Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 322

พินจิ วรรณคดีจากหนังสือแบบเรี ยนมัธยมศึกษาตอนต้น

โดย ว่าที่ร้อยตรี ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ


วันเพ็ญ เหลืองอรุณ

ส�ำนักพิมพ์ ฟุกุโร
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย โดย ว่าที่ร้อยตรี ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ, วันเพ็ญ เหลืองอรุณ Ī พ.ศ. 2562
ห้ามคัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ท�ำซ�้ำ จั ดพิมพ์เนื้อหาและภาพประกอบ หรือกระท�ำอื่นใด
โดยวิ ธีการใดๆ ในรูป‌‌‌‌แบบ‌ใด ไม่ว่าส่วนหนึง่ ส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ เพื่อเผยแพร่ในสื่อทุกประเภท
หรือเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆ นอกจากจะได้รับอนุญาต

ขอมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแหงชาติ
ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ.
พินจิ วรรณคดี จากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. -- กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2562.
320 หนา.
1. วรรณคดี -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา). 2. วรรณคดี ไทย -- ประวัติและวิ จารณ์.
I. วันเพ็ญ เหลืองอรุณ, ผู้แต่งร่วม. II. ชื่อเรื่อง.
895.9107

Barcode (e-book) : 9786160835287

ผลิตและจัดจ�ำหนายโดย

เลขที่ 1858/87-90 ถนนเทพรัตน แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260


โทรศัพท 0-2826-8000

หากมีค�ำแนะน�ำติชม ติดต่อที่ commment@se-ed.com ค้นหาหนังสือที่ต้องการ ได้เร็ว ทั นใจ ที่ www.se-ed.com


ค� ำ น� ำ

หนังสือ “พินจิ วรรณคดีจากหนังสือแบบเรี ยนมัธยมศึกษาตอนต้น” เล่มนี้


เขี ยนขึ้นเพื่อให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ได้ใช้อ่านประกอบ
การเรียน วิ ชาภาษาไทย ในส่วนของวรรณคดี ไทย นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้
เป็นหนังสือค้นคว้าส�ำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอ่านส�ำหรับ
เตรียมการสอนนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
การเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ ผูเ้ ขี ยนทัง้ สองได้น�ำเอาวรรณคดี ทปี่ รากฏอยูใ่ น หนังสือ
เรี ยน รายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จ�ำนวน 22
เรื่อง ซึ่งเป็นวรรณคดี ที่กระทรวงศึกษาธิการได้ก�ำหนดให้เรียนมาเรียบเรียงใหม่ โดยแบ่ง
หัวข้อในการศึกษาออกเป็น 5 หัวข้อใหญ่ๆ คือ
1. ประวัติความเป็นมา
2. ประวัติผู้แต่ง
3. ลักษณะค�ำประพั นธ์
4. เนื้อเรื่องย่อ
5. คุณค่า
ซึง่ การเรียบเรียงเนือ้ หาของหัวข้อทัง้ ห้านีจ้ ะมีนำ�้ หนักไม่เท่ากัน ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั ความสัน้
ยาวของวรรณคดี เรื่องนั้นๆ หรือที่ผู้เขี ยนทั ้งสองเห็นว่าวรรณคดี เรื่องใด ควรจะให้นักเรียน
ทราบในหัวข้อนั้นๆ อย่างละเอียด ผู้เขี ยนทั ้งสองก็จะให้รายละเอียดเอาไว้มาก เช่น บทที่ 6
กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ซึ่งผู้เขี ยนทั ้งสองเห็นว่า ประวัติความเป็นมาของวรรณคดี เรื่อง
นี้น่าสนใจ เพราะจะช่วยท�ำให้นักเรียน นักศึกษา ได้ทราบที่มาของการแต่งกาพย์เห่ชม
เครื่องคาวหวานได้แจ่มแจ้ง ดังนั้นจึงกล่าวรายละเอียดเอาไว้อย่างยืดยาว และคงจะเป็น
ข้อมูลที่ดีส�ำหรับการน�ำไปศึกษาในระดับที่สูงขึ้นในโอกาสต่อไป
ในส่วนการประเมินคุณค่าของวรรณคดี นั้น ผู้เขี ยนทั ้งสองได้วิเคราะห์
เอาไว้พอเป็นตัวอย่างส�ำหรับการเรียนการสอน มิได้วิเคราะห์โดยละเอียด
เพราะมีความเห็นว่าการศึกษาวิ เคราะห์วรรณคดี เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล
ที่จะชี้ ให้เห็นว่าวรรณคดี เรื่องนั้นๆ ดี เด่นอย่างไร ด้อยตรงจุดไหน มีคุณค่า
อย่างไร ดังนั้นในส่วนของการประเมินคุณค่า นักเรียนและนักศึกษาที่ ได้อ่าน
หนังสือเล่มนี้อาจมีความเห็นที่ต่างไปจากผู้เขี ยนทั ้งสองได้
ขอย�้ำว่า การจะศึกษาวรรณคดี ให้เข้าใจได้อย่างถ่องแท้และเข้าถึงแก่นนั้น นักเรียน
นักศึกษา จะต้องอ่านตัวบทวรรณคดีเรือ่ งนัน้ ๆ อย่างละเอียดด้วย มิใช่อา่ นจากหนังสือเล่มนี้
เพี ยงเล่มเดี ยว หนังสือเล่มนี้เป็นเพี ยงแนวทางในการศึกษา ดังนัน้ จึงไม่อาจให้รายละเอียด
ที่ครบถ้วนได้ การศึกษาตัวบทวรรณคดี จะช่วยท�ำให้นักเรียนเข้าใจบริบทต่างๆ ได้ทั้งหมด
ยิ่งเป็นนักศึกษาด้วยแล้ว ยิ่งต้องอ่านตัวบทวรรณคดี ให้มาก เพราะจะช่วยให้มีความเข้าใจ
และเข้าถึงวรรณคดี จนเกิดความซาบซึ้ง เมื่อนักศึกษามีความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว ก็จะ
ท�ำให้การฝึกสอนของนักศึกษามีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์ ในการเรียนการสอน
วรรณคดี ต่อไปในภายหน้า
การพิ ม พ์ ค รั้ ง นี้เ ป็ น การพิ ม พ์ ค รั้ ง แรก ซึ่ ง อาจมี ข ้ อ ขาดตกบกพร่ อ งอยู ่ บ ้ า ง
ดังนั้นจึงขอความกรุณาจากท่านผู้อ่านหรือผู้ ใช้หนังสือเล่มนี้ ได้โปรดแจ้งข้อผิ ดพลาดที่พบ
กลับมายังผูเ้ ขียนด้วย เพือ่ ทีผ่ เู้ ขียนจะได้แก้ไขให้ถกู ต้องและสมบูรณ์ทางวิชาการในโอกาสต่อไป
ท้ายนีข้ อกราบขอบพระคุณบรรดาผูม้ สี ว่ นท�ำให้เกิดหนังสือเล่มนีข้ นึ้ มา โดยเฉพาะลูก
ศิษย์ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เขี ยนหนังสือเล่มนี้ กับทั ้งเจ้าของผลงานต่างๆ ที่ผู้เขี ยนทั ้งสอง
ได้นำ� มาอ้างไว้ ในบรรณานุกรม หากไม่มผี ลงานของทุกท่านแล้ว หนังสือเล่มนีก้ ค็ งเกิดขึน้ มา
ไม่ได้ ดังนั้นจึงขอกราบขอบพระคุณเจ้าของผลงานทุกท่านเอาไว้ ณ ที่น้ดี ้วย
อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ
อาจารย์ วันเพ็ญ เหลืองอรุณ
ส า ร บั ญ

1.. นิราศภูเขาทอง........................................................................................ 7
2.. โคลงโลกนิติ........................................................................................... 21
3.. สุภาษิตพระร่วง..................................................................................... 33
4.. กาพย์พระไชยสุริยา.............................................................................. 57
5.. ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา................................................... 77
6.. กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน................................................................ 99
7.. นิทานพื้นบ้าน...................................................................................... 115

8.. โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พระสุริโยทัยขาดคอช้าง.........131


9.. โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พั นท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต...... 141
10.. บทเสภาสามัคคีเสวก......................................................................... 147
11.. ศิลาจารึกหลักที่ 1............................................................................... 161
12.. รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก.......................................... 171
13.. กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง................................................ 187
14.. โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์............................................................ 201
15.. โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ.............................................................. 209
16.. โคลงสุภาษิตอีศปปกรณ�ำ................................................................. 217
17.. กลอนดอกสร้อยร�ำพึงในป่าช้า.......................................................... 229

18.. บทละครพูด เรื่องเห็นแก่ลูก............................................................ 237


19.. นิทานค�ำกลอนเรื่องพระอภัยมณี
. ตอน พระอภัยมณีหนีนางผี เสื้อสมุทร............................................. 249
20.. พระบรมราโชวาท...............................................................................277
21.. อิศรญาณภาษิต.................................................................................. 297
22.. บทพากย์เอราวัณ...............................................................................307
นิ ร า ศ ภู เ ข า ท อ ง 1
1. ประวัติความเป็นมา
นิราศภูเขาทองเป็นนิราศเรือ่ งทีส่ นั้ ทีส่ ดุ ของสุนทรภู่ คือ มีเพียง 176 ค�ำกลอน
แต่กไ็ ด้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศเรือ่ งเอกของสุนทรภู่ เพราะมีลลี าและจังหวะกลอน
ที่สละสลวย มีเนื้อหาแสดงถึงความจงรักภักดี ของสุนทรภู่ที่มีต่อพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัยอย่างจริงใจ และแสดงถึงความรูส้ กึ น้อยเนือ้ ต�ำ่ ใจของสุนทรภู่
ที่ต้องประสบปัญหาชีวิต โดยพรรณนาออกมาได้อย่างสะเทือนอารมณ์ นอกจากนี้
สุนทรภู่ยังได้แสดงทั ศนะที่เป็นสัจธรรมไว้ ในเนื้อหาแต่ละตอนได้อย่างเหมาะสม
นิราศเรื่องนี้เป็นนิราศเรื่องที่สามของสุนทรภู่ แต่งขึ้นในขณะเป็นพระภิกษุ
อยู่จ�ำพรรษาที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) ต่อมาได้ออกเดินทางไปนมัสการพระเจดี ย์
ภูเขาทอง จั งหวัดพระนครศรีอยุธยา ในราว พ.ศ. 2371

2. ประวัติผู้แต่ง
สุนทรภู่ ชื่อนี้มาจากราชทินนามของท่าน คือ “สุนทรโวหาร” กับนามเดิมว่า
“ภู่” รวมกันเป็นสุนทรภู่ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ตรงกับรัชกาล
ของพระบาทสมเด็จพระพุ ทธยอดฟ้าจุฬาโลก
8 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ส�ำหรับประวัติบิดามารดาของสุนทรภู่นั้น นักวิ ชาการด้านวรรณคดี มีความเห็นที่


แตกต่างกัน บ้างก็เชือ่ ว่าบิดาของสุนทรภูเ่ ป็นชาวบ้านกร�ำ่ อ�ำเภอแกลง จังหวัดระยอง บ้างก็
เชือ่ ว่าบิดาของสุนทรภูเ่ ป็นชาวเพชรบุรี ส่วนมารดานัน้ สันนิษฐานว่าอพยพมาจากกรุงศรีอยุธยา
ครั้งเสียกรุงแก่พม่า ใน พ.ศ. 2310 แล้วมาตั้งรกรากที่กรุงธนบุรี (ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต
และณัฐกาญจน์ นาคนวล, 2553 : 266-267)
กาลต่อมาบิดามารดาของสุนทรภูไ่ ด้แยกทางกัน มารดาของสุนทรภูม่ สี ามี ใหม่และมี
ลูกสาว 2 คนชือ่ ฉิมกับนิม่ ส่วนบิดาของสุนทรภูน่ นั้ ไปบวชอยูท่ เี่ มืองแกลง จังหวัดระยอง แล้ว
หลังจากนัน้ มารดาของสุนทรภูไ่ ด้รับราชการเป็นนางพระนมในพระองค์เจ้าจงกล พระธิดาของ
กรมพระราชวังหลัง สุนทรภู่จึงได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก
เมือ่ ถึงวัยเรียน สุนทรภูไ่ ด้เรียนหนังสือทีว่ ดั ชีปะขาว (วัดศรีสดุ าราม) จนมีความรูพ้ อที่
จะท�ำมาหากินได้ ก็ไปเป็นเสมียนนายระวาง กรมพระคลังสวน ท�ำได้ไม่นานก็ออกมาอยู่
พระราชวังหลังตามเดิม ในขณะที่กลับมาอยู่พระราชวังหลังนี้ สุนทรภู่แอบคบหากับนางใน
คนหนึง่ ชื่อ แม่จัน ท�ำให้สุนทรภู่ต้องโทษจองจ�ำ
ครั้นกรมพระราชวังหลังทิวงคต สุนทรภู่ก็พ้นโทษ เมื่อพ้นโทษแล้วจึงเดินทาง
ไปหาบิ ดาที่เมืองแกลง เมื่อกลับจากเมืองแกลงแล้วก็เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กของ
พระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสในกรมพระราชวังหลัง ต่อมาเจ้าครอกทองอยู่ พระอัครชายา
ในกรมพระราชวังหลังได้เป็นธุระสู่ขอแม่จันให้กับสุนทรภู่
กาลต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศหล้านภาลัย ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ
เป็นรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ในรัชกาลนี้สุนทรภู่มีบุญวาสนามาก ได้เป็นกวีที่ปรึ กษา
รับใช้ ใกล้ชดิ และยังได้เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรเจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาล
ที่ 2 กับเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศหล้านภาลัยสวรรคต ชีวิตของสุนทรภู่ก็ตกต�่ำและ
ไม่ได้รับราชการ สุนทรภูจ่ งึ ออกบวช ในระหว่างนีเ้ จ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ได้นำ� เจ้าฟ้าชายกลาง
และเจ้าฟ้าชายปิว๋ พระอนุชาในเจ้าฟ้าอาภรณ์มาฝากฝังให้เป็นลูกศิษย์ของสุนทรภู่ นอกจากนี้
สุนทรภูไ่ ด้รับอุปการะจากพระราชวงศ์องค์ตา่ งๆ ได้แก่ กรมหมืน่ อัปสรสุดาเทพ พระองค์เจ้า
ลักขณานุคุณ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว)
ครัน้ เข้าสูแ่ ผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ชีวิตของสุนทรภู่ ก็กลับมาสู่
ความสุขอีกครั้ง เพราะได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ ฝ่ายพระราชวังบวร
ต�ำแหน่งพระสุนทรโวหาร ซึ่งท่านอยู่ในต�ำแหน่งนี้ ได้ 5 ปีก็ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ. 2398
สิริอายุได้ 70 ปี
บทที่ 1 นิราศภูเขาทอง 9

แล้วในวาระครบ 200 ปีชาตกาลของสุนทรภู่ เมื่อ พ.ศ. 2529 องค์การศึกษา


วิ ทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องเกียรติคุณ
ของสุนทรภู่ ให้เป็นผู้มีผลงานดี เด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก

3. ลักษณะค�ำประพันธ์
นิราศภูเขาทองแต่งเป็นกลอนนิราศ มีความยาว 176 ค�ำกลอน ขึ้นต้นด้วยวรรครับ
และลงท้ายด้วยค�ำว่า “เอย” ตามธรรมเนียมนิยมของการแต่งนิราศ

4. ประวัติพระเจดีย์ภูเขาทอง
พระเจดี ย์ภูเขาทอง เป็นพระเจดี ย์ที่พระเจ้าหงสาวดี บุเรงนองทรงสร้างขึ้น เพื่อเป็น
อนุสรณ์ ในการที่พระองค์ทรงยกทั พมาพิชิตกรุงศรีอยุธยาได้ในปี พ.ศ. 2112 พระองค์ได้
สร้างพระเจดี ย์ขึ้นที่วัดกลางทุ่ง ห่างจากกรุงศรีอยุธยาราว 2 กิโลเมตร มีรปู ทรงเป็นแบบ
เจดียม์ อญขนาดใหญ่ และได้ปรักหักพั งไปตามสภาพกาลเวลา ครัน้ รัชกาลของสมเด็จพระเจ้า
บรมโกศ จึงโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดและพระเจดี ย์ขึ้นใหม่ โดยเปลี่ยนจากรูปทรงเจดี ย์
มอญมาเป็นเจดี ย์ไทย

5. เนื้อเรื ่อง
สุนทรภู่ออกเดินทางจากพระนครด้วยเรือ เมื่อเดือนสิบเอ็ดหลังเข้าพรรษาแล้ว
โดยเดินทางไปกับหนูพัด บุตรชายที่เกิดกับแม่จัน เพื่อไปนมัสการพระเจดี ย์ภูเขาทอง ที่
พระนครศรีอยุธยา สุนทรภู่ออกเดินทางจากวัดราชบูรณะ ผ่านพระบรมมหาราชวัง ณ ที่น้ี
สุนทรภู่ได้ร�ำพั นถึงความหลัง เมื่อครั้งที่ตนยังเป็นคนโปรดของพระบาทสมเด็จพระพุ ทธ
เลิศหล้านภาลัย จากนั้นจึงถึงท่าแพ (ท่าราชวรดิษฐ์) วัดประโคนปัก โรงเหล้าบางจาก
บางพลู บางพลัด บางโพ บ้านญวน วัดเขมาภิรตาราม ตลาดแก้ว ที่ตลาดแก้วนี้สุนทรภู่
ได้ครวญถึงแม่จันว่าเคยให้ผ้าห่มแพรด�ำแก่สุนทรภู่ ก่อนออกเดินทางไปเมืองแกลง ต่อมา
ผ่านตลาดขวัญ บางธรณี บ้านมอญ บางพูด บ้านใหม่ บางเดื่อ บางหลวงเชิงราก สามโคก
ทีส่ ามโคกนีส้ นุ ทรภูก่ ห็ วนร�ำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยอีกครัง้ ด้วยทรง
พระราชทานนามเมืองสามโคกให้ ใหม่ว่าเมืองปทุมธานี และให้เป็นหัวเมืองชั้นตรี จากนั้น
สุนทรภู่ก็เดินทางผ่านบ้านงิ้ว พอตอนเย็นถึงเกาะราชครามแล้วจึงหยุดพั กค้างแรม
10 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

รุ่งเช้าสุนทรภู่ก็ออกเดินทางต่อไปจนถึงกรุงเก่า ขณะนั้นพระนายไวย (ต่อมาคือ


พระยาไชยวิ ชิต [เผือก]) เกลอเก่าและเคยเป็นกวีที่ปรึ กษาด้วยกันมาก่อน ได้เป็นเจ้าเมือง
สุนทรภู่ตกยากจึงไม่กล้าเข้าไปหา เพราะเกรงว่าท่านเจ้าเมืองจะท�ำเป็นไม่ร้จู ั กแล้วสุนทรภู่
เองจะต้องเสียหน้า ดังนั้นสุนทรภู่จึงเดินทางผ่านจวนเจ้าเมืองไป และไปพั กค้างแรมที่วัด
หน้าพระเมรุ ในขณะที่จ�ำวัดอยู่นั้นได้มีพวกโจรเข้ามาขโมยของในเรือ แต่น�ำเอาของไปไม่ได้
ครั้นรุ่งขึ้นเป็นวันพระ สุนทรภู่ได้เข้านมัสการพระเจดี ย์ภูเขาทอง แล้วพบพระบรม
สารีริกธาตุ สุนทรภู่จึงอัญเชิญมาด้วย แต่รุ่งขึ้นวันต่อมาพระบรมสารีริกธาตุก็อันตรธานไป
สุนทรภู่พักค้างคืนที่วัดภูเขาทองคืนหนึง่ จากนั้นจึงล่องเรือกลับพระนคร แล้วมาจ�ำพรรษา
อยูท่ วี่ ดั อรุณราชวราราม ตอนท้ายของนิราศสุนทรภูก่ ล่าวว่านิราศเรือ่ งนี้ ได้กล่าวถึงความรัก
เอาไว้บ้าง แต่ก็หาได้มีความรักจริงๆ ไม่ เหตุที่กล่าวเอาไว้นั้นก็เป็นเพี ยงพริกไทย ใบผักชี
โรยหน้าให้อาหารเกิดความเอร็ดอร่อยเท่านั้นเอง

6. คุณค่า

6.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
6.1.1 การด�ำเนินเรื ่อง สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองโดยน�ำเอาเรื่องราวจากชีวิต
จริงของท่านมากล่าวไว้ โดยมีการร�ำพั นถึงความหลังไปพร้อมกับการพรรณนาถึงความสุข
ทุกข์ เศร้า ผิ ดหวัง ปลงกับชีวิต และชี้ ให้เห็นว่าชีวิตคนนั้นมีขึ้นมีลง เมื่อยามรุ่งเรืองก็มี
คนนับหน้าถือตา แต่เมื่อยามตกทุกข์ได้ยากแล้ว ก็ไม่มี ใครปรานีเหลียวแล นอกจากนี้ยัง
ได้แทรกเรื่องราวความรักของสุนทรภู่ โดยพรรณนาตามแบบของนิราศ ท�ำให้ผู้อ่านเกิด
อารมณ์ต่างๆ ร่วมไปกับกวี และที่ส�ำคัญสุนทรภู่ได้สอดแทรกสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของ
ผู้คนที่พบเห็น ต�ำนาน สถานที่ ธรรมชาติอันน่ารื่นรมย์ ตลอดจนคติธรรมที่คมคาย ฉาก
ของนิราศภูเขาทองคือเส้นทางการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปจนถึงพระนครศรีอยุธยา
6.1.2 การใช้ถ้อยค�ำ นิราศภูเขาทองเป็นวรรณคดี ที่มีความไพเราะทั้งเนื้อความ
และเสียงสัมผัส เพราะการพิถีพิถันในการใช้ค�ำของสุนทรภู่ จึงท�ำให้นริ าศภูเขาทอง มีเสียง
สัมผัสที่ ไพเราะรื่นหู สละสลวย และชัดเจน ซึ่งวิ ธีการที่สุนทรภู่ ใช้ ในเรื่องของการใช้ถ้อยค�ำ
นั้น มีดังนี้
บทที่ 1 นิราศภูเขาทอง 11

1 การเลือกสรรค�ำที่ก่อให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ เช่น

“ถึงบางพลูคิดถึงคู่เมื่ออยู่ครอง เคยใส่ซองส่งให้ล้วนใบเหลือง
ถึงบางพลัดเหมือนพี ่พลัดมาขัดเคือง ทั ้งพลัดเมืองพลัดสมรมาร้อนรน”

2 การใช้เสียงของถ้อยค�ำ ท�ำให้เกิดภาพที่ชัดเจน ดังเช่นในตอนที่สุนทรภู่เดินทาง


มาถึงบริเวณวัดเขมาภิรตาราม เรือเกิดติดน�้ำวน สุนทรภูไ่ ด้บรรยายด้วยค�ำทีท่ ำ� ให้เห็นภาพ
ได้ชัดเจนว่า

“ดูน�้ำวิ ่งกลิ้งเชี่ยวเป็นเกลียวกลอก กลับกระฉอกฉาดฉัดฉวัดเฉวียน


บ้างพลุ่งพลุ่งวุ้งวงเหมือนกงเกวียน ดูเปลีย่ นเปลีย่ นคว้างคว้างเป็นหว่างวน
ทั ้งหัวท้ายกรายแจวกระชากจ้วง ครรไลล่วงเลยทางมากลางหน
โอ้เรือพ้นวนมาในสาชล ใจยังวนหวังสวาทไม่คลาดคลา”

3 การซ�้ำเสียง การซ�้ำเสียงเป็นวิ ธีการซ�้ำโดยใช้สัมผัสอักษร ท�ำให้เกิดเสียงอัน


ไพเราะ ในการซ�้ำเสียงนั้นจะต้องเลือกใช้ค�ำที่ท�ำให้ผู้อ่านเกิดจิ นตภาพได้อย่างชัดเจน ซึ่ง
สุนทรภู่ท่านใช้ค�ำซ�้ำเสียงได้ดีมาก ดังความตอนหนึง่ ที่สุนทรภู่พรรณนาถึงยามพั กค้างคืน
อยู่ที่เกาะราชคราม ความว่า

“พระสุริยงลงลับพยับฝน ดูมัวมนมืดมิดทุกทิศา
ถึงทางลัดตัดทางมากลางนา ทั ้งแฝกคาแขมกกขึ้นรกเรี ้ยว
เป็นเงาง�้ำน�้ำเจิ ่งดูเวิ้งว้าง ทั ้งกว้างขวางขวัญหายไม่วายเหลียว
เห็นดุ่มดุ่มหนุ่มสาวเสียงกราวเกรี ยว ล้วนเรื อเพรี ยวพร้อมหน้าพวกปลาเลย
เขาถ่อคล่องว่องไวไปเป็นยืด เรื อเราฝืดฝืนมานิจจาเอ๋ย
ต้องถ่อค�้ำร�่ำไปทั ้งไม่เคย ประเดี ๋ยวเสยสวบตรงเข้าพงรก
กลับถอยหลังรั้งรอเฝ้าถ่อถอน เรือขย่อนโยกโยนกระโถนหก
เงียบสงัดสัตว์ป่าคณานก น�้ำค้างตกพร่างพรายพระพายพัด”
12 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

นอกจากนีก้ ารบรรยายธรรมชาติดว้ ยการใช้คำ� ซ�ำ้ เสียงก็ทำ� ให้เกิดจินตภาพได้ดี ดังเช่น

“จนดึกดาวพราวพร่างกลางอัมพร กะเรี ยนร่อนร้องก้องเมื่อสองยาม


ทั ้งกบเขี ยดเกรี ยดกรี ดจั งหรี ดเรื ่อย พระพายเฉื่อยฉิวฉิววะหวิวหวาม
วังเวงจิ ตคิดคะนึงร�ำพึงความ ถึงเมื่อยามยังอุดมโสมนัส”

เหตุที่กวีเลือกใช้การซ�้ำเสียงนั้น เป็นเพราะกวีต้องการให้บทประพั นธ์ของตนมีความ


หมายที่ชัดเจน และก่อให้เกิดจิ นตภาพแก่ผู้อ่านอย่างเด่นชัด เช่น วรรคที่ว่า “พระสุริยง
ลงลับพยับฝน ดูมัวมนมืดมิดทุกทิศา” ท�ำให้ผู้อ่านเห็นภาพของท้องฟ้าที่ถูกปกคลุมไปด้วย
เมฆฝน หรือ “เรื อขย่อนโยกโยนกระโถนหก” ให้ภาพที่ชัดเจนว่า เรือโคลงเคลงไปมาอย่าง
หนัก จนท�ำให้ข้าวของกระจั ดกระจายไปหมด เป็นต้น
ขณะเดี ยวกันเสียงของถ้อยค�ำ ทั ้งเสียงพยัญชนะและเสียงสระ ก็สามารถท�ำให้เกิด
อารมณ์และจินตภาพได้ ดังตัวอย่างจากวรรคทีว่ า่ “เงียบสงัดสัตว์ปา่ คณานก น�้ำค้างตกพร่าง
พรายพระพายพัด” ความวรรคดังกล่าวท�ำให้เราสัมผัสกับบรรยากาศทีเ่ งียบสงัด ปราศจาก
เสียงร้องของสัตว์ มีแต่เสียงน�้ำค้างที่ร่วงหล่น และเสียงของลมที่พัดเฉื่อยๆ
6.1.3 การใช้กวีโวหาร กวีโวหารของสุนทรภู่ก่อให้เกิดภาพพจน์หลายอย่าง คือ
1 การใช้อปุ มา คือ การใช้ภาพพจน์เปรียบเทียบ ตัวอย่างทีจ่ ะกล่าวต่อไปนี้ เป็นการ
เปรียบเทียบที่ดีที่สุดในนิราศภูเขาทองเลยก็ว่าได้

“เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตรลบ ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา
สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์”

สุนทรภูเ่ คยรับราชการใกล้ชดิ เบือ้ งพระยุคลบาท ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า


นภาลัยแบบใกล้ชิดมาก จนได้กลิ่นหอมจากพระวรกาย แต่เมื่อสิ้นพระบาทสมเด็จพระพุ ทธ
เลิศหล้านภาลัยแล้ว วาสนาของสุนทรภู่ก็หายไป เหมือนกับกลิ่นหอมจากพระวรกายที่
สุนทรภู่เคยรับรู้นนั่ เอง เป็นความเปรียบที่จับใจยิ่งนัก
2 การใช้อติพจน์ คือ การใช้โวหารเปรียบเทียบที่กล่าวเกินความเป็นจริง ดังค�ำที่
สุนทรภู่อธิษฐานขอจนเกินความเป็นจริงว่า
บทที่ 1 นิราศภูเขาทอง 13

“ขอเดชะพระพุ ทธคุณช่วย แม้นมอดม้วยกลับชาติวาสนา


อายุยืนหมื่นเท่าเสาศิลา อยู่คู่ฟ้าดินได้ดังใจปอง”

3 การใช้โวหารสัทพจน์ คือ การเลียนเสียงธรรมชาติ เพื่อท�ำให้เกิดภาพพจน์ที่


ชัดเจนมากขึ้น ดังตัวอย่าง

“ไม่เห็นคลองต้องค้างอยู่กลางทุ่ง พอหยุดยุงฉูชมุ มารุมกัด


เป็นกลุ่มกลุ่มกลุ้มกายเหมือนทรายซัด ต้องนัง่ ปัดแปะไปมิได้นอน”

ค�ำที่พิมพ์ตัวหนาคือค�ำที่กวีเลียนเสียงกิริยาตบยุง ท�ำให้ผู้อ่านเห็นภาพคนนัง่ ปัดยุง


และตบยุงดังแปะๆ ทั ้งคืนโดยมิได้หลับนอน
4 การสร้างอารมณ์สะเทือนใจ สุนทรภู่ ใช้คำ� ร�ำพั นได้ดีเด่นและให้ความรูส้ กึ สะเทือน
ใจมาก ดังความจากตอนที่สุนทรภู่ร�ำพั นถึงวัดราชบูรณะด้วยความอาลัยอาวรณ์ ดังนี้

“โอ้อาวาสราชบูรณะพระวิ หาร แต่น้นี านนับทิวาจะมาเห็น


เหลือร�ำลึกนึกน่าน�้ำตากระเด็น เพราะขุกเข็ญคนพาลมารานทาง
จะยกหยิบธิบดี เป็นที่ตั้ง ก็ใช้ถังแทนสัดเห็นขัดขวาง
จึงอ�ำลาอาวาสนิราศร้าง มาอ้างว้างวิ ญญาณ์ในสาคร”

สุนทรภูต่ อ้ งออกจากวัดราชบูรณะเพราะว่าถูกพระสงฆ์ ในวัดรุมกันกลัน่ แกล้ง จะอาศัย


พึ่งพาเจ้าอาวาสๆ ก็ไม่ ให้ความยุติธรรม สุนทรภู่เกิดความรู้สึกปลงสังเวชในความทุกข์ยาก
สูญสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างแม้กระทั ่งที่อยู่อาศัย ดังนั้นเมื่อมาถึงบางธรณี สุนทรภู่จึงร�ำพั นออก
มาด้วยความรู้สึกที่ชอกช�้ำอย่างรุนแรงว่า

“มาถึงบางธรณีทวีโศก ยามวิ โยคยากใจให้สะอื้น


โอ้สุธาหนาแน่นเป็นแผ่นพื้น ถึงสี่หมื่นสองแสนทั ้งแดนไตร
เมื่อเคราะห์ร้ายกายเราก็เท่านี้ ไม่มีที่พสุธาจะอาศัย
ล้วนหนามเหน็บเจ็บแสบคับแคบใจ เหมือนนกไร้รังเร่อยู่เอกา”
14 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

5 การใช้บทพรรณนาโวหาร นิราศภูเขาทองมีบทพรรณนาโวหารที่ดีเด่นด้วยการ
แสดงความรู้สึกนึกคิดของสุนทรภู่ ที่ส่งไปยังผู้อ่านด้วยถ้อยค�ำพรรณนาที่มีศิลปะ ท�ำให้ผู้
อ่านเกิดความเข้าใจและเกิดจิ นตภาพที่ชัดเจน ดังเช่น ในบทที่พรรณนาชมธรรมชาติ และ
ความงดงามต่างๆ ในตอนที่กล่าวถึงธรรมชาติยามค�่ำคืนว่า

“จนเดือนเด่นเห็นนกกระจั บจอก ระดะดอกบัวเผื่อนเมื่อเดือนหงาย”

ครั้นเมื่อกล่าวถึงธรรมชาติยามเช้า สุนทรภู่ได้พรรณนาให้เห็นภาพของท้องน�้ำและ
พรรณไม้ที่สวยสดว่า

“จนแจ่มแจ้งแสงตะวันเห็นพรรณผัก ดูน่ารักบรรจงส่งเกสร
เหล่าบัวเผื่อนแลสล้างริมทางจร ก้ามกุ้งซ้อนเสียดสาหร่ายใต้คงคา
สายติ่งแกมแซมสลับต้นตับเต่า เป็นเหล่าเหล่าแลรายทั ้งซ้ายขวา
กระจั บจอกดอกบัวบานผกา ดาษดาดูขาวดั่งดาวพราย”

การพรรณนาภาพพระเจดี ย์ภูเขาทอง สุนทรภู่ได้กล่าวไปเป็นล�ำดับ คือ พรรณนา


ตั้งแต่แลเห็นพระเจดี ย์ภูเขาทองลิบลิ่วแต่ไกลกลางทุ่งนา แล้วใกล้เข้ามาเรื่อยๆ จนถึงลาน
พระเจดี ย์และองค์พระเจดี ย์

“ไปเจดี ย์ที่ชื่อภูเขาทอง ดูสูงล่องลอยฟ้านภาลัย


อยู่กลางทุ่งรุ่งโรจน์สันโดษเด่น เป็นที่เล่นนาวาคงคาใส
ที่พื้นลานฐานปัทม์ถัดบันได คงคาไหลล้อมรอบเป็นขอบคัน
มีเจดี ย์วิหารเป็นลานวัด ในจั งหวัดวงแขวงก�ำแพงกั้น
ทั ้งองค์ก่อย่อเหลี่ยมสลับกัน เป็นสามชั้นเชิงชานตระหง่านงาม”

6.2 คุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม
6.2.1 สภาพชีวิตและสังคมไทยสมัยโบราณ นิราศภูเขาทองได้บรรยายให้เห็น
ถึงสภาพชีวิตคนไทยหลายประการ เช่น
บทที่ 1 นิราศภูเขาทอง 15

1 ชีวติ ความเป็นอยูข่ องคนสมัยก่อน ดังเช่น ในตอนทีส่ นุ ทรภูเ่ ดินทางผ่านบ้านญวน


ท่านได้กล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของคนในแถบนั้นว่ามีอาชีพจั บปลา
และมีเครื่องมือในการจั บปลาด้วย ดังความว่า

“ถึงบ้านญวนล้วนแต่โรงแลสะพรั่ง มีข้องขังกุ้งปลาไว้ค้าขาย
ตรงหน้าโรงโพงพางเขาวางราย พวกหญิงชายพร้อมเพรียงมาเมียงมอง”

เมื่อผ่านบ้านมอญก็กล่าวถึงการแต่งกายของสาวชาวมอญว่า เกล้าผมมวย ถอนไร


จุก และแต่งหน้าท�ำผมอย่างชาวไทย โดยการจั บเขม่าผสมกับน�้ำมันหอม แล้วน�ำมาท�ำเป็น
น�้ำมันแต่งผม ดังความว่า

“ถึงเกร็ดย่านบ้านมอญแต่ก่อนเก่า ผู้หญิงเกล้ามวยงามตามภาษา
เดี ๋ยวนี้มอญถอนไรจุกเหมือนตุ๊กตา ทั ้งผัดหน้าจั บเขม่าเหมือนชาวไทย”

เมือ่ สุนทรภูพ่ ั กค้างคืนทีว่ ดั หน้าพระเมรุ ท่านได้กล่าวว่ามีการเล่นเพลง ซึง่ เป็นมหรสพ


ในยามว่างของคนไทยสมัยก่อน ซึ่งลอยเรือเล่นเพลง จุดประทีปโคมไฟกันอย่างสนุกสนาน
เหมือนย่านส�ำเพ็งในยามค�่ำคืน ดังความว่า

“บ้างขึ้นล่องร้องล�ำเล่นส�ำราญ ทั ้งเพลงการเกี้ยวแก้กันแซ่เซ็ง
บ้างฉลองผ้าป่าเสภาขับ ระนาดรับรัวคล้ายกับนายเส็ง
มีโคมรายแลอร่ามเหมือนส�ำเพ็ง เมื่อคราวเคร่งก็มิใคร่จะได้ดู
อ้ายล�ำหนึง่ ครึ ่งท่อนกลอนมันมาก ช่างยาวลากเลื้อยเจื้อยจนเหนือ่ ยหู
ไม่จบบทลดเลี้ยวเหมือนเงี้ยวงู จนลูกคู่ขอทุเลาว่าหาวนอน”

2 ชีวิตความเป็นอยู่ ในราชส�ำนัก ก่อนที่สุนทรภู่จะต้องตกยากนั้น สุนทรภู่เคยรับ


ราชการในราชส�ำนักมาก่อน ดังนั้นท่านจึงได้กล่าวถึงชีวิตในราชส�ำนักและพระราชกรณียกิจ
ของพระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศหล้านภาลัย เอาไว้ว่า
16 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“ถึงหน้าแพแลเห็นเรือที่นงั่ คิดถึงครั้งก่อนมาน�้ำตาไหล
เคยหมอบรับกับพระจมื่นไวย แล้วลงในเรือที่นงั่ บัลลังก์ทอง
เคยทรงแต่งแปลงบทพจนารถ เคยรับราชโองการอ่านฉลอง
จนกฐินสิ้นแม่น�้ำในล�ำคลอง มิได้ข้องเคืองขัดหัทยา”

ความข้างต้นสุนทรภู่บอกว่า เมื่อมาถึงหน้าแพเห็นเรือพระที่นัง่ ก็ท�ำให้สุนทรภู่


หวนร�ำลึกถึงความหลัง เมื่อครั้งที่ ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศหล้านภาลัย
อย่างใกล้ ชดิ ไปถวายผ้าพระกฐิน ณ พระอารามต่างๆ ในการนีส้ นุ ทรภูเ่ ป็นผูร้ ับราชโองการ
ให้แต่งหรืออ่านบทพระราชนิพนธ์อยู่เสมอ นอกจากนี้สุนทรภู่ยังกล่าวถึงพระราชกรณียกิจ
ของพระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศหล้านภาลัยอีกอย่างหนึง่ ซึ่งก็คือการปฏิสังขรณ์วัด
เขมาภิรตารามและมีงานฉลองอย่างใหญ่โต ดังความว่า

“โอ้ปางหลังครั้งสมเด็จบรมโกศ มาผูกโบสถ์ก็ได้มาบูชาชื่น
ชมพระพิมพ์ริมผนังยังยั่งยืน ทั ้งแปดหมื่นสี่พันได้วันทา”

6.2.2 ความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ นิราศภูเขาทองกล่าวถึงธรรมชาติของ


มนุษย์ ท�ำให้ผอู้ า่ นเข้าใจจิตใจของผูค้ นได้มากขึน้ โดยเฉพาะในส่วนทีเ่ กีย่ วกับชีวิตของสุนทรภู่
ด้วยแล้ว ท�ำให้เราได้ข้อคิด ข้อปฏิบัติ ข้อเตือนใจหลายข้อจากชีวิตของท่านดังนี้
1 ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณของสุนทรภู่ สุนทรภู่เป็นผู้ที่กตัญญูรู้คุณต่อผู้มี
พระคุณเสมอ ยิ่งเป็นพระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศหล้านภาลัยด้วยแล้ว สุนทรภู่ท่านส�ำนึก
ในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ตลอดมา ดังปรากฏในนิราศภูเขาทองว่า

“โอ้ผ่านเกล้าเจ้าประคุณของสุนทร แต่ปางก่อนเคยเฝ้าทุกเช้าเย็น
พระนิพพานปานประหนึง่ ศีรษะขาด ด้วยไร้ญาติยากแค้นถึงแสนเข็ญ
ทั ้งโรคซ�้ำกรรมซัดวิ บัติเป็น ไม่เล็งเห็นที่ซึ่งจะพึ่งพา
จึงสร้างพรตอตส่าห์ส่งส่วนบุญถวาย ประพฤติฝ่ายสมถะทั ้งวสา
เป็นสิ่งของฉลองคุณมุลิกา ขอเป็นข้าเคียงบาททุกชาติไป”
บทที่ 1 นิราศภูเขาทอง 17

2 ที่ ใดมีรักที่นัน่ มีทุกข์ สุนทรภู่ได้แสดงให้เห็นถึงผลทางด้านลบของความรักว่า

“ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก สุดจะหักห้ามจิ ตคิดไฉน


ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป แต่เมาใจนี้ประจ�ำทุกค�่ำคืน

3 จิตใจของมนุษย์ยากที่จะรู้ สุนทรภู่ได้ ชี้ ให้เห็นถึงความเป็นธรรมดาของจิ ตใจ


มนุษย์ว่า

“โอ้สามัญผันแปรไม่แท้เที่ยง เหมือนอย่างเยี่ยงชายหญิงทิ้งวิ สัย


นีห่ รือจิ ตคิดหมายมีหลายใจ ที่จิตใครจะเป็นหนึง่ อย่าพึงคิด”

4 ความเข้าใจมนุษย์ สุนทรภูเ่ ปรียบคนพาลว่าเหมือนผลมะเดือ่ เพราะคนพาลนัน้


มีลักษณะหวานนอกขมใน ดังเช่นผลมะเดื่อที่ผลข้างนอกดี ข้างในเสีย ดังความจากนิราศว่า

“ถึงบางเดื่อโอ้มะเดื่อเหลือประหลาด บังเกิดชาติแมลงหวี่มี ในไส้


เหมือนคนพาลหวานนอกย่อมขมใน อุปไมยเหมือนมะเดื่อเหลือระอา”

5 ยามสุขเพื่อนมาก ยามยากเพื่อนหาย เป็นธรรมดาของโลกที่ว่า เมื่อยามมีบุญ


วาสนาก็มีผู้มานบนอบนับถือกันเป็นพี ่น้องผองเพื่อน แต่ ในยามตกอับก็กลับท�ำเป็นไม่ร้จู ั ก
เหตุการณ์ดังกล่าวนี้สุนทรภู่ต้องพบเจอมากับตัวเอง ท่านจึงรู้ถึงความจริงข้อนี้ ดังนั้นเมื่อ
ท่านเดินทางผ่านจวนของผูร้ ักษากรุงเก่าซึง่ เคยเป็นเพือ่ นกันมาก่อน ท่านจึงไม่แวะเข้าไปหา
เพราะเจียมตน ดังความว่า

“จะแวะหาท่านเหมือนเมื่อเป็นไวย ก็จะได้รับนิมนต์ขึ้นบนจวน
แต่ยามยากหากว่าถ้าท่านแปลก อกมิแตกเสียหรือเราเขาจะสรวล
เหมือนเข็ญใจใฝ่สูงมิคู่ควร จะต้องม้วนหน้ากลับอัประมาณ”

6 ความเป็นอนิจจัง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกย่อมเป็นอนิจจั ง มีการแปรเปลี่ยน


อยูเ่ สมอ ในชีวิตของคนเราก็ยอ่ มต้องประสบกับการเปลีย่ นแปลงแน่นอน ข้อนีส้ นุ ทรภูท่ า่ น
18 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ได้ ชี้ ให้เห็นถึงความเปลีย่ นแปลงในชีวิตของคนเรา ดังเช่น เมือ่ สุนทรภูไ่ ปนมัสการพระเจดีย์


ภูเขาทอง ท่านได้กล่าวว่าพระเจดี ย์นั้นเก่ามาก ช�ำรุด ทรุดโทรม มีรอยแตกร้าว ไม่ยั่งยืน
ทนทาน สุนทรภู่ได้น�ำสภาพของพระเจดี ย์ที่ท่านเห็น มาเปรียบกับเกียรติยศชื่อเสียงว่า
ไม่ยั่งยืนเหมือนองค์พระเจดี ย์ นานเข้าก็ต้องเสื่อมสลายไปเช่นกัน คนมีเงินก็อาจกลับกลาย
เป็นคนจน ส่วนคนจนก็อาจกลับกลายเป็นคนรวยได้ ดังความในนิราศว่า

“มีห้องถ�้ำส�ำหรับจุดเทียนถวาย ด้วยพระพายพั ดเฉวียนอยู่เหี ยนหัน


เป็นลมทั กษิณาวัฏน่าอัศจรรย์ แต่ทุกวันนี้ชราหนักหนานัก
ทั ้งองค์ฐานรานร้าวถึงเก้าแสก เผยอแยกยอดสุดก็หลุดหัก
โอ้เจดี ย์ที่สร้างยังร้างรัก เสียดายนักนึกน่าน�้ำตากระเด็น
กระนี้หรือชื่อเสียงเกียรติยศ จะมิหมดล่วงหน้าทั นตาเห็น
เป็นผู้ดีมีมากแล้วยากเย็น คิดก็เป็นอนิจจั งเสียทั ้งนั้น”

ครั้นสุนทรภู่นมัสการพระเจดี ย์ภูเขาทองแล้ว ท่านก็ได้พบพระบรมสารีริกธาตุสถิต


อยูใ่ นเกสรดอกบัว ดังนัน้ ท่านจึงอัญเชิญมาด้วย แต่พอรุง่ เช้าพระบรมสารีริกธาตุกอ็ นั ตรธาน
ไป สุนทรภู่ผิดหวังมาก ท่านจึงชี้ ให้ผู้อ่านเห็นว่าชี วิตของคนเราย่อมมีสมหวัง ผิ ดหวัง
คละเคล้ากันไป ดังความว่า

“พอกราบพระปะดอกปทุมชาติ พบพระธาตุสถิตในเกสร
สมถวิ ลยินดี ชลุ ีกร ประคองช้อนเชิญองค์ลงนาวา
กับหนูพัดมัสการส�ำเร็จแล้ว ใส่ขวดแก้ววางไว้ใกล้เกศา
มานอนกรุงรุ่งขึ้นจะบูชา ไม่ปะตาตันอกยิ่งตกใจ
แสนเสียดายหมายจะชมบรมธาตุ ใจจะขาดคิดมาน�้ำตาไหล
โอ้บุญน้อยลอยลับครรไลไกล เสียน�้ำใจเจียนจะดิ้นสิ้นชีวัน”

6.2.3 ความรูด้ า้ นต่างๆ นิราศภูเขาทองได้แสดงโลกทัศน์และความรู้ ในด้านต่างๆ


ให้แก่ผู้อ่านอย่างลึกซึ้งหลายประการ เช่น
1 ความรู้ด้านต�ำนานสถานที่ เช่น ความรู้เรื่องความเป็นมาของเมืองปทุมธานี
ซึ่งเดิมมีนามว่า สามโคก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศหล้านภาลัย ได้เปลี่ยนนามให้
ใหม่ว่า ปทุมธานี เพราะมีดอกบัวมากมาย และยกให้เป็นเมืองชั้นตรีด้วย ดังความในนิราศ
ว่า
บทที่ 1 นิราศภูเขาทอง 19

“ถึงสามโคกโศกถวิ ลถึงปิ่นเกล้า พระพุ ทธเจ้าหลวงบ�ำรุงซึ่งกรุงศรี


ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว”

2 ความรูด้ า้ นคติธรรม สุนทรภูไ่ ด้แทรกคติธรรมลงในนิราศภูเขาทอง ท�ำให้ผอู้ า่ น


ได้ข้อคิดหลายประการ คติธรรมที่สุนทรภู่ได้กล่าวถึงนั้นมีอยู่มากมาย เช่น

“ถึงบ้านงิ้วเห็นแต่งิ้วละลิ่วสูง ไม่มีฝูงสัตว์สิงกิ่งพฤกษา
ด้วยหนามดกรกดาษระดะตา นึกก็น่ากลัวหนามขามขามใจ
งิ้วนรกสิบหกองคุลีแหลม ดังขวากแซมเสี้ยมแทรกแตกไสว
ใครท�ำชู้คู่ท่านครั้นบรรลัย ก็ต้องไปปีนต้นน่าขนพอง
เราเกิดมาอายุเพี ยงนี้แล้ว ยังคลาดแคล้วครองตัวไม่มัวหมอง
ทุกวันนี้วิปริตผิ ดท�ำนอง เจียนจะต้องปีนบ้างหรืออย่างไร”

3 ความรูด้ า้ นสุภาษิต นิราศภูเขาทองได้แทรกสุภาษิตส�ำหรับเตือนใจผูอ้ า่ นเอาไว้


หลายเรื่อง และภาษิตนั้นก็เป็นที่จ�ำกันได้ขึ้นใจของคนไทย เช่น

“ถึงบางพูดพูดดี เป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิ ต


แม้นพูดชั่วตัวตายท�ำลายมิตร จะชอบผิ ดในมนุษย์เพราะพูดจา”

หรือ

“ถึงบางเดื่อโอ้มะเดื่อเหลือประหลาด บังเกิดชาติแมลงหวี่มี ในไส้


เหมือนคนพาลหวานนอกย่อมขมใน อุปไมยเหมือนมะเดื่อเหลือระอา
อีกสองสิ่งหญิงร้ายและชายชั่ว อย่าเมามัวหมายรักสมัครสมาน”
บรรณานุกรม 1

ด�ำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2518). ชีวติ และงานของสุนทรภู.่ พิมพ์ครัง้ ที่ 9.


กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์คลังวิ ทยา.
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต และณัฐกาญจน์ นาคนวล. (2553). สุนทรภู่ ใน นามานุกรม
วรรณคดีไทย ชุดที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
บรรเทา กิตติศักดิ์ และกัมพุ ชนาฎ เปรมกมล. (2537). การพินจิ วรรณคดีมรดกเฉพาะ
เรื ่อง. พิมพ์ครั้งที่ 9. บริษัท โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จ�ำกัด.
ประทีป วาทิกทินกร. (2553). วรรณกรรมสุนทรภู่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร :
ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
สมบัติ ตั้งก่อเกียรติ. (2550). ตามรอยสุนทรภู่ไปภูเขาทอง. กรุงเทพมหานคร :
ส�ำนักพิมพ์สุวีริยสาส์น.
สมพั นธุ์ เลขะพั นธุ์. (2549). วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. พิมพ์ครั้งที่ 11.
กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). หนังสือเรี ยน รายวิชาพื้นฐาน
ภาษาไทย วรรณคดีวจิ กั ษ์ ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1. พิมพ์ครัง้ ที่ 3. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
อานนท์ จิตรประพาส. (2553). สุนทรภูม่ หากวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร :
ส�ำนักพิมพ์ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.
โ ค ล ง โ ล ก นิ ติ 2
1. ประวัติความเป็นมา
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ครั้งทรง
มีพระบรมราชโองการให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิ มลมังคลาราม พ.ศ. 2374
นั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึ กโคลงโลกนิติลงบนแผ่นศิลา แล้ว
ติดไว้ที่ผนังเพื่อให้เป็นธรรมทานแก่กุลบุตร กุลธิดา และประชาชนทั ่วไป ให้
มีโอกาสได้อ่านและศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
ทั ้งนี้ทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้าฯ ให้ส มเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาเดชาดิศร (เมื่อครั้งยังทรงเป็นกรมขุนเดชอดิศร) เป็นผู้รวบรวม
โคลงโลกนิติของเก่า น�ำเอามาช�ำระใหม่ ให้มีส�ำนวนภาษาที่ประณีต ไพเราะ
เพราะโคลงโลกนิติของเก่ามีถ้อยค�ำที่วิปลาสคลาดเคลื่อนมาก
โคลงโลกนิติที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ทรง
ช�ำระใหม่น้ี มีจ�ำนวนทั ้งสิ้น 430 โคลง (ไม่นับโคลงน�ำเรื่อง 2 บทแรก)

2. ประวัติผู้แต่ง
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ทรงเป็นพระราชโอรส
พระองค์ที่ 15 ในพระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศหล้านภาลัย มีพระนามเดิม
ว่า พระองค์เจ้าชายมั่ง พระมารดาคือเจ้าจอมมารดานิม่ ธิดาของเจ้าพระยา
พระคลัง (หน) ประสูติเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2336
22 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศหล้านภาลัย ประมาณ พ.ศ. 2361 ทรงได้รับ


การสถาปนาเป็นกรมหมื่นเดชอดิศร ก�ำกับกรมพระอาลักษณ์
ต่อมารัชกาลพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2375 ทรงได้รับการเลื่อน
กรมเป็น กรมขุนเดชอดิศร แล้วในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ก็ได้รับการ
เลื่อนกรมเป็น กรมสมเด็จพระเดชาดิศร และทรงก�ำกับกรมนาอีกกรมหนึง่ ต่อมาในรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ออกพระนาม กรมสมเด็จพระเดชาดิศร
เสียใหม่ว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ได้รับความไว้วางพระราชหฤทั ย
จากพระมหากษัตริยท์ กุ รัชกาล ดังจะเห็นได้จากการทีพ่ ระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั
ทรงยกย่องสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ว่า “เชฐมัตตัญญู” แปลว่า
ผู้เจริญอย่างสูงสุดที่รู้ประมาณ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงยกย่อง
ว่า “ทรงพระสติปัญญาสามารถ ฉลาดในโวหารอันควรแลไม่ควร และสรรพพจน์ โวหาร
ในสยามาทิพากย์พเิ ศษต่างๆ หาผูจ้ ะเสมอมิได้ ในกาลบัดนี.้ ..เป็นมหาสยามกวีชาตินกั ปราชญ์
อันประเสริ ฐ” (อ้างจาก สุปาณี พั ดทอง, 2553 : 75-76)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 กันยายน
พ.ศ. 2402 ขณะมีพระชนมายุได้ 67 ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา

3. ลักษณะค�ำประพันธ์
โคลงโลกนิติ แต่งด้วยค�ำประพั นธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพ ซึ่งโคลงสี่สุภาพบางบท
จะมีลักษณะเป็นโคลงกระทู้ ค�ำหน้าถ้าอ่านแนวดิ่งลงมาจะได้ความหมาย และเมื่อน�ำกระทู้
ไปเป็นต้นบาทของแต่ละบาทก็อ่านได้ความหมายด้วย (บุปผา บุญทิพย์, 2558 : 188)
ดังตัวอย่าง

“เพื่อนกิน สิ้นทรัพย์แล้ว แหนงหนี


หาง่าย หลายหมื่นมี มากได้
เพื่อนตาย ถ่ายแทนชี- วาอาตม์
หายาก ฝากผี ไข้ ยากแท้จักหา”
บทที่ 2 โคลงโลกนิติ 23

4. เนื้อเรื ่อง
ในส่วนของเนื้อเรื่องที่จะกล่าวถึงนี้ จะขอกล่าวถึงเฉพาะโคลงที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ
เรียนรายวิชาพืน้ ฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึง่ กระทรวงศึกษาธิการ
ได้คัดเลือกโคลงบทที่ 27, 57, 76, 87, 130, 185, 186, 231, 282, 312, 392, 407,
และ 417 มาให้นักเรียนได้ศึกษา

โคลงบทที่ 27 แปลความ >>


อย่าคลุกคลี ใกล้ชดิ กับเพือ่ นทีเ่ ป็นคน
“มิตรพาลอย่าคบให้ สนิทนัก พาลมากนัก เพราะคนพาลจะไม่มคี วาม
พาลใช่มิตรอย่ามัก กล่าวใกล้ เป็นเพื่อน นึกเคืองเราเมื่อใดก็จะหา
ครั้นคราวเคียดคุมชัก เอาโทษ ใส่นา เรื่องเรา รู้ความลับเรื่องใดของเราก็
รู้เหตุสิ่งใดไซร้ ส่อสิ้น กลางสนาม” จะเอาไปเปิดเผยให้คนอื่นรู้

โคลงบทที่ 57 แปลความ >>


คนรูน้ อ้ ยแต่หลงผิดคิดว่าตนรูม้ ากนัน้
“รู้น้อยว่ามากรู้ เริงใจ
เปรียบเสมือนกบที่อยู่ ในสระเล็กๆ
กลกบเกิดอยู่ใน สระจ้อย ไม่เคยพบเห็นทะเลอันกว้างใหญ่ จึง
ไป่เห็นชเลไกล กลางสมุทร หลงส�ำคัญผิ ดคิดว่าน�้ำในสระที่ตน
ชมว่าน�้ำบ่อน้อย มากล�้ำ ลึกเหลือ” อยู่นั้นลึกมาก

โคลงบทที่ 76 แปลความ >>


แม้มหาสมุทรจะลึกมากขนาดไหน แต่
“พระสมุทรสุดลึกล้น คณนา เราก็สามารถวัดได้ โดยใช้สายดิง่ ทิง้ ลง
สายดิ่งทิ้งทอดมา หยั่งได้ ไปหยั่งดู หรือภูเขาจะสูงสักเพี ยงใดก็
เขาสูงอาจวัดวา ก�ำหนด อาจวัดความสูงได้ แต่จิตใจของคนนัน้
จิ ตมนุษย์น้ี ไซร้ ยากแท้ หยั่งถึง” กลับมิอาจที่จะวัดได้ว่าเป็นอย่างไร
24 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

โคลงบทที่ 87 แปลความ >>


คนทีร่ ักกันแม้จะอยูไ่ กลกันสักเพียงใด
“รักกันอยู่ขอบฟ้า เขาเขี ยว ก็รู้สึกว่าเหมือนอยู่ ใกล้กัน แต่คนที่
เสมออยู่หอแห่งเดี ยว ร่วมห้อง เกลียดกัน แม้เห็นกันอยู่ตรงหน้าก็
ชังกันบ่แลเหลียว ตาต่อ กันนา ไม่อยากจะมองหน้ากัน ต่อให้อยู่ ใกล้
เหมือนขอบฟ้ามาป้อง ป่าไม้มาบัง” กันแค่ไหน ก็เหมือนกับว่ามีขอบฟ้ามา
กั้น ป่าไม้มาขวาง

โคลงบทที่ 130 แปลความ >>


สนิมของเหล็กนั้น แท้ที่จริงแล้วเกิด
“สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ ในตน ขึ้นมาจากเนื้อเหล็กนัน่ เอง และสนิม
กินกัดเนื้อเหล็กจน กร่อนขร�้ำ นัน้ ก็จะกัดกินเนือ้ เหล็กจนผุกร่อนไป
บาปเกิดแต่ตนคน เป็นบาป หมดสิน้ เปรียบได้กบั บาปทีเ่ กิดขึน้ มา
บาปย่อมท�ำโทษซ�้ำ ใส่ผู้บาปเอง” จากตัวของคนซึง่ ผลแห่งบาปนัน้ ก็จะ
ให้โทษแก่ผู้ท�ำบาปนั้นเอง

โคลงบทที่ 185 แปลความ >>


นกตัวน้อยๆ มีขนน้อยสมกับตัว ดัง
“นกน้อยขนน้อยแต่ พอตัว นั้นจึงย่อมท�ำรังแต่น้อยพออยู่กันได้
รังแต่งจุเมียผัว อยู่ได้ ตามประสาผัวเมีย คนเราก็เช่นกัน
มักใหญ่ย่อมคนหวัว ไพเพิด อย่าได้พยายามคิดการใหญ่เกินตัว
ท�ำแต่พอตัวไซร้ อย่าให้คนหยัน” ให้คนเขาเย้ยหยันเอาได้ ควรท�ำให้
พอเหมาะพอตัวจะดี ที่สุด

โคลงบทที่ 186 แปลความ >>


เมื่อเห็นคนอื่นเขามั่งมีศรีสุข ก็อย่า
“เห็นท่านมีอย่าเคลิ้ม ใจตาม เคลิม้ ตนไปท�ำตามเขา แม้เราจะยากจน
เรายากหากใจงาม อย่าคร้าน แต่ถ้ามีน�้ำใจที่ดี ไม่เกียจคร้าน ขยัน
อุตส่าห์พยายาม การกิจ ขันแข็ง มุมานะท�ำงานก็จะได้ดีเอง ควร
เอาเยี่ยงอย่างเพื่อนบ้าน อย่าท้อท�ำกิน” ดูตวั อย่างดีๆ จากเพือ่ นบ้านและอย่า
ท้อที่จะท�ำมาหากิน
บทที่ 2 โคลงโลกนิติ 25

โคลงบทที่ 231 แปลความ >>


พระคุณของแม่นั้น ยิ่งใหญ่เหมือน
“คุณแม่หนาหนักเพี ้ยง พสุธา แผ่นดิน พระคุณของพ่อเปรียบเหมือน
คุณบิ ดรดุจอา- กาศกว้าง ท้องฟ้า พระคุณของพีเ่ ปรียบดังขุนเขา
คุณพี ่พ่างศิขรา เมรุมาศ ใหญ่ และพระคุณของครูอาจารย์นั้น
คุณพระอาจารย์อ้าง อาจสู้สาคร” เปรียบดั่งห้วงมหาสมุทร

โคลงบทที่ 282 แปลความ >>


ก้านของดอกบัวนั้น สามารถบอกได้
“ก้านบัวบอกลึกตื้น ชลธาร
ว่าแม่นำ�้ นัน้ ตืน้ หรือลึกเพียงใด กิริยา
มารยาทส่อสันดาน ชาติเชื้อ มารยาทของคน ก็สามารถบอกถึงการ
โฉดฉลาดเพราะค�ำขาน ควรทราบ อบรมสั่งสอนของชาติตระกูลได้ จะดู
หย่อมหญ้าเหี ่ยวแห้งเรื้อ บอกร้ายแสลงดิน” คนว่าโง่หรือฉลาดก็ดูได้จากการพูด
จะดูว่าดินดี หรือไม่ดีก็ดูได้ที่ต้นหญ้า
ถ้าต้นหญ้าแห้งเหี ่ยว ก็แสดงว่าดิน
ตรงนั้นไม่ดี

โคลงบทที่ 312 แปลความ >>


วัว ควาย เมื่อตายไปแล้ว ยังเหลือ
“โคควายวายชีพได้ เขาหนัง เขากับหนังเอาไว้เป็นประโยชน์ แต่
เป็นสิ่งเป็นอันยัง อยู่ไซร้ คนเราเมือ่ ตายไปแล้วก็ไม่มอี ะไรเหลือ
คนเด็ดดับสูญสัง- ขารร่าง นอกเสียจากความดีหรือความชัว่ ที่ ได้
เป็นชื่อเป็นเสียงได้ แต่ร้ายกับดี ” กระท�ำไว้เท่านั้น

โคลงบทที่ 392 แปลความ >>


“น�้ำใช้ใส่ตุ่มตั้ง เต็มดี น�้ำใช้ น�้ำอบ น�้ำปูน และน�้ำใจ ทั ้ง 4
น�้ำนี้ ควรมีไว้อย่าได้ขาด
น�้ำอบอ่าอินทรีย์ อย่าผร้อง
น�้ำปูนใส่เต้ามี อย่าขาด
น�้ำจิ ตอย่าให้ข้อง ขัดน�้ำใจใคร”
26 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

โคลงบทที่ 407 แปลความ >>


เพื่อนกินนั้น เมื่อเราไม่มีทรัพย์สินก็
“เพื่อนกิน สิ้นทรัพย์แล้ว แหนงหนี มักจะหายหน้าไป แต่ถา้ เรามัง่ มีกม็ กั
หาง่าย หลายหมื่นมี มากได้ จะมาห้อมล้อมเต็มไปหมด ส่วนเพือ่ น
เพื่อนตาย ถ่ายแทนชี- วาอาตม์ ตายนัน้ สามารถฝากผีไข้ได้ ในยามเจ็บ
หายาก ฝากผี ไข้ ยากแท้จักหา” ป่วยและสามารถตายแทนกันได้ แต่
ก็เป็นเพื่อนที่หาได้ยากมาก

โคลงบทที่ 417 แปลความ >>


คนอ่อนหวานย่อมมีเพื่อนมาก คน
“อ่อนหวานมานมิตรล้น เหลือหลาย หยาบกระด้างย่อมไม่มี ใครอยากคบหา
หยาบบ่มีเกลอกราย เกลื่อนใกล้ เหมือนพระจันทร์ทมี่ หี มูด่ าวแวดล้อม
ดุจดวงศศิฉาย ดาวดาษ ประดับนา เพราะมีความอ่อนโยน แต่ดวงอาทิตย์
สุริยะส่องดาราไร้ เพื่อร้อนแรงแสง” นั้นไม่มีหมู่ดาวมาแวดล้อมเป็นเพื่อน
เพราะแสงอันร้อนแรงเกินไปนัน่ เอง

5. คุณค่า

5.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
แม้ว่าโคลงโลกนิติจะจั ดอยู่ในประเภทของวรรณกรรมค�ำสอน แต่ก็มีความไพเราะ
ทางด้านภาษาอยู่ไม่น้อย ความไพเราะทางด้านภาษาที่ว่านั้น มีดังนี้
5.1.1 การใช้ความเปรี ยบ กล่าวคือ มีการน�ำธรรมชาติและสิ่งใกล้ตัวมาเปรียบ
เทียบกัน เช่น น�ำก้านบัวทีส่ ามารถบอกความลึกตืน้ ของน�ำ้ และความเหีย่ วแห้งของต้นหญ้า
ที่สามารถบอกความชุ่มชื้นของผืนดิน มาเปรียบเทียบกับกิริยาอาการของมนุษย์ที่สามารถ
บอกถึงการอบรมสั่งสอนได้
5.1.2 การใช้ความเปรี ยบที่ตรงกันข้าม คือ การน�ำค�ำตรงกันข้ามมาเป็นความ
เปรียบ ท�ำให้เห็นความหมายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น
บทที่ 2 โคลงโลกนิติ 27

“รักกันอยู่ขอบฟ้า เขาเขี ยว
เสมออยู่หอแห่งเดี ยว ร่วมห้อง
ชังกันบ่แลเหลียว ตาต่อ กันนา
เหมือนขอบฟ้ามาป้อง ป่าไม้มาบัง”

โคลงบทนีม้ กี ารใช้คำ� ทีม่ คี วามหมายตรงกันข้าม คือค�ำว่า รัก/ชัง มากล่าวเปรียบเทียบ


ให้เห็นว่า ถ้าคนเรารักกัน ต่อจะให้อยูไ่ กลกันสักแค่ไหนก็เหมือนกับว่าอยู่ ใกล้กัน ส่วนคนที่
เกลียดชังกัน ต่อให้อยู่ ใกล้กันแค่ไหน ก็เหมือนกับมีขอบฟ้าหรือป่าไม้มากั้นไว้
5.1.3 การใช้ค�ำน้อยแต่กินความมาก กล่าวคือ ใช้ถ้อยค�ำที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย
ท�ำให้ทราบความหมายได้รวดเร็ว เช่น

“รู้น้อยว่ามากรู้ เริงใจ
กลกบเกิดอยู่ใน สระจ้อย
ไป่เห็นชเลไกล กลางสมุทร
ชมว่าน�้ำบ่อน้อย มากล�ำ้ ลึกเหลือ”

โคลงบทนี้ ใช้ค�ำน้อยและกินความมาก อ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีว่าเป็นค�ำกล่าวต�ำหนิ


คนที่มีความรู้น้อยแต่ส�ำคัญตนว่ามีความรู้มาก ซึ่งเปรียบกับกบที่อยู่ ในสระเล็กๆ ไม่เคย
เห็นทะเลอันกว้างใหญ่ ก็คิดแต่เพี ยงว่าสระที่ตนอาศัยนั้นกว้างหนักหนาแล้ว
5.1.4 การเล่นค�ำซ�ำ้ โคลงบทหนึง่ มีการเล่นค�ำซ�ำ้ ในต้นบาท ท�ำให้เกิดความไพเราะ
ได้แก่โคลงที่ว่า

“น�้ำใช้ ใส่ตุ่มตั้ง เต็มดี


น�้ำอบอ่าอินทรีย์ อย่าผร้อง
น�้ำปูนใส่เต้ามี อย่าขาด
น�้ำจิ ตอย่าให้ข้อง ขัดน�้ำใจใคร”

โคลงที่ยกมานี้มีการเล่นค�ำซ�้ำคือค�ำว่า “น�้ำ” หน้าบาททุกบาท เป็นการเน้นให้เห็น


ถึงความส�ำคัญของน�้ำต่างๆ คือ น�้ำใช้ควรใส่ตุ่มไว้ ให้เต็ม น�้ำอบที่ ใช้ลูบไล้ร่างกาย ก็ควรมี
28 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ไว้อย่าให้พร่องขวด น�้ำปูนในเต้าปูนก็ควรมีไว้อย่าได้ขาด เผื่อแขกไปใครมา จะได้หยิบใช้ได้


ทั นที และที่ส�ำคัญคือน�้ำใจที่ทุกคนต้องมี เพราะจะได้ไม่ผิดใจกับผู้อื่น

5.2 คุณค่าด้านความรู้
คุณค่าทางด้านความรู้ที่ผู้อ่านพึงหาได้จากโคลงโลกนิติน้ี คือ ความรู้ด้านค�ำสอน
ต่างๆ ที่ผู้แต่งต้องการสั่งสอนกุลบุตร กุลธิดา ให้ยึดถือไว้เป็นแนวทางในการด�ำรงชีวิต
และความรู้ด้านค�ำสอนต่างๆ ที่กล่าวถึงในโคลงโลกนิตินั้น มีดังนี้
5.2.1 สอนให้ท�ำความดี โคลงโลกนิติมีค�ำสอนที่สอนให้รู้จักท�ำความดี ละเว้น
ความชั่ว ผู้ ใดท�ำดี ย่อมได้รับผลดี ตอบแทน ส่วนผู้ที่ท�ำชั่วก็จะได้รับผลร้ายจากการกระท�ำ
นั้นๆ ซึ่งก็เหมือนกับสนิมที่กัดกร่อนเนื้อเหล็กให้ผุพังไป ดังความว่า

“สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ ในตน
กินกัดเนื้อเหล็กจน กร่อนขร�้ำ
บาปเกิดแต่ตนคน เป็นบาป
บาปย่อมท�ำโทษซ�้ำ ใส่ผบู้ าปเอง”

ยังมีโคลงอีกบทหนึง่ ทีแ่ สดงให้เห็นถึงผลของการท�ำดี และชัว่ ของมนุษย์วา่ ท�ำเช่นไร


ย่อมได้ผลเช่นนั้น ตายไปแล้วก็จะมีคนพูดถึงแต่เรื่องร้ายกับเรื่องดี โดยน�ำไปเปรียบกับเขา
ของวัวและควาย ดังโคลงที่ว่า

“โคควายวายชีพได้ เขาหนัง
เป็นสิ่งเป็นอันยัง อยู่ไซร้
คนเด็ดดับสูญสัง- ขารร่าง
เป็นชื่อเป็นเสียงได้ แต่รา้ ยกับดี”

5.2.2 สอนให้รู้จักประมาณตน โคลงโลกนิติสอนให้รู้จักดูก�ำลังความสามารถ


ของตน คือ ไม่ท�ำน้อยเกินไปหรือท�ำมากเกินไป โดยให้ดูการด�ำเนินชี วิตของนกน้อย
เป็นตัวอย่างว่า หากินและท�ำรังแต่พอตัว ดังโคลงที่ว่า
บทที่ 2 โคลงโลกนิติ 29

“นกน้อยขนน้อยแต่ พอตัว
รังแต่งจุเมียผัว อยู่ได้
มักใหญ่ย่อมคนหวัว ไพเพิด
ท�ำแต่พอตัวไซร้ อย่าให้คนหยัน”

5.2.3 สอนให้ร้จู ักคบคนและพิจารณาคน โคลงโลกนิติสอนให้ร้จู ักคบคนและ


พิจารณาคน โดยยกตัวอย่างจากก้านบัวที่สามารถบอกความลึกตื้นของน�้ำ กิริยาอาการ
ของคน ก็บง่ บอกถึงการได้รับการอบรมสัง่ สอนว่าดีหรือไม่ ค�ำพูดก็บง่ บอกว่าผูพ้ ดู นัน้ โง่หรือ
ฉลาด หย่อมหญ้าที่แห้งเหี ่ยวก็บอกถึงความไม่อุดมสมบูรณ์ของผืนดิน ดังความว่า

“ก้านบัวบอกลึกตื้น ชลธาร
มารยาทส่อสันดาน ชาติเชื้อ
โฉดฉลาดเพราะค�ำขาน ควรทราบ
หย่อมหญ้าเหี ่ยวแห้งเรื้อ บอกร้ายแสลงดิน”

มีโคลงบทหนึง่ ที่กล่าวถึงจิ ตใจของคนว่าหยั่งรู้ได้ยาก ต่างจากมหาสมุทรและภูเขา


ที่สามารถคาดคะเนเอาได้ว่าลึกและสูงแค่ไหน ดังโคลงที่ว่า

“พระสมุทรสุดลึกล้น คณนา
สายดิ่งทิ้งทอดมา หยั่งได้
เขาสูงอาจวัดวา ก�ำหนด
จิ ตมนุษย์น้ี ไซร้ ยากแท้หยั่งถึง”

โคลงอีกบทหนึง่ สอนให้อยูห่ า่ งไกลจากคนชัว่ เพราะหากคบคนชัว่ เป็นมิตร เมือ่ ผิดใจ


กัน เขาอาจโยนเรื่องไม่ดีมาให้เราได้ ดังความว่า

“มิตรพาลอย่าคบให้ สนิทนัก
พาลใช่มิตรอย่ามัก กล่าวใกล้
ครั้นคราวเคียดคุมชัก เอาโทษ ใส่นา
รู้เหตุสิ่งใดไซร้ ส่อสิ้นกลางสนาม”
30 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

5.2.4 สอนไม่ ให้ท�ำตามอย่างคนอื่น โคลงโลกนิติสอนไม่ ให้ท�ำตามอย่างคนอื่น


ในเรื่องที่ ไม่ควรท�ำตาม เช่น ไม่ควรอยากได้อยากมีตามอย่างคนอื่นในเวลาและโอกาสที่ยัง
ไม่อ�ำนวย ถ้าเรายังจนอยู่ควรขยันท�ำมาหากิน อย่าเกียจคร้านและท้อแท้ อีกทั ้งให้ร้จู ั กใช้
ชีวิตอย่างพอเพี ยง ดังโคลงที่ว่า

“เห็นท่านมีอย่าเคลิ้ม ใจตาม
เรายากหากใจงาม อย่าคร้าน
อุตส่าห์พยายาม การกิจ
เอาเยี่ยงอย่างเพื่อนบ้าน อย่าท้อท�ำกิน”

5.2.5 สอนให้มีความกตัญญู ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี ดังนั้นโคลง


โลกนิติจึงสอนให้มีความกตัญญูต่อพ่อแม่และครูอาจารย์ โดยกล่าวเปรียบเทียบให้เห็นถึง
พระคุณที่ยิ่งใหญ่ของแม่ พ่อ พี ่ และครูอาจารย์ ดังความว่า

“คุณแม่หนาหนักเพี ้ยง พสุธา


คุณบิ ดรดุจอา- กาศกว้าง
คุณพี ่พ่างศิขรา เมรุมาศ
คุณพระอาจารย์อ้าง อาจสู้สาคร”

5.2.6 สอนให้เป็นคนสุภาพอ่อนหวาน คนทีส่ ภุ าพอ่อนหวานย่อมมีเพือ่ นมากมาย


ต่างกับคนที่หยาบกระด้างที่ ไม่มี ใครอยากคบ เปรียบเสมือนพระจั นทร์ที่มีแสงนวลอ่อน
จึงมีหมู่ดาวมาแวดล้อม ต่างกับพระอาทิตย์ที่มีแสงแรงกล้า ท�ำให้ไม่มีหมู่ดาวมาแวดล้อม
ดังความว่า

“อ่อนหวานมานมิตรล้น เหลือหลาย
หยาบบ่มีเกลอกราย เกลื่อนใกล้
ดุจดวงศศิฉาย ดาวดาษ ประดับนา
สุริยะส่องดาราไร้ เพื่อร้อนแรงแสง”
บรรณานุกรม 2

โคลงโลกนิติ ฉบับถอดความร้อยแก้ว. (2544). กรุงเทพมหานคร : บันทึกสยาม.


บุปผา บุญทิพย์. (2558). ร้อยกรอง. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
รามค�ำแหง.
ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. (2520). ผู้สร้างวรรณกรรม. ม.ป.ท..
สุปาณี พั ดทอง (2553). เดชาดิศร, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา
ใน นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา.
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). หนังสือเรี ยน รายวิชา
พื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สุ ภ า ษิ ต พ ร ะ ร่ ว ง 3
1. ประวัติความเป็นมา
สุภาษิตพระร่วง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึง่ ว่า บัญญัติพระร่วง เป็นสุภาษิตที่เก่า
แก่ของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) โปรดให้จารึ กติด
ไว้ที่ผนังด้านในศาลาหน้าพระมหาเจดี ย์หลังเหนือ วัดพระเชตุพนวิ มลมังคลาราม

2. ประวัติผู้แต่งและสมัยที่แต่ง
ในเรื่องของผู้แต่งและสมัยที่แต่งสุภาษิตพระร่วงนั้น ยังไม่อาจเจาะจงลงไป
ได้ว่าแต่งในสมัยใดและผู้แต่งคือใคร นักวรรณคดี บางกลุ่มเชื่อว่าเป็นวรรณกรรม
ที่แต่งในสมัยสุโขทั ย แต่นักวรรณคดี บางกลุ่มเชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่เขี ยนขึ้นใหม่
ในระยะเวลาที่ห่างจากสมัยสุโขทั ยมาก อย่างไรก็ตามนักวรรณคดี หลายท่านได้ตั้ง
ข้อสันนิษฐานถึงผู้แต่งและสมัยที่แต่งของสุภาษิตพระร่วงไว้ ดังนี้
สิทธา พินจิ ภูวดล (2522 : 245) กล่าวว่า โดยเหตุที่สุภาษิตพระร่วงเป็น
วรรณกรรมประเภทค�ำสอน ซึง่ มักจะเกิดขึน้ จากการรวบรวม ดังนัน้ จึงเป็นการสุดวิสยั
ทีจ่ ะสืบค้นได้วา่ ใครเป็นผูส้ ร้างสุภาษิตขึน้ ถึงแม้จะอ้างว่าเป็นสุภาษิตพระร่วงก็คงจะ
มิได้หมายความว่าพระเจ้าแผ่นดินสุโขทัยทรงคิดแต่งขึน้ แล้วทรงน�ำมาเรียงร้อยเป็น
บทประพั นธ์ต่อเนือ่ งกัน อนึง่ ในปลายสมัยสุโขทั ยมีพระเถระที่ทรงคุณธรรมความ
รู้ทางคดี โลกและคดี ธรรมหลายท่าน เช่น พระมหาสุมนเถระและนักปราชญ์อื่นๆ
ในราชส�ำนัก ดังปรากฏในศิลาจารึ กหลักที่ 3 (จารึ กนครชุม) ซึ่งพระเถระต่างๆ นี้
อาจเป็นผู้รวบรวมภาษิตขึ้นมาก่อนก็ได้ แต่ไม่มีหลักฐานว่าได้เขี ยนหรือจารึ กไว้ที่ ใด
34 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

เจือ สตะเวทิน (2502 : 22-24) ได้สันนิษฐานถึงผู้แต่งและสมัยที่แต่งของสุภาษิต


พระร่วงเอาไว้วา่ เรือ่ งสุภาษิตพระร่วงเพิง่ จะปรากฏหลักฐานในสมัยรัชกาลที่ 3 คราวโปรดฯ
ให้จารึ กวิ ชาการที่วัดพระเชตุพน ปรากฏว่ามีสุภาษิตพระร่วงอยู่ 158 บท ถ้อยค�ำมิใช่ค�ำครั้ง
กรุงสุโขทัยทัง้ หมด มีคำ� ครัง้ กรุงรัตนโกสินทร์ปนอยูด่ ว้ ย จึงเข้าใจกันว่าได้ถกู ดัดแปลงแก้ไข
ถ้อยค�ำไปเสียบ้างในชั้นหลัง ส่วนเนื้อความนั้นคงเป็นของเก่าครั้งสุโขทั ยจริง
ปัญหาทีว่ า่ พระร่วงนัน้ หมายถึงพระร่วงองค์ไหน เจือ สตะเวทิน กล่าวว่า ทีน่ า่ สงสัย
ก็มีเพี ยงสององค์ คือ พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชกับพระมหาธรรมราชาลิไท ทั ้งสองพระองค์
ทรงเป็นปราชญ์ที่คอยสั่งสอนประชาชน พ่อขุนรามค�ำแหงทรงสอนบนพระแท่นมนังคศิลา
บาตร พระมหาธรรมราชาลิไทก็ทรงสอนประชาชนด้วยหนังสือไตรภูมิพระร่วง แต่ลักษณะ
ของสุภาษิตเหล่านี้น่าจะเป็นพระบรมราโชวาทของพ่อขุนรามค�ำแหงมากกว่า เพราะทรงสั่ง
สอนด้วยถ้อยค�ำพื้นๆ ส�ำหรับปฏิบัติในชีวิต ไม่ ใช้ศัพท์สูง ไม่ยกธรรมะ ไม่กล่าวถึงอภินหิ าร
ต่างๆ อย่างพระมหาธรรมราชาลิไท ส�ำนวนภาษาก็คล้ายกับส�ำนวนในหลักศิลาจารึกของพ่อขุน
รามค�ำแหง ดังนัน้ นักปราชญ์สว่ นมากจึงเชือ่ กันว่าสุภาษิตพระร่วงเป็นของพ่อขุนรามค�ำแหง
พระวรเวทย์พิสิษฐ์ (2496 : 28) กล่าวว่า สุภาษิตพระร่วงน่าจะเป็นของพ่อขุน
รามค�ำแหง ทัง้ นี้ โดยพิจารณาจากบุคลิกลักษณะของพ่อขุนรามค�ำแหง และพิจารณาเปรียบ
เทียบถ้อยค�ำ ส�ำนวน ในสุภาษิตพระร่วงกับศิลาจารึ กสุโขทั ยหลักที่ 1 ในด้านบุคลิกนั้น
ปรากฏว่าพ่อขุนรามค�ำแหง ได้เสด็จประทับบนพระแท่นมนังคศิลาบาตรสัง่ สอนพลเมืองใน
วันที่มิใช่วันธรรมสวนะ ในด้านส�ำนวนโวหารสุภาษิตพระร่วงก็มีความคล้ายคลึงกับส�ำนวน
โวหารในศิลาจารึ กหลักที่ 1 กล่าวคือ เป็นกลอนสั้นและกินความมาก ในด้านถ้อยค�ำใน
สุภาษิตพระร่วงก็เป็นค�ำไทยพื้นๆ แบบเดี ยวกับศิลาจารึ กหลักที่ 1 ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้
ว่าสุภาษิตพระร่วงน่าจะแต่งขึ้นในสมัยพ่อขุนรามค�ำแหง หรือมิฉะนั้นก็เป็นพระราชนิพนธ์
ของพ่อขุนรามค�ำแหง
ธนิต อยู่โพธิ์ (2519 : ค�ำน�ำ) ได้สันนิษฐานถึงผู้แต่งและสมัยที่แต่งสุภาษิตพระร่วง
ว่า เรือ่ งสุภาษิตพระร่วงนี้ สังเกตจากข้อความและถ้อยค�ำเห็นได้วา่ เป็นสุภาษิตไทยแท้ๆ ใช้
ถ้อยค�ำพืน้ ๆ ยังไม่มภี าษิตต่างประเทศเข้ามาแทรกแซงปะปน และดูเหมือนจะยังไม่มอี ทิ ธิพล
จากภาษิตแบบอินเดี ย เช่น คัมภีร์ โลกนิติและพระธรรมบทเข้าครอบง�ำ แสดงว่าเป็นภาษิต
ไทยเก่าแก่ที่ติดปากคนไทยสืบมา และมากลายรูปไปตามลักษณะของกวีนพิ นธ์แบบต่างๆ
แทรกอยู่ ในวรรณคดี ไทยในกาลต่อมา ถ้าพิจารณาตามรูปของวลีจะเห็นได้ว่าใกล้เคียงกับ
ศิลาจารึ กหลักที่ 1 จึงอาจเป็นไปได้ว่าสุภาษิตพระร่วงนี้ เดิมเป็นพระบรมราโชวาทซึ่งพ่อขุน
รามค�ำแหง ทรงแสดงสั่งสอนประชาชนชาวไทย ต่อมามีผู้แก้ไขแต่งเติมแต่น้อยเพื่อให้เข้า
แบบกวีนพิ นธ์ แล้วกลายมาเป็นสุภาษิตพระร่วง ซึ่งถ้าเป็นดังนี้สุภาษิตพระร่วงน่าจะขาด
บทที่ 3 สุภาษิตพระร่วง 35

หายไปเสียมาก เหลือมาแต่ส่วนน้อย เพราะรัชกาลพ่อขุนรามค�ำแหงเป็นรัชกาลที่ยาวนาน


จึงควรที่จะมีสุภาษิตมากกว่าที่ปรากฏอยู่
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (2505 : 28) ทรงสันนิษฐานเรื่องผู้แต่ง
สุภาษิตพระร่วงว่า สุภาษิตพระร่วงนั้นได้เริ่มเก็บรวบรวมขึ้นในสมัยพระเจ้ารามค�ำแหงนี้
เหมือนกัน แต่คงจะไม่ ใช่เป็นของคนคนเดียวแต่ง คงจะได้แต่งกันหลายคนและไม่ ใช่แล้วเสร็จ
ในคราวเดียว แต่งเพิม่ เติมกันหลายยุค จึงมีขอ้ ความซ�ำ้ กันอยูบ่ า้ ง หากส�ำนวนผิดกันเท่านัน้
ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ (2503 : 482-486) ได้กล่าวถึงผู้แต่งและสมัยที่แต่งสุภาษิต
พระร่วงว่า สุภาษิตพระร่วงน่าจะแต่งในสมัยพระยาลิไท เพราะเป็นเวลาทีก่ รุงสุโขทัยรุง่ เรือง
ที่สุด บ้านเมืองไม่มีศึกศัตรู ทั ้งพระยาลิไททรงเชี่ยวชาญทางพระพุ ทธศาสนา และยังทรง
พระราชนิพนธ์ไตรภูมพิ ระร่วงขึน้ ด้วย จึงไม่เป็นการเหลือวิสยั ทีจ่ ะทรงพระราชนิพนธ์สภุ าษิต
เรื่องนี้ขึ้นอีก
จากความคิดเห็นของนักวรรณคดีทา่ นต่างๆ ทีก่ ล่าวมาข้างต้น ท�ำให้เห็นว่า ความเห็น
ในเรือ่ งของผูแ้ ต่งและสมัยทีแ่ ต่งสุภาษิตพระร่วงนัน้ แตกต่างกันออกไป นักวรรณคดีบางท่าน
เชือ่ ว่าผูแ้ ต่งสุภาษิตพระร่วงคือพ่อขุนรามค�ำแหง บางท่านก็เชือ่ ว่าผูแ้ ต่งสุภาษิตพระร่วงคือ
พระยาลิไท และบางท่านก็เชื่อว่ามีผู้แต่งหลายคน (ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้แต่งบ้าง)
ส่วนสมัยที่แต่งนั้น นักวรรณคดี บางท่านเชื่อว่าแต่งในสมัยพ่อขุนรามค�ำแหง และเป็นบท
พระราชนิพนธ์ของพระองค์ หรือแต่งในสมัยของพ่อขุนรามค�ำแหง แต่มผี แู้ ต่งหลายคน และ
นักวรรณคดี บางท่านเชื่อว่า แต่งในสมัยพระยาลิไท โดยพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเอง
นอกจากนีย้ งั มีผู้ ให้ความเห็นต่างออกไปอีกว่า สุภาษิตพระร่วงมิได้แต่งในสมัยสุโขทัย
แต่แต่งหลังจากสมัยสุโขทั ยเป็นเวลานานมาก ซึ่งคนในยุคหลังเป็นผู้แต่งขึ้น และได้น�ำเอา
ชื่อพระร่วงมาอ้างเพื่อให้ดูศักดิ์สิทธิ์และน่าเชื่อถือ แต่อย่างไรก็ตามเรายังมิอาจที่จะบอกได้
แน่ชัดว่าผู้แต่งสุภาษิตพระร่วงเป็นใคร และแต่งขึ้นในสมัยใด

3. ลักษณะค�ำประพันธ์
สุภาษิตพระร่วงแต่งเป็นร่ายสุภาพ วรรคหนึง่ มีจ�ำนวน 4-7 ค�ำ แต่ส่วนใหญ่จะมี
วรรคละ 5 ค�ำ การส่งสัมผัส คือ ค�ำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสไปยังค�ำที่ 1 หรือค�ำที่ 2
หรือค�ำที่ 3 และบางทีอาจถึงค�ำที่ 4 และค�ำที่ 5 ของวรรคถัดไปก็มี (ในกรณีที่ค�ำประพั นธ์
วรรคนั้นๆ มีค�ำเกิน 5 ค�ำ) ดังตัวอย่าง
36 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“อย่าปลุกผี กลางคลอง อย่าปองเรียนอาถรรพ์ พลันฉิบหายวายม้วย”


“อย่ายลเยี่ยงถ้วยแตกมิติด จงยลเยี่ยงสัมฤทธิ์แตกมิเสีย”

สุภาษิตพระร่วงแต่งเป็นร่ายสุภาพไปโดยตลอด แล้วจบลงด้วยโคลงกระทู้ 1 บท
ความว่า

“บัณ เจิ ดจ�ำแนกแจ้ง พิสดาร ความเอย


ฑิต ยุบลบรรหาร เหตุไว้
พระ ปิ่นนัคราสถาน อุดรสุข ไทยนา
ร่วง ราชนามนี้ ได้ กล่าวถ้อยค�ำสอน”

4. การล�ำดับเรื ่อง
สุภาษิตพระร่วงเริ่มด้วยการบอกจุดประสงค์ในการแต่งว่า

“ปางสมเด็จพระร่วงเจ้า เผ้าแผ่นภพสุโขทั ย
มลักเห็นในอนาคต จึ่งผายพจนประภาษ
เป็นอนุสาสนกถา สอนคณานรชน
ทั ่วธราดลพึงเพี ยร เรียนอ�ำรุงผดุงอาตม์
อย่าเคลื่อนคลาดคลาถ้อย...”

