Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 16

การพัฒนาแพลตฟอร์มการบริหารจัดการในสถานการณ์โควิด-19

Development of Management Platform for COVID-19

พีระพงษ์ ทิพนันท์ และ สุวรรณี อัศวกุลชัย *


1 2

Peerapong Tippanun, Suwannee Adsavakulchai


1,2 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปั ญญาประดิษฐ์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
1*
อีเมล : pee.tippanun@gmail.com and
2
suwannee_ads@utcc.ac.th

บทคัดย่อ
บทความนี ้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มในการเตรียมความ
พร้อมในการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 กรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร
โดยใช้ภาษา HTML ในการพัฒนาโครงสร้าง รูปแบบของแพลตฟอร์มใช้
CSS ที่ร่วม Bootstrap ในการจัดการ Frontend Framework ออกแบบ
เว็ปไซด์ และใช้ภาษา PHP ในการติดต่อกับฐานข้อมูล MySQL และ Visual
Studio code v1.71 ในการพัฒนาแพลตฟอร์ม ภายใต้กรอบวงจรชีวิตใน
การพัฒนาซอฟท์แวร์ มี 5 ขัน
้ ตอนหลัก ได้แก่ การศึกษาปั ญหา การศึกษา
ความต้องการของผู้ใช้ การวิเคราะห์และออกแบบ การพัฒนาระบบ และ
การทดสอบระบบ ส่วนการรักษาความปลอดภัยข้อมูลเป็ น C I A คือ การ
รักษาความลับ (Confidentiality) การกำหนดผู้มีสิทธิเท่านัน
้ ในการเข้าถึง
ข้อมูล มีการควบคุมการเข้าถึง ข้อมูลเป็ นความลับต้องไม่เปิ ดเผยกับผู้ไม่มี
สิทธิ ความถูกต้อง (Integrity) มีการป้ องกันข้อมูลข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน
รวมถึงการควบคุมไม่ให้ผู้ไม่มีสิทธิเข้ามาเปลี่ยนแปลงแก้ไข และความ
สามารถพร้อมใช้เสมอ (Availability) การกำหนดให้ผู้มีสิทธิเท่านัน
้ เข้าถึง
ข้อมูลได้ตามต้องการ ควบคุมให้ระบบมีสมรรถภาพทำงานอย่างต่อเนื่อง ผล
การศึกษา แพลตฟอร์มการบริหารจัดการในสถานการณ์โควิด-19 ชื่อ
www.000webhost.com ประกอบด้วย 1. ระบบลงทะเบียน 2.
ประวัติการรับวัคซีน และใบรับรองดิจิตอล 3. แผนที่การเดินทางไปยังโรง
พยาบาล สถานที่ตรวจ PCR และศูนย์วัคซีน 4. แผนที่แสดงสถานการณ์โค
วิด-19 5 สำหรับการศึกษาในขัน
้ ตอนต่อไป การขยายผลไปยังจังหวัดอื่นต่อ
ไป
Abstact

from the preparation for the COVID-19 situation have a


primary purpose To develop a platform to prepare for dealing
with the COVID-19 situation in this study The study developed a
patient registration platform using HTML to develop the
structure. The platform's layout uses CSS integrated with
Bootstrap to manage the Frontend Framework, design the
website, and use PHP to interface with the database. SQL There
are 5 main steps in the development of the platform under the
software development life cycle framework. user needs study
Analysis and design, system development and system testing As
for data security, C I A is confidentiality. (Confidentiality)
assigning the right person only to access information have
access control Confidential information must not be disclosed
to those who do not have rights. Integrity, information is
protected to be accurate and complete. including the control
so that those who do not have the right to make changes and
abilities are always available (Availability) assigning only
authorized persons to access information as needed Control
the system to have the ability to work continuously

