U6 การนำหลักสูตรไปใช้

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 21

1

การนําหลักสูตรไปใช้
Curriculum Implementation
หัวข้อเนื้อหา
1. ความหมายของการนําหลักสูตรไปใช้
2. แนวคิดเกี่ยวกับการนําหลักสูตรไปใช้
3. หลักการที่สําคัญในการนําหลักสูตรไปใช้
4. ขั้นตอนในการนําหลักสูตรไปใช้
5. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนําหลักสูตรไปใช้

1.ความหมายของการนําหลักสูตรไปใช้
การนําหลักสูตรไปใช้ซึ่งเป็นขั้นตอนที่นําหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติเป็นงานที่มีขอบเขต
กว้างขวาง ทําให้การให้ความหมายของคําว่าการนําหลักสูตรไปใช้แตกต่างกันออกไป นักการศึกษา
หลายท่านได้แสดงความคิดเห็นหรือให้คํานิยามของคําว่าการนําหลักสูตรไปใช้ดังนี้
โบแชมป์ (Beauchamp. 1975 : 164) ได้ให้ความหมายของการนําหลักสูตรไปใช้ว่า
การนําหลักสูตรไปใช้ หมายถึง การนําหลักสูตรไปปฏิบัติ โดยประกอบด้วยกระบวนการที่สําคัญ
ที่สุดคือการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้ครูได้มีการพัฒนาการ
เรียนการสอน
สันต์ ธรรมบํารุง (2527 : 120) กล่าวว่า การนําหลักสูตรไปใช้หมายถึงการที่ผู้บริหาร
โรงเรียนและครูนําโครงการของหลักสูตรที่เป็นรูปเล่มนั้นไปปฏิบัติให้บังเกิดผล และรวมถึงการ
บริหารงานด้วยวิชาการของโรงเรียนเพื่ออํานวยความสะดวกให้ครูและนักเรียนสามารถสอนและ
เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สงัด อุทรานันทร์ (2532 : 260) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการนําหลักสูตรไปใช้ว่าเป็น
ขั้นตอนของการนํา หลั กสู ตรไปสู่การเรี ยนการสอนในห้องเรีย น ได้ แกการจั ดเอกสารประกอบ
หลักสูตร การเตรียมบุคลากร การบริหารและบริการหลักสูตร และการนิเทศการใช้หลักสูตร
จันทรา (Chandra. 1977 : 1) ได้ให้ความหมายของการนําหลักสูตรไปใช้ว่าเป็นการ
ทดลองใช้เนื้อหาวิชาวิธีการสอน เทคนิคการประเมินผล การใช้อุปกรณ์การสอนแบบเรียน และ
ทรัพยากรต่างๆ ให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียน โดยมีครูและผู้ร่างหลักสูตรเป็นผู้ตั้งปัญหาแล้วหา
คําตอบให้ได้จากการประเมินผล
รายงานการประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรของประเทศในภูมิภาคเอเชีย
(APEID. 1977 : 3) กล่าวว่า การนําหลักสูตรไปใช้มีความหมายครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนา
หลักสูตรไปจนถึงการอบรมครูผู้สอนให้เป็นผู้มีสมรรถนะที่จําเป็น พร้อมที่จะนําหลักสูตรไปใช้ให้
ได้ผลตามเป้าหมายที่กําหนดไว้
ธํารง บัวศรี (2514 : 165) กล่าวว่าการนําหลักสูตรไปใช้ หมายถึง กระบวนการ
เรียนการสอนสําหรับสอนเป็นประจําทุกๆ วัน
การนําหลักสูตรไปใช้ 2

สุมิตร คุณานุกร (2520 : 130) กล่าวว่าการนําหลักสูตรไปใช้เป็นกระบวนการที่ทํา


ให้หลักสูตรกลายเป็นการปฏิบัติจริง และเป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และมี
กิจกรรมที่จะกระทําได้ 3 ประการคือ
1.การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน
2.การจัดปัจจัยและสภาพต่างๆ ภายในโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมาของหลักสูตร
3.การสอนของครู
จากความหมายของการนําหลักสูตรไปใช้ ตามที่นักการศึกษาได้ให้ไว้ข้างต้น พอ
สรุปได้ว่า การนําหลักสูตรไปใช้ หมายถึง การดําเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ในอันที่จะทําให้
หลัก สูตรที่สร้ างขึ้นดํ าเนิ นไปสู่ก ารปฏิบัติเพื่ อให้ บรรลุเ ป้าหมาย นั บแต่ การเตรียมบุคลากร
อาคาร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ สภาพแวดล้อม และการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน

2.แนวคิดเกี่ยวกับการนําหลักสูตรไปใช้
ถ้าเรายอมรับว่าการนําหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สําคัญที่สุดที่จะทําให้หลักสูตร
บั งเกิ ด ผลต่ อการใช้ อย่ า งแท้ จ ริ งแล้ ว การนํ า หลั กสู ต รไปใช้ ก็ค วรจะเป็ น วิ ธี การปฏิ บั ติ การที่ มี
หลักเกณฑ์และมีกระบวนการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพพอที่จะมั่นใจได้ว่า หลักสูตรที่ได้สร้างขึ้นนั้น
จะได้มีโอกาสนําไปปฏิบัติจริงๆ อย่างแน่นอน นักการศึกษาต่างก็ให้ทัศนะซึ่งเป็นแนวคิดในการนํา
หลักสูตรไปใช้ดังนี้
โบแชมป์ (Beauchamp. 1975 : 169) กล่าวว่า สิ่งแรกที่ควรทําคือ การจั ด
สภาพแวดล้ อมของโรงเรียน ครู ผู้นําหลักสูต รไปใช้มีหน้ าที่แปลงหลักสูต รไปสู่ การสอน โดยใช้
หลักสูตรเป็นหลักในการพัฒนากลวิธีการสอน สิ่งที่ควรคํานึงถึงในการนําหลักสูตรไปใช้ให้ได้ผล
ตามเป้าหมายคือ
1.ครูผู้สอนควรมีส่วนร่วมในการร่างหลักสูตร
2.ผู้บริห ารต้ องเห็นความสําคั ญและสนั บสนุน การดําเนินงานให้เกิ ดผลสําเร็จได้
ผู้นําที่สําคัญที่จะรับผิดชอบได้ดี คือครูใหญ่
ทานการ์ด (Tankard. 1974 : 46-88) ได้ให้ความเห็นว่า ความสําเร็จของการนํา
หลักสูตรไปใช้อยู่ที่การวางแผนการทดลองใช้ ซึ่งมีองค์ประกอบต่างๆ คือ
1.รายละเอียดของโครงการ
2.ปรัชญาและจุดมุ่งหมาย
3.แผนการนําไปใช้และการดําเนินการ
ผู้เกี่ยวข้องในการนําหลักสูตรไปใช้ซึ่งมีศึกษานิเทศก์ ครูใหญ่ ผู้บริหารระดับต่างๆ เป็น
ส่วนใหญ่จะต้องร่วมมือกันดําเนินงานตั้งแต่การทําโครงการปรับปรุงหลักสูตร กําหนดจุดมุ่งหมาย
จัดทําเนื้อหาแผนการนําไปทดลองใช้ และการประเมินผล ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการนําไปทดลองใช้
จะต้องบันทึกไว้ทั้งหมด เพื่อนําไปเป็นข้อมูลในการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตร
สําหรับ เวอร์ดุน (Verduin, 1977 : 88-90) เข้าให้ทัศนะว่าการนําหลักสูตรไปใช้จะต้อง
เริ่ ม ดํ า เนิ น การโดยการนิ เ ทศให้ ครู ใ นโรงเรี ย นเข้ า ใจหลั กสู ต ร แล้ ว ตั้ ง กลุ่ ม ปฏิ บั ติ การขึ้ น เพื่ อ
3

การศึกษาปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการใช้หลักสูตรจากพื้นที่ที่เป็นปัญหาหลายๆ แห่งเพื่อให้ได้
ข้อมูลมากที่สุด กลุ่มปฏิบัติการนี้จะต้องเข้าไปทํางานร่วมกันกับครูผู้สอนอย่างจริงจังเพื่อให้เกิด
ความเห็นอกเห็นใจและมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน การจัดการอบรมปฏิบัติการแก่ครูประจําการถือ
ว่าเป็นกิจกรรมที่สําคัญที่สุดในการนําหลักสูตรไปใช้ ต้องใช้วิทยากรผู้เชี่ยวชาญการสอนโดยเฉพาะ
สามารถฝึกผู้อื่นได้ดี และมีวิธีการให้ครูเกิดความสนใจ ถ้ามีข้อเสนอแนะให้มีการเปลี่ยนแปลง
ระหว่างการใช้หลักสูตรควรเลือกครูผู้สอนที่อาสาสมัครและเต็มใจ ไม่ควรใช้ครูทุกคนในโรงเรียน
เพราะอาจมีบางคนที่ไม่เห็นด้วยและไม่เต็มใจการเปลี่ยนแปลง จึงควรทําแบบค่อยเป็นค่อยไป
เพื่อให้ครูส่วนใหญ่เข้า จะทําให้การเปลี่ยนแปลงมีความหมายและได้รับการยอมรับโดยปริยาย
จากเอกสารการประชุมของประเทศต่างๆในเอเชีย(APEID. 1977 : 29) ในการประชุม
ทบทวนประสบการณ์ต่างๆ ของประเทศในเอเชีย เรื่อง ยุทธศาสตร์การนําหลักสูตรไปใช้ได้สรุป
เป็นองค์ประกอบที่สําคัญได้ดังนี้
1.วางแผนและเตรียมการนําหลักสูตรไปใช้โดยให้คนหลายกลุ่มเข้าร่วมแสวงหาการ
สนับสนุนจากประชาชนและจัดเตรียมทรัพยากร (มนุษย์และวัสดุ) ให้พร้อม
2.จัดให้มีหน่วยงานส่งเสริมการนําหลักสูตรไปใช้ให้เป็นไปได้สะดวกและรวดเร็ว
3.กํ า หนดวิ ถีทางและกระบวนการนํ า หลั กสู ต รไปใช้ อย่ า งเป็ น ขั้ น ตอน รวมเหตุ
ผลต่างๆ ที่จะใช้ในการจูงใจครูและติดตามผลการปฏิบัติงาน
ธํารง บัวศรี (2514 : 165-195) ได้สรุปชี้ให้เห็นปัจจัยที่จะนําไปสู่ความสําเร็จของการ
นําหลักสูตรไปใช้ไว้ว่าควรคํานึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1.โครงการสอน เช่น การวางโครงการสอนแบบหน่วย (Unit Organization of
Instruction, Teaching Unit) ประเภทของหน่วยการสอนมี 2 ประเภทคือ หน่วยรายวิชา
(Subject Matter Unit) และหน่วยงานประสบการณ์ (Experience Unit)
2.หน่วยวิทยาการ (Resource Unit) เป็นแหล่งให้ความรู้แก่ครู เช่น เอกสาร คู่มือ
และแนวการปฏิบัติต่างๆ
3.องค์ประกอบอื่นๆ ที่ช่วยในการสอน เช่น สถานที่และเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์
การเรียนการสอน วิธีสอนและวัดผลการศึกษา กิจกรรมร่วมหลักสูตร การแนะนําและการจัดและ
บริหารโรงเรียน เป็นต้น
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2521 : 140-141) ได้ให้ความเห็นว่า ผู้มีบทบาทในการนําหลักสูตรไปใช้
ให้บรรลุจุดหมายมี 3 กลุ่มคือ ครูใหญ่ ครูประจําชั้น และชุมชน ในจํานวนนี้ครูใหญ่เป็นผู้ที่มี
บทบาทมากที่สดที่จะต้องศึกษาและวางแผนเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรโดยมีขั้นตอนสรุปสั้นได้ดังนี้
1.เตรียมวางแผนงาน
2.เตรียมจัดอบรม
3.การจัดครูเข้าสอน
4.การจัดตารางสอน
5.การจัดวัสดุประกอบหลักสูตร
6.การประชาสัมพันธ์
การนําหลักสูตรไปใช้ 4

