Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 12

ใบงานที่ ๑ เรื่อง

ศึกษารูปแบบการปฏิบัติกรรมฐานของสำนักปฏิบัติธรรมวัดเกริ่นกฐิน

อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

ส่ง

พระครูใบฎีกาเวียง กิตติวณฺโณ, ดร.

โดย

กลุ่มที่ ๗

พระอภิมุข สนฺตจิตฺโต (ชิดชอบ) รหัสนิสิต ๖๕๐๙๒๐๕๐๐๙

นิสิตปริญญาโท พุทธศาสตรมหาบัณฑิต ปี ๑

ใบงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชากรรมฐาน (๖๐๐๒๐๕)

คณะบัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

ภาคการศึกษาที่ ๒/๒๕๖๕

ศึกษารูปแบบการปฏิบตั กิ รรมฐานของสานักปฏิบตั ธิ รรมวัดเกริน่ กฐิน

อาเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

วัตถุประสงค์
๑. หลักสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก

พระพุทธศาสนามุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ และสอนให้รู้จักทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ให้ พ้นจากอวิชชา หรือ


ความไม่รู้ความจริงในธรรมชาติ อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จากกิเลสทั้งปวงคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
เน้นการศึกษาทาความเข้าใจ การโยนิโสมนสิการด้วยปัญญา และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง เห็นเหตุผลว่า เพราะ
สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี จนเห็นตามความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งในธรรมชาติเป็นไปตามกฎพระไตรลักษณ์ และสัตว์โลก
ย่อมเป็นไปตามกฎแห่งกรรม แล้วเลือกใช้หลักธรรมในพุทธศาสนาที่เหมาะกับผลที่จะได้สิ่ งที่ปรารถนาอย่าง
ถูกต้องด้วยความไม่ประมาทในชีวิต ทาให้มีความสุขในทั้งชาตินี้ และชาติต่อ ๆ ไป ด้วยการสั่ง สมบุญบารมี
ตลอดจนปรารถนาในพระนิพพานอันเป็นคุณสมบัติของผู้มีปัญญา เพราะพิจารณาเห็นความเกิด และความดับ
อันเป็นอริยะ ชาแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

หลังจากพระพุทธองค์ได้ฝึกสมาธิกับท่านอาฬารดาบสและอุทกดาบสจนจบหมดแล้ว ท่านทรงรู้ว่านั่นไม่ใช่
ทางพ้นทุกข์ จึงแสวงหาทางหลุดพ้นต่อไป จนในที่สุดได้ทรงค้นพบการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความหลุดพ้นจากกิเลส
ในใจ ด้วยการปฏิบัติแนวทางสายกลาง โดยไม่ติดสุขหรือทุกข์สุดโต่งเนื่องจากการปฏิบัติแต่สมาธิอย่างเดียว ไม่
ทาให้หลุดพ้นจากอาสาวะกิเลสได้ หลักการปฏิบัติที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้และสอนให้ปฏิบัติตาม คือ หลักสติ
ปัฏฐาน ๔ ทางกาย เวทนา จิต และธรรม หรือวิปัสสนาภาวนา ซึ่งเป็น เอกายนมรรค ที่เป็นวิธีทางพ้นทุกข์ทาง
เดียวเท่านั้น พุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า“ทางนี้เป็นทางอันเอก หรือเป็นทางเดียวเท่านั้น เพื่อทากาย วาจา ใจ ของ
สรรพสัตว์ให้บริสุทธิ์ เพื่อดับความเศร้าโศก และความคร่าครวญเพื่อดับความทุกข์กาย และความทุกข์ใจ เพื่อ
บรรลุญายธรรม คืออริยมรรคและเพื่อทาพระนิพพานให้แจ้ง ทางนี้ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔

ปัจจุบันนี้ ผู้ที่ทาหน้าที่สอนสมาธิภาวนามีอยู่เป็นจานวนมาก แต่ละท่านได้สอนหลักการและวิธีปฏิบัติที่


