาน R ทรงกระบอกใหญ่จะมีความต้านทานเท่าใด
1. R/3 2. 3R 3. 9R 4. 27R
80

252. (ต.ค. 52) รูปวงจรไฟฟ้า

1 และ 2 เป็นหลอดไฟที่เหมือนกันถ้ากดสวิตช์ ให้วงจรปิดข้อใดไม่ถูกต้อง


1. ในทันทีที่กดสวิตช์ หลอดไฟทั้งสองจะสว่างเท่ากัน
2. เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ หลอดไฟทั้งสองจะสว่างลดลง
3. เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ หลอดไฟ 1 จะดับ
4. เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ หลอดไฟ 2 จะสว่างกว่าเดิม

253. (มี.ค.54) พิจารณาวงจรไฟฟ้าดังรูป ถ้าหลอดไฟทั้งสามมีความต้านทานเท่ากัน และเซลล์ไฟฟ้า มีความต่าง


ศักย์ คงที่ ตลอดเวลา เมื่อสับสวิตซ์ s ลง หลอดไฟ A และ B เป็นอย่างไร

1. หลอดไฟ A สว่างกว่าเดิม หลอดไฟ B สว่างน้อยลง


2. หลอดไฟ A สว่างกว่าเดิม หลอดไฟ B จะดับ
3. หลอดไฟ A สว่างน้อยลง หลอดไฟ B สว่างน้อยลง
4. หลอดไฟ A สว่างน้อยลง หลอดไฟ B จะดับ
81

วิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแส
254. (ก.ค. 52)นําเซลล์ไฟฟ้า 2 ก้อน มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าก้อนละ 1.5 โวลต์ ไม่มีความต้านทานภายในมาต่อ
อนุกรมกัน และทั้งหมดต่ออนุกรมกับหลอดไฟฉายที่มีอักษรเขียนกํากับไว้ว่า 2V, 1W ขณะที่หลอดไฟ
ฉายยังไม่ขาด กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านหลอดไฟเท่ากับกี่แอมแปร์
1. 0.5 2. 0.75 3. 1.0 4. 2.0

255. (มี.ค.55) สําหรับวงจรกระแสไฟฟ้าตรง ดังรูป

r= ความต้านทานภายใน
R=ความต้านทานภายนอก
 = แรงเคลื่อนไฟฟ้า

ในกรณีใดต่อไปนี้ จะมีกําลังไฟฟ้าของตัวต้านทานภายนอกสูงสุด
1. R  0.1r 2. R  r
3. R  10r 4. R  100r

256. (มี.ค.56) วงจรไฟฟ้าอย่างง่ายที่ประกอบด้วย แบตเตอรี ( ความต้านทานภายในน้อยมาก ๆ ) และตัว


ต้านทานที่มีความต้านทาน R อยู่1 ตัว ถ้านําตัวต้านทานอีกตัวหนึ่งมาต่อขนานกับตัวต้านทานเดิมข้อใดถูก
1. ความต่างศักย์ที่ตกคร่อมตัวต้านทาน R มีค่าลดลง
2. กระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทาน R มีค่าเพิ่มขึ้น
3. กําลังไฟฟ้าของตัวต้านทาน R มีค่าลดลง
4. แบตเตอรีจ่ายกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
82

257. (มี.ค.57) ถ่านไฟฉายก้อนหนึ่งวัดความต่างศักย์ระหว่างขั้วบวกและขั้วลบได้ 1.5 โวลต์ เมื่อต่อตัวต้านทาน


ขนาด 1 กิโลโอห์ม กับถ่านไฟฉายดังกล่าว ความต่างศักย์ระหว่างขั้วบวกและขั้วลบของถ่านไฟฉายลดลง
เหลือ 1.4 โวลต์ โดยวัดกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทานได้ 0.5 แอมแปร์ ความต่างศักย์ 0.1 โวลต์ หายไป
ไหน
1.ตัวต้านทาน 1 กิโลโอห์ม ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า จึงทําให้ความต่างศักย์ลดลงจาก 1.5 โวลต์
เหลือ 1.4 โวลต์
2. ตัวต้านทาน 1 กิโลโอห์ม แปลงความต่างศักย์ 0.1 โวลต์เป็นพลังงานความร้อน
3. เป็นความต่างศักย์ตกคร่อมตัวต้านทานภายในถ่านไฟฉาย
4. เป็นความต่างศักย์ตกคร่อมตัวต้านทาน 1 กิโลโอห์ม

258. (พ.ย.58) จากวงจรดังรูปที่ 1 หลอดไฟทุกดวงมีความต้านทานเท่ากันหมด ต่อมานําลวดตัวนํามาต่อในวงจร


ดังรูปที่ 2 หลอดไฟดวงใดจะสว่างขึ้น

1. A 2. B 3. B และC 4. A และ C

มอเตอร์ไฟฟ้า
259. (ก.ค. 52)พัดลม A และพัดลม B มีลักษณะเหมือนกันทุกประการ แต่พัดลม A มีแกนหมุนที่ค่อนข้าง
ฝืดเพราะมี เศษฝุ่นเข้าไปเกาะที่แกนหมุน มื่อเสียบปลั๊กกับไฟบ้านและเปิดพัดลม พัดลม A จึงหมุนช้ากว่า
พัดลม B ข้อใดถูกต้อง
1. พัดลมทั้งสองมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเท่ากัน
2. พัดลม A มีกระแสไฟฟ้าผ่านมากกว่าพัดลม B
3. พัดลม A มีกระแสไฟฟ้าผ่านน้อยกว่าพัดลม B
4. พัดลม A มีความต้านทานไฟฟ้ามากกว่าพัดลม B
83

260. (ต.ค.53) ต่อแบตเตอรี่ 12 โวลต์ ความต้านทานภายใน 1 โอห์ม เข้ากับมอเตอร์ที่มีความต้านทาน 3 โอห์ม


เมื่อมอเตอร์หมุนมีกระแสไฟฟ้า 2 แอมแปร์ ไหลในวงจร แรงเคลื่อนไฟฟ้าต้านกลับของมอเตอร์นี้เป็นกี่
โวลต์
1. 1 2. 2 3. 4 4. 6

เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า
261. (มี . ค.52) กั ล วานอมิ เ ตอร์ ตั ว หนึ่ ง มี ค วามต้ า นทาน 200 โอห์ ม รั บ กระแสได้ สู ง สุ ด 10 มิ ล ลิ แ อมแปร์
นํากัลวานอมิเตอร์ ดังกล่าวมาดัดแปลงเป็นโอห์มมิเตอร์ ดังรูป

ก่อนการใช้งานต้องนําปลาย X และ Y มาแตะกันและปรับค่า R0 เป็นกี่โอห์ม


1. เท่าใดก็ได้ที่ทําให้เข็มกัลวานอมิเตอร์กระดิก 2. 700
3. 900 4. 1,100

262. (ก.ค. 53)กัลวานอมิเตอร์มีความต้านทาน 2,000 โอห์ม เมื่อมีกระแสผ่าน 100 มิลลิแอมแปร์ ทําให้เข็มตี


เต็มสเกล ถ้าต้องการดัดแปลงให้เป็นแอมมิเตอร์เพื่อให้วัดกระแสสูงสุดได้ 2.5 แอมแปร์ จะต้องนําชันต์
ขนาดกี่โอห์มมาต่อกับกัลวานอมิเตอร์นี้
1. 59.1 2. 65.2 3. 71.4 4. 83.3
84

263. (เม.ย.57)นําตัวต้านทาน Rs 900 โอห์ม มาต่อกับแกลวานอมิเตอร์ความต้านทาน 100 โอห์ม เพื่อสร้างเป็น


แอมมิเตอร์ แล้วนําแอมมิเตอร์ดังกล่าวไปวัดกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทาน Rx ซึ่งต่อกับแหล่งกําเนิดไฟฟ้า
กระแสตรงแรงดันไฟฟ้าคงที่ V0 ถ้าเปลี่ยนค่า Rs เป็น 400 โอห์ม กระแสไฟฟ้าที่ผ่าน Rx และแกลวานอ
มิเตอร์จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ตามลําดับ
1.เพิ่ม , เพิ่ม 2. เพิ่ม , ลด
3. ลด , เพิ่ม 4. ลด , ลด

264. (มี.ค.58)นําตัวต้านทานชันต์ 40  มาต่อกับกัลวานอมิเตอร์ที่มีความต้านทาน 200  เพื่อสร้างเป็น


แอมมิเตอร์ ถ้านําแอมมิเตอร์นี้ไปวัดกระแสในวงจรหนึ่ง พบว่าเข็มของกัลวานอมิเตอร์ชี้ที่ 1mA กระแสใน
วงจรดังกล่าวมีค่ากี่มิลลิแอมแปร์
1. 1 2. 1.2 3. 5.0 4. 6.0

พลังงานไฟฟ้า
265. (พ.ย.57)เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่งมีกําลังไฟฟ้า 1 วัตต์ เมื่อใช้กับความต่างศักย์ค่าหนึ่ง หากเพิ่มความต่าง
ศักย์ที่ใช้เป็น 2 เท่าของเดิม กําลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้านี้เป็นอย่างไร
1. เท่าเดิม 2. ลดลงเป็น 2 เท่า
3. เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า 4. เพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า
85

14.แม่เหล็ก ไฟฟ้า
แรงที่กระทําต่ออนุภาคมีประจุ และกระแส ในสนามแมเหล็ก
266. (ต.ค. 52)อนุภาค 3 ชนิดมีเส้นทางการเคลื่อนไหวในสนามแม่เหล็กดังรูป

ข้อใดถูก
1.อนุภาค 1 มีประจุลบ
2.ถ้าอนุภาคทั้งสามมีมวลและประจุเท่ากันอนุภาค 1 มีพลังงานจลน์มากกว่าอนุภาค 2
3. ถ้าอนุภาค 2 และ 3 มีค่าประจุมวลเท่ากัน อนุภาค 2 มีอัตราเร็วน้อยกว่าอนุภาค 3
4. ถ้าอนุภาคทั้งสามมีมวลเท่ากันและเคลือ่ นที่ด้วยอัตราเร็วเท่ากันอนุภาค 2 มีจํานวนประจุน้อยกว่าอนุภาค 3

267. (มี.ค.53)ยิงอนุภาคประจุบวก 6.4  10-19 คูลอมบ์ มวล1.0  10-20 กิโลกรัม ด้วยความเร็ว 2.0  106
เมตร/วินาที เข้าสู่สนามแม่เหล็กสม่ําเสมอขนาด 1.0 เทสลา ดังรูป ขณะที่อนุภาคกําลังเคลื่อนที่ตั้งฉากกับ
แนวการเคลื่อนที่เริ่มต้น ขนาดโมเมนตัมที่เปลี่ยนไปเท่ากับกี่ กิโลกรัม.เมตร/วินาที

1. 0 2. 2  10-14 3. 2.8  10-14 4. 4.0  10-14


86

268. (มี.ค.54)วางลวดตัวนํายาว 20 เซนติเมตร บนรางตัวนํายาวมากที่มีความต้านทานน้อยมาก และต่อกับตัว


ต้านทาน 2 โอห์ม โดยรางตัวนําวางห่างกัน 10 เซนติเมตร ดังรูป จะต้องออกแรงกระทํากับเส้นลวดกี่ นิวตัน
เพื่อให้เส้นลวดเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว 3 เมตร/วินาที กําหนดให้สนามแม่เหล็กมีความเข้ม 2 เทสลา

269. (ต.ค.54)ลวดตัวนําตรงยาว L มีกระแสไฟฟ้า I ไหลในทิศ +Z ตามแนวยาวของเส้นลวด ถ้าเส้นลวดนี้อยู่


ในสนามแม่เหล็กสม่ําเสมอที่มีองค์ประกอบตามแนวแกน x, y และ z เป็น 1 , 2 และ 3 เทสลา ตามลําดับ
ขนาดของแรงแม่เหล็กที่กระทําต่อลวดตัวนําคือข้อใด
1. 3IL 2. 2 IL
3. 5IL 4. 3IL

270. (ต.ค. 55)ลวดตัวนําเส้นตรง 2 เส้น วางขนานกันอยู่บนโต๊ะ มีกระแสไฟฟ้าไหลในเส้นลวดทั้งสองใน


