Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 16

Page 1 of 16

6 ทักษะสำหรับ PROJECT MANAGER ขั้นเทพ

และแล้ว PMBOK หรือ Project Management Body Of Knowledge ก็ได้


เดินทางมาถึง Edition ที่ 6th Edition ที่
ได้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการสาหรับคนที่จะ
สอบ PMP หลังจาก วันที่ 26 มีนาคม 2561
เป็นต้นไป โดย PMBOK 6th Edition มีจุด
เปลี่ยนแปลงที่พัฒนาจาก PMBOK 5th
Edition ในหลายประเด็น เช่น จานวน
Process ทัง
้ หมด เพิ่ มจากเดิม 47
Processes เป็น 49 Processes และมีการ
เปลี่ยนชื่อองค์ความรู้บางส่วน เช่น เปลี่ยนจาก Time Management เป็น Schedule
Management รวมถึงมีการเพิ่ มเทคนิคการบริหารโครงการแบบ Agile เข้ามาใน PMBOK
6th Edition นี้ด้วย เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการปรับปรุงที่ดี เพื่ อให้รองรับกับสภาพโครงการใน
ปัจจุบันที่เน้นเรื่องการส่งมอบผลงานให้ลูกค้าอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และปรับตัวอย่าง
รวดเร็ว ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ PMBOK 6th Edition ยังเน้นย้า
บทบาทหน้าที่ของ Project Manager มากขึ้น โดยแยกเรื่องบทบาทหน้าที่ของ Project
Manager ออกมาเป็นอีกหนึ่ง Chapter ก่อนเข้าสู่องค์ความรู้ทั้ง 10 องค์ความรู้ บทความนี้
จะขออธิบายจุดที่เปลี่ยนแปลงไป จาก PMBOK 5th Edition สู่ PMBOK 6th Edition ดังนี้

่ ง ทำนำยอนำคต และป้องกันปัญหำก่อนจะเกิดขึ้นได้
1. สำมำรถประเมินควำมเสีย
Project Manager (Proactive) Project Manager

2. เข้ำใจ Outcome ของโครงกำรอย่ำงชัดเจน และวัดผล Outcome ได้อย่ำงเป็น


รูปธรรม
ความแตกต่างสาคัญอีกประการหนึ่ง ระหว่าง Project Manager มือใหม่กับ Project
Manager ขั้นเทพนั้น ก็คือ การให้ความสาคัญระหว่าง Output กับ Outcome ของ
โครงการ โดยทั่วไป Project Manager มือใหม่ จะสนใจสิ่งที่ตนเองต้องส่งมอบตาม
Requirement หรือ Output นั่นเอง โดยมุ่งเน้นให้สามารถส่งมอบได้ ตาม Scope, Time,
Cost, Quality ที่กาหนด แต่สาหรับ Project Manager ขั้นเทพนั้น เขาจะไม่เพี ยงแค่ส่ง
มอบ Output เท่านั้น แต่เขายังต้องการที่จะส่งมอบ Outcome หรือประโยชน์ของโครงการ
่ ที่ได้จากโครงการนี้ มีประโยชน์อะไรกับองค์กร เขาจะ
ให้กับองค์กรด้วย เขาจะตั้งคาถามว่า สิง
ทาความเข้าใจ Outcome ที่องค์กรคาดหวังจากสิ่งส่งมอบในโครงการของเขา ทาความเข้า
Page 2 of 16

ใจความคาดหวังของผู้บริหารให้ชัดเจน และพยายามกาหนด Outcome ของโครงการให้


ชัดเจน ตั้งแต่เริ่มโครงการ รวมถึง กาหนดตัวชี้วัด Outcome ให้ชัดเจน วัดผลได้เป็น
รูปธรรม เพราะเขาเข้าใจดีว่า โครงการที่ส่งมอบเพี ยง Output แต่ไม่สามารถส่งมอบ
่ ้มเหลว
Outcome ได้นั้น ถือเป็นโครงการทีล

3. เข้ำใจควำมต้องกำร และระดับอำนำจของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนในโครงกำร


ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือที่เรียกกันว่า Stakeholders นัน
้ หมายถึง คน กลุ่มคนหรือ
องค์กร ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ หรือมีความสามารถในการสร้างผลกระทบให้กับ
โครงการได้ และ Stakeholders เหล่านี้ ที่จะเป็นผู้กาหนดความต้องการของโครงการ การ
มองข้ามความต้องการของ Stakeholder คนสาคัญ หรือการไม่เข้าใจความต้องการของ
Stakeholder จะนาไปสู่ปัญหาในโครงการอย่างมากมาย เช่น ขอบเขตของโครงการถูก
เปลี่ยนแปลงอย่างไม่มท ี่ ิ้นสุด หรือสิ่งส่งมอบของโครงการไม่ได้รับการยอมรับจาก
ี ส
Stakeholder คนสาคัญ และท้ายที่สุด ก็ส่งผลให้โครงการล้มเหลว และสาหรับ Project
Manager ขั้นเทพนั้น จะต้องมีความสามารถในการสื่อสารกับ Stakeholder ทุกคน เพื่ อ
ค้นหาความต้องการของเขาเหล่านั้น ตั้งแต่เริ่มโครงการ ทั้งความต้องการที่ถูกเขียนเป็น
เอกสารออกมาอย่างชัดเจน และความต้องการที่เป็นสิ่งปรารถนาของ Stakeholder ที่ไม่ได้
ถูกบันทึกเป็นเอกสารชัดเจน ทักษะดังกล่าว Project Manager ขั้นเทพ จาเป็นต้องมอง
โครงการ จากมุมมองของ Stakeholder แต่ละคน เพื่ อให้สามารถคาดเดาความต้องการ
ต่างๆได้ รวมถึงยังต้องมีความสามารถในการ บริหารความขัดแย้ง เมื่อความต้องการของ
Stakeholder คนสาคัญหลายๆคน เกิดความขัดแย้งกัน เพื่ อให้สามารถ กาหนดความ
ต้องการของโครงการให้เป็นที่เห็นชอบและได้รับการสนับสนุนจาก Stakeholder คนสาคัญ
เพื่ อให้มั่นใจว่า สิง
่ ส่งมอบของโครงการจะได้รับการยอมรับ และโครงการจะประสบความสาเร็จ