แตกต่างกันไป โดยประยุกต์ใช้ภาษาและวิธีการต่าง ๆ มาผสมผสานกับ หลักการที่มีมาในพระคัมภีร์ตามความ
เข้าใจของแต่ละท่านจึงทาให้มีสานักปฏิบัติที่หลากหลายและมีลักษณะเฉพาะของแต่ละสานักแตกต่างกันไป
ด้วยสาเหตุดังกล่าวนี้ แต่ละสานักจึงมีแนวการสอนที่แตกต่างกัน มากบ้าง น้อยบ้าง ทั้งในด้านจุดมุ่งหมายและ
วิธีการปฏิบัติ เมื่อมีความหลากหลายมากขึ้น ย่อมมีบางแนวทางที่บิดเบือนผิดเพี้ยนไปจากจุดมุ่งหมาย และ
วิธีการปฏิบัติที่แท้จริงในพระพุทธศาสนามากขึ้นเช่นกัน ซึ่งเกิดจากสาเหตุสาคัญคือการมองข้ามองค์ ความรู้ที่
แท้จริงจากพระคัมภีร์บาลี มุ่งเพียงแค่ระดับวิธีการปฏิบัติเท่านั้น ดังนั้น หากสานัก หรือกลุ่มปฏิบัติต่าง ๆ หัน
มาสนใจในเรื่ององค์ความรู้จากพระคัมภีร์บาลีมากขึ้น ไม่มุ่งเน้นแต่เฉพาะการปฏิบัติตาม ๆ กันเพียงอย่างเดียว
ก็จะทาให้การปฏิบัตินั้นเป็นไปในแนวทางที่ถูกตรงยิ่งขึ้น

๒. ศึกษาผลที่เกิดจากการเจริญกรรมฐาน ได้แก่ สมาบัติ ๘ และวิปัสสนาญาณ ๑๖


ฌาน ๘

คาว่า ฌาน หมายถึง ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก เป็นภาวะจิตที่มีสมาธิถึงขั้นอัปป


นาสมาธิ (สมาธิแน่วแน่) แล้ว ฌานมีหลายชั้น ยิ่งเป็นชั้นสูงขึ้นไปเท่าใด องค์ธรรมต่าง ๆ ที่เป็นคุณสมบัติของ
จิต ก็ยิ่งลดน้อยลงไปเท่านั้น ฌาน โดยทั่วไป แบ่งเป็น ๒ ระดับใหญ่ ๆ และแบ่งย่อยออกไปอีกระดับละ ๔ รวม
เป็น ๘ อย่าง เรียกว่า ฌาน ๘ หรือสมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ ได้แก่

ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑) มีองค์ประกออบ ๕ คือ วิตก(ความนึกคิด) วิจาร(การพิจารณาอารมณ์) ปิติ(ความอิ่ม


ใจ) สุขและเอกัดคตา(ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว)

ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) มีองค์ประกอบ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา

ตติยฌาน (ฌานที่ ๓) มีองค์ประกอบ ๒ สุข เอกัคคตา

จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) มีองค์ประกอบ ๒ คือ อุเบกขา (ความวางเฉย) และเอกัคคตา

อรูปฌาน ๔ ได้แก่

อากาสนัญจายตนะ หมายถึง ฌานที่กาหนดอากาศ (space) อันอนันต์

วิญญาณัญจายตนะ หมายถึง ฌานที่กาหนดวิญญาณอนันต์

อากิญจัญญายตนะ หมายถึง ฌานที่กาหนดภาวะที่ไม่มีสิ่งใด ๆ

เนวสัญญานาสัญญายตนะ หมายถึง ฌานที่เลิกกาหนดสิ่งใด ๆ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็


ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

วิปัสสนาญาณ ๑๖ หรือ โสฬสญาณ

หมายถึง ความหยั่งรู้ ในที่นี้หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิ ปัสสนาตามลาคับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด เป็น


ความรู้ที่ทาให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายคามเป็นจริง ได้แก่

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกาหนดจาแนกรู้นามและรูป คือ รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปธรรมและนามธรรม


และกาหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม

๒. ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกาหนดรู้ปั จจัยของนามและรูป คือรู้ว่า รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิด


จากเหตุปัจจัยและเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจงสมุปบาทก็ ดี ตามแนวกฎแห่งกรรมก็ดี ตาม
แนววัฏฏะ ๓ ก็ดี เป็นต้น

