Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 5

S N R U J o u r n a l o f S c i e n c e a n d T e c h n o l o g y 8 ( 2 ) M a y – Au g u s t ( 2 0 1 6 ) 2 1 1  2 1 5

SN RU J our na l of Sc ie nc e a nd T ec hnol og y
Journal home page: snrujst.snru.ac.th

ความชุกของ โรคติดเชื้อหนอนพยาธิ ในพื้นที่ตําบลซําสูง จังหวัดขอนแกน ประเทศไทย


Prevalence of parasitic infection in Sum Sung sub-district, Khon Kaen Province, Thailand
ลดาชาติ แตพงษโสรัถ1 ชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล1, * พิสมัย หอมจําปา1 บังอร ฉางทรัพย2 สุภาภรณ วรรณภิญโญชีพ2
พิพัฒน เรืองแสง3 อโณทัย ตรีวาณิช4 ชโลบล วงศสวัสดิ5์
Ladachart Taepongsorat1, Choosak Nithikathkul1, *, Pissamai Homchampa1, Bangon Changsap2,
Supaporn Wannapinyosheep2, Pipat Reungsang3, Anothai Trevanich4, Chalobol Wongsawad5
1หนวยวิจัยโรคเขตรอนและโรคปรสิต คณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาสารคาม 44150 ประเทศไทย
1Tropical and Parasitic Diseases Research Unit, Faculty of Medicine, Mahasarakham University
2คณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สมุทรปราการ 10540 ประเทศไทย
2Faculty of Science and Technology, Huachiew Chalermprakiet University

3ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร คณะวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน ขอนแกน 40002 ประเทศไทย


3Computer Science Program, Faculty of science, Khon Kaen University

4ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน ขอนแกน 40002 ประเทศไทย


4Program of Statistics, Faculty of science, Khon Kaen University

5คณะวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม เชียงใหม 50200 ประเทศไทย


5Faculty of science, Chiang Mai University, Chiang Mai

* Corresponding Author: Nithikathkul@yahoo.com

Received: 28 November 2015; Revised: 20 December 2015; Accepted: 25 December 2015; Available online: 1 August 2016

บทคัดยอ
การติดเชื้อโรคพยาธิจากอาหาร อาทิ โรคพยาธิใบไมตับ ซึ่งเปนสาเหตุหลักของอัตราการเสียชีวิตในเอเชีย การติดเชื้อโรคพยาธิจาก
ปลามักจะพบไดในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จากกลุมปลาเกล็ดขาวหลายชนิดซึ่งมีรายงานวาเปน
โฮสตกึ่งกลางตัวที่สองที่นําเชื้อแพรมาสูคน สําหรับการศึกษาครั้งนี้มุงศึกษาความชุกของพยาธิใบไมตับ และพยาธิใบไมลําไสชนิดอื่นใน
เขตพื้นที่ตําบลซําสูง จังหวัดขอนแกน ขอมูลที่ไดจะเปนขอมูลดานระบาดของกลุมประชากรเพื่อนําไปใชประโยชนในการพัฒนาแนวทาง
ในการควบคุมและคาดคะเนอุบัติการณตอไป ผูวิจัยรวมกับเจาหนาที่สาธารณสุข เก็บตัวอยางอุจจาระของประชาชนในเขตพื้นที่ตําบล
ซําสูง จังหวัดขอนแกน จํานวน 240 ราย ที่มีอายุระหวาง 20-80 ป เปนเพศชาย รอยละ 60.83 และเพศหญิง รอยละ 39.17 พบอัตรา
การติดเชื้อพยาธิจํานวนทั้งสิ้น 14 ราย (รอยละ 5.83) โดยพบติดเชื้อพยาธิเ สนดาย (Strongyloides stercoralis) 11 ราย (รอยละ
4.58) และพยาธิใบไมตับ (Opisthorchis viverrini) 3 ราย (รอยละ 1.25)
คําสําคัญ: ความชุก; โรคติดเชื้อ; หนอนพยาธิ

©2016 Sakon Nakhon Rajabhat University reserved

211
L . T a e p o n g s o r a t e t a l . / S N R U J o u r n a l o f S c i e n c e a n d Te c h n o l o g y 8 ( 2 ) ( 2 0 1 6 ) 2 1 1  2 1 5