4. สำมำรถบริหำรกำรเปลี่ยนแปลงในโครงกำรได้ดี
ทุกๆโครงการมักจะประสบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงใน
โครงการ มาจากหลายปัจจัย เช่น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เปลี่ยนแปลงความต้องการในโครงการ
หรือเกิดปัญหาที่ไม่ได้วางแผนรองรับไว้ก่อน เป็นต้นการเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลกระทบต่อ
Scope, Time, Cost, Quality ของโครงการ และบางครั้ง รุนแรงถึงขั้นส่งผลต่อ
Outcome ของโครงการเลยก็เป็นได้ Project Manager ขั้นเทพนั้น นอกจากจะสามารถ
ป้องกันไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่จาเป็นแล้ว ยังต้องมีทก
ั ษะในการบริหารการ
เปลี่ยนแปลงต่างๆในโครงการ เช่น การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง การเสนอขอ
อนุมัติการเปลี่ยนแปลง การปรับแผนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง การสื่อสารแผน
โครงการใหม่ที่ปรับให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และการดาเนินการตามการเปลี่ยนแปลง
Page 3 of 16

ที่ได้รับอนุมต
ั ิแล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่มีรายละเอียดและขั้นตอนมาก อีกทั้งยังต้องอาศัย
่ ป
Project Manager ทีม ี ระสบการณ์ เพื่ อทาการประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง เพื่ อ
บริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ให้ถูกควบคุม และดาเนินการอย่างเป็นระบบ

5. เชี่ยวชำญกำรสร้ำงแรงจูงใจ และพั ฒนำทีมงำน


ทักษะข้อนี้ คงไม่ต้องอธิบายว่ามีความสาคัญอย่างไร โครงการทุกโครงการต้องอาศัย
ทีมงานในการดาเนินการ ปฏิบัติการดังนั้น Project Manager ที่มป
ี ระสบการณ์จะต้องมี
ทักษะในการพั ฒนาทีมงาน สร้างแรงจูงใจให้ทีมงาน สร้างทีมเวิร์คที่ดีในการทางาน มอบหมาย
งานให้เหมาะกับทักษะของแต่ละบุคคล สร้างเป้าหมายร่วมกันของทีมงาน บนพื้ นฐานของความ
เข้าใจเป้าหมายส่วนตัวของแต่ละคนในทีมงาน เข้าใจและรับฟังความคิดเห็นของ
ทีมงาน บริหารความขัดแย้งได้ดีและมีสานึกรับผิดชอบ (Sense of Accountability) ต่อผล
การทางานของทุกคนในทีมงาน ทั้งผลด้านดีและผลด้านร้าย สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่แสดงออกถึง
ภาวะผู้นาของ Project Manager ขั้นเทพ ที่สามารถรวมพลังของทุกคนในทีม มาเป็นพลัง
ของทีมงานในโครงการได้

6.สื่อสำรอย่ำงมีประสิทธิภำพ และนำเสนอจูงใจคน
ทักษะข้อนี้ เป็นทักษะที่ Project
Manager ทัง
้ มือใหม่และขัน
้ เทพต้องใช้อยู่
่ งด้วยงานหลักของ Project
บ่อยครั้ง เนือ
่ สารกับทีมงาน และผู้มี
Manager นั้น คือการสือ
ส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ เพื่ อให้โครงการ
ประสบความสาเร็จ ทักษะการสื่อสารจะถูกนาไปใช้
ในหลายๆจุดประสงค์ เช่น การสร้างความเชื่อมั่น
่ ท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การจูงใจ
ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การค้นหาความต้องการทีแ
ทีมงาน การสอนงาน การนาเสนอผลงาน การค้นหาความจริงต่างๆเพื่ อการตัดสินใจ การ
เจรจาต่อรอง และการบริหารความขัดแย้ง เป็นต้น เหล่านี้ล้วนต้องอาศัยทักษะการสื่อสารและ
จูงใจเป็นสาคัญในการทางาน ดังนัน
้ Project Manager ขั้นเทพ จะต้องฝึกฝนทักษะ
ดังกล่าว จนสามารถใช้งานได้อย่างเป็นธรรมชาติ สื่อสาร เข้าใจง่าย น่าฟัง น่าเชื่อถือ และมี
เหตุผลสนับสนุนให้คล้อยตาม บนพื้ นฐานของความจริงและความเป็นมืออาชีพ

Wwwwwwwwwwwwwwwwwwwwwwwwww
Page 4 of 16

6 ทักษะสาหรับ Project Manager ขั้นเทพ (knowledgertraining.com)

