Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 8

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

รายวิชา ว 31241 ชีววิทยา1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1.5 หน่วยกิต


หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต เวลา 8 คาบ
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งมีชีวิต ชีววิทยากับการดำรงชีวิต เวลาเรียน 2 คาบ

1. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระชีววิทยา
มาตรฐานการเรียนรู้ เข้าใจธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต การศึกษาชีววิทยาและวิธีการทางวิทยาศาสตร์
สารที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต กล้องจุลทรรศน์ โครงสร้างและหน้าที่
ของเซลล์ การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ การแบ่งเซลล์ และการหายใจระดับเซลล์
ผลการเรียนรู้
อธิบายและสรุปสมบัติที่ สำคัญของสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ของการจัดระบบในสิ่งมีชีวิตที่ทำให้
สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
1) ความรู้ (Knowledge)
-อธิบายคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตได้
-อธิบายความหมายของวิชาชีววิทยาได้
-ยกตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างชีววิทยากับการดำรงชีวิตได้
2) ทักษะกระบวนการ (Process)
- สืบค้นข้อมูล และอภิปรายเกี่ยวกับสมบัติของสิ่งมีชีวิต ความหมายของชีววิทยา และ
การศึกษาชีววิทยาได้
- เขียนแผนผังมโนทัศน์สรุปสาระสำคัญของสมบัติของสิ่งมีชีวิต ความหมายของชีววิทยา
และการศึกษาชีววิทยาได้
3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attitude)
- นักเรียนมีส่วนร่วมตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน
- นักเรียนมีความสนใจใฝ่รู้
3. สาระการเรียนรู้
- สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการสารอาหารและพลังงาน มีการเจริญเติบโต มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า มีการ
รักษาดุลยภาพของร่างกาย มีการสืบพันธุ์ มีการปรับตัวทางวิวัฒนาการ และมีการทำงานร่วมกันของ
องค์ประกอบต่างๆ อย่างเป็นระบบ สิ่งเหล่านี้จัดเป็นสมบัติที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต
- การจัดระบบในสิ่งมีชีวิตเริ่มจากหน่วยเล็กไปหน่วยใหญ่ ได้แก่ เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ระบบอวัยวะ
และสิ่งมีชีวิตตามลำดับ

4. สาระสำคัญ
สิ่งต่างๆ ที่พบเห็นอยู่ทั่วไป มีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต โดยสิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีลักษณะคล้ายกับ
สิ่งไม่มีชีวิต ปัจจุบันจึงมีเกณฑ์ที่ใช้จำแนกสิ่งต่างๆ ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่ โดยพิจารณาจากลักษณะต่างๆ
ซึ่งสิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์ ต้องการสารอาหารและพลังงาน มีการเจริญเติบโต มีอายุขัยและขนาดจำกัด
มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า มีการรักษาดุลยภาพของร่างกาย มีลักษณะจำเพาะ และมีการจัดระบบ

5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
1) ทักษะการสังเกต
2) ทักษะการสำรวจค้นหา
3) ทักษะการตั้งคำถาม
4) ทักษะการตั้งสมมติฐาน
5) ทักษะการตรวจสอบสมมติฐาน
3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

6. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แนวคิด/รูปแบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : สืบเสาะหาความรู้ 5Es (5Es Instructional Model)

ชั่วโมงที่ 1
ขั้นนำ
กระตุ้นความสนใจ (Engage)
1. ครูแจ้งผลการเรียนรู้ ให้นักเรียนทราบ
2. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อวัดความรู้เดิมของนักเรียนก่อนเข้าสู่กิจกรรม
3. ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน โดยให้นักเรียนดูสื่อดิจิทัลเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต
จากอินเทอร์เน็ต หรือ PowerPoint
4. ครูตั้งคำถามกระตุ้นความสนใจ โดยให้นักเรียนช่วยกันระดมความคิดในการตอบคำถาม ซึ่งอาจใช้
คำถามจากหนังสือเรียนชีววิทยา ม.4 เล่ม 1 หรือคำถามอื่นๆ ตัวอย่างเช่น
• เราจะทราบได้อย่างไรว่าสิ่งใดเป็นสิ่งมีชีวิต
(แนวตอบ : นักเรียนอาจตอบว่าพิจารณาจากเกณฑ์ที่ใช้จำแนกสิ่งต่างๆ ว่าเป็นสิ่งมีชีวิต
หรือไม่ โดยสิ่งมีชีวิตมีลักษณะต่างๆ ดังนี้
- มีการสืบพันธุ์
- ต้องการสารอาหารและพลังงาน
- มีการเจริญเติบโต มีอายุขัย และมีขนาดจำกัด
- มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
- มีการรักษาดุลยภาพของร่างกาย
- มีการจัดระบบ)
5. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากคำถามข้างต้น จากนั้นครูนำอภิปรายว่า สิ่งมีชีวิตบางชนิด
มีลักษณะคล้ายกับสิ่งไม่มีชีวิต แล้วให้นักเรียนยกตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะดังกล่าว โดยครูอาจ
ยกตัวอย่างพืชชนิดหนึ่งในกลุ่มของพืชอวบน้ำ ที่ชื่อว่า ไลทอป (lithops) ซึ่งมีลักษณะคล้ายก้อนหิน
และครูอาจหารูปจากอินเทอร์เน็ตมาประกอบการอธิบาย

