Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 9

เซิ้งกระติบข้าว

สมาชิกในกลุ่ม
นายพร้อม ประดิษฐกุล เลขที่4
นายสิรภพ
ขันแก้ว เลขที่6
นายชานน แก้วกันยา เลขที่10
นายเชษฐ สมสวย เลขที่11
นายวีรวิชญ์ ไสยสมบัติ เลขที่13
ประวัติความเป็นมา
เป็นการแสดงของภาคอีสานที่เป็นที่รู้จักกันดีและแพร่หลาย จนทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า การแสดงของภาคอีสานมี
ลักษณะเป็นการรำเซิ้งเพียงอย่างเดียว เซิ้งกระติบข้าวได้แบบอย่างมาจากการเซิ้งบั้งไฟ ซึ่งแต่เดิมเซิ้งอีสานจริงๆ
ไม่มีท่าทางอะไร มีแต่กินเหล้ายกมือไม้สะเปะสะปะให้เข้ากับจังหวะเสียงกลองไปตามใจ โดยไม่ได้คำนึงถึงความ
สวยงาม นอกจากให้เข้าจังหวะกลอง ตบมือไปตามเรื่องตามฤทธิ์เหล้าในราว พ.ศ. 2507 สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
ต้องการการแสดงของภาคอีสาน เพื่อต้อนรับสมเด็จพระนางเจ้าอะเลียนาและเจ้าหญิงบีทริกซ์แห่งประเทศเนเธอ
แลนด์ จึงมีการนำเอาเพลงอีสานคือ หมอลำจังหวะช้าเร็ว โดยมีท่าถวายบังคม ท่านกบิน ท่าเดิน ท่าดูดาว ท่าม้วนตัว
ท่าสนุกสนาน ท่าปั้ นข้าวเหนียว ท่าโปรยดอกไม้ ท่าบังแสงอาทิตย์ ท่าเตี้ย (รำเตี้ย) และในการแต่งกายครั้งแรกนั้นจะ
นุ่งผ้าซิ่นห่มผ้าสไบ เกล้าผมสูง แต่ไม่มีใครยอมห้อยกระติบข้าวเพราะเห็นว่ารุงรัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ
ทอดพระเนตร พระองค์จึงรับสั่งให้ใครสักคนหนึ่งลองรำดูว่า ถ้าไม่ห้อยกระติบข้าวหรือห้อยกระติบข้าวแล้วจะเป็น
อย่างไร? คุณหญิงเบญจวรรณ อรวรรณ เป็นผู้ทดลองรำดู ครั้งแรกไม่ห้อยกระติบข้าวก็น่ารักดี ครั้งที่สองรำโดย
ห้อยกระติบข้าวทุกคนก็คิดว่ากำลังน่ารัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งคำเดียวว่า"น่าเอ็นดูดีนี่" ผู้รำทุกคนก็
พากันรีบห้อยกระติบข้าวกันใหญ่ทางไหล่ขวาทุกคน การเซิ้งครั้งนั้น ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เรียกชื่อว่า"เซิ้ง
อีสาน"ต่อมามีผู้นำเซิ้งอีสานไปแสดงกันทั่วไปแต่เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า"เซิ้งกระติบข้าว"
การแต่งกาย
ผู้แสดงใช้ผู้หญิงล้วน สวมเสื้อแขนกระบอกคอกลมสีพื้น นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่
ห่มผ้าสไบเฉียง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ห้อยกระติบข้าวทางไหล่ซ้ายเฉียง
ไปทางขวา แต่งกายแบบพื้นเมืองภาคอีสาน นุ่งผ้าซิ่น มีเชิงยาวคลุมเข่า
เล็กน้อย สวมเสื้อแขนกระบอก คอกลมหรือคอปิด ห่มสไบทับเสื้อ
ประดับด้วยเครื่องประดับต่างๆ เกล้าผมมวยสูงทัดดอกไม้

