Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 11

บทที่ 4

รูปแบบหลักสูตร
หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่ถ่ายทอดเจตนารมณ์หรือเป้าประสงค์ของชาติลงสู่การปฏิบัติ หลักสูตรคือสิ่งที่
นาเอาความมุ่งหมายและนโยบายการศึกษาไปแปลงเป็นการกระทาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนหรือสถานศึ กษา
หลักสูตรที่สร้างขึ้นจึงต้องมีการออกแบบที่ดี เพื่อให้หลักสูตรนั้นสอดคล้องตรงความต้ องการตามเป้าประสงค์
รูปแบบของหลักสูตรเป็นการจัดองค์ประกอบและการนาเสนอหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร (Curriculum
Design) จึงเป็นขั้นตอนสาคัญของการพัฒนาหลักสูตร โดยมีการวางจุดมุ่งหมาย องค์ประกอบ ให้ได้หลักสูตรที่
ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ทันต่อเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลง ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพให้ได้กาลังคนที่มี
ประสิทธิภาพสูงในการพัฒนาประเทศ

จุดประสงค์การเรียนรู้
ผู้เรียนสามารถ
1. อธิบายลักษณะของรูปแบบหลักสูตรประเภทต่าง ๆ ได้
2. วิเคราะห์ปรัชญาของหลักสูตรแต่ละรูปแบบได้
3. ยกตัวอย่างหลักสูตรรูปแบบต่าง ๆ ได้

รูปแบบหลักสูตร (Curriculum design)


รูปแบบหลักสูตร หรือประเภทของหลักสูตร หมายถึง เค้าโครง โครงสร้าง องค์ประกอบของหลักสูตร
ได้แก่ จุดมุ่งหมาย โครงสร้างหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล โดยแต่ละรูปแบบจะมี
การออกแบบและวางแผน เพื่อจัดองค์ประกอบเหล่านั้น
รูปแบบของหลักสูตรมีความแตกต่างกันทั้งรายละเอียด เนื้อหา และแนวคิด รูปแบบหลักสูตรมีหลาย
ประเภท แต่ละประเภทก็มีจุดมุ่งหมาย โครงสร้าง หลักปรัชญาที่ยึด จุดเน้น จุดเด่นจุดด้อย แตกต่างกันไป
ทาบา (Taba. 1962 : 1) ได้แบ่งรูปแบบของหลักสูตรออกเป็น 5 แบบ ได้แก่
หลักสูตรรายวิชา (Subject Curriculum)
หลักสูตรหมวดวิชา (วิชา (Broad fields curriculum)
หลั กสู ตรเน้ นกระบวนการทางสั งคม และภารกิ จในชี วิ ตประจ าวั น (Curriculum bases on social
processes and Life function)
หลักสูตรกิจกรรมหรือหลักสูตรประสบการณ์ (Activity or experience curriculum)
หลักสูตรแกน (Core curriculum)
มารุต พัฒผล (2562) ได้สรุปรูปแบบหลักสูตรจากแนวคิดของนักวิชาการออกเป็น
หลักสูตรรายวิชา (subject curriculum)
หลักสูตรบูรณาการ (integrated curriculum)
หลักสูตรเสริม (enrichment curriculum)
หลักสูตรฝึกอบรม (training curriculum)
หลักสูตร อิงมาตรฐาน (standard – based curriculum)
หลักสูตรที่เน้นประสบการณ์ (experience – based curriculum)
1
หลักสูตรรายบุคคล (individualize curriculum)
หลักสูตรสมรรถนะ (competency – based curriculum)
ออร์นสไตน์ และ ฮันกิน (อ้างใน สุเทพ อ่วมเจริญ) ได้สรุปการจัดกลุ่มแนวคิดการออกแบบหลักสูตร
ได้ 3 กลุ่ม คือ
หลักสูตรที่มุ่งเน้นเนื้อหาสาระเป็นศูนย์กลาง (subject – centered designs) ได้แก่หลักสูตรแบบ
รายวิชา หลักสูตรแบบสาขาวิชา หลักสูตรแบบหมวดวิชา หลักสูตรสัมพันธ์วิชา หลักสูตรเน้นกระบวนการ
หลักสูตรที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (leaner - centered design) ได้แก่ หลักสูตรที่เน้นผู้เรียน
เป็นสาคัญ หลักสูตรที่เน้นประสบการณ์ หลักสูตรแบบจิตนิยม หลักสูตรมนุษยนิยม
หลักสูตรที่เน้นปัญหาเป็นศูนย์กลาง (problem – centered designs) ได้แก่ หลักสูตรที่เน้น
สถานการณ์ของชีวิต หลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรเน้นปัญหาและปฏิรูปสังคม

ในที่นี้จึงจัดกลุ่มรูปแบบหลักสูตรเป็น 3 กลุ่ม ตามหลักปรัชญาที่ยึดและจุดเน้น คือ หลักสูตรที่เน้น


