Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 68

เอกสารประกอบการสอน

วิชา กฎหมายอาญา : ภาคทั่วไป


LAW 1804

ธนวัฒ พิสิฐจินดา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขา วิชานิติศาสตร์


มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
2563
หน้า ๒

ชื่อตารา เอกสารประกอบการสอน วิชา กฎหมายอาญา : ภาคทั่วไป LAW 1804


ชื่อผู้แต่งเรียบเรียง ธนวัฒ พิสิฐจินดา
พิมพ์ที่
จานวนที่พิมพ์
ปีที่พิมพ์
หน้า ๓

คานา

เอกสารประกอบการสอนรายวิชากฎหมายอาญา : ภาคทั่ วไป รหัส LAW 1804 นี้ เป็ น


เอกสารที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้ประกอบการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยมุ่งเน้นให้มีความรู้ความ
เข้าใจถึงหลักทั่ วไปแห่ง กฎหมายอาญา การใช้กฎหมายอาญา โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย
ความรับผิดในทางอาญา การพยายามกระทาความผิด ตัวการและผู้สนับสนุน การกระทาความผิด
หลายบทหรือ หลายกระทง การกระท าความผิดอีก อายุความ ตลอดจนบทบัญ ญั ติทั่ วไปที่ ใช้แก่
ความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค ๑
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหาสาระที่นาเสนอไว้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน รวมทั้งบุคคลทั่วไปซึ่ง
ตระหนักถึงความสาคัญของกฎหมายอาญา ในการนาแนวคิดทั้งหลายไปประยุกต์ใช้ให้เกิดความเป็น
ธรรมแก่สังคมและประชาชน

ธนวัฒ พิสิฐจินดา
พฤศจิกายน ๒๕๖๓
หน้า ๔

สารบัญ

หน้า

บทที่
1 หลักพื้นฐานเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาและองค์ประกอบของความผิด 7
1.1 หลักพื้นฐานเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญา 7
1.๒ องค์ประกอบของความผิด 7
คาถามท้ายบท 9
2 เจตนา 12
2.1 หลักพื้นฐาน คือ เจตนาแบ่งได้ ๒ แบบ 12
2.1.1 แบบที่ ๑ เรียกว่า “เจตนาตามความเป็นจริง” 12
2.1.2 แบบที่ ๒ เรียกว่า “เจตนาโดยผลของกฎหมาย” 12
2.2 เจตนาตามความเป็นจริง 12
2.2.1 กรณีเจตนาประสงค์ต่อผล 12
2.2.2 กรณีเจตนาประสงค์เล็งเห็นผล 13
2.3 เจตนาโดยผลของกฎหมาย 12
2.3.1 เจตนาโดยผลของกฎหมาย 12
2.3.2 เจตนาโดยผลของกฎหมายตามมาตรา ๖๐ 14
2.4 หลักเกณฑ์การกระทาโดยพลาดที่สาคัญ 14
2.4.1 ต้องมีผู้ถูกกระทา 2 ฝ่ายขึ้นไป 14
2.4.2 การกระทาโดยพลาดตามมาตรา ๖๐
จะต้องมีผลเกิดขึ้นแก่ผเู้ สียหายฝ่ายที่สอง 15
2.4.3 การกระทาโดยพลาด ผู้กระทาจะต้องไม่ประสงค์ต่อผล
ต่อบุคคลผู้ได้รับผลร้ายและต้องไม่เล็งเห็นว่าผลจะเกิดแก่บุคคล
ซึ่งได้รับผลร้ายด้วยหากเล็งเห็นผลก็เป็นเจตนาตามมาตรา ๕๙
มิใช่เจตนาโดยพลาดตามมาตรา ๖๐ 15
2.4.4 หากกระทาโดยเจตนาต่อทรัพย์ของบุคคลหนึ่ง
แต่ผลไปเกิดแก่ทรัพย์ของอีกบุคคลหนึ่ง
ก็ถือว่าเป็นการกระทาโดยพลาดตามมาตรา ๖๐ เช่นกัน 16
หน้า ๕

หน้า

บทที่
2.4.5 หากผู้กระทาได้กระทาต่อวัตถุแห่งการกระทา
อันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานหนึ่ง
ซึ่งผู้กระทารู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกนั้นแล้ว
แต่ผลของการกระทาไปเกิดแก่วัตถุแห่งการกระทา
อันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดอีกฐานหนึ่ง
ซึ่งผู้กระทาไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบนั้นมาก่อน
เช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นการกระทาโดยพลาดตามมาตรา ๖๐ 16
2.4.6 เมื่อเจตนาตามมาตรา ๖๐ คือ “เจตนาโอน”
ด้วยเหตุนี้ หากเจตนาในตอนแรกเป็นเจตนาฆ่า
เจตนาที่โอนมาก็เป็นเจตนาฆ่า หากเจตนาในตอนแรกเป็นเจตนาทาร้าย
เจตนาที่โอนมาก็เป็นเจตนาทาร้ายเช่นกัน 16
2.4.7 การกระทาโดยพลาดอาจเกิดขึ้น
เพราะการกระทาของบุคคลทีส่ ามได้ 17
2.4.8 กรณีผลเกิดต่อบุคคลผูม้ ีความสัมพันธ์ ( มาตรา ๖๐ ตอนท้าย ) 17
คาถามท้ายบท 17
3 ประมาท 20
3.1 ลักษณะของ “การกระทาโดยประมาท” ตามประมวลกฎหมายอาญา 20
3.๒ หลักเกณฑ์ที่ถือว่าเป็น “การกระทาโดยประมาท” 20
คาถามท้ายบท 22
4 การกระทา 25
4.1 หลักพื้นฐานในเรือ่ ง “การกระทา” 25
4.๒ เงื่อนไขในการพิจารณาว่าเป็น “การกระทา” ในทางกฎหมายอาญา 25
4.3 ประเด็นเกี่ยวกับรูปแบบของการกระทา 26
4.3.1 การกระทาแบบมีการเคลื่อนไหวร่างกาย 26
4.3.2 การกระทาแบบไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย 27
คาถามท้ายบท 28
5 การสาคัญผิด 31
5.1 การสาคัญผิดในตัวบุคคล 31
5.๒ การสาคัญผิดในข้อเท็จจริง 32
หน้า ๖

5.2.1 กรณีตามป.อ.มาตรา ๖๒ วรรคหนึ่ง 32


5.2.2 กรณีตามป.อ.มาตรา ๖๒ วรรคสอง 32
5.2.3 กรณีตามป.อ.มาตรา ๖๒ วรรคท้าย 33
คาถามท้ายบท 35
หน้า

บทที่
6 ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทาและผล (ผลธรรมดา) 38
6.1 หลัก causation 38
6.1.1 ทฤษฎีเงื่อนไข 38
6.1.2 ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม 39
คาถามท้ายบท 41
7 เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ และเหตุลดโทษ 44
7.1 เหตุยกเว้นความผิด 44
7.๒ เหตุยกเว้นโทษ 44
7.3 เหตุลดโทษ 44
7.4 หลักการพิจารณาว่าจะเป็นการกระทาแบบ “จาเป็น” หรือ “ป้องกัน” 44
7.5 การกระทาโดยบันดาลโทสะ 47
คาถามท้ายบท 48
8 การพยายามกระทาความผิด 51
8.1 การพยายามกระทาความผิดตามมาตรา 80 51
8.๒ เปรียบเทียบ “การไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอก
ของความผิดมาตรา ๕๙ วรรคสาม” กับ “การพยายามกระทาความผิด
ซึ่งเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ตามมาตรา ๘๑” 51
8.2.1 การไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอก
ของความผิดมาตรา ๕๙ วรรคสาม 51
8.2.2 การพยายามกระทาความผิดซึ่งเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ตามมาตรา ๘๑ 52
8.3 การยับยั้งหรือกลับใจตามมาตรา ๘๒ 53
คาถามท้ายบท 53
9 ตัวการ ผู้ใช้ และผูส้ นับสนุน 56
9.1 ตัวการ 56
9.๒ ผู้ใช้ 56
9.3 ผู้สนับสนุน 56
9.4 วิธีการวินิจฉัยความรับผิดของผูล้ งมือ , ตัวการ , ผู้ใช้ , ผู้สนับสนุน 56
คาถามท้ายบท 60
หน้า ๗

10 ขอบเขตการใช้กฎหมายอาญา 63
10.1 หลักดินแดน 63
10.๒ หลักอานาจลงโทษสากล 64
10.3 หลักบุคคล 65
10.4 การคานึงถึงคาพิพากษาของศาลในต่างประเทศ 66
คาถามท้ายบท 67
เอกสารอ้างอิง 68
หน้า ๘

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 1

หัวข้อเนื้อหาประจาบท

ความนา
บุคคลจะต้อ งรับ ผิดในทางอาญา ก็ ต่อ เมื่ อมี ก ารบั ญ ญั ติ ความผิด และก าหนดโทษเอาไว้
นอกจากนี้ ความผิ ด ตามประมวลกฎหมายอาญาถู ก แบ่ ง ออกเป็ น องค์ ป ระกอบแยกออกเป็ น
องค์ประกอบภายนอก และองค์ประกอบภายใน

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

1. อธิบายหลักพื้นฐานเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาและองค์ประกอบของความผิดได้
2. วินิจฉัยปัญญาเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาและองค์ประกอบของความผิดได้

วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบท

๑. การบรรยาย
๒. การศึกษาเอกสารประกอบการสอน
๓. ทาแบบฝึกหัดท้ายบท

สื่อการเรียนการสอน

1. เอกสารประกอบการสอน
2. ประมวลกฎหมายอาญา
หน้า ๙

การวัดผลและการประเมินผล

1. สังเกตจากความสนใจในเนื้อหาที่เรียน
2. สังเกตจากการซักถามในชั้นเรียน
3. การมีส่วนร่วมในการอภิปรายเป็นกลุ่ม
4. สังเกตจากการตรวจผลงาน รายงาน และแบบฝึกหัดท้ายบท
5. ประเมินผลจากการสอบปลายภาคประจาภาคการศึกษา
หน้า ๑๐

บทที่ 1
หลักพื้นฐานเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาและ
องค์ประกอบของความผิด

๑.1 หลักพื้นฐานเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญา

เนื่ อ งจากมี ห ลัก กฎหมายอาญาสากลที่ เป็ น ภาษาลาติน ว่า “Nullum crimen


nulla poena sine lege” หรือที่เป็นภาษาอังกฤษว่า “No crime nor punishment
without law” แปลเป็นไทยว่า “ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ หากไม่มีกฎหมาย” และเป็น
ที่มาของการบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคแรก ที่บัญญัติว่า “บุคคลจัก
ต้อ งรับ โทษในทางอาญาต่ อ เมื่ อ ได้ กระทาการอันกฎหมายที่ ใช้ ในขณะ กระท านั้ น
บัญญัติเป็นความผิดและกาหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแต่ผู้กระทาความผิดนั้น ต้อง
เป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย”

ข้อสังเกต หลัก “Nullum crimen nulla poena sine lege” ยังเป็นที่ มาของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า
“บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทาการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทา
นั้นบัญญัติเป็นความผิดและกาหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่า
โทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทาความผิดมิได้” อีกด้วย

1.๒ องค์ประกอบของความผิด

“องค์ประกอบของความผิด” หมายถึง องค์ประกอบของความผิดในแต่ละฐาน


ความผิด สาหรับการแบ่งแยกองค์ประกอบความผิดดังกล่าว จะเป็นการแบ่งแยกตามสิ่งที่
เป็น “รูป ธรรม” คื อ “องค์ประกอบภายนอก” และตามสิ่ งที่ เป็ น “นามธรรม” คื อ
“องค์ประกอบภายใน” ตัวอย่าง เช่น
หน้า ๑๑

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 บัญญัติว่า “ผู้ใดฆ่าผู้อื่น.....”

องค์ประกอบภายนอก คือ

(1) ผู้กระทา = ผู้ใด


(2) การกระทา = ฆ่า
(3) วัตถุแห่งการกระทา = ผู้อื่น
องค์ประกอบภายใน คือ

ผู้กระทา ต้องกระทาโดยมี “เจตนาธรรมดา” แบ่งออกเป็น


(๑) เจตนาประเภทประสงค์ต่อผล (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรค
สอง) หรือ
(๒) เจตนาประเภทเล็งเห็นผล (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสอง)

ข้อสาคัญ การกระทาความผิดใดก็ตามจะต้องครบองค์ประกอบความผิดเสมอทั้ ง
องค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายใน นอกจากนี้ ต้องปรากฏด้วยว่าความผิด
นั้นมีกฎหมายบัญญัติเอาผิดไว้

ตัวอย่าง
นายดาต้องการฆ่าตัวตายจึงใช้เชือกแขวนคอตนเองกั บต้นไม้ ปรากฏว่าเชือกขาด
นายดาไม่ตาย

วิเคราะห์
นายดาจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือไม่

(๑) ส าหรับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ตรง


“วัตถุแห่งการกระทา” จะต้องเป็น “ผู้อื่น” แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่ามิใช่ผู้อื่น แต่เป็นตัว
นายดาซึ่ง เป็น ผู้ล งมื อ กระท าการฆ่ าตนเอง ด้วยเหตุนี้ การกระท าของนายด าจึง ขาด
องค์ประกอบภายนอกของมาตรา 288 ดังกล่าว

(๒) มีข้อสงสัยว่า เช่นนี้ นายดาจะมีความผิดฐานพยายามฆ่าตัวตายหรือไม่


หน้า ๑๒

คาตอบ คือ ไม่มี เนื่องจากความผิดฐานฆ่าตัวตาย หรือความผิดฐานพยายามฆ่า


ตัวตายไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิดตามหลักของประมวลกฎหมายอาญา 2 วรรคแรก

(๓) สรุป คือ นายดาไม่มีความผิดใดๆ ตามประมวลกฎหมายอาญา


ข้อสังเกต สาหรับบางฐานความผิด ส่วนที่เป็นองค์ประกอบภายใน นอกจากจะต้องมี
“เจตนาธรรมดา” แล้วอาจยังต้องมี “เจตนาพิเศษ” เป็นองค์ประกอบภายในเพิ่มเติมด้วย เช่น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 บัญญัติว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่น


เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทาความผิดฐานลักทรัพย์....”

องค์ประกอบภายนอก คือ
(๑) ผู้กระทา = ผู้ใด
(๒) การกระทา = เอาไป
(๓) วัตถุแห่งการกระทา = ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย

องค์ประกอบภายใน คือ
ผู้กระทา ต้องกระทาโดยมี “เจตนาธรรมดา” แบ่งออกเป็น
(๑) เจตนาประเภทประสงค์ต่อผล (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรค
สอง) หรือเจตนาประเภทเล็งเห็นผล (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59
วรรคสอง)
(๒) เจตนาพิเศษ คือ “โดยทุจริต” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑)
ข้อสังเกต เกี่ยวกับ “เจตนาพิเศษ” ดังกล่าว นอกจากคาว่า “โดยทุจริต” แล้ว ยัง
รวมถึงคาว่า “เพื่อ” ด้วย เช่น มาตรา 264 วรรคแรก, ส่วนมาตราใดมีคาว่า “น่าจะ...”
ตรงนี้ จะเรียกว่า “พฤติการณ์ประกอบการกระทา” ซึ่งหมายความว่า ผู้กระทาไม่จาต้องรู้
ข้อ เท็ จจริง อันเป็นองค์ของประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59
วรรคสาม เพียงน่าจะเกิดผลเสียหายในสายตาของวิญญูชนก็เป็นความผิดสาเร็จแล้ว
เช่น ปลอมบัตรประชาชนแล้วเก็บไว้ในลิ้นชัก แม้ยังไม่นามาใช้ก็เป็นความผิดสาเร็จแล้ว

คาถามท้ายบท

นายแดงเดินทางเข้าไปในป่าลึกแห่งหนึ่ง หลังจากนายแดงคิดและตัดสินใจที่จะฆ่าตัวตายแล้ว
นายแดงได้นาปืนที่พกติดตัวมาจ่อศีรษะตัวเองและเหนี่ยวไกปืนเพื่อฆ่าตัวตาย แต่ปรากฏว่านายแดง
ลืมใส่ลูกกระสุนปืนเอาไว้ด้วย นายแดงจึงไม่ตาย
หน้า ๑๓

ให้วินิจ ฉัยว่า การกระท าของนายแดงดังกล่าวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา


หรือไม่

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 2

หัวข้อเนื้อหาประจาบท

ความนา
การกระทาความผิด ผู้กระทาต้องมีเจตนา สาหรับ เจตนาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เจตนา
ธรรมดา คือ “เจตนาประเภทประสงค์ต่อผล” หรือ “เจตนาประเภทเล็งเห็นผล” กับ เจตนาตาม
กฎหมายหรือเจตนาโอน อันเป็นที่มาของหลักที่เรียกว่า “การกระทาโดยพลาด”

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

1. อธิบายเกี่ยวกับเจตนาได้
2. วินจิ ฉัยปัญญาเกี่ยวกับเจตนาได้

วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบท

1. การบรรยาย
2. การศึกษาเอกสารประกอบการสอน
3. ทาแบบฝึกหัดท้ายบท

สื่อการเรียนการสอน

1. เอกสารประกอบการสอน
2. ประมวลกฎหมายอาญา
หน้า ๑๔

การวัดผลและการประเมินผล

1. สังเกตจากความสนใจในเนื้อหาที่เรียน
2. สังเกตจากการซักถามในชั้นเรียน
3. การมีส่วนร่วมในการอภิปรายเป็นกลุ่ม
4. สังเกตจากการตรวจผลงาน รายงาน และแบบฝึกหัดท้ายบท
5.ประเมินผลจากการสอบปลายภาคประจาภาคการศึกษา
หน้า ๑๕

บทที่ ๒
เจตนา

2.๑ หลักพื้นฐาน คือ เจตนาแบ่งได้ ๒ แบบ

2.2.1 แบบที่ ๑ เรียกว่า “เจตนาตามความเป็นจริง” (ประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผล)


กล่าวคือ เป็ นหลัก ตามที่ ป รากฏอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙ วรรคสอง
ข้อสังเกต “เจตนาประสงค์ต่อผล” ในทางตาราเรียกว่า “เจตนาโดยตรง” ส่วน“เจตนา
เล็งเห็นผล” นั้นเรียกว่า “เจตนาโดยอ้อม” ทั้ ง “เจตนาประสงค์ต่อผล” หรือ “เจตนา
เล็งเห็นผล” นี้ จะเรียกรวมกันว่า “เจตนาธรรมดา”

2.2.2 แบบที่ ๒ เรียกว่า “เจตนาโดยผลของกฎหมาย” (ไม่ประสงค์ต่อผลและไม่เล็งเห็น


ผล) กล่าวคือ เป็นหลักตามที่ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๐

2.2 เจตนาตามความเป็นจริง

2.๒.๑ กรณีเจตนาประสงค์ต่อผล
คาว่า “ประสงค์ต่อผล” หมายความว่ามุ่งหมายจะให้เกิดผลขึ้นหากผลเกิดขึ้นตามที่
มุ่ ง หมายก็ เป็ นความผิ ดส าเร็จ หากผลไม่ เกิ ดตามที่ มุ่ ง หมายก็ เป็ นความผิ ดเพี ย งฐาน
พยายามตามมาตรา ๘๐ หรือมาตรา ๘๑ แล้วแต่กรณี

เงื่อนไขการพิจารณา คือ ๑.ผู้ก ระทาต้อง “รู”้ ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบ


ภายนอกของความผิด (มาตรา ๕๙ วรรคสาม) และ
๒.ผู้กระทาจะต้อง “ประสงค์ต่อผล” ของการกระทาของ
ตน (มาตรา ๕๙ วรรคสอง)

ตัวอย่าง นายแดงใช้ปืนยิงไปที่หน้าอกของนายดา นายดาถึงแก่ความตาย นายแดงมี


เจตนาฆ่านายดาเพราะ
หน้า ๑๖

(๑) นายแดงรู้ว่าเป็ นการ “ฆ่า”“ผู้ อื่น ” จึง เป็นการ “รู้ ” “ข้อเท็ จ จริง ” อันเป็ น
“องค์ประกอบภายนอก”ของความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามมาตรา ๒๘๘ และ
(๒) นายแดง “ประสงค์ต่อผล”กล่าวคือ ประสงค์ให้ดาตายเพราะใช้ “ปืน”ซึ่งเป็น
อาวุธร้ายแรงยิงไปที่หน้าอกของนายดาอันเป็น “อวัยวะสาคัญ”

๒.๒.2 กรณีเจตนาประสงค์เล็งเห็นผล
คาว่า “เล็งเห็นผล” หมายความว่า เล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้น ได้อย่างแน่นอน
เท่าที่จิตใจของบุคคลในฐานะเช่นนั้นจะเล็งเห็นได้

เงื่อนไขการพิจารณา คือ ๑. ผู้กระทาต้อง “รู”้ ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอก


ของความผิด (มาตรา ๕๙ วรรคสาม) และ
๒. ผู้ ก ระท าจะต้ อง “เล็ งเห็ นต่อ ผล” ของการกระท าของตน
(มาตรา ๕๙ วรรคสอง)

ตัวอย่าง ๑
การใช้ปืนยิงเข้าไปในกลุ่มคนโดยไม่แน่ชัดว่าเจาะจงยิงผู้ใดโดยเฉพาะ
คาพิพ ากษาฎีก าที่ ๙๒๙/๒๔๖๘ วินิ จ ฉัยว่า การยิง ปืนเข้าไปในขบวนรถไฟส าหรับ คน
โดยสารในขณะที่ มี คนโดยสารมาในระยะใกล้ๆ แต่เผอิญ กระสุนปืนมิ ได้ถูก ต้องผู้ใด ดังนี้ ผู้ยิง มี
ความผิดฐานพยายามฆ่าคนโดยเจตนาตามมาตรา ๒๘๘ ประกอบมาตรา ๘๐
คาพิ พ ากษาฎี กาที่ ๒๙๘/๒๔๗๒ จ าเลยเอาปื นยิง เข้ าไปในหมู่ คนกระสุ นปื นถู ก ผู้ห นึ่ ง
บาดเจ็บ แม้จาเลยจะมิ ได้ตั้งใจยิงใครโดยเฉพาะเจาะจงก็ดี จาเลยต้องมีความผิดฐาน
พยายามฆ่าคนโดยเจตนาตามมาตรา ๒๘๘ ประกอบมาตรา ๘๐
คาพิพากษาฎีกาที่ ๘๑๘/๒๕๑๔ จาเลยเมาสุราแล้วยิงปืนเข้าไปในฝูงชนโดยมิได้คานึงว่า
กระสุน ปืนจะไปถูกผู้ใดเข้า จาเลยย่อมเล็งเห็นผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทาของตน เมื่อ
กระสุนปืนไปถูกผู้อื่นตาย ถือ ว่า จาเลยมีเจตนาฆ่าตามมาตรา ๒๘๘ ประกอบมาตรา ๕๙
วรรคสอง

ตัวอย่าง ๒
นายแดงจุดไฟเผาบ้านของตนเอง เพื่อหวังจะได้เงินจากการประกันอัคคีภัยนายดาซึ่งเป็นผู้เช่า
ถูก ไฟ คลอตาย นายแดงมีความผิดฐานฆ่านายดาตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล หากนายแดง
เล็งเห็นได้ว่านายดาจะต้องถูกไฟคลอกตาย อย่างแน่นอน

ตัวอย่างพิเศษ ๑ ปรับทั้ง “เจตนาประสงค์ต่อผล” และ “เจตนาเล็งเห็นผล “

นายแดงต้องการฆ่านายดาในขณะที่นายดายืนอยู่ติดกับนายขาว นายแดงใช้ปืนลูกซองยิงนาย
ดาโดยเล็งเห็นผล ว่า กระสุนปืน จะแผ่กระจายไปถูกนายขาวด้วย ถือว่า
หน้า ๑๗

(๑) นายแดงฆ่านายดาโดยเจตนาประสงค์ต่อผล และ


(๒) นายแดงฆ่านายขาวโดยเจตนาเล็งเห็นผล

ตัวอย่างพิเศษ ๒ ปรับทั้ง “เจตนาประสงค์ต่อผล” และ “เจตนาเล็งเห็นผล “


นายแดงซ่อนระเบิดเวลาไว้บนเครื่องบินโดยหวังจะเอาเงินประกันจากการที่เครื่องบินระเบิด
ปรากฏ ว่า เครื่อ งบิ น ระเบิ ดและผู้โ ดยสารบนเครื่อ งบิ นตายหมด ถือ ว่า นายแดงระเบิ ด
เครื่อ งบินโดยเจตนาประสงค์ต่อผลและฆ่าผู้โดยสารทั้ งหมดโดยเจตนาเล็ง เห็นผล เพราะ
เล็งเห็นได้ว่าผู้โดยสารจะต้องตายอย่างแน่นอน
2.2.๓ หลักเกณฑ์ในแบบที่ ๒ เรียกว่า “เจตนาโดยผลของกฎหมาย”

2.2.3.1 เจตนาโดยผลของกฎหมาย หมายความว่า ผู้กระทามิได้มีเจตนาตาม


ความเป็นจริงแก่บุคคลซึ่งได้รับ ผลร้ายจากการกระทานั้น กล่าวคือ มิได้ประสงค์ให้ผลเกิด
แก่บุคคลนั้นหรือมิได้เล็งเห็นว่าผลจะเกิดแก่บุคคลนั้น แต่กฎหมาย “ให้ถือว่า” ผู้กระทา
ได้ กระทาโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทานั้น เจตนา ดังกล่าวเรียกว่า
เป็น “เจตนาโดยผลของกฎหมาย” หรืออีกนัยหนึ่ง คือ “เจตนาโอน” สาหรับ หลัก ใน
เรื่องนี้ มีปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๐ เรียกกันโดยทั่วไปว่า “การกระ
ทาโดยพลาด” ข้อส าคัญ มาตรา ๖๐ นี้ จะไม่นาไปใช้กับเรื่องการกระทาโดยประมาท
เด็ดขาด ดังคากล่าวที่ว่า “เจตนาโอนได้” แต่ “ประมาทโอนไม่ได้”

2.2.3.2 เจตนาโดยผลของกฎหมายตามมาตรา ๖๐ หมายความว่า หาก


ผู้กระทา “รู้” ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานหนึ่งอยู่แล้ว แม้
ผลไปเกิดแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้าย อันเป็นผล ประเภทเดียวกับที่เจตนากระทา แม้ผู้กระทา
มิได้ประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลอีกอันหนึ่งก็ต้องถือว่าผู้กระทา มีเจตนาต่อผู้ได้รับผลร้าย
จากการกระทานั้น

2.3 หลักเกณฑ์การกระทาโดยพลาดที่สาคัญ

2.3.1 ต้องมีผถู้ ูกกระทา ๒ ฝ่ายขึ้นไป

ฝ่ายแรก คือ ผู้เสียหายคนแรกที่ผู้กระทามุ่งหมายกระทาต่อโดยมีเจตนา


ประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผล
ฝ่ายทีส่ อง คือ ผู้เสียหายอีกคนหนึ่งที่ได้รับผลร้ายจากการกระทานั้นด้วย
หน้า ๑๘

ตัวอย่าง นายแดงต้องการฆ่านายดา นายแดงใช้ปืนยิงนายดา นายดาหลบ


ทัน กระสุนถูกนายขาวตาย

ผลทางกฎหมาย ( ระหว่างนายแดงต่อนายดา) คือ นายแดงผิดฐาน


พยายามฆ่านายดาตามมาตรา ๒๘๘ ประกอบกับมาตรา ๘๐ เจตนาของนายแดงต่อนาย
ดาเป็นเจตนาตามความเป็นจริงกล่าว คือ “ประสงค์ต่อผล”

ผลทางกฎหมาย (ระหว่า งนายแดงต่ อนายขาว) คือ ถือ ว่านายแดงมี


เจตนาฆ่านายขาวเป็นเจตนาตามมาตรา ๖๐ นายแดงผิดฐานฆ่านายขาวตายโดยเจตนา
ตามมาตรา ๒๘๘

2.3.2 การกระทาโดยพลาดตามมาตรา ๖๐ จะต้องมีผลเกิดขึ้นแก่ผเู้ สียหาย


ฝ่ายทีส่ อง

ตัว อย่ า ง นายแดงยิง ด ากระสุ นไม่ ถูก นายด า แต่ พ ลาดไปถูก นายขาว
บาดเจ็บถือว่านายแดงมีเจตนาตามมาตรา ๖๐ ต่อนายขาว แต่ถ้ากระสุนไม่ถูกนายขาว
และนายขาวไม่ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจเลย ก็จะถือว่านายแดงมีเจตนาต่อนายขาว
ไม่ได้เพราะผลไม่เกิดแก่นายขาว

ข้อสังเกต อย่างไรก็ตาม แม้กระสุนไม่ถูกนายขาว แต่ถ้านายขาวได้ยินเสียง


ปืน นายขาวตกใจมากจึงหัวใจวายตาย เช่นนี้ ถือว่านายแดงมีเจตนาฆ่านายขาวแล้วโดยเป็นเจตนา
ตามมาตรา ๖๐ เพราะมีผลเกิดขึ้นแก่นายขาวแล้ว

2.3.3 การกระทาโดยพลาด ผู้กระทาจะต้องไม่ประสงค์ต่อผลต่อบุคคลผูไ้ ด้รับผลร้าย


และต้องไม่เล็งเห็นว่าผลจะเกิดแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายด้วยหากเล็งเห็นผลก็เป็นเจตนา
ตามมาตรา๕๙ มิใช่เจตนาโดยพลาดตามมาตรา ๖๐

ตัวอย่าง แดงต้องการฆ่าดาแดงใช้ปืนยิงไปที่ตอไม้โดยเข้าใจว่าเป็นดากระสุนไม่ถูก
ตอไม้ แต่แฉลบไปถูกขาว บาดเจ็บ นอกจากนั้น กระสุนยังแฉลบไปถูกดาซึ่งอยู่ห่างออกไป
หน้า ๑๙

ตายด้วย เช่นนี้ เจตนาของแดงต่อขาวเป็น เจตนาตามมาตรา ๖๐ เพราะแดงไม่ได้ประสงค์


ต่อผลหรือเล็งเห็นผลต่อขาว

ข้อสังเกต อย่างไรก็ตาม เจตนาของแดงต่อดาต้องถือว่าเป็นเจตนาตามมาตรา ๕๙


เพราะแดงประสงค์ ให้ดา ตายและในที่สุดดาก็ตายตามความประสงค์ของแดงจึงไม่ใช่กรณี
พลาดตาม มาตรา ๖๐

2.3.4 หากกระทาโดยเจตนาต่อทรัพย์ของบุคคลหนึ่ง แต่ผลไปเกิดแก่ทรัพย์ ของอีก


บุคคลหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นการกระทาโดยพลาดตามมาตรา ๖๐ เช่นกัน

ตัวอย่าง นายแดงต้องการทาลายแจกันลายครามของนายดา นายแดงใช้ปืนยิง


กระสุนไม่ ถูกแจกั นลายครามของนายดาแต่พลาดไปถูก โทรทั ศน์ของนายขาวเสียหาย
เช่นนี้ ถือว่า นายแดงกระท าโดยเจตนาตามมาตรา ๖๐ ต่อทรัพย์ของนายขาวด้วย นาย
แดงจึงผิดฐานทาให้ทรัพย์ของนายขาวเสียหายตามมาตรา ๓๕๘ ประกอบกับมาตรา ๖๐
และผิดฐานพยายามทาให้เสียทรัพย์ของนายดาตามมาตรา ๓๕๘ ประกอบมาตรา ๘๐ โดย
เป็นเจตนาประสงค์ต่อผลตามมาตรา ๕๙ วรรคสอง

2.3.5 หากผู้กระทาได้กระทาต่อวัตถุแห่งการกระทาอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของ
ความผิดฐานหนึ่งซึ่งผู้กระทารู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกนั้นแล้วแต่ผล
ของการกระทาไปเกิดแก่วัตถุแห่งการกระทาอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด
อีกฐานหนึ่งซึ่งผู้กระทาไม่รู้ข้ อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบนั้นมาก่อน เช่นนี้ ไม่ถือว่า
เป็นการกระทาโดยพลาดตามมาตรา ๖๐

ตัวอย่า ง นายแดงต้องการฆ่านายดา นายแดงใช้ปืนยิงนายดา นายดาหลบทั น


กระสุนพลาดไปถูกกระจกรถยนต์ของนายขาวแตกจะถือว่านายแดงกระทาโดยเจตนาตาม
มาตรา ๖๐ ต่อกระจกรถยนต์ของนายขาวไม่ได้ เพราะนายแดงรู้ว่ากาลังฆ่า “ผู้อื่น” แต่ไม่
รู้ว่าตนกาลังทาลาย “ทรัพย์ของผู้อื่น”

ตัวอย่าง นายแดงต้องการยิงกระจกรถยนต์ของนายขาว นายแดงยิงไปที่กระจก


รถยนต์ของนายขาวแต่กระสุนไม่ถูกกระจกรถยนต์กลับพลาดไปถูกนายดาตาย เช่นนี้ การ
ที่ผลเกิดแก่นายดาก็ไม่ถือว่านายแดงมีเจตนาตามมาตรา ๖๐ ต่อนายดา

ข้อสังเกต แต่ถ้านายแดงประมาทตามมาตรา ๕๙ วรรคสี่ นายแดงอาจผิดฐานฆ่า


นายดาตายโดยประมาทตามมาตรา ๒๙๑ ได้ นอกเหนือจากความผิดฐานพยายามทาให้
เสียทรัพย์ (กระจกรถยนต์) ของนายขาวตามมาตรา ๓๕๘ ประกอบ มาตรา ๘๐
หน้า ๒๐

2.3.6 เมื่อเจตนาตามมาตรา ๖๐ คือ “เจตนาโอน”ด้วยเหตุนี้ หากเจตนาใน


ตอนแรกเป็ นเจตนาฆ่ า เจตนาที่ โอนมาก็เป็ นเจตนาฆ่า หากเจตนาในตอนแรกเป็ น
เจตนาทาร้าย เจตนาทีโ่ อนมาก็เป็นเจตนาทาร้ายเช่นกัน

ตัวอย่าง นายแดงใช้ปืนยิงไปที่ขาของนายดา นายดาหลบทันกระสุนจึง


แฉลบไปถูกนายขาวตาย นายแดงผิดฐานพยายามทาร้ายร่างกายนายดา (ยิงขา ถือว่า มีเจตนา
ทาร้าย ไม่มีเจตนาฆ่า) และผิดฐานทาให้นายขาวตายโดยไม่เจตนาตามมาตรา ๒๙๐ (เป็นการ
ทาร้ายร่างกายนายขาวโดยพลาดตามมาตรา ๖๐ เมื่อนายขาวตายแดงจึงผิดมาตรา ๒๙๐)

2.3.7 การกระทาโดยพลาดอาจเกิดขึ้นเพราะการกระทาของบุคคลที่สามได้

ตัวอย่าง แดงเอาไม้ตีหัวดา ดาหลบ แดงจึงตีไม่ถูก แต่การที่ดาหลบทาให้ ดาเซไป


กระแทกขาว ขาว ล้มลงกับพื้นศีรษะ แตก เข่นนี้แดงผิดฐานพยายามทาร้ายดาตามมาตรา
๒๙๕ , มาตรา ๕๙, มาตรา ๘๐ และผิดฐานท าร้ายขาวโดยพลาดตาม มาตรา ๒๙๕,
มาตรา ๖๐

ตัวอย่าง นายแดงต้องการฆ่านายดา นายแดงจึงเอายาพิษใส่ขวดน้าและแช่ไว้ใน


ตู้เย็น นายขาวมาเปิดตู้เย็นและดื่มน้าในขวดนั้น นายขาวตาย เช่นนี้ ถือว่านายแดงกระทา
โดยพลาดต่อนายขาว
ข้อสังเกต หากผู้กระทาได้กระทาต่อตนเองแต่ผลไปเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งก็ไม่ใช่
การกระทาโดยพลาดตามมาตรา ๖๐ เช่น นายแดงต้องการฆ่าตัวตาย นายแดงเอาปืนมา
จ่อยิงศีรษะตนเอง แต่นายแดงมือสั่น กระสุนที่ลั่นออกมาจึงไม่ถูกศีรษะนายแดงแต่พลาด
ไปถูกนายขาวตายจะถือว่านายแดงมีเจตนาฆ่านายขาวตาม มาตรา ๒๘๘ โดยเป็นเจตนา
ตามมาตรา ๖๐ ไม่ได้

2.3.8 กรณีผลเกิดต่อบุคคลผูม้ ีความสัมพันธ์ ( มาตรา ๖๐ ตอนท้าย )

ตัวอย่าง นายดาเจตนาฆ่านายแดงบุคคลธรรมดา แต่ผลไปเกิดต่อนายขาวบิดา


ของตน เช่นนี้ จะถือว่านายดาฆ่านายขาวอันเป็นความผิดตามมาตรา ๒๘๙ (๑) ประกอบ
มาตรา ๖๐ ไม่ได้ นายดาผิดเพียงมาตรา ๒๘๘ เท่านั้น

ตัวอย่าง นายดาเจตนาฆ่านายแดงบิดาของตน แต่ผลไปเกิดต่อนายขาวบุคคล


ธรรมดา เช่นนี้ จะถือว่านายดาฆ่านายขาวอันเป็นความผิดตามมาตรา ๒๘๙ (๑) ประกอบ
มาตรา ๖๐ ไม่ได้ นายดาผิดเพียงมาตรา ๒๘๘ เท่านั้น
หน้า ๒๑

ตัวอย่าง นายดาเจตนาฆ่านายแดงบิดา แต่ผลไปเกิดต่อนางเหลืองมารดา เช่นนี้


ถือว่า นายดาฆ่านางเหลืองอันเป็นความผิดตามมาตรา ๒๘๙ (๑) ประกอบมาตรา ๖๐ ได้

คาถามท้ายบท

นายอ้วนใช้ไม้ตนี ายผอม แต่นายผอมหลบทัน นายอ้วนจึงตีไม่ถูก และการที่นายผอมหลบทาให้


นายผอมเซไปกระแทกกับนายเตี้ยเป็นเหตุให้นายเตี้ยล้มลงกับพื้นศีรษะแตก
ให้วินิจฉัยว่า นายอ้วนมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดหรือไม่
หน้า ๒๒

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 3

หัวข้อเนื้อหาประจาบท

ความนา
บุคคลจะต้องรับ ผิดในทางอาญาเมื่ อกระท าโดยเจตนา อย่างไรก็ตาม กฎหมายอาญาได้
บัญญัติถึงความผิดบางฐานที่อาจเกิดจากการกระทาโดยประมาทเอาไว้ด้วย