เครื่องดนตรีที่ใช้
นำเอาเครื่องดนตรี และเครื่องประกอบจังหวะ
หลายอย่าง ได้แก่ แคน กรับ กลองยาว กลองแต๊ะ
ฆ้อง โหม่ง ฉิ่ง และ ฉาบ มาร่วมกันบรรเลงเพลง
ที่มีทำนองและจังหวะรุกเร้า
จังหวะ ป๊ะ เพิ่ง ป๊ะ เพิ่ง ป๊ะ เพิ่ง เพิ่ง

กลองยาว
แคน โหม่ง
กลองแต๊ะ กรับ ฉิ่ง

ฉาบ
ฆ้อง
ความน่าสนใจ
เซิ้งกระติบ เป็นการรำของภาคอีสานในงานรื่นเริง ท่าของการรำ
แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะการดำรงชีวิต เพราะลีลา
ท่าทางการรำเลียนแบบการทำงาน และท่าทางในชีวิตประจำวันอัน
เกี่ยวข้องกับการกิน ผู้เซิ้งเป็นผู้หญิง แต่งกายตามแบบพื้นเมือง
อีสาน
ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม ท่ารำของเซิ้งกระติบที่มีลักษณะเฉพาะ
ได้แก่ ท่าเดิน ท่าล้างมือ
ท่าเช็ดมือ ท่าปั้ นข้าว เป็นต้น รวมถึงเครื่อง
แต่งกายชุดพื้นเมือง และการบรรเลงดนตรีอีสาน
ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม ท่ารำแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
ศิลปะและการดำรงชีวิต สะท้อนถึงความสนุกสนาน รักศิลปะและ
ดนตรี คล่องแคล่วทำงานเก่ง
ความน่าอนุรักษ์
ในราว พ.ศ. 2507 สมเด็จพระบรมราชินีนาถ(ในรัชกาลที่ 9)ต้องการการแสดงของ
ภาคอีสาน เพื่อต้อนรับสมเด็จพระนางเจ้าอะเลียนาและเจ้าหญิงบีทริกซ์แห่งประเทศ
เนเธอแลนด์ จึงมีการนำเอาเพลงอีสานคือ หมอลำ จังหวะช้าเร็ว โดยมีท่าถวาย
บังคม ท่านกบิน ท่าเดิน ท่าดูดาว ท่าม้วนตัว ท่าสนุกสนาน ท่าปั้ นข้าวเหนียว ท่า
โปรยดอกไม้ ท่าบังแสงอาทิตย์ ท่าเตี้ย(รำเตี้ย) และในการแต่งกายครั้งแรกนั้น จะ
นุ่งผ้าซิ่นห่มผ้าสไบ เกล้าผมสูง แต่ไม่มีใครยอมห้อย"กระติบข้าว"เพราะเห็นว่ารุงรัง
เกินไป รัชกาลที่ 9 เสด็จทอดพระเนตร พระองค์จึงรับสั่งให้ใครสักคนหนึ่งลองรำดู
ว่า ถ้าไม่ห้อยกระติบข้าว หรือห้อยกระติบข้าวแล้วจะเป็นอย่างไร? คุณหญิง
เบญจวรรณ อรวรรณ เป็นผู้ทดลองรำดู ครั้งแรกไม่ห้อยกระติบข้าวก็น่ารักดี ครั้งที่
สองรำโดยห้อยกระติบข้าวทุกคนก็คิดว่า กำลังน่ารัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงรับสั่งคำเดียวว่า "น่าเอ็นดูดีนี่" ผู้รำทุกคนก็พากันรีบห้อยกระติบข้าวกันใหญ่
ทางไหล่ขวาทุกคน การเซิ้งครั้งนั้น ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เรียกชื่อว่า"เซิ้ง
อีสาน"ต่อมามีผู้นำเซิ้งอีสานไปแสดงกันทั่วไป แต่เปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่า"เซิ้งกระติบ
ข้าว"จนปัจจุบัน

Thank you

You might also like