ต่อจากนั้นคือข้อความที่เป็นสุภาษิตสั่งสอนไปโดยตลอด แล้วจบลงด้วยการเน้นย�้ำ
ให้เห็นถึงความส�ำคัญของสุภาษิต
ความในตอนต้นและตอนท้ายของสุภาษิตพระร่วงนั้นสอดคล้องกันเป็นอย่างมาก
กล่าวคือ ความในตอนต้นบอกจุดประสงค์ ในการแต่งว่า สมเด็จพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย
ทรงพระราชนิพนธ์สุภาษิตพระร่วงขึ้นเพื่อสั่งสอนราษฎร ส่วนความในตอนท้ายเป็นการย�้ำ
เตือนว่าสุภาษิตทั ้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งมงคล ผู้ที่เป็นปราชญ์ควรสดับฟังและพิจารณาน�ำเอา
ไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลดี ต่อตนเอง
บทที่ 3 สุภาษิตพระร่วง 37

5. เนื้อหาค�ำสอนในสุภาษิตพระร่วง
เมื่อน้อยให้เรี ยนวิชา : ให้ศึกษาหาความรู้เสียแต่ยังเด็ก
ให้หาสินเมื่อใหญ่ : เมื่อเติบโตเป็นผู้ ใหญ่ก็ ให้หาทรัพย์สินเงินทอง
อย่าใฝ่เอาทรัพย์ท่าน : อย่ามุ่งหวังต้องการได้ทรัพย์สินของผู้อื่น
อย่าริ ร่านแก่ความ : อย่าคิดที่จะมีเรื่องราวฟ้องร้องเป็นคดีถึงโรงศาล
ประพฤติตามบูรพระบอบ : ให้ประพฤติตามแบบอย่างทีเ่ คยปฏิบตั กิ นั มาแต่กอ่ น
เอาแต่ชอบเสียผิด : ให้ท�ำแต่สิ่งที่ถูกต้อง เว้นการกระท�ำสิ่งที่ผิด
อย่าประกอบกิจเป็นพาล : อย่าท�ำการที่ชั่วร้าย คือ อย่ากระท�ำการทุจริต
อย่าอวดหาญแก่เพื่อน : อย่าอวดว่าตนนั้นเก่งกล้า เมื่ออยู่กับมิตรสหาย

เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า : เข้าป่าอย่าลืมเอามีดพร้าติดตัวไปด้วย เพราะจะได้เอาไว้


ป้องกันตัว และส�ำหรับฟันสิ่งต่างๆ ที่กีดขวางทาง
หน้าศึกอย่านอนใจ : ในเวลาศึกสงครามอย่าประมาท อย่าไว้วางใจสถานการณ์
ใดๆ ต้องระมัดระวัง เตรียมตัวให้พร้อมอยู่ตลอดเวลา
ไปเรื อนท่านอย่านัง่ นาน : ไปบ้านคนอืน่ ไม่ควรอยูน่ านนัก เสร็จธุระแล้วให้รีบลากลับ
การเรื อนตนเร่งคิด : ให้เร่งรีบคิดอ่านท�ำการงานในบ้าน หรืองานที่ต้องรับผิด
ชอบในบ้านให้เสร็จเรียบร้อย
อย่านัง่ ชิดผู้ใหญ่ : สังคมไทยถือระบบอาวุโส ผู้น้อยต้องให้ความเคารพผู้ใหญ่
ดังนั้นเวลานัง่ จึงควรนัง่ ต�่ำกว่าหรือห่างออกไปสักเล็กน้อย
38 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

อย่าใฝ่สงู ให้พน้ ศักดิ์ : อย่าใฝ่สงู ให้เกินศักดิห์ รือเกินตัว คือ สอนให้รจู้ ักประมาณตัว


ที่รักอย่าดูถูก : คนรักไม่ควรดูถูกกัน
ปลูกไมตรี อย่ารู้ร้าง : ให้ผูกมิตรกับผู้อื่นไว้เสมอ
สร้างกุศลอย่ารู้โรย : ให้ท�ำแต่สิ่งที่ดี ที่ชอบเสมอ
อย่าโดยค�ำคนพลอด : อย่าหลงเชื่อหรือหลงท�ำตามค�ำคนที่ช่างพูด
เข็นเรื อทอดกลางถนน : ให้รู้จักความเหมาะสม ไม่ท�ำอะไรนอกรีตนอกรอย
ผิ ดไปจากที่ควรแก่กาลเทศะ

เป็นคนอย่าท�ำใหญ่ : อย่าท�ำวางโต โอ้อวด บ้าอ�ำนาจ


ข้าคนไพร่อย่าไฟฟุน : อย่าโมโหโทโส เกรี้ยวกราดกับบ่าวไพร่ คนรับใช้ ให้ ใจเย็น
หนักแน่น มีเหตุผล จึงจะได้รับการนับถือ
คบขุนนางอย่าโหด : คบกับขุนนางอย่าแสดงกิริยาไม่ดี ต้องนอบน้อม สงบเสงี่ยม
เจียมตัว ไม่ก้าวร้าวหยาบคาย เพราะขุนนางเป็นผู้มียศศักดิ์ ย่อมถือตัว และเคยชินกับการ
มีคนอ่อนน้อม
โทษตนผิดร�ำพึง : ให้คิดถึงหรือใคร่ครวญถึงความผิดของตนเอง หมายความว่า
ความผิ ดของตนเองควรรู้ด้วยตนเอง ไม่ต้องให้ใครมาว่ากล่าวตักเตือน
อย่าคะนึงถึงโทษท่าน : อย่ามัวคิดถึงแต่ความผิดของคนอื่น
หว่านพืชจักเอาผล : หว่านพืชเพื่อจะเก็บเกี่ยวผลจากพืชที่หว่านลงไปนั้น
เลี้ยงคนจักกินแรง : เลี้ยงคนไว้เพื่อจะได้ ใช้เป็นเรี่ยวแรง ช่วยเหลือในการท�ำงาน
บทที่ 3 สุภาษิตพระร่วง 39

อย่าขัดแข็งผู้ใหญ่ : อย่าดื้อดึงกับผู้ ใหญ่ เพราะผู้ ใหญ่เป็นผู้ที่ผ่านโลกมานาน


มากกว่า มีประสบการณ์มากกว่า ย่อมรู้ดีกว่าเด็ก
อย่าใฝ่ตนให้เกิน : อย่าท�ำอะไรเกินตัว
เดินทางอย่าเดินเปลี่ยว : เดินทางไปไหนอย่าไปคนเดียว
น�้ำเชี่ยวอย่าขวางเรื อ : อย่าหันเรือขวางทางน�้ำในขณะที่น�้ำก�ำลังไหลแรง เพราะ
น�้ำจะกระแทกให้เรือพลิกคว�่ำลง

ที่สุ้มเสือจงประหยัด : ให้ระมัดระวัง อย่าเข้าไปใกล้ที่ซึ่งมีเสือซ่อนตัวอยู่


จงเร่งระมัดฟืนไฟ : ระวังเรื่องฟืนไฟให้ดี
ตนเป็นไทอย่าคบทาส : เป็นคนมีอสิ ระในตนเอง อย่าไปคบกับคนเป็นทาสที่ ไม่มี
อิสระแก่ตัว เพราะจะท�ำให้เกิดปัญหาตามมา
อย่าประมาทผูด้ ี : อาจตีความได้วา่ คนทีเ่ ป็นผูด้ ี มียศศักดิ์ แม้วา่ จะตกยาก อับจน
ก็ห้ามไปดูถูกหรือเหยียดหยาม เพราะคนประเภทนี้เป็นคนที่มีความรู้ ซึ่งเขาอาจใช้ความรู้
กอบกู้ฐานะ เกียรติยศ ที่สูญเสียไปนั้นกลับคืนมาได้
มีสินอย่าอวดมั่ง : มีทรัพย์สินเงินทองอย่าอวดความร�่ำรวยของตน เพราะจะท�ำให้
คนหมั่นไส้ หรือไม่ก็อาจนึกอยากได้ทรัพย์สินของเรา
ผู้เฒ่าสั่งจงจ�ำความ : ผู้ใหญ่สั่งสอนควรจดจ�ำไว้
ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก : อย่าถอดรองเท้าเมื่อเดินเข้าไปในที่ที่มีขวากหนาม
เพราะอาจถูกของแหลมคมบาดหรือต�ำ
ท�ำรั้วเรื อกไว้กันตน : ท�ำรั้วบ้านไว้ป้องกันอันตรายให้ตนเอง
40 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

คนรักอย่าวางใจ : แม้คนรักก็อย่าวางใจ
ที่มีภัยพึงหลีก ปลีกตนไปโดยด่วน : ถ้ารู้ว่าที่ ใดมีอันตราย ก็ควรหลีกไปให้พ้น
เสียโดยเร็ว เพราะหากไม่หลีกเลี่ยงอาจได้รับอันตราย
ได้ส่วนอย่ามักมาก : อย่าเป็นคนโลภมาก ได้เท่าไรควรพอใจเพียงเท่าที่ ได้
อย่ามีปากว่าคน : อย่าท�ำตัวเป็นคนปากจัด ปากเก่ง เที่ยวพูดจาระรานผู้อื่น รวม
ถึงอย่าเป็นคนช่างนินทาว่าร้าย พูดให้คนอื่นเสียหายเดือดร้อน
รักตนกว่ารักทรัพย์ : รักตัวเองให้มากกว่าทรัพย์สมบัติ เพราะทรัพย์สมบัติเป็น
ของนอกกาย ถึงแม้จะสูญเสียไป ก็สามารถหามาใหม่ได้ ส่วนชีวิตถ้าเสียไป หรือร่างกาย
พิการก็เป็นอันหมดสิ้นทุกอย่าง
อย่าได้รบั ของเข็ญ : อย่ารับของทีจ่ ะท�ำให้เกิดความล�ำบากเดือดร้อนต่อตนเองเอาไว้
เห็นงามตาอย่าปอง : อย่าอยากได้หรือชอบใจ เพราะเห็นว่ารูปลักษณ์ภายนอก
งดงาม เพราะของทีภ่ ายนอกดูงดงามนัน้ ภายในอาจแฝงความน่าเกลียด หรือความชัว่ ร้ายไว้

ของฝากท่านอย่ารับ : ของที่เขาฝากไปให้ผู้อื่นอย่าเก็บเอาไว้เอง
ที่ทับจงมีไฟ : ในบ้านควรมีไฟ เพราะไฟเป็นของส�ำคัญส�ำหรับมนุษย์ และใช้
ประโยชน์ได้หลายประการ
ที่ไปจงมีเพื่อน : ให้ไปในถิ่นที่มีเพื่อนของตนอาศัยอยู่ อย่าไปในที่ที่ ไม่ร้จู ักใครเลย
ทางแถวเถื่อนไคลคลา : การเดินทางไปในป่า ควรเดินตามเส้นทางที่มีคนเดิน
ผ่านอยู่เสมอ
ครูบาสอนอย่าโกรธ : เพราะครูสอนศิษย์ด้วยความหวังดี ศิษย์ควรเข้าใจ และ
ไม่ถือโกรธ
บทที่ 3 สุภาษิตพระร่วง 41

โทษตนผิดพึงรู้ : ควรรู้ความผิดของตนเอง
สู้เสียสินอย่าเสียศักดิ์ : ยอมเสียทรัพย์สินเงินทองดีกว่าเสียศักดิ์ศรี
ภักดีอย่าด่วนเคียด : อย่าด่วนโกรธคนที่มีความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อตน
อย่าเบียดเสียดแก่มิตร : อย่าเอารัดเอาเปรียบเพื่อน แม้เป็นเพื่อนสนิทก็ต้อง
รู้จักเกรงใจ
ที่ผิดช่วยเตือนตอบ : เพื่อนท�ำสิ่งที่ผิดควรช่วยตักเตือน ห้ามปราม ไม่ควรท�ำเป็น
ไม่ร้ไู ม่ชี้ ปล่อยเลยตามเลย
ที่ชอบช่วยยกยอ : เพื่อนท�ำสิ่งที่ดี ควรยกย่องสรรเสริญ พูดชมเชยให้เกิดก�ำลังใจ
ที่จะท�ำความดี ต่อไป
อย่าขอของรักมิตร : อย่าขอของรักของเพื่อน เพราะอาจท�ำให้ขัดเคืองใจกันได้
ชอบชิดมักจางจาก : คนทีร่ ักกันมาก สนิทสนมกันมาก มักเบือ่ หน่ายคลายรักกันเร็ว
พบศัตรูปากปราศรัย : เมื่อพบศัตรูควรทักทายปราศรัยด้วยดี ถึงแม้จะไม่ชอบ
ก็ควรเก็บไว้ในใจ

ความในอย่าไขเขา : อย่าเอาเรื่องส�ำคัญหรือเรื่องส่วนตัวไปแพร่งพรายให้ ใครฟัง


เพราะความลับหากรู้มากคน ก็ไม่เป็นความลับอีกต่อไป
อย่ามัวเมาเนืองนิจ : อย่าหลงลืมตัว ขาดสติ ควรมีสติร้ตู ัวอยู่เสมอ
คิดตรองตรึ กทุกเมื่อ : ควรมีสติสัมปชัญญะ คิดไตร่ตรองอยู่เสมอว่าสิ่งใดถูกสิ่ง
ใดผิ ด สิ่งใดควรท�ำสิ่งใดไม่ควรท�ำ
พึงผันเผื่อต่อญาติ : ควรเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อญาติพี่น้องของตน
42 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

รู้ที่ขลาดที่หาญ : ควรรู้ว่าที่ ใดควรกลัว ที่ ใดควรกล้า คือต้องเป็นผู้ร้จู ักกาลเทศะ


คนพาลอย่าพาลผิด : อย่าถือสาหาความ หรือมีเรือ่ งทะเลาะวิวาทกับคนพาล หรือ
อย่าพลอยเห็นผิ ดไปกับคนพาล
อย่าผูกมิตรไมตรี : อย่าคบค้าสมาคมกับคนพาล
เมื่อพาทีพึงตอบ : เมื่อเขา (คนพาล) พูดด้วยก็ควรพูดตอบ
จงนบนอบผู้ ใหญ่ : จงให้ความเคารพนับถือผู้ ใหญ่ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน
มีสัมมาคารวะ

ช้างไล่แล่นเลี่ยงหลบ : ช้างไล่มาจนจะถึงตัว ควรหลีกไปให้พ้น การคิดต่อสู้กับ


ช้างที่เป็นสัตว์ ใหญ่ มีพละก�ำลังมาก ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้ ทางที่ดีควรเลี่ยงหลบไปให้พ้น
จากทางที่ช้างวิ ่งไล่
สุวานขบอย่าขบตอบ : หมากัดอย่ากัดตอบ กล่าวคือ ผู้น้อย คนที่ต�่ำต้อย ไม่มี
ศักดิ์ศรี และคนพาล คนเหล่านี้ ไม่ควรลดตัวลงไปทะเลาะด้วย
อย่ากอปรจิตริ ษยา : อย่ามี ใจริษยาผู้อื่น เพราะความริษยาจะท�ำให้ตนร้อนใจ
อย่าปลุกผีกลางคลอง : อย่าปลุกผี กลางทาง ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน�้ำ
เพราะเป็นการกระท�ำที่ผิดกาลเทศะ ค�ำสอนข้อนี้มุ่งให้คนรู้จักกาลเทศะ จะท�ำการสิ่งใด
ต้องพิจารณาให้รอบคอบ
อย่าปองเรี ยนอาถรรพ์ พลันฉิบหายวายม้วย : ไม่ ให้ฝกั ใฝ่เรือ่ งที่ ไม่มปี ระโยชน์
และอาจน�ำภัยอันตรายมาสู่ตนเอง
อย่ายลเยี่ยงถ้วยแตกมิติด จงยลเยี่ยงสัมฤทธิ์แตกมิเสีย : อย่าเอาอย่างถ้วย
ซึง่ แตกแล้วประสานต่อกันไม่ได้อกี แต่จงเอาอย่างสัมฤทธิท์ แี่ ตกแล้วก็สามารถประสานกันได้
บทที่ 3 สุภาษิตพระร่วง 43

ลูกเมียอย่าวางใจ : แม้ลูกเมียก็อย่าวางใจ
ภายในอย่าน�ำออก ภายนอกอย่าน�ำเข้า : เรื่องส่วนตัวหรือเรื่องภายในบ้าน
ไม่ควรน�ำไปเล่าให้คนอื่นฟัง เพราะจะท�ำให้คนอื่นรู้เรื่องราวในครอบครัวจนหมด และ
เขาอาจน�ำไปนินทาให้เกิดความเสียหาย
อาสาเจ้าจนตัวตาย : ให้ปฏิบัติราชการด้วยความเต็มใจ แม้ชีวิตก็อย่าเสียดาย
ให้ยอมถวายชีวิตเพื่อรับใช้พระมหากษัตริย์
อาสานายจงพอแรง : ท�ำงานรับใช้เจ้านายของตนตามความสามารถ อย่าเกียจคร้าน
ของแพงอย่ามักกิน : อย่ากินของแพง เพราะเป็นการฟุ่มเฟือยโดยใช่เหตุ
อย่ายินค�ำคนโลภ : อย่าฟังถ้อยค�ำของคนโลภ เพราะคนโลภเป็นคนที่ ไม่ร้จู ักพอ
โอบอ้อมเอาใจคน : ให้ผูกใจคนไว้ด้วยความโอบอ้อมอารี

อย่ายลเหตุแต่ ใกล้ : อย่าพิจารณาเรื่องราวที่เกิดขึ้น เพียงเท่าที่ร้หู รือเห็น แต่


ต้องพิจารณาย้อนกลับไปให้ถึงต้นเหตุ เพื่อให้ร้เู รื่องที่เกิดขึ้นอย่างถ่องแท้
ท่านไท้อย่าหมายโทษ : สุภาษิตบทนี้สอนให้จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และ
เตือนใจให้ร้จู ั กประมาณตน หากคิดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ก็เท่ากับเป็นการหา
ภัยใส่ตัว
คนโหดให้เอ็นดู : คนโหดในที่น้หี มายถึงคนยากไร้ คือ ให้สงสารคนยากไร้
ยอครูยอต่อหน้า : ควรชมครูเมือ่ อยูต่ อ่ หน้า เพราะครูเป็นผู้ ใหญ่ ย่อมรูจ้ ักผิดชอบ
ชั่วดี ไม่หลงไปตามค�ำยอง่ายๆ
ยอข้าเมือ่ แล้วกิจ : ให้ชมเชยลูกน้อง หรือคนรับใช้เมือ่ เขาท�ำงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว
44 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ยอมิตรเมื่อลับหลัง : ให้ชมเชยมิตรสหายเมื่ออยู่ลับหลัง
ลูกเมียยังอย่าสรรเสริ ญ เยียวเสทินจะอดสู : มีลูกมีเมียอย่ายกย่องชมเชยให้
คนอื่นฟัง เพราะถ้าเกินความจริงก็น่าละอายใจ
อย่าชังครูชังมิตร : อย่าเกลียดชังครูและมิตรสหาย เพราะบุคคลทั้งสองนี้ เป็นผู้
ที่หวังดี กับเรา
ผิดอย่าเอาเอาแต่ชอบ : อย่าท�ำในสิ่งที่ผิด ที่ชั่ว ควรท�ำแต่สิ่งที่ดีงาม
นอบตนต่อผู้เฒ่า : ให้แสดงกิริยาอ่อนน้อมต่อผู้สูงอายุ
เข้าออกอย่าวางใจ ระวังระไวหน้าหลัง เยียวผู้ชังจะคอยโทษ : เข้าออกตาม
สถานที่ ใด ต้องระมัดระวัง ดูหน้าดูหลังให้ดี เพราะอาจมีผู้ที่ ไม่ชอบเราซุ ่มท�ำร้ายอยู่

อย่ากริ ้วโกรธเนืองนิจ : อย่าเป็นคนโกรธง่าย เพราะการเป็นคนโกรธง่าย จะ


ท�ำลายบุคลิกภาพของตนเอง
ผิวผิดปลิดไป่รา้ ง : เมือ่ ท�ำความผิดแล้วจะลบล้างความผิดนัน้ ให้หมดไปไม่ได้ และ
ความผิ ดก็จะมีติดตัวอยู่อย่างนั้นไปตลอด
ข้างตนไว้อาวุธ : ควรวางอาวุธเอาไว้ข้างกายเสมอ เพราะเวลาฉุกเฉินจะได้หยิบ
ใช้ได้ทันที
เครื ่องสรรพยุทธอย่าวางจิต : อย่าได้ไว้วางใจอาวุธทั้งปวง เพราะเป็นของมีคม
มีอันตราย ต้องเก็บเอาไว้ ให้ดี หากวางเอาไว้เกะกะขวางทางอาจท�ำให้เกิดอุบัติเหตุได้
คิดทุกข์ ในสงสาร : ให้คิดถึงความทุกข์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด และยอมรับความ
เป็นจริงว่าไม่มี ใครที่สามารถหนีได้พ้น
อย่าท�ำการที่ผิด : ถ้ารู้ว่าการกระท�ำอย่างใดเป็นการกระท�ำที่ผิด ก็ควรหลีกเลี่ยง
เพราะการท�ำความผิ ดอาจท�ำให้ทั้งตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน
บทที่ 3 สุภาษิตพระร่วง 45

คิดขวนขวายที่ชอบ : คิดแสวงหาแต่สิ่งที่ดีงาม และพยายามท�ำแต่สิ่งที่ดีเพราะ


ถ้าหากท�ำความดี มาก ผลตอบสนองของความดี ก็มีมากขึ้นด้วย
โต้ตอบอย่าเสียค�ำ : พูดจาอะไรกับใครแล้วต้องรักษาค�ำพูด อย่าให้เสียค�ำพูด
ของตัวเอง
คนข�ำอย่าร่วมรัก : อย่ารักใคร่สนิทสนมกับคนข�ำ คือ คนที่มีลับลมคมใน เพราะ
คนประเภทนี้มักเป็นคนไม่ซื่อ ไว้ ใจยาก

พรรคพวกพึงท�ำนุก ปลุกเอาแรงทั่วตน ยลเยี่ยงไก่นกกระทา พาลูกหลาน


มากิน : ให้เป็นคนรักพวกพ้อง รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่พวกเดียวกัน
ระบือระบิลอย่าฟังค�ำ : อย่าฟังค�ำเล่าลือ เพราะข่าวลืออาจเป็นข่าวที่ ไม่เป็นความจริง
การจะท�ำอย่าด่วนได้ : ท�ำงานอะไรอย่าใจร้อน หวังได้ผลเร็ว งานบางอย่างต้อง
ใช้ความประณีตพอสมควร จึงจะได้ผลงานที่ดีตามความต้องการ
อย่าใช้คนบังบด : อย่าใช้งานคนทีม่ ที ว่ งทีเป็นคนลึกลับ หรืออย่าใช้คนให้ชว่ ยปกปิด
ความลับให้ หรือจะใช้สอยอะไรใครก็ต้องชี้แจงให้ละเอียดแจ่มแจ้ง
แทนคุณท่านเมื่อยาก : ตอบแทนผู้มีพระคุณ เมื่อท่านได้รับความยากล�ำบาก
ฝากของรักจงพอใจ : คือ คิดที่จะฝากของรักไว้กับใครก็ควรพอใจ เชื่อมั่นว่าเขา
จะดูแลของของเราอย่างดี หรืออาจหมายความอีกอย่างหนึง่ ว่า ถ้าใครฝากของรักไว้กับเรา
เราควรภาคภูมิ ใจว่าเขาไว้ ใจเราเพราะเราเป็นคนดี
เฝ้าท้าวไทอย่าทรนง : เข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์อย่าท�ำถือดี เพราะพระองค์เป็นผู้
มีอ�ำนาจ สามารถบันดาลคุณหรือโทษได้ดังใจพระองค์ปรารถนา ดังนั้นเมื่อเข้าเฝ้าจึงควร
แสดงกิริยานบนอบ อ่อนน้อม
46 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ภักดีจงอย่าเกียจ : หากภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ให้ขยันหมั่นเพียรท�ำราชการที่


ได้รับมอบหมายตามก�ำลังและสติปัญญา
เจ้าเคียดอย่าเคียดตอบ : เจ้านายโกรธอย่าโกรธตอบ
นบนอบใจใสสุทธิ์ : จงนบนอบพระมหากษัตริย์ด้วยใจจริง

อย่าขุดคนด้วยปาก : อย่าท�ำร้ายผู้อื่นด้วยวาจา เช่น พูดให้เขาเดือดร้อน กระทบ


กระเทือน หรือเจ็บช�้ำน�้ำใจ
อย่าถากคนด้วยตา : อย่ามองคนด้วยสายตาที่ดูหมิ่น ถากถาง เยาะเย้ย หรือ
มองด้วยสายตาที่ ไม่เป็นมิตร
อย่าพาผิดด้วยหู : อย่าท�ำผิดหรือเข้าใจผิดเพราะเชื่อค�ำพูดของผู้อื่น
อย่าเลียนครูเตือนด่า : ครูตักเตือนด่าว่า อย่าล้อเลียนครู
อย่าริ กล่าวค�ำคด : อย่าหัดพูดไม่จริง
คนทรยศอย่าเชือ่ : อย่าเชือ่ ถือหรือไว้วางใจคนทีเ่ คยทรยศ คิดร้ายต่อผูม้ อี ปุ การคุณ
หรือเคยหักหลังเพื่อนมาแล้ว
อย่าเผือ่ แผ่ความผิด : อย่าโยนความผิดให้กบั คนอืน่ เมือ่ ท�ำผิดแล้วควรยอมรับผิด
อย่าผูกมิตรคนจร : อย่าคบกับคนที่เร่ร่อน ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เพราะคน
ประเภทนี้ อาจเป็นคนร้ายที่หนีอาญาบ้านเมืองมาก็ได้
ท่านสอนอย่าสอนตอบ : เมือ่ ผูใ้ หญ่สอนสัง่ ก็ควรฟังด้วยความเคารพ อย่าท�ำอวดดี
สั่งสอนท่านเป็นการตอบแทน
ความชอบจ�ำใส่ ใจ : สิ่งที่ดี สิ่งที่ถูก ควรจดจ�ำใส่ ใจไว้ เพื่อจะได้น�ำไปปฏิบัติ
ให้เกิดผลดี งาม
บทที่ 3 สุภาษิตพระร่วง 47

ระวังระไวที่ ไปมา : จะไปไหนมาไหนต้องระมัดระวังตัว อย่าประมาท เพราะ


สถานที่นั้นๆ อาจไม่ปลอดภัย
เมตตาตอบต่อมิตร : ควรท�ำดีตอบแทนความดีของมิตรทั้งหลาย
คิดแล้วจึ่งเจรจา : คิดให้รอบคอบก่อนพูด

อย่านินทาผู้อื่น : อย่าติเตียนผู้อื่นลับหลัง
อย่าตื่นยกยอตน : เมื่อมีคนยกย่อง อย่าหลงลืมตัว ดีอกดี ใจหลงเชื่อไปตามค�ำยอ
คนจนอย่าดูถูก : อย่าดูถูกคนจน
ปลูกไมตรี ทั่วชน : ให้สร้างไมตรี เป็นมิตรกับคนทั่วไป
ตระกูลตนจงค�ำนับ : จงเคารพและนับถือตระกูลของตน
อย่าจับลิ้นแก่คน : อย่าคอยจับผิดค�ำพูดของคนอื่น
ท่านรักตนจงรักตอบ : ใครรักให้รักตอบ
ท่านนอบตนจงนอบแทน : ใครแสดงกิริยาอ่อนน้อม เคารพนบนอบ ก็ควรแสดง
กิริยาอ่อนน้อมต่อเขา
ความแหนให้ประหยัด : เรื่องราวที่ส�ำคัญหรือเป็นความลับต้องระมัดระวังให้ดี
อย่าพลั้งเผลอพูดให้คนอื่นรู้
เผ่ากษัตริ ย์ เพลิง งู อย่าดูถูกว่าน้อย : เผ่ากษัตริย์ คือ เชื้อสายของกษัตริย์
ได้แก่ พระราชโอรส พระราชธิดา พระบรมวงศานุวงศ์ แม้จะยังทรงพระเยาว์ แต่กท็ รงอ�ำนาจ
ล้นพ้น เพลิง แม้จะเล็กน้อยเท่าเปลวเทียนแต่กอ็ าจลุกลามกลายเป็นไฟกองใหญ่เผาผลาญ
สรรพสิ่งให้มอดไหม้ได้ งู แม้จะเป็นงูตัวเล็กๆ ก็อาจมีพิษร้ายแรง ถ้าถูกกัดอาจถึงตายได้
หิ่งห้อยอย่าแข่งไฟ : เป็นเพียงหิ่งห้อย อย่าไปแข่งแสงสว่างกับกองไฟ
48 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

อย่าปองภัยต่อท้าว : อย่าคิดประทุษร้ายต่อพระเจ้าแผ่นดิน
อย่ามักห้าวพลันแตก : อย่าแข็งนัก เพราะจะเป็นอันตรายต่อตนเอง
อย่าเข้าแบกงาช้าง : อย่าขันอาสาเข้าไปช่วยหรือยุ่งเกี่ยวในเรื่องที่ ไม่ ใช่กิจธุระ
ของตน จะกลายเป็นหาเรื่องเดือดร้อนให้ตัวเอง
อย่าออกก้างขุนนาง : อย่าขัดขวางการกระท�ำของผู้มียศศักดิ์
ปางมีชอบท่านช่วย ปางป่วยท่านชิงชัง : เวลาร�่ำรวยมีเกียรติยศชื่อเสียง ใครๆ
ก็พอใจให้ความช่วยเหลือ แต่เวลาอับจนหรือไม่เป็นประโยชน์ ใครๆ ก็พากันรังเกียจ

ผิจะบังบังจงลับ : ถ้าจะบังต้องบังให้พ้นตา ไม่ให้ ใครเห็น


ผิจะจับจับจงมั่น : ถ้าจะจับต้องจับให้มั่นคง อย่าให้หลุดมือไปได้
ผิจะคั้นคั้นจงตาย : ถ้าจะบีบต้องบีบให้ตาย อย่าให้รอดไปได้
ผิจะหมายหมายจงแท้ : ถ้าตั้งใจอะไรไว้ ต้องตั้งใจจริง ไม่เปลี่ยนแปลงหรือ
ล้มเลิกง่ายๆ
ผิจะแก้แก้จงกระจ่าง : ถ้าจะแก้ไขเรื่องอะไรหรือปัญหาอะไร ต้องแก้ ให้กระจ่าง
ชัดเจน ปราศจากข้อสงสัยอีกต่อไป
อย่ารักห่างกว่าชิด : อย่ารักคนไกลหรือคนที่อยู่ห่างมากกว่าคนที่ ใกล้ชิด
คิดข้างหน้าอย่าเบา : ให้คิดถึงการณ์ข้างหน้าเอาไว้ ให้มาก อย่าคิดเพียงแค่เรื่อง
เฉพาะหน้า
อย่าถือเอาตื้นกว่าลึก : หากจะเรียนรู้อะไรหรือคิดอะไร ควรรู้ ให้ลึก คิดให้ลึก
อย่ารู้หรือคิดเพี ยงผิ วเผิ น
บทที่ 3 สุภาษิตพระร่วง 49

เมื่อเข้าศึกระวังตน : เมื่อเข้าสู่ศึกสงครามต้องระวังตัว เพราะในยามศึกสงคราม


มีอันตรายอยู่รอบด้าน จะไว้วางใจอะไรไม่ได้
เป็นคนเรี ยนความรู้ : เกิดมาเป็นคนควรศึกษาหาความรู้ ใส่ตัว จะได้ฉลาดรู้
เท่าทั นคน
จงยิ่งผู้มีศักดิ์ : จงดูอย่างหรือเอาอย่างคนที่ ได้ดีมียศศักดิ์
อย่ามักง่ายมิดี : อย่ามักง่าย เพราะการท�ำอะไรแบบมักง่าย ไม่ถี่ถ้วน เป็นสิ่งไม่ดี
ผลที่ออกมาก็จะเสียหาย

อย่าตีงใู ห้แก่กา : อย่าเสีย่ งและเสียเวลาท�ำสิง่ ที่ ไร้ประโยชน์ หรือไม่ควรท�ำประโยชน์


ให้คนหนึง่ แต่ไปสร้างความเดือดร้อนให้อีกคนหนึง่
อย่าตีปลาหน้าไซ : อย่าขัดขวางการท�ำงานของคนอื่น เพราะอาจท�ำให้งาน
ของเขาเสียหาย
ใจอย่าเบาจงหนัก : อย่าเป็นคนใจเบา ควรเป็นคนใจคอหนักแน่นมีเหตุผล
อย่าตีสุนัขห้ามเห่า : ไม่ควรไปขัดขวางหรือห้ามปรามผู้ก�ำลังปฏิบัติหน้าที่ของเขา
อยู่ เพราะอาจท�ำให้เขาหมดก�ำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่นั้น
ข้าเก่าร้ายอดเอา : คนรับใช้เก่าแก่ อยู่ด้วยกันมานาน ถ้าเขาท�ำความผิด ท�ำให้
ไม่พอใจ ควรอดใจไว้ ไม่ควรด่าว่าหรือลงโทษอย่างรุนแรง
อย่ารักเหากว่าผม อย่ารักลมกว่าน�้ำ อย่ารักถ�้ำกว่าเรื อน อย่ารักเดือนกว่า
ตะวัน : ควรรักสิ่งที่เป็นประโยชน์ มากกว่าสิ่งที่ ไร้ประโยชน์ หรือมีประโยชน์น้อย
50 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

6. สรุปค�ำสอนในสุภาษิตพระร่วง
ค�ำสอนในสุภาษิตพระร่วงดังที่ ได้กล่าวมาทั ้งหมดนี้ หากน�ำมาจั ดแบ่งเป็นหมวดหมู่
แล้ว สามารถแบ่งออกได้ 5 หมวด คือ
1. ค�ำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนต่อบุคคลในระดับต่างๆ
2. ค�ำสอนเกี่ยวกับการรักษาตัวรอด การระมัดระวัง รอบคอบ ไม่ประมาท
3. ค�ำสอนเกี่ยวกับการประกอบกิจการงาน
4. ค�ำสอนเกี่ยวกับการรักษาทรัพย์และใช้จ่ายทรัพย์ที่หามาได้
5. ค�ำสอนเกี่ยวกับความประพฤติส่วนตัว

7. คุณค่าของสุภาษิตพระร่วง

7.1 คุณค่าด้านค�ำสอน
สุภาษิตพระร่วงเป็นหลักค�ำสอนที่กว้างขวาง ครอบคลุมหลักการประพฤติปฏิบัติ
ในด้านต่างๆ เช่น การผูกไมตรี การคบคน การวางตัว การรูจ้ ั กรักษาตัวรอด หลักค�ำสอนนี้
มีความทั นสมัย สมควรที่จะยึดถือเป็นแบบอย่างในการด�ำเนินชีวิต วรรณคดี เรื่องนี้แสดง
ให้เห็นถึงปรัชญาชีวิตของคนไทย ซึ่งอาจแยกหลักค�ำสอนที่ปรากฏได้ ดังนี้
7.1.1 วิชาความรู้ สุภาษิตพระร่วงแสดงให้เห็นถึงความส�ำคัญของวิชาความรู้ด้วย
การกล่าวเอาไว้ตั้งแต่ตอนต้นว่า “เมื่อน้อยให้เรียนวิ ชา ให้หาสินเมื่อใหญ่” วิ ชาความรู้เป็น
เครื่องช่วยยังชีพต่อไปในภายหน้าได้ ดังนั้นเด็กๆ จึงควรที่จะใฝ่หาความรู้ตั้งแต่วัยเยาว์ ใน
ตอนท้ายสุภาษิตพระร่วงได้กล่าวว่า “ผู้เป็นปราชญ์พึงสดับ ตรับตริตรองปฏิบัติ” เป็นการ
ย�ำ้ เตือนว่าผูท้ มี่ วี ิชาความรูเ้ ท่านัน้ ทีจ่ ะเป็นผูส้ นใจน�ำเอาหลักความประพฤติตา่ งๆ ไปปฏิบตั ิ
และในท�ำนองเดี ยวกันการศึกษาและการรับเอาหลักค�ำสอนในสุภาษิตพระร่วงไปพิจารณา
และปฏิบัติก็เท่ากับเป็นการสนใจใฝ่หาความรู้เช่นกัน
7.1.2 มิตรและการผูกมิตร สุภาษิตพระร่วงได้สอนให้ร้จู ักมิตรและการผูกมิตร
ไว้หลายตอน ท�ำให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์ ในการคบเพื่อน และรู้จักวิ ธีการรักษาไมตรีจิต
มิตรภาพไว้ ให้ยั่งยืน ดังนี้
บทที่ 3 สุภาษิตพระร่วง 51

“ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง” “ปลูกไมตรีทั่วชน” หมายความว่า ให้ผูกมิตรกับคนทั ่วไป


คือ สอนให้มีมนุษยสัมพั นธ์ที่ดีนนั่ เอง แม้ศัตรูก็ให้แสดงกิริยาที่ดีด้วย เช่น “พบศัตรูปาก
ปราศรัย ความในอย่าไขเขา” คือ ให้พูดจาทั กทายด้วยดี แต่อย่าน�ำเรื่องตื้นลึกหนาบาง
ไปเล่าให้เขาฟัง เพราะอาจเกิดผลร้ายขึ้นกับตนเองได้
อย่างไรก็ตามสุภาษิตพระร่วง มิได้สอนให้รู้จักวิ ธีการผูกไมตรีแต่เพี ยงอย่างเดี ยว
ยังสอนให้ร้จู ั กเลือกคบคนด้วย เช่น “ตนเป็นไทอย่าคบทาส” “คนพาลอย่าพาลผิ ด อย่า
ผูกมิตรไมตรี” “คนข�ำอย่าร่วมรัก” “อย่าผูกมิตรคนจร” สุภาษิตพระร่วงสอนไม่ให้คบคน
สี่ประเภทนี้ คือ ทาส คนพาล คนข�ำ และคนจร ทั ้งนี้เพราะคนทั ้งสี่ประเภท อาจน�ำพาให้
เราไปสู่ความตกต�่ำได้
ในเรื่องการปฏิบัติตนต่อมิตร สุภาษิตพระร่วงได้ ให้ข้อคิดเอาไว้ว่า “อย่าอวดหาญ
แก่เพื่อน” “อย่าเบี ยดเสียดแก่มิตร” “อย่าขอของรักมิตร” “ยอมิตร เมื่อลับหลัง” “อย่า
ชังครูชงั มิตร” “พรรคพวกพึงท�ำนุก ปลุกเอาแรงทัว่ ตน ยลเยีย่ งไก่นกกระทาพาลูกหลานมา
กิน” “เมตตาตอบต่อมิตร” ค�ำสอนเหล่านี้เป็นการสอนให้มีความรักและความเมตตาอารี
ต่อมิตร ไม่ ให้เบี ยดเบี ยนเขา ไม่ ให้ขอของรักของเขา อย่ายกตนข่มมิตร ไม่กล่าวร้ายมิตร
นัน่ ก็คือสอนให้เป็นกัลยาณมิตรนัน่ เอง
ในส่วนของการปฏิบัติตนต่อญาติพี่น้อง สุภาษิตพระร่วงก็ได้กล่าวเอาไว้ว่า “พึงผัน
เผื่อต่อญาติ” ซึ่งสาระส�ำคัญของค�ำสอนก็มีความคล้ายคลึงกับการปฏิบัติตนต่อมิตร คือ
ให้มีความรักใคร่และโอบอ้อมอารีต่อญาติพี่น้อง
การปฏิบัติตนต่อบุคคลที่อยู่ในฐานะต�่ำกว่า สุภาษิตพระร่วงก็มีกล่าวถึงไว้ เช่น “ข้า
คนไพร่อย่าไฟฟุน” “ข้าเก่าร้ายอดเอา” “ยอข้าเมื่อแล้วกิจ” “คนจนอย่าดูถูก” โดยสั่งสอน
ให้ร้จู ั กการปฏิบัติตนต่อไพร่ และผู้ที่อยู่ในฐานะต�่ำกว่าเป็นอย่างดี ไม่ ให้ดูถูกดูแคลน อย่า
แสดงอารมณ์เกรี้ยวกราดคนรับใช้ และให้ผูกน�้ำใจคนรับใช้บ้างตามสมควร
7.1.3 การปฏิบัติตนต่อบุคคลประเภทต่างๆ สุภาษิตพระร่วงสอนหลักในการ
ปฏิบัติตนต่อบุคคลหลายประเภทเอาไว้ ที่เน้นมากที่สุดคือ การปฏิบัติตนต่อผู้สูงอายุ ซึ่ง
แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยถือระบบอาวุโสมาตัง้ แต่สมัยสุโขทัยแล้ว การปฏิบตั ติ นต่อผู้ ใหญ่นนั้
สุภาษิตพระร่วงกล่าวถึงไว้หลายตอน เช่น “อย่านัง่ ชิดผู้ ใหญ่” “อย่าขัดแย้งผู้ ใหญ่” “นอบตน
ต่อผูเ้ ฒ่า” “ผูเ้ ฒ่าสัง่ จงจ�ำความ” “ท่านสอนอย่าสอนตอบ” สาระส�ำคัญของค�ำสอนทีก่ ล่าวนี้
ต้องการให้ผู้น้อยมีสัมมาคารวะต่อผู้ ใหญ่ เคารพและเชื่อฟังค�ำสอน ไม่ดื้อดึง ครั้นผู้ ใหญ่
สั่งสอนก็มิ ให้อาจเอื้อมสอนตอบ
52 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ในส่วนของค�ำสอนทีส่ อนในเรือ่ งการปฏิบตั ติ นต่อพระมหากษัตริยน์ นั้ สุภาษิตพระร่วง


เน้นให้เห็นว่า พระมหากษัตริย์เป็นผู้ควรค่าแก่การยกย่อง ดังนั้นจึงต้องมีความจงรักภักดี
เทิดทูนพระองค์ และไม่แสดงท่าทีกระด้างกระเดื่อง
7.1.4 สอนให้ร้จู ักรักษาตนให้พ้นภัย การรู้จักเอาตัวรอดเป็นหลักในการด�ำรง
ชีวิตอย่างหนึง่ ที่ปรากฏในสุภาษิตพระร่วง เช่น “ที่มีภัยพึงหลีก ปลีกตนไปโดยด่วน” คือ
ที่ใดมีอันตรายไม่ปลอดภัยกับตนเองก็ ให้หลีกเลี่ยงไปเสีย
นอกจากจะสอนให้รู้จักรักษาตนให้พ้นภัยแล้ว ยังสอนไม่ ให้ก่อความเดือดร้อนแก่
ผู้อื่นอีกด้วย เช่น “อย่าริร่านก่อความ” เป็นต้น
7.1.5 สอนให้เป็นคนรอบคอบ คือ ให้ระวังในทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ตั้งอยู่ ในความ
ประมาท เช่น สอนให้รอบคอบ ระมัดระวังทั ้งค�ำพูดและการกระท�ำ ดังสุภาษิตพระร่วงว่า
“คิดแล้วจึงเจรจา” เป็นต้น

7.2 การใช้ถ้อยค�ำในการสอน
สุภาษิตพระร่วงสอนอย่างตรงไปตรงมา คือ ห้ามหรือแนะน�ำโดยตรง ใช้ถ้อยค�ำ
กะทั ดรัดจึงง่ายแก่การจดจ�ำ ส่วนใหญ่แต่ละวรรคจะสอนเพี ยงเรื่องหนึง่ ๆ และจบความ
ลงในวรรคเดี ยว มีลักษณะเหมือนค�ำพั งเพยหรือสุภาษิต การใช้ถ้อยค�ำในการสอนที่ปรากฏ
ในสุภาษิตพระร่วง มีดังนี้
7.2.1 ใช้ค�ำปฏิเสธ ใช้ค�ำว่า “อย่า” (แสดงการห้ามโดยตรง) มิให้ท�ำสิ่งใดสิ่งหนึง่
ที่น่าสังเกตคือใช้ค�ำว่า อย่า เกือบตลอดเรื่อง อันแสดงให้เห็นว่าค�ำสอนในสุภาษิตพระร่วง
นี้ส่วนใหญ่เป็นค�ำสอนเชิงห้าม เช่น

“อย่าอวดหาญแก่เพื่อน เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า”
“อย่าตีปลาหน้าไซ ไปเรือนท่านอย่านัง่ นาน”

7.2.2 ใช้ค�ำว่า “ให้” “พึง” “จึง” “จง” เป็นค�ำสอนเชิงแนะให้ท�ำ เช่น


บทที่ 3 สุภาษิตพระร่วง 53

ให้ : “เมื่อน้อยให้เรียนวิ ชา ให้หาสินเมื่อใหญ่”


พึง : “พรรคพวกพึงท�ำนุก เมื่อพาทีพึงตอบ พึงผันเผื่อต่อญาติ”
จึง : “คิดแล้วจึงเจรจา”
จง : “ที่ทับจงมีไฟ ที่ไปจงมีเพื่อน”

และยังใช้ค�ำว่า “จง” คู่กับค�ำว่า “ผิว” (ผิ ว่า) ประกอบกัน ซึ่งช่วยท�ำให้ข้อความดู


หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น

“ผิ วบังบังจงลับ ผิ วจั บจั บจงมั่น ผิ วคั้นคั้นจงตาย


“ผิ วหมายหมายจงแท้ ผิ วแก้แก้จงกระจ่าง”

7.2.3 ใช้ประโยคค�ำสั่ง เป็นเชิงแนะน�ำให้ปฏิบัติตาม ดังนี้

“เร่งระมัดฟืนไฟ ท�ำรั้วเรือกไว้กันตน อาสาเจ้าจนตัวตาย”


“อาสานายจงพอแรง ยอครูยอต่อหน้า ยอข้าเมื่อแล้วกิจ”

ค�ำสอนบางวรรคไม่มคี ำ� ห้าม หรือค�ำแนะน�ำโดยตรง เพราะละเอาไว้ ในฐานทีเ่ ข้าใจ เช่น

“เข็นเรือทอดทางถนน (อย่าเข็นเรือทอดทางถนน)”
“ทางแถวเถื่อนไคลคลา (ทางแถวเถื่อนอย่าไคลคลา)

ค�ำประพั นธ์บางวรรคไม่ ใช่คำ� สอน แต่เป็นความเปรียบทีม่ ลี กั ษณะคล้ายกับค�ำพั งเพย


ที่แสดงให้เห็นลักษณะธรรมดา ธรรมชาติ ของมนุษย์ เช่น

“หว่านพืชจั กเอาผล เลี้ยงคนจั กกินแรง”


54 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

สรุป: วิ ธีการใช้ถ้อยค�ำในสุภาษิตพระร่วงเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย คือ การแนะน�ำ


สั่งสอนนั้นเหมาะสมอย่างยิ่ง กล่าวคือ ใช้ค�ำแสดงการห้ามหรือแนะน�ำโดยตรง ถ้อยค�ำ
กระชับตรงไปตรงมา แต่กนิ ความ จึงง่ายแก่การจดจ�ำ ความในแต่ละวรรคสอนเรือ่ งหนึง่ ๆ
โดยเอกเทศ และมี ใจความสมบูรณ์ในตัวเอง แต่อาจจะมีค�ำสอนในบางตอนทีม่ กี ารอธิบาย
ขยายความเกินว่าหนึง่ วรรค เช่น
“ไปเรือนท่านอย่านัง่ นาน การเรือนตนเร่งคิด”
“ที่มีภัยพึงหลีก ปลีกตนไปโดยด่วน”
“ยลเยี่ยงไก่นกกระทา พาลูกหลานมากิน” เป็นต้น

8. ความสัมพันธ์ของสุภาษิตพระร่วงกับสังคมไทย
ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง (2549 : 60) ได้กล่าวถึงความสัมพั นธ์ของสุภาษิตพระร่วงกับ
สังคมไทยเอาไว้ว่า
สุภาษิตพระร่วงมีความสัมพั นธ์กับสังคมไทย 2 ลักษณะ คือ สังคมมีอิทธิพลต่อ
วรรณคดี และวรรณคดี มีอิทธิพลต่อสังคม
1 สังคมมีอิทธิพลต่อวรรณคดี สุภาษิตพระร่วงเป็นวรรณคดี ที่แต่งขึ้นจากเค้า
ค�ำสอนของคนในสังคมไทยที่ยึดถือมาตั้งแต่กรุงสุโขทั ย เป็นวรรณคดี ที่น่าจะมีที่มาจาก
วรรณคดี มุขปาฐะ คือ สั่งสอนกันด้วยการบอกกล่าวต่อๆ กันมา ดังนั้นสังคมจึงน่าจะมี
อิทธิพลต่อวรรณคดีในด้านเนือ้ เรือ่ ง เพราะสังคมยึดถือค�ำสอนนีเ้ ป็นแนวทางในการด�ำเนิน
ชีวิตจนท�ำให้เกิดเป็นวรรณคดี ขึ้นมา
2 วรรณคดีมอี ทิ ธิพลต่อสังคม สุภาษิตพระร่วงเป็นวรรณกรรมค�ำสอนที่ ได้รับการ
ยอมรับ และถือเป็นคติ ในการด�ำเนินชีวิตของคนไทยตัง้ แต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงปัจจุบนั ดัง
ปรากฏในค�ำสอนหลายๆ ค�ำสอน เช่น “ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง สร้างกุศลอย่ารู้โรย” “ผิ ดอย่า
เอาเอาแต่ชอบ” “อย่าตีงใู ห้แก่กา” “คิดแล้วจึงเจรจา” “รักตนกว่ารักทรัพย์” “เมือ่ น้อยให้
เรียนวิ ชา” ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นค�ำสอนที่คนไทยยังยึดถือปฏิบัติกันอยู่ และน�ำพาให้สังคม
สงบสุข รวมทั ้งคนที่ปฏิบัติตามกันพลอยมีความสุขในการด�ำเนินชีวิตไปด้วย
บทที่ 3 สุภาษิตพระร่วง 55

สุภาษิตพระร่วงจึงจั ดเป็นวรรณคดี ที่มีบทบาทต่อการชี้น�ำสังคม เพราะมีอิทธิพลต่อ


การสั่งสอนขัดเกลาจิ ตใจคน ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในจิ ตใจ อันเป็นอิทธิพลภายใน ก่อนจะ
ส่งผลในทางปฏิบัติอันเป็นอิทธิพลภายนอกออกมา
แต่อย่างไรก็ตาม ต้องถือว่าสุภาษิตพระร่วงเป็นวรรณคดี ที่มีคุณค่ายิ่ง เพราะหาก
ค�ำสอนในสุภาษิตพระร่วงไม่สอดคล้องกับค่านิยมและวิ ถีชีวิตคนไทยแล้ว ค�ำสอนเหล่านี้
คงไม่เป็นที่ยอมรับและยึดถือเป็นแนวปฏิบัติส�ำหรับการด�ำเนินชีวิตมาจนทุกวันนี้
นอกจากบทบาทในการชีน้ ำ� สังคมแล้ว สุภาษิตพระร่วงยังสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของ
คนในสังคมไทย นับตั้งแต่สมัยสุโขทั ยจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย เช่น ชนชั้นทางสังคมที่
ประกอบด้วยเจ้า ขุนนาง และไพร่ สภาพการด�ำเนินชีวิตทีแ่ วดล้อมไปด้วยสัตว์ปา่ หรือความ
รกชัฏของพืชพรรณธรรมชาติ นิสัยความเป็นคนใจบุญสุนทานของผู้คน การปลูกฝังค่านิยม
เรื่องการศึกษานับตั้งแต่วัยเด็ก เป็นต้น
บรรณานุกรม 3

เจือ สตะเวทิน. (2502). ประวัติวรรณคดี. กรุงเทพมหานคร : ธนบุรีศึกษา.


ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์. (2503). กวีโวหาร โบราณคดี ก้าวหน้า. ม.ป.ท..
ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง. (2549). วรรณคดีกับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์
มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
ธนิต อยูโ่ พธิ.์ (2519). สุภาษิตพระร่วง. พิมพ์ครัง้ ที่ 18. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร.
น้อมนิจ วงศ์สุทธิธรรม. (2555). วรรณคดีสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร :
ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
มงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั , พระบาทสมเด็จพระ. (2505). ประมวลพระบรมราชาธิบายในพระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์ประยูรวงศ์.
รัตนา สถิตานนท์. (2520). วิเคราะห์สุภาษิตพระร่วงในแง่วัฒนธรรม. วิ ทยานิพนธ์
ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิ ทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ.
วรเวทย์พสิ ษิ ฐ์, พระ. (2496). วรรณคดีไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิทธา พินจิ ภูวดล. (2522). วรรณกรรมสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). หนังสือเรี ยนรายวิชา พื้นฐาน
ภาษาไทย วรรณคดีวจิ กั ษ์ ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1. พิมพ์ครัง้ ที่ 3. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
ก า พ ย์ พ ร ะ ไ ช ย สุ ริ ย า 4
1. ประวัติความเป็นมา
กาพย์พระไชยสุริยาเป็นวรรณกรรมที่สุนทรภู่แต่งขึ้น โดยมีความยาวประมาณ
1 เล่มสมุดไทย (ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต, 2548 : 215) ในแต่ละตอนจะแต่งเป็นบทอ่าน
ตามมาตราตัวสะกด เรียงล�ำดับตั้งแต่ แม่ ก กา แล้วตามด้วย แม่กน แม่กง แม่กก
แม่กด แม่กบ แม่กม และจบลงที่ แม่เกย
กาพย์พระไชยสุริยานี้ สามารถใช้เป็นตัวอย่างในการอ่านค�ำเทียบ หลังจากเรียน
ผันอักษรได้แล้ว ดังนั้นถ้าน�ำกาพย์พระไชยสุริยาไปใช้ ในการสอนอ่าน ก็จะท�ำให้เด็กๆ
สนุกสนาน เพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่าย เพราะได้ร้เู รื่องนิทานพระไชยสุริยาไปด้วย และ
ปรากฏว่ากาพย์พระไชยสุริยาได้รับการยกย่องว่าเป็นบทประพั นธ์ที่ ไพเราะ อ่านเข้าใจ
ง่าย มีคติสอนใจ และใช้สอนศิษย์ได้เป็นผลดี ภายหลังจึงมีผู้น�ำกาพย์พระไชยสุริยา
ของสุนทรภู่ไปใช้สอนศิษย์โดยทั ่วกัน จนเป็นที่นยิ มอย่างกว้างขวาง (ศรีธันว์ อยู่สุขขี ,
2559 : 10)
ส�ำหรับระยะเวลาทีแ่ ต่งกาพย์พระไชยสุริยานัน้ นักวรรณคดีและผูศ้ กึ ษาประวัติ
สุนทรภู่ ต่างก็ ให้คำ� สันนิษฐานทีแ่ ตกต่างกันออกไป ดังนี้ (อ้างจากจันทร์ศริ ิ แท่นมณี,
2546 : 120)
58 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทรงเล่าว่า พระยาธรรมปรีชา


(บุญ) ซึ่งเคยบวชอยู่ที่วัดเทพธิดารามเล่าให้พระองค์ฟังว่า สุนทรภู่แต่งกาพย์พระไชยสุริยา
เมื่อครั้งบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ราว พ.ศ. 2383-2385
ฉันท์ ข�ำวิไล กล่าวว่า สุนทรภูแ่ ต่งกาพย์พระไชยสุริยาเมือ่ แรกบวชและจ�ำพรรษาอยูท่ ี่
วัดในจังหวัดเพชรบุรี เมือ่ พ.ศ. 2368 หรือไม่กแ็ ต่งขึน้ เมือ่ ไปสอนหนังสือทีเ่ พชรบุรีในครัง้ หลัง
จะเห็นได้วา่ นักวรรณคดีสองท่านนี้ มีความเห็นต่างกันในเรือ่ งของปีและสถานทีท่ แี่ ต่ง
แต่ข้อสันนิษฐานที่ตรงกันก็คือ สุนทรภู่แต่งกาพย์พระไชยสุริยาในขณะที่บวชเป็นพระภิกษุ

2. ประวัติผู้แต่ง
ดูประวัติผู้แต่งได้ ใน บทที่ 1 หน้า 7

3. ลักษณะค�ำประพันธ์
สุนทรภู่แต่งกาพย์พระไชยสุริยา โดยใช้ค�ำประพั นธ์ประเภทกาพย์ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3
ชนิด คือ กาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์สุรางคนางค์ 28

4. จุดประสงค์ในการแต่ง
สุนทรภูแ่ ต่งกาพย์พระไชยสุริยาขึน้ เพือ่ ใช้เป็นแบบเรียนภาษาไทย ส�ำหรับสอนเด็กให้หดั
อ่านหนังสือ และเนือ่ งจากวรรณกรรมเรือ่ งนีม้ เี นือ้ เรือ่ งเป็นนิทาน มีตวั ละคร มีฉาก ซึง่ อ่าน
แล้วจะได้รับความบันเทิง จึงแสดงให้เห็นถึงจุดประสงค์ ในการแต่งกาพย์พระไชยสุริยาของ
สุนทรภู่อีกประการหนึง่ คือ ต้องการให้เด็กเรียนหนังสือด้วยความเพลิดเพลิน สนุกสนาน
และจดจ�ำได้ง่าย
นอกจากนีเ้ นือ้ เรือ่ งของกาพย์พระไชยสุริยา ยังมีคติสอนใจที่ ให้คณ
ุ ค่าต่อการด�ำเนิน
ชีวิต จึงน่าจะเป็นจุดประสงค์อีกประการหนึง่ ของสุนทรภู่ ในการที่จะใช้วรรณกรรมเรื่องนี้
เป็นสื่อในการสอนจริยธรรมแก่เด็กๆ และผู้อ่านคนอื่นๆ ให้ร้จู ั กบาปบุญคุณโทษ (ศรีธันว์
อยู่สุขขี , 2549 : 16-17)
บทที่ 4 กาพย์พระไชยสุริยา 59

5. เนื้อเรื ่อง
ขึน้ ต้นด้วยบทไหว้ครู (ซึง่ เป็นวรรณกรรมเรือ่ งเดียวของสุนทรภู่ ทีม่ บี ทไหว้ครู) ความว่า

“สาธุสะจะขอไหว้ พระศรีไตรสรณา
พ่อแม่แลครูบา เทวดาในราศี
ข้าเจ้าเอา ก ข เข้ามาต่อ ก กา มี
แก้ไขในเท่านี้ ดี มิดีอย่าตรีชา”

จากนั้นจึงด�ำเนินเรื่องโดยเล่าว่า มีพระมหากษัตริย์องค์หนึง่ ทรงพระนามว่า พระ


ไชยสุริยา ครองเมืองสาวะถี มีพระมเหสีนามว่า สุมาลี พระไชยสุริยาปกครองบ้านเมือง
ด้วยความสงบสุข ขุนนางทั ้งหลายยึดมั่นอยู่ ในครรลองคลองธรรม พ่อค้า ชาวเมือง ชาวไร่
ชาวนา ต่างมีความสุขกันถ้วนหน้า ดังจะเห็นได้จากกาพย์ต่อไปนี้

“..................................................
ธรณีมีราชา เจ้าพาราสาวะถี
ชื่อพระไชยสุริยา มีสุดามเหสี
ชื่อว่าสุมาลี อยู่บุรีไม่มีภัย
ข้าเฝ้าเหล่าเสนา มีกิริยาอัชฌาศัย
พ่อค้ามาแต่ไกล ได้อาศัยในพารา
ไพร่ฟ้าประชาชี ชาวบุรีก็ปรีดา
ท�ำไร่ข้าวไถนา ได้เข้าปลาแลสาลี”

ต่อมาได้เกิดอาเพศขึ้นในเมืองสาวะถี ท�ำให้บ้านเมืองพั งพินาศย่อยยับ ทั ้งนี้เพราะ


พวกขุนนาง ข้าราชการ ขาดศีลธรรม ไม่ปฏิบัติตนตามระบอบที่เคยกระท�ำมาแต่โบราณ
มัวเมา ลุ่มหลงอิสตรี ไม่นับถือพระศาสนา นับถือแต่ไสยศาสตร์ ถือดี ว่าตนมีอ�ำนาจจนไร้
ความเมตตา ดังค�ำประพั นธ์ที่ว่า
60 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า ก็หาเยาวนารี
ที่หน้าตาดี ดี ท�ำมโหรีที่เคหา
ค�่ำเช้าเฝ้าสีซอ เข้าแต่หอล่อกามา
หาได้ ให้ภริยา โลโภพาให้บ้าใจ
ไม่จ�ำค�ำพระเจ้า เหไปเข้าภาษาไสย
ถือดี มีข้าไท ฉ้อแต่ไพร่ ใส่ขอื่ คา”

แล้วพวกตุลาการก็มัวแต่รับสินบน ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามควรของตนเอง ไม่มีความ


ยุติธรรม แถมยังดูหมิ่นผู้นับถือศาสนา ดังความจากกาพย์พระไชยสุริยาว่า

“คดี ที่มีคู่ คือไก่หมูเจ้าสุภา


ใครเอาข้าวปลามา ให้สุภาก็ว่าดี
ที่แพ้แก้ชนะ ไม่ถือพระประเวณี
ขี ้ฉ้อก็ได้ดี ไล่ด่าตีมีอาญา
ที่ซื่อถือพระเจ้า ว่าโง่เง่าเต่าปูปลา
ผู้เฒ่าเหล่าเมธา ว่าใบ้บ้าสาระย�ำ”

อีกทั ้งบรรดาพระสงฆ์ก็มีพฤติกรรมที่ ไม่สมกับเป็นผู้สืบทอดพระศาสนา กล่าวคือ


ไม่สนใจในทางธรรม ไม่ปฏิบัติตามกิจของสงฆ์ ถือดี ไม่เชื่อฟังผู้ ใหญ่ ดังความจากกาพย์
พระไชยสุริยาว่า

“ภิกษุสมณะ เล่าก็ละพระสธรรม
คาถาว่าล�ำน�ำ ไปเร่ร�่ำท�ำเฉโก
ไม่จ�ำค�ำผู้ ใหญ่ ศีรษะไม้ ใจโยโส
ที่ดีมีอะโข ข้าขอโมทนาไป”

เมืองสาวะถีจึงกลายเป็นเมืองที่มีสภาพทางสังคมอันเลวร้าย เพราะไม่มี ใครที่จะให้


ความเมตตาปรานีแก่กัน ผู้มีอ�ำนาจก็มักจะข่มเหงรังแกผู้น้อย ทุกคนในเมืองเป็นคนเห็น
แก่ตวั กันหมด ใครอยากได้อะไรก็ไปตี ชงิ วิง่ ราวหรือปล้นเอามาได้เลยตามใจปรารถนา เหล่า
บทที่ 4 กาพย์พระไชยสุริยา 61

เสนาอ�ำมาตย์กป็ ล่อยปละละเลยไม่ควบคุมดูแล และยังไร้ ซงึ่ ความซือ่ สัตย์ ถือน�ำ้ พระพิพัฒน์ฯ


ไปก็เท่านั้น เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ปรากฏอยู่ ในกาพย์พระไชยสุริยา ความว่า

“พาราสาวะถี ใครไม่มีปรานี ใคร


ดุดื้อถือแต่ ใจ ที ใครได้ ใส่เอาพอ
ผู้ที่มีฝีมือ ท�ำดุดื้อไม่ซื้อขอ
ไล่คว้าผ้าที่คอ อะไรล่อก็เอาไป
ข้าเฝ้าเหล่าเสนา มิได้ว่าหมู่ข้าไท
ถือน�้ำร�่ำเข้าไป แต่น�้ำใจไม่น�ำพา
หาได้ ใครหาเอา ไพร่ฟ้าเศร้าเปล่าอุรา
ผู้ที่มีอาญา ไล่ตีด่าไม่ปรานี”

เมื่อบ้านเมืองเสื่อมโทรม หาคนที่มีศีล มีธรรมไม่ได้แล้ว ก็เกิดอาเพศหนัก ผี ป่าได้


เข้ามาย�ำ่ ยีชาวเมืองจนล้มตายเป็นจ�ำนวนมาก แล้วจากนัน้ ก็มนี ำ�้ ไหลเข้าท่วมเมือง ประชาชน
ต่างไร้ที่อยู่อาศัย จึงพากันอพยพออกจากเมือง ท�ำให้เมืองสาวะถี กลายเป็นเมืองร้าง
ดังความจากกาพย์พระไชยสุริยาว่า

“ผี ป่ามากระท�ำ มรณกรรมชาวบุรี


น�้ำป่าเข้าธานี ก็ไม่มีที่อาศัย
ข้าเฝ้าเหล่าเสนา หนีไปหาพาราไกล
ชีบาล่าลี้ ไป ไม่มี ใครในธานี”

พระไชยสุริยาจึงพาพระมเหสี พร้อมด้วยนางสนมก�ำนัลหนีลงเรือส�ำเภา ครั้น


ส�ำเภาออกสู่ทะเล ก็ถูกพายุใหญ่พัดจนส�ำเภาแตก นางสนมก�ำนัลที่ตามเสด็จสิ้นชีวิตหมด
เหลือแต่พระไชยสุริยากับพระมเหสี ทั ้งสองพระองค์จึงทรงตะเกียกตะกายว่ายน�้ำขึ้นฝั่ง
แล้วเดินซัดเซพเนจรไปในป่า ได้รับความทุกข์ยากหลากหลาย ค�่ำลงที่ ไหนก็ต้องนอนที่นนั่
ใช้แผ่นดินเป็นที่นอน ใช้ไม้ขอนเป็นหมอนหนุน และขุดเผือกขุดมันเป็นอาหารประทั งชีวิต
ดังความจากกาพย์พระไชยสุริยาว่า
62 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“ขึ้นใหม่ในกน ก กา ว่าปน ระคนกันไป


เอ็นดูภูธร มานอนในไพร มณฑลต้นไทร แทนไพชยนต์สถาน
ส่วนสุมาลี วันทาสามี เทวีอยู่งาน
เฝ้าอยู่ดูแล เหมือนแต่ก่อนกาล ให้พระภูบาล ส�ำราญวิญญา
พระชวนนวลนอน เข็นใจไม้ขอน เหมือนหมอนแม่นา
ภูธรสอนมนต์ ให้บ่นภาวนา เย็นค�่ำร�่ำว่า กันป่าภัยพาล”

พระไชยสุริยากับพระนางสุมาลี รอนแรมอยูใ่ นป่าเป็นเวลาหลายวัน จนกระทัง่ ได้พบ


กับพระดาบสรูปหนึง่ พระดาบสได้ ชี้ ให้ทัง้ สองพระองค์เห็นถึงสาเหตุของความพินาศย่อยยับ
ของบ้านเมืองว่าเป็นเพราะ “กาลกิณีสี่ประการ”

“พาราสาวะถี ใครไม่มีปรานี ใคร


ดุดื้อถือแต่ ใจ ที ใครได้ ใส่เอาพอ
ผู้ที่มีฝีมือ ท�ำดุดื้อไม่ซื้อขอ
ไล่คว้าผ้าที่คอ อะไรล่อก็เอาไป
ข้าเฝ้าเหล่าเสนา มิได้ว่าหมู่ข้าไท
ถือน�้ำร�่ำเข้าไป แต่น�้ำใจไม่น�ำพา
หาได้ ใครหาเอา ไพร่ฟ้าเศร้าเปล่าอุรา
ผู้ที่มีอาญา ไล่ตีด่าไม่ปรานี”

และ

“ประกอบชอบเป็นผิ ด กลับจริตผิ ดโบราณ


สามัญอันธพาล ผลาญคนซื่อถือสัตย์ธรรม์
ลูกศิษย์คิดล้างครู ลูกไม่ร้คู ุณพ่อมัน
ส่อเสียดเบี ยดเบี ยนกัน ลอบฆ่าฟันคือตัณหา
โลภลาภบาปบคิด โจทก์จับผิ ดริษยา
อุระพสุธา ป่วนเป็นบ้าฟ้าบดบัง
บรรดาสามัญสัตว์ เกิดวิ บัติปัตติปาปัง
ไตรยุคทุกขะตรัง สังวัจฉะระอวสาน”
บทที่ 4 กาพย์พระไชยสุริยา 63

แล้วพระดาบสได้เทศนาธรรมโปรดพระไชยสุริยา (กษัตริ ย์ผู้ซึ่งมีความซื่อตรง


แต่ต้องพบกับความพินาศเพราะหลงเชื่อขุนนางชั่ว) กับพระนางสุมาลีว่า คนเราทุกคน
เกิดมาแล้วก็ต้องตาย เพราะฉะนั้นอย่าเบี ยดเบี ยนกัน อย่าฉ้อโกงผู้อื่น เพราะจะเป็นบาป
และจะได้รับความทุกข์ แต่หากมีเมตตากรุณาก็จะได้ไปสวรรค์ ซึ่งเป็นความสุขที่ยั่งยืนกว่า
ดังความจากกาพย์พระไชยสุริยาว่า

“เปล่งเสียงเพี ยงพิณอินทรา บอกข้อมรณา


คงมาวันหนึง่ ถึงตน
เบี ยดเบี ยนเสียดส่อฉ้อฉล บาปกรรมน�ำตน
ไปทนทุกข์นับกัปกัลป์
เมตตากรุณาสามัญ จะได้ไปสวรรค์
เป็นสุขทุกวันหรรษา
สมบัติสัตว์มนุษย์ครุฑา กลอกกลับอัปรา
เทวาสมบัติชัชวาล
สุขเกษมเปรมปรีดิ์วิมาน อิ่มหน�ำส�ำราญ
ศฤงคารห้อมล้อมพร้อมเพรียง
กระจั บปี่สีซอท่อเสียง ขับร�ำจ�ำเรียง
ส�ำเนียงนางฟ้าน่าฟัง”

เมื่อพระไชยสุริยากับพระนางสุมาลีได้ฟังค�ำเทศนาของพระดาบสแล้ว ก็เกิดความ
เลือ่ มใสศรัทธาเป็นอย่างยิง่ ดังนัน้ ทัง้ สองพระองค์จงึ ออกบวชเป็นฤๅษี บ�ำเพ็ญเพี ยรปฏิบตั ิ
ธรรม ถือศีลภาวนา ท�ำพิธบี ชู าไฟ ครัน้ สิน้ ชีพก็ไปเกิดยังสรวงสวรรค์ เสวยทิพยสมบัตติ ลอด
กาลนาน ดังความจากกาพย์พระไชยสุริยาว่า

“ขึ้นเกยเลยกล่าวท้าวไท ฟังธรรมน�้ำใจ
เลื่อมใสศรัทธากล้าหาญ
เห็นภัยในขันธสันดาน ตัดห่วงบ่วงมาร
ส�ำราญส�ำเร็จเมตตา
สององค์ทรงหนังพยัคฆา จั ดจีบกลีบชฎา
รักษาถือศีลฤๅษี
64 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

เช้าค�่ำท�ำกิจพิธี กองกูณฑ์อัคคี
เป็นที่บูชาถาวร
ปถพี เป็นที่บรรจถรณ์ เอนองค์ลงนอน
เหนือขอนเขนยเกยเศียร
ค�่ำเช้าเอากราดกวาดเตียน เหนือ่ ยยากพากเพี ยร
เรียนธรรมบ�ำเพ็ญเคร่งครัน
ส�ำเร็จเสร็จได้ไปสวรรค์ เสวยสุขทุกวัน
นานนับกัปกัลป์พุทธันดร”

ท้ายที่สุดสุนทรภู่ได้แสดงวัตถุประสงค์ของการแต่งกาพย์พระไชยสุริยา พร้อมกับ
สั่งสอนผู้เรียนด้วยว่า

“ภุมราการุญสุนทร ไว้หวังสั่งสอน
เด็กอ่อนอันเยาว์เล่าเรียน
ก ข ก กา ว่าเวียน หนูน้อยค่อยเพี ยร
อ่านเขี ยนผสมกมเกย
ระวังตัวกลัวครูหนูเอ๋ย ไม้เรียวเจียวเหวย
กูเคยเข็ดหลาบขวาบเขวียว
หันหวดปวดแสบแปลบเสียว หยิกซ�้ำช�้ำเขี ยว
อย่าเที่ยวเล่นหลงจงจ�ำ
บอกไว้ ให้ทราบบาปกรรม เรียงเรียบเทียบท�ำ
แนะน�ำให้เจ้าเอาบุญ
เดชะพระมหาการุญ ใครเห็นเป็นคุณ
แบ่งบุญให้เราเจ้าเอย”

6. แนวคิดของเรื ่อง
กาพย์พระไชยสุริยาได้แสดงแนวคิดให้ผู้อ่านเห็นว่า ธรรม เป็นสิ่งส�ำคัญต่อสังคม
บ้านเมืองใดมีผปู้ ฏิบตั ธิ รรม บ้านเมืองนัน้ ย่อมเจริญ บ้านเมืองใดไร้ผปู้ ฏิบตั ธิ รรม บ้านเมืองนัน้
บทที่ 4 กาพย์พระไชยสุริยา 65

พลันฉิบหาย ซึ่งก็เหมือนกับเมืองสาวะถีที่ต้องพั งพินาศย่อยยับเพราะบ้านเมืองไร้ผู้ปฏิบัติ


ธรรม ปัญหาดังกล่าวนี้มีสาเหตุมาจากขุนนางข้าราชการและพระสงฆ์ ที่ปฏิบัติตนไป
ในทางเสื่อม โดยเริ่มจาก

“อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า ก็หาเยาวนารี
ที่หน้าตาดี ดี ท�ำมโหรีที่เคหา
ค�่ำเช้าเฝ้าสีซอ เข้าแต่หอล่อกามา
หาได้ ให้ภริยา โลโภพาให้บ้าใจ
ไม่จ�ำค�ำพระเจ้า เหไปเข้าภาษาไสย
ถือดี มีข้าไท ฉ้อแต่ไพร่ ใส่ขอื่ คา
คดี ที่มีคู่ คือไก่หมูเจ้าสุภา
ใครเอาข้าวปลามา ให้สุภาก็ว่าดี
ที่แพ้แก้ชนะ ไม่ถือพระประเวณี
ขี ้ฉ้อก็ได้ดี ไล่ด่าตีมีอาญา
ที่ซื่อถือพระเจ้า ว่าโง่เง่าเต่าปูปลา
ผู้เฒ่าเหล่าเมธา ว่าใบ้บ้าสาระย�ำ”

7. วิเคราะห์ตัวละคร
กาพย์พระไชยสุริยามีเนือ้ หาเป็นนิทานขนาดสัน้ ทัง้ นีอ้ าจเป็นเพราะสุนทรภูม่ งุ่ หมาย
ให้เป็นหนังสือสอนอ่านส�ำหรับเด็ก ดังนั้นจึงมีตัวละครน้อย ตัวละครส�ำคัญที่มีบทบาท
ในการด�ำเนินเรื่องมี 3 ตัว คือ พระไชยสุริยา พระนางสุมาลี และพระดาบส ซึ่งแต่ละตัว
จะมีลักษณะเด่นต่างกันไป คือ

1. พระไชยสุริยา
เป็นตัวละครเอกของเรื่อง เราไม่อาจทราบว่าพระไชยสุริยามีรปู โฉมอย่างไร และมี
ความสามารถด้านใดเป็นพิเศษ ทราบแต่เพี ยงว่าพระองค์เป็นคนดี เป็นคนซื่อ และคงจะ
เป็นคนที่ซื่อมากๆ จนเสียรู้พวกอ�ำมาตย์ชั่ว ดังความจากกาพย์พระไชยสุริยาว่า
66 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“ซื่อตรงหลงเล่ห์เสนี กลอกกลับอัปรีย์
บุรีจึงล่มจมไป”

แต่พระไชยสุริยาก็ยังมีบุคลิกลักษณะที่เหมือนกับพระเอกในวรรณคดี ไทยทั ่วไป คือ


มีนสิ ัยเจ้าชู้ ดังจะเห็นได้จากตอนที่พระไชยสุริยาหนีภัยพิบัติออกจากเมือง พระองค์ได้น�ำ
สาวๆ ไปด้วย ดังความว่า

“ข้าวปลาหาไปไม่เบา นารีที่เยาว์
ก็เอาไปในเภตรา”

นอกจากนี้สุนทรภู่ยังได้แสดงให้เห็นถึงธรรมชาติของคน ผ่านลักษณะนิสัยของตัว
ละคร เช่น พระไชยสุริยาที่มิได้มีคุณวิ เศษประการใดเลย เป็นเพี ยงมนุษย์ปุถุชนธรรมดาๆ
ที่ยังคงมีความต้องการในเรื่องกามคุณ แม้จะต้องระหกระเหินเดินไพร แต่พระไชยสุริยาก็

“ขึ้นกดบทอัศจรรย์ เสียงครืน้ ครัน่ ชัน้ เขาหลวง


นกหกตกรังรวง สัตว์ทั้งปวงง่วงงุนโงง”

แม้พระไชยสุริยาจะเป็นคนเจ้าชู้ แต่พระองค์ก็รักพระมเหสีของพระองค์มาก ดังจะ


เห็นได้จากตอนเรือส�ำเภาล่ม ความว่า

“ราชาคว้ามืออรไท เอาผ้าสไบ
ต่อไว้ไม่ไกลกายา”

เมื่อตกทุกข์ได้ยากด้วยกันกลางป่า พระไชยสุริยาก็ปฏิบัติกับพระมเหสีด้วยความรัก
และความห่วงใย ดังความว่า

“ภูธรนอนเนินเขา เคียงคลึงเคล้าเยาวมาลย์
ตกยากจากศฤงคาร สงสารน้องหมองพั กตรา
ยากเย็นเห็นหน้าเจ้า สร่างโศกเศร้าเจ้าพี ่อา
อยู่วังดังจั นทรา มาหม่นหมองละอองนวล
บทที่ 4 กาพย์พระไชยสุริยา 67

เพื่อนทุกข์สุขโศกเศร้า จะรักเจ้าเฝ้าสงวน
มิ่งขวัญอย่ารัญจวน นวลพั กตร์นอ้ งจะหมองศรี”

นอกจากนีเ้ รายังทราบอีกว่า พระไชยสุริยาเป็นคนทีไ่ ม่เข้มแข็งและมีพระทั ยอ่อนไหว


ง่าย ดังปรากฏจากกาพย์พระไชยสุริยา บทที่ว่า

“ราชาว้าเหว่หฤทั ย วายุพาคลาไคล
มาในทะเลเอกา
แลไปไม่ปะพสุธา เปล่าใจนัยนา
โพล้เพล้เวลาราตรี”

แต่พระไชยสุริยาก็มีศรัทธาในพระศาสนา เมื่อได้ฟังค�ำสอนของพระดาบส พระองค์


ก็น�ำมาปฏิบัติ ดังความว่า

“ค�่ำเช้าเอากราดกวาดเตียน เหนือ่ ยยากพากเพี ยร


เรียนธรรมบ�ำเพ็งเคร่งครัน”

แล้วในที่สุดพระไชยสุริยาก็ได้พบกับสัจธรรม และได้รับความสุขที่แท้จริง

“ส�ำเร็จเสร็จได้ไปสวรรค์ เสวยสุขทุกวัน
นานนับกัปกัลป์พุทธันดร”

2. พระนางสุมาลี
เป็นตัวละครเอกฝ่ายหญิง ซึง่ ไม่ปรากฏบทบาทใดๆ เลย สุนทรภูไ่ ด้กล่าวถึงพระนาง
สุมาลีว่าเป็นคนที่มีรปู ร่างงดงาม ดังความว่า

“ยากเย็นเห็นหน้าเจ้า สร่างโศกเศร้าเจ้าพี ่อา


อยู่วังดังจั นทรา มาหม่นหมองละอองนวล”
68 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

พระนางสุมาลีมีคุณสมบัติเหมือนกับสตรีที่มีสามีแล้วทั ่วไป คือเป็นภรรยาที่ดีของ


สามี คอยปรนนิบัติรับใช้สามีแม้ ในยามที่ตกยาก อีกทั ้งยังเชื่อฟังสามี และปฏิบัติตามค�ำ
สั่งสอน ดังความว่า

“พระชวนนวลนอน เข็นใจไม้ขอน เหมือนหมอนแม่นา


ภูธรสอนมนต์ ให้บ่นภาวนา เย็นค�่ำร�่ำว่า กันป่าภัยพาล”

คุณสมบัติของพระนางสุมาลีอีกประการหนึง่ คือสามารถข่มใจยอมรับในชะตากรรม
ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นได้ และอดทนต่อความยากล�ำบากในชะตากรรมนั้น เพราะคิดว่าเป็น
“กรรม” ดังความว่า

“ราชานารีร�่ำไร มีกรรมจ�ำใจ
จ�ำไปพอปะพสุธา”

3. พระดาบส
บทบาทของพระดาบส (พระฤๅษี) ในวรรณคดี แทบทุกเรื่องมักจะเป็นผู้ช่วยเหลือตัว
ละครเอกให้พ้นจากเคราะห์กรรมที่ก�ำลังเผชิญอยู่ ซึ่งในเรื่องกาพย์พระไชยสุริยาก็เช่นกัน
พระดาบสได้ช่วยเหลือพระไชยสุริยาและพระนางสุมาลี โดยให้เห็นถึงสัจธรรมแห่งชี วิต
ด้วยการแสดงธรรม ดังความจากกาพย์พระไชยสุริยาว่า

“จริงนะประสกสีกา สวดมนต์ภาวนา
เบื้องหน้าจะได้ไปสวรรค์”

เมือ่ พระไชยสุริยาและพระนางสุมาลี ฟังธรรมเสร็จสิน้ แล้ว ทัง้ สองพระองค์กอ็ อกบวช


และหมั่นบ�ำเพ็ญเพี ยรจนได้ไปเกิดในสรวงสวรรค์
บทที่ 4 กาพย์พระไชยสุริยา 69

8. คุณค่า
กาพย์พระไชยสุริยามีเนือ้ หาเป็นนิทานขนาดสัน้ ทัง้ นีอ้ าจเป็นเพราะสุนทรภูม่ งุ่ หมาย
ให้เป็นหนังสือส�ำหรับสอนอ่าน แต่อย่างไรก็ตามกาพย์พระไชยสุริยาก็ยงั แสดงให้เห็นคุณค่า
ทางด้านต่างๆ อยู่บ้าง เช่น

8.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
8.1.1 การใช้คำ� ง่ายแต่ได้ ใจความชัดเจน กล่าวมาหลายครัง้ แล้วว่าสุนทรภูแ่ ต่ง
กาพย์พระไชยสุริยา เพือ่ เป็นหนังสือสอนอ่านส�ำหรับเด็ก ดังนัน้ จึงต้องใช้ถอ้ ยค�ำทีง่ า่ ย เด็กๆ
อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที ตัวอย่างเช่น บทพรรณนาสภาพเมืองสาวะถีที่สุนทรภู่ได้พรรณนาให้
เห็นว่า

“ข้าเฝ้าเหล่าเสนา มีกิริยาอัชฌาศัย
พ่อค้ามาแต่ไกล ได้อาศัยในพารา
ไพร่ฟ้าประชาชี ชาวบุรีก็ปรีดา
ท�ำไร่ข้าวไถนา ได้ข้าวปลาแลสาลี”

จากตัวอย่างทีย่ กมานีจ้ ะเห็นได้วา่ สุนทรภูใ่ ช้คำ� เพียงไม่กคี่ ำ� ก็สามารถพรรณนาให้เห็น


ถึงสภาพของเมืองสาวะถีได้อย่างชัดเจนว่า เมืองสาวะถีเป็นเมืองที่มีความสงบสุข มีพ่อค้า
จากต่างเมืองน�ำสิ่งของเข้ามาค้าขาย ชาวบ้านก็อยู่กันอย่างมีความสุข ท�ำไร่บ้าง ท�ำนาบ้าง
และได้ผลผลิตเป็นกอบเป็นก�ำ
8.1.2 ใช้ถ้อยค�ำที่ท�ำให้เกิดจินตภาพ เมื่ออ่านแล้วก็สามารถเห็นภาพเกิดขึ้น
มาในจิ นตนาการตามตัวอักษรได้ทันที และเป็นภาพที่ชัดเจน ดังเช่นตอนที่พรรณนาถึง
บรรยากาศและสภาพของธรรมชาติในยามค�ำ่ ทีม่ องเห็นพระจั นทร์แวดล้อมไปด้วยดวงดาว
ธรรมชาติรอบข้างมีแต่ความสดชื่น สายลมพั ดมาอ่อนๆ พร้อมพากลิ่นหอมของดอกไม้ ให้
หอมฟุ้งกระจายไปทั ่ว ดังความจากกาพย์พระไชยสุริยาว่า

“วันนั้นจั นทร มีดารากร เป็นบริวาร


เห็นสิ้นดินฟ้า ในป่าท่าธาร มาลีคลี่บาน ใบก้านอรชร”
70 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

8.1.3 การบรรยายให้เห็นนาฏการ กล่าวคือ บรรยายให้เห็นถึงความเคลื่อนไหว


ของสิ่งต่างๆ อย่างต่อเนือ่ ง เช่นตอนที่ว่า

“เห็นกวางย่างเยื้องช�ำเลืองเดิน เหมือนอย่างนางเชิญ
พระแสงส�ำอางข้างเคียง
เขาสูงฝูงหงส์ลงเรียง เริงร้องซ้องเสียง
ส�ำเนียงน่าฟังวังเวง
กลางไพรไก่ขันบรรเลง ฟังเสียงเพี ยงเพลง
ซอเจ้งจ�ำเรียงเวียงวัง
ยูงทองร้องกะโต้งโห่งดัง เพียงฆ้องกลองระฆัง
แตรสังข์กังสดาลขานเสียง
กะลิงกะลางนางนวลนอนเรียง พญาลอคลอเคียง
แอ่นเอี้ยงอีโก้งโทงเทง
ค้อนทองเสียงร้องป๋องเป๋ง เพลินฟังวังเวง
อีเก้งเริงร้องลองเชิง
ฝูงละมั่งฝังดินกินเพลิง คางแข็งแรงเริง
ยืนเบิ ่งบึ้งหน้าตาโพลง
ป่าสูงยูงยางช้างโขลง อึงคะนึงผึงโผง
โยงกันเล่นน�้ำคล�่ำไป”

8.1.4 การใช้อุปมาโวหาร กล่าวคือ เปรียบเทียบว่าของสิ่งหนึง่ มีความเหมือนกับ


ของอีกสิ่งหนึง่ อ่านแล้วได้ ใจความชัดเจน ดังตัวอย่าง

“กลางไพรไก่ขันบรรเลง ฟังเสียงเพี ยงเพลง


ซอเจ้งจ�ำเรียงเวียงวัง
ยูงทองร้องกะโต้งโห่งดัง เพี ยงฆ้องกลองระฆัง
แตรสังกังสดาลขานเสียง”

8.1.5 การเลียนเสียงธรรมชาติ คือ กลวิธีการแต่งค�ำประพั นธ์อย่างหนึง่ ที่กวี


นิยมใช้ เพื่อช่วยเสริมความเป็นจริง โดยกวีมักจะแต่งเลียนเสียงสิ่งต่างๆ ทางธรรมชาติที่
ตนได้ยิน ดังตัวอย่าง
บทที่ 4 กาพย์พระไชยสุริยา 71

“ยูงทองร้องกะโต้งโห่งดัง เพี ยงฆ้องกลองระฆัง


แตรสังข์กังสดาลขานเสียง
กะลิงกะลางนางนวลนอนเรียง พญาลอคลอเคียง
แอ่นเอี้ยงอีโก้งโทงเทง
ค้อนทองเสียงร้องป๋องเป๋ง เพลินฟังวังเวง
อีเก้งเริงร้องลองเชิง”

8.1.6 การเล่นเสียง คือการเล่นเสียงสัมผัส ซึ่งมีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร


ตัวอย่างเช่น

“ขึ้นกงจงจ�ำส�ำคัญ ทั ้งกนปนกัน
ร�ำพั นมิ่งไม้ ในดง
ไกรกร่างยางยูงสูงระหง ตะลิงปลิงปริงประยงค์
คันทรงส่งกลิ่นฝิ่นฝาง
มะม่วงพลวงพลองช้องนาง หล่นเกลื่อนเถื่อนทาง
กินพลางเดินพลางหว่างเนิน”

จากตัวอย่างทีย่ กมานีจ้ ะเห็นได้วา่ มีการใช้เสียงสัมผัสทัง้ สัมผัสสระ และสัมผัสอักษร


สัมผัสสระ ได้แก่ค�ำว่า กง-จง, จ�ำ-ส�ำ, กน-ปน, ไม้-ใน, กร่าง-ยาง, ยูง-สูง,
ลิง-ปริง, ยงค์-ทรง-ส่ง, ม่วง-พลวง, พลอง-ช้อง, เกลื่อน-เถื่อน, และพลาง-หว่าง
สัมผัสอักษร ได้แก่ค�ำว่า จง-จ�ำ, มิ่ง-ไม้, ไกร-กร่าง, ยาง-ยูง, ปริง-ประยงค์,
ฝิ่น-ฝาง, และพลวง-พลอง

8.2 คุณค่าด้านเนื้อหา
8.2.1 ให้ความรูด้ า้ นการสอนภาษาไทย กาพย์พระไชยสุริยาสามารถใช้เป็นแบบ
สอนอ่านหนังสือส�ำหรับเด็ก ให้สามารถอ่านและเขี ยนหนังสือไทยได้อย่างถูกต้อง และ
สามารถน�ำมาสวดบทโอ้เอ้วิหารรายประกอบการสอนศีลธรรมด้วย
72 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

8.2.2 ให้ความรูเ้ รื อ่ งสภาพสังคมไทย สังคมไทยทีว่ า่ นี้ คือ สังคมสมัยรัตนโกสินทร์


ตอนต้น ซึ่งเป็นธรรมดาที่กวีจะต้องกล่าวถึงสภาพของสังคมเอาไว้ ในงานของตน เพราะกวี
เป็นส่วนหนึง่ ของสังคม ส�ำหรับสภาพสังคมทีส่ นุ ทรภูไ่ ด้สะท้อนให้เห็นอาจเป็นสภาพทางสังคม
สมัยรัชกาลที่ 3 เพราะในช่วงนี้มีเรื่องการฉ้อราษฎร์บังหลวงเกิดขึ้น (ดังจะเห็นได้จากกรณี
ของกรมหลวงรักษ์รณเรศ ดูหน้า 75) สุนทรภู่คงจะได้ทราบเรื่องราวอยู่บ้าง ดังนั้นท่านจึง
น�ำเอาเหตุการณ์อย่างนี้มากล่าวถึงไว้ ในกาพย์พระไชยสุริยาว่า เสนาบดี ไม่ ใส่ ใจบ้านเมือง
ฉ้อราษฎร์บังหลวง คดโกง ไม่ยุติธรรม หมกมุ่นอยู่กับความสนุกสนาน เพลิดเพลินมัวเมา
ในกาม ดังความจากกาพย์พระไชยสุริยาที่ว่า

“อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า ก็หาเยาวนารี
ที่หน้าตาดี ดี ท�ำมโหรีที่เคหา
ค�่ำเช้าเฝ้าสีซอ เข้าแต่หอล่อกามา
หาได้ ให้ภริยา โลโภพาให้บ้าใจ
ไม่จ�ำค�ำพระเจ้า เหไปเข้าภาษาไสย
ถือดี มีข้าไท ฉ้อแต่ไพร่ ใส่ ขื่อคา”

นอกจากนีก้ ารตัดสินคดีความต่างๆ ตุลาการทีช่ ำ� ระความก็ไม่ยตุ ธิ รรม ใครน�ำสินบน


มาให้ก็รับไว้ แล้วแก้คดี จากที่แพ้ ให้ชนะ ท�ำให้คนชั่วได้ดี คนดี กลับถูกข่มเหง ดังความจาก
กาพย์พระไชยสุริยาบทที่ว่า

คดี ที่มีคู่ คือไก่หมูเจ้าสุภา


ใครเอาข้าวปลามา ให้สุภาก็ว่าดี
ที่แพ้แก้ชนะ ไม่ถือพระประเวณี
ขี ้ฉ้อก็ได้ดี ไล่ด่าตีมีอาญา
ซื่อถือพระเจ้า ว่าโง่เง่าเต่าปูปลา
ผู้เฒ่าเหล่าเมธา ว่าใบ้บ้าสาระย�ำ”
บทที่ 4 กาพย์พระไชยสุริยา 73

8.2.3 ให้ความรู้เรื ่องค่านิยม ความเชื่อ ซี่งสามารถจ�ำแนกได้ ดังนี้


1 ความเชื่อเรื ่องไสยศาสตร์ ไสยศาสตร์เป็นเรื่องที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน และ
ไม่สามารถแยกออกไปจากวิถี ชี วิตได้ บางคนถึงกับงมงาย อยูก่ บั ไสยศาสตร์กม็ ี ดังชาวเมือง
สาวะถี เป็นต้น

“ไม่จ�ำค�ำพระเจ้า เหไปเข้าภาษาไสย
ถือดี มีข้าไท ฉ้อแต่ไพร่ ใส่ ขื่อคา”

2 ค่านิยมเรื ่องการดูแลปรนนิบัติสามี สมัยก่อนเรามีค่านิยมที่ว่าสามีเป็นช้าง


เท้าหน้า ภรรยาเป็นช้างเท้าหลัง ดังนัน้ ภรรยาจึงต้องดูแลปรนนิบตั สิ ามีเป็นอย่างดี เป็นต้น
ว่า ตื่นก่อนนอนทีหลัง ดังความจากกาพย์พระไชยสุริยาว่า

“ส่วนสุมาลี วันทาสามี เทวีอยู่งาน


เฝ้าอยู่ดูแล เหมือนแต่ก่อนกาล ให้พระภูบาล ส�ำราญวิ ญญา”

3 ค่านิยมเรื ่องการนับถือพระรัตนตรัย พ่อแม่ ครูอาจารย์ เป็นสิ่งที่คนไทยสมัย


ก่อนยึดถือกันอย่างเคร่งครัด เพราะมีความเชื่อว่า ก่อนจะท�ำกิจการงานสิ่งใดหากบูชา
พระรัตนตรัย ร�ำลึกถึงพระคุณของพ่อแม่และครูอาจารย์แล้ว กิจการงานนั้นก็จะเจริญและ
ประสบความส�ำเร็จ ดังนั้นสุนทรภู่จึงเริ่มเรื่องนี้ด้วยการกล่าวว่า

“สาธุสะจะขอไหว้ พระศรีไตรสรณา
พ่อแม่แลครูบา เทวดาในราศี”

4 ให้ข้อคิด คติธรรม ส�ำหรับน�ำไปใช้ในการด�ำเนินชีวิต (ฟองจันทร์ สุขยิ่ง และ


คณะ, ม.ป.ป. : 77) ได้กล่าวถึงคุณค่าด้านเนื้อหาในส่วนนี้เอาไว้ว่า กาพย์พระไชยสุริยา
ให้ข้อคิด คติธรรม ส�ำหรับน�ำไปใช้ ในการด�ำเนินชีวิต ดังนี้
ข้าราชการที่ดีต้องไม่คดโกง ฉ้อราษฎร์บังหลวง กดขี ่ข่มเหงประชาชน
คนไทยไม่ควรหลงระเริง มัวเมาแต่ความสนุกสนาน เพลิดเพลินในกามารมณ์
74 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้น�ำประเทศต้องควบคุมดูแลข้าราชการ อย่าให้รังแกประชาชน
ถ้าข้าราชการไม่สุจริต คดโกง ผู้น�ำไม่เข้มแข็ง ประชาชนหลงระเริง เอาแต่
สนุก ประเทศชาติจะประสบความหายนะต่างๆ
บ้านเมืองจะเกิดภัยพิบัติ ถ้าสังคมเกิดกาลกิณี 4 ประการ คือ ผู้คนเห็น
ผิ ดเป็นชอบ เปิดโอกาสให้คนผิ ดท�ำลายล้างคนดี ลูกศิษย์คิดล้างครู ลูกไม่
กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้คนในสังคมเบี ยดเบี ยนกัน สังคมไม่มีความสุขและเกิด
ความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า
คนเราทุกคนต้องตาย ไม่มี ใครอยู่ค�้ำฟ้า การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข คือ
ทุกคนต้องไม่เบี ยดเบี ยนกัน เมตตาต่อกัน หมั่นรักษาศีล สวดมนต์ภาวนา
ท�ำจิ ตใจให้สงบ
บทที่ 4 กาพย์พระไชยสุริยา 75

ความรู้เสริ ม
เรื ่อง กรมหลวงรักษ์รณเรศ
กรมหลวงรักษ์รณเรศ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าไกรสร เป็นพระราชโอรส
ในพระบาทสมเด็จพระพุ ทธยอดฟ้าจุ ฬาโลก (รัชกาลที่ 1) ทรงมีอ�ำนาจและบารมีมากใน
แผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั (รัชกาลที ่ 3) ด้วยทรงก�ำกับราชการหลาย
กรม และเป็นกรมที่ส�ำคัญอย่างยิ่ง ได้แก่ กรมวังและกรมพระต�ำรวจหลวง ซึ่งในเวลานั้น
มีอ�ำนาจช�ำระคดี และตัดสินความผู้ถวายฎีกาได้ด้วย จึงนับว่ากรมหลวงรักษ์รณเรศเป็นผู้มี
อ�ำนาจวาสนามากที่สุดในสมัยนั้น
แต่พระองค์กต็ อ้ งมาจบชีวิตลงเพราะการกระท�ำของพระองค์เองที่ ไม่มศี ลี ธรรม เรือ่ ง
มีอยู่ว่า พระยามอญคนหนึง่ ถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าลูกชาย
ของตน ถูกกรมหลวงรักษ์รณเรศทรงตัดสินให้ฆ่า ในข้อหาเบิ กพยานเท็จ จึงโปรดให้ช�ำระ
ไต่สวน แล้วได้ความว่ากรมหลวงรักษ์รณเรศผิดจริง ดังนัน้ กรมหลวงรักษ์รณเรศจึงถูกถอด
พระยศลงมาเป็นหม่อมไกรสร แล้วถูกตัดสินให้ส�ำเร็จโทษตามความผิ ด (วรชาติ มีชูบท,
2559 : 8-10)
สุนทรภู่คงจะได้รู้เรื่องราวการฉ้อราษฎร์บังหลวง รวมถึงการตัดสินคดี ความที่ ไม่
ยุติธรรมของกรมหลวงรักษ์รณเรศ ผู้เป็นใหญ่ ในแผ่นดินสมัยนั้น ดังนั้นท่านจึงน�ำเอา
เหตุการณ์ที่ท่านรู้เห็นมาแทรกไว้ ในกาพย์พระไชยสุริยาของท่านด้วย
บรรณานุกรม 4

จันทร์ศริ ิ แท่นมณี (2546). เอกสารค�ำสอน รายวิชาวรรณกรรมสุนทรภู.่ คณะมนุษยศาสตร์


และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏเพชรบุรี.
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2548). ชีวประวัติและผลงานของสุนทรภู่. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร : โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิ ชาการ คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิ ทยาลัย.
ประทีป วาทิกทินกร. (2553). วรรณกรรมสุนทรภู่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร :
ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
ฟองจั นทร์ สุขยิง่ และคณะ. (ม.ป.ป.). หนังสือเรี ยน รายวิชาพืน้ ฐานภาษาไทย วรรณคดี
และวรรณกรรม ม.1. พิมพ์ครัง้ ที่ 11. กรุงเทพมหานคร : บริษทั อักษรเจริญทัศน์
อจท. จ�ำกัด.
วรชาติ มีชูบท. (2559). เบื้องลึก เบื้องหลัง ในพระราชบันทึกเรื ่อง “ประวัติต้น รัชกาล
ที่ 6”. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มติชน.
ศรีธนั ว์ อยูส่ ขุ ขี. (2549). เล่าเรื อ่ งวรรณคดีไทย กาพย์พระไชยสุริยา. กรุงเทพมหานคร :
บริษัท ส�ำนักพิมพ์แม็ค จ�ำกัด.
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). หนังสือเรี ยน รายวิชาพื้นฐาน
ภาษาไทย วรรณคดีวจิ กั ษ์ ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1. พิมพ์ครัง้ ที่ 3. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
ร า ช า ธิ ร า ช
ตอน
ส มิ ง พ ร ะ ร า ม อ า ส า
5
1. ประวัติความเป็นมา
วรรณคดี เรื่องราชาธิราชเป็นวรรณคดี ร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระพุ ทธ
ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง
(หน) พระยาอินทอัคคราช พระภิรมย์รัศมี และพระศรีภูริปรีชา เป็นผู้เรียบเรียงขึ้น
เมื่อ พ.ศ. 2328 ส�ำหรับเหตุผลที่ โปรดให้เรียบเรียง คือ เรื่องพระเจ้าราชาธิราช
ท�ำศึกกับพระเจ้าฝรัง่ มังฆ้องอันมี ในพระราชพงศาวดารรามัญ และเคยแปลออกจาก
ภาษามอญเพื่อถวายกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทนั้น มีความแปลกไปจาก
ที่พระองค์เคยทรงฟังมาก่อน ที่บานแพนกฉบับ พ.ศ. 2328 บอกพระราชประสงค์
ไว้ชัดเจนว่า (สมพั นธุ์ เลขะพั นธุ์, 2556 : 74)
“ด้วยพระราชหฤทั ยประสงค์จะให้เป็นหิตานุหิตประโยชน์ แก่พระบรม
วงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ผู้น้อย ผู้ใหญ่ ฝ่ายทหาร ฝ่าย
พลเรือน จะได้สดับจ�ำไว้เป็นคติบ�ำรุงสติปัญญาไปภายหน้า”
วรรณคดี เรื่องราชาธิราชนี้ กล่าวถึงเหตุการณ์สงครามระหว่างมอญกับพม่า
ซึ่งมอญเป็นฝ่ายชนะอยู่เสมอ ด้วยเหตุที่พม่าแพ้น้ีเองจึงท�ำให้ราชาธิราชเป็นที่
ชื่นชอบของคนไทย
78 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

2. ประวัติผู้เรี ยบเรี ยง
ในที่น้เี ราไม่สามารถค้นหาประวัติของพระยาอินทอัคคราช พระภิรมย์รัศมี และ
พระศรีภูริปรีชา ซึ่งเป็นผู้ร่วมเรียบเรียงได้ ค้นได้แต่ประวัติของเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
ได้เพี ยงคนเดี ยว ดังนั้นจึงขอเสนอเฉพาะประวัติของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เอาไว้ก่อน
หากมีข้อมูลของผู้ร่วมเรียบเรียงอีกสามท่านเมื่อไหร่ก็จะได้น�ำมาเสนอในภายหลัง
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุ ทธยอดฟ้า
จุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) เป็นบุตรของเจ้าพระยาบดินทร์สุรินทร์ฤๅชัย กับท่านผู้หญิงเจริญ
เคยรับราชการเป็นหลวงสรวิ ชิต นายด่านเมืองอุทัยธานี สมัยกรุงธนบุรี
ปลายสมัยกรุงธนบุรี ได้เกิดเหตุวุน่ วายขึน้ ในบ้านเมือง สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์
ศึก (ยศของรัชกาลที่ 1 ก่อนขึ้นครองราชย์) ทราบเหตุ จึงรีบยกกองทั พจากเขมรมุ่งหน้าสู่
กรุงธนบุรีทันทีเพื่อมาแก้ไขสถานการณ์ เหตุการณ์ครั้งนี้ หลวงสรวิ ชิตได้ออกไปรับเสด็จ
ที่ทุ่งแสนแสบ กราบทูลข้อราชการต่างๆ ให้ทรงทราบ แล้วเชิญเสด็จเข้าพระนคร
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุ ทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหา
กษัตริย์แล้ว จึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหลวงสรวิ ชิตเป็นพระยาพระคลัง แล้วต่อมาก็ได้เลื่อน
เป็นเจ้าพระยาพระคลัง
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) มีบตุ รหลายคน แต่ไม่มผี ู้ ใดทีร่ ับราชการเป็นขุนนาง มีเป็น
ครูพิณพาทย์ 2 คน คือ นายเกตและนายทั ด และมีธิดา 2 คน ที่รับราชการเป็นเจ้าจอม
คือ เจ้าจอมพุ ่มและเจ้าจอมมารดานิม่ (ธิดาคนหลังนี้คือพระมารดาของสมเด็จพระเจ้า
บรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ผู้แต่งโคลงโลกนิติ)
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นกวีที่ ได้รับการยกย่องในด้านกวีโวหาร ทั ้งร้อยแก้ว
และร้อยกรอง มีผลงานการประพั นธ์มาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี และผลงานที่สร้างชื่อเสียง
ให้ทา่ นมากทีส่ ดุ เห็นจะได้แก่ สามก๊ก กากีค�ำกลอน ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์กุมารและ
กัณฑ์มัทรี
กล่าวกันว่าเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นกวีที่พระบาทสมเด็จพระพุ ทธยอดฟ้า
จุฬาโลก ทรงไว้วางพระราชหฤทั ยมากที่สุด ซึ่งเรื่องนี้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยา
ลงกรณ์ ได้เล่าถึงความสามารถทางกวีของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เอาไว้ ในพระนิพนธ์
เรื่องสามกรุง ว่า (ยุพร แสงทั กษิณ, 2553 : 144-145)
บทที่ 5 ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา 79

“วันหนึง่ พระพุทธยอดฟ้ามีพระราชด�ำรัสให้เจ้าพระยาพระคลังหน ร่างสารตรา


ฉบับหนึง่ เจ้าพระยาพระคลังหนรับค�ำสั่งไปลืมเสีย ต่อมาอีกสองสามวันตรัส
เตือนว่า โปรดให้ร่างสารตราตรวจจนป่านนี้ยังไม่แล้วอีกหรือ เจ้าพระยา
พระคลังตกใจ ลนลานหยิบสมุดออกพลิกอ่านร่างถวาย ตรัสว่าดี แล้ว แต่จะ
ต้องแก้สกั สองแห่ง ยืน่ พระหัตถ์รับสมุดเปล่าทัง้ เล่มไม่มตี วั หนังสือ เลยทรงเอา
สมุดฟาดศีรษะเจ้าพระยาพระคลังหน ตรัสว่าให้ไปเขี ยนมาให้เหมือนกับทีอ่ า่ น
ปากเปล่าถวาย ถ้าไม่เหมือนจะลงพระราชอาญา เจ้าพระยาพระคลังหนกลับไป
เขี ยนร่างสารตราลงในสมุดเล่มเดี ยวกัน กลับเข้าไปอ่านถวาย ทรงฟังตลอด
แล้วตรัสว่าเหมือนกับที่เคยอ่านถวายปากเปล่า เป็นอันว่าแก้ตัว พ้นโทษได้”

3. เค้าโครงเรื ่อง
เค้าโครงของเรื่องราชาธิราช อาจแบ่งออกได้ 4 ตอน คือ (นิยะดา เหล่าสุนทร,
2539 : 275-277)
1. ความน�ำเรื่อง
2. เหตุการณ์ก่อนสมัยพระเจ้าราชาธิราช
3. เหตุการณ์สมัยพระเจ้าราชาธิราช
4. เหตุการณ์หลังสมัยพระเจ้าราชาธิราช

1. ความน�ำเรื ่อง
หลังจากบานแพนกแล้ว กล่าวถึง พระคะว�ำบดีได้เล่าถึงเหตุการณ์ตอนทีพ่ ระพุทธเจ้า
เสด็จมายังเมืองเมาะตะมะ และได้ทรงพยากรณ์เกี่ยวกับวงศ์กษัตริย์แห่งเมืองเมาะตะมะ

2. เหตุการณ์ก่อนสมัยพระเจ้าราชาธิราช
พระเจ้าอลังคจอสู สร้างเมืองเมาะตะมะ แล้วตั้งอลิมามางให้เป็นเจ้าเมือง ต่อมา
อลิมามางกบฏและตั้งตัวเป็นใหญ่ กล่าวถึงมะกะโทซึ่งเริ่มต้นจากการเป็นคนเลี้ยงช้าง
ในราชส�ำนักของสมเด็จพระร่วงเจ้า กรุงสุโขทั ย จนได้เป็นพระราชบุตรเขยของสมเด็จ
พระร่วงเจ้า ต่อมาได้เป็นใหญ่ ในเมืองเมาะตะมะ และได้นามพระราชทานจากสมเด็จ
พระร่วงเจ้าว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว
80 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ราชวงศ์ของพระเจ้าฟ้ารั่วมีกษัตริย์สืบทอดกันต่อมาอีก 7 พระองค์ คือ พระเจ้าราม


ประเดิด พระเจ้าแสนมิ่งเมือง พระเจ้ารามมะไตย ชีปอน อายก�ำกอง พระยาอายลาว และ
พระเจ้าอู่ (ผูย้ า้ ยเมืองหลวงไปอยูท่ เี่ มืองพะโคหรือหงสาวดี) จนกระทัง่ ถึงก�ำเนิดพระยาน้อย

3. เหตุการณ์สมัยพระเจ้าราชาธิราช
พระยาน้อยเป็นโอรสของพระเจ้าอู่ แต่พระเจ้าอู่ก็มิได้โปรดปรานพระยาน้อยเลย
ประกอบกับพระยาน้อยทรงมีศัตรู คือเหล่าพระญาติวงศ์ที่คอยขัดขวางมิ ให้พระองค์
ได้รับราชสมบัติ แต่ ในที่สุดราชสมบัติก็ตกเป็นของพระองค์ พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์
ในพระนามว่า พระเจ้าราชาธิราช
ในสมัยของพระองค์นั้น ทรงท�ำสงครามกับพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องแห่งพม่า พระเจ้า
ราชาธิราชทรงเป็นนักรบที่มีฝีมือและเป็นนักปกครองที่ชาญฉลาด ประกอบกับทรงมี
ขุนทหารฝีมือดี เช่น สมิงพ่อเพชร สมิงนครอินทร์ และสมิงพระราม จึงท�ำให้พระองค์รบ
ชนะพม่าอยู่บ่อยครั้ง
พระเจ้าราชาธิราชมีพระโอรสกับพระอัครมเหสีนามว่า พ่อลาวแก่นท้าว ต่อมาทรงสัง่
ให้ประหารชีวิต เพราะขัดเคืองที่พระโอรสไม่ยอมไหว้นางเม้ยมะนิก พระมเหสีโปรดคนใหม่
ของพระองค์ ก่อนทีพ่ อ่ ลาวแก่นท้าวจะสิน้ ใจได้ตงั้ ความปรารถนาไว้วา่ ขอให้ไปเกิดเป็นโอรส
ของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องซึ่งเป็นศัตรูของพระราชบิ ดา และการณ์ก็เป็นไปตามนั้น คือ พ่อลาว
แก่นท้าวไปเกิดเป็นโอรสของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง นามว่า มังรายกะยอฉะวา
สงครามอันยาวนานระหว่างมอญกับพม่ายุติลงอย่างสิ้นเชิง เนือ่ งด้วยการสวรรคต
ของพระเจ้าราชาธิราช ซึ่งสร้างความเสียพระทั ยให้กับพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องเป็นอย่างมาก

4. เหตุการณ์หลังสมัยพระเจ้าราชาธิราช
หลังจากทีพ่ ระเจ้าราชาธิราชสวรรคตไปแล้ว 2 ปี ต่อมาพระเจ้าฝรัง่ มังฆ้องก็สวรรคต
ทางฝ่ายกรุงหงสาวดี มีกษัตริย์ครองราชย์สืบต่อกันมาอีก 8 พระองค์ จนมาถึงสมัยของ
พระนางตะละเจ้าท้าว
พระนางตะละเจ้าท้าวถูกอุบายของฝ่ายพม่าจั บตัวไปเป็นมเหสี พระมหาปิฎกธร
ลูกบุญธรรม จึงได้วางแผนน�ำตัวพระนางกลับคืนมายังหงสาวดี
กาลต่อมาพระมหาปิฎกธรได้สึกจากเพศบรรพชิต และได้รับราชาภิเษกเป็นพระ
มหากษัตริย์ ในรัชกาลนี้ เมืองมอญมีการเจริญสัมพั นธไมตรีกับเมืองไทย
บทที่ 5 ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา 81

เรื่องราชาธิราชจบบริบูรณ์ในตอนที่พระนางตะละเจ้าท้าวสิ้นพระชนม์ และพระมหา
ปิฎกธรได้จัดพิธีพระศพอย่างสมพระเกียรติ

4. เนื้อเรื ่องย่อราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา


พระเจ้ากรุงต้าฉิงเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงจีน มีทหารเอกคนหนึง่ ชื่อ กามะนี ซึ่ง
มีความเชี่ยวชาญในการขี ่ม้าแทงทวนหาผู้เสมอได้ยาก ใครที่เห็นเพลงทวนของกามะนีแล้ว
ต้องสรรเสริญว่ากามะนีนม้ี ิ ใช่มนุษย์ เปรียบประดุจเทวดาก็วา่ ได้ พระเจ้ากรุงต้าฉิงใคร่จะทอด
พระเนตรขุนศึกของพระองค์รำ� ทวนต่อสูก้ บั ทหารฝีมอื ดี แต่ ในกรุงจีนนัน้ หามีขนุ ศึกฝีมอื ดีไม่
เมื่อพระองค์ทรงทราบจากเสนาบดี ว่า กรุงรัตนบุระอังวะกับกรุงหงสาวดี มีขุนศึกที่
พอจะต่อสู้กับกามะนีได้ พระองค์จึงให้รีบจั ดทั พมุ่งมายังกรุงรัตนบุระอังวะทั นที
ครั้นมาถึงเขตแดนกรุงรัตนบุระอังวะและตั้งค่ายมั่นคงแล้ว พระเจ้ากรุงต้าฉิงได้
ประกาศแก่ทหารทั ้งปวงว่าห้ามท�ำอันตรายชาวเมืองเป็นอันขาด หากทหารคนใดขัดค�ำสั่ง
จะตัดหัวเสียบประจาน จากนั้นทรงมอบหมายให้ “โจเปียว” เป็นราชทูตน�ำพระราชสาร
และเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง พร้อมแจ้งจุดประสงค์สองประการ
ที่พระองค์ทรงกรีธาทั พมาในครั้งนี้ คือ ต้องการให้พระเจ้ากรุงอังวะออกมาถวายบังคม
และใคร่ทอดพระเนตรทหารเอกของกรุงรัตนบุระอังวะ ต่อสู้บนหลังม้ากับทหารเอกของ
กรุงจีนตัวต่อตัว ถ้ากรุงอังวะแพ้ ก็ตอ้ งยอมยกบ้านเมืองให้เป็นของพระองค์ แต่ถา้ กรุงจีนแพ้
ก็จะยกทั พกลับ
ฝ่ายพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องเมื่อทราบความในพระราชสารแล้วก็ตอบไปว่า ยินดี ที่จะส่ง
ทหารเอกของกรุงรัตนบุระอังวะไปต่อสู้กับทหารเอกของกรุงจีน แต่การต่อสู้ครั้งนี้เป็นการ
ต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ จึงขอเวลา 7 วัน แล้วจะนัดก�ำหนดวันต่อสู้ต่อไป
จากนั้นพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องจึงถามเสนาข้าทหารว่า มีผู้ ใดจะรับอาสาต่อสู้กับทหาร
เอกของกรุงจีนหรือไม่ เสนาข้าทหารทั ้งปวงก็ไม่มี ใครอาสา พระองค์จึงให้มีประกาศหาผู้มี
ฝีมอื อาสาไปต่อสูก้ บั กามะนี แต่กห็ ามีผอู้ าสาไม่ แม้วา่ จะทรงประกาศว่าหากชนะจะโปรดให้
เป็นอุปราชและยกราชสมบัติให้ครองกึ่งหนึง่ ก็ตาม
ฝ่ายสมิงพระรามครั้นได้ยินประกาศนั้นก็คิดว่า การที่จะเอาชนะกามะนีนั้นไม่ยาก
แต่ตนเป็นทหารของกรุงหงสาวดี จะอาสาออกท�ำการก็หาควรไม่ แต่พอคิดอีกทีก็คิดได้
ว่า หากพระเจ้ากรุงจีนได้กรุงอังวะแล้ว กรุงหงสาวดี ก็เห็นจะไม่รอดเงื้อมมือของพระเจ้า
กรุงจีนเหมือนกัน
82 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ดังนัน้ สมิงพระราม จึงแจ้งผูค้ มุ ให้กราบทูลพระเจ้าฝรัง่ มังฆ้องว่า ตนขออาสาท�ำการ


ครัง้ นี้ เมือ่ พระเจ้าฝรัง่ มังฆ้องทราบก็ดีพระทัย จึงให้นำ� ตัวสมิงพระรามมาเข้าเฝ้า สมิงพระราม
ทูลขอม้าฝีเท้าดีตวั หนึง่ ซึง่ พระเจ้าฝรัง่ มังฆ้องก็โปรดให้นำ� ม้าทีม่ อี ยู่ ในพระราชวังทัง้ หมดมา
ให้สมิงพระรามเลือกตามใจชอบ แต่สมิงพระรามก็หาถูกใจม้าเหล่านั้นไม่ พระเจ้าฝรั่งมัง
ฆ้องจึงสั่งให้เสนาบดี ไปหาม้าเชลยศักดิ์ที่อยู่นอกเมืองมาให้สมิงพระราม ฝ่ายเสนาบดี ไปถึง
นอกเมือง ได้พบลูกม้าตัวหนึง่ ซึง่ เป็นของหญิงม่ายมีลกั ษณะดีจงึ น�ำมาให้สมิงพระรามดู สมิง
พระรามพิจารณาแล้วเห็นว่า ลูกม้านัน้ มีรปู งามและมีคณ ุ สมบัตพิ ร้อมทุกประการส�ำหรับออก
ศึก จึงเอามือแตะหลังม้าดู หลังม้าก็ไม่อ่อนทรุดลงอย่างม้าตัวอื่นๆ สมิงพระรามจึงรู้ว่าม้า
ตัวนี้ มีพละก�ำลังมาก เลยทดลองขี ่หน้าพระที่นงั่ ม้านั้นก็วิ่งไปโดยเร็วจนฝุ่นฟุ้งกระจายไป
ทั ่ว สมิงพระรามควบม้าไปตั้งแต่เช้าจนถึงเวลาบ่ายสาม ม้าก็มิได้เหนือ่ ยเลย สมิงพระราม
จึงชักม้าสะบัดย่างน้อยเป็นเพลงทวน กลับมาเฝ้าพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องจึงให้มังมหานรธาถือพระราชสารก�ำหนดวันนัดหมายพร้อมด้วย
เครื่องราชบรรณาการไปถวายแด่พระเจ้ากรุงจีน ฝ่ายพระเจ้ากรุงจีนเมื่อทราบวันนัดหมาย
ก็ดีพระทั ย กษัตริย์ทั้งสองจึงให้เกณฑ์ไพร่พลมาจั ดการปลูกพลับพลาทั ้งสองฝั่งให้ตรงกัน
พร้อมให้ตกแต่งสถานที่เตรียมรับเสด็จไว้ให้พร้อม
ครัน้ ถึงวันนัดหมาย กษัตริยท์ ัง้ สองจึงเสด็จพร้อมด้วยบริวารมายังพลับพลาพร้อมกัน
และแล้วการต่อสูข้ องทหารเอกทัง้ สองฝ่ายก็เริม่ ขึน้ โดยฝ่ายกรุงจีน กามะนีขนุ ศึกแต่งตัวใส่
เสื้อหุ้มเกราะ คาดสายรัดเอว ประดับหยก เหน็บกระบี ่ ขี ่ม้าร�ำทวนออกมาก่อน ส่วนสมิง
พระรามก็ ใส่เสือ้ สีชมพูขลิบทองจีบเอว ใส่กำ� ไลต้นแขน ปลายแขน สอดดาบสะพายแล่ง ขีม่ า้
ออกมาอีกทางหนึง่ ทัง้ สองต่างร่ายร�ำเพลงทวนอวดความองอาจ สง่างาม สมความปรารถนา
ของพระเจ้ากรุงจีน
สมิงพระรามแลดูกามะนี เห็นกามะนี ใส่เสือ้ หุม้ เกราะไว้เช่นนัน้ จึงคิดหาช่องทางว่าจะ
ปักปลายทวนเข้าไปที่ ใดดี จึงจะลอดผ่านเกราะอันแข็งแกร่งของกามะนีไปได้ คิดแล้วจึงสั่ง
ให้ล่ามร้องแปลไปว่า เราทั ้งสองเป็นทหารเอกที่เก่งกล้า จึงยังไม่ควรเข้าต่อสู้กันทั นที ควร
จะร�ำเพลงทวนถวายให้พระเจ้าอยูห่ วั ทัง้ สองพระองค์ทอดพระเนตรเป็นขวัญตาก่อน แล้วจึง
จะต่อสู้กันทีหลัง กามะนีก็ตอบตกลง โดยเป็นฝ่ายร�ำทวนก่อน แล้วให้สมิงพระรามร�ำตาม
สมิงพระรามก็ร�ำตามได้ทุกเพลง ครั้นกามะนีร�ำทวนเสร็จแล้ว สมิงพระรามก็ร�ำทวนต่อ
แล้วให้กามะนีร�ำตามบ้าง
ในขณะทีส่ มิงพระรามร�ำทวนและกามะนีกร็ ำ� ตามอยูน่ นั้ สมิงพระรามก็คอยหาช่องทาง
ที่จะสอดแทงทวนเข้าไป จึงเห็นว่ามีอยูส่ องทาง คือช่องใต้รักแร้และกลีบเกราะทีท่ า้ ยหมวก
บทที่ 5 ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา 83

