โรคจากการประกอบอาชีพ Occupational Disease

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 12

โรคจากการประกอบอาชีพ OCCUPATIONAL DISEASE

ขอบเขตอาชีวะอนามัยและความปลอดภัย
1. คนในขณะทำงาน (Workers)
ในผู้ที่ปฏิบัติงานอาชีพต่างๆจะได้รับการดูและทางสุขภาพอนามัย การค้นหาโรคและอันตรายที่เกิดขึ้นที่เป็นผลมากจากการ
ทำงาน การส่งเสริมสุขภาพอนามัย ป้องกันโรค อันตรายและอุบตั ิเหตุที่อาจเกิดจากการทำงาน
2. สภาพสิ่งแวดล้อมของการทำงาน (Working Environment)
เป็นการศึกษาสภาพแวดล้อมของงานแต่ละประเภท ว่ามีสิ่งใดที่ทำให้เกิดอันตราบได้บ้าง และมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร
#การศึกษาสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยใช้หลักการทางอาชีวสุขศาสตร์ (Occupational hygiene) มี 3 หลักการใหญ่ๆ
ด้วยกัน คือ
1. การสืบค้น (Identify)
โดยศึกษาสภาพแท้จริงของงาน เพื่อค้นหาปัญหาว่าในงานนั้นๆมีสิ่งใดบ้างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงาน เช่น อันตรายจาก
สิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ อันตรายจากสารเคมี อันตรายทางด้านชีวภาพ และปัญหาทางด้านการยศาสตร์
2. การประเมินอันตราย (Evaluation)
เมื่อทราบปัญหาแล้ว จะต้องมีการประเมินระดับอันตรายที่อาจเกิดขึน้ ว่ามีผลต่อสุขภาพคนงานหรือไม่และมากน้อยเพียงใด ซึ่งสาม
รถกระทำได้โดยการตรวจสอบ การตรวจวัด หรือการวิเคราะห์ปัญหา โดยนำค่าทีไ่ ด้มาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานที่มีการกำหนด
ไว้
3. การควบคุม (Control)
เป็นงานที่ต้อเนื่องจากทั้งสองขั้นตอนข้างต้น ซึ่งเมื่อทราบว่างานนั้นมีสิ่งใดที่เป็นอันตรายหรือมีผลต่อสุขภาพ และทราบความ
รุนแรงของอันตรายแล้วจะนำมาสูก่ ารดำเนินการควบคุมและป้องกันอันตราย โดยการใช้มาตรการ วิธีการที่เหมาะสมและมี
ประสิทธิภาพในการควบคุมอันตรายดังกล่าว

#โรคจากการประกอบอาชีพ OCCUPATIONAL DISEASE


เมื่อ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา กฎกระทรวง การจัดให้มเี จ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือ
คณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ได้มีผลบังคับใช้ และ โรคจากการทำงานได้มี
การกล่าวถึงในกฎหมายใหม่ฉบับนี้ด้วย โดยเพิ่มหน้าที่ 1 ข้อ ของ จป. วิชาชีพ
#นั่นคือข้อ 12 ให้ความรู้ และ อบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพ และ สิ่งแวดล้อมแก่ลูกจ้างก่อนเข้าทำงาน และ ระหว่าง
ทำงาน เพื่อทบทวนความรู้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเราจะมาเจาะลึกเกี่ยวกับโรคจากการทำงานว่ามันคืออะไร
#คำว่าอบรมก่อน และ ระหว่าง
#ความหมายของคำว่า ก่อนเข้าทำงานให้ จป. วิชาชีพ จัดอบรมโรคจากการประกอบอาชีพ ให้กับพนักงาน หลายคนมีข้อสงสัยว่า
เราจัดอบรมพร้อมกับ หลักสูตรพนักงานเข้าทำงานใหม่ 6 ชั่วโมง รวบทีเดียวเลยได้เลยหรือไม่ (เข้าใจจป.วิชาชีพ หลายคนว่าแค่ 6
ชม.นายจ้างบางสถานประกอบกิจการยังบอก จป.อย่าเยอะ...5555)

ผู้คัดลอกมา นายธนภัทร คำบาง 1


โรคจากการประกอบอาชีพ OCCUPATIONAL DISEASE

แนวคิด: (เจตนารมณ์กฎหมาย) ลักสูตรพนักงานใหม่ 6 ชม. นั้นกฎหมายได้กำหนดหัวข้ออบรม และ ชั่วโมงอบรมไว้เรียบร้อยแล้ว