7.การจัดสภาพแวดล้อมและการเลือกกิจกรรมเสริมหลักสูตร
8.การจัดโครงการประเมินผล
จากเอกสารทางวิ ช าการของแผนกวิ ช าประถมศึ กษา คณะครุ ศ าสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์
มหาวิทยาลัย (2516 : 11) กล่าวถึง บทบาทของโรงเรียนในการนําหลักสูตรไปใช้ให้ได้ผลว่าควรจัด
กิจกรรมดังนี้
1.ประชุมครูเพื่อศึกษาหลักสูตรและทําโครงการสอน
2.จัดอบรมครู เพื่อให้เพิ่มพูนความรู้จากวิทยากรในด้านวิธีการสอนแบบใหม่ๆ
3.เตรียมการเอกสารทุกชนิดไว้ให้ค้นคว้าและอ่านประกอบ
จากคู่มือการนําหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 ไปใช้ (กรมวิชาการ. 2520 : 279)
ได้กล่าวไว้ในเรื่องการเตรียมการในการใช้หลักสูตรว่ามีขั้นตอนสรุปได้ดังนี้
1.เผยแพร่และประชาสัมพันธ์
2.จัดตั้งกลุ่มปฏิบัติการหลักสูตรขึ้นในส่วนภูมิภาคทุกเขตการศึกษา
3.ประสานงานกับกรมการฝึกหัดครู
4.ฝึกอบรมครู
5.จัดสรรงบประมาณ
6.จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคการใช้หลักสูตร
จากแนวคิ ด ของการนํ า หลั ก สู ต รไปใช้ ที่ ไ ด้ ย กตั ว อย่ า งข้ า งต้ น จะเห็ น ได้ ว่ า การนํ า
หลั ก สู ต รไปใช้ นั้ น เป็ น งานหรื อกิ จ กรรมที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ บุ ค คลหลายฝ่ า ย นั บ แต่ ผู้ บ ริ ห ารระดั บ
กระทรวง กรม กอง ผู้บริหารระดับโรงเรียน ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ และบุคคลอื่นๆ ขอบเขตและ
งานของการนําหลักสูตรไปใช้เป็นงานที่มีขอบเขตกว้างขวาง เพราะฉะนั้นการนําหลักสูตรไปใช้จึง
เป็นสิ่งที่ต้องทําอย่างรอบคอบและระมัดระวัง

3. หลักการที่สําคัญในการนําหลักสูตรไปใช้
จากแนวคิดดังกล่าว สรุปเป็นหลักการสําคัญในการนําหลักสูตรไปใช้ได้ดังนี้
1.จะต้องมีการวางแผนและเตรียมการในการนําหลักสูตรไปใช้ ทั้งนี้บุคลกรผู้มีส่วน
เกี่ยวข้องควรจะได้ศึกษาวิเคราะห์ ทําความเข้าใจหลักสูตรที่จะนําไปใช้ให้มีความเข้าใจตรงกัน
เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในทํานองเดียวกัน และสอดคล้องต่อเนื่องกัน
2.จะต้ อ งมี อ งค์ ค ณะบุ ค คลทั้ ง ส่ ว นกลางและส่ ว นท้ อ งถิ่ น ที่ จ ะต้ อ งทํ า หน้ า ที่
ประสานงานกันเป็นอย่างดีในแต่ละขั้นตอนของการนําหลักสูตรไปใช้ นับแต่การเตรียมการนํา
หลักสูตรไปใช้ในด้านวิธีการ สื่อ การประเมินผล การจัดการอบรมผู้ที่จะไปพัฒนาครู การอบรม
ผู้ใช้หลักสูตรในท้องถิ่นการนําหลักสูตรไปใช้ของครู และการติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรของ
ครู ฯลฯ
3.การนํา หลั กสู ตรไปใช้ จะต้องดํา เนิ นการอย่ างเป็ นระบบ เป็น ไปตามขั้ นตอนที่
วางแผนและเตรียมการไว้
5

4.การนําหลักสูตรไปใช้จะต้องคํานึงถึงปัจจัยสําคัญที่จะช่วยให้การนําหลักสูตรไปใช้
ประสบความสําเร็จได้ ปัจจัยต่างๆ เหล่านั้นก็คือ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เอกสารหลักสูตรต่างๆ
ตลอดจนสถานที่ต่ า งๆ ที่ จ ะเป็ นแหล่ งให้ ความรู้ป ระสบการณ์ ต่ างๆ สิ่ งเหล่ า นี้ จะต้ องได้ รั บ การ
จัดเตรียมไว้เป็นอย่างดี และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนได้เมื่อได้รับการร้องขอ
5.ครูเป็นบุคลากรที่สําคัญที่สุดในการนําหลักสูตรไปใช้ ดังนั้นครูจะต้องได้รับการ
พัฒนาอย่างเต็มที่และจริงจัง เริ่มตั้งแต่การอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจทักษะ และเจตคติเกี่ยวกับ
การใช้ ห ลั กสู ต รอย่ า งเข้ มแข็ ง การให้ การสนั บ สนุ น ด้ า นปั จ จั ย ต่ า งๆ แก่ ครู ได้ แก่ การติ ด ตาม
ประเมินผลการปฏิบัติการสอนของครูอย่างเป็นระบบ และการพัฒนาตัวครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการสอน เช่น การจัดอบรมสัมมนาเป็นระยะๆ การเผยแพร่เอกสารที่เป็นประโยชน์ การพาไป
ทัศนะศึกษาการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ และการสร้างขวัญกําลังใจในการปฏิบัติงาน ฯลฯ
6.การนําหลักสูตรไปใช้ ควรจัดตั้งให้มีหน่วยงานที่มีผู้ชํานาญการพิเศษ เพื่อให้การ
สนับสนุนและพัฒนาครู โดยทําหน้าที่นิเทศ ติดตามผลการนําหลักสูตรไปใช้ และควรปฏิบัติงาน
ร่วมกับครูอย่างใกล้ชิด
7.หน่วยงานและบุคลากรในฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนําหลักสูตรไปใช้ไม่ว่าจะ
เป็นส่วนกลางหรือส่วนท้องถิ่น ต้องปฏิบัติงานในบทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่และเต็มที่
ความสามารถในส่ ว นที่รั บ ผิด ชอบ ซึ่ งจะส่ งผลกระทบโดยตรงต่ อการนํา หลั กสู ต รไปใช้ ของครู
ลักษณะเช่นนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าการนําหลักสูตรไปใช้จะประสบความสําเร็จหรือล้มเหลว
8.การนําหลักสูตรไปใช้สําหรับผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกหน่วยงานจะต้องมี
การติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ ซึ่งจะต้องกําหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ ทั้งนี้เพื่อจะได้นํา
ข้อมูลต่างๆ มาประเมิน วิเคราะห์ เพื่อพัฒนาทั้งในแง่ของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและการวาง
แนวทางในการนําหลักสูตรไปใช้ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

4. ขั้นตอนในการนําหลักสูตรไปใช้
จากลักษณะงานและกิจกรรมของการนําหลักสูตรไปใช้ดังกล่าว สามารถสรุปขั้นตอน
ของการนําหลักสูตรไปใช้ดังนี้
1.ขั้นการเตรียมการใช้หลักสูตร
2.ขั้นดําเนินการใช้หลักสูตร
3.ขั้นติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร
4.1 ขั้นการเตรียมการใช้หลักสูตร
ในการเตรียมการใช้หลักสูตรเป็นขั้นตอนที่สําคัญ เพราะการนําเอาหลักสูตรใหม่
เข้ามาแทนที่หลักสูตรเดิมจะสําเร็จลุล่วงไปด้วยดีก็ต่อเมื่อได้มีการเตรียมการเป็นอย่างดีนับแต่การ
ตรวจสอบทบทวนหลักสูตรตามหลักกรทฤษฎีของหลักสูตร การทําโครงการและวางแผนการศึกษา
นําร่องเพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรหรือการทดลองใช้หลักสูตร การประเมินโครงการศึกษา
ทดลอง การประชาสัมพันธ์หลักสูตร และการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการใช้หลักสูตร
1.การตรวจสอบลักษณะหลักสูตร
การนําหลักสูตรไปใช้ 6