7 ทักษะพื้ นฐำนสุดๆ สำหรับ PROJECT MANAGER ป้ำยแดง

หลายบทความก่อนหน้านี้ ผมเคยเขียนถึง วิธีการพั ฒนาตนเองเพื่ อเป็น Project


Manager มืออาชีพ ในหลายๆมุมมองknowledger, pmp training, project
management training, อบรม pmp, อบรม pmo, อบรมบริหารโครงการ เช่น เทคนิค
การสอบเพื่ อ Certified PMP (Project Management Professional) หรือ เส้นทางสู่
การเป็น Project Manager มืออาชีพ เป็นต้น สาหรับบทความนี้ ผมตัง
้ ใจจะเขียนเพื่ อเป็น
้ งๆ ที่เริ่มต้นเป็น Project Manager ใหม่ ซึ่งต้องการฝึกทักษะขั้นพื้ นฐานสุดๆ
แนวทางให้นอ
ในการบริหารโครงการ ให้สามารถนาไป
ปฏิบัติได้ง่ายๆ และสามารถใช้ในการบริหาร
โครงการอย่างง่ายๆได้ ดังนี้

Project Manager มือใหม่ป้าย


แดง มักจะมีเรื่องสับสนวุ่นวาย ในโครงการ
มากมาย เช่น ไม่สามารถระบุความต้องการ
และขอบเขตงานของโครงการได้ชัดเจน
ตารางเวลากาหนดการโครงการมีความเร่งด่วน หรือ กิจกรรมในโครงการมีความสลับซับซ้อน
เป็นต้น ดังนั้น ทักษะพื้ นฐานที่ Project Manager มือใหม่จาเป็นต้องฝึกฝนและเป็นเรื่อง
ง่ายๆที่จะทาให้โครงการมีโอกาสประสบความสาเร็จมากขึ้น มี 7 ประการ ดังนี้

1. พยำยำมระบุขอบเขตของโครงกำรให้ชัดเจน

การระบุขอบเขตงานในโครงการนั้น เป็นเรื่องสาคัญลาดับต้นๆ ที่ Project Manager


จาเป็นต้องสร้างความชัดเจนให้ได้ เท่าที่จะสามารถทาได้ หลายครั้งเราจะพบกับปัญหาเรื่อง
ความต้องการของลูกค้าหรือผู้มีส่วนได้เสียหลักในโครงการไม่ชัดเจน ไม่แน่นอน หรือ ลูกค้า
เองก็ยังไม่ทราบว่าตัวเองต้องการอะไร แต่มันก็เป็นเรื่องจาเป็น ที่ Project Manager
จะต้องค้นหาตัวลูกค้าผู้มีอานาจตัดสินใจหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักให้พบ และสื่อสารทาความ
เข้าใจปัญหาหรือความคาดหวังของเขาเหล่านั้นให้ชัดเจน เพื่ อกาหนดขอบเขตงานให้เป็นที่
เข้าใจตรงกัน ก่อนจะดาเนินการวางแผนงานโครงการ

2. วิเครำะห์ปัจจัยควำมสำเร็จและอุปสรรคของโครงกำร
Page 5 of 16

คาถามที่ Project Manager จะต้องหาคาตอบให้ได้คือ อะไรคือสิ่งที่จาเป็นต้องมี


เพื่ อให้โครงการประสบความสาเร็จ และอะไรคือสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการดาเนินโครงการ ซึ่ง
การวิเคราะห์และค้นหาความจริง 2 ประการนี้ บ่อยครั้งอยู่บนการคาดเดา ดังนั้น Project
Manager อาจจะประชุมปรึกษาหารือกับทีมงาน หรือขอความเห็นจากผู้บริหาร หรือแม้แต่
ศึกษาบทเรียนที่ผ่านมาจากโครงการในอดีต ซึ่งจะเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีในการค้นหาคาตอบ ถึง
สิ่งที่เราต้องมีเพื่ อให้โครงการประสบความสาเร็จ และเตรียมการณ์เพื่ อป้องกันปัญหาที่จะ
เกิดขึ้นในโครงการ

3. กำหนดกิจกรรมทั้งหมดที่ต้องทำ

เมื่อเราสามารถระบุขอบเขตของงานได้แล้ว สิ่งที่เราต้องดาเนินการต่อไปคือ การ


กาหนดกิจกรรมต่างๆในโครงการให้ครบถ้วน เท่าที่เราจะสามารถกาหนดได้การระบุกิจกรรมไม่
ครบถ้วนจะส่งผลให้โครงการไม่สามารถส่งมอบงานได้แต่การระบุกิจกรรมที่มากเกินความ
จาเป็น ก็จะส่งผลให้โครงการล่าช้าและมีต้นทุนมาก ดังนั้น ในขั้นตอนนี้ Project Manager มี
่ ะต้องคิด วิเคราะห์ ร่วมกับทีมงาน เพื่ อให้ได้รายชื่อกิจกรรมที่
ความจาเป็นอย่างมากทีจ
่ งจากทีมงานจะทราบรายละเอียดต่างๆของกิจกรรมในโครงการ อีกทั้งยังเป็น
ครบถ้วน เนือ
การทาให้ทีมงานเข้าใจภาพขอบเขตงานในโครงการเป็นภาพเดียวกัน

4. วำงลำดับงำน และกำหนดตำรำงเวลำ

นากิจกรรมทั้งหมดในโครงการ มากาหนดลาดับงาน และประเมินเวลาของงานในแต่ละ


กิจกรรม เพื่ อสรุปเป็นแผนงานตารางเวลาในโครงการ หรือ Project Schedule โดยใน
ขั้นตอนนี้ Project Manager ต้องประเมินและวางแผนร่วมกับทีมงาน ให้ได้ตารางเวลาที่เป็น
จริงในทางปฏิบัติ และสามารถตอบความคาดหวังของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของ
โครงการได้