ทิศทางเดียวกัน ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับแรงแม่เหล็กที่กระทําต่อเส้นลวดนี้
1. ลวดเส้นหนึ่งจะถูกแรงกระทําในทิศขึ้น ตั้งฉากกับพื้นโต๊ะ แต่อีกเส้นหนึ่งจะถูกแรงกระทําใน ทิศทาง
ลงตั้งฉากกับพื้นโต๊ะ
2. ลวดทั้งสองถูกแรงกระทําในทิศขึ้นตั้งฉากกับพื้นโต๊ะ
3. เส้นลวดทั้งสองจะดูดกัน
4. เส้นลวดทั้งสองจะผลักกัน
87

271. (เม.ย.57) ในส่วนคัดเลือกความเร็วของแมสสเปกโทรมิเตอร์ เครื่องหนึ่ง หากต้องการคัดเลือกความเร็ว


ของไอออนชนิ ด หนึ่ งที่ มีม วล 6.4x10 -26 กิ โ ลกรั ม และพลัง งานจลน์ 20 กิ โลอิเ ล็ก ตรอนโวลต์ จะต้อ ง
ออกแบบแมสสเปกโทรมิเ ตอร์ นี้ใ ห้มีอัตราส่ วนระหว่างสนามไฟฟ้ าและสนามแม่เหล็ ก ในส่วนคั ด เลื อ ก
ความเร็วนี้เป็น กี่โวลต์/เมตร/เทสลา
1. 1.6x105 2. 3.2x105
3. 4.0x1014 4. 7.9x1014

272. (มี.ค.59) โปรตอนเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 100 เมตร/วินาที เข้าไปในบริเวณสนามแม่เหล็กสม่ําเสมอใน


ทิศตตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก ถ้าโปรตอนใช้เวลาในที่ใช้ในการเคลื่อนที่ 1 มิลลิวินาที โดยมีขนาดความเร่ง
104 เมตร/วินาที2 อัตราเร็วของโปรตอนเมื่อออกจากบริเวณสนามเม่เหล็กนี้เป็นกี่เมตร/วินาที
1. 90 2. 100 3. 110
4. 120 5. ข้อมูลไม่เพียงพอ

กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนํา แม่เหล็กเหนี่ยวนํา
273. (มี . ค.52)ขดลวดวางอยู่บนโต๊ะที่ มีสนามแม่เหล็กสม่ําเสมอพุ่ งขึ้นในทิ ศตั้ งฉากกั บโต๊ ะพิจ ารณากรณี
ต่อไปนี้
ก. วงขดลวดกําลังเล็กลง
ข. วงขดลวดกําลังใหญ่ขึ้น
ค. สนามแม่เหล็กกําลังลดลง
ง. สนามแม่เหล็กกําลังเพิ่มขึ้น
กรณีใดที่ผสมกันแล้วทําให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้ามากที่สุดในทิศตามเข็มนาฬิกา (เมื่อมองโต๊ะจากด้านบน)
1. ก และ ค 2. ก และ ง 3. ข และ ค 4. ข และ ง
88

274. (ก.ค. 53)ทันทีที่สับสวิตซ์ S ที่เชื่อมกับลวดตัวนํา A จะเกิดอะไรขึ้นบนลวดตัวนํา B

1. ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
2. ลวด B ถูกดูดเข้าหาลวด A
3. เกิดกระแสบนลวด B ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
4. ไม่มีข้อใดถูก

275. (ต.ค. 54)ปล่อยวงลวดให้ตกลงมาในแนวดิ่งภายใต้แรงโน้มถ่วงโลก เข้าชนกึ่งกลางแท่งแม่เหล็กถาวร ดัง


รูป ข้อสรุปเกี่ยวกับแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนํา ข้อใดถูกต้อง
1. ขนาดกําลังเพิ่ม ทิศตามเข็มนาฬิกา
2. ขนาดกําลังเพิ่ม ทิศทวนเข็มนาฬิกา
3. ขนาดกําลังลด ทิศตามเข็มนาฬิกา
4. ขนาดกําลังลด ทิศทวนเข็มนาฬิกา

276. (มี.ค.56) แรงแม่เหล็กที่กระทํากับลวดตัวนํา AB ซึ่งยาว 2 เซนติเมตร เป็นกี่นิวตัน ถ้าลวดตัวนํานี้อยู่ใน


โซลีนอยด์ที่มีความเข้มสนามแม่เหล็ก 0.2 เทสลา และมีกระแสไหลในลวดตัวนํา 5 แอมแปร์

1. 0 2. 0.02 N , ทิศขึ้น
3. 0.02 N , ทิศลง 4. 0.02 N , ทิศไปทางซ้าย
89

277. (มี.ค.57)ปล่อยแท่งแม่เหล็กในแนวดิ่ง ให้วิ่งผ่านวงลวด โวลต์มิเตอร์สามารถวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้า ได้ดัง


กราฟ

ถ้ากลับทิศของแม่เหล็กและเพิ่มขดลวดเป็นสองวง โวลต์มิเตอร์จะสามารถวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้อย่างไรเทียบกับ
กราฟเดิม
1. 2.

3. 4.
90

278. (เม.ย.57) เมื่อเคลื่อนแท่งแม่เหล็กเข้าหาขดลวดโซลีนอยด์ ดังรูป จะเกิดกระแสไฟฟ้าในวงจร โดยมีทิศ


การไหลตามเข็มนาฬิกา ทิศของแรงแม่เหล็กจะเกิดจากขดลวดที่กระทําต่อแท่งแม่เหล็กและขั้วของแท่ง
แม่เหล็กด้าน A เป็นไปตามข้อใด ตามลําดับ

1.  , ขั้วเหนือ 2.  , ขั้วใต้
3.  , ขั้วเหนือ 4.  , ขั้วใต้

279. (พ.ย.57)เส้นลวดตัวนําไฟฟ้าหุ้มด้วยฉนวนยาวมาก 2 เส้น วางตัวในลักษณะทํามุมตั้งฉากซึ่งกันและกัน


ถ้าแต่ละเส้นมีกระแสไฟฟ้า I เท่ากันไหลในทิศทางดังรูป สนามไฟฟ้าที่ตําแหน่ง A เป็นเท่าใด
กําหนดให้สนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า I ณ ตําแหน่งห่างจากเส้นลวด a มีขนาดเท่ากับ B

1. 0
2. ขนาด 2B ทิศพุ่งเข้าสู่หน้ากระดาษ
3. ขนาด 2B ทิศพุ่งออกจากหน้ากระดาษ
4. ขนาด 2B ทิศทํามุม -450 กับกระแสในเส้นลวดแนวนอน
91

280. (พ.ย.58) จากรูป วงจรด้านซ้ายต่อกับแบตเตอรี่ โดยความต้านทานในวงจรเพิ่มขึ้นตามเวลา ทิศของ


สนามแม่เหล็กที่จุด A เป็นอย่างไร และกระแสไฟฟ้าในวงลวดตัวนําด้านขวามีทิศการไหลอย่างไร ตามลําดับ

1. ไม่มีสนามแม่เหล็กและกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้น
2. พุ่งออกจากหน้ากระดาษ ไหลตามเข็มนาฬิกา
3. พุ่งออกจากหน้ากระดาษ ไหลทวนเข็มนาฬิกา
4. พุ่งเข้าสู่หน้ากระดาษ ไหลตามเข็มนาฬิกา
5. พุ่งเข้าสู่หน้ากระดาษ ไหลทวนเข็มนาฬิกา

281. (มี.ค.59) ลวดตัวนํายาวมากเส้นหนึ่งมีกระแสไฟฟ้าคงที่ I ไหลจากซ้ายไปขวา ถ้าขณะหนึ่งมีอิเล็กตรอน


เคลื่อนที่ไปทางซ้ายดังรูป

แรงแม่เหล็กทีก่ ระทําต่ออิเล็กตรอนในขณะนั้นมีทิศทางอย่างไร
1. พุ่งเข้าตั้งฉากกับหน้ากระดาษ
2. พุ่งออกตั้งฉากกับหน้ากระดาษ
3. ชี้ขึ้นด้านบนของหน้ากระดาษ
4. ชี้ลงด้านล่างของหน้ากระดาษ
5. ไม่มีแรงแม่เหล็กกระทํากับอิเล็กตรอน
92

15. ไฟฟ้ากระแสสลับ
ไฟฟ้ากระแสสลับ
282. (ต.ค. 52) อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งมีข้อความ “220 VAC 50 Hz” ข้อใดถูก
1. อุปกรณ์นี้ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับที่มีความต่างศักย์สูงสุด 220 โวลต์
2. อุปกรณ์นี้ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับที่มีการกลับทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้า 100 ครั้งต่อวินาที
3. อุปกรณ์นี้ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับที่มีค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยของกําลังสองของความต่างศักย์เท่ากับ
220/ 2 โวลต์
4. ถ้าอุปกรณ์นี้ให้กําลังไฟฟ้า 2,200 วัตต์ กระแสไฟฟ้าสูงสุดของอุปกรณ์นี้คือ 10 แอมแปร์

283. (มี.ค.57)ในชุมชนที่มีบ้านเรือนหนาแน่น มีหลายครั้งที่บ้านเราไฟดับโดยที่ตู้ไฟไม่ได้ตัดไฟ แต่บ้านข้าง ๆ


ไม่ดับ ทั้งนี้เป็นเพราะสาเหตุใด
1. ใช้ไฟคนละเฟส
2. ใช้มิเตอร์คนละขนาด
3. มีอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านไม่เหมือนกัน
4. บ้านเราต่อไฟฟ้าหลังจากข้างบ้าน ทําให้มีโอกาสกําลังไฟมาไม่ถึง

284. (มี.ค.57)แบบจําลองของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า 3 เฟส ดังรูป

ถ้าเราหมุนแม่เหล็กให้เร็วขึ้น ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะมีลักษณะเป็นอย่างไร
1. แรงดันไฟเท่าเดิม ความถี่เท่าเดิม
2. แรงดันไฟเท่าเดิม ความถี่สูงขึ้น
3. แรงดันไฟสูงขึ้น ความเท่าเดิม
4. แรงดันไฟสูงขึ้น ความถี่สูงขึ้น
93

วงจร RCL
285. (มี.ค. 52) นําตัวเก็บประจุ ตัวต้านทาน และแหล่งกําเนิดไฟฟ้ากระแสสลับชนิดที่ให้แรงเคลื่อนไฟฟ้ายังผลคง
ที่มาต่อ อนุกรมกันทั้งหมดตามลําดับ ถ้าความถี่ของแหล่งกําเนิดไฟฟ้าเพิ่มขึ้น กระแสไฟฟ้ายังผลในวงจร
อนุกรม ดังกล่าวจะเป็นอย่างไร
1. เพิ่มขึ้น 2. คงเดิม
3. ลดลง 4. ไม่สามารถระบุได้ ขึ้นกับค่าของตัวเก็บประจุและตัวต้านทาน

286. (มี . ค.53)จากรูป ถ้ าตั วเก็ บ ประจุมี ความจุ 5 ไมโครฟารั ด ตั วต้า นทานมีข นาด 2 กิโลโอมห์ แ ละ
แรงเคลื่อนไฟฟ้า ของแหล่งกําเนิดเป็น V = 20sin100t เมื่อนําโวลต์มิเตอร์วัดคร่อมตัวเก็บประจุจะอ่าน
ค่าได้กี่โวลต์

1. 10 2. 10 2 3. 20 4. 20 2

287. (ก.ค. 53) ตัวเหนี่ยวนํา 0.04 เฮนรี นํามาต่อกับแบตเตอรี่กระแสตรง 12 โวลต์ ความต้านทานภายใน 2


โอห์ม มีกระแสในวงจร 2 แอมแปร์ ถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่กระแสตรงเป็นกระแสสลับที่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า
50 sin (100 t) จะมีกระแสยังผลในวงจรกี่แอมแปร์
1. 4.14 2. 6.25 3. 8.84 4. 17.7
94

288. (ต.ค.53) ถ้าต้องการทําให้ความต่างศักย์คร่อมตัวต้านทาน (VR ) มีค่ามากขึ้นจะต้องทําอย่างไร

1. ลดความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับ 2. เพิ่มความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับ
3. เพิ่มค่าความเหนี่ยวนํา 4. มีคําตอบถูกมากกว่า 1 ข้อ

289. (มี.ค. 55) พิจารณาข้อมูลสําหรับไฟฟ้ากระแสสลับ ต่อไปนี้


ก. ในกรณีตัวต้านทาน กระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทานและความต่างศักย์ที่ตกคร่อมตัวต้านทานมีเฟส
ตรงกัน
ข. ในกรณีตัวเก็บประจุ กระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวเก็บประจุจะมีเฟสนําความต่างศักย์คร่อมตัวเก็บประจุ
เท่ากับ 90 องศา
ค. ในกรณีตัวเหนี่ยวนํา กระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวเหนี่ยวนําจะมีเฟสตามความต่างศักย์คร่อมตัวเหนี่ยวนํา
เท่ากับ 90 องศา
ถ้าเรานําตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ และตัวเหนี่ยวนํามาต่อขนานกัน และทั้งหมดต่อกับแหล่งกําเนิดไฟฟ้า
กระแสสลับ เฟสของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวเก็บประจุจะเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับเฟสของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัว
เหนี่ยวนํา
1. เฟสตรงกัน 2. เฟสนําอยู่ 180 องศา
3. เฟสตามอยู่ 180 องศา 4. ไม่สามารถระบุได้ เพราะไม่ทราบความถี่ของแหล่งกําเนิด

290. (มี.ค.56) เมื่อให้กระแสไฟฟ้าสลับกับขดลวด จะมีแรงเคลื่อนไฟฟ้า (emf) เกิดขึ้น ถ้านําโวลต์มิเตอร์ไปวัด


ความต่างศักย์ระหว่างปลายขดลวด พบว่า ค่าที่อ่านได้จากโวลต์มิเตอร์เป็นอย่างไร
1. มีค่าน้อยกว่า emf
2. มีค่าเท่ากับ emf
3. มีค่ามากกว่า emf
4. มีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่า emf ก็ได้ขึ้นกับความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับ
95

291. (มี.ค.57) วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ ประกอบด้วย ตัวต้านทาน ตัวเหนี่ยวนํา และตัวเก็บประจุดังรูป(อนุกรม)


ถ้ากระแสที่ผ่านตัวต้านทานกําลังลดลง ความต่างศักย์ที่ตกคร่อมตัวเหนี่ยวนํากับตัวเก็บประจุเป็นอย่างไร

ขนาดของความต่างศักย์ตกคร่อม
ขนาดของความต่างศักย์ตกคร่อม ตัวเก็บประจุ
1. กําลังลด กําลังลด
2. กําลังลด กําลังเพิ่ม
3. กําลังเพิ่ม กําลังลง
4. กําลังเพิ่ม กําลังเพิ่ม

292. (พ.ย.57)ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับที่มีตัวต้านทานต่อแบบอนุกรม 2 ตัว เมื่อใช้ดิจิทัลมิเตอร์วัดความต่าง


ศักย์ของตัวต้านทานแต่ละตัวได้ 4.5 V และ 7.5 V ตามลําดับ ความต่างศักย์ของแหล่งจ่ายไฟนี้เท่ากับกี่
โวลต์
1. 12 2. 17
3. 24 4. 34

293. (มี.ค.58)ตัวเก็บประจุ ตัวต้านทาน และแหล่งกําเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ ต่ออนุกรมกัน ถ้าเพิ่มความถี่


ให้กับแหล่งกําเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ กระแสไฟฟ้าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร
1. ไม่เปลี่ยนแปลง 2. ขนาดเท่าเดิม แต่เฟสเปลี่ยนไป
3. ลดลง 4. เพิ่มขึ้น
96

16. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
294. (มี.ค. 52)คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากําลังเคลื่อนที่ไปในทิศ +z ที่ตําแหน่งหนึ่งและเวลาหนึ่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามี
ทิศของ สนามไฟฟ้าในทิศ –x ที่ตําแหน่งและเวลาดังกล่าวจะมีทิศของสนามแม่เหล็กในทิศใด
1. +x 2. +y 3. –y 4. –z

295. (ต.ค. 52)สถานีวิทยุแห่งหนึ่งส่งคลื่น FM 100 MHz ด้วยกําลังส่ง 1 kW สัญญาณเสียงของมนุษย์ที่พูด


ผ่าน ไมโครโฟนมีความถี่ประมาณ 100 ถึง 4,000 Hz การส่งสัญญาณเสียงของมนุษย์ทําได้โดยการผสม
สัญญาณเสียงเข้ากับสัญญาณของคลื่นพาหะที่มีความถี่ 100 MHz สัญญาณที่ถูกถ่ายทอดไปตามบ้านเรือน
จะมีลักษณะตามข้อใด
1. เป็นคลื่นทีม่ ีความถี่ 100 MHz คงที่
2. เป็นคลื่นทีม่ ีแอมพลิจูดเปลี่ยนไป ตามความดังของเสียงมนุษย์
3. เป็นคลื่นทีม่ ีความถี่เปลี่ยนไปเล็กน้อย ตามความถี่ของเสียงพูด
4. เป็นคลื่นทีป่ ระกอบด้วยคลื่นพาหะและสัญญาณเสียงสลับกันไป

296. (ต.ค.55) ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า


1. ไม่มีโมเมนตัม
2. ส่งผ่านพลังงานได้
3. มีอัตราเร็วในอากาศต่างกัน ขึ้นอยู่กับความถี่
4. มีข้อความถูกมากกว่า 1 ข้อความ

297. (พ.ย.57)คลืน่ แม่เหล็กไฟฟ้าที่กําลังเคลือ่ นที่ในทิศ +z ถ้า ณ เวลาหนึ่ง ที่ตําแหน่งหนึ่ง พบว่า สนามไฟฟ้า


มีทิศ –y และมีความเข้มลดลง สนามแม่เหล็ก ณ ตําแหน่งดังกล่าวเป็นอย่างไร
1.มีค่าเป็นศูนย์ 2. มีทิศ +y และมีความเข้มลดลง
3. มีทิศ - y และมีความเข้มเพิ่มขึ้น 4. มีทิศ - y และมีความเข้มลดลง
97

298. (มี.ค.58)เหตุใดคลื่น FM จึงมีคุณภาพเสียงที่ดีกว่าคลื่น AM


1. คลื่น FM มีกําลังส่งทีแ่ รงกว่าคลื่น AM
2. คลื่น FM มีการเลี้ยวเบนที่ดีกว่าคลื่น AM
3. คลื่น FM มีขนาดแอมพลิจูดที่มากกว่าคลื่น AM
4. คลื่น FM มีการมอดูเลตความถี่ ซึ่งไม่ถูกรบกวนได้ง่ายเหมือนการมอดูเลตแอมพลิจูด
98

สมบัติของสาร
17. ของแข็ง
299. (ก.ค. 52) ออกแรงดึ ง เส้นลวดเส้นหนึ่งด้ วยแรงคงที่ ถ้า ใช้แ รงเท่าเดิมในการดึงเส้ นลวดขนาดชนิด
เดียวกันนี้แต่มี ความยาวและเส้นผ่านศูนย์กลางลดลงครึ่งหนึ่ง ความยาวที่เปลี่ยนไปของเส้นลวดเส้นนี้เป็น
อย่างไรเมื่อเทียบ กับเส้นลวดเส้นแรก
1. เป็นครึ่งหนึง่ ของความยาวที่เปลี่ยนไปของเส้นแรก
2. เท่ากับความยาวที่เปลี่ยนไปของเส้นแรก
3. เป็น 2 เท่าของความยาวที่เปลี่ยนไปของเส้นแรก
4. เป็น 4 เท่าของความยาวที่เปลี่ยนไปของเส้นแรก

300. (ต.ค.53)อัตราส่วนระหว่างแรงดึงที่กระทําต่อเส้นลวด กับระยะยืดของเส้นลวด A และ B ซึ่งยาวเท่ากัน


เป็นอัตราส่วน 2 : 1 ถ้าค่ามอดูลัสของยังของเส้นลวด B เป็น 2 เท่าของเส้นลวด A เส้นผ่านศูนย์กลางของ
เส้นลวด A เป็น กี่เท่าของเส้นลวด B
1. 0.5 2. 1 3. 2 4. 4

301. (ต.ค.55) ลวดเบามากเส้นหนึ่งมีพื้นที่หน้าตัด A ความยาวเริ่มต้น  0 และมีค่ามอดุลัสของยังเท่ากับ Y


ยึดปลายด้านหนึ่งไว้กับเพดาน และถ่วงปลายอีกด้านหนึ่งด้วยมวล m ที่มีค่าแตกต่างกันทําให้ลวดยืดออก
ในแนวดิ่งแต่ยังอยู่ในขีดจํากัดสภาพยืดหยุ่น ถ้านําข้อมูลมาเขียนกราฟโดยให้ความยาวเส้นลวดอยู่ในแกน
นอน และมวลถ่วงอยู่ในแกนตั้ง จุดตัดแกนตั้งคือปริมาณใด
YA YA YA YA
1. 2.  3. 4. 
g g 0g 0g
99

302. (มี.ค.56) กราฟระหว่างความเค้นกับความเครียดของวัสดุ A และ วัสดุ B แสดงดังรูป

ข้อใดกล่าวถูกต้อง
1. วัสดุ A เปราะกว่าวัสดุ B 2. วัสดุ A เหนียวกว่าวัสดุ B
3. วัสดุ A ยืดหยุ่นกว่าวัสดุ B 4. ไม่สามารถสรุปได้

303. (มี.ค.57) ลวดโลหะความยาว 2.000 เมตร ถูกดึงด้วยแรงคงที่ จนมีความเครียด 1.000x10-3 ความยาวเส้น


ลวดนี้ภายใต้แรงดึงมีค่าประมาณกี่เมตร
1. 1.000x10-3 2. 1.002 3. 2.001x10-3 4. 2.002

18.ของไหล
ความดัน เครื่องอัดไฮโดรลิก
304. (ต.ค.54) วัตถุมวล 2 กิโลกรัม ตกจากที่สูง 1 เมตร ลงบนศีรษะเด็กคนหนึ่ง ถ้าวัตถุนั้นมีพื้นที่ หน้าตัด 0.2
ตารางเซนติเมตร และเวลาที่ตกกระทบเป็น 1 มิลลิวินาที ความดันที่เกิดจากการตกของวัตถุบนศีรษะเด็ก
คนนี้เป็นกี่นิวตัน/ตารางเมตร
1. 2.2 108 2. 4.4 108
3. 9.8 108 4. 19.6 108
100

305. (ต.ค.53)ชายคนหนึ่งมีความสามารถอัดแรงได้เพียง 49 นิวตันต่อครั้ง ถ้าชายคนนี้ต้องการยกวัตถุมวล 500


กิโลกรัม โดยเครื่องอัดไฮดรอลิกที่มีกระบอกอัดและกระบอกยกเป็นทรงกระบอก รัศมีกระบอกยกต่อ
กระบอกอัดต้องมี อัตราส่วนอย่างน้อยที่สุดเท่าไร
1. 5 2. 10 3. 50 4. 100

ความหนืด
306. (ก.ค. 52)ลูกปิงปองกําลังลอยขึ้นจากก้นสระน้ํา ในขณะที่ลูกปิงปองมีอัตราเร็วไม่คงที่ ผลของความหนืด
ของน้ําจะทํา ให้อัตราเร็วและอัตราเร่งของลูกปิงปองมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
1. อัตราเร็วกําลังเพิ่ม อัตราเร่งกําลังเพิ่ม
2. อัตราเร็วกําลังเพิ่ม อัตราเร่งกําลังเพิ่ม
3. อัตราเร็วกําลังลด อัตราเร่งกําลังเพิ่ม
4. อัตราเร็วกําลังลด อัตราเร่งกําลังลด

307. (ก.ค. 53)หย่อนลูกเหล็กขนาดเล็กลงในท่อแก้วสูงที่บรรจุสารละลายชนิดหนึ่ง ปรากฏว่าเมื่อถึงจุดๆ หนึ่ง


