Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 12

คู่มือการใช้งานสื่อแผ่นใส

เรื่อง กระบอกสูบนิวเมติกส์แบบทำงานสองทิศทาง

เสนอ
ดร. คมสันต์ ชไนศวรรย์
อ. โชคชัย อลงกรณ์ทักษิณ

จัดทำโดย
นายปฐมพงศ์ ภู่มาลี รหัสนักศึกษา 6202011620071
นายอุชุกร ไชยลาภ รหัสนักศึกษา 6202011620136

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชา Innovation and Instructional Media ( 020003227 )
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
คำนำ
รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา Innovation and Instructional Media 020003227
เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องกระบอกสูบนิวเมติกส์แบบทำงานสองทิศทางโดยการใช้สื่อแผ่นใสประกอบการ
สอนด้วย และสามารถศึกษาได้อย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน การประยุกต์ และการนำไปใช้ใน
ชีวิตประจำวันได้
ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่
หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

ผู้จัดทำ
นายอุชุกร ไชยลาภ
นายปฐมพงศ์ ภู่มาลี
สารบัญ
เรื่อง หน้า
จุดประสงค์ 1
เนื้อหาการเรียนรู้ 2
ขั้นตอนการทำ 3
ส่วนประกอบของชิ้นงาน 5
วิธีการใช้งานสื่อแผ่นใส 7
บรรณานุกรม 9
1

จุดประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนบอกส่วนประกอบและหน้าที่ของกระบอกสูบนิวเมติกส์แบบทำงานสองทิศทางได้
2. เพือ่ ให้ผู้เรียนสามารถบอกการทำงานของกระบอกสูบนิวเมติกส์แบบทำงานสองทิศทางได้
3. เพือ่ ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายการแก้ปัญหาเมื่อเกิด Buckling หรือ Bending ได้

สิ่งที่คาดหวังที่ได้จากสื่อช่วยสอน
1. ช่วยให้ผู้เรียนทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
2. ช่วยให้สอนเข้าใจได้ง่ายขึ้น เนื่องจากจำลองโครงสร้างของกระบอกสูบนิวเมติกส์แบบทำงานสองทิศทาง
ในรูปแบบของสื่อแผ่นใสได้
2

เนื้อหาการเรียนรู้
กระบอกสูบนิวเมติกส์แบบทำงานสองทิศทาง ( Double acting cylinder ) เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญชิ้น
หนึ่งในระบบนิวเมติกส์ กระบอกสูบชนิดนี้มีหน้าที่เปลี่ยนพลังงานลม ให้เป็นพลังกล กระบอกสูบชนิดนี้จะมี
ลักษณะการทำงานและรูปลักษณ์ภายนอกเช่นเดียวกับกระบอกสูบแบบทำงานทางเดียว แตกต่างกันที่ภายใน
กระบอกสูบจะไม่มีสปริงเหมือนกับกระบอกสูบแบบทำงานทางเดียว และสามารถจ่ายลมอัดเข้าภายในกระบอกสูบ
ได้ทั้งสองทิศทาง

การทำงานของกระบอกสูบนิวเมติกส์แบบทำงานสองทิศทาง
จ่ายลมอัดเข้ากระบอกสูบที่ จุด A ( รูต่อลมบริเวณท้ายกระบอกสูบ ) หรือจุด B ( รูต่อลมบริเวณหั ว
กระบอกสูบ ) จะทำให้ก้านสูบเคลื่อนที่เข้าหรือออกได้ เมื่อจ่ายลมอัดเข้าที่จุด A บริเวณด้านท้ายกระบอกสูบจะทำ
ให้ก้านสูบเคลื่อนที่ออก และเกิดการระบายลมที่ค้างในกระบอกสูบออกทางจุด B บริเวณด้านหัวกระบอกสูบ เมื่อ
ไม่มีลมอัดจ่ายให้กระบอกสูบ ก้านสูบจะหยุดค้างอยู่ ณ ตำแหน่งสุดท้ายที่เคลื่อนที่ และสามารถใช้มือดึงก้านสูบ
เคลื่อนไปมาได้โดยอิสระ

โครงสร้างของกระบอกสูบนิวเมติกส์แบบทำงานสองทิศทาง โครงสร้างและหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆ ของ


กระบอกสูบนิวเมติกส์แบบทำงานสองทิศทาง มีดังนี้
1. กระบอกสูบ ( Cylinder )
2. รูต่อลมด้านลูกสูบ ( Pressure connector , Base side )
3. รูต่อลมด้านก้านสูบ ( Pressure connector , Head side )
4. ลูกสูบ ( Piston )
5. ก้านสูบ ( Piston rod )
6. ซีลลูกสูบ ( Piston seal )
7. ซีลก้านสูบ ( bush and sealing element )
8. ฝาครอบหัว ( Head and cover )
9. ฝาครอบท้าย ( Base and cover )
3

ขั้นตอนการทำ
1. เลือกหัวข้องานที่จะทำ
2. ออกแบบ และเตรียมแบบที่จะทำชิ้นงาน
4

3. ลงสีส่วนประกอบแต่ละชิ้น จากนั้นบันทึกเอกสารเป็นไฟล์ PDF

4. นำไฟล์ PDF ที่บันทึกแล้ว ไปปริ้นเป็นแผ่นใสที่ร้านถ่ายเอกสาร


5. เมื่อได้แผ่นใส นำมาตัดส่วนประกอบ และเช็คความถูกต้องของแผ่นใส
6. ทดลองการสอนด้วยแผ่นใสก่อนที่จะสอนจริง
7. เมื่อซ้อมจนคล่องแคล่ว และไม่เกิดปัญหา จึงสามารถนำสื่อแผ่นใสไปใช้ในการสอนได้
5

ส่วนประกอบของชิ้นงาน
1. แผ่นใสกระบอกสูบ

2. แผ่นใสก้านสูบและลูกสูบ

3. แผ่นใสซีลลูกสูบ
6

4. แผ่นใสแสดงการเคลื่อนที่ของก้านสูบและลูกสูบ เมื่อจ่ายลมเข้าที่จุด A

5. แผ่นใสแสดงการเคลื่อนที่ของก้านสูบและลูกสูบ เมื่อจ่ายลมเข้าที่จุด B

6. แผ่นใสก้านสูบและลูกสูบ สำหรับใช้แก้ปัญหาการเกิด Buckling และ Bending


7

วิธีการใช้สื่อแผ่นใส
1. เตรียมแผ่นใสรูปกระบอกสูบ

2. วางแผ่นใสรูปก้านสูบและลูกสูบซ้อนลงไป

3. วางแผ่นใสรูปซีล บริเวณลูกสูบจากแผ่นใสขั้นตอนก่อนหน้า
8

4. ดึงแผ่นใสในขั้นที่ 2 และ 3 ออก จากนั้นวางแผ่นใสแสดงการเคลื่อนที่ของก้านสูบ เมื่อป้อนลมเข้าที่ A

5. ดึงแผ่นใสในขั้นที่ 4 ออก จากนั้นวางแผ่นใสแสดงการเคลื่อนที่ของก้านสูบ เมื่อป้อนลมเข้าที่ B

6. ดึงแผ่นใสในขั้นที่ 5 ออก จากนั้นวางแผ่นใสรูปกระบอกสูบอีก 1 แผ่น กับแผ่นใสรูปก้านสูบ วางบน


แผ่นใสรูปกระบอกสูบที่วางไว้เป็นฐาน เพื่อแสดงให้เห็นการแก้ปัญหาเมื่อเกิด Buckling และ Bending
9

บรรณานุกรม

ฐิทารีย์ ถมยา. ( 2546 ). นิวแมติกส์และนิวแมติกส์ไฟฟ้าเบื่องต้น. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริม


เทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
ณรงค์ ตันชีวะวงศ์. ( 2546 ). นิวเมติกส์และไฮดรอลิกส์ (พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริม
เทคโนโลยี ( ไทย-ญี่ปุ่น ).
Tru. ( 2554 ). กระบอกสูบนิวเมติกส์. ( ออนไลน์ ) สืบค้นจาก : http://library.tru.ac.th/aritc-
tru/images/academic/book/b65840/09chap3.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2564.
KKWINDChannel. ( 2563 ). EP.5 อุปกรณ์ที่ทำงานในระบบนิวเมติกส์. ( ออนไลน์ ) สืบค้นจาก :
https://www.youtube.com/watch?v=gO7KaFSzPwc&t=1063s สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564.

You might also like