Abstract
Food-born trematode infections such as opisthochiasis are major causes of morbidity in Asia. Fish-borne
trematode infections are commonly found in the northern and northeastern regions of Thailand. Several species
of cyprinoid freshwater fish have been reported as secondary intermediate hosts. This present study was performed
in order to determine the prevalence of infections with Opisthorchis viverrini and other intestinal parasites in Sum
Sung sub-district, Khon Kean Province, Thailand. Data regarding epidemiologic characteristics of the population were
thought to be useful in the development of a strategy to control and eradicate infections. The investigation was
performed with the help of local Public Health Department officials. Stool samples were collected from 240
subjects in Sum Sung sub-district, Khon Kean Province with a mean the subject’s ages were between 20 and 80
years. Of these, 60.83 percentages were males and 39.17 percentages were females. Parasites were found in 14
stool samples (5.83 percentages). The majority of detected parasites were Strongyloides stercoralis 11 case (4.58
percentages). And Opisthorchis viverrini were found 3 cases (1.25 percentage).
Keywords: Prevalence; Parasitic; Infection

1. บทนํา
โรคติดเชื้อปรสิตถือวาเปนโรคติดตอที่สําคัญที่เปนปญหาทางดานสาธารณสุขในปจจุบันของประเทศไทยและในประเทศอื่นๆทั่วโลก
พบไดทั่วไปในประเทศเขตรอน โดยเฉพาะพื้นที่ในชนบทของประเทศไทย [1] ทั้ งนี้เ ชื้อปรสิต บางชนิด อาจจะพบมากนอยในแตล ะ
ภูมิภาคที่ตางกัน เชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ จะพบพยาธิใบไมตับเปนสวนใหญ ในขณะเดียวกันภาคใตจะพบพยาธิ
ปากขอ พยาธิแสมา และพยาธิไสเดือน จากการติดเชื้อปรสิตทําใหผูปวยมีการดูดซึมอาหารผิดปกติ ทองเสีย สูญเสียเลือด ความสามารถ
ในการทํางานลดลงซึ่งมีความสําคัญตอสุขภาพและเปนปญหาของสังคม
จากสถานการณโรคหนอนพยาธิป 2552 พบว าความชุกโรคหนอนพยาธิทุกชนิดเทากับรอยละ 18.1 และเมื่อพิจารณารายภาค
พบวาประชากรที่มีภูมิลําเนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบอัตราของการเปนโรคหนอนพยาธิสูงที่สุดคิดเปนรอยละ 26.0 รองลงมาคือ
ภาคใตร อยละ 19.8 และภาคเหนือรอยละ 17.7 โดยการตรวจพบไข ของพยาธิ พบวาสวนใหญเ ปนโรคพยาธิ ใบไม ตั บร อยละ 8.7
รองลงมาคือโรคพยาธิปากขอรอยละ 6.5 ซึ่งการกระจายของโรคพยาธิใบไมตับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราความชุกสูงกวาภาค
อื่นคือ รอยละ 18.7 ภาคเหนือรอยละ 10.0 เมื่อพิจารณาในระดับหมูบานพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบวาอัตราความชุกของโรค
พยาธิใบไมตับสูงที่สุดถึงรอยละ 85.2 [2] ซึ่งเมื่อพิจารณาคาความชุกดังกลาวจะพบวาคาความชุกของการติดเชื้อหนอนพยาธิมีคาเกิน
มาตรฐานที่กรอบนโยบายกําหนด กลาวคือ การดําเนินงานการป องกันโรคหนอนพยาธิ ตามกรอบนโยบายของกระทรวงสาธารณสุ ข
กําหนดใหทุกพื้นที่มีความชุกหรืออัตราการตรวจพบของโรคหนอนพยาธิไมเกินรอยละ 10 ซึ่งแสดงใหเห็นวาพื้น ที่ที่มีความชุกของโรค
หนอนพยาธิสูงเปนพื้นที่ที่ตองใหความสําคัญในการแกไขปญหา
จากขอมูลขางตน จะพบวา โรคติดเชื้อปรสิตจัดวาเปนปญหาที่มีความสําคัญ ที่ควรแก ไขอยางเรงดวน เนื่องจากเปนโรคที่สงผล
กระทบต อสุ ขภาพอนามั ยของประชาชน และเพื่อให สอดคล องกั บแผนงานป องกันควบคุมโรคติ ดต อในแผนพัฒ นาการสาธารณสุ ข
แหงชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2556-2560) ซึ่งไดมีการกําหนดกลยุทธใหจังหวัดมีการดําเนินการควบคุมโรคหนอนพยาธิ โดยเนนการคนหา
พื้นที่เสี่ยงและกลุมเสี่ยง การสรางพลังชุมชนและใชหลักการใหความรูโรคหนอนพยาธิโดยใชโรงเรียนเปนศูนยกลาง ดังนั้น กลุมผูวิจัยจึง
ไดทําการศึกษาความชุกของพยาธิใบไมตับและพยาธิใบไมลําไสชนิดอื่นในเขตพื้นที่ตําบลซําสูง จังหวัดขอนแกน เพื่อจะเปนขอมูลดาน
ระบาดของกลุมประชากรเพื่อนําไปใชประโยชนในการพัฒนาแนวทางในการควบคุมและคาดคะเนอุบัติการณในจังหวัดขอนแกนตอไป