ความสำคัญและที่มาของปั ญหา
ในช่วงที่มีการแพร่ระบาด COVID-19 ในประเทศไทยที่ผ่านมา จังหวัด
สมุทรสาคร เป็ นจังหวัดที่พบจำนวนมีผู้ติดเชื้อมากที่สุดนับตัง้ แต่มีการ
ระบาดในประเทศไทย โดยในรอบ 24 ชั่วโมงพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มถึง
576 ราย และเพิ่มขึน
้ อย่างรวดเร็วหลังจากมีการพบจำนวนผู้ป่วยโควิด-19
ในจังหวัด ส่วนมากเป็ นแรงงานชาวเมียนมาที่ทำงานในอุตสาหกรรมประมง
ยังมีรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อจากสมุทรสาครกระจายอยู่ในพื้นที่อย่างน้อย 3
จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ และ นครปฐม และหลังจากนีค
้ าด
ว่าจะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึน
้ อีกเรื่อยๆ จากมาตรการค้นหาเชิงรุก ทัง้ นี ้
สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร สามารถระบุกลุ่มผู้ติดเชื้อและขอบเขตการ
แพร่ระบาดชัดเจน จึงได้ออกมาตรการ "ล็อกดาวน์" ตามที่ผู้ว่าราชการ
จังหวัดได้ประกาศไปแล้ว เพื่อไม่ให้เชื้อกระจายไปที่อ่ น
ื มีการตรวจหาเชื้อใน
ประชากรราว 3-4 หมื่นคน ในกรณีนเี ้ พื่อให้เป็ นไปตามยุทธศาสตร์ควบคุม
การระบาดของโควิดด้วยการ "ค้นหา-ตีวง-เฝ้ าระวัง-สื่อสาร-สร้างความร่วม
มือ"
สถานการณ์จะกลับมาเป็ นปกติ ทุกคนสามารถใช้ชีวิตโดยไม่ต้องใส่
หน้ากาก คงต้องมีการเฝ้ าระวังกันอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าการกลายพันธุ์ของ
เชื้อ ทัง้ นีถ
้ ึงแม้ว่าจะได้รับวัคซีนไปแล้วก็ตาม โอกาสที่ยังติดเชื้อก็ยังมีอยู่
ตัวอย่าง นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองราชบุรี ได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม ใส่
หน้ากากอนามัย 2 ชัน
้ และไม่ทราบติดจากสถานที่ใด เนื่องจากตรวจ
ราชการในพื้นที่เขตเทศบาลทุกวัน มีอาการเชื้อลงปอด 30 เปอร์เซ็นต์ [1]
นอกจากนัน
้ ยังมีผลสืบเนื่องจากประชาชนบางรายที่เดินทางจากพื้นที่เสี่ยง
เพื่อมาธุระ หรือเยี่ยมบ้าน หรือพ่อค้าแม่ค้าที่เดินทางมาติดต่อค้าขาย แต่ไม่
ได้เข้าสู่ระบบการกักกันตัว พอเดินทางกลับก็ทงิ ้ เชื้อไว้ ทำให้เชื้อไปติดกับผู้
สัมผัสใกล้ชิด [2]
การเตรียมความพร้อมและวุฒิภาววะดิจิทัลองค์กร ต้องมีแผนการ
เปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลทัง้ องค์กร เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและกลยุทธ์องค์กร
รวมถึงวิธีการ กระบวนการ และเทคโนโลยี ดังนัน
้ องค์กรจึงจำเป็ นต้องเตรี
ยมความพร้อมและวุฒิภาวะขององ์กร [4] ดังนี ้
1. การประเมิณเบื้องต้น เพื่อศึกษาระบบปั จจุบันขององค์กร กับมาตรฐานที่
ต้องการจะเป็ นในอนาคต เป็ นกระบวนการที่ควรดำเนินการเพื่อบรรลุเป้ า
หมาย
2. การกำหนดกลยุทธ์ด้านดิจิทัล (digital strategy) กระบวนการด้านดิจิทัล
และกำกับดูแลเทคโนโลยีดิจิทัล (digital technology governance)
3. การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ( digital transformation) เป็ นเทคโนโลยีที่
มีความสำคัญ ช่วยยกระดับการดำเนินการด้านธุรกิจ
4. ความรู้ด้านดิจิทัล (digital literacy) และความเชี่ยวชาญ (digital
intelligence) ทำให้จัดการด้านทรัพยากรได้อย่างรวดเร็ว
5. บุคลากร และทักษะด้านดิจิทัล ( digital skill) ส่งผลต่อความเติมโตและ
ประสิทธิภาพทางธุรกิจ มีการประเมิณการรับรู้อย่างครบถ้วน
6. การถ่ายทอดกระบวนการกำกับดูแลด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยี
ดิจิทัลแก่ผู้รับผิดชอบ พนักงาน ผู้ส่งมอบคูค
่ ้าที่สำคัญ ลูกค้าและผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน
7. การดูแลกระบวนการแก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จ ตามข้อกำหนดความ
ต้องการขององค์กร โดยครอบคลุมการออกแบบ การพัฒนา การบริหารองค์
ประกอบของระบบ การทดสอบ ตลอดจนการดูแลกระบวนการทางธุรกิจ
ระบบงาน สารสนเทศ/ข้อมูล โครงสร้างพื้นฐานและบริการ และความมั่นคง
ความปลอดภัยสารสรเทศขององค์กร
8. สร้างผู้นำในแต่ละระดับ ให้มีวิสัยทัศน์ที่ดี คิดและเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆให้
ดีขน
ึ ้ ช่วยยกระดับความสามารถขององค์กร เปลี่ยนแปลงไปสู่องค์กรแห่ง
นวัตกรรม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมและวุฒิภาวะองค์กร
2. พัฒนา interface เพื่อเก็บข้อมูล พนักงานโรงงาน แม่ค้า
ประชาชน เพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์อ่ น
ื ๆ
ขอบเขตโครงงาน
อ.เมือง จ. สมุทรสาครเท่านัน