เนื้อหา หลักสูตรที่เน้นผู้เรียน และหลักสูตรที่เน้นปัญหา
1. หลักสูตรที่เน้นเนื้อหา (Subject-centered Curriculum Designs) เป็นการออกแบบโดยอาศัย
แนวคิดปรัชญาการศึกษาที่สาคัญคือ สารัตถะนิยม (essentialism) และ นิรันตรนิยม (perennials) เป็น
รูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งใช้ในการสอนศาสนา ละติน กรีก เป็นหลักสูตรที่ ให้ความสาคัญกับเนื้อหาสาระของ
หลักสูตร มีเอกสารที่ระบุรายละเอียดของเนื้อหาวิชา ให้ความสาคัญกับการจัดการเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องทั้ง
กระบวนการ กลยุทธ รวมถึงทักษะชีวิต เนื้อหาวิชาเป็นตัวกาหนดวิธีสอน วิธีการสอนของครูจึง ใช้วิธีการ
บรรยาย เน้นการถ่ายทอดความรู้ หลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา เน้นสาระสาคัญ ได้แก่ ความคิดรวบยอด ทักษะ
กฎ และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งจะใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาเนื้อหาแต่ละวิชาต่อไป การสอนจึงเน้นการบรรยาย
หลักสูตรจะเปลี่ยนแปลงเมื่อเนื้อหาวิชาเปลี่ยนแปลง
1.1 หลักสูตรแบบรายวิชา (Subject design)
ลักษณะสาคัญ :
เป็นหลักสูตรที่ใช้วิชาเป็นหลักในการออกแบบหลักสูตร จัดเป็นหลักสูตรแบบดั้งเดิม มีการนา
เนื้อหามาแยกเป็นวิชาย่อยในเชิงลึกเฉพาะทาง และจัดเรียงเนื้อหาตามความรู้ที่จาเป็นของแต่ละวิชา จัดสอน
แยกวิชา เช่นวิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย วิ ชาคัดไทย วิชาภาษาอังกฤษ เป็นต้น จุดมุ่งหมาย คือต้องการ
ถ่ายทอดเนื้อหาสาระต่าง ๆ ให้กับผู้เรียน วิธีสอนจึงเป็นการบรรยาย การวัดผลเน้นการจาเนื้อหา
ข้อดี :
ประหยัดเวลา
เนื้อหาที่เรียงลาดับต่อเนื่องและสัมพันธ์กันจึงง่ายต่อการสอน การวัดและประเมินผล
สามารถเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เก่าได้
ข้อจากัด :
ไม่เน้นพัฒนาด้านอื่นนอกจากด้านปัญญา
ไม่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
(สุวรรณณา รัตนาธรรมเมธี. เอกสารประกอบการบรรยาย)