เราจึงไม่สามารถเอา หลักสูตรโรคจากการทำงาน ไปรวมในหลักสูตรพนักงานใหม่ 6 ชั่วโมงได้
#ความหมายของคำว่า ระหว่าง กฎหมายก็ไม่ได้มีการกำหนดตายตัว จป. วิชาชีพ ควรจัดทำแผนอบรมระหว่างไว้ใน Action plan
จนกว่าจะมี ประกาศเพิ่มเติมรายละเอียดของหลักสูตรนี้

#โรคจาการทำงาน (ปวดหัวมาก คือมันหลากหลายจริงๆ)


ตัวอย่างทีย่ กมาทั้งหมดนี้ มีทั้งตามกฎหมายไทยเก่า-ใหม่และองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
#โรคจากการทำงาน อ้างอิงตามกฎหมายแม่ พ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิง่ แวดล้อม พ.ศ. 2562 ซึ่งให้
ความหมายไว้ ดังต่อไปนี้
#โรคจากการประกอบอาชีพ หมายความว่า “โรคหรืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจากหรือเป็นผลเนื่องมาจากการทำงานหรือการ
ประกอบอาชีพ” มีอยู่ 5 โรค ดังต่อไปนี้
• โรคจากตะกั่วหรือสารประกอบของตะกั่ว
• โรคจากฝุ่นซิลิกา
• โรคจากภาวะอับอากาศ
• โรคจากแอสเบสตอส (ใยหิน) หรือโรคมะเร็งที่เกิดจากแอสเบสตอส (ใยหิน)
• โรคหรืออาการสำคัญของพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช
#โรคจากสิ่งแวดล้อม หมายความว่า โรค หรือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจากหรือเป็นผลเนื่องมาจากมลพิษ มีอยู่ 2 โรค ได้แก่
• โรคจากตะกั่วหรือสารประกอบของตะกั่ว
โรคหรืออาการที่เกิดจากการสัมผัสฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ซึ่ง พ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจาก
สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 กำหนดไว้ว่า “ให้นายจ้างแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการ
ประกอบอาชีพแก่ลกู จ้าง” ถ้าหากเราเป็น จป.วิชาชีพ ต้องอบรมให้ความรู้ กับพนักงาน เราสามารถเอาหัวข้อที่นายจ้างต้อง
ปฏิบัติมาอบรมให้กับพนักงาน เพือ่ ให้สามารถเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพตามข้อกำหนดข้างต้นได้
#โรคจากการประกอบอาชีพ Occupational Disease คืออะไร?
#โรคจากการประกอบอาชีพ (Occupational Disease) คือ ภาวะสุขภาพหรือความผิดปกติที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น มะเร็ง ความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ความเครียดหลังเกิดบาดแผล เป็น
ต้น
โดยทั่วไปภาวะสุขภาพหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกลุม่ คนที่มีอาชีพคล้ายกันที่ได้รับสัมผัสที่มีความถี่สูงกว่าประชากรที่เหลือถือ
ว่าเป็นโรคจากการทำงาน
#โรคจากการทำงานเกิดจากอะไร?
#โรคจากการทำงานอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
#สารชีวภาพ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ปรสิต แมลง พืช นก สัตว์ หรือคน
ผู้คัดลอกมา นายธนภัทร คำบาง 2
โรคจากการประกอบอาชีพ OCCUPATIONAL DISEASE

#สารเคมี เช่น เบอริลเลี่ยม ตะกั่ว เบนซีน ไอโซไซยาเนต


#ปัญหาตามหลักการยศาสตร์ เช่น การเคลื่อนไหวซ้ำๆ การติดตั้งสถานีงาน แสงสว่างไม่เพียงพอ การออกแบบเครื่องมือที่ไม่
เหมาะสม
#ทางกายภาพ เช่น รังสีที่แตกตัวเป็นไอออน สนามแม่เหล็ก อุณหภูมิ เสียง ความสั่นสะเทือน
#ปัญหาทางสังคม เช่น ความเครียด ความรุนแรง การกลั่นแกล้ง การล่วงละเมิด และการขาดการยอมรับ เป็นต้น
นอกจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่กำหนดการพัฒนาหรือความรุนแรงของโรคจากการทำงาน ได้แก่
• ปริมาณการสัมผัสหรือปริมาณที่เข้าสู่ร่างกาย
• ระยะเวลาในการสัมผัส
• ความเป็นพิษของสารเคมี
• การขับสารออกจากร่างกาย
• ความไวในการรับสัมผัสส่วนบุคคล
• ผลกระทบที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การสัมผัสสารเคมีชนิดอื่น
ความรุนแรงของโรค ขึ้นอยู่กับการรับสัมผัสสารด้วยเช่นกัน โดยทั่วไป หากยิ่งรับสัมผัสเป็นเวลานาน และปริมาณความเข้มข้นที่สูง
ความเสีย่ งหรือการพัฒนาของโรคต่อสุขภาพ ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