ทีพ่ อจะย้อนฟันได้ เมือ่ ก�ำหนดทีห่ มายส�ำคัญแล้วสมิงพระรามก็ชกั ม้าหยุดพั ก ครัน้ หายเหนือ่ ย


แล้วก็ ให้ล่ามบอกไปว่า ต่อไปนี้เราจะต่อสู้กันเพื่อเอาแพ้เอาชนะ
กามะนีได้ฟงั ก็ขบั ม้าร�ำเข้ามา สมิงพระรามก็ขบั ม้าออกไปสูก้ นั หลายสิบเพลง ต่างคน
ต่างรับรองป้องกันตนได้เป็นสามารถ ฝ่ายสมิงพระรามก็คิดว่า หากต่อสู้กันอยู่อย่างนี้เห็น
ทีจะเอาชัยชนะได้ยาก ด้วยม้าของกามะนียังมีก�ำลังอยู่ คิดแล้วสมิงพระรามจึงแสร้งท�ำเป็น
เสียทีควบม้าหนีออกไป กามะนีคิดว่าจริงจึงขับม้าไล่ตาม
ครัน้ สมิงพระรามเห็นว่าม้าของกามะนีเริม่ อ่อนแรง สมิงพระรามจึงชักม้าวกเข้าต่อสูก้ บั
กามะนี ฝ่ายม้าของกามะนีเริม่ อ่อนก�ำลังลง จึงหันหลังหลบไม่ทัน สมิงพระรามได้ทกี ส็ อดทวน
แทงไปที่ซอกรักแร้ ท�ำให้กามะนีเสียที สมิงพระรามจึงชักดาบออกพร้อมกระทืบม้าเข้าย้อน
ฟันตามกลีบเกราะท้ายหมวก ถูกศีรษะของกามะนีขาด แต่ยังไม่ทันตกถึงพื้นก็เอาขอเหล็ก
เกี่ยวศีรษะของกามะนี ใส่ในตะกรวย แล้วชักม้าตรงเข้ามาพลับพลาของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
ฝ่ายพระเจ้ากรุงจีนเห็นดังนั้น จึงให้ทหารไปเอาศพกามะนี มาท�ำศีรษะต่อเข้า แล้ว
ใส่ลงหีบน�ำไปฝังเสีย แล้วเสด็จกลับเข้าค่าย ฝ่ายสมิงพระรามได้นำ� ศีรษะของกามะนีไปถวาย
พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องดี พระทั ยมาก เสด็จกลับเข้าพระนคร
ส่วนทหารของพระเจ้ากรุงจีนทั ้งปวง โกรธแค้นที่กามะนีพ่ายแพ้แก่สมิงพระราม
จึงกราบทูลพระเจ้ากรุงจีนว่าจะขอเข้าตีกรุงอังวะ แต่พระเจ้ากรุงจีนตรัสห้ามพร้อมทรงให้
เหตุผลว่า พระองค์รักสัตย์ยิ่งกว่าทรัพย์ แล้วสั่งให้เลิกทั พกลับกรุงจีน
พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องเห็นว่าสมิงพระรามมีความดี ความชอบ ควรแต่งตั้งให้เป็น
มหาอุปราชและพระราชทานพระราชธิดาให้ แต่สมิงพระรามกราบทูลว่า ที่ตนอาสาครั้งนี้
เพราะมีเหตุผล 4 ประการ คือ เพื่อให้พ้นจากการจองจ�ำ เพื่อฝากฝีมือไว้ ในแผ่นดิน เพื่อ
ให้สงั่ ประหารชีวิตตน และหากไม่ประหารชีวิตก็จะขอกลับไปเมืองหงสาวดี ฉะนัน้ จึงไม่ขอรับ
ความดี ความชอบที่จะพระราชทานให้
พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องจึงมาปรึ กษากับพระมเหสี ซึ่งพระมเหสีได้แนะน�ำวิ ธีที่จะท�ำให้
สมิงพระรามยอมรับความดี ความชอบว่า
“...ผูกสมิงพระรามด้วยยางรัก เพราะปุถชุ นทีว่ นเวียนเกีย่ วข้องอยู่ ในวัฏสงสาร
ล้วนมีกำ� หนัดยินดี ในกามรสทัง้ สิน้ ถ้าผู้ ใดถูกผูกติดด้วยยางรักแล้ว ถึงจะเอา
เชือกพวนเข้ามาฉุดชัก ก็มิอาจจะหลุดเคลื่อนคลายได้ เห็นทีสมิงพระรามจะ
สวามิภักดิ์อยู่ด้วยพระองค์เพราะสิ่งนี้เป็นมั่นคง”
84 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องก็เห็นด้วยกับค�ำของพระมเหสี ดังนั้นจึงให้พระมเหสีช่วยไปบอก
กล่าวพระราชธิดาให้ร้วู ่า พระองค์จะยกให้เป็นคู่ครองของสมิงพระราม
ครัน้ พระราชธิดาทราบเรือ่ งก็เสียพระทัย ทรงพระกันแสง ซบพระพั กตร์ลงแล้วกราบทูล
ว่า
“ถ้าได้สามีเป็นลูกกษัตริย์ มีชาติตระกูลเสมอกันเล่าก็สมควร แต่นจี่ ะได้สามี
เป็นมอญต่างภาษาและเป็นเพี ยงนายทหาร อุปมาดังหงส์ตกในฝูงกา ราชสีห์
เข้าปนกับหมู่เสือ ลูกมีความโทมนัสนัก”
พระมเหสีจึงตอบไปว่า
“สมิงพระรามนั้นเปรียบเสมือนกาขาว มิ ใช่กาด�ำ สมเด็จพระราชบิ ดาทรงชุบ
ให้เป็นหงส์ ซึ่งเปรียบเสมือนเสือนั้น ถ้าพระราชบิ ดาชุบย้อมแล้วก็คงจะเป็น
ราชสีห์ อันบุรุษเปรียบประดุจพืชธัญญาหาร ถ้าโรยปลูกเพาะหว่านแล้วก็มี
แต่งอกงามสูงใหญ่ขนึ้ ไป ลูกนีถ้ งึ จะเป็นราชบุตรี เกิดในวงศ์กษัตริย์ ชาติตระกูล
สูงก็เปรียบเหมือนตัณฑุลา (ข้าวสาร) จะโปรยหว่านเพาะปลูกมิอาจเจริญได้
ลูกอย่าถือทิฐิมานะเลย”
ครั้นตรัสสอนพระราชธิดาแล้ว พระมเหสีก็เสด็จกลับต�ำหนัก
รุง่ ขึน้ พระเจ้าฝรัง่ มังฆ้องจึงมีรับสัง่ ให้สมิงพระรามเข้าไปกินเลีย้ งในพระมหามณเฑียร
แล้วตรัสแก่สมิงพระรามว่า พระองค์เป็นกษัตริย์ รักสัตย์ยิ่งกว่าชีวิต ซึ่งต�ำแหน่งพระมหา
อุปราชกับพระราชธิดานั้น พระองค์ได้ออกปากไปแล้วว่าจะให้เป็นบ�ำเหน็จแก่สมิงพระราม
ขอให้จงรับไว้เถิดอย่าให้คนทั ้งหลายครหานินทาพระองค์ได้ ตรัสแล้วก็เรียกพระราชธิดา
ให้ยกพานพระศรีมาให้สมิงพระราม
สมิงพระรามเห็นพระราชบุตรีทรงโฉมก็ตะลึงจนลืมตัว พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องเห็นเช่น
นั้นก็ดีพระทั ย แล้วเสด็จเข้าข้างใน
วันต่อมาพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องเสด็จออกว่าราชการ จึงตรัสแก่สมิงพระรามว่า อาสา
กู้พระนครไว้ได้ จะไม่รับบ�ำเหน็จรางวัลนั้นถือเป็นการท�ำลายพระเกียรติยศของพระองค์
สมิงพระรามก็ทลู ตอบไปว่าเพือ่ ไม่ ให้เสียราชประเพณีจะยอมรับบ�ำเหน็จ แต่ขอพระราชทาน
ข้อแม้ 2 ประการ คือ หนึง่ ห้ามให้ใครเรียกว่าเชลย และสอง หากมีสงครามระหว่างมอญ
กับพม่าจะขอวางตัวเป็นกลาง พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องก็ทรงอนุญาต จากนั้นจึงสั่งให้ตีฆ้องร้อง
ประกาศไปทัว่ พระนครว่า แต่นต้ี อ่ ไป ให้เรียกสมิงพระรามว่า “เจ้าสมิงพระรามกูเ้ มือง” ถ้า
บทที่ 5 ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา 85

ผู้ ใดบังอาจเรียกว่าเชลย จะฆ่าเสียให้สิ้นทั ้งโคตร แล้วถ้าแต่งตั้งสมิงพระรามเป็นอุปราช


เมื่อใด ให้เรียกสมิงพระรามว่า “พระมหาอุปราชผดุงพระนคร”
ครัน้ ปลูกพระต�ำหนักเสร็จสิน้ งานอภิเษกสมรสระหว่างสมิงพระรามกับพระราชธิดา
ก็ถกู จัดขึน้ พร้อมกับการแต่งตัง้ สมิงพระรามให้เป็นพระมหาอุปราชผดุงพระนคร แล้วต่อมา
พระราชธิดาก็ประสูติพระราชโอรส ซึ่งเป็นที่รักของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องมาก
วันหนึง่ พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องทรงพาพระราชนัดดาออกว่าราชการด้วย ทรงให้นัง่ บน
พระเพลา (ตัก) ฝ่ายพระราชนัดดายังไร้เดี ยงสาอยู่และก�ำลังซน ก็ลุกขึ้นยืนยุดพระอังสา
(บ่า) แล้วเอือ้ มพระหัตถ์คว้าไปทีพ่ ระเกศาของพระเจ้าฝรัง่ มังฆ้อง พระเจ้าฝรัง่ มังฆ้องคงจะ
มีอารมณ์เอ็นดูหลานหรือไม่อย่างไร จึงตรัสขึ้นว่า
“อ้ายลูกเชลยคนนี้กล้าหาญนัก นานไปเห็นองอาจแทนมังรายกะยอฉะวาได้”
สมิงพระรามนัง่ อยู่ ในทีน่ นั้ เมือ่ ได้ยนิ ก็นอ้ ยใจคิดว่าครัง้ นีส้ นิ้ วาสนาต่อกันแล้ว จึงคิด
ที่จะหนีกลับกรุงหงสาวดี คืนวันหนึง่ สมิงพระรามได้เขี ยนหนังสือสองฉบับ ฉบับหนึง่ ซ่อน
ไว้ใต้หมอน อีกฉบับหนึง่ เหน็บพกไว้ แล้วคิดอาลัยพระราชธิดาและลูก แต่ก็หักใจได้ ครั้น
จะบอกพระราชธิดาก็กลัวว่าจะถูกขัดขวาง คิดแล้วจึงแต่งกายถือทวนสะพายดาบ ขี ่ม้าคู่ ใจ
ตัวที่รบชนะกามะนี หนีออกจากกรุงอังวะ
ฝ่ายพระเจ้าฝรัง่ มังฆ้องเมือ่ ทราบว่าสมิงพระรามหนีไป ก็ ให้จัดกองทัพม้าออกติดตาม
จนไปทันสมิงพระราม สมิงพระรามเมือ่ เห็นกองทัพตามมา จึงใช้ทวนพุง่ ลูกตาลจากต้นทีละ
ผล มือขวารับทวน มือซ้ายรับผลตาล แล้วโยนไปให้แม่ทัพนายกองพม่า แม่ทัพนายกองพม่า
เห็นดังนั้นก็ตกใจ ไม่มีผู้ ใดกล้าไปจั บกุม ได้แต่ติดตามไปจนสุดเขตแดน และได้น�ำหนังสือ
ที่สมิงพระรามปักไว้ที่ต้นไม้ไปถวายพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องได้ทราบสาเหตุที่สมิงพระรามหนีไปเพราะความน้อยใจ พระองค์
จึงน�ำหนังสือไปให้พระมเหสีอ่าน เมื่อพระมเหสีอ่านแล้วก็กราบทูลว่า
“พลั้งปากก็ย่อมเสียการ พลั้งมีดพลั้งขวานมักจะบาดเจ็บ”
และคิดว่าเมือ่ สมิงพระรามคิดถึงลูกคงกลับมา ฝ่ายพระราชธิดาพอรูว้ า่ สมิงพระราม
หนีไปก็ตกพระทั ย และเมื่อเห็นหนังสือที่สมิงพระรามซุ กไว้ที่ ใต้หมอน ก็ยิ่งโศกาลัย และ
เจ็บแค้นพระราชบิ ดายิ่งนัก
ความต่อจากนีเ้ ป็นเรือ่ งราวเมือ่ สมิงพระรามกลับไปถึงกรุงหงสาวดี ซึง่ ไม่เกีย่ วข้องกับ
ตอนทีน่ กั เรียนได้เรียน แต่ผเู้ ขียนเห็นว่ามีความน่าสนใจ จึงได้นำ� มาเรียบเรียงไว้ ในทีน่ ด้ี ว้ ย
86 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

เมือ่ สมิงพระรามกลับถึงเมืองหงสาวดีแล้ว ชาวเมืองทัง้ หลายต่างยินดี พระเจ้าราชาธิราช


ถึงกับจั ดมหรสพเพื่อเฉลิมฉลองเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน จากนั้นจึงโปรดให้ไปครองเมืองวาน
พร้อมกับพระราชทานบ�ำเหน็จรางวัลแก่สมิงพระรามเป็นจ�ำนวนมาก
นับตั้งแต่นั้นมา การศึกระหว่างมอญกับพม่าก็สงบลง อาณาประชาราษฎร์ทั้ง
สองพระนคร ต่างอยูก่ นั อย่างมีความสุข ครัน้ อยูม่ าอีก 3 ปี พระเจ้าราชาธิราชก็เสด็จสวรรคต
เสนาอ�ำมาตย์จงึ อัญเชิญพระยาเกียรติราชบุตร ให้ ขนึ้ ครองราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์
ทรงพระนามว่า “พระเจ้าสุทโทธรรมราชาธิราช”
หลังจากพระเจ้าราชาธิราชสวรรคตได้ 2 ปี พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องก็ทรงพระประชวร
สวรรคต เสนาอ�ำมาตย์ได้อญ
ั เชิญมังสีสรู าชบุตร ให้ขนึ้ ครองราชสมบัตเิ ป็นพระมหากษัตริย์
ทรงพระนามว่า “พระเจ้าฝรั่งมังศรี”
ฝ่ายสมิงพระรามที่ ไปครองเมืองวานนั้น โดยปกติจะเข้ามาเฝ้าพระเจ้าสุทโท
ธรรมราชาอยู่เสมอ วันหนึง่ ชาวบ้าน “มะอิภาย” จั บโจรได้ แล้วช่วยกันประหาร ผ่าอกเสียบ
ไว้ทที่ างเดิน เพือ่ มิ ให้คนทัง้ หลายเอาเป็นเยีย่ งอย่าง แล้วเผอิญวันนัน้ หลังจากสมิงพระราม
เข้าเฝ้าพระเจ้าสุทโทธรรมราชาแล้ว ได้เดินทางกลับเมืองวาน ผ่านมาทางหมู่บ้านนี้ ผี โจร
นั้นก็แผลงฤทธิ์ร้องเรียกสมิงพระรามว่า
“สมิงพระรามเอ๋ยขอขี ่ม้าด้วย”
สมิงพระรามได้ยินเสียงก็สงสัยว่าใครมาร้องเรียกตน ครั้นเห็นว่าเป็นผี ก็โกรธ ร้อง
ตวาดว่า
“เขาฆ่าผ่าอกมึงตายแล้ว ยังไม่ไปเกิดอีกหรือ กูจะช่วยตัดหัวมึงเสียให้พน้ ทุกข์”
ว่าแล้วก็ตัดหัวผี ผูกไว้ที่ข้างม้าแล้วควบไป
ในขณะทีส่ มิงพระรามควบม้าอยูน่ นั้ หัวผีแกว่งไปแกว่งมาก็ไปถูกน่องของสมิงพระราม
ผี นั้นงับน่องของสมิงพระรามไว้แน่น จะท�ำอย่างไรก็ไม่หลุด สมิงพระรามโมโหมาก จึงใช้
สันดาบตีหัวผี แตกตกลงไป แต่ฟันผี ยังคงติดอยู่ ท�ำอย่างไรก็ไม่ออก
เมื่อกลับถึงเมืองวานแล้ว สมิงพระรามก็ ให้หาหมอผี มาช่วยแก้ไข แต่แก้เท่าไรก็
แก้ไม่ได้ อยู่มาอีก 3 วัน สมิงพระรามก็สิ้นชีวิต แล้วในกาลต่อมาทั ้งพระมหากษัตริย์ เสนา
ข้าทหารของเมืองหงสาวดี และเมืองอังวะ ต่างก็ลาจากโลกนี้ ไปจนหมดสิ้น คงเหลือแต่
ผลงานที่ ได้กระท�ำเพื่อบ้านเมืองไว้เท่านั้น
บทที่ 5 ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา 87

5. วิเคราะห์ตัวละคร
ส�ำหรับตัวละครทีม่ บี ทบาทโดดเด่นทีส่ ดุ ในวรรณคดีเรือ่ งราชาธิราช ตอนสมิงพระราม
อาสานี้ มีอยู่ด้วยกันทั ้งสิ้น 4 คน คือ สมิงพระราม พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง พระเจ้ากรุงจีน และ
พระมเหสี ซึ่งผู้เขี ยนจะได้ วิ เคราะห์ลักษณะของตัวละครทั ้งสี่ ดังนี้

5.1 สมิงพระราม
สมิงพระรามเป็นตัวละครทีม่ บี ทบาทเด่นทีส่ ดุ ในตอนนี้ เดิมทีสมิงพระรามเป็นทหาร
ของพระเจ้าราชาธิราชแห่งเมืองหงสาวดี แต่เหตุที่มาอยู่เมืองอังวะนั้น เพราะถูกจั บเป็น
เชลยเมื่อครั้งศึกพลายประกายมาศ ครั้นพระเจ้ากรุงจีนยกกองทั พมายังเมืองอังวะ ด้วยมี
พระราชประสงค์จะดูทหารเอกของทั ้งสองเมืองต่อสู้กันตัวต่อตัว สมิงพระรามได้อาสาต่อสู้
แต่ทีแรกก็คิดว่าถ้าอาสาก็จะเหมือนกับว่า
“หาบสองบ่า อาสาสองเจ้า”
จึงนิง่ เสีย ครัน้ คิดขึน้ มาได้วา่ หากพระเจ้ากรุงจีนมีชยั ชนะเหนือเมืองอังวะแล้ว ก็คงจะ
ไม่ปล่อยเมืองหงสาวดี ไปด้วย ดังนั้นสมิงพระรามจึงรับอาสา และได้ชัยชนะ
จากลักษณะของสมิงพระรามที่กล่าวมาข้างต้น จึงพอจะสรุ ปลักษณะนิสัยของ
สมิงพระรามออกเป็นข้อๆ ได้ว่า (ศิริวรรณ ยิ้มละมัย, 2549 : 78-86)
1. เป็นผู้รักชาติบ้านเมือง
จากเนื้อเรื่องที่ศึกษามา จะเห็นถึงลักษณะนิสัยของสมิงพระรามอย่างหนึง่ ว่า สมิง
พระรามเป็นคนที่รักชาติบ้านเมืองของตนมาก ตลอดเวลาที่ต้องตกอยู่ในฐานะเชลย สมิง
พระรามจะคิดถึงบ้านเมืองของตัวเองอยูม่ ไิ ด้ขาด ครัน้ อาสาต่อสูก้ บั กามะนีจนได้ชยั ชนะแล้ว
ความปรารถนาข้อหนึง่ ทีส่ มิงพระรามทูลขอจากพระเจ้าฝรัง่ มังฆ้อง คือ ขอกลับกรุงหงสาวดี
ครัน้ สมิงพระรามเห็นว่าตนไม่สามารถปฏิเสธข้อเสนอของพระเจ้าฝรัง่ มังฆ้องได้ ผนวก
กับความมีจิตปฏิพัทธ์ ในพระราชธิดา จึงยอมรับข้อเสนอ แต่มขี อ้ แม้วา่ หากพระเจ้าราชาธิราช
ยกทั พมาท�ำสงครามกับเมืองอังวะ ตนจะขอวางตัวเป็นกลาง ไม่ร่วมรบกับทั ้งสองฝ่าย
88 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

2. เป็นผู้จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริ ย์
ความจงรักภักดีเป็นคุณสมบัตพิ นื้ ฐานของทหารทุกคน ทีจ่ ะต้องมีตอ่ พระมหากษัตริย์
ดังเช่น สมิงพระรามทีจ่ งรักภักดีตอ่ พระเจ้าราชาธิราชมาก ถึงกับคิดไม่อาสาออกรบในทีแรก
เพราะไม่อยากได้ ชื่อว่า
“หาบสองบ่า อาสาสองเจ้า”
แต่ด้วยความจงรักภักดี ต่อพระเจ้าราชาธิราช สมิงพระรามจึงอาสาออกรบ
3. เป็นผู้มีความช�ำนาญในการท�ำสงคราม
ขุนศึกของพระเจ้าราชาธิราชทุกคน ไม่ว่าจะเป็นอ�ำมาตย์ทินมณีกรอด สมิงพ่อเพชร
สมิงนครอินทร์ สมิงอายมนทะยา สมิงอังวะมังศรี ฯลฯ ล้วนแต่มีความช�ำนาญในการท�ำ
สงครามทัง้ สิน้ ซึง่ สมิงพระรามเองก็มคี ณ
ุ สมบัตขิ อ้ นีอ้ ยูเ่ หมือนกัน แม้แต่พระเจ้าฝรัง่ มังฆ้อง
ก็ยังยอมรับในคุณสมบัติข้อนี้ ซึ่งจะเห็นได้จากความที่ว่า
“พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องได้ทรงฟังก็เฉลียวพระทั ย พระด�ำริ ร�ำลึกขึ้นมาได้ว่า
สมิงพระรามนี้ ขี ่ ช้างขี ่ม้าสันทั ดดี ฝีมือเข้มแข็ง แกล้วกล้าในการท�ำสงคราม
หาผู้เสมอตัวยาก เห็นจะสู้ทหารพระเจ้ากรุงจีนได้เป็นแท้”
ความช�ำนาญในการรบของสมิงพระราม ไม่เพี ยงเป็นที่กล่าวขวัญกันเท่านั้น เมื่อถึง
สถานการณ์จริงๆ สมิงพระรามก็แสดงให้คนทั ้งปวงเห็นถึงความสามารถของตน ดังตอน
ที่ต่อสู้กับกามะนีว่า
“สมิงพระรามจึงชักดาบกระทืบม้าเข้าฟันย้อนตามกลีบเกราะขึ้นไป ต้องศีรษะ
กามะนีขาดออกตกลงมายังพืน้ ดิน ก็เอาขอเหล็กสับเอาศีรษะกามะนีได้ ใส่ตะกรวย
แล้วก็ชกั ม้าฟ้อนร�ำเป็นเพลงทวนเข้ามาตรงหน้าพลับพลาพระเจ้าฝรัง่ มังฆ้อง”
เมื่อสมิงพระรามเอาชนะกามะนี ได้ เสนาข้าทหารฝ่ายพม่าทั ้งปวง ต่างก็สรรเสริญ
สมิงพระรามว่า
“มิ ใช่มนุษย์เลยเสมอเทพยดา แต่ศรี ษะกามะนีนนั้ ก็มิ ให้ตกถึงดิน เอาขอเหล็ก
สับเอาได้ดังทูลไว้ทุกประการ”
บทที่ 5 ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา 89

4. เป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริ บ
ในการสู้รบระหว่างสมิงพระรามกับกามะนี้นั้น จะเห็นได้ว่าสมิงพระรามใช้ความ
ชาญฉลาดของตนแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างแยบคาย ซึ่งจะเห็นได้จากตอนที่
สมิงพระราม พิจารณาหาช่องสอดทวนแทงเข้าที่ตัวของกามะนี ดังความว่า
“...เห็นกามะนีแต่งตัวหุ้มเกราะอยู่ ไม่เห็นส�ำคัญที่จะหมายแทงได้ จึงคิดว่า
กามะนีคนนีช้ ำ� นาญในเพลงทวนว่องไวนัก แล้วก็หมุ้ เกราะใส่เสือ้ บังอยู่ ยังไม่เห็น
ช่องทางที่จะสอดทวนแทงแห่งใดได้ จ�ำจะชวนให้ร�ำดูส�ำคัญก่อน”
การที่สมิงพระรามท�ำเช่นนี้ ผลที่ตามมาก็คือสามารถหาช่องทางที่จะสอดทวนแทง
กามะนีได้
5. เป็นผู้มองการณ์ไกล
สมิงพระรามคิดแล้วคิดอีกในเรื่องที่ว่า จะอาสาต่อสู้กับกามะนีดีหรือไม่ ครั้นคิด
อย่างถ้วนถี่แล้วจึงเห็นว่า หากกรุงอังวะเสียให้แก่พระเจ้ากรุงจีนเมื่อใด พระเจ้ากรุงจีนคง
ไม่ปล่อยให้เมืองหงสาวดี พ้นเงื้อมมือไปอย่างแน่นอน ดังนั้นสมิงพระรามจึงตัดสินใจอาสา
เพื่อตัดศึกเสียแต่ต้นทางมิ ให้ยกไปถึงเมืองหงสาวดี ได้ ดังความว่า
“สมิงพระรามได้ฟังดังนั้นก็คิดว่ากรุงอังวะเป็นต้นทาง อุปมาดัง หน้าด่านกรุง
หงสาวดี พระเจ้ากรุงจีนยกทั พมาครั้งนี้ก็มีความปรารถนาจะใคร่ดูทแกล้ว
ทหารอันมีฝีมือ ขี ่ม้าร�ำเพลงทวนสู้กันตัวต่อตัว ถ้าไม่มีผู้ ใดสู้รบถึงจะได้เมือง
อังวะแล้วก็ไม่สนิ้ ความปรารถนาแต่เพี ยงนี้ เห็นศึกจีนจะก�ำเริบ ยกล่วงเลยลง
ไปติดกรุงหงสาวดี ด้วยเป็นมั่นคง ตัวเราเล่าก็ต้องจองจ�ำอยู่ ถ้าเสียกรุงอังวะ
แล้วจะหมายใจว่าจะรอดคืนไปเมืองหงสาวดีก็ ใช่ที่ จ�ำเราจะรับอาสาตัดศึกเสีย
จึงจะชอบ อย่าให้ศึกจีนยกลงไปติดกรุงหงสาวดี ได้”
6. เป็นผู้มีความเมตตา ไม่หวังลาภยศ
การที่สมิงพระรามอาสาต่อสู้ ในครั้งนี้ ก็ด้วยเหตุผลหลายประการ ประการแรก
คือ ต้องการช่วยเหลือบ้านเมืองของตนให้รอดพ้นจากอันตราย และไม่เพี ยงแต่บ้านเมือง
ของตนเท่านั้น สมิงพระรามยังมีความเมตตาต่อคนทั ่วไป แม้คนเมืองพม่าที่ ได้ชื่อว่าเป็น
ศัตรู สมิงพระรามก็คิดช่วยเหลือโดยมิได้หวังลาภยศ ดังความว่า
90 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“ซึง่ เรารับอาสานีจ้ ะหวังยศถาบรรดาศักดิห์ ามิได้ ประสงค์จะกูพ้ ระนครให้เป็น


เกียรติยศไว้ และจะให้ราษฎร สมณชีพราหมณ์ อยู่เย็นเป็นสุขเท่านั้น”
7. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์
ความซื่อสัตย์ก็เป็นคุณสมบัติที่เหล่าบรรดาขุนศึกยึดถือปฏิบัติกัน ซึ่งขุนศึก
บางคนสามารถยอมตายเพื่อรักษาความสัตย์เอาไว้ ส่วนสมิงพระรามนั้นก็มีความซื่อสัตย์
อย่างยิ่ง ถ้าเราพิจารณาเรื่องที่ว่าสมิงพระรามเป็นเชลย แล้วรับอาสาสู้รบกับทหารของ
พระเจ้ากรุงจีน ก็ย่อมไม่เป็นที่ ไว้วางใจของทหารพม่า ดังจะเห็นได้ว่าทหารพม่าบางพวก
หัวเราะเยาะ ไม่เชือ่ ว่าสมิงพระรามจะท�ำการได้สำ� เร็จ โดยเฉพาะเมือ่ สมิงพระรามขอทดลอง
ขี ่ม้าเพื่อฝึกให้ม้านั้นเชื่องและคุ้นเคยจนกลับมาช้า พวกทหารพม่าก็ด่าว่ามอญโกหก ท�ำให้
พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องลังเลถึงกับให้เรียกผู้คุมเข้ามาถาม ซึ่งผู้คุมก็กราบทูลเป็นประกันว่า
“สมิงพระรามผูน้ ม้ี คี วามสัตย์ซอื่ มัน่ คงนัก ซึง่ จะหนีพระองค์ไปนัน้ ข้าพเจ้าเห็น
หาเป็นไม่ เพราะม้าตัวนีเ้ ป็นลูกม้าหนุม่ ยังมิได้พาดอานมีกำ� ลังนัก สมิงพระราม
จึงควบไปไกล หวังจะทรมานให้เหนือ่ ยอ่อนลง ถึงจะเหนือ่ ยอ่อนได้โดยง่าย
ข้าพเจ้าเห็นคงจะกลับมา ขอพระองค์ทรงเสด็จคอยท่าอยู่ก่อนเถิด”
แต่พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องก็ยังไม่ทรงไว้พระทั ยอยู่ดี เพราะสมิงพระรามขี ่ม้าออกไปแต่
เช้าจนบ่ายก็ยังไม่กลับ ครั้นสมิงพระรามกลับมาพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องก็ดีพระทั ยมาก และแน่
แก่พระทั ยว่าสมิงพระรามคนนี้เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์จริงๆ ดังความว่า
“พระเจ้าฝรัง่ มังฆ้องทอดพระเนตรเห็นก็ดีพระทั ยนัก จึงตรัสสรรเสริญว่าสมิง
พระรามนี้นับว่าเป็นชายผู้หนึง่ ที่มีความสัตย์ซื่อยิ่งนัก และกล้าหาญเข้มแข็ง
รู้ศิลปศาสตร์สันทั ด หาตัวเปรียบเสมอมิได้”

5.2 พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง หรือ พระเจ้ามณเทียรทอง เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเมืองพม่า
ตั้งราชธานีอยู่ ณ กรุงรัตนบุระอังวะ เป็นคู่สงครามกับพระเจ้าราชาธิราชตลอดพระชนม์ชีพ
แต่พระองค์จะพ่ายแพ้ ให้แก่พระเจ้าราชาธิราชอยู่บ่อยครั้ง ทั ้งนี้เพราะพระเจ้าราชาธิราช
ทรงมีขนุ ศึกฝีมอื ดีอยูห่ ลายคน แม้จะเสียขุนศึกคนใดคนหนึง่ ไป แต่กจ็ ะมีคนใหม่มาแทนอยู่
เสมอ ซึง่ ต่างกับพระเจ้าฝรัง่ มังฆ้องทีม่ ขี นุ ศึกฝีมอื ดีเพียงไม่กคี่ น นอกจากมังรายกะยอฉะวา
พระราชโอรสแล้ว ก็เห็นว่าไม่มี ใครอีก
บทที่ 5 ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา 91

จากการที่ ได้ศึกษาบทบาทของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องในเนื้อหาที่เรียน ท�ำให้เห็นว่า


พระเจ้าฝรัง่ มังฆ้อง มีลกั ษณะและคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (ศิริวรรณ ยิม้ ละมัย, 2549 : 86-89)
1. เป็นผู้มีความเฉลียวฉลาด ใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา
นอกจากจะมีความสามารถในด้านการรบแล้ว พระเจ้าฝรัง่ มังฆ้องยังมีพระสติปญ ั ญา
สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น ตอนที่พระองค์มีพระราชประสงค์
จะให้สมิงพระรามรับบ�ำเหน็จความชอบ แต่สมิงพระรามไม่ยอมรับนั้น ก็ทรงตรัสแก่สมิง
พระรามว่า
“ท่านอาสากู้พระนครเราไว้ได้ครั้งนี้ มีพระเกียรติยศปรากฏไปแก่ประเทศราช
ธานีทั้งปวงจนตลอดกัลปาวสาน ซึ่งท่านจะไม่รับรางวัลนั้นมิชอบ ดุจท�ำลาย
เกียรติยศเราให้เสื่อมเสีย เพราะจะเป็นที่ติเตียนแก่กษัตริย์ทั้งปวง ท่านด�ำริ
ดูจงควรเถิด”
เมื่อสมิงพระรามได้ฟังดังนั้นจึงต้องยอมรับบ�ำเหน็จความชอบ
2. เป็นผู้มีความเมตตา
ลักษณะเด่นของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องที่ปรากฏอีกลักษณะหนึง่ คือ ทรงเป็นผู้มีความ
เมตตาต่อไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินและข้าทหาร ใครท�ำความดี ความชอบ พระองค์ก็จะตอบแทน
ด้วยบ�ำเหน็จรางวัลตามควรแก่ความชอบที่ ได้ท�ำไว้ ดังความจากราชาธิราช ตอน สมิง
พระรามอาสาว่า
“พระเจ้ามณเทียรทองเสด็จออกทรงบัญชาราชการ พร้อมด้วยเสนาพฤฒามาตย์
ราชปุโรหิตทั ้งปวง จึงตรัสว่าโหรซึ่งดูชะตาเมืองว่าไม่ขาด พระชันษาเล่าก็ดีอยู่
นานไปจะได้ลาภอันประเสริฐอีกนั้น ก็ต้องด้วยค�ำท�ำนาย จึงให้พระราชทาน
บ�ำเหน็จและเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นอันมาก แล้วพระราชทานบ้านส่วยแห่ง
หนึง่ ให้เป็นค่าผลหมากด้วย และหญิงม่ายเจ้าของม้านั้น ก็พระราชทานเครื่อง
อุปโภคบริโภคให้ตามสมควร และอ�ำเภอแขวงบ้านซึ่งอยู่นั้นก็ ให้ขึ้นแก่หญิง
ม่ายนัน้ แล้วตรัสว่าพระเจ้ากรุงจีนยกพลทแกล้วทหารมาเหยียบเมืองเราครัง้ นี้
ประดุจดังแผ่นดินจะถล่มลง หามีผู้ ใดทีจ่ ะรบสูต้ า้ นทานไม่ ครัง้ นีส้ มิงพระราม
รับอาสากู้เมืองเราไว้ ได้ชัยชนะแล้ว ศึกจีนยกทั พเลิกกลับไป สมิงพระรามมี
ความชอบมาก บัดนี้ เราควรให้สมิงพระรามเป็นมหาอุปราช และราชธิดาเรา
จะประทานให้เป็นบาทบริจาริกาด้วยตามสัญญาจึงจะชอบ”
92 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

3. เป็นผู้รักบ้านเมืองยิ่งกว่าบุตรสาวของตน
จะเห็นได้ว่าพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องทรงรักชาติบ้านเมืองยิ่งกว่าบุตรสาวของตนเสีย
อีก เพราะทรงคิดว่าหากได้สมิงพระรามมาช่วยท�ำราชการ บ้านเมืองก็จะมั่นคง ดังนั้นจึง
พระราชทานพระราชธิดาให้สมิงพระรามเพื่อหวังผูกใจสมิงพระรามมิ ให้จากไปไหน การที่
พระองค์ท�ำเช่นนี้ท�ำให้พระองค์ได้รับการสรรเสริญจากชาวเมืองว่า
“พระเจ้าอยูห่ วั ของเราทรงโปรดทแกล้วทหาร รักยิง่ กว่าพระราชธิดา อันเกิดแต่
พระอุระ หวังจะบ�ำรุงพระนครให้คนทั ้งปวงอยู่เป็นสุข และจะให้ข้าศึกย�ำเกรง
พระเดชานุภาพ จึงทรงปลูกเลี้ยงสมิงพระรามไว้ ตั้งให้เป็นมหาอุปราช แล้วชม
ฝีมือและบุญญาธิการสมิงพระรามเป็นอันมาก”

5.3 พระเจ้ากรุงจีน
พระเจ้ากรุงจีนหรือพระเจ้ากรุงต้าฉิง เป็นพระมหากษัตริยผ์ ทู้ รงอานุภาพมาก เพราะ
ทรงมีกองทัพทีย่ งิ่ ใหญ่ พรัง่ พร้อมไปด้วยขุนทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ ส�ำหรับคุณลักษณะ
ของพระเจ้ากรุงจีน ตามที่ปรากฏในเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา ได้แก่
1. เป็นผู้รักการต่อสู้
จะเห็นได้วา่ พระเจ้ากรุงจีนนัน้ ทรงรักในการต่อสูเ้ ป็นอย่างยิง่ ทัง้ นีเ้ พราะทรงมีทหาร
เอกฝีมือดี ชื่อกามะนี และพระองค์ก็มั่นใจในฝีมือทหารเอกของพระองค์มาก ถึงกับใคร่จะ
ทอดพระเนตรทหารเอกของเมืองอื่นๆ ต่อสู้กันตัวต่อตัวกับทหารเอกพระองค์ ดังความว่า
“ฝ่ายพระเจ้ากรุงต้าฉิงซึ่งเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงจีนนั้น มีทหารเอกคนหนึง่
ชือ่ กามะนี มี ฝมี อื ขีม่ า้ แทงทวนสันทัดดีหาผูเ้ สมอมิได้ อยูม่ าวันหนึง่ พระเจ้ากรุง
จีนเสด็จออกตรัสปรึ กษาด้วยเสนาบดี มนตรีมุขทั ้งปวงว่า ท�ำไฉนเราจะได้เห็น
ทหารขี ่ม้าสู้กันกับกามะนีได้แต่พอชมเล่นเป็นที่เจริญตาได้บ้าง”
2. เป็นผู้มีน�้ำใจนักกีฬา
ลักษณะนี้คงจะสืบเนือ่ งมาจากความเป็นผู้รักการต่อสู้ของพระเจ้ากรุงจีน ดังนั้น
พระองค์จึงทรงมีน�้ำใจเป็นนักกีฬาด้วย ความมีน�้ำใจเป็นนักกีฬาของพระองค์เห็นได้จาก
ตอนที่ทรงมีพระราชสารฉบับที่ 1 ไปถึงพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง พระองค์ได้แสดงความประสงค์
ของพระองค์สองประการ ดังความว่า
บทที่ 5 ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา 93

“เรายกพยุหเสนามาครั้งนี้ ด้วยมีความปรารถนาสองประการ ประการหนึง่


จะให้พระเจ้าอังวะอยูใ่ นอ�ำนาจออกมาถวายบังคมแก่เรา ประการหนึง่ จะใคร่ดู
ทหารขีม่ า้ ร�ำทวนสูก้ นั ตัวต่อตัวชมเล่นเป็นขวัญตา แม้นทหารกรุงรัตนบุระอังวะ
แพ้ก็ ให้ยอมถวายเมืองแก่เราโดยดี อย่าให้สมณชีพราหมณ์ อาณาประชาราษฎร์
ได้ความเดือดร้อนเลย ถ้าทหารฝ่ายเราแพ้กจ็ ะเลิกทัพกลับไปยังพระนคร และ
ราษฎรในกรุงรัตนบุระอังวะนั้น โดยต�่ำลงไปแต่กระท่อมน้อยหลังหนึง่ ก็มิให้
เป็นอันตราย”
3. เป็นผู้มีความเมตตา ไม่รังแกผู้อ่อนแอกว่า
ข้อนีจ้ ะเห็นได้วา่ เมือ่ พระเจ้ากรุงจีน ยกกองทั พมาถึงเขตแดนกรุงรัตนบุระอังวะแล้ว
พระองค์ทรงให้ตั้งทั พอยู่นอกก�ำแพงเมือง พร้อมกับมีพระราชโองการสั่งข้าทหารว่า
“ถ้าผู้ ใดไม่มีอาวุธรบสู้ อย่าได้ท�ำอันตรายเป็นอันขาด ถ้าผู้ ใดมิฟัง จะให้ตัด
ศีรษะเสียบเสีย”
4. เป็นผู้รักษาความสัตย์
เมื่อพระเจ้ากรุงจีนพ่ายแพ้ ก็ทรงรู้พระองค์ว่าควรจะต้องท�ำอย่างไรในขณะที่เสนา
ข้าทหารทั ้งหลาย ต่างอาสาออกรบเพื่อผดุงพระเกียรติยศของพระองค์ แต่พระเจ้ากรุงจีน
ก็ตรัสแก่เสนาข้าทหารว่า
“เราเป็นกษัตริย์ผู้ ใหญ่อันประเสริฐ ได้ ให้ค�ำมั่นสัญญาไว้แก่เขาแล้ว จะกลับ
ค�ำไปดังนั้นหาควรไม่ พม่าทั ้งปวงจะชวนกันดูหมิ่นว่าจีนพูดมิจริง เรารักสัตย์
ยิง่ กว่าทรัพย์ อย่าว่าแต่สมบัตมิ นุษย์นเ้ี ลย ถึงท่านจะเอาทิพยสมบัตขิ องสมเด็จ
อมรินทร์มายกให้เรา เราก็มิได้ปรารถนา”

5.4 พระมเหสี
พระนางทรงเป็นพระมเหสีของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง และคงจะเป็นผู้ ได้รับการศึกษา
อบรมมาอย่างดี เพราะเป็นที่ปรึ กษาให้พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องได้ ในยามที่พระองค์ทรงปรึ กษา
และพระมเหสียังทรงมีวาทศิลป์ในการพูดเป็นเลิศอีกด้วย ลักษณะของพระมเหสีที่ปรากฏ
จากราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา ได้แก่
94 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

1. มีสติปัญญาหลักแหลม
เมื่อสมิงพระรามมีชัยชนะเหนือกามะนีนั้น พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องคิดจะมอบบ�ำเหน็จให้
สมิงพระราม ให้สมค่าแก่ชัยชนะ แต่สมิงพระรามไม่ยอมรับ กลับขอให้ประหาร หรือไม่ก็
ปล่อยตัวกลับหงสาวดี แต่พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องทรงเสียดาย เพราะอยากได้ไว้ปฏิบัติราชการ
จึงทรงน�ำเรื่องนี้ ไปปรึ กษาพระมเหสี ซึ่งพระมเหสีก็ ให้ค�ำปรึ กษาว่า
“พระองค์จะทรงพระวิ ตกไปไย ซึง่ จะเกลีย้ กล่อมผูกพั นสมิงพระรามไว้ ให้ตงั้ ใจ
สวามิภกั ดิอ์ ยูด่ ว้ ยพระองค์นนั้ ตกพนักงานข้าพเจ้าจะรับอาสาผูกจิตสมิงพระราม
ไว้ ให้อยู่จงได้”
ซึ่งแผนการของพระมเหสี ที่จะท�ำให้สมิงพระรามยอมอยู่รับราชการที่กรุงรัตนบุระ
อังวะเป็นไปตามความที่ว่า
“ซึ่งข้าพเจ้าจะคิดผูกสมิงพระรามให้อยู่ก็หวังจะผูกด้วยยางรัก ซึ่งว่ามิรับ
มหาอุปราชและราชธิดา เพราะยังมิได้เห็นราชธิดาของเรา อันสมบูรณ์ดว้ ยลักษณะ
และสิริมารยาทงามยิง่ นัก เวลาพรุง่ นีข้ อพระองค์ให้หาเจ้าสมิงพระรามเข้ามากิน
เลี้ยงในพระราชมณเฑียร แล้วจึงให้พระธิดาเราออกไปให้เจ้าสมิงพระรามเห็น
ตัวถนัดแต่ข้างเดี ยว เจ้าสมิงพระรามได้เห็นรูปโฉมธิดาเราเท่านั้น ยังมิทันจะ
เข้าใกล้ได้กลิน่ ก็จะมีความปลาบปลืม้ จนสุดจิต ไหนจะคิดกลับเมืองหงสาวดีได้”
แล้วการณ์ก็เป็นไปตามที่พระมเหสีทรงคาดไว้ นัน่ คือ สมิงพระรามยอมอยู่กรุง
รัตนบุระอังวะ เมื่อได้เห็นโฉมพระราชธิดา ความว่า
“เจ้าสมิงพระรามเห็นพระราชบุตรียกพานพระศรีออกมานั้น ประกอบด้วย
เยาวรูปสิริวิลาสลักษณ์เป็นอันงาม ก็แลตะลึงลืมตัวไม่เป็นสมประดี ”
2. รู้หลักจิตวิทยา และมีวาทศิลป์
พระมเหสีทรงรูห้ ลักจิตวิทยาดีวา่ บุคคลผูย้ งั เวียนว่ายตายเกิด ย่อมมีความยินดี ในกาม
เพราะมีตณ
ั หาเป็นเครือ่ งชีน้ ำ� และธรรมดาแล้วบุรุษย่อมต้องการสตรีทงี่ ามพร้อม ดังความว่า
“เพราะธรรมดาอันชนเวียนวนอยู่ ในสงสารภพนี้แต่ล้วนมีความก�ำหนัดยินดี
ในกามสังวาสรสสิ้นทั ้งนั้น เพราะมูลตัณหาเครื่องเกี่ยวพั น หนุนเป็นปัจจั ย”
บทที่ 5 ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา 95

ครั้นพระมเหสีน�ำความไปบอกกับพระราชธิดาว่าพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง จะยกให้เป็น
บาทบริจาริกาของสมิงพระราม พระราชธิดาเสียใจมาก ด้วยเหตุวา่ สมิงพระรามมิใช่ลกู กษัตริย์
เป็นเพียงทหารต่างชาติตา่ งภาษา และชาติตระกูลก็ตำ�่ กว่า พระมเหสีกต็ รัสปลอบประโลมว่า
“ซึง่ ลูกจะถือชาติตระกูลว่ามีอสิ สริยยศอยูน่ นั้ หาควรไม่ ด้วยสมเด็จพระราชบิดาเห็น
ชอบแล้ว จึงจะทรงปลูกฝัง อันสมิงพระรามนีเ้ ขามีความชอบในแผ่นดินเป็นอัน
มาก ช่วยกู้พระนครไว้ ให้สมณพราหมณ์ ราษฎรอยู่เป็นสุข เหมือนรักษาชาติ
ตระกูลของลูกไว้ ถ้ามิได้สมิงพระรามแล้วเมืองเราก็จะเสียแก่กรุงจีน ซึ่งลูก
เปรียบชาติเขาเหมือนกานั้นก็ชอบอยู่ แต่เขาประกอบศิลปศาสตร์วิชาการ เป็น
ทหารที่มีฝีมือหาผู้เสมอมิได้ ก็เปรียบเหมือนกาขาวมิ ใช่กาด�ำ”

6. คุณค่า
วรรณคดี เรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา ให้คุณค่าทางด้านต่างๆ ดังนี้

6.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
6.1.1 การเล่าเรื ่องโดยใช้บรรยายโวหาร ในประเด็นนี้เราต้องชมคณะแปล
วรรณคดีเรือ่ งราชาธิราชว่า แปลออกมาได้อย่างดีเยีย่ ม และสามารถสรรค�ำมาเรียงร้อยเป็น
ส�ำนวนร้อยแก้วได้สละสลวย คมคาย และช่วยสร้างจิ นตภาพได้อย่างชัดเจน บทบรรยาย
ต่างๆ ล้วนแสดงภาพให้เกิดขึ้นในจิ นตนาการของผู้อ่าน ท�ำให้ผู้อ่านเห็นภาพและรู้สึกว่ากวี
ก�ำลังกล่าวถึงสิ่งใด ดังเช่น ตอนที่กล่าวถึงสิริโฉมของพระราชธิดาของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
ที่ว่า
“สมบูรณ์ดว้ ยลักษณะและสิริมารยาทงามยิง่ นัก ถ้าบุรุษผู้ ใดได้เห็นและได้นงั่ ใกล้
แล้วเมือ่ ใดก็มอิ าจจะด�ำรงจิตอยูไ่ ด้ ดวงกมลก็จะหวัน่ ไหวไปด้วยความปฏิพัทธิ”์
6.1.2 การใช้ส�ำนวนเปรี ยบเทียบคมคาย ราชาธิราชตอนที่นักเรียนได้เรียนนี้
มีส�ำนวนโวหารที่เพี ยบพร้อมไปด้วยบทเปรียบเทียบที่คมคาย ซึ่งช่วยท�ำให้ผู้อ่านเห็นภาพ
เหตุการณ์ต่างๆ ได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังแฝงไปด้วยข้อคิดที่ดีอีกด้วย ดังตัวอย่าง
96 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“พระองค์เสด็จยาตราทั พมาครั้งนี้ ตั้งพระทั ยจะท�ำสงครามให้พระเจ้ากรุง


อังวะอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ ถึงมาตรว่าเสียกามะนีทหารเอกแล้ว ใช่ข้าพเจ้า
ทัง้ ปวงนีจ้ ะตีกรุงอังวะถวายไม่ได้นนั้ หามิได้ เสียแรงด�ำเนินกองทัพเข้ามาเหยียบ
ถึงชานก�ำแพงเมืองแล้ว จะกลับไปเปล่านัน้ ได้ความอัปยศแก่พม่านัก ท�ำไมเมือง
อังวะสักหยิบมือหนึง่ เท่านีจ้ ะเอาแต่มลู ดินทิง้ เข้าไปในก�ำแพงเมืองคนละก้อนๆ
เท่านั้น ถมเสียให้เต็มก�ำแพงเมืองในเวลาเดี ยวก็จะได้ พระเจ้ากรุงจีนได้ฟังก็
ตรัสห้ามนายทั พนายกอง ทแกล้วทหารทั ้งปวงว่า เราเป็นกษัตริย์ผู้ ใหญ่อัน
ประเสริฐ ได้ ให้ค�ำมั่นสัญญาไว้แก่เขาแล้ว จะกลับค�ำไปดังนั้นหาควรไม่ พม่า
ทัง้ ปวงจะดูหมิน่ ได้วา่ จีนพูดมิจริง เรารักสัตย์ยงิ่ กว่ารักทรัพย์ อย่าว่าแต่สมบัติ
มนุษย์นเ้ี ลย ถึงท่านจะเอาทิพยสมบัตขิ องสมเด็จอมรินทร์มายกให้เรา เราก็มไิ ด้
ปรารถนา ตรัสดังนั้นแล้วก็สั่งให้เลิกทั พ เสด็จกลับไปยังกรุงจีน”

6.2 คุณค่าด้านสังคม
ส�ำหรับคุณค่าทางด้านสังคมทีเ่ ห็นได้จากวรรณคดีเรือ่ งราชาธิราช ตอน สมิงพระราม
อาสานี้ ได้แก่ (ฟองจั นทร์ สุขยิ่ง และคณะ, ม.ป.ป. : 106)
6.2.1 ความเชือ่ เรื อ่ งฤกษ์ยาม เช่น ก่อนทีพ่ ระเจ้ากรุงจีนจะยกทัพมายังกรุงอังวะ
พระองค์ทรงรอให้ถึงเวลาฤกษ์ดีเสียก่อน ครั้นได้ศุภฤกษ์แล้วพระองค์จึงสั่งให้ยกทั พ ดัง
ความว่า
“พระเจ้ากรุงจีนได้ทรงฟังก็พระทั ยยินดี นักจึงสั่งให้จัดพยุหเสนาทั ้งปวงเป็น
อันมากจะนับประมาณมิได้ ครัน้ ได้ศภุ ฤกษ์แล้ว พระองค์กเ็ สด็จทรงม้าพระทีน่ งั่
ยกทั พบกมายังกรุงรัตนบุระอังวะ”
6.2.2 ขนบธรรมเนียมของการส่งเครื ่องราชบรรณาการไปเพื่อตอบแทน
เมื่ออีกฝ่ายหนึง่ ประพฤติปฏิบัติตามที่ฝ่ายตนร้องขอ หรือส่งเครื่องราชบรรณาการไปเพื่อ
ขอให้อีกฝ่ายหนึง่ ท�ำตามที่ตนเองขอ เช่น การส่งพระราชสารจากพระเจ้ากรุงจีน เพื่อจะให้
พระเจ้าฝรัง่ มังฆ้องอยูใ่ นอ�ำนาจออกมาถวายบังคม และมีพระราชประสงค์จะดูทหารร�ำทวน
ขี ่ม้าสู้กัน
6.2.3 การรักษาสัจจะของพระมหากษัตริ ย์ เช่น พระเจ้ากรุงจีนทรงท�ำตาม
ค�ำมั่นที่พูดไว้ คือถ้าแพ้ก็จะยกทั พกลับ (เนื้อความได้กล่าวไปแล้ว)
บทที่ 5 ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา 97

6.2.4 ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริ ย์ เช่น สมิงพระราม แม้จะ


อาสารบให้พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง แต่โดยแท้จริงแล้วก็ท�ำเพื่อบ้านเมืองของตน และยังคงมี
ความจงรักภักดี ต่อพระเจ้าราชาธิราชอยู่เสมอ ดังความที่ว่า
“เห็นศึกจีนจะก�ำเริบ ยกล่วงเลยลงไปติดกรุงหงสาวดี ด้วยเป็นมั่นคง ตัวเรา
เล่าก็ต้องจองจ�ำตรากตร�ำอยู่ ถ้าเสียกรุงอังวะแล้ว จะหมายใจว่าจะรอดคืน
ไปเมืองหงสาวดี ได้ก็ ใช่ที่ จ�ำเราจะรับอาสาตัดศึกเสียจึงจะชอบ อย่าให้ศึกจีน
ยกลงไปติดกรุงหงสาวดี ได้”
6.2.5 การปูนบ�ำเหน็จรางวัลให้แก่ผู้ท�ำประโยชน์ต่อประเทศชาติ เป็นการ
สร้างก�ำลังใจและผูกใจคน ดังตอนที่พระเจ้ากรุงอังวะให้เหตุผลต่อสมิงพระรามหลังจากที่
รู้ว่าสมิงพระรามจะไม่ยอมรับบ�ำเหน็จ ความว่า
“อนึง่ เราเกรงคนทั ้งปวงจะครหานินทาได้ ท่านรับอาสากู้พระนครไว้มีความ
ชอบเป็นอันมาก มิได้รับบ�ำเหน็จรางวัลสิ่งใด นานไปเบื้องหน้า ถ้าบ้านเมือง
เกิดจลาจลหรือข้าศึกมาย�่ำยีเหลือก�ำลัง ก็จะไม่มีผู้ ใดรับอาสาอีกแล้ว”
บรรณานุกรม 5

นิยะดา เหล่าสุนทร. (2539). การฟื้นฟูอักษรศาสตร์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ


พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์
แม่ค�ำผาง.
ฟองจันทร์ สุขยิง่ และคณะ. (ม.ป.ป.). หนังสือเรี ยน รายวิชาพืน้ ฐาน ภาษาไทย วรรณคดี
และวรรณกรรม ม.1. พิมพ์ครัง้ ที่ 11. กรุงเทพมหานคร : บริษทั อักษรเจริญทัศน์
อจท. จ�ำกัด.
ยุพร แสงทั กษิณ. (2553). พระคลัง (หน), เจ้าพระยา ใน นามานุกรมวรรณคดีไทย
ชุดที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
วิ เชียร เกษประทุม. (2553). เล่าเรื ่องราชาธิราช. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์พัฒนา
ศึกษา.
ศิริวรรณ ยิ้มละมัย. (2549). เล่าเรื ่องวรรณคดีไทย ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา.
กรุงเทพมหานคร : บริษัท ส�ำนักพิมพ์แม็ค จ�ำกัด.
สมพั นธุ์ เลขะพั นธุ์. (2556). วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. พิมพ์ครั้งที่ 11.
กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). หนังสือเรี ยน รายวิชาพื้นฐาน
ภาษาไทย วรรณคดีวจิ กั ษ์ ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1. พิมพ์ครัง้ ที่ 3. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
ก า พ ย์ เ ห่ ช ม
เ ค รื ่ อ ง ค า ว ห ว า น 6
1. ประวัติความเป็นมา
นักวรรณคดี หลายท่านต่างมีความเชื่อกันว่า กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนี้
พระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เพื่อชมฝีพระหัตถ์
ในการประกอบพระกระยาหารของสมเด็จพระศรีสรุ ิเยนทราบรมราชินี พระอัครมเหสี
เมือ่ ครัง้ ยังทรงด�ำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้าบุญรอด และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
นภาลัยก็ทรงด�ำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร
แต่ก็มีนักวรรณคดี อีกกลุ่มหนึ่งที่เชื่อว่ากาพย์เห่
ชมเครื่องคาวหวาน แต่งขึ้นเพราะกวีต้องการระบายความ
คับข้องใจที่มีอยู่ เพื่อต้องการแสดงให้นางอันเป็นที่รักรู้ว่า
ตัวกวีนั้นมีความทุกข์และคิดถึงนางมากเพี ยงใด
ในตอนแรกผูเ้ ขี ยนก็สบั สนอยูว่ า่ จะเป็นได้หรือทีพ่ ระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ
หล้านภาลัย จะทรงระบายความในใจผ่านวรรณคดีเพียงเพราะคิดถึงนางอันเป็นทีร่ ัก
แต่พอได้อา่ นหนังสือ พงศาวดารกระซิบ ของบรรเจิ ด อินทุจันทร์ยง แล้ว ก็ท�ำให้คดิ
ว่า น่าจะมีสว่ นทีก่ วีใช้วรรณคดีเรือ่ งนีเ้ ป็นสือ่ ส่งความคิดถึงไปยังนางอันเป็นทีร่ ักด้วย
หนังสือเล่มดังกล่าวนี้ ได้เล่าถึงความรักอันซ่อน
เร้นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับสมเด็จ
พระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ซึ่งน่าจะเป็นต้นก�ำเนิดของ
กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
100 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ความรั กอันซ่อนเร้นของพระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จ


พระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2342 ในสมัยที่ทั้งสองพระองค์ยังทรงด�ำรง
พระยศเป็นเจ้าฟ้า เนือ่ งด้วยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสดุ ารักษ์ (แก้ว)
พระราชมารดาของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (ต่อจากนี้จะเรียกเจ้าฟ้าบุญรอด)
และทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าพี ่นางเธอพระองค์น้อย ในรัชกาลที่ 1 ทรงพระประชวร ครั้น
ทรงมีพระอาการมากขึ้น เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเทพหริรักษ์ พระราชโอรสพระองค์ ใหญ่และ
ทรงเป็นพระเชษฐาของเจ้าฟ้าบุญรอดได้เสด็จเข้ามาเฝ้าดูแลพระอาการในพระต�ำหนักและ
ทรงก�ำกับหมอในการถวายพระโอสถ ในระหว่างนี้ ได้มีเจ้านายหลายพระองค์แวะเวียนมา
เยี่ยมพระอาการอยู่เสมอๆ

ครั้นวันหนึง่ พระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศหล้านภาลัย (ต่อไปจะเรียกว่า เจ้าฟ้าฯ


กรมหลวงอิศรสุนทร) ได้เสด็จมาเยี่ยมพระอาการประชวรของสมเด็จป้า จึงท�ำให้ได้พบกับ
เจ้าฟ้าบุญรอด เมื่อเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทรได้ทรงเห็นพระรูปโฉมของเจ้าฟ้าบุญรอด
ก็เกิดความเสน่หา แต่ก็ทรงนิง่ ไว้ยังไม่บอกใคร เพราะยังเป็นเวลาเศร้าโศก ทั ้งยังทรงเกรง
พระทั ยเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเทพหริรักษ์ด้วย
ตั้งแต่นั้นมาเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร ก็หมั่นเสด็จไปเยี่ยมพระอาการประชวร
ของสมเด็จป้าอยู่เป็นประจ�ำ ด้วยทรงมีจุดประสงค์เพื่อที่จะได้ทรงพบกับเจ้าฟ้าบุญรอด
อีก แต่ก็พบกันได้เพี ยงครู่เดี ยว ครั้นต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระ
ศรีสุดารักษ์สิ้นพระชนม์ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร ก็ได้เสด็จมาทรงช่วยในการพระราช
พิธีบ�ำเพ็ญพระกุศล จนได้มี โอกาสสนทนากับเจ้าฟ้าบุญรอด แต่ก็ยังมิได้ทรงสนทนากันใน
เรื่องความรัก เพราะยังอยู่ในเวลาที่ ไม่เหมาะสม
บทที่ 6 กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน 101

ครั้นส�ำเภาของเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทรกลับเข้ามาแล้ว พระองค์ก็ทรงให้จัด


สิ่งของเป็นเครื่องท�ำบุญบ้าง เลี้ยงพระเลี้ยงคนบ้าง จากนั้นมีรับสั่งให้นางพระก�ำนัลน�ำไป
ถวายเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีสุนทรเทพ (แจ่ม) และเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเทพยวดี (เอี้ยง)
พระกนิษฐา เพื่อให้ทรงน�ำไปถวายเจ้าฟ้าบุญรอด

ฝ่ายพระกนิษฐาทัง้ สองพระองค์ทรงทราบพระหฤทัยพระเชษฐา
ว่าทรงมีความเสน่หาในเจ้าฟ้าบุญรอดก็ทรงยินดี ด้วยเห็นว่าเหมาะ
สมและคู่ควรกัน ดังนั้นจึงน�ำสิ่งของไปถวายให้เจ้าฟ้าบุญรอด แล้ว
ท�ำทีเป็นตรัสเลียบเคียงถาม เจ้าฟ้าบุญรอดทีละน้อยๆ เพื่อดูท่าที
ในที่สุดก็ทราบว่าเจ้าฟ้าบุญรอดก็มีพระทั ยให้พระเชษฐาเหมือนกัน

หลังจากถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระศรี


สุดารักษ์เสร็จสิ้นแล้ว เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทรก็ทรงเริ่มสานความสัมพั นธ์กับเจ้าฟ้า
บุญรอดด้วยวิ ธีการต่างๆ เช่น ทรงขอร้องให้พระกนิษฐาทั ้งสองพระองค์ เชิญเสด็จเจ้าฟ้า
บุญรอดมายังพระต�ำหนัก เพื่อให้มาเล่นสกาบ้าง เล่นสะบ้าบ้าง เล่นต่อแต้มบ้าง โดยที่
เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทรทรงแอบอยูก่ อ่ น ครัน้ ทรงเห็นว่าเจ้าฟ้าบุญรอดก�ำลังเพลิดเพลิน
กับการเล่น จึงค่อยเสด็จออกมาร่วมเล่นด้วย ในวันแรกๆ ที่เจ้าฟ้าบุญรอดทรงได้พบกับ
เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทรนั้น ก็ยังทรงกระดากอายอยู่ จึงท�ำที ไม่ยอมเล่นด้วยบ้าง
หรือเสด็จกลับพระต�ำหนักบ้าง แต่พอนานเข้าก็ทรงสนิทสนมกัน ท�ำให้เจ้าฟ้าฯ กรมหลวง
อิศรสุนทรเสด็จกลับต�ำหนักช้ากว่าปกติ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระราชมารดาจึง
ทรงสงสัยว่า แต่กอ่ นหลังจากเสด็จออกจากทีเ่ ฝ้าแล้วก็มกั จะเสด็จกลับวังตัง้ แต่ยงั หัววันอยู่
แต่มาในบัดนี้ท�ำไมจึงได้เสด็จกลับวังค�่ำนัก
เพื่อให้คลายสงสัย สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี จึงได้เสด็จจากพระราชวังเดิมไป
ยังพระต�ำหนักของเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีสุนทรเทพ และเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเทพยวดี โดย
มิได้บอกล่วงหน้าก่อน ครั้นเสด็จมาถึงนางข้าหลวงที่คอยดูต้นทางเห็นเข้า จึงท�ำทีร้องด้วย
เสียงอันดังเพือ่ ให้เจ้าฟ้าหญิงทัง้ สองรูว้ า่ พระมารดาก�ำลังเสด็จมา เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเทพยวดี
จึงตรัสด้วยพระสุรเสียงอันดัง เพื่อบอกให้พระเชษฐารู้ว่าพระมารดาเสด็จมา
102 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ฝ่ายเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทรก็รีบวิ ่งเข้าไปซ่อนในห้องบรรทมของพระกนิษฐา


สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินที รงเห็นว่ามีผู้ชายวิ ่งหายเข้าไปในห้องบรรทมของพระธิดา
ก็ทรงซักถาม แต่พระราชธิดากราบทูลว่าเป็นนางก�ำนัลทีเ่ ข้าไปปัดทีน่ อน ไม่ ใช่ผชู้ ายวิง่ เข้าไป
ตามที่พระมารดาสงสัย ทั ้งยังทรงแกล้งท�ำเป็นกริ้ว พระมารดาจึงต้องทรงนิง่ แต่ก็ยังไม่
หายแคลงพระทั ย ด้วยทรงเกรงว่าจะเป็นเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร เพราะทรงเห็นว่า
ผู้ที่ วิ ่งเข้าไปไม่มีผ้าห่มองค์ และยังทอดพระเนตรเห็นเจ้าฟ้าบุญรอดเสด็จอยู่ด้วย แต่ก็มิรู้
ที่จะทรงท�ำประการใด จึงเสด็จกลับพระต�ำหนัก
รุ่งขึ้นหลังจากเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีสุนทรเทพ และ
เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเทพยวดี ก็เสด็จไปเล่นทีพ่ ระต�ำหนักแดงของเจ้าฟ้าบุญรอด เพราะเกรง
ว่าพระราชมารดาจะเสด็จมาอีก แล้วทรงสัง่ นางข้าหลวงให้ไปกราบทูลเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศร
สุนทรว่าให้เสด็จตามไปที่พระต�ำหนักแดง ซึ่งเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทรก็เสด็จตามไป
แต่ต่อมาก็ต้องกลับไปเล่นที่พระต�ำหนักของเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีสุนทรเทพ และเจ้าฟ้าฯ
กรมหลวงเทพยวดี อีก เพราะถูกเจ้าฟ้าฯ กรมขุนอนัคฆนารี พระเจ้าพี ่นางเธอของเจ้าฟ้า
บุญรอด ซึง่ ว่ากันว่าเสียพระจริตมาเห็นเข้า เจ้าฟ้าบุญรอดก็ทรงเกรงว่าจะมีผลู้ ว่ งรูค้ วามลับ
จึงทรงปรึ กษากับเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีสุนทรเทพ และเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเทพยวดี เจ้าฟ้า
หญิงทัง้ สองจึงให้ไปเล่นทีพ่ ระต�ำหนักของพระองค์ โดยจะทรงให้นางข้าหลวงคอยดูตน้ ทาง
ให้ หากพระมารดาเสด็จมาก็จะได้ รีบหาทางแก้ไข ฝ่ายเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร ก็ตรัส
ว่าครั้งนี้ถ้าหากพระมารดาเสด็จมาก็ขอให้เจ้าฟ้าบุญรอด รีบหลบไปซ่อน แล้วพระองค์กับ
พระกนิษฐาจะรับหน้าเอง
แล้วสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินกี ็เสด็จมาอีกครั้ง นางข้าหลวงที่ดูต้นทางจึงรีบ
เข้าไปกราบทูลให้ทรงทราบ เจ้าฟ้าบุญรอดจึงวิ ่งเข้าไปซ่อนในห้องบรรทม ซึ่งเจ้าฟ้าฯ กรม
หลวงอิศรสุนทรก็วิ่งเข้าไปซ่อนด้วย ฝ่ายพระมารดาเห็นพระธิดา ประทั บอยู่เพี ยงสององค์
ก็มิได้สงสัย
บังเอิญในวันนั้นสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี เสด็จประทั บด้วย
พระธิดาตลอดทัง้ วัน ท�ำให้เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทรกับเจ้าฟ้าบุญรอด
ไม่สามารถออกมาจากห้องบรรทมได้ ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้น่าจะท�ำให้ทั้ง
สองพระองค์มีความสัมพั นธ์ที่ลึกซึ้งต่อกัน
บทที่ 6 กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน 103

หลังจากวันนัน้ เจ้าฟ้าทัง้ สองก็ไปพบกันทีพ่ ระต�ำหนักแดงบ้าง พระต�ำหนักของเจ้าฟ้าฯ


กรมหลวงศรีสุนทรเทพ และเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเทพยวดี บ้าง จนความทราบถึงเจ้าฟ้าฯ
กรมหลวงพิทักษ์มนตรี (พระเชษฐาอีกพระองค์หนึง่ ของเจ้าฟ้าบุญรอด) ท�ำให้ทรงมึนตึงใส่
เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทรจึงแก้ปัญหาด้วยการกราบทูล
โน้มน้าวพระทั ยให้เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีทรงเห็นชอบเรื่องพี ่น้องสยุมพรกันเอง
แบบอิเหนา และยังตรัสล่อหลอกให้เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีดีพระทัยเล่นว่าเจ้าฟ้าฯ
กรมหลวงศรีสุนทรเทพ พระกนิษฐาโปรดป้านถ้วยชายี่ห้อต่างๆ หากเจ้าฟ้าฯ กรมหลวง
พิทักษ์มนตรีมีก็ ให้น�ำไปถวาย
เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีก็เข้าพระทั ยไปเองว่า เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร
หวังจะให้พระองค์กบั พระกนิษฐาได้ครองคูก่ นั แล้วเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทรจึงรีบไปยัง
ต�ำหนักพระกนิษฐาแล้วเล่ากลอุบายให้ฟงั แล้วทรงขอร้องให้พระกนิษฐาช่วยให้ความร่วมมือ
เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีสนุ ทรเทพก็ทรงท�ำตามแผนด้วยการรับของทีเ่ จ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์
มนตรีประทานมาให้ แล้วจึงสั่งให้นางข้าหลวงที่เชิญของมากลับไปทูลว่าทรงขอบพระทั ย
ทั ้งเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีสุนทรเทพ และเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเทพยวดี นั้น เมื่อถึงฤดู
ผลไม้ต่างๆ ก็จะทรงช่วยกันปอกแล้วจั ดส่งไปถวายแก่เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีอยู่
เสมอๆ
แต่แล้วความรักของทัง้ สองพระองค์ทที่ รงปิดบัง ซ่อนเร้น ก็ตอ้ งเปิดเผยในทีส่ ดุ ด้วย
เหตุเพราะเจ้าฟ้าบุญรอดทรงพระครรภ์ จนกลายเป็นเรือ่ งใหญ่ ในพระราชวังหลวง เจ้าฟ้าฯ
กรมหลวงอิศรสุนทร จึงเสด็จไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าจอมแว่นหรือคุณเสือพระสนมเอก
ในรัชกาลที่ 1 ที่ทรงโปรดปรานมากที่สุด ว่ากันว่าเจ้าจอมแว่นรอเวลากราบทูลอยู่หลายวัน
จนมาวันหนึง่ เจ้าจอมแว่นเห็นเป็นโอกาสจึงได้กราบทูลไปว่า (อ้างจากชลดา เรืองรักษ์ลขิ ติ ,
2552 : 224)
“ขุนหลวงเจ้าขา ดี ฉันจะทูลความสักเรื่องหนึง่ แต่ขุนหลวงอย่ากริ้วหนา ตรัส
ตอบว่าจะพูดอะไรก็พูดไปเถิด ไม่กริ้วดอก คุณเสือทูลว่า ถ้าอย่างนั้นขุนหลวง
สบถให้ดิฉันเสียก่อนดี ฉันจึงจะทูล ตรัสว่าอีอัปรี บ้านเมืองลาวของมึงเคยให้
เจ้าชีวิตจิตสันดานสบถหรือ กูไม่สบถ พูดไปเถิด กูไม่โกรธดอก คุณเสือกระเถิบ
เข้าไปกระซิบทูลว่า เดีย๋ วนีแ้ ม่รอดท้องได้ 4 เดือน ทรงอึง้ ไปครูห่ นึง่ แล้วถามว่า
ท้องกับใคร คุณเสือทูลว่า จะมีกะใครเสียอีกเล่า ก็พอ่ โฉมเอกของขุนหลวงน่ะซี”
104 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

แม้พระบาทสมเด็จพระพุ ทธยอดฟ้าฯ จะทรงให้สัญญาไว้ว่าจะไม่กริ้ว แต่ภายใน


พระทัยนัน้ เป็นอย่างไรทุกคนรูก้ นั ดี ทรงเกรงพระทัยสมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
และเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเทพหริรักษ์ที่จะทรงต�ำหนิได้ว่า เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร ทรง
กระท�ำการทีเ่ หยียดหยามพระราชวัง และทรงท�ำผิดกฎมณเฑียรบาล ดังนัน้ พระบาทสมเด็จ
พระพุ ทธยอดฟ้าฯ จึงทรงแก้ปัญหาในขั้นต้นด้วยการให้เจ้าฟ้าบุญรอดรีบเสด็จออกจาก
พระราชวัง ไปประทั บอยู่กับพระเชษฐา ส่วนเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทรนั้น ทรงมีรับสั่ง
ห้ามขึ้นเฝ้า ทั ้งยังทรงห้ามมิให้ฝากสินค้าลงเรือส�ำเภาไปขายที่เมืองจีนด้วย
เมือ่ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร ทราบว่าเจ้าฟ้าบุญรอดเสด็จไปประทับอยูก่ บั เจ้าฟ้าฯ
กรมหลวงเทพหริรักษ์ พระเชษฐา จึงเสด็จลงเรือพระที่นงั่ ข้ามฟากเพื่อไปรับเจ้าฟ้าบุญรอด
มาอยู่กับพระองค์ แต่เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเทพหริรักษ์ไม่อนุญาต แม้เจ้าฟ้าฯ กรมหลวง
อิศรสุนทรจะทรงวิ งวอนอยู่หลายครั้ง แต่เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเทพหริรักษ์ก็ทรงพระทั ยแข็ง
ทัง้ นีเ้ พราะทรงขัดเคืองเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร และเกรงว่าจะขัดรับสัง่ พระบาทสมเด็จ
พระพุ ทธยอดฟ้าฯ ที่ยังทรงกริ้วอยู่
สามเดือนต่อมาสมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้ทรงช่วยกราบทูลขอ
พระราชทานอภัยโทษแก่สมเด็จพระเจ้าหลานเธอทั ้งสองได้ส�ำเร็จ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศร
สุนทรจึงเสด็จเข้าเฝ้าได้ตามเดิม และได้เสด็จไปเฝ้าเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเทพหริรักษ์ เพือ่ ขอรับ
เจ้าฟ้าบุญรอดมาประทั บกับพระองค์ โดยทรงกราบทูลปฏิญาณต่อหน้าพระพั กตร์ เจ้าฟ้าฯ
กรมหลวงเทพหริรักษ์วา่ จะไม่ทรงแต่งตัง้ ให้ โอรสและชายาอืน่ ใดเป็นใหญ่กว่าเจ้าฟ้าบุญรอด
จึงท�ำให้เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร ได้เจ้าฟ้าบุญรอดมาประทั บอยู่กับพระองค์ ในที่สุด
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต (2552 : 241) ได้กล่าวถึงช่วงเวลาสามเดือนที่ เจ้าฟ้าฯ
กรมหลวงอิศรสุนทรกับเจ้าฟ้าบุญรอดต้องห่างเหินกันว่า เป็นช่วงเวลาที่เจ้าฟ้าทั ้งสองต้อง
พบกับความทุกข์ระทมอย่างทีส่ ดุ ยิง่ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทรด้วยแล้วยิง่ ทรงทุกข์หนัก
เพราะทรงเห็นว่าช่วงเวลาสามเดือนนัน้ ช่างยาวนานเสียเหลือเกินและยาวนานมากราวกับเป็น
ปี หรือ 12 เดือนเลยทีเดี ยว ดังนั้นในค�ำคร�่ำครวญที่ปรากฏอยู่ในกาพย์เห่จึงทรงพรรณนา
ความทุกข์และความอาลัยรักไว้ยาวนานถึง 12 เดือน
บทที่ 6 กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน 105

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต (2552 : 242) ยังกล่าวถึงจุดก�ำเนิดของกาพย์เห่ชมเครื่อง


คาวหวานอีกด้วยว่า ในระหว่างที่ทรงต้องพลัดพรากจากกันนั้นก็ยังมีช่องทางให้เจ้าฟ้าฯ
กรมหลวงอิศรสุนทรกับเจ้าฟ้าบุญรอดสามารถติดต่อกันได้ โดยเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร
ทรงส่งนางก�ำนัลไปเยีย่ มเจ้าฟ้าบุญรอดทุกวัน และเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเทพหริรักษ์กม็ ไิ ด้ทรง
ขัดขวาง ด้วยเหตุน้เี จ้าฟ้าบุญรอดจึงสามารถส่งอาหารที่ทรงปรุงขึ้นเองให้นางก�ำนัลเชิญไป
ถวายเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทรได้ เครือ่ งเสวยทีท่ รงส่งไปก็นา่ จะได้แก่ แกงคัว่ ส้มหมูปา่
ต้มระก�ำ ผลจากลอยแก้ว และข้าวเหนียวสีโศกหน้าสังขยา
สรุปได้ว่ากาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานเกิดขึ้นจากประสบการณ์ตรงของกวีที่ทรง
พลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก เป็นเวลาสามเดือน กวีต้องพบกับความทุกข์ระทมเพราะ
คิดถึงนาง ดังนั้นจึงได้แต่งกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานขึ้นเพื่อระบายความทุกข์ ความคับ
ข้องใจ โดยทรงพรรณนาได้อย่างซาบซึ้งและสะเทือนอารมณ์เป็นอย่างยิ่ง

2. ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ
พระพุ ทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมเด็จพระบรมราชชนนีมีพระนามเดิมว่า นาก เป็นธิดาคหบดี
ผู้มีภูมิล�ำเนาอยู่ในเขตเมืองสมุทรสงครามต่อกับเขตราชบุรี (ต่อมาในรัชกาลที่ 2 โปรดฯ
สถาปนาสมเด็จพระราชมารดาขึ้นเป็นสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (วิ ไลเลขา บุรณศิริ
และคณะ, 2542 : 83) พระองค์ประสูติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310
สมัยของพระองค์เป็นสมัยที่ศิลปวัฒนธรรมมีความเจริญ
รุง่ เรืองอย่างมาก เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรง
ส่งเสริมและท�ำนุบำ� รุงศิลปะในด้านต่างๆ เช่น วรรณกรรม
นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และงานช่างแขนงต่างๆ ในส่วนของ
พระองค์ก็ทรงเป็นกวี โดยทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดี
ขึน้ หลายเรือ่ ง เช่น บทละครในเรือ่ งรามเกียรติ์ อิเหนา
บทละครนอกเรือ่ ง มณีพชิ ยั ไกรทอง สังข์ทอง คาวี ฯลฯ
106 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงให้ความอุปถัมภ์แก่เหล่ากวีในราชส�ำนัก ซึ่งสมัยนั้น
ก็มีอยู่มากมาย เช่น พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยู่หัว (ครั้งยังทรงด�ำรงพระยศ
เป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์) ขุนสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) สมเด็จ
พระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระยาตรังคภูมิบาล ฯลฯ
พระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม
พ.ศ. 2367 ขณะทรงมีพระชนมายุได้ 58 พรรษา ทรงด�ำรงอยู่ ในสิริราชสมบัตเิ ป็นเวลา 15 ปี
ใน พ.ศ. 2511 เนือ่ งในวาระฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ 200 ปี องค์การ
ศึกษาวิ ทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณ
ให้พระองค์ทรงเป็นบุคคลส�ำคัญของโลก และประเทศไทยได้ก�ำหนดให้วันที่ 24 กุมภาพั นธ์
ของทุกปี เป็นวันศิลปินแห่งชาติ เพื่อน้อมร�ำลึกถึงพระปรีชาสามารถที่ทรงสร้างสรรค์
ศิลปวัฒนธรรมให้แก่ประเทศชาติและประชาชนชาวไทย (ลักษณา โตวิ วัฒน์ และกุสุมา
รักษมณี, 2553 : 173)

3. ลักษณะค�ำประพันธ์
กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานแต่งเป็นกาพย์เห่ ประกอบด้วยโคลงสี่สุภาพและ
กาพย์ยานี 11 โดยมีโคลงสี่สุภาพหนึง่ บท เป็นบทน�ำหรือบทขึ้นต้น แล้วแต่งกาพย์ยานี 11
ต่อไปอีกจนจบ โดยเนื้อความในกาพย์ยานี 11 บทแรกมีเนื้อความที่สอดคล้องและสัมพั นธ์
กับโคลงสี่สุภาพที่เป็นบทน�ำ

4. เนื้อเรื ่อง
กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานมีเนื้อความแบ่งออกเป็น 5 ตอน คือ
เห่ชมเครื ่องคาว ประกอบด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท กาพย์ยานี 15 บท
เห่ชมผลไม้ ประกอบด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท กาพย์ยานี 14 บท
เห่ชมเครื ่องหวาน ประกอบด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท กาพย์ยานี 15 บท
เห่ครวญเข้ากับนักขัตฤกษ์ ประกอบด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท กาพย์ยานี 21 บท
เห่บทเจ้าเซ็น ประกอบด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท กาพย์ยานี 2 บท
บทที่ 6 กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน 107

ในทีน่ จ้ี ะกล่าวเฉพาะบทเห่ชมเครือ่ งคาว ซึง่ เป็นเนือ้ หาทีก่ ระทรวงศึกษาธิการก�ำหนด


ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้ศึกษา

บทเห่ชมเครื ่องคาว
บทเห่ชมเครื่องคาวประกอบด้วยอาหาร 15 ชนิด คือ
1. แกงมัสมั่น 6. แกงเทโพ 11. ล่าเตียง
2. ย�ำใหญ่ 7. น�้ำยาแกงขม 12. หรุ่ม
3. ตับเหล็กลวก 8. ข้าวหุง 13. รังนกนึง่
4. หมูแนม 9. แกงคั่วส้มหมูป่า 14. ไตปลา
5. ก้อยกุ้ง 10. พล่าเนื้อ 15. แสร้งว่า
และปิดท้ายด้วยผักอีก 2 ชนิด คือ ผักโฉมและผักหวาน

1. แกงมัสมั่น
“มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง
ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ ใฝ่ฝันหา”

กาพย์บทนีก้ วีกล่าวถึงแกงมัสมัน่ ทีม่ กี ลิน่ หอม


ของยี่หร่าว่า เมื่อชายผู้ ใดได้ลิ้มรสแล้วก็ยังอยากลิ้ม
รสอยู่เสมอ

2. ย�ำใหญ่
“ย�ำใหญ่ ใส่สารพั ด วางจานจั ดหลายเหลือตรา
รสดี ด้วยน�้ำปลา ยี่ปุ่นล�้ำย�้ำยวนใจ”

กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงย�ำใหญ่ ที่จัดวางเอาไว้ ในจานอย่างมากมาย


และปรุงรสให้อร่อยขึ้นด้วยน�้ำปลาญี่ปุ่น
108 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

3. ตับเหล็กลวก
“ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม เจือน�้ำส้มโรยพริกไทย
โอชาจะหาไหน ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง”

กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงอาหารที่นางอันเป็นที่รักปรุงให้คือตับเหล็กลวก
ที่ ไม่มีฝีมือของนางใดเทียบเทียมได้
4. หมูแนม
“หมูแนมแหลมเลิศรส พร้อมพริกสดใบทองหลาง
พิศห่อเห็นรางชาง ห่างห่อหวนป่วนใจโหย”

กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงหมูแนมว่ามีรสอร่อย รับประทานพร้อมกับ
พริกสดและใบทองหลาง ที่น้องห่อมาอย่างประณีตบรรจง

5. ก้อยกุ้ง
“ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย
รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤๅจะเปรียบเทียบทั นขวัญ”

กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงก้อยกุ้งว่า เมื่อสัมผัสถึงลิ้นก็เหมือนได้ ลิ้มรส


อาหารที่อร่อยกว่าอาหารทิพย์
6. แกงเทโพ
“เทโพพื้นเนื้อท้อง เป็นมันย่องล่องลอยมัน
น่าซดรสครามครัน ของสวรรค์เสวยรมย์”

กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงแกงปลาเทโพ ที่มีเนื้อหน้าท้องเป็นมันย่อง เมื่อ


ได้ซดน�้ำแกง ก็เหมือนกับได้ลิ้มรสอาหารสวรรค์
บทที่ 6 กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน 109

7. น�้ำยาแกงขม
“ความรักยักเปลี่ยนท่า ท�ำน�้ำยาอย่างแกงขม
กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม ชมไม่วายคลับคล้ายเห็น”

กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงยามเมื่อได้รับประทานน�้ำยากินกับแกงขม (มะระ)
ว่ามีรสที่กลมกล่อม
8. ข้าวหุง
“ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ รสพิเศษใส่ลูกเอ็น
ใครหุงปรุงไม่เป็น เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ท�ำ”

กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงข้าวหุง ที่เป็นอาหารของชาวอิสลาม
ว่าไม่มี ใครอีกแล้ว ที่จะปรุงข้าวหุงได้อร่อยเหมือนนาง

9. แกงคั่วส้มหมูป่า
“เหลือรู้หมูป่าต้ม แกงคั่วส้มใส่ระก�ำ
รอยแจ้งแห่งความข�ำ ช�้ำทรวงเศร้าเจ้าตรากตรอม”

กาพย์บทนีก้ วีกล่าวถึงแกงคัว่ ส้มทีม่ สี ว่ นผสมของหมูปา่ และระก�ำ ท�ำให้กวี


นึกถึงอดี ตที่เคยปกปิดไว้ และนึกถึงนางว่าคงจะอยู่อย่างยากล�ำบาก
10. พล่าเนื้อ
“ช้าช้าพล่าเนื้อสด ฟุ้งปรากฏรสหื่นหอม
คิดความยามถนอม สนิทเนื้อเจือเสาวคนธ์”

กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงพล่าเนื้อที่มีกลิ่นหอม ท�ำให้กวีคิดถึง
ยามที่เคยกอดนาง และเนื้อของนางนั้นมีกลิ่นหอม
110 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

11. ล่าเตียง
“ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองท�ำเมืองบน
ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน”

กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงล่าเตียงที่ท�ำเป็นชั้นๆ ท�ำให้คิดถึงน้องที่นอนบน
เตียงทองจากเมืองบน (เมืองสวรรค์) ที่ลดหลั่นเป็นชั้นๆ ท�ำให้กวีคิดอยากที่จะ
นอนกอดนาง
12. หรุ่ม
“เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน
เจ็บไกลใจอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง”

กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงอาหาร คือ หรุ่ม เมื่อกวีเห็นหรุ่มก็ท�ำให้จิตใจของ


กวีเร่าร้อน ประกอบกับความที่ต้องไกลนาง จึงท�ำให้จิตใจของกวีร้อนรุ่มเหมือน
มีคนมาสุมไฟ
13. รังนกนึง่
“รังนกนึง่ น่าซด โอชารสกว่าทั ้งปวง
นกพรากจากรังรวง เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน”

กาพย์บทนีก้ วีกล่าวถึงรังนกนึง่ ทีน่ า่ ซด เพราะว่ามีรสอร่อยกว่าอาหารทัง้ หมด


แล้วเปรียบเทียบว่านกพรากจากรังก็เหมือนกับกวีในขณะนี้ที่ต้องพรากจากนาง
14. ไตปลา/15. แสร้งว่า
“ไตปลาเสแสร้งว่า ดุจวาจากระบิ ดกระบวน
ใบโศกบอกโศกครวญ ให้พี่เคร่าเจ้าดวงใจ”

กาพย์บทนี้เป็นบทเปรียบเทียบ กวีทรงเปรียบแกงไตปลาและแสร้งว่า
ว่าเหมือนดังวาจาของน้องที่แกล้งเจรจา ครั้นแลไปเห็นใบโศกก็ท�ำให้กวีต้อง
โศกเศร้าเพราะรอเวลาที่จะได้พบหน้านาง
บทที่ 6 กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน 111

ผักโฉมและผักหวาน
“ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน
ผักหวานซ่านทรวงใน ใคร่ครวญรักผักหวานนาง”

กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงผักสองชนิด คือ ผักโฉมและ


ผักหวาน แล้วเปรียบเทียบว่าผักโฉมนี้คือโฉมของน้อง
หรือโฉมของนางใด ส่วนผักหวานนั้นเมื่อกวีได้แลเห็น
ก็ท�ำให้ความรักอันหวานซึ้งแผ่ซ่านไปทั ่วหัวใจ

5. คุณค่า

5.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ของกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานอยู่ที่ความไพเราะ และความ
คมคายของบทเปรียบเทียบในบทพรรณนา เมื่ออ่านแล้วจะเห็นภาพตามที่กวีได้วาดไว้ และ
สิ่งที่ช่วยท�ำให้กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานมีคุณค่าด้านวรรณศิลป์เพิ่มมากขึ้น ได้แก่
1 การเล่นเสียง ความไพเราะของถ้อยค�ำต่างๆ ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
เกิดจากการสรรค�ำที่มีเสียงไพเราะและการเล่นเสียง ดังตัวอย่าง

“เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน
เจ็บไกลใจอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง”

จากตัวอย่างทีย่ กมานี้ กวีเล่นเสียงวรรณยุกต์ในค�ำว่า หรุม่ รุม รุม่ และเสียงพยัญชนะ


ในค�ำว่า ร้อน รุม รุ่ม ซึ่งเมื่อฟังแล้วรู้สึกว่าไพเราะเป็นอย่างมาก และนอกจากจะฟังเพลิน
เนือ่ งมาจากความไพเราะแล้ว กาพย์บทนีย้ งั สือ่ ถึงความรูส้ กึ ของกวีได้ชดั เจนว่า อยู่ ในความ
เศร้าโศกอย่างหนักหาใดเทียม
112 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

2 การใช้ส�ำนวนความเปรี ยบ กวีจะใช้ส�ำนวนความเปรียบในตอนที่กล่าวถึงความ
พิเศษของอาหารแต่ละชนิด โดยน�ำไปเปรียบเทียบกับลักษณะของนางอันเป็นที่รักของกวี
ดังตัวอย่าง

“ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองท�ำเมืองบน
ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน”

กาพย์บทนีก้ วีกล่าวถึงอาหารอย่างหนึง่ คือ ล่าเตียง แล้วน�ำไปสัมพั นธ์กบั นางอันเป็น


ที่รัก คือ กวีมีจิตประหวัดไปถึงเตียงของนางที่ท�ำมาจากเมืองบน (เมืองสวรรค์)
นอกจากนี้ยังมีกาพย์บางบทที่กวี ใช้ความเปรียบในลักษณะที่เกินจริง เช่น กวีกล่าว
ถึงก้อยกุ้งว่ามีกลิ่นหอม เลิศรสราวกับอาหารทิพย์ ครั้นเมื่อสัมผัสกับลิ้น ก็ร้สู ึกอร่อยมาก
จนแทบจะขาดใจ ดังความว่า

“ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย
รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤๅจะเปรียบเทียบทั นขวัญ”

5.2 คุณค่าด้านสังคม
คุณค่าด้านสังคมที่สะท้อนจากกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนี้ คือ วัฒนธรรมด้าน
อาหารการกิน ซึง่ ถ้าอ่านกันอย่างพินจิ พิจารณาแล้วก็จะเห็นได้วา่ กาพย์เห่ชมเครือ่ งคาวหวาน
กล่าวถึงอาหารหลากหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็คงเป็นที่นยิ มรับประทานกันในสมัยรัชกาล
ที่ 2 บางชนิดก็ยังมี ให้เห็นและรับประทานกันอยู่ ในปัจจุบัน เช่น มัสมั่น หมูแนม ก้อยกุ้ง
แกงคัว่ เป็นต้น แต่บางชนิดก็เป็นอาหารโบราณ ทีป่ จั จุบนั อาจหารับประทานได้ยาก เพราะ
ต้องผ่านกรรมวิ ธีการผลิตที่ซับซ้อน ยุ่งยากหลายขั้นตอน เช่น ล่าเตียง และ หรุ่ม
บทที่ 6 กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน 113

อาหารบางชนิดเป็นอาหารต่างชาติ ใช้เครื่องปรุงเฉพาะที่ท�ำให้มีรสชาติแตกต่างไป
เช่น ลุดตี่ และข้าวหุงเครื่องเทศ
กาพย์บางบทยังสะท้อนให้เห็นถึงส่วนประกอบของอาหารชนิดนั้นๆ เช่น มัสมั่นแกง
แก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง, ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม เจือน�้ำส้มโรยพริกไทย, แกงคั่วส้ม
ใส่ระก�ำ และบอกวิ ธีการจั ดอาหารด้วย เช่น พิศห่อเห็นรางชาง ห่างห่อหวนป่วนใจโหย,
หมูแนมแหลมเลิศรส พร้อมพริกสดใบทองหลาง
นอกจากนี้เรายังได้ทราบว่า กว่าจะเป็นอาหารมาตั้งให้รับประทานกันนั้น จะต้อง
อาศัยฝีมอื ในการปรุงทีน่ อกจากจะท�ำให้บริโภคอาหารได้มากแล้ว ยังท�ำให้เพลิดเพลินเจริญใจ
กับความสวยงามของการตกแต่งอาหารให้งามวิ จิตรอีกด้วย
ในส่วนของการปรุงนั้นก็ต้องปรุงให้มีกลิ่นหอม รสดี ซึ่งจะต้องผ่านกรรมวิ ธีต่างๆ
มากมาย เช่น การเลือกเครื่องปรุงต้องเลือกแต่ของดี ๆ และผู้ปรุงก็ต้องเลือกของเป็น ครั้น
ปรุงเสร็จแล้วยังต้องรูจ้ ักจัดวางตกแต่งให้สวยงามน่ารับประทานทัง้ รูปลักษณ์และสีสนั ด้วย
สุดท้ายนี้ผู้เขี ยนขอกล่าวว่า การอ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน นอกจากผู้อ่านจะ
ได้รับรู้ รับทราบ เกี่ยวกับรายชื่ออาหารที่กวีพรรณนาแล้ว ผู้อ่านยังจะได้ร้วู ่า อาหารเป็น
เครื่องหมายแทนความรักความผูกพั นของคนในครอบครัวอีกด้วย
บรรณานุกรม 6

จั นทร์ศิริ สุรสิทธิ์ แท่นมณี. (2556). กาพย์เห่ชมเครื ่องคาวหวาน เทิดต�ำนานอาหาร


ไทย. เพชรบุรี : ปัณณรังสี.
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2552). กาพย์เห่ชมเครื ่องคาวหวาน กาพย์เห่นริ าศแรมรสร้าง.
กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิ ทยาลัย.
นันทนา กปิลกาญจน์. (2547). พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. กรุงเทพมหานคร :
ส�ำนักพิมพ์โอเดี ยนสโตร์.
บรรเจิ ด อินทุจันทร์ยง. (2521). พงศาวดารกระซิบ. กรุงเทพมหานคร : กรุงสยาม
การพิมพ์.
ราตรี เพรียวพานิช. (2555). การวิเคราะห์หนังสือเรี ยนวิชาภาษาไทย (s). พิมพ์ครั้ง
ที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
ลักษณา โตวิ วัฒน์ และกุ สุมา รักษมณี. (2553). พุ ทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาท
สมเด็จพระ ใน นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
วิไลเลขา บุรณศิริ และคณะ. (2542). ประวัตศิ าสตร์ไทย 2. พิมพ์ครัง้ ที่ 11. กรุงเทพมหานคร :
ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). หนังสือเรี ยน รายวิชาพื้นฐาน
ภาษาไทย วรรณคดีวจิ กั ษ์ ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1. พิมพ์ครัง้ ที่ 3. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2554). วรรณกรรมพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย.
พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
นิ ท า น พื้ น บ้ า น 7
1. ประวัติความเป็นมา
ความบันเทิงยามค�ำ่ คืนของคนในสมัยก่อน คือ การเล่านิทานสูก่ นั ฟัง และมีงาน
วัดเป็นศูนย์รวมของมหรสพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นละคร ลิเก หรือหนังตะลุง เรื่องราวที่
น�ำมาแสดงก็มักจะเป็นนิทานที่ชาวบ้านชื่นชอบ เช่น จั นทโครพ นางสิบสอง ฯลฯ
ปัจจุบันละครโทรทั ศน์หลายเรื่องสร้างมาจากนิทานพื้นบ้าน เช่น โสนน้อยเรือนงาม
ยอพระกลิ่น พิกุลทอง ไกรทอง สังข์ทอง ฯลฯ โดยเฉพาะเรื่องไกรทองและสังข์ทอง
นัน้ ได้มผี นู้ ำ� ไปสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตนู ด้วย นิทานจึงสัมพั นธ์กบั ชีวิตของคนไทย
ตัง้ แต่อดี ตถึงปัจจุบนั (ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน, 2554 : 142)
การเล่านิทานเป็นที่นยิ มกันอย่างแพร่หลาย และมีอยู่ในสังคมทั ่วโลก เด็กๆ
โดยทัว่ ไปชอบฟังนิทาน ผู้ ใหญ่หลายคนก็ชอบฟังนิทาน คนไทยบางคนเชือ่ ว่าเทวดาก็
ชอบฟังนิทานเช่นกัน การเล่านิทานมักจะเล่ากันในเวลากลางคืน ถ้าเล่าในเวลากลาง
วันจะถูกเทวดาสาปแช่ง เพราะกลางวันเทวดาจะต้องไปเฝ้าพระอิศวร จึงไม่มี โอกาส
ฟังนิทานที่มุนษย์เล่า
116 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

2. ความหมายของนิทานพื้นบ้าน
นิทาน หมายถึง เรื่องที่เล่ากันมา เช่น นิทานชาดก นิทานอีสป
พื้นบ้าน หมายถึง เฉพาะถิ่น (นี่คือความหมายตามพจนานุกรม)
ส่วนความหมายในทางคติชนวิ ทยา นิทานจะหมายถึง เรื่อง
เล่าทั ้งที่เป็นมุขปาฐะและลายลักษณ์อักษร เล่าสืบทอดกันมาหลาย
ชั่วอายุคน เป็นเรื่องที่ ใช้ถ้อยค�ำธรรมดาๆ และเป็นภาษาร้อยแก้ว
ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่งขึ้นคนแรก มีการถ่ายทอดด้วยปากมาเป็น
เวลานานก่อนที่จะบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร (ประพนธ์ เรืองณรงค์
และเสาวลักษณ์ อนันตศานต์, 2545 : 52)

3. ลักษณะของนิทานพื้นบ้าน
ศาสตราจารย์ คุณหญิง กุหลาบ มัลลิกะมาส (2518 : 99-100) ได้กล่าว ถึงลักษณะ
ของนิทานพื้นบ้านเอาไว้ว่า มีลักษณะส�ำคัญ 3 ประการ คือ
1. เป็นเรื่องเล่าด้วยถ้อยค�ำธรรมดา เป็นภาษาร้อยแก้วไม่ ใช่ร้อยกรอง
2. เล่ากันด้วยปาก สืบกันมาเป็นเวลาช้านาน แต่ต่อมาในระยะหลังเมื่อการเขี ยน
เจริญขึ้น ก็อาจเขี ยนขึ้นตามเค้าเดิมที่เคยเล่าด้วยปากเปล่า
3. ไม่ปรากฏว่าผู้เล่าดั้งเดิมนั้นเป็นใคร อ้างแต่ว่าเป็นของเก่า ฟังมาจากผู้เล่าซึ่ง
เป็นบุคคลส�ำคัญยิ่งในอดี ตอีกต่อหนึง่ ผิ ดกับนิยายสมัยใหม่ที่ทราบตัวผู้แต่ง แม้นทิ านที่
ปรากฏชื่อผู้เขี ยน เช่น นิทานของกริมม์ (ผู้เขี ยนคือกริมม์) ก็อ้างว่า เล่าตามเค้านิทานที่มี
มาแต่เดิม ไม่ใช่ตนแต่งขึ้น
บทที่ 7 นิทานพื้นบ้าน 117

4. ประเภทของนิทานพื้นบ้าน
นิทานพื้นบ้านสามารถแยกออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ 12 ประเภท คือ
1. ต�ำนานปรัมปรา 7. นิทานสัตว์
2. นิทานมหัศจรรย์ 8. นิทานคติ
3. นิทานชีวิต 9. นิทานข�ำขัน
4. นิทานวีรบุรุษ 10. นิทานศาสนา
5. นิทานประจ�ำถิ่น 11. นิทานเรื่องผี
6. นิทานอธิบายเหตุ 12. นิทานเข้าแบบ
ดังจะได้กล่าวถึงรายละเอียดของนิทานประเภทต่างๆ โดยสรุปความจากประคอง
นิมมานเหมินทร์ (2549 : 135-143) ดังนี้

1. ต�ำนานปรัมปรา
ต�ำนานปรัมปรา คือ เรื่องเล่าที่อธิบายความเป็นมาของโลกและจั กรวาล ก�ำเนิด
มนุษย์ สัตว์และพืช บางเรื่องอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ลม ฝน จั นทรุปราคา
สุริยุปราคา กลางวัน กลางคืน ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เรื่องราวต่างๆ
เหล่านี้อธิบายโดยแสดงถึงความเชื่อทางศาสนา จึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้า และบุคคล
ที่มีลักษณะกึ่งเทพหรือสืบเชื้อสายจากเทพ

2. นิทานมหัศจรรย์
ลักษณะส�ำคัญของนิทานประเภทนี้ คือ เป็นนิทานที่ประกอบด้วยเรื่องมหัศจรรย์
อิทธิปาฏิหาริย์ เช่น เหาะเหินเดินอากาศ มีการใช้อาวุธวิ เศษ เวทมนตร์ คาถาและอาจมี
ตัวละครที่ ไม่ใช่มนุษย์ปรากฏอยู่ด้วย เช่น แม่มด ยักษ์ นางฟ้า
118 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

นิทานมหัศจรรย์ต่างประเทศที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น อาละดินกับตะเกียง


วิ เศษ แจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ สโนไวท์ ซินเดอเรลลา เจ้าหญิงนิทรา เป็นต้น

3. นิทานชีวิต
นิทานประเภทนีเ้ ป็นนิทานทีม่ เี นือ้ หาอยู่ ในโลกของความเป็นจริง มีการระบุชอื่ ตัวละคร
และสถานทีอ่ ย่างชัดเจน ตัวอย่างของนิทานประเภทนีม้ อี ยูห่ ลายเรือ่ งในนิทานอาหรับราตรี

4. นิทานวีรบุรุษ
ลักษณะของนิทานประเภทนีเ้ ป็นการเล่าถึงการผจญ
ภัยและความกล้าหาญของพระเอก ซึ่งเป็นวีรบุรุษที่มีความ
สามารถเหนือมนุษย์ เช่น เฮอร์คิวลิส ผู้มีความกล้าหาญ
ตั้งแต่ยังเป็นเด็กทารก สามารถฆ่างูโดยใช้สองมือจั บงูร้าย
สองตัวทีเ่ ลือ้ ยเข้ามาในเปล ครัน้ เติบโตขึน้ ก็ปราบปรามสัตว์
ร้ายต่างๆ และท�ำงานที่มนุษย์ไม่สามารถจะท�ำได้

5. นิทานประจ�ำถิ่น
นิทานประจ�ำถิ่น คือ นิทานที่อธิบายความเป็นมาของสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น อาจเป็น
สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา แม่น�้ำ เกาะ หรือเป็นสิ่งก่อสร้าง เช่น เจดี ย์ บางเรื่อง
เกี่ยวข้องกับบุคคลในประวัติศาสตร์ บางเรื่องเกี่ยวข้องกับเทวดา สัตว์ หรือผี สางนางไม้
เช่น ภูเขาลูกหนึง่ ในประเทศลาวชื่อ ภูท้าวภูนาง มีนทิ านที่เล่าถึงความเป็นมาว่า ชายคน
หนึง่ ชื่อ พุ ทธเสน เดินทางเข้าไปในป่า มีนางยักษ์ชื่อ กินนา เห็นเข้าก็หลงรัก จึงแปลงกาย
เป็นหญิงงามหลอกให้พุทธเสนอยู่ด้วย ต่อมาพุ ทธเสนทราบความจริงจึงหนีไป นางกินนา
ติดตามพุ ทธเสนไปจนขาดใจตาย พุ ทธเสนเห็นนางกินนาเสียชีวิตก็สงสารและเห็นใจนาง
เพราะนางรักตนจริง ท�ำให้พุทธเสนขาดใจตายตามนางกินนาไปด้วย แล้วทั ้งสองคนก็ไป
เกิดเป็นภูเขาชื่อภูท้าวภูนาง
บทที่ 7 นิทานพื้นบ้าน 119