2
1.2 หลักสูตรแบบสาขาวิชา (discipline design)
ลักษณะสาคัญ :
เป็นหลักสูตรที่เน้นศาสตร์ด้านวิชาการ ซึ่งเป็นศาสตร์ความรู้เฉพาะที่มีคุณลักษณะที่ขาดไม่ได้
หรือเป็นพื้นฐานจาเป็น เช่น คณิตศาสตร์ ชีววิทยา จิตวิ ทยา เป็นต้น การออกแบบจะพัฒนามาจากหลักสูตร
แบบรายวิชา จึงยังเน้นเนื้อหา โดยให้ความสาคัญกับการจัดเรียงตามเนื้อหาวิชา ลาดับวิชา ก่อนหลัง รูปแบบ
ของหลักสูตรแบบนี้ ให้ความสาคัญกับผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นั้น ๆ เป็นผู้ออกแบบหลักสูตร เนื่องจากเป็นผู้ที่รู้
ลึกเกี่ยวกับเนื้อหาตามศาสตร์ วิธีการสอนยึดตามวิธีการที่นักวิชาการใช้ศึกษาเนื้อหาในสาขาวิชานั้น ใช้เป็น
ต้นแบบให้นักเรียนใช้วิธีการเดียวกันในการศึกษาเนื้อหานั้นด้วย
1.3 หลักสูตรหมวดวิชา (broad fields design)
ลักษณะสาคัญ :
เป็นหลักสูตรมีลักษณะเป็นรายวิชาแบบสหวิทยากรและเน้นศาสตร์ด้านวิชาการ กาหนดเนื้อหา
อย่างกว้างๆ โดยการนาเนื้อหาของรายวิชาที่อยู่ในศาสตร์เดียวกันมารวมเข้าด้วยกันอย่างมีหลักการ โดย
เรียกว่าหมวดวิชา เช่น หมวดวิทยาศาสตร์ทั่วไป (เป็นการรวมวิชา ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์) หมวด
วิชาสังคมศึกษา (เป็นการรวม วิชาภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศาสนา) หลักสูตร
หมวดวิชาหรือหลักสูตรรวมวิชา เป็นหลักสูตรที่พยายามจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากหลักสูตรเนื้อหาวิชา ซึ่ง
ขาดการผสมผสานของความรู้ให้เป็นหลักสูตรที่มีการประสานสัมพันธ์ของเนื้อหาความรู้ที่กว้างยิ่งขึ้น การ
เรียนการสอนตามแนวทางของหลักสูตรเป็นการสอนรวมเป็นหน่วย มีการจัดทาคู่มือการสอน
ข้อดี :
มีการผสมผสานความรู้ไปใช้ในชีวิตประจาวัน
ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดง่ายขึ้น
ข้อจากัด :
จัดกิจกรรมการเรียนบรรลุตามหลักสูตรได้ยาก เพราะต้องอาศัยความรู้ที่ชานาญและ
รอบรู้
ความมุ่งหมายเป็นวิชาการทาให้ขาดพัฒนาการด้านอื่นๆ
(สุวรรณณา รัตนาธรรมเมธี. เอกสารประกอบการบรรยาย)
1.4 หลักสูตรสัมพันธ์วิชา (correlation design)
ลักษณะสาคัญ :
เป็นหลักสูตรที่นาเอาเนื้อหาวิชาของวิชาต่าง ๆ ที่สอดคล้องหรือส่ง เสริมซึ่ง กันและกันมา
เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน แล้วจัดสอนเป็นเนื้อหาเดียวกัน แยกวิชาเชื่อมโยงศาสตร์แต่ยังคงลักษณะเฉพาะ
ของแต่ละวิชา เป็นการนามาสัมพันธ์กันในหมวดวิชาหรือระหว่างวิชา วิธีการดัง กล่าวอาศัย หลั ก
ความคิดของนักการศึกษาที่ว่า การที่จะเรียนรู้สิ่งใดให้ได้ดีผู้เรียนต้องมีความสนใจเข้าใจความหมาย
ของสิ่งที่เรียนและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เรียนกับสิ่งอื่นที่ เกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นหลักสูตร
สัมพันธ์วิชาจะกาหนดเนื้อวิชาใดวิชาหนึ่งหรือหมวดใดหมวดหนึ่ง แล้วนาเนื้อหาสาระวิชาที่สัมพันธ์
กันมารวมไว้ด้วยกัน เช่น นาวิชาวิชาวรรณคดี ไ ปสัมพันธ์ กับประวัติศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ กั บ
คณิตศาสตร์ เป็นต้น
ข้อดี :
เนื้ อ หาในบทเรี ย นมี ค วามสอดคล้ อ งผสมผสานกั น ดี ยิ่ ง ขึ้ น ผู้ เ รี ย นได้ รั บ ความรู้ ที่
เชื่อมโยงกัน
3
ขจัดความซ้าซ้อนในเนื้อหาวิชา
ผู้เรียนได้มีโอกาสในสิ่ง ที่ตนสนใจ และได้รับประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ ต่ อ ชี วิ ต
ผู้เรียนมากขึ้น
ครูมีโอกาสวางแผนทางานร่วมกันมากขึ้น
ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมและมีประสบการณ์ตรงมากขึ้น
ข้อจากัด :
ครูอาจมีปัญหาในเรื่องเวลา การทางานร่วมกัน
ครูไม่คุ้นเคยกับการจัดตารางสอนติดต่อกันหลายชั่วโมง
อาจไม่ได้รับการยอมรับจากครูบางคนที่ไม่ยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอน
1.5 หลักสูตรแบบแกน (core designs)
เป็นหลักสูตรที่ประสานสัมพันธ์เนื้อหาวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน มุ่งที่จะสนองความต้องการและ
ความสนใจของผู้เรียนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Active Learning สิ่งที่
เรียนจะมีความสัมพันธ์กับประสบการณ์และชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงชีวิตความเป็นอยู่มา
สัมพันธ์กับการเรียนรู้ได้ เป็นหลักสูตรที่ยึดปรัชญาปฏิรูปนิยม สิ่งเหล่านี้มีอยู่แล้วในรูปแบบหลักสูตรที่ผ่านมา
จึงดูเหมือนว่าหลักสูตรแบบแกนจะเป็นหลักสูตรที่รวมเอาลักษณะเด่นของหลักสูตรอื่น ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ธารง
บัวศรี (2553) ได้อธิบายรูปแบบของหลักสูตรนี้ไว้ 3 ลักษณะ คือ
1) หลักสูตรที่นาวิชาต่าง ๆ มาผสมผสาน โดยใช้หัวข้อในเรื่องปัญหาสังคม ปัญหาผู้เรียน
ปัญหาทางประวัติศาสตร์ เป็นจุดร่วม
2) หลักสูตรที่ประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ที่เลือกแล้วว่าจาเป็นสาหรับผู้เรียน
ทุกคน โดยไม่แยกเป็นรายวิชา
3) หลักสูตรที่ประกอบด้วยวิชาที่พิจารณาว่าจาเป็นสาหรับทุกคน
ข้อดี :
เป็นการผสมผสานวิชา ทาให้นาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้
สนองความต้องการของผู้เรียน ทาให้ผู้เรียนเรียนอย่างกระตือรือร้น
ข้อจากัด :
ทากิจกรรมมากอาจทาให้เนื้อหาที่ได้รับมีน้อย
ครูต้องมีความสามารถสูง
ใช้วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งอานวยความสะดวกมาก
(สุวรรณณา รัตนาธรรมเมธี. เอกสารประกอบการบรรยาย)
1.6 หลักสูตรแบบผสมผสาน (Fused Curriculum or Fusion Curriculum)
ลักษณะสาคัญ :
เป็นหลักสูตรเนื้อหาวิชาอีกรูปแบบหนึ่ง โดยการรวมเอาวิชาย่อย ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน
มาผสมผสานกันในด้านเนื้อหาเข้าเป็นหมวดหมู่ เช่น การผสมวิชาสัตวศาสตร์กับพฤกษศาสตร์ เป็นชีววิทยา
ผสมวิชาวิศวกรรมเครื่องกลกับวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นแมคคาทรอนิกส์ ทาให้เนื้อหาวิชามีความผสมผสานเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกัน
ข้อดี :
เนื้อหาในบทเรียนมีความสอดคล้อง ผสมผสานกันอย่างดี
4
ขจัดความซ้าซ้อนในเนื้อหาวิชา
ครูได้วางแผนร่วมกันทางาน
ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่สนใจตามความสามารถ ได้ประสบการณ์ตรง นาไปใช้ได้จริง
ข้อจากัด :
จัดทาเป็นหลักสูตรที่สมบูรณ์ได้ยาก
มักไม่บูรณาการจริง เพียงแต่นาเนื้อหาวิชามาต่อกัน
2. รูปแบบหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ (Learner – centered designs) เป็นหลักสูตรที่มองถึง
ประโยชน์ ข องผู้ เ รี ย น ค านึ ง ถึ ง ความต้ อ งการและความสนใจของผู้ เ รี ย น โดยหลี ก เลี่ ย งหลั ก สู ต รที่ เ น้ น
เนื้อหาวิชาเป็นตัวตั้ง แต่เน้นการเรียนรู้เนื้อหาจากกระบวนการเรียนการสอน การออกแบบยึดตามปรัชญา
พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) และประสบการณ์นิยม (Experientialism) ได้แก่
2.1 หลักสูตรกิจกรรมหรือประสบการณ์ (Activity or Experience Curriculum)
ลักษณะสาคัญ :
เป็นหลักสูตรที่เกิดขึ้นจากความพยายามที่จะแก้ไขการเรียนรู้แบบครูเป็นผู้สอนเพียงอย่ าง
เดียว ไม่คานึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียนซึ่ง เป็นข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบเนื้อหาวิชา
หลักสูตรแบบนี้ยึดประสบการณ์ และกิจกรรมเป็นหลักมุ่ง ส่ง เสริมการเรียนการสอนโดยวิธี การแก้ ปั ญ หา
ผู้เรียนได้แสดงออกด้วยการลงมือกระทา ลงมือวางแผน เพื่อหาประสบการณ์อันเกิดจากการแก้ปัญหานั้น ๆ
ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเรียนแบบการเรียนรู้ด้วยการกระทา (Learning by Doing)
ข้อดี :
ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงและเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนและเลือกทากิจกรรม
ผู้เรียนและครูได้วางแผนการเรียนร่วมกัน
ข้อจากัด :
ครูต้องมีความเข้าใจจิตวิทยาการสอน พัฒนาการผู้เรียน
ครูต้องมีความกระตือตือร้น และความคิดริเริ่มมาก
(สุวรรณณา รัตนาธรรมเมธี. เอกสารประกอบการบรรยาย)
2.2 หลักสูตรบูรณาการ (Integrated Curriculum)
ลักษณะสาคัญ :
หลั ก สู ต รบู ร ณาการเป็ น หลั ก สู ต รที่ ร วมประสบการณ์ ก ารเรี ย นรู้ ต่ า ง ๆ เข้ า ด้ ว ยกั น
ประสบการณ์ดังกล่าวเป็นประสบการณ์ที่คัดเลือกมาจากหลายสาขาวิชา แล้วจัดเป็นกลุ่มหรือหมวดหมู่ของ
ประสบการณ์ เป็นการบูรณาการเนื้อหาเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์สัมพันธ์และต่อเนื่อง
อันมีคุณค่าต่อการดารงชีวิต เป็นการหลอมรวมวิชา โครงสร้างของเนื้อหาวิชามีลักษณะเป็นสหวิทยาการ
(Inter-disciplinary) คือมีการผสมผสานอย่างกลมกลืน แนบแน่นระหว่างองค์ ประกอบการเรียนรู้ทุกด้านอัน
ได้แก่ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย และมีกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นสหวิทยาการ (Inter-disciplinary
Learning) บางครั้งโครงสร้างของเนื้อหาวิชามีลักษณะเป็นหัวข้อหรือกิจกรรม หรือปัญหา ซึ่งจาเป็นต้องอาศัย
การเรียนรู้แบบสหวิทยาการ ความรู้หรือทักษะที่ผู้เรียนได้รับจึงเกิดจากการเรียนรู้หลายวิชาในขณะเดียวกัน
การผสมผสานวิชาเพื่อให้ได้หลักสูตรบูรณาการ ทาได้หลายวิธีหลายรูปแบบ

