Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 25

โครงงานวิทยาศาสตร์

เรื่อง กระดาษซับน้ำมันจากพืชหอมระเหย

โดย
นางสาว พัชริกานต์ ผ่านศึก เลข
ที่ 4
นางสาว บุณยนุช มาน้อย เลขที่
5
นางสาว สุธามาศ พวงทอง เลข
ที่ 6
นางสาว นันทกานต์ แก้วมาก เลขที่ 7
ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 6 ห้อง 2

รายงานนีเ้ ป็ นส่วนหนึ่งของรายวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์
โรงเรียนสหวิทย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2564

เกี่ยวกับโครงงาน

เรื่อง กระดาษซับน้ำมันจากพืชหอมระเหย

กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์

ผู้จัดทำโครงงาน นางสาวพัชริกานต์ ผ่านศึก

นางสาว บุณยนุช มาน้อย

นางสาวสุธามาศ พวงทอง

นางสาวนันทกานต์ แก้วมาก

อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาววิภา สารานพกุล

นางสาวนุชนาถ โพธิขวัญ

นายพลากร คูหาพัฒนกูล

นายวรเมธ กรจันทร์ดี

สถานที่ศึกษา โรงเรียนสหวิทย์ อำเภอเมือง

จังหวัดสุพรรณบุรี

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี

เขต 1

ปี การศึกษา 2564

กิตติกรรมประกาศ

โครงงานเรื่องนีป
้ ระกอบด้วยการดำเนินงานหลายขัน
้ ตอน นับ
ตัง้ แต่การศึกษาหาข้อมูล
การประดิษฐ์ การวิเคราะห์ผลการศึกษา การจัดทำโครงงานเป็ นรูป
เล่ม จนกระทั่งโครงงานนีส
้ ำเร็จ
ลุล่วงไปได้ด้วยดี ตลอดระยะเวลาดังกล่าวคณะผู้จัดทำโครงงานได้
รับความช่วยเหลือและคำแนะนำ
ในด้านต่าง ๆ ตลอดจนได้รับกำลังใจจากบุคคลหลายท่าน คณะผู้
จัดทำตระหนักและซาบซึง้ ในความ

กรุณ าจากทุก ๆ ท่า นเป็ นอย่า งยิ่ง ณ โอกาสนี ้ ขอขอบคุณ ทุก ๆ


ท่าน ดังนี ้
กราบขอบพระคุณ คุณ ครูที่ป รึก ษา โรงเรียนสหวิทย์ ผู้ให้
ความรู้ คำแนะนำปรึกษา และได้เมตตาให้ความช่วยในทุก ๆ ด้าน
ในการทำโครงงานนีจ
้ นประสบความสำเร็จ ขอกราบขอบพระคุณ
เป็ นอย่างสูง ณ โอกาสนี ้
กราบขอบพระคุณ คุณ ครูท ุก คนผู้เ ชี่ย วชาญทางด้า นการทำ
โครงงาน ผู้ให้ความรู้ คำแนะนำ คอยดูแลในด้านต่าง ๆ และสละ
เวลา มาช่วยฝึ กฝนเทคนิค ในการทำโครงงานครัง้ นี ้ พร้อ มทัง้ เป็ น
กำลังใจให้เสมอมา
กราบขอบพระคุณ เพื่อนๆในห้อง นักเรียน/ศิษย์เก่า โรงเรียน
สหวิทย์
ซึ่งสละเวลาในการแนะแนวทาง และให้ความรู้ในการทำโครงงาน
กราบขอบพระคุณ ผู้อำนวยการโรงเรียนสหวิทย์ นางนลินี วัน
ไ ช ย ท ี่ใ ห ้ค ว า ม อ น ุเ ค ร า ะ ห ์
และให้ความช่วยเหลือในด้านต่า ง ๆ ตลอดจนเอื้อเฟื้ อห้องปฏิบัต ิ
การ และเครื่อ งมือ ต่า ง ๆ ในการทำโครงงานนีจ
้ นประสบความ
สำเร็จ
ขอขอบคุณ รุ่นพี่ และเพื่อน ๆ ที่ได้ให้ความช่วยเหลือในการ
ทำโครงงาน
ท้ายที่สุด ขอกราบขอบพระคุณ คุณพ่อและคุณแม่ ผู้เป็ นที่รัก
ผู้ให้กำลังใจและให้โอกาส
การศึกษาอันมีค่ายิ่ง