#โรคจากการทำงานสามารถป้องกันได้อย่างไร (หน้าที่ใครละ...ขอบอกเลยว่าหน้าที่ทุกคน นายจ้าง/จป./ลูกจ้าง)


การป้องกันโรคจากการทำงานสามารถทำได้ เพื่อทำให้ผู้ปฏิบตั ิงานปลอดภัยจากอันตรายที่อาจเกิดขึน้ ในขณะที่ปฏิบัติงาน โดย
สามารถป้องกันได้ ดังนี้
• เรียนรู้อันตรายในสถานที่ทำงาน เพื่อหาวิธีป้องกันผู้ปฏิบัติงานจากอันตรายนั้น
• นายจ้างควรพัฒนาระบบความปลอดภัย โปรแกรม ข้อกำหนด และขั้นตอนการทำงาน ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกัน
ผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานไม่ให้เกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย และลูกจ้างควรปฏิบัติตาม
• สื่อสารความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความเสี่ยงต่อพนักงาน ให้ขอ้ มูลที่เหมาะสม และอบรมให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงาน
เพื่อให้สามารถป้องกันตนเองจากอันตรายเบื้องต้นได้
• ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อสอบสวนการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย ที่มลี ักษณะบ่งชี้ว่าอาจเกี่ยวข้องกับการ
ทำงาน เช่น บอกกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพว่าทำงานที่ไหน ทำงานอะไร และเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใด เพื่อให้ทราบถึง
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

#โรคจากการทำงานตามองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization; ILO)


องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ได้กำหนดโรคจากการทำงานไว้ จำนวนมาก ซึ่งแบ่งตามสิ่งที่ทำให้เกิดโรค ดังต่อไปนี้
1.โรคจากการทำงานที่เกิดจากการสัมผัสที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการทำงาน

ผู้คัดลอกมา นายธนภัทร คำบาง 3


โรคจากการประกอบอาชีพ OCCUPATIONAL DISEASE

1.1 โรคที่เกิดจากสารเคมี 41 โรคซึ่งจะยกตัวอย่างดังต่อไปนี้


• โรคที่เกิดจากเบริลเลียมหรือสารประกอบ
• โรคที่เกิดจากแคดเมี่ยมหรือสารประกอบ
• โรคที่เกิดจากฟอสฟอรัสหรือสารประกอบ
• โรคที่เกิดจากแมงกานีสหรือสารประกอบ
• โรคที่เกิดจากตะกั่วหรือสารประกอบ
• โรคที่เกิดจากปรอทหรือสารประกอบ
• โรคที่เกิดจากสารหนูหรือสารประกอบ
• โรคที่เกิดจากฟลูออรีนหรือสารประกอบ
• โรคที่เกิดจากคาร์บอนไดซัลไฟด์
• โรคที่เกิดจากเฮกเซน
• และโรคอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก
• การสูญเสียการได้ยินทางประสาทสัมผัสอย่างกะทันหัน Sudden Sensorineural Hearing Loss
1.2 โรคที่เกิดจากกายภาพ 7 โรค ได้แก่
• ความบกพร่องทางการได้ยินที่เกิดจากเสียง
• โรคที่เกิดจากการสั่นสะเทือน ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของกล้ามเนือ้ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ หลอดเลือดหรือเส้นประสาท
• โรคที่เกิดจากอากาศอัด
• โรคที่เกิดจากรังสี
• โรคที่เกิดจากแสง (อัลตราไวโอเลต แสงที่มองเห็นได้ อินฟราเรด) รวมทั้งเลเซอร์
• โรคที่เกิดจากการสัมผัสอุณหภูมิที่สูงเกินไป
• โรคที่เกิดจากสารทางกายภาพอื่นๆ ในที่ทำงานที่ไม่ได้กล่าวถึง ตามข้างต้น
1.3 สารชีวภาพและโรคติดเชื้อหรือปรสิต 9 โรคได้แก่
• บรูเซลโลซิส
• ไวรัสตับอักเสบ
• ไวรัสภูมิคมุ้ กันบกพร่องของมนุษย์
• บาดทะยัก
• วัณโรค
• กลุ่มอาการที่เป็นพิษหรืออักเสบที่เกี่ยวข้องกับสารปนเปื้อนจากแบคทีเรียหรือเชื้อรา
• โรคแอนแทรกซ์
ผู้คัดลอกมา นายธนภัทร คำบาง 4
โรคจากการประกอบอาชีพ OCCUPATIONAL DISEASE