จุด ประสงค์ ของการตรวจสอบหรื อทบทวนหลั กสูต รเพื่ อต้ องการทราบว่ า


หลักสูตรที่พัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด เพื่อศึกษาหาวิธีการที่จะ
นําหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติได้จริงตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร รวมทั้งศึกษาองค์ประกอบ และปัจจัย
ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรและบริบททางสังคมอื่นๆ ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร
การตรวจสอบลั กษณะหลั กสู ต รเพื่ อดู ความชั ด เจนของหลั กสู ต ร ซึ่ งได้ แ ก่
ความกระจ่างชัดของคําชี้แจง คําอธิบายสาระสําคัญแนะปฏิบัติต่างๆ ของหลักสูตร นอกจากนั้น
จะดูความสอดคล้องขององค์ประกอบหลักสูตร ได้แก่จุดประสงค์การเรียน เนื้อหาสาระ กิจกรรม
ประสบการณ์การเรียน และการประเมินผลมีความสอดคล้องสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด มีความ
เหมาะสมกับพัฒนาการของผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจริงหรือไม่ รวมทั้งความหวังของสังคมได้
สะท้อนเข้ามาอยู่ในส่วนใดของตัวหลักสูตร ความซับซ้อนของเนื้อหาสาระมีมากน้อยเพียงใด สิ่ง
สําคัญอีกประการหนึ่งคือรายละเอียดต่างๆ ที่ปรากฏในหลักสูตรนั้นสามารถที่จะนําไปปฏิบัติได้
จริงตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ รวมทั้งบุคลากรและสิ่งอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ครูผู้สอน ผู้บริหาร งบประมาณ การบริหารสนับสนุนการใช้หลักสูตรได้ตามจุดประสงค์
คณะบุคคลที่ทําการตรวจสอบหลักสูตร ได้แก่คณะกรรมการยกร่างหลักสูตร
ผู้ บ ริ ห าร ครู ศึ ก ษานิ เ ทศก์ นั ก วิ ช าการ ผู้ เ รี ย นและผู้ ป กครอง ซึ่ ง ควรจะได้ มีบ ทบาทในการ
ประชุมสัมมนาเพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตร เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกัน เห็นคุณค่า เกิดการ
ยอมรับ และมีทัศนคติที่ดีต่อหลักสูตรซึ่งเป็นสิ่งที่สําคัญในการจะนําหลักสูตรไปใช้ต่อไป
2.การวางแผนและทําโครงการศึกษานําร่อง
การวางแผนและทํ า โครงการศึ ก ษานํ า ร่ อ งเป็ น สิ่ ง ที่ จํ า เป็ น จะตรวจสอบ
คุณภาพความเป็นไปได้ของหลักสูตรก่อนที่จะนําไปใช้ปฏิบัติจริง วิธีการนําหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ
ประการแรกคือเลือกตัวแทนของกลุ่มเป้าหมายก่อนที่จะทําการใช้หลักสูตร จากนั้นแปลงหลักสูตร
สู่ กระบวนการเรี ย นการสอน พั ฒ นาวั ส ดุ ห ลั ก สู ต ร เตรี ย มบุ ค ลากรให้ มี ความพร้ อ มในการใช้
หลักสูตร จัดหาแหล่งบริการสนับสนุนการใช้หลักสูตร งบประมาณ จัดสิ่งแวดล้อมที่จะสนับสนุน
การสอนติ ด ตามผลการทดลองทั้ งระยะสั้ น และระยะยาว รวมทั้ งศึ กษาระบบการบริ ห ารของ
โรงเรียนในปัจจุบันว่าระบบหลักสูตรจะเข้าไปปรับให้เข้าไปปรับใช้ให้เข้ากับระบบบริหารที่มีอยู่
เดิมให้ผสมผสานกันได้อย่างไร โดยไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบเดิม
3.การประเมินโครงการศึกษานําร่อง
การประเมินโครงการศึกษานําร่องอาจจะกระทําได้หลายรูปแบบ เช่น การ
ประเมินผลการเรียนจากผู้เรียน โดยการประเมินแบบย่อย และการประเมินรวบยอด การประเมิน
หลักสูตรหรือประเมินทั้งระบบการใช้หลักสูตร และปรับแก้จากข้อค้นพบ โดยประชุมสัมมนากับ
ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร เพื่อนําความคิดเห็นบางส่วนมาปรับปรุงหลักสูตร
ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
4.การประชาสัมพันธ์หลักสูตร
การเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามย่อมมีผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องเสมอไม่ทางใดก็
ทางหนึ่ ง การเปลี่ ย นแปลงหลั ก สู ต รก็ เ ช่ น เดี ย วกั น ผู้ ที่เ กี่ ย วข้ อ งนั บ ตั้ ง แต่ ผู้ บ ริ ห ารการศึ ก ษา
7

ศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอําเภอ ผู้อํานวยการประถมศึกษาจังหวัดและอําเภอ ศึกษานิเทศก์


ผู้ อํ า นวยการโรงเรี ย น อาจารย์ ใ หญ่ ครู ใ หญ่ ครู ผู้ ส อน ซึ่ ง จะต้ อ งได้ รั บ ผลกระทบจากการ
เปลี่ยนแปลงทั้งสิ้นมากบ้างน้อยบ้างตามควรแต่กรณี ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะหลักสูตรเกี่ยวข้องกับสิ่ง
ต่ า งๆ หลายอย่ า งไม่ เ ฉพาะเรื่ อ งการเรี ย นการสอนเท่ า นั้ น แต่ ยั ง เกี่ ย วพั น ไปถึ ง วั ส ดุ อุ ป กรณ์
เครื่องมือเครื่องใช้ อาคารสถานที่ และงบประมาณค่าใช้จ่าย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับบุคคลที่
กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งจะต้องปรับตัวแก้ไขวิธีการทํางานและปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้
การใช้หลักสูตรประสบผลสําเร็จตามจุดหมายที่ได้กําหนดไว้ ด้วยเหตุนี้เขาเหล่านั้นจึงจําต้องทราบ
ว่ากําลังจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้น อันที่จริงการประชาสัมพันธ์ไม่ใช่ว่าจะมาเริ่มตอนจัดทํา
หลักสูตรต้นแบบเสร็จแล้ว แต่ควรเริ่มต้นตั้งแต่มีแผนการที่จะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตร โดย
ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบเป็นระยะๆ ว่า ได้มีการดําเนินการไปแล้วแค่ไหนเพียงใด
การประชาสัมพันธ์อาจทําได้หลายรูปแบบ เช่น การออกเอกสารสิ่งพิมพ์ การ
ใช้สื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น นอกจากนี้การประชุมและการสัมมนากี่
ครั้ง เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทราบก็คือสิ่ง
สําคัญที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นคืออะไร จะมีประโยชน์แก่ผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องอย่างไร และจะมีผลต่อ
บทบาทและหน้าที่ของเขาอย่างไร
5.การเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
การอบรมครูผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรต้องคํานึงและต้อง
กระทําอย่างรอบคอบ นับแต่ขั้นเตรียมการสํารวจข้อมูลเบื้องต้นที่นํามาใช้การวางแผน และวิธีการ
ฝึกอบรมบุคลากร เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการใช้หลักสูตรซึ่งจะมีความแตกต่างของความพร้อม
ของการใช้หลักสูตร โรงเรียนในตัวเมืองขนาดใหญ่ย่อมมีความพร้อมหลายๆ ด้านมากกว่าโรงเรียน
ขนาดเล็กที่อยู่ในชนบท และบุคลากรฝ่ายต่างๆ เช่น ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครู กลุ่มผู้สนับสนุน
การสอน รวมทั้ง ผู้ปกครอง วิธีการอบรม ระยะเวลาที่ใช้ในการอบรมและงบประมาณที่ใช้ในแผน
นี้
วิธีการฝึกอบรมจะแตกต่างกันไปตามกลุ่มเป้าหมายของการใช้หลักสูตร เช่น
ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการอบรมจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับนโยบาย เจตนารมณ์ของหลักสูตรการจัด
งบประมาณและบริการสนับสนุนการใช้หลักสูตรและการสอน วิธีการที่ใช้ส่วนมากจะเป็นการ
ประชุมชี้แจงสาระสําคัญและแนวทางการปฏิบัติ เป็นต้น วิธีการที่ใช้ส่วนมากจะเป็นมุ่งเน้นการ
ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพราะการที่จะเข้าใจหลักสูตรจนสามารถปฏิบัติการสอนได้นั้น ต้องลงมือ
ฝึกปฏิ บั ติ จ ริ งครู จึ งจะเห็ น ภาพรวมและเกิ ด ความมั่ น ใจในการสอน วิ ธี การฝึ กอบรมแบบนี้ จ ะ
สิ้นเปลืองงบประมาณ และต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร ดังนั้นทรัพยากรต่างๆ การเตรียมวัสดุ
สําหรับการฝึกอบรม จะต้องมีการวางแผนอย่างดี เพื่อไม่ให้ครูเกิดความสับสนและไม่แน่ใจซึ่งอาจ
เป็นเหตุให้เกิดการไม่ยอมรับหลักสูตรใหม่ตามมา นอกจากนั้นครูให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อให้ทราบ
ผลของการฝึกอบรมปัญหาและแนวทางแก้ไข โดยให้ผู้อบรมได้มีส่วนวางแผนการแก้ไขปัญหา และ
ตัดสินใจ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผลของการพัฒนาหลักสูตรดําเนินไปสู่การปฏิบัติจริงได้มากขึ้น
4.2 ขั้นดําเนินการใช้หลักสูตร
การนําหลักสูตรไปใช้ 8

การนําหลักสูตรไปใช้ เป็นการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน การใช้หลักสูตรจะมี