212
L . T a e p o n g s o r a t e t a l . / S N R U J o u r n a l o f S c i e n c e a n d Te c h n o l o g y 8 ( 2 ) ( 2 0 1 6 ) 2 1 1  2 1 5

2. อุปกรณและวิธีดําเนินการวิจัย
กลุมตัวอยางคือ ประชาชนที่มีอายุระหวาง 20-80 ป ที่อาศัยอยูหมูที่ 1 2 3 และ 4 ตามลําดับ ตําบลซําสูง อําเภอซําสูง จังหวัด
ขอนแกน ซึ่งไดจากการสุมอยางมีระบบเพื่อเลือกหนวยตัวอยางจํานวนทั้งสิ้น 4 หมูบาน จากนั้นทําการสุมอยางงายโดยการจับสลาก
เลือกหนวยตัวอยางในแตละหมูบานตามสัดสวนประชากร จะไดจํานวนทั้งสิ้น 240 ราย ทําการตรวจหาไขพยาธิ โดยการเก็บอุจจาระใน
พื้นที่ ตามจํานวนขนาดตัวอยางที่ไดจากการคํานวณ ทําโดยการแจกตลับพลาสติก ติดฉลากรายชื่อและหมายเลข พรอมใบสัมภาษณ
และวิธีเก็บอุจจาระที่ถูกตอง จากนั้นเก็บรวบรวมตัวอยางอุจจาระในเชาวันรุงขึ้น โดยอาสาสมัครสาธารณสุขรวมกับทีมวิจัย สงตรวจ
ดวยวิธี Formalin ether concentration วิเคราะหขอมูลโดยใชโปรแกรมสําเร็จรูป SPSS for Windows version 11.5 นําเสนอขอมูล
ความชุก ลักษณะขอมูลทั่วไป ไดแก เพศ กลุมอายุ ดวยสถิติคาความถี่ และรอยละ

3. ผลและการอภิปรายผลการวิจัย
จากการศึกษาความชุกของการติดเชื้อโรคหนอนพยาธิในเขตพื้นที่บานโนน ตําบลซําสูง อําเภอซําสูง จังหวัดขอนแกน จํานวนทั้งสิ้น
240 ราย ที่มีอายุระหวาง 20-80 ป เปนเพศชาย รอยละ 60.83 และเพศหญิง รอยละ 39.17 พบอัตราการติดเชื้อพยาธิจํานวนทั้งสิ้น
14 ราย (รอยละ 5.83) โดยในจํานวนนี้ตรวจพบในเพศชายรอยละ 6.16 และเพศหญิงรอยละ 5.32 (ตารางที่ 1) โดยพบติดเชื้อพยาธิ
เสนดาย (Strongyloides stercoralis) 11 ราย (รอยละ 4.58) และพยาธิใ บไมตั บ (Opisthorchis viverrini) 3 ราย (รอยละ 1.25)
(ภาพที่ 1) และตรวจพบมากที่สุดในชวงอายุ 41-50 ป (รอยละ 28.57) (ภาพที่ 2)

ตารางที่ 1 ความชุกของ โรคติดเชื้อหนอนพยาธิ ในพื้นที่ตําบลซําสูง จังหวัดขอนแกน (n=240)

ผลการตรวจ
เพศ
จํานวนที่ตรวจ (ราย) จํานวนที่พบ (ราย) รอยละ
ชาย 146 9 6.16
หญิง 94 5 5.32
รวม 240 14 5.83

Opisthorchis viverrini
Strongyloides stercoralis
66.67%

33.33%

ภาพที่ 1 แสดงชนิดของหนอนพยาธิที่ตรวจพบ ในพื้นที่ตําบล ภาพที่ 2 ความสัมพันธระหวางอายุกับอัตราการติดเชื้อ


ซําสูง จังหวัดขอนแกน (n=14) หนอนพยาธิในพื้นที่ตําบลซําสูง จังหวัดขอนแกน
(n=14)