6. นิทานอธิบายเหตุ
นิทานอธิบายเหตุ คือ นิทานที่อธิบายถึงก�ำเนิดหรือความเป็นมาของสิ่งที่เกิดขึ้นใน
ธรรมชาติ เช่น อธิบายสาเหตุทสี่ ตั ว์บางชนิดมีรปู ร่าง ลักษณะหรือสีสนั ต่างๆ อธิบายก�ำเนิด
ของต้นไม้หรือดอกไม้บางชนิด ความเป็นมาของดาวบางดวงหรือบางกลุ่ม หรือความเป็นมา
ของเงาด�ำที่ปรากฏบนดวงจั นทร์ แต่ละชาติจะมีเรื่องเล่าอธิบายความเป็นมาของสิ่งต่างๆ
ไม่เหมือนกัน แล้วแต่จินตนาการของคนในสังคมนั้นๆ เช่น เงาด�ำบนดวงจั นทร์เป็นสิ่งที่
มนุษย์สงสัยและพยายามหาค�ำตอบว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ละชาติจึงมีนทิ านอธิบายความ
เป็นมาต่างๆ กัน เช่น ชาวพม่ามีนทิ านเรื่องชายแก่รับจ้างต�ำข้าว เทพธิดาดวงจั นทร์สงสาร
พอกลางวันก็แปลงกายเป็นหญิงแก่มาช่วยต�ำ กลางคืนก็กลับสู่ท้องฟ้า ชายแก่ขอให้พาตน
และกระต่ายไปอยูด่ ว้ ย ดังนั้นเงาด�ำบนดวงจั นทร์จึงเป็นรูปชายแก่ต�ำข้าวและมีกระต่ายนัง่
อยู่ข้างๆ คอยกินแกลบ ส่วนชาวอินเดี ย มีนทิ านอธิบายว่าเป็นรูปกระต่ายที่บ�ำเพ็ญคุณงาม
ความดี ยอมสละชีวิตของตนเป็นทาน จึงมีรปู ปรากฏเป็นอนุสรณ์บนดวงจั นทร์

7. นิทานสัตว์
นิทานสัตว์ คือ นิทานที่มีสัตว์เป็นตัวละครเอก โดยมักแสดงให้เห็นถึงความฉลาด
ของสัตว์ชนิดหนึง่ และความโง่เขลาของสัตว์อีกชนิดหนึง่ สัตว์ฉลาดและสัตว์โง่ ในนิทาน
พื้นบ้านของชาติต่างๆ อาจไม่ตรงกัน เช่น นิทานสัตว์ของยุโรปมักจะมีสุนัขจิ ้งจอก เป็นตัว
ละครที่ฉลาดแกมโกง นิทานสัตว์ของพม่ามักจะมีกระต่ายเป็นตัวละครเอก นิทานสัตว์ของ
บางประเทศมีตัวละครเอกเป็นลิง นิทานสัตว์บางเรื่องก็แสดงให้เห็นความกตัญญูร้คู ุณของ
สัตว์นั้นๆ

8. นิทานคติ
นิทานคติ คือ นิทานทีเ่ ล่าโดยเจตนาให้ขอ้ คิดด้าน
คุณธรรมหรือจริยธรรมอย่างใดอย่างหนึง่ ตัวอย่างเช่น
นิทานอีสป ซึ่งเป็นนิทานที่ ให้ข้อคิดที่ดีแก่ผู้อ่านผู้ฟัง
ตัวละครในนิทานอีสปล้วนแต่เป็นสัตว์ทั้งสิ้น
120 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

9. นิทานข�ำขัน
นิทานประเภทนีม้ กั เป็นเรือ่ งขนาดสัน้ ตัวละครอาจเป็นมนุษย์หรือสัตว์กไ็ ด้ จุดส�ำคัญ
ของเรือ่ งอยูท่ คี่ วามไม่นา่ จะเป็นไปได้ตา่ งๆ อาจเป็นเรือ่ งทีแ่ สดงถึงความโง่เขลา ความฉลาด
หรือความเกียจคร้านอย่างนึกไม่ถงึ เช่น คนโง่เอาเสือ้ คลุมให้กอ้ นหินเพราะกลัวก้อนหินหนาว
นิทานข�ำขันบางเรือ่ งมีลกั ษณะเป็นเรือ่ งล้อเลียนในสิง่ ทีเ่ ป็นไปไม่ได้ เช่นเล่าว่า คนเกียจคร้าน
คนหนึง่ อยากกินมะเดือ่ แต่ขีเ้ กียจปีนต้นมะเดือ่ จึงไปนอนอ้าปากรอให้ผลมะเดือ่ ตกใส่ปาก
นิทานข�ำขันบางเรื่องเป็นเรื่องของคนต่างชาติ หรือนักบวช ที่มีพฤติกรรมเป็นที่น่าขบขัน

10. นิทานศาสนา
นิทานศาสนาจะเป็นเรื่องเล่าที่เกี่ยวกับศาสนา ซึ่งไม่มีกล่าวไว้ ในคัมภีร์ศาสนา เช่น
ชาวคริสต์บางกลุม่ มีเรือ่ งเล่าว่าพระเจ้าปลอมตัวเป็นขอทานเพือ่ ทดสอบความมีนำ�้ ใจของคน
ส่วนผู้ที่นับถือพุ ทธศาสนาในบางท้องถิ่นของประเทศไทย ก็มีเรื่องเล่าว่าพระพุ ทธเจ้าเสด็จ
มาในที่ต่างๆ ของตน

11. นิทานเรื ่องผี


นิทานเรือ่ งผีเป็นนิทานทีเ่ ล่าเกีย่ วกับผีทมี่ าหลอกหลอนด้วยวิธกี ารต่างๆ ซึง่ ผูฟ้ งั เมือ่
ฟังแล้วเกิดความกลัว แต่ก็ชอบฟัง เช่น มีนทิ านของชาวพม่าเล่าว่า คนขี ้เมาคนหนึง่ ไปนัง่
ดื่มเหล้าที่วัดร้าง และมีผีนักมวยที่ปลอมตัวเป็นพระมาชวนเล่นมวยปล�้ำ ชาวลาวก็มีความ
เชื่อเรื่องผี กองกอยว่าเป็นผี ตัวเล็กๆ ผมยาว ไม่น่งุ ผ้า โดยมีเรื่องเล่าว่าชายคนหนึง่ ไปพบผี
กองกอยในป่า แล้วโชคดี ได้ทองกลับบ้าน เพื่อนบ้านอยากได้ทองบ้างก็เอาอย่าง จึงเข้าไป
ในป่าแต่ถูกผี กองกอยจั บกินตับไตไส้พุงจนหมดสิ้น
บทที่ 7 นิทานพื้นบ้าน 121

12. นทิ านเข้าแบบ


นิทานประเภทนี้มีแบบแผนในการเล่าที่พิเศษกว่านิทานประเภทอื่นๆ ส่วนมากเป็น
เรื่องส�ำหรับเล่าให้เด็กๆ ฟังกันสนุกๆ มีหลายแบบ เช่น นิทานลูกโซ่ นิทานไม่ร้จู บ
นิทานลูกโซ่ เป็นนิทานที่เล่าถึงเหตุการณ์หรือพฤติกรรมของตัวละครที่มีความ
เกี่ยวโยงกันเป็นทอดๆ บางทีก็วนกลับมาสู่จุดเริ่มต้น หรือมีการแจกแจงสิ่งต่างๆ เรียง
ตามล�ำดับ ดังมีเรื่องหนึง่ เล่าว่า ชายคนหนึง่ เกิดวันจั นทร์ ไปโรงเรียนวันอังคาร เริ่มท�ำงาน
วันพุ ธ แต่งงานวันพฤหัสบดี ป่วยวันศุกร์ ตายวันเสาร์ ฝังศพวันอาทิตย์
นิทานไม่ร้จู บ เนื้อเรื่องไม่มีอะไรมาก แต่เล่าได้ไม่ร้จู บ เช่น เล่าว่า มดตัวหนึง่ ไปเห็น
กองข้าวสาร ก็คาบกลับไปรังเมล็ดหนึง่ วันรุง่ ขึน้ ก็มาคาบไปอีกเมล็ดหนึง่ วันทีส่ ามก็คาบไป
อีกเมล็ดหนึง่ วันทีส่ กี่ ค็ าบไปอีกเมล็ดหนึง่ เล่าเช่นนี้ ไปเรือ่ ยๆ จนคนฟังต้องบอกให้หยุดเล่า

5. นิทานพื้นบ้านไทยในท้องถิ่นต่างๆ
ในแต่ละท้องถิ่นมักมีนทิ านที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม สังคมวัฒนธรรมของ
ท้องถิ่น ดั้งนั้นนิทานของแต่ละท้องถิ่นจึงแตกต่างกัน ซึ่งพอจะกล่าวถึงลักษณะของนิทาน
พื้นบ้านตามท้องถิ่นต่างๆ ได้ดังนี้ (เก็บความจากส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐาน, 2554 : 144-145)

5.1 นิทานภาคเหนือ
ภาคเหนือมักมีนทิ านประเภทเล่าความเป็นมาของสถานที่ หรือนิทานที่เกี่ยวข้องกับ
พระพุ ทธศาสนาจ�ำนวนมาก ส่วนใหญ่เกี่ยวกับพระพุ ทธเจ้า หรือความเป็นมาของสถานที่
ที่เกี่ยวข้องกับพุ ทธประวัติ เช่น การสร้างเมืองและที่มาของชื่อเมือง การสร้างพระธาตุเจดี ย์
นิทานประเภทอธิบายสาเหตุของสิง่ ต่างๆ บางเรือ่ งก็ยงั มีเรือ่ งของ
พระพุทธเจ้าไปเกีย่ วข้อง เช่น เรือ่ งพระพุทธเจ้าตัง้ ชือ่ สุนขั เล่าว่า
เดิมสุนขั ไม่มชี อื่ จึงไปขอให้พระพุทธเจ้าตัง้ ชือ่ ให้ พระพุทธเจ้าตัง้
ชื่อให้ว่า “ค�ำผี หลี้” ซึ่งแปลว่าทองค�ำที่สวยงามน่ารัก มันภูมิใจ
มาก จึงถามพระพุ ทธเจ้าซ�้ำๆ หลายครั้งว่ามันชื่ออะไร เพื่อจะ
ได้ฟงั ชือ่ อันไพเราะของมันบ่อยๆ พระพุทธเจ้าร�ำคาญจึงบอกว่า
มันชื่อหมา ตั้งแต่นั้นมาสุนัขจึงมีชื่อเรียกว่า หมา
122 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

5.2 นิทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักมีนทิ านที่กล่าวถึงความขัดแย้ง การขอฝนและบทบาท
ของแถน ซึ่งชาวอีสานเชื่อว่าเป็นเทวดาที่มีอ�ำนาจเหนือชีวิตมนุษย์ เช่น นิทานเรื่องพญา
คันคาก (คางคก) กล่าวถึงการที่ โลกมนุษย์แห้งแล้ง เพราะแถนไม่ยอมให้ฝนตก พญา
คันคากจึงได้น�ำกองทั พสัตว์ต่างๆ เช่น มด ปลวก เขี ยด อึ่งอ่าง จั กจั ่น ฯลฯ ขึ้นไปรบกับ
พญาแถนบนฟ้า พญาคันคากได้ชยั ชนะ พญาแถนจึงยอมให้ฝนแก่ โลกมนุษย์ นิทานเรือ่ งนีย้ งั
สัมพั นธ์กับประเพณีบุญบั้งไฟของชาวอีสานด้วย

5.3 นิทานภาคกลาง
นิทานประจ�ำท้องถิ่นที่อธิบายที่มา หรือต�ำนานสถานที่และสิ่งต่างๆ ในท้องถิ่น
ภาคกลาง อันเป็นทีร่ จู้ ั กกันดี คอื เรือ่ งพญากงพญาพาน หรือต�ำนานการสร้างพระปฐมเจดี ย์
ซึง่ กล่าวถึงพญาพานสร้างพระปฐมเจดียเ์ พือ่ ไถ่บาปทีฆ่ า่ พญากง โดยไม่รวู้ า่ เป็นบิดาของตน
นิทานอีกเรื่องหนึง่ ที่รู้จักกันแพร่หลายคือเรื่องไกรทอง ซึ่งเป็นนิทานพื้นบ้านของจั งหวัด
พิจิตร กล่าวถึงไกรทองผู้เก่งกล้า สามารถปราบจระเข้ดุร้ายอย่างชาละวันได้
บทที่ 7 นิทานพื้นบ้าน 123

5.4 นิทานภาคตะวันออกและภาคตะวันตก
ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกมีหาดทรายและเกาะแก่งต่างๆ ในทะเลอ่าวไทยก็
มักจะมีนทิ านที่สัมพั นธ์กับชื่อและลักษณะภูมิประเทศชายฝั่งทะเล เช่น นิทานเรื่องตาม่อง
ล่าย ซึ่งอธิบายที่มาของภูเขา เกาะแก่ง และแหลมบริเวณจั งหวัดชลบุรี และจั งหวัดตราดใน
เขตภาคตะวันออก และจั งหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในภาคตะวันตก โดยเล่าว่า ตาม่องล่ายกับ
ยายร�ำพึงทะเลาะกัน เพราะตกลงกันไม่ได้ว่าจะยกลูกสาวให้กับใคร ทั ้งสองจึงขว้างปา
สิ่งของใส่กัน ข้าวของเหล่านั้นกลายเป็นแหลมและเกาะต่างๆ เช่น งอบกระเด็นไปตกเป็น
แหลมงอบ และกระบุงกลายเป็นเกาะกระบุง ในจังหวัดตราด ตาม่องล่ายฉีกลูกสาวออกเป็น
สองซีก ซีกหนึง่ กลายเป็นเกาะนมสาว ในจังหวัดชลบุรี และอีกซีกหนึง่ กลายเป็นเกาะนมสาว
ในจั งหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุดท้ายตาม่องล่ายและยายร�ำพึง กลายเป็นเขาตาม่องล่ายและ
เขาแม่ร�ำพึง ในจั งหวัดประจวบคีรีขันธ์

5.5 นิทานภาคใต้
นิทานภาคใต้หลายเรือ่ งกล่าวถึงทีม่ าของภูเขา เกาะ และชายหาดต่างๆ เช่น เกาะหนู
เกาะแมว ในจังหวัดสงขลา ซึง่ มีเรือ่ งเล่าว่าหนูกบั แมวจมน�ำ้ ตายแล้วกลายเป็นเกาะ นอกจาก
นี้ยังมีนทิ านที่กล่าวถึงคนจีนและคนมุสลิม นิทานที่แพร่หลายเรื่องหนึง่ คือเรื่องเจ้าแม่ลิ้ม
กอเหนีย่ ว ซึง่ เป็นหญิงชาวจีนทีม่ าตามหาพีช่ ายทีป่ ตั ตานี เมือ่ พบกันแล้วพีช่ ายของนางไม่ยอม
กลับเมืองจีน นางจึงสาปให้พี่ชายสร้างมัสยิดไม่ส�ำเร็จ แล้วนางก็ผูกคอตาย ต่อมามัสยิดที่
พี ่ชายของนางสร้างถูกฟ้าผ่า ผู้คนจึงนับถือความศักดิ์สิทธิ์และสร้างศาลให้แก่นาง
124 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

6. นิทานไทยเรื ่องสังข์ทอง
สังข์ทองเป็นนิทานอันมีทมี่ าจากปัญญาสชาดก เรือ่ งสุวณ
ั ณสังขชาดก ถือเป็นนิทานไทย
ทีร่ จู้ ักกันอย่างแพร่หลายทัว่ ภูมภิ าคและเล่ากันตามท้องถิน่ ต่างๆ ทัง้ ในรูปแบบวรรณกรรม
มุขปาฐะและวรรณกรรมลายลักษณ์ ซึง่ มีอยูด่ ว้ ยกันหลายส�ำนวน แบ่งออกตามภูมภิ าคได้ ดังนี้
ภาคเหนือ ค่าวซอสุวรรณหอยสังข์ และสุวรรณสังขชาดก
ภาคกลาง บทละครนอกเรื่องสังข์ทองสมัยอยุธยา บทละครนอก เรื่องสังข์ทองของ
พระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศหล้านภาลัย
ภาคอีสาน สุวรรณสังขกุมาร และสุวัณสังขาร์
ภาคใต้ สังข์ทองค�ำกาพย์
นิทานเรือ่ งสังข์ทองมิ ใช่เรือ่ งทีเ่ ล่าฟังกันเล่นๆ แต่เป็นเรือ่ งทีฝ่ งั รากลึกอยู่ ในจิตใจของ
ชาวบ้าน จนเกิดความเชือ่ ว่าเรือ่ งสังข์ทองเป็นเรือ่ งจริง และมีความข้องเกีย่ วกับสถานทีต่ า่ งๆ
เช่น ชาวจั งหวัดอุตรดิตถ์มีความเชื่อว่าเมืองทุ่งยั้ง เป็นเมืองของท้าวสามล เวียงเจ้าเงาะก็
เชื่อกันว่าเป็นเมืองของพระสังข์กับนางรจนา ที่มาอาศัยอยู่เพราะถูกท้าวสามลขับไล่ออกมา
จากเมืองทุ่งยั้ง
ทีอ่ ำ� เภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ก็มคี วามเชือ่ ว่าเป็นสถานทีต่ คี ลีของพระสังข์ จังหวัด
ชัยภูมิก็มีต�ำนานที่เล่าสืบกันมาว่า บริเวณพระธาตุบ้านแก้ง อ�ำเภอภูเขี ยว เป็นสถานที่ที่
พระสังข์ตีคลีกับพระอินทร์จนลูกคลีตกไปในหนองน�้ำ ต้องให้คนช่วยงมหาถึงสามหมื่นคน
ณ ที่นั้นจึงมีนามเรียกว่า หนองสามหมื่น ด้านทิศเหนือของหนองน�้ำนี้ มีลานหญ้าที่เชื่อ
ว่าเป็นสนามประลองการตีคลี ระหว่างพระสังข์กับพระอินทร์ นอกจากนี้ยังเชื่อว่ารูปสลัก
ชายกับหญิงที่หน้าผา บนผนังอุโมงค์ขนาดเล็ก ห่างจากบ้านแก้งไปทางทิศใต้ 9 กิโลเมตร
เป็นรูปเจ้าเงาะกับนางรจนา เส้นทางเดินไปยังอุโมงค์เป็นหลืบหินคดเคี้ยวเรียกชื่อว่า
ทางไปบ้านเจ้าเงาะ
บทที่ 7 นิทานพื้นบ้าน 125

เรื ่องย่อนิทานไทย สังข์ทอง


ท้าวยศวิ มลมีมเหสีชื่อนางจั นท์เทวี มีสนมเอกชื่อนางจั นทาเทวี พระองค์ไม่มี โอรส
ธิดา จึงบวงสรวงและรักษาศีลห้าเพื่อขอบุตร และประกาศแก่พระมเหสีกับนางสนมว่า
ถ้าใครมี โอรสก็จะมอบเมืองให้ครอง
อยูม่ านางจันท์เทวีทรงครรภ์ เทวบุตรจุตมิ าเป็นพระโอรสของนาง แต่ประสูตมิ าเป็น
หอยสังข์ นางจันทาเทวีเกิดความริษยา จึงติดสินบนโหรหลวงให้ทำ� นายว่า หอยสังข์จะท�ำให้
บ้านเมืองเกิดความหายนะ ท้าวยศวิ มลหลงเชื่อนางจั นทาเทวี จึงเนรเทศนางจั นท์เทวีและ
หอยสังข์ออกจากเมือง นางจั นท์เทวีพาหอยสังข์ไปอาศัยอยู่กับตายาย ช่วยตายายท�ำงาน
สารพั ดจนได้ 5 ปี พระโอรสในหอยสังข์ ก็แอบออกมาช่วยท�ำงาน เช่น หุงหาอาหาร ไล่ไก่
ไม่ ให้จิกข้าว เมื่อนางจั นท์เทวีทราบ ก็ทุบหอยสังข์เสีย
ฝ่ายนางจันทาเทวีได้วา่ จ้างให้แม่เฒ่าสุเมธาช่วยท�ำเสน่ห์ เพือ่ ทีท่ า้ วยศวิมลจะได้หลง
อยู่ ในมนต์สะกด และได้ยุยงให้ท้าวยศวิ มลไปจั บตัวพระสังข์มาประหาร ท้าวยศวิ มลจึงมี
บัญชาให้จับตัวพระสังข์มาถ่วงน�้ำ แต่ท้าวภุชงค์นาคราช เจ้าเมืองบาดาลได้ช่วยไว้ และน�ำ
ไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ก่อนจะส่งให้นางพั นธุรัตเลี้ยงดูต่อไป จนพระสังข์มีอายุได้ 15 ปี
วันหนึง่ นางพั นธุรัตได้ไปหาอาหาร พระสังข์ได้แอบไปเที่ยวเล่นที่หลังวัง และได้พบ
กับบ่อเงิน บ่อทอง รูปเงาะ เกือกทอง ไม้พลอง พระสังข์ก็ร้คู วามจริงว่า นางพั นธุรัตเป็น
ยักษ์ เมื่อพระสังข์พบโครงกระดูก จึงได้เตรียมแผนการหนีด้วยการลงไปชุบตัวในบ่อทอง
สวมรูปเงาะ กับเกือกทอง และขโมยไม้พลองเหาะหนี

เมื่อนางพั นธุรัตทราบว่าพระสังข์หนี ก็ออกตามหาจนพบพระสังข์อยู่บนเขาลูกหนึง่


จึงขอร้องให้พระสังข์ลงมา แต่พระสังข์กไ็ ม่ยอม นางพั นธุรัตรูว้ า่ ตนจะขาดใจตายแน่แล้ว จึง
เขียนมหาจินดามนตร์ที่ ใช้เรียกเนือ้ เรียกปลาได้ไว้ทกี่ อ้ นหิน แล้วนางก็ขาดใจตาย พระสังข์ได้
ลงมาท่องมหาจิ นดามนตร์จนจ�ำได้ และได้สวมรูปเงาะออกเดินทางต่อไป
126 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

พระสังข์เดินทางมาถึงเมืองสามล ซึ่งมีท้าวสามลและพระนางมณฑา
ปกครองเมือง ท้าวสามลและพระนางมณฑามีธิดา 7 องค์ พระธิดาองค์สุดท้อง
ชื่อ รจนา มีสิริโฉมเลิศล�้ำกว่าธิดาทุกองค์ วันหนึง่ ท้าวสามลได้จัดให้มีพิธีเสี่ยง
มาลัยเลือกคู่ ให้ธิดาทั ้งเจ็ด ซึ่งธิดาทั ้งหกต่างเสี่ยงมาลัยได้คู่ครองทั ้งสิ้น เว้น
แต่นางรจนาทีม่ ไิ ด้เลือกเจ้าชายองค์ ใดเป็นคูค่ รอง ท้าวสามลจึงได้ ให้ทหารไป
น�ำตัวพระสังข์ ในร่างเจ้าเงาะ ซึง่ เป็นชายเพียงคนเดียวทีเ่ หลือในเมืองสามล
มาให้นางรจนาดูตัว ฝ่ายนางรจนาเห็นรูปทองภายในของเจ้าเงาะ ก็เสี่ยง
พวงมาลัยให้เจ้าเงาะ ท�ำให้ท้าวสามลโกรธมาก เนรเทศนางรจนาไปอยู่ที่
กระท่อมปลายนากับเจ้าเงาะ
กล่าวถึงพระอินทร์ อาสน์ทปี่ ระทับของพระองค์เกิดแข็งกระด้าง เป็นสัญญาณให้ทราบ
ว่ามีผมู้ บี ญ
ุ ก�ำลังเดือดร้อน จึงส่องทิพยเนตรลงไป พบเหตุการณ์ ในเมืองสามล จึงแปลงกาย
เป็นกษัตริยย์ กทัพไปล้อมเมืองสามล ท้าให้ทา้ วสามลออกมาแข่งตีคลี หากท้าวสามลแพ้กจ็ ะ
ยึดเมืองเสีย ท้าวสามลส่งหกเขยไปแข่งตีคลีกบั พระอินทร์ แต่กแ็ พ้ไม่เป็นท่า จึงจ�ำต้องเรียก
เจ้าเงาะให้มาช่วยตีคลี ซึง่ นางรจนาได้ขอร้องให้สามีชว่ ยถอดรูปเงาะมาช่วยตีคลี เจ้าเงาะถูก
ขอร้องจนใจอ่อนยอมถอดรูปเป็นพระสังข์ทอง ใส่เกือกแก้วเหาะขึน้ ไปตีคลีกบั พระอินทร์จน
ชนะ แล้วพระอินทร์ก็กลับไปบนสวรรค์
หลังจากเสร็จภารกิจที่เมืองสามลแล้ว พระอินทร์ได้เข้าฝันท้าวยศวิ มล และเปิดโปง
ความชั่วของนางจั นทาเทวีผู้เป็นสนมเอก พร้อมกับสั่งให้ท้าวยศวิ มลไปรับนางจั นท์เทวีกับ
พระสังข์มาอยู่ด้วยกันดังเดิม ท้าวยศวิ มลจึงยกขบวนเสด็จไปรับพระนางจั นท์เทวีกลับมา
และพากันเดินทางไปยังเมืองสามลเมื่อตามหาพระสังข์
ท้าวยศวิ มลและนางจั นท์เทวีปลอมตัวเป็นสามัญชนเข้าไปอยู่ในวัง โดยท้าวยศวิ มล
เข้าไปสมัครเป็นช่างสานกระบุง ตะกร้า ส่วนนางจั นท์เทวีเข้าไปสมัครเป็นแม่ครัว วันหนึง่
นางจั นท์เทวีปรุงแกงฟักถวายพระสังข์ โดยนางจั นท์เทวีได้แกะสลักชิ้นฟักเจ็ดชิ้น เป็น
เรื่องราวของพระสังข์ตั้งแต่เยาว์วัย ท�ำให้พระสังข์ร้วู ่าพระมารดาตามมาแล้ว จึงมาที่ห้อง
ครัวและได้พบกับพระมารดาที่พลัดพรากจากกันไปนานอีกครั้ง หลังจากนั้นท้าวยศวิ มล
นางจั นท์เทวี พระสังข์ และนางรจนาก็เดินทางกลับเมืองยศวิ มล ท้าวยศวิ มลได้สั่งประหาร
นางจั นทาเทวี และสละราชสมบัติให้พระสังข์ ได้ครองราชย์สืบต่อมา
บทที่ 7 นิทานพื้นบ้าน 127

7. คุณค่าและความส�ำคัญของนิทานพื้นบ้าน
นิทานพื้นบ้านเป็นเรื่องที่เล่าสู่กันฟังตามท้องถิ่นต่างๆ ทั ่วทุกภาค และมีเนื้อหาที่
หลากหลาย เช่น เล่าความเป็นมาของสถานที่ กล่าวถึงสิง่ มหัศจรรย์ เล่าเรือ่ งผี เล่าเรือ่ งตลก
ซึง่ เนือ้ หาทีห่ ลากหลายนี้ ล้วนมีคณ ุ ค่าและมีความส�ำคัญกับชีวิตของคนเราในหลายด้าน เช่น
1 ให้ความเพลิดเพลิน ในโลกของความเป็นจริง เราอาจมีความทุกข์หรือปัญหา
ต่างๆ มากมาย แต่ ในโลกของนิทานนัน้ ทุกสิง่ ทุกอย่างย่อมเป็นไปตามจิ นตนาการของเรา
นิทานจึงท�ำให้เราเพลิดเพลินไปกับความมหัศจรรย์ต่างๆ ที่เราท�ำไม่ได้ ในชีวิตจริง เช่น
เหาะเหินเดินอากาศ เวทมนตร์ ของวิ เศษ หรือการแปลงกาย
2 ให้ก�ำลังใจในการด�ำเนินชีวิต ตัวละครเอกในนิทานหลายเรื่องมักประสบความ
ทุกข์ยากล�ำบาก แต่ก็จะได้รับความสุขสบายในที่สุด เช่น นิทานท้าวก�ำพร้าของชาวอีสาน
ที่ตัวละครเอกเป็นลูกก�ำพร้า ยากจนและอยู่อย่างอ้างว้าง ไร้ญาติขาดมิตร แต่ท้ายสุดก็จะ
มี โชคหรือได้รับความช่วยเหลือให้รำ�่ รวยหรือได้เป็นเจ้าเมือง ดังนัน้ นิทานท้าวก�ำพร้าจึงเป็น
นิทานที่ ให้ก�ำลังใจในการด�ำเนินชีวิตแก่ผู้มีความทุกข์ได้เป็นอย่างดี
3 ให้คำ� อธิบายเกีย่ วกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือทีม่ าของสถานทีแ่ ละสิง่ ต่างๆ
ในท้องถิ่น เช่น เรื่องเมขลากับรามสูร อธิบายการเกิดฟ้าแลบฟ้าร้อง หรือนิทานเรื่อง
พญากงพญาพาน ที่อธิบายเรื่องการสร้างพระปฐมเจดี ย์ รวมถึงนิทานที่อธิบายถึงการเกิด
เกาะ แก่ง ภูเขา แหล่งน�้ำ นิทานเหล่านี้ท�ำให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวอย่าง
สนุกสนานมากขึ้น ที่ส�ำคัญคือ ท�ำให้เกิดความเข้าใจและผูกพั นกับท้องถิ่น เห็นคุณค่าและ
ความส�ำคัญของท้องถิ่นตน ก่อให้เกิดความภาคภูมิ ใจในท้องถิ่น
128 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

4 ให้ความส�ำคัญแก่ วรี บุรษุ ประจ�ำถิน่ หรื อประจ�ำชาติ เช่น นิทานเรือ่ งพระร่วงของ


ชาวสุโขทัย กล่าวถึงพระร่วงซึง่ เป็นผูน้ ำ� ของกลุม่ คนไทยว่า เป็นผูม้ วี าจาสิทธิ์ นิทานประเภท
นีท้ ำ� ให้รจู้ ักวีรบุรุษคนส�ำคัญทีค่ วรแก่การยกย่องเชิดชู ก่อให้เกิดความภาคภูมิ ใจในความเป็น
คนไทย
5 ให้ข้อคิดและคติ ในการด�ำเนินชีวิต จะเห็นได้ว่านิทานมักสอนเรื่องกฎแห่ง
กรรมที่ว่า “ท�ำดี ได้ดี ท�ำชั่วได้ชั่ว” เช่น เรื่องปลาบู่ทองและเรื่องโสนน้อยเรือนงาม ทั ้งสอง
เรื่องนี้นางเอกเป็นคนดี ถูกกลั่นแกล้งอยู่เสมอ แต่สุดท้ายก็ผ่านพ้นอุปสรรคและได้พบกับ
ความสุข สมดังค�ำกล่าวที่ว่า “คนดี ตกน�้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้” ส่วนคนที่ท�ำชั่วก็ต้องถูก
ลงโทษ (เก็บความจากส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2554 : 142)

8. บทสรุป
นิทานพื้นบ้านของไทยไม่ว่าจะเป็นนิทานของภาคใด ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ ให้ความ
สนุกสนานเพลิดเพลิน ทั ้งยังให้ความรู้ความเข้าใจสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นด้วย
การเล่านิทานสู่กันฟังเป็นสิ่งที่ท�ำให้เกิดความบันเทิงใจ หลังจากที่ผู้คนได้ท�ำงานมา
แล้วทั ้งวัน สมัยโบราณยังไม่มีการแสวงหาความบันเทิงเช่นเดี ยวกับปัจจุบัน กิจกรรมการ
เล่านิทาน จึงเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันอยู่ในชุมชนหลายแห่ง และเป็นที่นยิ มกัน ในกลุ่มคนที่อยู่
ในสังคมเดี ยวกัน พูดภาษาเดี ยวกัน นับถือศาสนาเดี ยวกัน เพราะคนเหล่านี้จะมีความรู้สึก
เป็นอันหนึง่ อันเดี ยวกัน
กิจกรรมการเล่านิทานเป็นการใช้เวลาว่างทีม่ คี ณ
ุ ค่า ผูท้ มี่ สี ว่ นร่วมในกิจกรรมจะรูส้ กึ
ว่าได้เข้ารวมตัวกับกลุ่ม ท�ำให้เกิดความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย มีความรัก ความผูกพั น และ
มีความสามัคคีกัน
บทที่ 7 นิทานพื้นบ้าน 129

ตามปกติคนเรามักจะได้รับการถ่ายทอดความรูต้ า่ งๆ จากผู้ ใหญ่ ในครอบครัว ผู้ ใหญ่


จะชอบสอนเด็กๆ ให้ทำ� ความดีและมีเหตุผล การเล่านิทานจึงเป็นวิธกี ารสัง่ สอนอย่างหนึง่ ที่
ท�ำให้ผู้ฟังเกิดปัญญา นิทานบางเรื่องก็ช่วยฝึกสมอง เช่น นิทานเกี่ยวกับปริศนาหรือนิทาน
ที่ตั้งปัญหาให้ตอบ นิทานจ�ำนวนมากช่วยแนะเรื่องการด�ำเนินชีวิตและการแก้ปัญหาชีวิต
แนะเรื่องศีลธรรมจรรยา ตลอดจนความรู้หลายๆ ด้าน
นิทานพื้นบ้านยังมีความสัมพั นธ์กับศาสนาและศิลปะอย่างเห็นได้ชัด เช่น จิ ตรกรรม
ฝาผนังตามวัดต่างๆ มักวาดภาพเป็นชาดกและยังมีการสลักลวดลาย โดยได้แนวคิดจาก
นิทานชาดกเช่นกัน
ปัจจุบันนิทานพื้นบ้าน เผยแพร่ไปด้วยการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มแบบต่างๆ ซึ่งบางเล่ม
ก็มภี าพประกอบ บางเล่มก็ไม่มภี าพประกอบ บางเล่มก็พมิ พ์เป็นนิทานภาพทัง้ เรือ่ ง บางเรือ่ ง
ก็มีผู้น�ำมาสร้างเป็นละครโทรทั ศน์ ภาพยนตร์ การ์ตูน ซึ่งท�ำให้คนไทยรู้จักและเห็น
คุณค่าของนิทานพื้นบ้านกันมากขึ้น (สรุปความจาก ประพนธ์ เรืองณรงค์ และเสาวลักษณ์
อนันตศานต์, 2545 : 66)
บรรณานุกรม 7

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2518). คติชาวบ้าน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สว่ นท้องถิน่ .


ประคอง นิมมานเหมินทร์. (2549). นิทานพื้นบ้าน ใน สารานุกรมไทยส�ำหรับ
เยาวชน โดยพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฉบับเสริ ม
การเรี ยนรู้ เล่ม 4. กรุงเทพมหานคร : โครงการสารานุกรมไทยส�ำหรับ
เยาวชน โดยพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.
ประพนธ์ เรืองณรงค์ และเสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2545). ภูมปิ ญ
ั ญาทางภาษา.
กรุงเทพมหานคร : บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จ�ำกัด.
ฟองจั นทร์ สุขยิ่ง และคณะ. (ม.ป.ป.). หนังสือเรี ยน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย
วรรณคดีและวรรณกรรม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : บริษัท
อักษรเจริญทั ศน์ อจท. จ�ำกัด.
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). หนังสือเรี ยน รายวิชา
พื้นฐาน ภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
โคลงภาพ
พระราชพงศาวดาร
ตอน
8
พ ร ะ สุ ริ โ ย ทั ย ข า ด ค อ ช ้ า ง

1. ประวัติความเป็นมา
โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พระสุริโยทั ยขาดคอช้างนี้ เป็นตอนหนึง่
ในหนังสือโคลงภาพพระราชพงศาวดาร เป็นโคลงบรรยายภาพที่ 10 แผ่นดินสมเด็จ
พระมหาจั กรพรรดิ กล่าวถึงวีรกรรมของพระสุริโยทั ยที่แสดงให้ปรากฏออกมาแก่
สายตาชาวไทย คือ ความกตัญญูและความเสียสละ ในการที่ ได้ทรงปกป้องสมเด็จ
พระมหาจั กรพรรดิ ให้รอดพ้นจากเงื้อมมือของข้าศึกด้วยการอุทิศชีวิตของพระองค์
เป็นราชพลี

2. ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั (รัชกาลที่ 5) ทรงเป็นพระราชโอรส
ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ
เมื่อ พ.ศ. 2411 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 รวมระยะเวลา
ที่ทรงครองราชย์ได้ 42 ปี
132 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์นั้น ประเทศไทยก�ำลังอยู่ในระหว่างสมัยเก่ากับ
สมัยใหม่ การปกครองบ้านเมืองก็ยังไม่เป็นระเบี ยบเรียบร้อยเหมาะแก่กาลสมัย จึงได้ทรง
พระราชด�ำริแก้ไขการปกครองเสียใหม่ โดยแยกงานออกเป็นกระทรวงต่างๆ 12 กระทรวง
และโดยเหตุที่พระองค์เคยเสด็จต่างประเทศหลายครั้ง ท�ำให้ทรงรู้เห็นความเจริญด้าน
ต่างๆ ของประเทศนั้นๆ จึงทรงเห็นว่าน่าจะจั ดให้มีขึ้นในประเทศไทยบ้าง เช่น การรถไฟ
การไปรษณีย์ โทรเลข การสุขาภิบาล เป็นต้น การใดที่มีอยู่แล้วและทรงเห็นว่าควรจั ดให้ดี
ยิ่งขึ้นกว่าเก่าก็ โปรดให้แก้ไข เช่น การศึกษา การทหาร เป็นต้น ส่วนพระราชกรณียกิจที่
ชาวไทยจดจ�ำได้ติดตรึ งใจก็คือ การเลิกทาส ซึ่งท�ำให้พระองค์ได้รับการถวายพระสมัญญา
ว่า “พระปิยมหาราช”

ส่วนทางด้านวรรณกรรมนัน้ ปรากฏว่าทรงมีพระปรีชาสามารถเป็นอย่างยิง่ พระองค์


ได้ทรงนิพนธ์วรรณกรรมไว้ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ซึ่งจะหากวีอื่นๆ ที่มีความสามารถ
แบบพระองค์ได้ยาก หนังสือที่พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นร้อยแก้ว แบ่งออกได้ 4
ประเภท คือ พระบรมราชาธิบาย พระบรมราโชวาท จดหมายเหตุเสด็จประพาส และที่ทรง
พระราชนิพนธ์เป็นอย่างถ้อยค�ำของผู้อื่น
พระราชนิพนธ์ร้อยแก้วทั ้ง 4 ประเภทนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงใช้พระปรีชาสามารถในการใช้โวหารเรียบเรียงได้ทกุ อย่าง มีบรรยายโวหาร สาธกโวหาร
พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เรือ่ งที่ ได้รับการยกย่องว่า มีพรรณนาโวหารดีเยีย่ มก็คอื
พระราชพิธี 12 เดือน และไกลบ้าน ส่วนพระบรมราโชวาททีท่ รงพระราชทานให้พระราชโอรส
ครั้งไปศึกษายังต่างประเทศนั้นก็นับได้ว่า มีเทศนาโวหารที่ดีเยี่ยม ส�ำหรับพระราชนิพนธ์ที่
เป็นท�ำนองถ้อยค�ำของผู้อื่นก็ฟังดูไม่ขัดหู เช่น เรื่องไดอารี่ซึมทราบ และตามเสด็จประพาส
ไทรโยค เป็นต้น
ส่วนพระราชนิพนธ์ประเภทร้อยกรองก็มีอยู่หลายเรื่องและหลายประเภท ที่เด่น
ที่สุดประเภทบทละครนั้นได้แก่เรื่อง เงาะป่า บทละครประเภทล้อเลียน ได้แก่ วงศ์เทวราช
ประเภทลิลิต ได้แก่ ลิลิตนิทราชาคริต นอกจากนี้ยังมีโคลงสุภาษิตต่างๆ หลายบท
บทที่ 8 โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พระสุริโยทัยขาดคอช้าง 133

3. เนื้อเรื ่อง
พระเจ้าบุเรงนองได้ยกกองทหารจ�ำนวนสามแสนนาย เพือ่ มาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จ
พระมหาจักรพรรดิ กษัตริยก์ รุงศรีอยุธยาในขณะนัน้ ได้ทรงมีพระบัญชาให้สร้างค่ายคู ประตู
หอรบ เอาไว้ ให้มั่น เพื่อรับศึก และทรงมีพระราชด�ำริที่จะเสด็จออกไปยังสนามรบ เพื่อดู
กองก�ำลังของฝ่ายข้าศึกว่ามีมากน้อยเพี ยงใด
ฝ่ายพระสุริโยทั ย พระอัครมเหสี ทรงปลอมพระองค์เป็นชาย ทรงเครื่องยุทธพิชัย
แบบพระมหาอุปราช ประทั บช้างศึก เข้าร่วมไปกับขบวนของสมเด็จพระมหาจั กรพรรดิด้วย
ครั้นถึงสนามรบก็เกิดการปะทะกันระหว่างกองทั พกรุงศรีอยุธยาและกองทั พพม่า
ซึ่งสมเด็จพระมหาจั กรพรรดิทรงชนช้างกับพระเจ้าแปร แต่สมเด็จพระมหาจั กรพรรดิเสียที
จึงขับช้างหนีข้าศึก พระเจ้าแปรเห็นได้ โอกาสจึงรีบขับช้างตาม
ฝ่ายสมเด็จพระสุริโยทั ยเห็นพระราชสวามีเสียทีแก่ข้าศึก ด้วยความกตัญญูกตเวที
ที่ทรงมีต่อสมเด็จพระมหาจั กรพรรดิ พระนางจึงไสช้างเข้าขวาง จนถูกพระเจ้าแปรฟัน
ด้วยพระแสงของ้าวขาดสะพายแล่ง สิ้นพระชนม์ทันที ฝ่ายพระราชโอรส (พระราเมศวรกับ
พระมหินทร์) ก็รีบกันพระศพคืนสู่พระนคร

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พระสุริโยทัยขาดคอช้าง


กับข้อเท็จจริ งทางประวัติศาสตร์
เมื่อน�ำข้อมูลจากวรรณคดี มาเทียบกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ คือเหตุการณ์
พระสุริโยทั ยขาดคอช้าง จะเห็นได้ว่าความในวรรณคดี และความในประวัติศาสตร์นั้น
ต่างกัน กล่าวคือ ในวรรณคดี บอกว่าแม่ทัพพม่าที่น�ำกองทั พมาคือ พระเจ้าบุเรงนอง แต่ ใน
ประวัตศิ าสตร์กลับเป็นพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ซึง่ ข้อมูลทางประวัตศิ าสตร์มคี วามน่าเชือ่ ถือกว่า
และเป็นที่ยอมรับกันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะได้กล่าวถึง ดังนี้
134 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

หลังจากที่สมเด็จพระมหาจั กรพรรดิ ครองราชสมบัติได้ 9 เดือน พระเจ้าหงสาวดี


ตะเบงชะเวตี้ ได้ยกกองทั พใหญ่จ�ำนวนสามสิบหมื่น ช้างเครื่องเจ็ดร้อย ม้าสามพั น โดยมี
พระมหาอุปราชาบุเรงนองเป็นกองหน้า พระเจ้าแปรเป็นเกียกกาย พระยาพะสิมเป็นกอง
หลัง ยกพลเข้ามาทางด่านเจดี ย์สามองค์ ทั พของพระมหาอุปราชาบุเรงนองตั้งค่ายที่ต�ำบล
เพนียด ทั พพระเจ้าแปรตั้งค่ายที่ต�ำบลบ้านใหม่มะขามหย่อง ทั พพระยาพะสิมตั้งค่ายที่
ต�ำบลทุ่งประเชต (พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, 2548 : 690)
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงทราบข่าวศึก จึงให้จัดก�ำลังป้องกันพระนคร พร้อมกับมี
พระราชสารไปถึงสมเด็จพระมหาธรรมราชา ขอกองทัพหัวเมืองเหนือ ให้ยกมาช่วยตีกระหนาบ
พม่า และให้เจ้าพระยาจั กรีคุมไพร่พลไปตั้งค่ายรับข้าศึกที่ทุ่งลุมพลี เจ้าพระยามหาเสนา
ตั้งค่ายที่บ้านดอกไม้ ป้อมท้องนา ทุ่งหันตรา พระยาพระคลังตั้งค่ายที่ป้อมท้ายคู

วันอาทิตย์ขึ้น 6 ค�่ำ เดือน 4 พ.ศ. 2091 สมเด็จพระมหาจั กรพรรดิ พร้อมด้วย


สมเด็จพระสุริโยทั ย พระอัครมเหสี ได้ปลอมพระองค์เป็นชาย ทรงเครื่องยุทธพิชัยเยี่ยง
พระมหาอุปราช เสด็จพร้อมด้วยพระราเมศวร พระมหินทร์ และพระราชบุตรี ชื่อ พระบรม
ดิลก (ปลอมองค์เป็นชาย) เสด็จยกกองทั พกรุงศรีอยุธยา ไปดูก�ำลังข้าศึก ณ ทุ่งภูเขาทอง
ในการนีก้ องทัพกรุงศรีอยุธยาได้ปะทะกับกองทัพพม่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรง
ชนช้างกับพระเจ้าแปร แต่เสียทีจงึ ทรงขับช้างหนีขา้ ศึก พระเจ้าแปรเห็นเป็นโอกาสจึงไสช้าง
ไล่ตาม ฝ่ายสมเด็จพระสุริโยทั ยเห็นพระราชสวามีก�ำลังจะเสียทีแก่ข้าศึก ด้วยความกตัญญู
ต่อพระราชสวามี พระนางจึงไสช้างเข้าขวาง จนถูกพระเจ้าแปรฟันด้วยพระแสงของ้าวขาด
สะพายแล่ง สิ้นพระชนม์ทันที ส่วนพระบรมดิลกนั้นก็สิ้นพระชนม์ด้วย ฝ่ายพระราเมศวร
และพระมหินทร์ จึงรีบเข้ากันพระศพพระราชมารดา และพระพี ่นางกลับเข้าพระนคร
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ โปรดให้นำ� พระบรมศพของสมเด็จพระสุริโยทัยมาประดิษฐาน
ไว้ ณ บริเวณสวนหลวง ซึ่งอยู่ภายในก�ำแพงเมืองด้านตะวันตกริมแม่น�้ำเจ้าพระยา เมื่อ
เสร็จสิน้ การศึกแล้ว สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจงึ โปรดให้ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จ
พระสุริโยทั ย ณ สวนหลวงนั้น และต่อมาโปรดให้สถาปนาสถานที่ส�ำหรับถวายพระเพลิง
พระบรมศพสมเด็จพระสุริโยทั ยให้เป็นพระอาราม มีนามว่า วัดสบสวรรค์
บทที่ 8 โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พระสุริโยทัยขาดคอช้าง 135

4. คุณค่าด้านวรรณศิลป์

4.1 การสรรค�ำ
ในการแต่งวรรณคดี เรื่องใดๆ ก็ตาม กวีจะไม่น�ำค�ำพื้นๆ ธรรมดาๆ มาใช ้ ในงาน
ประพั นธ์ของตน แต่กวีจะเลือกสรรค�ำที่ ไพเราะและมีความหมายที่กวีเห็นว่าเหมาะสมมา
ใช้ ดังตัวอย่าง เช่น
ค�ำเรียกพระมหากษัตริย์ : จอมรามัญ ภูวดล ขุนมอญ
ค�ำเรียกสมเด็จพระสุริโยทั ย : นงคราญองค์เอกแก้ว กระษัตรีย์
ค�ำเรียกช้าง : คชาธาร คช สาร คเชนทร

4.2 เสียงเสนาะ
4.2.1 สัมผัส มีทั้งสัมผัสนอกและสัมผัสใน ดังนี้
สัมผัสนอก หมายถึง สัมผัสนอกวรรคหรือระหว่างวรรคโดยลักษณะเสียงสัมผัสเป็น
เสียงสระ ดังตัวอย่าง

“บุเรงนองนามราชเจ้า จอมรา- มัญเฮย


ยกพยุหแสนยา ยิ่งแกล้ว
มอญม่านประมวลมา สามสิบ หมื่นแฮ
ถึงอยุธเยศแล้ว หยุดใกล้นครา”

สัมผัสใน คือ สัมผัสในวรรคเดี ยวกัน สัมผัสในมีลักษณะเสียงสัมผัสได้ 2 แบบ คือ


มีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ดังตัวอย่าง

“พลไกรกองหน้าเร้า โรมรัน กันเฮย


ช้างพระเจ้าแปรประจั ญ คชไท้
สารทรงซวดเซผัน หลังแล่น เตลิดแฮ
เตลงขับคชไล่ ใกล้ หวิดท้ายคชาธาร”
136 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

4.2.2 ลีลาจังหวะ เห็นได้จากโคลงบทสุดท้าย คือ

“ขุนมอญร่อนง้าวฟาด ฉาดฉะ
ขาดแล่งตราบอุระ หรุบดิ้น
โอรสรีบกันพระ ศพสู่ นครแฮ
สูญชีพไป่สูญสิ้น พจน์ผสู้ รรเสริญ”

จากโคลงข้างต้นเราจะสัมผัสได้ถึงเสียงอาวุธมีคม ที่กระทบเข้ากับร่างกายดัง “ฉะ”


ถูกเจ้าของร่างสิ้นชีพทั นที จากนั้นเราจะเห็นอาการตกใจของพระราชโอรสที่รีบเร่งมากัน
พระศพ แล้วจบลงด้วยการท�ำเสียงที่อ่อนเนิบของกวี ที่ต้องการแสดงให้เห็นว่าผู้ท�ำความ
ดี ย่อมมีผู้สรรเสริญ

4.3 ความหมายอันลึกซึ้งกินใจ
เกิดจากกลวิ ธีการแต่ง ดังต่อไปนี้
4.3.1 การพรรณนาอย่างตรงไปตรงมา คือ การใช้ค�ำที่เข้าใจง่าย อ่านแล้ว
รับรู้เรื่องราวได้ทันที เช่น

“บุเรงนองนามราชเจ้า จอมรา-มัญเฮย
ยกพยุหแสนยา ยิ่งแกล้ว
มอญม่านประมวลมา สามสิบ หมื่นแฮ
ถึงอยุธเยศแล้ว หยุดใกล้นครา”

4.3.2 การพรรณนาอย่างต้องตีความ เพราะถ้าไม่รคู้ วามหมายทีแ่ ท้จริงของค�ำก็


อาจท�ำให้ไม่เข้าใจและตีความผิ ดเพี ้ยนไป ซึ่งโคลงที่ต้องตีความให้ดี คือ โคลงบทที่ 1 และ
โคลงบทที่ 4 ตัวอย่างจากโคลงบทที่ 4
บทที่ 8 โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พระสุริโยทัยขาดคอช้าง 137

“พลไกรกองหน้าเร้า โรมรัน กันเฮย


ช้างพระเจ้าแปรประจั ญ คชไท้
สารทรงซวดเซผัน หลังแล่น เตลิดแฮ
เตลงขับคชไล่ ใกล้ หวิดท้ายคชาธาร”

ค�ำที่พิมพ์ตัวหนาคือค�ำที่ต้องตีความให้ถูก เพราะถ้าอ่านไปโดยไม่ร้คู วามหมายของ


ค�ำก็จะท�ำให้เสียรสวรรณคดี ไป ค�ำว่า เตลง หมายถึง มอญ แต่เราเข้าใจกันว่าหมายถึง
พม่า เพราะเราท�ำศึกกับพม่า แต่ก็มิได้เป็นเช่นนั้น เหตุที่กวี ใช้ค�ำว่า เตลง อาจเป็นเพราะ
กวีคงกล่าวโดยรวม เพราะกษัตริย์พม่าครองเมืองหงสาวดี ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของมอญ
ดังนั้นค�ำว่า เตลง ในที่น้ี จึงหมายถึงพม่าทั ้งหมด
4.3.3 การบรรยายให้เห็นนาฏการ คือ การบรรยายให้เห็นถึงการเคลือ่ นไหวทัง้
ทางร่างกายและอารมณ์ ดังตัวอย่างจากโคลงบทที่ 4 อีกเช่นกัน

“พลไกรกองหน้าเร้า โรมรัน กันเฮย


ช้างพระเจ้าแปรประจั ญ คชไท้
สารทรงซวดเซผัน หลังแล่น เตลิดแฮ
เตลงขับคชไล่ ใกล้ หวิดท้ายคชาธาร”

โคลงบทนี้แสดงให้เห็นถึงการต่อสู่กันอย่างดุเดือดของกองทั พกรุงศรีอยุธยาและ
กองทั พพม่า ที่ต่างฝ่ายต่างมุ่งเอาชัยชนะกัน
4.3.4 การเสนอความคิด ในการแต่งวรรณคดีนนั้ กวีจะไม่พรรณนาเนือ้ เรือ่ งเพียง
อย่างเดี ยว แต่มักจะสอดแทรกแนวคิดอะไรสักอย่างหนึง่ ลงไปด้วย ดังเช่นโคลงบทสุดท้าย
ที่กวีต้องการชี้ ให้เห็นว่าการท�ำความดี ย่อมมีผู้สรรเสริญ

“ขุนมอญร่อนง้าวฟาด ฉาดฉะ
ขาดแล่งตราบอุระ หรุบดิ้น
โอรสรีบกันพระ ศพสู่ นครแฮ
สูญชีพไป่สูญสิ้น พจน์ผู้สรรเสริญ”
138 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

4.3.5 การสะท้อนความรูส้ กึ และการสร้างบรรยากาศ ปรากฏในโคลงบทที่ 5


ดังนี้

“นงคราญองค์เอกแก้ว กระษัตรีย์
มานมนัสกัตเวที ยิ่งล�้ำ
เกรงพระราชสามี มลายพระ-ชนม์เฮย
ขับคเชนทรเข่นค�้ำ สะอึกสู้ดัสกร”

โคลงบทนี้แสดงให้เราเห็นถึงความรู้สึกของสมเด็จพระสุริโยทั ยในขณะนั้น ที่เกรง


ว่าพระราชสวามีจะสิ้นพระชนม์ พระนางจึงรีบขับช้างเข้าป้องกันพระราชสวามี โดยไม่คิดถึง
อันตรายที่จะเกิดแก่พระองค์เลย
บรรณานุกรม 8

ประทีป วาทิกทินกร. (2555). ร้อยกรอง. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร :


ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. (2548). ประวัติศาสตร์ไทย ฉบับเสริ มการเรี ยนรู้.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
วันชนะ ทองค�ำเภา. (2554). ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชา
ในวรรณกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์แห่งจุ ฬาลงกรณ์
มหาวิ ทยาลัย.
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). หนังสือเรี ยน รายวิชา
พื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สิทธา พินจิ ภูวดล และนิตยา กาญจนะวรรณ. (2520). ความรู้ทั่วไปทาง
วรรณกรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์ดวงกมล.
โคลงภาพ
พระราชพงศาวดาร
ตอน
พั น ท้ า ย น ร สิ ง ห์ ถ ว า ย ชี วิ ต
9
1. ประวัติความเป็นมา
โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พั นท้ายนรสิงห์ถวายชี วิต เป็นโคลงบรรยาย
ภาพที่ 56 แผ่นดินพระเจ้าเสือ กล่าวถึงวีรกรรมของพั นท้ายนรสิงห์ นายท้ายเรือ
พระที่นัง่ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีของข้าราชการผู้มีความรับผิ ดชอบสูง โดยยอมสละชีวิต
เพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย

2. ประวัติผู้แต่ง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า
พระองค์เจ้าวรวรรณากร เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาเขี ยน ประสูติเมื่อวันที่ 20 พฤศจิ กายน พ.ศ. 2404 ทรงเข้า
รับการศึกษาชั้นต้นกับคุณปานและคุณแสง ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาทรงศึกษา
ภาษาบาลีและไวยากรณ์ไทยกับพระยาปริยตั ธิ รรมธาดา (เปีย่ ม) และทรงศึกษาภาษา
อังกฤษกับนายฟรานซิส ยอร์ช แปตเตอร์สัน ในกรมทหารมหาดเล็ก พระองค์ทรง
เป็นผูร้ อบรูด้ า้ นอักษรศาสตร์ ทัง้ นีเ้ พราะทรงศึกษาค้นคว้าภาษาไทยและภาษาบาลี
ชั้นสูงสมัยผนวชเป็นภิกษุ จึงท�ำให้ทรงแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ได้เป็นอย่างดี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพั นธ์พงศ์ ทรงเป็นที่ร้จู ั กแพร่หลาย
ในด้านกวีนพิ นธ์และบทละคร (ละครร้อง ละครร�ำ) ที่ทรงจั ดแสดงขึ้นในคณะละคร
ปรีดาลัย ทั ้งนี้เพราะทรงสืบเชื้อศิลปินมาจากเจ้าจอมมารดาเขี ยน ซึ่งเคยเป็นละคร
ที่มีชื่อเสียงสมัยรัชกาลที่ 4
142 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ละครในวังหลวงนั้น กล่าวกันว่ามีการฟื้นฟูกันขึ้นอย่างสูงสุดในสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และกิจการละครหลวงได้ยืนยาวมาจนถึงสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และได้มีโอกาสแสดงถวายต่อหน้า
พระพั กตร์เป็นครั้งใหญ่ โดยแสดงเรื่องอิเหนา ในคราวเสด็จกลับจากประพาสยุโรป เมื่อ
วันที่ 7 กุมภาพั นธ์ พ.ศ. 2440 ต่อมาตัวละครสมัยรัชกาลที่ 4 ก็ได้เป็นครูละครฝึกสอนตัว
ละครในราชส�ำนักอีกทอดหนึง่
ละครปรีดาลัยของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพั นธ์พงศ์ เริ่มมีชื่อเสียง
ในรัชกาลที่ 5 ประมาณ พ.ศ. 2450 ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยูห่ วั เสด็จกลับจากประพาสยุโรปแล้ว ละครเรือ่ งแรกทีม่ ี ชอื่ มากทีส่ ดุ คือเรือ่ ง พระลอ ต่อมาก็
แสดงเรื่องเจ้าพระยาจั กรีไปตีกรุงกัมพูชา และสาวเครือฟ้า ที่มีคนติดกันทั ่วบ้านทั ่วเมือง
ชี วิตในทางราชการของพระองค์เริม่ ขึน้ เมือ่ ทรงมีพระชนมายุได้ 28 พรรษา โดยทรงได้
รับการสถาปนาให้ทรงกรม เป็นกรมหมืน่ นราธิปประพั นธ์พงศ์ และเป็นรองเสนาบดีกระทรวง
พระคลังมหาสมบัติ และทรงรับราชการเรื่อยมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) จึงได้รับการเลื่อนกรมให้เป็นกรมพระ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพั นธ์พงศ์ ทรงพระประชวร และสิน้ พระชนม์
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2474 สิริรวมพระชนมายุได้ 70 พรรษา

3. เนื้อเรื ่อง
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) แห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จพระราชด�ำเนินโดย
กระบวนพยุหยาตราชลมารค เพื่อทรงปลา ณ บริเวณปากน�้ำสาครบุรี โดยเรือพระที่นัง่
เอกไชย ครั้นเรือพระที่นัง่ เอกไชยล่วงเข้าคลองโคกขามซึ่งเป็นคลองที่คดเคี้ยว ท�ำให้เรือ
พระทีน่ งั่ เอกไชยชนเข้ากับกิง่ ไม้ ใหญ่จนโขนเรือหักตกน�ำ้ พั นท้ายนรสิงห์นายท้ายเรือพระทีน่ งั่
จึงกราบทูลพระเจ้าเสือ ให้ประหารชีวิตตนตามกฎมณเฑียรบาล แต่พระเจ้าเสือพระราชทาน
อภัยโทษให้ และทรงลดหย่อนโทษด้วยการให้ประหารหุ่นแทน แต่พันท้ายนรสิงห์ก็ยืนยัน
ขอรับโทษตามประเพณี เพื่อรักษาพระเกียรติยศของพระเจ้าเสือ และเพื่อรักษาไว้ซึ่งความ
ศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายบ้านเมือง พระเจ้าเสือทนการรบเร้าอันสมเหตุสมผลของพั นท้าย
นรสิงห์ไม่ไหว จึงรับสั่งให้ประหารชี วิ ตพั นท้ายนรสิงห์ด้วยความจ�ำพระทั ย จากนั้นจึงทรง
ให้ตั้งศาลขึ้นยังที่ประหารพั นท้ายนรสิงห์ แล้วเอาโขนเรือที่หักกับศีรษะของพั นท้ายนรสิงห์
ขึ้นตั้งไว้ที่ศาลแห่งนั้น
บทที่ 9 โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต 143

กรณีพันท้ายนรสิงห์ ทัศนะจากนักประวัติศาสตร์
กรณีประหารชีวิตพั นท้ายนรสิงห์ ผูเ้ ขียนขอสรุปจากงานศึกษาค้นคว้าของนายแพทย์
วิ บูล วิ จิตรวาทการ (2544 : 147-152) ซึ่งท่านได้วิเคราะห์เอาไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
เหตุการณ์พันท้ายนรสิงห์น้ี เกิดขึ้นในตอนที่พระเจ้าเสือ เสด็จไปตกปลาน�้ำจืดที่
ปากน�ำ้ เมืองสาครบุรี เมือ่ เรือพระทีน่ งั่ เอกไชยแล่นไปถึงต�ำบลโคกขาม ซึง่ คดเคีย้ วและแคบ
มาก ซ�้ำยังมีกิ่งไม้ ใหญ่ยื่นลงมาขวางทางอีก
พั นท้ายนรสิงห์พยายามคัดท้ายเรือเบี ่ยงหลบจนสุดความสามารถ แต่ไม่ส�ำเร็จ
หัวเรือพระที่นงั่ กระทบกับกิ่งไม้ และหักตกลงไปในน�้ำ ฝีพายทั ้งหลายจึงหยุดเรือทั นที
ฝ่ายพั นท้ายนรสิงห์ทราบดี ว่าโทษทีจ่ ะได้รับนัน้ ถึงขั้นประหารชี วิ ต จึงรีบกระโดดขึน้
ฝั่ง แล้วกราบทูลพระเจ้าเสือให้ประหารชีวิตตน แต่พระเจ้าเสือมิปรารถนาที่จะปฏิบัติตาม
เพราะเห็นว่าไม่เป็นความผิ ดร้ายแรง และพั นท้ายนรสิงห์ก็เป็นมหาดเล็กเก่าที่พระองค์
ทรงชุบเลี้ยงมาตั้งแต่เล็ก ทรงโปรดปรานมาก และทราบว่าเป็นคนดี ทรงเห็นว่าคลอง
นั้นคับแคบ คดเคี้ยว เหลือวิ สัยที่ผู้ ใดจะบังคับเรือได้ พระองค์จึงไม่ลงโทษ แต่พันท้าย
นรสิงห์ก็กราบทูลให้ประหาร พระเจ้าเสือจึงทรงลดหย่อนโทษ โดยสั่งฝีพายทั ้งหลายให้ไป
ขุดดินเปียกในคลองนั้น แล้วน�ำมาปั้นเป็นรูปพั นท้ายนรสิงห์ และให้ประหารรูปหุ่นแทน
พั นท้ายนรสิงห์ร้สู ึกละอายใจ และเกรงว่าต่อไปอาจจะมีผู้คนติฉนิ นินทาพระเจ้าเสือ
ว่าประพฤติผิดราชประเพณี ด้วยความจงรักภักดี ที่มีต่อพระเจ้าเสือและแผ่นดิน พั นท้าย
นรสิงห์จึงกราบทูลพระเจ้าเสืออีกครั้งว่าให้ประหารชีวิตตน
พระเจ้าเสือก็ทรงตรัสอ้อนวอนอีกหลายครั้งหลายหน จนถึงกับกลั้นน�้ำพระเนตร
ไว้มอิ ยู่ และเป็นครัง้ เดียวในประวัตศิ าสตร์ทพี่ งศาวดารเขียนไว้วา่ “พระเจ้าแผ่นดินร้องไห้”
เหตุเพราะคงจะเสียดายมหาดเล็กผูน้ ้ี พระเจ้าเสือจึงจ�ำพระทัยสัง่ ประหารชี วิตพั นท้ายนรสิงห์
จากนั้นก็ ให้ท�ำศาลเพี ยงตาและเอาศีรษะของพั นท้ายนรสิงห์กับโขนเรือพระที่นัง่ ซึ่งหักลง
นั้นขึ้นพลีกรรมด้วยกันบนศาล
ส่วนศพของพั นท้ายนรสิงห์ที่ ไม่มีหัวนั้น พระเจ้า
เสือทรงเอากลับมาด้วย แล้วทรงจัดพิธฌ ี าปนกิจให้อย่าง
ดี และยังเสด็จพระราชทานเพลิงด้วยพระองค์เอง ส่วน
ภรรยาและบุตรของพั นท้ายนรสิงห์ ก็ทรงพระราชทาน
สิ่งของและเงินทองให้เป็นอันมาก
144 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

5. คุณค่า

4.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
4.1.1 การสรรค�ำ ในด้านการสรรค�ำ กวีได้เลือกค�ำทีม่ คี วามไพเราะ และเหมาะกับ
ความหมายมาใช้ในงานของตน เช่น
ค�ำเรียกพระมหากษัตริย์ : สรรเพชญที่แปดเจ้าอยุธยา ภูบาล พระภูมี เป็นต้น
ค�ำเรียกพั นท้ายนรสิงห์ : พั นท้าย พั น เป็นต้น
4.1.2 เสียงเสนาะ เกิดขึ้นด้วยสัมผัสนอกและสัมผัสใน เช่นเดี ยวกับโคลงภาพ
พระราชพงศาวดาร ตอน พระสุริโยทั ยขาดคอช้าง ดังนี้
สัมผัสนอก มีอยู่ครบทุกบท ดังจะยกตัวอย่างจากโคลงบทที่ 1

“สรรเพชญที่แปดเจ้า อยุธยา
เสด็จประพาสทรงปลา ปากน�้ำ
ล่องเรือเอกไชยมา ถึงโคก-ขามพ่อ
คลองคดโขนเรือค�้ำ ขัดไม้หักสลาย”

สัมผัสใน ปรากฏอยู่ในโคลงบทที่ 1 และบทที่ 3 ดังตัวอย่าง

“สรรเพชญที่แปดเจ้า อยุธยา
เสด็จประพาสทรงปลา ปากน�้ำ
ล่องเรือเอกไชยมา ถึงโคก-ขามพ่อ
คลองคดโขนเรือค�้ำ ขัดไม้หักสลาย
ภูบาลบ�ำเหน็จให้ โทษถนอม ใจนอ
พั นไม่ยอมอยู่ยอม มอดม้วย
พระโปรดเปลี่ยนโทษปลอม ฟันรูป แทนพ่อ
พั นกราบทูลทัดด้วย ท่านทิ้งประเพณี”
บทที่ 9 โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต 145

4.1.3 การซ�ำ้ ความ ปรากฏในโคลงบทที่ 3 นอกจากจะท�ำให้มคี วามไพเราะในด้าน


เสียงแล้ว ยังเป็นการเน้นใจความอีกด้วย

“ภูบาลบ�ำเหน็จให้ โทษถนอม ใจนอ


พั นไม่ยอมอยู่ยอม มอดม้วย
พระโปรดเปลี่ยนโทษปลอม ฟันรูป แทนพ่อ
พั นกราบทูลทั ดด้วย ท่านทิ้งประเพณี”

4.2 คุณค่าด้านความคิด
ท�ำให้เราเห็นว่าการท�ำความดี นั้น ย่อมมีผู้ยกย่องและสรรเสริญ ดังความจากโคลง
บทสุดท้ายว่า

“ภูมีปลอบกลับตั้ง ขอบรร-ลัยพ่อ
จ�ำสั่งเพชฌฆาตฟัน ฟาดเกล้า
โขนเรือกับหัวพั น เซ่นที่ ศาลแล
ศาลสืบกฤติคุณเค้า คติไว้ ในสยาม”

4.3 คุณค่าด้านสังคม
สะท้อนให้เห็นว่าบ้านเมืองมีกฎหมาย และกฎหมายนั้นย่อมมีความศักดิ์สิทธิ์ ดัง
พั นท้ายนรสิงห์ที่ท�ำโขนเรือหัก จึงรีบกราบทูลให้พระเจ้าเสือลงโทษตามกฎมณเฑียรบาล
ทั นที ดังความจากโคลงบทที่ 2 ว่า

“พั นท้ายตกประหม่าสิ้น สติคิด


โดดจากเรือทูลอุทิศ โทษร้อง
พั นท้ายนรสิงห์ผิด บทฆ่า เสียเทอญ
หัวกับโขนเรือต้อง คู่เส้นท�ำศาล”
บรรณานุกรม 9

วิ บูล วิ จิตรวาทการ. (2544). ราชวงศ์บ้านพลูหลวง. กรุงเทพมหานคร : บริษัท


สร้างสรรค์บุ๊คส์ จ�ำกัด.
วิ พุธ โสภวงศ์. (2530). การอ่านและพิจารณาวรรณกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). หนังสือเรี ยน รายวิชา
พื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สิทธา พินจิ ภูวดล และนิตยา กาญจนะวรรณ. (2520). ความรู้ทั่วไปทาง
วรรณกรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์ดวงกมล.
บทเสภา
ส า มั ค คี เ ส ว ก 10
1. ประวัติความเป็นมา
วรรณคดี เรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรง
พระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อครั้งเสด็จประทั บพั กผ่อนอิริยาบถ ณ พระราชวังสนามจั นทร์
(จังหวัดนครปฐม) เมือ่ พ.ศ. 2457 บทเสภาสามัคคีเสวก (อ่านว่า สา-มัก-คี-เส-วก)
เป็นวรรณกรรมที่ ใช้ส�ำหรับขับอธิบายน�ำเรื่องในการฟ้อนร�ำตอนต่างๆ ซึ่งพระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายถึงเหตุที่ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรม
เรื่องนี้ ไว้ว่า (อ้างจากส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2555 : 32)
“เมื่อข้าพเจ้าไปพั กผ่อนอิริยาบถอยู่ที่พระราชวังสนามจั นทร์ ได้มี
ข้าราชบริพารในราชส�ำนัก ผลัดเปลี่ยนกันจั ดอาหารเลี้ยงกันทุกๆ วัน
เสาร์ และเมื่อเลี้ยงแล้วมักจะมีอะไรดูกันเล่นอย่าง ๑ ครั้นเมื่อจวนจะ
ถึงคราวทีเ่ จ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดีจัดเลีย้ ง เจ้าพระยาธรรมาได้ขอ
ให้ข้าพเจ้าคิดหาการเล่นสักอย่าง ๑ ข้าพเจ้าจึ่งได้คิดผูกระบ�ำ “สามัคคี
เสวก” ขึ้น ระบ�ำที่กล่าวนี้ ได้เล่นตามแบบใหม่เป็นครั้งแรก กล่าวคือ
ไม่มีบทร้องเลย มีแต่หน้าพาทย์ประกอบกับท่าระบ�ำเท่านั้น คราวนี้
ร�ำพึงขึ้นว่าในเวลาพั กระหว่างตอนแห่งระบ�ำนั้น ครั้นจะให้พิณพาทย์
บรรเลง พิณพาทย์นั้นก็ได้ตีเหน็ดเหนือ่ ยตลอดเวลาที่เล่นระบ�ำ ควรให้
พิณพาทย์ได้พักหายเหนือ่ ยบ้าง ข้าพเจ้าจึง่ ตกลงแต่งบทเสภาขึน้ ส�ำหรับ
ขับระหว่างตอน”
148 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

จากค� ำ อธิ บ ายนี้ท� ำ ให้ เ ห็ น ว่ า พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรง
พระราชนิพนธ์บทเสภาสามัคคีเสวกขึน้ ตามค�ำกราบบังคมทูลของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี
โดยครั้งแรกพระองค์ทรงคิดชื่อการแสดงว่า “ระบ�ำสามัคคีเสวก” ซึ่งเป็นการร�ำตามเพลง
หน้าพาทย์ไม่มบี ทร้อง และต่อมาทรงแต่งบทเสภาขึน้ เพือ่ ใช้ขบั เวลาพั กตอนเพือ่ ให้พณ ิ พาทย์
ได้หายเหนือ่ ยบ้าง
บทเสภาโดยทั ่วไปมักจะมีขนาดยาว เพราะแต่งเป็นเรื่องราว แต่ส�ำหรับบทเสภา
สามัคคีเสวก เป็นบทเสภาขนาดสัน้ มีอยูด่ ว้ ยกัน 4 ตอน เนือ้ หาในแต่ละตอนได้แสดงแนวคิด
เหมือนกัน คือ แนวคิดเรื่องความสามัคคี ความจงรักภักดี ของข้าราชบริพารที่พึงมีต่อพระ
มหากษัตริย์และประเทศชาติ ส�ำหรับเนื้อความของบทเสภาในแต่ละตอนนั้น สรุปได้ดังนี้
ตอนที่ 1 กิจการแห่งพระนนที บทเสภาตอนนีม้ เี นือ้ ความกล่าวสรรเสริญพระนนที
ผู้เป็นเทพเสวกของพระอิศวรว่า เวลาพระอิศวรจะเสด็จไปไหน พระนนที จะแปลงกายเป็น
โคอุสุภราชให้พระอิศวรเสด็จประทั บ ครั้นพระอิศวรเสด็จกลับพระวิ มานแล้ว พระนนทีก็
จะกลับเป็นเทพตามเดิม และคอยรับใช้พระอิศวรด้วยความขยันขันแข็ง การปฏิบัติตนของ
พระนนทีดงั กล่าว นับเป็นตัวอย่างทีด่ ีของข้าราชการผูซ้ อื่ สัตย์และจงรักภักดีตอ่ เจ้านายของตน
เมื่อขับเสภาจบก็ต่อด้วยการแสดงระบ�ำที่ด�ำเนินเรื่องว่า ขณะที่พระอิศวรและพระอุมาจะ
เสด็จออกเทวสภา ได้มียักษ์ตนหนึง่ นามว่า กาลเนมี มาก่อกวนไล่จับนางฟ้า พระนนทีผู้
เปรียบเสมือนกรมวังจึงบัญชาให้เหล่าเทพเสวกช่วยกันจั บ เมื่อจั บได้แล้วก็ ให้ช่วยกันช�ำระ
ความ โดยลงโทษด้วยการตีแล้วปล่อยตัวไป จากนั้นพระอินทร์พร้อมกับท้าวจตุโลกบาลก็
ออกมาเฝ้าพระอิศวร
ตอนที่ 2 กรี นริ มิต บทเสภาตอนนี้มีเนื้อความกล่าวสรรเสริญพระคเณศ ผู้เป็น
เทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาและเป็นผูส้ ร้างช้างตระกูลต่างๆ ขึน้ ในแผ่นดิน ประดับพระเกียรติยศ
ของพระมหากษัตริย์ การแสดงระบ�ำเริ่มขึ้นด้วยการกล่าวถึง ช้าง 8 ตระกูล ซึ่งเป็นช้าง
ประจ�ำทิศทั ้ง 8 ออกมาถวายบังคมพระคเณศ ต่อมายักษ์กาลเนมีออกมาไล่จับช้าง
พระคเณศโกรธก็ออกไปต่อสูก้ บั ยักษ์และขับไล่ยกั ษ์ไปได้ จากนัน้ พระคเณศจึงมอบช้างให้กบั
ท้าวจตุโลกบาลทั ้ง 8 ทิศ และร่ายมนตร์สร้างพญาช้างเผือก ครั้นสร้างเสร็จก็บัญชาให้
หมอเฒ่าจับช้างเผือกและตั้งกระบวนแห่พญาช้างเผือก
บทที่ 10 บทเสภาสามัคคีเสวก 149

ตอนที่ 3 วิศวกรรมา (อ่านว่า วิด-สะ-วะ-กัน-มา) บทเสภาตอนนีก้ ล่าวสรรเสริญ


พระวิ ศวกรรมผู้เป็นเทพเจ้าแห่งการก่อสร้างและการช่างนานาชนิด จากนั้นกล่าวถึงความ
ส�ำคัญของศิลปะที่มีต่อประเทศชาติ การแสดงระบ�ำเริ่มด้วยพระวิ ศวกรรมออกมาร�ำ ต่อ
จากนั้นนางวิ จิตรเลขามาร�ำท�ำท่าวาดภาพถวาย และพระรูปการมาร�ำท�ำท่าปั้นรูปถวาย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสมมติให้นางวิ จิตรเลขาเป็นเทพเจ้าแห่งการ
วาดภาพ และพระรูปการเป็นเทพเจ้าแห่งการปัน้ จากนัน้ มีการแสดงอาวุธต่างๆ ซึง่ ประดิษฐ์
ขึ้นอย่างงดงาม และปิดท้ายด้วยระบ�ำนพรัตน์ คือ อัญมณีทั้ง 9 มาจั บระบ�ำโคม
ตอนที่ 4 สามัคคีเสวก เป็นบทเสภาที่กล่าวถึง ความสมัครสมานสามัคคีกันใน
หมู่คณะของข้าราชการผู้รับใช้ ใต้เบื้องพระยุคลบาทว่า ให้มีความมั่นคง ซื่อตรง จงรักภักดี
และขยันในการท�ำงาน รักษาเกียรติของความเป็นข้าราชการไว้อย่าให้เสื่อมเสีย การแสดง
ระบ�ำเริ่มด้วยราชเสวก 28 หมู่ แต่งกายเต็มยศเดินแถวออกมาสวนสนามหมู่ละ 1 คู่ เมื่อ
เดินสวนสนามกันครบทุกหมู่แล้ว ทุกคนก็ออกมาร้องเพลงแสดงความจงรักภักดี พร้อมกัน
ส�ำหรับบทเสภาที่กระทรวงศึกษาธิการก�ำหนดให้นักเรียนได้ศึกษานั้น มีเพี ยง 2
ตอน คือ วิ ศวกรรมาและสามัคคีเสวก ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่างๆ ในหัวข้อต่อไป

2. ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั (รัชกาลที่ 6) ทรงพระราชสมภพเมือ่ วันที่ 1
มกราคม พ.ศ. 2423 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 24 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินนี าถ พระบรม
ราชชนนีพันปีหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ แต่
สมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนีตรัสเรียกว่า “ลูกโต” เมื่อพระชนมายุ
ได้ 6 พรรษา ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี ด�ำรงพระเกียรติยศเป็นชั้น
ที่ 2 รองจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามกุฎราชกุมาร (ทิพย์สุ
เนตร อนัมบุตร, 2559 : 6)
ขณะที่ทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาวิ ชาการในพระบรมมหาราชวังกับพระยาศรีสุนทร
โวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ครั้นพระชนมายุได้ 14 พรรษา จึงเสด็จไปทรงศึกษาวิ ทยาการ
ณ ทวีปยุโรป โดยทรงศึกษาวิ ชาการพลเรือน ณ มหาวิ ทยาลัยออกซฟอร์ด แล้วเสด็จไปทรง
ศึกษาวิ ชาทหารบกที่โรงเรียนแซนด์เฮิสต์ ทรงศึกษาวิ ชาการอยู่ 9 ปี ก็ส�ำเร็จการศึกษาขั้น
สูงของสถานศึกษานั้นๆ เมื่อส�ำเร็จการศึกษาแล้วก็เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย
150 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ต่อมาได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อจากพระราชบิ ดา เมื่อ
วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ 30 พรรษา ทรงครองราชสมบัติ
ได้ 15 ปี เสด็จสวรรคตในวันที่ 25 พฤศจิ กายน พ.ศ. 2468 พระชนมายุได้ 45 พรรษา
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงต้องบริหารพระราชกิจอย่างใหญ่ยิ่ง
และส�ำคัญมากแทบไม่มีเวลาว่าง แต่กระนั้นพระองค์ก็ทรงหาเวลาว่างพระราชนิพนธ์เรื่อง
ต่างๆ ได้เป็นจ�ำนวนมาก บทพระราชนิพนธ์ของพระองค์มีทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง และบท
ละคร พระปรีชาสามารถทางวรรณคดี เป็นที่ประจั กษ์แก่ทุกคน ดังนั้นพระองค์จึงได้รับการ
ถวายพระราชสมัญญาว่า “พระมหาธีรราชเจ้า”
บทพระราชนิพนธ์รอ้ ยแก้ว ร้อยกรอง และบทละคร ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัวล้วนเป็นเยี่ยม เพราะทรงใช้ถ้อยค�ำสละสลวยและมีความดี เด่น ไม่ทรงใช้ค�ำ
ฟุม่ เฟือยโดยไม่จ�ำเป็น พระองค์เริม่ แต่งบทพระราชนิพนธ์ตงั้ แต่ครัง้ ยังเป็นสมเด็จพระบรม
โอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร และเมื่อทรงเป็นพระมหากษัตริย์แล้วก็ยังทรงแต่งบท
พระราชนิพนธ์อยู่ ส�ำหรับพระนามที่ทรงใช้ ในการแต่งบทพระราชนิพนธ์ มีทั้งพระนามจริง
กับพระนามแฝง เหตุน้พี ระราชนิพนธ์ของพระองค์จึงแพร่หลายไปทั ่ว ทั ้งกลุ่มบุคคลชั้นสูง
และสามัญชนทัว่ ไป บทความต่างๆ ทีท่ รงวิ พากษ์วิจารณ์สงั คมสมัยนัน้ ทรงใช้พระนามแฝง
ว่า “อัศวพาหุ” และเป็นทีย่ อมรับกันในปัจจุบนั ว่ายังไม่มผี ู้ ใดทีจ่ ะเขียนบทความให้มสี ำ� นวน
โวหารคมคายน่าอ่านเหมือนอัศวพาหุได้เลย
บทละครพูดเรือ่ ง หัวใจนักรบ ทีท่ รงพระราชนิพนธ์นนั้ ได้รับการยกย่องจากวรรณคดี
สโมสรให้เป็นยอดของบทละครพูด ส่วนบทพระราชนิพนธ์ประเภทร้อยกรองปรากฏว่า
พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ได้ดีเยีย่ มทุกฉันทลักษณ์ นับเป็นเรือ่ งทีแ่ สดงถึงพระอัจฉริยภาพ
ของพระองค์โดยแท้ เพราะปรากฏว่าแต่โบราณมา ไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดที่จะ
เชี่ยวชาญการแต่งร้อยกรองทุกฉันทลักษณ์ โดยมากจะทรงเชี่ยวชาญเฉพาะอย่างไป สมเด็จ
พระนารายณ์มหาราชทรงถนัดแต่งโคลง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงถนัด
แต่งกลอนบทละคร
บทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ลงพิมพ์เผยแพร่
อยู่ในหนังสือพิมพ์ต่างๆ ในสมัยนั้น เช่น สมุทรสาร ทวีปัญญา ดุสิตสมิต หนังสือพิมพ์ไทย
วิทยาจารย์ บางแห่งก็ทรงใช้พระนามจริงในการพระราชนิพนธ์ บางแห่งก็ทรงใช้พระนามแฝง
ซึ่งพระนามแฝงนี้พระองค์จะทรงใช้ ในการทรงพระราชนิพนธ์ในเรื่องที่แตกต่างกันไป เช่น
บทที่ 10 บทเสภาสามัคคีเสวก 151

อัศวพาหุ ใช้ส�ำหรับ เรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองและการปลุกใจ


ศรี อยุธยา ใช้ส�ำหรับ บทละคร
รามจิตติ ใช้ส�ำหรับ บันเทิงคดีและสารคดีที่ทรงแปลจากภาษาต่างประเทศ
พันแหลม ใช้ส�ำหรับ บันเทิงคดีและสารคดีที่เกี่ยวกับทหารเรือ
นายแก้วนายขวัญ น้อยลา สุครี พ ใช้ส�ำหรับนิทานต่างๆ
พระราชนิพนธ์ประเภทสารคดี เป็นพระราชนิพนธ์ที่ ให้ความรูแ้ ก่ผอู้ า่ นพร้อมทุกด้าน
ท�ำให้ได้รับความรูท้ กี่ ว้างขวาง เหมาะสมกับเหตุการณ์และเวลา เช่น ในขณะนัน้ เกิดสงครามโลก
ครั้งที่ 1 ขึ้น พระองค์ก็ทรงพระราชนิพนธ์และแปลเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับสงคราม เพื่อให้
ชาวไทยได้ทราบความเคลื่อนไหวของการรบ ในด้านศาสนาก็ทรงเลือกสรรแต่เฉพาะหัวข้อ
ที่น่าสนใจ เช่น อนุศาสนีย์แสดงคุณาคุณ และเรื่องพระพุ ทธเจ้าตรัสรู้อะไร ทรงใช้ โวหาร
เรียบง่าย ท�ำให้เข้าใจง่ายและน่าอ่าน ตอนใดทีย่ งุ่ ยากซับซ้อนก็จะทรงอธิบายอย่างละเอียด
พร้อมกับแสดงเหตุผลและยกตัวอย่างเปรียบเทียบท�ำให้เข้าใจซาบซึง้ และเห็นภาพตามไปด้วย
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงค้นคว้าหาความรู้ด้วย
ความอุตสาหะ เพื่อน�ำมาเผยแพร่แก่ประชาชน ดังจะเห็นได้จากเรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง
และบ่อเกิดรามเกียรติ์ เป็นต้น
ทางด้านการปกครอง พระราชนิพนธ์ พระบรมราโชวาท และพระราชด�ำรัสต่างๆ ก็
แสดงให้ประชาชนทราบถึงพระบรมราโชบายในการปกครอง และท�ำนุบำ� รุงบ้านเมืองให้เจริญ
ขึน้ อย่างน่าสรรเสริญ ในด้านการยุทธ ทรงอบรมให้เสือป่า ลูกเสือและชาวไทยทุกคน มีความ
กล้าหาญ รูจ้ ักเสียสละเพือ่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์แบบ
ฝึกหัดยุทธวิธขี องเสือป่าไว้อย่างละเอียด ในด้านการปลุกใจประชาชน บทพระราชนิพนธ์ของ
พระองค์ สามารถโน้มน้าวจิ ตใจของชาวไทยให้ร้สู ึกตามไปด้วย ทั ้งยังให้ความรู้ต่างๆ พร้อม
กับแทรกคติธรรมทีค่ วรยึดถือไว้เป็นอันมาก เช่น “คบคนพาล พาลพาไปหาผิด ความสุจริต
เป็นอุบายดี ยิ่งยวด” “ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม” ที่น่าสังเกตก็คือ พระองค์ทรง
มีพระทั ยรุนแรงมากในเรื่องที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของประเทศชาติ
152 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

พระราชนิพนธ์บนั เทิงคดีของพระองค์ เป็นเรือ่ งที่ ให้ความเพลิดเพลินและสนุกสนาน


แก่ผู้อ่านจ�ำนวนมาก ดังเช่น นิทานทหารเรือและนิทานชวนขัน แม้ว่าส่วนมากจะทรงแปล
จากภาษาต่างประเทศ แต่ก็ทรงเลือกสรรเฉพาะเรื่องที่เหมาะกับรสนิยม เหตุการณ์ และ
ความเป็นไปของคนไทยสมัยนัน้ มิ ใช่แต่จะให้ความบันเทิงแก่ผอู้ า่ นเพียงอย่างเดียว นอกจาก
นี้ยังมีคติธรรมอันเป็นคุณประโยชน์ส�ำหรับสอนใจไว้ด้วย ดังจะเห็นได้จากเรื่องสาวิ ตรี ซึ่ง
เป็นอุทาหรณ์อันดี แก่กุลบุตรและกุลสตรีทั่วไป ตัวอย่างข้อธรรมจากเรื่องนี้มี เช่น “ผู้เป็น
ธรรมจารีย่อมประพฤติธรรมเป็นนิจ และการเสวนาระหว่างชนผู้กอปรกุศลธรรมย่อมไม่
ไร้ผล อันตรายจะมีมาสู่บัณฑิตจากบัณฑิตหาได้ไม่” นอกจากนั้นพระราชนิพนธ์ประเภทนี้
ยังประกอบด้วยเรื่องต่างๆ อันเป็นตัวอย่างของความเฉลียวฉลาด ความมีไหวพริบ รู้จัก
สังเกตเหตุการณ์และระมัดระวังอย่างรอบคอบ มีตัวอย่างของความกล้าหาญ การเสียสละ
การปฏิบัติราชการโดยเต็มความสามารถ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ
พระราชนิพนธ์ประเภทร้อยกรองนั้น มีอยู่มากมายหลายประเภท เช่น กาพย์เห่เรือ
ประเภทลิลิตท�ำนองนิราศ ประเภทสุภาษิต ประเภทสักวา ประเภทบทละครเบิ กโรงสั้นๆ
ประเภทโขน ประเภทบทเสภา ประเภทละครค�ำกลอน ส่วนที่เป็นวรรณกรรมเอกที่ยิ่งใหญ่
ที่สุด 2 เรื่อง คือ พระนลค�ำหลวงกับมัทนะพาธา โดยพระนลค�ำหลวงนั้นนับได้ว่าเป็นศรี
แห่งวรรณคดี ไทย เพราะการเล่าเรื่องประการหนึง่ ส�ำนวนกินใจประการหนึง่ และมีคติ
ประการหนึง่ การใช้โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน สลับกันมากท�ำให้มีรสและความไพเราะหลาย
แบบต่างๆ กัน อ่านเพลินตั้งแต่ต้นจนจบ
ส่วนมัทนะพาธานั้น ก็เป็นหนังสือดี ที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุดเหมือนกัน และมีค่ามากที่สุด
ในวรรณกรรมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทั ้งหมด เพราะแต่งเป็นฉันท์
ซึ่งแต่งได้ยาก แต่ก็ทรงสามารถเรียบเรียงได้ดียิ่ง กระบวนความก็ไพเราะ ก่อให้เกิดความ
ซาบซึ้งกินใจ
ในส่วนของทางด้านการละครก็ปรากฏว่า ละครพูด
มีความเจริ ญสูงสุด เพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุ ฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว ทรงส่งเสริ มการละครประเภทนี้ พระองค์ได้
ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดเป็นจ�ำนวนมาก มีทั้งที่ทรง
ผูกเรื่องขึ้นเอง และที่ทรงแปลมาจากภาษาอังกฤษ และละคร
สันสกฤต พระราชนิพนธ์บทละครพูดที่ทรงแต่งขึ้นทั ้งเค้าโครง
เรือ่ งและถ้อยค�ำมี เช่น หัวใจนักรบ ซึง่ ได้รับการยกย่องจากวรรณคดี
สโมสรว่าเป็นยอดของบทละครพูด พระร่วง วิ วาห์พระสมุทร มีบทร้อง
ที่ ไพเราะอ่อนหวาน กลแตก เสียสละ หาโล่ เห็นแก่ลูก ก็มีบทบรรยายที่กินใจ
บทที่ 10 บทเสภาสามัคคีเสวก 153

การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนให้มีการเล่นละครขึ้น
เสมอๆ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นการอบรมศีล
ธรรมให้แก่พลเมืองแล้ว ยังช่วยให้ประชาชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ แทนทีจ่ ะใช้เวลาว่าง
พั กผ่อนมัว่ สุมหาความเพลิดเพลินจากการพนัน ทัง้ ยังเป็นการหารายได้บำ� รุงสาธารณประโยชน์
ต่างๆ เช่น การสร้างเรือรบ บ�ำรุงราชนาวีสมาคม เป็นต้น

3. ลักษณะค�ำประพันธ์
บทเสภาสามัคคีเสวก แต่งด้วยค�ำประพั นธ์ประเภทกลอนเสภา อันกลอนเสภานี้
เป็นกลอนที่ ใช้ขับเป็นท�ำนอง มีกรับเป็นเครื่องประกอบจั งหวะ ลักษณะบังคับของกลอน
เสภา มีดังนี้
1. สัมผัสระหว่างวรรคเหมือนกลอนสุภาพ กลอน 6 กลอน 7 กลอน 8
2. จ�ำนวนค�ำในหนึง่ วรรคใช้คำ� ได้ตงั้ แต่ 6-9 ค�ำ แต่สว่ นใหญ่นยิ มใช้ 7-8 ค�ำ กลอน
เสภาแต่ละวรรคมีชื่อเรียกเฉพาะ ดังนี้
วรรคที่ 1 เรียกว่า นารีเรียงหมอน
วรรคที่ 2 เรียกว่า ชะอ้อนนางร�ำ
วรรคที่ 3 เรียกว่า ระบ�ำเดินดง
วรรคที่ 4 เรียกว่า หงส์ชูคอ

4. เนื้อเรื ่องย่อ
ตอนที่ 3 วิศวกรรมา
เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่าประเทศใดที่ ไม่มีความสงบสุข มีแต่การรบกัน ประชาชน
ย่อมไม่มีเวลาสร้างสรรค์งานศิลปะ แต่ถ้าประเทศใดมีความสงบสุข ประเทศนั้นก็จะเจริญ
ไปด้วยศิลปะอันงดงามไว้ประดับประดาพระนคร ต่อมากล่าวถึงความส�ำคัญของศิลปะว่ามี
คุณค่า แสดงถึงความมีอารยธรรมของชาติ และประเทศไทยก็เป็นประเทศที่มีความเจริญ
รุ่งเรือง เพราะมีช่างศิลป์ที่มีความเชี่ยวชาญในศิลปะทุกแขนง ดังนั้นคนไทยจึงควรช่วยกัน
ท�ำให้ศิลปะเจริญอยู่คู่กับประเทศชาติต่อไป
154 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ด้วยเหตุที่ศิลปะเป็นเครื่องจ�ำเริญตาและพาจิ ตใจให้สบาย หลายๆ ประเทศ จึง


ยกย่องศิลปะว่าเป็น “ศรีวิไลวิลาสดีเป็นศรีเมือง” ชาติใดไม่มชี า่ งผูเ้ ชีย่ วชาญในการสร้างงาน
ศิลปะแขนงต่างๆ ก็ยอ่ มเป็นทีอ่ บั อายของนานาอารยประเทศ ทัง้ ยังแสดงให้เห็นว่าชาตินนั้
ไม่มีความสงบ ดังนั้นศิลปะจึงมีความส�ำคัญในฐานะเป็นเครื่องแสดงความเจริญและแสดง
เกียรติภูมิของประเทศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกระตุ้นให้ผู้อ่านผู้ฟัง
บทเสภานี้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ซึ่งเป็นชาติที่มีศิลปะอันงดงามเป็นมรดก
ตกทอดสืบกันมาช้านาน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจบบทเสภาบทนี้ด้วยการเน้นย�้ำให้คน
ไทย ช่วยกันสนับสนุนศิลปินและวิ ชาช่างของไทย และให้ช่วยกันท�ำนุบ�ำรุงรักษาไว้ ให้ถาวร
สืบต่อไป

ตอนที่ 4 สามัคคีเสวก
บทเสภาตอนนีม้ งุ่ แสดงแนวคิดว่า ชาติจะด�ำรงอยูไ่ ด้ เหล่าข้าราชการจะต้องให้ความ
ร่วมมือกับพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นผู้น�ำของประเทศ โดยให้คิดถึงหน้าที่ของตนเป็นหลัก
ให้เคร่งครัดเรื่องระเบี ยบวิ นัย และมีความจงรักภักดี ต่อพระมหากษัตริย์ เพราะพระมหา
กษัตริย์เปรียบเสมือนพ่อบังเกิดเกล้า ควรให้ความเคารพและเกรงกลัว ที่ส�ำคัญคือต้องมี
ความปรองดองให้สมกับการที่มีพระมหากษัตริย์ร่วมกันพระองค์เดี ยว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปรียบประเทศชาติกับเรือใหญ่ที่แล่น
ไปในทะเล พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นผู้น�ำประเทศเปรียบได้กับกัปตันเรือ และเหล่าข้า
ราชบริพารทัง้ หลายเปรียบเหมือนกะลาสีเรือ การทีท่ รงเปรียบเทียบดังนี้ ท�ำให้ผอู้ า่ นเข้าใจ
ความสัมพั นธ์ของพระมหากษัตริยก์ บั ข้าราชการทีต่ า่ งต้องพึง่ พาอาศัยซึง่ กันและกัน เพือ่ ท�ำให้
ประเทศชาติเจริญอยู่อย่างปลอดภัยได้ นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ยังทรงแสดงให้เห็นถึงผลร้ายของการทีเ่ หล่าราชเสวกขาดความสามัคคีและขาดระเบียบวินยั
จากนั้นทรงสั่งสอนถึงข้อควรประพฤติและปฏิบัติตนของข้าราชการ
บทที่ 10 บทเสภาสามัคคีเสวก 155

5. คุณค่า

5.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การใช้ภาพพจน์แบบอุปมา กวีใช้ภาพพจน์แบบอุปมาเพื่อต้องการเน้นให้ผู้อ่าน
ได้ทราบถึงแนวคิดที่กวีต้องการสื่อออกมาอย่างชัดเจน ดังตัวอย่างจากตอน วิ ศวกรรมา

“อันชาติ ใดไร้ช่างช�ำนาญศิลป์ เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า


ใครใครเห็นไม่เป็นที่จ�ำเริญตา เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย”

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่า กวีเปรียบเทียบชาติที่ ไม่มีช่างผู้ช�ำนาญด้านศิลปะว่า


เหมือนกับผู้หญิงไม่สวย ไม่สง่า ซึ่งเป็นภาพพจน์แบบอุปมา โดยมีค�ำที่แสดงให้เห็นว่าเป็น
อุปมาคือค�ำว่า “เหมือน” ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้ผอู้ า่ นรูอ้ ย่างชัดแจ้งว่า ศิลปะเป็นเครือ่ งแสดงถึงความ
เจริญงอกงามของอารยธรรม และแสดงถึงความเจริญรุง่ เรืองของประเทศชาติ เช่นเดียวกับ
ความงามของผู้หญิงสวยที่ ใครๆ เห็นแล้วก็เป็นที่จ�ำเริญใจ
อีกตัวอย่างหนึง่ ที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นการใช้ภาพพจน์แบบอุปมาเช่นเดี ยวกัน โดย
กล่าวถึงผู้ที่ชอบดูถูกศิลปะเอาไว้ว่า

“ใครดูถูกผู้ช�ำนาญในการช่าง ความคิดขวางเฉไฉไม่เข้าเรื่อง
เหมือนคนป่าคนไพรไม่รุ่งเรือง จะพูดด้วยนั้นก็เปลืองซึ่งวาจา”

ตัวอย่างนี้เป็นการเปรียบเทียบที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ดูถูกศิลปะ ไม่เห็นคุณค่าของ


ศิลปะ ก็เปรียบได้กับคนป่าคนดงที่ยังไม่มีความเจริญ
ในเสภาบทที่ 4 คือบทเสภาสามัคคีเสวก มีการใช้ภาพพจน์แบบอุปมาในการ
เปรียบเทียบให้ผู้อ่านเห็นถึงความสัมพั นธ์ระหว่างข้าราชการ พระมหากษัตริย์และประเทศ
ชาติ ดังความว่า
156 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“แม้ลูกเรือเชื่อถือผู้เป็นนาย ต้องมุ่งหมายช่วยแรงโดยแข็งขัน
คอยตั้งใจฟังบังคับกัปปิตัน นาวานั้นจึ่งจะรอดตลอดทะเล
แม้ลูกเรืออวดดี มีทิฐิ และเริ่มริเฉโกยุ่งโยเส
เมื่อคลื่นลมแรงจั ดซัดโซเซ เรือจะเหร่มระย�ำคว�่ำไป
แม้ต่างคนต่างเถียงเกี่ยงแก่งแย่ง นายเรือจะเอาแรงมาแต่ไหน
แม้ไม่ถือเคร่งคงตรงวิ นัย เมื่อถึงคราวพายุใหญ่จะครวญคราง
นายจะสั่งสิ่งใดไม่เข้าจิ ต จะต้องคิดตันใจให้ขัดขวาง
จะยุ่งแล้วยุ่งเล่าไม่เข้าทาง เรือก็คงอับปางกลางสาคร
ถึงเสวีที่เป็นข้าฝ่าพระบาท ไม่ควรขาดความสมัครสโมสร
ในพระราชส�ำนักพระภูธร เหมือนเรือแล่นสาครสมุทรไทย”

ความจากตัวอย่างทีย่ กมานี้ กวีเปรียบเทียบประเทศชาติกบั เรือใหญ่ ทีแ่ ล่นไปในทะเล


ที่มีพายุ พระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนกัปตันเรือซึ่งเป็นนาย ลูกเรือทุกคนต้องเชื่อถือและ
ปฏิบัติตามค�ำสั่งอย่างเคร่งครัด ส่วนเหล่าข้าราชบริพารเปรียบเสมือนกะลาสีเรือ ซึ่งจะ
ต้องตั้งใจฟังค�ำสั่งของกัปตันเรือ และจะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเน้นย�้ำให้เห็นถึงหน้าที่ของกะลาสีเรือว่า ต้องท�ำอะไรอย่างเด่นชัด เช่น ฟังค�ำสั่งกัปตัน
มีวิ นัยและมีความสามัคคี
นอกจากนี้ยังทรงเน้นให้เห็นถึงความสัมพั นธ์ของข้าราชการ พระมหากษัตริย์ และ
ประเทศชาติว่า ต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน จะขาดส่วนใดส่วนหนึง่ ไปไม่ได้

5.2 คุณค่าด้านเนื้อหา
5.2.1 ความส�ำคัญของศิลปะ บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา มีเนื้อหาที่
แสดงให้เห็นถึงความส�ำคัญของศิลปะทีม่ ปี ระโยชน์ทัง้ ต่อตนเอง และประเทศชาติ ดังตัวอย่าง
บทที่ 10 บทเสภาสามัคคีเสวก 157

“ศิลปกรรมน�ำใจให้สร่างโศก ช่วยบรรเทาทุกข์ ในโลกให้เหือดหาย


จ�ำเริญตาพาใจให้สบาย อีกร่างกายก็จะพลอยสุขสราญ
แม้ผู้ ใดไม่นยิ มชมสิ่งงาม เมื่อถึงยามเศร้าอุราน่าสงสาร
เพราะขาดเครื่องระงับดับร�ำคาญ โอสถใดจะสมานซึ่งดวงใจ
เพราะการช่างนี้ส�ำคัญอันวิ เศษ ทุกประเทศนานาทั ้งน้อยใหญ่
จึงยกย่องศิลปกรรม์นั้นทั ่วไป ศรี วิ ไลวิ ลาศดี เป็นศรีเมือง”

จากตัวอย่างนี้จะเห็นถึงคุณประโยชน์ของศิลปะว่า ช่วยบรรเทาความทุกข์ โศก ทั ้ง


ความทุกข์ส่วนตัวและความทุกข์ ในโลก ศิลปะช่วยท�ำให้ จิตใจสงบ เพลิดเพลิน ท�ำให้ความ
เศร้าโศกจางลงไป ดังนัน้ ประโยชน์ทเี่ กิดขึน้ กับตนเอง ก็คอื ท�ำให้สบายใจและมีความสุข และ
ศิลปะยังมีคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ คือ เป็นศรีแก่ชาติอีกด้วย

อีกตัวอย่างหนึง่ ที่จะยกมากล่าวนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรือง


ด้วยศิลปะแขนงต่างๆ ของประเทศไทย และมีช่างฝีมือดี มากมาย อันแสดงให้เห็นว่าชาติ
ไทยเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรือง ดังความว่า

“แต่กรุงไทยศรี วิ ไลทั นเพื่อนบ้าน จึงมีช่างช�ำนาญวิ เลขา


ทั ้งช่างปั้นช่างเขี ยนเพี ยรวิ ชา อีกช่างสถาปนาถูกท�ำนอง
ทั ้งช่างรูปพรรณสุวรรณกิจ ช่างประดิษฐ์รัชดาสง่าผอง
อีกช่างถมลายลักษณะจ�ำลอง อีกช�่ำชองเชิงรัตนประกร”

จากตัวอย่างข้างต้นได้แสดงให้เห็นถึงช่างแขนงต่างๆ ของไทย ได้แก่ ช่างปั้น ช่าง


เขี ยน ช่างก่อสร้าง ช่างทอง และช่างเงิน ที่ ได้สร้างสรรค์ศิลปะอันงดงามล�้ำค่าแก่ประเทศ
ชาติ เป็นเครื่องแสดงวัฒนธรรมอันดี งามของไทย ท�ำให้ประเทศไทยมีความเป็นอารยะ
ทั ดเทียมกับนานาอารยประเทศ ดังนั้นศิลปะจึงมีความส�ำคัญที่คนไทยควรช่วยกันบ�ำรุง
รักษาไว้ ให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป
158 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

5.2.2 ความส�ำคัญของความสามัคคี ความสามัคคีปรองดอง ช่วยท�ำให้ประเทศ


ชาติดำ� รงอยูไ่ ด้ ดังจะเห็นได้จากตอนสามัคคีเสวก ทีพ่ ระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั
ทรงกล่าวถึงความสามัคคีของข้าราชการว่า จะช่วยท�ำให้ประเทศชาติดำ� รงอยูไ่ ด้ ข้าราชการก็
คือ ข้า ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มีนายคนเดียวกัน คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั
ดังนัน้ จึงต้องจงรักภักดี ไม่ควรคิดถึงประโยชน์ของตนเอง และควรมีระเบี ยบวิ นัย ดังที่ทรง
กล่าวเอาไว้ความว่า