๓. สัมมสนุญาณ ญาณกาหนดรู้ด้ว ยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือยกรูปธรรมและนามธรรม


ทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตบ

๔. อุทยัพพบานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ เกิดขึ้นและความดับไปแห่ง


เบญงขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนพิจารณาความเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด

๕. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คานึงเด่นชัดใน


ส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด

๖. ภยดูปัฎฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากตัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นความแตกสลาย


อันมีทั่วไปแก่ทุกสิ่งทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฎเป็นของน่ากลัว
เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น

๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคานึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่ง ล้วนต้องแดก


สลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคานึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่า เป็นโทน เป็นสิ่งที่มีความ
บกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์

๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณอันคานึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษช่น


นั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ

๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันคานึงด้วยใคร่ะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนา


ที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น

๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคานึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย บหันไปยกอา


สังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากาหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบปลดเปลื้องออกไป

๑๑. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อม


เกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมคา จึง

วางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยัง


นิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้

๑๒. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ ญาณอันเป็นไปโดขอนุโลมแก่การหยั่งรู้ ญาณอันคล้อยต่อการ


ตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในสาคับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณต่อจากนั้นก็จะเกิดโดตรภูญาณมา
คั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สาเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป

๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากกาวะปูถุชนเข้าสู่ภาวะ


อริยบุคคล

๑๔. มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สาเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น

เร. ผลญาณ ญาณในอริยผล คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสาเร็งของพระเริยบุคคลชั้นนั้นๆ

๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ สารวจรู้มรรค ผล กิเลสที่

ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่

๓. ศึกษารูปแบบการปฏิบัติกรรมฐานของสานั กธรรมกาย
๓.๑ ประวัติ

ปัจจุบันวัดเกริ่นกฐิน โดยพระครูสังฆรักษ์ภัทรภณ เขมปญฺโญ เป็นเจ้าอาวาส นับว่าเป็นวัดที่มี


ความสาคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี แม้วัดแห่งนี้จะไม่ได้ตั้งอยู่ในตัวเมือง แต่พุทธศาสนิกชนก็มักจะ
เดินทางมาสู่วัดเกริ่นกฐินนั้น ทาบุญไหว้พระและปฏิบัติธรรม ประกอบกับสภาพของวัดเกริ่นกฐินในปัจจุบันมี
ความกว้างขวางขึ้นมากและมีสิ่งก่อสร้างที่ขนาดใหญ่และบริเวณวัดที่ตกแต่งเอาไว้ได้อย่างสวยงามและร่มรื่นยิ่ง
นัก และวัดเกริ่นกฐิน ยังสานักปฏิบัติธรรมประจาจังหวัดลพบุรี แห่งที่ ๔ มติมหาเถรสมาคม มติที่ ๓๗๕/
๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ พระเทพเสนาบดี เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี ประธานคณะกรรมการสานัก
ปฏิบัติธรรมประจาจังหวัด ขออนุมัติจัดตั้งสานักปฏิบัติธรรมประจาจังหวัดลพบุรี

๓.๒ รูปแบบ

การสอนวิปัสสนากรรมฐานตามแนวคาสอนของสานักปฏิบัติธรรมของสานักปฏิบัติ ธรรมวัดเกริ่นกฐิน
อ าเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เป็นตามหลักการปฏิบัติว ิปัสสนาตามแนวสติ ปัฏฐาน ๔ ที่องค์สมเด็จพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ โดยเน้นการกาหนดรู้อิริยาบถเป็น หลักก็ตาม แต่รูปนาม ที่ปรากฏย่อมส่งผลถึง
เวทนา จิต และธรรมได้ทั้งสิ้น ผู้ปฏิบัติที่กาหนดรู้ ด้วยสติอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ก็ย่อมได้รับผลของการ
ปฏิบัติได้ด้วยตนเอง และหากว่ามีบุญบารมีมากพอไม่ลดละความเพียร ตั้งใจปฏิบัติเรื่อยไป ก็ย่อมที่จะก้าวล่วง
ทุกข์ พ้นไปจากวัฏสงสารได้ในที่สุด โดยใช้วิธีการสอนตามที่พระพุทธองค์ทรงเลือกใช้ นั่นคือ การแสดงธรรม
การสนทนาธรรม การตอบปัญหาและการใช้กฎระเบียบข้องบังคับ เพื่อให้การปฏิบัติดาเนินไปได้โดยสะดวก