งานหลัก 3 ลักษณะคือ
1. การบริหารและบริการหลักสูตร
2. การดําเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
3. การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
1. การบริหารและบริการหลักสูตร หน่วยงานบริการหลักสูตรส่วนกลางของคณะ
พัฒนาหลักสูตรจะมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเตรียมบุคลากรเพื่อใช้หลักสูตรและการบริหาร
และบริการวัสดุหลักสูตร ส่วนงานบริหารและบริการหลักสูตรในระดับท้องถิ่นซึ่งได้แก่โรงเรียนก็
จะเกี่ยวข้องกับการจัดบุคลากรเข้าสอนตามความถนัดและความเหมาะสม การบริหารและการ
บริการหลักสูตรในโรงเรียนได้แก่
1.1 การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร การจัดครูเข้าสอน หมายถึง การจัด
และดํ า เนิ น การเกี่ ย วกั บ การสรรหาและกลวิ ธี ก ารใช้ บุ ค ลากรอย่ า งเหมาะสมกั บ ความรู้
ความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและประสบการณ์ รวมทั้งสามารถพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มี
ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ และมีความรับผิดชอบต่อการงานอย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตรโดยทั่วไปจะเป็นงานของหัวหน้าสถานศึกษา
แต่ละแห่ง การจัดครูเข้าสอนจําเป็นต้องคํานึงถึงความรู้ ความสามารถ ความสนใจ ความถนัด
และประสบการณ์ตลอดจนความสมัครใจของครูแต่ละคนด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้หลักสูตรแต่ละคนมี
โอกาสได้ใช้ศักยภาพของตนให้เป็นประโยชน์ต่อการใช้หลักสูตรให้มากที่สุด
1.2 บริการวัสดุหลักสูตร วัสดุหลักสูตรที่กล่าวถึงนี้ได้แก่ เอกสารหลักสูตร
และสื่อการเรียนการสอนทุกชนิดที่จัดทําขึ้นเพื่อให้ความสะดวก และช่วยเหลือครูให้สามารถใช้
หลักสูตรได้อย่างถูกต้อง งานบริการหลักสูตรจึงเป็นภารกิจของหน่วยงานส่วนกลาง ซึ่งมีหน้าที่ใน
การพัฒนาหลักสูตรจึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานส่วนกลางซึ่งผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องดําเนินการ
บริห ารและบริ การสื่อหลักสูต รให้ มีป ระสิ ทธิ ภาพ เพื่อให้ถึงมือผู้ใช้ในโรงเรี ยนแต่ล ะแห่งอย่า ง
ครบถ้วนและทันกําหนด
1.3 การบริการหลักสูตรภายในโรงเรียน การจัดบริการหลักสูตรภายใน
โรงเรียนได้แก่ การจัดสิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้ใช้หลักสูตร เช่น การบริการห้องสอนวิชา
เฉพาะบริการเกี่ยวกับห้องสมุด สื่อการเรียนการสอน บริการเกี่ยวกับเครื่องมือในการวัดผล และ
ประเมินผล และการแนะแนว เป็นต้น ผู้บริหารโรงเรียนควรอํานวยสะดวกในการจัดทําหรือจัดหา
แหล่งวิชาการต่างๆ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ภายนอกโรงเรียน
อีกด้วย
2. การดําเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
2.1 การปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่น เนื่องจาก
หลักสูตรที่ยกร่างขึ้นมาเพื่อใช้กับประชากรโดยส่วนรวมในพื้นที่กว้างขวางทั่วประเทศนั้น มักจะไม่
สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น ดังนั้นเพื่อให้หลักสูตรมีความสอดคล้อง
9

กับสภาพของสังคมในท้องถิ่น และสามารถสนองความต้องการของผู้เรียน ควรจะได้มีการปรับ


หลักสูตรกลางให้มีความเหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นที่ใช้หลักสูตรนั้นๆ
2.2 การจั ด ทํ า แผนการสอน การจั ด ทํ า แผนการสอนเป็ น การขยาย
รายละเอี ย ดของหลั กสู ต รให้ ไปสู่ ภ าคปฏิ บั ติโ ดยการกํ า หนดกิ จ กรรมและเวลาไว้ อย่ า งชั ด เจน
สามารถนําไปปฏิบัติได้แผนการสอนควรจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1) แผนการสอนระยะยาว จัดทําเป็นรายภาคหรือรายปี
2) แผนการสอนระยะสั้น นําแผนการสอนระยะยาวมาขยายเป็น
รายละเอียดสําหรับการสอนในแต่ละครั้ง
1. วางเป็น แนวทางในการสอน ซึ่ งจะช่ ว ยให้ความสะดวกแก่ครูผู้ ใช้
หลักสูตรสามารถดําเนินการสอนให้ได้ผลตามความมุ่งหมายของหลักสูตร
2. ให้ความสะดวกแก่ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์ ในการช่วยเหลือแนะนํา
และติดตามผลการเรียนการสอน
3. เป็นแนวทางในการสร้างข้อทดสอบเพื่อประเมินผลการเรียนการสอน
เพื่อให้มีความครอบคลุมกับเนื้อหาสาระที่ได้สอนไปแล้ว
จะเห็นได้ว่าแผนการสอนจะเป็นแนวทางในการใช้หลักสูตรของครู ถ้าหากไม่
มี การจั ด ทํ า แผนการสอน การใช้ ห ลั กสู ต รก็ จ ะเป็ น ไปอย่ า งไม่ มีจุ ด หมายทํ าให้ เ สี ย เวลาหรื อ มี
ข้อบกพร่องในการใช้หลักสูตรเป็นอย่างมาก อันจะส่งผลให้การบริหารหลักสูตรเกิดความล้มเหลว
2.3 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีนักปราชญ์ทางด้านหลักสูตรหลาย
คนได้ให้ความหมายของหลักสูตรว่า เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนชนิดต่างๆ ที่จัดโดยโรงเรียน
ดังนั้นจึงถือว่า กิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งจัดขึ้นโดยครูเพื่อให้สนองเจตนารมณ์ของหลักสูตร
จึงเป็นส่วนของการนําหลักสูตรไปสู่ภาคปฏิบัติโดยแท้จริง
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละครั้งจําเป็นจะต้องเริ่มจากการ
พิจารณาถึงจุดมุ่งหมายของการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอาจจะ
ทําได้หลายๆ ชนิด ซึ่งจะมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมากในเรื่องการใช้เวลา การใช้แรงงาน การ
ใช้ ทรั พยากร ตลอดจนการใช้งบประมาณ โดยเหตุ นี้ครูผู้ ส อนในฐานะเป็น ผู้จั ดกิ จ กรรมให้ กับ
ผู้เรียนควรพิจารณาคัดเลือกกิจกรรมที่เห็นว่าจะก่อให้เกิดความรู้ หรือประสบการณ์ และสามารถ
ทําให้บรรลุจุดมุ่งหมายได้ง่ายที่สุด เร็วที่สุด ประหยัดเวลาที่สุด ประหยัดแรงงานและค่าใช้จ่ายให้
มากที่สุด การสอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง อาจจะเลือกใช้เฉพาะกิจกรรมที่เห็นว่ามี
ประสิทธิภาพมากที่สุดเพียง 1-2 กิจกรรม ก็เพียงพอแล้ว ไม่จําเป็นจะต้องทําทุกๆ กิจกรรม
เพราะการทําเช่นนี้นั้นนอกจากไม่เป็นการประหยัดด้วยประการทั้งปวงแล้วอาจจะก่อให้เกิดความ
เบื่อหน่ายอีกด้วย
2.4 การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน ในการนําหลักสูตรไปใช้อย่างมี
ประสิทธิภาพนั้น มีขั้นตอนหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ คือการวัดและประเมินผล เพราะการวัดและ
ประเมินผลจะได้ข้อมูลย้อนกลับที่สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการและความก้าวหน้าในการเรียนรู้ว่า
บรรลุตามจุดประสงค์ของการสอนและความมุ่งหมายของหลักสูตรหรือไม่ การวัดและประเมินผล
การนําหลักสูตรไปใช้ 10

