Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 27

บทที่ 4

การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม
การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม ที่เกิดจากการทดลองเชิงสุ่มในลักษณะต่างๆ
สามารถแบ่งด้วยลักษณะของการทดลองที่น่าสนใจได้หลายชนิด ได้แก่ การแจกแจงทวินาม
(Binomial Distribution) การแจกแจงปัวส์ซอง (Poisson Distribution) และการแจกแจงแบบปกติ
(Normal Distribution) ซึ่งการแจกแจงเหล่านี้มักจะพบบ่อย และสามารถที่จะไปประยุกต์ใช้ได้อย่าง
กว้างขวาง

4.1 การแจกแจงแบบทวินาม (Binomial Distribution)

เป็นการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่อง โดยมีลักษณะของการ
ทดลองเชิงสุ่ม เป็นดังนี้
1. เป็นการทดลองที่กระทาซ้า ๆ กัน n ครั้ง
2. การทดลองในแต่ละครั้งทั้ง n ครั้งเป็นอิสระต่อกัน
3. ผลจากการทดลองแต่ละครั้งจะแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ ความสาเร็จ (success) กับไม่
สาเร็จ (failure) และให้ความน่าจะเป็นที่เกิดความสาเร็จเป็น p ซึ่งเป็นค่าคงที่ และความน่าจะเป็นที่
เกิดไม่สาเร็จ เป็น q โดย p + q = 1
ให้ตัวแปรสุ่ม X แทนจานวนครั้งที่เกิดความสาเร็จในการทดลองทั้งหมด n ครั้ง โดย X จะ
มีค่าเป็น 0 , 1 , 2 , 3 , …, n ดังนั้นตัวแปรสุ่ม X จะมีการแจกแจงแบบทวินามที่มีพารามิเตอร์ n, p
ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ X ~ b (x ; n , p)
และฟังก์ชันความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบทวินาม คือ
f(x) = P(X = x) = n C x p x q nx ; x = 0, 1, 2, …, n

ค่าคาดหวังและความแปรปรวนของตัวแปรสุ่ม X ที่มีการแจกแจงแบบทวินาม คือ


ค่าคาดหวัง E (X) =  = np
ความแปรปรวน V (X) = 2 = npq
71

ตัวอย่างที่ 4.1 ถ้าความน่าจะเป็นที่เมล็ดถั่วพันธุ์หนึ่งจะงอกเป็น 0.85 และจากการเพาะเมล็ดถั่ว


พันธุ์นี้จานวน 10 เมล็ด จงหาความน่าจะเป็นที่เมล็ดถั่วนี้
ก. จะงอกจานวน 8 เมล็ด
ข. จะงอกน้อยกว่า 7 เมล็ด
ค. จะงอกอย่างน้อย 7 เมล็ด
ง. คาดว่ามีเมล็ดถั่วที่จะงอกกี่เมล็ด
จ. จงหาความแปรปรวนของเมล็ดถั่วที่จะงอก
วิธีทา จากโจทย์
n คือ จานวนเมล็ดถั่วที่เพาะ ; n = 10
p คือ ความน่าจะเป็นที่เมล็ดถั่วพันธุ์นี้จะงอก ; p = 0.85
q คือ ความน่าจะเป็นที่เมล็ดถั่วพันธุ์นี้จะไม่งอก ; q = 1 – 0.85 = 0.15
X คือ จานวนเมล็ดถั่วที่จะงอก ; X = 0 , 1 , 2 , …, 10
จะได้ว่าเป็นการทดลองแบบทวินามที่เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ว่า X ~ b(10 , 0.85)
ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบทวินาม คือ
f (x) = P(X = x) = n C x p x q nx ; x = 0 , 1 , 2 , …, 10

ก. ความน่าจะเป็นที่เมล็ดถั่วนี้จะงอกจานวน 8 เมล็ด คือ P(X = 8)


 P(X = 8) = 10
C8  (0.85)8  (0.15)108
10!
P(X = 8) = (0.85)8 (0.15) 2
8!2!
= 0.276
ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่เมล็ดถั่วนี้จะงอกจานวน 8 เมล็ด คือ 0.276

ข. ความน่าจะเป็นที่เมล็ดถั่วนี้จะงอกน้อยกว่า 7 เมล็ด คือ P(X < 7)


 P(X < 7) = P(X = 0) + P(X = 1) + P(X = 2) + P(X = 3) + P(X = 4) +
P(X = 5) + P(X = 6)
P(X = 0) = 10
C 0 (0.85) 0  (0.15)100 = 0.000
P(X = 1) = 10
C1  (0.85)1  (0.15)101 = 0.000000326
P(X = 2) = 10
C 2 (0.85) 2  (0.15)102 = 0.0000083
72

P(X = 3) = 10
C 3 ( 0.85) 3  (0.15)103 = 0.0001259
P(X = 4) = 10
C 4 (0.85) 4  (0.15)104 = 0.0012
P(X = 5) = 10
C 5 ( 0.85) 5  (0.15)105 = 0.0084
P(X = 6) = 10
C 6  (0.85) 6  (0.15)106 = 0.0400
ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่เมล็ดถั่วนี้จะงอกน้อยกว่า 7 เมล็ด คือ 0.0497

ค. ความน่าจะเป็นที่เมล็ดถั่วนี้จะงอกอย่างน้อย 7 เมล็ด คือ P(X ≥ 7)


 P(X ≥ 7) = P(X = 7) + P(X = 8) + P(X = 9) + P(X = 10)
P(X = 7) = 10
C 7  (0.85) 7  (0.15)107 = 0.1298
P(X = 8) = 10
C8 ( 0.85)8  (0.15)108 = 0.2759
P(X = 9) = 10
C 9  (0.85) 9  (0.15)109 = 0.3474
P(X = 10) = 10
C10  (0.85)10  (0.15)1010 = 0.1969
ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่เมล็ดถั่วนี้จะงอกอย่างน้อย 7 เมล็ด คือ 0.950

ง. คาดว่ามีเมล็ดถั่วที่จะงอกกี่เมล็ด
E(X) = np
= 10  0.85
= 8.5
ดังนั้น คาดว่ามีเมล็ดถั่วที่จะงอก ประมาณ 9 เมล็ด

จ. จงหาความแปรปรวนของเมล็ดถั่วที่จะงอก
V(X) = npq
= 10  0.85  0.15
= 1.275
ดังนั้น ความแปรปรวนของเมล็ดถั่วที่จะงอก คือ 1.275 เมล็ด2
73

การหาค่าความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบทวินามโดยใช้ตาราง