“ประการหนึง่ พึงคิดในจิ ตมั่น ว่าทรงธรรม์เหมือนบิ ดาบังเกิดหัว


ควรเคารพย�ำเยงและเกรงกลัว ประโยชน์ตัวนึกน้อยหน่อยจะดี
ควรนึกว่าบรรดาข้าพระบาท ล้วนเป็นราชบริพารพระทรงศรี
เหมือนลูกเรืออยู่ ในกลางหว่างวารี จ�ำต้องมีมิตรจิ ตสนิทกัน”

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปรียบพระมหากษัตริย์ว่าเสมือนบิ ดา
ผู้ ให้ก�ำเนิด และข้าราชการเปรียบเสมือนลูกเรือที่อยู่ในมหาสมุทร ซึ่งเต็มไปด้วยอันตราย
ดังนั้นข้าราชการจึงควรมีความสามัคคีกัน และควรมีไมตรีที่ดีต่อกัน
อีกตัวอย่างหนึง่ ทีจ่ ะยกมาให้เห็นนี้ เป็นตัวอย่างทีพ่ ระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั
ทรงเน้นให้เห็นว่า ข้าราชการมีหน้าที่ส�ำคัญที่จะต้องปฏิบัติเพื่อประเทศชาติ ดังนั้นจึงควร
ประพฤติและปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี ดังความว่า

“เหล่าเสวกตกที่กะลาสี ควรคิดถึงหน้าที่นั้นเป็นใหญ่
รักษาตนเคร่งคงตรงวิ นัย สมานใจจงรักพระจั กรี
ไม่ควรเลือกที่รักมักที่ชัง สามัคคีเป็นก�ำลังพระทรงศรี
ควรปรองดองในหมู่ราชเสวี ให้สมที่ร่วมพระเจ้าเราองค์เดี ยว”

บทเสภาสามัคคีเสวกทั ้ง 2 ตอนที่นักเรียนได้ศึกษามานี้ คือตัวอย่างที่ดี ที่แสดงให้


นักเรียนเห็นถึงความส�ำคัญของศิลปะและความสามัคคี ซึง่ ทัง้ สองสิง่ นีจ้ ะช่วยท�ำให้นกั เรียน
มีก�ำลังใจในการด�ำรงชีวิต และเกิดความรู้สึกภาคภูมิ ใจที่ ได้เกิดในดินแดนที่เต็มไปด้วย
อารยธรรมอันงดงาม
บรรณานุกรม 10

ทิพย์สุเนตร อนัมบุตร. (2559). วรรณกรรมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า


เจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัย
รามค�ำแหง.
ผกาศรี เย็นบุตร และคณะ. (2557). หนังสือเรี ยนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย 2
เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ส�ำนักพิมพ์เอมพั นธ์ จ�ำกัด.
ฟองจั นทร์ สุขยิ่ง และคณะ. (ม.ป.ป.). หนังสือเรี ยน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย
วรรณคดีและวรรณกรรม ม. 2. พิมพ์ครัง้ ที่ 8. กรุงเทพมหานคร : บริษทั
อักษรเจริญทั ศน์ อจท. จ�ำกัด.
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). หนังสือเรี ยน รายวิชา
พื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สิทธา พินจิ ภูวดล และนิตยา กาญจนะวรรณ. (2520). ความรู้ทั่วไปทาง
วรรณกรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์ดวงกมล.
ศิ ล า จ า รึ ก
ห ลั ก ที่ 1 11
1. ประวัติความเป็นมา
ศิลาจารึ กหลักที่ 1 หรือ ศิลาจารึ กพ่อขุนรามค�ำแหง ได้รับการค้นพบในสมัย
พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั (รัชกาลที ่ 3) โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงด�ำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ
ใน พ.ศ. 2376 ขณะทรงผนวช ได้เสด็จจาริกแสวงบุญไปทางหัวเมืองเหนือ ครัน้ เสด็จ
ถึงเมืองสุโขทั ยทรงพบศิลาจารึ กอยู่ที่เนินปราสาทเมืองเก่าสุโขทั ย ทรงเห็นว่าเป็น
โบราณวัตถุที่ส�ำคัญ จึงโปรดเกล้าฯ ให้น�ำลงมาไว้ที่กรุงเทพฯ พร้อมกับศิลาจารึ ก
วัดป่ามะม่วง (ศิลาจารึ กหลักที่ 4) และพระแท่นมนังคศิลาบาตร โดยน�ำมาเก็บ
รักษาไว้ที่วัดราชาธิวาสเป็นแห่งแรก
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาประทั บจ�ำพรรษาที่วัด
บวรนิเวศวิ หาร จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศิลาจารึ กทั ้งสองหลักมาไว้ที่วัดแห่งนี้ และ
พระองค์ได้ทรงใช้ความเพี ยรพยายามในการอ่านศิลาจารึ กหลักนี้ จนกระทั ่งอ่านได้
เป็นคนแรก เมื่อ พ.ศ. 2375 แต่ก็ไม่สามารถตีความได้ทั้งหมด ส่วนจารึ ก หลัก
ที่ 4 ที่เป็นภาษาเขมรนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวิ ริยาลงกรณ์
ทรงเป็นผู้อ่านและแปล
162 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ครั้นเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้น�ำศิลาจารึ กไปตั้งไว้ที่ศาลาราย


ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ข้างด้านเหนือพระอุโบสถหลังที่ 2 นับจากทางตะวันตก จนถึง
พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมารวมไว้กับ
ศิลาจารึ กหลักอื่นๆ ที่พบในภายหลัง โดยเก็บรักษาไว้ที่ตึกถาวรวัตถุ หน้าวัดมหาธาตุฯ
อันเป็นที่ท�ำการหอพระสมุดวชิรญาณ ส�ำหรับพระนคร
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุ ฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระ
ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายหนังสือตัวเขี ยนและศิลาจารึ กของหอพระสมุด
วชิรญาณส�ำหรับพระนคร มาเก็บไว้ที่พระที่นัง่ ศิวโมกพิมานในพระราชวังบวรสถานมงคล
และทรงก�ำหนดให้พระที่นัง่ ศิวโมกพิมานเป็นที่ท�ำการของหอพระสมุดวชิรญาณแห่งใหม่
และพระราชทานนามตึกถาวรวัตถุให้ ใหม่ว่า หอพระสมุดวชิราวุธ

2. ลักษณะและขนาด
ศิลาจารึ กหลักที่ 1 เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมด้านเท่า สูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร มีค�ำ
จารึ กครบทั ้ง 4 ด้าน ด้านที่ 1 และ ด้านที่ 2 มีความยาว 35 บรรทั ด ด้านที่ 3 และด้าน
ที่ 4 มีความยาว 27 บรรทั ด รวมทั ้งสิ้นมี 124 บรรทั ด

3. ประวัติผู้แต่ง
พ่อขุนรามค�ำแหง หรือ พญารามราช เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 3 ของพ่อขุน
ศรีอนิ ทราทิตย์กบั นางเสือง ทรงได้รับราชสมบัตสิ บื ต่อจากพ่อขุนบานเมือง พระเชษฐา เมือ่
ราว พ.ศ. 1822
พ่อขุนรามค�ำแหงทรงขยายอาณาจั กรออกไปได้อย่างกว้างขวางที่สุดพระองค์หนึง่ ใน
ประวัตศิ าสตร์ของชาติไทย กล่าวโดยสรุปคือ ทิศตะวันออกข้ามแม่นำ�้ โขง จดเมืองเวียงจันทน์
เวียงค�ำ ทิศใต้จดเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองในแหลมมลายู ทิศตะวันตกจดเมืองหงสาวดี
ส่วนทิศเหนือจดเมืองแพร่ น่าน และหลวงพระบาง
ส่วนการปกครองภายในประเทศนัน้ พ่อขุนรามค�ำแหงทรงปกครองแบบบิดาปกครอง
บุตร ทรงมุง่ หมายให้ประชาชนตัง้ อยูใ่ นศีลธรรมและพระราชทานความยุตธิ รรมแก่ประชาชน
โดยเสมอหน้า บ้านเมืองในยุคของพระองค์มคี วามก้าวหน้าด้านต่างๆ เช่น ด้านเกษตรกรรม
บทที่ 11 ศิลาจารึกหลักที่ 1 163

พาณิชยกรรม การชลประทาน ฯลฯ พระราชกรณียกิจทีส่ ำ� คัญอย่างหนึง่ ได้แก่ การประดิษฐ์


อักษรไทยขึ้นใช้เป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 1826
พ่อขุนรามค�ำแหงเสด็จสวรรคตในราว พ.ศ. 1841 ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญา
ว่า พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช

4. เนื้อเรื ่องย่อ
ความในศิลาจารึ กหลักที่ 1 แบ่งออกเป็น 3 ตอน แต่กระทรวงศึกษาธิการก�ำหนด
ให้นักเรียนศึกษาเฉพาะตอนที่ 1 ดังนั้นจึงขอกล่าวรายละเอียดเฉพาะตอนที่ 1 เพี ยงตอน
เดี ยว ดังนี้
ตอนที่ 1 ตั้งแต่บรรทัดที่ 1-18 เป็นประวัติของผู้แต่ง ซึ่งใช้สรรพนามบุรุษที่ 1
แทนตัวเองว่า “กู” ดังในประโยคแรกว่า “พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์” และบอกชื่อผู้แต่งไว้
บรรทั ดที่ 9-10 ว่า “พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อพระรามค�ำแหง เมื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน” เนื้อความ
ในตอนที่ 1 นี้ พ่อขุนรามค�ำแหงทรงระบุพระนามพระราชบิ ดา พระราชมารดา พระเชษฐา
ต่อด้วยเกียรติประวัติในการรบกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ครั้นพระราชบิ ดาสวรรคตแล้ว
ก็ทรงประพฤติปฏิบัติดูแลพระเชษฐาเสมือนกับดูแลพระราชบิ ดา ครั้นพระเชษฐาเสด็จ
สวรรคต ราชสมบัติทั้งหมด จึงตกแก่พระองค์

5. คุณค่า

5.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
แม้ว่าศิลาจารึ กหลักที่ 1 จะแต่งเป็นส�ำนวนร้อยแก้ว แต่หากพิจารณาให้ดี ก็จะเห็น
ว่า กวีใช้ภาษาร้อยแก้วทีม่ เี สียงสัมผัสคล้องจองกันและมีจังหวะจะโคน ผูอ้ า่ นจะรูส้ กึ ถึงเสียง
ที่เป็นจั งหวะสอดคล้องกันไป เช่น

“พี ่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก”
164 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

จากตัวอย่างที่ยกมานี้จะเห็นได้ว่า มีสัมผัสอยู่ 2 แบบ คือ สัมผัสพยัญชนะ และ


สัมผัสสระ
สัมผัสพยัญชนะ คือ พี ่-เผือ-ผู้ และ เตียม-แต่
สัมผัสสระ คือ อ้าย-ตาย

“กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู”

จากตัวอย่างจะเห็นว่ามีการซ�้ำค�ำ ซ�้ำความ ท�ำให้เกิดจั งหวะ ส่วนประโยคสุดท้าย


เป็นการสรุปความว่า ได้สิ่งใดมาก็จะเอามาให้พ่อ
นอกจากนี้ศิลาจารึ กหลักที่ 1 ยังแสดงให้เห็นถึงลักษณะของการใช้ภาษาในสมัยนั้น
ซึ่งแตกต่างจากการใช้ภาษาในปัจจุ บัน กล่าวคือ ใช้ส�ำนวนภาษาที่สั้นกะทั ดรัด ลักษณะ
ประโยคสัน้ แต่กนิ ใจความกว้าง ท�ำให้ผอู้ า่ นเห็นภาพทีผ่ แู้ ต่งพรรณนาได้อย่างชัดเจน ข้อความ
บางตอนมีลักษณะสัมผัส มีจังหวะ ท�ำให้เกิดความไพเราะในเวลาอ่านออกเสียง เช่น

“ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง”

บางครั้งใช้ถ้อยค�ำให้ซ�้ำกันเพื่อความไพเราะ เช่น
“เมื่อชั่วพ่อกู กูบ�ำเรอแก่พ่อกู กูบ�ำเรอแก่แม่กู
กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู
กูได้หมากส้มหมากหวานอันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู
กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู
กูไปท่บา้ นท่เมือง ได้ชา้ งได้งวง ได้ปว่ั ได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พอ่ กู
พ่อกูตายยังพี ่กู กูพร�่ำบ�ำเรอแก่พ่อกู ดั่งบ�ำเรอแก่พ่อกู”
บทที่ 11 ศิลาจารึกหลักที่ 1 165

5.2 คุณค่าด้านความคิด
หากศึกษาเนื้อหาศิลาจารึ กหลักที่ 1 ตอนที่ 1 อย่างพิจารณา ก็จะเห็นได้ว่า ศิลา
จารึ กหลักนี้ ให้แง่คิดที่มีคุณค่า 2 ประการ คือ
1. สะท้อนให้เห็นถึงความกล้าหาญและความเสียสละของพระมหากษัตริ ย์
ในศิลาจารึ กหลักที่ 1 ได้แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญและความเสียสละของ
พระมหากษัตริย์ กล่าวคือ ในยามศึกสงครามพระมหากษัตริยจ์ ะต้องเป็นผูน้ ำ� ในการป้องกัน
บ้านเมือง ทั ้งนี้ต้องทรงน�ำหน้าเหล่าทหารในการเข้าประจั ญบานกับข้าศึก ดังที่พ่อขุน
ศรีอินทราทิตย์ทรงน�ำทั พออกต่อสู้กับขุนสามชน ซึ่งในครั้งนี้พ่อขุนรามค�ำแหงก็ได้สร้าง
วีรกรรมอันยิ่งใหญ่ ด้วยการชนช้างกับขุนสามชนแล้วได้ชัยชนะ ดังความว่า
“เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก
พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า
ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกูหนีญญ่ายพายจแจ้น กูบ่หนี
กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน
ตนกูพุ่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี”
ความจากตัวอย่างท�ำให้เราเห็นว่าพ่อขุนรามค�ำแหงทรงมีความกล้าหาญยิ่ง แม้ว่า
ทหารของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จะแตกพ่ายหนีข้าศึก แต่พระองค์กลับขับช้างเข้าต่อสู้กับ
ขุนสามชนด้วยความกล้าจนได้ชัยชนะ นับว่าทรงกล้าหาญและทรงเสียสละเพื่อบ้านเมือง
และในครั้งนั้นทรงได้รับพระราชทานนามว่า พระรามค�ำแหง ซึ่งแปลว่า ผู้รุ่งเรืองและเก่ง
กล้า ตามวีรกรรมของพระองค์
2. สะท้อนให้เห็นถึงความกตัญญู ความตอนหนึง่ จากศิลาจารึกได้แสดงให้เห็น
ถึงการเป็นลูกที่ดีของพ่อขุนรามค�ำแหง ที่ทรงมีความกตัญญูต่อบุพการีอันมีพระราชบิ ดา
พระราชมารดา และพระเชษฐา ทรงท�ำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อสามพระองค์น้ที ั ้งสิ้น ดังความ
จากศิลาจารึ กว่า
“เมื่อชั่วพ่อกู กูบ�ำเรอแก่พ่อกู กูบ�ำเรอแก่แม่กู
กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู
กูได้หมากส้มหมากหวานอันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู
กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู
กูไปท่บา้ นท่เมือง ได้ชา้ งได้งวง ได้ปว่ั ได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พอ่ กู
พ่อกูตายยังพี ่กู กูพร�่ำบ�ำเรอแก่พ่อกู ดั่งบ�ำเรอแก่พ่อกู”
166 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ความรู้เสริ ม
เรื ่อง วิธีเขียนอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามค�ำแหง

ภาพ : พยัญชนะไทยสมัยพ่อขุนรามค�ำแหง
ที่มา : www.gotoknow.org/posts/337109

ภาพ : สระ วรรณยุกต์ และตัวเลขไทยสมัยพ่อขุนรามค�ำแหง


ที่มา : http://numkhingzz.exteen.com
http://www.thaigoodview.com/node/83385
บทที่ 11 ศิลาจารึกหลักที่ 1 167

วิธีเขียนอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามค�ำแหง
การเขียนตัวอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามค�ำแหงนัน้ จะเขียนพยัญชนะและสระไว้บรรทัด
เดียวกัน แต่เพือ่ ป้องกันการสับสน นักอักษรศาสตร์ในสมัยนัน้ จึงได้คดิ วิธเี ขียนหรืออักขรวิธี
ขึ้นมา เพื่อขจั ดปัญหาที่จะเกิดขึ้น ในเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ได้สรุป
กฎเกณฑ์การเขียนอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามค�ำแหงไว้ดงั นี้ (อ้างจากวิโรจน์ ผดุงสุนทรารักษ์,
2559 : 50)
1. พยัญชนะต้นและสระเขี ยนเชื่อมติดต่อกัน เช่น (กา)
2. ตัวสะกดเขี ยนแยกออกไป เช่น (การ)
3. อักษรควบและอักษรน�ำเขี ยนเชื่อมติดต่อกัน เช่น
(กราน) (กว่า)
4. ไม้หันอากาศยังไม่มี ใช้ ใช้ตัวสะกดสองตัวซ้อนกันแทน เช่น
(จั ก) (ขับ)
(ทั ้งหลาย) (สามพั น)
(ตัวเนื้อตัวปลา)
5. สระ ออ และสระ อือ ไม่ต้องมี อ เคียง เช่น
(ชื่อ) (ท่อบ้าน)
(พ่อกูชื่อ)
6. วางสระไว้หน้าพยัญชนะต้น ยกเว้นสระอา และสระประสม จึงท�ำให้สระทุกตัว
อยู่ในบรรทั ดเดี ยวกัน และสระ ใอ ไอ โอ มีรปู สูงเท่ากับพยัญชนะ เช่น
(กู) (ไปสวดญัติกฐิน)
(สุกโขทั ย)
7. สระ เอือ ประกอบด้วย สระ อือ สระ เอ พยัญชนะและตัว อ เรียงกัน 2 ตัว โดย
ตัวอักษรแต่ละตัวจะเชื่อมกับตัวที่อยู่ถัดไปข้างหลังตามล�ำดับ เช่น
(เนื้อ) (เชื้อ)
168 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

8. นิคหิตใช้แทนตัว ม สะกด เช่น (ทั ้งกลม)


9. สระเอียประกอบด้วย สระ อี พยัญชนะต้น และตัว ย เรียงกันไป ถ้าไม่มตี วั สะกด
ตัว ย จะมี 2 ตัว แต่จะวางตัว ย ตัวหลังห่างออกไป หากมีตัวสะกด จะเขี ยนลด
รูปคงตัว ย ไว้เพี ยงตัวเดี ยว เช่น
(เมีย) (เวียงค�ำ)
10. สระลอยมีใช้เพียงตัวเดียว คือ สระ (อี)
บรรณานุกรม 11

กุหลาบ มัลลิกะมาส, คุณหญิง. (2555). ความรู้ทั่วไปทางวรรณคดีไทย. พิมพ์


ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
จั นทร์ฉาย ภัคอธิคม. (2520). ประวัติศาสตร์ไทย 1. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
น้อมนิจ วงศ์สทุ ธิธรรม. (2555). วรรณคดีสโุ ขทัย. พิมพ์ครัง้ ที่ 7. กรุงเทพมหานคร :
ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
วิ โรจน์ ผดุงสุนทรารักษ์. (2559). อักษรไทยและอักษรขอมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
วิไลเลขา ถาวรธนสาร และคณะ. (2555). พืน้ ฐานวัฒนธรรมไทย. พิมพ์ครัง้ ที่ 2.
กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์. รามค�ำแหง, พ่อขุน ใน นามานุกรม
วรรณคดีไทย ชุดที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตน
ราชสุดา.
สิทธา พินจิ ภูวดล และปรียา หิรัญประดิษฐ์. (2553). วรรณคดี สมัยสุโขทั ย-
อยุธยา พ.ศ. 2172. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา พัฒนาการวรรณคดีไทย
หน่วยที่ 1-7. พิมพ์ครั้งที่ 9. นนทบุรี : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยสุโขทั ย
ธรรมาธิราช.
ร า ม เ กี ย ร ติ์
ตอน
น า ร า ย ณ์ ป ร า บ น น ท ก
12
1. ประวัติความเป็นมา
รามเกียรติเ์ ป็นวรรณคดีสำ� คัญเรือ่ งหนึง่ อันเป็นทีร่ จู้ ักกันอย่างแพร่หลาย เป็น
เรื่องที่ ได้รับอิทธิพลมาจากวรรณคดี อินเดี ย เข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทั ย
ดังจะเห็นได้จากพระนามพ่อขุนรามค�ำแหง มีค�ำว่า “ราม” อยู่ด้วย ทั ้งนี้ คงมาจาก
ชื่อของพระรามในเรื่องรามเกียรติ์นัน่ เอง นอกจากนี้ยังมี ชื่อถ�้ำพระรามกล่าวไว้ ใน
ศิลาจารึ กพ่อขุนรามค�ำแหง ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการน�ำเอาเรื่องรามเกียรติ์มา
แสดงเป็นมหรสพ ดังจะเห็นได้จากค�ำพากย์สมัยอยุธยาที่น�ำมาใช้พากย์หนังบ้าง
เล่นโขนบ้าง ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร
เรื่องรามเกียรติ์ขึ้นใหม่แทนของเก่าที่สูญเสียไปในคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 ได้แก่
ตอนพระมงกุฎประลองศร ตอนหนุมานเกีย้ วนางวานริน ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ
และตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรดปลุกเสกหอกกบิลพัท
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุ ทธ
ยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) ได้ทรงพระราชนิพนธ์บท
ละครเรือ่ งรามเกียรติข์ นึ้ มาอีกส�ำนวนหนึง่ ซึง่ เป็นส�ำนวนที่
มีความสมบูรณ์มากทีส่ ดุ แต่อย่างไรเสีย ก็ไม่เหมาะส�ำหรับ
ใช้ ในการแสดง เหมาะส�ำหรับอ่านมากกว่า เพราะพรรณนา
ความได้ละเอียดถี่ถ้วน หากใช้แสดงละครจะต้องใช้เวลา
นาน ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศหล้านภาลัยจึง
ทรงพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ขึ้นมาอีกส�ำนวนหนึง่ เพื่อใช้ ในการแสดง ทรงเลือก
ตอนที่เหมาะส�ำหรับการแสดงและไม่เน้นการบรรยายความอย่างละเอียด ทรงเน้น
ที่ความสมจริงของการแสดงมากกว่า
172 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ส�ำหรับที่มาของรามเกียรติ์นั้น สันนิษฐานกันว่าไทยเราได้เค้าเรื่องมาจากคัมภีร์
รามายณะ ฉบับองคนิกายของอินเดี ย เป็นภาษาสันสกฤต ซึ่งเชื่อกันว่าฤๅษีวาลมิกิเป็นผู้
แต่งขึ้นเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว ผู้ที่นับถือศาสนาฮินดูถือว่า เป็นคัมภีร์ที่ศักดิ์สิทธิ์
นอกจากนี้ยังมีเค้าความจากคัมภีร์ วิษณุปุราณะ หนุมานนาฏกะ ซึ่งเป็นบทละครสันสกฤต
และนิทานเรือ่ งพระราม ซึ่งเป็นนิทานเก่าแก่ทเี่ ล่าสืบกันมาก่อนเรือ่ งรามายณะ รามเกียรติ์
ของไทยคงจะได้เค้าเรือ่ งมาจากหนังสือเล่มต่างๆ ดังกล่าวนี้ ต่อมากวีจงึ ได้นำ� เอามารวบรวม
ผูกเป็นเค้าโครงเรื่องจนกลายเป็นรามเกียรติ์ฉบับภาษาไทยขึ้น

ความมุ่งหมายในการแต่งบทละครเรื ่องรามเกียรติ์
ฉบับรัชกาลที่ 1
บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะมีต้นฉบับหรือไม่นั้น เราไม่อาจ
ทราบได้ ถ้ามีก็คงจะสูญหายไปในคราวที่เสียกรุงแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 อย่างแน่นอน แต่
อย่างไรก็ตามยังปรากฏบทพากย์รามเกียรติ์ ซึง่ ใช้ ในการพากย์หนังใหญ่และพากย์ โขน อัน
เป็นหลักฐานที่ชี้ ให้เห็นว่า น่าจะมีต้นฉบับบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
อย่างแน่นอน
ครั้นพอมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุ ทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรง
มีพระราชประสงค์ที่จะรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ไว้เป็นฉบับส�ำหรับพระนคร จึงมีพระบรม
ราชโองการให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตเพื่อช่วยกันแต่งบทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นใหม่
ในปี พ.ศ. 2340 เพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์อันเป็นเรื่องขนาดยาวเข้าไว้ด้วยกัน เล่ากันว่า
โปรดเกล้าฯ ให้ผู้มีความรู้ความสามารถแบ่งกันแต่งเป็นตอนๆ หรือทรงพระราชนิพนธ์เอง
บ้าง และทรงแก้ไขทั กท้วงข้อความของผู้อื่นบ้าง ดังนั้นจึงทรงได้รับการถวายพระเกียรติว่า
เป็นผูท้ รงพระราชนิพนธ์ (กุหลาบ มัลลิกะมาส, 2555 : 119) ความในตอนท้ายของบทละคร
เรื่องรามเกียรติ์ ฉบับรัชกาลที่ 1 ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการแต่งเอาไว้ว่า

“อันพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ ทรงเพี ยรตามเรื่องนิยายไสย


ใช่จะเป็นแก่นสารสิ่งใด ตั้งพระทั ยสมโภชบูชา
ใครฟังอย่าได้ ใหลหลง จงปลงอนิจจั งสังขาร์
ซึ่งอักษรกลอนกล่าวล�ำดับมา โดยราชปรีดาก็บริบูรณ์”

จากข้อความข้างต้นพอจะสรุปความมุง่ หมายในการทรงพระราชนิพนธ์บทละคร เรือ่ ง


รามเกียรติ์ ได้ว่า
บทที่ 12 รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก 173

1.. เพื่อเป็นการรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์เข้าเป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน ให้มีความ


สมบูรณ์ เป็นการเฉลิมฉลองพระนคร และยังเป็นการเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระพุ ทธยอดฟ้าจุฬาโลกด้วย
2.. เพือ่ ใช้เป็นบทละครส�ำหรับเล่นละครใน และใช้อา่ นเพือ่ ความบันเทิงส�ำหรับ
ประชาชน
3.. เพื่อเป็นคติธรรมส�ำหรับสั่งสอนประชาชนทั้งในด้านความกล้าหาญ ความ
เสียสละ ความซื่อสัตย์ ความกตัญญูกตเวที และคุณธรรมต่างๆ

2. ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีพระนามเดิมว่า ทองด้วง หรือ ด้วง
เป็นบุตรของพระอักษรสุนทร (ทองดี ) ข้าราชการกรมพระอาลักษณ์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก
เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เสนาบดี กรมพระคลังในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
มารดาชื่อว่า หยก เป็นธิดาเศรษฐีจีน ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ครั้นเจริญวัยได้ทรงเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในเจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินติ
จนมีพระชนมายุครบ 21 พรรษา จึงทรงผนวช ณ วัดมหาทลาย หลังจากผนวชได้ 1 พรรษา
ก็ลาผนวช แล้วกลับเข้ามารับราชการเป็นมหาดเล็กอีกครั้ง ครั้นพระชนมายุได้ 25 พรรษา
สมเด็จพระที่นงั่ สุริยามรินทร์ได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี
ใน พ.ศ. 2311 หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงสถาปนา
กรุงธนบุรีเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระพุ ทธยอดฟ้าจุ ฬาโลกได้เข้ามารับราชการ ซึ่ง
สมเด็จพระเจ้าตากสินได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เป็นพระราชวรินทร์ ในกรมพระต�ำรวจ
หลวง และได้โดยเสด็จสมเด็จพระเจ้าตากสินไปปราบปรามก๊กต่างๆ จนได้รับพระราชทาน
บรรดาศักดิ์เป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ เจ้ากรมพระต�ำรวจ
ต่อจากนัน้ ทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นแม่ทัพ ต่างพระเนตรพระกรรณ
ไปปราบปรามหัวเมืองต่างๆ อยู่หลายครั้ง มีความดี ความชอบมาก จึงได้รับการเลื่อน
บรรดาศักดิเ์ ป็นพระยายมราชและท�ำหน้าทีส่ มุหนายก แล้วต่อมาก็ได้รับการแต่งตัง้ ให้เป็น
เจ้าพระยาจั กรี ที่สมุหนายก และเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก รับพระราชทาน
เครื่องยศเจ้าต่างกรม ในที่สุด
174 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ครัน้ พ.ศ. 2324 กรุงธนบุรีเกิดเหตุจลาจล สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริยศ์ กึ ต้องยก


กองทั พกลับจากเขมรเพื่อแก้ไขสถานการณ์ ในที่สุดก็ได้ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์
พร้อมกับทรงสถาปนาพระราชวงศ์ ใหม่ คือ พระราชวงศ์จักรี
เมือ่ พระบาทสมเด็จพระพุ ทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัตแิ ล้ว จึงทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมทุกด้าน โดยมีพระราชประสงค์จะให้
กรุงรัตนโกสินทร์เจริญรุ่งเรืองทั ดเทียมกับกรุงศรีอยุธยา ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัด
ต่างๆ เช่น วัดพระเชตุพนวิ มลมังคลาราม และโปรดให้เชิญพระพุ ทธรูปโบราณตามหัวเมือง
ต่างๆ มาประดิษฐานยังพระนครด้วย
นอกจากนี้ยังทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้าฯ ให้ช�ำระกฎหมายโบราณสมัยอยุธยา
ที่หลงเหลืออยู่ ให้เป็นหมวดหมู่ พร้อมกับประทั บตราสามดวงไว้เป็นฉบับหลวง
ทางด้านศาสนาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช�ำระพระไตรปิฎกและคัดเป็นฉบับ
หลวงเพื่อเก็บรักษาเอาไว้ ในหอมณเฑียรธรรม ภายในพระบรมมหาราชวัง
พระบาทสมเด็จพระพุ ทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.
2352 พระชนมายุได้ 73 พรรษา

3. ลักษณะค�ำประพันธ์
บทละครรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทกนี้ แต่งเป็นกลอนบทละครซึ่งอาจ
มีลักษณะบางประการที่คล้ายกับกลอนสุภาพหรือกลอนแปด อันกลอนบทละครนี้แต่งขึ้น
เพื่อใช้ส�ำหรับการแสดงละคร กลอนบทละครมีลักษณะ ดังนี้

1. ลักษณะบังคับ
1.1 บทหนึง่ มี 4 วรรค หรื อ 2 บาท ในแต่ละวรรคนิยมใช้ค�ำ 6-7 ค�ำ ไม่เกิน 8 ค�ำ
เพราะร้องได้ลงจั งหวะเข้ากับท�ำนองได้ ดีกว่า
1.2 สัมผัสบังคับ มีดังนี้
• ค�ำสุดท้าย วรรคที่ 1 ส่งสัมผัสไปยังค�ำที่ 3 หรือ 5 วรรคที่ 2
• ค�ำสุดท้าย วรรคที่ 2 ส่งสัมผัสไปยังค�ำสุดท้าย วรรคที่ 3
บทที่ 12 รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก 175

• ค�ำสุดท้าย วรรคที่ 3 ส่งสัมผัสไปยังค�ำที่ 3 หรือ 5 วรรคที่ 4


• ถ้าแต่งหลายบท ค�ำสุดท้าย วรรคที่ 4 ต้องส่งสัมผัสระหว่างบทไปยังค�ำ
สุดท้าย วรรคที่ 2 ของบทต่อไป

2. การใช้ค�ำขึ้นต้นบท
2.1 “มาจะกล่าวบทไป” ใช้ส�ำหรับขึ้นต้นเรื่อง หรือกล่าวถึงเรื่องที่แทรกเข้ามา
2.2 “เมือ่ นัน้ ” ใช้ขนึ้ ต้นเมือ่ กล่าวถึงผูม้ ยี ศศักดิ์ เช่น ผูเ้ ป็นใหญ่ เทวดา พระมหากษัตริย์
พระมเหสี
2.3 “บัดนัน้ ” ใช้ ขนึ้ ต้นเมือ่ กล่าวถึงผูน้ อ้ ย หรือผู้ ใต้บงั คับบัญชา เช่น อ�ำมาตย์ เสนา
ทหาร สามัญชน
2.4 อาจใช้ค�ำขึ้นต้นอื่นๆ ได้ เช่น “ฟังพาที” หรือขึ้นต้นคล้ายกลอนดอกสร้อย
กล่าวคือ วรรคสดับมี 4 ค�ำ มีค�ำว่า “เอย” หรือ “เอ๋ย” เป็นค�ำที่ 2 เช่น สุดเอย สุดสวาท
โฉมเอยโฉมเฉลา

4. เนื้อเรื ่องย่อ
แต่เดิมมา “นนทก” เป็นพรหมตนหนึง่ มีนามว่า “อนันตพรหม” แต่มี ใจไม่เป็น
อุเบกขา คิดแค้นเคืองพระอิศวรทีแ่ ต่งตัง้ พรหมรุน่ น้องขึน้ เป็น “พรหมธาดา” เจ้าแห่งพรหม
ทัง้ ปวง อนันตพรหมจึงคิดกระด้างกระเดือ่ ง โดยไม่ยอมเข้าร่วมเทวสมาคมแสดงความยินดี
กับพระนารายณ์ที่สังหารอสูรตรีบุร�ำได้ นอกจากนี้ยังไม่ยอมตามเสด็จพระอิศวรกับพระ
อุมาเทวีเมื่อคราวเสด็จประพาสป่าทางชลมารค พระอิศวรจึงมีบัญชาให้พญาอนันตนาคราช
ไปตามตัวมาเฝ้า แล้วประกาศให้เหล่าเทวดานางฟ้าทัง้ หลายทราบว่า
อนันตพรหมผูน้ เ้ี ป็นผูม้ มี จิ ฉาทิฐิ ถือดี มิได้แสดงความเคารพเจ้าแห่ง
เทพเหมือนกับเหล่าเทวดานางฟ้าทั ้งหลาย ในเมื่อจิ ตใจเต็มไปด้วย
มิจฉาทิฐิ จึงไม่ควรให้มีหน้าที่อันยิ่งใหญ่ต่อไป พระอิศวรจึงสาปให้
อนันตพรหมกลายเป็นนนทก แล้วให้ทำ� หน้าทีเ่ ฝ้าอัฒจันทร์และคอย
ตักน�้ำล้างเท้าให้แก่เทวดา นางฟ้าที่มาเข้าเฝ้า
176 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ทุกวันจะมีเทวดา นางฟ้า มาเข้าเฝ้าพระอิศวรอยู่เสมอ เมื่อเทวดา นางฟ้า มาถึงก็


แกล้งจั บศีรษะนนทกสั่นเล่นบ้าง ตบศีรษะบ้าง ถอนผมบ้าง จนผมบนศีรษะของนนทกนั้น
เกลี้ยงโกร๋น
นนทกเสียใจและแค้นใจเป็นอย่างมาก จึงขึ้นไปเฝ้าพระอิศวรกราบทูลขอพร โดยขอ
ให้ตนมีน้วิ เป็นเพชร ชี้ ไปถูกผู้ ใดผู้นั้นต้องตาย
พระอิศวรเป็นผูท้ ี่ ให้พรใครง่ายๆ อยูแ่ ล้ว ประกอบกับทรงเห็นว่านนทกรับใช้พระองค์
มานานถึงโกฏิปี จึงประทานพรให้ตามค�ำขอ ฝ่ายนนทกเมือ่ ได้นว้ิ เพชรแล้วก็รีบมาท�ำหน้าที่
ล้างเท้าให้เทวดา นางฟ้า เหมือนอย่างเคย เหล่าเทวดา นางฟ้า ไม่ร้วู ่านนทกได้รับพรวิ เศษ
มาจึงกลัน่ แกล้งนนทกอีกเช่นเคย แต่คราวนีน้ นทกไม่ปล่อยให้เทวดา นางฟ้า กลัน่ แกล้งกัน
ง่ายๆ อีก จึงร้องด่าด้วยเสียงอันดัง จากนัน้ จึงชีน้ ว้ิ เพชรใส่เทวดา นางฟ้าไปทัว่ เทวดา นางฟ้า
หลายองค์เมื่อถูกนิ้วเพชรเข้าไปก็จุติทันที เทวดา นางฟ้า ที่เหลือรอดต่างพากันไปรายงาน
ต่อพระอินทร์ พระอินทร์เห็นท่าไม่ดี จึงรีบเข้าเฝ้าพระอิศวร พระอิศวรจึงมีพระบัญชาให้
พระอินทร์ไปตามพระนารายณ์มาปราบนนทก
ฝ่ายพระนารายณ์เมื่อรับพระบัญชาแล้ว ก็แปลงพระองค์เป็นนางเทพอัปสร ครั้น
นนทกเห็นเข้าก็เกิดความหลงใหลเข้าเกี้ยวพาราสี นารายณ์แปลงหรือนางเทพอัปสร จึง
หลอกล่อให้นนทกร�ำตาม พอร�ำถึงท่า “นาคาม้วนหาง” นิ้วเพชรก็ ชี้ ไปที่ขาของนนทกเอง
ท�ำให้ขาหักล้มลงทั นที
ทั นใดนั้นนางเทพอัปสรผู้งดงามก็กลับกลายเป็นพระนารายณ์มีสี่กร แต่ละกรถือ
เทพอาวุธ คือ ตรี คฑา จั กร สังข์ เข้าเหยียบร่างนนทกไว้ แล้วเงื้อพระแสงตรีศูลจะสังหาร
นนทกจึงตัดพ้อต่อว่าพระนารายณ์ว่าเหตุใดไม่ต่อสู้กันซึ่งๆ หน้า แปลงกายเป็นหญิงมา
เพราะกลัวนิ้วเพชรหรืออย่างไร พระนารายณ์ตอบว่าหากลัวไม่ แต่เป็นเพราะกรรมเก่าของ
นนทกทีบ่ นั ดาลให้นนทกตายเพราะกิเลส จึงท�ำให้พระองค์ตอ้ งแปลงกายเป็นหญิงมาปราบ
นนทกก็กล่าวถึงสาเหตุทตี่ นแพ้เพราะว่าตนมีแค่สองมือเท่านัน้ หามีสมี่ อื อย่างพระนารายณ์
ไม่ พระนารายณ์จึงสาปให้ไปเกิดเป็นยักษ์มี 10 หน้า 20 มือ ส่วนพระองค์จะตามไปเกิด
เป็นมนุษย์ มีแค่สองกรเท่านั้น แล้วจะล้างผลาญวงศ์ยักษ์ ให้หมด จากนั้นจึงตัดหัวนนทก
ขาดกระเด็นไป เมื่อนนทกตายแล้วจึงไปเกิดในครรภ์ของนางรัชดา มเหสีแห่งท้าวลัสเตียน
มีนามว่า “ทศกัณฐ์”
บทที่ 12 รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก 177

5. ตัวละครส�ำคัญ
ตัวละครส�ำคัญที่ปรากฏบทบาทเด่นๆ ในรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทกนี้
มีพระอิศวร นนทก และพระนารายณ์ โดยจะได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของตัวละคร
ส�ำคัญทั ้งสาม ดังนี้

1. พระอิศวร
พระอิศวร คือ มหาเทพผู้เป็นใหญ่ หนึง่ ในตรีมูรติ คือ พระพรหมผู้สร้าง พระอิศวร
ผู้ท�ำลาย พระนารายณ์ผู้รักษา พระอิศวรมีชายาชื่อพระอุมา มีโอรส 2 องค์ คือ พระขันธ
กุมารและพระคเนศ บางต�ำราบอกว่ามี 5 พั กตร์ 4 มือ มี 3 ตา ตาดวงที่ 3 อยู่กลางหน้า
ผาก โดยปกติจะหลับสนิท แต่ถา้ ลืมขึน้ เมือ่ ใด สิง่ ทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหน้าก็จะไหม้เป็นจุณไป บนเศียร
ของพระอิศวรจะมีพระจันทร์เสีย้ วเป็นปิน่ อยูท่ มี่ วยผม มีพาหนะคือ โคนนทิ หรือ โคอุสภุ ราช
ในเรื่องรามเกียรติ์ พระอิศวรมักจะประทานพรให้กับยักษ์ที่บ�ำเพ็ญตบะมาเป็นเวลา
ยาวนาน แต่ต่อมายักษ์ที่ ได้พรไปนั้นกลับก�ำเริบฤทธิ์ แล้วก่อความเดือดร้อนไปทั ่วทั ้งสาม
โลก ตัวอย่างเช่น ทรงประทานคทาเพชรและพรแก่อสุรพั กตร์ว่าไม่ ให้มีผู้ ใดฆ่าตายได้ ต่อ
มาพระอิศวรจึงต้องประทานพระขรรค์เพชรและพรให้ทา้ วอัชบาลไปปราบ พระอิศวรประทาน
พรให้ตรีบุรัม แล้วตรีบุรัมก็ก�ำเริบขึ้นไปรุกรานข่มเหงนางฟ้า จนพระอิศวรต้องยกทั พไป
สังหาร จากนั้นก็มาประทานพรแก่นนทกว่าให้มีน้วิ เพชร นนทกก็ไปก่อความเดือดร้อน
ใช้น้วิ เพชรสังหารเทวดา พระอิศวรต้องให้พระนารายณ์ไปปราบ
แม้ว่าพระอิศวรจะเป็นเทพเจ้าผู้เรืองเดช แต่เมื่อเกิดเหตุบนสวรรค์ พระอิศวรก็มัก
จะให้ตามบรรดาผู้มีอิทธิฤทธิ์มาช่วยแก้ไข เช่น ครั้งที่รามสูรท�ำเขาพระสุเมรุทรุดเอียง พระ
อิศวรก็ ให้ตามพาลีและสุครีพไปท�ำเขาให้ตรง ครั้งพญายักษ์ วิ รุฬหกขว้างสังวาลใส่ตุ๊กแก
จนท�ำให้เขาไกรลาสทรุด พระอิศวรก็ ให้ตามตัวทศกัณฐ์ มาตั้งเขาให้ตรง แล้วประทาน
พระอุมาให้ตามที่ทศกัณฐ์ขอ ท�ำให้บรรดาทวยเทพตกใจเดือดร้อน พระนารายณ์ต้องออก
อุบายให้ทศกัณฐ์น�ำพระอุมามาคืน แล้วให้พระอิศวรมอบนางมณโฑให้ทศกัณฐ์แทน เมื่อ
ครัง้ ทีท่ ศกัณฐ์รบกับกุเปรันพีช่ ายเพราะอยากได้บษุ บกแก้ว กุเปรันสู้ ไม่ได้หนีมาหาพระอิศวร
พระอิศวรได้ถอดงาช้างขว้างไปปักที่อกทศกัณฐ์ แล้วสาปให้ติดแน่นถอนไม่ออก จนกว่าจะ
สิ้นชีพ ทศกัณฐ์ต้องให้พระวิ ษณุกรรม มาเลื่อยงาช้างส่วนที่ โผล่พ้นร่างกายออก ครั้นเมื่อ
ทศกัณฐ์ตงั้ พิธที รายกรดปลุกเสกหอกกบิลพั ท โดยเอารูปเทวดาโยนลงในกองไฟ พระอิศวร
178 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ได้ ให้เทพบุตรพาลีไปท�ำลายพิธี มิฉะนั้นเหล่าเทวดาจะต้องตายหมดภายใน 3 วัน ในตอน


สุดท้ายพระอิศวรได้เป็นคนกลาง ช่วยไกล่เกลี่ยให้พระรามและนางสีดาคืนดี กัน และจั ดพิธี
อภิเษกให้อีกครั้งหนึง่

2. นนทก
นนทก คือ อสุรเทพบุตร อยูท่ เี่ ชิงเขาไกรลาส ท�ำหน้าทีล่ า้ งเท้าให้กบั เหล่าเทวดาทีม่ า
เฝ้าพระอิศวร นนทกถูกเหล่าเทวดาหยอกล้อ กลั่นแกล้ง ลูบหัว ถอนผมจนโกร๋นเกลี้ยง
เป็นเวลาถึงโกฏิปี นนทกจึงเจ็บแค้นขึ้นไปเฝ้าพระอิศวรกราบทูลขอนิ้วเพชรชี้ ไปที่ผู้ ใดผู้
นั้นต้องตาย ครั้นพระอิศวรประสาทพรให้แล้ว นนทกก็ ใช้น้วิ เพชรชี้เหล่าเทวดาที่เคยท�ำให้
ตัวเองเจ็บแค้นตายไปจนเกือบหมด พระอิศวรจึงให้พระนารายณ์ไปปราบ พระนารายณ์ได้
แปลงองค์เป็นนางอัปสรหลอกล่อให้นนทกร�ำตาม เมื่อร�ำถึงท่านาคาม้วนหาง นิ้วเพชร
ก็ชี้ ไปที่ขา นนทกขาหักล้มลง นางอัปสรก็คืนร่างเป็นพระนารายณ์ เหยียบอกนนทกไว้
หมายจะสังหาร แต่นนทกก็รีบตัดพ้อว่า เพราะตนมีเพี ยงสองมือ จึงแพ้ฤทธิ์พระนารายณ์
ที่มีสี่กร พระนารายณ์จึงสาปให้นนทกไปเกิดเป็นยักษ์มี 10 หน้า 20 มือ ส่วนพระองค์จะ
ตามไปเกิดเป็นมนุษย์ทมี่ เี พียง 2 มือ แล้วจะสังหารวงศ์ยกั ษ์ ให้สนิ้ ซาก ว่าแล้วพระนารายณ์
ก็ตัดหัวนนทก วิ ญญาณของนนทกก็ไปเกิดเป็นทศกัณฐ์

3. พระนารายณ์
พระนารายณ์ คือ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ ในกลุ่มเทพ 3 องค์ ที่เรียกว่าตรีมูรติ ได้แก่
พระพรหม พระอิศวร พระนารายณ์
พระนารายณ์มีกร 4 กร มีอาวุธ คือ ตรี คทา จั กร สังข์ บรรทมเหนือบัลลังก์นาค
ในเกษียรสมุทร ทรงครุฑเป็นพาหนะ มีพระมเหสีชื่อ พระลักษมี พระนารายณ์เป็นเทพเจ้า
ผู้รักษาและปราบปรามความชั่วร้าย มีเรื่องราวมากมายที่เล่า
ถึงปางอวตารของพระองค์ เพื่อมาปราบยุคเข็ญกว่า 20 ปาง
ส�ำหรับปางอวตารเป็นพระรามนั้น พระนารายณ์อวตาร
มาเกิดเป็นโอรสของท้าวทศรถ มีเทพอาวุ ธและบัลลังก์นาค
อวตารตามมาเกิดพร้อมกันเป็นพระพรต พระลักษณ์ และพระ
สัตรุด เพื่อมาปราบทศกัณฐ์ โดยเป็นปางอวตารที่ส�ำคัญปาง
หนึง่ เรียกว่า รามาวตาร
บทที่ 12 รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก 179

ในเรื่องรามเกียรติ์ยังได้กล่าวถึงอวตารปางอื่นๆ ของพระนารายณ์ไว้ด้วย ได้แก่


วราหาวตาร คือ อวตารเป็นหมูมาปราบหิรันตยักษ์ทมี่ ว้ นแผ่นดินไปไว้ยงั เมืองบาดาล และ
อัปสราวตาร คือ อวตารเป็นนางอัปสรมาปราบนนทก นอกจากนีย้ งั แปลงกายเป็นยักษ์แก่
เจรจาให้ทศกัณฐ์น�ำพระอุมาคืนพระอิศวรด้วย

6. แนวคิดส�ำคัญของเรื ่อง
แนวคิดส�ำคัญของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทกนี้ จะเห็นได้
จากบทบาทของตัวละครส�ำคัญ คือ พระอิศวร นนทก และพระนารายณ์
พระอิศวรประทานพรให้แก่นนทก โดยไม่คิดถึงผลที่จะตามมาในภายหลัง จนท�ำให้
เกิดความวุ่นวายขึ้นในเมืองสวรรค์ การกระท�ำของพระอิศวรในครั้งนี้ เป็นตัวอย่างส�ำหรับ
ผู้เป็นใหญ่ว่า ควรพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนที่จะมอบอ�ำนาจให้แก่ผู้ ใด และผู้ที่ ได้รับ
มอบอ�ำนาจไปแล้วจะน�ำไปใช้ ในทางที่ถูกหรือไม่
ส่วนนนทกนัน้ เมือ่ ได้รับพรวิเศษคือมีนว้ิ เพชร แทนทีจ่ ะเอาไว้สำ� หรับป้องกันตัว กลับ
น�ำไปแก้แค้น เปรียบเสมือนกับคนทีห่ ลงระเริงในอ�ำนาจ แล้วใช้อำ� นาจในทางทีม่ ชิ อบ ท�ำให้
ผู้อื่นเดือดร้อน แต่แล้วก็ต้องพบกับความพินาศ เพราะอ�ำนาจของตนเอง
ส�ำหรับพระนารายณ์นนั้ เปรียบเสมือนตัวแทนของผูพ้ ทิ ักษ์รักษาความสงบเรียบร้อย
ในสังคม ยามใดที่บ้านเมืองมีปัญหา ผู้พิทักษ์ก็จะต้องมาปราบปราม เพื่อให้บ้านเมืองสงบ
สุขอีกครั้งหนึง่
นอกจากนีย้ งั สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดส�ำคัญอีกประการหนึง่ ว่า การอาฆาตพยาบาท
จองเวร ไม่คิดอโหสิกรรมให้แก่กัน ก็เป็นสาเหตุน�ำพาความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและญาติ
พี ่น้อง เหมือนกับนนทกเจ็บแค้นพระนารายณ์ที่แปลงเป็นนางเทพอัปสรมาลวงตน ท�ำให้
ตนต้องเสียที จึงกล่าวบริภาษพระนารายณ์หาว่ากลัวนิ้วเพชรของตน พระนารายณ์จึงสาป
ให้ไปเกิดเป็นพญายักษ์มี 10 พั กตร์ 20 กร แต่แล้วก็ต้องพินาศย่อยยับลงอีกครั้ง เพราะ
ความผูกอาฆาตพยาบาทของตน
180 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

7. คุณค่า

7.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
7.1.1 รสวรรณคดี บทละครเรื ่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทกนี้
ปรากฏรสวรรณคดีครบทั้ง 4 รส ดังนี้
• เสาวรสจนี คือ บทชมโฉมหรือชมความงามของตัวละคร ธรรมชาติ หรือสถานที่
แต่ในที่น้ขี อยกตัวอย่างตอนที่นนทกได้เห็นรูปร่างอันโสภาของนางเทพอัปสร
ความว่า

“เหลือบเห็นสตรี วิ ไลลักษณ์ พิศพั กตร์ผ่องเพี ยงแขไข


งามโอษฐ์งามแก้มงามจุไร งามนัยน์เนตรงามกร
งามถันงามกรรณงามขนง งามองค์ยิ่งเทพอัปสร
งามจริตกิริยางามงอน งามเอวงามอ่อนทั ้งกายา
ถึงโฉมองค์อัครลักษมี พระสุรัสวดี เสน่หา
สิ้นทั ้งไตรภพจบโลกา จะเอามาเปรียบไม่เทียบทั น
ดูไหนก็เพลินจ�ำเริญรัก ในองค์เยาวลักษณ์สาวสวรรค์
ยิ่งพิศยิ่งคิดผูกพั น ก็เดินกระชั้นเข้าไป”

• นารี ปราโมทย์ คือ บทเกี้ยวพาราสีระหว่างชายกับหญิง ดังตัวอย่างจากตอนที่


นนทกเกี้ยวนางเทพอัปสรว่า

“โฉมเอยโฉมเฉลา เสาวภาคย์แน่งน้อยพิสมัย
เจ้ามาแต่สวรรค์ชั้นใด นามกรชื่อไรนะเทวี
ประสงค์สิ่งอันใดจะใคร่ร้
ู ท�ำไมมาอยู่ที่นี่
ข้าเห็นเป็นน่าปรานี มารศรีจงแจ้งกิจจา”

• พิ โรธวาทัง คือ บททีแ่ สดงความโกรธ โมโห ดังตอนทีน่ นทกอดทนต่อการกระท�ำ


ของเหล่าเทวดา นางฟ้า อีกต่อไปไม่ไหวจึงร้องตวาดออกมา ดังความว่า
บทที่ 12 รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก 181

“บัดนั้น นนทกน�้ำใจแกล้วกล้า
กริ้วโกรธร้องประกาศตวาดมา อนิจจาข่มเหงเล่นทุกวัน
จนหัวไม่มีผมติด สุดที่เราจะคิดอดกลั้น
วันนี้จะได้เห็นกัน ขบฟันแล้วชี้น้วิ ไป”

• สัลลาปังคพิสัย คือ บทโศกเศร้า คร�่ำครวญ ร�ำพึงร�ำพั น เช่น ตอนที่นนทก


ไปร้องทุกข์ต่อพระอิศวร ความว่า

“ผู้ใดท�ำชอบต่อเบื้องบาท ก็ประสาททัง้ พรและยศศักดิ์


ตัวข้าก็มีชอบนัก ล้างเท้าสุรารักษ์ถึงโกฏิปี
พระองค์ผู้ทรงศักดาเดช ไม่โปรดเกศแก่ข้าบทศรี
กรรมเวรสิ่งใดดังนี้ ทูลพลางโศกีร�ำพั น”

7.1.2 การใช้โวหารและถ้อยค�ำ
• การหลากค�ำ คือ กลวิ ธีการประพั นธ์อย่างหนึง่ ที่กวีนยิ มน�ำมาใช้เพื่อท�ำให้บท
ประพั นธ์มีความไพเราะ ตัวอย่างเช่น

“เมื่อนั้น หัสนัยน์เจ้าตรัยตรึ งศา


เห็นนนทกนั้นท�ำฤทธา ชี้หมู่เทวาวายปราณ”

จากตัวอย่างทีย่ กมานี้ ค�ำทีพ่ มิ พ์ตวั หนาก็คอื การหลากค�ำทีก่ วีนำ� มาใช้ในบทประพั นธ์


นัน่ เอง และยังถือเป็นไหวพริบของกวีที่สามารถสรรหาค�ำที่มีความหมายว่าพระอินทร์มาใช้
ในบทประพั นธ์ ท�ำให้เกิดความไพเราะทั ้งในด้านเสียงและความหมายด้วย นอกจากนี้ยัง
ปรากฏกลวิ ธีการหลากค�ำอยู่อีกหลายตอน เช่น

“บัดนั้น นนทกแกล้วหาญชาญสมร
เห็นพระองค์ทรงสังข์คทาธร เป็นสี่กรก็ร้ปู ระจั กษ์ใจ
ว่าพระหริวงศ์ทรงฤทธิ์ ลวงล้างชีวิตก็เป็นได้
จึ่งมีวาจาถามไป โทษข้าเป็นไฉนให้ว่ามา”
182 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

• การใช้คำ� แสดงอารมณ์ ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้ผอู้ า่ นมีอารมณ์รว่ มไปกับตัวละครทีก่ �ำลังด�ำเนิน


บทบาท ดังตอนที่ว่า

“จนผมโกร๋นโล้นเกลี้ยงถึงเพี ยงหู ดูเงาในน�้ำแล้วร้องไห้


ฮึดฮัดขัดแค้นแน่นใจ ตาแดงดั่งแสงไฟฟ้า
เป็นชายดูดู๋มาหมิ่นชาย มิตายก็จะได้มาเห็นหน้า
คิดแล้วก็รีบเดินมา เฝ้าพระอิศราธิบดี ”

ความตอนนี้แสดงให้เห็นถึงความคับแค้นใจของนนทก กวีเลือกสรรค�ำมาอย่าง
เหมาะสมกับอารมณ์ของตัวละครที่ก�ำลังโกรธจั ด อ่านแล้วรู้สึกเห็นใจและคล้อยตามความ
คิดเห็นของตัวละคร และการใช้ค�ำว่า “ดูดู๋” นั้น ก็ท�ำให้เข้าใจว่า นนทกก�ำลังรู้สึกว่าถูก
หยามเกียรติ “หมิน่ ชาย” ก็เป็นค�ำทีเ่ สริมให้เห็นภาพอารมณ์และความรูส้ กึ ของนนทกอีกว่า
เหลืออดแล้วต้องเห็นดี กัน
• การใช้ค�ำสัน้ แต่กนิ ความมาก คือ การเล่าเรือ่ งด้วยการใช้ถอ้ ยค�ำไม่กปี่ ระโยค แต่
ทว่าได้ ใจความสมบูรณ์ครบถ้วน ดังตัวอย่าง

“ชาติน้มี ึงมีแต่สองหัตถ์ จงไปอุบัติเอาชาติ ใหม่


ให้สิบเศียรสิบพั กตร์เกรียงไกร เหาะเหินเดินได้ ในอัมพร
มีมือยี่สิบซ้ายขวา ถือคทาอาวุธธนูศร
กูจะเป็นมนุษย์แต่สองกร ตามไปราญรอนชีวี”

ความตอนนี้กล่าวถึงพระนารายณ์ที่ ได้เจรจากับนนทก ก่อนที่จะลงมือสังหาร กวี


แต่งด้วยกลอนสองบท ซึ่งดูผิวเผิ นแล้วก็เป็นใจความสั้นๆ แต่พออ่านไปจนจบก็จะเห็นว่า
ได้ ใจความครบครัน กล่าวคือ นนทกหาว่าพระนารายณ์รังแกตน และที่ชนะตนได้เพราะมี
สี่มือ ตนมีเพี ยงสองมือ มีหรือจะสู้พระนารายณ์ได้ พระนารายณ์จึงสาปให้นนทกไปเกิดใหม่
แล้วขอให้มีสิบหน้า ยี่สิบมือ ส่วนพระนารายณ์เองนั้นก็จะไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพี ยงสองมือ
ตามไปล้างวงศ์วานของนนทกให้หมดสิ้น
• การใช้ค�ำซ�ำ้ เป็นกลวิธกี ารแต่งอย่างหนึง่ ทีท่ �ำให้เกิดความไพเราะและยังเป็นการ
เน้นใจความให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้นอีกด้วย ดังตัวอย่าง
บทที่ 12 รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก 183

“เหลือบเห็นสตรีวิไลลักษณ์ พิศพั กตร์ผ่องเพี ยงแขไข


งามโอษฐ์งามแก้มงามจุไร งามนัยน์เนตรงามกร
งามถันงามกรรณงามขนง งามองค์ยิ่งเทพอัปสร
งามจริตกิริยางามงอน งามเอวงามอ่อนทั ้งกายา”

ความจากบทประพั นธ์น้เี ป็นการกล่าวชมความงามของนางอัปสร (นารายณ์แปลง)


กวีซ�้ำค�ำว่า “งาม” เพื่อเน้นความให้ผู้อ่านเห็นว่านางอัปสรนั้นมีความงดงามมากปานใด
• การใช้อุปมาเปรี ยบเทียบ เป็นวิ ธีการที่ท�ำให้ผู้อ่านเกิดจิ นตนาการและเห็นภาพ
ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่จะมีค�ำแสดงความเปรียบเทียบปรากฏอยู่ เช่นค�ำว่า
ดุจ ประดุจ ดัง ดั่ง เพี้ยง เป็นต้น ดังตัวอย่าง

“ต้องสุบรรณเทวานาคี ดั่งพิษอสุนไี ม่ทนได้


ล้มฟาดกลาดเกลื่อนลงทั นใด บรรลัยไม่ทันพริบตา”

ความข้างต้นเป็นตอนที่นนทกก�ำลังแก้แค้นเหล่าเทวดา โดยการชี้น้วิ เพชรไปยัง


เทวดานัน้ ๆ กวีใช้คำ� “ดัง่ ” เปรียบให้เห็นว่านิว้ เพชรของนนทกมีอ�ำนาจเหมือนพิษของสายฟ้า

7.2 คุณค่าด้านสังคม
รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทกนี้ ได้สะท้อนให้เห็นคุณค่าด้านสังคมในเรื่อง
ต่างๆ ดังนี้
7.2.1 ค่านิยมของคนไทย
ท�ำดี ได้ดี ท�ำชั่วได้ชั่ว ดังความจากตอนที่ว่า

“เมื่อนั้น พระสยมภูวญาณเรืองศรี
ได้ฟังนนทกพาที ภูมีนงิ่ นึกตรึ กไป
ไอ้นมี่ ีชอบมาช้านาน จ�ำจะประทานพรให้
คิดแล้วก็ประสิทธ์พรชัย จงได้ส�ำเร็จมโนรถ”
184 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

จากบทประพั นธ์ข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงความดี ของนนทกที่มีมาอย่างยาวนาน


พระอิศวรจึงประทานพรให้ แต่ทว่านนทกกลับน�ำพรวิ เศษที่ตนได้มาจากพระอิศวรไปใช้
ในทางที่ผิด จึงท�ำให้ตนต้องพบกับความย่อยยับในที่สุด ดังความจากตอนที่ว่า

“เมื่อนั้น พระนารายณ์ทรงสวัสดิร์ ัศมี


ได้ฟังจึ่งตอบวาที กูน้แี ปลงเป็นสตรีมา
เพราะมึงจะถึงแก่ความตาย ฉิบหายด้วยหลงเสน่หา
ใช่ว่าจะกลัวฤทธา ศักดานิ้วเพชรนั้นเมื่อไร
ชาติน้มี ึงมีแต่สองหัตถ์ จงไปอุบัติเอาชาติ ใหม่
ให้สิบเศียรสิบพั กตร์เกรียงไกร เหาะเหินเดินได้ ในอัมพร
มีมือยี่สิบซ้ายขวา ถือคทาอาวุธธนูศร
กูจะเป็นมนุษย์แต่สองกร ตามไปราญรอนชีวี”

7.2.2 ความเชื่อ
รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทกนี้ แสดงให้เห็นความเชื่อในเรื่องของภพหน้า
ดังจะเห็นได้จากบทประพั นธ์ว่า

“ชาติน้มี ึงมีแต่สองหัตถ์ จงไปอุบัติเอาชาติ ใหม่


ให้สิบเศียรสิบพั กตร์เกรียงไกร เหาะเหินเดินได้ ในอัมพร
มีมือยี่สิบซ้ายขวา ถือคทาอาวุธธนูศร
กูจะเป็นมนุษย์แต่สองกร ตามไปราญรอนชีวี”

7.2.3 วัฒนธรรมทางนาฏศิลป์ไทย
ได้สะท้อนให้เห็นถึงท่าร�ำที่ส�ำคัญและเป็นแบบแผนสืบเนือ่ งมาจนปัจจุ บัน ท่าร�ำ
ที่กล่าวถึงในรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทกนั้น มีดังนี้
บทที่ 12 รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก 185

“เทพพนมปฐมพรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน
ทั ้งกวางเดินดงหงส์บิน กินรินเลียบถ�้ำอ�ำไพ
อีกช้านางนอนภมรเคล้า ทั ้งแขกเต้าผาลาเพี ยงไหล่
เมขลาโยนแก้วแววไว มยุเรศฟ้อนในอัมพร
ลมพั ดยอดตองพรหมนิมิต ทั ้งพิสมัยเรียงหมอน
ย้ายท่ามัจฉาชมสาคร พระสีก่ รขว้างจักรฤทธิรงค์”
บรรณานุกรม 12

กุหลาบ มัลลิกะมาส, คุณหญิง. (2555). ความรู้ทั่วไปทางวรรณคดีไทย. พิมพ์


ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
บรรเทา กิตติศักดิ์ และกัมพุ ชนาฎ เปรมกมล. (2537). วรรณคดีมรดก. พิมพ์
ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัทส�ำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จ�ำกัด.
ฟองจั นทร์ สุขยิ่ง และคณะ. (2544). หนังสือเรี ยน รายวิชาพื้นฐาน ภาษา
ไทยวรรณคดีและวรรณกรรม ม. 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อักษร
เจริญทั ศน์ อจท. จ�ำกัด.
รื่นฤทั ย สัจจพั นธุ์. (2554). นามานุกรมรามเกียรติ์ ฉบับปรับปรุงใหม่.
กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์.
ส. พลายน้อย. (2554). รามเกียรติ์ ฉบับมหาชน. พิมพ์ครัง้ ที่ 7. กรุงเทพมหานคร :
พิมพ์ค�ำส�ำนักพิมพ์.
เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2549). เล่าเรื ่องวรรณคดีไทย รามเกียรติ์ ระดับ
มัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์แม็ค.
ก า พ ย์ ห่ อ โ ค ล ง
ประพาสธารทองแดง 13
1. ประวัติความเป็นมา
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง เป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
ที่ทรงพระนิพนธ์ขึ้นในคราวตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระราชบิ ดา
ไปนมัสการพระพุ ทธบาทสระบุรี ในคราวเดี ยวกันกับที่ทรงพระนิพนธ์กาพย์เห่เรือ

2. ประวัติผู้แต่ง
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ ใหญ่
ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระชนนี คือ สมเด็จพระพั นวัสสาใหญ่ กรมหลวง
อภัยนุชิต พระองค์ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2258 ทรงมีพระภคินรี ่วมพระชนนีเดี ยวกัน
อีก 6 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าหญิงบรม เจ้าฟ้าหญิงธิดา เจ้าฟ้าหญิงรัศมี เจ้าฟ้าหญิง
สุริยวงศ์ เจ้าฟ้าหญิงสุริยา และเจ้าฟ้าหญิงอินทสุดาวดี
ก่อนที่พระองค์จะได้รับการสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลนั้น
พระองค์ทรงก่อเหตุลอบท�ำร้าย เจ้าฟ้ากรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ พระราชนัดดาองค์โปรด
ในสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศ แต่ดว้ ยความช่วยเหลือของพระชนนี ทีท่ รงจัดการให้
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรเข้าพึง่ ร่มผ้ากาสาวพั สตร์ ประกอบกับเจ้าฟ้ากรมขุนสุเรนทรพิทักษ์
ได้ช่วยกราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษ จึงท�ำให้เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรรอดพ้นจาก
ความตายมาได้ ต่อมาเมื่อพระชนนีประชวรหนัก ใกล้สิ้นพระชนม์ จึงได้กราบทูล
ขอพระราชทานอภัยโทษ และขอชี วิ ตเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไว้หากท�ำผิ ดอีก ซึ่งสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศก็ทรงพระราชทานให้
188 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

เมื่อพ้นโทษแล้วพระองค์จึงลาผนวช ต่อมาก็ได้รับการสถาปนาเป็นกรมพระราชวัง
บวรสถานมงคล พระองค์ได้ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจต่างพระเนตรพระกรรณมากมาย
เช่น ทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามต่างๆ ที่ส�ำคัญ คือ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัด
ที่ส�ำคัญที่สุดในอาณาจั กร
อย่างไรก็ตามด้วยความที่พระองค์ทรงมีเรื่องขัดแย้งกับเจ้านายพระองค์อื่นๆ โดย
เฉพาะอย่างยิ่งเจ้านายในกลุ่มเจ้าสามกรม จึงท�ำให้พระองค์ถูกฟ้องร้องด้วยข้อกล่าวหาว่า
เป็นชูก้ บั เจ้าฟ้าสังวาลย์ พระสนมองค์หนึง่ ของสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศ ดังนัน้ พระองค์
จึงถูกลงพระราชอาญาจนสิ้นพระชนม์
พระนิพ นธ์ ข องเจ้ า ฟ้ า ธรรมธิ เ บศรเท่ า ที่ เ หลื อ ตกทอดมาถึ ง ปั จ จุ บั น ได้ แ ก่
นันโทปนันทสูตรค�ำหลวง พระมาลัยค�ำหลวง กาพย์เห่เรือ บทเห่เรื่องกากี บทเห่สังวาส
และบทเห่ครวญ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารโศก กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง และ
เพลงยาว

3. ลักษณะค�ำประพันธ์
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง แต่งเป็นกาพย์ห่อโคลง ซึ่งประกอบด้วยโคลง
สี่สุภาพและกาพย์ยานี 11 แต่งสลับกันไป เริ่มต้นด้วยกาพย์ยานี 1 บท แล้วตามด้วยโคลง
สี่สุภาพ 1 บท เนื้อความในกาพย์ยานีกับโคลงสี่สุภาพจะต้องคล้ายกัน หรือใกล้เคียงกัน
นอกจากนี้ค�ำขึ้นต้น 2 ค�ำแรกของกาพย์และโคลงจะต้องเหมือนกัน ดังตัวอย่าง

“หัวลิงหมากลางลิง ต้นลางลิงแลหูลิง
ลิงไต่กระไดลิง ลิงโลดคว้าประสาลิง
หัวลิงหมากเรียกไม้ ลางลิง
ลางลิงหูลิงลิง หลอกขู้
ลิงไต่กระไดลิง ลิงห่ม
ลิงโลดฉวยชมผู้ ฉีกคว้าประสาลิง”
บทที่ 13 กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 189

ในตอนท้ายเรื่องเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงใช้กาพย์ห่อโคลง 2 บท และโคลงสี่สุภาพ
5 บท บอกรายละเอียดเกี่ยวกับผู้แต่ง แสดงวัตถุประสงค์ของการแต่ง แสดงคุณค่าและ
ชื่นชมความไพเราะของวรรณคดี ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการอ่านดังความที่ว่า

“เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ไชยเชษฐสุริยว์ งศ์เพียร


แต่งไว้ ให้สถิตเสถียร จ�ำเนียรกาลนานสืบไป
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์เจ้า ทรงเขี ยน
ไชยเชษฐสุริย์วงศ์เพี ยร เลิศหล้า
แต่งไว้ ให้สถิตเสถียร ในโลกย์
จ�ำเนียรกาลนานช้า อ่านอ้างสรรเสริญ
เจ้าฟ้า หนุ่มน้อยราช กุมาร
กรมขุน หลวงพญากราน กราบเกล้า
เสนา นราบาน ใจชื่น ชมนา
พิทักษ์ รักษาเช้า ค�่ำด้วยใจเกษม
จบ จนจอมโลกย์เจ้า คืนวัง
บ พิตรสถิตบัลลังก์ เลิศหล้า
ริ ร่างกาพย์ โคลงหวัง ชนโลก อ่านนา
บูรณ์ พระโคลงเจ้าฟ้า ธิเบศร์เจ้าจงสงวน
อักษรเรียบร้อยถ้อย ค�ำเพราะ
ผู้ร้อู ่านสารเสนาะ เรื่อยหรี้
บรู้อ่านไม่เหมาะ ตรงเทิ่ง ไปนา
ท�ำให้ โคลงทั ้งนี้ ชั่วช้าเสียไป
อักษรสรรค์สร้างช่าง ชุบจาน
โคลงก็เพราะเสนาะสาร แต่งไว้
ผู้ร้อู ่านกลอนการ พาชื่น ใจนา
ผู้บ่ร้อู ่านให้ ขัดข้องเสียงโคลง”
190 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

4. เนื้อเรื ่อง
เนือ้ หาของกาพย์หอ่ โคลงประพาสธารทองแดง เป็นการพรรณนาให้เห็นถึงการเสด็จ
พระราชด�ำเนินไปพระพุ ทธบาท ด้วยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค มีขบวนช้าง เครื่องสูง
พระสนม นางใน ที่ตามเสด็จ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรได้บรรยายภาพสัตว์ป่าประเภทต่างๆ ที่
ใช้ชี วิ ตอยู่ร่วมกันตามวิ ถีทางของธรรมชาติ ซึ่งสัตว์ป่าที่พระองค์ทรงบรรยายไว้นั้น มีสัตว์
สี่เท้า เช่น ช้าง กระบือ โค กวาง ทราย หมูป่า สุนัขจิ ้งจอก กระทิง หมี เสือโคร่ง เสือเหลือง
เสือดาว โคแดง ละมั่ง อ้น เลียงผา กระแต กระรอก เช่น

“เลียงผาอยู่ภูเขา หนวดพรายเพราเขาแปล้ปลาย
รูปร่างอย่างแพะหมาย ขนเหม็นสาปหยาบเหมือนกัน
เลียงผาอยู่พ่างพื้น ภูเขา
หนวดพู่ดูเพราเขา ไปล่ท้าย
รูปร่างอย่างแพะเอา มาเปรียบ
ขนเหม็นสาบหยาบร้าย กลิ่นกล้าเหมือนกัน”

กล่าวถึงสัตว์เลื้อยคลานและแมลง เช่น ตุ๊กแก ตุ๊ดตู่ แย้ บึ้ง ผึ้งหลวง ต่อ แตน


ฯลฯ สัตว์ปีกและนกนานาชนิด เช่น นกยูง นกเขา นกกระทา ไก่ป่า ไก่ฟ้า นกหว้า นกกด
นกกระเรียน นกแก้ว นกกระจิ บ นกกระจาบ นกกางเขน นกขมิ้น นกเงือก
นอกจากนี้เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ได้พรรณนาชมต้นไม้นานาชนิด ทั ้งไม้ยืนต้น ไม้เถา
ไม้ดอก ไม้ใบ ไม้ผล เช่น กุหลาบ เพกา สาเก สุกรม มะยม ชมพู่ นางแย้ม ราชพฤกษ์
ชงโค ตะโก ตะขบ นมแมว มหาหงส์ มะเดื่อ น้อยหน่า มังคุด หมากม่วง จากนั้นพรรณนา
ชมปลา สัตว์นำ�้ สัตว์ครึง่ บกครึง่ น�ำ้ สัตว์ทหี่ ากินในน�ำ้ เช่น ปลาแปบ ปลาเป้า ปลาคางเบือน
ปลาดุก ปลากะโห้ งูเหลือม จระเข้ เป็ด ตะพาบน�้ำ ปู กุ้ง หอยโข่ง หอยขม ฯลฯ และทรง
พรรณนาถึงความรื่นรมย์ของธรรมชาติที่สวยงาม และอุดมสมบูรณ์
ความในช่วงหลังของกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ได้สะท้อนให้เห็นภาพของ
ล�ำธารที่ ใสสะอาดในบริเวณพระพุทธบาทสระบุรี อันเป็นสถานทีต่ งั้ ของธารทองแดง ความว่า
บทที่ 13 กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 191

“ธารใสไหลสะอาด มัจฉาชาติดาษนานา
หวั่นหว้ายกินไคลคลา ตามกันมาให้เห็นตัว
ธารไหลใสสะอาดน�้ำ รินมา
มัจฉาชาตินานา หวั่นหว้าย
จอกสร่ายกินไคลคลา เชยหมู่
ตามคู่มาคล้ายคล้าย ผุดให้เห็นตัว”

ใกล้กับริมธารทองแดง มีพระต�ำหนักที่ส�ำคัญแห่งหนึง่ ชื่อว่า พระต�ำหนักธารเกษม


ตัง้ อยู่ ในบริเวณทีม่ ที ัศนียภาพอันงดงาม มีบรรยากาศทีน่ า่ รืน่ รมย์ พระต�ำหนักนีส้ ร้างขึน้ เพือ่
เป็นทีป่ ระทับของพระมหากษัตริยแ์ ละพระบรมวงศานุวงศ์ทเี่ สด็จมานมัสการพระพุทธบาท
นอกเหนือจากพระต�ำหนักท้ายพิกุล ซึ่งตั้งอยู่ติดกับพระพุ ทธบาท
แต่สว่ นใหญ่แล้วเวลาพระมหากษัตริยเ์ สด็จมานมัสการพระพุทธบาท ก็มกั จะประทับ
ที่พระต�ำหนักธารเกษมเสียมากกว่า เพราะมีล�ำธาร ต้นไม้ สัตว์นานาชนิด อีกทั ้งยังเงียบ
สงบ มีความเป็นส่วนพระองค์ โดยเฉพาะฝ่ายในที่ล้วนแล้วไปด้วยสตรี ก็จะพ�ำนักอยู่ที่
พระต�ำหนักธารเกษม

5. คุณค่า

5.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงมีคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์หลายประการ ดัง
จะกล่าวต่อไปนี้
5.1.1 การใช้ถ้อยค�ำ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงใช้ถ้อยค�ำที่เรียบง่ายในการพรรณนา
เมื่ออ่านแล้วก็เข้าใจได้ทันทีและยังมองเห็นภาพที่ชัดเจนอีกด้วย ดังตัวอย่าง

“งูเขี ยวรัดตุ๊กแก ตุ๊กแกแก่คางแข็งขยัน


กัดงูงูยิ่งพั น อ้าปากง่วงล้วงตับกิน”
192 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

จากตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นภาพของการต่อสู้ของสัตว์ 2 ตัว ได้แก่ ตุ๊กแกกับ


งูเขี ยว คือ งูเขี ยวก�ำลังรัดตุ๊กแก แล้วตุ๊กแกก็ก�ำลังต่อสู้ป้องกันตนเองด้วยการกัดงู แต่กัด
เท่าไรๆ งูเขี ยวก็ยิ่งรัดแน่นขึ้น จนในที่สุดตุ๊กแกหมดแรง ปากอ้า งูเขี ยวจึงเข้าไปล้วงตับ
ตุ๊กแกกิน ทีน้ขี อให้ดูอีกตัวอย่างหนึง่ ความว่า

“มีหมีพีด�ำขลับ ขึ้นไม้ผับฉับไวถึง
เรี่ยวแรงแขงขังขึง กัดโพรงไม้ได้ผึ้งกิน”

ความจากตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นภาพของหมีตัวขนาดใหญ่สีด�ำขลับ ก�ำลังปีนขึ้นบน
ต้นไม้อย่างรวดเร็วด้วยก�ำลังมหาศาลและกินผึ้งเป็นอาหาร ซึ่งเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงใช้
ถ้อยค�ำธรรมดาๆ แต่สามารถท�ำให้ผู้อ่านเห็นภาพได้ชัดเจน
อีกตัวอย่างหนึง่ ทีจ่ ะขอยกเอาไว้ดว้ ย คือ ตอนทีท่ รงกล่าวถึงความรืน่ รมย์ของธรรมชาติ
และธารน�้ำที่ ใสสะอาดรอบบริเวณธารทองแดง เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงใช้ค�ำเพี ยงนิดเดี ยว
แต่ทว่าสามารถสร้างภาพให้เกิดในความคิดของผู้อ่านและมองเห็นภาพนั้นได้ชัดเจน

“ธารใสไหลสะอาด มัจฉาชาติดาษนานา
หวั่นหว้ายกินไคลคลา ตามกันมาให้เห็นตัว
ธารไหลใสสะอาดน�้ำ รินมา
มัจฉาชาตินานา หวั่นหว้าย
จอกสร่ายกินไคลคลา เชยหมู่
ตามคู่มาคล้ายคล้าย ผุดให้เห็นตัว”

5.1.2 การใช้คำ� เลียนเสียงธรรมชาติ กาพย์หอ่ โคลงประพาสธารทองแดง มีค�ำที่


เลียนเสียงธรรมชาติอยูห่ ลายแห่ง ซึง่ การใช้คำ� เลียนเสียงธรรมชาติ ก็ทำ� ให้ผอู้ า่ นเห็นภาพที่
ชัดเจนขึ้น รวมทั ้งเกิดอารมณ์และความรู้สึกคล้อยตามบทประพั นธ์ได้โดยง่าย ดังตัวอย่าง
บทที่ 13 กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 193

“พั งพลายหมู่หลายซร้อง ในเถื่อนท้องร้องระงมดง


ธารน�้ำคร�่ำกันลง เล่นน�้ำแน่นแตร้นชมกัน
ฝูงช้างสล้างน้อยใหญ่ พั งพลาย
ทอกโทนพินายหลาย ส�่ำถ้วน
ทองแดงเผือกเนียมราย ในเหล่า
ลงท่าน�้ำด�ำบ้วน เล่นร้องฮูมแปร๋น”

ความจากกาพย์ห่อโคลงบทนี้ ให้ภาพของโขลงช้างที่ก�ำลังเล่นน�้ำ ซึ่งแต่ละตัวต่างก็


ส่งเสียงร้องแปร๋นๆ แม้ผู้อ่านจะไม่ได้เห็นโขลงช้างและได้ยินเสียงช้างร้องด้วยตัวเอง แต่
ก็สามารถนึกภาพได้
5.1.3 การเล่นเสียงสระ คือ การใช้สัมผัสสระ เช่น สัมผัสสระ อู ในบทที่ หนู กับ
งู ก�ำลังต่อสูก้ นั ท�ำให้เห็นภาพการต่อสูอ้ ย่างชัดเจน ซึง่ สัตว์ทัง้ สองต่างก็ตอ่ สูก้ นั อย่างดุเดือด
จนดูแทบไม่ออกว่าตัวไหนเป็นหนูตัวไหนเป็นงู ดังความว่า

“ดูหนูสู่รงู ู งูสุดสู้หนูสู้งู
หนูงูสู้ดูอยู่ รูปงูทู่หนูมูทู
ดูงูขู่ฝูดฝู้ พรูพรู
หนูสู่รงู ูงู สุดสู้
งูสู้หนูหนูสู้ งูอยู่
หนูร้งู ูงูร้
ู รูปถู้มูทู”

บทประพั นธ์บทนี้แม้จะถูกบังคับด้วยข้อก�ำหนดพิเศษ แต่กวีก็มิได้จนถ้อยค�ำ หาก


สามารถเลือกค�ำไทยมาร้อยเรียงให้สื่อจิ นตภาพของงูเห่ากับหนูอย่างกระจ่าง นึกเห็นทั ้ง
รูปลักษณะ ท่วงท่าการต่อสู้ที่รุกรับฉับไว และเสียงขู่ซึ่งกันและกันระหว่างงูกับหนู ยังความ
เพลิดเพลินแก่ผู้อ่านและความพิศวงในพระอัจฉริยภาพของกวีอย่างยิ่ง
5.1.4 การเล่นสัมผัส กาพย์หอ่ โคลงประพาสธารทองแดงมีการใช้สมั ผัส ท�ำให้เกิด
ความไพเราะ ซึ่งสัมผัสที่ปรากฏนั้นก็มีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ซึ่งช่วยท�ำให้เกิดเสียง
เสนาะและท�ำให้บทประพั นธ์น่าสนใจ ดังตัวอย่าง
194 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“ยูงทองย่องเยื้องย่าง ร�ำรางชางช่างฟ่ายหาง
ปากหงอนอ่อนส�ำอาง ช่างร�ำเล่นเต้นตามกัน
ยูงทองย่องย่างเยื้อง ร�ำฉวาง
รายร่ายฟ่ายเฟื่องหาง เฉิดหน้า
ปากหงอนอ่อนส�ำอาง ลายเลิศ
ร�ำเล่นเต้นงามหน้า ปีกป้องเป็นเพลง”

จากบทประพั นธ์ข้างต้นจะเห็นว่าเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงเลือกสรรค�ำอย่างพิถีพิถัน
แล้วน�ำเอามาร้อยเรียงจนเกิดเสียงสัมผัสทั ้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร จึงท�ำให้ความของ
บทประพั นธ์น้ชี ัดเจนยิ่งขึ้น ผู้อ่านจะมองเห็นภาพของนกยูงที่ก�ำลังเดินเยื้องย่างอย่างสง่า
พร้อมกับร�ำแพนหางที่สวยงาม
5.1.5 การใช้ความเปรี ยบ ซึ่งมีทั้งการเปรียบเทียบแบบอุปมาและการเปรียบ
เทียบแบบอุปลักษณ์ ดังตัวอย่าง

“เสียงปี่รี่เรื่อยเพี ยง กระเวก”

ความจากบทประพั นธ์บทนี้เป็นการเปรียบเทียบแบบอุปมา โดยเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร


ทรงเปรียบเทียบเสียงของปี่ว่าไพเราะราวกับเสียงของนกการเวก

“งูเหลือมแบนท้องแผ่ คือกระดาน”

บทประพั นธ์บทนี้เป็นการเปรียบเทียบแบบอุปลักษณ์ (มีค�ำว่า คือ เป็นหลักสังเกต)


กวีเปรียบว่าท้องของงูเหลือมแบนเรียบเหมือนกระดาน
5.1.6 การเล่นค�ำพ้อง เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงใช้ค�ำที่เขี ยนเหมือนกัน แต่มี
ความหมายที่ต่างกัน มาเรียงไว้ ในที่เดี ยวกัน จึงท�ำให้เกิดความไพเราะทั ้งด้านเสียงและ
ความหมาย ซึ่งช่วยสร้างความโดดเด่นอีกขั้นหนึง่ ดังตัวอย่าง
บทที่ 13 กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 195

“หัวลิงหมากลางลิง ต้นลางลิงแลหูลิง
ลิงไต่กระไดลิง ลิงโลดคว้าประสาลิง
หัวลิงหมากเรียกไม้ ลางลิง
ลางลิงหูลิงลิง หลอกขู้
ลิงไต่กระไดลิง ลิงห่ม
ลิงโลดฉวยชมผู้ ฉีกคว้าประสาลิง”

จากบทประพั นธ์ทยี่ กมาเป็นตัวอย่างนี้ จะเห็นได้วา่ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงเล่นค�ำว่า


ลิง ในความหมายที่ต่างกันออกไป คือ
ลิง หมายถึง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึง่ มีลักษณะท่าทางคล้ายกับคน มีแขน
และมีขายาว
ลางลิง กะไดลิง หมายถึง ไม้ชนิดหนึง่ ประเภทไม้เถา มีเนื้อแข็ง เถาแบนยาว ล�ำต้น
งอกลับไปกลับมาคล้ายบันได
หัวลิง หมายถึง ไม้เถาชนิดหนึง่ มีผลขนาดเท่าผลส้มจีน มีสนั ตรงกลางคล้ายกับหัวลิง

5.2 คุณค่าด้านความรู้
กาพย์หอ่ โคลงประพาสธารทองแดง นอกจากจะมีคณ ุ ค่าทางด้านวรรณศิลป์แล้ว ยัง
ให้คณ
ุ ค่าทางด้านความรูอ้ กี ด้วย ซึง่ ความรูท้ ผี่ อู้ า่ นจะได้รับจากวรรณคดี เรือ่ งนี้ มีดงั ต่อไปนี้
5.2.1 ความรู้เกี่ยวกับการจัดกระบวนพยุหยาตรา กาพย์ห่อโคลงประพาส
ธารทองแดง ได้กล่าวถึงการจั ดกระบวนพยุหยาตราสถลมารคว่า จะต้องจั ดอย่างยิ่งใหญ่
สมพระเกียรติ ซึ่งในกระบวนจะประกอบด้วย ช้าง เครื่องสูง เหล่าทหารจตุรงคเสนา
ดังความว่า

“เกลื่อนกรูหมู่จัตุรงค์ เป็นกันกงเรียบเรียงไป
ทรงช้างระวางใน เทพลีลาหลังคาทอง
เกลื่อนกรูหมู่แห่ห้อม เรียงไสว
เสด็จพุ ดตานทองไคล หว่างเขรื้อง
ทรงช้างระวางใน มีชื่อ
เทพลีลาเยื้อง ย่างแหน้หลังดี ”
196 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

5.2.2 ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของสัตว์ เมื่ออ่านกาพย์ห่อโคลงประพาสธาร


ทองแดงอย่างละเอียด เราจะเห็นว่าเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรได้บรรยายธรรมชาติของสัตว์เอาไว้
หลายชนิด ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากส�ำหรับผู้ต้องการศึกษาธรรมชาติและชี วิ ตความเป็น
อยู่ของสัตว์ ดังตัวอย่าง

“งูเขี ยวรัดตุ๊กแก ตุ๊กแกแก่คางแข็งขยัน


กัดงูงูยิ่งพั น อ้าปากง่วงล้วงตับกิน”

ตัวอย่างนี้ท�ำให้เห็นถึงธรรมชาติของสัตว์ทั้งสองชนิดอย่างชัดเจน กล่าวคือ การที่


งูเขี ยวชอบกินตับตุ๊กแกนั้นเป็นวิ ธีเกื้อกูลกันตามธรรมชาติ ตับของตุ๊กแกจะโตขึ้นตามวัย
แล้วเมื่อถึงเวลาที่ตับของตุ๊กแกมีอายุมาก ตุ๊กแกก็จะส่งเสียงร้องให้งูเขี ยวมุดเข้าไปกินตับ
ก่อนจะแยกย้ายกันไปอย่างปลอดภัย แล้วร่างกายของตุก๊ แกก็จะสร้างตับใหม่ขนึ้ มาทดแทน
(กุลธิดา มรรคผล บรรณาธิการ, 2558 : 45)
5.2.3 สะท้อนให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
ได้พรรณนาให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าในสมัยนัน้ เอาไว้วา่ เต็มไปด้วยสัตว์นานา
ชนิดและแมกไม้นานาพรรณ ดังตัวอย่าง

“ฝูงฟานผ่านเถื่อนถ้อง เดินเปิบร้องก้องพงไพร
เที่ยวกินถิ่นฐานใด มีน�้ำหญ้าอาหารเนา
ฝูงฟานผ่านเถื่อนถ้อง แถวไศล
เดินเปิบร้องก้องไพร เกลื่อนกลุ้ม
เที่ยวกินถิ่นฐานใด แดนโป่ง
มีหญ้าน�้ำพงผุ้ม บ่ายเข้านอนเนา”

ความจากตัวอย่างข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า ที่ฝูงฟาน
มีหญ้า มีน�้ำ กินกันอย่างบริบูรณ์ไม่ว่าจะอยู่ยังที่แห่งไหน
5.2.4 ความรู้เกี่ยวกับพรรณไม้และปลาชนิดต่างๆ กล่าวได้ว่ากาพย์ห่อโคลง
ประพาสธารทองแดง เป็นวรรณคดี ที่รวบรวมเอาพรรณไม้และสัตว์ชนิดต่างๆ มาไว้ในที่
เดี ยวกัน ซึ่งปัจจุบันพรรณไม้บางชนิดและสัตว์ป่าบางประเภทก็สูญพั นธุ์ไปแล้ว แต่เราก็
สามารถศึกษาถึงธรรมชาติ และลักษณะของพรรณไม้ และสัตว์ป่าต่างๆ เหล่านั้นได้ ในที่
บทที่ 13 กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 197

นีจ้ ะขอยกตัวอย่างชือ่ ปลาประเภทต่างๆ ซึง่ บางตัวก็ยงั เป็นทีร่ จู้ ัก และบางตัวก็ไม่เป็นทีร่ จู้ ัก


ความว่า

“เทโพและเทพา ตะเพี ยนกาพาพวกจร


ไอ้บ้าปลาสลุมพร ผักพร้าเพรีย้ แลหนวดพราม”

5.3 คุณค่าด้านสังคม
คุณค่าอีกด้านหนึง่ ของกาพย์หอ่ โคลงประพาสธารทองแดงทีค่ วรกล่าวถึง คือ คุณค่า
ด้านสังคม เพราะวรรณคดีเรือ่ งนี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม ค่านิยมของคนในสมัยกรุง
ศรีอยุธยาตอนปลายว่า มีความเชื่อและความเป็นอยู่อย่างไร ซึ่งจะอธิบายเป็นข้อๆ ไป ดังนี้
5.3.1 ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เห็นได้จากประวัติของวรรณคดีเรื่องนี้ที่
กล่าวว่า พระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชด�ำเนินไปนมัสการรอยพระพุ ทธบาทเป็นประจ�ำ
ทุกปี แม้ว่าการเดินทางจะยากล�ำบาก กินเวลาหลายวัน แต่ก็ทรงอุตสาหะเสด็จดั้นด้นไป
ซึ่งข้าราชบริพารที่ตามเสด็จก็เต็มใจ และเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรเองก็มิได้กล่าวถึงความยาก
ล�ำบากในการตามเสด็จเอาไว้เลย
5.3.2 สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมการแต่งกาย กาพย์ห่อโคลงประพาสธาร
ทองแดง ได้สะท้อนให้เห็นถึงการแต่งกายของสตรีชั้นสูงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
เอาไว้ว่า

“นักสนมกรมชแม่มี่ ขี ่ช้างกูบรูปโลมใจ
พั กตราอ่าผ่องใส นุ่งห่มโอ่โสภาจริง
นักสนมกรมชแม่มี่ ทั ้งหลาย
ขี ่ช้างกูบดาวราย แจ่มหน้า
พั กตราผ่องใสสาย สุดสวาท
นุ่งห่มโอ่โถงผ้า อร่ามริ้วทองพราย”

ความจากตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีชั้นสูง ซึ่งก็คือ
พวกนางสนม นางก�ำนัล ว่าแต่งตัวกันอย่างสวยงามด้วยผ้าที่มีลวดลายงามวิ จิตร หรือนุ่ง
ห่มผ้าที่ปักด้วยดิ้นทอง ไหมทอง ครั้นยามต้องลมจึงท�ำให้เกิดริ้วที่สวยงาม
198 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

นอกจากจะเห็นวัฒนธรรมการแต่งกายแล้ว เรายังได้เห็นวัฒนธรรมการไว้ทรงผม
ของสตรีชาววังอีกด้วย ดังความว่า

“เพริศเพราเหล่านางห้าม รูปทรงงามตามเสด็จไป
ผมมวยรวยริมไร ม่านปีกนกวกวงวัง
เพริศเพราเหล่าฝ่ายห้าม งามนัก
รูปงามตามแลลักษณ์ ลูบท้อง
ผมมวยรวยไรอรรค ชาเยศ
ม่านปีกนกปกป้อง ห่อหุ้มคลุมเดิน”

จากตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นถึงการไว้ทรงผมของสตรีชาววังสมัยกรุงศรีอยุธยา
ตอนปลายว่าไว้ผมยาวประบ่า และมักจะรวบผมปีกและผมประบ่าให้อยู่ ในทรงเดี ยวกัน
และผมปีกก็ท�ำเป็นมวยด้วย
บรรณานุกรม 13

กุลธิดา มรรคผล, บรรณาธิการ. (2558). กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง


พระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร. นนทบุรี : ดรีม พั บลิชชิ่ง.
ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ. (2558). วรรณกรรมเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร. กรุงเทพมหานคร :
ส�ำนักพิมพ์โอเดี ยนสโตร์.
ฟองจั นทร์ สุขยิ่ง และคณะ. (2544). หนังสือเรี ยน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย
วรรณคดีและวรรณกรรม ม. 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อักษรเจริญ
ทั ศน์ อจท. จ�ำกัด.
ศิลปากร, กรม. (2548). วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 3. กรุงเทพมหานคร :
กองวรรณคดี และประวัติศาสตร์.
ศุภร บุนนาค และสุริยา รัตนกุล. (2525). สุนทรี ยภาพจากเจ้าฟ้ากุ้ง. พิมพ์ครั้ง
ที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์.
สายใจ อินทรัมพรรย์. (2528). วรรณกรรมในสมัยอยุธยาตอนปลาย. ภาควิ ชา
มัธยมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิ ทยาลัย.
สุปาณี พั ดทอง. (2550). ประพาสธารทองแดง, กาพย์ห่อโคลง ใน นามานุกรม
วรรณคดีไทย ชุดที่ 1 ชื่อวรรณคดี. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา.
โ ค ล ง สุ ภ า ษิ ต
โ ส ฬ ส ไ ต ร ย า ง ค์ 14
1. ประวัติความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต
โสฬสไตรยางค์จากภาษาอังกฤษ โสฬสไตรยางค์ แปลว่า องค์สาม มี 16 ประการ
กล่าวถึง การรวบรวมสิ่งที่ควรและไม่ควร เพื่อเป็นแบบฉบับส�ำหรับผู้ประสงค์
สวัสดิมงคล (ทวีศักดิ์ ญาณประทีป, 2532 : 194)

2. ประวัติผู้แต่ง
ดูบทที่ 8 หน้า 131-132

3. ลักษณะค�ำประพันธ์
โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ แต่งด้วยค�ำประพั นธ์ประเภทโคลงสีส่ ภุ าพมี โคลง
น�ำ 1 บท เนื้อเรื่อง 16 บท และสรุปอีก 1 บท
202 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

4. เนื้อเรื ่อง
โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์เป็นวรรณกรรมค�ำสอนที่แนะน�ำข้อควรปฏิบัติ และข้อ
ห้ามมิให้ปฏิบัติ มีอยู่ด้วยกัน 16 หมวดๆ ละ 3 ประการ รวมเป็น 48 ประการ คือ
1. สามสิ่งควรรัก ได้แก่ ความกล้า ความสุภาพ ความรักใคร่ สามสิ่งนี้ผู้เป็นมนุษย์
ควรมีไว้ เพราะเป็นแนวทางในการด�ำเนินชีวิต กล่าวคือ กล้าที่จะพูด และค�ำพูดที่พูดออก
มานั้นจะต้องเป็นค�ำพูดที่จริงใจ ควรมีความสุภาพอ่อนน้อมและรักใคร่ปรองดองต่อเพื่อน
มนุษย์ด้วยกัน สามสิ่งนี้ควรมีให้ผู้อื่นอย่างจริงใจ
2. สามสิ่งควรชม ได้แก่ อ�ำนาจปัญญา เกียรติยศ มีอ�ำนาจดี กล่าวคือ สติปัญญาจะ
ช่วยให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง เมื่อมีเกียรติยศ ก็จะมีทรัพย์สมบัติ
พร้อมบริบูรณ์ หากมีมารยาทดี ก็จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ดี ดังนั้นเราควรจะมีสามสิ่ง
นี้เพราะจะเป็นที่ชื่นชมของผู้อื่น
3. สามสิ่งควรเกลียด ได้แก่ ความดุร้าย ความหยิ่งก�ำเริ บ อกตัญญู สามสิ่งนี้ ควร
หลีกให้ห่าง เพราะเป็นหนทางสู่ความเสื่อมเสีย
4. สามสิ่งควรรังเกียจติเตียน ได้แก่ ชั่วเลวทราม มารยา ริ ษยา สามสิ่งนี้ ก็เหมือน
กับข้างต้น คือ ควรหลีกให้ห่าง เพราะเป็นหนทางสู่ความเสื่อมเสีย
5. สามสิ่งควรเคารพ ได้แก่ ศาสนา ยุติธรรม ความประพฤติประโยชน์ทั่วไปไม่
เฉพาะตัวเอง เพราะศาสนาสอนให้คนประพฤติและปฏิบัติ ในสิ่งที่ดี อันเป็นหนทางสู่ความ
เจริญ ส่วนความยุตธิ รรมเป็นคุณธรรมส�ำหรับผู้ ใหญ่ทคี่ วรมี ให้แก่ผนู้ อ้ ยทุกคนอย่างเสมอ
หน้ากัน และควรเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
6. สามสิง่ ควรยินดี ได้แก่ งาม ตรงตรง ไทยแก่ตน กล่าวคือ การมีรปู ร่างทีส่ วยงาม
เป็นสิ่งที่ทุกคนยินดี ความซื่อสัตย์ไม่คดโกงก็เป็นสิ่งที่น่ายินดี ความมีอิสระเสรีก็เป็นสิ่งดี
เพราะจะท�ำอะไรก็ได้โดยไม่ถูกบังคับ
7. สามสิ่งควรปรารถนา ได้แก่ ความสุขสบาย มิตรสหายที่ดี ใจสบายปรุโปร่ง
กล่าวคือ การมีความสุขสบายไม่มี โรค ก็เป็นสิ่งประเสริฐแล้วส�ำหรับชีวิต การมีเพื่อนมาก
(เพื่อนดี ) เมื่อถึงเวลาที่เราเดือดร้อนก็อาจไหว้วานขอความช่วยเหลือจากเพื่อนได้ และการ
มีจิตใจที่แจ่มใส ร่างกายก็จะสบายและมีความสุข
บทที่ 14 โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ 203

8. สามสิ่งควรอ้อนวอนขอ ได้แก่ ความเชื่อถือ ความสงบ ใจบริ สุทธิ์ กล่าวคือ การมี


ศรัทธาหรือความเชื่อถือจะท�ำให้ จิตใจของเรามั่นคง ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่านไปกับเรื่องต่างๆ
ความสงบจะท�ำให้เรายับยัง้ ความต้องการในสิง่ ต่างๆ ทีท่ ำ� ให้เราเป็นทุกข์ระทมใจ หากจิตใจ
ใสบริสุทธิ์ก็จะไม่มีความเศร้าหมอง ดังนั้น สามสิ่งนี้ควรมุ่งดูแลรักษา และตั้งจิ ตอธิษฐาน
ให้มีอยู่ตลอดไป
9. สามสิ่งควรนับถือ ได้แก่ ปัญญา ฉลาด มั่นคง กล่าวคือ ปัญญาก็คือความรอบรู้
เมือ่ มีความรูก้ ย็ อ่ มมีความฉลาดทีจ่ ะน�ำความรูไ้ ปใช้ และควรมีจิตใจทีม่ นั่ คงเชือ่ ถือได้ ไม่กลับ
ไปกลับมา สามสิ่งนี้ควรน�ำกลับมาให้กับผู้ที่เคารพนับถือ
10. สามสิ่งควรจะชอบ ได้แก่ ความอารี ด้วยใจสุจริ ต ใจดี และความสนุกสนาน
เบิกบาน กล่าวคือ ควรมีความสุจริตและมีจิตใจที่ โอบอ้อมอารี เพราะจะช่วยให้ จิตใจแจ่มใส
ปลอดโปร่ง เมื่อจิ ตใจแจ่มใสก็จะมีความสุขในทุกๆ ด้าน ดังนั้นสามสิ่งนี้เราควรจะชอบและ
ยินดี
11. สามสิ่งควรสงสัย ได้แก่ ยอ หน้าเนื้อใจเสือ พลันรักพลันจืด กล่าวคือ ค�ำยกยอ
รู้หน้าไม่รู้ ใจ รักง่ายหน่ายเร็ว กลับค�ำ สามสิ่งนี้ควรระแวงสงสัยอย่าได้ประมาท
12. สามสิ่งควรละ ได้แก่ เกียจคร้าน วาจาฟั่นเฝือ หยอกหยาบแลแสลง ฤๅขัดคอ
กล่าวคือ ไม่ควรมีความเกียจคร้านในการงาน ทั ้งของตนเองและของผู้อื่น อย่ากล่าววาจา
ไร้สาระ และไม่ควรกล่าวเสียดสีแทงใจคนหรือพูดค�ำหยาบล้อเลียนผู้อื่น เพราะแสดงถึง
ความไม่มีมารยาท
13. สามสิง่ ควรจะกระท�ำให้มี ได้แก่ หนังสือดี เพือ่ นดี ใจเย็นดี กล่าวคือ หนังสือเป็น
แหล่งรวมวิ ทยาการ ถ้ามีหนังสืออยู่กับตัวก็สามารถหยิบอ่านได้ง่าย เพื่อนที่ดีควรแสวงหา
ไว้ และควรก�ำหนดให้มีจิตใจที่สงบเยือกเย็น ไม่โมโหง่าย เพราะจะน�ำพาไปสู่ความเจริญ
14. สามสิง่ ควรจะหวงแหนฤๅต่อสูเ้ พือ่ รักษา ได้แก่ ชือ่ เสียงยศศักดิ์ บ้านเมืองของตน
มิตรสหาย กล่าวคือ เกียรติศักดิ์จะเป็นที่เชิดหน้าชูตาให้วงศ์ตระกูล บ้านเมืองของเรา
ควรรักษาให้ด�ำรงคงไว้ และมิตรสหายก็ควรจะรักษาไมตรีเอาไว้ ให้ยั่งยืน
15. สามสิ่งควรครองไว้ ได้แก่ กิริยาที่เป็นในใจ มักง่าย วาจา กล่าวคือ อาการที่เกิด
ขึ้นในจิ ตใจควรเก็บเอาไว้ไม่แสดงออกให้ ใครรู้ อย่ามักง่ายด่วนได้ โดยไม่ไตร่ตรอง และให้
ระวังค�ำพูด
204 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

16. สามสิ่งควรจะเตรี ยมเผื่อ ได้แก่ อนิจจัง ชรา มรณะ กล่าวคือ ให้คิดอยู่เสมอว่า


ทุกสิ่งในโลกนี้ ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ชีวิตทุกชี วิ ตย่อมมีความแก่ชราและ
เดินไปสู่ความตายทั ้งสิ้น ดังนั้นจึงควรเตรียมตัวไว้เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

5. คุณค่า

5.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
5.1.1 การใช้ค�ำ ค�ำแต่ละค�ำที่กวีเลือกสรรมานั้น เป็นค�ำที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย
ไม่ต้องตีความซ�้ำ ท�ำให้เข้าใจความหมายที่กวีต้องการสื่อ ดังตัวอย่าง

“สิ่งใดในโลกล้วน เปลี่ยนแปลง
หนึง่ ชราหย่อนแรง เร่งร้น
ความตายติดตามแสวง ท�ำชีพ ประลัยเฮย
สามส่วนควรคิดค้น คติรเู้ ตรียมคอย”

ความจากโคลงบทนี้ เมื่ออ่านแล้วก็ทราบได้ทันทีว่า กวีต้องการบอกให้เตรียมตัว


รับมือกับการเปลีย่ นแปลงทีจ่ ะเกิดขึน้ อันมีความไม่เทีย่ งแท้แน่นอนของโลก ความชรา และ
ความตายเป็นพื้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ ใครๆ ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้
5.1.2 การใช้สมั ผัส กวี ใช้ทัง้ สัมผัสสระและสัมผัสอักษร จึงช่วยท�ำให้เกิดเสียงเสนาะ
และเพิ่มความไพเราะให้บทประพั นธ์ ดังตัวอย่าง