ศึกษาวิเคราะห์การบริหารจัดการของสานักปฏิบัติธรรมวัดเกริ่นกฐิน อาเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เชิง


พุทธบูรณาการ โดยนาพุทธธรรมมาบูรณาการเขากับศาสตรสมัยใหม่ได้ดังนี้แนวคิดการบริหารเชิงพุทธ เป็ น
การทางานด้วยสติปัญญาด้วยความหวังดีต่อสังคม เป็นหลักแนวทางการจัดการด้านสถานที่การบริหารจัดการ
ของสานักปฏิบัติธรรมวัดเกริ่นกฐินจัดได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความร่มรื่น เป็นที่อยู่ของผู้มีความบริสุทธิ์สะอาด
ทางกาย วาจาใจ เจาส านักปฏิบัติ ธรรมวัดเกริ่นกฐิน ได้ มีการศึกษาดูงานของสานักปฏิบัติธรรมที่อื่น ๆ ที่มี
มาตรฐาน แลวนามาปรับปรุงใหมีความร่ มรื่น ให้เป็นสถานที่สัปปายะ ๗ อย่าง นาเขาไปปฏิบัติธรรม มีความ
สะอาดโดยเน้นใหเกิดความเป็นระเบียบ ซึ่งสัปปายะ ๗ อย่าง คือ

๑. อาวาสสัปปายะ ที่อยู่เป็นสุขสบาย คือ ทาให้วัดเป็นอาราม เป็นที่รมรื่นรื่นรมยเป็นรมณียสถาน


เจริญตา สบายใจแก่ผู้พบเห็น เป็นศูนย์กลางของชุมชนทั้งด้านวัตถุและจิตใจ

๒. โคจรสัปปายะ ที่เที่ยวบิณฑบาตเหมาะดีคือ มีหมู่บ้านหรือชุมมชนที่มีอาหารบริบูรณ์อยู่ไม่ใกลไม่


ไกลเกินไป

๓. ภัสสสัปปายะ การพูดคุยที่เหมาะสม คือ พูดคุยกันแต่ในกถาวัตถุ ๑๐ และพูดแต่พอประมาณ

๔. บุคคลสัปปายะ บุคคลเปนที่สบายเปนกัลยามิตร ทั้งบุคคลภายในวัดหรือบุคคล ที่เกี่ยวของกับวัด


คนวัดแบงออกเปน ๔ ประเภท คือ พระภิกษุสามเณร อุบาสก และอุบาสิกา

๕. โภชนสัปปายะ อาหารเป็นที่สบายตา ตามปกติเมื่อมีที่อยูแลวตองคานึงถึงการกินอาหาร การจัด


สวัสดิการเรื่องอาหาร

๖ อุตุสัปปายะ ดินฟาอากาศธรรมชาติแวดลอมเป็นที่สบาย ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น


๗ อิริยาปถสัปปายะ อิริยาบถเป็นที่สบาย คือ คนบางคนถูกกับการเดินจงกรม คนบางคนถูกกับการ


นั่งตลอดจนมีการเคลื่อนไหวที่พอดี ทั้งหมดนามาบูรณการกับการบริหารตามหลักศาสตรสมัยใหม่

๓.๓ ผลที่เกิดจากการเจริญกรรมฐาน

ผลที่เกิดจากการศึกษาวิธีการสอนวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทนั้นองค์สมเด็จพระ
สัมมา สัมพุทธเจ้า พระองค์ท่านมีวิธีการสอนเฉพาะบุคคลเป็นราย ๆ ไป เพราะพระองค์

ท่านทรงรู้จริตนิสัยของแต่ละบุคคล จึงเป็นเรื่องง่ายในการสอนพุทธบริษัทสี่ ถึงตอนนี้ไม่มี พระองค์