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

1. อธิบายเกี่ยวกับการกระทาโดยประมาทได้
2. วินจิ ฉัยปัญญาเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาเมื่อเป็นการกระทาโดยประมาทได้

วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบท

1. การบรรยาย
2. การศึกษาเอกสารประกอบการสอน
3. ทาแบบฝึกหัดท้ายบท

สื่อการเรียนการสอน

1. เอกสารประกอบการสอน
2. ประมวลกฎหมายอาญา
หน้า ๒๓

การวัดผลและการประเมินผล

1.สังเกตจากความสนใจในเนื้อหาที่เรียนสังเกตจากการซักถามในชั้นเรียน
2. การมีส่วนร่วมในการอภิปรายเป็นกลุ่ม
3. สังเกตจากการตรวจผลงาน รายงาน และแบบฝึกหัดท้ายบท
4.ประเมินผลจากการสอบปลายภาคประจาภาคการศึกษา
หน้า ๒๔

บทที่ ๓
ประมาท

3.๑. ลักษณะของ “การกระทาโดยประมาท” ตามประมวลกฎหมายอาญา

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ บัญญัติว่า “กระทาโดยประมาท


ได้แ ก่ กระทาความผิดมิ ใช่ โ ดยเจตนา แต่กระทาโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่ ง
บุคคลภายในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทาอาจใช้ความ
ระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่”

อธิบาย ตามหลักกฎหมายอาญา “ประมาท” เป็น “องค์ประกอบภายใน” ของ


ความผิดอาญาบางฐาน เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 บัญ ญั ติว่า “ผู้ใด
กระทาโดยประมาท และการกระทานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษ
จาคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท”

เมื่อนามาตรา 291 มาแยก “องค์ประกอบของความผิด” ก็จะปรากฏดังนี้

องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้กระทา = ผู้ใด
(2) การกระทา = กระทำเป็นเหตุให้ถึงแก่ควำมตำย
(3) วัตถุแห่งการกระทา = ผู้อื่น
องค์ประกอบภายใน

ประมำท ( ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ )

ข้อสังเกต คือ แม้จะมี “การกระทาโดยประมาท” ตามประมวลกฎหมายอาญา


มาตรา 59 วรรคสี่เกิดขึ้นแล้วก็ตาม แต่บุคคลที่กระทาโดยประมาทดังกล่าวจะต้องรับผิด
หน้า ๒๕

ในทางอาญาก็ต่อเมื่อเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทาโดยประมาท
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ถ้า “การกระทา
โดยประมาท” ดังกล่าว ไม่มีการบัญญัติเป็นความผิดและกาหนดโทษเอาไว้ตามหลักใน
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคหนึ่ง ผู้กระทาโดยประมาทนั้นย่อมไม่มีความผิด
ตามประมวลกฎหมายอาญา

ตัวอย่าง ความผิดฐานทาให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358


ผู้กระทาต้องกระทาโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสองเท่านั้น
หากปรากฏว่าผู้กระทาได้กระทาโดยประมาท เช่นนี้ ผู้กระทาย่อมไม่มีความผิด เนื่องจาก
ความผิดฐานกระทาโดยประมาทให้เสียทรัพย์ ไม่มีการบัญญัติเป็นความผิดและกาหนด
โทษเอาไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา ( เป็นไปตามหลัก “Nullum crimen nulla
poena sine lege” กล่าวคือ “ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ หากไม่มีกฎหมาย” )

3.2 หลักเกณฑ์ที่ถือว่าเป็น “การกระทาโดยประมาท”

สาหรับ“การกระทาโดยประมาท” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่


มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) เป็นการกระทาความผิดที่ มิใช่โดยเจตนา กล่าวคือ ผู้กระท าไม่ประสงค์ต่อผล
หรือเล็งเห็นผล
(2) เป็นการกระทาโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลภายในภาวะเช่นนั้น จัก
ต้องมีตาม
(2.1) วิสัย และ
(2.2) พฤติการณ์ และ
(2.3) ผู้กระทาอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่

ตัวอย่าง นายดาวิวาทกับนายขาว นายขาวจึงใช้ปืนยิงที่ศีรษะนายดา ๑ นัด และ


นายขาวกาลัง จะนาร่างของนายดายกขึ้นท้ ายรถกระบะเพื่อเผาทาลายร่างของนายดา
พร้อมกับรถกระบะในระหว่างนั้นปรากฏว่านายเขียวเพื่อนของนายขาวผ่านมาพอดี นาย
ขาวจึงขอให้นายเขียวช่วยกันยกร่างของนายดาใส่ท้ายรถกระบะนายเขียวเข้าใจว่านายดา
ตายแล้วเพราะถูกนายขาวยิงจึงช่วยเหลือนายขาวยกร่างของนายดาใส่ท้ายรถกระบะคัน
ดังกล่าวและร่วมกั บ นายขาวจุดไฟเผารถกระบะพร้อมกั บ ร่างของนายดา ข้อเท็ จ จริง
ปรากฏว่าผลการชันสูตรพลิกศพของแพทย์พบว่า สาเหตุแห่งการตายของนายดา คือ ถูก
ไฟคลอกตาย มิใช่ถูกยิงตาย
หน้า ๒๖

สภาพปัญหา
(๑) นายขาวผิดมาตรา 288 แน่นอน ไม่มีปัญหา

(๒) แต่ที่เป็นปัญหา คือ นายเขียว จะผิดมาตรา 288 หรือ มาตรา 291

วิเคราะห์

ประเด็นที่ (1) แม้นายเขียวจะร่วมกับนายขาวจุดไฟเผารถกระบะพร้อมกับร่าง


ของนายดาก็ตามแต่นายเขียวเข้าใจว่านายดาถึงแก่ความตายเพราะถูกนายขาวยิง การ
กระทาของนายเขียวจึงเป็นการกระทาโดยมิได้รู้ข้ อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของ
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสาม ดังนั้น จะถือว่า นายเขียว
ประสงค์ต่อผล หรือเล็งเห็นผลของการกระทานั้นมิได้ ( กล่าวคือ ข้อเท็จจริงเช่นนี้ จะถือ
ว่า การที่ นายเขียวช่วยนายขาวนาร่างของนายดาไปเผานั้น นายเขียวได้กระทาไปโดยมี
เจตนา “ฆ่า” นายดา (ผู้อื่น) ตามมาตรา 288 ไม่ได้ เพราะตามความเข้าใจของนายเขียว
ร่างของนายดา คือ “ศพ” )

ประเด็นที่ (๒) อย่างไรก็ตาม แต่ความไม่รู้ข้อเท็จจริงของนายเขียวถือว่าเป็นการ


กระทาโดยประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ ( กล่าวคือ นายเขียว
ไม่ตรวจสอบร่างของนายดาให้ดีเสียก่อนว่านายดาตายแล้วจริงหรือไม่ เพราะหากนายเขียว
ตรวจสอบ นายเขียวก็จะพบว่านายดายังไม่ตาย )

ประเด็นที่ (3) ด้วยเหตุนี้ นายเขียวจึงมี ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา


มาตรา 291 ทั้งนี้ ตามที่ มาตรา 62 วรรคสอง บัญ ญัติไว้ (เทียบคาพิพากษาฎีกาที่
13262/2558)

คาถามท้ายบท
นายเอกขับรถยนต์ด้วยความเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกาหนดไว้บนถนนสาธารณะ ขณะที่
ฝนตกหนักมาก ปรากฏว่ารถยนต์ของนายเอกลื่นไถลออกนอกถนนสาธารณะชนกับกาแพงบ้านของ
นายโทได้รับความเสียหาย
หน้า ๒๗

ให้วินิจฉัยว่าการกระทาของนายเอกดังกล่าวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือไม่

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 4

หัวข้อเนื้อหาประจาบท

ความนา
การกกระทาตามความหมายของกฎหมายอาญา แบ่งออกเป็นแบบเคลื่อนไหวร่างกายกั บ
แบบไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ทั้ งนี้ การกระทาดังกล่าวอาจเกิ ดจากเจตนาหรือประมาทของผู้กระท า
แล้วแต่กรณี

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

1. อธิบายเกี่ยวกับการกระทาได้
2. วินิจฉัยปัญญาเกี่ยวกับการกระทา

วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบท

1. การบรรยาย
2. การศึกษาเอกสารประกอบการสอน
3. ทาแบบฝึกหัดท้ายบท

สื่อการเรียนการสอน

1. เอกสารประกอบการสอน
2. ประมวลกฎหมายอาญา
หน้า ๒๘

การวัดผลและการประเมินผล

1.สังเกตจากความสนใจในเนื้อหาที่เรียนสังเกตจากการซักถามในชั้นเรียน
2. การมีส่วนร่วมในการอภิปรายเป็นกลุ่ม
3. สังเกตจากการตรวจผลงาน รายงาน และแบบฝึกหัดท้ายบท
4.ประเมินผลจากการสอบปลายภาคประจาภาคการศึกษา

บทที่ 4
การกระทา

4.1 หลักพื้นฐานในเรื่อง “การกระทา”

ในทางกฎหมายอาญา “การกระทา” หมายความถึง “การเคลื่อนไหวร่างกายหรือ


การไม่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สานึก กล่าวคือ อยู่ภายใต้บังคับของจิตใจของผู้กระทา”
จึงสรุปได้ว่า การกระทามี ๒ แบบ

แบบที่ ๑ เรียกว่า “การกระทาแบบมีการเคลื่อนไหวร่างกาย”


แบบที่ ๒ เรียกว่า “การกระทาแบบไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย”

4.2 เงื่อนไขในการพิจารณาว่าเป็น “การกระทา” ในทางกฎหมายอาญาหรือไม่

ในทางกฎหมายอาญา “การกระทา” จะต้องปรากฏด้วยว่า ผู้กระทามีการกระทา


อันสืบเนื่องมากจาก “โดยรู้สานึก” หรือ “อยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ” ซึ่งหมายความว่า
จะเป็น “การกระทา” หรือไม่ ต้องผ่าน ๓ ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ก่อนเสมอ ได้แก่

ขั้นตอนที่ ๑. = ผู้กระทาต้อง “มีความคิดที่จะกระทา”


ขั้นตอนที่ ๒. = ผู้กระทาต้อง “มีการตกลงใจที่จะกระทาตามที่คิดไว้”
ขั้นตอนที่ ๓. = ผู้กระท าต้อง “ได้กระทาไป” ซึ่ง อาจจะอยู่ในรูป แบบของการ
เคลื่อนไหวร่างกายหรือในรูปแบบของการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ทั้งนี้ “ตามที่ตกลง ใจ
(ตามขั้นตอนที่ ๒ ) อันสืบเนื่องมาจากความคิด (ตามขั้นตอนที่ ๑ )”

ข้อสังเกต หากการเคลื่อนไหวหรือการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ได้เป็นผลมาจาก


การตกลงใจอันสืบเนื่องมาจากความคิด เช่นนี้ ก็ไม่ถือว่า “รู้สานึก” หรือ “อยู่ภายใต้
บังคับของจิตใจ” เท่า กับไม่ มี “การกระทา”ตามความหมายของประมวลกฎหมาย
อาญา มาตรา ๕๙ บุคคลนั้นก็ไม่ต้องรับผิดในทางอาญา
หน้า ๒๙

ตัวอย่าง เด็กชายแดงทารกไร้เดียงสากาเศษไม้ไว้ในมือและพลิกตัวไปข้างๆ เศษไม้


ถู ก ลู ก ตาของเด็ ก ชายขาวจนตาบอด จะเห็ น ว่ า เด็ ก ชายแดง ย่ อ มไม่ มี ก ารกระท า
เนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายของเด็กชายแดงไม่ได้เป็นผลมาจากการตกลงใจอันสืบ
เนื่องมาจากความคิด นั่นเอง

ข้อสังเกต ตัวอย่างอื่นๆ ในกรณีถึงขั้น ที่ถือได้ว่ากระทาโดยมิได้รู้สานึกในการที่


กระทา เช่น
(1) คนละเมอ , คนเป็นลมบ้าหมู
(2) ผู้ทรี่ ่างกายกระตุกโดยไม่รู้ตัว
(3) ผู้ที่ถูกผลักถูกชนหรือถูกจับมือให้ กระทาขณะเผลอ
(4) ผู้ที่ถูกสะกดจิต
(5) ผู้ทรี่ ่างกายเคลื่อนไหวเพราะแรงธรรมชาติ เช่น แรงลม พายุ เป็นต้น

*ข้อสังเกต ในกรณีคนเป็นลมบ้าหมู หากตัวบุคคลนั้น “รู้” อยู่แล้วว่าตนเอง


“ป่วยเป็นโรคลมบ้าหมู” ยังขืนขับรถยนต์ออกไปตามถนนสาธารณะ หากปรากฏว่าขณะ
ขับ รถยนต์เกิดอาการชักเป็นลมบ้าหมูทาให้ขับรถยนต์ชนคนตาย ในกรณีเช่นนี้ย่อมเป็น
การกระทาโดยประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙ วรรคสี่

4.3 ประเด็นเกี่ยวกับรูปแบบของการกระทา

4.3.1 การกระทาแบบมีเคลื่อนไหวร่างกาย
อธิบาย สาหรับการกระท าโดยการเคลื่อนไหวร่างกายนั้นมีห ลายรูปแบบด้วยกั น
เช่น การชก การผลัก การวิ่งชน เป็นต้น อย่างไรก็ ตาม การที่ จ ะถือว่าผู้ก ระท า มี ก าร
กระทาได้นั้น จะต้องพิจารณาเป็นขั้นตอนไปดั่งตัวอย่างต่อไปนี้
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายแดงโกรธนายขาวจึงใช้ปืนนายยิงขาว นายขาวถูกยิงถึงแก่ความ
ตาย เช่นนี้ ถือว่านายแดงมี “การกระทา” เพราะ
(ก) นายแดง “คิด” จะยิงนายขาว
(ข) นายแดง “ตกลงใจ” ทีจ่ ะยิงนายขาวตามที่คิดไว้
(ค) ในที่สุดนายแดงก็ได้ “ยิง” นายขาวตามที่ตกลงใจอันสืบเนื่องมาจากความคิด
ทั้งนี้ การยิงดังกล่าว คือ การกระทาในรูปแบบเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเริ่มตั้งแต่

(๑) ลงมือยิงนายขาวด้วยการเล็งปืนไปที่นายขาว
(๒) การลั่นไกปืนยิงไปที่ขาวและ
(๓) การที่กระสุนถูกนายขาว
หน้า ๓๐

ทั้ง (๑) และ (๒) และ (๓) เหล่านี้ล้วน ย่อมถือว่าเป็นส่วนของการกระทาทั้งสิ้น

4.3.2 การกระทาแบบไม่มีเคลื่อนไหวร่างกาย

อธิบาย โดยหลักแล้ว “การกระทา” คือ การเคลื่อนไหวร่างกาย ส่วนการกระทาโดย


การไม่เคลื่อนไหวร่างกายนั้นถือเป็นข้อยกเว้น ซึ่งแยกออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ
(1) การกระทาโดยงดเว้น
(2) การกระทาโดยละเว้น
ข้อสาคัญ คือ แม้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙ วรรคท้าย จะบัญญัต
ให้การ “งดเว้น” เป็นการกระทาด้วยเช่นกันก็ตาม แต่การไม่เคลื่อนไหวร่างกายที่จะถึงขั้นที่
เรียกว่า “งดเว้ น” ได้ นั้น จะต้อ งเข้าเงื่อนที่ ไขส าคัญ กล่าวคือ ผู้ที่ ไม่เคลื่อนไหวร่า งกาย
จะต้องมีหน้าที่โดยเฉพาะเพื่อป้องกันมิให้ผลเกิด ด้วย ดังนั้น หากผู้ที่ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
ไม่มีหน้าที่โดยเฉพาะเพื่อป้องกันมิให้ผลเกิด ก็จะกลายเป็นเพียงการ “ละเว้น” เท่านั้น

ข้อสังเกต สาหรับหน้าที่โดยเฉพาะเพื่อป้องกันมิให้ผลเกิดขึ้น เช่น


๑.หน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ เช่น บิดามารดาต้องอุปการะบุตร
๒.หน้าที่อันเกิดจากการยอมรับโดยเจาะจง เช่น นางพยาบาลดูแลคนไข้ , คน
ดูแลสระว่ายน้า
๓.หน้าที่อันเกิดจากการกระทาก่อนๆ ของตน เช่น คนพาคนตาบอดข้ามถนน
(แล้วเปลี่ยนใจปล่อยให้ยืนกลางถนนจนคนตาบอดถูกรถชน) , คนอุ้มคนบาดเจ็บ
ขึ้นรถและปล่อยลงจากรถ ( ทิ้งไว้กลางทาง )
๔. หน้าที่อันเกิดจากความสัมพันธ์เป็นพิเศษเฉพาะเรื่อง เช่น ป้าเลี้ยงหลานจน
โต ต่อมาป้าป่วยหลานไม่ยอมนายาและอาหารให้ป้าทาน และป้าเสียชีวิตเพราะการกระท า
ดังกล่าวของหลาน
ตัว อย่ า ง นางแดงลั ก ลอบได้ เสี ย กั บ นายด าเกิ ด บุ ตรทารกขึ้ น มาคนหนึ่ ง คื อ
เด็กชายขาว นายดาไม่ยอมรับเด็กชายขาวเป็นบุตร นางแดงเกิดความอับอายจึงอยากให้
เด็กชายขาวตายโดยการแกล้งไม่ให้เด็กชายขาวกินนมเด็กชายขาวอดนมตายในที่สุด เช่น นี้
ถือว่านางแดงมี “การกระทา” เพราะ
(ก) นางแดงคิดที่จะฆ่าเด็กชายขาวโดยการไม่ให้นมเด็กชายขาวกิน
(ข) นางแดงตกลงใจที่จะฆ่าเด็กชายขาวโดยการไม่ให้นมเด็กชายขาวกิน
(ค) นางแดงอยู่เฉยๆปล่อยให้เด็กชายขาวอดนมตายไป
หน้า ๓๑

ข้อสังเกต ตามตัวอย่างนี้ ถือว่านางแดง “งดเว้น” เพราะนางแดงเป็นมารดาของ


เด็กชายขาว นางแดงมี หน้าที่ ต้องอุป การะบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๕๖๔ อันเป็นหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ นางแดงจึงมีความผิดฐานฆ่าเด็กชาย
แดงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ ประกอบมาตรา ๕๙ วรรคท้าย
ตัวอย่าง นายแดงเป็นนักว่ายน้าเหรียญทอง นายแดงโกรธเคืองกับนายดาบิดาของนาย
ขาว วันหนึ่งนายแดงพบนายขาวบุตรผู้เยาว์ของนายดากาลังจะจมน้าตาย นายแดงช่วยได้
แต่ไม่ช่วยปล่อยให้นายขาวจมน้าตายไปต่อหน้าตน เช่นนี้ ถือว่านายแดงมี “การกระทา”
เพราะ
(ก) นายแดงคิดที่จะไม่ช่วยนายขาว
(ข) นายแดงตกลงใจทีจ่ ะไม่ช่วยนายขาว
(ค) นายแดงอยู่เฉยๆไม่ช่วยนายขาวโดยปล่อยให้นายขาวจมน้าตายไป
ข้อสังเกต ตามตัวอย่างนี้ ถือว่านายแดง “ละเว้น” เพราะนายแดงไม่มีหน้าที่ต้อง
ป้อ งกั นมิ ให้นายขาวตาย อย่างไรก็ตาม นายแดงอาจมี ความผิดตามประมวลกฎหมาย
อาญา มาตรา ๓๗๔