คณะผู้จัดทำ

หัวข้อโครงงาน กระดาษซับน้ำมันจากพืชหอมระเหย
ประเภทโครงงาน โครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภททดลอง
ผู้จัดทำโครงงาน นางสาวพัชริกานต์ ผ่านศึก

นางสาว บุณยนุช มาน้อย

นางสาวสุธามาศ พวงทอง

นางสาวนันทกานต์ แก้วมาก

อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาว วิภา สารานพกุล


นางสาว นุชนาถ โพธิขวัญ
นาย พลากร คูหาพัฒนกูล
นาย วรเมธ กรจันทร์ดี

บทคัดย่อ

โครงงานเรื่อง กระดาษซับน้ำมันจากพืชหอมระเหย จัดทำขึน



โดยมีวัตถุประสงค์
(1)เพื่อทดลองทำกระดาษซับน้ำมันที่มีลักษณะเฉพาะเซลล์ลูโลสใน
เส้นใยของใบเตย ใบมะกรูด
ใบตะไคร้ (2)เพื่อเปรีย บเทีย บประสิท ธิภ าพการดูด ซับ น้ำมัน ของ
กระดาษซับน้ำมันจากเส้นใยของใบเตย ใบมะกรูด ใบตะไคร้ ใน
การดำเนินงานครัง้ นีค
้ ณะผู้จัดทำได้ศึกษาลักษณะเฉพาะเซลล์ลูโลส
ในเส้นใยของใบเตย ใบมะกรูด ใบตะไคร้
วิธีการดำเนินการ แบ่งเป็ น 4 ขัน
้ ตอน ดังนี ้ ขัน
้ ตอนที่ 1 นำ
ใบเตย ใบมะกรูด ใบตะไคร้ ไปปั่ นให้ละเอียด ขัน
้ ตอนที่ 2 กรองเอา
กากใยของใบเตย ใบมะกรูด ใบตะไคร้และนำไปต้ม ขัน
้ ตอนที่ 3 นำ
กากใยใบเตย ใบมะกรูด ใบตะไคร้ ไปตากแห้ง ขัน
้ ตอนที่ 4 ขึน
้ รูป
กากใยใบเตย ใบมะกรูด ใบตะไคร้ ให้เป็ นสี่เหลี่ยม
จากผลการทดลองพบว่า ใบตะไคร้เ หมาะแก่ก ารนำมาทำ
กระดาษซับน้ำมันมากที่สุด

สารบัญ

เรื่อง หน้า

เกี่ยวกับโครงงาน ก
กิตติกรรมประกาศ ข
บทคัดย่อ ค
สารบัญ ง
สารบัญตาราง จ
บทที่ 1 บทนำ
- ที่มาและความสำคัญของโครงงาน 1
- วัตถุประสงค์ 2
- ขอบเขตการศึกษาการค้นคว้า 2
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3
บทที่ 2 เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง 4
บทที่ 3 วิธีการจัดทำโครงงาน 6

- วิธีการดำเนินงาน 6
บทที่ 4 ผลการศึกษา 7
บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 8
- สรุปผลการศึกษา 8
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 8
- ข้อเสนอแนะ 9
บรรณานุกรม 10
ภาคผนวก 11

สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า

ตารางที่ 1 ตารางบันทึกและสรุปผลการทดลอง 7

1

บทที่ 1
บทนำ

1.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

เนื่องจากในปั จจุบันคนไทยนิยมบริโภคอาหารที่ส่วนใหญ่ใช้
การทอดด้วยน้ำมันเป็ นจำนวนมากโดยไขมันที่รับประทานไม่หมด
จะถูกเททิง้ หรือล้างออกไปจากภาชนะ ซึ่งเป็ นปั ญหาต่อสิ่งแวดล้อม
ทางน้ำ และการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หรือเอกสารที่ปริน
้ ด้วยน้ำ
หมึก ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคเช่นกันทางผู้จัดทำจึงหาวิธี
การลดปริมาณน้ำมันเหลือใช้ในครัวเรือนก่อนล้างเเละปล่อยน้ำลงสู่
ธรรมชาติเพื่อลดปั ญหาที่จะเกิดต่อสิ่งแวดล้อมและหาวิธีการผลิต
กระดาษซับมันจากเส้นใยพืชที่หาง่ายเเละปลอดภัยกับสุขภาพของผู้
บริโภค
จากการสังเกตพบว่า ใบเตย ตระไคร้ เเละมะกรูดเป็ นพืชที่หา
ง่ายเเละพบทุกภาคในประเทศไทย จากการศึกษาข้อมูลพืช 3 ชนิด
นีพ
้ บว่ามีน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นหอมเป็ นเอกลักษณ์ อีกทัง้ เป็ น
พืชที่มีเส้นในเยอะจึงเหมาะมากในการทำกระดาษซับมัน
ผู้จัดทำจึงมีความสนใจในความสามารถในการดูดซับน้ำมันของ
เส้นใยธรรมชาติ ที่สามารถนำมาเเปรรูปให้ได้กระดาษซับน้ำมันโดย
ใช้พ ืช ที่พ บง่า ยในครัว เรื่อ นนัน
้ คือ ใบเตยใบตะไคร้เ เละใบมะกรูด
โดยผลท่ีได้จากการศึกษาเเละทดลองสามารถนํามาประยุกต์ใช้จริง
2