ท่านอยู่แต่พระองค์ท่านก็ได้แสดงหลักพุทธธรรมที่สาคัญหมวดหนึ่งในพระพุทธศาสนาโดยเมื่อกล่าวถึงเรื่อง
ของจริตนั้นจะมุ่งเน้นไปที่การมองลักษณะของปุถุชนที่เป็นพื้นเพนิสัย หรือจิตที่อยู่ในตัวตนของแต่ละคนเป็น
หลัก ซึ่งมีทั้งส่วนดีและส่วนที่เสีย ที่แตกต่าง และปะปนกันไปมนุษย์เรานั้น ตราบใดที่ยังไม่ได้เข้าสู่การฝึกจิตให้
ดีแล้ว และยังคงดาเนินชีวิตอย่างเช่นธรรมดาสามัญเป็นปุถุชนคนเดินดิน ก็ย่อมมีจริตในตัวครบทั้ง ๖ จริต เป็น
สิ่งที่จาเป็นอย่างยิ่งในการทีจ่ ะช่วยให้มนุษย์เรารู้จักตัวเองมากขึ้นทั้งเป็นหนทางที่จะนาไปสู่การพัฒนาตัวเองได้
การประพฤติปฏิบัติไว้หลายอย่าง เช่น หลักการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ก็คือการนาหลักสติปัฏฐาน๔ มาปฏิบัติ
นั่นเองพระพุทธองค์ทรงมีหลักการการสอนวิปัสสนาที่หลากหลายเพื่อยังประโยชน์สูงสุด ให้บังเกิดแก่บรรดา
พุทธบริษัท ให้ตรงตามอัธยาศัยของแต่ละบุคคลที่ได้สั่งสมปัญญาบารมีมามากน้อยต่างกัน

๓.๓.๑ ศีล

ศีลเป็นเครื่องข่มจิต ข่มที่ตัวจิตไม่ให้ตามใจกิเลส เพราะฉะนั้นถือศีลไว้นี่ เป็นการข่มใจในเวลาที่เรายัง


สู้กเิ ลสไม่ไหว

เวลาที่เราถือศีล สมาธิจะเกิดง่ายถ้าศีลเสีย สมาธิจะเกิดยากอย่างเราคิดจะฆ่าคนอื่น คิดจะทาร้ายคน


อื่น จิตจะฟุ้งซ่านจิตจะมีโทสะยืนพื้นอยู่สมาธิไม่เกิดหรอก กิเลสมันเกิดหรือคิดจะขโมยเขา โลภะมันเกิด สมาธิ
มันก็ไม่เกิดประพฤติผิดในกาม โลภะก็เกิดสติ สมาธิอะไรก็เสื่อมหรือพูดปลิ้นปล้อนหลอกลวงนี่ จิตฟุ้งซ่าน

หลวกลวงด้วยโลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้างกิเลสยังเก่งกว่าเราเราตั้งใจถือศีลไว้ เป็นการข่มใจ ไม่


ยอมทาตามกิเลสตั้งใจไว้ก่อนจะไม่ทา ไม่ทาผิดศีล ๕ ข้อนี้ กิเลสมายั่วให้ทาผิดศีล เราจะไม่ทาเพราะฉะนั้นศีล
เป็นมาตรการขั้นต่าในขณะที่กิเลสเข้มแข็งกว่าเราเราสู้กิเลสไม่ไหว เราก็ฝืนใจ ไม่ทาตามใจกิเลส

๓.๓.๒ สมาธิ

สมาธิเป็นเครื่องข่มกิเลสไม่ให้มาย้อมจิตได้ คราวนี้ไม่ใช่ข่มจิตไม่ให้ตามกิเลสแต่เป็นเครื่องข่มกิเลส
ไม่ให้เข้ามาย้อมจิต เวลาสมาธิเกิด กิเลสมาไม่ได้ ไม่มีช่องเข้ามากิเลสจะเกิดขึ้นได้ก็อาศัยนิวรณ์ สมาธิไปตัด
รากเหง้าของกิเลสไปทาลายนิวรณ์ ข่มนิวรณ์ลงไปเมื่อนิวรณ์ถูกข่มไปแล้ว กิเลสหยาบๆ เกิดไม่ได้สมาธิเกิดขึ้น
เป็นเครื่องมือระดับกลาง