วิธีการดำเนินการ
1. ศึกษาปั ญหา และทำความเข้าใจขัน
้ ตอนประสบการณ์ผู้ใช้งาน
(User Experience) ในขัน
้ ตอนการลงทะเบียนข้อมูลผู้ป่วยในสถานการณ์โค
วิด เพื่อนำมาออกแบบ แพลตฟอร์มบริหารจัดการโควิด-19
2. ศึกษาโครงสร้าง API Google Map เพื่อนำมาออกแบบสร้างเส้น
ทางแผนที่ จากต้นทางไปยังโรงพยาบาล
3. ศึกษาโครงสร้าง HTML, PHP, MySQL เพื่อนำมาออกแบบ
แพลตฟอร์ม
4. ศึกษาโครงสร้างแพลตฟอร์ม เพื่อนำมาพัฒนาระบบบริหารจัดการ
โควิด-19
5. พัฒนาระบบบริหารจัดการโควิด-19
6. พัฒนาระบบ API Google map
เครื่องมือที่ใช้
- HTML 5 ในการพัฒนาโครงสร้างรูปแบบของแพลตฟอร์ม
- CSS ที่ร่วมกับ Bootstrap ในการจัดการ Frontend Framework
- โปรแกรม PHP ในการติดต่อกับฐานข้อมูล MySQL
- Visual Studio code v1.71 ในการพัฒนาแพลตฟอร์ม
- คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล Ram 40 GigaBytes
- www.000webhost.com ในการอัพโหลด webhost
- Power Bi Desktop ในการทำหน้า Dashboard
ผลการดำเนินงาน
Use case Diagram แพลตฟอร์มระบบบริหารจัดการโควิด-19
ภาพที่ 1 Use case Diagram แพลตฟอร์มบริหารจัดการโควิด-19
จากภาพที่ 1 แสดงให้เห็นกระบวนการทำงานในส่วนต่างๆของ
แพลตฟอร์มระบบบริหารจัดการโควิด-19 โดยเมื่อมีผู้ป่วยรายใหม่ลง
ทะเบียนเข้ามาใหม่ จะเข้ามาลงทะเบียนกรอกข้อมูลรายละเอียดในระบบ
ก่อน เพื่อเป็ นการสร้าง User ของผู้ป่วยขึน
้ มา และเมื่อลงทะเบียนเสร็จ
เรียบร้อยแล้วก็ทำการ Login จะมีรายละเอียดข้อมูลของผู้ป่วย เช่น
ประวัติการรับวัคซีน ใบสุขภาพดิจิตอล เป็ นต้น
ผู้ป่วยยังสามารถดูสถานการณ์โควิดได้จากทางเว็ปไซด์และแผนที่เส้น
ทางที่ไปโรงพยา ศูนย์พักคอย ศูนย์วัคซีน ได้อีกด้วย
การพัฒนาแพลตฟอร์มระบบบริหารจัดการโควิด-19 มีฟังก์ชั่นหลัก ๆ
ดังนี ้
หน้าหลักแพลตฟอร์มบริหารจัดการโควิด-19 แสดงในภาพที่ 2