การศึกษาเป็นเครื่องมืออันหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพของนักการศึกษาในระดับการศึกษาต่างๆ
เพราะผลจากการวัดจะเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจของครูและนักการศึกษาเพื่อใช้ปรับปรุงวิธีการ
สอน การแนะแนว การประเมิ น ผลหลั กสู ต รแบบเรี ย น การใช้ อุป กรณ์ การสอนตลอดจนการ
จัดระบบบริหารทั่วไปของโรงเรียน และนอกจากนี้ยังไม่ช่วยปรับปรุงการเรียนของนักเรียนให้เรียน
ถูกวิธียิ่งขึ้น เช่น ผลการสอบของนักเรียนที่ไม่ดี ไม่เพียงแต่แสดงความอ่อนของนักเรียนแต่ละคน
เท่านั้น เพราะถ้าพิจารณาผลการสอบรวมทั้งโรงเรียนก็จะแสดงถึงความบกพร่องในสอนไม่ดีของ
ครูด้วย และถ้าพิจารณาผลการสอบรวมทั้งโรงเรียนก็จะแสดงถึงความบกพร่องในด้านการบริหาร
โรงเรียนของครูใหญ่ และคณะผู้บริหาร ยิ่งกว่านั้นถ้าเราพิจารณาผลสอบรวมทั้งประเทศก็จะแสดง
ถึงความบกพร่องในการจัดระบบการบริหารของนักการศึกษาระดับประเทศอีกด้วย ดังนั้นการวัด
และประเมินผลกาเรียนการสอนจึงนับว่ามีความสําคัญยิ่งในการพัฒนาคุณภาพของการศึกษา
การวั ด และประเมิ น ผลเป็ น ส่ ว นที่ จ ะใช้ พิ จ ารณาตั ด สิ น ว่ า ผู้ เ รี ย นบรรลุ
จุดมุ่งหมายของการสอนตามที่กําหนดไว้หรือไม่เพียงใด การวัดและประเมินผลจึงเป็นกระบวนการ
ต่อเนื่องสัมพันธ์กับกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งจําเป็นต้องจัดให้เป็นระบบที่ชัดเจนเหมาะสม
เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการเรียนการสอน อันเป็นส่วนสําคัญของการนําหลักสูตรไป
ใช้
3. การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
3.1 การจั ด งบประมาณ การจัด งบประมาณเพื่ อการเรี ยนการสอนนั้ นเป็ น
สิ่งจํ าเป็ น และมี ความสํา คั ญ มากสํ าหรั บ สถานศึกษาทุกระดับ ผู้ บริ ห ารโรงเรี ย นและผู้ ที่มีส่ ว น
เกี่ยวข้องต้องบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนประจําปีการศึกษาหนึ่งๆ ให้มีประสิทธิภาพสูง
และยังประสิทธิผลตามเป้าหมายที่ได้กําหนดไว้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้บริหารโรงเรียนและผู้มีส่วน
เกี่ยวข้องกับการเงินของโรงเรียนจะต้องมีสมรรถภาพในการจัดงบประมาณของโรงเรียนได้ดี ไม่มี
ผิดพลาด จึงจะสามารถจัดงบประมาณของโรงเรียนให้สอดคล้องกับแผนการเรียนการสอนของแต่
ละกลุ่มวิชาได้เป็นอย่างดี
3.2 การใช้ อ าคารสถานที่ เป็ น สิ่ ง สนั บ สนุ น การใช้ ห ลั ก สู ต รซึ่ ง ผู้ บ ริ ห าร
การศึกษา พึงตระหนักอยู่เสมอว่า อาคารสถานที่ และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในสถานศึกษาย่อมเป็น
ส่ว นประกอบสํ า คั ญต่ อการเรี ย นการสอน และการอบรมบ่ มเพราะนิ สั ย แก่ผู้ เ รี ย นได้ ทั้งสิ้ น แต่
เนื่องจากสถานศึกษาแต่ละแห่งอาจมีปริมาณและคุณภาพของอาคารสถานที่แตกต่างกันฉะนั้น
ผู้บ ริ ห ารจํา เป็ น จะต้องวางโครงการและแผนการใช้ อาคารสถานที่ ทุกแห่ งให้ เ หมาะสมให้ เ กิ ด
ประโยชน์สูงสุดและให้เป็นการประหยัดมากที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทําได้ โดยจะต้องสํารวจ
ศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียดรอบคอบ แล้วจึงวางแผนว่าควรดําเนินการอย่างไรจึงจะบรรลุผลตาม
เจตนารมณ์ หรืออุดมการณ์ของหลักสูตรที่กําหนดไว้
3.3 การอบรมเพิ่มเติมระหว่างการใช้หลักสูตร ขณะที่ดําเนินการใช้หลักสูตร
จะต้องศึกษาปัญหาและปรับแก้สิ่งต่างๆ ให้เข้ากับสภาพจริงและความเป็นไปได้ให้มากที่สุดเท่าที่
จะมากได้ ทั้ งนี้ โ ดยไม่ ให้ เ สี ย หลั กการใหญ่ ของหลั กสู ต ร สิ่ งที่ ครู ต้ องการมากคื อการฝึ กอบรม
เพิ่มเติม เพื่อสร้างความพร้อมในการสอนของครูให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น การฝึกอบรมจะกระทํา
11

จากการวิเคราะห์ส่วนที่ขาดในบทบาทหน้าที่ของครู เกี่ยวกับการใช้หลักสูตร เพื่อให้เหมาะสมและ


สอดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของสั ง คม และที่ สํ า คั ญ ที่ สุ ด คื อ การเพิ่ ม พู น ประสิ ท ธิ ภ าพของ
กระบวนการเรียนการสอน
3.4 การจั ด ตั้ ง ศู น ย์ วิ ช าการเพื่ อ สนั บ สนุ น และส่ ง เสริ ม การใช้ ห ลั ก สู ต ร
ภารกิจ เกี่ ยวกับการจัด ตั้งศูน ย์วิช าการเพื่ อสนับสนุน และส่ งเสริมการใช้ห ลักสูตรที่อยู่ในความ
รับผิดชอบของส่วนกลางซึ่งเป็นผู้พัฒนาหลักสูตร หน่วยงานนี้ควรหาทางสนับสนุนและส่งเสริม
หน่วยงานผู้ใช้หลักสูตรให้สามารถดําเนินการใช้หลักสูตรด้วยความมั่นใจ การจัดตั้งศูนย์วิชาการ
อาจจะทําในลักษณะของศูนย์ให้บริการแนะนําช่วยเหลือ หรือจัดตั้งโรงเรียนตัวอย่าง หรือดังที่กรม
วิชาการได้จัดตั้ง “โรงเรียนผู้นําการใช้หลักสูตร” ที่ศูนย์พัฒนาหลักสูตรก็ได้ โรงเรียนผู้นําการใช้
หลั กสู ต รที่ ก รมวิ ช าการจั ด ตั้ ง ขึ้ น จะเป็ น โรงเรี ย นที่ ส ามารถดํ า เนิ น การใช้ ห ลั กสู ต รได้ อ ย่ า งมี
ประสิทธิภาพในลักษณะใดลักษณะหนึ่งซึ่งพอจะเป็นแบบอย่างให้แก่โรงเรียนอื่นๆ ได้ วิธีการเช่นนี้
จะเป็นการกระตุ้นให้โรงเรียนผู้ใช้หลักสูตรได้มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาประสิทธิภาพใน
การใช้ ห ลั กสู ต รในโรงเรี ย นของตน และส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด การแลกเปลี่ ย นประสบการณ์ ใ นกรใช้
หลักสูตรระหว่างโรงเรียนต่างๆ ด้วย
4.3 ขั้นติดตามแประเมินผลการใช้หลักสูตร
1. การนิเทศและติดตามการใช้หลักสูตรในโรงเรียน การนิเทศมีความจําเป็น
อย่างยิ่งในหน่วยงานทุกแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวงการศึกษา เพื่อเป็นการช่วยปรับปรุงการ
เรียนการสอน สงัด อุทรานันท์ (2532 : 268-269) กล่าวว่า การนิเทศและติดตามผลการใช้
หลั กสู ต รในระหว่ างการใช้ ห ลักสูต รนั้น หน่ วยงานส่ว นกลางในฐานะผู้ พัฒนาหลั กสู ตรควรจั ด
ส่งเสริมเจ้าหน้าที่ไปให้คําแนะนําเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรเพิ่มเติม และติดตามผลการใช้หลักสูตร
ในโรงเรียนว่าได้ดําเนินการด้วยความถูกต้องหรือไม่มีปัญหาใดเกิดขึ้นหรือไม่ หากมีปัญหาก็จะได้
แก้ ไ ขให้ ลุ ล่ ว งไป สํ า หรั บ หน่ ว งงานในระดั บ ท้ อ งถิ่ น อาจดํ า เนิ น การให้ คํ า ปรึ ก ษาแนะนํ า และ
ช่วยเหลือแก่ครูผู้ใช้หลักสูตรให้ดําเนินการใช้หลักสูตรอย่างถูกต้อง
การนิเทศการใช้หลักสูตรหรือนิเทศการจัดการเรียนการสอน ต้องคํานึงถึงหลัก
สําคัญของการินเทศคือ การให้คําแนะนําช่วยเหลือไม่ใช่การคอยตรวจสอบเพื่อจับผิดแต่ประการ
ใด โดยลักษณะเช่นนี้ผู้นิเทศจําเป็นจะต้องสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีกับผู้รับการ
นิเ ทศ การดํ า เนิ น การนิ เ ทศจะต้ องดํ าเนิน ไปด้ วยบรรยากาศแห่งความเป็ นประชาธิ ปไตยและ
ร่วมมือกัน
2. การติดตามและการประเมินผลการใช้หลักสูตร จะต้องมีการวางแผนไว้ให้
ชัดเจนว่าจะทําการประเมินส่วนใดของหลักสูตร ถ้าการวางแผนเกี่ยวกับการประเมินไม่ชัดเจนเมื่อ
มีความต้องการจะทํา การประเมิ นในหัว ข้อนั้นหรือส่วนนั้น บางครั้งอาจจะกระทําไม่ได้เพราะ
ต่อเนื่ อง ดั งนั้น การวางแผนเพื่ อการประเมินหลักสูต รจะต้ องชั ดเจน และจะใช้วิธีการประเมิ น
อย่างไรจึงจะได้ผลเป็นภาพรวมที่สามารถนํามาอธิบายได้ว่า สิ่งใดเป็นบรรยากาศ หรือสภาวะ
แวดล้อมที่เอื้ออํานวยหรือไม่เอื้ออํานวย เท่าที่ดําเนินการใช้หลักสูตรไปแล้วบรรลุถึงสิ่งที่กําหนดไว้
มากน้อยเพียงใด สามารถตอบสนองความมุ่งหมายหลักที่กําหนดไว้หรือไม่ การประเมินหลักสูตร
การนําหลักสูตรไปใช้ 12

ว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่ การออกแบบการประเมินที่กว้างและลึก คือการมองภาพรวมทั้งหมด


ของการใช้หลักสูตรการหาตัวบ่งชี้สําคัญๆ นั้นจะต้องระมัดระวังเรื่องตัวแปรทางวัฒนธรรมทาง
สังคมและทางเศรษฐกิจด้วย เพราะบางอย่างผู้ประเมินอาจจะมองข้ามไป เช่น โรงเรียนขนาดใหญ่
ย่อมได้เปรียบว่าโรงเรียนขนาดเล็ก องค์ประกอบที่ตั้งของโรงเรียน ถ้าชุมชนให้การสนับสนุนอย่าง
ดีก็มีผลต่อการใช้หลักสูตร หรือโรงเรียนเล็กมากเกินไป เช่น มีนักเรียน 40-50 คน มีครู 2-3 คน
บางครั้งอาจจะเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้ไม่สามารถจะพัฒนาได้มากเท่าที่ควร หลักการจะร่างให้ดี
สมบูรณ์สักเท่าใดก็ตามการนําหลักสูตรไปใช้ก็ควรพิจารณาให้รอบคอบ ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้จะมี
ระบบกลุ่มโรงเรียนช่วยเหลือก็ตาม บริบททางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมจะเป็นสิ่งที่มาช่วย
เสริมให้สามารถอธิบายได้ชัดเจนว่าเหตุใดการนําหลักสูตรไปใช้ได้ผลหรือไม่ได้ผล เพราะมีปัจจัย
แทรกซ้ อนทางเศรษฐกิ จ สั งคมและค่า นิ ยมของบุ คคลเข้า มาเกี่ ยวข้ องด้ ว ยข้ อพิจ ารณาในการ
ประเมินหลักสูตรสรุปได้ดังนี้