ตัวอย่างคาพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับเรื่อง “งดเว้น”
คาพิพากษาฎีกาที่ 16412/2555 วันเวลาเกิดเหตุจาเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ซึ่ง
เป็นหญิงคนรักนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ระหว่างทางได้เกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่
จาเลยขับล้มลงทาให้ผู้เสียหายที่ 2 ตกจากรถจักรยานยนต์ได้รับอันตรายสาหัส นอนหมด
สติในพงหญ้า ข้า งทาง แล้วจาเลยหลบหนีไม่ให้ความช่ วยเหลือ ทิ้ง ให้ผู้เสียหายที่ 2
นอนหมดสติในที่เกิดเหตุเป็นเวลานานถึง 8 วัน และไม่แจ้งให้ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดา
ทราบจนมี ผู้ ไปพบผู้เสี ยหายที่ 2 จาเลยย่ อมเล็งเห็นผลได้ว่า การงดเว้นไม่ ให้ ความ
ช่วยเหลือ ผู้เสียหายที่ 2 อาจถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ไม่ถึงแก่ความตาย
จ าเลยจึ ง มี ค วามผิ ด ฐานพยายามฆ่ าผู้ อื่ น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288
ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 59 วรรคท้าย
ข้อสังเกต คือ การกระท าโดยการ “งดเว้น” นั้น อาจเกิ ดจาก “เจตนา” หรือ
“ประมาท” ก็ได้
ตัวอย่าง นางแดงสมรสกับ นายดาเกิดบุตรทารกขึ้นมาคนหนึ่ง คือ เด็กชายขาว
นายดาไปทางานที่ ต่างประเทศและคอยส่งเงินมาให้นางแดงเอาไว้เลี่ยงดูบุตร นางแดง
ปล่อยปละละเลยไม่ให้เด็กชายขาวกินนมจนเด็กชายขาวอดนมตายในที่ สุด เช่นนี้ ถือว่า
นางแดงมี “การกระทา” คือ “งดเว้น” และ “ประมาท” ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๕๙ วรรคสี่

คาถามท้ายบท
หน้า ๓๒

นายดาเป็นลูกจ้างประจาสระว่ายน้า และมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของผู้มาว่ายน้า นายดา


เห็นนายขาวเป็นตะคริวกาลังจมน้าร้องขอความช่วยเหลือ นายดาต้องการให้นายขาวตาย นายดาจึง
ยืนดูเฉยๆ และในที่สุดนายขาวจมน้าตาย
ให้วินิจฉัยว่า การกระทาของนายดาดังกล่าวมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใด
หรือไม่

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 5

หัวข้อเนื้อหาประจาบท

ความนา
ในการกระทาตามที่กฎหมายอาญาบัญญัติเป็นความผิด อาจเกิดกรณีสาคัญผิดในตัวบุคคล
หรือสาคัญผิดในข้อเท็จจริงก็ได้ ซึ่งกฎหมายบัญญัติเงื่อนไขเหตุแห่งการรับผิดเอาไว้แตกต่างกัน

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

1. อธิบายเกี่ยวกับการสาคัญผิดในตัวบุคคล และสาคัญผิดในข้อเท็จจริงจริงได้
2. วินจิ ฉัยปัญญาเกี่ยวกับ การกระทาที่เกิดจากการสาคัญผิดในตัวบุคคลและสาคัญผิด
ในข้อเท็จจริงจริงได้

วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบท

1. การบรรยาย
2. การศึกษาเอกสารประกอบการสอน
3. ทาแบบฝึกหัดท้ายบท

สื่อการเรียนการสอน

1. เอกสารประกอบการสอน
2. ประมวลกฎหมายอาญา
หน้า ๓๓

การวัดผลและการประเมินผล

1.สังเกตจากความสนใจในเนื้อหาที่เรียนสังเกตจากการซักถามในชั้นเรียน
2. การมีส่วนร่วมในการอภิปรายเป็นกลุ่ม
3. สังเกตจากการตรวจผลงาน รายงาน และแบบฝึกหัดท้ายบท
4.ประเมินผลจากการสอบปลายภาคประจาภาคการศึกษา
บทที่ 5
การสาคัญผิด

ในบางกรณีผู้ลงมือกระท า อาจมีความเข้าใจผิดในขณะลงมือกระทา หากมีความ


เข้าใจผิดในวัตถุแห่งการกระทาที่เป็นบุคคลจะเรียกว่า “สาคัญผิดในตัวบุคคล” หรืออาจ
เรียกอีกอย่างได้ว่า “สาคัญผิดเป็นคนละคนกัน” แต่ถ้าผู้ลงมือเข้าใจผิดในสถานการณ์ที่
กาลังเกิดขึ้นในขณะนั้นก็จะเรียกว่า “สาคัญผิดในข้อเท็จจริง”

5.๑ การสาคัญผิดในตัวบุคคล

สาหรับหลักเกณฑ์ “สาคัญผิดในตัวบุคคล” มีอยู่ใน ป.อ.มาตรา ๖๑ โปรดพิจารณาภาพ


ดังนี้

นาย ก. นาย ข. นาย ค.

( ผู้ลงมือ) (ผู้ที่ผู้ลงมือต้องการกระทาต่อ) (ผู้ถูกกระทาเพราะสาคัญผิดใน


ตัวบุคคล)

ตัวอย่าง นาย ก. ต้องการยิงนาย ข. แต่นาย ก. เข้าใจผิดว่า นาย ค. คือ นาย ข.

ประเด็น คือ ปรากฏว่านาย ก. ยิง นาย ค. ทาให้นาย ค. ตายโดยทันที


หน้า ๓๔

ผลทางกฎหมาย คือ การกระทาของนาย ก. ดังกล่าว ถือว่า

(๑) นาย ก. เจตนาจะกระทาต่อนาย ข. ซึ่งเป็นบุคคลหนึง่


(๒) แต่นาย ก. ได้กระทาต่อนาย ค. อีกบุคคลหนึ่ง โดยสาคัญผิด
(๓) นาย ก. จะยกเอาความสาคัญผิดเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทาโดยเจตนาต่อ
นาย ค. หาได้ไม่
(๔) ดังนั้น นาย ก. มีความผิดตามป.อ.มาตรา ๒๘๘ ประกอบมาตรา ๖๑ ต่อ
นาย ค. (เทียบคาพิพากษาฎีกาที่ ๓๕๓-๓๕๔/๒๕๕๐)

ตัวอย่างเพิ่มเติม นายดาแอบซุ่มยิงนายขาวอยู่ บังเอิญนายแดงลุกขึ้นมาเปิดประตูบ้านลง


บันไดเพื่อจะไปถ่ายปัสสาวะข้างล่าง แล้วถูกนายดาใช้อาวุธปืนยิงโดยสาคัญผิดว่าเป็นนายขาว การ
กระทาของนายดาเป็นการฆ่านายแดงโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๙
(๔)ประกอบมาตรา ๖๑ ( คาพิพากษาฎีกาที่ ๙๐/๒๕๓๖ , คาพิพากษาฎีกาที่ ๔๘๗/๒๕๓๖)

5.2 การสาคัญผิดในข้อเท็จจริง

5.2.1 กรณีตามป.อ.มาตรา ๖๒ วรรคหนึ่ง

หลัก คือ การเข้าใจผิดในสถานการณ์หรือการส าคัญผิดในข้อเท็จจริงนี้มีอยู่ใน


ป.อ.มาตรา ๖๒ วรรคหนึ่ง ที่สาคัญ คือ จะต้องถูกนามาปรับใช้กับกรณีเหตุยกเว้นความผิด ( เช่น
มาตรา ๖๘ ) , เหตุยกเว้นโทษ ( เช่น มาตรา ๖๗) , เหตุลดโทษ ( เช่น มาตรา ๗๒ ) ด้วยเสมอ กล่าว
อีกนัยหนึ่ง คือ ป.อ.มาตรา ๖๒ วรรคหนึ่งจะไม่ถูกนามาปรับใช้โดยไม่มีเหตุดังกล่าวประกบอยู่อย่าง
เด็ดขาด

กล่าวโดยสรุป
5.2.1.๑.ป้องกันโดยสาคัญผิดตามป.อ.มาตรา ๖๘ ประกอบมาตรา ๖๒ วรรคหนึ่ง มีได้
5.2.1.๒.จาเป็นโดยสาคัญผิดตามป.อ.มาตรา ๖๗(๑) หรือ (๒) ประกอบมาตรา ๖๒ วรรค
หนึ่ง มีได้
5.2.1.๓.บันดาลโทสะโดยสาคัญผิดตามป.อ.มาตรา ๗๒ ประกอบมาตรา ๖๒ วรรคหนึ่ง มี
ได้
5.2.1.๔..ป้องกันโดยสาคัญผิดแล้วพลาดตามป.อ.มาตรา ๖๘ ประกอบมาตรา ๖๒ วรรค
หนึ่งประกอบมาตรา ๖๐ มีได้
5.2.1.๕..จาเป็นโดยสาคัญผิดแล้วพลาดตามป.อ.มาตรา ๖๗(๑)หรือ(๒) ประกอบมาตรา
๖๒ วรรคหนึ่งประกอบมาตรา ๖๐ มีได้
5.2.1.๖..บันดาลโทสะโดยสาคัญผิดแล้วพลาดตามป.อ.มาตรา ๗๒ ประกอบมาตรา ๖๒
วรรคหนึ่งประกอบมาตรา ๖๐ มีได้
หน้า ๓๕

ตัวอย่าง นายแดงเห็นคนเดินเข้าไปในบริเวณบ้านของนายขาวซึ่งเป็นเพื่อนของตน
ในเวลากลางคืนจึงไปแอบดูอยู่ที่หลังพุ่ม ไม้ ข้างรั้วบ้านของนายขาว นายขาวเดินมาปิด
ประตูหน้าต่างมองเห็นเงาคนก็เข้าใจว่านายแดงเป็นคนร้ายจะเข้ามาลั กทรัพย์ในบ้านของ
ตนจึงใช้ปืนยิงนายแดง ๑ นัด กระสุนปืนไม่ถูกนายแดงแต่ไปถูกนายดาซึ่งเดินผ่านมาถึงแก่
ความตาย
ปัญหา คือ นายขาวมีความผิดฐานใดหรือไม่
คาตอบ นายขาวมีความผิดฐานพยายามฆ่านายแดงตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๒๘๘ ประกอบมาตรา ๘๐ แต่เป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามมาตรา ๖๙
เพราะเป็นการกระทาโดยมีเจตนาฆ่าคนร้ายซึ่งจะเข้ามาลักทรัพย์ ทั้งนี้ โดยสาคัญผิดใน
ข้อเท็ จจริงตามมาตรา ๖๒ วรรคแรก นายขาวมีความผิดฐานฆ่านายดาโดยเจตนาตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ เป็นการกระทาโดยพลาดตามมาตรา ๖๐ แต่เมื่อ
การกระทาของนายขาวต่อนายแดงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุโดยสาคัญผิด การที่
พลาดไปถูก นายดาก็ย่อมอ้างว่าเป็นการป้องกั นเกินสมควรแก่ เหตุต่อนายดาได้เช่นกั น
(เทียบคาพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๕/๒๕๑๖ และ ๘๙๒/๒๕๑๕)

5.๒.๒ กรณีตามป.อ.มาตรา ๖๒ วรรคสอง


หากความส าคัญ ผิดตาม ป.อ.มาตรา ๖๒ วรรคหนึ่งได้เกิ ดขึ้นเพราะ
ความประมาทของผู้กระทา ผลทางกฎหมาย คือ ผู้กระทาจะต้องรับผิดในการกระทาโดย
ประมาทด้วยตามป.อ.มาตรา ๖๒ วรรคสอง
ตัว อย่ า ง นายแดงใช้ปื น เด็ก เล่ น ขู่ล้ อนายด าเล่ นนายด าไม่ ทั น ดูให้ ดี
(ประมาทตามป.อ.มาตรา ๕๙ วรรคสี่) คิดว่าเป็นปืน จริงๆ นายดาจึงใช้ปืนของตนยิงนาย
แดงตาย นายดาไม่ ผิดตามมาตรา ๒๘๘ เพราะอ้างป้องกัน (ตามป.อ.มาตรา ๖๘) โดย
สาคัญผิด (ตามป.อ.มาตรา ๖๒ วรรคหนึ่ง) ได้ แต่นายดาประมาทนายดาจึงผิดฐานฆ่าคน
ตายโดยประมาทตามมาตรา ๒๙๑ ประกอบมาตรา ๖๒ วรรคสอง

5.2.3 กรณีตามป.อ.มาตรา ๖๒ วรรคท้าย


กรณีตามป.อ.มาตรา ๖๒ วรรคท้าย เป็นการกาหนดว่า “บุคคลจะต้อง
รับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใด บุคคลคนนั้นจะต้อง “รู้” ข้อเท็จจริงนั้น” ตาม
หลักที่ว่า “รู้เท่าใด มีเจตนาเท่านั้น”
ตัวอย่าง นายแดงต้องการฆ่านายดาซึ่งเป็นบิดา นายแดงเห็นนางขาว
มารดาของนายแดงเดินมาคิดว่าเป็นนายดา นายแดงยิงนางขาวตาย เช่นนี้ นายแดงผิดฐานฆ่า
นางขาวตายตามป.อ.มาตรา ๒๘๙ (๑) เพราะ “รู”้ ว่า กาลังกระทาต่อบิดาซึ่งเป็นบุพการีผลก็
เกิดแก่มารดาซึ่งก็เป็นบุพการี ตรงตามหลักที่ ว่า “รูเ้ ท่าใดมีเจตนาเท่านั้น”

ตัวอย่างคาพิพากษาฎีกา
หน้า ๓๖

คาพิพากษาฎีกาที่ ๑๘๗๓/๒๕๒๒ จาเลยที่ ๑ สาคัญผิดว่าผู้ตายจะยิงจาเลยที่ ๑


เป็นความสาคัญผิดในข้อเท็จจริงว่ามีภยันตรายจะเกิดขึ้นอันจาเลยที่ ๑ จะต้องป้องกันตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๘ ประกอบมาตรา ๖๒ วรรคหนึ่ง จาเลยที่ ๑ ยิงผู้ตาย
๓ นัด ถือว่าเป็นการป้องกันซึ่งเกินกว่ากรณีแห่งการจาต้องกระทาเพื่อป้องกันเป็นความผิด
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ ประกอบมาตรา ๖๙
คาพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๖/๒๕๑๔ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ตายไม่มีอาวุธปืน แต่เมื่อ
พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุผลสมควรทาให้จาเลยสาคัญผิดเข้าใจว่าผู้ตายมีอาวุธปืนและกาลัง
จะยิงทาร้ายจาเลยในระยะห่างกัน ๒ วา อันนับได้ว่าเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงตัวจาเลย
จาเลยชอบที่จะใช้สิทธิกระทาเพื่อป้องกันตนได้และการที่จาเลยใช้ปืนยิงผู้ตายเพื่อป้องกัน
ตนไป ๑ นัดในทั นที นั้นการกระท าของจ าเลยจึงเป็นการป้องกันพอสมควรแก่ เหตุตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๘ ด้วย ความส าคั ญ ผิ ดในข้อเท็ จ จริงตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา ๖๒ วรรคแรก
คาพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๖๐/๒๕๑๑ คนเลี้ยงช้างนาช้างของผู้เสียหายไปผูกไว้ห่าง
สวนของจาเลยประมาณ ๑๐๐ วา กลางคืนช้างหลุดจากโซ่ล่าม พังรั้วลวดหนามเข้าไปใน
สวนของจาเลย ซึ่งมีพืชพรรณไม้ต่าง ๆ กับบ้านพักของจาเลยและคนงาน นายสุขคนงาน
ของจาเลยได้ยินเสียงหักข้าวโพดจึงบอกจาเลยโดยเข้าใจว่ามีสัตว์ป่าเข้ามาหักกินข้าวโพด
ในไร่ จาเลยจึงเอาปืนถือติดมือไปด้วย เดินไปท่ามกลางไร่ข้าวโพดสูงท่วมศีรษะ และโดยไม่
ทันรู้ตัว เมื่อจาเลยและคนงานโผล่ออกจากไร่ข้าวโพดมองเห็นช้างยืนอยู่ห่างเพียง ๔ วา
จาเลยเข้าใจว่าเป็นช้างป่าเพราะไม่รู้ว่ามีคนเอาช้างบ้านมาเลี้ยงไว้แถวไร่จาเลยจึงผลักให้
นายสุขหลบแล้วยิง ช้างไป ๒ นัดทั นที แสดงให้เห็น เจตนาของจ าเลยว่าจ าเลยยิง โดย
คาดคิดว่าเป็นช้างป่าซึ่ง ตามธรรมชาติย่อมดุร้ายอาจจะไล่ท าร้ายนายสุขและจ าเลยได้
ระยะห่างระหว่างช้างกับนายสุขและจาเลยเพียง ๓-๔ วา นับว่ากระชั้นชิดมาก ช้างอาจจะ
วิ่งแล่นเข้าหาตัวนายสุขและจาเลยได้ในชั่ว ๒-๓ วินาที และต้นข้าวโพดไม่ใช่อุปสรรคที่จะ
ทาให้ช้างไปได้ช้าๆ หรือใช้เป็นที่กาบังได้นายสุขและจาเลยอาจวิ่งหนีไม่พ้น การที่จาเลยยิง
ช้างของผู้เสียหายเป็นการตัดสินใจโดยกะทันหันด้วยความจาเป็นเพื่อให้พ้นจากภยันตราย
ที่ใกล้จะถึงตัวจาเลยและนายสุขคนงานของจาเลย โดยจาเลยไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้น
โดยวิธีอื่นได้ การกระทาของจาเลยไม่เกินสมควรแก่เหตุ จาเลยจึงไม่ต้องรับโทษฐานทาให้
เสียทรัพย์

ข้อสังเกต ตามคาพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๖๐/๒๕๑๑ อธิบายขยายความได้ว่า


ประเด็นที่ ๑ จาเลยยิงช้างของผู้เสียหายย่อมเป็นความผิดฐานทาให้เสียทรัพย์
ตามป.อ.มาตรา ๓๕๘
ประเด็นที่ ๒ แต่ที่จาเลยยิงช้างเพราะเป็นการกระท าความผิดด้วยความจาเป็น
ตามป.อ.มาตรา ๖๗(๒)
หน้า ๓๗

ประเด็นที่ ๓ การกระทาความผิดด้วยความจาเป็นป.อ.มาตรา ๖๗ (๒)ของจาเลย


ดังกล่าวในประเด็น ที่ ๒ เกิดจากความสาคัญผิดในข้อเท็จจริงตามป.อ.มาตรา ๖๒ วรรค
หนึ่ง ( สาคัญผิดเกี่ยวกับเหตุยกเว้นโทษ) จาเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามป.อ.มาตรา ๓๕๘

คาถามท้ายบท
นายดาหยอกล้อนายแดงเพื่อนร่วมชั้นเรียนโดยการนาปืนเด็กเล่นที่มีลักษณะเหมือนของจริง
มากมาจ้องทาท่าเล็งจะยิงนายแดง นายแดงเข้าใจผิดคิดว่าเป็นปืนจริงจึงใช้หนังสือขว้างไปที่มือของ
นายดาเพื่อให้ปืนหลุดมือ แต่หนังสือดังกล่าวถูกบริเวณลาตัวนายดาทาให้เป็นแผลถลอกเล็กน้อย
ให้วินิจฉัยว่า การกระทาของนายแดงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดหรือไม่
หน้า ๓๘