5
ข้อดี :
มีความสัมพันธ์ระหว่างวิชาสูงสุด
เน้นประสบการณ์ในการเรียนรู้ของผู้เรียน และปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน
มากกว่าเนื้อหาวิชา
ผู้เรียนมีประสบการณ์ต่อเนื่อง ประสบการณ์ตรง นาไปใช้ได้จริง
สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
ข้อจากัด :
วิธีการหลอมรวมวิชาต่าง ๆ ทาได้ยาก ต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย
ถ้าครูขาดการเตรียมการจะทาให้ไม่บรรลุผล
ใช้สื่อมาก บางโรงเรียนไม่พร้อม
ผู้ปกครอง ครูบางคนไม่เข้าใจ เพราะต้องการให้ผู้เรียน เรียนเนื้อหามาก ๆ
2.3 หลักสูตรเอกัตบุคคล
เป็ น หลั ก สู ต รที่ ส นองความต้ อ งการและความสนใจของผู้ เ รี ย น ผู้ เ รี ย นได้ เ รี ย น ตาม
ความสามารถ ส่งเสริมให้ผู้เรียนแต่ ละคนมี ความรั บผิ ด ชอบ ตัวอย่างเช่น หลักสูตรของ Home school
หลักสูตรสาหรับผู้มีความสามารถพิเศษ หรือความสามารถพิเศษ เฉพาะทาง เป็นต้น
ข้อดี
ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถ สอดคล้องกับความสนใจ
ฝึกให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ
ข้อจากัด
ครูอาจไม่มีความสามารถพอที่จะสร้างหลักสูตร
ถ้าผู้เรียนมีจานวนมาก และแตกต่างกัน คงยากแก่การสร้างหลักสูตร
3. หลักสูตรที่เน้นปัญหาหรือเน้นสังคมเป็นสาคัญ (Problem Center Design) เป็นหลักสูตรที่มุ่งยึด
ภาระหน้าที่ สภาพของสังคม หรือปัญหาของสัง คมเป็นตัวตั้ง ในการจัดทาหลักสูตร มุ่ง ให้ครูและนักเรียน
ตระหนักและมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขปัญหาของสังคมหรือท้องถิ่น โดยต้องมีการวิเคราะห์สภาพ
และความต้องการของชุมชนท้องถิ่น ได้แก่
3.1 หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม (Social Process and Life Function Curriculum)
ลักษณะสาคัญ :
เป็ น หลั ก สู ต รที่ ยึ ด เอาสั ง คมและชี วิ ต จริ ง ของเด็ ก เป็ นหลั ก เพื่ อ ผู้ เ รี ย นจะได้ น าความรู้ไ ป
ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้ เพราะมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาวิชาในหลักสูตรกับชีวิตจริง
ของผู้เรียนหรือภาวะทางสังคมที่ผู้เรียนกาลังประสบอยู่ หลักการจัดหลักสูตรประเภทนี้ ได้รับอิทธิพ ลมาจาก
ความคิดของจอห์น ดิวอี้ กับปรัชญาการศึกษาสาขาพิพัฒนาการนิยม และปรัชญาการศึกษาสาขาปฏิรูปนิยม
ข้อดี :
ผู้เรียนได้เรียนรู้ความจริงของสังคม และเชื่อมโยงไปสู่สังคมในอนาคต
มีความยืดหยุ่น สามารถปรับให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม
มุ่งส่งเสริมการเรียนแบบ active learning คือผู้เรียนเป็นสาคัญ และมีส่วนร่วมในการ
จัดกิจกรรมมากที่สุด