• โรคฉี่หนู
• โรคที่เกิดจากสารชีวภาพอื่นๆ ในที่ทำงาน ที่ไม่ได้กล่าวถึง
• โรคระบบทางเดินหายใจ
2.โรคจากการทำงานตามระบบอวัยวะเป้าหมาย
2.1 โรคระบบทางเดินหายใจ 12 โรค เช่น
• โรคปอดบวมที่เกิดจากฝุ่นแร่ไฟโบรเจนิค (ซิลโิ คซิส แอนทราโคซิลิโคซิส ใยหิน)
• วัณโรคซิลโิ คทูเบอร์คโู ลสิส
• โรคปอดบวมที่เกิดจากฝุ่นแร่ทไี่ ม่ใช่ไฟโบรเจนิค
• ไซด์โรซิส
• โรคผิวหนัง
2.2 โรคผิวหนัง 4 โรค ได้แก่
• ผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสและลมพิษที่เกิดจากการแพ้ จากกิจกรรมการทำงาน
• การระคายเคืองผิวหนังที่เกิดจากกิจกรรมการทำงาน
• โรคด่างขาวที่เกิดจากกิจกรรมการทำงาน
• ไม่รวมโรคผิวหนังอื่นๆ ที่เกิดจากสารทางกายภาพ เคมี หรือชีวภาพในที่ทำงาน
2.3.ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก 8 โรค เช่น
• เนื่องจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ออกแรงอย่างหนัก บริเวณข้อมือ Radial styloid tenosynovitis
• โรคเอ็นอักเสบเรื้อรังและข้อมือ เนื่องจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ
• เนื่องจากแรงกดบริเวณข้อศอกเป็นเวลานาน Olecranon bursitis
• Prepatellar bursitis เนื่องจากอยู่ในท่าคุกเข่าเป็นเวลานาน Prepatellar bursitis
2.4 ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม 2 โรค
• ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง
• ความผิดปกติทางจิตหรือพฤติกรรมอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง ที่เกิดจากการสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากกิจกรรมการทำงาน
3. มะเร็งจากการทำงาน
3.1 มะเร็งที่เกิดจาก 21 สาร ยกตัวอย่าง เช่น
• แอสเบสตอส
• เบนซิน
• โครเมี่ยม 6
• ไวนิล คลอไรด์