การประเมินหลักสูตร

การบรรลุเป้าหมาย ด้านเศรษฐกิจ

ด้านสังคม วัฒนธรรม ด้านการเมือง

ด้านงบประมาณ ด้านเทคนิค

ด้านระบบบริหาร ด้านบรรยากาศในการทํางาน

ด้านการบริหารสนับสนุน ด้านสิ่งแวดล้อม

เพื่อทราบ
- การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
- ปัญหาและแนวทางแก้ไข

แผนภูมิ 1 แสดงข้อพิจารณาในการประเมินหลักสูตร
กระบวนการในการประเมิ น ผลเพื่ อควบคุ มภาพของหลั ก สู ต ร ในแง่ ของการ
ปฏิ บั ติ การกระบวนการของการประเมิ น ผลเพื่ อควบคุ มคุ ณภาพของหลั กสู ต รแบ่ งออกเป็ น 3
ขั้นตอนคือ การตรวจสอบหาประสิทธิผลและความตกต่ําของคุณภาพของหลักสูตร การตรวจสอบ
13

หาสาเหตุ ของความตกต่ํ า ของคุ ณ ภาพ และการนํ า วิ ธี การต่ า งๆ มาแก้ ไขพร้ อมทั้ ง ตรวจสอบ
ประสิทธิผลของวิธีการเหล่านั้น รายละเอียดของแต่ละขั้นตอน มีดังนี้
1. การตรวจสอบประสิทธิผลและความตกต่ําของคุณภาพของหลักสูตร
วิธีการตรวจสอบเริ่มด้วยการรวบรวมข้อมูลพื้นบาน (Basic Data) เพื่อใช้เปรียบเทียบกับข้อมูล
ระหว่ า งดํ า เนิ น การ ข้ อ มู ล พื้ น ฐานนี้ ค วรเก็ บ รวบรวมในระหว่ า งที่ นํ า หลั ก สู ต รไปทดลองใน
ภาคสนาม ควรเก็บให้ได้มากและหลากหลาย เราจะสรุปว่าคุณภาพของหลักสูตรต่ําลงก็ต่อเมื่อ
ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ในด้านต่างๆ ที่รวบรวมได้หลังจากการทดลองใช้ในภาคสนาม มีค่าต่ํากว่าข้อมูลที่
รวบรวมได้จากการทดลองใช้ในภาคสนาม อย่างไรก็ตามสิ่งที่พึงระมัดระวังก็คือ ในการเก็บข้อมูล
ทั้ ง สองครั้ ง นั้ น จะกระทํ า ในสภาพที่ ใ กล้ เ คี ย งกั น ที่ สุ ด มิ ฉ ะนั้ น แล้ ว จะนํ า ข้ อ มู ล ทั้ ง สองครั้ ง มา
เปรียบเทียบกันไม่ได้
สํ า หรั บ การเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล หลั ง จากการนํ า เอาหลั ก สู ต รมาใช้ ใ น
ระยะเวลาหนึ่งแล้ว มีข้อมูลที่ควรรวบรวม 3 รายการคือ ผลการทดสอบขั้นสุดท้าย (ผลการ
สอบปลายปี) ผลการสอบแต่ละวิชาในแต่ละภาคเรียน และข้อมูลจากพฤติกรรมของผู้เรียน
และจากการใช้เครื่องมือวัด เช่น แบบทดสอบความสนใจและเจตคติ นอกจาก 3 รายการนี้เรา
อาจเก็บข้อมูลอื่นที่มีผลพลาดพิงถึงคุณภาพของหลักสูตรด้วยก็ได้ เช่น สถิติการยืมหนังสือ
ห้องสมุด การเลือกเรียนวิชาที่ไม่ได้บังคับ และบันทึกเรื่องราวการกระทําต่างๆ ของผู้เรียนเป็น
ต้น
2. การตรวจสอบหาเหตุที่ทําให้คุณภาพตกต่ํา งานนี้เริ่มขึ้นเมื่อได้มีการพบ
แล้วว่าคุณภาพของหลักสูตรตกต่ําลง มีสมมุติฐานหลายเรื่องที่อาจนํามาใช้ในการค้นหาสาเหตุที่
สําคัญคือ
2.1 ความล้ ม เหลวในการใช้ ห ลั ก สู ต ร การที่ จ ะใช้ ห ลั ก สู ต รให้ มี
ประสิทธิผลในทุกสภาพย่อมเป็นไปไม่ได้ หลักสูตรแต่ละหลักสูตรย่อมมีจุดหมายแตกต่างกัน และ
การที่บรรลุจุดหมายก็ต่อเมื่อได้มีการใช้หลักสูตรในสภาพและเงื่อนไขที่เหมาะสมเท่านั้น ดังนั้นสิ่ง
แรกที่พึงกระทําในการตรวจสอบหาสาเหตุก็คือ ตรวจสอบดูว่าได้มีการนําหลักสูตรมาใช้อย่างไร
ผู้สอนใช้วิธีการสอน ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนถูกต้องหรือไม่ ฯลฯ
ข้อมูลที่รวบรวมได้นี้ จะช่วยให้สามารถตรวจสอบได้ว่าสาเหตุของการตกต่ําของคุณภาพเกิดจาก
อะไร
2.2 ความเปลี่ยนแปลงของสภาพและเงื่อนไขในเวลาที่นําหลักสูตรไป
ใช้ สภาพภายในโรงเรี ย นหรื อ สถานศึ ก ษาที่ นํ า หลั ก สู ต รไปใช้ ย่ อ มเปลี่ ย นแปลงได้ ทุ ก เวลา
ตัวอย่างเช่น ในตอนที่ทําการทดลองใช้ในภาคสนาม ขวัญและกําลังใจของผู้สอนดีมาก แต่ในตอน
ที่นําเอาหลักสูตรไปใช้จริงๆ กลับลดต่ําลง และถ้าสภาพอย่างอื่นๆ ยังคงเหมือนเดิมเราก็อาจสรุป
ได้ว่าความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ในด้านต่างๆ ของผู้เรียนในตอนแรกและตอนหลังย่อมมีสาเหตุ
จากความเปลี่ยนแปลงด้านขวัญและกําลังใจนั่นเอง อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติสิ่งที่จะมีผลกระทบ
ต่อคุณภาพไม่ได้ มีเพี ยงอย่ างเดียว ลักษณะเดียว หรือรูปแบบเดี ยว ดังนั้น การเก็บข้ อมูล อย่า ง
ละเอียดหลายๆ ด้าน จึงเป็นสิ่งจําเป็นที่จะต้องกระทําเพื่อตรวจสอบดูว่าข้อมูลที่แตกต่างกันมาก
การนําหลักสูตรไปใช้ 14

นั้นเป็นข้อมูลในด้านใด ความกระตือรือร้นในการทํางาน ความเข้าใจและเจตคติที่มีต่อหลักสูตร


ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของตนในการใช้หลักสูตรใหม่ ความรู้และความเข้าใจในเนื้อหา
ของหลักสูตรรวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ได้แก่ที่ตั้งของโรงเรียน (อยู่ในเมือง ชนบท อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล
ฯลฯ) ขนาดของชั้นเรียน ความสมบูรณ์ของวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้สื่อการเรียนการสอน
และความร่วมมือของชุมชน
2.3 ความเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมาย เกี่ยวกับเรื่องนี้อาจเป็นไปได้
ว่ า ลั ก ษณะของกลุ่ มเป้ า หมายที่ ใช้ ใ นการทดลองภาคสนามกั บ ที่ นํ า หลั กสู ต รมาใช้ จ ริ งมี ความ
แตกต่างกันมาก เช่น ในด้านระดับความรู้ความสามารถ เจตคติ และค่านิยมที่มีต่อการเรียนใน
กรณีดังกล่าวประสิทธิผลของหลักสูตรย่อมเปลี่ยนแปลงไป การแก้ไขปัญหาทําได้โดยการปรับปรุง
หลักสูตรเพื่อควบคุมคุณภาพให้ใกล้เคียงกัน
2.4 วิธีการวิเคราะห์ผลการทดสอบ เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าการทดสอบ
หรือการประเมินผลนั้นมีทั้งการทดสอบระหว่างดําเนินการ หรือการทดสอบย่อย (Formative
Evaluation) และการทดสอบขั้นสุดท้าย หรือการทดสอบรวม (Summative Evaluation)
การทอสอบรวมเป็นการทดสอบที่บอกให้เราทราบว่าหลักสูตรดีขั้นหรือเสื่อมคุณภาพลง แต่ไม่
สามารถชี้เฉพาะเจาะจงลงไปว่าปัญหาอยู่ที่ตรงไหนและเป็นเพราะเหตุใด ในทางตรงข้ามการ
ทดสอบระหว่างดําเนินการหรือการทดสอบย่อย ซึ่งใช้ในการวินิจฉัยจุดอ่อนของผู้เรียนสามารถ
ช่วยให้เราทราบว่าหลักสูตรมีจุดอ่อนในเรื่องอะไร และเป็นเพราะเหตุใด ด้วยเหตุนี้เราจึงใช้การ
ทดสอบย่อยเป็นเครื่องชี้ถึงสาเหตุการตกต่ําของหลักสูตร
วิธีเคราะห์การทดสอบย่อยมีหลายวิธี วิธีแรกก็คือการเปรียบเทียบผลการสอบ
ในภาคเรียนหรือปีปัจจุบันกับผลการสอนในภาคเรียนหรือปีที่ผ่านมา ถ้าปรากฏว่าผลการสอนของ
ปัจจุบันดีกว่าปีที่ผ่านมา ผู้สอนก็ควรได้รับความชมเชย และได้รับการสนับสนุนให้ปรับปรุงตน
เพื่อให้ดียิ่งขึ้นไปอีก แต่ถ้าผลต่ํากว่าที่ผ่านมาก็ควรให้ผู้สอนตรวจสอบให้ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด
และทําอย่างไรจึงจะแก้ไขได้
อีกวิธีหนึ่งคือการเปรียบเทียบผลการสอบที่ทําติด ต่อกันหลายๆ ครั้งโดยใช้
ผู้เรียนกลุ่มเดียวกัน ถ้าปรากฏว่าผลการสอบมีอัตราการสอบตกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็แสดงว่าผู้สอน
ไม่ได้แก้ไขข้อบกพร่องจากผลการสอบในครั้งก่อนๆ แต่ถ้าผลออกมาในทางตรงกันข้ามก็แสดงว่าได้
มีการนําเอาผลการสอบในครั้งก่อนๆ มาปรับปรุงการสอนของตน
วิ ธี การวิ เ คราะห์ อีก วิ ธี ห นึ่ งคื อ การวิ เ คราะห์ ให้ ล ะเอี ย ดลงไปว่ า ในจํ า นวน
ข้ อ สอบทั้ ง หมดนั้ น ผู้ เ รี ย นทํ า ผิ ด ข้ อ ใดมากที่ สุ ด และข้ อ ใดที่ ทํ า ผิ ด ลดหลั่ น รองลงมา ผลการ
วิเคราะห์จะช่วยให้ทราบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องใด และจากผลนี้ทําให้ตั้งสมมุติฐานได้
ว่าอะไรคือสาเหตุของปัญหา
นอกจากข้อมูลจากผลการสอบย่อยแล้ว ยังมีข้อมูลที่สามารถสรุปได้จากการ
ประเมิ น ผลและการวัด ผลโดยวิธี อื่น ๆ อี ก เช่ น การสั งเกตพฤติ กรรมและกิ จ กรรมในชั้ น เรี ย น
ระเบียบและรายงานการวัดเจตคติ ความเข้าใจ รวมทั้งผลจากการอภิปรายการสัมภาษณ์ และ
การศึกษารายกรณี ทั้งหมดนี้ล้วนมีประโยชน์ และเมื่อนํามาวิเคราะห์จะช่วยให้ทราบว่า จุดอ่อน
15

ของหลักสูตรคืออะไร อย่างไรก็ตามวิธีการนี้มีข้อเสียตรงที่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเสียเวลา
มาก
3. การแก้ไขและตรวจสอบประสิทธิผลของวิธีการที่นํามาแก้ไข หลังจากที่
ได้ทราบแล้วว่าความตกต่ําของคุณภาพหลักสูตรคือเรื่องอะไร และเกิดจากสาเหตุอะไรแล้วขั้น
ต่อไปของกระบวนการควบคุมคุณภาพก็คือการแก้ไข สําหรับการแก้ไขนี้อาจทําได้หลายวิธี ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัญหาที่ทําให้คุณภาพตกต่ําลง ในบางกรณีอาจใช้วิธีปรับปรุงวิธีการสอนและ
แก้ไขหลักสูตรบางส่วน เช่น ตัดทอนหรือเพิ่มเติมเนื้อหาสาระ แก้ไขวิธีสอนโดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้
เล็กลง หรือให้มีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมากขึ้น หรือร่นช่วงเวลาการทดสอบให้สั้นเข้า เพื่อให้
ผู้เรียนได้รับข้อมูลจากผลการสอบเร็วขึ้น
การแก้ไขอาจก้า วไกลออกไปถึงขั้นการอบรมครู ผู้สอน เพื่อให้มีความรู้
ความเข้าใจและสามารถนําหลักสูตรมาปฏิบัติได้ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การที่จะอบรม
อย่างไรและเรื่องอะไร ย่อมขึ้นอยู่กับปัญหาซึ่งพบจากการตรวจสอบในตอนต้น อย่างไรก็ตามใน
การแก้ไขนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องติดตามดูผลอย่างใกล้ชิด การแก้ไขไม่จําเป็นต้องทีเดียวทั้งหมด
แต่ควรใช้วิธีการทดลองกับกลุ่มเล็กๆ ก่อน เมื่อได้ผลเป็นที่พอใจแล้วจึงค่อยนําเอายุทธศาสตร์และ
วิธีการนั้นมาใช้ในวงกว้างต่อไป

5. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนําหลักสูตรไปใช้
จากขั้นตอนของการนําหลักสูตรไปใช้ จะเห็นได้ว่าการนําหลักสูตรไปใช้เป็นกิจกรรมที่
เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือบุคคลหลายฝ่ายหลายระดับ ซึ่งจะต้องประสานงานหรือร่วมมือกันใน
อันที่จะนําหลักสูตรไปให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งแต่ละหน่วยงาน แต่ละฝ่ายแต่ละระดับมีส่วน
ในการนําหลักสูตรไปใช้ที่แตกต่างกันไป ในที่นี้จะกล่าวถึงบทบาทของหน่วยงานต่างๆ ในการนํา
หลักสูตรไปใช้ และบทบาทของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการนําหลักสูตรไปใช้ดังนี้
5.1 บทบาทของหน่วยงานส่วนกลาง และหน่วยงานส่วนท้องถิ่นในการนําหลักสูตร
ไปใช้
หน่ วยงานส่ ว นกลาง หมายถึ ง หน่ วยงานหรื อ คณะบุ ค คลที่ ทํ า หน้ า ที่ พัฒนา
หลักสูตรเพื่อให้หน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ใช้ หน่ ว ยงานส่ ว นกลางมี ห้ า ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การนํ า
หลักสูตรไปใช้ 2 ลักษณะคือ การบริหาร การบริการหลักสูตร และการสนับสนุนและส่งเสริมการ
ใช้หลักสูตรที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเอง
หน่วยงานส่วนท้องถิ่น หมายถึง หน่วยงานหรือผู้ทําหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนํา
หลักสูตรไปสู่การเรียนการสอน ซึ่งได้แก่โรงเรียนหรือสถานศึกษาต่างๆ ที่เป็นผู้ใช้หลักสูตรซึ่ง
สร้างโดยส่วนกลาง งานที่โรงเรียนหรือสถานศึกษาจะต้องรับผิดชอบในการใช้หลักสูตรก็คืองาน
บริหารงานบริการหลักสูตร การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
หน่วยงานทั้ง 2 ได้แบ่งลักษณะของการนําหลักสูตรไปใช้ดังนี้
1. หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทอย่างเต็มที่
2. โรงเรียนเป็นผู้มีบทบาทอย่างเต็มที่
การนําหลักสูตรไปใช้ 16

3. หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทส่วนใหญ่ โดยได้รับความช่วยเหลือจากส่วน
ท้องถิ่น
4. หน่ว ยงานส่ วนท้องถิ่ นมี บทบาทส่ว นใหญ่ โดยได้รั บ การสนับ สนุ นจาก
ส่วนกลาง
(จากรายงานการประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรของประเทศใน
ภูมิภาคเอเชีย (APEID. 1977))
1.การใช้ หลั ก สู ต รโดยหน่ ว ยงานส่ ว นกลางมี บ ทบาทอย่ า งเต็ ม ที่ การใช้
หลักสูตรในรูปนี้หน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นจะมีบทบาทที่สําคัญดังนี้คือ
บทบาทของหน่วยงานส่วนกลาง
1. กําหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
2. เตรียมโปรแกรมและวัสดุหลักสูตรชนิดต่างๆ
3. ดําเนินการวิเคราะห์และติดตามผลการใช้หลักสูตร
4. พิจารณาอนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมการเรียนการสอน
5. ดําเนินการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานการใช้หลักสูตรของ
หน่วยงานระดับท้องถิ่น
บทบาทของหน่วยงานส่วนท้องถิ่น
ทําหน้าที่ให้การช่วยเหลือหน่วยงานส่วนกลาง ในเรื่องการติดตามผล
การใช้หลักสูตร
2.การใช้หลักสูตรโดยให้โรงเรียนมีบทบาทอย่างเต็มที่ การใช้หลักสูตรแบบนี้
หน่วยงานแต่ละระดับจะมีบทบาทที่สําคัญคือ
บทบาทของหน่วยงานส่วนกลาง
หน่วยงานส่วนกลาง ไม่มีบทบาทในการใช้หลักสูตรของหน่วยงานในระดับ
ท้องถิ่นแต่อย่างใด
บทบาทของหน่วยงานส่วนท้องถิ่น
1. กําหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
2. พัฒนาโปรแกรมการเรียนการสอนและสร้างผู้นําทางวิชาการ
3. วิเคราะห์และติดตามผลการใช้หลักสูตร
4. ดําเนินการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงโปรกรมการเรียนการสอน
3.การใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทเป็นส่วนใหญ่และมี
หน่ ว ยงานส่ ว นท้ อ งถิ่ น เป็ น ผู้ ใ ห้ ค วามช่ วยเหลื อ การใช้ ห ลั กสู ต รระบบนี้ ห น่ ว ยงานในระดั บ
ผู้พัฒนาหลักสูตรและหน่วยงานท้องถิ่นจะมีบทบาทดังนี้
บทบาทของหน่วยงานส่วนกลาง
1. กําหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
2. จัดโปรแกรมและวัสดุต่างๆ
3. ดําเนินการวิเคราะห์และติดตามผล
17

