2564 55

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 131

คำพิพากษา 


เกี่ยวกับ

ค่าจ้าง-
ไม่เป็นค่าจ้าง
10พ.ศ.

2564 - 2555

เชิดศักดิ์ กำปั่นทอง 

นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
คำนำ
ทุ ก วั น นี้ ดู เหมื อ นว่ าข้ อ พิ พ าทด้ า นแรงงานจะมี ค ดี ขึ้ น สู่ ศ าลจำนวนมาก
เนื่ อ งจาก ความ สั ม พั น ธ์ ร ะ ห ว่ า งน ายจ้ า งแ ละลู ก จ้ า งย่ อ ม ก่ อ ให้ เกิ ด ข้ อ พิ พ าท
ได้ เสมอ หากทั้ ง สองฝ่ า ยไม่ ป ฏิ บั ติ ต่ อ กั น ให้ ถู ก ต้ อ งตามข้ อ สั ญ ญาและข้ อ กฎหมาย
อีกฝ่ายจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล ผลของการพิจารณาคดีของศาล ย่อมมีผู้แพ้และชนะคดี
และคำพิ พ ากษาของศาลหลายคดี ได้ ว างแนวทางในการตี ค วามและเรี ย บเรีย งถ้ อ ยคำ
ให้ เกิ ด ความกระจ่ า งชั ด และสละสลวย การศึ ก ษาคำพิ พ ากษาจึ ง เป็ น วิ ธี ที่ ดี วิ ธี ห นึ่ ง
สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านทรัพยากรบุคคลและผู้สนใจกฎหมายแรงงานที่จะนำไปใช้ประโยชน์
ในการทำงานได้อย่างกว้างขวาง
หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ผู้ เ ขี ย นได้ ร วบรวมคำพิ พ ากษ าที่ น่ า สนใจระหว่ า งปี
พ.ศ. 2555 – 2564 ในประเด็นเกี่ยวกับการตีความค่าจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
และกฎหมายประกั น สั ง คมของเงิ น ประเภทต่ า ง ๆ เช่ น ค่ า บริ ก ารหรื อ เซอร์ วิ ส ชาร์ จ
ค่าเที่ยว เงินเพิ่มพิเศษ (Offshore Superviser) เป็นต้น โดยแยกหมวดหมู่ให้สืบค้นได้ง่าย
ผู้เขียนจึงมุ่งหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ผู้ทำงานด้านทรัพยากรบุคคลและผู้ที่สนใจศึกษา
สะดวก ประหยัดเวลา และเข้าใจกฎหมายมากขึ้น
เชิดศักดิ์ กำปั่นทอง
สิงหาคม 2564

สารบัญ
หน้า
ค่าจ้าง……………………………....................…….…..……………..…………….…..…….…..…… ค
๑. ค่าชั่วโมงบิน..................................................................................... ๑
๒. เงินเพิ่มพิเศษ (Offshore Superviser)............................................ ๔
๓. เงินระดับงาน.............................................................................. ๙
๔. ค่าคอมมิชชั่น ค่านายหน้า.............................................................. ๑๐
๕. ค่าเที่ยว........................................................................................... ๑๙
๖. ค่าขับรถด้วยความปลอดภัย........................................................... ๓๓
๗. ค่าน้ำมันรถ ค่าสึกหรอ.................................................................... ๓๘
๘. ค่าตอบแทนตามผลงาน................................................................... ๔๕
๙. เบี้ยเลี้ยง.......................................................................................... ๔๖
๑๐ .ค่าครองชีพ..................................................................................... ๕๑
๑๑. ค่าวิชาชีพ...................................................................................... ๕๓
๑๒. ค่าสวัสดิการ.................................................................................. ๕๖
๑๓. ค่าตำแหน่ง.................................................................................... ๕๗
๑๔. ค่าอายุงาน..................................................................................... ๖๒
๑๕. ค่าเช่าบ้าน..................................................................................... ๖๓
๑๖. เงินเดือน ๆ ที่ ๑๓......................................................................... ๖๗
๑๗. เงินประจำไซด์............................................................................... ๖๘
๑๘. เงินรางวัลนำเข้า............................................................................ ๖๙
๑๙. เงินค่าใบอนุญาตพนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศ............... ๗๐
๒๐. ค่ารับรอง....................................................................................... ๗๒
๒๑. ค่าโทรศัพท์..................................................................................... ๗๔
๒๒. เบี้ยขยัน......................................................................................... ๗๙
๒๓. ค่าบริการ หรือ เซอร์วิสชาร์จ........................................................ ๘๑
๒๔. ค่าพาหนะ...................................................................................... ๘๖
๒๕. เงิน MBO เงิน MIB....................................................................... ๙๒

สารบัญ
หน้า
๒๖. ค่าตอบแทนคนขับรถผูบ้ ริหาร...................................................... ๙๖
๒๗. เงินความสามารถพนักงานแคชเชียร์............................................... ๙๘
๒๘. ค่ารักษาสินค้า................................................................................. ๙๙
๒๙. โบนัส.............................................................................................. ๑๐๑
๓๐. ค่าเช่ารถยนต์................................................................................. ๑๐๓
๓๑. เงินตอบแทนพิเศษ........................................................................ ๑๐๕
๓๒. ค่าผ่านทาง.................................................................................... ๑๐๘
๓๓. ค่ากะดึก........................................................................................ ๑๐๙
๓๔. ค่าอาหาร...................................................................................... ๑๑๑
๓๕. ค่าชิ้นงาน...................................................................................... ๑๑๓
๓๖. ค่าโน็ตบุ๊ก...................................................................................... ๑๑๕
๓๗. เงินปรับค่าจ้างย้อนหลัง................................................................ ๑๑๖
๓๘. เบี้ยกันดาร.................................................................................... ๑๑๗
๓๙. สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า............................................... ๑๑๙
๔๐. ค่าประกันอุบัติเหตุ........................................................................ ๑๒๐
๔๑. ค่ากระดาษทิชชู่............................................................................. ๑๒๑
๔๒. เงินรางวัลการขายรถยนต์.............................................................. ๑๒๓
๔๓. เงินช่วยเหลือค่าทำงานต่างจังหวัด และค่าที่พัก............................ ๑๒๕
- ๑ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๑. ค่าชั่วโมงบิน
เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ที่ ๕๔/๒๕๖๔
เรื่อง ค่าชั่วโมงบินเป็นค่าจ้าง , นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตำแหน่งนักบินผู้ช่วย โดยเหตุจงใจ
หรือละเลย ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิ บัติตามคำสั่งของนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา ประมาทเลินเล่ออย่ างร้ายแรง
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามขั้นตอนของนักบินซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตผู้โดยสารและทรัพย์สิน
การเลิกจ้างจึงชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ตำแหน่งนักบิน
ผู้ ช่ว ย มีก ำหนดระยะเวลา ๖ ปี ได้ รับ เงิน เดื อนอั ตราสุ ดท้ ายเดือ นละ ๙๐,๐๐๐ บาท ค่าชั่ว โมงบิน ขณะ
ปฏิบัติการบินชั่วโมงที่ ๑-๕๐ อัตราชั่วโมงละ ๑,๓๕๐ บาท ชั่วโมงที่ ๕๑-๗๐ อัตราชั่วโมงละ ๑,๕๐๐ บาท
ชั่วโมงที่ ๗๑ - ๘๐ อัตราชั่วโมงละ ๑,๘๐๐ บาท และชั่วโมงถัดไป อัตราชั่วโมงละ ๒,๑๐๐ บาท ต่อมาวันที่
๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ หั ว หน้ าฝ่ ายการบินแจ้งโจทก์ว่าไม่ต้องทำการบิ น แต่ให้ โจทก์ย้ายไปปฏิ บัติงาน
ด้านเอกสาร และเมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๒ จำเลยมีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แจ้งเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลวันที่
๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๒ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอบัง คับให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ค่าชดเชย ค่าเสียหายที่ไม่สามารถทำงานได้ครบกำหนดระยะเวลา ๕,๑๓๖,๐๐๐ บาท ค่าเสียหายจากการเลิก
จ้างที่ไม่เป็ น ธรรม ๒,๑๖๐,๐๐๐ บาท ค่าจ้างสำหรับวั นหยุดพักผ่อนประจำปี กับให้ จำเลยแจ้งสำนักงาน
ประกันสังคมว่าโจทก์ว่างงานเนื่องจากถูกเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิด
จำเลยให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์และเสนอให้โจทก์ทำงานในส่วนของเอกสารการบินแทนการ
ทำการบิ น แต่โจทก์เพิกเฉย จำเลยเลิกจ้ างเนื่องจากโจทก์สุ ขภาพไม่แข็งแรง มีความบกพร่องทางหู ซึ่งเป็น
อุปสรรคในการทำงาน ลาป่วยจำนวนมาก ส่งใบรับรองแพทย์ที่ระบุชื่อบุคคลอื่นประกอบการลาป่วยอันเป็น
การกระทำทุจริตต่อจำเลย ไม่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่นักบินผู้ช่วย ไม่สนใจและไม่ตั้งใจในการเรียนรู้
ฝึกอบรม ประมาทเลิ นเล่ ออย่างร้ายแรงในการปฏิบัติห น้าที่ตามขั้นตอนของนักบินซึ่งอาจก่อให้ เกิดความ
เสียหายแก่ชีวิตผู้โดยสารและทรัพย์สินของจำเลย
ระหว่างพิ จ ารณาของศาลแรงงานกลาง คู่ค วามแถลงรับ ข้อ เท็ จจริงร่ว มกัน ว่า ค่าชั่ ว โมงบิ น
เป็นค่าจ้าง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน - ธันวาคม ๒๕๖๒ โจทก์ทำการบินเฉพาะเดือนตุลาคม ๒๕๖๒ ได้รับค่าชั่วโมง
บิน เฉพาะเดือนตุลาคม ๒๕๖๒ ๔๐,๓๑๓ และจำเลยแจ้ งสำนั กงานประกันสังคมเพื่อให้ โจทก์มีสิทธิได้รับ
ประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานแล้ว
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุ ท ธรณ์ ค ดี ช ำนั ญ พิ เศษเห็ น ว่ า โจทก์ ผ่ า นการฝึ ก อบรมการบิ น และได้ รั บ ใบอนุ ญ าต
การบินแล้ว แต่ในระหว่างการทำหน้าที่นักบินกลับมีข้อบกพร่องในการบิน จำเลยจึงมีคำสั่งให้โจทก์งดบินและ
ให้เข้ารับการฝึกอบรมกับเครื่องบินจำลอง ในระหว่างฝึก โจทก์ลาป่วยบ่อยเป็นเหตุให้ไม่ผ่านการฝึกอบรม

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๒ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

หลายครั้ง เมื่อโจทก์ผ่านการฝึกอบรมแล้ว จำเลยให้โจทก์ฝึกทำการบินจริงกับกัปตัน โดยมีนักบินผู้ช่วยอีกคน


ทำหน้าที่นักบินเซฟตี้ด้วย วันดังกล่าวหากเครื่องบินผิดปกติ โจทก์มีหน้าที่แจ้งให้กัปตันทราบและให้ปฏิบัติตาม
คู่มือการบิ น ขณะมีการนำเครื่องบิน ลงจอดปรากฏว่า อุปกรณ์ ทั้งหมดกางออก แต่ FLAP กางออกไม่หมด
ได้แสดงตำแหน่ง ๑๕ องศา ไม่ตรงตำแหน่ง FLAP ที่ตั้งไว้ ๓๐ องศา แต่กัปตันได้นำเครื่องบินลงจอดโดยข้าม
การปฏิบัติตามคู่มือการบิน กรณีเครื่องบินผิดปกติตามขั้นตอนที่ถูกต้องในการลงจอดตามคู่มื อการบินถือเป็น
กรณีร้ายแรง จะทำให้ระยะทางการจอดในรันย์ยาวขึ้นหรือเลยรันเวย์ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ก่อนที่จะเกิด
เหตุการณ์ในวันดังกล่าวนี้ (๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๒) โจทก์มีข้อบกพร่องในการทำการบินมาโดยตลอด จนเป็นเหตุ
ให้จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์พักการบินและให้โจทก์เข้าฝึกอบรมกับเครื่องบินจำลอง เมื่อฝึกทำการบินจริงก็ละเลย
ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งการละเลยดังกล่าวเป็นเรื่องร้ายแรง ส่วนที่โจทก์กล่าวอ้างว่าการนำเครื่องบินลงจอดเป็น
การตัดสินใจของกัปตันแต่เพียงผู้เดียว เป็นเพียงข้อกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีหลักฐานอื่นใดมาสนับสนุน ทั้งจำเลย
เสนอทางเลือกให้โจทก์ไปทำงานด้านเอกสารการบินแทน แต่โจทก์เพิกเฉย จำเลยเลิกจ้ างโจทก์โดยเหตุจงใจ
หรือละเลย ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยหรือผู้บังคับบัญชา ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับ
ความเสียหายอย่างร้ายแรง การเลิกจ้างของจำเลยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของจำเลยแล้ว

๒. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๖๓๐ - ๔๖๗๓/๒๕๕๙


เรื่อง ค่าชั่วโมงบินเป็นค่าจ้างตามผลงาน ในการคำนวณค่าชดเชย แม้ในเดือนสุดท้ายของ
การทำงาน ไม่ มีจ ำนวนชั่ วโมงบิ น ก็ ต าม ก็ต้ องนำระยะเวลาและผลงานของเดื อ นดังกล่า วมารวมคิ ด
คำนวณเป็นเวลาของการทำงานสุดท้ายด้วย การนำค่าชั่วโมงบินในเดือนย้อนหลังถัดไปมารวมคำนวณ
เพิ่มด้วย จึงเป็นการคำนวณที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ กับ พวกฟ้ องว่า จำเลยที่ ๑ จ้างโจทก์กับ พวกเป็น ลู ก จ้ างตำแหน่ งพนั กงานต้อนรับ บน
เครื่องบินจำเลยประกอบกิจการขนส่งทางอากาศ จำเลยที่ ๑ เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและจ่ายค่าชดเชย
ไม่ครบถ้วนเนื่ องจากมิได้น ำค่าชั่วโมงบิ น มาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยให้ ถูกต้อง ศาลแรงงานกลาง
พิพากษาให้จำเลยที่ ๑ จ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ ยในส่วนที่จ่ายไม่ครบ คำขออื่นให้ยก โจทก์กับพวกและ
จำเลยที่ ๑ อุทธรณ์ ศาลฎีกาพิจารณาประเด็นอุทธรณ์ของจำเลยที่ ๑ ที่ว่า การที่ศาลแรงงานคำนวณค่าชดเชย
เพิ่มโดยพิจารณาว่าเดือนใดไม่มีค่าชั่วโมงบินก็ต้องนำค่าชั่วโมงบินในเดือนย้อนหลังถัดไปมารวมคำนวณจนกว่า
จะครบ ๙๐ วั น หรื อ ๑๘๐ วัน แล้ ว แต่กรณี ไม่ เป็ น ไปตามเจตนารมณ์ ของกฎหมาย เห็ น ว่ า จำเลยที่ ๑
บอกเลิกจ้างโจทก์กับพวกวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๒ ให้มีผลวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒ โจทก์กับพวกไม่มี
ชั่วโมงบินในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๒ การคำนวณค่าชดเชยจากค่าจ้างตามผลงานให้แก่ลูกจ้างนั้น กรณีลู กจ้าง
ทำงานติดต่อกันครบ ๑ ปี แต่ไม่ครบ ๓ ปี และทำงานครบ ๓ ปี แต่ไม่ ครบ ๖ ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง
ของการทำงาน ๙๐ วันสุดท้าย และ ๑๘๐ วัน สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘ วรรคหนึ่ง เมื่อค่าชั่วโมงบินเป็นค่าตอบแทน
การทำงานให้ แก่พนั กงานต้อนรับบนเครื่ องบินที่ปฏิบัติหน้าที่ตามจำนวนชั่วโมงที่ปฏิบัติจริงในแต่ละเดือน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๓ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ค่าชั่วโมงบินจึงเป็นค่าจ้างตามผลงาน ดังนั้น แม้เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของการทำงาน


โจทก์กับ พวกไม่มีจ ำนวนชั่วโมงบิ น ทำให้ ไม่มีค่าชั่ว โมงบินก็ตาม ก็ต้องนำระยะเวลาและผลงานของเดือน
ดังกล่าวมารวมคิดคำนวณเป็นเวลาของการทำงานสุดท้ายด้วย ที่ศาลแรงงานกลางคำนวณค่าชดเชยสำหรับ
ค่าชั่วโมงบิน ซึ่งเป็น ค่าจ้างตามผลงานให้จำเลยที่ ๑ จ่ายเพิ่มแก่โจทก์กับพวก โดยนำค่าชั่วโมงบินของการ
ทำงานในเดือนย้อนหลังถัดไปมารวมคำนวณแทนค่าชั่วโมงบินเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๒ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อจำเลยที่ ๑ ได้จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ครบถ้วนแล้วจึงไม่ต้องรับผิดในค่าชดเชยตามฟ้องอีก พิพากษาแก้
เป็นว่าให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ ๑ ด้วย นอกนั้นที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๔ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๒. เงินเพิ่มพิเศษ (Offshore Superviser)


เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๒๙๙/๒๕๖๔
เรื่อง เงินเพิ่มพิเศษเมื่อทำงานบนแท่นขุดเจาะเป็น “ค่าจ้างตามผลงาน” ต้องนำมารวม
คำนวณค่าชดเชย โดยคำนวณตามระยะเวลา ๒๔๐ วันสุดท้ายก่อนลูกจ้างถูกเลิกจ้าง
คดี นี้ โจทก์ ฟ้ องว่า จำเลยทั้ งสองจ้างโจทก์ เข้ าทำงานเป็ นลู กจ้ างรายเดื อน ตำแหน่ งสุ ด ท้ าย
ทำหน้าที่ Service Superviser I ทำงานบนแท่นขุดเจาะ ๒๑ วัน กลับขึ้นมาพักบนฝั่ง ๑๔ วัน และทำงานที่
สำนั กงานบนฝั่ งอี ก ๗ วัน ค่าจ้ างเดือนละ ๒๘,๐๐๐ บาท และเงิ น เพิ่ มพิ เศษเมื่อทำงานบนแท่ นขุด เจาะ
วันละ ๑,๓๐๐ บาท ต่อมาวัน ที่ ๑๒ กุมภาพัน์ ๒๕๕๘ จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์อ้างเหตุลดจำนวนบุคลากร
เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขณะทำงานโจทก์ทำงานบนแท่นขุดเจาะเกินกว่าชั่วโมงทำงานตามที่ กฎหมาย
กำหนด ๗,๐๙๒ ชั่วโมง ขอบั งคับ ให้ จ ำเลยทั้ งสองจ่ายค่าล่ ว งเวลา ค่าชดเชย ค่าเสี ยหายจากการเลิ กจ้าง
ที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยให้การว่า สิทธิเรียกร้องค่าล่ วงเวลาขาดอายุความ ๒ ปีแล้ว เงินเพิ่มพิเศษเมื่อทำงาน
บนแท่ น ขุ ด เจาะไม่ ใ ช่ ค่ า จ้ า ง จำเลยเลิ ก จ้ า งโจทก์ เนื่ อ งจากมี ค วามจำเป็ น ต้ อ งลดจำนวนลู ก จ้ า งเพื่ อ
ประคับประคองธุรกิจ จำเลยที่ ๒ เป็นลูกจ้างจำเลยที่ ๑ ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการเงิน จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะ
ส่วนตัว และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลิกจ้าง ระหว่างพิจารณาโจทก์ขอสละประเด็นเรื่องค่าล่วงเวลา และขอ
ถอนฟ้องจำเลยที่ ๒ ศาลแรงงานภาค ๙ อนุญาต
ศาลแรงงานภาค ๙ พิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยที่ ๑ ชำระเงินแก่โจทก์ ๓๖๐,๐๐๐ บาท
พร้อมดอกเบี้ย คำขออื่นให้ยก จำเลยที่ ๑ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ คดีชำนั ญพิเศษ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ ยกคำพากษาศาลแรงงานภาค ๙ ในส่ วน
การกำหนดค่าชดเชย โดยให้ ศาลแรงงานภาค ๙ ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า โจทก์ได้เงินเพิ่มพิเศษในระยะเวลา
สองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายก่อนถูกเลิกจ้างจำนวนเท่าใด แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ศาลแรงงานภาค ๙ พิ จ ารณาแล้ ว พิ พ ากษาให้ จ ำเลยที่ ๑ ชำระค่ าชดเชยแก่ โ จทก์ เป็ น เงิน
๒๐๖,๓๒๕ บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ ๑ ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ประเด็นเงินเพิ่มพิเศษ (Offshore Superviser) เป็นค่าจ้างหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า การทำงาน
บนแท่นขุดเจาะน้ำมัน เป็ นการทำงานตามปกติตามตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ การที่จำเลยที่ ๑ จ่ายเงินเพิ่ม
พิเศษเมื่อทำงานบนแท่นขุดเจาะเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนให้แก่โจทก์ โดยคิดจากการที่โจทก์ไปทำงานบนแท่นขุด
เจาะในวันทำงาน จึงเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนการทำงานของโจทก์สำหรับระยะเวลาการ
ทำงานปกติ โดยคำนวณตามผลงานจากจำนวนวันที่โจทก์ทำงานอยู่บนแท่นขุดเจาะในแต่ละรอบตามตาราง
กำหนด ทั้งการที่จำเลยที่ ๑ จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในกรณีโจทก์เจ็บป่วยมิได้ทำงานและยังไม่ได้ถูกส่งกลับ
ขึ้นฝั่ง ก็สอดคล้องกับความหมายของคำว่าค่าจ้างที่ให้ห มายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลู กจ้างใน
วันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่มีสิทธิได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ซึ่ งการเจ็บป่วยนี้ลูกจ้างมี
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๕ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

สิทธิลาป่วยและได้รบั ค่าจ้างตามสิทธิที่ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๓๒


และมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง จึงเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ ๑ ที่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้ แม้โจทก์จะ
เจ็บป่วยมิได้ทำงานและยังไม่ได้ถูกส่ งตัวกลับขึ้นฝั่งก็ตาม เงินเพิ่มเติมพิเศษเมื่อทำงานบนแท่นขุดเจาะ จึงเป็น
“ค่าจ้างตามผลงาน” ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่าเงินเพิ่มพิเศษเมื่อทำงานบนแท่นขุดเจาะเป็น
ค่าจ้างที่จ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ต้องนำมาคำนวณเป็นค่าชดเชยแล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงาน
ภาค ๙ ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า โจทก์ได้รับเงินเพิ่มพิเศษ ในระยะเวลา ๒๔๐ วันสุดท้ายก่อนถูกเลิกจ้า งเป็น
จำนวนเท่าใด แล้วให้ศาลแรงงานภาค ๙ พิพากษาคดีในส่วนจำนวนเงินดังกล่าวใหม่นั้น ต้องด้วยความเห็น
ของศาลฎีกา พิพากษายืน

๒. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๐๐/๒๕๖๔
เรื่ อ ง เพิ่ ม พิ เศษเมื่ อ ทำงานบนแท่ น ขุ ด เจาะเป็ น “ค่ า จ้ า งตามผลงาน” ต้ องนำมารวม
คำนวณค่าชดเชย โดยคำนวณตามระยะเวลา ๒๔๐ วันสุดท้ายก่อนลูกจ้างถูกเลิกจ้าง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองจ้างโจทก์ เข้าทำงานเป็นลูกจ้างรายเดือนตำแหน่งสุดท้ายทำ
หน้ าที่ Svc Operator II-L&P ทำงานบนแท่นขุดเจาะ ๒๘ วัน กลั บขึ้นมาพั กบนฝั่ง ๒๐ วัน และทำงานที่
สำนักงานบนฝั่งอีก ๘ วัน ค่าจ้างเดือนละ ๒๕,๒๓๒.๕๔ บาท และเงินเพิ่มพิเศษเมื่อทำงานบนแท่นขุดเจาะ
วันละ ๑,๓๐๐ บาท ต่อมาวันที่ ๑๗ กุมภาพัน์ ๒๕๕๘ จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์อ้างเหตุลดจำนวนบุคลากร
เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขณะทำงานโจทก์ทำงานบนแท่นขุดเจาะเกินกว่าชั่วโมงทำงานตามที่กฎหมาย
กำหนด ๖,๕๕๒ ชั่วโมง ขอบั งคับ ให้ จ ำเลยทั้ งสองจ่ายค่าล่ ว งเวลา ค่าชดเชย ค่าเสี ยหายจากการเลิ กจ้าง
ที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยให้การว่า สิทธิเรียกร้องค่าล่ วงเวลาขาดอายุความ ๒ ปีแล้ว เงินเพิ่มพิ เศษเมื่อทำงาน
บนแท่ น ขุ ด เจาะไม่ ใ ช่ ค่ า จ้ า ง จำเลยเลิ ก จ้ า งโจทก์ เนื่ อ งจากมี ค วามจำเป็ น ต้ อ งลดจำนวนลู ก จ้ า งเพื่ อ
ประคับประคองธุรกิจ จำเลยที่ ๒ เป็นลูกจ้างจำเลยที่ ๑ ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการเงิน จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะ
ส่วนตัว และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลิกจ้าง ระหว่างพิจารณาโจทก์ขอสละประเด็นเรื่องค่าล่วงเวลา และขอ
ถอนฟ้องจำเลยที่ ๒ ศาลแรงงานภาค ๙ อนุญาต
ศาลแรงงานภาค ๙ พิ จารณาแล้ ว พิ พากษาให้ จำเลยที่ ๑ ชำระเงิ นแก่ โจทก์ ๒๗๖,๖๓๙.๖๘ บาท
พร้อมดอกเบี้ย คำขออื่นให้ยก จำเลยที่ ๑ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ คดีช ำนั ญพิเศษ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ ยกคำพากษาศาลแรงงานภาค ๙ ในส่ วน
การกำหนดค่าชดเชย โดยให้ศาลแรงงานภาค ๙ ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า โจทก์ได้เงินเพิ่มพิเศษในระยะเวลา
สองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายก่อนถูกเลิกจ้างจำนวนเท่าใด แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ศาลแรงงานภาค ๙ พิ จ ารณาแล้ ว พิ พ ากษาให้ จ ำเลยที่ ๑ ชำระค่ าชดเชยแก่ โ จทก์ เป็ น เงิน
๑๒๙,๕๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ ๑ ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๖ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ประเด็นเงินเพิ่มพิเศษ เป็นค่าจ้างหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า การทำงานบนแท่นขุดเจาะน้ำมัน


เป็นการทำงานตามปกติตามตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ การที่ จำเลยที่ ๑ จ่ายเงินเพิ่มพิเศษเมื่อทำงานบนแท่น
ขุดเจาะเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนให้แก่โจทก์ โดยคิดจากการที่โจทก์ไปทำงานบนแท่นขุดเจาะในวันทำงาน จึงเป็น
การจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ตอบแทนการทำงานของโจทก์สำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ โดยคำนวณ
ตามผลงานจากจำนวนวันที่โจทก์ทำงานอยู่บนแท่นขุดเจาะในแต่ละรอบตามตารางกำหนด ทั้งการที่จำเลยที่ ๑
จ่ายเงิน ดังกล่ าวให้ แก่โจทก์ในกรณี โจทก์เจ็บป่ วยมิได้ท ำงานและยังไม่ได้ถูกส่ งกลับ ขึ้นฝั่ ง ก็สอดคล้องกับ
ความหมายของคำว่าค่าจ้างที่ให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวั นลาที่ลูกจ้าง
มิได้ทำงานแต่มีสิทธิได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ซึ่งการเจ็บป่วยนี้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยและได้รับค่าจ้าง
ตามสิทธิที่ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๓๒ และมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง
จึงเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ ๑ ที่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้ แม้โจทก์จะเจ็บป่วยมิได้ทำงานและยังไม่ได้
ถู ก ส่ งตั ว กลั บ ขึ้ น ฝั่ ง ก็ ต าม เงิ น เพิ่ ม เติ ม พิ เศษเมื่ อ ทำงานบนแท่ น ขุ ด เจาะ จึ ง เป็ น “ค่ า จ้ า งตามผลงาน”
ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่าเงินเพิ่มพิเศษเมื่อทำงานบนแท่นขุดเจาะเป็นค่าจ้างที่จ่ายให้โดยคำนวณ
ตามผลงานที่ต้องนำมาคำนวณเป็นค่าชดเชยแล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานภาค ๙ ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า
โจทก์ได้รับเงินเพิ่มพิเศษ ในระยะเวลา ๒๔๐ วันสุดท้ายก่อนถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนเท่าใด แล้วให้ศาลแรงงาน
ภาค ๙ พิพากษาคดีในส่วนจำนวนเงินดังกล่าวใหม่นั้น ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา พิพากษายืน

๓. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๑๖๗๑ - ๑๖๘๐/๒๕๖๒


เรื่อง ค่าเบี้ยเลี้ยงบนแท่นขุดเจาะน้ำมันเป็น “ค่าจ้างตามผลงาน” เมื่อโจทก์เป็นลูกจ้าง
รายเดือนทำงานบนแท่นขุดเจาะคราวละ ๒๘ วัน พัก ๒๘ วัน กะละ ๑๒ ชั่วโมง การคำนวณอัตราค่าจ้าง
ต่ อชั่วโมงในวัน ทำงานจึ งต้ องใช้ ๑๒ เป็ น ตั วหาร , โจทก์ทราบแล้วว่าได้ถูกเลิกจ้า ง ย่อมมีอิสระที่จ ะ
ตัดสินใจได้โดยไม่อยู่ในสภาวะที่ต้องเกรงกลัว การทำข้อตกลงสละสิทธิเช่นนี้ไม่ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อย
ของประชาชน แต่ มีลักษณะเป็นสัญ ญาประนีประนอมยอมความ ข้อตกลงจึงมีผลผูกพัน โจทก์จึงไม่มี
อำนาจฟ้องเรียกเงินทุกประเภท
คดี นี้ โ จทก์ กั บ พวกรวม ๑๐ คน ฟ้ อ งว่ า โจทก์ กั บ พวกเป็ น ลู ก จ้ า งจำเลยตำแหน่ งวิ ศ วกร
ประจำแท่ น ขุ ด เจาะน้ ำ มั น และสำรวจบริ เ วณอ่ า วไทยและทะเลอิ นโดจี น ทำงานบนแท่ น ขุ ด เจาะ
ในทะเล ๒๘ วัน กลับขึ้นพักบนฝั่ง ๒๘ วัน ทำงานกะละ ๑๒ ชั่วโมง ได้รับค่าจ้างเป็นค่าจ้างพื้นฐานราย
เดือนและเงินเพิ่มพิเศษรายวันเมื่อทำงานบนแท่นขุดเจาะ จำเลยเลิกจ้างโจทก์กับพวกเนื่องจากต้องการปรับ
ลดตำแหน่งงานในโครงสร้างองค์กรใหม่ จำเลยค่าชดเชยแล้วแต่ไม่ครบถ้วน และเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลา ค่าชดเชย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างทีไ่ ม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยให้การว่า ระหว่างที่โจทก์กับพวกทำงานบนแท่นขุดเจาะ จำเลยจ่ายเบี้ยเลี้ยง (Offshore
Allowance) ให้อัตราวันละ ๕๐ ดอลลาร์สหรัฐ สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาขาดอายุความ ๒ ปีแล้ว จำเลย

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๗ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

เลิกจ้างโจทก์กับพวกเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและมีการปิดแท่นขุดเจาะหลายแห่ง
จำเป็นต้องลดอัตรากำลังคน โจทก์กับพวกได้รับเงินและตกลงทำบันทึกสละสิทธิเรียกร้องโดยสมัครใจ
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วเห็ นว่า เงินเบี้ยเลี้ยงบนแท่นขุดเจาะ เป็นค่าจ้าง โจทก์กับพวก
ทำงานวันละ ๑๒ ชั่วโมง มีเวลาพัก ๑ ชั่ วโมง ทำงานเกินเวลาปกติไปสัปดาห์ละ ๒๙ ชั่วโมง การเลิกจ้างมี
เหตุอันสมควร ข้อตกลงสละสิทธิประโยชน์เฉพาะส่วนที่อยู่นอกเหนือกฎหมายคุ้มครองแรงงานมีผลบังคับ
พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยเป็นเงิน ๑๕,๓๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ ค่าล่วงเวลา ๒๔,๙๘๗.๕๖ ดอลลาร์สหรัฐ
แก่โจทก์ที่ ๑ โจทก์ที่ ๒ ..ที่ ๑๑...พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง (วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๐) คำขออื่นให้ยก
โจทก์กับพวกและจำเลยอุทธรณ์
ประเด็นอำนาจฟ้องเรียกค่ าชดเชยและค่าล่วงเวลา ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า ในขณะ
ทำข้อตกลงร่วมกันในการเลิกสัญญาจ้างและบันทึ กสละสิทธิผลประโยชน์ โจทก์ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ - ที่ ๗ และ
ที่ ๙ - ที่ ๑๑ ทราบแล้วว่าได้ถูกเลิกจ้าง โจทก์แต่ละคนย่อมมีอิสระที่จะตัดสินใจได้โดยไม่อยู่ในสภาวะที่
ต้องเกรงกลัวจำเลยแต่อย่างใด การทำข้อตกลงเช่นนี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่มีลักษณะ
เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๐ ข้อตกลงจึงมีผล
ผู ก พั น ดั ง นั้ น โจทก์ ที่ ๑...จึ ง ไม่ มี อ ำนาจฟ้ อ งเรี ย กเงิ น ทุ ก ประเภท ที่ ศ าลแรงงานกลางวิ นิ จ ฉั ย มานั้ น
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ไม่เห็นพ้องด้วย
ประเด็นค่าเบี้ยเลี้ยงบนแท่นขุดเจาะน้ำมันหรือเงินเพิ่มพิเศษ เป็นค่าจ้างหรือไม่ หากเป็นจัดว่า
เป็นค่าจ้างรายวันหรือตามผลงาน ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า การที่จำเลยมอบหมายโจทก์ที่ ๓ ไป
ทำงานบนแท่นขุดเจาะน้ำมันคราวละ ๒๘ วัน พัก ๒๘ วัน จึงเป็นการทำงานตามปกติสำหรับพนักงานวิศวกร
มิใช่ เป็ น การไปทำงานนอกสถานที่ เป็ น ครั้ งคราว เบี้ ย เลี้ ย งที่ จำเลยจ่ายให้ โจทก์ ที่ ๓ จึงเป็ น ค่าตอบแทน
การทำงานตามสัญ ญาจ้างสำหรับ ระยะเวลาการทำงานปกติเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ตามนิยามมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ แต่ตามข้อบังคับฯ โจทก์ที่ ๓ ได้รับเบี้ยเลี้ยงเฉพาะวัน
ปฏิ บั ติ งาน ๒๘ วั น ส่ ว นวั น หยุ ด ไม่ ได้ รั บ เบี้ ย เลี้ ย ง ค่ า เบี้ ย เลี้ ย งดั งกล่ า ว จึ งเป็ น เงิน ที่ จ ำเลยจ่ า ยเป็ น
ค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างโดย “คำนวณตามผลงาน” ที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของ
วันทำงาน ถือเป็นการคิดคำนวณค่าจ้างเป็นหน่วยการทำงาน โดยอาศัยการจ่ายเบี้ยเลี้ยงรายวันให้เป็นหน่วย
การทำงานในแต่ละหน่วย ค่าเบี้ยเลี้ยงบนแทนขุดเจาะจึงเป็น “ค่าจ้างตามผลงาน” ที่ศาลแรงงานกลาง
คำนวณค่าชดเชยเพิ่มเติมโดยนำเงินค่าเบี้ยเลี้ยงบนแท่ นขุดเจาะน้ำมันในอัตราสุดท้ ายรายวันคูณด้วยจำนวน
วันที่โจทก์ที่ ๓ มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ไม่เห็นพ้องด้วย
ประเด็ นการคำนวณค่าล่วงเวลาถูกต้องหรือไม่ โดยโจทก์ที่ ๓ อุทธรณ์ว่า ต้องใช้ ๘ ชั่วโมง
เป็นตัวหาร และการหักเวลาพักออกไม่ถูกต้องเพราะลักษณะงานเป็นงานที่รับผิดอบอย่างต่อเนื่อง ศาลอุทธรณ์
คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า เมื่อวินิจฉัยว่าค่าเบี้ยเลี้ ยง เป็นค่าจ้างตามผลงงาน การคำนวณค่าล่าวงเวลาจึงต้ อง
คำนวณจากค่าจ้าง ๒ ส่วน และคิดคำนวณตามมาตรา ๖๑ เมื่องานที่โจทก์ทำเป็นงานในกิจการปิโตรเลียมอยู่
ในบังคับของกฎกระทรวง ฉบั บที่ ๗ ข้อ ๑ (๑) กำหนดให้นายจ้างและลู กจ้างตกลงกันทำงานปกติวันหนึ่ง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๘ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ไม่เกิน ๑๒ ชั่วโมง และข้อบั งคับ เกี่ยวกับ การทำงานกำหนดให้ ลู กจ้างทำงานกะละ ๑๒ ชั่วโมง มีเวลาพั ก


๑ ชั่วโมง ระยะเวลาทำงานจริงจึงเป็น ๑๑ ชั่วโมง ที่ศาลแรงงานกลางคำนวณรอบการทำงานหนึ่ งสัปดาห์
ของโจทก์ที่ ๓ มีชั่ วโมงการทำงานรวม ๗๗ ชั่วโมง เกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงสัปดาห์ละ ๒๙ ชั่วโมง
จึงเป็นการถูกต้องสำหรับการคำนวณจากค่าจ้างพื้นฐานรายเดือนแล้ว และเมื่อกฎหมายกำหนดให้ทำงานได้
วันละ ๑๒ ชั่วโมง การคำนวณอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานสำหรั บการคำนวณจากค่าจ้างพื้นฐาน
รายเดื อ นจึ งต้ อ งใช้ ๑๒ เป็ น ตั ว หาร เมื่ อ จำเลยไม่ จ่ายค่ าล่ ว งเวลาเดื อ นใด โจทก์ ต้ อ งฟ้ องภายใน ๒ ปี
นับแต่วันที่กำหนดจ่ายค่าจ้างของเดือนนั้น ค่าล่วงเวลาในส่วนที่เกิน ๒ ปี จึงขาดอายุ ความ โจทก์ที่ ๓ จึงมี
สิทธิได้รับค่าล่วงเวลาเฉพาะในส่วนที่ยังไม่ขาดอายุความ
อนึ่ง การคำนวณค่าชดเชยเพิ่มเติมและค่าล่วงเวลาของโจทก์ที่ ๓ ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษา
มายังไม่ถูกต้อง สำหรับค่าชดเชย ต้องคิดจากจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย โจทก์ที่ ๓ มีสิทธิได้รับไม่
น้ อ ยกว่ าค่ า จ้ า งของการทำงาน ๒๔๐ วั น สุ ด ท้ า ย ส่ ว นค่ า ล่ ว งเวลาต้ อ งแยกคำนวณค่ า จ้ า งเป็ น ๒ ส่ ว น
แต่ศาลแรงงานกลางยังไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงยุติ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ จึงไม่อาจคำนวณได้
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔- ที่ ๗ และที่ ๙- ที่ ๑๑ ให้ศาลแรงงานกลาง
ฟั งข้ อ เท็ จ จริ งเพิ่ ม เติ ม และคำนวณค่ าชดเชยกั บ ค่ าล่ ว งเวลาของโจทก์ ที่ ๓ เสี ย ใหม่ แล้ ว พิ พ ากษาใหม่
ตามรู ป คดี ตามประมวลกฎหมายวิ ธี พิ จ ารณาความแพ่ ง มาตรา ๒๔๓ วรรคหนึ่ ง (๓) (ข) ประกอบ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๙ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๓. เงินค่าระดับงาน
เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๙๕๐๒-๑๙๙๖๖/๒๕๕๖ (ค่าครองชีพ ค่าระดับงาน)
เรื่อง ค่า ครองชีพ ค่า ระดั บงาน เป็น เงิน ที่น ายจ้างจ่ายตอบแทนการทำงานของลู กจ้า ง
โดยจะจ่ายมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่เนื้อหาหรือคุณค่าของงานที่ทำ จึงเป็นค่าจ้าง
โจทก์กับ พวกรวม ๔๖๕ คน เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน AAA ฟ้องจำเลยขอให้ บั งคับจำเลย
จ่ ายสวั ส ดิ การค่ าครองชีพ และค่ าระดับ งานตามบั น ทึ ก ข้อ ตกลงเกี่ ยวกั บ สภาพการจ้างฉบั บ ลงวัน ที่ ๑๔
พฤศจิ ก ายน ๒๕๔๔ และค่ า ทำงานนอกเหนื อ เวลาทำงานปกติ ที่ ข าดหายไปจากการไม่ น ำค่ า ครองชี พ
และค่าระดับงานมาเป็นฐานคำนวณ จำเลยให้การว่าได้จ่ายค่าครองชีพและค่าระดับงานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ตอบแทนการทำงาน จ่ายเป็นประจำแน่นอน รวมทั้งนำไปเป็นฐานหักเงินส่งประกันสังคม
ศาลแรงงานกลางพิ จารณาแล้ วเห็นว่า ค่าครองชีพ และค่าระดับงานเป็นค่าจ้าง เมื่อรวมเงิน
ทั้งสองประเภทเข้ากับเงินเดือนแล้วมากกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โจทก์กับพวกจึงมิอาจเรียกค่าจ้างเพิ่ม ได้อีก
พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์
ศาลฎีกามีปั ญ หาต้องวินิ จฉัยว่า “ค่าครองชีพ และ ค่าระดับ งาน” เป็ นค่าจ้างหรือไม่ เห็ นว่า
จำเลยและสหภาพแรงงานยอมรับกันมาตั้งแต่หลักเกณฑ์การจ่ายค่าครองชีพเดิมก่อนมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับ
สภาพการจ้างแล้วว่า “ค่าครองชี พ” ต้องนำมารวมเป็นฐานคำนวณค่าล่วงเวลา กล่าวคือถือว่าครองชีพเป็น
ส่วนหนึ่งของค่าจ้างนั่นเอง ต่อมาจำเลยและสหภาพแรงงานทำบันทึกข้อตกลงกันก็ยังระบุในข้อตกลงว่าจำเลย
ตกลงปรับค่าครองชีพเป็น ๒,๒๐๐ บาท ตามหลักเกณฑ์เดิมของจำเลย ซึ่งหมายความว่ายังคงถือว่าค่าครองชีพ
เป็ น ส่วนหนึ่ งของค่า จ้างที่ต้องรวมเป็ น ฐานในการคำนวณค่าล่วงเวลาเหมือนเดิม สำหรับค่าระดับงานนั้น
บันทึกข้อตกลงกำหนดค่าระดับงานโดยพิจารณาจากปัจจัย ๔ ประการ ได้แก่
- ความรู้ในการทำงาน
- ปริมาณและรูปแบบในการทำงาน
- การตัดสินใจ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- ซึ่งงานแต่ละงานจะมีค่างานที่แตกต่างกันแต่ไม่เกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงานหรืออายุงาน
ของพนักงานคนนั้นถ้าเนื้อหาหรือคุณค่าของงานไม่เปลี่ยน ระดับงานก็ไม่เปลี่ยน “ค่าระดับงาน” จึงเป็นเงินที่
จำเลยจ่ายตอบแทนการทำงานของลูกจ้างโดยจะจ่ายมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่เนื้อหาหรือคุณค่าของงานที่ ทำ
เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอื่นว่าค่าครองชีพและค่าระดับงานไม่ใช่เงินที่จำเลยจ่ายตอบแทนการทำงานสำหรับ
ระยะเวลาการทำงานปกติของพนักงาน ดังนั้น ค่าครองชีพและค่าระดับงานจึงถือเป็นค่าจ้างตามมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๐ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๔. ค่าคอมมิชชั่น ค่านายหน้า
เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๒๑๙/๒๕๖๓
เรื่ อ ง ลู ก จ้ า งอำนาจบริ ห ารจั ด การโครงการคอนโดมิ เ นี ย ม นอกจากได้ รั บ เงิ น เดื อ น
ประจำเดือนละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท แล้วยังได้รับ “คอมมิสชันของห้องชุดทุกห้องที่ขาย” ตามอัตราที่กำหนด
โดยจะได้ รั บ มากน้ อ ยเพี ย งใดขึ้ น อยู่ กั บ จำนวนยอดขายห้ อ งชุ ด ของโครงการ “เงิ น ค่ า คอมมิ ส ชั น ”
จึงเป็นค่าจ้าง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ เป็นบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ ๒ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำ
การแทน เดือนมกราคม ๒๕๕๒ จำเลยทั้งสองจ้างโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยที่ ๑ ด้วยวาจา จนกระทั่งวันที่
๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ จึงได้ทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือให้โจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ได้รับเงินเดือนเดือนละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมคอมมิชชั่น ต่อมาวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ จำเลยทั้งสอง
มีหนังสือเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลทันที โดยโจทก์ไม่ ได้กระทำผิดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลย
ทั้งสองจ่ายค่าจ้าง ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่ าเสียหายจากการเลิ กจ้างที่ไม่เป็นธรรม
พร้อมดอกเบี้ ย จำเลยทั้งสองให้ การว่าโจทก์ทุ จริตต่อหน้าที่ กระทำความผิ ดอาญาโดยเจตนาแก่น ายจ้าง
และจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
ศาลแรงงานภาค ๒ พิจ ารณาแล้ วเห็นว่า จำเลยที่ ๑ ประกอบธุรกิจพัฒ นาอสั งหาริมทรัพย์
และจั ดจำหน่ ายเป็ นเจ้าของโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียม ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้ าที่
กระทำผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง ค่าคอมมิชชั่นที่จะมีการจ่ายเมื่อโครงการสิ้นสุด มิใช่ค่าจ้าง ไม่อาจนำมา
คำนวณค่ าชดเชยและสิ น จ้ างแทนการบอกกล่ าวล่ ว งหน้ า พิ พ ากษาให้ จำเลยที่ ๑จ่ายค่ าชดเชย สิ น จ้ าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ยคำขออื่นให้ยกเสีย
โจทก์อุทธรณ์
ประเด็นต้องวินิจฉัยว่า “เงินค่าคอมมิ สชัน” เป็นค่าจ้าง หรือไม่ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ
เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ นิยามความหมายของ “ค่าจ้าง” ไว้ว่า
หมายถึงเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลา
การทำงานปกติเป็ น รายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือ น หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้ โดยคำนวณ
ตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ส่วนเงินจูงใจนั้นมิ ได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ให้คำนิยามไว้โดยเฉพาะ จึงมีความหมายธรรมดาตามวัตถุประสงค์ของการจ่ายเงินว่า เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้
เป็นกำลังใจใจการทำงานของลูกจ้าง อันเป็นรางวัลตอบแทนความดีของลูกจ้างที่ทำงานมากกว่าปกติ คดีนี้
จำเลยที่ ๑ จ้ า งโจทก์ เข้ า ทำงานตำแหน่ ง ประธานเจ้ า หน้ า ที่ บ ริ ห าร มี อ ำนาจบริ ห ารจั ด การโครงการ
คอนโดมิเนียม นอกจากได้รับเงินเดือนประจำเดือนละ ๒๐๐,๐๐๐ บาทแล้ว ยังได้รับคอมมิสชันของห้องชุด
ทุกห้องที่ขายตามอัตราที่กำหนด โดยจะได้รับมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนยอดขายห้ องชุดของโครงการ
โดยจำเลยที่ ๑ จ่ายค่าคอมมิสชันล่วงหน้าแก่โจทก์จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาทต่อเดือน ซึ่งจะรวมหักออกจาก
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๑๑ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

เงิน งวดสุ ด ท้ ายเมื่ อ สิ้ น สุ ด โครงการ ดั งนี้ เงิน คอมมิ ส ชั น ดั งกล่ าวเป็ น เงิน ส่ ว นหนึ่ งที่ จ ำเลยที่ ๑ จ่ ายเป็ น
ค่าตอบแทนการทำงานโดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้ มิ ใช่เป็นรางวัลตอบแทนที่โจทก์ทำงานมากกว่า
ปกติ โ ดยกำหนดเป้ า หมายหรื อ ยอดขายขั้ น ต่ ำ ที่ โจทก์ ต้ อ งทำได้ แ ต่ อ ย่ า งใด ค่ า คอมมิ ส ชั น จึ งเป็ น ค่ าจ้ า ง
ตามมาตรา ๕ แห่ ง พระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ แม้ ต ามสั ญ ญาจ้ า งจะกำหนดว่ า
ค่าคอมมิสชันจะมีการจ่ายเมื่อสิ้นสุดโครงการ ก็ เป็นเพียงเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์การจ่ายค่าจ้างที่ตกลงกั น
ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับ สภาพการจ้างเท่านั้น หาทำให้ค่าคอมมิสชันซึ่งเป็นค่าจ้างกลายเป็นเงิน
ประเภทอื่นไปไม่ ที่ศาลแรงงานภาค ๒ กำหนดค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโดยมิได้นำ
ค่าคอมมิสชันซึ่งเป็นค่าจ้างตามผลงานทั้งหมดมารวมเป็นฐานในการคำนวณจึงไม่ถูกต้อง
พิ พ ากษาแก้ เป็ น ว่ า ให้ ย กคำพิ พ ากษาศาลแรงงานภาค ๒ เฉพาะส่ ว นที่ พิ พ ากษายกคำขอ
ของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ ๑ จ่ายค่าคอมมิส ชัน และส่วนที่ เกี่ยวกับการคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการ
บอกกล่ าวล่ วงหน้ า ให้ ศาลแรงงานภาค ๒ ฟั งข้อเท็ จจริงในประเด็น ดังกล่ าวแล้ วพิพ ากษาใหม่ตามรูปคดี
นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานภาค ๒

๒. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๙๕๖/๒๕๖๑ (ประกันสังคม)


เรื่ อ ง “ค่ า คอมมิ ช ชั่ น ” เป็ น เงิ น ที่ ลู ก จ้ า งได้ รั บ จากการขายประกั น ซึ่ งคิ ด คำนวณจาก
ยอดขายประกัน ที่ ขายได้ ในแต่ ละเดื อนทุกยอดขาย ลูกจ้างจะได้รั บมากน้ อยเพี ยงใดขึ้น อยู่กับ จำนวน
ยอดขายที่ลูกจ้างสามารถขายได้ “ค่าคอมมิ ชชั่น” จึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้าง
ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ประกอบกิจการประเภทสถาบันการเงินบริการด้านธุรกิจ จำเลยที่ ๑
สำนั กงานประกัน สั งคม มีห นั งสื อแจ้ งให้ โจทก์ชำระเงินสมทบเพิ่มเติมเข้ากองทุนเงินทดแทน โดยต้องนำ
ค่าคอมมิชชั่นหรือเงินจูงใจการขายไปรวมคำนวณกับเงินเดือนพนักงานเป็นค่ าจ้าง โจทก์ไม่เห็นด้วยจึงอุทธรณ์
จำเลยที่ ๒ คณะกรรมการอุทธรณ์ พิจารณาแล้วได้มีคำวินิจฉัยว่าค่าคอมมิชชั่นที่โจทก์จ่ายให้พนั กงานขาย
ประกันทุกยอดขายเป็นค่าจ้างจึงยกอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ไม่เห็นด้ วย จึงขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัย
ดังกล่าว
ศาลแรงงานพิจารณาแล้วเห็นว่า ค่าคอมมิ ชชั่นเป็นเงินที่จ่ายให้พนักงานขายตามหลักเกณฑ์
การจ่ายตามประกาศ โดยโจทก์จะจ่ายให้ แก่ลูกจ้างตำแหน่งพนักงานขายประกันที่ทำงานเต็มเดือน และทำ
ยอดขายได้ตามเป้าหมายที่กำหนดตามอัตราที่ กำหนด ค่าคอมมิชชั่นจึงเป็นเงินที่ลูกจ้างตำแหน่งดังกล่าวได้รับ
จากการขายประกันของโจทก์ซึ่งคิดคำนวณจากยอดขายประกันที่ขายได้ในแต่ละเดือนทุกยอดขาย ลูกจ้างจะ
ได้รับมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนยอดขายที่ลูกจ้างสามารถขายได้ ค่าคอมมิ ชชั่นให้พนักงานขายประกัน
ของโจทก์มีลักษณะเป็นการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ
จึงเป็นค่าจ้าง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ แต่เงินสมทบเพิ่มเติมคือ ๘๑๓ บาท

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๒ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

มิใช่ ๘๒๓ บาท พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของจำเลยเฉพาะในเรื่องเงินสมทบเพิ่มเติมในกองทุน


เงินทดแทน นอกจากนั้นให้เป็นไปตามคำสั่งของจำเลยที่ ๑ และคำวินิจฉัยของจำเลยที่ ๒ โจทก์อุทธรณ์
ศาลฎี ก าเห็ น ว่ า ที่ โ จทก์ อุ ท ธรณ์ ว่า ค่ า คอมมิ ช ชั่ น ที่ จ่ า ยให้ ลู ก จ้ า งนั้ น เป็ น การจ่ ายล่ ว งหน้ า
เต็ม ๑ ปีกรมธรรม์ที่ลูกจ้างเสนอขายให้ลูกค้าไม่ว่าลูกค้าจะชำระเบี้ยประกันครั้งเดียวหรือผ่อนชำระก็ตาม
ลูกค้าสามารถยกเลิกกรมธรรม์ แจ้งยุติความคุ้มครองและขอเบี้ยประกันคืนได้ตลอดเวลาตามความพึงพอใจ
ของลูกค้า เมื่อลูกค้ายกเลิกกรมธรรม์และขอเบี้ยประกันคืน โจทก์สามารถเรียกคืนค่าคอมมิชชั่นจากลูกจ้างได้
หากเป็ น ค่ าจ้ างแล้ ว โจทก์ ย่ อมไม่ ส ามารถเรียกคืน จากลู กจ้างได้ ค่าคอมมิ ช ชั่ นดั งกล่ าวจึ งไม่ใช่ค่ าจ้างนั้ น
เป็ น ข้อที่ โจทก์มิได้กล่ าวอ้างมาในคำฟ้ อง เป็ น การยกข้อเท็ จจริงขึ้น มาใหม่ ในชั้น อุท ธรณ์ จึงเป็ นอุ ทธรณ์
ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พิพากษายืน

๓. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๐๘๒/๒๕๕๘
เรื่อง ค่าคอมมิชชั่นเป็นค่าจ้างตามผลงานซึ่งการคำนวณค่าชดเชยต้องคำนวณจากรายได้
ย้ อ นหลั ง ตามระยะเวลาการทำงานของลู ก จ้ า ง , แม้ น ายจ้ า งจะมี อ ำนาจในการโยกย้ า ยลู ก จ้ า ง
แต่การโยกย้ายนั้น ทำให้ลูกจ้างเดือดร้อนเกินควร เมื่อลูกจ้ างปฏิเสธ จึงไม่ใช่การฝ่าฝืน คำสั่งที่ร้ายแรง
เมื่อนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เตือนเป็นหนังสือก่อน นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง
โจทก์เป็ น ลูกจ้ างจำเลยตำแหน่ งพนักงานขาย แม้ตามใบสมัครงานระบุ ว่าสามารถไปประจำ
ต่างจังหวัดได้ และบริษัทมีสิทธิเปลี่ยนแปลงสับเปลี่ยนโยกย้ายพนักงานได้ ตามความจำเป็น การที่จำเลยมี
คำสั่งย้ายโจทก์จากจังหวัดภูเก็ตให้ไปทำงานที่สาขาหัวหินโดยไม่ก ระทบต่อเงินเดือนและค่าตอบแทนและเป็น
การกระทำตามความจำเป็นและเหมาะสม จึงมีอำนาจกระทำได้และเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่
โจทก์ปฏิเสธนั้น แม้จะเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งแต่ไม่ได้เป็นกรณีร้ายแรงที่นายจ้างจะเลิ กจ้างได้โดยไม่ตักเตือนเป็น
หนั งสื อก่อน ทั้งการออกคำสั่ งย้ ายก็กระทำก่อนเลิ กจ้างเพี ยง ๒ วัน ย่อมทำให้ โจทก์ไม่มีเวลาได้ตัดสิ นใจ
อย่างรอบคอบก่อน จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย
ค่าคอมมิชชั่น จ่ายจากร้อยละของยอดขายที่โจทก์ขายได้ในแต่ละเดือน ค่าคอมมิชชั่นจึงเป็นเงิน
ที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานโดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของ
วันทำงาน จึงเป็นค่าจ้าง คดีนี้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่า ๙๐ วันทำงาน โดยได้รับค่าคอมมิชชั่น
แต่ละเดือนไม่เท่ากัน แต่ศาลแรงงานวินิจฉัยอัตราค่าจ้างโจทก์โดยกำหนดคำนวณโดยเฉลี่ยเพื่อความเป็นธรรม
ในอัตราเดือนละ ๔๑,๗๐๐ บาท จึงเป็นค่าชดเชย ๑๒๕,๑๐๐ บาท โดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์มีรายได้
ย้อนหลั งเท่ากับ ค่าจ้ างของการทำงาน ๙๐ วันสุ ดท้ายเพียงใด เมื่อพิจารณาใบแจ้งรายได้ข องโจทก์พบว่า
มีเพียงเอกสารเดือนมกราคม พฤษภาคม กันยายน ๒๕๕๑ เท่านั้น จึงไม่แน่ชัดว่าโจทก์มีค่าจ้างของการทำงาน
๙๐ วัน สุ ดท้ายเพี ย งใด จึงไม่อาจกำหนดค่าชดเชยแก่โจทก์ได้ กรณี จึงย้อนสำนวนให้ ศาลแรงงานภาค ๘
ฟังข้อเท็จจริงแล้วกำหนดจำนวนค่าชดเชย

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๓ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๔. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๕๓๓-๖๕๓๔/๒๕๕๖ (ค่านายหน้า)


เรื ่อ ง เงิน ค่า นายหน้า นายจ้ า งได้ ก ำหนดหลั ก เกณฑ์ ก ารจ่ า ยใหม่ เป็ น อั ต ราร้ อ ยละ ๑
เมื่ อลู กค้ าชำระเงิ นไม่ เกิ น ๙๐ วั น ได้ รั บค่ านายหน้ าอั ตราร้ อยละ ๐.๘ เมื่ อลู กค้ าชำระเงิ นภายใน ๙๐-๑๒๐ วั น
หากลู กค้า ชำระเงิน เกิน กว่า ๑๒๐ วัน จะไม่ได้ รับ ค่ านายหน้ า นอกจากนี้ ลู กจ้า งจะได้ รับ ค่ านายหน้ า
เมื่อมียอดขายไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ ของเป้าหมายที่กำหนด การคำนวณค่านายหน้ากำหนดจ่ายพร้อมกับ
เงินเดือนประจำแน่นอน แม้นายจ้างจะกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่โดยกำหนดตามระยะเวลาที่ลูกค้าชำระเงิน
ก็ตาม แต่การทำยอดขายให้ได้ตามเป้าหรือการติดตามทวงหนี้ค่าสินค้าจากลูกค้ าก็เป็นส่วนหนึ่งของงาน
รับผิดชอบของลูกจ้าง ค่านายหน้าจึงถือเป็นค่าจ้าง ต้องนำมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย
เดิมจำเลยมีข้อตกลงในการจ่ายค่านายหน้าจากการขายให้แก่โจทก์ที่ ๑ และที่ ๒ อัตราร้อยละ ๑
จากยอดขายที่เรียกเก็บจากลูกค้าได้ ต่อมาจำเลยได้กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่า นายหน้าขึ้นใหม่เป็นอัตรา
ร้อยละ ๑ เมื่อลูกค้าชำระเงินไม่เกิน ๙๐ วัน ได้รับค่านายหน้าอัตราร้อยละ ๐.๘ เมื่อลูกค้าชำระเงินภายใน ๙๐
ถึ ง ๑๒๐ วั น หากลู ก ค้ า ชำระเงิ น เกิ น กว่ า ๑๒๐ วั น จะไม่ ได้ รั บ ค่ า นายหน้ า ส่ ว นโจทก์ ที่ ๒ จะได้ รั บ
ค่านายหน้าอัตราร้อยละ ๐.๕ ของยอดขายที่ทมี งานขายซึ่งอยู่ในความดูแลของโจทก์ที่ ๒ ทำได้เมื่อลูกค้าชำระ
เงินไม่เกิน ๙๐ วันและจะได้รับค่านายหน้าอัตราร้อยละ ๐.๔ เมื่อลูกค้าชำระเงินภายใน ๙๐ วัน ถึง ๑๒๐ วัน
หากลูกค้าชำระเงินเกิน ๑๒๐ วัน จะไม่ได้ค่านายหน้า นอกจากนี้โจทก์ที่ ๒ จะได้รับค่านายหน้าเมื่อมียอดขาย
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ ของเป้าหมายที่กำหนด การคำนวณค่านายหน้าแก่โจทก์ที่ ๑ และ ๒ มีกำหนดงวดการ
จ่ายพร้อมกับ เงิน เดือนที่เป็ น ประจำแน่ น อน เงินค่านายหน้าจึงเป็นเงินที่นายจ้างลู กจ้างตกลงกันจ่ายเป็ น
ค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญ ญาจ้ างโดยคำนวณจากผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวัน
ทำงาน แม้จ ำเลยจะกำหนดหลั กเกณฑ์ ใหม่ โดยกำหนดตามระยะเวลาที่ ลู กค้ าชำระเงิน ก็ตาม แต่ การทำ
ยอดขายให้ได้ตามเป้าหรือการติดตามทวงหนี้ค่าสินค้าจากลูกค้าก็เป็นส่วนหนึ่งของงานรับผิดชอบของโจทก์
ค่านายหน้าตามหลักเกณฑ์ใหม่จึงเป็นค่าตอบแทนการทำงานนั่นเอง ดังนั้น ค่านายหน้าตามหลักเกณฑ์เดิ ม
และหลักเกณฑ์ใหม่จึงเป็นค่าจ้างตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ต้องนำไป
เป็นส่วนหนึ่งในการคำนวณค่าชดเชย