การหาค่าความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มที่มีการแจกแจงแบบทวินาม นอกจากจะคานวณหา
โดยใช้ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบทวินามแล้ว ยังสามารถหาค่าความน่าจะเป็นได้
จากตารางหาค่าความน่าจะเป็น ของการแจกแจงแบบทวินาม (ดูจากภาคผนวกท้ายหนังสือหรือ
ตารางสถิติ)
จากตาราง ให้ตัวแปรสุ่ม X มีการแจกแจงแบบทวินาม X ~ b(x ; n , p)
ซึ่ง n คือจานวนครั้งของการทดลอง
p คือความน่าจะเป็นที่เกิดความสาเร็จในการทดลอง
k คือจานวนครั้งที่เกิดความสาเร็จในการทดลอง หรือ x
ค่าที่ได้จากตารางจะเป็นค่าความน่าจะเป็นแบบสะสม ของตัวแปรสุ่ม X หรือเป็นค่าความน่าจะเป็น
k
ที่ X มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ k โดยตารางจะแสดงค่า P(X  k) หรือ  f (x )
x 0
เช่น ถ้ากาหนดให้ n = 15 , p = 0.2 และต้องการหาค่า P(X = 5)
5 4
ซึ่งเท่ากับ  f ( x )   f ( x ) ก็จะเปิดตารางที่ n = 15 , p = 0.2 และ k = 5
x 0 x 0
5 4
จะได้ค่า P(X  5) =  f ( x ) = 0.939 และที่ k = 4 จะได้ P(X  4) =  f ( x ) = 0.836
x 0 x 0
ดังนั้นจะได้ค่า P(X = 5) มีค่าเป็น 0.939  0.836 = 0.103
6
และถ้าต้องการหาค่า P(X  6) จะได้ค่าเท่ากับ  f ( x ) = 0.982
x 0

ตัวอย่างที่ 4.2 ตุ๊กตาเซรามิคที่ผลิตจากโรงงานแห่งหนึ่ง พบว่า มีรอยตาหนิจานวน 20% ถ้าสุ่ม


ตัวอย่างตุ๊กตาจากโรงงานนี้มา 15 ตัว จงหาความน่าจะเป็นที่พบตุ๊กตามีรอยตาหนิ
ก. จานวน 2 ตัว
ข. ไม่เกิน 4 ตัว
ค. มากกว่า 5 ตัว
ง. อย่างมาก 5 ตัว
จ. ตั้งแต่ 3 ถึง 6 ตัว
74

วิธีทา จากโจทย์
n คือ จานวนตุ๊กตาที่สุ่มมา ; n = 15
p คือ ความน่าจะเป็นที่ตุ๊กตามีรอยตาหนิ ; p = 0.20
q คือ ความน่าจะเป็นที่ตุ๊กตาไม่มีรอยตาหนิ ; q = 1 – 0.20 = 0.80
X คือ จานวนตุ๊กตาที่จะมีตาหนิ ; X = 0 , 1 , 2 , …, 15
จะได้ว่าเป็นการทดลองแบบทวินามที่เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ว่า X ~ b(15 , 0.20)
ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบทวินาม คือ
f (x) = P(X = x) = n C x p x q nx ; x = 0 , 1 , 2 , …, 15

ก. ความน่าจะเป็นที่พบตุ๊กตามีรอยตาหนิจานวน 2 ตัว คือ P(X = 2)


2 1
 P(X = 2) =  f (x ) –  f (x )
x 0 x 0
2
หาค่าความน่าจะเป็นจากการเปิดตารางทวินามที่ n = 15, p = 0.20, k = 2 จะได้  f ( x ) =
x 0
1
0.398 และเปิดที่ n = 15, p = 0.20, k = 1 จะได้  f ( x ) = 0.167
x 0
 P(X = 2) = 0.398 – 0.167 = 0.231
ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่พบตุ๊กตามีรอยตาหนิจานวน 2 ตัว คือ 0.231

ข. ความน่าจะเป็นที่พบตุ๊กตามีรอยตาหนิไม่เกิน 4 ตัว คือ P(X ≤ 4)


 P(X ≤ 4) = P(X = 0) + P(X = 1) + P(X = 2) + P(X = 3) + P(X = 4)
4
=  f (x )
x 0
4
หาค่าความน่าจะเป็นจากการเปิดตารางทวินามที่ n = 15, p = 0.20, k = 4 จะได้  f ( x ) =
x 0
0.836
 P(X ≤ 4) = 0.836
ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่พบตุ๊กตามีรอยตาหนิไม่เกิน 4 ตัว คือ 0.836
75

ค. ความน่าจะเป็นที่พบตุ๊กตามีรอยตาหนิมากกว่า 5 ตัว คือ P(X > 5)


 P(X > 5 ) = P(X = 6) + P(X = 7) + P(X =8) +….+ P(X = 15)
15 5
=  f (x ) –  f (x )
x 0 x 0
5
= 1 –  f (x )
x 0
5
หาค่าความน่าจะเป็นจากการเปิดตารางทวินามที่ n = 15, p = 0.20, k = 5 จะได้  f ( x ) =
x 0
0.939
 P(X > 5 ) = 1 – 0.939
= 0.061
ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่พบตุ๊กตามีรอยตาหนิมากกว่า 5 ตัว คือ 0.061

ง. ความน่าจะเป็นที่พบตุ๊กตามีรอยตาหนิอย่างมาก 5 ตัว คือ P(X ≤ 5)


 P(X ≤ 5 ) = P(X = 0) + P(X = 1) + P(X = 2) + P(X = 3) + P(X = 4) +
P(X = 5)
5
=  f (x )
x 0
5
หาค่าความน่าจะเป็นจากการเปิดตารางทวินามที่ n = 15, p = 0.20, k = 5 จะได้  f ( x ) =
x 0
0.939
 P(X > 5 ) = 0.939
ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่พบตุ๊กตามีรอยตาหนิอย่างมาก 5 ตัว คือ 0.939

จ. ความน่าจะเป็นที่พบตุ๊กตามีรอยตาหนิตั้งแต่ 3 ถึง 6 ตัว คือ P(3 ≤ X ≤ 6)


 P(3 ≤ X ≤ 6) = P(X = 3) + P(X = 4) + P(X = 5) + P(X = 6)
6 2
=  f (x ) –  f (x )
x 0 x 0
หาค่าความน่าจะเป็นจากการเปิดตารางทวินามที่ n = 15, p = 0.20, k = 6
76

6 2
จะได้  f ( x ) = 0.982 และเปิดที่ n = 15, p = 0.20, k = 2 จะได้  f ( x ) = 0.398
x 0 x 0
 P(3 ≤ X ≤ 6) = 0.982 – 0.398 = 0.584
ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่พบตุ๊กตามีรอยตาหนิตั้งแต่ 3 ถึง 6 ตัว คือ 0.584

4.2 การแจกแจงแบบปัวส์ซอง (Poisson Distribution)