5. ประมำณกำรต้นทุนของโครงกำร

นากิจกรรมทั้งหมดในโครงการ มาทาการประเมินต้นทุนของโครงการ ทั้งในเรื่องต้นทุน


สินค้าวัตถุดิบที่ต้องใช้ในโครงการต้นทุนเรื่องค่าแรงคนต้นทุนเรื่องอุปกรณ์เครื่องจักรที่ต้อง
ใช้ในการทางานต้นทุนเรื่องค่าบริการต่างๆที่ต้องใช้และสรุปเป็นต้นทุนทั้งหมดในโครงการ

6. มอบหมำยงำน
Page 6 of 16

ขั้นตอนนี้เป็นการนากิจกรรมทั้งหมด
ในโครงการ มอบหมายให้ทีมงานผู้รับชอบไป
ดาเนินการตามต้นทุนและกาหนดการเวลาที่
กาหนดการมอบหมายงานต้องกาหนด
ผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน และพิ จารณางานให้มี
ความเหมาะสมกับทักษะและประสบการณ์
ของผู้รับผิดชอบ

7. ติดตำมงำน ตรวจสอบและส่งมอบงำน

การติดตามความคืบหน้าของงาน อาจจะอยู่ในรูปแบบของการประชุม หรือการ


ตรวจสอบสิ่งส่งมอบของงานในกิจกรรมต่างๆ เพื่ อให้มั่นใจว่า กิจกรรมต่างๆ ได้ถูก
ดาเนินการตามแผนงานที่วางไว้ และสามารถส่งมอบงานได้ตามความต้องการของลูกค้า
ความถี่ของการติดตาม ควรถูกกาหนดไว้ตั้งแต่เริ่มโครงการ และเหมาะสมกับระยะเวลา
โครงการ เช่น โครงการระยะเวลา 6 เดือน อาจจะมีการประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการ
ทุกๆ 2 สัปดาห์ เป็นต้น

7 ทักษะ ดังกล่าว เป็น ทักษะขั้นพื้ นฐาน สาหรับ Project Manager มือใหม่ จะ


สามารถนาไปประยุกต์ใช้ กับโครงการขนาดเล็กได้ง่ายๆ เพื่ อให้โครงการบรรลุเป้าหมาย ตาม
ขอบเขตงาน ภายในต้นทุนและเวลาที่กาหนด ในบทความต่อไป ผมจะเล่าให้ฟง
ั ถึง ทักษะต่างๆ
ที่จาเป็น สาหรับ Project Manager ขั้นเทพ ที่มีประสบการณ์สูงในการบริหารโครงการขนาด
ใหญ่ และซับซ้อน

ไพบูลย์ ปัญญายุทธการ (PMP)

Wwwwwwwwwwwwwwwwwwwwwwwwwwww
Page 7 of 16

Project Management คืออะไร มีขั้นตอนอย่ำงไรบ้ำง?

Project คือโครงการที่ถูกจากัดด้วยช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น มีเวลาเริ่ม และเวลาจบที่


ชัดเจน ยิ่งทานานเกิดกาหนด ยิ่งหมายความว่าการบริหารโครงการไร้ประสิทธิภาพ.. ทักษะใน
การบริหารโครงการ หรือ Project Management จึงเป็นสิ่งสาคัญ

Project ไม่ใช่งาน Routine ที่ทาไปเรื่อยๆ เหมือนเดิมทุกๆ วัน แต่มันคือการมุ่งมั่น


ของคนทั้งทีม ที่จะไปถึงเป้าหมายที่ได้กาหนดกันไว้ตั้งแต่แรก เพราะฉนัน ใน 1 โปรเจกต์ อาจ
ไม่ได้มีกลุ่มคนที่มีความสามารถเหมือนกันทุกคน อาจจะมีทั้ง วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรโยธา
สถาปนิก ฝ่ายการเงิน และอีกมากมาย แต่ไม่ว่าจะมีหน้าที่อะไร ความสามารถอะไร ทุกคนจะมี
หนึ่งอย่างเหมือนกันคือ Final Goal

Project Management คือการบริหารโครงการ ทั้งเวลา ทั้งทรัพยากรที่มี ไม่ว่า


จะเป็นเรื่องคน เรื่องค่าใช้จ่าย องค์ความรู้ของทีม เครื่องมือ ให้เป็นไปปย่างมีประสิทธิภาพ
และเพื่ อให้ Final Goal นั้นสาเร็จรุร่วงไปได้ด้วยดี การบริหารโครงการจึงต้องมี Project
Manager ที่มีความสามารถด้าน Soft Skill และเชี่ยวชาญด้านการแก้ปญ
ั หาอย่างเป็น
ระบบ คอยดูแลเรื่องพวกนี้ทั้งหมด โดย Project Management จะประกอบไปด้วยขั้นตอน
ต่างๆ ดังนี้
Page 8 of 16

Project Management มี 5 ขั้นตอน

1. Initiating: ต้องรู้ก่อนว่าจะทาขึ้นมาเพื่ ออะไร? แก้ปัญหา พั ฒนาของเดิม หรือทา


นวัตกรรมใหม่ๆ การวางแผน และ Scope ของโปรเจกต์ ซึ่งสาคัญที่สุด เพราะหากพลาด
ขั้นตอนนี้ ก็จะลากยาวไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย หรืออาจจะทาให้โปรเจกต์ค้างคา ไม่ไปถึง
ไหนเลยก็ได้ ซึ่ง Initiative ทั้งหมดนี้ควรจัดทาออกมาเป็น Document เรียกว่า Project
Initiation Document ประกอบด้วย Proposal, Work Breakdown Structure
(WBS), Review Current Operation, SWOT และอีกมากมาย (บทความหน้าจะมาลง
รายละเอียด)

