Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 3

นางสาว สิริอารยา บารมี

รหัส 65140182 สาขา นิติศาสตร์บัณฑิต

“กฎหมาย”สร้างความยุติธรรมได้จริงหรือไม่
“ ความยุติธรรม” คือการยุติปัญหาหรือการยุติความขัดแย้งเป็นการนำกฎหมาย การปกครอง
และอำนาจอธิปไตยอันเป็นสิทธิและหน้าที่ของประชาชนเข้ามาพิจารณาและประมวลผลเพื่อหา
ข้อยุติปัญหาและความขัดแย้งอันก่อให้เกิดความเป็นธรรมหรือมีความสมดุลทางผลประโยชน์
และผลของโทษ เช่น การลงโทษผู้กระทำผิดให้สมดุลกับมูลค่าความเสียหายที่กระทำไว้ ไม่ว่าจะเป็น ต่อ
ชีวิตหรือทรัพย์สินของผู้อื่น เป็นดั่งตาชั่งคานที่ต้องมีความนิ่ง ไม่แกว่งและต้องสมดุล ไม่เอนเอียง
ถ้าหากให้กล่าวถึง “ กฎหมาย “ สิ่งที่ถูกคาดหวังตามมาคือ “ความยุติธรรม “ แล้วสิ่งที่จะ
สามารถตัดสินได้ว่าสิ่งนั้นถูกตัดสินได้อย่างยุติธรรมหรือไม่สังเกตจากสิ่งใด
กฎหมายบ้านเมือง ให้แนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายและความยุติธรรมไว้ว่า กฎหมายเกิดจากอำนาจ
รัฐหรือมันอาจจะเป็นกฎหมายที่มีลักษณะเป็นกฎหมายประเพณี การประพฤติปฏิบัติ สม่ำเสมอมานาน
จนมนุษย์สำนึกคิดว่าถูกต้อง ต้องปฏิบัติตาม กฎหมายลักษณะนี้จึงขึ้นอยู่กับการบัญญัติและการยอมรับ
ของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านการใช้ของตุลาการหรือศาล ดังนั้นกฎหมายจึงไม่มีความเกี่ยวพันอะไรเลย
กับความยุติธรรม เมื่อมันเป็นกฎหมายแล้วจะยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม จะไม่เกิดจากความรู้สึกของบุคคล
ใดทั้งสิ้น แต่กฎหมายบ้านเมืองก็ไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาไม่เห็นด้วยว่า ก่อนที่จะบัญญัติกฎหมายจะไม่ต้อง
คำนึงถึงความยุติธรรม นักคิดฝ่ายกฎหมายบ้านเมืองมองว่าก่อนที่จะบัญญัติให้เป็นกฎหมายทุกคนต้อง
ถกเถียงกันได้ว่าการที่จะบัญญัติกฎหมายขึ้นแบบนี้ถกู ต้องและเป็นธรรมหรือไม่แต่เมื่อมีการบัญญัติแล้ว
การมองประเด็นความยุติธรรมหมดไป เหลือแต่ตัวกฎหมายที่ทุกคนต้องปฏิบัตติ ามกฎเกณฑ์ที่กำหนด
ขึ้นมา เพราะจะทำให้เกิดความไม่มั่นคง ไม่แน่นอนต่อสิทธิหน้าที่ของบุคคล
กฎหมายธรรมชาติ มีมุมมองด้านกฎหมายและความยุติธรรมไว้ว่า กฎหมายที่แท้จริงต้องสัมพันธ์
กับความรู้สึกเรื่องความยุติธรรม กฎหมายที่แท้จริงดำรงอยู่ในธรรมชาติ และมันเป็นสิ่งที่สูงส่งกว่าเกณฑ์
ที่มนุษย์บัญญัติขึ้นด้วย และถ้ามนุษย์ไปบัญญัติกฎหมายขึ้นขัดกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติ กฎหมายที่มนุษย์
บัญญัติขึ้นจะถือว่าไม่เป็นกฎหมาย ความคิดดังนี้สะท้อนให้เห็นถึงความยุติธรรมของมนุษย์เพราะ
มันสอดคล้องกับสำนึกคิดของมนุษย์ ในบางกรณีมันมันอาจช่วยขัดเกลาความแข็งกระด้างของกฎหมาย
ที่มนุษย์บัญญัติขึ้น แต่ในอีกกรณีเราก็ไม่สามารถบอกได้อย่างแน่นอนว่าเนื้อหาของกฎหมายนี้เป็นสิ่ง
ที่ถูกต้องหรือสิ่งที่ขดั ต่อธรรมชาตินั่นเอง
นางสาว สิริอารยา บารมี
รหัส 65140182 สาขา นิติศาสตร์บัณฑิต

แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายธรรมชาติก็เป็นกลุ่มสร้างหลักเกณฑ์ที่ภายหลังเข้ามาอยู่ในระบบ
ของกฎหมายบ้านเมืองที่สะท้อนถึงความยุติธรรม เช่น ความคิดเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความคิด
เรื่องความเสมอภาค
เวลาใช้กฎหมาย นักกฎหมายส่วนใหญ่ต้องตัดสินคดีความตามทางกฎหมาย ไม่สามารถนำ
ความยุติธรรมไปแทนที่ตัวบท เพราะมันจะมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นตลอดเวลาในการตัดสินคดี เช่น
ถ้าหากในอดีตกฎหมายนั้นถูกเขียนขึ้นมาโดยไม่ยุติธรรม โดยที่คนเขียนกฎหมายก็รู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่า
ในอนาคตกฎหมายนี้จะไม่ยุติธรรม เช่นนี้ในปัจจุบันเขาจะตัดสินตามกฎเกณฑ์นั้นหรือจะเอาความ
ยุติธรรมแทนที่กฎหมาย ดังนั้นความยุติธรรมกับกฎหมายนั้นจึงถูกแยกออกจากกันเมื่อต้องตัดสินคดี
ความต่างๆ
และตัวของกฎหมายเองไม่ได้บอกว่ามันยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม มันถูกเขียนขึ้นมากลางๆ ขึ้นอยู่
กับการปรับใช้ของแต่ละเหตุการณ์ ถ้าหากใช้กฎหมายไปตามความรู้สึกนึกคิดโดยไม่สนใจความยุติธรรม
แต่ละคดีก็อาจจะถูกวินิจฉัยและตัดสินต่างกัน
ดังนั้น “กฎหมาย” สร้างความยุติธรรมได้จริงหรือไม่ กฎหมายไม่ได้เป็นตัววัดว่าถูกบัญญัติขึ้น
มาแล้วจะเกิดความยุติธรรมสำหรับทุกคนดังที่ยกแนวคิดกฎหมายบ้านเมืองข้างต้น เพราะกฎหมายเกิด
จากอำนาจรัฐแต่สามารถออกความเห็นได้ว่ามันก่อให้เกิดความเท่าเทียมหรือมีความยุติธรรมหรือไม่ ทำ
ให้คนบางกลุ่มอาจเห็นแย้งต่อข้อกฎหมายที่ถูกบัญญัติขึ้น เพราะกฎหมายบ้านเมืองถูกบัญญัติขึ้นเพื่อ
ความผาสุขและเป็นการจัดระเบียบคนในสัมคมอย่างแท้จริง
แต่กฎหมายธรรมชาติมีแนวคิดในด้านความเป็นมนุษย์และเอนเอียงเกี่ยวกับความยุติธรรม
ค่อนข้างสูง กฎหมายธรรมชาติจงึ เป็นข้อกฎหมายที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อกังขาในการเรียกร้องหา
ความยุติธรรมได้อย่างดีเนื่องจากเป็นสิ่งที่ถูกคิดจากธรรมชาติของมนุษย์
คำว่ายุติธรรมของแต่ละคนมีหลากหลายมุมมอง แต่กฎหมายส่วนใหญ่จะทำให้ผู้ที่กระทำ
ความผิดได้รับการลงโทษทางกฎหมายที่สมดุลย์กับสิ่งที่ได้กระทำความผิดไป ไม่ว่าจะทางทรัพย์สิน
ชีวิตและจะวินิจฉัยต่อไปตามความผิดเพื่อให้เกิดความยุติธรรมต่อผู้ที่โดนกระทำมากที่สุดเพราะกฎหมาย
ถูกสร้างขึ้นเพื่อสนองความสงบสุขของสังคมและความเท่าเทียม
นางสาว สิริอารยา บารมี
รหัส 65140182 สาขา นิติศาสตร์บัณฑิต

หากนิยามของคำว่ายุติธรรมของแต่ละคนมีมุมมองตรงข้อกฎหมายที่ถูกบัญญัติขนึ้ ก็จะก่อให้เกิด
ความยุติธรรม แต่ถ้าหากมีมุมมองที่ต่างกับข้อกฎหมายที่ถูกบัญญัติขึ้น กฎหมายก็จะไม่เกิดความ
ยุติธรรมต่อบุคคลนั้น

You might also like