เป็นการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่องเหมือนกัน แต่ลักษณะของ
การแจกแจงนี้จะเป็นการศึกษาถึงจานวนครั้งของการเกิดเหตุการณ์ที่สนใจ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด
ช่วงเวลาหนึ่ง หรือขอบเขตใดขอบเขตหนึ่ง เช่น จานวนผู้มาใช้บริการในธนาคารแห่งหนึ่งใน
ช่วงเวลาหนึ่ง จานวนคนไข้ที่เข้ารับการตรวจโรคทั่วไป ต่อวันของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เป็นต้น
ถ้าให้ตัวแปรสุ่ม X แทนจานวนของความสาเร็จที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือ
ขอบเขตใดๆที่กาหนด โดย X จะมีค่าเป็น 0 , 1 , 2 , 3 , … ดังนั้นตัวแปรสุ่ม X จะมีการแจกแจง
แบบปัวส์ซอง ที่มีพารามิเตอร์  ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ X ~ p(x ; )
โดย  แทนค่าเฉลี่ยของจานวนความสาเร็จที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด หรือขอบเขตใดๆ ที่
กาหนด และต้องเป็นช่วงเวลาหรือขอบเขตเดียวกันกับ ตัวแปรสุ่ม X
และฟังก์ชันความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบปัวส์ซอง คือ
e  x
f (x) หรือ P(X = x) = x! ; x = 0, 1, 2, …
ค่าคาดหวังและความแปรปรวนของตัวแปรสุ่ม ที่มีการแจกแจงแบบปัวส์ซอง คือ
ค่าคาดหวัง E (X) =  = E(X) = 
ความแปรปรวน V (X) = 2 = E(X) = 

ตัวอย่างที่ 4.3 โรงพยาบาลแห่งหนึ่งพบว่าโดยเฉลี่ยจะมีผู้ป่วย 6 คนเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน


ในช่วงเวลา 22.00 – 24.00 น. จงหาความน่าจะเป็นที่ในช่วงเวลาดังกล่าวของวันพรุ่งนี้จะมีผู้ป่วยเข้า
รับการรักษาในห้องฉุกเฉิน
ก. จานวน 7 คน
ข. จานวนน้อยกว่า 4 คน
ค. อย่างน้อย 4 คน
ง. จงหาค่าคาดหวังของจานวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน
77

จ. จงหาความแปรปรวนของจานวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน
วิธีทา จากโจทย์
 คือ จานวนผู้ป่วยเฉลี่ยที่เข้ารับการรักษาห้องฉุกเฉินในช่วงเวลาดังกล่าว ;  = 6
X คือ จานวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาห้องฉุกเฉินในช่วงเวลาดังกล่าว ; x = 0, 1, 2, …

จะได้ว่าเป็นการทดลองแบบปัวส์ซองที่เขียนเป็นสัญลักษณ์ ได้ว่า X ~ p(x ; 6)

ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบปัวส์ซอง คือ
e  x
f (x) = P(X = x) =
x! ; x = 0, 1, 2, …

ก. ความน่าจะเป็นทีม่ ีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินจานวน 7 คน คือ P (X = 7)


e  x
 P (X = 7) = x!
6 7
e 6
= 7!
= 0.1377
ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินจานวน 7 คน คือ 0.1377

ข. ความน่าจะเป็นที่มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินจานวน น้อยกว่า 4 คน คือ P (X < 4)


 P (X < 4) = P (X = 0) + P (X = 1) + P (X = 2) + P (X = 3)
e 6 6 0 e 6 61 e 6 6 2 e 6 6 3
= 0! + 1! + 2! + 3!
= 0.0025 + 0.0149 + 0.0446 + 0.0892
= 0.1512
ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน น้อยกว่า 4 คน คือ 0.1512

ค. ความน่าจะเป็นที่มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน อย่างน้อย 4 คน คือ P (X ≥ 4)


 P (X ≥ 4) = P (X = 4) + P (X = 5) + P (X = 6) + ……
= 1 – (P (X = 0) + P (X = 1) + P (X = 2) + P (X = 3) )
e 6 6 0 e 6 61 e 6 6 2 e 6 6 3
= 1 – ( 0! + 1! + 2! + 3!
78

= 1 – (0.0025 + 0.0149 + 0.0446 + 0.0892)


= 0.8488
ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน อย่างน้อย 4 คน คือ 0.8488

ง. หาค่าคาดหวังของจานวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน
E(X) = 
= 6
ดังนั้น คาดว่าจานวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน คือ 6 คน

จ. ความแปรปรวนของจานวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน
V(X) = 
= 6
ดังนั้น ความแปรปรวนของจานวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน คือ 6 คน2

การหาค่าความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบปัวส์ซองโดยใช้ตาราง

การหาค่าความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มที่มีการแจกแจงแบบปัวส์ซอง นอกจากจะ
คานวณหาโดยใช้ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบปัวส์ซองแล้ว ยังสามารถหาค่าความ
น่าจะเป็นได้จากตารางหาค่าความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบปัวส์ซอง (ดูจากภาคผนวกท้าย
หนังสือหรือตารางสถิติ)
จากตาราง ให้ตัวแปรสุ่ม X มีการแจกแจงแบบปัวส์ซอง X ~ p(x ; )
ซึ่ง  คือค่าเฉลี่ยของจานวนความสาเร็จที่เกิดขึ้นในการทดลอง
x คือจานวนครั้งของความสาเร็จในการทดลอง
ค่าที่ได้จากตารางจะเป็นค่าความน่าจะเป็นสะสม ของตัวแปรสุ่ม X หรือเป็นค่าความน่าจะเป็นที่ X
x
มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ x โดยตารางจะแสดงค่า P(X  x) หรือ  f (x )
x 0
เช่น ถ้ากาหนดให้  = 4.2 และต้องการหาค่า P(X = 5)
5 4
ซึ่งเท่ากับ  f ( x )   f ( x ) ก็จะเปิดตารางที่  = 4.2 และ x = 5
x 0 x 0
79

5 4
จะได้ค่า P(X  5) =  f ( x ) = 0.753 และที่ x = 4 จะได้ P(X  4) =  f ( x ) = 0.590
x 0 x 0
ดังนั้นจะได้ค่า P(X = 5) มีค่าเป็น 0.753  0.590 = 0.163
4
และถ้า ต้องการหาค่า P(X < 5) จะได้ค่าเท่ากับ  f ( x ) = 0.590
x 0

ตัวอย่างที่ 4.4 จานวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในโรงงานแห่งหนึ่งมีการแจกแจงแบบปัวส์ซอง โดยมี


ค่าเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี จงหาความน่าจะเป็นที่จะเกิดอุบัติเหตุ
ก. 3 ครั้งในปีนี้
ข. มากกว่า 5 ครั้งในปีนี้
ค. น้อยกว่า 4 ครั้ง ในสองปี
วิธีทา จากโจทย์
 คือ จานวนอุบัติเหตุเฉลี่ยที่เกิดขึ้นในโรงงานต่อปี ;  = 2
X คือ จานวนอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นในโรงงานต่อปี ; X = 0 , 1 , 2 , …
จะได้ว่าเป็นการทดลองแบบปัวส์ซองที่เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ว่า X ~ p( 2 )
ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบปัวส์ซอง คือ
e  x
f (x) = P(X = x) = x! ; x = 0 , 1 , 2 , ….