2. Planning: เป้าหมายหลักของขั้นตอนนี้คือเอาขัน
้ ตอนที่ 1 มารีวิว แล้ววางแผนเรื่อง
่ ก็ต้องคิดเผื่อ
เวลา ค่าใช้จ่าย และทรัพยากร ที่ต้องการในการดาเนินการโครงการนั้นๆ ซึง
ถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้วย

3. Execution: เริ่มโปรเจกต์ ซึ่งก็จะเกี่ยวข้องกับการทาในสิ่งที่วางแผนเอาไว้ การ


โยกย้ายทรัพยากรที่มีให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ทั้งคนและงบประมาณ

4. Monitoring and Controlling: วัดผลเป็นประจาว่าโปรเจกต์เป็นไปตามที่วางแผน


หรือเปล่า เกิดปัญหาอะไรบ้าง และทรัพยากรที่มีเป็นอย่างไรบ้าง เป็นขั้นตอนที่เน้นด้านการ
วัดผล และควบคุมในด้ านต่างๆ ไม่ให้หลุด Scope ของงาน

5. Closing: ไม่ใช่แค่ปิดโปรเจกต์และจบเลย ขั้นตอนนี้คือการรีวิวอีกครั้ง ว่าโปรเจกต์ที่ทา


ไปเป็นอย่างไรบ้าง เป็นไปตามที่แพลนไหม มีข้อผิดพลาดอะไร เรียนรู้อะไรบ้าง ซึ่งขั้น
ตอนนี้เรียกว่า Post Implementation Review เพื่ อนาไปใช้พัฒนาในโปรเจกต์ต่อไป

อะไรบ้ำงที่ Project Manager ต้องควบคุม

1. Integration: การผสมผสานทุกอย่างเข้าด้วยกัน ทั้งข้อมูล คน ความรู้ของคนในทีม


สิง
่ แวดล้อม และอีกมากมาย
2. Scope: วางแผนไม่ให้งานหลุดกรอบในทุกๆ ด้าน
3. Time: ควบคุมให้อยู่ในเวลาที่กาหนด อาจต้องแบ่งออกมาเป็น Task ย่อยๆ แล้วคอย
Monitor
4. Cost: ควบคุมราคาไม่ให้เกินงบประมาณที่วางแผนไว้
Page 9 of 16

5. Quality: คุณภาพ และประสิทธิภาพของงานต้องออกมาดี


6. Procurement: จัดหาอุปกรณ์ เครื่องมี และสิง ่ าเป็นต้องใช้เพื่ อให้โครงการ
่ ต่างๆ ทีจ
สาเร็จ
7. Human Resource: จัดหาคนในทุกๆ สายงาน ทุกความเชี่ยวชาญ ที่จาเป็นต่อการ
Support โครงการ เพื่ อให้โครงการดาเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. Communication: การสื่อสารกับคนในทีม คนนอกทีม หน่วยงานต่างๆ ต้องเคลีย
และชัดเจน
9. Risk Management: บริหารความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
10.Stakeholder Management: Stakeholder คือทุกคนที่มีส่วนร่วมกับโครงการ
นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของบริษัท ผู้ถือหุ้น ทีมงาน รวมถึงไป ชาวบ้าน หรือผู้ที่มีผลกระทบ
ทั้งเชิงลบ และเชิงบวก จากโครงการ

Wwwwwwwwwwwwwwwwwwwwwwwwww

5 อุปสรรคที่คนเป็น PM จะต้องเจอแน่ๆ

Project Manager (PM) หรือตาแหน่งผู้จัดการโครงการ ในหลายๆ ภาคส่วน หรือใน


แต่ละสายงาน จะมีบทบาท และหน้าที่แตกต่างกันไปอยู่บ้าง แต่ทั้งหมดทั้งมวล PM คือ
Page 10 of 16

ตาแหน่งที่มห
ี น้าที่ที่จะทาให้โครงการ หรือโปรเจคสาเร็จรุร่วงไปให้ได้ โดยงานที่ควรจะมี PM
่ ระกอบไปด้วยกลุ่มคนหลากหลายหน้าที่ เช่น การพั ฒนาแอปพลิเคชัน ทีจ
คืองานทีป ่ าเป็นต้อง
มีทั้งทีมออกแบบ ทีมทากราฟฟิก ทีมเขียนโค้ด ทีมโปรโปท หรือทีมทาการตลาด หน้าที่ของ
PM คือการรับมือ และปรับจูนเหล่ากลุ่มคุณที่อยู่ภายใต้โปรเจค ให้สามารถทางานร่วมกันได้
สาเร็จ ในระยะเวลา หรือขอบเขตงานที่กาหนดเอาไว้

คนที่จะเป็น PM สิ่งแรกที่ต้องรู้ก่อน ก็คือหน้ำที่ของ PM นั้น จะแบ่งกระบวนกำร


ทำงำนออกเป็น 3 ส่วน คือ วำงแผน, ดำเนินกำร และจัดกำร เพื่ อตอบสนองต่อความ
ต้องการของลูกค้า หรือผู้บริโภค ให้ได้งานออกมาตรง

อุปสรรคที่คนเป็น PM จะต้องเจอแน่ๆ

สาหรับตัวผู้เขียน ซึ่งมีงานสายหลักรับหน้าที่เป็น PM ให้กับบริษัทไอทีแห่งหนึ่ง การ