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๔ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๖๒๕/๒๕๖๑ (คดีฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน)
เรื่อง “ค่าคอมมิชชั่น” จ่ายให้เพื่อจูงใจให้ขายสินค้าได้จำนวนมากที่สุด “ค่ารักษาสินค้า”
จ่ายเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างช่วยกันดูแลรักษาสินค้าไม่ให้สูญหาย “ค่าตำแหน่ง” กำหนดขึ้นเพื่อสร้าง
แรงจูงใจแก่ลูกจ้างให้พัฒนาการบริการแก่ลูกค้าให้ดีและน่าประทับใจมากยิ่งขึ้ นไป เงินทั้งสามประเภทนี้
จึงไม่ใช่ค่าจ้าง ไม่นำมาคำนวณค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน กรณีที่มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าชดเชย
และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้กับลูกจ้างทั้งสาม โจทก์เห็นว่าไม่ชอบด้ว ยกฎหมาย เนื่องจากโจทก์
ประกอบกิจ การขายเครื่องสำอาง นางสาว ส. กับพวก จำเลยร่วม เป็นลูกจ้างโจทก์ตำแหน่งพนักงานขาย
ทำงานที่ห้างสรรพสินค้า บ. ระหว่างการทำงานลูกจ้างทั้งสามนำข้อมูลส่วนบุคคลของบิดา มารดา และญาติ
มาสมัครบัตรสมาชิกของโจทก์และเก็บค่าสมาชิกไว้เองว่า เมือ่ ลูกค้าซื้อสินค้าจำเลยร่วมไม่ชักชวนให้สมัครบัตร
สมาชิกแต่กลับใช้บัตรสมาชิกดังกล่าวแอบอ้างเป็ นรายการซื้อสินค้าของบิดา มารดา หรือญาติของตนเพื่อทำ
รายการสะสมคะแนนและนำไปใช้แลกสินค้าของโจทก์โดยไม่ต้องชำระราคา เป็นความผิดร้ายแรง และจำเลย
นำค่าคอมมิสชันค่ารักษาสินค้า ค่าตำแหน่ง ค่าพาหนะ มารวมคำนวณค่าชดเชยฯ จึ งไม่ถูกต้อง ศาลแรงงาน
ภาค ๖ พิจารณาแล้ว พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานในส่วนของจำเลยร่วมที่ ๑ ทั้งหมด
และในส่วนของจำเลยร่วมที่ ๓ เฉพาะบางส่วน คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก โจทก์อุทธรณ์
ประเด็นพิจารณาตามอุท ธรณ์ว่า ค่าคอมมิชชั่น ค่ารักษาสินค้า และค่าตำแหน่ ง เป็นค่าจ้าง
หรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า “ค่าคอมมิชชัน่ ” เป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้จำเลยร่วมทั้งสาม คำนวณจ่ายเป็นร้อยละของ
ยอดขายสินค้าในแต่ละเดือนที่พนักงานขายในร้านของโจทก์ทุกคนรวมกัน โดยต้องขายได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๕
ของเป้าหมายที่โจทก์กำหนดไว้ ซึ่งพนักงานขายในร้านจะได้รับเท่ากันทุกคน หากขายสินค้าไม่ได้ตามกำหนด
โจทก์ ก็ ไม่ จ่ าย แสดงว่ าเงิ นดั งกล่ าวกำหนดขึ้ นเพื่ อสร้ างแรงจู งใจแก่ จำเลยร่ วมที่ ๒ และจำเลยที่ ๒ ให้ ขายสิ นค้ า
ให้ ได้ จ ำนวนมากที่ สุ ด “ค่ ารั กษาสิ นค้ า” เป็ นเงิ นที่ โจทก์ จ่ ายให้ โดยคำนวณจ่ ายเป็ นร้ อยละของยอดขายสิ นค้ า
ในแต่ละเดือนที่พนักงานในร้านทุกคนขายได้รวมกัน โดยมีเงื่อนไขว่าในเดือนนั้นต้องไม่มีสินค้าในร้านสูญหาย
หากมีสิน ค้าสู ญ หายจะต้องนำราคาสิน ค้าที่สู ญหายมาหั กออกก่อนที่จะนำมาเฉลี่ ยให้ พนักงานขายในร้าน
เท่ากันทุกคน กรณี สินค้าสูญหายไปมากกว่าจำนวนเงินค่ ารักษาสินค้า จำเลยร่วมที่ ๒ และที่ ๓ ก็จะไม่ได้รับ
เงินนี้อันเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างช่วยกันดูแลรักษาสินค้าไม่ให้สูญหาย “ค่าตำแหน่ง” โจทก์จ่ายให้
จำเลยร่วมทั้งสามเป็ น พิเศษ คำนวณจากการขายสิ นค้าบางรายการที่กำหนดไว้ หากขายได้ ตามจำนวนที่
กำหนด และยั งรวมถึ งเงิน ที่ จ ากคะแนนประเมิน การบริการจากลู ก ค้าที่ โจทก์ส่ งมาทดสอบพนั กงานขาย
ประกอบเพื่อจ่ายเงินด้วย หากขายสินค้าไม่ได้หรือไม่ได้คะแนนจากการประเมินของลูกค้า จำเลยร่วมก็จะไม่ได้
เงินส่วนนี้เช่นกัน
เงิน ทั้ งสามประเภทนี้ จึ งไม่ ใช่ ค่ า จ้ า งตามมาตรา ๕ แห่ งพระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ พิ พ ากษาแก้ เป็ น ว่ า ให้ แ ก้ ไขคำสั่ งพนั ก งานตรวจแรงงานเฉพาะส่ ว นจำนวนเงิน ค่ า ชดเชย
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๑๕ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

และค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าของจำเลยร่วมที่ ๒ และ ที่ ๓ นอกจากที่แก้ให้เ ป็นไปตามคำพิพากษา


ศาลแรงงานภาค ๖

๒. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๙๕๙/๒๕๖๑ (ประกันสังคม)


เรื่อง “ค่าคอมมิชชั่นและเงินรางวัลการขาย” จะได้รับก็ต่อเมื่อทำยอดขายได้ตามที่กำหนด
หากทำไม่ได้ตามที่กำหนดก็จะไม่ได้รับ “ค่าคอมมิชชั่นและเงินรางวัลการขาย” จึงเป็นเงินจูงใจให้พนักงาน
ขายประกั น ทำยอดขายเพิ่ ม ขึ้ น ไม่ ใ ช่ จ่ า ยเพื่ อ ตอบแทนการทำงาน จึ ง ไม่ เป็ น ค่ า จ้ า งตามมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ประกอบกิจการประเภทสถาบันการเงินบริการด้ านธุรกิจ จำเลยที่ ๑
สำนั ก งานประกั น สั งคม มี ห นั งสื อ ให้ โจทก์ ช ำระเงิน สมทบเพิ่ ม เติ ม เข้ า กองทุ น ประกั น สั งคม โดยต้ อ งนำ
ค่าคอมมิช ชั่น และเงิน รางวัล การขายในปี ๒๕๕๔ ไปรวมคำนวณกับเงินเดือนพนั กงานแล้ วถือเป็นค่าจ้าง
โจทก์ไม่เห็นด้วยจึงอุทธรณ์ จำเลยที่ ๒ คณะกรรมการอุทธรณ์ พิจารณาแล้วได้มีคำวินิจฉัยว่าค่าคอมมิ ชชั่น
และเงิน รางวัล การขายเป็ น ค่าจ้ าง จึ งมี มติยกอุทธรณ์ ของโจทก์ โจทก์ไม่เห็ น ด้ วย จึงขอให้ เพิ กถอนคำสั่ ง
และคำวินิจฉัยดังกล่าว ศาลแรงงานพิจารณาแล้วเห็นว่าคำสั่งและคำวินิจฉัยของจำเลยชอบแล้ว พิพากษา
ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์
ประเด็นค่าคอมมิชชั่นเป็นค่าจ้างหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า ประกาศกำหนดจ่ายค่าคอมมิ ชชั่น
ของพนักงานขายประกัน ดังนี้ ขายได้ตั้งแต่ ๕๐,๐๐๑ – ๑๐๐,๐๐๐ บาท ได้ค่ าคอมมิชชั่น ๔ % ขายได้
๑๐๐,๐๐๑ – ๒๐๐,๐๐๐ บาท ได้ค่าคอมมิชชั่น ๕.๕ %....ตามเงื่อนไขการจ่าย ค่าคอมมิชชั่นตามประกาศ
ของจำเลย พนักงานขายประกันที่ทำยอดขายได้ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท จะไม่ได้รับค่าคอมมิ ชชั่น ส่วนพนักงาน
ขายประกันที่ทำยอดขายได้ ๕๐,๐๐๑ บาท เป็นต้นไป จะได้ รับค่าคอมมิชชั่นในอัตรามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
จำนวนยอดขายประกั น ในแต่ ล ะเดื อ น แสดงว่ า โจทก์ ไม่ ไ ด้ จ่ า ยค่ า คอมมิ ช ชั่ น ให้ พ นั ก งานขายประกั น
ตามยอดขายทั้ งหมดที่ พ นั ก งานขายประกั น ตามยอดขายทั้ งหมดที่ พ นั ก งานขายประกั น สามารถขายได้
นอกจากนี้ ยั งปรากฏว่าโจทก์ ได้ ก ำหนดเงิน มั ด จำและกำหนดการคื น เงิน มั ด จำไว้เหมื อ นกั น ทั้ งสี่ ฉ บั บ ว่ า
พนักงานขายประกันที่ได้ค่าคอมมิ ชชั่น ๑ – ๑๕,๐๐๐ บาท จะหักไว้เป็น เงินมัดจำ ๕ % ส่วนค่าคอมมิชชั่น
ตั้งแต่ ๑๕,๐๐๐ บาทขึ้น ไป จะหั กเป็ น เงิน มัด จำ ๑๐ % โดยกำหนดว่าโจทก์จะคืน เงินมั ดจำให้ พ นั กงาน
ขายประกัน เมื่อพนักงานขายประกันสิ้ น สุดการปฏิบัติ งานโครงการจีทีไลฟท์ และกรมธรรม์ฉบับสุ ดท้ายที่
พนักงานขายประกันต้องรับผิดชอบมีผลบังคับ ๑ ปี การหักเงินมัดจำไว้จากค่าคอมมิชชั่นเพื่อเป็นหลักประกัน
ในกรณีที่ลูกค้ายกเลิกกรมธรรม์หรือไม่ชำระเบี้ยประกัน แสดงว่าเงินค่าคอมมิชชั่นที่พนักงานขายประกันได้รับ
พนั กงานขายประกัน ยังไม่ได้เด็ดขาด แต่มีเงื่อนไขต้องจ่ายคืนค่าคอมมิ ชชั่น เช่น นี้เห็น ได้ว่า การจ่ายเงิน
ค่าคอมมิชชั่นในคดีนี้มุ่งหมายเพื่อเป็นการจูงใจให้พนักงานขายประกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในการ
หาลูกค้าและตรวจสอบความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันลูกค้า อันเป็นการกระตุ้นให้พนักงานขายประกัน
กระตือรือร้นในการหาลูกค้า พนักงานขายประกันจะมีโอกาสได้รับเงินค่าคอมมิ ชชั่นมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๖ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ความขยันและประสิทธิภาพในการทำงานของแต่ละคน ค่าคอมมิชชั่นจึงเป็นเงินจูงใจให้พนักงานขายประกัน
ทำยอดขายเพิ่มขึ้น ไม่ใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงไม่เป็นค่าจ้างตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติ
ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
ประเด็นเงินรางวัลการขายเป็นค่าจ้างหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า ในปี ๒๕๕๔ โจทก์ออกประกาศ
เงิน รางวัล การขายรายสั ป ดาห์ ของพนั กงานขายรายบุคคลรวม ๔ ฉบั บ ซึ่งประกาศฯ กำหนดหลั กเกณฑ์
การจ่ ายเงิน รางวัล การขายให้ แก่ พ นั ก งานขายประกัน ไว้เหมือ นกั น ว่า ขายได้ ๐ – ๓๕,๐๐๐ บาท ไม่ ได้
เงิน รางวัล การขายรายสั ป ดาห์ ขายได้ ๓๕๕๐๑ – ๕๒,๕๐๐ บาท ได้ รับ เงิน รางวั ล การขายรายสั ป ดาห์
๒๕๐ บาท...ตามเงื่อนไขดังกล่าว พนักงานขายที่ ทำยอดขายได้ไม่เกิน ๓๕,๐๐๐ บาท ต่อสัปดาห์ จะไม่ได้รับ
เงินรางวัลการขายเลย จะได้รับก็ต่อเมื่อทำยอดขายได้ตั้งแต่ ๓๕,๐๐๑ บาท เป็นต้นไป และจะได้รับเงินรางวัล
การขายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนยอดขายทั้งหมดที่พนักงานขายประกันขายได้ แต่จะเริ่มจ่ายเงินรางวัล
ให้เมื่อพนักงานขายประกันสามารถทำยอกขายได้ตามที่โจทก์กำหนดไว้ในประกาศ การจ่ายเงินรางวัลการขาย
จึงเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้พนักงานขายประกันเพื่อจูงใจให้ทำงานอย่ างมีประสิทธิภาพและทำยอดขายได้ ไม่ใช่
จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ เงินรางวัลการขายจึงไม่เป็นค่าจ้างตามพระราชบัญญัติ
ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ มาตรา ๕
เมื่อวินิจฉัยมาข้างต้นแล้วว่า ค่าคอมมิ ชชั่นและเงินรางวัลการขาย ไม่เป็นค่าจ้าง โจทก์จึงไม่มี
หน้าที่นำเงินส่วนนี้มารวมกับค่าจ้างเพื่อเป็นฐานคำนวณเงินสมทบที่ส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ดังนั้น โจทก์จึง
มีสิทธิเรียกเงินสมทบคืน พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ กับให้
จำเลยที่ ๑ คืนเงินสมทบเพิ่มเติมจำนวน ๑๕๒,๖๔๖ บท แก่โจทก์ หากไม่ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดตาม
คำบังคับของศาลแรงงานกลางให้ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี คำขอนอกจากนี้ให้ยก

๓. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๗๓๓/๒๕๖๐
เรื่อง “ค่าคอมมิชชั่น” ค่าคอมมิ ชชั่นเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานขายโดยคำนวณ
ให้ตามผลงานที่พนักงานทำยอดขายได้ตามเป้าหมายที่จำเลยกำหนดเป็นรายปี อันเป็นการจ่ายเพื่อจูง ใจ
ให้พนักงานขายทำยอดขายเพิ่มขึ้น “ค่าคอมมิชชั่น” จึงไม่ใช่ค่าจ้าง
คดี นี้ โ จทก์ ฟ้ อ งว่ า จำเลยจ้ า งโจทก์ ท ำงานเป็ น พนั ก งานขาย ค่ า จ้ า งอั ต ราสุ ด ท้ า ยเดื อ นละ
๑๘,๐๐๐ บาท ต่อมาวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๗ จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิด
ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าคอมมิสชัน สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่ าชดเชย ค่าเสียหายจาการเลิกจ้าง
ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์
ประเด็นว่าค่าคอมมิสชันเป็นค่าจ้างหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า ค่าจ้าง คือเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่
ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนการทำงานสำหรับการทำงานหรือผลงานที่ทำได้ในเวลา
ทำงานปกติของวันทำงาน หากนายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างด้วยวัตถุประสงค์อื่นที่มิใช่เพื่ อตอบแทนการทำงาน
โดยตรง ก็มิใช่ค่าจ้าง ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า ค่าคอมมิ ชชั่นเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงาน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๗ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ขายโดยคำนวณให้ตามผลงานที่พนักงานทำยอดขายได้ตามเป้าหมายที่จำเลยกำหนดเป็นรายปี โดยจำเลย
มี ข้ อ ตกลงกั บ โจทก์ ว่ าถ้ าโจทก์ ส ามารถทำยอดโฆษณารวมต่ อ เดื อ นได้ ต ามเป้ าหมายที่ จ ำเลยกำหนดไว้
โจทก์จะได้รับเปอร์เซ็นต์จากยอดขายของทีมงาน หากทำได้ต่ำกว่าเป้าหมาย พนัก งานขายจะไม่มีสิทธิได้รับ
ค่าคอมมิชชั่ น เห็ นได้ ว่า ค่าคอมมิสชันจำเลยตกลงจ่ายให้ เฉพาะพนักงานที่ทำยอดขายได้ตามเป้าที่จำเลย
กำหนดอัน เป็ น การจ่ ายเพื่อจู งใจให้ พนั กงานขายทำยอดขายเพิ่มขึ้น มิใช่เพื่อตอบแทนการทำงานโดยตรง
ค่าคอมมิสชันจึงมิใช่ค่าจ้างตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ พิพากษายืน

๔. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๑๓-๑๕๑๔/๒๕๕๗
เรื่อง เบี้ยเลี้ยง ค่าน้ำมัน ค่าโทรศัพท์ ค่าดูแลลูกค้า ค่าพาหนะ ต้องนำใบเสร็จมาแสดง
เงินดังกล่าวจึงเป็นเพียงค่าใช้จ่ายในการปฏิบั ติงาน จึงไม่เป็นค่าจ้าง ค่าคอมมิชชั่น นายจ้างจ่ายเพื่อให้
พนักงานขายที่อยู่ในความดูแลของลูกจ้างทำยอดขายเพิ่ม จึงเป็นการจ่ายเพื่อจูงใจ ไม่เป็นค่าจ้าง
จำเลยจ้ างโจทก์ทั้ งสองเป็ น ลู กจ้าง ในการทำงานของโจทก์ทั้ งสอง หากเดิ นทางไปทำงานที่
ต่างจังหวัด โจทก์ทั้งสองได้รั บเบี้ยเลี้ยง ค่าน้ำมัน ค่าโทรศัพท์ ค่าดูแลลูกค้า ตามที่จ่ายจริง โดยโจทก์ทั้งสอง
จะต้องนำใบเสร็จค่าใช้จ่ายมาแสดงต่อจำเลยและจำเลยจะจ่ายเงินคืนให้ตามใบเสร็จ เงิ นดังกล่าวจึงเป็นเพียง
ค่าใช้จ่ ายในการปฏิบั ติงานของโจทก์ หาใช่ค่าจ้างไม่ ส่วนค่าพาหนะจำเลยจ่ายให้ โจทก์ ทั้งสองเพื่อชดเชย
กับการที่โจทก์ทั้งสองนำรถยนต์ส่วนตัวไปใช้ในการทำงาน หากไม่นำรถยนต์ส่วนตัวไปใช้ จำเลยก็ไม่จ่ายให้
ค่า พาหนะจึ งเป็ น เงิน ที่ จ ำเลยจ่ ายเพื่ อ ชดเชยกั บ การที่ โจทก์ ทั้ งสองนำรถยนต์ ส่ ว นตั ว ไปใช้ ในการทำงาน
ค่าพาหนะจึงไม่ใช่ค่าจ้าง ส่วนค่าคอมมิชชั่น จำเลยจ่ายให้ เพื่อจูงใจให้ ผลงานการขายเพิ่มขึ้น โดยคำนวณ
จากยอดขายของพนักงานขายที่อยู่ในความดูแลของโจทก์ซง่ึ แต่ละเดือนจะได้รับไม่เท่ากัน จึงไม่เป็นค่าจ้าง

๕. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๗๘๔/๒๕๕๗
เรื่อง คดีฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน : เงินรางวัลการขาย (ค่าคอมมิชชั่น)
นายจ้างตกลงจ่ายเพื่อจูงใจเพื่อให้พนักงานขายมีรายได้เพิ่ม ไม่ใช่ค่าจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๒ ตำแหน่งพนักงานขาย โจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน
จำเลยที่ ๑ เพื่ อให้ จ ำเลยที่ ๒ จ่ ายค่าจ้ างตามผลงาน (ค่ าคอมมิ ช ชั่ น ) จำเลยที่ ๑ มี ค ำสั่ งว่าเงิน ดั งกล่ าว
ไม่ใช่ค่าจ้างแต่เป็นเงินที่จำเลยที่ ๒ จ่ายเพื่อจูงใจเพื่อให้พนักงานขายมีรายได้ เพิ่ม โจทก์ไม่เห็นด้วยขอให้ศาล
เพิ ก ถอนคำสั่ งดั งกล่ า ว ศาลแรงงานกลางพิ พ ากษาให้ เพิ ก ถอนคำสั่ งของจำเลยที่ ๑ และให้ จ ำเลยที่ ๒
จ่ ายค่ าจ้ างที่ ค้ างจำนวน ๖,๕๐๐ บาท พร้อ มดอกเบี้ ย จำเลยที่ ๒ อุ ท ธรณ์ ศาลฎี ก าเห็ น ว่ า จำเลยที่ ๒
มีหลักเกณฑ์การจ่ายเงินรางวัลการขายตามระเบียบเงินรางวัลการขายประจำเดือน การจ่ายเงินรางวัลการขาย
มีเจตนาจ่ายเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่ลูกจ้างที่ทำงานในตำแหน่งพนักงานขายในการให้บริการแก่ลูกค้าและเพื่ อให้
มีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากค่าจ้าง เงินรางวัลการขายเป็นเงินที่จ่ายไม่แน่นอนในแต่ละเดือน หากเดือนใดผลงาน
ต่ำกว่าเป้ายอดขายขั้นต่ำรายแผนก พนักงานขายในแผนกนั้นก็จะไม่ได้รับเงิน รางวัลการขายประจำเดือนนั้น

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๘ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

แสดงให้เห็นว่าเงินรางวัลการขายประจำเดือนนี้มิได้เกิดจากการทำงานหรือผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยจาก
การขายสิน ค้าที่โจทก์ทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงานของโจทก์โดยตรง เงินรางวั ล การขายจึงไม่ใช่
ค่าจ้างตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ เมื่อโจทก์ลาออกจากการเป็นพนักงาน
โดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินรางวัลการขาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลการขาย
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงชอบแล้ว พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์

๖. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๑๗๑๗/๒๕๕๖
เรื่อง “ค่านายหน้า” แม้จะระบุว่าค่านายหน้าจะได้รับหลังลูกค้าชำระค่าสินค้าแล้วภายในวันที่
๑๕ ของเดือนถัดไป ระหว่างปฏิบัติงานก็ตาม แต่เมื่อไม่มีข้อความตอนใดที่จำกัดสิทธิของพนักงานขายว่า
ลาออกแล้วจะไม่ได้รับค่ านายหน้าที่ขายได้ในระหว่างยังปฏิ บัติงาน จึงไม่อาจแปลความว่าค่า สินค้าต้อง
ได้รับชำระระหว่างทีย่ ังมีสภาพเป็นลูกจ้างอยู่ ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่านายหน้า
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นพนักงานขาย ค่าจ้างเดือนละ ๑๔,๑๐๐ บาท ระหว่างทำงาน
จำเลยตกลงให้ค่านายหน้าจากการขายสินค้า จะชำระให้ใน ๒ เดือน ถัดไปหลังจากสรุปยอดขายในแต่ละเดือน
ในเดื อนกุ มภาพั นธ์ และมี นาคม ๒๕๕๐ โจทก์ ขายสิ นค้ าได้ มากกว่ า ๔ ล้ านบาท คิ ดเป็ นค่ านายหน้ า ๒๓,๙๖๗ บาท
พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่าค่านายหน้าจะจ่ายเมื่อจำเลยได้รับชำระค่าสินค้าแล้วและโจทก์ต้องมีสภาพเป็น
พนั ก งานของจำเลย โจทก์ ล าออกมี ผ ลให้ ไม่ เป้ น พนั ก งานของจำเลยนั บ แต่ วั น ที่ ๓๑ มี น าคม ๒๕๕๐
จึงไม่เข้าหลั กเกณฑ์ ที่จ ะได้รับ ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ วพิ พากษาให้ จำเลยชำระเงิน ๒๓,๙๖๗ บาท
พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยอุทธรณ์ว่า ข้อตกลงในหมายเหตุข้อ ๕ ว่า ค่านายหน้า (ค่าคอมมิ สชัน) จะได้รับหลังลูกค้า
ชำระค่าสินค้าแล้ว ภายในวันที่ ๑๕ ของเดื อนถัดไป ระหว่างปฏิบัติงานนั้น หมายความว่า ค่าสินค้าต้องได้รับ
ชำระในระหว่างที่โจทก์ยังมีสภาพเป็นลูกจ้างจำเลยจึงจะมีสิทธิได้รับค่านายหน้า
ศาลฎีกาเห็นว่า แม้หมายเหตุข้อ ๕ จะระบุว่าค่านายหน้าจะได้รั บหลังลูกค้าชำระค่าสินค้าแล้ว
ภายในวัน ที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป ระหว่ างปฏิ บัติงานก็ตาม แต่เมื่อไม่ มีข้อความตอนใดที่จำกัดสิท ธิข อง
พนักงานขายว่าลาออกแล้วจะไม่ได้รับค่านายหน้าที่ขายได้ในระหว่างยังปฏิบัติงานเป็นพนักงานอยู่ จึงไม่
อาจแปลความว่าค่าสินค้าต้องได้รับชำระระหว่างที่โจทก์ยังมีสภาพเป็นลูกจ้ างจำเลยอยู่ โจทก์จึงจะได้
ค่านายหน้า ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๙ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๕. ค่าเที่ยว
เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๑๖๖๒ – ๑๖๖๔/๒๕๖๒
เรื่อง ค่าเที่ยวการขับรถเหมาจ่าย และค่าขับรถลักษณะประหยัดน้ำมันเหมาจ่าย เป็นค่าจ้าง
แต่ “ค่าขับรถด้วยความปลอดภัย” มีหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการจ่ายเงินเพื่อจูงใจ จึ งไม่ใช่ค่าจ้าง , ลูกจ้าง
ในงาน “ขับรถบรรทุกน้ำมัน” มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานเกิ นเวลาปกติ โดยต้องคำนวณค่าจ้ าง
ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ไม่จำกัดเฉพาะเวลาที่ขับรถเท่านั้น แต่หมายความรวมถึง ระยะเวลาที่ลูกจ้าง
เดินทางไปที่ทำการเพื่อพักรองานและระยะเวลาที่ต้องดำเนินการต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะ
ขับรถไปส่งน้ำมันให้แก่ลูกค้า
คดีนี้โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งพนักงานขับรถบรรทุก
น้ำมัน ค่าจ้างเดือนละ ๙,๒๔๐ บาท ค่าเที่ยวการขับรถเหมาจ่าย ๙,๕๐๐ บาท ค่าขับรถด้วยความปลอดภัย
เหมาจ่าย ๓,๐๐๐ บาท ค่าขับรถลักษณะประหยัดน้ำมันเหมาจ่าย ๑๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นค่าจ้างเดือนละ
๓๑,๗๔๐ บาท โจทก์ทั้งสามทำงานเกิน เวลาทำงานทุกวัน วันละ ไม่น้ อยกว่า ๑๐ ชั่วโมง ต่อ มาวันที่ ๒๔
มีนาคม ๒๕๖๑ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ที่ ๑ และ ๒ และวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๑ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ ๓
โดยโจทก์มิได้กระทำความผิด ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่ าวล่วงหน้า ค่าเสียหาย
จากการเลิกจ้างที่ไม่เป็ นธรรม ค่าทำงานเกิน เวลา ๑,๐๖๐,๐๒๐ บาท (ของโจทก์ที่ ๑) โจทก์ที่ ๒.........
โจทก์ที่ ๓....พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยให้การว่าโจทก์กับพวก
กระทำผิ ด ร้ายแรง โจทก์ไม่ได้ท ำงานเกิน เวลา ค่ าเที่ย วการขับ รถเหมาจ่ าย ค่าขับ รถด้ว ยความปลอดภั ย
เหมาจ่าย และค่าขับรถลักษณะประหยัดน้ำมันเหมาจ่าย ไม่ใช่ค่าจ้าง
ศาลแรงงานภาค ๒ พิจารณาแล้ว เห็นว่า ค่าเที่ยวการขับรถ และค่าขับรถลักษณะประหยัด
น้ำมัน เป็นการจ่ายตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้าง พิพากษาให้จำเลยจ่า ยค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้ งสาม
พร้อมดอกเบี้ย คำขออื่นให้ยก โจทก์ทั้งสามและจำเลยอุทธรณ์
ประเด็ น “ค่ า ขับ รถด้ ว ยความปลอดภั ย ” ศาลอุ ทธรณ์ คดี ช ำนั ญ พิ เศษเห็ น ว่า เมื่อ การจ่าย
ค่าขับรถด้วยความปลอดภัยไม่เกิดอุบัติเหตุเหมาจ่ายให้เดือนละ ๓,๐๐๐ บาท มีหลักเกณฑ์ซึ่งเป็นเงื่อนไข
ในการจ่ายเงินดังกล่าวเพื่อจูงใจให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมันจะต้องขับรถด้วยความ
ระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ จึงจะได้รับเงินดังกล่าวเป็นประจำทุกเดือน หากเกิดอุบัติเหตุโดยเป็นความผิด
ของโจทก์ทั้งสามก็จะไม่ได้รับเงิน ดังกล่าว เงินค่าขับรถด้วยความปลอดภัยที่จำเลยจ่ายให้ แ ก่โจทก์ทั้งสาม
จึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นค่าตอบแทนการทำงานโดยตรงตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลา
การทำงานปกติ อันจะถือว่าเป็นค่าจ้า งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ ที่จะต้อง
นำไปรวมเป็นค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ประเด็ น ค่า ตอบแทนการทำงานเกิ น เวลาปกติ ที่ โจทก์อุ ท ธรณ์ ว่า การขนส่ งน้ ำมั น ต้ องทำ
ต่อเนื่องไป ทั้งการรอคิวรับงานใช้เวลา ๒ – ๔ ชั่วโมง ต้ องเอารถไปตรวจสภาพก่อนแล้วรอรับใบระบุชนิด
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๒๐ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

น้ำมัน ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ ๔ ชั่วโมง หลังจากนั้นต้องไปขอรับเอกสารพร้ อมซีลล็อกฝาถังน้ำมัน แล้วนำรถ


ไปเข้าคิวบรรจุน้ำมันลงถังใช้เวลาอีก ๒ ชั่วโมง ขับ รถบรรทุกน้ำมันไปส่งให้ลูกค้า เวลาในการขับรถขึ้นอยู่กับ
สถานที่ที่จะไปส่งน้ำมัน เสร็จแล้วต้องขับ รถกลับมาที่ทำการจำเลยเพื่อรอเติมน้ำมันและรอรับงานเที่ยวต่อไป
เห็ น ว่า งานที่โจทก์ทั้ งสามต้องปฏิบั ติคือ “การขับรถบรรทุกน้ำมัน ” ไปส่งให้ แก่ ลูกค้าของจำเลย ทำงาน
จัน ทร์ – เสาร์ หยุดวัน อาทิ ตย์และวันนักขัตฤกษ์ โจทก์ทั้งสามจึงถือเป็น ลูกจ้างของจำเลยในงานขนส่ง
ทางบกตามพระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๖๕ (๙) ประกอบกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ข้อ ๖ มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากั บอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน
ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกินเวลาทำงานปกติตามจำนวนเวลาที่โจทก์ทั้งสามทำงานเกินจากวันละ ๗ ชั่ วโมง
เพราะเป็นงานเกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) โดยต้องคำนวณ
ค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทั้งสามปฏิบัติงานให้แก่จำเลย ไม่จำกัดเฉพาะเวลาที่โจทก์ทั้งสามขั บรถ
เท่ า นั้ น แต่ ห มายความรวมถึ ง ระยะเวลาที่ โจทก์ทั้ งสามเดิ น ทางไปที่ ท ำการของจำเลยเพื่ อ พั ก รองาน
และระยะเวลาที่โจทก์ทั้งสามต้องดำเนินการต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะขับรถไปส่งน้ำมันให้แก่
ลูกค้า โดยถือเกณฑ์คำนวณค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาปกติเฉลี่ ยจากค่าเที่ยวการขับรถและค่าขับรถ
ลักษณะประหยัดน้ำมัน รวมกับค่าจ้างพื้นฐาน ได้ ค่าจ้างเฉลี่ยวันละหรือชั่วโมงละเท่าใด แล้วนำค่าจ้างเฉลี่ย
รายชั่วโมงนั้นมาคำนวณค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาปกติพร้อมดอกเบี้ ยผิดนัดอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่ อปี
นับ แต่วัน ฟ้องเป็ นต้น ไป แต่จ ำนวนเงินดังกล่าวต้ องไม่เกินคำขอ โดยพิจารณาพยานหลั กฐานจากเอกสาร
เกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานตามมาตรา ๑๑๔ และมาตรา ๑๑๕ ด้วย ฉะนั้น ที่ศาลแรงงานภาค ๒
วินิจฉัยว่า ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามทำงานเกินเวลาปกติในวันใดและเป็นวันละ ๑๐ ชั่วโมง ได้อย่างไร
กรณีจึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาปกติได้นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาล
อุทธรณ์ คดีชำนัญพิเศษ กรณี จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศ าลแรงงานภาค ๒ ฟังข้อเท็จจริงและพิจารณา
กำหนดจำนวนค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาปกติ โดยถือเกณฑ์ดังที่ได้วินิจฉัยข้างต้นแล้วพิพากษาคดี
ใหม่
ประเด็นสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เห็นว่า โจทก์ที่ ๑ และที่ ๒
ทราบว่าข้อ เรี ย กร้ องเกี่ย วกับ วิธีก ารจ่ ายเงิน ค่าขับ รถลั กษณะประหยั ดน้ ำมัน ยุ ติไปแล้ ว โดยจำเลยตกลง
นำวิ ธี ก ารจ่ า ยเงิ น ค่ า ขั บ รถลั ก ษณะประหยั ด น้ ำ มั น ในรู ป แบบเดิ ม กลั บ มาใช้ ต ามที่ โ จทก์ ที่ ๑ และที่ ๒
กับ พนักงานขับ รถบรรทุกน้ ำมัน ของจำเลยเคยยื่นข้อเรียกร้องแล้ ว จึงไม่มีเหตุ ที่จะยื่นข้อเรียกร้องข้อนี้อีก
แม้โจทก์ที่ ๑ และที่ ๒ กับ พนั กงานขับ รถบรรทุกน้ำมันของจำเลยยื่นข้อเรียกร้องเกี่ ยวกับ วิธีการจ่ายเงิน
ค่าขับรถลักษณะประหยัดน้ำมันรวมมากับข้อเรียกร้องข้ออื่นต่อจำเลยอีก แต่การยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่ได้
เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในการขับรถบรรทุกน้ำมันของโจทก์ที่ ๑ และที่ ๒ จึงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ ๑ และที่
๒ กระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จึงนำเหตุดังกล่าวมา
เลิกจ้างโจทก์ที่ ๑ และที่ ๒ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๘๓
ไม่ได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ ๑ และ ๒ โดยไม่มีเหตุอันควร จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๒๑ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

การที่โจทก์ที่ ๓ ไม่มาขับรถบรรทุกน้ำมันในวันที่ได้รับ มอบหมาย โดยอ้างว่าโทรศัพท์ขอลากิจ


จากหัวหน้างาน แต่เมื่อหัวหน้างานไม่อนุญ าตให้โจทก์ ที่ ๓ ลากิจ และโจทก์ที่ ๓ ไม่มาทำงานตามที่ได้รับ
มอบหมายในวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๑ จนเป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกลูกค้าแจ้งเตือนการให้บริการ โดยไม่ปรากฏ
ว่าโจทก์ที่ ๓ ลาหยุดงานโดยมีเหตุ อันสมควร และโจทก์ที่ ๓ ลาหยุดงานถูกต้องตามระเบียบหรือข้อบังคับ
เกี่ ย วกั บ การทำงาน ดั งนั้ น การที่ โจทก์ ที่ ๓ ไม่ ม าขั บ รถตามหน้ าที่ ที่ ได้ รั บ มอบหมาย แสดงถึ งความไม่
รับผิดชอบในการทำงานของโจทก์ที่ ๓ จึงเป็น การกระทำประการอื่นอันไม่ สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้
ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ ๓ ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๘๓ และเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ที่ ๑ และ ๒ วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๑ ถือว่าจำเลยบอกกล่าวล่วงหน้า
เมื่อก่อนถึงงวดการจ่ายค่าจ้างวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑ ซึ่งจะมีผลเป็นการเลิกสัญญาเมื่อถึงกำหนดการจ่าย
ค่าจ้ างคราวถัดไปคือวัน ที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๑ เมื่อจำเลยเลิ กจ้างโจทก์ ทั้ งสองให้ มีผ ลวันที่ ๒๕ มีน าคม
๒๕๖๑ โดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ ายสินจ้างแทนการบอกกล่า วล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง
ที่โจทก์ที่ ๑ และที่ ๒ ผู้เป็นลูกจ้างมีสิทธิได้รั บหากอยู่ทำงานจนถึงวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๑ ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๘๒ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา
๑๗ วรรคสอง
พิพากษาแก้เป็น ให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ที่ ๑ และที่ ๒ พร้อม
ดอกเบี้ย ให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ที่ ๑ และที่ ๒ โดยให้ย้อนสำนวนไป
ให้ศาลแรงงานภาค ๒ พิจารณากำหนดค่า เสียหาย ให้ฟังข้อเท็จจริงและพิจารณากำหนดจำนวนค่าตอบแทน
การทำงานเกินเวลาปกติแก่โจทก์ทั้งสามตามนัยที่วินิจฉัยข้างต้น หากศาลแรงงานภาค ๒ เห็นว่าข้อเท็จ จริง
จะเป็นผลให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงก็ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา
คดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๖ วรรคสอง วรรคสาม นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
ภาค ๒

๒. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๓๐๒๐ – ๓๐๒๑/๒๕๖๒


เรื่อง ค่าเที่ยวการขับรถเหมาจ่าย และค่าขับรถลักษณะประหยัดน้ำมันเหมาจ่าย เป็นค่าจ้าง
แต่ “ค่าขับรถด้วยความปลอดภัย” มีหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการจ่ ายเงินเพื่อจูงใจ จึงไม่ใช่ค่าจ้าง , ลูกจ้าง
ในงาน “ขับรถบรรทุกน้ำมัน” มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาปกติ โดยต้องคำนวณค่าจ้าง
ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ไม่จำกัดเฉพาะเวลาที่ขับรถเท่านั้น แต่หมายความรวมถึง ระยะเวลาที่ลูกจ้าง
เดินทางไปที่ทำการเพื่อพักรองานและระยะเวลาที่ต้องดำเนินการต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะ
ขับรถไปส่งน้ำมันให้แก่ลูกค้า
คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งพนักงานขับรถบรรทุก
น้ำมัน โจทก์ที่ ๑ ค่าจ้างเดือนละ ๙,๐๐๐ บาท และโจทก์ที่ ๒ ค่าจ้างเดือนละ ๙,๒๕๐ บาท ค่าเที่ยวการขับรถ

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๒๒ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

เหมาจ่าย ๙,๕๐๐ บาท ค่าขับรถด้วยความปลอดภัยเหมาจ่าย ๓,๐๐๐ บาท ค่าขับรถลักษณะประหยัดน้ำมัน


เหมาจ่าย ๑๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นค่าจ้างเดือนละ ๓๑,๕๐๐ บาท และ ๓๑,๗๕๐ บาท ตามลำดับ โจทก์ทั้งสอง
ทำงานเกินเวลาทำงานทุกวัน วันละ ไม่น้อยกว่า ๑๐ ชั่วโมง ต่อ มาวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ จำเลยเลิกจ้าง
โจทก์ที่ ๓โดยโจทก์มิได้กระทำความผิด ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าทำงานล่ว งเวลา พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปีนับแต่วันฟ้อง
จนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยให้ ก ารว่ า โจทก์กับพวกกระทำผิ ด ร้ายแรง โจทก์ ไม่มี สิ ทธิเรียกร้องค่ าทำงาน
เกินเวลา ค่าเที่ยวการขับรถเหมาจ่าย ค่าขับรถด้วยความปลอดภัยเหมาจ่าย และค่าขับรถลักษณะประหยัด
น้ำมันเหมาจ่าย ไม่ใช่ค่าจ้าง
ศาลแรงงานภาค ๒ พิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของโจทก์ทั้งสองไม่เป็นการทุ จริตต่อหน้าที่
หรื อ กระทำผิ ด อาญาโดยเจตนาต่อ นายจ้ า ง ข้ อ เท็ จจริงไม่ อ าจกำหนดค่ าทำงานเกิน เวลาปกติ ข องโจทก์
ทั้งสองได้ พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง
ที่ไม่เป็นธรรม แก่โจทก์ทั้งสองพร้อมดอกเบี้ย คำขออื่นให้ยก โจทก์ทงั้ สองและจำเลยอุทธรณ์
ประเด็ น “ค่ า ขับ รถด้ วยความปลอดภั ย ” ศาลอุ ทธรณ์ คดี ช ำนั ญ พิ เศษเห็ น ว่า เมื่อ การจ่าย
ค่าขับรถด้วยความปลอดภัยไม่เกิดอุบัติเหตุเหมาจ่ายให้เดือนละ ๓,๐๐๐ บาท มีหลักเกณฑ์ซึ่งเป็นเงื่อนไข
ในการจ่ายเงินดังกล่าวเพื่อจูงใจให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นพนั กงานขับรถบรรทุกน้ำมันจะต้องขับรถด้วยความ
ระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ จึงจะได้รับเงินดังกล่าวเป็นประจำทุกเดือน หากเกิ ดอุบัติเหตุโดยเป็นความผิด
ของโจทก์ทั้งสองก็จ ะไม่ ได้รับ เงิน ดังกล่ าว เงินค่าขับรถด้วยความปลอดภัยที่จำเลยจ่ายให้ แก่โจทก์ทั้งสอง
จึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นค่าตอบแทนการทำงานโดยตรงตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลา
การทำงานปกติ จึงไม่เป็นค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕
ประเด็ น ค่า ตอบแทนการทำงานเกิ น เวลาปกติ ที่ โจทก์อุ ท ธรณ์ ว่า การขนส่ งน้ ำมัน ต้ องทำ
ต่อเนื่องไป ทั้งการรอคิวรับงานใช้เวลา ๒ – ๔ ชั่วโมง ต้องเอารถไปตรวจสภาพก่อนแล้วรอรับใบระบุชนิด
น้ำมัน ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ ๔ ชั่วโมง หลังจากนั้นต้องไปขอรับเอกสารพร้อมซีลล็อกฝาถังน้ำมัน แล้วนำรถ
ไปเข้าคิวบรรจุน้ำมันลงถังใช้เวลาอีก ๒ ชั่วโมง ขับรถบรรทุกน้ำมันไปส่งให้ลูกค้า เวลาในการขับรถขึ้นอยู่กับ
สถานที่ที่จะไปส่งน้ำมัน เสร็จแล้วต้องขับรถกลับมาที่ทำการจำเลยเพื่อรอเติมน้ำมันและรอรับงานเที่ย วต่อไป
เห็ น ว่า งานที่โจทก์ทั้งสามต้องปฏิบั ติคือ “การขับรถบรรทุกน้ำมัน ” ไปส่งให้ แก่ลูกค้าของจำเลย ทำงาน
จันทร์ – เสาร์ หยุดวัน อาทิตย์และวันนั กขัตฤกษ์ โจทก์ทั้งสองจึ งถือเป็น ลูกจ้างของจำเลยในงานขนส่ง
ทางบกตามพระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๖๕ (๙) ประกอบกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ข้อ ๖ มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน
ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกิน เวลาทำงานปกติตามจำนวนเวลาที่โจทก์ทั้งสามทำงานเกิน จากวันละ ๗ ชั่วโมง
เพราะเป็นงานเกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) โดยต้องคำนวณ
ค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทั้งสามปฏิบัติงานให้แก่จำเลย ไม่จำกัดเฉพาะเวลาที่โจทก์ทั้งสามขับรถ
เท่ า นั้ น แต่ ห มายความรวมถึ ง ระยะเวลาที่ โจทก์ ทั้ งสามเดิ น ทางไปที่ ท ำการของจำเลยเพื่ อ พั ก รองาน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๒๓ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

และระยะเวลาที่โจทก์ทั้งสามต้องดำเนินการต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะขับรถไปส่งน้ำมันให้แก่
ลูกค้า โดยถือเกณฑ์คำนวณค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาปกติเฉลี่ยจากค่าเที่ยวการขับรถและค่าขับรถ
ลักษณะประหยัดน้ำมัน รวมกับค่าจ้างพื้นฐาน ได้ค่าจ้างเฉลี่ยวันละหรือชั่วโมงละเท่าใด แล้วนำค่าจ้างเฉลี่ย
รายชั่วโมงนั้นมาคำนวณค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาปกติพร้อมดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี
นับ แต่วัน ฟ้องเป็ นต้น ไป แต่จ ำนวนเงินดังกล่าวต้องไม่เกิ น คำขอ โดยพิจารณาพยานหลั ก ฐานจากเอกสาร
เกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานตามมาตรา ๑๑๔ และมาตรา ๑๑๕ ด้วย ดังนั้น ที่ศาลแรงงานภาค ๒
วินิจ ฉัยว่า โจทก์ทั้งสองไม่ได้ ทำงานขับรถไปส่งน้ำมัน ให้แก่ลูกค้าทุกวัน และการขับรถไปส่งน้ำมัน ยังมี
ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดไม่แน่นอนจึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยจ่ ายค่าทำงานเกินเวลาปกติได้นั้น ศาล
อุทธรณ์ คดีชำนัญพิเศษไม่เห็นพ้องด้วย กรณีจึงต้องย้อนสำนวนไปให้ ศาลแรงงานภาค ๒ ฟังข้อเท็ จจริง
และพิจารณากำหนดจำนวนค่าทำงานเกินเวลาปกติ โดยถือเกณฑ์ดังที่ได้วินิจฉัยข้างต้น แล้วพิพากษา
คดีใหม่
พิพากษาแก้เป็น ให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานภาค ๒ ในปัญหาว่าโจทก์ทั้งสองมีสิทธิได้รับค่า
ทำงานเกินเวลาปกติหรือไม่ โดยให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานภาค ๒ ฟังข้อเท็จจริงและพิพากษาในปัญหานี้
ใหม่ต่อไปตามรูปคดี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานภาค ๒

๓. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๗๓๘ – ๓๗๓๙/๒๕๖๑


เรื่ อง พนั กงานขั บรถบรรทุกสิน ค้า ไม่ได้ก ำหนดเวลาทำงาน แต่ได้กำหนดให้ใช้ผลงาน
เป็น เกณฑ์ ในการกำหนดค่ าจ้ าง ได้ รั บเงิน เดือนและค่ าเที่ ยว การทำงานต้องอยู่ในความควบคุม ดูแ ล
ของหัวหน้างาน ไม่ได้มีอิสระที่จะปฏิบัติงานเวลาใดก็ได้ นิติสัมพันธ์จึงเป็ นจ้างแรงงาน , ในการทำงาน
นายจ้างเชิด นาย ช. ออกเป็นตัวแทน การที่น าย ช บอกเลิกจ้างตามคำสั่งกรรมการผู้มี อำนาจ จึงเสมือน
เป็นการบอกเลิกจ้างโดยนายจ้าง
คดีนี้ โจทก์ทั้ งสองฟ้ องว่า จำเลยจ้ างโจทก์ ทั้ งสองทำงานเป็ นลู กจ้างตำแหน่ งพนั ก งานขับ รถ
มีห น้ าที่ ขับ รถขนส่ งสิ น ค้ า โจทก์ที่ ๑ ได้รั บเงินเดือนๆ ละ ๓,๐๐๐ บาท และเงินเบี้ย เลี้ ยงตามระยะทาง
รวมเป็ นเงิน ๒๒,๕๐๐ บาท โจทก์ที่ ๒ ได้รับเงินเดือนๆ ละ ๕,๐๐๐ บาท และเงินเบี้ยเลี้ยงตามระยะทาง
รวมเป็นเงิน ๒๒,๐๐๐ บาท กำหนดจ่ายทุกวันที่ ๓๐ ของเดือน ในวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘ จำเลยเลิกจ้าง
โจทก์โดยไม่เป็นธรรม ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการ
เลิ กจ้ างที่ไม่เป็ น ธรรม พร้อมดอกเบี้ ย จำเลยให้ การว่า โจทก์ทั้งสองไม่ใช่ลู กจ้าง แต่เป็นลั กษณะจ้างเหมา
เมื่อโจทก์ทั้งสองทำงานที่รับมอบหมายเสร็จก็มารับงานใหม่หมุนเวียนไป ไม่ได้อยู่ภายใต้บังคับบัญชา เป็นเพียง
ลักษณะจ้างทำของ จำเลยจ่ายค่าอาหารให้เดือนละ ๓,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นการช่วยเหลือ และโจทก์จะได้รับ
ค่าตอบแทนส่วนที่เหลือจากค่าน้ำมันทุกครั้งต่อเที่ยวมากกว่า ๒,๐๐๐ บาท แล้วแต่โจทก์จะบริหารน้ำมัน
อย่างไร โจทก์ทั้งสองทำงานได้ระยะหนึ่งแล้วแจ้งต่อจำเลยว่า งานชิ้ นนี้ไม่พอกิน จำเลยไม่เคยแจ้ งให้โจทก์

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๒๔ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ออกจากงาน ศาลแรงงานภาค ๔ พิ จ ารณาแล้ ว พิ พ ากษาให้ จ ำเลยจ่ า ยค่ าชดเชย สิ น จ้ า งแทนการ


บอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย จำเลยอุทธรณ์
ศาลฎีกาเห็ นว่า โจทก์ทั้งสองเป็ นพนักงานขับรถบรรทุกสิน ค้าให้ จำเลย สัญ ญาจ้างของโจทก์
ทั้งสองไม่ได้กำหนดเวลาทำงานไว้ แต่ได้กำหนดให้ใช้ผลงานเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าจ้าง โจทก์ทั้งสองต้อง
อยู่ ในความควบคุ ม ดูแ ลของนาย ช. ซึ่งเป็ น ผู้ จ่ายงานและมอบรถยนต์ บ รรทุ ก ของจำเลยให้ โจทก์ ทั้ งสอง
เป็นผู้ขับ โจทก์ทั้งสองต้องขับรถตามคำสั่งของนาย ช. ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลพนักงานขับรถบรรทุกของจำเลย
และต้องมาทำงานภายในเวลาที่กำหนด ไม่ได้มี อิสระที่จะปฏิบัติงานเวลาใดก็ได้ โจทก์ทั้งสองได้รับค่าจ้าง
ตอบแทนการทำงานจากเงิน ค่ า เที่ ย วเป็ น รายเที่ ย ว โดยคำนวณตามอั ต ราค่ าน้ ำมั น ที่ โ จทก์ ทั้ งสองได้ รั บ
จากจำเลยส่วนที่เหลือจากการทำงานแล้ว และจากเงินเดือนแต่ละเดือนที่จำเลยอ้างว่าเป็นค่าอาหาร ดังนั้น
จำเลยมีอำนาจบังคับบัญชาโจทก์ทั้งสอง นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงเข้าลัก ษณะจ้างแรงงาน ในการ
ทำงานจำเลยเชิดนาย ช. ออกเป็นตัวแทนจำเลย การที่นาย ช บอกเลิกจ้างโจทก์ตามคำสั่งนาง ณ กรรมการผู้มี
อำนาจของจำเลย จึ งเสมือนเป็ นการบอกเลิ กจ้ างโดยจำเลย จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย สิ นจ้างแทนการบอกกล่ าวล่ ว งหน้ า
และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ประเด็นค่าจ้างที่นำมาคำนวณค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่ วงหน้า เมื่อจำเลยจ่าย
เป็ นเงิน เดือนและค่าเที่ยวตามระยะทางที่ โจทก์ทั้งสองทำได้ แต่เงินค่าเที่ยวในแต่ละเดือนไม่เท่ากัน เช่นนี้
การคำนวณค่าจ้างจึงต้องพิจารณาตามบทนิยามมาตรา ๕ การที่ศาลแรงงานภาค ๔ กำหนดค่าจ้างเท่ากัน
ทุกเดือน คนละเดือนละ ๑๙,๕๐๐ บาท โดยไม่พิจารณาถึงค่าจ้างที่แท้จริงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชย
และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงโดยสรุปและคำวินิจฉัยประเด็น
แห่งคดีพร้อมทั้งเหตุผลแก่งคำวินิจฉัยตามข้อ เท็จจริงนั้น คำพิพากษาของศาลแรงงานภาค ๔ ในส่วนที่วินิจฉัย
ค่าจ้างจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้ งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดี แรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๑
วรรคหนึ่ง เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานภาค ๔ ฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่าจ้างที่แท้จริงอันเป็นฐาน
ในการคำนวณว่า ค่าจ้าง ซึ่งประกอบด้วยเงินเดือน และเงินค่าเที่ยวอันเป็นค่า จ้างอัตราสุดท้าย ๙๐ วัน และ
หรือค่าจ้างของการทำงาน ๙๐ วันสุดท้ายก่อนเลิกจ้างเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อเฉลี่ยแล้วได้ค่าจ้างเดือนละเท่ าใด
วันละเท่าใด อันเป็นฐานในการคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๗ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๘๒ แล้ววินิ จฉัยในส่วนค่าชดเชย
และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมใหม่ ตามรูปคดี ตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๒๔๓ (๑) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา
คดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๒๕ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๔. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๐๕๓/๒๕๖๑ (คดีเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน)


เรื่อง ลูกจ้างตำแหน่งพนักงานขับรถบรรทุก ๑๘ ล้อ ขณะถอยรถเข้าตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งเป็น
เพียงตู้เปล่ายังไม่ได้บรรจุสินค้า แต่ลูกจ้างไม่ได้นำขาตั้งตู้หรือขาช้างลง ทำให้ตู้หลุดออกมาจากหัวลาก
ลงมาห่างจากพื้นประมาณ ๒๕ เซนติ เมตร และกระแทกถูกพื้น เกิดความเสี ยหายไม่มากนัก ยังไม่ถือว่า
เป็ น การประมาทเลิน เล่อก่ อให้เกิด ความเสียหายอย่า งร้ ายแรง ตามพระราชบัญ ญั ติคุ้ม ครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๙ (๓) เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย, ค่าเที่ยวเป็นค่าจ้าง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นพนักงานตรวจแรงงาน ได้มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้กับนาย อ.
ลูกจ้าง เป็นเงิน ๔๔,๗๕๕.๒๐ บาท โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากนาย อ. ลูกจ้าง เป็นพนักงาน
ขั บ รถบรรทุ ก ๑๘ ล้ อ ไปส่ งของให้ ห้ า ง ท. แต่ ไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามขั้ น ตอนการทำงานและกฎความปลอดภั ย
ในการทำงานจนเป็นเหตุให้ตู้คอนเทนเนอร์เลื่อนหลุดออกจากท้ายรถทำให้ทรัพย์สินเสียหาย เป็นการประมาท
เลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ฝ่าฝืนข้อบังคับร้ายแรง และจำเลยได้นำค่าเที่ยวมา
รวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชย คำสั่งของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์สมัครเป็นลูกจ้างของจำเลย
ที่ ๑ และจำเลยที่ ๑ ตกลงรับโจทก์เข้าทำงานตำแหน่งผู้ควบคุมอาวุโสฝ่ายก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์ โดย
จำเลยที่ ๑ ได้ให้โจทก์ทำสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลยที่ ๒ เนื่องจากจำเลยที่ ๒ ประกอบธุรกิจรับเป็ นตัวแทน
จัดหาบุคลากรดูแลลูกจ้างของจำเลยที่ ๑ และให้บริการที่ ปรึกษาเพื่อจ้างลูกจ้าง โดยจำเลยที่ ๒ เป็นผู้จ่าย
ค่าจ้างให้โจทก์ โจทก์ได้รับ ใบอนุ ญ าตทำงาน ศาลแรงงานภาค ๔ พิจารณาแล้วเห็ นว่าค่าเที่ยวเป็นค่าจ้าง
ความเสี ย หายที่ เกิดขึ้ น แม้จ ะถือว่าเกิดจากความประมาทเลนเล่ อของนาย อ. แต่ไม่ ป รากฏข้ อ เท็จจริงว่า
เกิดความเสียหายร้ายแรง พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์
ศาลฎีกาเห็นว่า ขณะที่นาย อ. นำรถถอยเข้าบรรจุสินค้าหรือโหลดสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์นั้น
ตู้คอนเทนเนอร์เป็นเพียงตู้เปล่ายังไม่ได้บรรจุสินค้า หรือโหลดสินค้าเข้าตู้ดังกล่า ว นาย อ. ไม่ได้นำขาตั้ งตู้
คอนเทนเนอร์ห รือขาช้างลง ทำให้ ตู้ คอนเทนเนอร์ห ลุ ดออกมาจากหั วลากลงมาห่ างจากพื้นประมาณ ๒๕
เซนติเมตร และกระแทกถูกพื้นที่ความสูง ๒๕ เซนติเมตร เกิดความเสียหายไม่มากนัก โจทก์อ้างว่าต้องเสีย
ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนขาช้างคดคู้ละ ๒๔,๐๐๐ บาท แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานการสั่งซื้อมาแสดง การกระทำของ
นาย อ. จึ งถื อ ว่าเป็ น การประมาทเลิ น เล่ อแต่ มิ ไ ด้ ก่อ ให้ เกิ ดความเสี ย หายอย่ างร้ายแรง และแม้ จ ะฝ่ าฝื น
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแต่ก็มิใช่กรณีร้ายแรงอันจะเป็นข้อยกเว้นที่นายจ้างจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่าย
ค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๙ (๓) และ (๔)
ประเด็ น ค่ า เที่ ย วเป็ น ค่ า จ้ า งหรื อ ไม่ เห็ น ว่ า นาย อ. ได้ รั บ เงิ น เดื อ นอั ต ราสุ ด ท้ า ยเดื อ นละ
๑๐,๐๒๕ บาท นาย อ. มีหน้าที่ขับรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ตั้งแต่วันจันทร์ – อาทิตย์ มีวันหยุดประจำสัปดาห์
สัปดาห์ละ ๑ วัน การทำงานไม่ได้กำหนดเวลาทำงานปกติ แต่กำหนดตามระยะเวลาส่ง สินค้า มีการลงเวลา
ทำงานโดยการสแกนลายนิ้วมือและลงในสมุดรอบการทำงาน และการคำนวณค่าเที่ยวคิดตามระยะทางและ
จำนวนเที่ยวที่ทำได้ จึงมีลักษณะเป็นการตอบแทนการทำงานโดยคำนวณผลงานที่นาย อ. ทำได้ในเวลาปกติ
ของวันทำงาน จึงเป็นค่าจ้าง ไม่มเี หตุเพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน พิพากษายืน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๒๖ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๕. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๔๗๕๒/๒๕๖๑
เรื่ อง ลูกจ้ างตำแหน่งพนั กงานขับ รถตู้ค อนเทนเนอร์ ขับ รถไปจอดในที่ ห้า มจอดและพบ
ความผิดปกติ ของระดั บน้ำมัน เป็นความผิดตามประกาศของนายจ้าง นายจ้างได้ตักเตือนและลงโทษพักงาน ๗ วัน
โดยไม่ได้รับค่าจ้าง แต่ลูกจ้างยังทำผิดซ้ำอีกภายใน ๑ ปี นับแต่วันกระทำผิดครั้งก่อน นายจ้างจึ งเลิกจ้าง
ได้ โดยไม่ต้ องจ่ ายค่ าชดเชย , ค่าเที่ยวเป็น เงิน ค่าตอบแทนการทำงานนอกเวลาปกติสำหรับงานขนส่ ง
ทางบกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ เมื่อลูกจ้างได้รบั ครบถ้วนแล้ว จึงไม่มีสิทธิได้รับอีก
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เข้าทำงานเป็นลู กจ้างจำเลยตำแหน่งพนักงานขับรถตู้คอนเทนเนอร์
๑๘ ล้ อ ได้รับ ค่าจ้ าง ๒ ส่วน คือ เงิน เดือนประจำเดือนละ ๑๐,๖๒๙ บาท และค่าจ้างตามผลงานเรีย กว่า
ค่ าเที่ ยวหรื อเบี้ ยเลี้ ยงจ่ ายตอบแทนการขั บรถส่ งสิ นค้ าขึ้ นอยู่ กั บระยะทางใกล้ หรื อไกล เฉลี่ ยเดื อนละ ๑๗,๐๐๐ บาท
รวมค่าจ้างเดือนละ ๒๗,๖๒๙ บาท โจทก์ทำงานจันทร์ - เสาร์ เฉลี่ยวันละ ๑๖ ชั่วโมง เป็ นการทำงานปกติ
๘ ชั่วโมง และนอกเวลาปกติ ๘ ชั่วโมง โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนการทำงานนอกเวลาปกติเป็นเวลา ๒ ปี ต่อมา
วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๙ จำเลยเลิกจ้างโจทก์อ้างกระทำผิดซ้ำคำเตือนซึ่งไม่เป็นความจริง ขอบังคับให้จำเลย
จ่ ายค่ าชดเชย ๒๒๑,๐๓๒ บาท ค่ าตอบแทนการทำงานนอกเวลาปกติ ตั้ งแต่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘ - ๖
กรกฎาคม ๒๕๖๐ เป็นเงิน ๒๔๓,๕๒๓.๔๔ บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงิน ๒๗,๖๒๙ บาท
และค่ าเสี ย หายจากการเลิ กจ้ างที่ ไม่เป็ น ธรรม ๒๐๐,๐๐๐ บาท พร้อ มดอกเบี้ ย จำเลยให้ ก ารว่า จำเลย
ตรวจสอบรายงานข้อมูลระบบจีพีเอสที่ติดตั้งไว้ในรถบรรทุกพบว่าโจทก์กระทำผิดฝ่าฝืนประกาศของจำเลย
โดยจอดรถในพื้นที่ที่ห้ามเข้าและกราฟน้ำมันลดต่ำกะทันหันผิดปกติ สอบสวนแล้ วโจทก์รับว่ากระทำผิดจริง
จำเลยจึงตักดเตือนเป็นหนังสือและพักงาน ๗ วัน ต่อมาโจทก์กระทำผิดซ้ำลักษณะเดิมอีก ภายใน ๑ ปี จำเลย
สอบสวนแล้วเห็นว่าโจทก์กระทำผิดจริง จึงเลิกจ้าง
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า จำเลยมีประกาศเรื่องการกำหนดจุดจอดพัก จุดเติมน้ำมัน
และจุดห้ามเข้าประจำปี ๒๕๕๘ และปี ๒๕๕๙ ซึ่งเป็นจุดจอดรถเพิ่ม เติมโดยมีรายละเอียด ห้ามมิให้พนักงาน
ขับรถบรรทุกทุกคนนำรถเข้าไปจอดยังจุดห้ามจอด หากฝ่าฝืนจะต้องถูกพักงาน ๓ วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้าง และ
พักงาน ๗ วัน ในกรณี ตรวจพบความผิดปกติของกราฟ (ทุจริต น้ำมัน) หรือให้ออกกรณีผิดซ้ำคำเตือน (ทุจริต
น้ำมัน) วันที่ ๒๖ มกราคม – ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ และวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ โจทก์ขับรถบรรทุกเข้า
ไปจอดยังจุดห้ ามจอดตามประกาศและจำเลยตรวจพบด้วยระบบจีพีเอสพบความผิดปกติของระดับน้ำมัน
จำเลยสอบสวนแล้วโจทก์ยอมรับว่าได้กระทำผิดจริง จำเลยจึงออกหนังสือเตือนและพักงานโจทก์ ๗ วัน โจทก์
ลงลายมื อ รั บ ทราบและยอมรั บ บทลงโทษที่ มี ข้ อ ความว่ า หากกระทำผิ ด ซ้ ำ คำเตื อ นอี ก ครั้ ง ภายใน
๑ ปี โจทก์ยินยอมให้จำเลยเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ต่อมาวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๙ ซึ่ง อยู่ในระยะเวลา
๑ ปี นับแต่โจทก์กระทำผิดจนถูกเตือน โจทก์ได้ขับรถเข้าไปจอดยังจุดห้ามจอบตามประกาศ จำเลยตรวจสอบ
พบว่าระดับน้ำมันลดลงประมาณร้อยละ ๖ คิดเป็นปราณน้ำมัน ๒๔ ลิตร โจทก์ได้ลงลายมือชื่อรับทราบผล