ในชีวิตประจําวันเเละยังช่วยลดปั ญหาสารพิษในธรรมชาติเเละสิ่งเเว
ดล้อม ปลอดภัยต่อสุขภาพ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อทดลองทำกระดาษซับน้ำมันที่มีลักษณะเฉพาะเซลล์ลูโลส
ในเส้นใยของใบเตย
ใบมะกรูด ใบตะไคร้
2. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับน้ำมันของกระดาษ
ซับน้ำมันจากเส้นใยของใบเตย
ใบมะกรูด ใบตะไคร้

สมมุตฐ
ิ าน
3

กระดาษซับน้ำมันจากเส้นใยของใบเตยสามารถดูดซับน้ำมันได้ดี
กว่ากระดาษซับน้ำมันจาก
ใบมะกรูดและตะไคร้

ตัวแปรในการศึกษา

ตัวแปรต้น : กระดาษจากเส้นใยใบเตย ใบตะไคร้ ใบมะกรูด ,


กระดาษซับน้ำมัน
ตัวแปรตาม : ประสิทธิภาพในการดูดซับน้ำมัน
ตัวแปรควบคุม : ขนาดและความหนาของกระดาษ , ปริมาณการ
หยดน้ำมันพืช , เวลาขณะทดลอง

ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า

การทดลองนีเ้ ป็ นการศึกษาเกี่ยวกับ ความสามารถในการดูดซับ


น้ำมันของเส้นใยธรรมชาติ
นำมาเเปรรูปให้ได้กระดาษซับน้ำมันโดยใช้พืชที่พบง่ายในครัวเรื่อน
้ คือ ใบเตยใบตะไคร้ เเละใบมะกรูด โดยผลท่ีได้จากการศึกษา
นัน
เเละทดลองสามารถนํามาประยุกต์ใช้จริงในชีวิตประจําวัน เเละยัง
ช่วยลดปั ญหาสารพิษในธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม ปลอดภัยต่อ
สุขภาพ
ระยะเวลาการดําเนินงาน ตัง้ แต 8 24 มกราคม 2565 – 25
มกราคม 2565
4

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. สามารถนำผลการทดลองที่ได้จากการศึกษาการดูดซับ
ปริมาณน้ำมันในกากใยพืชไปต่อยอดใน การทำกระดาษซับให้มี
คุณภาพสูงหรือในระดับอุตสาหกรรมต่อได้
2. ช่วยลดปั ญหาการเน่าเสียของน้ำโดยลดปริมาณน้ำมันที่
เหลือจากการบริโภคอาหาร
3. มีความปลอดภัยไร้สารเคมีปนเปื้ อนในอาหาร
5