“เกียจคร้านการท่านทั ้ง การตน ก็ดี


พูดมากเปล่าเปลืองปน ปดเหล้น
ค�ำแสลงเสียดแทงระคน ค�ำหยาบ หยอกฤๅ
สามสิ่งควรทิ้งเว้น ขาดสิ้นสันดาน”
บทที่ 14 โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ 205

จากตัวอย่างจะเห็นว่า ในบาทที่ 1 มีสมั ผัสสระคือค�ำว่า คร้าน การ ท่าน สัมผัสอักษร


คือค�ำว่า ท่าน ทั้ง บาทที่ 2 มีแต่สัมผัสอักษรคือค�ำว่า เปล่า เปลือง ปน ปด บาทที่ 3 มี
สัมผัสสระคือค�ำว่า แสลง แทง สัมผัสอักษรคือค�ำว่า แสลง เสียด หยาบ หยอก และบาท
ที่ 4 มีสัมผัสสระคือค�ำว่า สิ่ง ทิ้ง สัมผัสอักษรคือค�ำว่า สาม สิ่ง สิ้น สัน เป็นต้น

5.2 คุณค่าด้านความรู้
5.2.1 ให้แนวทางในการด�ำเนินชีวติ โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์นเ้ี ป็นวรรณคดี
ที่ ให้ความรู้ ในเรื่องของสิ่งที่ควรปฏิบัติและสิ่งที่ ไม่ควรปฏิบัติ ซึ่งแนวทางที่กวีได้น�ำเสนอ
เอาไว้น้ี ถ้าผูอ้ า่ นน�ำไปปฏิบตั กิ จ็ ะท�ำให้ผอู้ า่ นมีความสุขและประสบความส�ำเร็จในการท�ำงาน
5.2.2 ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการใช้ ชีวิตร่วมกันในสังคม คือให้ข้อคิดในเรื่องการ
ด�ำเนินชีวิตว่าควรปฏิบัติตนอย่างไร เช่น ในเรื่องของการคบเพื่อน เรื่องของการใช้วาจา
เป็นต้น
5.2.3 แสดงให้เห็นถึงสัจธรรม คือ เตือนให้ผู้อ่านด�ำรงสติมั่นและไม่ตั้งอยู่ใน
ความประมาท คอยรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่ก�ำลังจะเกิดขึ้น คือ ความไม่เที่ยงแท้
แน่นอนของโลก ความชรา และความตาย

5.3 คุณค่าด้านสังคม
5.3.1 สะท้อนให้เห็นค่านิยมในสังคมไทย เช่น ค่านิยมเรื่องการรักเกียรติยศ
การนับถือผู้มีอ�ำนาจ และการชื่นชมคนมีมารยาทดี ดังความว่า

“ปัญญาสติล�้ำ เลิศญาณ
อ�ำนาจศักดิ์ศฤงคาร มั่งขั้ง
มารยาทเรียบเสี่ยมสาน เสงี่ยมเงื่อน งามนอ
สามสิ่งควรจั กตั้ง แต่ซ้องสรรเสริญ”

จากโคลงทีย่ กมาเป็นตัวอย่างนีส้ ะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยนิยมชมชอบผูม้ อี ำ� นาจ นับถือ


ผู้มีเกียรติยศและมักต้องการให้ตนหรือบุคคลในครอบครัวเป็นผู้มีเกียรติ เป็นที่นับหน้า
ถือตาของคนอื่นๆ อีกทั ้งยังสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยชื่นชมคนมีมารยาทดี เรียบร้อย
206 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

นอกจากจะสะท้อนค่านิยมในเรือ่ งของความดีทสี่ งั คมต้องการแล้ว โคลงสุภาษิตโสฬส


ไตรยางค์ ยังสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่สังคมไม่ต้องการเอาไว้ด้วย เช่น

“ใจบาปจิ ตหยาบร้าย ทารุณ


ก�ำเริบเอิบเกินสกุล หยิ่งก้อ
อีกหนึง่ ห่อนรู้คุณ ใครรู้ ฝังแฮ
สามสิ่งควรเกลียดพ้อ จิ ตแท้อย่าสมาน”

โคลงบทนี้สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งไม่ดีที่สังคมไม่ต้องการ นัน่ คือ คนมีจิตใจที่ โหดร้าย


หยิง่ ยโส ไม่รจู้ ักความกตัญญู บุคคลใดทีป่ ระพฤติปฏิบตั ดิ งั กล่าวนี้ จะเป็นทีเ่ กลียดชังของสังคม
5.3.2 สะท้อนให้เห็นความเชื่อทางศาสนา แม้ว่าโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์
จะเป็นวรรณคดี ทแี่ ปลมาจากภาษาต่างประเทศ แต่กวีกน็ ำ� มาปรับให้เข้ากับรสนิยมของคน
ไทย เช่น ความเชื่อทางด้านศาสนา แทนที่จะเป็นแนวคิดทางศาสนาของพระยะโฮวา แต่
กลับเป็นแนวคิดเรื่องไตรลักษณ์ คือ อนิจจั ง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งเป็นแนวคิดของพระพุ ทธ
ศาสนา ความว่า

“สิ่งใดในโลกล้วน เปลี่ยนแปลง
หนึง่ ชราหย่อนแรง เร่งร้น
ความตายติดตามแสวง ท�ำชีพ ประลัยเฮย
สามส่วนควรคิดค้น คติร้เู ตรียมคอย”

โคลงบทดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความเชื่อของคนไทยที่เชื่อถือกันมาช้านาน ซึ่งเรามัก
จะถูกสอนอยู่เสมอว่าอย่าประมาทในชีวิต ให้เตรียมใจเผื่อไว้รับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะ
เกิดขึ้น ไม่ช้าก็เร็ว ซึ่งทุกคนมิอาจหนีพ้นไปได้
บรรณานุกรม 14

ทวีศักดิ์ ญาณประทีป. (2532). วรรณกรรมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า


เจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัย
รามค�ำแหง.
ทิพย์สุเนตร อนัมบุตร. (2549). วรรณกรรมรัตนโกสินทร์ 2. พิมพ์ครั้งที่ 10.
กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
ฟองจั นทร์ สุขยิ่ง และคณะ. (2544). หนังสือเรี ยน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย
วรรณคดีและวรรณกรรม ม. 2. กรุงเทพมหานคร : บริษทั อักษรเจริญทัศน์
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). หนังสือเรี ยน รายวิชา
พื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
อารดา กีระนันท์. (2550). สุภาษิตพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว, โคลง ใน นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ 1 ชื่อวรรณคดี.
กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
โ ค ล ง สุ ภ า ษิ ต
น ฤ ทุ ม น า ก า ร 15
1. ประวัติความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระจุ ลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงแปลมาจาก
ภาษาอังกฤษ มีความหมายว่า อาการอันไม่มีเสียใจ ประกอบด้วยกิจ 10 ประการ
ที่ผู้ประพฤติยังไม่เคยเสียใจ (ทวีศักดิ์ ญาณประทีป, 2532 : 195)

2. ประวัติผู้แต่ง
ดูบทที่ 8 หน้า 131-132

3. ลักษณะค�ำประพันธ์
โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ แต่งด้วยค�ำประพั นธ์ประเภทโคลงสีส่ ภุ าพ มีโคลง
น�ำ 1 บท เนื้อเรื่อง 10 บท และสรุปอีก 1 บท รวมเป็น 12 บท
210 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

4. เนื้อเรื ่อง
เริ่มด้วยการกล่าวว่าสุภาษิตนฤทุมนาการ เป็นสุภาษิตที่บัณฑิตได้พิจารณาอย่าง
ถ้วนถี่แล้วจึงน�ำมาสั่งสอน จากนั้นแถลงเหตุว่า ผู้ ใดประพฤติและปฏิบัติตามสุภาษิต
นฤทุมนาการก็จะไม่พบกับความเสียใจเลย ส�ำหรับกิจ 10 ประการ ที่ประพฤติและปฏิบัติ
ตามแล้วจะไม่พบกับความเสียใจนั้น มีดังต่อไปนี้
1. เพราะท�ำความดีทั่วไป หมายความว่า การท�ำความดี นั้นไม่ควรเลือกกระท�ำกับ
ผู้ ใดผูห้ นึง่ ควรท�ำกับคนทัว่ ๆ ไป และควรท�ำความดี ให้อยู่ ในครรลองคลองธรรม เพราะจะได้
ไม่มีศัตรูคิดร้าย จะมีก็แต่ผู้ยกย่องเชิดชู
2. เพราะไม่พูดร้ายต่อใครเลย หมายความว่า ควรกระท�ำตนให้อยู่ห่างไกลความ
โมโหและความริษยา ไม่พูดค�ำหยาบ ไม่พูดจากล่าวเท็จให้ร้ายผู้อื่น ไม่พูดอาฆาตขู่เข็ญใคร
และไม่พูดนินทากล่าวโทษผู้ใด
3. เพราะถามฟังความก่อนตัดสิน หมายความว่า หากได้ยินหรือได้ฟังเรื่องราวใดๆ
ไม่วา่ จะเล็กหรือใหญ่กไ็ ม่ควรทีจ่ ะปักใจเชือ่ ในทันที ต้องสอบสวนทวนความ และคิดใคร่ครวญ
ให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อ
4. เพราะคิดเสียก่อนจึงพูด หมายความว่า ก่อนที่จะพูดสิ่งใดควรตั้งสติ คิดให้
รอบคอบเสียก่อนว่า เรื่องที่จะพูดนั้นผิ ดหรือถูก เพราะการพูดก็เปรียบเสมือนการเขี ยนที่
มีการเรียบเรียงไว้ หากพูดเพราะก็จะเป็นที่น่าฟัง และไม่เป็นภัยต่อตัวผู้พูดด้วย
5. เพราะงดพูดในเวลาโกรธ หมายความว่า ให้ร้จู ั กหักห้ามตนเอง ไม่ให้พูดในขณะ
ที่ยังโกรธอยู่ ให้หยุดคิดพิจารณาก่อนว่า พูดแล้วจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะ หรือพูดไปแล้วจะ
เป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิ ด หากไม่ร้จู ั กยั้งคิดอาจเกิดความเสียหายได้
6. เพราะได้กรุณาต่อคนที่ถึงอับจน หมายความว่า การมีความเมตตากรุณาต่อ
ผูป้ ระสบภัยพิบตั ิ และช่วยเขาให้อยูร่ อดปลอดภัย ก็จะเกิดผลดีตอ่ ผูท้ ชี่ ว่ ยเหลือนัน้ ในอนาคต
เป็นแน่แท้ และผู้คนก็จะพากันยกย่องสรรเสริญ
7. เพราะขอโทษในบรรดาที่ ได้ผดิ หมายความว่า เมือ่ กระท�ำการสิง่ ใดแล้ว หากเกิด
ความผิ ดพลาด ก็ควรลดความอวดดี ลง และรู้จักการกล่าวขอโทษเพื่อลดความบาดหมาง
เพราะดี กว่าคิดหาทางแก้ไขด้วยการโกหก
บทที่ 15 โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ 211

8. เพราะความอดกลั้นต่อผู้อื่น หมายความว่า ให้มีขันติ คือ มีความอดทน อดกลั้น


ต่อผู้ที่มาข่มเหงรังแก ไม่ฉุนเฉียวเหมือนคนพาล จะได้ ชื่อว่าเป็นคนใจเย็น
9. เพราะไม่ฟังค�ำพูดเพศนินทา หมายความว่า ไม่ควรฟังคนที่ชอบพูดจาฟั่นเฝือ
เพ้อเจ้อ พูดแบบมีขอ้ เท็จจริงบ้างหรือไม่มขี อ้ เท็จจริงบ้าง คนทีป่ ระพฤติและปฏิบตั ติ นเช่นนี้
เปรียบเสมือนคนทีถ่ กู มีดกรีดเนือ้ ไปทัว่ ร่างกาย หากไม่หลีกไปให้หา่ งแล้ว เราอาจเข้าไปอยู่
ในพวกพูดจาเหลวไหล
10. เพราะไม่หลงเชื่อข่าวร้าย หมายความว่า ไม่ควรด่วนหลงเชื่อหรือตื่นเต้นกับ
ข่าวร้ายที่มีผู้น�ำมาบอก ควรสืบสาวเรื่องราวที่แท้จริงก่อน
ความในตอนท้ายที่เป็นบทสรุป กวีกล่าวว่า กิจทั ้ง 10 ประการ ดังกล่าวมานี้ แม้ผู้
ปฏิบัติจะกระท�ำตามได้ไม่หมดทุกข้อ แต่กระท�ำได้เป็นบางข้อก็ยังดี

5. คุณค่า
โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการให้คุณค่าด้านต่างๆ หลายประการ เป็นต้นว่า คุณค่าทาง
ด้านวรรณศิลป์ คุณค่าทางด้านความรู้ และคุณค่าทางด้านสังคม ดังนี้

5.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
แม้ว่าโคลงสุภาษิตนฤทุมนาการจะเป็นโคลงสั้นๆ แต่ก็มีความประณีตในการใช้
ถ้อยค�ำอย่างมาก และแม้ว่าค�ำที่ ใช้จะเป็นถ้อยค�ำที่เรียบง่าย แต่ก็มีความหมายที่ลึกซึ้ง
และมีเสียงที่ ไพเราะ วิ ธกี ารต่างๆ ทีก่ วี ใช้ ในการแต่งโคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ ให้มคี วาม
โดดเด่นและไพเราะนั้น มีดังนี้
5.1.1 ก�ำหนดค�ำให้มีความเหมาะสมกับฉันทลักษณ์ กล่าวคือ โคลงสุภาษิต
นฤทุมนาการ แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ ดังนั้นกวีจึงจ�ำเป็นต้องใช้ค�ำที่จ�ำกัด เพื่อให้ได้
ความหมายที่ชัดเจน และในบางวรรคกวีก็ ใช้ค�ำโบราณซึ่งเหมาะกับค�ำประพั นธ์ประเภท
โคลงสี่สุภาพ เช่น ห่อน ไป่ บ้าย บ่ โสต ปาง ป่าง ฯลฯ
212 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

5.1.2 ใช้ค�ำบาลีสันสกฤต ท�ำให้โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการมีรปู ภาษาที่สวยงาม


และยังช่วยให้เกิดเสียงสัมผัสอันไพเราะระหว่างค�ำไทยด้วย ส�ำหรับค�ำบาลีสันสกฤตที่กวี
น�ำเอามาใช้นั้น เช่น บัณฑิต ทศ นฤ ทุมน โมหะ โสต อาฆาต นรชน กษัย ทิฐิ ขันตีกาล
เป็นต้น
5.1.3 ใช้ส�ำนวนเปรี ยบเทียบ ซึ่งช่วยท�ำให้ผู้อ่านเห็นภาพ เกิดความเข้าใจได้ง่าย
และซาบซึ้งกับความหมายของบทประพั นธ์ ดังตัวอย่าง

“ค�ำพูดพ่างลิขิต เขี ยนร่าง เรียงแฮ”


“คือมีดเที่ยวกรีดเนื้อ ท่านทั ่ว ไปนา”

5.1.4 มีการซ�ำ้ ค�ำ ซึง่ ช่วยเสริมให้ ใจความมีความหนักแน่นมากขึน้ เช่น ค�ำว่า ใดใด


ห้วนห้วน
5.1.5 มีการซ้อนค�ำ ทั้งนี้เพื่อเน้นความหมายให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และช่วยให้
เกิดความไพเราะจากเสียงสัมผัสอักษร ค�ำซ้อนที่ปรากฏในโคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ เช่น
อุดหนุน ส่อเสียด จาบจ้วง ขู่เข็ญ เด็ดด้วน ขุ่นแค้น ฯลฯ
5.1.6 มีการใช้สัมผัส ซึ่งปรากฏว่ามีทั้งการใช้สัมผัสสระกับสัมผัสอักษรท�ำให้เกิด
เสียงที่ ไพเราะอีกเช่นกัน ดังตัวอย่าง

“เหินห่างโมหะร้อน ริษยา
สละส่อเสียดมารษา ใส่ร้าย
ค�ำหยาบจาบจ้วงอา ฆาตขู่ เข็ญเอย
ไป่หมิ่นนินทาบ้าย โทษให้ผู้ ใด”

จากโคลงที่ยกมาเป็นตัวอย่างจะเห็นว่า บาทที่ 1 มีสัมผัสอักษรคือค�ำว่า เหิน ห่าง


โมหะ, ร้อน ริ ษยา บาทที่ 2 มีสัมผัสอักษรคือค�ำว่า สละ ส่อ เสียด มารษา ใส่ บาทที่ 3
มีสัมผัสสระคือค�ำว่า จาบ จ้วง, อาฆาต ขู่ เข็ญ ส่วนสัมผัสสระมีปรากฏในบาทที่ 3 และ
บาทที่ 4 คือค�ำว่า หยาบ จาบ (ในบาทที่ 3) และ หมิ่น นินทา, ให้ ใด (ในบาทที่ 4)
บทที่ 15 โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ 213

5.2 คุณค่าด้านความรู้
5.2.1 ให้ความรูเ้ รื อ่ งการปฏิบตั ติ นเมือ่ อยูร่ ว่ มกับผูอ้ นื่ กล่าวคือ สะท้อนให้เห็น
แนวคิดในการด�ำเนินชีวิตหลายประการ ทัง้ ด้านจิตใจ ความคิด การพูดและการกระท�ำ ซึง่ เป็น
ค�ำสอนในเรือ่ งของการปฏิบตั ติ นเมือ่ อยูร่ ว่ มกับผูอ้ นื่ ทัง้ สิน้ ดังนัน้ โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
จึงเป็นวรรณกรรมค�ำสอนที่สอนให้ทุกคนปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสงบสุข เช่น ไม่
ใส่ร้ายป้ายสีใคร ไม่พูดจาให้ร้ายจนท�ำให้เกิดความบาดหมางกัน ให้ท�ำดี กับคนทั ่วไปเพราะ
เขาจะได้ ชื่นชอบในตัวเราซึ่งเป็นการสร้างมิตรที่ดีไว้ด้วย
5.2.2 สอนให้คิดอย่างรอบคอบ กล่าวคือ ก่อนจะลงมือกระท�ำการสิ่งไรควรคิด
ให้รอบคอบเสียก่อนว่าจะเกิดประโยชน์หรือโทษ เช่น ไม่ควรฟังค�ำนินทา ไม่หลงเชือ่ ข่าวร้าย
เป็นต้น

5.3 คุณค่าด้านสังคม
5.3.1 สะท้อนให้เห็นค่านิยมเรื ่องความประพฤติ กล่าวคือ สะท้อนให้เห็นว่า
การมีความประพฤติที่ดีจะเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ดังความจากบท
ประพั นธ์ว่า

“ท�ำดี ไป่เลือกเว้น ผู้ ใด ใดเอย


แต่ผูกไมตรีไป รอบข้าง
ท�ำคุณอุดหนุนใน การชอบ ธรรมนา
ไร้ศัตรูปองมล้าง กลับซ้องสรรเสริญ”

ความจากบทประพั นธ์น้สี ะท้อนให้เห็นว่า การท�ำความดี นั้นควรท�ำให้แก่ทุกคน


ไม่เลือกผู้ ใด และการท�ำความดี โดยไม่เลือกหน้าย่อมจะท�ำให้ผู้ท�ำความดี นั้นมีมิตรสหาย
มาก และเป็นที่ยกย่องสรรเสริญด้วย
5.3.2 สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมด้านการพูด การพูดถือเป็นเรือ่ งส�ำคัญต่อสังคม
ไทยอย่างยิ่ง คนเราจะรักกันหรือเกลียดกัน ล้วนมีพื้นฐานมาจากการพูดทั ้งสิ้น ดังนั้นโคลง
สุภาษิตนฤทุมนาการจึงเน้นเรื่องการพูดเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะให้คิดก่อนพูด ดังตัวอย่าง
214 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“พาทีมีสติรั้ง รอคิด
รอบคอบชอบแลผิ ด ก่อนพร้อง
ค�ำพูดพ่างลิขิต เขี ยนร่าง เรียงแฮ
ฟังเพราะเสนาะต้อง โสตทั ้งห่างภัย”

5.3.3 สะท้อนให้เห็นความเชื่อทางศาสนา ศาสนาเป็นหลักส�ำหรับยึดเหนีย่ ว


จิ ตใจของทุกคน ศาสนาสอนให้ท�ำความดี และช่วยเหลือผู้อื่น โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ก็มีค�ำสอนที่สอนให้ช่วยเหลือผู้อื่นเช่นกัน ดังความว่า

“กรุณานรชาติผู้ พ้องภัย พิบัติเฮย


ช่วยรอดปลอดความกษัย สว่างร้อน
ผลจั กเพิ่มพูนใน อนาคต กาลแฮ
ชนจั กชูชื่อช้อน ป่างเบื้องปัจจุบัน”
บรรณานุกรม 15

ทวีศักดิ์ ญาณประทีป. (2532). วรรณกรรมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า


เจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัย
รามค�ำแหง.
ฟองจั นทร์ สุขยิ่ง และคณะ. (2544). หนังสือเรี ยน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย
วรรณคดีและวรรณกรรม ม. 2. กรุงเทพมหานคร : บริษทั อักษรเจริญทัศน์
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). หนังสือเรี ยน รายวิชา
พื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
อารดา กีระนันท์. (2550). สุภาษิตพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, โคลง ใน นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ 1 ชื่อ
วรรณคดี. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
โ ค ล ง สุ ภ า ษิ ต
อี ศ ป ป ก ร ณ� ำ 16
1. ประวัติความเป็นมา
โคลงสุภาษิตอีศปปกรณ�ำนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง
พระราชนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. 2447 โดยทรงแปลนิทานอีสปเป็นภาษาไทย แล้วทรง
พระราชนิพนธ์โคลงสี่สุภาพก�ำกับไว้ท้ายนิทานแต่ละเรื่อง
โคลงชุดนี้ ได้ชื่อว่า อีศปปกรณ�ำ (ปกรณ�ำ แปลว่า เรื่องราว หนังสือ) ส่วน
อีศปนั้นมาจากชื่อกลุ่มนิทาน กล่าวคือ นิทานอีสปนั้นแต่เดิมชาวกรีกชื่อ Aesop
เล่าไว้เมื่อศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตศักราช นิทานเหล่านั้นมักเป็นเรื่องสั้นๆ มีการ
เปรียบเปรยเป็นคติสอนใจ (อารดา กีระนันท์, 2550 : 604)
นิทานสุภาษิตที่รวบรวมไว้มี 24 เรื่อง แต่ที่กระทรวงศึกษาธิการได้คัดมา
ให้นักเรียนศึกษา มี 4 เรื่อง คือ ราชสีห์กับหนู บิ ดากับบุตรทั ้งหลาย สุนัขป่ากับ
ลูกแกะ และกระต่ายกับเต่า เหตุทเี่ ลือกเอา 4 เรือ่ งนีม้ านัน้ คงเป็นเพราะว่า มีเนือ้ หา
ที่สอดคล้องกับวัยและประสบการณ์ของนักเรียน
218 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

2. ประวัติผู้แต่ง
นอกจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเป็นผู้แปลและแต่งแล้ว ยัง
มีผู้ร่วมแปลและแต่งอีก 3 ท่าน คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิ ชิตปรีชากร พระยา
ศรีสนุ ทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) และพระยาราชสัมภารากร ซึง่ จะได้กล่าวถึงพระประวัติ
ของท่านทั ้งสามไว้ ณ ที่น้ดี ้วย ส่วนพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจุ ลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวนั้น หาอ่านได้ ในบทที่ 8 หน้า 131-132

2.1 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรี ชากร


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรี ชากร พระนามเดิมคือ พระองค์เจ้าคัคณาง
ยุคล ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) กับ
เจ้าจอมมารดาพึ่ง ประสูติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2398
พระองค์เจ้าคัคณางยุคล ทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอรุ่นใหญ่ จึงมี โอกาสได้ตามเสด็จ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ไปไหนมาไหนอยูเ่ สมอ จึงทรงมีพระปรีชาญาณฉลาด
หลักแหลมมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ หลังจากเข้าพิธี โสกันต์ (โกนจุก) แล้ว พระองค์ก็ผนวช
เป็นสามเณร ประทั บจ�ำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิ หาร
พระองค์เจ้าคัคณางยุคล โปรดการศึกษาตัวบทกฎหมายและอรรถคดียงิ่ กว่าอย่างอืน่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปทรงศึกษากฎหมาย และหัด
พิจารณาความในส�ำนักของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ ซึ่งทรงบัญชาการ
ศาลรับสัง่ อยู่ ในเวลานัน้ และใน พ.ศ. 2419 จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหมื่นพิชิตปรีชากร
กรมหมื่นพิ ชิตปรีชากร ทรงรับราชการในต�ำแหน่งที่สูงขึ้นตามล�ำดับ คือ เป็นอธิบดี
ศาลฎีกา อธิบดีศาลแพ่งกลาง และศาลแพ่งเกษม ในระหว่างทีท่ รงบัญชาการศาลแพ่ง ทรง
กระท�ำการส�ำคัญ 2 เรื่อง เรื่องแรกคือ การเลิกทาส เรื่องที่สองคือ การคิดแบบแผนวิ ธีท�ำ
บริคณห์สัญญาให้เป็นหลักฐาน ใช้ได้ทั้งพระราชอาณาจั กรสืบมาจนทุกวันนี้
พ.ศ. 2427 พระบาทสมเด็จพระจุ ลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชบัญชาให้
กรมหมื่นพิ ชิตปรีชากร เสด็จไปอยู่ที่นครเชี ยงใหม่ เพื่อจั ดการศาลต่างประเทศ ตลอด
จนเปลี่ยนวิ ธีการปกครองในนครเชี ยงใหม่และนครอื่นๆ ในมณฑลพายัพ ครั้นปฏิบัติ
บทที่ 16 โคลงสุภาษิตอีศปปกรณ�ำ 219

ราชการเสร็จสิ้นตามพระราชประสงค์แล้ว จึงเสด็จกลับกรุงเทพฯ แล้วก็ทรงได้เลื่อนกรม


เป็นกรมหลวงพิ ชิตปรีชากร
ต่อมา พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ ให้กรมหลวงพิ ชติ ปรีชากร ไปเป็นข้าหลวงใหญ่สำ� เร็จราชการมณฑลอีสาน บังคับการ
ทั ้งฝ่ายทหารและพลเรือน ทั ้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ให้ลุล่วง ต่อมาปี พ.ศ.
2436 (รศ. 112) มีเหตุขัดแย้งรุนแรงระหว่างไทยกับฝรั่งเศส กรมหลวงพิ ชิตปรีชากร
ได้ถวายรายงานให้พระบาทสมเด็จพระจุ ลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบข้อเท็จจริงต่างๆ
และทรงรับพระราชกระแสรับสั่งไปบัญชาการได้ดังพระราชประสงค์
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุ ลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
กรมหลวงพิ ชิตปรีชากร เสด็จกลับมารับราชการในต�ำแหน่งเสนาบดี กระทรวงยุติธรรม
ต่อจากพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสวัสดิวัดนวิ ศิษฎ์ ซึ่งขณะนั้นมีการช�ำระคดี พระยอด
เมืองขวาง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงพิ ชิตปรีชากรเป็นหัวหน้าผู้พิพากษา
ฝ่ายไทยในการช�ำระคดี น้ี
ภายหลังกรมหลวงพิ ชิตปรีชากรทรงพระประชวร ท�ำให้ไม่อาจรับราชการ สนอง
พระเดชพระคุณได้เท่าทีค่ วร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั จึงให้มาด�ำรงต�ำแหน่ง
กรรมการศาลฎีกา ซึ่งกรมหลวงพิ ชิตปรีชากรก็เสด็จมาทรงงานได้บ้างเป็นครั้งคราว
นอกจากงานราชการแล้ว กรมหลวงพิชิตปรีชากรยังทรงสนพระทั ยทางด้านอักษร
ศาสตร์และการประพั นธ์ ซึ่งปรากฏว่าทรงมีผลงานการประพั นธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
และทรงนิพนธ์ได้ทั้งแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่
กรมหลวงพิ ชิตปรีชากร สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2452 ขณะที่ทรงมี
พระชนมายุได้ 55 ปี ทรงเป็นต้นสกุล คัคณางค์ (เก็บความจาก รื่นฤทั ย สัจจพั นธุ์, 2553 :
150-152)

2.2 พระยาศรี สุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)


พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2365
ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา การศึกษาเบื้องต้นได้เรียนหนังสือกับหลวงบรรเทาทุกขราษฎร์ (ไทย)
ผู้เป็นพี ่ชาย ครั้นอายุได้ 13 ปี จึงมาอยู่ที่วัดสระเกศ และบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ 8 ปี
ได้เรียนภาษาไทย ภาษาขอม และภาษาบาลี จนเชี่ยวชาญ ทั ้งยังได้ศึกษาคัมภีร์พุทธศาสนา
กับพระอาจารย์ ในส�ำนักต่างๆ ซึ่งล้วนแต่มีชื่อเสียง เช่น ส�ำนักสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
220 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ส�ำนักพระอุปธยาจาริย (ศุข) ส�ำนักสมเด็จพระพุทธาจาริยา (สน) เป็นต้น ต่อมาได้อปุ สมบท


เป็นพระภิกษุ และเข้าสอบแปลพระปริยัติธรรมจนได้เป็นเปรียญ 5 ประโยค
ต่อมาได้ศกึ ษาพระปริยตั ธิ รรมเพิม่ ในส�ำนักวชิรญาณภิกขุ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว) หลังจากนั้นได้เข้าสอบแปลพระปริ ยัติธรรมในที่ประชุมพระราชาคณะได้อีก
2 ประโยค รวมเป็น 7 ประโยค ด�ำรงสมณเพศอยู่ 11 พรรษา
ต่อมาได้ลาสิกขาบท แล้วเข้ารับราชการในกรมมหาดเล็ก ต่อมาได้เป็นขุนประสิทธิ
อักษรสาตร ผู้ช่วยเจ้ากรมพระอาลักษณ์ และในขณะนั้นต�ำแหน่งเจ้ากรมอักษรพิมพการ
ว่างอยู่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้เป็นเจ้ากรมอักษรพิมพการด้วย
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำ� รง
ต�ำแหน่งขุนสารประเสริฐ ปลัดทูลฉลองกรมพระอาลักษณ์ ท�ำหน้าที่ก�ำกับพนักงานกอง
ตรวจสอบทานหนังสือข้างที่ ครัง้ นัน้ พระเจ้านครเชียงใหม่นำ� ช้างเผือกมาถวาย จึงโปรดเกล้าฯ
ให้เป็นผู้ขนานนามแต่งฉันท์สมโภช และเมื่อมีช้างส�ำคัญเข้ามาสู่พระบารมีอีกหลายช้าง ก็ได้
รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้ขนานนามและแต่งฉันท์กล่อมช้างเหล่านั้น
พ.ศ. 2414 ขุนสารประเสริ ฐ ได้แต่งแบบสอนหนังสือไทยเบื้องต้นขึ้นทูลเกล้าฯ
ถวายรวม 5 เรื่อง ได้แก่ มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นกิ ร อักษรประโยค สังโยคพิธาน และ
พิศาลการันต์ จึงได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงสารประเสริฐ และใน พ.ศ.
2414 เป็นครูสอนหนังสือไทยในกรมทหารมหาดเล็ก ปีต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง จึงให้หลวงสารประเสริฐเป็นอาจารย์ใหญ่
พ.ศ. 2423 พระบาทสมเด็จพระจุ ลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุ ณาโปรด
เกล้าฯ ให้มีการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และให้เขี ยนรูปภาพเรื่องรามเกียรติ์
ตามพระระเบียงรอบพระอุโบสถ ทรงเกณฑ์ขา้ ราชการทีเ่ ป็นจินตกวีแต่งโคลงประกอบภาพ
จารึ กในแต่ละห้อง ในการนี้หลวงสารประเสริฐได้เป็นแม่กองตรวจโคลงที่ข้าราชการแต่ง
ทูลเกล้าฯ ถวาย หลังจากปฏิสังขรณ์เสร็จบริบูรณ์ ใน พ.ศ. 2425 จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ
ให้เป็นพระยาศรีสุนทรโวหาร
ต่อมาทรงพระกรุณาให้พระยาศรีสุนทรโวหารเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จ
พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ รวมทั ้งพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์อื่นๆ ด้วย และใน พ.ศ. 2430 พระยา
ศรีสนุ ทรโวหารก็ได้รับการโปรดกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรีรับการราชสนองพระเดชพระคุณด้วย
ดี เสมอมา จนอายุได้ 70 ปีก็ถึงแก่อนิจกรรม (เก็บความจากวิ พุธ โสภวงศ์, 2553 : 245)
บทที่ 16 โคลงสุภาษิตอีศปปกรณ�ำ 221

2.3 พระยาราชสัมภารากร
พระยาราชสัมภารากร มีนามเดิมว่า เลื่อน สุรนันท์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2380 เป็น
บุตรของพระยาอภัยพิพิธ (เสพ) จางวางกรมท่าขวากับคุณหญิงพุ ่ม ซึ่งเป็นพระราชนัดดา
ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ในรัชกาลที่ 5 นายเลือ่ นได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กเวรศักดิ์ ต่อมาได้รับพระมหากรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้เป็นมหาดเล็กรายงาน ดูการวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระคลังราชการ
แล้วเป็นนายรองสรรพวิ ไชย เมื่ออายุครบบวชได้บวชเรียนในส�ำนักสมเด็จพระวันรัตน์ (ทั บ)
วัดโสมนัสวิหาร ครัน้ สึกออกมาแล้วก็กลับเข้ารับราชการตามเดิม และได้รับการโปรดเกล้าฯ
ให้เป็นหลวงอินทรโกษา ปลัดกรมพระคลังราชการ
ต่อมา พ.ศ. 2421 ได้เลื่อนต�ำแหน่งเป็นพระยาราชสัมภารากร เจ้ากรมพระคลัง
ราชการ ภายหลังได้เป็นข้าหลวงใหญ่รักษาราชการ ณ นครเชียงใหม่
พระยาราชสัมภารากรมีความสนใจศึกษาเล่าเรียนวิ ชาหนังสือขอม หนังสือไทย
โหราศาสตร์ ต�ำรับพิชัยสงคราม พระราชพงศาวดาร และการแต่งร้อยกรอง ท่านถึงแก่
อนิจกรรมเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2434 เมื่อมีอายุได้ 54 ปี (เก็บความจากบุญหลง
ศรีกนก, 2553 : 221)

3. เนื้อเรื ่องย่อ

3.1 ราชสีห์กับหนู
ราชสีห์ตัวหนึง่ ก�ำลังนอนหลับอย่างสบาย แต่มีหนู
ตัวหนึง่ วิ ่งขึ้นไปบนหน้า ท�ำให้ราชสีห์ตกใจตื่น ราชสีห์จะ
ฆ่าหนูเพราะความโกรธ แต่หนูตัวนั้นได้อ้อนวอนราชสีห์
ขอให้ไว้ ชี วิต และบอกว่าจะทดแทนบุญคุณให้ ในภายหลัง
ราชสีห์ได้ยินก็หัวเราะเยาะ แล้วปล่อยหนูไป ต่อมาราชสีห์
ติดบ่วงแร้วของนายพราน จะท�ำอย่างไรก็ไม่หลุด หนูได้ยิน
เสียงร้องของราชสีหจ์ งึ มาช่วยกัดแร้วของนายพราน จนราชสีห์
222 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

หลุดออก หนูจงึ กล่าวแก่ราชสีหว์ า่ ท่านเคยหัวเราะเยาะข้าพเจ้ามาช่วยอะไรท่านไม่ได้ แต่วนั


นีข้ า้ พเจ้าได้ชว่ ยท่านแล้ว ถึงจะเป็นหนูตวั เล็กๆ แต่กม็ กี ำ� ลังพอทีจ่ ะช่วยเหลือท่านได้ ดังนัน้
นิทานเรื่องนี้จึงสอนว่า ไม่ควรดูถูกคนที่ด้อยกว่าว่ามิอาจที่จะช่วยเหลืออะไรเราได้ เขาอาจ
ช่วยเหลือเราได้ ในยามที่เราเกิดเหตุขัดสน

3.2 บิดากับบุตรทั้งหลาย
ชายคนหนึง่ มีบุตรหลายคน บุตรนั้นมักจะทะเลาะกันอยู่เสมอ บิ ดาจะตักเตือน
สั่งสอนเท่าไรๆ บุตรนั้นก็มิฟังยังคงทะเลาะกันอยู่ จนวันหนึง่ บิ ดาได้สั่งให้บุตรทั ้งหลายไป
หาไม้เรียวมัดมาก�ำหนึง่ แล้วให้บตุ รทัง้ หลายช่วยกันหัก บุตรทัง้ หลายพยายามเท่าไรก็หกั ไม่
ได้ บิ ดาจึงแก้มดั ไม้เรียวนัน้ และส่งให้บตุ รหักคนละอัน บุตรก็สามารถหักไม้เรียวได้โดยง่าย
ครัน้ แล้วบิ ดาจึงสอนว่าถ้าสามัคคีรวมเป็นอันหนึง่ อันเดี ยวกันเหมือนไม้เรียวทัง้ ก�ำ ก็จะไม่มี
ใครท�ำอันตรายได้ แต่ถา้ แตกแยกกันก็ยอ่ มเป็นอันตรายได้งา่ ย ดังนัน้ นิทานเรือ่ งนีจ้ งึ สอน
ว่าผู้ที่เกิดมาร่วมวงศ์ตระกูลเดี ยวกัน หากไม่รักกันริษยากัน ก็จะถูกผู้อื่นเบี ยดเบี ยนได้ง่าย
แต่ถ้ามีความสามัคคีกัน ถึงจะมีศัตรูหลายหมื่นคน ศัตรูเหล่านั้นก็จะพ่ายแพ้เพราะความ
สามัคคีนนั่ เอง

3.3 สุนัขป่ากับลูกแกะ
สุนัขป่าพบลูกแกะหลงฝูงมาก็ต้องการจั บกินเป็นอาหาร จึงพยายามกล่าวโทษเพื่อ
หาเหตุในการจั บลูกแกะกิน สุนัขป่าจึงอ้างว่าเมื่อปีกลายลูกแกะได้ดูถูกตน ลูกแกะก็ตอบ
ด้วยน�้ำเสียงอันเศร้าโศกว่าเมือ่ ปีกลายนัน้ ตนยังไม่เกิด สุนขั ป่าจึงว่าลูกแกะแอบกินหญ้าใน
เขตของตน ลูกแกะก็บอกว่ายังมิเคยได้รรู้ สหญ้าเลยเพราะยังไม่เคยกิน สุนขั ป่าก็วา่ ไปอีกว่า
ลูกแกะกินน�้ำในบ่อของตน ลูกแกะก็ตอบว่ายังไม่เคยกินน�้ำเลยเพราะกินแต่น�้ำนมของแม่
สุนขั ป่ามิรจู้ ะหาเหตุอย่างไรต่อไปเพราะลูกแกะสามารถหาเหตุผลมาหักล้างข้อกล่าวโทษได้
ทัง้ หมด จึงท�ำไม่รไู้ ม่ชีแ้ ล้วจับลูกแกะกินเป็นอาหาร ดังนัน้ นิทานเรือ่ งนีจ้ งึ สอนว่า แม้จะกล่าว
ถ้อยค�ำที่ ไพเราะอ่อนหวานต่อคนพาลหยาบช้าเท่าใดก็ดี คนพาลนั้นก็จะหาโทษมาให้จนได้
บทที่ 16 โคลงสุภาษิตอีศปปกรณ�ำ 223

3.4 กระต่ายกับเต่า
กระต่ายหัวเราะเยาะเต่าว่าเท้าสั้นเดินช้า
เต่าจึงท้าให้วิ่งแข่งกัน ฝ่ายกระต่าย เห็นว่าไม่มี
ทางเป็นไปได้แน่นอนที่เต่าจะวิ ่งชนะ ตนจึงรับค�ำ
ท้า แล้วให้สุนัขจิ ้งจอกเป็นกรรมการ พอถึงเวลา
แข่งขันกระต่ายกับเต่าก็ออกวิ ่งพร้อมกัน เต่านั้น
วิง่ ไปมิได้หยุดเลยแม้แต่นดิ เดียว ส่วนกระต่ายนัน้
มัน่ ใจในฝีเท้าของตนมากก็ไม่สทู้ จี่ ะเอาใจใส่ ในการ
แข่งขัน ว่าแล้วก็แอบนอนหลับข้างทาง ครัน้ ตืน่ ขึน้
คิดได้กร็ ีบวิง่ ต่อไปโดยเร็ว แต่ปรากฏว่าเต่านัน้ ถึง
ที่หมายเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นนิทานเรื่องนี้จึงสอน
ว่าอย่าประมาทและเชือ่ มัน่ ในความสามารถของตน
นัก เพราะผูท้ เี่ ราคิดว่าไม่มคี วามสามารถ แต่เขามี
ความพยายาม เขาอาจกลายเป็นผู้ชนะได้

4. คุณค่า
โคลงอีศปปกรณ�ำให้คุณค่าด้านต่างๆ หลายประการ เป็นต้นว่า คุณค่าทางด้าน
วรรณศิลป์ คุณค่าทางด้านความรู้ และคุณค่าทางด้านสังคม ดังนี้

4.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
4.1.1 การใช้ถ้อยค�ำ กวี ใช้ถ้อยค�ำที่เรียบง่าย โดยเรียบเรียงออกมาได้สละสลวย
ด�ำเนินเนื้อความอย่างกระชับ มีการบรรยายเนื้อความสลับกับบทเจรจาของตัวละคร ท�ำให้
น่าสนใจ น่าติดตามมากขึ้น ดังตัวอย่าง (ค�ำที่ ไม่พิมพ์ตัวหนา คือบทบรรยายเนื้อความ
ส่วนค�ำที่พิมพ์ตัวหนาคือบทเจรจาของตัวละคร)
“มีราชสีหต์ วั หนึง่ นอนหลับ มีหนูตวั หนึง่ วิง่ ไปบนหน้า ราชสีหน์ นั้ ตกใจตืน่ ลุกขึน้ ด้วย
ความโกรธ จั บหนูไว้ได้จะฆ่าเสีย หนูจึ่งอ้อนวอนว่า ถ้าเพียงแต่ท่านไว้ ชีวิตข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าคงจะแทนคุณท่านที่มี ใจดีเป็นแน่ ราชสีห์หัวเราะแล้วปล่อยเขาไป...”
224 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

นอกจากนี้ความจากโคลงสรุปปิดท้าย แม้จะใช้ค�ำน้อยแต่ก็กินความมาก อ่านแล้วรู้


ได้ทันทีว่า กวีต้องการสื่อสารเรื่องอะไร ดังตัวอย่าง

“อย่าควรประมาทผู้ ทุรพล
สบเคราะห์คราวขัดสน สุดรู้
เกลือกเขาสบร้ายดล ใดเหตุ มีแฮ
มากพวกคงมีผ ู้ ระลึกเคล้าคุณสนอง”

จากโคลงข้างต้นจะเห็นว่ากวี ใช้คำ� น้อยแต่กนิ ความมาก ค�ำที่ ใช้สว่ นใหญ่เป็นค�ำพยางค์


เดียว แต่วา่ ให้ความหมายทีช่ ดั เจน อ่านแล้วรูไ้ ด้ทันทีวา่ กวีเน้นเรือ่ งการไม่ดถู กู ผูอ้ นื่ และให้
มีเพื่อนพ้องให้มากเอาไว้ ยามเคราะห์ร้ายเขาจะได้ช่วยเหลือ
4.1.2 บทเจรจา กวีกำ� หนดให้ตวั ละครสามารถพูดได้เหมือนกับมนุษย์ ดังนัน้ กวีจงึ
ต้องเลือกบทเจรจาให้สอดคล้องกับสภาพ และเหมาะสมกับบุคลิกลักษณะของตัวละคร เช่น
เรือ่ งสุนขั ป่ากับลูกแกะ ลูกแกะยังเด็กไร้เดียงสาและหลงทางมาเพียงล�ำพั ง คงก�ำลังตืน่ กลัว
ภัย กวีจงึ ก�ำหนดน�ำ้ เสียงของลูกแกะให้มนี ำ�้ เสียงที่ โศกเศร้า ส่วนสุนขั ป่านัน้ มีบคุ ลิกลักษณะ
เป็นอันธพาล มีนสิ ยั หยาบช้า ดังนัน้ น�ำ้ เสียงของสุนขั ป่า จึงมีลกั ษณะกระด้าง โผงผาง ดุรา้ ย
น่ากลัว ดังตัวอย่าง
“สุนัขป่าจึงว่า เจ้ากินหญ้าในท�ำเลของข้า ลูกแกะตอบว่าหามิได้เลยเจ้าขะ ดี ฉันยัง
ไม่ร้รู สหญ้าเลยจนเดี ๋ยวนี้ ยังไม่เคยกิน สุนัขป่าจึงว่า เจ้ากินน�้ำในบ่อของข้า ลูกแกะ
ว่าหามิได้ ดี ฉันยังไม่เคยกินน�้ำเลย เพราะในเวลานี้ น�้ำนมมารดาดี ฉันเท่านั้นเป็นทั ้ง
อาหารทั ้งน�้ำ...”
4.1.3 การใช้สาธกโวหาร ปรากฏอยู่ ในเรื่องบิดากับบุตรทั้งหลายกล่าวคือ บิดา
ต้องการสั่งสอนให้บุตรทั ้งหลายเห็นถึงโทษของการไม่สามัคคีกัน จึงได้สร้างเหตุการณ์ ให้
บุตรทั ้งหลายช่วยกันหักไม้เรียว พร้อมกับยกเหตุการณ์ดังกล่าว มาสอนสั่งบุตร ดังความว่า
“ถ้าเจ้าเป็นใจเดี ยวกัน เข้ากัน อุดหนุนกันแลกัน เจ้าจะเหมือนไม้ทั้งก�ำนี้ ศัตรูทั้ง
หลายจะปองร้าย ก็ไม่มีอันตรายใดได้...”
4.1.4 การเล่นค�ำ จากเรื่องบิดากับบุตรทั้งหลายปรากฏว่า มีการเล่นค�ำในหลาย
รูปแบบ เช่น การใช้สัมผัสอักษร หรือ การใช้ค�ำค�ำเดี ยวกัน วางไว้ ในที่ ใกล้กัน ดังตัวอย่าง
บทที่ 16 โคลงสุภาษิตอีศปปกรณ�ำ 225

“เชื้อวงศ์วายรักร้อย ริษยา กันเฮย


ปรปักษ์เบี ยนบี ฑา ง่ายแท้
ร่วมสู้ร่วมรักษา จิ ตร่วม รวมแฮ
หมื่นอมิตร บ มิแพ้ เพราะพร้อมเพรียงผจญ”

จากตัวอย่างข้างต้นมีการเล่นค�ำโดยการใช้สมั ผัสอักษร ซึง่ ในบาทที่ 1 ได้แก่คำ� ว่า วงศ์


วาย รัก ร้อย ริ ษยา บาทที่ 2 ได้แก่ค�ำว่า ปร ปักษ์ เบียน บีฑา บาทที่ 3 ได้แก่ค�ำว่า ร่วม
รักษา รวม บาทที่ 4 ได้แก่ค�ำว่า เพราะ พร้อม เพรี ยง ผจญ ส่วนการใช้ค�ำค�ำเดี ยวกันวาง
ไว้ที่ ใกล้กันก็เป็นการเน้นความให้มีน�้ำหนักมากขึ้น ซึ่งปรากฏในบาทที่ 3 คือ “ร่วมสู้ร่วม
รักษา จิตร่วม รวมแฮ” เมื่ออ่านแล้วก็จะเห็นถึงความเป็นหนึง่ เดี ยวของผู้ที่เป็นเชื้อสายกัน

4.2 คุณค่าด้านเนื้อหา
4.2.1 ให้ขอ้ คิดสอนใจว่าไม่ควรดูถกู ผูท้ ตี่ ำ�่ ต้อยกว่า ดังราชสีหท์ ดี่ ถู กู หนู ในการ
เปรียบเทียบทางวรรณคดี นั้น ราชสีห์เป็นสัตว์ ใหญ่จึงหมายถึง ผู้มีพละก�ำลังมาก ส่วนหนู
เป็นสัตว์ตัวเล็กนิดเดี ยวจึงหมายถึงผู้มีก�ำลังน้อย หรือผู้ต�่ำต้อย แต่สุดท้ายแล้วหนูก็ช่วย
ราชสีห์ ให้พ้นจากอันตรายได้ ดังนั้นสัตว์ทั้งสองจึงเป็นสิ่งแทนว่าทั ้งผู้ ใหญ่และผู้น้อยต่าง
ก็ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
4.2.2 สอนให้รู้จักคุณของความสามัคคี ดังนิทานเรื่องบิ ดากับบุตรทั้งหลาย
ที่บิดาสร้างสถานการณ์หนึง่ ขึ้นมา แล้วอธิบายให้บุตรรู้ถึงคุณของความสามัคคี และโทษ
ของการไม่สามัคคี
4.2.3 สอนให้รู้จักลักษณะนิสัยของคนพาล ดังสุนัขป่าที่เป็นตัวแทนของคน
พาล ทีค่ อยแต่จะหาเรือ่ งผูอ้ นื่ ที่ ไม่มคี วามผิด ไม่วา่ ลูกแกะจะพูดด้วยวาจาอ่อนหวานอย่างไร
แต่สุดท้ายแล้วสุนัขป่าก็หาเหตุท�ำร้ายลูกแกะจนถึงแก่ ชีวิตได้
4.2.4 สอนไม่ ให้ประมาท ดังเช่น กระต่ายที่มั่นใจในฝีเท้าของตนเองและเห็น
เต่าขาสั้น เดินช้า คิดว่าเต่าคงจะวิ ่งไม่ทันตนเองอย่างแน่นอน ด้วยความประมาทกระต่าย
จึงไม่สนใจการแข่งขัน กลับแอบนอนหลับข้างทาง แต่กว่าจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว เพราะเต่า
เดินเข้าเส้นชัยไปแล้ว
226 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

4.3 คุณค่าด้านสังคม
4.3.1 สะท้อนให้เห็นถึงความส�ำคัญของสถาบันครอบครัว จากเรื่องบิดากับ
บุตรทั ้งหลาย สะท้อนให้เห็นสถาบันครอบครัวที่สมัยก่อนมักจะมีลูกมาก เมื่อมีลูกมากๆ
แล้ว ผู้เป็นพ่อก็ย่อมที่จะต้องวางแนวทางในการปกครองบุตรเพื่อให้เกิดความสามัคคี
4.3.2 สะท้อนให้เห็นถึงการพึ่งพาอาศัยกันและกัน ดังได้กล่าวไปแล้วว่า ทั้ง
ผูใ้ หญ่และผูน้ อ้ ยต่างก็ตอ้ งพึง่ พาอาศัยซึง่ กันและกัน ดังนัน้ จึงขอกล่าวโดยสรุปว่าการจะอยู่
ในสังคมอย่างสงบสุข ทุกคนต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ไม่เบี ยดเบี ยนกัน
4.3.3 สะท้อนให้เห็นความเชื่อทางศาสนา กล่าวคือ นิทานเรื่องกระต่ายกับเต่า
แสดงให้เห็นโทษของความประมาท อันเป็นค�ำสอนเรือ่ งหนึง่ ของพระพุทธศาสนา ส่วนนิทาน
เรื่องราชสีห์กับหนูก็สะท้อนให้เห็นในเรื่องของความกตัญญูร้คู ุณ
4.3.4 สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะนิสยั ของคนพาล คนพาลก็คอื คนเกเร เทีย่ วหา
เรื่องคนอื่นเขาไปทั ่ว จะกระท�ำการต่างๆ ก็ท�ำได้โดยไม่ต้องมีเหตุผล ดังนั้นถ้าพบคนพาล
ก็ควรหลีกเลี่ยงอย่าไปสนทนาด้วย เพราะจะท�ำให้เราเดือดร้อน บางทีคนพาลก็อาจพาเรา
ไปสู่หนทางที่เสื่อมเสีย
บรรณานุกรม 16

ทวีศักดิ์ ญาณประทีป. (2532). วรรณกรรมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า


เจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัย
รามค�ำแหง.
บุญหลง ศรีกนก. (2553). ราชสัมภารากร (เลื่อน), พระยา ใน นามานุกรม
วรรณคดีไทย ชุดที่ 2 ชื่อผู้แต่ง. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสมเด็จพระ
เทพรัตนราชสุดา.
ฟองจั นทร์ สุขยิ่ง และคณะ. (2544). หนังสือเรี ยน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย
วรรณคดีและวรรณกรรม ม. 2. กรุงเทพมหานคร : บริษทั อักษรเจริญทัศน์
รื่นฤทั ย สัจจพั นธุ์. (2553). พิชิตปรีชากร, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง
ใน นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ 2 ชือ่ ผูแ้ ต่ง. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
วิ พุธ โสภวงศ์. (2553). ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร), พระยา
ใน นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ 2 ชือ่ ผูแ้ ต่ง. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (๒๕๕๕). หนังสือเรี ยน รายวิชา
พื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
อารดา กีระนันท์. (2550). สุภาษิตพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว, โคลง ใน นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ 1 ชื่อวรรณคดี.
กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
ก ล อ น ด อ ก ส ร้ อ ย
ร� ำ พึ ง ใ น ป่ า ช้ า 17
1. ประวัติความเป็นมา
กลอนดอกสร้อยร�ำพึงในป่าช้า มีที่มาจากกวีนพิ นธ์ชื่อ Elegy Written in a
Country Churchyard ของทอมัส เกรย์ กวีชาวอังกฤษ ซึ่งได้ประพั นธ์บทกวีบทนี้
ขึ้นหลังจากที่เขาสูญเสียเพื่อนและญาติสนิทไปในเวลาใกล้เคียงกัน
ต่อมาเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป ได้ช่วยกันแปลบทกวีของทอมัส เกรย์
เป็นภาษาไทย ซึ่งนาคะประทีปได้เรียบเรียงกถามุขหรือบทน�ำเรื่องเอาไว้ด้วย แล้ว
พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิม่ กาญจนาชีวะ) ได้น�ำเอาฉบับที่เสฐียรโกเศศและนาคะ
ประทีปแปลไว้ มาแต่งใหม่เป็นกลอนดอกสร้อยร�ำพึงในป่าช้าอีกครั้งหนึง่
การแต่งครัง้ นีก้ วีดดั แปลงเนือ้ หาให้เข้ากับธรรมเนียมนิยมของไทย เช่น มีการ
ปรับเปลีย่ นให้พชื พรรณและสัตว์อนั เป็นทีร่ จู้ ักกันดี ในแถบตะวันตก ให้เป็นพืชและสัตว์
ที่มีในเมืองไทย เช่น เปลี่ยนต้นไอวี่เป็นเถาวัลย์ เปลี่ยนต้นเอล์มเป็นต้นโพธิ์ แมลง
บี ตเทิล เป็นจั งหรีดและเรไร นอกจากนั้นยังได้ปรับเปลี่ยนการอ้างถึงบุคคลส�ำคัญ
ของอังกฤษในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 มาเป็นบุคคลส�ำคัญของไทย เช่น เปลี่ยน
จอห์น แฮมพ์เด็น นักการเมืองผู้มี ชื่อเสียงในการต่อสู้เพื่อท้องถิ่นของตนเป็นชาว
บ้านบางระจั น เปลี่ยนจอห์น มิลตัน กวีเอกของอังกฤษเป็นศรีปราชญ์
ในกรณีที่ ไม่สามารถหาบุคคลส�ำคัญของไทยทีเ่ หมาะสมได้ กวีจะใช้ วิธกี ล่าวถึง
ลักษณะเด่นโดยไม่ระบุนาม เช่น “ผูก้ บู้ า้ นเมืองเรืองปัญญา” ทีป่ รับมาจาก โอลิเวอร์
ครอมเวล์ นักการทหารและนักการเมืองคนส�ำคัญ
230 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

2. ประวัติผู้แต่ง
พระยาอุปกิตศิลปสาร นามเดิมคือ นิม่ กาญจนาชีวะ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม
พ.ศ. 2422 ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่วัดบางประทุนนอก และที่วัดประยุรวงศาวาส ต่อมาได้
บวชเป็นสามเณรและพระภิกษุที่วัดสุทัศนเทพวราราม ได้ศึกษาพระธรรมวิ นัยจนแตกฉาน
และสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค
พระยาอุปกิตศิลปสารเริ่มเข้ารับราชการเป็นครูฝึกสอนที่ โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์
สายสวลีสัณฐาคาร ฝ่ายสอนหนังสือที่ โรงเรียนสวนกุหลาบและโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา นอกจากนีย้ งั เคยด�ำรงต�ำแหน่งข้าหลวงตรวจการ ภายหลังเข้ามารับ
ราชการทีก่ ระทรวงธรรมการ พนักงานกรมราชบัณฑิต ปลัดกรมต�ำรา หัวหน้าการพิมพ์แบบ
เรียน หัวหน้าแผนกอภิธานสยาม จนได้รับบรรดาศักดิเ์ ป็นอ�ำมาตย์เอก พระยาอุปกิตศิลปสาร
พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิม่ กาญจนาชีวะ) เป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางภาษา
ไทย ภาษาบาลี วรรณคดี โบราณ เคยเป็นอาจารย์พเิ ศษของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย และเคยเป็นอาจารย์พเิ ศษสอนภาษาไทยชุดครูมธั ยม และเป็นกรรมการช�ำระ
ปทานุกรมด้วย (ฟองจั นทร์ สุขยิ่ง และคณะ, 2544 : 141)
งานประพั นธ์ส�ำคัญทางภาษาและวรรณคดี ไทยของพระยาอุปกิตศิลปสาร เช่น
แบบเรียนสยามไวยากรณ์ ค�ำประพั นธ์บางเรื่องที่แต่งด้วย โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย
เพื่อแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น ศาสนา ปรัชญา ประวัติศาสตร์และเหตุการณ์
ทั ่วไป (ทิพย์สุเนตร อนัมบุตร, 2549 : 241)

3. ลักษณะค�ำประพันธ์
กลอนดอกสร้อยร�ำพึงในป่าช้า แต่งเป็นกลอนดอกสร้อยจ�ำนวน 33 บท มีเพิม่ ขึน้ จาก
ภาษาอังกฤษ 1 บท กลอนดอกสร้อยจะมีรปู ฉันทลักษณ์เหมือนกลอนสุภาพ แต่จะต่างกัน
ตรงค�ำขึ้นต้นและลงท้าย คือ จะขึ้นต้นด้วยค�ำว่า เอ๋ย เช่น ดอกเอ๋ยดอกฟ้า และลงท้ายว่า
เอย ดังตัวอย่าง (บุปผา บุญทิพย์, 2558 : 93)
บทที่ 17 กลอนดอกสร้อยร�ำพึงในป่าช้า 231

“วังเอ๋ยวังเวง หง่างเหง่งย�่ำค�่ำระฆังขาน
ฝูงวัวควายผ้ายลาทิวากาล ค่อยค่อยผ่านท้องทุ่งมุ่งถิ่นตน
ชาวนาเหนือ่ ยอ่อนต่างจรกลับ ตะวันลับอับแสงทุกแห่งหน
ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั ่วมณฑล และทิ้งตนตูเปลี่ยวอยู่เดี ยวเอย”

4. เนื้อเรื ่องย่อ
ในเวลาเย็นใกล้ค�่ำ มีชายผู้หนึง่ ได้เข้าไปนัง่ อยู่ในวัดชนบทแห่งหนึง่ ซึ่งมีแต่ความ
สงบเงียบ เมื่อได้ยินเสียงระฆังดังบอกเวลาใกล้ค�่ำ เขาจึงมองดูไปรอบๆ เห็นชาวนาจูง
ฝูงวัวควายเดินทางกลับบ้าน ครั้นสิ้นแสงตะวันแล้วเขาก็ได้ยินเสียงหรีดหริ่งเรไรร้อง และ
เสียงเกราะในคอกสัตว์ นกแสกที่จับอยู่บนหอระฆังก็ส่งเสียงร้อง ณ บริเวณโคนต้นโพธิ์
ต้นไทร ซึ่งบริเวณนั้นมีศพฝังอยู่ ในหลุมมากมาย ความเงียบสงบและความวิ เวกช่วยท�ำให้
เขารู้ถึงสัจธรรมแห่งชีวิตข้อที่ว่า ผู้ดี มีจน นาย ไพร่ นักรบ กษัตริย์ ต่างก็มีจุดจบเหมือน
กันทั ้งหมด คือ ความตาย

5. คุณค่า
กลอนดอกสร้อยร�ำพึงในป่าช้าให้คุณค่าด้านต่างๆ หลายประการ เป็นต้นว่า คุณค่า
ด้านวรรณศิลป์ คุณค่าด้านความรู้ และคุณค่าด้านสังคม ดังนี้

5.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
5.1.1 การใช้ถอ้ ยค�ำ กวี ใช้ถอ้ ยค�ำทีเ่ รียบง่ายและสือ่ ความหมายได้อย่างชัดเจน ดัง
จะเห็นได้จากบทพรรณนาวิถี ชีวิตของชาวนาในเวลาเย็น อ่านแล้วท�ำให้เห็นภาพ เกิดอารมณ์
และความรู้สึกคล้อยตาม ดังตัวอย่าง
232 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“วังเอ๋ยวังเวง หง่างเหง่งย�่ำค�่ำระฆังขาน
ฝูงวัวควายผ้ายลาทิวากาล ค่อยค่อยผ่านท้องทุ่งมุ่งถิ่นตน
ชาวนาเหนือ่ ยอ่อนต่างจรกลับ ตะวันลับอับแสงทุกแห่งหน
ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั ่วมณฑล และทิ้งตนตูเปลี่ยวอยู่เดี ยวเอย”

จากตัวอย่างนี้จะเห็นภาพของชาวนาที่เหนือ่ ยล้าจากการท�ำนามาทั ้งวัน ก�ำลังจูงวัว


ควายกลับบ้าน ผ่านป่าช้าในเวลาเย็น ในขณะที่ดวงตะวันก�ำลังจะลับขอบฟ้าก็มีเสียงระฆัง
ดังหง่างเหง่งบอกเวลาพลบค�่ำ ท้องฟ้าก็ค่อยๆ มืดลง ท�ำให้เกิดความอ้างว้างขึ้นในจิ ตใจ
5.1.2 การใช้อุปมา เช่น ตอนที่กล่าวเปรียบเทียบว่าผู้ท�ำความดี ก็เหมือนมณี
อันมีค่า แต่ถ้าอยู่ ในท้องถิ่นที่ห่างไกลก็ไม่มีผู้ ใดเห็นความดี เปรียบได้กับดอกไม้ที่งดงาม
ด้วยสีและหอมด้วยกลิน่ แต่กลับบานในป่าเขาทีห่ า่ งไกล จึงท�ำให้ไม่มี ใครเห็นความสวยงาม
ดังความว่า

“ดวงเอ๋ยดวงมณี มักจะลี้ลับอยู่ ในภูผา


หรือใต้ท้องห้องสมุทรสุดสายตา ก็เสื่อมซาสิ้นชมนิยมชน
บุปผชาติชูสีและมีกลิ่น อยู่ ในถิ่นที่ ไกลเช่นไพรสณฑ์
ไม่มี ใครได้เชยเลยสักคน ย่อมบานหล่นเปล่าดายมากมายเอย”

5.1.3 การใช้บุคลาธิษฐาน คือ การสมมติ ให้สิ่งที่ ไม่มี ชี วิต มีจิตใจ มีอารมณ์และ


ความรู้สึกเหมือนมนุษย์ ดังตอนที่กวีสมมติกิริยาอาการให้ดวงตะวันทิ้งท้องทุ่ง และทิ้งคน
ให้อยู่อย่างเดี ยวดาย ดังความว่า

“วังเอ๋ยวังเวง หง่างเหง่งย�่ำค�่ำระฆังขาน
ฝูงวัวควายผ้ายลาทิวากาล ค่อยค่อยผ่านท้องทุ่งมุ่งถิ่นตน
ชาวนาเหนือ่ ยอ่อนต่างจรกลับ ตะวันลับอับแสงทุกแห่งหน
ทิ้งทุ่งให้ มืดมัวทั ่วมณฑล และทิ้งตนตูเปลี่ยวอยู่เดี ยวเอย”

5.1.4 การใช้สทั พจน์ คือ การใช้คำ� เลียนเสียงธรรมชาติ ซึง่ จะช่วยท�ำให้ผอู้ า่ นทราบ


ถึงบรรยากาศในขณะที่ก�ำลังด�ำเนินเรื่องได้ชัดเจนขึ้น ดังตัวอย่าง
บทที่ 17 กลอนดอกสร้อยร�ำพึงในป่าช้า 233

“ยามเอ๋ยยามนี้ ปถพี มืดมัวทั ่วสถาน


อากาศเย็นเยือกหนาวคราววิ กาล สงัดปานป่าใหญ่ไร้ส�ำเนียง
มีก็แต่จังหรีดกระกรีดกริ่ง เรไรหริ่งร้องขรมระงมเสียง
คอกวัวควายรัวเกราะเปาะเปาะเพี ยง รูว้ า่ เสียงเกราะแว่วแผ่วแผ่วเอย”

5.2 คุณค่าด้านความรู้
แนวคิดส�ำคัญของกลอนดอกสร้อยร�ำพึงในป่าช้า จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นอนิจจัง
ของชีวิต ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของสรรพสิ่ง ทุกคนไม่อาจหนีความตายไปได้ ไม่ว่าผู้ ดี
มีจน ล้วนแต่มีจุดจบที่ความตายทั ้งสิ้น ดังตัวอย่าง

“สกุลเอ๋ยสกุลสูง ชักจูงจิ ตฟูชูศักดิ์ศรี


อ�ำนาจน�ำความสง่าอ่าอินทรีย์ ความงามน�ำให้มีไมตรีกัน
ความร�่ำรวยอวยสุขให้ทุกอย่าง เหล่านี้ต่างรอตายท�ำลายขันธ์
วิ ถีแห่งเกียรติยศทั ้งหมดนั้น แต่ลว้ นผันมาประจบหลุมศพเอย”

กลอนดอกสร้อยร�ำพึงในป่าช้ามีเนือ้ หาอยูห่ ลายบท ทีก่ ล่าวชืน่ ชมชีวิตทีส่ งบเรียบง่าย


และความสุขอันเกิดจากความสันโดษของชาวนา ทั ้งยังชี้ว่า แม้ยามจากไปจะไม่มีผู้ ใดจารึ ก
เกียรติคณ
ุ แต่หลุมศพของชาวนาก็จะเป็นเครือ่ งเตือนใจให้ผทู้ พี่ บเห็น ได้ ใคร่ครวญถึงความ
เป็นสามัญของชีวิต ดังตัวอย่าง

“ห่างเอ๋ยห่างไกล ห่างจากพวกมักใหญ่ฝักใฝ่หา
แต่สิ่งซึ่งเหลวไหลใส่อาตมา ความมักน้อยชาวนาไม่น้อมไป
เพื่อรักษาความสราญฐานวิ เวก ร่มเชื้อเฉกหุบเขาล�ำเนาไศล
สันโดษดับฟุ้งซ่านทะยานใจ ตามวิ สัยชาวนาเย็นกว่าเอย
ศพเอ๋ยศพไพร่ ไม่มี ใครขึ้นชื่อระบือขาน
ไม่เกรงใครนินทาว่าประจาน ไม่มีการจารึ กบันทึกคุณ
ถึงบางทีมีบ้างเป็นอย่างเลิศ ก็ไม่ฉูดฉาดเชิดประเสริฐสุนทร์
พอเตือนใจได้บ้างในทางบุญ เป็นเครือ่ งหนุนน�ำเหตุสงั เวชเอย”
234 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

นอกจากแนวคิดส�ำคัญที่ โน้มน้าวใจผู้อ่านให้รู้จักการปล่อยวางแล้ว ยังมีแนวคิด


ต่างๆ อีกมากมาย ที่แสดงให้เห็นถึงธรรมดาธรรมชาติของมนุษย์ เช่น มนุษย์ทุกคนมีห่วง
ดังความจากบทประพั นธ์ว่า

“ห่วงเอ๋ยห่วงอะไร ไม่ยิ่งใหญ่เท่าห่วงดวงชี วิ ต
แม้คนลืมสิ่งใดได้สนิท ก็ยังคิดขึ้นได้เมื่อใกล้ตาย
ใครจะยอมละทิ้งซึ่งสิ่งสุข เคยเป็นทุกข์ห่วงใยเสียได้ง่าย
ใครจะยอมละแดนแสนสบาย โดยไม่ชายตาใฝ่อาลัยเอย”

5.3 คุณค่าด้านสังคม
คุณค่าด้านสังคมที่ปรากฏจากกลอนดอกสร้อยร�ำพึงในป่าช้านั้น ส่วนใหญ่จะเป็น
เรื่องราวที่เกี่ยวกับวิ ถีชีวิต ความเชื่อ และค่านิยม ดังนี้
5.3.1 สะท้อนให้เห็นสภาพวิถี ชีวิตของชาวชนบท ว่าเป็นสังคมเกษตรกรรม
ดังความจากบทประพั นธ์ว่า

“วังเอ๋ยวังเวง หง่างเหง่งย�่ำค�่ำระฆังขาน
ฝูงวัวควายผ้ายลาทิวากาล ค่อยค่อยผ่านท้องทุ่งมุ่งถิ่นตน
ชาวนาเหนือ่ ยอ่อนต่างจรกลับ ตะวันลับอับแสงทุกแห่งหน
ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั ่วมณฑล และทิ้งตนตูเปลี่ยวอยู่เดี ยวเอย”

5.3.2 สะท้อนให้เห็นความเชือ่ ของคนในสังคมไทย ดังเช่นความเชือ่ เรือ่ งนกแสก


ทีค่ นไทยเชือ่ กันมาแต่โบราณว่าเป็นนกแห่งความตาย ส่งเสียงร้องน่ากลัว ใครได้ยนิ ก็ขวัญเสีย
ดังความว่า

“นกเอ๋ยนกแสก จั บจ้องร้องแจ๊กเพี ยงแถกขวัญ


อยู่บนยอดหอระฆังบังแสงจั นทร์ มีเถาวัลย์รุงรังถึงหลังคา
เหมือนมันฟ้องดวงจั นทร์ ให้ผันดู คนมาสู่ซ่องพั กมันรักษา
ถือเป็นที่รโหฐานนมนานมา ให้เสื่อมผาสุกสันต์ของมันเอย”
บทที่ 17 กลอนดอกสร้อยร�ำพึงในป่าช้า 235

5.3.3 สะท้อนให้เห็นค่านิยมของคนในสังคม เช่น การเคารพผู้ที่มีชื่อเสียง


และเกียรติยศมากกว่าคนธรรมดา ดังความว่า

“ศพเอ๋ยศพสูง เป็นเครื่องจูงจิ ตให้เลื่อมใสศานต์


จารึ กค�ำส�ำนวนชวนสักการ ผิ ดกับฐานชาวนาคนสามัญ
ซึ่งอย่างดี ก็มีกวีเถื่อน จารึ กชื่อปีเดือนวันดับขันธ์
อุทิศสิ่งซึ่งสร้างตามทางธรรม์ ของผู้นั้นผู้น้แี ก่ผีเอย”

จากบทประพั นธ์น้สี ะท้อนให้เห็นค่านิยมของคนในสังคมไทยว่า ให้ความส�ำคัญกับ


ผู้ที่เป็นใหญ่เป็นโตมากกว่าคนธรรมดา ซึ่งผู้เป็นใหญ่เป็นโตนั้น เมื่อตายไป ก็จะมีสิ่งปลูก
สร้างทีจ่ ารึกเรือ่ งราวเป็นลายลักษณ์อกั ษร ส่วนคนธรรมดา ครัน้ ตายไปก็ไม่มี ใครเห็นคุณค่า
อย่างมากก็มีแค่กวีชาวบ้านจารึ กนาม วัน เดือน ปี ที่สิ้นชีวิตไว้ แล้วอุทิศส่วนกุศลให้เท่านั้น
บรรณานุกรม 17

กุหลาบ มัลลิกะมาส, คุณหญิง. (2555). ความรู้ทั่วไปทางวรรณคดีไทย. พิมพ์


ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
ทิพย์สุเนตร อนัมบุตร. (2549). วรรณกรรมรัตนโกสินทร์ 2. พิมพ์ครั้งที่ 10.
กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
บุปผา บุญทิพย์. (2558). ร้อยกรอง. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
รามค�ำแหง.
ฟองจั นทร์ สุขยิ่ง และคณะ. (2544). หนังสือเรี ยน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย
วรรณคดีและวรรณกรรม ม. 2. กรุงเทพมหานคร : บริษทั อักษรเจริญทัศน์
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). หนังสือเรี ยน รายวิชา
พื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
บ ท ล ะ ค ร พู ด
เ รื ่ อ ง เ ห็ น แ ก่ ลู ก 18
1. ประวัติความเป็นมาของละครพูด
ละครพูด คือ บทละครที่ ใช้ศลิ ปะการพูดในการด�ำเนินเรือ่ ง เป็นละครประเภท
หนึง่ ที่ ได้รับความนิยมแสดงมาจนถึงทุกวันนี้ ท่าทางทีแ่ สดงเป็นไปตามธรรมชาติของ
มนุษย์ มีฉากและมีการเปลี่ยนแปลงฉากไปตามท้องเรื่อง เรื่องที่แสดงอาจแต่งขึ้น
หรือดัดแปลงมาจากวรรณกรรมต่างประเทศก็ได้
ละครพูดเริม่ มี ขนึ้ เป็นครัง้ แรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั
ซึ่งจั ดแสดงให้ทอดพระเนตรในพระราชวโรกาสที่เสด็จกลับจากประเทศอินเดี ย เมื่อ
พ.ศ. 2415 โดยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ได้พร้อมใจกันแสดงถวาย ในการ
แสดงนั้นใช้ตัวละครเป็นผู้ชายล้วน ตัวละครเจรจาไปตามเรื่องที่เล่นโดยใช้ปฏิภาณ
ไหวพริบเอาเอง ต่อมาจึงมีการแต่งบทเพื่อใช้ ในการแสดงขึ้น
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงมีสว่ นเกีย่ วข้องกับละครพูดตัง้ แต่
เมื่อครั้งที่ยังทรงด�ำรงพระยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร กล่าวคือ ขณะที่ทรงศึกษาอยู่
ในยุโรปนั้น พระองค์ได้ทรงแสดงละครพูดร่วมกับเจ้านายและนักเรียนไทย เรื่องที่
แสดงเป็นเรื่องแรก คือ เรื่องมิตรแท้
ระยะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุ ฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงด�ำรงพระยศเป็น
สยามมกุฎราชกุมารอยู่นั้น ประเทศไทยมีสโมสรสามัคคีหลายแห่ง เช่น ทวีปัญญา
สโมสร สามัคยาจารย์สโมสร บางกอกสปอร์ทคลับ ฯลฯ สโมสรสามัคคีตา่ งๆ มีสว่ น
เกีย่ วข้องกับการแสดงละครพูดด้วย ดังเช่นใน พ.ศ. 2448 สามัคยาจารย์สโมสร ได้จัด
238 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

แสดงละครพูดถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งในพระราชวโรกาสวันคล้าย


วันพระบรมราชสมภพ ละครที่แสดงนั้นเป็นละครประเภทเริงรมย์ 2 เรื่อง คือ เรื่องแม่ศรี
ครัว และบ๋อยใหม่ เป็นบทประพั นธ์ของเจ้าพระยาธรรมศักดิม์ นตรี เมือ่ สามัคยาจารย์สโมสร
ได้แสดงละครถวายดังกล่าวแล้ว ต่อมาก็ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้ทวีปัญญาสโมสรแสดง
ละครพูดให้สมาชิกสามัคยาจารย์สโมสรดูเป็นการตอบแทนบ้าง ในเบือ้ งต้นนัน้ ยังมิได้ตงั้ ชือ่
คณะ คงเรียกว่าละครทวีปัญญาสโมสร ต่อมาใน พ.ศ. 2449 โปรดฯ ให้สร้างโรงละครขึ้น
ในพระราชอุทยานสราญรมย์ ดังนั้นจึงทรงตั้งชื่อคณะละครว่า คณะศรี อยุธยารมย์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยทรงแสดงละครพูดเมื่อสมัยที่ยังทรง
ด�ำรงพระยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร เนือ่ งในโอกาสงานพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จ
พระศรีพัชรินทราบรมราชินนี าถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมือ่ วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449
ในตอนบ่ายได้มกี ารแสดงละครพูดเรือ่ งปล่อยแก่ ซึง่ เป็นบทประพั นธ์ของนายบัว วิเศษกุล ที่
ได้แต่งขึน้ แล้วถวายให้ทรงแก้ไข ในการนีพ้ ระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงแสดง
เป็นหลวงเกียรติคณ ุ ครรชิต และผลจากการทีพ่ ระองค์ทรงร่วมแสดงละครกับข้าราชบริพาร
นี้ ท�ำให้สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินนี าถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ไม่พอพระทั ย
เอาอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากหลักฐานที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล่า
เอาไว้ว่า (อ้างจากทิพย์สุเนตร อนัมบุตร, 2549 : 141)
“ไม่อยากให้ฉันเล่นละครอีก ทรงอ้างว่าการเล่นสนุกทางอื่นๆ มีถมไป เล่นละคร
เช่นนีเ้ ป็นการเสือ่ มเสีย เพราะต้องไปเป็นตัวอะไรๆ ไม่เหมาะสม ค�ำพูดและบทบาทก็
เป็นการล่วงเกินน่ารังเกียจ ฉันทูลว่าการแสดงละครเป็นศิลปะ การแสดงทีด่ ี คือพูด
และท�ำให้สมจริง เขาจึงไม่ถือสากัน ฐานะของผู้แสดงกับตัวละครในเรื่องเป็นคนละ
ส่วนกัน เวลาแสดงละครก็เป็นตัวละคร เวลาเลิกแสดงแล้วก็เป็นตัวของตัวเองตาม
ฐานะของตนๆ อย่าคิดให้ปะปนกัน แล้วก็ดูไม่น่ารังเกียจ...
การแสดงละครพูดเป็นที่นยิ มกันในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เพราะปรากฏว่ามีคณะละครหลายคณะ และโรงละครหลายแห่ง เช่น คณะศรีอยุธยารมย์
คณะครูแห่งกระทรวงธรรมการ คณะเสือป่ากองเสนาหลวงรักษาพระองค์ และคณะ
นายทหารมหาดเล็ก เป็นต้น ในกรุงเทพมหานครมี โรงละครหลายแห่ง เช่น โรงละคร
หลวงในพระบรมมหาราชวัง บริเวณสวนศิวาลัย และทีว่ งั พญาไท เป็นโรงละครส�ำหรับผูช้ มที่
เป็นพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ ใหญ่ โรงละครที่สวนมิสกวัน ส�ำหรับผู้ชมที่เป็น
ประชาชน โรงบุษปะนาฏะศาลา เป็นโรงละครของพระอนุวัฒ์ปราชนิยม ตั้งอยู่ที่ตลาดเก่า
ถนนเจริญกรุง และยังมี โรงละครในต่างจังหวัดอีก เช่น ทีพ่ ระราชวังสนามจันทร์ พระราชวัง
บทที่ 18 บทละครพูด เรื่องเห็นแก่ลูก 239

บางปะอิน และพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นต้น ในเวลาทีพ่ ระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า


เจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสตามหัวเมือง และในการซ้อมรบเสือป่าทุกครั้ง มักโปรดฯ ให้คณะ
ศรีอยุธยารมย์ แสดงละครพูดให้ข้าราชการและประชาชนได้ชมอยู่เสมอๆ และข้าราชการ
สังกัดหัวเมือง ต่างก็หัดละครพูดไว้ส�ำหรับแสดงถวายให้ทอดพระเนตรหรือแสดงในงาน
นักขัตฤกษ์ของเมืองนั้นๆ
ละครพูดในสมัยแรกๆ ใช้ผแู้ สดงเป็นชายล้วน ผูท้ มี่ กั แสดงเป็นบทนาง ได้แก่ พระยา
อนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)
พระมหามนตรีศรีองครักษ์สมุห (ฉัตร โชติกเสถียร) และนายกวด หุ้มแพร (โต สุจริตกุล)
เป็นต้น การที่ ใช้ผู้ชายแสดงเป็นตัวนางนี้ ก็คงเนือ่ งด้วยบทบาทการแสดงบางตอน ย่อมมี
บทรักระหว่างตัวพระกับตัวนาง หรือต้องมีการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งประเพณียังถือว่า
เป็นเรื่องน่ากระดากอาย ผู้หญิงจึงไม่กล้าแสดง แต่สมัยต่อมาเมื่อสังคม มีความเข้าใจดี
ในเรื่องศิลปะแล้ว ประเพณีก็คลายความเคร่งครัดลง ตัวละครตัวนางจึงใช้ผู้หญิงแสดง
ได้ ดังนั้นการแสดงแบบชายจริงหญิงแท้จึงเริ่มมีขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2463 ส�ำหรับประเภทของ
บทละครพูดนั้นมีอยู่ 4 ประเภท คือ
1. บทละครพูดร้อยแก้ว
2. บทละครพูดสลับล�ำ
3. บทละครพูดค�ำกลอน
4. บทละครพูดค�ำฉันท์

2. ประวัติผู้แต่ง
ดูบทที่ 10 หน้า 149-153

3. เนื้อเรื ่อง
บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก เป็นละครฉากเดี ยวจบ มีตัวละครในการด�ำเนินเรื่อง
เพี ยง 4 คน คือ
1 พระยาภักดีนฤนารถ (พ่อเลี้ยงของแม่ลออ ซึ่งรักแม่ลออด้วยความจริงใจ)
240 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

2 นายล�้ำ ทิพเดชะ (พ่อที่แท้จริงของแม่ลออ ซึ่งมีหนทางชีวิตที่ โสมม แต่ก็ได้


แสดงความรักลูกอย่างจริงใจในตอนสุดท้าย)
3 ลออ (สาวบริสุทธ์วัย 17 ปี ชี วิ ตมีแต่ความดี งาม และเห็นทุกคนเป็นคนดี
โดยเฉพาะพ่อที่แท้จริงของตน)
4 นายค�ำ (คนรับใช้ของพระยาภักดีนฤนารถ)
เรื่องเปิดฉากขึ้นที่บ้านของพระยาภักดี นฤนารถ ในตอนเย็นวันหนึง่ มีชายชราอายุ
ราว 40 ปี หน้าตาแก่กว่าวัย แถมบนศีรษะยังมีผมหงอกขาว ร่างกายทรุดโทรม นุง่ กางเกงแพร
สวมเสื้อสีขาวคอกลม เดินเข้ามาในบ้าน แล้วถือวิ สาสะขึ้นไปรอที่ห้องรับแขก นายค�ำจึงรีบ
ขึ้นไปขวาง แต่ชายผู้นั้นกลับนัง่ ลงบนเก้าอีร้ ับแขกกลางห้องอย่างแสดงให้เห็นว่าคุ้นเคยกับ
เจ้าของบ้าน
“เมื่อไหร่เจ้าคุณจะกลับ”
บุคคลผู้แสดงความสนิทสนมกับเจ้าของบ้านถามขึ้น
นายค�ำจึงตอบว่า
“เห็นจะไม่ช้าแล้วครับ ท่านเคยกลับจากออฟฟิศราวบ่ายห้าโมงทุกวัน”
“ถ้ายังงั้นฉันจะคอย”
นายค�ำเห็นท่าทางไม่นา่ ไว้วางใจ จึงนัง่ เฝ้าไม่ยอมออกไปจากห้องรับแขก ซึง่ ดูเหมือน
จะสร้างความอึดอัดให้แก่แขกแปลกหน้า ดังนั้นแขกผู้มาเยือนจึงกล่าวว่า
“แกไม่ต้องนัง่ คอยอยู่กับฉันหรอก มีธุระอะไรก็ไปท�ำเสียเถอะ”
ถึงกระนั้นนายค�ำก็ไม่ยอมลุกไปไหน ชายผู้เป็นแขกจึงลุกขึ้นเดินไปที่หน้าต่าง นาย
ค�ำเห็นไม่น่าไว้ ใจ ทั นใดแขกของเจ้านายก็หันกลับมา นายค�ำสะดุ้งสุดตัว แขกผู้มาเยือนก็
แสดงความหงุดหงิดออกมาว่า
“ถ้าจะคอยอยู่เพราะฉันละก็ ฉันขอบอกว่าไม่จ�ำเป็น”
“ครับ” นายค�ำได้แต่พยักหน้า แล้วนัง่ เฝ้าอยู่อย่างเดิม แขกผู้มาเยือนจึงยิ้มให้แล้ว
กล่าวว่า
“แกเห็นท่าทางฉันไม่ได้การกระมัง แต่ทจี่ ริงน่ะฉันเป็นผูด้ ีเหมือนกัน มีตระกูลไม่ตำ�่
ไม่เลวไปกว่าเจ้าคุณภักดี เลย”
บทที่ 18 บทละครพูด เรื่องเห็นแก่ลูก 241

นายค�ำได้แต่พยักหน้ารับอย่างเดี ยว
“ฮือ แกไม่เชื่อ” ชายผู้นั้นยิ้ม แล้วเอ่ยต่อเหมือนจะประชดตัวเอง
“ที่จริงแกก็ไม่น่าเชื่อ รูปร่างฉันมันโทรมเต็มที เครื่องแต่งตัวหรือก็ปอนเต็มทียังงี้
แต่ฉันสาบานได้เทียวว่า ฉันจะไม่แตะต้องสิ่งของอะไรของเจ้าคุณภักดี ก่อนที่ ได้รับอนุญาต
เข้าใจไหม” แล้วกล่าวต่ออีกว่าตนเป็นเกลอเก่าของพระยาภักดี นฤนารถ
คนรับใช้รับค�ำตามเดิม ผู้เป็นแขกก็ยิ่งแสดงอาการอึดอัด
ขณะนัน้ พระยาภักดีนฤนารถกลับมาพอดี ได้ยนิ เสียงดังจากห้องรับแขก จึงร้องถามขึน้ ว่า
“อะไรกันวะ”
นายค�ำเหลียวมอง แล้วเดินออกไป ก็เห็นเจ้านายเข้ามายืนอยู่ถึงหน้าห้องแล้ว จึง
บุ้ยปากเข้าไปในห้อง
“รับประทานโทษครับ”
“ใครวะ”
นายค�ำกระซิบรายงานว่า
“อ้างว่าเป็นเกลอเก่าของใต้เท้า ผมบอกว่าใต้เท้ายังไม่กลับจากออฟฟิศ ก็ไม่ยอมไป
เดินเรื่อยขึ้นมาที่นี่ ว่าจะมาคอยใต้เท้าให้ได้”
“แล้วยังไงล่ะ”
“กระผมก็ตามขึ้นมาด้วย มานัง่ คุมอยู่ที่น”ี่
“เออ ดี มาก ตอนนี้เองออกไปนัง่ คอยข้างนอกก็ได้” แล้วก�ำชับนายค�ำไม่ ให้ไปไหน
ไกล ทั ้งยังบอกด้วยว่าถ้าแม่ลออกลับมาให้บอกด้วย จากนั้นพระยาภักดี นฤนารถก็ชะโงก
เข้าไปในห้อง เห็นผู้เป็นแขกยืนอยู่ก็ส่งเสียงกระแอมให้ร้ตู ัว
ชายผู้นั้นเหลียวมา รีบยกมือไหว้ พระยาภักดี นฤนารถท�ำหน้างงๆ
“ใต้เท้าเห็นจะจ�ำผมไม่ได้”
“ดูเหมือนจะจ�ำได้คลับคล้ายคลับคลา”
“ใต้เท้ามีบุญขึ้นแล้วจะมาจดจ�ำคนเช่นผมยังไงได้เล่า”
242 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

สอบถามกันไปมา จนทีส่ ดุ พระยาภักดีนฤนารถก็จำ� ได้วา่ ชายผูน้ ้ี คือ นายล�ำ้ ทิพเดชะ


เพื่อนเก่าที่ ไม่ได้พบกันมานาน
“แกแปลกไปมาก ดูแกแก่ไป”
นายล�้ำก็เลยบอกว่าไม่ได้พบกันสิบกว่าปีย่อมจะเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา
พระยาภักดี นฤนารถท่านเป็นคนรักเพื่อน แม้จะตกอยู่ในสภาพอย่างไรก็ไม่ได้ถือสา
พระยาภักดีนฤนารถสัง่ ให้นายค�ำไปเอาน�ำ้ เย็นมาต้อนรับ ทีแรกพระยาภักดีนฤนารถจะเอา
เครือ่ งดืม่ มาต้อนรับ แต่นายล�ำ้ ปฏิเสธขอเพียงน�ำ้ ดืม่ อย่างเดียว ท่านจึงสัง่ ให้คนรับใช้จัดหา
มา หลังจากนัน้ ก็สอบถามสารทุกข์สขุ ดิบกันก็ทราบว่า ชี วิตของเพือ่ นระหกระเหินไปท�ำการค้า
แต่เป็นการค้าทีผ่ ิดกฎหมาย คือ ออกเงินให้ชาวจีนไปท�ำการค้าขายแทน แต่ดว้ ยความฉลาด
เมือ่ ถูกจับได้จงึ รอดจากคุก เพราะเคยมีบทเรียนทีต่ วั เองเคยท�ำผิดกฎหมายมาแล้วครัง้ หนึง่
นายล�้ำ ทิพเดชะนั้น เคยเป็นเพื่อนกับพระยาภักดี ฯ มาตั้งแต่สมัยหนุ่ม มีภรรยามา
แล้วชื่อว่า นวล ซึ่งพระยาภักดี เองก็แอบรักแม่นวลคนนี้ จนกระทั ่งนายล�้ำมี ชีวิตหันเห นวล
กับนายล�้ำจึงตัดสินใจยกลูกสาว คือ แม่ลออให้เป็นบุตรบุญธรรมของพระยาภักดี ฯ ตั้งแต่
อายุได้ 2 ขวบ ซึ่งขณะนั้นพระยาภักดี ฯ ยังมิได้มีบรรดาศักดิ์สูงมากนัก แล้วไม่นานแม่นวล
ก็ถึงแก่กรรม
คราวนี้ ชี วิ ตของนายล�้ำจึงตกต�่ำลงไปอีก คือ ติดคุกติดตะราง พอออกจากคุก ชีวิต
ของนายล�้ำก็ยิ่งถล�ำลงสู่หุบเหวของความมัวหม่น
จุดประสงค์ ในการมาครั้งนี้ เมื่อพระยาภักดี ฯ ทราบก็ถึงกับตะลึงและตกใจ เพราะ
นายล�ำ้ ขอพบแม่ลออ ทีบ่ ดั นี้ โตเป็นสาวแล้ว และก�ำลังจะแต่งงานกับลูกเศรษฐีทชี่ อื่ ทองค�ำ
เมื่อพระยาภักดี ฯ รวบรวมสติได้ จึงบอกให้นายล�้ำลืมไปว่าเคยมีลูก และไม่ต้องการ
ให้นายล�้ำมาข้องแวะกับลูกอีก เพราะจะท�ำให้ ชีวิตของลูกมัวหมอง เพราะแม่ลออเข้าใจว่า
พ่อของตนตายจากโลกนี้ ไปแล้ว และพ่อนั้นเป็นคนดี มากๆ แม่ลออรัก และเทิดทูนยิ่งกว่า
พระเจ้า แต่นายล�้ำก็ยืนยันที่จะพบลูกให้ได้
พระยาภักดี ฯ ไม่อยากให้แม่ลออรู้สึกเสียใจว่าพ่อที่แท้จริงของเธอก็คือคนขี ้คุกคน
หนึง่ พระยาภักดี ฯ ต้องการให้ลออยังคงบูชาบิ ดา และเชื่อว่าบิ ดาเป็นบุคคลที่แสนดี เลิศอยู่
อย่างเดิม จึงเสนอเงินให้นายล�้ำก้อนหนึง่ แล้วให้ไปจากชีวิตอันดี งามของแม่ลออ
แต่นายล�ำ้ ไม่ยอม ยืนยันว่าจะพบลูก และขอไปใช้ ชี วิตกับครอบครัวของลูกเมือ่ แต่งงาน
แล้ว โดยอ้างถึงความชอบธรรมที่เขาควรได้รับจากลูก
บทที่ 18 บทละครพูด เรื่องเห็นแก่ลูก 243

พระยาภักดี ฯ คิดหาวิ ธีที่จะให้นายล�้ำเปลี่ยนใจหลายอย่าง แต่นายล�้ำก็ไม่ยอมอยู่ดี


พระยาภักดี ฯ โมโหถึงกับด่านายล�้ำว่าเป็นคนขี ้คุก ไม่เจียมตนและคิดท�ำลายลูก นายล�้ำก็
อ้างว่าไม่ ใช่เขาคนเดี ยวที่ติดคุก คนอื่นก็มีสิทธิ์ติดคุกได้เหมือนกัน
พระยาภักดี ฯ จนปัญญา แต่ความรักและความสงสารแม่ลออที่ตนเลี้ยงมาและรัก
เหมือนลูกจริงๆ จึงพยายามเกลี้ยกล่อมให้นายล�้ำเปลี่ยนใจ แต่นายล�้ำก็จะขอพบลูกให้ได้
ในระหว่างนั้นแม่ลออได้กลับมาพอดี และได้เข้าไปที่ห้องรับแขก นายล�้ำตะลึงมอง
ลูกสาว ส่วนพระยาภักดี ฯ ก็ตกใจจนท�ำอะไรไม่ถูก
แม่ลออถามว่านายล�้ำเป็นใคร พระยาภักดี ฯ ก็ตอบอึกอักว่าเป็นเพื่อนเก่า ลออดี ใจ
มาก จึงถามนายล�้ำว่ารู้จักบิ ดาตนหรือไม่ แล้วลออก็พร�่ำพรรณนาถึงบิ ดาตน ว่าเป็นคนดี
น่าเทิดทูน แล้วยังบอกด้วยว่าน่าเสียดายที่ตนเกิดมาไม่มี โอกาสได้พบหน้าบิ ดามารดา
นายล�้ำได้ยินถึงกับคอตก ไม่กล้าแสดงตนว่าเป็นใคร แต่ก็คิดว่าเป็นโอกาสดี แล้วที่
ตนได้พบกับลูก
ความคิดของนายล�ำ้ ก�ำลังอยูบ่ นเส้นขนาน เพราะก�ำลังคิดว่า ควรแสดงตัว หรือล้มเลิก
ความคิด แล้วปล่อยให้ลูกเข้าใจว่าเขาเป็นคนดี เป็นพ่อที่แสนประเสริฐตามความเข้าใจของ
ลูก นายล�ำ้ พยายามตัดสินใจ จนในทีส่ ดุ วิญญาณของความเป็นพ่อก็สยบความเห็นแก่ตวั ลงได้
ในวิ นาทีส�ำนึกของความเป็นพ่อที่ดี เขาก็ตัดสินใจเด็ดขาดว่าตัวเองควรถอย แล้ว
ปล่อยให้ลูกอยู่ตามวิ ถีทางที่ดีของลูกต่อไป จะเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด
นายล�้ำจึงขอลากลับ พระยาภักดี ฯ ตามออกมาส่ง แม่ลออยกมือไหว้นายล�้ำ ก่อน
จากกันพระยาภักดี ฯ ได้ส่งเงินให้นายล�้ำพร้อมกระซิบว่า
“อย่าพูดให้มากนักเลย เอาเงินใส่กระเป๋าเสียเถอะ แล้วก็คิดอ่านหาทางท�ำมาหากิน
ต่อไปนะ”
นายล�้ำยกมือไหว้แล้วกล่าวว่า
“ขอรับ ผมจะตั้งใจท�ำมาหากินในทางอันชอบธรรมจริงๆ ทีเดี ยว”
นายล�้ำยกมือเช็ดน�้ำตาที่ซึมออกมา ซึ่งเป็นทีท่าที่ ไม่เหมือนกับตอนที่เข้ามาหา แล้ว
พูดขึ้นว่า
244 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“ผมจะลืมหล่อนไม่ได้เลย จะเห็นหน้าหล่อนติดตาไปจนวันตายทีเดี ยว...ผมลาที


ผมไม่จ�ำเป็นจะต้องฝากแม่ลออแก่เจ้าคุณ เพราะเจ้าคุณได้เป็นพ่อที่ดีของหล่อนยิ่งไปกว่า
ผมร้อยเท่าพั นทวี”
ก่อนที่นายล�้ำจะเดินจากไป พระยาภักดี ฯ เข้าไปจั บมือกับนายล�้ำ จากนั้นจึงเดิน
กลับเข้าไปในห้อง แล้วเอารูปของลออที่ ใส่กรอบมาส่งให้ ซึ่งนายล�้ำก็รับไว้ด้วยความดี ใจ
ฝ่ายพระยาภักดีฯ ทอดสายตามองตามไปพร้อมถอนหายใจ (เก็บความจาก ทัศนา ทัศนมิตร,
2553 : 31-40)

4. บทวิเคราะห์

4.1 ศิลปะการแต่ง
4.1.1 รูปแบบของเรื ่อง เป็นบทละครพูดขนาดสั้น
4.1.2 กลวิธีการด�ำเนินเรื ่องและการผูกเรื ่อง
การตัง้ ชือ่ เรื อ่ ง เมือ่ เห็นค�ำว่า เห็นแก่ลกู ท�ำให้รสู้ กึ ว่าอยากอ่าน เพราะเป็นการดึงดูด
ใจให้อยากรู้ว่าเห็นแก่ลูกในลักษณะใด
การด�ำเนินเรื ่อง ผูกเรื่องได้รัดกุม ชวนให้ติดตาม พาเรื่องให้คลี่คลายไปถึงจุดที่จบ
ได้ แล้วจบเรื่องลงอย่างแนบเนียน
เนือ่ งจากเป็นบทประพั นธ์ส�ำหรับแสดงละคร การสื่อแนวความคิดทั ้งหลายจึงออก
มาในรูปของบทสนทนา ดังนั้นจึงไม่ค่อยมีบทบรรยาย ถ้ามีก็เป็นบทบรรยายเพี ยงสั้นๆ
ซึ่งใช้ส�ำหรับอธิบายผู้ก�ำกับการแสดง และตัวละครให้เข้าใจสภาพของฉากและพฤติกรรม
ของตัวละครที่จะแสดงมากกว่า
การผูกเรื อ่ ง มีลกั ษณะเหมือนเรือ่ งสัน้ ซึง่ ประกอบไปด้วยส่วนส�ำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้
โครงเรื่อง มี โครงเรื่องเพี ยงเรื่องเดี ยว
แนวความคิดที่ต้องการน�ำเสนอ มีเพี ยงแนวความคิดเดี ยว
การด�ำเนินเรื่อง เริ่มจากการเปิดเรื่อง ด�ำเนินเรื่อง ไปจนถึงจุดจบ
บทที่ 18 บทละครพูด เรื่องเห็นแก่ลูก 245

ตัวละคร ตัวละครส�ำคัญจะมีน้อยตัว ประมาณ 2-3 ตัว


มีบทบรรยายฉากและบรรยากาศ
4.1.3 พฤติกรรมตัวละคร
เรื่องเห็นแก่ลูกเป็นบทละครพูด ลักษณะส�ำคัญประการหนึง่ ของบทละคร คือ ตัว
ละครซึ่งแสดงลักษณะนิสัยออกมาทางพฤติกรรมและบทสนทนา ตัวละครส�ำคัญในเรื่อง
นี้มีอยู่ 3 คน ได้แก่
นายล�้ำ
เป็นคนไม่ซื่อสัตย์เพราะเคยโกงเงินของราชการจนต้องโทษจ�ำคุก
ชอบดื่มสุรา ไม่รับผิ ดชอบครอบครัว ทิ้งภรรยาและธิดาไว้ จนต้องมาอาศัยอยู่กับ
พระยาภักดี นฤนารถ
ท�ำงานเพื่อความอยู่รอดของชีวิตโดยไม่เลือกว่าเป็นงานสุจริตหรือไม่
เห็นแก่ความสุขส่วนตัว เมื่อเดือดร้อนก็นึกถึงลูกสาว
รักลูก เห็นแก่ความสุขของลูก ไม่แสดงตัวว่าเป็นพ่อ เมื่อทราบความรู้สึกในใจของ
ลูก ที่รักและเทิดทูนพ่อว่าเป็นคนดี
พระยาภักดีนฤนารถ
เป็นคนมีเมตตา รับอุปการะแม่ลออ เป็นอย่างดี
รักและปรารถนาดี ต่อธิดาที่เลี้ยงไว้ อยากให้มีความสุข ได้แต่งงานกับคนดี มีสกุล
จึงไม่ยอมให้นายล�้ำเปิดเผยตนเอง
รักและปรารถนาดี ต่อเพื่อนเก่า ให้ความช่วยเหลือเรื่องเงินทองเมื่อเพื่อนเดือดร้อน
และเตือนให้ตั้งใจท�ำมาหากิน
แม่ลออ
กิริยามารยาทเรียบร้อย เคารพนบนอบผู้ ใหญ่
รูก้ าลเทศะ ไม่อยูร่ ว่ มวงสนทนากับผู้ ใหญ่ เพราะผู้ ใหญ่อาจมีเรือ่ งส่วนตัวสนทนากัน
ซื่อ ไม่มีไหวพริบ ไม่ร้จู ั กพิจารณาสถานการณ์ ไม่ร้สู ึกสะดุดตาใบหน้าของนายล�้ำกับ
ภาพถ่ายของพ่อที่ตนมีอยู่
246 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

4.1.4 ฉากและบรรยากาศ
ฉากในเรื่อง คือ ห้องหนังสือในบ้านของพระยาภักดี ฯ ซึ่งในสมัยก่อน อาจใช้ห้อง
หนังสือเป็นสถานทีต่ อ้ นรับแขกผูม้ าเยือน แต่ ในสมัยปัจจุบนั นิยมแยกเป็นสัดส่วนระหว่าง
ห้องรับแขกกับห้องหนังสือ เพราะบางบ้านห้องหนังสืออาจเป็นห้องที่เป็นส่วนตัวมากขึ้น
เพราะเก็บเรื่องราวไว้มากมาย

4.2 ศิลปะการใช้ถ้อยค�ำและส�ำนวนโวหาร
4.2.1 การใช้ถ้อยค�ำ ใช้ถ้อยค�ำที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย เพราะเป็นภาษาที่ ใช้สนทนา
กันในชีวิตประจ�ำวันอยู่แล้ว
4.2.2 การใช้โวหาร เนือ่ งจากบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก เป็นพระราชนิพนธ์ที่
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นนานมากแล้ว ดังนั้นส�ำนวน
ภาษาที่ ใช้ จึงมีลักษณะแตกต่างไปจากส�ำนวนภาษาในปัจจุบัน เช่น
1 การใช้สรรพนาม เช่น การเรียกพระยาภักดีนฤนารถ ว่า เจ้าคุณ ซึ่งปัจจุบัน
ไม่ใช้ค�ำนี้แล้ว หรือการใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 แทน แม่ลออ ว่า หล่อน ปัจจุบันก็ไม่นยิ มใช้
แล้วเหมือนกัน
2 การใช้ค�ำบางค�ำ ค�ำในเรื่องเห็นแก่ลูกบางค�ำ ปัจจุบันก็ไม่ได้ ใช้แล้ว เช่น เกลอ
(เพื่อน) อาญาจักร (อาญาแผ่นดิน) เหนีย่ วใจ (อดใจ) หมอความ (ทนายความ) เกินเวลา
(สายเกินไป) จ�ำคนแน่ (จ�ำคนแม่น) ส�ำแดง (แสดง) รับประทานโทษ (ขอโทษ) เป็นต้น
3 การผูกประโยค มีความสละสลวย เป็นธรรมชาติ สอดคล้องกับบุคลิกลักษณะ
ของตัวละครในเรื่อง และสอดคล้องกับสถานการณ์ตามท้องเรื่อง
บทที่ 18 บทละครพูด เรื่องเห็นแก่ลูก 247