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 6

หัวข้อเนื้อหาประจาบท

ความนา
ความผิ ด ทางอาญาที่ ต้ อ งการผล ผลนั้ น จะต้ องเป็ น ผลธรรมดาที่ ย่ อ มเกิ ด ขึ้ น ได้ อั น สื บ
เนื่องมาจากหลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทาและผล ( causation)

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

1. อธิบายเกี่ยวกับหลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทาและผลได้
2. วินจิ ฉัยปัญญาเกี่ยวกับหลักผลธรรมดาได้

วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบท

1. การบรรยาย
2. การศึกษาเอกสารประกอบการสอน
3. ทาแบบฝึกหัดท้ายบท

สื่อการเรียนการสอน

1. เอกสารประกอบการสอน
2. ประมวลกฎหมายอาญา
หน้า ๓๙

การวัดผลและการประเมินผล

1.สังเกตจากความสนใจในเนื้อหาที่เรียนสังเกตจากการซักถามในชั้นเรียน
2. การมีส่วนร่วมในการอภิปรายเป็นกลุ่ม
3. สังเกตจากการตรวจผลงาน รายงาน และแบบฝึกหัดท้ายบท
4.ประเมินผลจากการสอบปลายภาคประจาภาคการศึกษา
หน้า ๔๐

บทที่ 6
ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทาและผล
( ผลธรรมดา )
ปัญหาเบื้องต้น ข้อเท็จจริง คือ นาย ก. วิ่งไล่ใช้มีดฟันนาย ข. ประสงค์จะฆ่านาย
ข. ให้ตายด้วยมีดของตน
ประเด็น คือ นาย ข. วิ่งหนีและปรากฏว่า
(1) นาย ข. โดนฟ้าผ่าตาย
(2) นาย ข. วิ่งหนีกระโดดลงน้าและจมน้าตาย
(3) นาย ข. ถู ก นาย ก. ใช้ มี ด ฟั น ที่ หั ว แล้ ว แต่ ไม่ ต าย นาย ข. รั ก ษาตั ว ที่
โรงพยาบาล ต่อมาปรากฏว่า พยาบาลประมาทใช้อุปกรณ์ไม่สะอาดทาแผลให้ นาย ข.
จึงเกิดอาการบาดแผลติดเชื้อตาย

ปัญหา คือ กรณีต่างๆ ข้างต้น ตาม (1) (2) (3) จะวินิจฉัยความรับผิดของนาย


ก. อย่างไร ?
คาตอบ ในทางกฎหมายอาญาหลัก ที่ นามาใช้วิเคราะห์ปัญ หาดังกล่าวเรียกว่า
หลั ก “ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งการกระท าและผล”ภาษาอั ง กฤษใช้ ค าว่ า หลั ก
“causation” (อ่านว่า “คอร์ - เซ - ชั่น” )

6.1 หลัก causation

หลัก causation คือ หลักที่ถูกนามาใช้ในการวินิจฉัยความรับผิดของผู้กระทาโดย


มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องต้องนามาพิจารณาประกอบกันดังต่อไปนี้

6.1.1 ทฤษฎีเงื่อนไข ( The Condition Theory หรือ “but for test” ) แยก
พิจารณาได้ดังต่อไปนี้

6.1.2.1 กรณี ที่ 1. ถ้า ไม่มี การกระทาผลก็จะไม่ เกิด ถือว่า ผลเกิดจาก


การกระทาอันนั้น
หน้า ๔๑

ตัวอย่าง นายแดงยิงนายดา นายดาถูกยิงบาดเจ็บต้องไปรักษาตัวที่


โรงพยาบาล นายดาทนพิษบาดแผลไม่ไหว นายดาตาย เช่นนี้ ถือว่าความตายของนายดา
เป็นผลมาจากการกระทาการฆ่าโดยเจตนาของ นายแดง เพราะหากนายแดงไม่ยิง นาย
ดาก็จะไม่ตาย ถือว่านายดาตายเพราะถูกนายแดงยิง นายแดงจึงมีความผิดตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 288 ความตายของนายดาเป็น “ผลโดยตรง” จากการกระทา
ของนายแดง “ผลโดยตรง” คือ ผลที่สัมพันธ์กับการกระทาตาม “ทฤษฎีเงื่อนไข”

6.1.2.2 กรณีที่ 2. หากไม่มีการกระทา ผลก็ยังเกิด จะถือว่าผลเกิดจากการกระทา


นั้นไม่ได้ ( ผลที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่ “ผลโดยตรง” จากการกระทานั้น)
ตัวอย่า ง แพทย์ป ระมาทฉีดยาชาเฉพาะที่ให้แก่ คนไข้ผ่าตัดโดยใช้ยาชนิด A
ฉีด แทนที่จะใช้ยาชนิด B คนไข้ตายระหว่างได้รับยาชาชนิด A อยู่ ผู้เชี่ยวชาญเบิกความ
ว่า แม้ ใช้ยาชนิด B คนไข้ ก็ จ ะตายเพราะร่างกายภายในบางส่วนที่ ซ่อ นอยู่มี ส ภาพไม่
สมประกอบ เช่นนี้ แพทย์ไม่ต้องรับผิดในความตายของคนไข้ แม้แพทย์ประมาทก็ตาม
เพราะความตายของคนไข้ ไม่ใช่ “ผลโดยตรง” จากการกระทาโดยประมาทของแพทย์
เนื่องจากแม้แพทย์ไม่ประมาทคนไข้ก็จะตายอยู่ นั่นเอง

6.1.2.3 กรณีที่ 3. แม้ จะมีการกระทาอันอื่นๆ ที่ ก่อให้ เกิดผลนั้นด้วย แต่ถ้า ไม่มี


การกระทาอันนั้นแล้วผลก็จะไม่เกิด ต้องถือว่าผลเกิดจากการกระทาอันนั้น
ตัวอย่าง นายแดง นายดาและนายขาว ต่างคนต่างให้ยาพิษแก่นายเหลืองกินโดย
มิได้ร่วมกันกระทา แต่ละคนให้ยาพิษนายเหลือง คนละ 2 แกรมซึ่งนายเหลืองจะต้องกิน
6 แกรมจึงจะตายโดย แต่ละคนเข้าใจ ผิดว่ายาพิษ 2 แกรม ก็ท าให้นายเหลืองตายได้
นายเหลืองกินยาพิษที่ทั้งสามคนให้และตาย เช่นนี้ แต่ละคนมี ความผิดฐานฆ่านายเหลือง
ตายโดยเจตนา นายแดงจะอ้างว่าหากนายดาและนายขาวไม่ให้ยาพิษแก่นายเหลือง นาย
เหลืองก็จะไม่ตาย นายแดงจึงไม่ควรรับผิดในความตายของนายเหลือง แต่ควรรับผิดฐาน
พยายามเท่านั้น ไม่ได้ เพราะหากนายแดงไม่ให้นายเหลืองก็จะไม่ตาย จึงต้องถือว่านาย
เหลือ งตายเพราะการกระทาของนายแดง กรณีของนายดาและนายขาวก็ ถื อหลัก อย่าง
เดียวกัน

กล่าวโดยสรุป “ทฤษฎีเงื่อนไข” เป็นที่มาของคาว่า “ผลโดยตรง”

6.1.2 ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม ใช้ใน 2 กรณีดังนี้

6.1.2.1 กรณีที่ 1. คือ ในกรณีที่ผลของการกระทาความผิดทาให้ผู้กระทา


ต้องรับโทษหนักขึ้น
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 63 บัญญัติ ว่า “ถ้าผลของการก
ระทาความผิดใดทาให้ผู้กระทาต้องรับโทษหนักขึ้นผลของการกระทาความผิดนั้นต้อง
หน้า ๔๒

เป็นผลทีต่ ามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้” คาว่า “ผลธรรมดา” ตาม มาตรา 63 คือ ผลตาม


“ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม” ซึ่งหมายความว่าเป็นผลที่ผู้กระทาสามารถ “คาดเห็น” ความ
เป็นไปได้ของผลนั้น โดยใช้หลักมาตรฐานของบุคคลสามัญที่เรียกกันว่า “วิญญูชน” เป็น
หลัก สาหรับการ “คาดเห็น” นีไ้ ม่ต้องถึงขั้นเล็งเห็นผล

ตั ว อย่ า งนายด าชกตานายแดง ตอนแรกนายด าผิ ด ประมวล


กฎหมายอาญา มาตรา 295 แต่ถ้าอีกสามวันต่อมาปรากฏว่านายแดงตาบอด และการที่ “ตา
บอด” เป็น “ผลธรรมดา” ที่ย่อมเกิดขึ้นเพราะวิญญูชน “คาดเห็น” ได้ ดังนี้ นายดาต้องรับ
โทษหนักขึ้นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (1) เป็นต้น

6.1.2.2 กรณีที่ 2. คือ ในกรณีที่ผลของการกระทาเกิดจากเหตุแทรกแซง


เหตุแทรกแซง (intervening cause) คือ เหตุก ารณ์ ที่ เกิ ดขึ้นใหม่
หลังจากการกระทาของผู้กระทาการในตอนแรกและเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดผลในบั้นปลายขึ้น
ตัวอย่าง นายแดงไล่ยิงนายดา นายดาหลบทันไม่ถูกยิงโดยวิ่งหนีไป
หลบอยู่ใต้ต้นไม้ในขณะฝนตกหนัก และถูกฟ้าผ่าตาย เช่นนี้ ถือว่า “ฟ้าผ่า ” คือ “เหตุ
แทรกแซง” เพราะเป็นเหตุที่ทาให้ดาตาย
อย่างไรก็ ตาม แม้ มี “เหตุแ ทรกแซง” เกิ ดขึ้นมาก็ ยังต้องวินิจ ฉัย
ต่อไปอีกด้วยว่า “เหตุแทรกแซง” ดังกล่าว “คาดหมายได้” หรือ “คาดหมายไม่ได้”
กล่าวคือ
ในกรณีที่ผลในบั้นปลายมิได้เกิดจากการกระทาของผู้กระทาโดยตรง
แต่ เกิ ด จาก “เหตุ แ ทรกแซง” ผู้ ก ระท าจะต้ อ งรับ ผิ ด ในผลบั้ นปลายก็ ต่อ เมื่ อ “เหตุ
แทรกแซง” เป็ น สิ่ ง ที่ “คาดหมายได้ ” (foreseeability) หาก “คาดหมายไม่ ไ ด้ ”
(unforeseeability) ผู้กระทาก็ไม่ต้องรับผิดในผลบั้นปลาย แต่รับผิดเพียงเท่าที่ตน กระทา
ไปแล้วก่อนเกิดมีเหตุแทรกแซงนั้น
จากตัวอย่างข้างต้น ที่ว่า นายดาวิ่งหนีและถูกฟ้าผ่าตาย หากถือว่า
“ฟ้าผ่า” คือ เหตุแทรกแซงที่ คาดหมายไม่ได้ เช่นนี้ นายแดงก็ไม่ต้องรับผิดในความตาย
ของนายดาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 แต่สิ่งที่นายแดงได้กระทาไปแล้วต่อ
นายด าก่ อ นเกิ ดฟ้ าผ่ า คือ ไล่ยิ ง นายด า นายแดงจึ ง ผิด ฐานพยายามฆ่ า นายด าตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ในการวินิจ ฉัยว่าผู้กระท า
คาดหมายได้ ห รื อ ไม่ ต้ อ งใช้ ม าตรฐานของบุ ค คลสามั ญ หรื อ “วิ ญ ญู ช น” นั่ น เอง
“คาดหมายได้” ไม่จาต้องถึงขนาด “เล็งเห็นผล” เหตุแทรกแซงที่คาดหมายได้ คือ เหตุ
ตาม “ทฤษฎีเหตุทเี่ หมาะสม” นั่นเอง

สรุป คือ
หน้า ๔๓

ข้อ 1) การกระทาอันใดก็ตาม ต้องวิเคราะห์ผ่านทฤษฎีแรกเสียก่อน คือ ทฤษฎี


เงื่อนไข และถ้าวิเคราะห์สรุปว่าเป็น “ผลโดยตรง” แล้วยังไม่พอ
ข้ อ 2) ต้ อ งเอา “ผลโดยตรง” ตามข้ อ 1) มาวิ เ คราะห์ ผ่ า นทฤษฏี เ หตุ ที่
เหมาะสมอีกชั้นหนึ่งว่า หากมีเหตุแทรกแซงเช่นนี้ “จะคาดหมายได้หรือไม่”
ข้อ 3) หากคาดหมายได้ ก็เป็น “ผลธรรมดา” แต่ถ้าคาดหมายไม่ได้ก็ “ไม่เป็น
ผลธรรมดา” (หรืออาจใช้คาว่า “ผลผิดธรรมดา” ก็ได้ ) โดยถือว่าตัดความสัมพันธ์กั บ
การกระทา
ข้อ 4) เมื่ อวิเคราะห์ออกมาว่าเป็น “ผลธรรมดา” เช่นนี้ ผู้ก ระท าก็ต้องรับ ผิดในการ
กระทาของตนอันเป็น “ผลบั้นปลาย” เพราะถือว่า มีความสัมพันธ์กันระหว่างการกระทา
และผลแห่งการกระทาแล้ว นั่นเอง
ข้อสังเกต มาตรา 63 คาว่า “ผลธรรมดา” จากัดอยู่ที่นามาใช้เรื่องผลที่ทาให้รับ
โทษหนักขึ้นเท่านั้น
สรุปจากประเด็นปัญหาข้างต้น
(1) ฟ้าผ่า คือ เหตุแทรกแซงธรรมชาติคาดหมายไม่ได้
(2) กระโดดลงน้าเป็นสิ่งที่คาดหมายได้ตามสัญชาตญาณ
(3) การกระท าโดยประมาทของพยาบาลเป็ น สิ่ ง ซึ่ ง บุ ค คลที่ ส ามเป็ น สิ่ ง ที่
คาดหมายได้

คาถามท้ายบท
นายเหลืองโกรธนายทองจึงชกหน้านายทองหลายครั้งจนดวงตาซ้ายของนายทองปิดบวมช้า
ต่อมาอีก 6 วัน ตาซ้ายของนายทองนั้นบอดเพราะการถูกชก
ให้วินิจฉัยว่า นายเหลืองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดหรือไม่
หน้า ๔๔

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 7

หัวข้อเนื้อหาประจาบท

ความนา
ความผิดทางอาญาในบางกรณีกฎหมายมีการบัญญัติถึงเหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ
และเหตุลดโทษเอาไว้ซึ่งจะต้องนามาพิจารณาประกอบกับโครงสร้างความรับผิดในทางอาญาด้วย

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

1. อธิบายเกี่ยวกับเหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ และเหตุลดโทษได้


2. วินจิ ฉัยปัญญาเกี่ยวกับเหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ และเหตุลดโทษได้

วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบท

1.การบรรยาย
2.การศึกษาเอกสารประกอบการสอน
3.ทาแบบฝึกหัดท้ายบท

สื่อการเรียนการสอน

1. เอกสารประกอบการสอน
2. ประมวลกฎหมายอาญา
หน้า ๔๕

การวัดผลและการประเมินผล

1.สังเกตจากความสนใจในเนื้อหาที่เรียนสังเกตจากการซักถามในชั้นเรียน
2. การมีส่วนร่วมในการอภิปรายเป็นกลุ่ม
3. สังเกตจากการตรวจผลงาน รายงาน และแบบฝึกหัดท้ายบท
4.ประเมินผลจากการสอบปลายภาคประจาภาคการศึกษา
หน้า ๔๖

บทที่ 7
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ
แม้มีการกระทาที่ “ครบองค์ประกอบ”ตามที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดปรากฏ
ขึ้นแล้วก็ตาม จะรีบด่วนวินิจฉัยว่า ผู้กระทามีความผิดทันทีเลยไม่ได้ ทั้งนี้ ต้องพิจารณาถึง
เหตุยกเว้นความผิด , เหตุยกเว้นโทษ , เหตุลดโทษ ประกอบด้วยเสียก่อน

7.1 เหตุยกเว้นความผิด

เหตุย กเว้นความผิด คือ เหตุที่ กฎหมายกาหนดเอาไว้ว่า แม้ มีก ารกระทาอันนั้น


เกิดขึ้น ผู้กระทาก็ไม่มีความผิดทางอาญา เช่น การกระทาอันมีลักษณะเป็นการป้องกัน
โดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.อ.มาตรา ๖๘ หรือการทาแท้ งโดยแพทย์ตามป.อ.มาตรา
๓๐๕ จะสังเกตเห็นได้ว่ามาตราเหล่านี้ จะมีการบัญญัติโดยใช้ถ้อยคาว่า “ไม่มีความผิด”
เอาไว้ด้วย เป็นต้น

7.2 เหตุยกเว้นโทษ

เหตุยกเว้นโทษ คือ เหตุที่กฎหมายกาหนดเอาไว้ว่า แม้มีการกระทาอันนั้นเกิดขึ้น


ผู้กระทามีความผิดทางอาญาแล้ว แต่ผู้กระทาไม่ต้องรับโทษ เช่น การกระทาความผิดด้วย
ความจ าเป็นตามป.อ.มาตรา ๖๗(๑)(๒) หรือผู้กระทาที่เป็นโรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือนตาม
ป.อ.มาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง , ผู้กระท าที่ ถูก บัง คับ ให้เสพย์สุราหรือของมึ นเมาตามป.อ.
มาตรา ๖๖ , ผู้ ก ระท าเป็ น เด็ ก อายุ ไม่ เกิ น สิ บ ปี ต ามป.อ.มาตรา ๗๓ วรรคหนึ่ ง จะ
สังเกตเห็นได้ว่ามาตราเหล่านี้จ ะมี การบัญ ญัติโดยใช้ถ้อยคาว่า “ไม่ต้องรับโทษ” หรือ
บัญญัติว่า “ได้รับยกเว้นโทษ”เอาไว้ด้วย เป็นต้น

7.3 เหตุลดโทษ
หน้า ๔๗

เหตุล ดโทษ คือ เหตุที่ ก ฎหมายก าหนดเอาไว้ว่า แม้ มี ก ารกระท าอั นนั้น เกิ ดขึ้ น
ผู้กระทามีความผิดทางอาญาแล้ว แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกาหนดไว้สาหรับ
ความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ เช่น การกระทาโดยบันดาลโทสะตามป.อ.มาตรา ๗๒ เป็นต้น
ข้อสังเกต จะเห็นว่า เฉพาะในกรณี ป.อ.มาตรา ๖๗ กับ มาตรา ๖๘ นั้นจะมีป.อ.
มาตรา ๖๙ ควบคุมขอบเขตของผู้กระทาเอาไว้ด้วย กล่าวคือ หากการกระทาตามมาตรา
๖๗ หรือ มาตรา ๖๘ เป็นการกระท าไปเกิ นสมควรแก่ เหตุห รือเกินกว่ากรณี แห่ง ความ
จาเป็นหรือเกินกว่ากรณีแห่งการกระทาเพื่อป้องกันผลนั้น เช่นนี้ ป.อ.มาตรา ๖๙ กาหนด
ว่า ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกาหนดไว้สาหรับความผิดนั้นก็ได้

7.4 หลักการพิจารณาว่าจะเป็นการกระทาแบบ “จาเป็น” หรือ “ป้องกัน”

นาย ก. นาย ข. นาย ค.


( ผู้ก่อภัย) ( ผู้ลงมือ) ( ผู้อื่น )

ตัวอย่างที่ ๑ นาย ก. ใช้ปืนจ้องเล็งไปทางนาย ข. โดยบอกบังคับให้นาย ข. ชกหน้านาย ค.