เป็น PM เราจะได้พบเจอกับอุปสรรคหลายๆ อย่าง ที่งานทัว
่ ไปเราไม่เคยเจอ เช่น ค่าคุณเป็น
โปรแกรมเมอร์ อุปสรรคที่คุณจะเจอ อาจเป็น Tools ที่ใช้ หรือเทคนิคภาษาโค้ดต่างๆ หรือถ้า
คุณเป็นกราฟฟิก อุปสรรคของคุณอาจอยู่ที่สไตล์กราฟฟิก หรือการออกแบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะ
เป็นอุปสรรคที่เกิดจากทางเทคนิคทัง
้ สิ้น แต่สาหรับ PM อุปสรรคส่วนใหญ่จะค่อนข้าง
แตกต่างจากสายงานอื่นๆ พอสมควร… อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด แต่วันนี้ผมจะขอแชร์ 5
อุปสรรค ที่ไม่ว่าเราจะเป็น PM ในสายงานไหนๆ จะต้องพบเจอแน่ๆ มาเล่าสู่ให้ฟง

“คน” คืออุปสรรคหลักที่คุณจะต้องพบเจอ

ในการทางานเป็นทีม ไม่ว่าจะในตาแหน่งไหน คน ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายๆ ตาแหน่ง


ต้องเจออยู่แล้ว แต่จะเจอมากเจอน้อย ก็ขึ้นอยู่กับบทบาทหน้าที่ของตนเอง แต่สาหรับ PM
คน คืออุปสรรคหลักที่เราจะต้องปวดหัว เพราะสิ่งที่เราจะได้พบเจอในแต่ละตัวบุคคล คือ
Page 11 of 16

ทัศนคติในการทางาน หรือการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน รวมไปถึงคุณภาพ หรือองค์ความรู้ในการ


ทางานที่ไม่เท่ากัน บางคนเป็นคนเงียบ ไม่กล้าแสดงออก บางคนมีความกล้า แต่สิ่งที่
แสดงออกมากลับเป็นสิ่งที่ไม่โอเค บางคนเก่ง แต่สื่อสารไม่เป็น ไปจนถึงกลุ่มคนที่มท
ี ศ
ั นคติ
ในการทางานในแง่ลบ ซึ่งจะคอยสร้างความปวดหัวให้กับคุณไปตลอดการทางาน

อุปสรรคที่เกิดจำก “คน” สิ่งที่ PM ควรใช้ในกำรแก้ปัญหำที่ดีที่สุด คือ “กำรควบคุม


อำรมณ์” และ “กำรมีเหตุมีผล” อารมณ์คือตัวแปรหลักที่ PM ควรควบคุมให้ได้ในทุก
สถานการณ์ และควรใช้อารมณ์ในแต่ละแบบให้ถูกต้อง ส่วนการมีเหตุมีผล คือสิ่งที่สาคัญที่สุด
่ ดาบ หรืออาวุธประจาตัวของ PM ที่จะใช้การาบ หรือควบคุมคนให้ดาเนินในสิ่งที่
เหมือนเป็นดัง
เราต้องการได้ดีท่ส
ี ุด

่ ใน 3 เดือนข้ำงหน้ำ เอำมำเป็นกิจกรรมให้คน
ตัวอย่ำง : ลูกค้ำต้องกำรมินิเกมเล็กๆ เกมหนึง
ได้เล่นเพื่ อชิงของรำงวัล PM จะสำมำรถจัดสรรเวลำออกมำคร่ำวๆ ได้ดังนี้

• วันที่ 1: คุยและรับบรีฟจากลูกค้า
• วันที่ 2 – 4 : ทาการออกแบบโครงสร้าง
• วันที่ 5 : นาเสนอโครงสร้างของตัวเกม
• วันที่ 6 – 7 : ปรับแก้โครงสร้าง
• วันที่ 8 : นาเสนอโครงสร้างกับลูกค้าครั้งสุดท้าย
• วันที่ 9 : วางแผนกระบวนการทางานทัง
้ หมด
• วันที่ 10 : บรีฟงานให้กับทีม กราฟฟิก ทีมโค้ด
• วันที่ 11 – 15 : เสร็จกราฟฟิกต้นแบบ
• วันที่ 16 : นาเสนอลูกค้า
• วันที่ 17 – 20 : ปรับแก้กราฟฟิกต้นแบบ
• วันที่ 21 : นาเสนอลูกค้าครั้งสุดท้าย
• วันที่ 22 – 40 : เสร็จกราฟฟิกชุดแรก
• วันที่ 41 – 60 : เสร็จกราฟฟิกชุดที่สอง
Page 12 of 16

• วันที่ 11 – 30 : เสร็จเดโมเกม
• วันที่ 31 – 40 : ทดสอบเดโม และปรับจูน
• วันที่ 41 – 50 : เสร็จตัวเกมเบื้องต้น
• วันที่ 51 – 60 : ทดสอบตัวเกมเบื้องต้น และปรับจูน
• วันที่ 61 – 70 : เสร็จตัวเกม ตัวสมบูรณ์
• วันที่ 71 – 80 : ทดสอบตัวเกมที่สมบูรณ์ และปรับจูนคุณภาพ
• วันที่ 81 – 89 : นาเสนอตัวเกมแก่ลูกค้า และปรับจูนเล็กน้อย
• วันที่ 90 : ส่งมอบงาน