6
ข้อจากัด :
สาระสาคัญของเนื้อหาขาดความสมบูรณ เพราะเน้นความสนใจของผู้เรียนมากกว่า
การนาความรู้ไปประยุกต์ใช้อาจได้เป็นเพียงบางส่วน
การจัดกิจกรรมให้ตรงตามวัตถุประสงค์ทาได้ยาก
4. หลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบัน
4.1 หลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standard based curriculum)
ลักษณะสาคัญ :
เป็นหลักสูตรที่มาตรฐานเป็นเป้าหมายและทิศทางในการกาหนดโครงสร้างของหลักสูตร
และเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย สาระและมาตรฐาน สาระเป็นการแบ่งส่วนวิชาตามความคิด
หลัก เพื่อเป็นแนวทางการกาหนดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ด้านความรู้ ทักษะกระบวนการและเจตคติ ส่วน
มาตรฐานเป็นข้อกาหนดที่เป็นเกณฑ์ (Criteria) แสดงถึงความรู้ความสามารถของผู้เรี ยนทุกคนทั้ง ประเทศ
ได้แก่ มาตรฐานเนื้อหามาตรฐานการปฏิบัติ ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ข้อดี :
มีความยืดหยุ่นในการจัดทาหลักสูตร โดยการนามาตรฐานเป็นกรอบในการออกแบบ
เหมาะสมกับโลกปัจจุบันที่เนื้อหาความรู้เปลี่ยนแปลง โรงเรียนสามารถออกแบบเนื้อหา
ได้ตามความเหมาะสมกับผุ้เรียน และเป้าหมายของโรงเรียน ชุมชน ท้องถิ่น
แต่ละโรงเรียนสามารถออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทของตนเอง
สามารถบูรณาการได้หลากหลายวิธีการ
การวัดและประเมินผลมีความชัดเจน สามารถสิ่งที่ผู้เรียนรู้และปฏิบัติได้จริง
ข้อจากัด :
ครูยังเคยชินกับการสอนโดยใช้หนังสือเรียน ไม่สามารถออกแบบหลักสูตรของตนเองได้
ครูต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา และใช้เวลาในการออกแบบการเรียนรู้ การ
วัดและประเมินผล
4.2 หลักสูตรอิงสมรรถนะ (Competency based curriculum)
เป็น หลักสูตรที่กาหนดความสามารถที่ผู้เรียน ที่พัฒนาให้เกิดขึ้นตามลาดับ โดยผู้บริหาร
จัดการหลักสูตรและผู้เกี่ยวข้อง มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะตามมาตรฐานที่
กาหนด เน้นการปฏิบัติจริง มุ่งให้ผู้เรียนถ่ายโยงการเรียนรู้สู่การใช้ทักษะชีวิตในด้านต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ทาให้ผู้เรียนเกิดทักษะและความสามารถในการลงมือปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อย่างคล่องแคล่วและชานาญ ซึ่งจะ
เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนในการดาเนินชีวิตจริงมากกว่าหลักสูตรที่อิงความรู้เป็นฐาน
ลักษณะสาคัญ :
มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลักษณะของ
เนื้อหาสาระและการจัดจะเน้นการจัดระบบข้อมูล และมีการกาหนดความรู้เรียงลาดับจากพื้นฐานไปสู่เนื้อหา
ที่ลึกขึ้น การจัดประสบการณ์ ครูจะต้องจัดประสบการณ์ตามลาดับจากความรู้พื้นฐาน กระทั่งเกิดเป็นความ
ชานาญและสามารถทางานที่ยากขึ้นได้ การประเมินผล ครูจะเป็นผู้พิจารณาประเมินความสามารถในการ
ปฏิบัติงานของผู้เรียนเป็นสาคัญ สาหรับสมรรถนะที่สาคัญ ตัวอย่างเช่น ความสามารถในการสื่อสารและใช้
ภาษา ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นต้น
(เฉลิมลาภ ทองอาจ https://www.gotoknow.org/posts/437500)