5. คุณค่า

5.1 คุณค่าทางด้านความคิด
5.1.1 ความดีย่อมชนะความชั่ว จากเรื่องเห็นแก่ลูก จะเห็นได้ว่าความดีงามของ
แม่ลออนั้น สามารถเอาชนะจิ ตใจอันเห็นแก่ตัวของนายล�้ำได้ ไม่เพี ยงแต่ท�ำให้นายล�้ำเลิก
ความตั้งใจที่จะเปิดเผยตัวให้แม่ลออรู้ แต่ยังมีอานุภาพส่งผลให้นายล�้ำเลิกคิดประพฤติชั่ว
และหันมาประกอบอาชีพสุจริตอีกด้วย
5.1.2 ความเสียสละเป็นคุณธรรมอันประเสริ ฐ จากเรื่องเห็นแก่ลูก ผู้อ่านจะ
รู้สึกประทั บใจและนึกสรรเสริญที่นายล�้ำยอมเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อเห็นแก่ความสุข
ของลูก
5.1.3 มิตรแท้ คือ มิตรประเสริฐที่หาได้ยากยิ่ง เพราะเพื่อนประเภทนี้ย่อมไม่
ทอดทิง้ เพือ่ นยามตกทุกข์ได้ยาก พระยาภักดีฯ นับเป็นมิตรทีป่ ระเสริฐยิง่ มีความปรารถนา
ดี ต่อเพื่อน นอกจากจะแสดงความปรารถนาดี ให้ความช่วยเหลือเพื่อนแล้ว ยังแสดงความ
ปรารถนาดี ในอนาคตอันยาวไกลอีกด้วย นัน่ ก็คือ พยายามขัดขวางนายล�้ำทุกวิ ถีทาง ไม่
ให้นายล�้ำแสดงตัวกับแม่ลออ ก็ด้วยมองเห็นการณ์ไกล ถึงผลที่จะมากระทบโดยตรงต่อ
แม่ลออ และผลที่จะเกิดขึ้นกับตัวนายล�้ำเองด้วย
5.1.4 ข้อคิดในด้านสังคม
การขาดความรับผิ ดชอบของคนที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ย่อมท�ำให้ครอบครัวอยู่ ใน
สภาพบ้านแตกสาแหรกขาด
การดื่มสุราเป็นนิจ ท�ำให้คนขาดสติ และเมื่อขาดสติแล้วก็ย่อมท�ำให้ขาดอะไรอีก
หลายๆ อย่างตามมา
การประกอบอาชีพผิ ดกฎหมาย ฉ้อโกงเงินหลวง ย่อมท�ำให้ ชีวิตไม่มีความสุข
คนที่ ไม่ร้จู ั กพึ่งตนเอง เป็นภาระอันน่าเกลียดของสังคม
บรรณานุกรม 18

กุหลาบ มัลลิกะมาส, คุณหญิง. (2555). ความรู้ทั่วไปทางวรรณคดีไทย. พิมพ์


ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
ทัศนา ทัศนมิตร. (2553). รวมเรื อ่ งเอกละคร ร.๖ (ฉบับเล่า). กรุงเทพมหานคร :
ส�ำนักพิมพ์ ร.ศ. ๒๒๙.
ทิพย์สุเนตร อนัมบุตร. (2552). วรรณกรรมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัย
รามค�ำแหง.
__________. (2549). วรรณกรรมรัตนโกสินทร์ 2. พิมพ์ครั้งที่ 10.
กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
ราตรี เพรียวพานิช. (2555). การวิเคราะห์หนังสือเรี ยนวิชาภาษาไทย (s). พิมพ์
ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
นิ ท า น ค� ำ ก ล อ น
เ รื ่ อ ง พ ร ะ อ ภั ย ม ณี
ต อ น พ ร ะ อ ภั ย ม ณี 19
ห นี น า ง ผี เ สื้ อ ส มุ ท ร

1. ประวัติความเป็นมา
สุนทรภู่แต่งเรื่องพระอภัยมณี ในสมัยรัชกาลที่ 2 โดยแต่งเป็นตอนๆ และ
แต่งจบในสมัยรัชกาลที่ 4 (ระยะเวลาในการแต่งนี้บางท่านกล่าวว่าเริ่มแต่งในสมัย
รัชกาลที่ 3) หากดูจากประวัตขิ องสุนทรภู่ ก็พอจะสรุปความมุง่ หมาย และระยะเวลา
ในการแต่งเรื่องพระอภัยมณี ได้ดังนี้
1 ในสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่แต่งเรื่องพระอภัยมณีเป็นครั้งแรก เมื่อคราว
ถูกจ�ำคุก เพราะเหตุเมาสุราท�ำร้ายญาติผู้ ใหญ่ฝา่ ยมารดา จึงแต่งเรื่องพระอภัยมณี
ขายฝีปากเลี้ยงตัวเอง แต่จะแต่งถึงตอนใดไม่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าคงจะแต่ง
ถึงตอนที่ 21
2 สุนทรภู่แต่งเรื่องพระอภัยมณีอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อถวายแด่
พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ ช่วงนี้เป็นช่วงที่สุนทรภู่ตกยาก ต้องพึ่งบารมีของพระองค์
เจ้าลักขณานุคุณ และพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ คงจะทรงทอดพระเนตรเห็น เรื่อง
พระอภัยมณี จึงมีรับสั่งให้สุนทรภู่แต่งถวาย ส่วนจะแต่งถึงตอนไหนไม่มีหลักฐาน
ปรากฏ
3 สุนทรภูแ่ ต่งเรือ่ งพระอภัยมณีตอ่ จากทีแ่ ต่งถวายพระองค์เจ้าลักขณานุคณุ
ครัน้ พระองค์เจ้าลักขณานุคณุ สิน้ พระชนม์ สุนทรภูก่ ต็ กยากอีกครัง้ ต้องร่อนเร่พเนจร
ไปทั ่ว แล้วก็ได้รับพระกรุณาจากสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ให้ไปอยู่ที่
พระราชวังเดิมระยะหนึง่ ต่อมากรมหมืน่ อัปสรสุดาเทพทรงให้ความอุปการะสุนทรภู่
และคงจะพอพระทั ยเรื่องพระอภัยมณี จึงมีรับสั่งให้สุนทรภู่แต่งถวายต่อไปจนจบ
(บรรเทา กิตติศักดิ์ และกัมพุ ชนาฎ เปรมกมล, 2527 : 160-161)
250 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ยังมีนักวรรณคดี อีกหลายท่าน ที่ ใช้ความพยายามศึกษาค้นคว้าที่มาของเรื่อง


พระอภัยมณี จนสามารถสรุปที่มาของเรื่องได้ว่า (บรรเทา กิตติศักดิ์ และกัมพุ ชนาฎ
เปรมกมล, 2527 : 159-160)
1. มาจากชีวติ จริ งของสุนทรภู่ กล่าวคือ สุนทรภูช่ อบไปเทีย่ วเล่นทางน�ำ้ เริม่ แรก
ก็ออกเดินทางไปหาบิ ดาถึงเมืองแกลงโดยเรือประทุน มีศิษย์แจวเรือไปสองคน กับคนขี ้ยา
ชาวระยองคนหนึง่ ชื่อนายแสงเป็นผู้น�ำทาง การเดินทางของสุนทรภู่ต้องออกทะเล ดังนั้น
ภาพของการเดินทางในทะเล จึงคงท�ำให้สนุ ทรภูเ่ กิดจินตนาการเป็นเรือ่ งพระอภัยมณีขนึ้ มา
โดยก�ำหนดให้มีฉากเกี่ยวกับทะเลและเกาะแก่งต่างๆ ตลอดทั ้งเรื่อง ลักษณะของตัวละคร
แทบทุกตัว ท่านก็คงจะน�ำมาจากบุคคลต่างๆ ในชีวิตของท่าน
2. มาจากความคิดฝันของสุนทรภู่ กล่าวคือ เรื่องราวเกี่ยวกับโจรสุหรั่งก็ดี เรือ
สะเทินน�ำ้ สะเทินบกของพราหมณ์ โมราก็ดี ตลอดจนสิง่ ประดิษฐ์ตา่ งๆ ทีป่ รากฏอยู่ ในเรือ่ ง
ก็ดี ส่วนมากมาจากความคิดฝันของสุนทรภู่ทั้งสิ้น
3. มาจากวรรณคดีเรื ่องต่างๆ ได้แก่
3.1 ไซ่ฮั่น การใช้เพลงปี่ของพระอภัยมณี ในการสะกดทั พข้าศึก สันนิษฐานว่า
ได้เค้าเรื่องมาจากพงศาวดารจีนเรื่องไซ่ฮั่น ตอน เตียวเหลียงเป่าปี่ เมื่อ
ฮัน่ อ๋องรบกับพระเจ้าฌ้อปาอ๋อง ส่วนเรื่องที่ศรีสุวรรณช�ำนาญกระบี ่กระบอง
ก็คงมีเค้ามูลมาจากไซ่ฮั่นอีกเช่นกัน กล่าวคือ คงมาจากลักษณะของพระเจ้า
ฌ้อปาอ๋องที่ช�ำนาญการรบด้วยกระบอง
3.2 นิยายอาหรับราตรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระราชด�ำริ
ว่า เหตุการณ์ตอนพระอภัยมณีพบกับนางละเวงในสนามรบและเกิดมีความ
รักต่อกันนั้น คงมีเค้ามูลมาจากนิยายเรื่องอาหรับราตรี ฉบับเซอร์ริชาร์ด
เบอร์ตัน เรื่องหนึง่ ที่ว่า มีกษัตริย์พระองค์หนึง่ นับถือศาสนาอิสลามได้ไปตี
เมืองเมืองหนึง่ ซึ่งนางพญาผู้ครองเมืองนับถือศาสนาคริสต์ ครั้นพบกันใน
สนามรบก็เกิดความรัก
3.3 อิเหนา มีเค้าเรื่องมาจากเหตุการณ์ตอนที่นางเสาวคนธ์หนีสุดสาครไปบวช
และสุดสาครตามนางเสาวคนธ์นั้น คงจะได้เค้าเรื่องมาจากอิเหนา ตอน
บุษบาออกบวช จนอิเหนาออกติดตามและได้นางคืน
3.4 ลิลิตพระลอ เมื่อศรีสุวรรณพร้อมกับพราหมณ์พี่เลี้ยงเดินหลงเข้าสวนได้พบ
นางเกษรา เหมือนกับที่พระลอพบพระเพื่อนพระแพงในสวน
บทที่ 19 พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร 251

4. จากเหตุการณ์บ้านเมืองและประวัติศาสตร์ สุนทรภู่คงจะน�ำเหตุการณ์
บ้านเมืองในสมัยนั้นจากที่พบเห็นด้วยตนเอง หรือจากค�ำบอกเล่าและจากเหตุการณ์ทาง
ประวัติศาสตร์ มาผูกเป็นเรื่องราวในพระอภัยมณี เช่น ศึกเก้าทั พตีเมืองผลึก คงจะน�ำมา
จากเหตุการณ์สงครามเก้าทั พทีพ่ ม่ายกทั พมาตีกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระพุ ทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตอนจั บเจ้าละมานขังกรง คงจะน�ำเอาเรื่องราวมาจากการจั บตัว
เจ้าอนุวงศ์ขังไว้ในกรงใหญ่มาเป็นเค้าเรื่อง การให้นางละเวงขึ้นครองลังกา คงจะมาจาก
สมเด็จพระราชินี วิกตอเรียขึ้นครองกรุงอังกฤษ เป็นต้น

2. ประวัติผู้แต่ง
ดูบทที่ 1 หน้า 7-9

3. ลักษณะค�ำประพันธ์
พระอภัยมณีแต่งเป็นนิทานค�ำกลอน ซึ่งค�ำกลอนในเรื่องพระอภัยมณี จะมีลักษณะ
ดังนี้ คือ จ�ำนวนค�ำในแต่ละวรรคจะมี 8 ค�ำเป็นส่วนมาก และให้มีสัมผัสในวรรคละ 2 แห่ง
เกือบทุกวรรค ในวรรคแรกมักจะเป็นสัมผัสสระ 2 คู่ โดยสัมผัสค�ำที่ 3 กับค�ำที่ 4 ค�ำที่ 5
กับค�ำที่ 6 หรือ 7 ส่วนวรรคหลังจะสัมผัสค�ำที่ 3 กับค�ำที่ 4 เป็นสัมผัสอักษรคู่หนึง่ และ
ค�ำที่ 5 กับค�ำที่ 6 หรือ 7 เป็นสัมผัสสระคู่หนึง่ ดังตัวอย่าง

“ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้เกิดในใต้หล้าสุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา”

การใช้ถ้อยค�ำในเรื่องพระอภัยมณี มีที่น่าสังเกต ดังนี้


1 มักใช้ค�ำไทยเป็นพื้น ใช้ค�ำง่ายไม่มีศัพท์ยาก มีลีลาไพเราะ
2 มักใช้คำ� แผลงเพือ่ หาสัมผัส เช่น สิงหนาท เป็น สิงหนัท เดรัจฉาน เป็น เดรัจฉุน
ดาบส เป็น ดาวบส เป็นต้น
252 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

4. เนื้อเรื ่องย่อ
กล่าวถึงพระอภัยมณีอยู่กับนางผี เสื้อสมุทรจนมีลูกชาย 1 คน ซึ่งมี
ลักษณะละม้ายคล้ายกับพระอภัยมณี แต่ทว่ามีดวงตาเป็นสีแดงดั่งสีของดวง
อาทิตย์ และมีก�ำลังดุจพญาคชสาร มีเขี ้ยวคล้ายกับมารดา เมื่อเติบใหญ่อายุ
ได้ 8 ปี พระอภัยมณี ก็ ให้นามลูกชายว่า สินสมุทร และได้สอนวิชาเป่าปีพ่ ร้อม
กับสอนให้ใช้อาวุธต่างๆ จนมีความช�ำนาญ
วันหนึง่ ขณะทีน่ างผีเสือ้ สมุทรออกไปหากินนอกถ�ำ้ ส่วนพระอภัยมณีกก็ ำ� ลังหลับสนิท
สินสมุทรได้แอบไปวิ ่งเล่นบริเวณหน้าถ�้ำและได้สังเกตเห็นแผ่นหินพิงปิดปากถ�้ำอยู่ จึงลอง
ผลักออกดู แผ่นหินนัน้ ก็หลุดออก มองเห็นหาดทรายสีเงินและท้องทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาล
มองไปที่ด้านขวาก็เป็นป่าเขี ยวขจี
สินสมุทรจึงไปวิ ่งเล่นบนพื้นทรายแล้วกระโดดลงไปในน�้ำ เที่ยวไล่ขี ่ปลา ครั้นแล้วก็
เหลือบไปเห็นเงือกฝูงหนึง่ คิดว่าเป็นคนมีหางเหมือนปลา จึงร้องถาม ฝ่ายเงือกนั้นไม่ยอม
พูดด้วย สินสมุทรจึงกระโดดจั บ ได้เงือกเฒ่าตนหนึง่ และอยากจะรูว้ า่ เป็นปลาหรืออะไรกัน
แน่ จึงลากเงือกเฒ่านัน้ ไปทีถ่ ำ�้ เพือ่ จะน�ำไปให้พระอภัยมณีดู พระอภัยมณีเห็นสินสมุทรลาก
เงือกเฒ่ามาก็ถามว่าไปเอามาแต่ไหน สินสมุทรก็เล่าเรือ่ งทัง้ หมดให้ฟงั พระอภัยมณีฟงั แล้ว
ก็ตกใจบอกกับลูกว่าถ้าแม่เจ้ารูว้ า่ ลูกมีกำ� ลังมาก เขาอาจกลัวว่าลูกอาจพาพ่อหนีไป และเขา
คงโกรธจั บเจ้าเคี้ยวเล่นก็เป็นได้
สินสมุทรได้ฟงั พระอภัยมณีพดู ดังนัน้ ก็สงสัย ถามว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนัน้ พระอภัยมณี
จึงเล่าเรื่องแต่หนหลังให้สินสมุทรฟังทั ้งหมด ครั้นสินสมุทรทราบว่า แม่เป็นยักษ์ก็ร้องไห้
เสียใจ
ฝ่ายเงือกเฒ่านัน้ นอนฟังอยูก่ ร็ วู้ า่ พระอภัยมณีเป็นเชือ้ สายกษัตริย์ จึง
ทูลร้องขอชีวิตพร้อมกับพูดว่า การที่พระราชบุตรของพระองค์ไปฉุดลากข้า
พระพุทธเจ้า มาท�ำให้เจ็บปวดรวดร้าว และต้องพลัดพรากจากลูกเต้าเผ่าพงศ์
ซึ่งก็เหมือนกับพระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดช่วยเหลือข้าพระพุ ทธเจ้าด้วย
เถิด ซึ่งการที่ปากถ�้ำถูกท�ำลายนั้น ก็ ให้พระโอรสยกหินตั้งปิดไว้ดังเดิม
และตนก็จะน�ำวงศาคณาญาติมารับใช้เป็นข้าของพระองค์ แม้นพระองค์ประสงค์
สิ่งใดก็จะน�ำมาถวายให้จงได้
บทที่ 19 พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร 253

พระอภัยมณีได้ฟงั ก็ตอบเงือกเฒ่าไปว่าตนคิดทีจ่ ะหนีนางผีเสือ้ สมุทรอยู่ แต่ไม่รวู้ า่ จะ


หนีไปทางไหน ตัวท่านก็นา่ จะเป็นผูท้ รี่ ทู้ างหนีทไี ล่ได้อย่างปลอดภัย จงช่วยแนะน�ำเราด้วยเถิด
เงือกเฒ่านั้นจึงทูลพระอภัยมณีว่าแม่น�้ำนี้มีชื่อว่า อโนมาน อยู่ติดกับ สีทันดร เป็น
เขตของนางผี เสื้อสมุทร ข้างเหนือโน้นเป็นภูเขาชื่อ มะหิงสะสิงขร ทางทิศใต้ เป็นเกาะแก้ว
พิสดาร ใช้เวลาเดินทาง 7 เดือน กลางทางไม่มีบ้านเรือน แต่อาจจะมีส�ำเภาของชาวลังกา
ผ่านมาบ้างเป็นครัง้ คราว บางครัง้ ถ้าเรือแตกพวกเงือกก็จะมาเลือกจับเอาคนไปเป็นคูค่ รอง
อันตัวของข้าพระพุทธเจ้านัน้ มีอายุได้ 508 ปีเศษ ถึงจะพาพระองค์หนีกค็ งไปไม่พน้ เขตแดน
ของนางผี เสื้อเป็นแน่ แต่ยังมีพระโยคีรูปหนึง่ เป็นผู้มีอาคมแก่กล้าอาศัยอยู่ที่เกาะแก้ว
พิสดาร หากพระองค์หนีไปพึง่ ท่านก็คงจะปลอดภัย แล้วเมือ่ มีสำ� เภาหลงมาทีเ่ กาะก็สามารถ
ขอโดยสารกลับไปบ้านเมืองได้ แต่ทางทีจ่ ะไปเกาะแก้วพิสดารนัน้ ประมาณหนึง่ ร้อยโยชน์ ใช้
เวลาถึง 7 วัน แล้วนางผี เสื้อสมุทรก็มีก�ำลังมากและคงจะติดตามมาทั น โดยใช้เวลาเพี ยง
3 วันเท่านั้น ทางที่ดีควรจะรอให้นางไปค้างอยู่ในป่าแล้วค่อยหนี ข้าพระพุ ทธเจ้าขออาสา
เป็นผู้พาพระองค์หนีไปเอง แม้ตัวจะตายก็ไม่เสียดายชีวิต ขอให้พระองค์ทรงไตร่ตรองให้
รอบคอบก่อนว่าจะหนีหรือไม่ หากทรงตัดสินใจว่าจะหนี ก็ขอให้พระองค์บอกพระโอรสให้
มาบอกข้าพระพุ ทธเจ้าที่หาดทราย ข้าพระพุ ทธเจ้าจะรอฟังข่าวอยู่ ณ ที่นั้น

พระอภัยมณีเมื่อได้ฟังค�ำเงือกเฒ่าแล้วก็สบายใจขึ้น จึงกล่าวขอบคุณเงือกเฒ่า แล้ว


สั่งให้สินสมุทรปิดปากถ�้ำ ขอขมากับตาเงือกที่ล่วงเกิน แล้วแยกย้ายกันกลับไป
ฝ่ายนางผี เสื้อสมุทรเมื่อหากินเรียบร้อยแล้วก็กลับมายังถ�้ำ พร้อมกับเนรมิตกาย
เป็นมนุษย์เดินเข้าถ�้ำมา เห็นพระอภัยมณีกับสินสมุทรอยู่ ในห้องจึงน�ำผลไม้มาถวาย ครั้น
พลบค�่ำพระอภัยมณีก็แกล้งท�ำเป็นกอดนางผี เสื้อสมุทรจนหลับไป
ส่วนนางผีเสือ้ สมุทรเมือ่ หลับแล้วก็ฝนั ไปว่า มีเทวดาองค์หนึง่ ทีอ่ ยูบ่ นเกาะ มาท�ำลายถ�ำ้
แล้วตรงเข้าควักเอาลูกตาของนางไป นางสะดุง้ ตืน่ ขึน้ แล้วน�ำความฝันไปเล่าให้พระอภัยมณี
ฟัง พระอภัยมณีก็ร้ไู ด้ทันทีว่าพระองค์คงหนีพ้นนางผี เสื้อสมุทรเป็นแน่ แต่นางผี เสื้อสมุทร
254 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

จะเป็นอันตราย จึงเห็นเป็นโอกาสที่จะลวงนางเพื่อหลบหนี คิดแล้วพระอภัยมณีก็บอกนาง


ผี เสื้อสมุทรว่าฝันนี้ร้ายนัก เทวดาก็คือพญามัจจุราช แล้วแกล้งท�ำเป็นร้องไห้พลางกล่าว
ว่า ถ้าน้องตายไป พี ่จะไปพึ่งพาอาศัยใครได้ มีวิธีสะเดาะเคราะห์ ให้เบาลงเพี ยงวิ ธีเดี ยวคือ
ให้น้องไปอยู่คนเดี ยวที่ตีนเขา แล้วอดข้าวอดอาหารถือศีล 3 วัน 3 คืน จึงจะพ้นเคราะห์

นางผี เสื้อสมุทรหลงเชื่อจึงลาพระอภัยมณีไปถือศีลในป่า 3 วัน ก่อนนางไป นาง


ได้กล่าวปลอบประโลมสินสมุทรและสั่งสอนว่าอย่าดื้อ ให้เกรงกลัวและเชื่อฟังพ่อ ฝ่าย
สินสมุทรนั้นก็สงสารแม่เป็นก�ำลัง เพราะรู้ว่าพ่อต้องพาตนหนีไปแน่ ท�ำให้เกิดความรู้สึก
ห่วงแม่ ขนึ้ มาจึงร้องไห้ พระอภัยมณีเห็นดังนัน้ จึงรีบพูดขึน้ ว่าจะตามแม่เขาไปท�ำไมอยูก่ บั พ่อ
หัดเป่าปี่ดีกว่า ท�ำให้นางผี เสื้อไม่สงสัยรีบออกจากถ�้ำไปถือศีลทั นที
พระอภัยมณีกป็ ลอบสินสมุทรแล้วหยิบปี่ พากันออกมาพบเงือกเฒ่าทีช่ ายหาด ซึง่ ตา
เงือกพร้อมด้วยภรรยาและธิดาได้มารออยู่ก่อนแล้ว
เมื่อพระอภัยมณีเห็นนางเงือกน้อยธิดาของเงือกเฒ่าก็หลงใหลในรูปโฉม ครั้นได้สติ
ก็บอกเงือกเฒ่าให้ช่วยพาไปยังเกาะแก้วพิสดาร
ตาเงือกจึงบอกพระอภัยมณีให้ขึ้นนัง่ ยังบ่าของตน ส่วนพระโอรสสินสมุทร ให้ขึ้นนัง่
บนหลังภรรยา และในการเดินทางนี้สัตว์ร้ายต่างๆ คงไม่กล้าเข้ามาท�ำอันตรายเนือ่ งจาก
พระโอรสมีกลิ่นอายของแม่ผีเสื้อสมุทร ซึ่งสัตว์น�้ำเกรงกลัวมาก ครั้นแล้วทั ้งหมดก็รีบ
มุ่งหน้าไปยังเกาะแก้วพิสดารทั นที
ขณะพากันหนีนนั้ ระหว่างทางพระอภัยมณีได้ทอดพระเนตรฝูงปลาอย่างเพลิดเพลิน
ครัน้ พลบค�ำ่ พระอภัยมณีจงึ บอกเงือกเฒ่าทัง้ สองให้หยุดพั กก่อน เพราะหนีมาได้ไกลพอสมควร
แล้ว ฝ่ายตาเงือกก็บอกว่าไม่ควรประมาท เพราะนางผี เสื้อสมุทรอาจจะตามมาทั น และที่
ส�ำคัญคือตาของเงือกนัน้ จะมองเห็นชัดเจนมากในเวลากลางคืน หากเป็นเวลากลางวันตาจะ
พร่ามัว ฉะนั้นเราต้องรีบเดินทาง ว่าแล้วก็ออกเดินทางต่อไป รุ่งขึ้นก็แวะขึ้นฝั่งหาผลไม้กิน
บทที่ 19 พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร 255

ฝ่ายนางผี เสื้อสมุทรไปถือศีลภาวนาอดอาหารจนครบ 3 วัน จนแทบเอาชีวิตไม่รอด


เพราะความหิว จึงรีบเดินทางกลับมาทีถ่ ำ�้ ซึง่ ก็ได้อาศัยผลไม้ตามทางกินประทังชีวิต เมือ่ มา
ถึงพบว่าปากถ�้ำเปิดอยู่ก็ตกใจ จึงรีบเดินเข้าไปในห้อง ก็ไม่พบใครและปี่ก็หายไปด้วย นาง
จึงแน่ ใจว่าพระอภัยมณีและสินสมุทรหนีนางไปแล้ว นางร้องไห้อย่างบ้าคลัง่ พลางคิดว่าใคร
กันที่บังอาจยกก้อนหินที่ปิดปากถ�้ำออกได้ นางคิดไปต่างๆ นานา ว่าคงเป็นยักษ์หรือผี สาง
เป็นแน่ทลี่ กั เอาสามีและลูกไป ว่าแล้วก็เดินออกจากถ�้ำ กระโจนลงน�้ำตามหาสามีกบั ลูกก็ไม่
พบ นางจึงตะโกนร้องเรียกพวกผี แล้วถามว่าเห็นมนุษย์สองคนมาในแม่น�้ำนี้บ้างหรือไม่
ฝ่ายพวกผี ที่อยู่ทางทิศใต้ เมื่อได้ยินที่นางผี เสื้อสมุทรถามก็รีบตอบว่า วันก่อนเห็น
เงือกพามนุษย์ 2 คน มุ่งหน้าไปทางทิศใต้ พวกข้าหมายจะเข้าไปท�ำร้าย แต่ ให้เกรงกลัว
เด็กที่มาด้วย จึงไม่กล้าเข้าไปท�ำอันตราย
นางผี เสื้อสมุทรได้ฟังก็คลั่งแทบสิ้นสติ ดิ้นพล่านอาละวาดจนแผ่นดินแทบทลายลง
ฝ่ายเงือกเฒ่าพาพระอภัยมณีกับสินสมุทรหนีมาได้ 5 วันแล้ว มาในวันนี้สังเกตเห็นเหตุผิด
ประหลาดว่าทะเลมีคลื่นลมแรงมาก พระอภัยมณีก็ร้สู ึกแปลกใจจึงถามเงือกเฒ่า เงือกเฒ่า
ตอบว่าเหตุที่เป็นดังนี้เพราะนางผี เสื้อสมุทรรู้แล้วว่าพระองค์หนีมา และตอนนี้ก็คงก�ำลัง
ออกติดตามพระองค์มาด้วยความเคียดแค้น และคงจะตามมาทั นในไม่ช้านี้ เห็นทีคงจะ
ตายพร้อมกันอย่างแน่นอน
พระอภัยมณีได้ฟังจึงกล่าวว่า เมื่อไม่สามารถหนีนางผี เสื้อสมุทรได้ เราก็จะสู้จนตัว
ตาย ขอให้ท่านจงส่งเราที่เกาะนี้แล้วรีบหนีไปโดยเร็ว จากนั้นจึงหันมาพูดกับสินสมุทรว่า
ถ้าแม่มารับจงกลับไปกับแม่ ส่วนพ่อจะขอตาย
สินสมุทรจึงตอบพระอภัยมณีว่าไม่อยากจากพ่อไป เมื่อแม่ตามมาลูกจะห้ามไว้ ขอให้
พ่อหนีไปก่อน ส่วนลูกจะตามพ่อไปห่างๆ คอยดูต้นทางจะได้พบกับแม่ ว่าแล้วสินสมุทร
ก็โจนลงทะเล จับปลาอินทรีได้ตัวหนึ่งแล้วขี่หลังปลานั้นไป
256 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ฝ่ายนางผี เสือ้ สมุทรก็ตามพระอภัยมณีมาติดๆ จนเกือบเสียชีวิตลงกลางทะเลเพราะ


ไม่ได้กินอะไรมาหลายวัน แต่ก็ยังฝืนสังขารตามมาจนทั น เงือกเฒ่าเห็นจวนตัว จึงเรียก
ลูกสาวมากล่าวว่าเห็นทีพอ่ นีจ้ ะไม่รอด ขอให้เจ้าช่วยพาพระอภัยมณีไปส่งยังเกาะแก้วพิสดาร
ต่อไป นางเงือกก็ ให้พระอภัยมณีเกาะที่หลัง พาว่ายน�้ำไปทั นที
ส่วนสินสมุทรไปคอยมารดาอยู่ เห็นนางยักษ์มา ไม่ทราบว่าเป็นแม่ของตน จึงเกิด
ความสงสัย เพราะเคยเห็นแม่แต่รปู เนรมิตที่เป็นสาวสวย จึงออกไปขวางแล้วร้องถามว่า
นีส่ ัตว์บกหรือสัตว์น�้ำ ด�ำจริงๆ เหตุใดจึงตามเรามา
นางผี เสื้อสมุทรได้ยินลูกถามดังนั้นก็อดสูใจ มองหาพระอภัยมณีก็ไม่พบ จึงตอบไป
ว่าแม่ไม่ ใช่ยักษ์มาร เมื่อแม่อยู่ในถ�้ำแม่ไม่ต้องแปลงกาย แต่เมื่อเดินทางอย่างนี้แม่ต้อง
แปลงตัวมา แล้วพ่อของเจ้าอยู่ที่ ไหน ขอให้ลูกกลับไปอยู่ด้วยกันที่ถ�้ำตามเดิม มาให้แม่อุ้ม
หน่อยจากกันมาหกวันแล้ว
สินสมุทรจ�ำเสียงได้กร็ วู้ า่ นีค่ อื แม่ของตน จึงตอบไปว่าถ้าเป็นแม่จริงๆ ก็อย่าตามมา
เลย เพราะแม่เป็นผี เสื้อสมุทร ส่วนพ่อนั้นเป็นมนุษย์ ที่หนีมานี้ก็ไม่ได้ไปไหน เป็นเพราะพ่อ
คิดถึงญาติพี่น้อง เห็นแม่ตามมาก็กลัวจึงไปซ่อนตัวอยู่ ลูกขอลาแม่ไปสักปีเดี ยว เมื่อพบปู่
กับย่าแล้วก็จะชวนพ่อมาอยู่กับแม่ตามเดิม
นางผี เสื้อสมุทรไม่เชื่อค�ำของลูก แต่ก็แกล้งพูดไปว่าถ้าแม่ร้อู ย่างนี้คงไม่ตามมา แต่
พ่อของลูกอยู่ที่ ไหน ขอให้แม่ได้พูดคุยกับพ่อหน่อย แล้วลูกค่อยพาพ่อไป
บทที่ 19 พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร 257

สินสมุทรตอบว่าเรื่องนี้ ไม่ใช่กงการอะไรของแม่ ขอให้แม่กลับไปอยู่ในถ�้ำเถิด พ่อเขา


เป็นคนขี ้ขลาดคงไม่กล้าออกมาพบแม่หรอก แต่อีกไม่ช้าพ่อก็คงกลับมา
นางผีเสือ้ สมุทรได้ฟงั ลูกชายพูดเช่นนัน้ ก็โมโหมาก จึงกระโจนหมายจะจับตัวสินสมุทร
เพือ่ ให้พาไปหาพ่อ แล้วหักคอเสียให้ตายในภายหลัง แต่สนิ สมุทรหลบได้ แล้วหลอกล่อนาง
ผี เสื้อสมุทรไปตามเกาะต่างๆ ครั้นพอถึงเขาใหญ่ก็วิ่งหลบเลี้ยวไปหาดทรายแล้วถอยหลัง
ลงน�้ำ ด�ำน�้ำหนีตามพ่อไป
ฝ่ายนางผี เสื้อสมุทรคิดว่าลูกวิ ่งขึ้นไปบนเขา จึงน่าจะเอาพ่อมาซ่อนไว้ที่นี่ นางจึง
ตามไป นางใช้มือโยกภูเขาจนโคลงคลอนเคลื่อนทั ้งภูเขา ค�่ำลงก็ยังไม่พบพระอภัยมณี นาง
ร้องเรียกหาพระอภัยมณีแต่ก็ไร้ซึ่งเสียงตอบ นางโมโหจึงท�ำลายภูเขาแหลกละเอียด จาก
นั้นนางก็อ่านมนต์ท�ำให้ดวงตาของนางทั ้งคู่สุกสว่างดังดวงแก้ว แลไปข้างหน้าเห็นหนีอยู่
ไวๆ ก็รีบตามไปทั นที
สินสมุทรก็รีบตามพ่อไปจนสว่าง เห็นตาเงือกกับยายเงือกอ่อนก�ำลังลง จึงว่ายน�ำ้ คลอ
ไป นางผี เสื้อสมุทรตามมาทั นก็เอาเท้าเหยียบสองแขนตาเงือกกับยายเงือกไว้ แล้วตะคอก
ถามด้วยเสียงอันดังเพราะความโกรธว่า ไยจึงพรากผัวกูมาจากกู แล้วตอนนีพ้ ระอภัยมณีอยู่
ที่ ไหน บอกมาเดี ๋ยวนี้ถ้าไม่บอกจะควักลูกตาออกมาดู
ตาเงือกกับยายเงือกจึงแกล้งตอบไปว่า พระอภัยมณีอยูบ่ นเขาริมทางทีผ่ า่ นมา ข้าจะ
พาไปจั บตัว ถ้าข้าโกหกก็จงฆ่าข้าเสีย นางผี เสื้อสมุทรก็เชื่อ ตาเงือกกับยายเงือกก็แสร้งพา
มาจนครึ ่งวันก็ยงั ไม่ถึง นางผี เสื้อสมุทรก็ร้วู ่าถูกหลอกจึงจั บเงือกเฒ่าทั ้งสองกินเป็นอาหาร
แล้วก็ตามหาพระอภัยมณีต่อไป
ฝ่ายสินสมุทรเมือ่ ตามไปทันพ่อก็เล่าความทัง้ หมดให้ฟงั พระอภัยมณีสบายใจขึน้ ครัน้
พอเห็นเงาของภูเขาขวางอยูก่ ลางน�้ำ พระอภัยมณีกถ็ ามเงือกน้อยว่าเกาะทีอ่ ยูต่ รงหน้านีเ้ รียก
ว่าเกาะอะไร นางเงือกก็วา่ คือเกาะแก้วพิสดาร พระอภัยมณีดี ใจ พูดว่าเห็นทีเราจะไม่ตายแล้ว
กล่าวถึงพระโยคีทอี่ ยูบ่ นภูเขา พอตกบ่ายได้ยนิ เสียงคลืน่ ดังมาแต่ไกลก็ประหลาดใจ
จึงเข้าฌานตรวจดูก็ร้วู ่าวันนี้จะมีหน่อกษัตริย์พลัดเมืองหลงมาหา และจะมีนางผี เสื้อสมุทร
ตามมาด้วย ครั้นออกจากฌานแล้วจึงรีบไปยังชายหาดพร้อมกับลูกศิษย์แขกฝรั่งทั ้งปวง
258 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

พอนางเงือกน้อยน�ำพระอภัยมณีมาถึงชายหาด นางผี เสื้อสมุทรก็ตามมาถึงพอดี


แต่ครั้นนางเห็นพระโยคีมายืนอยู่ตรงหน้าก็เกิดความกลัวจนตัวสั่น ฝ่ายพระอภัยมณีกับ
สินสมุทรก็ช่วยกันฉุดนางเงือกเข้าฝั่ง แล้วก้มกราบพระโยคี พระโยคีก็ถามเรื่องราวความ
เป็นไป พระอภัยมณีก็เล่าให้ฟังทั ้งหมด พร้อมกับขอร้องให้พระโยคีช่วยปกป้องตนจากนาง
ผี เสื้อสมุทรด้วย
พระโยคีก็ตอบว่าจงพั กอยู่ที่นี่ ให้สบายใจ อันเกาะแห่งนี้นางยักขิณีแลผี สางตนใด
ก็ขึ้นมาไม่ได้ หากขืนขึ้นมาก็จะขาดใจตายเป็นแน่ มันเข้ามาไม่ได้หรอก หลานไม่ต้องกลัว
นางผี เสื้อสมุทรรู้แน่ว่าพระอภัยมณีไม่ลงมาหาตนแน่ จึงตะโกนถามว่า หนีเมียมา
ท�ำไม เมียช�้ำใจมาก เพราะความรักหรอกจึงอุตส่าห์พยายามตามมา
พระอภัยมณีก็ร้องตอบไปว่า ขอให้เจ้าเห็นใจพี ่ด้วยเถิด เพราะพี ่ ไม่เคยอยู่ ในถ�้ำจึง
รู้สึกร�ำคาญใจ และพี ่ก็คิดถึงพ่อแม่กับน้อง ถ้าพี ่พาเจ้าไปด้วยได้ พี ่ก็จะพาไป แต่พี่ก็จนใจ
เพราะเจ้าเป็นยักษ์ส่วนพี ่เป็นมนุษย์ อยู่ด้วยกันไม่ได้ ขอให้ความรักของเราจบลงเท่านี้เถิด
น้องจงกลับไปอยู่ในถ�้ำแล้วบ�ำเพ็ญเพี ยร รักษาศีล ชาติหน้าฉันใดก็ขอให้เกิดมาพบกันอีก
ครั้ง อย่าได้พลัดพรากจากกันเหมือนชาติน้เี ลย ส่วนสินสมุทรนั้นพี ่ขอเอาไปเป็นเพื่อนด้วย
ขอให้น้องกลับไปเสียเถิด
นางผี เสื้อสมุทรก็ตอบว่า ถ้าจะทิ้งน้องไว้ ให้อยู่คนเดี ยว น้องขอตายเสียดี กว่า ขอ
เชิญพระองค์ลงมาก่อน น้องจะให้มนต์ วิเศษ แล้วนางก็เรียกสินสมุทรให้ลงมาด้วยเพื่อแม่
จะได้ขอลาก่อนตาย
สินสมุทรรูส้ กึ สงสารแม่เป็นก�ำลัง จึงตอบไปว่าไม่กล้าลง เพราะกลัวแม่จะท�ำร้ายลูก
เหมือนเมื่อวานนี้ ลูกรู้ว่าแม่รักลูก ลูกก็มิได้ลืมคุณของแม่ ลูกจากแม่ไปเพี ยงตัว แต่หัวใจ
ของลูกยังผูกพั นอยูท่ แี่ ม่ ครัง้ นีล้ กู ขอลาแม่ไปก่อน หากเสร็จธุระแล้วก็จะกลับมา ขอแม่อย่า
ได้โกรธลูกเลย แม่กลับไปอยู่ที่ถ�้ำเถิด
ฝ่ายพระโยคีก็ ให้โอวาทสัง่ สอนนางผีเสือ้ สมุทรว่า จงตัดความห่วงใยให้สญ
ู สิน้ อย่าคิด
ตามจองล้างจองผลาญลูกและผัวของตัวเองเลย เหตุที่เป็นอยู่ดังนี้เพราะเวรกรรมทั ้งนั้นที่
ท�ำให้วุน่ วาย บัดนีบ้ ญ
ุ วาสนาของสีกากับผัวได้ สนิ้ สุดแล้ว อย่าตามเขามาเลยจงฟังค�ำของเราที่
สอนนี้ แล้วเจ้าก็จะได้พบแสงสว่างแห่งนิพพาน
ฝ่ายนางผี เสื้อสมุทรได้ยินดังนั้นก็โกรธ ต่อว่าพระโยคีอย่างหยาบคายว่าทุศีล เรื่อง
ของผัวเมีย พวกพระพวกเจ้าไม่ควรเข้ามายุ่ง จากนั้นก็พาลไปด่านางเงือกว่า มาแย่งผัวไป
และขู่ว่าให้ระวังตัวให้ดี
บทที่ 19 พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร 259

พระโยคีถูกนางผี เสื้อสมุทรด่า จึงชี้หน้านางยักษ์แล้วด่าว่า อีนางยักษ์ตาโต ขี ้ โมโห


ร่างกายก็ชั่วช้าหาความสวยไม่ได้ ปากก็ไม่ดี นมก็ ใหญ่ ผัวของเอ็งเขาทั ้งเกลียดทั ้งเบื่อ
ยังไม่ร้อู ีก ว่าแล้วพระโยคีก็หยิบทรายมาเสกแล้วขว้างออกมาถูกนางผี เสื้อสมุทร นางผี เสื้อ
สมุทรก็กลัวจนต้องหนีลงน�้ำไป

5. ตัวละครส�ำคัญ

5.1 พระอภัยมณี
พระอภัยมณีเป็นโอรสของท้าวสุทัศน์กับนางปทุมเกสร แห่งเมือง
รัตนา เมื่ออายุได้ 15 ปี ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนในป่าพร้อม
กับศรีสุวรรณน้องชาย
ทั ้งสองได้ไปเรียนวิ ชากับอาจารย์ทิศาปาโมกข์แห่ง
บ้านจั นตคาม อาจารย์คนหนึง่ ช�ำนาญวิ ชาการรบด้วยกระบอง
อีกคนหนึง่ ช�ำนาญวิ ชาเพลงปี่ อาจารย์ทั้งสองประกาศแจ้งว่า
ผู้ที่ต้องการเรียนวิ ชากับตนจะต้องเสียค่าเรียนเป็นทอง
แสนต�ำลึง ดังนั้นสองคนพี ่น้องจึงใช้พระธ�ำมรงค์เป็น
ค่าเล่าเรียน อาจารย์ของพระอภัยมณีชอื่ พินทพราหมณ์
ได้น�ำพระอภัยมณีไปหัดเป่าปี่บนยอดเขานานถึง 7 เดือน
จึงได้ความรู้ของอาจารย์ไปหมดสิ้น ทั ้งนี้อาจารย์ยังสอนอีกว่าเพลงปี่น้ี ใช้ ในการรบได้ด้วย
แต่จะต้องรู้จักธรรมชาติน�้ำใจของมนุษย์ว่ามีกิเลส คือ ลุ่มหลงอยู่ในสัมผัสทั ้ง 5 ฉะนั้นให้
เอาเพลงปี่เล้าโลมให้ลุ่มหลงก็จะเอาชนะศัตรูได้เช่นเดี ยวกับเพลงอาวุธ จากนั้นครูพราหมณ์
จึงมอบปี่และคืนแหวนให้โดยบอกว่าที่ตีราคาวิ ชาไว้สูง เพราะเป็นของหวงแหน ไม่ต้องการ
ให้คนชั้นเลวมาได้วิชาไป แล้วอาจจะน�ำไปใช้ ในทางที่ผิด
เมื่อทั ้งสองเรียนวิ ชาจบแล้วก็เดินทางกลับบ้านเมือง แต่วิชาที่เรียนมา ไม่ต้องกับ
พระประสงค์ของท้าวสุทัศน์ พระอภัยมณีและศรีสุวรรณจึงถูกขับไล่ออกจากเมือง
260 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

พระอภัยมณีมีชายา 4 คน คือ นางผี เสื้อสมุทร มีลูกชายกับนางคือสินสมุทร ภรรยา


คนที่สองคือนางเงือกมีลูกชายคือสุดสาคร ภรรยาคนที่สามคือนางสุวรรณมาลี มีลูกสาว
ฝาแฝดคือสร้อยสุวรรณกับจั นทร์สุดา ภรรยาคนสุดท้ายคือนางละเวงวัณฬา ในบั้นปลาย
ชีวิตพระอภัยมณีได้ออกบวช นางสุวรรณมาลีและนางละเวงวัณฬา ก็ออกบวชตามด้วย

5.2 สินสมุทร
สินสมุทรเป็นลูกของพระอภัยมณีกับนางผี เสื้อสมุทร ดังนั้นจึงมี
ลักษณะเป็นลูกครึง่ คือ มีรา่ งกายเป็นมนุษย์แต่มเี ขีย้ วเหมือนยักษ์ และมี
ก�ำลังมหาศาลเหมือนแม่ การผจญภัยของสินสมุทรเริม่ เมือ่ อายุ 8 ปี เมือ่
พาพ่อหนีจากแม่ ความรูท้ สี่ นิ สมุทรมี คือ วิชาเป่าปีท่ พี่ ระอภัยมณีถา่ ยทอด
ให้ ซึ่งสินสมุทรก็มีฝีมือไม่แพ้พ่อเลย และได้เคยแสดงฝีมือเป่าปี่ ให้
ท้าวสิลราชฟัง ท�ำให้หลับใหลกันหมด สินสมุทรเรียนวิ ชาอีกครั้งกับโยคี
ที่เกาะแก้วพิสดาร พระโยคีสอนวิ ชาการรบและเวทมนต์ ให้ ซึ่งสินสมุทรได้ ใช้วิชานี้ ในการ
สู้รบป้องกันเมืองผลึกและศึกเมืองลังกา สินสมุทรมีมนต์ที่ท�ำให้ไม่ตาย เช่นครั้งเมื่อท�ำ
ศึกลังกา สินสมุทรถูกลูกปืนจมลงไปใต้ทะเลลึก แต่ก็กลับลอยขึ้นมาใหม่ และเมื่อถูกแสง
อาทิตย์ก็จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีก

5.3 นางผีเสื้อสมุทร
นางผีเสือ้ สมุทรเป็นทัง้ ยักษ์ทัง้ ปีศาจ อาศัยอยูใ่ นถ�้ำใต้นำ�้ และเป็นใหญ่เหนือฝูงปีศาจ
ทั ้งหลายในน่านน�้ำ ทั ้งนี้เพราะนางมีอิทธิฤทธิ์มาก รูปร่างใหญ่โต และสามารถเนรมิตร่าง
ให้ ใหญ่ โตไปกว่านั้นอีกก็ได้ อาหารที่นางผี เสื้อสมุทรโปรดปรานมาก คือสัตว์เป็นๆ นาง
ผี เสื้อสมุทรมีเวทมนต์ ในการแปลงกายเป็นสาวสวย นอกจากนี้ยังมีมนต์วิ เศษเรียกให้ฝน
ตกและลูกเห็บตกได้ อีกด้วย
เมือ่ นางผีเสือ้ สมุทรตายแล้ว ร่างกายของนางก็จะกลายเป็นหิน มีนำ�้ สีขาวราวกับน�ำ้ ตาล
โตนดไหลออกจากปาก ตอนแรกพระอภัยมณีคิดจะเผาศพนาง แต่เทวดาปรากฏกายออก
มาห้ามมิ ให้เผาศพนางเพราะจะเป็นอันตราย และได้เล่าประวัตขิ องนางให้พระอภัยมณีฟงั ว่า
ในกาลก่อนโน้นนางผี เสื้อสมุทรเป็นก้อนหินอยู่ในท้องทะเล เมื่อชาติก่อนได้ถอด
ดวงใจฝากไว้ ในก้อนหินนั้น เมื่อนางขึ้นฝั่งก็ได้ไปรบกับพระเพลิง แล้วถูกไฟกรดเผาไหม้
ร่างกายจนหมด แต่นางก็ยังมี ชีวิตอยู่เพราะถอดดวงใจไว้ นางจึงเป็นปีศาจสิงอยู่ ในก้อน
บทที่ 19 พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร 261

หินนั้น ก้อนหินเมื่อถูกไอน�้ำไอดินเป็นเวลานานก็งอกออกมาเป็นหน้าตา แขนขา ด้วยพร


ของพระเป็นเจ้า เป็นเวลานานนับหมื่นปี จึงกลายเป็นผี เสื้อสมุทร ลุกออกไปจากที่ด้วย
อิทธิฤทธิ์ ยิ่งต้องแสงอาทิตย์ด้วยแล้ว นางก็ยิ่งมีอ�ำนาจมากขึ้น จนได้เป็นใหญ่เหนือปีศาจ
ทัง้ หลาย ใครฆ่าก็ไม่ตาย เมือ่ พระอภัยมณีเป่าปีส่ งั หาร นางจึงกลับไปเป็นหินตามเดิมเพราะ
วิ ญญาณสูญสิ้นไปแล้ว แต่ถ้าเผาร่างของนางด้วยไฟ นางก็จะคืนชีพขึ้นมาอีก แล้วคราวนี้
จะฆ่าเท่าไรก็ไม่ตาย เพราะนางมีก�ำเนิดมาแล้วหลายหน ต่อเมื่อใดไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลก
นางจึงจะสิ้นชีวิตไปด้วย ส่วนน�้ำที่ ไหลออกจากปากนางนั้นเป็นน�้ำอ�ำมฤต ใครกินแล้วก็จะ
มีเรี่ยวแรงและไม่มี โรคภัยเบี ยดเบี ยน

5.4 นางเงือก
นางเงือกอาศัยอยูใ่ นมหาสมุทร รูปร่างท่อนบนเป็นคน ท่อน
ล่างเป็นปลา นางเป็นผู้แบกพระอภัยมณีหนีนางผี เสื้อสมุทรไปถึง
เกาะแก้วพิสดารแทนพ่อของนางทีห่ มดแรง เงือกเฒ่าทัง้ สองซึง่ เป็น
พ่อและแม่ของนางถูกนางผี เสื้อสมุทรจั บกินด้วยความแค้น ต่อมา
นางเงือกได้เป็นชายาของพระอภัยมณีและให้ก�ำเนิดลูกชายคนหนึง่
ชื่อ สุดสาคร ซึ่งมีลักษณะเป็นมนุษย์อย่างพ่อ แต่มีก�ำลังว่ายน�้ำเก่ง
ราวกับปลาเหมือนกับเผ่าพั นธุ์ของแม่
เมือ่ สุดสาครเกิด นางเงือกได้มอบธ�ำมรงค์และกุณฑลทองของพระอภัยมณี ให้สดุ สาคร
ไว้ ครั้นสุดสาครอายุได้ 3 ขวบ ก็ออกไปตามหาพ่อ ส่วนนางเงือกนั้น อาศัยอยู่กับพระโยคี
ที่เกาะแก้วพิสดาร

5.5 พระโยคี
พระโยคีเป็นผู้ทรงศีล อาศัยอยู่ที่เกาะแก้วพิสดาร ซึ่งมีคนเรือ
ต่างชาติต่างภาษาทั ้งจีน ไทย แขก ชวา ฝรั่ง ที่รอดตายจากเรือแตก
มาอาศัยอยู่ด้วยเป็นจ�ำนวนมาก
พระโยคีมอี ายุได้พันปีเศษ มีไม้เท้าวิเศษเป็นอาวุธประจ�ำกาย ซึง่
ต่อมาได้มอบให้สดุ สาครเอาไว้ ใช้ปอ้ งกันตัว นอกจากนีพ้ ระโยคียงั มีเสียง
ระฆังเป็นสัญญาณประจ�ำตัว และยังสามารถล่วงรูเ้ หตุการณ์ลว่ งหน้าได้
262 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

5.6 เงือกเฒ่า
เงือกเฒ่าเป็นบุคคลส�ำคัญที่คอยช่วยเหลือพระอภัยมณี และเป็นผู้วางแผนให้พระ
อภัยมณีหนี มีความปรารถนาดี ต่อพระอภัยมณี โดยตั้งใจไว้ว่าจะขอเป็นข้ารองบาทของ
พระอภัยมณีไปจนกว่าตนจะตาย ทั ้งนี้เพราะส�ำนึกบุญคุณของพระอภัยมณี เมื่อครั้งที่ตน
ถูกสินสมุทรจั บได้ แต่พระอภัยมณีสั่งให้ลูกปล่อยตัว แล้วไม่ท�ำอันตราย ดังนั้นเมื่อนาง
ผี เสื้อสมุทรตามมาทั น เงือกเฒ่าจึงยอมสละชี วิ ตของตนเพื่อช่วยพระอภัยมณี ให้รอดพ้น
จากนางผี เสื้อสมุทร

6. ความรักที่ปรากฏในนิทานค�ำกลอน เรื ่องพระอภัยมณี


ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร
ศาสตราจารย์ ดร. รื่นฤทั ย สัจจพั นธุ์ (2553 : 83-90) ได้กล่าวถึงนิทานค�ำกลอน
เรือ่ งพระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสือ้ สมุทรว่า เป็นวรรณคดีทแี่ นะน�ำให้นกั เรียน
ในช่วงชั้นที่ 3 (มัธยมศึกษาปีที่ 1-3) อ่านเพื่อจะได้รับรสวรรณคดี จากสุนทรภู่ ตอนหนีนาง
ผี เสื้อสมุทรเป็นตอนที่ 9 ซึ่งมีเนื้อหาที่เหมาะสมกับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก เพราะเน้นเรื่อง
ของความรัก ความหึงหวง มากกว่าการผจญภัย ซึ่งศาสตราจารย์ ดร. รื่นฤทั ย สัจจพั นธุ์
ได้วิเคราะห์เรื่องความรักที่ปรากฏในนิทานค�ำกลอนเรื่องพระอภัยมณี ตอน หนีนางผี เสื้อ
สมุทรว่า ปรากฏเรื่องความรักในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

1. ความรักที่นางผีเสื้อสมุทรมีต่อพระอภัยมณี
นางผี เสื้อสมุทรนับว่าเป็นเมียคนแรกของพระอภัยมณี เพราะหลังจากที่เรียนวิ ชา
กับพินทพราหมณ์และเดินทางกลับบ้านเมือง พระอภัยมณีก็ได้แสดงวิ ชาเป่าปี่อย่างจริงจั ง
และเป็นครั้งแรกให้พราหมณ์ทั้งสามฟัง ทั ้งนี้เพื่อแสดงเกียรติคุณของวิ ชาดนตรี ส�ำหรับ
เนื้อหาของเพลงปี่ ได้พรรณนาถึงความชื่นใจที่ ได้จากผู้หญิง นางผี เสื้อสมุทรได้ยินเสียงปี่
ของพระอภัยมณีก็หลงรัก จึงจั บตัวพระอภัยมณีไปอยู่ด้วยกันในถ�้ำใต้ทะเลเป็นเวลานานถึง
8 ปี จนมีลูกชายคนหนึง่ นามว่า สินสมุทร
นางผี เสื้อสมุทรเป็นยักษ์ แต่เวลาที่อยู่กับพระอภัยมณี ในถ�้ำนางจะแปลงกายเป็น
สาวสวย เมื่อออกไปหาอาหารก็จะคืนร่างยักษ์ดังเดิม สินสมุทรจึงไม่รู้ว่าแม่ของตนเป็น
ยักษ์ แม้นางผี เสื้อสมุทรจะเป็นยักษ์แต่นางก็ดูแลปรนนิบัติ พระอภัยมณีเป็นอย่างดี คอย
หาผลไม้มาให้อยู่มิขาด
บทที่ 19 พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร 263

เมื่อพระอภัยมณีวางแผนกับสินสมุทรว่าจะหนี นางผี เสื้อสมุทรก็เกิดฝันร้ายขึ้นว่า


เทวดาบนเกาะเหาะมาท�ำลายถ�้ำ เอาพะเนินทุบตีนางแทบตาย แล้วควักเอาดวงตาไป นาง
ผีเสือ้ สมุทรจึงขอให้พระอภัยมณีทำ� นายฝันให้ พระอภัยมณีเห็นเป็นโอกาส จึงแก้ฝนั ว่าเทวดา
ในฝันคือพญามัจจุราชที่จะมาเอาชีวิต นางต้องสะเดาะเคราะห์ด้วยการไปถือศีล อดอาหาร
ที่ตีนเขาตามล�ำพั งเป็นเวลา 3 วัน พอครบ 3 วัน นางผี เสื้อสมุทรก็รีบกลับมายังถ�้ำ แต่ก็
ไม่พบทัง้ สามี และลูก นางผี เสือ้ สมุทรทัง้ ตกใจและเสียใจแทบสิน้ สติ ร้องไห้อย่างน่าสงสาร
ดังที่สุนทรภู่พรรณนาอาการของนางว่า

“เสียน�้ำใจในอารมณ์ไม่สมประดี สองมือตีอกตูมฟูมน�้ำตา
ลงกลิ้งเกลือกเสือกกายร้องไห้โร่ เสียงโฮโฮดังก้องห้องคูหา”

นอกจากนี้นางผี เสื้อสมุทรยังคร�่ำครวญเปรียบเทียบความรู้สึกของนางว่า “เหมือน


ควักเอาดวงใจน้องไปเสีย” และ “น้องร้อนรุ่มกลุ้มใจดังไฟเลีย” หลังจากนางคร�่ำครวญ
ถึงการครองคูก่ บั พระอภัยมณีดว้ ยความรักใคร่ทะนุถนอมกันแล้ว สุนทรภู่ก็บรรยายอาการ
เสียใจของนางผี เสื้อสมุทรว่าราวกับจะขาดใจ

“........................................... นางสะอื้นอ้าปากจนรากเรอ
ด้วยแรงน้อยถอยทบสลบหลับ แล้วก็กลับพลิกฟื้นตื่นเผยอ
ร้องเรียกลูกผัวเฟือนเหมือนละเมอ ไม่เห็นเธอทอดกายดังวายปราณ”

แล้วสุนทรภู่ก็เปลี่ยนอารมณ์โศกของนางผี เสื้อสมุทร ไปสู่อารมณ์แค้นในทั นที ด้วย


การบรรยายว่า

“ระก�ำอกหมกมุ่นหุนพิโรธ ก�ำลังโกรธกลับแรงก�ำแหงหาญ”

เมื่อได้สติแล้ว นางผี เสื้อสมุทรจึงพิจารณาเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ นาง


ตัง้ ข้อสงสัยว่าใครเป็นคนเปิดหินทีป่ ดิ ปากถ�ำ้ ไว้ เพราะล�ำพั งมนุษย์สกั หมืน่ คน ก็ไม่อาจขยับ
ก้อนหินให้เขยื้อนได้ นางสงสัยว่าใครกันที่ “ช่างคิดอ่านเอาคู่ของกูไป” และด้วยความคิดว่า
“มาพาไปไม่เกรงข่มเหงกู” ท�ำให้นางผีเสือ้ สมุทรโกรธจัด กระโดดโลดแล่นไปตามมหาสมุทร
และระบายความแค้นของตนอย่างโหดร้าย
264 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“กระโดดโครมโถมว่ายสายสมุทร อุตลุดด�ำด้นเที่ยวค้นหา
ไม่เห็นผัวคว้าไปได้แต่ปลา ควักลูกตาสูบเลือดด้วยเดือดดาล”

จากนั้นจึงตะโกนร้องเรียกเหล่าปีศาจภูตพรายในน�้ำขึ้นมาถามว่า เห็นมนุษย์สอง
คนบ้างหรือไม่ แล้วนางจึงได้รู้ว่าพระอภัยมณีกับสินสมุทรนั้นหนีไปทางทิศใต้ ด้วยแรง
โกรธและรูปร่างใหญ่โตดังภูเขา ท�ำให้นางผี เสื้อสมุทรลุยทะเลตามพระอภัยมณีได้ทัน
แม้พระอภัยมณีจะหนีไปก่อนแล้วถึง 5 คืน
โดยปกติผู้หญิงจะรักลูกมากกว่าสามี แต่นางผี เสื้อสมุทรแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน
ว่ารักสามีมากกว่าลูก โดยเฉพาะตอนที่สินสมุทรมาขวางทางถ่วงเวลาให้พระอภัยมณีหนีไป
เมื่อสินสมุทรไม่ยอมบอกที่ซ่อนของพระอภัยมณี นางก็แค้นลูก “ราวกับไฟไหม้อังสา” และ
คิดในใจว่า “จะจับไว้ ให้พาไปหาพ่อ แล้วหักคอเสียให้ตายเมือ่ ภายหลัง” จากนัน้ ก็ไล่ตอี ตุ ลุด
แต่สินสมุทรก็หลบหลีกได้อย่างว่องไว แล้วแกล้งล่อให้นางผี เสื้อสมุทรไล่ตามไปให้ห่างจาก
บิดา เมือ่ หนีจากทะเลขึน้ เกาะได้กว็ ิง่ ขึน้ เขาล่อให้นางผีเสือ้ สมุทรตาม แล้วค่อยหลบหนีลงน�ำ้
ว่ายกลับมาตามพระอภัยมณีจนทั นกัน
ฉากทีน่ างผีเสือ้ สมุทรตามมาทันพระอภัยมณี นางเงือก และสินสมุทร ซึง่ ว่ายน�ำ้ มาถึง
เกาะแก้วพิสดารพอดี เป็นฉากทีน่ า่ ตืน่ เต้น ทีฝ่ า่ ยล่าและฝ่ายหนีตามมาทันกันจนนางผีเสือ้
สมุทรก�ำลังจะจับตัวพระอภัยมณีได้ แต่ ในเสีย้ ววินาทีนนั้ พระโยคีแห่งเกาะแก้วพิสดารก็มา
ช่วยไว้ได้ทัน บทกลอนที่จะกล่าวต่อไปนี้จะแสดงเหตุการณ์ที่ต่อเนือ่ งกันอย่างฉับไว ดังนี้

“พระอภัยมณีเห็นผี เสื้อ ความกลัวเหลือว่ายคว้างอยู่กลางหน


ยักษ์กระโจมโถมจั บแทบอับจน พอเห็นคนอยู่ที่หาดตวาดครืน
เข้าถึงที่ผีเสื้อก็ถึงด้วย กระชั้นฉวยผิ ดเสือกเกลือกเข้าตื้น
พอโยคีมีคาถาลงมายืน ผี เสื้อตื่นตัวสั่นขยั้นยั้ง
พระอภัยภูมินทร์กับสินสมุทร ช่วยกันฉุดนางเงือกเสือกเข้าฝั่ง
แล้วกราบกรานโยคีมีก�ำลัง แขกฝรั่งพรั่งพร้อมล้อมพูดจา”

เมือ่ นางผีเสือ้ สมุทรขึน้ ไปบนเกาะแก้วพิสดารไม่ได้ เพราะพระโยคีลงเลขเสกไว้ นางจึง


ได้แต่รอ้ งตะโกนเรียกพระอภัยมณี ให้กลับมาอยูก่ บั นางดังเดิม บทกลอนตอนทีแ่ สดงความ
รักของนางผี เสื้อสมุทรที่มีต่อพระอภัยมณีก็คือการขอติดตามพระอภัยมณีไปจนกว่าจะตาย
บทที่ 19 พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร 265

“พระเสด็จไปไหนจะไปด้วย เป็นเพื่อนม้วยภัสดาจนอาสัญ
ประทานโทษโปรดเลี้ยงแต่เพี ยงนั้น อย่าบากบัน่ ความรักน้องนักเลย”

นางผี เสื้อสมุทรยังครวญอีกว่าหากพระอภัยมณีและสินสมุทรทิ้งนางไป นางก็ “มิขอ


อยู่สู้ตายวายชีวิต” ดังนั้นแม้นางผี เสื้อสมุทรจะเป็นยักษ์มาร แต่ก็มีอารมณ์รัก โลภ โกรธ
หลง เหมือนมนุษย์ ความรักที่นางมีต่อพระอภัยมณีเป็นความรักที่แท้จริง ทุ่มเทให้จนหมด
ใจ และจงรักภักดีเป็นทีส่ ดุ ซึง่ เป็นคุณลักษณะของผูห้ ญิงทีส่ งั คมยกย่อง แต่ความทีน่ างเป็น
ยักษ์ต่างเพศผิ ดพั นธุ์กับมนุษย์ พระอภัยมณีจึงไม่อาจใช้ ชีวิตร่วมกับนางได้

2. ความรักระหว่างสินสมุทรกับพระอภัยมณี
พระอภัยมณีมีโอรสเกิดด้วยนางผี เสื้อสมุทร มีรูปกายอย่างมนุษย์เหมือนพ่อ แต่
ผมหยิก ดวงตาสีแดงเพลิง มีเขี ้ยวเหมือนแม่ มีก�ำลังดังช้างสาร แม้จะเป็นครึ ่งมนุษย์ครึ ่ง
ยักษ์ แต่พระอภัยมณีกร็ ักสินสมุทรเป็นอย่างยิง่ พระอภัยมณีเลีย้ งดูลกู ด้วยตนเองมาตัง้ แต่
เกิด จนเมื่อลูกอายุได้ 8 ปี จึงตั้งชื่อให้ว่า สินสมุทร และมอบธ�ำมรงค์กับฉลองพระองค์ ให้
นอกจากนีย้ งั สอนวิชาเป่าปีพ่ ร้อมกับเพลงอาวุธให้ดว้ ย จึงกล่าวได้วา่ พระอภัยมณีทำ� หน้าทีพ่ อ่
ได้อย่างครบถ้วน ด้วยเหตุน้สี ินสมุทรจึงรักพ่อมากกว่าแม่ ดังที่สุนทรภู่บรรยายว่า “ความ
รักพ่อยิ่งกว่าแม่มาแต่ไร ด้วยมิได้ขู่เข็ญเช่นมารดา” พระอภัยมณีเองก็รักสินสมุทรสุดชี วิต
เช่นกัน หากนางผี เสื้อสมุทรท�ำร้ายสินสมุทรถึงตาย เพราะโกรธที่เปิดก้อนหินปิดประตูถ�้ำ
พระอภัยมณี ก็คงตายตามไปด้วย ดังที่กล่าวว่า

“ไปเปิดประตูคูหาถ้าเขาเห็น ตายหรือเป็นว่าไม่ถกู เลยลูกแก้ว


แม้นสินสมุทรสุดสวาทพ่อคลาดแคล้ว ไม่รอดแล้วบิ ตุรงค์ก็คงตาย”

ยามนอนพระอภัยมณีก็จะกอดสินสมุทรเอาไว้ แล้วก็หลับไปด้วยกัน

“พระกอดลูกน้อยประทั บไว้กับทรวง ให้เหงาง่วงงีบหลับระงับไป”

ตอนพระอภัยมณีหลอกให้นางผี เสื้อสมุทรไปบ�ำเพ็ญเพี ยรเพื่อสะเดาะเคราะห์ เมื่อ


เห็นสินสมุทรร้องไห้เพราะห่วงแม่ พระอภัยมณีก็รีบห้ามไม่ให้ตามไป โดยเอาการเล่นสนุก
มาชักชวนให้เพลิดเพลิน เพราะต้องการพาสินสมุทรหนีไปพร้อมกับพระองค์
266 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“บิ ดาดูร้แู จ้งจึงแกล้งห้าม จะวอนตามเขาไปไยในไพรสัณฑ์


อยู่เป่าปี่ตีเกราะเสนาะครัน แล้วรับขวัญลูกน้อยกลอยฤทั ย”

เมื่อนางผี เสื้อสมุทรตามมาจวนจะทั น พระอภัยมณีก็แสดงความเด็ดเดี ่ยวที่จะยอม


ตายแต่เพียงผูเ้ ดียว โดยบอกกับนางเงือกให้สง่ ทีเ่ กาะละเมาะข้างทางแล้วให้รีบหนีไป พร้อม
กับสั่งสินสมุทรให้กลับไปกับแม่ ส่วนตัวเองนั้นขอลาตาย

“........................................... แม้นนางยักษ์มารับจงกลับหลัง
อันตัวพ่อขอตายวายชีวัง กันแสงสั่งลูกยาด้วยอาลัย”

แต่สินสมุทรรักพ่อ ห้าวหาญ ไม่กลัวแม่ จึงอาสาอยู่รับหน้าล่อลวงถ่วงเวลาให้พ่อ


หนีไปได้ สินสมุทรไม่เคยเห็นแม่ ในร่างยักษ์มาก่อน แต่ก็มิได้หวาดหวั่น ค�ำพูดที่สินสมุทร
ขอร้องให้นางผีเสือ้ สมุทรกลับไปอยู่ ในถ�ำ้ ตามเพศพั นธุข์ องตน ปล่อยให้พระอภัยมณีซงึ่ เป็น
มนุษย์กลับบ้านเมือง แสดงให้เห็นว่าสินสมุทรเข้าข้างพ่ออย่างเต็มที่ แบ่งแยกว่าแม่เป็นฝ่าย
ยักษ์ พ่อกับตนเป็นฝ่ายมนุษย์

“ด้วยองค์พระชนนีเป็นผี เสื้อ อันชาติเชื้ออยู่ถ�้ำล�ำละหาน


พระบิ ดรร้อนรนทนทรมาน เคยอยูบ่ า้ นเมืองมนุษย์สดุ สบาย
คิดถึงวงศ์พงศาคณาญาติ จึงสามารถมานี่ ไม่หนีหาย
เห็นมารดาซ่อนตัวด้วยกลัวตาย ลูกจึงว่ายน�้ำอยู่แต่ผู้เดี ยว
ประทานโทษโปรดปล่อยไปหน่อยเถิด ที่ละเมิดแม่คุณอย่าฉุนเฉียว
ลูกขอลาฝ่าธุลีสักปีเดี ยว ไปท่องเทีย่ วหาประเทศเขตนคร
แม้นพบอาย่าปู่อยู่เป็นสุข บรรเทาทุกข์ภิญโญสโมสร
จึงจะชวนบิ ตุเรศเสด็จจร มาสถานมารดรไม่นอนใจ”

เรื่องราวของพระอภัยมณีหลังจากตอนหนีนางผี เสื้อสมุทรไปแล้ว ก็ยังมีอีกหลาย


เหตุการณ์ที่สินสมุทรได้แสดงความรักความผูกพั นของตนกับพ่อ โดยจะคอยช่วยเหลือพ่อ
ทั ้งเรื่องการรบและเรื่องความรัก
บทที่ 19 พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร 267

7. คุณค่า

7.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
7.1.1 การเลือกใช้ค�ำ นิทานค�ำกลอนเรื่องพระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนี
นางผี เสื้อสมุทรนี้ สุนทรภู่ท่านสามารถเลือกใช้ค�ำที่สื่ออารมณ์และความรู้สึกได้อย่างดงาม
เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและฐานะของตัวละคร ดังตัวอย่าง

“ฝ่ายนางผี เสื้อสมุทรที่สุดโง่ ไปนัง่ โซเซาอยู่ ริมภูผา


ขอชี วิตพิษฐานตามต�ำรา ต้องอดปลาอดนอนอ่อนก�ำลัง
ได้สามวันรันทดสลดจิ ต เจียนชี วิตจะเด็ดดับไม่กลับหลัง
อุตส่าห์ยืนฝืนใจให้ประทั ง ค่อยเซซังซวนทรงไม่ตรงตัว
เห็นลูกไม้ ในป่าคว้าเข้าปาก ก�ำลังอยากยืนขยอกจนกลอกหัว”

จากตัวอย่างนีจ้ ะเห็นได้วา่ สุนทรภูเ่ ลือกใช้คำ� ได้อย่างเหมาะสมกับคนทีม่ อี าการอ่อนแรง


อันเนือ่ งมาจากไม่ได้กินอาหารมานาน สุนทรภู่ ใช้เสียง /ส/ ในค�ำว่า เซซัง ซวนทรง ท�ำให้
เห็นว่านางผี เสื้อสมุทรจะล้มแหล่ไม่ล้มแหล่ ซึ่งเป็นภาพที่น่าเห็นใจนางผี เสื้อสมุทรนัก ทีน้ี
ขอให้พิจารณาอีกตัวอย่างหนึง่

“นางผี เสื้อเหลือโกรธโลดทะลึ่ง โตดังหนึง่ ยุคนธร์ขุนไศล


ลุยทะเลโครมครามออกตามไป สมุทรไทแทบจะล่มถล่มทลาย
เหล่าละเมาะเกาะขวางหนทางยักษ์ ภูเขาหักหินหลุดทรุดสลาย
เสียงครึ กครื้นคลื่นคลุ้มขึ้นกลุ้มกาย ผี เสื้อร้ายรีบรุดไม่หยุดยืน”

จากตัวอย่างนี้ก็แสดงให้เห็นอาการของนางผี เสื้อสมุทรว่า รีบเร่งเดินทางตาม


พระอภัยมณีไปด้วยความใจร้อนขนาดหนัก ถึงขนาดที่ว่ามหาสมุทรจะถล่มผืนน�้ำจะทลาย
ภูเขาที่ขวางหน้าก็กลายเป็นผงไป สุนทรภู่ร้อยเรียงค�ำที่ ให้ภาพชัดเจนแก่ผู้อ่านมาก
268 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

7.1.2 การใช้โวหาร โดยเฉพาะโวหารประเภทพรรณนา สุนทรภู่แต่งบทพรรณนา


ได้ดีมาก ท�ำให้ผอู้ า่ นเกิดภาพพจน์และมีความรูส้ กึ ว่าเหมือนอยูร่ ว่ มกับเหตุการณ์ ณ ตอนนัน้
ดังเช่นตอนทีส่ นุ ทรภู่ ใช้พรรณนาโวหารในการชมความสวยงามของปลาชนิดต่างๆ ซึง่ นอกจาก
จะสร้างความเพลิดเพลินให้ผู้อ่านอย่างมากแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงปลาชนิดต่างๆ อย่าง
มากมายที่ก�ำลังว่ายน�้ำกันอย่างอิสระ ดังตัวอย่าง

“พระโฉมยงองค์อภัยมณีนาถ เพลินประพาสพิศดูหมู่มัจฉา
เหล่าฉลามล้วนฉลามตามกันมา ค่อยเคลือ่ นคลาคล้ายคล้ายในสายชล
ฉนากอยู่คู่ฉนากไม่จากคู่ ขึ้นฟ่องฟูพ่นฟองละอองฝน
ฝูงพิมพาพาฝูงเข้าแฝงวน บ้างผุดพ่นฟองน�้ำบ้างด�ำจร
กระโห้เรียงเคียงกระโห้ ขึ้นโบกหาง ลอยสล้างกลางกระแสแลสลอน
มังกรเกี่ยวเลี้ยวลอดกอดมังกร ประชุมซ่อนแฝงชลขึ้นวนเวียน
ฝูงม้าน�้ำท�ำท่าเหมือนม้าเผ่น ขึ้นลอยเล่นเลี้ยวลัดฉวัดเฉวียน
ตะเพี ยนทองท่องน�้ำด�ำตะเพี ยน ดาษเดี ยรดูเพลินจนเกินมา”

7.1.3 การเล่นเสียง การเล่นเสียงทีจ่ ะกล่าวถึงนีค้ อื การเล่นเสียงสัมผัส ซึง่ แน่นอน


ว่าถ้าเป็นงานที่สุนทรภู่แต่งจะต้องมีสัมผัสในอย่างแพรวพราว ซึ่งสัมผัสในที่ว่านี้ ก็มีทั้ง
สัมผัสสระและสัมผัสอักษร

“นางเงือกน้อยสร้อยเศร้าเข้ามาผลัด แบกกษัตริยว์ า่ ยเสือกเสลือกสลน


ก�ำลังสาวคราวด่วนด้วยจวนจน ออกกลางชลโบกหางผางผางไป”

จากตัวอย่างนีท้ ำ� ให้เห็นการเล่นเสียงสัมผัสในอย่างแพรวพราวของสุนทรภู่ ซึง่ สัมผัส


ในที่สุนทรภู่ ใช้ จะมีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร
จากตัวอย่าง สัมผัสสระ ได้แก่ค�ำว่า น้อย-สร้อย, เศร้า-เข้า, เสือก-เสลือก,
สาว-คราว, ด่วน-จวน, กลาง-หาง-ผาง
สัมผัสอักษร ได้แก่ค�ำว่า นาง-น้อย, สร้อย-เศร้า, กษัตริย์-เสือก, เสลือก-สลน,
ด่วน-ด้วย, จวน-จน
บทที่ 19 พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร 269

7.1.4 ลีลาการประพันธ์ ในที่น้จี ะพิจารณาเรื่องของการใช้รสวรรณคดี และเน้น


เฉพาะรสวรรณคดี ไทย คือ เสาวรสจนี นารีปราโมทย์ พิโรธวาทั ง และสัลลาปังคพิสัย ซึ่ง
พิจารณาแล้วปรากฏว่านิทานค�ำกลอนเรื่องพระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผี เสื้อ
สมุทร มีรสวรรณคดี ไทยครบถ้วนทั ้ง ๔ รส คือ
1 เสาวรสจนี เช่น บทชมความงามของธรรมชาติ

“พระโฉมยงองค์อภัยมณีนาถ เพลินประพาสพิศดูหมู่มัจฉา
เหล่าฉลามล้วนฉลามตามกันมา ค่อยเคลือ่ นคลาคล้ายคล้ายในสายชล
ฉนากอยู่คู่ฉนากไม่จากคู่ ขึ้นฟ่องฟูพ่นฟองละอองฝน
ฝูงพิมพาพาฝูงเข้าแฝงวน บ้างผุดพ่นฟองน�้ำบ้างด�ำจร
กระโห้เรียงเคียงกระโห้ขึ้นโบกหาง ลอยสล้างกลางกระแสแลสลอน
มังกรเกี่ยวเลี้ยวลอดกอดมังกร ประชุมซ่อนแฝงชลขึ้นวนเวียน
ฝูงม้าน�้ำท�ำท่าเหมือนม้าเผ่น ขึ้นลอยเล่นเลี้ยวลัดฉวัดเฉวียน
ตะเพี ยนทองท่องน�้ำด�ำตะเพี ยน ดาษเดี ยรดูเพลินจนเกินมา”

2 นารี ปราโมทย์ คือ บทโอ้โลม เกี้ยวพาราสีหรือปลอบใจ ดังเช่น ตอนที่พระ


อภัยมณีปลอบนางผีเสือ้ สมุทรให้หายโกรธเกีย้ ว แล้วกลับไปอยูถ่ ำ�้ ตามเพศพั นธุข์ องตนเอง

“พี ่มนุษย์สุดสวาทเป็นชาติยักษ์ จงคิดหักความสวาทไม่ขาดสูญ


กลับไปอยู่คูหาอย่าอาดูร จงเพิ่มพูนภาวนารักษาธรรม์
อย่าฆ่าสัตว์ตัดชี วิตพิษฐาน หมายวิ มานเมืองแมนแดนสวรรค์
จะเกิดไหนขอให้พบประสบกัน อย่าโศกศัลย์แคล้วคลาดเหมือนชาติน้”ี

3 พิโรธวาทัง คือ บทโกรธ ขัดเคือง ตัดพ้อ ต่อว่า ด่าทอ ดังเช่น ตอนที่นางผีเสื้อ


สมุทรพูดกับพระโยคีอย่างก้าวร้าว แล้วพาลหึงนางเงือก จึงด่าทอนางเงือก ดังความว่า
270 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“นางผี เสื้อเหลือโกรธพิโรธร้อง มาตั้งซ่องศีลจะมีอยู่ที่ ไหน


ช่างเฉโกโยคีหนีเขาใช้ ไม่อยู่ในศีลสัตย์มาตัดรอน
เขาว่ากันผัวเมียกับแม่ลูก ยื่นจมูกเข้ามาบ้างช่วยสั่งสอน
แม้นคบคู่กูไว้มิ ให้นอน จะราญรอนรบเร้าเฝ้าตอแย
แล้วชี้หน้าด่าอึงหึงนางเงือก ท�ำซบเสือกสอพลออีตอแหล
เห็นผัวรักยักคอท�ำท้อแท้ พ่อกับแม่มงึ เข้าไปอยู่ ในท้อง”

4 สัลลาปังคพิสยั คือ บทว้าเหว่ เงียบเหงา โศกเศร้า เสียใจ คร�ำ่ ครวญ เช่น ความ
เสียใจของนางผี เสื้อสมุทรเมื่อทราบว่าพระอภัยมณีหนีนางไปแล้ว

“ถึงประตูคูหาเห็นเปิดอยู่ เอ๊ะอกกูเกิดเข็ญเป็นไฉน
เข้าในห้องมองเขม้นไม่เห็นใคร ยิ่งตกใจเพี ยงจะดิ้นสิ้นชี วี
แลดูปี่ที่เป่าเล่าก็หาย นางยักษ์ร้ายรู้ว่าพากันหนี
เสียน�้ำใจในอารมณ์ ไม่สมประดี สองมือตีอกตูมฟูมน�้ำตา
ลงกลิ้งเกลือกเสือกกายร้องไห้ โร่ เสียงโฮโฮดังก้องห้องคูหา
พระรูปหล่อพ่อคุณของเมียอา ควรหรือมาทิง้ ขว้างหมองหมางเมีย”

7.2 คุณค่าด้านความรู้
7.2.1 ความรู้ด้านค�ำสอนของพุทธศาสนา นิทานค�ำกลอนเรื่องพระอภัยมณี
ตอนพระอภัยมณีหนีนางผี เสื้อสมุทรนี้ สุนทรภู่ได้แทรกความรู้ด้านพุ ทธศาสนา โดยผ่าน
ทางพฤติกรรมของตัวละคร คือ นางผี เสื้อสมุทร ที่เป็นตัวแทนของผู้ที่ถูกกิเลสตัณหาเข้า
ครอบง�ำ ท�ำให้มีจิตใจโหดร้าย มีความลุ่มหลง และมัวเมาในความรัก หึงหวงอย่างไม่มีสติ
ดังตัวอย่าง

“นางผี เสื้อเหลือโกรธพิโรธร้อง มาตั้งซ่องศีลจะมีอยู่ที่ไหน


ช่างเฉโกโยคีหนีเขาใช้ ไม่อยู่ ในศีลสัตย์มาตัดรอน
เขาว่ากันผัวเมียกับแม่ลูก ยื่นจมูกเข้ามาบ้างช่วยสั่งสอน
แม้นคบคู่กูไว้มิ ให้นอน จะราญรอนรบเร้าเฝ้าตอแย
บทที่ 19 พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร 271

จากตัวอย่างที่ยกมานี้จะเห็นได้ว่านางผี เสื้อสมุทรก�ำลังตกเป็นทาสของกิเลสตัณหา
จึงไม่สนใจในค�ำสอนของพระโยคีที่เทศนาเพื่อให้นางผี เสื้อสมุทรยอมรับความจริง
7.2.2 ให้ขอ้ คิดเรื อ่ งบุญกรรม จากเนือ้ เรือ่ งได้แสดงให้เห็นถึงเรือ่ งบุญกรรม กล่าว
คือ พระอภัยมณีกบั นางผีเสือ้ สมุทรเคยท�ำบุญร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อน ชาตินท้ี ัง้ สองจึงได้
มาครองรักกัน ส่วนเหตุที่ต้องพลัดพรากจากกันนั้น คงเป็นไปตามที่พระโยคีกล่าวว่า

“ทั ้งนี้เพราะเคราะห์กรรมท�ำให้วุ่น จึงสิ้นบุญวาสนาสีกาเอ๋ย


เห็นมิได้ไปอยู่เป็นคู่เชย ด้วยสองเคยปลูกเลี้ยงถึงเพี ยงนั้น”

7.2.3 การใช้ปัญญาเพื่อแก้ปัญหา การที่พระอภัยมณีคิดจะหนีนางผีเสื้อสมุทร


นั้น ถือเป็นเรื่องใหญ่ ดังนั้นจึงต้องคิดวางแผนให้รอบคอบ โชคดี ที่พระอภัยมณีมีผู้ช่วยที่ดี
จึงท�ำให้แผนการของพระองค์ส�ำเร็จ ส�ำหรับผู้ที่วางแผนให้พระอภัยมณีหนีนางผี เสื้อสมุทร
นัน้ คือ เงือกเฒ่า ซึง่ ต้องการตอบแทนบุญคุณของพระอภัยมณีทเี่ คยช่วยชีวิตตนไว้ จึงอาสา
พาพระอภัยมณีหนี ซึ่งเงือกเฒ่าก็อาศัยความรู้ประกอบการตัดสินใจว่า จะพาพระอภัยมณี
หนีอย่างไร ตัวอย่างทีน่ ำ� มานี้ จะแสดงให้เห็นถึงวิธคี ดิ อย่างแยบคายของเงือกเฒ่าในการพา
พระอภัยมณีหนี

“แม้นพระองค์ทรงฤทธิ์จะคิดหนี ถึงโยคีเข้าส�ำนักไม่ตักษัย
เผื่อส�ำเภาเขาซัดพลัดเข้าไป ก็จะได้โดยสารไปบ้านเมือง
แต่ทางไกลไม่น้อยถึงร้อยโยชน์ ล้วนเขาโขดคีรีรัตน์ขนัดเนือ่ ง
กลางคงคาสารพั ดจะขัดเคือง จงทราบเบื้องบงกชบทมาลย์
แม้นก�ำลังดังข้าจะพาหนี เจ็ดราตรีเจียวจึงจะถึงสถาน
อสุรีมีก�ำลังดังปลาวาฬ ตามประมาณสามวันจะทั นตัว
ถ้าแก้ไขให้นางไปค้างป่า ได้ล่วงหน้าไปเสียบ้างจะยังชั่ว
จะอาสาพาไปมิได้กลัว ชีวิตตัวบรรลัยไม่เสียดาย
แต่พระองค์ทรงคิดให้รอบคอบ ถ้าเห็นชอบท่วงทีจะหนีหาย
จึงโปรดใช้ ให้องค์พระลูกชาย ไปหาดทรายหาข้าจะมาฟัง”

เงือกเฒ่าประมาณก�ำลังของตนแล้ว คิดว่าสามารถช่วยเหลือพระอภัยมณีได้ จึงอาสา


พาพระอภัยมณีหนี ครัน้ หนีมาได้ไกลพอสมควรแล้วพระอภัยมณีบอกให้หยุดพั ก แต่เงือกเฒ่า
272 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

กล่าวว่าอย่าประมาท เพราะก�ำลังนางผี เสื้อสมุทรมีมาก หากรู้ตัวคงจะตามมาทั นแน่นอน


ครั้นนางผี เสื้อสมุทรตามมาทั นจริงๆ เงือกเฒ่าก็ ใช้ปัญญาลวงนางผี เสื้อสมุทรให้ไปอีกทาง
หนึง่ เพื่อถ่วงเวลาให้พระอภัยมณีไปถึงเกาะแก้วพิสดารอย่างปลอดภัย ดังนั้นจึงอาจกล่าว
ได้ว่าที่พระอภัยมณีหนีนางผี เสื้อสมุทรรอดมาได้นั้น เป็นเพราะปัญญาของเงือกเฒ่าโดยแท้
พระอภัยมณีเป็นอีกผู้หนึง่ ที่ ใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา แต่อาจท�ำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
สักหน่อย คือ พระอภัยมณีแก้ความฝันให้นางผี เสื้อสมุทรไปถือศีลอดอาหาร ท�ำให้นางต้อง
ล�ำบากทัง้ กายและใจ แล้วพระอภัยมณีกห็ นีนางไป บทประพั นธ์ทยี่ กมานีแ้ สดงให้เห็นถึงวิธี
การวางแผนของพระอภัยมณี

“พระฟังนางพลางนึกคะนึงหมาย ซึง่ ฝันร้ายก็เพราะจิตเราคิดหนี


เห็นจะไปได้ตลอดรอดชีวี แต่นางผี เสื้อนั้นจะอันตราย
พอได้ช่องลองลวงดูตามเสน่ห์ สมคะเนได้ไปดังใจหมาย
จึงกล่าวแกล้งแสร้งเสเพทุบาย เจ้าฝันร้ายนักน้องต้องต�ำรา
อันเทวัญนั้นคือมัจจุราช จะหมายมาดเอาชีวิตริษยา
แล้วเสแสร้งแกล้งท�ำบี บน�้ำตา อนิจจาใจหายเจียวสายใจ
แม้นสิ้นสูญบุญนางในปางนี้ ไม่มีที่พึ่งพาจะอาศัย
จะกอดศพซบหน้าโศกาลัย ระก�ำใจกว่าจะม้วยไปด้วยกัน
นึกจะใคร่สะเดาะพระเคราะห์เจ้า พอบรรเทาโทษาที่อาสัญ
เหมือนงอนง้อขอชีวิตแก่เทวัญ กลัวแต่ขวัญเนตรพี ่จะมิท�ำ”

สินสมุทรเป็นอีกคนที่ ใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา ดังตอนที่วางแผนลวงนางผี เสื้อ


สมุทรให้เดินไปอีกทางหนึง่ เพื่อจะให้พระอภัยมณีหนี ดังความว่า “จ�ำจะบอกหลอกลวง
หน่วงเนื้อความ อย่าให้ตามเข้าไปชิดพระบิดา” และยังหลอกให้นางผี เสื้อสมุทรเสียเวลา
ตามหาพระอภัยมณีด้วย ดังความว่า

“เห็นมารดาล่าลับแล้วยับยั้ง แกล้งถอยหลังลงน�ำ้ แล้วด�ำหนี


ไม่พ่นผุดรุดไปในนที ตั้งภักดี ตามติดพระบิ ดร”

จากพฤติกรรมของตัวละครจะท�ำให้เห็นว่า ปัญญาเป็นสิง่ ส�ำคัญ ท�ำให้สามารถแก้ไข


ปัญหาและเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ได้
บทที่ 19 พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร 273

7.3 คุณค่าด้านสังคม
7.3.1 ความเชื่อเรื ่องโชคลางและความฝัน ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อที่ผูกพั นอยู่
กับคนไทยมานานมาก ถ้าฝันดี ก็สบายใจ แต่ถ้าฝันร้ายสภาพจิ ตใจก็ย�่ำแย่ เพราะจะต้อง
กลัวว่าอาจเกิดสิ่งไม่ดีขึ้นต่อตนเอง และครอบครัว ดังที่นางผี เสื้อสมุทรฝันร้ายว่า

“พอม่อยหลับกลับจิ ตนิมิตฝัน ว่าเทวัญอยูท่ เี่ กาะนัน้ เหาะเหิน


มาสังหารผลาญถ�้ำระย�ำเยิน แกว่งพะเนินทุบนางแทบวางวาย
แล้วอารักษ์ควักล้วงเอาดวงเนตร ส�ำแดงเดชเหาะกลับไปลับหาย
ทั ้งกายสั่นพรั่นตัวด้วยกลัวตาย พอฟืน้ กายก็พอแจ้งแสงตะวัน”

7.3.2 ความเชือ่ เรื อ่ งการสะเดาะเคราะห์ เป็นความเชือ่ ทีเ่ ชือ่ กันว่าหากตกอยู่ ใน


ช่วงเคราะห์รา้ ย ต้องมีการสะเดาะเคราะห์เพือ่ ผ่อนหนักให้เป็นเบา ดังนางผีเสือ้ สมุทรทีย่ อม
ไปถือศีล อดอาหาร ตามที่พระอภัยมณีบอกว่า

“ให้ไปอยู่ผู้เดี ยวที่ตีนเขา แล้วอดข้าวอดปลากระยาหาร


ถ้วนสามคืนสามวันจะบันดาล ให้ส�ำราญรอดตายสบายใจ”

7.3.3 ความเชื่อเรื ่องเทวดาและภูตผีปีศาจ คนไทยมีความเชื่อว่าทุกที่ทุกทาง


ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน ผืนน�้ำ ป่าเขา ย่อมมีเทวดาและภูตผี ปีศาจสิงสถิตอยู่ ซึ่งสุนทรภู่ก็
คงจะเชื่อเรื่องนี้จึงได้กล่าวเอาไว้ ในตอนนี้ด้วย ส�ำหรับตัวอย่างที่ยกมานี้ น�ำมาเฉพาะตอน
ที่กล่าวถึงปีศาจลูกน้องของนางผี เสื้อสมุทร ความว่า

“ฝ่ายปีศาจราชทูตภูตพรายพาล อลหม่านขึ้นมาหาในสาชล
อสุรีผีเสื้อจึงซักถาม มึงอยูต่ ามเขตแขวงทุกแห่งหน
เห็นมนุษย์นวลละอองทั ้งสองคน มาในวนวังบ้างหรืออย่างไร”
274 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

7.3.4 ค่านิยมเรื อ่ งการเคารพผู้ ใหญ่ สังคมไทยเป็นสังคมทีเ่ คารพนับถือผู้ ใหญ่


ดังนัน้ เมือ่ ท�ำอะไรล่วงเกินไปจึงต้องขอขมา ดังทีพ่ ระอภัยมณีบอกให้สนิ สมุทรขอขมาเงือกเฒ่า
ก่อนที่จะขึ้นขี ่หลังเพื่อหนีนางผี เสื้อสมุทร

“พงศ์กษัตริย์ตรัสชวนสินสมุทร สอนให้บุตรขอสมาอัชฌาสัย
พระทรงบ่าเงือกน�้ำงามวิ ไล พระหน่อไทขอสมาขึ้นบ่านาง”
บรรณานุกรม 19

บรรเทา กิตติศักดิ์ และกัมพุ ชนาฎ เปรมกมล. (2537). วรรณคดีมรดก. พิมพ์


ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัทส�ำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จ�ำกัด.
ผกาศรี เย็นบุตร และคณะ. (2555). หนังสือเรี ยนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย 3
เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ส�ำนักพิมพ์เอมพั นธ์ จ�ำกัด.
ฟองจั นทร์ สุขยิ่ง และคณะ. (2555). หนังสือเรี ยน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย
วรรณคดีและวรรณกรรม ม. 3. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อักษรเจริญ
ทั ศน์ อจท. จ�ำกัด.
รื่นฤทั ย สัจจพั นธุ์. (2551). สืบสานสร้างสรรค์วรรณศิลป์. กรุงเทพมหานคร :
ส�ำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์.
วิ เชียร เกษประทุม. (2551). เล่าเรื ่องพระอภัยมณี. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนัก
พิมพ์พัฒนาศึกษา.
สิทธา พินจิ ภูวดล รื่นฤทั ย สัจจพั นธุ์ และเสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2525).
หนังสือเรี ยนวิชาภาษาไทย ท 033 วรรณคดีมรดก. กรุงเทพมหานคร :
บริษัท ส�ำนักพิมพ์ วัฒนาพานิช จ�ำกัด.
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). หนังสือเรี ยน รายวิชา
พื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
พระบรมราโชวาท 20
1. ประวัติความเป็นมา
พระบรมราโชวาทที่จะกล่าวถึงนี้ เป็นพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จ
พระจุ ลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ที่ทรงพระราชทานไปยังพระเจ้าลูกยา
เธอ 4 พระองค์ ที่เสด็จออกไปทรงศึกษาวิ ชาการยังต่างประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2428
ซึ่งพระเจ้าลูกยาเธอทั ้ง 4 พระองค์ ที่เสด็จออกไปศึกษาวิ ชาการยังต่างประเทศนั้น
มีพระนามตามล�ำดับพระชนมายุ ดังนี้
1. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์
กรมพระจั นทบุรีนฤนาถ
2. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพี พัฒนศักดิ์
กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
3. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิ ตรวัฒโนดม
กรมหลวงปราจิ ณกิติบดี
4. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิ รประวัติวรเดช
กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
ที่มา : วิ กิพีเดี ย
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั (รัชกาลที่ 5)
เป็นพระราชนิพนธ์ส�ำหรับแนะน�ำสั่งสอนพระเจ้าลูกยาเธอทั ้ง 4 พระองค์ ให้ตั้งใจ
ศึกษาเล่าเรียน ถ้อยค�ำที่ทรงพรรณนาล้วนเป็นคติสอนใจที่เป็นผลดี ยิ่ง
278 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

2. ประวัติผู้แต่ง
ดูบทที่ 8 หน้า 131-132

3. ลักษณะค�ำประพันธ์
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั นี้ แต่งเป็นร้อยแก้ว
ใช้ท�ำนองแต่งแบบเทศนาโวหาร

4. เนื้อเรื ่องย่อ
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเนื้อความที่ ชี้ ให้
เห็นว่า พระองค์เป็นผูก้ อปรด้วยความเมตตากรุณา ทรงไว้ซงึ่ ความยุตธิ รรมและทรงต้องการ
ที่จะปลูกฝังจริยธรรมอันดี งามแก่พระเจ้าลูกยาเธอทั ้งสี่ โดยทรงเน้นให้ค�ำนึงถึงเกียรติยศ
ชื่อเสียง มีความขยันหมั่นเพี ยร ศึกษาเล่าเรียน รู้จักประหยัด ไม่ถือตัวว่าเป็นลูกพระเจ้า
แผ่นดิน ดังจะเห็นตัวอย่างจากพระบรมราโชวาทว่า
“การที่จะให้ออกไปเรียนครั้งนี้ มีความประสงค์มุ่งหมายแต่จะให้ได้ วิชาความรู้
อย่างเดี ยว”
ทรงชีแ้ จงให้เห็นคุณค่าของการศึกษาเล่าเรียน เพือ่ ประโยชน์ ในการท�ำงานภายหน้า
ทรงยกตัวอย่างประกอบการชีแ้ จงให้เห็นชัดเจน และทรงแสดงให้เห็นความในพระราชหฤทัย
ของพระองค์ที่หวังจะบ�ำรุงพระราชโอรส
“จงอุตสาหะเล่าเรียนโดยความเพียรอย่างยิง่ เพือ่ ให้ได้มี โอกาสทีจ่ ะท�ำการให้เป็นคุณ
แก่บ้านเมืองของตนและโลกที่ตัวได้มาเกิด ถ้าจะถือว่าเกิดมาเป็นเจ้านายแล้วนิง่ ๆ
อยู่ตลอดชีวิต ก็เป็นสบายดังนั้น จะไม่ผิดอันใดกับสัตว์ดิรัจฉานอย่างเลวนัก สัตว์
ดิรัจฉานมันเกิดมากินๆ นอนๆ แล้วก็ตาย แต่สตั ว์บางอย่าง ยังมีหนัง มีเขา มีกระดูก
เป็นประโยชน์ได้บ้าง แต่ถ้าประพฤติอย่างสัตว์ดิรัจฉานแล้ว จะไม่มีประโยชน์อันใด
ยิ่งกว่าสัตว์ดิรัจฉานบางจ�ำพวกไปอีก เพราะฉะนั้นจงอุตสาหะที่จะเรียนวิ ชา เข้ามา
เป็นก�ำลังทีจ่ ะท�ำตัวให้ดีกว่าสัตว์ดริ ัจฉานให้จงได้ จึงจะได้นบั ว่าเป็นการได้สนองคุณ
พ่อ ซึ่งได้คิดท�ำนุบ�ำรุงเพื่อจะให้ดีตั้งแต่เกิดมา”
บทที่ 20 พระบรมราโชวาท 279

ทรงปรารถนาจะให้พระเจ้าลูกยาเธอทัง้ สีพ่ ระองค์ เป็นคนดีและประหยัดให้เป็นนิสยั


รู้จักใช้จ่ายในสิ่งที่ควรและไม่ควร ดังพระบรมราโชวาทที่ว่า
“อย่าถือตัวว่าเป็นลูกเจ้าแผ่นดิน พ่อมีอ�ำนาจยิ่งใหญ่อยู่ในบ้านเมือง ถึงจะเกะกะ
ไม่กลัวเกรงคุมเหงผู้ ใด เขาก็คงมีความเกรงใจพ่อ ไม่ต่อสู้หรือไม่อาจฟ้องร้องว่า
กล่าว การซึ่งเชื่อใจดังนั้นเป็นการผิ ดแท้ทีเดี ยว...จงเป็นคนอ่อนน้อม ว่าง่ายสอน
ง่าย อย่าให้เป็นทิฐมิ านะไปในทางที่ผิด...เงินทองที่จะใช้สอยในค่ากินอยู่ นุ่งห่ม หรือ
ใช้สอยเบ็ดเสร็จทั ้งปวง จงเขม็ดแขม่ ใช้แต่เพี ยงพออนุญาตให้ ใช้ อย่าท�ำใจโตมือโต
สุรุ่ยสุร่าย โดยถือตัวว่าเป็นเจ้านายมั่งมีมาก หรือว่าพ่อเป็นเจ้าแผ่นดิน มีเงินทอง
ถมไป ขอบอกเสียให้ร้แู ต่ต้นมือว่า ถ้าผู้ ใดเป็นหนี้มาจะไม่ยอมใช้หนี้ ให้เลย”
จากเนือ้ หาทีก่ ล่าวนี้ จะเห็นได้วา่ พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
อยูห่ วั มีลกั ษณะเป็นการ “สัง่ สอน” คือ ระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นพระราชประสงค์ของพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังปรากฏในตอนต้นเรื่องว่า
“ขอจดหมายค�ำสั่งตามความประสงค์ ให้แก่ลูก บรรดาซึ่งจะให้ออกไปเรียนหนังสือ
ในประเทศยุโรป จงประพฤติตามโอวาทที่จะกล่าวต่อไปนี้”
การ “สั่ง” จะปรากฏในตอนต้นเพื่อแสดงพระราชประสงค์
“การซึ่งจะให้ออกไปเรียนครั้งนี้ มีความประสงค์มุ่งหมายแต่จะให้ได้ วิ ชาความรู้
อย่างเดี ยว ไม่มั่นหมายจะให้เป็นเกียรติยศชื่อเสียงอย่างใดในชั้นซึ่งยังเป็นผู้เรียน
วิ ชานี้อยู่เลย”
ทัง้ นีพ้ ระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงอธิบายเหตุผลประกอบ การสัง่ สอน
อย่างชัดเจน โดยทรงระบุว่า “ขออธิบายความประสงค์ขอ้ นี้ ให้ชดั เจนว่า...” ดังนั้นทุกเรือ่ งที่
พระองค์ทรงสั่งสอน จึงเป็นเรื่องที่มีเหตุมีผล เพื่อขัดเกลาให้พระเจ้าลูกยาเธอเป็นคนดี

5. สาระส�ำคัญในพระบรมราโชวาท
สาระส�ำคัญในพระบรมราโชวาทมี 3 ตอน ได้แก่ การปฏิบัติพระองค์เมื่ออยู่ ใน
ต่างแดน การใช้จ่ายเงินทอง และความส�ำคัญของการศึกษาเล่าเรียน ดังนี้
280 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

5.1 การปฏิบัติพระองค์เมื่ออยู่ ในต่างแดน


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสอนให้พระเจ้าลูกยาเธอ สี่พระองค์
ปฏิบัติตามที่พระองค์สั่งสอน ดังนี้
5.1.1 การทีท่ รงส่งพระเจ้าลูกยาเธอทัง้ สีพ่ ระองค์ ไปศึกษายังต่างประเทศ
นี้ พระองค์ทรงมุ่งหวังให้ศึกษาวิชาความรู้แต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้น จึงไม่โปรด
เกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอใช้ค�ำน�ำหน้าพระนามที่แสดงความเป็นเจ้า แต่ ให้ ใช้พระนาม
เดิมเฉยๆ และไม่ให้ ใช้ “นาย” น�ำหน้าพระนามแบบไทย
5.1.2 ให้พระเจ้าลูกยาเธอทัง้ สีพ่ ระองค์ พึงระลึกอยูเ่ สมอว่า การทีพ่ ระองค์
ส่งให้มาศึกษายังต่างประเทศนี้ มิได้ ใช้เงินแผ่นดิน แต่ทรงใช้เงินจากพระคลังข้างที่
ซึง่ เป็นเงินส่วนพระองค์ เพราะทรงหวังให้เงินนีเ้ ป็นเสมือนพระราชมรดกแก่พระเจ้าลูกยา
เธอทั ้งสี่พระองค์อย่างเท่าเทียมกัน และยังป้องกันค�ำครหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ในภายหลัง

5.1.3 ให้พระเจ้าลูกยาเธอทั้งสี่พระองค์ พึงระลึกอยู่เสมอว่าถึงแม้จะมียศ


ศักดิ์ แต่ไม่ควรใช้เป็นช่องทางหาเกียรติยศชื่อเสียงและสมบัติ ควรมีความวิ ริยะ
อุตสาหะ ศึกษาเล่าเรียนด้วยความพยายาม เพื่อกลับมาท�ำคุณประโยชน์ ให้กับบ้านเมือง
ของตน
5.1.4 อย่าถือตัวว่าเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดิน จะท�ำตัวเกะกะเกเรอย่างไรก็ได้
ทรงห้ามเด็ดขาด ทรงสอนให้พระเจ้าลูกยาเธอมีความอ่อนน้อมถ่อมตน ประพฤติปฏิบัติ
ในทางที่ดี อย่าท�ำความผิ ด หากท�ำความผิ ดก็จะต้องถูกลงโทษ

5.2 การใช้จ่ายเงินทอง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสอนให้พระเจ้าลูกยาเธอ ใช้จ่ายเงิน
อย่างประหยัด เพราะเป็นของหายาก ถึงแม้จะเป็นเงินส่วนพระองค์ แต่ก็เป็นเงินที่ราษฎร
เขาถวายให้ ในฐานะที่ทรงเป็นผู้ท�ำนุบ�ำรุงบ้านเมือง จึงควรใช้เงินเท่าที่จ�ำเป็นที่จะต้องใช้
บทที่ 20 พระบรมราโชวาท 281

5.3 ความส�ำคัญของการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสอนให้พระเจ้าลูกยาเธอเห็นความ
ส�ำคัญของการศึกษา และทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอทั ้งสี่พระองค์ ศึกษาภาษา
ต่างประเทศสามภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน รวมถึงวิ ชา
คณิตศาสตร์ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานส�ำหรับการศึกษาวิ ชาอื่นๆ และที่ส�ำคัญทรงเน้นมิ ให้
ลืมภาษาไทย
ความตอนท้ายของพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระจุ ลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงแจ้งให้พระเจ้าลูกยาเธอทั ้งสี่พระองค์ทราบว่า กรมหมื่นเทวะวงษ์วโรปการ (เสด็จอา)
จะเป็นผูด้ แู ลจัดการทุกสิง่ ทุกอย่างทางประเทศไทย ส่วนทางต่างประเทศ จะเป็นหน้าทีข่ อง
ราชทูตทีจ่ ะอ�ำนวยความสะดวกให้ จากนัน้ ทรงก�ำชับให้พระเจ้าลูกยาเธอตัง้ ใจศึกษาเล่าเรียน
ให้ส�ำเร็จ ให้สมกับความรักที่พระองค์ทรงมีต่อพระเจ้าลูกยาเธอทุกคน