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๒๗ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

การสอบสวนแล้ว การกระทำของโจทก์จึงเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ าย


ค่าชดเชย
สำหรับค่าตอบแทนการทำงานนอกเวลาปกตินั้น จำเลยมีระเบียบการจ่ายและได้จ่ายเงินดังกล่าว
ตามกฎกระทรวง ฉบั บ ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ข้ อ ๖ ซึ่ งกำหนดให้ จ่ ายไม่ น้ อ ยกว่ าอั ต ราค่ าจ้ างต่ อชั่ ว โมง
ในวัน ทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ค่าตอบแทนดั งกล่าวเรียกว่าเบี้ยเลี้ ยงหรื อค่าเที่ยว จึงถือว่าเป็นเงินที่
นายจ้ างจ่ ายเพื่อเป็ น ค่าตอบแทนให้ แก่ลู กจ้างที่ทำงานล่ ว งเวลาในวันทำงานและล่ ว งเวลาในวันหยุดตาม
กฎกระทรวงแล้ว จำเลยจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงให้แก่โจทก์ตลอดมาจนถึงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๙ โจทก์ได้รับ
ค่าตอบแทนการทำงานนอกเวลาปกติครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดังกล่าวตามฟ้อง
ที่โจทก์อุทธรณ์ในทำนองว่ามีการเปลี่ยนแปลงจุดห้ามจอดใหม่ ไม่ทราบจุดใดเป็นจุดห้ามจอด
จุดห้ามจอดมีจำนวนมากจึงยากที่จะจดจำ เป็นอุทธรณ์โต้แย้ง ดุลพินิจในการรับ ฟังพยานหลักฐานของศาล
แรงงานกลาง เป็ น อุ ท ธรณ์ ในข้อเท็จ จริง ต้ องห้ ามมิ ให้ อุ ทธรณ์ ศาลอุท ธรณ์ คดี ช ำนั ญ พิ เศษไม่ รับวินิ จฉั ย
พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์

๖. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๗๓๖/๒๕๖๐
เรื่อง ค่าเที่ยวเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างตำแหน่งขับรถทำได้
ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน “ค่าเที่ยว” จึงเป็นค่าจ้างค่าเที่ยวเป็นค่าจ้าง เมื่อลูกจ้างทำงานครบ
๓ ปี นายจ้างต้องนำค่าเที่ยวย้อนหลัง ๑๘๐ วัน ตามที่นายจ้างจ่ายจริงมาคำนวณค่าชดเชยด้วย
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างตำแหน่งพนักงาน
ขับรถเทรลเลอร์ ค่าจ้างเดือนละ ๕,๙๐๔ บาท และค่าเที่ยว วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ จำเลยเลิกจ้างโจทก์
โดยที่โจทก์มิได้กระทำความผิ ด ในการเลิกจ้าง จำเลยมิได้นำค่าเที่ยวมาคำนวณในการจ่ายค่าชดเชยและ
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และจำเลยมอบหมายให้โจทก์ทำงานเกินชั่วโมงทำงานปกติตามที่กฎหมาย
กำหนดไว้ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าตอบแทนการทำงานด้วย ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอก
กล่าวล่วงหน้าที่จ่ายไม่ครบ ค่าตอบแทน ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย ศาลรงงาน
ภาค ๑ พิจารณาแล้วเห็น ว่าค่าเที่ยวไม่ใช่ค่าจ้าง เหตุเลิกจ้างเนื่ องจากโจทก์ขับรถเร็วเกิน อัตราที่กฎหมาย
กำหนด ๒ ครั้ง เทน้ำมันลงพื้นโดยไม่ใช้ภาชนะรองรับ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์
ศาลฎี ก าเห็ น ว่ า จำเลยจ่ า ยค่ า จ้ า งให้ โ จทก์ เดื อ นละ ,๙๐๔ บาท และค่ า เที่ ย วเป็ น ประจำ
ทุกเดือน โดยโจทก์ต้องขับรถบรรทุกส่งน้ำมันให้ครบเที่ยวตามที่จำเลยกำหนด ค่าเที่ยวจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่าย
ให้ โ ดยคำนวณตามผลงานที่ โ จทก์ ท ำได้ ใ นเวลาทำงานปกติ ข องวั น ทำงาน ค่ า เที่ ย วจึ ง เป็ น ค่ า จ้ า ง
ตามพระราชบั ญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ ที่ศาลแรงงานภาค ๑ วินิจฉัยว่าค่าเที่ยวมิใช่
ค่าจ้างจึงไม่ชอบ แม้โจทก์จะกระทำผิดวินัยตามที่ ระบุในหนังสือเลิกจ้าง แต่มิใช่กรณีหนึ่งกรณีใดดังที่ระบุใน
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๙ (๑) ถึง (๖) และการกระทำผิดซ้ำจำเลยก็ได้ลงโทษ
ทางวินัยไปแล้ว เมื่อโจทก์ทำงานติดต่อกันครบ ๓ ปี แต่ไม่ครบ ๖ ปี การคำนวณค่าเที่ยวจึงต้องนำค่าเที่ยว

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๒๘ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๑๘๐ วั น ตามที่ จำเลยจ่ ายให้ โจทก์ จริ งมาคำนวณ ได้ แก่ ค่ าเที่ ยวเดื อนกรกฎาคม ๒๕๕๗ จำนวน ๑๓,๑๕๐ บาท
เดือนสิงหาคม ๒๕๕๗จำนวน ๑๕,๘๕๐ บาท เดือนกันยายน ๒๕๕๗ จำนวน ๑๗,๗๐๐ บาท เดือนตุลาคม
๒๕๕๗ จำนวน ๑๔,๑๕๐ บาท เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๗ จำนวน ๑๓,๗๕๐ บาท และเดือนธันวาคม จำนวน
๑๓,๕๐๐ บาท รวมเป็นค่าชดเชยจากค่าเที่ยว ๘๘,๑๐๐ บาท รวมเป็นค่าชดเชย ๑๒๓,๕๒๔ บาท เมื่อจำเลย
จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์แล้วเป็นเงิน ๖๕๕,๘๒๘บาท จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยเพิ่มอีกเป็นเงิน ๖๕,๘๒๘ บาท
พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยเพิ่มอีก ๕๗,๖๙๖ บาท พร้อมดอกเบี้ย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษา
ศาลแรงงานภาค ๑

๗. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๒๗๐๔/๒๕๕๘
เรื่อง “ค่าเที่ยว” เหมาจ่ายวันละ ๕๐๐ บาท นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้ างที่ทำงานตำแหน่ ง
พนักงานขับรถทอย ซึ่งสามารถคำนวณได้ตามจำนวนวันที่ทำในเวลาทำงานตามปกติอันมีลักษณะชี้ชัดว่า
มุ่งหมายจ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน มิใช่จงใจเพื่อจูงใจ “ค่าเที่ยว” จึงเป็น “ค่าจ้าง”
คดีนี้จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างตำแหน่งพนักงานขับรถทอยประจำสาขาขอนแก่น ค่าจ้า งอัตรา
สุดท้ายเดือนละ ๙,๒๐๐ บาท ค่าเที่ยวเหมาจ่ายวันละ ๕๐๐ บาท โจทก์มีหน้าที่ขับรถบรรทุกก๊าซตามตาราง
กำหนดโดยในสัปดาห์หนึ่งกำหนดให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ ๑๒ ชั่วโมง จำนวน ๒ วัน บางครั้งเป็นกะเช้า บางครั้ง
เป็นกะดึกสลับกัน เมื่อจำเลยจ่าย “ค่าเที่ย ว” ให้โจทก์เมื่อโจทก์ทำตามหน้าที่ของตนซึ่งจำเลยกำหนดอัตราไว้
แน่นอนว่าวันหนึ่งจะจ่ายให้เท่าใด สามารถคำนวณได้ตามจำนวนวันที่ทำในเวลาทำงานตามปกติของวันทำงาน
อันมีลักษณะชี้ชัดว่าจำเลยมุ่งหมายจ่ายให้โจทก์เพื่อเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน มิใช่จงใจจ่ายไปเพื่อจูงใจ
ให้โจทก์ขยั นทำงาน ทั้ งจำเลยยังกำหนดเงินดังกล่าวไว้ในโครงสร้างค่าจ้างแรงงานตามสัญ ญาจ้างแรงงาน
ฉะนั้ น เงิน ค่าเที่ย วจึงเป็ น “ค่าจ้าง” ที่ศาลแรงงานภาค ๔ นำเงินค่าเที่ยวมารวมกับเงินเดือนเพื่อเป็นฐาน
คำนวณค่าล่วงเวลาย่อมเป็นการถูกต้องแล้ว พิพากษายืน

๘. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๔๒๖๒/๒๕๕๘
เรื่อง การคำนวณค่าชดเชยพนักงานขับรถที่ได้รับค่าเที่ยวซึ่งเป็นค่าจ้างตามผลงาน ต้องนำ
เงินค่าเที่ยวที่ได้รับจริงย้อนหลังมาคำนวณ ไม่ใช่ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อ
ลูกจ้างไม่ได้รับค่าเที่ยวในช่วงดังกล่าว จึงไม่มีค่าจ้างตามผลงานซึ่งจะนำมาใช้เป็นฐานคำนวณ ดังนั้น
จึงนำเฉพาะค่าจ้างรายเดือนมาคำนวณเท่านั้น
คดีนี้โจทก์ฟ้อง่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยที่ ๑ ตำแหน่งพนักงานขับรถเซมิเทรลเลอร์ ได้รับค่าจ้าง
เดือนละ ๘,๔๓๒ บาท และค่าเที่ยวเฉลี่ยเดือนละ ๑๖,๘๐๐ บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ ๑๕ และวันที่
๓๐ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ จำเลยที่ ๑ เลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิด ศาลแรงงานภาค ๒ พิพากษาให้จำเลย
ที่ ๑ จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๒,๖๒๖ บาท ค่าชดเชย ๒๐๑,๘๖๔ บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลย
ที่ ๑ อุทธรณ์ประเด็นค่าเที่ยวเป็นค่าจ้างหรือไม่นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยที่ ๑ จะจ่ายค่าเที่ยวให้แก่โจทก์เมื่อ

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๒๙ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

โจทก์ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถยนต์ขนส่งน้ำมันตามหน้าที่ของตน โดยเงินค่าเที่ ยวที่โจทก์จะได้รับนั้นสามารถ


คำนวณได้แน่นอนขึ้นอยู่กับระยะทางของการขับรถยนต์ในแต่ละเที่ยวตามที่จำเลยที่ ๑ กำหนดหลักเกณฑ์ไว้
ลักษณะการจ่ายค่าเที่ยวของจำเลยที่ ๑ แก่โจทก์ดังกล่าวเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้าง
โดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เงินค่าเที่ยวจึงเป็นค่าจ้าง
อุทธรณ์ประเด็นการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยโดยคำนวณเงินเดือน
รวมกับค่าเที่ยวโดยเฉลี่ยชอบหรือไม่นั้น เห็นว่า เมื่อเงินค่าเที่ยวเป็นค่าจ้างตามผลงานแล้ว การที่โจทก์ได้รับ
ค่าเที่ย วจนถึงวัน ที่ ๒๐ มิ ถุน ายน ๒๕๕๐ แสดงให้ เห็ นว่า ตั้งแต่วัน ดังกล่ าวจนถึงวันเลิ กจ้างโจทก์ไม่ได้รับ
ค่าเที่ยวอีก ในวันเลิกจ้างจึงไม่มีค่าจ้างตามผลงานซึ่งจะนำมาใช้เป็นฐานคำนวณให้จำเลยที่ ๑ จ่ายสินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ได้ คงคำนวณจากค่าจ้างซึ่งเป็นเงินเดือนเท่านั้น คิด ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง
คราวถัดไปในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๐ เป็นเงิน ๔,๒๑๖.๕๐ บาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๕๘๒ และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๗ วรรคสี่
ส่วนค่าชดเชยนั้ น พระราชบั ญญั ติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘ (๔) นอกจาก
กำหนดให้ น ายจ้ างจ่ ายค่ าชดเชยแก่ลู กจ้างโดยคำนวณจากค่าจ้างตามระยะเวลาแล้ ว ยังได้กำหนดให้ จ่าย
ค่าชดเชยสำหรั บ ค่าจ้างตามผลงานไม่น้ อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน ๒๔๐ วัน สุ ดท้ าย ดังนั้ นจำเลยที่ ๑
ต้องนำเงินค่าเที่ยวที่โจทก์ได้รับจริงย้อนหลังขึ้นไป ๒๔๐ วัน นับแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ อันเป็นวันเลิกจ้าง
คือระหว่างวันที่ ๓ กุมภาพัน ธ์ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๐ มาคำนวณจ่ายค่าชดเชยสำหรับค่าจ้างตามผลงาน
ให้แก่โจทก์ ข้อเท็จจริงปรากฏเพียงว่าโจทก์ได้รับค่าเที่ยวจำนวนน้อยที่สุดโดยเฉลี่ยเดือนละ ๑๖,๘๐๐ บาท
โจทก์และจำเลยที่ ๑ ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริ งดังกล่าว และโจทก์ได้รับค่าเที่ยวถึงวันที่ ๒๐ มิถุนายน
๒๕๕๐ เท่านั้น เมื่อคำนวณแล้วโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากค่าจ้างตามผลงาน ๗๗,๒๘๐ บาท และค่าจ้าง
ที่คำนวณตามระยะเวลาเป็นเงินเดือนๆ ละ ๘,๔๓๓ บาท จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยดังกล่าวอีก ๖๗,๔๖๔ บาท
รวมเป็นค่าชดเชย ๑๔๔,๗๔๔ บาท ที่ศาลแรงงานภาค ๒ วินิจฉัยมาจึงไม่ถูกต้อง พิพากษาแก้เป็นให้จำเลยที่
๑ จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๔,๒๑๖.๕๐ บาท และค่าชดเชย ๑๔๔,๗๔๔ บาท

๗. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๒๖๒๑/๒๕๕๘
เรื่ อ ง “ค่ า เที่ ย ว” กำหนดขึ้ น จากระยะทางขั บ รถจากสถานที่ จั ดส่ งสิ น ค้ า ไปยังสถานที่
ปลายทาง ไม่ได้คำนึงถึงเวลาในการขับรถแต่ละเที่ยวเป็นสำคัญ โดยถือปฏิบัติติดต่อกันมาตั้งแต่เปิดกิจการ
ค่ า เที่ ย วจึ ง ถื อ เป็ น ค่ า ตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ โ ดยปริ ย าย เป็ น ค่ า จ้ า งตามมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗
คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างฟ้องเพิกถอนคำสั่งสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ๓ และคำวินิจฉัย
ของคณะกรรมการอุทธรณ์ กรณีที่มีคำสั่งและคำวินิจฉัยชำระเงินสมทบเพิ่มเติมเข้ากองทุนเงินทดแทนจำนวน
๕๔,๐๐๗ บาท และ ๘๐,๑๘๐ บาท เนื่องจากโจทก์เห็นว่า “ค่าเที่ยว” เป็นเงินที่จ่ายตอบแทนเกินเวลาทำงาน
ปกติแบบเหมาจ่ายไม่เป็นค่าจ้าง จำเลยทั้งสองให้การว่า “ค่าเที่ยว” เป็นค่าจ้างเพราะตอบแทนการทำงานของ

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๓๐ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ลูกจ้างที่มีหน้าที่ขับรถส่งสินค้า ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว เห็น ว่า โจทก์ประกอบกิจการขนส่งทางบก


ค่าเที่ยวจ่ายให้ตอบแทนการทำงานโดยมากน้อยขึ้นอยู่กับระยะทางขับ รถใกล้ไกลและประเภทของรถยนต์
บรรทุก โจทก์ใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวมาตั้งแต่เปิดกิจการถึงปัจจุบัน หลักเกณฑ์เวลาทำงานของพนักงานขับรถ
ขนส่งสินค้ากำหนดกรอบไว้อย่างกว้างๆ เวลาพักและเวลาทำงานให้เป็นไปตามความเหมาะสมของสภาพการ
บริหารและการให้บริการของโจทก์ เวลาทำงานปกติใช้ เฉพาะพนักงานที่มีการทำงานปกติยกเว้น พนักงานที่
ทำงานขนส่งสินค้าทางบก ค่าเที่ยวกำหนดขึ้นจากระยะทางขับรถจากสถานที่จัดส่งสินค้าอำเภอวังน้อย ไปยัง
สถานที่ปลายทาง ไม่ได้คำนึงถึงเวลาในการขับรถแต่ละเที่ยวเป็นสำคัญ เพราะพนักงานขับรถระยะทางใกล้เช่น
๙๐ กิโลเมตร ใช้เวลาไม่เกิน ๘ ชั่วโมง โจทก์ก็คงจ่ายค่าเที่ยวให้ ๒๐๐ บาท พนักงานขับรถขนส่งสินค้าจะไม่มี
เวลาเข้ า และออกจากงานที่ แ น่ น อน ถื อ เอาเวลาเริ่ ม ต้ น ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ขั บ รถและสิ้ น สุ ด เมื่ อ ส่ ง ของเสร็ จ
ตามเป้าหมายและนะรถกลับถึงที่ทำการ ซึ่งบางครั้งใช้เวลามากกว่า ๘ หรือ ๙ ชั่วโมง พนั กงานขับรถจะต้อง
เข้าปฏิบัติห น้าที่ต ลอดเวลา ๒๔ ชั่งโมง ตามที่โจทก์มอบหมายและถือปฏิบัติติดต่อกันมาตั้งแต่เปิดกิจการ
หลักเกณฑ์ค่าเที่ยวจึงถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้างงานและค่าตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติโดย
ปริยาย ค่าเที่ยวจึงเป็นค่าจ้างตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ในทำนองว่าโจทก์มีข้อตกลงกับลูกจ้างพนักงานขับรถขนส่งสินค้ารายอื่นว่าการจ่ายค่าเที่ยวเหมา
จ่ายรวมค่าทำงานเกินเวลาทำงานปกติอยู่ในนั้นแล้ว ค่าเที่ยวจึงไม่ใช่ค่าจ้าง ศาลฎีกาเห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์
เป็นการโต้แย้งดุลพิ นิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยข้อเท็จจริงมาเพื่อนำไปสู่
การวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าค่าเที่ยวไม่เป็นค่าจ้าง เป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

๘. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๔๒๖๒/๒๕๕๘
เรื่อง การคำนวณค่าชดเชยพนักงานขับรถที่ได้รับค่าเที่ยวซึ่งเป็นค่าจ้างตามผลงาน ต้องนำ
เงินค่าเที่ยวที่ได้รับจริงย้อนหลังมาคำนวณ ไม่ใช่ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อ
ลูกจ้างไม่ได้รับค่าเที่ยวในช่วงดังกล่าว จึงไม่มีค่าจ้างตามผลงานซึ่งจะนำมาใช้เป็นฐานคำนวณ ดังนั้น
จึงนำเฉพาะค่าจ้างรายเดือนมาคำนวณเท่านั้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยที่ ๑ ตำแหน่งพนักงานขับรถเซมิเทรลเลอร์ ได้รับค่าจ้าง
เดือนละ ๘,๔๓๒ บาท และค่าเที่ยวเฉลี่ยเดือนละ ๑๖,๘๐๐ บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ ๑๕ และวันที่
๓๐ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ จำเลยที่ ๑ เลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิด ศาลแรงงานภาค ๒ พิพากษาให้จำเลย
ที่ ๑ จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๒,๖๒๖ บาท ค่าชดเชย ๒๐๑,๘๖๔ บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลย
ที่ ๑ อุทธรณ์ประเด็นค่าเที่ยวเป็นค่าจ้างหรือไม่นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยที่ ๑ จะจ่ายค่าเที่ยวให้แก่โจทก์เมื่อ
โจทก์ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถยนต์ขนส่งน้ำมันตามหน้าที่ของตน โดยเงินค่าเที่ยวที่โจทก์จะได้รับนั้นสามารถ
คำนวณได้แน่นอนขึ้นอยู่กับระยะทางของการขับรถยนต์ในแต่ละเที่ยวตามที่จำเลยที่ ๑ กำหนดหลักเกณฑ์ไว้
ลักษณะการจ่ายค่าเที่ยวของจำเลยที่ ๑ แก่โจทก์ดังกล่าวเป็นการจ่ายเพื่ อตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้าง
โดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เงินค่าเที่ยวจึงเป็นค่าจ้าง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๓๑ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

อุทธรณ์ประเด็นการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยโดยคำนวณเงินเดือน
รวมกับค่าเที่ยวโดยเฉลี่ยชอบหรือไม่นั้น เห็นว่า เมื่อเงินค่าเที่ยวเป็ นค่าจ้างตามผลงานแล้ว การที่โจทก์ได้รับ
ค่าเที่ย วจนถึงวัน ที่ ๒๐ มิถุน ายน ๒๕๕๐ แสดงให้ เห็ นว่าตั้งแต่วัน ดังกล่ าวจนถึงวันเลิ กจ้างโจทก์ไม่ได้รับ
ค่าเที่ยวอีก ในวันเลิกจ้างจึงไม่มีค่าจ้างตามผลงานซึ่งจะนำมาใช้เป็นฐานคำนวณให้จำเลยที่ ๑ จ่ายสินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ได้ คงคำนวณจากค่าจ้างซึ่งเป็นเงินเดือนเท่านั้น คิดถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง
คราวถัดไปในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๐ เป็นเงิน ๔,๒๑๖.๕๐ บาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๕๘๒ และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๗ วรรคสี่
ส่วนค่าชดเชยนั้ น พระราชบั ญญั ติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘ (๔) นอกจาก
กำหนดให้ น ายจ้ างจ่ ายค่าชดเชยแก่ลู กจ้างโดยคำนวณจากค่าจ้างตามระยะเวลาแล้ ว ยังได้กำหนดให้ จ่าย
ค่าชดเชยสำหรั บ ค่าจ้างตามผลงานไม่น้ อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน ๒๔๐ วัน สุ ดท้ าย ดังนั้ นจำเลยที่ ๑
ต้องนำเงินค่าเที่ยวที่โจทก์ได้รับจริงย้อนหลังขึ้นไป ๒๔๐ วัน นับแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ อันเป็นวันเลิกจ้าง
คือระหว่างวันที่ ๓ กุมภาพัน ธ์ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๐ มาคำนวณจ่ายค่าชดเชยสำหรับค่าจ้างตามผลงาน
ให้แก่โจทก์ ข้อเท็จจริงปรากฏเพียงว่าโจทก์ได้รับค่าเที่ยวจำนวนน้อยที่สุดโดยเฉลี่ยเดื อนละ ๑๖,๘๐๐ บาท
โจทก์และจำเลยที่ ๑ ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าว และโจทก์ได้รับค่าเที่ยวถึงวันที่ ๒๐ มิถุนายน
๒๕๕๐ เท่านั้น เมื่อคำนวณแล้วโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากค่าจ้างตามผลงาน ๗๗,๒๘๐ บาท และค่าจ้าง
ที่คำนวณตามระยะเวลาเป็นเงินเดือนๆ ละ ๘,๔๓๓ บาท จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยดังกล่าวอีก ๖๗,๔๖๔ บาท
รวมเป็นค่าชดเชย ๑๔๔,๗๔๔ บาท ที่ศาลแรงงานภาค ๒ วินิจฉัยมาจึงไม่ถูกต้อง พิพากษาแก้เป็นให้จำเลยที่
๑ จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๔,๒๑๖.๕๐ บาท และค่าชดเชย ๑๔๔,๗๔๔ บาท

๙. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๙๒๒-๑๙๓๐/๒๕๕๕
เรื่อง ค่าเที่ยว ถือเป็นเงินที่ตอบแทนการทำงานทั้ง ในเวลาทำงานปกติ และช่ว งเวลาเกิน
เวลาทำงานปกติ
โจทก์ทำงานในตำแหน่ งพนั กงานขับรถบรรทุกหั วลากตู้คอนเทรนเนอร์ได้รับค่าจ้างเดือนละ
๓,๙๗๐ บาท นอกจากนั้น โจทก์ได้รับ ค่า เที่ย ว ซึ่ง โจทก์จ ะได้รับ ค่า เที่ย วก็ต่อ เมื่อ โจทก์ไ ด้ขับ รถออกไป
นอกสถานที่ตามที่จำเลยมอบหมายโดยได้รับค่าเที่ยวในอัตราที่ไม่เท่ากันแล้วแต่สถานที่ที่ไปส่งสินค้าและหากวันใด
โจทก์ไม่ได้ขับรถส่งสินค้าจำเลยจะจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้อีกวันละ ๑๐๐ บาท ค่าเที่ยวจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่าย
เพื่อตอบแทนการทำงานเป็นค่าจ้างตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
การทำงานในแต่ละวันอาจจะเกินเวลาทำงานปกติบ้างเนื่องจากสภาพการจราจรติดขัดมีข้อกำหนด
ห้ า มรถบรรทุ ก แล่ น บางเวลาและอาจต้ อ งรอรั บ สิ น ค้ า บ้ า งเป็ น ครั้ ง คราว แต่ จ ำเลยก็ ไ ด้ จ่ า ยค่ า เที่ ย ว
ทั้งในเวลาทำงานปกติ และช่ ว งเวลาเกิน เวลาทำงานปกติทุกเที่ยวให้แล้ว ค่าเที่ยวที่จำเลยจ่ายให้จึงเป็น
ค่าตอบแทนในการทำงานของโจทก์รวมถึงค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดแล้ว
ซึ่งโจทก์ได้ตกลงกับจำเลยโดยจะรับค่าเที่ยวแทนค่าล่วงเวลาทั้งหมด ทั้งเงินค่าเที่ยวโดยเฉลี่ยที่โจทก์ได้รับก็สูงกว่า

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๓๒ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ค่าล่วงเวลาพื้นฐานมากซึ่งเป็นประโยชน์ต่อโจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม
อันดีของประชาชนใช้บังคับได้

๑๐. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๖๕๕๓-๑๖๕๕๔/๒๕๕๕


เรื่อง ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นฟังข้ อเท็จจริงใหม่ว่าค่าเที่ยวเป็นเงินที่ลูกจ้างได้รับ
ในเวลาทำงานปกติ หรือเกินเวลาทำงานปกติ และเป็นค่าจ้างหรือไม่
โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งพนักงานขับรถบรรทุกขนส่งน้ำมั น โจทก์ทั้งสองได้รับ
ค่าจ้างเดือนละ ๖,๓๑๐ บาท และค่าเที่ยวประมาณเดือนละ ๙,๕๐๐ – ๑๒,๐๐๐ บาท ต่อมาจำเลยเลิกจ้ าง
โจทก์ทั้งสองโดยจ่ายค่าชดเชยแต่ไม่นำค่าเที่ยวไปรวมคำนวณด้วย จำเลยให้การว่าค่าเที่ยวไม่เป็นค่าจ้างแต่เป็น
เพียงเบี้ยขยันซึ่งเป็นเงินจูงใจในการทำงานตามที่จำเลยมอบหมาย จำเลยจ่ายเบี้ยขยันตามระยะทางที่ขนส่ง
อีกทั้งจ่ายเพื่อมิให้พนักงานขับรถกระทำการทุจริตในการส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าโดยจ่ายค่ายอมรับสินค้าสูญหาย
ให้ แ ก่ พ นั ก งานขั บ รถเพิ่ ม ขึ้ น นอกเหนื อ จากค่ า เที่ ย วหากพนั ก งานขั บ รถขนส่ งสิ น ค้ าได้ ป ริ ม าณที่ ถู ก ต้ อ ง
ศาลแรงงานพิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาเห็นว่า เงินค่าเที่ยวตามคำฟ้องของโจทก์จะเป็นค่าจ้างตามมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ หรือไม่ ต้องเป็นเงินค่าเที่ยวที่โจทก์ทั้งสองได้รับในเวลา
ทำงานปกติแต่ศาลแรงงานกลางยังไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงว่าเงินค่าเที่ยวที่โจทก์ได้ รับมาแต่ละครั้งเป็นการรับมาใน
เวลาทำงานปกติ หรือเกินเวลาทำงานปกติ และเงินค่าเที่ยวอั ตราสุดท้ายของโจทก์ได้รับคนละเท่าใด ศาลฎีกา
จึงไม่อาจพิพากษาถึงค่าชดเชยที่โจทก์แต่ละคนยังขาดอยู่เท่าใดได้ จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางฟัง
ข้อเท็จจริงดังกล่าวเพิ่มเติมตามมาตรา ๕๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา
คดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๓๓ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๖. ค่าขับรถด้วยความปลอดภัย
ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๑๖๖๒ – ๑๖๖๔/๒๕๖๒
เรื่อง ค่าเที่ยวการขับรถเหมาจ่าย และค่าขับรถลักษณะประหยัดน้ำมันเหมาจ่าย เป็นค่าจ้าง
แต่ “ค่าขับรถด้วยความปลอดภัย” มีหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการจ่ายเงินเพื่อจูงใจ จึ งไม่ใช่ค่าจ้าง , ลูกจ้าง
ในงาน “ขับรถบรรทุกน้ำมัน” มีสิทธิ ได้รับค่าตอบแทนการทำงานเกิ นเวลาปกติ โดยต้องคำนวณค่าจ้ าง
ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ไม่จำกัดเฉพาะเวลาที่ขับรถเท่านั้น แต่หมายความรวมถึง ระยะเวลาที่ลูกจ้าง
เดินทางไปที่ทำการเพื่อพักรองานและระยะเวลาที่ต้องดำเนินการต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะ
ขับรถไปส่งน้ำมันให้แก่ลูกค้า
คดีนี้โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งพนักงานขับรถบรรทุก
น้ำมัน ค่าจ้างเดือนละ ๙,๒๔๐ บาท ค่าเที่ยวการขับรถเหมาจ่าย ๙,๕๐๐ บาท ค่าขับรถด้วยความปลอดภัย
เหมาจ่าย ๓,๐๐๐ บาท ค่าขับรถลักษณะประหยัดน้ำมันเหมาจ่าย ๑๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นค่าจ้างเดือนละ
๓๑,๗๔๐ บาท โจทก์ทั้งสามทำงานเกิน เวลาทำงานทุกวัน วันละ ไม่น้อยกว่า ๑๐ ชั่วโมง ต่อมาวันที่ ๒๔
มีนาคม ๒๕๖๑ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ที่ ๑ และ ๒ และวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๑ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ ๓
โดยโจทก์มิได้กระทำความผิด ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่ าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหาย
จากการเลิกจ้างที่ไม่เป็ นธรรม ค่าทำงานเกิน เวลา ๑,๐๖๐,๐๒๐ บาท (ของโจทก์ที่ ๑) โจทก์ที่ ๒.........
โจทก์ที่ ๓....พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยให้การว่าโจทก์กับพวก
กระทำผิ ด ร้ายแรง โจทก์ไม่ได้ท ำงานเกิน เวลา ค่ าเที่ย วการขับ รถเหมาจ่ าย ค่าขับ รถด้ว ยความปลอดภั ย
เหมาจ่าย และค่าขับรถลักษณะประหยัดน้ำมันเหมาจ่าย ไม่ใช่ค่าจ้าง
ศาลแรงงานภาค ๒ พิจารณาแล้ว เห็นว่า ค่าเที่ยวการขับรถ และค่าขับรถลักษณะประหยัด
น้ำมัน เป็นการจ่ายตอบแทนการทำงาน จึงเป็น ค่าจ้าง พิพากษาให้จำเลยจ่า ยค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้ งสาม
พร้อมดอกเบี้ย คำขออื่นให้ยก โจทก์ทั้งสามและจำเลยอุทธรณ์
ประเด็ น “ค่ า ขับ รถด้ ว ยความปลอดภั ย ” ศาลอุ ทธรณ์ คดี ช ำนั ญ พิ เศษเห็ น ว่า เมื่อ การจ่าย
ค่าขับรถด้วยความปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุเหมาจ่ายให้เดือนละ ๓,๐๐๐ บาท มีหลักเกณฑ์ซึ่งเป็นเงื่อนไข
ในการจ่ายเงินดังกล่าวเพื่อจูงใจให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมันจะต้องขับรถด้วยความ
ระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ จึงจะได้รับเงินดังกล่าวเป็นประจำทุกเดือน หากเกิดอุบัติ เหตุโดยเป็นความผิด
ของโจทก์ทั้งสามก็จะไม่ได้รับเงิ น ดังกล่าว เงินค่าขับรถด้วยความปลอดภัยที่จำเลยจ่ายให้ แ ก่โจทก์ทั้งสาม
จึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นค่าตอบแทนการทำงานโดยตรงตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลา
การทำงานปกติ อันจะถือว่าเป็นค่าจ้า งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ ที่จะต้ อง
นำไปรวมเป็นค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ประเด็ น ค่า ตอบแทนการทำงานเกิ น เวลาปกติ ที่ โจทก์อุ ท ธรณ์ ว่า การขนส่ งน้ ำมัน ต้ องทำ
ต่อเนื่องไป ทั้งการรอคิวรับงานใช้เวลา ๒ – ๔ ชั่วโมง ต้ องเอารถไปตรวจสภาพก่อนแล้วรอรับใบระบุ ชนิ ด
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๓๔ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

น้ำมัน ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ ๔ ชั่วโมง หลังจากนั้นต้องไปขอรับเอกสารพร้อมซีลล็อกฝาถังน้ำมัน แล้วนำรถ


ไปเข้าคิวบรรจุน้ำมันลงถังใช้เวลาอีก ๒ ชั่วโมง ขับรถบรรทุกน้ำมันไปส่งให้ ลูกค้า เวลาในการขับรถขึ้นอยู่กับ
สถานที่ที่จะไปส่งน้ำมัน เสร็จแล้วต้องขับ รถกลับมาที่ทำการจำเลยเพื่อรอเติมน้ำมันและรอรับงานเที่ยวต่ อไป
เห็ น ว่า งานที่โจทก์ทั้ งสามต้องปฏิบั ติคือ “การขับรถบรรทุกน้ำมัน ” ไปส่งให้ แก่ลูกค้าของจำเลย ทำงาน
จัน ทร์ – เสาร์ หยุดวัน อาทิ ตย์และวันนักขัตฤกษ์ โจทก์ทั้งสามจึงถือเป็น ลูกจ้างของจำเลยในงานขนส่ง
ทางบกตามพระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๖๕ (๙) ประกอบกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ข้อ ๖ มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน
ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกินเวลาทำงานปกติตามจำนวนเวลาที่โจทก์ทั้งสามทำงานเกินจากวันละ ๗ ชั่ วโมง
เพราะเป็นงานเกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) โดยต้องคำนวณ
ค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทั้งสามปฏิบัติงานให้แก่จำเลย ไม่จำกัดเฉพาะเวลาที่โจทก์ทั้งสามขั บรถ
เท่ า นั้ น แต่ ห มายความรวมถึ ง ระยะเวลาที่ โจทก์ทั้ งสามเดิ น ทางไปที่ ท ำการของจำเลยเพื่ อ พั ก รองาน
และระยะเวลาที่โจทก์ทั้งสามต้องดำเนินการต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะขับรถไปส่งน้ำมันให้แก่
ลูกค้า โดยถือเกณฑ์คำนวณค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาปกติเฉลี่ยจากค่าเที่ย วการขับรถและค่าขับรถ
ลักษณะประหยัดน้ำมัน รวมกับค่าจ้างพื้นฐาน ได้ ค่าจ้างเฉลี่ยวัน ละหรือชั่วโมงละเท่าใด แล้วนำค่าจ้างเฉลี่ย
รายชั่วโมงนั้นมาคำนวณค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาปกติพร้อมดอกเบี้ ยผิดนัดอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี
นับ แต่วัน ฟ้องเป็ นต้น ไป แต่จ ำนวนเงินดังกล่าวต้ องไม่เกินคำขอ โดยพิจารณาพยานหลั กฐานจากเอกสาร
เกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานตามมาตรา ๑๑๔ และมาตรา ๑๑๕ ด้วย ฉะนั้น ที่ศาลแรงงานภาค ๒
วินิจฉัยว่ า ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามทำงานเกินเวลาปกติในวันใดและเป็นวันละ ๑๐ ชั่วโมง ได้อย่างไร
กรณีจึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาปกติได้นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาล
อุทธรณ์ คดีชำนัญพิ เศษ กรณี จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศ าลแรงงานภาค ๒ ฟังข้ อเท็จจริงและพิจารณา
กำหนดจำนวนค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาปกติ โดยถือเกณฑ์ดังที่ได้วินิจฉัยข้างต้นแล้วพิพากษาคดี
ใหม่
ประเด็นสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เห็นว่า โจทก์ที่ ๑ และที่ ๒
ทราบว่ าข้อ เรี ย กร้ องเกี่ย วกับ วิธีก ารจ่ ายเงิน ค่าขับ รถลั กษณะประหยั ดน้ ำมัน ยุ ติไปแล้ ว โดยจำเลยตกลง
นำวิ ธี ก ารจ่ า ยเงิ น ค่ า ขั บ รถลั ก ษณะประหยั ด น้ ำ มั น ในรู ป แบบเดิ ม กลั บ มาใช้ ต ามที่ โ จทก์ ที่ ๑ และที่ ๒
กับ พนักงานขับ รถบรรทุกน้ ำมัน ของจำเลยเคยยื่นข้อเรียกร้องแล้ ว จึงไม่มีเหตุ ที่จะยื่ นข้อเรียกร้องข้อนี้อีก
แม้โจทก์ที่ ๑ และที่ ๒ กั บ พนั กงานขับ รถบรรทุกน้ำมันของจำเลยยื่นข้อเรียกร้องเกี่ ยวกับ วิธีการจ่ายเงิน
ค่าขับรถลักษณะประหยัดน้ำมันรวมมากับข้อเรียกร้องข้ออื่ นต่อจำเลยอีก แต่การยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่ได้
เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในการขับรถบรรทุกน้ำมันของโจทก์ที่ ๑ และที่ ๒ จึงรับฟัง ไม่ได้ว่าโจทก์ที่ ๑ และที่
๒ กระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จึงนำเหตุดังกล่าวมา
เลิกจ้างโจทก์ที่ ๑ และที่ ๒ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๘๓
ไม่ได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ ๑ และ ๒ โดยไม่มีเหตุอันควร จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๓๕ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

การที่โจทก์ที่ ๓ ไม่มาขับรถบรรทุกน้ำมันในวันที่ได้รับมอบหมาย โดยอ้า งว่าโทรศัพท์ขอลากิจ


จากหัวหน้างาน แต่เมื่อหัวหน้างานไม่อนุญ าตให้โจทก์ ที่ ๓ ลากิจ และโจทก์ที่ ๓ ไม่มาทำงานตามที่ได้รับ
มอบหมายในวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๑ จนเป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกลูกค้าแจ้งเตือนการให้บริการ โดยไม่ปรากฏ
ว่าโจทก์ที่ ๓ ลาหยุดงานโดยมีเหตุอันสมควร และโจทก์ที่ ๓ ลาหยุดงานถูกต้องตามระเบียบหรือข้อบังคับ
เกี่ ย วกั บ การทำงาน ดั งนั้ น การที่ โจทก์ ที่ ๓ ไม่ ม าขั บ รถตามหน้ าที่ ที่ ได้ รั บ มอบหมาย แสดงถึ งความไม่
รับผิดชอบในการทำงานของโจทก์ที่ ๓ จึงเป็น การกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้
ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ ๓ ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๘๓ และเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันควร ไม่เป็นการเลิกจ้างทีไ่ ม่เป็นธรรม
จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ที่ ๑ และ ๒ วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๑ ถือว่าจำเลยบอกกล่าวล่วงหน้า
เมื่อก่อนถึงงวดการจ่ายค่าจ้างวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑ ซึ่งจะมีผลเป็นการเลิกสัญญาเมื่อถึงกำหนดการจ่าย
ค่าจ้ างคราวถัดไปคือวัน ที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๑ เมื่อจำเลยเลิ กจ้างโจทก์ ทั้ งสองให้ มีผ ลวันที่ ๒๕ มีน าคม
๒๕๖๑ โดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่า วล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง
ที่โจทก์ที่ ๑ และที่ ๒ ผู้เป็นลูกจ้างมีสิทธิได้รั บหากอยู่ทำงานจนถึงวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๑ ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๘๒ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา
๑๗ วรรคสอง
พิพากษาแก้เป็น ให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ที่ ๑ และที่ ๒ พร้อม
ดอกเบี้ย ให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ที่ ๑ และที่ ๒ โดยให้ย้อนสำนวนไป
ให้ศาลแรงงานภาค ๒ พิจารณากำหนดค่า เสียหาย ให้ฟังข้อเท็จจริงและพิจารณากำหนดจำนวนค่าตอบแทน
การทำงานเกินเวลาปกติ แก่โจทก์ทั้งสามตามนัยที่วินิจฉัยข้างต้น หากศาลแรงงานภาค ๒ เห็นว่าข้อเท็จ จริง
จะเป็นผลให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงก็ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา
คดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๖ วรรคสอง วรรคสาม นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
ภาค ๒

๒. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๓๐๒๐ – ๓๐๒๑/๒๕๖๒


เรื่อง ค่าเที่ยวการขับรถเหมาจ่าย และค่าขับรถลักษณะประหยัดน้ำมันเหมาจ่าย เป็นค่าจ้าง
แต่ “ค่าขับรถด้วยความปลอดภัย” มีหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการจ่ายเงินเพื่อจูงใจ จึงไม่ ใช่ค่าจ้าง , ลูกจ้าง
ในงาน “ขับรถบรรทุกน้ำมัน” มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาปกติ โดยต้องคำนวณค่าจ้าง
ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ไม่จำกัดเฉพาะเวลาที่ขับรถเท่านั้น แต่หมายความรวมถึง ระยะเวลาที่ลูกจ้าง
เดินทางไปที่ทำการเพื่อพักรองานและระยะเวลาที่ต้องดำเนินการต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะ
ขับรถไปส่งน้ำมันให้แก่ลูกค้า
คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งพนักงานขับรถบรรทุก
น้ำมัน โจทก์ที่ ๑ ค่าจ้างเดือนละ ๙,๐๐๐ บาท และโจทก์ที่ ๒ ค่าจ้างเดือนละ ๙,๒๕๐ บาท ค่าเที่ยวการขับรถ

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๓๖ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

เหมาจ่าย ๙,๕๐๐ บาท ค่าขับรถด้ วยความปลอดภัยเหมาจ่าย ๓,๐๐๐ บาท ค่าขับรถลักษณะประหยัดน้ำมัน


เหมาจ่าย ๑๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นค่าจ้างเดือนละ ๓๑,๕๐๐ บาท และ ๓๑,๗๕๐ บาท ตามลำดับ โจทก์ทั้งสอง
ทำงานเกินเวลาทำงานทุกวัน วันละ ไม่น้อยกว่า ๑๐ ชั่วโมง ต่อมาวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ จำเลยเลิกจ้าง
โจทก์ที่ ๓โดยโจทก์มิได้กระทำความผิด ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าทำงานล่วงเวลา พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปีนับแต่วันฟ้อง
จนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยให้ การว่า โจทก์กับพวกกระทำผิ ด ร้ายแรง โจทก์ ไม่มี สิ ทธิเรียกร้องค่ าทำงาน
เกินเวลา ค่าเที่ยวการขับรถเหมาจ่าย ค่าขับรถด้วยความปลอดภัยเหมาจ่าย และค่าขับรถลักษณะประหยัด
น้ำมันเหมาจ่าย ไม่ใช่ค่าจ้าง
ศาลแรงงานภาค ๒ พิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของโจทก์ทั้งสองไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่
หรื อ กระทำผิ ด อาญาโดยเจตนาต่อ นายจ้ าง ข้ อ เท็ จจริงไม่ อ าจกำหนดค่ าทำงานเกิน เวลาปกติ ข องโจทก์
ทั้งสองได้ พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง
ที่ไม่เป็นธรรม แก่โจทก์ทั้งสองพร้อมดอกเบี้ย คำขออื่นให้ยก โจทก์ทั้งสองและจำเลยอุทธรณ์
ประเด็ น “ค่ า ขับ รถด้ วยความปลอดภั ย ” ศาลอุ ทธรณ์ คดี ช ำนั ญ พิ เศษเห็ น ว่า เมื่อ การจ่าย
ค่าขับรถด้วยความปลอดภัยไม่เกิดอุบัติเหตุเหมาจ่ายให้เดือนละ ๓,๐๐๐ บาท มีหลักเกณฑ์ซึ่งเป็นเงื่อนไข
ในการจ่ายเงินดังกล่าวเพื่อจูงใจให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมันจะต้องขับรถด้วยความ
ระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ จึงจะได้รับเงินดังกล่าวเป็นประจำทุกเดือน หากเกิ ดอุบัติเหตุโดยเป็นความผิด
ของโจทก์ทั้งสองก็จ ะไม่ ได้รับ เงิน ดังกล่ าว เงินค่าขับ รถด้วยความปลอดภัยที่จำเลยจ่ายให้ แก่โจทก์ทั้งสอง
จึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้ างเพื่อเป็นค่าตอบแทนการทำงานโดยตรงตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลา
การทำงานปกติ จึงไม่เป็นค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคมุ้ ครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕
ประเด็ น ค่า ตอบแทนการทำงานเกิ น เวลาปกติ ที่ โจทก์อุ ท ธรณ์ ว่า การขนส่ งน้ ำมัน ต้ องทำ
ต่อเนื่องไป ทั้งการรอคิวรับงานใช้เวลา ๒ – ๔ ชั่วโมง ต้องเอารถไปตรวจสภาพก่อนแล้วรอรับใบระบุชนิด
น้ำมัน ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ ๔ ชั่วโมง หลังจากนั้นต้องไปขอรับเอกสารพร้อมซีลล็อกฝาถังน้ำมัน แล้วนำรถ
ไปเข้าคิวบรรจุน้ำมันลงถังใช้เวลาอีก ๒ ชั่วโมง ขับรถบรรทุกน้ำมันไปส่งให้ลูกค้า เวลาในการขับรถขึ้นอยู่กับ
สถานที่ที่จะไปส่งน้ำมัน เสร็จแล้วต้องขับรถกลับมาที่ทำการจำเลยเพื่อรอเติมน้ำมันและรอรับงานเที่ย วต่อไป
เห็ น ว่า งานที่โจทก์ทั้งสามต้องปฏิบั ติคือ “การขับรถบรรทุ กน้ำมัน ” ไปส่งให้ แก่ลูกค้าของจำเลย ทำงาน
จันทร์ – เสาร์ หยุดวัน อาทิตย์และวันนั กขัตฤกษ์ โจทก์ทั้งสองจึ งถือเป็น ลูกจ้างของจำเลยในงานขนส่ง
ทางบกตามพระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๖๕ (๙) ประกอบกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ข้อ ๖ มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน
ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกินเวลาทำงานปกติตามจำนวนเวลาที่โจทก์ทั้งสามทำงานเกินจากวันละ ๗ ชั่วโมง
เพราะเป็นงานเกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) โดยต้องคำนวณ
ค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่โ จทก์ทั้งสามปฏิบัติงานให้แก่จำเลย ไม่ จำกัดเฉพาะเวลาที่โจทก์ทั้งสามขับรถ
เท่ า นั้ น แต่ ห มายความรวมถึ ง ระยะเวลาที่ โจทก์ทั้ งสามเดิ น ทางไปที่ ท ำการของจำเลยเพื่ อ พั ก รองาน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๓๗ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

และระยะเวลาที่โจทก์ทั้งสามต้องดำเนินการต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะขับรถไปส่งน้ำมันให้แก่
ลูกค้า โดยถือเกณฑ์คำนวณค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาปกติเฉลี่ยจากค่าเที่ยวการขับรถและค่าขับรถ
ลักษณะประหยัดน้ำมัน รวมกับค่าจ้างพื้นฐาน ได้ค่าจ้างเฉลี่ยวันละหรือชั่วโมงละเท่าใด แล้วนำค่าจ้างเฉลี่ย
รายชั่วโมงนั้นมาคำนวณค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาปกติพร้อมดอกเบี้ยผิดนั ดอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี
นับ แต่วัน ฟ้องเป็ นต้น ไป แต่จ ำนวนเงินดังกล่าวต้องไม่เกินคำขอ โดยพิจารณาพยานหลั ก ฐานจากเอกสาร
เกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานตามมาตรา ๑๑๔ และมาตรา ๑๑๕ ด้วย ดังนั้น ที่ศาลแรงงานภาค ๒
วินิจ ฉัยว่า โจทก์ทั้งสองไม่ได้ ทำงานขับรถไปส่งน้ำมัน ให้ แก่ลูกค้าทุกวัน และการขับรถไปส่งน้ำมัน ยังมี
ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดไม่แน่นอนจึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยจ่ ายค่าทำงานเกินเวลาปกติได้นั้ น ศาล
อุทธรณ์ คดีชำนัญพิเศษไม่เห็นพ้องด้วย กรณีจึงต้องย้อนสำนวนไปให้ ศาลแรงงานภาค ๒ ฟังข้อเท็จจริง
และพิจารณากำหนดจำนวนค่าทำงานเกิน เวลาปกติ โดยถือเกณฑ์ดังที่ได้วินิจฉัยข้ างต้น แล้วพิพากษา
คดีใหม่
พิพากษาแก้เป็น ให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานภาค ๒ ในปัญหาว่าโจทก์ทั้ งสองมีสิทธิได้รับค่า
ทำงานเกินเวลาปกติหรือไม่ โดยให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานภาค ๒ ฟังข้อเท็จจริงและพิพากษาในปัญหานี้
ใหม่ต่อไปตามรูปคดี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานภาค ๒

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๓๘ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๗. ค่าน้ำมันรถ ค่าสึกหรอ
เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๒๗๙๘/๒๕๖๒
เรื่อง ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่การงานไปพบพนักงานตรวจแรงงาน นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้อง
จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่ไม่ใช่ กรณีละทิ้ง
หน้าที่ ๓ วัน ทำงานติด ต่ อกัน เลิกจ้างจึ งต้องจ่ายค่าชดเชย , ค่าสึกหรอและค่าน้ำมัน รถจักรยานยนต์
นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเท่ากันทุกเดือน ไม่ต้องแสดงใบเสร็จ จึงเป็นค่าจ้าง ตามมาตรา ๕
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งพนักงานเก็บเช็คและวางบิล ค่าจ้าง
เดือนละ ๒๑,๐๐๐ บาท ปี ๒๕๕๙ โจทก์มีอาการป่วยเส้ นเลือดในสมองตีบ ๑ เส้น ในปีนั้น โจทก์ลาป่วย
ไม่ต่อเนื่อง ๑๙ วัน เพื่อรักษาตัว ต่อมาวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๐ ฝ่ายบุคคลจำเลยโทรศัพท์แจ้งดจทก์ไม่ต้อง
เข้ามาทำงานแต่ให้ไปพบแพทย์เพื่อออกใบรับรองมายืนยั นว่าสามารถทำงานกับจำเลยได้ โจทก์ไปพบแพทย์
แพทย์สรุปความเห็นว่าอาการเส้นเลือดสมองตีบไม่เป็นอุปสรรคต่อการขับรถ ต่อมาวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๐
โจทก์เข้าไปทำงานตามปกติและนำใบรับรองแพทย์ยื่นต่อฝ่า ยบุคคล แต่จำเลยแจ้งว่าได้ย้ายโจทก์ไปปฏิบัติ
หน้าที่โกดังสินค้า ทั้งมี การปรับลดเงินเดือนเหลือ ๑๔,๐๐๐ บาท พร้อมให้ลงลายมือชื่อยินยอม แต่โจทก์ไม่
ยินยอม ต่อมาวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๐ ช่วงเช้า โจทกืทราบจากเพื่อร่วมงานว่าจำเลยเก็บบัตรลงเวลาทำงาน
ทั้งไม่มีของใช้และโต๊ะทำงานของโจทก์เหลืออยู่ วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐ โจทก์ไปพบพนักงานตรวจแรงงาน
เพื่อขอให้ช่วยเจรจาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน พนักงานตรวจแรงงานโทรศัพท์ติดต่อฝ่ายบุค คลแต่ได้รับ
แจ้งว่าโจทก์ยังไม่ต้องเข้าไปทำงาน ต่อมาวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๐ จำเลยเลิกจ้างโจทก์อ้างขาดงานวันที่ ๒๒
- ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐ เป็นเวลา ๓ วันทำงาน ขอบังคับให้จ ำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าว
ล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย
ศาลแรงงานกลางพิ จ ารณาแล้ ว พิ พ ากษาให้ จ ำเลยจ่ ายสิ น จ้ า งแทนการบอกกล่ าวล่ ว งหน้ า
ค่าชดเชย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงยุติว่า โจทก์มิได้ขาดงานหรือ
ละทิ้งหน้าที่ในวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๐ แต่โจทก์มิได้ไปปฏิบัติงานวันที่ ๒๓ และวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐
จึงมิใช่การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา ๓ วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง
แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๙ (๕) ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิได้รับ ค่าชดเชยจึงชอบแล้ว
แต่เมื่อโจทก์ละทิ้งหน้าที่ในวันที่ ๒๓ และวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐ จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่การงานไปเสีย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๘๓ จำเลยจึงเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอก
กล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยจ่ายค่าสึกหรอและค่าน้ำมันรถจักรยานยนต์ให้แก่โจทก์เท่ากันทุกเดือน โดยไม่คำนึงว่า
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะใช้น้ำมันรถจักรยานยนต์หรือไม่ หรือใช้จ่ายไปจำนวนเท่าใด ทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์ต้อง
แสดงใบเสร็ จ ค่ า น้ ำ มั น รถจั ก รยานยนต์ ที่ ใ ช้ ใ นการปฏิ บั ติ ง าน ดั ง นั้ น “เงิ น ค่ า สึ ก หรอและค่ า น้ ำ มั น
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๓๙ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

รถจักรยานยนต์” ที่ใช้ในการปฏิ บัติงาน จึงเป็นค่าจ้าง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน


พ.ศ. ๒๕๔๑
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และและค่าเสียหาย
จากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

๒. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๐๗๕ – ๒๐๗๘ /๒๕๕๗


เรื่อง ค่าน้ำมันรถเดือนละ ๔,๔๐๐ บาท ลูกจ้างได้รับเท่ากันทุกเดือน ค่าน้ำมันรถจึงเป็นเงิน
ที่จ่ายตอบแทนการทำงาน เป็นค่าจ้าง
โจทก์กับพวกเป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งพนักงานขาย จำเลยจ่ายค่าน้ำมันให้แก่โจทก์กับพวก
คนละ ๔,๔๐๐ บาท เป็นประจำทุกเดือน โดยจำเลยเคยออกหนังสือรับรองเงินเดือนให้แก่โจทก์ระบุว่าโจทก์
ที่ ๑ ได้รับอัตราเงินเดือนๆ ละ ๒๘,๔๙๕ บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่รวมค่าน้ำมันไว้ด้วย ทั้งตามเอกสารซึ่งแสดง
เงินเดือนและรายได้อื่น ๆ ของลูกจ้างก็ปรากฏว่าลูกจ้างของจำเลยซึ่งทำงานในตำแหน่งอื่ นที่มิใช่ตำแหน่งที่
จะต้องออกตลาดดังเช่นโจทก์กับพวกทั้งสี่ จำเลยก็จ่ายค่าน้ำมันให้ประจำทุกเดือนด้วย ดังนี้จึงแสดงให้เห็นถึง
เจตนาในการจ่ายค่าน้ำมันของจำเลยให้แก่โจทก์ทั้งสี่ว่า จำเลยมีวัตถุประสงค์ในการจ่ ายเงินดังกล่าวเพื่อเป็น
การตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานตามปกติ ค่าน้ำมันที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์
ทั้งสี่จึงเป็นค่าจ้างตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑

๓. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๗๘๐-๗๗๘๒/๒๕๕๖ (ค่ารับรอง ค่าน้ำมันรถ)


เรื่อง ค่ารับรอง ค่าน้ำมันรถ แม้ต้องใช้ใบเสร็จประกอบการเบิกแต่นายจ้างจ่ายในอัตราคงที่
เท่ากันทุกเดือน ถือเป็นค่าจ้าง ค่ าจ้างมีกำหนดอายุความ ๒ ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์
มาตรา ๑๙๓/๓๔ (๙)
สำหรั บ ค่าจ้ างเดื อนสิ งหาคม ๒๕๔๕ ถึงกำหนดจ่ายวัน ที่ ๕ กัน ยายน ๒๕๔๕ แต่โ จทก์ที่ ๓
ฟ้องคดีเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๗ แต่โจทก์ที่ ๓ ฟ้องคดีเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๗ เกินกำหนด ๒ ปี
จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๙๓/๓๔ (๙)
จำเลยอุทธรณ์ประการแรกว่าสำหรับ เงินค่าน้ำมันรถและเงินค่ารับรองลูกค้านั้น โจทก์ทั้งสาม
จะต้องนำใบเสร็จรับเงินมาประกอบการเบิกเพื่อแสดงว่าโจทก์ทั้งสามได้มีการจ่ายเงินดังกล่าวไปจริงซึ่งถือว่า
เงินดังกล่าวโจทก์ทั้งสามได้สำรองจ่ายไปก่อนแทนจำเลยและถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายของจำเลยที่ไม่ได้จัดหารถ
ให้แก่โจทก์ทั้งสาม เงินดังกล่าวจึงไม่ใช่ค่าจ้างนั้น เห็นว่า แม้ศาลแรงงานกลางจะฟังข้อเท็จจริงว่าการได้รั บ
ค่าน้ำมันรถและเงิน ค่ารับรองลูกค้าจะต้องนำใบเสร็จรับเงินมาประกอบการเบิก แต่ศาลแรงงานกลางก็ฟัง
ข้อเท็จจริงต่อไปว่าเงินดังกล่าวจำเลยจ่ายในอัตราคงที่ทุกเดือนด้ วยจึงเป็นค่าจ้าง อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว
จึงเป็น การยกข้อเท็ จจริงตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพียงบางส่ว นขึ้นอ้างในอุ ทธรณ์ เพื่อให้ศาลฎีกา
ฟั ง ว่ าเงิ น ค่ า น้ ำ มั น รถและค่ า รั บ รองลู ก ค้ า มิ ใช่ ค่ า จ้ า งจึ งเป็ น อุ ท ธรณ์ ในข้ อ เท็ จ จริ ง ต้ อ งห้ า มมิ ใช้ อุ ท ธรณ์

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๔๐ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลฎีกา


ไม่รับวินิจฉัย

๔. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๕๐-๗๕๑/๒๕๕๔
เรื่อง เบี้ยเลี้ยง ค่าน้ำมันรถยนต์ ค่าสึกหรอรถยนต์ ค่าโทรศัพท์ เงินดังกล่าวนายจ้างจ่ายให้
ลูกจ้างประจำลักษณะเหมาจ่ายเป็น รายเดือน ไม่คำนึ งถึงว่าจะได้ใช้จ่ายเป็นค่าบำรุงรักษารถยนต์และ
ค่าโทรศัพท์ไปหรือไม่เพียงใด ไม่ต้องแสดงใบเสร็จ จึงเป็นค่าจ้าง (มาตรา ๕)
จำเลยจ่ ายเงิน ค่ า เบี้ ย เลี้ ย งและค่ า น้ ำ มั น รถยนต์ จำนวน ๕,๐๐๐ บาท ค่ า สึ ก หรอรถยนต์
๒,๐๐๐ บาท และค่าโทรศัพท์ ๑,๐๐๐ บาท รวม ๘,๐๐๐ บาท เงินดังกล่ าวจำเลยให้โจทก์ประจำลักษณะ
เหมาจ่ายเป็นรายเดือน ไม่คำนึง ถึงว่าจะได้ใช้จ่ายเป็นค่าบำรุงรักษารถยนต์และค่าโทรศัพท์ ไปหรือไม่เพียงใด
โจทก์ ไม่ ต้ อ งแสดงใบเสร็ จ เป็ น หลั ก ฐานในการรั บ เงิน การจ่า ยเงิน ดั งกล่ า วจึ งเป็ น การจ่ ายเพื่ อ ตอบแทน
การทำงานของโจทก์ ในลั ก ษณะเดี ย วกั น กั บ ค่ า จ้ า ง จึ ง เป็ น ค่ า จ้ า งตามพระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๔๑ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๕๐๘๓/๒๕๖๑
เรื่อง การที่นายจ้างเลิกจ้างเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงไม่เป็นการละเมิดต่อ
ลู กจ้ า ง เมื่ อ ศาลกำหนดค่ า เสี ย หายจากการเลิ ก จ้ า งที่ ไม่ เป็ น ธรรมให้ แ ล้ ว การที่ ศ าลแรงงานกำหนด
ค่าเสียหายจากการละเมิดจึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อนโดยอาศัยมูลเหตุเดียวกัน ย่อมเป็นการ
ไม่ชอบ , ค่าเช่ารถยนต์จ่ายให้พนักงานเป็นผู้จัดหารถยนต์มาเอง ส่วนค่าน้ำมันรถยนต์และค่าโทรศัพท์
จ่ า ยตามที่ ใ ช้ จ ริ งมิ ใ ช่ ก ารเหมาจ่ า ย ดั งนั้ น ค่ า เช่ า รถยนต์ ค่ า น้ ำ มั น รถยนต์ และค่ า โทรศั พ ท์ จึ งเป็ น
สวัสดิการ ไม่ใช่ค่าจ้าง
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็ น ลู กจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๖ ตำแหน่งผู้ จัดการ
เครื่องดื่มฝ่ายการตลาด ได้รับ เงิน เดือนเดือนละ ๒๗๗,๒๔๐ บาท ค่าเช่ารถยนต์เดือนละ ๓๗,๕๐๐ บาท
ค่ าโทรศั พ ท์ เดื อ นละ ๑,๕๐๐ บาท และค่ า น้ ำ มั น รถยนต์ ๒๔๐ ลิ ต รต่ อ เดื อ น รวมเป็ น ค่ า จ้ างเดื อ นละ
๓๒๒,๙๒๔ บาท ต่อมาวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๐ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
เป็ น ต้ น ไป ขอบั งัค บให้ จ ำเลยจ่ ายค่าชดเชย ๓,๒๒๙,๒๔๐ บาท ค่าจ้างสำหรับ วัน หยุด พั ก ผ่ อ นประจำปี
๑๒๐,๑๓๗ บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่ วงหน้า ๓๒๒,๙๒๔ บาท เงิน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฝ่ายจำเลย
๒,๕๐๔,๗๑๒ บาท เงินโบนัส เป็นเงิน ๖๙๓,๑๐๐ บาท เงินรางวัลจากการแข่งขันพิเศษปี ๒๕๕๙ เป็นเงิน
๒๕๐,๐๐๐ บาท ค่าเสียหายจากการละเมิด ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
๗,๗๕๒,๗๖๘ บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่าโจทก์กระทำผิดวินัยร้ายแรงหลายกรณี
ศาลแรงงานกลางพิ จ ารณาแล้ ว พิ พ ากษาให้ จำเลยจ่ ายสิ น จ้ างแทนการบอกกล่ าวล่ ว งหน้ า
๒๗๗,๒๔๐ บาท ค่าจ้ างสำหรับ วัน หยุดพักผ่ อนประจำปี ๑๒๐,๑๓๗ บาท ค่าชดเชย ๒,๗๗๒,๔๐๐ บาท
เงินโบนัส ๕๒๘,๗๙๕ บาท เงินรางวัลการแข่งขันฯ ๒๕๐,๐๐๐ บาท ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างทีไ่ ม่เป็นธรรม
๒,๗๗๒,๔๐๐ บาท และค่าเสียหายจากการละเมิด ๕๕๔,๔๘๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย คำขออื่นให้ยก โจทก์และ
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า ค่าจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
มาตรา ๕ นั้น ต้องเป็นเงินที่น ายจ้างจ่ายตอบแทนการทำงานให้แก่ลูกจ้างตามที่ตกลงกัน ส่วนสิทธิประโยชน์
ต่าง ๆ ที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อความสะดวกในการทำงานหรือเป็นสวัสดิการ แม้นายจ้างจะจ่ายเงิน
ดังกล่าวจำนวนแน่นอนเท่า ๆ กันทุกเดือน ก็ไม่เป็นค่าจ้าง ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยจะจ่ายค่าเช่ารถยนต์
รายเดือนให้แก่พนักงานเมื่อพนักงานเป็นผู้จัดหารถยนต์มาเอง ส่วนค่าน้ำมันรถยนต์และค่าโทรศัพท์ จำเลย
จะจ่ายให้แก่พนักงานตามที่ใช้จริงมิใช่การเหมาจ่าย ดังนั้น ค่าเช่ารถยนต์ ค่าน้ำมันรถยนต์ และค่าโทรศัพท์ที่
จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์จึงเป็นสวัสดิการที่จำเลยจัดให้ โจทก์ซึ่งเป็ นพนักงานในตำแหน่ งดังกล่าว มิใช่เงินที่
นายจ้างและลูกจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ
เป็นรายเดือนแก่โจทก์จึงไม่ใช่ค่าจ้าง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๔๒ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ประเด็นละเมิด ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการใช้สิทธิตาม


สัญญาจ้างแรงงานจึ งไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ แม้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยผิดสัญญาจ้างแรงงาน แต่เมื่อ
ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสี ยหายจากการเลิ กจ้างที่ มเป็นธรรม เนื่องจากเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอัน
สมควร ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นมูลคดีเดียวกันกับการเลิกจ้างโดยผิดสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามที่โจทก์
อ้างว่าเป็นการละเมิดก็ตามให้แก่โจทก์แล้ว จึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อนโดยอาศัยมูลเหตุเดียวกัน
ย่อมเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายจาการละเมิดให้แก่โจทก์นั้น ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญ
พิเศษไม่เห็นพ้องด้วย
พิพ ากษาแก้ เป็ น ยกฟ้ อ งโจทก์ ในส่ ว นค่ าเสี ยหายจาการละเมิด นอกจากที่ แก้ให้ เป็ นไปตาม
คำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

๒. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๑๓-๑๕๑๔/๒๕๕๗
เรื่อง เบี้ยเลี้ยง ค่าน้ำมัน ค่าโทรศัพท์ ค่าดูแลลูกค้า ค่าพาหนะ ต้องนำใบเสร็จมาแสดง
เงินดังกล่าวจึงเป็นเพียงค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน จึงไม่เป็นค่าจ้าง ค่าคอมมิชชั่น นายจ้างจ่ายเพื่อให้
พนักงานขายที่อยู่ในความดูแลของลูกจ้างทำยอดขายเพิ่ม จึงเป็นการจ่ายเพื่อจูงใจ ไม่เป็นค่าจ้าง
จำเลยจ้ างโจทก์ทั้ งสองเป็ น ลู กจ้าง ในการทำงานของโจทก์ทั้ งสอง หากเดิ นทางไปทำงานที่
ต่างจังหวัด โจทก์ทั้งสองได้รับเบี้ยเลี้ยง ค่าน้ำมัน ค่าโทรศัพท์ ค่าดูแลลูกค้า ตามที่จ่ายจริง โดยโจทก์ทั้งสอง
จะต้องนำใบเสร็จค่าใช้จ่ายมาแสดงต่อจำเลยและจำเลยจะจ่ายเงินคืนให้ตามใบเสร็จ เงินดังกล่าวจึงเป็นเพียง
ค่าใช้จ่ ายในการปฏิบั ติงานของโจทก์ หาใช่ค่าจ้างไม่ ส่วนค่าพาหนะจำเลยจ่ายให้ โจทก์ ทั้งสองเพื่ อชดเชย
กับการที่โจทก์ทั้งสองนำรถยนต์ส่วนตัวไปใช้ในการทำงาน หากไม่นำรถยนต์ส่วนตัวไปใช้ จำเลยก็ไม่จ่ายให้
ค่าพาหนะจึ งเป็ น เงิน ที่ จ ำเลยจ่ ายเพื่ อ ชดเชยกั บ การที่ โจทก์ ทั้ งสองนำรถยนต์ ส่ ว นตั ว ไปใช้ ในการทำงาน
ค่าพาหนะจึงไม่ใช่ค่าจ้าง ส่วนค่าคอมมิชชั่น จำเลยจ่ายให้เพื่อจูงใจให้ผลงานการขายเพิ่มขึ้น โดยคำนวณจาก
ยอดขายของพนักงานขายที่อยู่ในความดูแลของโจทก์ซึ่งแต่ละเดือนจะได้รับไม่เท่ากัน จึงไม่เป็นค่าจ้าง

๓. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๑๒๒/๒๕๕๕
เรื่ อง ค่ าพาหนะเหมาจ่ ายเดื อนละ ๗๐,๐๐๐ บาท ไม่ เป็ นค่ าจ้ างตามระเบี ยบคณะกรรมการ
รัฐวิสาหกิจสั มพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๓๔
โจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายกิจการพิเศษได้รับค่าจ้างเดือนละ ๑๑๖,๖๘๗ บาท
และค่ าพาหนะเหมาจ่ ายเดื อ นละ ๗๐,๐๐๐ บาท ซึ่ งเดิ ม โจทก์ ได้รับ ค่ าพาหนะเหมาจ่ายรายเดื อ นๆ ละ
๑๗,๘๓๐ บาท โดยจำเลยเป็ น ผู้ จัดหายานพาหนะและคนขับให้ แก่โจทก์ ต่อมารัฐบาลมีน โยบายที่จะลด
ค่าใช้จ่ายเกี่ย วกั บ พาหนะลง จำเลยเป็ น รัฐ วิส าหกิจจึงได้น ำนโยบายดังกล่ าวมาใช้บั งคับ และปรับ เปลี่ ยน
ค่ าพาหนะให้ แ ก่ โ จทก์ เดื อ นละ ๗๐,๐๐๐ บาท โดยโจทก์ จ ะต้ อ งจั ด หายานพาหนะและคนขั บ ตลอดจน
รับ ผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ย วข้องเอง จำเลยจ่ายเงินจำนวนนี้เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของโจทก์เ ป็นเพียง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๔๓ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานเท่านั้น แม้จะจ่ายเป็นประจำทุกเดือนโดยไม่ต้องนำหลักฐานมาแสดงเพื่อ เบิกจ่าย


ก็มิใช่เงินเดือนค่าจ้างตามความหมายของระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสั มพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์
ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๓๔

๔. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๙๖๗/๒๕๕๕
เรื่อง ค่าเช่าบ้าน ค่าพาหนะ ถือเป็นเงินที่เจตนามาแต่แรกที่จะให้เป็นสวัสดิการ แม้จะจ่าย
ให้เป็นประจำทุกเดือนโดยไม่มีเงื่อนไขว่าต้อ งนำเอกสารมาเบิกจ่ายก็ เป็นเพียงวิธีการจ่ายเงินในลัก ษณะ
เหมาจ่ายเพื่อความสะดวกในทางปฏิบัติ จึงไม่ใช่ค่าจ้าง
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างทำงานตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบุคคลและธุรการโดยตกลงจ่ายค่าเช่า
บ้านเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท และค่าพาหนะเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท ซึ่งจ่ายเป็นประจำทุกเดือน ข้อเท็จจริง
ปรากฏว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อ ๑ ระบุว่าตกลงจ่ายค่าจ้ างเดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท และสวัสดิการ
ค่าเช่าบ้านเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท ค่าเดินทางเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท...ซึ่งสอดคล้องกับประกาศรับสมัครที่
ประกาศรับสมัครตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคลและธุรการโดยระบุว่า มีสวัสดิการ เช่น ค่าเช่าบ้าน หอพัก
บริษัท รถรับส่งพนักงาน ค่าอาหาร ฯลฯ ในกรณีของโจทก์นั้นไม่ต้องการบ้านพักบริษัทก็จะช่วยเหลือเป็นค่าเช่า
เดือนละ ๑,๐๐๐ บาท บ้านพักที่บริษัทจัดให้พนักงานพักอาศัยมี ๘๐ ห้อง สำหรับพนักงานทั่วไปที่ไม่มีบ้านพัก
จะได้ ค่าเช่าเดือนละ ๕๐๐ บาท ผู้ บริ ห ารจะได้ เดื อนละ ๑,๐๐๐ บาท ดั งนั้ นจึ งเห็ นได้ ว่าการตกลงจ่ายเงิน
ดังกล่าวกันตามสัญ ญาจ้า งของโจทก์ กับ จำเลยมีเ จตนามาแต่แ รกที่ จ ะให้เ ป็น สวัส ดิก ารเพื่ อ ช่ว ยเหลื อ
พนัก งานนอกเหนือจากค่าจ้างที่กำหนดไว้เป็นเงินเดือน แม้ค่าเช่าบ้านและค่าพาหนะจำเลยจะจ่ายให้โจทก์
เป็ น ประจำทุก เดือ นโดยไม่มี เงื่อ นไขว่าต้องนำเอกสารหรือหลั กฐานมาเบิก จ่ายก็เป็ น เพี ยงวิธีก ารจ่ายเงิน
ในลักษณะเหมาจ่ายเพื่อความสะดวกในทางปฏิบัติ และมิได้แสดงว่าคู่สัญญาจะเปลี่ยนเจตนาให้สวัสดิการนั้น
กลายเป็ น ค่ าจ้ างทั้ งมิ ใช่ ก รณี ที่ น ายจ้ า งมี เจตนาหลี ก เลี่ ย งการจ่ ายค่ า จ้ า งโดยฝ่ า ฝื น กฎหมายแต่ อ ย่ างใด
เงินค่าเช่าบ้านและเงินค่าพาหนะจึงไม่ใช่ค่าจ้างตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑

๕. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๘๙๕/๒๕๕๕
เรื่อง ค่ าพาหนะเป็ น เงิน เพิ่ ม แก่ ลูกจ้า งเป็ น ครั้ งคราวตามลักษณะการทำงาน ไม่ใช่ จ่า ย
เพื่อตอบแทนการทำงาน จึงไม่ใช่ค่าจ้าง
เดิมจำเลยจ่ายค่าพาหนะให้โจทก์เมื่อไปปฏิบัติงานนอกสถานที่เป็นรายครั้งตามค่าใช้จ่ายที่โจทก์
เบิกจ่าย ต่อมาจำเลยเปลี่ยนแปลงโดยให้โจทก์รับค่าพาหนะเป็นการเหมาจ่ายรายเดือน ๆ ละ ๒,๐๐๐ บาท
ตามคำสั่งที่ ๑๒/๒๕๒๗ ระบุว่า การอนุมัติค่าพาหนะให้ แก่โจทก์ถือว่าเป็นการให้เฉพาะตำแหน่งที่ดำรงอยู่
ในขณะนั้นเท่านั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและลักษณะงานที่ไม่จำเป็นจะต้องได้รับค่าพาหนะ จำเลยมีสิทธิ
ยกเลิกเงินได้ค่าพาหนะนั้น แปลความได้ว่าจำเลยตกลงให้ค่าพาหนะแก่โจทก์ต่อเมื่อโจทก์มีตำแหน่งและลักษณะงาน
ที่ต้องเดินทางมิได้ให้ค่าพาหนะเป็นการถาวรตลอดไปมีการเปลี่ยนแปลงได้ กรณีจึงเป็นการที่นายจ้างให้ เงินเพิ่ม

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๔๔ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

แก่ลูกจ้างเป็น ครั้งคราวตามลักษณะการทำงาน มิได้ให้เพื่อตอบแทนการทำงานโดยตรงจึงไม่ถือเป็นค่าจ้าง


ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๔๕ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๘. ค่าตอบแทนตามผลงาน
เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ที่ ๓๔๐/๒๕๖๑
เรื่อง นายจ้ างประกอบกิจการนำเที่ยว ตกลงจ่ายเงินตอบแทนให้ลูกจ้างตามผลงานโดย
คำนวณตามจำนวนลูกค้าในอัต รา ๗ บาท ต่อลูกค้า ๑ คน ในแต่ละเดือน และอีกร้อยละ ๓ ของเงิน
จำนวนร้อยละ ๑ ของค่านายหน้าที่ร้านค้าส่งให้แก่นายจ้าง แม้จะเป็นการจูงใจให้ลูกจ้างเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการทำงาน แต่ ก็ เป็ น เงิน ที่ น ายจ้ า งตกลงจ่ า ยให้ แ ก่ ลู ก จ้ า งโดยคำนวณจากฐานจำนวนลู ก ค้ า และ
ค่านายหน้าที่ร้านค้าส่งให้ในอัตราส่วนแน่นอน มีกำหนดจ่ายทุกเดือน “ค่าตอบแทนตามผลงาน” จึงเป็น
ค่าจ้างตามมาตรา ๕ ซึ่งต้องนำมาคิดคำนวณค่าชดเชย
คดีนี้โจทก์ว่า จำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการนำเที่ยว แนะนำชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยว
ในประเทศไทย โจทก์ทำงานตำแหน่งฝ่ ายบัญชีและการเงิน ได้รับค่าจ้างเดือนละ ๓๕,๐๐๐ บาท และค่าจ้าง
ตามผลงานโดยคิดคำนวณตามจำนวนลู กค้าในอัตรา ๗ บาท ต่อลูกค้า ๑ คน กับได้รับร้อยละ ๓ ของเงิน
จำนวนร้อยละ ๑ ของค่านายหน้าที่ร้านค้าส่งให้แก่จำเลย ซึ่งจำเลยชำระเป็นเงินสดทุกวันที่ ๑๐ ของทุกเดือน
ต่อมาวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๙ จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้กระทำความผิด ขอบังคั บให้จำเลยจ่ายสินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยส่วนที่จ่ายไม่ครบเนื่องจากไม่นำค่าจ้างตามผลงานไปคำนวณ ค่าเสียหาย
จากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และอื่น ๆ พร้อมดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม จำเลยให้การว่าค่าจ้างจากฐานผลงานไม่ใช่
ค่ า จ้ า ง ศาลแรงงานกลางพิ พ ากษาให้ จ ำเลยจ่ า ยค่ า ชดเชย ค่ า เสี ย หายจากการเลิ ก จ้ า งที่ ไม่ เป็ น ธรรม
พร้อมดอกเบี้ย คำขออื่นให้ยก จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเห็นว่า เงินตอบแทนที่ลูกจ้างจะได้รับตามผลงานโดยคำนวณตาม
จำนวนลูกค้าในอัตรา ๗ บาท ต่ อลูกค้า ๑ คน ในแต่ละเดือน และอีกร้อยละ ๓ ของเงินจำนวนร้อยละ ๑
ของค่านายหน้าที่ร้านค้าส่งให้แก่จำเลย ซึ่งกำหนดจ่ายทุกเดือน แม้จะเป็นการจูงใจให้ลูกจ้างเพิ่มประสิทธิ ภาพ
ในการทำงาน แต่ก็เป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง โดยคำนวณจากฐานจำนวนลูกค้าและค่านายหน้า
ที่ร้านค้าส่งให้ในอัตราส่วนแน่นอน มีกำหนดจ่ายในวันที่กำหนดไว้ ในทุกเดือน จึงเป็นเงินที่จ่ายให้ลูกจ้างเพื่อ
เป็นค่าตอบแทนจากการทำงานคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ใ นเวลาปกติของการทำงาน ถือเป็นค่าจ้าง
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ ซึ่งต้องนำมาคิดคำนวณค่าชดเชย พิพากษายืน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๔๖ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๙. เบี้ยเลี้ยง
เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๓๐๐๗/๒๕๖๑
เรื่อง เบี้ยเลี้ยงวันละ ๑๘๐ บาท เฉพาะวันที่มาทำงาน แม้ลูกจ้างไม่ได้เบี้ ยเลี้ยงในวันหยุด
วัน ลา วันไม่มาทำงาน และได้รับเป็นรายเดือนไม่แ น่นอนก็ตาม แต่เบี้ยเลี้ยงเป็นเงิน ที่จำเลยจ่ายให้แก่
ลูกจ้างที่มาทำงานในเวลาปกติในอัตรารายวันแน่นอน โดยไม่ปรากฏว่าจะต้องปฏิบัติง านให้มีผลงานที่
เพิ่มขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้เห็นว่าเป็นเงินจูงใจให้ลูกจ้างขยันปฏิบัติงานและเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน
หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน “เบี้ยเลี้ยง” จึงเป็นค่าจ้าง , ค่าครองชีพ และค่าวิชาชีพ เป็นค่าจ้าง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการรับจ้างรักษาความปลอดภัย รับส่งทรัพย์สิน และเติมเงิน
ตู้เอทีเอ็ม จำเลยจ้างโจทก์เป็น ลูกจ้ างตำสุดท้ายเป็นหั วหน้าชุดสาขาสุราษฎร์ธานีมีหน้าที่ เติมเงินตู้เอทีเอ็ม
รับส่งทรัพย์สิน ได้รับค่าจ้างเดือนละ ๙,๖๙๕ บาท เบี้ยเลี้ยงวันละ ๑๘๐ บาท คิดเป็นเดือนละ ๕,๔๐๐ บาท
ค่าอาหารวัน ละ ๔๐ บาท คิดเป็ น เดือนละ ๑,๒๐๐ บาท ค่าครองชีพ เดือนละ ๗๐๐ บาท และค่าวิช าชีพ
เดือนละ ๘๐๐ บาท รวมรายได้ต่อเดือน ๑๗,๗๙๕ บาท ต่อมาวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘ จำเลยเลิกจ้างโจทก์
โดยโจทก์มิได้กระทำผิดตามที่กล่าวอ้าง ขอบั งคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่ าวล่วงหน้า
ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย ศาลแรงงานภาค ๘ พิจารณาแล้ว เห็นว่า จำเลยไม่มี
พยานหลักฐานยืนยันว่าโจทก์ เอาเงินในกล่องบรรจุธนบัตรไป ฟังไม่ได้ว่าทุจริต กระทำผิดอาญาโดยเจตนา
แก่จำเลย สำหรับเบี้ยเลี้ยงนั้นถือเป็นค่าจ้างซึ่งกำหนดให้เดือนละ ๔,๓๗๕ บาท เมื่อรวมค่าจ้างที่เป็นเงินเดือน
ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าครองชีพ และค่าวิชาชีพแล้ว โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ ๑๕,๕๗๐ บาท พิพากษา
ให้จำเลยชำระเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๓๗,๕๓๕ บาท พร้อมดอกเบี้ย คำขออื่น
ให้ยก จำเลยอุทธรณ์
ประเด็นว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงหรือไม่ ศาลฎีกา
เห็ น ว่า ศาลแรงงานภาค ๘ ได้ วินิ จ ฉัย ว่า ข้ อบั งคั บ เกี่ย วกั บ การทำงานของจำเลยระบุ ในลั กษณะกว้างๆ
เป็นการทั่วไป ไม่ได้ระบุว่าหากต้ องนำกล่องธนบัตรกลับคืนมาในกรณีเปลี่ยนกล่องธนบัตรไม่ได้นั้นมีขั้นตอน
การปฏิ บั ติ อย่ างไร เมื่อ โจทก์ไม่ส ามารถเปลี่ ย นกล่ องธนบั ตรได้จึงโทรศัพ ท์ ส อบถามเจ้าหน้ าที่ของจำเลย
เจ้ าหน้ าที่ผู้ ป ระสานงานของจำเลยให้ ห มายเลขโทรศัพท์ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผู้ ดูแลของธนาคาร เมื่อโจทก์
ติดต่อไปเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลของธนาคารแนะนำให้นำกล่องชุดที่นำไปเปลี่ยนและกล่องชุดที่นำออกจากตู้กลับมา
พร้อมกัน แสดงว่าโจทก์ในฐานะหั วหน้าชุดต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเอง จำเลยไม่สามารถยืนยัน
ได้ว่าบุ คคลใดเอาเงิน ของจำเลยไป และเงินหายไปในช่วงเวลาที่ไม่ได้ ล็อกซีล หรือไม่ กรณี ฟังไม่ได้ว่าเงินที่
สูญ หายเกิดจากความประมาทเลิน เล่ อของโจทก์ด้วย การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการฝ่ าฝืนข้อบังคับ ฯ
เห็นได้ว่าศาลแรงงานภาค ๘ ได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ไ ด้ประมาทเลินเล่อ ดังนี้ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ได้ใช้
ความระมัดระวังเกี่ยวกับ การล็อกซีลกล่องพิลิแกน จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน
ของศาลแรงงานภาค ๘ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๔๗ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ประเด็นว่าเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้างหรือไม่ เห็นว่า แม้ลูกจ้างไม่ได้เบี้ยเลี้ยงในวันหยุด วันลา วันไม่มา


ทำงาน และได้รับเป็ นรายเดือนไม่แน่นอนก็ตาม แต่เบี้ยเลี้ยงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่มาทำงานใน
เวลาปกติในอัตรารายวันแน่นอน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์จะต้องปฏิบัติงานให้มีผลงานที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้
เห็นว่าเป็นเงินจูงใจให้ลูกจ้างขยันปฏิบัติงานและเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ ปฏิบัติงาน หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการ
ปฏิบั ติงาน ดังนี้ เบี้ ยเลี้ย งที่จ ำเลยจ่ ายให้ แก่โจทก์จึงเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญ ญาจ้างสำหรั บ
ระยะเวลาการทำงานปกติอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ที่ศาลแรงงานภาค ๘ วินิจฉัยว่าเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้าง
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ จึงชอบแล้ว พิพากษายืน

๒. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๐๐๘/๒๕๖๑ (เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเป็นค่าจ้าง)


เรื่อง ลูกจ้างทำงานตำแหน่งพนักงานขายประจำเขตภาคอีสานตอนบน มิใช่อยู่ที่สำนักงาน
กรุงเทพแล้วส่งไปทำงานนอกสถานที่เป็นครั้งคราว นายจ้างจ่ายเบี้ยเลี้ ยงเหมาจ่ายเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท”
แม้จะกำหนดเงื่อนไขว่าลูกจ้างมาทำงานไม่ครบ ๑๐ วัน จะคำนวณเป็นวัน วันละ ๕๐๐ บาท หากทำครบ
๑๐ วั น นายจ้ า งจะจ่ า ยเบี้ ย เลี้ ย งไม่ เ กิ น ๕,๐๐๐ บาท อั น มี ลั ก ษณ ะเหมาจ่ า ยเท่ า กั น ทุ ก เดื อ น
ตลอดมา“เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย” จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ต้องนำมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างตำแหน่งพนักงานขาย ทำงานประจำอยู่ในเขตภาค
อีส านตอนบน ๑ จั งหวัด ได้ รั บ ค่าจ้ างอั ตราสุ ด ท้ ายเดือ นละ ๒๔,๐๐๐ บาท เบี้ ยเลี้ ย งเหมาจ่ายเดื อนละ
๕,๐๐๐ บาท รวมเป็นค่าจ้างเดือนละ ๒๔,๐๐๐ บาท ต่อมาจำเลยมีหนังสือเลิกจ้างให้มีผลวันที่ ๓๑ ธันวาคม
๒๕๕๘ อ้างต้องปรับ โครงสร้าง จำเลยจ่ ายค่าชดเชยและเงินอื่น ๆ ยังไม่ครบถ้ว น ขอบังคับให้ จำเลยจ่าย
ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่า
เบี้ ยเลี้ ย งไม่ใช่ค่าจ้าง ศาลแรงงานภาค ๔ พิ จารณาแล้ วพิพ ากษาให้ จำเลยจ่ ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการ
บอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจาการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย จำเลยอุทธรณ์
ศาลฎี ก าเห็ น ว่า คดี นี้ โจทก์ ท ำงานตำแหน่ งพนั ก งานขายประจำเขตภาคอี ส านตอนบน เช่ น
ขอนแก่น อุดรธานี...ลักษณะงานของโจทก์จึงเป็นการทำงานประจำที่เขตภาคอีสานตอนบน มิใช่ทำงานอยู่ที่
สำนักงานจำเลยที่กรุงเทพมหานครแล้วถูกส่งไปทำงานนอกสถานที่ประจำเป็นครั้งคราว ดังนั้น แม้ระเบียบของ
จำเลยระบุ ให้ จ่ายเบี้ ย เลี้ ยงวัน ละ ๕๐๐ บาท สู งสุ ดไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาทต่อเดื อน ลู กจ้างที่ท ำงานประจำ
สำนักงานจำเลยที่กรุงเทพฯ จะไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยงดังกล่าว การจ่ายเบี้ยเลี้ยงถ้าลูกจ้างมาทำงานไม่ครบ ๑๐ วัน
จะคำนวณเป็ น รายวัน วัน ละ ๕๐๐ บาท หากลูกจ้างมาทำงานครบ ๑๐ วัน จำเลยจะจ่ายเบี้ ยเลี้ยงไม่เกิน
๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน แต่เมื่อพิจารณารายการจ่ายเงินเอกสาร...แล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยจ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยง
ให้แก่โจทก์เดือนละ ๕,๐๐๐ บาท อันมีลักษณะเป็นการเหมาจ่ายเท่ากันทุกเดือนทั้ งที่โจทก์ประจำทำงานอยู่ที่
ต่างจังหวัดตลอดมา แม้กระทั่งในเดือนกันยายน ๒๕๕๘ ที่จำเลยได้ย้ายโจทก์เข้ามาทำงานประจำที่สำนักงาน
จำเลยที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ ๗ -๒๓ กันยายน ๒๕๕๘ แล้ว จำเลยก็ยังคงจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้โจทก์เป็นเงิน
สูงสุด ๕,๐๐๐ บาท โดยโจทก์ทำงานประจำที่ต่างจังหวัดเพียง ๕ วัน ตามรายการจ่ายเงิ น เงินค่าเบี้ยเลี้ยง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๔๘ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ที่จำเลยจ่ายจึงมีวัตถุประสงค์ในการจ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำงาน
ปกติ อั น เป็ น ส่ ว นหนึ่ งของค่ าจ้ างที่ จ ำเลยจ่ ายให้ แ ก่ โจทก์ เป็ น รายเดื อ น หาใช่ จ่า ยเพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ อั น เป็ น
สวัสดิการดังที่จำเลยอุทธรณ์ไม่

๓. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๕๐-๗๕๑/๒๕๕๔
เรื่อง เบี้ยเลี้ยง ค่าน้ำมันรถยนต์ ค่าสึกหรอรถยนต์ ค่าโทรศัพท์ เงินดังกล่าวนายจ้างจ่ายให้
ลูกจ้างประจำลักษณะเหมาจ่ายเป็น รายเดือน ไม่คำนึ งถึงว่าจะได้ใช้จ่ายเป็นค่าบำรุงรักษารถยนต์และ
ค่าโทรศัพท์ไปหรือไม่เพียงใด ไม่ต้องแสดงใบเสร็จ จึงเป็นค่าจ้าง (มาตรา ๕)
จำเลยจ่ ายเงิน ค่ า เบี้ ย เลี้ ย งและค่ า น้ ำ มั น รถยนต์ จำนวน ๕,๐๐๐ บาท ค่ า สึ ก หรอรถยนต์
๒,๐๐๐ บาท และค่าโทรศัพท์ ๑,๐๐๐ บาท รวม ๘,๐๐๐ บาท เงินดังกล่ าวจำเลยให้โจทก์ประจำลักษณะ
เหมาจ่ายเป็นรายเดือน ไม่คำนึงถึงว่าจะได้ใช้จ่ายเป็ นค่าบำรุงรักษารถยนต์และค่าโทรศัพท์ไปหรือไม่เพียงใด
โจทก์ ไม่ ต้ อ งแสดงใบเสร็ จ เป็ น หลั ก ฐานในการรั บ เงิน การจ่า ยเงิน ดั งกล่ า วจึ งเป็ น การจ่ ายเพื่ อ ตอบแทน
การทำงานของโจทก์ ในลั ก ษณะเดี ย วกั น กั บ ค่ า จ้ า ง จึ ง เป็ น ค่ า จ้ า งตามพระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕

๔. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๙๔๕/๒๕๕๔
เรื่อง เบี้ยเลี้ยงฝ่ายขายเดือนละ ๕๐,๐๐๐ บาท เป็นค่าจ้างตามมาตรา ๕
เดิมโจทก์ได้รับเงินส่วนแบ่งการขายอันเป็นเงินที่จำเลยกำหนดว่าหากมียอดขายเบียร์ในจังหวั ด
ท้องที่นั้นตั้งแต่หนึ่งแสนโหลขึ้นไปจะให้โหลละ ๒ บาท ในแต่ละเดือนได้รับเงิ นส่วนแบ่งการขายเท่าใด จะแบ่ง
ให้ ร้ อ ยละ ๒๕ เงิ น ส่ ว นแบ่ ง การขายโจทก์ จ ะได้ รั บ ไม่ แ น่ น อนในแต่ ล ะเดื อ น ต่ อ มาจำเลยได้ รั บ แต่ งตั้ ง
เป็นรักษาการผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด โจทก์ไม่ได้ เป็นฝ่ายขายจึงไม่ ได้รับเงินส่วนแบ่งการขายแต่จำเลย
ตกลงจ่ายเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงเดือนละ ๕๐,๐๐๐ บาท ให้แทนโดยจ่ายพร้อมเงินเดือน จำเลยจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้แก่
พนั กงานในระดับ เดี ยวกับ โจทก์ขณะที่อยู่ ฝ่ายตลาด เบี้ยเลี้ยงจึงเป็นเงินที่ จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ในจำนวน
แน่นอนเป็นประจำทุกเดือนและจ่ายให้เมื่อโจทก์ทำงานตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาด ไม่มีลักษณะ
การจ่ายให้เป็นสวัสดิการแก่โจทก์ เบี้ยเลี้ยงจึงเป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการ
ทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายเดือนถือเป็นค่าจ้าง
โจทก์ท ำงานในบริ ษั ท ต่าง ๆ ซึ่ งเป็ น นิติ บุ คคลจดทะเบี ยนแยกต่างหากจากกั น แม้ ข้อบั งคั บ
การทำงานจะถือว่าเป็ น ข้อตกลงเกี่ย วกับ สภาพการจ้างตามพระราชบัญ ญั ติแรงงานสั มพั นธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๑๐ วรรคสาม ก็ตาม แต่ก็มีผลใช้บังคับระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในแต่ละสถานประกอบกิจการเท่านั้น
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ ๑ จึงมีผลบังคับแก่โจทก์ในช่วงเวลาที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๑
เท่านั้น เมื่อโจทก์โอนมาเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๒ เป็นการโอนโดยเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่ง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๔๙ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

และพาณิ ช ย์ ม าตรา ๕๗๗ แม้ จ ะนั บ อายุ งานต่อ เนื่ องจากนายจ้างคนก่อ น แต่จ ำเลยที่ ๒ กับ โจทก์ มิได้ มี
ข้อตกลงเรื่องเกษียณอายุไว้เป็นประการอื่น จึงตกอยู่ในบังคับของข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ ๒
และการโอนดังกล่าวโจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านและทำงานกับจำเลยที่ ๒ เป็น เวลาถึง ๒ ปี ๙ เดือน ถือว่า
โจทก์ยินยอมพร้อมใจด้วยโดยปริยาย โจทก์ต้องยอมรับและปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย
ที่ ๒ ด้ว ย โจทก์ไม่อาจเรี ยกร้องให้ จำเลยที่ ๒ ปฏิบั ติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ ๑ ได้
แม้การโอนย้ายจะเป็นเหตุให้สิทธิในการเกษียณอายุงานของโจทก์ลดลงก็ตาม
การกำหนดเกษียณอายุก็เป็นเพียงการแจ้งให้ลูกจ้างทราบว่าเมื่อลูกจ้างมีอายุครบตามที่กำหนดไว้
นายจ้างจะไม่จ้างให้ทำงานอีกต่อไปด้วยเหตุชราภาพเท่านั้น หาใช่เป็นกำหนดระยะเวลาการจ้างที่ แน่นอนว่า
นายจ้างจะต้องจ้างลูกจ้างหรือลูกจ้างจะต้องทำงานให้แก่นายจ้างจนถึงกำหนดเกษียณอายุนั้ น นายจ้างหรือ
ลูกจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างก่อนกำหนดเกษียณอายุก็ได้หรือนายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกั นต่อไปหลังกำหนด
เกษียณอายุก็ได้ กำหนดเกษียณอายุจึงมิใช่สัญญาจ้างแรงงานที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน

๕. คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๓๘๗๙/๒๕๖๑


เรื่ อง เบี้ ย เลี้ ย งเหมาจ่ า ยพนั ก งานขายต่ า งจั งหวั ด วั น ละ ๕๐๐ บาท แต่ เดื อ นหนึ่ งจ่ า ย
ไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท หากลูกจ้ างเดิน ทางไปทำงานต่ างจังหวัดตั้งแต่ ๑๐ ครั้งขึ้น ไป จะได้รับเบี้ ยเลี้ยง
เดือนหนึ่งไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ถ้าเดินทางไปทำงานต่างจังหวัดไม่ถึง ๑๐ ครั้งต่อเดือน ก็จะไม่ได้รับเงิน
เบี้ยเลี้ยงดังกล่าวครบ ๕,๐๐๐ บาท เงินเบี้ยเลี้ยงการทำงานต่างจังหวัดนี้เป็น การจ่ายเงิน เพื่อจูงใจให้
ลูกจ้างทำงานมากขึ้นและเป็นสวัสดิการช่วยเหลือลูกจ้าง จึงไม่เป็นค่าจ้าง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ จำเลยจ้างโจทก์ทำงานเป็ นลูกจ้างจำเลยตำแหน่ง
พนักงานขาย ทำงานประจำในเขตภาคอีสานตอนบน ๑๐ จังหวัด ค่าจ้างเดือนละ ๒๕,๐๐๐ บาท เบี้ยเลี้ยง
เหมาจ่ายเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท รวมเป็นค่าจ้าง ๓๐,๐๐๐ บาท กำหนดจ่ายทุกสิ้นเดือน โจทก์ทำงานถึงวันที่
๓๑ ธั น วาคม ๒๕๕๘ จำเลยเลิ ก จ้ า งโจทก์ เป็ น หนั ง สื อ ฉบั บ วั น ที่ ๙ ธั น วาคม ๒๕๕๘ และจดหมาย
อิเล็กทรอนิกส์เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘ อ้างต้องปรับโครงสร้างภายในองค์กร แต่จำเลยจ่ายค่าชดเชย
สิ น จ้ างแทนการบอกกล่ าวไม่ ครบถ้ ว น เนื่ อ งจากไม่ น ำเบี้ ยเลี้ ย งมาคำนวณ แต่จ ำเลยใช้ ฐ านค่ าจ้ างอั ต รา
เดือนละ ๒๕,๐๐๐ บาท เท่านั้น ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นระยะเวลา
๑ ปี เป็นเงิน ๓๖๐,๐๐๐ บาท ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่จ่ายไม่ครบถ้วน จำเลยให้การว่า
เบี้ยเลี้ยงไม่ใช่ค่าจ้าง ศาลแรงงานภาค ๔ พิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท ค่าชดเชย
๕,๐๐๐ บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๕,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยอุทธรณ์
ประเด็น พิจ ารณาว่า เงิน เบี้ ยเลี้ ยงการทำงานต่างจังหวัดวันละ ๕๐๐ บาท แต่เดือนหนึ่งจ่าย
ไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท เป็นค่าจ้างหรือไม่ ศาลฎี กาเห็นว่า โจทก์ทำงานอยู่จังหวัดหนองคาย ถ้าโจทก์ไม่เดินทาง
ไปทำงานนอกเขตจังหวัดหนองคายแล้ ว โจทก์จะไม่ได้รับเงินค่าเบี้ยเลี้ ยงการทำงานต่างจังหวัด เมื่อโจทก์
เดินทางไปทำงานนอกเขตจังหวัดหนองคาย โจทก์จึงจะได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ ๕๐๐ บาท ถ้าเดินทางไปทำงาน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๕๐ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ต่างจังหวัดตั้งแต่ ๑๐ ครั้งขึ้นไป จะได้รับเบี้ยเลี้ยงเดือนหนึ่งไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท เท่านั้น ถ้าเดินทางไปทำงาน


ต่างจั งหวัดไม่ถึง ๑๐ ครั้ง ต่อเดือน ก็จ ะไม่ได้รับเงินเบี้ยเลี้ ยงดังกล่ าวครบ ๕,๐๐๐ บาท ดังนี้ การจ่ายเงิน
ค่าเบี้ยเลี้ยงการทำงานต่างจังหวัดเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท เป็น การจ่ายนอกเหนือจากเงินค่าจ้าง โดยโจทก์ต้อง
เดินทางไปทำงานต่างจังหวัดมากขึ้นกว่ามาตรฐานปกติที่จำเลยนายจ้างวางหลักเกณฑ์ไว้ อัน เป็นการจ่ายเงิน
เพื่อจูงใจให้โจทก์ลูกจ้างทำงานมากขึ้น ให้ดีมีประสิท ธิภาพ และเป็นสวัสดิการช่วยเหลือลูกจ้าง ไม่ถือเป็นการ
จ่ายเงินเพื่อตอบแทนการทำงานตามปกติ เงินเบี้ยเลี้ยงการทำงานต่างจังหวัดจึงไม่ เป็นค่าจ้าง พิพากษาแก้
เป็นว่า จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างค้างจ่าย พร้อมดอกเบี้ย
นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานภาค ๔

๖. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๐๘๐/๒๕๕๗
เรื ่อ ง เบี้ย เลี้ย งพนั กงานขับ รถขนส่ งสิน ค้ า เป็ น ค่า ตอบแทนการทำงานล่ว งเวลาในวั น
ทำงานปกติและวันหยุด
เงินเบี้ยเลี้ยงที่นายจ้างจ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานล่วงเวลาในวัน ทำงานและ
วัน หยุ ด ซึ่งจะมีการทดรองจ่ ายล่ว งหน้ าบางส่ว นแล้ วนำส่ วนที่ ทดรองจ่ายไปก่อนมาหั กออกจากเบี้ ยเลี้ ยง
ที่พนักงานขับรถแต่ละคนมีสิ ทธิจะได้รับ ซึ่งเมื่อจำเลยจ่ายเบี้ ยเลี้ยงแก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงไม่ต้อง
จ่ายเงินให้แก่โจทก์อีก

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๕๑ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๑๐. ค่าครองชีพ
เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๓๐๐๗/๒๕๖๑ (ค่าครองชีพ)
เรื่อง เบี้ยเลี้ยงวันละ ๑๘๐ บาท เฉพาะวันที่มาทำงาน แม้ลูกจ้างไม่ไ ด้เบี้ยเลี้ยงในวันหยุด
วัน ลา วันไม่มาทำงาน และได้รับเป็นรายเดือนไม่แ น่นอนก็ตาม แต่เบี้ยเลี้ยงเป็นเงิน ที่จำเลยจ่ายให้แก่
ลูกจ้างที่มาทำงานในเวลาปกติในอัตรารายวันแน่นอน โดยไม่ปรากฏว่าจะต้องปฏิบัติง านให้มีผลงานที่
เพิ่มขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้เห็นว่าเป็นเงินจูงใจให้ลูกจ้างขยันปฏิบัติงานและเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน
หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน “เบี้ยเลี้ยง” จึงค่าจ้าง , ค่าครองชีพ และค่าวิชาชีพ เป็นค่าจ้าง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการรับจ้างรักษาความปลอดภัย รับส่งทรัพย์สิน และเติมเงิน
ตู้เอทีเอ็ม จำเลยจ้างโจทก์เป็น ลูกจ้างตำสุดท้ายเป็นหั วหน้าชุดสาขาสุราษฎร์ธานีมีหน้าที่ เติมเงินตู้เอทีเอ็ม
รับส่งทรัพย์สิน ได้รับค่าจ้างเดือนละ ๙,๖๙๕ บาท เบี้ยเลี้ยงวันละ ๑๘๐ บาท คิดเป็นเดือนละ ๕,๔๐๐ บาท
ค่าอาหารวัน ละ ๔๐ บาท คิ ดเป็ น เดือนละ ๑,๒๐๐ บาท ค่าครองชีพ เดือนละ๗๐๐ บาท และค่ าวิช าชี พ
เดือนละ ๘๐๐ บาท รวมรายได้ต่อเดือน ๑๗,๗๙๕ บาท ต่อมาวั นที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘ จำเลยเลิกจ้างโจทก์
โดยโจทก์มิได้กระทำผิดตามที่กล่าวอ้าง ขอบัง คับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่ าวล่วงหน้า
ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ ย ศาลแรงงานภาค ๘ พิจารณาแล้ว เห็นว่า จำเลยไม่มี
พยานหลักฐานยืนยันว่าโจทก์ เอาเงินในกล่องบรรจุธนบัตรไป ฟังไม่ได้ว่าทุจริต กระทำผิดอาญาโดยเจตนา
แก่จำเลย สำหรับเบี้ยเลี้ยงนั้นถือเป็นค่าจ้างซึ่งกำหนดให้เดือนละ ๔,๓๗๕ บาท เมื่อรวมค่าจ้างที่เป็นเงินเดือน
ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าครองชีพ และค่าวิชาชีพแล้ว โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ ๑๕,๕๗๐ บาท พิพากษา
ให้จำเลยชำระเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๓๗,๕๓๕ บาท พร้อมดอกเบี้ย คำขออื่น
ให้ยก จำเลยอุทธรณ์
ประเด็นว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงหรือไม่ ศาลฎีกา
เห็ น ว่า ศาลแรงงานภาค ๘ ได้ วินิ จ ฉัย ว่า ข้ อบั งคั บ เกี่ย วกั บ การทำงานของจำเลยระบุ ในลั กษณะกว้างๆ
เป็นการทั่วไป ไม่ได้ระบุว่าหากต้อ งนำกล่องธนบัตรกลับคืนมาในกรณีเปลี่ยนกล่องธนบัตรไม่ได้นั้นมีขั้นตอน
การปฏิ บั ติ อย่ างไร เมื่อ โจทก์ไม่ส ามารถเปลี่ ย นกล่ องธนบั ตรได้จึงโทรศัพ ท์ ส อบถามเจ้าหน้าที่ของจำเลย
เจ้ าหน้ าที่ผู้ ป ระสานงานของจำเลยให้ ห มายเลขโทรศัพท์ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผู้ ดูแลของธนาคาร เมื่อโจทก์
ติดต่อไปเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลของธนาคารแนะนำให้นำกล่องชุดที่นำไปเปลี่ยนและกล่องชุดที่นำออกจากตู้กลับมา
พร้อมกัน แสดงว่าโจทก์ในฐานะหัวหน้าชุดต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเอง จำเลยไม่สามารถยืนยัน
ได้ว่าบุ คคลใดเอาเงิน ของจำเลยไป และเงินหายไปในช่วงเวลาที่ไม่ได้ล็ อกซีล หรือไม่ กรณี ฟังไม่ได้ว่าเงินที่
สูญ หายเกิดจากความประมาทเลิน เล่ อของโจทก์ด้วย การกระทำของโจทก์จึงไม่ เป็น การฝ่ าฝืนข้อบังคับ ฯ
เห็นได้ว่าศาลแรงงานภาค ๘ ได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ไ ด้ประมาทเลินเล่อ ดังนี้ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ได้ใช้
ความระมัดระวังเกี่ยวกับการล็อกซีลกล่องพิลิแกน จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน
ของศาลแรงงานภาค ๘ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๕๒ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ประเด็นว่าเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้างหรือไม่ เห็นว่า แม้ลูกจ้างไม่ได้เบี้ยเลี้ยงในวันหยุด วันลา วันไม่มา


ทำงาน และได้รับเป็น รายเดือนไม่แน่น อนก็ตาม แต่เบี้ยเลี้ยงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่มาทำงานใน
เวลาปกติในอัตรารายวันแน่นอน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์จะต้องปฏิบัติงานให้มีผลงานที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้
เห็นว่าเป็นเงินจูงใจให้ลูกจ้างขยันปฏิบัติงานและเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ป ฏิบัติงาน หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการ
ปฏิบั ติงาน ดังนี้ เบี้ ยเลี้ย งที่จ ำเลยจ่ ายให้ แก่โจทก์จึงเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญ ญาจ้างสำหรับ
ระยะเวลาการทำงานปกติอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ที่ศาลแรงงานภาค ๘ วินิจฉัยว่าเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้าง
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ จึงชอบแล้ว พิพากษายืน

๒. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๙๕๐๒-๑๙๙๖๖/๒๕๕๖ (ค่าครองชีพ ค่าระดับงาน)


เรื่อง ค่าครองชีพ ค่าระดับงาน เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายตอบแทนการทำงานของลูกจ้างโดย
จะจ่ายมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่เนื้อหาหรือคุณค่าของงานที่ทำ จึงเป็นค่าจ้าง
โจทก์กับพวกรวม ๔๖๕ คน เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน AAA ฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยจ่าย
สวัสดิการค่าครองชีพ และค่าระดับงานตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับลงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน
๒๕๔๔ และค่าทำงานนอกเหนื อเวลาทำงานปกติที่ขาดหายไปจากการไม่นำค่าครองชีพและค่าระดับงาน
มาเป็ น ฐานคำนวณ จำเลยให้ การว่าได้ จ่ ายค่ าครองชีพ และค่ าระดั บงานโดยมี วัตถุป ระสงค์เ พื่ อตอบแทน
การทำงาน จ่ายเป็นประจำแน่นอน รวมทั้งนำไปเป็นฐานหักเงินส่งประกันสังคม ศาลแรงงานกลางพิจารณา
แล้วเห็นว่า ค่าครองชีพ และค่าระดับงานเป็นค่าจ้าง เมื่อรวมเงินทั้งสองประเภทเข้ากับเงินเดือนแล้วมากกว่า
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โจทก์กับพวกจึงมิอาจเรียกค่าจ้างเพิ่มได้อีก พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์
ศาลฎีกามีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า ค่าครองชีพและค่าระดับงานเป็นค่าจ้างหรือไม่ เห็นว่า จำเลย
และสหภาพแรงงานยอมรับกันมาตั้งแต่หลักเกณฑ์การจ่ายค่าครองชี พเดิมก่อนมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพ
การจ้างแล้วว่า “ค่าครองชีพ” ต้องนำมารวมเป็นฐานคำนวณค่าล่วงเวลา กล่าวคือถือว่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่ง
ของค่าจ้างนั่นเอง ต่อมาจำเลยและสหภาพแรงงานทำบันทึ กข้อตกลงกันก็ยังระบุในข้อตกลงว่าจำเลยตกลง
ปรับค่าครองชีพเป็น ๒,๒๐๐ บาท ตามหลักเกณฑ์เดิมของจำเลย ซึ่งหมายความว่ายังคงถือว่าค่าครองชีพเป็น
ส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่ต้องรวมเป็นฐานในการคำนวณค่าล่วงเวลาเหมือนเดิม สำหรับค่าระดับงานนั้น บันทึก
ข้อตกลงกำหนดค่าระดับ งานโดยพิจารณาจากปัจจัย ๔ ประการ ได้แก่ความรู้ในการทำงาน ปริมาณและ
รูปแบบในการทำงาน การตัดสินใจ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งงานแต่ละงานจะมีค่ างานที่แตกต่าง
กัน แต่ไม่เกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงานหรืออายุงานของพนักงานคนนั้นถ้าเนื้อหาหรือคุณค่าของงานไม่
เปลี่ยน ระดับงานก็ไม่เปลี่ยน “ค่าระดับงาน” จึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายตอบแทนการทำงานของลูกจ้างโดยจะ
จ่ายมากน้ อยเพียงใดขึ้น อยู่เนื้ อหาหรือคุณ ค่าของงานที่ ทำ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอื่นว่ าค่าครองชีพและ
ค่าระดับงานไม่ชาเงินที่จำเลยจ่ายตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ ของพนักงาน ดังนั้น
ค่าครองชีพและค่าระดับงานจึงถือเป็นค่าจ้างตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๕๓ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๑๑. ค่าวิชาชีพ
เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๓๐๐๗/๒๕๖๑ (ค่าวิชาชีพ)
เรื่อง เบี้ยเลี้ยงวันละ ๑๘๐ บาท เฉพาะวันที่มาทำงาน แม้ลูกจ้างไม่ได้เบี้ ยเลี้ยงในวันหยุด
วัน ลา วันไม่มาทำงาน และได้รับเป็นรายเดือนไม่แ น่นอนก็ตาม แต่เบี้ยเลี้ยงเป็นเงิน ที่จำเลยจ่ายให้แก่
ลูกจ้างที่มาทำงานในเวลาปกติในอัตรารายวันแน่นอน โดยไม่ปรากฏว่าจะต้องปฏิบัติงานให้มีผลงานที่
เพิ่มขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้เห็นว่าเป็นเงินจูงใจให้ลูกจ้างขยันปฏิบัติงานและเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน
หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน “เบี้ยเลี้ยง” จึงค่าจ้าง , ค่าครองชีพ และค่าวิชาชีพ เป็นค่าจ้าง
คดีนี้โจทก์ฟอ้ งว่า จำเลยประกอบกิจการรับจ้างรักษาความปลอดภัย รับส่งทรัพย์สิน และเติมเงิน
ตู้เอทีเอ็ม จำเลยจ้างโจทก์เป็น ลูกจ้ างตำสุดท้ายเป็นหั วหน้าชุดสาขาสุราษฎร์ธานีมีหน้าที่ เติมเงินตู้เอทีเอ็ม
รับส่งทรัพย์สิน ได้รับค่าจ้างเดือนละ ๙,๖๙๕ บาท เบี้ยเลี้ยงวันละ ๑๘๐ บาท คิ ดเป็นเดือนละ ๕,๔๐๐ บาท
ค่าอาหารวัน ละ ๔๐ บาท คิ ดเป็ น เดือนละ ๑,๒๐๐ บาท ค่าครองชีพ เดือนละ๗๐๐ บาท และค่ าวิ ช าชี พ
เดือนละ ๘๐๐ บาท รวมรายได้ต่อเดือน ๑๗,๗๙๕ บาท ต่อมาวั นที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘ จำเลยเลิกจ้างโจทก์
โดยโจทก์มิได้กระทำผิดตามที่กล่าวอ้าง ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย ศาลแรงงานภาค ๘ พิจารณาแล้ว เห็นว่า จำเลยไม่มี
พยานหลักฐานยืนยันว่าโจทก์ เอาเงินในกล่องบรรจุธนบัตรไป ฟังไม่ได้ว่าทุจริต กระทำผิดอาญาโดยเจตนา
แก่จำเลย สำหรับเบี้ยเลี้ยงนั้นถือเป็นค่าจ้างซึ่งกำหนดให้เดือนละ ๔,๓๗๕ บาท เมื่อรวมค่าจ้างที่เป็นเงินเดือน
ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าครองชีพ และค่าวิชาชีพแล้ว โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ ๑๕,๕๗๐ บาท พิพากษา
ให้จำเลยชำระเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๓๗,๕๓๕ บาท พร้อมดอกเบี้ย คำขออื่น
ให้ยก จำเลยอุทธรณ์
ประเด็นว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงหรือไม่ ศาลฎีกา
เห็ น ว่า ศาลแรงงานภาค ๘ ได้ วินิ จ ฉัย ว่า ข้ อบั งคั บ เกี่ย วกั บ การทำงานของจำเลยระบุ ในลั กษณะกว้างๆ
เป็นการทั่วไป ไม่ได้ระบุว่าหากต้องนำกล่องธนบัตรกลับคืนมาในกรณีเปลี่ยนกล่องธนบัตรไม่ได้นั้นมีขั้นตอน
การปฏิ บั ติ อย่ างไร เมื่อ โจทก์ไม่ส ามารถเปลี่ ย นกล่ องธนบั ตรได้จึงโทรศัพ ท์ ส อบถามเจ้าหน้าที่ของจำเลย
เจ้ าหน้ าที่ผู้ ป ระสานงานของจำเลยให้ ห มายเลขโทรศัพท์ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผู้ ดูแลของธนาคาร เมื่อโจทก์
ติดต่อไปเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลของธนาคารแนะนำให้นำกล่องชุดที่นำไปเปลี่ยนและกล่องชุดที่นำออกจากตู้กลับมา
พร้อมกัน แสดงว่าโจทก์ในฐานะหัวหน้าชุดต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเอง จำเลยไม่สามารถยืนยัน
ได้ว่าบุ คคลใดเอาเงิน ของจำเลยไป และเงินหายไปในช่วงเวลาที่ไม่ได้ล็อกซีล หรือไม่ กรณี ฟังไม่ได้ ว่าเงินที่
สูญ หายเกิดจากความประมาทเลิน เล่ อของโจทก์ด้วย การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการฝ่ าฝืนข้ อบังคับ ฯ
เห็นได้ว่าศาลแรงงานภาค ๘ ได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ไ ด้ประมาทเลินเล่อ ดังนี้ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ได้ใช้
ความระมัดระวังเกี่ยวกับการล็อกซีลกล่องพิ ลิแกน จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน
ของศาลแรงงานภาค ๘ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๕๔ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ประเด็นว่าเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้างหรือไม่ เห็นว่า แม้ลูกจ้างไม่ได้เบี้ยเลี้ยงในวันหยุด วันลา วันไม่มา


ทำงาน และได้รับเป็นรายเดือนไม่แน่น อนก็ตาม แต่เบี้ยเลี้ยงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่มาทำงานใน
เวลาปกติในอัตรารายวันแน่นอน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์จะต้องปฏิบัติงานให้มีผลงานที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้
เห็นว่าเป็นเงินจูงใจให้ลูกจ้างขยันปฏิบัติงานและเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการ
ปฏิบั ติงาน ดังนี้ เบี้ ยเลี้ย งที่จ ำเลยจ่ ายให้ แก่โจทก์จึงเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญ ญาจ้างสำหรั บ
ระยะเวลาการทำงานปกติอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ที่ศาลแรงงานภาค ๘ วินิจฉัยว่าเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้าง
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ จึงชอบแล้ว พิพากษายืน

๒. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๙๔๔๖ – ๑๙๔๗๘/๒๕๕๗ (เงินเพิ่มค่าวิชาชีพ)


เรื่อง เงิน ประจำตำแหน่งผู้บริห าร เงิน เพิ่ มค่าวิชาชีพ เงิน ค่าใบอนุญ าตพนักงานควบคุม
การจราจรทางอากาศ เป็นค่าจ้าง ส่วนเงินรางวัลพิเศษประจำปี ค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดรถยนต์
ประจำตำแหน่ง ไม่เป็นค่าจ้าง ตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้น
ต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ
คดีนี้โจทก์ทั้ง ๓๓ คน ฟ้องว่าโจทก์กับพวกเป็นลูกจ้างจำเลย จนกระทั่งเกษียณอายุการทำงาน
จำเลยจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานไม่ครบถ้วน ศาลแรงงานกลางพิ จารณาแล้ว เห็นว่าเงิน
ประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มพิเศษเนื่องจากเงินเดือนเต็มขั้น เงินเพิ่มค่าวิชาชีพและเงิ นเพิ่มค่าใบอนุญาตพนักงาน
ควบคุมจราจรทางอากาศ เงินรางวัลพิเศษประจำปี เงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถยนต์ประจำ
ตำแหน่ ง เป็ น ค่ าจ้ า งที่ ต้ อ งนำมาเป็ น ฐานในการคำนวณเงิน เพื่ อ ตอบแทนความชอบในการทำงานเมื่ อ
เกษียณอายุ พิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานที่ขาดไปให้แก่โจทก์กับพวกโจทก์
ที่ ๑๖ และจำเลยอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นว่า ตามประกาศฯ ข้อ ๔ บั ญญัติว่า “ค่าจ้าง” หมายความว่าเงินทุก
ประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ ไม่ว่าจะคำนวณตาม
ระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างใน
วัน หยุดและวัน ลาซึ่งลูกจ้ างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดและโดย
วิธีการใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร สาระสำคัญของค่าจ้างจึงต้องเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็น
ค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ ดังนั้น เงิน เพิ่มประจำตำแหน่งผู้บริหาร เงินเพิ่มค่าวิชาชีพ
เงินค่าใบอนุญาตพนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศ แม้จะจ่ายแยกต่างหากจากเงินเดือนพื้นฐานแต่เป็น
การจ่ายในลักษณะเดียวกับเงินเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติในตำแหน่งนั้นๆจึงเป็น
ค่าจ้าง เช่นเดียวกับเงินเพิ่มพิเศษเนื่องจากเงินเดือนเต็มขั้นร้อยละ ๓.๕ ซึ่งแม้จะเป็นเงินที่เกิดจากการตกลงกัน
ระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจวิทยุการบินแห่งประเทศไทย แต่เนื่องจากเงินดังกล่าวมีลักษณะ
เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่ อตอบแทนการทำงานปกติในวันทำงานของลูกจ้างจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของ
ค่าจ้าง ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษามาจึงชอบแล้ว