ขั้นสอน
สำรวจค้นหา (Explore)
1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 7 กลุ่ม เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของสิ่งมีชีวิตในหนังสือเรียน
ชีววิทยา ม.4 เล่ม 1 หรือจากอินเทอร์เน็ต โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบแต่ละกลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ศึกษาหัวข้อ สิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์
กลุ่มที่ 2 ศึกษาหัวข้อ สิ่งมีชีวิตต้องการสารอาหารและพลังงาน
กลุ่มที่ 3 ศึกษาหัวข้อ สิ่งมีชีวิตมีการเจริญเติบโต มีอายุขัย และมีขนาดจำกัด
กลุ่มที่ 4 ศึกษาหัวข้อ สิ่งมีชีวิตมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
กลุ่มที่ 5 ศึกษาหัวข้อ สิ่งมีชีวิตมีการรักษาดุลยภาพของร่างกาย
กลุ่มที่ 6 ศึกษาหัวข้อ สิ่งมีชีวิตมีลักษณะจำเพาะ
กลุ่มที่ 7 ศึกษาหัวข้อ สิ่งมีชีวิตมีการจัดระบบ
2. ให้แต่ละกลุ่มสรุปความรู้ที่ศึกษาในรูปแบบของแผนผังความคิด แล้วร่วมกันตั้งคำถามกลุ่มละ 1
คำถามเกี่ยวกับเรื่องที่กลุ่มตนเองศึกษา
3. ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอแผนผังความคิดของกลุ่มตนเองและถามคำถามเพื่อนคนอื่นๆ
ในชั้นเรียน
4. ให้นักเรียนแต่ละคนสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษาและจากการนำเสนอของเพื่อนลงในสมุดบันทึก
โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบให้มีความน่าสนใจ
5. ครูแจ้งจุดประสงค์ของการทำกิจกรรม เรื่อง อุณหภูมิกับการรักษาดุลยภาพของปลา ในหนังสือเรียน
ชีววิทยา ม.4 เล่ม 1
6. ครูใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT มาจัดการเรียนรู้ โดยกำหนดให้สมาชิกแต่ละคน
ภายในกลุ่ม (กลุ่มเดิมการการศึกษาข้อมูลข้างต้น) มีบทบาทหน้าที่ของตนเอง ดังนี้
สมาชิกกลุ่มย่อยที่ 1 : ทำหน้าที่เตรียมวัสดุอุปกรณ์
สมาชิกกลุ่มย่อยที่ 2 : ทำหน้าที่อ่านวิธีการทำกิจกรรม และอธิบายให้สมาชิกภายในกลุ่มฟัง
สมาชิกกลุ่มย่อยที่ 3 : ทำหน้าที่บันทึกผลการทดลอง
สมาชิกกลุ่มย่อยที่ 4 : ทำหน้าที่นำเสนอผลการทดลอง
7. ครูนำอภิปรายก่อนการทำกิจกรรมว่า นักเรียนได้ทราบแล้วว่าปัจจัยทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิมีผล
ต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ถ้าอุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนไปจะมีผลต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ เช่น
ปลา อย่างไร
8. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ทำกิจกรรมเรื่อง อุณหภูมิกับการรักษาดุลยภาพของปลา ในหนังสือเรียน
ชีววิทยา ม.4 เล่ม 1 ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้