6. คุณค่า
ส�ำหรับคุณค่าทีผ่ อู้ า่ นพึงได้รับจากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวนี้ ก็จะมีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ คุณค่าด้านความรู้ และคุณค่าด้านสังคม ซึ่งจะ
กล่าวถึงเป็นข้อไป ดังนี้

6.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
6.1.1 ใช้ภาษาเรี ยบง่าย พระบาทสมเด็จพระจุ ลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้
ส�ำนวนภาษาง่ายๆ เหมาะสมกับช่วงสมัย ตรงไปตรงมา ตอนใดที่เป็นค�ำสั่ง และทรงมี
พระราชประสงค์จะให้พระเจ้าลูกยาเธอทั ้งสี่พระองค์ทรงปฏิบัติตาม จะใช้ค�ำว่า “จง” ดัง
ตัวอย่าง
“ขอจดหมายค�ำสั่งตามความประสงค์ ให้แก่ลูก บรรดาซึ่งจะให้ออกไปเรียนหนังสือ
ในประเทศยุโรป จง ประพฤติตามโอวาทที่จะกล่าวต่อไปนี้”
6.1.2 ใช้ภาษาทีแ่ สดงเหตุผลได้ชดั เจน กล่าวคือ เมือ่ มีรับสัง่ ให้ปฏิบตั ติ าม ก็จะ
ทรงชีแ้ จงเหตุผลทีห่ นักแน่นและชัดเจน เพือ่ ให้พระเจ้าลูกยาเธอทัง้ สีพ่ ระองค์ ได้ทรงปฏิบตั ิ
ตามรับสั่ง ความว่า
282 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“แต่เห็นว่าซึ่งจะเป็นยศเจ้าไปนั้น ไม่เป็นประโยชน์อันใดแก่ตัวนัก ด้วยธรรมดา


เจ้านายฝ่ายเขามีน้อย เจ้านายฝ่ายเรามีมาก ข้างฝ่ายเขามีน้อยตัว ก็ยกย่องท�ำนุ
บ�ำรุงกันใหญ่โตมากกว่าเรา ฝ่ายเราจะไปมียศเสมออยู่กับเขา แต่ความบริบูรณ์และ
ยศศักดิ์ไม่เต็มที่เหมือนอย่างเขา ก็จะเป็นที่น้อยหน้า และเห็นเป็นเจ้านายเมืองไทย
เลวไป และถ้าเป็นเจ้านายแล้ว ต้องรักษายศศักดิ์ ในกิจการทัง้ ปวง ทีจ่ ะท�ำทุกอย่าง
เป็นเครื่องล่อตาล่อหูคนทั ้งปวง ที่จะให้พอใจดูพอใจฟัง จะท�ำอันใดก็ต้องระวังตัว
ไปทุกอย่าง ทีส่ ดุ จนจะซือ้ จ่ายอันใดก็แพงกว่าคนสามัญ เพราะเขาถือว่ามัง่ มี เป็นการ
เปลืองทรัพย์ ในที่ ไม่ควรจะเปลือง เพราะเหตุวา่ ถึงจะเป็นเจ้าก็ดี เป็นไพร่กด็ ี เมือ่ อยู่ ใน
ประเทศมิ ใช่บา้ นเมืองของตัว ก็ไม่มอี ำ� นาจทีจ่ ะท�ำฤทธิเ์ ดชอันใดให้ผิดกับคนสามัญได้”
6.1.3 ใช้กลวิธเี ขียนด้วยการโน้มน้าวใจ จากพระบรมราโชวาทตอนใดทีเ่ ป็นค�ำสอน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั จะทรงใช้ วิธโี น้มน้าวให้พระเจ้าลูกยาเธอเกิดความ
คล้อยตาม โดยจะทรงยกให้เห็นถึงข้อดี ข้อเสียของการเชื่อฟังและไม่เชื่อฟังในค�ำสั่งสอน
ความว่า
“ขอบอกเสียให้รู้แต่ต้นมือว่าถ้าผู้ ใดไปเป็นหนี้มาจะไม่ยอมใช้หนี้ ให้เลย หรือถ้า
เป็นการจ�ำเป็นจะต้องใช้ จะไม่ ใช้เปล่าโดยไม่มีโทษแก่ตัวเลย พึงรู้เถิดว่าต้องใช้หนี้
เมื่อใด ก็จะต้องรับโทษเมื่อนั้นพร้อมกัน อย่าเชื่อถ้อยค�ำผู้ ใดหรืออย่าหมายใจว่าโดย
จะใช้สุรุ่ยสุร่ายไปเหมือนอย่างเช่นคนเขาไปแต่ก่อนๆ แต่พ่อเขาเป็นขุนนางเขายังใช้
กันได้ไม่วา่ ไรกัน ถ้าคิดดังนัน้ คาดดังนัน้ เป็นผิ ดแท้ทเี ดี ยว พ่อรักลูกจริง แต่ไม่รักลูก
อย่างชนิดนั้นเลย เพราะรู้เป็นแน่ว่าถ้าจะรักอย่างนั้นตามใจอย่างนั้น จะไม่เป็นการ
มีคุณอันใดแก่ตัวลูกผู้ได้รับความรักนั้นเลย”
นอกจากนี้เรายังสามารถศึกษาเรื่องของการใช้ค�ำในสมัยก่อน จากการอ่านพระบรม
ราโชวาทได้ดว้ ย ซึง่ ค�ำบางค�ำทีป่ รากฏในพระบรมราโชวาท เป็นค�ำทีน่ ยิ มใช้กนั ในสมัยนัน้ แต่
ปัจจุบันรูปค�ำได้เปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อย เช่น ค�ำว่า (ฟองจั นทร์ สุขยิ่ง, 2555 : 81)
การเก๋การกี๋ ปัจจุบันใช้ โก้เก๋
เขม็ดแขม่ ปัจจุบันใช้ กระเหม็ดกระแหม่
ใจโตมือโต ปัจจุบันใช้ หน้าใหญ่ ใจโต
ว่าง่ายสอนง่าย ปัจจุบันใช้ ว่านอนสอนง่าย
บทที่ 20 พระบรมราโชวาท 283

6.1.4 ใช้กวีโวหาร นอกจากเทศนาโวหารแล้ว ยังปรากฏอุปมาโวหาร ซึ่งอุปมา


โวหารที่ปรากฏนี้ ก็เป็นโวหารที่ช่วยเสริมให้เทศนาโวหารมีน�้ำหนักที่น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
ท�ำให้ผอู้ า่ นมองเห็นถึงความรัก และความอาทรห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพระเจ้าลูกยาเธอ ดังจะเห็นได้จากความในตอนที่ว่า
“อีกประการหนึง่ ชีวิตสังขารของมนุษย์ไม่ยั่งยืนยืดยาวเหมือนเหล็กเหมือนศิลา ถึง
โดยว่าจะมีพอ่ อยู่ ในขณะหนึง่ ก็คงจะมีเวลาที่ ไม่มไี ด้ขณะหนึง่ เป็นแน่แท้ ถ้าประพฤติ
ความชัว่ เสียแต่ ในเวลามีพอ่ อยูแ่ ล้ว โดยจะปิดบังซ่อนเร้นอยูไ่ ด้ดว้ ยอย่างหนึง่ อย่างใด
เวลาไม่มีพ่อ ความชั่วนั้นคงจะปรากฏเป็นโทษติดตัวเหมือนเงาตามหลังอยู่ไม่ขาด”

6.2 คุณค่าด้านความรู้
จากการศึกษาเรือ่ งพระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั
ท�ำให้เราได้รับความรู้หลายประการ เช่น
6.2.1 การศึกษาของพระเจ้าลูกยาเธอ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่
หัว โปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอทัง้ สีศ่ กึ ษาภาษาต่างประเทศ 3 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษา
ฝรัง่ เศส และภาษาเยอรมัน ซึง่ ในตอนนัน้ ภาษาทัง้ สามนี้ เป็นภาษาของประเทศมหาอ�ำนาจ
ทีก่ ำ� ลังมีบทบาทต่อกิจการต่างๆ ของโลก หากพระเจ้าลูกยาเธอทัง้ สีพ่ ระองค์ รูภ้ าษาทัง้ สามนี้
ก็จะเป็นหนทางในการด�ำเนินนโยบายให้ประเทศไทย รอดพ้นจากเงือ้ มมือของมหาอ�ำนาจที่
ก�ำลังล่าอาณานิคมอยู่ นอกจากนีพ้ ระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ยังทรงให้พระเจ้า
ลูกยาเธอ เรียนวิ ชาเลขอีกวิ ชาหนึง่ ด้วย
“วิชาทีจ่ ะให้ออกไปเรียนนัน้ ก็คงต้องเรียนภาษาและหนังสือในสามภาษา คือ อังกฤษ
ฝรั่งเศส เยอรมัน ให้ได้แม่นย�ำ ชัดเจน คล่องแคล่ว จนถึงแต่งหนังสือได้สองภาษา
เป็นอย่างน้อย เป็นวิ ชาหนังสืออย่างหนึง่ กับวิ ชาเลขให้เรียนรู้คิดใช้ได้ ในการต่างๆ
อีกอย่างหนึง่ นี้ เป็นต้น”
6.2.2 การปฏิบัติตนของพระเจ้าลูกยาเธอ จากการศึกษาเนื้อหาในพระบรม
ราโชวาท ท�ำให้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประสงค์ ให้พระเจ้า
ลูกยาเธอปฏิบัติพระองค์เป็นคนดี ว่าง่ายสอนง่าย ไม่เกะกะระรานใคร ให้เคารพผู้ ใหญ่
ไม่ประพฤติตนไปในทางเสื่อมเสีย ฯลฯ ดังตัวอย่าง
284 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“เพราะฉะนั้นจงเป็นคนอ่อนน้อม ว่าง่ายสอนง่าย อย่าให้เป็นทิฐิมานะไปในทางที่


ผิ ด จงประพฤติตัวหันมาทางที่ชอบที่ถูกอยู่เสมอเป็นนิจเถิด จงละเว้นเวลาที่ชั่ว ซึ่งรู้
ได้เองแก่ตวั หรือมีผตู้ กั เตือนแนะน�ำให้รแู้ ล้ว อย่าให้ลว่ งให้เป็นไปได้เลยเป็นอันขาด”
6.2.3 เรื ่องการใช้จ่าย พระบาทสมเด็จพระจุ ลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแจ้งแก่
พระเจ้าลูกยาเธอทั ้ง 4 พระองค์ ให้ทราบว่าเงินที่ ใช้ส�ำหรับส่งให้ไปศึกษาเล่าเรียนนั้น มิใช่
เงินแผ่นดิน แต่เป็นเงินส่วนพระองค์ แม้จะเป็นเงินส่วนพระองค์ ก็ตอ้ งใช้สอยอย่างประหยัด
เพราะเงินนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้หามาด้วยพระองค์เอง แต่เป็น
เงินที่ราษฎรพร้อมใจกันยกให้ ดังนั้น จึงทรงสอนให้พระเจ้าลูกยาเธอทรงส�ำนึกว่าเป็นหนี้
บุญคุณของราษฎร เพราะราษฎรเป็นเจ้าของเงิน จึงต้องใช้ ให้เป็นประโยชน์
“ส่วนเงินที่พ่อได้หรือลูกได้เพราะพ่อนั้น ก็เพราะอาศัยที่พ่อเป็นผู้ท�ำนุบ�ำรุงรักษา
บ้านเมือง และราษฎรผู้เจ้าของทรัพย์นั้นก็เฉลี่ยเรี่ยไรกันมา เพื่อจะให้เป็นก�ำลังที่
จะหาความสุข คุ้มค่ากับที่เหน็ดเหนือ่ ยที่ต้องรับการในต�ำแหน่งอันสูง คือ เป็นผู้
รักษาความสุขของเขาทัง้ ปวง เงินนัน้ ไม่ควรจะน�ำมาจ�ำหน่ายในการทีไ่ ม่เป็นประโยชน์
ไม่เป็นเรือ่ ง และเป็นการไม่มคี ณ
ุ กลับให้โทษแก่ตวั ต้องใช้แต่ ในการจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องใช้
ซึ่งจะเป็นการมีคุณประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นในทางชอบธรรม”

6.3 คุณค่าด้านสังคม
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ได้สะท้อนให้เห็นถึง
สภาพสังคมในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งสภาพสังคมที่ปรากฏนั้น มีดังนี้
บทที่ 20 พระบรมราโชวาท 285

6.3.1 การส่งบุตรหลานให้ไปศึกษาหาความรูย้ งั ต่างประเทศในสมัยพระบาท


สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เป็นสมัยที่ ไทยเปิดประเทศในการติดต่อกับประเทศ
ทางตะวันตก ดังนั้นจึงเกิดเป็นค่านิยมที่ผู้มีทรัพย์สินเงินทอง จะต้องส่งบุตรหลานให้ไป
ศึกษาหาความรู้ เพราะประเทศในแถบยุโรปมีความเจริญในทุกด้าน
“เพราะวิ ชาความรู้ ในหนังสือไทยที่มีผู้แต่งไว้นั้นเป็นแต่ของเก่าๆ มีน้อยเพราะมิได้
สมาคมกับชาติอื่นช้านาน เหมือนวิ ชาการในประเทศยุโรปที่ ได้สอบสวนซึ่งกันและ
กัน จนเจริญรุ่งเรืองมากแล้วนั้น ฝ่ายหนังสือไทยจึงไม่พอที่จะเล่าเรียน จึงต้องไป
เรียนภาษาอื่นเพื่อจะได้เรียนวิ ชาให้กว้างขวางออก”
6.3.2 ระเบียบการใช้เงินแผ่นดิน ความจากพระบรมราโชวาท ท�ำให้ทราบว่ามี
การแยกเงินจ�ำนวนหนึง่ ออกเป็นเงินส�ำหรับพระมหากษัตริย์ ซึ่งเรียกว่าเงินพระคลังข้าง
ที่ เงินพระคลังข้างที่น้พี ระมหากษัตริย์จะน�ำเอาไปใช้สอยอย่างไรก็ได้ตามพระราชอัธยาศัย
แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ท�ำเช่นนั้น ทรงน�ำไปใช้สอยแต่เรื่องที่เป็น
ประโยชน์ต่อบ้านเมือง
“เงินพระคลังข้างที่นั้นเองก็เป็นส่วนหนึง่ ในแผ่นดินเหมือนกัน เว้นแต่เป็นส่วนที่
ยกให้แก่พ่อใช้สอยในการส่วนตัว มีท�ำการกุศลและสงเคราะห์บุตรภรรยา เป็นต้น”
6.3.3 ความสัมพันธ์กบั ประเทศในแถบยุโรป จะเห็นได้วา่ ในสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยได้ส่งราชทูตออกไปประจ�ำที่ประเทศต่างๆ ในแถบ
ยุโรป เพื่อเชื่อมสัมพั นธไมตรี
ในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาของพระเจ้าลูกยาเธอทั ้ง 4 พระองค์ เมื่อพ�ำนักอยู่ใน
ต่างประเทศนั้น เป็นภาระหน้าที่ของราชทูตที่จะต้องดูแล และเป็นธุระจั ดการเรื่องต่างๆ
ให้ ดังความว่า
“ในประเทศยุโรปนั้น ถ้าไปอยู่ ในประเทศใดที่มีราชทูตของเราอยู่ ราชทูตคงจะเอา
เป็นธุระดูแลทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อมีการขัดข้องล�ำบากประการใด จงชี้แจงแจ้งความ
ให้ท่านราชทูตทราบ คงจะจั ดการได้ตลอดไป”
286 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ความรู้เสริ ม
สังเขปพระประวัติพระเจ้าลูกยาเธอทั้ง 4 พระองค์
ที่ปรากฏพระนามในพระบรมราโชวาท

1. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิตยิ ากรวรลักษณ์ ทรงเป็นพระราชบุตรองค์
ที่ 12 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั แต่กต็ อ้ งนับพระองค์
ให้เป็นพระราชโอรสองค์ ใหญ่ เพราะพระราชบุตรของพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่พระองค์ที่ 1-11 นั้น เป็นพระราชธิดา
ไปแล้วถึง 9 พระองค์
ที่มา : วิ กิพีเดี ย
ส่วนพระราชบุตรอีกสององค์นั้น คือ พระราชบุตรพระองค์ที่ 3 ซึ่งเป็นพระองค์เจ้า
ชายองค์แรก ได้สิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุเพี ยง 3 พรรษา ส่วนพระราชบุตรองค์ที่ 5
ซึ่งมีพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้าชายพระองค์แรกก็สิ้นพระชนม์ ในวันประสูติ ดังนั้นจึงมีเพี ยง
พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์เพี ยงพระองค์เดี ยวเท่านั้น ที่เป็นพระองค์เจ้าชาย และเป็น
พระองค์เจ้าชายพระองค์แรกที่ประสูติ ในพระมหาเศวตฉัตรด้วย
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ ประสูติเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.
2417 ตรงกับวันจั นทร์ เดือนเจ็ด ปีจอ ดังนั้นชาววังจึงล้อเลียนพระองค์ว่า “ปีจอ วันจั นทร์
เดือนเจ็ด ลูกเจ้า หลานเจ๊ก”
ทรงมีเจ้าคุณตาเป็นเจ้าสัว
พระมารดาของพระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ คือ เจ้าจอมมารดาอ่วม ท่านเป็นธิดา
ของพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ หรือเจ้าสัวยิ้ม แซ่เล่า
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เจ้าสัวยิ้มคงจะเคยท�ำ
ธุรกิจผูกขาดภาษีอย่างใดอย่างหนึง่ จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เป็นหลวงภาษี วิเศษ
ต่อมาได้เลือ่ นต�ำแหน่งเป็นพระภาษี วิเศษ แล้วได้ขดุ คลองภาษีเจริญขึน้ ต่อมาก็ได้เลือ่ นเป็น
พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์
จวนของพระยาพิสณฑ์ฯ ตั้งอยู่ริมแม่น�้ำเจ้าพระยา เวลานั้นพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มักจะเสด็จพระราชด�ำเนินโดยชลมารคอยู่บ่อยครั้ง และขบวน
เสด็จมักผ่านหน้าจวนของพระยาพิสณฑ์ฯ อยู่บ่อยๆ เช่นกัน
บทที่ 20 พระบรมราโชวาท 287

คราวหนึง่ เรือพระที่นัง่ ได้แล่นผ่านจวนของพระยาพิสณฑ์ฯ คุณอ่วมธิดาของพระยา


พิสณฑ์ฯ ก็มาเฝ้าชมพระบารมีอยู่ที่หน้าต่างพร้อมด้วยน้องชาย แล้วก็คงจะเป็นเรื่องของ
บุพเพสันนิวาส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรไปยังหน้าต่างที่
คุณอ่วมนัง่ อยู่พอดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพอพระทั ยคุณอ่วมมาก
ต่อมาได้มีพระราชกระแสให้คุณท้าวผู้ ใหญ่ท่านหนึง่ ไปสู่ขอคุณอ่วมมาเป็นเจ้าจอม
ทว่าพระยาพิสณฑ์ฯ ได้หมั้นหมายคุณอ่วมไว้กับชายอื่นแล้ว จึงมิอาจถวายแด่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ได้ แต่ตอ่ มาได้มกี ารเจรจาตกลงกับครอบครัวของ
ฝ่ายชายจนเป็นที่เรียบร้อยเข้าใจกัน พระยาพิสณฑ์ฯ จึงถวายคุณอ่วม แด่พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งคุณอ่วมก็สมัครใจยินยอมอยู่แล้วตั้งแต่แรก
ทรงเป็นพระราชโอรสรุ่นแรกที่เสด็จไปศึกษายังต่างประเทศ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ ให้พระราชโอรส
ทุกพระองค์ได้รับการศึกษาอย่างดี ที่สุด เพื่อที่จะได้น�ำความรู้มาท�ำคุณประโยชน์ แก่บ้าน
เมือง ดังนั้นจึงทรงส่งพระราชโอรสให้ไปศึกษายังต่างแดน ซึ่งพระราชโอรสรุ่นใหญ่ และ
เป็นรุ่นแรกที่เสด็จออกไปศึกษายังต่างประเทศก็คือพระราชโอรส 4 พระองค์ ที่กล่าวถึง
ในพระบรมราโชวาทนัน่ เอง
เมื่อพระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ เสด็จถึงต่างประเทศแล้ว ทรงใช้เงินเก่งในส่วน
ของพระองค์ เนือ่ งจากเจ้าคุณตาได้ส่งไปให้ พระองค์จึงใช้เงินอย่างเต็มที่ ซึ่งขัดกับพระราช
ประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทีต่ อ้ งการให้พระราชโอรสใช้จา่ ยเงิน
อย่างประหยัด จึงทรงก�ำชับพระอภิบาลให้คอยดูแลเรือ่ งการใช้จา่ ย โดยให้ ใช้จา่ ยเงินตามงบ
ประมาณที่ก�ำหนดในแต่ละเดือน
แต่พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ ทรงใช้เงินเกินงบประมาณที่พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงก�ำหนดไว้ ซึง่ เป็นการผิ ดพระราชประสงค์ และขัดต่อพระราช
กระแสรับสั่ง ดังนั้นหม่อมเจ้าเพิม่ ลดาวัลย์ พระอภิบาล จึงลงโทษโดยการงดจ่ายเงินเดือน
ให้ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ไม่พอพระทั ยมาก จึงกราบทูลฟ้องพระบรมชนกนาถ แต่
พระบรมชนกนาถกลับมีพระราชกระแสตอบกลับมาว่าพระอภิบาลท�ำถูกต้องแล้ว
ครัน้ พระองค์เจ้าชายกิตยิ ากรวรลักษณ์ ทรงส�ำเร็จการศึกษา จึงเสด็จกลับประเทศไทย
พร้อมกับพระเจ้าลูกยาเธออีก 3 พระองค์ พระบรมชนกนาถโปรดให้รับราชการ และโปรด
ให้ “ทรงกรม” ปรากฏพระนามดังนี้
288 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ เป็นกรมหมื่นจั นทบุรีนฤนาถ


พระองค์เจ้ารพี พัฒนศักดิ์ เป็นกรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์
พระองค์เจ้าประวิ ตรวัฒโนดม เป็นกรมหมื่นปราจิ ณกิตติบดี
พระองค์เจ้าจิ รประวัติวรเดช เป็นกรมหมื่นนครชัยศรีสุรเดช
ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และทรงถนอมเงิน
ในพระคลังเป็นอย่างยิ่ง
แม้ว่าพระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ จะทรงใช้เงินเก่งมากในวัยหนุ่ม แต่ครั้นมารับ
ราชการเป็นเสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กลับทรงถนอมเงินหลวง และควบคุม
การใช้จ่ายงบประมาณอย่างเข้มงวดมาก
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) พระองค์ทรงเบิ กงบ
ประมาณมาใช้จ่ายในการบริหารกิจการบ้านเมือง ซึ่งในการน�ำงบประมาณออกมาใช้แต่ละ
ครัง้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ก็คงจะทรงเกรงพระทัยพระองค์เจ้ากิตยิ ากร
วรลักษณ์ พระเชษฐาอย่างมาก ถึงกับทรงตรัสว่า “เสด็จในกรมจั นท์ มิโปรดพระองค์ เนือ่ ง
เพราะพระองค์ทรงใช้เงินพระคลังเปลืองนัก”
ทรงเป็นพระอัยกาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินนี าถ
ในรัชกาลที่ 9
พระองค์เจ้ากิตยิ ากรวรลักษณ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล กิตยิ ากร ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้า
หญิงอัปสรสมาน เทวกุล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
มีพระโอรส คือ หม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ภายหลังได้รับกรมเป็นกรมหมื่นจั นทบุรีสุรนาถ)
ครั้นหม่อมเจ้านักขัตรมงคลเจริญวัย จึงได้เสกสมรสกับหม่อมหลวงบัว สนิทวงศ์
มีพระธิดาที่ต้องกล่าวถึงองค์หนึง่ คือ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งต่อมาก็คือสมเด็จ
พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินนี าถ ในรัชกาลที่ 9 นัน่ เอง
สิ้นพระชนม์
พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ ทรงรับราชการสร้างคุณประโยชน์ ให้แก่ประเทศชาติ
เป็นอย่างดีมาตลอดพระชนมายุ ทรงมีพระชนมายุยนื ยาวมาจนถึงรัชกาลของพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) และได้สิ้นพระชนม์ ใน พ.ศ. 2474 ขณะมีพระชนมายุ
57 พรรษา (สรุปความจากฉัตรเฉลิม, 2546 : 69-77)
บทที่ 20 พระบรมราโชวาท 289

2. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพี พัฒนศักดิ์ ประสูติเมื่อวันที่ 21
ตุลาคม พ.ศ. 2419 พระมารดา คือ เจ้าจอมมารดาตลับ
พระองค์เจ้ารพี พัฒนศักดิ์ ทรงเป็นพระราชบุตรองค์ที่ 14
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว และเป็นพระราชโอรส
รุ่นแรกที่เสด็จไปศึกษาวิ ชาการในประเทศยุโรป
ที่มา : วิ กิพีเดี ย
ทรงศึกษาวิชากฎหมายจนแตกฉาน
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเป็นที่ โปรดปรานของพระบรมชนกนาถเป็นอย่างมาก
เพราะทรงเรียนหนังสือเก่ง สอบเข้ามหาวิ ทยาลัยออกซ์ฟอร์ดซึง่ มี ชอื่ เสียงโด่งดัง และได้รับ
ปริญญา B.A.
ด้วยความทีท่ รงแตกฉานในวิชากฎหมาย เมือ่ เสด็จกลับมาจึงได้รับราชการเป็นเสนาบดี
กระทรวงยุติธรรม ทรงปรับปรุงแก้ไขกฎหมายของบ้านเมืองด้วยพระปรีชาสามารถ จนได้
รับพระสมัญญาว่า “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย”
ชีวิตสมรส
เมื่อพระองค์เจ้ารพี พัฒนศักดิ์ ทรงส�ำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ กลับมา
ประเทศไทยแล้วนั้น พระบาทสมเด็จพระจุ ลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็โปรดให้ทรงกรมเป็น
กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ โดยให้มีพระนามกรมคล้องรับกับพระนามกรมของพระองค์เจ้า
กิติยากรวรลักษณ์ ที่ทรงกรมเป็นกรมหมื่นจั นทบุรีนฤนาถ
พระราชโอรสรุ่นแรกที่เสด็จกลับมานั้น โดยมากจะทรงเสกสมรสกับ “เจ้าหญิง” ซึ่ง
มีศกั ดิเ์ ป็นพระญาติกนั โดยทรงชอบพอกันเอง หรือไม่กม็ ผี หู้ ลักผูใ้ หญ่ชว่ ยจัดการให้ ซึง่ กรณี
ของพระองค์เจ้ารพี พัฒนศักดิ์น้อี ยู่ในกรณีหลัง คือ มีผู้หลักผู้ใหญ่จัดการให้
พระองค์เจ้ารพี พัฒนศักดิ์ ทรงเสกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพั ทธ
ประไพ พระธิดาองค์ ใหญ่ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระ
จั กรพรรดิพงศ์ เพราะต้องธรรมเนียมที่ว่า “เป็นเจ้า” ด้วยกัน และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์
เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจั กรพรรดิพงศ์ ก็ทรงเป็นพระอนุชาแท้ๆ ของพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เท่ากับว่าพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอรพั ทธประไพ
ทรงเป็นพระนัดดาโดยตรงของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย
290 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ดังนัน้ การเสกสมรสในครัง้ นี้ จึงเป็นทีป่ ตี โิ สมนัสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า


เจ้าอยูห่ วั พระบรมชนกนาถเป็นยิง่ นัก ทรงโปรดให้มกี ารรดน�ำ้ ทีพ่ ระหัตถ์คบู่ า่ วสาวด้วยพระ
เต้าหยก ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมรดน�้ำคู่แรกในราชประเพณีสมรส พิธี วิ วาหมงคลจั ดขึ้น ณ
พระทีน่ งั่ จักรีมหาปราสาท มีพระบรมวงศานุวงศ์พร้อมด้วยพระประยูรญาติมาร่วมพิธกี นั อย่าง
พร้อมเพรียง ความงดงาม ความทรงโฉมของคู่บ่าวสาวเป็นที่เล่าลือว่างามและสมกันยิ่งนัก
แต่เป็นทีน่ า่ เสียดายว่าทัง้ สองพระองค์ทรงครองคูก่ นั อย่างไม่ราบรืน่ ทัง้ นีเ้ พราะทรง
มีทฐิ ิ และถือพระองค์ดว้ ยกันทัง้ คู่ ความแตกแยกนีส้ ร้างความผิดหวังให้กบั พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับรับสั่งว่าทรงเข็ดแล้ว จะไม่
ยุ่งเรื่องลูกเมียของลูกอีก
สิ้นพระชนม์
พระองค์เจ้ารพี พัฒนศักดิ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล รพี พัฒน์ สิน้ พระชนม์ ในขณะทีท่ รงมี
พระชนมายุได้ 47 พรรษา ตรงกับรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั (สรุป
ความจากฉัตรเฉลิม, 2546 : 79-81)

3. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิ ตรวัฒโนดม ทรงเป็น
พระราชบุตรองค์ที่ 15 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั
พระมารดา คือ เจ้าจอมมารดาแช่ม ธิดาของพระยามหาอ�ำมาตย์
(ชื่น กัลยาณมิตร) ประสูติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2418
พระองค์เจ้าประวิ ตรวัฒโนดม ทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ
พระองค์หนึง่ ในสีพ่ ระองค์ทเี่ สด็จไปศึกษายังต่างประเทศเป็นรุน่ แรก
ที่มา : วิ กิพีเดี ย
ครัน้ ส�ำเร็จการศึกษาเสด็จกลับมายังประเทศไทยแล้ว พระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาให้ทรงกรมเป็น กรมหมื่นปราจิ ณกิติบดี
ในคราวเดี ยวกันกับการสถาปนากรมหมื่นจั นทบุรีนฤนาถ และกรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์
เมือ่ ครัง้ ทีเ่ สด็จไปทรงศึกษาวิชาการยังประเทศยุโรปนัน้ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม
เสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส ทรงศึกษาด้านภาษา คือ ภาษาอังกฤษ
ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน มิได้ทรงศึกษาวิ ชาการทหารหรือพลเรือนแบบเจ้าพี ่องค์
บทที่ 20 พระบรมราโชวาท 291

อื่นๆ ทั ้งนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชด�ำริที่จะให้กลับ


มาช่วยราชการในกรมราชเลขานุการ
ทรงสนิทชิดชอบกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั (รัชกาลที่ 6)
พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม ทรงเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดากับพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความคุ้นเคยกันดี ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 6 ยังทรงเป็นสมเด็จ
เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ และเสด็จไปทรงศึกษาวิ ชาการในประเทศยุโรปเป็นรุ่นถัดมา
พระองค์เจ้าประวิ ตรวัฒโนดมกับสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สนิทสนมกันมากยิ่งขึ้น
เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปใน พ.ศ. 2450
ด้วยพระองค์เจ้าประวิ ตรวัฒโนดมได้ท�ำหน้าที่เป็นราชเลขานุการในสมเด็จพระนางเจ้า
เสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินนี าถ (สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินนี าถ พระบรมราช
ชนนีพันปีหลวง) ผู้ส�ำเร็จราชการแทนพระองค์ได้อย่างดี ยิ่ง ท�ำให้สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
ทรงโปรดปราน และชอบพระอัธยาศัยกันยิ่งขึ้นอีก
เมือ่ สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธเสด็จขึน้ ครองราชย์ จึงทรงโปรดให้พระองค์เจ้าประวิตร
วัฒโนดม รับราชการในต�ำแหน่งสมุหมนตรี เสนาบดี และราชเลขาธิการ
เกี่ยวกับความคุ้นเคยกันดี น้ี มีปรากฏในเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า
อยู่หัว ทรงตั้งจิ ตรลดาสโมสร ทรงคัดเลือกสมาชิกของสโมสรนี้อย่างเข้มงวด เพราะเป็น
ช่วงหลังเหตุการณ์ปฏิวัติ รศ. 130
สมาคมนี้คล้ายกับสมาคมลับของอังกฤษ แม้พระราชอนุชาบางพระองค์ก็ยังมิได้เข้า
เป็นสมาชิก แต่พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดมกลับได้เป็นสมาชิกในสายเจ้านายเพียงพระองค์
เดี ยวเท่านั้น
แต่แรกพระองค์เจ้าประวิ ตรวัฒโนดม ทรงกรมเป็นกรมหมื่นปราจิ ณกิติบดี ต่อมา
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั จึงทรงพระกรุณาโปรดให้เลือ่ นกรมขึน้ เป็น “กรมหลวง”
ดังมีประกาศแสดงพระราชด�ำริและพระคุณสมบัติของพระองค์เจ้าประวิ ตรวัฒโนดม ดังนี้
“อนึง่ ทรงพระราชด�ำริว่า พระเจ้าพี ่ยาเธอ กรมหมื่นปราจิ ณกิติบดี มีพระคุณสมบัติ
อันเป็นทีค่ วรสรรเสริญ และอันเป็นทีพ่ งึ่ พระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระชนกาธิ
ราชหลายประการ ดังปรากฏอยู่ ในประกาศเมื่อครั้งรับพระสุพรรณบัฏเป็นพระองค์
เจ้าต่างกรมนั้นแล้ว ตั้งแต่นั้นมาก็ได้ทรงรับราชการอยู่ ในแผนกราชเลขานุการ อัน
เป็นหน้าที่ยากล�ำบากยิ่งนัก เพราะมีบางเวลาซึ่งราชการมีมาเป็นการด่วนฉุกเฉินก็
292 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ต้องทรงอุตสาหะ รีบทรงกระท�ำการนัน้ ให้สำ� เร็จโดยรวดเร็วทันพระราชประสงค์ ทัง้


ต้องทรงระวังมิ ให้พลาดพลัง้ ผิดข้อความไปแม้แต่นดิ เดียว บางเวลาก�ำลังมีพระอาการ
ประชวร ควรจะพั กผ่อนพระกาย แต่เผอิญมีราชการค้างอยู่ ก็สู้ทรงสละความสุขใน
ส่วนพระองค์เพื่อกระท�ำราชการให้ส�ำเร็จลุล่วงไปโดยเรียบร้อยก่อน ทรงถือราชการ
เป็นใหญ่กว่าการในส่วนพระองค์ ทั ้งทรงมีความช�ำนาญทราบกิจการและพระบรม
ราโชบายพระราชประเพณีนยิ มทวีขึ้นเป็นล�ำดับ จึงเป็นที่ ไว้วางพระราชหฤทั ยแห่ง
สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงยิง่ นัก ในส่วนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั เมือ่
ครั้งยังทรงศึกษาศิลปวิ ทยาอยู่ร่วมสมัยกัน ณ ประเทศยุโรป ได้ทรงวิ สาสะคุ้นเคย
กับกรมหมื่นปราจิ ณกิติบดี เป็นอันมาก จึงเป็นที่มั่นพระหฤทั ยในความจงรักภักดี
ตัง้ แต่นนั้ ตลอดมาจนทุกวันนี้ มิได้มเี วลาเสือ่ มถอยลงเลย ทัง้ เมือ่ เสด็จพระราชด�ำเนิน
กลับมาสู่พระมหานครแล้ว ก็ได้ทรงปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณสมเด็จ
พระพุ ทธเจ้าหลวง อยู่ร่วมหน้าที่กันในแผนกราชเลขานุการ และทรงเข้าพระทั ยใน
พระบรมราโชบาย และพระราชประเพณี สมควรที่จะเลื่อนขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่าง
กรมผู้ ใหญ่ อันเป็นที่ ไว้วางพระราชหฤทั ยได้”
ชีวิตสมรส
พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม ทรงเป็นต้นราชสกุล ประวิตร และทรงเป็นพระราชวงศ์
เพี ยงพระองค์เดี ยว ที่มีชายาเป็นสามัญชน มีพระโอรสและพระธิดา ดังนี้
1. หม่อมเจ้าชายกัลยาณวงศ์ประวิ ตร
2. หม่อมเจ้าชายจิ ตรปรีดี
3. หม่อมเจ้าชายสีหวิ ลาศ
4. หม่อมเจ้าหญิงสวาสดิ์วัฒโนดม
5. หม่อมเจ้าชายวิ กรมสุรสีห์
6. หม่อมเจ้าชายกวีวิศิษฐ์
7. หม่อมเจ้าหญิงกนิษฐากุมารี
สิ้นพระชนม์
พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม สิน้ พระชนม์ ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยูห่ วั เมือ่ พ.ศ. 2462 ขณะทีท่ รงมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา (สรุปความจากฉัตรเฉลิม,
2546 : 82-86)
บทที่ 20 พระบรมราโชวาท 293

4. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัตวิ รเดช ทรงเป็นพระราชบุตร
องค์ที่ 17 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติ
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิ กายน พ.ศ. 2419 พระมารดา คือ เจ้าจอม
มารดาทั บทิม ธิดาของพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)
พระองค์เจ้าจิ รประวัติวรเดช ทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ
รุ่นแรกที่เสด็จไปทรงศึกษาวิ ชาการ ณ ประเทศยุโรป โดยทรง
ศึกษาที่ประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรก จากนั้นเสด็จไปทรง
ที่มา : วิ กิพีเดี ย ศึกษาวิ ชาการทหารบกที่ประเทศเดนมาร์ก ครั้นทรงส�ำเร็จการ
ศึกษากลับมาประเทศไทยแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ ก็โปรดให้ทรงกรมเป็น กรมหมื่น
นครไชยศรีสุรเดช
ด้วยความทีเ่ ป็นพระราชโอรสทีพ่ ระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั โปรดปราน
เป็นพิเศษ จึงทรงได้รับราชการใกล้ ชิดพระบรมชนกนาถ โดยเป็นนายพลเอกราชองครักษ์
ผูบ้ ญ
ั ชาการกรมยุทธนาธิการ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ได้ทรง
รับราชการเป็นเสนาบดี กระทรวงกลาโหม ได้รับพระราชทานยศเป็น “จอมพลทหารบก”
ชีวิตสมรส
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ ทรงสู่ขอหม่อมเจ้าหญิง
ประวาศสวัสดี พระธิดาในพระเจ้าบรมเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภ
พฤฒิธาดา ให้เป็นชายา
พระองค์เจ้าจิ รประวัติวรเดชกับหม่อมเจ้าหญิงประวาศสวัสดี ทรงครองรักกันอย่าง
ราบรืน่ ทรงปรองดองถ้อยทีถอ้ ยอาศัยกัน สมดังพระราชหฤทัยของพระบรมชนกนาถยิง่ นัก
ทรงมีพระโอรสและพระธิดาด้วยกัน 3 พระองค์ คือ
1. หม่อมเจ้าหญิงวิ มลปัทมราช
2. หม่อมเจ้าหญิงนิวาศสวัสดี
3. หม่อมเจ้าชายประสบศรีจิรประวัติ
294 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

แต่แล้วความตายก็มาพรากหม่อมเจ้าหญิงประวาศสวัสดี ให้จากพระองค์เจ้าจิรประวัติ
วรเดชไป เพราะเมื่อหม่อมเจ้าหญิงฯ ประสูติพระธิดาองค์สุดท้ายก็สิ้นชีพิตักษัย เป็นเหตุให้
พระองค์เจ้าจิ รประวัติวรเดชทรงอาลัยรัก อาวรณ์หา อย่างเศร้าสร้อยอาดูร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ ทรงเห็นพระทั ยและ
สงสารพระราชโอรส จึงทรงสู่ขอหม่อมเจ้าหญิงสุมนมาลย์ ซึ่งเป็นน้องสาวของหม่อมเจ้า
หญิงนิวาศสวัสดี ให้เป็นชายา
พระองค์เจ้าจิ รประวัติวรเดชทรงมีพระโอรสธิดากับหม่อมเจ้าหญิงสุมนมาลย์อีก 3
พระองค์ คือ
1. หม่อมเจ้าหญิง (สิ้นพระชนม์ตั้งแต่วันประสูติ)
2. หม่อมเจ้าชายนิทัศนาธร
3. หม่อมเจ้าชายเขจรจิ รพั นธ์
ส�ำหรับหม่อมเจ้าหญิงวิ มลปัทมราช พระราชธิดาองค์ โตนั้น ว่ากันว่าพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือเสด็จปู่ ทรงโปรดปรานเป็นพิเศษเนือ่ งจากมีพระรูปโฉม
คล้ายเจ้าจอมมารดาทั บทิม หรือคุณย่า
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสเรียกหม่อมเจ้าหญิงวิ มลปัทมราชว่า
หญิงทั บทิม และโปรดสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าวิ มลปัทมราช เป็นกรณีพิเศษอีกด้วย
สิ้นพระชนม์
น่าเสียดายที่พระองค์เจ้าจิ รประวัติวรเดชทรงมีพระชนมายุสั้นนัก ทรงสิ้นพระชนม์
ในขณะที่มีพระชนมายุเพี ยง 38 พรรษา ใน พ.ศ. 2456 ตรงกับรัชกาลของพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นต้นราชสกุล จิ รประวัติ
บทที่ 20 พระบรมราโชวาท 295

ความรู้เสริ ม
ความหมายของค�ำ “ฮิสรอแยลไฮเนสปริ นซ์”

ฮิสรอแยลไฮเนสปริ นซ์ (His Royal Highness Prince) เป็นค�ำน�ำหน้าพระนาม


เจ้านายในพระราชวงศ์อังกฤษ คือ พระราชโอรสและพระราชนัดดา ถ้าเป็นพระราชธิดาจะ
ใช้ Her Royal Highness Princess
ตามพระราชนิยมในราชส�ำนักไทย เมือ่ จะเขียนพระนามเจ้านายในพระราชวงศ์จักรีเป็น
ภาษาอังกฤษ ใช้ค�ำน�ำหน้าว่า His Royal Highness Prince หรือ Her Royal Highness
Princess
ค�ำว่า His Royal Highness Prince และค�ำว่า Her Royal Highness Princess
จะใช้เฉพาะพระราชโอรส พระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และใช้น�ำหน้าพระนามเจ้านาย
ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ส่วนพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจะใช้ค�ำน�ำพระนามว่า
His Highness Prince หรือ Her Highness Princess
บรรณานุกรม 20

ฉัตรเฉลิม. (2546). ลูกๆ ของพ่อ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท


ไพลินบุ๊คเน็ต จ�ำกัด.
ทวีศักดิ์ ญาณประทีป. (2532). วรรณกรรมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัย
รามค�ำแหง.
ผกาศรี เย็นบุตร และคณะ. (2555). หนังสือเรี ยนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย
3 เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ส�ำนักพิมพ์เอมพั นธ์ จ�ำกัด.
ฟองจั นทร์ สุขยิ่ง และคณะ. (2555). หนังสือเรี ยนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย
วรรณคดีและวรรณกรรม ม. 3. กรุงเทพมหานคร : บริษทั อักษรเจริญทัศน์
อจท. จ�ำกัด.
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). หนังสือเรี ยน รายวิชา
พื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
อิ ศ ร ญ า ณ ภ า ษิ ต 21
1. ประวัติความเป็นมา
อิศรญาณภาษิตเป็นวรรณกรรมค�ำสอน ทีแ่ ต่งขึน้ ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ในลักษณะของเพลงยาว มีการน�ำเสนอเนื้อหา
ที่ ให้ข้อคิดเตือนใจ จึงเรียกว่า ภาษิต ซึ่งก็คือถ้อยค�ำที่เป็นคติ เป็นทั ้งข้อติติง ค�ำ
จูงใจ หรือข้อห้าม เช่น ปลาหมอตายเพราะปาก ตามใจปากล�ำบากท้อง พลั้งตีนตก
ต้นไม้ เป็นต้น
มีเรื่องเล่ากันว่า หม่อมเจ้าอิศรญาณผู้แต่งอิศรญาณภาษิต มีพระจริตที่ ไม่สู้
จะปกตินกั เคยท�ำอะไรทีว่ ิปริตอย่างหนึง่ จึงถูกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่
หัวตรัสบริภาษว่า “บ้า” ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์และเหล่าขุนนางต่างก็เห็นชอบด้วย
กับค�ำบริภาษ ท�ำให้หม่อมเจ้าอิศรญาณเกิดความน้อยพระทัย จึงทรงนิพนธ์เพลงยาว
ขึ้นบทหนึง่ ภายหลังเรียกกันว่า “ภาษิตอิศรญาณ”

2. ประวัติผู้แต่ง
หม่อมเจ้าอิศรญาณ เป็นพระโอรสของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง
มหิศวรินทราเมศร พระนามเดิม คือ พระองค์เจ้าชายโต ทรงเป็นพระราชโอรสของ
พระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) แต่ในหนังสือ ประติทินบัตร
แลจดหมายเหตุ” กล่าวว่า หม่อมเจ้าอิศรญาณเป็นพระโอรสของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
298 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

กรมหมื่นอินทรพิพิธ พระอนุชาของรัชกาลที่ 2 กับหม่อมกรุศ ส่วนข้อมูลอื่นๆ นอกจากนี้


สอดคล้องกัน ในหนังสือดังกล่าวมีรายละเอียดที่ช่วยเพิ่มเติมให้พระประวัติของหม่อมเจ้า
อิศรญาณชัดเจนมากขึ้น ความว่า
“ก็เรื่องอิศรญาณนี้ เป็นของหม่อมเจ้าอิศรญาณ ในกรมหมื่นอินทรพิพิธ มารดา
ชื่อหม่อมกรุศ หม่อมเจ้าอิศรญาณนั้น ทรงผนวชอยู่วัดบวรนิเวศน์ เป็นสัททิง
วิหาริกอันเตวาสิก ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เพชรญาณประภาไพโรจ
หม่อมเจ้าอิศรญาณได้ศกึ ษาพระปริยตั ธิ รรม ในคณะธรรมยุตกิ าแตกฉานดี ภายหลัง
ประชวรโรคเจือด้วยองศาครบบริบูรณ์ แพทย์หมอได้ประกอบโอสถรักษาพยาบาล
อาการมีจริตหาสู้ปรกติไม่ ได้หนีลาผนวช แล้วเป็นอุบาสกอยู่ที่วัดพิไชยญาติ บอก
พระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร เวลาวันหนึง่ เสวยแล้ว เข้าไปบรรทมกลางวัน
ก็เลยสิ้นชีพิตักษัยไปในวัดพิไชยญาตินั้น ก็หนังสือสุภาษิตที่เป็นข้อปัญหาอยู่น้ี เป็น
ของเธอทรงไว้ ในสมุดด�ำ แต่ครั้งยังอยู่วัดบวรนิเวศน์ ในขณะแพทย์หมอประกอบ
ยารักษาอาการคลายแล้ว ได้ต้องถูกความทรมานล�ำบากประการใด ก็กล่าวประชด
ไว้ ในสุภาษิตนั้น มีเนื้อความที่ชูดี เพ่งเอาบุคคลหลายข้อ หนังสือสุภาษิตนั้นก็แต่ง
ค้างไว้หาได้ตลอดเรื่องไม่”
หม่อมเจ้าอิศรญาณ ทรงผนวชอยูท่ วี่ ดั บวรนิเวศวิหาร มีพระสมณฉายาว่า “อิสสฺ รญาโณ”
ไม่ทราบว่าสิ้นชีพิตักษัยเมื่อ พ.ศ. ใด (สุปาณี พั ดทอง, 2553 : 289)

3. ลักษณะค�ำประพันธ์
อิศรญาณภาษิตแต่งด้วยกลอนเพลงยาว เพลงยาวก็คือค�ำประพั นธ์ที่ผู้แต่งซึ่งส่วน
ใหญ่เป็นผู้ชายใช้เขี ยน เพื่อเป็นสื่อแสดงความในใจถึงหญิงคนรัก โดยมีเนื้อหาที่กล่าวถึง
การเกี้ยวพาราสีหรือตัดพ้อต่อว่า
นอกจากเพลงยาวจะใช้เป็นสื่อในการแสดงความในใจแล้ว เพลงยาวยังใช้เป็น
เครื่องมือในการบันทึกเหตุการณ์ หรือมีไว้เพื่อใช้ ในการอบรมสั่งสอนและล้อเลียนเสียดสี
บุคคลหรือสังคมอีกด้วย
เพลงยาวเป็นกลอนที่บังคับบทขึ้นต้นเพี ยง 3 วรรค จั ดเป็นกลอนขึ้นต้นประเภท
ไม่เต็มบท โดยขึ้นต้นด้วยวรรครับในบทแรก ส่วนบทต่อๆ ไปมี 4 วรรค สัมผัสเป็นแบบ
กลอนสุภาพ ไม่จ�ำกัดความยาวในการแต่ง นิยมจบด้วยบาทคู่ และต้องจบลงด้วยค�ำว่า
“เอย” จ�ำนวนค�ำในวรรคอยู่ระหว่าง 7-9 ค�ำ
บทที่ 21 อิศรญาณภาษิต 299

ด้วยเหตุที่เพลงยาวใช้เป็นจดหมายรักและจบลงด้วยค�ำว่า “เอย” ดังนั้น จึงเป็น


ที่มาของส�ำนวนว่า “ลงเอย” ในภาษาไทย ที่หมายถึงการตกลงปลงใจที่จะใช้ ชีวิตร่วมกัน
ระหว่างชายและหญิง (สุภาพร มากแจ้ง, 2535 : 87-89)

4. เนื้อเรื ่อง
อิศรญาณภาษิตนี้ เป็นวรรณคดี ที่มีความไพเราะเรื่องหนึง่ มีสัมผัสดี และค�ำทุกค�ำมี
ความหมาย แต่ละวรรคมีความสมบูรณ์ ในตัวเอง ส�ำนวนโวหารคมคาย และกลมกลืนกัน
โดยตลอด มีเนื้อเรื่องที่เป็นข้อคิดและคติเตือนใจต่างๆ และแนะน�ำเกี่ยวกับการประพฤติ
ปฏิบัติให้เป็นที่พอใจของผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีอ�ำนาจมากกว่า สอนว่าควรจะท�ำอย่างไรจึง
จะอยู่ ในสังคมได้โดยปราศจากภัยแก่ตน ท�ำอย่างไรจึงจะประสบความส�ำเร็จสมหวัง
บางตอนเน้นเรื่องการเห็นคุณค่าและความส�ำคัญของผู้อื่นโดยไม่สบประมาทหรือ
ดูแคลนกัน ทัง้ นีก้ ารสอนในบางครัง้ อาจเป็นการสอนตรงๆ หรือบางครัง้ ก็สอนด้วยค�ำประชด
เหน็บแนม เนื้อหาส่วนใหญ่จะสั่งสอนให้คนมีปัญญา ไม่หลงใหลกับค�ำเยินยอ สอนให้ร้จู ั ก
คิดก่อนพูด รู้จักเคารพ ผู้อาวุโส ท�ำตามที่ผู้ ใหญ่แนะน�ำ และให้มีความกตัญญูต่อผู้ ใหญ่
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทรงชมและเหน็บแนม
วรรณคดี เรื่องนี้ว่า “แต่งดีตามอารมณ์ฟุ้งซ่าน แต่จะถือเป็นแบบฉบับนักไม่ได้” อย่างไร
ก็ตาม หากวิเคราะห์วรรณคดีเรือ่ งนีด้ ว้ ยในเป็นธรรมแล้ว ก็จะเห็นว่าวรรณคดีเรือ่ งนีม้ อี ะไร
ดี ๆ หลายอย่าง ซึ่งจะกล่าวชี้แจงให้เห็นในหัวข้อเรื่อง คุณค่า

5. คุณค่า
ในที่น้ีจะได้ศึกษาและวิ เคราะห์คุณค่าของอิศรญาณภาษิต ในด้านวรรณศิลป์
ด้านความรู้ และด้านสังคม ดังวรรณคดี เรื่องอื่นๆ ที่ ได้ศึกษามาแล้ว

5.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
5.1.1 การใช้ส�ำนวน หม่อมเจ้าอิศรญาณ ทรงใช้ส�ำนวนไทยหลายส�ำนวน ท�ำให้
บทประพั นธ์มีความโดดเด่น นอกจากนี้การใช้ภาษาก็ ใช้ได้อย่างคมคาย ส�ำนวนที่น�ำมาใช้
ก็มีความเหมาะสม ดังตัวอย่าง
300 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“วาสนาไม่คู่เคียงเถียงเขายาก
ถึงมีปากเสียเปล่าเหมือนเต่าหอย
ผี เรือนตัวไม่ดีผีอื่นพลอย
พูดพล่อยพล่อยไม่ดีปากขี ้ริ้ว”

จากตัวอย่างนี้กวียกเอาส�ำนวนไทยมาบทหนึง่ คือ ผี ซ�้ำด�้ำพลอย ที่มีความหมาย


ว่า ถูกซ�้ำเติมเมื่อพลาดพลั้งหรือเมื่อเคราะห์ร้าย ท�ำให้ผู้อ่านได้ข้อคิดว่าอย่าไปเถียงกับผู้ที่
มีต�ำแหน่งสูงหรือผู้มีวาสนาบารมีมาก เพราะอาจถูกต่อว่ากลับมา แล้วอาจถูกเยาะเย้ยให้
ขายหน้าอีกด้วย
5.1.2 การใช้โวหาร หม่อมเจ้าอิศรญาณทรงใช้โวหารในการเปรียบเทียบได้โดด
เด่น ท�ำให้อ่านแล้วเข้าใจง่าย เช่น มีการน�ำธรรมชาติที่พบเห็น มาเปรียบเทียบกับสิ่งที่เป็น
นามธรรม ซึ่งช่วยสร้างความเข้าใจที่แจ่มแจ้งชัดเจนแก่ผู้อ่าน ดังความว่า

“อย่าดูถูกบุญกรรมว่าท�ำน้อย
น�้ำตาลย้อยมากเมื่อไรได้หนักหนา
อย่านอนเปล่าเอากระจกยกออกมา
ส่องดูหน้าเสียทีหนึง่ แล้วจึงนอน”

จากตัวอย่างนีห้ ม่อมเจ้าอิศรญาณ ทรงเปรียบเทียบการท�ำบุญว่าเหมือนกับการรอง


น�้ำตาล ซึ่งทีแรกก็จะได้เพี ยงน้อยนิด แต่นานไปเรื่อยๆ ก็จะเพิ่มพูนขึ้นมามากมาย แล้ว
ยังสอนต่อไปโดยการเปรียบเทียบว่าอย่านอนเฉยๆ ให้เอากระจกขึ้นมาส่องดูหน้าตนเอง
บ้าง ซึ่งก็อาจตีความได้ว่า อย่าปล่อยเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ควรพิจารณาตนเองว่าได้
ท�ำอะไรบ้างในแต่ละวัน
การใช้โวหารเปรียบเทียบยังมีอยู่อีกมากมายในอิศรญาณภาษิต ดังเช่นที่หม่อมเจ้า
อิศรญาณกล่าวถึงเรือ่ งการประมาณก�ำลังของตน โดยเปรียบเทียบว่าอย่าท�ำอะไรทีเ่ กินก�ำลัง
ของฐานรับน�ำ้ หนัก เพราะถ้าท�ำเกินก�ำลังแล้ว ฐานก็จะรับน�ำ้ หนักไม่ไหว อาจหักพั งลงมาได้
แล้วยังกล่าวว่าหากรักเรียนในวิ ชาความรู้ ก็ ให้ขยันร�่ำเรียนไปโดยไม่ต้องบอกใคร และควร
หมัน่ ศึกษาหาความรูจ้ ากผูห้ ลักผูใ้ หญ่ หรือผูส้ งู วัย เพราะท่านเหล่านีค้ อื ผูม้ ปี ระสบการณ์สงู
บทที่ 21 อิศรญาณภาษิต 301

“สูงอย่าให้สงู กว่าฐานนานไปล้ม
จะเรียนคมเรียนเถิดอย่าเปิดฝัก
คนสามขามีปัญญาหาไว้ทัก
ที่ ไหนหลักแหลมคมจงจ�ำเอา”

5.1.3 การเล่นเสียง อิศรญาณภาษิต นอกจากจะมีความโดดเด่นในด้านการเป็น


วรรณกรรมค�ำสอนแล้ว ความโดดเด่นในด้านวรรณศิลป์ก็มีไม่แพ้กัน ดังจะเห็นได้จากการ
ใช้เสียงสัมผัส ซึ่งมีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ดังตัวอย่าง

“อันความเชื่อเรื่องเดี ยวกันส�ำคัญกล่าว
พูดไม่ดีแล้วก็เปล่าไม่แข็งเข้ม
ข้าวต้มร้อนอย่ากระโจมค่อยโลมเล็ม
วิ สัยเข็มเล่มน้อยร้อยช้าช้า
ถึงโปร่งปรุในอุบายเป็นชายชาติ
แม้หลงมาตุคามขาดศาสนา
อันความหลงแม้ไม่ปลงสังขารา
แต่ทว่ารู้บ้างค่อยบางเบา”

จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า มีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ซึ่งสัมผัสสระได้แก่ค�ำว่า


กัน-ส�ำคัญ โจม-โลม เข็ม-เล็ม น้อย-ร้อย อุบาย-ชาย ขาด-ศาสนา หลง-ปลง สังขา-รา
ส่วนสัมผัสอักษรได้แก่คำ� ว่า แข็ง-เข้ม โลม-เล็ม โปร่ง-ปรุ ขาย-ชาติ คาม-ขาด แม้-มาตุคาม
แม้-ไม่ บ้าง-บาง-เบา

5.2 คุณค่าด้านความรู้
5.2.1 เป็นผู้หญิงต้องรู้จักระวังไม่ ให้เสื่อมเสีย เพราะผู้หญิงกับผู้ชายนั้นต่าง
กัน วัฒนธรรมไทยถือว่าผู้หญิงต้องรักษาพรหมจารีควบคู่ไปกับคุณความดี ไว้ส�ำหรับชายที่
จะเป็นคู่ครองเพี ยงคนเดี ยว ถ้าหากเกิดมีเรื่องเสื่อมเสีย ก่อนแต่งงานก็ย่อมไม่มีผู้ ใดอยาก
ได้เป็นคู่ครอง ดังภาษิตว่า “ชายข้าวเปลือก หญิงข้าวสารโบราณว่า”
302 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

5.2.2 หญิงหม้าย ผู้ชายมักจะดูถูก ดังนั้นจึงต้องวางตัวให้เหมาะสม ดังภาษิตว่า


“เป็นผู้หญิงแม่หม้ายที่ ไร้ผัว ชายมักยั่วท�ำเลียบเทียบข่มเหง”
5.2.3 ต้องท�ำตัวเป็นแม่บ้านที่ดี เก็บรักษาทรัพย์สินที่สามีหามาได้ และรู้จัก
ใช้จ่ายอย่างประหยัด ก็จะท�ำให้ฐานะของครอบครัวมั่นคง ดังภาษิตว่า “เมียรู้เก็บผัวท�ำ
พาจ�ำเริญ”

5.3 คุณค่าด้านสังคม
5.3.1 การผูกไมตรี กับบุคคลในสังคม ถือเป็นเรื่องที่จ�ำเป็นมาก เพราะมนุษย์
เราไม่สามารถอยู่ ในสังคมได้เพี ยงล�ำพั ง ยังต้องมีการติดต่อกับบุคคลในสังคม ดังนั้นการ
ผูกไมตรีจึงเป็นเรื่องส�ำคัญ ดังภาษิตว่า

“น�้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย”
“รักสั้นนั้นให้ร้อู ยู่เพี ยงสั้น
รักยาวนั้นอย่าให้เยิ่นเกินกฎหมาย”

5.3.2 ให้ระวังค�ำพูด คือ คิดก่อนพูดนัน่ เอง ดังภาษิตว่า

“เห็นต�ำตาแล้วอย่าอยากท�ำปากบอน
ตรองเสียก่อนจึงค่อยท�ำกรรมทั ้งมวล”

และอย่าหลงเชื่อค�ำยุยงส่อเสียด ดังภาษิตว่า

“อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก
ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว
จงฟังหูไว้หูคอยดูไป
เชื่อน�้ำใจดี กว่าอย่าเชื่อยุ”

5.3.3 ให้รู้จักประมาณตน คือ รู้ตัวเองว่ามีก�ำลังอยู่เท่าไร การกระท�ำในสิ่งที่


เหนือบ่าฝ่าแรงจะมีประโยชน์หรือไม่ ดังภาษิตว่า “อย่านอนเปล่า เอากระจกยกออกมา
ส่องดูหน้าเสียทีหนึง่ แล้วจึงนอน” หรือ “สูงอย่าให้สูงกว่าฐาน นานไปล้ม”
บทที่ 21 อิศรญาณภาษิต 303

5.3.4 ให้ร้จู ักอภัยเมื่อคนอื่นท�ำความผิด และไม่ดูถูกผู้อื่น ดังภาษิตว่า “ผู้


ใดผิ ดผ่อนพั กอย่าหักหาญ เป็นชายชาญอย่าเพ่อคาดประมาทชาย”
5.3.5 ให้ร้จู ักคิดพิจารณาในการที่กระท�ำสิ่งใดลงไป ดังภาษิตว่า

“เห็นตอหลักปักขวางหนทางอยู่
พิเคราะห์ดูควรทึ้งแล้วจึงถอน”

5.3.6 ให้รจู้ กั อดทนต่อความยากล�ำบาก เป็นคนละเอียดถีถ่ ว้ น ประหยัด เพือ่


บัน้ ปลายชีวิตจะได้สบาย ดังภาษิตว่า “เอาหลังตากแดดเป็นนิจคิดค�ำนวณ รูถ้ ีถ่ ว้ นจึงสบาย
เมื่อปลายมือ”
5.3.7 ให้ร้จู ักควบคุมตนเองให้ได้ ดังภาษิตว่า

“เกิดเป็นคนเชิงดูให้ร้เู ท่า
ใจของเราไม่สอนใครจะสอน”

5.3.8 ให้รจู้ กั อ่อนน้อมต่อผูอ้ นื่ แม้จะอยู่ ในฐานะทีเ่ หนือกว่า ควรวางตัวให้เป็น


ที่รักใคร่ และรู้จักยกย่องให้เกียรติแก่ผู้อื่น ดังภาษิตว่า

“อยากใช้เขาเราต้องก้มประนมกร
ใครเลยห่อนจะว่าตัวเป็นวัวมอ
หญิงเรียกแม่ชายเรียกพ่อยอไว้ ใช้
มันชอบใจบ้างปลอบไม่ชอบดุ”

5.3.9 ไม่หลงใหลค�ำยกยอของผู้อื่น ไม่ลุ่มหลงยศถาบรรดาศักดิ์ ดังภาษิตว่า


“อันยศศักดิ์มิ ใช่เหล้าเมาแต่พอ ถ้าเขายอเหมือนอย่างเกาให้เราคัน”
5.3.10 รู้จักผ่อนหนักให้เป็นเบา ดังภาษิตว่า

“ใครท�ำตึงแล้วก็หย่อนผ่อนลงเอา”
304 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

5.3.11 เมื่อคิดจะท�ำงานใหญ่ ไม่ควรพะวงถึงสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่จะท�ำให้งาน


ต้องหยุดชะงักหรือท�ำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังภาษิตว่า

“เขาย่อมว่าฆ่าควายเสียดายพริก
รักหยอกหยิกยับทั ้งตัวอย่ากลัวเจ็บ”
“มิใช่เนื้อเป็นเนื้อก็เหลือปล�้ำ
แต่หนามต�ำเข้าสักนิดยังกรีดเจ็บ
อันโลภมากบาปหนาตันหาเย็บ”

5.3.12 แม้จะมีอ�ำนาจ หากไม่รู้จักคิด ก็ไม่ประสบผลส�ำเร็จ ไม่ควรหลง


ตัวเอง เพราะวิ ถีชีวิตมนุษย์ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เหมือนกับความรักและความ
ชังที่หาความมั่นคงไม่ได้ ดังภาษิตว่า

“ถึงบุญมีไม่ประกอบชอบไม่ได้
ต้องอาศัยคิดดี จึงมีผล
บุญหาไม่แล้วอย่าได้ทะนงตน
ปุถุชนรักกับชังไม่ยั่งยืน”
บรรณานุกรม 21

กุหลาบ มัลลิกะมาส, คุณหญิง. (2555). ความรู้ทั่วไปทางวรรณคดีไทย. พิมพ์


ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
ร�ำพึง ศิลาแลง. (2530). การศึกษาวรรณคดีค�ำสอนประเภทร้อยกรองช่วงก่อน
ได้รบั อิทธิพลจากวรรณกรรมตะวันตกในเชิงจริยธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญา
การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิ ทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ.
สมพั นธุ์ เลขะพั นธุ์. (2556). วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. พิมพ์ครั้งที่
12. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
สิทธา พินจิ ภูวดล และนิตยา กาญจนะวรรณ. (2520). ความรู้ทั่วไปทาง
วรรณกรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์ดวงกมล.
สุปาณี พั ดทอง. (2553). อิศรญาณ, หม่อมเจ้า ใน นามานุกรมวรรณคดีไทย
ชุดที่ 2 ชือ่ ผู้แต่ง. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
สุภาพร มากแจ้ง. (2535). กวีนพิ นธ์ ไทย 1. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์
โอเดี ยนสโตร์.
บ ท พ า ก ย์ เ อ ร า วั ณ 22
1. ประวัติความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ได้ทรงท�ำนุบ�ำรุงการ
ละครและนาฏศิลป์สาขาต่างๆ ให้เจริญรุ่งเรือง โขนก็นับเนือ่ งเป็นนาฏศิลป์ส�ำคัญ
ที่พระองค์ทรงส่งเสริม
การแสดงโขนนัน้ ต้องใช้บทพากย์เรือ่ งรามเกียรติ์ ไว้พากย์ ในการแสดงแต่ละ
ตอน จะมีบทพระราชนิพนธ์บทพากย์รามเกียรติข์ องพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
นภาลัย ที่มี ชื่อเสียงอย่างยิ่ง 4 ตอน คือ นางลอย นาคบาศ พรหมมาศ และเอราวัณ
บทพากย์รามเกียรติแ์ ต่ละตอนทีก่ ล่าวมานี้ ใช้ ในการแสดงโขนตอนนัน้ ๆ ทุก
ตอนแสดงถึงพระปรีชาสามารถในด้านนาฏยศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระพุ ทธ
เลิศหล้านภาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนนางลอย เป็นตอนที่แสดงถึงอารมณ์อันลึก
ซึ้งในด้านความรัก ความเสียดาย ความโกรธแค้น และความเศร้าโศกของพระราม
อันเป็นผลให้ผู้ได้ชมการแสดงและผู้ได้อ่านบทพากย์ตอนนั้น เกิดอารมณ์สะเทือนใจ
และเกิดความประทั บใจกันตลอดมา

2. ประวัติผู้แต่ง
ดูประวัติผู้แต่งได้ ในบทที่ 6 หน้า 105-106
308 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

3. ลักษณะค�ำประพันธ์
บทพากย์เอราวัณ (ที่ตัดตอนมานี้) แต่งด้วยค�ำประพั นธ์ประเภทกาพย์ฉบัง 16 มี
ลักษณะดังนี้ คือ 1 บท มี 16 ค�ำ แบ่งออกเป็น 3 วรรค วรรคแรกมีจ�ำนวน 6 ค�ำ วรรค
ที่สองมี 4 ค�ำ และวรรคสุดท้ายมี 6 ค�ำ
สัมผัสบังคับ ได้แก่ ค�ำสุดท้ายของวรรคแรก สัมผัสกับค�ำสุดท้ายของวรรคที่ 2 และ
สัมผัสระหว่างบท คือ ค�ำสุดท้ายของบทแรกสัมผัสกับค�ำสุดท้ายของวรรคแรกในบทต่อไป
ดังตัวอย่าง

“งาหนึง่ เจ็ดโบกขรณี สระหนึง่ ย่อมมี


เจ็ดกออุบลบันดาล
กอหนึง่ เจ็ดดอกดวงมาลย์ ดอกหนึง่ แบ่งบาน
มีกลีบได้เจ็ดกลีบผกา”

4. เนื้อเรื ่อง
บทพากย์เอราวัณ มีเนือ้ หามาจากเรือ่ งรามเกียรติต์ อนศึกอินทรชิต กล่าวถึงอินทรชิต
แปลงกายเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณเสด็จมายังสนามรบ พระลักษณ์พร้อมด้วยกองทัพ
ลิงต่างคิดว่าเป็นกองทั พของพระอินทร์ หลงเพลินดูไม่ทันระวังองค์ จึงถูกศรพรหมมาศของ
พระอินทร์แปลงสลบไปตามกัน ฝ่ายพระรามได้เสด็จออกจากพลับพลา มาตามหาพระลักษณ์
เห็นพระลักษณ์สลบอยู่ คิดว่าพระลักษณ์ตายด้วยพิษศรพรหมมาศ ก็รอ้ งไห้คร�่ำครวญคิดถึง
พระลักษณ์จนสลบไป
ความโดดเด่นของบทพากย์เอราวัณ อยูต่ รงทีก่ ารพรรณนาถึงช้างเอราวัณอย่างพิสดาร
ท�ำให้ผู้อ่านเห็นถึงภาพความยิ่งใหญ่ โอ่อ่า สมเกียรติยศของพระอินทร์ ดังความว่า
บทที่ 22 บทพากย์เอราวัณ 309

“อินทรชิตบิ ดเบือนกายิน เหมือนองค์อมรินทร์


ทรงคชเอราวัณ
ช้างนิมิตฤทธิแรงแข็งขัน เผือกผ่องผิ วพรรณ
สีสังข์สะอาดโอฬาร์
สามสิบสามเศียรโสภา เศียรหนึง่ เจ็ดงา
ดังเพชรรัตนรูจี
งาหนึง่ เจ็ดโบกขรณี สระหนึง่ ย่อมมี
เจ็ดกออุบลบันดาล
กอหนึง่ เจ็ดดอกดวงมาลย์ ดอกหนึง่ แบ่งบาน
มีกลีบได้เจ็ดกลีบผกา
กลีบหนึง่ มีเทพธิดา เจ็ดองค์โสภา
แน่งน้อยล�ำเพานงพาล
นางหนึง่ ย่อมมีบริวาร อีกเจ็ดเยาวมาลย์
ล้วนรูปนิรมิตมายา”

จากความที่กล่าวมาข้างต้น ท�ำให้มองเห็นภาพของช้างเอราวัณได้ว่า
มีเศียร 33 เศียร
มีงา 231 งา
มีสระ 1,617 สระ
มีกอบัว 11,319 กอ
มีดอกบัว 97,233 ดอก
มีกลีบบัว 554,631 กลีบ
มีนางฟ้า 3,882,417 องค์
มีบริวาร 27,176,919 คน
310 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

5. ตัวละครส�ำคัญ

5.1 อินทรชิต
อินทรชิตมีนามเดิมว่า รณพั กตร์ หรือ เมฑนาท เป็นโอรสองค์
โตของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ มีชายาชื่อนางสุวรรณกันยุมา มีโอรส 2
องค์ ชื่อ ยามลิวัน กับ กันยุเวก เคยเรียนศิลปศาสตร์กับพระฤๅษี
โคบุตร และศึกษามนตร์ชื่อ มหากาลอัคคี ส�ำหรับบูชาพระเป็นเจ้า
ทัง้ สาม ครัน้ ส�ำเร็จมนตร์มหากาลอัคคีแล้ว จึงไปนัง่ ภาวนาอยูท่ า่ เดียว
จนครบ 7 ปี พระเป็นเจ้าทั ้งสามจึงเสด็จมาพร้อมกัน รณพั กตร์ก็ทูล
ขอพรและอาวุธวิ เศษ
พระอิศวรประทานศรพรหมาศและบอกเวทแปลงกายเป็นพระอินทร์ พระพรหม
ประทานศรนาคบาศ และให้พรว่าเมือ่ ตายขอให้ตายบนอากาศ ถ้าหัวขาดจากตัวตกถึงพืน้ ดิน
ให้กลายเป็นไฟบรรลัยกัลป์ลา้ งโลก ต่อเมือ่ ได้พานแว่นฟ้าทิพย์จากพระองค์มารองรับจึงจะ
ไม่เกิดไฟไหม้ ส่วนพระนารายณ์ประทานศรวิ ษณุปาณัมให้แก่รณพั กตร์
เมื่อรณพั กตร์ได้พรจากพระเป็นเจ้าทั ้งสามแล้ว ทศกัณฐ์ก็เกิดความฮึกเหิม จึงให้
รณพั กตร์ขึ้นไปปราบพระอินทร์เพื่อให้ยอมอ่อนน้อม
รณพั กตร์จึงยกกองทั พขึ้นไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ปวงเทพทั ้งหลายเห็นต่างพากัน
ตกใจ รีบออกจากวิ มานไปเฝ้าพระอินทร์ พระอินทร์จึงมีเทวบัญชาให้พระมาตุลีเทพบุตร
จั ดกองทั พ และเตรียมมหาเวไชยันต์ราชรถ อันเทียมด้วยเทพบุตรพาชีหนึง่ พั น (อัสดร
เทพบุตรแปลงกายเป็นม้า) ซึ่งก่อนที่พระอินทร์จะออกรบนั้นก็เกิดลางร้ายอย่างหนึง่ คือ
ม้าทั ้งหนึง่ พั นตัวต่างพากันร้องว่า อัปราชัย
ครั้นกองทั พทั ้งสองรบกัน ทีแรกฝ่ายเทวดาเป็นฝ่ายได้เปรียบ ตีฝ่ายยักษ์แตกร่น
ไม่เป็นกระบวน รณพั กตร์เห็นเข้าก็ โกรธจึงขับช้างเข้าใส่ พระอินทร์จึงขว้างจั กรมณี กลาย
เป็นเพลิงกรดล้อมช้างของอินทรชิตไว้ รณพั กตร์ร้อนทนไม่ไหวจึงใช้ศรวิ ษณุปาณัมแผลงไป
เป็นฝนตกลงมาดับเพลิง พระอินทร์เห็นเช่นนั้นจึงขว้างกรีออกไป กลายเป็นตาข่ายเพชร
ล้อมพวกยักษ์ รณพั กตร์ก็แผลงศรนาคบาศ เป็นพญานาคเที่ยวไล่พ่นพิษใส่เหล่าเทวดา
ฝ่ายพระอินทร์ตกใจมิร้ทู ี่จะท�ำประการใด จึงให้พระมาตุลีขับรถหนี แต่ฤทธิกันอสูร
นายกองตระเวนกรุงลงกา ซึง่ เป็นนายทัพหน้าไม่ยอมให้หนี เข้ายึดท้ายรถลากไว้ พระอินทร์ยงิ่
บทที่ 22 บทพากย์เอราวัณ 311

ตกใจขึน้ จึงทิง้ รถและจักรแก้วโมลีไว้แล้วรีบหนีไป ฤทธิกนั จึงยึดจักรแก้วไว้ แล้วน�ำมาถวาย


รณพั กตร์ รณพั กตร์เห็นว่าได้ของชิน้ ส�ำคัญมาดังนีก้ ็ ให้เลิกทัพกลับกรุงลงกา จากนัน้ จึงถวาย
จักรแก้วแก่ทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์ดี ใจมากทีร่ ณพั กตร์สามารถเอาชนะพระอินทร์ได้ จึงเปลีย่ นชือ่
ให้ใหม่ว่า อินทรชิต แปลว่า ผู้ชนะพระอินทร์
ในการท�ำศึกลงกา เมื่อกุมภกรรณสิ้นชีวิตแล้ว ทศกัณฐ์จึงให้อินทรชิตเป็นแม่ทัพ
ออกท�ำสงครามกับฝ่ายพระราม โดยรบกันอยู่ 5 ครั้ง ครั้งแรกรบกับพระลักษณ์ แต่ไม่มี
ใครแพ้ ใครชนะ
ครั้งที่สองท�ำพิธชี บุ ศรนาคบาศ แต่ถูกชามพูวราชแปลงกายเป็นหมีไปท�ำลายพิธี แต่
อินทรชิตก็ออกรบ แล้วแผลงศรนาคบาศเป็นพญานาคมัดพระลักษณ์และพลวานรสลบกัน
ไปหมดทั ้งกองทั พ พิเภกกราบทูลให้พระรามแผลงศรพลายวาตไปยังวิ มานฉิมพลี เพื่อตาม
พญาครุฑให้มาปราบพญานาค ฝ่ายพญาครุฑเห็นศรก็รทู้ ันทีวา่ พระรามเรียก จึงรีบบินมายัง
สนามรบ เมือ่ มาถึงก็เข้าจิกตีพวกนาคจนหนีไปหมด พระลักษณ์และพลวานรก็ฟน้ื คืนสติดงั เดิม
ครั้งที่สามท�ำพิธีชบุ ศรพรหมมาศแต่ก็ไม่ส�ำเร็จอีก เพราะทศกัณฐ์ได้ส่ง ไวยกาสูร
มาแจ้งเรื่องยักษ์ก�ำปั่นถูกฆ่า จึงท�ำให้พิธีล่ม อินทรชิตโกรธมากที่เสียพิธี เพราะก่อนหน้า
นี้ก็ได้สั่งไว้ว่าห้ามน�ำข่าวคนตายมาบอก แต่ยังมีทางแก้อยู่ทางหนึง่ คือ ให้น�ำแพะด�ำ วัวด�ำ
มาผูกไว้ตรงหน้า จากนั้นอินทรชิตก็จับศรพรหมมาศขึ้นประนมแล้วร่ายพระเวท เมื่อครบ
พั นจบก็บันดาลให้เกิดแผ่นดินสะเทือน แพะด�ำ และวัวด�ำ ก็ถูกเชือดแล้วน�ำเอาเลือดมาให้
ศรพรหมมาศสูบกิน
เมื่อชุบศรพรหมมาศส�ำเร็จ อินทรชิตก็แปลงกายเป็นพระอินทร์ แล้วให้การุณราช
เสนายักษ์แปลงเป็นช้างเอราวัณ ให้พวกดนตรีแปลงเป็นนางฟ้า จั ดกระบวนให้เหมือนพวก
เทวดา เหาะไปยังสนามรบ
ขณะนัน้ พระลักษณ์ยงั ประทับอยูท่ สี่ นามรบ ทอดพระเนตรเห็นกองทัพของพระอินทร์
ลอยอยู่กลางอากาศ มีนางอัปสรฟ้อนร�ำอยู่เห็นแปลกพระทั ย จึงตรัสถามสุครีพว่าเหตุใด
พระอินทร์จึงท�ำเช่นนี้ สุครีพทูลตอบว่าเห็นชอบกลอยู่ บางทีอาจเป็นกลอุบายของพวกยักษ์
ก็ได้ ขอให้ระวังพระองค์
แต่ภาพที่มองเห็นบนท้องฟ้าเป็นภาพที่งดงาม นางฟ้าจั บระบ�ำร�ำฟ้อน ประกอบ
ด้วยเสียงดนตรีที่ ไพเราะ ท�ำให้พระลักษณ์และไพร่พลวานรต่างหลงเพลินจนเคลิ้มสติไป
อินทรชิตเห็นได้โอกาสจึงแผลงศรพรหมมาศ ด้วยอิทธิฤทธิ์ของศร ก็บังเกิดเป็นศรอีกนับ
ไม่ถ้วน พุ ่งลงมายังกองทั พเบื้องล่าง พระลักษณ์ สุครีพ องคต และสิบแปดมงกุฎต่างถูก
312 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ศรล้มลงไปด้วยกัน บรรดายักษ์ที่แปลงเป็นเทวดาต่างก็พุ่งอาวุธลงมาต้องไพร่พลลิงตาย
เรียบ เหลืออยู่แต่หนุมานเพี ยงผู้เดี ยว
หนุมานเห็นพระลักษณ์ต้องศรพรหมมาศสลบไปก็โกรธ จึงทะยานขึ้นไปหักคอช้าง
เอราวัณ แต่ก็ถูกพระอินทร์แปลงฟาดด้วยคันธนูกระเด็นไปพร้อมคอช้างตกลงไปยังพื้นดิน
ครั้งที่สี่ท�ำพิธีกุมภนิยาเพื่อชุบตัวเป็นกายสิทธิ์ ก่อนหลบไปท�ำพิธี ทศกัณฐ์ ได้
ให้สุขาจารแปลงเป็นนางสีดา จากนั้นอินทรชิตจึงพาไปยังสนามรบแล้วตัดหัวต่อหน้า
พระลักษณ์ เพื่อลวงว่านางสีดาตายแล้ว พระรามจะได้ยกทั พกลับ จากนั้นจึงไปท�ำพิธี แต่
แล้วพระลักษณ์ก็ตามไปท�ำลายพิธี พร้อมกับท�ำลายศรวิ ษณุปาณัม ศรนาคบาศ และศร
พรหมมาศ อินทรชิตสู้ไม่ได้จึงหนีเข้าเมือง
ครัง้ ทีห่ า้ อินทรชิตรูว้ า่ การรบครัง้ นีต้ นคงไม่รอด ดังนัน้ จึงขอให้ทศกัณฐ์ คืนนางสีดาให้
แก่พระรามไป แต่ทศกัณฐ์ไม่ยอม กลับประทานศรสุรกานต์ ให้อินทรชิตน�ำไปรบ ก่อนออก
รบอินทรชิตได้สั่งลาลูกเมีย จากนั้นจึงออกรบกับพระลักษณ์และถูกพระลักษณ์สังหารด้วย
ศรพรหมมาศ พิเภกให้องคตพี ่ชายร่วมมารดาเดี ยวกันกับอินทรชิต ไปขอพานแว่นฟ้าจาก
พระพรหมเพื่อมารองรับไม่ ให้ศีรษะของอินทรชิตตกลงพื้น

5.2 พระลักษณ์
พระลักษณ์เป็นโอรสของท้าวทศรถกับนางสมุทรชา มีน้องร่วมท้องเดี ยวกัน คือ
พระสัตรุด พระลักษณ์ คือ บัลลังก์นาคของพระนารายณ์อวตารลงมาเป็นอนุชา คู่ใจของ
พระราม เมื่อพระรามต้องออกเดินป่าเป็นเวลา 14 ปี พระลักษณ์ก็ขอตามเสด็จไปรับใช้ด้วย
ในศึกลงกา พระลักษณ์ออกรบหลายครัง้ และสังหารแม่ทัพของฝ่ายทศกัณฐ์ลม้ ตายลงอย่าง
มากมาย พระลักษณ์ต้องอาวุธบาดเจ็บ 5 ครั้ง ครั้งแรกถูกหอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณ
ครั้งที่ 2 ถูกศรนาคบาศ ครั้งที่ 3 ถูกศรพรหมมาศของอินทรชิต ครั้งที่ 4 ถูกอาวุธของ
มูลพลัม และครั้งที่ 5 ถูกหอกกบิ ลพั ทของทศกัณฐ์
บทที่ 22 บทพากย์เอราวัณ 313

พระลักษณ์เป็นผู้ที่ออกรบเคียงบ่าเคียงไหล่พระรามพี ่ชายอยู่เสมอตลอดศึกลงกา
และหลายครั้งเป็นผู้น�ำทั พตามค�ำบัญชาของพระราม เช่น เมื่อครั้งท�ำศึกกับอินทรชิต หลัง
เสร็จศึกลงกาแล้วพระรามให้พระลักษณ์ไปครองเมืองโรมคัล ซึ่งเคยเป็นเมืองของพญาขร
เมื่อครั้งพระรามเข้าใจผิ ดคิดว่านางสีดาแอบมี ใจให้ทศกัณฐ์ พระรามได้สั่งให้
พระลักษณ์น�ำนางสีดาไปประหาร แต่พระลักษณ์ไม่กล้า นางสีดาก็สั่งให้พระลักษณ์ลงมือ
พระลักษณ์กส็ ลบไป เมือ่ ฟืน้ ขึน้ มาไม่เห็นนางสีดา ก็กล่าวฝากนางไปกับเทวดา แล้วน�ำหัวใจ
ของเนื้อไปถวายพระราม ครั้นพระรามออกเดินป่าอีกครั้งเพื่อสะเดาะห์เคราะห์ พระลักษณ์
ก็ออกติดตามไปรับใช้เช่นเคย

5.3 สุครี พ
สุครีพเป็นพญาวานรโอรสของพระอาทิตย์กบั นางกาลอัจนา เป็นน้องชายแม่เดียวกัน
กับพาลี มีชายาชือ่ นางดารา ซึง่ พระอิศวรประทานให้โดยฝากพาลีไป แต่นางตกเป็นของพาลี
ก่อน หลังจากพระรามสังหารพาลีแล้ว ได้ตั้งให้สุครีพ เป็นเจ้าเมืองขี ดขิน ต่อมาได้ร่วมทั พ
กับพระรามไปปราบทศกัณฐ์ โดยเป็นแม่กองในการจองถนนไปกรุงลงกา ต่อมาพระราม
ให้สุครีพไปหักฉัตรของทศกัณฐ์ ครั้นรบกับกุมภกรรณ กุมภกรรณรู้ว่าสุครีพมีพละก�ำลัง
มากจึงหลอกให้ไปถอนต้นรัง ท�ำให้ก�ำลังของสุครีพลดลง จึงถูกกุมภกรรณจั บตัวไป แต่
หนุมานตามไปช่วยเหลือไว้ได้ โดยมากแล้วสุครีพมักท�ำหน้าที่เป็นผู้จัดทั พเป็นรูปกระบวน
ต่างๆ ตามหลักพิชัยสงคราม ครั้นเสร็จศึกลงกาแล้ว สุครีพได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
เป็นพญาไวยวงศามหาสุรเดช เจ้านครขี ดขิน

6. คุณค่า
ส�ำหรับคุณค่าของบทพากย์เอราวัณที่จะกล่าวต่อไปนี้ ได้แก่ คุณค่าด้านวรรณศิลป์
คุณค่าด้านความรู้ และคุณค่าด้านสังคม

6.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
6.1.1 การใช้โวหาร ความโดดเด่นทางวรรณศิลป์ของบทพากย์เอราวัณ ช่วยสร้าง
จินตนาการให้เกิดขึน้ แก่ผอู้ า่ น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงใช้ถอ้ ยค�ำทีช่ ว่ ย
สร้างภาพให้เกิดขึ้นในจิ นตนาการอย่างแจ่มชัด ดังเช่น บทพรรณนาช้างเอราวัณ ความว่า
314 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“ช้างนิมิตฤทธิแรงแข็งขัน เผือกผ่องผิวพรรณ
สีสังข์สะอาดโอฬาร์
สามสิบสามเศียรโสภา เศียรหนึง่ เจ็ดงา
ดังเพชรรัตนรูจี
งาหนึง่ เจ็ดโบกขรณี สระหนึง่ ย่อมมี
เจ็ดกออุบลบันดาล
กอหนึง่ เจ็ดดอกดวงมาลย์ ดอกหนึง่ แบ่งบาน
มีกลีบได้เจ็ดกลีบผกา
กลีบหนึง่ มีเทพธิดา เจ็ดองค์โสภา
แน่งน้อยล�ำเพานงพาล
นางหนึง่ ย่อมมีบริวาร อีกเจ็ดเยาวมาลย์
ล้วนรูปนิรมิตมายา
จั บระบ�ำร�ำร่ายส่ายหา ช�ำเลืองหางตา
ท�ำทีดังเทพอัปสร
มี วิมานแก้วงามบวร ทุกเกศกุญชร
ดังเวไชยันต์อัมรินทร์”

จากตัวอย่างนีจ้ ะเห็นได้วา่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงใช้คำ� พรรณนา


ให้เห็นภาพช้างเอราวัณที่มีสีกายขาวดั่งสีสังข์ มีเศียรถึง 33 เศียร แต่ละเศียรมีงา 7 งา
มีประกายแวววาวดั่งแสงเพชร งาแต่ละงามีสระบัว 7 สระ แต่ละสระมีกอบัว 7 กอ แต่ละ
กอมีดอกบัว 7 ดอก แต่ละดอกมีกลีบ 7 กลีบ แต่ละกลีบมีนางฟ้า 7 องค์ แต่ละองค์มี
บริวาร 7 นาง ซึ่งนางทั ้ง 7 นี้ก�ำลังจั บระบ�ำร�ำร่ายอยู่ที่เศียรช้าง ทุกเศียรจะมีวิมานแก้ว
งามดั่งวิ มานเวไชยันต์ของพระอินทร์
การพรรณนากองทั พของอินทรชิตก็แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และความพร้อม
เพรียงกันของกองทั พ ซึ่งประกอบไปด้วยพลทหารยักษ์สี่เหล่าทั พที่แปลงกายเป็นอมนุษย์
ต่างๆ คือ ทั พหน้าเป็นเทพารักษ์ ทั พหลังเป็นครุฑ กินนร นาค ปีกซ้ายเป็นวิ ทยาธร ปีก
ขวาเป็นคนธรรพ์ ถืออาวุธพร้อมสรรพ ความว่า
บทที่ 22 บทพากย์เอราวัณ 315

“บรรดาโยธาจั ตุรงค์ เปลี่ยนแปลงกายคง


เป็นเทพไทเทวัญ
ทั พหน้าอารักขไพรสัณฑ์ ทั พหลังสุบรรณ
กินนรนาคนาคา
ปีกซ้ายฤๅษิตวิ ทยา คนธรรพ์ปีกขวา
ตั้งตามต�ำรับทั พชัย
ล้วนถืออาวุธเกรียงไกร โตมรศรชัย
พระขรรค์คทาถ้วนตน
ลอยฟ้ามาในเวหน รีบเร่งรี้พล
มาถึงสมรภูมิชัย”

นอกจากจะมีบทพรรณนาให้เห็นถึงความน่าอัศจรรย์ของช้างเอราวัณ และความ
ยิ่งใหญ่อลังการของกองทั พอินทรชิตแล้ว ยังมีบทพรรณนาธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และ
ยังมองเห็นภาพบรรยากาศยามเช้าตรู่ มองเห็นสิ่งมีชีวิตต่างๆ ก�ำลังปฏิบัติภารกิจไปตาม
วิ ถี ชีวิตของตัวเอง ดังความว่า

“เมื่อนั้นจึงพระจั กรี พอพระสุริย์ศรี


อรุณเรืองเมฆา
ลมหวนอวลกลิ่นมาลา เฟื่องฟุ้งวนา
นิวาสแถวแนวดง
ผึ้งภู่หมู่คณาเหมหงส์ ร่อนราถาลง
แทรกไซ้ในสร้อยสุมาลี
ดุเหว่าเร้าเร่งพระสุริย์ศรี ไก่ขันปีกตี
กู่ก้องในท้องดงดาน
ปักษาตื่นตาขันขาน หาคู่เคียงประสาน
ส�ำเนียงเสนาะในไพร”

ส่วนบทพรรณนากองทั พของพระราม ก็มีความยิ่งใหญ่ไม่แพ้บทพรรณนากองทั พ


ของอินทรชิต ความว่า
316 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

“อึงอินทเภรีตีระงม แตรสังข์เสียงประสม
ประสานเสนาะในไพร
เสียงพลโห่ร้องเอาชัย เลื่อนลั่นสนัน่ ใน
พิภพเพี ยงท�ำลาย
สัตภัณฑ์บรรพตทั ้งหลาย อ่อนเอียงเพี ยงปลาย
ประนอมประนมชมชัย
พสุธาอากาศหวาดไหว เนื้อนกตกใจ
ซุ กซ่อนประหวั่นขวัญหนี
ลูกครุฑพลัดตกฉิมพลี หัสดินอินทรี
คาบช้างก็วางไอยรา
วานรส�ำแดงเดชา หักถอนพฤกษา
ถือต่างอาวุธยุทธยง”

จากตัวอย่างได้แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของกองทั พพระรามและบุญญาบารมี
ของพระองค์ ซึง่ ความยิง่ ใหญ่และเสียงโห่รอ้ งทีด่ งั กึกก้อง ได้สร้างความหวัน่ เกรงให้กบั สัตว์
ต่างๆ เป็นอย่างมาก แม้กระทั ่งสัตว์ ใหญ่อย่างนกหัสดี ลิงค์ที่ก�ำลังคาบช้างอยู่ยังตกใจจน
เผลอปล่อยช้างตกจากปากไป พลทหารวานรก็ก�ำลังฮึกเหิมหักโค่นต้นไม้มาถือเป็นอาวุธ
6.1.2 การใช้ภาพพจน์ บทพากย์เอราวัณ ปรากฏการใช้ภาพพจน์ ในสองลักษณะ
คือ การใช้อติพจน์ และการใช้บุคลาธิษฐาน
1 การใช้อติพจน์ หรือเรียกอีกอย่างหนึง่ ว่า การกล่าวเกินจริง ทั้งนี้ ไม่ ใช่เพราะกวี
ต้องการจะหลอกลวงผูอ้ า่ น แต่ตอ้ งการให้ผอู้ า่ นสัมผัสถึงความยิง่ ใหญ่และอลังการของบท
ประพั นธ์ ดังตัวอย่าง

“เสียงพลโห่ร้องเอาชัย เลื่อนลั่นสนัน่ ใน
พิภพเพี ยงท�ำลาย”

บทประพั นธ์น้กี วี ใช้อติพจน์เปรียบเทียบเกินจริงเพื่อต้องการให้ผู้อ่านทราบว่าเสียง


โห่ร้องของไพร่พลในกองทั พดังมากขนาดไหน ซึ่งผู้อ่านก็ไม่จ�ำเป็นต้องหาค�ำตอบ เพราะ
ทราบอยู่แล้วว่าเสียงดังจนพิภพจะพั งทลาย
บทที่ 22 บทพากย์เอราวัณ 317

2 การใช้บุคลาธิษฐาน คือ การสมมติ ให้สิ่งที่ ไม่มีชีวิต มีอาการกิริยาประหนึง่ ว่า


มีชีวิต หรือสมมติ ให้สัตว์ต่างๆ พูดได้ และมีความรู้สึกอย่างเดี ยวกับคนทั ่วไป ดังตัวอย่าง

“สัตภัณฑ์บรรพตทั ้งหลาย อ่อนเอียงเพียงปลาย


ประนอมประนมชมชัย”

จากตัวอย่างนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงอากัปกิริยาของภูเขาอันเป็นสิ่งไม่มีชีวิต แต่ก�ำลัง


กระท�ำอาการแบบสิ่งมีชีวิต นัน่ คือ น้อมยอดลงมาเพื่อประนมมือไหว้ (พระราม)
6.1.3 การเล่นเสียง ก็คอื การใช้สมั ผัสนัน่ เอง ซึง่ ปรากฏว่ามีทัง้ สัมผัสสระและสัมผัส
อักษร โดยจะปรากฏในวรรคแรกเกือบทุกบท เช่น

“อินทรชิตบิดเบือนกายิน เหมือนองค์อมรินทร์
ทรงคชเอราวัณ

จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่ามีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร วรรคที่ 1 สัมผัสสระ


ได้แก่ค�ำว่า ชิต-บิด สัมผัสอักษร ได้แก่ค�ำว่า บิด-เบือน วรรคที่สองมีสัมผัสอักษร คือ
องค์-อมริ นทร์ เป็นต้น

6.2 คุณค่าด้านความรู้
6.2.1 ความรู้เรื ่องการพากย์ โขน โขนใช้การพากย์เป็นการด�ำเนินเรื่อง ค�ำพากย์
เป็นบทประพั นธ์ประเภทกาพย์ คือ กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง ไม่ว่าจะพากย์ชนิดใดๆ เมื่อ
พากย์จบกาพย์ยานีไปบทหนึง่ ๆ ผู้ตีกลองตะโพนจะต้องตีท้า ให้ผู้ตีกลองทั ดตีรับ 2 ที
แล้วพวกคนแสดงภายในโรงก็ต้องรับด้วยค�ำว่า “เพ้ย” พร้อมกันทุกบท เช่น ถ้าพากย์เป็น
กาพย์ฉบังว่า

“ลูกครุฑพลัดตกฉิมพลี หัสดินอินทรี
คาบช้างก็วางไอยรา”
318 พินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ตะโพนก็ตีท้าและกลองทั ดตีต่อจากตะโพน 2 ที แล้วก็รับ “เพ้ย” ทีหนึง่ และเป็น


เช่นนี้เรื่อยไป
6.2.2 ความรู้เรื ่องพระอินทร์และช้างเอราวัณ กล่าวคือ ท�ำให้ผู้อ่านทราบว่า
พระอินทร์มชี า้ งทรงทีม่ ลี กั ษณะมหัศจรรย์ชอื่ ช้างไอยราพตหรือไอยราพั ณ ซึง่ ความจริงแล้ว
คือ ไอยราพั ณเทพบุตร ได้เนรมิตกายเป็นช้างเผือกส�ำหรับพระอินทร์เสด็จประทั บไปยังที่
ต่างๆ ช้างไอยราพั ณนี้เรารู้จักกันในชื่อว่า ช้างเอราวัณ เป็นช้างสูงใหญ่มหึมา มี 33 เศียร
เมื่อใดที่พระอินทร์เสด็จประทั บเหนือแท่นแก้วบนเศียรช้างเอราวัณนั้น ชายาทั ้ง 4 ของ
พระอินทร์จะตามเสด็จมาด้วยเสมอ ชายาที่ประเสริฐที่สุด คือนางสุธัมมา อีก 3 องค์ คือ
นางสุจิตรา นางสุนันทา และนางสุชาดา นอกจากนี้ก็ยังมีนางฟ้าองค์อื่นๆ ที่เป็นชายาอีก
92 องค์ ตามเสด็จด้วย และมีบรรดาสาวใช้ตามเสด็จไปบนเศียรช้าง บรรดานางฟ้าทัง้ หลาย
ทีม่ หี น้าทีบ่ รรเลงเพลงดนตรีถวายพระอินทร์นนั้ มีอยูอ่ งค์หนึง่ ทีร่ จู้ ักกันดีคอื นางมณีเมขลา
เป็นผู้เป่าสังข์ถวาย (น้อมนิจ วงศ์สุทธิธรรม, 2558 : 138)
6.2.3 ศรพรหมมาศ ศรพรหมมาศที่จะกล่าวถึงนี้ เป็นศรพรหมมาศที่พระอิศวร
ประทานให้แก่รณพั กตร์ พร้อมพระเวทแปลงกายเป็นพระอินทร์ เพื่อเป็นขวัญและก�ำลังใจ
ให้แก่รณพั กตร์ทสี่ ามารถท�ำพิธมี หากาลอัคคีครบ 7 ปี ท�ำให้ได้ศรจากพระเป็นเจ้ามา 3 เล่ม
นอกจากศรพรหมมาศแล้ว ยังมีศรนาคบาศที่ ได้จากพระพรหม และศรวิ ษณุปาณัมจาก
พระนารายณ์ หลังจากพระรามท�ำลายศรนาคบาศไปแล้ว อินทรชิตจึงท�ำพิธชี บุ ศรพรหมมาศ
แต่พิธีต้องเสียไป เพราะทศกัณฐ์ ให้คนไปส่งข่าวเรื่องก�ำปั่นถูกฆ่า อินทรชิตพยายามแก้ไข
พิธีจนส�ำเร็จ แล้วน�ำศรพรหมมาศออกมารบกับพระลักษณ์ และแผลงศรไปถูกพระลักษณ์
จนสลบ พระรามต้องหาทางแก้ไขจนพระลักษณ์ฟื้น หลังพิธีกุมภนิยาถูกท�ำลาย และ
พระลักษณ์ท�ำลายศรวิ ษณุปาณัมได้แล้ว อินทรชิตต่อสู้กับพระลักษณ์ด้วยศรพรหมมาศ แต่
สู้ศรพรหมมาศของพระลักษณ์ ไม่ได้ จึงถูกสังหาร (รื่นฤทั ย สัจจพั นธุ์, 2559 : 179)

6.3 คุณค่าด้านความคิด
6.3.1 สะท้อนให้เห็นเรื ่องการศึกษา จากเนื้อหาที่กล่าวมาท�ำให้เห็นว่าผู้น�ำต้อง
มีการศึกษาสูง ดังเช่น อินทรชิตที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญด้านการรบ สามารถแปลง
กายเป็นพระอินทร์ได้เพราะมีการศึกษา ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นการศึกษาด้วยตนเองก็ว่าได้
เพราะอินทรชิตได้ไปนัง่ บ�ำเพ็ญภาวนาอยู่ถึง 7 ปี จึงได้รับพรจากพระผู้เป็นเจ้าทั ้งสาม
บทที่ 22 บทพากย์เอราวัณ 319

6.3.2 การให้อำ� นาจกับใครควรไตร่ตรองให้ดี กล่าวคือ พระอิศวร พระนารายณ์


และพระพรหม ได้ประทานพรและศรวิ เศษแก่อินทรชิต แต่อินทรชิตกลับน�ำไปใช้เพื่อการ
สงครามท�ำลายล้าง จนก่อให้เกิดความสูญเสีย เพราะอินทรชิตเป็นคนเหิมเกริม ไม่มีสติ
ในการด�ำเนินชีวิต หากพระผู้เป็นเจ้าทั ้งสามพิจารณาลักษณะนิสัยของอินทรชิตให้ดีก่อน
อินทรชิตก็จะไม่สามารถท�ำความเดือดร้อนให้ ใครได้
6.3.3 เมือ่ มีอำ� นาจแล้วควรใช้ไปในทางทีถ่ กู ต้อง เมือ่ อินทรชิตได้รับพรและศร
วิ เศษจากพระผู้เป็นเจ้าทั ้งสามแล้วก็เกิดความเหิมเกริม น�ำศรวิ เศษไปใช้ ในทางที่ผิด เช่น
น�ำไปรบกับพระอินทร์ ในชีวิตประจ�ำวันของเราก็เช่นกัน ถ้าเรามีความรู้ก็เปรียบเสมือนมี
เครื่องมือที่ ใช้ในการประกอบอาชีพ แต่หากน�ำไปใช้ ในทางที่ผิดความรู้ก็จะกลายเป็นอาวุธ
ร้ายท�ำลายทุกสิ่งให้พินาศ ดังนั้นศรวิ เศษของอินทรชิต จึงเหมือนความรู้ที่เป็นดาบสองคม
ต้องรู้จักใช้ ให้ถูกทาง
6.3.4 การใช้ ชีวิตอย่างมีสติ บทพากย์เอราวัณเป็นเรื่องราวตอนที่อินทรชิต
แปลงกายเป็นพระอินทร์เพื่อมาต่อสู้กับพระลักษณ์ ในที่สุดพระลักษณ์หลงกลถูกศร
พรหมาศของอินทรชิต ทั ้งนี้มาจากสาเหตุที่ว่าพระลักษณ์ไม่มีสติ หลงเพลินไปกับความงาม
ที่อยู่เบื้องหน้า ทั ้งๆ ที่สุครีพได้เตือนให้ระวังตัวแล้ว
6.3.5 สงครามคือความสูญเสีย บทพากย์เอราวัณได้นำ� เนือ้ เรือ่ งมาจากรามเกียรติ์
ซึง่ เป็นเรือ่ งราวการท�ำสงครามระหว่างมนุษย์และยักษ์ สงครามทีเ่ กิดขึน้ ได้นำ� ความสูญเสียมาสู่
กองทัพฝ่ายพระรามและฝ่ายทศกัณฐ์ เช่น พระลักษณ์ตอ้ งศรพรหมมาศ อินทรชิตบาดเจ็บและ
สิน้ ชีวิตในการรบ จะเห็นได้วา่ สงครามไม่ได้ทำ� ให้ฝา่ ยใดได้รับประโยชน์เลย ดังนัน้ เมือ่ มีปญ
ั หา
เกิดขึ้นจึงไม่ควรใช้ก�ำลังในการแก้ปัญหา ควรใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหามากกว่า (คุณค่า
ด้านความคิด ทั ้งหมดนี้สรุปความจากฟองจั นทร์ สุขยิ่ง และคณะ, 2555 : 134-135)
บรรณานุกรม 22

ผกาศรี เย็นบุตร และคณะ. (2555). หนังสือเรี ยนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย 3


เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ส�ำนักพิมพ์เอมพั นธ์ จ�ำกัด.
ฟองจั นทร์ สุขยิ่ง และคณะ. (2555). หนังสือเรี ยน รายวิชาพื้นฐานภาษา
ไทย วรรณคดีและวรรณกรรม ม. 3. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อักษร
เจริญทั ศน์ อจท. จ�ำกัด.
ภิ ญ โญ ศรี จ� ำ ลอง. (2548). ความยิ่ ง ใหญ่ แ ห่ ง วรรณคดี รั ต นโกสิ น ทร์ .
กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์ปิรามิด.
น้อมนิจ วงศ์สทุ ธิธรรม. (2558). วรรณคดีสโุ ขทัย. พิมพ์ครัง้ ที่ 8. กรุงเทพมหานคร :
ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
รื่นฤทั ย สัจจพั นธุ์. (2553). ความรู้ทั่วไปทางภาษาไทย ตอนที่ 3 วรรณคดีไทย.
พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
. (2559). นามานุกรมรามเกียรติ.์ พิมพ์ครัง้ ที่ 5. กรุงเทพมหานคร :
ส�ำนักพิมพ์แสงดาว.
ส. พลายน้อย. (2554). รามเกียรติ์ ฉบับมหาชน. พิมพ์ครัง้ ที่ 7. กรุงเทพมหานคร :
พิมพ์ค�ำส�ำนักพิมพ์.
สมพั นธุ์ เลขะพั นธุ์. (2556). วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. พิมพ์ครั้งที่
12. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.
เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2554). วรรณกรรมพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ
หล้านภาลัย. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์มหาวิ ทยาลัยรามค�ำแหง.

You might also like