ลูกเหล็ก เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว ณ จุดนี้ควรใช้หลักฟิสิกส์ใด อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
1. แรงโน้มถ่วงของโลก 2. แรงดึงดูดระหว่างมวล
3. การตกอิสระ 4. สมดุลของแรง

308. (มี.ค.54) ปล่อยวัตถุทรงกลมที่ผิวน้ํา วัตถุจมลงและมีความเร็วปลายคงที่เท่ากับ vA ถ้าปาวัตถุรูปทรง


เดียวกันลงใน แนวดิ่งทําให้มีความเร็วต้น u > 0 ที่ผิวน้ํา วัตถุดังกล่าวจมลงจนมีความเร็วปลายคงที่เท่ากับ
vB ข้อใดสรุป ถูกต้อง
1. vA  vB แต่ vB  vA  u 2. vB  vA  u
3. vB  vA 4. vB  vA  u
101

309. (มี.ค.55) ปล่อยทรงกลมเหล็กที่มีรัศมี 1 มิลลิเมตรลงในของเหลวชนิดหนึ่ง หากคํานวณความเร็วปลาย


ของทรงกลมเหล็กในกรณีที่คิดและไม่คิดผลของแรงลอยตัว พบว่ามีค่าต่างกัน 10% ความหนาแน่น ของ
ของเหลวเป็นกี่เท่าของความหนาแน่นของทรงกลมเหล็ก
1. 0.1 2. 0.3 3. 0.9 4. 1.1

แรงลอยตัว หลักของอาร์คีมีดีส
310. (ต.ค. 52)วัตถุก้อนหนึ่งทีความหนาแน่น  0 เมื่อนําไปหย่อนลงในของเหลว 4 ชนิด และวัตถุหยุดนิ่ง ได้ผล
ดังรูป

แรงลอยตัวในของเหลวข้อใดมีค่าเท่ากัน
1. A และ B 2. B และ C 3. A และ D 4. A B และ D

311. (มี.ค.53)ของเหลว A มีความหนาแน่นเป็น 1.2 เท่าของ B เมื่อนําวัตถุหนึ่งหย่อนลงในของเหลว B


ปรากฏว่ามี ปริมาตรส่วนที่จมลงเป็น 0.6 เท่าของปริมาตรทั้งหมด ถ้านําวัตถุนี้หย่อนลงในของเหลว A
ปริมาตรส่วน ที่จมลงในของเหลว A เป็นสัดส่วนเท่าใดของปริมาตรทั้งหมด
1. 0.4 2. 0.5 3. 0.6 4. 0.8
102

312. (ก.ค. 53) นําโลหะความหนาแน่น  ปริมาตร V ไปชั่งในของเหลวชนิดหนึ่งที่มีความหนาแน่น 1


น้ําหนักของ โลหะในของเหลวนี้เป็นเท่าใด
1.    1 Vg 2.    1 Vg
 2   12 
3.   Vg 4.   Vg
 1   

313. (มี.ค.54) ชั่งวัตถุก้อนหนึ่งในอากาศด้วยเครื่องชั่งสปริง อ่านค่าได้ N1 นิวตัน เมื่อจุ่มก้อนวัตถุดังกล่าวให้


จมมิดในน้ํา พบว่าเครื่องชั่งสปริงอ่านค่าได้ N2 นิวตัน วัตถุดังกล่าวจะมีความหนาแน่นเป็นกี่เท่าของน้ํา
N1 N2 N1  N 2 N1  N 2
1. 2. 3. 4.
N1  N 2 N1  N 2 N1 N2

314. (มี.ค.56) นําแก้วน้ํารูปทรงกระบอกใบหนึ่งไปลอยในของเหลว ถ้าทดลองเปลี่ยนความหนาแน่น  ของ


ของเหลวแล้ววัดความลึกของแก้วน้ําส่วนที่จมในของเหลวนั้น ๆ (d) ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่น
ของเหลวกับความลึกของแก้วน้ําส่วนที่จม จะใกล้เคียงกับเส้นกราฟใด
1. 2.

3. 4.
103

315. (เม.ย.57)วัตถุทรงกระบอกชิ้นหนึ่งมีพื้นที่หน้าตัด A แต่ไม่ทราบความสูง เมื่อนําไปลอยให้ตั้งในแนวดิ่งใน


ของเหลวชนิดหนึ่ง พบว่ามีส่วนที่โผล่พ้นของเหลวขึ้นมา h ถ้าความหนาแน่นของวัตถุเป็น 0 และความ
หนาแน่นของของเหลวเป็น   มวลของวัตถุนี้เป็นเท่าใด
hA hA
1. o hA 2.  hA 3. 4.
 1 1   1 1 
     
  o   o  

316. (พ.ย.27)ภาชนะรูปลูกบาศก์ใบหนึ่งมีพื้นที่ฐาน 2 ตารางเมตร บรรจุน้ําสูง 1 เมตร และมีตาชั่งสปริงยึดติด


ไว้กับพื้นด้านในของภาชนะ เมื่อนําวัตถุชนิดหนึ่งหนัก 10 นิวตัน ไปผูกกับตาชั่งสปริง พบว่าระดับน้ําใน
ภาชนะสูงขึ้น 1 เซนติเมตร และวัตถุนี้อยู่ปริ่มน้ําพอดี ตาชั่งสปริงอ่านค่าได้กี่นิวตัน กําหนดความหนาแน่น
ของน้ําเท่ากับ 1,000 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร และความหนาแน่นของวัตถุเท่ากับ 900 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์
เมตร
1. 10 2. 186 3. 206 4. 1,950

317. (มี.ค.58)แขวนส้มผลหนึ่งไว้กับตาชั่งสปริง ถ้านําส้มไปลอยไว้ในน้ําที่มีความหนาแน่น 1,000 kg/m3 จะ


อ่านน้ําหนักจากตาชั่งสปริงได้ 80 g แต่ถ้านําไปลอยไว้ในน้ําทะเลที่มีความหนาแน่น 1,075 kg/m3 จะ
อ่านน้ําหนักจากตาชั่งสปริงได้ 75 g จากข้อมูลดังกล่าวจะสามารถคํานวณปริมาณใดของผลส้มได้
1. มวล 2. ปริมาตร
3. ความหนาแน่น 4. มวล ปริมาตร และความหนาแน่น
104

อัตราการไหล – สมการของแบร์นูลลีย์
อัตราการไหล
318. (มี.ค.53)น้ําไหลผ่านท่อทรงกระบอก 2 อัน รัศมี r และ R ด้วยอัตราการไหลเท่ากัน ถ้าอัตราเร็วของ
น้ําที่ไหลใน ท่อรัศมี r เท่ากับ v อัตราเร็วของน้ําที่ไหลในท่อรัศมี R เป็นเท่าใด
R 2V r 2V
1. rV 2. RV
3. 4.
R r r2 R2

319. (ต.ค.53)น้ํามันเครื่องไหลสม่ําเสมอราบเรียบจากปากกรวยวงกลมที่รัศมี R ด้วยอัตราเร็ว ลงสู่ก้นกรวยที่มี


รัศมี r ด้วย อัตราเร็ว v ความสัมพันธ์ในข้อใดถูก
1. rv = RV 2. rV = Rv 3. r2v = R 2 V 4. r2v = R2v

320. (ต.ค.54) ท่อประปาตรงในแนวระดับเส้นหนึ่ง มีพื้นที่หน้าตัดด้านใหญ่เป็น 4 เท่าของพื้นที่ หน้าตัดด้าน


เล็ก ถ้าน้ําไหลเข้าทางด้านใหญ่แล้วไหลออกทางด้านเล็ก ปริมาตรของน้ําที่ไหลออกเป็นกี่เท่าของปริมาตร
น้ําที่ไหลเข้าในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ
1. 0.25 2. 0.5 3. 1 4. 4
105

สมการของแบร์นูลลีย์
321. (มี.ค. 52)ถังใส่น้ํามีท่อขนาดเล็ก ต่อกับวาล์วที่ปิดไว้ดังรูป

ถ้าไม่คิดถึงความหนืดของน้ํา เมื่อเปิดวาล์ว ความดันสัมบูรณ์ที่จุด A จะเป็นดังข้อใด


1. เพิ่มขึ้น
2. คงเดิม โดยมีค่ามากกว่าความดันบรรยากาศ
3. คงเดิม โดยมีค่าเท่ากับความดันบรรยากาศ
4. ลดลง

322. (ก.ค. 53) ถังทรงกระบอกใบหนึ่งบรรจุน้ําเต็มถัง ถ้าเจาะรูที่ข้างถังเป็นระยะ h จากผิวน้ํา ความสัมพันธ์


ระหว่าง อัตราเร็วของน้ํา v ที่พุ่งออกข้างถังกับระยะ h เป็นดังข้อใด
1
1. v 2. v h
h
1
3. v 4. v h
h

323. (ต.ค. 52)ถังบรรจุน้ําใบหนึ่งมีรูเล็กๆ 2 รูอยู่ที่ข้างถัง โดยรูล่างอยู่ต่ํากว่าระดับน้ําเป็น 2 เท่าของรูบน


อัตราเร็ว (v)ของน้ําที่ไหลออกจากรูทั้งสองสัมพันธ์กันตามข้อใด
1. Vล่าง = Vบน /2 2. Vล่าง = 2 Vบน
3. Vล่าง = 2 Vบน 4. Vล่าง = 4Vบน
106

324. (มี.ค.54) ภาชนะรูปทรงกระบอกไม่มีฝาใบหนึ่งบรรจุของเหลวสูง H วัดจากก้นภาชนะวางอยู่บนพื้นราบ


ถ้าเจาะรูให้ ของเหลวพุ่งออกมาในทิศตั้งฉากกับผนัง จะต้องเจาะที่ความสูงใดวัดจากก้นภาชนะจึงจะทําให้
ของเหลวพุ่งไป ได้ไกลที่สุดในแนวราบ

3H
1. H 2. H
3. H
4.
8 4 2 4

325. (ต.ค.55) เอานิ้วปิดก้นกรวยกระดาษที่มีพื้นที่หน้าตัด A2 ไว้ เติมน้ําในกรวยให้เต็ม พื้นที่หน้าตัดปากกรวย


เท่ากับ A1 และกรวยสูง H จงหาอัตราเร็วของน้ําที่ก้นกรวยในทันทีที่เอานิ้วออก
gH gH
1. 2
2. 2
A  A 
1  2  1  2 
 A1   A1 
2 gH 2 gH
3. 2
4. 2
A  A 
1  2  1  2 
 A1   A1 
107

326. (มี.ค.57) กระบอกฉีดยาฆ่าแมลงวางตัวในแนวราบ ประกอบด้วยลูกสูบหน้าตัด 10 ตารางเซนติเมตร และ


ปลายกระบอกเป็นรูเล็ก ๆ พื้นที่หน้าตัด 2 ตารางมิลลิเมตร อากาศที่ถูกอัดจะพ่นผ่านปลายท่อเล็ก ๆ
วางตัวในแนวดิ่งที่จุ่มอยู่ในน้ําผสมยาฆ่าแมลง สมมติให้ระดับผิวน้ํายาอยู่ต่ํากว่ารู 10 เซนติเมตร และ
ประมาณว่าน้ํายามีความหนาแน่น 1000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถ้าเราออกแรง 10 นิวตันดันลูกสูบให้
เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 10 เซนติเมตรต่อวินาที น้ํายาจะถูกดูดขึ้นมาตามท่อขนาดเล็ก และพ่นออกไปได้เมื่อ
อากาศในกระบอกสูบถูกอัดจนมีความหนาแน่นใกล้เคียงกี่กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
1. 5 2. 7 3. 9 4. 11

327. (เม.ย.57) ลูกบอลถูกเตะออกไปด้วยอัตราเร็ว 10 เมตร/วินาที ในอากาศที่หยุดนิ่ง และหมุนรอบตัวเอง


10
ด้วยความถี่ เฮิรตซ์ การหมุนรอบตัวเองทําให้อัตราเร็วสัมพัทธ์ของอากาศเทียบกับผิวของลูกบอล
2
แตกต่างกันไปโดยข้างหนึ่งจะมีค่ามากกว่า 10 เมตร/วินาที และอีกด้านหนึ่งจะมีค่าน้อยกว่า 10 เมตร/
วินาที ถ้าอากาศมีความหนาแน่น 1.1กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร จงหาว่าจุด A และ B มีความแตกต่างของ
ความดันกี่พาสคัล กําหนดให้ลูกบอลมีรัศมี 15 เซนติเมตร