ผู้คัดลอกมา นายธนภัทร คำบาง 5


โรคจากการประกอบอาชีพ OCCUPATIONAL DISEASE

• ส่วนประกอบนิคเกิล
• แคดเมี่ยมและสารประกอบ
4.โรคอื่นๆ เช่น โรคของคนงานเหมือง
ซึ่งหากต้องการทราบรายชื่อโรคจากการทำงานทั้งหมด ตาม ILO สามารถศึกษาเพิม่ เติมได้จาก ILO List of Occupational
Disease
• หัวข้อการสอนเกี่ยวกับโรคจากการประกอบอาชีพ
• สาเหตุของการเกิดโรคจากการทำงาน
• ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคจากการทำงาน
• การควบคุมโรคจากการทำงาน
• การเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน โดยการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม และ การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง
• ความสำคัญของการสวมใส่อุปกรณ์ PPE ตลอดระยะทำงานเพื่อป้องกันโรคจากการทำงาน
#สรุป
จป วิชาชีพ ที่จะสอนคนงานเกี่ยวกับโรคจากการทำงานตามกฎหมายใหม่ก่อนเริ่มงาน และ ระหว่างทำงานนั้นจะต้องทำการ
ประเมินความเสี่ยงเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้พนักงานในบริษทั ของเราเกิดโรคจากการทำงาน การตรวจสุขภาพตามปัจจัย
เสี่ยงถือเป็นอีกวิธีที่จะช่วยติดตาม (Monitoring) สุขภาพของพนักงานที่มีแนวโน้มจะเกิดโรคจากการทำงานได้
จากทั้ง 2 ประเภท ได้จดั จำแนกอีกลักษณะโดยจำแนกเป็น "กลุ่มโรค" ได้ 6 กลุ่ม ตามสาเหตุ ที่ก่อให้เกิดโรค
1. กลุ่มโรคทีเ่ กิดขึ้นจากสารเคมี (Diseases caused by chemical agents)
• โรคจากเบนซีน ( Disease caused by benzene or its toxic homologues)
• โรคจากโทลูอีน ( Disease caused by benzene or its toxic homologues )
• โรคจากสไตรีน ( Disease caused by benzene or its toxic homologues )
• โรคจากไซลีน ( Disease caused by benzene or its toxic homologues )
• โรคจากแคดเมียม ( Disease caused by cadmium or its toxic compounds)
• โรคจากโครเมียม ( Disease caused by chromium or its toxic compounds)
• โรคจากแมงกานีส ( Disease caused by manganese or its toxic compound)
• โรคจากสารหนู (Disease caused by arsenic or its toxic compound)
• โรคจากปรอท ( Disease caused by mercury or its toxic compound)
• โรคจากตะกั่ว (Disease caused by lead or its toxic compound)
• คลอรีน ( Disease caused by chlorine)
• โรคจากแอมโมเนีย ( Disease caused by ammonia)

ผู้คัดลอกมา นายธนภัทร คำบาง 6


โรคจากการประกอบอาชีพ OCCUPATIONAL DISEASE

• ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ( Disease caused sulphur dioxide or sulphuric acid )


• โรคคาร์บอนมอนนอกไฃด์ (Disease caused by carbon monoxide)
• โรคจากไฮโครเจนซัลไฟด์ ( Disease caused by hydrogensulphide)
• โรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Disease caused by pesticides)
2. กลุ่มโรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางกายภาพ ( Diseases caused by physical agents )
• โรคประสาทหูเสื่อมจากการทำงาน( Hearing impairment caused by noise)
• โรคจากความร้อน ( Disease caused by heat radiation)
3. กลุ่มโรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางชีวภาพ ( Diseases caused by biological agents )
• วัณโรคปอด (Tuberculosis)
• โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax)
• โรคเลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis)
4. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน ( Occupational Respiratory Diseases)
• โรคซิลิโคสิส ( Silicosis )
• โรคแอสเบสโตลิส (โรคปอดจากแร่ใยหิน, Asbestosis )
• โรคบิสสิโนสิส (Byssinosis)
• โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ ( Occupational asthma)
5. กลุ่มโรคผิวหนังจากการทำงาน (Occupational skin disease)
• โรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อระคายจากการประกอบอาชีพ (Occupational Irritant Contact Dermatitis)
• โรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสแบบก่อภูมิแพ้จากการประกอบอาชีพ ( Occupational Allergic Contact
Dermatitis)
6. โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกจากการทำงาน (0ccupational musculo-skeletal disorders)
• อาการปวดหลังส่วนล่างจากการทำงาน

#กฎหมาย
พ.ศ. 2536 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมออกประกาศ เรื่อง กำหนดชนิดของโรค ซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงาน
หรือเนื่องจากการทำงาน จำนวน 32 โรค ดังต่อไปนี้
1. โรคจากสารตะกั่ว หรือสารประกอบของสารตะกั่ว
2. โรคจากแมงกานีส หรือสารประกอบของแมงกานีส
3. โรคจากสารหนู หรือสารประกอบของสารหนู
4. โรคจากเบอริลเลี่ยม หรือสารประกอบของสารเบอริลเลีย่ ม
ผู้คัดลอกมา นายธนภัทร คำบาง 7
โรคจากการประกอบอาชีพ OCCUPATIONAL DISEASE