213
L . T a e p o n g s o r a t e t a l . / S N R U J o u r n a l o f S c i e n c e a n d Te c h n o l o g y 8 ( 2 ) ( 2 0 1 6 ) 2 1 1  2 1 5

การศึ กษาครั้ง นี้มุ ง ศึกษาความชุกของพยาธิใ บไม ตั บและพยาธิ ใบไมลํ าไส ชนิ ด อื่นในเขตพื้ นที่ ตํ าบลซํ าสูง อําเภอซําสู ง จั งหวั ด
ขอนแกน ซึ่งจังหวัดขอนแกนจัดเปนแหลงระบาดของพยาธิใบไมตับ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เนื่องจากความ
เหมาะสมทางสิ่งแวดลอมและจากการสํารวจพฤติกรรมของประชน ยังพบประชาชนสวนใหญยังมีพฤติกรรมการบริโภคแบบสุกๆดิบๆ
และจากการศึกษาครั้งนี้พบวายังมีประชาชนบางสวนที่ติดเชื้อพยาธิลําไส ไดแก พยาธิเสนดาย พยาธิใบไมตับ และพยาธิปากขอ ซึ่ง
พยาธิเหลานี้จัดเปนกลุมพยาธิที่เปนปญหาทางดานสาธารณสุขเนื่องจากเปนโรคติดเชื้อพยาธิดังกลาวสงผลกระทบตอสุขภาพอนามัย
ของประชาชน โดยพยาธิใบไมตับเปนสาเหตุหนึ่งที่ทําใหเกิดโรคมะเร็งตับในคน จากการศึกษากอนหนานี้พบวาผลจากการตรวจอุจจาระ
เพื่อหาความชุกของโรคพยาธิ พบวามีความชุกของโรคพยาธิรวมรอยละ 9.78 โดยพบการติดเชื้อพยาธิใบไมตับมากที่สุดรอยละ 5.2
รองลงมาคือ พยาธิใบไมในลําไสขนาดเล็กรอยละ 3.97 พยาธิปากขอ รอยละ 1.2 พยาธิแสมา รอยละ 0.6 ตามลําดับ ตําบลที่มีการติด
เชื้อสูงสุดคือ ตําบลชอแล อําเภอแมแตง จังหวัดเชียงใหม โดยมีอัตราการติดเชื้อ รอยละ 26.7 เพศชาย (รอยละ 11.8) มีการติดเชื้อ
มากกวาเพศหญิง (รอยละ 8.2) อายุที่มีการติดเชื้อสูงสุดคือกลุมอายุ 41-50 ป (รอยละ 18.2) [3] นอกจากนี้ยังพบพยาธิชนิดอื่น เชน
พยาธิปากขอ พยาธิแสมา ในพื้นที่ ตําบลบริเวณใกลเคียงแหลงน้ําขนาดใหญ และมีชาวบานในบริเวณใกลเคียงมีอาชีพ ชาวประมง หา
ปลา เพื่อบริโภคและจําหนาย ทั้งยังเปนบริเวณที่เคยมีรายงานการตรวจพบระยะติดตอพยาธิใบไมในลําไส หรืออาจกลาวไดวาเปนแหลง
ระบาดของพยาธิใบไมในลําไสขนาดเล็ก อาทิ Haplorchis taichui และ Haplorchoides sp. เปนตน [4] และจากการศึกษาลักษณะ
ไขพยาธิ ประกอบกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารประเภทปลาเกล็ดขาวที่ปรุงไมสุก พบไขพยาธิใบไมในลําไสขนาดเล็ก ในอุจจาระ
เปนจํานวนมากในประชากรที่ไ ดให ยาถายพยาธิเ พื่อดู พยาธิตั วแก ในอุ จจาระ พบวาพยาธิทั้ง หมดเป นพยาธิ ใบไมในลําไสข นาดเล็ ก
H. taichui นอกจากนี้หอยตัวนําที่เก็บมาจากแหลงน้ําเปนหอยเจดียชนิด Melanoides ที่เปนพาหะนําพยาธิใบไมในลําไสขนาดเล็ก [5]
และการติดเชื้อโรคพยาธิจากอาหาร อาทิ โรคพยาธิใบไมตับ ซึ่งเปนสาเหตุหลักของอัตราการเสียชีวิตในเอเชีย การติดเชื้อโรคพยาธิจาก
ปลามักจะพบไดในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จากกลุมปลาเกล็ดขาวหลายชนิดซึ่งมีรายงานวาเปน
โฮสตกึ่งกลางตัวที่สองที่นําเชื้อแพรมาสูคน