ก. ความน่าจะเป็นที่เกิดอุบัติเหตุ 3 ครั้งในปีนี้ คือ P(X = 3)


3 2
 P(X = 3) =  f (x ) –  f (x )
x 0 x 0
3
หาค่าความน่าจะเป็นจากการเปิดตารางปัวส์ซองที่  = 2 , k = 3 จะได้  f ( x ) = 0.857 และเปิดที่
x 0
2
 = 2 , k = 2 จะได้  f ( x ) = 0.677
x 0
 P(X = 3) = 0.857 – 0.677 = 0.180
ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่เกิดอุบัติเหตุ 3 ครั้งในปีนี้ คือ 0.180
80

ข. ความน่าจะเป็นที่เกิดอุบัติเหตุมากกว่า 5 ครั้งในปีนี้ คือ P(X > 5)


 P(X > 5 ) = P(X = 6) + P(X = 7) + P(X =8) +….
 5
=  f (x ) –  f (x )
x 0 x 0
5
= 1 –  f (x )
x 0
5
หาค่าความน่าจะเป็นจากการเปิดตารางปัวส์ซองที่  = 2 , k = 5 จะได้  f ( x ) = 0.983
x 0
 P(X > 5 ) = 1 – 0.983
= 0.017
ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่เกิดอุบัติเหตุมากกว่า 5 ครั้งในปีนี้ คือ 0.017

ค. ความน่าจะเป็นที่เกิดอุบัติเหตุน้อยกว่า 4 ครั้ง ในสองปี คือ P(X < 4)


 คือ จานวนอุบัติเหตุเฉลี่ยที่เกิดขึ้นในโรงงานต่อสองปี ;  = 4
X คือ จานวนอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นในโรงงานต่อสองปี ; X = 0 , 1 , 2 , …
 P(X < 4) = P(X = 0) + P(X = 1) + P(X = 2) + P(X = 3)
3
=  f (x )
x 0
3
หาค่าความน่าจะเป็นจากการเปิดตารางปัวส์ซองที่  = 4 , k = 3 จะได้  f ( x ) = 0.433
x 0
 P(X < 4) = 0.433
ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่เกิดอุบัติเหตุน้อยกว่า 4 ครั้ง ในสองปี คือ 0.433

4.3 การประมาณค่าการแจกแจงแบบทวินามด้วยการแจกแจงแบบปัวส์ซอง

ถ้าให้ตัวแปรสุ่ม X มีการแจกแจงแบบทวินาม X ~ b(x; n, p) แล้ว n มีค่ามาก (n)


และ p มีค่าน้อย (p0) จะสามารถประมาณค่าการแจกแจงแบบทวินามได้ด้วยการแจกแจง
แบบปัวส์ซอง p(x; ) โดย  = np ซึ่งเป็นค่าคงที่
81

ตัวอย่างที่ 4.5 สมมุติว่าความน่าจะเป็นที่แต่ละคนจะหูหนวกมีค่าเท่ากับ 0.001 จงหาความน่าจะเป็น


ที่สุ่มคนมา จานวน 1,500 คน แล้วจะพบคนที่หูหนวก
ก. อย่างมาก 2 คน
ข. มากกว่า 4 คน
วิธีทา จากโจทย์
n คือ จานวนคนที่ถูกสุ่มมา ; n = 1,500
p คือ ความน่าจะเป็นที่แต่ละคนจะหูหนวก ; p = 0.001
q คือ ความน่าจะเป็นที่แต่ละคนหูไม่หนวก ; q = 1 – 0.001 = 0.999
X คือ จานวนคนที่จะหูหนวก ; X = 0 , 1 , 2 , …, 1,500
จะได้ว่าเป็นการทดลองแบบทวินามที่เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ว่า X ~ b(1,500 , 0.001)
ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบทวินาม คือ
f (x) = P(X = x) = n C x p x q nx ; x = 0 , 1 , 2 , …, 1,500

เนื่องจาก n , p0 ดังนั้นสามารถประมาณค่าการแจกแจงแบบทวินามด้วยการแจกแจง


แบบปัวส์ซองได้ โดย  = np = 1,500 x 0.001 = 1.5
จะได้ว่าเป็นการทดลองแบบปัวส์ซองที่เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ว่า X ~ p( 1.5 )

ก. ความน่าจะเป็นที่พบคนที่หูหนวก อย่างมาก 2 คน คือ P(X  2)


2
P(X  2) =  f (x )
x 0
เปิดตารางหาค่าความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบปัวส์ซองที่  = 1.5 และ x = 2 จะได้
2
ค่า  f (x ) = 0.809
x 0
 P(X  2) = 0.809

ข. ความน่าจะเป็นที่พบคนที่หูหนวก มากกว่า 4 คน คือ P(X > 4)


4
P(X > 4) = 1 –  f (x )
x 0
82

เปิดตารางหาค่าความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบปัวส์ซองที่  = 1.5 และ x = 4 จะได้


4
ค่า  f ( x ) = 0.981
x 0
 P(X > 4) = 1 – 0.981 = 0.019

4.4 การแจกแจงแบบปกติ (Normal Distribution)

การแจกแจงแบบปกติ เป็นการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มชนิดต่อเนื่อง ที่มี


ความสาคัญ และมีประโยชน์มาก เพราะข้อมูลส่วนใหญ่ในธรรมชาติที่มีอยู่มักจะมีการแจกแจงที่
ใกล้เคียงกับรูปแบบการแจกแจงแบบปกติ เช่น ข้อมูลปริมาณผลผลิตการส่งออกข้าว รายได้
น้าหนัก ส่วนสูง ฯลฯ
ถ้าให้ตัวแปรสุ่ม X เป็นตัวแปรสุ่มชนิดต่อเนื่องที่มีการแจกแจงแบบปกติ โดยมี  คือ
ค่าเฉลี่ย และ 2 คือความแปรปรวน เป็นพารามิเตอร์
ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ X ~ N(, 2)

และฟังก์ชันความหนาแน่นน่าจะเป็น (Probability Density Function ; p.d.f.) ของการแจกแจงแบบ