บทที่ 2
เอกสารและโครงงานที่
เกี่ยวข้อง

2.1 เอกสาร/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

2.1.1 ใบเตยหอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pandanus


amaryllifolius come)
6

เป็ นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึน


้ เป็ นกอ ใบเป็ นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็ น
เกลียวขึน
้ ไปจนถึงยอด ใบเป็ นทางยาว สีเข้ม เป็ นมันเผือก ขอบใบ
เรีย บ แต่ใ บบางต้น อาจมีห นาม ในใบมีก ลิ่น หอมจากน้ำมัน หอม
ระเหย Fragrant Screw Pine สีเขียวจากใบเป็ นสีของคลอโรฟิ ลล์
ใช้แ ต่ง สีข นมได้ใ ช้ป รุง กลิ่น ในอาหารของหลายประเทศเช่น
อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิ ลิปปิ นส์ มาเลเซีย ไทย บังกลาเทศ เวียดนาม
จีน ศรีลังกา และพม่า โดยเฉพาะข้าวและขนม
กล ิ่น ห อม ขอ ง ใ บเ ตย เ ก ิด จ าก ส าร เ ค มีท ี่เ ร ีย ก ว่า 2-acetyl-1-
pyrroline ซึง่ เป็ นกลิ่นแบบเดียวกับ ที่พ บในขนมปั งขาว ข้า วหอม
มะลิและดอกชมนาด[4] มีสารสกัดจากใบเตยขาย ซึ่ง มัก จะแต่ง สี
เขียว ใบใช้ไล่แมลงสาบได้
2.1.2 ใบมะกรูด (Citrus)
เป็ นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็ นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็ก
น้อย ใบเป็ นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่
คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็ น
ตอน ๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็ น 2 ตอน
กว้าง 2.5 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 7 เซนติเมตร ใบสีเขียวแก่พ้น
ื ผิว
ใบเรียบเกลีย
้ ง เป็ นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อม
น้ำมันอยู่ โดยใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็ นกระจุก 3 –
5 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม มีผลสี
เขียวเข้มคล้ายมะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ ขัว้ หัวท้ายของผลเป็ น
7

จุก ผลมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ที่ผิว (hesperidium) ผลอ่อนมีเป็ นสี


เขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็ นสีเหลืองสด พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะ
ขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่ขว
ั ้ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ๆ น้ำ
มะกรูดนัน
้ มีรสเปรีย
้ ว กลิ่นฉุนคล้ายใบ แต่ใช้น้อยกว่าน้ำมะนาว ใช้
ปรุงรสเปรีย
้ วแทนมะนาวได้ เช่นในปลาร้าหลน น้ำพริกปลาร้า น้ำ
พริกมะกรูด มะกรูดมีส่วนเปลือกที่หนา ส่วนเปลือกนิยมนำผิวมา
ประกอบอาหารบางชนิดด้วย ในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่
2.1.3 ใบตะไคร้ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cymbopogon citratus)
เป็ นพืชล้มลุก ในวงศ์หญ้า (Poaceae) ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต
ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็ นกอ มีกลิ่นหอม
เป็ นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็ นจำนวนมาก ตะไคร้เป็ นพืชที่สามารถ
นำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็ นพืชสมุนไพรด้วย เป็ น
พืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็ นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง
1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูก
ห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบ
ของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็ นพันธุ์
พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป สารสำคัญพบที่ส่วนของลำต้นและใบ
ซึ่งมีน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) ที่ประกอบด้วยสารจำนวน
หลายชนิด

2.1.3 งานวิจัย/โครงงานที่เกี่ยวข้อง
8

โครงงานที่เกี่ยวข้องของศูนย์การศึกษานอกระบบและการ
ศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดพะเยา ได้เสนอเค้าโครงเรื่อง กระดาษ
ซับน้ำมันจากใยกล้วย

บทที่ 3
9

วิธีการดำเนินงาน

3.1 ขัน
้ ตอนการดำเนินงาน

3.1.1 ขัน
้ ที่ 1 นำใบเตย ใบมะกรูด ใบตะไคร้ ไปปั่ นให้
ละเอียด
วิธีการดำเนินงาน
1. ตัดใบเตย ใบมะกรูด ใบตะไคร้ ออกจากต้น
2. นำนำใบเตย ใบมะกรูด ใบตะไคร้ ไปปั่ นให้ละเอียด

3.1.2 ขัน
้ ที่ 2 กรองเอากากใยของใบเตย ใบมะกรูด ใบตะไคร้
และนำไปต้ม
วิธีการดำเนินงาน
1. เมื่อปั่ นนำใบเตย ใบมะกรูด ใบตะไคร้ ไปปั่ นให้
ละเอียดแล้ว
2. นำกากใยไปต้มในน้ำเดือด จำนวน 2 ครัง้

3.1.3 ขัน
้ ที่ 3 ขึน
้ รูปกากใยใบเตย ใบมะกรูด ใบตะไคร้ ให้
เป็ นสี่เหลี่ยม
วิธีการดำเนินงาน
10