5. โรคจากสารปรอท หรือสารประกอบของปรอท
6. โรคจากโครเมีย่ ม หรือสารประกอบของโครเมี่ยม
7. โรคจากนิเกิล้ หรือสารประกอบของนิเกิ้ล
8. โรคจากสังกะสี หรือสาร ประกอบของสังกะสี
9. โรคจากแคดเมี่ยม หรือสาร ประกอบของแคดเมี่ยม
10. โรคจากฟอสฟอรัส หรือสาร ประกอบของฟอสฟอรัส
11. โรคจากคาร์บอนไดซัลไฟด์
12. โรคจากไฮโดรเจนซัลไฟ
13. โรคจากซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์ หรือกรดซัลฟูริค
14. โรคจากไนโตรเจนอ๊อกไซด์ หรือกรดไนตริค
15. โรคจากแอมโมนีย
16. โรคจากคลอรีน หรือสารประกอบของคลอรีน
17. โรคจากคาร์บอนมอนอกไซด์
18. โรคจากเบนซิน หรือสารประกอบของเบนซิน
19. โรคจากสารฮาโลเจน ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของไฮโดรเย็นกลุ่มน้ำมัน
20. โรคจากสารกำจัดศัตรูพืช
21. โรคจากสารเคมีอื่นหรือสารประกอบของสารเคมีอื่น
22. โรคจากเสียง
23. โรคจากความร้อน
24. โรคจากความเย็น
25. โรคจากความสั่นสะเทือน
26. โรคจากความกดดันอากาศ
27. โรคจากรังสีไม่แตกตัว
28. โรคจากรังสีแตกตัว
29. โรคจากแสงหรือคลื่นแม่เหล็ก - ไฟฟ้าอื่น ๆ
30. โรคจากฝุ่น
31. โรคติดเชื้อจากการทำงาน
32. โรคอื่น ๆ ซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงาน หรือเนื่องจากการทำงาน
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วนั ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536

ผู้คัดลอกมา นายธนภัทร คำบาง 8


โรคจากการประกอบอาชีพ OCCUPATIONAL DISEASE

#สารก่อมะเร็ง (Carcinogens)
รายชื่อสารก่อมะเร็งบางส่วน ที่ถูกเผยแพร่ เพื่อให้เห็นภาพรวมกว้างๆ ของสารพิษก่อมะเร็งใกล้ตัว โดยรวบรวมข้อมูล
จากหน่วยงานระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยมะเร็ง (International Agency for Research on Cancer) ศูนย์มะเร็งแห่งชาติ
(National Cancer Institute) สถาบันคุ้มครองสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (Environmental Protection Agency) และศูนย์ควบคุมและ
ป้องกันโรคสหรัฐ (Centers for Disease Control and Prevention)
#มลพิษทางอากาศ (Air Pollution)
สถานะ: อากาศปนเปื้อนสารพิษ ซึ่งเราหายใจเข้าไปทั้งหมด
ที่มา: เขม่าจากไอเสียรถยนต์ เขม่าจากปล่องควันอุตสาหกรรม ก๊าซพิษจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ควันจากเครื่องดับกลิ่น น้ำยาทำ
ความสะอาด วัสดุก่อสร้าง เฟอร์นเิ จอร์ วัสดุใหม่ ควันบุหรี่ ละอองเรณู และรา
เสี่ยงต่อโรค: โรคมะเร็ง โรคหอบหืด โรคทางเดินหายใจ การคลอดก่อนกำหนด
#อะฟลาท็อกซิน (Aflatoxins)
สถานะ: กลุม่ สารเคมีพิษที่ก่อตัวในอากาศชื้นอบอุ่น เชื้อราและราต่างๆ ในถั่วลิสง ข้าวโพด
ที่มา: เนยถั่วลิสง
เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งตับ
ผู้มีความเสีย่ ง: ผู้ที่ตับไม่แข็งแรง ตับมีความเสียหาย และผู้ที่ตดิ เชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง
#อนาบอลิก สเตียรอยด์ (Anabolic Steroids)
สถานะ: ยาที่มโี ครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศชาย
ที่มา: ยาฉีด, ยารับประทาน ยาเหน็บช่องคลอด ยาทาผิวภายนอก
เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งตับ
ผู้ที่มีความเสี่ยง: เด็กและวัยรุ่นที่ใช้สเตียรอยด์เป็นเครื่องมือช่วยในการปรับปรุงสมรรถนะด้านกีฬา
#สารหนู (Arsenic)
สถานะ: สารเคมีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ พบได้ในอากาศ น้ำ ดิน
การแพร่สสู่ ิ่งแวดล้อม: สารปนเปื้อนในน้ำประปา อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมถลุงแร่
ที่มา: สารกำจัดศัตรูพืชรุ่นเก่า
เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งผิวหนัง มะเร็งปอด มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร มะเร็งไต มะเร็งตับ และมะเร็งเม็ด
เลือด
ผู้ที่มีความเสี่ยง: เด็กๆ อาจสัมผัสสารหนูได้เมื่อเล่นใกล้โครงสร้างไม้เก่าๆ ที่ได้รับการฟื้นฟูจากสารหนูทองแดงโครเมียม โดยทั่วไป
จะพบในสนามเด็กเล่นและโต๊ะกลางแจ้ง
#แร่ใยหิน (Asbestos)
สถานะ: กลุม่ แร่ธาตุที่เป็นของเหลวซึ่งก่อตัวขึ้นทั่วโลกตามธรรมชาติทางธรณีวิทยา
การแพร่สสู่ ิ่งแวดล้อม: การฟุ้งกระจายระหว่างก่อสร้างหรือทำลายอาคาร โดยเฉพาะอาคารเก่า