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๕๕ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

สำหรับเงินรางวัลพิเศษประจำปีนั้น จำเลยได้กำหนดเงินรางวัลพิเศษประจำปีไว้ล่วงหน้า แม้ไม่มี


กำไรก็จ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยเรียกเก็บจากผู้ถือหุ้นเพื่อจ่ายแก่ลู กจ้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่
ลูกจ้างเนื่องจากได้ทุ่มเทอุทิศเวลาทำงานให้แก่นายจ้างด้ วยความขยันขันแข็งตลอดเวลาที่ผ่านมา การจ่ายเงิน
รางวัลเช่นนี้จึงเป็นเรื่องของการวางแผนการเงินและการลงทุนของนายจ้างในระยะยาว จริงอยู่ในการบริหาร
กิจการเชิงธุรกิจผู้บริหารที่มีความรับผิดชอบต่อผู้ลงทุนย่อมจะไม่ยินยอมจ่ายเงินรางวัลพิเศษให้แก่ลูกจ้างหาก
ไม่มีกำไรเพื่อรักษาดุลยภาพทางการเงินของกิจการไว้ให้มั่นคงและไม่เพิ่มความเสี่ยงให้แก่กิจการนั้นก็ตามแต่
การที่ผู้บริหารยินยอมจ่ายเงินรางวัลแก่ลูกจ้างทั้งที่ไม่มีกำไรอาจมีเหตุผลอื่น กรณีนี้ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเงิน
รางวัลพิเศษดังกล่าวจะกลายเป็นค่าตอบแทนการทำงานในเวลาปกติหรื อเป็นค่าจ้าง ดังนั้น เงินรางวัลพิเศษ
ประจำปี จึงไม่เป็นค่าจ้าง สำหรับ ค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถยนต์ประจำตำแหน่ง แม้จะมีวิธีการ
จ่ายเงินจำนวนคงที่แน่นอนทุกสิ้นเดือนพร้อมเงินเดือน แต่เงินดังกล่ าวมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสวัสดิการในด้าน
การคมนาคมให้แก่ลูกจ้างในระดับสูงเพื่อความสะดวกในการปฏิ บัติหน้าที่และเหมาะสมกับตำแหน่ง มิได้มี
วัตถุประสงค์จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานโดยตรง เหตุผลที่จำเลยเปลี่ยนจากการจัดหารถยนต์พร้อ มคนขับ
และการดูแลซ่อมบำรุงรถมาเป็นการเหมาจ่ายเป็นเงินจำนวนแน่นอน ก็เป็นวิธีการบริหารจัดการงบประมาณ
หรือต้นทุนของจำเลยในส่ วนนี้เพื่อให้ ส ามารถกำหนดได้แน่นอนไม่ผั นแปรในลักษณะที่ควบคุมได้ยาก เงิน
ค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถยนต์ประจำตำแหน่ง จึงมิใช่ค่าจ้าง
พิพากษาแก้เป็น จำเลยไม่ต้องนำดังนั้น เงินรางวัลพิเศษประจำปี และค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทน
การจัดหารถยนต์ประจำตำแหน่ง มาเป็นฐานคำนวณค่าตอบแทนความชอบในการทำงาน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๕๖ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๑๒. ค่าสวัสดิการ
เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๖๕๖/๒๕๖๑
เรื่อง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล ได้รับ “ค่าสวัสดิการ” ได้แก่ ค่าเดินทาง ค่าที่พักอาศัย ค่าอาหาร
และอื่น ๆ เดือนละ ๙,๐๔๐ บาท เท่ากั น ทุกเดือน ไม่ต้องนำใบเสร็จหรือหลักฐานมาแสดง สัญญาจ้าง
ก็ไม่ได้ระบุว่าหยุดงานหรือไม่มาทำงานจะไม่ได้รับ “ค่าสวัสดิการ” จึงเป็นค่าจ้างที่ ต้องนำมาคำนวณฯ
ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คดีนี้โจทก์ว่า วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๘ จำเลยจ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่าย
บุคคล (สัญญามีกำหนดเวลาการจ้าง) ค่าจ้างเดือนละ ๔๕,๐๐๐ บาท และมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเดือนละ
๒,๐๐๐ บาท ค่าน้ำมันรถเดือนละ ๓,๐๐๐ บาท ค่าอาหารเดือนละ ๑,๕๐๐ บาท และค่าใช้จ่ายอื่นเดือนละ
๒,๕๔๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๕๔,๐๔๐ บาท ต่อมาวันที่ ๒๕ ธัน วาคม ๒๕๕๘ จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์และ
จ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโดยคำนวณจากฐานค่าจ้างเดือนละ ๔๕,๐๐๐ บาท ซึ่งโจทก์
เห็นว่าไม่ถูกต้อง จำเลยต้องใช้ฐานค่าจ้าง ๕๔,๐๔๐ บาท มาคำนวณ การเลิกจ้างของโจทก์ไม่เป็นธรรมทำให้
โจทก์ได้รับความเสียหายตามระยะเวลาของสัญญาโครงการที่เหลือ ๘ เดือน ขอบัง คับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย
๙,๐๔๐ บาท สิ น จ้ า งแทนการบอกกล่ า วล่ ว ง ๙,๐๔๐ ค่ า เสี ย หายจากการเลิ ก จ้ า งที่ ไ ม่ เ ป็ น ธรรม
๔๓๒,๓๒๐ บาท ศาลแรงงานภาค ๓ พิ จารณาแล้ วพิ พากษาให้ จำเลยชำระค่าเสี ยหายจากการเลิ กจ้างที่
ไม่เป็นธรรม ๕๔,๐๔๐ บาท ค่าชดเชย ๙,๐๔๐ บาท และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๙,๐๔๐ บาท
รวมเงิน ๗๒,๑๒๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยอุทธรณ์
ประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ค่าสวัสดิการเดือนละ ๙,๐๔๐ บาท ได้แก่ ค่าเดินทาง ค่าที่พักอาศัย
ค่าอาหาร และอื่น ๆ นั้นไม่ได้จ่ายในลั กษณะเหมาจ่าย ไม่ได้จ่ายเป็น จำนวนเท่ากันทุกเดือน จำเลยจะอนุมัติ
จ่ายค่าสวัสดิการโดยพิจารณาว่าลูก จ้างมาทำงานหรือไม่ หาลาหรือไม่มาทำงานก็ไม่ได้ค่าสวัสดิการ โดยจะหัก
ค่าสวัสดิการออกตามส่วน ค่าสวัสดิการจึงไม่เป็นค่าจ้าง ศาลฎีกาเห็ นว่า จำเลยจ่ายค่าสวัสดิก ารแก่โจทก์
เท่ากันทุกเดือน โดยโจทก์ไม่ต้องนำใบเสร็จรับเงินรับเงินหรือหลักฐานมาแสดง และสัญญาจ้างไม่มีข้อความใด
ระบุว่าหากโจทก์หยุดงานหรือไม่มาทำงาน โจทก์จะไม่ได้รับค่าสวัสดิ การหรือจำเลยต้องเห็นสมควรในการจ่าย
ค่าสวัสดิการจึงเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้าง จึงเป็นค่าจ้ าง อุทธรณ์
ของจำเลยเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานภาค ๓ เพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย
ว่าเงินดังกล่าวไม่เป็นค่าจ้าง เป็ นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธี
พิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พิพากษายกอุทธรณ์
ของจำเลย

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๕๗ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๑๓. ค่าตำแหน่ง
เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๙๕๒/๒๕๖๑ (ค่าตำแหน่ง)
เรื่อง ค่าตำแหน่งเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท ค่าอายุงาน ๑,๕๐๐ บาท ค่าเช่า บ้าน ๓๐๐ บาท
ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีลักษณะเป็นสวัสดิการ จึงเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชย
, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ใช่เงินตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง จึงต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕
ต่อปี
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยรับ โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้ างตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้ จัดการโรงงาน
ค่าจ้างเดือนละ ๕๗,๕๕๐ บาท วั น ที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓ จำเลยเลิ กจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิ ด
ขอบั ง คั บ ให้ จ ำเลยจ่ า ยค่ า ชดเชย สิ น จ้ า งแทนการบอกกล่ า วล่ ว งหน้ า ค่ า จ้ า งวั น หยุ ด พั ก ผ่ อนประจำปี
ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย ศาลแรงงานภาค ๒ พิพากษาให้จำเลยชำระค่าชดเชย
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๔๕๘,๔๘๑.๖๖ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ
๑๕ ต่อปี และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ๑๐๐ บาท คำขออื่นยก จำเลยอุทธรณ์
ศาลฎีกาเห็ น ว่า โจทก์ได้รับ เงินเดือน ๕๔,๐๐๐ บาท ค่าตำแหน่ ง ๑,๐๐๐ บาท ค่าอายุงาน
๑,๕๐๐ บาท ค่าเช่าบ้าน ๓๐๐ บาท โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเงินค่าตำแหน่ง ค่าอายุงาน และค่าเช่าบ้าน
ดังกล่าวเป็น เงินในลักษณะสวัสดิการ ดังนั้นที่ศาลแรงงานภาค ๒ ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้รับค่าจ้างอัตรา
สุดท้ายเดือนละ ๕๗,๕๕๐ บาท อันเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยจึงถูกต้องแล้ว ส่วนสินจ้างแทนการบอก
กล่าวล่วงหน้า มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างทันทีโดยไม่ต้องทวงถามและมิใช่หนี้เงินที่นายจ้าง
ต้องเสียดอกเบี้ ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ ๑๕ ต่อปี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลแรงงานภาค ๒ ในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้
อุทธรณ์ขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
ตามประมวลกฎหมายวิ ธีพิ จ ารณาความแพ่ ง มาตรา ๑๔๒ (๕) , ๒๔๖ ประกอบพระราชบั ญ ญั ติ จั ด ตั้ ง
ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ จึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยกำหนดให้
จำเลยเสีย ดอกเบี้ ยในระหว่างเวลาผิ ดนั ดอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ช ย์
มาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่ง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๕๘ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๒. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๔๗๕๖/๒๕๖๑ (ผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์)


เรื่ อง สหกรณ์ จ้ างผู้ จั ดการมี กำหนดเวลาการจ้ าง ๒ ปี เมื่ อครบสัญญามีการต่ ออีก ๒ ฉบั บ
รวมระยะเวลาทั้งหมด ๔ ปี ๑๐ เดือน และตามสัญญากำหนดให้ให้สิทธิแก่คู่สัญญาในการเลิกสัญญาจ้า ง
ก่อนได้โดยการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑ เดือน สัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาจ้างที่ มีกำหนดระยะเวลา
จ้างไว้แน่นอน ตามมาตรา ๑๑๘ วรรคสาม และวรรคสี่ เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย , ค่าตำแหน่ง นายจ้าง
จ่ายเป็นประจำทุกเดือนพร้อมกับเงินเดือนและมีจำนวนที่แน่นอน จึงเป็นค่าจ้าง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งผู้จัด การสหกรณ์ฯ
ค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๖๐,๒๓๐ บาท ค่าตำแหน่ง ๒๐,๐๐๐ บาม รวมเป็นเงินเดือน ๘๐,๒๓๐ บาท สัญญาจ้าง
ฉบั บแรกมีกำหนดเวลา ๒ ปี เมื่อครบกำหนดมีการต่อสั ญญาฉบับที่ ๒ และฉบับที่ ๓ มีกำหนดเวลา ๑ ปี
๔ เดือน และ ๑ ปี ๖ เดือน ติดต่อกัน รวมระยะเวลาทำงาน ๔ ปี ๑๐ เดือน ต่อมาวันที่ ภ๐ กันยายน ๒๕๕๗
จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำความผิด ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ๔๘๑,๓๘๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยให้การว่า สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญามีกำหนดระยะเวลาแน่นอนตามพระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘ วรรคสาม และระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์ A ระหว่างทำงานโจทก์
มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต เงินประจำตำแหน่งไม่ใช่ค่าจ้าง
ศาลแรงงานกลางพิ จ ารณาแล้ ว พิ พ ากษาให้ จ ำเลยจ่ ายค่ า ชดเชย ๔๘๑,๓๘๐ บาท พร้อ ม
ดอกเบีย้ จำเลยอุทธรณ์
ประเด็ น สัญ ญาจ้ า งมีกำหนดระยะเวลาแน่ น อนตามมาตรา ๑๑๘ วรรคสาม และวรรคสี่
หรื อไม่ ศาลอุ ทธรณ์ คดี ชำนั ญพิ เศษ เห็ นว่ า พระราชบั ญญั ติ คุ้ มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘ วรรคสาม
บั ญ ญั ติ ให้ ค วามในวรรคหนึ่ งมิ ให้ ใช้ บั งคั บ แก่ลู กจ้ างที่ มี ก ำหนดระยะเวลาการจ้ างไว้ แ น่ น อนและเลิ กจ้ า ง
ตามกำหนดระยะเวลานั้น ส่วนในวรรคสี่บัญญัติให้การจ้างที่มีก ำหนดเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับ
การจ้ างงานในโครงการเฉพาะที่ มิ ใช่ งานปกติ ของธุ รกิ จหรื อการค้ าของนายจ้ าง จะเห็ นว่ า มาตรา ๑๑๘ วรรคสาม
เป็นเรื่องการกำหนดระยะเวลาการจ้างที่ต้องกำหนดไว้แน่นอนโดยที่ไม่สามารถเลิกจ้างกันก่อนครบกำหนด
ตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ ส่วนมาตรา ๑๑๘ วรรคสี่ เป็นเรื่องการกำหนดประเภทของงานที่สามารถจะทำ
สัญญาจ้างให้มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนได้ ซึ่งมี ๓ ประเภท คือ งานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งาน
ปกติ ข องธุร กิ จ หรื อ การค้ าของนายจ้ าง หรือ ในงานอั น มี ลั ก ษณะเป็ น ครั้งคราวที่ มี กำหนดการสิ้ น สุ ดหรือ
ความสำเร็จของงานหรือในงานที่เป็น ไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น เมื่อข้อเท็จจริง
ปรากฏว่า ตามสัญญาจ้างข้อ ๗ กำหนดให้โจทก์และจำเลยจะบอกเลิกสัญญานี้ได้ด้วยการบอกกล่าวล่ วงหน้า
๑ เดือน อันเป็นการให้สิทธิแก่คู่สัญญาในการเลิกสัญญาจ้างก่อนครบกำหนดได้ ทั้งมิใช่การเลิกสัญญาในกรณี
ผิดสัญญาจ้าง สัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้แน่นอน ประกอบ
กับจำเลยได้ต่อสัญญาให้โจทก์ถึง ๒ ครั้ง และทำงานติดต่อกันมาถึง ๔ ปี ๑๐ เดือน ดังนั้น งานของโจทก์ใน
ตำแหน่งผู้จัดการจึงไม่ใช่งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด ตามความหมายในมาตรา ๑๑๘

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๕๙ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

วรรคสี่ โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างที่มีการกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน


พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘ วรรคสาม และวรรคสี่
ประเด็ น เงิน ประจำตำแหน่ งเป็ น ค่ าจ้ าง หรือ ไม่ ศาลอุ ท ธรณ์ ค ดี ช ำนั ญ พิ เศษ เห็ น ว่ า การที่
จะพิจ ารณาว่าเงิน ใดจะเป็น ค่าจ้างหรือไม่จะต้องพิจารณาจากลักษณะการทำงานและวัตถุประสงค์ในการ
จ่ายเงินของนายจ้างว่าจ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ใดมาพิจารณาประกอบด้วย โดยไม่พิจารณาตามชื่อเรียกว่าเป็นเงิน
อะไร เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังยุติแล้วว่า จำเลยจ่า ยเงินประจำตำแหน่ง ๒๐,๐๐๐ บาท ให้แก่
โจทก์เป็นประจำทุกเดือนพร้อมกับเงินเดือนและมีจำนวนที่แน่นอน จึงเป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายเดือน ทั้งมิใช่เงินที่
จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อจูงใจให้ ทำงานหรือมีผลงานให้มากขึ้น เงินประจำตำแหน่งดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้าง
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ พิพากษายืน

๓. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๘๓๘/๒๕๕๔ (เงินค่าตำแหน่ง)


เรื่อง ลูกจ้างทำงานตำแหน่งผู้จัดการคลังสินค้า นายจ้างตกลงจ่ายค่าตำแหน่งให้เดือนละ
๑,๕๐๐ บาท ซึ่งเงินค่าตำแหน่งเป็นเงินที่จ่ายให้เป็นประจำทุกเดือน เดือนละ ๑,๕๐๐ บาท โดยไม่ได้ความว่า
เงินดังกล่าวเป็นเงินสวัสดิการหรือเงินช่วยเหลืออื่นใดแก่โจทก์ เงินค่าตำแหน่งจึงเป็นค่าจ้าง
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างตำแหน่งผู้จัดการคลังสินค้าค่าจ้างเดือนละ ๑๓,๕๐๐ บาท และจำเลย
ตกลงจ่ายค่าตำแหน่งให้เดือนละ ๑,๕๐๐ บาท ซึ่งเงินค่าตำแหน่งเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้ โจทก์เป็นประจำ
ทุกเดือนเดือนละ ๑,๕๐๐ บาท โดยไม่ได้ความว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินสวัสดิการหรือเงินช่วยเหลืออื่นใดแก่โจทก์
เช่นนี้ เงิน ค่าตำแหน่งจึงเป็นเงิน ที่มีจำนวนแน่นอนที่จำเลยตกลงจ่ายเป็นค่าตอบในการทำงานให้แก่โจทก์
ซึ่งเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างจำเลยและโจทก์ จึงเป็นค่าจ้างตามมาตรา ๕

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๖๐ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๖๒๕/๒๕๖๑ (ค่าตำแหน่ง)
เรื่อง “ค่าคอมมิชชั่น” จ่ายให้เพื่อจูงใจให้ขายสินค้าได้จำนวนมากที่สุด “ค่ารักษาสินค้า”
จ่ายเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างช่วยกันดูแลรักษาสินค้าไม่ให้สูญหาย “ค่าตำแหน่ง” กำหนดขึ้นเพื่อสร้าง
แรงจูงใจแก่ลูกจ้างให้พัฒนาการบริการแก่ลูกค้าให้ดีแ ละน่าประทับใจมากยิ่งขึ้นไป เงินทั้งสามประเภทนี้
จึงไม่ใช่ค่าจ้าง ไม่นำมาคำนวณค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน กรณีที่มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าชดเชย
และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้กับลูกจ้างทั้งสาม โจทก์เห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากโจทก์
ประกอบกิจการขายเครื่องสำอาง นางสาว ส. กับพวก จำเลยร่วม เป็นลูกจ้างโจทก์ตำแหน่งพนักงานขาย
ทำงานที่ห้างสรรพสินค้า บ. ระหว่างการทำงานลูกจ้างทั้งสามนำข้อมูลส่วนบุคคลของบิดา มารดา และญาติ
มาสมัครบัตรสมาชิกของโจทก์และเก็บค่าสมาชิกไว้เองว่า เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าจำเลยร่วมไม่ชักชวนให้สมัครบัตร
สมาชิกแต่กลับใช้บัตรสมาชิกดังกล่าวแอบอ้างเป็ นรายการซื้อสินค้าของบิดา มารดา หรือญาติของตนเพื่อทำ
รายการสะสมคะแนนและนำไปใช้แลกสินค้าของโจทก์โดยไม่ต้องชำระราคา เป็นความผิดร้ายแรง และจำเลย
นำค่าคอมมิสชันค่ารักษาสินค้า ค่าตำแหน่ง ค่าพาหนะ มารวมคำนวณค่ าชดเชยฯ จึงไม่ถูกต้อง ศาลแรงงาน
ภาค ๖ พิจารณาแล้ว พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานในส่วนของจำเลยร่วมที่ ๑ ทั้งหมด
และในส่วนของจำเลยร่วมที่ ๓ เฉพาะบางส่วน คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก โจทก์อุทธรณ์
ประเด็นพิจารณาตามอุทธรณ์ว่า ค่าคอมมิสชัน ค่ารักษาสินค้า และค่าตำแหน่ง เป็นค่าจ้าง
หรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า “ค่าคอมมิสชัน” เป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้จำเลยร่วมทั้งสาม คำนวณจ่ายเป็นร้อยละของ
ยอดขายสินค้าในแต่ละเดือนที่พนักงานขายในร้านของโจทก์ทุกคนรวมกัน โดยต้องขายได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๕
ของเป้าหมายที่โจทก์กำหนดไว้ ซึ่งพนักงานขายในร้านจะได้รับเท่ากันทุกคน หากขายสินค้าไม่ได้ตามกำหนด
โจทก์ ก็ ไม่ จ่ าย แสดงว่ าเงิ นดั งกล่ าวกำหนดขึ้ นเพื่ อสร้ างแรงจู งใจแก่ จำเลยร่ วมที่ ๒ และจำเลยที่ ๒ ให้ ขายสิ นค้ า
ให้ ได้ จ ำนวนมากที่ สุ ด “ค่ ารั กษาสิ นค้ า” เป็ นเงิ นที่ โจทก์ จ่ ายให้ โดยคำนวณจ่ ายเป็ นร้ อยละของยอดขายสิ นค้ า
ในแต่ละเดือนที่พนักงานในร้านทุกคนขายได้รวมกัน โดยมีเงื่อนไขว่าในเดือนนั้นต้องไม่มีสินค้าในร้านสูญหาย
หากมีสิน ค้าสู ญ หายจะต้องนำราคาสิน ค้าที่สู ญหายมาหั กออกก่อนที่จะนำมาเฉลี่ ยให้ พนักงานขายในร้าน
เท่ากันทุกคน กรณีสินค้าสูญหายไปมากกว่าจำนวนเงินค่ารักษาสิ นค้า จำเลยร่วมที่ ๒ และที่ ๓ ก็จะไม่ได้รับ
เงินนี้อันเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างช่วยกันดูแลรักษาสินค้าไม่ให้สูญหาย “ค่าตำแหน่ง” โจทก์จ่ายให้
จำเลยร่วมทั้งสามเป็ น พิเศษ คำนวณจากการขายสิ นค้าบางรายการที่กำหนดไว้ หากขายได้ตามจำนวนที่
กำหนด และยั งรวมถึ งเงิน ที่ จ ากคะแนนประเมิน การบริการจากลู ก ค้าที่ โจทก์ส่ งมาทดสอบพนั กงานขาย
ประกอบเพื่อจ่ายเงินด้วย หากขายสินค้าไม่ได้หรือไม่ได้คะแนนจากการประเมินของลูกค้า จำเลยร่วมก็จะไม่ได้
เงินส่วนนี้เช่นกัน
เงิน ทั้ งสามประเภทนี้ จึ งไม่ ใช่ ค่ า จ้ า งตามมาตรา ๕ แห่ งพระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ พิ พ ากษาแก้ เป็ น ว่ า ให้ แ ก้ ไขคำสั่ งพนั ก งานตรวจแรงงานเฉพาะส่ ว นจำนวนเงิน ค่ า ชดเชย
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๖๑ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

และค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าของจำเลยร่วมที่ ๒ และ ที่ ๓ นอกจากที่แก้ให้เ ป็นไปตามคำพิพากษา


ศาลแรงงานภาค ๖

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๖๒ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๑๔. ค่าอายุงาน
เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๙๕๒/๒๕๖๑ (ค่าอายุงาน)
เรื่อง ค่าตำแหน่งเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท ค่าอายุงาน ๑,๕๐๐ บาท ค่าเช่าบ้าน ๓๐๐ บาท
ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีลักษณะเป็นสวัสดิการ จึงเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชย
, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ใช่เงิน ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง จึงต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕
ต่อปี
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยรับ โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้ จัดการโรงงาน
ค่าจ้างเดือนละ ๕๗,๕๕๐ บาท วัน ที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓ จำเลยเลิ กจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิ ด
ขอบั ง คั บ ให้ จ ำเลยจ่ า ยค่ า ชดเชย สิ น จ้ า งแทนการบอกกล่ า วล่ ว งหน้ า ค่ า จ้ า งวั น หยุ ด พั ก ผ่ อ นประจำปี
ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย ศาลแรงงานภาค ๒ พิพากษาให้จำเลยชำระค่าชดเชย
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๔๕๘,๔๘๑.๖๖ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ
๑๕ ต่อปี และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ๑๐๐ บาท คำขออื่นยก จำเลยอุทธรณ์
ศาลฎีกาเห็ น ว่า โจทก์ได้รับ เงินเดือน ๕๔,๐๐๐ บาท ค่าตำแหน่ ง ๑,๐๐๐ บาท ค่าอายุงาน
๑,๕๐๐ บาท ค่าเช่าบ้าน ๓๐๐ บาท โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเงินค่าตำแหน่ง ค่าอายุงาน และค่าเช่าบ้าน
ดังกล่าวเป็น เงินในลักษณะสวัสดิการ ดังนั้นที่ศาลแรงงานภาค ๒ ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้รับค่าจ้างอัตรา
สุดท้ายเดือนละ ๕๗,๕๕๐ บาท อันเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยจึงถูกต้องแล้ว ส่วนสินจ้ างแทนการบอก
กล่าวล่วงหน้า มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างทันทีโดยไม่ต้องทวงถามและมิใช่หนี้เงินที่นายจ้าง
ต้องเสียดอกเบี้ ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ ๑๕ ต่อปี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลแรงงานภาค ๒ ในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้
อุทธรณ์ขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
ตามประมวลกฎหมายวิ ธีพิ จ ารณาความแพ่ ง มาตรา ๑๔๒ (๕) , ๒๔๖ ประกอบพระราชบั ญ ญั ติ จั ด ตั้ ง
ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ จึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยกำหนดให้
จำเลยเสีย ดอกเบี้ ยในระหว่างเวลาผิ ดนั ดอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ช ย์
มาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่ง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๖๓ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๑๕. ค่าเช่าบ้าน
เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๙๕๒/๒๕๖๑ (ค่าเช่าบ้าน)
เรื่อง ค่าตำแหน่งเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท ค่าอายุงาน ๑,๕๐๐ บาท ค่าเช่าบ้าน ๓๐๐ บาท
ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีลักษณะเป็นสวัสดิการ จึงเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชย
, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ใช่เงินตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง จึงต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕
ต่อปี
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยรับ โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งสุด ท้ายเป็นผู้ จัดการโรงงาน
ค่าจ้างเดือนละ ๕๗,๕๕๐ บาท วัน ที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓ จำเลยเลิ กจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิ ด
ขอบั ง คั บ ให้ จ ำเลยจ่ า ยค่ า ชดเชย สิ น จ้ า งแทนการบอกกล่ า วล่ ว งหน้ า ค่ า จ้ า งวั น หยุ ด พั ก ผ่ อนประจำปี
ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย ศาลแรงงานภาค ๒ พิพากษาให้จำเลยชำระค่าชดเชย
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๔๕๘,๔๘๑.๖๖ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ
๑๕ ต่อปี และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ๑๐๐ บาท คำขออื่นยก จำเลยอุทธรณ์
ศาลฎีกาเห็ น ว่า โจทก์ได้รับ เงินเดือน ๕๔,๐๐๐ บาท ค่าตำแหน่ ง ๑,๐๐๐ บาท ค่าอายุงาน
๑,๕๐๐ บาท ค่าเช่าบ้าน ๓๐๐ บาท โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเงินค่าตำแหน่ง ค่าอายุงาน และค่าเช่าบ้าน
ดังกล่าวเป็นเงินในลักษณะสวัสดิการ ดังนั้น ที่ศาลแรงงานภาค ๒ ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้รับค่าจ้างอัตรา
สุดท้ายเดือนละ ๕๗,๕๕๐ บาท อันเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยจึงถูกต้องแล้ว ส่วนสินจ้ างแทนการบอก
กล่าวล่วงหน้า มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างทันทีโดยไม่ต้องทวงถามและมิใช่หนี้เงินที่นายจ้าง
ต้องเสียดอกเบี้ ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ ๑๕ ต่อปี ตามพระราชบัญญั ติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลแรงงานภาค ๒ ในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้
อุทธรณ์ขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
ตามประมวลกฎหมายวิ ธีพิ จ ารณาความแพ่ ง มาตรา ๑๔๒ (๕) , ๒๔๖ ประกอบพระราชบั ญ ญั ติ จั ด ตั้ ง
ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ จึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยกำหนดให้
จำเลยเสีย ดอกเบี้ ยในระหว่างเวลาผิ ดนั ดอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ช ย์
มาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่ง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๖๔ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๑๒๙/๒๕๕๘ (ค่าเช่าบ้าน)
เรื่อง นายจ้างให้ลูกจ้างออกก่อนวันที่ลูกจ้างประสงค์จะลาออก โดยอ้างว่าลูกจ้างกระทำผิด
เป็นการเลิกจ้าง , ค่าเช่าบ้านไม่เป็นค่าจ้าง
การที่ โจทก์ ซึ่ งเป็ น ลู ก จ้ า งแสดงเจตนาลาออกจากงานต่ อ จำเลยที่ ๑ นายจ้ า ง เมื่ อ วั น ที่ ๗
เมษายน ๒๕๕๒ โดยให้มีผลวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ย่อมเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน
ซึ่งการเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลานั้นนายจ้างหรือ ลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญา
จ้างแรงงานได้แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอมตกลงหรืออนุมัติ แต่ในระหว่างระยะเวลาที่
สัญญาจ้างแรงงานยังมีผลบังคับอยู่นั้น นายจ้างยังคงมีนิติสัมพันธ์ต่อกันจนกว่าสัญญาจ้างแรงงานจะสิ้นผล
สำหรับคดีนี้เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๒ โจทก์ยื่นหนังสือลาออกโดยให้มีผลวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒ วันที่
๒๓ เมษายน ๒๕๕๒ ก่อนวันลาออกมีผล จำเลยที่ ๑ มีหนังสือเลิกจ้างโจทก์อ้างว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยที่ ๑
ได้รับความเสียหายและกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้จำเลยที่ ๑ ได้รับความเสียหายอย่างร้า ยแรง จึงเท่ากับ
ว่าจำเลยที่ ๑ ใช้สิทธิเลิกจ้างโจทก์แล้ว หาใช่จำเลยที่ ๑ ใช้สิทธิให้โจทก์ออกจากงานก่อนครบกำหนดตาม
ความประสงค์ที่โจทก์ได้แสดงเจตนาลาออกแต่อย่างใดไม่ ซึ่งเมื่อจำเลยที่ ๑ อ้างเหตุเลิกจ้างโจทก์ไว้ในหนังสือ
เลิ กจ้างว่าโจทก์กระทำผิ ด แต่ข้อเท็จ จริงตามที่ศาลแรงงานภาค ๒ รับฟังมาได้ความว่าโจทก์ไม่ได้กระทำ
ความผิดตามกล่าวอ้าง จำเลยที่ ๑ จึงต้องจ่ายค่าชดเชย สิ นจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้ างสำหรับ
วันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
ค่าจ้ างสำหรับ วัน หยุ ดพั ก ผ่ อนประจำปี เป็ น ค่าจ้างตามนิยามมาตรา ๕ แห่ งพระราชบั ญ ญั ติ
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสำหรับค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อน
ประจำปีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง ในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี
สำหรับ วัน ผิดนั ดอัน เป็ น วัน เริ่ มคิดดอกเบี้ ย ผิดนัดนั้น ค่าชดเชยคิดได้นับแต่วันเลิกจ้าง ส่ว นค่าจ้างสำหรับ
วันหยุดพักผ่อนประจำปีนายจ้างต้องจ่ ายภายใน ๓ วัน นับแต่วันเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๗๐ วรรคท้าย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายนับแต่วันทวงถาม
เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามจำเลยให้ชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในวันใด จำเลยจึงต้องจ่าย
ดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านับแต่วันฟ้อง
สำหรับประเด็นค่าเช่าบ้าน แม้จำเลยที่ ๑ จ่ายค่าเช่าบ้านแก่โจทก์ในอัตราเท่ากันทุกเดือน แต่
จำเลยที่ ๑ จ่ายค่าเช่าบ้านโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือพนักงานตามข้อบังคับการบริหารงานบุคคล โดยถือ
เป็นเงินช่วยเหลืออื่น ๆ ตามบทที่ ๕ สวัสดิการและเงินช่วยเหลือ ค่าเช่าบ้านจึงมิใช่ค่าจ้าง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๖๕ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๒. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๕๕๕/๒๕๕๗
เรื่อง ค่าเช่าบ้านเดือนละ ๒๔,๐๐๐ บาท ที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างซึ่งทำหน้ าที่เป็นครูฝึก
โยคะนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัย ไม่ใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงาน
ปกติ ค่าเช่าบ้านจึงไม่ใช่ค่าจ้าง
จำเลยจ้ างโจทก์เป็ น ลู ก จ้ าง ทำหน้ าที่ เป็ น ครูฝึ ก โยคะ ได้ รับ ค่าจ้างเดื อนละ ๖๖,๐๐๐ บาท
ค่าเช่าบ้านเดือนละ ๒๔,๐๐๐ บาท ค่าเช่าบ้านนั้นจำเลยจะจ่ายเงินช่ว ยเหลือค่าที่พักอาศัยให้โจทก์เดือนละ
๒๔,๐๐๐ บาท หากจำเป็นจำเลยสามารถจัดหาที่พักอาศัยให้โจทก์ โจทก์จะไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว และเงิน
ดังกล่าวสามารถถูกยกเลิกได้ โดยจำเลยจะบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเวลา ๑ เดือน ดังนั้น
ย่อมเห็นได้ว่าค่าเช่าบ้านที่ จำเลยจ่ายให้โจทก์นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลื อเรื่องที่อยู่อาศัย ไม่ใช่จ่ายเพื่อ
ตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ อันถือเป็นสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง จึงไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕

๓. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๖๖๐/๒๕๕๖ (ค่าเช่าบ้าน)


เรื่อง ค่า เบี้ยกัน ดารและค่า เช่า บ้าน ไม่ใช่ค ่า จ้า ง ตามพระราชบัญ ญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ จึงไม่นำมารวมเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย
ค่าเบี้ยกันดารและค่าเช่าบ้านนั้น จำเลยมีระเบียบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับธุรกิจ หมวดการโยกย้ายที่
อยู่อาศัยข้อ ๖ กำหนดว่า เงินช่วยเหลือค่าทำงานต่างจังหวัดอัตราร้อยละ ๑๕ ของเงินเดือนมูลฐาน และข้อ ๗
กำหนดว่าเงินช่วยเหลือค่าชดเชยที่พักอัตราร้อยละ ๑๕ ของเงินเดือนมูลฐาน จำเลยจะจ่ายเงินทั้งสองประเภท
นี้ให้แก่โจทก์เป็นประจำทุกเดือนเมื่อโจทก์ไปทำงานในต่างจังหวัดเพื่อเป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย
ส่วนตัวและค่าเช่าที่พัก เงินค่าเบี้ยกันดารและค่าเช่าบ้าน จำเลยที่ ๑ มีระเบียบการจ่ายชัดเจนว่าประสงค์
จะช่วยเหลือโจทก์ในด้านเงินค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับส่วนตัวและค่าเช่าที่พักเมื่อโจทก์ต้ องไปทำงานในต่างจังหวัด
หากโจทก์กลับเข้ามาทำงานในกรุงเทพแล้วจำเลยจะไม่จ่ายเงินทั้งสองประเภทนี้แก่โจทก์ แสดงให้เห็นว่าจำเลย
จ่ายเงิน ทั้งสองประเภทแก่โจทก์เพื่อเป็ น สวัสดิการเท่านั้ น ไม่ได้จ่ายด้วยวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนในการ
ทำงานตามสั ญ ญาจ้ างสำหรั บ ระยะเวลาการทำงานปกติ เงิน เบี้ ยกั น ดารและค่ าเช่ าบ้ านจึงไม่ เป็ น ค่ าจ้าง
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ จึงไม่นำมารวมเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย

๔. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๙๖๗/๒๕๕๕
เรื่อง ค่าเช่าบ้าน ค่าพาหนะ ถือเป็นเงินที่เจตนามาแต่แรกที่จะให้เป็นสวัสดิการ แม้จะจ่าย
ให้เป็นประจำทุกเดือนโดยไม่มีเงื่อนไขว่าต้อ งนำเอกสารมาเบิกจ่ายก็เป็นเพียงวิธีการจ่า ยเงินในลักษณะ
เหมาจ่ายเพื่อความสะดวกในทางปฏิบัติ จึงไม่ใช่ค่าจ้าง
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างทำงานตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบุคคลและธุรการโดยตกลงจ่ายค่าเช่า
บ้านเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท และค่าพาหนะเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท ซึ่งจ่ายเป็นประจำทุกเดือน ข้อเท็จจริง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๖๖ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ปรากฏว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อ ๑ ระบุว่าตกลงจ่ายค่าจ้างเดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท และสวัสดิการ


ค่าเช่าบ้านเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท ค่าเดินทางเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท...ซึ่งสอดคล้องกับประกาศรับสมัครที่
ประกาศรับสมัครตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคลและธุรการโดยระบุว่า มีสวัสดิการ เช่น ค่าเช่ าบ้าน หอพัก
บริษัท รถรับส่งพนักงาน ค่าอาหาร ฯลฯ ในกรณีของโจทก์นั้นไม่ต้องการบ้านพักบริษัทก็จะช่วยเหลือเป็นค่าเช่า
เดือนละ ๑,๐๐๐ บาท บ้านพักที่บริษัทจัดให้พนักงานพักอาศัยมี ๘๐ ห้อง สำหรับพนักงานทั่วไปที่ไม่มีบ้านพัก
จะได้ ค่าเช่าเดือนละ ๕๐๐ บาท ผู้ บริ ห ารจะได้ เ ดื อนละ ๑,๐๐๐ บาท ดั งนั้ นจึ งเห็ นได้ ว่าการตกลงจ่ายเงิน
ดังกล่าวกันตามสัญ ญาจ้า งของโจทก์ กับ จำเลยมีเ จตนามาแต่แ รกที่ จ ะให้เ ป็น สวัส ดิก ารเพื่ อ ช่ว ยเหลื อ
พนัก งานนอกเหนือจากค่าจ้างที่กำหนดไว้เป็นเงินเดือน แม้ค่าเช่าบ้านและค่าพาหนะจำเลยจะจ่ายให้โจทก์
เป็ น ประจำทุก เดือ นโดยไม่มี เงื่อ นไขว่าต้องนำเอกสารหรือหลั กฐานมาเบิก จ่ายก็เป็ น เพี ยงวิธีก ารจ่ายเงิน
ในลักษณะเหมาจ่ายเพื่อความสะดวกในทางปฏิบัติ และมิได้แสดงว่าคู่สัญญาจะเปลี่ยนเจตนาให้สวัสดิการนั้น
กลายเป็ น ค่ าจ้ างทั้ งมิ ใช่ ก รณี ที่ น ายจ้ า งมี เจตนาหลี ก เลี่ ย งการจ่ ายค่ าจ้ า งโดยฝ่ า ฝื น กฎหมายแต่ อ ย่ างใด
เงินค่าเช่าบ้านและเงินค่าพาหนะจึงไม่ใช่ค่าจ้างตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๖๗ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๑๖. เงินเดือน ๆ ที่ ๑๓


เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐๓๒๗/๒๕๕๘
เรื่อง ตามหนังสือสัญญาจ้างระบุว่า “โจทก์ได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน เดือนละ ๕๕,๐๐๐ บาท
เป็ น จำนวน ๑๓ เดื อ น” เงิ น เดื อ นๆ ๑๓ จึ ง เป็ น ค่ า จ้ า ง และพาหนะหรื อ ค่ า เสื่ อ มรถยนต์ เ ดื อ นละ
๑๔,๐๐๐ บาท นายจ้างเหมาจ่ายเท่ากันทุกเดือนไม่ปรากฏว่าเป็นการจ่ายเพื่อสวัสดิการหรือเงินช่วยเหลือ
ดังนั้น ค่าพาหนะหรือค่าเสื่อมรถยนต์ จึงเป็นค่าจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยจ่ายค่า ชดเชยขายไป เนื่องจากจำเลยไม่นำเงินเดือนๆ
ที่ ๑๓ กับค่าพาหนะมารวมเป็นค่าจ้าง และจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่าเงินเดือนๆ
ที่ ๑๓ เป็ น โบนั ส และค่าพาหนะจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่า บำรุงรักษารถและค่าเสื่ อมรถ ไม่ได้จ่ายเป็นประจำ
ทุกเดือน ไม่อาจนำมาคำนวณเป็นค่าชดเชย
ศาลแรงงานกลางพิ จ ารณาแล้ ว พิ พ ากษาให้ จ ำเลยจ่ า ยค่ า ชดเชย ๑๗๖,๙๓๗.๓๓ บาท
พร้อมดอกเบี้ย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ๖๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยอุทธรณ์
ศาลฎีกาเห็นว่า ตามที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า ตามหนังสือสัญญาจ้างงาน
ระบุ ว่า “โจทก์ได้รับ ค่าจ้ างเป็ น เงิน เดือน เดือนละ ๕๐,๐๐๐ บาท เป็นจำนวน ๑๓ เดือน” จึงเป็นค่าจ้าง
ไม่ป รากฏว่ามีข้อตกลงให้ ค่าพาหนะหรือค่าเสื่อมราคารถเป็นสวัส ดิการหรือเงินช่วยเหลื อโจทก์ แต่จำเลย
เหมาจ่ายเท่ ากัน ทุกเดือน ค่าเสื่อมรถยนต์เดือนละ ๑๔,๐๐๐ บาท จึง เป็นค่าจ้าง ที่จำเลยอุทธรณ์โดยอ้าง
คำพยานบุ คคลเพื่อแสดงให้เห็ นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การกำหนดค่าเสียหาย
ไม่ชอบ เงินเดือนๆ ที่ ๑๓ เป็นโบนัส ค่าเสื่อมพาหนะเป็นการจ่ายช่วยเหลือ ศาลแรงงานกลางจึงควรพิจารณา
จากที่พยานเบิ กความ ศาลฎีกาเห็ นว่าอุทธรณ์ ของจำเลยล้วนแต่อ้างคำพยานบุคคลมาเพื่อโต้แย้งดุลพินิจ
ในการรั บ ฟั งข้ อเท็ จ จริ งและดุ ล พิ นิ จ ในการกำหนดค่าเสี ย หายของศาลแรงงานกลาง จึงเป็ น การอุท ธรณ์
ในข้ อ เท็ จ จริ ง ต้ อ งห้ ามมิ ให้ อุ ท ธรณ์ ต ามพระราชบั ญ ญั ติ จั ด ตั้ งศาลแรงงานและวิ ธี พิ จ ารณาคดี แ รงงาน
พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๖๘ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๑๗. เงินประจำไซด์
เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๗๓/๒๕๕๗ (เงินประจำไซด์)
เรื่อง เงินประจำไซด์นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างตำแหน่งผู้จัดการโครงการทุกเดือน เดือนละ
๓๐,๐๐๐ บาท จึงเป็นค่าจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕
โจทก์ทำงานตำแหน่งผู้จัดการโครงการ จำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างเดือนละ ๕๐,๐๐๐ บาท และ
เงินประจำไซด์งานเดือนละ ๓๐,๐๐๐ บาท เงินประจำไซด์งานเป็นเงินที่จำเลยในฐานะนายจ้างจ่ายให้โจทก์
ในฐานะลู กจ้ างเพื่อตอบแทนการทำงาน เพื่อเสริมประสิทธิภ าพการทำงาน โดยจำนวนเงินที่ จ่ายให้ โจทก์
มีจำนวนแน่นอนและจ่ายให้เป็นประจำรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือน เงินประจำไซด์ถือเป็นค่าจ้าง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๖๙ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๑๘. เงินรางวัลนำเข้า
เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๕๖๒/๒๕๕๗ (เงินรางวัลนำเข้า /ค่าคอมมิชชั่น)
เรื่อง เงินรางวัลนำเข้า (ค่าคอมมิชชั่น) เป็นค่าจ้าง ตามประกาศคณะกรรมการแรงงาน
รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ข้อ ๔
ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๑๓(๑) ประกอบประกาศ
คณะกรรมการแรงงานรั ฐ วิส าหกิ จ สั ม พั น ธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้น ต่ำของสภาพการจ้างในรัฐ วิส าหกิจ ข้ อ ๔
ให้คำจำกัดความค่าจ้าง หมายความว่า เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงาน
ในวัน และเวลาทำงานปกติ ไม่ ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรื อ คำนวณตามผลงานที่ลู ก จ้ างทำได้ และให้
หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะ
กำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดและโดยวิธีการใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร และตามระเบียบของ
จำเลยข้อ ๓ ให้คำจำกัดความคำว่า รางวัลนำเข้า หมายถึง เงินที่จำเลยจัดสรรเพื่อประโยชน์ในการขายจาก
ค่าโฆษณาหรื อค่าสมาชิกหนั งสื อข่ าวและให้ เป็น ไปตามสั ดส่ ว นอัตรา หลั ก เกณฑ์ และเงื่อนไขที่ กรรมการ
ผู้จัดการใหญ่กำหนด ศาลฎีกาเห็ นว่า เงิน รางวัล นำเข้าเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้ โจทก์เมื่อทำงานตามหน้าที่
ของตน โดยกำหนดอัตรา หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขไว้แน่นอน อันมีลักษณะชี้ชัดว่าจำเลยมุ่งหมายจ่ายให้โจทก์
เพื่อตอบแทนการทำงานตามผลงาน มิใช่จ่ายเพื่อจูงใจให้โจทก์ขยันทำงานแต่อย่างใด เงินรางวัลนำเข้าจึงเป็น
ค่าจ้าง
ส่วนระเบียบข้อ ๖.๓ กำหนดว่าหากลูกค้าผิดสัญญาหรือผิด นัดชำระเงิน จำเลยทรงไว้ซึ่งสิทธิจะ
ระงับการจ่ายรางวัลนำเข้าได้ทั้งหมดนั้นเป็นการให้สิทธิจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเพียงฝ่ายเดียวที่จะไม่จ่ายค่าจ้าง
ซึ่งนายจ้ างมี ห น้ าที่ ต้ อ งจ่ าย อั น เป็ น การขั ด ต่ อ พระราชบั ญ ญั ติ แ รงงานรัฐ วิส าหกิ จ สั ม พั น ธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๑๓ (๑) ประกอบประกาศคณะกรรมการแรงงานรั ฐ วิส าหกิจ สั ม พั น ธ์ เรื่อ ง มาตรฐานขั้ น ต่ ำของ
สภาพการจ้ างในรั ฐ วิส าหกิ จ ข้ อ ๓๑ ซึ่งเป็ นกฎหมายเกี่ย วกั บ ความสงบเรีย บร้อยและศี ล ธรรมอั น ดีของ
ประชาชน ระเบียบนี้จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๕๐

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๗๐ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๑๙. เงินค่าใบอนุญาตพนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศ
เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๙๔๔๖ – ๑๙๔๗๘/๒๕๕๗
เรื่อง เงิน ประจำตำแหน่งผู้บริหาร เงิน เพิ่ มค่าวิชาชีพ เงิน ค่าใบอนุญ าตพนักงานควบคุม
การจราจรทางอากาศ เป็นค่าจ้าง ส่วนเงินรางวัลพิเศษประจำปี ค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดรถยนต์
ประจำตำแหน่ง ไม่เป็นค่าจ้าง ตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้น
ต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ
คดีนี้โจทก์ทั้ง ๓๓ คน ฟ้องว่าโจทก์กับพวกเป็นลูกจ้างจำเลย จนกระทั่งเกษียณอายุการทำงาน
จำเลยจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานไม่ครบถ้วน
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว เห็นว่าเงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มพิเศษเนื่องจากเงินเดือนเต็มขั้น
เงิน เพิ่ มค่าวิช าชีพและเงิน เพิ่ มค่าใบอนุ ญ าตพนั กงานควบคุมจราจรทางอากาศ เงิน รางวัล พิเศษประจำปี
เงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถยนต์ประจำตำแหน่ง เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณ
เงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเมื่อเกษียณอายุ พิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบ
ในการทำงานที่ขาดไปให้แก่โจทก์กับพวกโจทก์ที่ ๑๖ และจำเลยอุทธรณ์
ศาลฎีกาเห็นว่า ตามประกาศฯ ข้อ ๔ บัญญัติว่า “ค่าจ้าง” หมายความว่าเงินทุกประเภทที่นายจ้าง
จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือ
คำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลา
ซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดและโดยวิธีการใด และไม่ว่าจะ
เรียกชื่ออย่างไร สาระสำคัญของค่าจ้างจึงต้องเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานใน
วันและเวลาทำงานปกติ ดังนั้น เงินเพิ่มประจำตำแหน่งผู้บริหาร เงินเพิ่มค่าวิชาชีพ เงินค่าใบอนุญาตพนักงาน
ควบคุมการจราจรทางอากาศ แม้จะจ่ายแยกต่างหากจากเงินเดือนพื้ นฐานแต่เป็นการจ่ายในลักษณะเดียวกับ
เงินเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานในวั น และเวลาทำงานปกติในตำแหน่งนั้น ๆ จึงเป็นค่าจ้าง เช่นเดียวกับ
เงินเพิ่มพิเศษเนื่องจากเงินเดือนเต็มขั้นร้อยละ ๓.๕ ซึ่งแม้จะเป็นเงินที่เกิดจากการตกลงกันระหว่างจำเลยกั บ
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจวิทยุการบินแห่งประเทศไทย แต่เนื่องจากเงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นเงินที่จำเลยจ่าย
ให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานปกติในวันทำงานของลูกจ้างจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ที่ศาลแรงงาน
กลางพิพากษามาจึงชอบแล้ว
สำหรับเงินรางวัลพิเศษประจำปีนั้น จำเลยได้กำหนดเงินรางวัลพิเศษประจำปีไว้ล่วงหน้า แม้ไม่มี
กำไรก็จ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยเรียกเก็บจากผู้ถือหุ้นเพื่อจ่ายแก่ลูกจ้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่
ลูกจ้างเนื่องจากได้ทุ่มเทอุทิศเวลาทำงานให้แก่นายจ้างด้ วยความขยันขันแข็งตลอดเวลาที่ผ่านมา การจ่ายเงิน
รางวัลเช่นนี้จึงเป็นเรื่องของการวางแผนการเงินและการลงทุนของนายจ้างในระยะยาว จริงอยู่ในการบริหาร
กิจการเชิงธุรกิจผู้บริหารที่มีความรับผิดชอบต่อผู้ลงทุนย่อมจะไม่ยินยอมจ่ายเงินรางวัลพิเศษให้แก่ลูกจ้างหาก
ไม่มีกำไรเพื่ อรักษาดุลยภาพทางการเงินของกิจการไว้ใ ห้ มั่นคงและไม่เพิ่ม ความเสี่ยงให้ แก่กิจการนั้นก็ตาม
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๗๑ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

แต่การที่ผู้บริหารยินยอมจ่ายเงินรางวัลแก่ลูกจ้างทั้งที่ไม่มีกำไรอาจมีเหตุผลอื่น กรณีนี้ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเงิน
รางวัลพิเศษดังกล่าวจะกลายเป็นค่าตอบแทนการทำงานในเวลาปกติหรื อเป็นค่าจ้าง ดังนั้น เงินรางวัลพิเศษ
ประจำปี จึงไม่เป็นค่าจ้าง สำหรับ ค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถยนต์ประจำตำแหน่ง แม้จะมีวิธีการ
จ่ายเงินจำนวนคงที่แน่นอนทุกสิ้นเดือนพร้อมเงินเดือน แต่เงินดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสวัสดิการในด้าน
การคมนาคมให้แก่ลูกจ้างในระดับสูงเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติหน้ าที่และเหมาะสมกับตำแหน่ง มิได้มี
วัตถุประสงค์จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานโดยตรง เหตุผลที่จำเลยเปลี่ยนจากการจัดหารถยนต์พร้อมคนขับ
และการดูแลซ่อมบำรุงรถมาเป็นการเหมาจ่ายเป็นเงินจำนวนแน่นอน ก็เป็นวิธีการบริหารจัดการงบประมาณ
หรื อ ต้ น ทุ น ของจำเลยในส่ ว นนี้ เพื่ อ ให้ ส ามารถกำหนดได้ แ น่ น อนไม่ ผั น แปรในลั ก ษณะที่ ค วบคุ ม ได้ ย าก
เงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถยนต์ประจำตำแหน่ง จึงมิใช่ค่าจ้าง
พิพากษาแก้เป็น จำเลยไม่ต้องนำดังนั้น เงินรางวัลพิเศษประจำปี และค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทน
การจัดหารถยนต์ประจำตำแหน่ง มาเป็นฐานคำนวณค่าตอบแทนความชอบในการทำงาน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๗๒ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๒๐. ค่ารับรอง ค่าน้ำมันรถ


เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๗๘๐-๗๗๘๒/๒๕๕๖ (ค่ารับรอง ค่าน้ำมันรถ)
เรื่อง ค่ารับรอง ค่าน้ำมันรถ แม้ต้องใช้ใบเสร็จประกอบการเบิกแต่นายจ้างจ่ายในอัตราคงที่
เท่ากันทุกเดือน ถือเป็นค่าจ้าง ค่าจ้างมีกำหนดอายุความ ๒ ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์
มาตรา ๑๙๓/๓๔ (๙)
สำหรั บ ค่าจ้ างเดื อนสิ งหาคม ๒๕๔๕ ถึงกำหนดจ่ายวัน ที่ ๕ กัน ยายน ๒๕๔๕ แต่โจทก์ที่ ๓
ฟ้องคดีเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๗ แต่โจทก์ที่ ๓ ฟ้องคดีเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๗ เกินกำหนด ๒ ปี
จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๙๓/๓๔ (๙)
จำเลยอุทธรณ์ประการแรกว่าสำหรับ เงินค่าน้ำมันรถและเงินค่ารับรองลูกค้านั้น โจทก์ทั้งสาม
จะต้องนำใบเสร็จรับเงินมาประกอบการเบิกเพื่อแสดงว่าโจทก์ทั้งสามได้มีการจ่ายเงินดังกล่าวไปจริงซึ่งถือว่า
เงินดังกล่าวโจทก์ทั้งสามได้ สำรองจ่ายไปก่อนแทนจำเลยและถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายของจำเลยที่ไม่ ได้จัดหารถ
ให้แก่โจทก์ทั้งสาม เงินดังกล่าวจึงไม่ใช่ค่าจ้างนั้น เห็นว่า แม้ศาลแรงงานกลางจะฟังข้อเท็จจริงว่าการได้รับ
ค่าน้ำมันรถและเงิน ค่ารับรองลูกค้าจะต้องนำใบเสร็จรับเงินมาประกอบการเบิก แต่ศาลแรงงานกลางก็ฟัง
ข้อเท็จจริงต่อไปว่าเงินดังกล่าวจำเลยจ่ายในอัตราคงที่ทุกเดือนด้วยจึงเป็นค่าจ้าง อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว
จึงเป็น การยกข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพียงบางส่วนขึ้นอ้างในอุทธรณ์เพื่อให้ศาลฎีกา
ฟั ง ว่ าเงิ น ค่ า น้ ำ มั น รถและค่ า รั บ รองลู ก ค้ า มิ ใช่ ค่ า จ้ า งจึ งเป็ น อุ ท ธรณ์ ในข้ อ เท็ จ จริ ง ต้ อ งห้ า มมิ ใช้ อุ ท ธรณ์
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลฎีกา
ไม่รับวินิจฉัย

๒. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๙๓๔/๒๕๕๗
เรื่อง ค่ารับรอง ค่าน้ำมันพาหนะ ค่าโทรศัพท์ นายจ้างมีเจตนาจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายมาแต่แรก
แม้จะจ่ายเท่ากันทุกเดือน ก็ไม่เป็น ค่าจ้าง
โจทก์ทำงานตำแหน่ งพนั กงานส่ งเสริมการขาย เดิ มจำเลยจ่ายเงินค่ารับรองลู กค้า ค่าน้ำมั น
พาหนะ และค่าโทรศัพท์ให้แก่ลูกจ้างในแผนกขาย ซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วยตามยอดเงินใบเสร็จรับเงินที่ขอเบิก
แต่ ต่ อมาจำเลยได้ จ่ ายให้ เป็ น ประจำตามอัต ราที่ แ น่ น อนทุ ก เดื อ นโดยไม่ ต้อ งมี ใบเสร็จรับ เงิน มาแสดงอี ก
ประกอบด้วย ค่ารับรองเดือนละ ๗,๐๐๐ บาท ค่าน้ำมันพาหนะเดือนละ ๔,๐๐๐ บาท ค่าโทรศัพท์เดือนละ
๑,๐๐๐ บาท ดังนี้จึงแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีวัตถุประสงค์ในการจ่ายเงิ นดังกล่าวให้แก่โจทก์เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย
ในการทำงานมิได้จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของโจทก์โดยตรง แม้จำเลยจะเปลี่ยนแปลงการจ่ายเงินให้แก่
โจทก์โดยไม่ต้องนำใบเสร็จรับเงินมาแสดงอีก ก็เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงวิธีการจ่ายเงินให้เกิดความสะดวก
ในการบริหารจัดการเท่านั้น มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของการจ่ายเงิน เงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์
ดังกล่าวจึงมิใช่ค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ ดังนั้นเมื่อจำเลยมีคำสั่งย้าย
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๗๓ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

โจทก์จากตำแหน่งผู้จัดการเขตการขายไปเป็นผู้จัดการประสานงานขายเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับเงินค่ารับรอง
ลูกค้ า ค่าน้ำมันพาหนะ และค่าโทรศั พท์ จึ งมิใช่กรณี จำเลยลดค่าจ้างแต่ ประการใด การที่โจทก์ไม่ยอมไป
ทำงานในตำแหน่งใหม่ แต่ยังคงทำงานในตำแหน่งเดิมให้จำเลยและต่อมาจำเลยได้มีหนังสือเตือนแล้ว จึงเป็น
การฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลย และเป็นการกระทำผิดซ้ำ คำเตือน เมื่อจำเลย
เลิกจ้างจึงไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างแทนการบอกกล่ าวล่วงหน้า
และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๗๔ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๒๑. ค่าโทรศัพท์
เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๘๗๓/๒๕๕๗
เรื ่อ ง ค่า โทรศัพ ท์เป็น ค่า จ้า ง ส่ว นค่า พาหนะตอบแทนในการปฏิบ ัต ิง าน ค่า ประกัน
อุบัติเหตุ เงินโบนัส เป็นเงินจูงใจให้ทำงานให้มีประสิทธิภาพ จึงมิใช่ค่าจ้าง
ค่าโทรศัพท์อัตราเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท ในลักษณะเหมาจ่ายเป็นเงินเท่ากันทุกเดือน โดยไม่
คำนึงว่าโจทก์จะใช้จ่ายเป็ นค่าโทรศัพท์ห รือไม่ หรือได้ใช้เป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด ไม่ต้องแสดงใบเสร็จ
ค่าโทรศัพท์จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ถือได้ว่า
เป็นค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕
ค่าพาหนะตอบแทนในการปฏิบัติงานเดือนละ ๖,๙๐๐ บาท จำเลยมีวัตถุประสงค์จ่ายเพื่อเป็น
สวัส ดิ ก ารในการปฏิ บั ติ งาน เป็ น การช่ ว ยเหลื อ โจทก์ ไม่ ให้ ต้ อ งเป็ น ภาระค่ าใช้ จ่ า ยในการเดิ น ทาง ได้ รั บ
ไม่แน่นอน จึงไม่ใช่ค่าจ้าง สำหรับค่าประกันอุบัติเหตุเดือนละ ๕๐๐ บาท เงินตอบแทนในการปฏิบัติงานได้
ตามวัตถุประสงค์เฉลี่ยเดือนละ ๑๖,๑๕๘ บาท และเงินโบนัสเฉลี่ยเดือนละ ๖,๘๔๐ บาท เป็นเงินที่จำเลยจ่าย
เพื่อจูงใจโจทก์ทำงานให้มีประสิทธิภาพ ขยันตั้งใจทำงาน และเป็นสวัสดิการ มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน
โดยตรง ได้รับไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับผลงาน จึงไม่ใช่ค่าจ้าง

๒. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๕๐-๗๕๑/๒๕๕๔ (ค่าโทรศัพท์)