๓.๓.๓ ปัญญา

ในขั้นการเจริญปัญญานี่เป็นเครื่องมือชั้นสู งเราไม่ค่อยได้ยินได้ฟั งเราก็อย่างมากก็ยันกับกิเลสวันนี้


ฟุ้งซ่านก็มานั่งสมาธิให้สงบสงบเสร็จแล้วก็ฟุ้งซ่านต่อ ยันกันไปยันกันมา ไม่แพ้ไม่ชนะกัน ถ้าวันไหนกิเลสแรง
มากๆศีลก็สู้ไม่ไหว วันนี้แพ้กิเลสเลยมันไม่สามารถขุดรากถอนโคนกิเลสได้

ตัวที่จะขุดรากถอนโคนกิเลสได้คือการเจริญปัญญาการเจริญปัญญาคือการเรียนรู้ความจริงของรูปนาม
กายใจ

๓.๓.๔ เศรษฐกิจ

สานักปฏิบัติธรรมของส านักปฏิบัติธรรมวัดเกริ่นกฐิน อาเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ในการบริห าร


ทรัพยากรด้านต่างๆ ด้วยหลัก ๔ M ได้แก่ บุคลากร (Man) เงิน (Money) วัสดุ อุปกรณ์ (Material) และ การ
บริหาร (Management) และด้วยกระบวนการบริหารจัดการวิเคราะห์หลัก SWOT เพื่อให้เกิดกระบวนการ
ทางานรวมกันให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างสูงสุด และเพื่อใหบรรลุตามวัตถุประสงค์
หรือเป้าหมายของสานักปฏิบัติธรรม วัดเกริ่นกฐิน อาเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

สอดคล้องการปฏิบัติธรรมของสานักปฏิบัติธรรมของสานักปฏิบัติธรรมวัด เกริ่นกฐิน อาเภอบ้านหมี่


จังหวัดลพบุรี ถึงแม้ จะมีรูปแบบที่ปลีกยอยออกไป แต่ รูปแบบการสอนที่มีความสอดคลองกับคัมภีร ทาง
พระพุทธศาสนาก็นับว่ามีความสาคัญ และเป็นหลักประกันว่าจะไม่เป็นการนาผู้ปฏิบัติออกนอกทาง การปฏิบัติ
ก็คือการให้ผู้ปฏิบัติมีสติ ได้กาหนดรู้สภาวะปัจจุบันสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นเป็ นปัจจุบัน สภาวะนั้นไม่ ได้อยูที่
ความคิด หรือจงใจปรุงแตงขึ้นมา แต่เป็นสภาวะเกิดขึ้นเองสามารถกาหนดรูตามสภาวะใชคาวาหนอ ความรู้
๑๐

ปรากฏอยูที่ฐานทั้ง ๔ คือ ฐานกาย ฐานเวทนา ฐานจิต และฐานธรรม กายรูธรรม กายธรรมในอริยสัจจ กาย


ธรรม มีการเดิน การยืนนั่งนอนฯลฯ

การสอบอารมณ์มีหลายวิธีซึ่งแล้วแต่พระวิปัสสนาจารยแต่ละรูปจะนามาใช้แต่โดยสรุปแล้วการสอบ
อารมณเป็นการตรวจสอบสภาวธรรมของผู้ปฏิบัติซึ่งสามารถช่วยให้คาแนะนาวินิจฉัย ประเมินผลในการปฏิบัติ
การให้คาแนะนาเพื่อใหปฏิบัติถูกทางเพื่อผลความก้าวหนาของผู้ปฏิบัติกรรมฐานวิปัสสนาภาวนาต่อไป