1  x   2
1   
ปกติ คือ f(x) = e 2   ; - < x <  , - <  <  , 2  0
2 2
โดย X คือ ตัวแปรสุ่มชนิดต่อเนื่องที่มีการแจกแจงแบบปกติ
 คือ ค่าเฉลี่ยของประชากร
2 คือ ความแปรปรวนของประชากร
 มีค่าเท่ากับ 3.14159….
e มีค่าเท่ากับ 2.71828…
จากฟังก์ชันความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม X ที่มีการแจกแจงแบบปกติ ถ้าทราบ
ค่าพารามิเตอร์  และ 2 และจากการแทนค่า X ก็จะได้ค่าความน่าจะเป็นของแต่ละค่า X
ออกมา และเมื่อนาค่าความน่าจะเป็นเหล่านั้นมาลงจุด ก็จะได้กราฟเป็นเส้นโค้ง ซึ่งเรียกว่าโค้งปกติ
(Normal curve)
83

คุณสมบัติของโค้งการแจกแจงแบบปกติ
1. เป็นกราฟเส้นโค้งรูประฆังคว่าที่มีจุดยอดเพียงจุดเดียว
2. เส้นโค้งปกติจะมีแกน X โดยปลายรูปทั้งสองข้างจะลู่เข้าใกล้แกน X แต่จะไม่พบแกน
3. เส้นโค้งปกติจะมี ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และฐานนิยม ที่มีค่าเท่ากันและอยู่ ณ ตาแหน่งตรง
กลางรูป
4. ค่าเฉลี่ยของตัวแปรสุ่ม X คือ  และ ความแปรปรวนของตัวแปรสุ่ม X คือ 2
5. เส้นโค้งปกติจะมีลักษณะสมมาตรรอบค่าเฉลี่ย  โดยมีจุดเปลี่ยนโค้งที่ X =   
6. พื้นที่ภายใต้เส้นโค้งที่อยู่เหนือแกน X ทั้งหมดจะเท่ากับ 1 และแกนที่ตั้งลากผ่าน  จะ
แบ่งพื้นที่ภายใต้เส้นโค้ง ออกเป็น 2 ส่วนทีเ่ ท่าๆ กัน
ดังรูป

f(x)
2
0.5 0.5

 X
การคานวณค่าความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบปกติ

เป็นการคานวณหาพื้นที่ภายใต้เส้นโค้งโดยอาศัยฟังก์ชันของการแจกแจงแบบปกติ ที่ทราบ
ค่าพารามิเตอร์ และ 2 เช่น ต้องการหาพื้นที่ภายใต้เส้นโค้งที่อยู่ระหว่าง X = a และ X = b ก็คือ
การหา P (a < X < b) จะได้

f(x)
2

X
a  b

b b 1  x  2
1 2  
 f ( x ) dx =   2 e   dx ; - < x < 
a a
84

ซึ่งจะเห็นว่า การคานวณค่อนข้างยุ่งยากมาก เนื่องจากเส้นโค้งของการแจกแจงแบบปกติจะมี


ลักษณะที่หลากหลายไม่เหมือนกัน โดยขึ้นอยู่กับค่าพารามิเตอร์ และ 2 ที่เปลี่ยนไป จึงได้มีการ
พยายามสร้างตารางการคานวณค่าความน่าจะเป็นขึ้นมา เพื่อความสะดวก แต่ตารางดังกล่าวจะ
สามารถใช้หาค่าความน่าจะเป็นได้เฉพาะในกรณีที่ตัวแปรสุ่มแบบปกติ X นั้น มีค่าเฉลี่ยเป็น 0 ( =
0) และความแปรปรวนเป็น 1 (2= 1) เท่านั้น ซึ่งเรียกว่าตัวแปรสุ่มนี้ว่า ตัวแปรสุ่มแบบปกติ
มาตรฐาน

4.5 การแจกแจงแบบปกติมาตรฐาน (Standard Normal Distribution)

จากเหตุผลที่กล่าวมา จึงต้องมีการปรับค่าตัวแปรสุ่มที่มีการแจกแจงแบบปกติ X~N(,


2) ซึ่งมีค่าพารามิเตอร์  และ 2 ใด ๆ ให้เป็นตัวแปรสุ่มที่มีการแจกแจงแบบปกติมาตรฐาน Z
(Standard Normal Distribution ) โดยที่ Z มีการแจกแจงแบบปกติที่มีค่าเฉลี่ยเป็น 0 ( = 0) และ
x 
ความแปรปรวนเป็น 1 (2= 1) ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ Z ~ N( 0 , 1) โดย Z = 

และฟังก์ชันความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบปกติมาตรฐาน คือ
1  12 Z2
f(z) = e ; - < z < 
2
ลักษณะเส้นโค้งปกติมาตรฐานจะเป็นรูปดังนี้

2 = 1

Z
=0

การหาค่าความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบปกติมาตรฐานโดยใช้ตาราง

การหาค่าความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบปกติมาตรฐาน สามารถหาได้จากตารางสถิติ
หรือตารางจากภาคผนวกท้ายหนังสือ โดยค่าในตารางจะแสดงค่าความน่าจะเป็นหรือพื้นที่ภายใต้
เส้นโค้ง นับจากจุด  = 0 ถึงจุด z ที่กาหนดให้ ดังรูป
85

Z
0 z

ตัวอย่างที่ 4.6 จงหาค่าความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มปกติมาตรฐาน Z ดังต่อไปนี้


ก) P(0 < Z < 2.17)
ข) P(-2.31 < Z < 0)
ค) P(Z < 2.2)
ง) P(Z < -1.75)
จ) P(Z > 1.46)
ฉ) P(Z > -0.92)
ช) P(-2.04 < Z < 2)
ซ) P(-2.92 < Z <-0.59)
ฌ) P(0.68 < Z < 2.44)

วิธีทา ก. P(0 < Z < 2.17)

0.4850
0 461 2.17 Z
P(0 < Z < 2.17) = 0.4850

ข. P(-2.31 < Z < 0)

0.4896
- 2.31 821 0 Z
86

P(-2.31 < Z < 0) = 0.4896

ค. P(Z < 2.2)

0.50 0.4861
Z
0 2.2 Z
P(Z < 2.2) = 0.50 + P(0 < Z < 2.2)
= 0.50 + 0.4861
= 0.9861

ง. P(Z < -1.75)

0.50 – 0.4599 0.4599

-1.75 0 Z
P(Z < -1.75) = 0.5 – P(-1.75 < Z < 0)
= 0.5 – P(0 < Z < 1.75)
= 0.5 – 0.4599
= 0.0401

จ. P(Z > 1.46)

0.4279 0.5 – 0.4279

0 1.46 Z
P(Z > 1.46) = 0.5 – P(0 < Z < 1.46)
= 0.5 – 0.4279
= 0.0721
87

ฉ. P(Z > -0.92)