7
ข้อดี :
ผู้เรียนได้รับ การพัฒนาสมรรถนะหลักที่สาคัญ ต่อการใช้ชีวิต การทางานและการ
เรียนรู้ ซึ่งจาเป็นสาหรับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
การจัดการเรียนรู้ มุ่งเป้าหมายไปที่การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะที่ต้องการ
ลดภาระการเรียนรู้ที่ไม่จาเป็น
ลดภาระและเวลาในการสอบตามตัวชี้วัดจานวนมาก
ข้อจากัด :
หากขาดมาตรฐานอาชีพที่ต้องกาหนดโดยแต่ละเจ้าของอาชีพจะทาให้หลักสูตรไม่
สามารถสร้างสมรรถนะในโลกการทางานได้อย่างแท้จริง
ต้องใช้ระยะเวลาในการจัดทา
ต้องมีความเชื่อมโยงของมาตรฐานอาชีพ/มาตรฐานสมรรถนะกับมาตรฐานการศึกษา
อย่างชัดเจน จึงจะสามารถกาหนดสมรรถนะที่เป็นจริงได้
ต้องมีเครื่องมืออุปกรณ์และบุคลากรพร้อมสาหรับการจัดการเรียนการสอน จึงจะ
บรรลุผล

การออกแบบหลักสูตร
การที่หลักสูตรจะมีรูปแบบใดนั้น เกิดจากการออกแบบหลักสูตร ซึ่งเป็นกระบวนการจัดองค์ประกอบ
เค้าโครงของหลักสูตร เพื่อนาไปสู่การจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระ ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน และการ
ประเมิน การกาหนดโครงสร้างต่าง ๆ จึงต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกัน ซึ่งจะช่วยให้ครูผู้สอน เลือกและ
จัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนได้เหมาะสม การออกแบบหลักสูตรผู้ออกแบบจะต้องตั้งคาถามที่นาไปสู่
การกาหนดโครงสร้างของหลักสูตร ความสอดคล้องสัมพันธ์กันแต่ละองค์ประกอบ ซี่งเกิดจากการศึกษาและนา
ปรัชญาการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้มากาหนดแต่ละองค์ประกอบ โอลิวา (1993) ได้สรุปแนวคิดของ แมคคิว
เชน และ เซไซด์ ว่า การออกแบบหลักสูตรจะต้องกาหนด 4 องค์ประกอบ ได้แก่ จุดมุ่งหมายและจุดประสงค์
เนื้อหา การประเมิน และวิธีการจัดการ ดังภาพที่ 1
จุดมุ่งหมาย