1. 33
2. 56
3. 66
4. 112
108

328. (พ.ย.57)แท็งก์น้ําขนาดใหญ่มากบรรจุน้ําอยู่เต็ม โดยมีความสูง 10 เมตร และวางนิ่งอยู่บนพื้นดิน ที่ข้าง


ๆ แท็งก์มีรูเล็ก ๆ เจาะรูไว้ 2 รู โดย รูล่างอยู่สูงจากก้นแท็งก์ 3 เมตร ส่วนรูบนอยู่สูงจากก้นแท็งก์ 7 เมตร
ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับน้ําที่ไหลออกจากรูทั้งสองทันทีที่เปิดรู
1. น้ําจากรูบนจะตกไกลกว่า 2. น้ําจากรูล่างจะตกไกลกว่า
3. ตกกระทบพื้นดินได้ไกลเท่ากัน 4. ตกกระทบพื้นดินในเวลาเดียวกัน

329. (มี.ค 58)หลอดฉีดยายาว 30 cm บรรจุน้ําอยู่เต็ม วางอยู่ในแนวดิ่ง ลูกสูบมีพื้นที่หน้าตัด 10 cm2 และรูที่


ปลายหลอดมีพื้นที่หน้าตัด 0.1 cm2 วางมวล 100 กรัม ลงบนปลายก้านสูบ น้ําจะเริ่มถูกดันออกมาที่ปลาย
ด้านล่างด้วยอัตราเร็วประมาณกี่เมตร/วินาที (ความหนาแน่นของน้ําเท่ากับ 1,000 kg/m3)
1. 2.1 2. 2.8 3. 5.1 4. 7.4

330. (มี.ค 58)เขื่อนแห่งหนึ่งผลิตไฟฟ้าด้วยกําลังน้ํา โดยปล่อยน้ําให้ตกจากที่สูง ถ้าอัตราเร็วของน้ํามีค่าเป็น


10 m/s และอัตราการไหลมีค่า 200 m3/s กําลังของน้ํามีค่าเป็นกี่เมกะวัตต์ (กําหนดให้น้ํามีความหนาแน่น
1,000 kg/m3 )
1. 10 2. 100
3. 1,000 4. โจทย์ไม่สมบูรณ์เพราะไม่ได้บอกระดับความสูงของน้ํา
109

ความร้อน และ แก๊ส


19. ความร้อน
ความร้อน การเปลี่ยนพลังงานรูปต่าง ๆ เป็นความร้อน
331. (มี.ค. 52)ถ้าเปรียบเทียบความร้อนกับกระแสไฟฟ้า อุณหภูมิจะเทียบได้กับปริมาณใด
1. ความต้านทานไฟฟ้า 2. ศักย์ไฟฟ้า
3. กําลังไฟฟ้า 4. พลังงานไฟฟ้า

332. (มี.ค.54)ในขณะที่น้ําในกาต้มน้ําที่เปิดฝาไว้กําลังเดือด ถ้านักเรียนเร่งไฟเตาแก๊สให้แรงขึ้น จะเกิดอะไร


ขึ้น
1. ปริมาณไอน้ําจะมากขึ้น 2. จุดเดือดของน้ําจะสูงขึ้น
3. น้ําในกามีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างมาก 4. อัตราการระเหยเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย

333. (มี.ค.55) กระสุนปืนมวล 10 กรัม เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 1000 เมตร/วินาที เข้าไปในขี้ผึ้งก้อนหนึ่งมวล 1


กิโลกรัม ขี้ผึ้งก้อนนี้จะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นประมาณกี่องศาเซลเซียส ถ้าถือว่าพลังงานทั้งหมดของกระสุนปืน
เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนในขี้ผึ้ง ความร้อนจําเพาะของขี้ผึ้งเป็น 0.6 แคลอรี/กรัม/องศาเซลเซียส และ
กําหนดให้พลังงานความร้อน 1 แคลอรีเทียบเท่าพลังงานกล 4 จูล
1. 2.1 2. 3.3 3. 7.5 4. 8.3

334. (มี.ค.56)เครื่องทําน้ําแข็งสามารถเปลี่ยนน้ําที่อุณหภูมิ 300C เป็นน้ําแข็งอุณหภูมิ -200C ถ้าเราซื้อน้ําแข็ง


ดังกล่าวในราคากิโลกรัมละ 1 บาท ถ้าค่าไฟหน่วยละ 5 บาท ผู้ขายจะกําไรหรือขาดทุนประมาณกิโลกรัม
ละกี่บาท กําหนดให้ค่าความร้อนจําเพาะของน้ําเท่ากับ 4.2 kJ/kg.K ค่าความร้อนจําเพาะของน้ําแข็ง
เท่ากับ 2.1 kJ/kg.K ค่าความร้อนแฝงของการหลอมเหลวเท่ากับ 334 kJ/kg
1.กําไร 0.3 บาท 2. กําไร 0.7 บาท
3. ขาดทุน 0.3 บาท 4. ขาดทุน 0.7 บาท
110

335. (มี.ค.57) ยิงกระสุนปืนมวล 10 กรัม เข้าใส่แทงก์น้ําทรงลูกบาศก์ขนาด 2x2x2 ลูกบาศก์เมตร ที่บรรจุน้ําเต็ม


ถังด้วยอัตราเร็ว 400 เมตร/วินาที ถ้ากระสุนฝังเข้าไปในผนังของแท็งก์น้ํา อุณหภูมิของน้ําในแท็งก์น้ําจะ
เปลี่ยนกี่เคลวิน ถือว่าน้ําได้รับความร้อนทั้งหมดจากผนังของแท็งก์น้ํา กําหนดให้ความจุความร้อนจําเพาะ
ของน้ําเท่ากับ 4.2 กิโลจูลต่อกิโลกรัม.เคลวิน และความหนาแน่นของน้ําเท่ากับ 1000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์
เมตร
1. 3.2 x10-5 2. 2.4 x10-5 3. 2.4 x10-4 4. 2.4 x10-2

336. (พ.ย.57)เมื่อวางก้อนน้ําแข็งลงบนถาดสแตนเลสและถาดพลาสติกที่อยู่ในห้องมานานพอสมควรแล้วถาด
ละ 1 ก้อน ข้อใดคือสิ่งที่สังเกตเห็น
1.น้ําแข็งทั้งสองก้อนละลายเร็วเท่าๆ กัน เพราะถาดทั้งสองมีอุณหภูมิเท่ากัน
2. น้ําแข็งบนถาดพลาสติกละลายเร็วกว่า เพราะถาดพลาสติกเก็บความร้อนได้มากกว่า
3. น้ําแข็งบนถาดสแตนเลสละลายเร็วกว่า เพราะถาดสแตนเลสถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่า
4. น้ําแข็งบนถาดสแตนเลสละลายเร็วกว่า เพราะถาดสแตนเลสเก็บความร้อนได้มากกว่า

337. (พ.ย.57)ทรงกลม 2 ลูกทําจากวัสดุชนิดเดียวกัน ลูกหนึ่งเป็นทรงกลมตัน อีกลูกหนึ่งเป็นทรงกลมกลวง


เริ่มต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางและอุณหภูมิเท่ากัน เมื่อให้ความร้อนกับทรงกลมทั้งสองจนมีอุณหภูมิเท่ากัน
ข้อใดถูกเกี่ยวกับเส้นผ่านศูนย์กลางของทรงกลมทั้งสอง หลังได้รับความร้อน
1. ทรงกลมทัง้ สองมีขนาดเท่ากัน 2. ทรงกลมตันมีขนาดใหญ่กว่า
3. ทรงกลมกลวงมีขนาดใหญ่กว่า 4. ข้อมูลไม่เพียงพอต่อการสรุป
111

20. แก๊ส
แก๊สในอุดมคติ
338. (ก.ค. 53)พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. ที่อุณหภูมิคงตัว ปริมาตรแปรผันตามความดัน
ข. ที่ความดันคงตัว อุณหภูมิแปรผันตามปริมาตร
ค. ในระบบปิด ผลคูณของความดันกับปริมาตรแปรผันตามอุณหภูมิ
ข้อใดเป็นสมบัติของแก๊สอุดมคติ
1. ก และ ข 2. ก และ ค
3. ข และ ค 4. ก ข และ ค

339. (ต.ค.53) ลมยางในรถยนต์ข ณะจอดมี อุณ หภู มิ 27 องศาเซลเซี ยส และความดัน 240 กิ โลพาสคั ล
หลังจากรถวิ่งไปได้ 1 ชั่วโมง ลมยางมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 20 องศาเซลเซียส ถ้าปริมาตรภายในของยางไม่
เปลี่ยนแปลง ความดันภายในยางรถยนต์เป็นกี่กิโลพาสคัล

340. (ต.ค. 54) ภาชนะเหมือนกันทั้งสองใบ A และ B ภายในบรรจุแก๊สอุดมคติชนิดเดียวกัน ปริมาณเท่ากัน


โดยมีความดัน P0 ปริมาตร V0 อุณหภูมิ T0 เหมือนกัน ถ้าลดความดันในภาชนะ A ลงครึ่งหนึ่ง แต่เพิ่ม
ปริมาตรเป็นสองเท่า ในขณะที่เพิ่มความดันในภาชนะ B แต่ลดปริมาตรลงครึ่งหนึ่ง ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
1. TA = 0.5TB = T0 2. TB = 0.5TA = T0
3. TA = TB = T0 4. TA = 2TB = T0

341. (เม.ย.57)เมื่อหารค่าคงตัวของแก๊สด้วยค่าคงตัวโบลตซ์มันน์ ผลที่ได้คือข้อใด (เมื่อคิดในระบบเอสไอ)


1. จํานวนโมล 2. จํานวนโมเลกุล
3. เลขอะโวกราโด 4. ความจุความร้อน
112

342. (พ.ย.57)ลูกสูบ A และ B ที่เหมือนกันมีปริมาตรและอุณหภูมิเท่ากัน ภายในบรรจุแก๊สอุดมคติชนิด


เดียวกัน แต่ปริมาณไม่เท่ากัน โดยลูกสูบ A มีมวลแก๊สเท่ากับ mA ส่วนลูกสูบ B มีมวลแก๊สเท่ากับ mB
เมื่อให้แก๊สในกระบอกสูบทั้งสองขยายตัวจนมีปริมาตรเป็น 2 เท่าของเดิม โดยไม่มีการสูญเสียความร้อน
พบว่ า การเปลี่ ย นแปลงความดั น ในลู ก สู บ B เป็ น 1.5 เท่ า ของการเปลี่ ย นแปลงความดั น ในลู ก สู บ A
ความสัมพันธ์ระหว่าง mA กับ mB เป็นอย่าไร
1. 4mA = 9mB 2. 2mA = 3mA
3. 9mA = 4mB 4. 3mA = 2mB

ทฤษฏีจลน์ของแก๊ส
343. (มี.ค. 52) ข้อใดคือพลังงานจลน์ของแก๊สฮีเลียมในถังปิดปริมาตร 10 ลูกบาศก์เมตรที่อุณหภูมิ 300 เคล
วิน เมื่อแก๊ส มีความดันเกจเท่ากับ 3×105 ปาสกาลกําหนดให้ความดัน 1 บรรยากาศเท่ากับ 105 ปาสกาล
1. 3.0×106 จูล 2. 4.0×106 จูล 3. 4.5×106 จูล 4. 6.0×106 จูล

344. (ต.ค. 52)แก็สอุดมคติชนิดหนึ่งบรรจุอยู่ในภาชนะที่มีปริมาตรคงตัว ถ้าลดจํานวนโมเลกุลของแก็สลง


ครึ่งหนึ่ง โดย รักษาความดันให้มีค่าคงเดิมข้อใดไม่ถูก
1. อุณหภูมิของแก็สมีค่าเท่าเดิม
2. พลังงานภายในของแก็สมีค่าเท่าเดิม
3. vrms ตอนหลังมีค่ามากกว่า vrms ตอนแรก
4. พลังงานจลน์เฉลี่ยของแก็สตอนหลังเป็น 2 เท่าของตอนแรก
113