0.3212 0.50

- 0.92 Z
P(Z > -0.92) = P(-0.92 < Z < 0) + 0.50
= P(0 < Z < 0.92) + 0.50
= 0.3212 + 0.50
= 0.8212

ช. P(-2.04 < Z  2)

0.4793 0.4772

-2.04 0 2 Z
P(-2.04 < Z < 2) = P(-2.04 < Z < 0) + P(0 < Z < 2)
= P(0 < Z < 2.04) + 0.4772
= 0.4793+ 0.4772
= 0.9565
ซ. P(-2.92 < Z <-0.59)

.2224

0.4983
-2.92 -0.59 0 Z
P(-2.92 < Z <-0.59) = P(-2.92 < Z < 0) – P(-0.59 < Z < 0)
88

= P(0 < Z < 2.92) – P(0 < Z < 0.59)


= 0.4983 – 0.2224
= 0.2759

ฌ. P(0.68 < Z < 2.44)


0.2518

0.4927
0 0.68 2.44 Z
P(0.68 < Z < 2.44) = P(0 < Z < 2.44) – P(0 < Z < 0.68)
= 0.4927 – 0.2518
= 0.2409

ตัวอย่างที่ 4.7 อายุการใช้งานของหลอดภาพยี่ห้อหนึ่ง มีการแจกแจงแบบปกติด้วยค่าเฉลี่ย 4.2 ปี


และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.5 ปี จงหาความน่าจะเป็นที่หลอดภาพยี่ห้อดังกล่าวนี้ หนึ่ง
หลอดจะมีอายุการใช้งานนาน
ก. อย่างน้อย 5 ปี
ข. ไม่เกิน 5.5 ปี
วิธีทา จากโจทย์
X คือ อายุการใช้งานของหลอดภาพ
 คือ อายุการใช้งานโดยเฉลี่ยของหลอดภาพ ;  = 4.2
 คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของอายุการใช้งานของหลอดภาพ ;  = 0.5
เขียนเป็นสัญลักษณ์ ได้ว่า X ~ N( = 4.2 , 2 = 0.5 2 )

ก. ความน่าจะเป็นที่หลอดภาพมีอายุการใช้งาน อย่างน้อย 5 ปี คือ P(X ≥ 5)


เนื่องจาก X ~ N( = 4.2 , 2 = 0.5 2 )
ปรับค่า X ให้เป็น Z ~ N( = 0, 2 = 1) โดยใช้สูตร
x 
Z= 
89

5  4.2
จาก X = 5 จะได้ Z= = 1.6
0.5
 P(X ≥ 5) = P(Z ≥ 1.6)

0.4452 0.5 – 0.4452

0 1.6 Z
P(Z ≥ 1.6) = 0.5 – P(0 < Z < 1.6)
= 0.5 – 0.4452
= 0.0548
ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่หลอดภาพมีอายุการใช้งาน อย่างน้อย 5 ปี คือ 0.0548

ข. ความน่าจะเป็นที่หลอดภาพมีอายุการใช้งาน ไม่เกิน 5.5 ปี คือ P(X ≤ 5.5)


5.5  4.2
จาก X = 5.5 จะได้ Z = = 2.6
0.5
 P(X ≤ 5.5) = P(Z ≤ 2.6)

0.50 0.4953

0 2.6 Z
P(Z  2.6) = 0.50 + P(0 < Z  2.6)
= 0.50 + 0.4953
= 0.9953
ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่หลอดภาพมีอายุการใช้งาน ไม่เกิน 5.5 ปี คือ 0.9953
90

4.6 การประมาณค่าการแจกแจงแบบทวินามด้วยการแจกแจงแบบปกติ

ตัวแปรสุ่ม X ที่มีการแจกแจงแบบทวินาม X ~ b(x; n, p) แล้ว n มีค่ามาก (n ) และ p


มีค่าเข้าใกล้ 0.5 (p 0.5) จะสามารถประมาณค่าการแจกแจงแบบทวินามได้ด้วยการแจกแจงแบบ
x  np
ปกติ โดย  = np และ 2 = npq ทาให้ได้ค่าดังนี้ Z =
npq
และจะต้องมีการปรับค่าตัวแปรสุ่ม X ก่อน เนื่องจากในการแจกแจงแบบทวินาม ตัวแปร
สุ่ม X เป็นตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่อง แต่ตัวแปรสุ่ม X ในการแจกแจงปกติเป็นตัวแปรสุ่มชนิด
ต่อเนื่อง ดังนั้นการประมาณค่าการแจกแจงแบบทวินามด้วยการแจกแจงแบบปกติ จึงจาเป็นต้อง
ปรับตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่อง ให้เป็นชนิดต่อเนื่องก่อน ซึ่งทั่วไปจะปรับด้วยค่า  0.5
การปรับค่าตัวแปรจากตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่องเป็นตัวแปรสุ่มชนิดต่อเนื่อง

X discreteเป็นตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่อง X continuousเป็นตัวแปรสุ่มชนิดต่อเนื่อง
P( X d = a) = P(a – 0.5 < X c < a + 0.5)
P( X d > a) = P( X c > a + 0.5)
P( X d < a) = P( X c < a – 0.5)
P( X d  a) = P( X c  a – 0.5)
P( X d  a) = P( X c  a + 0.5)
เช่น
1. P( X d = 4) = P(3.5 < X c < 4.5)
2. P( X d > 4) = P( X c > 4.5)
3. P( X d < 4) = P( X c < 3.5)
4. P( X d  4) = P( X c  3.5)
5. P( X d  4) = P( X c  4.5)
6. P(2  X d  4) = P(1.5  X c  4.5)
7. P(3  X d < 5) = P(2.5  X c < 4.5)
8. P(2 < X d < 4) = P(2.5 < X c < 3.5)
91

ตัวอย่างที่ 4.8 นักบาสเกตบอลผู้หนึ่งมีความแม่นยาในการโยนลูกบาสลงห่วง 80% ในฤดูกาล


แข่งขันครั้งหนึ่ง ถ้านักบาสเกตบอลผู้นี้พยายามโยนลูกบอลลงห่วง 120 ครั้ง จงหาความน่าจะเป็นที่
จะโยนได้สาเร็จ
ก. น้อยกว่า 95 ครั้ง
ข. 100 ครั้ง
วิธีทา จากโจทย์
n คือ จานวนที่นักบาสพยายามโยนลงห่วง ; n = 120
p คือ ความน่าจะเป็นที่เขามีความแม่นยาในการโยนลูกบาสลงห่วง ; p = 0.80
q คือ ความน่าจะเป็นที่เขาโยนไม่ลงห่วง ; q = 1 – 0.80 = 0.20
X คือ จานวนที่เขาจะโยนลูกบาสลงห่วงได้สาเร็จ ; X = 0 , 1 , 2 , …, 120