เรื่อง เบี้ยเลี้ยง ค่าน้ำมันรถยนต์ ค่าสึกหรอรถยนต์ ค่าโทรศัพท์ เงินดังกล่าวนายจ้างจ่ายให้
ลูกจ้างประจำลักษณะเหมาจ่ายเป็น รายเดือน ไม่คำนึ งถึงว่าจะได้ใช้จ่ายเป็นค่าบำรุงรักษารถยนต์และ
ค่าโทรศัพท์ไปหรือไม่เพียงใด ไม่ต้องแสดงใบเสร็จ จึงเป็นค่าจ้าง (มาตรา ๕)
จำเลยจ่ ายเงิน ค่ า เบี้ ย เลี้ ย งและค่ า น้ ำ มั น รถยนต์ จำนวน ๕,๐๐๐ บาท ค่ า สึ ก หรอรถยนต์
๒,๐๐๐ บาท และค่าโทรศัพท์ ๑,๐๐๐ บาท รวม ๘,๐๐๐ บาท เงินดังกล่ าวจำเลยให้โจทก์ประจำลักษณะ
เหมาจ่ายเป็นรายเดือน ไม่คำนึงถึงว่าจะได้ใช้จ่ายเป็นค่าบำรุงรัก ษารถยนต์และค่าโทรศัพท์ไปหรือไม่เพียงใด
โจทก์ ไม่ ต้ อ งแสดงใบเสร็ จ เป็ น หลั ก ฐานในการรั บ เงิน การจ่า ยเงิน ดั งกล่ า วจึ งเป็ น การจ่ าย เพื่ อ ตอบแทน
การทำงานของโจทก์ ในลั ก ษณะเดี ย วกั น กั บ ค่ า จ้ า ง จึ ง เป็ น ค่ า จ้ า งตามพระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๗๕ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๓๐๘๗ - ๓๐๘๙/๒๕๖๓ (ไม่เป็นค่าจ้าง)
เรื่อง เงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมัน เงินช่วยเหลือค่าน้ำมันรถกรณีพิเศษ เงินช่วยเหลือ
การใช้โทรศัพท์มือถือ เงินช่วยเหลือกรณีปฏิบัติงานประจำต่างจังหวัด แม้นายจ้างจ่ายเป็นจำนนแน่นอน
เท่ากันทุกเดือน แต่มีลักษณะเป็นสวัสดิการผู้บ ริหารและตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับ จึงไม่ใช่เงิน ที่ตอบแทน
การทำงาน ก็ไม่ใช่ค่าจ้างที่จะต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย
คดีนี้โจทก์กับพวกรวม ๓ คน ฟ้องว่า วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๒๖ จำเลยจ้างโจทก์ที่ ๑ ทำงานเป็น
ลูกจ้างครั้งสุดท้ายตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ค่าจ้างสุดท้ ายเดือนละ ๒๖๓,๓๗๐ บาท ประกอบด้วย
เงินเดือน ๒๒๐,๘๗๐ บาท ค่ารถและค่าน้ำมันรถเหมาจ่าย ๓๐,๐๐๐ บาท ค่ าน้ำมันรถพิเศษเหมาจ่าย
๓,๐๐๐ บาท ค่าโทรศัพท์มือถือเหมาจ่าย ๒,๐๐๐ บาท และค่าปฏิบัติงานประจำต่างจังหวัด ๗,๕๐๐ บาท
วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๒๔ จำเลยจ้างโจทก์ที่ ๒ เป็นลูก จ้างครั้งสุดท้ายตำแหน่งผู้ชำนาญการอาวุโส เทียบเท่ า
รองกรรมการผู้จัดการ ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ ๕๔๔,๐๐๐ บาท ประกอบด้วยเงินเดือน ๕๐๘,๐๐๐ บาท
และ.....วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๒๔ จำเลยจ้างโจทก์ที่ ๓ ทำงานตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ค่าจ้างอัตรา
สุดท้ายเดือนละ ๒๑๖,๙๑๕ บาท ประกอบด้วยเงินเดือน ๑๘๔,๔๑๕ บาท และ....ต่อมาวันที่ ๓๑ ธันวาคม
๒๕๖๒ โจทก์ทั้งสามมีอายุครบ ๖๐ ปี จำเลยเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุ โจทก์กับพวกทำงานมาครบ ๒๐ ปี
ขึ้นไป จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย ๔๐๐ วัน แต่จำเลยจ่ ายค่าชดเชยให้ เพียงบางส่วน ขอบังคับให้จำเลยจ่าย
ค่าชดเชยที่ยังค้างจ่าย พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยให้การว่า เงินสวัสดิการช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมัน เงินสวัสดิการช่วยเหลือค่าน้ำมันรถ
เพิ่มเป็นกรณีพิเศษ เงินสวัสดิการช่วยเหลือค่าใช้โทรศัพท์ มือถือ.....เป็นเงินเพิ่มพิเศษตามข้อบังคับของจำเลย
ไม่ใช่ค่าจ้างที่จะต้องนำมารวมคำนวณเป็นค่าชดเชย โจทก์ทั้งสามได้รับค่าชดเชยครบถ้วนแล้ว
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งสามอุทธรณ์
ศาลอุ ท ธรณ์ ค ดี ช ำนั ญ พิ เ ศษตรวจสำนวนประชุ ม ปรึ ก ษาหารื อ แล้ ว ศาลแรงงาน กลาง
ฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า เมื่อพิจารณาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย หมวดที่ ๑ ได้ความว่า
๑. เงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมัน จำเลยจ่ายเพื่อเป็นการช่วยเหลือค่าพาหนะแก่ผู้บริหารที่มี
สิทธิใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งและบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางปฏิบัติงาน
๒. เงินช่วยเหลือค่า น้ำมันรถกรณีพิเศษ จำเลยจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่าน้ำมันรถกรณีที่ผู้บริหาร
ระดั บ รองกรรมการผู้ จั ด การ และผู้ จั ด การทั่ ว ไป หรื อ ตำแหน่ ง อื่ น ที่ เที ย บเท่ า ที่ มี ลั ก ษณะงานประจำ
ในความรับผิดชอบต้องใช้รถยนต์เดินทางเพื่อการปฏิบัติงานเกินกว่า ๓,๐๐๐ กิโลเมตรต่อเดือนขึ้นไป
๓. เงิ น ช่ ว ยเหลื อ การใช้ โ ทรศั พ ท์ มื อ ถื อ จ่ ายเพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ ค่ า โทรศั พ ท์ มื อ ถื อ ที่ ใช้ ในการ
ปฏิบัติงานเฉพาะผู้บริหารที่มีหน้าที่รับผิดชอบต้องออกติดต่องานนอกสถานที่

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๗๖ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๔. เงินช่วยเหลือกรณีปฏิบัติงานประจำต่างจังหวัด จ่ายเพื่อเป็นการช่วยเหลือ ผ่อนคลายภาระ


ค่าใช้จ่ายของลูกจ้างที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปปฏิบัติงานประจำต่างจังหวัดและเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการ
ปฏิบัติงานของลูกจ้าง
เงิน ดังกล่าว เป็นเงินเพิ่มพิเศษที่จำเลยจ่ ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการตอบแทนนอกเหนือจาก
ค่าจ้าง อันเป็นสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่ใ ห้แก่ลูกจ้าง แม้จำเลยจะเปลี่ยนจากการจัดหารถยนต์ประจำ
ตำแหน่งและโทรศัพท์มือถือ เป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือแทน ก็เป็นวิธีบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของจำเลยเพื่อ
ทดแทนสวัส ดิ การหรื อสิท ธิ ประโยชน์ที่ มีอ ยู่เดิม ให้แ ก่ลูกจ้า งระดับ บริ ห าร ไม่ท ำให้ ส วัส ดิการหรือสิ ท ธิ
ประโยชน์ดังกล่าวกลับกลายเป็นค่าจ้างไปได้ สำหรับเงินช่วยเหลือกรณีปฏิบัติงานต่างจังหวัด ก็เป็นสวัสดิการ
หรือสิทธิป ระโยชน์ ที่ให้ เฉพาะลูกจ้างที่ป ฏิบัติงานในต่างจังหวัดเท่านั้น หากจำเลยโยกย้ายลูกจ้างกลั บมา
ทำงานในส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร หรือปริมณฑล ก็จะไม่ได้รับเงินส่วนนี้ เงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมัน
เงินช่วยเหลือค่าน้ำมันรถกรณี พิเศษ เงินช่วยเหลือการใช้โทรศัพท์มือถือ เงิน ช่วยเหลือกรณี ปฏิบัติงาน
ประจำต่างจังหวัด จึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง
สำหรับ ระยเวลาการทำงานปกติตามพระราชบั ญ ญั ติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ แม้ จำเลย
จะจ่ายเงินดังกล่าวเป็นจำนวนแน่นอนเท่ากันทุกเดือน ก็ไม่ใช่ค่าจ้างที่จะต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย
ที่โจทก์อุทธรณ์ในทำนองว่า เงินดังกล่าวเป็นจำนวนเงินเหมาจ่ายที่แน่นอนเท่ากันทุกเดือน โดย
ไม่ต้องนำใบเสร็จมาแสดง ทั้ง จำเลยยังหั กภาษ ณ ที่จ่ายด้วย...... จึงเป็น ค่าจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการ
โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าเงิน
ดังกล่าวเป็ นค่าจ้างหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์ ตามพระราชบัญญัติจั ดตั้งศาล
แรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์

๒. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๕๐๘๓/๒๕๖๑ (ค่าโทรศัพท์)


เรื่อง การที่นายจ้างเลิกจ้างเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงไม่เป็นการละเมิดต่อ
ลู กจ้ า ง เมื่ อ ศาลกำหนดค่ า เสี ย หายจากการเลิ ก จ้ า งที่ ไม่ เป็ น ธรรมให้ แ ล้ ว การที่ ศ าลแรงงานกำหนด
ค่าเสียหายจากการละเมิดจึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายที่ซ้ำ ซ้อนโดยอาศัยมูลเหตุเดียวกัน ย่อมเป็นการ
ไม่ชอบ , ค่าเช่ารถยนต์จ่ายให้พนักงานเป็นผู้จัดหารถยนต์มาเอง ส่วนค่าน้ำมันรถยนต์และค่าโทรศัพท์
จ่ า ยตามที่ ใ ช้ จ ริ งมิ ใ ช่ ก ารเหมาจ่ า ย ดั งนั้ น ค่ า เช่ า รถยนต์ ค่ า น้ ำ มั น รถยนต์ และค่ า โทรศั พ ท์ จึ งเป็ น
สวัสดิการ ไม่ใช่ค่าจ้าง
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็ น ลู กจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ ๑๕ มี นาคม ๒๕๓๖ ตำแหน่งผู้ จัดการ
เครื่องดื่มฝ่ายการตลาด ได้รับ เงิน เดือนเดือนละ ๒๗๗,๒๔๐ บาท ค่าเช่ารถยนต์เดือนละ ๓๗,๕๐๐ บาท
ค่ าโทรศั พ ท์ เดื อ นละ ๑,๕๐๐ บาท และค่ า น้ ำ มั น รถยนต์ ๒๔๐ ลิ ต รต่ อ เดื อ น รวมเป็ น ค่ า จ้ างเดื อ นล ะ
๓๒๒,๙๒๔ บาท ต่อมาวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๐ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
เป็ น ต้ น ไป ขอบั งัค บให้ จ ำเลยจ่ ายค่าชดเชย ๓,๒๒๙,๒๔๐ บาท ค่าจ้างสำหรับ วัน หยุด พั ก ผ่ อ นประจำปี

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๗๗ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๑๒๐,๑๓๗ บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๓๒๒,๙๒๔ บาท เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฝ่ายจำเลย


๒,๕๐๔,๗๑๒ บาท เงินโบนัส เป็นเงิน ๖๙๓,๑๐๐ บาท เงินรางวัลจากการแข่งขันพิเศษปี ๒๕๕๙ เป็นเงิน
๒๕๐,๐๐๐ บาท ค่าเสียหายจากการละเมิด ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท ค่า เสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
๗,๗๕๒,๗๖๘ บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่าโจทก์กระทำผิดวินัยร้ายแรงหลายกรณี
ศาลแรงงานกลางพิ จ ารณาแล้ ว พิ พ ากษาให้ จำเลยจ่ ายสิ น จ้ างแทนการบอกกล่ าวล่ ว งหน้ า
๒๗๗,๒๔๐ บาท ค่าจ้ างสำหรับ วัน หยุดพักผ่ อนประจำปี ๑๒๐,๑๓๗ บาท ค่าชดเชย ๒,๗๗๒,๔๐๐ บาท
เงินโบนัส ๕๒๘,๗๙๕ บาท เงินรางวัลการแข่งขันฯ ๒๕๐,๐๐๐ บาท ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่ เป็นธรรม
๒,๗๗๒,๔๐๐ บาท และค่าเสียหายจากการละเมิด ๕๕๔,๔๘๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย คำขออื่นให้ยก โจทก์และ
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า ค่าจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
มาตรา ๕ นั้น ต้องเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายตอบแทนการทำงานให้แก่ลูกจ้ างตามที่ตกลงกัน ส่วนสิทธิประโยชน์
ต่าง ๆ ที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อความสะดวกในการทำงานหรือเป็นสวัสดิการ แม้นายจ้างจะจ่ายเงิน
ดังกล่าวจำนวนแน่นอนเท่า ๆ กันทุ กเดือน ก็ไม่เป็นค่าจ้าง ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยจะจ่ายค่าเช่ารถยนต์
รายเดือนให้แก่พนักงานเมื่อพนั กงานเป็นผู้จัดหารถยนต์มาเอง ส่วนค่าน้ำมันรถยนต์และค่าโทรศัพท์ จำเลย
จะจ่ายให้แก่พนักงานตามที่ใช้จริงมิใช่การเหมาจ่าย ดังนั้น ค่าเช่ารถยนต์ ค่าน้ำมันรถยนต์ และค่าโทรศัพท์ที่
จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์จึงเป็นสวัสดิการที่จำเลยจัดให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานในตำแหน่งดังกล่ าว มิใช่เงินที่
นายจ้างและลูกจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ
เป็นรายเดือนแก่โจทก์จึงไม่ใช่ค่าจ้าง
ประเด็นละเมิด ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการใช้สิทธิตาม
สัญญาจ้างแรงงานจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ แม้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยผิดสัญญาจ้างแรงงาน แต่เมื่อ
ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสี ยหายจากการเลิ กจ้างที่ มเป็นธรรม เนื่องจากเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอั น
สมควร ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นมูลคดีเดียวกันกับการเลิกจ้างโดยผิดสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามที่โจทก์
อ้างว่าเป็นการละเมิดก็ตามให้แก่โจทก์แล้ว จึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อนโดยอาศัยมูลเหตุเดียวกัน
ย่อมเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายจาการละเมิ ดให้แก่โจทก์นั้น ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญ
พิเศษไม่เห็นพ้องด้วย
พิพ ากษาแก้เป็ น ยกฟ้ อ งโจทก์ ในส่ ว นค่าเสี ยหายจาการละเมิด นอกจากที่ แก้ให้ เป็ นไปตาม
คำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๗๘ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๓. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๑๓-๑๕๑๔/๒๕๕๗ (ค่าโทรศัพท์)


เรื่อง เบี้ยเลี้ยง ค่าน้ำมัน ค่าโทรศัพ ท์ ค่าดูแลลูกค้า ค่าพาหนะ ต้องนำใบเสร็จมาแสดง
เงินดังกล่าวจึงเป็นเพียงค่าใช้จ่ายในการปฏิบั ติงาน จึงไม่เป็นค่าจ้าง ค่าคอมมิชชั่น นายจ้างจ่ายเพื่อให้
พนักงานขายที่อยูใ่ นความดูแลของลูกจ้างทำยอดขายเพิ่ม จึงเป็นการจ่ายเพื่อจูงใจ ไม่เป็นค่าจ้าง
จำเลยจ้ างโจทก์ทั้ งสองเป็ น ลู กจ้ าง ในการทำงานของโจทก์ทั้ งสอง หากเดิ นทางไปทำงานที่
ต่างจังหวัด โจทก์ทั้งสองได้รั บเบี้ยเลี้ยง ค่าน้ำมัน ค่าโทรศัพท์ ค่าดูแลลูกค้า ตามที่จ่ายจริง โดยโจทก์ทั้ งสอง
จะต้องนำใบเสร็จค่าใช้จ่ายมาแสดงต่อจำเลยและจำเลยจะจ่ายเงินคืนให้ตามใบเสร็จ เงินดังกล่าวจึงเป็นเพียง
ค่าใช้จ่ ายในการปฏิบั ติงานของโจทก์ หาใช่ค่าจ้างไม่ ส่วนค่าพาหนะจำเลยจ่ายให้ โจทก์ ทั้งสองเพื่อชดเชย
กับการที่โจทก์ทั้งสองนำรถยนต์ส่วนตัวไปใช้ในการทำงาน หากไม่นำรถยนต์ส่วนตัวไปใช้ จำเลยก็ไม่จ่ายให้
ค่าพาหนะจึ งเป็ น เงิน ที่ จ ำเลยจ่ ายเพื่ อ ชดเชยกั บ การที่ โจทก์ ทั้ งสองนำรถยนต์ ส่ ว นตั ว ไปใช้ ในการทำงาน
ค่าพาหนะจึงไม่ใช่ค่าจ้าง ส่วนค่าคอมมิชชั่น จำเลยจ่ายให้เพื่อจูงใจให้ผลงานการขายเพิ่มขึ้น โดยคำนวณจาก
ยอดขายของพนักงานขายทีอ่ ยู่ในความดูแลของโจทก์ซึ่งแต่ละเดือนจะได้รับไม่เท่ากัน จึงไม่เป็นค่าจ้าง

๔. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๙๓๔/๒๕๕๗ (ค่าโทรศัพท์)


เรื่อง ค่ารับรอง ค่าน้ำมันพาหนะ ค่าโทรศัพท์ นายจ้างมีเจตนาจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายมาแต่แรก
แม้จะจ่ายเท่ากันทุกเดือน ก็ไม่เป็น ค่าจ้าง
โจทก์ทำงานตำแหน่ งพนั กงานส่ งเสริมการขาย เดิ มจำเลยจ่ายเงินค่ารับรองลู กค้า ค่าน้ำมั น
พาหนะ และค่าโทรศั พท์ให้แก่ลู กจ้างในแผนกขาย ซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วยตามยอดเงินใบเสร็จรับเงินที่ขอเบิก
แต่ ต่ อมาจำเลยได้ จ่ ายให้ เป็ น ประจำตามอัต ราที่ แ น่ น อนทุ ก เดื อ นโดยไม่ ต้อ งมี ใบเสร็จรับ เงิน มาแสดงอี ก
ประกอบด้วย ค่ารับรองเดือนละ ๗,๐๐๐ บาท ค่าน้ำมันพาหนะเดือนละ ๔,๐๐๐ บาท ค่าโทรศัพท์เดือนละ
๑,๐๐๐ บาท ดังนี้จึงแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีวัตถุประสงค์ในการจ่ายเงิ นดังกล่าวให้แก่โจทก์เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย
ในการทำงานมิได้จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของโจทก์โดยตรง แม้จำเลยจะเปลี่ยนแปลงการจ่ายเงินให้แก่
โจทก์โดยไม่ต้องนำใบเสร็จรับเงินมาแสดงอีก ก็เป็นเพียงการเปลี่ ยนแปลงวิธีการจ่ายเงินให้เกิดความสะดวก
ในการบริหารจัดการเท่านั้น มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของการจ่ายเงิน เงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์
ดังกล่าวจึงมิใช่ค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ ดังนั้นเมื่อจำเลยมีคำสั่งย้าย
โจทก์จากตำแหน่งผู้จัดการเขตการขายไปเป็นผู้จัดการประสานงานขายเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับเงินค่ารับรอง
ลูกค้า ค่าน้ำมันพาหนะ และค่าโทรศั พท์ จึ งมิใช่กรณี จำเลยลดค่าจ้างแต่ ประการใด การที่โจทก์ไม่ยอมไป
ทำงานในตำแหน่งใหม่ แต่ยังคงทำงานในตำแหน่งเดิมให้จำเลยและต่อมาจำเลยได้มีหนังสื อเตือนแล้ว จึงเป็น
การฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลย และเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน เมื่อจำเลย
เลิกจ้างจึงไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างแทนการบอกกล่ าวล่วงหน้า
และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๗๙ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๒๒. เบี้ยขยัน
ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๓๔/๒๕๖๓ (คดีฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน)
เรื่ อง เงื่อ นไขการจ่ า ยเบี้ ยขยัน คำนึ ง ถึงการขาดลามาสายหรื อชั่ วโมงเวลาการทำงาน
ตอบแทนเป็น สำคัญ หากลูกจ้ า งไม่มาปฏิบัติ งาน มีวัตถุประสงค์ในการจ่ ายเพื่ อจูงใจให้ ลูกจ้างทำงาน
ในหน้าที่ตนด้วยความขยันขันแข็งมากขึ้ นเป็นสำคัญ โดยจะเห็นได้ว่าลูกจ้างจะต้องมาปฏิบัติงานสอน
โดยไม่ขาดลาตามจำนวนวันที่กำหนด ลูกจ้ างจึงมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนในส่วนหลังนี้เต็มตามจำนวน
ที่กำหนดในอั ต ราเดื อนละ ๑๕,๐๐๐ บาท เงิน เบี้ยขยัน หาใช่เป็ น เงิน ค่า ตอบแทนการทำงานโดยตรง
จึงไม่เป็นเป็นค่าจ้าง
คดีนี้โจทก์ (ลูกจ้าง) ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน (จำเลยที่ ๑) กรณีที่โจทก์
ยื่ น คำร้ องต่ อจำเลยว่าจำเลยที่ ๒ นายจ้ าง ค้ างจ่ายค่าสอน ค่าภาระงานที่ เกี่ยวกับ การสอน สื่ อ การสอน
และทำเอกสารต่าง ๆ ๑๕,๐๐๐ บาท แต่จำเลยที่ ๑ มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าจ้าง ๒,๕๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย
โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากในช่วงเดื อนตุลาคม ๒๕๕๙ โจทก์ มีสิทธิได้รับค่าจ้าง นอกจากนี้
จำเลยที่ ๒ ยังค้างจ่ายค่าจ้างเดือนตุลาคม ๒๕๕๘ มีนาคม และเดือนเมษายน ๒๕๕๙ เป็นเงิน ๔๕,๐๐๐ บาท
ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ ๑ และบังคับ ให้จำเลยที่ ๒ จ่ายค่าจ้างรวม ๔๕,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า เดือนตุลาคม ๒๕๕๙ ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ ซึ่งเป็นช่วงเปิดภาคเรียน
แล้วรวม ๕ วันเท่านั้น จำเลยที่ ๒ จึงมีหน้าทีจ่ ่ายค่าการสอนเป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุท ธรณ์ ค ดี ช ำนั ญ พิ เศษ เห็ น ว่า โจทก์ เป็ น ลู ก จ้างจำเลยที่ ๒ ซึ่ งประกอบกิ จ การจั ด หา
ครูผู้สอนแก่โรงเรียนผู้ว่าจ้าง จำเลยที่ ๒ จ้างโจทก์เป็นครูสอนภาษาอังกฤษให้แก่โรงเรียน A ข้อตกลงการจ้าง
ตามสัญญาจ้างงาน นายจ้างและลูกจ้างตกลงแบ่งค่าจ้างออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกคือเงินเดือนอัตราเดือนละ
๑๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่ ๒ เรียกว่า เบี้ ยขยัน ซึ่งจะจ่ ายเป็นค่าปฏิบัติการสอนส่วนหนึ่ง ค่าอุปกรณ์ เอกสาร
และสื่อประกอบการสอน อีกส่วนหนึ่ง โดยจะจ่ายเฉพาะเดือนเปิดภาคการศึกษา คือ มิถุนายน กรกฎาคม
สิงหาคม กันยายน พฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม และกุมภาพันธ์ ในอัตราเดือนละ ๑๕,๐๐๐ บาท สำหรับ
เดือนตุลาคม มีนาคม และเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่ปิดภาคการศึกษาจะไม่มีการจ่ายเบี้ยขยัน มีเงื่อนไขการจ่าย
เบี้ยขยันว่า ลูกจ้างจะได้รับเบี้ยขยันเฉพาะวันที่ปฏิบัติการสอนเท่านั้น หากลูกจ้างไม่ปฏิบัติการสอน หรือไม่ทำ
อุปกรณ์ เอกสาร สื่อการสอน ลูกจ้างตกลงให้นายจ้างหักเบี้ยขยันได้ตามส่วน ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวนี้แสดง
ให้เห็นเจตนาและวัตถุประสงค์การจ่ายค่าตอบแทนของนายจ้างว่า ประสงค์จะจ่ายค่า ตอบแทนเป็น ๒ ส่วน
โดยข้อตกลงและเงื่อนไขการจ่ายเบี้ ยขยัน คำนึงถึงการขาดลามาสายหรือชั่วโมงเวลาการทำงานตอบแทน
เป็ น สำคัญ หากลู กจ้ างไม่มาปฏิบั ติงาน ย่ อมแสดงให้เห็ นได้อย่ างชัดเจนว่าค่าตอบแทนทั้งสองส่ วนนี้ มิใช่
ค่าตอบแทนในลักษณะเดียวกัน โดยเฉพาะค่าตอบแทนในส่วนที่ ๒ แม้จะอาศัยการทำงานเป็นเงื่อนไขการจ่าย
แต่ก็มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายเพื่ อจูงใจให้ลูกจ้างทำงานในหน้าที่ตนด้วยความขยันขันแข็งมากขึ้นเป็นสำคัญ
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๘๐ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

โดยจะเห็นได้ว่าลูกจ้างจะต้องมาปฏิบัติงานสอนโดยไม่ขาดลาตามจำนวนวันที่กำหนด ลูกจ้างจึงจีมีสิทธิได้รับ
เงินค่าตอบแทนในส่ วนหลังนี้เต็มตามจำนวนที่กำหนดในอัตราเดือนละ ๑๕,๐๐๐ บาท จึงเป็นเงินเบี้ย ขยัน
หาใช่เป็นเงินค่าตอบแทนการทำงานโดยตรงในอันที่จะถือเป็นค่าจ้างไม่ใช่ พิพากษายืน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๘๑ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๒๓. ค่าบริการ หรือ เซอร์วิสชาร์จ


ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๕๙๗/๒๕๖๓
เรื่ อง อำนาจบริหารจั ด การ - โรงแรมสาขาที่เปิดใหม่ห่ างจากที่ลูกจ้างทำงานประมาณ
๑๒๐ เมตร ประกอบกับสัญญาจ้างยังกำหนดว่า ลูกจ้ างจะต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ หรืองานอื่นใดที่ บริษัท
มอบหมายให้ทำอย่างเต็มความสามารถ เมื่อนายจ้างมีคำสั่งมอบหมายงานให้ลูกจ้ างไปทำงานที่โรงแรม
สาขาแต่ลูกจ้างกลับปฏิเสธที่จะไปทำงานตามที่ได้รั บมอบหมาย โดยอ้างเพียงว่าได้มาสมัครทำงานที่เดิม
เพียงแห่งเดียวเช่นนี้ ข้อกล่าวอ้างจึงไม่อาจรับฟังได้ เป็นการขัดคำสั่งหรื อจงใจฝ่าฝืนไม่เชื่อฟังคำสั่ งอัน
ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชาแล้ว และเป็ นความผิดสถานหนักตามข้อบังคับ เลิกจ้างได้โดยไม่จ่าย
ค่าชดเชย , ค่าเสียหายจากโรคที่เกิด ขึ้น เนื่องจากการทำงาน ค่าเสียหายจากการไม่ออกใบสำคัญ การ
ทำงาน ค่าเซอร์วิสชาร์จหรือค่าบริการไม่เป็นค่าจ้าง
คดีนี้ โจทก์ (ลูกจ้าง) ฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ ประกอบกิจการโรงแรม มีจำเลยที่ ๒ เป็นกรรมการ
ผู้จัดการ จำเลยที่ ๓ เป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งจดทะเบียนแล้ว จำเลยที่ เป็นนิติบุคคล
ประเภทบริษัทจำกัด (บริษัทหลักทรัพย์) วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๓ โจทก์ตกลงทำงานกับจำเลยที่ ๑ ตำแหน่ง
ลูกจ้างประจำทำงานในเวลากลางคืนตำแหน่ง (Night Auditor) แผนกบัญชีที่เดียวเท่านั้น จำเลยที่ ๑ และ
จำเลยที่ ๒ จะให้โจทก์ไปทำงานที่อื่นไม่ได้ ค่าจ้างเดือนละ ๒๕,๔๔๔ บาท ต่อมาวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
จำเลยที่ ๑ โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลแจ้ งเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจาเนื่องจากไม่ไปทำงาน ณ สถานที่แห่งใหม่ที่เพิ่ง
สร้างเสร็จ (โรงแรม เอ) โจทก์เห็นว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอบังคับให้จำเลยที่ ๑ และ ๒
จ่ายเงิน ดังนี้
- ค่าเสียหายฐานผิดสัญญาจ้าง ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย
- ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด ๓,๐๔๖ บาท พร้อมดอกเบี้ย
- ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ๒,๔๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย
- ค่าเสียหายจากการไม่ได้รับเงินทดแทนว่างงานภายในกำหนด ๑๐๐,๙๑๖.๑๒ บาท พร้อม
ดอกเบี้ย
- ค่าเสียหายจากโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย
- ค่าจ้างที่หักค่าจ้างไม่ชอบ และเงินเพิ่มร้อยละ ๑๕ ทุกระยะเวลา ๗ วัน ของต้นเงิน
- สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๒๕,๔๔๔ บาท พร้อมดอกเบี้ย
- ค่าล่วงเวลา ๙๑๕,๘๔๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย
- ค่าชดเชย ๒๐๙,๘๒๗.๓๖ บาท พร้อมดอกเบี้ย
- ออกใบสำคัญ การทำงานเพื่อแสดงว่า โจทก์ได้ทำงานมานานเท่าใดเป็นงานอะไรบ้างภายใน
๗ วัน หากไม่ดำเนินการภายในกำหนดให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย ๒๐,๐๐๐ บาท
- เงินประกัน ๒,๔๐๐ บาท และเงินเพิ่ม
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๘๒ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

- ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันจ่ายเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมกองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพ จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบ พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยที่ ๑ และ ๒ ให้ การว่า โจทก์ฝ่าฝืน ข้อบังคับฯ หลายครั้ง นอนหลั บในขณะปฏิบัติงาน
แสดงกิริย าไม่ สุ ภ าพผ่ า นบทสนทนาทางแอปพลิ เคชั่น ไลน์ จำเลยออกหนังสื อเตือน พัก งาน ๗ วัน โจทก์
ขัดคำสั่งไม่ยอมปิดยอดและตรวจสอบบัญชีของโรงแรม บี ที่ เพิ่งเปิดให้บริการซึ่งเป็นส่วนขยายบริการโรงแรม
ของจำเลยที่ ๑ มีระยะห่างกั นประมาณ ๑๒๐ เมตร ไม่เป็นการย้ายให้โจทก์ไปทำงานที่อื่น และจำเลยได้ ออก
หนังสือเตือนแล้ว และปลดโจทก์ออกจากการเป็นพนักงาน
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยที่ ๑ ออกใบสำคัญแสดงการทำงานให้แก่โจทก์
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๘๕ ให้จำเลยที่ ๑ คืนค่ าจ้าง ค่าเซอร์วิสชาร์จที่ได้หักไว้
จำนวน ๑๗,๓๙๒ บาท พร้อมดอกเบี้ย คำขออื่นให้ยก โจทก์อุทธรณ์
๑. ประเด็นค่าเสียหายจากการไม่ออกใบสำคัญการทำงานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๘๕ บัญญัติว่า เมื่อการจ้างแรงงานสิ้นสุดลงแล้วลูกจ้า งชอบที่จะ
ได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไรและงานที่ทำนั้นเป็นอย่างไร อันเป็นการกำหนดให้
ลูกจ้างมีสิทธิได้รับหนังสือรับรองการทำงาน ส่วนที่โจทก์ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องว่า หากไม่ดำเนินการภายใน
๗ วัน ให้จำเลยที่ ๑ และ ๒ ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โ จทก์เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท เมื่อศาลแรงงานกลาง
ฟั งข้ อ เท็ จ จริ งว่ า ก่ อ นที่ จ ะมี ก ารฟ้ อ งและดำเนิ น คดี นี้ โจทก์ ไม่ เคยไปดำเนิ น การยื่ น คำขอให้ จ ำเลยที่ ๑
ออกใบสำคัญแสดงการทำงานให้ อีกทั้งยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไร โจทก์จึง
ไม่ มี สิ ท ธิ ได้ รั บ ความเสี ย หายในส่ ว นนี้ ที่ ศ าลแรงงานกลางวิ นิ จ ฉั ย มานั้ น ศาลอุ ท ธรณ์ ค ดี ช ำนั ญ พิ เศษ
เห็นพ้องด้วย
๒. ประเด็น ค่าเซอร์วิส ชาร์จหรือค่าบริการถือเป็นค่าจ้า งหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ คดีชำนัญ พิเศษ
เห็นว่า เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ค่าเซอร์วิสชาร์จหรือค่าบริการ เป็นเงินที่จ ำเลยที่ ๑ เรียกเก็บ
จากลูกค้าหรือผู้ใช้บริการซึ่งได้ชำระหนี้ให้แก่ จำเลยที่ ๑ แล้วนำเงินมาจัดสรรปันส่วนให้ลูกจ้าง จำเลยที่ ๑
จึงเป็ นเพียงผู้ เรียกเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จหรือค่าบริการจากลูกค้ าหรือผู้ใช้บริการแล้วนำมาจัดแบ่งให้ลูกจ้าง
เท่านั้น ค่าเซอร์วิสชาร์จหรือค่ าบริการดังกล่าว จึงมิใช่เงินของจำเลยที่ ๑ ที่จ่ายให้แก่โจทก์แต่อ ย่างใด และ
ไม่ใช่ค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕
๓. ประเด็นมีเหตุเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างหรือไม่ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเห็ นว่า โรงแรม บี
เป็ น สาขาหรือส่ วนหนึ่ งของจำเลยที่ ๑ ซึ่งอยู่ห่ างจากโรงแรม เอ ที่ทำงานเดิมที่โจทก์เคยทำงานประมาณ
๑๒๐ เมตร ประกอบกับ สัญญาจ้างยังกำหนดว่า ลูกจ้างจะต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ หรื องานอื่นใดที่บริษัท
มอบหมายให้ทำอย่างเต็มความสามารถ มีประสิทธิภาพ และด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เมื่อจำเลยที่ ๑ มีคำสั่ง
มอบหมายให้ทำอย่างเต็มความสามารถ มีประสิทธิภาพ และด้วยความซื่อสัตย์สุ จริต เมื่อจำเลยที่ ๑ มีคำสั่ง
มอบหมายงานให้โจทก์ไปทำงานที่โรงแรม บี แต่โจทก์กลับปฏิเสธที่จะไปทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย โดยอ้าง
เพี ย งว่ าได้ ม าสมั ค รทำงานที่ โ รงแรม เอ เพี ย งแห่ ง เดี ย วเช่ น นี้ ข้ อ กล่ าวอ้ างของโจทก์ จึ งไม่ อ าจรับ ฟั งได้

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๘๓ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

การกระทำของโจทก์เป็นการขัดคำสั่งหรื อจงใจฝ่าฝืนไม่เชื่อฟังคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา
แล้ว และเป็นความผิดสถานหนักตามข้อบังคับ จำเลยที่ ๑ ย่อมมี สิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย กรณีไม่มี
เหตุเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้าง ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวมานั้นชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ข้ อนี้ฟัง
ไม่ขึ้น
๔. ประเด็นโจทก์มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานหรือไม่ ศาลอุทธรณ์
คดี ช ำนั ญ พิ เศษเห็ น ว่า โจทก์ ส มัค รเข้ าทำงานกับ จำเลยที่ ๑ ในตำแหน่ ง (Night Auditor) หรือพนั ก งาน
ตรวจสอบบัญชีรอบกลางคืนที่แผนกการเงินบัญชี มีหน้าที่สรุปยอดรายได้ของห้องอาหารต่าง ๆ และห้องพัก
ตรวจสอบเอกสารรายงานสรุปที่พนักงานรอบกลางวันส่งมา โดยมีวันทำงานในวันจันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ
วันอาทิตย์ทำงานตั้งแต่เวลา ๒๑.๐๐ - ๐๗.๐๐ น. การทำงานในตำแหน่งและเวลาดังกล่าวจึงเกิดจากความ
สมัครใจของโจทก์เอง ประกอบกับไม่ปรากฏข้ อเท็จจริงว่าโจทก์เคยแจ้งให้จำเลยที่ ๑ ทราบว่าไม่ประสงค์จะ
ทำงานในเวลาดังกล่าว หรือขอโยกย้าย สับเปลี่ยนไปทำงานในตำแหน่ง อื่นแต่อย่างใด จำเลยที่ ๑ จึงไม่ต้อง
รับผิดจ่ายค่าเสียหายในส่วนนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

๒. คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๑๙๗๓/๒๕๖๑ (ประกันสังคม)


เรื่อง “ค่าบริการ” ของโรงแรม นายจ้างประกอบกิจการโรงแรม เรียกเก็บเงิน “ค่าบริการ”
จากลูกค้าร้อยละ ๑๐ ของยอดค่าใช้ บริการ แล้วหักออกร้อยละ ๕ เพื่อใช้ซื้อของทดแทนส่วนที่ลูกจ้าง
ทำอุปกรณ์เสียหาย ส่วนที่เหลือร้อยละ ๙๕ นำมาแบ่งให้ลูกจ้างจำนวนเท่ากันทุกคน ไม่เคยกำหนดจำนวน
ค่าบริการขั้นต่ำที่ลูกจ้างจะได้รับในแต่ละเดือน “ค่าบริการ” จึงไม่ใช่ค่าจ้าง
คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ฟ้ องว่า โจทก์ประกอบกิจการโรงแรม จำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์ชำระ
เงินสมทบกองทุนเงินทดแทน แลกองทุนประกันสังคมเพิ่มเติม เนื่องจากจำเลยวินิจฉัยว่า ค่าบริการ ค่าน้ำมัน
ค่าโทรศัพท์ และเงินส่วนแบ่งจากยอดใช้บริการสปา เป็น ค่าจ้าง โจทก์ไม่เห็นด้วยจึงอุทธรณ์ คณะกรรมการ
อุทธรณ์วินิจฉัยว่า ค่าบริการ ค่าน้ำมัน และเงินส่วนแบ่งจากยอดใช้บริการสปา เป็น ค่าจ้าง ให้นำมาคำนวณ
ส่งเงินสมทบด้วย ส่วนค่าโทรศัพท์ไม่เป็นค่าจ้าง โจทก์ไม่เห็นด้วยขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยดังกล่าว
ศาลแรงงานกลางพิจ ารณาแล้ ว พิ พากษาให้ เพิกถอนคำสั่งของจำเลยและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการที่
วินิจฉัยเกี่ยวกับเงินค่าบริการ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก จำเลยอุทธรณ์
ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์เรียกเก็บเงินค่าบริการจากลูกค้าของโจทก์ในอัตราร้อยละ ๑๐ ของยอด
ค่าใช้บริการแต่ละครั้ง โจทก์จะนำเงินค่าบริการดังกล่าวที่ได้รับมาหักออกร้อยละ ๕ เพื่อใช้ซื้อของทดแทน
ส่วนที่ลูกจ้างของโจทก์ทำอุปกรณ์เสียหาย ส่วนที่เหลือร้อ ยละ ๙๕ โจทก์นำมาแบ่งให้ลูกจ้างของโจทก์จำนวน
เท่ากัน ทุกคนไม่ว่าลูกจ้างรายนั้ น จะให้ บ ริการแก่ลู กค้าที่จ่ายค่าบริการหรือไม่ โจทก์ไม่เคยกำหน ดจำนวน
ค่าบริการขั้น ต่ำที่ลูกจ้ างของโจทก์แต่ละคนจะได้รับในแต่ละเดือนว่าจำนวนเท่าใด ทั้งนี้ ลู กจ้างของโจทก์
ตำแหน่งระดับผู้บริหารที่เป็นชาวต่างประเทศเท่านั้นที่จะไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าบริการในส่วนนี้ ดังนี้ เมื่อค่าจ้าง
คือเงินที่น ายจ้างจ่ายให้ แก่ลูกจ้ างเป็น ค่ าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ แต่เงินค่า บริการ
ดังกล่าวข้างต้น โดยแท้จริงเป็นเงินที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าโจทก์ โดยโจทก์เพียงแต่นำเงินนั้นมาบริหาร
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๘๔ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

จัดการจ่ายให้แก่ลูกจ้างของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทำแทนลูกจ้างเพื่อความสะดวกและเพื่อให้กิจการของ
โจทก์ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เงินค่าบริการดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินของโจทก์ผู้เป็นนายจ้าง ค่าบริการจึงไม่ใช่
ค่าจ้าง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ อันต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณเงิน
สมทบเพิ่มเติมเพื่อส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ตามมาตรา ๔๖ และมาตรา ๔๗ พิพากษายืน

๓. คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๕๗๓๔/๒๕๖๑ (ประกันสังคม )


เรื่ อ ง “ค่ า เซอร์ วิส ชาร์ จ หรื อ เงิน ค่ า บริ ก ารธุ ร กิ จ โรงแรม” ไม่ เป็ น ค่ า จ้ า งตามมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ประกอบธุรกิจโรงแรมและส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมและ
กองทุ น เงิน ทดแทนโดยถู ก ต้ อ งตลอดมา จนกระทั่ ง วั น ที่ ๓๐ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๕ จำเลยที่ ๒ ในฐานะ
ผู้อำนวยการประกันสังคมสั่งให้โจทก์ชำระเงินสมทบประจำปี ๒๕๕๓ เพิ่มเติมในส่วนกองทุนประกันสังคม
๑,๑๔๕,๓๔๐ บาท พร้อมเงินเพิ่ม ๖๕๔,๐๘๗.๐๘ บาท โจทก์อุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์ จำเลยที่ ๓ มีมติ
ยกอุทธรณ์ โจทก์ไม่เห็นด้วย เนื่ องจากค่าครองชีพเป็นเงินที่มาจากค่าเซอร์วิสชาร์จหรือเงินค่าบริการ ซึ่งเป็น
เงินของลูกค้าที่จ่ายให้ลูกจ้างเมื่อมาใช้บริการ ค่าบริการเป็นเงินที่โจทก์เรียกเก็บแทนลูกจ้าง เงินดังกล่าวจึง
ไม่ใช่ค่าจ้าง ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ ๒ และคำวินิจฉัยของจำเลยที่ ๓ ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว
พิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยที่ ๓คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก จำเลยทั้งสามอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์ ในทำนองว่า เงิน ค่าบริ การเป็น ประโยชน์ใด ๆ ที่ลูก จ้างได้รั บ เพิ่ มจากการ
จ้างแรงงานถือเป็นค่าจ้ างตามมาตรา ๔๐ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ศาลฎีกาเห็น ว่า พระราชบัญญัติ
ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ มาตรา ๕ บัญญัติว่า “ค่าจ้าง” หมายความว่า เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายแก่
ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ ไม่ว่าจะจ่ายให้ในวันหยุดตามระยะเวลาหรือ
คำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้ างจ่ายให้ในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้าง
ไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณหรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใดและไม่ว่าจะเรียกชื่อ
อย่างไร ดังนั้น ค่าเซอร์วิสชาร์จหรือเงินค่าบริการที่โจทก์จ่ายให้ลูกจ้างเป็นเงินที่โจทฺก์เรียกเก็บจากลูกค้าที่มา
ใช้บริการของโจทก์ จึงเป็นเงินของลูกค้า โจทก์เป็น เพียงตัวแทนลูกจ้างในการเรียกเก็บเงิน ดังกล่าวจากลูกค้า
มาบริหารจัดการแบ่งให้แก่ลูกจ้าง แม้โจทก์รับรู้ว่าเงินดังกล่าวเป็นรายได้และรายจ่ายของโจทก์ ก็เป็นเพียง
การดำเนิน การหรือวิธีการทางบัญชีและภาษีต ามประมวลรัษฎากรเท่านั้น ไม่ทำให้เงินดังกล่าวเป็นเงิน
ของโจทก์ ที่ จ่ า ยให้ แ ก่ พ นั ก งานเพื่ อ ตอบแทนการทำงานให้ แ ก่ โ จทก์ จึ ง ไม่ ใ ช่ ค่ า จ้ า งตามมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ พิพากษายืน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๘๕ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๔. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๒๒๙๒/๒๕๕๘
เรื่อง “ค่าบริการ” นายจ้ างเรียกเก็บ จากลูกค้าในอัตราร้ อยละ ๑๐ นำมาจัด สรรให้แ ก่
ลูกจ้างอัตราร้อยละ ๗๕ - ๘๐ เพื่อจูงใจให้ลูกจ้างให้บริการลูกค้ า ส่วนที่เหลือจัดสรรไว้ในบัญชีกองทุน
เซอร์ วิ ส ชาร์ จ สำรองสะสม โดยมี ค ณะกรรมการสวั ส ดิ ก ารในสถานประกอบกิ จ การเป็ น ผู้ รั บ ผิ ด ชอบ
จั ด สรรเงิน ค่ า บริ ก ารในแต่ ล ะเดื อ น “ค่ า บริ การ” จึ งไม่ ใช่ ค่ า จ้ า งตามมาตรา ๕ แห่ งพระราชบั ญ ญั ติ
ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
ตามพระราชบั ญ ญั ติ ป ระกั น สั งคม พ.ศ. ๒๕๓๓ มาตรา ๕ บั ญ ญั ติ ว่า ในพระราชบั ญ ญั ติ นี้
“ค่าจ้าง” หมายความว่า เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลา
ทำงานปกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และให้หมายความรวมถึงเงิน
ที่น ายจ้ างจ่ายให้ในวั นหยุดและวัน ลาซึ่งลู กจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายใน
ลักษณะใด หรือวิธีการใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร โจทก์ประกอบกิจการโรงแรม โจทก์ได้เรียกเก็บเงิน
ค่าบริการจากลูกค้าที่มาใช้บริการของโรงแรมโจทก์ในอัตราร้อยละ ๑๐ ของราคาขายห้องพัก อาหารและราคา
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในโรงแรมแล้วนำมาจัดสรรเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกจัดสรรที่อัตราร้อยละ ๗๕ ในกรณีทั่วไปหรือ
อัตราร้อยละ ๘๐ ในกรณีที่รายได้เกิน ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ในเดือนนั้น แบ่งให้ลูกจ้างประจำทุกคนยกเว้น
ผู้จัดการทั่วไปจำนวนเท่ากัน ซึ่งคำนวณจ่ายตามวันที่ทำงานจริงโดยค่าบริการที่จัดสรรจะไม่ต่ำกว่าเดือนละ
๒,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ ๒๕ หรือ ๒๐ แล้วแต่กรณี จัดสรรไว้ในบัญชีกองทุนเซอร์วิสชาร์จสำรอง
สะสมเพื่ อ สำรองเป็ น ค่ า ใช้ จ่ า ยต่ า ง ๆ แก่ ลู ก จ้ าง เช่ น งานเลี้ ย งประจำปี ส ำหรับ ลู ก จ้ า ง การจั ด สั ม มนา
นอกสถานที่ ค่าใช้จ่ายที่ลูกจ้างทำทรัพย์สินของโจทก์เสียหายโดยประมาท ค่ารักษาพยาบาล ค่าเบี้ยประกัน
ชีวิต และโบนัส คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการของโจทก์เป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องการจัดสรร
เงินค่าบริการในแต่ละเดือน โดยนำมาเฉลี่ย ให้แก่ลูกจ้างและแบ่งเก็บสะสมไว้ในบัญชีก องทุนเซอร์วิ สชาร์จ
สำรองสะสมให้แก่พนักงาน ตลอดจนการตัดสินใจในการใช้จ่ายเงินจากกองทุน กรณีเดือนใดคำนวณค่าบริการ
ที่นำมาแบ่งเฉลี่ยให้แก่ลูกจ้างได้ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ บาท จะนำเงินจากกองทุนเซอร์วิสชาร์ จสำรองสะสมมาชำระ
ให้แก่ลูกจ้างจนครบ ๒,๐๐๐ บาท ในปี ๒๕๕๐ และปี ๒๕๕๑ มี การจ่ายค่าบริการให้แก่ลูกจ้างโจทก์เกินกว่า
๒,๐๐๐ บาท ทุกเดือน ฉะนั้นในปี ๒๕๕๐ และ ปี ๒๕๕๑ โจทก์ไม่เคยนำเงินของโจทก์มาจ่ายค่าบริการให้แ ก่
ลูกจ้างแต่อย่างใด เงินค่าบริการโดยแท้จริงแล้วจึงเป็ นเงินที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้ าของโจทก์เพื่อจ่ายให้แก่
ลูกจ้างของโจทก์เพื่อจูงใจให้ลูกจ้างให้บริการลูกค้าด้วยดี จึงมิใช่เงินของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างแต่โจทก์ทำหน้าที่
เรียกเก็บเงินดังกล่าวแทนลูกจ้าง ค่าบริการจึงไม่ใช่ค่าจ้างตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติประกันสัง คม
พ.ศ. ๒๕๓๓ อัน จะต้องนำมาเป็ น ฐานคำนวณเงินสมทบเพิ่มเติมประจำปี ๒๕๕๐ และ ปี ๒๕๕๑ เพื่อเข้า
กองทุ น ประกั น สั งคมตามมาตรา ๔๖ และมาตรา ๔๗ ที่ ศาลแรงงานกลางพิ พ ากษาเพิ กถอนคำสั่ งจำเลย
เฉพาะที่สั่งให้โจทก์ต้องชำระเงิน สมทบเพิ่มเติมพร้อมเงินเพิ่มและให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยชอบแล้ว
พิพากษายืน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๘๖ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๒๔. ค่าพาหนะ
เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๖๔๗/๒๕๖๓
เรื่อง “เงินค่าพาหนะวันละ ๔๐ บาท” นายจ้างมีหลักเกณฑ์การจ่ายเงินคือจะจ่ายให้ลูกจ้าง
รายวันที่มิได้พักอยู่ในบ้านพักสวัสดิการและมิได้เดินทางโดยสารพาหนะที่นายจ้างจัดรับส่ง โดยจ่ายเฉพาะ
วันที่มาทำงานในอัตรา ๔๐ บาทต่อวัน ในแต่ละเดื อนจะได้รับไม่ เท่ากันขึ้น อยู่กับว่าในเดือนนั้นลูกจ้าง
มาทำงานกี่วัน เงินดังกล่าวจึงเป็นสวัสดิการ มิใ ช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงาน
ปกติ จึ งมิใช่ค่าจ้ าง จึ งไม่ต้ องนำเงิน ดั งกล่า วไปคำนวณเพื่อนำส่งกองทุน ประกัน สังคม และไม่น ำเงิน
ดังกล่าวไปรวมคำนวณค่าชดเชย
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็ น ลูกจ้างรายวันตำแหน่งเจ้าหน้าที่พัสดุ ค่าจ้างอัตราสุ ดท้ายวั นละ
๓๙๐ บาท ค่าพาหนะวัน ละ ๔๐ บาท ต่อ มาวันที่ ๓๐ มิถุน ายน ๒๕๖๒ โจทก์เกษี ยณอายุตามข้อตกลง
เกี่ยวสภาพการจ้าง แต่จำเลยทั้งสามไม่นำค่าพาหนะวันละ ๔๐ บาท มาคำนวณจ่ ายค่าชดเชย โจทก์จึงมีสิทธิ
ได้รับค่าชดเชยเพิ่มอีก และโจทก์ไม่นำค่าพาหนะไปคำนวณเป็นเงินสมทบกองทุนประกั นสังคม เป็นละเมิด
ต่อโจทก์ ขอบั งคั บ ให้ จ ำเลยจ่ ายค่ าชดเชย ๑๖,๐๐๐ บาท นำเงินคำนวณส่ งเป็ นเงิน สมทบประกั น สั งคม
ค่าเสียหายจากการทำละเมิด ๑๖,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่าเงินช่วยเหลือค่ าพาหนะไม่ใช่
ค่าจ้ างจึงไม่ต้องนำมาคำนวณนำส่งกองทุน ประกันสังคม การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
ศาลแรงงานภาค ๒ พิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนั ญพิเศษเห็นว่า เงินช่วยเหลือค่าพาหนะ มีหลักเกณฑ์การจ่ายเงิ นคือ จำเลย
ที่ ๑ จะจ่ายให้ลูกจ้างรายวันประจำฝ่ายโรงงานและฝ่ายเกษตรกรที่มิได้พักอยู่ในบ้านพักสวัสดิก ารของจำเลย
ที่ ๑ และมิได้เดินทางโดยสารพาหนะที่จำเลยที่ ๑ จัดรับส่ง โดยจ่ายเฉพาะวันที่มาทำงานในอัตรา ๔๐ บาท
ต่อวัน ในแต่ละเดือนโจทก์จะได้รับเงินช่วยเหลือค่าพาหนะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับว่าในเดือนนั้นโจทก์มาทำงาน
กี่วัน เงินดังกล่าวจึงเป็น สวัสดิการมิใช่เงินที่น ายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานปกติ จึ งมิใช่
ค่าจ้าง จึงไม่ต้องนำเงินดังกล่าวไปคำนวณเพื่อนำส่งกองทุนประกันสังคม และไม่นำเงินดังกล่าวไปรวมคำนวณ
ค่าชดเชย ที่ศาลแรงงานภาค ๒ พิพากษามานั้นจึงชอบแล้ว พิพากษายืน

๒. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๕๐-๗๕๑/๒๕๕๔
เรื่อง เบี้ยเลี้ยง ค่าน้ำมันรถยนต์ ค่าสึกหรอรถยนต์ ค่าโทรศัพท์ เงินดังกล่าวนายจ้างจ่ายให้
ลูกจ้างประจำลักษณะเหมาจ่ายเป็น รายเดือน ไม่คำนึ งถึงว่าจะได้ใช้จ่ายเป็นค่ าบำรุงรักษารถยนต์และ
ค่าโทรศัพท์ไปหรือไม่เพียงใด ไม่ต้องแสดงใบเสร็จ จึงเป็นค่าจ้าง (มาตรา ๕)
จำเลยจ่ ายเงิน ค่ า เบี้ ย เลี้ ย งและค่ า น้ ำ มั น รถยนต์ จำนวน ๕,๐๐๐ บาท ค่ า สึ ก หรอรถยนต์
๒,๐๐๐ บาท และค่าโทรศัพท์ ๑,๐๐๐ บาท รวม ๘,๐๐๐ บาท เงินดังกล่ าวจำเลยให้โจทก์ประจำลักษณะ
เหมาจ่ายเป็นรายเดือน ไม่คำนึงถึงว่าจะได้ใช้จ่ายเป็นค่าบำรุงรักษารถยนต์และค่าโทรศัพท์ไปหรือไม่เพียงใด
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๘๗ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

โจทก์ ไม่ ต้ อ งแสดงใบเสร็ จ เป็ น หลั ก ฐานในการรั บ เงิน การจ่า ยเงิน ดั งกล่ า วจึ งเป็ น การจ่ ายเพื่ อ ตอบแทน
การทำงานของโจทก์ ในลั ก ษณะเดี ย วกั น กั บ ค่ า จ้ า ง จึ ง เป็ น ค่ า จ้ า งตามพระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๘๘ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๓๐๘๗ - ๓๐๘๙/๒๕๖๓ (ไม่เป็นค่าจ้าง)
เรื่อง เงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมัน เงินช่วยเหลือค่าน้ำมันรถกรณี พิเศษ เงินช่วยเหลือ
การใช้โทรศัพท์มือถือ เงินช่วยเหลือกรณีปฏิบัติงานประจำต่างจังหวัด แม้นายจ้างจ่ายเป็นจำนนแน่นอน
เท่ากันทุกเดือน แต่มีลักษณะเป็นสวัสดิการผู้บ ริหารและตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับ จึงไม่ใช่เงิน ที่ตอบแทน
การทำงาน ก็ไม่ใช่ค่าจ้างที่จะต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย
คดีนี้โจทก์กับพวกรวม ๓ คน ฟ้องว่า วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๒๖ จำเลยจ้างโจทก์ที่ ๑ ทำงานเป็น
ลูกจ้างครั้งสุดท้ายตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ค่าจ้างสุดท้ ายเดือนละ ๒๖๓,๓๗๐ บาท ประกอบด้วย
เงินเดือน ๒๒๐,๘๗๐ บาท ค่ารถและค่าน้ำมันรถเหมาจ่าย ๓๐,๐๐๐ บาท ค่าน้ำ มันรถพิเศษเหมาจ่าย
๓,๐๐๐ บาท ค่าโทรศัพท์มือถือเหมาจ่าย ๒,๐๐๐ บาท และค่าปฏิบัติงานประจำต่างจังหวัด ๗,๕๐๐ บาท
วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๒๔ จำเลยจ้างโจทก์ที่ ๒ เป็นลูก จ้างครั้งสุดท้ายตำแหน่งผู้ชำนาญการอาวุโส เทียบเท่ า
รองกรรมการผู้จัดการ ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ ๕๔๔,๐๐๐ บาท ประกอบด้วยเงินเดือน ๕๐๘,๐๐๐ บาท
และ.....วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๒๔ จำเลยจ้างโจทก์ที่ ๓ ทำงานตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ค่าจ้างอัตรา
สุดท้ายเดือนละ ๒๑๖,๙๑๕ บาท ประกอบด้วยเงินเดือน ๑๘๔,๔๑๕ บาท และ....ต่อมาวันที่ ๓๑ ธันวาคม
๒๕๖๒ โจทก์ทั้งสามมีอายุครบ ๖๐ ปี จำเลยเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุ โจทก์กับพวกทำงานมาครบ ๒๐ ปี
ขึ้นไป จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย ๔๐๐ วัน แต่จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้เพียงบางส่วน ขอบังคับให้จำเลยจ่าย
ค่าชดเชยที่ยังค้างจ่าย พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยให้การว่า เงินสวัสดิการช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมัน เงิน สวัสดิการช่วยเหลือค่าน้ำมันรถ
เพิ่มเป็นกรณีพิเศษ เงินสวัสดิการช่วยเหลือค่าใช้โทรศัพท์ มือถือ.....เป็นเงินเพิ่มพิเศษตามข้อบังคับของจำเลย
ไม่ใช่ค่าจ้างที่จะต้องนำมารวมคำนวณเป็นค่าชดเชย โจทก์ทั้งสามได้รับค่าชดเชยครบถ้วนแล้ว
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งสามอุทธรณ์
ศาลอุ ท ธรณ์ ค ดี ช ำนั ญ พิ เ ศษตรวจสำนวนประชุ ม ปรึ ก ษาหารื อ แล้ ว ศาลแรงงาน กลาง
ฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า เมื่อพิจารณาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย หมวดที่ ๑ ได้ความว่า
๑. เงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมัน จำเลยจ่ายเพื่อเป็นการช่วยเหลือค่าพาหนะแก่ผู้บริหารที่มี
สิทธิใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งและบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางปฏิบัติงาน
๒. เงินช่วยเหลือค่า น้ำมันรถกรณีพิเศษ จำเลยจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่าน้ำมันรถกรณีที่ผู้บริหาร
ระดั บ รองกรรมการผู้ จั ด การ และผู้ จั ด การทั่ ว ไป หรื อ ตำแหน่ ง อื่ น ที่ เที ย บเท่ า ที่ มี ลั กษณะงานประจำ
ในความรับผิดชอบต้องใช้รถยนต์เดินทางเพื่อการปฏิบัติงานเกินกว่า ๓,๐๐๐ กิโลเมตรต่อเดือนขึ้นไป
๓. เงิ น ช่ ว ยเหลื อ การใช้ โ ทรศั พ ท์ มื อ ถื อ จ่ ายเพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ ค่ า โทรศั พ ท์ มื อ ถื อ ที่ ใช้ ในการ
ปฏิบัติงานเฉพาะผู้บริหารที่มีหน้าที่รับผิดชอบต้องออกติดต่องานนอกสถานที่

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๘๙ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๔. เงินช่วยเหลือกรณีปฏิบัติงานประจำต่างจังหวัด จ่ายเพื่อเป็นการช่วยเหลือ ผ่อนคลายภาระ


ค่าใช้จ่ายของลูกจ้างที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปปฏิบัติงานประจำต่างจังหวัดและเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการ
ปฏิบัติงานของลูกจ้าง
เงิน ดังกล่าว เป็นเงินเพิ่มพิเศษที่จำเลยจ่ายให้ แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการตอบแทนนอกเหนือจาก
ค่าจ้าง อันเป็นสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่ใ ห้แก่ลูกจ้าง แม้จำเลยจะเปลี่ยนจากการจัดหารถยนต์ประจำ
ตำแหน่งและโทรศัพท์มือถือ เป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือแทน ก็เป็นวิธีบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของจำเลยเพื่อ
ทดแทนสวัส ดิ การหรื อสิท ธิ ประโยชน์ที่ มีอ ยู่เดิม ให้แ ก่ลู กจ้า งระดับ บริ ห าร ไม่ท ำให้ ส วัส ดิการหรือสิ ท ธิ
ประโยชน์ดังกล่าวกลับกลายเป็นค่าจ้างไปได้ สำหรับเงินช่วยเหลือกรณีปฏิบัติงานต่างจังหวัด ก็เป็นสวัสดิการ
หรือสิทธิป ระโยชน์ ที่ให้ เฉพาะลูกจ้างที่ป ฏิบัติงานในต่างจังหวัดเท่านั้น หากจำเลยโยกย้ ายลูกจ้างกลั บมา
ทำงานในส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร หรือปริมณฑล ก็จะไม่ได้รับเงินส่วนนี้ เงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมัน
เงินช่วยเหลือค่า น้ำมันรถกรณี พิเศษ เงินช่วยเหลือการใช้โทรศัพท์มือถือ เงิน ช่วยเหลือกรณี ปฏิบัติงาน
ประจำต่างจังหวัด จึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง
สำหรับ ระยเวลาการทำงานปกติตามพระราชบั ญ ญั ติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ แม้ จำเลย
จะจ่ายเงินดังกล่าวเป็นจำนวนแน่นอนเท่ากันทุกเดือน ก็ไม่ใช่ค่าจ้างที่จะต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย
ที่โจทก์อุทธรณ์ในทำนองว่า เงิน ดังกล่าวเป็นจำนวนเงินเหมาจ่ายที่แน่นอนเท่ากันทุกเดือน โดย
ไม่ต้องนำใบเสร็จมาแสดง ทั้ง จำเลยยังหั กภาษ ณ ที่จ่ายด้วย...... จึงเป็นค่าจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการ
โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าเงิน
ดังกล่าวเป็ นค่าจ้างหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ ในข้อเท็จจริ ง ต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์ ตามพระราชบัญญัติจั ดตั้งศาล
แรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์