มิฉะนั้นนาย ก. จะยิงนาย ข. ให้ตายโดยทันที

ประเด็น คือ นาย ข. กลัวตายจึงชกนาย ค.

ผลทางกฎหมาย คือ การกระทาของนาย ข. ดังกล่าว


(๑) เป็นการกระทาต่อผู้อื่น
(๒) เป็นการกระทาอันเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา ๒๙๕
(๓) แต่นาย ข. อ้างว่ากระทาความผิดด้วยความจาเป็นตามป.อ.มาตรา ๖๗ (๑)
ได้
(๔) ดังนั้น นาย ข. ไม่ต้องรับโทษตามที่ป.อ.มาตรา ๒๙๕ กาหนดไว้
หน้า ๔๘

นาย ก. นาย ข. นาย ค.


( ผู้ก่อภัย) ( ผู้ลงมือ) ( ผู้อื่น )

ตัวอย่างที่ ๒ นาย ก. ใช้ปืนจ้องเล็งไปทางนาย ข. โดยบอกบังคับให้นาย ข. ชกหน้า


นาย ค. มิฉะนั้นนาย ก. จะยิงนาย ข. ให้ตายโดยทันที

ประเด็น คือ นาย ข. ไม่กลัวตายจึงชกหน้านาย ก.

ผลทางกฎหมาย คือ การกระทาของนาย ข. ดังกล่าว


(๑) เป็นกระทาต่อผู้ก่อภัย
(๒) เป็นการกระทาตามป.อ.มาตรา ๖๘ นาย ข. จึงไม่มีความผิด

ข้อสังเกตที่ ๑ ถ้าพิจารณาตามหลักทั่วไป อาจพอสรุปเป็นสูตรได้ว่า

(1) จาเป็นต้องกระทาต่อผู้อื่น แต่ถ้าป้องกันต้องกระทาต่อผู้ก่อภัย


(2) จาเป็นอาจกระทาเพราะเหตุภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายโดยละเมิด
ด้วยกฎหมายหรือ ภยั นตรายในรูป แบบอื่ นก็ ได้ เช่น ภั ยธรรมชาติ แต่ถ้ า
ป้อ งกั นต้องเป็นเหตุภยันตรายอันเกิดจากการประทุ ษร้ายโดยละเมิ ดด้วย
กฎหมายเท่านั้น
หน้า ๔๙

(3) จาเป็น คือ เหตุยกเว้นโทษ ( แสดงว่าผู้กระทามีความผิดเสมอ ) แต่ป้องกัน


คือ เหตุยกเว้นความผิด ( แสดงว่าผู้กระทาไม่มีความผิด ) อย่างไรก็ตาม ต้อง
พิจารณาถึงขอบเขตตามป.อ.มาตรา ๖๙ ประกอบด้วย
ข้อสังเกตที่ ๒ จาเป็นอาจกระทาต่อผู้กอ่ ภัยได้ เช่น นายแดงละเมอหยิบปืนขึ้นมา
จะยิงนายดา นายดารู้ว่านายแดงละเมอแต่นายดาไม่ มีทางจะหลีกเลี่ยงภยันตรายนั้นได้
นายดาใช้ปืนยิงมาที่นายแดง นายแดงตาย นายดาอ้างจาเป็นได้ กรณีนี้แม้เป็นการกระทา
ต่อนายแดงผู้ก่อภัย แต่ก็ไม่ใช่ป้องกันเพราะภัยจากการกระทาของนายแดงไม่ได้เกิดจาก
การละเมิดกฎหมายเพราะนายแดงละเมอไม่มีการกระทา (กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ นายแดง
กระทาไปโดยขาดเจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลเนื่องจากนายแดงละเมออยู่ นั่นเอง)

7.5 การกระทาโดยบันดาลโทสะ

หลักเกณฑ์ในเรื่องบันดาลโทสะตามป.อ.มาตรา ๗๒ มีดังนี้
ข้อ ๑. ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
ข้อ ๒. การที่ถูกข่มเหงเช่นนั้นเป็นเหตุให้ผู้กระทาบันดาลโทสะ
ข้อ ๓. ผู้กระทาได้กระทาความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะบันดาลโทสะ
ผลทางกฎหมาย คือ หากผู้กระทากระทาโดยผ่านหลักเกณฑ์ทั้ง ๓ ข้อข้างต้นย่อมเป็นการ
กระทาโดยบันดาลโทสะอันเป็นเหตุลดโทษได้

ตัวอย่าง นายดาเห็นนายแดงกาลังชาเรานางขาวภริยานายดาถึงในห้องนอน แม้นาง


ขาวจะไม่ใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่กินกับนายดากันมา ๑๓ ปี และเกิดบุตรกับ
นายดา ๖ คน นายดาจึงใช้มีดพับเล็กที่หามาได้ในทันทีทันใด แทงนายแดง ๒ ที นายแดง
ตาย ดัง นี้ นายดาผิดป.อ.มาตรา ๒๘๘ แต่นายดาอ้างว่าเป็นการกระท าความผิดเพราะ
บันดาลโทสะตามป.อ.มาตรา ๗๒ ได้ ( คาพิพากษาฎีกาที่ ๒๔๙/๒๕๑๕ )

ข้อสังเกตพิเศษ แต่ถ้านายดากับนางขาวสมรสกันส่งผลให้เป็นสามีภริยากันโดยชอบ
ด้วยกฎหมาย เช่นนี้ การกระทาของนายดาที่แทงนายแดง ๒ ทีจะกลายเป็นการป้องกัน
ตามป.อ.มาตรา ๖๘ ผล คือ นายดาไม่มีความผิด (เทียบคาพิพากษาฎีกาที่ ๓๗๘/๒๔๗๙ )

ตัวอย่างอื่นๆ

ตัวอย่างที่ ๑ จาเลยถูกคนร้ายที่มีสมัครพรรคพวกหลายคนแต่ละคนมีอาวุธปืน
ครบมือ ใช้ปืนจี้ขู่บังคับให้เอาเรือรับส่งข้ามฟากเพื่อช่วยคนร้ายให้พ้นจากการจับกุม ดังนี้
เป็นการที่จาเลยกระทาไปเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อานาจซึง่ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงขัด
หน้า ๕๐

ขืนได้ตามป.อ.มาตรา ๖๗ (๑) จึงเป็นการกระทาความผิดด้วยความจาเป็นจาเลยไม่ต้องรับ


โทษ ( คาพิพากษาฎีกาที่ ๑๗๕๐/๒๕๑๔ )

ตัวอย่างที่ ๒ ผู้ตายเข้ามาต่อว่าและตบหน้าจาเลยจาเลยโมโหจึงชักปืนยิงผู้ตาย ๓
นัด ถือว่ายังไม่มีภยันตรายที่จาเลยจาต้องป้องกันแต่อย่างใด การกระทาของจาเลยจึงไม่
เป็นการป้องกันตามกฎหมาย ดังนั้น จาเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ ประกอบด้วยมาตรา ๗๒ ( คาพิพ ากษาฎี ก าที่
๕๖๖๔/๒๕๔๐ )

ตัวอย่างที่ ๓ การที่ผู้เสียหายตะโกนด่าถึงมารดาจาเลยว่ามารดาจาเลยเป็นโสเภณี
และถึงแก่กรรมด้วยโรคเอดส์ เป็นการกล่าวหาว่ามารดาจาเลยสาส่อนทางเพศถือว่าเป็น
การข่มเหงจาเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม การที่จาเลยตบหน้าผู้เสียหาย ๒ ครั้ง
ในขณะนั้นจึง เป็นการกระท าโดยบันดาลโทสะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๕
ประกอบด้วยมาตรา ๗๒ (คาพิพากษาฎีกาที่ ๒๗๗๐/๒๕๔๔ )

ตัวอย่างที่ ๔ ผู้ตายชอบเล่นอาวุธปืน บางครั้งเอากระสุนปืนออกจากลูกโม่แล้วมา


จ่อ ยิง ที่ ศีร ษะตนเองหรือ ผู้อื่ นเพื่อล้อเล่น ในวัน เกิ ดเหตุผู้ตายก็ เอาอาวุธปืน มาเล่น อีก
จาเลยเห็นจึงเข้าแย่ง อาวุธปืนปรากฏว่าปืนไล่ใส่ศีร ษะผู้ตาย เห็นได้ว่า ในสถานการณ์
ดังกล่าวถือว่าจาเลยกระทาโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้อง
มีตามวิสัยและพฤติก ารณ์และจาเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่า นั้นได้แต่หาได้ใช้ให้
เพียงพอไม่ อันเป็นการกระทาโดยประมาทตาม ป.อ. มาตรา ๕๙ วรรคสี่ การที่จะอ้างว่า
เป็นการกระท าความผิดด้วยความจาเป็นได้นั้นต้องเป็นเรื่องการกระท าผิดโดยเจตนา
เท่านั้น ดังนั้น การกระทาของจาเลยจึงมิใช่การกระทาความผิดด้วยความจาเป็นตามป.อ.
มาตรา ๖๗ (คาพิพากษาฎีกาที่ ๗๒๒๗/๒๕๕๓ )

ตัวอย่า งที่ ๕ ผู้ตายพกอาวุธปืนมาที่ บ้านพักของจ าเลย ถามจ าเลยว่า “เมื่อวาน


ผ่านหน้าบ้านบีบแตรรถทาไม” และบอกให้จาเลยออกไปนอกบ้านเป็นทานองท้าทาย
ชวนวิวาททั้งยิงจาเลยได้รับบาดเจ็บจาเลยจึงคว้ามีดปอกผลไม้ตรงเข้าไปกอดปล้าแย่งปืน
และแทงผู้ตายถึงแก่ความตาย ดัง นี้ หากจ าเลยไม่ เข้าแย่งปืนและแทงผู้ตายอาจจะถูก
ผู้ตายยิงซ้าอี กได้เพราะภยันตรายของจ าเลยยัง คงมี อยู่ก ารกระท าของจ าเลยเป็นการ
ป้องกันพอสมควรแก่เหตุตามป.อ.มาตรา ๖๘ (คาพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๑๘/๒๕๒๗ )

คาถามท้ายบท
หน้า ๕๑

นายหนึ่งใช้ปืนจ้องเล็งไปทางนายสองโดยบอกบังคับให้นายสองชกหน้านายสามมิฉะนั้นนาย
หนึ่งจะยิงนายสองให้ตายทันทีปรากฏว่านายสองกลัวตายจึงชกหน้านายสาม
ให้วินิจฉัยว่า นายสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดหรือไม่

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 8

หัวข้อเนื้อหาประจาบท

ความนา
การลงมือกระทาความผิด หากความผิดไม่สาเร็จสมดั่งเจตนาของผู้กระทา ย่อมถือว่าเป็นการ
พยายามกระทาความผิดซึ่งกฎหมายกาหนดลักษณะของการพยายามกระทาความผิดไว้แตกต่างกัน

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

1. อธิบายหลักพื้นฐานเกี่ยวกับการพยายามกระทาความผิดได้
2. วินจิ ฉัยปัญญาเกี่ยวกับการพยายามกระทาความผิดได้

วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบท

1. การบรรยาย
2. การศึกษาเอกสารประกอบการสอน
3. ทาแบบฝึกหัดท้ายบท

สื่อการเรียนการสอน
หน้า ๕๒

1. เอกสารประกอบการสอน
2. ประมวลกฎหมายอาญา

การวัดผลและการประเมินผล

1. สังเกตจากความสนใจในเนื้อหาที่เรียน
2. สังเกตจากการซักถามในชั้นเรียน
3. การมีส่วนร่วมในการอภิปรายเป็นกลุ่ม
4. สังเกตจากการตรวจผลงาน รายงาน และแบบฝึกหัดท้ายบท
5. ประเมินผลจากการสอบปลายภาคประจาภาคการศึกษา
บทที่ 8
การพยายามกระทาความผิด

8.1 การพยายามกระทาความผิดตามมาตรา ๘๐

การพยายามกระทาความผิด คือ การกระทาที่ไม่บรรลุผล โดยอาจเกิดจากเหตุ


๒ ประการ คือ

๑. กระทาไปไม่ตลอด
๒. กระทาไปตลอดแล้วแต่การกระทาไม่บรรลุผล

ตัวอย่างอันที่ ๑ กระทาไปไม่ตลอด เช่น ขาวเอายาพิษใส่ในจานอาหารซึ่งวางอยู่


บนโต๊ะ กิ นข้าวที่ บ้ านของดา ขาวพยายามฆ่าดาเป็น พยายามกระท าความผิดประเภท
“กระทาไปไม่ตลอด” เมื่อดายังไม่ได้มากิน อาหารนั้นจะถือว่าขาว “กระทาไปตลอดแล้ว”
ไม่ได้
ตัวอย่างอันที่ ๒ กระทาไปตลอดแล้วแต่การกระทาไม่บรรลุผล เช่น ก. ต้องการ
ฆ่า ข. ให้ตาย จึงใช้ปืนยิง ข. กระสุนถูก ข. บาดเจ็บแต่แพทย์ช่วยชีวิต ข. ไว้ได้ทัน ถือว่า
ก. ผิดฐานพยายามฆ่า ข. เป็นการกระทาไปตลอดแล้ว หากแต่ไม่บรรลุผลตามที่เจตนา

8.2 เปรียบเทียบ “การไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด


มาตรา ๕๙ วรรคสาม” กับ “การพยายามกระทาความผิด ซึ่งเป็น ไปไม่ได้
อย่างแน่แท้ตามมาตรา ๘๑”
หน้า ๕๓

ในการศึกษาการพยายามกระทาความผิดตามมาตรา 81 นั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ


โดยชัดแจ้ง ควรพิ จ ารณาเปรียบเที ยบกั บ การไม่ รู้ข้อเท็ จจริงอันเป็นองค์ป ระกอบของ
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 วรรคสาม ตามลาดับ ดังนี้

8.2.1 การไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดมาตรา ๕๙
วรรคสาม
หลั ก คื อ ความจริ ง มี ข้ อเท็ จ จริ ง อั น เป็ น องค์ ป ระกอบภายนอกของ
ความผิดอยู่ครบถ้วนทุกข้อ แต่ผู้กระทาเข้าใจผิดไปว่าขาดข้อเท็จจริงบางประการอันเป็น
องค์ประกอบภายนอกของความผิดนั้นไป
ตัวอย่าง นายแดงยิงนายดาโดยนายแดงเข้าใจผิดไปว่านายดาซึ่งนอนคลุม
โปงอยู่หัวใจวายตายไปก่อนแล้ว ปรากฏว่านายดาตายเพราะถูกนายแดงยิง
ผลของการไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด คือ
ผู้กระทาไม่ต้องรับผิดฐานกระทาโดยเจตนา กล่าวคือ ตามตัวอย่าง นายแดงไม่ต้องรับผิด
ฐานฆ่านายดาตายโดยเจตนาตามมาตรา ๒๘๘ เพราะนายแดง “ไม่รู้” ว่า วัตถุแห่งการ
กระทา คือ “ผู้อื่น” โดยเข้าใจว่าเป็นศพ

ข้อสังเกต นายแดงอาจผิดฐานฆ่านายดาตายโดยประมาทตามมาตรา ๒๙๑


หากการไม่รู้ของนายแดงเป็นเพราะความประมาทตามมาตรา ๕๙ วรรคสี่ (ดูมาตรา ๖๒
วรรคสองในประเด็นนีป้ ระกอบ)

8.2.2 การพยายามกระท าความผิ ด ซึ่ งเป็ นไปไม่ ไ ด้อ ย่ า งแน่ แ ท้ ต าม


มาตรา ๘๑
8.2.2.1 หลักในมาตรา ๘๑ วรรคหนึ่ง มีหลักเกณฑ์ดงั นี้
(๑) ผู้กระทาจะต้องมีเจตนากระทาความผิด และ
(2) ผู้ ก ระท าจะต้ องกระท าการเพื่ อให้บ รรลุผ ลตาม
เจตนาอันเป็นการกระทาที่เลยขั้นตระเตรียม กล่าวคือ ถึงขั้นลงมือกระทาความผิดแล้ว และ
(๓) ผู้ ก ระท ากระท าไปไม่ ต ลอดหรือ กระท าไปตลอด
แล้วแต่การกระทานั้นไม่บรรลุผล
(4) การกระทานั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้
เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทาหรือเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทาต่อ

ตัวอย่าง นายแดงต้องการฆ่านายดา นายแดงใช้ปืนยิงไปที่ตอไม้โดยเข้าใจ


ว่าเป็น นายดา แต่ขณะนั้นนายดายังมี ชีวิตอยู่และไม่ได้อยู่ในที่ นั้น ถือว่า นายแดงผิดฐาน
พยายามฆ่านายดาตามมาตรา ๒๘๘ และมาตรา ๘๑
หน้า ๕๔

ข้อสังเกต ตามตัวอย่างดังกล่าวนี้ จะเห็นว่า แดงรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์


ประกอบภายนอกของความผิดตามมาตรา ๒๘๘ กล่าวคือ แดงเข้าใจว่าตอไม้เป็นดา และ
แดง ก็ “รู้” ว่าวัตถุแห่งการกระทา คือ “ผู้อื่น” ตามความเข้าใจของแดง แต่เมื่อขณะนั้นดา
ไม่ได้อยู่ใน ณ ตรงจุดที่แดงยิงจึงเป็นกรณีดาไม่ตายอย่างแน่นอนซึ่งเรียกว่า “การกระทานั้นไม่
สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทาต่อ”

หลักในมาตรา ๘๑ วรรคสอง คือ การกระทาตามมาตรา ๘๑ วรรคหนึ่ง


กระทาโดยความเชื่ออย่างงมงาย เช่น เสกควายธนูเพื่อไปฆ่าผู้อื่น เป่าคาถาหนังควายเข้าท้อง
เพื่อทาร้ายผู้อื่น เช่นนี้ ศาลจะไม่ลงโทษก็ได้

8.3 การยับยั้งหรือกลับใจตามมาตรา ๘๒

การยับยัง้ หรือกลับใจแก้ไขตามมาตรา ๘๒ มีหลักเกณฑ์ดังนี้


๑. ผู้กระทาจะต้องลงมือกระทาความผิดแล้ว
๒. ความผิดที่กระทายังไม่สาเร็จผลตามทีผ่ ู้กระทาเจตนา
๓. ผู้กระทายับยั้งเสียเองไม่กระทาการให้ตลอดหรือกระทาไปตลอดแล้วแต่กลับใจแก้ไข
ไม่ให้การกระทานั้นบรรลุผล
๔. การยับยัง้ หรือกลับใจจะต้องเป็นไปโดยสมัครใจ

ตัวอย่างกรณียับยั้ง
ก. ต้องการฆ่า ข. ก. ยกปืนเล็งไปยัง ข. แล้ว ก. เกิ ดสงสาร ข. จึงยับ ยั้งไม่ ยิง ข.
ดังนี้ ถือว่าเป็นการยับยั้งเสียเองไม่กระทาการให้ตลอด

ตัวอย่างกรณีกลับใจ
ก. ต้องการฆ่า ข. จึงใช้ปืนยิง ข. ในป่าลึก ปรากฏว่ากระสุนถูก ข. บาดเจ็บ ก. เกิด
สงสาร ข. จึงพา ข. ไปรักษาจนหาย ดังนี้ ถือว่า ก. กลับใจแก้ไขไม่ให้การยิงของ ก. นั้น
บรรลุผล ( ผล คือ ความตายของ ข.)