๓.๓.๕ สังคม

องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยการปฏิบัติธรรมของสานักปฏิบัติธรรมวัดเกริ่นกฐินอาเภอบ้านหมี่ จังหวัด
ลพบุรี กับคัมภีรทางพระพุทธศาสนาเปรียบเทียบกับหลักสติปัฏฐาน ๔ ที่มีอยูถึงแม้จะมีรูปแบบที่ปลีกยอย
ออกไปการปฏิบัติก็คือการให้ผู้ปฏิบัติมีสติ ได้กาหนดรูปสภาวะปัจจุบันสภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจุบัน สภาวะ
นั้นไม่ได้อยูที่ความคิด หรือจงใจปรุงแต่งขึ้นมาแต่เป็น สภาวะเกิดขึ้นเองสามารถกาหนดรูปตามสภาวะใช้ตาม
แนวสติปฎฐาน ๔

ทาให้มีความเข้าใจในหลักการเจริญวิปัสสนายิ่งขึ้นและนาไปใช้ในชีวิตประจาวัน ได้อย่างมีความสุข
สานักปฏิบัติธรรมวัดเกริ่นกฐินได้กลายเป็นวัดที่ผู้คนส่วนมากรู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี ผลสะท้อนดังกล่าวได้
เป็นเครื่องยืนยันว่าหลักสัปปายะเป็นหลักการที่เกิดสันติสุขภายในวัด ควรที่วัดทุกวัดจะต้องดาเนินการให้ครบ
ทั้ง ๗ ข้อ พร้อมทั้งจะต้องทาการปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ ทั้งนี้เพราะว่าสภาพสังคมการเมือง และ
เศรษฐกิจ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว วัดจึงจาเป็นต้องตั้งรับให้ทันต่อสภาพปัญหาที่เกิดมีขึ้น ทั้งนี้ ควร
บริหารจัดการวัดโดยมีการวางแผน การควบคุมดูแลและการสั่งการ และมีการกาหนด เป้าหมายและความ
คุ้มค่า พร้อมกับการศึกษาเหตุปัจจัยด้านอื่นๆเพื่อเสริมสร้างการจัดการวัดให้เกิดสันติสุขต่อไป

๓.๓.๖ การเมือง

เพราะการปฏิบัติวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการสอนวิปัสสนากรรมฐาน
ของสานักปฏิบัติธรรมวัดเกริ่นกฐิน อาเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี สภาพปั ญหาและอุปสรรคในการการปฏิบัติ
กัมมัฏฐานของสานักปฏิบัติ ธรรม วัดเกริ่นกฐิน อาเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี พบว่ าปัญหาที่เกิดจากผู้ปฏิบัติ
๑๑

บางส่วนไม่ได้มีศรัทธามาแต่เบื้องต้น เป็นปัญหาที่เกิดจากตัวผู้ เขาปฏิบัติเอง กล่าวคือมีผู้ปฏิบัติบางส่วน ไม่


ได้มาปฏิบัติด้วยความศรัทธาจริง ๆ ด้านการวิเคราะห์รูปแบบและวิธีการสอนวิปัสสนา

กรรมฐานในส านักปฏิบัติธรรม วัดเกริ่นกฐิน อาเภอบ้านหมี่ จั งหวัดลพบุรี นั้นพบว่ า รูปแบบและ


วิธีการสอนวิปสสนากรรมฐานในจังหวัดลพบุรี แบ่งออกเป็นสองรูปแบบคือ รูปแบบที่เน้นสมถะ และรูปแบบที่
เน้นวิปัสสนาโดยตรง ซึ่งก็ไม่ต่างจากสานักปฏิบัติอื่น รูปแบบการและวิธี สอนกรรมฐานของสานักปฏิบัติธรรม
วัดเกริ่นกฐินวัดเกริ่นกฐินอาเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี พบว่า รูปแบบทั้งที่เป็นสมถะ คือแบบ พุท ธโธ และ
รูปแบบวิปัสสนา คือ ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ มีรูปแบบการกาหนดอานาปานบรรพ (พองหนอ/ยุบหนอ) และ
อิริยาบถบรรพ ในหมวดอิริยาบถบรรพนั้น เน้นการกาหนดทั้งในส่วนอิริยาบถใหญ่ และอิริยาบถย่อย จึงมีทั้ง
สมถะและวิปัสสนาคูกันเพื่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม

ส่งงานที่อีเมล E-kittiwanno2507@gmail.com

You might also like