๒. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๖๔๒๖ - ๖๔๒๗/๒๕๖๒ (เลิกจ้างไม่เป็นธรรม)


เรื่อง การเลิกจ้ างด้ วยเหตุต้อ งการปรับปรุงประสิทธิภ าพขององค์กร โดยที่ไม่ปรากฏว่า
กิจการประสบภาวะทางเศรษฐกิจอย่างยากลำบากถึงขนาดต้องปรับลดจำนวนลูกจ้างเพื่อให้พยุงกิจการให้
ดำเนิน ต่ อไปได้ เหตุในการเลิกจ้ างจึ งเป็ น นโยบายที่ค ำนึงถึงแต่ประโยชน์ของนายจ้างเพี ยงฝ่ายเดี ยว
จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มี เหตุผลอันสมควร เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม , เงินค่ารถยนต์ประจำตำแหน่ง
และค่าน้ำมันรถ เป็นสิทธิประโยชน์และสวัสดิการในรูปแบบที่มิใช่ตัวเงินที่จัดให้เฉพาะผู้บริหารระดับสูง
เท่านั้น แม้จะจ่ายเป็นจำนวนเท่า ๆ กันทุกเดือนก็ตามก็มิใช่ค่าจ้าง
ประเด็นการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเห็นว่า การที่จำเลยเลิกจ้าง
โจทก์ทั้งสองด้วยเหตุต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กร โดยที่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ากิจการของจำเลย
ประสบภาวะทางเศรษฐกิจอย่างยากลำบากถึงขนาดต้องปรับลดจำนวนลูกจ้างเพื่ อให้พยุงกิจการให้ดำเนิน
ต่อไปได้ เหตุในการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองจึงเป็นนโยบายของจำเลยที่ประสงค์จะปรับปรุงประสิทธิภาพการ
ทำงานขององค์กรและลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนขององค์กรเท่านั้น โดยโจทก์ทั้งสองไม่ได้กระทำผิด โจทก์ทั้งสอง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๙๐ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ทำงานกับจำเลยมาเป็นเวลานาน การเลิกจ้างมีผลให้โจทก์ทั้งสองต้องสูญเสียอาชีพและรายได้เลี้ยงตนเองและ
ครอบครัว การเลิ ก จ้างด้ว ยเหตุ ดังกล่ าวย่ อมเป็น การคำนึงถึงแต่ประโยชน์ ของจำเลยที่เป็ นนายจ้างเพีย ง
ฝ่ายเดียว จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คดีนี้โจทก์กับพวกรวม ๒ คน ฟ้องว่า โจทก์ที่ ๑ ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป
ค่าจ้างเดือนละ ๑๕๕,๕๐๐ บาท (เงินเดือน ๆ ละ ๑๒๙,๕๐๐ บาท เงินค่ารถและค่าน้ำมันรถเหมาจ่ายเดือน
ละ ๒๒,๐๐๐ บาท ) โจทก์ที่ ๒ ตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป ค่าจ้างเดือนละ ๑๑๑,๓๕๐ บาท (เงิน เดือน ๆ ละ
๘๕,๓๕๐ บาท เงิน ค่ารถและค่าน้ ำมัน รถเหมาจ่ายเดือนละ ๒๖,๐๐๐ บาท ) ต่อมาวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์
๒๕๖๑ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง อ้างเหตุปรับปรุงองค์กร ต้องการลดภาระค่าใช้จ่าย เป็นการเลิกจ้างที่ไม่
เป็นธรรม จำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ครบถ้วนเนื่องจากไม่นำเงินค่ารถและ
ค่าน้ำมันรถมาคำนวณ ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย สินจ้างแทน
การบอกกล่าวล่วงหน้าที่ขาดไป พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยให้การว่า ค่ารถและค่ าน้ำมันรถเป็นสวัสดิการทดแทนค่ารถยนต์ จำเลยเลิกจ้างเนื่องจาก
มีความจำเป็นต้องปรับปรุงองค์กร จำเลยจ่ายเงินตามตามกฎหมายให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์
ประเด็นเงินค่ารถยนต์ประจำตำแหน่งและค่าน้ำมันรถเป็นค่าจ้างหรือไม่ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญ
พิเศษเห็นว่า จำเลยเคยจัดหารถยนต์ประจำตำแหน่งให้กับลู กจ้างที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงตั้งแต่ระดับ
ผู้จัดการทั่วไปหรือเทียบเท่าเท่านั้น รถยนต์ประจำตำแหน่งจึงเป็นสิทธิประโยชน์และสวัสดิการในรูปแบบที่มิใช่
ตัว เงิน ที่ จ ำเลยจั ด ให้ เฉพาะผู้ บ ริ ห ารระดับ สู งเท่ านั้ น แม้ ต่อมาจำเลยจะยกเลิ กการจัดหารรถยนต์ป ระจำ
ตำแหน่งเปลี่ยนเป็นการให้เงินทดแทนเป็นค่ารถเดือนละ ๑๙,๐๐๐ และค่าน้ำมันเดือนละ ๗,๐๐๐ บาท ก็ตาม
เงินดังกล่าวเป็นการจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการเช่นเดียวกัน มิใช่เป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็ น
ค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ แม้จะจ่ายเป้นจำนวนเท่า ๆ กันทุก
เดือน จึงมิใช่ค่าจ้าง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
ประเด็นการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเห็นว่า การที่จำเลยเลิกจ้าง
โจทก์ทั้งสองด้วยเหตุต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กร โดยที่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริ งว่ากิจการของจำเลย
ประสบภาวะทางเศรษฐกิจอย่างยากลำบากถึงขนาดต้องปรับลดจำนวนลูกจ้างเพื่อให้พยุงกิจการให้ดำเนิน
ต่อไปได้ เหตุในการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองจึงเป็นนโยบายของจำเลยที่ประสงค์จะปรับ ปรุงประสิทธิภาพการ
ทำงานขององค์กรและลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนขององค์กรเท่านั้น โดยโจทก์ทั้งสองไม่ได้กระทำผิด โจทก์ทั้งสอง
ทำงานกับจำเลยมาเป็นเวลานาน การเลิกจ้างมีผลให้โจทก์ทั้งสองต้องสูญเสียอาชีพและรายได้เลี้ยงตนเองและ
ครอบครัว การเลิ ก จ้างด้ว ยเหตุ ดังกล่ าวย่ อมเป็ น การคำนึงถึงแต่ประโยชน์ ของจำเลยที่เป็ นนายจ้างเพีย ง
ฝ่ายเดียว จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๙๑ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

พิพากษาแก้เป็นให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โดยให้ศาลแรงงานกลาง
กำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี นอกจากที่แก้ให้เป็นไป
ตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๙๒ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๒๕. เงิน MBO เงิน MIB


ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๔๐๒๕/๒๕๖๒
เรื่อง เงิน MBO และ MIB มีวัตถุประสงค์เพื่อจูงใจให้ลูกจ้างเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ในหน้าที่ความรับผิดชอบตามเป้าหมายที่วางไว้และการจ่ายเงินดังกล่าวในแต่ละเดือนก็ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับ
ผลการปฏิบัติงานของลูกจ้าง เงิน MBO และ MIB จึงไม่ใช่ค่าจ้างที่จะต้องนำมาคำนวณค่าชดเชย
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๗ บริษัท A จำกัด จ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่ง
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร ต่อมาโอนโจทก์ไปเป็นลูกจ้างของบริษั ทต่าง ๆ โดยนับอายุงานต่อเนื่อง จนปี
๒๕๕๕ โอนมาเป็ น ลู กจ้ างจำเลยตำแหน่ งหั ว หน้ าเจ้าหน้ าที่ฝ่ ายบริห าร ค่ าจ้ างเดื อนละ ๑๕๘,๐๐๐ บาท
ค่าต่างจังหวัดเดือนละ ๓๐,๐๐๐ บาท เงินตอบแทนการทำงานตามผลงานที่ทำได้จริงรายเดือน (MBO) เดือน
ละ ๑๗,๐๐๐ บาท เงินตอบแทนการทำงานตามผลงาน (MIB) เดือนละ ๗๘,๑๐๐ บาท รวมเป็นค่าจ้างอัตรา
สุดท้าย ๒๘๓,๑๐๐ บาท ต่อมาวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘ จำเลยเลิกจ้ างโจทก์โดยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ครบถ้วน เนื่องจากไม่นำเงิน MBO และ MIB มาคำนวณ และเป็นการเลิกจ้าง
ที่ ไม่ เป็ น ธรรม ขอบั ง คั บ ให้ จ ำเลยจ่ า ยค่ า ชดเชย ๙๕๑,๐๐๑ บาท สิ น จ้ า งแทนการบอกกล่ าวล่ ว งหน้ า
๙๕,๑๐๐ บาท ที่ ข าดพร้ อ มดอกเบี้ ย ค่ า เสี ย หายจากการเลิ ก จ้ า งที่ ไ ม่ เป็ น ธรรม ๘,๕๐๐,๐๐๐ บาท
พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า เงิน MBO และ MIB ไม่ใช่ค่าจ้าง โจทก์มีผลงานที่ไม่อาจยอมรับได้เนื่องจากผล
การปฏิบัติงานต่ำกว่าเป้าหมาย ไม่มีผลงานการบริหารงาน
ศาลแรงงานภาค ๒ พิจารณาแล้วเห็นว่า เงิน MBO และ MIB มีวัตถุประสงค์เพื่อจูงใจให้โจทก์
เพิ่ มประสิ ท ธิภ าพในการทำงานในหน้ าที่ ความรับ ผิ ด ชอบตามเป้าหมายที่ ว างไว้และการจ่ายเงิน ดังกล่ าว
ให้แก่โจทก์ในแต่ละเดือนก็ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับ ผลการปฏิบัติงานของโจทก์ เงิน MBO และ MIB จึงมิใช่เงินที่
จำเลยจ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรั บระยะเวลาการทำงานปกติหรือจ่ายให้ตามผลงาน
ที่โจทก์ทำได้ในเวลาทำงานปกติของวัน ทำงาน จึงไม่ใช่ค่าจ้าง พิ พากษาให้ จำเลยจ่ายค่าเสี ยหายจากการ
เลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ๒,๒๕๖,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย คำขออื่นให้ยก โจทก์อุทธรณ์ในทำนองว่า เงิน MBO
และ MIB ไม่ถือเป็นเงินจูงใจ จึงล้วนเป็นอุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานภาค ๒ รับฟังมาเพื่อนำไปสู่
การวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่าเงิน MBO และ MIB เป็นค่าจ้างหรือไม่ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้
อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง
(เดิม) ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่รับวินิจฉัย อนึ่งคดีนี้ศาลแรงงานภาค ๒ พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหาย
จากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินนับถัดจากวันฟ้อง โดยระบุวันฟ้อง
วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ แต่ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ ศาลฎีกาจึงเห็นควรแก้ไขเสียให้
ถูกต้อง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานภาค ๒

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๙๓ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๒. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๗๘๕/๒๕๖๐
เรื่ อ ง การจ่ า ยเงิ น MIB (เงิ น สวั ส ดิ ก าร) ของนายจ้ า ง เพื่ อ กระตุ้ น ให้ ผู้ บั ง คั บ บั ญ ชา
มีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดเป้าหมายล่วงหน้า และเป็นตัวชี้วัดการทำงานของพนักงานเพื่อสร้าง
แรงจูงใจให้ลูกจ้างทำงานเป็นทีมไปสู่วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กรร่วมกัน จึงไม่ใช่ค่าจ้าง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๘ จำเลยที่ ๑ เลิกจ้างโจทก์ โดยจ่ายค่าชดเชย
ไม่ครบถ้วน และเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม และจำเลยที่ ๒ ค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ จำเลยทั้งสองให้การว่า
โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต เงินเอ็มไอบี (เงินสวัสดิการ) เป็นเงินโบนัสรายเดือนที่จ่ายเพื่อจูงใจจึงไม่ใช่ค่าจ้างจะนำมา
คำนวณจ่ายค่าชดเชย ศาลแรงงานภาค ๒ พิพากษาให้จำเลยที่ ๑ จ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็น
ธรรม ๑,๕๑๒,๕๐๐ บาท และเงินเอ็มไอบี (เงินสวัสดิการ) ๑๖๓,๕๑๔ บาท พร้อมดอกเบี้ย คำขออื่นให้ยก
และให้ยกฟ้องจำเลยที่ ๒ โจทก์และจำเลยที่ ๑ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเห็นว่า ศาลแรงงานภาค ๒
ฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า การจ่ายเงินเอ็มบีโอและเงินเอ็มไอบี (เงินสวัสดิการ) ของจำเลยที่ ๑ เพื่อกระตุ้น
ให้ผู้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดเป้าหมายล่วงหน้า และเป็นตัวชี้ วัดการทำงานของพนักงาน
เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างทำงานเป็นทีมไปสู่วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กรร่วมกัน เห็นได้ว่าการ
จ่ า ยเงิ น ดั ง กล่ า วมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เพื่ อ จู ง ใจให้ โ จทก์ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพในการทำงานในหน้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบ
ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ และการจ่ายเงินในแต่ละเดือนก็ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับผลการปฏิบัติงานของโจทก์
จึงมิใช่เงินที่จำเลยจ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ หรือจ่ายให้
ตามผลงานอัน จะเป็น ค่าจ้างตามพระราชบั ญญั ติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ ที่โจทก์อุทธรณ์
ในทำนองว่า เงิน เอ็ม บี โอและเงิน เอ็ มไอบี (เงิน สวัส ดิการ) มีรายละเอียดการจ่ายอย่างไรพิ จารณาได้จาก
คำเบิกความของโจทก์และพยานจำเลย จึงเป็นการอุทธรณ์ โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของ
ศาลแรงงานภาค ๒ เพื่ อนำไปสู่ การวิ นิ จ ฉั ย ข้อ กฎหมายว่า เงิน เอ็ ม บี โอและเงิน เอ็ ม ไอบี (เงิ น สวั ส ดิ ก าร)
เป็นค่าจ้างหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธี
พิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่รับวินิจฉัย สำหรับกรณี
ที่ ศ าลแรงงานภาค ๒ พิ พ ากษาให้ จ ำเลยที่ ๑ ชำระดอกเบี้ ย ร้ อ ยละ ๑๕ ต่ อ ปี สำหรั บ ต้ น เงิ น เอ็ ม ไอบี
(เงินสวัสดิการ) นั้น เห็นว่า เงินดังกล่าวไม่ใช่ค่าจ้าง จึงมิใช่เงินที่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ดังที่
บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๙ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยร้อยละ
๗.๕ ต่ อปี ต ามประมวลกฎหมายแพ่ งและพาณิ ช ย์ มาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่ ง เท่ านั้ น ที่ ศ าลแรงงานภาค ๒
พิ พ ากษามาจึ งไม่ช อบ พิ พ ากษาแก้เป็ น ให้ จำเลยที่ ๑ ชำระดอกเบี้ ยอั ตราร้อ ยละ ๗.๕ ต่ อปี ของต้ น เงิน
นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานภาค ๒

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๙๔ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๓. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๗๑๓/๒๕๖๐
เรื่ อ ง “เงิ น การบริ ห ารงานตามจุ ด มุ่ ง หมาย (Management By Objective (MBO))”
เป็นเงินที่จ่ายเพื่อจูงใจให้ลูกจ้างทำงานให้ได้ตามเป้าหมาย หากลูกจ้างมีผลงานตามเกณฑ์ที่กำหนดจึงจะ
จ่ายให้ จึงมิใช่เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานโดยตรง จึงไม่เป็นค่าจ้าง
โจทก์ ฟ้ อ งว่ า โจทก์ เป็ น ลู ก จ้ า งจำเลยตั้ ง แต่ วั น ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๘ ตำแหน่ ง สุ ด ท้ า ย
เป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร มีหน้าที่ควบคุมดูแลงานก่อสร้างบ้านจัดสรรและงานขายบ้านจัดสรร ค่าจ้าง
เดื อ นละ ๗๖,๓๐๐ บาท เงิน ช่ ว ยเหลื อ การปฏิ บั ติ งานที่ โรงงาน ๕,๐๐๐ บาท ค่ าทำงานเสาร์เว้ น เสาร์
๕,๐๐๐ บาท และค่ าจ้ างคำนวณตามผลงานเป็ น เงิน ค่าบริห ารจัด การตามเป้ าหมาย (Management By
Objective (MBO))” สูงสุดไม่เกินเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท เงินค่าจ้างเป็นเงินตอบแทนพิเศษตามเป้าหมาย
รายเดือน (Monthly Incentive Bonus (MIB) สูงสุดไม่เกินเดือนละ ๓๐,๐๐๐ บาท ต่อมาวันที่ ๒๗ มกราคม
๒๕๕๒ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ อ้างว่าโจทก์บริหารงานขาดประสิทธิภาพ ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้าง
แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
พร้อมดอกเบีย้
ศาลแรงงานภาค ๒ พิพากษาให้ จำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพั กผ่อนประจำปี ค่าชดเชย
พร้อมดอกเบี้ย โจทก์และจำเลยอุทธรณ์
ประเด็ น ว่ า “เงิ น การบริ ห ารงานตามจุ ด มุ่ ง หมาย (Management By Objective (MBO))”
เป็ น ค่ า จ้ า งหรื อ ไม่ ศาลฎี ก าเห็ น ว่ า เมื่ อ การจ่ า ยเงิ น การบริ ห ารงานตามจุ ด มุ่ งหมาย(Management By
Objective (MBO)) จำเลยจะจ่ายให้ลูกจ้างก็ต่อเมื่อมีการประเมินผลในการทำงานของลูกจ้างในแต่ละเดือน
ก่อน และนำผลงานของลูกจ้างไปเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ลูกจ้างและหัวหน้างานร่วมกันกำหนดไว้ล่วงหน้า
หากผลงานของลูกจ้างได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ในเป้าหมาย จำเลยก็จะจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้ าง ดังนั้น
การจ่ายเงินการบริหารงานตามจุดมุ่งหมาย(Management By Objective (MBO)) จึงเป็นกรณีที่จำเลยตกลง
จ่ายเงินเพื่อจูงใจลูกจ้างให้ทำงานให้ได้ผลงานตามเป้าหมายที่ลูกจ้างกับหัวหน้างานร่วมกันกำหนดไว้ล่วงหน้า
หากลู กจ้างมี ผลงานตามเกณฑ์ที่กำหนดจำเลยจึงจะจ่ายเงิน ให้ กรณี จึงมิใช่เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการ
ทำงานโดยตรง อีกทั้งการจะจ่ายเงินได้ต้องมีการประเมินผลงานในการทำงานของลูกจ้างในแต่ละเดือนก่อน ซึ่ง
มิใช่เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานเงินดังกล่าวจึง มิใช่ค่าจ้างตามความหมาย
แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๙๕ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๔. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๔๘๑/๒๕๖๐
เรื่ อ ง เงิน “MBO” เป็ น เงิน ที่ น ายจ้ า งจ่า ยให้ ต ามผลสำเร็ จ ของงานเที ย บกั บ เป้ า หมาย
ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และเงิน “MIB” เป็นเงินที่จ่ายเนื่องจากลูกจ้างสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร
เงินทั้งสองประเภทเป็นการจ่ายเพื่อจูงใจในการทำงาน จึงไม่เป็นค่าจ้าง
คดี นี้ โจทก์ ฟ้ อ งว่าจำเลยจ้ างโจทก์เข้ าทำงานเป็ น ลู ก จ้าง ตำแหน่ งสุ ดท้ ายเป็ น ผู้ ช ำนาญการ
ซ่อมบำรุงสายพาน ค่าจ้างสุดท้ายเดือนละ ๗๘,๙๐๐ บาท วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ จำเลยเลิกจ้างโจทก์
ด้วยเหตุเกษียณอายุงาน แต่ จำเลยจ่ายค่า ชดเชยแก่โจทก์ขาดไปโดยไม่นำเงิน MBO จำนวน ๗,๖๐๐ บาท
และเงิน MIB จำนวน ๒๐.๓๐๐ บาทมารวมคำนวณค่าชดเชยด้วย ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยส่วนที่ขาด
๒๙๒,๑๕๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่าเงิน MBO และเงิน MIB เป็นเงินจูงใจในการทำงาน ไม่ใช่
ค่าจ้างตามกฎหมาย ศาลแรงงานภาค ๒ พิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์
ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์ได้รับเงินเดือนสุ ดท้ายเดือนละ ๔๘,๐๐๐ บาท เงินค่าต่างจังหวัดเดือนละ
๓,๐๐๐ บาท และได้รับเงิน MBO และเงิน MIB เงิน MBO เป็นเงินที่จ่ายให้ตามผลสำเร็จของงานเทียบกับ
เป้าหมายที่หัวหน้ างานและลูกจ้างร่ วมกันกำหนดไว้ล่วงหน้าโดยกำหนดให้ลูกจ้างของจำเลยทุกคนทำการ
ประเมินผลทุกเดือน และเงิน MIB เป็นเงินที่จ่ายให้เนื่องจากลูกจ้างของจำเลยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลยโดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างทำงานเป็นทีมไปสู่เป้าหมายขององค์กรร่วมกัน โจทก์จะได้รับเงิน MIB
และเงิน MBO ไม่เท่ ากัน ทุ ก เดือ น การจ่ ายเงิน ดังกล่ าวจำเลยต้อ งมี การประเมิ น ผลงานเสี ยก่ อนแล้ ว จ่าย
แก่ โจทก์ ต ามผลงานที่ ป ระเมิ น ซึ่งหากไม่ ได้ ต ามเป้ าหมายโจทก์ จะได้รับ เงิน ดั งกล่ าวลดลง จึ งมี ลั ก ษณะ
ไม่แน่นอนเพราะการจ่ายต้องมีการประเมินผลการทำงานเสียก่อนถึงจะนำมากำหนดเป็นจำนวนเงินและมิใช่
การเหมาจ่าย การจ่ายเงินดังกล่าวจึงมิได้มีวัตถุประสงค์ เพื่อตอบแทนการทำงานของโจทก์โดยตรง แต่เป็น
การจ่ ายเพื่ อจู งใจในการทำงานของโจทก์ห รือเพื่อให้ ลู ก จ้างของจำเลยทำงานได้ตามมาตรฐานหรือบรรลุ
เป้าหมายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า จึ งไม่เป็นค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕
ไม่อาจนำมารวมคำนวณค่าชดเชยได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเพิ่มขึ้น

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๙๖ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๒๖. ค่าแทนคนขับรถผูบ้ ริหาร


ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ที่ ๒๔๖ – ๒๔๗/๒๕๖๑ (ค่าแทนคนขับรถผู้บริหาร)
เรื่อง ลูกจ้างที่ ๑ เล่นพนันผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่นายจ้างมอบให้ใช้ในงาน ลูกจ้างที่ ๒ ได้
ระบุวุฒิการศึกษาในใบสมัครงานและเอกสารประวัติการศึกษาว่าจบการศึกษาระดับปริญญาตรีอันไม่เป็น
ความจริง การเลิกจ้างจึงมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไ ม่เป็นธรรม “ค่าแทนคนขับรถผู้บริหาร”
เป็ นการจ่ ายทดแทนการจั ดรถยนต์ ประจำตำแหน่ งพร้ อมพนั กงานขั บรถ จึ งไม่ ใช่ ค่ าจ้ าง ส่ วน “ค่ าเช่ าบ้ าน”
เป็นสวัสดิการให้แก่พนักงานที่จำเป็นต้องไปประจำที่สาขาในต่างจังหวัด ไม่ใช่ค่าจ้าง
คดี นี้ โจทก์ ทั้ งสองฟ้ อ งว่ า จำเลยเลิ ก จ้ างโจทก์ โ ดยไม่ เป็ น ธรรม เนื่ อ งจากโจทก์ ทั้ งสองเป็ น
รองประธานสหภาพแรงงานและประธานสหภาพแรงงาน จำเลยเลิ ก จ้ างโดยไม่ น ำ “ค่ า แทนคนขั บ รถ
ผู้บริหาร”มารวมคำนวณเป็นฐานค่าจ้างในการคำนวณค่ าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วง และเงินอื่นๆ
ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่จ่ายไม่ครบถ้วน พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่าโจทก์ทั้งสองยื่นคำร้อง
ต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๑ แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
ต่ อ มาคณะกรรมการฯ มี ค ำสั่ ง ให้ จ ำเลยจ่ า ยค่ า เสี ย หาย โดยจำเลยได้ จ่ า ยค่ า เสี ย หายตามคำสั่ ง ของ
คณะกรรมการฯ ครบถ้วนแล้ว ถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิที่จะไม่ใช้สิ ทธิตามพระราชบัญญั ติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ ในมูลเหตุเกี่ยวกับ
การเลิกจ้างโจทก์ ค่าแทนคนขับรถผู้บริหารและค่าเช่าบ้านเป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง โจทก์ที่ ๑ กระทำผิดโดย
เล่นพนันฟุตบอลผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ โจทก์ที่ ๒ ใช้วุฒิการศึกษาไม่ถูกต้องมาสมัครเข้าทำงาน
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า โจทก์ที่ ๑ เล่นพนันผ่านโทรศั พท์เคลื่อนที่ที่จำเลยมอบให้
โจทก์ที่ ๑ ใช้ในกิจการของจำเลย มิได้เป็นการเล่นสนุกกับกลุ่มเพื่อนเพื่อนำเงินเข้ากองกลางใช้ดื่นกินตามที่
โจทก์ที่ ๑ เบิกความ ส่วนโจทก์ที่ ๒ ยังได้ระบุวุฒิการศึกษาในใบสมัครงานและเอกสารประวัติการศึกษาว่าจบ
การศึกษาระดับปริญญาตรีอันไม่เป็นความจริงอีกด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวจึงไม่ใช่การเลิกจ้าง
โดยไม่เป็นธรรม ค่าแทนคนขับรถผู้บริหารเป็นการจ่ายทดแทนการจัดรถยนต์ประจำตำแหน่งพร้อมพนักงาน
ขับรถตามระเบี ยบการจ่ายเงิน พิเศษกรณี ผู้บริหารขับรถประจำตำแหน่งด้วยคนเอง จึงไม่ใช่ค่าจ้างแต่เป็ น
สวัสดิการ ส่วนค่าเช่าบ้านเป็นสวัสดิการที่จำเลยมอบให้แก่พนักงานที่จำเป็นต้องไปประจำที่สาขาในต่างจังหวัด
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน จึงไม่ใช่ค่าจ้าง พิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า ที่โจทก์อุทธรณ์ จำเลยต้องจ่ายเงินเพิ่ม โจทก์ทั้ งสองมีสิทธิ
ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยแม้จะได้รับค่าเสียหายตามคำสั่งคระกรรมการแล้วเพราะเป็นการเรี ยกค่าเสียหายตาม
กฎหมายต่ า งฉบั บ ก็ ดี ไม่ ว่ า จะรั บ ฟั ง ได้ ต ามอุ ท ธรณ์ ห รื อ ไม่ ก็ ไม่ อ าจเปลี่ ย นแปลงผลคำพิ พ ากษาของ
ศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยว่า การเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองไม่ใช่การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมและค่าแทนคนขับรถ

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๙๗ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ผู้บริหารและค่าเช่าบ้านเป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง จึง เป็นข้อที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย


พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์

๒. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๔๑๖/๒๕๕๗
เรื่อง สัญญาระบุว่าลาออกหรือเลิกจ้างต้องบอกกล่าวหน้าไม่น้อยกว่า ๖ เดือน เมื่อนายจ้าง
เลิกจ้างไม่บอกล่วงหน้าตามสัญญาจึงต้องจ่าย , ค่ารถยนต์เดือนละ ๕๐,๐๐๐ บาท ไม่ใช่ค่าจ้าง
โจทก์ ท ำงานตำแหน่ งผู้ จั ด การสาขา ค่ าจ้ างเดื อ นละ ๓๐๐,๐๐๐ บาท ค่ าพาหนะเดื อ นละ
๕๐,๐๐๐ บาท ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างทันทีโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้ อยกว่า ๖ เดือน ตามที่ระบุในสัญญา
จ้าง ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ๑,๘๐๐๐,๐๐๐ บาท (๖ เดือน) ค่าชดเชย
๙๐๐,๐๐๐ บาท และเงินอื่น ๆ พร้อมดอกเบี้ย โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นว่า ค่ารถยนต์เดือนละ
๕๐,๐๐๐ บาท ได้กำหนดว่าเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับค่ารถยนต์และคนขับรถ โดยแยกไว้ต่างหากและให้รวมทั้ง
ภาษีจ ากการใช้รถยนต์บ นท้อ งถนน ค่ าน้ ำมั น ค่ าประกัน ภั ย ค่าซ่อมแซมและค่ าบำรุงรัก ษากับ ค่าใช้จ่าย
เกี่ ย วเนื่ อ งอย่ า งอื่ น อี ก ด้ ว ย การตกลงในลั ก ษณะเช่ น นี้ เห็ น ได้ ชั ด ว่ า เป็ น การจั ด สวั ส ดิ ก ารให้ โ จทก์ เพื่ อ
ความสะดวกเกี่ยวกับพาหนะที่จะต้องใช้ในการเดินทางไปทำงาน ค่ารถยนต์เดือนละ ๕๐,๐๐๐ บาท จึงไม่ใช่
ค่าตอบแทนในการทำงานที่จะถือเป็นค่าจ้างตามความหมายในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๙๘ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๒๗. เงินความสามารถพนักงานแคชเชียร์
ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๑๒๕๕/๒๕๖๑ (ค่าความสามารถพนักงานแคชเชียร์)
เรื่อง “ค่าความสามารถพนักงานแคชเชียร์” นายจ้างจะจ่ายให้พนักงานแคชเชียร์ที่ผ่าน
การทดสอบเกี่ยวกับการให้บริการ และใช้เครื่องคิดเงิน ในลักษณะต่าง ๆ และจะต้องปฏิบัติงานตั้งแต่
๒ ชั่วโมงขึ้น ไปในแต่ ละวัน หากถูกพั กงานหรือไม่มาทำงานหรือไม่มีการทำงานหรือ โจทก์หยุดกิจการ
ชั่วคราว จะไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว “ค่าความสามารถพนักงานแคชเชียร์” จึงมิใช่ค่าจ้าง
คดีนี้โจทก์ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้า ฟ้ องขอให้เพิกถอนคำสั่งของสำนักงานประกันสังคม
และคำวินิ จฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ จำเลย กรณี ที่มีห นังสือให้ โจทก์ช ำระเงินสมทบเพิ่ มเข้ากองทุ น
ประกันสังคม ในส่วนของ “ค่าความสามารถพนักงานแคชเชียร์” เป็นเงิน ๗๕๔,๔๗๖ บาท พร้อมเงินเพิ่ม
ตามกฎหมาย โดยอ้างว่าเป็ น ค่าจ้ างตามมาตรา ๕ แห่ งพระราชบัญ ญั ติป ระกันสั งคม พ.ศ. ๒๕๓๓ โจทก์
ไม่เห็นด้วย เนื่องจากเงินดังกล่าวเป็นสวัสดิการ และมีเงื่อนไขในการจ่ ายและลักษณะเป็นเงินจูงใจให้พนักงาน
มาทำงานครบตามจำนวนที่กำหนด จึงไม่ใช่ค่าจ้าง จำเลยให้การว่า ค่าความสามารถพนักงานแคชเชียร์ที่โจทก์
จ่ายให้เป็นประจำในอัตราที่แน่นอน โดยคำนวณให้เฉพาะเงินที่พนักงานได้ปฏิบัติงานนั้น ถือได้ว่าจ่ายเพื่อ
ตอบแทนการทำงานจึงเป็นค่าจ้างตามมาตรา ๕
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า “ค่าความสามารถพนักงานแคชเชียร์” เป็นเงินที่โจทก์
จ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อจูงใจให้ทำงานอันเป็ นประโยชน์แก่นายจ้าง จึงถือเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน
ในวันและเวลาทำงานปกติของลูกจ้าง เป็นค่าจ้าง พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า “ค่าความสามารถพนักงานแคชเชียร์” โจทก์จะจ่ายให้
พนักงานแคชเชียร์ที่ผ่านการทดสอบเกี่ยวกับการให้ บริการ และใช้เครื่องคิดเงินในลักษณะต่าง ๆ และจะต้อง
ปฏิบัติงานตั้งแต่ ๒ ชั่วโมงขึ้นไปในแต่ละวัน หากถูกพักงานหรือไม่มาทำงานหรือไม่มีการทำงานหรือโจทก์
หยุดกิจการชั่วคราว จะไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว จึงไม่ใช่เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลา
ทำงานปกติ แต่เป็นการจ่ายเพื่อจูงใจให้พนักงานขยันมาทำงานทุกวัน “ค่าความสามารถพนักงานแคชเชียร์”
จึงมิใช่ค่าจ้าง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
พิพากษากลับเป็น ให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานประกันสังคมและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ
อุทธรณ์ เฉพาะส่วนเงินประกันสังคม

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๙๙ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๒๘. ค่ารักษาสินค้า
ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๖๒๕/๒๕๖๑ (ค่ารักษาสินค้า)
เรื่อง “ค่าคอมมิสชัน” จ่ายให้เพื่อจูงใจให้ขายสิน ค้าได้จำนวนมากที่สุด “ค่ารักษาสินค้า”
จ่ายเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างช่วยกันดูแลรักษาสินค้าไม่ให้สูญหาย “ค่าตำแหน่ง” กำหนดขึ้นเพื่อสร้าง
แรงจูงใจแก่ลูกจ้างให้พัฒนาการบริการแก่ลูกค้าให้ดีและน่าประทับใจมากยิ่งขึ้นไป เงินทั้งสามประเภทนี้
จึงไม่ใช่ค่าจ้าง ไม่นำมาคำนวณค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน กรณีที่มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าชดเชย
และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้กั บลูกจ้างทั้งสาม โจทก์เห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากโจทก์
ประกอบกิจการขายเครื่องสำอาง นางสาว ส. กับพวก จำเลยร่วม เป็นลูกจ้างโจทก์ตำแหน่งพนักงานขาย
ทำงานที่ห้างสรรพสินค้า บ. ระหว่างการทำงานลูกจ้างทั้งสามนำข้อมูลส่วนบุคคลของบิดา มารดา และญาติ
มาสมัครบัตรสมาชิกของโจทก์และเก็บค่าสมาชิกไว้เองว่า เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าจำเลยร่วมไม่ชักชวนให้สมัครบั ตร
สมาชิกแต่กลับใช้บัตรสมาชิกดังกล่าวแอบอ้างเป็ นรายการซื้อสินค้าของบิดา มารดา หรือญาติของตนเพื่อ ทำ
รายการสะสมคะแนนและนำไปใช้แลกสินค้าของโจทก์โดยไม่ต้องชำระราคา เป็นความผิด ร้ายแรง และจำเลย
นำค่าคอมมิสชันค่ารักษาสินค้า ค่าตำแหน่ง ค่าพาหนะ มารวมคำนวณค่าชดเชยฯ จึ งไม่ถูกต้อง ศาลแรงงาน
ภาค ๖ พิจารณาแล้ว พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานในส่วนของจำเลยร่วมที่ ๑ ทั้งหมด
และในส่วนของจำเลยร่วมที่ ๓ เฉพาะบางส่วน คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก โจทก์อุทธรณ์
ประเด็นพิจารณาตามอุทธรณ์ว่า ค่าคอมมิสชัน ค่ารักษาสินค้า และค่าตำแหน่ ง เป็นค่าจ้าง
หรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า “ค่าคอมมิสชัน” เป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้จำเลยร่วมทั้งสาม คำนวณจ่ายเป็นร้อยละของ
ยอดขายสินค้าในแต่ละเดือนที่พนักงานขายในร้านของโจทก์ทุกคนรวมกัน โดยต้องขายได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๕
ของเป้าหมายที่โจทก์กำหนดไว้ ซึ่งพนักงานขายในร้ านจะได้รับเท่ากันทุกคน หากขายสินค้าไม่ได้ตามกำหนด
โจทก์ ก็ ไม่ จ่ าย แสดงว่ าเงิ นดั งกล่ าวกำหนดขึ้ นเพื่ อสร้ างแรงจู งใจแก่ จำเลยร่ วมที่ ๒ และจำเลยที่ ๒ ให้ ขายสิ นค้ า
ให้ ได้ จ ำนวนมากที่ สุ ด “ค่ ารั กษาสิ นค้ า” เป็ นเงิ นที่ โจทก์ จ่ ายให้ โดยคำนวณจ่ ายเป็ นร้ อยละของยอดขายสิ นค้ า
ในแต่ละเดือนที่พนักงานในร้านทุกคนขายได้รวมกัน โดยมีเงื่อนไขว่าในเดือนนั้นต้องไม่มีสินค้าในร้านสูญ หาย
หากมีสิน ค้าสู ญ หายจะต้องนำราคาสิน ค้าที่สู ญหายมาหั กออกก่อนที่จะนำมาเฉลี่ ยให้ พนักงานขายในร้าน
เท่ากันทุกคน กรณีสินค้าสูญหายไปมากกว่าจำนวนเงินค่ารักษาสินค้า จำเลยร่วมที่ ๒ และที่ ๓ ก็จะไม่ได้รับ
เงินนี้อันเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างช่วยกันดูแลรักษาสินค้าไม่ให้สูญหาย “ค่าตำแหน่ง” โจทก์จ่ายให้
จำเลยร่วมทั้งสามเป็ น พิเศษ คำนวณจากการขายสิ นค้าบางรายการที่กำหนดไว้ หากขายได้ตามจำนวนที่
กำหนด และยั งรวมถึ งเงิน ที่ จ ากคะแนนประเมิน การบริการจากลู ก ค้าที่ โจทก์ส่ งมาทดสอบพนั กงานขาย
ประกอบเพื่อจ่ายเงินด้วย หากขายสินค้าไม่ได้หรือไม่ได้คะแนนจากการประเมินของลูกค้า จำเลยร่วมก็จะไม่ได้
เงินส่วนนี้เช่นกัน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๐๐ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

เงิน ทั้ งสามประเภทนี้ จึ งไม่ ใช่ ค่ า จ้ า งตามมาตรา ๕ แห่ งพระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ พิ พ ากษาแก้ เป็ น ว่ า ให้ แ ก้ ไขคำสั่ งพนั ก งานตรวจแรงงานเฉพาะส่ ว นจำนวนเงิน ค่ า ชดเชย
และค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าของจำเลยร่วมที่ ๒ และ ที่ ๓ นอกจากที่แก้ให้เ ป็นไปตามคำพิพากษา
ศาลแรงงานภาค ๖

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๐๑ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๒๙. โบนัส
ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๐๔๑ – ๓๐๔๕/๒๕๖๑ (โบนัส)
เรื่ อง การจ่ ายเงิ น รางวั ลพิ เศษ (โบนั ส) ตามระเบี ยบนายจ้ างกำหนดไว้ ชั ดเจนว่ าต้ องมี
สถานภาพเป็นพนักงาน ณ วันที่จ่ายโบนัส เมื่อลูกจ้างพ้นสภาพเป็นพนักงานตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗
แต่ กำหนดการจ่ ายเงิ นรางวั ลพิ เศษ (โบนั ส) คื อสิ้ นเดื อนกุ มภาพั นธ์ และสิ้ น เดื อนมิ ถุ น ายน นายจ้ างจึ ง
ไม่ต้องการจ่ายเงินรางวัลพิเศษ (โบนัส) ให้กับลูกจ้าง , เงินรางวัลพิเศษ (โบนัส) ไม่ใช่ค่าจ้าง
คดี นี้ โ จทก์ ทั้ ง ห้ า ฟ้ อ งว่ า โจทก์ กั บ พวกเป็ น ลู ก จ้ า งจำเลย ค่ า จ้ า งอั ต ราสุ ด ท้ า ยเดื อ นละ
๔๓,๔๓๐ บาท – ๘๓,๗๒๐ บาท จำเลยตกลงจ่ายเงินรางวัลพิเศษ (โบนัส) โดยวิธีการคำนวณจากรอบปีทำงาน
คือตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – ๓๑ ธันวาคม โดยจะประเมินผลการทำงานแล้วจะจ่ายเงินโบนัสในวันสิ้นเดือนมิถุนายน
และกุ มภาพั นธ์ ของปี ถั ดไป ต่ อมาจำเลยมี โครงการให้ สิ ทธิ พนั กงานออกจากงานก่ อนอายุ ๖๐ ปี โดยได้ รั บ
ผลประโยชน์ ตามโครงการ โจทก์ ยื่ นเรื่ องออกจากงานต่ อจำเลยตามโครงการ จำเลยอนุ มั ติ ให้ โจทก์ ที่ ๑ – ๔
ออกจากงานวั น ที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ และให้ โจทก์ ที่ ๕ ออกจากงานวั น ที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๘ ต่ อ มา
เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ และกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ จำเลยกลับไม่จ่ายเงินโบนัสแก่โจทก์กับพวก ขอบังคับให้จำเลย
จ่ายเงินโบนั สแต่โจทก์ทั้งห้ าและให้ จำเลยออกใบสำคัญการผ่านงาน จำเลยให้ การว่าโจทก์ทั้งห้ายื่นหนังสือขอ
เกษียณอายุการทำงานตนเองก่อนครบเกษียณปกติคือ ๖๐ ปี เมื่อจำเลยพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว จึงไม่ใช่
กรณีฐานะนายจ้างฝ่ายเดียวเลิกจ้าง แต่เป็นกรณีคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายสมัครใจเลิกสัญญากัน โจทก์ทั้งห้าพ้นสภาพ
จากการเป็นพนักงานแล้ว ณ วันที่มีการจ่ายเงินดังกล่าว โจทก์ทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลพิเศษ (โบนัส) ศาล
แรงงานภาค ๓ พิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งห้าอุทธรณ์
ศาลฎีกาเห็นว่า เงินรางวัลพิเศษ (โบนัส) มิใช่ค่าจ้าง แต่เป็นเงินตอบแทนประสิทธิผลในการทำงาน
ของลูกจ้าง นายจ้างย่อมมีดุลพินิจที่จะกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินรางวัลพิเศษ (โบนัส) ได้ เมื่อพิจารณาระเบียบ
ทรัพยากรบุ คคลของธนาคารจำเลย ข้อ ๑๕ ระบุว่า พนักงานได้รับการพิจารณาปรับค่าจ้างประจำปี เงินรางวัล
พิเศษ (โบนัส)...ข้อ ๔.๔ ระบุ ว่า คุณสมบั ติของพนักงานที่จะได้รับเงินรางวัลพิเศษ (โบนัส) ต้องมีสถานภาพเป็น
พนักงาน ณ วันที่จ่ายโบนัส ยกเว้นพนักงานที่เกษียณอายุ ๖๐ ปี...คุ๕สมบัติของพนักงานที่จะได้รับเงิน....ต้องมี
สถานภาพเป็นพนั กงาน ณ วันที่จ่ายโบนั ส เห็ นได้ว่า ไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้ แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็น
พนั กงานก่อนวันดังกล่าว จึงมีความหมายว่า พนักงานที่จะมีสิ ทธิได้รับเงินในปี เงินรางวัลพิเศษ (โบนั ส) ต้องมี
สถานภาพเป็นพนักงานของจำเลยอยู่ในวันครบกำหนดจ่ายเงินโบนัสด้วย เมื่อจำเลยอนุมัติให้โจทก์ที่ ๕ เกษียณอายุ
การทำงานก่อนอายุครบ ๖๐ ปี โดยให้มีผลวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ และอนุมัติให้โจทก์ที่ ๑ – ๔ เกษียณอายุการ
ทำงานก่อนอายุครบ ๖๐ ปี โดยให้มีผลวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๘ ก่ อนถึงกำหนดจ่ายเงินรางวัลพิเศษ (โบนัส)ใน
เดือนกุมภาพันธ์ของปี ๒๕๕๗ และปี ๒๕๕๘ โจทก์ทั้งห้าจึงสิ้นสภาพการเป็นพนักงานนับแต่วันที่การลาออกมีผล
เป็นต้นไป โจทก์ทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลพิเศษ (โบนัส) ดังกล่าว พิพากษายืน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๐๒ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๒. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๐๙๕๔/๒๕๕๖ (เงินโบนัส)


เรื่อง เงินโบนัสมิใช่ค่าจ้าง ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับต้องมีสภาพการเป็นพนักงานอยู่ในวันครบ
กำหนดจ่าย
เงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นรางวัลในการปฏิบัติงาน มิใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่าย
เป็นการตอบแทนการทำงานของลูกจ้างตามสัญญาจ้าง เงินโบนัสจึงมิ ใช่ค่าจ้างตามความหมายในมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุว่าพนักงานจะต้องมีสภาพ
เป็นพนักงานรายเดือนอยู่จนถึงวันจ่ายเงินโบนัสนั้น เว้นแต่กรณีการเกษียณอายุ แสดงว่าพนักงานที่จะมี สิทธิ
ได้ รับ โบนั ส จะต้ องมี ตัว ตนอยู่ ในวัน ที่ ครบกำหนดจ่ายเงินโบนัส การจำเลยเลิ ก จ้างโจทก์ให้ มีผ ลวันที่ ๒๕
กรกฎาคม ๒๕๔๕ ทำให้โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างตั้งแต่วันดังกล่าว ดังนั้นเมื่ อถึงกำหนดเวลาที่จำเลยจะ
จ่ายโบนัสให้แก่พนักงาน โจทก์สิ้นสภาพการเป็นพนักงานไปก่อนวันครบกำหนดการจ่ายเงินโบนัส โจทก์จึงไม่มี
สิทธิได้รับเงินโบนัสจากจำเลย

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๐๓ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๓๐. ค่าเช่ารถยนต์
ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๕๐๘๓/๒๕๖๑
เรื่อง การที่นายจ้างเลิกจ้างเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงไม่เป็นการละเมิดต่อ
ลู กจ้ า ง เมื่ อ ศาลกำหนดค่ า เสี ย หายจากการเลิ ก จ้ า งที่ ไม่ เป็ น ธรรมให้ แ ล้ ว การที่ ศ าลแรงงานกำหนด
ค่าเสียหายจากการละเมิดจึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายที่ซ้ำ ซ้อนโดยอาศัยมูลเหตุเดียวกัน ย่อมเป็นการ
ไม่ชอบ , ค่าเช่ารถยนต์จ่ายให้พนักงานเป็นผู้จัดหารถยนต์มาเอง ส่วนค่าน้ำมันรถยนต์และค่าโทรศัพท์
จ่ า ยตามที่ ใ ช้ จ ริ งมิ ใ ช่ ก ารเหมาจ่ า ย ดั งนั้ น ค่ า เช่ า รถยนต์ ค่ า น้ ำ มั น รถยนต์ และค่ า โทรศั พ ท์ จึ งเป็ น
สวัสดิการ ไม่ใช่ค่าจ้าง
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็ น ลู กจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๖ ตำแหน่งผู้ จัดการ
เครื่องดื่มฝ่ายการตลาด ได้รับ เงิน เดือนเดือนละ ๒๗๗,๒๔๐ บาท ค่าเช่ารถยนต์เดือนละ ๓๗,๕๐๐ บาท
ค่ าโทรศั พ ท์ เดื อ นละ ๑,๕๐๐ บาท และค่ า น้ ำ มั น รถยนต์ ๒๔๐ ลิ ต รต่ อ เดื อ น รวมเป็ น ค่ า จ้ างเดื อ นละ
๓๒๒,๙๒๔ บาท ต่อมาวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๐ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
เป็ น ต้ น ไป ขอบั งัค บให้ จ ำเลยจ่ ายค่าชดเชย ๓,๒๒๙,๒๔๐ บาท ค่าจ้างสำหรับ วัน หยุด พั กผ่ อ นประจำปี
๑๒๐,๑๓๗ บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๓๒๒,๙๒๔ บาท เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฝ่ายจำเลย
๒,๕๐๔,๗๑๒ บาท เงินโบนัส เป็นเงิน ๖๙๓,๑๐๐ บาท เงินรางวัลจากการแข่งขันพิเศษปี ๒๕๕๙ เป็นเงิน
๒๕๐,๐๐๐ บาท ค่าเสียหายจากการละเมิด ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
๗,๗๕๒,๗๖๘ บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่าโจทก์กระทำผิดวินัยร้ายแรงหลายกรณี
ศาลแรงงานกลางพิ จ ารณาแล้ ว พิ พ ากษาให้ จำเลยจ่ ายสิ น จ้ างแทนการบอกกล่ าวล่ ว งหน้ า
๒๗๗,๒๔๐ บาท ค่าจ้ างสำหรับ วัน หยุดพักผ่ อนประจำปี ๑๒๐,๑๓๗ บาท ค่าชดเชย ๒,๗๗๒,๔๐๐ บาท
เงินโบนัส ๕๒๘,๗๙๕ บาท เงินรางวัลการแข่งขันฯ ๒๕๐,๐๐๐ บาท ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่ เป็นธรรม
๒,๗๗๒,๔๐๐ บาท และค่าเสียหายจากการละเมิด ๕๕๔,๔๘๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย คำขออื่นให้ยก โจทก์และ
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า ค่าจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
มาตรา ๕ นั้น ต้องเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายตอบแทนการทำงานให้แก่ลูกจ้ างตามที่ตกลงกัน ส่วนสิทธิประโยชน์
ต่าง ๆ ที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อความสะดวกในการทำงานหรือเป็นสวัสดิการ แม้นายจ้างจะจ่ายเงิน
ดังกล่าวจำนวนแน่นอนเท่า ๆ กันทุกเดือน ก็ไม่ เป็นค่าจ้าง ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยจะจ่ายค่าเช่ารถยนต์
รายเดือนให้แก่พนักงานเมื่อพนั กงานเป็นผู้จัดหารถยนต์มาเอง ส่วนค่าน้ำมันรถยนต์และค่าโทรศัพท์ จำเลย
จะจ่ายให้แก่พนักงานตามที่ใช้จริงมิใช่การเหมาจ่าย ดังนั้น ค่าเช่ารถยนต์ ค่าน้ำมันรถยนต์ และค่าโทรศัพท์ที่
จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์จึงเป็นสวัสดิการที่จำเลยจัดให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานในตำแหน่งดังกล่ าว มิใช่เงินที่
นายจ้างและลูกจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ
เป็นรายเดือนแก่โจทก์จึงไม่ใช่ค่าจ้าง
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๑๐๔ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ประเด็นละเมิด ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการใช้สิทธิตาม


สัญญาจ้างแรงงานจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ แม้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยผิดสัญญาจ้างแรงงาน แต่เมื่อ
ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสี ยหายจากการเลิ กจ้างที่ มเป็นธรรม เนื่องจากเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอัน
สมควร ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นมูลคดีเดียวกันกับการเลิกจ้างโดยผิดสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามที่โจทก์
อ้างว่าเป็นการละเมิดก็ตามให้แก่โจทก์แล้ว จึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อนโดยอาศัยมูลเหตุเดียวกัน
ย่อมเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายจาการละเมิดให้แก่โจทก์ นั้น ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญ
พิเศษไม่เห็นพ้องด้วย
พิพ ากษาแก้เป็ น ยกฟ้ อ งโจทก์ ในส่ ว นค่าเสี ยหายจาการละเมิด นอกจากที่ แก้ให้ เป็ นไปตาม
คำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๐๕ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๓๑. เงินตอบแทนพิเศษ
ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๔๘๘๐ - ๔๙๑๓/๒๕๖๑ (รัฐวิสาหกิจ)
เรื่อง เงินตอบแทนพิเศษเดือนละ ๖,๐๐๐ บาท นายจ้างมีเจตนาจ่ายเงินตอบแทนให้เฉพาะ
ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารที่ระบุไว้ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารเท่านั้น ซึ่งสามารถยกเลิกหรือ
เปลี่ยนแปลงเกณฑ์ การจ่ายได้ตามความเหมาะสม เงินตอบแทนพิเศษ จึงไม่ใช่ “ค่ าจ้าง” ตามประกาศ
คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรี่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ข้อ ๔ ที่จะต้อง
นำมารวมคำนวณจ่ายเงินชดเชย
คดีนี้ โจทก์ทั้ ง ๓๔ สำนวน ฟ้ องว่า โจทก์ ทั้ง ๓๔ คน เป็ นพนั กงานของจำเลยและเข้ าสมัค ร
เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดระหว่างปี ๒๕๕๐ - ๒๕๕๙ จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจไม่ได้ปฏิบัติตาม
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๖ และประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ
สัมพันธ์ เรี่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ข้ อ ๔ กล่าวคือ จำเลยกำหนดให้ใช้เงินเดือน
เดือนกันยายนในปีที่โจทก์แต่ละคนสมัครเข้าร่วมโครงการเป็นฐานในการคำนวณเพื่อจ่ายเงินตอบแทน และเงิน
ชดเชย โดยละเว้ น ไม่ น ำเอาเงิน ประจำตำแหน่ งหรื อ เรี ย กว่ า เงิ น ตอบแทนพิ เศษที่ มี ก ารประจำเดื อ นละ
๖,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นค่าจ้างมารวมคำนวณเงินชดเชย เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท ให้แก่โจทก์กับพวก ขอให้บั งคับ
จำเลยชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า เงินตอบแทนแก่ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารเป็นการจ่าย
เพื่ อเป็ น แรงจู งใจในการทำงาน ไม่ใช่ตอบแทนการทำงาน จึงไม่ใช่ค่าจ้าง ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ ว
พิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้ง ๓๔ คน อุทธรณ์
ศาลอุ ท ธรณ์ ค ดี ช ำนั ญ พิ เศษ เห็ น ว่า การพิ จ ารณาว่า เงิน ดั งกล่ าวเป็ น ค่ า จ้ าง ตามประกาศ
คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ข้อ ๔ หรือไม่
ต้องพิจารณาว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีเจตนาจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานหรือไม่ ซึ่งคำสั่งของเลยที่.../๒๕๔๙
ที่มใช้บังคับเกี่ยวกับการจ่ายเงินตอบแทนพิเศษกำหนดว่า ข้อ ๑ ผู้ดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้อำนวยการสำนัก ให้ได้รับเงินตอบแทนพิเศษ
เดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๒ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่าย สำนักสำนักงานศูนย์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย...ให้ได้รับ
เงินตอบแทนพิเศษเดือนละ ๖,๐๐๐ บาท ข้อ ๗ เงินตอบแทนพิเศษ เป็นเงินนอกเหนือจากเงินเดือนไม่ใช้เป็น
ฐานในการคำนวณสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินเดือนและสวัสดิการ และเป็นอำนาจของจำเลยที่จะ
ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาจ่ายเงินตอบแทนให้เฉพาะผู้ดำรง
ตำแหน่ งบริห ารที่ร ะบุ ไว้ในข้อ ๑ และข้อ ๒ เพื่อเป็ นแรงจูงใจให้ ผู้ ดำรงตำแหน่ งบริห ารเท่านั้ น ซึ่งจำเลย
สามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การจ่ายได้ ตามความเหมาะสม เงินตอบแทนพิเศษ จึงไม่ใช่ค่าจ้างที่
จะต้องนำมารวมคำนวณจ่ายเงินชดเชย พิพากษายืน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๐๖ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๒. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๔๙๓๘ - ๕๐๓๖/๒๕๖๑ (รัฐวิสาหกิจ)


เรื่ อง เงิน ตอบแทนพิ เศษเดื อ นละ ๖,๐๐๐ , ๑๐,๐๐๐ บาท นายจ้ า งมี เจตนาจ่ า ยเงิ น
ตอบแทนให้เฉพาะผู้ด ำรงตำแหน่งบริหารที่ระบุไว้ เพื่อเป็น แรงจูงใจให้ผู้ด ำรงตำแหน่งบริหารเท่านั้น
ซึ่งสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ การจ่ายได้ตามความเหมาะสม เงินตอบแทนพิเศษ จึงไม่ใช่
“ค่ า จ้ า ง” ตามประกาศคณะกรรมการรั ฐ วิส าหกิจ สั ม พั น ธ์ เรี่ อ ง มาตรฐานขั้ น ต่ ำ ของสภาพการจ้า ง
ในรัฐวิสาหกิจ ข้อ ๔ ที่จะต้องนำมารวมคำนวณจ่ายเงินชดเชย
คดี นี้ โจทก์ทั้ ง ๓๔ สำนวน ฟ้ องว่า โจทก์ ทั้ง ๓๔ คน เป็ นพนั กงานของจำเลยและเข้ าสมัค ร
เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดระหว่างปี ๒๕๕๐ - ๒๕๕๙ จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจไม่ได้ปฏิบัติตาม
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจ สัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๖ และประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิ จ
สัมพันธ์ เรี่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ข้อ ๔ กล่าวคือ จำเลยกำหนดให้ใช้เงินเดือน
เดือนกันยายนในปีที่โจทก์แต่ละคนสมัครเข้าร่วมโครงการเป็นฐานในการคำนวณเพื่อจ่ายเงินตอบแทน และเงิน
ชดเชย โดยละเว้ น ไม่ น ำเอาเงิน ประจำตำแหน่ งหรื อ เรี ย กว่ า เงิ น ตอบแทนพิ เศษที่ มี ก ารประจำเดื อ นละ
๖,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นค่าจ้างมารวมคำนวณเงินชดเชย เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท ให้แก่โจทก์กับพวก ขอให้บังคับ
จำเลยชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า เงินตอบแทนแก่ผู้ดำรงตำแหน่งบริห ารเป็นการจ่าย
เพื่ อเป็ น แรงจู งใจในการทำงาน ไม่ใช่ตอบแทนการทำงาน จึงไม่ ใช่ค่าจ้าง ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ ว
พิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้ง ๓๔ คน อุทธรณ์
ศาลอุ ท ธรณ์ ค ดี ช ำนั ญ พิ เศษ เห็ น ว่า การพิ จ ารณาว่า เงิน ดั งกล่ าวเป็ น ค่ า จ้ าง ตามประกาศ
คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ข้อ ๔ หรือไม่
ต้องพิจารณาว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีเจตนาจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานหรือไม่ ซึ่งคำสั่งของเลยที่.../๒๕๔๙
ที่มใช้บังคับเกี่ยวกับการจ่ายเงินตอบแทนพิเศษกำหนดว่า ข้อ ๑ ผู้ดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้อำนวยการสำนัก ให้ได้รับเงินตอบแทนพิเศษ
เดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๒ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่าย สำนักสำนักงานศูนย์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย...ให้ได้รับ
เงินตอบแทนพิเศษเดือนละ ๖,๐๐๐ บาท ข้อ ๗ เงินตอบแทนพิเศษ เป็นเงินนอกเหนือจากเงินเดือนไม่ใช้เป็น
ฐานในการคำนวณสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินเดือนและสวัสดิการ และเป็นอำนาจของจำเลยที่จะ
ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาจ่ายเงินตอบแทนให้เฉพาะผู้ดำรง
ตำแหน่ งบริห ารที่ร ะบุ ไว้ ในข้อ ๑ และข้อ ๒ เพื่อเป็ นแรงจูงใจให้ ผู้ ดำรงตำแหน่ งบริห ารเท่านั้ น ซึ่ งจำเลย
สามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การจ่ายได้ตามความเหมาะสม เงินตอบแทนพิเศษ จึงไม่ใช่ค่าจ้างที่
จะต้องนำมารวมคำนวณจ่ายเงินชดเชย พิพากษายืน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๐๗ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๓. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๔๙๓/๒๕๖๐
เรื่อง เงิน ค่ าตอบแทนพิ เศษทางการตลาด ไม่ เป็ น ค่ าจ้า ง นายจ้ า งจึง เสี ยดอกเบี้ ย เพี ย ง
ร้อยละ ๗.๕ ต่อปี , นายจ้างเลิกจ้างก่อนครบกำหนดในสัญญาจ้าง สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลง ความสัมพันธ์
ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างย่อมไม่มี เมื่อลูกจ้างมิได้ทำงานให้นายจ้างอีก นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง
ให้แ ก่ลูกจ้ าง การที่ศ าลพิ พากษาให้น ายจ้างมี หน้า ที่ต้องจ่ายค่ าจ้างให้ แก่ลูกจ้างไปจนครบระยะเวลา
ที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง จึงไม่ถูกต้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการนวดแผนโบราณและสปา จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์
ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการทำหน้าที่บริหารจัดการมีระยะเวลาการจ้าง ๒ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑๒ มกราคม
๒๕๕๕ – ๑๓ มกราคม ๒๕๕๗ ต่อมาวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๖ จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโดยที่โจทก์มิได้กระทำ
ความผิด ขอบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษทางการตลาด ค่าผลการทำงาน ค่าจ้างที่จำเลยต้องจ่าย
หากโจทก์ปฏิบัติงานครบตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ค่าชดเชย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และ
เงิน อื่ น ๆ พร้ อ มดอกเบี้ ย ศาลแรงงานภาค ๕ พิ พ ากษาให้ จ ำเลยชำระค่ าชดเชย เงิน ค่ าตอบแทนพิ เศษ
ทางการตลาด ๑,๒๓๙,๔๑๕.๔๐ บาท ค่าจ้างส่วนที่โจทก์ไม่ได้ทำงานเนื่องจากจำเลยเลิกจ้างก่อนครบกำหนด
๒๐๔,๐๑๒.๖๔ บาท เงินอื่น ๆ พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปี ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี จำเลยอุทธรณ์
ประเด็นว่าจำเลยต้องชำระค่าจ้างในส่วนที่โจทก์ไม่ได้ทำงานเนื่องจากเลิกจ้างก่อนครบกำหนด
หรือไม่ ศาลฎี กา เห็ น ว่า เมื่อสั ญ ญาจ้างสิ้ นสุ ดลงเพราะจำเลยเลิ กจ้าง ความสั มพั นธ์ระหว่ างจำเลยผู้ เป็ น
นายจ้ างกับ โจทก์ซึ่งเป็ น ลู กจ้ างย่ อมไม่มี เมื่อโจทก์มิได้ท ำงานให้ แก่จำเลยอีก จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้ าง
ซึ่งเป็นเงินที่โจทก์จะได้รับเมื่อทำงานให้แก่จำเลย ที่ศาลแรงงานภาค ๕ พิพากษาให้จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่าย
ค่าจ้างให้แก่โจทก์ไปจนครบระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
ประเด็น เงินค่าตอบแทนพิเศษทางการตลาด ศาลฎีกาเห็ นว่า เมื่อได้ความว่าเงินค่าตอบแทน
พิ เศษทางการตลาดและค่ าน้ ำมั น รถเป็ น เงิน ที่ จ ำเลยจ่ ายเป็ น สวั ส ดิ ก ารแก่ โจทก์ มิ ใช่ จ่ ายเพื่ อ ตอบแทน
การทำงานในวั น และเวลาทำงานปกติ เงิ น ทั้ ง สองจำนวนดั ง กล่ า วจึ ง มิ ใ ช่ ค่ า จ้ า งตามมาตรา ๕
และมิใช่เงินตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ที่ศาลแรงงานภาค ๕ กำหนด
ดอกเบี้ยระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ ๑๕ ต่อปี จึงไม่ถูกต้อง แต่เงินทั้งสองประเภทเป็นหนี้เงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับ
ดอกเบี้ยระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๒๔
วรรคหนึ่ง ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ศาลฎี ก ามี อ ำนาจยกขึ้ น วิ นิ จ ฉั ย และแก้ ไ ขให้ ถู ก ต้ อ งได้ ตามประมวลกฎหมายวิ ธี พิ จ ารณาความแพ่ ง
มาตรา ๑๔๒ (๕) และ มาตรา ๒๔๖ ประกองพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยไม่ต้องชำระค่าจ้างส่วนที่โจทก์ไม่ได้ทำงานเนื่องจากจำเลย
เลิ กจ้ างก่อนครบกำหนด ให้ จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงิน ค่าตอบแทนพิเศษ
ทางการตลาดและค่าน้ำมันรถ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานภาค ๕