345. (มี.ค.53)บอลลูนบรรจุแก๊สไฮโดรเจนจํานวน n โมล ที่ความดัน P และปริมาตร V พลังงานจลน์เฉลี่ย


ของโมเลกุล ของแก๊สเป็นเท่าใด
1 3 3 PV 3 PV
1. PV 2. PV 3. 4.
2 2 2 n 2 nN

346. (ต.ค. 54) ภาชนะที่เหมือนกันสองใบ ใบหนึ่งบรรจุแก๊ส He อีกใบหนึ่งบรรจุแก๊ส Ne โดยมีมวลของแก๊ส


เท่ากัน และมีอุณหภูมิ 293 เคลวิน เท่ากัน ข้อใดกล่าวถึงพลังงานภายในของแก๊สทั้งสองได้ถูกต้อง
1. พลังงานภายในของแก๊สทัง้ สองเท่ากัน
2. พลังงานภายในของ Ne เป็น 5 เท่าของ He
3. พลังงานภายในของ Ne เป็น 0.5 เท่าของ He
4. พลังงานภายในของ Ne เป็น 0.2 เท่าของ He

347. (มี.ค.55)จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก.พลังงานภายในของแก๊สอุดมคติขึ้นกับอุณหภูมิเท่านั้น
ข.แรงที่กระทําต่อผนังของภาชนะที่บรรจุแก๊สอุดมคติเกิดจากการชนแบบยืดหยุ่นระหว่าง
โมเลกุลแก๊ส
ค. อัตราเร็ว อาร์เอ็มเอส มีค่าเท่ากับรากที่สองของกําลังสองของอัตราเร็วเฉลี่ย
มีข้อความที่ถูกกี่ข้อ
1. 0 2. 1
3. 2 4. 3
114

348. (ต.ค.55)ตารางแจกแจงอัตราเร็วของกลุ่มอะตอมแก๊สเฉื่อยชนิดหนึ่ง กําหนดให้ มวลของ 1 อะตอม


เท่ากับ m
อัตราเร็ว (m/s) จํานวนอะตอม
1.0 3
2.0 2
3.0 2
4.0 1
5.0 2
พลังงานจลน์เฉลี่ยต่อมวล 1 อะตอมอยู่ในช่วงใด
1. (2.0,3.0] 2. (3.0,4.0]
3. (4.0,5.0] 4. (5.0,6.0]

349. (มี.ค.57) แก๊สอุดมคติชนิดหนึ่งมี ความหนาแน่น 1.5 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร บรรจุในถังปริมาตร


44.8 ลิตร อุณหภูมิ 273 เคลวิน ความดัน 1x105 ปาสคาล จะมีอัตราเร็วอาร์เอมเอสเท่าใด (vrms)
1. 4.5 x102 2. 5.5 x103 3. 1.6 x104 4. 2.0 x105

350. (มี.ค.58) อัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลอากาศเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า พลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลอากาศจะ


เพิ่มขึ้นเป็นกี่เท่า
1. 2 เท่า 2. 2 เท่า 3. 4 เท่า 4. ไม่สามารถคํานวณได้
115

กฎเทอร์โมไดนามิก
351. (ก.ค. 52)แก๊สอุดมคติชนิดอะตอมเดี่ยวกําลังขยายตัวอย่างช้า ๆ ในกระบอกสูบ โดยมีความดันคงที่ P
ปริมาตร เปลี่ยนจาก V1 เป็น V2 และอุณหภูมิเปลี่ยนจาก T1 เป็น T2 แก๊สอุดมคตินี้ได้รับความรับ
พลังงานความ ร้อนเท่าใด
3 5
1. P V2  V1  2. P V2  V1 
2 2
3 5
3. R T2  T1  4. R T2  T1 
2 2

352. (ต.ค. 52)แก็สในกระบอกสูบได้รับความร้อน 300 จูล ทําให้ปริมาตรเปลี่ยนแปลงไป 5 10 3 ลูกบาศก์


เมตร ถ้าในกระบวนการนี้ระบบมีความดันคงตัว 2105 พาสคัล เครื่องหมายของ  U และ  W เป็น
อย่างไรตามลําดับ
1. บวก, บวก 2. บวก, ลบ 3. ลบ,บวก 4. ลบ,ลบ

353. (ต.ค.53)กระบอกสูบบรรจุแก๊สอุดมคติ จํานวน 5 โมล ถ้ากระบอกสูบได้รับความร้อน 2,493 จูล โดยไม่มี


งานใดๆ เกิดขึ้น อุณหภูมิของแก็สในกระบอกสูบจะเปลี่ยนไปอย่างไร
1. ลดลง 20 เคลวิน 2. ลดลง 40 เคลวิน
3. เพิ่มขึ้น 20 เคลวิน 4. เพิ่มขึ้น 40 เคลวิน

354. (มี.ค.53) กระบอกสูบบรรจุแก๊ส 2 โมล เมื่อลดอุณหภูมิลง 20 องศาเซลเซียส แก๊สจะคายความร้อน 150


จูล กระบอกสูบให้งานกี่จูล
116

355. (มี.ค.54) กระบอกสูบทําจากโลหะ ภายในบรรจุแก๊สอุดมคติและมีลูกสูบซึ่งไม่มีความเสียดทานกับผนัง


กระบอกสูบ ดังรูป เราสามารถให้ความร้อนแก่กระบอกสูบโดยรอบแล้วยังคงทําให้อุณหภูมิของแก๊สคงที่ได้
หรือไม่

1. ไม่ได้ เพราะจาก Q = mc∆T ถ้า Q ≠ 0 แล้ว ∆T ≠ 0


2. ไม่ได้ เพราะแก๊สไม่สามารถเปลี่ยนสถานะต่อไปได้อีกแล้ว
3. ได้ ถ้าพลังงานความร้อนทั้งหมดถูกเปลี่ยนเป็นงานในการขยายตัวของแก๊ส
4. ได้ ถ้าแก๊สสามารถเก็บพลังงานความร้อยในรูปของพลังงานภายในได้ทั้งหมด

356. (มี.ค.54)กระบอกสูบ บรรจุก๊าซในอุดมคติ 2/R โมลที่อุณหภูมิ 300 K ถ้าลูกสูบถูกอัดจนมีปริมาตรเป็น 1


ลิตร และมีความดันเป็น 2x105 N/m2 จงหางานที่กระทําโดยแก๊สในกระบอกสูบ กําหนดให้ไม่มีการถ่ายเท
ความร้อนระหว่างแก๊สและสิ่งแวดล้อม (R คือค่าคงตัวของแก๊ส = 8.31 J/mol.K)

357. (เม.ย.57)แก๊สอุดมคติจํานวน 3 โมล บรรจุอยู่ในภาชนะปิดใบหนึ่งโดยแก๊สมีอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส


ความดัน 1 บรรยากาศ ถ้าเพิ่มความดันเป็น 3 เท่า โดยที่ปริมาตรคงที่ อุณหภูมิของแก๊สภายในเป็นกี่องศา
เซลเซียส
1.300 2. 573 3. 846 4. 1119

358. (พ.ย.57)เมื่อให้ความร้อนกับระบบหนึ่ง 4,200 จูล ระบบจะทํางาน 1,650 จูล การเปลี่ยนแปลงพลังงาน


ภายในของระบบเพิ่มขึ้นหรือลดลงกี่จูล
1. ลดลง 5,850 จูล 2. ลดลง 2,550 จูล
3. เพิ่มขึ้น 2,550 จูล 4. เพิ่มขึ้น 5,850 จูล
117

359. (มี.ค.58)ลักษณะใดของภาชนะที่บรรจุแก๊สอุดมคติซึ่งแสดงว่าแก๊สทํางาน
1. ปริมาตรเพิ่มขึ้น 2. ปริมาตรลดลง
3. ปริมาตรเพิ่มขึ้นโดยปราศจากแรงภายนอก 4. ปริมาตรลดลงโดยปราศจากแรงภายนอก

360. (พ.ย.58) จากกฎการอนุรักษ์พลังงานสําหรับแก๊ส Q  U  W การเปิดขวดน้ําอัดลมอย่างรวดเร็ว


จะทําให้อากาศเหนือของเหลวในขวดมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะใด
U W
1. บวก บวก
2. บวก ลบ
3. ศูนย์ ลบ
4. ลบ ลบ
5. ลบ บวก
118

อะตอม และนิวเคลียร์
21. อะตอม
โฟโตอิเล็กทริกซ์
361. (มี.ค. 52) เมื่อฉายแสงความถี่ 5.48 x 1014 เฮิรตซ์ลงบนโลหะชนิดหนึ่ง ทําให้อิเล็กตรอนหลุดออกมาด้วย
พลังงานจลน์ สูงสุด 0.79 อิเล็กตรอนโวลต์ เมื่อฉายแสงที่มีความถี่ 7.39 x 1014 เฮิรตซ์ลงบนโลหะเดิม
พบว่ า อิ เ ล็ ก ตรอนที่ หลุ ด ออกมามี พ ลั ง งานจลน์ สู ง สุ ด 1.55 อิ เ ล็ ก ตรอนโวลต์ จากผลการทดลองนี้ จ ะ
ประมาณค่าคงตัวของพลังค์ได้ เท่าใด
1. 3.98 x 10-34 จูล.วินาที 2. 6.37 x 10-34 จูล.วินาที
3. 6.51 x 10-34 จูล.วินาที 4. 6.63 x 10-34 จูล.วินาที

362. (ก.ค. 52) เมื่อฉายแสงความถี่ 5x1014 เฮิรตซ์ลงบนโลหะชนิดหนึ่ง พบว่าอิเล็กตรอนที่หลุดออกมามี


พลังงานจลน์ สูงสุด 0.8 อิเล็กตรอนโวลต์ ถ้าฉายแสงที่มีความถี่ 1015 เฮิรตซ์ ลงบนโลหะเดิม อิเล็กตรอน
ที่หลุด ออกมาจะมีพลังงานจลน์สูงสุดกี่อิเล็กตรอนโวลต์
1. 1.3 2. 2.5 3. 2.9 4. 4.1

363. (ต.ค. 52) เงื่อนไขสําคัญที่สุดที่ทําให้เกิดกระแสไฟฟ้าโตอิเล็กตรอนในปรากฏการณ์ โฟโตอิเล็ก ทริกได้


คือข้อใด
1. ความถี่ของแสงสูงกว่าความถี่ขีดเริ่ม
2. ความยาวคลื่นของแสงมีค่าไม่เกินความยาวคลื่นของอิเล็กตรอน
3. ความเข้มแสงมีค่าไม่น้อยกว่าค่าค่าหนึ่ง ขึ้นกับชนิดของโลหะที่เป็นขัว้ ไฟฟ้า
4. ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างขั้วไฟฟ้ามีค่าสูงและทําให้แก็สแตกตัวเป็นไอออน
119

364. (มี.ค.53) ต้องฉายโฟตอนที่มีความถี่กี่เพตะเฮิรตซ์ (1015 Hz) ลงบนโลหะแบเรียม ซึ่งมีฟังก์ชั่นงานเท่ากับ


2.5 อิเล็กตรอนโวลต์ จึงจะทําให้อิเล็กตรอนที่เกิดจากปรากฏการณ์นี้ไปกระตุ้นอิเล็กตรอนในอะตอม
ไฮโดรเจนที่อยู่ในสถานพื้นให้เกิดเส้นสเปกตรัมทั้งหมด 3 เส้น กําหนดให้ค่าคงตัวของพลังก์เท่ากับ 4x10-15
อิเล็กตรอนโวลต์-วินาที

365. (ต.ค.53) เมื่อโฟตอนที่มีความถี่ 4x1015 เฮิรตซ์ ตกกระทบโลหะชนิดหนึ่ง ทําให้เกิดอิเล็กตรอนที่มีความ


ยาวคลื่นเดอบรอยล์ 0.4 นาโนเมตร โลหะชนิดนี้มีฟังก์ชั่นงานกี่อิเล็กตรอนโวลต์ กําหนดให้ h=4x10-15eV
และมวลอิเล็กตรอนเท่ากับ 0.5 MeV/c2

