Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 3

รายงานผลการทดลอง

เรื่อง การตกอิสระ
สมาชิกกลุ่ม
1. นางสาวกิติยาภา ตุงคะเสรีรักษ์ เลขที่ 18
2. นายวิธวิทย์ พิริยะพงษ์ เลขที่ 22
3. นางสาวอาภัสรา เทพสกุล เลขที่ 24
4. นายอาชาคริส นิยม เลขที่ 29
วัตถุประสงค์การทดลอง
1. เพื่อศึกษาค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของวัตถุที่ตกอิสระ
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
การเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง
เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ตกอย่างอิสระภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลกเพียงแรงเดียว การเคลื่อนที่ลักษณะนี้จะ
ไม่คิดแรงต้านของอากาศ การตกอย่างอิสระวัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร่งค่าหนึ่ง เรียกว่า ความเร่งโน้มถ่วง
(Gravitational acceleration) เขียนแทนด้วย g ซึ่งมีค่า g = 9.80665 m/s^2 แต่ใช้ค่าประมาณ 9.8 หรือ
10 m/s^2 ในการคำนวณ
สมการการเคลือ่ นที่ในแนวดิ่ง
เนื่องจากการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง คือ การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงแบบหนึ่งดังนั้นสมการในการคำนวณจึง
เหมือนกับ สมการการเคลื่อนที่ในแนวราบเพียงแต่เปลี่ยนค่า a เป็น g เท่านั้น
1
1. 𝑠 = 𝑢𝑡 + 𝑔𝑡 2
2
2. 𝑣 = 𝑢 + 𝑔𝑡
(𝑢+𝑣)
3. 𝑠 = 𝑡
2
4. 𝑣 2 = 𝑢 + 2𝑎𝑠 2

อุปกรณ์การทดลอง
1. ถุงทราย 2. สายวัด 3. ไม้เมตร 4. กล้องโทรศัพท์ 5. โน๊ตบุ๊ค 6. เทปกาว
วิธีการทดลอง
1. ปล่อยถุงทราย ที่ความสูงจากพื้น 1 เมตร ถ่ายวิดีโอเพื่อจับเวลาการเคลื่อนที่ตั้งแต่เริ่มปล่อยจนถึงพื้น
2. ทำซ้ำที่ความสูงเดิมอีก 2 ครัง้ บันทึกผล
3. ทำการทดลองเหมือนข้อที่ 1 แต่เปลี่ยนความสูงเป็น 1.5 , 2.0 และ 2.5 เมตร
ทำซ้ำความสูงละ 3 ครั้ง บันทึกผล และหาค่าเฉลี่ย
ตารางบันทึกผลการทดลอง

เวลา (s)
ความสู ง(m) t^2
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 เฉลีย่
1.0 0.5 0.5 0.4 0.47 0.22
1.5 0.6 0.6 0.6 0.60 0.36
2.0 0.7 0.6 0.7 0.67 0.44
2.5 0.8 0.7 0.8 0.77 0.59

อภิปรายผลการทดลอง
จากการทดลองปล่อยวัตถุให้ตกอย่างอิสระ ที่ความสูง 1 เมตร วัตถุใช้เวลาเฉลี่ยในการตกลงสู่พื้น 0.47
วินาที ที่ความสูง 1.5 เมตร ใช้เวลา 0.60 วินาที ที่ความสูง 2 เมตร ใช้เวลา 0.67 วินาที ที่ความสูง 2.5 เมตร
ใช้เวลา 0.77 วินาที เมื่อนำข้อมูลไปเขียนกราฟ ความสัมพันธ์ระหว่าง เวลายกกำลังสอง จะได้กราฟเส้นดังรูป
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลายกกาลังสองกับระยะทางในการตกอย่าง
อิสระ
y = 4.1507x + 0.0794
3.0
2.5
2.0
1.5
1.0
0.5
0.0
0 0.1 0.2 0.3 0.4 0.5 0.6 0.7

1
ซึ่งกราฟมีความชัน 5.40 นำไปแทนในสมการ 𝑠𝑙𝑜𝑝𝑒 = 𝑔 จะได้ค่า g เท่ากับ 8.4 m/s2
2
สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองพบว่า ได้ค่า g เท่ากับ 8.4 m/s2 มีค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับร้อยละ 14.30
ข้อเสนอแนะ
การปล่อยถุงทรายอาจจะไม่ถูกวิธี เช่น ปล่อยถุงทรายทีเ่ สียดสีกับเสา อาจจะทำให้เกิดการฝืดและล่าช้าเพียง
เสี้ยววิ และได้ค่าที่ไม่แน่นอน หรือการวัดความสูงที่จะใช้ในการปล่อยถุงทรายระดับ 1-2 เมตรอาจจะไม่
แน่นอน ตัวเลขอาจจะคลาดเคลื่อน และการจับเวลาในการปล่อยถุงทรายให้ตกลงสู่พื้น ก็อาจจะทำให้
คลาดเคลื่อน และได้วินาทีที่ไม่แน่นอน
สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
- อาจจะต้องมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ในการปล่อย เพื่อความเหมาะสมต่อการทดลอง
- แก้ไขในด้านการจับเวลา การปล่อยของ และต้องไม่เสียดสีกับเสา เพื่อเวลาที่แม่นยำ และถูกต้องต่อการ
ทดลอง

You might also like