1. เมื่อต้มกากใยเป็ นจำนวน 2 ครัง้ แล้ว นำไปตากแห้ง


2. เมื่อกากใยแห้งแล้ว นำไปขึน
้ รูปเป็ นทรงสี่เหลี่ยม
ขนาดตามต้องการ

บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

4.1 ตารางบันทึกและสรุปผลการทดลอง

4.1.1 ตารางบันทึกและสรุปผลการทดลองปริมาณน้ำมันที่

กระดาษซับน้ำมันดูดซับได้

ชนิด ปริมาณน้ำมันที่กระดาษซับน้ำมัน 1g สามารถดูด


กระดาษ ซับได้

ครัง้ ที่1 ครัง้ ที่2 ครัง้ ที่3 เฉลี่ย


11

ใบมะกรูด 20 20 20 20

ใบเตย 21 22 21 21.3

ใบตะไคร้ 24 25 24 24.5

บทที่ 5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ

5.1 สรุปผลการศึกษา

จากการศึกษา พบว่าใบตะไคร้เหมาะเเก่การนำมาทำกระดาษ
ซับนํา้ มันมากที่สุด รองลงมาเป็ นใบเตย เเละใบมะกรูด ตามลำดับ
12

เนื่องจาก 1.ประสิทธิภาพการดูดซับ ใบตะไคร้ดูดซับนํา้ มันได้ดีที่สุด


รองลงมาเป็ นใบเตยเเละใบมะกรูด 2.ความเเข็งเเรงของกระดาษ ใบ
ตะไคร้มีลักษณะใบเป็ นพืชใบเลีย
้ งเดี่ยว เมื่อนํามาปั่ นเเล้วมีความ
ละเอียดมากที่สุด มีลักษณะเส้นใยเป็ นเเนวขวาง เมื่อนำมาขึน
้ รูป
เป็ นเเผ่น จึงมีความเเข็งเเรงไม่เเตกหัก ส่วนใบมะกรูดมีลักษณะใบ
เป็ นพืชใบเลีย
้ งคู่ เมื่อนำมาปั่ นเเล้ว ลักษณะเส้นใยไม่เป็ นเเนวขวาง
จึงมีประสิทธิภาพในการยึดเกาะกันเป็ นเเผ่นน้อยกว่าพืชใบเลีย
้ ง
เดี่ยว เเตกหักง่ายเมื่อนำมาใช้งาน

5.2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ประโยชน์ต่อผู้วิจัย สามารถนำผลการทดลองที่ได้จากการศึกษา
การดูดซับปริมาณน้ำมันในกากใยพืชไปต่อยอดในการทำกระดาษ
ซับให้มีคณ
ุ ภาพสูงหรือในระดับอุตสาหกรรมต่อได้
ประโยชน์ต ่อ สถานศึก ษา สถานศึก ษาสามารถนำความรู้ไ ป
ประยุกต์ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องอื่น ๆ สืบไป ที่สามารถใช้ใน
โรงเรียนได้มากขึน

ประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประเทศไทยจะได้พัฒนาความรู้ด้าน
วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในหลาย ๆ ด้าน เนื่องจากสามารถนำผล
การทดลองที่ได้จากการศึกษาการดูดซับปริมาณน้ำมันในกากใยพืช
ไปต่อยอดในการทำกระดาษซับในระดับอุตสาหกรรมต่อได้และช่วย
13

ลดปั ญหาการเน่าเสียของน้ำโดยลดปริมาณน้ำมันที่เหลือ จากการ


บริโภคอาหาร

5.3 ข้อเสนอแนะ

อาจใช้พืชที่มีเส้นใยชนิดอื่นในการทดลองทำกระดาษซับ
น้ำมัน

บรรณานุกรม
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอจุน
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
จังหวัดพะเยา (2556).โครงงานวิทยาศาสตร์. (ออนไลน์). เข้าถึงได้
จาก : https://www.scimath.org/file/upload/1/1854_1.pdf.
(วันที่สืบค้น : 15 มิถุนายน 2564).
วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. (2563). .ใบเตย. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก
: https://th.wikipedia.org/wiki/เตยหอม. (วันที่สืบค้น : 9
กรกฎาคม 2564).
วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. (2564). ใบตะไคร้. (ออนไลน์). เข้าถึงได้
จาก : https://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้. (วันที่สืบค้น : 9
กรกฎาคม 2564).
14

วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. (2563). ใบมะกรูด. (ออนไลน์). เข้าถึงได้


จาก : https://th.wikipedia.org/wiki/มะกรูด. (วันที่สืบค้น : 9
กรกฎาคม 2564).

ภาคผนวก
15

ภาคผนวกที่ 1 : อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองปริมาณน้ำมันที่
กระดาษซับน้ำมันดูดซับได้

You might also like