ชั่วโมงที่ 2

อธิบายความรู้ (Explain)
1. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทำกิจกรรม โดยครูตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนแต่ล ะกลุ่ ม
ร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่า
• อัตราการขยับแผ่นปิดเหงือกของปลาก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำแตกต่างกัน
หรือไม่ อย่างไร
(แนวตอบ : แตกต่างกัน โดยหากน้ำมีอุณหภูมิต่ำ อัตราการขยับแผ่นปิดเหงือกจะลดลง แต่
หากน้ำมีอุณหภูมิสูง อัตราการขยับแผ่นปิดเหงือกจะเพิ่มขึ้น)
• หากเปลี่ ยนขนาดหรื อชนิด ของปลาในการทดลอง อัตราการขยับ แผ่น ปิ ดเหงื อ กของปลาจะ
แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
(แนวตอบ : แตกต่างกันที่จำนวนครั้ง แต่ลักษณะจะไม่ต่างกัน โดยเมื่อน้ำมีอุณหภูมิต่ำ อัตรา
การขยับแผ่นปิดเหงือกจะลดลง แต่หากน้ำมีอุณหภูมิสูง อัตราการขยับแผ่นปิดเหงือกจะเพิ่มขึ้น)
2. หลังจากอภิปรายผลการทำกิจกรรม ครูทบทวนเกี่ยวกับการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต เช่น การ
รักษาดุลยภาพน้ำในเซลล์พารามีเซียม โดยใช้คอนแทรกไทล์แวคิวโอว การรักษาสมดุลของอุณหภูมิ
ในร่างกายสัตว์และมนุษย์ การรักษาสมดุลของกรด-เบสในเลือดของมนุษย์ เป็นต้น โดยอาจตั้ง
คำถามเชื่อมโยงเข้าสู่เรื่องดังกล่าว ดังนี้
• เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำ เหตุใดร่างกายของจึงขับปัสสาวะมากกว่าเมื่ออยู ่ใน
สภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง
(แนวตอบ : เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำ ร่างกายจะขับเหงื่อได้น้อย และมีน้ำใน
เลือดมาก เพื่อรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายจึงมีการกำจัดน้ำออกในรูปของปัสสาวะปริมาณมาก)
• ขณะที่ออกกำลังกาย เหตุใดอัตราการหายใจจึงสูงขึ้นกว่าปกติ
(แนวตอบ : ขณะออกกำลังกายร่างกายต้องใช้พลังงานมาก จึงต้องนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย
และนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายอย่างรวดเร็วเพื่อรักษาสมดุลของกรด-เบสในเลือด
ดังนั้นจึงต้องมีอัตราการหายใจที่สูงขึ้นกว่าปกติ)

ขั้นสรุป
ขยายความเข้าใจ (Elaborate)
1. ครูนำอภิปรายเกี่ยวกับลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่น แมลงเม่าบินเข้าหากอง
ไฟ มดเดินตามกันไปยังแหล่งอาหาร เป็นต้น จากนั้นตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
• จงยกตัวอย่างพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
(แนวตอบ : พิจารณาจากคำตอบของนักเรียน ตัวอย่างเช่น
- ไส้เดือนดินเคลื่อนที่เข้าหาความชื้น
- แมวเลียอุ้งเท้าเพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย
- อึ่งอ่างพองตัวเมื่อถูกสัมผัส
- ต้นตำลึงมีมือเกาะใช้พันหลัก
- ต้นกาบหอยแครงหุบใบเมื่อมีแมลงมาสัมผัส)
2. ครูนำอภิปรายว่า หากนักเรียนสนใจศึกษาสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง และอยากตรวจสอบว่าสิ่งมีชีวิตชนิด
นั้นๆ มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือไม่ นักเรียนจะออกแบบและดำเนินการทดลองอย่างไร
3. ครูมอบหมายให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน ทำกิจกรรมในใบงานที่ 1.1 เรื่อง การตอบสนอง
ต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต โดยศึกษาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ หรือจากใบความรู้ที่ 1.1 เรื่อง การ
ตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต
4. ครูมอบหมายการบ้านให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด ในแบบฝึกหัดชีววิทยา ม.4 เล่ม 1
ตรวจสอบผล (Evaluate)
1. ครูตรวจสอบผลการทำแบบทดสอบก่อนเรียน
2. ครูประเมินผล โดยการสังเกตการตอบคำถาม การร่วมกันทำผลงาน และการนำเสนอผลงาน
3. ครูวัดและประเมินการปฏิบัติการ จากการทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต
4. ครูวัดและประเมินผลจากการทำกิจกรรม เรื่อง อุณหภูมิกับการรักษาดุลยภาพของปลา
5. ครูตรวจสอบผลการทำแบบฝึกหัด
7. การบูรณาการ
1) บูรณาการสิ่งแวดล้อมและมลพิษ และผลกระทบต่อสุขภาพ
8. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1) หนังสือเรียนชีววิทยา ม.4 เล่ม 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
2) ใบงานที่ 1.1 เรื่อง การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต
3) ใบความรู้ที่ 1.1 เรื่อง การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต
4) รายงานการทดลอง เรื่อง อุณหภูมิกับการรักษาดุลยภาพของปลา
5) PowerPoint เรื่อง ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
6) PowerPoint เรื่อง การรักษาดุลยภาพของปลา
7) แบบฝึกหัดชีววิทยา ม.4 เล่ม 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
9. คุณธรรมและจริยธรรมที่สอดแทรก
1. การตรงต่อเวลา
2. ความรับผิดชอบ
3. ความมีระเบียบวินัย
10. การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีวัดผล เครื่องมือวัด เกณฑ์การผ่าน