4. สรุปผลการวิจัย
ผลการเก็บอุจจาระเพื่อตรวจหาไขพยาธิโดยวิธี Formalin ether concentration โดยเก็บตัวอยางอุจจาระในเขตพื้นที่ตําบลซําสูง
จังหวัดขอนแกน จํานวน 240 ราย พบการติดเชื้อพยาธิจํานวนทั้งสิ้น 14 ราย (รอยละ 5.83) โดยพบติดเชื้อพยาธิเสนดาย 11 ราย และ
พยาธิใบไมตับ 3 ราย

5. ขอเสนอแนะ
การศึกษาครั้งนี้ชี้ใหเห็นวาการดําเนินการเชิงรุก โดยการลงพื้นที่ตรวจหาการติดเชื้อหนอนพยาธิ เปนการคนหาพื้นที่เสี่ยงและกลุม
เสี่ย งที่มี ความจํ าเป น และการสรางพลังชุ มชนโดยใช หลักการให ความรู โรคหนอนพยาธิ เพื่อให ประชาชนเกิดความตระหนั กในการ
ปองกันควบคุมโรคติดเชื้อหนอนพยาธิ และขอมูลที่ไดจากการสํารวจจะเปนขอมูลสําคัญทางดานระบาดวิทยา เพื่อนําไปใชประโยชนใน
การพั ฒนาแนวทางในการควบคุม และคาดคะเนอุบั ติ การณ ตอ ไป อย างไรก็ ตามควรมี การศึกษาเพิ่ม เติ ม ในแง มุม ของปจจั ยเสี่ย งที่
เกี่ยวของ

6. กิตติกรรมประกาศ
คณะผูวิจัยขอขอบพระคุณ คุณเบญจพร แกวคําใต คุณเบญจมาศ อรุณพาส และคุณอภิญญา เวลาโสภา ศูนยบริการทางการแพทย
คณะแพทยศาสตร อาสาสมัครสาธารณสุข หมูบาน บุคลากร โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพบานโนน อําเภอซําสูง จังหวัดขอนแกน และ
ขอขอบคุ ณ คุ ณบุ ญ ฑริกา หวานอารมณ ที่ ใ ห คํ าปรึกษาในดานรายละเอี ย ด รูป แบบ ขั้ นตอน การขอทุ นสนับ สนุ นงานวิ จัย และ
214
L . T a e p o n g s o r a t e t a l . / S N R U J o u r n a l o f S c i e n c e a n d Te c h n o l o g y 8 ( 2 ) ( 2 0 1 6 ) 2 1 1  2 1 5

ขอขอบคุณคณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปนอยางสูงที่ไดสนับสนุนงบประมาณเงินแผนดิน ประจําป พ.ศ. 2555 ใน


การทําวิจัยครั้งนี้จนเสร็จสมบูรณ สุดทายนี้ขอขอบคุณกําลังใจที่ไดรับจากครอบครัวและเพื่อนๆที่ผลักดันจนสําเร็จลุลวงไปไดดวยดี

7. References
[1] P. Jongsuksantikul, W. Chaeychomsri, P. Techamontrikul, P. Jeradit, P. Suratanavanit, Study on prevalence and
intensity of intestinal helminthiasis and opisthorchiasis in Thailand, J. Trop. Med. Parasitol. 15 (1992) 80-96.
[2] T. Wongsaroj, C. Nithikathkul, W. Rojkitikul, W. Nakai, L. Royal, P. Rammasut, National survey of helminthiasis in
Thailand, Asian. Biomed. 8(6) (2014) 779-783.
[3] C. Nithikathkul, W. Pumidonming, S. Wannapinyosheep, S. Tesana, S. Chaiprapathong, C. Wongsawad, Opisthorchis
viverrini infection in minute intestinal fluke endemic areas of Chiang Mai Province, Thailand, Asian. Biomed. 3(2)
(2009) 187-191.
[4] C. Nithikathkul, C. Wongsawad, Prevalence of Haplorchis taichui and Haplorchoides sp. metacercariae in
freshwater fish from water reservoirs, Chiang Mai, Thailand, Asian. Biomed. 46 (2) (2008) 109-112.
[5] W. Maipanich, J. Waikagul, D. Watthanakulpanich, C. Muennoo, S. Sanguankiat, S. Pubampen, M. T. Anataphruti,
S. Nuamtanong, T. Yoonuan, K. Visetsuk, Intestinal parasitic infections among inhabitants of the North, West-
central and Eastern Border areas of Thailand, J. Trop. Med. Parasitol. 27 (2014) 51-58.

215

You might also like