366. (มี.ค. 55) จากตัวเลือกต่อไปนี้


ก. โฟโตอิเล็กตรอนจะเกิดขึ้นเมื่อแสงมีความถี่สูงกว่าความถี่ขีดเริ่ม
ข. โฟโตอิเล็กตรอนจะมีจํานวนเพิ่มขึ้น เมื่อแสงมีความเข้มมากขึ้น
ค. โฟโตอิเล็กตรอน จะมีจํานวนเพิ่มขึ้น เมื่อแสงมีความถี่สูงขึ้น
ง. พลังงานจลน์สูงสุดของโฟโตอิเล็กตรอนขึ้นกับความเข้มแสง
มีกี่ข้อที่เป็นผลมากจากปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก
1. 1 2. 2 3. 3 4. 4

367. (มี. ค.56) ฉายแสงความถี่ 7.5x1014 เฮิ รตซ์ ตกกระทบโลหะชนิ ดหนึ่ ง ซึ่ ง มีฟั งก์ ชันงานเท่ ากั บ 2.28
อิเล็กตรอนโวลต์ ศักย์หยุดยั้งสําหรับโลหะชนิดนี้เท่ากับกี่โวลต์
1. 0.814 2. 2.28
3. 2.67 4. 5.37
120

368. (มี.ค.57) พลังงานจลน์ของโฟโตอิเล็กตรอนในปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก ไม่ขึ้นกับปัจจัยใด


1.ความต่างศักย์ระหว่างขั้วแคโทดกับแอโนด
2. ความถี่ของแสงที่ใช้
3. ชนิดของขั้วแคโทด
4. ชนิดของขั้วแอโนด

369. (เม.ย.57) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น (ในหน่วยนาโนเมตร) ในข้อใดต่อไปนี้ที่ทําให้เกิดโฟโต


อิเล็กตรอนที่มีพลังงานจลน์ต่ําที่สุด เมื่อฉายไปยังโลหะชนิดหนึ่งมีค่าฟังก์ชั่นงาน 4.8 อิเล็กตรอนโวลต์
1. 210 2. 240 3. 270 4. 300

370. (พ.ย.57) ในการทดลองปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก เมื่อเขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างศักย์หยุดยั้ง


( แกนตั้ง ) และส่วนกลับของความยาวคลื่นของแสงที่ฉาย ( แกนนอน ) จะได้กราฟเส้นตรง ข้อใดคือความ
ชันของกราฟเส้นตรงนี้
h e h hc
1. 2. 3. 4.
e h ce e

371. (พ.ย.57) ฉายแสงที่มีความยาวคลื่น 400 นาโนเมตร ลงบนโลหะ 3 ชนิด A , B และ C ที่มีค่าฟังก์ชั่น


งานเป็น 2.5eV , 3.9 eV และ 4.5eV ตามลําดับ โลหะชนิดใดที่เกิดโฟโตอิเล็กตรอนได้
1. A 2. A และ B
3. A , B และ C 4. ไม่เกิดทั้ง 3 ชนิด
121

372. (พ.ย.58) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความยาวคลื่น (หน่วยนาโนเมตร) ในข้อใดต่อไปนี้ที่ทําให้โฟโตอิเล็กตรอนมี


พลังงานจลน์น้อยที่สุด เมื่อฉายลงบนโลหะที่มีฟังก์ชั่นงาน 4.8 eV
1. 60 2. 120 3. 200 4. 250 5. 500

373. (มี.ค.59) เมื่อฉายแสงความถี่ 6.16 x1014 Hz ลงบนโลหะชนิดหนึ่ง พบว่าอิเล็กตรอนหลุดออกมามี


พลังงานจลน์ 5.6 x 10-20 J ความถี่ขีดเริ่มของโลหะชนิดนี้เป็นกี่เฮิร์ต
1. 5.31 x1014 2. 5.60 x1014 3. 6.16 x1014
4. 7.01 x1014 5. 11.76 x1014

รังสีเอกซ์ การทดลองของฟรังซ์กับเฮิรตซ์
374. (ต.ค. 52)รังสีเอกซ์ที่ให้สเปกตรัมเส้น เกิดจากกระบวนการในข้อใด
1. แก็สเฉื่อยภายในหลอดสุญญากาศมีการเปลี่ยนระดับพลังงาน
2. การเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเล็กตรอนชั้นในสุดของอะตอมที่เป็นเป้า
3. การเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเล็กตรอนชั้นนอกสุดของอะตอมที่เป็นเป้า
4. อิเล็กตรอนที่พุ่งเข้าชนเป้าถูกหน่วงหรือเร่ง

375. (ต.ค. 54)ในเครื่องกําเนิดรังสีเอกซ์ ถ้าเราเปลี่ยนความต่างศักย์ระหว่างขั้วไฟฟ้ากับเป้าโลหะ (V0) ความ


ยาวคลื่นต่ําสุดและความยาวคลื่นรังสีเอกซ์เฉพาะตัวที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร
ความยาวคลื่นต่ําสุด ความยาวคลื่นรังสีเอกซ์เฉพาะตัว
1. เพิ่มขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง
2. เพิ่มขึ้น เปลี่ยนแปลง
3. ลดลง ไม่เปลี่ยนแปลง
4. ลดลง เปลี่ยนแปลง
122

376. (ต.ค. 54). การทดลองของฟรังก์และเฮิรตซ์ ประกอบด้วยหลอดบรรจุไอปรอทความดันต่ํา ซึ่งมีแคโทด


เป็นตัวปล่อยอิเล็กตรอนและมีขั้วบวกสําหรับเร่งอิเล็กตรอน อิเล็กตรอนที่หลุดจากแคโทดจะเคลื่อนที่ผ่านไอ
ปรอทและอาจเกิดการถ่ายเทพลังงานให้กับไอปรอทจนกระทั่งเดินทางมาถึงขั้วไฟฟ้า เกิดเป็นกระแสไฟฟ้า
ไหลระหว่างแคโทดและขั้วไฟฟ้า กระแสไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กับความต่ างศักย์ระหว่างขั้วแคโทดและ
ขั้วไฟฟ้า ดังรูป

เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นในช่วงความต่างศักย์ 5.0 โวลต์ถึง 5.5 โวลต์


1. จํานวนอิเล็กตรอนจากแคโทดมีปริมาณลดลง
2. อิเล็กตรอนจากแคโทดสูญเสียพลังงานจลน์เกือบทั้งหมดที่มีให้แก่ไอปรอท
3. พลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนจากแคโทดถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานศักย์ไฟฟ้า เนื่องจากการเข้า
ชนกับไอปรอท
4. อิเล็กตรอนจากแคโทดมีพลังงานเพียงพอที่จะถูกไอปรอทจับไว้ ทําให้จํานวนอิเล็กตรอนที่ไป
ถึงขั้วไฟฟ้าบวก ลดลง

377. (มี.ค. 55)พิจารณาโปรตอนเป็นทรงกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางในระดับ 10-15 เมตร มีมวลในระดับ 10-27


กิโ ลกรั ม ถ้ าต้ องการเร่ง โปรตอนสองตัวในทิศทางตรงข้ามจากที่ระยะไกลมาก ๆ ให้เข้าชนกันใน ท่อ
สุญญากาศ ดังรูป ต้องการเร่งโปรตอนแต่ละตัวมีพลังงาน อย่างน้อยที่สุด ในระดับขนาดกี่ อิเล็กตรอนโวลต์
(ไม่ต้องคิดผลเนื่องจากทฤษฏีสัมพัทธภาพ )

1. 103 2. 106 3. 109 4. 1012


123

แบบจําลองอะตอมของโบร์
378. (ต.ค. 54) อิเล็กตรอนในอะตอมไฮโดรเจนเปลี่ยนระดับพลังงานจากชั้น n = 3 ไปชั้น n = 2 จะปล่อย
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานกี่อิเล็กตรอนโวลต์
1. 1.4 2. 1.7 3. 1.9 4. 2.3

379. (มี.ค. 55)สมการใดต่อไปนี้ ไม่ได้ใช้ในการคํานวณหารัศมีวงโคจรของอิเล็กตรอนของอะตอมไฮโดรเจน


ตามแบบจําลองของโบร์
mv 2 Gm1m2
1. F 2. F
r r2
kq1q2
3. F 2 4. mvr  n
r

380. (มี.ค.57) ทฤษฏีอะตอมของโบร์มีความไม่สมบูรณ์ อันเนื่องจากประเด็นใดเป็นหลัก


1. เหตุใดพลังงานของอิเล็กตรอนจึงติดลบ
2. เหตุใดโปรตอนหลายตัวจึงสามารถอยู่รวมกันในนิวเคลียสได้
3. เหตุใดไม่รวมแรงดึงดูดระหว่างมวลของอิเล็กตรอนและโปรตอนในการพิสูจน์
4. เหตุใดอิเล็กตรอนที่โคจรเป็นวงกลมรอบนิวเคลียส มีแอลฟาแต่ไม่ปลดปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

381. (มี.ค.58)จากทฤษฏีอะตอมของโบร์ เหตุใดอิเล็กตรอนจึงสามารถเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสไฮโดรเจนโดย


ไม่มีการปลดปล่อยพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา
1. อิเล็กตรอนเคลื่อนที่เป็นวงกลม
2. อิเล็กตรอนประพฤติตัวเป็นคลื่นนิ่ง
3. อิเล็กตรอนมีขนาดโมเมนตัมเชิงมุมคงที่
4. อิเล็กตรอนถูกนิวเคลียสไฮโดรเจนดูดด้วยแรงคงที่
124

382. (มี.ค.58)อิเล็กตรอนกําลังโคจรเป็นวงกลมรอบนิวเคลียสฮีเลียมที่มีรัศมี 0.5 อังสตอม อัตราเร็วของ


อิเล็กตรอนนี้เป็นกี่เมตร/วินาที (กําหนด k  9 109 N .m2C 2 และมวลอิเล็กตรอนเท่ากับ 9.1 1031 kg )
1. 3104 2. 3105
3. 3106 4. 3107

383. (มี.ค.58)เส้นสเปกตรัมของอะตอมไฮโดรเจน มีความยาวคลื่นสูงสุดที่ 1,875 nm จะมีพลังงานต่ําสุดที่


13.6
n เท่ากับเท่าใด (ระดับพลังงานของไฮโดรเจนเท่ากับ eV )
n2
1. 1 2. 2 3. 3 4. 4

ความยาวคลื่นเดอร์บรอยล์
384. (มี.ค.54) ความยาวคลื่นเดอบรอยล์ของอิเล็กตรอนในอะตอมไฮโดรเจนที่ระดับพลังงาน n = 4 เป็นกี่เท่า
ของที่ระดับ พลังงาน n = 2
1. 1 2. 2 3. 4 4. 8
2

385. (ต.ค. 55) จะใช้โฟตอนที่มีพลังงาน 5 x 10-19 จูล ศึกษารายละเอียดของวัตถุที่มีขนาดเล็กที่สุดเท่าใด


1. 396 nm 2. 1.98 nm 3. 1.32 nm 4. 0.44 nm
125

386. (พ.ย.58) อนุภาค 2 ชนิด ที่มีมวล m1 และ m2 ต่างก็มีพลังงานจลน์เท่ากัน อัตราส่วนของความยาว


1
คลื่นเดอบรอยล์ เป็นเท่าใด
2
m1 m2
1. 1 2. 3.
m2 m1
m1 m2
4. 5.
m2 m1

387. (มี.ค.59) อิเล็กตรอนมีพลังงาน 1 eV จะมีความยาวคลื่นประมาณกี่นาโนเมตร


1. 0.12 2. 1.2 3. 12
4. 120 5. 1200

22.นิวเคลียร์
ครึ่งชีวิต
388. (มี.ค. 52 )ธาตุกัมมันตรังสีชนิดหนึ่งมีจํานวนนิวเคลียสเริ่มต้นเท่ากับ N เมื่อเวลาผ่านไปครึ่งหนึ่งของครึ่ง
ชีวิต จะมี จํานวนนิวเคลียสเหลืออยู่เท่าใด
N0 N0 3N 0 7 N0
1. 2. 3. 4.
4 2 4 8
126