ภาพที่ 2 หน้าหลักแพลตฟอร์มระบบบริหารจัดการโควิด-19
จากภาพที่ 2 แสดงหน้าหลักแพลตฟอร์มระบบบริหารจัดการโควิด-19
และมีเมนูหัวข้อต่างๆ เช่น แผนที่การระบาด แผนที่โรงพยาบาล
สถานการณ์ Isolation และรายละเอียดความรู้เกี่ยวกับ Covid ต่าง
การสมัครเป็ นผู้ป่วยรายใหม่ แสดงในภาพที่ 3

ภาพที่ 3 แสดงภาพการสมัครเป็ นผู้ป่วยรายใหม่


ภาพที่ 3 แสดงภาพการสมัครเป็ นผู้ป่วยรายใหม่ รายละเอียดการก
รอกข้อมูล จะมีช่ อ
ื -นามสกุล วันเดือนปี เกิด เลขประชาชน ที่อยู่ปัจจุบัน
เพศ อาชีพ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล เป็ นต้น
การเข้าสู่ระบบของผู้ป่วย
เมื่อผู้ป่วยกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เมื่อต้องการใช้ระบบ ก็ต้อง
Login เข้าระบบด้วย รหัสประชาชน และ Password ที่สร้างไว้ข้างต้น
แสดงในภาพที่ 4