ข้อสังเกต ก. ยิง ข. ในที่ชุมนุมชน ก. เกิดสงสารจึงพา ข. ผู้ถูกยิงไปส่งโรงพยาบาล


และแพทย์ที่ โ รงพยาบาลช่ วยรัก ษาจนหาย หากปรากฏว่า แม้ ก. จะไม่ พ าไปรัก ษา
พลเมืองดีหรือตารวจในบริเวณนั้นก็จะต้องพา ข. ไปส่งโรงพยาบาลอยู่นั่นเอง เช่นนี้ แม้
ความจริง ก. จะเป็นผู้พา ข. ไปส่งโรงพยาบาล ก. ก็จะไม่ได้รับผลดีตามมาตรา ๘๒ ( เทียบ
คาพิพากษาฎีกาที่ ๓๖๘๘/๒๕๔๑ )
หน้า ๕๕

คาถามท้ายบท
นายม่วงโกรธแค้นนายฟ้าศัตรูของตนจึงไปดักซุ่มจะทาร้ายนายฟ้า เมื่อนายฟ้าเดินมานายม่วง
ตรงเข้าใช้ไม้ที่นาติดตัวมาตีนายฟ้าจนได้รับอันตรายแก่กาย ระหว่างที่กาลังถูกตี นายฟ้าร้ องบอกนาย
ม่วงว่า “กลัวแล้วๆ” นายม่วงเกิดความสงสารจึงหยุดตี เช้าวันรุ่งขึ้นนายม่วงซึ่งยังไม่หายโกรธนายฟ้า
ได้ไปดักซุ่มรอนายฟ้าอีกโดยตั้งใจจะใช้ท่อนเหล็กขนาดใหญ่ที่นาติดตัวมาตีศีรษะนายฟ้าให้ถึงแก่ความ
ตาย เมื่อนายฟ้าเดินมา นายม่วงแอบเข้าไปทางด้านหลังของนายฟ้าและเงื้อท่อนเหล็กนั้นจะตีศีรษะ
นายฟ้าพร้อมกับร้องว่า “ตายเสียเถอะ” แต่เมื่อเหลือบไปเห็น ตารวจสายตรวจก าลังเดินมารับ ใน
บริเวณนั้นนายม่วงกลัวถูกจับจึงโยนท่อนเหล็กนั้นทิ้งและวิ่งหนีกลับไปบ้าน
ให้วินิจฉัยว่า นายม่วงจะมีความผิดเพียงใดหรือไม่

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 9

หัวข้อเนื้อหาประจาบท

ความนา
การลงมือกระทาความผิด อาจมีผู้เกี่ยวข้องในการกระทาความผิดประกอบด้วย กฎหมายได้
กาหนดลักษณะแห่งความผิดและโทษเอาไว้แก่ผู้เกี่ยวข้องดังกล่าว อันได้แก่ ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

1. อธิบายหลักพื้นฐานเกี่ยวกับตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุนได้


2. วินจิ ฉัยปัญญาเกี่ยวกับตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุนได้

วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบท

1. การบรรยาย
2. การศึกษาเอกสารประกอบการสอน
3. ทาแบบฝึกหัดท้ายบท

สื่อการเรียนการสอน
หน้า ๕๖

1. เอกสารประกอบการสอน
2. ประมวลกฎหมายอาญา

การวัดผลและการประเมินผล

1. สังเกตจากความสนใจในเนื้อหาที่เรียน
2. สังเกตจากการซักถามในชั้นเรียน
3. การมีส่วนร่วมในการอภิปรายเป็นกลุ่ม
4. สังเกตจากการตรวจผลงาน รายงาน และแบบฝึกหัดท้ายบท
5. ประเมินผลจากการสอบปลายภาคประจาภาคการศึกษา
บทที่ 9
ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน
การที่ “ผู้ลงมือ” กระทาความผิด อาจปรากฏว่ามี “ผู้อื่น” เข้ามาเกี่ยวข้องกับการ
กระท าความผิ ด ด้ ว ย เช่ น ผู้ ที่ เ ป็ น “ตั ว การ” หรื อ ผู้ ที่ เ ป็ น “ผู้ ใช้ ” หรื อ ผู้ ที่ เ ป็ น
“ผู้ส นับสนุน”ซึ่งลัก ษณะแห่งการกระท าของบุคคลดังกล่าวนั้น กฎหมายอาญามี ก าร
กาหนดความผิดและโทษเอาไว้ด้วย

9.1 ตัวการ

“ตัวการ” คือ ผู้ที่ร่วมกระทาความผิดตามป.อ.มาตรา ๘๓ โดย “ตัวการ” จะต้องมี


ลักษณะที่สาคัญ คือ ต้องมี “เจตนาร่วมกัน” และมี “การกระทาร่วมกัน” กับ “ผู้ลงมือ”
ข้อสังเกต ถ้อ ยคากล่าวที่ป ระชาชนทั่ วไป มั กกล่าวว่า “ประมาทร่วม” นั้น ไม่มี
ในทางกฎหมายอาญา เพราะประมาทตามป.อ.มาตรา ๕๙ วรรคสี่จะมีการร่วมกันไม่ได้
เด็ดขาด จะมี ก็ เพียงแต่ต่างคนต่างประมาท เช่น การขับรถแข่ง กันบนถนนสาธารณะ
เช่นนี้ ผู้ที่ขับรถดังกล่าว ถือว่าต่างคนต่างประมาท

9.2 ผู้ใช้

“ผู้ใช้” คือ ผู้ที่มีการกระทาอันเป็นเหตุให้ “ผู้อื่นลงมือกระทาความผิด” ตามป.อ.


มาตรา ๘๔ หรือมาตรา ๘๕ เช่น การใช้ การจ้าง การยุยง การโฆษณา เป็นต้น ทั้งนี้ การ
พิจารณาเรื่อง “ผู้ใช้” จะมีลักษณะสาคัญที่ต้องพิจารณา คือ ตัวผู้ใช้ต้องมี “เจตนาก่อให้
หน้า ๕๗

ผู้อื่นกระทาความผิด” และ ตัวผู้ลงมือกระทาความผิด จะต้องลงมื อ “กระทาความผิด


โดยเจตนา”

9.3 ผู้สนับสนุน

“ผู้ส นับสนุน” คือ ผู้ที่มี การกระท าอันเป็นการช่วยเหลือผู้กระทาความผิด แต่มี


เงื่อนไขที่สาคัญ คือ จะต้องเป็นการช่วยเหลือ “ก่อน” หรือ “ขณะ” ที่ผู้ล งมือกระท า
ความผิดเท่านั้น หากเป็นการช่วยเหลือภายหลังกระทาความผิดสาเร็ จผ่านพ้นไปแล้วย่อม
ไม่ใช่ลักษณะของการเป็นผู้สนับสนุน

ตัวอย่างที่ ๑ นายดายิงนายแดงตาย เช่นนี้ นายดา คือ “ผู้ลงมือ”

ตัวอย่างที่ ๒ นายดาไปดักซุ่มเพื่อจะยิงนายแดง โดยมีนายเหลืองคอยดูต้นทางให้


นายแดงเดินมา นายเหลืองส่งสัญญาณให้นายดา นายดายิงนายแดงตาย เช่นนี้ นายดา คือ
“ผู้ลงมือ” ส่วนนายเหลือง คือ “ตัวการ”

ตัวอย่างที่ ๓ นายขาวจ้างนายดาให้ยิงนายแดง นายดาตกลงรับจ้าง และนายดาก็


ยิงนายแดงตายตามที่รับจ้าง เช่นนี้ นายดา คือ “ผู้ลงมือ” ส่วนนายขาว คือ “ผู้ใช้”

ข้อสังเกต แต่ถ้านายขาวต้องการลักร่ม นายแดง นายขาวจึงหลอกนายดาให้ช่วย


หยิบร่มของนายแดงส่งมอบให้แก่นายขาวโดยนายขาวหลอกนายดาว่า “ร่มของนายแดง
คือ ร่ม ของนายขาว” เช่นนี้ นายขาวจะไม่ใช่ผู้ใช้ แต่เป็น “ผู้กระทาความผิดเองโดย
อ้อม” โดยมีนายดาเป็น “เครื่องมือในการกระทาความผิด ”ของนายขาว ในกรณีเช่นนี้
เรียกนายดาว่า“ตัวแทนโดยบริสุทธิ์”(คาพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๒๑๓/๒๕๕๗)ภาษาอังกฤษ
ใช้คาว่า “Innocent Agent”

ตัวอย่างที่ ๔ ก่อนนายดายิงนายแดง นายดาขอยืมปืนและลูกกระสุนจากนาย


เขียว โดยนายเขียวทราบดีว่านายดาจะเอาปืนของนายเขียวไปยิงนายแดง นายดายิงนาย
แดงด้วยปืนของนายเขียว เช่นนี้ นายดา คือ “ผู้ลงมือ” ส่วนนายเขียว คือ “ผู้สนับสนุน”

9.4 วิธีการวินิจฉัยความรับผิดของผู้ลงมือ , ตัวการ , ผู้ใช้ , ผู้สนับสนุน

หลัก คือ ความผิดของตัวการ , ผู้ใช้ , ผู้ส นับ สนุน จะต้องอิงกับผู้ล งมือเสมอ


ดัง นั้น จึ งต้อ งวินิจฉัย ความรับ ผิ ดของผู้ ล งมื อให้ ถูกต้ องเสีย ก่อนเป็ นอันดับ แรกสุ ด
หลังจากนั้นจึงมาวินิจฉัยตัวการ , ผู้ใช้ , ผู้สนับสนุน .ในลาดับต่อไป
หน้า ๕๘

ตัวอย่างที่ ๑ นายดายิงนายแดงตาย เช่นนี้ นายดา คือ “ผู้ลงมือ”


ผลทางกฎหมาย คือ นายดาผิดป.อ.มาตรา ๒๘๘

ตัวอย่างที่ ๒ นายดาไปดักซุ่มเพื่อจะยิงนายแดง โดยมีนายเหลืองคอยดูต้นทางให้


นายแดงเดินมา นายเหลืองส่งสัญญาณให้นายดา นายดายิงนายแดงตาย เช่นนี้ นายดา คือ
“ผู้ลงมือ” ส่วนนายเหลือง คือ “ตัวการ”

ผลทางกฎหมาย คือ ประเด็นที่ ๑. นายดาผิดป.อ.มาตรา ๒๘๙ (๔)


ประเด็นที่ ๒. นายเหลืองผิดป.อ.มาตรา ๒๘๙ (๔) โดยเป็น
ตัวการตามป.อ.มาตรา ๘๓
ข้ อ สั ง เกต จะเห็ น ว่ า การกระท าระหว่ า งนายด ากั บ
นายเหลืองตามตัวอย่างนี้เรียกว่าการ “แบ่งหน้าที่กันทา”

ตัวอย่างที่ ๓ นายขาวจ้างนายดาให้ยิงนายแดง นายดาตกลงและนายดาก็ยิงนาย


แดงตายตามที่รบั จ้าง เช่นนี้ นายดา คือ “ผู้ลงมือ” ส่วนนายขาว คือ “ผู้ใช้”

ผลทางกฎหมาย คือ ประเด็นที่ ๑. นายดาผิดป.อ.มาตรา ๒๘๙ (๔)


*ประเด็นที่ ๒. นายขาวผิดป.อ.มาตรา ๒๘๙ (๔) โดยเป็น
ผู้ใช้ตามป.อ.มาตรา ๘๔ วรรคหนึ่ง
*ประเด็นที่ ๓. และเมื่อนายดาผู้ถูกใช้ได้กระทาความผิด
นั้น นายขาวผู้ใช้ต้องรับ โทษเสมื อนตัวการตามป.อ.
มาตรา ๘๔ วรรคสาม

*ข้อสังเกต ในประเด็นที่ ๒ ถ้านายดามิได้ลงมือกระทาความผิดเลย นายขาวผู้ใช้


ต้องรับโทษ ๑ ใน ๓ ของโทษตามที่ป.อ.มาตรา ๒๘๙(๔) กาหนดไว้ ทั้งนี้ ตามที่ป.อ.มาตรา
๘๔ วรรคสอง

*ข้อสังเกต ในประเด็นที่ ๓ ถ้าผู้ถูกใช้เป็นบุคคลที่ เข้าอันมีลักษณะตามที่ ป.อ.


มาตรา ๘๔ วรรคสาม เช่น ผู้พิการ ลูกจ้าง ฯลฯ เช่นนี้ ผู้ใช้ย่อมถูกเพิ่มโทษด้ วยตามป.อ.
มาตรา ๘๔ วรรคสามตอนท้าย

ข้อสังเกตพิเศษ แต่ถ้านายขาวต้องการลักร่มนายแดง นายขาวจึงหลอกนายดาให้


ช่วยหยิบร่มของนายแดงส่งมอบให้แก่นายขาวโดยนายขาวหลอกนายดาว่า “ร่มของนาย
แดง คือ ร่มของนายขาว” เช่นนี้ นายขาวจะไม่ใช่ผู้ใช้ แต่เป็น “ผู้กระทาความผิดเอง
โดยอ้อม” โดยมีนายดาเป็น “เครื่องมือในการกระทาความผิด ”ของนายขาว ในกรณี
หน้า ๕๙

เช่นนี้ จะเรียกนายดาว่า “ตัวแทนโดยบริสุทธิ์” ( คาพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๒๑๓/๒๕๕๗ )


ภาษาอังกฤษใช้คาว่า “Innocent Agent”

ผลทางกฎหมาย คือ ประเด็นที่ ๑. นายขาวผิดป.อ.มาตรา ๓๓๔


ประเด็นที่ ๒. นายดาไม่มีความผิด

ตัวอย่างที่ ๔ ก่อนนายดายิงนายแดง นายดาขอยืมปืนและลูกกระสุนจากนาย


เขียว โดยนายเขียวทราบดีว่านายดาจะเอาปืนของนายเขียวไปยิงนายแดง นายดายิงนาย
แดงด้วยปืนของนายเขียว เช่นนี้ นายดา คือ “ผู้ลงมือ” ส่วนนายเขียว คือ “ผู้สนับสนุน”

ผลทางกฎหมาย คือ ประเด็นที่ ๑. นายดาผิดป.อ.มาตรา ๒๘๙ (๔)


ประเด็นที่ ๒. นายเขียวผิดป.อ.มาตรา ๒๘๙ (๔) โดยเป็น
ผู้สนับสนุนตามป.อ.มาตรา ๘๖

เมื่ อ น าตั ว อย่ า งที่ ๑ ตั ว อย่ า งที่ ๒ ตั ว อย่ า งที่ ๓ ตั ว อย่ า งที่ ๔ ประกอบกั นจะได้
“ตัวอย่างที่ ๕” ดังนี้

ข้อเท็จจริง คือ นายขาวจ้างนายดาให้ยิงนายแดง ก่อนนายดายิงนายแดง นายดา


ขอยืมปืนและลูกกระสุนจากนายเขียวโดยนายเขียวทราบดีว่านายดาจะเอาปืนของนาย
เขียวไปยิงนายแดง ต่อมานายดาไปดักซุ่มเพื่อจะยิงนายแดงโดยมีนายเหลืองคอยดูต้นทาง
ให้ นายแดงเดินมา นายเหลืองส่งสัญญาณให้นายดา นายดายิงนายแดงตาย

ผลทางกฎหมาย คือ ประเด็นที่ ๑. นายดาผิดป.อ.มาตรา ๒๘๙ (๔)


ประเด็นที่ ๒. นายเหลืองผิดป.อ.มาตรา ๒๘๙ (๔)
โดยเป็นตัวการตามป.อ.มาตรา ๘๓
ประเด็ นที่ ๓. นายเขียวผิด ป.อ.มาตรา ๒๘๙ (๔)
โดยเป็ น ผู้ ส นั บ สนุ น ตามป.อ.มาตรา
๘๖
ประเด็นที่ ๔. นายขาวผิดป.อ.มาตรา ๒๘๙ (๔) โดย
เป็นผู้ใช้ตามป.อ.มาตรา ๘๔ วรรคหนึง่
และนายขาวต้องรับโทษเสมือนตัวการ
ตามป.อ.มาตรา ๘๔ วรรคสาม
ประเด็นอื่นๆ เพิ่มเติม
๑. การใช้ไปฆ่าหรือการใช้ไปทาร้าย การรับจ้างฆ่าหรือรับจ้ างทาร้ายย่อมเป็นการไตร่ตรองเสมอ
( ให้พิจารณาที่ ป.อ.มาตรา ๒๘๙ (๔) , มาตรา ๒๙๖ )
หน้า ๖๐

๒. ใช้ไปฆ่าโดยกาหนดวิธีฆ่าว่าให้ใช้มีดแทงให้ตาย แต่ผู้ลงมือใช้ปืนยิงตาย ถือว่าอยู่ในขอบเขตที่


ใช้ตามป.อ.มาตรา ๘๗
๓. หากผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนเข้าไปขัดขวางผู้ลงมือเสียก่อนอาจได้รับผลดีตามป.อ.มาตรา ๘๘
๔. ในเรื่องการรับโทษตัวการต้องรับโทษเท่าผู้ลงมือ ( มาตรา ๘๓ ) และถ้าเป็นการใช้ เมื่อผู้ถูกใช้
ลงมือสาเร็จผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนตัวการ (มาตรา ๘๔ วรรคสาม ) แต่ถ้าไม่สาเร็จผู้ใช้ต้องระวางโทษ
เพียง ๑ ใน ๓ ของโทษที่กาหนดไว้สาหรับความผิดนั้น ( มาตรา ๘๔ วรรคสอง ) ส่วนผู้สนับสนุนต้อง
ระวางโทษ ๒ ใน ๓ ส่วนของโทษที่กาหนดไว้สาหรับความผิดนั้น ( มาตรา ๘๖ )
๕.เรื่องตัวการ , ผู้ใช้ , ผู้สนับสนุน จะไปสัมพันธ์กับป.อ.มาตรา ๖ ด้วย

คาถามท้ายบท
นายดาจ้างนายแดงที่ประเทศอังกฤษให้ฆ่านายเหลืองที่ประเทศไทยโดยนายดากาชับว่านาย
แดงต้องฆ่านายเหลืองด้วยการใช้มีดแทงให้ตายเท่านั้น มิฉะนั้นจะไม่จ่ายค่าจ้างให้ นายแดงตอบตกลง
ปรากฏว่าหลังจากนายแดงเดินทางเข้ามาประเทศไทยแล้ว นายแดงขับ รถยนต์ค้นหานายเหลืองจน
พบว่านายเหลือ งกาลังเดินข้ามถนนอยู่ นายแดงจึงขับ รถยนต์ด้วยความเร็วพุ่ งเข้าชนนายเหลือง
นายเหลืองตาย ดังนี้ จะดาเนินคดีกับนายแดงและนายดาในประเทศไทยได้หรือไม่
หน้า ๖๑

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 10

หัวข้อเนื้อหาประจาบท

ความนา
การใช้กฎหมายอาญาบังคับ แก่ผู้กระท าย่อมต้องมีขอบเขตพื้นที่ ในการบังคับใช้กฎหมาย
กาหนดเอาไว้ด้วย อย่างไรก็ดี บางฐานความผิดอาจมีข้อยกเว้นทางด้านพื้นที่ดังกล่าวเอาไว้ด้วย

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

1. อธิบายหลักพื้นฐานเกี่ยวขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายอาญาได้
2. วินจิ ฉัยปัญญาเกี่ยวกับขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายอาญาได้

วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบท

1. การบรรยาย
2. การศึกษาเอกสารประกอบการสอน
3. ทาแบบฝึกหัดท้ายบท
หน้า ๖๒

สื่อการเรียนการสอน

1 เอกสารประกอบการสอน
2 ประมวลกฎหมายอาญา

การวัดผลและการประเมินผล

1. สังเกตจากความสนใจในเนื้อหาที่เรียน
2. สังเกตจากการซักถามในชั้นเรียน
3. การมีส่วนร่วมในการอภิปรายเป็นกลุ่ม
4. สังเกตจากการตรวจผลงาน รายงาน และแบบฝึกหัดท้ายบท
5. ประเมินผลจากการสอบปลายภาคประจาภาคการศึกษา

บทที่ ๑0
ขอบเขตการใช้กฎหมายอาญา
ขอบเขตการใช้ กฎหมายอาญา หมายถึ ง เขตพื้ น ที่ ห รื อ อาณาเขตที่ ป ระมวล
กฎหมายอาญามีผลบังคับใช้กับตัวผู้ลงมือกระทาความผิดได้ ทั้งนี้ ประมวลกฎหมายอาญา
ของไทยมี ก ารบัญ ญัติไว้ในมาตรา ๔ , มาตรา ๕ , มาตรา ๖ , มาตรา ๗ , มาตรา ๘ ,
มาตรา ๙

10.๑ หลักดินแดน

หลักดินแดนปรากฏอยู่ในมาตรา ๔ , มาตรา ๕ , มาตรา ๖ โดยมีสาระสาคัญดังนี้

10.๑.1 ผู้ใดกระทาผิดในราชอาณาจักร (ประเทศไทย) หลัก คือ ต้องรับโทษใน


ราชอาณาจักร (ประเทศไทย ) ดังนี้ ใช้ มาตรา ๔ วรรคหนึ่ง เช่น นาย ก. ฆ่า นาย ข. เหตุ
เกิดจังหวัดสุพรรณบุรี จะเห็นว่า นาย ก.ต้องรับโทษในประเทศไทยเพราะกระทาความผิด
ในประเทศไทย

ข้อสังเกต คาว่า “ราชอาณาจักร” ในมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงสถานทู ต


ไทยในต่างประเทศ
หน้า ๖๓

10.๑.๒ ผู้ใดกระทาผิดใน “เรือไทย” หรือ “อากาศยานไทย” จะเห็นว่า หลัก


คือ ต้องรับโทษในราชอาณาจักร (ประเทศไทย ) ดังนี้ ใช้มาตรา ๔ วรรคสอง เช่น นาย ก.
ฆ่า นาย ข. เหตุบนเครื่องบินของสายการบินไทยขณะบินอยู่บนน่านฟ้าประเทศจีน จะ
เห็นว่า นาย ก.ต้องรับโทษในประเทศไทยเพราะกระทาความผิดในอากาศยานไทย

ข้อสังเกต หากนาย ก. คนสัญชาติจีนฆ่านาย ข. คนสัญชาติญี่ปุ่นโดยเหตุเกิดบน


เครื่องบินที่เป็นอากาศยานสัญชาติอังกฤษขณะจอดอยู่สนามบินดอนเมือง เช่นนี้ ต้องนา
มาตรา ๔ วรรคหนึ่ง มาปรับ ไม่ใช่ มาตรา ๔ วรรคสอง ในทางกลับ กัน หากนาย ก. คน
สัญชาติจีนฆ่านาย ข. คนสัญชาติญี่ปุ่นโดยเหตุเกิดบนเครื่องบินที่เป็นอากาศยานไทยขณะ
จอดอยู่สนามบินมอสโคว์ประเทศรัสเซีย เช่นนี้ ต้องนามาตรา ๔ วรรคสองมาปรับ

10.๑.๓ หากการกระท าส่วนหนึ่งอยู่ “นอกราชอาณาจักร” อีกส่วนหนึ่งอยู่


“ในราชอาณาจักร” เช่นนี้ ต้องนามาตรา ๕ วรรคหนึ่งส่วนแรกมาปรับ เช่น นาย ก. ยืน
อยู่ในประเทศพม่ าใช้ ปืน ยิง นาย ข. ซึ่ ง ยืน อยู่ ในประเทศไทยโดยมี เจตนาฆ่าประเภท
ประสงค์ต่อผล ปรากฏว่าลูกกระสุนไม่ถูกนาย ข. เช่นนี้ นาย ก.มีความผิดฐานพยายามฆ่า
ตามมาตรา ๒๘๘ ประกอบมาตรา ๘๐ โดยลงโทษนาย ก. ในราชอาณาจักรได้ตามมาตรา
๕ วรรคแรกส่วนแรก

10.๑.๔ หากการกระท าส่วนหนึ่งอยู่ “นอกราชอาณาจักร” และ “ผลเกิดใน


ราชอาณาจักร” เช่นนี้ ต้องนามาตรา ๕ วรรคหนึ่งส่วนที่สองมาปรับ เช่น นาย ก. ยืนอยู่
ในประเทศพม่าใช้ปืนยิงนาย ข. ซึ่งยืนอยู่ในประเทศไทยโดยมีเจตนาฆ่าประเภทประสงค์
ต่อผล ปรากฏว่าลูกกระสุนถูกนาย ข. ตาย เช่นนี้ นาย ก.มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามมาตรา
๒๘๘ โดยลงโทษนาย ก. ในราชอาณาจักรได้ตามมาตรา ๕ วรรคหนึ่งส่วนที่สอง

10.๑.๕ การตระเตรียมหรือพยายามกระทาความผิดนอกราชอาณาจักร ถือว่า


การตระเตรียมการหรือพยายามกระทาความผิดนั้นได้กระทาในราชอาณาจักร เช่น นาย
ก. ตระเตรียมเตรียมเชื้อเพลิงเอาไว้ที่ประเทศลาวเพื่อที่จะขนมาใช้สาหรับเผาบ้านนาย ข.
ที่อยู่ในประเทศไทย เช่นนี้ นาย ก. มีความผิดตามมาตรา ๒๑๙ ประกอบมาตรา ๒๑๘ (๑)
ซึ่ง นาย ก. ถูกลงโทษในความผิดดังกล่าวได้ตามมาตรา ๕ วรรคสอง

10.๑.๖ การ “ใช้” ของผู้ใช้ , การ “สนับสนุน” ของผู้สนับสนุน , การ “กระทา


ร่ว มกัน ” ของตัวการ ถ้ าปรากฏว่าเกิ ดขึ้น นอกราชอาณาจั ก ร เมื่ อ ความผิดที่ ใช้ห รือ
สนับสนุนหรือร่วมกระทาเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
หน้า ๖๔

ผลทางกฎหมาย คือ ให้ถือว่า การ “ใช้” ของผู้ใช้ , การ “สนับสนุน”


ของผู้ส นับสนุน , การ “กระทาร่วมกัน” ของตัวการ ได้กระทาในราชอาณาจักรตาม
มาตรา ๖

10.๒.หลักอานาจลงโทษสากล
หลักนี้มีปรากฏอยู่ในมาตรา ๗ กล่าวคือ ความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา ๗ (๑) (๑/๑)
(๒) (๒ทวิ) (๓) แม้กระทานอกราชอาณาจักร ผล คือ ต้องรับโทษในราชอาณาจักร
เหตุผลที่มีการบัญญัติ มาตรา ๗ เนื่องจากว่า ความผิดที่ระบุอยู่ในมาตรา ๗ (๑)
(๑/๑) (๒) (๒ทวิ) (๓) ตามหลักสากล ถือว่า เป็นความผิดที่ร้ายแรงมีผลกระทบต่อความ
มั่นคงของประเทศ ดังนั้น ทุกประเทศควรต้องร่วมมือกันในการลงโทษผู้กระทาความผิด

11.๓. หลักบุคคล
หลักนี้มีปรากฏอยู่ในมาตรา ๘ มาตรา ๙
10.๓.๑ หากเป็นความผิดที่ระบุอยู่ในมาตรา ๘ (๑)ถึง (๑๓) ถ้าเข้าเงื่อนไข ดังนี้

(ก) ๑. ผู้กระทาความผิดเป็นคนไทย และ


๒. รัฐบาลประเทศที่ความผิดเกิดขึ้น หรือ ผู้เสียหาย
๓. ร้องขอให้ลงโทษ
ผลทางกฎหมาย คือ ลงโทษในราชอาณาจักรได้

(ข) ๑. ผู้กระทาความผิดเป็นคนต่างด้าว และ


๒. รัฐบาลไทย หรือ ผู้เสียหายที่เป็นคนไทยเท่านั้น
๓. ร้องขอให้ลงโทษ
ผลทางกฎหมาย คือ ลงโทษในราชอาณาจักรได้

ตัวอย่ างที่ ๑ นาย ก. คนไทยลัก ทรัพย์นาย ข. คนญี่ปุ่น เหตุเกิด ณ ประเทศ


อังกฤษ ปรากฏว่าต่อ มานาย ก. เดิน ทางเข้ามาประเทศไทยภายหลัง เกิ ด เหตุ ก ระท า
ความผิดสาเร็จแล้ว
หน้า ๖๕

ปัญหาที่ ๑ คือ ประเทศอังกฤษจะขอให้ลงโทษนาย ก. ในความผิดฐานลักทรัพย์


ได้หรือไม่
คาตอบ คือ ได้ เนื่องจากนาย ก. กระทาความผิดตามมาตรา ๘(๘) ดังนั้น รัฐบาล
อังกฤษจึงใช้สิทธิตามมาตรา ๘(ก) ร้องขอได้

ปัญ หาที่ ๒ คือ นาย ข. จะขอให้ ล งโทษนาย ก. ในความผิด ฐานลัก ทรัพ ย์ได้
หรือไม่
คาตอบ คือ ได้ เนื่องจากนาย ก. กระทาความผิดตามมาตรา ๘(๘) ดังนั้น แม้นาย
ข. ผู้เสียหายจะเป็นคนญี่ปุ่นก็ย่อมใช้สิทธิตามมาตรา ๘ (ก) ร้องขอได้

ตัวอย่ างที่ ๒ นาย ก. คนญี่ปุ่นลัก ทรัพย์นาย ข. คนไทย เหตุเกิด ณ ประเทศ


ญี่ปุ่น ปรากฏว่าต่อมานาย ก. เดินทางเข้ามาประเทศไทยภายหลังเกิดเหตุกระทาความผิด
สาเร็จแล้ว

ปัญหาที่ ๑ คือ รัฐบาลไทยจะขอให้ลงโทษนาย ก. ในความผิดฐานลักทรัพย์ได้


หรือไม่
คาตอบ คือ ได้ เนื่องจากนาย ก. กระทาความผิดตามมาตรา ๘(๘) ดังนั้น รัฐบาล
ไทยจึงใช้สิทธิตามมาตรา ๘ (ก) ร้องขอได้

ปัญ หาที่ ๒ คือ นาย ข. จะขอให้ ล งโทษนาย ก. ในความผิด ฐานลัก ทรัพ ย์ได้
หรือไม่
คาตอบ คือ ได้ เนื่องจากนาย ก. กระทาความผิดตามมาตรา ๘(๘) ดังนั้น เพราะ
นาย ข. ผู้เสียหายเป็นคนไทยก็ย่อมใช้สิทธิตามมาตรา ๘ (ก) ร้องขอได้

10.๓.๒ เจ้าพนักงานของรัฐบาลไทย กระทาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา


๑๔๗ ถึง มาตรา ๑๖๖ และมาตรา ๒๐๐ ถึงมาตรา ๒๐๕๑ นอกราชอาณาจักร ผล คือ
ต้องรับโทษในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๙

10.4 การคานึงถึงคาพิพากษาของศาลในต่างประเทศ

๑ หมายเหตุ : ความผิดมาตรา ๑๔๗ ถึง มาตรา ๑๖๖ และมาตรา ๒๐๐ ถึงมาตรา ๒๐๕
จะได้ศึกษากันอย่างละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบความผิด ใน วิชา กฎหมายอาญา ๒ LAW 1508.
หน้า ๖๖

ในการคานึงถึงคาพิ พ ากษาของศาลในต่างประเทศแบ่งพิจ ารณาออกได้ 3 หลัก


ด้วยกัน ได้แก่

10.4.1 หลักที่ ๑ คือ หากบุคคลใดกระทาความผิดนอกราชอาณาจักร โดยปรากฏ


ว่าเป็นความผิดตามที่ ร ะบุในมาตรา ๗ (๒) และ มาตรา ๗ (๓) และ มาตรา ๘ และ
มาตรา ๙ แล้ว จะลงโทษซ้าบุคคลนั้นอีกไม่ได้ตามหลักกฎหมายที่เรียกว่า Non bis in
idem หรือ Not twice for the same โดยหลักดังกล่าวเป็นที่มาของมาตรา ๑๐

ตัวอย่าง นาย ก. คนไทยชิงทรัพย์ นาย ข. คนอังกฤษ เหตุเกิด ณ ประเทศอังกฤษ


นาย ก. ถูกดาเนินคดีที่ประเทศอังกฤษและได้รับโทษจนพ้นโทษที่ประเทศอังกฤษแล้ว เมื่อ
นาย ก. กลับมาประเทศไทย เช่นนี้ จะนานาย ก. มาลงโทษในความผิดฐานชิงทรัพย์อีก
ไม่ได้ตามมาตรา ๗ (๓) ประกอบมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง(๒) เป็นต้น

11.4.2 หลักที่ ๒ คือ หากบุคคลใดกระทาความผิดตามนัย มาตรา ๔ วรรคหนึ่ง


หรือวรรคสองแล้ว ปรากฏว่าบุคคลนั้นได้รับโทษตามคาพิพากษาในต่างประเทศมาแล้ว
ทั้งหมดหรือบางส่วน ผล คือ ตามมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมาย
กาหนดหรือไม่ลงโทษเลยก็ได้

ตัวอย่ าง นาย ก. คนไทยท าร้ายร่างกายนาย ข. คนอังกฤษ เหตุเกิดเรือไทยขณะ


แล่นอยู่ในเขตน่านน้า ประเทศอังกฤษ นาย ก. ถูกดาเนินคดีที่ประเทศอังกฤษและได้รับ
โทษจนพ้นโทษที่ประเทศอังกฤษแล้ว เมื่อนาย ก. กลับมาประเทศไทย เช่นนี้ เมื่อนานาย
ก. มาดาเนินคดีในประเทศไทย ศาลจะลงโทษหรือลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกาหนดเอาไว้
ตามมาตรา ๒๙๕ โดยใช้มาตรา ๑๑ วรรคหนึ่งก็ได้

11.4.3 หลักที่ ๓ คือ หากบุคคลใดกระทาความผิดตามนัย มาตรา ๔ วรรคหนึ่ง


หรือวรรคสองแล้ว ปรากฏว่าบุคคลนั้นได้ถูกฟ้องต่อศาลในต่างประเทศโดยรัฐบาลไทยร้อง
ขอ ถ้าปรากฏว่า
(1) ได้มีคาพิพากษาในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อยตัวผู้นั้น หรือ
(2) ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษ และผู้นั้นพ้นโทษแล้ว
ผล คือ ตามมาตรา ๑๑ วรรคสอง ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นในราชอาณาจั ก ร
เพราะการกระทานั้นอีก

ตัวอย่ าง นาย ก. คนไทยท าร้ายร่างกายนาย ข. คนอังกฤษ เหตุเกิดเรือไทยขณะ


แล่นอยู่ในเขตน่านน้า ประเทศอังกฤษ นาย ก. ถูกดาเนินคดีที่ประเทศอังกฤษและได้รับ
โทษจนพ้นโทษที่ประเทศอังกฤษแล้ว ทั้งนี้เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดจาก การที่นาย ก. ถูกฟ้อง
หน้า ๖๗

ต่อศาลในต่างประเทศโดยรัฐบาลไทยร้องขอ จะเห็นว่า เมื่อนาย ก. กลับมาประเทศไทย


เช่นนี้ จะนานาย ก. ลงโทษอีกไม่ได้แล้ว ตามมาตรา ๑๑ วรรคสอง (๒)

คาถามท้ายบท

ให้ทาทั้งข้อ (ก) และ ข้อ (ข)


(ก) นายเอกฆ่านายโทตายในเครื่องบินของสายการบินไทยขณะบินอยู่บนน่านฟ้าประเทศจีน
ดังนี้ นายเอกจะถูกดาเนินคดีตามกฎหมายไทยได้หรือไม่
(ข) นายตรีทาร้ายร่างกายนายจัตวาในเครื่องบินสัญชาติอังกฤษขณะจอดอยู่ที่สนามบินดอนเมือง
ดังนี้ นายตรีจะถูกดาเนินคดีตามกฎหมายไทยได้หรือไม่

เอกสารอ้างอิง

เอกสารภาษาไทย
หนังสือ
เกี ยรติขจร วัจ นะสวัส ดิ์. (2551). กฎหมายอาญาภาค 1 บทบัญ ญั ติทั่ วไป .(พิม พ์ ครั้ง ที่ 10).
กรุงเทพฯ:สานักพิมพ์ พลสยาม พริ้นติ้ง.
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2553). คาอธิบายหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา .(พิมพ์ครั้งที่ 7).
กรุงเทพฯ:สานักพิมพ์ พลสยาม พริ้นติ้ง.
คณิต ณ นคร. (2549). กฎหมายอาญาภาคความผิด . (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ:บริษัทสานักพิมพ์
วิญญูชน จากัด.
คณิต ณ นคร. (2556). กฎหมายอาญาภาคทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:บริษัทสานักพิมพ์วิญญู
ชน จากัด.
คณพล จันทน์หอม. (2558 ). รากฐานกฎหมายอาญา. กรุงเทพฯ:บริษัทสานักพิมพ์วิญญูชน จากัด.
คนึง ฦาไชย. (2541 ). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1.(พิมพ์ครั้งที่ 5) กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์
เดือนตุลา.
จิตติ ติงศภัทิย์. (2543). กฎหมายอาญาภาค 2 ตอน 1.(พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจากัด
จิรรัชการพิมพ์.
จิตติ ติงศภัทิย์. (2545). กฎหมายอาญาภาค 2 ตอน 2 และภาค 3.(พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ:ห้าง
หุ้นส่วนจากัดจิรรัชการพิมพ์.
จิตติ ติงศภัทิย์. (2555). กฎหมายอาญาภาค 1.(พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: บริษัทศูนย์การพิมพ์
เพชรรุ่ง จากัด.
ทวีเกียรติ มี นะกนิษฐ. (2559 ก). กฎหมายอาญาภาคทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ:บริษัท
สานักพิมพ์วิญญูชน จากัด.
หน้า ๖๘

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2559 ข). ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับอ้างอิง. (พิมพ์ครั้งที่ 35). กรุงเทพฯ:


บริษัทสานักพิมพ์วิญญูชน จากัด.
สหรัฐ กิติ ศุภการ. (2558). หลักและคาพิพากษากฎหมายอาญา.(พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ:บริษัท
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จากัด.
หยุด แสงอุทัย. (2548).คาอธิบายกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ 127.(พิมพ์ครั้ง ที่ 6). กรุงเทพฯ:
บริษัทสานักพิมพ์วิญญูชน จากัด.
หยุ ด แสงอุ ทั ย . (2553).กฎหมายอาญา ภาค 2-3.(พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ 11). กรุ ง เทพฯ:ส านั ก พิ ม พ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
หยุ ด แสงอุ ทั ย . (2556).กฎหมายอาญาภาค 1.(พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ 21). กรุ ง เทพฯ:ส านั ก พิ ม พ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

You might also like