389. (ก.ค. 52) สารกัมมันตรังสีชนิดหนึ่งมีจํานวนนิวเคลียสเริ่มต้นเท่ากับ N0 มีค่าครึ่งชีวิตเท่ากับ T1/2 เมื่อ


3N 0
เวลาผ่านไปนาน เท่าใดสารนี้จึงจะสลายตัวไป
4
T1/2 3T1/2
1. 2.
4 4
T ln  3 / 4 
3. 2T1/2 4.  1/2
ln 2

390. (มี.ค.53)สารกัมมันตรังสีชนิดหนึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสารกับเวลาดังรูป

ถ้าโรงพยาบาลแห่งหนึง่ ต้องการใช้สารนี้จํานวน 10 กรัม จะต้องให้ห้องปฏิบัติการนิวเคลียร์สงั เคราะห์สาร


นี้ปริมาณกี่กรัมจึงจะพอดีใช้ ถ้าการขนส่งจากห้องปฏิบตั ิการไปยังโรงพยาบาลแห่งนีต้ ้องใช้เวลา 1 วัน
1. 40 2. 80 3. 120 4. 160

391. (ต.ค. 54) วัตถุก้อนหนึ่งประกอบด้วยยูเรเนียม 238 บริสุทธิ์ เท่านั้น ก้อนดังกล่าวมีมวลเริ่มต้น 10 กรัม


เมื่อเวลาผ่านไปสองเท่าของค่าครึ่งชีวิต มวลของก้อนวัตถุดังกล่าวเป็นเท่าใด
1. ศูนย์ 2. น้อยกว่า 2.5 กรัม
3. 2.5 กรัม 4. มากกว่า 2.5 กรัม

392. (ก.ค. 53)ธาตุกัมมันตรังสี A สลายตัวเป็นธาตุ B ซึ่งเสถียรโดยมีครึ่งชีวิตเป็น T จะต้องใช้เวลานานเท่าใด


ธาตุ B จึงจะมีจํานวนเป็น 2 เท่าของธาตุ A
ln 3
1. T 2. T 3. T ln  3 / 2  4. T ln 2
ln 2
127

393. (ต.ค. 55)ธาตุกัมมันตรังสี A สลายตัวเป็น B ถ้าปริมาณ 7/8 ของ A สลายตัวไปในเวลา 15 นาที ค่า
ครึ่งชีวิตของ A เป็นกี่นาที
1. 3.75 2. 5 3. 7 4. 10

394. (มี.ค.57) สารกัมมันตรังสีชนิดหนึ่ง ปลดปล่อยรังสีที่อัตรา 2000 ครั้งต่อนาที เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี อัตรา


ลดลงเหลือ 1800 ครัง้ ต่อนาที สารนี้ มีครึ่งชีวิตประมาณกี่ปี
1. 0.1 2. 0.7 3. 5.0 4. 6.7

395. (เม.ย.57) สารกัมมันตรังสีชนิดหนึ่งมีค่าครึ่งชีวิต 100 วินาที ถ้าเริ่มต้นมีสารชนิดนี้จํานวน 100 กรัม เมื่อ


เวลาผ่านไป 250 วินาที จะเหลือสารชนิดนี้ประมาณกี่กรัม
1.23.5 2. 19.8 3. 17.7 4. 14.3

396. (พ.ย.57)ในบริเวณหนึ่งพบว่าวัดกัมมันตภาพในช่วง 15 วัน ได้ดังตาราง เพื่อความปลอดภัย จะต้องรอให้


มีกัมมันตภาพไม่เกิน 120 เบ็กเคอเรล จึงจะเข้าไปสํารวจบริเวณดังกล่าวได้ อยากทราบว่าจะต้องรอให้
ผ่านไปอย่างน้อยที่สุดกี่วัน
วันที่ 0 2 5 10 15
กัมมันตภาพ (Bq) 1000 795 560 317 178

1.17 2. 19 3. 21 4. 23
128

อุปมา-อุปไมย การทอดลูกเต๋า กับการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี


397. (ต.ค. 52) ลูกเต๋าพิเศษมี 14 หน้า แต่ละหน้ามีหมายเลข 1 ถึง 14 เขียนไว้ เริ่มต้นโยนลูกเต๋านี้ จํานวน
1,000 ลูก พร้อมกัน และคัดลูกที่ออกเลข 1 ออกไป แล้วนําลูกเต๋าที่เหลือมาโยนใหม่ และคัดออกโดยใช้
เกณฑ์เดิม ค่าครึ่งชีวิตของลูกเต๋าจะมีค่าเท่าใด
ln 2 ln 2
1. 13 ln2 2. 14 ln2 3. 4.
14 13

398. (ต.ค.53) หากเปรียบเทียบการทอดลูกเต๋ากับการสลายของนิวเคลียสกัมมันตรังสี เมื่อเขียนกราฟ


ความสัมพันธ์ระหว่าง ค่าคงตัวการสลาย (แกนตั้ง) กับจํานวนหน้าที่แต้มสีของลูกเต๋า(แกนนอน) เป็นดังข้อ
ใด
1. เป็นกราฟเส้นตรงที่มีความชันเป็นลบ
2. เป็นกราฟเส้นตรงที่มีความชันเป็นบวก
3. เป็นกราฟเอกซ์โปเนนเชียลที่มีความชันเป็นลบ
4. เป็นกราฟเอกซ์โปเนนเชียลที่มีความชันเป็นบวก

399. (มี.ค.54) ลูกเต๋าชุด A มี 6 หน้า แต้มสีไว้เพียง 1 หน้า มีทั้งหมด 600 ลูก ลูกเต๋าชุด B มี 6 หน้า แต้มสีไว้
2 หน้า ใน การทดลองแต่ละครั้งจะหยิบลูกเต๋าที่ขึ้นหน้าที่แต้มสีออก สําหรับการทอดลูกเต๋าครั้งแรก ถ้า
ต้องการให้ จํานวนลูกเต๋าที่ถูกหยิบออกจากทั้งสองชุดเท่ากัน จะต้องใช้ลูกเต๋า B กี่ลกู
1. 150 2. 300 3. 750 4. 1200

การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี
400. (ต.ค. 54)อนุภาค X ในปฏิกิรยิ านิวเคลียร์ n  235
92U  56 Ba  36 Kr  X
141 92
คือ อนุภาคอะไร
1. 13 H 2. 10 e 3 อนุภาค
3. 11H 3 อนุภาค 4. n 3 อนุภาค
129

401. (มี.ค. 55) ถ้าต้องการคํานวณหาค่ากัมมันตภาพของธาตุกัมมันตรังสีชนิดหนึ่ง เราจะต้องใช้กี่ปริมาณจาก


ตัวเลือกที่กําหนดให้ต่อไปนี้
ก. ค่าคงตัวการสลาย
ข. เวลาที่ผ่านไปนับตั้งแต่เริ่มพิจารณา
ค. ชนิดของกัมมันรังสีที่ปลดปล่อยออกมา
ง. จํานวนนิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ ณ ขณะนั้น
1. 1 2. 2 3. 3 4. 4

402. (ต.ค. 55). ข้อใดแสดงปฏิกิริยาการสลายตัวของ 40


19 K เป็น 40
Ca
20 ได้ถูกต้อง
1. 1940 K  2040Ca  n
2. 1940 K  2040Ca  
3. 1940 K  2040Ca  e  + อนุภาคที่ตรวจไม่พบ
4. 1940 K  2040Ca  e  + อนุภาคที่ตรวจไม่พบ

403. (มี.ค. 55)ข้อใดถูกเกี่ยวกับการสลายตัวของยูเรเนียม – 238


1. พลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนลดลง
2. พลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนไม่เปลี่ยนแปลง
3. พลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนเพิ่มขึ้น
4. พลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนเปลี่ยนแปลง แต่อาจลดลงหรือเพิ่มขึ้นก็ได้

404. (มี.ค.56) นิวเคลียสของฮีเลียมประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาค และนิวตรอน 2 อนุภาค ถ้าให้ mHe ,


mp และ mn แทนมวลของนิวเคลียสฮีเลียม มวลโปรตอน และมวลนิวตรอน ตามลําดับ ข้อใดถูก
1. mHe  2m p  2mn
2. mHe  2m p  2mn
3. mHe  2m p  2mn
4. mHe  2m p  2mn  2me เมื่อ me คือมวลของอิเล็กตรอน
130

พลังงานยึดเหนี่ยว พลังงานนิวเคลียร์
405. (มี.ค. 52) ถ้าต้องการให้หลอดไฟขนาด 100 วัตต์ 1 ดวงสว่างเป็นเวลา 1 วันโดยใช้พลังงานจากปฏิกิริยา
ฟิชชัน โดยที่ การเกิดฟิชชันแต่ละครั้งให้พลังงาน 200 เมกะอิเล็กตรอนโวลต์และประสิทธิภาพในการ
เปลี่ยนพลังงาน นิวเคลียร์เป็นพลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 30% จะต้องใช้ยูเรเนียม-235 กี่มิลลิกรัม
1. 0.038 2. 0.096 3. 0.11 4. 0.35

406. (ก.ค. 52)จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน 12 H  13H  X  n


กําหนดให้ มวลของ p = 1.0078 u
มวลของ n = 1.0087 u
มวลของ α = 4.0026 u
มวลของ 2
1H = 2.0141 u
มวลของ 3
1H = 3.0160 u
มวลของ 5
2 He = 5.0123 u
และ 1u = 930 MeV/c2
จงพิจารณาว่า X ในปฏิกิริยานี้คืออะไร และมีการปลดปล่อยพลังงานจํานวนเท่าใด
1. α และ 1.94  10-16 MeV
2. α และ 17.5 MeV
3. 25 He และ 1.02  10-14 MeV
4. 25 He และ 922 MeV
131

407. (มี.ค.54)พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากการสลายให้รังสีบีตาของ 146C มีค่ากี่เมกะอิเล็กตรอนโวลต์


มวลอะตอมของไอโซโทปต่าง ๆ
11 12 13 14
C (11.011433u ) C (12.000000u ) C (13.003355u ) C (14.003242u )
13 14 15
N (13.005739u ) N (14.003074u ) C (17.999159u )
15 16 18
O(15.003065u ) O(15.994915u ) O(17.999159u )

มวลอิเล็กตรอน 0.000549u
กําหนดให้ 1u = 930 MeV/c2

408. (มี.ค.57) จากข้อมูลต่อไปนี้


ธาตุ/อนุภาค มวล (u)
ไฮโดรเจน 1.007825
ฮีเลียม-4 4.002604
นิวตรอน 1.008665
โปรตอน 1.007276
พลังงานยึดเหนี่ยวของนิวเคลียสของ 24 He ในหน่วย MeV เป็นเท่าใด กําหนดให้มวล 1u เทียบเท่ากับพลังงาน
931 MeV
1. 6.8 2. 7.1 3. 27.3 4. 28.31
132

409. (มี.ค. 58 )ปรากฏการณ์นิวเคลียร์ฟิวชันที่สร้างโดยมนุษย์ ซึ่งต้องการหลอมรวมดิวทริเรียม และทริเทียม


ให้กลายเป็นนิวเคลียสของฮีเลียมและนิวตรอน พลังงานต่อปฏิกิริยาจะมีค่าประมาณเท่าใดในหน่วย MeV
กําหนดให้ 1u = 931.5 MeV/c2
อนุภาค 1
1H
2
1H
3
1H
3
2 He
4
2 He
1
0n

มวลอะตอม (u) 1.007825 2.014102 3.016049 3.016029 4.002603 1.008665

1. 0.0189 2. 17.6 3. 937 4. 1,853

410. (พ.ย.58) ปฏิกริ ิยานิวเคลียร์ 115 B  11H  3  24 He  เป็นปฏิกิริยาดูดหรือคายพลังงาน กี่เมกะ


อิเล็กตรอนโวลต์
กําหนดให้ m  115B   11.009305u
m  11B   1.007825u
m  24 B   4.00260u
และ 1u  931.5MeV / c 2
1. คายพลังงาน 0.009 2. ดูดพลังงาน 0.009
3. คายพลังงาน 8.7 4. ดูดพลังงาน 8.7
5. คายพลังงาน 7465.5

You might also like