ภาพที่ 4 แสดงภาพการเข้าสู่ระบบผู้ป่วย
จากภาพที่ 4 แสดงภาพการเข้าสู่ระบบ เมื่อต้องการดูข้อมูลประวัติ
ของผู้ป่วย ต้องมีการเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อเป็ นใช้ฐานข้อมูลที่เคยให้ไว้ กรอก
ด้วย รหัสประชาชน และ Password ที่สร้างไว้ข้างต้น โดยกดที่ปุ่ม (เข้าสู่
ระบบ )
เมื่อทำการ(เข้าสู่ระบบ) สำเร็จ ระบบจะแสดงประวัติผู้ป่วย พร้อม
บอกรายละเอียดต่างๆแสดงในภาพที่ 5
การเข้าสู่หน้าประวัติผู้ป่วย
เมื่อทำการ (เข้าสู่ระบบ) สำเร็จ ระบบจะแสดงข้อมูลประวัติผู้ป่วย
พร้อมบอกรายละเอียดต่างๆแสดงในภาพที่ 5
ภาพที่ 5 แสดงภาพประวัติผู้ป่วย
จากภาพที่ 5 แสดงภาพประวัติผู้ป่วย จะมีรายละเอียดประวัติเบื้องต้น
ของผู้ป่วยให้ทราบ เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ประวัติการรับ
วัคซีน ใบรับรองการฉีดวัคซีน
การดูแผนที่สถานการณ์โควิด-19 ปั จจุบัน
ในระบบแพลตฟอร์มจะมีหัวข้อการให้บริการ จะมีหัวข้อแผนที่การ
ระบาด แสดงในภาพที่ 6
ภาพที่ 6 แสดงภาพสถานการณ์โควิด-19 ปั จจุบัน
จากภาพที่ 6 แสดงภาพสถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดสมุทรสาคร
แสดงข้อมูลขอบเขตการระบาด จำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิต การฉีด
วัคซีน ผ่านระบบเว็ปแอพพลิเคชั่นของกรมควบคุมโรค
การดูแผนที่โรงพยาบาล
ในระบบแพลตฟอร์มจะมีหัวข้อการให้บริการ จะมีหัวข้อแผนที่โรง
พยาบาล แสดงในภาพที่ 7
ภาพที่ 7 แสดงภาพแผนที่โรงพยาบาล
จากภาพที่ 7 แสดงภาพแผนที่โรงพยาบาล จากจุดเริ่มต้นที่ได้เซตไว้
คือ ศาลหลักเมืองสมุทรสาคร ปลายทาง เป็ น ศูนย์พักคอย โรงพยาบาล
ศูนย์วัคซีน ที่อยู่ใน อ.เมือง จ. สมุทรสาคร เมื่อทำการกด (ส่ง) ระบบจะ
แสดงแผนที่เส้นทางในรูปแบบของ Google Map โชว์บนเว็ปไซด์
การดูสถานการณ์โควิด-19 ปั จจุบัน
ในระบบแพลตฟอร์มจะมีหัวข้อการให้บริการ จะมีหัวข้อสถานการณ์
แสดงในภาพที่ 8
ภาพที่ 8 แสดงภาพ สถานการณ์โควิดปั จจุบัน
จากภาพที่ 8 แสดงภาพสถานการณ์โควิด-19 จะมีการแสดง จำนวนผู้
ป่ วยรายใหม่ จำนวนผู้เสียชีวิต การได้รับวัคซีน จากกรมควบคุมโรค
สรุปผลการศึกษา
จากการพัฒนาแพลตฟอร์มระบบบริหารจัดการโควิด-19 โดยการ
พัฒนาในรูปแบบเว็ปแอพพลิเคชั่นที่รองรับผู้ใช้งานผ่านเว็บบราวเซอร์ต่างๆ
ชื่อแพลตฟอร์มว่า managingcovid19 โดยการพัฒนาแพลตฟอร์ม จะให้
HTML5,xampp, Visual Studio, PHP เป็ นเครื่องมือ และ
www.000webhost.com สำหรับอัพเว็บไซด์ ระบบแพลตฟอร์มบริหาร
จัดการโควิด-19 ช่วยอำนวยความสะดวกในด้านบริหารจัดการ ข้อมูลต่างๆ
เช่น ข้อมูลผู้ป่วย ข้อมูลความรู้จากหลายๆแหล่ง ข้อมูลรายงานสถานการณ์
ข้อมูลแผนที่การเดินทาง ให้อยู่ในระบบแพลตฟอร์มเดียว แต่ก็จะมีข้อจำกัด
ในการที่ประชาชนบางคนไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ตหรือพื้นที่ห่างไกลที่
อินเตอร์เน็ตเข้าไม่ถึง ซึง่ อาจจะต้องเข้ามาใช้ระบบในตัวเมืองแทน
ข้อเสนอแนะ
ระบบแพลตฟอร์มบริหารจัดการโควิด-19 สามารถนำไปต่อยอดเพื่อใช้
ในกรณีโรคระบาดอื่นๆได้ เช่น โรคฝี ดาษลิง โรคไข้หวัดใหญ่ เป็ นต้น
เอกสารอ้างอิง
[1] API google map แหล่งที่มา:
https://console.cloud.google.com/google/maps-apis
[2] Covid-19 คืออะไร แหล่งที่มา:
https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-
2019/q-a-on-covid-19/q-a-on-covid-19-general
[3] ข้อมูลวัคซีนโควิด-19 ที่ควรรู้ แหล่งที่มา:
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/%E0%B8%
81%E0%B9%88%E0%B8%AD
%E0%B8%99%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%A
7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B
%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A
7%E0%B8%B4%E0%B8%94-19
[4] ทำความรู้จักชนิดและประเภทของวัคซีนโควิด แหล่งที่มา:
https://www.traveloka.com/th-th/explore/tips/covid19-
vaccines/92911?
utm_id=CmMpS29V&ad_id=&click_id=Cj0KCQjwpeaYBhDXARIsAE
zItbF0M47mQ0xCB9Vnt73_hNthM0qp0A8jXjayL0_EwnTRjpsq50F
6WHEaAkhAEALw_wcB&placement=&group_id=&contexts=%7B
%22accessCode
%22:%221095THMKT9719%22%7D&gclid=Cj0KCQjwpeaYBhDXAR
IsAEzItbF0M47mQ0xCB9Vnt73_hNthM0qp0A8jXjayL0_EwnTRjpsq
50F6WHEaAkhAEALw_wcB
[5] อาการต้องรู้หลังฉีดวัคซีน COVID-19 แหล่งที่มา:
https://www.bangkokhospital.com/content/symptoms-to-know-
after-getting-the-covid-19-vaccine

You might also like