ผู้คัดลอกมา นายธนภัทร คำบาง 9


โรคจากการประกอบอาชีพ OCCUPATIONAL DISEASE

ที่มา: ฉนวนกันความร้อน ผนังอาคาร กระเบื้อง ฝ้าเพดาน หลังคา พื้นเคลือบการต่อเรือ


เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งปอด มะเร็งในทางเดินอาหาร และมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจากแร่ใยหิน (Mesothelioma)
ผู้มีความเสีย่ ง: เด็กๆ ที่จับต้องกับแร่ใยหินจากพื้นผิวฝ้าเพดานมีความเสี่ยงสูง และจะทวีความรุนแรงขึ้นในโรงเรียนที่มคี วามเก่าแก่
ซึง่ มีการดูแลรักษาอาคารเรียนด้วยผลิตภัณฑ์ที่มสี ่วนผสมจากแร่ใยหิน
#แอสพาร์เทม (Aspartame)
สถานะ: สารให้ความหวานเทียม
ที่มา: เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
เสี่ยงต่อโรค: โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ผู้มีความเสีย่ ง: หากเด็กได้รับสารนี้ตั้งแต่ช่วงที่มารดากำลังตั้งครรภ์จะเป็นอันตรายและเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากขึ้น
#เบนซิน (Benzene)
สถานะ: ตัวทำละลายบาง ไม่มีสี กลิ่นหอม
ที่มา: น้ำยาลบสีเก่า น้ำยาทำความสะอาด กาว
เสี่ยงต่อโรค: โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคที่เกี่ยวกับเลือด
ผู้มีความเสีย่ ง: เสี่ยงต่อเด็กและวัยรุ่น เพราะอาจได้สัมผัสกับน้ำมันเบนซินผ่านผิวหนังขณะเติมน้ำมันในสถานีบริการตนเอง หรือ
เมื่อเติมน้ำมันกับเครื่องยนต์ขนาดเล็ก เช่น เครื่องตัดหญ้า
#เบนโซพรีน (Benzopyrene)
สถานะ: เขม่าไหม้สีดำ
ที่มา: ย่างอาหาร ปิ้งขนมปัง คั่วกาแฟ สูบยาสูบ รวมทั้งจากไอเสียรถยนต์และไฟป่าด้วย
เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปอด
#แคดเมียม (Cadmium)
สถานะ: ธาตุโลหะหนัก พบได้ตามธรรมชาติ เช่น ดิน แหล่งน้ำ เหมืองแร่
ที่มา: พลาสติก แบตเตอรี่
การแพร่สสู่ ิ่งแวดล้อม: โรงเผาขยะ โรงกลั่นสังกะสี และควันบุหรี่
เสี่ยงต่อโรค: กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มะเร็งตับอ่อน
#ดีดีที (DDT)
สถานะ: สารกำจัดศัตรูพืชออร์แกนิกคลอรีน
เสี่ยงต่อโรค : มะเร็งเต้านม
ผู้มีความเสีย่ ง: เด็กสาวทีส่ ัมผัสกับ DDT และสตรีที่มารดาเคยได้รับยา DDT ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งมากกว่า
ผู้หญิงทั่วไป
#ไดเอทิลสติลเบสเทอรอล (DES: Diethylstilbesterol)
สถานะ: ยาสำหรับหญิงตั้งครรภ์ทมี่ ีความเสี่ยงต่อการแท้งลูก