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๐๘ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๓๒. ค่าผ่านทาง
ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๘๕๐/๒๕๖๐ (ค่าผ่านทาง)
เรื่อง นายจ้ างจ่าย “ค่าน้ำมันรถยนต์” กับ “ค่าผ่านทาง” ให้แก่ลูกจ้างตามใบเสร็จ
นำไปแสดงและเบิกตามที่จ่ายไปจริง หากไม่มีใบเสร็จรับเงินไม่ส ามารถเบิกเงินได้ และให้สิทธิลูกจ้างใช้
รถยนต์ประจำตำแหน่งเท่านั้น ไม่ให้เลือกรับเงินแทนสิทธิการใช้รถยนต์ ดังนั้น “ค่าน้ำมันรถ ค่าผ่านทาง
และค่ารถยนต์ประจำตำแหน่ง” จึงไม่ใช่ค่าจ้าง
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็ นลู กจ้างจำเลย เริ่มทำงานตั้งแต่เดือนกุ มภาพันธ์ ๒๕๔๑ ตำแหน่ ง
สุ ด ท้ า ยเป็ น ผู้ จั ด การฝ่ า ยขายและการตลาด ค่ าจ้ า งเดื อ นละ ๖๑,๐๐๐ บาท ค่ า น้ ำ มั น และค่ า ผ่ า นทาง
เฉลี่ยเดือนละ ๑๘,๐๐๐ บาท ค่ารถยนต์ประจำตำแหน่งเดือนละ ๑๕,๐๐๐ บาท รวม ๙๔,๐๐๐ บาท ต่อมา
วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๕ จำเลยเลิกจ้างโจทก์กล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิด ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์มีพฤติกรรมการทุจริต ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับกรณีร้ายแรง ทำให้จำเลย
ได้ รั บ ความเสี ย หาย ศาลแรงงานกลางพิ จ ารณาแล้ ว พิ พ ากษาให้ จ ำเลยจ่ ายค่ าชดเชย สิ น จ้ า งแทนการ
บอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย จำเลยอุทธรณ์
ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์กับค่าผ่านทาง
ให้แก่โจทก์ตามใบเสร็จนำไปแสดงต่อจำเลยและเบิกตามที่โจทก์จ่ายไปจริง หากไม่มีใบเสร็จรับเงินไม่สามารถ
เบิกเงินได้ และให้สิทธิโจทก์ใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งเท่านั้น ไม่ให้เลือกรับเงินแทนสิทธิการใช้รถยนต์ประจำ
ตำแหน่ ง ค่าน้ำมัน รถ ค่าผ่านทาง และค่ารถยนต์ประจำตำแหน่งจึงไม่ใช่ ค่าจ้าง เมื่ อศาลแรงงานกลางฟั ง
ข้อเท็จจริงว่าโจทก์มิได้ทุจริตเบิกค่าอาหารและค่าน้ำมัน มิได้เข้าแทรกแซงการจัดซื้อวัตถุดิบของจำเลย หรือ
กระทำผิดโดยขายสิน ค้าให้ แก่บ ริษัทต่าง ๆ โดยไม่พิจารณาให้ รอบคอบ จำเลยจึงไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้าง
ไม่ไว้วางใจโจทก์ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปและเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยเลิกจ้างจึงต้อง
จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจาการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิพากษายืน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๐๙ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๓๓. ค่ากะดึก
ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๕๙๗/๒๕๖๐ (เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน)
เรื่อง ค่ากะดึก ๔๐ บาท จ่ายให้เฉพาะพนักงานกะกลางคืนเท่านั้นเพื่อเป็นการสงเคราะห์
ค่าอาหารและค่าเดินทาง เดือนละ ๕๐๐ บาท จ่ายเพื่อช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย ค่าเที่ยว จ่ายให้
พนักงานขับรถที่ออกนอกพื้นที่จังหวัดชลบุรีและปราจีนเท่านั้น ดังนั้ น ค่ากะดึก ค่าอาหารและค่าเดินทาง
ค่าเที่ยว จึงไม่ใช่ค่าจ้าง
คดี นี้ โ จทก์ ฟ้ อ งขอให้ เพิ ก ถอนคำวิ นิ จ ฉั ย ของคณะกรรมการกองทุ น เงิ น ทดแทน กรณี ที่
คณะกรรมการได้มีมติยกอุทธรณ์โจทก์ โดยวินิจฉัยว่า ค่ากะ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง และค่าเที่ยว เป็นค่าจ้าง
โจทก์ ไม่ เห็ น ด้ ว ย ศาลแรงงานภาค ๒ พิ จ ารณาแล้ ว พิ พ ากษาให้ เพิ ก ถอนคำวิ นิ จ ฉั ย ของจำเลยส่ ว นที่
วินิจฉัยว่า ค่ากะกลางคืน ค่าอาหาร ค่าเดินทาง และค่าเที่ยว ถือเป็นค่าจ้างที่ต้องชำระเงินสมทบจากการตรวจ
บัญชีค่าจ้างประจำปี ๒๕๕๓ และเงินเพิ่มตามกฎหมาย ให้จำเลยชำระเงิน ๔,๓๑๓ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ
๗.๕ ต่อปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้อง คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก จำเลยอุทธรณ์
ศาลฎีกาเห็นว่า ค่ากะกลางคืน ๔๐ บาท โจทก์ประกาศให้เป็นการช่วยเหลือพนักงานที่เข้ากะ
กลางคืน เนื่องจากพนักงานที่ทำงานกะกลางคืนโจทก์ไม่ได้จัดให้มีร้านขายอาหารเวลากลางคืน และเงินค่ากะ
กลางคืนจะจ่ายตามเงื่อนไขให้พนักงานที่มาทำงานวันต่อวัน และจ่ายให้เฉพาะพนักงานที่มาทำงานกะกลางคืน
เท่านั้ น ค่ากะ ๔๐ บาท ต่อวัน ดังกล่ าวจึ งมิ ใช่ค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ แต่เป็ น
สวัสดิการที่โจทก์ให้แก่ลูกจ้าง ไม่ใช่ค่าจ้าง ส่วนค่าอาหารและค่าเดิน ทาง โจทก์ได้ประกาศเพิ่ม สวัสดิการ
ค่ า อาหารเดื อ นละ ๔๒๕ บาท และค่ า เดิ น ทางเดิ น ทางเดื อ นละ ๔๒๕ บาท เป็ น เดื อ นละ ๕๐๐ บาท
เพื่อช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของพนักงานเท่านั้น มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลา
ทำงานปกติ โจทก์ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ โดยชั ด แจ้ ง ว่า ต้ อ งการช่ ว ยเหลื อ แบ่ ง เบาภาระค่ า ใช้ จ่ า ยของพนั ก งาน
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการปรับเพิ่มค่าอาหารและค่าเดินทาง
จากเดิมที่เคยประกาศให้เป็ น สวัสดิการอยู่ แล้ว แม้เงินดังกล่ าวจะมีลักษณะเป็นการจ่ายประจำทุกเดือนมี
จำนวนแน่นอนและไม่มีเงื่อนไขแต่ก็เป็นเพียงเงินช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของพนักงานเท่านั้นมิใช่จ่าย
เพื่ อ ตอบแทนการทำงานในวัน เวลาทำงานปกติ ดั งนั้ น ค่ าอาหารและค่ าเดิ น ทางจึ งเป็ น เพี ย งสวัส ดิ ก าร
ไม่ใช่ค่าจ้าง สำหรับค่าเที่ยว ๔๐ บาท ต่อเที่ยว โจทก์ประกาศให้เป็นสวัสดิการช่วยเหลือพนักงานขับรถที่ต้อ ง
เดินทางไปยั งสถานที่ต่าง ๆ ตามที่โจทก์ได้ จัดสวัสดิการรถรับส่งผู้บริหารชาวต่างชาติ โดยมีเงื่อนไขการจ่าย
ว่าพนักงานขับรถจะได้ค่าเที่ยวเพิ่มเมื่อออกไปปฏิบัติงานนอกพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีหรือจังหวัดชลบุรีเท่านั้น
โจทก์มิได้มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการด้านขนส่ง การทำงานของพนักงานขับรถจึงเป็นการปฏิบัติงานอยู่ใน
พื้นที่ ส่วนการปฏิบัติงานนอกเหนือหน้าที่ปกตินอกพื้นที่จึงมิใช่การปฏิบัติหน้าที่แน่นอนเป็นประจำและไม่มี
พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์จ่ายค่าเที่ยวให้แก่พนักงานขับรถเพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานในวันและเวลา

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๑๐ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ทำงานปกติ ดังนั้น ค่าเที่ยวดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นครั้งคราวเมื่อไปทำงานนอกพื้นที่


ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของการตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ จึงไม่ใช่ค่าจ้าง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๑๑ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๓๔. ค่าอาหาร
ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๔๙๑/๒๕๕๙ (ค่าอาหาร)
เรื่อง นายจ้างจ่ายค่าอาหารให้ลูกจ้างคนละ ๗๐๐ บาท และค่ากระดาษทิชชู อีกคนละ
๑๐ บาทต่อเดือน โดยมีเจตนาแต่แรกที่จะให้เป็นสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือพนักงานประจำยกเว้นพนักงาน
ทดลองงานและพนักงานระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไป จึงไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๕
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครอง
แรงงานจังหวัด... ที่ ../๒๕๕๓ ลงวันที่ .. มกราคม ๒๕๕๓ และให้ถือว่า เงินค่าอาหารและค่ากระดาษทิชชูเป็น
ค่าจ้าง และเมื่อนำมารวมกับค่าจ้างปกติที่ลูกจ้างได้รับรวมเป็นฐานคำนวณค่ าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด
ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และดอกเบี้ยตามคำร้องแล้ว โจทก์จะได้รับค่าล่วงเวลา ๑.๕ เท่า หรือ ๑๕๐ เปอร์เซ็นต์
ของงวดวันที่ ๒๑/๐๒/๒๐๐๘ ถึง ๒๐/๐๙/๒๐๐๙ เป็นเงิน ๘๕๗.๐๔ บาท ค่าทำงานในวันหยุด ๑ เท่า หรือ
๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ของงวดวันที่ ๒๑/๐๒/๒๐๐๘ ถึง ๒๐/๐๙/๒๐๐๙ เป็นเงิน ๔๓๙.๐๖ บาท และค่าล่วงเวลา
ในวันหยุด ๓ เท่า หรือ ๓๐๐ เปอร์เซ็นต์ ของงวดวันที่ ๒๑/๐๒/๒๐๐๘ ถึง ๒๐/๐๙/๒๐๐๙ เป็นเงิน ๔๔๑.๑๓
บาท พร้อมดอกเบี้ย ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า บริษัท (ประเทศไทย)
จำกัด นายจ้างได้รับโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งพนักงานประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ ๓
พฤษภาคม ๒๕๓๑ เดิมบริษัทนายจ้างมอบคูปองเป็นค่าอาหารให้ลูกจ้างวันละใบมูลค่า ๕ บาท และปี ๒๕๓๕
มอบกระดาษทิชชูให้ลูกจ้างคนละ ๒ ม้วนต่อเดือน ปัจจุบันนายจ้างจ่ายค่าอาหารให้ลูกจ้างคนละ ๗๐๐ บาท
และค่ากระดาษทิชชู อีกคนละ ๑๐ บาทต่อเดือน โจทก์เคยนำค่าอาหารรวมกับค่าจ้างเป็นฐานคำนวณเงิน
ประกันสังคมที่นายจ้างเก็บจากลูกจ้างนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคม
จังหวัด...มีหนังสือแนะนำนายจ้างไม่ต้องนำเงินค่าอาหารมาคำนวณเป็นค่าจ้างเพื่อส่งเงินสมทบเข้ากองทุน
ประกั น สั งคม บริ ษั ท นายจ้ างมี ร ะเบี ย บข้อ บั งคั บ การทำงานใช้ บั งคั บ มาตั้ งแต่ ปี ๒๕๔๑ ถึ งปั จ จุ บั น โดย
กำหนดให้เงินค่าอาหารและค่ากระดาษทิ ชชูเป็นสวัสดิการไว้ในหมวด ๑๒ สวัสดิการ ข้อ ๑๒.๑ ถึง ๑๒.๑๐
แล้ววินิจฉัยว่าเงินค่าอาหารและค่ากระดาษทิชชูไม่เป็นค่าจ้าง
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า เงินค่าอาหารและค่ากระดาษทิชชูที่บริษัท
นายจ้างจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนเป็นค่าจ้างหรือไม่ โดยโจทก์อุทธรณ์ว่าสวัสดิการหมายถึงสิ่งของไม่ใช่
ตัวเงินซึ่งสอดคล้องกับกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่ล้วนแต่
เป็ น สิ่งของไม่ใช่ตั วเงิน ทั้งเงิน ค่าอาหารและค่ากระดาษทิช ชูบ ริษัทนายจ้างให้ โจทก์เป็นจำนวนที่แน่นอน
ขาดลามาสายไม่หักเงิน ดังกล่าว ค่าอาหารและค่ากระดาษทิชชูจึงเป็นค่าจ้าง เห็นว่า ตามระเบียบข้อบังคั บ
การทำงานของบริษัทนายจ้างกำหนดเรื่องการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างไว้ในหมวดที่ ๑๒ ประกอบด้วยการตรวจ
สุขภาพประจำปี การบริการข้าวสวย การบริการรับ - ส่งพนักงาน เงินค่าอาหาร การเข้ารับการรักษาพยาบาล
ณ สถานพยาบาลของบริษัทนายจ้ าง การประกันภัยหมู่ เงินช่วยเหลือค่าทำศพ เครื่องแบบพนักงานและ
อุปกรณ์ในการทำงาน การเบิกค่ารักษาพยาบาลและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับเงินค่าอาหารกำหนดไว้ว่า
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๑๑๒ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

บริษัทนายจ้างจะให้เงินช่วยเหลือเป็นค่าอาหารแก่พนักงานทุกคนที่เป็นพนั กงานประจำของบริษัทตามสภาพ
การจ้าง ยกเว้นพนักงานทดลองงานและพนักงานระดับผู้จัด การแผนกขึ้นไปจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือค่าอาหาร
ประกอบกับข้อเท็จจริงปรากฏว่า เดิมบริษัทนายจ้างมอบคูปองค่าอาหารให้ลูกจ้างวันละใบมูลค่า ๕ บาท และ
ต่อมาปี ๒๕๓๕ บริษัทนายจ้างมอบกระดาษทิชชู ให้ลูกจ้างคนละ ๒ ม้วนต่อเดือน ย่อมแสดงให้เห็นว่า บริษัท
นายจ้างมีเจตนาแต่แรกที่จะให้ค่าอาหารเป็นสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือพนักงานประจำยกเว้นพนักงานทดลอง
งานและพนั กงานระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไป จึงกำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับการทำงานในหมวดสวัสดิการ
และเห็น เจตนาชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่ อระยะแรกบริษัทนายจ้างจ่ายค่าอาหารเป็นคูปองและจ่ายกระดาษทิช ชูให้
ลูกจ้าง แม้ต่อมาบริษัทนายจ้างจะเปลี่ยนการจ่ายค่าอาหารเป็นคูปองและการจ่ายกระดาษทิช ชูมาเป็นตัวเงิน
โดยจ่ายให้พนักงานที่มีสิทธิได้รับทุกคนเป็นประจำทุกเดือนโดยไม่มีเงื่อนไขว่าพนักงานจะขาดลามาสายหรือไม่
ก็เพื่ อความสะดวกในการปฏิ บั ติข องบริ ษั ทนายจ้างเท่ านั้ น มิ ได้ แสดงว่าเมื่ อบริษั ทนายจ้างเปลี่ ยนการให้
สวัสดิการจากรูปแบบอื่นมาเป็นตัวเงินจะทำให้สวั สดิการดังกล่าวกลายเป็นค่าจ้าง สวัสดิการจึงเป็นตัวเงินได้
ไม่ จ ำต้ อ งเป็ น แต่ สิ่ ง ของหรื อ บริ ก ารที่ น ายจ้ า งจั ด ให้ ลู ก จ้ า ง ดั ง นั้ น เงิ น ค่ า อาหารเดื อ นละ ๗๐๐ บาท
และค่ากระดาษทิชชูเดือนละ ๑๐ บาท ที่บริษัทนายจ้างจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนจึงเป็นสวัสดิการ ไม่ใช่
ค่าจ้ า งตามความหมายของพระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๕ ที่ ศ าลแรงงานกลาง
พิพากษามานั้นชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๑๓ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๓๕. ค่าชิ้นงาน
ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๗๕๖ – ๙๗๖๕/๒๕๕๙
เรื่อง “ค่าชิ้ นงาน” นายจ้ างจ่ายให้พนักงานโดยกำหนดค่าชิ้น งานเป็น อัตราร้อยละของ
ค่าจ้างของกลุ่ม กำหนดขั้นสูงสุดต่ำสุดจะได้รับค่าชิ้นงานลดหลั่นลงตามลำดับ อีกทั้งค่าชิ้นงานคิดจาก
ร้อยละของค่าจ้างรวมของกลุ่ม ดังนั้น พนักงานแต่ละกลุ่มจะได้รับเงินจริงจากค่าชิ้นนานจึงขึ้ นอยู่กับอัตรา
ค่าจ้างที่พนักงานแต่ละคนได้รับ มิใช่ได้รับในอัตราชิ้นงานตายตัวทุกชิ้นงาน ค่าชิ้นงานจึงเป็นการจ่ายเพื่อ
ตอบแทนความขยันของพนักงานและจูงใจให้พนักงานแผนกบรรจุสินค้าจำนวนชิ้นงานเพิ่มขึ้น ไม่ใช่เป็น
การจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานโดยตรง จึงไม่ใช่ค่าจ้าง
คดีโจทก์กับพวกรวม ๑๑ คน ฟ้องว่า โจทก์กับพวกทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยในแผนกบรรจุสินค้า
(PACKINGX) จำเลยมีวัตถุประสงค์จำหน่ายเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ทางการแพทย์ โจทก์กับพวก
ได้รับค่าจ้าง ค่าตำแหน่ง เบี้ยขยัน ค่าครองชีพ ค่าชิ้นงาน (INCENTIVE) วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๕ จำเลยเรียก
โจทก์กับพวกทั้งสิบเอ็ดคนประชุมแจ้งยกเลิกเงินสวัสดิการเงินเปอร์เซ็นต์ชิ้นงานและค่าตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้า
แผนก โจทก์กับพวกไม่ยินยอม วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๕ จำเลยกลั่นแกล้งโจทก์กับพวกไม่ให้ทำงานล่วงเวลา
วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ จำเลยสั่งด้วยวาจาให้ โจทก์ทั้งสิบเอ็ดย้ายไปทำงานประจำแผนกคลังสินค้า ทำงาน
เกี่ยวกับการเขียนกำกับกล่องบรรจุสินค้า ลากและยกสินค้า อันเป็นการเปลี่ยนแปลงงานด้วยความไม่เป็นธรรม
ที่ยกเลิกค่าชิ้นงาน ค่าตำแหน่ง และค่าล่วงเวลา ทำให้โจทก์กับพวกขาดรายได้ เป็นการขัดหรือแย้งกับข้อตกลง
เกี่ยวกับสภาพการจ้างและไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จำเลยให้การว่าตามสัญญาจ้างและข้อบังคับฯ จำเลยมีสิทธิ
แต่งตั้งโยกย้ายไปทำงานตำแหน่งอื่นได้ จำเลยย้ายโจทก์หน้าที่การงานไม่ต่ำกว่าเดิม สวัสดิการ ค่าจ้าง ไม่ได้
ลดลง ค่าชิ้นงานไม่ใช่ค่าจ้างแต่เป็นเงินจูงใจ จำเลยไม่ได้สั่งให้โ จทก์ทำงานล่วงเวลา โจทก์กับพวกจึงไม่มีสิทธิ
ได้รับค่าล่วงเวลา เมื่อโจทก์ที่ ๑ ย้ายไปตำแหน่งประจำแผนกคลังสินค้าจะไม่มีสิทธิได้รับ ค่าตำแหน่ง ขอให้
ยกฟ้อง
ศาลแรงงานภาค ๒ เห็นว่า เมื่อโจทก์ทั้งสิบเอ็ดไม่ได้บรรจุสินค้าและทำงานล่วงเวลา จำเลยจึงไม่
มีหน้าที่จ่ายค่าชิ้นงาน ค่าล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และค่าตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าแผนก ตามสัญญาจ้าง
โจทก์กับพวกตกลงให้จำเลยมีสิทธิมอบหมายหน้าที่ การงานที่จำเลยเห็นว่าสมควรให้โจทก์ปฏิบัติได้ตามความ
เหมาะสมกับการดำเนินการของจำเลย ให้ถือว่าข้อบังคับการทำงานของจำเลยเป็นส่วนหนึ่ งของสัญ ญาจ้าง
และตามข้อบังคับฯ จำเลยมีสิทธิพิจารณาโยกย้ายพนักงานไปทำงานในหน่วยงานอื่นภายในบริษัทของจำเลย
ได้ตามความเหมาะสม ลักษณะที่จำเลยโยกย้ายโจทก์กับพวกเป็ นการบริหารงานตามความจำเป็นเห็นสมควร
เมื่อพนักงานร้อยละ ๙๗ เห็นชอบด้วยกับการจ่ายเงินจูงใจระบบใหม่ โจทก์ทั้งสิบเอ็ดไม่ได้ทำงานในแผนก
บรรจุสินค้าทำให้ไม่มีส่วนได้เสียกับเงินจูงใจระบบใหม่ พิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งสิบเด็ดอุทธรณ์
ประเด็นค่าชิ้นงานเป็นค่าจ้างหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยจ่ายค่าชิ้นงานให้พนักงานเป็นกลุ่ม
แต่ละกลุ่มประกอบด้วยพนักงาน ๔ คน โดยกำหนดค่า ชิ้นงานเป็นอัตราร้อยละของค่าจ้างของกลุ่ม จำเลย
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๑๑๔ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

กำหนดค่าชิ้นงานเป็นขั้นบันได ขั้นสูงสุดอยู่ที่ทำงานได้ ๑,๓๒๐ ชั้นต่อชั่วโมง ได้รั บค่าชิ้นงานร้อยละ ๑๕๐


ของค่าจ้างของกลุ่ม หากทำได้น้อยลงกว่านี้ก็จะได้รับค่าชิ้นงานลดหลั่นลงตามลำดับ ขั้นต่ำสุดอยู่ที่ทำงานได้
๒๐๐ หรือ ๓๐๐ ชั้นต่อชั่วโมง จะได้รับค่าชิ้นงานอัตราร้อยละ ๗๕ ของค่าจ้างของกลุ่ม ถือเป็นการตกลงจ่าย
ค่าชิ้น งานให้ พ นั กงานแผนกบรรจุ สิ น ค้าที่ ท ำปริ มาณงานได้ เพิ่ ม ขึ้น มากกว่าระดับ การทำงานปกติ โดยให้
ค่าชิ้นงานมีอัตราเพิ่มตามช่วงของจำนวนชิ้นงานที่ทำได้ใน ๑ ชั่วโมง อีกทั้ งค่าชิ้นงานคิดจากร้อยละของค่าจ้าง
รวมของกลุ่ม ดังนั้ น พนักงานแต่ล ะกลุ่มจะได้รับเงินจริงจากค่าชิ้นงานจึงขึ้นอยู่กับอัตราค่าจ้า งที่พนักงาน
แต่ละคนได้รับ มิใช่ได้รับในอัตราชิ้นงานละ ๐.๐๑๕ สตางค์ตายตัวทุกชิ้นงานตามคำฟ้อง และมีกำหนดอัตรา
สูงสุ ดและต่ำสุ ดของค่าชิ้ น งานไว้ จำเลยจะจ่ายค่าชิ้น งานให้ ต่อเมื่อพนักงานทำชิ้น งานได้ตามเป้าหมายที่
กำหนดไว้ในแต่ ล ะช่ว งของจำนวนชิ้น งานเท่ านั้ น ค่าชิ้ น งานจึงเป็ น การจ่ ายเพื่ อ ตอบแทนความขยั น ของ
พนักงานและจูงใจให้พนั กงานแผนกบรรจุสินค้าจำนวนชิ้นงานเพิ่มขึ้น ไม่ใช่เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการ
ทำงานโดยตรง อันไม่ใช่การจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติหรือจ่ายให้
โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ค่าชิ้นงานเป็นเงินจูงใจจึงไม่ใช่ค่าจ้าง
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๑๕ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๓๖. ค่าโน็ตบุ๊ก
ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๔๓๓ – ๑๑๔๓๔/๒๕๕๗
เรื่อง ค่าโน้ตบุ๊กเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท นายจ้างจ่ายให้เพื่ อทดแทนการที่ลูกจ้างนำโน้ตบุ๊ก
ส่วนตัวมาใช้ ไม่ใช่ค่าจ้าง
จำเลยประกอบกิจการธุรกิจสายการบิน โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งผู้จัดการสถานี
และตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์ โจทก์ทั้งสองได้รับค่าจ้างเดือนละ ๔๐,๐๐๐ บาท และ ๓๐,๐๐๐ บาท
พร้อมค่าโน้ตบุ๊กอีกคนละ ๑,๐๐๐ บาท จำเลยจ่ายค่าโน้ตบุ๊กให้โจทก์ทั้งสองเพื่อทดแทนการที่โจทก์ทั้งสองนำ
โน้ ตบุ๊ กส่ วนตัวมาใช้ มิใช่เป็ น เงิน ที่จ ำเลยตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้ แก่โจทก์ทั้งสองตาม
สัญญาจ้าง ย่อมไม่เป็นค่าจ้าง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๑๖ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๓๗. เงินปรับค่าจ้างย้อนหลัง
ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๘๐๗/๒๕๕๗
เรื่อง เงินส่วนที่ยังขาดอยูเ่ พราะเหตุยังมิได้ปรับขึ้นค่าจ้าง มิใช่ค่าจ้างค้างจ่าย สิทธิเรียกร้อง
ไม่ใช่อายุความ ๒ ปี แต่เป็นอายุความ ๑๐ ปี
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ จำเลยเป็นรัฐวิ สาหกิจ ประกอบธุรกิจ
รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินปรับเงิ นเดือนตามมติคณะรัฐมนตรีย้อนหลัง และ
เงินอื่น ๆ ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า มติคณะรัฐมนตรีเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างในอัตราร้อยละ ๓
เท่ากันทุกอัตรานั้นผูกพันจำเลยที่จะต้องปฏิบั ติตาม ที่จำเลยอ้างขาดทุนไม่มีเงินปรับแก่ลูกจ้างนั้น มิใช่เหตุ
พ้นวิสัยที่จะอ้างได้เพื่อให้จำเลยไม่ต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี จำเลยจึงต้องปรับค่าจ้างของโจทก์ตามมติ
คณะรัฐมนตรีวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ แต่เงินส่วนที่โจทก์เรียกร้องนี้ถือเป็นค่าจ้างค้างจ่ายทั้ งสิ้น จึงมี
อายุความ ๒ ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๙๓/๓๔(๘)(๙) โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องในส่วน
ที่อยู่ในอายุความ ๒ ปี ส่วนช่วงก่อนวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๔๗ ถือว่าคดีขาดอายุความ พิพากษาให้จำเลย
จ่ายค่าจ้างค้างจ่าย ๑๓,๑๗๑.๕๐ บาท เงินส่วนที่ปรับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ๔๕,๓๓๗ บาท และ
เงินส่วนที่ปรับเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี ๕๐,๓๔๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี และเงินส่วนที่
ปรับเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี ๕๐,๓๔๐ บาท โจทก์และจำเลยอุทธรณ์
ศาลฎีกาเห็นว่า เงินส่วนที่ยังขาดอยู่เพราะเหตุยังมิได้ปรับขึ้ นค่าจ้างให้จึงมิใช่ค่าจ้างค้างจ่ายซึ่ง
จะมีอายุความ ๒ ปี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินส่วนที่ยังมิได้ปรับเลื่อนเงินเดือนให้ทั้งหมด ๒๑๗,๖๑๐ บาท พร้อม
ดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ส่วนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ที่เห็นชอบให้ปรับอัตราค่าจ้าง
ของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจในอัตราร้อยละ ๓ และให้ได้รับค่าจ้างสูงกว่าอัตราที่ปรับเพิ่มร้อยละ ๓ ตามอัตราค่าจ้าง
ใหม่อีก ๒ ขั้นนั้น เป็นเพียงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบในการปรับปรุงสภาพการจ้างเกี่ยวกับ
การเงินตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๑๓ วรรคสาม ไว้ล่วงหน้าเท่านั้น
ส่วนการที่จำเลยจะพิจารณาปรับค่าจ้างให้ แก่ลูกจ้างหรือไม่ เพี ยงใดย่อมเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่จะ
พิ จ ารณาดำเนิ น การให้ เป็ น ไปตามข้ อ ตกลงเกี่ ย วกั บ สภาพการจ้ า ง เมื่ อ จำเลยมิ ได้ ป รั บ ค่ า จ้ า งตามมติ
คณะรัฐมนตรีที่ให้ความเห็นชอบไว้ล่วงหน้าโดยเห็นว่า จำเลยขาดทุน ไม่มีเงิน จึงไม่มีเงินส่วนที่ยังไม่ได้ปรับ
ค่าจ้างที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์ อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยจ่ายเงินที่ยัง
มิได้ปรับเลื่อนเงินเดือนจำนวน ๒๑๗,๖๑๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันฟ้อง สำหรับ
คำขอทีใ่ ห้จำเลยจ่ายเงินส่วนที่ยังมิได้ปรับเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรีให้ยกเสีย

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๑๗ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๓๘. เบี้ยกันดาร
ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๐๖๗-๒๐๖๘/๒๕๕๗ (เบี้ยกันดาร)
เรื ่อ ง เบี ้ย กัน ดารเดือ นละ ๒,๐๐๐ บาท จ่า ยเพื ่อ ตอบแทนพนัก งานที ่ต ้อ งปฏิบัติง าน
ในสถานที่ห่างไกล จึงเป็นเงินตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้าง เป็นค่าจ้าง ส่วนค่าเช่ารถและค่าเช่า
บ้านจ่ายเพื่อทดแทนสวัสดิการบ้านพักและชดเชยการใช้พาหนะส่วนตัว จึงไม่ใช่ค่าจ้าง
ระเบี ย บข้ อบั งคั บ ในการทำงานของจำเลยซึ่ งแก้ไขเปลี่ ยนแปลงการเกษี ยณอายุจ าก ๖๐ ปี
บริบูรณ์ เป็น ๕๕ ปีบริบูรณ์ มิได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
ดังนั้ น การเปลี่ ย นแปลงระเบี ย บข้ อบั งคับ ฯ จึ งต้อ งเป็ น คุณ แก่ลู กจ้างหรือ ได้ รับ ความยิน ยอมจากลู ก จ้ าง
เมื่อลูกจ้างรวมทั้งโจทก์ทั้ง ๒ มิได้ให้ความยินยอม การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับในการทำงานในส่ วนอายุ
จาก ๖๐ ปีบริบูรณ์ เป็น ๕๕ ปีบริบูรณ์ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เงินเบี้ยกันดารเดือนละ ๒,๐๐๐ บาท เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการที่พนักงานต้องปฏิบัติงานใน
สถานที่ห่างไกล จึงเป็นเงิน ที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง ถือเป็น
ค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ ส่วนค่าเช่าบ้านและค่าเช่ารถ เมื่อพิจารณา
วัตถุประสงค์ในการจ่ายเงินแล้ว เห็นว่า ค่าเช่าบ้านจำเลยจะจ่ายแก่พนักงานซึ่งต้องโยกย้ายไปประจำโรงงาน
สาขาในต่างจังหวัดและบริษัทไม่จัดบ้านพักให้ ค่าเช่าบ้านจึงเป็นการจ่ายเงินเพื่อทดแทนสวัสดิการบ้านพักของ
พนักงาน ส่วนค่าเช่ารถ หรือค่าชดเชยการใช้พาหนะส่วนตัวนั้น จำเลยจ่ายแก่พนักงานที่ต้องใช้รถส่วนตัว
เพื่ออำนวยความสะดวกและความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติง านของพนักงาน ค่าเช่ารถจึงเป็นการจ่ายเพื่อ
ทดแทนสวัสดิการรถที่จำเลยต้องจัดให้แก่พนัก งานในการเดิน ทางเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน ดังนั้น
เงินค่าเช่าบ้านและเงินค่าเช่ารถจึงไม่เป็นค่าจ้าง

๒. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๖๖๐/๒๕๕๖ (เบี้ยกันดาร)


เรื่อง ค่า เบี้ยกัน ดารและค่า เช่า บ้าน ไม่ใช่ค ่า จ้า ง ตามพระราชบัญ ญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ จึงไม่นำมารวมเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย
ค่าเบี้ยกันดารและค่าเช่าบ้านนั้น จำเลยมีระเบียบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับธุรกิจ หมวดการโยกย้ายที่
อยู่อาศัยข้อ ๖ กำหนดว่า เงินช่วยเหลือค่าทำงานต่างจังหวัดอัตราร้อยละ ๑๕ ของเงินเดือนมูลฐาน และข้อ ๗
กำหนดว่าเงินช่วยเหลือค่าชดเชยที่พักอัตราร้อยละ ๑๕ ของเงินเดือนมูลฐาน จำเลยจะจ่ายเงินทั้งสองประเภท
นี้ให้แก่โจทก์เป็นประจำทุกเดือนเมื่อโจทก์ไปทำงานในต่างจังหวัดเพื่อเป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย
ส่วนตัวและค่าเช่าที่พัก เงินค่าเบี้ยกันดารและค่าเช่าบ้าน จำเลยที่ ๑ มีระเบียบการจ่ายชัดเจนว่าประสงค์
จะช่วยเหลือโจทก์ในด้านเงิ นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับส่วนตัวและค่าเช่าที่พักเมื่อโจทก์ต้ องไปทำงานในต่างจังหวัด
หากโจทก์กลับเข้ามาทำงานในกรุงเทพแล้วจำเลยจะไม่จ่ายเงินทั้งสองประเภทนี้แก่โจทก์ แสดงให้เห็นว่าจำเลย
จ่ายเงิน ทั้งสองประเภทแก่โจทก์เพื่อเป็ น สวัสดิ การเท่านั้ น ไม่ได้จ่ายด้วยวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนในการ
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๑๑๘ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

ทำงานตามสั ญ ญาจ้ างสำหรั บ ระยะเวลาการทำงานปกติ เงิน เบี้ ยกั น ดารและค่ าเช่ าบ้ านจึงไม่ เป็ น ค่ าจ้าง
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ จึงไม่นำมารวมเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๑๙ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๓๙. สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๓๖๑/๒๕๕๗
เรื่อง สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า มิใช่ค่ าจ้างตามมาตรา ๕ และมาตรา ๙ จึงต้อง
เสียดอกเบี้ยเพียงร้อยละ ๗.๕ ต่อปี มิใช่ร้อยละ ๑๕ ต่อปี
สิ น จ้ า งแทนการบอกกล่ า วล่ ว งหน้ า เป็ น เงิน ที่ น ายจ้ างจ่ ายให้ ลู ก จ้ า งในการเลิ ก สั ญ ญาจ้ า ง
เพื่อปล่อยให้ลูกจ้างออกจากงานเสียทันที มิใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานตามสัญญา
จ้ า ง จึ ง ไม่ ใ ช่ ค่ า จ้ า ง ตามพระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ และมิ ใ ช่ ค่ า จ้ า ง
ตามมาตรามาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราบัญ ญัติดังกล่าวที่ นายจ้างจะต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนั ด
อัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๒๐ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๔๐. ค่าประกันอุบัติเหตุ
ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๘๗๓/๒๕๕๗ (ค่าประกันอุบัติเหตุ)
เรื ่อ ง ค่า โทรศัพ ท์เป็น ค่า จ้า ง ส่ว นค่า พาหนะตอบแทนในการปฏิบ ัต ิง าน ค่า ประกัน
อุบัติเหตุ เงินโบนัส เป็นเงินจูงใจให้ทำงานให้มีประสิทธิภาพ จึงมิใช่ค่าจ้าง
ค่าโทรศัพท์อัตราเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท ในลักษณะเหมาจ่ายเป็นเงินเท่ากันทุกเดือน โดยไม่
คำนึงว่าโจทก์จะใช้จ่ายเป็ นค่าโทรศัพท์ห รือไม่ หรือได้ใช้เป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด ไม่ต้องแสดงใบเสร็จ
ค่าโทรศัพท์จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ถือได้ว่า
เป็นค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕
ค่าพาหนะตอบแทนในการปฏิบัติงานเดือนละ ๖,๙๐๐ บาท จำเลยมีวัตถุ ประสงค์จ่ายเพื่อเป็น
สวัส ดิ ก ารในการปฏิ บั ติ งาน เป็ น การช่ ว ยเหลื อ โจทก์ ไม่ ให้ ต้ อ งเป็ น ภาระค่ าใช้ จ่ า ยในการเดิ น ทาง ได้ รั บ
ไม่แน่นอน จึงไม่ใช่ค่าจ้าง สำหรับค่าประกันอุบัติเหตุเดือนละ ๕๐๐ บาท เงินตอบแทนในการปฏิบัติงานได้
ตามวัตถุประสงค์เฉลี่ยเดือนละ ๑๖,๑๕๘ บาท และเงินโบนัสเฉลี่ยเดือนละ ๖,๘๔๐ บาท เป็นเงินที่จำเลยจ่าย
เพื่อจูงใจโจทก์ทำงานให้มีประสิทธิภาพ ขยันตั้งใจทำงาน และเป็นสวัสดิการ มิ ใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน
โดยตรง ได้รับไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับผลงาน จึงไม่ใช่ค่าจ้าง

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๒๑ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๔๑. ค่ากระดาษทิชชู่
ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๔๙๑/๒๕๕๙ (ค่ากระดาษทิชชู)
เรื่อง นายจ้างจ่ายค่าอาหารให้ลูกจ้างคนละ ๗๐๐ บาท และค่ากระดาษทิช ชู อีกคนละ
๑๐ บาทต่อเดือน โดยมีเจตนาแต่แรกที่จะให้เป็นสวัสดิการเพื่ อช่วยเหลือพนักงานประจำยกเว้นพนักงาน
ทดลองงานและพนักงานระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไป จึงไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๕
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนั กงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครอง
แรงงานจังหวัด...ที่ ../๒๕๕๓ ลงวันที่ ... มกราคม ๒๕๕๓ และให้ถือว่า เงินค่าอาหารและค่ากระดาษทิชชูเป็น
ค่าจ้าง และเมื่อนำมารวมกับค่าจ้างปกติที่ลูกจ้างได้รับรวมเป็นฐานคำนวณค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด
ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และดอกเบี้ยตามคำร้องแล้ว โจทก์จะได้รับค่าล่วงเวลา ๑.๕ เท่า หรือ ๑๕๐ เปอร์เซ็นต์
ของงวดวันที่ ๒๑/๐๒/๒๐๐๘ ถึง ๒๐/๐๙/๒๐๐๙ เป็นเงิน ๘๕๗.๐๔ บาท ค่าทำงานในวันหยุด ๑ เท่า หรือ
๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ของงวดวันที่ ๒๑/๐๒/๒๐๐๘ ถึง ๒๐/๐๙/๒๐๐๙ เป็นเงิน ๔๓๙.๐๖ บาท และค่าล่วงเวลา
ในวั น หยุ ด ๓ เท่ า หรื อ ๓๐๐ เปอร์ เซ็ น ต์ ของงวดวั น ที่ ๒๑/๐๒/๒๐๐๘ ถึ ง ๒๐/๐๙/๒๐๐๙ เป็ น เงิ น
๔๔๑.๑๓ บาท พร้อมดอกเบี้ย ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า บริษัท (ประเทศไทย)
จำกัด นายจ้างได้รับโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่ งพนักงานประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่วันที่ ๓
พฤษภาคม ๒๕๓๑ เดิมบริษัทนายจ้างมอบคูปองเป็นค่าอาหารให้ลูกจ้างวันละใบมูลค่า ๕ บาท และปี ๒๕๓๕
มอบกระดาษทิชชูให้ลูกจ้างคนละ ๒ ม้วนต่อเดือน ปัจจุบันนายจ้างจ่ายค่าอาหารให้ลูกจ้างคนละ ๗๐๐ บาท
และค่ากระดาษทิชชู อีกคนละ ๑๐ บาทต่อเดือน โจทก์เคยนำค่าอาหารรวมกับค่าจ้างเป็นฐานคำนวณเงิน
ประกันสังคมที่นายจ้างเก็บจากลูกจ้างนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคม
จังหวัด...มีหนังสือแนะนำนายจ้างไม่ต้องนำเงินค่าอาหารมาคำนวณเป็นค่าจ้างเพื่อส่งเงินสมทบเข้ากองทุน
ประกั น สั ง คม บริ ษั ท นายจ้ า งมี ร ะเบี ย บข้ อ บั ง คั บ การทำงานใช้ บั ง คั บ มาตั้ ง แต่ ปี ๒๕๔๑ ถึ ง ปั จ จุ บั น
โดยกำหนดให้เงินค่าอาหารและค่ากระดาษทิชชูเป็นสวัสดิการไว้ในหมวด ๑๒ สวัสดิการ ข้อ ๑๒.๑ ถึง ๑๒.๑๐
แล้ววินิจฉัยว่าเงินค่าอาหารและค่ากระดาษทิชชูไม่เป็นค่าจ้าง
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า เงินค่าอาหารและค่ากระดาษทิชชูที่บริษัท
นายจ้างจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนเป็นค่าจ้างหรือไม่ โดยโจทก์อุทธรณ์ว่าสวัสดิการหมายถึงสิ่งของไม่ใช่
ตัวเงินซึ่งสอดคล้องกับกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.๒๕๔๘ ที่ล้วนแต่เป็น
สิ่งของไม่ใช่ตัวเงิน ทั้งเงินค่าอาหารและค่ากระดาษทิชชูบริษัทนายจ้างให้โจทก์เป็นจำนวนที่แน่นอน ขาดลามา
สายไม่หักเงินดังกล่าว ค่าอาหารและค่ากระดาษทิชชูจึงเป็นค่าจ้าง เห็น ว่า ตามระเบียบข้อบังคับการทำงาน
ของบริษัทนายจ้างกำหนดเรื่องการให้สวั สดิการแก่ลูกจ้างไว้ในหมวดที่ ๑๒ ประกอบด้วยการตรวจสุขภาพ
ประจำปี การบริการข้าวสวย การบริการรับ - ส่งพนักงาน เงินค่าอาหาร การเข้ารับการรักษาพยาบาล ณ
สถานพยาบาลของบริษัทนายจ้าง การประกันภัยหมู่ เงินช่วยเหลือค่าทำศพ เครื่องแบบพนักงานและอุปกรณ์
ในการทำงาน การเบิกค่ารักษาพยาบาลและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับเงินค่าอาหารกำหนดไว้ว่า บริษัท
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๑๒๒ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

นายจ้างจะให้เงินช่วยเหลือเป็นค่าอาหารแก่พนักงานทุกคนที่เป็นพนักงานประจำของบริษัทตามสภาพการจ้าง
ยกเว้นพนักงานทดลองงานและพนักงานระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไปจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือค่าอาหาร ประกอบ
กับข้อเท็จจริงปรากฏว่า เดิมบริ ษัทนายจ้างมอบคูปองค่าอาหารให้ลูกจ้างวันละใบมูลค่า ๕ บาท และต่อมาปี
๒๕๓๕ บริษัทนายจ้างมอบกระดาษทิชชูให้ลูกจ้างคนละ ๒ ม้วนต่อเดือน ย่อมแสดงให้เห็นว่า บริษัทนายจ้างมี
เจตนาแต่แรกที่จะให้ค่าอาหารเป็นสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือพนั กงานประจำยกเว้นพนักงานทดลองงานและ
พนักงานระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไป จึงกำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับการทำงานในหมวดสวัสดิการ และเห็น
เจตนาชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อระยะแรกบริษัทนายจ้างจ่ายค่าอาหารเป็นคูป องและจ่ายกระดาษทิชชูให้ ลูกจ้าง แม้
ต่อมาบริษัทนายจ้างจะเปลี่ยนการจ่า ยค่าอาหารเป็นคูปองและการจ่ายกระดาษทิช ชูมาเป็นตัวเงินโดยจ่ายให้
พนักงานที่มีสิทธิได้รับทุกคนเป็นประจำทุกเดือนโดยไม่มีเงื่อ นไขว่าพนักงานจะขาดลามาสายหรือไม่ ก็เพื่อ
ความสะดวกในการปฏิบัติของบริษั ทนายจ้างเท่านั้น มิได้แสดงว่าเมื่อบริษัทนายจ้างเปลี่ยนการให้สวัสดิก าร
จากรูปแบบอื่นมาเป็นตัวเงินจะทำให้สวั สดิการดังกล่าวกลายเป็นค่าจ้าง สวัสดิการจึงเป็นตัวเงินได้ ไม่จำต้อง
เป็นแต่สิ่งของหรือบริการที่นายจ้างจัดให้ลูกจ้าง ดังนั้นเงินค่าอาหารเดือนละ ๗๐๐ บาท และค่ากระดาษทิชชู
เดื อ นละ ๑๐ บาท ที่ บ ริ ษั ท นายจ้ างจ่ ายให้ โ จทก์ เป็ น ประจำทุ ก เดื อ นจึ งเป็ น สวั ส ดิ ก าร ไม่ ใช่ ค่ า จ้ า งตาม
ความหมายของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๕ ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษามานั้น
ชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๒๓ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๔๒. เงินรางวัลการขายรถยนต์
ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๒๖๐ – ๘๒๖๒/๒๕๕๙
เรื่อง เงินรางวัลการขายรถยนต์ ไม่เป็นค่าจ้าง
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าคอมมิสชันจำนวน ๗๕,๕๐๙ บาท และ ๑๑๒,๘๖๕
บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสาม ศาล
แรงงานกลางพิ พ ากษาให้ จ ำเลยชำระเงิน แก่โจทก์ ทั้ งสามจำนวน ๑๒๔,๑๐๔ บาท ๙๒,๒๙๙ บาท และ
๙๗,๙๔๒ บาท ตามลำดั บ พร้ อ มดอกเบี้ ย อั ต ราร้ อ ยละ ๗.๕ ต่ อ ปี นั บ แต่ วั น ฟ้ อ งจนกว่ า จะชำระเสร็ จ
คำขออื่นให้ยก จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจ ฉัยว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้าง
ของจำเลย ตำแหน่งเจ้าหน้าที่การตลาดเช่าซื้อรถใหม่ กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ ๒๕ ของเดือน โจทก์ที่ ๑
ลาออกเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๕ โจทก์ที่ ๒ และที่ ๓ ลาออกเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๕ จำเลย
ตกลงจ่ายเงินรางวัลการขายรถยนต์ คันละ ๖๐๐ บาท เมื่อลูกค้าผ่อนค่างวดครบ ๔ งวดแรก ตรงตามกำหนด
แต่หากชำระไม่ตรงตามกำหนด โจทก์ทั้งสามจะต้องติดตามให้ลูกค้าชำระให้ครบภายในงวดที่ ๕ ถ้าไม่ครบ
จำเลยจะหักเงินรางวัลจากเงินรางวัลรวมที่ทำได้ในงวดที่ ๔ เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท หากติดตามให้ลูกค้าชำระ
ครบในงวดที่ ๕ จำเลยจะคืนเงิน ๑,๘๐๐ บาท พร้อมจ่ายเงินรางวัล ๖๐๐ บาท รวม ๒,๔๐๐ บาท ให้โจทก์
ทั้งสาม ส่วนเงินรางวัลสำหรับการขายประกันคุ้มครองภาระหนี้มีเงื่อ นไขว่าจะจ่ายเมื่อลูกค้าชำระตรงกำหนด
สี่งวดแรกเป็นเงิน ๕๐๐ บาท ต่อการขายแต่ละครั้ง และโจทก์ ทั้งสามยังได้รับเงินรางวัลจากบริษัทประกันเพิ่ม
อีกร้อยละ ๕ ของค่าเบี้ยประกันเมื่อลูกค้าชำระค่างวดในงวดแรกแล้ว และวินิจฉัยว่าเงินตามฟ้องถือว่าเป็นเงิน
ส่วนหนึ่งที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานโดยคิดตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลา
ทำงานปกติของการทำงาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕
ปัญหาจะต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ประการแรกของจำเลยว่า เงินรางวัลตามฟ้องเป็นค่าจ้างตาม
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๕ หรือไม่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้แล้วว่าเงินรางวัล
จากการขายรถยนต์ จำเลยตกลงจ่ายให้โจทก์ทั้ งสามต่อเมื่อลูกค้าผ่อนค่างวดครบสี่งวดแรกตรงตามกำหนด
หากชำระไม่ตรงตามกำหนด โจทก์ทั้งสามก็จะต้องติดตามให้ลูกค้าชำระให้ครบภายในงวดที่ ๕ มิฉะนั้นจำเลย
จะหักเงินรางวัลจากเงินรางวัลรวมที่ทำได้ในงวดที่ ๔ แต่หากโจทก์ทั้งสามติดตามให้ลูกค้าชำระครบในงวดที่ ๕
แล้ว จำเลยจะคืนให้พร้อมเงินรางวัลที่หักไว้ ส่วนเงิน รางวัลสำหรับการขายประกันคุ้มครองภาระหนี้จะจ่ายให้
เมื่อลูกค้าชำระตรงตามกำหนดสี่งวดแรกต่อการขายแต่ละครั้ง และเงินรางวัลจากบริษัทประกันเพิ่มอีกร้อยละ
๕ ของค่าเบี้ยประกันจะได้รับต่อเมื่อลูกค้าชำระค่างวดในงวดแรกแล้วเช่นนี้เห็นได้ว่าการจ่ายเงินรางวัลจากการ
ขายรถยนต์และเงินรางวัลสำหรับการขายประกันคุ้มครองภาระหนี้นั้น มุ่งหมายเพื่อเป็นการจูงใจให้พนักงาน
ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในการหาลูกค้าและตรวจสอบความสามารถในการผ่อนชำระเงินค่างวดของลูกค้า
เพื่อป้องกันความเสียหายในด้านสินเชื่ อเพื่อลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจของจำเลยอีก ทั้งเป็นการกระตุ้นให้
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ
- ๑๒๔ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

พนักงานกระตือรือร้นหาลูกค้าและติดตามเร่งรัดการจ่ายเงินค่าเช่าซื้อให้ตรงตามกำหนด ดังนั้น พนักงานจะมี


โอกาสได้รับเงินดังกล่าวมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับความขยันและประสิทธิ ภาพในการทำงานของแต่ละคน
ส่วนเงินรางวัลเพิ่มอีกร้อยละ ๕ ของค่าเบี้ยประกันก็เป็นเงินรางวัลที่โจทก์ทั้งสามได้รับจากบริษัทประกัน มิใช่
ได้รับจากจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง ดังนั้ น เงินรางวัลตามฟ้องดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเพื่อเป็น
ค่าตอบแทนในการทำงานโดยตรงตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติหรือจ่ายให้โดยคำนวณตาม
ผลงานที่ทำได้ในเวลาทำงานปกติของวัน ทำงานอันจะถือเป็นค่าจ้า งตามพระราชบัญ ญั ติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๕ อุทธรณ์จำเลยข้อนี้ฟังขึ้น
ปัญหาจะต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยในประการต่อมาว่า โจทก์ทั้งสามมีสิทธิได้รับเงินตาม
ฟ้องหรือไม่ เห็นว่า การจ่ายเงินตามฟ้องทั้งสามกรณีนั้น จำเลยกำหนดเงื่อนไขไว้โดยการขายรถยนต์จะจ่ายให้
ต่อเมื่อลูกค้าผ่อนค่างวดครบสี่งวดแรกตรงตามกำหนด มิฉะนั้นโจทก์ทั้งสามจะต้องติดตามให้ลูกค้าชำระให้
ครบภายในงวดที่ ๕ แต่ถ้าไม่ครบก็จ ะไม่ได้รับเงินรางวัล ส่ วนการขายประกันคุ้มครองภาระหนี้จะจ่ายให้
ต่อเมื่อลูกค้าชำระตรงกำหนดสี่งวดแรก และเงินรางวัลจากบริษัทประกันจำเลยจะจ่ายให้ต่อเมื่อลูกค้าชำระค่า
งวดในงวดแรกแล้ว การที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขเช่นนี้ได้โจทก์ทั้งสามจะต้องมีสภาพเป็นพนักงานจนกว่า จะได้
ปฏิบัติงานครบกำหนดงวดตามเงื่อนไขดังกล่าวเสียก่อนจึงจะมีสิทธิได้รับเงินรางวัล ทั้งจำเลยจะจ่ายเงินรางวัล
ให้กับพนักงานที่ยังคงมีสถานภาพเป็นพนักงานในวันที่จ่ายเท่านั้ น เมื่อโจทก์ทั้งสามลาออกจากการเป็นลูกจ้าง
เป็นการพ้นสถานภาพการเป็นพนักงานไปก่อนในวันที่จ่า ย โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลตามฟ้อง ที่
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ จำเลยจ่ายเงินรางวัลและคืนเงินที่มีการหักไว้มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
อุทธรณ์ ของจำเลยข้ อนี้ ฟังขึ้น เช่น กัน ส่ วนอุทธรณ์ ข องจำเลยข้ออื่นไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ ผลคดี
เปลี่ยนแปลง พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสาม

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


- ๑๒๕ - นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ

๔๓. เงินช่วยเหลือค่าทำงานต่างจังหวัด และค่าที่พัก


ไม่เป็นค่าจ้าง
๑. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๗๕๘/๒๕๕๘
เรื่อง เงิน ช่วยเหลือค่าทำงานต่ างจังหวัดและค่าที่พัก ไม่เป็นค่าจ้าง จึงไม่นำมาเป็นฐาน
คำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
การจ่ายเงินช่วยเหลือค่าทำงานต่างจังหวัดและการจ่ายเงิน ค่ าที่พักของจำเลย ตามข้อบังคับ
เกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่ว ยเหลือแก่พนักงานที่จำเป็นต้องย้ายที่อยู่
อาศั ย อัน เนื่ องมาจากการย้ ายพนั กงานจากสถานที่ท ำงานหนึ่ งไปยังอีก สถานที่ห นึ่ งเป็น การประจำโดยมี
เจตนารมณ์ ที่ จ ะชดเชยค่ าใช้ จ่ ายที่ เกิ ด ขึ้ น จากการถูก โยกย้ ายจากภู มิ ล ำเนาเดิ ม การชดเชยการจ่ ายเงิน
ช่วยเหลือหรือค่าใช้จ่ายในการหาที่อยู่อาศัยภายใต้นโยบายนี้ปกติแล้วจะลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยงานที่
พนักงานถูกโอนไป สำหรับค่าใช้จ่ายในหมวดนี้ กลุ่มแรกเป็นเงินประเภทที่ให้ คราวเดียวเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย
ในการเดิ น ทางโยกย้ าย ได้ แ ก่ ค่ าพาหนะ ค่ าขนย้ า ย เงิน ช่ ว ยเหลื อ ในการโยกย้ าย ค่ าบรรจุ ต่ า งจั งหวั ด
ค่ าทำงานต่ างจั งหวัด เงิน ช่ ว ยเหลื อ ค่ าที่ พั ก เงิน ช่ ว ยเหลื อ ในการโยกย้า ยกลั บ ภู มิ ล ำเนาจากการทำงาน
ต่างประเทศ จึงเห็นว่า ลักษณะและวิธีการจ่ายเงินดังกล่าวกับวัตถุประสงค์มีค วามชัดเจนว่ามิได้จ่ายเพื่อตอบ
แทนการทำงานตามปกติอันอยู่ในความหมายของค่าจ้าง แต่เป็นการช่ว ยเหลือเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายเนื่องจาก
ภาระโยกย้ายสถานที่ทำงานอันจัดเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่ ง ส่วนเงินช่วยเหลืออีกกลุ่มหนึ่งที่จ่ายเป็นประจำทุก
เดือนตลอดระยะเวลาที่ป ฏิ บั ติห น้ าที่อยู่ ต่างจังหวัด คือ ค่าที่ พักและค่าทำงานต่างจังหวัด เห็ น ว่า แม้เงิน
ดังกล่าวจะจ่ายเป็นจำนวนแน่นอนเป็นประจำทุกเดือนและโดยไม่มีเงื่อนไข แต่จะเป็นค่าจ้างหรือไม่นั้นต้องดู
วัตถุ ป ระสงค์ในการจ่ายเป็ นสำคัญ ซึ่งเห็ น ว่าเงินดังกล่ าวจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ ความช่วยเหลื อแก่
พนักงานที่จำเป็นต้องย้ายอยู่อาศัยอันเนื่องมาจากการย้ายพนักงานจากสถานที่ทำงานหนึ่งไปยังสถานที่หนึ่ง
เป็นประจำ เป็นเรื่องการจัดสวัสดิการโดยแท้เพื่อช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายสำหรับลูกจ้างที่ต้องไป
ทำงานที่อื่นอันมิใช่ภูมิลำเนาหรือที่ลูกจ้างมี ที่พักอาศัยตามปกติ มิใช่เป็นเงินค่าจ้างที่จ่ายตอบแทนการทำงาน
ในเวลาปกติ ไม่อาจนำมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง นิติกรชำนาญการพิเศษ กองนิติการ


CHERDSAK
KAMPANTHONG
เชิดศักดิ์ กาปั่ นทอง
ผูอ้ านวยการกลุม่ งานทีป่ รึกษากฎหมาย
นิตกิ รรมและสัญญา

A B O U T

“ความรู้” ทาให้ชีวิตเปลีย่ น
P U B L I C A T I O N / ผลงานวิชาการ
Contact Information
 สรุปคาพิพากษาศาลฎีกาคดีแรงงาน รายปี
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
 รวมคาพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับค่าจ้าง
 รวมเล่มคาพิพากษาเกีย่ วกับพนักงานตรวจแรงงาน ปี 2560 – 2564
ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง
 รวมเล่มคาพิพากษาเกีย่ วกับพนักงานตรวจแรงงาน ปี 2555 - 2559
เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
 รวมเล่มคาพิพากษาเกีย่ วกับความเป็นนายจ้างลูกจ้าง ปี 2555 - 2564
(096) 865 6547  รวมเล่มคาพิพากษาเกีย่ วกับเลิกจ้าง ลาออก ปี 2555 - 2564
cherdsak.k@labour.mail.go.th  รวมเล่มคาพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับกฎหมายประกันสังคมและ
กฎหมายเงินทดแทน
W O R K E X P E R I E N C E / ประสบการณ์การทางาน

วิทยากรบรรยาย
 ความรูก้ ฎหมายคุ้มครองแรงงาน
 วินัยในการทางาน
 ข้อบังคับการทางาน สัญญาจ้าง
 ค่าจ้าง ค่าตอบแทน
 วันหยุด/วันลา

E D U C A T I O N / การศึกษา

 นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์


 เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์
 นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคาแหง
โดย
เชิดศักดิ กําปั นทอง
นิตกิ รชํานาญการพิเศษ
กองนิตกิ าร กรมสวัสดิการและคุม้ ครองแรงงาน

กรมสวัสดิการและคุม้ ครองแรงงาน
ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
096 865 6547
cherdsak.k@labour.mail.go.th

You might also like