จะได้ว่าเป็นการทดลองแบบทวินามที่เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ว่า X ~ b(120 , 0.80)


ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบทวินาม คือ
f (x) = P(X = x) = n C x p x q nx ; x = 0 , 1 , 2 , …, 120

เนื่องจาก n  , p0.5 ดังนั้นสามารถประมาณค่าการแจกแจงแบบทวินามด้วยการแจกแจง


แบบปกติได้ โดย  = np = 120 x 0.80 = 96
และ  2 = npq = 120 x 0.80 x 0.20 = 19.2
เขียนเป็นสัญลักษณ์ ได้ว่า X ~ N( = 96 , 2 = 19.2 )

ปรับค่า X ให้เป็น Z ~ N( = 0, 2 = 1) โดยใช้สูตร


x 
Z= 

ก. ความน่าจะเป็นที่นักบาสจะโยนลูกลงห่วงได้สาเร็จ น้อยกว่า 95 ครั้ง คือ P ( X d < 95)


P( X d < 95) = P( X c < 94.5)
94.5  96
จาก X c = 94.5 จะได้ Z = = - 0.34
4.382
P( X c < 94.5) = P(Z < - 0.34)
92

0.50 – 0.1331 0.1331

-0.34 0 Z
P(Z < -0.34) = 0.5 – P(-0.34 < Z < 0)
= 0.5 – P(0 < Z < 0.34)
= 0.5 – 0.1331
= 0.3669
นั่นคือ ความน่าจะเป็นที่นักบาสจะโยนลูกลงห่วงได้สาเร็จ น้อยกว่า 95 ครั้ง คือ 0.3669

ข. ความน่าจะเป็นที่นักบาสจะโยนลูกลงห่วงได้สาเร็จ จานวน 100 ครั้ง คือ P ( X d = 100)


P( X d = 100) = P(99.5 < X c < 100.5)
99.5  96
จาก X c = 99.5 จะได้ Z = = 0.798 = 0.80
4.382
100.5  96
จาก X c = 100.5 จะได้ Z = = 1.03
4.382
P(99.5 < X c < 100.5) = P( 0.80< Z < 1.03)

0.2881

0.3485
0 0.80 1.03 Z

P(0.80 < Z < 1.03) = P(0 < Z < 1.03) – P(0 < Z < 0.80)
= 0.3485 – 0.2881
= 0.0604
ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่นักบาสจะโยนลูกลงห่วงได้สาเร็จ จานวน 100 ครั้ง คือ 0.0604
93

4.7 การประมาณค่าการแจกแจงแบบปัวส์ซองด้วยการแจกแจงแบบปกติ

ถ้าตัวแปรสุ่ม X มีการแจกแจงแบบปัวส์ซอง p(x; ) แล้ว  มีค่ามาก (  ) จะ


สามารถประมาณค่าการแจกแจงแบบปัวส์ซองได้ด้วยการแจกแจงแบบปกติ โดย  =  และ 2 =
x 
 ทาให้ได้ค่าดังนี้ Z =

และจะต้องมีการปรับค่าตัวแปรสุ่ม X ก่อน ซึ่ง เนื่องจากในการแจกแจงแบบปัวส์ซอง ตัว
แปรสุ่ม X เป็นตัวแปรสุ่มชนิดไม่ต่อเนื่อง แต่ตัวแปรสุ่ม X ในการแจกแจงปกติ เป็นตัวแปรสุ่ม
ชนิดต่อเนื่อง ดังนั้นการประมาณค่าการแจกแจงแบบปัวส์ซองด้วยการแจกแจงแบบปกติ จึง
จาเป็นต้องปรับตัวแปรสุ่มแบบไม่ต่อเนื่อง ให้เป็นแบบต่อเนื่อง ด้วยค่า  0.5 เช่นเดียวกับการ
ประมาณค่าการแจกแจงแบบทวินามด้วยการแจกแจงแบบปกติ

ตัวอย่างที่ 4.9 จากการสารวจพบว่า ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งจะมีผู้มาใช้บริการ โดยเฉลี่ยชั่วโมง


ละ 55 คน จงหาความน่าจะเป็นที่ห้างแห่งนี้จะมีผู้เข้ามาใช้บริการ
ก. มากกว่า 60 คนในหนึ่งชั่วโมง
ข. ไม่เกิน 62 คน ในหนึ่งชั่วโมง
วิธีทา จากโจทย์
 คือ จานวนผู้มาใช้บริการห้างโดยเฉลี่ยในหนึ่งชั่วโมง ;  = 55
X คือ จานวนผู้มาใช้บริการห้างในหนึ่งชั่วโมง ; X = 0 , 1 , 2 , …

จะได้ว่าเป็นการทดลองแบบปัวส์ซองที่เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ว่า X ~ p( 55 )
ฟังก์ชันความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบปัวส์ซอง คือ
e  x
f (x) = P(X = x) = x! ; x = 0 , 1 , 2 , ….
เนื่องจาก   ดังนั้นสามารถประมาณค่าการแจกแจงแบบปัวส์ซองด้วยการแจกแจงแบบปกติ
ได้ โดย  =  = 55 และ  2 =  = 55
เขียนเป็นสัญลักษณ์ ได้ว่า X ~ N( = 55 , 2 = 55 )

ปรับค่า X ให้เป็น Z ~ N( = 0, 2 = 1) โดยใช้สูตร


x 
Z= 
94

ก. ความน่าจะเป็นที่ห้างนี้จะมีผู้เข้ามาใช้บริการมากกว่า 60 คนในหนึ่งชั่วโมง คือ P( X d >60)


P( X d > 60) = P( X c > 60.5)
60.5  55
จาก X c = 60.5 จะได้ Z = = 0.742
7.416
P( X c > 60.5) = P(Z > 0.742)

0.2704 0.5 – 0.2704

0 0.742 Z
P(Z > 0.742) = 0.5 – P(0 < Z < 0.742)
= 0.5 – 0.2704
= 0.2296
ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่ห้างนี้จะมีผู้เข้ามาใช้บริการมากกว่า 60 คนในหนึ่งชั่วโมง คือ 0.2296

ข. ความน่าจะเป็นที่ห้างนี้จะมีผู้เข้ามาใช้บริการไม่เกิน 62 คนในหนึ่งชั่วโมง คือ P( X d ≤62)


P( X d ≤ 62) = P( X c < 62.5)
62.5  55
จาก X c = 62.5 จะได้ Z = = 1.01
7.416
P( X c < 62.5) = P(Z < 1.01)

0.50 0.3438

0 1.01 Z
P(Z < 1.01) = 0.50 + P(0 < Z  1.01)
= 0.50 + 0.3438
= 0.8438
ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่ห้างนี้จะมีผู้เข้ามาใช้บริการไม่เกิน 62 คนในหนึ่งชั่วโมง คือ 0.8438
95