ผู้คัดลอกมา นายธนภัทร คำบาง 10


โรคจากการประกอบอาชีพ OCCUPATIONAL DISEASE

เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งในช่องคลอด และอาจทำให้ระบบสืบพันธุ์ในเพศชายเปลี่ยนแปลงไป


#ไอเสียเครื่องยนต์ดีเซล
สถานะ: เขม่าคาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจนและกำมะถันฟอร์มาลดีไฮด์ และเบนโซลีน
เสี่ยงต่อโรค: โรคมะเร็งหลายชนิด
เพิ่มเติม: ไอเสียดีเซลเป็นพิษมากกว่าไอเสียน้ำมันเบนซิน
#ไดออกซิน (Dioxins)
สถานะ: สารปนเปื้อนที่มคี วามเป็นพิษ
ที่มา: ผลิตขึ้นในระหว่างการเผาพลาสติก พีวีซี และสารประกอบคลอรีนอื่นๆ พบในอาหารที่มีไขมันสูง ไข่ นมสำหรับทารก รวมถึง
นมแม่
เสี่ยงต่อโรค: โรคมะเร็งหลายชนิด
#ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde)
สถานะ: สารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยได้
ที่มา: ไม้อัด ไม้อัดกาว กาว กระดาษฉนวน เรซิน เฟอร์นิเจอร์ใหม่ รถใหม่ หรือของที่ซื้อมาใหม่ จะปล่อยฟอร์มาลดีไฮด์ออกสู่
สิ่งแวดล้อม
เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งเม็ดเลือดขาว
#ลินเดน (Lindane) หรือ HCB (Hexachlorobenzene)
สถานะ: สารก่อมลพิษอินทรีย์อย่างถาวร
ผลิตภัณฑ์: ยากำจัดแมลง ยารักษาเหา
เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งตับ
เพิ่มเติม: ปัจจุบันห้ามใช้เพื่อการเกษตร และมียารักษาเหาที่ปลอดภัยกว่าแล้ว
#ไนโตรซามีน (Nitrosamine)
สถานะ: สารเคมีที่เป็นพิษ
เกิดจาก: ผลิตขึ้นในระหว่างการย่อยสลายเนื้อสัตว์ที่มีไนเทรต เช่น ฮอตด็อกหรือไส้กรอก นอกจากนีย้ ังพบได้จากควันบุหรี่อีกด้วย
เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร
#โพลีคลอริเนตไบฟีนิล (PCBs: Polychlorinated Biphenyls)
สถานะ: สารประกอบที่มีคลอรีนสูง
ที่มา: ฉนวนไฟฟ้า
เสี่ยงต่อโรค: โรคมะเร็ง
#เปอร์คลอโรเอทิลีน หรือ เตตระคลอโรเอทิลีน (PERC: Perchloroethylene) หรือ (Tetrachloroethylene)
สถานะ: ตัวทำละลาย
เกิดจาก: ใช้ในการซักแห้งและการล้างไขมันโลหะ

ผู้คัดลอกมา นายธนภัทร คำบาง 11


โรคจากการประกอบอาชีพ OCCUPATIONAL DISEASE

เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง


#สารกำจัดศัตรูพืช (Pesticide)
สถานะ: สารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในเกษตรกรรม
ที่มา: สารกำจัดศัตรูพืชที่มีส่วนผสมของมาลาไทออน (Malathion) และ ไดอะซีนอน (Diazinon)
เสี่ยงต่อโรค: โรคมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
#รังสี (Radiation)
สถานะ: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ที่มา: ถ่ายโอนพลังงานเข้าสูร่ ่างกายมนุษย์ สามารถบิดเบือนโครงสร้างโมเลกุลภายในเซลล์ของร่างกาย ซึ่ง DNA หรือสารพันธุกรรม
ของมนุษย์เป็นเป้าหมายที่อ่อนแอที่สุด
เสี่ยงต่อโรค: โรคมะเร็งและโรคทางพันธุกรรม

+-/*++-/**++----***//+-+*/-+
คำถาม: เหนื่อยไหมท่านจป. งานเยอะขนาดนี?้
ตอบ: ไม่ (คำนีผ้ มตอบเอง...เพราะเราไม่ได้ทำให้เสร็จในวันเดียวแล้วเลิกทำงาน สถานประกอบกิจการก็เช่นกัน ไม่ได้เปิดกิจการวัน
เดียวแล้วปิดกิจการ)

ผู้คัดลอกมา นายธนภัทร คำบาง 12

You might also like