จุดประสงค์
ด้านความรู้ (K)
-อธิบายคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตได้
- ประเมินการออกแบบ - ใบงานที่ 1.1 และแบบ - ระดับคุณภาพ 2
-อธิบายความหมายของวิชาชีววิทยา
การปฏิบัติการจาก ประเมินการออกแบบ ผ่านเกณฑ์
ได้
ใบงานที่ 1.1 ปฏิบัติการ
-ยกตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่าง
- ตรวจแบบฝึกหัด - แบบฝึกหัด - ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ชีววิทยากับการดำรงชีวิตได้

ด้านทักษะกระบวนการ (P)
- สืบค้นข้อมูล และอภิปรายเกี่ยวกับ
สมบัติของสิ่งมีชีวิต ความหมายของ
ชีววิทยา และการศึกษาชีววิทยาได้ - ระดับคุณภาพ 2
สังเกตจาก แบบบันทึก
- เขียนแผนผังมโนทัศน์สรุป ผ่านเกณฑ์
การตอบคำถาม การสังเกต
สาระสำคัญของสมบัติของสิ่งมีชีวิต
ความหมายของชีววิทยา และ
การศึกษาชีววิทยาได้
ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (A)
- นักเรียนมีส่วนร่วมตอบ สังเกตความมีวินัย ใฝ่ แบบประเมินคุณลักษณะ
คำถามและแสดงความคิดเห็นใน เรียนรู้ และมุ่งมั่น อันพึงประสงค์ด้านใฝ่ ระดับคุณภาพ 2
ห้องเรียน เรียนรู้ กล้าซักถาม และ ผ่านเกณฑ์
มุ่งมั่นในการทำงาน
- นักเรียนมีความสนใจใฝ่รู้
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน การสังเกตพฤติกรรมใน
- ความสามารถในการคิด ชั้นเรียนตั้งใจใฝ่เรียนรู้
แบบประเมินสมรรถนะ ระดับคุณภาพ 2
- ความสามารถในการสื่อสาร มีความรับผิดชอบ มี
สำคัญของผู้เรียน ผ่านเกณฑ์
ความสามารถในการ
นำเสนอ

11. บันทึกการจัดการเรียนรู้
1) ผลการสอน
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
2) ปัญหาและอุปสรรค
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................

3) แนวทางการแก้ไข
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................

ลงชื่อ
(นางภัทรพร เมืองซอง)
ครูผู้สอน
ความคิดเห็นหัวหน้ากลุ่มสาระ
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
ลงชื่อ
(นางรพีพรรณ หิมมะ)
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
ลงชื่อ
(นางรพีพรรณ หิมมะ)
หัวหน้าฝ่ายวิชาการ
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ รองผู้อำนวยการโรงเรียนไผ่แก้ววิทยา
..............................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................... ....................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
ลงชื่อ
(นายสุรศักดิ์ สุคนธา)
รองผู้อำนวยการโรงเรียนไผ่แก้ววิทยา
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ผู้อำนวยการโรงเรียนไผ่แก้ววิทยา
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................

ว่าที่ร้อยตรี
(ฐปนนท ยิ่งชนะ)
ผู้อำนวยการโรงเรียนไผ่แก้ววิทยา

You might also like