แบบฝึกหัดบทที่ 4

1.ในการสุ่มตัวอย่างสินค้ามาตรวจสอบเพื่อตัดสินใจในการยอมรับผลิตภัณฑ์ทั้งลอตหรือไม่ ผู้ผลิต
การันตีว่ามีสินค้าที่บกพร่องเพียง 1% หากจานวนสินค้าที่สั่งมาลอตหนึ่งมีจานวน 200 ชิ้น
เจ้าหน้าที่จะสุ่มตัวอย่างสินค้ามาตรวจสอบ 6 ชิ้นถ้าพบสินค้าบกพร่องแม้เพียงชิ้นเดียวก็จะไม่
ยอมรับสินค้าลอตนี้ จงคานวณ
ก. ความน่าจะเป็นที่จะยอมรับสินค้าลอตนี้
ข. ความน่าจะเป็นที่จะไม่พบสินค้าบกพร่องเลย
2. นักบาสเกตบอลคนหนึ่งมีสถิติชูตลูกบาสลงห่วงโดยความน่าจะเป็น 0.75 ถ้าให้เขาทดลองชูตลูกบาส
10 ครั้ง จงคานวณความน่าจะเป็นที่เขาจะชูตลูกบาสลงห่วง
ก. 8 ครั้ง
ข. ไม่เกิน 5 ครั้ง
ค. อย่างน้อย 7 ครั้ง
3. โรงงานแห่งหนึ่งศึกษาถึงอัตราการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการทางานจนเป็นเหตุให้เครื่องจักรต้อง
หยุดเดินเครื่อง พบว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นด้วยอัตราเฉลี่ย 0.20 ครั้งต่อปี จงคานวณค่า
ก. ความน่าจะเป็นที่จะเกิดอุบัติเหตุ 1 ครั้งในช่วงเวลา 3 ปี
ข. ความน่าจะเป็นที่จะเกิดอุบัติเหตุไม่เกิน 2 ครั้งในช่วงเวลา 5 ปี
ค. ในช่วงเวลา 10 ปี คาดว่าจะเกิดอุบัติเหตุกี่ครั้ง
4. Catt Telecom เปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศโดยให้กด 077 ก่อนสาหรับช่วงนี้มี
โปรโมชั่นนาทีละ 6 บาททั่วโลก จากการเปิดบริการที่ผ่านมาทาให้ทราบว่าโดยเฉลี่ยแล้วจะมีผู้ต่อ
สายเข้าระบบชั่วโมงละ 132 สาย จงหาความน่าจะเป็นที่ใน 3 นาทีจะมีผู้ต่อสายเข้าระบบอย่างน้อย
4 สาย
5. การทดลองเพาะพันธุ์กล้าไม้ชนิดหนึ่งซึ่งมีอัตราการงอก 90 % ถ้าหากนักวิจัยใช้เมล็ดในการ
เพาะจานวน 120 เมล็ด จงคานวณค่า
ก. ความน่าจะเป็นที่จะมีกล้าไม้ไม่งอก 5 เมล็ด
ข. ความน่าจะเป็นที่จะมีกล้าไม้ไม่งอกไม่เกิน 10 เมล็ด
ค. ความน่าจะเป็นที่จะมีกล้าไม้งอก 108 เมล็ด
96

6. กระบวนการบรรจุน้าผลไม้กระป๋องพบว่าจะมีจานวน 2% ที่เครื่องบรรจุน้าผลไม้ได้น้อยกว่าที่
ระบุไว้ข้างฉลาก ในการสั่งซื้อน้าผลไม้กระป๋อง 200 กระป๋อง จงคานวณค่า
ก. ความน่าจะเป็นที่จะพบมีจานวนกระป๋องที่บรรจุน้าผลไม้น้อยกว่าที่ระบุ 4 กระป๋อง
ข. ความน่าจะเป็นที่จะพบพบมีจานวนกระป๋องที่บรรจุน้าผลไม้น้อยกว่าที่ระบุ มากกว่า
3 แต่ไม่เกิน 7 กระป๋อง
7. ข้อมูลจากสรรพากรจังหวัดเชียงใหม่พบว่า อัตราการเสียภาษีของประชาชนมีการแจกแจงแบบ
ปกติ เสียภาษีโดยเฉลี่ยรายละ 4,200 บาทและมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1,600 บาท เมื่อสุ่มผู้เสียภาษี
ที่อยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่มา 1 คน จงคานวณค่า
ก. ความน่าจะเป็นที่เขาจะเสียภาษีมากกว่า 4,100 บาท
ข. ความน่าจะเป็นที่เขาจะเสียภาษีไม่เกิน 5,800 บาท
ค. ความน่าจะเป็นที่เขาจะเสียภาษีระหว่าง 3,000 ถึง 7,000 บาท
8. อายุการใช้งานของหลอดไฟยี่ห้อday มีการแจกแจงแบบปกติ มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 15,000
ชั่วโมง ถ้าหลอดไฟยี่ห้อนี้ 96% มีอายุการใช้งานไม่เกิน 15,500 ชั่วโมง จงหาค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐานของอายุการใช้งานของหลอดไฟ
9. กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่าช่วงนี้ไก่ชนมีโอกาสจะเป็นไข้หวัดนกร้อยละ 55 ตรวจสอบไก่
ชนจากชุมชนแห่งหนึ่งจานวน 200 ตัว จงคานวณค่า
ก. ความน่าจะเป็นที่จะพบไก่ชนเป็นไข้หวัดนกไม่เกิน 90 ตัว
ข. ความน่าจะเป็นที่จะพบไก่ชนเป็นไข้หวัดนกตั้งแต่ 100 ถึง 115 ตัว
10. ผู้ใช้มือถือ 40 % นิยมเปลี่ยนเครื่องใหม่ในเวลาไม่เกิน 1 ปี ถ้าติดตามผู้ที่ซื้อเครื่องโทรศัพท์
ใหม่จานวน 500 คน จงคานวณค่าความน่าจะเป็นที่จะมีผู้ที่เปลี่ยนเครื่องใหม่ในระยะเวลาไม่เกิน 1
ปีจานวน 180 – 200 คน
11. ถ้ามีโทรศัพท์เข้ามายังพนักงานรับโทรศัพท์ของโรงพยาบาล A โดยเฉลี่ย 2.4 ครั้งต่อ 5 นาที
จงคานวณ
ก. ความน่าจะเป็นที่จะมีสายเข้า 6 สายในช่วงเวลา 15 นาที
ข. ความน่าจะเป็นที่จะมีสายเข้า 40 – 65 สายในหนึ่งชั่วโมง
ค. คาดว่าใน 1 ชั่วโมงจะมีสายเข้ากี่สาย

You might also like