4. จัดหาผู้นําทางด้านความคิดมาช่วยในการใช้หลักสูตร
5. สร้างบรรยากาศสนับสนุนการใช้นวัตกรรมต่างๆ
6. เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
7. เผยแพร่ข่าวสารและแหล่งข้อมูลต่างๆ
4.ใช้ ห ลั ก สู ต รโดยให้ ห น่ ว ยงานท้ อ งถิ่ น มี บ ทบาทสํ า คั ญ และหน่ ว ยงาน
ส่วนกลางเป็นผู้ให้การสนับสนุน การใช้หลักสูตรในรูปแบบนี้หน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น
จะมีบทบาทแตกต่างกันดังนี้คือ
บทบาทของหน่วยงานส่วนกลาง
1. กํ า หนดเป้ า หมายของหลั ก สู ต รและช่ ว ยเหลื อให้ มีก ารเชื่ อมโยง
ระหว่างหน่วยการศึกษาหน่วยต่างๆ
2. ทําหน้าที่กระตุ้นให้หน่วยงานในระดับท้องถิ่นได้ปฏิบัติงานอย่างมี
ประสิทธิภาพ
3. สร้างบรรยากาศให้เกิดการสนับสนุนหน่วยงานท้องถิ่น
4. ให้ความช่วยเหลือในด้านการเงินหรือวัสดุ
5. เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
บทบาทของหน่วยงานส่วนท้องถิ่น
1. ทําหน้าที่กําหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
2. พัฒนาวัสดุหลักสูตรเพื่อใช้ในโปรแกรมการเรียนการสอน
3. สร้างผู้นําทางวิชาการ
4. ดําเนินการวิเคราะห์และติดตามผลการใช้หลักสูตร
5. สร้างวิธีการต่างๆ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงโปรแกรมการเรียนการ
สอน
6. แสวงหาแนวทางและเสนอประสบการณ์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมใน
การพัฒนาโปรแกรมการเรียนการสอนสําหรับท้องถิ่น
5.2 บทบาทของบุคลากรในการนําหลักสูตรไปใช้
กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นการพิจารณาถึงบทบาทของหน่วยงานส่วนกลาง ซึ่งเป็น
ผู้พัฒนาหลักสูตรกับหน่วยงานส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ใช้หลักสูตรว่า หน่วยงานทั้งสองแห่ง
มีบทบาทในการพัฒนาและการใช้หลักสูตรแตกต่างกันอย่างไรในแต่ละรูปแบบ สําหรับหัวข้อนี้จะ
พิจารณาถึงบทบาทของบุคคลต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรว่า บุคคลในตําแหน่ง
หน้าที่นั้นๆ ควรจะมีบทบาทในการใช้หลักสูตรในลักษณะใด ดังต่อไปนี้
1.นักวิชาการ ซึ่งได้แก่ศึกษานิเทศก์ หรือนักวิชาการที่ทําหน้าที่พัฒนาหลักสูตรมี
บทบาทในการส่งเสริมการใช้หลักสูตร ดังนี้
1. ช่วยพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร และ
ดําเนินการเรียนการสอนตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร
2. ทําการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรในหน่วยงานที่ใช้หลักสูตร
การนําหลักสูตรไปใช้ 18

3. ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการดําเนินการใช้หลักสูตร โดยการให้บริการ
วัสดุหลักสูตร และให้กําลังใจแก่ผู้นําหลักสูตรไปใช้
2.ผู้บริหารโรงเรียน ควรมีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้หลักสูตรดังนี้
1. ทําความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรที่โรงเรียนใช้อยู่อย่างชัดเจน
2. ให้บริการวัสดุ และสื่อการเรียนการสอนชนิดต่างๆ แก่ครู
3. ดํา เนิ น การนิ เ ทศ และติด ตามผลการใช้ ห ลั กสู ตรภายในโรงเรี ย นอย่ า ง
สม่ําเสมอ
4. กระตุ้นและส่งเสริมครูในการใช้หลักสูตรอย่างถูกต้อง เช่น การจัด
อบรม หรือ จัดประชุมสัมมนา เป็นต้น
5. ให้กําลังใจและบํารุงขวัญแก่ครูผู้ใช้หลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อ
เป็นแบบอย่างแก่ครูคนอื่นๆ
3.หัวหน้าหมวดวิชาหรือหัวหน้าสาขาวิชา ควรจะดําเนินการส่งเสริมการใช้
หลักสูตรดังต่อไปนี้
1. ศึกษารายละเอียดและทําความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรที่ตนเองรับผิดชอบ
อย่างชัดแจ้ง
2. ช่วยวางแผนและจัดทําแผนการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตรที่
ตนเองรับผิดชอบ
3. จัดหาวัสดุหลักสูตร และสื่อการเรียนการสอนและให้บริการแก่ครูคน
อื่นที่อยู่ภายในสายเดียวกัน
4. ดําเนินการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรที่อยู่ในความรับผิดชอบ
ของตนเองอย่างสม่ําเสมอ
5. ประสานงานการใช้หลักสูตรกับหมวดวิชาอื่น หรือสายวิชาอื่นเพื่อให้การ
ใช้หลักสูตรภายในโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4.ครูผู้สอน ในฐานะเป็นผู้ใช้หลักสูตรโดยตรงมีส่วนที่จะช่วยสนับสนุนให้การใช้
หลักสูตรภายในโรงเรียนมีประสิทธิภาพดังนี้
1. ศึกษาหลักสูตรเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรที่ตนเองใช้อยู่อย่าง
กระจ่างชัด
2. ปรับปรุงหลักสูตรที่ใช้อยู่ให้มีความเหมาะสมกับสภาพและความต้องการ
ของท้องถิ่น
3. สอนให้ถูกต้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตรที่ใช้อยู่
4. พยายามคิ ด ค้ น หาวิ ธี การที่ เ หมาะสมหรื อ วิ ธี การที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและ
นํามาใช้
5.บุคลากรอื่นๆ บุคลากรอื่นๆ ภายในโรงเรียน นักเทคโนโลยีทางการศึกษา นัก
วัดผล และนั กแนะแนว ฯลฯ ต่างก็มีบ ทบาทในการสนั บสนุ นและส่งเสริ มการใช้ หลักสูตรโดย
กระทําดังนี้
19

1. ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบอย่างเต็มที่
2. ให้ความช่วยเหลือหรือให้บริการแก่ครูผู้ใช้หลักสูตรอย่างเต็มที่ ถ้าหากบุ
คลกรทุฝ่ายที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอย่างสมบูรณ์ ก็พอคาดการณ์ได้ว่าการใช้
หลักสูตรจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีปัญหาเกิดขึ้นน้อยที่สุดอันจะช่วยให้การนําหลักสูตร
ไปใช้ประสบความสําเร็จตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ได้มากที่สุด

บทสรุป
การนําหลักสูตรไปใช้เป็นการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้อง
กับบุคคลหลายฝ่าย และเป็นกิจกรรมที่มีขั้นตอนการปฏิบัติหลายขั้นตอน วิธีการของกระบวนการ
นําหลักสูตรไปใช้ น่าจะเป็นหัวใจสําคัญของการพัฒนาหลักสูตรมีผู้กล่าวว่า แม้เราจะมีหลักสูตรดี
แสนดี แต่ถ้านําหลักสูตรไปใช้อย่างไม่ถูกต้องแล้วหลักสูตรนั้นก็ไม่ประโยชน์อะไร เพราะฉะนั้นผู้ที่
มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนําหลักสูตรไปใช้จะต้องศึกษาทําความเข้าใจกับการนําหลักสูตรไปใช้ตาม
บทบาทหน้ า ที่ ของตนให้ ส มบู ร ณ์ ที่สุ ด เพื่ อให้ การใช้ ห ลักสู ต รนั้ น สั มฤทธิ์ ผลตามจุ ด มุ่ งหมายที่
กําหนดไว้

คําถามท้ายบท
จงตอบคําถามต่อไปนี้
1. จงอธิบายถึงความสําคัญของการนําหลักสูตรไปใช้
2. จงอธิบายหลักการสําหรับในการนําหลักสูตรไปใช้
3. จงอธิบายงานที่เกี่ยวข้องกับนําหลักสูตรไปใช้
4. กระทรวง และเขตพื้นที่การศึกษา มีส่วนส่งเสริมให้การนําหลักสูตรไปใช้ได้บรรลุผล
อย่างไร
5. ครูผู้สอนมีผลต่อความสําเร็จของการนําหลักสูตรไปใช้ได้อย่างไร
6. ให้นํากิจกรรมต่างๆ ในการนําหลักสูตรไปใช้ใส่ในแผนภูมิขั้นตอนการนําหลักสูตรไปใช้ให้
ถูกต้อง
การนําหลักสูตรไปใช้ 20

การนําหลักสูตรไปใช้

ขั้นเตรียมการใช้หลักสูตร ขั้นดําเนินการใช้หลักสูตร ขั้นติดตามและ


ประเมินผลการใช้
หลักสูตร

เอกสารอ้างอิง
ธํารง บัวศรี. (2514). ทฤษฎีหลักสูตรภาค 2. พระนคร : มงคลการพิมพ์.
แผนกวิชาประถมศึกษา, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2516). เอกสารทางวิชาการ
หลักสูตรและการสอนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : วงศ์สว่างการพิมพ์.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2521). พัฒนาหลักสูตรและการสอน . ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศรี
นครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2520). หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 . กรุงเทพฯ : โรง
พิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มิตรสยาม.
สันต์ สิงหภักดี และ สันติสุข โสภณศิริ แปล. (2537). ที่นี่ไม่มีโรงเรียน ไอวาน อิลลิช De-
schooling Society lvan lllich. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์มูลนิธิเด็ก.
APEID. (1977). Implementing Curriculum : A Symposium of Experience from The
Asian Region. Bangkok ; Unesco Regional Office Education in Asia.
Beauchamp George A.. (1975). A curriculum Theory . ( 3 rd ed. ) Willamette
lllinois : The Kagg Press.
Chandra , Arvinda. (1977). Curriculum Development and Evaluation in
Education . New delhi : Sterling Publishers Private Ltd.
21

Tankard, George G. (1974). Curriculum Improvement. West Nyack New York :


Parker Publishing.
Verduin, John R. (1977). Cooperative Curriculum Improvement. New York :
Prentice – Hall.

You might also like