“กำรสื่อสำร” อุปสรรคที่เป็นมำกกว่ำแค่เรื่องกำรใช้คำพู ด

่ ที่ PM จะต้องใช้ในทุกวันของการทางาน คือ การสื่อสาร ขอให้คุณจาไว้อยู่เสมอว่า


สิง
การสื่อสาร ที่คุณสื่อออกมา ล้วนมีพลังที่จะเปลี่ยนแปลงโปรเจคไปได้แบบหน้ามือเป็นหลังมือ
เพราะการสื่อสารของเรา PM คือสิ่งที่จะท้อนออกมาในตัวโปรเจค และเป็นสิ่งสาคัญที่จะให้แต่
ละกลุ่มคนสามารถดาเนินงานไปต่อได้อย่างถูกต้อง โดยการสื่อสารสาหรับ PM ไม่ใช่แค่การ
เลือกใช้คาพู ดที่ถูกต้องเพี ยงอย่างเดียว แต่มันต้องมองให้เห็นถึงองค์ประกอบที่จะเกิดขึ้น
ชัดเจน และเข้าใจในทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สิง
่ เหล่านี้เป็นสิง
่ ที่เราสามารถพั ฒนาได้ไม่มีที่สน
ิ้ สุด
ยิ่งเรามีองค์ความรู้มาก และสามารถจัดสรรปัญความรู้ที่มีได้ เราก็จะยิ่งใช้การสื่อสารได้ดี และ
มีประสิทธิภาพมากขึ้น

“กำรตัดสินใจ” อุปสรรคที่จะมำคู่กับปัญหำ

กล่าวได้ว่าในทุกสายงาน ล้วนมีปัญหาเกิดขึ้น คาถามคือ ถ้าทางานกันเป็นกลุ่ม แล้ว


เกิดปัญหาขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นใครจะเป็นคนแก้ไข ? คาตอบทีถ
่ ูกต้องจะอยู่ที่การตัดสินใจของ
ตัว PM เพราะคุณต้องเข้าใจก่อน ว่าโปรเจคไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ล้วนเกิดปัญหาขึ้นทั้งนั้น
โดยปัญหาที่เกิดขึ้น PM คือผู้ตัดสินใจว่ามันคือปัญหาที่สาคัญขนาดไหน ควรแก้ไขตอนไหน
ควรใช้ใครแก้ไข หากการแก้ไขมีหลายแนวทาง PM ก็ต้องรู้ว่าแต่ละแนวทางแตกต่างกัน
้ ๆ อีกที ซึ่งการ
อย่างไร และให้ผลต่างกันเช่นไร แล้วถึงเป็นคนตัดสินใจเลือกแนวทางนัน
ตัดสินใจเหล่านี้ ไม่ใช่การตัดสินใจให้แล้วเสร็จ แต่มันคือการใช้องค์ประกอบข้อมูลทั้งหมด
ประสบการณ์ และสถานการณ์ต่างๆ ทั้งภายนอกภายใน รวมถึงผลที่จะเกิดขึ้น มาใช้เป็นตัววัด
ในการตัดสินใจนั้นๆ
Page 13 of 16

เพรำะตำแหน่ง Manager ที่ยิ่งใหญ่ มำพร้อมกับกำรตัดสินใจที่ใหญ่ยง


ิ่

“กำรรับหน้ำ” อุปสรรคสำคัญที่คุณต้องยอมรับ

อุปสรรคสุดท้าย ที่ผมอยากจะบอกคนที่กาลังจะมาเป็น PM ทุกคนให้จาเอาไว้ว่า หาก


โปรเจคที่เราคุมอยู่เกิดปัญหาอะไรขึ้นก็ตาม คนทีจ
่ ะต้องรับหน้าลูกค้าก่อนใครก็คือ PM หรือ
่ ะรับหน้าที่
ต่อให้ไม่เกิดปัญหากับตัวโปรเจค แต่ถ้าลูกค้ามีปัญหาเอง คุณก็คือคนแรกเช่นกันทีจ
เจรจากับลูกค้า หรืออะไรก็ตามที่เกิดขึ้นกับตัวโปรเจค คนแรกที่จะโดดดุ่ด่า หรือว่ากล่าว หรือ
ถูกเรียกไปพู ดคุย ก็คือ PM สิ่งเดียวที่ผมจะบอกคุณได้ก็คือ คุณต้องยอมรับสิ่งทีค
่ ุณจะเจอ
และต้องมีสติ ควบคุมอารมณ์ให้ดี และต้องเชื่อมั่นในทีม ในตัวผลงาน รวมถึงการเจรจา ที่
ต้องใช้มากกว่าแค่คาขอโทษ หรือแค่คาว่า ไม่รู้…

Wwwwwwwwwwwwwwww

Servant Leadership ทักษะที่จำเป็ นสำหรับ ScrumMaster ในกำรบริ หำรโครงกำรแบบ Scrum