เนื้อหาสาระ วิธีการและการจัดการ

การประเมิน

รูปที่ 1 องค์ประกอบของการออกแบบ (H. Giles, S. P. McCutchen, and A. N. Zechiel, in Oliva 1993)

8
องค์ประกอบเหล่านี้ เกิดจากการตั้งคาถาม ได้แก่ จะทาอะไร เนื้อหาสาระอะไรที่จะใส่ไว้ในหลักสูตร
จะกาหนดวิธีสอน แหล่งทรัพยากร กิจกรรม ประสบการณ์ อะไร จะประเมินผลที่เกิดจากหลักสูตรโดยใช้
วิธีการและเครื่องมือใด องค์ประกอบทั้งสี่นั้น มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน การตัดสินใจ การเปลี่ยนแปลง
องค์ประกอบใดก็ตามจะส่งผลต่อองค์ประกอบอื่น ๆ ด้วย การออกแบบหลักสูตรนั้น เกี่ยวข้องกับปรัชญา
การศึกษาและทฤษฎีต่าง ๆ เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งส่งผลต่อการเลือกเนื้อหา กิจกรรม ประสบการณ์ใน
หลักสูตร ตลอดจนแนวทางในการวัดและประเมินผล
แหล่งข้อมูลในการออกแบบหลักสูตรนั้น ได้แก่ ศาสตร์หรือองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สังคม ความรู้
รวมทั้งตัวผู้เรียน แหล่งข้อมูลต่าง ๆ นั้น จะใช้สาหรับการวิเคราะห์เพื่อนามากาหนดองค์ประกอบต่าง ๆ ของ
หลักสูตรให้มีความเหมาะสมตามความต้องการหรือเป้าหมายของหลักสูตร

แหล่งข้อมูลในการออกแบบหลักสูตร
ออร์นสไตน์ และฮันกินส์ (Ornstein and Hunkins) เสนอว่า การออกแบบหลักสูตรจะต้องมีแหล่งข้อมูล
ในการที่จะนาไปใช้ ได้แก่
1. ศาสตร์ในแต่ละสาขา (Science)
2. ชุมชนสังคม (Society)
3. ความรู้ (Knowlage)
4. ผู้เรียน (Learner)

หลักการออกแบบหลักสูตร
สุเทพ อ่วมเจริญ (2557) แสดงทัศนะว่าสิ่งที่จะต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกในการออกแบบหลักสูตร
คือ ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติการสอน การจัดโครงสร้าง เนื้อหาสาระและงานที่มอบหมาย โอกาสในเรื่อง
ของเวลาในการสอน และการจัดสรรทรัพยากร หลักสูตรที่ได้ ไม่เพียงแต่การจัดขอบข่ายและเรียงลาดับวิชา
หากแต่ต้องมีการวางแผนให้ผู้เรียนมีความรอบรู้ และได้รับประสบการณ์ที่ชัดเจน มีความสัมพันธ์ระหว่างผล
การเรียนรู้กับประสิทธิผลของหลักสูตร ไม่เพียงแต่ออกแบบหลักสูตรที่มุ่งแต่ประเด็นจริยธรรมและการเป็น
พลเมืองเท่านั้น ประเด็นสาคัญก็คือ ต้องตอบคาถามที่ เกี่ ยวข้องต่อไปนี้ จะเรียนอะไร ในการสอนจะจั ด
โครงสร้าง สิ่งที่จะเรียนอย่างไร การออกแบบหลักสูตรจะแสดงในรูปแบบและจัดระบบโครงสร้างอย่างไร เป็นต้น
การออกแบบหลักสูตรไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ต้องใช้ความระมัดระวัง นักพัฒนา
หลักสูตรจะต้องตัดสินใจอย่างระมัดระวังในการเลือกกลยุทธ

ขั้นตอนในการออกแบบหลักสูตร
ขั้นที่ 1 กาหนดหลักการและจุดมุ่งหมาย
ขั้นตอนนี้มีการแจกแจงอธิบายถึงหลักการและจุดมุ่งหมาย ซึ่งเป็นการกาหนดถึงความตั้งใจที่
จะให้หลักสูตรนั้นบรรลุ โดยพยายามเลือกเนื้อหาที่มีคุณค่า ทาหลักสูตรให้กว้าง หลักสูตร
จะต้องทาให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาที่สมดุลทั้งความรู้และทักษะ
หลักการของหลักสูตร หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการจัดการศึกษาซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องทุก
ฝ่ายในการจัดการศึกษาระดับนั้น ๆ จะได้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ

9
จุดหมายของหลักสูตร หมายถึง พฤติกรรมต่าง ๆ หรือคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิด
ขึ้นกับผู้เรียน เมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ ตามที่กาหนดไว้ในหลักสูตรนั้นแล้ว
ขั้นที่ 2 ระบุสิ่งจาเป็นสาหรับนักเรียน
ระบุกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับโอกาสในการพัฒนา และเป็นสิทธิที่นักเรียนพึง
ได้รับ เช่น กิจกรรมพิเศษของหลักสูตร การไปศึกษาดูงาน และโอกาสเพื่อการเรียนรู้อื่น ๆ
ขัน้ ที่ 3 กาหนดเนื้อหา จัดทาโครงสร้างของหลักสูตร
เนื้อหาคือสาระสาคัญที่กาหนดไว้ในหลักสูตรให้ชัดเจน โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์การ
เรียนรู้ เพื่อพัฒนาไปสู่ความมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาสาระที่ได้กาหนดไว้ต้องสมบูร ณ์
ต้องผนวกความรู้ ประสบการณ์ ค่านิยม แนวคิด และทัศนคติเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้เรียนได้
พัฒนาทั้งในด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมต่าง ๆ อันพึงประสงค์ อย่างไรก็ตาม การ
พัฒนาและกาหนดเนื้อหา เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้น อาจทาให้
นักเรียนเข้าใจจากการเรียนรู้ผ่านโครงงาน หรือการกาหนดเป็นหัวเรื่อง เพื่อให้นักเรียนได
เรียนรู้เนื้อหาจากกระบวนการที่ ก าหนดให้เ ด็กได้ ค้น คว้ า ตามเป้า หมายของแต่ ล ะหั ว ข้ อ
ขั้นตอนนี้ ผู้ออกแบบจะต้องพิจารณาความครอบคลุมของเนื้อหา และพิจารณาว่าในหลักสูตร
นี้ จะต้องมีเนื้อหาที่ลึกและกว้างในระดับใด ขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนระยะยาว ถือเป็นการ
กาหนดโครงสร้างของหลักสูตร
ขั้นที่ 4 กาหนดวิธีการสอน
เป็นการวางแผนระยะกลาง โดยการนาโครงสร้างรายวิชา นาแต่ละหัวข้อมากาหนดหัว ข้อ
ย่อย ๆ และลงรายละเอีย ดในแต่ ละหั วข้ อย่ อย กาหนดผลการเรียนรู้ ซึ่ง นาไปใช้ ใ นการ
วางแผนระยะสั้น
ขั้นที่ 5 ระบุแหล่งทรัพยากร
ระบุแหล่งทรัพยากรในการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับเป้าหมายการเรียนรู้ ผลลัพธ์การ
เรียนรู้ แหล่งทรัพยากร ได้แก่ ทรัพยากรบุคคล เครื่องมือในการฝึกปฏิบัติ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
ที่ทาให้เกิดการเรียนรู้ และสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
ขั้นที่ 6 ประเมิน ทบทวน และปรับปรุงแก้ไข
เป็นการตรวจสอบหลักสูตรตั้งแต่กระบวนการในการออกแบ หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้ อหา
โครงสร้าง การกาหนดแผนระยะยาว จนถึงรายละเอียดเกี่ยวกับแผนระยะสั้น หรือการวาง
แผนการสอนของครูแต่ละคน การบริหารจัดการหลักสูตร การสนับสนุนเพื่อการนาหลักสูตร
นั้นไปใช้จริง แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ความรู้และทักษะ การประเมินนี้ควรมุ่ง ไปที่การหาข้อดี
ข้อเสีย เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรต่อไป
อย่างไรก็ตาม การกาหนดรูปแบบของหลักสูตร นักพั ฒนาหลักสูตรจะต้องตัดสินใจ เลือกใช้รูปแบบ
ของหลักสูตรที่สอดคล้องกับธรรมชาติของกลุ่มเป้าหมายหรือผู้เรียน บนพื้นฐานของสารสนเทศที่ได้จากการ
วิเคราะห์สิ่งก าหนดหลักสูตร

10
อ้างอิง
ธารง บัวศรี. 2553. ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบและการพัฒนา กรุงเทพมหานคร : พัฒนาศึกษา
วิชัย ดิสสระ . 2535 การพัฒนาหลักสูตรและการสอน สุรีวิยาสาร์น กรุงเทพ
มารุต พัฒผล 2562 แนวคิดการพัฒนาหลักสูตร ศูนย์ผู้นาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้
กรุงเทพมหานคร สื่อออนไลน์
สงัด อุดทรานันท์ 2532 พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสนาม
จันทร์ นครปฐม
สุวรรณา รัตนธรรมเมธี เอกสารประกอบการบรรยายรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร
Oliva., P.E., (1992) Developing the Curriculum United State : Darriu dudas Pulication Services
Inc.
Ornstein, Allan C. and Hunkins, Francis. 1993. Curriculum : Foundation, principles and theore
2nd ed. USA.
Print, Murray 1993 Curriculum Development and Design 2nd Australia
เฉลิมลาภ ทองอาจ https://www.gotoknow.org/posts/437500

11

You might also like