(knowledgertraining.com)
Page 14 of 16

Servant Leadership ทักษะที่จำเป็นสำหรับ ScrumMaster ในกำร


บริหำรโครงกำรแบบ Scrum

แนวคิดกำรบริหำรโครงกำรแบบ Scrum

ซึ่งถือเป็นรูปแบบหนึง
่ การบริหารแบบ Agile นั้น ตั้งอยูบ
่ นรากฐานของการทางาน
่ ามารถบริหารจัดการตนเองได้ (Self-Organizing Team) และทักษะสาคัญ
กับทีมงานทีส
ประการหนึ่งของคนที่จะทาหน้าที่เป็น ScrumMaster ในโครงการนั้น ก็คอ
ื การบริหารจัดการ
ทีมงาน ให้สามารถทางานให้สาเร็จด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องให้คนอื่นมาติดตามหรือกากับดูแล
เนื่องด้วยทีมงานของ Scrum ถูกออกแบบมาให้ มีความยืดหยุ่นในการทางาน และมีความคิด
สร้างสรรค์ รวมถึง ต้องพร้อมที่จะเลือกวิธีการทางานที่ดท ี่ ุดด้วยตัวเอง เพื่ อเพิ่ มผลผลิต
ี ส
ของงาน โดยไม่ต้องให้ผู้อื่นมาสั่งการหรือชี้นา และต้องเป็นทีมงานที่เรียนรู้ข้อผิดพลาดและ
ปรับตัวได้เร็ว รวมถึงสื่อสารกันอย่างเปิดเผย และเปิดโอกาสให้มีการให้และรับข้อเสนอแนะซึ่ง
กันและกันเพื่ อการปรับปรุงพั ฒนา ด้วยเหตุนี้ ทักษะที่จาเป็นประการหนึ่งของคนที่จะทาหน้าที่
เป็น ScrumMaster คือต้องเป็นผู้นาทีมงานที่มท
ี ักษะการฟังที่ดี ทักษะการโน้มน้าวจูงใจคน
ทักษะการอานวยการ (Facilitation) มากกว่าการสั่งการและควบคุม (Command &
Page 15 of 16

Control) รวมถึง ต้องเป็นผู้นาที่เน้นการช่วยเหลือทีมงานให้ทางานประสบความสาเร็จ ทักษะ


การนาดังกล่าว คือ Servant Leadershipหรือผู้นาที่เน้นการช่วยเหลือทีมงาน

Servant Leader

จะเน้นเรื่องการมีส่วนร่วมของทีมงานมากกว่าเน้นเรื่องบทบาทการนาของตัวผู้นาเอง
ในการทางานจริงในรูปแบบการบริหารโครงการแบบ Scrumนั้น ScrumMaster จะต้องมี
ปฏิสัมพั นธ์ กับ Product Owner และ Development Team อยู่เสมอ โดย
ScrumMaster จะต้องมีส่วนช่วยสนับสนุนให้ Product Owner สามารถจัดลาดับ
ความสาคัญของงานใน Product Backlog ให้มีคุณค่าสูงสุดต่อองค์กร และต้องช่วยในการ
บริหารจัดการการทางานตาม Product Backlog ให้มีประสิทธิภาพในทานองเดียวกัน
ScrumMaster ต้องมีส่วนช่วย Development Team ให้สามารถบริหารจัดการงานของ
ตนเองได้ ช่วยกาจัดอุปสรรคที่ขัดขวางงานของ Development Team รวมถึงอานวย
่ ังกล่าวของ
ความสะดวกต่างๆ และสร้างแรงจูงใจในการทางานและจากบทบาทหน้าทีด
่ ีต่อ Product Owner และ Development Team ทักษะการเป็นผู้นา
ScrumMaster ทีม
แบบ Servant Leader จะถูกนามาประยุกต์ใช้ในโครงการ ในกิจกรรมดังกล่าวต่อไปนี้

1. ส่งเสริมให้ทม
ี งำนเห็นเป้ำหมำยเดียวกันทั้งโครงการ และสร้างความรู้สึกให้ทุกคนรู้คณ
ุ ค่า
และความสาคัญของตนเอง ในการร่วมสร้างผลงานในโครงการ
2. ช่วยคิดและช่วยตั้งคำถำม ถึง Business Value หรือ Outcome ที่เราต้องการจากสิ่ง
ส่งมอบของโครงการ
3. ช่วยคิดและนำเสนอไอเดียที่เป็นทำงเลือก สาหรับการจัดความสาคัญของงานใน
Product Backlog ให้มีคุณค่าสูงสุดต่อองค์กร เพื่ อให้ Product Owner ง่ายในการ
ตัดสินใจ
4. อำนวยกำรให้ทุกคนมีสว่ นร่วมในการวางแผนงานในโครงการ และรับฟังปัญหาและ
ข้อจากัดของทุกคน
5. อุทิศตนในกำรช่วยเหลือและแก้ไขปัญหำต่ำงๆ ของทีมงาน เพื่ อให้ทุกคนทางานได้บรรลุ
เป้าหมาย
6. ให้กำลังใจทีมงำน และสร้างบรรยากาศในการทางานเป็นทีมเวิร์คที่ดี
7. ยอมรับข้อแตกต่ำงของแต่ละบุคคลในทีมงาน และแสดงความใจกว้างในการปรับตัวเข้า
หาคนอื่น
Page 16 of 16

8. ทุ่มเทและลงรายละเอียดกับงาน และเน้นการร่วมลงมือทาด้วยกันกับทีมงาน มากกว่าการ


สั่งการและควบคุม..

ดังนั้น หากต้องการจะเริ่มนาวิธีการบริหารโครงการแบบ Agile ไปใช้ในองค์กร การ


สร้างวัฒนธรรมการเป็นผู้นาแบบ Servant Leader จึงถือเป็นปัจจัยความสาเร็จขั้นแรก และ
ถือเป็นทักษะสาคัญสาหรับท่านที่จะมาบริหารทีมงาน Agile หรือท่านที่จะทาหน้าที่เป็น
ScrumMaster และ วัฒนธรรมการเป็นผู้นาแบบ Servant Leader นัน
้ ก็ต้องเริ่มต้น ตั้งแต่
ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรทาให้เป็นตัวอย่าง จึงจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงจน
กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรได้

อาจารย์ อรินทรา ปัญญายุทธการ


Project Management Professional (PMP)
Microsoft Certified Technical Specialist (MS Project) (MCTS)
PMI-Agile Certified Practitioner (PMI-ACP)
Certified ScrumMaster (CSM)
Certified Scrum Product Owner (CSPO)
Large-Scale Scrum Practitioner (LeSS)
Certified Software Quality Analyst (CSQA)
Certified Software Tester (CSTE)
Certified Software Project Manager (CSPM)

You might also like